พระอาจารย์บณั ฑิต สปุ ณฺฑิโต
วดั ปา่ ตอสเี สยี ด อ.เมอื ง จ.อดุ รธานี
พระอาจารยบ์ ณั ฑติ สปุ ณฑฺ ิโต
จดั พมิ พถ์ วาย
เปน็ พทุ ธบชู า ธัมมบูชา สงั ฆบชู า และอาจาริยบูชา
ISBN : ๙๗๘-๖๑๖-๕๘๘-๓๓๑-๓
พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๑ : ธนั วาคม ๒๕๖๔
จำ� นวนพิมพ์ : ๓,๐๐๐ เลม่
ผู้จดั พิมพ์ : คณะศิษยานุศษิ ย์
พมิ พเ์ พื่อแจกเปน็ ธรรมทาน
ไม่อนญุ าตให้จำ� หน่าย
พมิ พท์ ี่ : บรษิ ัท ศลิ ปส์ ยามบรรจภุ ัณฑ์และการพิมพ์ จ�ำกัด
๖๑ ถนนเลียบคลองภาษเี จรญิ ฝงั่ เหนอื ซอยเพชรเกษม ๖๙
แขวง/เขตหนองแขม กรงุ เทพฯ ๑๐๑๖๐
โทร. ๐-๒๔๔๔-๓๓๕๑-๒
E-mail : [email protected]
คำ� นำ�
“ดอกไม้แห่งธรรมหลายร้อยดอกท่ีเรียงร้อยจากใจของศิษย์
ทั้งปวง มาจากสวนแหง่ “ตอสีเสียด” ซ่งึ ผู้เป็นเจา้ ของสวนได้รดน้�ำ
พรวนดินตลอดเวลาหลายปี กอ่ นการจากไปในปี ๒๕๕๘
บางตน้ ผลดิ อกบานสะพรง่ั บางตน้ แคระแกรน็ ทนแดด รอเวลา
เตบิ โตตามใจทม่ี ตี อ่ ธรรม และบางตน้ ขอเวลารบั ปยุ๋ จากธรรมรม่ เยน็
ทเี่ จา้ ของสวนเหลอื รอ่ งรอยใหน้ ำ้� มาตลอด แมช้ วี ติ ทา่ นจะหาไมแ่ ลว้
กต็ าม
ดอกไม้ทุกดอกกราบบูชาพระคุณทุกวันเวลา บนรอยธรรมท่ี
เมตตาตลอดมา”
สารบัญ
บันทึกธรรม ณ วัดป่าภูผาแดง ๑
วดั ป่าตอสเี สยี ด และโรงพยาบาลจุฬาฯ ๕๓
อาจาริยรำ� ลึก
บันทกึ ธรรม
ณ วัดปา่ ภูผาแดง
วดั ป่าตอสเี สยี ด และโรงพยาบาลจุฬาฯ
2
บนั ทกึ ธรรมของทา่ นพระอาจารยห์ มอบณั ฑติ สปุ ณั ฑโิ ต ซงึ่ ทา่ น
แสดงไว้ ณ วัดปา่ ภผู าแดง วัดป่าตอสเี สียด และโรงพยาบาลจุฬาฯ
ในชว่ งทยี่ ังครองธาตขุ ันธอ์ ยู่
บนั ทกึ ธรรมคำ� เทศนน์ ้ี ลกู ศษิ ยบ์ างคนไดพ้ ยายามจดเรยี บเรยี ง
ไวเ้ มื่อไดร้ บั ฟงั นับเปน็ บนั ทกึ สดๆ รอ้ นๆ ในขณะนัน้ เพราะถอด
จดไว้หลงั จากไดร้ ับฟงั ธรรม ทงั้ น้เี พอื่ กนั ลมื
และหากมีขอ้ มลู ใดผิดพลาด ขอกราบแทบเทา้ ขอขมาต่อทา่ น
พระอาจารย์หมอ และผอู้ า่ นทกุ ทา่ น ทง้ั นี้การจดบันทึกกระท�ำโดย
ผู้ยงั ไมพ่ ้นสังสารวฏั และกเิ ลสเป็นเงาตามตวั
พระอาจารยบ์ ณั ฑติ สุปณฑฺ ิโต
3
ไมค่ ุน้ เช่ือง ไม่นอนใจ ไม่ตายใจกบั
สง่ิ ใดๆ ท้งั ปวง ทัว่ ไตรโลกธาตุ
พจิ ารณาลงสสู่ ภาพความเป็นจริงเสมอ
จึงจะปลอ่ ยวางอุปาทานทั้งปวงลงได้
{ }พระอาจารยบ์ ณั ฑติ สปุ ณฑฺ ิโต
4
บนั ทึกธรรม วนั ที่ ๑๖ ก.ค. ๔๒
ผู้มีปัญญา ย่อมฉลาดในเหตุผล รู้จักหนักเบา ส่ิงท่ีเป็น
ประโยชนห์ รอื มใิ ชป่ ระโยชน์ ยอ่ มขวนขวายเพอ่ื ประโยชนส์ ขุ แกต่ น
และผอู้ ่ืน องอาจ สง่างาม กล้าหาญ ไม่สะทกสะท้านในการสร้าง
คุณงามความดี ร่ืนเริงบันเทิงในกุศลผลบุญทั้งหลาย ไม่อ่ิมพอ
ไม่เบื่อหน่ายในการท�ำความดี เพ่ือก้าวล่วงความทุกข์ท้ังมวล
เพื่อข้ามโอฆสงสาร ชีวิตของบุคคลน้ันแม้วันหน่ึงคืนหน่ึง ย่อมไม่
ล่วงไปเปล่า ย่อมไม่สูญเปล่า ย่อมมีคุณค่ามากนับประมาณมิได้
เปรียบดังดวงอาทิตย์ย่อมน�ำความสว่าง ความอบอุ่น พลังงาน
เผาผลาญเพือ่ ส่งต่อชวี ติ แกส่ รรพสัตวท์ ้ังหลาย
สติปญั ญา จ�ำเป็นในท่ที ุกสถาน
อานาปานสติ เป็นยอดมงกฎุ กรรมฐาน ย่อมนำ� มาซง่ึ ความ
บรบิ รู ณข์ องสติ ความไพบลู ยข์ องปญั ญา การทำ� ใหแ้ จง้ ซง่ึ เจโตวมิ ตุ ติ
และปัญญาวิมตุ ติ
สัลเลขกถา ๑๐ พึงเจรญิ ใหม้ าก ให้ชำ� นชิ ำ� นาญ
นิรุกติ ฉลาดในการรู้จัก เข้าใจภาษาสิ่งต่างๆ ตลอดถึงใช้
ภาษาให้เหมาะสม ถูกต้องทั้งอักขระและพยัญชนะ เพื่อให้เกิด
ประโยชนส์ ูงสุด
หมายเหตุ สัลเลขธรรม คอื ธรรมอนั เป็นเครือ่ งขัดเกลาช�ำระ
กเิ ลส เพ่อื ความหลุดพน้ มี ๑๐ ประการ ไดแ้ ก่
พระอาจารยบ์ ณั ฑิต สปุ ณฑฺ ิโต
5
๑. อัปปจิ ฉตา (ความมักน้อย)
๒. สันตฏุ ฐี (สันโดษ)
๓. วิเวกกตา (ความสงดั วิเวกทางกายและทางใจ)
๔. วริ ิยารัมภา (การประกอบความเพียร)
๕. อสงั สคั คณิกา (ความไมค่ ลกุ คลมี ่วั สุมกับใครๆ ทั้งนัน้ )
๖. ศลี
๗. สมาธิ
๘. ปญั ญา
๙. วิมตุ ติ (ความหลดุ พน้ )
๑๐. วมิ ตุ ตญิ าณทสั สนะ (ความรเู้ หน็ อนั แจง้ ชดั ในความหลดุ พน้ )
6
บนั ทกึ ธรรม วนั ที่ ๑๗ ก.ค. ๔๒
นิสยั และวาสนา พระพทุ ธเจ้าละได้เด็ดขาด สาวกละไมไ่ ด้
นิสัยคือสิ่งท่ีท�ำประจ�ำจนเคยชิน เมื่อท�ำมากเข้าติดต่อไปทุกภพ
ทกุ ชาติกเ็ ปน็ วาสนา
สาวกจึงอยู่ตามนิสัยวาสนาที่ได้บ�ำเพ็ญมา เคยท�ำมาอย่างไร
ก็จะอยู่อย่างนั้น เพราะนิสัยไม่ใช่กิเลส ดังนั้น กิริยามารยาท
ความประพฤติ การพดู จาปราศรยั สาวกทไี่ ดบ้ ำ� เพญ็ มามากในดา้ นใด
ก็จะเดินหรือช�ำนาญในด้านนั้น ในคร้ังพุทธกาล จึงมีเอตทัคคะ
มากมายหลายดา้ น เปรยี บดงั แพทย์ กม็ แี พทยผ์ เู้ ชย่ี วชาญเฉพาะโรค
หรอื อาชีพต่างๆ ในโลกกม็ ีคนถนัดในด้านน้นั ๆ
เม่ือกิเลสได้ถูกท�ำลายไปหมดสิ้น ใจจึงเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์
ลว้ นๆ เปน็ อสิ ระสุดส่วน ปราศจากการกดขี่บังคับ ไมเ่ ปน็ ทาสของ
อวชิ ชาตณั หา สงิ่ ทค่ี วรรกู้ ก็ ำ� หนดรแู้ ลว้ สงิ่ ทคี่ วรละกไ็ ดล้ ะแลว้ สงิ่ ที่
ควรท�ำให้แจ้งก็ได้ท�ำแล้ว สิ่งที่ควรเจริญก็ได้เจริญแล้ว กิจท้ังปวง
ชื่อว่าได้กระท�ำสมบูรณ์ได้ ไม่มีงานอื่นใดอีกท่ีควรท�ำย่ิงกว่านี้
หมดภาระหนา้ ที่ หมดเรอ่ื งทต่ี อ้ งดแู ลรกั ษา วา่ งอยา่ งยง่ิ สงบระงบั ยงิ่
เพื่อเป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร และอนุเคราะห์แก่กุลบุตรสุดท้าย
เพ่ือประโยชนแ์ ก่โลก พระขณี าสพทงั้ หลายแมท้ รงธรรมอันบริสุทธิ์
แลว้ กย็ งั ประพฤตปิ ฏบิ ตั ธิ รรม เคารพเทดิ ทนู หวงแหนรกั ษาธรรมวนิ ยั
ปฏิบัติบูชาพระรัตนตรัย เพื่อแสดงกตเวทิตา และเป็นเยี่ยงอย่าง
เพื่อสืบต่อเผยแผ่พระศาสนา เป็นญาตตั ถจรยิ าและโลกัตถจริยา
พระอาจารยบ์ ณั ฑิต สุปณฺฑิโต
7
บนั ทึกธรรม
เหตทุ ี่น�ำมาซง่ึ ความเส่อื ม
๑. การติดต่อคลุกคลีจนเกินพอดี มักจะน�ำเรื่องโลกเข้ามา
เกย่ี วข้อง อันเปน็ สมทุ ยั ส่ังสมกเิ ลสโดยไมร่ ตู้ วั
๒. ความเพลิดเพลนิ ยนิ ดใี นกามคณุ ๕
๓. ลาภสักการะยอ่ มฆ่าคนโง่
๔. โทรศพั ท์ วทิ ยุ น.ส.พ. หนงั สือทางโลก
