๒.พระราชวงั ของกรุงศรีอยธุ ยา
พระราชวงั หลวง
เปน็ ท่ีประทับของพระมหากษัตริยต์ ลอดจนเปน็ ทใ่ี ชใ้ นงานราชการ พระราชพิธที ่ีสำคญั ของอาณาจกั ร
๑.สรุปการสร้างพระราชวงั หลวงครง้ั ใหญข่ องอยธุ ยา
กรุงศรีอยุธยาได้มีการสร้างพระราชวังหลวงครั้งใหญ่ ถึง ๒ รัชกาล คือ สมัยพระรามาธิบดีที่ ๑ (สมเด็จ
พระเจ้าอทู่ อง) เเละสมยั สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
๑.๑.สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในวันศุกร์ที่ ๓
เดือน เมษายน พุทธศักราช ๑๘๙๓ ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๕ ปีขาลโทศก เวลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท ตั้งพิธีกลบบาท
พบสังขท์ ักษิณาวฏั ใต้ต้นหมัน จึงสร้างเมืองตามลกั ษณะของสังข์ นามวา่ " กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลก
ภพนพรตั น์ ราชธานบี รุ ีรมย์” ในการนีท้ รงโปรดเกล้าให้สร้างมหาปราสาทข้ึน ๓ หลงั ไดเ้ เก่ พระที่นั่งไพชยนต์
มหาปราสาท พระที่นั่งไพฑรู ยม์ หาปราสาทและพระท่นี ่ังไอศวรรย์มหาปราสาท
นอกจากนี้ยังสร้างพระที่นั่งสำหรับเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับเเละเสด็จออกขุนนาง คือ พระท่ี
นั่งมังคลาภิเษก(ปรากฏชื่อในรัชกาลของสมเด็จพระราเมศวร)เเละพระที่นั่งตรีมุข(ปรากฎชื่อในรัชกาลของ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เจ้าสามพระยา) พระที่นั่งที่สร้างในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ใช้เป็นท่ี
ประทบั ของพระมหากษตั ริยท์ งั้ สน้ิ 7 พระองคต์ ั้งแตพ่ ระเจ้าอ่ทู องถงึ สมเดจ็ พระเจา้ สามพระยา รวม 98 ปี
๑.๒.สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 ทรงถวายพระราชวงั ที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างขึ้น
อุทิศให้เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งมีความสำคัญในฐานะวัดประจำพระราชวัง ตามอย่างวัดมหาธาตุในกรุง
สุโขทัย ต่อมาได้เป็นต้นเเบบของวัดพระศรีรัตนมหาศาสดาราม กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน โดยพระราชวัง
ใหม่นี้ พระองค์ทรงขยายเขตพระราชวังหลวงขึ้นทางทิศเหนือ ชิดริมฝั่งเเม่น้ำลพบุรี ปรากฏชื่อพระที่นั่งท่ี
พระองค์ทรงสร้าง ๓ องค์ซึ่งเป็นตำแหน่งของเขตพระราชฐานชั้นกลาง คือ พระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาท
พระทนี่ ง่ั สรรเพชญมหาปราสาท และพระทนี่ ัง่ มังคลาภิเษกมหาปราสาท
ต่อมามีการสร้างเพิ่มเติมในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยทรงขยายเขตพระราชวังต่อ
จากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จนมีพื้นที่กว้างขวางชิดกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ โปรดเกล้าให้สร้างพระที่น่ัง
ในเขตพระราชฐานชั้นนอกขึ้น ๑ องค์ คือพระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ และสร้างพระที่นั่งวิหารสมเด็จใน
เขตพระราชฐานชน้ั กลางแทนพระทน่ี ่ังมังคลาภเิ ษก
เมื่อถึงรัชกาลของสมเด็จพระเพทราชาจึงมีการสร้างพระที่นั่งในเขตพระราชฐานชั้นใน คือพระที่น่ัง
บรรยงก์รัตนาสน์และพระที่นั่งทรงปนื สำหรับเป็นที่ประทับสว่ นพระองค์และพระสนมฝ่ายใน พระที่นั่งในเขต
ที่สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถสร้างขึน้ น้ี ใช้เปน็ ทป่ี ระทับของพระมหากษตั ริย์ ๒๖ พระองคจ์ นสิ้นกรุงศรอี ยุธยา
๒.รายพระนามของกษตั รยิ ท์ ีท่ รงสรา้ งพระท่ีนั่งในพระราชวงั หลวงของอยธุ ยา
การสร้างพระราชวังหลวงน้ัน มีวัตถุประสงค์เพื่อเเสดงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ สร้างความโอ่อ่า
มงั่ คั่งของราชธานี สรปุ ได้ดงั น้ี
๒.๑.สมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ สร้างพระที่นั่ง ๕ องค์ ประกอบด้วย พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท
พระที่น่ังไพฑรู ย์มหาปราสาท พระทน่ี ่ังไอศวรรย์มหาปราสาท พระทน่ี ่งั มังคลาภิเษกและพระท่นี ่ังตรีมขุ
๒.๒.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สร้างพระที่นั่ง ๓ องค์ ประกอบด้วย พระที่นั่งเบญจรัตน์ พระที่นั่ง
สรรเพชญมหาปราสาทและพระทนี่ ่ังมงั คลาภิเษก
๒.๓.สมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททอง สร้างพระท่นี ง่ั จกั รวรรด์ไิ พชยนต์และพระท่ีน่งั วิหารสมเดจ็
๒.๔.สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช สร้างพระทนี่ ่งั สรุ ยิ าสนอ์ มรินทร์
๒.๕.สมเดจ็ พระเพทราชา สร้างพระท่นี ่งั บรรยงกร์ ตั นาสน์และพระท่ีนงั่ ทรงปนื
๓.ประวัตคิ วามสำคญั ของพระท่ีน่งั เเต่ละองค์
๓.๑.พระที่นั่งเบญจรัตน์ เป็น ๑ ใน ๓ องค์ ที่สร้างในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พร้อม
กับพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาทและพระที่นั่งมังคลาภิเษก เมื่อคราวถวายวังเดิมเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์
แล้วสร้างพระราชวังใหมท่ างเหนือ ชิดริมฝั่งแม่น้ำลพบุรี ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้างพระที่
นง่ั สุริยาสนอ์ มรินทร์ข้นึ แทนพระท่นี ่งั เบญจรัตน์
พระที่นั่งเบญจรัตน์เป็นพระที่นั่งยอดมณฑป มากถึง ๕ ยอด ใช้สำหรับออกว่าราชการบ้านเมือง
ประชุมราชการกับเหลา่ เสนาบดีรวมถึงใชส้ ำหรบั ตดั สินคดีความอีกดว้ ย ตามท่ปี รากฏหลักฐานในคำให้การขุน
หลวงวัดประดู่ทรงธรรมวา่
"อนึ่งพระที่นั่งเบญรัตนมหาปราสาทนั้นมียอดมณฑปห้ายอด มีมุขศรสี่ชั้นเสมอกันทั้งสี่ด้าน มีมุขยาว
ออกมาจากมขุ ใหญท่ งั้ สดี่ ้าน แตม่ ขุ ยาวทัง้ สด่ี ้านนัน้ น่ามุขท้ังส่ีดา้ นเปนจตุรมุขมยี อดมณฑปทกุ มุขเปนส่ยี อด แต่
พื้นมุขทั้งสี่ด้านต่ำเปนท้องพระโรงทั้งสี่ด้าน สำหรับเสดจออกว่าราชการตามระดูทั้งสามระดูสามมุข แต่
ด้านหลังเปนมขุ ฝา่ ยในสำหรับเสดจออกว่าราชการฝา่ ยใน ฝ่ายพระมหาปราสาทแลฝา มุขใหญ่นั้นเปนผนงั ปูน
ทารัก ประดับกระจกปิดทองคำเปลวเปนลายทรงเข้าบิณฑ์ ใต้พระบัญชรเปนรูปสิงห์ทุกช่อง ซุ้มจระนำพระ
บัญชรเปนรูปพรหมภักตรทุกช่อง ถานปัตพระมหาปราสาทเป็นรูปปั้น ชั้นต้นเปนรูปกุมภัณฑ์ ชั้นสองเปนรูป
ครุธจับนาค ชั้นสามเปนรูปเทพนมถวายกร จนถึงชั้นรูปสิงห์รับพระบัญชร บางพระบัญชรจำลักลายเปนรูป
เทพบุตรแลเทพธิดาเปนคู่กันทุกช่อง บานพระทวารเปนรูปนารายณ์สิบปาง บานละปางมีทิมคตล้อมรอบพระ
มหาปราสาท มปี ระตดู า้ น ๑ พระมหาปราสาทองค์น้ีเปนที่ทรงพิภาคษาตราคดี แลกิจการพระนครสำคัญเปนท่ี
ประชมุ ใหญ่ฝา่ ยมหามาตยาธบิ ด"ี
๓.๒.พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระที่นั่งองค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า พระมหากษัตริย์พระองค์ใด
เปน็ ผู้สร้าง ปรากฏช่อื ในสมยั ของพระมหากษตั ริยห์ ลายพระองค์ดังน้ี
-สร้างในรัชกาลของสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ พร้อมกับพระที่นัง่ เบญจรัตน์และพระที่นั่งสรรเพชญ
มหาปราสาท
-หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทยเล่มที่ ๑๔ กล่าวว่า สร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหมอบลัดเลย์ยังกล่าวถึงพระที่นั่งองค์นี้ว่าสมเด็จพระนเรศวร
มหาราชใช้รับทูตของพระนักสัทธา เจ้าเมืองละแวกที่มาถวายเครื่องบรรณาการเป็นเมืองขึ้น ต่อมาก็มีการ
กล่าวถึงพระที่นั่งมังคลาภิเษกอีกครั้งในรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถว่าใช้ประกอบพระราชพิธีประเวศ
พระนคร ดงั น้ี
“แลเสด็จขึ้นพระที่นั่งมังคลาภิเษกสีหบัญชรอันประดับด้วยเนาวรัตนชัชวาล มีพระคชาธารพระยา
สารอลงกต สถิตทั้งซ้ายขวาทั้งพวกพลโยธาทหารตั้งแห่ดาษดาโดยขนัดสรรพาวุธทั้งปวง ตั้งเป็นขบวนประดับ
ประดา จึงเบิกท้าวพระสามนตราชตระกูลพฤฒามาตย์มหาเสนาบดีทั้งปวงถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระ
เอกาทศรถ อิศวรบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เบิกสมโภชเลี้ยงลูกขุน แลถวายอาเศียรพาทสำหรับ
การพระราชพธิ ีพระนครประเวศนัน้ ”
ตอ่ มาในรัชกาลของสมเดจ็ พระเจ้าปราสาททองเกดิ ฟ้าผา่ พระทนี่ ่ังจนเพลงิ ไหม้ จึงโปรดให้สร้างพระท่ี
นัง่ องค์ใหมข่ ้ึนแทนที่ ในบริเวณของพระท่นี ง่ั มังคลาภเิ ษกน้พี ระราชทานนามวา่ พระทีน่ ั่งวหิ ารสมเด็จ
๓.๓.พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท ด้านซ้ายของพระที่นั่งเป็นที่ตั้งโรงช้างเผือกสมัยอยุธยา
เป็นพระท่ีนงั่ ๑ ใน ๓ องค์ ทีส่ รา้ งในรัชกาลของสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ พร้อมกับพระท่ีนั่งเบญจรัตน์และ
พระที่นั่งมงั คลาภิเษก เมือ่ คราวถวายวงั เดิมเป็นวัดพระศรสี รรเพชญ์ แล้วสรา้ งพระราชวงั ใหม่ทางเหนือ ชิดริม
ฝง่ั แมน่ ้ำลพบรุ ี ฐานของพระท่ีน่ังโคง้ คล้ายเรือสำเภา ขนาดของพระท่นี ่ังใหญโ่ ต สถาปัตยกรรมมีความประณีต
ส่วนเครื่องยอดหลังคาได้รับการบูรณะในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยการการปิดทองทั้งหมด
นับเป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งท่ีแสดงมั่งคั่งของอยุธยาได้เป็นอย่างดี จึงนิยมใช้สำหรับราชทูตจากเมืองต่างๆ
ตลอดจนพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเพทราชา เป็นต้น พระที่น่ัง
สรรเพชญปราสาทยังมีหลักฐานปรากฏในบันทึกของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัย
สมเดจ็ พระนารายณอ์ กี ด้วย
นับเป็นพระที่นั่งองค์เดียวใน ๓ องค์ที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างขึ้นแล้วมิได้สร้างใหม่ใน
รัชกาลต่อมา เหมือนพระที่นั่งเบญจรัตน์ท่ีสมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงสร้างพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ขึ้นแทน
และพระทนี่ ่ังมงั คลาภเิ ษกทส่ี มเดจ็ พระเจา้ ปราสาททองสรา้ งพระทน่ี ง่ั วิหารสมเด็จขน้ึ แทน
พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาทเป็นโบราณสถานแรกที่รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าให้บูรณะขึ้น สำหรับ
จารึกพระนามของกษัตรยิ ์อยุธยา ต่อมาจึงจะได้บูรณะโบราณสถานอ่นื เพอ่ื ให้อยุธยากับมางดงามดงั เดิม แต่ไม่
แลว้ เสร็จ เม่ือรชั กาลที่ ๕ ครองราชย์จึงสงั่ ให้รอ้ื ออกเปน็ โบราณสถานดงั เดิม
เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ได้ใช้ฐานของพระที่นั่งพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท สำหรับต้ัง
พลบั พลาชัว่ คราวในงานพระราชพิธีรชั มงั คลาภเิ ษก
๓.๔.พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ สร้างขึ้นในพ.ศ.2175 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เริ่มแรก
สร้างนั้นเรยี กนามว่า“ศรยี โสธรมหาพิมานบรรยงค์” ซงึ่ มีความเกยี่ วข้องกบั อาณาจักรขอม ต่อมาได้เปล่ยี นนาม
เป็น “พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์” ตามพระสุบินของพระองค์ ปรากฎหลักฐานพระราชพงศาวดารกรุงศรี
อยุธยาฉบบั หมอบลดั เลย์ว่า
“ในเพลากลางคืนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุบินนิมิตว่า สมเด็จอำมรินทราธิราชลงมานั่งแทบ
พระองค์ไสยาสน์ ตรสั บอกให้ตงั้ จกั รพยหุ ะแลว้ สมเดจ็ อำมรนิ ทราธิราชก็หายไป เพลาเชา้ เสดจ็ ออกขนุ นาง ทรง
พระกรุณาตรัสเล่าพระสุบินให้พฤฒาจารย์ทั้งปวงฟัง พระมหาราชครูปโรหิตโหราพฤฒาจารย์ถวายพยากรณ์
ทำนายว่า เพลาวานนี้ ทรงพระกรุณาให้ชื่อพระมหาปราสาทว่า ศรียโสธรมหาพิมานบรรยงค์นั้น เห็นไม่ต้อง
นามสมเด็จอำมรินทราธิราช ซึ่งลงมาบอกให้ตั้งจักรพยุหะ อันจักรพยุหะนี้เป็นที่ตั้งใหญ่ในมหาพิชัยสงคราม
อาจจะข่มเสียได้ซึ่งปัจจามิตรทั้งหลาย ขอพระราชทานเอานามจักรนี้ ให้ชื่อพระมหาปราสาทว่ า จักรวรรดิ
ไพชยนตม์ หาปราสาท”
พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์เป็นพระที่นั่งองค์เดียวในเขตพระราชฐานชั้นนอก สร้างขึ้นติดกับวัด
พระศรีสรรเพชญ์ ด้านหน้าของพระที่นั่งแต่เดิมเป็นท้องสนามหลวงสำหรับออกงานพระเมรุ เมื่อพระองค์ทรง
สร้างพระที่นั่งองค์นี้ขึ้น ท้องสนามหลวงจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น “สนามหน้าจักรวรรดิ” เพื่อใช้สำหรับฝึกซ้อม
