The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือวิจัยสมบูรณ์_compressed

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การวิจัยทางการศึกษา Educational Research

หนังสือวิจัยสมบูรณ์_compressed

เอกสารประกอบการสอน

การวิจยั ทางการศึกษา

เอกสารประกอบการสอน

การวจิ ัยทางการศึกษา

สาขาวชิ าการประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
คณะครุศาสตร

มหาวิทยาลัยราชภฏั บานสมเดจ็ เจา พระยา
สาขาวชิ าการประเมินผลและวิจัยทางการศกึ ษา

คณะครุศาสตร
มหาวิทยาลัยราชภฏั บา นสมเดจ็ เจาพระยา

ก(EาdรuวิจcaัยtทioางnกaาlรRศeกึ sษeาarch)

โดย รองศาสตราจารย์ สภุ รณ์ ลมิ้ บรบิ ูรณ์
รองศาสตราจารย์ ดร.วเิ ชยี ร อนิ ทรสมพันธ์
ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ เพชราวดี จงประดับเกยี รติ
อาจารย์ทวศี กั ด์ิ จงประดบั เกยี รติ
ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภาพร ศรหี ามี
อาจารย์ ดร.เพ็ญพร ทองคำ� สกุ
ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร. อคั รเดช เกตฉ่ำ�

สงวนลิขสิทธิต์ ามพระราชบัญญตั ิลิขสทิ ธ์ิ (ฉบับเพ่ิมเตมิ ) พ.ศ. 2558
ห้ามลอกเลียนแบบ หรือคดั ลอกสว่ นใดส่วนหนึ่งของหนังสือเลม่ นี้

ยกเวน้ แตไ่ ดร้ ับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อกั ษรจากผู้เขียน

พมิ พ์คร้ังท่ี 8
มกราคม 2563
จ�ำนวน 700 เลม่
หนังสือยืมเรยี น หรอื แจกฟรี (หา้ มจ�ำหน่าย)
จดั พมิ พ์โดย
คณะครศุ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั บ้านสมเด็จเจา้ พระยา
1061 ซอยอสิ รภาพ 15 ถนนอสิ รภาพ แขวงหริ ัญรู จู ี เขตธนบุรี กรงุ เทพฯ 10600
พมิ พท์ ี่
โรงพิมพ์ บริษทั สหธรรมมิก จ�ำกดั
54/67-68 ซอย 12 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงวดั ทา่ พระ เขตบางกอกใหญ่ กรงุ เทพฯ 10600
โทร. 0-2864-0434-5 E-mail : [email protected]

คาํ นาํ

การวจิ ยั ทางการศกึ ษา เปน หนังสอื ทีส่ ามารถนาํ มาใชศกึ ษาประกอบกับการเรียนการสอนในวิชา
การวจิ ยั เพอื่ พัฒนาการเรยี นรู ซึ่งเปนวชิ าชีพครสู ําหรบั นิสิตนกั ศกึ ษาที่เรยี นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตทั้ง
หลักสูตร 4 ป และหลักสูตร 5 ป การเรียนในวิชาดังกลาวจะตองศึกษาวิธีการวิจัยควบคูไปกับการฝก
ปฏิบัตกิ ารวิจยั

สาขาวิชาการประเมินและวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบานสมเด็จ
เจา พระยา ไดเรียบเรียงหนังสือเลมนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงคเพ่ือใหนิสิตนักศึกษาไดเขาใจกระบวนการใน
การทําการวจิ ัย และสามารถปฏบิ ัตกิ ารวิจัยไดอยางรวดเร็วและถกู ตอง

หวงั เปน อยา งยิ่งวาหนงั สือการวิจยั ทางการศึกษาเลมนี้ จะชวยใหนิสิตนักศึกษาไดรับความรูและ
ประสบผลสําเรจ็ ในการปฏบิ ิติการวจิ ัยเปนอยางดี

สาขาวชิ าการประเมนิ ผลและวิจัยทางการศึกษา
มกราคม 2563



สารบญั หน้า

คานา…………………………………………………………………………………………………………….. .. (1)
สารบญั …………………………………………………………………………………….……………………… (3)

บทที่ 1 บทนา…………………………………………………………………………………………… 1
ความหมายของการวิจัย…………………...…………………………………………………… 1
ความมงุ่ หมายของการวิจยั ............................................................................... 2
ประโยชนข์ องการวิจัย .................................................................................... 3
จรรยาบรรณของนกั วิจัย.................................................................................. 3
ข้นั ตอนของการวจิ ยั ......................................................................................... 5

บทท่ี 2 ประเภทของการวิจัย……………………………………....................................... 15
การจดั ประเภทของการวจิ ยั ตามลกั ษณะของขอ้ มลู ……………………………….. 15
การจดั ประเภทของการวจิ ัยตามประโยชนข์ องการวิจยั ………………………….. 15
การจดั ประเภทของการวจิ ัยตามระเบียบวธิ ีวจิ ยั ............................................... 16
การจดั ประเภทของการวจิ ยั ตามสาขาวิชา...................................................... 17
การจดั ประเภทของการวจิ ัยโดยใช้ระดบั ของการศึกษาคน้ ควา้ เปน็ เกณฑ์....... 17
การวิจยั เชงิ ประวัตศิ าสตร์................................................................................ 17
การวิจัยเชิงบรรยาย......................................................................................... 19
การวจิ ยั เชงิ ทดลอง………………………………………………………………………………… 30

บทที่ 3 ปญั หา จดุ ม่งุ หมาย สมมตฐิ าน ประชากรและกลุ่มตวั อย่าง……………………. 35
ปัญหาการวิจัย ................................................................................................ 35
การกาหนดจดุ มงุ่ หมายของการวจิ ยั ……………………………………………………… 37
สมมติฐานการวจิ ัย......................................................................................... 38
ประชากร และกลมุ่ ตวั อย่าง ........................................................................... 39

(4) หนา้

บทท่ี 4 เครือ่ งมอื ที่ใชใ้ นการวิจัย…………………………………....................................... 49
แบบสอบถาม........................................................................................... 49
การสมั ภาษณ์.................................................................................................... 54
การสังเกต......................................................................................................... 56
มาตรวดั เจตคติ ................................................................................................ 58
แบบทดสอบ...................................................................................................... 68
มาตรประมาณค่า.............................................................................................. 72
แบบสารวจ....................................................................................................... 75

บทท่ี 5 การวเิ คราะหข์ ้อมูลและการแปลผลการวเิ คราะหข์ อ้ มลู ………………………… 76
การวเิ คราะห์ข้อมูล ......................................................................................... 76
การจดั ข้อมลู ใหเ้ ปน็ หมวดหมู่ ............ ............................................................. 77
สถิติท่ีใชใ้ นการวจิ ัย……………………………………………………………………………….. 79

บทท่ี 6 การเขียนโครงร่างการวจิ ยั และรายงานการวจิ ัย…………………......…….......... 118
สว่ นประกอบของโครงร่างการวิจยั ............................................................... 118
หลักการเขียนโครงรา่ งการวจิ ยั ................................................................... 119
การเขยี นรายงานการวจิ ยั .......................................................................... 120

บทท่ี 7 การประเมินผลการวิจยั …………………......……............................................... 124
การประเมินผลการวจิ ยั .............................................................................. 124
ตัวอยา่ งแบบประเมนิ ผลการวจิ ยั ................................................................... 127

แบบฝกึ หัด ............................................................................................................... 129
ตาราง t-test และ Chi-square............................................................................... 140

บทที่ 1
บทนา

วิธีการแสวงหาความรู้ และข้อเท็จจริงใหม่ ๆ ของมนุษย์ได้พัฒนามาตามลาดับ ต้ังแต่เริ่มต้น
จากการลองถูกลองผิดด้วยตนเองโดยอาศัยประสบการณ์และความเช่ือถือเก่าๆ ต่อมาได้มี
นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นคว้าวิธีการศึกษาหาข้อเท็จจริงอย่างมีเหตุผลในลักษณะขอ งการอนุมาน
(Deductive Method) และการอุปมาน (Inductive Method) และได้นาเอาท้ัง 2 วิธีน้ีมาศึกษา
ร่วมกันเป็นวิธีท่ีเรียกว่า (Deductive–Inductive Method) ซ่ึงเป็นจุดเร่ิมต้นของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และวิธีการ ทางวทิ ยาศาสตรเ์ ปน็ แนวทางทนี่ ามาใชใ้ นการทาวิจยั
ความหมายของการวจิ ยั

Schuessler ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า “การวิจัยเป็นการค้นคว้าหาความจริง
(Reliable Knowledge) เพอ่ื ทจี่ ะนามาชว่ ยในการแกป้ ญั หา หรอื ตัดสนิ ใจอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ”

Webster ได้ให้คาจากัดความไว้ใน New International Dictionary ว่า “การวิจัย คือ
การศกึ ษาคน้ ควา้ วิเคราะหห์ รอื ทดลองอย่างละเอียด เพื่อค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือความรู้ใหม่ เพื่อ
นามาต้งั เปน็ กฎเกณฑ์ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบตั ิ หรือแนวทางในการแกป้ ัญหาตอ่ ไป”

ตามพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ได้นิยามความหมายของการวิจัยไว้ว่า
“การวิจยั หมายถึง การศึกษาคน้ ควา้ ที่มรี ะบบ และแผนการ เพอ่ื ใหไ้ ด้มาซ่ึงความรู้ทางสังคมศาสตร์
และ มนุษยศาสตร์”

ดร. อนนั ต์ ศรีโสภา ให้ความหมายของการวจิ ยั วา่ “การวจิ ยั เปน็ การเสาะแสวงหาความรจู้ าก
ปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมุติฐานท่ีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
ซึ่งสอดคลอ้ งกับความมุ่งหมายในเรอื่ งนัน้ ๆ เพอื่ นาไปใช้ในการพยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลง
เมอ่ื ควบคุมสิง่ ใดส่ิงหนึ่งใหค้ งท่ี

ดร. อารง สทุ ธาศาสตร์ ไดใ้ หค้ วามหมายของการวิจัยวา่ “การวจิ ยั คือ วิธีการหาคาตอบใน
สิ่งทสี่ งสัยเป็นคาตอบทเี่ ช่ือถือไดแ้ ละถกู ตอ้ งแมน่ ยา ซึ่งมีองค์ประกอบอย่างนอ้ ย 2 ประการคือ

1. คาตอบที่ได้ต้องมีหลักฐานเพียงพอที่จะมายืนยัน ถ้าปราศจากหลักฐานท่ีเพียงพอถึงแม้น
วา่ คาตอบนน้ั จะเป็นไปดว้ ยเหตุผลและตรรกวิธีก็ไม่เรยี กวา่ เปน็ การวิจัย

2. หลักฐานต่าง ๆ ต้องได้มาและยืนยันอย่างมีระเบียบแบบแผน และเป็นไปตามขั้นตอนซึ่ง
เรยี กวา่ “ระเบยี บวธิ ีการวจิ ยั ”

~2~

การประชุม (Pan Pacific Science Congress)ในปี ค.ศ.1961 ได้แยกความหมายของ
RESEARCH ดงั น้ี

R = Recruitment & Relationship หมายถึง การฝึกคนให้มีความรู้ รวมทั้ง
รวบรวมความรู้ และปฏิบตั งิ านร่วมกนั การตดิ ต่อสมั พันธ์และประสานงานกนั

E = Education & Efficiency หมายถงึ ผู้วิจยั จะตอ้ งมกี ารศึกษามีความรแู้ ละ
สมรรถภาพในการวิจัยสูง

S = Science & Stimulation หมายถึง ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัย
จะต้องมีความคิดรเิ ริม่ และกระตือรือร้นในการทาการวิจัย

E = Education & Environment หมายถึง ตอ้ งเป็นผูร้ จู้ กั ประเมินผลงานทท่ี า
และสามารถใช้ส่งิ แวดลอ้ มให้เปน็ ประโยชน์

A = Aim & Attitude หมายถึง มีเปูาหมายท่ีแน่นอนและมีทัศนคติที่ดีต่อการ
วจิ ยั

R = Result หมายถึง การยอมรับผลการวิจัย เพราะเป็นผลท่ีได้จากการค้นคว้า
อยา่ งมีระบบ

C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยต้องเป็นผู้อยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและ
ขวนขวายในการวจิ ยั อยูต่ ลอดเวลา

H = Horizon หมายถึง ผลการวิจัยทาให้ทราบและเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ถ้ายัง
ไมช่ ัดเจน ผู้วิจัยจะตอ้ งดาเนินการต่อไปจนกวา่ จะไดผ้ ลเป็นที่พอใจ

สรุปไดว้ า่ การวิจัย คอื การค้นคว้าหาข้อเทจ็ จริง ใหม่ ๆ ในสาขาวิชาต่าง ๆ
โดยอาศัยระเบียบวิธีการวิจัย (Research Method) ซึ่งมีลักษณะเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์
(Scientific Method)
ความมุ่งหมายของการวจิ ัย

ความมงุ่ หมายของการวจิ ัยแตล่ ะเรอ่ื งแตกต่างกันไปตามความตอ้ งการของผวู้ จิ ยั สามารถแยก
ความมงุ่ หมายในลกั ษณะตา่ ง ๆ ได้ดังน้ี

1. เพื่อการบรรยาย เป็นการวิจัยเพื่อหาข้อเท็จจริง มาบรรยายหรือบอกเล่ากันต่อๆ ไป
วธิ กี ารวจิ ัยแบบนี้ คอื การสังเกตและจดบันทึกเหตุการณท์ ่ีเกดิ ขึ้น เชน่ การสารวจทศั นคติ

2. เพื่อการอธิบาย เป็นการศึกษาวิจัยเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ใดๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
อะไรเปน็ สาเหตุ อะไรเปน็ ผลที่ตามมา

3. เพื่อการทานาย เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อการบรรยายหรืออธิบายในส่ิงที่ยังไม่เกิดข้ึนโดย
การทานายล่วงหน้าว่า ถ้าเหตุอยา่ งหน่งึ เกิดข้ึน ผลของสาเหตุนนั้ ควรเปน็ อยา่ งไร

~3~

4. เพ่ือใช้ในการควบคุม เป็นการวิจัยเนื้อหาความจริงตามธรรมชาติซึ่งผู้วิจัยสามารถใช้
ความรู้ท่ีได้รับ เพื่อการปรับปรุงเปล่ียนแปลงธรรมชาติของสังคมและบุคคลให้มีสภาพดีขึ้น การ
ควบคมุ สิ่งหนงึ่ สิ่งใดจะช่วยใหเ้ หน็ การเปลี่ยนแปลงของอีกสิง่ หน่งึ ไดช้ ดั เจนข้นึ

5. เพ่ือใช้ในการพัฒนาทั้งในด้านวิธีการและแนวความคิด เช่น ในการพัฒนาระบบงาน
ให้มีประสิทธิภาพมากข้ึน พัฒนาวิธีดาเนินงานและการบริหารงาน เป็นต้น การวิจัยแบบน้ีมักจะมี
ลักษณะเป็นการทดลองใช้ หรอื ค้นควา้ วธิ ีการใหมๆ่ ท่สี ามารถทาให้การดาเนินงานพัฒนาข้นึ ได้
ประโยชน์ของการวจิ ยั

ผลท่ีได้รบั จากการวิจยั สามารถนาไปใช้ไดท้ ั้งด้านทฤษฎแี ละปฏบิ ตั ิ พอสรปุ ได้ ดังนี้
1. การวิจัยช่วยให้เกิดความรู้ใหม่ๆ เป็นการเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ สาหรับสิ่งที่ทราบ
แลว้ การวิจัยจะช่วยให้ไดค้ วามรู้ลึกซง้ึ ขนึ้
2. ทาให้ผู้วิจัยทราบถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ท่ีจะนามาเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนา
สง่ิ ตา่ ง ๆ ใหด้ ีขึน้
3. ช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ยุติธรรม ประหยัดเวลาและทรัพย์สิน เช่น ใน
การศึกษาวิจัยเพื่อให้ทราบว่ามีอะไรบ้างเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหานั้น ๆ เพื่อจะได้หาทางแก้ปัญหาได้
อยา่ งถูกตอ้ ง
4. ช่วยในการกาหนดนโยบายและการวางแผนเปน็ ไปอยา่ งถูกต้อง รวดเร็ว และประหยัดโดย
อาศยั ข้อมูลและผลการวจิ ยั ตลอดจนข้อเสนอแนะจากการวจิ ัยมาเป็นส่วนประกอบในการตดั สนิ ใจ
5. เป็นแนวทางในการศึกษาปัญหาในงานท่ีปฏิบัติอยู่ ตลอดจนแนวทางในการแก้ปัญหาท่ี
เกดิ ข้นึ
6. เปน็ ส่วนประกอบในการพจิ ารณาสั่งการ และการดาเนินงานท่ไี ด้ผลตามสภาพท่ีเหมาะสม
7. เป็นการติดตามผลการปฏิบัติงานและศึกษาข้อบกพร่องในการทางาน ตลอดจนแนวทาง
ในการแกไ้ ข ปรับปรงุ เพ่อื พฒั นางานใหด้ ขี นึ้
8. ช่วยในการฝึกใช้เคร่อื งมอื และทาการวิจยั ใหก้ วา้ งขวางและเพิ่มมากข้ึน
จรรยาบรรณนักวจิ ัย
คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้จัดประชุมเม่ือวันที่ 8 เมษายน 2541 ได้
กาหนดจรรยาบรรณนักวิจัยข้ึน เพ่ือใช้เป็นแนวหลักเกณฑ์ควรประพฤติของนักวิจัยทั่วไปไม่ว่า
สาขาวิชาการใด ๆ โดยให้มีลักษณะเป็นข้อพึงสังวรณ์คุณธรรมและจริยธรรมในการทางานวิจัย
ของนักวจิ ัยไทย ดังน้ี
“นักวิจัย” หมายถึง ผู้ที่ดาเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นท่ี
สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับในแต่ละศาสตร์ท่ีเกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีดังกล่าวจึงครอบคลุม

~4~

ท้ังแนวคดิ มโนทัศน์ และวธิ กี ารทใ่ี ช้ในการรวบรวมและวิเคราะหข์ ้อมลู
“จรรยาบรรณ” หมายถึง หลกั ความประพฤติอันเหมาะสมแสดง ถึงคุณธรรมและจริยธรรมใน

การประกอบอาชพี ทกี่ ล่มุ บุคคลแต่ละสาขาวชิ าชีพประมวลขนึ้ ไว้เป็นหลักเพ่ือให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพ
น้นั ๆ ยึดถือปฏิบัตเิ พอื่ รักษาช่อื เสยี งแและสง่ เสริมเกยี รตคิ ณุ ของสาขาวชิ าชพี ของตน

จรรยาบรรณในการวิจัย จัดเป็นองค์ประกอบท่ีสาคัญของระเบียบวิธีวิจัย เน่ืองด้วยใน
กระบวนการค้นคว้าวิจัย นักวิจัยจะต้องเข้าไปเก่ียวข้องใกล้ชิดกับสิ่งที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นส่ิงมีชีวิต
หรอื ไมม่ ีชวี ติ การวิจัยจึงอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อส่ิงท่ีศึกษาได้ หากผู้วิจัยขาดความรอบคอบ
ระมัดระวัง การวิจัยเป็นกิจกรรมที่มีความสาคัญอย่างย่ิงต่อการวางแผนและกาหนดนโยบายในการ
พัฒนาประเทศทุกด้าน โดยเฉพาะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ ผลงานวิจัยท่ีมี
คณุ ภาพขนึ้ อยกู่ บั ความร้คู วามสามารถของนักวจิ ยั ในเร่ืองท่ีจะศึกษาและขึ้นอยู่กับคุณธรรมจริยธรรม
ของนักวิจยั ในการทางานวจิ ัยดว้ ย ผลงานวจิ ัยท่ดี ้อยคุณภาพด้วยสาเหตใุ ดก็ตาม หากเผยแพร่ออกไป
อาจเปน็ ผลเสยี ตอ่ วงวชิ าการและประเทศชาติได้

ด้วยเหตนุ ้สี ภาวิจัยแห่งชาตจิ งึ กาหนด “จรรยาบรรณนักวจิ ัย” ไว้เป็นแนวทางสาหรบั นกั วจิ ยั
ยึดถือปฏิบัติ เพ่ือให้การดาเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพ้ืนฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม
ตลอดจนประกนั มาตรฐานของการศึกษาคน้ คว้าให้เป็นไปอย่างสมศกั ดิ์ศรีและเกียรตภิ มู ิของนักวิจยั ไว้
9 ประการ ดงั น้ี

