The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

7/2565 เอกสารวิชาการ เรื่อง การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thaipbo.parliament, 2022-05-24 23:43:52

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

7/2565 เอกสารวิชาการ เรื่อง การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณศี ึกษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

ข้อ 6 ให้ “สำนักงานสภาพฒั นาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ
ก.บ.ภ. และหน้าทอ่ี น่ื ๆ ตามท่ี ก.บ.ภ.มอบหมาย

ข้อ 7 ใหแ้ ผนพฒั นาจงั หวัด แผนพฒั นากลุ่มจังหวดั และแผนพฒั นาภาค มรี ะยะเวลาห้าปี
ข้อ 8 เมื่อ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการ
ประจำปขี องจังหวัด และแผนปฏิบตั ิราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดแลว้ เสร็จให้ส่ง “คณะอนกุ รรมการบูรณาการ
นโยบายพฒั นาภาค หรอื (อ.ก.บ.ภ. ภาค) ตามขอ้ 5 วรรคสองพิจารณา กลนั่ กรอง แล้วเสนอ ก.น.จ.พิจารณา
นำเสนอ ก.บ.ภ. ใหค้ วามเห็นชอบต่อไป
ข้อ 9 เมื่อ ก.บ.ภ. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดตามที่ ก.น.จ. เสนอ และคณะรัฐมนตรี
รับทราบแล้ว ให้ ก.บ.ภ. ส่งให้สำนักงบประมาณเพื่อใช้จัดสรรงบประมาณตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย
การบรหิ ารงานจังหวดั และกลุ่มจงั หวดั แบบบูรณาการ พ.ศ. 2551

กล่าวโดยสรุป ภายหลังประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบ
บูรณาการ พ.ศ. 2560 แล้ว ทำให้กระบวนการบริหารงานเชิงพื้นที่มีความครอบคลุมและเชื่อมโยงกัน
ทุกระดับ ตง้ั แต่ระดบั หมูบ่ ้าน ชมุ ชน ตำบล ทอ้ งถิ่น อำเภอ จงั หวัด กลมุ่ จงั หวัด ถึงระดบั ภาค ซึ่งจะต้องมี
กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาในทุกระดับให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีคณะกรรมการ
บูรณาการนโยบายพัฒนาภาค หรือ ก.บ.ภ. เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบาย ให้ความเห็นชอบ
และกำกับควบคุมการจัดทำแผน และงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดอย่างเป็นเอกภาพ จึงทำให้
กระบวนการจดั ทำแผนและงบประมาณของจังหวดั และกลุ่มจงั หวดั เปล่ียนแปลงไปจากเดิม กลา่ วคอื

(1) การกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
แผนพฒั นาภาค แผนปฏิบตั ิราชการประจำปีของจงั หวัด แผนปฏบิ ัติราชการประจำปีของกลมุ่ จงั หวัด ตลอดถึง
การจัดทำและบริหารงบประมาณจังหวัด งบประมาณกลมุ่ จงั หวดั ให้เปน็ อำนาจหน้าที่ของ ก.บ.ภ. แทน ก.น.จ.

(2) ก.บ.ภ. มีอำนาจให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ตามที่ ก.น.จ. เสนอ และคณะรัฐมนตรี
มีอำนาจหน้าทีแ่ ค่รับทราบเท่านนั้

(3) แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดแผนพัฒนาภาค แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ตลอดถึงการจัดทำและบริหารงบประมาณจังหวัด งบประมาณ
กล่มุ จงั หวัด เม่ือ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. จดั ทำเสร็จแล้ว จะต้องให้ อ.ก.บ.ภ.ภาคของแตล่ ะภาคพิจารณากล่นั กรอง
ชั้นหนึ่งก่อน จึงนำเสนอให้ ก.น.จ. พิจาณา กลั่นกรอง ตามอำนาจหน้าที่เป็นชั้นที่สอง จากนั้นจึงนำเสนอ
ให้ ก.บ.ภ. พจิ ารณาใหค้ วามเหน็ ชอบ แล้ว ก.บ.ภ จึงรายงานคณะรัฐมนตรที ราบต่อไป

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผูแ้ ทนราษฎร -29- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณีศกึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

2.6.5 พระราชบัญญัติวธิ กี ารงบประมาณ พ.ศ. 2561

“มาตรา 27 การขอตั้งงบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่า
ราชการจังหวัดที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัดมีหน้าที่รับผิดชอบในการรวบรวมการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายและ
ยื่นต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อเสนอต่อผู้อำนวยการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ผู้อำนวยการ
กำหนด

มาตรา 33 เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การบริหารงบประมาณรายจ่ายตามกฎหมายว่า
ดว้ ยงบประมาณรายจ่ายใหเ้ ป็นไปตามระเบยี บท่ีผอู้ ำนวยการกำหนด”

2.6.6 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำเภอ
และตำบล พ.ศ. 2562

โดยที่มาตรา 53/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 กำหนดให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนา
จังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชน
ในท้องถิ่นในจังหวัด ประกอบกับตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2580 ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการปรับ
สมดุลและพฒั นาระบบบริหารจัดการภาครัฐ ขอ้ 4.2 กำหนดใหภ้ าครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์
เป็นเป้าหมาย และเชื่อมโยงการพัฒนาทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ ทุกพื้นท่ี กระทรวงมหาดไทยจึงได้
กำหนดแนวทางเพื่อบูรณาการ ในการจัดทำแผน และประสานแผนพัฒนาในระดับพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชน
ตำบล และอำเภอให้เกิดความเชื่อมโยงสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด ภาค
และประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่า นำไปสู่ความมั่นคง มั่งค่ัง
ย่ังยืน ซึ่งระเบียบดังกลา่ วมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงแผนพัฒนาและงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
กบั แผนความต้องการในพ้ืนท่ี โดยสรุปดังน้ี

“ข้อ 4 ในระเบยี บน้ี
“แผนความต้องการระดับอำเภอ” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานต่าง ๆ ที่จำเป็น
ต้องดำเนินการในพื้นที่อำเภอในแต่ละปีงบประมาณที่ระบุถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นท่ี
อำเภอและเป็นไปตามลำดับความสำคัญ ที่มาจาก แผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาตำบล
แผนพัฒนาท้องถ่นิ และแผนพัฒนาของสว่ นราชการหรือหนว่ ยงานอน่ื ทด่ี ำเนินการในพ้ืนที่ โดยจดั กลมุ่ ของปัญหา
และความต้องการออกเป็นหมวดหมู่ และส่งไปยังจังหวัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการจัดทำ
แผนพฒั นาจังหวดั และแผนปฏิบัติราชการประจำปขี องจังหวดั หรือแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -30- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณศี กึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบรุ ี)

“แผนปฏิบัติงานประจำปีของอำเภอ” หมายความว่า แผนพัฒนาที่รวบรวมโครงการหรือกิจกรรมของ
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีที่ต้องดำเนนิ การในพื้นท่ีอำเภอ และรายงานให้คณะกรรมการบรหิ ารงานจงั หวดั แบบบรู ณาการทราบ

ขอ้ 13 ให้คณะกรรมการบริหารงานอำเภอแบบบรู ณาการ (ก.บ.อ.) มอี ำนาจหน้าที่ ดงั ตอ่ ไปน้ี
(1) วางแนวทางปฏิบัติและอำนวยการการบริหารงานแบบบูรณาการในอำเภอ รวมทั้งกำหนดกรอบ
แนวทางการปฏิบัติในการประสานแผนพัฒนาพื้นที่ของภาคส่วนต่าง ๆ ให้พื้นที่อำเภอให้เป็นไปตามหลักการ
นโยบายและกฎหมายทีเ่ ก่ียวข้อง
(2) จัดทำแผนพัฒนาอำเภอและแผนความต้องการระดับอำเภอ โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาอำเภอ
การประสานงาน และรวบรวมข้อมูลและความต้องการของประชาชนแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน
แผนพฒั นาตำบล แผนพฒั นาท้องถ่ิน และแผนพัฒนาของสว่ นราชการหรือหน่วยงานอ่นื ที่ดำเนินการในพื้นท่ีอำเภอ
(3) จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีของอำเภอ โดยรวบรวมโครงการหรือกิจกรรมของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีที่ต้องดำเนินการในพื้นที่อำเภอ และรายงานให้คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
(ก.น.จ.) ทราบ
ข้อ 14 ให้ ก.บ.อ.นำกรอบทิศทางการพัฒนาอำเภอ และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมาเป็นแนวทาง
ในการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ และความต้องการระดับอำเภอ โดยกำหนดให้แผนพัฒนาอำเภอมีระยะเวลา
สอดคลอ้ งกับหว้ งเวลาของแผนพัฒนาจังหวดั
ขอ้ 15 ให้ ก.บ.อ. นำแผนพัฒนาอำเภอตามข้อ 14 เสนอผวู้ า่ ราชการจงั หวัดพจิ ารณาให้ความเห็นชอบ
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาอำเภอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ ก.บ.อ.ประกาศใช้
แผนพัฒนาอำเภอ และส่งแผนพัฒนาอำเภอให้หน่วยราชการรัฐวิสาหกิจรวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในพื้นท่ี เพื่อให้ทกุ ภาคส่วนนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาพ้ืนทรี่ ะดบั อำเภอให้เปน็ ไปในทิศทางเดยี วกนั
ข้อ 17 ให้ ก.บ.อ.จัดส่งแผนความต้องการระดับอำเภอ ให้ ก.บ.จ. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็น
ข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดหรือแผนปฏบิ ตั ริ าชการของ
หน่วยงานน้นั ๆ
ขอ้ 24 ใหจ้ ังหวัดจัดทำแผนพฒั นาจงั หวัด และแผนปฏิบตั ริ าชการประจำปีของจังหวดั โดยนำแผนพัฒนา
อำเภอ แผนความต้องการระดับอำเภอ แผนพฒั นาท้องถ่ินระดับจังหวัดมาประกอบจัดทำแผนพัฒนาที่บูรณาการ
ร่วมกัน
ข้อ 27 จังหวัด ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณานำโครงการหรือ
กิจกรรม ที่อยู่ในแผนพัฒนาอำเภอ แผนความต้องการระดับอำเภอ แผนงานโครงการระดับตำบล แผนงาน
หรือโครงการระดบั หมูบ่ ้านหรอื ชมุ ชน ไปประกอบการจัดตัง้ คำของบประมาณ หรือจดั ทำงบประมาณรายจ่าย

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -31- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณศี ึกษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สพุ รรณบุร)ี

ประจำปีตามอำนาจหน้าที่ โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น เนื่องจากเป็นแผนงานโครงการที่ผ่าน
กระบวนการประชาคมของประชาชนในพน้ื ท่ี

ข้อ 31 ให้สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน และกรม
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ติดตามประเมินผลคุณภาพแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาตำบล
แผนพัฒนาท้องถิ่น และแผนพัฒนาอำเภอ เป็นประจำทุกปีเพื่อปรับปรุงคุณภาพกับความต้องการและปัญหา
ของประชาชนในพ้นื ท่”ี

2.6.7 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง
การจัดตง้ั กลุ่มจงั หวดั และกำหนดจังหวัดท่ีเป็นศูนย์ปฏิบตั กิ ารของกลมุ่ จังหวัด (ฉบบั ท่ี 3)

โดยที่มาตรา 26 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
พ.ศ.2551 กำหนดให้ ก.น.จ. พิจารณาจดั ตั้งกลุ่มจังหวัด และกำหนดจงั หวัดท่ีเป็นศูนย์ปฏิบตั ิการของกลุ่มจังหวัด
และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วจึงประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้ผู้ว่า
ราชการจงั หวัดของจังหวัดท่เี ป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดทำหน้าทเี่ ปน็ หัวหน้ากลุ่มจังหวัดน้ัน ประกอบกับ
ตาม ข้อ 5 (6) แห่งระเบียบสำนกั นายกรฐั มนตรวี า่ ด้วยการบริหารงานเชงิ พ้นื ท่ีแบบบูรณาการ พ.ศ. 2560
กำหนดให้ ก.บ.ภ. เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งกลุ่มจังหวัด
และกำหนดจังหวัดท่เี ป็นศูนยป์ ฏิบัตกิ ารของกลุ่มจังหวดั จึงไดม้ ีการหารือรว่ มกันระหว่าง ก.น.จ. กบั ก.บ.ภ.
กำหนดกลมุ่ จังหวัดใหม่ ภายหลงั ประกาศใช้ระเบียบดังกล่าว

ทง้ั นี้ ปจั จบุ ันการจัดตงั้ กลมุ่ จงั หวัด เปน็ ไปตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบรหิ ารงานจังหวัดและ
กลุม่ จงั หวดั แบบบูรณาการ เร่ือง การจดั ต้ังกลมุ่ จงั หวดั และกำหนดจังหวดั ที่เป็นศูนยป์ ฏิบตั ิการของกลุ่มจังหวัด
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 โดยกำหนดจัดตั้งกลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มในพื้นที่ 6 ภาค และกำหนดจังหวัด
ท่ีเป็นศูนย์ปฏบิ ัตกิ ารของกลมุ่ จังหวดั ไวด้ งั ต่อไปนี้

พนื้ ที่ภาคกลาง ประกอบด้วย
(1) กลุม่ จังหวดั ภาคกลางตอนบน ประกอบดว้ ย จงั หวัดชัยนาท จงั หวัดพระนครศรอี ยุธยา จังหวัดลพบรุ ี จงั หวดั
สระบุรี จังหวัดสงิ หบ์ รุ ี และจังหวดั อ่างทอง โดยใหจ้ งั หวัดพระนครศรีอยุธยาเปน็ ศูนย์ปฏบิ ัติการของกลมุ่ จังหวดั
(2) กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม
และจังหวัดสมุทรปราการ โดยให้จังหวัดนครปฐมเปน็ ศูนย์ปฏบิ ัติการของกลุ่มจังหวัด
(3) กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัด
สุพรรณบุรี โดยให้จงั หวดั ราชบรุ เี ปน็ ศนู ยป์ ฏิบัติการของกลุ่มจงั หวดั
(4) กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัด
สมทุ รสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร โดยใหจ้ งั หวัดเพชรบรุ เี ปน็ ศูนยป์ ฏิบตั ิการของกล่มุ จังหวัด

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -32- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

พืน้ ทีภ่ าคใต้ ประกอบดว้ ย
(1) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง
จังหวดั สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา โดยให้จังหวัดสุราษฎร์ธานเี ปน็ ศนู ยป์ ฏิบัติการของกลุ่มจังหวดั
(2) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต
จังหวัดระนอง และจังหวัดสตลู โดยใหจ้ งั หวดั ภูเกต็ เปน็ ศนู ย์ปฏบิ ตั ิการของกลุ่มจงั หวดั
พน้ื ที่ภาคใตช้ ายแดน ประกอบด้วย
(1) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา โดยให้
จังหวัดยะลาเปน็ ศนู ย์ปฏบิ ตั ิการของกลมุ่ จังหวดั
พื้นทภ่ี าคตะวันออก ประกอบด้วย
(1) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
โดยให้จงั หวัดชลบุรเี ปน็ ศนู ยป์ ฏิบัตกิ ารของกลุม่ จังหวดั
(2) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัด
ปราจนี บรุ ี และจังหวัดสระแก้ว โดยใหจ้ ังหวัดปราจนี บุรีเป็นศูนย์ปฏิบตั กิ ารของกลุ่มจังหวัด
พ้นื ทภ่ี าคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ประกอบดว้ ย
(1) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัด
หนองคาย จังหวัดหนองบวั ลำภู และจังหวัดอุดรธานี โดยให้จงั หวดั อดุ รธานเี ปน็ ศูนย์ปฏบิ ัติการของกลุม่ จังหวัด
(2) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร
และจงั หวดั สกลนคร โดยใหจ้ งั หวดั สกลนครเปน็ ศนู ยป์ ฏิบัตกิ ารของกล่มุ จงั หวดั
(3) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดมหาสารคาม และจงั หวัดร้อยเอด็ โดยใหจ้ ังหวดั ขอนแกน่ เป็นศูนย์ปฏบิ ัติการของกลมุ่ จงั หวดั
(4) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา
จงั หวดั บุรีรมั ย์ และจังหวัดสรุ ินทร์ โดยใหจ้ ังหวัดนครราชสีมาเป็นศนู ย์ปฏบิ ัติการของกลุ่มจงั หวดั
(5) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ
จงั หวดั อำนาจเจรญิ และจงั หวัดอุบลราชธานี โดยให้จงั หวดั อุบลราชธานเี ป็นศูนยป์ ฏิบัตกิ ารของกลุ่มจังหวดั
พนื้ ทภ่ี าคเหนือ ประกอบดว้ ย
(1) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลําปาง
และจงั หวัดลำพูน โดยใหจ้ งั หวัดเชียงใหมเ่ ปน็ ศูนย์ปฏบิ ัตกิ ารของกลมุ่ จงั หวดั
(2) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และ
จังหวดั แพร่ โดยใหจ้ ังหวดั เชยี งรายเป็นศูนย์ปฏบิ ตั กิ ารของกลมุ่ จังหวดั
(3) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์
จงั หวดั สุโขทัย และจังหวดั อตุ รดิตถ์ โดยใหจ้ ังหวดั พษิ ณุโลกเปน็ ศูนยป์ ฏบิ ัติการของกลุ่มจังหวดั

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -33- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

(4) กลมุ่ จงั หวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบดว้ ย จงั หวัดกําแพงเพชร จังหวดั นครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร
และจังหวัดอทุ ยั ธานี โดยใหจ้ งั หวดั นครสวรรค์เป็นศูนย์ปฏบิ ัตกิ ารของกลุ่มจงั หวัด

2.7 ข้อมูลเพอื่ การพัฒนาจงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1

กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบรุ ี จังหวัดกาญจนบุรี และ
จังหวัดสุพรรณบรุ ี โดยกำหนดให้จังหวัดราชบุรีเป็นที่ตัง้ ศูนย์ปฏิบัตกิ ารกลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์ประสานงาน
และขับเคลื่อนยทุ ธศาสตร์กลุ่มจังหวัดไปสกู่ ารปฏบิ ัติทีบ่ รรลุผลสมั ฤทธ์ิ กลมุ่ จงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 แต่ละ
จังหวัดเป็นจังหวัดขนาดกลางที่มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน จัดอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกของกรุงเทพฯ
มีสภาพภมู ิประเทศที่มีระบบชลประทานครอบคลุมเกือบทุกพ้ืนท่ี เช่น แมน่ ำ้ ท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำแคว
ไหลผ่าน มีเขอ่ื นศรีนครินทร์และเข่ือนวชิราลงกรณ เป็นแหลง่ กักเก็บน้ำไว้ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เหมาะแก่
การเพาะปลูกพืชและทำการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย ผลไม้ พืชผัก มันสำปะหลัง รวมทั้งเป็นที่ตั้งของ
อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อการส่งออกอย่างครบวงจร และเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยว
หลากหลาย มีแนวเขตชายแดนติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ระยะทางประมาณ 440
กโิ ลเมตร เหมาะแก่การคา้ ชายแดน ทำใหก้ ลุม่ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 จงึ ไดช้ ือ่ ว่า “ดินแดนมหศั จรรย์แห่ง
สายน้ำและขุนเขา” เป็นพื้นท่ีเหมาะแก่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างดี (กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตรก์ ล่มุ
จังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1, 2565, น. 4) ท้งั น้ี กลมุ่ จงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 ไดก้ ำหนดเปา้ หมายการพัฒนา
กลุ่มจังหวัด คือ “ศูนย์กลางการผลิตและการตลาดสินค้าภาคเกษตรอุตสาหกรรมปลอดภัย การท่องเที่ยว
คุณภาพเชิงสร้างสรรค์และการค้าภาคตะวันตก” โดยกำหนดประเด็นการพัฒนา 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็น
การพัฒนาที่ 1 พัฒนาสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และบริการด้วยนวัตกรรมสู่มาตรฐานสากล
ประเด็นการพัฒนาที่ 2 ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ภาคตะวันตก อารยธรรมทวารวดี
ประเด็นการพัฒนาที่ 3 พัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนให้มีศักยภาพ ผลักดันเขต
พัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษ นำไปสูก่ ารกระตนุ้ ให้เกิดการคา้ การลงทุนระหวา่ งประเทศ

จังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา
และเชียงใหม่ พน้ื ทีป่ ระมาณ 12,179,968 ไร่ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า มีทั้งป่าโปร่ง และป่าดงดิบ มีแม่น้ำ
สำคัญสองสายคือ แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง โดยมีความ
อุดมสมบูรณทั้งเขตภูเขาและที่สูง เขตที่ราบลูกฟูก และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีเขื่อนกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการผลิต
กระแสไฟฟ้าของประเทศ 3 เขื่อน คือ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งได้ช่ือว่าเป็นดินแดนมหัศจรรย์
แห่งสายน้ำและขุนเขา และเขื่อนท่าทุ่งนา แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 95 ตำบล 959 หมู่บ้าน
มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 รวมทั้งสิ้น 894,054 คน มีสภาพภูมิประเทศที่มีพื้นที่ที่อยู่ในเขต
ชลประทานครอบคลุมพื้นที่ 12,176,962 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.4 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ในส่วนของวิสัยทัศน์ของ
จังหวัดกาญจนบุรี ตามแผนพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี (พ.ศ. 2561 – 2565) ได้กำหนดไว้ว่า “เมืองน่าอยู่
เกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวคุณภาพ เป็นระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก” โดยกำหนดประเด็นการพัฒนา

สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -34- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณีศึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบรุ )ี

5 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นการพัฒนาที่ 1 เสริมสร้างสังคมเป็นสุข สังคมแห่งการเรียนรู้ ปลอดภัย
และมีสุขภาวะที่ดี ประเดน็ การพัฒนาท่ี 2 เสรมิ สรา้ งเมอื งน่าอยู่ เปน็ มิตรตอ่ สง่ิ แวดล้อม ประเดน็ การพฒั นาท่ี 3
ส่งเสริมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมอย่างครบวงจร ประเด็นการพัฒนาที่ 4 ส่งเสริมการท่องเที่ยวตาม
อัตลักษณ์ และการท่องเที่ยวคุณภาพ และประเด็นการพัฒนาที่ 5 ส่งเสริมการพัฒนาการค้า การลงทุน
เขตเศรษฐกจิ พิเศษ และการคา้ ชายแดน

จังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ราบลุ่มแม่นำ้
แม่กลองสู่ภูเขาสูง มีเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวเป็นแนวพรมแดนไทย-เมียนมา มีพื้นที่ประมาณ
3,247,789 ไร่ โดยพื้นที่ของจังหวัดส่วนใหญ่ ร้อยละ 60 เป็นพื้นที่ราบและราบลุ่ม แบ่งการปกครองออกเป็น
10 อำเภอ 101 ตำบล 977 หม่บู ้าน 69 ชมุ ชน มีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 รวมทั้งส้นิ 868,281 คน
ในส่วนวิสัยทัศน์ของจงั หวดั ราชบุรีตามแผนพัฒนาจังหวดั (พ.ศ. 2561 – 2565) ได้กำหนดไว้ว่า “เมืองเกษตร
สีเขียว เศรษฐกิจมั่นคง สังคมมีความสุข” โดยกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็น
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการเกษตรสีเขียวแบบครบวงจร และเมืองอาหารคุณภาพที่เติบโตอย่างมั่นคงประเด็น
ยทุ ธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความมัง่ คั่งทางเศรษฐกิจการคา้ การบริการการทอ่ งเทีย่ วด้วยนวัตกรรม และบริการ
ที่มีมูลค่าสูง ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพประชาชน และความมั่นคงในคุณภาพชีวิตด้วยหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่สมดุล และใช้ประโยชนอ์ ย่างยง่ั ยืน