๕. ไม่ยนิ ดีในความสงบวิเวก
๖. ไม่ใครค่ รวญพิจารณากอ่ นทำ� สิง่ ใดพูดอะไร
๗. ยอ่ หยอ่ นในการปฏบิ ัติ ศลี สมาธิ ปญั ญา
๘. เหลาะแหละ อ่อนแอ เกยี จคร้าน มกั ง่าย ท้งั ส่วนรวมและ
สว่ นตน
๙. ไม่กล้าหาญ องอาจ เด็ดเดีย่ วในการทำ� ความดี ขวนขวาย
บญุ กศุ ลบารมี
๑๐. ประมาทนอนใจ มัวเมาในชีวิตสังขารความเป็นอยู่ ชาติ
ตระกูล คุณวุฒิ
จงเตือนตนของตน แก้ไขตน ด้วยตนเอง
8
บันทกึ ธรรม วนั ท่ี ๑๔ ก.ค. ๔๒
ผู้ไหว้ ย่อมได้รับการไหว้ ผู้เคารพย่อมได้รับความเคารพ
ความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นวิสยั ของนกั ปราชญ์
ความใครค่ รวญ รอบคอบ ละเอยี ดลออพถิ พี ถิ นั ความรอบรู้
ในกจิ การงานทง้ั ภายในภายนอก ส่วนตนส่วนรวม หยาบละเอียด
ยอ่ มยงั ประโยชน์อนั ยิง่
ผู้น�ำทด่ี ีควรมีคุณสมบัตดิ งั น้ี
๑. มีปญั ญา ชา่ งสังเกต ใครค่ รวญ รอบคอบ ใฝร่ ู้ รับฟงั ความ
คิดเห็นผู้อื่น
๒. มีความรบั ผิดชอบ ทง้ั สว่ นตนและส่วนรวม
๓. มีความเสยี สละ ประโยชนส์ ่วนตนเพ่อื ส่วนรวม
๔. ซ่ือสัตย์สุจรติ มีศีลธรรม
๕. มพี รหมวิหาร ๔ ประจ�ำใจ
๖. มคี วามอดทน อดกลนั้ ตอ่ ความทกุ ขค์ วามลำ� บาก ตอ่ ความ
กระทบกระแทกตอ่ โลกธรรม ๘ ประการ โดยเฉพาะอนฏิ ฐารมณ์
กฎแห่งกรรม เป็นหลักความจริงตามธรรมชาติ หลักแห่ง
เหตุผล เที่ยงตรง ยุติธรรม พอเหมาะพอดี พ้นวิสัยที่จะคาดเดา
ไม่มีอ�ำนาจใดจะล้มล้างท�ำลายได้ ครอบง�ำสัตว์โลก ติดตามผู้น้ัน
ดงั เงาตามตวั ลกึ ลบั ลกึ ซงึ้ รไู้ ดย้ าก เหน็ ไดย้ าก เปน็ อจนิ ไตย ผยู้ นิ ดี
เลอ่ื มใส ปฏบิ ตั ติ ามคำ� สง่ั สอนของพระพทุ ธเจา้ อยา่ งจรงิ จงั แทงตลอด
อรยิ สจั จงึ จะเขา้ ใจหลกั แห่งกรรมไดช้ ดั เจนไมส่ งสยั
พระอาจารยบ์ ณั ฑิต สุปณฺฑิโต
9
ผู้มีคุณธรรมภายในใจ หนักแน่นในธรรมวินัย ไม่คุ้นเช่ือง
กบั สิง่ ใดๆ พูดนอ้ ยพูดตรงธรรมวนิ ัย ไม่คลุกคลี ยนิ ดีในความวิเวก
สันโดษ มกั นอ้ ย อยใู่ นสถานที่ใดยอ่ มองอาจ สงา่ งาม นา่ เกรงขาม
ดุจราชสีห์ น่าเคารพเลอื่ มใส สถานท่นี ั้นเปน็ ทร่ี ่ืนรมย์
10
บนั ทกึ ธรรม วันท่ี ๒๓ ก.ค. ๔๒
ให้ยดึ พระพุทธเจา้ เปน็ แบบฉบับทางด�ำเนิน จะเปน็ ทีแ่ นใ่ จ
ตายใจวา่ ไมผ่ ดิ พลาดคลาดเคลอ่ื น เปน็ ทอ่ี บอนุ่ ชมุ่ เยน็ นำ� ความสขุ
ความเจริญท้ังแก่ตนเองและผูเ้ ก่ียวข้องไมม่ ีประมาณ
อยา่ เชอ่ื หรอื คลอ้ ยตามนสิ ยั วาสนาเดมิ ๆ ทเ่ี คยทำ� มา ตอ้ งนำ�
สติปัญญามาควบคุมตรวจสอบ เพื่อให้ตรงกับนิสัยพระพุทธเจ้า
พระธรรมวินัย อย่าให้นอกลู่นอกรอย แซงพระศาสดา เหยียบย่�ำ
ท�ำลายธรรมวินัย เพราะธาตุขันธ์เป็นวิบากของวัฏฏะ ซากกิเลสท่ี
คนุ้ เคยอบรมกนั มา ไมค่ วรนอนใจตายใจกบั วบิ ากขนั ธ์ ตอ้ งพจิ ารณา
ให้ถอ่ งแทช้ ัดเจนทุกแงม่ ุม โดยเฉพาะในโพธปิ กั ขยิ ธรรม ๓๗ แลว้
ปล่อยวางไวต้ ามสภาพ
ธาตุขันธ์ก็ยังอยู่ภายใต้อ�ำนาจกรรม กฎไตรลักษณ์ ก็ต้อง
รับผิดชอบแบกหามกันไป ประคับประคองตามเหตุผลท่ีสมควร
พอเหมาะพอดี เป็นธรรมเพ่ือสืบต่อธาตุขันธ์ไว้ให้ใช้งานได้อย่างมี
ประสทิ ธภิ าพสงู สุด จนถึงกาลเวลาอนั สมควรจะปล่อยวาง
เม่ือช�ำระใจให้บริสุทธิ์แล้ว ธาตุขันธ์ก็ย่อมเป็นธรรมชาติ
และยอ่ มถกู ซกั ฟอกชำ� ระลา้ งจากธมั มวจิ ยะ สมาบตั ิ จากจติ บรสิ ทุ ธิ์
ก็ท�ำให้ธาตขุ ันธบ์ ริสทุ ธสิ์ ะอาดขนึ้ เรอ่ื ยๆ แตเ่ ดิมท่ีถกู กิเลสควบคมุ
บังคับย่อมเศร้าหมอง มีมลทินสกปรกปฏิกูลโสโครกแปดเปื้อน
เลอะเทอะกลน่ิ เหมน็ เมอ่ื ถูกซักฟอก ดูแลรกั ษาจากธรรมแล้วยอ่ ม
สะอาด สงบระงบั ปลอดโปร่ง ไมว่ ปิ ริตแปรปรวน ทำ� งานอยา่ งมี
พระอาจารย์บณั ฑติ สปุ ณฺฑิโต
11
ประสทิ ธภิ าพพอเหมาะพอดี รปู้ ระมาณในธาตขุ นั ธ์ จะไปบบี บงั คบั ก็
ไมไ่ ด้ ขนึ้ กบั จะไปสมั ผสั เกยี่ วขอ้ งกบั สง่ิ ใด หรอื ธรรมเหลา่ ใด ถา้ สมั ผสั
กับกุศลธรรมก็จะร่าเริงบันเทิง ปีติอ่ิมอกอ่ิมใจ ปลอดโปร่งโล่งใจ
สงบระงับย่ิง กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ ดูธาตุขันธ์ก็ได้รับการช�ำระ
ซกั ฟอกชะล้างไปในตวั
ถ้าสัมผัสกับอกุศลธรรม ใจมักจะมีลวดลายเจตสิกเดิม
ไม่ปลอดโปร่ง สะดุด อึดอัด ไม่เปิดรับ ไม่เบิกบาน เบื่อหน่าย
เหน็ โทษเห็นภัย นา่ สะพรงึ กลวั ธาตุขันธ์ก็มกั วปิ รติ แปรปรวน เช่น
หายใจแรง ใจเตน้ เรว็ จาม ไอ อาเจยี น พะอดื พะอม ทอ้ งรว่ ง ปวดทอ้ ง
ป่วยไข้ ต่างๆ นานา ขน้ึ กับอกศุ ลกรรมนัน้ ๆ หนักเบาเพยี งไร
สว่ นใจนน้ั ไมม่ วี บิ ากจติ บญุ บาปตามไปไมถ่ งึ ไมม่ พี ษิ ไมเ่ ปน็ ภยั
รอู้ ยตู่ ามธรรมชาติ ไมห่ ลง ไมย่ ดึ มนั่ ถอื มนั่ ปลอ่ ยวางอยเู่ ปน็ ธรรมดา
เป็นอิสระ ว่างสญู เปล่า สงบระงับยงิ่ เปน็ สันตสิ ุขอนั แท้จรงิ
12
บนั ทึกธรรม วนั ที่ ๑ ต.ค. ๔๒
ยอ้ นมาพิจารณาก็เกดิ ความสลดสังเวชใจ สตั วท์ ง้ั หลายต่าง
ก�ำเนิดมาด้วยผลของกรรม จ�ำแนกออกให้มีความละเอียด หยาบ
เลว ประณตี ภพภูมิต่างๆ ชาติชั้นวรรณะ ความรคู้ วามฉลาด เพศ
ผวิ พรรณวรรณะ แตก่ ต็ ่างมคี วามรักสขุ เกลยี ดทกุ ข์ หวังความผาสกุ
ร่มเย็นด้วยกันหมด ไม่เลือกว่าก�ำเนิดใดๆ ฐานะใดๆ คติใดๆ
มคี วามหวาดกลวั ตอ่ ภยั ทงั้ หลายทมี่ าถงึ ตน พยาธภิ ยั มรณภยั ฯลฯ
จึงควรอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคีปรองดองเห็นอกเห็นใจซ่ึงกัน
และกนั ปรารถนาดตี อ่ กนั ไมค่ ดิ เบยี ดเบยี นอาฆาตมาดรา้ ย ลา้ งผลาญ
ทำ� ลาย จองเวรจองกรรม ควรตง้ั จติ เมตตา จรรโลงไวซ้ งึ่ ความกรณุ า
ทั้งสรรพสัตว์ท้ังหลายท่ีเป็นเพื่อนร่วมวัฏสงสาร ต่างตกอยู่ภายใต้
อำ� นาจกเิ ลสตัณหา พาใหเ้ กดิ ตาย สงู ๆ ตำ่� ๆ ดี ชว่ั สขุ ทกุ ข์ ไปตาม
อ�ำนาจของกรรมท่ีผลักดันอยู่อย่างลึกลับ ยากท่ีสัตว์จะรู้ตามได้
จงึ ไมค่ วรเหยยี บยำ่� ดถู กู ดแู คลนดหู มนิ่ ซง่ึ กนั และกนั ไมว่ า่ ภพภมู ใิ ดๆ
เพราะต่างตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมด้วยกัน เปรียบเสมือนเป็น
นกั โทษในเรอื นจำ� เดยี วกนั ถกู คมุ ขงั ในทเ่ี ดยี วกนั ควรเหน็ อกเหน็ ใจ
