The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-07-10 00:21:41

ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

Keywords: ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

การปกครองระบบประชาธิปไตย เขากม็ กี ารปกครองกนั และไม่วา่ จะปกครอง
แบบไหน จะใช้การปกครองระบบใด การปกครองนั้นๆ จะดีได้ ก็ต้องให้คน
ที่เป็นใหญ่ คนที่มีอำ�นาจตัดสินใจ ที่เป็นหัวหน้า ที่ทำ�หน้าที่ปกครองนั้นๆ
เป็นธรรมาธปิ ไตย คือเป็นคนท่มี ีหลกั ยึดถอื หลกั การ ถือกฎกตกิ า ถือธรรม
เป็นใหญ่ ไม่ทำ�อะไรตามอ�ำ เภอใจ ไม่ใชอ้ �ำ นาจสนองความชอบใจหรือไมช่ อบใจ
ของตวั
นก่ี ค็ ือ ไม่วา่ การปกครองระบบไหนแบบใด จะดีได้ ก็ตอ้ งให้คนท่ีปกครอง เปน็
ธรรมาธิปไตย ถึงแม้เมื่อยังไม่มียังไม่ได้ระบบการปกครองที่ดี แม้แต่เป็นการ
ปกครองระบบทถี่ ือกนั วา่ เลวอย่างยิง่ ถา้ ผู้ปกครองเป็นธรรมาธปิ ไตย กย็ งั มี
การปกครองท่ดี ีท่สี ุดเทา่ ทจ่ี ะเป็นไปไดข้ องระบบการปกครองน้นั
พูดอีกสำ�นวนหนึ่งว่า ไม่ว่าระบบการปกครองใดก็ตาม จะเป็นระบบที่ดีหรือไม่
ก็ตาม ถ้าเกิดได้ผู้ปกครองที่เป็นธรรมาธิปไตย ก็เป็นการปกครองที่ดีที่สุดของ
การปกครองระบบนัน้
ถงึ เวลานี้ เราบอกว่า เราพบแลว้ เราไดร้ ะบบการปกครองทดี่ ีท่สี ดุ แล้ว คอื
ระบบประชาธิปไตย
เราบอกวา่ ประชาธปิ ไตยเปน็ ระบบการปกครองทด่ี ที ส่ี ดุ หรอื เลวนอ้ ยทส่ี ดุ เพราะ
เปน็ ระบบท่ีประชาชนเปน็ ใหญ่ ประชาชนเปน็ เจ้าของอ�ำ นาจอธปิ ไตย เป็นผูใ้ ช้
อ�ำ นาจปกครองประเทศ คอื ไดป้ กครองตวั เอง ซ่ึงเปน็ การถูกต้อง เพราะอยา่ ง
นอ้ ยประชาชนก็รูค้ วามตอ้ งการของตน
ทด่ี นี ้ัน ไม่ใช่แคป่ ระชาชนเป็นใหญ่ ไดป้ กครองตวั เอง ไมใ่ ชแ่ คป่ กครองตวั เอง
แล้วปกครองเรื่อยเปื่อย ทำ�อะไรกันตามอำ�เภอใจ แต่เป็นการปกครองอย่างมี
หลัก เคารพหลักการ ถือตามกฎกติกา อย่างทช่ี อบใชค้ ำ�ฝรั่งว่า “rule of law”
“rule of law” น้ี ไมว่ า่ จะหาค�ำ ไทยอะไรมาใชก้ นั เชน่ วา่ นติ ธิ รรม หรอื อะไร
ก็ตาม ก็คือค�ำ ทใี ชก้ ันมาในประเพณีวา่ “การปกครองโดยธรรม” นัน่ แหละ
ไปๆ มาๆ พดู ยอ้ นกลบั ก็บอกว่า ธรรม คอื หลักการ หลกั แห่งความจรงิ ความ
ถูกต้อง ความดีงาม ท่ีแสดงให้ชัดเป็นกฎกติกา (ธรรม หมายถึงกฎธรรมชาติ
กฎมนษุ ย์ หรือกฎหมาย กไ็ ด)้ นนั่ เองเปน็ ผปู้ กครอง

ตามรอยพุทธธรรม 151

ประชาชนนี่แหละตกลงกันตั้งวางหลักการกฎกติกาขึ้นมาปกครองพวกตัวเอง
ตง้ั แตก่ ฎกตกิ าใหญ่แม่บทครอบคลมุ ทงั้ รัฐทงั้ ประเทศ ทเี่ รียกวา่ รฐั ธรรมนญู
ขอให้นึกย้อนถึงความข้างบนที่พูดถึงการปกครองที่ดีในสมัยที่มีพระราชาว่า
“ธรรมเปน็ ราชา” ของพระราชา คราวนี้ “ธรรมเปน็ ราชา” ของประชาชน
ความที่ว่าตรงน้ี บอกถงึ แกนปัญหาของการปกครอง คอื ก็รูก้ นั อย่เู ป็นธรรมดา
ว่า การปกครองมขี นึ้ เพื่อประโยชนส์ ุขของประชาชน คนทมี่ าปกครอง ก็เพ่อื หา
ทางทำ�ใหป้ ระชาชนอยู่กันดีมสี ขุ เก้ือกูลเปน็ ธรรมแกก่ ัน น่ีคอื ต้องทำ�ตามหลกั
ตามกฎ ตามขอ้ กำ�หนดขอ้ ตกลง ตามมติทจ่ี ะใหไ้ ดผ้ ลแก่ประชาชนอยา่ งน้นั แต่
ก็มบี อ่ ยมเี ร่ือย ทีผ่ ปู้ กครองไมท่ �ำ ตามหลกั ไมร่ ักษากฎกติกา พดู สัน้ ๆ วา่ ไม่
ปกครองโดยธรรม ไม่ว่าไปตามธรรม แต่ทำ�แต่ว่าไปตามความชอบใจหรือไม่
ชอบใจของตน แล้วก็ใชอ้ �ำ นาจตามอำ�เภอใจ
ดว้ ยเหตุน้ี มนษุ ยจ์ ึงดน้ิ รนคน้ หาระบบการปกครองท่จี ะใหม้ ่นั ใจวา่ ผปู้ กครอง
จะท�ำ ตามหลกั การ ตามกฎกติกา วา่ ไปตามธรรม จนไดพ้ บระบบประชาธปิ ไตย
นี้ วา่ มีหลกั ประกันใหม้ ่นั ใจไดม้ ากท่สี ุด วา่ จะมกี ารปกครองโดยท�ำ ตามหลักตาม
ธรรม เปน็ ไปตาม “rule of law” ไมใ่ ช่ปกครองโดยทำ�ตามใจตัวเองท่ีชอบใจ
หรือไมช่ อบใจ
ตรงน้ีแหละ ประโยชนข์ องประชาธิปไตยก็ออกมา โดยเม่อื ประชาชนเปน็ ใหญ่ ก็
ใชม้ ตขิ องประชาชน เอาเสียงสว่ นรวม จัดตั้งวางขอ้ กำ�หนดกฎกติกาข้นึ มาให้
ตรงตามความตอ้ งการของประชาชน ใหม้ ี law ทจ่ี ะใช้ rule ใหเ้ ปน็ rule of law
เหมอื นอยา่ งทพ่ี ระอานนทอ์ ธบิ ายแกว่ สั สการพราหมณ์ มหาเสนาบดขี องมคธรฐั
ใหร้ เู้ ขา้ ใจการปกครองสงั ฆะของพระพุทธเจา้ วา่ เมื่อมเี รื่องราว ทปี่ ระชมุ สงฆ์
กท็ �ำ หนา้ ท่ตี ัดสนิ ความผดิ พระไปตามบทบญั ญัติ (เม่ือวา่ ไปตามความเปน็ กลาง
ด้วยใจว่างบรสิ ทุ ธ)ิ์ น่ันคอื ธรรมพิพากษา ธรรมเป็นผลู้ งโทษ ไมม่ ใี ครตดั สนิ
มใิ ชบ่ ุคคลไหนมาลงโทษ (ที่ประชุมเป็นเพียงทางผ่านของธรรม หรือจะว่าสงฆ์
เปน็ ปากที่ถา่ ยทอดเสยี งของธรรม กไ็ ด)้
ทีนี้ ก็เห็นกันว่า ประชาชนแสนมากมายจะทำ�กิจในการปกครองพร้อมกัน
โดยตรง กไ็ ม่สะดวก ยากทีจ่ ะดำ�เนินไป กเ็ ลยใช้วิธจี ัดกันเป็นหมู่เปน็ กลมุ่ ตกลง
ตั้งตัวแทนมา