ทหาร ทำให้พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ได้ใช้สำหรับทอดพระเนตรการฝึกซ้อมรบและกระบวนแห่มหรสพ ใน
พระบรมมหาราชวงั กรุงเทพมหานครปจั จุบัน ก็มีพระท่นี ่ังท่ีด้านหน้าเป็นท้องสนามหลวงเชน่ เดียวกันกับพระที่
น่ังจกั รวรรดไิ พชยนต์ คอื พระทนี่ ัง่ สทุ ไธสวรรย์
ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ คือ ลักษณะเป็นปราสาทโถง ๓ โถง หรือท่ี
เรยี กกนั วา่ พระท่นี ั่งตรีมุข (คำว่า “ตรี” แปลว่า ๓ หากเป็นพระท่ีน่งั จตรุ มุขจะมี ๔ โถงตามแบบของพระท่ีน่ัง
สุริยาสน์อมรินทร์และพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทที่กรุงเทพมหานคร) ฐานของพระที่นั่งประดับด้วยปูนปั้น
รูปครฑุ ตามทเ่ี ห็นในพระราชวงั โบราณปจั จบุ ัน ได้รับอทิ ธพิ ลจากขอมเขมร ซึ่งสมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททองทรง
นยิ มสรา้ งสถาปตั ยกรรมศิลปะขอมอยา่ งมาก ดงั เห็นไดจ้ ากการสรา้ งวดั ไชยวัฒนารามและปราสาทนครหลวง
พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ ท่ีมาภาพจากหนังสอื สารานกุ รมไทยสำหรบั เยาวชนไทยเลม่ ที่ ๑๔
๓.๕.พระที่นั่งวิหารสมเด็จ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดให้สร้างขึ้นแทนพระที่นั่งมังคลาภิเษก
ทเี่ กิดฟ้าผ่าจนเพลิงไหม้ โหรหลวงทำนายวา่ เพลิงไหม้คร้ังนี้พระองค์จะมบี ารมีแผ่ไพศาล เม่ือได้ฟังดังน้ันก็ทรง
โสมนัสอย่างมาก ตรัสให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ขึ้นแทนในบริเวณของพระที่นั่งมังคลาภิเษกนี้ ตรงกับ
พ.ศ.21๘๖ สรา้ งอยู่ ๑ จงึ แล้วเสรจ็ ทรงพระราชทานนามวา่ พระท่นี งั่ วหิ ารสมเด็จ
จากการศึกษาจากหนังสือสารานุกรมไทยเล่มที่ ๑๔ สรุปได้ว่า พระที่นั่งวิหารสมเดจ็ มีรูปแบบคือ มุข
ข้างสั้นกว่ามุขหน้าหลัง ตรงมุขหน้ามบี ริเวณสำหรบั ต้ังพระทีน่ ่ังบุษบกมาลาเรียกว่า “มุขเด็จ” สถาปัตยกรรม
ปิดทองท้งั องค์ ซ่งึ ถือว่าเปน็ พระทีน่ ง่ั ปดิ ทององค์แรกของอยุธยา จึงทำใหเ้ รยี กกันว่า “ปราสาททอง” และจาก
หนงั สอื พระที่นง่ั วิหารสมเดจ็ ของรศ.เสนอ นิลเดช ยงั กลา่ วไว้อย่างน่าสนใจว่าพระที่นงั่ วหิ ารสมเด็จนี้ อาจเป็น
ท่ีมาของพระนามผู้สรา้ งคือ “สมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททอง”
ภาพจำลองพระท่ีนัง่ วิหารสมเดจ็
ท่มี าเข้าถงึ ได้จาก: https://cities.trueid.net/central/phra-nakhon-si-ayutthaya
โบราณสถานพระที่นงั่ วิหารสมเดจ็ ท่ีมาภาพจากหนงั สือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทยเลม่ ที่ ๑๔
๓.๖.พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ เป็นพระที่นั่งในเขตพระราชฐานชั้นกลาง สมเด็จพระนารายณ์
มหาราช โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประทับในฤดูร้อน ตรงบริเวณเดิมของพระท่ีเบญจรัตน์(พระที่นั่งที่สร้างในสมัย
พระบรมไตรโลกนาถ) ซึ่งถูกปืนใหญ่จนไฟไหม้เสียหาย เมื่อครั้งที่พระองค์ทำสงครามชิงราชสมบัติกับ
สมเด็จพระศรสี ธุ รรมราชา(พระเจ้าลุง) โดยแรกสร้างพระองคใ์ ห้พระนามวา่ “พระทีน่ ั่งสุริยามรินทร์” แต่ชื่อที่
เราเรียกกันในปัจจบุ ันคือ “พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์”นัน้ ได้รบั การเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้คล้องจองกับนามของ
พระทีน่ ง่ั สรรเพชญมหาปราสาท ในแผ่นดินของสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ
ลักษณะเป็นพระที่นั่งจตุรมุข(เป็นต้นแบบของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง
กรุงเทพมหานคร) ตามคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมกล่าวว่าเป็นปราสาทยอดมณฑป ๑ ใน ๑๑ องค์
คือมียอดมณฑปประธาน ๑ ยอดและบริวารอีก ๔ ยอด รวม ๕ ยอด ฐานของพระที่นั่งยกสูงที่สุดในบรรดา
พระที่นั่งองค์อื่นๆ จนสามารถมองข้ามกำแพงเมืองเห็นแม่น้ำลพบุรีและคลองสระบัวได้ เพื่อทอดพระเนตร
กระบวนพยหุ ยาตราชลมารคและกิจกรรมทางนำ้ เช่น การเล่นเพลงยาวของราษฎร เปน็ ตน้
ความสำคัญทางประวัติศาสตร์คือ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ท่ี
สมเด็จพระเพทราชาทรงอญั เชิญมาจากเมืองลพบุรี ต่อมาในแผ่นดินของสมเด็จพระเจา้ อุทมุ พร ได้มีเหตุการณ์
ทางการเมืองเกิดข้ึนที่พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ โดยกรมขนุ อนรุ ักษ์มนตรี(พระเจา้ เอกทัศน์) ได้ข้ึนมาประทับ
ที่พระท่นี ัง่ น้ี เปน็ เหตุให้สมเดจ็ พระเจ้าอทุ ุมพรสละราชสมบตั ิให้ เมอื่ ครองราชยจ์ ึงได้พระนามว่า “สมเด็จพระ
ที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์” เมื่อครั้งพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่ายกทัพมาล้อมกรุงในพ.ศ.๒๓๐๒ ตั้งปืนใหญ่
บริเวณวดั หนา้ พระเมรแุ ละวดั หสั ดาวาส(วัดช้าง) ระดมยิงใสพ่ ระราชวังหลวง จนถกู ยอดของพระท่ีน่ังสุริยาสน์
อมรินทร์หกั ลงมา
โบราณสถานพระทนี่ ง่ั สุริยาสนอ์ มรินทร์ ท่ีมาภาพจากหนงั สือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทยเล่มที่ ๑๔
๓.๗.พระที่น่ังบรรยงกร์ ัตนาสน์ เปน็ พระทีน่ งั่ องค์เดียวในเขตพระราชฐานช้นั ในสดุ ลักษณะที่เรียกว่า
กลับทิศวัง เพื่อความปลอดภัยส่วนพระองค์ สร้างขึ้นตรงกับพ.ศ. ๒๒๓๑ โดยผู้สร้างคือสมเด็จพระเพทราชา
สำหรบั ประทบั สว่ นพระองค์ของพระมหากษัตริย์ราชวงศบ์ า้ นพลูหลวง
ลักษณะของพระทนี่ ่ังคือ เปน็ พระทนี่ ง่ั จตุรมุขขนาดเล็ก กว้าง 6 เมตร สูง 40 เมตร มุงด้วยกระเบ้ือง
ท่ีทำจากดบี ุก ส่วนของหลังคามีพรหมพักตรแ์ ละฉัตร เครอื่ งยอด 9 ช้ัน บางครงั้ เรียกกนั วา่ “พระท่ีน่ังท้ายสระ
หรือพระที่นั่งกลางน้ำ” เพราะออกแบบให้มีสระน้ำล้อมรอบ สำหรับทรงเบ็ดตกปลา โปรยข้าวตอกให้อาหาร
ปลา ทางด้านตะวันตกมีสระขนาดใหญ่ใช้น้ำที่ทดมาจากคลองฉะไกรใหญ่หรือคลองท่อ ส่วนตะวันออกเป็น
อ่างแก้วสำหรับเลี้ยงปลาเงินปลาทอง ประดับอ่างแก้วโดยนำวิทยาการตะวันตกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
มาปรับใช้ คือ การมีน้ำพุ ประปา ตกแต่งอ่างเป็นภูมิทัศน์ภูเขา ซึ่งพระที่นั่งนี้มีลักษณะคล้ายกับพระที่นั่งใน
สวนขวาของพระบรมมหาราชวงั กรงุ เทพ คือ พระทนี่ ง่ั ทอง เหตทุ ี่สรา้ งในลักษณะน้เี พราะสมเดจ็ พระเพทราชา
ทรงโปรดที่จะให้อาหารปลา พระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อมาก็ทรงโปรดการเลี้ยงปลาและทรงเบ็ด เช่นกัน
โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าเสอื เม่อื วา่ งจากราชการพระองค์ก็จะทรงประพาสหวั เมือง เพือ่ สำราญพระราชหฤทัย
ด้วยการตกปลา เช่น การประพาสหัวเมืองสาครบุรีจนเกิดเป็นเรื่องพันท้ายนรสิงห์ เป็นต้น ต่อมาสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ก็โปรดที่จะประทับ ณ พระที่นั่งน้ีจนกลายเป็นพระนามของพระองค์ทั้ง ๒ พระนามวา่
สมเดจ็ พระทนี่ ่งั บรรยงก์รตั นาสน์และพระเจา้ อย่หู วั ท้ายสระ
๓.๘.พระที่นั่งทรงปืน เป็นพระที่นั่งโถงสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปยาวรี ผู้สร้างคือ สมเด็จพระเพทราชา
เริ่มแรกใช้สำหรับฝกึ ซ้อมอาวุธ ต่อมาใช้เปน็ ท้องพระโรงในการออกว่าราชการกับขุนนาง โดยเข้ามาทางประตู
โภคราช ปัจจุบันไม่หลงเหลือร่องรอยที่ตั้ง แต่ตามหนังสือสารานุกรมไทยสำหรบั เยาวชนไทยเล่มที่ ๑๔ กล่าว
ว่าติดกับพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์
๓.๙.พระที่นัง่ ตรีมุข ตั้งอยู่บริเวณด้านทางทศิ ตะวันตกของพระที่นัง่ สรรเพชญมหาปราสาท เป็นพระ
ที่นั่งอีก ๑ ที่ไม่ปรากฏปีที่สร้าง ปรากฏชื่อในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เจ้าสามพระยา ตามพระ
ราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิต์ิว่า “ศักราช ๘๐๓ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๘๔) ครั้งนั้นเกิด
เพลิงไหม้พระทีน่ ัง่ ตรีมุข” ทำให้สันนษิ ฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นราวสมัยสมเด็จพระเจ้าอูท่ องหรือ
อาจเป็นพระที่นั่งที่มีชื่อซ้ำกันหลายสมัย โบราณสถานพระที่นั่งตรีมุขในปัจจุบันนั้นเหลือเพียงส่วนฐาน เม่ื อ
พ.ศ.๒๔๕๐ รัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชย์ครบ ๔๐ พรรษา จึงเสด็จมาประกอบพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
บรวงสรวงองค์บูรพกษัตริยท์ ่ีอยธุ ยา จงึ ทรงรบั ส่ังให้พระยาโบราณราชธานนิ ทร์ ออกแบบดัดแปลงเพิ่มเติมจาก
ฐานพระที่นั่งตรีมุขเดิม เป็นพระมหามณเฑียร มีลักษณะเป็นพลับพลาโถง ไม่มีผนัง ถือว่าเป็นพระที่นั่งองค์
เดียวที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด สำหรับต้อนรับแขกจากเมืองต่างๆและเป็นที่ประทับชั่วคราวเมื่อคราวเสด็จ
ประพาสอยธุ ยา
พระที่น่ังตรีมขุ ท่ีมาภาพจากหนงั สือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทยเลม่ ที่ ๑๔
๔.การแบ่งเขตพระราชวังหลวงของกรุงศรอี ยุธยา
๔.๑.เขตพระราชฐานชั้นนอก ในเขตนี้มีพระที่นั่งสำคัญ ๑ องค์ คือ พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์
ด้านหน้าของพระที่นั่งเป็นสนามหน้าจักรวรรดิหรือท้องสนามหลวง และมีอาคารประกอบอื่นๆที่ใช้ในงาน
ราชการของบ้านเมือง เช่น คลังเก็บปืนใหญ่ ศาลาขุนนาง ศาลหลวงสำหรับตัดสินคดี โรงสำหรับเก็บราชรถ
ศาลาสำหรับสารบัญชีของกรมสรุ ัสวดี เปน็ ต้น
๔.๒.เขตพระราชฐานชั้นกลาง ในเขตนี้มีพระที่นั่งที่สำคัญที่สดุ ของอยธุ ยา เป็นมหาปราสาท ๓ องค์
ตง้ั เรยี งรายในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ พระทน่ี ั่งสุริยาสน์อมรินทร์(เดิมเป็นท่ีต้ังของพระท่ีนั่งเบญจรัตน์ในสมัยพระ
บรมไตรโลกนาถ) พระทีน่ ่ังสรรเพชญมหาปราสาท และพระทีน่ ั่งวหิ ารสมเด็จ(เดิมเป็นทีต่ ้ังของพระที่น่ังมังคลา
ภิเษกในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ) ระหว่างพระที่นั่งวิหารสมเด็จกับวัดพระศรีสรรเพชญ์มีฉนวนทางเดิน
สำหรับกษัตริย์ เจ้านายและฝ่ายใน เพื่อมิให้ใครมองเห็น นอกจากพระที่นั่งสำคัญ ๓ องค์ยังมีอาคารประกอบ
อนื่ ๆ คอื โรงช้างเผือก(ตง้ั ทางซา้ ยของพระท่ีน่ังสรรเพชญมหาปราสาท) พระคลงั มหาสมบัติ โรงม้า เป็นต้น
๔.๓.เขตพระราชฐานช้ันใน มีพระที่นั่งสำคัญ คือ พระที่นั่งบรรยงค์รตั นาสน์(ที่ประทับส่วนพระองค์
ของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวงตั้งแต่สมัยของพระเพทราชาเป็นต้นมา) พระที่นั่งตรีมุข พระที่น่ัง
ทรงปืน(สำหรับออกราชการกับขุนนาง) นอกจากนี้ยังเป็นที่ประทับของฝ่ายใน ดังเห็นได้จากอาคารอื่นๆ เช่น
ตำหนักคหู าสวรรคห์ รือตำหนักตกึ (ท่ปี ระทับของพระมเหส)ี ตำหนกั พระสนม โรงเครอ่ื งตน้ (ห้องครวั ) เป็นตน้
๔.๔.เขตสวนไพชยนต์เบญจรัตน์หรือพระคลังมหาสมบัติ ใช้สำหรับเก็บสิ่งของสำคัญของอยุธยา
เช่น สมุดหนงั สือสำคญั เกบ็ ไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม เคร่ืองอัฐบรขิ ารเก็บไว้ในคลังศุภรัตน์ เครอื่ งครัวเก็บไว้
ในคลังวิเศษ และเครอ่ื งแกว้ ตา่ งๆเกบ็ ไว้ในคลงั พิมานอากาศ เป็นต้น
๔.๕.เขตสวนองุ่น มีตำหนักสระแก้ว ตำหนักศาลาลวด สร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั บรมโกศ
เป็นท่ปี ระทับของพระราชโอรส
๔.๖.เขตสวนกระต่าย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสร้างพระตำหนักขึ้นในเขตนี้ เรียกชื่อว่า “พระ
ตำหนักสวนกระต่าย” ใช้เป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(พระอุปราช) คือ กรมขุนพรพินิต
ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร แทนพระราชวังจันทรเกษมซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชมาแต่คร้ัง
สมเดจ็ พระมหาธรรมราชา
เหตกุ ารณ์สำคัญ เชน่ พ.ศ.๒๓๐๐กรมขนุ อนุรักษ์มนตรีซ่ึงผนวช ณ วดั ลมดุ ปากจนั่ เม่ือพระเจ้าอยู่หัว
บรมโกศประชวรก็ลาผนวชมาประทับที่พระตำหนักสวนกระต่าย เมื่อได้โอกาสก็ขึ้นไปนั่งบนพระที่น่ังสุริยาสน์
อมรินทร์ ทำใหพ้ ระเจ้าอุทมุ พรมอบราชสมบัติให้
๔.๗.เขตวัดพระศรสี รรเพชญ์ เดมิ เปน็ พระราชวังหลวงในสมัยสมเดจ็ พระเจา้ อู่ทอง มพี ระน่ังสำคญั ๓