จงั หวัดสพุ รรณบุรี ตัง้ อยูใ่ นภาคกลางด้านตะวันตกของประเทศไทย มแี ม่นำ้ สุพรรณบรุ ี หรือ แม่น้ำท่าจีน
ไหลผ่านตามแนวยาวของจงั หวัดจากเหนอื จรดใต้ มีพื้นที่ประมาณ 3,348,755 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญเ่ ปน็ ท่ีราบลุม่
และใช้ทำนาขา้ ว แบง่ เขตการปกครองออกเปน็ 10 อำเภอ 110 ตำบล 1,008 หมู่บา้ น มีประชากร ณ วนั ที่ 31
ธันวาคม 2564 รวมทั้งสิ้น 835,360 คน ในส่วนเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดสุพรรณบุรีตามแผนพัฒนา
จงั หวดั (พ.ศ. 2561 – 2565) ได้กำหนดไวว้ ่า “เมอื งเกษตรกรรมยั่งยนื เศรษฐกจิ เข้มแขง็ คณุ ภาพชีวิตดีสังคม
มีสุข” โดยกำหนดประเด็นการพัฒนาไว้ 4 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นการพัฒนาที่ 1 การเพิ่มศักยภาพ
การผลติ สนิ คา้ เกษตรและอุตสาหกรรมให้ไดม้ าตรฐานเพ่อื การแข่งขันทางการค้าและการพฒั นาทยี่ ่ังยนื ประเด็น
การพัฒนาที่ 2 พัฒนาการท่องเที่ยวและการกีฬา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ประเด็นการพัฒนาที่ 3
การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมควบคู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสู่ความยั่งยืน และประเด็นการพัฒนาที่ 4
การยกระดับคุณภาพชวี ติ ของประชาชน

2.8 งานวิจัยท่ีเก่ยี วขอ้ ง

จิรัฏฐิกา ภานุกรกุล (2563) ได้ศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณและการจัดทำ
แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด กรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) ผลการศึกษา
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณของกลุ่ม
จังหวัดภาคตะวันออก 1 ในด้านกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

สำนกั งานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -35- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณศี ึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

ความพร้อมของบุคลากร และประเด็นการพัฒนา อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และเมื่อเปรียบเทียบความ
คิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 จำแนกตามตัวแปร
สถานทปี่ ฏิบัติงาน พบว่า ในภาพรวมสถานทปี่ ฏบิ ตั งิ านท่ีแตกตา่ งกันมีความคิดเหน็ เกี่ยวกับกระบวนการจัดทำ
แผนและงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า
สถานที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับความเห็นด้วยกับประเด็นความพร้อมของบุคลากร
ทีแ่ ตกต่างกนั อย่างมนี ัยสำคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 โดยจงั หวดั ฉะเชิงเทรามีความเห็นดว้ ยกับประเด็นความพร้อม
ของบุคลากร มากกว่าจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง โดยปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำแผนและ
งบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 พบว่า ระยะเวลาในการจัดทำแผนและงบประมาณมีจำกัด
ประกอบกบั ปัญหาบุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัตงิ าน ส่งผลให้การจัดทำโครงการบางครั้งขาดการ
วิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อให้ได้มาซึ่งแผนงานและโครงการที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความ
ต้องการของประชาชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 โดยผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เห็นว่าในการ
พัฒนาการบริหารงบประมาณและการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ควรให้ความสำคัญกับ
การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ และบรรลุผลสมั ฤทธ์ขิ องพฒั นากลมุ่ จงั หวดั ภาคตะวนั ออก 1

ปราณี เรืองอรุณกิจ (2563) ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของ
จังหวัดสระบุรี ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดสระบุรี ได้ยึดหลักการบริหาร
POLC อันประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การนำ (Leading) และการ
ควบคุม (Controlling) สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัด
สระบุรี คือ จังหวัดสระบุรี มีข้อได้เปรียบในเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ นอกจากนี้ จังหวัดสระบุรีมีผู้ว่าราชการ
จังหวัด ซึ่งเป็นผู้นำที่มีลักษณะโดดเด่น คือ มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้ฟังที่ดี มีความยืดหยุ่น ใช้คนเป็น ทำงานเก่ง
เชี่ยวชาญพื้นที่ มุ่งเน้นผลลัพธ์ในการทำงาน และมีส่วนสำคัญในการดึงศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่นำไปใช้
ในการบริหารงานคลงั และการบริหารราชการแผน่ ดนิ ไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ

สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2564) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง
ความเหลื่อมล้ำของจังหวัดกับการจัดสรรงบประมาณของไทย (ปี 2552-2564) : เศรษฐกิจ สังคม และการ
พัฒนาคน ผลการวิจัยในส่วนท่ีเกี่ยวขอ้ งกับงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดพบว่า ลักษณะการจัดสรร
งบประมาณจังหวัดและกล่มุ จังหวัดมีการกระจกุ ตวั อยูต่ ามหัวเมืองใหญ่ ซง่ึ เปน็ ผลมาจากหลกั เกณฑ์การจัดสรร
งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ให้น้ำหนักการจัดสรรเฉลี่ยเท่ากันทุกจังหวัด นอกจากนี้ยังมีการจัดสรร
ตามผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมกลุ่มจังหวัดอีก จึงทำให้จังหวัดหัวเมืองใหญ่ที่มี
ความเจริญและมีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูง ย่อมได้รับงบประมาณในสัดส่วนที่สูงตามจึงส่งผลต่อสัดส่วน
งบประมาณของจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมขนาดเล็กที่จะได้รับจัดสรรงบประม าณลดลงเหมือนเช่นเดิม
โดยความสัมพันธ์ระหว่างงบประมาณลงพื้นที่จังหวดั (Area) และงบจังหวัดและกลุ่มจังหวดั มีความสัมพันธ์ไป

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -36- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณศี กึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สพุ รรณบรุ )ี

ในทิศทางเดยี วกัน แต่มีความสัมพนั ธน์ ีอ้ ยู่ในระดับทต่ี ่ำ กล่าวคือ งบประมาณลงพื้นทจี่ งั หวดั และงบจงั หวัดและ
กลุ่มจังหวัดอาจจะไม่ค่อยสอดคล้องกันมากนัก ซึ่งไม่สอดคล้องตามหลักการสำคัญของระบบงบประมาณแบบ
มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดให้การดำเนินงานของหน่วยงานต้องบูรณาการทั้งมิติ Agenda มิติ
Function และมิติ Area เข้าด้วยกัน โดยการดำเนินงานต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงระหว่างผู้รับผิดชอบ
ในการดำเนินงาน 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณา
ความสมั พนั ธก์ ับเศรษฐกิจจงั หวดั ผลการวิจัยได้พบว่า งบประมาณจังหวัดและกล่มุ จังหวัดเป็นงบประมาณที่มี
ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดเป็นอย่างยิ่ง โดยงบประมาณจังหวัดมีความสัมพันธ์ในทิศทาง
เดียวกับสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ ซึ่งเป็นข้อมูลบ่งชี้ว่างบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแม้จะมีขนาดเล็กมากแต่กลับมีความสำคญั
กบั ขนาดเศรษฐกจิ จังหวัดมาก

สุพัฒน์ นาครัตน์ (ม.ป.ป.) ได้ทำการวิจยั เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสทิ ธิภาพการจัดทำงบประมาณแบบ
บูรณาการเชิงพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ไม่มีประสิทธิภาพ
เท่าที่ควร ทั้งในเชิงนโยบายและปฏิบัติ โดยปัญหาการจัดทำแผนพัฒนาตั้งแต่ระดับแผนหมู่บ้าน/ชุมชน
แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาพื้นที่ภาค
ต่างมกี ฎหมายเฉพาะและภารกจิ ตามอำนาจหน้าที่ ทำให้กลไกในการจัดทำแผนพัฒนาแตกต่างกัน ไม่ประสาน
สอดคล้องต้องกัน ขาดความชัดเจนในการเชื่อมโยง และประสานแผนในระดับพื้นที่ ปัญหาการจัดทำ
แผนพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ยังไม่มีกลไกให้ผูม้ ีส่วนเกี่ยวข้องในระดับพื้นทีเ่ ข้ามาร่วมพิจารณาจัดทำ ทำให้ขาด
การเชื่อมโยง สอดคล้องและครอบคลุมเพื่อที่จะพัฒนาระดับพื้นที่ ปัญหาเชิงปฏิบัติทั้งในส่วนของส ำนัก
งบประมาณ ในเรื่องการปฏิบัติงานกองจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่ 1-18 การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
การงบประมาณ ระยะเวลาการจัดทำงบประมาณ และปัญหาการปฏิบัติงานของหน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ภายนอก ในเรื่องการจัดทำแผนงานโครงการยังเป็นการดำเนินงานตามภารกิจปกติในลักษณะต่างคนต่างทำ
เกิดความซ้ำซ้อน ขาดการเชื่อมโยงกันในลักษณะตามห่วงโซ่คุณค่า มีการโอนเปลี่ยนแปลงรายการไปด ำเนิน
โครงการท่ีไม่ปรากฏในแผนพัฒนาจังหวดั และกลุม่ จงั หวัด ผู้ทเี่ กย่ี วข้องทุกภาคส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ
และยงั ไม่ให้ความสำคัญกบั การจดั ทำงบประมาณแบบบูรณาการฯ ประกอบกับมีข้อจำกัดด้านระยะเวลา และ
ความชัดเจนในขั้นตอนการปฏิบัติ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาในการบูรณาการงบประมาณระหว่างกระทรวงกับ
จังหวัดหลายประการ ปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เป็นต้น โดยได้มี
ขอ้ เสนอแนะแนวทางการเพมิ่ ประสทิ ธภิ าพการจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ ดงั น้ี

ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบาย
1. การจัดทำแผนพัฒนาทุกระดับ จะต้องมีการบูรณาการงบประมาณทั้งในมิตินโยบายของรัฐบาล มิติ
ภารกิจของส่วนราชการ และมิติพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้การจัดการงบประมาณแบบการมีส่วนร่วม
จากผ้ทู เ่ี ก่ยี วขอ้ งทกุ ภาคสว่ น

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -37- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุรี)

2. การพัฒนาพื้นที่ทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับภาคควรต้องกำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติที่สำคัญ
และตอ้ งให้ความสำคัญกบั การบูรณาการงบประมาณทจ่ี ัดสรรลงในพ้ืนท่ี

ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบตั ิ
1. แนวทางการเพม่ิ ประสิทธิภาพของสำนกั งบประมาณ

1.1 ด้านการปฏิบัติงานกองจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่ 1-18 ต้องกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนให้
กองจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่ 1 - 18 ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ตามแนวระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
โดยเปน็ ราชการส่วนกลางไปปฏบิ ตั ิงานในภูมิภาค

1.2 ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการงบประมาณ
1.2.1 ปรบั ปรงุ ระบบโปรแกรม e-Budgeting ใหม่ เพ่อื ใหเ้ ปน็ เครอื่ งมอื ในการจัดทำงบประมาณ

แบบบูรณาการ เพอ่ื ทำใหไ้ ดข้ อ้ มูลทีถ่ ูกต้อง ทันสมัย และใชง้ านไดท้ ันเวลา
1.2.2 ต้องปรับปรงุ ท้งั ระบบโครงสร้างฐานข้อมูล โครงสรา้ งพ้ืนฐานเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ

ในลักษณะภาพรวมทั้งระบบ ให้รองรับกับการปรับเปลี่ยนนโยบายและกระบวนการจัดทำงบประมาณแบบ
บรู ณาการ และการปฏริ ูปงบประมาณท่ีจะเกิดขึ้นในอนาคตไดอ้ ย่างเหมาะสม

1.3 ด้านระยะเวลาในการจัดทำงบประมาณ ควรมีการปรับระยะเวลาการในการจัดทำงบประมาณ
โดยเฉพาะปฏิทนิ งบประมาณ เพอ่ื ใชเ้ ป็นแผนการจดั ทำงบประมาณทั้งของสำนักงบประมาณและของส่วนราชการ
โดยใหม้ ีช่วงระยะเวลาในการจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการมากขึ้น เพ่ือให้การจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการ
มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปรับระยะเวลาการจัดทำงบประมาณในมิติพื้นที่ให้มีระยะเวลาที่สามารถดำเนินการ
บูรณาการได้ก่อนการจัดทำงบประมาณของส่วนราชการ โดยปรับระยะเวลาการจัดทำงบประมาณให้เร็วข้ึน
และสอดคลอ้ งต้องกนั

2. แนวทางการเพม่ิ ประสทิ ธิภาพของส่วนราชการและหน่วยงานทเี่ กยี่ วข้อง
2.1 ให้มีการบูรณาการงบประมาณในมิติพื้นที่ การจัดทำแผนพัฒนาจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ระดับ

ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน โดยมีความเชื่อมโยงตั้งแต่แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่ม
จังหวัด และแผนพัฒนาภาค โดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นบูรณาการจัดทำงบประมาณ
ร่วมกับจังหวัด /กลุ่มจังหวัด เพื่อลดความซ้ำซ้อนการจัดสรรงบประมาณในพื้นที่มีความสอดคล้องกัน ทั้งน้ี
จะต้องสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศ ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แหง่ ชาติ ฉบบั ที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) และนโยบายรัฐบาล

2.2 ควรมีการกำหนดเป้าหมาย ขอบเขต และเงื่อนไขของแผนงานบูรณาการให้ชัดเจน ต้องมีการ
ร่วมกันคิดร่วมกันทำ โดยกำหนดแผนปฏิบัติงานให้ชัดเจนว่าใคร ทำอะไร อย่างไร โดยให้หน่วยงานเจ้าภาพ
มีอำนาจในการควบคมุ กำกบั ดูแล และควรมีการจัดฝกึ อบรมเชิงปฏบิ ัติการการจัดทำแผนบูรณาการ เพ่ือสร้าง
ความรู้ความเข้าใจร่วมกัน พร้อมจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการจัดทำแผนบูรณาการ เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถ
จดั ทำแผนบรู ณาการในแนวทางเดยี วกนั ลดภารกิจท่ซี ้ำซ้อนกนั

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -38- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ )ี

2.3 กรณีภารกิจที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงาน และแผนงานบูรณาการอื่น ๆ สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติและหน่วยงานทเี่ ก่ยี วข้อง ควรจะพจิ ารณาร่วมกนั เพอ่ื ลดความซ้ำซ้อน
ของงบประมาณที่กระจายอยู่หลายแผนงาน สำหรับเรื่องที่มีหน่วยงานอื่น ๆ ดำเนินการอยู่แล้วไม่ควร
กำหนดให้อยใู่ นภารกจิ ตามแผนงานบูรณาการการส่งเสรมิ การพฒั นาจงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดแบบบรู ณาการ

2.4 ให้มีการจดั ทำแผนการปฏบิ ัติงานและแผนการใชจ้ า่ ยงบประมาณทีช่ ัดเจน ในข้ันตอนการจัดทำคำขอ
งบประมาณ โดยพิจารณาถงึ ความพร้อม ขดี ความสามารถในการใชจ้ า่ ยงบประมาณและแหลง่ เงนิ และสามารถ
ดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ควรมีการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน
และแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้ กรณีแผนงานบูรณาการการส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่ม
จังหวัดแบบบูรณาการทีเ่ กิดปัญหาความล่าช้า กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง สำนักงานการตรวจเงิน
แผ่นดิน ควรร่วมกันชี้แจงปัญหาและเสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องชัดเจน พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจ
กับหนว่ ยงานทีเ่ ก่ยี วข้อง

2.5 การพัฒนาพื้นที่ควรต้องกำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติที่สำคัญ ซึ่งจะทำให้มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง
และเท่าเทียมกัน ต้องให้ความสำคัญกบั การบูรณาการงบประมาณทจี่ ัดสรรลงในพื้นที่ ทั้งท่จี ดั สรรใหก้ ับจงั หวัด
และกลุ่มจังหวัด ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมงบประมาณที่จัดสรรลง
พ้ืนทใ่ี ห้แก่จงั หวัดต่าง ๆ ในทุกมิติและทุกหนว่ ยงาน

2.6 จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในกลุ่มจังหวัดเดียวกันต้องกำหนดเป้าหมายร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตาม
ยุทธศาสตร์ในภาพรวมของกลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์ชาติอย่างแท้จริง เพื่อเป็นแนวทางให้แต่ละจังหวัด
ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ควรจัดสรรงบประมาณในลักษณะแบ่งงบประมาณตามจังหวัด ทั้งน้ี
งบประมาณของจังหวัดและกล่มุ จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นงบประมาณท่ีเปน็ ภารกจิ ประจำของส่วนราชการในพื้นท่ี
(Function) สมควรมีการปรับยุทธศาสตร์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อให้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์และ
นโยบายสำคญั ของรฐั บาล หรอื ดำเนนิ การแกไ้ ขปัญหาเฉพาะหน้าทีเ่ ป็นภารกิจเรง่ ด่วนอยา่ งเป็นรปู ธรรม

2.7 ควรมีการวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ให้ทันตามที่ปฏิทินงบประมาณกำหนดอย่าง
เครง่ ครัด เพื่อไม่ทำใหก้ ารจดั ทำงบประมาณในสว่ นทเ่ี กี่ยวข้องกับหนว่ ยงานอ่นื ๆ ล่าช้าไปด้วย

2.8 หนว่ ยงานท่เี ก่ยี วขอ้ งควรนำยุทธศาสตร์จังหวัดมาเชือ่ มโยงและบูรณาการรว่ มกับองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น และส่วนราชการที่อยู่ในพื้นที่ (Function) และควรมีหน่วยงานบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (OSM :
Office of Strategic Management) ที่มีประสิทธิภาพ โดยหัวหน้ากลุ่มจังหวัดควรคัดเลือกจากบุคลากรที่มี
ศักยภาพ น่าเช่ือถือ มีคุณวุฒิ วัยวุฒิ และประสบการณ์เป็นทีย่ อมรับ

2.9 งบประมาณของกลุ่มจังหวัด ควรบูรณาการรว่ มกันอย่างจริงจัง เพ่ือประโยชน์ในภาพรวม และไม่ควร
นำงบประมาณของกลุ่มจังหวัดไปแบ่งเฉลี่ยกันในกลุ่ม รวมทั้งหน่วยงานภายในจังหวดั ควรแจ้งให้ผู้ว่าราชการ
จังหวดั รับทราบแผนดำเนนิ งาน และงบประมาณในจงั หวดั วา่ มีการจดั สรรลงทไ่ี หนอย่างไรบา้ ง

สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -39- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณศี กึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

2.10 เป้าหมายในการพัฒนากลุ่มจังหวัดอาจมีเป้าหมายร่วมกันได้ แต่ตัวชี้วัดไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
ควรนำจุดแข็งของแต่ละจังหวัดมากำหนด และให้ทุกจังหวัดมุ่งสู่เป้าหมายของแต่ละกลุ่มจังหวัด โดยมุ่งเน้น
ในเรื่องที่ให้ประชาชนได้รบั ประโยชน์สงู สุด มีการประชุมระดมสมองร่วมกันคดิ และร่วมดำเนินงานเพือ่ ประโยชน์
ของทุกจงั หวัดในกลุ่ม

2.11 กิจกรรม และตัวชี้วัดผลสำเร็จที่มีความชัดเจน สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ นโยบาย
สำคัญของรฐั บาล ภารกจิ ของหนว่ ยงาน

2.12 ก่อนเรม่ิ กระบวนการจดั ทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในทุกระดับหน่วยงานที่เก่ียวข้องควรมีการหารือ
เพอื่ กำหนดแนวทางการประสานและบรู ณาการการจดั ทำแผนให้เกิดความเชอื่ มโยงและเป็นเอกภาพ

2.13 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาทุกระดับควรมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพ/จุดเดน่ ของพื้นที่และให้
ความสำคัญกบั การเช่ือมโยงการดำเนินงานให้ครอบคลุมห่วงโซ่คุณคา่ ท้ังในระดับตน้ ทาง กลางทาง และปลายทาง

2.14 ควรกำหนดหลักเกณฑ์การขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่ม
จงั หวดั /ภาคให้ชดั เจนเพอื่ ไม่ใหเ้ กิดความซำ้ ซอ้ นในการเสนอขอรบั การสนับสนนุ งบประมาณของหน่วยงาน

2.15 ในการพิจารณาโครงการทีข่ อรับการสนับสนุนงบประมาณควรให้ความสำคัญกับความพร้อมในการ
ดำเนินงาน กล่าวคือ มีการศึกษาความเป็นไปได้/ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่/มีการจัดทำรายงาน
ผลกระทบส่งิ แวดล้อม (EIA)/ มแี ผนการบรหิ ารจัดการ เป็นต้น

2.16 ควรมกี ารจัดทำระบบข้อมูลภาพรวมความก้าวหน้าการดำเนินโครงการท้ังในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด
และภาค เพื่อใช้ประกอบการพิจารณากำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาและต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างมี
ประสทิ ธิภาพ

2.17 ควรติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามห้วงเวลาที่กำหนดและจัดให้มีการประเมินผล
ทั้งระหว่างการดำเนินงานและเมอื่ ดำเนินงานแล้วเสรจ็

2.18 ควรใหค้ วามรคู้ วามเขา้ ใจในการจัดทำงบประมาณแบบบรู ณาการ โดยควรให้สถาบนั พัฒนาบุคลากร
ดา้ นการงบประมาณ ของสำนกั งบประมาณ จัดทำหลกั สูตรฝึกอบรมเก่ยี วกับการจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการ
เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกประเภท ทุกระดับ ให้มีความรู้ความเข้าใจ และจะต้องเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาช น
และภาคเอกชน ตลอดจนผทู้ ่ีเกย่ี วข้องต้องให้ความสำคัญกับการจดั ทำงบประมาณแบบบรู ณาการ

2.19 การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม ควรต้องสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เสนอแนวความคิดหรือ
ความตอ้ งการท่ีจะใหภ้ าครัฐช่วยเหลอื โดยส่วนราชการต้องให้ความสำคัญกับการมีสว่ นร่วมของประชาชนด้วย
โดยมีการลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาจากประชาชนโดยตรง มีการทำประชาพิจารณ์ในบางเรื่อง
เพื่อให้การดำเนินงานสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนที่แท้จริง และควรต้องวางระบบ
การทำงานทีใ่ ห้ประชาชนเข้ามามสี ่วนร่วมในการจดั ทำงบประมาณเพื่อสำนักงบประมาณจะได้นำมาเป็นข้อมูล
ในการพิจารณาการจดั ทำงบประมาณแบบบูรณาการ

สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -40- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี ึกษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

2.9 กรอบแนวคดิ ในการศกึ ษา
จากการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องข้างต้น คณะผู้ศึกษาได้นำข้อมูลที่เก็บ

รวบรวมได้จากการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และ
ปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1
มาวิเคราะห์และตั้งเป็นคำถามเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์ตามประเด็นที่ต้องการศึกษา ซึ่งสามารถแสดงกรอบ
แนวคิดในการศึกษา ได้ดังแผนภาพท่ี 1

แผนภาพท่ี 1 แสดงกรอบแนวคิดการศึกษา

แนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรม

 ระบบงบประมาณแบบม่งุ เน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
 การจัดการงบประมาณเชิงบูรณาการ (Agenda+ Area+ Function)
 หลกั การและกระบวนการบริหารงานจังหวัด/กล่มุ จงั หวดั แบบบรู ณาการ
 แนวทางการบริหารงบประมาณท่ดี ี (Best Practice)

วเิ คราะห์ & ตั้งประเด็นคาถาม

สัมภาษณเ์ ชิงลกึ

ผลการสัมภาษณ์

ผลการศกึ ษาวิเคราะห์

 การจัดทาแผนพฒั นาและแผนปฏบิ ตั ิราชการประจาปี
 การจดั ทาคาของบประมาณ
 แผนและงบประมาณ
 การบริหารงบประมาณ
 การติดตามผลการดาเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ
 ปญั หาอปุ สรรค

ข้อเสนอแนะและแนวทาง

การเพ่ิมประสทิ ธภิ าพการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร -41- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา



การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณศี ึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

บทที่ 3
วธิ ีดำเนนิ การศกึ ษา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลาง
ตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี) คณะผู้ศึกษาได้กำหนดวิธีดำเนินการศึกษา โดยมีขั้นตอน ดังน้ี