152 ตามรอยพุทธธรรม

แตไ่ มว่ า่ จะอยา่ งไรกต็ าม กต็ อ้ งมกี ตกิ าขอ้ ตกลงกนั ไว้ วา่ การใดจะเอาอยา่ งไหน
จะให้ดำ�เนนิ ไปอยา่ งไร เพราะฉะน้ัน ขนั้ แรกกต็ อ้ งให้มีกตกิ า มีกฎ มขี อ้ ตกลง
เปน็ หลกั เป็นธรรม จนถึงเป็นธรรมนูญข้นึ ไว้ ประชาธปิ ไตยก็เป็นอยู่เปน็ ไปได้
ดว้ ยกฎกติกา ท่พี ระเรยี กรวมค�ำ เดียววา่ “ธรรม” นแ่ี หละ (แต่ตอนนี้เปน็ ธรรม
ที่เป็นกฎมนุษย์ เปน็ กฎหมาย เชน่ ในค�ำ ว่า “ธรรมศาสตร”์ ไม่ใชก่ ฎธรรมชาติ
มาดบิ ๆ ตรงๆ)
ระบอบประชาธิปไตยเต็มไปด้วยกฎติกา มีกฎหมายมากมาย แต่ก็ต้องให้กฎ
กติกาประดากฎหมายลงกันบรรจบที่จะส่งผลสมจุดหมายของการปกครองแบบ
ประชาธปิ ไตยนนั้ ก็เลยต้องมีกฎกตกิ าใหญเ่ ปน็ กฎหมายแม่บทแกนกลางข้นึ มา
ท่ีเราเรียกวา่ รฐั ธรรมนญู
ประดากฎหมายเริ่มตั้งแต่รัฐธรรมนูญนี่แหละ จัดตั้งวางรูประบบประชาธิปไตย
ใหอ้ ยู่ตวั เป็นแบบแผนไว้
ส�ำ หรบั การปกครองอยา่ งประชาธปิ ไตยน้ี ถ้าจะพูดกับชาวบา้ นใหเ้ ขา้ ใจง่ายๆ ก็
บอกวา่ ระบบนตี้ ง้ั ไว้ เพื่อกนั ไมใ่ ห้คนทำ�อะไรตามอ�ำ เภอใจ เฉพาะอย่างยง่ิ เพ่ือ
ปดิ ก้นั ไม่ให้บุคคลท่ีมีอำ�นาจตดั สนิ ใจ ทำ�อะไรๆ ตามทตี่ ัวชอบใจและไมช่ อบใจ
ระบบอย่างที่รัฐธรรมนูญจัดตั้งไว้นี้ มิใช่แค่กันคนที่มีอำ�นาจตัดสินใจ หรือผู้
มสี ถานะในการปกครอง ไม่ใหท้ ำ�ตามอ�ำ เภอใจเท่าน้ัน แตร่ ะบบยังเป็นเครื่อง
ปดิ ช่องและกน้ั คนทรามคนรา้ ยไมใ่ หข้ ึ้นมามีบทบาท กันความคดิ ร้ายไมใ่ หอ้ อก
มาทำ�การ เปิดโอกาสให้คนดีมีความสามารถขึ้นมาสร้างสรรค์ขยายประโยชน์
ระบบนั้นท้งั ตีกรอบ กำ�หนด ก�ำ กับ ตลอดจนขีดเส้น ทีจ่ ะให้กจิ การทง้ั หลาย
ก้าวไปด�ำ เนินไปอยา่ งไรๆ
ระบบนั้น ก็มุ่งให้ได้ประโยชน์ที่มุ่งหมาย แถมให้เป็นไปอย่างดีมีประสิทธิภาพ
ท่สี ดุ แต่ในทางปฏิบัตจิ ริง การตกี รอบ และขดี เสน้ เป็นตน้ นน้ั กเ็ สย่ี ง ถา้ คนรา่ ง
วางกฎกติกา สตปิ ญั ญาขาดพร่องไป ก็อาจได้ผลตรงขา้ ม ท�ำ ให้เสยี ประโยชน์ท่ี
ควรได้ หรือแม้แตพ่ าเฉไฉไปผิดทาง
เพราะฉะนน้ั กจ็ งึ ตอ้ งไดบ้ คุ คลแตล่ ว้ นทด่ี มี ปี ญั ญามาเปน็ ผตู้ ง้ั วางและดแู ลรกั ษา
ระบบ โดยเฉพาะรัฐธรรมนญู ที่วา่ เปน็ กฎหมายแมบ่ ทนนั้ กค็ อื กฎกตกิ าสงู สดุ
ที่จัดตั้งระบบกลางรวมของรัฐ หรือของการปกครองประเทศทั้งหมด เป็นที่

ตามรอยพุทธธรรม 153

ตั้งทั้งของสมองและหัวใจของการปกครอง จะต้องจับแน่วที่จุดหมายของรัฐ
หรือของการปกครองประเทศ กลั่นสาระรวมยอดข้อบัญญัติกติกาที่จะมาเป็น
หลักประกันให้การปกครองประเทศทั้งหมด บรรลุจุดหมายของการมีรัฐนั้น
ที่จะให้ประชาชนอยู่กันดีมีสุขเป็นธรรมแก่กัน อย่างที่พูดตามคำ�ประเพณีว่า
เพ่ือประโยชนส์ ขุ ของมหาชนชาวสยาม
ตามเหตผุ ลที่กลา่ วมา ขอ้ บญั ญัตนิ ้อยใหญใ่ นรัฐธรรมนูญ ไมว่ า่ ข้อหน่ึงขอ้ ใด จึง
ส่องไปถึงจุดหมายของรัฐ ซึ่งผู้ตระหนักรู้เข้าใจชัดจะสามารถมองเห็นทะลุ
ทั่วตลอดระบบความสัมพนั ธท์ อ่ี งคป์ ระกอบและเหตุปจั จยั โยงใยถงึ กัน วา่ ความ
ตามขอ้ บญั ญตั นิ น้ั จะสง่ ผลโดยตรงโดยออ้ มไปถงึ ชาวบ้านในไร่นา คนในป่าเขา
ไลไ่ ปตามขอบประเทศ เข้ามาถึงกรรมกร และคนเมอื งคนกรุง ในการท่ีเขาจะ
ดำ�เนนิ ชวี ติ ท�ำ การงานอาชีพ อย่รู ่วมกนั ติดต่อกจิ การงานกนั ท�ำ ใหม้ ีความ
สะดวก หรือขดั ข้อง ได้รบั ความเปน็ ธรรมในระดบั ต่างๆ อย่างไร จนถงึ กจิ การ
สถาบัน องค์กรทั้งหลาย ดำ�เนินกิจการในประเทศก็ตาม สัมพันธ์กับนอก
ประเทศก็ตาม จะมีผลทางหนนุ หรอื ทางหน่วงอย่างไร เหมอื นแพทย์มองตบั ท่ี
ช�ำ รดุ เหน็ ไปถงึ ตาทเ่ี หลอื ง มองท่ีไตโยงไปได้ถงึ เหง่อื ไคลตามขุมขน ตลอดจน
ของนอกกายทนี่ �ำ เข้ามาในตัว มองย้อนขน้ึ ย้อนลง เหน็ สวา่ งทวั่ ถงึ กนั อยา่ งนี้
ถา้ มาวางตงั้ ขอ้ บัญญตั ิ กจ็ ะท�ำ การอยา่ งเปน็ ผู้เข้าถึง
เมือ่ รเู้ ข้าใจสภาพที่เปน็ จริงในสังคมอยแู่ ลว้ ถา้ มปี ัญญาสวา่ งมองเหน็ ทว่ั ตลอด
ระบบความสัมพันธ์อย่างนี้ พอมีเจตนาดีใสสะอาดมุ่งทำ�เพื่อประโยชน์สุขของ
ประชาชนอยา่ งแท้จริงเข้ามารว่ ม กจ็ ะจัดตัง้ บัญญตั ิท่วี างระบบของรัฐใหส้ นอง
จดุ หมายได้สมจริง มใิ ช่เปน็ แคต่ ัวหนงั สือและรปู แบบอย่างหุ่นแห้งไรช้ ีวติ
อย่างไรก็ดี มสี ภาพอย่างหนง่ึ ทซ่ี กุ แทรกเรือ้ รังเรอื่ ยมา เป็นปัญหาระหว่างระบบ
กับคน
เราบอกวา่ ระบบกันคนไมใ่ หท้ �ำ ตามทีช่ อบใจหรอื ไม่ชอบใจ กันคนรา้ ยไมใ่ ห้เขา้
ไม่ใหข้ ้นึ มามีบทบาท และเปิดโอกาสให้คนดขี ้ึนมาท�ำ ประโยชน์
แต่มองอีกด้านหนึ่ง ก็คนนั่นแหละที่ออกแบบจัดตั้งวางระบบ เช่น เขียน
รฐั ธรรมนญู และบรรดากฎหมาย ตอ่ เมื่อคนเหล่านนั้ มปี ัญญาสวา่ งชัด และมี
เจตนาสะอาดตรงตอ่ จดุ หมาย จงึ จะมีหวงั วา่ จะได้ระบบที่สมมุ่งหมาย