องค์ คือ พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท และพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท
ต่อมาในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงได้ถวายวังเดิมนี้ เป็นเขตพุทธวาส เดิมเรียกว่า “วัด
พทุ ธาวาส” ตอ่ มาเปลย่ี นเปน็ “วดั พระศรสี รรเพชญ์” ถอื เป็นวัดทม่ี ีความสำคญั ที่สุดของอยธุ ยา เพราะเป็นวัด
ประจำพระราชวัง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้ในการประกอบพระราชพิธีหลวง ภายในวัดมีพระเจดีย์สำคัญ ๓
องคแ์ ละท้ายจระนำวหิ ารหลวง สำหรบั บรรจุอฐั ขิ องบูรกษตั รยิ อ์ ยธุ ยา เชน่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเดจ็
พระรามาธบิ ดีที่ ๒ เป็นตน้ เมื่อถงึ สมยั รตั นโกสนิ ทรไ์ ดเ้ ป็นตน้ แบบของวัดพระศรรี ตั นมหาศาสดารามอีกดว้ ย
วังหนา้
ตามขอ้ มลู ของกรมศลิ ปากรสรุปไดว้ า่ วังหน้า คอื พระราชวังสำหรบั เป็นทปี่ ระทับของกรมพระราชวัง
บวรสถานมงคลหรือพระมหาอุปราช ซึ่งเปรียบเสมือนพระมหากษัตริย์องค์ที่สองของอาณาจักร นั่นคือ
พระราชวังจันทรเกษม นิยมเรียกกันว่า วังจันทร์หรือวังใหม่ ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุง
ศรีอยุธยา สร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๑๒๐ ตรงกับสมัยของพระมหาธรรมราชาธิราช เพื่อใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราช เม่ือคร้งั ดำรงพระยศเปน็ พระมหาอุปราช แทนการครองเมืองพิษณโุ ลก
เดิมนั้นต้ังแต่สมเด็จเจ้าสามพระยาเป็นตน้ มา อยุธยาจะส่งพระมหาอุปราชไปครองเมืองพษิ ณุโลก ซ่ึง
รายพระนามของพระมหาอปุ ราชที่ส่งไปครองพิษณโุ ลกมี ๕ องค์ดงั น้ี
๑.สมเด็จพระราเมศวร(พระบรมไตรโลกนาถ) : หลังจากสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๔ แห่งกรุง
สุโขทัยสวรรคต สมเด็จพระเจ้าสามพระยา จงึ สง่ พระราเมศวร(พระบรมไตรโลกนาถ)ไปครองพิษณโุ ลก เพื่อคุม
เมืองเหนือ รวมเมืองเหนอื เปน็ ๑ อย่างเดิม นับเปน็ ครัง้ เเรกทส่ี ่งอปุ ราชไปพษิ ณโุ ลก
๒.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ : เมื่อพระบรมไตรโลกนาถได้ครองราชย์ ก็ไม่ได้ส่งใครไปครองเมือง
พิษณุโลก ทำให้พิษณุโลกเป็นเพียงหัวเมืองชั้นใน ต่อมาพระยายุทธิศฐิระ เจ้าเมืองเชลียง(สวรรคโลก) ไป
สวามิภักด์ิกับพระเจ้าติโลกราชเเห่งลา้ นนา ยกทัพมาตีหัวเมืองเหนือ ได้เมืองสวรรคโลก สุโขทัย กำเเพงเพชร
ทำให้พระบรมไตรโลกนาถต้องย้ายราชธานีไปอยู่พิษณุโลก เพื่อป้องกันศึกทางเหนือ เเล้วให้พระบรม
ราชาธิราชที่ ๓ ครองอยุธยาในฐานะเมืองอุปราชขึ้นต่อพิษณุโลก เมื่อพระองค์ครองพิษณุโลกก็สถาปนา
สมเดจ็ พระเชษฐา(พระรามาธบิ ดที ่ี ๒) เปน็ พระอปุ ราชเมืองพษิ ณโุ ลก
๓.พระอาทิตยวงศ์(พระบรมราชาธิราชที่ ๔ หน่อพุทธางกูร) : เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ขึ้น
ครองราชย์ทีอ่ ยธุ ยา กส็ ถาปนาพระอาทติ ยวงศ์เปน็ อุปราชครองพิษณุโลก
๔.สมเดจ็ พระไชยราชาธิราช : เม่ือสมเดจ็ พระอาทิตยวงศ์ครองราชย์เปน็ พระบรมราชาธิราชท่ี ๔ ก็ส่ง
พระอนชุ า คอื พระไชยราชา ไปเปน็ พระอปุ ราชครองพษิ ณุโลก เน่อื งจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชผเู้ ป็นพระโอรส
ยังทรงพระเยาว์ หลังจากนั้นพระองค์ก็สวรรคต พระไชยราชาจึงเสด็จมาจากเมืองพิษณุโลก สำเร็จโทษ
พระรัษฎาธิราช แล้วขึ้นครองราชย์แทน นับจากนั้นอยุธยาก็ไม่ได้ส่งพระอุปราชไปครองพิษณุโลกอีกเป็น
เวลานาน จนถึงรัชกาลพระมหาจกั รพรรดิ จงึ แตง่ ต้งั ขนุ พเิ รนทรเทพเป็นพระมหาธรรมราชา เจ้าเมอื งพษิ ณุโลก
เเต่มไิ ดม้ ีฐานะเปน็ พระอปุ ราช เเต่กลบั ให้คล้ายกบั คร้งั สโุ ขทยั เปน็ ราชธานี คือ มีพระมหาธรรมราชาปกครอง
๕.สมเด็จพระนเรศวร : หลังจากสมเด็จพระมหาธรรมราชาไดค้ รองราชย์ท่ีอยุธยา กไ็ ด้เเลกตัวพระองค์
ดำ มาจากพมา่ เเลว้ ตง้ั เปน็ พระอปุ ราชครองพิษณโุ ลก นับเป็นอุปราชพระองค์สุดท้ายที่ไดค้ รองเมืองพิษณุโลก
เพราะเม่อื มกี ารเทครวั เมืองเหนือลงมาอยธุ ยา สมเด็จพระมหาธรรมราชา จึงสร้างวงั หนา้ หรอื วงั จันทร์เกษมขึ้น
เพ่อื เปน็ ท่ีประทับของสมเดจ็ พระนเรศวร
พระมหาอุปราชที่ประทับ ณ วังจันทรเกษม มี ๘ พระองค์ดังนี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จ
พระเอกาทศรถ เจ้าฟ้าสุทัศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเจ้าเสือ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระ
เจา้ อยู่หวั บรมโกศ กรมพระราชวงั บวรมหาเสนาพทิ ักษ์หรอื เจ้าฟ้ากงุ้ (เปน็ พระองคเ์ ดยี วที่ไม่ได้ข้นึ ครองราชย์)
พระมหาอุปราชอีก ๑ พระองค์คือ กรมขุนพรพินิตหรือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร พระมหาอุปราชองค์
สดุ ท้ายไดเ้ ปลยี่ นมาประทับทพ่ี ระตำหนกั สวนกระตา่ ยแทน
เหตุที่เรียกว่าวังหน้านั้น คงจะมาจากที่ตั้งของสถานที่ ที่อยู่ด้านหน้าของพระราชวังหลวง มีอาคาร
ประกอบตา่ งๆ ดังน้ี
-พระท่นี งั่ พมิ านรัตยา เป็นท่ีประทบั ของพระอุปราช ไดม้ กี ารสร้างขึน้ ใหมใ่ นสมยั รชั กาลที่ ๔
-หอพิศัยศัลลักษณ์หรือหอส่องกล้อง เป็นหอคอยดูดาวตามวิทยาการของฝร่ังเศสและเม่ือเกิดสงคราม
ลอ้ มกรงุ ก็ใช้ทอดพระเนตรดูขา้ ศึกไดด้ ว้ ย) สรา้ งในสมยั สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช สรา้ งอีกคร้ังในสมยั รัชกาล
ที่ ๔ สำหรับทอดพระเนตรดวงดาวเช่นกนั
หอพิศยั ศัลลกั ษณห์ รือหอสอ่ งกล้อง ที่มาภาพจากหนังสอื สารานุกรมไทยสำหรบั เยาวชนไทยเล่มท่ี ๑๔
-พลับพลาจตุรมุข ใช้สำหรับออกว่าราชการบ้านเมืองกับเหล่าเสนาบดี เป็นพลับพลาที่ทำมาจากไม้
สว่ นของหลังคามงุ ดว้ ยกระเบอื้ ง ได้สร้างขึ้นใหม่ในสมยั รัชกาลที่ ๔ ต่อมาร้อื สร้างใหมอ่ กี ครงั้ ในสมยั รชั กาลท่ี ๗
-วัดประจำเขตพระราชวังจันทรเกษม คือ วัดเสื่อ ถูกทำลายลงเช่นเดียวกัน เมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ จึงได้
สร้างวัดเสนาสนารามขึน้ แทน
วังจันทรเกษมถูกทำลายลงเสียกรุงครั้งที่ ๒ ได้รับการบูรณะอีกครั้งสมัยรัชกาลที่ ๔ พร้อมกับ
พระราชทานชื่อว่า พระราชวังจันทรเกษม ต่อมารัชกาลที่ ๕ ได้ใช้เป็นที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า เมื่อถึงรัชกาลที่
๖ ไดส้ ร้างอาคารสโมสรเสือป่า เพอ่ื ใชเ้ ป็นท่ีประทับและใชส้ ำหรบั ให้กองเสือปา่ ฝกึ ซ้อมรบ ในปัจจุบันเป็นท่ีตั้ง
ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตจิ นั ทรเกษม กรมศลิ ปากรดูแล
พพิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม ที่มาภาพจากหนังสอื สารานกุ รมไทยสำหรับเยาวชนไทยเล่มท่ี ๑
วังหลัง
วังหลัง คือ พระราชวังสำหรับเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข สร้างขึ้นโดยสมเด็จ
พระมหาธรรมราชา พร้อมกับวังหน้าหรือวังจันทรเกษม เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเอกาทศรถ ใน
บริเวณของสวนหลวงสบสวรรค์ (หนังสือ “อยธุ ยา จากสังคมเมืองท่านาชาติ สู่มรดกโลก ของกำพล จำปาพันธ์
กล่าวว่า อยุธยามีสวนหลวง ๒ แห่ง คือ สวนหลวงสบสวรรค์และสวนหลวงค้างคาว) ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัด
หลวงสบสวรรค์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงสร้างขึ้น ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพของสมเด็จพระ
ศรสี ุริโยทัย มเี จดีย์ประธานคือ เจดีย์ศรีสุรโิ ยทัย
ผู้ที่เคยประทับ ณ วังหลังคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ พระไตรภูวนาถทิตยวงศ์(ต่อมาได้ก่อกบฎใน
แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์) นายจบคชประสิทธ์ิและเจ้าฟ้าพรหรือพระบัณฑูรน้อย ๒ พระองค์แรก เป็น
เพียงแต่เคยประทับเท่านน้ั ไมไ่ ดม้ ตี ำแหน่งเป็นกรมพระราชวงั บวรสถานพิมุขแต่อย่างใด ตำแหน่งนเ้ี รม่ิ ปรากฏ
ครั้งแรกในแผ่นดินของสมเด็จพระเพทราชา เมื่อพระองค์แต่งตั้งนายจบคชประสิทธิ์เป็นกรมพระราชวังบวร
สถานพิมุข ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือก็ทรงแต่งต้ังอีก ๑ พระองค์ คือ เจ้าฟ้าพรหรือพระบัณฑูรน้อย
(ต่อมาคอื สมเด็จพระเจา้ อยูบ่ รมโกศ)
หลังจากเสียกรุงครั้งที่ ๒ ก็ถูกทำลายลง ไม่มีหลักฐานเหลืออยู่ ต่อมารัชกาลที่ ๕ ใช้พื้นที่ของวังหลัง
เป็นกรมยทุ ธนาธิการ ปจั จบุ ันเปน็ โรงงานผลติ สุรา
พระราชวงั ของกรงุ ศรอี ยธุ ยาท่อี ยูน่ อกราชธานี
๑.พระที่นั่งคชประเวศมหาปราสาท มียอดมณฑปเพียงยอดเดียว มุขซ้อนสี่ชั้น เป็นพระที่นั่งโถง ๒
ชั้น ไม่มีผนัง ตั้งอยู่ที่เพนียดช้าง นอกพระนคร สำหรับทอดพระเนตรจับช้าง กล่าวถึงในคำให้การขุนหลวง
วดั ประดูท่ รงธรรมว่า “อนงึ่ พระมหาปราสาทนอกพระนครน้ันมี ๕ องค์ คือ พระทีน่ ่งั คชประเวศมหาปราสาท
มียอดมณฑปยอดเดียวมีมุขซ้อนสี่ชั้น มีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่สองด้านเหมือนพระที่นั่งจักระวัติไพชยนต์
บนกำแพงพระนคร พระที่นั่งคชประเวศนี้ไม่มีฝา เปนปราสาทโถงสูงสองชั้น ตั้งอยู่บนเชิงเทินพเนียดจับช้าง
สำหรับทรงประทบั ทอดพระเนตรจบั ช้างเถือ่ น แลช้างโขลงปกนำช้างเถื่อนเขา้ มา มีปีกกาเสาระเนียดหลังพระ
ปราสาทน้ี มีศาลาตกึ ใหญส่ องหลังสำหรับข้าราชการชาวเครื่องภักถวายเคร่ือง พระทนี่ ง่ั องคน์ ้ีอยูท่ ิศอิสาน (ณ)
นอกพระนคร”
๒.พระที่นัง่ ปราสาทนครหลวง มียอดปรางค์เพียงยอดเดยี ว สร้างในสมยั สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง
อยู่นอกเขตพระราชวังหลวง เพอ่ื ประทับแรมในฤดูร้อน เมอ่ื เสด็จพระราชดำเนนิ ไปนมสั การรอยพระพุทธบาท
สระบุรี ซึ่งแต่เดิมการเดินทางโดยพยุหยาตราทางชลมารคไปสระบุรีนั้น ต้องพักท่ีวัดใหม่ประชุมพล ต่อมา
สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททองไม่โปรดท่ีจะพักท่ีนี่ จึงใหช้ า่ งไปจำลองแบบปราสาทนครหลวง(นครวัด) เมืองเขมร
มาสร้างในพ.ศ.๒๑๗๔
๓.พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์มหาปราสาท มียอดมณฑปเพียงยอดเดียว มุขซ้อนกันถึง ๔ ชั้น มี
ผนงั ท้ัง ๔ ด้าน ตัง้ อยู่บนเกาะบางปะอิน นอกพระนคร สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททองทรงสร้างขึ้น เพอ่ื ฉลองการ
ประสูติของสมเด็จพระนารายณ์ราชกุมาร ลักษณะที่ตั้งอยู่กลางสระ เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จพระราชดำเนิน
ออกนอกพระนคร บางปีพระองค์ก็เสด็จมาลอยประทีปอีกด้วย มีการกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่
ทรงธรรมว่า “๏พระที่นั่งไอสรยทิพยอาศนมหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียว มีมุขซ้อนสี่ชั้น มีฝาสี่ด้าน มี
มุขเด่นเปนมุขโถงออกมาจากมุขใหญ่ ฝ่ายทิศตระวันออกมีกำแพงแก้วล้อมรอบสูงห้าศอก มีสระใหญ่ยาวตาม
พระมหาปราสาท มีพระอุทยานเปนที่ระโหถานสำราญยิ่งหนัก มีพระที่นั่งน้อยใหญ่หลายหลังเปนที่ประทับ
พระประเทียบ มีกำแพงเปนบริเวณพระราชวังที่ประพาศในเกาะบางปอิน เปนที่ประทับแรมสำราญ พระราช
หฤทัยในท่ตี ำบลบางปอินมาหลายแผน่ ดนิ บางทีในเดอื นสิบเอดเดือนสิบสอง เสดจ็ ทรงลอยพระประทีปที่เกาะ
บ้าง”
ไดร้ ับความเสยี หายจากสงครามเสยี กรุง ตอ่ มาในสมัยรตั นโกสนิ ทรไ์ ด้บูรณะสรา้ งใหมบ่ นฐานเดิมถึง ๓
ครง้ั ดงั นี้
-พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ บูรณะเปน็ ปราสาทเครื่องไมท้ ้งั หลงั และยงั คงใชช้ ่ือเดิม
-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รื้อพระที่นั่งองค์เดิมลง สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ขึ้น โดย
จำลองมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง คือ เป็นปราสาทเครื่องไม้ พลับพลา
พระทนี่ งั่ โถง ไมม่ ีผนัง ต้ังกลางสระท่พี ระองค์ทรงขยายใหก้ วา้ งขึ้น
-พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั เปลี่ยนเสาและพ้นื เป็นคอนกรตี ประดษิ ฐานรูปหล่อสมั ฤทธ์ิ
ของพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ที่พระที่น่ังนอ้ี ีกด้วย
๔.พระท่ีนงั่ จันทรพศิ าล สรา้ งโดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในพ.ศ.2208 เปน็ พระที่นั่งองค์แรกที่
สรา้ งในวังนารายณ์ราชนเิ วศน์เมอื งลพบรุ ี บนท่ีประทบั เดมิ ของสมเดจ็ พระราเมศวรเมื่อครง้ั ครองเมืองหน้าด่าน
