The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

7/2565 เอกสารวิชาการ เรื่อง การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thaipbo.parliament, 2022-05-24 23:43:52

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

7/2565 เอกสารวิชาการ เรื่อง การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

ที่เสนอในงบจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เนื่องจากการพิจารณางบจังหวัดและกลุ่มจังหวัดใช้เวลาค่อนข้างนาน
ประกอบกับการจัดทำแผนพัฒนาภาคทีจ่ ะต้องทำให้สอดคล้องกับร่างแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 13 ส่งผลให้หน่วยงานมีเวลาค่อนข้างจำกัดในการลงพื้นที่ติดตามประเมินผลและทำความเข้าใจบริบท
ของพื้นที่ โดยส่วนใหญ่การทำงานจะเป็นไปในลักษณะการประสานไปที่หน่วยยุทธศาสตร์จังหวัดหรือหัวหนา้
สำนักงานจงั หวดั เพื่อสอบถามข้อมลู หรอื โครงการทมี่ ปี ญั หาเรื่องการโอนเปล่ยี นแปลง หรือการพัฒนาพน้ื ท่ี

(12) เงื่อนไขของการพิจารณาโครงการที่มีการกำหนดสัดส่วนงบลงทุน 75 : 25 ส่งผลถึงตัวชี้วัดระดับ
Output แต่ไปไม่ถึง Outcome ด้วยเงื่อนไขนี้ ทำให้งบประมาณส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการก่อสร้าง
ซง่ึ Output ของโครงสรา้ งพืน้ ฐานจะจับต้องได้ สามารถที่จะวดั ผลและเห็นผลได้ชดั เจน แต่ Outcome ท่ีระบุ
ไว้ภายใต้โครงการจะหาตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลได้ยาก เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานเมื่อดำเนินการเสร็จ
สิน้ แลว้ Outcome อาจจะไม่ได้เกิดผลภายในปีน้นั แต่อาจจะต้องรอผลกระทบทจี่ ะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป อาทิ
มิติด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเห็นผล มิติด้านสังคมที่ทำเรื่อง
ปรับปรุงถนนเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในส่วนน้ีจะมีความชัดเจนในแง่ของอุบัติเหตุที่ลดลง
แต่ Outcome จะไม่สามารถประเมินผลไดภ้ ายในปีเดียวแตจ่ ำเป็นตอ้ งพิจารณาในระยะยาวดว้ ย

สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -77- สำนักงบประมาณของรฐั สภา



การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี ึกษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบรุ )ี

บทที่ 5
สรุปผลการศกึ ษาและข้อเสนอแนะ

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวัด กรณีศึกษา : จังหวัดและกล่มุ จงั หวดั ภาคกลาง
ตอนลา่ ง 1 คณะผู้ศึกษาไดก้ ำหนดวัตถุประสงค์ในการศกึ ษา ดงั นี้

(1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการจัดการงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด หลักเกณฑ์ท่ี
เกี่ยวข้อง ตลอดจนบทบาทของงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตาม
แผนพัฒนาจงั หวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1

(2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการงบประมาณของจังหวัดและกลุ่ม
จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1

(3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่ม
จังหวัด รวมถึงยกระดับงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในภาพรวมให้มีบทบาทในการขับเคลื่อน
การพัฒนาพน้ื ท่จี ังหวดั และกลุ่มจงั หวัดเพ่มิ ขน้ึ

การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้เอกสารและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-
Structured Interview) เป็นเครื่องมือในการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content
Analysis Technique) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น รวบรวม ประกอบกับข้อมูลจากการ
สัมภาษณห์ น่วยงานท่ีเก่ียวข้องกับการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดทั้งในส่วนกลาง และหน่วยปฏิบัติ
ในพนื้ ทจ่ี ำนวน 7 หน่วยงาน และสรปุ ผลแบบ Key-Finding แยกเป็นประเด็นผลการศึกษาที่คน้ พบ แล้วสรุปผล
และเขยี นบรรยายในรูปแบบพรรณนา โดยมสี รุปผลการศึกษาและขอ้ เสนอแนะ ดงั น้ี

5.1 สรุปผลการศึกษา

5.1.1 การจดั ทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบตั ริ าชการประจำปี
(1) กระบวนการและขั้นตอนจัดทำแผนพัฒนาจังหวดั และกลุ่มจังหวัด แผนปฏิบตั ริ าชการประจำปี

จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ย่อมเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย
การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
การบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 และ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผน
และประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำเภอและตำบล พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ตาม ในทุกห้วงระยะเวลา 5 ปี
ซง่ึ จะต้องเร่มิ ต้นจดั ทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั ฉบบั ใหม่ คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค
(ก.บ.ภ.) จะกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการจัดทำแผนพัฒนา แผนปฏิบัติราชการประจำปี และคุณสมบัติ
ของโครงการ/กิจกรรมที่จะเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ และแจ้งเวียนให้ทุกจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ดำเนินการตามกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งมีห้วงระยะเวลาการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนตามกำหนด

สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร - 78 - สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณศี กึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สพุ รรณบุร)ี

จึงมิได้มีปัญหาอะไรมากมายนัก อย่างไรตาม บางครั้งการได้รับแจ้งเวียน นโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการ และ
แนวทางการจัดทำแผนฯ ล่าช้า ประกอบกับการจัดทำแผนฯ มีกิจกรรมขั้นตอนกระบวนการมีส่วนร่วมจาก
หลายภาคส่วน จึงมีลักษณะทำงานแข่งกับเวลาทำให้มปี ญั หาเก่ียวกับคณุ ภาพของแผนฯ ดังนี้

(1.1) การจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้อง
ดำเนินการด้วยความรีบเร่งทำให้ไม่รอบคอบ ครอบคลุม สมบรู ณ์ ครบถ้วน โดยเฉพาะการประชุมปรึกษาหารือกัน
ของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งส่วนราชการ หน่วยงานในพื้นที่ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ในพื้นที่มีเวลาน้อย
เกินไป รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมีข้อจำกัด อีกทั้งการจัดทำแผน
ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่แผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แผนพฒั นาอำเภอ แผนพัฒนาจงั หวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวดั ต้องจัดทำไปพร้อม ๆ กนั ในห้วงระยะเวลา
เดียวกัน การประสานแผนฯ ในแต่ละระดับจึงมีข้อจำกัด ทำให้แผนฯ ไม่สะท้อนความต้องการของประชาชน
ในพ้นื ที่ได้ดเี ท่าทคี่ วร

(1.2) ยังไม่เกิดบรรยากาศการบูรณาการทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ ในการกำหนดประเด็น
ยุทธศาสตร์ แนวทางการพฒั นา เป้าประสงค์ และโครงการกิจกรรมสำคญั ทีเ่ ชื่อมโยงสอดรบั ในลักษณะห่วงโซ่
คณุ คา่ อนั นำไปสู่การบรรลุเปา้ ประสงค์ของแผนฯ อย่างแท้จริง

(2) การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะดำเนินการเป็นไปตาม
หลกั เกณฑ์การจดั ทำแผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปี ท่ี ก.บ.ภ. มมี ตกิ ำหนด แต่อยา่ งไรกต็ าม เน่ืองจากเป็นแผนท่ี
จะเสนอเป็นคำของบประมาณของจังหวดั และกลุ่มจังหวดั ดังนั้น แผนปฏิบัติราชการประจำปีจึงมีเน้ือหามุ่ง
ไปที่ตัวโครงการที่จะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นสำคัญ ก.บ.ภ. จึงได้กำหนด
หลักเกณฑ์ของโครงการที่จะเสนอเป็นคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และมีเงื่อนไขเป็น
พิเศษ เรียกว่าหลักเกณฑ์ DO/DON'T โดยเป็นการหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายเลขานุการ ก.บ.ภ. หรือทีม
บูรณาการกลาง ประกอบด้วย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
สาํ นกั งานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และกระทรวงมหาดไทย ซ่งึ หลกั เกณฑเ์ หลา่ นีเ้ ปน็ ความเห็นพ้อง
ร่วมกันของทั้ง 4 ฝ่ายเลขานุการว่าการกำหนดเกณฑ์ดังกล่าวนี้จะสามารถกลั่นกรองแผนงาน/โครงการ
บางส่วนที่ไม่น่าจะตอบโจทย์เรื่องของการพัฒนาพื้นที่และไม่สามารถที่จะช่วยส่งเสริมเรื่องของการบรรลุ
เป้าหมายในการพฒั นาจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ได้