154 ตามรอยพุทธธรรม

ทนี ี้ ก็ยากจะไดค้ นทีส่ มบูรณท์ ัง้ ดว้ ยปญั ญาและเจตนามาจดั ตงั้ ระบบ แลว้ ระบบ
ทจ่ี ดั ตงั้ กันมา แมแ้ ต่ท่ีเป็นอยา่ งดี กม็ ีชอ่ งโหว่ กนั คนร้ายไม่ได้มดิ ชิด บางทกี ็
กลับปิดโอกาสบางดา้ นส�ำ หรับการที่ดี ยิ่งกวา่ นน้ั แมจ้ ะบริสุทธใ์ิ จมเี จตนาดี แต่
ปัญญาไม่แจง้ ชัด ไมท่ ัว่ ไมถ่ งึ เวลาตีกรอบ หรือขดี เสน้ ไม่ละเอียดรอบคอบพอ
กลายเปน็ จำ�กดั ขดั ขวางการสรา้ งสรรค์ หรือสง่ ให้ไปในทางทเี่ สอ่ื มทรดุ ลง และท่ี
รา้ ยอย่างยิง่ บางคนรา้ ยทีเ่ ก่งกาจฉลาดเฉไฉ กลับเอาระบบมาใชเ้ ป็นเครอ่ื งมอื
ทำ�การร้ายสนองความตอ้ งการของตนไดผ้ ลท่ใี หญโ่ ต
รวมแลว้ ระบบน้นั จ�ำ เปน็ ต้องพยายามกนั ไป ท่จี ะจัดต้งั ปรับปรงุ ให้ดที ส่ี ดุ แต่
อย่าถึงกับไปฝากความหวังไว้ที่ระบบ จนลืมเรื่องคน เรามักเอาระบบมาจำ�กัด
มาจัดการคน แต่ควรเอาใจใส่ให้มากด้วย ที่จะจัดระบบให้เป็นที่พัฒนาและ
เออ้ื ตอ่ การพฒั นาของคน
ส่วนนอกเหนือระบบ คนจะต้องศึกษาพัฒนากันทุกเวลาเสมอไป ต้องให้คน
มีคุณภาพให้ได้ มิฉะนั้น ประชาธิปไตยจะไม่อาจยั่งยืน อย่างน้อยก็จะเป็น
ประชาธิปไตยอย่างเลว ถ้าเขาวา่ ประชาธิปไตยนนั้ ตามปกติคือเลวน้อยท่ีสดุ อัน
นก้ี ็จะกลายเปน็ เลวมาก
สำ�หรับระบบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน หรือมีผู้แทนนั้น เรื่องคนมี
๒ ช้นั คอื
- ชนั้ แรกทีเ่ ป็นตัวจรงิ ยืนพน้ื ได้แก่ประชาชนน่ันเอง
- ช้ันสอง คอื คนท่ีประชาชนเลอื กตงั้ ใหเ้ ปน็ ตัวแทน
ชน้ั สอง คือตวั แทน หรือผู้แทน ก็มาจากประชาชนน้ันแหละเลอื กขนึ้ ไป จงึ ขึน้
ตอ่ คุณภาพของผูท้ เ่ี ลือกว่ามีปัญญาถึงและทันแค่ไหน แลว้ ก็มเี จตนาใสสะอาด
ดีงาม ม่งุ จะเลือกคนดมี ีปญั ญาไปท�ำ งาน เพอ่ื ความดงี ามและเพื่อคุณประโยชน์
แก่ชีวติ และกิจการสว่ นรวม เพอ่ื สงั คมประเทศชาตหิ รือไม่
ผแู้ ทนน้นั กเ็ ป็นเครื่องพสิ จู นห์ รือฟอ้ งถงึ คณุ ภาพของประชาชนสว่ นนน้ั ๆ น่นั เอง
อยา่ งไรกต็ าม ถา้ ประชาชนดอ้ ยคณุ ภาพ แตผ่ แู้ ทนทไ่ี ดร้ บั เลอื กขน้ึ ไป หรอื เขา้ ไป
เป็นบุคคลที่มีจิตสำ�นึกดี ก็อาจจะหาทางช่วยให้ประชาชนได้มีโอกาสพัฒนา
คณุ ภาพดีข้ึนๆ และตนเองกพ็ ยายามพฒั นาตนใหม้ ีคุณภาพสูง ทง้ั มปี ญั ญาที่
รธู้ รรม และมีเจตนาทีเ่ ปน็ ธรรม

ตามรอยพุทธธรรม 155

ยำ้�วา่ “ธรรม” นั้น ปกตแิ ปลวา่ ความจรงิ ความถกู ต้อง ความดี ความงาม
อนั นเ้ี ปน็ พ้ืนฐาน ยงั พดู กวา้ งๆ แต่เมอื่ พูดเป็นงานเปน็ การ กแ็ ยกแยะกนั หนอ่ ย
ธรรมคอื หลกั แหง่ ความจริง ความถูกต้อง ดงี ามน้ัน ลกึ ลงไปก็คือธรรมดา ท่ี
เปน็ ความจริงของธรรมชาติ หรอื กฎธรรมชาติ ซง่ึ เปน็ ฐานให้มนุษย์มาตั้งวาง
กฎของมนษุ ย์ขนึ้ บ้าง
ไปๆ มาๆ “ธรรม” ก็มีความหมายเปน็ หลัก เปน็ กฎเกณฑ์ มที ั้งกฎธรรมชาติ
เป็น natural law แล้วกม็ กี ฎมนษุ ย์ หรอื กฎหมาย เป็น human law
ถา้ ผแู้ ทน มปี ญั ญารธู้ รรม (รคู้ วามจรงิ ความถกู ตอ้ ง ความดี ความงาม หลกั การ
วชิ า กตกิ า กฎหมาย) และมีเจตนาเปน็ ธรรม (มงุ่ ให้เป็นไปตามธรรมนั้น และ
ตั้งใจให้เกิดประโยชน์สุขตามธรรมนั้น) แล้วก็ยึดถือธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรม
เป็นเกณฑใ์ นการตัดสินใจ นก่ี ค็ อื ผูแ้ ทนนนั้ เปน็ ธรรมาธปิ ไตย
พอผู้แทนที่เป็นธรรมาธิปไตย ไปทำ�งานทำ�การ แม้กระทั่งไปเลือกผู้บริหาร
ประเทศชาตบิ า้ นเมอื ง หรอื แม้แต่ตวั เองไดเ้ ปน็ นายกรฐั มนตรี เป็นรฐั มนตรี เรา
ก็จะได้คณะรัฐบาลที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีปัญญารู้ธรรม มีเจตนาเป็นธรรม
เปน็ ธรรมาธปิ ไตย โดยเอาธรรม เอาหลกั การ เอากตกิ าเปน็ เกณฑใ์ นการตดั สนิ ใจ
ถือกฎหมายเปน็ บรรทัดฐาน ก็เปน็ อนั วา่ มกี ารปกครองโดยธรรม และน่นั คือ
rule of law มาถึงแล้ว
แต่อย่างทพี่ ูดไปแลว้ ในระยะยาว หนไี มพ่ น้ จดุ ต้งั ตน้ และตวั ยืนคือประชาชน
ซึง่ เปน็ ฐานยืนพื้น ถ้าจะใหม้ ่ันใจจริง ก็ต้องใหป้ ระชาชนนแ่ี หละมคี ณุ ภาพ และ
ควรเป็นคณุ ภาพทส่ี งู ดว้ ย เพราะเปน็ ผู้ใช้อำ�นาจตัดสินใจขัน้ ฐานรากและเดด็ ขาด
ในการเลอื กคนทจ่ี ะเป็นผแู้ ทนของตน
ในทส่ี ดุ และเบือ้ งตน้ ทีส่ ุด จึงตอ้ งให้ประชาชนพัฒนาตนใหเ้ ป็นคนทีม่ คี ณุ ภาพ
ให้เป็นคนทมี่ ีปัญญาร้ธู รรม มีเจตนาเป็นธรรม ถอื ธรรมเป็นใหญ่ ตดั สนิ ใจไป
ตามธรรม (จะวา่ ตัดสินใจตามคำ�สัง่ ของธรรมกไ็ ด้) เป็นธรรมาธิปไตย อย่างท่ี
วา่ แลว้
การสนองความต้องการเปน็ เรอ่ื งใหญ่ของมนษุ ย์ และได้พูดแล้วว่า ประชาชน
ยอ่ มรู้ความตอ้ งการของตน เม่อื ประชาชนเป็นใหญ่ ก็ช่วยใหเ้ อาใจใสท่ ่ีจะแก้