3.1 รปู แบบการศึกษา
3.2 กลุม่ ตัวอย่าง
3.3 เคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการศึกษา
3.4 การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล
3.5 การวเิ คราะหข์ อ้ มูล

3.1 รูปแบบการศึกษา

การศึกษานี้ คณะผู้ศึกษาใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การอภิปราย
บรรยายความหรือพรรณนา (Descriptive Research) เพื่ออธิบายถึงกระบวนการจัดการงบประมาณของ
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง บทบาทของงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการ
ขบั เคลอ่ื นการพัฒนาพื้นทตี่ ามแผนพฒั นาจังหวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 การบรหิ ารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณ และปัญหาอุปสรรคในการดำเนนิ งาน พร้อมทั้ง
จัดทำขอ้ เสนอแนะที่ไดจ้ ากการศึกษาการจัดการงบประมาณของจงั หวัดและกลมุ่ จังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1

3.2 กลมุ่ ตัวอย่าง

คณะผู้ศกึ ษาใชว้ ธิ ีการคดั เลือกกลมุ่ ตวั อย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลอื กศกึ ษาจังหวัด
และกลุม่ จงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 ไดแ้ ก่ จังหวัดกาญจนบุรี จงั หวัดราชบุรี จังหวดั สพุ รรณบุรี และหนว่ ยงาน
ที่เกยี่ วข้องกบั งบประมาณของจังหวดั และกล่มุ จังหวดั จำนวน 7 หนว่ ยงาน ดังนี้

(1) สำนักพัฒนาและส่งเสรมิ การบริหารราชการจังหวดั และสำนักบริหารยทุ ธศาสตรก์ ล่มุ จงั หวดั (OSM)
ภาคกลางตอนลา่ ง 1 สำนกั งานปลัดกระทรวงมหาดไทย

(2) กองยุทธศาสตรแ์ ละประสานการพัฒนาภาค สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ
(3) กองจัดทำงบประมาณเขตพ้ืนที่ 13 (CBO) สำนักงบประมาณ สำนกั นายกรัฐมนตรี
(4) กลุ่มงานยุทธศาสตรแ์ ละข้อมูลเพอื่ การพฒั นาจงั หวดั สำนกั งานจงั หวัดราชบรุ ี
(5) กลมุ่ งานยุทธศาสตร์และขอ้ มลู เพ่อื การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวดั กาญจนบุรี
(6) กลุ่มงานยุทธศาสตร์และขอ้ มลู เพอื่ การพัฒนาจังหวดั สำนกั งานจังหวดั สุพรรณบุรี

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร -42- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณศี กึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สพุ รรณบุร)ี

3.3 เคร่ืองมือทีใ่ ช้ในการศกึ ษา

การดำเนินการศึกษาคร้ังนี้ คณะผู้ศึกษาใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นเครื่องมือ
ในการศกึ ษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสมั ภาษณ์แบบก่ึงโครงสรา้ ง (Semi-Structured
Interview) ซ่งึ เปน็ การสัมภาษณ์แบบผสมผสานระหวา่ งการสัมภาษณ์แบบมโี ครงสร้างและการสัมภาษณ์แบบ
ไม่มีโครงสร้าง โดยการกำหนดโครงสร้างของข้อคำถามที่ต้องการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการซักถาม
รายหน่วยงานด้วยข้อคำถามชุดเดียวกัน และมีการซักถามในประเด็นอื่น ๆ ท่ีนอกเหนือจากข้อคำถาม
สัมภาษณ์ที่กำหนดไว้หากเกิดข้อค้นพบในระหว่างการสัมภาษณ์ที่สามารถตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความหลายหลายและรอบด้านมากขึ้นแต่ ก็คงไว้ซึ่งเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมประเด็น ที่
ดำเนนิ การศึกษา โดยคณะผู้ศึกษาได้กำหนดกรอบของประเดน็ การสัมภาษณ์ แบง่ เปน็ 4 ประเดน็ (รายละเอียด
ปรากฏตามภาคผนวก ข) ดงั นี้

(1) การจดั ทำแผนพัฒนาและแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปี
(2) การจดั ทำคำของบประมาณ
(3) การบรหิ ารงบประมาณ
(4) การตดิ ตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ

3.4 การเก็บรวบรวมขอ้ มลู

คณะผู้ศึกษาได้กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
โดยมีรายละเอยี ดการเก็บรวบรวมข้อมูล ดงั น้ี

3.4.1 ข้อมูลแบบปฐมภูมิ (Primary Sourcing) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก
(In Depth Interview) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ได้แก่ สำนักงานสภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนกั งานปลดั กระทรวงมหาดไทย สำนกั งบประมาณ และหนว่ ยงานดา้ นยทุ ธศาสตร์
จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี
และจังหวัดสุพรรณบรุ ี

3.4.2 ขอ้ มูลแบบทตุ ิยภมู ิ (Secondary Sourcing) เป็นการเกบ็ รวบรวมข้อมลู จากเอกสาร (Documentary
Search) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี เอกสารชี้แจงงบประมาณต่อ
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ หลักเกณฑก์ ารจดั สรรงบประมาณ แผนปฏบิ ตั ิการภาค แผนพฒั นาจังหวัดและกลุ่ม
จังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปี หนังสือ งานวิจัย บทความ สื่ออินเทอร์เน็ต กฎหมาย/กฎ/ระเบียบ/
ประกาศ/คำสงั่ ต่าง ๆ ทีเ่ ก่ียวขอ้ ง

สำนกั งานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร -43- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบุร)ี

3.5 การวิเคราะห์ข้อมลู

การวเิ คราะหข์ ้อมูลในการศกึ ษาเชิงคุณภาพ คณะผ้ศู ึกษาได้แบ่งการวเิ คราะห์ข้อมลู เปน็ 2 สว่ น ดงั น้ี
3.5.1 การวิเคราะห์ข้อมลู จากเอกสาร (Documentary Search)

หลังจากที่ได้ศึกษาวิเคราะห์ กระบวนการจัดการงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบทบาทของงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการขับเคลื่อนการพัฒนา
พื้นที่ตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุม่ จังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 เรียบร้อยแล้ว คณะผู้ศึกษาจะนำข้อมูลที่ได้
รวบรวมไว้มาวเิ คราะห์ ดงั น้ี

(1) นำขอ้ มลู จากเอกสารที่รวบรวมไดม้ าเรยี บเรยี งใหเ้ ป็นระบบ จำแนกและจัดประเภทขอ้ มูล
(2) นำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาเรียบเรียงบรรยาย ด้วยการอภิปราย บรรยายความหรือ
พรรณนา และจัดทำเป็นประเดน็ หรอื ปจั จยั แลว้ ตง้ั เป็นคำถามเพื่อใช้เปน็ กรอบในการสมั ภาษณ์
3.5.2 การวเิ คราะหข์ ้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)
คณะผู้ศึกษาจะวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
(Content Analysis Technique) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้การสรุปผลแบบ Key-
Finding แยกเป็นประเด็นผลการศึกษาที่ค้นพบแล้วนำมาเรียบเรียงบรรยาย ด้วยการนำเสนอผลการศึกษา
ในรูปแบบการอภปิ ราย บรรยายความหรือพรรณนา

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร -44- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา



การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี กึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบรุ ี)

บทที่ 4
ผลการศกึ ษา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัด กรณีศกึ ษา : จงั หวัดและกล่มุ จงั หวัดภาคกลาง
ตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการจัดการ
งบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบทบาทของงบประมาณจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1
รวมทั้งเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ภาคกลางตอนล่าง 1 ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารงบประมาณ นโยบาย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ด้านนโยบาย แผน และงบประมาณของจังหวัดและกลุ่ม
จังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 จำนวน 7 หน่วยงาน โดยแบ่งการนำเสนอผลการศึกษาออกเปน็ 6 ส่วน ดงั น้ี

4.1 การจดั ทำแผนพฒั นาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี
4.2 การจัดทำคำของบประมาณ
4.3 แผนและงบประมาณ
4.4 การบริหารงบประมาณ
4.5 การตดิ ตามผลการดำเนนิ งานและการใช้จา่ ยงบประมาณ
4.6 ปัญหาและอปุ สรรค

โดยมีรายละเอยี ด ดังนี้

4.1 การจัดทำแผนพฒั นาและแผนปฏิบัตริ าชการประจำปี

กล่มุ จงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 และจังหวดั ต่าง ๆ ภายในกลมุ่ ได้ดำเนนิ การตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย
การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การบริหารงานเชิงพื้นที่
ทุกระดบั มีความครอบคลมุ และเชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับหมู่บา้ น ชมุ ชน ตำบล ทอ้ งถิ่น อำเภอ จงั หวดั กลุ่มจังหวัด
และระดับภาค ผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาในทุกระดับให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
จึงได้มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560
แล้วต่อมากระทรวงมหาดไทยก็ได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนและประสาน
แผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำเภอและตำบล พ.ศ. 2562 โดยใช้กระบวนการประชาคมแบบมีส่วนร่วมของ
ทุกภาคส่วน เพื่อให้การจัดทำแผนมีความเช่ือมโยงสอดคล้องกันในทุกระดับเป็นแผนเดียวกัน (One Plan)
จากการศึกษากระบวนการจัดการงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด คณะผู้ศึกษาได้พบประเด็นสำคัญ
ในการจัดทำแผนพฒั นาและแผนปฏิบัตริ าชการประจำปีของจงั หวัดและกลุม่ จงั หวดั ดังน้ี

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -45- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ )ี

4.1.1 กระบวนการและหลกั เกณฑใ์ นการจดั ทำ/ทบทวนแผนพฒั นาจงั หวัดและกลุ่มจังหวดั
การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดจะมีกำหนดห้วงระยะเวลา 5 ปี โดยแต่ละปี
อาจมีการทบทวนแผนพัฒนาดังกล่าวได้ตามความจำเป็น จากนั้นก็จะนำมาเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติ
ราชการ ประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่มีประเด็นและแนวทางการพัฒนา แผนงาน โครงการสำคัญ/
กิจกรรม หรือโครงการอื่น ๆ ที่จะดำเนินการในแต่ละปีเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ซง่ึ การดำเนนิ การจะเปน็ ไปตามนโยบาย หลกั เกณฑ์ และวธิ กี ารจดั ทำแผนพัฒนาจงั หวดั และแผนพัฒนากลุม่ จังหวัด
ทีค่ ณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) มมี ตกิ ำหนด โดยมีกระบวนการและขั้นตอนโดยสรุปดังน้ี
ขั้นตอนที่ 1 นำนโยบายที่ ก.บ.ภ. กำหนด มายึดถือเป็นกรอบในการจัดทำร่างแผนพัฒนาฯ ได้แก่
1.1 ยึดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ นโยบายรัฐบาล รวมทั้งแผนรายสาขา แผนเฉพาะด้านตา่ ง ๆ ที่ผ่านการเห็นชอบ
จากคณะรฐั มนตรีแลว้ และข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เปน็ กรอบการดำเนนิ งานจดั ทำแผน
1.2 ใหค้ วามสำคญั กับแผนพฒั นาภาค เพื่อเป็นแผนชน้ี ำการพัฒนาในภาพรวม
1.3 ใช้กระบวนการประชาคมแบบการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการ
ของประชาชนในพื้นที่ และใช้กระบวนการประสานแผนในพื้นที่ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย
การจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำเภอและตำบล พ.ศ. 2562 เพื่อให้การจัดทำแผน
มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกันในทุกระดับเป็นแผนเดยี วกนั (One Plan)
1.4 การขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด มุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายจากทุก
ภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ (ส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น) ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันกำหนด
แนวทางการพัฒนาทเ่ี หมาะสม
1.5 ไม่ควรมีการปรับปรุงทบทวนแผนพัฒนาทุกปี ให้กระทำได้เฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์
อยา่ งมีนัยสำคญั ต่อการบรรลเุ ปา้ หมายของการพฒั นาจงั หวดั และกลมุ่ จงั หวัด
ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (OSM) และสำนักงานจังหวัดแต่ละจังหวัด
ดำเนนิ การยกรา่ งแผนพัฒนากลุม่ จังหวดั หรือแผนพฒั นาจังหวัด ตามหลกั เกณฑ์และวิธีการ โดยมอี งค์ประกอบ
ของแผนพฒั นาฯ ตามที่ ก.บ.ภ. กำหนด ได้แก่
2.1 ข้อมลู เพื่อการพัฒนา เช่น

(1) ขอ้ มลู พ้นื ฐานทางกายภาพ
(2) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและความมั่นคง ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดลอ้ ม
(3) ประเด็นการพัฒนาและความต้องการเชิงพื้นที่ ทั้งน้ี โดยนำกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคี
การพัฒนาในจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั และกระบวนการประสานแผนระดับต่าง ๆ มาใช้
(4) ผลการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาจังหวดั และกล่มุ จังหวดั ในช่วงที่ผา่ นมา

สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -46- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณศี ึกษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบุรี)

2.2 การกำหนดประเด็นการพฒั นา เป้าหมายและตัวชี้วัด และค่าเปา้ หมายของความสำเร็จในการพัฒนา
ทั้งนี้ ในการกำหนดประเด็นการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะต้องสอดคล้องกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์
บรบิ ท โอกาส ปัญหาและความต้องการของพน้ื ที่ (Area) รวมทงั้ ตอ้ งสอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาระดับชาติ
(Agenda) และทิศทางการพัฒนาภาค ซึ่งมีหัวข้อประกอบด้วย ประเด็นการพัฒนา วัตถุประสงค์ของแต่ละ
ประเด็นการพัฒนา เป้าหมายและตัวชี้วัด แนวทางการพัฒนา แผนงานในแต่ละแนวทางการพัฒนาและโครงการ
สำคัญทจ่ี ะขบั เคลอ่ื นแผนงานเพื่อให้บรรลวุ ตั ถุประสงค์เป้าหมายของการพฒั นาจังหวดั และกลมุ่ จงั หวัด

ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงความตอ้ งการและศักยภาพของพ้ืนที่ ในการกำหนดประเด็นการพัฒนาของจังหวดั
และกลมุ่ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 จังหวัดต่าง ๆ ไดม้ กี ารสำรวจความคดิ เห็นของประชาชนในท้องถน่ิ ในจังหวัด
รวมท้งั ก.บ.จ. ของแต่ละจังหวัดได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการระดบั อำเภอดำเนินการประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ
ในพื้นที่เพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ สำหรับในส่วนของกลุ่มจังหวัด ก.บ.ก. ได้แต่งต้ัง
คณะอนุกรรมการบริหารในแต่ละประเด็นการพัฒนา เพื่อสำรวจรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และจัดทำแนวทาง
แผนงาน โครงการสำคัญ ในการพัฒนาในแตล่ ะประเดน็ การพฒั นา ได้แก่

(1) คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และบริการ
ด้วยนวัตกรรม สมู่ าตรฐานสากล ใหจ้ ังหวัดราชบรุ เี ปน็ เจ้าภาพ

(2) คณะอนุกรรมการด้านศูนย์กลางการท่องเที่ยวคุณภาพเชิงอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ภาคตะวันตก
และอารยธรรมทวารวดี ให้จงั หวดั สพุ รรณบรุ ีเป็นเจา้ ภาพ

(3) คณะอนุกรรมการด้านพัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดนให้มีศักยภาพ ผลักดันเขตพัฒนา
เศรษฐกจิ พเิ ศษนำไปสู่การกระตุน้ ใหเ้ กิดการคา้ การลงทุนระหวา่ งประเทศ ใหจ้ ังหวดั กาญจนบรุ ีเป็นเจ้าภาพ

ขั้นตอนที่ 3 การจดั ใหม้ ีการประชมุ ปรึกษาหารอื เพื่อรบั ฟงั ความคิดเหน็ ของแผนพัฒนาจังหวดั และกลมุ่
จงั หวัดที่ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. จดั ทำแลว้ เสรจ็ ตามมาตรา 19 และมาตรา 27 แห่งพระราชกฤษฎกี าฯ

ทั้งนี้ เพื่อให้แผนพัฒนาจังหวดั และกลุม่ จงั หวัดมีความครบถ้วนสมบรู ณ์ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวดั หรอื
หัวหนา้ กลุม่ จงั หวดั จดั ใหม้ กี ารประชุมรบั ฟงั ความคดิ เหน็ ของบุคคลดงั ต่อไปนี้

(1) หัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัดหรือมีเขตอำนาจหน้าที่ในจังหวัด ไม่ว่า
จะเป็นราชการบรหิ ารสว่ นภูมภิ าคหรือราชการบรหิ ารสว่ นกลาง

(2) หัวหน้าหน่วยงานทีเ่ ป็นรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ บรรดาที่มีสถานทีต่ ั้งทำการอยู่ใน
จังหวัดหรือมเี ขตอำนาจหน้าท่ีในจังหวัด

(3) ผบู้ ริหารองคก์ รปกครองสว่ นท้องถน่ิ ทั้งหมดในจงั หวดั
(4) ผู้แทนภาคประชาสงั คม
(5) ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน
หลังจากนั้น ให้นำผลการประชุมปรึกษาหารือ และความคิดเห็นของที่ประชุมนำเสนอให้ ก.บ.จ. หรือ
ก.บ.ก. มาพจิ ารณาปรบั ปรงุ แผนพัฒนาจังหวดั หรือกลมุ่ จงั หวัดใหสมบรู ณ์ต่อไป

สำนกั งานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -47- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

ขั้นตอนท่ี 4 การจัดส่งแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้หน่วยงานส่วนกลางให้ความ
เหน็ ชอบตามอำนาจหนา้ ท่ี

4.1 ส่งแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่จัดทำแล้วให้สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการ
จังหวัด สำนกั งานปลัดกระทรวงมหาดไทย รวบรวมนำเสนอ อ.ก.บ.ภ. ของแต่ละภาค

4.2 อ.ก.บ.ภ. ของแตล่ ะภาค พจิ ารณา กล่นั กรอง และเสนอกลบั ไปยัง ก.น.จ.
4.3 ก.น.จ. พิจารณากลั่นกรองตามอำนาจหน้าที่อีกชั้นแล้วนำเสนอแผนพัฒนาจังหวัดกลุ่มจังหวัด
ให้ ก.บ.ภ. พจิ ารณาใหค้ วามเห็นชอบ
4.4 ก.บ.ภ. พิจารณาใหค้ วามเหน็ ชอบแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั แล้วรายงานให้คณะรฐั มนตรีทราบ

ทั้งนี้ ในการกำหนด นโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รวมถึง
หลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบตั ิราชการประจำปีและคำของบประมาณของจงั หวัดและกลุ่มจังหวดั เปน็ การประชุม
หารอื ร่วมกันของหน่วยงานบูรณาการกลาง ซงึ่ ประกอบดว้ ย สำนักงานสภาพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
โดยอาศัยข้อมูลการดำเนินงานและผลการจัดสรรงบประมาณที่ผ่านมา หลักเกณฑ์ กติกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึง
นโยบายหรือแนวทางการดำเนินงานที่รัฐบาลกำหนด เมื่อดำเนินการยกร่างเสร็จแล้วจะนำเสนอให้ ก.บ.ภ.
พิจารณาให้ความเห็นชอบ และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ หลังจากนั้น จึงให้กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้
จังหวัดและกลุ่มจังหวัดดำเนินการ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.บ.ภ. กำหนด โดยมีกระบวนการ
ขั้นตอนดำเนินการจัดทำแผนตามที่กำหนดในตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่ ม
จงั หวดั แบบบรู ณาการ พ.ศ. 2551 และปฏิทนิ การจดั ทำแผนฯ ที่กำหนด

4.1.2 กระบวนการและหลกั เกณฑ์ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด คือ การแปลงแผนพัฒนา 5 ปี มาสู่
การปฏิบัติเป็นแผนปฏิบัติงานในแต่ละปี ซึ่งมีกระบวนการขั้นตอนเช่นเดียวกับการจัดทำแผนพัฒนา 5 ปี
โดยจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะนำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมาใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีซึ่งจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และแนวทางการพัฒนาตามแผนพัฒนา
ดังกล่าว ทั้งนี้ ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะดำเนินการเป็นไปตาม
หลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัตริ าชการประจำปี ที่ ก.บ.ภ. มีมติกำหนด แต่อย่างไรก็ตามเน่ืองจากเป็นแผนท่ี
จะเสนอเป็นคำของบประมาณของจงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ดงั นัน้ แผนปฏบิ ตั ริ าชการประจำปีจึงมีเนื้อหามุ่งไป
ทต่ี วั โครงการที่จะขอรบั การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นสำคัญ ก.บ.ภ. จงึ ไดก้ ำหนดหลักเกณฑ์ของ
โครงการที่จะเสนอเป็นคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และมีเงื่อนไขเป็นพิเศษ เรียกว่า
หลักเกณฑ์ DO/DON’T ดงั แผนภาพท่ี 2

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -48- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณีศกึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

แผนภาพท่ี 2 ลกั ษณะโครงการของจังหวัดและกลมุ่ จังหวดั (หลกั เกณฑ์ DO/DON’T)

1. ความสอดคลอ้ งและเช่ือมโยงของแผน 1. ไมเ่ ป็นการจดั ซือ้ วัสดุครุภัณฑเ์ พ่ือแจกจา่ ยแก่ประชาชนโดยตรง
จะต้องสอดคลอ้ งกับแนวทางการพัฒนาภายใตแ้ ผนพฒั นาจังหวัด สำหรับโครงการส่งเสริมและพฒั นาอาชพี จะสนบั สนนุ เฉพาะวสั ดุ
และกลุ่มจังหวัด และเช่อื มโยงตามหว่ งโซค่ ุณคา่ รวมทั้งสนับสนุน ประกอบการฝึกอบรม
การขับเคล่อื นยุทธศาสตรช์ าติ ท้ังน้ี ต้องให้ความสำคญั กับโครงการ 2. โครงการจะตอ้ งไมเ่ ปน็ การจัดซือ้ ครุภณั ฑเ์ พื่อใช้งานตามภารกจิ
สำคญั ทป่ี รากฏในแผนพัฒนาจังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ก่อน ปกติของสว่ นราชการ
2. ความพรอ้ มและความเหมาะสมของโครงการ 3. ไมเ่ ป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการปรบั ปรุง/ซ่อมแซม/ก่อสร้างอาคาร
สถานทแี่ ละระบบสาธารณปู โภคของส่วนราชการ
(1) มีรายละเอียดขอ้ มูลครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่ ก.บ.ภ. 4. โครงการจะตอ้ งไม่มีวัตถุประสงคห์ ลักเกีย่ วกับการศึกษา ฝึกอบรม
กำหนด พ้นื ท่ีมีความพรอ้ ม สามารถดำเนินโครงการไดท้ นั ที ดูงาน เว้นแต่