(3) แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเป็นจุดบรรจบระหวา่ งนโยบายของรัฐบาลจากข้างบน และความ
ต้องการของประชาชนในพื้นที่ข้างล่างทุกระดับ จึงมีการบูรณาการการทำงานแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
ในการนี้ได้มีกระบวนการประสานแผนในระดับพื้นที่จากแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาตำบล
แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาอำเภอ และแผนพัฒนาของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น รวมทั้งองค์กร
ภาคเอกชนและประชาชนที่ดำเนินการในพื้นท่ี ขึ้นมาเป็นแผนพัฒนาจงั หวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เพื่อให้มี
ความเชื่อมโยงสอดคล้องกันในทุกระดับเป็นแผนเดียวกัน (One Plan) เพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการ

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผูแ้ ทนราษฎร - 79 - สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี ึกษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

ของประชาชนในพื้นที่ ภายใต้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าดว้ ยการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่
ในระดับอำเภอและตำบล พ.ศ. 2562 แต่ในกระบวนการจัดสรรงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ได้กำหนดเง่ือนไขว่าไมส่ ามารถใช้งบพัฒนาจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดสนับสนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และแผนในระดับล่างได้ โดยพบว่างบประมาณส่วนใหญ่ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จัดสรรให้ส่วนราชการ/
หน่วยงานของจังหวัดดำเนินการ และไม่มีงบประมาณสนับสนุนแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนา
ตำบล แผนพัฒนาทอ้ งถิ่น แผนพัฒนาอำเภอ

(4) โดยหลักปฏบิ ัตแิ ล้วอำเภอมีการจัดทำแผนพฒั นาอำเภอ และเสนอ “แผนความตอ้ งการระดับอำเภอ”
มาให้จังหวัด และ ก.บ.จ. พิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการของจังหวัดและ
ส่วนราชการต่าง ๆ อยู่แล้ว ดังนั้น ที่ผ่านมาจังหวัดได้มีการจัดสรรงบประมาณให้ที่ว่าการอำเภอเป็นหน่วย
รบั ผดิ ชอบดำเนนิ กิจกรรม/โครงการได้ แต่ภายหลงั สำนกั งบประมาณเห็นว่ากิจกรรม/โครงการที่อำเภอนำงบ
จังหวดั ไปดำเนนิ การสว่ นใหญ่ไม่ใช่ภารกิจโดยตรงของอำเภอ แต่เป็นภารกจิ ตามอำนาจหน้าท่ีของส่วนราชการ
หรอื หนว่ ยงานระดบั จงั หวัด ดังน้นั ต้ังแตป่ งี บประมาณ พ.ศ. 2566 ถ้าอำเภอจะขอรับงบประมาณไปดำเนิน
โครงการจะต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานหรือส่วนราชการระดับจังหวัด ที่มีภารกิจและอำนาจหน้า ท่ี
เก่ียวกบั กจิ กรรม/โครงการนนั้ ๆ

5.1.2 การจัดทำคำของบประมาณรายจา่ ยประจำปี
(1) การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของจังหวดั และกลุ่มจังหวัดจะแตกต่างจากหน่วยรับ

งบประมาณอื่น กล่าวคือ นอกจากจะดำเนินการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีตามพระราชบัญญตั ิ
วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 แล้ว จังหวัดและกลุ่มจังหวัดก็ต้องดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอน
ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
รวมถึงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 โดยมีกลไก
ท่ีเกี่ยวข้อง 5 องค์กร ตั้งแต่ระดบั จังหวัด (คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ: ก.บ.จ.) กลุ่มจังหวัด
(คณะกรรมการบริหารงานกลุมจังหวัดแบบบูรณาการ: ก.บ.ก.) ระดับภาค (คณะกรรมการบูรณาการนโยบาย
พัฒนาภาค: ก.บ.ภ.) และระดับประเทศ (คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ มจังหวัดแบบ
บูรณาการ : ก.น.จ.) และคณะรัฐมนตรี ขณะเดียวกันก็มีกระบวนการประสานแผนในระดับพื้นที่ จากหมู่บ้าน
ชุมชน ตำบล องค์กรปกครองสว่ นท้องถน่ิ และอำเภอ จากการที่มีองคก์ รทีเ่ ก่ยี วข้องหลายระดบั ดงั กล่าว ทำให้
การบริหารจัดการงบประมาณมีหลายขั้นตอน อีกทั้งห้วงระยะเวลาของการจัดทำแผนและงบประมาณของ
จังหวดั และกลุ่มจังหวดั รวมถงึ แผนฯ ทเี่ กี่ยวข้องอย่ใู นชว่ งระยะเวลาท่ตี อ้ งดำเนินการจัดทำแผนอยู่ในหว้ งเวลา
เดียวกัน ส่งผลให้การบูรณาการร่วมกันจึงไม่สอดคล้องกันนัก ประกอบกับกระบวนการจัดทำแผนพัฒนา
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด มีระเบียบ กฎหมาย ที่กำหนดขั้นตอน และกลไกที่เกี่ยวข้องในการพิจารณากลั่นกรอง
หลายชั้น และบางส่วนมีความซ้ำซ้อนและมีความขัดแย้งกันเอง เช่น อำนาจหน้าท่ีของ ก.บ.ภ. กับ ก.น.จ. ที่มี
อำนาจหน้าที่ทับซ้อนกัน ทำให้กระบวนการจัดทำแผน คำของบประมาณ การขออนุมัติปรับปรุงเปลีย่ นแปลง

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร - 80 - สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

แผนฯ มีความล่าช้าส่งผลให้การจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีประสิทธิภาพต่ำ อย่างไรก็ตาม
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. .... เพื่อลด
ความซบั ซ้อนยุ่งยาก และเกิดเอกภาพในการจัดทำแผนฯ และการบริหารงาน รวมทง้ั เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รวมไปถึงการจัดทำแผนพัฒนาภาคให้มี
ประสทิ ธภิ าพยง่ิ ขน้ึ ซึ่งขณะน้อี ยูใ่ นระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เก่ียวข้อง

(2) หลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณของจังหวดั และกลุ่มจังหวดั มเี งื่อนไขยุ่งยาก โดยเฉพาะการกำหนด
หลักเกณฑ์การเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณของ ก.บ.ภ. ที่กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข และคุณลักษณะ
หรือคุณสมบัติของโครงการที่ขอรับการจัดสรรจะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยต้องยื่นเอกสาร
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาพร้อมกับคำขอโครงการทั้งเรื่องพื้นที่ดำเนินการ รายละเอียดแบบรูป
รายการ บุคลากร ข้อตกลงกับหน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินงานและจัดตั้งงบประมาณซ่อมแซม บำรุง
รักษา ทรัพย์สินที่เกิดจากการดำเนินโครงการ และการปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นโครงการที่
ดำเนินการได้ภายใน 1 ปี รวมทั้งโครงการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดทำโครงการประจำปีงบประมาณ
ที่ ก.บ.ภ. ให้ความเห็นชอบ อีกทั้งที่ผ่านมาในการพิจารณาคำของบประมาณ สำนักงบประมาณได้นำผล
การเบกิ จ่ายงบประมาณ มาใชป้ ระกอบการพจิ ารณาจดั สรรงบประมาณด้วย เช่น ในส่วนของปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 ใช้ผลใช้จ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นตัวพิจารณา โดยใช้ผลเบิกจ่ายรวมกับวงเงินกอ่ หนี้
ผูกพัน (PO) ดังนั้น ด้วยประสิทธิภาพการเบิกจ่ายและเงื่อนไขที่ยุ่งยากนี้ จึงอาจทำให้จังหวัดและกลุ่มจังหวดั
ได้รับการจัดสรรงบประมาณลดลงจากกรอบงบประมาณที่กำหนดไว้ ดังแผนภาพที่ 4 ทำให้ลดบทบาทของ
งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ได้ เพราะโครงการ/
กิจกรรมที่ขอรับการจัดสรรไม่เป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ ทั้งที่โครงการ/กิจกรรมมีความสำคัญต่อการ
ขับเคลือ่ นการพฒั นาตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลมุ่ จังหวดั โดยตรง

แผนภาพท่ี 4 งบประมาณของจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั ทไ่ี ด้รับจดั สรรในช่วงปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 - 2566

28,000 ล้านบาทต่อปี กรอบวงเงนิ งบประมาณ
รายจ่าย (ลา้ นบาท)

98% 84% 83% 62% 78% งบประมาณที่ไดร้ ับจดั สรรตอ่
กรอบวงเงนิ (%)
27,579.6
23,597.1 23,109.5 21,727.7
17,411.0
2566 งบประมาณจังหวดั และกลมุ่
จงั หวดั (ลา้ นบาท)

2562 2563 2564 2565

ท่ีมา: งบประมาณโดยสังเขป ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 - 2566 สำนกั งบประมาณ
ประมวลผล: คณะผูศ้ ึกษา

สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร - 81 - สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณศี กึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