156 ตามรอยพุทธธรรม

ปัญหาและแก้ได้ตรงจุด แต่เรื่องนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพ
ของคน
ถ้าคนขาดแคลนปัญญา ในหลายกรณีก็อาจจะไม่รู้เข้าใจความต้องการของตน
ตง้ั แตไ่ ม่รวู้ า่ ตนตอ้ งการอะไรแน่ ความตอ้ งการนั้นถกู ตอ้ ง เป็นคุณเป็นประโยชน์
จริงหรือไม่ (รวมอยู่ในคำ�ว่าเป็นธรรมหรือไม่) บางทีก็เป็นความต้องการที่
เหมอื นกบั เดก็ ทจี่ ะกนิ แต่ขนมหวานทีเ่ ป็นโทษทำ�รา้ ยฟนั ของตวั เอง
ทีนี้ ถ้าความต้องการนั้นไม่เป็นธรรม แล้วตั้งเจตนาจะเอาตามนั้น เจตนาก็ไม่
เป็นธรรม แล้วกไ็ ม่เอาธรรมเปน็ ใหญ่เป็นเกณฑ์ตัดสนิ ใจ ปญั หาก็ตามมา กต็ ้อง
พฒั นาคนให้มีปญั ญารธู้ รรม รถู้ กู รูจ้ ริง ให้มีเจตนาเป็นธรรม และตัดสนิ ใจโดย
ถอื ธรรมเปน็ เกณฑ์ ดงั ทว่ี ่าแลว้
พอประชาชนเปน็ ธรรมาธปิ ไตยแลว้ เขากจ็ ะเลอื กผแู้ ทนทเ่ี ปน็ ธรรมาธปิ ไตย แลว้
กจ็ ะมคี ณะรฐั บาลทเ่ี ปน็ ธรรมาธปิ ไตย แลว้ กจิ การบา้ นเมอื งกเ็ ปน็ ไปตามแนวทาง
ของคนทเ่ี ป็นธรรมาธปิ ไตย ว่ากนั เป็นสายไปตลอดทง้ั หมด
เมื่อคนเป็นธรรมาธิปไตยกันทั่วไป หรือโดยมากแล้ว ระบบการปกครองของ
ประเทศ กเ็ ปน็ ประชาธปิ ไตยได้แน่นอน และเปน็ ประชาธิปไตยชนิดอยา่ งดีด้วย
เปน็ อันวา่ ถา้ ประชาชนเป็นธรรมาธิปไตยแลว้ ก็มัน่ ใจไดเ้ ลยวา่ ประเทศชาติจะ
เป็นประชาธิปไตย
พดู อกี สำ�นวนหน่ึงว่า ถา้ คนเป็นธรรมาธปิ ไตย ระบบก็เปน็ ประชาธิปไตยได้ หรอื
ว่า ระบบประชาธิปไตยจะอยไู่ ด้ ต้องให้คนเป็นธรรมาธปิ ไตย

มปี ระชาชนเปน็ ธรรมาธปิ ไตย คอื หลกั ประกนั ทม่ี น่ั ใจทส่ี ดุ ของระบบประชาธปิ ไตย
ถา้ พฒั นาคนใหเ้ ปน็ ธรรมาธปิ ไตยไมไ่ ด้ ระบบประชาธปิ ไตยกจ็ �ำ เปน็ ตอ้ งลม้ ละลาย
หนีไมพ่ ้น
อยา่ งทว่ี า่ ขา้ งตน้ ไมว่ า่ ในการปกครองระบบใดกต็ าม จะเปน็ สมบรู ณาญาสทิ ธริ าชย์
เป็นอภิชนาธิปไตย เป็นคณาธิปไตย หรืออะไรก็ตาม ถ้าผู้มีอำ�นาจตัดสินใจ
สูงสุด หรือผู้ปกครองเป็นธรรมาธิปไตย ก็เป็นการปกครองที่ดีที่สุดของระบบ
การปกครองน้นั

ตามรอยพุทธธรรม 157

ในระบบประชาธิปไตยก็เช่นเดียวกัน การปกครองระบบประชาธิปไตยที่ไหน
ถ้าประชาชนเป็นธรรมาธิปไตย นั่นก็เป็นประชาธิปไตยที่ดีที่สุด (ในบรรดา
ประชาธปิ ไตยทัง้ หลาย)
ทีนี้ เราบอกวา่ “ในบรรดาระบบการปกครองทั้งหลายทัง้ หมด ประชาธิปไตย
เปน็ ระบบการปกครองทด่ี ีท่ีสุด หรอื เลวนอ้ ยที่สดุ ” ถึงตรงนจี้ งึ ควรพดู ตอ่ ไปให้
ครบวา่ “และในบรรดาการปกครองแบบประชาธปิ ไตยทง้ั หลายทง้ั หมด ประชาธปิ ไตย
ทม่ี ปี ระชาชนเป็นธรรมาธปิ ไตย เปน็ ประชาธิปไตยทดี่ ีทสี่ ดุ ”
อยา่ งไรก็ตาม ในทางยอ้ นกลบั ก็อาจจะตอ้ งพูดดว้ ยว่า “ในบรรดาระบบการ
ปกครองทง้ั หลายทง้ั หมด ประชาธปิ ไตยทป่ี ระชาชนไมเ่ ปน็ ธรรมาธปิ ไตย อาจจะ
กลายเป็นการปกครองที่เละทสี่ ดุ ” (บอกแค่วา่ “เละ” ไมไ่ ดบ้ อกวา่ “เลว”)
เป็นอันว่า ถ้าเราจะยังมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องให้ประชาชน
พฒั นาตนเปน็ ธรรมาธิปไตย

ถ้าจะให้ประชาธิปไตยสมคุณคา่
ต้องใหค้ นมาพูดจาแก้ปญั หากันด้วยปัญญาได้จริง
การพัฒนาคุณภาพคนในดา้ นปญั ญานัน้ ต้องเอาจรงิ เอาจังให้เต็มที่ และทเี่ ปน็
ฐานเป็นแกนก็คือความรู้ ซึ่งไมใ่ ช่เร่อื งที่จะพดู กนั มากทีน่ ่ี แต่มขี ้อทค่ี วรเน้นไว้
อย่างหน่งึ คือเร่ืองความรู้ กับความรู้สึก
มีปัญหาที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในเรื่องนี้ คือการแยกไม่ถูก หรือแม้แต่แยกไม่ออก
ระหวา่ งการปฏิบตั ติ อ่ ความรู้ กับการปฏิบตั ติ อ่ ความร้สู ึก ถงึ กบั ทำ�ใหป้ ดิ กัน้ การ
เผยแพร่ความรู้ แล้วกเ็ ลยเปน็ อุปสรรคต่อการพัฒนาปัญญาตอ่ ไปอกี
ถ้าแยกการปฏบิ ัตติ ่อความรู้ กับการปฏบิ ัติตอ่ ความรสู้ กึ ไม่เป็น ก็เปน็ อปุ สรรค
ต่อการพัฒนาปัญญา ต่อการรู้จักแก้ปัญหา แล้วก็จะเป็นอุปสรรคต่อการ
พฒั นาธรรมาธิปไตย และการพัฒนาประชาธิปไตยอยา่ งยิ่ง
เพ่ือรวบรดั ขอพดู ในเชงิ พฤติกรรมเลย เรอ่ื งนเ้ี ป็นปญั หาทงั้ ผพู้ ูด และผูฟ้ ัง
จะเห็นวา่ คนไม่นอ้ ย พอพดู เรอื่ งที่ไมน่ า่ ชอบใจ หรือเรอื่ งท่ตี นไม่ชอบ ก็จะพดู
โดยแสดงความรสู้ ึกโกรธเคือง หรอื เกลยี ดชงั อย่างทเี่ รยี กวา่ มอี ารมณ์ บางที