ซ่ึงกันและกัน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน เผื่อแผ่เจือจานให้สม่�ำเสมอ
ทวั่ ถงึ กนั ไมว่ า่ คนหรอื สตั วห์ รอื ภพภมู ใิ ดๆ จะสงู ตำ�่ เลว ประณตี มติ ร
หรือศัตรู ไม่เลือกท่ีรักมักท่ีชัง ท�ำจิตใจให้จรรโลงไว้ซึ่งพรหมวิหาร
แผก่ ระจายครอบโลกธาตุ ไมเ่ บียดเบยี นทำ� รา้ ยรังแกกัน ไม่ว่าด้วย
กาย วาจา หรือใจ ส่งเสริมช่วยเหลือกัน ตักเตือนกันด้วยความ
เมตตาหวงั ดตี อ่ กนั ตา่ งคนตงั้ อยใู่ นศลี ธรรมอนั ดงี าม เขม้ งวดกวดขนั
กับตนเอง ปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีข้ึนเรื่อยๆ ไม่เพ่งโทษจับผิด
พระอาจารยบ์ ัณฑิต สปุ ณฑฺ ิโต
13
คิดแง่ร้าย คิดดูหมิ่นดูแคลน เหยียบย�่ำดูถูก เพราะย่ิงจะซ�้ำเติม
ทับถมทุกข์โทษให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งต่อตนเองและผู้อ่ืน ไม่เกิด
ประโยชนอ์ ะไร ทเี่ ดอื ดรอ้ นวนุ่ วายทกุ วนั นี้ กเ็ พราะสง่ เสรมิ กนั แตว่ ตั ถุ
เคร่อื งอำ� นวยความสะดวกสบาย เพลดิ เพลนิ ในกามคุณ จนละเลย
คณุ คา่ ทางจติ ใจ ปลอ่ ยปละละเลยทอดทง้ิ ดถู กู ดแู คลนหาวา่ ครำ�่ ครึ
ล้าสมัย ละท้ิงประเพณีอันดีงาม ทะเยอทะยานไขว่คว้าว่ิงตาม
วตั ถนุ ยิ ม คา่ นยิ มทผี่ ดิ ๆ ตน่ื กระแส ปลกุ ปน่ั ความเชอ่ื ในความเจรญิ
ทางเทคโนโลยวี า่ จะนำ� ความสขุ ความสบายอนั เลศิ เลออนั ยอดเยยี่ ม
ปล่อยให้ความทะเยอทะยานครอบง�ำจิตใจจนลืมมองเหตุผล
ท่ีแท้จริง ลืมไตร่ตรองพิจารณาให้ถี่ถ้วน เห็นว่าสังคมนิยม สังคม
ช่นื ชอบ ทันสมัย ล�ำ้ ยคุ มาจากเมืองนอก โก้หรู ราคาแพง มยี ี่ห้อ
ข้ึนช่ือลือชา ประดับประดาตามห้างสรรพสินค้า โฆษณากันจน
ตดิ ปากตดิ หู กเ็ ลยแหท่ ำ� ตามๆ กนั ไป ถกู หลอกลวงตม้ ตนุ๋ เปน็ เหยอ่ื
ของสงั คมฟอนเฟะ สังคมน�ำ้ เน่า สงั คมน�ำ้ กาม สังคมน�้ำลาย สงั คม
เจา้ พอ่ เจา้ แม่ ผมู้ อี ทิ ธพิ ล สงั คมเสน้ สายระบบอปุ ถมั ภ์ สงั คมใตโ้ ตะ๊
สนิ บน สงั คมเอารดั เอาเปรยี บ มอื ใครยาวสาวไดส้ าวเอา สงั คมกเิ ลส
ตณั หา เปน็ เจา้ ครอบครอง
ศีลธรรมอันเป็นของล้�ำค่า ของประเสริฐ ถูกมองข้าม
ถูกละเลย ถูกตีแผ่เหยียบย่�ำท�ำลาย ถูกกดถ่วงหมักดอง แช่เย็น
ไมน่ ำ� มาปดั ฝนุ่ นำ� มาชำ� ระลา้ งนำ� มาปฏบิ ตั ิ เคารพเทดิ ทนู เปน็ หลกั
ในการด�ำเนินชีวิต หลักจิตหลักใจประเพณีอันดีงามถูกแทรกแซง
ทำ� ลาย บดิ เบอื นชกั จงู ไปทางหารายไดโ้ ฆษณาทอ่ งเทย่ี ว เหน็ เงนิ เปน็
ส่งิ มีค่า บูชาเงินตรา บูชาเกียรติยศ บชู าลาภสกั การะ บชู าชอ่ื เสยี ง
14
บชู ายศถาบรรดาศกั ดิ์ แกง่ แยง่ เบยี ดเบยี น ทะเลาะเบาะแวง้ ฆา่ ฟนั
รันแทงฯลฯ สารพัดทุกข์ภัยในโลก เพิ่มมากข้ึนเร่ือยๆ เมือง
พุทธศาสนาแท้ๆ กลับหาท่ีปลอดภัยไว้วางใจกันไม่ได้ มีแต่ความ
หวาดระแวง วติ กกงั วล กลวั ภยั กลวั เวร ตอ้ งใชอ้ าชญา ใชศ้ าสตราอาวธุ
เขา้ กดขีค่ วบคุมบงั คับ ต้องใช้โซ่ตรวนเครอ่ื งจองจำ� เครือ่ งประหาร
แมก้ ระนนั้ กย็ งั หาความสงบสขุ ไมไ่ ด้ ยง่ิ มเี ลห่ เ์ หลยี่ มชน้ั เชงิ กลอบุ าย
มากข้นึ เร่อื ยๆ จนแทบตามไมท่ ัน คนซือ่ คนดจี ึงอย่ไู ด้ยากในสังคม
ปจั จบุ นั เปรยี บดงั คำ� โบราณวา่ กระเบอื้ งจะเฟอ่ื งฟลู อย นำ�้ เตา้ นอ้ ย
จะถอยจม
พุทธศาสนาเท่าน้ันที่จะน�ำความสุขความเจริญอันแท้จริง
มาสู่โลก จะก�ำจัดทุกข์ก�ำจัดภัยทั้งหลายได้อย่างแท้จริง เป็นที่พึ่ง
อนั เกษม ฝากเปน็ ฝากตาย ฝากจติ ฝากใจ หากมนษุ ยโ์ ลกนำ� ศลี ธรรม
ไปปฏิบัติตามอย่างจริงจังตั้งใจด้วยความเคารพเล่ือมใสอันดี
โลกใบนี้จะเต็มไปด้วยรอยย้ิม อันเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขอัน
แทจ้ ริง
พระอาจารยบ์ ณั ฑติ สุปณฑฺ ิโต
15
บันทกึ ธรรม บนั ทกึ ณ วัดป่าภผู าแดง
ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก เป็นผลพวงของวัฏฏะ จึงต้อง
พจิ ารณาเทยี บเคยี งกบั หลกั ธรรมวนิ ยั เสมอ ไมเ่ ชอื่ หรอื วางใจขนั ธ์ ๕
โดยถา่ ยเดยี ว พิจารณาแล้วนอ้ มลงส่ไู ตรลักษณ์
กรรมเป็นหลักธรรมชาติอันหน่ึง มีอ�ำนาจลึกลับ พ้นวิสัย
ปุถุชนจะคาดเดาได้ มีแต่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวที่ทรงมี
พระญาณหยงั่ ทราบโดยทวั่ ถงึ แมน่ ยำ� จงึ ไมค่ วรประมาทในภพชาติ
ของสัตว์แตล่ ะราย ทีจ่ ำ� ต้องเสวยกรรมไปตามวาระของตน เม่ือพน้
จากวิบากกรรมแล้ว ผลของกรรมดที ส่ี รา้ งมา ยอ่ มบนั ดาลความสุข
สมหวังตามแต่เหตุปัจจัยน้ันๆ แม้พระพุทธเจ้าและสาวกก็ยอมรับ
หลกั การและจำ� ตอ้ งรบั วบิ ากกรรมตามวาระ แตม่ กั เปน็ วบิ ากฝา่ ยกศุ ล
แม้กระนั้นกไ็ ม่สามารถเขา้ ถึงจิตใจอนั เปน็ วมิ ุตติ ย่อมกระทบเพยี ง
ขันธ์ ๕ เท่าน้ัน
16
บนั ทึกธรรม วนั ท่ี ๑๕ ม.ิ ย. ๔๒
การสงเคราะห์ด้วยความเมตตาอันบริสุทธิ์ ไม่มีตัณหา
แอบแฝง ยอ่ มไมม่ งุ่ หวงั สง่ิ ตอบแทน ไมม่ จี ติ อาลยั เกยี่ วขอ้ งพวั พนั ใน
ผรู้ บั และสง่ิ ทใี่ ห้ ไมย่ นิ ดยี นิ รา้ ย เมตตาประกอบดว้ ยปญั ญา (เมตตาด)ี
ย่อมพอเหมาะพอดีกับผู้นั้น ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างบริบูรณ์
โดยไม่มีโทษ ไม่ท�ำด้วยความอยาก ความก�ำหนัดรักใคร่ ความ
ห่วงหวง หรือความยึดมั่นถือม่ันใดๆ แต่ประกอบด้วยเหตุผลที่
ชดั เจน พจิ ารณาอยา่ งถถี่ ว้ นทกุ แงม่ มุ ทง้ั หยาบละเอยี ด ทงั้ คณุ โทษ
ยอ่ มตง้ั จติ เมตตา ไมเ่ ลอื ก สมำ่� เสมอ เทา่ กนั ไมม่ ปี ระมาณ ทกุ ทศิ ทาง
ทัง้ ๓ โลกธาตุ เปรยี บดังต้นไม้ใหญ่ ใบดกหนา รม่ รน่ื สัตว์ทง้ั หลาย
ทกุ ทศิ ทาง ย่อมได้อาศัยร่มเงา อาหาร
เมตตา ทปี่ ระกอบด้วยความหลง ยังมรี าคะ ตัณหา (เมตตา
บอด) ยอ่ มเลือกทร่ี กั มักที่ชงั ม่งุ ลาภ ยศ สรรเสรญิ ส่งิ ตอบแทน
ทำ� ดว้ ยความอยาก ความกำ� หนดั รกั ใคร่ ความหว่ งอาลยั ความยดึ มน่ั
ถือมั่น จึงขาดเหตุผลที่ชัดเจนรอบคอบ ยังประโยชน์ให้เกิด
ไม่บริบูรณ์ และยังมีโทษตามมาได้ จึงควรมีปัญญาเข้าไปก�ำกับ
ไม่วิ่งตามอ�ำนาจความอยาก ที่มักแอบแฝงมาเป็นความสงสาร
ให้เปน็ สงิ่ ที่เกดิ ขนึ้ เองในปจั จุบนั ไม่ได้คาดหวงั หรอื มผี ู้มาขอความ
