The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

7/2565 เอกสารวิชาการ เรื่อง การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thaipbo.parliament, 2022-05-24 23:43:52

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

7/2565 เอกสารวิชาการ เรื่อง การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

การศึกษาการจดั การงบประมาณ

จังหวัดและกลมุ่ จงั หวดั

กรณีศกึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1
(กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุรี)



การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลมุ่ จงั หวดั
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุม่ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1

(กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบรุ ี)



เร่ือง การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณีศึกษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

ฉบับที่ 7/2565

จดั พมิ พ์คร้งั ท่ี 1/2565

จำนวนหนา้ 104 หนา้

จำนวนพมิ พ์ 50 เลม่

จดั ทำโดย สำนักงบประมาณของรฐั สภา สำนกั งานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร

1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

โทรศัพท์ 0 2242 5900 ต่อ 7420

ทป่ี รึกษา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร
ผู้จดั ทำ นายศโิ รจน์ แพทย์พนั ธ์ุ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
นายนพรัตน์ ทวี ผอู้ ำนวยการสำนักงบประมาณของรฐั สภา
นางสาวปิยรตั น์ เต็มญารศลิ ป์ นกั วเิ คราะหง์ บประมาณเช่ียวชาญ
สิบตำรวจตรี ธาม มาฉิม นกั วเิ คราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ
นายเจรญิ พงษ์ ศุภธรี ะธาดา นกั วเิ คราะห์งบประมาณชำนาญการ
นางสาวศิริขวัญ วิเชียรเพลศิ นกั วิเคราะหง์ บประมาณชำนาญการ

กลัน่ กรองโดย คณะกรรมการอา่ นและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารวชิ าการ สำนักงบประมาณของรฐั สภา

พิมพ์ที่ สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร
1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดสุ ติ กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 0 2242 5900 ต่อ 5411

เอกสารวชิ าการ แบบสารวจความคิดเห็น
เร่ือง การศึกษาการจัดการ ตอ่ เอกสารวชิ าการ
งบประมาณจังหวัดและกลุม่ จงั หวัดฯ สานักงบประมาณของรฐั สภา (PBO)



การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี กึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

คำนำ

รายงานการศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี) ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการ
จัดการงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบทบาทของงบประมาณจังหวัด
และกลุ่มจังหวัดในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1
ตลอดจนปญั หาและอุปสรรคท่ีสง่ ผลตอ่ ประสิทธิภาพการจดั การงบประมาณ

คณะผ้ศู ึกษาได้ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ถึงกระบวนการจดั การงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ภาคกลางตอนล่าง 1 โดยนำเสนอผลการศกึ ษา ประกอบด้วย (1) การจดั ทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบตั ริ าชการ
ประจำปี (2) การจัดทำคำของบประมาณ (3) แผนและงบประมาณ (4) การบริหารงบประมาณ (5) การติดตาม
ผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ และ (6) ปัญหาและอุปสรรค รายงานการศึกษานี้สำเร็จได้ด้วย
ความอนุเคราะห์จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณของรัฐสภาขอขอบคุณสำนักพัฒนาและส่งเสริม
การบริหารราชการจังหวัด และสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (OSM) ภาคกลางตอนล่าง 1 สำนักงาน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย กองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาภาค สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ กองจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่ 13 (CBO) สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี กลุ่มงาน
ยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานจังหวัดราชบุรี และ
สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ไดก้ รุณาให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะในกระบวนการจัดการงบประมาณของจังหวัด
และกลุ่มจงั หวัด อันทำให้การศึกษาครงั้ น้ีสำเร็จไดด้ ว้ ยดี

หวังเป็นอยา่ งยิง่ ว่า รายงานการศึกษาฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาจดั สรรงบประมาณของ
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ของสมาชิกรัฐสภาและคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจา่ ยประจำปี รวมทงั้ เป็นประโยชน์ตอ่ บคุ คลในวงงานรัฐสภาและประชาชนผสู้ นใจโดยท่วั ไป

สำนกั งบประมาณของรัฐสภา
พฤษภาคม 2565

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -ก- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา



การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณศี กึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สพุ รรณบุร)ี

บทสรปุ ผบู้ รหิ าร

งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ถูกวางตาแหน่งไว้ในลักษณะ “งบเติมเต็ม” กล่าวคือ เป็น
งบประมาณเพื่อเติมเต็มช่องว่างหรือความขาดแคลนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจากงบประมาณขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และงบประมาณของกระทรวง/หน่วยงาน (Function) ท่ีจัดสรรลงพ้ืนที่จังหวัด
และกลุ่มจังหวัด แต่การเติมเต็มที่ว่าน้ีส่วนใหญ่จะเป็นการเติมเต็มให้กับหน่วยงาน Function เพื่อปรับปรุง/
กอ่ สรา้ งทางและสะพานเปน็ ส่วนใหญ่ และมีหลกั เกณฑท์ ่ีไม่สามารถเติมเต็มให้กับหนว่ ยงานซ่ึงมีความใกล้ชิด
กับประชาชนในพ้ืนท่ีอย่างอาเภอ และอปท. ได้ ส่งผลให้อาเภอและอปท. เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อน
แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้น้อย ทั้งที่เป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจในการดูแล บาบัดทุกข์ บารุงสุข
แก่ประชาชน มีพื้นที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ทั้งยังมีความพร้อมในการดาเนินโครงการและงบประมาณได้รวดเร็ว
สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพ้ืนที่ได้โดยตรง เนือ่ งจากยังมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขพิเศษ
บางอย่างได้ตรึงงบพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดไว้ ทาให้ไม่สามารถใช้จ่ายให้ตรงกับความต้องการของ
ประชาชนหรือปญั หาทแ่ี ตกตา่ งกนั ในแต่ละพืน้ ท่ไี ด้

ในขณะเดียวกัน บทบาทของงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการขับเคลื่อนการพัฒนาพ้ืนท่ีตาม
แผนพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ก็พบว่างบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถแก้ไขปัญหาที่เป็น
ความต้องการตามบริบทของพ้ืนท่ีหรือแก้ไขปัญหาท่ีเป็นประเด็นร่วมของกลุ่มจังหวัด และตอบสนองนโยบาย
ของรฐั บาลในลกั ษณะ Cluster ไดใ้ นระดับหน่ึง แม้ว่าทกุ หน่วยงานในพ้ืนที่จะระดมความคิด สารวจความต้องการ
ประชาชน และใช้เวลาในการจัดทาแผนพัฒนาฯ ค่อนข้างยาวนาน และมีกระบวนการจัดทาแผนและคาขอ
งบประมาณที่ละเอียด รอบคอบและครอบคลุม ผ่านการกลั่นกรองหลายระดับช้ัน แต่ผลการจัดสรร
งบประมาณกลบั พบวา่ ยงั ไม่เป็นไปตามกรอบงบประมาณดาเนนิ การที่กาหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ สว่ นหน่ึง
เกิดจากรัฐบาลได้กาหนดกรอบการจัดสรรสาหรับงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดไว้เพียง 28,000
ล้านบาทต่อปี คิดเป็นประมาณไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินงบประมาณประเทศ และแม้ว่าจะมีการกาหนด
กรอบเงินดังกล่าวไว้อย่างแน่นอนในแต่ละปีแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงตลอดระยะเวลา 5 ปีท่ีผ่านมา
นบั ตงั้ แตป่ งี บประมาณ พ.ศ. 2562 จนถึงปงี บประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณของจังหวดั และกลุ่มจังหวัดก็ยัง
ไม่เคยได้รับการจัดสรรงบประมาณเต็มกรอบเลยแม้แต่ปีเดียว เช่นเดียวกันงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
ก็น้อยกว่าคาขอที่ได้เสนอไว้ตามแผนปฏิบัติราชการประจาปีค่อนข้างมาก อีกทั้งคาของบประมาณท่ีมีลาดับ
ความสาคัญสูงกลับไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามความต้องการของพื้นท่ีอย่างแท้จริง ซ่ึงอาจทาให้
การพฒั นาของจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัดไมเ่ ป็นไปตามเปา้ หมาย โดยผลการศกึ ษา สรุปได้ ดงั นี้

สานกั งานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -ข- สานกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณศี กึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

1. การจดั ทาแผนพฒั นาและแผนปฏิบัตริ าชการประจาปี
1.1 การจัดทาแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจาปี มีกิจกรรมขั้นตอนกระบวนการมีส่วนร่วม
จากหลายภาคส่วน จึงมีลักษณะทางานแข่งกับเวลาทาให้มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของแผนฯ เนื่องจาก
การจัดทาแผนฯ ต้องดาเนินการด้วยความรีบเร่งทาให้ไม่รอบคอบ ครอบคลุม สมบูรณ์ ครบถ้วน โดยเฉพาะการ
ประชุมปรึกษาหารือกันของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งส่วนราชการ หน่วยงานในพื้นท่ี ภาคประชาสังคม และ
ภาคเอกชนในพื้นที่มีเวลาน้อยเกินไป รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมี
ข้อจากัด อีกทั้งการจัดทาแผนในทุกระดับช้ัน ต้ังแต่แผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน แผนพัฒนาตาบล แผนพัฒนา
องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน แผนพัฒนาอาเภอ แผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ต้องจัดทาไป
พร้อม ๆ กัน ในหว้ งระยะเวลาเดียวกนั การประสานแผนฯ ในแตล่ ะระดับจึงมีข้อจากัด ทาให้แผนฯ ไม่สะท้อน
ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้ดีเท่าที่ควร ประกอบกับยังไม่เกิดบรรยากาศการบูรณาการทางานร่วมกัน
ของภาคสว่ นต่าง ๆ ในการกาหนดประเด็นยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนา เปา้ ประสงค์ และโครงการกจิ กรรม
สาคญั ที่เชือ่ มโยงสอดรบั ในลกั ษณะหว่ งโซ่คณุ คา่ อันนาไปสู่การบรรลเุ ปา้ ประสงค์ของแผนฯ อย่างแท้จริง
1.2 แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเป็นจุดบรรจบระหว่างนโยบายของรัฐบาลจากข้างบน
และความต้องการของประชาชนในพื้นที่จากข้างล่างทุกระดับ จึงมีการบูรณาการการทางานแบบมีส่วนร่วม
ของทุกภาคส่วน เพ่ือให้มีความเช่ือมโยงสอดคล้องกันในทุกระดับเป็นแผนเดียวกัน (One Plan) เพ่ือสะท้อน
ปญั หาและความต้องการของประชาชนในพื้นท่ี แต่ในกระบวนการจัดสรรงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) ได้กาหนดหลักเกณฑ์ของโครงการที่จะเสนอเป็นคาขอ
งบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และมีเง่ือนไขเป็นพิเศษ เรียกว่าหลักเกณฑ์ DO/DON'T ได้กาหนด
เง่ือนไขว่าไม่สามารถใช้งบพัฒนาจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดสนับสนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และแผนในระดับล่างได้ โดยงบประมาณส่วนใหญ่ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จัดสรรให้ส่วนราชการ/หน่วยงาน
ของจังหวัดดาเนินการ และไม่มีงบประมาณสนับสนุนแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาตาบล
แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาอาเภอ โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ถ้าอาเภอจะขอรับ
งบประมาณไปดาเนินโครงการจะต้องดาเนินการร่วมกับหน่วยงานหรือส่วนราชการระดับจังหวัดท่ี มีภารกิจ
และอานาจหนา้ ทเ่ี ก่ียวกบั กิจกรรม/โครงการนั้น ๆ
2. การจัดทาคาของบประมาณรายจ่ายประจาปี
2.1 การจัดทาคาของบประมาณรายจ่ายประจาปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะแตกต่างจากหน่วยรับ
งบประมาณอื่น กล่าวคือ นอกจากจะดาเนินการจัดทาคาของบประมาณรายจ่ายประจาปีตามพระราชบัญญัติ
วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 แล้ว จังหวัดและกลุ่มจังหวัดก็ต้องดาเนินการตามกระบวนการและข้ันตอน
ตามที่กาหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
รวมถึงระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพ้ืนท่ีแบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 โดยมีกลไกที่
เกี่ยวข้อง 5 องค์กร ต้ังแต่ระดับจังหวัด (คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ: ก.บ.จ.) กลุ่มจังหวัด

สานักงานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -ค- สานักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวดั
กรณีศึกษา : จงั หวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบุร)ี

(คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ: ก.บ.ก.) ระดับภาค (คณะกรรมการบูรณาการนโยบาย
พัฒนาภาค: ก.บ.ภ.) และระดับประเทศ (คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบ
บูรณาการ : ก.น.จ.) และคณะรัฐมนตรี ขณะเดียวกันก็มีกระบวนการประสานแผนในระดับพื้นที่ จากหมู่บ้าน
ชุมชน ตาบล องคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่น และอาเภอ จากการทมี่ ีองค์กรท่ีเกี่ยวข้องหลายระดับดังกล่าวทาให้
การบริหารจัดการงบประมาณมีหลายข้ันตอน อีกท้ังห้วงระยะเวลาของการจัดทาแผนและงบประมาณของ
จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัด รวมถึงแผนฯ ทเี่ กย่ี วข้องอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ต้องดาเนินการจัดทาแผนอยใู่ นห้วงเวลา
เดียวกัน ส่งผลให้การบูรณาการร่วมกันจึงไม่สอดคล้องกันนัก ประกอบกับกระบวนการจัดทาแผนพัฒนา
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด มีระเบียบ กฎหมาย ท่ีกาหนดขั้นตอน และกลไกที่เก่ียวข้องในการพิจารณากลั่นกรอง
หลายชั้น และบางส่วนมีความซ้าซ้อนและมีความขัดแย้งกันเอง เช่น อานาจหน้าที่ของ ก.บ.ภ. กับ ก.น.จ. ที่มี
อานาจหน้าท่ที บั ซ้อนกัน ทาให้กระบวนการจัดทาแผน คาของบประมาณ การขออนมุ ัตปิ รับปรุงเปลย่ี นแปลงแผนฯ
มีความล่าช้าส่งผลให้การจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีประสิทธิภาพต่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน
อยรู่ ะหวา่ งการยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบรหิ ารงานเชงิ พ้ืนที่แบบบูรณาการ พ.ศ. .... เพ่ือลดความซับซ้อน
ยุ่งยาก และเกิดเอกภาพในการจัดทาแผนฯ และการบริหารงาน ซ่ึงขณะน้ีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ
หน่วยงานทีเ่ กีย่ วขอ้ ง

2.2 หลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีเง่ือนไขยุ่งยาก โดยเฉพาะการ
กาหนดหลักเกณฑ์การเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณของ ก.บ.ภ. ท่ีกาหนดหลักเกณฑ์เง่ือนไขและ
คณุ ลกั ษณะหรือคุณสมบัติของโครงการท่ีขอรับการจัดสรรจะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบส่ิงแวดล้อม โดยต้องยื่น
เอกสารการประเมนิ ผลกระทบสิง่ แวดล้อมมาพรอ้ มกับคาขอโครงการท้ังเร่ืองพื้นท่ีดาเนนิ การ รายละเอยี ดแบบ
รปู รายการ บคุ ลากร ขอ้ ตกลงกับหน่วยงานรับผิดชอบในการดาเนนิ งานและจัดตั้งงบประมาณซ่อมแซม บารงุ รักษา
ทรัพย์สินที่เกิดจากการดาเนินโครงการ และการปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง เป็นโครงการท่ี
ดาเนินการได้ภายใน 1 ปี รวมทั้งโครงการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดทาโครงการประจาปีงบประมาณ
ท่ี ก.บ.ภ. ให้ความเห็นชอบ อีกทั้งท่ีผ่านมาในการพิจารณาคาของบประมาณ สานักงบประมาณได้นาผล
การเบกิ จา่ ยงบประมาณ มาใชป้ ระกอบการพจิ ารณาจัดสรรงบประมาณด้วย

2.3 เนื่องจากงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเป็นเพียงงบประมาณ “เตมิ เต็ม” จึงได้รบั การจัดสรร
เพยี งเทา่ ที่จาเป็นตามสภาพปัญหาและสอดคล้องกบั แนวทางการพัฒนาภาค และนโยบายของรฐั บาล ในขณะที่
ปัจจบุ นั กรอบวงเงินท่จี ะให้ส่วนราชการ/หนว่ ยงาน เขา้ ไปร่วมดาเนินงานตามแผนพัฒนาภาคน้ัน ไมม่ ีกรอบ
วงเงินโดยเฉพาะอีกแล้ว ดังน้ัน แนวโน้มของงบประมาณในมิติพ้ืนที่ ท้ังระดับภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัด
จะคงระดับอยใู่ นกรอบทก่ี าหนดเท่าน้นั และมีโอกาสได้รับการจดั สรรเพม่ิ มากข้นึ ค่อนข้างยาก

2.4 แม้ว่าผลจากการศึกษาโครงการ/กิจกรรมของกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 ส่วนใหญ่งบประมาณ
ท่ีได้รับจัดสรรจะเป็นไปตามแผนพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แต่ผลการเบิกจ่ายยังคงต่า ณ สิ้นปี
งบประมาณ ซ่ึงเป็นผลจากรายจ่ายลงทุนที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามกาหนด โดยเฉพาะโครงการที่ไม่อยู่ใน

สานักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร -ง- สานักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สพุ รรณบุร)ี