158 ตามรอยพุทธธรรม

ก็ถึงกับตัง้ ใจปลกุ เรา้ ความรูส้ ึก (เรียกกนั ว่าอารมณ์) ของผู้ฟัง การพดู อย่างน้ี
เปน็ ไปในทางกอ่ ปญั หา ทำ�ใหเ้ รื่องราวขยายบานออกไป ปญั หามใี นตัวผ้พู ดู คน
หนง่ึ แลว้ กแ็ ผ่ขยายกว้างมากคนออกไป
ทีนี้ทางด้านผู้ฟัง ถ้าผู้พูดแสดงอารมณ์ ก็พลอยมีความรู้สึกร่วมในทางร้าย
ขยายปัญหาอยา่ งทวี่ ่า แต่บางทีเพยี งแค่ไดฟ้ งั เรื่องทไี่ มช่ อบใจ จากแหล่งข้อมลู
ทั่วไป ที่ไม่มีการแสดงความรู้สึกประกอบ ก็เกิดความรู้สึกและแสดงอารมณ์
ออกมา
ทา่ ทีอย่างทีว่ า่ มาน้ี ท�ำ ใหไ้ ม่รูเ้ ขา้ ใจตามเปน็ จรงิ ไม่เปน็ ไปเพ่ือการแก้ปัญหา แต่
ตรงขา้ ม เปน็ การกอ่ หรือขยายปัญหาดังท่กี ลา่ วแล้ว
ทนี ี้ ก้าวตอ่ ไป คงเพราะเหน็ ผูพ้ ูด และผ้ฟู ัง ทีพ่ ดู หรอื ฟงั โดยพ่วงไปกับความ
รสู้ ึกหรือมีอารมณ์อยา่ งนน้ั บางคนคิดไปในด้านทเี่ ป็นปญั หาดังทีว่ ่าแลว้ กเ็ ลย
หันไปมีท่าทีในทางตรงข้าม คือ ห้ามไม่ให้มีการพูดบอกเล่าเรื่องอันไม่เป็นที่
ชอบใจ หรือปดิ ก้ันการเผยแพรบ่ อกเล่าขอ้ มูลความร้ทู ี่จะขดั ใจไม่พอใจ
สองอย่างนี้ เป็นการแล่นไปสุดโต่งสองข้าง แต่รวมแล้วก็มีผลเป็นการปิดกั้น
ความรู้
แบบที่หนง่ึ นั้นเตลดิ ไปกบั ความรู้สึก ทำ�ใหร้ ับความรไู้ ม่ครบไมพ่ อ และเปน็ ความรู้
ที่ถูกเคลือบ ทำ�ให้ไม่รู้เข้าใจตามเป็นจริง ไม่พัฒนาปัญญา และไม่ช่วยให้แก้
ปัญหา
ส่วนแบบทสี่ อง เมื่อปิดก้นั การบอกเลา่ เผยแพร่ความรู้ กไ็ ม่พฒั นาปัญญา และ
ไมช่ ่วยให้แก้ปัญหาไปอกี แบบหน่ึง
ความรู้นั้นจำ�เป็นสำ�หรับปัญญาและการแก้ปัญหา ตลอดถึงว่าต้องใช้ในปฏิบัติ
การทงั้ หลาย และเปน็ สภาวะทีต่ ่างหากจากความรสู้ ึก แยกกนั ไดก้ บั ความร้สู กึ
ความรู้มีตัวตั้ง มีที่ตั้งของมันอยู่ข้างนอกตัวเรา หรือต่างหากจากตัวเรา เป็น
อิสระของมนั ไมว่ า่ เราจะร้มู นั หรอื ไม่ มันกค็ งอยอู่ ย่างนน้ั ถ้าเราไม่ร้มู นั เรา
ก็ขาดข้อมูล ขาดปัญญาที่จะปฏิบัติจัดการต่อมันและต่อเรื่องราวต่างๆ ที่
เกี่ยวข้อง ตลอดถึงการทีจ่ ะแก้ปัญหา

ตามรอยพุทธธรรม 159

สว่ นความรูส้ กึ มีตัวตั้งมที ่ตี ัง้ อยู่ข้างในตัวเราเอง เกิดจากเหตุปัจจยั ในตวั เราเอง
ปรุงแต่งขน้ึ มา มนั จงึ ขึ้นอยู่กับเราที่จะจัดการ จะกำ�จดั หรือเปลีย่ นแปลงอยา่ งไร
กไ็ ด้ ซงึ่ อยู่ท่กี ารพัฒนาตัวเราเอง
ถา้ ปฏบิ ตั ใิ นเรอ่ื งนถ้ี กู ตอ้ ง เรากจ็ ะไดพ้ ฒั นาคนในดา้ นหลกั คอื ดา้ นปญั ญา พรอ้ มกบั
พัฒนาจิตใจไปดว้ ย
เปน็ อนั ว่า ความรเู้ ป็นของจ�ำ เป็น อยา่ งที่วา่ แล้ว มนั มีตวั ต้ังมีทต่ี ง้ั มีสภาวะของ
มันที่เปน็ อสิ ระจากตวั เรา ซงึ่ เราจะตอ้ งรมู้ นั ตามสภาวะของมัน คือตามที่มันเปน็
การที่จะรมู้ นั ตามสภาวะหรือตามท่มี ันเป็นน้นั กต็ อ้ งไมม่ คี วามรู้สึกเชน่ ว่าชอบ
หรอื ชังเขา้ ไปแต้มหรือยอ้ มสี หรือบดิ เบน และอย่างที่บอกแล้ว ความรสู้ ึกมีท่ีตั้ง
มีเหตปุ ัจจัยอย่ใู นตวั เราเอง เราจึงจดั การได้ จะให้มี ใหห้ มดไป หรอื เปลยี่ นไป
อยา่ งอื่นได้ ซง่ึ ขึน้ ต่อการฝกึ ตวั ฝกึ ใจของเราน้ันเอง
ทนี ี้ ในการท่จี ะรูน้ ้นั เรามีวัตถปุ ระสงค์ชัดอย่แู ลว้ คอื หน่งึ เพ่ือจะร้เู ข้าใจ
เรอ่ื งราวตามเปน็ จรงิ คอื ตามทม่ี นั เปน็ ของมนั และ สอง เพอ่ื กา้ วไปสกู่ ารปฏบิ ตั ิ
จัดการในทางท่ีจะแกป้ ญั หา ดังน้นั ในด้านความรู้สกึ เรากต็ ง้ั ท่าทขี องจิตใจใน
การที่จะรับรู้ดว้ ยความเข้าใจ และมุ่งหมายเพอื่ แกป้ ัญหา แม้ในการพูดจาบอก
เล่าข้อมูลความรู้นั้น ก็ตั้งท่าทีของจิตใจเพื่อการสร้างความรู้ความเข้าใจตามที่
มันเปน็ และเพ่อื การแก้ปญั หา พรอ้ มท้ังตง้ั ความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์ ต่อ
โลก และตอ่ กนั
เม่ือมกี ารแสวงและแสดงขอ้ รู้ความรโู้ ดยต้ังท่าทีให้ถกู ตอ้ งอยา่ งน้ีเปน็ ประจ�ำ ก็
จะเป็นการพัฒนาทั้งทางปัญญาและทางจิตใจไปพร้อมกันดังที่ว่ามา และข้อ
สำ�คัญก็คือจะนำ�ไปสู่การแก้ปัญหา และนี่ก็คือปฏิบัติการสำ�คัญอย่างหนึ่งใน
ระบบประชาธปิ ไตย คอื การแกป้ ญั หาด้วยวิธกี ารแห่งปญั ญา ซงึ่ ด�ำ เนนิ ไปโดย
กระบวนการพดู จาหรือเจรจา
โลกมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์มากมาย ความขัดแย้งระหว่างเผ่าชน
ระหวา่ งเช้อื ชาติ ระหวา่ งศาสนา เปน็ ต้น เปน็ เร่อื งท่ไี ม่สามารถหลบพน้ ไปจาก
หูจากตา จำ�เปน็ จะต้องวางท่าทใี ห้ถูก
ดา้ นแรก ต้องหาความรู้ความเขา้ ใจ รเู้ รื่องราวความเปน็ มาใหช้ ัดใหพ้ อ พร้อม
ทั้งเผยแพร่ใหร้ ู้เข้าใจกนั ไปตามเรอื่ งท่ีมันเปน็ ของมันนั้น กับดา้ นทีส่ อง มที า่ ที