(2) ต้องดำเนนิ การโดยหนว่ ยงานทีม่ ีภารกิจรบั ผิดชอบโดยตรง (1) ฝึกอบรมดา้ นอาชีพ และดา้ นความมน่ั คง หรือเปน็ ประเด็น
ตามกฎหมาย กรณีท่ีมสี นิ ทรัพย์ท่เี กิดจากการดำเนนิ โครงการ สำคญั ของจงั หวดั และกลุม่ จังหวดั ซึง่ ตอ้ งมกี ารระบไุ ว้ในส่วนของ
ตอ้ งมกี ารตั้งงบประมาณสำหรับบรหิ ารจัดการและบำรุงรกั ษา ประเดน็ ปญั หาและความตอ้ งการเชิงพน้ื ที่ และบทวิเคราะหข์ อง
แผนพัฒนาฯ
(3) ตอ้ งมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ ท้ังดา้ นเทคนิค
กายภาพ งบประมาณ การวเิ คราะหผ์ ลกระทบเชงิ บวกและเชงิ ลบ (2) กลมุ่ เปา้ หมายตอ้ งไม่ใช่เจ้าหน้าทข่ี องรฐั รวมท้ังจะตอ้ งแสดง
และได้รับการอนมุ ัติ/อนญุ าตจากเจา้ ของพ้นื ท่ี เป้าหมาย ขอบเขตการดำเนินงานให้ชดั เจน
5. ตอ้ งไมเ่ ป็นกจิ กรรมย่อย ควรบูรณาการกจิ กรรมประเภทเดียวกัน
(4) มีความค้มุ ค่า หรอื เกี่ยวข้องกนั เข้าดว้ ยกัน
3. สามารถเสนอโครงการท่ตี อ้ งใชร้ ะยะเวลาในการดำเนินการ 6. ตอ้ งไมเ่ ป็นการเดินทางไปต่างประเทศ เวน้ แตเ่ ปน็ กจิ กรรมท่มี ี
ต่อเน่อื งได้ โดยแบง่ ระยะเวลาดำเนนิ การเป็นรายปี (Phasing) ข้อผกู พันกบั กลมุ่ ประชาคมอาเซยี น+3 และต้องรายงานผลการ
พรอ้ มแสดงเหตผุ ลความจำเป็น ดำเนนิ งานวา่ ตอบสนองตอ่ แนวทางการพัฒนาจังหวัด/กลมุ่ จงั หวัด
4. โครงการท่ีมกี ารใช้ระยะเวลาในการดำเนนิ การตอ่ เน่อื ง และแสดงถึงผลลัพธ์ทจี่ ะเกิดขึน้ เป็นประโยชน์กบั พืน้ ทีจ่ ังหวดั
และโครงการท่ีดำเนนิ การเป็นประจำทกุ ปี และกล่มุ จังหวดั โดยจดั ส่งรายงานผลการดำเนินการดงั กล่าวมายัง
ตอ้ งรายงานความสำเรจ็ ของการดำเนินงานท่ผี า่ นมา ฝ่ายเลขานกุ าร ก.บ.ภ. ภายใน 45 วนั หลงั การเดนิ ทาง
5. การจัดลำดับความสำคญั ของโครงการ 7. โครงการตอ้ งไมเ่ ปน็ โครงการขององคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่น
ต้องเสนอโครงการโดยจัดลำดบั ความสำคัญโดยรวมรายโครงการ

ท่ีมา: มติคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) คร้งั ที่ 2/2564 (14 กรกฎาคม 2564)

ทั้งน้ี หลกั เกณฑ์ DO (ควรดำเนินการ) และ DON’T (ไมค่ วรดำเนินการ) ดงั กล่าวน้ี เป็นการหารือร่วมกัน
ระหว่างฝ่ายเลขานุการ ก.บ.ภ. หรือทีมบูรณาการกลาง ประกอบด้วย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งหลักเกณฑ์เหล่านี้เป็นความเห็นพ้องร่วมกันของทั้ง 4 ฝ่ายเลขานุการว่าการกำหนดเกณฑ์ดังกล่าวนี้
จะทำให้ฝ่ายเลขานุการสามารถกลั่นกรองแผนงาน/โครงการบางส่วนที่ไม่น่าจะตอบโจทย์เรื่องของการพัฒนา
พื้นที่และไม่สามารถที่จะช่วยส่งเสริมเรื่องของการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้
โดยเกณฑ์เหล่านี้ได้นำเสนอ อ.ก.บ.ภ. และ ก.บ.จ. เพื่อทราบ ซึ่ง ก.บ.ภ. ได้ให้ความเห็นชอบต่อหลักเกณฑ์ที่
ฝา่ ยเลขานุการเหน็ ชอบร่วมกันทง้ั 4 ฝ่าย

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -49- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

สำหรบั การจัดทำแบบสรุปแผนงานโครงการท่ีจังหวัดและกลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุนจากกระทรวง/กรม
เพื่อดำเนินการใหส้ อดคล้องตามความต้องการของแผนจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (แบบ จ.3 : กรณจี ังหวัด/แบบ กจ.3
: กรณีกลุ่มจังหวัด) จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะเสนอแผนงานโครงการที่มลี ำดับความสำคัญสูงและมีผลกระทบ
(Impact) สูงต่อการพฒั นาจังหวดั และกลุ่มจงั หวดั โดยเสนอแผนงานโครงการได้ไม่เกิน 10 โครงการ พร้อมท้ัง
จัดเรียงลำดับความสำคัญ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ประมวลรวบรวม และประสานแจ้งกระทรวงเพือ่ รับ
ไปพิจารณาบรรจุในแผนปฏิบัติการของกระทรวง/กรม โดยในการปฏิบัติงานจริงน้ัน สำนักงานปลัดกระทรวง
มหาดไทย โดยสำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด ก็ได้มีการจัดทำแบบ จ.3 และแบบ กจ.3
ไปยังกระทรวง/กรม ที่มีภารกิจเก่ียวข้องกบั โครงการสำคัญที่เกินกำลังของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดและมคี วาม
ประสงคข์ อใหก้ ระทรวง/กรม ช่วยบรรจใุ นแผนและนำไปขอรับการจดั สรรงบประมาณตอ่ ไป

เมื่อจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีเสร็จเรียบร้อยแล้ว จังหวัดและกลุ่ม
จังหวัดจะจัดส่งแผนดังกล่าวนี้ ภายในวันที่ 30 กันยายน ของปีที่ดำเนินการจัดทำแผน ให้ทีมบูรณาการกลาง
เพ่อื จัดประชุมหารือและรับฟงั ข้อคดิ เหน็ ของจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด เพือ่ ประกอบการพจิ ารณากล่ันกรองแผน
โดยในขั้นตอนน้ี ทีมบูรณาการกลางจะพิจารณากล่ันกรอง ทั้งแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของ
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด จากนั้น อ.ก.บ.ภ. ท่ีกำกับดูแลภาค จะพิจารณากลั่นกรองแผนฯ แล้วส่งไปยัง ก.บ.ภ.
และ ก.น.จ. พิจารณาให้ความเหน็ ชอบแผนฯ แล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรที ราบ

4.1.3 บทบาทของหนว่ ยงานท่ีเก่ียวข้อง
แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เป็นจุดบรรจบระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ แผนแม่บท
และแนวนโยบายของรัฐบาลจากส่วนกลาง กับสภาพปัญหาและความต้องการในพื้นที่จากภาคีทุกภาคส่วน
ดังนั้น จึงมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบตั ริ าชการประจำปี
ของจังหวัดและกลุ่มจังหวดั ดังนี้
4.1.3.1 กระทรวงมหาดไทย ในฐานะหนว่ ยงานกำกบั ควบคุมการบริหารราชการแผน่ ดนิ ในสว่ นภูมิภาค
และการปกครองท้องที่ทุกระดับ ตั้งแต่กลุ่มจังหวัด จังหวัด อำเภอ ตำบล ลงไปถึงหมู่บ้านและชุมชน รวมถึง
การทำหน้าที่ในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทุกรูปแบบ ดังนั้น การทำงานของกระทรวงมหาดไทย
จึงต้องอาศัยการบูรณาการของทุกภาคส่วนในลักษณะร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมรับผิดชอบ
โดยกลไกของกรมการจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย 7 ภาคี ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ภาคการศึกษา
องค์กรด้านศาสนา ประชาสงั คม และภาคอตุ สาหกรรมการคา้ การลงทนุ
โดยในส่วนของการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีและงบประมาณของจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในฐานะหน่วยงานบูรณาการกลางและ
เป็นหนว่ ยปฏบิ ัตใิ นส่วนภูมิภาค กลา่ วคือ

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -50- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สพุ รรณบรุ )ี

(1) ในฐานะทีมบูรณาการกลาง ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันเป็นกลไก
ในส่วนกลางในรปู คณะกรรมการ ไดแ้ ก่ ก.บ.ภ. อ.ก.บ.ภ.ภาค ทัง้ 6 ภาค และ ก.น.จ. ทำหนา้ ทีก่ ำหนดนโยบาย
หลักเกณฑ์ วิธีการ และพิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการ รวมถึงให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาและ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง
มหาดไทยเข้าไปเปน็ ฝา่ ยเลขานกุ ารร่วมในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ดงั ท่ีกลา่ วมา

(2) ในฐานะสว่ นราชการตน้ สังกดั กำกบั ควบคุมบังคับบัญชาการบรหิ ารงานจงั หวดั ของผูว้ ่าราชการจังหวัด
และหัวหนา้ กลุ่มจังหวดั สำนักงานปลดั กระทรวงมหาดไทยได้ทำหน้าทป่ี ระสานงาน ถ่ายทอดนโยบายการจัดทำ
แผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี มีการประชุม สั่งการ ซักซ้อม สัมมนาและฝึกอบรม เสริมสร้าง
ความเข้าใจ ให้การสนับสนุน อำนวยช่วยเหลือ แก่เจ้าหน้าที่ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการจัดทำแผนฯ
รวมถึงทำหน้าที่รวมรวบแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราขการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ
นำเสนอ ตอ่ อ.ก.บ.ภ.ภาค ของแต่ละภาค พิจารณากล่ันกรองตามอำนาจหน้าที่

(3) ในฐานะหน่วยปฏิบัติจัดทำแผนในระดับพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในคณะกรรมการ
บริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มจังหวัดเป็นประธาน
ในคณะกรรมการบริหารงานกลุม่ จังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) ขณะเดียวกันสำนักงานจังหวัด และกลุ่มงาน
บรหิ ารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวดั (OSM) กเ็ ปน็ หน่วยงานหลักในการยกร่างและจดั ทำแผนพฒั นาและแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจังหวัดและกลุม่ จังหวดั มหี น้าท่จี ัดประชมุ รบั ฟงั ความคิดเห็นต่อรา่ งแผนฯ ตามมาตรา 19
และมาตรา 27 แหง่ พระราชกฤษฎีกาว่าดว้ ยการบริหารงานจังหวัดและกลมุ่ จงั หวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
และนำความคดิ เหน็ ทีไ่ ด้มาดำเนนิ การปรับปรงุ แก้ไขแผนให้สมบูรณต์ ่อไป

4.1.3.2 สำนักงานสภาพฒั นาการเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ
ปัจจุบันการบริหารงานบูรณาการเชิงพื้นที่มีความครอบคลุมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด
และภาค ซึ่งมีกลไกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ก.บ.จ. 76 จังหวัด ก.บ.ก. 18 กลุ่มจังหวัด และ ก.น.จ. ซึ่งมีสำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายการบริหารงานของจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ต่อมาได้มี
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มี ก.บ.ภ.
เป็นองค์กรสูงสุดในการบริหารงานเชิงพื้นที่ ซ่ึงกองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาภาค สำนักงานสภา
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ ก.บ.ภ. ในขณะเดียวกันได้มีการ
แต่งตั้ง อ.ก.บ.ภ.ภาค ประจำภาคต่าง ๆ อีก 6 คณะ เพื่อให้การบริหารงานของจงั หวดั และกลุ่มจังหวัดมีความ
สอดคล้องกับแผนพฒั นาภาคในแตล่ ะพืน้ ที่ ทง้ั นี้ กองยทุ ธศาสตร์และประสานการพฒั นาภาคก็เข้าไปมีบทบาท
ในการดำเนินงานของ อ.ก.บ.ภ.ภาค ด้วยเช่นกัน ซึ่งอำนาจหน้าที่ก็อยู่ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของ ก.บ.ภ.
อ.ก.บ.ภ.ภาค และภารกจิ อนื่ ทไ่ี ดร้ บั มอบหมายจาก ก.บ.ภ.

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -51- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวดั
กรณีศกึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

4.1.3.3 กองจดั ทำงบประมาณเขตพ้ืนที่ สำนักงบประมาณ
โดยปกติการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด สำนักงาน
จังหวดั และกลมุ่ บรหิ ารยทุ ธศาสตรก์ ลุ่มจังหวดั (OSM) จะเป็นหน่วยงานปฏิบตั ิ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์ และ
วิธีการที่ ก.บ.ภ. มมี ตกิ ำหนด โดยดำเนนิ การไปตามข้ันตอนท่ีกำหนดในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงาน
จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดแบบบรู ณาการ พ.ศ. 2551 ระเบยี บสำนกั นายกรฐั มนตรวี ่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นท่ี
แบบบรู ณาการ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดั ทำและประสานแผนการพฒั นาพ้ืนที่
ในระดับอำเภอและตำบล พ.ศ. 2562 โดยผ่านกระบวนการพิจารณากลั่นกรองตามลำดับชั้น เริ่มจาก ก.บ.จ.
หรือ ก.บ.ก. มายัง อ.ก.บ.ภ. ของแต่ภาค ส่งตอ่ ไปยงั ก.น.จ. กระทงั่ มาถึง ก.บ.ภ.ทีจ่ ะพิจารณาให้ความเห็นชอบ
แผนปฏบิ ตั ริ าชการประจำปี แล้วรายงานใหค้ ณะรฐั มนตรีรบั ทราบ จากน้นั สง่ มายงั สำนกั งบประมาณเป็นคำขอ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีของจังหวดั และกลุม่ จังหวดั มาถึงปลายนำ้ จงึ เป็นหนา้ ท่ีของกองจดั ทำงบประมาณ
เขตพืน้ ทแ่ี ตล่ ะเขต ทจี่ ะพจิ ารณาจัดสรรงบประมาณใหต้ ามความจำเป็นและเหมาะสมตามท่ีจงั หวัดกลุ่มจังหวัด
ไดจ้ ัดลำดับความสำคัญมา โดยใชห้ ลกั เกณฑ์ DO/DON'T ของ ก.บ.ภ. ตามท่ีหนว่ ยงานบรู ณาการกลางร่วมกัน
กำหนดเปน็ เครอื่ งมอื ในการพจิ ารณาจดั สรรงบประมาณ
ดังนั้น กองจัดทำงบประมาณเขตพื้นท่ี จึงมิได้มีบทบาทโดยตรงในขั้นตอนการจัดทำแผนฯ ของจังหวัด
และกลุ่มจังหวัด แต่อย่างไรก็ตามในฐานะหน่วยงานเป็นหน่วยงานกลางซึ่งทำหน้าที่จัดทำงบประมาณรายจ่าย
ของประเทศ เม่ือมสี าขาไปประจำในกลมุ่ จังหวดั ในทางปฏบิ ตั จิ ึงได้มีการประสานงานกบั จังหวัดและกลมุ่ จังหวัด
เพือ่ เข้าไปทำความเข้าใจ ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แนะ ในการจัดทำแผนฯ ของจังหวัดกลุ่มจังหวดั หรือบางกรณี
ก็ได้เข้าร่วมประชุมในคณะ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. ตามที่ได้รับการขอความร่วมมือตามที่จังหวัดและกลุ่มจังหวดั
ร้องขอ รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่จริงในการจัดทำโครงการ ให้คำแนะนำในการจัดห่วงโซ่คุณค่าและ
ความเชื่อมโยงสอดคล้องของโครงการ/กิจกรรมที่นำไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์ตามแผนพัฒนาฯ การเข้าร่วม
ในเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาคมในพื้นที่ ซึ่งกระบวนการเข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผน
และงบประมาณจงั หวัดและกล่มุ จงั หวัดต้ังแต่ในข้ันตอนจัดทำแผนฯ กเ็ พ่ือใหก้ ารจดั ทำแผนฯ มคี ุณภาพถูกต้อง
ตามหลักเกณฑ์ท่ีหนว่ ยงานบูรณาการกลางกำหนด และโครงการสำคัญ/กจิ กรรมท่ีบรรจุในแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีที่จะนำมาขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นโครงการที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นท่ี นโยบายสำคัญ
ของรฐั บาล ทศิ ทางการพฒั นาภาค และยทุ ธศาสตร์ระดับชาติ

4.2 การจดั ทำคำของบประมาณ

การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะแตกต่างจ ากหน่วยรับ
งบประมาณอื่น กล่าวคือ นอกจากจะดำเนินการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปตี ามพระราชบัญญตั ิ
วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 แล้ว จังหวัดและกลุ่มจังหวัดก็ต้องดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอน
ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
รวมถึงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 โดยมีกลไก

สำนกั งานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -52- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณีศึกษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบรุ )ี

ท่ีเก่ยี วข้อง 5 องคก์ ร ต้ังแต่ระดับจังหวัด (คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ: ก.บ.จ.) กลุ่มจังหวัด
(คณะกรรมการบริหารงานกลุมจังหวัดแบบบูรณาการ: ก.บ.ก.) ระดับภาค (คณะกรรมการบูรณาการนโยบาย
พัฒนาภาค: ก.บ.ภ.) และระดับประเทศ (คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ มจังหวัดแบบ
บูรณาการ : ก.น.จ.) และคณะรัฐมนตรี ขณะเดียวกันก็มีกระบวนการประสานแผนในระดับพื้นที่จากหมู่บ้าน
ชุมชน ตำบล องค์กรปกครองสว่ นท้องถ่ิน และอำเภอ อกี ด้วย ในสว่ นของการจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย
ประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งแผน
ปฏิบัติราชการประจำปีน้ีจะเสนอเป็นคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อขอรับการจัดสรร
งบประมาณต่อไป จากการศกึ ษาการจดั ทำคำของบประมาณของจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด ผลการศกึ ษาสรุปได้ดังน้ี

4.2.1 การกำหนดกรอบการจดั สรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะเป็นไปตามแนวทางในการกำหนดกรอบการจัดสรร
งบประมาณ ตามมติของ ก.บ.ภ. ดังน้ี
4.2.1.1 กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีในระยะ 5 ปี ได้กำหนดกรอบวงเงนิ ไว้ 28,000 ล้านบาทต่อปี
4.2.1.2 สัดส่วนการจัดสรรงบประมาณ กำหนดเป็น 70:30 จากกรอบงบประมาณจังหวัดและกลุ่ม
จังหวัด จำนวน 28,000 ลา้ นบาท แบง่ เปน็

(1) งบประมาณจังหวัด จำนวน 19,600 ล้านบาท (งบพัฒนาจังหวัด 18,905 ล้านบาท และงบ
บริหารจัดการของจังหวัด 695 ล้านบาท) โดยให้จังหวัดเสนอโครงการไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า แต่ไม่เกิน 2 เท่า
ของกรอบการจัดสรรงบประมาณ หากเสนอเกินกรอบดังกล่าว จะพิจารณาตามลำดับความสำคัญของโครงการ
เฉพาะที่อยู่ในกรอบวงเงินงบประมาณ 2 เท่า เท่านั้น สำหรับองค์ประกอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัด
ประกอบดว้ ย

จัดสรรเฉลยี่ เทา่ กันทกุ จังหวดั (รอ้ ยละ 20)
จดั สรรตามจำนวนประชากรของแตล่ ะจังหวัด (ร้อยละ 20)
จัดสรรตามขนาดพื้นทจี่ ังหวดั (ร้อยละ 5)
จัดสรรตามสัดสว่ นคนจนในแตล่ ะจงั หวัด (รอ้ ยละ 10)
จัดสรรผกผันตามรายไดต้ ่อครัวเรอื น (รอ้ ยละ 25)
จดั สรรตามผลติ ภณั ฑม์ วลรวมจังหวัด (GPP) (ร้อยละ 10)
จดั สรรตามประสทิ ธิภาพการบริหารงบประมาณของจงั หวัด (รอ้ ยละ 10)
(2) งบประมาณกลุ่มจังหวัด จำนวน 8,400 ล้านบาท (งบพัฒนากลุ่มจังหวัด 8,312 ล้านบาท
และงบบริหารจัดการของกลุ่มจังหวัด 88 ล้านบาท) โดยกำหนดสัดส่วนการจัดสรรงบพัฒนากลุ่มจังหวัด
แบ่งออกเป็น 2 สว่ น กำหนดสัดส่วนร้อยละ 50 : 50 ดงั น้ี
(2.1) งบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่เป็นการเพิ่มศักยภาพตาม
ความต้องการรายพ้นื ที่ หรอื แกไ้ ขปญั หาทเ่ี ป็นประเดน็ รว่ มของกลุ่มจังหวดั วงเงนิ งบประมาณ 4,156 ล้านบาท

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -53- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

โดยมีองค์ประกอบในการจัดสรรงบประมาณ ได้แก่ จัดสรรตามขนาดกลุ่มจังหวัด (ร้อยละ 50) จัดสรรตาม
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของกลุ่มจังหวัด (ร้อยละ 25) และจัดสรรผกผันกับผลิตภัณฑ์ต่อหัวของกลุ่มจังหวัด (รอ้ ยละ 25)
โดยกำหนดใหก้ ลุม่ จงั หวดั เสนอโครงการไดไ้ ม่น้อยกว่า 1.5 เทา่ แตไ่ ม่เกิน 2 เทา่ ของกรอบการจดั สรรงบประมาณ

(2.2) งบประมาณเพื่อขับเคล่ือนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่เป็นการพัฒนาในลักษณะ Cluster
หรือตอบสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลเชิงพื้นที่ ระดับกลุ่มจังหวัด วงเงินงบประมาณรวม 4,156 ล้านบาท
โดยไม่มีการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณรายกลุ่มจังหวัด แต่จะพิจารณาเป็นรายโครงการ ทั้งนี้
โครงการที่เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ ต้องเป็นโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ที่มีเงื่อนไข
พิเศษ คือ เป็นโครงการที่สนับสนุนการขบั เคลื่อนประเด็นการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาภาคให้บรรลุเป้าหมาย
การพัฒนาของแต่ละภาค หรือเป็นโครงการท่ีอยู่ในมติการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเปน็ ทางการนอกสถานท่ี
หรือโครงการที่ดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการตรวจราชการในพื้นที่ หรือโครงการท่ี
สนับสนุนการขบั เคลื่อนการพัฒนาตามนโยบายการพัฒนาเชิงพน้ื ท่ีของรฐั บาล

4.2.1.3 งบบริหารจัดการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้จัดสรรรวมอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่แต่
ละจงั หวัดและกลุ่มจังหวดั ได้รับการจัดสรร แบ่งเป็น

(1) กรณีของจงั หวัด จำนวน 695 ลา้ นบาท จัดสรรตามขนาดจังหวัดตามองค์ประกอบ ไดแ้ ก่ จำนวน
อำเภอในจังหวดั (ร้อยละ 40) จำนวนประชากรในจังหวดั (ร้อยละ 30) และขนาดพื้นที่ของจังหวัด (ร้อยละ 30)
โดยจงั หวดั ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จะได้รับจัดสรรงบบรหิ ารจัดการ จำนวน 10 ลา้ นบาท 9 ล้านบาท
และ 8 ล้านบาท ตามลำดบั

(2) กรณีของกลุ่มจังหวัด จำนวน 88 ล้านบาท จัดสรรตามจำนวนจังหวัดในแต่ละกลุ่มจังหวัด
โดยกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวน 3 จังหวัด 4 - 5 จังหวัด และ 6 จังหวัด จะได้รับจัดสรรงบบริหารจัดการ จำนวน
4 ลา้ นบาท 5 ลา้ นบาท และ 6 ลา้ นบาท ตามลำดับ

4.2.2 การพิจารณาคำของบประมาณ
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของงบพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด คือ เป็นงบประมาณเพื่อเติมเต็ม
ความต้องการของพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งจะใช้เพื่อเติมเต็มช่องว่างหรือความขาดแคลนของจังหวัดและกลุม่ จังหวดั
ซึ่งจากการศึกษาในครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาได้พบประเด็นสำคัญในการพิจารณาคำของบประมาณของจังหวัดและ
กลุ่มจงั หวัด ดงั น้ี
(1) การจัดลำดับความสำคัญของโครงการเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด พบว่า ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ ก.บ.ภ. กำหนด
โดยจะให้ความสำคัญกับโครงการที่มีความพร้อม ทั้งด้านกายภาพ พื้นที่ดำเนินการ หน่วยงานท่ีรับผิดชอบ
ซ่ึงสามารถดำเนินงานไดใ้ นทันทีท่ีไดร้ ับการจดั สรรงบประมาณ
(2) การพจิ ารณากลนั่ กรองคำของบประมาณเพื่อจัดสรรงบประมาณ กองจัดทำงบประมาณเขตพ้นื ที่ 13
จะแบ่งความรับผิดชอบสรุปตามแบบของ จ. 3 และ ก.จ. 3 โดยเรียงลำดับโครงการตามยุทธศาสตร์ของจังหวดั