แผนพฒั นาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่มวี งเงินสงู รวมทัง้ โครงการท่ีกาหนดไว้ในแผนพัฒนากลุ่มจงั หวัดแต่การ
ดาเนินการไม่สอดคล้องกบั กิจกรรมหลกั ทีก่ าหนดไว้ในแผนพฒั นาฯ (ก่อนทบทวนแผน) นอกจากนี้ ในส่วนของ
ลักษณะการจัดสรรงบประมาณของจังหวัด ท่ีพบว่าจังหวัดได้ให้ความสาคัญในการขับเคลื่อนบางเป้าประสงค์
ประเดน็ ยุทธศาสตร์ (Strategic Goal) ใหป้ ระสบผลสาเรจ็ อย่างต่อเนื่องเพียงเป้าประสงค์เดียว คอื การพัฒนา
ด้านคมนาคม ในขณะท่ีจังหวัดยังมีเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์อ่ืนท่ีจาเป็นต้องขับเคลอ่ื นเช่นเดียวกัน
แต่ได้รับจัดสรรงบประมาณในสัดส่วนค่อนข้างน้อย รายจ่ายส่วนใหญ่ท่ีดาเนินการจึงเป็นโครงการขนาดใหญ่
และมีวงเงินงบประมาณสูง ซึ่งเน้นการปรับปรุง/ก่อสร้างทางและสะพานเป็นจานวนมาก ทาให้คงเหลือเงิน
งบประมาณจากัดไม่มากพอทจ่ี ะไปทาโครงการขนาดเล็กให้ครอบคลุมโครงการ/กิจกรรมตั้งแต่ต้นน้าถึงปลายน้า
เพื่อขับเคลื่อนการพฒั นาพ้นื ท่ีใหเ้ ปน็ ตามแผนพฒั นาของจังหวดั เป็นไปได้ยาก

จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่า โครงการท่ีได้รับการจัดสรรงบประมาณไม่สอดคล้องกับสภาพ
ปัญหาและความต้องการของพ้ืนท่ี เน่ืองจากหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ต้องมีงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่อรายจ่ายประจาในสัดส่วน 75 : 25 ส่งผลให้งบประมาณของจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดส่วนใหญ่ จึงเป็นค่าใช้จ่ายเกยี่ วกับที่ดินและส่ิงก่อสร้าง อีกทั้งแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
เป็นจดุ บรรจบระหว่างนโยบายของรฐั บาลจากข้างบน และความต้องการของประชาชนในพ้ืนท่ีข้างลา่ งทุกระดับ
แต่ในกระบวนการจัดทาคาของบประมาณ องค์กรที่มีหน้าที่พิจารณากล่ันกรองและอนุมัติงบประมาณ
ตั้งแต่ระดับภาค (อ.ก.บ.ภ แต่ละภาค) และระดับประเทศ (ก.น.จ.) และ (ก.บ.ภ.) คณะรัฐมนตรี ส่วนใหญ่
ได้ให้ความสาคัญกับนโยบายของรัฐบาลมากกว่า จึงทาให้โครงการ/กิจกรรมที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
ให้ดาเนินการไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ศักยภาพและบริบทของพื้นที่ เช่นเดียวกนั
ความต้องการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ก็อาจไม่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาในระดับชาติ จึงทาให้
การจดั สรรงบประมาณสวนทางกนั

2.5 โดยที่สานักงบประมาณได้กาหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ต้องมีงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่อรายจ่ายประจา สัดส่วน 75 : 25 ดังน้ัน งบประมาณของจังหวัดและกลุ่ม
จงั หวดั ส่วนใหญ่ จงึ เปน็ ค่าใช้จา่ ยเกี่ยวกับท่ีดินและสิ่งก่อสร้าง ซึ่งต้องมีพน้ื ทด่ี าเนินงานของโครงการ แตโ่ ดยพ้ืนที่
ในเขตจังหวัดส่วนใหญ่ อยู่ในความครอบครองดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น จึงต้อง
มกี ระบวนการขออนญุ าต อนมุ ตั ิ ให้ใช้พ้ืนท่ีดาเนนิ โครงการจากหนว่ ยงานเจ้าของ ซง่ึ สร้างความยากลาบาก
และเพิม่ ข้ันตอนในการขอรบั การจัดสรรงบประมาณ และการดาเนินโครงการ

3. แผนและงบประมาณ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบประมาณที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้รับจัดสรรมีบทบาท
ไม่มากนักในการขับเคล่ือนการพัฒนาพ้ืนที่ตามแผนพัฒนาของกลุ่มจังหวัด เนื่องจากได้รับจัดสรรงบประมาณ
ต่ากว่ากรอบงบประมาณที่แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดกาหนดไว้ค่อนข้างมาก ในส่วนของการใช้จ่ายงบประมาณ
ของจังหวัด และงบประมาณของกลุ่มจังหวัด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันนัก ย่ิงไปกว่านั้นยังพบว่า

สานกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -จ- สานักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบรุ )ี

โครงการ/กจิ กรรมบางรายการ เชน่ รายการท่าเทยี บเรือขุนแผน ใช้งบประมาณจากทง้ั งบของจังหวัดและงบของ
กลุ่มจังหวัดในรายการเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กรณีนี้เนื่องจากเป็นรายการที่ปรากฎอยู่ในมติการประชุม
คณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ซึ่งเป็นกิจกรรมท่ีสอดคล้องกับเป้าประสงค์หลักของกลุ่มจังหวัด
ภาคกลางตอนล่าง 1 และงบประมาณของจังหวัดที่มีจากัด จึงต้องใช้งบประมาณของกลุ่มจังหวัดมาเสริมให้
ดาเนนิ การแลว้ เสร็จโดยเรว็

สาหรับงบประมาณของจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดสุพรรณบุรีจะมีบทบาทไม่มากนักในการขับเคล่ือน
การพัฒนาพ้ืนท่ีตามแผนพัฒนาจังหวัดเช่นเดียวกับงบกลุ่มจังหวัด ด้วยเหตุผลเดียวกันน่ันคือ ได้รับจัดสรร
งบประมาณต่ากว่ากรอบงบประมาณท่ีกาหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดค่อนข้างมาก ส่วนงบประมาณของ
จังหวัดราชบุรีจะมีบทบาทค่อนข้างมาก เน่ืองจากโครงการ/กิจกรรมท่ีได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นไปตามแผน
แต่ก็ยังพบว่างบประมาณที่จังหวัดราชบุรีได้รับจัดสรรในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดค่อนข้างไม่สมดุลนัก
โดยส่วนใหญ่จะได้รับจัดสรรงบประมาณในประเด็นยุทธศาสตร์ท่ี 2 การเสริมสร้างความม่ังคั่งทางเศรษฐกิจ
การค้า การบรกิ าร การท่องเท่ียว ด้วยนวตั กรรมและบริการที่มีมลู ค่าสูง อกี ท้งั เป็นการเน้นขับเคลื่อนเป้าประสงค์
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Goal) บางเป้าประสงค์ให้ประสบผลสาเร็จอย่างต่อเน่ืองเพียงเป้าประสงค์เดียว
คือ “ด้านระบบการคมนาคม การขนส่ง การโลจิสติกส์ มีความปลอดภัย เช่ือมโยงอย่างเป็นระบบรองรับการเติบโต
ของเมือง และการเชื่อมโยงนานาชาติ” เท่านั้น ในขณะท่ีจังหวัดยังมีเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์อื่น
ทจ่ี าเปน็ ตอ้ งขับเคลอื่ นเช่นเดยี วกัน แต่ได้รับจดั สรรงบประมาณในสดั ส่วนคอ่ นข้างน้อย

นอกจากนี้ ยงั พบวา่ งบประมาณของแต่ละจังหวัดและของกลุ่มจังหวัด มีรายจ่ายลงทุนในสัดส่วนท่ีสูงมาก
ระหว่างร้อยละ 75 – 90 อีกทั้งส่วนใหญ่เปน็ โครงการขนาดใหญแ่ ละมีวงเงินงบประมาณค่อนข้างสูง ซึ่งเน้น
การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และการปรับปรุง/ก่อสร้างทางและสะพานเป็นจานวนมาก ด้วยลักษณะ
การจัดสรรงบประมาณเช่นน้ี ภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เป็นไปตามแผน ย่อมทาให้คงเหลือเงิน
งบประมาณในวงจากัดท่ีจะไปทาโครงการขนาดเลก็ ให้ครอบคลุมโครงการ/กิจกรรมต้ังแตต่ ้นนา้ ถึงปลายนา้
เพอ่ื ขบั เคลื่อนการพัฒนาพ้ืนที่ใหเ้ ป็นตามแผนพฒั นาของจงั หวัดและกลมุ่ จังหวดั ได้อยา่ งสมดลุ เป็นไปได้ยาก

4. การบรหิ ารงบประมาณ
4.1 จังหวัดเป็นหน่วยรับงบประมาณตามกฎหมายวิธีการงบประมาณท่ีมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ
มีงบประมาณเปน็ ของตนเอง แตก่ ลบั ไมม่ ีหน่วยงานปฏบิ ัตกิ ารที่เป็นของตัวเอง จึงตอ้ งอาศยั หน่วยงานในสังกัด
ของกระทรวง ทบวง กรม ท่ีอยูใ่ นจังหวัดนั้น ๆ เปน็ หนว่ ยงานดาเนนิ การขบั เคลื่อนแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติ
ราชการประจาปี ซ่ึงหน่วยงานเหล่าน้ีมีภารกิจต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแผนปฏิบัติราชการ เป้าหมายและตัวชี้วัด
ของหน่วยงานเจ้าสังกัด รวมถึงข้อส่ังการของหัวหน้าหน่วยงานเจา้ สังกัดด้วย ทาให้หน่วยงานให้ความสาคัญ
กับการดาเนินงานตามแผนปฏบิ ัติราชการและงบประมาณของจังหวัดหรือกลุ่มจงั หวดั ได้ไมเ่ ตม็ ที่
4.2 โดยที่งบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องมีงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่อรายจ่ายประจา
สดั สว่ น 75 : 25 ทาให้งบประมาณสว่ นใหญเ่ ปน็ รายการค่าที่ดินและสง่ิ ก่อสรา้ ง ซง่ึ ตอ้ งดาเนินการจัดซื้อจัดจ้าง

สานกั งานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -ฉ- สานักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

ตามที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กาหนด ท่ีมีกระบวนการและ
ขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีระยะเวลาตามท่ีกฎหมายกาหนดไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่ขาดความรู้และทักษะในการ
ดาเนินการตามระเบียบพัสดุ การบริหารสัญญา การกาหนดงวดงาน และมีขั้นตอนการอุทธรณ์กระบวนการ
จัดซื้อจัดจ้างทาใหก้ ารจดั หาพสั ดุมีความลา่ ช้า สง่ ผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณมีความล่าชา้ ตามไปดว้ ย

4.3 จากข้อกาหนดคุณลักษณะของโครงการที่ขอรับการจัดสรรงบพัฒนาจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด
“ต้องไม่เป็นโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เนื่องจากรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการ
กาหนดสัดส่วนไว้ตามกฎหมายแล้ว อีกท้ังยังมีงบประมาณที่อยู่ในความดูแลของรองนายกรัฐมนตรีแต่ละท่าน
ที่จะจัดสรรเป็นเงินอดุ หนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน เพือ่ แก้ไขปัญหาท้องถ่ินบางแหง่ ท่ีฐานะทางการคลัง
อ่อนแอ และภารกิจท่ีมีการถ่ายโอนไปให้ อปท. แล้ว ไม่เป็นภารกิจของส่วนราชการอีก ดังน้ัน จึงมิให้นา
งบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดท่ีมีอยคู่ ่อนข้างจากัด ไปจัดสรรในการดาเนนิ โครงการของ อปท. อกี

4.4 ประเด็นการดาเนินการตามมาตรา 29 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 กรณีที่กาหนดให้สานักงบประมาณ ส่วนราชการ และกรมส่งเสริม
การปกครองท้องถ่ิน ต้องแจ้งการได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ดาเนินการตามแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติ
ราชการประจาปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันท่ี
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปีมีผลใชบ้ ังคับนั้น (การแจ้งงบประมาณขาลง) ข้อเท็จจริงคือ
ในทางปฏบิ ัติ “ไม่ได้ดาเนินการ”

5. การติดตามผลการดาเนินงานและการใช้จา่ ยงบประมาณ
5.1 ผลการดาเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1
เป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาในเร่ืองที่หน่วยงานไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สภาพภูมิอากาศ
ภัยธรรมชาติ โควิด - 19 รวมถึงการปรับแก้แบบให้สอดคล้องกับศักยภาพของพ้ืนที่ ทาให้บางกิจกรรมจึงมี
ความจาเป็นท่จี ะต้องยกเลิกการดาเนินกิจกรรม ซง่ึ ส่งผลใหก้ ารดาเนนิ โครงการไมเ่ ปน็ ไปตามกาหนด
5.2 การกาหนดตัวช้ีวัดของโครงการจังหวัดยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงผลสาเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
เนื่องจากโครงการที่อยู่ในแผนส่วนใหญ่เป็นตัวช้ีวัดระดับผลผลิต (Output) ซึ่งยังไม่ส่งต่อไปท่ีตัวช้ีวัดระดับ
ผลลัพธ์ (Outcome) อยา่ งชดั เจน
5.3 ฝา่ ยเลขา ก.บ.ภ./อ.ก.บ.ภ. โดยสานกั งานสภาพฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ได้มกี ารติดตาม
ประเมินผลโครงการอย่างน้อยปลี ะ 1 ครงั้ ซ่ึงสว่ นใหญ่เปน็ การติดตามประเมินผลการดาเนินงานหลังโครงการ
แล้วเสร็จ โดยสุ่มโครงการที่มีผลกระทบในเชิงกว้าง (Impact) วงเงินท่ีได้รับจัดสรรสูง (Size) และเป็น
ยทุ ธศาสตรห์ ลักของจงั หวัดกลมุ่ จังหวัด (จดุ เน้นระดบั พื้นท่ี)

สานักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -ช- สานักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวดั ในภาพรวม มีสาระสาคญั ดงั นี้

1. หน่วยงานบูรณาการกลางควรพิจารณาทบทวนการกาหนดเงื่อนไขในการจัดสรรงบประมาณให้
จังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ต้องมีสัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่อรายจ่ายประจาในสัดส่วน 75 ต่อ 25 ให้มีความ
ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับบริบทเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในแต่ละพื้นท่ี เพ่ือให้จังหวัด
และกลุ่มจังหวัดสามารถดาเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดดีขึ้น
ซ่ึงจะทาให้จงั หวดั และกลมุ่ จงั หวัดมถิ กู ปรบั ลดงบประมาณลงเพราะเหตุดงั กลา่ ว

2. ควรเพมิ่ เงื่อนไขการพจิ ารณากาหนดลักษณะและคณุ สมบัติเฉพาะของโครงการ ภายใต้หลกั เกณฑ์
DO/DON'T ทีก่ าหนดว่า “โครงการต้องไม่เป็นโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน” เพอ่ื ทาให้การบริหาร
งบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของพ้ืนที่อย่างแท้จริง
เน่ืองจากปัจจุบันพ้ืนท่สี ว่ นใหญ่ของจังหวัดครอบคลุมด้วยเขตปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถน่ิ แทบท้ังหมด
การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในโครงการประเภทที่ดินและสิ่งก่อสร้างของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
หากไม่ได้รับความยินยอมจาก อปท. จึงทาให้ดาเนินการได้ยาก อีกท้ังกรณีที่ อปท. ไม่สามารถดาเนินการ
โครงการท่ีเป็นภารกิจถ่ายโอนได้ และมีหนังสือยืนยันเป็นทางการ ก็เห็นควรให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดขอรับ
การจดั สรรงบประมาณสาหรับโครงการดังกล่าวได้ ซง่ึ จะทาให้การจัดสรรงบประมาณสอดคล้องกับสภาพปัญหา
และความต้องการของประชาชนมากข้ึน และท่ีสาคัญการให้งบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถ
อุดหนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ก็สอดคล้องกับบทบัญญัติในมาตรา 52/1 (5) แห่งพระราชบัญญัติ
ระเบยี บบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิม่ เตมิ (ฉบบั ที่ 7) พ.ศ.2550 ทีใ่ ห้จงั หวดั มีอานาจ “จดั ให้มี
การส่งเสริม อุดหนุน และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน เพ่ือให้สามารถดาเนินการตามอานาจหน้าท่ี
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้มีขีดความสามารถพร้อมท่ีจะดาเนินการตามภารกิจถ่ายโอนจาก
กระทรวง ทบวง กรม”

อย่างไรก็ตาม เพ่ือให้เป็นไปตามหลักการกาหนดสัดส่วนรายได้ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินกับ
รัฐบาลตามพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ.2542 ใหน้ ับเงินงบประมาณทจ่ี ังหวัดกลุ่มจงั หวัดอดุ หนนุ ให้ อปท.ดาเนนิ การตามแผนพฒั นาฯ เป็นสว่ นของ
รายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือรับรองว่าโครงการดังกล่าว
เป็นความเดือดร้อนหรือความต้องการของประชาชนในพื้นที่และเกินศักยภาพของท้องถิ่นท่ีจะดาเนินโครงการ
ดังกล่าวได้ด้วยงบประมาณของท้องถน่ิ เอง

3. ควรพิจารณาให้อาเภอสามารถขอรับการจัดสรรงบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดได้ เนื่องจาก
อาเภอเปน็ หน่วยงานทใ่ี กลช้ ดิ ประชาชนมากท่สี ดุ ยอ่ มมีภารกจิ ในการเขา้ ถงึ และดแู ลประชาชนได้คลอ่ งตัวที่สุด
ประกอบกับนายอาเภอเม่ือปฏิบัติงานอยู่ในระดับพ้ืนท่ีจะเปน็ บุคลากรของหน่วยงานราชการที่สาคัญในการเช่ือม
ประสานการพฒั นาสง่ เสริมอาชีพ การจัดทาโครงสร้างพนื้ ฐานตา่ ง ๆ ใหต้ รงกับเปา้ หมายของประชาชนในพ้ืนที่

สานักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -ซ- สานักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