160 ตามรอยพุทธธรรม

ของจติ ใจในการทจ่ี ะเขา้ ใจ หรอื แมแ้ ตเ่ หน็ ใจ และลงทา้ ยกจ็ บดว้ ยมงุ่ จะแกป้ ญั หา
ฝึกหัดการพูดจา การเจรจาแก้ปัญหากันด้วยท่าทีอย่างมิตร ที่ต่างก็คิดในทาง
ที่จะแกป้ ญั หาด้วยความรู้ด้วยปญั ญา ด้วยการพูดจาช่วยกนั หาทางดว้ ยกัน
ดว้ ยการพฒั นาในการแสวงแสดงความรู้ และตง้ั วางทา่ ทขี องจติ ใจใหถ้ กู ตอ้ ง กบั ทง้ั
ฝกึ ในการพดู จาเจรจาแบบรว่ มกนั แกป้ ญั หานแ้ี หละ คนกจ็ ะพฒั นา ประชาธปิ ไตย
ก็จะเปน็ จรงิ ได้ และปญั หาในโลกของเหลา่ มนษุ ยก์ ็จะมีทางแกไ้ ข สนั ติสุขก็จงึ จะ
มีทางเปน็ ไปได้
นีก่ ็เลยน�ำ เอาเรือ่ งตวั อยา่ งของการจัดตง้ั ระบบชีวิตและกจิ การของมนษุ ย์ อยา่ ง
อารยชน ที่เป็นอริยวนิ ัย มาพูดเปน็ แนวไว้ พรอ้ มกบั ทลี่ กึ ซอ้ นลงไป กต็ ้องการ
เน้นความสำ�คัญของการศึกษา ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ที่จะมาสานอริยวินัยนั้นให้
เปน็ จรงิ ข้นึ มาได้อกี ที
กข็ อเลา่ ไว้ ซ่งึ กลายเป็นยืดยาวเทา่ นี้

ตามรอยพุทธธรรม 161

162 ตามรอยพุทธธรรม

ตามรอยพุทธธรรม 163

พระผเู้ ปน็ ปราชณ์แท้
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยทุ ธ์ ปยุตโฺ ต)

“ คติชีวติ ทีอ่ าตมายึดประพฤติปฏิบัติมาตลอด คือ บัณฑิตย่อมฝึกตน
คติอีกขอ้ หน่ึง ซ่ึงถอื มาก่อน และตอ่ มาก็ถอื ไว้ดว้ ยกัน
คอื ถา้ จะท�ำ อะไร ก็ตอ้ งพยายามท�ำ ใหส้ �ำ เร็จและทำ�ให้ดีท่ีสุด ”

164 ตามรอยพุทธธรรม

พระพรหมคณุ าภรณ์ (ประยทุ ธ์ ปยตุ โฺ ต) นามเดมิ ประยทุ ธ์ อารยางกรู
เกดิ ทอ่ี �ำ เภอศรปี ระจนั ต์ จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี เมอ่ื วนั ท่ี ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑
บรรพชาเป็นสามเณรเมอื่ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ท่านสอบ
เปรียญธรรม ๙ ประโยคไดใ้ นขณะยังเปน็ สามเณร จึงได้อปุ สมบทใน
พระบรมราชานเุ คราะห์ เปน็ นาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรตั น-
ศาสดาราม โดยได้รบั ฉายาว่า ‘ปยตุ โฺ ต’ (แปลวา่ ประยุกต์ หรือประกอบ
ผูเ้ ชี่ยวชาญวทิ ยาการ) เม่ือวนั ท่ี ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๔

ท่านสอบได้ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จาก
มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั ใน พ.ศ. ๒๕๐๕ และสอบไดว้ ชิ าชุดครู
พ.ม. ใน พ.ศ. ๒๕๐๖ หลังจากส�ำ เร็จการศกึ ษา ท่านดำ�รงตำ�แหนง่ เป็น
อาจารย์ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ และ
ต่อมาเป็นรองเลขาธิการ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๗ ในขณะเดียวกันดำ�รง
สถานะเป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ.
๒๕๑๕ – ๒๕๑๙ อีกท้งั รับนมิ นตบ์ รรยาย ณ University Museum
แหง่ มหาวทิ ยาลัย Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ และ Swarthmore
College สหรฐั อเมรกิ า ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาไดร้ บั แต่งตงั้ เป็น Visit-
ing Scholar และ Research Fellow ณ Divinity Faculty แห่ง
มหาวทิ ยาลัย Harvard สหรฐั อเมริกา

พระเถระผ้ปู ฏิบตั ิดปี ฏบิ ตั ชิ อบ มจี ริยาวัตรอนั งดงาม สงบเยน็ สมบูรณ์
ด้วยศีล มีนิสัยใฝ่รู้อย่างผู้เป็นปราชญ์ มีวิริยะอุตสาหะในบทบาทของ
พระนกั วิชาการ รงั สรรค์งานธรรมนพิ นธเ์ ชิงวชิ าการท่ีใช้เป็นหลกั อา้ งอิง
ในวงการตำ�ราพุทธศาสตร์ไทยมากมาย เฉพาะอย่างยิ่ง พุทธธรรม,
พจนานุกรมพทุ ธศาสน์ ฉบบั ประมวลธรรม และ พจนานกุ รมพุทธศาสน์
ฉบับประมวลศัพท์ ธรรมนิพนธ์หลายเรื่องได้รับการพิมพ์เผยแพร่เป็น
ภาษาต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีธรรมกถาอีกนับพันรายการ ทั้งใน
รูปแบบหนังสือและซีดีธรรมบรรยาย อันเป็นมรดกธรรมทรงคุณค่า
ประหนง่ึ อนสุ าวรยี แ์ หง่ ความพากเพยี ร สะทอ้ นความเปน็ พระนกั วชิ าการ
พุทธศาสน์แห่งยุคสมัย

ตามรอยพุทธธรรม 165

166 ตามรอยพุทธธรรม

ด้วยผลงานทางธรรมนานัปการ ล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อธำ�รงพระพทุ ธ-
ศาสนามาโดยตลอดนี้ ท่านจึงได้รับการประกาศเกียรติคุณ ได้รับการ
ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และตำ�แหน่งเชิดชูเกียรติ จาก
สถาบันทง้ั ในและนอกประเทศกวา่ ๒๐ สถาบัน ตรีปฎิ กจารยก์ ิตตมิ ศกั ดิ์
จากนวนาลันทามหาวิหาร ประเทศอินเดีย และเมธาจารย์ จาก
มหาวิทยาลยั พระพุทธศาสนาโลก เป็นอาทิ ผลแห่งการปฏิบัติงานอยา่ ง
จรงิ จงั และตอ่ เน่ืองในแนวทางการศกึ ษาเพื่อสร้างสันติภาพโลก ยงั ผลให้
ได้รับเลือกให้เป็นพระสงฆ์และคนไทยคนแรก ที่ได้รับรางวัลการศึกษา
เพ่อื สันตภิ าพ จากองค์การยเู นสโก (UNESCO, Prize for Peace Ed-
ucation) เมอื่ วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ท่านไดร้ ับโปรดเกลา้ ฯ แต่งตั้ง
เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อีกหนึ่งงานสำ�คัญของพระเดชพระคุณ คือ
เป็นที่ปรึกษาให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำ�พระไตรปิฎกฉบับ
คอมพวิ เตอรส์ มบรู ณข์ น้ึ เปน็ ฉบบั แรกของโลก เออ้ื ประโยชนใ์ หก้ ารศกึ ษา
หลกั ธรรมในพระไตรปฎิ กเปน็ ไปอยา่ งสะดวก รวดเรว็ แมน่ ย�ำ และสมสมยั

ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ไดก้ อ่ ตั้งวัดญาณเวศกวัน ทต่ี �ำ บลบางกระทึก อ�ำ เภอ
สามพราน จังหวัดนครปฐม มุ่งหมายให้เป็นรมณียสถานร่มรื่นด้วย
ไม้พรรณนานาในอาณาบริเวณ ๒๘ ไร่ บรรยากาศสัปปายะสงบเย็น
เหมาะแก่การแสวงหาและเจรญิ ในธรรม สมดังช่ือ ‘ญาณเวศกวัน’ อัน
หมายถงึ ‘ปา่ ทมี่ เี รอื นแห่งความรู้’ หรอื ‘ป่าของผู้เขา้ สู่ญาณ’ และ
ด�ำ รงสถานะเจ้าอาวาสเรื่อยมาจนถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ ความเป็น
เจ้าอาวาสจงึ สนิ้ สดุ ลง