สำนกั งานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -54- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี ึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สพุ รรณบุร)ี

และก็ได้ยึดตามหลักเกณฑ์ DO/DON'T โดยจะตัดโครงการที่ห้ามมิให้ทำออกทั้งหมดก่อน หลังจากนั้นจึง
พิจารณาโครงการที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะดำเนินการได้ เรียงตามลำดับความสำคัญ โดยจะให้น้ำหนักกับ
โครงการที่มีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันทีหากได้รับการจัดสรรงบประมาณก่อน รวมถึงความสอดคล้อง
กับแนวทางการพฒั นาตามแผนงานและประเดน็ การพัฒนาท่ีกำหนดไวใ้ นแผนพัฒนา

ทั้งนี้ ในการพิจารณากลั่นกรอง กองจัดทำงบประมาณเขตพื้นท่ีจะไม่ได้เข้าร่วมการพิจารณากลั่นกรอง
โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด อย่างไรก็ตาม สำนักงบประมาณจะมี
ผู้แทนในทีมบูรณาการกลางเข้าร่วมประชมุ และพจิ ารณาในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ

(3) ในส่วนการพิจารณากลั่นกรอง และให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจำปีและโครงการ
กิจกรรมที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณของจังหวัดกลุ่มจังหวัด ในชั้น ก.บ.ภ. นั้น ได้คำนึงถึงปัจจัยทั้งความ
ต้องการและสภาพปัญหาในพ้นื ท่ี และความสอดคล้องกับนโยบายหรือแนวทางการพฒั นาในระดับบนเท่า ๆ กัน
แต่จะให้ความสำคัญกับบริบทพื้นที่และโครงการที่มีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันทีที่ได้รับการจัดสรร
งบประมาณ แต่ผลของการพัฒนาในทุกด้านจะต้องเสริมกันเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายภาพใหญ่ของประเทศ
ตามท่ีแผนพัฒนาภาคกำหนด ซงึ่ แผนดงั กลา่ วเป็นแผนชี้นำการพฒั นาพื้นที่เพื่อใหจ้ ังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดทำ
แผนงานโครงการใหม้ คี วามสอดรบั กนั

ทั้งนี้ ในการพิจารณาคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ทีมบูรณาการกลางจะใช้หลักเกณฑ์
DO/DON'T ดงั ทไี่ ด้กล่าวมาข้างต้น ในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งเอกสารประกอบในเร่ืองความพร้อม
ดำเนินการและความต้องการของพ้นื ท่ีเป็นหลกั

(4) สำหรับโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่มีความสำคัญแต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
กองจดั ทำงบประมาณเขตพืน้ ท่ีจะมีการชี้แจงเพื่อทำความเขา้ ใจกับจงั หวดั และกลมุ่ จงั หวัดถึงเหตุผลที่โครงการ
ไม่ได้รบั การจดั สรรงบประมาณ เช่น ความไม่พร้อมของโครงการ ความซ้ำซ้อนกับโครงการของกรม (Function)
หรือโครงการเปน็ ภารกิจที่ถ่ายโอนให้ อปท. เปน็ ตน้ รวมทัง้ ให้คำแนะนำเพื่อให้จังหวัดและกลมุ่ จงั หวัดได้มีการ
เตรียมความพร้อมของโครงการก่อนล่วงหน้า เพอื่ ให้การจัดทำแผนพฒั นาและแผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปีของ
จงั หวดั และกลมุ่ จงั หวัดมคี ุณภาพย่ิงขนึ้

4.3 แผนและงบประมาณ

คณะผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาแผนและงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1
โดยเปรียบเทียบระหว่างคำของบประมาณที่เสนอขอรับการจัดสรรในแผนปฏิบัติราชการประจำปีกับ
งบประมาณทไี่ ดร้ บั จดั สรรตามพระราชบัญญตั งิ บประมาณรายจ่ายประจำปี สรปุ ไดด้ ังนี้

4.3.1 กลุม่ จงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 พ.ศ.
2562 – 2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2565) โดยกำหนดโครงการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนพัฒนา
กลุม่ จงั หวัดและจัดทำแผนปฏิบัตริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เสนอเปน็ คำของบประมาณ จำนวน

สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -55- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณีศึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบุร)ี

20 โครงการ 1 รายการ (ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ) รวมเป็นงบประมาณทั้งส้ิน
1,075.4291 ล้านบาท และได้รับการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 5 โครงการ 1 รายการ งบประมาณจำนวน 185.4307 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่า
กรอบงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี จำนวน 889.9984 ล้านบาท ดงั ตารางที่ 1

ตารางท่ี 1 เปรียบเทยี บกรอบงบประมาณตามแผนปฏิบัตริ าชการประจำปีกับงบประมาณทไี่ ดร้ บั จดั สรรตามพระราชบญั ญตั ิ

งบประมาณรายจา่ ยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 –2565 ของกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1

หน่วย: ลา้ นบาท

ประเด็นการพัฒนา/แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 2564 2565

แผน จัดสรร เพมิ่ /ลด แผน จดั สรร เพม่ิ /ลด
จากแผน จากแผน

ประเด็นการพัฒนาท่ี 1 เสริมสร้างสังคมเป็นสุข สังคมแห่งการเรียนรู้ ปลอดภัยและมสี ุขภาวะที่ดี

แผนงาน/โครงการเพ่ิมศักยภาพด้านเกษตร 34.1052 31.0114 -3.0938 341.1129 35.2572 -305.8557
-2.8860
โครงการปรบั ปรงุ ถนนเพ่ือขนสง่ สนิ ค้าทางการเกษตร 24.8000 24.8000 -0.2078 250.0000 25.0000 -250.0000
โครงการพฒั นาแหลง่ นา้ เพ่ือยกระดับการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมฯ 7.0566 4.1706 50.0000 5.3334 -25.0000
โครงการพฒั นาศักยภาพสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอนิ ทรีย์ -6.3232 12.1788 3.9324 -6.8454
โครงการพฒั นาสินค้าสัตว์น้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่มาตรฐานสากล 2.2486 2.0408 -6.3232 6.5373 -2.6049
โครงการพัฒนาและเพ่ิมศักยภาพการผลิตและการตลาดสินค้าสัตว์นา้ สวยงามที่มีมูลค่าการส่งออก 6.3100 0.9914 -6.3100
โครงการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกจิ ชุมชนสู่ระบบมาตรฐานสากลฯ 1.8036 -0.8122
โครงการพฒั นาชุมชนเลียงไกพ่ ืนเมืองสู่นวัตวิถีที่ย่ังยืน 7.5930 -7.5930
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลติ โคเนือ 6.6902 -6.6902

ประเด็นการพัฒนาท่ี 2 ศูนย์กลางการท่องเท่ียวเชิงอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ภาคตะวันตก อารยธรรมทวารวดี

แผนงาน/โครงการเพ่ิมศักยภาพภาคการท่องเท่ียวและบริการ 259.5399 253.2167 530.7847 146.1735 -384.6112

โครงการพฒั นาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพื่อยกระดับการเช่อื มโยงแหล่งท่องเท่ียวกลมุ่ ทวารวดี 35.1799 35.1799 9.2116 -9.2116
49.8000 49.8000
โครงการพัฒนาแหลง่ ท่องเท่ียวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมชุมชน 155.3600 149.0368 194.0500 146.1735 -47.8765
โครงการสง่ เสรมิ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และอารยธรรมทวารวดี 17.0000 17.0000 220.0000 -220.0000
โครงการปรบั ปรงุ เส้นทางท่องเท่ียวภาคตะวันตก 24.5740 -24.5740
โครงการพฒั นาโครงสร้างพืนฐานด้านการท่องเที่ยวเพ่ือยกระดับการเชื่อมโยงการท่องเท่ียว 2.2000 2.2000 25.0000 -25.0000
โครงการเสน้ ทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตามอัตลักษณท์ ้องถิ่น
โครงการพฒั นาโครงสรา้ งพืนฐานแหล่งท่องเที่ยวอทุ ยานแห่งชาติในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง1 6.7844 -6.7844
5.3550 -5.3550
โครงการส่งเสรมิ และพัฒนาบุคลากรและบริการด้านการท่องเท่ียวกลุ่มทวารวดี 28.8097 -28.8097
17.0000 -17.0000
โครงการพฒั นาและยกระดับมาตรฐานแหลง่ ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติในกลมุ่ จังหวัดฯภาคกลางตอนลา่ ง 1

โครงการส่งเสรมิ การตลาดและการประชาสัมพนั ธ์การท่องเท่ียวเชิงรกุ

ประเด็นการพัฒนาท่ี 3 พัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนให้มศี ักยภาพผลักดันเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ นาไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการค้าการลงทุนฯ

แผนงาน/โครงการส่งเสริมและพัฒนาการค้าชายแดน 25.4830 24.9000 -0.5830 199.5315 -199.5315

โครงการเพิ่มทักษะด้านภาษาต่างประเทศส้าหรบั ผู้ประกอบการ 24.9000 24.9000 2.0690 -2.0690
โครงการพฒั นาโครงสรา้ งพืนฐานโครงข่ายคมนาคมเช่ือมโยงการค้าผา่ นแดน 0.5830 4.0000 194.0000 -194.0000
โครงการเพ่ิมศักยภาพผู้ประกอบการสู่การเป็น Smart SMEs และ Startupเพ่ือการส่งออก 4.0000
ค่าใช้จา่ ยในการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ 3.4625 -3.4625
4.0000
4.0000

รวม 323.1281 313.1281 -10.0000 1,075.4291 185.4307 -889.9984

ทม่ี า:
1. แผนพัฒนากลุม่ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 พ.ศ. 2562 – 2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2565)
2. แผนปฏิบัตริ าชการประจำปกี ลุม่ จังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565
3. เอกสารงบประมาณ ฉบบั ท่ี 3 ฉบบั ปรับปรุงตามพระราชบัญญัตงิ บประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 เลม่ ท่ี 13 (1)

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร -56- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุรี)

งบประมาณท่ีกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้รับจัดสรร จำนวน 185.4307 ล้านบาท ลดลงจาก
ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 เปน็ จำนวน 127.6974 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 40.78 ประกอบด้วย

(1) รายจา่ ยประจำ จำนวน 14.2572 ล้านบาท คิดเปน็ สัดสว่ นรอ้ ยละ 7.69
(2) รายจา่ ยลงทนุ จำนวน 171.1735 ลา้ นบาท คิดเปน็ สดั ส่วนร้อยละ 92.31

โดยงบประมาณท่ีไดร้ บั จัดสรร จำนวน 185.4307 ลา้ นบาท แบง่ เป็น 2 สว่ น ดงั นี้
ส่วนที่ 1 งบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่เป็นการเพิ่มศักยภาพที่เปน็ ความต้องการ
รายพื้นที่หรือแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นร่วมของกลุ่มจังหวัด 4 โครงการ 1 รายการ จำนวน 39.2572 ล้านบาท
ซง่ึ ต่ำกว่ากรอบการจดั สรรงบพัฒนากลุ่มจงั หวัด ในสว่ นท่ี 1 จำนวน 128.6230 ลา้ นบาท (กรอบการจัดสรร
งบประมาณของกลุม่ จงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 ปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 เท่ากบั 167.8802 ลา้ นบาท)
ส่วนที่ 2 งบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่เป็นการพัฒนาในลักษณะ cluster หรือ
ตอบสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลเชิงพื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัด 1 โครงการ คือ “โครงการส่งเสริมการทอ่ งเที่ยว
เชิงประวัติศาสตร์และอารยธรรมทวารวดี” จำนวน 146.1735 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.52 ของกรอบการ
จดั สรรงบพฒั นากลมุ่ จังหวัด ในสว่ นที่ 2 ทีก่ ำหนดไว้ จำนวน 4,156 ลา้ นบาท
โดยเมื่อพิจารณางบประมาณ จำแนกตามประเด็นการพัฒนา พบว่า ทุกประเด็นการพัฒนาของกลุ่ม
จังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ไดร้ ับการจดั สรรงบประมาณไมเ่ ปน็ ไปตามแผน โดยเฉพาะประเดน็ การพัฒนาที่ 3
การพฒั นาและส่งเสริมการค้าชายแดนฯ จะเห็นไดว้ ่า ไมไ่ ด้รับการจดั สรรงบประมาณแต่อยา่ งใด
ส่วนประเด็นการพัฒนาที่ 2 ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพียง 1 โครงการ คือ โครงการส่งเสริมการ
ทอ่ งเทีย่ วเชิงประวตั ิศาสตรแ์ ละอารยธรรมทวารวดี จากแผนทั้งหมด 9 โครงการ โดยประเด็นการพฒั นาท่ี 2 นี้
ได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 78.83 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด
ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ก็ได้รับจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนสูงสุดเช่นกันในสัดส่วนร้อยละ 80.87
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า งบประมาณส่วนใหญ่ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ใชไ้ ปเพอื่ ขับเคลื่อนเป้าประสงค์
ของประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Goal) ด้านการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยเป็นการดำเนิน “โครงการ
ส่งเสรมิ การท่องเท่ียวเชงิ ประวตั ศิ าสตรแ์ ละอารยธรรมทวารวดี” ตอ่ เนือ่ ง 2 ปี ซ่งึ เป็นโครงการทใ่ี ชง้ บประมาณ
ของกลุ่มจังหวัดในส่วนที่ 2 งบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่เป็นการพัฒนาในลักษณะ
Cluster หรอื ตอบสนองนโยบายสำคญั ของรัฐบาลเชงิ พน้ื ที่ระดับกลมุ่ จงั หวัด
ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และอารยธรรมทวารวดี ในปีงบประมาณ พ.ศ.
2565 ได้รบั จดั สรรงบประมาณเป็นงบลงทุนทง้ั หมด จำนวน 146.1735 ลา้ นบาท ในรายการตา่ ง ๆ ดังน้ี
(1) ปรับปรุงภูมิทัศน์พระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
เชิงประวตั ศิ าสตร์ จงั หวดั กาญจนบรุ ี จำนวน 20.05 ล้านบาท
(2) ปรับปรุงภูมิทัศน์และท่าเทียบเรือ (พื้นที่ตั้งทัพรับศึกบ้านลิ้นช้าง) ระยะที่ 2 จังหวัดกาญจนบุรี
จำนวน 40 ลา้ นบาท

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -57- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณศี ึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

(3) พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกจิ ภาคการท่องเที่ยวและบรกิ ารเส้นทางพทุ ธธรรม
หรือสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาตเิ มืองโบราณอู่ทอง (Sky Walk) จงั หวัดสพุ รรณบรุ ี จำนวน 51.1235 ล้านบาท

(4) ปรบั ปรุงภมู ิทัศนท์ ่าเทียบเรือขนุ แผน ระยะที่ 2 จงั หวดั กาญจนบรุ ี จำนวน 35 ลา้ นบาท
รายการนี้ มีข้อสังเกตว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้มีการจัดสรรงบประมาณให้แก่จังหวัด

กาญจนบุรี ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อส่งเสริม
การทอ่ งเทีย่ วทางนำ้ (ท่าเทียบเรอื ขุนแผน) ระยะที่ 1 จำนวน 30 ลา้ นบาท

แต่เน่ืองจากขอ้ จำกัดของกรอบการจัดสรรงบประมาณ ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565 ของจงั หวัด
และกลุ่มจังหวัดที่กำหนดให้จังหวัดเสนอโครงการไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า แต่ไม่เกิน 2 เท่าของกรอบการจัดสรร
งบประมาณ ซึ่งที่ประชุม ก.บ.จ. ได้พิจารณาให้ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพือ่ ดำเนินการปรับปรุงภมู ิทศั นฯ์
ระยะท่ี 2 จากงบประมาณของกลุ่มจงั หวดั แทน เพราะงบประมาณของกลมุ่ จังหวัด จะแบ่งออกเปน็ 2 ประเภท
คือ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และในลักษณะของ Cluster หรือตอบสนองนโยบายสำคัญของ
รัฐบาลเชิงพื้นท่รี ะดับกลุ่มจังหวดั ซึ่งรายการดงั กล่าวเปน็ โครงการเพอ่ื พฒั นาด้านการทอ่ งเท่ยี วของกลมุ่ จังหวดั

ท้ังน้ี รายการปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเทียบเรือขุนแผน และรายการปรับปรุงภูมิทัศน์และท่าเทียบเรือ
(พื้นที่ตั้งทัพรับศกึ บ้านลิ้นช้าง) จังหวัดกาญจนบุรี เป็นรายการตามข้อส่ังการของนายกรัฐมนตรีซ่ึงเป็นผลจาก
การประชุมระหวา่ งนายกรัฐมนตรีกบั ผู้ว่าราชการจงั หวดั ผู้แทนภาคเอกชนและผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อน
การพฒั นากลุม่ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 เม่อื วนั อังคารท่ี 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

4.3.2 จงั หวัดกาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรีได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับ
ทบทวนใหม่ รอบปี พ.ศ. 2565 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จังหวัดกาญจนบุรีได้กำหนดโครงการเพื่อ
ขบั เคลือ่ นการดำเนินงานตามแผนพัฒนาจงั หวัด จำนวน 111 โครงการ 1 รายการ (ค่าใชจ้ า่ ยในการบริหารงาน
กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ) รวมงบประมาณทั้งสิ้น 3,441.2052 ล้านบาท และได้รับการจัดสรรงบประมาณ
ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 5 โครงการ 1 รายการ
งบประมาณจำนวน 211.5728 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบงบประมาณตามแผนพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี
จำนวน 3,229.6324 ลา้ นบาท โดยประเด็นการพฒั นาที่ 1 เสรมิ สร้างสงั คมเปน็ สุขฯ และประเด็นการพฒั นาที่ 2
เสรมิ สรา้ งเมอื งน่าอยู่ เปน็ มิตรกบั ส่งิ แวดล้อม ไมไ่ ด้รบั การจัดสรรงบประมาณแต่อย่างใด รายละเอยี ดดังตารางที่ 2
ทั้งน้ี งบประมาณทจี่ งั หวัดกาญจนบุรีไดร้ ับจดั สรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 211.5728 ลา้ นบาท
ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นจำนวน 45.2480 ลา้ นบาท หรือลดลงรอ้ ยละ 17.62 ประกอบด้วย

(1) รายจา่ ยประจำ จำนวน 17.7408 ลา้ นบาท คิดเปน็ สดั ส่วนร้อยละ 8.39

(2) รายจา่ ยลงทุน จำนวน 193.8320 ล้านบาท คดิ เปน็ สดั ส่วนรอ้ ยละ 91.61

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -58- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวดั
กรณศี กึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สุพรรณบุรี)

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบกรอบงบประมาณตามแผนพฒั นาจงั หวดั กับงบประมาณทไ่ี ดร้ บั จัดสรรตามพระราชบญั ญัติ
งบประมาณรายจา่ ยประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 –2565 ของจังหวดั กาญจนบรุ ี

หนว่ ย: ลา้ นบาท

ประเด็นการพัฒนา/แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 2564 2565

ประเด็นการพัฒนาท่ี 1 เสริมสร้างสังคมเป็นสุข สังคมแห่งการเรียนรู้ ปลอดภัย และมสี ุขภาวะท่ีดี แผน จัดสรร เพม่ิ /ลด แผน จดั สรร เพมิ่ /ลด
จากแผน จากแผน
แผนงาน/โครงการส่งเสริมและพัฒนาด้านสังคม
โครงการส่งเสริมและต่อยอดโครงการตามพระราชด้าริฯ 349.7133 2.9704 -346.7429 372.3369 -372.3369
โครงการสรา้ งเครือข่ายการมีส่วนรว่ มด้านสงั คม ของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และชุมชนฯ 4.4270 0.8461 -3.5809 4.4270 -4.4270
โครงการส่งเสรมิ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สงู อายุในระยะยาว เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความภูมิใจและมีความสุขฯ 7.5727 2.0250 -5.5477 7.5727 -7.5727
โครงการอื่น ๆ จ้านวน 27 โครงการ 1.4433 0.0993 -1.3440 1.4433 -1.4433
ประเด็นการพัฒนาท่ี 2 เสริมสร้างเมอื งน่าอยู่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แผนงาน/โครงการบริหารจดั การด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม 336.2703 -336.2703 358.8939 -358.8939
โครงการสง่ เสริมให้ประชาชนและแรงงานต่างด้าว มีความรู้ความเขา้ ใจและตระหนักด้านการจัดการสงิ่ แวดลอ้ มฯ
โครงการอื่น ๆ จา้ นวน 9 โครงการ 48.8261 1.6250 -47.2011 50.3656 -50.3656
ประเด็นการพัฒนาที่ 3 ส่งเสริมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมอยา่ งครบวงจร 12.4712 1.6250 -10.8462 12.4712 -12.4712
แผนงาน/โครงการส่งเสริมและพัฒนาภาคการเกษตร 36.3549 -36.3549 37.8944 -37.8944
โครงการพฒั นาแหล่งน้าและบรหิ ารจัดการน้าให้มีเพยี งพอตามความเหมาะสม
โครงการพัฒนาสนิ ค้าเกษตรปลอดภัยและเป็นอตั ลกั ษณข์ องจังหวัด 1,296.1781 60.0000 -1,236.1781 1,447.8119 127.7408 -1,320.0711
โครงการสง่ เสริมการพัฒนาแหลง่ นา้ และบรหิ ารจัดการน้าฯ
โครงการอื่น ๆ จ้านวน 19 โครงการ 75.0000 140.0000 125.0000 -15.0000
ประเด็นการพัฒนาที่ 4 ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์ และการท่องเที่ยวคุณภาพ 1,221.1781
แผนงาน/โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเท่ียว 11.6338 2.7408 -8.8930
โครงการปรบั ปรงุ ฟ้ืนฟู และจัดระเบียบแหล่งท่องเท่ียวเดิมและพฒั นาแหลง่ ท่องเที่ยวใหม่ที่โดดเด่นฯ
โครงการปรบั ปรุงฟ้ืนฟู และจัดระเบียบแหล่งท่องเท่ียวเดิม และพัฒนาแหลง่ ท่องเท่ียวใหม่ 60.00 -15.0000 75.0000 -75.0000

โครงการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพืนฐานทังดา้ นกายภาพและดา้ นดิจิทัลเพื่ออ้านวยความสะดวกแก่นักทอ่ งเที่ยวทุกกลุ่ม - 1,221.1781 1,221.1781 -1,221.1781

โครงการส่งเสริมการสร้างศักยภาพชุมชน ให้มีการพฒั นาทังด้านการผลิตสินค้า บรกิ ารฯ 666.6866 79.0615 -587.6251 862.6636 48.3320 -814.3316
โครงการอื่น ๆ จา้ นวน 23 โครงการ 60.0000 30.0000 -30.0000 60.0000 -60.0000
ประเด็นการพัฒนาท่ี 5 ส่งเสริมการพัฒนาการค้า การลงทุน เขตเศรษฐกิจพิเศษ และการค้าชายแดน 85.1368 -85.1368 85.1368 14.6320 -70.5048
แผนงาน/โครงการเสริมสร้างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม 91.1424 31.6638 -59.4786 91.1424 33.7000 -57.4424
โครงการสง่ เสริมการพัฒนาโครงสร้างพืนฐานเพ่ือรองรับการขยายตัวของการค้า การท่องเที่ยวฯ 53.7608 17.3977 -36.3631 53.7608 -53.7608
โครงการส่งเสริมและพฒั นาความพรอ้ มในทุกด้านเพ่ือการพัฒนาพืนท่ีเขตเศรษฐกจิ พิเศษฯ 376.6466 -376.6466 572.6236 -572.6236
โครงการสง่ เสริมการสร้างผปู้ ระกอบการให้เขม้ แข็งด้านการผลติ การตลาด และการพฒั นาศักยภาพด้านเทคโนโลยีฯ
654.1692 103.1639 -551.0053 698.0272 25.5000 -672.5272
*โครงการส่งเสริมการพฒั นาตลาดแรงงานให้มีปรมิ าณและคุณภาพตามความต้องการของผู้ประกอบการฯ 360.0024 99.5000 -260.5024 360.0024 25.50 -334.5024
โครงการอ่ืน ๆ จ้านวน 18 โครงการ
8.8830 0.9096 -7.9734 8.8830 10.0000 -8.8830
ค่าใช้จา่ ยในการบริหารงานกลุ่มจงั หวัดแบบบูรณาการ 1.2700 1.1811 -0.0889 1.2700 -1.2700
2.4971 1.5732 -0.9239 2.4971 -2.4971
รวม 281.5167 -281.5167 325.3747 -325.3747
10.0000 10.0000 10.0000