(3) เนือ่ งจากงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเปน็ เพียงงบประมาณ “เตมิ เตม็ ” งบของกระทรวง
กรม งบแผนงานบูรณาการ และงบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้รับการจัดสรรเพียงเท่าที่จำเป็นตาม
สภาพปัญหาและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาภาค นโยบายของรัฐบาล จึงได้รับการจัดสรรไม่มากนัก
ในขณะท่ีปจั จบุ นั กรอบวงเงนิ ท่ีจะให้ส่วนราชการ/หน่วยงาน เข้าไปรว่ มดำเนนิ งานตามแผนพฒั นาภาคนั้น
ไม่มกี รอบวงเงินโดยเฉพาะอกี แล้ว ดงั น้ัน แนวโนม้ ของงบประมาณในมติ ิพ้ืนท่ี ทง้ั ระดับภาค กลุ่มจงั หวดั และ
จังหวดั จะคงระดับอยูใ่ นกรอบท่กี ำหนดเทา่ นัน้ และมีโอกาสไดร้ ับการจดั สรรเพมิ่ มากขึน้ ค่อนข้างยาก

(4) แมว้ า่ ผลจากการศึกษาโครงการ/กิจกรรมของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ส่วนใหญง่ บประมาณ
ที่ได้รับจัดสรรจะเป็นไปตามแผนพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แต่ผลการเบิกจ่ายยังคงต่ำ ณ สิ้นปี
งบประมาณ ซึ่งเป็นผลจากรายจ่ายลงทุนที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามกำหนด โดยเฉพาะโครงการที่ไม่อยู่
ในแผนพฒั นาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่มีวงเงนิ สูง รวมท้ังโครงการท่ีกำหนดไว้ในแผนพฒั นากลุ่มจังหวัดแต่การ
ดำเนินการไม่สอดคล้องกับกิจกรรมหลักที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนา (ก่อนทบทวนแผน) นอกจากนี้ ในส่วนของ
ลักษณะการจัดสรรงบประมาณของจังหวัด ท่ีพบว่าจังหวัดได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนบางเปา้ ประสงค์
ให้ประสบผลสำเร็จอย่างต่อเน่ืองเพียงเป้าประสงค์เดียว คือ การพัฒนาด้านคมนาคม ในขณะที่จังหวัดยังมี
เป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์อื่นที่จำเป็นต้องขับเคลื่อนเช่นเดียวกัน แต่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
ในสัดส่วนค่อนข้างน้อย รายจ่ายส่วนใหญ่ที่ดำเนินการจึงเป็นโครงการขนาดใหญ่และมีวงเงินงบประมาณสูง
ซ่ึงเน้นการปรับปรุง/ก่อสร้างทางและสะพานเป็นจำนวนมาก ทำใหค้ งเหลือเงินงบประมาณจำกัดไม่มากพอท่ีจะ
ไปทำโครงการขนาดเล็กให้ครอบคลุมโครงการ/กิจกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพือ่ ขับเคลื่อนการพัฒนาพ้นื ท่ี
ให้เป็นตามแผนพฒั นาของจังหวดั

จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่า โครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณไม่สอดคล้องกับสภาพ
ปัญหาและความต้องการของพื้นท่ี เนื่องจากหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ต้องมีงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่อรายจ่ายประจำในสัดส่วน 75 : 25 ส่งผลให้งบประมาณของจังหวดั และ
กล่มุ จงั หวดั สว่ นใหญ่ จึงเป็นค่าใชจ้ ่ายเก่ียวกับท่ีดนิ และสิ่งก่อสรา้ ง อกี ท้งั แผนพฒั นาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
เป็นจดุ บรรจบระหว่างนโยบายของรัฐบาลจากข้างบน และความต้องการของประชาชนในพนื้ ที่ข้างลา่ งทุกระดับ
แต่ในกระบวนการจัดทำคำของบประมาณ องค์กรที่มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและอนุมัติงบประมาณ
ตง้ั แต่ระดบั ภาค (อ.ก.บ.ภ แต่ละภาค) และระดับประเทศ (ก.น.จ.) และ (ก.บ.ภ.) คณะรัฐมนตรี ส่วนใหญ่
ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายของรัฐบาลมากกว่า จึงทำให้โครงการ/กิจกรรมที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
ให้ดำเนินการไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ศักยภาพและบริบทของพื้นที่ เช่นเดียวกัน
ความต้องการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ก็อาจไม่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาในระดับชาติ จึงทำให้
การจัดสรรงบประมาณสวนทางกนั

(5) โดยที่สำนักงบประมาณได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ต้องมีงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่อรายจ่ายประจำ สัดส่วน 75 : 25 ดังนั้น งบประมาณของจังหวัดและกลุ่ม

สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร - 82 - สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวดั
กรณีศกึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

จังหวัดส่วนใหญ่ จึงเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ซึ่งต้องมีพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ แต่โดย
พื้นท่ีในเขตจังหวัดส่วนใหญ่ อยใู่ นความครอบครองดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอ่ืน ๆ
เช่น กรมทางหลวงชนบท กรมป่าไม้ หรือพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ธรณีสงฆ์ จึงต้องมี
กระบวนการขออนุญาต อนุมัติ ให้ใช้พื้นทีด่ ำเนินโครงการจากหน่วยงานเจ้าของ ซึ่งสร้างความยากลำบาก
และเพิ่มขั้นตอนในการขอรับการจัดสรรงบประมาณ และการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ คณะกรรมการบูรณาการ
นโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ) ยงั ไดก้ ำหนดให้หลักเกณฑ์การยืน่ คำขอรับการจัดสรรงบประมาณของจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัด เพิ่มเติม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 เช่น (1) ต้องมีหนังสืออนุมัติ หรือ อนุญาตให้ใช้
พน้ื ท่จี ากหน่วยงานเจ้าของพนื้ ที่ (2) ตอ้ งให้หน่วยงานท่ีมหี น้าทต่ี ามกฎหมายดำเนินการและเม่ือมีทรัพย์สินเกิด
จากโครงการจะต้องมบี ันทึกข้อตกลงว่าหน่วยงานนั้นต้องต้ังงบประมาณสำหรับการจัดการและการบำรุงรักษาด้วย
และ (3) ตอ้ งย่ืนเอกสารรายงานประเมนิ ผลกระทบต่อสงิ่ แวดล้อมพร้อมกับการยนื่ คำขอรับงบประมาณ เป็นต้น

(6) กรณีการนำโครงการซึ่งไม่ได้เป็นโครงการสำคัญที่อยู่ในแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเข้ามาไว้
ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี รวมไปถึงการนำโครงการทีไ่ ม่ปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัติราชการหรือแผนพัฒนา
จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถที่จะนำโครงการดังกล่าวเพิ่มเข้ามาในแผนปฏิบัติราชการประจำปี และนำไป
ขอรับการจัดสรรงบประมาณได้ ถ้าหากเป็นความต้องการของพื้นที่ หรือเป็นแผนงานโครงการที่เคยได้รับการ
อนุมัติในคราวที่คณะรัฐมนตรีลงพื้นที่ หรือเป็นนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ของรัฐบาล แต่จังหวัดและกลุ่ม
จังหวัดจะต้องเสนอไปที่ อ.ก.บ.ภ. พิจารณาอนุมัติก่อนขอรับการจัดสรรงบประมาณ จากนั้นจึงจะมีการ
ทบทวนแผน และเพ่มิ โครงการทว่ี า่ นั้นเขา้ ไปในปีทีม่ กี ารทบทวนแผน

5.1.3 แผนและงบประมาณ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบประมาณที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้รับจัดสรรมีบทบาท
ไม่มากนักในการขับเคลื่อนการพัฒนาพืน้ ทีต่ ามแผนพัฒนาของกลุม่ จังหวัด เนื่องจากได้รับจัดสรรงบประมาณ
ต่ำกว่ากรอบงบประมาณตามแผนพัฒนากลมุ่ จังหวดั ที่กำหนดไวค้ อ่ นขา้ งมาก
ในส่วนของการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัด และงบประมาณของกลุ่มจังหวัด พบว่าไม่มีความ
แตกต่างกันนัก ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าโครงการ/กิจกรรมบางรายการ เช่น รายการท่าเทียบเรือขุนแผน
ใช้งบประมาณจากทั้งงบของจังหวัดและงบของกลุ่มจังหวัดในรายการเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กรณีนี้เนื่องจาก
เป็นรายการที่ปรากฎอยู่ในมติการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานท่ี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่
สอดคล้องกับเป้าประสงค์หลักของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 และงบประมาณของจังหวัด ที่มีจำกัด
จงึ ตอ้ งใชง้ บประมาณของกลุ่มจงั หวัดมาเสริมให้ดำเนนิ การแล้วเสรจ็ โดยเร็ว
สำหรับงบประมาณของจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดสุพรรณบุรีจะมีบทบาทไม่มากนักในการขับเคลื่อน
การพัฒนาพื้นที่ตามแผนพัฒนาจังหวัดเช่นเดียวกับงบกลุ่มจังหวัด ด้วยเหตุผลเดียวกันนั่นคือ ได้รับจัดสรร
งบประมาณต่ำกว่ากรอบงบประมาณที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดค่อนข้างมาก ส่วนงบประมาณของ
จังหวัดราชบุรีจะมีบทบาทค่อนข้างมาก เนื่องจากโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นไปตาม