ลพบุรี เริ่มต้นน่าจะใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาเมื่อสร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ขึ้น จึงเสด็จไปประทับ ให้พระที่น่ัง
จันทรพิศาลเป็นที่สำหรับประชุมราชการกับเหล่าเสนาบดี ต่อมาในพ.ศ.2401 รัชกาลที่ ๔ พระองค์ให้
สรา้ งใหมบ่ นฐานเดมิ เปน็ พระทนี่ ่งั สถาปตั ยกรรมไทยแท้
๕.พระท่ีน่ังดสุ ติ สวรรคธ์ ญั ญมหาปราสาท พระที่น่งั ในวังนารายณ์ราชนเิ วศน์ ศิลปกรรมแบบอยุธยา
ผสมตะวันตกคล้ายกบั พระท่นี ั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังกรงุ เทพ โดยมปี ระตูหนา้ ต่างโค้งแหลม
แบบฝรั่งเศส และมีสว่ นหลงั คาเปน็ มณฑปยอดเดียวแบบไทย สมเดจ็ พระนารายณท์ รงสร้างขึน้ ที่เมืองลพบุรีใน
พ.ศ.2209 เพ่ือใช้ในงานพระราชพธิ ีและออกรบั คณะทตู ที่มาเจริญสัมพันธไมตรี โดยเฉพาะคณะราชทตู เชอวา
เลีย เดอ โชมองต์ ชาวฝรัง่ เศส ทำใหล้ กั ษณะของพระทนี่ ่ังองคน์ ี้ปรากฏในบันทึกของราชทูตชาวฝร่ังเศส
๖.พระที่นั่งสุทธาสวรรย์มหาปราสาท พระที่นั่งในเขตพระราชฐานชั้นในของวังนารายณ์ราชนิเวศน์
เป็นที่ประทบั ของสมเด็จพระนารายณแ์ ละพระองค์ยงั ทรงสวรรคตท่ีพระที่นงั่ นี้ สมเดจ็ พระเพทราชาจึงอัญเชิญ
พระบรมศพกลบั อยธุ ยา แม้จะเป็นศลิ ปกรรมแบบยโุ รป ตกแตง่ ด้วยวิทยาการแบบฝรัง่ เศส เชน่ มีน้ำพุ จำลอง
ภูมทิ ศั นภ์ ูเขามาประดับ เป็นต้น แต่คำให้การขุนหลวงวดั ประดูท่ รงธรรมกลา่ วว่าลกั ษณะเครื่องยอดเป็นมณฑป
ยอดเดียว
๗.พระที่น่ังไกรสรสีหราชหรือพระที่นั่งเย็นหรือพระตำหนักทะเลชุบศร สร้างขึ้นในสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช ที่วังนารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี ใช้ทอดพระเนตรปรากฏการณ์จันทรุปราคาร่วมกับ
บาทหลวงเยซูอิต(คณะทูตชุดแรกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 )เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 นับเป็น
พฒั นาการทางดา้ นดาราศาสตร์(ดูดาว)คร้งั แรกของไทย
๓.วัดทส่ี ำคญั ในอยุธยา
วดั ที่สร้างก่อนสถาปนากรงุ ศรอี ยธุ ยาเป็นราชธานี
๑.วัดพนัญเชิง
สร้างก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา ชิดริมแม่น้ำป่าสัก ตามที่ปรากฎหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรงุ
เก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิต์ิ กล่าวถึงการสร้างพระพุทธไตรรัตนนายกหรือหลวงพ่อโต ว่าสร้างตรงกับ
พ.ศ.๑๘๖๗ ถือว่าสร้างกอ่ นการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.๑๘๙๓ ถงึ ๒๖ ปี แสดงใหเ้ หน็ วา่ ชุมชนก่อนการ
สถาปนากรงุ ศรีอยุธยานัน้ มีความเจรญิ รงุ่ เรอื งและมั่งคง่ั จนสามารถสร้างองค์พระขนาดใหญ่อยา่ งนี้ได้
นอกจากนี้แล้วพระราชพงศาวดารเหนือยังกล่าวถึงตำนานที่มีความเกี่ยวข้องกับวัดพนัญเชิง คือ
ตำนานพระเจ้าสายน้ำผึ้ง(พระเจา้ ดวงเกรยี งกฤษณราช)และพระนางสร้อยดอกหมาก(พระธดิ าของพระเจ้ากรุง
จนี ) ตอ่ มาพระนางสร้อยดอกหมากไดส้ ิน้ พระชนมล์ ง พระเจ้าสายน้ำผง้ึ จงึ ได้สรา้ งวดั พนัญเชิงข้ึนบริเวณทถ่ี วาย
พระเพลิง ทำให้เป็นวัดที่คนไทยเชื้อสายจีนมาสักการะบูชาเป็นอย่างมาก อีกทั้งย่านวัดนี้ยังเป็นชุมชนจีน คือ
ย่านคลองสวนพลู ตั้งแตค่ ร้งั อยุธยาเปน็ ราชธานีจนถึงปจั จุบัน มีประเพณที ีส่ ำคญั คอื เทศกาลเทกระจาด จะมี
ผ้คู นนบั หม่นื หลง่ั ไหลกันมานมสั การนับเปน็ งานทิ้งกระจาดทใ่ี หญ่ที่สดุ ในประเทศไทยทเี ดยี ว
วัดพนัญเชิงได้รับการบูรณะเรื่อยมา โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการบูรณะองค์หลวงพ่อโตใหม่ท้ัง
องค์ พร้อมกับพระราชทานนามว่า พระพุทธไตรรัตนนายก นอกจากนี้ภายในพระอุโบสถยังมีพระพุทธรูปท่ี
สำคญั อีก ๓ องค์ เปน็ พระพทุ ธรปู ทท่ี ำจากทองคำ(สมยั สุโขทยั ) ปูนปั้น(สมยั อยุธยา) และนาค(สมยั สโุ ขทยั )
เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง จึงปรากฏลางบอกเหตุสำคัญเมื่อก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๒
คอื หลวงพ่อโตมีน้ำพระเนตรไหล ตามบนั ทกึ ในคำให้การชาวกรงุ เก่า
๒.วัดอโยธยาหรอื วัดเดมิ
ตามพระราชพงศาวดารเหนอื ระบุว่าเป็นวัดที่สรา้ งกอ่ นการสถาปนากรงุ ศรีอยธุ ยา ในพ.ศ. 1581
ริมแม่น้ำป่าสัก ความสำคัญ คือ เป็นวัดทีม่ ีสถานะเปน็ พระอารามหลวงเทยี บเท่าวัดมหาธาตุ(สุโขทยั ) วัดพระ
ศรีสรรเพชญ์(อยุธยา) วัดอรุณราชวราราม(ธนบุรี) วัดพระแก้ว(รัตนโกสินทร์) เพราะเป็นวัดประจำพระราชวัง
ของกรุงอโยธยา ศูนย์กลางของกรุงอโยธยา เป็นวัดทีจ่ ำพรรษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้แต่งวรรณคดี
เรอ่ื งราโชวาทชาดก สมัยสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช ด้วยความสำคญั นีจ้ ึงมีการสันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะได้รับ
การบรู ณะครัง้ ใหญ่ในสมยั พระนารายณ์ พบโบราณสถานทเี่ ปน็ ศลิ ปะสมยั น้ี คอื ซุม้ ประตกู ำแพง ใบเสมา
สาเหตุทเ่ี รยี กว่า วัดเดมิ คือ เป็นวดั ที่สรา้ งในบรเิ วณพระราชวังหลวงเดมิ ของกรงุ อโยธยา เชน่ เดยี วกับ
วัดพระศรีสรรเพชญท์ ส่ี ร้างบรเิ วณพระราชวงั หลวงพระเจา้ อ่ทู อง
จุดเดน่ คอื เจดยี ท์ รงลงั กาแปดเหลยี่ ม ประดับดว้ ยปนู ปน้ั รปู กลบี บัวโดยรอบ พบทวี่ ดั เดมิ อโยธยาเพียง
แห่งเดยี ว
วัดอโยธาในปัจจุบันมีพระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีจำพรรษา สิ่งปลูกสร้างที่มีการสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัย
รัตนโกสินทร์ คือ พระอุโบสถ(พระประธานคือหลวงพ่อศรีอโยธยาหรือพระฉายเงา) พระเจดีย์ ๒ องค์(สร้าง
สมัยรชั กาลที่ ๕) และภายในวดั ยงั มศี าลสมเดจ็ พระนเรศวร เพราะเคยเป็นท่ีตดี าบของพระเนศวรอีกด้วย
๓.วัดมเหยงคณ์
คำว่า มเหยงคณห์ รอื มหยิ งั คณ์ หมายถงึ ภูเขาเนินดิน นอกจากน้ยี งั เปน็ ช่อื พระธาตสุ ำคัญในลังกาด้วย
ความใหญ่โตของวัดสามารถนำช้าง ๘๐ เชือกมาล้อมได้ เป็นพระอารามหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระ ปัจจุบันเป็น
สถานท่ีปฏบิ ตั ิธรรมทสี่ ำคญั
ตามพระราชพงศาวดารเหนือกล่าวว่าเป็นวัดที่สร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ๔๐ ปีผู้สร้างคือ
พระนางกัลยาณีชายาของพระเจ้าสุวรรณราชา(สร้างวัดกุฏดี าว) วัด ๒ วัดนี้มีลักษณะเหมือนกนั คือ ระบบการ
ก่ออิฐพระเจดีย์เป็นแบบอิงลิชบอนด์ แม้พระราชพงศาวดารเหนือจะระบุว่าสร้างก่อนสมัยอยุธยา แต่ก็มี
หลักฐานพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาระบุว่า สร้างในพ.ศ.๑๙๘๑ รัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราช
ที่ 2 (พระเจ้าสามพระยา)
วัดมเหยงคณ์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒(เจ้าสามพระยา)
และพระภมู นิ ทราชา(พระเจา้ อยหู่ ัวท้ายสระ)
ความสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้นคาดว่าน่าจะเป็นที่ตั้งพลับพลาบัญชาการรบของพระเจ้าหงสาวดี
บเุ รงนอง เพราะพบเนินดินในบรเิ วณทเี่ รยี กวา่ “โคกโพธิ์”
สถาปัตยกรรมสำคัญ คือ พระอุโบสถซึ่งมีขนาดกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๖ เมตร ฐานสูง ๒ ชั้น บรรจุ
พระภิกษุได้ 1,000 รูป นับว่าเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่สุดในอยุธยา และเจดีย์ประธานของวัดซึ่งเป็น
เจดียท์ รงลังกาช้างล้อม ประดบั ดว้ ยปูนปนั้ ชา้ งถึง ๘๐ เชอื ก ไดค้ ติมาจากประเทศลงั กา ตามลักษณะเจดีย์ของ
พระเจ้าทุษฐาคามินีมหาราชที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองชัยชนะจากการทำยุทธหัตถีและเป็นเกียรติแก่ชา้ งพาหนะคอื
ช้างฤณฑลราช
๔.วัดธรรมกิ ราช
เป็นวดั ที่ติดกบั พระราชวงั หลวงด้านตะวันออกและตดิ กบั วัดพระศรีสรรเพชญ์ ชอ่ื เดมิ คือวัดมุขรา ตาม
พระราชพงศาวดารเหนือกลา่ ววา่ สถาปนาข้นึ กอ่ นกรุงศรีอยุธยา โดยพระเจ้าธรรมกิ ราช ซ่ึงเปน็ พระราชโอรส
ของพระเจ้าสายน้ำผ้งึ
สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของวัดคือ เจดีย์ทรงกลมฐานสิงห์ลอ้ ม ๒๐ ตัวจากเดิมที่มี 52 ตัว เจดีย์ฐาน
สิงห์ล้อมนี้ในอยุธยาพบเพียง ๒ วัด คือวัดธรรมิกราชและวัดแม่นางปลื้ม อิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู
ผ่านอาณาจักรขอม ที่มีความเชื่อว่าสิงห์เป็นพาหนะของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ เจดีย์นี้คาดว่าสร้างใน
รัชกาลพระเจ้าปราสาททองเพราะพระองค์ได้ฟื้นฟูศิลปะขอมขึ้นอีกครั้งหลังจากได้ชัยชนะจากเขมร และ
สมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ วั บรมโกศก็มกี ารบรู ณะคร้ังสุดทา้ ย ตอ่ มาเมื่อพ.ศ.๒๕๒๐ไดพ้ งั ทลายลง
เมื่อครั้งมีการบูรณะพบเศียรพระสำริดขนาดใหญ่ในพระวิหารหลวง เริ่มต้นนั้นพระยาโบราณราช
ธานินทร์ นำไปประดิษฐานท่ีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม ต่อมาจึงนำได้ไปประดิษฐานที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา เป็นพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อแก่ นับเป็น
เศยี รพระท่ใี หญ่ท่สี ุดในอยุธยา คาดว่าเหตทุ ่อี งค์พระเหลือเพียงเศยี ร คือ เมอ่ื คราวพมา่ ล้อมกรงุ คร้ังที่ ๒ มีการ
พลอี งค์พระไปทำปืนใหญ่ ปจั จบุ นั ในวนั ที่ 18 กมุ ภาพันธ์ 2556 มกี ารจำลององค์พระขนึ้ ใหมเ่ ป็นพระพุทธรูป
ปางห้ามญาติ
เหตุการณ์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับวัดนี้ คือ พระภิกษุชั้นผู้ใหญ่ของวัด คือ พระธรรมโคดม เป็น
หนง่ึ ในพระทพี่ ระเจ้าอุทุมพรนิมนต์ไปเกล้ียกล่อมให้เจา้ สามกรมยอมจำนนเมื่อครัง้ ก่อกบฏ (พระท่ีถูกนิมนต์ไป
ครั้งน้ีมี ๕ รูปมาจากวัดวัดกุฏีดาว วัดพุทไธสวรรย์ วัดรามรามาวาส วัดธรรมิกราช) และเป็นวัดที่พระเจ้า
อทุ ุมพรทรงผนวชพร้อมนายหงส์(ตอ่ มาคอื พระยาเพชรพิชยั )ซงึ่ เปน็ มหาดเลก็
วัดนไ้ี ด้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรชั กาลของพระเจ้าทรงธรรม โดยมีการสรา้ งวิหารพระนอน โดยผสู้ ร้าง
คือ มเหสีของพระเจ้าทรงธรรม นับเป็นวิหารพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในอยุธยา มีขนาดกว้างขวางถึง ๙ ห้อง เม่ือ
คราวเสียกรุงก็ถกู ทิ้งเป็นวัดร้าง ตอ่ มาเมือ่ มีการบรู ณะวิหารพระมงคลบพิตรในสมัยของนายปรีดี พนมยงค์ก็ได้
ใช้ช่างชุดเดียวกันในการบูรณะต่อ และเมื่อไทยมีนายก คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์และจอมพลป.พิบูล
สงคราม ก็ทำการบูรณะอีกครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาก็เป็นหน้าที่ของกรมศิลปากร วัดธรรมมิกราชในปัจจุบัน
น้ันมพี ระภกิ ษุฝ่ายมหานิกายจำพรรษา
วดั ทสี่ รา้ งหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
๑.วัดพทุ ไธศวรรย์
สร้างขึ้นในพ.ศ.1896 หลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ๓ ปี โดยผู้สร้างคือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
(พระเจ้าอู่ทอง) ในบริเวณที่เป็นวังที่ประทับเดิมของพระองค์ เรียกว่า พระตำหนักเวียงเหล็ก เป็นวัดที่มีพระ
ปรางคเ์ ป็นประธานของวดั กลา่ วถึงในพระราชพงศาวดารฉบับพนั จันทนมุ าศ(เจิม) ดงั น้ี
“ศักราช 715 ปีมะเส็ง เบญจศก (พ.ศ.1896) วันพฤหัสบดี เดือน 4ขึ้น 1 ค่ำ เพลา 2 นาฬิกา 5
บาท ทรงพระกรุณาตรัสว่าที่พระตำหนักเวียงเหล็กนั้นให้สถาปนาพระวิหารและพระมหาธาตุเป็นพระอาราม
แลว้ ให้นามช่ือวา่ วดั พุทไธสวรรค์"
วัดพุทไธสวรรยเ์ ป็นอีก ๑ วดั นอกเหนอื จากวดั หนา้ พระเมรุทไ่ี ม่ถกู ทำลายเม่ือคราวเสยี กรุงคร้ังที่ ๒ จึง
ทำให้ยังคงมีร่องรอยจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาที่งดงามเขียนขึ้นในรัชกาลของสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เป็นเรื่องราวของพระพุทธโฆษาจารย์ไปลังกา ไตรภูมิกถา และทศชาติชาดกตอนผจญมาร พระเตมีย์ชาดก ซ่ึง
พบทต่ี ำหนักพระพทุ ธโฆษาจารย์
มีการพบเทวรูปพระเจ้าอู่ทองทีพ่ ระปรางค์ประธานของวัด พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเทพพลภักด์ิจึง