แม้ว่าบางครั้งที่มีการมอบหมายภารกิจให้นายอำเภอไปปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่
อาจถกู มองว่าไม่ใช่ภารกจิ โดยตรง อย่างเช่น การประชมุ หารือเรอื่ งชลประทาน หรือแขวงการทางตา่ ง ๆ ทำให้
ดูเหมือนว่าเป็นงานในลักษณะ Function แต่งานบางส่วนที่ อปท.ขนาดเล็ก มีงบประมาณไม่เพียงพอ หรือ
บางโครงการอาจเกนิ ศกั ยภาพของท้องถิ่น อำเภอสามารถนำงบประมาณพัฒนาจังหวดั เขา้ ไปเสริมในส่วนนีไ้ ด้
ซึ่งทำให้อำเภอมีงบประมาณเพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพมากขนึ้

4. ควรลดน้ำหนักองคป์ ระกอบหลกั เกณฑก์ ารจดั สรรงบประมาณจังหวดั กลุ่มจงั หวดั กรณีจดั สรรตาม
ประสทิ ธิภาพการบริหารงบประมาณของจังหวัดท่ีกำหนดไวร้ ้อยละ 10 ใหม้ ีนำ้ หนักนอ้ ยลง ด้วยเงอ่ื นไขเร่ือง
ประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเป็นหลักเกณฑ์หนึ่งที่ส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
เนื่องจากว่าถ้าหากงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวัด ถูกปรับลดลงไปมากว่านี้ด้วยผลของการเบิกจ่ายล่าชา้
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปจั จยั ที่จังหวัดและกลุม่ จังหวัดไม่สามารถควบคมุ ได้ เป็นต้นว่าสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ
และโควิด – 19 ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาจังหวัดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยหากส้ินปีงบประมาณถ้าสามารถ
ท่ีจะก่อหนี้และจองงบประมาณใน PO ไวไ้ ด้กไ็ ม่ควรตัดงบประมาณของจงั หวดั ลงไป เพราะสดุ ท้ายจะกระทบ
กับประชาชนในพ้นื ที่ทำใหไ้ มไ่ ดร้ ับการแก้ไขปัญหาความเดอื ดร้อนอยา่ งแท้จรงิ

5. ก.บ.ภ. ควรพจิ ารณาปรับปรงุ หลักเกณฑ์ในการปรับปรุงแผนฯ และการบรหิ ารงบประมาณเพ่อื ให้เกิด
ความคล่องตวั โดยการมอบอำนาจให้ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. เป็นผพู้ จิ ารณาให้ความเห็นชอบการโอนเปลี่ยนแปลง
โครงการตามแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปี ทง้ั กรณีงบประมาณปกตแิ ละและงบประมาณเหลือจ่าย และกรณีที่
อยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่ได้รับความเห็นชอบงบประมาณแล้วแต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
(โครงการ Y2) และกรณีโครงการใหม่ทีไ่ ม่อยู่ในแผนปฏบิ ัติราชการประจำปี เพื่อเพิ่มระยะเวลาใหส้ ามารถเร่ิม
ดำเนินการโครงการได้เร็วขึ้น โดยให้เป็นอำนาจของ ก.บ.จ หรือ ก.บ.ก. แล้วแต่กรณีเปน็ ผู้มีอำนาจอนุมตั ิ แล้วจึง
รายงานให้ อ.ก.บ.ภ.ภาค เพื่อทราบเท่านั้น เว้นแต่กิจกรรม/โครงการที่ขอปรับแผนและงบประมาณนั้นส่งผล
กระทบตอ่ เปา้ หมายการพัฒนาตามแผนพฒั นาภาค ให้เปน็ อำนาจของ อ.ก.บ.ภ.ภาค เป็นผอู้ นุมตั ิ

6. การติดตามการดำเนินโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีเพียงระบบการติดตามผล แต่ไม่มีระบบ
การประเมินผลที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการด ำเนินงานภายใต้แผนงาน พัฒนาจังหวัด
และกลุ่มจังหวัด จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางการประเมินผลในแต่ละประเด็น
การพัฒนา เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นข้อมูลว่าควรปรับปรุงการดำเนินงานในแต่ละประเด็นการพัฒนา
อย่างไร รวมทั้งกำหนดเป้าหมายและตวั ชีว้ ัดในแตล่ ะระดับใหช้ ดั เจนเปน็ รูปธรรม และประการสำคญั ต้องนำผล
การประเมินมากำหนดเป็นเกณฑ์ให้น้ำหนักการจัดสรรงบประมาณในแต่ละประเด็นให้เหมาะสม เพื่อให้การ
พัฒนาจงั หวดั และกลมุ่ จงั หวดั เป็นไปอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพยิ่งข้ึน

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -ฌ- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบรุ ี)

7. ควรมีการติดตามและประเมนิ ผลสมั ฤทธิ์จากการดำเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุม่ จังหวัด
(ในช่วงระยะเวลา 5 ปี) วา่ ได้มกี ารใช้จา่ ยงบประมาณไปจำนวนเท่าใด เกิดผลสัมฤทธิข์ องการดำเนนิ งานเพียงใด
ผลของการดำเนินงานตามแผนพัฒนา 5 ปี ได้ตอบสนองต่อความต้องการของพื้นท่ีรวมทงั้ ช่วยพัฒนาและแก้ไข
ปัญหาได้มากน้อยเพียงใด หรือตอบโจทย์ตามท่ีจังหวัดและกลุ่มจังหวัดกำหนดไว้หรือไม่ และสร้างมูลค่าทาง
เศรษฐกจิ ใหพ้ นื้ ที่ไดต้ ามเปา้ หมายเพยี งใด บรรลผุ ลตามแผนพัฒนาหรอื ไม่ มปี ญั หาและอุปสรรคอยา่ งใดหรือไม่

8. ปัจจัยที่จะทำให้การบริหารจัดการงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดประสบความสำเร็จ
และสามารถขับเคลื่อนแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้มีประสิทธิภาพจะต้องมีกระบวนการจัดทำแผนฯ
ทไ่ี ด้รบั ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และมรี ะยะเวลาในการจัดทำแผนพอสมควร ดังน้นั จึงควรมีเวทีในการหารือ
และจัดทำแผนร่วมกันอย่างจริงจัง โดยมีผู้เชี่ยวชาญหรือมีผู้ทรงคุณวุฒิมา Guideline จะทำให้แผน
มีคุณภาพมากขึ้น หากแต่ในปัจจุบันยังไม่พบบรรยากาศของความร่วมมือและหารือกันของส่วนราชการ
ในพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดเพื่อร่วมกำหนดทิศทางและมองภาพอนาคตของกลุ่มจังหวัดในอีก 5 ปีข้างหน้า
อยา่ งจริงจัง โดยในแตล่ ะปีพบว่ามีการจัดทำแผนเป็นไปด้วยความเร่งรีบ มีลกั ษณะทำงานแข่งกับเวลาทำให้มี
ปัญหาเกยี่ วกบั คุณภาพของแผนที่อาจจะไมส่ ะท้อนความตอ้ งการของประชาชนในพ้ืนท่ไี ดด้ ีเทา่ ที่ควร

9. ควรใช้แผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเป็นกลไกหลัก
ในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นท่ี โดยในการจัดสรรงบประมาณและบูรณาการการทำงานในเชิงพื้นท่ีร่วมกนั
ทั้งหนว่ ยงานส่วนราชการ (Function) องค์กรปกครองส่วนท้องถ่นิ และจงั หวดั และกลมุ่ จังหวัด จะตอ้ งยึดถือแผน
ดังกล่าวเป็นแนวทาง รวมถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณตอ้ งมีเป้าหมาย
ตัวชีว้ ดั และคา่ เป้าหมายทีส่ อดคล้องกันทั้ง 3 สว่ น

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร -ญ- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา



การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี กึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

สารบัญ หนา้
(ก)
คำนำ (ข)
บทสรุปผู้บรหิ าร (ฎ)
สารบัญ (ฐ)
สารบัญตาราง (ฑ)
สารบญั แผนภาพ 1
บทท่ี 1 บทนำ 1
3
1.1 ความสำคญั และท่มี าของปัญหา 3
1.2 วตั ถุประสงค์ของการศึกษา 4
1.3 ขอบเขตของการศึกษา 4
1.4 ประโยชนท์ ค่ี าดว่าจะได้รับ 5
1.5 นิยามศัพทเ์ ฉพาะ 5
บทที่ 2 แนวคดิ ทฤษฎี และงานวจิ ยั ที่เก่ียวข้อง 6
2.1 ระบบงบประมาณแบบมงุ่ เน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ 8
2.2 แนวคิดการจดั การงบประมาณเชิงบูรณาการ 3 มติ ิ 8
2.3 หลักการการบริหารงานจังหวดั และกลุ่มจงั หวัดแบบบูรณาการ
2.4 กระบวนการบริหารงานจังหวดั และกล่มุ จงั หวัดแบบบรู ณาการ 11
2.5 แนวทางการบรหิ ารงบประมาณเพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่าย 15
15
งบประมาณของจงั หวัดและกลุ่มจังหวดั
2.6 กฎหมายและระเบียบท่เี กยี่ วขอ้ ง 16

2.6.1 รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 - 2560 18
2.6.2 พระราชบัญญตั ริ ะเบียบบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ พ.ศ. 2534
28
และแก้ไขเพม่ิ เตมิ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550 30
2.6.3 พระราชกฤษฎีกาวา่ ด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุม่ จังหวัด

แบบบรู ณาการ พ.ศ. 2551
2.6.4 ระเบยี บสำนักนายกรฐั มนตรวี ่าดว้ ยการบรหิ ารงานเชงิ พ้ืนที่

แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560
2.6.5 พระราชบญั ญตั วิ ธิ กี ารงบประมาณ พ.ศ. 2561

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -ฎ- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณศี กึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สพุ รรณบรุ ี)

สารบญั (ต่อ) หน้า

2.6.7 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบรหิ ารงานจังหวดั และกลุ่มจังหวัด 32
แบบบรู ณาการ เร่อื ง การจดั ต้งั กลุ่มจงั หวัดและกำหนดจงั หวดั ทเ่ี ปน็ 34
ศูนย์ปฏบิ ตั กิ ารของกลุ่มจงั หวัด (ฉบับท่ี 3) 35
41
2.7 ขอ้ มูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 42
2.8 งานวิจัยทเ่ี กีย่ วขอ้ ง 42
2.9 กรอบแนวคิดในการศึกษา 42
บทท่ี 3 วธิ ีดำเนนิ การศึกษา 43
3.1 รปู แบบการศึกษา 43
3.2 กลมุ่ ตวั อย่าง 44
3.3 เคร่อื งมือท่ีใช้ในการศกึ ษา 45
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 45
3.5 การวเิ คราะห์ขอ้ มลู 52
บทที่ 4 ผลการศึกษา 55
4.1 การจดั ทำแผนพัฒนาและแผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปี 66
4.2 การจดั ทำคำของบประมาณ 69
4.3 แผนและงบประมาณ 75
4.4 การบรหิ ารงบประมาณ 78
4.5 การตดิ ตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ 78
4.6 ปัญหาและอุปสรรค 86
บทที่ 5 สรปุ ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 89
5.1 สรุปผลการศกึ ษา 92
5.2 ขอ้ เสนอแนะ 93
บรรณานุกรม 95
ภาคผนวก 100

ภาคผนวก ก
ภาคผนวก ข
ภาคผนวก ค

สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -ฏ- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

สารบญั ตาราง

ตารางที่ 1 เปรยี บเทยี บกรอบงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีกบั งบประมาณ หน้า
ทีไ่ ดร้ บั จดั สรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจา่ ยประจำปงี บประมาณ 56
พ.ศ. 2564 – 2565 ของกล่มุ จงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 59
61
ตารางที่ 2 เปรียบเทยี บกรอบงบประมาณตามแผนพฒั นาจงั หวดั กับงบประมาณท่ีได้รับจดั สรร 64
ตามพระราชบญั ญัตงิ บประมาณรายจ่ายประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564-2565 71
ของจังหวดั กาญจนบรุ ี 72

ตารางที่ 3 เปรยี บเทียบกรอบงบประมาณตามแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีกบั งบประมาณ
ทไ่ี ดร้ ับจัดสรรตามพระราชบญั ญัติงบประมาณรายจา่ ยประจำปงี บประมาณ
พ.ศ. 2564-2565 ของจงั หวดั ราชบรุ ี

ตารางท่ี 4 เปรียบเทียบกรอบงบประมาณตามแผนพฒั นาจงั หวดั กบั งบประมาณท่ีได้รบั จัดสรร
ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจา่ ยประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564-2565
ของจงั หวดั สพุ รรณบุรี

ตารางท่ี 5 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณของจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1
ตั้งแตต่ น้ ปีงบประมาณจนถึงสนิ้ เดือนกันยายน พ.ศ. 2564

ตารางที่ 6 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1
จำแนกรายโครงการ ตงั้ แต่ตน้ ปีงบประมาณจนถงึ ส้ินเดอื นกันยายน พ.ศ. 2564

สำนกั งานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร -ฐ- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณศี กึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

สารบญั แผนภาพ หน้า
41
แผนภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดการศึกษา 49
แผนภาพท่ี 2 ลักษณะโครงการของจังหวดั และกลุ่มจังหวดั (หลกั เกณฑ์ DO/DON'T) 63
แผนภาพที่ 3 กิจกรรมดำเนินการของโครงการพัฒนานิเวศนเ์ มืองท่ยี ัง่ ยืน
แผนภาพท่ี 4 งบประมาณของจังหวัดและกลุม่ จังหวดั ทไ่ี ดร้ ับจดั สรรในช่วง 81

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2566

ท่ีเก่ียวข้องการทอ่ งเทยี่ วและท่พี ัก 202

สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -ฑ- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี กึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

บทท่ี 1
บทนำ

1.1 ความสำคญั และท่ีมาของปัญหา

งบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ประเทศไปสู่พื้นที่เป้าหมายโดยตรง ซึ่งถือเป็นการเพิ่มอำนาจประชาชนในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน
ไปพร้อมกับการกระจายงบประมาณลงสู่พื้นที่อันเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนและ
ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยการตอบสนอง
ความต้องการและแก้ไขปัญหาในพ้ืนที่ ผ่านโครงการภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่มีการบูรณาการกัน
ทกุ ภาคส่วน ทง้ั สว่ นราชการ รฐั วิสาหกิจ องคก์ รปกครองสว่ นท้องถน่ิ หน่วยงานของรฐั ภาคเอกชน และประชาชน
เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ
ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยงบประมาณจังหวัดมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหา
ความเดอื ดร้อนของประชาชนในพื้นที่ มุง่ เน้นการพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมตามบริบทของพน้ื ท่ี สว่ นงบประมาณ
กลุ่มจังหวัด มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มจังหวัดที่เป็นการเพิ่มศักยภาพ
ตามความต้องการรายพื้นท่ี หรือแก้ไขปัญหาที่เปน็ ประเด็นร่วมของกลุ่มจังหวัด และเพื่อขับเคล่ือนการพัฒนา
ในลกั ษณะ Cluster หรือตอบสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลเชงิ พนื้ ท่ใี นระดบั กลุ่มจังหวดั

การจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวดั นั้นจะต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
แผนแม่บทภายใตย้ ุทธศาสตรช์ าติ แผนปฏริ ูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายสำคัญ
ของรัฐบาล และต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้งบประมาณที่ได้รับ
จัดสรรตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เกิดประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่าย
งบประมาณ แต่เนื่องจากการดำเนินโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ผ่านมายังไม่ตอบโจทย์การพัฒนา
ตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รวมถึงการจัดทำแผนและโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดไม่ได้
ให้ความสำคัญกับการรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ด้วยความตระหนักต่อสภาพปัญหาดังกล่าว
คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) และคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) จึงได้กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและ
กลมุ่ จังหวัด และหลกั เกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพอื่ ปรับให้แผนพฒั นาจังหวดั และกลุ่มจังหวัด
ทันต่อสถานการณ์และใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาของทุกภาคส่วน ซึ่งสำนักงบประมาณ
ได้กำหนดให้การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องคำนึงถึงความจำเป็นและ
ภารกจิ หนว่ ยรับงบประมาณ รวมถงึ ความต้องการในพื้นทแ่ี ละแผนพฒั นาพน้ื ที่

สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -1- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ )ี

ข้อมูลผลการเบิกจ่ายงบประมาณจากระบบบริหารการเงนิ การคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
ของกรมบัญชีกลาง ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2563 พบว่า ผลการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัด
และกลุ่มจังหวัดมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด จากร้อยละ 86.1 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 53.0 ในปี 2563
สำหรับในปี 2564 ปรากฏว่ามีผลการเบิกจ่ายงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 14,892.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
64.4 ของวงเงินงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีวงเงินที่ก่อหนี้แล้วแต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
เป็นจำนวนถึง 7,739.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.5 ทั้งนี้ จังหวัดสระบุรีเป็นเพียงหน่วยงานเดยี วที่สามารถ
เบิกจา่ ยไดต้ ามเปา้ หมายในไตรมาส 4 ที่รอ้ ยละ 100 จากทั้งหมด 94 หนว่ ยรับงบประมาณ

กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และ
จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีจังหวัดราชบุรีเป็นที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและ
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดไปสู่การปฏิบัติที่บรรลุผลสัมฤทธิ์ โดยแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลาง
ตอนล่าง 1 พ.ศ. 2562-2565 ได้กำหนดเป้าประสงค์รวมของกลุ่มจังหวัด คือ เศรษฐกิจมั่นคง ประชาชนมัง่ ค่ัง
และความสุขที่ยั่งยืน โดยกำหนดตัวชี้วัดเศรษฐกิจมั่นคง ประเมินจากอัตราการขยายตัวมูลค่าผลิตภัณฑ์กลุ่ม
จงั หวัด ร้อยละ 3.5 ดา้ นประชาชนม่งั คั่ง ประเมนิ จากมูลค่าผลิตภัณฑ์กลุ่มจงั หวัดเฉล่ียต่อหัว เพมิ่ ขึ้นร้อยละ 5
และดา้ นความสุขท่ีย่งั ยนื ประเมินจากค่าดัชนีความก้าวหน้าของคน (HAI) เฉล่ียของกลุ่มจังหวัดต้องไม่น้อยกว่า
ค่าเฉลี่ยของปี 2562 หรือไม่น้อยกว่า 0.6000 แต่เนื่องจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้รับจัดสรร
งบประมาณต้ังแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2565 มแี นวโนม้ ลดลงมาโดยตลอดจากจำนวน 293.7 ลา้ นบาท
ในปี 2562 เป็นจำนวน 185.4 ล้านบาท ในปี 2565 ซึง่ ลดลงเปน็ จำนวนถึง 108.3 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็น
รอ้ ยละ 36.9 และ ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณหลงั โอนเปลี่ยนแปลงรายการ
เพียงร้อยละ 33.8 อกี ท้ังจากเอกสารช้แี จงงบประมาณต่อคณะกรรมาธิการวสิ ามัญพจิ ารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจา่ ยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 ของกล่มุ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 พบวา่ กลุม่
จังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 มีเงินเหลือจ่ายจากการจัดซ้ือจัดจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการ
จดั ซอ้ื จัดจา้ งและการบริหารพัสดุภาครัฐ เพมิ่ ขน้ึ ต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2564 จำนวน 5.7 ลา้ นบาท
21.8 ล้านบาท และ 28.4 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ต้องขออนุมัติโครงการ
จากคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) เพื่อนำเงินเหลือจ่ายดังกล่าว มาใช้ในการ
ดำเนินโครงการใหม่ และมีบางโครงการตอ้ งขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ และขอความเห็นชอบจาก
อ.ก.บ.ภ ทำให้เงินเหลอื จ่ายสว่ นท่ีเหลอื กจ็ ะตกคืนคลงั เปน็ เงนิ แผน่ ดนิ ไปตามกฎหมายวา่ ดว้ ยวิธกี ารงบประมาณ

ประกอบกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประม าณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2565 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ได้มีความเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณ
จังหวัดและกลุ่มจังหวัดว่า ควรมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ

สำนกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -2- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณศี ึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบรุ ี)

ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภายหลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณว่ามีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร
มปี ระสิทธิภาพหรอื บรรลุตามเปา้ หมายหรอื วตั ถปุ ระสงค์ท่ีกำหนดไว้หรือไม่

ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะผู้ศึกษาในฐานะนักวิเคราะห์งบประมาณของสำนักงบประมาณของรัฐสภา
จึงได้ดำเนินการศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา: จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ภาคกลางตอนลา่ ง 1 เพือ่ เปน็ ขอ้ มูลให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ใช้ประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี และเพื่อให้ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายเพื่อการปรับปรุงกระบวนการจัดทำ
และการบรหิ ารจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวัด ใหร้ ะบบงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวัดคงเป็น
กลไกสำคญั ในการขบั เคลื่อนการพฒั นาประเทศในมิติพนื้ ทตี่ ่อไป

1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของการศึกษา

1.2.1 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการจัดการงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด หลักเกณฑ์
ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบทบาทของงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตาม
แผนพัฒนาจังหวดั และกล่มุ จังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1

1.2.2 เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการงบประมาณของจังหวัดและ
กลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1

1.2.3 เพื่อให้ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการเพม่ิ ประสิทธิภาพการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่ม
จังหวัด รวมถึงยกระดับงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในภาพรวมให้มีบทบาทในการขับเคลื่อนการพัฒนา
พื้นทจ่ี ังหวัดและกลุม่ จงั หวดั เพม่ิ ขึ้น

1.3 ขอบเขตของการศกึ ษา

การศกึ ษาครั้งนเ้ี ปน็ การศึกษาเชิงคณุ ภาพ โดยคณะผ้ศู ึกษาไดก้ ำหนดขอบเขตของการศกึ ษา ดงั นี้
1.3.1 ขอบเขตด้านเน้ือหา
ศึกษางบประมาณที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้รับจัดสรรตามเอกสารงบประมาณ
รายจา่ ยประจำปี ฉบับปรบั ปรุงตามพระราชบัญญตั งิ บประมาณรายจ่ายประจำปี
1.3.2 ขอบเขตด้านกล่มุ เป้าหมาย
กลมุ่ เป้าหมายท่ีใช้ในการศึกษาคร้ังนี้ คือ ผูร้ บั ผดิ ชอบดา้ นนโยบาย แผน และงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับ
งบประมาณของจังหวดั และกลมุ่ จงั หวัด จำนวน 7 หน่วยงาน ไดแ้ ก่
(1) สำนกั พฒั นาและสง่ เสริมการบรหิ ารราชการจงั หวดั และสำนกั บริหารยุทธศาสตรก์ ลุ่มจังหวัด (OSM)
ภาคกลางตอนลา่ ง 1 สำนกั งานปลัดกระทรวงมหาดไทย
(2) กองยทุ ธศาสตรแ์ ละประสานการพฒั นาภาค สำนกั งานสภาพฒั นาการเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ
(3) กองจดั ทำงบประมาณเขตพื้นที่ 13 (CBO) สำนักงบประมาณ สำนกั นายกรฐั มนตรี
(4) กล่มุ งานยุทธศาสตรแ์ ละข้อมลู เพ่อื การพัฒนาจงั หวดั สำนักงานจังหวดั ราชบุรี

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผูแ้ ทนราษฎร -3- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สพุ รรณบุร)ี

(5) กลมุ่ งานยุทธศาสตรแ์ ละขอ้ มลู เพือ่ การพฒั นาจังหวดั สำนักงานจังหวดั กาญจนบุรี
(6) กลมุ่ งานยุทธศาสตร์และข้อมลู เพอื่ การพัฒนาจงั หวดั สำนกั งานจังหวัดสุพรรณบรุ ี
1.3.3 ขอบเขตด้านพื้นท่ี
การศึกษาครั้งนี้ เลือกศึกษาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด
กาญจนบุรี จังหวัดราชบรุ ี และจังหวดั สุพรรณบุรี
1.3.4 ขอบเขตดา้ นระยะเวลา
ระยะเวลาในการศกึ ษางบประมาณของจังหวดั และกลุม่ จังหวดั 6 เดือน คือ เดอื นพฤศจกิ ายน พ.ศ. 2564
เดือนเมษายน พ.ศ. 2565

1.4 ประโยชน์ทคี่ าดวา่ จะได้รับ

1.4.1 ทราบกระบวนการจัดการงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และบทบาทของงบประมาณ
จังหวดั และกลมุ่ จงั หวดั ในการขับเคล่อื นการพัฒนาตามแผนพฒั นาจังหวัดและกลมุ่ จังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1

1.4.2 ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่ม
จงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1

1.4.3 เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณางบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้แก่สมาชิกรัฐสภาและ
คณะกรรมาธกิ ารวสิ ามัญพจิ ารณารา่ งพระราชบัญญตั ิงบประมาณรายจา่ ยประจำปี

1.5 นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ

การจัดการงบประมาณ หมายถึง กระบวนการในการดำเนินการด้านงบประมาณของจังหวัดและกลุ่ม
จังหวัด ตั้งแต่การจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี การจัดทำคำของบประมาณ การบริหาร
งบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ

กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 หมายถึง กลุ่มจังหวดั ที่จัดตัง้ ขึน้ ตามประกาศคณะกรรมการนโยบาย
การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็น
ศนู ย์ปฏบิ ตั กิ ารของกลุ่มจังหวัด ฉบับท่ี 3 โดยกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบรุ ี
จงั หวัดราชบรุ ี และจังหวัดสุพรรณบุรี โดยให้จงั หวัดราชบรุ ีเป็นศนู ยป์ ฏิบตั ิการของกล่มุ จังหวดั

แผนพัฒนาจังหวดั และกลุ่มจังหวัด หมายถึง รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานตา่ ง ๆ ของจังหวัด
และกลุ่มจังหวัดที่จำเป็นต้องจัดทำเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่ม
จังหวัดในอนาคต

งบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด หมายถึง รายการงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จังหวัดและ
กลุ่มจงั หวัดย่ืนคำขอจัดต้ังต่อสำนักงบประมาณเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัตริ าชการประจำปีของจังหวัดและ
กลุ่มจงั หวดั

สำนักงานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร -4- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณศี ึกษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบรุ )ี

บทที่ 2
แนวคดิ ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเกีย่ วข้อง

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลาง
ตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี คณะผู้ศึกษาได้ทำการศึกษารวบรวมแนวคดิ ทฤษฎี และงานวิจยั
ที่เก่ยี วขอ้ งเพ่อื ประกอบการศึกษา ดงั น้ี

2.1 ระบบงบประมาณแบบมงุ่ เน้นผลงานตามยทุ ธศาสตร์
2.2 แนวคดิ การจดั การงบประมาณเชิงบรู ณาการ 3 มิติ
2.3 หลกั การการบริหารงานจงั หวดั และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
2.4 กระบวนการบริหารงานจังหวดั และกลมุ่ จงั หวดั แบบบูรณาการ
2.5 แนวทางการบริหารงบประมาณเพ่ือเพ่ิมประสิทธภิ าพการใชจ้ า่ ยงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั
2.6 กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
2.7 ข้อมูลเพอื่ การพฒั นาจังหวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1
2.8 งานวจิ ยั ที่เกย่ี วขอ้ ง
2.9 กรอบแนวคดิ ในการศึกษา

2.1 ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ เป็นระบบที่ได้มีการนำมาใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2547 จนถึงปจั จบุ ัน เป็นระบบงบประมาณที่ให้ความสำคญั กบั การกำหนดพันธกิจ จุดมุ่งหมาย วตั ถปุ ระสงค์
กลยุทธ์ แผนงาน งาน/โครงการอย่างมรี ะบบ มีการติดตามและประเมินผลสม่ำเสมอ เพื่อวัดผลสำเร็จของงาน
ตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับกระทรวงและระดับกรมหรือระดับหน่วยงาน ระบบงบประมาณแบบ
มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์จึงมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ ดังน้ี (สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั , 2553, น. 35-38, อา้ งถงึ ใน ชูเกียรติ รักบำเหน็จ, 2563, น. 12-13)

2.1.1 มุ่งเน้นผลสำเร็จตามเปา้ หมายเชิงยทุ ธศาสตร์ คือการให้ความสำคัญกับความสำเรจ็ ตามเป้าหมาย
ในทุกระดับ ต้ังแตเ่ ป้าหมายเชงิ ยุทธศาสตร์ระดบั ชาตจิ นถึงเปา้ หมายการให้บรกิ ารของกระทรวง และหน่วยงาน

2.1.2 เน้นหลักการธรรมาภิบาล เป็นระบบที่เน้นหลักการธรรมาภบิ าลหรือหลักการบริหารจัดการที่ดี
โดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละระดับที่ชัดเจน เริ่มตั้งแต่รัฐบาลรับผิดชอบต่อผลส ำเร็จตาม
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติเพราะเป็นผู้บริหารและผู้ก ำหนดนโยบายสูงสุดของประเทศสู่ระดับ
กระทรวงหรือรัฐมนตรีทีร่ ับผิดชอบตอ่ ผลสำเร็จตามเป้าหมายการให้บริการของกระทรวง และระดับหน่วยงาน
หรอื หวั หนา้ หน่วยงานท่ีรับผดิ ชอบตอ่ ผลสำเร็จของผลผลิตท่สี ่งผลโดยตรงตอ่ ประชาชน

สำนักงานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร -5- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณีศกึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

2.1.3 การมอบอำนาจการบริหารจัดการงบประมาณ เพื่อสนับสนุนให้กระทรวงและหน่วยงาน
สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการให้บริการที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน
ในแต่ละระดับ จึงได้มีการมอบอำนาจการบริหารจัดการงบประมาณให้กับกระทรวงและหน่วยงานมากขึ้น
พร้อมทงั้ ผอ่ นคลายกฎระเบียบตา่ ง ๆ ใหม้ คี วามคล่องตวั ในการบริหารจดั การงบประมาณมากข้ึนด้วย

2.1.4 การเพิ่มขอบเขตความครอบคลุมของงบประมาณ การจัดทำงบประมาณรายจ่ายที่ผ่านมา
มีขอบเขตจำกัดอยู่เพียงค่าใช้จ่ายของกิจกรรมที่ใช้จ่ายจากงบประมาณแผ่นดินเท่าน้ัน ไม่รวมถึงกิจกรรมที่ใช้
เงินนอกงบประมาณ เช่น เงินกู้ เงินช่วยเหลือ และเงินรายได้ของหน่วยงาน เป็นต้น ดังนั้น การน ำเงินนอก
งบประมาณมาพจิ ารณาร่วมกนั กับงบประมาณรายจ่ายประจำปจี ะทำใหแ้ ผนการเงนิ โดยรวมของภาครฐั มีความ
สมบูรณ์ ครอบคลมุ และสามารถใช้ประโยชนใ์ นการวางแผนทางการเงินและการคลงั ได้ถูกตอ้ งเหมาะสมยงิ่ ขนึ้

2.1.5 การประมาณการงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง เป็นการวางแผนงบประมาณ
รายจา่ ย 3 ปลี ว่ งหน้าจากค่าใชจ้ ่ายทหี่ นว่ ยงานไดร้ บั อนุมตั ใิ นปัจจุบัน ภายใตส้ มมตฐิ านวา่ ไมม่ ีการเปลี่ยนแปลง
นโยบายสำหรับแผนงานต่าง ๆ เหล่านั้น ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าสัดส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในอนาคตนั้น
สอดคลอ้ งกบั เปา้ หมายการพัฒนาประเทศในแตล่ ะด้าน

2.1.6 การติดตามประเมินผลความสำเร็จตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ การรายงานผลการดำเนินงาน
ที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อเป็นการตรวจสอบผลการดำเนินงานของทุกหน่วยงานว่าได้บรรลุผลสำเร็จตาม
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยมีตัวชี้วัดผลสำเร็จในทุกมิติทั้งปริมาณ คุณภาพ เวลา และ
ค่าใช้จ่ายไว้อยา่ งชดั เจนเพ่ือใช้เปน็ ข้อมูลประกอบการตดั สินใจในการบริหารงบประมาณ ตลอดจนเปน็ การแสดง
ความรบั ผดิ ชอบของหน่วยงานตอ่ ผลสำเรจ็ ของงาน

2.2 แนวคิดการจดั การงบประมาณเชงิ บูรณาการ 3 มติ ิ

การจัดการงบประมาณเชิงบูรณาการอาจให้คำจำกัดความได้ว่า หมายถึง “กระบวนการจัดทำ
งบประมาณของหน่วยงานตั้งแต่ 2 หน่วยงานขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติภารกิจในประเด็นยุทธศาสตร์เรื่องเดียวกัน
หรอื มีเปา้ หมายหลักอย่างเดียวกนั เพ่ือให้เกิดการประสานเชื่อมโยงกันอยา่ งกลมกลืนและสมบูรณ์ ลดความซ้ำซ้อน
ในการดำเนนิ งาน ตลอดจนเพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพและประสทิ ธิผลในการทำงาน” (ศนู ยบ์ ริการวชิ าการ สถาบัน
บณั ฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร,์ 2552, น. 17)

สำหรับมิติการจัดการงบประมาณภายใต้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) นั้น ได้มีการกำหนดแนวทางในการพิจารณาจัดสรร
งบประมาณแบ่งเปน็ มติ ิต่าง ๆ ซง่ึ มีความสอดคล้องและเช่ือมโยงกนั โดยมเี ป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติ และ
เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเป้าหมายที่สำคัญในการจัดระบบงบประมาณ
โดยการจัดการงบประมาณเชิงบูรณาการ สามารถแบง่ ไดเ้ ปน็ 3 มิติ ดงั นี้ (สพุ ฒั น์ นาครตั น์, ม.ป.ป., น. 46-48)

สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -6- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณีศกึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

2.2.1 มิติงานตามนโยบายหรือยุทธศาสตร์เฉพาะของรัฐบาล (Agenda) มีความครอบคลุมภารกิจ
หรือนโยบายเฉพาะเร่ืองทร่ี ัฐบาลกำหนดและมอบหมายส่ังการ โดยไมไ่ ด้เปน็ ภารกิจของกระทรวงใดกระทรวงหน่ึง
โดยเฉพาะ เป็นการมุ่งเน้นที่การมีเป้าหมายและการดำเนินงานร่วมกัน มีหน่วยงานเจ้าภาพ/ผู้รับผิดชอบ
และผูส้ นบั สนุนอยา่ งชดั เจน

การจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการที่รองรับการปฏิบัติงานตามมิตินโยบายและยุทธศาสตร์น้ัน
จะขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาลในแต่ละช่วงเวลาเป็นหลัก ซึ่งอาจหมายถึง วาระแห่งชาติ
นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คือ การท่ี
ยังคงยึดมั่นและเน้นหนักที่ผลสัมฤทธิ์จากการใช้จ่ายงบประมาณ หรือประโยชน์สูงสุดของประชาชน และ
ประเทศชาติ โดยสำนักงบประมาณจะถ่ายทอดนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติโดยกำหนดให้อยู่ในรูปแบบ
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี จากนั้นจะพิจารณากรอบวงเงินการจัดสรรงบประมาณ
ประจำปีให้กับส่วนราชการตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ของสำนักงบประมาณ ความสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์การจดั สรรงบประมาณรายจา่ ยประจำปี ยทุ ธศาสตร์ชาตแิ ละนโยบายรัฐบาล