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร - 83 - สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวดั
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

แผนพัฒนาจังหวัด แต่ก็ยังพบว่างบประมาณที่จังหวัดราชบุรีได้รับจัดสรรในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ของ
จงั หวดั ค่อนขา้ งไมส่ มดุลนัก โดยส่วนใหญ่จะได้รับจดั สรรงบประมาณในประเดน็ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสรมิ สร้าง
ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การค้า การบริการ การท่องเที่ยว ด้วยนวัตกรรมและบริการที่มีมูลค่าสูง อีกทั้งเป็น
การเน้นขับเคลื่อนเป้าประสงค์ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Goal) บางเป้าประสงค์ให้ประสบผลสำเร็จ
อย่างต่อเนื่องเพียงเป้าประสงค์เดียว คือ “ด้านระบบการคมนาคม การขนส่ง การโลจิสติกส์ มีความปลอดภัย
เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโตของเมือง และการเชื่อมโยงนานาชาติ” เท่านั้น ในขณะที่จังหวัดยังมี
เป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์อื่นที่จำเป็นต้องขับเคลื่อนเช่นเดียวกัน แต่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
ในสัดส่วนค่อนข้างน้อย

นอกจากนี้ ยังพบว่า งบประมาณของแต่ละจงั หวัดและของกลุ่มจังหวดั มรี ายจา่ ยลงทุนในสัดส่วนที่สูงมาก
ระหว่างร้อยละ 75 – 90 อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญแ่ ละมีวงเงินงบประมาณค่อนขา้ งสงู ซ่ึงเน้น
การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และการปรับปรุง/ก่อสร้างทางและสะพานเป็นจำนวนมาก ด้วยลักษณะ
การจัดสรรงบประมาณเช่นนี้ ภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เป็นไปตามแผน ย่อมทำให้คงเหลือเงิน
งบประมาณในวงจำกัดที่จะไปทำโครงการขนาดเล็กใหค้ รอบคลมุ โครงการ/กิจกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายนำ้
เพ่อื ขับเคลอื่ นการพัฒนาพื้นท่ีใหเ้ ป็นตามแผนพัฒนาของจงั หวัดและกลุ่มจังหวัดได้อยา่ งสมดุลเป็นไปได้ยาก

5.1.4 การบริหารงบประมาณ
(1) จังหวัดเป็นหน่วยรับงบประมาณตามกฎหมายวิธีการงบประมาณที่มีลักษณะพิเศษ กล่าวคอื

มีงบประมาณเป็นของตนเอง แต่กลบั ไม่มหี น่วยงานปฏิบัตกิ ารท่ีเปน็ ของตวั เอง จงึ ต้องอาศัยหนว่ ยงานในสังกัด
ของกระทรวง ทบวง กรม ที่อยู่ในจงั หวดั นั้น ๆ เปน็ หน่วยงานดำเนินการขับเคลื่อนแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปี ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มีภารกิจต้องปฏบิ ัติหน้าที่ตามแผนปฏิบัติราชการ เป้าหมายและตัวชี้วัด
ของหน่วยงานเจ้าสังกัด รวมถึงข้อสั่งการของหวั หน้าหน่วยงานเจ้าสังกัดด้วย ทำให้หน่วยงานให้ความสำคัญ
กบั การดำเนนิ งานตามแผนปฏบิ ตั ิราชการและงบประมาณของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดได้ไม่เต็มที่ แม้จังหวัด
เป็นราชการส่วนภูมิภาคที่มีฐานะเป็นนิติบุคลและผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งการส่วนราชการหรือ
หน่วยงานต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนั้นก็ตาม แต่ก็ไม่มีอำนาจปกครองบังคับบัญชา จึงส่งผลให้การ
ขบั เคลื่อนการดำเนินงานและงบประมาณตามแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด มปี ระสิทธภิ าพต่ำ เมื่อเทียบกับ
กระทรวง ทบวง กรม สำหรับการดำเนินงานของกลุ่มจังหวัดก็เช่นเดยี วกัน แม้มีหน่วยงานบริหารยุทธศาสตร์
กลุ่มจังหวัด (OSM) แต่ก็มีสภาพไม่ต่างกัน จึงทำให้การดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณตาม
แผนปฏิบตั ริ าชการประจำปขี องกลุ่มจงั หวัดมคี วามลา่ ชา้

(2) โดยท่ีงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องมีงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่อรายจ่ายประจำ
สัดสว่ น 75 : 25 ทำให้งบประมาณสว่ นใหญ่เปน็ รายการค่าทด่ี นิ และสิ่งกอ่ สร้าง ซ่ึงตอ้ งดำเนนิ การจัดซ้ือจัดจ้าง
ตามที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กำหนด ที่มีกระบวนการและ
ขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่ขาดความรู้และทักษะในการ

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร - 84 - สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุร)ี

ดำเนินการตามระเบียบพัสดุ การบริหารสัญญา การกำหนดงวดงาน และมีขั้นตอนการอุทธรณ์กระบวนการ
จัดซื้อจัดจ้างทำให้การจัดหาพัสดุมีความล่าช้า ส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณมีความล่าช้าตามไปด้วย
และนี่จึงอาจเป็นสาเหตุประการหนึ่ง ที่ทำให้งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีการตั้งงบประมาณ
เป็นคา่ จ้างเหมาบริการไวค้ อ่ นขา้ งสูงเพื่อให้สามารถดำเนินการจ้างได้สะดวกรวดเร็วข้นึ

(3) จากข้อกำหนดคุณลักษณะของโครงการที่ขอรับการจัดสรรงบพัฒนาจังหวัดหรือกลุ่มจงั หวดั
“ต้องไม่เป็นโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เนื่องจากรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการ
กำหนดสัดส่วนไว้ตามกฎหมายแล้ว อีกทั้งยังมีงบประมาณท่ีอยู่ในความดูแลของรองนายกรัฐมนตรีแต่ละท่าน
ที่จะจดั สรรเปน็ เงนิ อดุ หนุนแก่องค์กรปกครองสว่ นท้องถ่นิ เพอ่ื แก้ไขปัญหาท้องถ่ินบางแหง่ ทีฐ่ านะทางการคลัง
อ่อนแอ และภารกิจที่มีการถ่ายโอนไปให้ อปท. แล้ว ไม่เป็นภารกิจของส่วนราชการอีก ดังนั้น จึงมิให้นำ
งบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัด ไปจัดสรรรในการดำเนินโครงการของ อปท. อีก
ซึ่งในประเด็นนี้จังหวัดก็มีความเห็นว่า ตามหลักเกณฑ์การจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณของจังหวัด
และกลุ่มจังหวัดท่ี ก.บ.ภ. กำหนด ห้ามมิให้นำโครงการของ อปท. มาขอรับการจัดสรร ซ่งึ จงั หวัดก็มีความเห็นด้วย
กบั หลกั เกณฑด์ ังกล่าว เนอื่ งจากภารกจิ ใด ทไี่ ดถ้ า่ ยโอนให้เป็นอำนาจหน้าท่ีของ อปท. แลว้ ตอ้ งใช้กรอบวงเงิน
ในสัดส่วนรายได้ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนฯ และที่ผ่านมางบประมาณที่จังหวัดและกลุ่ม
จังหวัดได้รับการจดั สรรค่อนขา้ งน้อยอยู่แล้ว จงึ เห็นวา่ ไม่สะดวกท่จี ะจดั สรรงบฯ ใหแ้ ก่ อปท.อีก เพราะจะทำให้
จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเหลืองบประมาณในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาไม่เพียงพอกับสภาพปัญหาและ
ความต้องการตามแผนพัฒนาฯ

อยา่ งไรก็ดี ในกรณที ่ี อปท. ไม่สามารถดำเนินการโครงการที่เป็นภารกิจถ่ายโอนได้ และมีหนังสือยืนยัน
เป็นทางการ ก็เห็นควรให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการดังกล่าวได้
ซึง่ จะทำใหก้ ารจดั สรรงบประมาณสอดคลอ้ งกบั สภาพปญั หาและความต้องการของประชาชนมากขน้ึ

(4) ประเด็นการดำเนินการตามมาตรา 29 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัด
และกลุ่มจงั หวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 กรณที ก่ี ำหนดให้สำนักงบประมาณ สว่ นราชการ และกรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น ต้องแจ้งการได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ดำเนินการตามแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันท่ี
พระราชบญั ญตั ิงบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลใชบ้ ังคับน้ัน (การแจ้งงบประมาณขาลง) ขอ้ เทจ็ จรงิ คือในทาง
ปฏิบัติ “ไมไ่ ดด้ ำเนินการ”