ได้อญั เชิญมายงั กรงุ เทพ รชั กาลท่ี ๑ กท็ รงดดั แปลงเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ประดษิ ฐาน ณ หอพรเทพบดิ ร
และพบใบเสมาทั้ง ๘ ทิศของพระอุโบสถเช่นเดียวกับที่พบในวัดวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะและวัดพระศรี
สรรเพชญ์
เปน็ วดั ท่มี วี ิหารพระนอน รอบระเบียงคดประดษิ ฐานพระพุทธรปู ๑๐๘ องค์ และภายในวัดมพี ระบรม
ราชานุสาวรีย์กษัตริย์ ๕ พระองค์ ประกอบด้วยสมัยอยุธยา ๓ พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระ
นเรศวร สมเด็จพระเอกาทสรถ สมัยธนบุรี คือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน และสมัยรัตนโกสินทร์ คือ สมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ท่ีเกีย่ วข้อง คือ เป็นที่ประทับของตรัสน้อย( พระราชโอรสของกรมหลวง
โยธาทิพ)ในแผ่นดินของพระเจา้ เสือ ต่อมาในรชั กาลสมัยพระเจ้าอย่หู ัวท้ายสระกรมหลวงโยธาทิพทิวงคต และ
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสมเด็จกรมหลวงโยธาเทพทิวงคต ซึ่งมีการตั้งพระเมรุที่วัดพุทไธศวรรย์
แหง่ นี้
๒.วัดใหญช่ ัยมงคล
สถาปนาขึ้นในพ.ศ.1900 โดยสมเด็จพระรามาธบิ ดที ี่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง) ตรงบริเวณที่ถวายพระเพลงิ
พระศพของเจ้าแก้วเจ้าไทย ซึ่งทิวงคตจากโรคห่าหรืออหิวาตกโรค เดิมเรียกกันว่า “วัดเจ้าแก้วเจ้าไทย”หรือ
“วัดปา่ แกว้ ” เหตุท่เี รยี กว่าวดั ป่าแกว้ เน่อื งจากเป็นท่ีพำนักของคณะสงฆ์สำนักวัดป่าแกว้ ท่ีบวชเรียนจากลังกา
มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดทางพระวินัย ทำให้สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นพระสังฆราชฝ่าย
ขวา เรียกว่า สมเดจ็ พระวนั รัตน์ จึงมีคำเรยี กตามหลักฐานต่างๆว่า สมเด็จพระพนรตั นว์ ัดป่าแก้ว ค่กู ับสังฆราช
ฝ่ายซา้ ย(คนั ถธุระ) คอื สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ ต่อมามกี ารเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วดั ใหญช่ ัยมงคล”สันนิษฐาน
วา่ มีขนึ้ ในรชั กาลของสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช เพราะมีการบรู ณะเจดยี ์ประธานของวดั เป็นเจดยี ช์ ยั หลงั จาก
ทำยทุ ธหตั ถีชนะพระมหาอปุ ราชา
เป็นวัดที่มีความเก่ียวขอ้ งกับสมเดจ็ พระนเรศวรอย่างมาก เพราะในพ.ศ.2135 หลังทำยุทธหตั ถชี นะ
พระมหาอุปราชา พระองค์ได้ทรงสร้างเจดีย์ประธานของวัดที่มีความสูง ๖๒ เมตร นับเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดใน
อยุธยา ภายในพระเจดีย์มีการพบคาถาชัยมงคล บนยอดสูงสุดประดับด้วยอัญมณี(ตามจดหมายเหตุวันวลิต)
ด้านหน้าของพระเจดีย์มีการประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสององค์ พระนามคือ เจ้าแก้ว(องค์
ซ้าย) และเจ้าไท(องค์ขวา) นอกจากนี้แล้วพระองค์ยังทรงสร้างพระพุทธไสยาสน์หรือพระนอนอีกด้วย (ได้รับ
การบูรณะในพ.ศ.2508) ในพ.ศ.2544มกี ารสร้างตำหนักสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราชข้ึนทวี่ ดั น้ีด้วย
สิ่งปลูกสร้างสำคัญในวัด คือ เจดีย์ประธาน(เรียกว่า เจดีย์ชัยมงคล) พระอุโบสถ(มีพระประธาน คือ
พระพทุ ธชยั มงคล เปน็ พระพทุ ธรูปปางมารวิชยั แกะด้วยหินทรายทง้ั องค์ สร้างข้นึ ในรชั กาลของพระเจ้าอู่ทอง)
และพระพทุ ธรปู ปางไสยาสน์หรือพระนอน
เหตกุ ารณส์ ำคญั ทางประวตั ิศาสตร์ทม่ี คี วามเกย่ี วข้อง คือ
-มีการทำพิธีเสี่ยงเทียนเพื่อแสดงบญุ ญาธิการของพระเฑียรราชา(พระมหาจักรพรรดิ)กับขุนวรวงศาธิ
ราช ณ พระอโุ บสถวดั ป่าแก้ว กอ่ นทขี่ นุ พิเรนทรเทพและพรรคพวกจะร่วมกันกำจัดขุนวรวงศาธริ าชและแม่อยู่
หวั ศรีสดุ าจนั ทน์
-พ.ศ.๒๑๓๕สมเด็จพระวันรัตน์วัดป่าแก้ว(วัดใหญ่ชัยมงคล)ถูกพระมหาจักรพรรดินำไปสำเร็จโทษ
เนื่องจากช่วยเหลือให้ฤกษย์ ามแก่พระศรีศิลปเ์ พ่ือก่อกบฏ
-หลังจากสงครามยุทธหตั ถีสมเด็จพระวันรัตน์วัดป่าแก้ว(วดั ใหญ่ชัยมงคล)พร้อมกับพระราชาคณะอีก
25 รูป เป็นผู้ขอพระราชทานอภัยโทษให้กับแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทัน หลังจากที่พระนเรศวรส่ัง
ประหาร โดยการใช้วาทศิลป์
-เหตุการณ์ต่อมาเมือ่ ครั้งพระเจ้ามังระส่งทัพมาลอ้ มกรุง อยุธยาจงึ สัง่ ให้แม่ทพั นายกองยกไปตั้งค่ายที่
วดั ปา่ แกว้ แมท่ ัพอยธุ ยาคือ พระยาเพชรบุรีถกู ฆ่าตายในท่ีรบ
๓.วัดพระราม
สถาปนาขึ้นในพ.ศ.1912 โดยสมเด็จพระราเมศวร มีจุดประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระ
ราชบิดาคือ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าอู่ทอง ถือเป็นวัดที่มี
ความสำคัญตั้งตระหง่านอยู่ริมบึงพระราม วัดพระรามคาดว่าคงสร้างแล้วเสร็จในรัชกาลของสมเด็จพระบรม
ราชาธิราชที่ ๑(ขุนหลวงพะงั่ว) ได้รับการบูรณะในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระ
เจา้ อยหู่ ัวบรมโกศ
สง่ิ ปลกู สรา้ งภายในวัดทรุดโทรมลงไปมาก แต่กย็ ังคงมีร่อยรอยความยง่ิ ใหญห่ ลงเหลือบา้ ง โดยเฉพาะ
พระปรางค์ประธานของวัด พระปรางค์ประธานเป็นแบบฝักข้าวโพด ซึ่งเป็นศิลปกรรมอยุธยาตอนต้น ด้านใน
พบจติ รกรรมฝาผนังภาพปางมารวิชยั บนบัลลังก์ อทิ ธพิ ลขอมเขมร ส่วนนภศูลประดบั ยอดปรางค์น้ันเก็บรักษา
ไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม มีพระปรางคใ์ หญ่น้อยรวม ๘ องค์ พระเจดีย์ 28 องค์ และมีวิหาร
อีก ๗ หลัง
๔.วดั มหาธาตุ
เรม่ิ สร้างในพ.ศ.1917 รัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๑(ขุนหลวงพะง่วั ) แลว้ เสรจ็ ในรัชกาล
ของสมเด็จพระราเมศวร(คร้งั ที่ ๒) เป็นวัดทม่ี ีพระปรางค์เป็นประธานของวัด สำหรบั บรรจพุ ระบรมสารีริกธาตุ
ซึ่งพระบรมสารีรกิ ธาตนุ ้ีนำมาประดิษฐานโดยสมเด็จพระราเมศวรในพ.ศ. 1927 องค์พระปรางค์มีการบูรณะ
หลายสมัย คือ รชั กาลสมเด็จพระเจา้ ทรงธรรม(พระปรางค์พังทลายลงถึงช้ันครฑุ จึงบูรณะสร้างขึ้น) รชั กาลของ
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง(เพิ่มความสูงของพระปรางค์มากขึ้นถึง ๒๕ วาหรือจาก ๓๘ เมตรเป็น ๕๐เมตร)
และรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปัจจุบันนั้นเหลือเพียงฐานถึงชั้นมุขเพราะได้พังทลายลงใน
พุทธศักราช ๒๔๔๗ สมัยรัชกาลที่ ๕ พระบรมสารีริกธาตุนี้บรรจุลงผอบหินทราย ภายในมีสถูป ๗ ชั้นคือ ชิน
เงิน นาก ไม้ดำ ไม้จันทร์แดง แก้วโกเมน และทองคำ ตามที่กรมศิลปากรค้นพบในพ.ศ.2499 ปัจจุบัน
ประดิษฐานทพี่ ิพิธภัณฑสถานแห่งชาตเิ จา้ สามพระยา วัดมหาธาตนุ ับเป็นอีกวดั หนง่ึ ทม่ี ีกรุเก็บทรพั ยส์ มบัติอันมี
ค่าของชาติ เช่น โบราณวัตถุบางชิ้นเจ้าสามพระยานำมาจากเขมร ตามที่ปรากฎในพงศาวดารว่า“จึงให้พระ
ราชกุมารท่าน พระนครอินทร์เจ้า เสวยราชสมบัติเมืองนครหลวง ท่านจึงให้เอาพระยาแก้ว พระยาเดโชและ
ครอบครัว และทั้งรูปพระโค รูปสิงห์ สัตว์ทั้งปวงมาดว้ ย ครั้นถึงพระนครศรีอยุธยา จึ่งให้เอารูปสัตว์ทั้งปวงไป
บูชาไว้ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบา้ ง ไปไว้วดั พระศรสี รรเพชญบ์ า้ ง...”
ความสำคัญของวัดคือ มีที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบรรจุมหาธาตุสำคัญ เป็นที่ประทับของ สมเด็จ
พระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีคกู่ บั พระสังฆราชฝ่ายอรญั วาสวี ัดใหญ่ชยั มงคล(หรอื พระพนรัตนว์ ัดป่าแกว้ )
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ วัดมหาธาตุเป็นที่ซ่องสุมกำลังพลของพระเจ้าทรงธรรม ซึ่ง
ขณะนั้นเป็นพระพิมลธรรมอนันตปรีชา(พระศรีศิลป์)ร่วมมือกับจหมื่นศรีสรรกั ษ์ นำกำลังเข้าพระราชวังหลวง
ทางประตูมงคลสนุ ทร สำเร็จโทษยึดอำนาจจากพระศรเี สาวภาคย์
พบเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะมีแห่งเดียวในอยุธยา คือ เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ลดหลั่นกัน 4 ช้ัน
ยอดบนสดุ มีปรางคข์ นาดเลก็ ประดิษฐานอยู่
ภาพจำของวดั มหาธาตุทน่ี ิยมถา่ ยเก็บไว้เมื่อไปเยือนก็คอื เศียรพระหินทรายท่ถี ูกปกคลมุ ด้วยรากไม้
๕.วดั ภเู ขาทอง
วดั ภูเขาทองสร้างขนึ้ ในพ.ศ.1930 ตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระราเมศวร(คร้ังที่ ๒) มีคลองมหานาค
ซึ่งขุดขึ้นก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๑ เป็นทางเชื่อมสัญจรระหว่างพระนครกับวัดภูเขาทอง พอเสียกรุงครั้งที่ ๒ วัดก็
ถูกปลอ่ ยทง้ิ ร้าง จนถึงพ.ศ.2500จึงมพี ระสงฆจ์ ำพรรษา
โบราณสถานทส่ี ำคัญทสี่ ดุ ของวัด คอื พระเจดีย์ภเู ขาทอง ตงั้ ตระหง่านกลางทงุ่ นา ด้วยความสงู ถงึ 90
เมตร สนั นษิ ฐานวา่ เจดีย์องคน์ ี้สรา้ งโดยพระเจา้ หงสาวดีบุเรงนอง หลังจากยดึ กรุงศรีอยธุ ยาเป็นประเทศราชได้
สำเรจ็ จึงสร้างไวเ้ ปน็ สัญลักษณ์ของการมีชยั เหนืออยุธยา แตห่ ลกั ฐานของหมอแกรมปเ์ ฟอร์(ชาวเยอรมัน สมัย
พระเพทราชา)กลา่ วขัดแย้งกันวา่ เพือ่ แสดงชยั ชนะทีอ่ ยุธยามตี ่อพม่า
พระเจดยี ์ภูเขาทองนไี้ ดร้ บั การบูรณะคร้งั ใหญใ่ นพ.ศ. 2288 รชั กาลของสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั บรมโกศ
ทรงดัดแปลงศลิ ปะมอญพม่าเปน็ ศลิ ปกรรมแบบแท้ของอยุธยาทเ่ี รียกว่า “เจดยี ย์ ่อไมส้ ิบสอง” โดยเหลือศิลปะ
แบบมอญไว้เพียงฐานเท่านั้น องค์พระเจดีย์ได้พังทลายลงมาในสมัยรัชกาลที่5 ทำให้พ.ศ.2499 มีการบูรณะ
ปล้องไฉน ปลี และลกู แก้วใหเ้ ปน็ ดังเดมิ ต่อมามกี ารบรู ณะคร้ังใหญใ่ นช่วงพ.ศ.2540-2544
ส่วนโบราณสถานอื่นๆของวัดประกอบด้วย พระเจดีย์ราย(มี 7 องค์ ศิลปกรรมย่อมุมไม้สิบสอง
เช่นเดียวกับพระเจดีย์ประธาน) พระอุโบสถ(ซุม้ ประตูลายเฟืองไทย พระประธานเป็นพระพุทธรปู สมัยอยุธยา
ปางสมาธิ ทำจากหินทรายทราย) พระวิหาร(2หลัง) หอระฆัง ภายในวัดนี้มีพระบรมราชานุสาวรยี ์ของกษัตรยิ ์
อยุธยา คอื สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมา้ สร้างขึ้นโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองรว่ มกับกรมศลิ ปากร
๖.วัดโลกยสธุ าราม
สร้างขึ้นในรัชกาลของสมเด็จพระนครินทราธิราช ชื่อของวัดมีความหมายว่า “วัดที่เปรียบเสมือนน้ำ
อมฤตของโลก” พบพระนอนหรือพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดพระองค์ยาว 42 เมตร สูง 8 เมตร สร้างโดย
หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ มีพระเขนย(หมอน)เป็นรูปดอกบัว นับว่าเป็นพระนอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน
อยุธยา เสยี หายจากการเสียกรุงครง้ั ท่ี ๒ ถูกปลอ่ ยทิ้งรา้ ง มเี สาอิฐ 8 เหลี่ยมรอบองค์พระท้ังสิน้ 24 ต้น จนถึง
พ.ศ.2499(สมยั จอมพลป.พิบลู สงครามเปน็ นายก) จงึ มีการบูรณะโดยปรบั แตง่ เปน็ พระพุทธรปู แบบทรงเครื่อง
ต่อมาพ.ศ.2532 มีการบรู ณะขน้ึ อีกครั้งเพอ่ื อุทิศกศุ ลให้นายธำรง และพลเรอื ตรถี วัลย์ ธำรงนาวาสวัสด์ิ
๗.วัดราชบรู ณะ
สร้างขึ้นตรงกบั พ.ศ.1967 รัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒(เจ้าสามพระยา เดิมครองเมือง
ชัยนาท) ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของเจ้าอ้ายพระยา(เมืองสุพรรณบุรี)และเจ้ายี่พระยา(เมือง
แพรกศรีราชา) เชิงสะพานป่าถ่าน หลังจากพระเชษฐาทั้ง ๒ ทำยุทธหัตถีกันจนสิ้นพระชนม์ ส่วนบริเวณ
ทำยทุ ธหัตถนี น้ั สถาปนาเจดีย์ขน้ึ ๒ องค์ คอื เจดีย์เจ้าอา้ ยพระยาเจ้ายีพ่ ระยา
วดั ราชบูรณะเปน็ วดั ในสมยั รัตนโกสนิ ทร์ตอนต้นจงึ มีประธานของวัดเป็นพระปรางค์แบบขอมเขมร แต่
สิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากขอมคือบนยอดมียอดมีฝักเพกา องค์พระปรางค์บางชั้นประดับด้วยปูนปั้นครุฑ(พบที่วัด
พระรามด้วย)และบนฐานประดับปูนป้ันยักษ์ค่อนข้างจะสมบรู ณ์ ภายในพระปรางค์เป็นกรุสมบัติเก็บของมีค่า
ไวม้ ากมายเช่น เครอื่ งราชูปโภคของกษัตรยิ ์ เปน็ ตน้ ต่อมาในพ.ศ. 2499-๒๕๐๐มีคนร้ายได้ลกั ลอบขุดกรุท่ีวัด
นี้ ฉวยโอกาสช่วงที่กรมศิลปากรขุดกรุวัดมหาธาตุอยู่ ทำให้สมบัติของชาติที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สูญ
หายไปจำนวนมาก กรมศิลปากรจึงได้ติดตามเอามาได้จำนวนหนึ่งพร้อมกับขุดกรุที่วัดนี้ต่อพบทรัพย์สมบัติ
2,000 รายการ พระพิมพ์แสนองค์(บางชิ้นเปิดให้ประชาชนเช่าไปบูชาต่อ) และทองคำหนักประมาณ 100