2.2.2 มิติงานตามยุทธศาสตร์กระทรวงและหน่วยงาน (Function) มีความครอบคลุมภารกิจหลัก
ของกระทรวงและกรมหรือหน่วยงานเทียบเท่า ซึ่งเป็นราชการบริหารสว่ นกลาง โดยมีเป้าหมายชัดเจนภายใต้
ขอบเขต อำนาจหน้าที่ ความรับผดิ ชอบของกระทรวงและกรม และต้องสอดคลอ้ งกบั เป้าหมายและยุทธศาสตร์
ระดบั ชาตแิ ละยทุ ธศาสตรก์ ารจดั สรรงบประมาณรายจา่ ยประจำปี

การจัดการงบประมาณมิติตามส่วนราชการและหน่วยงานเป็นการแปลงนโยบายและยุทธศาสตร์
แหง่ ชาติสู่การปฏบิ ตั ิ ตามภารกจิ และอำนาจหน้าที่ของกระทรวง/กรมตา่ ง ๆ ซ่งึ กระทรวงและกรมน้นั ถอื ได้ว่า
มีความเข้มแข็งมาก เนื่องจากกระทรวง/กรมในฐานะราชการส่วนกลางใช้หลักการรวมศนู ย์อำนาจการบริหาร
ราชการ การจัดการงบประมาณ ฯลฯ และถูกใช้เป็นกลไกในการบูรณาการแนวด่ิง (Vertical) ที่จะรองรับการ
ขบั เคล่อื นตามนโยบายและยุทธศาสตร์แห่งชาติ อย่างไรกด็ ี ลำพงั การบรู ณาการในแนวดิง่ โดยมีกระทรวง/กรม
เป็นหน่วยงานหลกั ไม่สามารถสร้างการบูรณาการในลักษณะองค์รวมได้ เนื่องจากแนวดิ่งมีลกั ษณะสัง่ การจาก
บนลงล่าง (Top-Down) ทำให้การส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมมีจำกัด รวมทั้งไม่สามารถตอบสนองความ
แตกต่างหลากหลายของความต้องการ ปัญหา และเรอ่ื งทีส่ นใจของพ้นื ที่ตา่ ง ๆ ได้อยา่ งทวั่ ถึง

2.2.3 มิติงานตามยุทธศาสตร์พ้ืนที่ (Area) มเี ป้าหมาย และยุทธศาสตรท์ ่ีเน้นเฉพาะในพื้นทสี่ อดคล้อง
กับเป้าหมาย/ยุทธศาสตร์ระดับชาติและนโยบายรัฐบาล ความสำคัญของมิติตามพื้นท่ี โดยเฉพาะจังหวดั /กลมุ่
จังหวัด และท้องถิ่น จัดเป็นหน่วยปฏิบัติในระดับรากหญ้าที่กระจายหน่วยงานและบุคลากรลงสู่พื้นที่ระดับ
อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน อย่างเต็มรปู แบบและใกลช้ ิดกบั ประชาชนผรู้ ับบริการ จำแนกไดเ้ ปน็ 2 ส่วน ได้แก่

(1) การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัดและอำเภอ ซึ่งได้รับการมอบอำนาจ
จากราชการส่วนกลางเพื่อการนำนโยบาย แผนงาน และโครงการต่าง ๆ (นโยบายรัฐบาล ภารกิจ/แผนงาน/
โครงการของกระทรวงและกรม) ไปสกู่ ารปฏบิ ัติ หรือกลา่ วอกี นัย คอื ราชการสว่ นภมู ภิ าคมีหน้าทที่ ำงานตามที่

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -7- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

ได้รับมอบหมายจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้การบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ โดยมีฐานะเป็นตัวแทนของ
ส่วนกลาง “ผู้ว่าราชการจังหวัด คือ นายกรัฐมนตรีของจังหวัด” ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ตอบสนองความ
ต้องการ แก้ไขปญั หาความเดือดรอ้ นของประชาชนในพนื้ ทีค่ วบคู่กันด้วย

ดังนั้น รูปแบบและแนวทางการปฏิบัติตามกระบวนการงบประมาณ จึงควรมีการพัฒนาให้มีการ
มอบอำนาจในการบริหารงบประมาณและอำนาจหน้าที่อื่น ๆ เพื่อให้จังหวัดเกิดความคล่องตัวในการ
ปฏบิ ตั ิงานและการใช้จ่ายงบประมาณเพอ่ื ปฏบิ ัตงิ านในลกั ษณะดังกล่าวข้างตน้

(2) การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่าง ๆ ได้รับ
อำนาจที่ราชการส่วนกลางกระจายอำนาจไปให้ โดยมีความเป็นอิสระในการบริหารงานและด้านงบประมาณ
เพื่อจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชนในพื้นที่ตามกรอบที่กฎหมายกำหนด และอยู่ภายในกำกับดูแลของ
ราชการสว่ นภมู ภิ าค

2.3 หลกั การการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบรู ณาการ

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 มาตรา 6
ได้กำหนดให้การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้

(1) การบริหารงานให้เปน็ ไปตามแผนพัฒนาจงั หวดั หรอื แผนพัฒนากลมุ่ จังหวัด
(2) การสร้างโอกาสและส่งเสริมให้เกิดการมีสว่ นร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกจิ
เอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
เพ่ือการพฒั นาอยา่ งยง่ั ยนื
(3) การกระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็ว
ในการปฏบิ ตั ิราชการ
(4) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจให้องค์กร
ปกครองสว่ นทอ้ งถิน่
(5) การบริหารกจิ การบา้ นเมืองทีด่ ี มีความโปรง่ ใส และมกี ารตรวจสอบผลสมั ฤทธขิ์ องการปฏบิ ตั ิราชการ
(6) การบรหิ ารงบประมาณจงั หวัดให้เป็นไปตามวิธีการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบรู ณาการ

2.4 กระบวนการบริหารงานจงั หวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบรู ณาการ

การบริหารงานจงั หวัดและกลมุ่ จงั หวัดแบบบูรณาการมีกระบวนการแบ่งออกไดเ้ ป็น 4 ขนั้ ตอน ดงั นี้

2.4.1 การกำหนดหลักการ นโยบาย และระบบการบรหิ ารงาน
ตามพระราชกฤษฎีกาวา่ ด้วยการบริหารงานจังหวดั และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 น้ัน
ได้กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ หรือ ก.น.จ.
มอี ำนาจหนา้ ที่ ดังน้ี

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -8- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณศี กึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบรุ ี)

(1) กำหนดกรอบนโยบายและวางระบบในการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
เพื่อให้จังหวัดและกลุม่ จงั หวัดสามารถบริหารงาน แก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่ในเขตจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด
ไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธภิ าพและตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ไดร้ บั ประโยชน์สงู สุด

(2) กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
แผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปีของจงั หวัด และแผนปฏิบตั ริ าชการประจำปขี องกลุ่มจังหวัด การจดั ทำและบริหาร
งบประมาณจังหวดั และงบประมาณกลุม่ จงั หวัด

(3) พจิ ารณา กลนั่ กรอง และให้ความเหน็ ชอบแผนพัฒนาจังหวดั แผนพฒั นากล่มุ จังหวัด แผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด และคำของบประมาณของจังหวัด
และกลมุ่ จงั หวัดตามกฎหมายว่าดว้ ยวธิ กี ารงบประมาณ และนำเสนอตอ่ คณะรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้มีการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นท่ี
แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 ซ่งึ มีผลใชบ้ ังคบั กับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
เป็นต้นมา ได้กำหนดให้มี “คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค” (ก.บ.ภ.) เป็นองค์กรสูงสุด
ในการบรู ณาการการบริหารงานเชิงพื้นท่ี มีหนา้ ทแี่ ละอำนาจในการกำหนดหลักการ นโยบาย และระบบการ
บริหารงานของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำ รวมถึง
การพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบตั ิราชการประจำปีของจังหวัด
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด และคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดตามกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีการงบประมาณด้วย จึงทำให้มีความซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าท่ีของ ก.น.จ. ตามพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุม่ จังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 จึงกำหนดให้นายกรัฐมนตรีในฐานะ
ประธาน ก.บ.ภ. และ ก.น.จ. อาจมคี ำส่ังใหม้ ีการประชุมรว่ มกันระหวา่ ง ก.บ.ภ. กบั ก.น.จ. เพื่อแกไ้ ขปัญหาดังกล่าว

ทั้งนี้ โดยให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของ
ก.บ.ภ. ซ่ึงต่อมาได้มีการจดั ตง้ั “กองยุทธศาสตรแ์ ละประสานการพัฒนาภาค” ในสำนกั งานสภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่ดังกล่าว และให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการหรือ
สำนักงาน ก.พ.ร. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของ ก.น.จ. ซึ่งในส่วนของกระทรวงมหาดไทยเองก็ได้มีการ
จัดตั้ง “สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด” ภายในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประจำในการประสานงานเพื่อการจดั ทำแผนและงบประมาณของจังหวัดและ
กลุ่มจังหวดั รวมถงึ การกำกบั ควบคมุ ตดิ ตาม ดว้ ย

สำนกั งานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -9- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบุร)ี

2.4.2 การขับเคล่อื นการบรหิ ารงานของจังหวัดและกล่มุ จังหวดั แบบบรู ณาการ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
ได้กำหนดให้มี “คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ” หรือ ก.บ.จ. เป็นองค์กรหลักในระดับ
จังหวัด และ “คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ” หรือ ก.บ.ก. เป็นองค์กรหลักของกลุ่ม
จังหวัด โดยให้มอี ำนาจหนา้ ท่ี ดงั น้ี
(1) วางแนวทางปฏิบัติและอำนวยการให้การบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัด/กลุ่มเป็นไปตาม
หลักการ นโยบาย และระบบการบรหิ ารงาน
(2) จดั ทำแผนพัฒนาจงั หวดั /กล่มุ จงั หวดั
(3) ส่งเสริม ประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจเอกชน
และแก้ไขปัญหาภายในจังหวัด/กลุ่มจังหวัดและระหว่างกลุ่มจังหวัดเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามแผนพัฒนา
จังหวดั /กลุม่ จังหวดั อย่างยั่งยนื
(4) จัดทำบันทึกความเข้าใจกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุน
การดำเนนิ การตามแผนพฒั นาจังหวัด/กลุม่ จังหวัด และแผนปฏบิ ตั ริ าชการประจำปขี องจังหวัด/กลุ่มจงั หวัด
(5) วิเคราะห์ บูรณาการ และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และคำขอ
งบประมาณจังหวัด/กลมุ่ จังหวดั
(6) กำกับ ให้คำแนะนำ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
และแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีของจงั หวดั /กลมุ่ จงั หวัด และรายงาน ก.น.จ.

ทัง้ นี้ ในการดำเนินงานของ ก.บ.จ. จะมี “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เปน็ แกนนำในการสนับสนุนขับเคลื่อน
การดำเนินงานของจังหวัด โดยมี “สำนักงานจังหวัด” ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง
มหาดไทยทำหน้าทหี่ น่วยงานธรุ การของ ก.บ.จ. และทำหน้าท่อี นื่ ๆ ตามท่ี ก.บ.จ. มอบหมาย

สำหรับการดำเนินงานของ ก.บ.ก. จะมี “ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด” เป็นแกนนำ
ในการสนับสนุนการขับเคลอ่ื นการดำเนนิ งานของกลุ่มจังหวัด โดยมี “หน่วยงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด
หรือ OSM” ซึ่งเป็นเจา้ หน้าท่ีสงั กัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยจากสว่ นกลางที่ส่งไปประจำ ณ ศูนย์
ปฏิบตั กิ ารของกลมุ่ จังหวัดน้นั ๆ ทำหน้าท่ีฝา่ ยธุรการของ ก.บ.ก. และงานอื่น ๆ ตามที่ ก.บ.ก. มอบหมาย

2.4.3 การจัดทำแผนปฏบิ ัติราชการประจำปีและคำขอรับการจัดสรรงบประมาณ
การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีและคำขอรับการจัดสรรงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา นอกจากจะเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงาน
จังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 แล้ว ยังอยู่ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ
บริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 ทำให้กระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณของจังหวัดและ
กลุ่มจงั หวัดเปลีย่ นไปจากเดมิ กล่าวคือ

สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -10- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณศี ึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบรุ )ี

(1) เมื่อ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจงั หวัดแล้วเสรจ็ ให้ส่ง “คณะอนุกรรมการ
บูรณาการนโยบายพัฒนาภาค” ของแต่ละภาค ตามข้อ 5 วรรคสองของระเบียบดังกล่าว พิจารณา
กลั่นกรองเสียก่อน แลว้ จงึ เสนอกลับไปยัง ก.น.จ. ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 พิจารณา กลั่นกรองตามอำนาจหน้าที่ แล้วจึงนำเสนอต่อ ก.บ.ภ.
พจิ ารณาใหค้ วามเห็นชอบตอ่ ไป

(2) ต่อมาเมื่อ ก.บ.ภ. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจังหวดั และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ตามที่ ก.น.จ. เสนอมาแล้วนั้น
ก.บ.ภ. มหี น้าที่รายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ เม่ือคณะรฐั มนตรรี ับทราบแล้ว จงึ ให้ ก.บ.ภ. ส่งให้สํานัก
งบประมาณเพื่อใช้จัดสรรงบประมาณตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
แบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ตอ่ ไป

2.4.4 การกำกับควบคมุ และการติดตามประเมินผล
มาตรา 31 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
กำหนดให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณที่แสดงถึง
ผลสำเร็จ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนนิ งานตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏบิ ัติราชการประจำปีของ
จังหวัดเสนอ ก.น.จ. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และให้จัดส่งสำเนาให้สำนักงบประมาณทราบภายในหกสิบวัน
นับแตว่ ันส้นิ ปงี บประมาณ
นอกจากน้ี มาตรา 34 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกลา่ ว ยังไดก้ ำหนดให้ผ้ตู รวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
และผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยรายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนา
จังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของ
กล่มุ จงั หวัด รวมทงั้ การบรหิ ารงบประมาณจงั หวดั และงบประมาณกลุ่มจงั หวัดต่อ ก.น.จ. อย่างน้อยปลี ะสองคร้งั

2.5 แนวทางการบรหิ ารงบประมาณเพือ่ เพิ่มประสิทธิภาพการใชจ้ า่ ยงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (2564) ได้ถอด
บทเรียนหลกั การบริหารงบประมาณทดี่ ี (Best Practice) จากจงั หวดั ทมี่ ผี ลการบรหิ ารงบประมาณอยใู่ นอันดับ
ต้น ๆ อย่างต่อเนื่อง (ย้อนหลัง 3 ปี) จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัด
อุทัยธานี จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสตูล จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดพะเยา เพื่อเป็น
แนวทางในการบริหารงบประมาณใหเ้ กิดประสทิ ธิภาพการใช้จา่ ยงบประมาณของจงั หวดั และกลมุ่ จังหวดั ดังนี้

สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -11- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณศี ึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบรุ )ี

2.5.1 การจดั ทำคำของบประมาณ
2.5.1.1 แนวทางการดำเนินการตามนโยบาย หลักเกณฑ์ วธิ ีการจัดทำแผนพัฒนาจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัด

(1) ควรปรับปรุงเงื่อนไขการพิจารณาจัดสรรงบประมาณแก่โครงการที่จังหวัดเสนอให้มีความ
ชัดเจนและควรให้ความสำคัญกับความต้องการของจงั หวัดเปน็ อันดับแรก เพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถ
ตอบสนองตอ่ แผนพฒั นาจงั หวัดได้เตม็ ประสิทธภิ าพ

(2) ควรปรับลดงบลงทนุ ต่องบประมาณจากท่ีกำหนดสัดส่วน 75 ตอ่ 25 ใหล้ ดเหลอื เพียงร้อยละ
50 และงบดำเนินงานร้อยละ 50 เพื่อให้จังหวัดสามารถดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ
ประชาชนในพ้นื ทีไ่ ดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพ

2.5.1.2 การจัดทำแผนพัฒนาจังหวดั และแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปี ควรมุ่งเนน้ ในประเดน็ ดังต่อไปนี้
(1) โครงการที่ดำเนินการนอกจากจะต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลยังต้องมุ่งเน้น

ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยการสำรวจผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ การออกจังหวัดเคลื่อนที่
การใช้สื่อ/เคร่ืองมือ/เทคโนโลยีสารสนเทศ การประสานแผนหมบู่ ้าน/ชมุ ชน และการวเิ คราะหส์ ถานการณป์ ัจจุบัน

(2) มีการบูรณาการทุกภาคส่วน สร้างการรับรู้ให้กับทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน
มสี ่วนรว่ มในกระบวนการจดั ทำแผนตั้งแต่เร่มิ ตน้

(3) การประสานแผนในระดับต่าง ๆ (one plan) โดยการจัดลำดับความต้องการของปัญหา
และความต้องการในพื้นที่ ผ่านกลไกการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนา
ท้องถิน่ และแผนพัฒนาอำเภอ เพอื่ ใหแ้ ผนมีความเชือ่ มโยงกันทกุ ระดับ

2.5.1.3 ปัจจัยแวดล้อมที่จะสามารถผลักดันให้การขับเคลื่อนแผนงานโครงการเพื่อพัฒนาและแก้ไข
ปญั หาในพ้นื ทีใ่ หป้ ระสบความสำเร็จ

(1) ความพร้อมของโครงการ ท้ังแบบรูปรายการ ประมาณการ ปร.4/ปร.5 หนังสืออนุญาตการใช้
พื้นท่จี ากผู้มอี ำนาจ รวมถงึ การบริหารจดั การทรัพย์สินหลงั โครงการเสร็จสิน้