1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ นักวิจัยต้องมีความ
ซ่ือสตั ย์ต่อตนเองไม่นาผลงานของผอู้ ืน่ มาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และ
อ้างถงึ บุคคลหรือแหลง่ ทม่ี าของขอ้ มลู ทนี่ ามาใชใ้ นงานวจิ ยั ตอ้ งซอ่ื ตรงตอ่ การแสวงหาทุนวจิ ยั และมี
ความเปน็ ธรรมเกย่ี วกับผลประโยชนท์ ีไ่ ดจ้ ากการวจิ ัย

2. นักวิจยั ต้องตระหนักถึงพนั ธกรณใี นการทางานวิจัย ตามขอ้ ตกลงทท่ี าไวก้ บั หน่วยงานที่
สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงการ
วิจัยที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝุายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทางานวิจัยให้ได้ผลดีท่ีสุดและเป็นไปตาม
กาหนดเวลา มีความรับผดิ ชอบไม่ละทิ้งงานระหว่างดาเนินการ

3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการท่ีทาวิจัย นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ใน
สาขาวชิ าการทีท่ าวจิ ัยอยา่ งเพยี งพอ และมคี วามรู้ ความชานาญ หรือมีประสบการณ์เกี่ยวเนื่องกับ
เร่ืองทีท่ าวิจยั เพ่ือนาไปส่งู านวิจัยที่มีคณุ ภาพ และเพื่อปูองกันปัญหาการวเิ คราะห์ การตคี วามหรือ
การสรปุ ทผ่ี ิดพลาด อันอาจกอ่ ใหเ้ กดิ ความเสยี หายตอ่ งานวจิ ัย

4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อส่ิงที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นส่ิงท่ีมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
นกั วจิ ัยตอ้ งดาเนนิ การด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และเท่ียงตรงในการทาวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับคน
สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีจิตสานึกและปณิธานที่จะอนุรักษ์
ศิลปวัฒนธรรม ทรพั ยากรและสิง่ แวดลอ้ ม

~5~

5. นักวิจัยต้องเคารพศักด์ิศรีและสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย นักวิจัยต้อง
ไมค่ านงึ ถงึ ผลประโยชน์ทางวชิ าการจนละเลย และขาดความเคารพในศกั ดศ์ิ รีของเพอื่ นมนุษย์ ตอ้ งถือ
เป็นภาระหน้าที่ที่อธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่หลอกลวงหรือ
บีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธสิ ว่ นบคุ คล

6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกข้ันตอนของการทาวิจัย
นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิดต้องตระหนักว่า อคติส่วนตน หรือความลาเอียงทางวิชาการ อาจ
ส่งผลใหม้ กี ารบดิ เบอื นขอ้ มูลและข้อค้นพบทางวชิ าการ อันเปน็ เหตใุ หเ้ กดิ ผลเสยี ต่องานวิจยั

7. นกั วิจัยพงึ นาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางท่ีชอบ นักวจิ ยั พงึ เผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อ
ประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบจนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัยไป
ในทางมิชอบ

8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อ่ืน นักวิจัยพึงมีใจกว้างพร้อมท่ีจะ
เปิดเผยข้อมูลและข้ันตอนการวิจัย ยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลทางวิชาการของผู้อ่ืน และ
พรอ้ มทจ่ี ะปรบั ปรงุ แก้ไขงานวจิ ยั ของตนให้ถูกต้อง

9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ นักวิจัยพึงมีจิตสานึกท่ีจะอุทิศ
กาลงั สติปญั ญาในการทาวิจยั เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของ
สังคมและมวลมนษุ ยชาติ
ขัน้ ตอนของการวิจัย

ขั้นตอนของการวิจัย (Research Process) หมายถึง วิธีการและลาดับขั้นตอนของการ
ปฏบิ ัติงานวิจัยว่าจะทาอะไรก่อน – หลัง อย่างไร การละเลยข้ันตอนใดของการวิจัยไปเสียอาจจะทา
ให้การวิจัยน้ันคลาดเคล่ือนไปได้ ดังนั้นก่อนทาการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องวางแผนการวิจัยให้เรียบร้อย
เสยี ก่อนอย่างละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ เพ่ือความสะดวกในการดาเนินการวิจัย และยังเป็นการศึกษา
ปัญหาอนั อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ก่อนการดาเนินการวิจัย ข้ันตอนของการวิจัย
ประกอบดว้ ย

1. กาหนดหัวข้อปญั หาทที่ าการวจิ ัย (Topic selection)
2. ศกึ ษาคน้ คว้าเอกสารอ่ืนท่เี ก่ยี วขอ้ ง (Literature survey)
3. กาหนดสมมตุ ฐิ านในการวิจยั (Research hypothesis) และข้อตกลงเบอื้ งตน้ (Research
assumption)
4. กาหนดแผนการวิจยั (Research planning)
5. สร้างเครือ่ งมือที่ใช้ในการวิจยั (Research tool)
6. เก็บรวบรวมขอ้ มลู (Data collection)
7. จัดกระทาข้อมูล (Data processing)

~6~

8. วเิ คราะห์ข้อมลู (Data analysis)
9. สรุปผลการวิจัย (Data conclusion)
10. รายงานผลการวจิ ยั (Research report)
การดาเนนิ การวจิ ัยในแต่ละข้ันตอนมรี ายละเอยี ดท่ีจะต้องพิจารณา ดังน้ี
1. กาหนดหัวข้อปัญหาที่ทาการวิจัย (Topic Selection) การเลือกหัวข้อของการวิจัย
หรอื ปัญหาทที่ าการวจิ ยั ขน้ึ อยู่กบั ความรู้และความสนใจของผู้วิจยั หรอื ผู้ทีส่ นับสนนุ การวิจยั ในแตล่ ะ
โครงการ ในขนั้ ตอนท่ีประกอบด้วย

- การกาหนดหวั ข้อปัญหาทใ่ี ช้ในการวจิ ยั
- กาหนดความมงุ่ หมายของการวจิ ัย
- กาหนดขอบเขตของการวิจัย
- ประโยชนท์ ี่คาดวา่ จะได้รับจากผลการวิจยั
1.1 การกาหนดหวั ขอ้ ปญั หาทใี่ ช้ในการวิจยั ผู้วจิ ยั จะต้องกาหนดประเด็นของปญั หา
ทจี่ ะวจิ ัยให้แน่นอนวา่ ได้แกป่ ญั หาอะไรบา้ ง มีขอบข่ายของปัญหากว้างขวางเพียงใด หัวข้อปัญหาท่ีดี
ไม่ควรกว้างขวางเกินไปควรให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมเพ่ือให้ผลการวิจัยลึกซ้ึง ชัดเจน และเช่ือถือ
ได้ นักวิจัยจะต้องมีความรู้ทางทฤษฎีหรือแนวคิดในการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาบ้าง เพราะจะช่วยให้
สามารถมองเห็นปญั หา และสามารถกาหนดปญั หาในการวจิ ัยได้
หัวข้อเรอื่ งทม่ี ักนามาทาการวจิ ัย มี 2 ลกั ษณะ
(1) หัวข้อปัญหาที่นาผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ เช่น การวิจัยเพื่อการ
กาหนดนโยบายหาแนวทางในการดาเนินงานปรับปรุงการดาเนินงานในโครงการต่าง ๆ ตลอดจน
การศึกษาปัญหาและวธิ แี กป้ ญั หาในงานทท่ี าอยู่ ตลอดจนการสารวจข้อเทจ็ จรงิ ต่าง ๆ ทีเ่ กี่ยวขอ้ งกบั
งานทีป่ ฏบิ ัติ เช่น ในการสารวจปญั หาทท่ี าให้นักเรียนขาดเรยี น
(2) หัวขอ้ ปญั หาที่นาผลมาใช้เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการหรือทางทฤษฎีหัวข้อที่
นามาวิจัยอาจยังไม่เคยมีผู้ใดศึกษามาก่อนก็ได้แต่ผู้ทาวิจัยประเภทนี้หรืองานวิจัยที่ผู้อ่ืนได้ทาไว้แล้ว
ซึ่งมลี ักษณะเป็นการศึกษาเพิ่มเตมิ จากผู้อ่นื อาจเป็นการวิจัยเลียนแบบการวิจัยของผู้อ่ืนก็ได้ แต่ต้อง
เป็นข้อมลู ตา่ งกลุม่ ตา่ งกาลเวลา และตา่ งสถานท่ีกนั หรืออาจเปน็ การวจิ ัยท่ีสนบั สนุนการวิจยั ทมี่ ีผูท้ า
ไว้แล้ว เป็นตน้
1.2 กาหนดความมุ่งหมายของการวจิ ัย ให้ชดั เจนว่า ผ้วู จิ ัยตอ้ งการทราบอะไรบ้าง
หรือตอ้ งการพสิ ูจน์ความจรงิ เรื่องอะไรบา้ ง

1.3 การกาหนดขอบเขตของการวจิ ยั ว่าต้องการทราบ หรอื ตอ้ งการศึกษาเร่ือง
น้นั ๆ กวา้ งขวางแค่ไหน เพ่อื เปน็ แนวทางในการพิจารณาวิธีดาเนินการวิจัย และการกาหนดกลุ่ม
ตัวอย่างที่จะนามาใช้ในการวจิ ัย

~7~

2. ศึกษาค้นคว้าเอกสารอ่ืนท่ีเก่ียวข้อง (Literature survey) เป็นการศึกษาเอกสารและ
ผลงานวจิ ยั ทีเ่ ก่ียวข้องกอ่ นวางแผนการวิจัย เพื่อ

(1) ปอู งกนั การทาการวิจัยซา้ ซ้อนกับงานของผอู้ ่นื
(2) ทาให้ทราบว่ามีผู้ใดทาการวิจัยในเร่ืองท่ีเก่ียวข้องกับเร่ืองท่ีตนกาลังสนใจหรือ
เกย่ี วข้องกับปญั หาทต่ี อ้ งการทาวิจัยบ้าง การวจิ ัยท่มี ผี ูท้ าไปแล้วจะเป็นแนวทางในการดาเนนิ การวิจัย
ในปัญหาตอ่ ไป
(3) ทาใหไ้ ดข้ ้อเท็จจรงิ หรอื ข้อมูลใหม่ ๆ อันเก่ียวข้องกับปัญหาท่ีต้องการวิจัยและเป็น
รากฐานในการวิจัยของตน
(4) การศกึ ษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกบั ปญั หาท่ีทาการวจิ ยั จะช่วยให้ผทู้ าการวจิ ยั มีความรู้
ในเรื่องน้ัน ๆ กว้างขวางมากข้ึน ช่วยให้การวิจัยเป็นไปอย่างรอบคอบ ตรงเปูาหมาย และมี
ประสิทธภิ าพสูง
(5) เน้ือหาและข้อเท็จจริงท่ีได้จากเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้ อง ยังเป็น
เคร่ืองช่วยในการกาหนด สมมุติฐานของการวิจัย และข้อตกลงเบ้ืองต้น ตลอดจนแนวทางในการ
อภปิ รายผลท่ไี ดจ้ ากการวิจยั
การศึกษาเอกสารและผลงานการวิจัยน้ีรวมถึงข้อมูลเบื้องต้นที่มีผู้รวบรวมเรียบเรียงมาแล้ว
ทฤษฎี บทความ และแนวความคิดเหน็ ตา่ ง ๆ ทเี่ กยี่ วขอ้ งกับปญั หาทท่ี าการวิจยั ซึ่งผูว้ ิจัยอาจศึกษา
ได้จากหอ้ งสมดุ และศนู ยเ์ อกสารต่าง ๆ สาหรับผลงานการวิจัยท่ีเกี่ยวข้องนั้น อาจหาศึกษาได้
จากคู่มือการวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ ตลอดจนผลการรวบรวมผลสรุป ย่องานวิจัย ในส่วนที่
เก่ยี วข้องกับปัญหาทจี่ ะทาการวจิ ยั นนั้ ๆ ดว้ ย ในการศึกษาผลการวิจยั ท่ีเกีย่ วขอ้ ง ควรทาการศึกษา
ในสิ่งต่อไปนี้
(1) ความสมั พันธร์ ะหวา่ งปัญหาในรายงานการวจิ ยั กับปญั หาท่ตี ้องการวิจยั วา่ มี
ความสมั พนั ธ์ในด้านใดบ้าง
(2) การวางแผนในการวิจัย โดยพิจารณาถึงระเบียบวิธีในการวจิ ัย ตลอดจนเคร่ืองมือ
ทีใ่ ช้ในการรวบรวมข้อมลู
(3) มวลประชากร และกลมุ่ ตัวอย่างท่ีใช้ในการวจิ ยั
(4) ตัวแปรต่าง ๆ ที่เกยี่ วข้องกบั การวจิ ยั
(5) ขอ้ บกพร่องตา่ ง ๆ ที่เกดิ ขึน้ ในการดาเนินการวิจยั
(6) ข้อเสนอแนะในการวิจัยคร้งั ตอ่ ไป

~8~

3. กาหนดสมมุติฐานในการวิจัย (Research hypothesis) และข้อตกลงเบ้ืองต้น
(Research assumption)

สมมตุ ิฐาน คือ “ข้อความท่แี สดงความสัมพนั ธร์ ะหว่างตัวแปรในการวจิ ัย ตงั้ แต่ 2 ตัว ขึน้ ไป
เพ่ืออธิบายข้อเท็จจริง เงื่อนไข หรือพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัย” สมมุติฐานที่
กาหนดนั้นอาจผิดหรือถูกก็ได้ แต่จาเป็นต้องมีการวิจัยเพื่อสนับสนุนหรือปฏิเสธข้อสมมุติฐานน้ัน ๆ
ในการทาการวิจัย นักวิจัยควรได้กาหนดสมมุติฐานก่อนการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการวิจัย
การตั้งสมมุตฐิ านนมี้ ักจะได้มาจากทฤษฎีที่เก่ียวข้อง ผลการวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ความรู้ ความสนใจ และ
ประสบการณข์ องผ้ตู งั้ สมมตุ ิฐาน

สมมุติฐานทางการวิจัย มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัว ขึ้นไป ตาม
ความคาดคะเนของผู้วิจัย เช่น “การสอนโดยใช้แบบเรียนสาเร็จรูปช่วยให้สัมฤทธิผลการเรียนของ
นักเรยี นสงู กว่าการสอนแบบบรรยาย”

การตั้งสมมุติฐานให้ประโยชน์ในการวิจยั ดงั นี้
(1) การตั้งสมมุติฐานเป็นการบอกทิศทางของการวิจัย เป็นแนวทางในการรวบรวม

ข้อมูล
การเลือกกลมุ่ ตวั อย่างและกาหนดเคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการวจิ ยั ตลอดจนการวิเคราะหข์ อ้ มลู

(2) เป็นการกาหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในการวิจัยอย่างมีเหตุผล เพราะ
ตง้ั ขน้ึ
จากแนวคิด ทฤษฎี และมเี หตผุ ลสนบั สนุน ชว่ ยใหก้ ารสรุปผลการวจิ ยั เชื่อถือได้มากข้ึน
การกาหนดสมมุติฐานของการวจิ ยั ผวู้ จิ ัยควรพิจารณาสิง่ ตอ่ ไปน้ี

(1) ก่อนการเขียนสมมุติฐานการวิจัย ควรได้ทาการศึกษาเอกสารและผลการวิจัยท่ี
เกี่ยวข้องเสียก่อน เพราะช่วยให้ผู้วิจัยเห็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางข้ึน และเข้าใจ
ลักษณะความสัมพนั ธ์ของตัวแปรไดม้ ากขึ้น

(2) การเขียนสมมุติฐานควรอยู่ในรูปประโยคบอกเล่า สมมุติฐานน้ัน ๆ ควรได้มา
จากการศกึ ษา ทฤษฎีและผลการวิจัยทีเ่ กีย่ วข้อง

(3) สมมุติฐานในการวจิ ัยมกั จะกาหนดในรปู ความสัมพันธร์ ะหวา่ งของ 2 สง่ิ หรอื ตัว
แปร (Variable) ไมต่ า่ กวา่ 2 ตัว ตัวแปรท่ีกาหนดในสมมุติฐานจะต้องเป็นตัวแปรที่สามารถวัดได้
และสามารถกาหนดได้วา่ ตัวแปรทง้ั สองมคี วามสมั พันธก์ ันอย่างไร เช่น การเปรียบเทียบระหว่าง เพศ
อายุ ประสบการณ์ และพ้ืนฐานความรู้ เป็นต้น

(4) การเขียนสมมตุ ฐิ านในการวจิ ยั ควรใหอ้ ยู่ในรูปของความแตกต่างมากกว่าอยใู่ นรูป
ของความไมแ่ ตกตา่ ง เชน่

ควรเปน็ “ ครูเพศหญิงสอนดีกวา่ ครเู พศชาย ”
มากกวา่ “ ครูเพศหญิงและชายสอนไม่แตกต่างกัน ”

~9~

ท้ังน้ีเพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย เพราะการสรุปผลการ
วเิ คราะห์ จะพิจารณาความแตกตา่ งอย่างมีนยั สาคญั เปน็ สงิ่ สาคัญในการพิจารณา สรปุ ผลการวิจยั

(5) ข้อความทุกตอนในสมมุติฐานต้องชัดเจนไม่กากวม ถ้าข้อความใดไม่ชัดเจน
จะตอ้ งมีคาอธิบายไว้ในคาอธบิ ายศัพท์เฉพาะ

ขอ้ ตกลงเบื้องต้นในการวิจัย คือ ข้อความพื้นฐานบางอย่างท่ีผู้วิจัยต้องการทาความตกลง
กบั ผ้อู า่ น
ผลการวิจัยเสียก่อน เพ่ือความเข้าใจตรงกันในการอ่านผลการวิจัย ข้อตกลงเบ้ืองต้นในการวิจัยจะ
ประกอบดว้ ย

คานิยามเฉพาะ (Definition) เป็นการใหข้ อบเขตความหมายของคาศัพท์ที่ใช้ในการ
วิจยั

ข้อตกลงเบื้องต้น (Basic assumption) เป็นข้อความหรือข้อเท็จจริงพ้ืนฐานที่
ยอมรับว่าเป็นความจริง โดยอาศัยทฤษฎีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตลอดจนข้อตกลงเบื้องต้นที่เก่ียวกับ
ความเทยี่ งตรง และความเช่อื ม่นั ของเคร่อื งมือทใี่ ชใ้ นการเกบ็ รวบรวมข้อมูลด้วย

4. กาหนดแผนการวิจัย (Research planning) หมายถึง การกาหนดวิธีดาเนินการวิจัย
ล่วงหน้า การวางแผนการวิจัยที่ดีจะช่วยให้การดาเนินการวิจัยเป็นไปได้ตรงเปูาหมายและมีอุปสรรค
ในการดาเนินงานน้อยท่ีสุด การวางแผนการวิจัยมีลักษณะเป็นการกาหนดโครงร่างของการวิจัย ว่า
จะต้องทาอะไรบ้างเริ่มตั้งแต่กาหนด ตัวแปร มวลประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีรวบรวมข้อมูล
เครื่องมอื ทใี่ ชใ้ นการเก็บรวบรวมข้อมูล สถติ ิที่ใชใ้ นการวิเคราะห์ ตลอดจนรูปแบบของการวิจยั

4.1 การกาหนดตัวแปร (Variable) ตัวแปร คือ ลักษณะใดลักษณะหนึ่งซึ่งอาจ
เปล่ียนแปลงได้ เช่น เพศ อายุ ความถนัด คะแนนสอบ เป็นต้น ตัวแปรที่กาหนดไว้ในการ
วจิ ยั แบง่ เปน็ ชนดิ ตา่ ง ๆ ได้ดงั น้ี

(1) ตวั แปรท่ีผวู้ จิ ยั ต้องการศกึ ษา ประกอบดว้ ย
ตวั แปรอิสระหรือตัวแปรตน้ (Independent variable) หมายถงึ ตัวแปรที่

เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรตาม (Dependent variable) ตัวแปรอิสระมักจะเป็น
ตัวแปรที่เปน็ ต้นเหตุ (Cause) และตวั แปรตามเป็นตัวแปรท่ีเปน็ ผล (Effect)

ตัวแปรตาม (Dependent variable) เป็นตัวแปรท่ีเกิดข้ึนซึ่งเป็นผลจาก
การเปลี่ยนแปลงของตวั แปรต้น เปน็ ตวั แปรทีผ่ ูว้ ิจยั ตอ้ งการวดั อนั เกดิ จากตัวแปรตน้

(2) ตวั แปรทีผ่ วู้ ิจัยไมต่ ้องการศึกษา ประกอบดว้ ย
ตัวแปรควบคุม (Control variable) เป็นตัวแปรที่มิได้นามาศึกษา