เนือ่ งด้วยอาการอาพาธ ปัจจบุ ัน พระพรหมคณุ าภรณ์ พกั จ�ำ พรรษาอยู่
ในชนบท เพ่ือฟ้นื ฟูดูแลสขุ ภาพร่างกาย

ตามรอยพุทธธรรม 167

เรื่องเล่ารอบชีวติ วิถีปราชญ์

๏ นกั จดบันทกึ
ทา่ นจะจดบนั ทกึ พวกสถติ ติ า่ งๆ ทเ่ี ราๆ ทา่ นๆ อาจจะมองผ่าน
เลย หรือไมส่ นใจ เช่น บนั ทึกอณุ หภมู ิ กำ�หนดเวลา บนั ทึก
เหตกุ ารณ์ ราคาหนงั สือ แม้แต่จ�ำ นวนคร้งั ท่ใี ชโ้ ทรศัพท์ ระยะ
เวลาทเ่ี ปล่ยี นถ่านไฟ เพ่อื ทจี่ ะไดร้ ูว้ ่าถา่ นยห่ี ้อนี้ยีห่ ้อนั้น ใชท้ น
แค่ไหน ในเวลาเดินทาง ท่านจะจดบันทึกการเดินทางไว้หมด
วา่ ไปทไี่ หน ไปเมื่อใด ไปกับใครบ้าง ไปอยา่ งไร พบเจอสงิ่ ใด
นา่ สนใจ เวลาเทา่ ใด ทา่ นจะจดบนั ทกึ ของทา่ นอยา่ งนเ้ี ปน็ ประจ�ำ

๏ ประหยัดเนื้อท่ี

ทา่ นเจา้ คณุ ฯ มกั จะเขยี นบนั ทกึ หรอื ตน้ ฉบบั ของทา่ นดว้ ยลายมอื
ตัวจว๋ิ ทา่ นเล่าวา่ ตัง้ แต่เปน็ สามเณรเล็กๆ มาแล้ว ท่านจะจด
บทเรียนและบันทึกความรู้ต่างๆ ลงในสมุดนักเรียนชนิดที่มีเส้น
บรรทัด และจะเขียนถึงสี่แถวในหนึ่งบรรทัด ท่านบอกว่าเพื่อ
ประหยดั เนอ้ื ทใ่ี นการเกบ็ สมั ภาระสว่ นตวั เพราะเปน็ พระไมค่ วรใช้
สถานท่มี ากๆ ในการอย่อู าศยั สมุดหนง่ึ เลม่ ของทา่ นจขุ อ้ ความ
ไดม้ ากมาย ไมต่ ้องใช้หลายเลม่ และไม่เปลืองท่ีเกบ็

๏ ตูย้ า

ทา่ นเจ้าคุณฯ จะจดั ตู้ยาอยา่ งเป็นระเบียบ เรียบร้อย เชน่ ยา
จำ�พวกบาล์มสำ�หรับทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย อุปกรณ์ทำ�แผล
ยาใส่แผลไว้พวกหนึ่ง วิตามินไว้พวกหนึ่ง ยาแก้ปวดลดไข้ไว้
พวกหนึ่ง จัดหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ และถ้าเป็นยาที่อาจจะ

168 ตามรอยพุทธธรรม

ต้องใช้นาน จะมีฉลากปิด เขียนบันทึกด้วยลายมือของท่าน
เองว่า เป็นยาอะไร ใครถวาย ถวายเมือ่ ไร เรือ่ งทีน่ ่าสนใจอีก
เรื่องหนึ่ง คือท่านจะศึกษายาทุกขนานที่หมอจัดมาถวายว่า
ยาแต่ละตัวชื่ออะไร มีคุณสมบัติในการรักษาอย่างไร มีผล
ข้างเคียงอะไรบา้ ง ฯลฯ

๏ สอนอย่างไร ทำ�อย่างน้นั

ไมว่ า่ ทา่ นเจา้ คณุ ฯ จะแสดงธรรมในหวั ขอ้ ใด ทา่ นจะศกึ ษาหวั ขอ้
ธรรมน้ันอยา่ งแจม่ แจง้ แลว้ จึงแสดง ไมเ่ พียงแต่เท่านั้น ไม่วา่
ทา่ นจะพดู ถงึ หลกั ธรรมขอ้ ใด ทา่ นจะปฏบิ ตั ติ ามหลกั ธรรมเหลา่ นน้ั
อย่างชัดเจน เหน็ ได้เปน็ รูปธรรม ไม่วา่ จะเปน็ เรอื่ งฉันทะ สันโดษ
พรหมวหิ าร ๔ ฯลฯ

๏ ชวี ติ นีเ้ พือ่ งาน

ทุกครั้งที่ท่านเจ้าคุณฯ มีอาการอาพาธมากๆ บางครั้งจำ�เป็น
ตอ้ งเขา้ รบั การรกั ษาตวั ทโ่ี รงพยาบาล ทา่ นจะตอ้ งสะสางงานดว่ น
ทีค่ ัง่ ค้างอยู่ใหเ้ สร็จสนิ้ เรยี บร้อยก่อน จึงจะยอมเข้าโรงพยาบาล
ไปรับการรกั ษา แมว้ า่ ระหว่างน้ันจะตอ้ งทนทุกข์กับพยาธิสภาพ
ของโรคภัยที่เบียดเบียน เช่น อาการนิ่วในถุงน้ำ�ดี ทำ�ให้ท่าน
รสู้ กึ ทอ้ งอดื ทอ้ งเฟอ้ แนน่ ทอ้ งมาก แตท่ า่ นกใ็ ชข้ นั ตธิ รรม อดทน
ทำ�งานที่ตั้งใจไว้จนเสร็จลุล่วง ถือเอากำ�หนดเข้ารับการผ่าตัด
เป็นตน้ เปน็ ตัวเรง่ งานให้เสร็จก่อน

ตามรอยพุทธธรรม 169

๏ ขอไม่เปน็ ปก

ตามปกติ ท่านเจา้ คุณฯ ไมช่ อบให้เอารปู ของทา่ นไปพมิ พเ์ ป็นปก
หนังสอื โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงหนงั สือทเี่ ป็นผลงานของทา่ น หรือ
เป็นเรื่องของท่าน ดังนั้น หนังสือ วิถีปราชญ์ (ฉบับสมบูรณ์)
ในการพมิ พ์ครัง้ ที่ ๑ เปน็ ฉบับท่มี รี ปู ท่านขนึ้ ปก ท่านจงึ รสู้ กึ ไม่
คอ่ ยดีเทา่ ไร กล่าวแกศ่ ิษย์ผู้เขยี นวา่ “นถี่ า้ รวู้ ่าจะเอารปู อาตมา
ไปข้นึ ปก อาตมาไมอ่ นุญาตแน”่
‘ปราชญ’์ จงึ มใิ ชห่ มายถงึ ผพู้ รอ้ มดว้ ยความรคู้ วามสามารถเพยี งอย่างเดียว หากกอปรด้วยหลัก
เมตตาธรรมเพื่อยังประโยชน์สูงสุดแก่คนหมู่มาก และแม้กระทำ�การใด ใหญ่ยิ่งเพียงใด ก็ยัง
ถ่อมตน ไม่สำ�แดงอาการอันใดอันเป็นการส่งเสริมชื่อเสียง แสดงอัตตา หากยงั ดำ�รงตนอยู่ใน
วิถีแห่งธรรมโดยสนั โดษเสมอมา และตลอดไป *

* บางตอนจาก วิถแี หง่ ปราชญ์: ปฏิปทา จรยิ าวตั ร ของ พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป. อ. ปยตุ ฺโต)
เรยี บเรียงโดย พนติ า องั จันทรเพญ็ . ฉบับพมิ พ์ครง้ั ที่ ๑๐. ธันวาคม ๒๕๕๓.