กิโลกรัม โบราณวัตถุเหล่านี้แสดงความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สมบัติที่มี
ความเกยี่ วกับองค์กษัตริย์โดยเฉพาะสมเด็จพระนครินทราธิราชและสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ นอกจากน้ี
ยังมีบางชิ้นแสดงความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน(พบลวดลายศิลปะจีนบนโบราณวัตถุ จิตรกรรม
ฝาผนัง)และมุสลิม(พบจารึกบนเหรียญภาษาอาหรับกล่าวถึงพระนามกษัตริย์ชื่อ พระเจ้าไซนุลอาบีดีน แคว้น
แคชเมียร์หรอื กษั มีร์ แตก่ ็ไม่ได้ปรากฏหลักฐานอ่ืนเดน่ ชดั เมือนชาติจีน) กรมศลิ ปากรจงึ นำสง่ิ ของมีค่าน้ันไปจัด
แสดงไว้ท่ีห้องราชบูรณะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ต่อมามีข่าวการพบพระมาลาทองคำที่
สหรฐั อเมรกิ า แต่กไ็ มส่ ามารถพิสจู น์ได้ว่ามาจากกรวุ ัดนีห้ รือไม่
จากนนั้ จึงได้สรา้ งบนั ไดใหข้ ้ึนลงสะดวก เปดิ กรุใหป้ ระชาชนท่ัวไปเขา้ เย่ียมชม แบง่ เปน็ ๓ ห้องดงั น้ี
ชน้ั ที่ ๑(บนสุด) ผนงั มีภาพวาดตา่ งๆ โดยเฉพาะศิลปะจนี และมพี ระพุทธรปู ทองคำ ๔ องค์ ขนาดหนา้ ตกั 1 ศอก
ชั้นท่ี ๒ เก็บเครื่องทอง พบถาดทองคำ ๓ ใบ จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ ชาดก พระสาวก โดยเฉพาะ
ภาพจติ รกรรมตอนพระนางสริ ิมหามายาบรรทมในพระมหาปราสาทเหลือเพียงที่เดยี ว
ชัน้ ท่ี ๓ สำหรับบรรจุพระบรมสารรี กิ ธาตุ พบพระพทุ ธรปู จำนวนมาก ไมม่ ภี าพจิตรกรรมฝาผนัง
นอกจากปรางค์ประธานแล้วยงั มีวิหารหลวง ปัจจุบันคงเหลอื ร่อยรอยเพียงซากเสาเท่านั้น จุดเด่นคือ
เมอื่ มองจากซ้มุ ประตูพระวิหารเข้าไปจะเหน็ องค์พระปรางค์พอดี
๘.วดั แม่นางปลื้ม
ไมป่ รากฏปสี ร้างและผ้สู รา้ งแนน่ อน ท่มี าของวดั น่าจะมาจากหญงิ ที่ช่อื “แมป่ ลืม้ ”มีความเกี่ยวข้องกับ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงทำให้คาดว่าสร้างในรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวร ความสำคัญที่น่าสนใจคือ
เป็น ๑ ใน ๒ วัดของอยุธยาที่มีเจดีย์ฐานสิงห์ล้อม ทำให้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เพราะเป็น
ศิลปะขอม สันนิษฐานว่ามีการบูรณะในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองที่ศิลปะขอมเฟื่องฟู พระ
ประธานของวดั คอื หลวงพ่อขาว
๙.วัดพระศรสี รรเพชญ์
เดิมเรียกกันว่า “วัดพุทธาวาส” สร้างขึ้นราวพ.ศ.1991 ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
บรเิ วณพระราชวังที่พระเจ้าอทู่ องทรงสรา้ ง(บริเวณพระทน่ี ง่ั เดิม ๓ องค์ คอื พระทนี่ ่งั ไพฑรู ยม์ หาปราสาท พระ
ที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทและพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท และเมื่อถึงสมัยพระราเมศวรปรากฏชื่อพระ
ที่มังคลาภิเษก ตามด้วยพระที่นั่งตรีมุขในสมัยเจ้าสามพระยา) นับเป็นการถวายวังเพื่อสร้างวัดแล้วขยับ
พระราชวังใหมข่ ึ้นไปติดแม่น้ำลพบุรีทางเหนือ ทำให้วัดพระศรีสรรเพชญ์เปน็ วัดที่มคี วามสำคัญที่สุดในอยุธยา
เพราะเป็นวัดประจำพระราชวัง ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธีหลวง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา การสร้างวัดน้ี
สร้างตามคติของวดั มหาธาตุกรุงสุโขทัย(แต่ ๒ วัดนีม้ คี วามแตกตา่ งกันคอื วดั มหาธาตุมีพระสงฆจ์ ำพรรษาแต่วัด
พระศรีสรรเพชญ์ไม่มีพระสงฆจ์ ำพรรษา) ตอ่ มาวัดพระศรสี รรเพชญเ์ ป็นต้นแบบของวัดพระศรรี ตั นมหาศาสดา
รามกรุงรัตนโกสนิ ทร์ซึ่งไมม่ ีพระสงฆ์จำพรรษาเชน่ เดียวกนั
โบราณสถานที่สำคัญที่สุดของวัดคือ พระเจดีย์ทรงลังกาทั้ง ๓ องค์วางเรียงรายในทิศตะวันออกไป
ตะวันตก แต่ละองค์มีพระมณฑปคั่นกลาง(คาดว่าพระมณฑปสร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) โดย
ลำดบั การสรา้ งพระเจดีย์ทัง้ ๓ องคต์ ามแนวคดิ ของหลวงบรบิ าลบรุ ีภัณฑ์ มดี ังนี้
ลำดับองค์พระเจดีย์ ผ้สู รา้ ง พระบรมอฐั ิ
องค์ท่ี ๑ (ฝ่ังตะวนั ออก) พ.ศ. ๒๐๓๕ สมเดจ็ พระรามาธบิ ดที ี่ ๒ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ(บิดา)
องค์ที่ ๒(องค์กลาง) พ.ศ. ๒๐๓๕ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สมเด็จพระบรมราชาธริ าชที่3(พ่ชี าย)
องค์ที่ ๓(ฝ่ังตะวนั ตก) สมเด็จพระบรมราชาธริ าชที่ 4 สมเดจ็ พระรามาธบิ ดที ี่ ๒(บิดา)
สมเดจ็ พระรามาธิบดีท่ี ๒ ทรงสรา้ งพระวิหารหลวงข้ึนในพ.ศ. 204๒ ทา้ ยจระนำของพระวิหารหลวง
นั้นเป็นที่สำหรับบรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์อยุธยา เช่น สมเด็จพระเพทราชา อาจถือได้ว่าวัดพระ
ศรีสรรเพชญ์เปน็ สุสานหลวงเลยทีเดียว
ผ่านมา ๑ ปีคือพ.ศ.2043 พระองคก์ ็ทรงสรา้ งพระพุทธรปู ทส่ี ำคัญขน้ึ ๑ องคเ์ พื่อประดิษฐานในพระ
วิหารหลวงนี้ คือ พระศรีสรรเพชญ์ (ซึ่งน่าจะเป็นท่ีมาของการเรียกวัดพระศรีสรรเพชญ์เเทนวัดพุทธาวาสตาม
อดีตในสมยั สมเดจ็ พระรามาธิบดที ่ี ๒ นีเ้ อง) และพ.ศ.๒๐๔๖ จงึ มกี ารสมโภชฉลององค์พระศรีสรรเพชญ์นน้ั
วัดพระศรีสรรเพชญ์นอกจากจะมีโบราณสถานที่สำคัญอย่างพระเจดยี ์ ๓ องค์ พระวิหารหลวงแล้วยงั
มีพระที่นั่งจอมทอง ที่สถาปนาขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พระสงฆ์บอกเล่า
หนังสือพระสงฆอ์ ีกดว้ ย
หลายคนอาจคิดว่าวัดนี้มีพระเจดีย์เพียง ๓ องค์เท่านั้นแต่ที่จริงแล้ว พระเจดีย์ในวัดตามที่กรม
ศลิ ปากรไดบ้ นั ทกึ ไวม้ ีท้ังสิ้น ๓๘ องคเ์ ลยทีเดยี ว
การบูรณะวัดพระศรีสรรเพชญ์ มีหลักฐานการบูรณะชัดเจนครั้งแรกในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บรมโกศ แต่บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่ามีสร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททองด้วยโดยเฉพาะพระมณฑป ๓ หลังที่
ประดับด้วยปูนปั้นครุฑเช่นเดียวกับพระที่นั่งพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์และสมัยพระนารายณ์เพราะมีการ
สร้างอาคารจตั ุรมุข สำหรับประดษิ ฐานพระพุธรูป 4 อริ ยิ าบถ แต่ใน ๒ รัชกาลหลังน้ียงั ไม่มีหลักฐานแนช่ ัด
เมื่อเสียกรุงจึงถูกปล่อยทิ้งร้าง เมื่อถึงรัชกาลที่ ๕ จึงให้พระยาโบราณราชธานินทร์ขุดกรุภายในวัด
ต่อมากรมศิลปากรก็ได้ทำการขุดกรุอีกทีพบพระสารีริกธาตุ ในสถูป ๗ ชั้น พระโพธิสัตว์สำริด ๕๕๐ พระชาติ
และแผน่ โลหะภาพพระสาวกเดนิ ประทักษิณพนมมืออีกด้วย โบราณวตั ถบุ างชิ้นเจ้าสามพระยานำมาจากเขมร
ตามที่ปรากฎในพงศาวดารว่า“จึงให้พระราชกุมารท่าน พระนครอินทร์เจ้า เสวยราชสมบัติเมืองนครหลวง
ท่านจึงให้เอาพระยาแก้ว พระยาเดโชและครอบครัว และทั้งรูปพระโค รูปสิงห์ สัตว์ทั้งปวงมาด้วย ครั้นถึง
พระนครศรีอยุธยา จึ่งให้เอารูปสัตวท์ ั้งปวงไปบูชาไว้ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบ้าง ไปไว้วัดพระศรีสรรเพชญ์
บ้าง..” ส่วนสถาพวดั ทเ่ี ห็นในปัจจบุ ันนั้นบรู ณะขดุ แต่งในสมัยจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
๑๐.วดั กุฏีดาว
วดั กฏุ ดี าวคาดว่าสร้างขึ้นในสมัยอยธุ ยาตอนต้น แต่บางหลักฐานบอกว่าสร้างก่อนสถาปนาอยุธยา แต่
มิได้ปรากฏผู้สร้าง ปีที่สร้างให้เราได้ศึกษา ส่วนรูปแบบศิลปกรรม ความยิ่งใหญ่ของวัดก็งดงามไม่แพ้วัดใดใน
อยุธยา ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในพ.ศ.๒๒๕๓ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ โดยกรมพระราชวังบวร
สถานมงคล(ตอ่ มาคอื สมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั บรมโกศ)
สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญของวัด คือ พระอุโบสถ(มีฐานโค้งคล้ายเรือสำเภา ต้นแบบพระอุโบสถวัดพระ
แก้ว) และพระตำหนักกำมะเลียน(ศิลปะแบบตะวันตก สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เพื่อเป็นท่ี
ประทับเพ่ือของพระราชวังบวรสถานมงคลขณะบรู ณะปฏสิ งั ขรณว์ ัดกุฎีดาว)
๑๑.วัดพระงาม
ปรากฏในนิราศนครสวรรค(์ สมยั สมเด็จพระนารายณ์) สร้างในสมัยอยธุ ยาตอนต้น ไม่ปรากฏผสู้ ร้างละ
ปีที่สร้าง แลนมาร์กหลักของวัด คือ ซุ้มประตู ที่คนทั่วไปเรียกกันว่า ประตูแห่งกาลเวลา ถูกปกคลุมด้วยราก
ของต้นโพธิ์ มีมนต์ขลังอย่างหนึ่งที่ใครไปเยือนต้องภายภาพเก็บไว้ โบราณสถานของวัดที่สำคัญคือ เจดีย์
ประธานของวัด ลกั ษณะเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม โดยรอบวัดมีคนู ำ้ ลอ้ มไว้
๑๒.วดั ขุนแสน
ปรากฏชื่อวัดในแผ่นดินสำเด็จพระมหาธรรมราชา หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพท่ี
เมอื งแคง ไดอ้ พยพชาวมอญเขา้ มาอาศยั ในอยธุ ยา โดยขุนนางชาวมอญคนสำคัญคือ พระยาเกียรติ พระยาราม
ผู้ที่นำความลับเรื่องพระมหาอุปราชาจะลอบกำจัดสมเด็จพระนเรศวรมาแจ้งแก่พระมหาเถรคันฉ่อง จึงได้นำ
กราบทูลให้สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบจนนำไปสู่การประกาสอิสรภาพ จึงให้ตั้งบ้านเรือนแถบวัดขุนเเสน
ส่วนพระมหาเถรคันฉอ่ งนัน้ จำพรรษาทีว่ ัดมหาธาตุ เมื่อรัชกาลที่ ๔ ทราบว่าพระยาเกียรติ พระยารามเป็นต้น
ตระกูลของพระองค์ จงึ ทำการบรู ณะวดั น้ี
๑๓.วดั พระเมรุราชิการรามหรอื วัดหน้าพระเมรุ
สร้างขึ้นในพ.ศ.๒๐๔๖ ผู้สร้างคือพระองค์อินทร์(พระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๒) ตรงกับ
รัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ที่มาของชื่อวัดนั้นน่าจะมาจากการที่เคยเป็นที่ตั้งพระเมรุของ
พระมหากษัตริยอ์ ยธุ ยา
นบั เปน็ อกี ๑ วัดไม่ได้ถกู ทำลายลงเมื่อคราวเสียกรุงคร้ังท่ี ๒ ทำให้มรี อ่ งรอยศิลปกรรมอยธุ ยาสมบูรณ์
ที่สุดในพระนครประวัติศาสตร์อยุธยา แม้จะมีการบูรณะบ้างในสมัยรัตนโกสินทร์แต่ก็พอให้เราได้ศึกษา
โบราณสถานที่สำคัญที่สุดของวัดคือ พระอุโบสถ เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น คือลักษณะสำคัญเช่น มี
เสาภายในพระอโุ บสถ ขนาดกว้าง ๑๖ เมตรและยาวถึง 50 เมตร กว้าง 16 เมตร พระอุโบสถมีการบรู ณะคร้ัง
ใหญ่โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เพราะหน้าบันทำจากไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกภาพพระ
นารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาคและมีรูปราหูสองข้างติดกับเศียรนาค พร้อมกับเหล่าเทพอีก ๒๖ องค์
ด้านหลังมีเทวดาอีก ๒๒ องค์รวม ๔๘ องค์(สมัยพระเจ้าปราสาททองนี้นิยมประดับโบราณสถานด้วยปูนป้ัน
ครุฑดังเหน็ ไดจ้ ากพระที่น่ังจกั รวรรดิไพชยนต์) ต่อมาได้บูรณะอีกครั้งในสมยั สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโดย
เพมิ่ เสารบั ชายคา สว่ นพระประธานภายในพระอุโบสถของวดั นามว่า “พระพุทธนิมติ วชิ ติ มารโมลีศรีสรรเพชญ์
บรมไตรโลกนาถ” ปางมารวิชัย(หรือปางโปรดพญาชมพูบดี หรือปางทรมานพระยามหาชมพู) ทำจากสัมฤทธิ์
ทรงเครอ่ื งใหญ่แบบกษัตริย์ หลอ่ ขึน้ ในสมัยอยธุ ยาตอนปลาย นับพระพุทธรปู ทรงเครื่องท่ีมีขนาดใหญ่ท่ีสุดใน
ไทย ความสูงถึง 6 เมตร หน้าตักกว้าง 4.40 เมตร คาดว่าพระประธานองค์นี้สรา้ งพร้อมกับวัดในสมัยสมเดจ็
พระรามาธิบดีที่ ๒ หรอื ในรัชกาลของพระเจา้ ปราสาททอง เพราะมลี ักษณะเช่นเดยี วกบั พระพทุ ธรปู ทรงเคร่ือง
กษัตริย์ในวัดไชยวัฒนาราม ซ่งึ เป็นวัดทีพ่ ระองคท์ รงสร้างขน้ึ
หลังจากเสียกรุงครั้งที่ ๒ เมื่อเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ก็ทรงบูรณะวัดนี้อีกครั้ง โดยมี
ความสำคัญคือ พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสมัยทวารวดีจากวัดมหาธาตุ มาประดิษฐานในวิหารชื่อว่า
พระวิหารสรรเพชญ์หรือวิหารเขียนหรือวิหารน้อย ในวัดหน้าพระเมรุ คือ พระพุทธรูปศิลาเขียว(พระคันธาร
ราฐ) ในพระอิริยาบทประทับนั่งห้อยพระบาท) ซึ่งมีเพียง 5 องค์ในประเทศไทย พระพุทธรูปศิลาเขียวองค์นี้
เดมิ ประดิษฐานในวัดมหาธาตุ อยุธยา มีหลักฐานว่าอยูใ่ นประเทศลังกา พระสมณทตู อยธุ ยาท่ีไปเผยแผ่ศาสนา
ที่ลังกาสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คือ พระอุบาลี วัดธรรมารามเป็นผู้อัญเชิญมา แต่ก็มีนักวิชาการบางท่าน
เห็นวา่ กอ่ นทจี่ ะอัญเชิญมาทีว่ ัดมหาธาตุ น่าจะประดษิ ฐานที่วัดพระเมรรุ าชกิ าราม จงั หวดั นครปฐม
เนอื่ งจากเปน็ วัดที่ตั้งตรงขา้ มกับพระราชวังหลวงจึงมีความสำคญั ทางประวตั ิศาสตร์ โดยเฉพาะเม่ือมี