ความสัมพันธ์ และได้รับการควบคมุ ใหม้ ลี ักษณะคงทีห่ รือใกลเ้ คียงกนั
ตัวแปรสอดแทรก (Intervening variable) เป็นตัวแปรท่ีมิได้นามาศึกษา

ความสัมพันธ์และไมส่ ามารถควบคมุ ใหม้ ลี กั ษณะคงท่ีหรอื ใกลเ้ คียงกัน

~ 10 ~

ปัญหาการวิจัย : การสอนแบบบรรยายกบั การใช้แบบเรียนสาเรจ็ รปู ให้ผลแตกต่างกันหรือไม่
สมมุติฐานการวิจัย : การสอนโดยใช้แบบเรียนสาเร็จรูปให้ผลดีกวา่ การสอนแบบบรรยาย
ตัวแปรอิสระ : การสอนแบบบรรยาย และการสอนโดยใชแ้ บบเรียนสาเรจ็ รูป
ตัวแปรตาม : ผลการเรยี นของนักเรยี น
ตัวแปรควบคมุ : ระดบั เชาวป์ ัญญาของนกั เรยี นแบ่งเป็น กล่มุ เกง่ กลมุ่ อ่อน
ตัวแปรสอดแทรก : อากาศ เสียง ความเหน่ือยลา้ ปญั หาครอบครัวของนกั เรียน เป็นตน้

4.2 กลมุ่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวจิ ัย ผู้ทาการวิจยั อาจเกบ็ ขอ้ มูลได้ 2 ลักษณะ คือ
4.2.1 จากกลุม่ ประชากร (Population) ถ้ามวลประชากรมีจานวนน้อย
4.2.2 จากกลมุ่ ตวั อย่าง (Sample) ในกรณที ก่ี ลมุ่ ประชากรมจี านวนมากและ

ไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ท้ังหมด นักวิจัยจะเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนท่ีมีคุณสมบัติ
เหมือนกบั ประชากร ซ่ึงเรยี กวา่ กลุ่มตวั อย่าง (Sample) การเลือกกลมุ่ ตวั อย่างจะพจิ ารณาจาก

(1) วิธีเลอื กกลุ่มตัวอย่างต้องถูกต้อง
(2) กลมุ่ ตวั อยา่ งทีน่ ามาใชต้ อ้ งเป็นตัวแทนของกลมุ่ ประชากร
(3) กลมุ่ ตัวอย่างจะตอ้ งมปี รมิ าณมากพอที่จะอา้ งสรปุ ถงึ กลมุ่ ประชากรได้
วิธกี ารสมุ่ ตัวอยา่ งกระทาได้หลายวิธี ท้ังน้ีขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการวิจัย
และลักษณะของประชากรวา่ ควรเลอื กสมุ่ แบบใด การสุ่มตวั อย่างอาจทาได้หลายวธิ ี เชน่
(1) การสุ่มแบบธรรมดา หรือการสุ่มอย่างง่าย (Simple random
sampling) เป็นการสุ่มโดยทส่ี มาชิกทุกสมาชิกมีโอกาสถกู เลือกเท่า ๆ กัน และการสุ่มเป็นไปอย่าง
อิสระ อาจทาการสุ่มได้โดยการจับฉลากหรือใช้ตารางเลขสุ่ม (Table of random number) เข้า
ชว่ ยในการส่มุ ก็ได้
(2) การสุ่มแบบมีระบบ (Systematic sampling) โดยนากลุ่มประชากรมา
เรียงลาดับ แล้วเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ห่างกันเป็นระยะ ๆ เช่น ทุกๆ คนท่ี 5 หรือทุก ๆ คนท่ี 10
เปน็ ตน้
(3) การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) เป็นการสุ่มโดยแบ่งมวล
ประชากรออกเป็นชัน้ ๆ หรือเปน็ กลุ่ม ๆ ก่อน เม่อื แบ่งแล้วจึงทาการสมุ่ ภายในชน้ั อีกครัง้ หนง่ึ
(4) การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Clustered sampling หรือ Area sampling )
เป็นการสมุ่ โดยแบง่ สุ่มเปน็ กล่มุ ๆ ตามลกั ษณะของพื้นทตี่ ามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น สมุ่ โดย
แบง่ ตามภาคการศึกษา หรอื ภาคตา่ ง ๆ ทางภมู ศิ าสตร์ของประเทศ เป็นตน้

~ 11 ~

การเลือกกลุ่มตัวอย่างจะต้องกาหนดมวลประชากรเสียก่อน แล้วจึงจะเลือกสุ่ม
ตัวอย่างให้ไดก้ ลมุ่ ตัวอย่างทสี่ ามารถอา้ งองิ ถึงกลุม่ ประชากรได้
4.3 การกาหนดเคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นส่ิงสาคัญ
มากสาหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังน้ันการเลือกเครื่องมือท่ีใช้ในการวิจัยจาเป็นต้องคานึงถึง
ประสทิ ธภิ าพของเครือ่ งมือเปน็ อยา่ งยิง่ นักวิจยั จะต้องเลือกใชเ้ คร่อื งมอื ที่สามารถเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู
ได้ตรงตามความต้องการ การเลือกใช้เคร่ืองมือแบบใดน้ันข้ึนอยู่กับรูปแบบของการวิจัย
ลกั ษณะของกลุม่ ตัวอยา่ ง ลักษณะของขอ้ มูลทีต่ อ้ งการ ตลอดจนสมมตุ ฐิ านของการวจิ ัย เชน่
ถา้ ตอ้ งการวดั พฤติกรรมดา้ นความรู้ ความคดิ ก็เลือกใช้ แบบทดสอบ
ถ้าต้องการวัดความรู้สึก ความคิดเห็น ทัศนคติ ก็เลือกแบบสอบถาม หรือการ
สัมภาษณ์
ถา้ ตอ้ งการศึกษาพฤติกรรม ก็ใชก้ ารสงั เกต เป็นตน้
(ลกั ษณะของเครอ่ื งมอื จะกล่าวโดยละเอยี ดในบทต่อไป)
ในการทาวจิ ัยแตล่ ะครง้ั อาจใชเ้ ครอ่ื งมอื ชนดิ เดยี วหรือมากกวา่ นั้นก็ได้ ท้ังนี้ขนึ้ อยู่กบั
วตั ถปุ ระสงคข์ องการวิจยั และลกั ษณะของข้อมูล
การกาหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องกาหนดให้แน่ชัดว่าจะใช้
เครื่องมืออะไรบ้าง ใช้อะไรก่อน - หลัง และจะใช้เคร่ืองมืออะไร ตอนไหน อย่างไร เพ่ือให้ได้
ขอ้ มูลท่ีเป็นความจริง เช่น ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง และใช้
แบบทดสอบวัดสัมฤทธิผลหลงั การทดลอง เปน็ ต้น
4.4 กาหนดสถติ ิทใ่ี ชใ้ นการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องกาหนดวิธีวิเคราะห์
โดยใชค้ ่าทางสถิตเิ พ่ือทดสอบสมมุติฐาน การกาหนดวิธีการทางสถิติท่ีเหมาะสมท่ีจะนามาวิเคราะห์
ขึ้นอยู่กบั ลักษณะของขอ้ มลู และวัตถปุ ระสงค์ในการวิเคราะห์ เชน่
การวดั แนวโนม้ เขา้ สู่สว่ นกลาง ใช้คา่ มชั ฌิมเลขคณติ มัธยฐาน และฐานนิยม
การวัดการกระจาย ใช้ค่า สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน
หาปรมิ าณของข้อมลู ใช้คา่ ร้อยละ
เปรยี บเทียบความแตกตา่ งระหว่างกลมุ่ ใชค้ ่า t – test , F – test
ในขนั้ นี้ผู้วิจยั จะกาหนดแนน่ อนลงไปวา่ ข้อมูลท่เี ก็บรวบรวมมาได้จากเคร่อื งมือตอน
ใด จะทาการวเิ คราะห์จากค่าสถติ ิตวั ใด จึงจะสามารถทดสอบสมมุติฐานของการวจิ ยั ทีก่ าหนดไว้ได้
5. สร้างเคร่ืองมือท่ีใช้ในการวิจัย (Research tool) ผู้วิจัยได้กาหนดเครื่องมือที่จะใช้ใน
การวิจัยไว้แล้วในข้ันการวางแผนในการวิจัย ดังน้ันในข้ันน้ีจึงเป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อนาไปใช้ใน
การวจิ ัยตามท่กี าหนดไว้ เคร่ืองมอื ทใ่ี ช้ในการวจิ ัยครั้งน้ีอาจเป็นเคร่ืองมือที่ผู้วิจัยสร้างข้ึนเองหรืออาจ
ดดั แปลงปรบั ปรุงจากเครื่องมืออ่ืน ๆ ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยก็ได้ การนาเครื่องมือ
ชนดิ ใดก็ตามมาใชใ้ นการวจิ ัย ไมว่ า่ ผู้วจิ ยั จะสร้างข้นึ เองหรอื นาเครอื่ งมืออืน่ ๆ มาปรบั ปรุงใช้กต็ าม

~ 12 ~

ก่อนนามาใช้ ผูว้ ิจัยจะตอ้ งตรวจสอบเสียกอ่ นวา่ เปน็ เครื่องมือทมี่ คี ณุ ภาพในการวัด เพ่ือใหแ้ นใ่ จว่าจะ
เก็บรวบรวมข้อมลู ไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ

คุณภาพของเคร่ืองมือจะต้องประกอบด้วย ความเที่ยงตรง (Validity) และความ
เชือ่ มน่ั (Reliability) ของเคร่อื งมือเป็นสาคัญ ดังน้ันในรายงานการวิจัยจึงจาเป็นต้องบอกวิธีสร้าง
เคร่ืองมอื ที่ใชใ้ นการเกบ็ รวบรวมข้อมลู ตลอดจนคา่ ความเทยี่ งตรง และความเชอื่ ม่นั ไดข้ องเคร่อื งมอื
เพอื่ ยืนยนั วา่ ข้อมูลที่เก็บมาได้นั้นมคี วามคลาดเคลอื่ นอันเกิดจากเครือ่ งมือน้อยท่สี ุด

6. เก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) เป็นข้ันตอนที่ผู้วิจัยออกไปเก็บรวบรวม
ข้อมูลตามวิธีการท่ีกาหนดไว้ในแผนการวิจัย การวิจัยจะได้ข้อมูลท่ีดีและเช่ือถือได้เพียงใดขึ้นอยู่กับ
การรวบรวมข้อมูลที่ถกู ต้องและมีประสิทธิภาพ การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลอาจทาได้หลายวิธี ดงั น้ี

6.1 รวบรวมจากเอกสาร (Documentary data) เป็นการเก็บรวบรวมจาก
เอกสารตา่ ง ๆ ไดแ้ ก่

6.1.1 หนงั สอื ทวั่ ไป เช่น ตารา เอกสารทีเ่ ก่ยี วข้อง
6.1.2 หนังสืออา้ งองิ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม หนังสือรายปี ชีวประวัติ
บรรณานกุ รรม เป็นต้น
6.1.3 วทิ ยานพิ นธ์ รายงานผลวจิ ยั ตา่ ง ๆ
6.1.4 วารสาร จลุ สาร และหนงั สือพมิ พต์ า่ ง ๆ
6.1.5 เอกสาร สิง่ พิมพข์ องราชการ
การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารนี้ ส่ิงที่ผู้วิจัยจะต้องบันทึกไว้ก็คือบรรณานุกรมข้อมูลที่
ต้องการ และความคิดเห็นที่ได้ ท้ังนี้เพ่ือประโยชน์ในการอ้างอิง และค้นคว้าเพิ่มเติม การเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากเอกสารนนั้ ผวู้ จิ ัยจะต้องแนใ่ จวา่ เอกสารนนั้ ๆ มีคุณค่าเชื่อถือได้ ซง่ึ อาจพิจารณา
ไดจ้ ากแหล่งกาเนดิ ของข้อมูลน้นั ๆ เป็นข้อมลู ปฐมภมู ิ หรือข้อมูลทุติยภูมิ ผู้แต่งหรือผู้เขียน เวลาท่ี
เขยี น เป็นเอกสารตัวจรงิ หรือคดั ออกมาจากทอี่ น่ื เปน็ ตน้
6.2 การรวบรวมข้อมูลสนาม (Field data) เป็นข้อมูลท่ีผู้ทาการวิจัยออกไปเก็บ
รวบรวมข้อมลู ด้วยตนเอง เปน็ การวจิ ัยในลักษณะการสารวจหรือเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
การรวบรวมขอ้ มูลสนาม ได้แก่

6.2.1 การสังเกต เช่น การสังเกตพฤติกรรมการเรยี นการสอน เป็นต้น
6.2.2 การส่งแบบสอบถาม ทาไดท้ ้งั สง่ ทางไปรษณีย์ และนาไปสง่ ดว้ ยตนเอง
6.2.3 การสมั ภาษณ์
6.3 การรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง (Experiment)
6.4 การศกึ ษาเฉพาะกรณี (Case study) เป็นต้น

~ 13 ~

ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูลไม่ว่าจะใช้เทคนิคใดที่เหมาะสมก็ตาม อาจจะเกิดความผิดพลาดได้
ทัง้ นี้อาจเน่ืองมาจากเครือ่ งมอื หรือการเกบ็ รวบรวมข้อมลู ก็ตามดงั นน้ั เม่อื รวบรวมขอ้ มูลมาแลว้ จึงควร
ไดทาการตรวจสอบข้อมลู เสียกอ่ น กอ่ นท่ีจะนามาจัดกระทาข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลอาจทาโดย
ผู้วิจัยหรือผู้อื่นท่ีมีความรู้ในเร่ืองนั้น ๆ เป็นอย่างดีก็ได้ การตรวจสอบอาจจะทาท้ังหมด หรือสุ่ม
ขอ้ มูลมาตรวจสอบเพยี งบางส่วน เม่อื แน่ใจวา่ ข้อมลู ทไ่ี ดร้ ับถกู ต้องดีแล้ว จึงนาไปจัดกระทาข้อมูลใน
ขัน้ ตอ่ ไป ถา้ มีข้อบกพร่อง อาจต้องเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่

7. การจัดกระทาขอ้ มูล (Data processing) เปน็ การเตรยี มข้อมลู เพื่อนาไปวิเคราะหด์ ้วย
วิธีการทางสถิติ เพื่อให้ผู้วิจัยมีความเข้าใจถึงลักษณะของข้อมูลและวิธีการทางสถิติที่นามาใช้อย่าง
แจ่มแจ้ง สามารถนาไปวิเคราะห์ได้อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังเป็นการ
ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลอีกด้วย การจัดกระทาข้อมูลเป็นวิธีรวบรวมและนาเสนอ
ขอ้ เท็จจริงต่าง ๆ ตามลาดับขัน้ เพ่ือให้เห็นลกั ษณะของขอ้ มลู และเป็นการเตรยี มตัวเลขให้เป็นหมูเ่ ป็น
กลุ่มเพ่ือการวิเคราะห์ เช่น การสร้างตารางเพื่อกรอกข้อมูลท่ีต้องการให้ถูกต้องและเพียงพอสาหรับ
การวิเคราะห์ข้อมูล การนาเสนอ การเจาะบัตรข้อมูลเพ่ือเตรียมวิเคราะห์ด้วยเคร่ืองจักรต่อไป เป็น
ตน้

8. การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผล (Data analysis) เป็นกระบวนการต่อจากการจัด
กระทาขอ้ มลู การวิเคราะห์ข้อมลู จะเป็นการทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ว่าข้อมูลท่ีรวบรวมมาได้นั้น
สนับสนนุ หรอื ปฏเิ สธสมมุติฐาน โดยพิจารณาจากค่าทางสถิติตามกระบวนการวิเคราะห์ที่กาหนดไว้
ในแผนการวจิ ัย

การแปลผลข้อมูล เป็นขบวนการหลังจากการวิเคราะห์ข้อมูล หรือหลังจากการทดสอบ
สมมตุ ิฐานแล้ว การแปลผลจะต้องแปลเฉพาะในส่วนท่ีวิเคราะห์มาได้ จะแปลผลเกินเลยไปในส่วนที่
ไม่ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลไม่ได้ คงสรุปแต่เพียงข้อมูลท่ีวิเคราะห์ได้ตามสมมุติฐาน การแปลผลจะ
ถูกต้องแม่นยา ต้องอาศัยประสบการณ์และการได้อ่านผลการวิจัยของผู้อื่นในด้านท่ีตนทาการ
วิจัยอยู่ จะช่วยให้การแปลผลไดถ้ กู ตอ้ งยิง่ ขน้ึ

9. สรุปและอภิปรายผลการวิจัย (Data conclusion) เป็นการสรุปข้อความ ผลที่ได้รับ
จาก การวิจัยว่าผลท้ังหมดเป็นอย่างไร มีอะไรท่ียังหาข้อยุติไม่ได้ การอภิปรายผลการวิจัยจะต้อง
คานงึ ถึงจดุ ประสงค์และสมมุติฐานของการวจิ ัยเปน็ สาคัญ จะต้องอภปิ รายเพื่อให้ทราบว่างานวิจัยน้ัน
บรรลวุ ัตถุประสงคท์ ่ีกาหนดไว้เพยี งใด สมมุตฐิ านที่กาหนดไว้เปน็ จริงหรือไม่เพราะเหตุใด ผลการวิจัย
ท่ไี ด้สนับสนุนหรอื ขดั แย้งกับผลการวิจัยของผอู้ ืน่ อย่างไรบ้าง เป็นต้น การสรุปผลการวิจัยท่ีดีจะช่วย
ใหผ้ ูอ้ า่ นทราบเนอ้ื หาสาระท่สี าคญั ของการวิจัยน้ัน ๆ ไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ และถูกต้อง โดยใช้เวลาน้อย
สาหรบั งานวจิ ยั ประเภทสารวจ มักจะอภิปรายไปพร้อมกับการสรุปผล แต่ถ้าเป็นการวิจัยเชิงทดลอง
หรือกึง่ ทดลองมักจะแยกอภปิ รายผลการวิจยั ก่อน จึงจะสรปุ ผลการวจิ ยั

~ 14 ~

ในการอภิปรายผลการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องศึกษาทฤษฎี กฎเกณฑ์ หลักเหตุผลต่าง ๆ
ตลอดจนผลการวิจัยของผู้อ่ืน เพื่อเป็นแนวทางในการอภิปรายผลว่าผลจากการวิจัยนั้นขัดแย้งหรือ
สนบั สนนุ สมมุตฐิ านของการวิจยั เพยี งใด และนาหลักเหตุผลท่ีใช้ในการต้ังสมมุติฐานมาเป็นแนวทาง
ในการอภปิ รายผลได้

ข้อเสนอแนะในการวิจัย เป็นขัน้ ตอนในการท่ีจะชแ้ี นวทางในการนาผลวจิ ัยที่ได้ไปใช้ตลอดจน
ช้แี นวทางในการวิจัยต่อไป ในการเสนอแนะมกั จะกล่าวถงึ สง่ิ ต่อไปนี้

(1) จุดออ่ น จดุ บกพรอ่ ง และขอ้ จากดั ของการวจิ ัย
(2) แนวทางในการนาผลการวิจัยไปใช้
(3) แนวทางในการทาวจิ ัยต่อไป
10. เขียนรายงานผลการวจิ ยั (Research report) เปน็ กระบวนการข้นั สดุ ท้ายของการ
วิจัย เป็นการเสนอผลงานอยา่ งมีระบบ เพ่อื เผยแพรผ่ ลงานทไี่ ดร้ บั จากการวิจัยไปสู่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
และเป็นแนวทางในการวิจัยแกผ่ อู้ ่ืนต่อไป

~ 15 ~

บทที่ 2
ประเภทของการวิจยั

การจัดประเภทของการวิจัย สามารถจัดได้หลายรูปแบบ ท้ังนี้ข้ึนอยู่กับว่าจะยึดสิ่งใดเป็น
เกณฑใ์ นการจัดประเภท ซง่ึ พอสรปุ ประเภทของการวจิ ัยตามเกณฑท์ ใ่ี ชใ้ นการจัดไดด้ งั น้ี
การจัดประเภทของการวิจัยตามลักษณะของขอ้ มลู

ถ้าคานึงถึงลักษณะของข้อมลู ท่รี วบรวมมา สามารถแบ่งการวจิ ยั ไดเ้ ปน็ 2 ประเภทคือ
1. การวจิ ัยเชงิ ปรมิ าณ (Quantitative research)

เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาหาข้อเท็จจริงในสภาพการณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยข้อมูลที่เป็น
ตัวเลข เชิงปริมาณ เคร่ืองมือท่ีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลายประเภท เช่น แบบทดสอบ
แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ มาตรประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทาง
สถิติวิเคราะห์ การแปลผล การวิเคราะห์และนาเสนอผลการวจิ ยั ในลักษณะทีเ่ ป็นตัวเลข

2. การวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ หรอื คณุ ลักษณะ (Quanlitative research)
เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาข้อเท็จจริงในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ เพื่อหาความสัมพันธ์

ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดลอ้ มนน้ั ขอ้ มลู ของการวิจยั ประเภทน้ีได้แก่ ค่านิยม ความรู้สึกนึกคิด
อุดมการณ์ ประสบการณ์ ปัญหาในด้านต่าง ๆ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล มักใช้วิธีการสัมภาษณ์
อยา่ งไม่เปน็ ทางการ การสังเกตแบบมีสว่ นร่วม การวิเคราะหข์ อ้ มูล ใช้วิธีการตคี วาม สร้างข้อสรปุ โดย
อาศยั หลกั ของเหตุผลแบบอปุ นยั (Inductive)
การจดั ประเภทของการวจิ ยั ตามประโยชนข์ องการวจิ ยั

ถ้าคานึงถึงประโยชนท์ ีไ่ ด้รับจากการวิจยั สามารถแบ่งการวิจยั ไดเ้ ป็น 2 ประเภทคอื
1. การวิจัยพ้ืนฐาน หรือการวจิ ยั บรสิ ุทธิ์ (Basic or Pure research)

เปน็ การวจิ ยั ท่ีมีจุดมุ่งหมายเพ่ือค้นหาความรู้หรือเพ่ิมพูนความรู้ในสาขาวิชาการต่าง
ๆ ให้กว้างขวางและลึกซ้ึง เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยไม่คานึงว่าผลการวิจัยจะนาไปใช้
ประโยชน์ในทางใดได้หรอื ไม่ การวจิ ยั ประเภทน้ีก่อให้เกิด สูตร ทฤษฎี หลักการ และกฎเกณฑ์ใน
สาขาวชิ าการต่าง ๆ เช่น ในสาขาวิชาเคมี ฟิสิกส์ จิตวทิ ยา ฯลฯ

~ 16 ~

2. การวจิ ัยประยกุ ต์ (Applied research)
เป็นการวิจัยที่มุ่งจะนาผลการวิจัย หรือข้อค้นพบไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง เช่น

นาผลการวิจัยไปใชใ้ นการแกป้ ัญหา แกข้ อ้ บกพรอ่ ง ปรบั ปรงุ เปลย่ี นแปลงหรือกาหนดนโยบาย เช่น
การศึกษารูปแบบการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียน นักศึกษา เป็นการวิจัยท่ีมุ่งจะนา
ผลการวิจยั มาใชใ้ นการอบรมจรยิ ธรรม คุณธรรมใหก้ บั นักเรยี น นักศกึ ษา

ในบางคร้ังมุง่ ทจี่ ะนาผลการวิจัยไปใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในหน่วยงานใดหน่วยงาน
หน่ึง โดยเฉพาะการวิจัยทานองนี้เรียกว่าการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือการวิจัยเฉพาะ
กิจ (Action research) ผลการวิจัยท่ีได้ไม่สามารถนาไปใช้ในสภาพการณ์อ่ืนได้ เช่น ครูสอน
ภาษาองั กฤษชนั้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 1 พบว่านักเรยี นในหอ้ งทต่ี นเองสอนส่วนใหญ่ไมส่ ามารถจับใจความ
ในเรอื่ งท่อี า่ นจงึ ทาการวิจยั เพอื่ หาวิธีแก้ไขปัญหานี้ การวิจัยในลักษณะน้ีก็เป็นส่วนหน่ึงของการวิจัย
ประยุกต์

อย่างไรก็ตามการแบง่ ประเภทของการวิจัยออกเปน็ 2 ประเภทดังกลา่ วก็ไม่สามารถ
แบง่ แยกออกจากกนั ได้โดยเดด็ ขาด เพราะจากการวิจยั พ้นื ฐานทาใหไ้ ดม้ าซึง่ ความรู้หรือทฤษฎใี หม่ ๆ
และหลังจากนีก้ จ็ ะมกี ารนาทฤษฎไี ปทดสอบในทางปฏบิ ตั ติ อ่ ไป ซ่งึ ก็คือการวิจัยประยุกตน์ นั่ เอง
การจัดประเภทของการวจิ ัยตามระเบียบวธิ ีการวิจัย

ถ้าคานงึ ถึงระเบยี บวิธกี ารวจิ ยั สามารถแบ่งการวิจยั ได้เป็น 3 ประเภท คอื
1. การวจิ ัยเชิงประวัตศิ าสตร์ (Historical research)

เป็นการวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับเหตุการณ์ สถานการณ์ต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึนในอดีต ดังน้ัน
ข้อมูลท่ีใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่จึงเป็นเอกสาร ซากวัตถุ สมุดบันทึก จดหมายเหตุ หรือบางครั้งอาจ
สัมภาษณ์บคุ คลที่อยใู่ นเหตกุ ารณน์ นั้ หรือมีความรใู้ นเร่อื งนน้ั

2. การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชงิ พรรณา (Descriptive research)
เป็นการวิจัยถึงสภาพหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเพ่ือทราบถึง

คุณลักษณะหรือสถานภาพปัจจุบันของส่ิงต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร แนวโน้มของ
ปรากฏการณ์ คือ มุ่งท่ีจะศึกษาว่าปรากฏการณ์น้ันเป็นอย่างไร เช่น ศึกษาดูความสัมพันธ์ระหว่าง
พฤติกรรมผูน้ ากบั ความสาเร็จในการทางาน

3. การวิจยั เชิงทดลอง (Experimental research)
เป็นการวิจัยท่ีมีการจัดสถานการณ์ขึ้นโดยมีการควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ท่ีไม่ต้องการ

ศกึ ษาคงเหลือเฉพาะตัวแปรอสิ ระ เพื่อมุง่ ดูว่า ผลทตี่ ามมาเน่อื งจากตัวแปรอิสระจะเป็นอย่างไร เช่น
ศึกษาเปรียบเทียบผลการสอนคณิตศาสตร์ โดยใชก้ ารสอนแบบหน่วยการเรียนการสอน กับการสอน
ตามปกติวิธไี หนจะทาให้นกั เรียนมผี ลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนสงู กวา่ กัน

~ 17 ~

การจดั ประเภทของการวิจยั ตามสาขาวิชา
ถา้ คานงึ ถึงสาขาวชิ า สามารถแบ่งการวิจัยไดเ้ ป็น 2 ประเภท คอื
1. การวิจยั ทางวทิ ยาศาสตร์
เป็นการวิจัยท่ีเก่ียวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซ่ึงมักจะเป็นการวิจัยเชิงทดลอง

ได้แก่ การวิจัยในสาขาวิชาเคมี ชีวิทยา ฟิสิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ คณิตศาสตร์ สัตว์
ศาสตร์ วนศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เภสัช เป็นต้น

2. การวิจยั ทางสังคมศาสตร์
เป็นการวิจัยเก่ียวกับวัฒนธรรม สังคม สภาพแวดล้อม และพฤติกรรมของมนุษย์ซ่ึง

ครอบคลุมเน้ือหาหลายสาขา ได้แก่ การวิจัยทางการศึกษา ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา
ประชากรศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ บรรณารักษ์ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
เปน็ ต้น
การจดั ประเภทของการวิจัยตามโดยใช้ระดับการศึกษาคน้ คว้าเปน็ เกณฑ์

ถา้ คานึงถงึ ระดบั การศกึ ษาค้นควา้ สามารถแบง่ การวจิ ัยได้เปน็ 2 ประเภท คอื
1. การวิจยั เชิงสารวจ (Exploratory research)

เป็นการวิจัยทมี่ ุง่ ศกึ ษาลักษณะของตวั แปร และความสัมพันธ์ระหว่างตวั แปรต่าง ๆ
โดยสงั เกตธรรมชาติทั่วไปของตวั แปรเหลา่ นนั้

2. การวจิ ยั เพื่อทดสอบสมมุตฐิ าน (Hypothesis-testing research)
เป็นการวิจัยท่ีจะทดสอบว่าคาตอบจะเป็นไปตามท่ีคาดไว้หรือไม่ มักจะศึกษาเพ่ือ

สร้างกฎเกณฑห์ รือทฤษฎี
นอกจากนย้ี งั สามารถแบง่ ประเภทของการวิจัยตามเกณฑ์อ่นื ๆ ไดอ้ กี หลายประเภทการแบ่ง

ประเภทของการวจิ ยั ที่เป็นที่นิยมกันแพร่หลายคือ การแบ่งประเภทของการวิจัยตามระเบียบวิธีการ
วิจัยเป็น 3 ประเภทคือ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงบรรยาย และการวิจัยเชิงทดลอง ใน
ท่ีนี้จะกล่าวถึงรายละเอยี ดของการวจิ ยั ทั้ง 3 ประเภทนี้

~ 18 ~

การวิจัยเชิงประวัตศิ าสตร์ (Historical Research)
การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาค้นคว้าถึงเร่ืองราวสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี

เศรษฐกิจ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีต เพ่ือทราบถึงสภาพความเป็นจริง ลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
ของสิ่งท่ีผ่านมาแล้ว เช่น ศึกษารูปแบบการสื่อสารในสมัยรัชกาลท่ี 7 พัฒนาการของหลักสูตรใน
อดีตข้อมูลท่ีได้จะเป็นประโยชน์สาหรับผู้เก่ียวข้อง ในการพัฒนาหลักสูตร เพ่ือใช้ในการปรับปรุง
หลักสตู รให้มปี ระสทิ ธภิ าพย่ิงขึน้ และสามารถหลีกเล่ียงขอ้ ผดิ พลาดต่าง ๆ ทเ่ี กิดขน้ึ ในอดตี

ลกั ษณะของการวจิ ัยเชิงประวตั ศิ าสตร์
การวจิ ยั เชิงประวตั ิศาสตร์มีลักษณะ ดังน้ี
1. เปน็ การศกึ ษาหาขอ้ เทจ็ จรงิ เกย่ี วกับเหตุการณ์ หรอื ปรากฏการณต์ า่ ง ๆ ท่เี กิดขน้ึ ในอดตี
2. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จะอาศัยข้อมูล 2 ชนิด คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary sources)
เป็นข้อมูลท่ีได้จากผู้เห็นเหตุการณ์เป็นผู้บันทึกไว้ และข้อมูลทุติยภูมิ (secondary sources) เป็น
ขอ้ มลู ทผี่ ูบ้ นั ทึกเรือ่ งราว หรอื ผู้รวบรวมข้อมลู ไม่ได้เปน็ ผูเ้ หน็ เหตุการณ์นัน้ แตไ่ ด้รับการบอกเล่าจาก
ผู้ท่เี หน็ เหตกุ ารณ์นัน้ อกี ตอ่ หน่งึ
3. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลใน 2 ลักษณะ คือ การวิจารณ์
ภายนอก (external criticism) และการวิจารณ์ภายใน (internal criticism)
การวิพากษ์วิจารณข์ ้อมูล
เน่ืองจากว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยรวบรวมมาน้ัน เป็นข้อมูลท่ีผู้วิจัยไม่ได้ทาการสังเกตและรวบรวม
ขอ้ มูลน้ันมาดว้ ยตนเอง แต่เป็นข้อมูลท่ีได้จากเอกสาร หรือการบันทึกที่ผู้อ่ืนได้บันทึกไว้ ดังนั้นจึง
ต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูล เพ่ือตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นถูกต้องเช่ือถือได้ การวิพากษ์วิจารณ์
ข้อมลู จะทาใน 2 ลักษณะ คือ การวจิ ารณ์ภายนอกและการวิจารณ์ภายใน

(1) การวิจารณ์ภายนอก (External criticism) เป็นการตรวจสอบว่าเอกสารน้ัน
เป็นของแท้ ไม่ได้ปลอมแปลง หรอื ลอกเลยี นมา โดยตรวจสอบว่าใครเป็นผู้เขียนเอกสารนี้ ท่ีไหน
เมือ่ ไร ทั้งนี้พจิ ารณาได้จากลายมือ ลายเซน็ วิธีเขียน รูปแบบ การสะกด

(2) การวจิ ารณภ์ ายใน (Internal criticism) เป็นการตรวจสอบว่า ข้อมูลนั้นมีคุณค่า
มคี วามตรงหรอื ไม่ ถา้ เปน็ เอกสารจะพจิ ารณาตัวผ้เู ขยี นวา่ เปน็ ผู้มีความสามารถ มีความเช่ียวชาญใน
เรื่องนั้นหรอื ไม่ เขียนโดยมวี ัตถุประสงค์อะไร มอี คตหิ รอื ไม่

~ 19 ~

แหลง่ ทีม่ าของขอ้ มูลในการวจิ ยั ประวตั ศิ าสตร์
ข้อมูลที่ใช้สาหรับการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มีท่ีมาจาก 2 แหล่งด้วยกันคือ แหล่งปฐมภูมิ
(Primary sources) และแหล่งทุติยภูมิ (Seconday sources) ดังน้ันข้อมูลในการวิจัยเชิง
ประวตั ศิ าสตรจ์ งึ แบง่ ได้เปน็ 2 ประเภทคอื
1. ขอ้ มลู ปฐมภูมิ เปน็ ขอ้ มูลที่ได้มาจากแหล่งชน้ั ตน้ ซึง่ ถือว่าเป็นขอ้ มลู ด้ังเดมิ ท่มี ีอยู่จริงซ่ึงไม่
ผ่านกระบวนการใด ๆ ที่จะทาใหเ้ กิดการเปลยี่ นแปลงไปจากเดิม ข้อมลู ประเภทนไ้ี ด้แกข่ อ้ มูลต่อไปน้ี

1.1 สิ่งของและซากวัตถุโบราณ (Physical remains) เช่น โครงกระดูก อาวุธ
เครอ่ื งมอื เคร่ืองใช้ สิ่งก่อสร้าง รปู ภาพ เฟอรน์ เิ จอร์ เหรียญ เคร่อื งแต่งกาย fossil และส่งิ ของ
ตา่ ง ๆ ในสมัยนั้น

1.2 วัสดุ สิ่งพิมพ์ (Printed material) คือ เอกสาร ต้นฉบับและบันทึกต่าง ๆ ท่ี
ผู้เห็นเหตุการณ์หรือผู้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์โดยตรงบันทึกไว้ เช่น แผนท่ี แผนภูมิ กฎหมาย
เอกสารสาคญั จดหมาย บันทึกเหตุการณ์ บันทกึ ความทรงจา อัตชีวประวัติ เอกสารทางราชการ
พนิ ัยกรรม หนงั สอื พิมพ์ ฟิล์ม ภาพวาด แผนภาพ ศิลาจารกึ และรายงานการวิจัย ฯลฯ

1.3 ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลท่ีเห็น หรือร่วมอยู่ในเหตุการณ์น้ัน ๆ ทั้งน้ี
จะตอ้ งเปน็ บุคคลท่เี ชือ่ ถอื ได้และมีความทรงจาดี

2. ขอ้ มูลทตุ ิยภมู ิ เป็นขอ้ มูลท่ีได้จากแหล่งชน้ั สอง คอื ไดจ้ ากบคุ คลทไ่ี มไ่ ด้อยใู่ นเหตกุ ารณ์
โดยตรงแตไ่ ด้รับการบอกเล่ามาอกี ทหี น่ึง ไดแ้ ก่ขอ้ มูลตอ่ ไปนี้

2.1 ตารา สารานกุ รม แบบจาลอง ตานานต่าง ๆ เอกสารทางประวตั ศิ าสตร์ ฯลฯ
2.2 บรรณานกุ รม(bibliographies)ได้แก่เอกสารตา่ ง ๆ ทีใ่ ช้อ้างอิงอีกต่อหนึง่
ข้อมูลประเภทท่ี 2 น้ี เม่ือจะนามาใช้จะต้องตรวจสอบให้ดี เพราะอาจมีความ
คลาดเคลื่อนเนื่องจากมีการถ่ายทอดจากบุคคลหน่ึงไปยังอีกบุคคลหน่ึง ดังน้ันข้อมูลที่ได้จึงอาจปด
เป้ือนจากความจริงได้
การวจิ ยั เชงิ บรรยาย (Descriptive Research)
การวิจัยเชิงบรรยายเป็นการศึกษาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ใน
ปัจจบุ ันเพอ่ื ทราบถึงสภาพความสมั พนั ธ์ หรือแนวโน้มของเหตกุ ารณ์ตา่ ง ๆ
ลักษณะของการวจิ ยั เชิงบรรยาย
การวิจยั เชิงบรรยายมลี กั ษณะดังน้ี
1. เปน็ การศกึ ษาหาขอ้ เทจ็ จริงเก่ยี วกบั เหตุการณห์ รือปรากฏการณต์ า่ ง ๆทเี่ กิดขน้ึ ในปัจจบุ นั
2. เปน็ การศึกษาตามสภาพธรรมชาตทิ ี่เป็นอยูไ่ มม่ ีการจดั กระทาหรือควบคุมตัวแปรใด ๆ
3. การวิจัยเชิงบรรยายมักจะศึกษาคุณลักษณะต่าง ๆ ของกลุ่มตัวอย่าง และอ้างสรุปไปยัง

~ 20 ~

ประชากร แทนที่จะศกึ ษาจากประชากร
4. จะตอ้ งนิยามศัพท์ และตัวแปรต่าง ๆ ให้ชัดเจนเพราะเป็นการศึกษาท่ีเกี่ยวข้องกับความ

สนใจ ความเชอ่ื และพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคล
ประเภทของการวิจัยเชิงบรรยาย
การวิจัยเชิงบรรยายแบ่ง ได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ และในแต่ละประเภทยังแบ่งออกเป็น

ประเภทยอ่ ย ๆ ดังนี้
1. การศกึ ษาเชิงสารวจ (Survey studies)
การศึกษาเชิงสารวจ เปน็ การศึกษาหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ หรือปรากฏการณ์

ท่เี ป็นอยู่ในปัจจบุ นั ซึ่งมักจะทาการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ จากกลุ่มตัวอย่าง แล้วอ้างสรุปไปยัง
ประชากรข้อมลู ทไ่ี ด้ จะเป็นประโยชนใ์ นการพิจารณาแก้ไขปัญหา หรอื วางแผนปรบั ปรุงต่อไป

การศกึ ษาเชิงสารวจ แบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ดังนี้
1.1 การสารวจสถาบันการศกึ ษา (School Surveys)
1.2 การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)
1.3 การวเิ คราะห์เอกสาร (Documentary Analysis)
1.4 การสารวจมตมิ หาชน (Public Opinion Surveys)
1.5 การสารวจชุมชน (Community Surveys)
1.6 การศึกษารายกรณี (Case Study)
2. การศกึ ษาความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งกัน (Intercorrelationship Studies)
การศกึ ษาความสัมพันธ์ระหวา่ งกัน เปน็ การศึกษาดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง
ๆ การวิจัยประเภทนี้แบ่งเป็นประเภทยอ่ ย ๆ ดงั นี้
2.1 การศึกษาเปรียบเทียบเชิงสาเหตุหรือการวิจัยย้อนรอย ( Causal -
Comparative Study)
2.2 การศึกษาเชิงสหสมั พนั ธ์ (Correlation Study)
2.3 การศึกษาเชงิ อิทธพิ ล (Path Analysis)
2.4 การศกึ ษาเชงิ พยากรณ์ (Prediction Study)
2.5การศกึ ษาเปรยี บเทยี บระหว่างวัฒนธรรม (Cross-Cultural and comparative
Study)

~ 21 ~

3. การศกึ ษาพัฒนาการ (Developmental Study)
การศกึ ษาพัฒนาการแบ่งเปน็ ประเภทยอ่ ย ๆ ดังน้ี
3.1 การศึกษาความเจริญเตบิ โต (Growth Study)
3.2 การศกึ ษาแนวโน้ม (Trent Study)
รายละเอียดของการวิจยั แตล่ ะประเภทมดี ังนี้

การสารวจสถาบนั การศึกษา (School Surveys)
การสารวจสถาบันการศึกษา เป็นการศึกษาสภาพการบริหารในด้านต่าง ๆ ของสถาบัน

ท้ังในด้านสถานที่ บุคลากร การเรียนการสอน เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง วางแผน ในการจัด
การศึกษากาหนดนโยบาย และการบริหารของสถาบนั

วิธีการสารวจสถาบนั การศึกษา
การสารวจสถาบนั การศกึ ษามี 3 วิธี คือ
1. การสารวจโดยผู้เช่ยี วชาญจากหนว่ ยงานอื่น
2. การสารวจโดยบุคลากรในสถาบนั
3. สารวจโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างบุคลากรของสถาบัน หรือบุคลากรของ