(2) ผบู้ ริหารในพื้นท่ตี ้องใหค้ วามสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นไปอย่างมีประสทิ ธิภาพ
(3) ความพร้อมของส่วนราชการในการดำเนนิ โครงการตามแผนพฒั นาจงั หวดั
(4) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในการร่วมกัน
แก้ไขปัญหาในพืน้ ท/ี่ ขบั เคลอื่ นแผนไปสู่การปฏบิ ตั ิ
(5) บุคลากรควรมีความรู้ในการดำเนินโครงการ การจัดซอื้ จัดจา้ ง และระเบยี บทเี่ กย่ี วข้อง
(6) การจัดสรรงบประมาณตามที่จังหวัดได้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ โดยมีการเรียง
ลำดบั ความสำคญั ของโครงการ/ความต้องการของประชาชนในพน้ื ท่ี

สำนกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -12- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ )ี

2.5.2 การบรหิ ารงบประมาณ
2.5.2.1 ควรมกี ารปรบั ปรุง แก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าดว้ ยการจดั ซื้อจัดจา้ งและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 8 ในประเด็นที่กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการ
ส่วนกลาง (อธิบดี) แต่ไม่สามารถมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการส่วนกลางที่มีที่ตั้งในจังหวัดได้โดยตรง
สง่ ผลให้การจดั ซือ้ จดั จา้ งโครงการตามแผนปฏิบตั ริ าชการประจำปขี องจังหวดั เกิดความลา่ ชา้
2.5.2.2 ควรมกี ารพัฒนาและให้ความรู้ผู้ปฏบิ ตั งิ านพสั ดเุ กยี่ วกบั การจดั ซือ้ จดั จ้างภาครฐั อยา่ งต่อเน่ือง
2.5.2.3 วธิ กี ารบรหิ ารจดั การแผนงาน/แผนเงนิ /โครงการ เพอื่ ใหก้ ารดำเนนิ การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(1) กำหนดวงเงนิ ใช้จ่ายงบประมาณประมาณรอ้ ยละ 60 ในไตรมาส 1-2
(2) แจ้งแผนงาน/แผนเงินที่สำนักงบประมาณให้ความเห็นชอบให้ส่วนราชการที่ได้รับจัดสรร
งบประมาณทราบและถอื ปฏิบตั ิตามแผนฯ อย่างเครง่ ครดั
(3) นำผลการใชจ้ า่ ยงบประมาณมาประเมนิ การทำงานของส่วนราชการ
(4) ทุกภาคส่วนในจังหวัดจะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแผนงาน/แผนเงิน
ของจังหวัด โดยร่วมกันกำหนดแนวทางในการจัดทำแผนงานโครงการ การดำเนินงาน ตลอดจนการเร่งรัด
ติดตาม เพ่อื ใหก้ ารดำเนนิ งานและการใช้จ่ายงบประมาณเปน็ ไปตามเปา้ หมาย
(5) การสร้างความเข้าใจกับทุกส่วนราชการ โดยกำหนดให้มีการประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ
กับทุกหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อทำความเข้าใจทั้งในมิติการดำเนินการ เช่น แนวทาง
ขัน้ ตอนการดำเนินการและการกำหนดเป้าหมายให้ตรงกนั ตลอดจนการคาดการณ์ปัญหาอุปสรรคที่จะเกิดข้ึน
เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขล่วงหน้า และมิติการบริหารงบประมาณ เช่น การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ
มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล การกำหนดขั้นตอนการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่าย
และร่วมกนั กำหนดปฏิทินการติดตามในระดบั พื้นที่ การประชมุ ติดตามในระดับจังหวัด และการประชมุ ซักซ้อม
ความเข้าใจตา่ ง ๆ
(6) การประชมุ ติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชดิ และต่อเน่อื ง กำหนดให้มีการประชมุ ติดตาม
รายเดือน โดยแบ่งภารกิจเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1) การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ มอบหมายให้สำนักงานจังหวัด
ดำเนินการจัดประชุมจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และสำนักงานคลังจังหวัดจัดประชุมเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
ในภาพรวมทุกเดือน และ 2) การติดตามการดำเนินการตามแผน มอบหมายให้กลุ่มงานยุทธศาสตร์และขอ้ มูล
เพ่อื การพฒั นาจังหวดั สำนกั งานจังหวัดดำเนินการ โดยในไตรมาส 2 กำหนดให้มีการประชมุ ชี้แจงอย่างต่อเน่ือง
เพอ่ื ให้หน่วยงานเขา้ ใจข้ันตอนการทำงาน และรบั ทราบปญั หาอุปสรรคจากการดำเนินการในแต่ละขน้ั ตอน
(7) กำหนดเป็นวาระสำคัญของจังหวัดและเป็นตัวชี้วัดการทำงานในการประเมินส่วนราชการ
ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของจังหวัด (ประเมินจังหวัด/ประเมินผู้บริหารของ
จงั หวดั ) และกรอบการจัดสรรงบประมาณในปถี ดั ไป

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -13- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณศี ึกษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบุร)ี

(8) แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัด ลงพื้นที่ติดตาม
โครงการ จดั ประชมุ เร่งรดั การทำงานรายหนว่ ยงานเป็นประจำทุกสปั ดาห์เพื่อแก้ไขปัญหาอปุ สรรคในการทำงาน

(9) การรายงานผลความคืบหน้า/ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาในที่ประชุม
คณะกรรมการจงั หวดั /หวั หน้าส่วนราชการทุกเดือน และการประชมุ คณะกรรมการบรหิ ารงานจังหวดั แบบบูรณาการ

(10) การจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยการบูรณาการความร่วมมือของสำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง
จังหวัด และหนว่ ยตรวจสอบภายในจังหวัด

(11) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรท่ีเกีย่ วข้องด้วยการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย
และระเบียบที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ (การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารพัสดุ การเบิกเงิน การรับเงิน
การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งคลัง การบริหารงบประมาณ ฯลฯ) การวิเคราะห์โครงการ รวมทั้ง
การเขียนแผนงาน โครงการ ให้กับส่วนราชการและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน
การปรับปรงุ แผนพฒั นาจงั หวดั และแผนปฏิบัตริ าชการประจำปขี องจงั หวดั เพ่ือให้เกิดการพฒั นาในมติ ติ า่ ง ๆ

2.5.3 การกำกบั ติดตาม
(1) จัดทำแผนเพื่อใช้ในการติดตาม/เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ โดยมีแผนการใช้จ่ายงบประมาณ

ในการเบิกจ่ายเงินล่วงหน้า จัดตั้งคณะทำงานติดตามฯ วางระบบการติดตามและรายงานผลโดยไม่เน้นการจัดทำ
ในรูปแบบเอกสาร การวางกรอบและแนวทางในการเร่งรัดกอ่ หนผ้ี กู พนั กรณีงบลงทนุ ทมี่ วี งเงินงบประมาณสูง

(2) การติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ โดยกำหนดห้วงเวลาในการติดตาม เร่งรัด การใช้
จ่ายงบประมาณอย่างชัดเจน รวมทั้งเร่งรัดให้ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและเบิกจ่าย
งบประมาณตามงวดสัญญา รวมไปถึงการแต่งตั้งคณะทำงานติดตามการดำเนินโครงการ โดยการลงพื้นที่เพ่ือ
รับทราบปญั หาของการดำเนนิ งานและใหค้ ำแนะนำแก่สว่ นราชการผูร้ บั ผดิ ชอบโครงการ

(3) การติดตามผลการเบิกจ่ายและการจัดทำอันดับการเบิกจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจาก
ระบบการบริหารการเงินภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของกรมบัญชีกลาง เพื่อรายงานผู้บริหารของ
จงั หวดั และการรายงานความคืบหนา้ ผลการดำเนินงานผ่านชอ่ งทางเวบ็ ไซตจ์ งั หวดั

นอกจากนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยยังได้มีข้อเสนอแนะต่อนโยบายการจัดทำงบประมาณ
จังหวดั ใหม้ ปี ระสทิ ธิภาพ ดงั น้ี

(1) การพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณ โครงการ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด หรือการปรับลดงบประมาณ ฝ่ายเลขา ก.บ.ภ. ควรเปิดโอกาสให้จังหวัดและกลุม่
จงั หวัดไดช้ ี้แจงความจำเป็นในการดำเนินโครงการว่าสว่ นราชการผู้รับผิดชอบโครงการสามารถดำเนินโครงการ
ไดบ้ รรลตุ ามวัตถปุ ระสงค์หรอื ไม่

สำนกั งานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร -14- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

(2) ให้อำเภอสามารถขอรบั การจัดสรรงบประมาณงบพัฒนาจังหวัดได้ เน่อื งจากอำเภอเป็นหน่วยงานที่
ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ย่อมมีภารกิจในการดูแลประชาชน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ประกอบกับปัจจุบัน
องคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่นยังมีงบประมาณไมเ่ พยี งพอบางโครงการอาจเกนิ ศักยภาพของท้องถ่นิ

(3) ควรทบทวนนโยบายมาตรการเกี่ยวกับการเร่งรัดเบิกจ่ายที่กำหนดห้วงเวลา เนื่องจากจะส่งผลให้
กระบวนการจดั ซอื้ จัดจา้ งหยดุ ชะงัก ซงึ่ ต้องเพ่มิ ขนั้ ตอนในการอทุ ธรณ์ทำให้การเบิกจา่ ยลา่ ชา้

(4) ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ และองค์ความรู้ในสหวิทยาการสมัยใหม่ของบุคลากร
ทเ่ี กย่ี วข้องกบั การจัดทำงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด

(5) กฎหมายบางฉบับไม่เอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่ จำเป็นต้องมีการปรับปรุง แก้ไขให้ทันต่อสถานการณ์
ปัจจุบัน โดยเฉพาะเร่ืองการมอบอำนาจในการจัดซ้ือจัดจ้าง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อ
จัดจา้ งและการบริหารพัสดภุ าครฐั พ.ศ. 2560 ข้อ 7 ท่กี ำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวดั ตอ้ งมอบอำนาจให้หัวหน้า
ราชการส่วนกลาง ไม่สามารถมอบอำนาจโดยตรงให้หน่วยงานส่วนกลางที่มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัด ส่งผลให้การจัดซ้ือ
จัดจ้างล่าชา้

โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า การบริหารงบประมาณที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณของ
จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนั้น ปัจจัยความสำเร็จที่จะส่งผลให้การดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณ
เกิดประสิทธิภาพล้วนเกิดจากการที่ผู้บริหารในพื้นที่ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงาน กระบวนการ
มสี ่วนร่วมของทุกภาคสว่ นในจังหวัด การวางแผนที่ดี การสื่อสารที่เหมาะสม การหารอื และรับฟังความคิดเห็น
จากผมู้ ีสว่ นได้สว่ นเสยี การมีระบบวัดผลที่มีประสิทธภิ าพและฐานข้อมูล Data Platform ท่ที ันสมัย โครงการ
มีความพร้อมดำเนนิ การ การปรับปรุงกฎหมายให้เออื้ ต่อการดำเนินโครงการของจังหวัดและกลุ่มจงั หวัดให้เกิด
ความคล่องตัวและลดขั้นตอนการทำงาน รวมทั้งการที่บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการ
และการจัดซอื้ จดั จ้าง ตลอดจนระเบียบกฎหมายท่เี ก่ียวข้อง

2.6 กฎหมายและระเบยี บที่เก่ยี วขอ้ ง

2.6.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พทุ ธศกั ราช 2550 - 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวดที่ 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 3
แนวนโยบายดา้ นการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (2) บัญญัติใหร้ ฐั ต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้าน
การบรหิ ารราชการแผน่ ดินไว้ ดังนี้
“(2) จัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีเขตอำนาจหน้าที่
ความรับผิดชอบที่ชัดเจน เหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมแี ผนและงบประมาณ
เพ่ือพฒั นาจงั หวดั เพ่อื ประโยชน์ของประชาชนในพืน้ ที”่
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดงั กล่าว ได้นำมาสู่การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
แผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550

สำนกั งานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -15- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณีศกึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญฯ โดยได้มีการเพิ่มความ
เป็นวรรคสาม มาตรา 52 กำหนดให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ
งบประมาณสามารถยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ เพิ่มความเป็นมาตรา 52/1 ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ
จังหวัด เพิ่มความเป็นมาตรา 53/1 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และเพ่ิม
ความเป็นมาตรา 53/2 เพ่ือใหน้ ำหลักเกณฑ์เง่อื นไขในการจัดทำแผนพฒั นาจงั หวดั ตามมาตรา 53/1 มาใช้กับ
การจดั ทำแผนพฒั นาของกลุม่ จังหวดั โดยอนุโลม

ทั้งนี้ แม้ว่าต่อมารัฐธรรมนูญฯ ฉบับปี 2550 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วก็ตาม แต่พระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ก็ยังคงมีผลบังคับใช้สืบเนื่องต่อมา ทำให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดยังมีฐานะเป็น
ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ จนกระทั่งเมื่อมีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวิธีการ
งบประมาณใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
โดยมีการยกเลิกพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีการ
งบประมาณ พ.ศ. 2561 แทน จึงได้บัญญัติให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเป็น “หน่วยรับงบประมาณ”
ประเภทสว่ นราชการตามพระราชบญั ญัติวธิ ีการงบประมาณฉบบั ใหม่นี้ด้วย

สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แม้มิได้บัญญัติรองรับการสนับสนุนให้
จงั หวัดและกลุม่ จงั หวัดมีแผนและงบประมาณดังเชน่ ที่ผ่านมา แตก่ ็ไดบ้ ญั ญัตเิ ป็นหลกั การเกี่ยวกับแนวนโยบาย
ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยต้องเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้การบริหาร
ราชการแผ่นดิน และการใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ดังที่
บญั ญัตไิ ว้ในมาตรา 76

“มาตรา 76 รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่น ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยหน่วยงานของรฐั
ต้องร่วมมอื และชว่ ยเหลือกันในการปฏิบตั ิหนา้ ท่ี เพ่อื ให้การบริหารราชการแผ่นดิน การจัดทำบริการสาธารณะ
และการใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน รวมตลอดทั้งพัฒนา
เจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว
ไม่เลือกปฏบิ ัติ และปฏบิ ตั หิ น้าทีอ่ ยา่ งมีประสิทธิภาพ”

2.6.2 พระราชบัญญัตริ ะเบียบบรหิ ารราชการแผน่ ดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพม่ิ เติม ฉบบั ที่ 7 พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 51 ได้กำหนดให้จัดระเบียบราชการ
ส่วนภมู ภิ าค ประกอบด้วย จงั หวดั และอำเภอ โดยใหร้ วมท้องทีห่ ลาย ๆ อำเภอตง้ั ข้ึนเป็นจังหวัดมีฐานะเป็น
นิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
คณะรฐั มนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบตั ิให้เหมาะสมกับท้องทีแ่ ละประชาชน และเปน็ หัวหน้าบังคับบัญชา

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผูแ้ ทนราษฎร -16- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี กึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบุร)ี

บรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการ
จังหวัดและอำเภอ

ต่อมาภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว ได้มีการ
ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ให้สอดคลอ้ งกับบญั ญัติรฐั ธรรมนูญฯ โดยการตราพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
บทบัญญัตทิ ่เี กีย่ วขอ้ งกับการบรหิ ารงานแบบบรู ณาการจงั หวัดหรือกลุ่มจังหวัดไว้ ดังต่อไปนี้

2.6.2.1 กำหนดให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
ดงั ทบ่ี ญั ญัตใิ น มาตรา 52 วรรคสาม

“มาตรา 52 วรรคสาม เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่ม
จังหวดั ให้จงั หวัดหรือกลุ่มจังหวัดย่นื คำขอจัดตั้งงบประมาณได้ ท้งั น้ี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในกรณีนี้ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมาย
ว่าด้วยวธิ ีการงบประมาณ”

2.6.2.2 ได้มีการปรบั ปรงุ อำนาจหน้าทีข่ องจงั หวดั ใหม่ ดังที่บัญญัติใน มาตรา 52/1

“มาตรา 52/1 ให้จังหวัดมีอำนาจภายในเขตจงั หวดั ดังตอ่ ไปนี้

(1) นำภารกิจของรัฐและนโยบายของรฐั บาลไปปฏิบัตใิ ห้เกิดผลสัมฤทธิ์
(2) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
และเป็นธรรมในสังคม
(3) จัดใหม้ ีการคุ้มครอง ปอ้ งกนั สง่ เสรมิ และช่วยเหลอื ประชาชนและชุมชนท่ีด้อยโอกาสเพื่อให้
ได้รับความเป็นธรรมทัง้ ดา้ นเศรษฐกิจและสงั คมในการดำรงชีวติ อย่างพอเพยี ง
(4) จัดให้มีการบริการภาครัฐเพ่ือให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอหน้า รวดเร็ว และ
มีคุณภาพ
(5) จัดให้มีการส่งเสริม อุดหนุน และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สามารถ
ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้มีขีดความสามารถพร้อมที่จะ
ดำเนินการตามภารกจิ ที่ได้รบั การถ่ายโอนจากกระทรวง ทบวง กรม
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
มอบหมาย หรือท่ีมีกฎหมายกำหนด
เพื่อประโยชนใ์ นการปฏิบตั ิหน้าทีข่ องจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นหน้าท่ีของส่วนราชการและ
หน่วยงานของรัฐที่ประจำอยู่ในเขตจังหวัดที่จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องและเป็นไปตามแผนพฒั นาจังหวัด
ตามมาตรา 53/1”

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -17- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

2.6.2.3 กำหนดให้จังหวัดและกล่มุ จงั หวัดตอ้ งจดั ทำแผนพัฒนา ดงั ท่บี ญั ญัตไิ วใ้ นมาตรา 53/1 และ
มาตรา 53/2

“มาตรา 53/1 ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมในระดบั ชาติ และความตอ้ งการของประชาชนในทอ้ งถิ่นในจงั หวดั

ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุม
ปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการ
บริหารส่วนภูมิภาค หรือราชการบริหารส่วนกลาง และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด
รวมทงั้ ผูแ้ ทนภาคประชาสงั คม และผู้แทนภาคธรุ กจิ เอกชน

การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง จำนวนและวิธีการสรรหาผู้แทนภาคประชาสังคม
และผู้แทนภาคธรุ กจิ เอกชนตามวรรคสอง ให้เปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์และวธิ กี ารท่กี ำหนดในพระราชกฤษฎีกา

เมือ่ ประกาศใชแ้ ผนพัฒนาจังหวัดแล้ว การจัดทำแผนพัฒนาท้องถ่ินขององค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่น
และการดำเนินกิจการของสว่ นราชการและหน่วยงานอ่นื ของรัฐทัง้ ปวงที่กระทำในพื้นที่จงั หวัดต้องสอดคล้อง
กบั แผนพัฒนาจังหวดั ดังกลา่ ว”

“มาตรา 53/2 ให้นำความในมาตรา 53/1 มาใช้บังคับกับการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ดว้ ยโดยอนโุ ลม”

กล่าวโดยสรุป พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้จังหวัดหรือกลุ่ม
จังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ และให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ โดยกำหนดให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวธิ กี ารท่ีกำหนดในพระราชกฤษฎกี า และใหน้ ำหลกั เกณฑแ์ ละวิธกี ารดงั กล่าวมาใช้บงั คับกับการจัดทำ
แผนพฒั นากลมุ่ จงั หวดั ดว้ ย โดยอนโุ ลม

2.6.3 พระราชกฤษฎกี าว่าดว้ ยการบริหารงานจังหวดั และกลมุ่ จังหวดั แบบบูรณาการ พ.ศ. 2551

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 บัญญัติข้ึน
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550
ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 137 ก เมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2551 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่
วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป ถือเป็นกฎหมายสำคัญที่เป็นแกนหลักของการกำหนดโครงสร้าง กลไก
เงื่อนไข หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการ ในการจัดทำแผน งบประมาณ และการบริหารงานของจังหวัดและ
กล่มุ จังหวดั โดยสรุป ดงั น้ี

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -18- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

2.6.3.1 กำหนดองคก์ รในการบรหิ ารงาน 3 ระดบั ได้แก่
(1) คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจงั หวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.)

“มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
ประกอบด้วย

(1) นายกรฐั มนตรเี ป็นประธานกรรมการ
(2) รองนายกรัฐมนตรีทุกคน รัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับและติดตาม
การปฏิบัติราชการในภมู ิภาค รฐั มนตรวี ่าการกระทรวงการคลงั รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทย ปลดั สำนัก
นายกรฐั มนตรี ปลดั กระทรวงมหาดไทย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธกิ ารคณะรฐั มนตรี ผอู้ ำนวยการสำนัก
งบประมาณ และเลขาธกิ ารคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาตเิ ปน็ กรรมการ
(3) นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจงั หวัดแหง่ ประเทศไทย นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาล
แห่งประเทศไทย และนายกสมาคมองค์การบรหิ ารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
(4) ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย เปน็ กรรมการ
(5) ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการซึ่งประธานคณะกรรมการพัฒนา
ระบบราชการกำหนดไมเ่ กินสามคน เปน็ กรรมการ
(6) ผู้แทนภาคประชาสังคมท่นี ายกรัฐมนตรแี ต่งตั้งไมเ่ กนิ สองคน เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนด และข้าราชการ
สังกดั กระทรวงมหาดไทยคนหน่งึ ทีป่ ลดั กระทรวงมหาดไทยกำหนดเป็นกรรมการและผูช้ ่วยเลขานกุ าร
กรรมการตาม (6) มีวาระอยู่ในตำแหนงคราวละสามปี
องค์ประชุมและการประชุมของ ก.น.จ. ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง
มาตรา 8 ก.น.จ. มอี ำนาจหน้าที่ ดังตอ่ ไปนี้
(1) กำหนดกรอบนโยบายและวางระบบในการบรหิ ารงานจังหวัดและกลุ่มจงั หวัดแบบบรู ณาการ
เพ่ือให้จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั สามารถบริหารงานแก้ไขปัญหาและพฒั นาพนื้ ท่ีในเขตจังหวัดและกลุม่ จังหวัดได้
อย่างมีประสทิ ธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ไดร้ บั ประโยชนส์ งู สดุ
(2) กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่ม
จังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด การจัดทำ
และบริหารงบประมาณจังหวดั และงบประมาณกล่มุ จงั หวัด

สำนกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -19- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณศี กึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบรุ )ี

(3) พิจารณา กลั่นกรอง และให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด และคำของบประมาณ
ของจงั หวดั และกลมุ่ จังหวดั ตามกฎหมายวา่ ด้วยวธิ ีการงบประมาณ และนำเสนอต่อคณะรฐั มนตรี

(4) กำกับดแู ลการดำเนนิ การตาม (1) และ (2) ให้เกิดผลสัมฤทธิ์
(5) แตง่ ต้งั คณะอนกุ รรมการ หรือคณะทำงานเพอ่ื ปฏิบัติหน้าท่ตี า่ ง ๆ ตามท่ีมอบหมาย
(6) ปฏิบัติหน้าที่อืน่ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย คณะอนุกรรมการตาม (5) อย่างน้อยตอ้ ง
มีคณะอนุกรรมการด้านแผนและดา้ นงบประมาณ
มาตรา 9 ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ ก.น.จ. และหน้าที่อ่ืน
ตามที่ ก.น.จ. กำหนด”

(2) คณะกรรมการบรหิ ารงานจงั หวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.)
“มาตรา 10 ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการคณะหนึ่ง

ประกอบดว้ ย
(1) ผู้วา่ ราชการจังหวัด เปน็ ประธานกรรมการ
(2) รองผ้วู ่าราชการจังหวดั ทกุ คน เป็นกรรมการ
(3) ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการ ที่มีสำนักงานอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะมีฐานะเป็นราชการบริหาร

ส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลาง เป็นกรรมการ
(4) ผแู้ ทนรัฐวสิ าหกิจทด่ี ำเนนิ กจิ การอยู่ในจงั หวัด เปน็ กรรมการ
(5) ผแู้ ทนหัวหนา้ หน่วยงานอน่ื ของรัฐท่ีมีสำนกั งานอยู่ในจังหวัด เปน็ กรรมการ
(6) ผแู้ ทนผ้บู รหิ ารองค์กรปกครองส่วนท้องถน่ิ เป็นกรรมการ
(7) ผ้แู ทนภาคประชาสังคม เปน็ กรรมการ
(8) ประธานกรรมการหอการค้าจงั หวดั และประธานสภาอตุ สาหกรรมจังหวัด เป็นกรรมการ
ให้หวั หน้าสำนกั งานจงั หวดั เป็นกรรมการและเลขานกุ าร
กรรมการตาม (3) (4) และ (5) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งตามจำนวน หลักเกณฑ์

และวธิ ีการท่ี ก.น.จ. กำหนด
จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม (6)

และผู้แทนภาคประชาสังคมตาม (7) ให้เป็นไปตามท่ี ก.น.จ. กำหนดโดยให้คำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชาย
ที่ใกล้เคียงกนั

กรรมการตาม (3) (4) (5) (6) และ (7) มวี าระอยูใ่ นตำแหนง่ คราวละสามปี
องค์ประชุมและการประชมุ ของ ก.บ.จ. ใหเ้ ปน็ ไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบตั ริ าชการทางปกครอง

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -20- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณศี กึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบรุ )ี

มาตรา 11 ก.บ.จ. มีอำนาจหน้าท่ี ดังต่อไปนี้
(1) วางแนวทางปฏิบัติและอำนวยการให้การบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดเป็นไปตาม
หลักการ นโยบาย และระบบ ตามท่ี ก.น.จ. กำหนด
(2) จัดทำแผนพฒั นาจังหวดั เสนอตอ่ ทปี่ ระชุม ตามมาตรา 19 เพ่ือรับฟังความคดิ เห็น
(3) ส่งเสริม ประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจ
เอกชน เพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและชักชวนภาคธุรกิจเอกชนมาลงทุนในจังหวัด
และให้มีการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดอย่างย่ังยืน
(4) จัดทำบันทกึ ความเข้าใจกบั ฝ่ายต่าง ๆ ทีเ่ ก่ยี วขอ้ งกับการพัฒนาที่ให้ความรว่ มมือ และสนับสนุน
การดำเนนิ การตามแผนพฒั นาจังหวดั และแผนปฏิบตั ิราชการประจำปีของจงั หวัด
(5) วิเคราะห์ บูรณาการ และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และคำขอ
งบประมาณจงั หวัด ก่อนนำเสนอต่อ ก.น.จ.
(6) กำกบั ให้คำแนะนำ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจงั หวดั และรายงาน ก.น.จ.
(7) แตง่ ต้ังคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพ่อื ปฏิบัติหนา้ ท่ตี า่ ง ๆ ตามท่ีมอบหมาย
(8) ปฏบิ ัตหิ นา้ ทอี่ ืน่ ตามท่ี ก.น.จ. หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในกรณีท่ี ก.บ.จ. แตง่ ต้งั คณะอนกุ รรมการเพ่ือจดั ทำแผนพฒั นาจังหวัดตาม (2) คณะอนุกรรมการ
ดงั กล่าวอยา่ งน้อยตอ้ งประกอบดว้ ยผู้แทนตามมาตรา 10 (6) ไม่น้อยกว่าสามคน และผ้แู ทนตามมาตรา 10 (7)
ไมน่ อ้ ยกวา่ สองคน
(3) คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจงั หวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.)
มาตรา 12 ในกลมุ่ จงั หวดั หน่ึง ให้มีคณะกรรมการบรหิ ารงานกลุ่มจงั หวัดแบบบรู ณาการคณะหนึ่ง
ประกอบดว้ ย
(1) หัวหนา้ กลมุ่ จงั หวัดตามมาตรา 26 เปน็ ประธานกรรมการ
(2) ผวู้ ่าราชการจงั หวัดในกลุ่มจังหวัดทกุ จังหวดั เป็นรองประธานกรรมการ
(3) ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดในกลุ่มจังหวัด จังหวัดละไม่เกินสองคนที่ผู้ว่า
ราชการจงั หวดั แต่งต้งั เปน็ กรรมการ
(4) นายกองค์การบริหารสว่ นจังหวัดในกลุ่มจงั หวดั ทุกจงั หวัด เป็นกรรมการ
(5) นายกเทศมนตรีในกลมุ่ จงั หวัดจังหวัดละหนงึ่ คน เปน็ กรรมการ
(6) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดจังหวัดละหนึง่ คน เป็นกรรมการ
(7) ผ้แู ทนภาคประชาสงั คม เป็นกรรมการ
(8) ผแู้ ทนภาคธุรกจิ เอกชน เปน็ กรรมการ

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -21- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

จังหวัดใดมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ ให้คณะกรรมการ
ตามวรรคหนงึ่ ประกอบดว้ ยผู้บรหิ ารขององคก์ รปกครองส่วนท้องถ่ินนนั้ ด้วย

ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งขา้ ราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยคนหนึ่งเปน็ กรรมการและ
เลขานุการ และหัวหน้าสำนกั งานจังหวัดของทกุ จังหวดั ในกลุ่มจงั หวดั เปน็ กรรมการและผู้ชว่ ยเลขานกุ าร

กรรมการตาม (5) และ (6) ให้ผวู้ า่ ราชการจงั หวัดเปน็ ผู้แตง่ ต้ังตามหลกั เกณฑแ์ ละวิธีการท่ี ก.น.จ. กำหนด
จำนวน หลกั เกณฑ์ และวธิ ีการได้มาซ่ึงผ้แู ทนภาคประชาสังคมตาม (7) และผแู้ ทนภาคธุรกิจเอกชน
ตาม (8) ใหเ้ ปน็ ไปตามท่ี ก.น.จ. กำหนด โดยต้องคำนงึ ถึงสัดสว่ นของหญิงและชายทีใ่ กล้เคยี งกนั
กรรมการตาม (3) และ (7) มีวาระอยู่ในตำแหนง่ คราวละสามปี
องคป์ ระชุมและการประชุมของ ก.บ.ก. ให้เปน็ ไปตามกฎหมายวา่ ด้วยวธิ ปี ฏบิ ัตริ าชการทางปกครอง
มาตรา 13 ก.บ.ก. มีอำนาจหน้าท่ี ดงั ตอ่ ไปนี้
(1) วางแนวทางปฏิบัติและอำนวยการให้การบริหารงานแบบบูรณาการในกลุ่มจังหวัดเป็นไปตาม
หลกั การ นโยบาย และระบบตามที่ ก.น.จ. กำหนด
(2) จัดทำแผนพฒั นากลุ่มจังหวดั เสนอตอ่ ทปี่ ระชุมตามมาตรา 19 เพ่ือรบั ฟังความคดิ เหน็
(3) ส่งเสริม ประสานความร่วมมอื การพฒั นาระหวา่ งภาครฐั ภาคประชาสงั คม และภาคธุรกิจเอกชน
และแก้ไขปัญหาภายในกลุ่มจังหวัด และระหว่างกลุ่มจังหวัดเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามแผนพัฒนากลุ่ม
จงั หวดั อย่างยง่ั ยนื
(4) วิเคราะห์ บูรณาการ และให้ความเห็นชอบรายละเอียดการปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีของกลุม่ จงั หวัด และคำของบประมาณกล่มุ จงั หวดั ก่อนนำเสนอต่อ ก.น.จ.
(5) กำกบั ให้คำแนะนำ ตดิ ตามและประเมินผลการปฏิบตั ติ ามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนปฏบิ ตั ิ
ราชการประจำปีของกลุม่ จงั หวัด และรายงาน ก.น.จ.
(6) แตง่ ตัง้ คณะอนกุ รรมการหรือคณะทำงานเพ่ือปฏบิ ัติหน้าท่ีต่าง ๆ ตามทมี่ อบหมาย
(7) ปฏิบตั ิหน้าท่อี ื่นตามที่ ก.น.จ. หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในกรณีที่ ก.บ.ก. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตาม (2) คณะอนุกรรมการ
ดังกล่าว อย่างน้อยต้องประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้แทนตามมาตรา 12 (4) ไม่น้อยกว่าหนึ่งคน ผู้แทนตาม
มาตรา 12 (5) ไม่น้อยกว่าสองคน ผู้แทนตามมาตรา 12 (6) ไม่น้อยกว่าสามคน และผู้แทนตามมาตรา 12 (7)
ไมน่ ้อยกว่าหน่งึ คน
2.6.3.2 บทบาทของผู้วา่ ราชการจงั หวัดและหวั หน้ากลุ่มจงั หวดั
มาตรา 14 เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปตามหลักการตามที่กำหนดในมาตรา 6 ให้ผู้ว่าราชการจังหวดั
ปฏิบัติ ดงั ตอ่ ไปนี้
(1) บริหารงานจังหวัดโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการ แผ่นดิน

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -22- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวัด
กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

แผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งนโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชน
ในทอ้ งถ่นิ ในจงั หวดั

(2) ประสานและเชื่อมโยงหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาคประชาสังคม
และภาคธุรกิจเอกชน เพื่อร่วมกันวางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้เหมาะสมกับ โอกาส และศักยภาพของ
จงั หวัด โดยเนน้ การมีส่วนรว่ มของทุกฝ่าย

(3) บูรณาการการบริหารงบประมาณ และแสวงหาความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกฝ่ายเพื่อให้
เปน็ ไปตามแผนพฒั นาจังหวดั และแผนปฏบิ ตั ริ าชการประจำปีของจังหวดั

(4) ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาท้องถิ่นและ
ให้บรกิ ารพืน้ ฐานแก่ประชาชน

(5) ส่งเสริมและสนบั สนุนภาคประชาสังคมใหม้ ีความเขม็ แขง็ สามารถบรหิ ารจดั การและแก้ไขปัญหาได้
ดว้ ยตนเองอยา่ งยัง่ ยืน

(6) เสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้จังหวัดมีขีด
สมรรถนะรองรับกระแสโลกาภิวัตน์

(7) กระทำตนเป็นแบบอยา่ งแกผ่ ้ปู ฏบิ ัตงิ าน และส่งเสรมิ สนบั สนุนให้เกดิ การเรยี นรู้ ตลอดจนการพัฒนา
ผู้ปฏบิ ัติงานให้มคี วามรู้ ความสามารถ ทกั ษะ และทัศนคตทิ ่จี ำเป็นตอ่ การปฏิบัติงาน

มาตรา 15 ในกรณที ผ่ี ้วู า่ ราชการจงั หวัดไม่อาจบริหารงานจังหวัดแบบบรู ณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล เพราะเหตุทีส่ ่วนราชการมิได้มอบอำนาจให้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจหรอื
เพราะเหตุอื่นใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานต่อ ก.น.จ. โดยเร็ว และให้ ก.น.จ. เสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อ
คณะรัฐมนตรเี พื่อมีมติสง่ั การต่อไป

มาตรา 16 ให้หัวหน้ากลุ่มจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ประสาน เร่งรัด และติดตามการดำเนินงานของผู้ว่า
ราชการจงั หวัดในส่วนทีเ่ กยี่ วขอ้ งกับแผนพฒั นากลมุ่ จงั หวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกล่มุ จงั หวดั