ศึกสงครามกบั พมา่ ดังนี้
-ในชว่ งท่ีพมา่ ล้อมกรุงมกั จะใชเ้ ปน็ จดุ ระดมยิงปนื ใหญเ่ ข้าใส่พระราชวงั หลวง
-เมื่อคราวสงครามช้างเผือก พ.ศ. 2106 ฝ่ายอยุธยาคือสมเด็จพระมหาจักรพพรดิ ได้ใช้บริเวณ
ระหวา่ งวดั หนา้ พระเมรแุ ละวัดชา้ งหรือวดั หสั ดาวาส สำหรบั ต้งั พลับพลาเจรจาสงบศึกกับพระเจา้ หงสาวดีบุเรง
นอง พร้อมกับทำสัญญาที่อยุธยาเสียเปรียบมากมาย เช่น นำตัวพระราเมศวรและพระยาจักรีไปหงสาวดี ขอ
ช้างเผือก ๔ เชือก
-ต่อมาในพ.ศ.๒๓๐๓ ตรงกับสมัยพระเจา้ เอกทัศน์พระเจ้าอลองพญามีอำนาจขึน้ จึงยกพลเข้ามาทาง
ด่านสิงขรล้อมกรุงศรีอยุธยา ตั้งปืนใหญ่หะหว่างวัดพระเมรุราชิการามกับวัดช้างหรือหัสดาวาสระดมยิงเข้าใส่
พระราชวังหลวงแต่ปืนใหญ่แตกใส่พระองค์จนบาดเจ็บ จงึ ยกทพั กลับไป
๑๔.วดั มงคลบพิตร
จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของวัดนี้คือ องค์พระมงคลบพิตร(พระพุทธสยมภูวญาณโมฬี ตามคำให้การขุน
หลวงหาวัด)เดิมประดิษฐานที่วัดชีเชียง ซึ่งคาดว่าสมเด็จพระไชยราชา ทรงหล่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางมาร
วิชัย ความน่าสนใจคือ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ใช้วิธีการหล่อองค์เดียวในไทย ประดิษฐานในวิหารพระ
มงคลบพิตร พระวิหารสร้างขึ้นในพ.ศ.๒๑๖๕ รัชกาลของพระเจ้าทรงธรรม ทำเป็นมณฑปเพื่อครอบองค์พระ
มงคลบพิตรทพี่ ระองค์รบั ส่งั ให้ชะลอมาจากด้านตะวนั ออกของพระราชวงั มาอยู่ในตำแหน่งในปจั จุบันนี้คือด้าน
ตะวันตก ตอ่ มาเกดิ ฟ้าผ่ายอดมณฑปในพ.ศ. 2249 แผ่นดนิ พระเจ้าเสือ จึงให้สร้างข้นึ ใหม่แปลงเป็นวิหารแต่
ยังคงทำเป็นยอดมณฑปดังเดิม เมื่อมีการบูรณะครั้งใหญ่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงเปลี่ยน
หลังคาใหม่อย่างปัจจุบัน ส่วนที่เกี่ยวกับองค์พระก็รับสั่งให้ทำบัวหงายคั่นระหว่างพระเกตุมาลากับพระรัศมี
เมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ พระวิหารถูกทำลาย ส่วนองค์พระนั้นพม่าได้เผาลอกทองเพราะเหตุเข้าใจผิดว่าเป็นพระ
พุทธทองคำจนพระกรขวา(แขน)และพระเมาฬ(ี มวยผม)หกั ลง
ปัจจบุ ันจะพบว่ามีความงดงามราวกับสรา้ งข้นึ ใหม่ เพราะมกี ารบรู ณะหลายครั้ง ดงั นี้
- เร่มิ จากรชั กาลท่ี ๕รับส่ังให้พระยาโบราณราชธานินทร์บรู ณะพระเมาฬแี ละพระกรข้างขวา
-คุณหญิงอมเรศศรีสมบัติ(พ.ศ.๒๔๗๔ ขอลบรอยปูนปั้นเดิมออกแต่ไม่ได้บูรณะ เพราะรัฐบาลเห็นว่า
ผดิ หลักการ จะทำใหเ้ สียรปู แบบโบราณสถาน )
-จอมพลป.พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.๒๔๙๙ ไดร้ ับเงนิ สนบั สนุนจากรัฐบาลพม่าท่ีมาเยือนไทย
คอื นายพลอนู )ุ
-สมเดจ็ พระญาณสังวร สมเด็จพระสงั ฆราชสกลมหาสังฆปริณายก(พ.ศ.๒๕๓๓เห็นว่าควรปดิ ทององค์
พระตลอดทง้ั องค)์
๑๕.วัดวงั ชัย
สรา้ งขึน้ ในพ.ศ.2091 ตรงกับรชั กาลของสมเดจ็ พระมหาจักรพรรดิ ในบริเวณนวิ าสสถานเดิมก่อน
ครองราชย์ของพระองค์
กล่าวถงึ ในประชมุ พงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ ดงั นี้ “ให้สฐาปนาท่พี ระตำหนักวังเป็นพระอโุ บสถและสรา้ ง
พระวิหารอาราม ให้นามชื่อ วัดวงั ชยั อธกิ ารใหช้ ่อื พระนิกรม”
๑๖.วัดสวนหลวงสบสวรรค์
สร้างขน้ึ ในรชั กาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สรา้ งขึ้นในบรเิ วณสวนหลวงสบสวรรค์ ซง่ึ ใช้ถวาย
พระเพลิงพระบรมศพของสมเดจ็ พระสรุ โิ ยทยั เพ่ือถวายเป็นพระราชกุศลแดส่ มเดจ็ พระสรุ ิโยทัยทีส่ ิ้นพระชนม์
ขาดคอชา้ งจากการทำยุทธหตั ถกี ับพระเจา้ แปร เพ่ือป้องกนั สมเด็จพระมหาจกั รพรรดใิ นคราวสงครามกับพระ
เจ้าตะเบ็งชะเวตย้ี กทัพมาล้อมกรงุ พ.ศ.2091 (สงครามคร้ังท่ี ๒ ระหวา่ งอยธุ ยากบั พม่า)
โบราณสถานสำคัญท่ีสุดของวัด คือ เจดยี ์พระศรีสรุ ิโยทยั ซึ่งเปน็ โบราณสถานหนงึ่ เดียวของวัดที่ยังคง
เหลอื อยู่ พระเจดีย์ศรีสรุ ิโยทยั วัดสวนหลวงสบสวรรค์น้ี เป็น ๑ ใน ๕ พระมหาเจดียห์ ลักเมอื งของอยธุ ยา โดย
ทั้ง ๕ ประกอบดว้ ย วัดใหญ่ชยั มงคล วดั สวนหลวงสบสวรรค์ วัดขุนเมืองใจ วดั เจ้าพระยาไทยและวัดภูเขาทอง
การบูรณะพระเจดีย์ศรีสุริโยทัยนเี้ กิดขนึ้ ในพ.ศ.2533 เพื่อเฉลมิ พระเกียรตสิ มเด็จพระนางเจา้ สิรกิ ติ ์ิ
พระบรมราชนิ ีนาถ พระบรมราชชนนีพันปหี ลวง โดยกรมศลิ ปากรรว่ มกับกองบญั ชาการทหารสูงสดุ
๑๗.วดั ไชยวฒั นาราม
สร้างขึ้นในพ.ศ.2173 รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง บนนิวาสสถานเดิมของพระมารดา
เนอื้ ท่ีของวดั 160 เมตรยาว 310 เมตร มวี ัตถุประสงคเ์ พื่อถวายเปน็ พระราชกศุ ลแด่พระมารดา
วัดนี้สร้างขึ้นโดยมีการฟื้นฟูศิลปะอยุธยาตอนต้น อิทธิพลขอมเขมรขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อแสดงบุญญาธิ
การของพระองค์ พร้อมกับการประกาศชัยชนะเหนือเขมรอีกครั้ง ตามรากศัพท์ของวัดที่มีความหมายว่า ชัย
ชนะอนั ถาวร โบราณสถานทีส่ ำคัญที่สดุ ของวัด คือ พระปรางคป์ ระธาน ลกั ษณะสำคญั คือ
-ยอดปรางค์ทำเป็นรัดประคดซ้อน 7 ชั้น มีจตุรมุขยื่นออกมาทั้ง ๔ ด้านขององค์ปรางค์ บนสุดเป็น
ทรงดอกบวั ตมู
-บนฐานโดยรอบมีปรางค์บริวารอีก 4 องค์ มอี าคารทรงยอดรายรอบทั้ง ๘ ทศิ เรียกว่า เมรุทิศเมรุราย
เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนกด้านใน ส่วนผนังด้านนอกมีภาพปูนปั้นพุทธประวัติ 12 ภาพ ตัว
อาคารนัน้ ใช้สำหรบั ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเคร่ืองปางมารวิชัย(เมรุทิศอย่างละ ๑ องค์และเมรุมุมอย่างละ
๒ องค์ รวม ๑๒ องค)์
-ระเบยี งคดสำหรบั ประดษิ ฐานพระพุทธรปู ปางมารวิชยั อีก 120 องค์ ปัจจุบันองคท์ ่มี เี ศียรสมบูรณ์มี
เพียง 2 องค์ การสร้างในลักษณะนี้เป็นการสร้างตามคติพราหมณ์-ฮินดู คือ การจำลองเขาพระเมรุตามแบบ
นครวัดของเขมรนน่ั เอง
สว่ นพระอุโบสถนนั้ หันหน้าไปทางทศิ ตะวันออก มีพระประธานเป็นพระพทุ ธรูปปางสมาธิ
เหตุการณส์ ำคัญ ในพ.ศ.2299 พระเจ้าอยู่หวั บรมโกศใชเ้ ปน็ ทฝี่ งั พระศพของเจา้ ฟ้าธรรมาธเิ บศรหรือ
เจา้ ฟา้ กุ้งและเจ้าฟา้ สังวาลย(์ พระสนมของพระเจ้าอยู่หวั บรมโกศ) ท้งั สองตอ้ งอาญาเฆ่ยี นจนทวิ งคต นอกจากน้ี
ยงั ใชถ้ วายเพลงิ พระศพของสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวบรมโกศและเจ้านายอีกหลายพระองค์
เมื่อเสียกรุงคร้ังที่ ๒ ก็ได้ถูกปล่อยทิ้งรา้ ง จนถึงพ.ศ.2530กรมศิลปากรจึงได้ทำการบูรณะใช้เวลาถึง
๕ ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ.2535 เป็นสภาพในปัจจุบนั ให้เราได้เยี่ยมชม เกร็ดความรู้ ผู้ใดฝ่าฝืนกฎการเข้าเยี่ยม
ชมโบราณสถานมโี ทษจำคกุ ไม่เกนิ 1 เดือน ปรบั ไม่เกิน 10,000 บาท
๑๘.วัดชุมพลนกิ ายารามราชวรวิหาร
สร้างขึ้นในพ.ศ.2175 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง บนนิวาสสถานเดิมของพระชนนีที่บางปะอิน
โบราณสถานที่สำคัญของวัด คือ พระอุโบสถ ซึ่งประดิษฐานพระประธานมากถึง ๗ องค์ ตามคติพระพุทธเจ้า
ท้ัง ๗ ตั้งแต่อดตี จนถึงพระองคป์ ัจจุบัน ดงั นี้ พระวปิ ัสสพี ทุ ธเจา้ พระสกิ ขพี ทุ ธเจ้า พระเวสสภูพทุ ธเจ้า พระกกุ
สนั ธพุทธเจา้ พระโกนาคมนพทุ ธเจ้า พระกัสสปพุทธเจา้ และพระโคตมพระพทุ ธเจา้
เม่ือเสยี กรงุ จึงถูกปลอ่ ยทิง้ ร้าย ไดร้ บั การบรู ณะในสมยั พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั จากน้ัน
กรมศลิ ปากรจงึ ได้เขา้ ไปดแู ล
๑๙.วดั สมณโกฏฐาราม
สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ไม่ปรากฏผู้สร้าง ปีสร้าง แต่เจ้าพระยาโกษาธิบดี(ขุนเหล็ก)และ
เจา้ พระยาโกษาธิบดี(ปาน)ได้ทำการบูรณะ จงึ มีความสำคัญฐานะเปน็ วัดประจำของท้ัง ๒ ท่าน ตามบันทึกของ
หมอแกรมปเ์ ฟอร์(ชาวเยอรมัน สมัยพระเพทราชา) เรียกช่ือวัดวา่ “วัดเจ้าพระยาพระคลัง” ตามตำแหน่งของ
โกษาปานในขณะนั้นและยงั กล่าวอีกวา่ ใช้ถวายพระเพลิงพระศพเจา้ แม่ดุสิตในพ.ศ. 2233
โบราณสถานที่สำคัญที่สุดของวัดกค็ ือ มหาธาตเุ จดีย์สำหรบั ประดิษฐานพระสารีริกธาตุ ลักษณะเจดีย์
คล้ายกับเจดียท์ ี่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เมืองเชียงใหม่ มหาธาตุเจดีย์วัดสมณโกฏฐารามเป็น ๑ ใน ๕ มหาเจดีย์หลกั
ของเมือง ตามปรากฎในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม(คำให้การขุนหลวงหาวัด) โดยทั้ง ๕ องค์น้ัน
ประกอบดว้ ย มหาธาตุเจดีย์วดั มหาธาตุ วดั พระราม วดั ราชบรู ณะ วัดสมณโกฏฐารามและวดั พุทไธศวรรย์
มหาธาตุเจดีย์วัดมหาธาตุและวัดสมณโกฏฐารามนั้นได้พังทลายลงมาเหลือเพียงฐานส่วนอีก ๓ วัด
ยังคงสมบูรณ์ จากการขุดค้นของกรมศิลปากรนั้นพบพระสารีริกธาตุเพียง ๒ วัด คือ วัดมหาธาตุและวัดราช
บูรณะสว่ นอกี ๓ วดั ไมม่ ีการค้นพบ
โบราณสถานอ่นื ๆ เชน่ พระอุโบสถ(ภายในประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำ
จากหนิ ทราย นามว่า “พระศรีสมณโกฏบพิตร” ตอ่ มามกี ารสร้างศาลเพื่อสกั การะบชู าเจ้าพระยาโกษาธิบดี(ขุน
เหล็ก)เจ้าพระยาโกษาธบิ ด(ี ปาน)และสมเด็จพระเจา้ ตากสินมหาราชขนึ้ ท่ีวดั น้ดี ว้ ย
๒๐.วดั สามปลืม้
ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างแน่นอน มีเพียงตำนานวา่ ผู้สร้าง เจ้าแม่วัดดุสติ สมัยสมเด็จพระนารายณ์
มหาราชแต่ก็ไมส่ ามารถะบชุ ดั เจนได้
โบราณสถานเดียวของวัดที่คงเหลืออยู่ คือ เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงกลมฐานแปดเหลี่ยม ได้รับ
ฉายาการเรียกว่า “เจดีย์นักเลง” เพราะเมื่อมีการพัฒนาปรับปรุงผังเมืองอยุธยานั้น รัฐบาลได้ทำการรื้อถอน
โบราณสถานหลายอย่าง แต่เจดีย์วัดสามปลื้มไม่ได้ถูกทำลาย ต่อมามีการเชื่อมถนนพหลโยธินเข้าตัวเมือง จึง
ทำถนนออ้ มจนเป็นวงเวยี น คล้ายกับอนสุ าวรยี ป์ ระชาธิปไตย โดยจอมพลป. พบิ สู งคราม ไดก้ ำหนดให้เจดีย์วัด
สามปล้ืมเป็น “หมายเมอื งหรือแลนด์มาร์ก”ของจงั หวัดพระนครศรีอยุธยาอีกดว้ ย
๒๑.วัดพระยาแมน
วดั พระยาแมนเป็นอกี ๑ วดั ในอยธุ ยาทไ่ี มป่ รากฏหลักฐานปสี รา้ งและผสู้ รา้ ง เปน็ วัดร้างท่ีใหญ่ท่ีสุดใน
แถบคลองสระบวั เลยทเี ดยี ว บนพ้นื ทีข่ องทุ่งสำคญั คอื ทงุ่ แกว้ ท่งุ ขวญั รอบวดั มคี นู ้ำลอ้ มไว้
วัดมคี วามสำคัญเด่นชัดในรชั กาลของสมเดจ็ พระเพทราชา เพราะพระองค์เคยผนวชทีว่ ัดนี้ พระอธิกร
วัดยังเคยพยากรณ์ไว้ว่าตนจะได้ขึ้นครองราชย์อีกด้วย เมื่อได้ครองราชย์จึงได้บูรณะให้มีศาสนสถาน ท่ีมั่นคง
โดยการบูรณะแล้วเสร็จในพ.ศ.2233 จึงสมโภชฉลองวัดอยู่ ๓ วัน สถาปนาพระอธิกรวัดขึ้นเป็น พระราชา
คณะช้ันผใู้ หญ่ฝ่ายคามวาสี นามวา่ “พระยาศรสี จั จญาณมุนี”
โบราณสถานสำคัญ เชน่ พระอโุ บสถ(วัดน้ีพระอโุ บสถสำคัญทส่ี ุดเพราะเปน็ ประธานของวัด) เจดีย์ทรง
ปรางค์ย่อมุมไม้สิบสองอีก ๒ องค์ หอระฆัง วัดนี้เป็นวัดที่รับวิทยาการสมัยใหม่จากรัชกาลของสมเด็จพระ
นารายณค์ อื มีร่อยรอยการวางระบบประปา
๒๒.วัดบรมพุทธาราม
สร้างขึ้นในพ.ศ.2232 ผู้สร้างคือ สมเด็จพระเพทราชา ในบริเวณบ้านเดิมของพระองค์สมัยรัชกาล
ของสมเด็จพระนารายณ์ รับราชการเป็นเจ้ากรมพระคชบาลหรือเจ้ากรมช้าง ย่านป่าตอง ปัจุบันอยู่ในเขต
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏพระนครศรอี ยุธยา
ศิลปกรรมภายในวัดโดยเฉพาะพระอุโบสถและวิหารการเปรียญที่ส่วนของหลังคามุงด้วยกระเบื้อง
เคลือบ สีเหลืองเขียว จนเรียกกันว่า วัดกระเบื้องเคลือบ นับว่ามีวัดเดียวในอยุธยา ส่วนที่อื่นๆนั้นมีในสมัย
สมเด็จพระนารายณ์ที่มุงในพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทและวิหารกลางในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ลพบรุ ี
มรดกชิ้นสำคัญของวัดที่ตกทอดจนถึงปัจจุบัน คือ บานประตูประดับมุข ผู้สร้างคือสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีทั้งหมด 3 คู่ ปัจจุบันอยู่ท่ีหอพระมณเฑียรธรรม(พระบรมมหาราชวัง) วัดเบญจมบพิตร
และพิพธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติพระนคร(มีการดดั แปลงเปน็ ตหู้ นังสือ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต
เป็นผูน้ ำมามอบให้)
ก่อนเสียกรุงมีการบูรณะในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ วัดบรม