3,025.5733 256.8208 -2,768.7525 3,441.2052 211.5728 -3,229.6324

หมายเหต:ุ * โครงการส่งเสริมการพฒั นาตลาดแรงงานใหม้ ปี ริมาณและคณุ ภาพตามความต้องการของผปู้ ระกอบการฯ ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2564
เป็นกจิ กรรมทีไ่ ด้รับการจัดสรรงบประมาณอยู่ภายใตโ้ ครงการส่งเสรมิ และพัฒนาด้านสงั คม

ทม่ี า:
1. แผนพฒั นาจงั หวัดกาญจนบรุ ี พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับทบทวนใหม่ รอบปี พ.ศ. 2565)
2. เอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 ฉบบั ปรับปรุงตามพระราชบญั ญัตงิ บประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 เล่มท่ี 13 (1)

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร -59- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณศี ึกษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

คณะผู้ศึกษาได้พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ภายใต้
กิจกรรม: โครงการปรบั ปรุงฟื้นฟู และจัดระเบียบแหล่งท่องเทีย่ วเดิมและพัฒนาแหลง่ ท่องเที่ยวใหม่ที่โดดเด่น
ทั้งด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต รายการ ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
ทางน้ำ (ท่าเทียบเรือขุนแผน) ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโครงการที่กำหนดไว้ใน
แผนพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 ปีละ 60 ล้านบาท
รวมงบประมาณ 120 ลา้ นบาท แตม่ กี ารใช้งบประมาณจากท้ังงบของจังหวัดและงบของกลุ่มจังหวดั กล่าวคือ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ระยะแรก) ใช้งบประมาณของจังหวัดกาญจนบรุ ี จำนวน 30 ล้านบาท ส่วนในปี
งบประมาณ พ.ศ. 2565 (ระยะท่ี 2) ใช้งบประมาณของกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 รายการปรับปรุงภูมิทัศน์
ท่าเทียบเรือขุนแผน ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 35 ล้านบาท โดยเป็นรายการที่
จังหวัดกาญจนบุรีได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
นอกสถานที่ ณ จังหวดั กาญจนบรุ ี เมอื่ วันองั คารที่ 12 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2562 โดยคณะรัฐมนตรีไดม้ อบหมาย
ให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดกาญจนบุรีเป็นหน่วยงานจัดทำคำของบประมาณรายการนี้ ซึ่งตรง
กับยุทธศาสตร์ของจังหวดั กาญจนบุรี ส่วนในระยะท่ี 2 ไดม้ ีการคำนงึ ถึงวิถปี ระวัตศิ าสตร์และความโดดเด่นของ
แหล่งท่องเที่ยวนี้ ซึ่งไปสอดคล้องกับลักษณะของกลุ่มจังหวัดที่มีงบประมาณในการที่จะจัดสรรได้มากกว่างบ
จังหวดั ดงั นั้น ในระยะท่ี 2 จงึ ต้องไปของบในยทุ ธศาสตรก์ ลุม่ จงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 แทน

4.3.3 จังหวดั ราชบุรี
จังหวัดราชบุรีได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับทบทวนปี พ.ศ.
2565) โดยจังหวัดราชบุรีได้กำหนดโครงการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัดและจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เสนอเป็นคำของบประมาณ รวมทั้งสิ้น 10 โครงการ
2 กิจกรรม 1 รายการ (ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ) รวมงบประมาณทั้งส้ิน
195.7743 ล้านบาท จังหวัดราชบุรีได้รับการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทุกโครงการ/กิจกรรม จำนวน 195.7743 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามแผน
และงบประมาณท่กี ำหนดไวใ้ นแผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปี ดงั ตารางท่ี 3
โดยงบประมาณท่ีจงั หวัดราชบรุ ีได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 195.7743 ล้านบาท
ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นจำนวน 33.5555 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 14.63
ประกอบดว้ ย

(1) รายจ่ายประจำ จำนวน 30.7003 ลา้ นบาท คดิ เปน็ สดั ส่วนร้อยละ 15.68

(2) รายจา่ ยลงทนุ จำนวน 165.0740 ล้านบาท คดิ เป็นสดั ส่วนรอ้ ยละ 84.32

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -60- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สพุ รรณบุรี)

ตารางท่ี 3 เปรยี บเทียบกรอบงบประมาณตามแผนปฏิบตั ริ าชการประจำปีกับงบประมาณทไี่ ด้รบั จดั สรร
ตามพระราชบัญญัตงิ บประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 –2565 ของจงั หวัดราชบุรี

หน่วย: ล้านบาท

ประเด็นยุทธศาสตร์/โครงการ/กิจกรรม 2564 2565
แผน จดั สรร
เพมิ่ /ลด แผน จดั สรร เพม่ิ /ลด
จากแผน จากแผน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการเกษตรสีเขียวแบบครบวงจร และเมอื งอาหารคุณภาพที่เติบโตอย่างมั่นคง

โครงการส่งเสริมและพัฒนาภาคการเกษตร 7.7594 7.7594 9.5139 9.5139

โครงการเมืองเกษตรสีเขียวที่ยั่งยืนเพ่ือเศรษฐกิจเพิ่มค่า 4.6473 4.6473 1.5826 1.5826

โครงการเกษตรเพ่ือความม่ันคงทางอาหารกับคุณภาพชีวิต 0.7251 0.7251 5.2710 5.2710

โครงการเพ่ิมศักยภาพการเพาะเลียงสัตว์น้าราชบุรี 1.4495 1.4495 1.4629 1.4629

ราชบุรเี มืองปศุสตั ว์ครบวงจร 1.1974 1.1974
โครงการส่งเสรมิ อตุ สาหกรรมเกษตรท่ีเป็นมิตรกบั สิ่งแวดลอ้ มและแข่งขันได้
0.9375 0.9375

ประเด็นยุทธศาสตร์ท่ี 2 เสริมสร้างความมั่งค่ังทางเศรษฐกิจการค้า การบริการการท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรมและบริการท่ีมมี ลู ค่าสูง

โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว 29.2024 26.2024 -3.0000 11.0900 11.0900
โครงการเมืองอตุ สาหกรรมท่องเที่ยวคุณภาพ 14.8030 11.8030 -3.0000 7.0000 7.0000
โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกฬี า วัฒนธรรม ประเพณี สุขภาพ 14.3994 14.3994 4.0900 4.0900

โครงการเสริมสร้างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม 152.6710 152.6710 124.5000 124.5000

โครงการเสริมสร้างเศรษฐกจิ ชุมชนเข้มแข็ง 3.1900 3.1900

โครงการพฒั นาการคมนาคมและโครงสร้างพืนฐานขับเคล่ือนเศรษฐกจิ 149.4810 149.4810 124.5000 124.5000

ประเด็นยทุ ธศาสตร์ท่ี 3 การพัฒนาคุณภาพประชาชน และความม่ันคงในคุณภาพชวี ิตด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการส่งเสริมและพัฒนาด้านสังคม 4.6970 4.69700 3.7891 3.7891

โครงการราชบุรเี มืองวิถีพอเพยี งที่ย่ังยืน 0.0640 0.0640 0.2265 0.2265
1.7387 1.7387
โครงการพฒั นาประชาชนคุณภาพอนาคตราชบุรี 2.6381 2.6381 1.8239 1.8239

โครงการลดความเหลื่อมล้า ไม่ทิงใครไว้ด้านหลงั 1.9949 1.9949

ประเด็นยุทธศาสตร์ท่ี 4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท่ีสมดุล และใชป้ ระโยชน์อยา่ งยั่งยนื

โครงการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 29.0000 29.0000 37.8813 37.8813
9.6813 9.6813
เสริมสร้างความอุดมสมบูรณร์ ะบบนเิ วศน์ของจังหวัดราชบุรี 28.2000 28.2000

การบรหิ ารจัดการน้าท่ีสมบูรณแ์ ละยั่งยืน

โครงการพฒั นานิเวศน์เมืองที่ย่ังยืน 29.0000 29.0000

ค่าใชจ้ า่ ยในการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ 9.0000 9.0000 9.0000 9.0000

รวม 232.3298 229.3298 -3.0000 195.7743 195.7743 0.0000

ทีม่ า:
1. แผนพัฒนาจงั หวัดราชบรุ ี พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2565
2. แผนปฏิบัติราชการประจำปีจงั หวดั ราชบุรี ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565
3. เอกสารงบประมาณ ฉบับท่ี 3 ฉบบั ปรบั ปรุงตามพระราชบญั ญตั งิ บประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 เลม่ ท่ี 13 (1)

สำนกั งานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -61- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณศี กึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบรุ ี)

ผลการศกึ ษาพบวา่ ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 ประเด็นยุทธศาสตร์ท่ี 2 การเสริมสรา้ งความ
มั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การค้า การบริการ การท่องเที่ยว ด้วยนวัตกรรมและบริการที่มีมูลค่าสงู ได้รับจัดสรร
งบประมาณเป็นจำนวนสูงสดุ คดิ เปน็ รอ้ ยละ 78.00 และร้อยละ 69.26 ของงบประมาณทไ่ี ด้รบั จัดสรรทัง้ หมด

โดยส่วนใหญ่เป็นการดำเนินโครงการเสริมสร้างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ภายใต้
กิจกรรม: โครงการพัฒนาการคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หน่วยงานดำเนินการ คือ
แขวงทางหลวงจังหวัดราชบรุ ี และอำเภอ ซึ่งเป็นการปรบั ปรงุ /กอ่ สรา้ งทางและสะพาน เชน่ การเพิม่ มาตรฐาน
ทางชั้น 1 ปรบั ปรงุ ถนนลาดยางและถนนคอนกรีต ปรับปรุงจุดเสี่ยงทางหลวง การขยายไหล่ทาง เป็นตน้ คดิ เป็น
ร้อยละ 65.18 ของงบประมาณทั้งหมดที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และร้อยละ 63.59 ของ
งบประมาณท้งั หมดทไ่ี ดร้ บั จัดสรรในปงี บประมาณ พ.ศ. 2565

คณะผู้ศึกษาจึงมีข้อสังเกตว่า งบประมาณที่จังหวัดราชบุรีได้รับจัดสรรในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
ของจังหวดั ค่อนข้างไม่สมดุลนัก อีกทง้ั งบประมาณท่ีจัดสรรลงไปประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ขา้ งต้น เป็นการเน้น
ขับเคลื่อนเป้าประสงค์ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Goal) “ระบบการคมนาคม การขนส่ง การโลจิสติกส์
มีความปลอดภยั เช่ือมโยงอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโตของเมือง และการเช่ือมโยงนานาชาติ” อยา่ งต่อเน่ือง
ขณะที่จังหวัดราชบุรียังมีอีก 5 Strategic Goal ที่มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนเช่นกัน แต่ได้รับจัดสรร
งบประมาณในสัดส่วนค่อนข้างน้อย นั่นคือ (1) รายได้จากการท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประชาชนมีงาน
อาชีพ เศรษฐกิจฐานการท่องเที่ยว และการบริการมั่นคง (2) ผู้ประกอบการมีความพร้อมในการพัฒนา
สู่จังหวัดแห่งการค้าขาย (Trading City) (3) เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีงาน อาชีพ และรายได้
(4) มีนวัตกรรมรองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัล และ (5) จังหวัด
ราชบุรีมีความเติบโตในการพฒั นาการค้าชายแดนเพิ่มขน้ึ

โดยเมื่อพิจารณารายละเอียดของโครงการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 กิจกรรม : โครงการพัฒนานิเวศเมอื งทย่ี ่งั ยืน จำนวน 29 ลา้ นบาท พบว่า รายการ
ท่ีได้รบั จดั สรรงบประมาณได้กระจุกตัวอยูเ่ พียงการก่อสรา้ งเขอ่ื นป้องกนั ตลิ่งเท่านน้ั โดยทั้งหมดเป็นงบลงทุน
ค่าก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำแม่กลอง จำนวน 3 แห่ง หน่วยงานดำเนินการ คือ สำนักงานโยธาธิการ
และผังเมืองจังหวัดราชบรุ ี ขณะที่แผนพัฒนาจังหวัดราชบรุ ี ได้กำหนดผู้รับผิดชอบโครงการน้ีหลายหน่วยงาน
ร่วมกันดำเนินการ อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัด สวนรุกขชาติถ้ำจอมพล สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3
(บ้านโป่ง) สำนักงานทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมจงั หวดั สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 สำนักงานการ
ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด สำนักงานพลังงานจังหวัด เทศบาลเมือง และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งได้
กำหนดกจิ กรรมตามหลักของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทีม่ กี จิ กรรมตงั้ แต่ตน้ น้ำถึงปลายนำ้ ทจ่ี ะดำเนินการ
ไว้ในโครงการพัฒนานเิ วศนเ์ มอื งทย่ี ่ังยนื ดงั แผนภาพท่ี 3 ดงั น้ี

สำนกั งานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -62- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณีศกึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ )ี

แผนภาพท่ี 3 กจิ กรรมดำเนินการของโครงการพฒั นานเิ วศนเ์ มืองทย่ี ง่ั ยืน

โครงการ กิจกรรมตน้ นำ้ กิจกรรมกลางนำ้ กจิ กรรมปลายน้ำ

โครงการพัฒนา (Up Stream) (Main Stream) (Down Stream)
นิเวศน์เมอื งทยี่ ัง่ ยืน
(1) การจดั สร้างสวนในเมือง (1) การพฒั นาระบบ (1) การจัดสร้างโรงไฟฟ้า

และภมู ิทัศน์ในตวั เมือง การจัดการขยะ พลงั งานขยะ

(2) การจดั สรา้ งปา่ ในเมือง ด้วยเทคโนโลยสี ะอาด

(สวนรกุ ขชาติถ้ำจอมพล) (2) การเพิม่ ประสิทธภิ าพ

(3) จัดหาถังขยะรองรบั ขยะมูลฝอยในทอ้ งถนิ่

การเติบโตของเมือง (3) การพัฒนาขยะและเศษ

และพน้ื ที่ทอ่ งเท่ยี ว วสั ดุเหลอื ใชแ้ ละวสั ดุทาง

(4) การปรบั ปรงุ ภูมิทัศน์ ธรรมชาติใหเ้ ปน็ ปุ๋ยอนิ ทรยี ์

สว่ นราชการรองรบั การทอ่ งเท่ียว (โรงปยุ๋ อินทรีย์)

และการเป็นเมืองท่นี ่าอยู่ (4) การติดตาม และเฝ้า

(5) การจดั การระบบกำจัดขยะ ระวังคุณภาพแมน่ ้ำแมก่ ลอง

และบำบดั น้ำเสีย (5) การส่งเสริมโรงแรม

จากการทอ่ งเท่ยี ว และรสี อรท์ ทีเ่ ป็นมิตรกับ

สงิ่ แวดล้อม (Green Resort)

(6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

ในการจดั การขยะและนำ้ เสยี

ในพ้ืนทอี่ ำเภอปากทอ่

(7) ซอ่ มแซมปรบั ปรงุ

เสน้ ทางตรวจการณ์

ท่ีมา: แผนพัฒนาจังหวดั ราชบุรี พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2565 หนา้ 212

4.3.4 จงั หวัดสุพรรณบุรี
จังหวัดสุพรรณบุรีได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับทบทวน)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จังหวัดสุพรรณบุรีได้กำหนดโครงการเพื่อ
ขับเคล่ือนการดำเนนิ งานตามแผนพฒั นาจังหวัด รวมทง้ั สิน้ 26 โครงการ 1 รายการ (ค่าใชจ้ ่ายในการบรหิ ารงาน
กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ) รวมงบประมาณทั้งสิ้น 695.5565 ล้านบาท จังหวัดสุพรรณบุรีได้รับการจัดสรร
งบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 9 โครงการ 5
กิจกรรม จำนวน 113.4387 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ากรอบงบประมาณดำเนนิ การตามแผนพัฒนาจังหวัด จำนวน
582.1178 ล้านบาท ดงั ตารางที่ 4

สำนกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -63- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จงั หวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบุร)ี

ตารางที่ 4 เปรยี บเทยี บกรอบงบประมาณตามแผนพฒั นาจงั หวัดกับงบประมาณที่ได้รับจดั สรร
ตามพระราชบญั ญตั ิงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 –2565 ของจังหวดั สุพรรณบุรี

หนว่ ย: ล้านบาท

ประเด็นการพัฒนา/แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 2564 2565

แผน จดั สรร เพมิ่ /ลด แผน จดั สรร เพมิ่ /ลด
จากแผน จากแผน

ประเด็นการพัฒนาที่ 1 การเพ่ิมศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐาน เพื่อการแขง่ ขันทางการค้าและการพัฒนาที่ย่ังยืน

โครงการส่งเสริมและพัฒนาภาคการเกษตร 459.6475 100.7629 -358.8846 125.1179 37.5708 -87.5471

โครงการเพ่ิมศักยภาพการผลติ สินค้าสัตว์น้าส้าคัญของจังหวัดสพุ รรณบุรี (กุ้งกามกรามและปลาสลดิ ) ฯ 3.6587 2.5513 -1.1074 4.3500 1.4506 -4.3500
โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลติ พืชปลอดภัยจังหวัดสุพรรณบุรี 26.8040 9.3050 -17.4990 26.8040 -25.3534

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัยจังหวัดสุพรรณบุรี 1.1330 0.8782 -0.2548 64.4531 35.1792 -29.2739
โครงการสง่ เสริมและพัฒนาคุณภาพสนิ ค้าเกษตรปลอดภัยของจังหวัดสพุ รรณบุรี 1.3000 0.2004 -1.0996
โครงการพฒั นาโครงสร้างพืนฐานเพ่ือการเกษตรจังหวัดสพุ รรณบุรี 312.0959 87.8280 -224.2679

การพฒั นายกระดับคุณภาพผลติ ภัณฑ์ปลาสลิด และบรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงตลาดออนไลน์ 0.9410 0.9410

โครงการอื่น ๆ จา้ นวน 10 โครงการ 114.6559 -114.6559 29.5108 -29.5108
ประเด็นการพัฒนาที่ 2 พัฒนาการท่องเท่ียวและการกีฬา เพื่อสร้างมลู ค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเท่ียว 205.7880 48.3380 -157.4500 70.3600 46.0004 -24.3596
9.1880 -15.7020 21.2600 6.9554 -14.3046
ส่งเสริมการท่องเท่ียวจังหวัดสพุ รรณบุรี 24.8900 13.0000 -2.0000 15.0000 7.7000 -7.3000
-6.0000 6.0000 5.3967 -0.6033
ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเพ่ือการท่องเที่ยว งานอนุสรณด์ อนเจดีย์ 15.0000 15.1500 -23.2869 18.7040 18.7040
11.0000 4.0640
พัฒนาและสง่ เสรมิ กจิ กรรมประเพณวี ัฒนธรรมชาติพนั ธ์ุ 6.0000 -110.4611 3.1803 4.0640
3.1803
พฒั นาโครงสร้างพืนฐานและสิ่งอ้านวยความสะดวกด้านการท่องเท่ียว เพื่อเช่ือมโยงแหลง่ ท่องเที่ยว 23.2869
-5.0000
พฒั นาศักยภาพแหล่งท่องเท่ียวบรเิ วณที่ท้าการอทุ ยานแห่งชาติพุเตย -23.1000

พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเท่ียวตะเพนิ คี่ - ยอดเขาเทวดา อทุ ยานแห่งชาติพุเตย

โครงการพัฒนาโครงสร้างพืนฐานเพ่ือการท่องเที่ยวเข่ือนกระเสยี ว 15.1500

โครงการปรับปรงุ และพฒั นาโบราณสถานจังหวัดสพุ รรณบุรี 11.0000 5.0000
23.1000
โครงการอื่น ๆ จา้ นวน 9 โครงการ 110.4611

ประเด็นการพัฒนาที่ 3 การส่งเสริมคุณภาพส่ิงแวดล้อมควบคู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสู่ความยั่งยืน

โครงการบริหารจดั การด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 175.1240 28.0794 -147.0446 440.2334 2.6446 -437.5888

อนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ มให้คงอยู่อย่างย่ังยืน 7.4258 -7.4258 2.5000 0.9040 -1.5960
ส่งเสรมิ การปลกู ป่าไม้เศรษฐกจิ จังหวัดสพุ รรณบุรี 435.0000 1.7406 1.7406
โครงการพัฒนาโครงสรา้ งพืนฐานเพ่ือเตรยี มความพรอ้ มรบั มือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ -435.0000
โครงการสง่ เสริมการใช้การผลติ พลังงานทดแทนและการอนุรกั ษ์พลังงาน พรอ้ มสรา้ งเครอื ข่ายอาสาฯ 157.5960 25.0000 -132.5960 2.7334
โครงการอื่น ๆ จา้ นวน 2 โครงการ 6.3612 3.0794 -3.2818
ประเด็นการพัฒนาที่ 4 การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 3.7409 -3.7409
โครงการส่งเสริมและพัฒนาด้านสังคม -2.7334
การรณรงค์ป้องกนั และแก้ไขปัญหายาเสพติด To be number one ฯ
ปรับปรุงโครงสรา้ งพืนฐานและระบบสาธารณปู โภคเพื่อความเป็นอยู่ท่ีดีของประชาชน 136.1670 5.6273 -130.5397 50.8452 18.2229 -32.6223
คนดีศรสี ุพรรณ 10.0000 3.3164 -6.6836 10.0000 1.2537 -8.7463
8.1000 -8.1000 16.0000 16.0000
0.9692 0.9692

โครงการสง่ เสรมิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและชุมชนให้เป็นมิตรต่อผู้สงู อายุและทุกกลุ่มทุกวัย 11.6180 0.2414 -11.3766 10.1150 -10.1150

โครงการป้องกนั และแกไ้ ขปัญหายาเสพติดจังหวัดสพุ รรณบุรี 20.0000 1.4190 -18.5810 20.0000 -20.0000
โครงการเสริมสรา้ งการมีส่วนร่วมพลังประชารัฐ และสง่ เสริมความสามัคคีปรองดอง 0.6852 0.4900 -0.1952
โครงการส่งเสริมสถาบันครอบครวั สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา ให้มีความเข้มแข็งฯ 0.9000 0.1605 -0.7395 0.9000 -0.9000
โครงการอ่ืน ๆ จา้ นวน 8 โครงการ 84.8638 -84.8638 9.8302 -9.8302
ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ 9.0000 9.0000 9.0000
9.0000

รวม 985.7264 191.8076 -793.9188 695.5565 113.4387 -582.1178

ท่ีมา:
1. แผนพัฒนาจังหวดั สพุ รรณบรุ ี พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบบั ทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
2. เอกสารงบประมาณ ฉบบั ท่ี 3 ฉบบั ปรับปรงุ ตามพระราชบญั ญตั งิ บประมาณรายจ่าย ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 เลม่ ที่ 13 (1)

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผูแ้ ทนราษฎร -64- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวดั
กรณศี ึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ )ี

โดยงบประมาณที่จังหวัดสุพรรณบุรีได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 113.4387 ล้านบาท
ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นจำนวน 78.3689 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 40.86 ประกอบด้วย