ชว่ ยเหลือ หรือไปประสบพบเห็นความทกุ ขย์ าก ทำ� การสงเคราะห์
ดว้ ยนำ�้ ใจอนั งาม ไมเ่ ลอื กฐานะชนชนั้ พอดกี บั กำ� ลงั ของตนและผรู้ บั
เปรยี บดังหมอรักษาคนไข้ ย่อมไม่เลือกว่ามติ รหรอื ศตั รู ปรารถนา
ให้หายจากโรคเทา่ กนั
พระอาจารยบ์ ณั ฑติ สปุ ณฺฑิโต
17
บนั ทกึ ธรรม วนั ที่ ๑๒ มิ.ย. ๔๒
พงึ กระทำ� ตนเยยี่ งนายแพทยผ์ ฉู้ ลาด รกั ษาคนปว่ ยตามขน้ั ตอน
ซกั ประวตั ิ ตรวจรา่ งกาย วนิ จิ ฉยั แยกโรค ใหก้ ารรกั ษา ตดิ ตามอาการ
จนกระทั่งหายเป็นปกติ โรคทางกายยังพอมีว่างเว้นเป็นบางเวลา
แต่โรคทางใจไม่มีเวลาสงบตัวลงเลย โรคทางกายรักษาหายแล้ว
กก็ ลบั เปน็ อกี ไมห่ ายขาด โรคทางใจ ถา้ รกั ษาถกู ตอ้ งแลว้ หายเดด็ ขาด
ไม่กลับเปน็ อีก โรคทางกายมี ๓ ประเภท
๑. รักษาหรอื ไม่รักษา กห็ ายปกติ
๒. รักษาหรอื ไม่รกั ษา ก็ไมห่ าย
๓. รกั ษาถงึ หาย ไม่รักษา ไม่หาย
โรคทางใจ รักษาถึงหาย ไม่รกั ษา ไม่หาย
โรคทางกาย ตอ้ งพ่งึ หยูกยา
โรคทางใจ ตอ้ งพ่งึ ธรรมะ
18
บนั ทึกธรรม
เรามคี วามเจบ็ ไขเ้ ปน็ ธรรมดา จงึ ไมค่ วรประมาท รบี เรง่ สรา้ ง
ความดี
ประโยชนต์ นและประโยชน์ทา่ น แท้จรงิ แล้วคือสงิ่ เดยี วกนั
ไมไ่ ดแ้ ตกตา่ งกนั แตก่ ารจะทำ� ประโยชนใ์ หผ้ อู้ น่ื ได้ ผนู้ นั้ ตอ้ งมกี ำ� ลงั
แห่งความดี หรือบารมีมาก เปรยี บเหมอื นบุรุษขวนขวายทรัพยม์ า
จงึ น�ำทรัพยน์ ้นั ไปใช้จา่ ยให้เกดิ ประโยชน์ในด้านตา่ งๆ
พระพทุ ธเจา้ เมอ่ื ครง้ั ยงั เปน็ พระโพธสิ ตั วก์ ข็ วนขวายบำ� เพญ็
ประโยชน์เพ่ือความสุขแก่สรรพสัตว์ท้ังหลาย บ�ำเพ็ญทศบารมีจน
เตม็ บรบิ รู ณ์ แตบ่ ารมที เ่ี ดน่ ประจกั ษช์ ดั คอื เมตตาบารมแี ละปญั ญา
บารมี เปน็ รากฐานเปน็ สำ� คัญ อยา่ เห็นวา่ เป็นความดีเลก็ น้อยแล้ว
ไมก่ ระทำ� อย่าเห็นว่าเปน็ ความช่ัวเลก็ นอ้ ยแล้วจงึ กระทำ�
พระพทุ ธเจา้ ทรงประสูตใิ นป่า ตรสั รใู้ นปา่ ปรินิพพานในปา่
ปา่ ไม้ ถำ�้ เงอื้ มผา ฯลฯ จงึ มคี ณุ คา่ กบั พทุ ธศาสนามาก คเู่ คยี งกนั มา
โดยตลอด ป่าจึงเป็นสถานที่ส�ำคัญอย่างยิ่งในการฝึกหัดอบรม
ขดั เกลาจติ ใจ เพอื่ ความรยู้ ง่ิ เหน็ จรงิ เพอื่ ดำ� เนนิ ตามรอยพระพทุ ธเจา้
และพระอรยิ เจา้ ทง้ั หลาย ฉะนน้ั ผหู้ วงั ความเจรญิ ในธรรมทงั้ หลาย
พึงท�ำความอุตสาหะพยายาม พึงท�ำความยินดีในสถานท่ีเหล่าน้ี
จนตลอดชวี ิต
พระอาจารย์บณั ฑติ สุปณฺฑิโต
19
ปญั ญาคอื อะไร ความฉลาด รอบรู้
มีลกั ษณะอย่างไร รู้ยิง่ รพู้ ิเศษ รู้แยบคาย
มาจากไหน ธาตรุ ู้
เกดิ จากอะไร ชา่ งสงั เกต ใคร่ครวญ พิจารณา
โตข้นึ จากอะไร why ท�ำไม เพราะอะไร
อาหารคอื อะไร สติ สมาธิ วิรยิ ะ ศรัทธา
ของเลน่ คอื อะไร ธาตุ ขนั ธ์ อายตนะ อินทรยี ์
อริยสจั ปฏจิ จสมปุ บาท
รสชาตเิ ปน็ อย่างไร แจ้งชัด หายสงสัย
อาวธุ คืออะไร ไตรลกั ษณ์
แก่นคืออะไร วมิ ตุ ติ
ผมู้ ดี วงตาเห็นธรรม ย่อมร้ชู ัดวา่ ขันธ์ ๕ ไม่ใชเ่ รา
เราไมใ่ ชข่ นั ธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไมม่ ใี นเรา เราไมม่ ใี นขันธ์ ๕
แตย่ ังปลอ่ ยวางไม่ไดเ้ ด็ดขาด
อุปมาดังดินเหนียวมาตดิ ทีเ่ ท้า ยอ่ มรชู้ ดั ว่า ดนิ เหนยี วไมใ่ ช่เรา
แต่ยังลา้ งออกไมห่ มด
เปลอื กผลไมก้ บั เนื้อผลไม้
น้ำ� มันกับน้ำ�
20
การฝกึ หัดอบรมทรมานตนเอง ชือ่ วา่ การฝึกหัดอันเลศิ
ผใู้ ดฉลาดในการรักษาจติ ของตน ผ้นู ้ันจะพน้ จากภยั ทั้งปวง
การเรยี นรธู้ รรมชาติ การเข้าใจธรรมชาติ
การเข้าถึงธรรมชาต ิ การอยอู่ ยา่ งธรรมชาติ
การคนื สูธ่ รรมชาต ิ การเป็นธรรมชาติ
ธุดงควัตร เป็นยาขนานเอกในการปราบปรามกิเลสทุก
ประเภท เปน็ อาวุธอนั ทรงอานุภาพท�ำลายข้าศึกคือกเิ ลส เปน็ ทาง
สายเอกมุ่งสู่แดนพ้นทุกข์ เป็นธรรมอันแฝงไว้ด้วยเหตุผลลุ่มลึก
สขุ ุมคัมภรี ภาพ
พระอาจารย์บณั ฑิต สุปณฺฑิโต
21
การปฏบิ ัตธิ รรมในเมือง
ท่านเทศน์เก่ียวกับกรุงเทพฯ ว่ามีความแตกต่างจากป่ามาก
เน่ืองจากกรุงเทพฯ แวดล้อมไปด้วยวัตถุอันเป็นสิ่งอ�ำนวยความ
สะดวก มตี ึกรามบา้ นชอ่ งท่ีมน่ั คง ไม่เหมือนกับในปา่ ทีต่ น้ ไมก้ ิ่งไม้
มีการหักร่วง เมื่อพายุมาก่ิงไม้ก็หักลง เห็นความเปลี่ยนแปลง
เสอื่ มสลายไดช้ ดั เจน ไมเ่ หมอื นกบั ตกึ ทน่ี ี่ โดนพายกุ ไ็ มเ่ ปลยี่ นแปลง
มีแต่ความปลอดภัย ในป่ามีความไม่ปลอดภัยมากมาย จึงต้อง
ระมัดระวังตัว ต้องคอยสังเกตสิ่งแวดล้อม สติจึงอยู่กับตัวตลอด
มีสมาธิ การฟงั ธรรมจงึ เข้าใจลึกซ้ึง ตา่ งจากอยใู่ นเมืองทส่ี มาธิไม่มี
การฟงั ธรรมกไ็ มไ่ ดผ้ ลเทา่ ทค่ี วร เมอื่ เราอยกู่ บั ตกึ บา้ นชอ่ ง มแี ตค่ วาม
สบาย จนมองไมเ่ หน็ ความทกุ ขท์ เ่ี กดิ ขน้ึ หลวงตาทา่ นละเอยี ดลออ
มากเรอ่ื งวตั ถุ แมช้ ว่ งทที่ า่ นอายมุ ากแลว้ ทา่ นกย็ งั ระมดั ระวงั ไมใ่ หม้ ี
วัตถุมาก
การที่คนอยู่กับวัตถุอย่างนี้ จึงยากที่จะปฏิบัติธรรมให้เข้าใจ
เพราะเต็มไปด้วยส่ิงหลอกลวง จิตใจคนจึงเต็มไปด้วยความไม่รู้
อยแู่ ตก่ บั สง่ิ หลอกลวง ใหห้ ลงไปทกุ วนั เมอ่ื มคี วามสขุ เชน่ นี้ จงึ ไมเ่ คย
เตรยี มตวั รบั ความทกุ ข์ เมอ่ื ทกุ ขเ์ กดิ จงึ มแี ตร่ อ้ งไหว้ นเวยี นอยอู่ ยา่ งน้ี
ตึกนี้เหมือนกับกรงขังสัตว์ ให้เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะ แม้ว่าจะมี
ประตอู ยกู่ ็ออกไปไมไ่ ด้ เพราะความไม่รู้ นั่งอยู่ในตกึ ไมร่ เู้ ลยวา่ อยู่
ในไฟ โดนไฟไหมไ้ มร่ ู้ตัว ไม่คิดออกไป
การทเ่ี ราอยใู่ นเมอื ง การปฏบิ ตั ธิ รรมเปน็ เรอ่ื งยาก จงึ ตอ้ งตงั้ ใจ
ปฏิบตั ิ ยงั บวชไมไ่ ด้ กใ็ ห้ปฏบิ ัติตนเหมอื นบวชชั่วคราว เชน่ รกั ษา
22
ศลี ๘ ทกุ วนั พระ เดอื นหนงึ่ มเี พยี ง ๘ วนั ทจ่ี ะปฏบิ ตั ิ ใหท้ ำ� ใหไ้ ด้ ยกให้
โลกไปเดือนหน่ึงๆ ต้ังก่ีวันแล้ว การปฏิบัติให้เริ่มจากโคนต้นก่อน
ก่อนจะไปถึงกิ่งไม้สูง ให้เร่ิมจากเหง้าที่ดีก่อน ไม่งั้นก็ขึ้นไปไม่ได้
เรม่ิ จากการใหท้ าน ให้ทานให้พอใจ รกั ษาศีล ใหร้ ักษาศลี ๕ ใหเ้ ปน็
ธรรมดาก่อน แล้วให้เพ่ิมเป็นรักษาศีล ๘ ในวันพระ ภาวนาเป็น