5.1.5 การตดิ ตามผลการดำเนินงานและการใชจ้ า่ ยงบประมาณ
(1) การสรุปการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะสรุป

ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ส่วนการติดตามผลการดำเนินงาน จังหวัดและกลุม่ จังหวัด
ยังคงเนน้ ตดิ ตามการดำเนนิ งานของหน่วยปฏิบัติการผ่านการประชุมติดตามประจำเดือน การตงั้ คณะกรรมการ
ติดตามเรง่ รัด การแก้ไขปัญหาและอปุ สรรคระหว่างการดำเนนิ โครงการ

สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร - 85 - สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวดั
กรณศี กึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สพุ รรณบุรี)

(2) ผลการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1
เป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาในเรื่องที่หน่วยงานไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สภาพภูมิอากาศ
ภัยธรรมชาติ โควิด - 19 รวมถึงการปรับแก้แบบให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ ทำให้บางกิจกรรมจึงมี
ความจำเปน็ ทีจ่ ะตอ้ งยกเลิกการดำเนนิ กิจกรรม ซง่ึ ส่งผลใหก้ ารดำเนินโครงการไม่เปน็ ไปตามกำหนด

(3) การกำหนดตัวชี้วัดของโครงการจังหวัดยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
เนื่องจากโครงการที่อยู่ในแผนส่วนใหญ่เป็นตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) ซึ่งยังไม่ส่งต่อไปที่ตัวชี้วัดระดับ
ผลลัพธ์ (Outcome) อย่างชัดเจน ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำฐานข้อมูลตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในลักษณะ Shopping List ให้จังหวัดเลือกนำไปใช้วัดเพื่อแสดงให้
เหน็ ความสำเรจ็ ท่ีเปน็ รูปธรรมมากข้นึ

(4) ฝา่ ยเลขา ก.บ.ภ./อ.ก.บ.ภ. โดยสำนกั งานสภาพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ได้มีการติดตาม
ประเมินผลโครงการอย่างน้อยปลี ะ 1 ครัง้ ซ่ึงสว่ นใหญเ่ ปน็ การติดตามประเมนิ ผลการดำเนินงานหลังโครงการ
แล้วเสร็จ โดยสุ่มโครงการที่มีผลกระทบในเชิงกว้าง (Impact) วงเงินที่ได้รับจัดสรรสูง (Size) และเป็น
ยทุ ธศาสตร์หลักของจงั หวัดกลมุ่ จังหวดั (จดุ เนน้ ระดับพื้นท่ี)

5.2 ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะเก่ียวกับการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั ในภาพรวม มีสาระสำคัญดังนี้
5.2.1 หน่วยงานบูรณาการกลางควรพิจารณาทบทวนการกำหนดเง่ือนไขในการจัดสรรงบประมาณ
ใหจ้ ังหวัดและกลุ่มจังหวัดท่ีต้องมีสัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่อรายจ่ายประจำในสัดส่วน 75 ต่อ 25 ให้มีความ
ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับบริบทเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้จังหวัด
และกลุ่มจังหวัดสามารถดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพมากขึน้ และเพื่อให้ประสิทธิภาพการเบิกจา่ ยงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดดีขึ้น ซึ่งจะ
ทำให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดมถิ ูกปรับลดงบประมาณลงเพราะเหตดุ งั กล่าว
5.2.2 ควรเพิ่มเงื่อนไขการพิจารณาข้อกำหนดลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะของโครงการ ภายใต้
หลกั เกณฑ์ DO/DON'T ที่กำหนดว่า “โครงการต้องไม่เป็นโครงการขององคก์ รปกครองส่วนท้องถิน่ ” เพือ่ ทำให้
การบริหารงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของพื้นที่
อย่างแท้จริง เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดครอบคลุมด้วยเขตปกครองขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถนิ่ แทบท้ังหมด การใชจ้ า่ ยงบประมาณรายจ่ายลงทนุ ในโครงการประเภทท่ีดินและสิ่งก่อสร้างของจังหวัด
และกลุ่มจังหวัดหากไม่ได้รบั ความยินยอมจาก อปท. จงึ ทำให้ดำเนินการไดย้ าก อีกทง้ั อปท. มีความใกล้ชิดกับ
ประชาชนในพื้นที่ โครงการกิจกรรมที่ดำเนินการย่อมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน
มากข้ึน และทส่ี ำคัญการใหง้ บประมาณของจังหวดั และกลุ่มจังหวดั สามารถอดุ หนนุ แก่องค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่นได้
ก็สอดคล้องกับบทบัญญตั ิในมาตรา 52/1 (5) แหง่ พระราชบัญญตั ริ ะเบยี บบริหารราชการแผน่ ดิน พ.ศ. 2534 แก้ไข
เพ่มิ เตมิ (ฉบับท่ี 7) พ.ศ. 2550 ที่ใหจ้ ังหวดั มีอำนาจ “จัดใหม้ กี ารส่งเสริม อุดหนุน และสนบั สนุนองค์กรปกครอง

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร - 86 - สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจงั หวัดและกลุ่มจังหวดั
กรณศี กึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สพุ รรณบุร)ี

สว่ นท้องถ่นิ เพือ่ ใหส้ ามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าท่ีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และใหม้ ีขดี ความสามารถ
พร้อมที่จะดำเนินการตามภารกจิ ถ่ายโอนจาก กระทรวง ทบวง กรม”

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำหนดสัดส่วนรายได้ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับ
รฐั บาลตามพระราชบญั ญตั ิกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน พ.ศ.
2542 ใหน้ บั เงินงบประมาณท่จี ังหวัดและกลุ่มจังหวัดอุดหนุนให้ อปท.ดำเนินการตามแผนพัฒนาฯ เป็นส่วนของ
รายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือรับรองว่าโครงการดังกล่าว
เปน็ ความเดือดร้อนหรือความต้องการของประชาชนในพ้ืนทแี่ ละเกนิ ศักยภาพของท้องถิ่นท่ีจะดำเนินโครงการ
ดงั กล่าวไดด้ ้วยงบประมาณของทอ้ งถ่ินเอง

5.2.3 ควรพิจารณาใหอ้ ำเภอสามารถขอรับการจดั สรรงบประมาณจากงบพัฒนาจงั หวดั ได้ เนือ่ งจาก
อำเภอเป็นหนว่ ยงานท่ใี กล้ชดิ ประชาชนมากทีส่ ุด ยอ่ มมีภารกิจในการเข้าถงึ และดูแลประชาชนได้คล่องตัวท่ีสุด
ประกอบกับนายอำเภอเม่ือปฏิบัติงานอยู่ในระดับพ้ืนที่จะเป็นบุคลากรของหนว่ ยงานราชการที่สำคัญในการเช่ือม
ประสานการพัฒนาส่งเสริมอาชพี การจดั ทำโครงสร้างพ้นื ฐานต่าง ๆ ให้ตรงกบั เป้าหมายของประชาชนในพื้นท่ี
แม้ว่าบางครั้งท่ีมีการมอบหมายภารกิจให้นายอำเภอไปปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ในพื้นท่ี
อาจถกู มองว่าไม่ใช่ภารกจิ โดยตรง อย่างเช่น การประชุมหารือเร่ืองชลประทาน หรอื แขวงต่าง ๆ ทำให้ดูเหมือน
วา่ เปน็ งานในลกั ษณะ Function แตง่ านบางสว่ นที่ อปท.ขนาดเลก็ มงี บประมาณไม่เพยี งพอ หรือบางโครงการ
อาจเกินศักยภาพของท้องถิ่น อำเภอสามารถนำงบประมาณพัฒนาจังหวัดเข้าไปเสริมในส่วนนี้ได้ ซึ่งทำให้
อำเภอมีงบประมาณเพอ่ื เขา้ ไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพมากขึ้น

5.2.4 ควรลดน้ำหนักองค์ประกอบหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณจังหวัด กรณีจัดสรรตาม
ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของจังหวัดที่กำหนดไว้ร้อยละ 10 ให้มีน้ำหนักน้อยลง ด้วยเงื่อนไข
เรื่องประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเป็นหลักเกณฑ์หนึ่งที่ส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณของจังหวัดและกลุ่ม
จังหวัด เนื่องจากว่าถ้าหากงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ถูกปรับลดลงไปมากว่านี้ด้วยผลของการ
เบกิ จา่ ยล่าช้า ซึง่ ส่วนใหญ่เปน็ ปจั จัยท่จี ังหวัดและกลุ่มจังหวดั ไมส่ ามารถควบคุมได้ เป็นต้นว่าสภาพภูมิอากาศ
ภยั ธรรมชาติ และโควดิ – 19 ย่อมส่งผลต่อการพฒั นาจังหวดั ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยหากสิ้นปงี บประมาณ
ถ้าสามารถทจี่ ะกอ่ หน้ีและจองงบประมาณใน PO ไวไ้ ด้กไ็ มค่ วรตดั งบประมาณของจังหวดั ลงไป เพราะสุดท้าย
จะกระทบกับประชาชนในพนื้ ที่ทำใหไ้ มไ่ ดร้ ับการแกไ้ ขปัญหาความเดือดรอ้ นอยา่ งแท้จรงิ