(1) รายจา่ ยประจำ จำนวน 28.7485 ลา้ นบาท คดิ เป็นสดั ส่วนรอ้ ยละ 25.34
(2) รายจ่ายลงทุน จำนวน 84.6902 ลา้ นบาท คิดเปน็ สัดสว่ นร้อยละ 74.66
ผลการศึกษา พบว่า งบประมาณที่ได้รับจัดสรรส่วนใหญ่เป็นกิจกรรม: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน
การเกษตรจงั หวัดสุพรรณบรุ ี รายการคา่ ปรับปรุงทางและสะพาน จำนวน 35.1792 ลา้ นบาท คดิ เป็นร้อยละ
31.01 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน
87.8280 ล้านบาท คดิ เป็นรอ้ ยละ 45.79 ของงบประมาณทไี่ ดร้ บั จัดสรรท้งั หมด เปน็ รายการคา่ ปรบั ปรุงทาง
และสะพานทั้งหมด แบ่งเป็น 1. ค่าปรับปรุงทางและสะพานที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาท 10
รายการ จำนวน 57.5660 ล้านบาท และ 2. การปรับปรุงถนนเดิมเป็นถนนลาดยาง จำนวน 30.2620 ล้านบาท
สรุปได้ว่า งบประมาณที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้รับจัดสรรมีบทบาทไม่มากนักในการ
ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตามแผนพัฒนาของกลุ่มจังหวัด เนื่องจากได้รับจัดสรรงบประมาณต่ำกว่ากรอบ
งบประมาณที่แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดกำหนดไว้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะงบประมาณส่วนที่ 1 ซึ่งเป็น
งบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดท่ีเป็นการเพิ่มศักยภาพที่เป็นความต้องการรายพื้นที่หรือ
แกไ้ ขปญั หาทีเ่ ป็นประเดน็ ร่วมของกลุ่มจงั หวดั ได้รับจดั สรรงบประมาณเพียง 39.2572 ลา้ นบาท คิดเป็นร้อยละ
23.38 ของกรอบการจัดสรรงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
จำนวน 167.8802 ล้านบาท แต่ก็ยังมีงบประมาณในส่วนที่ 2 ที่เข้ามาขับเคล่ือนแผนพัฒนากลุม่ จังหวดั ท่เี ปน็
การพัฒนาในลักษณะ Cluster หรือตอบสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลเชิงพื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัดได้บ้าง
ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน และผู้บริหาร
ทอ้ งถิน่ เพ่ือขับเคล่ือนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 เม่อื วันองั คารท่ี 12 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2562
ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตามแผนพัฒนาในแต่ละประเด็นการพัฒนา
เนอื่ งจากงบประมาณส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 80 ใชจ้ ่ายเพ่ือการพฒั นาให้กลุ่มจังหวัดเปน็ ศนู ย์กลางการท่องเท่ียว
เชิงอนุรกั ษ์ ประวัติศาสตร์ภาคตะวันตก อารยธรรมทวารวดี
ในส่วนของการใชจ้ ่ายงบประมาณของกลุ่มจังหวัดและจงั หวัด พบว่า มีความไม่แตกต่างกนั โดยใช้จ่าย
งบประมาณจากทั้งงบของจังหวัดและงบของกลุ่มจังหวัดในรายการเดียวกัน ดำเนินการเป็นระยะ ๆ ละ 1 ปี
(Phasing) เช่น กรณีรายการท่าเทียบเรือขุนแผน ซึ่งเป็นรายการที่ปรากฎอยู่ในมติการประชุมคณะรัฐมนตรี
อย่างเป็นทางการนอกสถานท่เี น่ืองจากเปน็ ข้อจำกัดของวงเงนิ ของจงั หวดั ทม่ี ีการกำหนดไวว้ ่าขอไมเ่ กิน 1.5 เท่า
จงึ ทำใหร้ ะยะที่ 2 จำเป็นต้องของบท่กี ลุ่มจงั หวัดแทน
สำหรบั งบประมาณของจงั หวดั กาญจนบรุ ีและจงั หวดั สุพรรณบุรที ี่ไดร้ ับจัดสรร พบวา่ มบี ทบาทไมม่ ากนัก
ในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตามแผนพัฒนาของจังหวัดเช่นเดียวกับงบกลุ่มจังหวัด ด้วยเหตุผลเดียวกัน
นั่นคือ ได้รับจัดสรรงบประมาณต่ำกว่ากรอบงบประมาณที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดค่อนข้างมาก

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -65- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณีศึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

ส่วนงบประมาณของจังหวัดราชบุรีท่ีได้รับจัดสรรจะมีบทบาทค่อนข้างมากในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นท่ี
ตามแผนพัฒนาของจังหวัด เนื่องจากโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นไปตามแผนพัฒนา
จงั หวัด หากแต่พบวา่ งบประมาณที่ได้รับจดั สรรในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดค่อนข้างไม่สมดุลนัก
โดยเป็นการเน้นขับเคลื่อนเป้าประสงค์ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Goal) บางเป้าประสงค์ให้ประสบ
ผลสำเร็จอย่างต่อเนื่องเพียงเป้าประสงค์เดียว ในขณะที่จังหวัดยังมีเป้าประสงค์ของ ประเด็นยุทธศาสตร์อื่น
ท่ีจำเปน็ ต้องขบั เคล่ือนเช่นเดียวกัน แต่ได้รับจดั สรรงบประมาณในสัดสว่ นค่อนข้างนอ้ ย นอกจากนี้ คณะผู้ศึกษา
ยังพบว่า กลุ่มจังหวัดและจังหวัดในกลุ่มทกุ จังหวัด มีลักษณะการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายคล้ายกัน นั่นคือ
มีรายจ่ายลงทุนในสัดส่วนท่ีสูงมาก อยู่ระหว่างร้อยละ 75 – 90 อีกทั้งรายจ่ายส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาด
ใหญ่และมีวงเงินงบประมาณค่อนข้างสูง ซึ่งเน้นการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และการปรับปรุง/ก่อสร้างทาง
และสะพานเป็นจำนวนมาก อาทิ การเพิ่มมาตรฐานทาง ปรับปรุงถนนลาดยางและถนนคอนกรีต ปรับปรุงจุด
เส่ยี งทางหลวง การขยายไหลท่ าง กอ่ สร้างแหล่งน้ำ ลกั ษณะการจัดสรรงบประมาณเชน่ น้ี ภายใตง้ บประมาณท่ี
ได้รับจัดสรรไม่เป็นไปตามแผน ย่อมทำให้คงเหลือเงินงบประมาณในวงจำกัดท่ีจะไปทำโครงการขนาดเล็ก
ให้ครอบคลุมโครงการ/กิจกรรมตั้งแต่ตน้ นำ้ ถึงปลายน้ำเพ่ือขับเคล่ือนการพฒั นาพื้นท่ีให้เป็นไปตามแผนพัฒนา
ของจังหวดั และกลมุ่ จังหวดั อย่างสมดลุ เปน็ ไปได้ยาก

4.4 การบริหารงบประมาณ

การบรหิ ารงบประมาณรายจา่ ยของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด คือ การบริหารจัดการการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยการควบคุมการปฏิบัติงาน และการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของหน่วยงาน/ส่วนราชการที่ดำเนินการ
ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ให้เป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่แผนงานยุทธศาสตร์ได้กำหนดไว้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และทิศทางการพฒั นาของจังหวัดและกลุ่มจังหวดั

ทั้งนี้ การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะดำเนินการตามที่ระเบียบ
ว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้จ่ายงบประมาณรายจา่ ย การโอนเงิน
จัดสรรหรือการเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร พ.ศ. 2562 กำหนดเช่นเดียวกับหน่วยรับงบประมาณอื่น รวมทั้งต้อง
ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และการใช้เงินเหลือจ่าย ตามมติคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค
(ก.บ.ภ.) ครง้ั ท่ี 1/2563 เมือ่ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 กลา่ วคือ เมือ่ พระราชบัญญตั งิ บประมาณรายจ่าย
ประจำปีมีผลใช้บังคับ จังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
งบประมาณ (สงป.301 302 และ 302/1) ตามที่ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ และหลักเกณฑ์
ที่มาตรการเร่งรดั การใช้จ่ายงบประมาณกำหนด เพื่อให้สำนักงบประมาณพิจารณาเริ่มปีงบประมาณไม่น้อยกว่า
15 วัน และเมื่อสำนักงบประมาณให้ความเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานฯ แล้ว ก็จะอนุมัติเงินจัดสรร
งบประมาณใหส้ อดคล้องกับแผนการปฏิบตั งิ านฯ ข้างตน้

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -66- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี กึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

การบริหารงบประมาณถือเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์
สง่ ผลไปสกู่ ารบรรลุเป้าหมายการพัฒนาของจงั หวัดและกลุ่มจังหวัด ซง่ึ จะตอ้ งนำงบประมาณไปใช้จ่ายหรือก่อ
หนี้ผูกพันให้เป็นไปตามแผนการพัฒนาที่ได้เสนอไว้ โดยจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะต้องเร่งรัดดำเนินโครงการ
ตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับเป้าหมายการดำเนินงานและการเบิกจ่ายที่รัฐบาลกำหนดตาม
มาตรการเร่งรดั การใชจ้ ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซง่ึ จากการศกึ ษาในคร้งั นี้ พบวา่ จังหวดั และกลมุ่ จงั หวัด
ภาคกลางตอนล่าง 1 ได้ดำเนินการเร่งรัดการดำเนินโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการใช้จ่ายงบประมาณ
สรุปไดด้ งั นี้

(1) เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กลุ่มจังหวัด
ภาคกลางตอนล่าง 1 ได้แจ้งให้จังหวัดภายในกลุ่มจังหวัดประสานหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้
จัดทำรายละเอียดโครงการและกิจกรรมตามแบบคำของบประมาณเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการจากหัวหน้า
กลุ่มจังหวัดเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง โดยหัวหน้ากลุ่มจังหวัดได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่ม
จงั หวัด ปฏิบตั ริ าชการแทนในกระบวนการจัดซอื้ จัดจ้าง เพ่ือใหก้ ารดำเนนิ งานเกิดความคล่องตัว

(2) กรณที ม่ี ีความจำเปน็ เรง่ ด่วนทำให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องโอนเปล่ียนแปลงโครงการ จังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ก็จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปี ตามมตขิ อง ก.บ.ภ. มาใช้ในการบริหารงบประมาณ กลา่ วคือ

(2.1) กรณมี คี วามจำเปน็ เรง่ ดว่ นท่ีจะตอ้ งเสนอโครงการใหม่ ซึง่ ไมอ่ ยู่ในแผนปฏบิ ตั ริ าชการประจำปี
จังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องจัดทำโครงการใหม่ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้ากลุ่มจังหวัด นำเสนอ
โครงการเพื่อขอความเห็นชอบจาก ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. เมื่อ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. ให้ความเห็นชอบในการปรับ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีและการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้ากลุ่ม
จังหวัดจะจัดส่งคำขอเปลี่ยนแปลงโครงการไปยังฝ่ายเลขานุการของ อ.ก.บ.ภ.ภาค เพื่อพิจารณากลั่นกรอง
และเสนอขอความเห็นชอบจากประธาน อ.ก.บ.ภ.ท่ีกำกับดแู ลภาค

(2.2) การเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการให้เป็นอำนาจของ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ภ.
พิจารณาให้ความเห็นชอบการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการที่ไม่มีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ของ
โครงการ กิจกรรม หรือรายการตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ รวมท้ังไม่มีผลทำให้
ตอ้ งเพม่ิ วงเงนิ งบประมาณ ดังน้ี

(2.2.1) โครงการที่ ก.บ.ภ. ให้ความเห็นชอบแต่ยังไมไ่ ดร้ ับการจัดสรรงบประมาณ
(2.2.2) การแก้ไขข้อความที่พิมพ์คลาดเคลื่อน ตกหล่น ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่ได้รับ
จัดสรรงบประมาณ
(2.2.3) การเปลี่ยนแปลงประเภทงบรายจ่าย โดยไม่มีผลทำให้เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของ
รายการตามทไี่ ด้รบั อนมุ ตั ิไวเ้ ดิม

สำนกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -67- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณศี กึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุรี)

(2.2.4) การเปลี่ยนแปลงหน่วยดำเนินงาน โดยที่วัตถุประสงค์ของโครงการ กิจกรรม พื้นท่ี
ดำเนนิ การ และกล่มุ เป้าหมายไมเ่ ปล่ยี นแปลง

(2.2.5) การเปลี่ยนแปลงกิจกรรม หรือพื้นที่ดำเนินการ ที่ไม่กระทบต่อกลุ่มเป้าหมายหรือ
วตั ถปุ ระสงคข์ องโครงการ

(2.2.6) การเปลีย่ นแปลงรายละเอียดของแบบรูปรายการสิง่ ก่อสร้างเพ่ือให้เหมาะสมกับสภาพ
พ้นื ที่ทีจ่ ะดำเนนิ การก่อสร้าง

(2.2.7) การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดครุภัณฑ์ ชนิด จำนวน คุณลักษณะเฉพาะ ที่ไม่มี
ผลกระทบตอ่ การใช้งาน หรือไม่มีผลตอ่ การเปลีย่ นแปลประเภทหรอื ปรมิ าณครุภัณฑท์ ่ีไดร้ บั อนุมตั ิ

(2.2.8) การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรมในงบดำเนินงาน เช่น สถานที่จัดงาน จำนวน
ผู้เข้าร่วม จำนวนรุ่น ค่าวัสดุ ค่าใช้สอย ค่าตอบแทน และระยะเวลา ท่ีไม่ทำให้จำนวนกลุ่มเป้าหมายหรือ
ผู้ได้รบั ประโยชนน์ ้อยลง

(2.2.9) การเปลี่ยนแปลงโครงการเพื่อนำไปขยายผลโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จเพื่อเพ่ิม
เป้าหมายโครงการเดมิ ให้บรรลุผลสมั ฤทธม์ิ ากย่งิ ข้ึน

(2.2.10) การนำเงินเหลือจ่ายไปจ่ายตามคำพิพากษาของศาล ชดเชยค่างานกอ่ สร้างฯ (ค่า K)
และค่าบำรุงดูแลสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการโอนให้ส่วนราชการ เฉพาะกรณีงบบริหารจัดการของจังหวัดหรือ
กลุม่ จงั หวดั ไมเ่ พียงพอ

(2.3) ก.บ.จ./ ก.บ.ก. รายงานผลการเปลย่ี นแปลงโครงการทัง้ หมดให้ อ.ก.บ.ภ. ทก่ี ำกบั ดแู ลภาคทราบ

ทั้งนี้ กรณีมีการโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะ
สง่ เรือ่ งให้สำนกั งานสภาพัฒนาการเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาตริ ับทราบในฐานะฝ่ายเลขานุการ โดยมบี างเร่ือง
ที่ต้องแจ้งเพื่อให้เสนอ อ.ก.บ.ภ. เพื่อทราบและพิจารณา เช่น กรณีมีการโอนเปลีย่ นแปลงท่ีไม่กระทบยอดเงนิ
ไม่กระทบกับผู้ได้รับผลประโยชน์ ซ่งึ เปน็ เร่ืองของการปรับเปล่ียนกิจกรรม ในส่วนน้ีจะเป็นเร่ืองเพื่อทราบและ
ไม่จำเป็นที่จะต้องเสนอเข้า อ.ก.บ.ภ. แต่หากว่ามีการปรับเปลี่ยนในแง่ที่งบประมาณเปลี่ยนแปลง พื้นที่
ดำเนินการเปลี่ยนแปลง หรือกิจกรรมที่ส่งผลต่อการบรรลุ Output หรือ Outcome เปลี่ยนแปลง ในส่วนน้ี
จะตอ้ งเสนอเขา้ อ.ก.บ.ภ. เพื่อพิจารณา

(3) ในการติดตามการบริหารจัดการงบประมาณ กลุ่มจังหวัดใช้ระบบฐานข้อมูลของสำนักงานคลัง
จงั หวัด ซง่ึ มีรายละเอียดการดำเนินงานของแต่ละหนว่ ยงาน ทำใหผ้ บู้ ริหารได้ทราบว่าแตล่ ะโครงการอยู่ระหว่าง
ดำเนนิ การในข้นั ตอนใด

(4) ที่ผ่านมาผลการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ส่วนใหญ่
เป็นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้
ไม่สามารถจัดกิจกรรมที่เป็นการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก เช่น การจัดงานประจำปี และจำเป็นต้อง
โอนเปลย่ี นแปลงงบประมาณไปดำเนนิ การกจิ กรรมในลักษณะอนื่ แทน

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -68- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

(5) ในส่วนของสำนักงบประมาณ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงบประมาณของจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณได้มอบอำนาจตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
2562 ใหผ้ ู้อำนวยการกองจัดทำงบประมาณเขตพนื้ ทม่ี ีอำนาจพิจารณาอนุมัติ ดงั นี้

(5.1) การพิจารณาอนมุ ตั ิแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จา่ ยงบประมาณของจังหวดั และกลุ่มจังหวัด
(5.2) การพิจารณาอนุมัติโอนเปลี่ยนแปลงรายการ สำหรับโครงการใหม่ที่ไม่อยู่ในแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีทม่ี วี งเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท
(5.3) การพิจารณาอนุมัติโอนเปลี่ยนแปลงรายการ สำหรับรายการเดิมที่อยู่ในแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปี ทมี่ ีวงเงนิ ไม่เกิน 20 ลา้ นบาท
(6) สำหรับกรณีที่เอกสารประกอบการชี้แจงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎร ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้ปรากฏข้อมูลว่า
มีโครงการของกลุ่มจังหวดั บางโครงการที่ดำเนินการแลว้ แต่เบิกจา่ ยงบประมาณไมท่ นั ทำให้ต้องส่งเงนิ คนื คลังน้ัน
คณะผู้ศึกษาได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการ/กิจกรรมที่เป็นการก่อสร้าง ปรับปรุงและซ่อมแซม
สิ่งก่อสร้าง สำนักงบประมาณจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลาง
งานก่อสร้างของทางราชการตามที่คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการกำหนด แต่ใน
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างพบว่า ผู้รับจ้างบางรายอาจมีปัจจัยเกื้อหนุนทำให้เสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง
ค่อนข้างมากจึงทำให้มีงบประมาณเหลือ และหากจังหวัด/กลุ่มจังหวัดไม่ได้โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
ดังกลา่ วไปดำเนนิ การรายการอน่ื กจ็ ะทำใหง้ บประมาณส่วนน้นั ต้องส่งคืนคลังเป็นเงินแผน่ ดนิ

4.5 การติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จา่ ยงบประมาณ

การติดตามผลการดำเนินงาน เป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้การดำเนินงานตาม
แผนพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล รวมทั้งทำให้ทราบถึงปัญหา
และอุปสรรคในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป โดยจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะต้องรายงาน
สรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณที่แสดงถึงผลสำเร็จ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการ
ดำเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดเสนอ ก.น.จ. เพื่อเสนอ
คณะรฐั มนตรีรับทราบ

จากการศึกษาพบว่า การติดตามเร่งรัดการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดเป็นเรื่องของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว เช่น การประชุมติดตามประจำเดือน
การต้งั คณะกรรมการติดตามเรง่ รัด การแกไ้ ขปญั หาและอุปสรรคระหว่างการดำเนินโครงการ เป็นตน้ สรปุ ไดด้ งั นี้

สำนกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -69- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณศี ึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

(1) การสรุปการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะสรุปรายการ
โครงการ กิจกรรม และงบประมาณที่ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พร้อมทั้งผลผลิต
ผลสัมฤทธิ์ และปัญหาอปุ สรรคในการดำเนินโครงการในระบบตดิ ตามและประเมินผลแหง่ ชาติ (eMENSCR)

(2) มกี ารแต่งตง้ั คณะอนุกรรมการกำกับตดิ ตามดำเนินการโครงการของกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1
เพื่อทำหน้าท่ีกำกับติดตามและเร่งรัดการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยมีกลุ่มงาน
บริหารงานยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ โดยผู้ว่า
ราชการจังหวัดราชบุรี ในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้มีการประชุมติดตามผลการ
ดำเนินการกับหัวหน้าส่วนราชการเป็นประจำทุกเดือน ในส่วนของจังหวัดได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานติดตาม
เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ทำหน้าท่ีติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือนเช่นเดียวกัน โดยมีคลังจังหวัดเป็น
เลขานุการคณะทำงาน ส่วนสำนักงานจังหวัดจะเป็นผู้ประสานและแจ้งให้ส่วนราชการท่ีไดร้ ับงบประมาณเข้าร่วม
ประชุมเพ่อื รายงานผลเปน็ ประจำทุกเดือน

(3) กองจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่มิได้ลงไปดำเนินการโดยตรง เพียงแต่ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
รายงานเป็นเอกสารในภาพรวมให้กองจัดทำงบประมาณเขตพ้ืนท่ที ราบตามกำหนดเวลา เชน่ เป็นรายไตรมาส
ว่าการดำเนินงานเป็นไปตามแผนหรือไม่ ผลการเบิกจ่ายได้แค่ไหนในภาพรวม ซึ่งผลการดำเนินงานส่วนใหญ่
ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 มักเป็นไปตามแผนฯ แต่ในช่วงที่โควิด - 19 ระบาดได้ส่งผล
ให้การดำเนินงานล่าช้าออกไปบ้างบางกิจกรรม ซึ่งดำเนินการไม่ได้จนต้องขอโอนเปลี่ยนแปลงบางรายการ
นอกจากนี้แล้วยังมีการติดตามรายโครงการในโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินสูง และเป็นโครงการสำคัญท่สี ่งผล
ต่อการบรรลุเป้าหมายในประเด็นการพัฒนาของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด โดยร่วมกับหน่วยงานผู้ดำเนิน
โครงการ/กิจกรรมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน และให้คำแนะนำในกรณีประสบปัญหาในการดำเนินงาน

ทั้งนี้ ในส่วนของการประชุมติดตามการดำเนินงานตามแผน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเร่งรัดการเบิกจ่าย
งบประมาณ หรือการติดตามการทำงานตามแผนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กองจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่
มไิ ดเ้ ขา้ ร่วม เพยี งแตจ่ งั หวดั และกล่มุ จังหวดั จะแจง้ ผลมาใหท้ ราบเทา่ นนั้

(4) ประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ พบว่า ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมของจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น
จำนวน 512.04 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51.66 ของวงเงินงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 991.09
ล้านบาท ประกอบด้วย รายจ่ายประจำ เบิกจ่ายได้ จำนวน 83.34 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 68.78 ของวงเงิน
งบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง และรายจ่ายลงทุน เบิกจ่ายได้ จำนวน 428.70 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
49.28 ของวงเงินงบประมาณหลงั โอนเปลีย่ นแปลง ดังตารางท่ี 5

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร -70- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณศี กึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

ตารางที่ 5 ผลการเบกิ จา่ ยงบประมาณของจังหวัดและกลมุ่ จังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1

ตง้ั แตต่ น้ ปีงบประมาณจนถึงสิ้นเดอื นกนั ยายน พ.ศ. 2564

หนว่ ย: ลา้ นบาท

รายจา่ ยประจา รายจ่ายลงทุน รวม

หน่วยรับงบประมาณ วงเงนิ งบประมาณ เบิกจ่าย วงเงนิ งบประมาณ เบิกจ่าย วงเงนิ งบประมาณ เบิกจ่าย

จ้านวน % จ้านวน % จ้านวน %

กลมุ่ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 25.26 13.30 52.65% 287.87 92.39 32.09% 313.13 105.69 33.75%

กาญจนบุรี 39.00 28.51 73.10% 217.82 122.92 56.43% 256.82 151.43 58.96%

ราชบุรี 20.71 13.59 65.62% 208.62 131.26 62.92% 229.33 144.85 63.16%

สุพรรณบุรี 36.20 27.94 77.18% 155.61 82.13 52.78% 191.81 110.07 57.38%

รวม 121.17 83.34 68.78% 869.92 428.70 49.28% 991.09 512.04 51.66%

สัดส่วนต่อวงเงินงบประมาณ 12.23% 87.77% 100.00%

หมายเหตุ: วงเงนิ งบประมาณ หมายถึง วงเงนิ งบประมาณหลงั โอนเปล่ยี นแปลง
ทีม่ า: ระบบบริหารการเงนิ การคลังภาครัฐแบบอิเลก็ ทรอนกิ ส์ (GFMIS) กรมบญั ชกี ลาง