เรื่องยาก ให้เร่มิ จากทาน ศลี ก่อน ทกุ วนั ให้เราตรวจสอบตัวเองวา่
เราบกพรอ่ งตรงไหน ทานบกพรอ่ งไหม ศลี บกพรอ่ งไหม ใหต้ รวจสอบ
ใหท้ ว่ั ตงั้ แตห่ วั ถงึ เทา้ เหมอื นกบั คนทปี่ ว่ ยกต็ อ้ งไปหาหมอ ปว่ ยใจก็
เหมอื นกนั ตอ้ งรกั ษา เราตอ้ งเหน็ คณุ คา่ ของธรรม จะไดต้ ง้ั ใจปฏบิ ตั ิ
เมอ่ื เราปฏบิ ตั ไิ ปจะเหน็ ผล เมอ่ื ผลเกดิ ขน้ึ เราจะยงิ่ มคี วามสขุ ในธรรม
จะยง่ิ อยากละทง้ิ เรอื่ งทางโลก ไปปฏบิ ตั ใิ หม้ ากขน้ึ ยง่ิ ปฏบิ ตั อิ นิ ทรยี ์
ก็ยิง่ มีก�ำลังกลา้ ขน้ึ ก็จะยงิ่ ปฏบิ ตั ิไดผ้ ลยงิ่ ขึน้
วันหนง่ึ ๆ ให้ปฏบิ ตั ใิ หไ้ ดเ้ ปน็ ประจำ� เหตทุ ่จี ะท�ำใหเ้ กิดกเิ ลสก็
ใหต้ ัดออกเสีย อยา่ นำ� เขา้ มา วทิ ยุ ทีวี กอ็ ยา่ ไปดูไปฟงั ใหเ้ พิม่ เร่อื ง
ท่เี ขา้ มาในใจ
การท�ำงานทางโลก ท�ำไปไม่มีวันจบวันส้ิน ท�ำงานไปจนตาย
เกิดมาก็มาท�ำใหม่ เวียนอยอู่ ย่างน้ี ท�ำไมไม่เบ่ือ การทำ� งานทางใจ
มีวันเสร็จได้ ครูบาอาจารย์ท่านก็เป็นคนเหมือนกับเรา ท่านท�ำได้
เรากต็ อ้ งท�ำได้ ตอ้ งต้งั ใจให้ม่ัน ท�ำไมเราจะทำ� ไมไ่ ด้
การพิจารณาเวทนาน้ัน ต้องพิจารณาให้ถูกต้อง ต้องเห็นว่า
กายท่ีเกิดเวทนาน้ันเป็นเราหรือไม่ ถ้าไม่เห็นเช่นนี้ ก็ไม่ใช่การ
พจิ ารณาทถ่ี กู การพจิ ารณาตอ้ งดวู า่ เวทนาเกดิ ขนึ้ แลว้ กด็ บั ไป ไมต่ อ้ ง
พระอาจารยบ์ ัณฑิต สุปณฑฺ ิโต
23
สนใจวา่ จะรสู้ กึ วบู ไปหรอื ไมอ่ ยา่ งไร เพราะเรอื่ งนน้ั เปน็ เรอ่ื งของสติ
ท่ีอ่อน
นักปฏิบัติที่ดีต้องดูตนเอง ไม่ใช่ดูผู้อื่น คนอ่ืนเขาท�ำอะไรก็
เป็นเร่ืองของเขา เขาต้องได้รับกรรมของเขาเอง มนุษย์เก่งกว่า
พระพุทธเจ้าไดอ้ ยา่ งไร เพง่ โทษผอู้ ืน่ ทำ� ไม การเพ่งโทษผ้อู ื่นผิดศลี
ข้อมุสา เพ้อเจ้อ ส่อเสียด แม้ว่าเขาในใจก็ผิดเหมือนกัน ถ้าเป็น
พระก็ไม่รู้จะปลงอาบัติได้อย่างไรแล้ว เร่ืองนี้ตัวเองท�ำตัวเองแท้ๆ
ใครมาทำ� อะไรให้ท่ไี หน
24
คำ� สอนผมู้ าปฏบิ ัติธรรม
ท่านเน้นเรื่องความสงบอย่างมาก การไม่ส่งเสียงดัง ท�ำอะไร
ด้วยความมสี ติ เพื่อจะได้ไม่รบกวนผภู้ าวนาคนอนื่ ๆ ซง่ึ มันจะมผี ล
ย้อนมาถงึ ตวั เองดว้ ย
คนที่มาปฏิบัติมีเวลาน้อย อุตส่าห์ปลีกเวลามาได้แล้วก็ขอให้
ต้ังใจ แล้วกร็ ้จู กั ปล่อยวางภาระต่างๆ ท้ังหลาย เพอ่ื ทำ� จิตท�ำใจให้
สงบ ใหใ้ จปลอ่ ยวาง ถา้ ยงั ตอ้ งทำ� หนา้ ทอี่ ะไรๆ ตา่ งๆ กท็ ำ� ไป แตท่ ำ�
ด้วยใจปล่อยวาง แตไ่ ม่ใช่ปลอ่ ยทง้ิ
ทา่ นสอนเรอื่ งการฝกึ สติ ใหอ้ ยทู่ ก่ี ารทำ� งาน ทำ� อะไรใหต้ งั้ ใจทำ�
ไมเ่ หลาะแหละ ใหส้ ตอิ ยทู่ ก่ี าย ใหพ้ ยายามหาใหไ้ ดว้ า่ อะไรทำ� ใหส้ ติ
อยทู่ ก่ี าย นง่ั สมาธิ เดนิ จงกรมมากดี ทา่ นใหห้ าความแยบคายในการ
ฝึกใหเ้ จอ ต้องสงั เกตให้ออก ดวู า่ เดนิ มากเปน็ อยา่ งไร น่ังมากเปน็
อยา่ งไร กินน้อยเป็นอยา่ งไร อดอาหารเป็นอย่างไร อดนอนดไี หม
เปน็ อย่างไร เปน็ ต้น หาใหไ้ ด้วา่ ของเราทำ� อยา่ งไหนจึงท�ำใหเ้ จริญ
หาให้เจอ เมื่อเจอแล้วให้ลุยท�ำไปเลย ท�ำไปอย่างนั้น ท�ำให้มาก
ทำ� แบบทว่ี า่ ไมค่ าดหวงั อะไร ทำ� ไปๆ แลว้ มนั จะโตใหญเ่ อง อยา่ งเชน่
หลวงตาท่านถูกกับการอดอาหาร หลวงปู่ท่านถูกกับการผ่อน
อาหารและภาวนาพทุ โธ ๒๔ ช่ัวโมง เป็นตน้ พวกเราตอ้ งหาใหเ้ จอ
ความส�ำคัญมันอยตู่ รงน้ี
ทา่ นใหท้ ำ� ไปเรอื่ ยๆ ทำ� ไปๆ ความสงบเวลามนั เกดิ มนั จะมาเอง
เม่ือทุกอย่างพอดี มันจะค่อยๆ หดเข้ามาอยู่ท่ีบ้านของมัน
ตรงกลางใจนัน่ เอง
พระอาจารยบ์ ัณฑิต สปุ ณฺฑิโต
25
ในกรณฆี ราวาสญาตโิ ยมทย่ี งั ตอ้ งไปๆ มาๆ ยงั มภี าระทปี่ ลกี ตวั
ออกปฏบิ ตั ไิ มไ่ ดจ้ รงิ จงั ทา่ นวา่ เราตอ้ งตง้ั มนั่ ใหม้ นั ฝงั ลกึ เขา้ ไปในจติ
จะอย่างไรเราก็จะต้องออกจากวัฏฏะให้ได้ ตั้งเป้ามุ่งประเด็นไว้
ฝงั ไว้ใหล้ กึ ฝังใหล้ กึ เข้าไปในจติ
ความสงบมี ๓ ระดับ
๑. สงบกาย วาจา
๒. สงบใจ
๓. สงบดว้ ยปัญญา
อุปสรรคของความสงบก็คือความอยาก ถ้ามีความอยากแล้ว
ความสงบจะไม่เกิดเลย อย่าไปคิดถึงของท่ีเคยท�ำเคยได้ มันผ่าน
ไปแลว้
ให้พยายามเหน็ โทษของกามคณุ ๕ ในรปู รส กลน่ิ เสียง สัมผสั
เพราะมนั จะทำ� ลายความสงบทเ่ี ราไดท้ เ่ี รามอี ยใู่ หห้ มดไปไดเ้ รว็ มาก
ทีส่ ุด จะท�ำให้รักษาความสงบไวไ้ ม่ไดเ้ ลย ความรัก ความชัง พวกน้ี
เป็นศัตรูของความสงบท้ังนั้น พวกเราต้องระวังให้มาก เมื่อออก
ไปแลว้ จะตอ้ งพบเจอภยั พวกน้ี กใ็ หใ้ ชด้ ว้ ยความระมัดระวงั ให้มาก
ควรใชเ้ มอ่ื จำ� เปน็ เท่านน้ั ไม่ตอ้ งไปรู้ไปเห็น ไปทันสมัยกบั กิเลสหรอก
สงบด้วยปัญญา แม้จะสงบมากน้อยไม่เป็นไร แต่ต้องสงบ
แล้วเปล่ยี นเป็นปญั ญาก็ถือวา่ ใช้ได้ เห็นชัดตามความเปน็ จรงิ เช่น
อาการ ๓๒ ก็ตอ้ งพจิ ารณาจนเหน็ ชดั เห็นจรงิ แล้วก็ยังตอ้ งท�ำไป
เรือ่ ยๆ จนหมดปญั หา
26
อาการกายเบาหรอื การเหน็ นมิ ติ ตา่ งๆ ไมใ่ ชค่ วามสงบทตี่ อ้ งการ
ทแี่ ท้จรงิ สุดทา้ ยต้องสงบด้วยปัญญา
ทา่ นเนน้ ใหท้ ำ� ความเพยี ร ขยนั กท็ ำ� ขเี้ กยี จกท็ ำ� ถงึ เวลากต็ อ้ งทำ�
อยบู่ า้ นกต็ อ้ งทำ� จึงจะใช้ได้ และใหท้ �ำอย่างพอดี มากไปกเ็ หมอื น
เทียนเล่มน้ีท่ีน�้ำตาเทียนมันล้นออกมา ไม่มีประโยชน์ แต่น้อยไป
มันก็ไม่สวา่ ง
พระอาจารย์บณั ฑิต สปุ ณฑฺ ิโต
27
แนวทางเพือ่ ความก้าวหนา้ ในการปฏิบตั ธิ รรม
วิชาพระพุทธเจา้ น้ันเป็นเหตเุ ป็นผล (เหต-ุ ปัจจยั )
ทา่ นเลา่ เรอื่ งตา่ งๆ ของหอ้ ง CICU ทท่ี า่ นดแู ลอยู่ วสั ดอุ ปุ กรณ์
ตา่ งๆ มมี ากมายใหเ้ ลอื ก ถา้ ไมร่ กู้ เ็ ลอื กไมถ่ กู แตล่ ะหอ้ งแตล่ ะอยา่ ง
กม็ คี วามจำ� เปน็ ตา่ งกนั เชน่ หอ้ งพยาบาล หอ้ งธรุ การ หอ้ งผปู้ ว่ ยหนกั
หอ้ งซกั ลา้ ง เปน็ ตน้ ไมใ่ ชใ่ ชว้ สั ดอุ ปุ กรณเ์ ดยี วกนั ไปหมด การเลอื กนนั้
มคี วามสำ� คญั และตอ้ งเลอื กใหเ้ หมาะ ตอ้ งถอื ความจำ� เปน็ เปน็ หลกั
จำ� เป็นมากก็ใหม้ าก จ�ำเป็นน้อยกใ็ ห้นอ้ ย ไม่ใช่ใหต้ ามความอยาก
หรือสิ่งที่ขอมา บางอย่างไม่ขอก็ให้ถ้าจ�ำเป็น แต่ความไม่รู้จึงท�ำ
ให้ยาก ในกรณีของทา่ น ท่านเป็นหมอ ทา่ นพอร.ู้ ..