ทอ้ งถน่ิ กับ
ผู้เช่ยี วชาญซงึ่ สามารถดาเนนิ งานใน 2 ลกั ษณะคอื

3.1 ระหว่างท่ีปรึกษาจากหน่วยงานอื่นกับคณะกรรมการของท้องถิ่น (Outside
consultans - local staff)

3.2 ระหว่างประชาชนในท้องถ่นิ กบั คณะกรรมการของโรงเรยี น (Lay citizens –
school staff members)

ขอ้ มลู สาหรับสารวจสถาบันการศกึ ษา
การสารวจสถาบันการศึกษาสามารถสารวจในด้านต่าง ๆ ดงั นี้
1. สารวจเกย่ี วกบั สภาพแวดล้อมในโรงเรียน ได้แก่

1.1 ลักษณะการบริหาร กฎ ระเบียบ และข้อบงั คบั ตา่ ง ๆ ของสถาบนั ท่ี
เกี่ยวข้องกับการศกึ ษา

1.2 ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการโรงเรียนหรือ
สมาคมกับภาระหรอื กิจกรรมทางการศกึ ษา

1.3 ค่าใช้จา่ ยของสถาบนั การศึกษา เชน่ คา่ ใช้จา่ ยตอ่ หัว

~ 22 ~

1.4 ทต่ี ง้ั แสงสวา่ ง พ้นื ทีต่ อ่ นักเรยี น สภาพท่มี ีผลต่อสขุ ภาพและความ
ปลอดภัย

1.5 สภาพของขนาดของอาคารเรียน ห้องสมุด สนาม ห้องอาหา ร
หอ้ งปฏิบตั กิ าร หอ้ งโสตทัศนศึกษา

1.6 อปุ กรณ์การเรยี นต่าง ๆ จานวนและชนดิ ของหนงั สือในหอ้ งสมุด
1.7 ลักษณะสภาพตา่ ง ๆ ทีม่ อี ิทธพิ ลตอ่ การเรยี น
2. สารวจเก่ียวกบั ลกั ษณะของบุคลากร
2.1 รายละเอยี ดเก่ยี วกับเพศ อายุ การศกึ ษา ภมู หิ ลัง ฐานะทางเศรษฐกจิ
บคุ ลิกภาพของผู้สอน ผบู้ รหิ าร ศกึ ษานิเทศก์
2.2 พฤตกิ รรมการสอน
2.3 เจตคติ ความคาดหวังท่มี ตี ่อนกั เรียน ต่อวชิ าชพี
2.4 ความสัมพันธร์ ะหวา่ งผ้สู อน ผูบ้ รหิ าร บคุ คลในชมุ ชน
3. สารวจลักษณะของนักเรยี น
3.1 ผลสัมฤทธิ์ สตปิ ญั ญา ความถนัด
3.2 ลกั ษณะนสิ ยั ในการเรยี น การทางาน การออกกาลงั กาย
3.3 กจิ กรรมพิเศษ
3.4 สขุ ภาพ เจตคติ
3.5 รปู แบบพฤติกรรมในช้นั เรยี นหรือที่บ้าน
4. สารวจลักษณะของกระบวนการเรยี นการสอน ไดแ้ ก่
4.1 ความเหมาะสมของหลักสูตรในด้านเน้ือหา กิจกรรม เวลาที่ใช้สอน
อปุ กรณก์ ารสอน
4.2 การบริการของโรงเรียน ห้องสมดุ การแนะแนว
การวิเคราะหง์ าน (Job Analysis)
การวเิ คราะห์งานเปน็ การศกึ ษาเก่ยี วกบั งานด้านบรหิ าร ด้านการสอน รวมทงั้ งานที่ไม่
เกี่ยวกับการสอน เพ่ือทราบถึงสภาพการทางาน ลักษณะของงานในตาแหน่งต่าง ๆ ความสามารถ
และพฤติกรรมของบุคลากรท่มี ีอยู่จรงิ หรอื ท่คี วรจะมเี พ่ือประโยชน์ในการปรับปรุง และวางแผนให้มี
ความเหมาะสมและมปี ระสทิ ธิภาพมากขึ้น เช่น
- การศึกษาขั้นตอนการผลิตรายการสารคดที างโทรทัศน์
- การศกึ ษาหน้าท่ี และความรบั ผิดชอบของศึกษานเิ ทศก์
- สมรรถภาพทีจ่ าเปน็ ในการนเิ ทศการศึกษาของหวั หนา้ หมวด

~ 23 ~

บรหิ ารงาน ข้อมูลสาหรับการวิเคราะหง์ าน
1. วิเคราะห์ จดุ ออ่ น ความซ้าซอ้ น หรอื ความไม่มปี ระสทิ ธภิ าพในการทางาน
2. วเิ คราะหห์ นา้ ทีโ่ ดยทว่ั ไป และความรบั ผดิ ชอบของบุคลากร
3. วิเคราะหก์ ระบวนการหรือลาดับขั้นตอนของการทางานแตล่ ะชนดิ
4. สรา้ งเกณฑ์ในการกาหนดความสามารถในการคดั เลอื กบคุ ลากรเขา้ ทางาน
5. สร้างเกณฑใ์ นการกาหนดคณุ สมบัติสาหรับเล่ือนตาแหน่งพัฒนาโครงสร้างการ
6. ศกึ ษาความรคู้ วามสามารถ นสิ ยั สขุ ภาพ เจตคติ พฤตกิ รรมของบคุ ลากร

การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis)
การวิเคราะห์เอกสารเป็นการศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับสภาพ เหตุการณ์ในอดีตหรือ

ปจั จุบนั โดยการศกึ ษาจากเอกสาร เชน่ จากบันทกึ จดหมาย บางทจี ึงเรียกการวจิ ัยน้ีว่าการวิเคราะห์
เน้ือหา (Content Analysis)หรือการวิเคราะห์ข่าวสาร (Information Analysis) หรือการ
วเิ คราะห์กิจกรรม (Activity Analysis) เช่น

- การวเิ คราะหเ์ นือ้ หาในหนงั สือพมิ พร์ ายวันเกี่ยวกบั การเสรมิ สรา้ งจริยธรรมของเดก็
- การวิเคราะหเ์ นื้อหาความรู้ท่เี ก่ียวข้องกบั วชิ าภาษาไทยซงึ่ ปรากฏในนิตยสาร
- ความกา้ วหนา้ ของสถาบัน หรอื หนว่ ยงานใดหน่วยงานหนง่ึ
ถ้าเป็นการศึกษาเอกสารท่ีเกี่ยวกับเร่ืองราวท่ีเกิดข้ึนในอดีต ก็จะเป็นการวิจัยเชิง
ประวตั ศิ าสตร์

ข้อมลู สาหรับการวเิ คราะห์เอกสาร
1. วิเคราะหค์ าพิพากษา กฎหมายของรฐั กฎระเบยี บของหน่วยงาน รูปแบบและ

รายงาน งบประมาณและรายจา่ ย
2. วเิ คราะห์ตารา หลกั สูตร เนื้อหาแบบเรยี น แผนการสอน งานของนกั เรียน
3. วิเคราะห์เน้ือหาของหนังสืออา้ งองิ หนงั สือพมิ พ์ วารสาร
4. วเิ คราะห์บนั ทึกประจาวัน บนั ทกึ การบริหาร บันทึกสุขภาพ จดหมาย

คาสมั ภาษณ์ แบบสอบถามปลายเปิด

~ 24 ~

การสารวจมติมหาชน (Public Opinion Surveys)
การสารวจมติมหาชน เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็น เจตคติ ความชอบของ

กล่มุ บคุ คลต่างๆ ที่มตี อ่ สง่ิ หนง่ึ สงิ่ ใด เพ่ือเป็นขอ้ มลู ในการตดั สินใจ หรือวางนโยบายในดา้ นตา่ ง ๆ เช่น
- ความคดิ เหน็ ของประชาชนที่มีต่อรา่ งกฏหมายนิรโทษกรรม
ขอ้ มูลสาหรบั การสารวจมตมิ หาชน
การสารวจมตมิ หาชน อาจสารวจในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ทางด้านธุรกิจ สารวจความคิด ความต้องการของประชาชน ความรู้สึกเจตคติ

หรอื พฤติกรรมของผบู้ รโิ ภคทม่ี ีตอ่ การบริการและผลิตภณั ฑใ์ นด้านสีสนั รปู ทรง สดั ส่วนและขนาดของ
ผลติ ภณั ฑ์ ตลอดจนหีบห่อท่ีบรรจุสนิ ค้าวา่ มคี วามต้องการอย่างไร หรือเพื่อประเมินประสิทธิผลของ
การโฆษณา

2. ทางดา้ นการเมือง การปกครอง สารวจเกี่ยวกับความชอบเจตคติ และความสนใจ
ของประชาชนท่มี ีตอ่ นโยบาย หนว่ ยงาน การบริหารงาน ฯลฯ

3. ทางด้านการศึกษา สารวจดูว่าประชาชนมีความคิด ความรู้สึกอย่างไรกับ
การศกึ ษาทงั้ ในดา้ นหลกั สตู ร การเรยี นการสอน การบรหิ าร ฯลฯ

ข้อพงึ ระวังในการสารวจมติมหาชน
การสารวจมติมหาชนมักจะเป็นการสารวจจากกลุ่มตัวอย่าง ดังน้ันจึงต้องระวังใน
การที่จะให้ได้กลุ่มตวั อยา่ งที่เปน็ ตวั แทนของประชากร นัน่ คอื ตอ้ งคานึงถงึ ตัวแปร ตวั แปรตา่ ง ๆ ท่ี
จะมีผลต่อสิ่งทศี่ กึ ษาไดแ้ ก่ เพศ การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกจิ ศาสนา ทีอ่ ยู่อาศัยและนอกจากนค้ี วร
คานึงว่า ขอ้ มูลนนั้ เกบ็ มา จากใคร ทไ่ี หน เม่อื ไร อยา่ งไร
การสารวจชุมชน (Community Surveys)
การสารวจชมุ ชน เป็นการศึกษาชวี ติ ความเปน็ อยู่และสภาพของชุมชน ว่ามีลักษณะ
อยา่ งไร เชน่ การศึกษาวฒั นธรรมประเพณี ลักษณะของประชาชนทง้ั ในดา้ นการศึกษา อาชีพ ท่ีอยู่
อาศัย เปน็ ตน้
ข้อมลู สาหรับสารวจชุมชน
การสารวจชมุ ชนอาจจะสารวจในดา้ นต่าง ๆ ดงั น้ี

1. ประวัติของชุมชน เพื่อทราบเก่ียวกับการกาเนิดและพัฒนาการของชุมชน
ผู้นาคนแรกของชุมชน การพัฒนาการของสถาบันและเศรษฐกิจ มีปัจจัยอะไรท่ีเป็นสาเหตุของ
การเปลีย่ นแปลงทางด้านสถาบนั และเศรษฐกจิ

~ 25 ~

2. รัฐบาลและกฎหมาย เพ่ือทราบเก่ียวกับ กฎ ระเบียบ องค์การต่าง ๆ ใน
ชุมชน และความสัมพนั ธ์ระหวา่ งองค์การและราชการ องคก์ ารทางการเมอื ง

3. สภาพภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจ สภาพภูมิศาสตร์ท่ีส่งผลต่อการขนส่ง การ
ตดิ ตอ่ สอ่ื สาร ธุรกจิ อาชีพ สุขภาพ นนั ทนาการ การกระจายของประชากร กิจกรรมของชุมชน
สภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน

4. วัฒนธรรม ประเพณี และศีลธรรม มีการแบ่งแยกเกี่ยวกับชนชั้น เชื้อชาติ
สีผวิ การศกึ ษา อาชีพ ท่ีอยู่อาศัย การเมือง ขนาดของประชากร อัตราการเกิด การตาย การ
เป็นโรค การเพมิ่ การลดของประชากร

การเกบ็ รวมรวบขอ้ มลู เกี่ยวกบั การสารวจชุมชน อาจใช้เคร่ืองมือและวิธีการหลาย ๆ
อย่างเช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต รวมทั้งการเก็บข้อมูลจากหน่วยราชการ
องค์การ บคุ ลากรต่าง ๆ และเอกสาร

การศกึ ษารายกรณี (Case Study)
การศึกษารายกรณี เป็นการศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับสิ่งใดส่ิงหน่ึง อาจจะเป็น

บุคคลหนึ่ง สถาบันหน่ึง ห้องเรียนหน่ึง สังคมหน่ึง เหตุการณ์หนึ่ง กลุ่มบุคคลหน่ึง โดยศึกษา
จากข้อมูลทุกแง่ทุกมุมท้ังในอดีต ปัจจุบัน รวมทั้งสภาพแวดล้อม เพื่อทราบถึงพฤติกรรมภูมิหลัง
และปฎิสัมพันธ์ต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมของส่ิงน้ัน เช่น ศึกษาวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
ศึกษาเดก็ ท่มี ีปญั หาในการอา่ น

ลกั ษณะสาคญั ของการศกึ ษารายกรณี
1. ปัญหาท่ีศึกษาเปน็ ปัญหาท่ีเกิดข้ึนเฉพาะกรณี เพื่อหาทางแกไ้ ขหรือช่วยเหลือ

เป็นการเฉพาะ
2. การศึกษารายกรณี จะศึกษาในขอบเขตท่ีแคบแต่ลึก เป็นการศึกษาอย่าง

ละเอียด ลึกซึ้ง โดยการทาการศึกษาเฉพาะหน่วย เฉพาะกลุ่ม เฉพาะสังคม เพื่อทราบถึงส่ิงที่
ศกึ ษาอยา่ งสมบูรณ์

3. ขอ้ มูลท่ีนามาศกึ ษาอาจจะเปน็ ทัง้ ในอดตี ปัจจุบนั ซง่ึ เปน็ ขอ้ มูลในหลาย ๆ แหง่
เช่น ข้อมูลจากสมุดบันทึก จดหมาย จากพ่อแม่ พี่น้อง เพ่ือน โรงเรียน องค์กรทางสังคม จาก
บนั ทกึ ของศาล ข้อมูลทางดา้ นสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม เป็นต้น

4. การศึกษารายกรณีเป็นการคน้ หา กฎเกณฑ์ หรือ รูปแบบของพฤตกิ รรม

~ 26 ~

การศึกษาเปรียบเทียบเชิงสาเหตุ หรือการวิจัยย้อนรอย (Causal - Comparative
Study)

การศึกษาเปรียบเทียบเชิงสาเหตุหรือการวิจัยย้อนรอย เป็นการศึกษาดูว่า
ปรากฏการณเ์ กิดขน้ึ ไดอ้ ยา่ งไรและทาไมจงึ เกิด กลา่ วคือเป็นการศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาท่ีเป็นอยู่
ในปัจจบุ นั ว่าปรากฎการณ์ หรอื ผลทเ่ี กิดขน้ึ อยใู่ นปจั จบุ นั เน่ืองมาจากสาเหตใุ ด โดยศึกษาจากตัวแปร
ตามหรือตัวแปรผล (Dependent variable) แล้วย้อนไปหาตัวแปรต้นหรือตัวแปรเหตุ น่ันคือเป็น
การวจิ ยั ที่มตี วั แปรเหตุเกิดขน้ึ อยู่แลว้ วิธีการศึกษาใชว้ ิธีการเปรียบเทยี บระหว่าง 2 กลุ่ม ท่ีมีลกั ษณะ
ท่ีต้องการศึกษาตรงข้ามกัน การวิจัยชนิดน้ีจึงมีช่ือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การวิจัยย้อนรอย (Ex Post
Facto Research)

ลกั ษณะของการวิจยั เปรยี บเทียบเชงิ สาเหตุ
1. เปน็ การคน้ หาสาเหตุโดยศกึ ษาจากตัวแปรตามหรอื ผลทีเ่ กดิ ขนึ้ อยู่แล้ว ยอ้ นไป

ดูว่าผลท่ีเกิดข้ึนเนอ่ื งมาจากสาเหตุใด
2. ท้งั สาเหตุ (ตวั แปรต้น) และผล (ตัวแปรตาม) ต่างก็เกิดขึ้นแล้ว เป็นข้อเท็จจริง

ทป่ี รากฏอยู่
3. เป็นการศึกษาท่ีไม่สามารถควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรเกินซึ่งเป็นตัว

แปรท่ีมอี ทิ ธิพลตอ่ ตวั แปรตาม และไมส่ ามารถจดั กระทาตวั แปรต้นตามที่ต้องการได้ เพราะเป็นตัว
แปรท่ีมอี ยู่แลว้ ทาใหไ้ ม่สามารถควบคมุ ตวั แปรให้เปน็ ไปตามท่ีตอ้ งการได้

4. การคน้ หาสาเหตุ ใชว้ ธิ เี ปรียบเทียบระหวา่ ง 2 กลุม่ ท่มี ลี กั ษณะท่ีตอ้ งการ
ศึกษาตรงขา้ มกนั

จดุ อ่อนของการวจิ ัยเปรียบเทียบเชงิ สาเหตุ
1. กลุ่มตัวอย่างทน่ี ามาศกึ ษาได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Self – Selected)

หรอื ไดม้ าตามแตโ่ อกาสทีจ่ ะได้ จึงทาใหเ้ กดิ ความลาเอียงในการเลือกกลมุ่ ตัวอย่าง
2. ไม่มีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรเกิน ซึ่งมีผลต่อตัวแปรตาม

ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจว่าผลที่เกิดขึ้นเน่ืองมาจากสาเหตุนั้นจริง จึงต้องระมัดระวังใน
การสรปุ

3. ในสถานการณ์หน่ึงสาเหตุอาจจะเป็นอย่างหน่ึงแต่ในอีกสถานการณ์หน่ึง
สาเหตุอาจจะเกดิ อกี อย่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตามการวิจัยประเภทนี้ยังคงมีความสาคัญเพราะบอกให้ทราบถึงสาเหตุซึ่ง
การวิจัยประเภทอืน่ ไม่สามารถกระทาได้ แมแ้ ต่การวิจยั เชิงทดลอง เนอื่ งจากวา่ บางเรื่องไมส่ ามารถ
จัดสภาพทางชัน้ ทางสังคม บคุ ลิกภาพ รายได้ การเป็นเจ้าของกิจการ ตัวแปรเหล่านี้ไม่สามารถ
จดั กระทาขนึ้ เพื่อศกึ ษาผลทเ่ี กดิ ข้ึนวา่ เป็นอย่างไรได้

~ 27 ~

จุดเดน่ ของการวจิ ยั เปรยี บเทยี บเชงิ สาเหตุ
1. การวิจัยเปรียบเทียบเชิงสาเหตุเหมาะกับสภาพการณ์ต่าง ๆ หลาย

สภาพการณท์ ่ีไม่สามารถทาการวิจัยทดลองได้ ได้แกส่ ภาพการณ์ตอ่ ไปน้ี
1.1 เมื่อไม่สามารถควบคุมหรือจัดกระทากับปัจจัยที่ต้องการศึกษา เพ่ือ

ทราบความสมั พันธ์ระหว่างเหตุและผลไดโ้ ดยตรง
1.2 เมื่อไม่สามารถกระทาได้ในทางปฏิบัติ เช่น ต้องกระทาในห้องทดลอง

หรือต้องใช้ค่าใช้จา่ ยสงู หรือเน่ืองมาจากปัญหาด้านมนุษยธรรม เมอ่ื ตอ้ งใช้การทดลอง
2. ให้ข้อมลู ที่เก่ยี วข้องกบั ธรรมชาตขิ องปรากฏการณ์ทเ่ี ปน็ ประโยชนย์ ิ่ง คือทาให้รู้

ว่าตัวแปรใดสัมพันธก์ บั ตัวใด ภายใตส้ ภาพการณ์หรอื เงอ่ื นไขใด มีรูปแบบและลาดับอย่างไรและอ่ืน


3. จากการปรับปรงุ เทคนิค วิธีการทางสถิติ และแผนการวิจัยที่สามารถควบคุม
ลักษณะสาคัญเป็นสว่ น ๆ ได้ จึงทาให้การวจิ ยั แบบน้ีเป็นทีย่ อมรับมากข้ึน

การศกึ ษาเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Studies)
การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์เป็นการศึกษาดูว่าคุณลักษณะ 2 คุณลักษณะหรือตัวแปร 2 ชุด

จะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ และมีความสัมพันธ์กันจะมีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางใดและขนาด
ความสัมพันธ์กนั น้ันจะมมี ากนอ้ ยเพียงใด เช่น

- การศกึ ษาความสมั พันธร์ ะหวา่ งความคดิ สรา้ งสรรค์ และบุคลกิ ภาพ
- การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับความรู้ทั่วไปของนักเรียน
มธั ยมศกึ ษา
- การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับการอนุรักษ์ ทรัพยากร
ปาุ ไม้
ลักษณะของการศกึ ษาเชงิ สหสมั พันธ์