โดยเม่อื พจิ ารณาด้านการใช้จา่ ยงบประมาณทไ่ี ด้ดำเนินการจัดซื้อจัดจา้ งและจดั ทำข้อผูกพัน/สัญญาแล้ว
โดยรวมผลเบิกจ่ายจำนวน 512.04 ล้านบาท กับใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (PO) และสำรองเงินมีหน้ี จำนวน 435.97
ล้านบาท พบว่า ผลการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 มีจำนวน 948.01
ล้านบาท ซ่ึงคิดเป็นร้อยละ 95.65 ของวงเงนิ งบประมาณหลังโอนเปลย่ี นแปลงท้งั หมด

จะเห็นได้ว่า เมื่อสิ้นปีงบประมาณ จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ในภาพรวมสามารถ
เบกิ จา่ ยเงนิ งบประมาณเข้าส่รู ะบบเศรษฐกิจไดเ้ พยี งคร่ึงหนง่ึ ของงบประมาณท่ีได้รับจดั สรร ซง่ึ เปน็ ผลมาจาก
รายจ่ายลงทุนทไี่ ด้รบั การจดั สรรงบประมาณในสดั ส่วนสงู ถงึ รอ้ ยละ 87.77 แตม่ ปี ระสทิ ธภิ าพการเบกิ จ่าย
ค่อนขา้ งตำ่ ทีร่ ้อยละ 49.28 โดยสัดส่วนการเบิกจา่ ยงบประมาณของกลมุ่ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 จังหวดั
กาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี สามารถเบิกจ่ายได้ร้อยละ 33.75 ร้อยละ 58.96 ร้อยละ
63.16 และร้อยละ 57.38 ตามลำดบั

โดยเมื่อพิจารณาผลการเบิกจ่ายงบประมาณ จำแนกรายโครงการ พบว่า โครงการของกลุ่มจังหวัดท่มี ี
ผลการเบิกจ่ายตำ่ สุด คือ โครงการส่งเสรมิ และพัฒนาการค้าชายแดน รายการ: ก่อสรา้ งถนนทางเข้าตลาดกลาง
การค้าชายแดน จำนวน 24.90 ล้านบาท เบิกจ่ายได้จำนวน 6.72 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26.98 ของวงเงิน
งบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง อีกโครงการที่มีผลเบิกจ่ายต่ำรองลงมา คือ โครงการเพิ่มศักยภาพภาค
การท่องเทีย่ วและบริการ จำนวน 253.22 ลา้ นบาท เบิกจ่ายไดจ้ ำนวน 72.10 ล้านบาท คิดเป็นรอ้ ยละ 28.47
ของวงเงนิ งบประมาณหลงั โอนเปล่ยี นแปลง ดงั ตารางที่ 6

สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -71- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบุรี)

ตารางที่ 6 ผลการเบิกจา่ ยเงินงบประมาณของจงั หวัดและกลมุ่ จงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1
จำแนกรายโครงการ ต้งั แตต่ น้ ปงี บประมาณจนถงึ ส้นิ เดือนกันยายน พ.ศ. 2564

หนว่ ย: ลา้ นบาท

หน่วยรับงบประมาณ วงเงินงบประมาณ เบิกจ่าย

กลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 จานวน % จานวน %
โครงการสง่ เสริมและพัฒนาการค้าชายแดน
โครงการเพิ่มศักยภาพภาคการเกษตร 313.13 31.59% 105.69 33.75%
โครงการเพมิ่ ศักยภาพภาคการท่องเที่ยวและบรกิ าร
โครงการเพิ่มประสทิ ธิภาพการบริหารจัดการภารกิจของกลมุ่ จังหวัด 24.90 2.51% 6.72 26.98%
กาญจนบุรี
โครงการเสริมสรา้ งการพฒั นาด้านเศรษฐกจิ และและอุตสาหกรรม 31.0114 3.13% 24.23 78.15%
โครงการเพิ่มศักยภาพภาคการเกษตร
โครงการเพ่มิ ศักยภาพภาคการท่องเที่ยวและบรกิ าร 253.2167 25.55% 72.10 28.47%
โครงการส่งเสรมิ และพัฒนาด้านสงั คม
โครงการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม 4.00 0.40% 2.63 65.84%
ราชบุรี
โครงการเสรมิ สร้างการพฒั นาด้านเศรษฐกจิ และและอตุ สาหกรรม 256.82 25.91% 151.43 58.96%
โครงการส่งเสริมและพัฒนาภาคการเกษตร
โครงการสง่ เสรมิ และพัฒนาการท่องเท่ียว 98.88 9.98% 32.49 32.86%
โครงการสง่ เสรมิ และพัฒนาด้านสังคม
โครงการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม 64.12 6.47% 60.46 94.29%
สุพรรณบุรี
โครงการสง่ เสริมและพฒั นาภาคการเกษตร 77.70 7.84% 44.91 57.81%
โครงการสง่ เสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
โครงการสง่ เสริมและพฒั นาด้านสงั คม 14.52 1.47% 11.97 82.39%
โครงการบรหิ ารจัดการด้านทรพั ยากรธรรมชาติฯ
รวม 1.60 0.16% 1.60 100.00%

229.33 23.14% 144.85 63.16%

176.64 17.82% 124.59 70.53%

6.20 0.63% 4.40 71.03%

8.73 0.88% 4.52 51.80%

8.73 0.88% 7.47 85.58%

29.03 2.93% 3.86 13.31%

191.81 19.35% 110.07 57.38%

111.86 11.29% 76.44 68.33%

27.90 2.81% 17.51 62.77%

15.94 1.61% 12.05 75.60%

36.11 3.64% 4.07 11.27%

991.09 100.00% 512.04 51.66%

หมายเหตุ: วงเงินงบประมาณ หมายถึง วงเงินงบประมาณหลังโอนเปลย่ี นแปลง
ท่ีมา: ระบบ GFMIF กรมบญั ชกี ลาง

สำนกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -72- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์หน่วยงาน ทำให้ทราบว่าภาพรวมของการดำเนินโครงการของกลุ่มจังหวัด
ภาคกลางตอนล่าง 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีผลดำเนินการเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหา
ในเรอื่ งท่ีหนว่ ยงานไมส่ ามารถควบคุมได้ เชน่ สภาพภมู อิ ากาศ ภยั ธรรมชาติ โควิด - 19 รวมถงึ การปรับแก้แบบ
ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ ทำให้บางกิจกรรมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกการดำเนินกิจกรรม
ซึ่งส่งผลให้การดำเนินโครงการของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ไม่เป็นไปตามกำหนด โดยส่วนใหญ่ที่
เบิกจา่ ยไดช้ า้ คอื โครงการงบลงทุนที่ก่อหน้ีผูกพันขา้ มปีงบประมาณ เนอื่ งจากกระบวนการจัดซ้ือจัดจ้างล่าช้า
ทำให้การก่อหนี้ผูกพันต้องข้ามปีงบประมาณไป ประกอบกับผลกระทบจากโควิด - 19 ทำให้ต้องมีการขยาย
สัญญาออกไป รวมถงึ บางโครงการยงั อยู่ระหวา่ งการปรับเปลย่ี นรูปแบบรายการ ซ่งึ ต้องนำเข้าพจิ ารณา ก.บ.ก.
แล้วขอทำความตกลงกบั สำนักงบประมาณกรณที เ่ี ป็นงบลงทุนเกิน 10 ล้านบาท

โครงการของจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีผลการเบิกจ่ายต่ำสุด คือ โครงการเสริมสร้างการพัฒนาด้าน
เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม จำนวน 98.88 ล้านบาท เบกิ จา่ ยไดจ้ ำนวน 32.49 ล้านบาท คิดเป็นรอ้ ยละ 32.86
ของวงเงินงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากรายจ่ายลงทุนจำนวน 98.83 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ต่ำ
อกี โครงการหนึ่งของจงั หวดั กาญจนบุรี ท่มี ผี ลเบิกจา่ ยตำ่ คอื โครงการสง่ เสริมและพฒั นาการทอ่ งเทยี่ ว จำนวน
77.70 เบิกจ่ายได้จำนวน 44.91 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 57.81 ของวงเงินงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง
ซึ่งเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายที่ต่ำของกิจกรรมที่มีวงเงนิ งบประมาณสูง นั่นคือ โครงการปรับปรุงฟื้นฟูและจดั
ระเบียบแหล่งท่องเที่ยวเดิมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ฯ รายการ : ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อส่งเสริม
การท่องเที่ยวทางน้ำ (ท่าเทียบเรือขุนแผน) ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 1 แห่ง จำนวน
29.97 ล้านบาท เบิกจ่ายได้จำนวน 6.89 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.00 ของวงเงินงบประมาณหลังโอน
เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นรายการที่ใช้งบประมาณของจังหวัดดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ส่วนในปี
งบประมาณ พ.ศ. 2565 ใช้งบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ดำเนนิ การ จำนวน 35 ล้านบาท

โครงการของจังหวัดราชบรุ ี ทม่ี ีผลการเบิกจ่ายตำ่ สุด คอื โครงการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดลอ้ ม กจิ กรรม : โครงการพฒั นานเิ วศเมืองทีย่ ่ังยนื จำนวน 29.03 ลา้ นบาท เบิกจา่ ยได้จำนวน 3.86
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.31 ของวงเงินงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง อีกโครงการหนึ่ง คือ โครงการ
เสรมิ สรา้ งการพฒั นาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งเปน็ โครงการท่ีได้รับงบประมาณในสัดสว่ นสูงสุดร้อยละ
65.18 ของงบประมาณทีจ่ ังหวัดราชบุรไี ด้รบั ทั้งหมดในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 176.64 ลา้ นบาท เบกิ จ่าย
ไดจ้ ำนวน 124.59 ล้านบาท คิดเปน็ ร้อยละ 70.53 ของวงเงินงบประมาณหลงั โอนเปล่ียนแปลง

โครงการของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีผลการเบิกจ่ายต่ำสุด คือ โครงการบริหารจัดการด้านทรัพยากร
ธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม จำนวน 36.11 ล้านบาท (รวมคา่ K กอ่ สร้างเขือ่ นริมแมน่ ำ้ ทา่ จีน) เบกิ จา่ ยได้จำนวน
4.07 ลา้ นบาท คิดเป็นรอ้ ยละ 11.27 ของวงเงินงบประมาณหลังโอนเปลย่ี นแปลง

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -73- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี ึกษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

(5) การกำหนดตัวชี้วัดของโครงการจังหวัดยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
เนื่องจากโครงการที่อยู่ในแผนส่วนใหญ่เป็นตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) ซึ่งยังไม่ส่งต่อไปที่ตัวชี้วัดระดับ
ผลลัพธ์ (Outcome) อย่างชัดเจน ทั้งนี้ การกำหนดตัวชี้วัดของจังหวัดในระดับแผนพัฒนานั้น จะกำหนด
ตัวชี้วัดอยู่ 3 ระดับ คือ (1) ตัวชี้วัดระดับแผน (2) ตัวชี้วัดระดับประเด็นการพัฒนา และ (3) ตัวชี้วัดระดับ
โครงการ ซง่ึ จะสามารถวดั ได้เม่ือดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

อยา่ งไรก็ดี แผนพัฒนาจังหวัดเป็นแผนขนาดใหญ่ ซ่งึ จะประกอบไปด้วยโครงการแผนงานท้ังในส่วนของงบ
จงั หวดั งบ Function งบขององค์กรภาคเอกชน หรือแม้กระท่ังงบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารแผน
จงึ มเี งื่อนไขความสำเร็จอยู่ทหี่ ลายหนว่ ยงาน ดงั นัน้ จงั หวดั จึงกำหนดตวั ชว้ี ัดใหเ้ ปน็ ลักษณะกลาง ๆ เนื่องจาก
งบประมาณของจังหวัดที่มีไม่มาก การกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดให้ชัดเจนเพื่อให้เห็นผลสำเร็จของทั้งแผน
ภายใตง้ บประมาณที่ได้รบั จำกดั อาจจะเปน็ ไปไดย้ าก

ทั้งน้ี กระทรวงมหาดไทยได้มีการจัดทำฐานข้อมลู ตัวช้ีวัดที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ โดยตัวชี้วัดที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดจะเป็นลักษณะ Shopping List ให้จังหวัดเลือกนำไปใช้วัด
เพ่ือแสดงให้เหน็ ความสำเรจ็ ที่เปน็ รปู ธรรมมากขน้ึ

(6) ฝ่ายเลขา ก.บ.ภ./อ.ก.บ.ภ. โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการ
ติดตามประเมินผลโครงการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
หลังโครงการแล้วเสร็จ โดยเป็นการสุ่มโครงการที่มีผลกระทบในเชิงกว้าง (Impact) วงเงินที่ได้รับจัดสรรสูง
(Size) และเป็นยุทธศาสตร์หลักของจังหวัดกลุ่มจังหวัด (จุดเน้นระดับพื้นที่) ส่วนระบบการติดตามและ
ประเมินผลแหง่ ชาติ (eMENSCR) ได้นำมาใชใ้ นการตดิ ตามประเมินผล แต่ขอ้ มลู ยงั มีความไม่สมบรู ณ์ กล่าวคือ
จะได้ขอ้ มลู เฉพาะในแงข่ องผลผลิต (Output) ส่วนผลลัพธ์ (Outcome) จำเป็นต้องศกึ ษาเชิงประจักษ์ในระดับ
พื้นที่ถงึ จะสามารถประเมินผลได้

อย่างไรก็ดี ถ้าหากแยกพิจารณาเป็นรายกิจกรรม/โครงการตามประเภทของโครงสรา้ งพื้นฐานจะพบว่า
มีทัง้ โครงสรา้ งพื้นฐานเพื่อการท่องเทย่ี ว โครงสร้างพนื้ ฐานเพ่ือการเกษตร หรอื โครงสรา้ งพื้นฐานเพื่อการฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ถ้าหากจะพิจารณาในแง่ Outcome ของโครงสร้างพื้นฐานแต่ละ
ประเภทอาจจะตอบมิติในแต่ละประเด็นการพัฒนาได้ อย่างไรก็ดี ถ้าประเทศจะเปลี่ยนโครงสร้างของการ
พัฒนาลงสู่ระดับพื้นที่มากขึ้น อาจจะต้องมีการปรับวิธีการวัดผลใหม่ที่ไม่เน้นการวัดผล Output เพียงอย่าง
เดียวเทา่ นั้น

สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -74- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

4.6 ปญั หาและอุปสรรค

ข้อมลู จากการสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกยี่ วข้องกับกระบวนการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลาง
ตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี) ผลการศึกษาได้พบปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ
การจดั การงบประมาณในประเด็นตา่ ง ๆ ดังน้ี

(1) กระบวนการการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด มีระเบียบ กฎหมาย ที่กำหนดขั้นตอน
และกลไกท่ีเกยี่ วข้องในการพิจารณากล่ันกรองหลายชนั้ และบางส่วนมีความซ้ำซ้อนและมีความขัดแย้งกันเอง
เช่น อำนาจหน้าท่ีของ ก.บ.ภ. กับ ก.น.จ. ทีม่ อี ำนาจหน้าที่ทับซ้อนกัน ซงึ่ อยรู่ ะหว่างการยกร่างพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. .... เพื่อลดความซับซ้อนยุ่งยาก และเกิดเอกภาพในการ
จดั ทำแผนฯ และการบริหารงาน

(2) คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค หรือ ก.บ.ภ. ได้แจ้งนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการ
จัดทำแผน ค่อนข้างกระชั้นชิด ซึ่งจะทำให้กรอบเวลาในการจัดทำแผนมีเวลาน้อยลง ส่งผลให้การจัดทำ
รายละเอยี ดของโครงการบางคร้งั อาจจะไม่ครบถว้ นสมบูรณ์

(3) การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในพื้นที่เป็นการ
บูรณาการทำงานในมิติพื้นที่ มีโครงสร้างการวางแผนที่เป็นระบบและครอบคลุมทุกมิติของการพัฒนา
ซึ่งการขับเคล่ือนให้บรรลุเป้าประสงค์ของการพัฒนาตามแผนต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่กรอบวงเงิน
ท่ีไดร้ ับการจดั สรรเพยี งประมาณ 200-300 ลา้ นบาทต่อปีถือว่านอ้ ยมากและยงั มีแนวโน้มลดลง จงึ เปน็ การยาก
ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนได้ อีกทั้งหน่วยงานบูรณาการกลางยังให้ความสำคัญกับงบประมาณ
จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเป็นเพียง “งบเติมเต็ม” ส่วนที่ขาดจากงบประมาณของกระทรวง กรม งบประมาณ
แผนงานบูรณาการ และเงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น จึงเป็นการลดบทบาทของแผนพัฒนา
จังหวัดที่จะเป็นแกนหลักในการขบั เคลือ่ นการพฒั นาพน้ื ทีอ่ ยา่ งแทจ้ ริง

(4) การกำหนดหลักเกณ์และเงื่อนไขของโครงการ/กิจกรรม ทบ่ี รรจุในแผนปฏิบตั ิราชการประจำปี ท่ีจะ
ขอรับการจัดสรรงบประมาณนั้น มีเงื่อนไขและข้อจำกัดมากเกินไป โดยเฉพาะลักษณะโครงการที่ไม่สามารถ
ขอรับการจัดสรรได้ เช่น “ต้องไม่เป็นโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ทั้งที่เป็นปัญหาและความ
ตอ้ งการของประชาชนอยา่ งแทจ้ รงิ หรือ การกำหนดว่างบจงั หวดั กลุม่ จังหวดั ต้องเป็นรายจ่ายลงทุนร้อยละ 75
รายจ่ายดำเนินงานไม่เกินร้อยละ 25 ส่งผลให้โครงการสว่ นใหญ่เปน็ “ทีด่ นิ และสงิ่ ก่อสร้าง”เปน็ หลัก ประกอบ
กับพื้นที่ดำเนินงานโครงการส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครอบคลุมท้ังจังหวัด หรือพื้นที่
เขตปา่ ไม้ จงึ ส่งผลให้การดำเนนิ งานและการเบิกจ่ายงบประมาณลา่ ช้า และถกู ปรับลดงบประมาณลงอกี ในปตี ่อไป

(5) ปัจจุบันหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทำใหอ้ ำเภอไม่สามารถขอรับการจัดสรรงบประมาณงบพัฒนาจังหวดั ได้
ทั้งที่เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิด และมีภารกิจในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และงบท้องถิ่นไม่เพียงพอจึงทำให้เกิด
ชอ่ งว่างในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน อกี ท้ังแผนพฒั นาอำเภอท่จี ัดทำข้นึ ก็ไม่มีงบประมาณ
ในการขบั เคล่ือน

สำนกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -75- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณศี ึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

(6) สิ่งที่เป็นปัญหาที่ควรได้รับการปรับปรุงมากที่สุด คือ การกำหนดสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณท่ี
ต้องเป็นรายจา่ ยลงทุนร้อยละ 75 และรายจ่ายดำเนนิ งาน ร้อยละ 25 ทำให้ขาดความยืนหยุ่นในการจดั ลำดับ
ความสำคัญของโครงการกิจกรรมที่ขอรบั การจัดสรรงบประมาณ เนอื่ งจากรายจ่ายลงทนุ ส่วนใหญ่เป็นงานจ้าง
ซง่ึ มีกระบวนการทางพัสดแุ ละการดำเนินงานทต่ี ้องใชเ้ วลาดำเนนิ งานและความก้าวหนา้ ของงวดงาน จึงส่งผลให้
เบกิ จา่ ยชา้ กว่ารายจ่ายดำเนินงาน จงึ ไม่ควรเคร่งครัดกบั หลักเกณฑ์ตรงน้ี เพือ่ ให้จังหวัดกลุ่มจังหวดั มีความยืดหยุ่น
ในการใชจ้ า่ ยงบประมาณ และกิจกรรม/โครงการทไี่ ม่มุ่งไปที่งานก่อสรา้ งมากเกนิ ไป

(7) จังหวัดและกลุ่มจังหวัดไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของโครงการในคำของบประมาณมาทั้ง
กระบวนการ กล่าวคือ ไม่ได้จัดลำดับให้ครบท้ังการดำเนินการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทำให้มีข้อมูล
ไม่ครบถ้วนเพ่ือประกอบการพิจารณากลน่ั กรองคำของบประมาณ

(8) การที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดถูกปรับลดวงเงินงบประมาณ ทำให้ต้องมีการปรับลดเนื้องานลง
เนื่องจากมีการสำรวจออกแบบและประมาณราคาค่าก่อสร้างไว้ ตามแบบแสดงรายการปริมาณงานและราคา
(แบบ ปร.4) และแบบสรุปราคากลางงานก่อสร้าง (แบบ ปร.5) สง่ ผลใหก้ ารจดั ซื้อจดั จ้างในปนี ้ัน ๆ ชา้ ลงไปด้วย
เพราะเมื่อมีการปรับลดงบประมาณจะต้องเสนอเข้า ก.บ.ก. แล้วส่งไปยังสำนักงบประมาณในกรณีที่มี
งบประมาณเกิน 10 ลา้ นบาท และถา้ เปน็ งบลงทนุ กจ็ ะต้องสง่ ใหส้ ำนกั งบประมาณพิจารณาอีกครง้ั ซ่งึ นอกจาก
จะส่งผลให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการพิจารณาหลายขั้นตอนแล้วการถูกปรับลดงบประมาณดังกล่าว
ยังสง่ ผลกระทบตอ่ การขบั เคลื่อนแผนพฒั นาจงั หวัดและกลุ่มจังหวัดอีกด้วย

(9) ประเด็นการขอใช้งบประมาณเหลือจ่ายเพื่อดำเนินการในกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเสนอ
โครงการใหม่ ซึ่งไม่อยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ได้กำหนดให้เสนอคำขอ
เปลี่ยนแปลงโครงการไปยัง อ.ก.บ.ภ.ภาค เพื่อพิจารณากลั่นกรอง และเสนอขอความเห็นชอบจากประธาน
อ.ก.บ.ภ.ที่กำกับดูแลภาค ภายในเดือนมีนาคมของปีงบประมาณนั้น ๆ ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวอาจจะไม่ทันต่อ
การเสนอโครงการ และทำให้การดำเนนิ งานลา่ ช้าออกไปอีก

(10) การติดตามการดำเนินงานและการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ พบปัญหาเรื่องความพร้อมของ
โครงการ เมื่อมีการจัดทำแผนล่วงหน้าแล้วรูปแบบรายการไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงของราคา เช่นกรณีราคา
น้ำมันในปัจจบุ ันทำให้บางรายการไม่สามารถดำเนินการได้ รวมถึงกรณีเมื่อมีการเปลีย่ นแปลงโครงการโดยนำ
โครงการใหมเ่ ขา้ มาแทนต้องไปเริ่มกระบวนการใหม่ทัง้ หมด ทำให้โครงการเกิดความล่าชา้ ส่วนปัญหาเรือ่ งการ
เบกิ จา่ ย เกิดจากผลกระทบจากโควิด – 19 ทำใหแ้ ผนการเบิกจา่ ยไม่เป็นไปตามแผน และบางโครงการได้ปรับ
ลดงบประมาณทำใหเ้ ป้าหมายลดลง ต้องไปปรบั แผนจึงทำให้เกดิ ความลา่ ช้าตามไปดว้ ย

(11) ข้อจำกัดเรื่องเวลาในการติดตามประเมินผลของฝ่ายเลขา ก.บ.ภ./อ.ก.บ.ภ. บทบาทภารกิจในการ
ติดตามประเมินผลแผนงานโครงการที่ได้รับจัดสรรในงบจังหวัดและกลุ่มจังหวัดของ ก.บ.ภ./อ.ก.บ.ภ.
จะดำเนินการโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขา ก.บ.ภ./อ.ก.บ.ภ.
ซึ่งปัจจุบนั หน่วยงานประสบกับปัญหาอุปสรรคเรื่องของระยะเวลาในการติดตามประเมินผลแผนงานโครงการ

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -76- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา


Click to View FlipBook Version