สว่ นเรา (ผไู้ มร่ )ู้ ระหวา่ งความอยาก กบั ความถกู ตอ้ งทางธรรม
บ่อยคร้ังท่ีเราไม่รู้ รู้ไม่ทัน ก็ต้องถูกหลอกไปก่อน แต่ก็ต้องท�ำไป
ปฏบิ ตั ไิ ป พยายามไป ทำ� ไปๆ แลว้ มนั จะคอ่ ยละเอยี ดขน้ึ ไป ตอ้ งอดทน
ท่านมาพูดถึงคณุ ของพระพุทธเจา้
ท่านว่าพระพุทธเจ้าท่านเปรียบไว้น่าฟัง เร่ืองไม้ ๒ ท่อน
เมอ่ื นำ� มาสีกันเพอ่ื ให้เกิดไฟ
ถา้ ไม้นั้นอยใู่ นน�้ำ เปยี กน้�ำ (ไม้ชนิดท่ี ๑) น�ำมาถกู ันอย่างไรๆ
มันก็ไม่เกิดไฟ เปรียบเหมือนคนอยู่ทางโลก ภาวนาอย่างไรก็ไม่
เกดิ ผล
28
ถา้ น�ำไม้นน้ั ข้นึ มาจากนำ้� มาตากแดด แหง้ แล้ว แต่ขา้ งในยังมี
ยางไม้อยู่ (ไมช้ นดิ ท่ี ๒) แลว้ น�ำมาสีกนั กไ็ มเ่ กิดไฟ เปรยี บเหมอื น
คนออกมาจากโลก แต่ใจยังข้องอยู่กับโลก ภาวนาอย่างไรก็ไม่
เกิดผล
ถ้าไม้นั้นแห้งแล้ว และไม่มียางไม้ (ไม้ชนิดที่ ๓) น�ำมาถูกัน
ถ้าความเพียรพอเหมาะ ท�ำอย่างไรก็ต้องเกิดไฟ มันต้องเกิดผล
แน่นอน
ถ้าเราเลือกกรรมฐานใดแล้ว ให้ใช้กรรมฐานนั้นๆ อย่างเดียว
อยา่ เปล่ยี น ทำ� ไปอยา่ งไม่คาดหวังผล ถ้าเปลีย่ น ก็เปรยี บเหมอื น
เราจับเสาศาลา ถ้าจับเสานี้แล้วเปล่ียนไปจับอีกเสาอีกมุมหน่ึง
แล้วกเ็ ปลีย่ นอีก แลว้ กเ็ ปล่ยี นอกี มันก็จะไมส่ งบ จะภาวนาพุทโธ
หรอื อานาปานสตกิ ไ็ ด้ แต่ต้องตง้ั ใจปฏิบัติ อย่าเปลย่ี นวิธี มฉิ ะน้ัน
จะต้องหาไปตลอดชวี ิต
ถาม ถา้ เวลาเราภาวนาพทุ โธแลว้ เกดิ ความคดิ มากมาย บรกิ รรม
พทุ โธแล้วไมส่ งบ เอาไม่อยู่ เราสามารถใช้การพจิ ารณาอาการ ๓๒
ก่อน เพ่ือหยุดความคิดอื่น เม่ือสงบพอสมควรแล้วค่อยกลับมา
ภาวนาพุทโธไดห้ รือไม่
ตอบ การทำ� จิตใหส้ งบมีได้ ๒ ทาง คอื การทำ� สมถะ บรกิ รรม
พุทโธ อานาปานสติ... และการพิจารณา (ปัญญาอบรมสมาธิ)
ทัง้ ๒ อย่าง มนั จะมารวมลงอยทู่ ่จี ุดเดยี วกันคอื ความสงบ ถ้าจะ
พิจารณาปัญญา มันก็ต้องพิจารณาจริงๆ สุดท้ายมันก็จะไปที่จุด
เดียวกนั คอื ความสงบ แลว้ จะพทุ โธตอ่ ไปก็ได้
พระอาจารย์บัณฑติ สุปณฑฺ ิโต
29
ถาม เมอ่ื เดนิ จงกรมอยู่ แลว้ นอ้ มนกึ ไปถงึ โครงกระดกู แลว้ ควร
จะทำ� อยา่ งไรดี ควรกลบั มาทพ่ี ุทโธหรือไม่
ตอบ การเหน็ โครงกระดกู หรอื เห็นอะไร ไมค่ วรเพ่งมองเฉยๆ
หรอื ตามดมู นั จะไมเ่ กดิ ประโยชน์ แลว้ อาจจะทำ� ใหก้ รรมฐานแตกได้
ถ้าเห็นแล้ว ใหพ้ ิจารณาให้มันลงทไ่ี ตรลักษณ์หรืออสภุ ะ อย่างน้ไี ด้
คือถ้าคิดนึกออกไปในเร่ืองต่างๆ แล้วสามารถพิจารณาให้ลง
ไตรลกั ษณ์ อสภุ ะ อนตั ตา อะไรอยา่ งนไ้ี ด้ จะดี มปี ระโยชน์ แลว้ กลบั
จะท�ำใหม้ ีกำ� ลังด้วย แล้วค่อยกลบั มาทพี่ ุทโธอีก
ทา่ นใหม้ กั นอ้ ยสนั โดษ เพราะมนั จะทำ� ใหเ้ ราหาอบุ ายไดง้ า่ ยขน้ึ
เน่ืองจากมีน้อยให้หา อุบายอย่างไหนจึงจะเหมาะ อย่างไหนจะ
ท�ำใหเ้ ราท�ำความเพียรได้งา่ ย
ใหล้ องผดิ ลองถูก หาให้เจอ ให้หมน่ั สงั เกต ตอ้ งแยกแยะ อะไร
ที่ท�ำให้เสื่อม อะไรที่ท�ำให้เจริญข้ึน ส่งเสริมการภาวนาของเรา
ถา้ เรามหี ลายสง่ิ ทตี่ อ้ งสำ� รวจทตี่ อ้ งหา กจ็ ะทำ� ใหเ้ ราเหนอ่ื ย สดุ ทา้ ย
ก็กลับมาที่ให้มักน้อยสันโดษ มันก็จะท�ำให้เราหาจากสิ่งที่มันน้อย
มันกจ็ ะทำ� ให้เราหาอุบายไดง้ า่ ยขน้ึ จากสิง่ ท่ีมันน้อย
การอยู่ป่าเป็นสิ่งท่ีส�ำคัญ พระพุทธเจ้าท่านก็ท�ำเป็นตัวอย่าง
ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ก็ล้วนอยู่ในป่าหมด แล้วก็เป็น
วนั เดยี วกนั ดว้ ย และธดุ งควตั รเปน็ สงิ่ ทดี่ ที จ่ี ะชว่ ยทำ� ใหเ้ ราอยใู่ นทาง
การมาอยวู่ ดั อยา่ งนข้ี องพวกเรากถ็ อื วา่ เปน็ การมาธดุ งคเ์ หมอื นกนั
เพราะสมัยน้ีมันไม่เหมือนสมัยก่อน ธรรมชาติสภาพแวดล้อมมัน
เปล่ยี นไป
30
ท่านเล่าถึงวิสัยของพระพุทธเจ้า และว่าค�ำสอนของพระองค์
ท่าน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คนที่จะรู้ตามได้ก็มีแต่พระผู้เลิศ
เทา่ นัน้ ท่ีจะตามร้ไู ด้ แคน่ ีท้ า่ นกย็ ังวา่ เปน็ ใบไมใ้ นกำ� มอื ใบไมใ้ นปา่
ใหญย่ งั มอี ีกมาก แต่ท่านนำ� มาแสดงแค่น้ี แคพ่ อทจ่ี ะให้พ้นทกุ ข์
สดุ ทา้ ยทา่ นใหป้ ดิ ประตหู ลงั ออกใหพ้ น้ (เปน็ ไมช้ นดิ ที่ ๓ ใหไ้ ด)้
พระอาจารยบ์ ัณฑติ สุปณฺฑิโต
31
วชิ าพระพทุ ธเจา้ มีจดุ จบ
ทา่ นเลา่ วา่ สมยั ทท่ี า่ นสอบเขา้ แพทยแ์ ละไดม้ าอยโู่ รงพยาบาล
จฬุ าฯ ทา่ นมคี วามรสู้ กึ ภมู ใิ จมาก โกม้ าก จนเมอื่ ไดเ้ สอื้ กาวนค์ รง้ั แรก
สำ� หรบั ใชใ้ นการผา่ ศพ พออยปู่ ี ๒ ทา่ นกร็ สู้ กึ วา่ มนั โกม้ าก ไปกนิ ขา้ ว
ขา้ งนอกทตี่ กึ อกั ษรฯ กเ็ อาไปดว้ ย พาดโชวไ์ วด้ า้ นนอก รสู้ กึ วา่ เทม่ าก
โก้มาก ยิ่งผู้หญิงมองท่านก็ย่ิงรู้สึกโก้ใหญ่ นี่ขนาดไม่ใช่เส้ือกาวน์
จรงิ นะ พอปี ๔ ถงึ จะไดเ้ สอื้ กาวนท์ ีใ่ ชใ้ นการรกั ษาคนไข้ ปี ๖ ก็จะ
ไดต้ วั สนั้ (ของจรงิ ) ซง่ึ ตอ้ งใสต่ ลอด นมี่ นั เตน้ ไปกบั การเปลย่ี นแปลง
ที่เราคิดวา่ สงู ขึน้ ดีขน้ึ ไม่มใี ครในห้องเรียนเกง่ เทา่ ท่านแน่ ทา่ นชี้ไป
ท่านคิดว่าไม่มีวิชาไหนในโลกท่ีท่านกลัว ท่านเรียนศึกษาได้หมด
ไม่ว่าจะเป็นเมืองไทยหรือเมืองนอก แต่เม่ือท่านหันมาทางวิชา
พระพุทธเจา้ ท่านก็พบวา่ วชิ าพระพุทธเจ้ามีจดุ จบ ไม่เหมอื นวชิ า
ทางโลกท่ีไม่มีท่ีสิ้นสุด เรียนเท่าไหร่ก็ไม่จบ พอเกิดปัญหาขึ้นมา
หรอื วกิ ฤตขิ น้ึ กจ็ ะมกี ารคดิ คน้ เปลย่ี นแปลงใหมม่ าเพมิ่ อยเู่ สมอ วชิ า
ทางโลกจงึ หยดุ ไม่ได้
วชิ าทางโลกจริงๆ สรุปรวมลงแลว้ มสี อนให้รแู้ ค่ ๒ อย่าง วิชา
ท่ีชอบ วิชาที่ไม่ชอบ ให้รักกับให้ชัง แล้วพวกเราก็หลงไปกับมัน
เหน็ ไหมที่ชงั กนั จนขนาดฆ่ากนั ไดน้ ะ แตว่ ชิ าพระพทุ ธเจ้าท่านสอน
ให้ไมร่ ักไม่ชงั ...