การวจิ ยั เชงิ สหสัมพันธม์ ีลักษณะท่สี าคัญ ดงั น้ี
1. เป็นการศกึ ษาความสัมพันธ์ระหวา่ งตัวแปรตน้ และตวั แปรตาม
2. เหมาะกับการศกึ ษากบั ตวั แปรทคี่ อ่ นข้างซับซอ้ น และหรอื ไม่สามารถใชว้ ธิ กี าร

ทดลองจัดกระทากบั ตวั แปรท่ีต้องควบคุม
3. การวจิ ยั เชงิ สหสมั พนั ธ์ ทาให้ทราบขนาดของความสัมพันธ์ ซ่ึงอาศยั สถิติต่าง ๆ

ในการวเิ คราะห์ ท้ังนข้ี นึ้ อยู่กบั ระดบั ของข้อมลู
4. การวจิ ัยเชงิ สหสมั พนั ธม์ ขี อ้ จากัดตา่ ง ๆ ดงั น้ี
4.1 บอกให้ทราบว่าตวั แปรใดสัมพันธ์กับตวั แปรใด แต่ไมไ่ ด้บอกว่าอะไรเป็น

เหตุอะไรเปน็ ผล

~ 28 ~

4.2 เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตน และตัวแปรตาม แต่
ไม่มีการควบคุมตวั แปร ดังเชน่ การวิจยั เชงิ ทดลอง

4.3 รูปแบบของความสัมพนั ธท์ ไ่ี ด้นนั้ อาจเป็นความสมั พนั ธ์ไม่จริงก็ได้
จดุ มงุ่ หมายของการศึกษาเชงิ สหสัมพันธ์

1. เพ่อื ศกึ ษารูปแบบของความสัมพนั ธ์ของตวั แปร หรือปรากฏการณ์วา่ จะมี
ความสมั พนั ธก์ ันในรปู ใด เช่น มคี วามสัมพันธ์กันในลักษณะเส้นตรง เสน้ โคง้ โดยยดึ หลักของการเกิด
ร่วมกัน (Joint Occurrence) และหลกั ของการแปรผันรว่ มกนั (Co - Variation)

2. เพ่ือศึกษาความเข้มหรือขนาดของความสัมพันธ์ (Degree of assciation)
ระหว่างตัวแปร 2 ชุดวา่ จะมขี นาดของความสัมพันธ์มากนอ้ ยเพียงใด ถ้าขนาดความสัมพันธ์ระหว่าง
ตวั แปร 2 ชุดนั้น มีมากพอกจ็ ะสามารถนาไปสรา้ งสมการทานายได้

การศึกษาพัฒนาการ (Development studies)
การศึกษาพัฒนาการ เป็นการศึกษารูปแบบและลาดับข้ันของความเจริญเติบโต

พัฒนาการและหรือความเปลีย่ นแปลงเมือ่ เวลาเปล่ียนแปลงไป เชน่
- การศกึ ษาพัฒนาการของสถานีวทิ ยุกระจายเสยี งแหง่ ประเทศไทย
- การศกึ ษาพฒั นาการในการใช้ภาษาของเดก็ อายุ 2 ขวบ ถึง 5 ขวบ
- การศึกษาแนวโน้มของการประชาสัมพนั ธข์ องสถาบนั

ลกั ษณะของการศกึ ษาพัฒนาการ
1. การศึกษาพัฒนาการมุ่งท่ีจะศึกษาพัฒนาการของลักษณะใดลักษณะหนึ่งใน

ช่วงเวลาหนึง่ อาจจะเป็น 1 เดือน หลายเดอื น หรอื หลายปี เพ่ือจะได้ทราบถึงลกั ษณะตา่ งๆ ดงั นี้
1.1 รูปแบบของการเจริญเตบิ โต
1.2 อตั ราการเปลีย่ นแปลงหรือการเจรญิ เตบิ โต
1.3 ทิศทางของการเจริญเตบิ โต
1.4 ลาดบั ขน้ั และปจั จัยอ่นื ๆ ทีม่ ีผลตอ่ ลักษณะการเจริญเติบโต

2. การศกึ ษาแบบตดิ ตามผลระยะยาว (Longitudinal Studies) จะมปี ัญหาในเรือ่ ง
การสุ่มตัวอย่าง คือ จะมีกลุ่มตัวอย่างจากัด ข้อดี ของการศึกษาวิธีนี้คือ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่ม
เดียวกันตลอดระยะเวลาการทดลอง ข้อเสียใช้เวลาศึกษา

3. การศึกษาแบบติดตามผลระยะสั้น (Cross-sectional Studies) มีขนาดของ
กลมุ่ ตวั อย่างมากกว่า แตจ่ ะบอกลักษณะของความเจรญิ เตบิ โตไดน้ ้อยกว่าการศกึ ษาแบบตดิ ตามระยะ
ยาว

การศกึ ษาพัฒนาการแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท คือ

~ 29 ~

1. การศกึ ษาความเจรญิ เตบิ โต (Growth Studies)
2. การศกึ ษาแนวโนม้ (Trend Studies)

การศึกษาความเจรญิ เตบิ โต (Growth Studies)
การศึกษาความเจริญเติบโต เป็นการศึกษาอัตราการเปล่ียนแปลงของส่ิงต่าง ๆ เช่น ถ้า
ศึกษาความเจริญเตบิ โตของคนเรา ก็จะศกึ ษาอัตราการเปล่ยี นแปลงทางด้านร่างกาย สติปัญญา หรือ
อารมณใ์ นวยั ตา่ ง ๆ ตลอดจนศึกษาถงึ ปจั จัยที่สัมพันธ์หรอื มผี ลตอ่ ความเจริญงอกงามในวัยตา่ ง ๆ

วธิ ีการศกึ ษาความเจริญเติบโต
วธิ กี ารศกึ ษามี 2 แบบ คอื

1. การศึกษาแบบติดตามผลระยะยาว(Longitudinal Studies) เป็นการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างเดียวในช่วงเวลาต่าง ๆ อาจจะเป็นเดือนหรือเป็นปี เช่น ศึกษาพัฒนาการทางด้าน
ร่างกายของเด็กอายุ 1 ปี จะต้องสังเกตการเปล่ียนแปลงของเด็กกลุ่มนี้ติดต่อกันไปตั้งแต่แรกเกิด
จนถงึ อายุ 1 ปี

2. การศึกษาแบบติดตามผลระยะสั้น (Cross - sectional Studies) เป็น
การศึกษากลุ่มตัวอย่างหลายกลุ่มท่ีมีอายุระดับช้ันต่างกัน และทาการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน เช่น
การศกึ ษาพฒั นาการด้านการพูดของเดก็ วัย 2 ถึง 5 ขวบ กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งน้ีจะมี 4
กลุ่ม คือ เดก็ อายุ 2 ขวบ 3 ขวบ 4 ขวบ และ 5 ขวบ แลว้ ทาการวัดความสามารถด้านการพูด
ของเด็ก 4 กลุ่มน้ีพร้อมกัน ซึ่งจะได้ผลสรุปเป็นพัฒนาการด้านการพูดของเด็กวัย 2 ขวบถึง 5
ขวบ

การศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies)
การศกึ ษาแนวโนม้ เป็นการศกึ ษาในลักษณะคาดคะเน หรือพยากรณส์ ิ่งท่ีจะเกดิ ขึ้นใน

อนาคตโดยอาศัยขอ้ มูลในอดตี หรือเหตุการณ์ทผ่ี ่านมาจากอดตี ถงึ ปจั จบุ ัน มาคาดคะเนลกั ษณะของ
ตัวแปรในอนาคต เช่น

- การศึกษาแนวโน้มความตอ้ งการสนิ ค้าชนิดหนงึ่ ชนิดใด ใน 3 ปขี า้ งหน้า
- การศกึ ษาแนวโน้มของจานวนนักเรียนใน 5 ปขี ้างหนา้
ลกั ษณะของการศึกษาแนวโน้ม

1. เปน็ การศึกษาในลักษณะพยากรณ์เหตกุ ารณ์ในอนาคต
2. ศกึ ษาสภาพต่าง ๆ เป็นชว่ ง ๆ
3. วิธกี ารศึกษาอาจอาศัยวธิ ีการวิจัยเชิงประวตั ศิ าสตร์ การวเิ คราะห์เอกสาร
ลาดบั ขั้นการศึกษาพฒั นาการ

~ 30 ~

1. นยิ ามปัญหา
2. กาหนดจดุ มุง่ หมาย
3. ทบทวนผลงานการวิจัย เพื่อเป็นพ้ืนฐานในการเปรียบเทียบวิธีการวิจัย
เครือ่ งมอื และเทคนคิ ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล
4. กาหนดแบบแผนและแนวทางปฏิบัติ
5. รวบรวมข้อมูล
6. วิเคราะหข์ ้อมลู
7. รายงานผลการวจิ ัย
การวจิ ยั เชงิ ทดลอง (Experimental research)
การวจิ ัยเชงิ ทดลอง เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตแุ ละผลของปรากฏการณ์
ตา่ ง ๆ โดยศึกษาจากเหตุไปหาผล คือ มุ่งที่จะศึกษาดูว่าถ้าทาการควบคุมตัวแปรอ่ืน ๆ ให้หมด
คงเหลือไวแ้ ต่ตัวแปรอสิ ระ หรอื ตวั แปรเหตุ ผลท่ีตามมาจะเปน็ อย่างไร ในการควบคมุ ตวั แปรนั้นบาง
กรณีผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมตัวแปรได้ทั้งหมด ดังนั้น การวิจัยเชิงทดลองจึงแบ่งเป็น 2 ประเภท
คือ
1. การวจิ ัยเชงิ ทดลองจรงิ (True – experimental Research)
2. การวิจัยเชิงก่ึงทดลอง (Quasi – experimental Research)
ลกั ษณะของการวจิ ัยเชงิ ทดลอง
1. เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของตัวแปรอิสระและตัวแปรตามใน
สถานการณท์ ่สี รา้ งขึ้น
2. มกี ารจัดกระทาตวั แปร หรือ สภาพการณท์ ีต่ ้องการทดลองและควบคมุ ตวั แปรทไ่ี ม่
ต้องการทดลอง
การจัดกระทาตวั แปรคือ การทผ่ี วู้ ิจัยเป็นผจู้ ัดกระทาหรือกาหนดตัวแปรท่ีต้องการ
ศึกษา 1 หรือมากกว่า 1 ตัว และวัดผลท่ีเกิดข้ึนเน่ืองจากตัวแปรที่จัดกระทานั้น ตัวแปรท่ีถูก
กระทาน้เี รียกว่าตัวแปรอิสระหรือตวั แปรต้น หรอื ตัวแปรเหตุ สว่ นตวั แปรทไี่ ดร้ ับผลมาจากตวั แปรตน้
เรียกว่า ตัวแปรตาม หรอื ตัวแปรผล ผลทีเ่ กิดขน้ึ จะมากหรือนอ้ ยขน้ึ อยกู่ ับตวั แปรอิสระ

~ 31 ~

การควบคมุ คอื การควบคมุ ตวั แปรแทรกซอ้ นทีจ่ ะสง่ ผลต่อตวั แปรตาม ได้แก่
- ควบคมุ ความแตกต่างระหว่างผ้เู ข้ารับการทดลอง
- ควบคุมความแตกตา่ งระหว่างสถานการณ์
3. มีกลุ่มทดลอง คือกลุ่มที่ได้รับสิ่งท่ีจะทดลอง (Treatment) และกลุ่มควบคุมไว้
เปรยี บเทยี บ
4. มีการควบคุมความแปรปรวน โดย

4.1 เพ่ิมความแปรปรวนของตัวแปรท่ีต้องการทดลองให้มีค่ามากที่สุด
(Maxinized systematie variance)

4.2 ลดความแปรปรวนท่ีเน่ืองมาจากความคลาดเคล่ือนให้เหลือน้อยท่ีสุด
(Minimized error variance)

4.3 ควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรท่ีไม่ต้องการทดลอง หรือตัวแปร
ภายนอกให้มคี ่าต่าสดุ (Minimized error variance)

5. การวิจัยเชิงทดลอง จะต้องมีแบบแผนการทดลองที่มีความตรงภายใน และความ
ตรงภายนอก

ตัวแปรของการวจิ ัยเชงิ ทดลอง (Variable)
ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะ พฤติกรรมและคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้วิจัย
ต้องการศกึ ษาสิ่งท่ไี ดช้ ื่อว่าตัวแปรน้นั จะต้องมคี ่าทแ่ี ปรเปลี่ยนไปได้ คอื มคี า่ ต่าง ๆ กนั เชน่ เพศ(ชาย
, หญงิ ) สถานภาพสมรส (โสด, คู่, หม้าย, หย่ารา้ ง) รายได้ (นอ้ ย , มาก) ความพึงพอใจ (มาก,
น้อย , ไมพ่ อใจ)
ชนิดของตัวแปร
ตวั แปร แบ่งออกเปน็ 4 ชนิด คือ
1. ตวั แปรตน้ หรือตัวแปรอสิ ระ หมายถงึ ตวั แปรที่เป็นตน้ เหตุทาให้ตัวแปรอื่นท่ี
เกีย่ วข้องเกิดการเปลีย่ นแปลง สาหรับการวิจัยเชิงทดลอง ตัวแปรต้นก็คือตัวแปรที่ผู้วิจัยจัดกระทา
ขนึ้ (Treatment Variable) หรอื กาหนดขนึ้ เพือ่ ทาการทดลอง
2. ตวั แปรตาม หมายถึง ตวั แปรทไี่ ดร้ บั ผล หรืออทิ ธิพลมาจากตัวแปรหรือตวั แปร
อนื่ ๆ นน่ั คือ ถ้าตัวแปรต้นมกี ารเปลยี่ นแปลง ตัวแปรตามจะเปลย่ี นแปลงไปดว้ ย
3. ตวั แปรแทรกซ้อนหรือตวั แปรเกนิ (Extraneous Variable) หรือ ตัวแปรควบคมุ
(control variable) หมายถึง ตัวแปรอื่น ๆ ที่ผู้วิจัยไม่ต้องการศึกษา แต่เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพล
หรือส่งผลต่อตวั แปรตาม ซึ่งทาใหก้ ารวิจัยขาดความตรงภายใน ดังน้ันในการทดลองจึงต้องควบคุม
ตวั แปรชนิดนี้ให้หมด เพอื่ จะดูวา่ ตัวแปรต้น หรือตัวแปรทีผ่ ู้วจิ ยั จัดกระทาขึ้นนน้ั จะสง่ ผลทาตอ่ ตัวแปร
ตามอย่างไร

~ 32 ~

4. ตัวแปรสอดแทรก (Intervening Variable) เป็นตัวแปรท่ีไม่ได้สนใจศึกษา ไม่
สามารถควบคมุ ใหต้ วั แปรเหล่านัน้ เป็นไปตามท่ตี อ้ งการได้ และตวั แปรสอดแทรกมีผลต่อตัวแปรอื่นๆ
โดยออ้ ม

ความตรงของการทดลอง
ความตรงของการทดลอง หมายถึง ความสามารถในการทดลองที่ได้ผลตรงกับ
สภาพความเป็นจริงและมีความคลาดเคล่อื นนอ้ ยทส่ี ุด ความตรงของการทดลอง มี 2 ประเภท คอื
1. ความตรงภายใน (Internal Validity)
2. ความตรงภายนอก (External Validity)
ความตรงภายใน (Internal Validity)

ความตรงภายใน หมายถึง ผลการทดลองที่ได้สามารถสรุปว่าเกิดข้ึนเนื่องจากตัว
แปรต้นเท่าน้ัน ไม่ได้เป็นผลเน่ืองมาจากตัวแปรอื่น ๆ การท่ีจะสรุปเช่นนี้ได้ ในการทดลองจะต้อง
สามารถควบคุม ตัวแปรแทรกซอ้ นท่ไี ม่ใช่ตัวแปรของการทดลองได้หมด

ปัจจัยหรือตวั แปรทีท่ าให้การทดลองขาดความตรงภายใน
1. ความลาเอียงจากการเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ ง (Selection Bias)

ความลาเอียงจากการเลอื กกลุม่ ตัวอยา่ ง เกิดจากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ารับ
การทดลอง โดยกลุ่มท่ีได้รับการจัดกระทา (Treatment) หรือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
(Control) มีความแตกตา่ งกันตง้ั แต่ต้น ทง้ั น้ีอาจเกดิ วิธีการเลอื กกลุ่มตัวอยา่ งไม่เหมาะสม

วิธีการทจ่ี ะไมใ่ ห้เกดิ ความลาเอยี งในการเลอื กกลุ่มตัวอย่าง คอื
(1) สุ่มผู้เขา้ รบั การทดลอง
(2) แบ่งกลุม่ ผู้เข้ารับการทดลองเปน็ กล่มุ ทดลองและกลมุ่ ควบคุม โดยการสุม่
(3) สมุ่ วิธกี ารทดลองใหก้ บั กลมุ่
(4) สมุ่ เวลาท่ีจะทาการทดลอง
2. เหตุการณ์แทรก (History) หมายถึง เหตุการณ์หรือตัวแปรใดก็ตามท่ีเกิดข้ึน
ระหว่างการทดลอง และส่งผลต่อตัวแปรตาม ทาให้ไม่สามารถสรุปได้อย่างม่ันใจว่าผลการทดลอง
นนั้ เกิดขนึ้ จากตัวแปรที่จดั กระทาแต่เพียงอย่างเดียว
3. วุฒิภาวะของกลุ่มตัวอย่าง (Maturation) คือการเปล่ียนแปลงท่ีเกิดข้ึนกับกลุ่ม
ตวั อยา่ งเป็นการเปลย่ี นแปลงดา้ นสรีระ หรอื ดา้ นจติ ใจ ท้ังนอี้ าจเนื่องมาจากใชเ้ วลาในการทดลองนาน
กลุม่ ตวั อยา่ ง คือบุคคล การเปลยี่ นแปลงอาจจะไดแ้ ก่ ความเหน่ือย ความหิว ประสบการณท์ เี่ พ่มิ ขึ้น
ฯลฯ ซงึ่ จะมีผลกระทบตอ่ ตัวแปรตามทาใหผ้ ลการทดลองมคี วามคลาดเคลื่อน นน่ั คือ ผลการทดลอง
ทไ่ี ดน้ น้ั อาจเนื่องมาจากวฒุ ภิ าวะของกล่มุ ตัวอย่าง ไมไ่ ดเ้ กดิ จากการทดลอง

~ 33 ~

4. การวดั ผลก่อนการทาการทดลอง (Premeasurement) ในการทดลองที่แบบการ
ทดลองมีการวัดผลก่อนและหลังการทดลองด้วยเครื่องมือชุดเดิม เช่น การทดสอบ แบบสอบถาม
กลุ่มตัวอยา่ งอาจคุ้นเคยกบั แบบสอบถามน้นั ทาให้การเปล่ยี นแปลงของขอ้ มลู ทจ่ี ัดมาไดน้ นั้ ไมไ่ ดเ้ ป็น
ผลมาจากส่งิ ท่ีทดลอง (Treatment) แต่อาจเกิดจากความคนุ้ เคยกบั คาถาม

5. การเปลี่ยนแปลงในเครื่องมือหรือวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Change in
Instrumention) หมายถึง การเปล่ียนแปลงในเคร่ืองมือที่ใช้วัดและหรือการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น
ถ้ามีผู้เก็บรวบรวมข้อมูลหลายคน (ผู้สังเกต ผู้สัมภาษณ์หลายคน) ลักษณะท่าทีการใช้คาถามทั้ง
ถ้อยคาสาเนียงของแต่ละคนในการสัมภาษณ์ท่ีแตกต่างกัน ไม่ใช่จาก (Treatment) อย่างเดียว หรือ
แม้ว่า จะผู้สัมภาษณ์คนเดียว ก็อาจเกิดความคลาดเคล่ือนชนิดนี้ได้ ในทานองเดียวกันหรือเขา
อาจจะรู้สึกเบือ่ หรอื เหนอื่ ยในการสัมภาษณ์ ดงั นัน้ ลกั ษณะวธิ ถี ามจึงผดิ ไปจากตอนแรก ๆ น่ันกค็ ือ
ความแตกต่างระหว่างผลการวดั และหลังการทดลองจงึ อาจเน่อื งมาจากวิธกี ารเก็บรวบรวมข้อมลู