2.6.3.3 กระบวนการและขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาจงั หวัด
มาตรา 17 ให้ ก.น.จ. กำหนดนโยบาย หลกั เกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำแผนพัฒนาจงั หวดั และแผน
ปฏิบตั ริ าชการประจำปขี องจังหวัด เพอื่ ใหผ้ ้วู ่าราชการจงั หวดั และ ก.บ.จ. รับไปดำเนนิ การ
มาตรา 18 ให้ ก.บ.จ. ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด โดยคำนึงถึงความต้องการและศักยภาพของ
ประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด รวมตลอดถึงความพร้อมของภาครฐั และภาคธุรกิจเอกชน และยทุ ธศาสตร์ระดบั ชาติ
แผนพัฒนาจังหวัดอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์
ตวั ช้ีวัด ค่าเป้าหมาย และกลยทุ ธ์
ให้แผนพัฒนาจงั หวดั มรี ะยะเวลาส่ปี ี
เพื่อให้ทราบถึงความต้องการ และศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.บ.จ. สำรวจ
ความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด ตามวิธีการที่ ก.น.จ.กำหนด แต่ ก.บ.จ. อาจแต่งตั้งคณะ

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -23- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณศี กึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

อนุกรรมการระดับอำเภอดำเนินการประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ของอำเภอ เพื่อให้ได้ความคิดเห็น
ของประชาชนเสนอเปน็ ข้อมูลตอ่ ก.บ.จ. แทนการสำรวจความคิดเห็นก็ได้

มาตรา 19 ให้ผูว้ า่ ราชการจงั หวัดจดั ให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกนั กับบคุ คลดังต่อไปน้ี เพ่ือรับฟัง
ความคิดเห็นเกย่ี วกบั แผนพฒั นาจังหวัดที่ ก.บ.จ. จัดทำตามมาตรา 18

(1) หัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัดหรือมีเขตอำนาจหน้าที่ในจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น
ราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบรหิ ารสว่ นกลาง

(2) หัวหน้าหน่วยงานที่เปน็ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ บรรดาที่มีสถานที่ต้ังทำการอยู่ในจงั หวดั
หรือมีเขตอำนาจหนา้ ทใ่ี นจังหวัด

(3) ผบู้ รหิ ารองค์กรปกครองส่วนทอ้ งถ่ินทัง้ หมดในจังหวดั
(4) ผู้แทนภาคประชาสงั คม
(5) ผู้แทนภาคธุรกจิ เอกชน
เมือ่ ดำเนนิ การตามวรรคหน่ึงแล้ว ให้ ก.บ.จ. นำผลการประชมุ ปรึกษาหารือ และความคิดเห็นของท่ีประชุม
มาปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดใหส้ มบูรณ์ แล้วส่ง ก.น.จ. เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรใี ห้ความเห็นชอบ
ตอ่ ไป ทง้ั น้ี ใหส้ ง่ สำเนาให้ ก.บ.ก. ทราบด้วย
เมื่อแผนพัฒนาจังหวัดได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและประกาศใช้แล้ว การจัดทำแผน
พัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการดำเนินกิจการของจังหวัด และหน่วยงานของรัฐ
ท่เี ก่ยี วขอ้ งต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว
มาตรา 20 ในกรณมี ีความจำเปน็ ตอ้ งปรับปรุงแผนพัฒนาจงั หวัดใหม่ก่อนสิ้นอายขุ องแผนให้ดำเนินการ
ตามมาตรา 18 และมาตรา 19
มาตรา 21 ผู้แทนภาคประชาสงั คม ตามมาตรา 19 (4) ให้ประกอบด้วยบุคคลท่ีได้รับการสรรหาจากแต่ละ
อำเภอในเขตจังหวดั อำเภอละไมเ่ กินหกคน
ใหน้ ายกเทศมนตรี และประธานสภาองค์กรชมุ ชนตำบลในเขตอำเภอคัดเลือกบุคคล ซงึ่ อยู่ในเขตเทศบาล
และให้นายกองค์การบรหิ ารสว่ นตำบล กำนัน ผใู้ หญบ่ ้าน และประธานสภาองค์กรชุมชนตำบล คัดเลือกบุคคล
ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล แล้วเสนอให้นายอำเภอจัดประชุม เพื่อสรรหา ผู้แทนภาคประชาสังคมจากบุคคลที่
ไดร้ บั การคดั เลอื กขา้ งตน้ เพอ่ื ให้ไดจ้ ำนวนตามท่ีกำหนดไว้ในวรรคหน่งึ
หลักเกณฑก์ ารประชุมเพื่อสรรหาและการแจง้ รายชื่อผู้ได้รับการสรรหาตามวรรคสอง ให้เปน็ ไปตามที่ผู้ว่า
ราชการจงั หวดั ประกาศกำหนด
มาตรา 22 ผแู้ ทนภาคประชาสังคมตามมาตรา 19 (4) ต้องมีคณุ สมบตั ิ ดงั ตอ่ ไปนี้
(1) มีสัญชาตไิ ทย
(2) มอี ายตุ งั้ แต่สิบแปดปบี ริบูรณ์ข้ึนไปในวันสรรหา

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -24- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี ึกษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบุร)ี

(3) มีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล หรือนอกเขต เทศบาล
แลว้ แต่กรณขี องแต่ละอำเภอท่มี กี ารสรรหาติดต่อกันไมน่ ้อยกว่าหน่งึ ปนี บั ถึงวันสรรหา

(4) มฐี านะเปน็ ผู้นำชุมชนตามกฎหมายวา่ ด้วยสภาองค์กรชมุ ชน
มาตรา 23 ผแู้ ทนภาคประชาสงั คมตามมาตรา 19 (4) ตอ้ งไมม่ ลี กั ษณะตอ้ งหา้ ม ดงั ตอ่ ไปน้ี
(1) ไมเ่ ปน็ ผดู้ ำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชกิ สภาองคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่น ผ้บู รหิ ารองคก์ รปกครอง
ส่วนท้องถิ่น กรรมการ ที่ปรึกษาหรือผูด้ ำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมอื ง หรือเจ้าหนา้ ที่ของพรรค
การเมอื ง
(2) ไม่เปน็ ราชการ พนกั งาน หรอื ลูกจา้ งของหนว่ ยงานของรฐั ซ่งึ มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
มาตรา 24 ผแู้ ทนภาคธุรกิจเอกชนตามมาตรา 19 (5) ใหป้ ระกอบด้วยบคุ คล ดงั ตอ่ ไปนี้
(1) สมาชิกหอการคา้ จงั หวดั ซึ่งคณะกรรมการหอการค้าจังหวดั คัดเลือกจำนวนไม่เกินสิบคน
(2) สมาชิกสภาอตุ สาหกรรมจังหวดั ซงึ่ คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดคัดเลือกจำนวนไมเ่ กินสิบคน
(3) ผู้ประกอบธุรกิจในจังหวัด ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกตาม (1) และ (2) จำนวนไม่เกินสิบคน ซึ่งผู้ว่าราชการ
จงั หวัดคดั เลอื ก
มาตรา 25 เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดแล้ว ให้ ก.บ.จ. จัดทำแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจังหวัด โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของโครงการ เป้าหมาย และผลสัมฤทธ์ิ
ของงาน หน่วยงานผรู้ บั ผดิ ชอบ และงบประมาณท่จี ะตอ้ งใชด้ ำเนินการ และตอ้ งระบใุ หช้ ัดเจนว่าโครงการ
หรืองานใดที่จังหวัดประสงค์จะขอตั้งงบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และ
วธิ ีการที่ ก.น.จ. กำหนด
เมื่อจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดส่งให้
ก.บ.ก. เพอื่ ประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลมุ่ จังหวัด
2.6.3.4 การจัดตงั้ กลุ่มจังหวัดและกระบวนการจัดทำแผนพฒั นากลมุ่ จังหวัด
มาตรา 26 ให้ ก.น.จ. พิจารณาจัดตงั้ กลุ่มจังหวดั และกำหนดจังหวัดที่เปน็ ศูนย์ปฏบิ ตั ิการของกลุ่มจังหวัด
และเสนอคณะรัฐมนตรเี พื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
การจัดตั้งกลุ่มจงั หวัดและกำหนดจังหวัดที่เปน็ ศูนยป์ ฏิบตั ิการของกลุ่มจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของจงั หวัดที่เปน็ ศูนย์ปฏิบตั ิการของกลุ่มจังหวัด ทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุม่ จังหวัด
เว้นแต่ ก.น.จ. จะกำหนดเปน็ อย่างอ่นื
มาตรา 27 ให้นำความในมาตรา 17 มาตรา 18 และมาตรา 25 มาใช้บังคับกับการจดั ทำแผนพัฒนากล่มุ
จังหวัด และแผนปฏิบตั ริ าชการประจำปีของกลุม่ จงั หวดั ด้วยโดยอนุโลม
การรบั ฟงั ความคิดเห็นเกี่ยวกบั แผนพฒั นากลุม่ จังหวดั ใหเ้ ปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์และวธิ ีการที่ ก.น.จ. กำหนด

สำนักงานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร -25- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณศี กึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ )ี

2.6.3.5 กระบวนการงบประมาณของจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
มาตรา 25 เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดแล้ว ให้ ก.บ.จ. จัดทำแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจังหวัด โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของโครงการ เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์
ของงาน หนว่ ยงานผู้รับผิดชอบ และงบประมาณที่จะต้องใชด้ ำเนินการ และตอ้ งระบุให้ชดั เจนว่าโครงการ
หรืองานใดที่จังหวัดประสงค์จะขอตั้งงบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และ
วธิ กี ารท่ี ก.น.จ. กำหนด
มาตรา 28 เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีของจังหวัดตามที่ ก.น.จ. เสนอแล้ว ให้ ก.น.จ. ส่งให้สำนักงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดสรร
งบประมาณ โดยสำนักงบประมาณต้องดำเนินการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้เพียงพอต่อการ
ดำเนินงานตามแผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปีของจังหวัด
การส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าจังหวัดได้ยื่นคำของบประมาณ
ต่อสำนักงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวธิ ีการงบประมาณแล้วเฉพาะในสว่ นท่ีเก่ียวกับงบประมาณของจังหวัด
มาตรา 29 ในกรณีที่ส่วนราชการใดมีหน้าที่ดำเนินการในเรื่องใด และได้รับงบประมาณรายจา่ ยประจำปี
สำหรับดำเนินการในเรื่องนั้นตามแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
ให้ส่วนราชการนั้นแจ้งการได้รับการจัดสรรงบประมาณในเรื่องดังกล่าว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายใน
สามสบิ วนั นับแตว่ นั ทพี่ ระราชบญั ญัตงิ บประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลใชบ้ งั คับ
ให้สำนักงบประมาณแจ้งการจัดสรรงบประมาณจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายในสามสิบวัน
นับแตว่ นั ท่ีสำนกั งบประมาณได้รบั แผนการปฏิบตั ิงานและแผนการใช้จ่ายเงินจากหน่วยงานของรฐั ทีเ่ กี่ยวข้อง
ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแจ้งการจัดสรรงบประมาณงบเงินอุดหนุนเฉพาะกิจให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปขี องจังหวัด ให้ผ้วู า่ ราชการจงั หวดั ทราบ ภายในสามสิบวนั นบั แตว่ ันท่พี ระราชบญั ญัติงบประมาณ
รายจา่ ยประจำปมี ผี ลใช้บังคบั
มาตรา 30 ส่วนราชการใดมีความจำเป็นต้องโอนงบประมาณที่ปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัตริ าชการประจำปี
ของจังหวัดใดกลับสว่ นราชการน้ันหรือโอนไปจงั หวดั อืน่ ใหก้ ระทำไดเ้ มือ่ ได้รบั ความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการ
จงั หวัดนั้นแลว้
2.6.3.6 การรายงานผลการดำเนนิ งานและการใชจ้ า่ ยงบประมาณ
มาตรา 31 ให้จังหวัดรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณที่แสดงถึงผลสาเร็จ
รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดาเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจาปีของจังหวัด
เสนอ ก.น.จ. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และให้จัดส่งสาเนาให้สานักงบประมาณทราบภายในหกสิบวันนับแต่วัน
ส้ินปงี บประมาณ

สำนกั งานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -26- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

ในกรณีที่ส านักงบประมาณก าหนดให้จังหวัดจัดท ารายงานผลการใช้จ่า ยงบประมาณตามแบบท่ี
ผู้อานวยการสานักงบประมาณกาหนด เมื่อจังหวัดได้จัดส่งสาเนาให้สานักงบประมาณตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ถอื วา่ จังหวัดไดจ้ ดั ทารายงานดงั กล่าวแล้ว

2.6.3.7 การจดั ทำและบริหารงบประมาณของกลุ่มจงั หวัด
มาตรา 32 ให้นำความในหมวดนีม้ าใช้บังคับกับการจัดทำและบรหิ ารงบประมาณของกลุ่มจังหวัดด้วย
โดยอนโุ ลม
ในกรณีใดที่ไม่อาจปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้หรือมิได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาน้ี การดำเนินการ
ในกรณนี น้ั ใหเ้ ป็นไปตามที่ ก.น.จ. กำหนดด้วยความเหน็ ชอบของคณะรฐั มนตรี
มาตรา 33 ใหห้ วั หนา้ กลุม่ จังหวดั บรู ณาการการบริหารงบประมาณกลุ่มจงั หวัดให้เปน็ ไปตามแผนพัฒนา
กลุ่มจังหวดั และแผนปฏิบัตริ าชการประจำปีของกลุ่มจงั หวดั
2.6.3.8 การกำกบั เร่งรดั และติดตามการดำเนินงาน
มาตรา 34 เพื่อให้การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการสัมฤทธิ์ผล ให้ผู้ตรวจราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่ เร่งรัด ติดตามและประเมินผล
การดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด รวมทั้งการบริหารงบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่ม
จังหวดั ให้ผูต้ รวจราชการสำนกั นายกรัฐมนตรี และผ้ตู รวจราชการกระทรวงมหาดไทย รายงานผลการติดตาม
และประเมนิ ผลตามวรรคหนงึ่ ต่อ ก.น.จ. อยา่ งนอ้ ยปีละสองครง้ั
มาตรา 35 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ของจังหวัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกจิ การบ้านเมืองท่ดี ี
ให้จังหวัด ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ บรรดาที่มีสำนักงานอย่ใู น
พื้นทจี่ งั หวดั และได้รับเงินงบประมาณเป็นการเฉพาะเพ่อื ดำเนนิ การตามแผนพัฒนาจงั หวัด และแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจังหวัด มีหน้าที่ต้องจัดทำบันทึกความร่วมมือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร.
กำหนด
ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครใจใหค้ วามรว่ มมือและสนับสนนุ
การดำเนินการตามแผนพฒั นาจังหวัดและแผนปฏิบตั ิราชการประจำปีของจงั หวดั ด้วย
ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการดำเนินการตามแผนพัฒนากลุ่ม
จงั หวดั และแผนปฏบิ ัติราชการประจำปีของกลมุ่ จังหวัดด้วยโดยอนโุ ลม

สำนกั งานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -27- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณศี ึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

2.6.4 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าดว้ ยการบรหิ ารงานเชิงพ้ืนทแี่ บบบูรณาการ พ.ศ. 2560

เพื่อให้การบริหารงานเชงิ พื้นที่ในทุกระดับมีความครอบคลมุ และเช่ือมโยงกันต้ังแต่หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล
ท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับภาค ผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาในทุกระดับให้
สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นายกรัฐมนตรีจึงได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ
บริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 สร้างกลไกและกระบวนการบูรณาการการบริหารงานและ
งบประมาณในเชิงพื้นที่ต่อยอดจากการบริหารงานของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งเริ่มมีผลใช้บังคับกับการ
จัดทำงบประมาณรายจา่ ยประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นปแี รก โดยมีสาระสำคัญ ดงั นี้

ข้อ 5 กำหนดใหม้ คี ณะกรรมการบูรณาการนโยบายการพัฒนาภาค หรือ ก.บ.ภ. มหี นา้ ที่และอำนาจ ดงั นี้
(1) กำหนดกรอบนโยบายและวางระบบในการบริหารงานภาค กลุ่มจังหวัดและจังหวัดแบบบูรณาการ
เพื่อให้สามารถบริหารงาน แก้ไขปัญหา และพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของ
ประชาชนให้ไดร้ บั ประโยชน์สูงสดุ
(2) กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
แผนพัฒนาภาค แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด
การจัดทำและบริหารงบประมาณจังหวัด งบประมาณกลุ่มจังหวัด และงบประมาณของส่วนราชการที่จะ
ดำเนินการตามแผนพฒั นาภาค
(3) บูรณาการแผนของส่วนราชการและแผนพัฒนาระดับพื้นที่ เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนในพื้นท่ี ของ
กระทรวง กรม สอดคล้องกับศักยภาพหรือประเด็นปัญหาในพื้นที่และเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรฐั บาล
(4) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาภาค แผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด คำของบประมาณของจังหวัด กลุ่มจังหวัด
และงบประมาณของส่วนราชการที่จะดำเนินการตามแผนพัฒนาภาคตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
แล้วเสนอคณะรัฐมนตรเี พื่อทราบ
(5) กำกับดแู ลการดำเนนิ การตาม (1) (2) (3) และ (4) ให้เกิดผลสมั ฤทธ์ิ
(6) เสนอความเหน็ ประกอบการพจิ ารณาของคณะรัฐมนตรีในการจัดต้ังกลุ่มจงั หวดั และกำหนดจังหวัดที่
เป็นศนู ย์ปฏบิ ตั ิการของกลุม่ จังหวดั
(7) แต่งตั้งคณะอนกุ รรมการหรือคณะทำงานเพ่ือปฏบิ ัตหิ นา้ ทต่ี า่ ง ๆ ตามที่มอบหมาย
(8) ปฏิบตั ิหนา้ ที่อน่ื ตามท่ีคณะรัฐมนตรมี อบหมาย
คณะอนุกรรมการตาม (7) อย่างน้อยต้องมีอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาคของแต่ละภาค
และให้มีหน้าที่และอำนาจเป็นคณะอนุกรรมการตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย
การบรหิ ารงานจงั หวดั และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ดว้ ย

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -28- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา


Click to View FlipBook Version