32
วนั พุธท่ี ๑๒ ธนั วาคม ๒๕๕๕ ทโ่ี รงพยาบาลจุฬาฯ
อย่าน�ำเร่ืองภายนอกเข้ามายุ่งเกี่ยวให้เป็นภาระกับจิตของ
เราอกี เพราะเรอ่ื งท่เี รามอี ยนู่ ้ันก็มากแลว้
การพจิ ารณากาย ใหพ้ จิ ารณาผม ขน เลบ็ ฟนั หนงั คอื ผม
เป็นสดี ำ� เม่ือเปน็ หนุ่มสาว แต่จะเปน็ สีขาวเมอื่ อายุมากข้ึน ซง่ึ การ
พิจารณาแบบนี้ เพ่ือให้มองเห็นความไม่เท่ียงท่ีเกิดข้ึน ไม่มีสิ่งใด
ท่ีจะอยู่กับเราไปตลอดกาล
ใหห้ ดั วางใจเปน็ กลาง เพราะการแยกระหวา่ งความเปน็ กลาง
กบั การกดความรสู้ กึ นนั้ เปน็ เรอ่ื งยากและเปน็ สง่ิ ทล่ี ะเอยี ดออ่ นมาก
จงอยกู่ ับปัจจบุ นั อยา่ คิดถงึ เรื่องที่เปน็ อนาคต
เมอื่ เรายงั อยใู่ นวยั ทำ� งานกต็ อ้ งทำ� งาน และตอ้ งพจิ ารณาวา่
จะทำ� อยา่ งไรให้อยู่ในสังคมได้โดยมใี จทเี่ ป็นกลาง
เวลากลางคืนใหไ้ หว้พระสวดมนต์ ท�ำความสงบแกจ่ ติ ใจ
เมือ่ พบสิ่งใด ใหเ้ ผชิญกบั สิง่ นนั้ จงอย่าหนี มฉิ ะนน้ั เราจะ
ต้องเปน็ ฝา่ ยหนไี ปเรื่อยๆ
พระอาจารย์บัณฑิต สุปณฑฺ ิโต
33
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๕ ทีโ่ รงพยาบาลจุฬาฯ
พวกเรามนั หลงสมมตุ ิ เพลดิ เพลนิ ไปกบั การเปลย่ี นแปลงไป
กบั กามคณุ ๕ ซง่ึ กเ็ ทา่ กบั อยใู่ นมตู รในคถู นนั่ เอง ไมเ่ หน็ โทษของมนั
ก�ำลังไม่พอก็ต้องพยายามฝืน ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยๆ แล้ว
อย่างนีจ้ ะออกได้อย่างไร
ต้องออกใหไ้ ด้
ต้องเห็นโทษของกามคณุ ๕ มนั ก็มแี คน่ ้ี ไม่มีอะไรมากไป
กวา่ น้ี ความสขุ เลก็ นอ้ ย แลว้ ก็ทำ� ให้หลงอยู่ในวัฏฏะ วนออกไมไ่ ด้
34
วาระจังหวะของแตล่ ะคนแตกต่างกนั
ท่านเทศน์ถึงเรื่องวาระของแต่ละคนน้ันไม่เหมือนกัน จังหวะ
ของแตล่ ะคนจงึ ต่างกนั ตอ้ งทำ� ความเขา้ ใจ
ท่านเทศน์เกี่ยวกับพราหมณ์แก่อนาถาที่หากินอยู่ใกล้ๆ วัด
ต้องการจะบวช แต่ไม่มีพระองค์ไหนยอมบวชให้ พระพุทธเจ้าจึง
ถามว่า คนแก่นี้เคยมีคุณหรือท�ำบุญอะไรกับใครมาบ้างหรือเปล่า
พระสารีบุตรทูลกับพระพุทธเจ้าว่า คนอนาถาน้ีมีคุณกับท่าน
เคยตักบาตรใหข้ า้ วท่าน ๑ ครั้ง พระพุทธเจ้าจงึ ให้พระสารบี ุตรบวช
ใหค้ นอนาถาน้ี และเปน็ ผดู้ แู ลสง่ั สอน ซง่ึ ปรากฏวา่ ถงึ แมจ้ ะเปน็ ผทู้ ี่
มอี ายมุ าก ซงึ่ โดยปกตคิ นทม่ี อี ายมุ ากจะไมค่ อ่ ยฟงั ผอู้ นื่ แตพ่ ระองคน์ ้ี
พระสารบี ตุ รสอนอะไรกย็ อมเชอ่ื ฟงั หมดทกุ อยา่ ง จนในทสี่ ดุ กส็ ำ� เรจ็
เปน็ พระอรหนั ต์ ซงึ่ พระพทุ ธเจา้ ตรสั ยกยอ่ งภายหลงั วา่ เปน็ พระผเู้ ลศิ
(เอตทคั คะ) ทางด้านเป็นผทู้ ีว่ า่ นอนสอนงา่ ยทส่ี ดุ
เทศนเ์ รอ่ื งคนเราในปจั จบุ นั มาจากผลของกรรมทท่ี ำ� ไว้ บางคน
อาจจะท�ำบุญไว้เยอะ ท�ำให้ในปัจจุบันท�ำอะไรก็ดีไปหมด เจริญ
รงุ่ เรอื ง แตใ่ นทส่ี ดุ ทกุ คนกต็ อ้ งไดร้ บั ผลจากกรรมทท่ี ำ� ไว้ ไมเ่ วน้ แมแ้ ต่
พระพทุ ธเจ้าเอง ท่ตี อ้ งรบั ผลจากการท่ีเคยเป็นคนเลยี้ งโค แล้วรบี
ตอ้ นโคกลับบ้าน โคหิวน้ำ� ก็ไมห่ ยดุ ใหด้ ม่ื น้�ำ ผลของกรรมน้นั ท�ำให้
ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปท่ีกุสินาราเพ่ือปรินิพพาน พระพุทธเจ้า
กระหายน้�ำมาก ได้แวะพักและตรัสให้พระอานนท์ไปตักน้�ำ
พระอานนทถ์ อื บาตรไปถงึ แหลง่ นำ�้ ปรากฏวา่ ววั เพงิ่ เดนิ ผา่ นไป ทำ� ให้
น�้ำขนุ่ มาก พระอานนทจ์ งึ เดนิ กลบั ไปโดยไม่ไดต้ ักนำ�้ พระพุทธเจา้
พระอาจารยบ์ ณั ฑติ สุปณฺฑิโต
35
กใ็ หพ้ ระอานนทเ์ ดินกลับไปใหม่ นำ�้ กย็ ังข่นุ อยู่ จนครง้ั ที่ ๓ น้ำ� กใ็ ส
(พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ใช้อิทธิฤทธิ์อะไร) พระอานนท์ก็ตักน้�ำได้
แม้แต่กรรมเพียงเล็กน้อยก็ต้องส่งผลกลับมาให้เราเสมอ ไม่ว่าเรา
จะท�ำบุญไว้มากแค่ไหน เพราะฉะนั้นคนท่ีดูดีมีความสุขในตอนน้ี
สกั วนั ก็ต้องไดร้ ับผลกรรมท่เี คยทำ�
พอดีมีคนมาใหม่ ไม่ทราบธรรมเนียมพระปฏิบัติ ได้พยายาม
ใช้กล้องจะถ่ายรปู ท่านขณะท่ีก�ำลงั เทศน์ ท่านเลยหยุดเทศนอ์ ยา่ ง
กะทนั หนั แลว้ หนั มาบอกคนนน้ั เรอื่ งการถา่ ยรปู ทา่ นเทศนว์ า่ ขณะน้ี
เปน็ เวลาฟงั ธรรม เวลาฟงั ธรรมกฟ็ งั ไป ฟงั ดว้ ยจติ ไมใ่ ชม่ วั แตถ่ า่ ยรปู
ไมไ่ ด้อยกู่ บั ปจั จบุ ัน เราไปตดิ อยู่ท่ีรปู ลกั ษณ์ภายนอก หลง ไมส่ นใจ
สิง่ ทดี่ กี วา่ หลงรปู หลงเสยี ง ยดึ ว่าตัวมรี ปู ครูบาอาจารย์ มซี ีดีเสยี ง
ธรรมทา่ น คดิ วา่ มพี วกนแ้ี ลว้ ครบู าอาจารยจ์ ะอยกู่ บั เรา อยใู่ นตวั เรา
มรี ูปไปแตไ่ ม่ปฏบิ ัติกไ็ มม่ ีประโยชน์ เราไปหลงกับเทคโนโลยใี หมๆ่
แตง่ รปู ใหด้ สู าว สวย ดใี จ ของใหมๆ่ อะไรออกมากต็ อ้ งขวนขวายหา
อยากได้ไมส่ ้นิ สุด
ยุคน้ีศาสนาไม่ได้เสื่อม ศาสนาดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เส่ือมคือ
ตวั เราเอง ใจมันเสือ่ มจากพระพุทธศาสนา
คนเราตอ้ งถงึ พรอ้ มดว้ ยทานศลี ภาวนาทกุ สง่ิ ทกุ อยา่ งถา้ ถงึ เวลา
มันก็จะเป็นไปเอง ผลไม้ถ้าไม่สุกงอมจริงๆ ก็จะไม่หล่นจากต้น
คนเราไปขวนขวายปีนป่ายเก็บมาก็จะไม่ได้ของดี อาจจะยังแก่
ไม่เต็มที่ ให้ท�ำเหตุให้ถึงพร้อม แล้วผลก็จะตามมาเอง ไม่ต้องไป
คาดไปหวัง
36
ไมว่ า่ จะอยทู่ ไี่ หน จะบวชหรอื ไมบ่ วช เรากต็ อ้ งปฏบิ ตั ไิ ปเรอื่ ยๆ
ถา้ ถงึ เวลาสกุ งอมเมอื่ ไหรเ่ ราจะรเู้ อง ไมม่ ใี ครบอกเราได้ ถา้ เราจะทำ�
อะไรด้วยความอยากหรอื ไมอ่ ยาก สง่ิ นน้ั ก็ไมถ่ กู ต้องทง้ั น้ัน ถ้าเรา
ทำ� เพราะอยากหรอื ไมอ่ ยาก แสดงว่าเราไมไ่ ดใ้ ชช้ ีวิตอยู่กบั ปัจจุบัน
ขณะ เราต้องท�ำส่ิงที่เราท�ำตอนน้ีให้ดีท่ีสุดตามหน้าท่ีของเรา
ตามก�ำลังความสามารถของเรา
พระอาจารย์บัณฑติ สปุ ณฑฺ ิโต
37
ปกิณกธรรม
ใจทแี่ ท้จรงิ แลว้ เปน็ ธรรมชาตอิ ันหนง่ึ มีลักษณะพเิ ศษ คือ
“ร”ู้ ไมใ่ ชต่ ัวตน เรา เขา สตั ว์ บุคคล ไม่มีเจา้ ของ ไมเ่ ที่ยง แปรปรวน
ไม่คงท่ี เม่ืออายตนะภายนอก ภายในกระทบกนั ก็จะรับรูร้ ับทราบ
สิ่งนั้นๆ แล้วก็ดับไป หยาบละเอียด ประณีต กว้างแคบก็แล้ว
แต่ธรรมชาติของธาตุรู้ ปัญหาทั้งหลาย ความทุกข์ทั้งมวล ก็เกิด
จากธาตุรู้ ที่ไม่รู้ตามความเป็นจริงของส่ิงทั้งหลายที่เรียกว่า
ความหลง หรอื อวชิ ชา หลงตามอาการ ความแปรปรวน ไมเ่ หน็ ชดั ใน
สามัญลักษณะ หรอื ไตรลักษณ์ เกดิ ความยนิ ดยี นิ รา้ ย ยดึ มน่ั ถือม่ัน
เพลดิ เพลนิ ลมุ่ หลง เขา้ ใจวา่ เปน็ ตวั ตนเราเขา เปน็ กรรมวฏั -วบิ ากวฏั
หมนุ วนไม่จบส้ิน
ปฏปิ ทาท่ไี มผ่ ิด อปัณณกปฏปิ ทา