ส่วนการเปล่ียนแปลงเคร่ืองมือระหว่างการเก็บรวบรวม ข้อมูลก็จะมีผลในทานอง
เดียวกัน เช่น ในการวัดผลก่อนการทดลองถ้าใชแ้ บบทดสอบฉบับหนึ่งเป็นแบบปรนัย จานวน
50 ขอ้ ซงึ่ ค่อนขา้ งยากแตก่ ารวดั ผลหลงั จากการทดลองกลบั ใช้อีกฉบบั หนึ่ง จานวน 50 ข้อ เชน่ กัน
แตว่ ดั เนือ้ หาเดยี วกนั แต่งา่ ยกวา่ ดงั นนั้ ผตู้ อบจึงทาคะแนนครั้งหลังได้มากกว่าคร้ังแรก เพราะฉะน้ัน
คะแนนท่ีผู้ตอบได้มากข้นึ จงึ เนือ่ งมาจากความยากงา่ ยของเครื่องมอื

6. การขาดหายไปของสมาชิกในกลุ่มขณะท่ีทาการทดลอง ถ้ามีสมาชิกของกลุ่ม
ตวั อย่างบางสว่ นขาดหายไประหวา่ งการทดลอง เราไม่ทราบว่าสมาชิกท่ีขาดหายไปจะตอบสนองต่อ
สิง่ เรา้ ในการทดลองเชน่ เดียวกับสมาชกิ ผทู้ ีเ่ หลอื อยหู่ รอื ไม่ ทาให้สมาชกิ ทีเ่ หลืออยไู่ มเ่ ปน็ ตัวแทนของ
กล่มุ เช่น ระหว่างการทดลองถ้ามีนักเรียนที่ไดค้ ะแนนนอ้ ยจานวนหน่ึงออกจากการทดลองเนื่องจาก
เหตุใดเหตหุ น่ึง อาจเนื่องมาจากลาออกจากโรงเรยี นหรอื เหตอุ ื่น ๆ เพราะฉะนัน้ กลุม่ ท่เี หมาะจึงเป็น
พวกท่ีได้คะแนนสงู ดังนัน้ คะแนนหลังการทดลองย่อมสงู ขนึ้ จากเดิมมาก

7. ความคลาดเคล่ือนจากการตอบของผู้เข้ารับการทดลอง (Subjective -Reactive)
เป็นความคลาดเคล่ือนที่มีสาเหตุมาจากการสร้างสถานการณ์ในการทดลองและหรือจากพฤติกรรม
ของผู้ทดลอง กลา่ วคอื ผู้เขา้ รับการทดลองร้วู ่าอย่ใู นระหว่างการทดลอง เขา้ อาจจะไมต่ อบตามความ
จรงิ แต่จะตอบในลกั ษณะทจ่ี ะเปน็ ผ้ตู อบทีด่ ีท่คี วรจะเปน็

~ 34 ~

8. การถดถอยทางสถิติ (Statistical Regression) เกิดจากการที่กลุ่มตัวอย่างมี
ลักษณะสุดโด่ง เช่น นักเรียนที่ได้คะแนนมากสุดและนักเรียนที่ได้คะแนนน้อยสุด เมื่อทาการ
ทดสอบ 2 ครั้ง จะพบว่านักเรียนที่ได้คะแนนมากที่สุดในครั้งแรกจะทาคะแนนได้น้อยลงในครั้งที่ 2
และนักเรียนท่ีทาคะแนนได้น้อยในคร้ังแรกจะทาคะแนนได้มากข้ึนในครั้งท่ี 2 นี่เป็นลักษณะการ
ถดถอยทางสถติ ิ ในการทจี่ ะทาการทดลองใด ๆ หรอื นาผลการวิจัยไปใชผ้ ู้วิจยั จึงควรตระหนกั ถึงปัจจัย
ทง้ั 8 ประการ ดงั กล่าวข้างตน้

ความตรงภายนอก (External Validity)
ความตรงภายนอก หมายถึง ผลการวิจัยที่ได้สามารถสรุปอ้างอิงไปยังมวล

ประชากรได้
นั่นคือ การเลือกกลุ่มตัวอย่างทาการทดลองจะต้องได้กลุ่มตัวอย่างท่ีเป็นตัวแทนท่ีดีของประชากร
คือ มีลักษณะคลา้ ยคลงึ ประชากรสว่ นใหญ่

ปัจจยั หรือตวั แปรที่ทาใหก้ ารทดลองขาดความตรงภายนอก
1. การกาหนดกลมุ่ ตัวอยา่ งทีไ่ มเ่ ป็นตัวแทนของประชากร ทาให้ข้อค้นพบท่ีได้ไม่

สามารถอา้ งสรปุ ไปยังประชากรเปาู หมายได้
2. ผลจากการท่ีผู้เข้ารับการทดลองรู้ตัวว่ากาลังถูกทดลองทาให้พฤติกรรมท่ี

แสดงออกเปล่ียนแปลงไปจากท่เี คยปฏิบัติตามปกติ อาจจะเป็นลักษณะต่อตา้ นหรอื เอาใจผทู้ ดลอง
3. ผลทีเ่ กดิ ขน้ึ รว่ มกนั ระหว่างปจั จัยภายนอกและตวั แปรการทดลอง

~ 35 ~

บทที่ 3
ปัญหา จดุ ม่งุ หมาย สมมตุ ิฐาน ประชากร และกลมุ่ ตัวอย่าง

การตัง้ ปญั หาเพ่อื การวจิ ยั เป็นสงิ่ สาคญั อย่างยง่ิ ในการวจิ ัย ตวั ปญั หาจะตอ้ งกาหนดให้ชัดเจน
กอ่ น และถือว่า “การกาหนดตัวปัญหาให้ชัดเจนเป็นส่วนสาคัญที่สุดของการวิจัย” เพราะว่าถ้าจะ
ทาการวิจัยเร่ืองอะไร เราจาเป็นต้องทราบ และเข้าใจปัญหาท่ีเราต้องการจะศึกษาอย่างชัดเจน
เสียกอ่ น เพือ่ ใหก้ ารวิจยั อยู่ในขอบเขตท่ีต้องการ
ปัญหาการวิจยั

ปญั หาการวจิ ยั เปน็ สงิ่ ทีผ่ วู้ จิ ัยอยากรู้ อยากเข้าใจ เปน็ ความต้องการที่จะศึกษา ใฝุที่จะรู้และ
เข้าใจ เปน็ สง่ิ ทเ่ี ป็นอปุ สรรคตอ่ ผวู้ จิ ัย ดงั นั้นผ้วู จิ ัยจงึ ต้องการได้คาตอบจากการกาหนดประเดน็ ปัญหา
การวจิ ัย

ความสาคัญของปญั หา
ปญั หาเป็นจดุ เริ่มต้นของการวิจยั ความสาคัญของปญั หาสรปุ ไดด้ ังน้ี

1. ปัญหาของการวิจัย เป็นตัวกาหนดเปูาหมายของการวิจัย และเป็นเคร่ืองช้ี
แนวทางในการวจิ ัย แนวทางในการรวบรวมขอ้ มลู และชว่ ยในการเตรียมเครอื่ งมือสาหรับเก็บข้อมูล
ซง่ึ เปน็ ส่งิ ท่ชี ่วยนาทางให้การวจิ ัยดาเนินไปอยา่ งแจม่ กระจ่าง

2. ช่วยให้ทราบว่าหัวข้อที่ผู้วิจัยสนใจนั้นสามารถทาการวิจัยได้สาเร็จหรือไม่เพียงใด
กลา่ วคือ เปน็ ตัวกาหนดความยาก–งา่ ยของเร่ือง ชี้ใหเ้ หน็ ถงึ แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมลู ชว่ ยใน
การคาดคะเนคา่ ใช้จ่าย และเวลาในการศกึ ษา ก่อนท่จี ะลงมอื ทาการวจิ ยั

3. ปัญหา เป็นส่ิงสาคัญในการตั้งสมมุติฐาน โดยปกติตัวปัญหาจะเป็นหัวข้อกว้างๆ
จาเป็นตอ้ งย่อยปัญหาลงเพื่อสะดวกในการกาหนดข้อสมมุติฐานที่สามารถวัดและทดสอบได้ ในการ
วจิ ัยนนั้ เราไม่พิสูจนห์ รือทดสอบตัวปัญหา แต่พิสูจน์หรือทดสอบความสัมพันธ์ของข้อสมมุติฐานจาก
ปัญหาอกี ทหี น่งึ

การเลอื กหัวข้อปัญหา
การพจิ ารณาเลือกหวั ข้อปญั หาเพอื่ การวิจัย
1. ผูว้ จิ ัยจะตอ้ งสามารถใหค้ านยิ ามของปญั หาท่เี ลอื กมาทาการวิจยั ได้อยา่ งชดั เจน
2. ผูว้ จิ ัยจะตอ้ งทราบว่า ปัญหานน้ั ประกอบดว้ ยตัวแปรอะไรบา้ ง
3. สามารถเขา้ ใจปัญหาน้ัน ๆ ได้โดยตลอด
4. มคี วามสามารถในการกาหนด โครงสรา้ งและวิธีวจิ ัยในเรอื่ งนน้ั ๆ

~ 36 ~

ลกั ษณะของหัวขอ้ ปัญหาทีด่ คี วรพจิ ารณา ดงั น้ี
1. ปัญหาควรรวมในรูปคาถาม เพราะจะชัดเจนกว่าคาถามท่ีอยู่ในรูปประโยคบอก

เล่า
2. ปัญหาท่ีนามาวิจัยไม่ควรกว้างเกินไป เพราะจะทาให้เกิดความคลุมเครือในการ

เก็บและวเิ คราะหข์ อ้ มลู ถา้ ปัญหาใดกว้างมากอาจแยกออกเป็นหลาย ๆ ปัญหาได้ในขณะเดียวกันก็
ไมค่ วรใหป้ ญั หาแคบเกินไป เพราะจะทาให้ไม่นา่ สนใจ และประยุกต์ไม่ได้

3. ปัญหาต้องชดั เจนทงั้ ในด้านแนวคดิ และคาพูด ถ้าปัญหาไม่ชัดเจนจะทาให้ทิศทาง
ของการวจิ ยั ไม่ตรงตามความตอ้ งการ

4. ควรเป็นปญั หาทีม่ คี วามหมายและมีความสัมพันธ์กับทฤษฎี หรือส่ิงท่ีปฏิบัติอยู่จะ
ทาใหผ้ ลวจิ ยั มคี ณุ ค่ามากข้นึ

5. ปัญหาไม่ควรขึ้นอยู่กับค่านิยม แต่ควรอาศัยข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ เช่น “ครูควร
เป็นผู้หญิงหรือไม่” เป็นปัญหาที่ไม่ดี แต่ถ้าเป็น “ครูผู้หญิงสอนได้ดีกว่าครูผู้ชายหรือไม่” จะเป็น
ปัญหาทด่ี กี วา่

6. ถ้าปญั หาทกี่ าหนดในการวิจยั มหี ลายขอ้ ทุกข้อควรเป็นปัญหาในเร่ืองเดียวกัน
และมคี วามสมั พันธก์ นั อย่างใกลช้ ิด

แหลง่ ทีม่ าของปญั หา
ปญั หาท่ีนามาทาการวิจัย อาจได้มาจากแหลง่ ตา่ ง ๆ ดังน้ี
1. จากผลงานวิจัยอื่น ๆ ในปัญหาท่ีเก่ียวข้องกับเน้ือหาวิชาท่ีสนใจ ในแง่ของการ

ศึกษาวจิ ยั ต่อเน่อื งจาการวจิ ยั นนั้ ๆ
2. จากแง่คดิ ทไ่ี ด้จากการสนทนา ซักถาม หรือการบรรยายของผู้ที่อยู่ในสาขาวิชาที่

สนใจ
3. จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะท่ีปฏิบัตงิ าน
4. ได้จากทฤษฎีหรือหลักการต่าง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการศึกษาการนาทฤษฎี

ตา่ ง ๆ มาทดลองใช้ ปรับปรุงหรือคน้ คว้าต่อไป
5. เปน็ การวเิ คราะหห์ รือหาเหตุผลเพอื่ สรปุ หรือสนบั สนนุ วพิ ากษ์วิจารณ์ในเร่ืองต่าง

ๆ ในสาขาวิชาทตี่ นสนใจ
6. ได้จากการวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ต่าง ๆ ทาให้เกิดแนวคิดคาดคะเน

เหตกุ ารณใ์ นอนาคต
7. จากหน่วยงาน หรือสถาบันต่าง ๆ ทใ่ี หท้ ุนเพอื่ ทาการวจิ ัย

~ 37 ~

เกณฑใ์ นการประเมนิ ปญั หา
กอ่ นการตัดสนิ ใจเลือกปัญหาเพื่อทาการวิจัย ผู้วิจัยควรประเมินปัญหาท่ีจะนามาทาการ

วิจยั เสียก่อน โดยพิจารณาจากคาถามต่อไปนี้
1. ปัญหานั้น ๆ สามารถค้นคว้าหาคาตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

กระบวนการวจิ ัย หรือไม่ สามารถหาขอ้ มูลมาสนับสนุนได้หรือไม่
2. ปญั หานัน้ มคี วามสาคญั และประโยชนค์ มุ้ คา่ กับการวจิ ัยหรือไม่
3. ปัญหาทน่ี ามาวิจยั นน้ั เปน็ ปญั หาใหมห่ รอื ไม่ มีผูศ้ กึ ษาแลว้ หรือยงั
4. ปัญหาน้ันเหมาะสมกับผู้ทาการวิจัยหรือไม่ โดยพิจารณาในด้านความสนใจ

ความสามารถในการดาเนินการวิจัย ตลอดจนเคร่ืองมือทจี่ ะนามาใชใ้ นการวิจัยโดยพิจารณาจาก
4.1 ความสามารถในการวางแผน และดาเนินงานการวิจัยให้สาเร็จลุล่วงไป

ด้วยดี
4.2 ความสามารถในการสร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และเก็บรวบรวม

ขอ้ มลู
4.3 ความรู้เก่ยี วกับการวิจัย และการวเิ คราะห์ทางสถิติ
4.4 งบประมาณสาหรับการวจิ ัย
4.5 เวลาท่ีใช้ในการดาเนินงาน ตั้งแต่วางแผนงาน สร้างเคร่ืองมือ

รวบรวมข้อมลู วเิ คราะหข์ อ้ มลู แปลผลการวิจยั ตลอดจนรายงานการวิจยั
4.6 อุปสรรค และขอ้ ขัดขอ้ งทอ่ี าจเกดิ ขึ้นได้

การกาหนดจุดมุง่ หมายหรอื วัตถปุ ระสงคก์ ารวิจยั
การกาหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นส่ิงสาคัญมากสาหรับการทาวิจัย

เพราะจะช่วยขยายความหมายของช่ือเร่ืองให้ชัดเจนข้ึน ว่าต้องการศึกษาอะไร กับใคร ในแง่มุม
ใดบ้าง นอกจากน้ันยังช่วยให้การดาเนินการวิจัยในข้ันตอนอื่น ๆ เป็นไป อย่างถูกต้องและตรงกับ
ความต้องการของผู้วิจัย เช่น ช่วยในการกาหนดขอบเขตของการวิจัย ช่วยในการต้ังสมมุติฐาน
ช่วยในการสร้างแบบสอบถาม ช่วยในการเลือกสถิติวเิ คราะหข์ ้อมูล เป็นตน้

การเขียนจุดมุ่งหมายของวิจัยต้องเขียนให้ส่ือความหมายได้ชัดเจน เพราะการเขียนที่ไม่
ชัดเจนอาจทาให้เกิดความยุ่งยากในการดาเนินการข้ันตอนอื่น ๆ ตามมาได้ ลักษณะการเขียนควร
ขน้ึ ตน้ ด้วยคาว่า เพื่อ แล้วตามด้วยข้อความที่แสดงการกระทาในการวิจัย เช่น เพื่อศึกษา……. เพ่ือ
เปรียบเทียบ… เพ่ือหาความสัมพันธ์… ฯลฯ โดยอาจเขียนเป็นประโยคคาถามหรือประโยคบอก
เลา่ ก็ได้ ในรายงานการวิจัยมกั นยิ มเขียนจุดมุ่งหมายเรียงเป็นข้อ ๆ ตามส่ิงที่ต้องการศึกษา และเม่ือ
เขียนจดุ มุ่งหมายไวแ้ ล้วจาเปน็ ทีผ่ วู้ ิจยั จะต้องทาตามให้ครบทุกขอ้ ที่ตั้งไว้

~ 38 ~

ตัวอย่างการตง้ั จุดม่งุ หมายของการวจิ ัยหรือวัตถปุ ระสงคก์ ารวจิ ยั
ปัญหาการวิจยั การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะทาให้ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชา

คณติ ศาสตร์ของนักเรยี นระดบั ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 3 พัฒนาเพ่มิ ข้ึนหรือไม่
วตั ถปุ ระสงค์การวจิ ยั
1. เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับช้ัน

ประถมศกึ ษาปีที่ 3
2. เพอ่ื หาประสิทธภิ าพของบทเรยี นคอมพวิ เตอร์ช่วยสอนท่สี รา้ งข้นึ
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้น

ประถมศึกษาปที ่ี 3 ระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับนักเรียนท่ีไม่ได้
เรียนโดยบทเรยี นคอมพิวเตอรช์ ว่ ยสอน
สมมตุ ิฐาน (Hypothesis)

สมมุติฐานเป็นสิ่งจาเป็นอย่างย่ิงในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เพราะเป็นเคร่ืองชี้แนวคาตอบของ
ปัญหาท่ีต้องการทราบ การแก้ปัญหาโดยไม่ต้ังสมมุติฐานไว้ก่อนอาจทาให้การแก้ปัญหาผิดทิศทาง
เสียเวลาในการค้นหาคาตอบหรืออาจไม่สามารถหาคาตอบในการแก้ปัญหาได้เลย การวิจัยเป็น
วิธีการหน่ึงในการค้นคว้าหาคาตอบเพ่ือใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหา จึงจาเป็นต้องตั้งสมมุติฐานไว้
เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาคาตอบ เพ่ือไม่ให้การวิจัยดาเนินไปผิดทิศทาง หรือผิดวัตถุประสงค์
ของการวจิ ยั

สมมตุ ิฐาน หมายถึง การคาดคะเนคาตอบไวล้ ่วงหน้าอยา่ งสมเหตุสมผลโดยมีลักษณะ ดังน้ี
1. เปน็ การตอบคาถามตามวตั ถุประสงค์ท่ตี ัง้ ไว้
2. แสดงความสัมพันธ์กนั ระหว่างตวั แปร
3. ทดสอบได้ด้วยวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์

สมมตุ ฐิ านหรือ คาตอบท่ีผู้วิจัยคาดคะเนไว้ไม่จาเป็นต้องถูกเสมอไป อาจถูกหรือผิดก็ได้ แต่
ผู้วิจัยต้องม่ันใจว่าได้ทาการคาดคะเนอย่างสมเหตุสมผลตามทฤษฎี และสอดคล้องกับสภาพความ
เป็นจริง โดยควรตั้งสมมุติฐานหลังจากท่ีได้ทาการศึกษาเอกสารงานวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับปัญหาน้ัน ๆ
แล้ว เพื่อให้ผู้วิจัยเกิดความชัดเจนในปัญหาที่ต้องการศึกษาและเห็นแนวทางของคาตอบว่าน่าจะ
เปน็ ไปในลกั ษณะใด ซ่ึงจะชว่ ยให้ผ้วู จิ ยั สามารถคาดคะเนคาตอบไดส้ มเหตุสมผลและมีอานาจในการ
พยากรณส์ ูง

หลังจากท่ีผู้วิจัยต้ังสมมุติฐานได้แล้วจาเป็นต้องเขียนสมมุติฐานในรูปของข้อความท่ีใช้ภาษา
สอื่ ความหมายไวเ้ ปน็ หลักฐานในรายงานการวจิ ัย โดยเขียนเปน็ ประโยคบอกเล่าให้มคี วามชัดเจน ซง่ึ มี
ลักษณะการเขียน 2 ลักษณะ คือ

~ 39 ~

1. การเขยี นสมมุติฐานแบบมที ิศทาง เปน็ การเขียนโดยระบุทิศทางของความสัมพันธ์
ของตวั แปรวา่ สมั พนั ธก์ ันในทิศทางใด เชน่ มากหรอื นอ้ ย ดีหรือเลว สูงหรือต่า บวกหรือลบ
ตวั อยา่ งเชน่
วตั ถุประสงค์การวิจัย : เพ่อื เปรยี บเทยี บเจตคติต่ออาชพี ครูระหว่างนกั ศึกษาหญิงกับนักศกึ ษาชาย
สมมุติฐาน : นักศึกษาหญงิ มีเจตคตติ ่ออาชีพครสู ูงกว่านักศึกษาชาย