170 ตามรอยพุทธธรรม

ตามรอยพุทธธรรม 171

172 ตามรอยพุทธธรรม

ชาติภมู ิสถาน ป. อ. ปยตุ โฺ ต

ห้องแถวไม้สองชั้น นิวาสสถานของครอบครัว อารยางกูร
ปัจจบุ นั คอื ชาติภมู สิ ถาน ป. อ. ปยตุ ฺโต พพิ ิธภณั ฑข์ นาดย่อม
ที่ย้อนฉายภาพประวัติความเป็นมา จาก เด็กชายประยุทธ์
อารยางกรู สกู่ ารกา้ วเดนิ บนเสน้ ทางแหง่ เพศบรรพชติ ครองตน
เป็นสงฆ์สาวกผู้เคร่งครัดขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า สืบทอด
คำ�สอนสั่งของพระพุทธองค์ เพื่อธำ�รงพุทธศาสนาให้สาระ
ธรรมคงอยู่ตามแนวเดมิ แห่งอริยมรรค

พ้ืนทช่ี ้ันล่างจำ�ลองบรรยากาศรา้ น “ใบรตั นาคาร” อดตี รา้ นคา้
คหู าเดยี วท่ีจ�ำ หนา่ ยผา้ ทอ ผา้ ไหม ฯลฯ ในตลาดศรีประจนั ต์
ซ่ึงเป็นสถานที่ท่ี พระพรหมคุณาภรณ์ ถอื ก�ำ เนิดและเจริญวัย
โดยรอบจดั แสดงนทิ รรศการชวี ประวตั ิ เรอ่ื งราวแงม่ มุ ตา่ งๆ ใน
ชีวิตของท่านเจ้าคุณฯ ผา่ นศรทั ธาและความทรงจ�ำ ของบุคคล
ใกล้ชิด อีกทั้งรวบรวมหนังสือธรรมะไว้ในมุมหนึ่งของตัวบ้าน
เพื่อให้ผู้มาเยือนที่ใฝ่ในธรรมได้ศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้ยัง
จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้
วิถีชีวิตของคนสมัยก่อนไปพรอ้ มกนั

ตามรอยพุทธธรรม 173

พื้นที่ชั้นบนจัดแสดงนิทรรศการ “วิถีแห่งปราชญ์” ถ่ายทอด
เรอื่ งราวความประทับใจต่างๆ ทป่ี รากฏอยใู่ นหนงั สือ วถิ แี ห่ง-
ปราชญ์ สะท้อนถึงปฏิปทาจริยาวัตรอันควรค่าแก่การดำ�เนิน
ตาม นทิ รรศการจดั แสดงผลงานธรรมนพิ นธ์ท้งั ภาษาไทยและ
ภาษาองั กฤษ ทงั้ ทเี่ ปน็ งานเขียน ผลงานถ่ายทอดบทบรรยาย
และบทสนทนาธรรม กว่า ๓๐๐ ปก มุมหน่ึงจ�ำ ลองห้องเรยี น
ของ “โรงเรยี นบ�ำ รงุ วฒุ ริ าษฎร”์ โรงเรยี นมธั ยมโรงแรกในอ�ำ เภอ
ศรปี ระจนั ต์ ที่ มหาสำ�ราญ อารยางกรู บิดาของทา่ นเจา้ คุณฯ
ริเริ่มขึ้นในบ้านหลังนี้ เพื่อเปิดพื้นที่ทางการศึกษาให้กับเด็กๆ
ในอำ�เภอ ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ซึ่ง
ทา่ นเจ้าคุณฯ กเ็ คยใช้หอ้ งเรยี นน้ี ท�ำ การสอนวชิ าภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ ให้กับเด็กๆ ในละแวกบ้าน

ร่วมย้อนภาพชีวิตที่งามพร้อมของพระผู้เป็นปราชญ์แท้ ณ
บ้านเกิด อำ�เภอศรีประจนั ต์ จงั หวัดสพุ รรณบุรี

174 ตามรอยพุทธธรรม

ชาตภิ มู ิสถาน ป. อ. ปยุตฺโต

ศูนย์ข้อมูลชีวประวัติและผลงานของพระนักปราชญ์ จัดตั้งโดย มูลนิธิ ชาติภูมิ
ป. อ. ปยุตฺโต โดยทุนบริจาคจากคนในท้องถิ่นเป็นสำ�คัญ เพื่อเชิดชูเกียรติแด่
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยตุ ฺโต)

ท่ตี งั้ : เลขที่ ๔๙ หม่ทู ี่ ๓ ตลาดศรปี ระจันต์ ต.ศรีประจนั ต์
อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี โทรศพั ท์ ๐๓๕ ๕๔๘ ๗๒๒
เปิด – ปิด : ๙.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. องั คาร – อาทิตย์
(ปดิ วันจันทร์ วันนกั ขตั ฤกษเ์ ปิดให้เขา้ ชมตามปกต)ิ * ไมเ่ สยี ค่าเข้าชม

www.watnyanaves.net

เว็บไซต์รวบรวมมรดกข้อธรรมคำ�สอนของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
อาทิ ธรรมบรรยาย ธรรมนิพนธ์ จัดไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งหมายให้คนรุ่น
ดจิ ิตอลไดเ้ จริญในธรรม งา่ ยตอ่ การสบื คน้ ศกึ ษาผา่ นไฟล์หนังสอื ฉบบั คอมพวิ เตอร์
และไฟลเ์ สยี งธรรมะบรรยายทส่ี มบรู ณย์ ง่ิ สามารถดาวนโ์ หลดไฟลห์ นงั สอื พทุ ธธรรม
ฉบบั ปรับขยาย และติดตามข่าวสารต่างๆ ของทางวดั ญาณเวศกวนั ไดท้ ี่น่ี

ตามรอยพุทธธรรม 175

ตามรอยพระพุทธเจ้า

176 ตามรอยพุทธธรรม

บรรณานกุ รม

- พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยตุ โฺ ต). พุทธธรรม ฉบบั ปรับขยาย. กรุงเทพฯ: สำ�นักพมิ พ์ผลิธมั ม,์ ๒๕๕๕.
- พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานกุ รมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พส์ หธรรมิก, ๒๕๕๔.
- วิถแี หง่ ปราชญ์ ปฏปิ ทา จรยิ าวัตร ของ พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต). เรียบเรียงโดย พนติ า อังจันทรเพ็ญ.
กรงุ เทพฯ: ส�ำ นักพมิ พ์จนั ทรเ์ พญ็ , ๒๕๕๓.
- กองบรรณาธิการ. “ วถิ แี ห่งปราชญแ์ ท้ พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).” นติ ยสาร ฅ คน. (ธันวาคม ๒๕๕๑)
: ๒๕ - ๗๔.

ตามรอยพุทธธรรม 177

ตามรอยพทุ ธธรรม
หมายเลข ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๗๕๗๔-๐๗-๓
พมิ พค์ ร้งั ท่ี ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕
จำ�นวน ๑๐,๐๐๐ เลม่
สมทบการผลติ เพือ่ กิจกรรมเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนา ๑๐๐ บาท

โดย กองทุนเกอ้ื โลก (ป. อ. ปยตุ โฺ ต)
รว่ มกับ หอจดหมายเหตุ พุทธทาส อินทปญั โญ
สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ถนนนคิ มรถไฟสาย ๒ แขวงจตจุ กั ร เขตจตจุ ักร
กรงุ เทพฯ ๑๐๙๐๐
โทรศพั ท์ ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๐๐ โทรสาร ๐ ๒๙๓๖ ๒๙๐๐

ท่ีปรึกษา :
พระครูธรรมธรครรชติ คุณวฺ โร | พระชยั ยศ พทุ ฺธวิ โร วัดญาณเวศกวนั นครปฐม

ทีมหนังสือ :
นริศรา ตนั ตกิ ำ�เนดิ กุล – บรรณาธกิ าร | ใต้ตน้ ไม้ – กองบรรณาธิการ |
unknownness – ศลิ ปกรรม | รธุ ดพี ร้อม - ภาพประดบั

เออื้ เฟอื้ ภาพประกอบ :
หนา้ ๑๖๔-๑๖๙, ๑๗๑ วัดญาณเวศกวัน | หน้า ๑๒๗ พระชยั ยศ พทุ ธฺ ิวโร |
หนา้ ๑๗๒, ๑๗๔ นติ ยสาร ฅ.คน ฉบบั เดอื นธันวาคม ๒๕๕๑ |
หนา้ ๑๖๖, ๑๖๙, ๑๗๐ มนตรี สาตรสุข | หนา้ ๑๑๒ นรนิ ทร์ ปานประดิษฐ์

พมิ พ์ท่ี
ไทยยูเน่ยี นกราฟฟกิ ส์
โทรศพั ท์ ๐ ๒๘๙๕ ๕๘๖๕-๖

178 ตามรอยพุทธธรรม

ตามรอยพุทธธรรม 179

180 ตามรอยพุทธธรรม


Click to View FlipBook Version