๑. อนิ ทรยี ส์ งั วร
๒. โภชเนมตั ตญั ญตุ า
๓. ชาคริยานโุ ยค
ตรวจตราดตู นเองเสมอ ใหฉ้ ลาดในการตามรกั ษาจติ ของตน
เปรยี บดงั หมอรกั ษาคนป่วย
สัมมาวาจา ไมพ่ ูดปด ไม่พดู สอ่ เสยี ด ไมพ่ ูดคำ� หยาบ ไมพ่ ดู
เพ้อเจอ้ กลา่ วแต่สลั เลขกถา
อายตนะภายนอก ภายใน ขันธ์ ๕ กระเพ่ือม ถา้ ไม่ร้ตู าม
เปน็ จรงิ ตัณหาเกิดขึน้ อุปาทานตามมา
38
ปกณิ กธรรม
เจรญิ พรหมวหิ าร ๔ กระจายไปยงั สรรพสตั วท์ งั้ หลาย ทเี่ ปน็
เพอ่ื นเกิด แก่ เจบ็ ตาย ยงั เวยี นว่ายตายเกดิ ในวฏั สงสารโดยรอบ
ทุกทศิ ทาง
พิจารณาสิ่งท้ังหลายทั้งปวง แล้ววางไว้ตามสภาพความ
เป็นจรงิ
ผู้มีปัญญาย่อมฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าทั้งกลางวัน
กลางคืน
อดตี ปจั จบุ นั อนาคต มคี ณุ คา่ เสมอกนั รวมลงเปน็ อนั หนงึ่
อันเดยี วกนั ในปัจจบุ ันธรรมเปน็ ไตรลกั ษณ์
ตณั หาจะเกดิ กด็ ว้ ยความไมร่ คู้ วามจรงิ ในขนั ธ์ ๕ หรอื ปลอ่ ย
อปุ าทานขนั ธ์ แลว้ ตณั หายอ่ มดบั ไป เพราะไมม่ ที อี่ าศยั เปรยี บเหมอื น
หนองนำ�้ ที่แห้งลงเป็นลำ� ดับจนแห้งสนทิ ปลายอ่ มอาศยั อยู่ไมไ่ ด้
ไม่คุ้นเชื่อง ไม่นอนใจ ไม่ตายใจกับส่ิงใดๆ ท้ังปวง ท่ัว
ไตรโลกธาตุ พจิ ารณาลงสสู่ ภาพความเปน็ จรงิ เสมอ จงึ จะปลอ่ ยวาง
อปุ าทานทั้งปวงลงได้
ชาคริยานุโยค ความเป็นผตู้ ่ืนอยู่ ย่อมหมายถงึ สตปิ ญั ญา
ตรวจตรา พจิ ารณา สงิ่ ทง้ั หลาย ธรรมทงั้ ปวง ดว้ ยความไมป่ ระมาท
ละเอยี ด รอบคอบ พลกิ แพลง เปล่ียนแปลง อบุ ายวธิ ีเพื่อเอาชนะ
ความหลงใหจ้ งได้
พระอาจารยบ์ ัณฑิต สุปณฑฺ ิโต
39
ปกณิ กธรรม
ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ เป็นสมมุติบัญญัติทางธรรม เป็น
ธรรมชาติที่ประกาศความจริงอยู่ตลอดเวลา ต่างทำ� หน้าท่ีของตน
เปน็ อิสระ ไมข่ ้ึนกับผูใ้ ด แปรปรวน เปล่ยี นแปลง เสอื่ มไป สิ้นไปอยู่
ตลอด เปน็ สิง่ ทที่ นไดย้ าก เปน็ ภาระอันหนักที่ตอ้ งรับผดิ ชอบดูแล
ผู้ไม่รู้ความเป็นจริง ไปยึดม่นั ถือมั่น ความทุกขท์ ั้งหลายก็จะไม่มีวนั
ส้ินสุด ผู้มาด�ำเนินตามศาสนาของพระพุทธเจ้า ฝึกหัดอบรมจน
เข้าใจชัดเจนถงึ ความจริงทงั้ หลายเหลา่ น้ี ยอ่ มปลงวางภาระเสียได้
เขา้ ถงึ ความสขุ อันแท้จริง
พิจารณาธรรมทั้งหลายใหช้ ดั เจนในเหตุและผล เป็นผ้ฉู ลาด
ในเหตุผลทุกแง่มุม ฉลาดในอุบายวิธี ตกแต่งเหตุเพ่ือด�ำเนินไปสู่
ทางพ้นทุกข์
ข้อวัตรท้ังส่วนตนและส่วนรวมก็เป็นอุบายฝึกสติปัญญาที่
แยบคายอยา่ งหน่งึ
ตรวจตรา พิจารณากาย วาจา ใจ ใหต้ รงธรรมวินัยอยู่เสมอ
เคารพเทดิ ทนู ปฏบิ ตั บิ ชู าพระพทุ ธเจา้ พระธรรม พระสงฆ์ ทกุ ลมหายใจ
พระวนิ ยั เปน็ พทุ ธวสิ ยั เปน็ มหากรณุ าธคิ ณุ ของพระพทุ ธเจา้
โดยแท้ สอ่ แสดงถงึ พระปญั ญาอนั รแู้ จง้ แทงตลอด เปน็ จอมปราชญ์
ไม่มีผู้ใดเสมอ สุขุมลึกซึ้ง มีนัยแยบคายพิสดาร เป็นรากฐาน
อันแข็งแกร่ง เป็นทางตรงสู่พระนิพพาน เป็นหนทางอันปลอดภัย
เป็นอาวุธอนั ทรงพลานภุ าพ เป็นอำ� นาจอนั ลึกล�้ำ อศั จรรย์
40
ปกิณกธรรม
เม่ือปฏิบัติจนถึงที่สุดแล้ว เราจะได้อยู่ในดินแดนที่พบกับ
ครูบาอาจารย์ ซง่ึ เป็นดินแดนท่มี ีความสขุ จริงๆ และไมต่ อ้ งจากกนั
ไปไหนอีก เพราะการเกิดมาแล้วจะมาเจอกันสักชาติหน่ึงเป็นสิ่งท่ี
ยากมาก
ถา้ อยทู่ างโลก โลกกจ็ ะมแี รงดงึ ดดู อกี แบบ ทำ� ใหไ้ มส่ ามารถ
ปฏิบัติธรรมได้อย่างแท้จริงเพราะกิเลสทางโลกมันแรง การปฏิบัติ
ควรดึงหรือผ่อนตัวเองในเร่ืองการท�ำงานออกมา แต่ถ้ายังติดเรื่อง
การดูแลพ่อแมก่ ็ทำ� ไป เพราะเป็นกศุ ลทส่ี งู เป็นสงิ่ ท่ที ำ� ให้เราอยใู่ น
ทางธรรม และเป็นสง่ิ ดึงใหจ้ ติ น้อมเข้าสูธ่ รรมดว้ ย
หากกลัวอะไร ให้ไปท่ีตรงนั้น ความกลัวเมื่อวัยเด็กเป็น
สญั ญาเดิม ให้อยูก่ ับธรรมชาติ สัตว์พวกหนู จง้ิ จก ตุ๊กแก เป็นสัตว์
ทนี่ า่ สงสาร เราตอ้ งใหค้ วามเมตตา เมอื่ เราอยกู่ บั ธรรมชาตไิ ปเรอื่ ยๆ
ก็จะรสู้ ึกไดว้ ่าสัตวพ์ วกนก้ี ็เปน็ เพื่อนของเรา
ต้องฝกึ อยู่กับตัวเองก่อนท่จี ะไปอยกู่ ับคนอ่นื เพราะถ้าฝกึ
อยกู่ บั คนอื่นก่อน สุดท้ายเราจะอยูค่ นเดยี วไม่ได้
ตอ้ งปฏบิ ตั จิ นกวา่ จะรวู้ า่ เราไมใ่ ชเ่ รา และตอ้ งเปน็ การรจู้ รงิ ๆ
ไมใ่ ชส่ ญั ญา และเม่อื ถงึ วันทเี่ รารจู้ รงิ ๆ เราจะรไู้ ดว้ า่ สง่ิ ใดใช่ ส่ิงใด
ไม่ใช่ ซึ่งวันนเ้ี ราอาจจะรสู้ ึกวา่ ใช่ แต่วันขา้ งหนา้ อาจไม่ใชก่ ็ได้
พระอาจารยบ์ ณั ฑติ สุปณฺฑิโต
41
การสวดมนต์ ควรสวดให้ได้แบบไมต่ ้องเปิดหนงั สอื เพราะ
หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินก็สามารถนึกได้ทันที และควรสวดเป็น
ประจำ� ทกุ วนั เพอ่ื เปน็ การทำ� ความเพยี ร และจะไดเ้ ขา้ ใจในขอ้ ธรรม
บางคนปฏบิ ตั โิ ดยการเดนิ บางคนปฏบิ ตั โิ ดยการนงั่ บางคน
ปฏบิ ัติโดยพิจารณาข้อธรรม การพจิ ารณาควรพจิ ารณาในร่างกาย
โดยแยกเปน็ ชนิ้ ๆ คอื ผม ขน เลบ็ ฟนั หนงั จะเหน็ วา่ ไมม่ อี ะไรเทย่ี ง
เพราะผมดำ� กเ็ ปลย่ี นเปน็ ผมหงอก หลดุ รว่ ง ไมม่ อี ะไรทเี่ ปน็ ของเรา
เมอ่ื คนอ่ืนปวดขา เราไมร่ ู้สึกปวดดว้ ย เพราะไม่ใช่ขาของเรา
ทา่ นวา่ ถา้ ชอบทำ� อะไรแลว้ ทำ� ไปเรอ่ื ยๆ มนั กจ็ ะกลายเปน็
ความชำ� นาญ เปน็ ความถนดั ซง่ึ แตล่ ะคนกจ็ ะมคี วามชอบความถนดั
ไมเ่ หมอื นกนั ขอใหอ้ ยใู่ นกรอบของคณุ งามความดี เมอ่ื ทำ� มากๆ เขา้
ก็จะช�ำนาญมากข้ึนในเร่ืองน้ันๆ จนกลายเป็นความถนัด อย่าง
พระอสตี สิ าวก เปน็ เอกดา้ นใดดา้ นหนงึ่ กเ็ รม่ิ มาจากอยา่ งนเี้ หมอื นกนั
แตพ่ ระพทุ ธเจา้ ทา่ นตอ้ งสะสมหลายดา้ น แตอ่ ยา่ งพวกเรานไ้ี มต่ อ้ ง
ทำ� หลายดา้ น
42
ปกณิ กธรรม
นิรุกติภาษา แตกฉานในภาษาต่างๆ เกิดจากการปฏิบัติ
ทกุ ชนชาติ ไม่วา่ คน สัตว์ เทพ พรหม มภี าษาใจอนั เดยี ว แสดงออก
ทางกาย วาจา ดเู หมอื นแตกตา่ ง แต่ไม่ต่างภาษาโลภ โกรธ หลง
ภาษาสขุ ทุกข์
คนปกติ = ความรู้ความเหน็ ชดั แจ้งในไตรลกั ษณ์
คนป่วย = ความรู้ความเห็นออกนอกไตรลกั ษณ์
ทอดเท ความเบ่อื หน่าย เขด็ หลาบในวัฏสงสาร หมดอาลยั
เลิกทะเยอทะยาน การปฏิบตั ยิ ่อมตรงตอ่ พระนิพพาน
ระวังบ่วงแหง่ มาร/เหยอื่ ล่อของตณั หา
๑. โลกธรรม ๘ ประการ
๒. นวิ รณ์ ๕ ประการ
๓. ปลิโพธ ๑๐ ประการ
ความค้นุ เคย เคยชนิ ความไวใ้ จกับส่ิงใดๆ ภยั ยอ่ มตามมา
ณ ที่นนั้
พิจารณาสังขารธรรมทั้งปวง ไม่ว่าภายนอก ภายใน ใกล้
ไกล หยาบ ละเอียด ดี ชว่ั อดตี ปัจจุบัน อนาคต ลงสไู่ ตรลักษณ์