5.2.5 ก.บ.ภ. ควรพจิ ารณาปรับปรุงหลกั เกณฑ์ในการปรับปรงุ แผนฯ และการบรหิ ารงบประมาณเพ่ือให้
เกิดความคล่องตัว โดยการมอบอำนาจให้ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบการโอน
เปลย่ี นแปลงโครงการตามแผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปี ทั้งกรณงี บประมาณปกติและและงบประมาณเหลือจ่าย
และกรณีที่อยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่ได้รับความเห็นชอบงบประมาณแล้วแต่ยังไม่ได้รับการจัดสรร
งบประมาณ (โครงการ Y2) และกรณีโครงการใหม่ที่ไม่อยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อเพิ่มระยะเวลา
ให้สามารถเริ่มดำเนินการโครงการได้เร็วขึ้น โดยให้เป็นอำนาจของ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. แล้วแต่กรณีเป็นผู้มี

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร - 87 - สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณีศึกษา : จงั หวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สพุ รรณบุรี)

อำนาจอนุมัติ แล้วจึงรายงานให้ อ.ก.บ.ภ.ภาคเพื่อทราบเท่านั้น เว้นแต่กิจกรรม/โครงการที่ขอปรับแผนและ
งบประมาณนั้นส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาตามแผนพัฒนาภาค ให้เป็นอำนาจของ อ.ก.บ.ภ.ภาค
เปน็ ผ้อู นุมตั ิ

5.2.6 การติดตามการดำเนินโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีเพียงระบบการติดตามผล แต่ไม่มี
ระบบการประเมินผลที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการด ำเนินงานภายใต้แผนงานพัฒนา
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางการประเมินผลในแต่ละ
ประเด็นการพัฒนา เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นข้อมูลว่าควรปรับปรุงการดำเนินงานในแต่ละประเด็น
การพัฒนาอย่างไร รวมท้งั กำหนดเปา้ หมายและตวั ช้วี ัดในแตล่ ะระดบั ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม และประการสำคัญ
ต้องนำผลการประเมินมากำหนดเป็นเกณฑ์ให้น้ำหนักการจัดสรรงบประมาณในแต่ละประเด็นให้เหมาะสม
เพอ่ื ให้การพฒั นาจังหวัดและกล่มุ จังหวัดเป็นไปอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพย่ิงขึ้น

5.2.7 ควรมีการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่ม
จังหวดั (ในชว่ งระยะเวลา 5 ปี) วา่ ไดม้ กี ารใชจ้ ่ายงบประมาณไปจำนวนเท่าใด เกดิ ผลสัมฤทธิข์ องการดำเนินงาน
เพียงใด ผลของการดำเนนิ งานตามแผนพัฒนา 5 ปี ได้ตอบสนองต่อความต้องการของพื้นท่ีรวมทั้งชว่ ยพัฒนา
และแก้ไขปัญหาได้มากน้อยเพียงใด หรือตอบโจทย์ตามท่ีจังหวัดและกลุ่มจังหวัดกำหนดไว้หรือไม่ และสร้าง
มูลค่าทางเศรษฐกิจให้พื้นที่ได้ตามเป้าหมายเพียงใด บรรลุผลตามแผนพัฒนาหรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรค
อยา่ งใดหรอื ไม่

5.2.8 ปัจจัยที่จะทำให้การบริหารจัดการงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดประสบความสำเร็จ
และสามารถขับเคลื่อนแผนพัฒนาจังหวดั และกลุ่มจังหวัดให้มีประสทิ ธิภาพจะต้องมีกระบวนการจัดทำแผนฯ
ทไ่ี ดร้ บั ความร่วมมือจากทุกภาคสว่ น และมรี ะยะเวลาในการจัดทำแผนพอสมควร ดังนนั้ จึงควรมีเวทีในการหารือ
และจัดทำแผนร่วมกันอย่างจริงจัง โดยมีผู้เชี่ยวชาญหรือมีผู้ทรงคุณวุฒิมา Guideline จะทำให้แผน
มีคุณภาพมากขึ้น หากแต่ในปัจจุบันยังไม่พบบรรยากาศของความร่วมมือและหารือกันของส่วนราชการ
ในพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดเพื่อร่วมกำหนดทิศทางและมองภาพอนาคตของกลุ่มจังหวัดในอีก 5 ปีข้างหน้า
อย่างจรงิ จัง โดยในแต่ละปีพบว่ามีการจดั ทำแผนเป็นไปด้วยความเร่งรีบ มีลักษณะทำงานแข่งกับเวลาทำให้มี
ปญั หาเก่ยี วกบั คุณภาพของแผนทอ่ี าจจะไม่สะท้อนความต้องการของประชาชนในพน้ื ท่ไี ดด้ ีเท่าท่ีควร

5.2.9 ควรใช้แผนพัฒนาและแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจงั หวัดเป็นกลไกหลกั
ในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นท่ี โดยในการจัดสรรงบประมาณและบูรณาการการทำงานในเชิงพื้นที่ร่วมกัน
ทั้งหน่วยงานส่วนราชการ (Function) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะต้องยึดถือ
แผนดังกล่าวเป็นแนวทาง รวมถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณต้องมี
เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายทส่ี อดคลอ้ งกันทง้ั 3 สว่ น

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร - 88 - สำนกั งบประมาณของรัฐสภา



การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

บรรณานุกรม

กรมบญั ชีกลาง. (2564, 1 ตุลาคม). ข้อมลู สถิติผลการเบิกจ่ายเงิน ณ สน้ิ เดือนกนั ยายน 2564.
https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/ข่าวสถิติ.html

กระทรวงมหาดไทย. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการช้แี จงตอ่ คณะกรรมาธกิ ารวสิ ามัญพจิ ารณาร่างพระราชบญั ญตั ิงบประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1. [เอกสารอดั สำเนา]. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการชี้แจงตอ่ คณะกรรมาธิการวสิ ามญั พิจารณารา่ งพระราชบัญญตั งิ บประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1. [เอกสารอดั สำเนา]. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

กลุม่ งานบรหิ ารยทุ ธศาสตร์กลมุ่ จงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1. (2564). แผนปฏบิ ตั ริ าชการประจำปีกลมุ่ จังหวดั
ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบุรี) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
. (2565). แผนปฏิบตั ิราชการประจำปีกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
. (2565). แผนพัฒนากลมุ่ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี) พ.ศ. 2562 -2565
(ฉบับทบทวน พ.ศ. 2565). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวดั สำนักงานจังหวัดกาญจนบรุ ี. (ม.ป.ป.). แผนพฒั นาจังหวัด
กาญจนบุรี พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับทบทวนใหม่ รอบปี พ.ศ. 2565). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค. (2563, 8 กรกฎาคม). นโยบาย หลักเกณฑ์ วิธกี ารจดั ทำแผนพฒั นา
จังหวดั และแผนพฒั นากลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2565. สำนกั งานสภาพฒั นาการเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ.
https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=9710&filename=index
. (2564, 14 กรกฎาคม). PowerPoint ประกอบการประชมุ ก.บ.ภ. ครั้งที่ 2/2564. สำนักงานสภา
พฒั นาการเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ.
https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11679&filename=index

จิรัฏฐกิ า ภานกุ รกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณและการจดั ทำแผนพฒั นากลุ่มจงั หวัด
กรณศี ึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) [สารนิพนธ์ปริญญามหาบณั ฑิต
ไม่ไดต้ ีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั .

ชูเกียรติ รกั บำเหนจ็ . (2563). คู่มอื การติดตามประเมินผลการใชจ้ า่ ยงบประมาณเพื่อสนบั สนนุ การปฏบิ ตั ิงาน
ของฝา่ ยนติ ิบัญญัติ. กรุงเทพฯ: สำนกั การพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร.

ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบรหิ ารงานจงั หวดั และกล่มุ จงั หวดั แบบบรู ณาการ เรื่อง การจดั ต้ังกลุ่ม
จงั หวัดและกำหนดจังหวัดที่เปน็ ศูนย์ปฏิบัติการของกลมุ่ จังหวดั (ฉบับท่ี 3). (2560, 17 พฤศจิกายน).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 281 ง. หน้า 14–16.

ปราณี เรอื งอรณุ กจิ . (2563). ปจั จัยท่สี ง่ ผลต่อประสทิ ธภิ าพการเบกิ จา่ ยงบประมาณของจังหวัดสระบุรี
[สารนพิ นธ์ปรญิ ญามหาบัณฑิตไม่ไดต้ ีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.

สำนกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -89- สำนกั งบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

บรรณานกุ รม (ต่อ)

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551. (2551,
30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนท่ี 137 ก. หน้า 1–16.

พระราชบญั ญัติระเบยี บบริหารราชการแผน่ ดนิ พ.ศ. 2534. (2534, 4 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม 108 ตอนท่ี 156. หน้า 1–40.

พระราชบัญญัติระเบยี บบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบบั ท่ี 7) พ.ศ. 2550. (2550, 15 กันยายน).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 55 ก. หน้า 1–10.

พระราชบัญญตั วิ ธิ ีการงบประมาณ พ.ศ. 2561. (2562, 11 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135
ตอนท่ี 92 ก. หน้า 1–18.

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพ้ืนท่ใี นระดบั อำเภอและตำบล
พ.ศ. 2562. (2562, 11 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 149 ง. หน้า 1–10.

ระเบยี บสำนักนายกรฐั มนตรวี ่าดว้ ยการบรหิ ารงานเชงิ พน้ื ที่แบบบรู ณาการ พ.ศ. 2560. (2560, 17 พฤศจิกายน).
ราชกจิ จานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพเิ ศษ 39 ง. หนา้ 4–7.

รฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศกั ราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124
ตอนท่ี 47 ก. หน้า 1–127.

รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พุทธศกั ราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134
ตอนที่ 40 ก. หน้า 1–90.

ศนู ย์บริการวิชาการ สถาบนั บัณฑิตพฒั นบริหารศาสตร.์ (2552). รายงานฉบบั สมบูรณ์ (Final Report)
โครงการศึกษาการจดั การงบประมาณแบบมสี ว่ นร่วม = Participatory budgeting. กรงุ เทพฯ:
สถาบันบัณฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร์.

สถาบันวจิ ัยสังคม จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) การเพ่ิม
ประสิทธิภาพการนำระบบงบประมาณแบบมงุ่ เน้นผลงานตามยุทธศาสตรไ์ ปปฏบิ ัติ. กรงุ เทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพฒั น์ นาครตั น์. (ม.ป.ป.). แนวทางการเพิม่ ประสทิ ธิภาพการจดั ทำงบประมาณแบบบูรณาการเชงิ พ้ืนที่.
http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8573e/รวม.pdf

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2559). รายงานการวเิ คราะหก์ ารจัดสรรงบประมาณจังหวดั และกลมุ่ จังหวัด
ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2560. กรงุ เทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนกั งานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร.
. (2564). ความเหลื่อมล้ำของจังหวัดกบั การจัดสรรงบประมาณของไทย (ปี 2552 - 2564):
เศรษฐกจิ สังคม และการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร.

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผูแ้ ทนราษฎร -90- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวดั
กรณีศึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

บรรณานกุ รม (ตอ่ )

. (2565). การวเิ คราะหง์ บประมาณและความเหลือ่ มล้ำเชงิ พ้นื ที่ ปี 2562-2565: งบกระทรวง
แยกตามจังหวัด และงบลงพ้ืนที่จังหวัดแยกตามกระทรวง. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงาน
เลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร.
สำนักงบประมาณ. (2562). งบประมาณโดยสังเขป ฉบบั ปรบั ปรุงตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจา่ ย
ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์.

. (2563). งบประมาณโดยสังเขป ฉบบั ปรบั ปรงุ ตามพระราชบัญญตั งิ บประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรงุ เทพฯ: บริษัท ธนอรุณการพมิ พ์ จำกดั .

. (2564). งบประมาณโดยสังเขป ฉบบั ปรับปรุงตามพระราชบญั ญัตงิ บประมาณรายจา่ ย
ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564. กรงุ เทพฯ: บริษทั แพค เพรส จำกดั .

. (2564). เอกสารงบประมาณ ฉบับท่ี 3 งบประมาณรายจ่าย ฉบบั ปรับปรุงตามพระราชบัญญตั ิ
งบประมาณรายจา่ ย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เลม่ ที่ 13 (1). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

. (2565). งบประมาณโดยสงั เขป ฉบบั ปรับปรงุ ตามพระราชบัญญัตงิ บประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรงุ เทพฯ: บริษทั ธนอรุณการพิมพ์ จำกัด.

. (2565). เอกสารงบประมาณ ฉบับท่ี 3 งบประมาณรายจ่าย ฉบับปรับปรุงตามพระราชบัญญตั ิ
งบประมาณรายจา่ ย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เลม่ ท่ี 13 (1). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
สำนกั งานจังหวัดราชบุรี. (ม.ป.ป.). แผนปฏบิ ตั ิราชการปี 2564 จังหวัดราชบุรี.
http://www.ratchaburi.go.th/plan-2551/daowload/plan2564/approve_budget64.pdf

. (ม.ป.ป.). แผนปฏิบัตริ าชการปี 2565 จังหวดั ราชบรุ ี.
http://www.ratchaburi.go.th/plan-2551/daowload/approve_budget65.pdf

. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัดราชบรุ ี พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2565. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
สำนกั งานจงั หวัดสุพรรณบุรี. (ม.ป.ป.). แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 ของจังหวัด

สุพรรณบุรี เลม่ 1. https://ww1.suphanburi.go.th/strategic
. (ม.ป.ป.). แผนปฏิบตั ริ าชการของจังหวัดสพุ รรณบุรี ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2565.

https://ww1.suphanburi.go.th/strategic
. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจงั หวัดสพุ รรณบรุ ี พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับทบทวน) ประจำปี

งบประมาณ พ.ศ. 2564. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
สำนักพัฒนาและสง่ เสริมการบรหิ ารราชการจงั หวดั สำนกั งานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2564). สรุปการถอด

บทเรยี นการบริหารงบประมาณทด่ี ี (Best Practice) เพอ่ื เพ่มิ ประสทิ ธิภาพการใชจ้ ่ายงบประมาณ
ของจงั หวัด/กล่มุ จงั หวัด. http://www.pad.moi.go.th/TH/home.html

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร -91- สำนักงบประมาณของรฐั สภา



การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณศี กึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สพุ รรณบรุ )ี

ภาคผนวก

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -92- สำนักงบประมาณของรฐั สภา



การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณศี ึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

ภาคผนวก ก.
กำหนดการในการสมั ภาษณ์และขอรับทราบขอ้ มูล

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -93- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวดั
กรณศี ึกษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบรุ ี สพุ รรณบรุ )ี

กำหนดการในการสัมภาษณแ์ ละขอรบั ทราบข้อมูล ผ่านสอื่ อิเลก็ ทรอนิกส์โดยใชโ้ ปรแกรม Zoom

วัน เวลา หนว่ ยงาน
วันที่ 8 มนี าคม 2565 09.30 - 12.00 น. กลมุ่ งานบริหารยุทธศาสตร์กลมุ่ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1

สำนกั งานจังหวดั กาญจนบุรี
สำนักงานจงั หวัดราชบรุ ี
สำนักงานจงั หวัดสุพรรณบรุ ี

วันท่ี 11 มนี าคม 2565 11.00 - 12.00 น. กองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาภาค
สำนกั งานสภาพฒั นาการเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ

วนั ที่ 15 มนี าคม 2565 10.00 - 11.30 น. กองจดั ทำงบประมาณเขตพนื้ ที่ 13 (CBO)
สำนักงบประมาณ สำนักนายกรฐั มนตรี

วันท่ี 21 มนี าคม 2565 14.00 - 15.30 น. สำนกั พฒั นาและสง่ เสริมการบรหิ ารราชการจังหวัด
สำนกั งานปลัดกระทรวงมหาดไทย

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -94- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบรุ )ี

ภาคผนวก ข.
ประเด็นในการสมั ภาษณ์และขอรบั ทราบข้อมลู

สำนกั งานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร -95- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณีศกึ ษา : จงั หวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบรุ )ี

หน่วยงาน ประเดน็

1. กลุ่มงานบริหาร การจัดทำแผนพฒั นาและแผนปฏิบตั ิราชการประจำปีของจังหวดั และ
ยทุ ธศาสตรก์ ลุ่มจังหวัด กล่มุ จงั หวดั
ภาคกลางตอนล่าง 1 1. กระบวนการและหลักเกณฑใ์ นการจัดทำ/ทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด

2. จังหวดั ราชบรุ ี และกลุ่มจงั หวดั
3. จงั หวัดกาญจนบุรี 2. การบูรณาการการทำงานร่วมกนั ของหน่วยงาน ได้แก่ สว่ นราชการ จังหวดั
4. จงั หวัดสุพรรณบรุ ี
และกลุ่มจังหวดั องค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถ่นิ ภาคเอกชน
3. กระบวนการมีสว่ นร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่
4. ปัญหาและอุปสรรคในการจดั ทำแผนและการดำเนินงานตามแผนพัฒนา

จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั
การจัดทำคำของบประมาณของหน่วยงานท่เี ก่ียวข้อง
1. หลกั เกณฑ์การจดั ทำคำของบประมาณทส่ี ่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อน

แผนพฒั นาจงั หวัดและกล่มุ จงั หวดั
2. การปรับลดวงเงินงบประมาณท่สี ง่ ผลกระทบต่อการขบั เคลื่อนแผนพฒั นา

จงั หวัดและกล่มุ จงั หวัด
3. ปญั หาและอปุ สรรค
การบริหารงบประมาณ
1. การรวบรวมโครงการท่ไี ดร้ บั จัดสรรงบประมาณตามแผนพัฒนาจังหวดั

และกลุ่มจงั หวดั
2. การโอนเปล่ียนแปลงงบประมาณ
3. ปญั หาและอุปสรรค
การติดตามประเมนิ ผลการดำเนินงานและเรง่ รัดการใช้จา่ ยงบประมาณ
1. แนวทางการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและเร่งรัดการใชจ้ ่าย

งบประมาณ
2. ผลการติดตามประเมินผลการดำเนนิ งานที่ผา่ นมา
3. ปัญหาและอปุ สรรค

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร -96- สำนักงบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด
กรณีศกึ ษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบุร)ี

หนว่ ยงาน ประเด็น

สำนักงานสภาพัฒนาการ การจดั ทำแผนพฒั นาและแผนปฏิบัตริ าชการประจำปีของจังหวดั และ

เศรษฐกิจและสังคม กลมุ่ จงั หวดั

แหง่ ชาติ 1. บทบาทของหน่วยงานในการจัดทำแผนพฒั นาและแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปี

กองยุทธศาสตรแ์ ละ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวดั

ประสานการพัฒนาภาค 2. การกำหนดกรอบนโยบายและวางระบบในการบรหิ ารงานภาค จงั หวดั และ

(ฝา่ ยเลขานกุ ารของ กลุ่มจังหวดั แบบบูรณาการ

คณะกรรมการบูรณาการ 3. การกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และวธิ กี ารในการจัดทำแผนพัฒนาจงั หวัดและ

นโยบายพัฒนาภาค) กลมุ่ จังหวัด แผนพฒั นาภาค และแผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปขี องจังหวัดและ

กลมุ่ จงั หวัด

4. การบูรณาการแผนของสว่ นราชการกับแผนพฒั นาจังหวัดและกลมุ่ จังหวดั

5. ปญั หาและอปุ สรรค

การพจิ ารณาคำของบประมาณรายจา่ ยประจำปีของหน่วยงานทีเ่ กี่ยวขอ้ ง

1. บทบาทของหนว่ ยงานในการพจิ ารณาคำของบประมาณรายจา่ ยประจำปี

ตามแผนพฒั นาและแผนปฏิบัตริ าชการประจำปีของจังหวดั และกลุม่ จงั หวดั

2. กระบวนการและหลกั เกณฑใ์ นการพจิ ารณาคำของบประมาณรายจา่ ย

ประจำปีตามแผนพฒั นาและแผนปฏบิ ตั ริ าชการประจำปขี องจังหวัดและ

กลุ่มจงั หวดั

3. ปัญหาและอปุ สรรค

การตดิ ตามการดำเนินงานและเรง่ รัดการใช้จ่ายงบประมาณ

1. แนวทางการกำกับ เรง่ รัด ติดตามประเมนิ ผลการพัฒนาตามแผนพฒั นา

และแผนปฏิบตั ิราชการประจำปขี องจังหวดั และกลุ่มจังหวัด

2. ผลการติดตามและประเมนิ ผลการพฒั นาที่ผ่านมา

(ภาพรวมจังหวัดและกลุ่มจังหวดั และกลมุ่ จังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1)

3. ปญั หาและอปุ สรรค

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร -97- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศกึ ษาการจัดการงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจงั หวัด
กรณศี ึกษา : จงั หวัดและกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบรุ ี)

หน่วยงาน ประเดน็

สำนกั งบประมาณ การจัดทำแผนพฒั นาและแผนปฏิบตั ิราชการประจำปีของจงั หวัดและ

1. กองจดั ทำงบประมาณ กลุม่ จังหวดั

เพอ่ื การบูรณาการ 1. บทบาทของหนว่ ยงานในการจดั ทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัตริ าชการประจำปี

งบประมาณเขตพนื้ ที่ ของจังหวดั และกลมุ่ จังหวดั

และการบรู ณาการ 2. หลักเกณฑ์การพจิ ารณากลั่นกรองโครงการ/กจิ กรรมในการจัดทำแผนปฏบิ ัติ

งบประมาณในการบริหาร ราชการประจำปีของจังหวดั และกลุ่มจงั หวัด

ราชการในต่างประเทศ การจดั พจิ ารณาคำของบประมาณของหน่วยงานทเี่ กี่ยวข้อง

2. กองจัดทำงบประมาณ 1. หลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรงบประมาณใหก้ บั หน่วยงานตามแผนพฒั นา

เขตพ้นื ที่ 13 จังหวดั และกลมุ่ จังหวดั

2. แนวทางการจัดการงบประมาณตามคำขอท่ีไม่ไดร้ บั จดั สรรงบประมาณ

3. ปญั หาและอุปสรรค

การบรหิ ารงบประมาณ

1. การประสานและบรู ณาการของหนว่ ยงานท่ีเกย่ี วข้อง

2. ปญั หาและอปุ สรรคในการบรหิ ารงบประมาณท่ีไมเ่ ป็นไปตามแผนพฒั นา

จงั หวัดและกลมุ่ จงั หวัด

การตดิ ตามการดำเนนิ งานและเรง่ รัดการใชจ้ ่ายงบประมาณ

1. แนวทางการตดิ ตามการดำเนนิ งานและเรง่ รดั การใช้จา่ ยงบประมาณ

2. ผลการดำเนินงานและผลการใชจ้ ่ายงบประมาณท่ีผ่านมา

(ภาพรวมจงั หวัดและกลุม่ จงั หวดั และกลุ่มจงั หวัดภาคกลางตอนล่าง 1)

3. ปญั หาและอปุ สรรค

สำนกั งานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร -98- สำนกั งบประมาณของรัฐสภา

การศึกษาการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจงั หวัด
กรณีศกึ ษา : จงั หวดั และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบรุ ี)

หน่วยงาน ประเด็น

สำนกั งานปลดั กระทรวง การจดั ทำแผนพฒั นาและแผนปฏบิ ัติราชการประจำปีของจังหวดั และ

มหาดไทย กลมุ่ จงั หวดั

สำนักพัฒนาและส่งเสริม 1. บทบาทของหน่วยงานในการจัดทำแผนพฒั นาและแผนปฏบิ ตั ิราชการประจำปี

การบรหิ ารราชการจังหวดั ของจังหวดั และกลุม่ จังหวัด

2. ปัญหาและอปุ สรรค

การบรหิ ารงานจังหวดั และกลุม่ จงั หวดั

1. แนวทางและกระบวนการขบั เคลอ่ื นความรว่ มมือระหวา่ งภาครฐั และเอกชน

เพ่อื การพฒั นาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั

2. ผลการดำเนินการขับเคลื่อนความร่วมมอื ระหวา่ งภาครฐั และเอกชนฯ

ทีผ่ า่ นมา

3. ปัญหาและอปุ สรรค

การตดิ ตามและประเมนิ ผลการบริหารงานจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั

1. การกำกบั เรง่ รดั ติดตามและประเมนิ ผลการบริหารงานจงั หวัดและ

กลุม่ จังหวัด

2. ผลการประเมนิ การบริหารงานจงั หวดั และกลุ่มจังหวัด

(ภาพรวมจงั หวดั และกล่มุ จังหวัด และกลุม่ จงั หวัดภาคกลางตอนลา่ ง 1)

3. ปญั หาและอปุ สรรค

สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร -99- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศกึ ษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณศี ึกษา : จังหวัดและกลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

ภาคผนวก ค.
ประมวลภาพการสมั ภาษณ์และขอรบั ทราบขอ้ มูล

สำนกั งานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร -100- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -101- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -102- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -103- สำนักงบประมาณของรฐั สภา

การศึกษาการจดั การงบประมาณจงั หวดั และกลุ่มจังหวดั
กรณีศกึ ษา : จังหวดั และกลุ่มจงั หวดั ภาคกลางตอนลา่ ง 1 (กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี สุพรรณบุร)ี

สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร -104- สำนักงบประมาณของรฐั สภา



สำนักงบประมำณของรฐั สภำ
สำนักงำนเลขำธิกำรสภำผแู้ ทนรำษฎร

www.parliament.go.th/pbo

PBO วิเครำะหง์ บประมำณอย่ำงมอื อำชีพ เป็นกลำง และสรำ้ งสรรค์


Click to View FlipBook Version