วตั ถุประสงคก์ ารวจิ ยั : เพ่อื ศึกษาความสัมพันธร์ ะหวา่ งการสูบบหุ รี่ กับโรคมะเร็งปอด
สมมุตฐิ าน : การสูบบุหรกี่ บั โรคมะเร็งปอดมีความสมั พันธก์ นั ทางบวก

2. การเขียนสมมุติฐานแบบไมม่ ีทิศทาง เปน็ การเขียนสมมตุ ิฐานโดยไมไ่ ดร้ ะบุทศิ ทาง
ของความสัมพนั ธ์ของตวั แปร จะระบุเพียงแค่ตวั แปรทง้ั หมดแตกตา่ งกนั หรือสมั พนั ธก์ ันเทา่ นั้น
ตวั อยา่ งเช่น
วัตถปุ ระสงคก์ ารวจิ ยั : เพ่อื เปรยี บเทียบเจตคติตอ่ อาชพี ครรู ะหวา่ งนกั ศกึ ษาหญิงกับนกั ศึกษาชาย
สมมตุ ิฐาน : นกั ศกึ ษาหญงิ กบั นักศึกษาชายมีเจตคตติ ่ออาชพี ครูแตกต่างกัน

วตั ถุประสงค์การวิจัย : เพ่อื ศึกษาความสัมพนั ธร์ ะหว่างการสบู บุหรี่ กบั โรคมะเรง็ ปอด
สมมตุ ฐิ าน : การสบู บหุ ร่กี บั โรคมะเรง็ ปอดมคี วามสัมพนั ธก์ นั

การที่ผู้วิจัยจะเลือกสมมุติฐานในลักษณะใดนั้น ข้ึนอยู่กับความรู้ท่ีผู้วิจัยท่ีค้นคว้า ว่ามีมาก
เพียงใด ถ้ามีมากพอที่จะช้ีให้เห็นถึงแนวโน้มของทิศทางใดทิศทางหน่ึงก็ควรตั้งสมมุติฐานแบบมี
ทิศทาง แตห่ ากมหี ลกั ฐานไมเ่ พียงพอ หรือไมแ่ นใ่ จในทิศทางของคาตอบก็ควรต้ังสมมุติฐานแบบไม่มี
ทิศทาง

ประชากรและกลุม่ ตวั อย่าง
เพ่ือให้ผลการวิจัยถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ข้อมูลท่ีได้รับควรเป็นข้อมูลท่ีได้มาจากส่ิงที่

ต้องการศึกษาทั้งหมด ซึ่งเรียกว่า ประชากร (population) แต่ในกรณีท่ีกลุ่มประชากรมีสมาชิก
มากมายจนไม่สามารถศกึ ษาได้ท้งั หมด นกั วจิ ัยจะเลอื กตวั แทนของกลุ่มประชากรทม่ี คี ณุ สมบัตติ รงกนั
กับกลุ่มประชากรมาทาการศกึ ษาวจิ ยั แทน แลว้ สรปุ ผลการวิจัยไปสู่กลุ่มประชากรได้ ตัวแทนเหล่านี้
ก็คอื กลมุ่ ตัวอยา่ ง (sample)

ประชากร (Population) หมายถึง สิ่งท่ีเรากาหนดไว้เพ่ือการศึกษาทั้งหมดที่สอดคล้องกับ
ประเด็นหรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย เช่น ถ้าต้องการวิจัยเร่ืองพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนช้ัน
ป.1 ประชากรในการวิจัยน้ีหมายถึงนกั เรียนชนั้ ป. 1 ทั่วประเทศ ประชากรทนี่ ามาใชใ้ นการวิจัย

~ 40 ~

มี 2 ประเภท คือ
1. ประชากรท่ีมีจานวนจากัด (Finite Population) คือ ประชากรท่ีเราสามารถ

นับจานวนสมาชิกได้ครบถ้วน เช่น นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจา้ พระยาท่เี ข้าศึกษาในปกี ารศึกษา 2556 เปน็ ตน้

2. ประชากรท่ีมจี านวนมากมายนบั ไมไ่ ด้ (Infinite Population) หรือกลุ่มประชากร
ท่ีไมส่ ามารถนบั จานวนสมาชกิ ทง้ั หมดได้ เช่น จานวนแมบ่ ้านในประเทศไทย เปน็ ต้น

กลุม่ ตวั อย่าง (Sample) หมายถึง สมาชิกจานวนจากัดของประชากรที่ถูกเลือกมาเพื่อการ
วิจัย โดยพยายามทาให้สมาชิกที่เลือกมาเป็นตัวแทนท่ีดีของกลุ่มประชากร ซ่ึงการเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างให้เป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากรจะต้องกระทาด้วยวิธีเลือกแบบสุ่ม (Random) โดยให้
สมาชิกของกลุม่ ประชากรแต่ละสมาชกิ มโี อกาสไดร้ ับการเลือกเปน็ ตวั แทนเทา่ ๆ กนั

ลกั ษณะของกลมุ่ ตวั อยา่ งทด่ี ี
กลุ่มตวั อย่างทีด่ คี วรมีลักษณะดงั นี้
1. ต้องมีลักษณะความเป็นตัวแทนท่ีดี คือ จะต้องมีคุณสมบัติท่ีสาคัญครบถ้วนตาม

คุณสมบัติของประชากรทีจ่ ะศึกษา และการเลอื กสมาชกิ ในกลุม่ ตวั อย่างควรกระทาโดยการสุ่ม
2. ขนาดของกลุ่มตัวอย่างต้องมีจานวนพอเหมาะที่จะทาการทดสอบเพ่ือนาผลไป

สรุปเป็นผลจากกลุ่มประชาการได้ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจะมาก - น้อย เพียงใดจึงจะเหมาะสม
ย่อมข้ึนอยกู่ บั เร่ืองท่ีต้องการวิจัย การใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นจานวนมากเกินไปไม่ช่วยให้การ
วิจัยแม่นยาข้ึนแต่ทาให้ส้ินเปลืองทรัพยากรมากข้ึน ถ้ากลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไปจะมีความ
คลาดเคลือ่ นมาก

ข้นั ตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
เนอ่ื งจากกลุ่มตัวอยา่ งเปน็ ส่ิงสาคญั ในการให้ขอ้ มลู เพือ่ การวิจยั ดังนน้ั การสมุ่ ตัวอย่างจงึ

จาเปน็ ต้องกระทาอย่างมจี ุดหมาย เพอ่ื ให้กลุ่มตวั อยา่ งที่ไดม้ าเป็นตวั แทนของประชากรทง้ั หมด ใน
การสมุ่ ตวั อย่างควรมีลาดับขั้นดังน้ี

1. กาหนดจดุ ม่งุ หมายของการวิจัย และใหค้ าจากัดความของกลมุ่ ประชากรท่ีจะนามาใช้
ในการวิจัยให้ชัดเจนว่า กลุ่มประชากรท่ีจะศึกษาคือใคร มีลักษณะอย่างไร มีขอบเขตกว้างขวาง
เพียงใด เป็นจานวนเท่าใด เช่น ในการศึกษาความเห็นของนักศึกษาสถาบันราชภัฏก็จะต้องระบุว่า
เป็น นักศึกษาสถาบนั ราชภฏั ไหน ระดบั ใด มคี ณุ สมบัติอยา่ งไร เป็นตน้

2. ศึกษาลกั ษณะความเปน็ อยูข่ องสมาชกิ ท่เี ปน็ กลุ่มประชากร ว่าเป็นใคร อยู่ท่ีไหนบ้าง
และมีจานวนเท่าใด ถา้ เปน็ ไปได้ควรทราบบัญชีรายชอื่ กลุ่มประชากรทีเ่ ป็นปจั จุบันท่ีสดุ ซ่ึงเรียกว่า
ขอบเขตของประชากร (Population frame)

~ 41 ~

3. แยกคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อความสะดวกในการสุ่มตัวอย่างและเลือกวิธีสุ่ม
ตัวอย่าง เชน่ แยกตาม เพศ อายุ จังหวัด เขต ประเภทของโรงเรียน เปน็ ต้น

4. เลือกวิธีสุ่มตัวอย่าง โดยพิจารณาลักษณะของกลุ่มประชากรและลักษณะของข้อมูล
เป็นเกณฑ์ในการเลือกวิธสี ุ่มตวั อยา่ ง

การสมุ่ กลุม่ ตวั อยา่ ง (Random Sampling)
การสุ่มกลมุ่ ตัวอย่างเพอื่ ใหก้ ลมุ่ ตวั อย่างท่เี หมาะสมกับงานวจิ ยั มหี ลายวิธี ดังนี้
1. การสุ่มโดยอาศัยความน่าจะเป็น (Probability sampling) ซึ่งประกอบด้วย

วธิ ีการสมุ่ แบบตา่ ง ๆ ดังนี้
1.1 การสุ่มแบบธรรมดาหรอื การส่มุ อย่างง่าย (Simple random sampling)
1.2 การสมุ่ แบบมเี ชงิ ระบบ (Systematic sampling)
1.3 การสุ่มแบบแบ่งช้ัน(Stratified sampling)
1.4 การสุม่ แบบแบ่งกลมุ่ (Cluster sampling)

2. การสุ่มโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non - Probability sampling) ซึ่ง
ประกอบด้วยวธิ กี ารสุ่มแบบตา่ ง ๆ ดงั นี้

2.1 การสมุ่ ตวั อย่างโดยบังเอญิ (Accident sampling)
2.2 การสุ่มตัวอยา่ งตามโควต้า (Quota sampling)
2.3 การส่มุ ตัวอยา่ งตามจดุ มุง่ หมาย (Purposive)
2.4 การสุม่ ตัวอยา่ งตามความสะดวก (Convenience sampling)
2.5 การส่มุ ตัวอยา่ งเชิงก้อนหมิ ะ (Snowball sampling)
3. การสุ่มโดยใช้ความน่าจะเป็นและไม่ใช้ความน่าจะเป็นร่วมกัน (Combination
of Probability Sampling) วิธีสุ่มตัวอย่างแต่ละวิธีจะเหมาะสมสาหรับลักษณะข้อมูลและ
วตั ถปุ ระสงคต์ ่าง ๆ กนั (ซ่งึ จะกลา่ วในตอนตอ่ ไป)
การกาหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างท่ีนามาทาการวิจัยต้องมีจานวน
มากพอที่จะเป็นตัวแทนคุณลักษณะท่ีสาคัญของกลุ่มประชากรได้ รายละเอียดของการสุ่มกลุ่ม
ตวั อยา่ ง ดงั มตี อ่ ไปนี้
1. การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) เป็นการสุ่ม
ตัวอย่างโดยให้แต่ละหน่วยของตัวอย่าง (Sample unit) ท่ีจะถูกเลือกมีโอกาสได้ถูกเลือกเท่า
ๆ กัน การสุ่มตวั อยา่ งโดยอาศยั ความนา่ จะเป็น สามารถทาไดห้ ลายวิธี ดังนี้
1.1 การเลือกกล่มุ ตัวอย่างแบบธรรมดาหรือการส่มุ อย่างงา่ ย (Simple Random
Sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบนี้ใช้กันมาก ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีสุ่มตัวอย่างท่ีง่าย สะดวก มี
ลกั ษณะทางสถิติเชิงอนมุ านอย่างสมบูรณ์ และทุกหนว่ ยของกลุ่มประชากรที่ต้องการศึกษามีโอกาส

~ 42 ~

ถกู เลือกเป็นกลุ่มตวั อยา่ งเท่า ๆ กัน
วิธกี ารสุม่ ตวั อย่างแบบง่ายอาจทาไดห้ ลายวิธี เชน่
(1) วธิ กี ารจบั ฉลาก โดยการเขียนชอ่ื หรอื เลขทีแ่ ทนแตล่ ะหน่วยของประชากร แลว้

ใช้วธิ หี ยิบรายชือ่ หรือเลขทีอ่ อกมาโดยปราศจากความลาเอียง
(2) วิธกี ารใช้ตารางการสุ่ม ซึ่งมลี าดับขัน้ ดงั นี้
ก. กาหนดเลขที่แทนทุกหน่วยในกลุ่มประชากร จากหมายเลข 1 ไปจนครบ

โดยไม่มรี ะบบ
ข. ใช้ตัวเลขในตารางตัวเลขสุ่ม (Random Numbers) เป็นตัวชี้หมายเลข

ของกลมุ่ ตวั อย่างที่จะนามาเปน็ กลมุ่ ตัวอย่าง โดยตอ้ งอาศยั ตารางตวั เลขที่สร้างโดยนกั คณิตศาสตร์
1.2 การส่มุ ตัวอยา่ งแบบมีระบบ (Systematic Sampling) เป็นการส่มุ ตัวอยา่ งอย่าง

มรี ะบบ ในกรณที กี่ ลุม่ ประชากรไดจ้ ดั เรยี งไวอ้ ยา่ งมรี ะบบแล้ว เช่น รายชื่อนักเรียนท่ีเรียงตามเลขที่
รายชอ่ื หนังสอื ในหอ้ งสมดุ หรือเลขที่บา้ น เป็นต้น การสุม่ ตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มที่เป็นระบบ เช่น เลือก
ประชากรทุก ๆ หนว่ ยที่ 5 หรอื ทุก ๆ หนว่ ยที่ 10 เป็นต้น เชน่ ถา้ มกี ลมุ่ ประชากร 500 คน
ต้องการกลมุ่ ตวั อย่าง 50 คน กอ็ าจเลือกกลมุ่ ได้โดยใชร้ ะบบการเลือกทกุ ๆ หน่วยที่ 10 เป็นต้น

1.3 การส่มุ ตวั อยา่ งแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) เป็นการสุ่มตวั อย่างโดยการ
แบง่ ประชากรออกเป็นกลมุ่ ๆ ตามความแตกต่างของกลมุ่ ประชากรเสยี ก่อน โดยใหป้ ระชากรในกลุ่มมี
ลักษณะคล้ายคลึงกันมากท่ีสุดและต้องให้ความแตกต่างระหว่างกลุ่มมีมากท่ีสุด การแบ่งกลุ่มใน
ลักษณะน้ีได้แก่ แบ่งตามเพศ อายุ ประสบการณ์ ระดับการศึกษา รายได้ เป็นต้น แล้วจึงนา
ประชากรแต่ละกลุ่มมาทาการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) อีกครั้ง
หนง่ึ อาจจะสุม่ ให้ได้จานวนสมาชิกในกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละกลุ่ม หรืออาจจะ
ใหส้ มาชกิ ในแตล่ ะกลุ่มมีจานวนเท่ากันก็ได้ แล้วจึงรวมกลุ่มตัวอย่างจากทุกกลุ่มเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่างที่
นามาทาการวิจัย การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการนี้จะใช้ได้ดีในกรณีท่ีกลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่มาก และ
สมาชิกของกลมุ่ ประชากรมลี ักษณะแตกต่างกันมาก

การสุ่มตัวอย่างแบบระดับชั้นนี้ ดีกว่าการสุ่มแบบอย่างง่ายตรงที่สามารถแบ่ง
ประชากรออกได้ตามลักษณะท่ีต้องการศึกษา การสุ่มแบบน้ีช่วยให้ความคลาดเคล่ือนในการสุ่ม
ระหว่างกลุ่มน้อย แต่ยังอาจมีความคลาดเคล่ือนภายในกลุ่มได้ ซ่ึงถ้าสามารถลดความคลาดเคลื่อน
ภายในกลุม่ ได้ กจ็ ะช่วยใหก้ ารสรุปลกั ษณะของมวลประชากรถูกตอ้ งย่ิงขนึ้

1.4 การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่ง
ประชากรที่ต้องการศึกษาออกตามพื้นที่ (Area Sampling) เสียก่อน แล้วศึกษากลุ่มประชากร
ทั้งหมดในบริเวณท่ีสุ่มได้ การสุ่มแบบนี้เรียกว่า เป็นการสุ่มบริเวณแบบช้ันเดียวหรืออาจจะนากลุ่ม
บริเวณที่สุ่มมาแล้วพิจารณาสุ่มตัวอย่างในบริเวณนั้น ๆ อีกคร้ังหน่ึงโดยการสุ่มแบบง่ายหรือการสุ่ม

~ 43 ~

เชิงระบบภายในกลุ่มอีกคร้ังหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนช้ัน ป.1 ใน
กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยอาจเร่ิมจากสุม่ เขตการศึกษากอ่ น วา่ จะศกึ ษากลุม่ ตัวอย่างในเขตใด เมื่อ
ไดเ้ ขตการศึกษาที่ตอ้ งการแลว้ อาจสุ่มโรงเรยี นในแต่ละเขตเหล่าน้ันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจทาได้โดย
การสุม่ อยา่ งง่าย เมือ่ ไดโ้ รงเรียนตามจานวนที่ต้องการแล้ว ก็อาจสุ่มตัวอย่างท่ีเป็นนักเรียนชั้น ป.
1 ในโรงเรยี นนัน้ อีกครง้ั หนึง่ ซงึ่ อาจใชว้ ิธีสมุ่ เชิงระบบก็ได้

การสุ่มแบบน้ีช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มาก และถ้าจัดกลุ่มให้มีความ
แตกต่างระหวา่ งกลมุ่ น้อยลง จะทาให้มคี วามคลาดเคล่ือนของตัวอย่างน้อยกว่าการสุ่มแบบอ่ืน ๆ แต่
อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องพยายามให้ความแตกต่างระหว่างกลุ่มน้อยที่สุด และความแตกต่าง
ระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มมีมากท้ังนี้เพื่อท่ีจะทาให้กลุ่มตัวอย่างท่ีสุ่มมามีลักษณะคล้ายกลุ่ม
ประชากรกรที่ตอ้ งการศกึ ษา

2. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non - Probability Sampling) การสุ่ม
ตัวอยา่ งแบบนี้ มิไดค้ านึงถึงโอกาสท่ีมวลประชากรแตล่ ะหนว่ ยจะถกู เลอื กมาใชใ้ นการวิจัยเท่า ๆ กัน
เหมอื นการสมุ่ แบบใช้ความนา่ จะเปน็ และไม่สามารถจะสรปุ ลกั ษณะของกลุ่มประชากรได้อย่างแน่ใจ
นัก แต่การสุ่มแบบน้ีสะดวกและส้ินเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ถ้าผู้วิจัยทาการศึกษาอย่างระมัดระวังก็จะ
ได้ผลเชน่ เดยี วกนั การสุ่มตัวอย่างโดยไมใ่ ช้ความน่าจะเป็น ได้แก่

2.1 การสุ่มตัวอย่างโดยบังเอิญ (Accident Sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดย
การเกบ็ ข้อมลู จากกล่มุ ตวั อย่างใกล้มอื ทส่ี ามารถนามาได้ เช่น ถ้าตอ้ งการศกึ ษาทศั นคตขิ องแมบ่ ้านตอ่
สิ่งหนึ่งส่งิ ใด ก็ใช้วิธีสัมภาษณ์แม่บ้านคนไหนก็ได้ที่ตนพบ จนกว่าจะครบตามจานวนที่ต้องการโดย
ไม่มีหลักเกณฑ์ จะเป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลที่ต้องการได้ การใช้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่ม
ประเภทนผ้ี วู้ ิจัยไม่สามารถประเมนิ คา่ ของความลาเอยี ง(bias)ได้ และยังมีโอกาสให้เกิดความเข้าใจ
ผดิ ในการสรุปผลการวิจยั ได้อกี ด้วย

2.2 การสุ่มตัวอย่างตามโควต้า (Quota Sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดย
พิจารณาจากสัดส่วนขององค์ประกอบของกลุ่มประชากรท่ีต้องการศึกษา เช่น สัดส่วนระหว่าง เพศ
อายุ ระดับการศึกษา …… ฯลฯ เปน็ ต้น เมือ่ แบ่งสดั สว่ นระหว่างองคป์ ระกอบของกลุ่มตวั อยา่ ง แล้ว
จึงส่มุ ตวั อยา่ งแตล่ ะกลมุ่ ตามสดั ส่วนทกี่ าหนดไวด้ ว้ ยวธิ โี ดยบงั เอญิ หรือเก็บเฉพาะผู้ท่ีให้ความร่วมมือ
จนครบตามจานวนที่ต้องการก็ได้ เชน่ ในการศกึ ษาทัศนคตขิ องนักศกึ ษาในมหาวทิ ยาลัยแห่งหนึ่ง
ซงึ่ มีนกั ศกึ ษาปรญิ ญาตรี 800 คน ประกาศนียบตั รบัณฑิต 500 คน และปรญิ ญาโท 700 คน ก็
จะเลือกกลุ่มตัวอย่างในสัดส่วน 8, 5, 7 ของจานวนตัวอย่างท่ีต้องการศึกษาและสุ่มโดยวิธี
บังเอิญเป็นตน้


Click to View FlipBook Version