พุทธาจึงถูกปล่อยทิ้งรา้ งไป จนกระทั่งกรมศิลปากรได้มาบรู ณะใน พ.ศ. 2499 สิ่งที่พบจากวัดนี้คือ กระเบื้อง
เคลือบสีเหลอื งรูปต่างๆ เช่น ครฑุ สว่ นรูปเทพพนมน้ันเป็นสเี หลืองแกมเขียว
วัดท่ีสร้างหลงั การเสยี กรงุ ศรอี ยธุ ยาครง้ั ท่ี ๒
วดั สวุ รรณดาราราม
เดิมชื่อ “วัดทอง” ที่ผู้สร้างคือพระราชบิดาของรัชกาลที่ ๑ ได้รับความเสียหายจากสงครามเสียกรุง
ต่อมาเมื่อรชั กาลที่ ๑ ทรงครองราชย์จึงได้บรู ณะใหม่ทัง้ วัดหลังจากปล่อยรา้ ง ๑๘ ปี พระราชทานนามว่า “วัด
สุวรรณดาราราม” ทำใหว้ ัดนเี้ ปรียบเสมอื นวัดประจำราชวงศ์จักรีเลยทเี ดียว
จุดเดน่ ของวดั คือ มีจิตรกรรมฝาผนังเขยี นสนี ้ำมนั พระราชประวตั ิของสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช เน้น
ความเสมือนจริงของตัวบุคคล เนื้อหาภาพอ้างอิงจากพระราชพงศาวดาร เช่น ตอนประกาศอิสรภาพ ตอนทำ
ยุทธหตั ถี เปน็ ตน้ ถอื เปน็ การเลยี นแบบการเขยี นภาพพุทธประวัตขิ องวัดทั่วไป ภาพจิตรกรรมนั้นเป็นฝีมือของ
มหาเสวกตรี พระยาอนศุ าสนจ์ ิตร
โบราณสถานที่สำคัญ เช่น พระอุโบสถ(ฐานโค้งคล้ายเรือสำเภา ตามศิลปะอยุธยาตอนต้น วัดอื่นๆที่
พบ เชน่ วัดกฎุ ดี าว วัดพระแกว้ ท่ีกรงุ เทพก็มีลักษณะเช่นเดียวกนั )
วดั นิเวศธรรมประวัติราชวรวหิ าร
สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นวัดสำหรับประกอบศาสนาเมื่อคราว
เสด็จพระราชดำเนินมาประทบั ทพี่ ระราชวังบางปะอนิ
พระอุโบสถสถาปัตยกรรมแบบโบสถ์คริสต์ ศลิ ปะโกธกิ ประดบั กระจกสี แมส้ ถาปัตยกรรมจะเป็นแบบ
ตะวันตก แต่พระประธานยังคงเป็นแบบวัดพุทธอยู่ มีพระประธาน คือ พระพุทธนฤมลธรรโมภาส(ผู้ออกแบบ
คือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เป็นพระพุทธรูปที่ผสมผสานศิลปะตะวันตก เน้นความเสมือน
จริง พระลักษณะคล้ายกับสามัญชน ประดิษฐานบนฐานชุกชีที่มีลักษณะคล้ายกับท่ีสำหรับตั้งไม้กางเขนแบบ
โบสถค์ รสิ ต์
ส่งิ ทเี่ ป็นหลกั ประธานของอยธุ ยาตามคำใหก้ ารขนุ หลวงวัดประดทู่ รงธรรม
-พระมหาธาตุทีเ่ ป็นหลกั ของอยุธยา
พระมหาธาตทุ ี่สร้างขนึ้ ในวดั ต่างๆนั้น ล้วนมจี ุดประสงค์เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาทัง้ ส้ิน หลายวดั ท่ี
ใชส้ ำหรบั บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเพ่ือสกั การะบูชา แต่ทมี่ ีสำคัญจนไดช้ ่ือว่าเปน็ หลักประธานของเมือง มี ๕
วัดดังน้ี
๑. พระมหาธาตุวัดพระราม
๒. พระมหาธาตวุ ัดมหาธาตุ
๓. พระมหาธาตุวัดราชบูรณะ(เปน็ พระปรางค์ประธานสมบูรณ์ท่สี ดุ ในอยธุ ยา)
๔. พระมหาธาตวุ ัดสมรโกฏ
๕. พระมหาธาตุวัดพุทไธสวรรย์
ความสมบรู ณ์ขององค์พระมหาธาตุในแต่ละวดั คือ มหาธาตุวัดมหาธาตแุ ละวัดสมณโกฏฐารามนั้นได้
พังทลายลงมาเหลือเพยี งฐาน ส่วนวัดพระราม วัดราชบูรณะ วดั พุทไธสวรรยย์ งั คงสมบูรณ์
จากการขุดคน้ ของกรมศิลปากรน้ันพบพระสารรี ิกธาตเุ พยี ง ๒ วัด คือ วัดมหาธาตแุ ละวดั ราชบูรณะ
ประดิษฐานที่พิพิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ เจ้าสามพระยา ส่วนวดั สมณโกฏฐาราม วดั พระราม วัดพทุ ไธสวรรย์
ไม่มีการคน้ พบ
-พระมหาเจดยี ท์ ี่เปน็ หลักของอยธุ ยา
ตามคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวงวา่ ดว้ ยสิ่งซ่งึ เป็นหลกั เปน็ ประธานเปน็
ศรพี ระนคร ๑ ในน้ันกค็ ือ พระมหาเจดยี ์ มีกลา่ วไว้ ๕ วัดดังนี้
๑. พระมหาเจดยี ์วดั สวนหลวงสบสวรรค์
๒. พระมหาเจดีย์วดั ขุนเมอื งใจ
๓. พระมหาเจดยี ์วดั เจ้าพระยาไทย
๔. พระมหาเจดยี ว์ ัดภเู ขาทอง
๕. พระมหาเจดยี ว์ ดั ใหญ่ชยั มงคล(เป็นเจดยี ์ทีส่ งู ทส่ี ดุ ในอยุธยา)
บทท่ี ๕
ถาม-ตอบท่ีสดุ แห่งความสำคัญในสมยั กรุงศรอี ยธุ ยา
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีการบันทึกตามเอกสารต่างๆนั้น มีอยู่จำนวน
มากมายและบางคร้ังเหตุการณน์ นั้ ก็เกิดขึ้นหลายรัชกาล อยา่ งสงครามระหว่างอยธุ ยากับพมา่ นนั้ เกิดข้ึนตรงกับ
สมัยพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ เช่น สมเด็จพระไชยราชาธิราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น แต่
เหตกุ ารณ์ที่เปน็ ปฐมบทกค็ อื สมครามเมืองเชยี งกรานในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธริ าช
นอกจากน้ยี ังมเี หตุการณเ์ ดน่ ท่ีเกิดขึ้นครั้งแรกและคร้ังเดียวในรชั กาลนัน้ ๆ พระราชประวัติเฉพาะส่วน
พระองค์ของพระมหากษตั รยิ อ์ ีกด้วย ดังน้นั ผเู้ ขยี นจงึ ไดร้ วบรวมเหตกุ ารณ์ท่ีสำคญั หรือเกิดขนึ้ เปน็ ครัง้ แรกไว้ใน
บทนี้ เพ่อื ให้สะดวกแกก่ ารศึกษาของผู้ทสี่ นใจ
๑. คำถามเหตุการณ์สำคญั ต่อไปนี้เกิดข้ึนในสมยั พระมหากษัตริยพ์ ระองค์ใด คำตอบ(พระมหากษตั รยิ ์)
คำถาม(เหตุการณ์) สมเด็จพระเจ้าอยู่หวั บรมโกศ
สมเด็จพระเจา้ ทรงธรรม
๑ค้นพบบอ่ ทองคำทีบ่ างสะพาน สมเดจ็ พระรามาธบิ ดีท่ี ๒
๒ค้นพบรอยพระพุทธบาท สระบรุ ี สมเดจ็ พระเอกาทศรถ
๓อยธุ ยาทำสัญญาฉบบั แรกกับตะวนั ตก คอื โปรตุเกส สมเดจ็ พระไชยราชาธริ าช
๔ส่งคณะทูตไปฮอลันดา(ถอื เป็นการส่งทตู ไปยโุ รปเป็นครัง้ เเรก) สมเดจ็ พระไชยราชาธริ าช
๕สรา้ งโบสถ์ครสิ ต์ครัง้ เเรกในประวัตศิ าสตร์ สมเด็จพระมหินทราธิราช
๖สงครามคร้ังเเรกระหว่างไทยกบั พมา่ คอื สงครามเมอื งเชยี งกราน สมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ ัวบรมโกศ
๗เสยี กรุงศรอี ยธุ ยาคร้งั ท่ี ๑ สมเดจ็ พระนครินทราธิราช
๘เกิดนิกายสยามวงศ์หรอื อุบาลีวงศ์ข้ึนครงั้ ทล่ี ังกา สมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ
๙กษัตรยิ อ์ ยธุ ยาพระองค์เดียวของอยุธยาท่ีเสด็จไปเมืองจนี สมเดจ็ พระบรมราชาธิราชท่ี ๓
๑๐สงครามชา้ งเผอื ก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
๑๑กอ่ กำแพงเมืองพิชัยเป็นครง้ั แรก สมเดจ็ พระเจา้ เอกทศั น์
๑๒ถวายพระราชวังทส่ี รา้ งในสมยั พระเจ้าอทู่ อง เป็นวดั พระศรสี รรเพชญ์ สมเด็จพระเอกาทศรถ
๑๓เสียกรุงศรีอยุธยาครงั้ ท่ี ๒ สมเด็จพระนารายณม์ หาราช
๑๔เจ้าฟา้ สทุ ัศน์ฆา่ ตวั ตาย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
๑๕พม่าตีเมืองไทรโยค สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
๑๖ยกเลกิ เมืองลูกหลวง สมเด็จพระเจา้ ปราสาททอง
๑๗เกิดชา้ งเผือกเชอื กเเรกของอยุธยา สมเดจ็ พระมหาธรรมราชา
๑๘สรา้ งวดั ไชยวัฒนาราม สมเดจ็ พระเจา้ เสือ
๑๙สถาปนาราชวงศ์สุโขทยั สมเด็จพระเจ้าอยู่หวั บรมโกศ
๒๐ขุดคลองมหาชัย สมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑
๒๑สง่ สมณทูตไปลังกา สมเดจ็ พระเพทราชา
๒๒สรา้ งวดั พทุ ไธสวรรค์
๒๓เกิดกบฏธรรมเสถยี ร
๒๔กษตั ริย์อยุธยาพระองค์เเรกทใี่ หเ้ สรภี าพทางศาสนาเเก่ประชาชน สมเด็จพระนารายณม์ หาราช
๒๕ใชป้ นื ไฟคร้งั แรกในสมัยอยุธยา สมเดจ็ พระไชยราชาธิราช
๒๖สรา้ งปอ้ มมหาชยั สมเดจ็ พระมหาธรรมราช
๒๗พระมหาเทวศี รจี ริ ะประภาแห่งเชียงใหม่ ถวายเครอ่ื งราชบรรณาการ สมเด็จพระไชยราชาธิราช
กำเนดิ จนิ ดามณี หนังสือแบบเรยี นเล่มแรกของไทย สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช
ขดุ คูข่ือหน้าครง้ั ท่ี ๑ สมเด็จพระรามาธบิ ดีท่ี ๑
เกดิ กบฏบญุ คว้าง สมเด็จพระเพทราชา
อยธุ ยาเปิดความสัมพนั ธท์ างการค้าครงั้ เเรกกับอังกฤษ สมเด็จพระเจา้ ทรงธรรม
เกิดชา้ งเผือก ๗ เชือกในประวัติศาสตร์ สมเดจ็ พระมหาจักรพรรดิ
ขนุ รองปลดั ชู วรี ชนเมืองวิเศษไชยชาญรบกับพม่าที่ดา่ นสงิ ขร สมเด็จพระเจา้ เอกทัศน์
กบฏแขกมักกะสนั สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช
พิธลี บศกั ราช เพอ่ื ป้องกนั การเกิดกลียุค สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง
ระงบั ขอ้ พพิ าทระหว่างหลวงพระบางกับเวยี งจันทน์ สมเดจ็ พระเพทราชา
ท้าวศรีสุดาจันทร์ลอบเปน็ ชกู้ บั บุตรพันศรเี ทพ สมเดจ็ พระยอดฟา้
พระราชนิพนธก์ าพย์มหาชาติ ในฐานะทรงเป็นปราชญ์รธู้ รรม สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
ตีเชยี งใหมไ่ ด้สำเรจ็ เป็นคร้ังแรก สมเด็จพระราเมศวร
สร้างพระธาตศุ รีสองรักษส์ ือ่ ถึงความรว่ มมือกบั ลา้ นชา้ ง ในการป้องกันศึกพมา่ สมเดจ็ พระมหาจักรพรรดิ
อยธุ ยาดำเนนิ ความสมั พนั ธท์ างการทูตกบั ฝร่ังเศสเพอื่ คานอำนาจฮอลันดา สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช
สร้างวดั พระศรีสรรเพชญ์ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
อยธุ ยายกทพั ไปตีสุโขทัยครั้งเเรก ศกึ เมอื งชัยนาท สมเดจ็ พระรามาธิบดที ี่ ๑
เปดิ การค้าระหว่างไทยกบั ฮอลนั ดาครงั้ เเรก สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ออกกฎหมายห้ามชาวพุทธในอยุธยาทำอาชพี ค้าสตั ว์ สมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ ัวบรมโกศ
โปรตุเกสตเี มืองมะละกา สมเดจ็ พระรามาธบิ ดีที่ ๒
สรา้ งวหิ ารหลวงวดั พระศรีสรรเพชญ์ สมเด็จพระรามาธบิ ดีท่ี ๒
จากการบนั ทึกกลา่ วถึงดาวหางคร้งั แรกในอยธุ ยาตรงกบั รชั กาลใด สมเดจ็ พระรามาธิบดีที่ ๒
สถาปนาวัดราชบูรณะ สมเดจ็ พระบรมราชาธริ าชที่ ๒
สุรกรรมาถูกพระแสปนื ตน้ ข้ามแม่นำ้ สะโตงตายบนหลงั ชา้ ง สมเด็จพระมหาธรรมราชา
หลอ่ รปู พระโพธสิ ัตว์ ๕๐๐พระชาติเพื่อฉลองพระพุทธศาสนามีอายุครบ๒๐๐๐ ปี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เเตง่ ตำราพิชยั สงครามขน้ึ คร้งั เเรก สมเดจ็ พระรามาธิบดีท่ี ๒
ออกกฎหมายห้ามราษฎรกนิ ปลาตะเพียน สมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวท้ายสระ
บาทหลวงล็อมเเบรต็ เดอ ลาม็อต ชาวฝร่งั เศสคนแรกที่มาถึงอยุธยาในพ.ศ.๒๒๐๕ สมเด็จพระนารายณม์ หาราช
สร้างพระราชวังบางปะอิน สมเด็จพระเจา้ ปราสาททอง
เขมรกวาดตอ้ นผ้คู นเมืองชลบุรี เเละจนั ทบรุ ี สมเดจ็ พระราเมศวร
ทำสนธิสัญญาไม่เสมอภาคครง้ั เเรกในไทยกับฮอลันดาเพ่ือผูกขาดหนงั กวาง สมเด็จพระนารายณม์ หาราช
สรา้ งพระธาตุศรีสองรกั ษโ์ ดยร่วมมอื กบั พระไชยเชษฐาธริ าชแห่งล้านช้าง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
สรา้ งพระท่นี ั่งไอศวรรยม์ หาปราสาท ไพฑูรย์มหาปราสาท ไพชยนตม์ หาปราสาท สมเด็จพระรามาธิบดที ่ี ๑
ราชวงศ์สพุ รรณภูมิมอี ำนาจเหนอื ราชวงศอ์ ทู่ องอยา่ งเดด็ ขาด สมเดจ็ พระนครินทราธิราช
สร้างเรือพระท่นี งั่ ก่งิ ขึน้ และทรงต้งั กฐินบกพยุหยาตราใหญ่เปน็ คร้งั แรก สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
-กษตั ริยอ์ ยธุ ยาพระองค์สุดทา้ ยท่ีเสด็จวงั ชา้ ง สมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั บรมโกศ
-ดัดแปลงเรือแซให้เปน็ เรือไชยกบั เรอื ศีรษะสัตว์ สมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ
-มพี ระราชพธิ ีอดุ มกรรมเป็นคร้งั แรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
-สร้างวงั หนา้ คือวงั จันทรเกษมเเละวงั หลังคร้ังเเรก สมเด็จพระมหาธรรมราชา
-อยธุ ยาเปิดความสมั พนั ธ์ทางการค้ากบั สเปนท่กี รุงมะนิลาเป็นคร้ัง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
-มกี ารเเบง่ เเยกหนา้ ทขี่ องทหารเเละพลเรือนออกจากกนั เปน็ คร้ังแรก สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
อยธุ ยาทำสงครามครง้ั เเรกกบั เขมร สมเดจ็ พระรามาธบิ ดที ่ี ๑
ใชเ้ ครอื่ งชงั่ ตวงของราชการ เพื่อให้มีมาตรฐานในการซอ้ื ขายเปน็ คร้งั แรก สมเด็จพระไชยราชาธิราช
อยุธยาเปิดการค้ากบั เดนมาร์กเป็นคร้งั แรกในประวตั ิศาสตรร์ าวพ.ศ. 21๖๔ สมเด็จพระเจา้ ทรงธรรม
เกดิ กบฏปัตตานี สมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ
อยธุ ยาเปดิ ความสัมพนั ธท์ างการคา้ ครัง้ แรกกับฝรงั่ เศส สมเด็จพระนารายณม์ หาราช
พมา่ ตีหัวเมืองปกั ษ์ใต้ สมเด็จพระเอกทศั น์
ท้าวทองกีบมา้ พ้นโทษ และได้เปน็ ผูด้ แู ลสำรับอาหารในราชสำนกั สมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวบรมโกศ
ได้สุโขทัยเปน็ เมอื งขน้ึ ครั้งแรก สมเดจ็ พระบรมราชาธิราชที่ ๑
สรา้ งเมอื งใหมเ่ ป็นเมอื งยทุ ธศาสตร์คือ เมอื งนนทบรุ ี เมืองสาครบรุ ี เมอื งนครชัยศรี สมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ
ส่งนักเรยี นไทย ๒๑ คนไปเรียนต่างประเทศ สมเด็จพระนารายณม์ หาราช
เนรเทศกรมหม่นื พพิ ธิ ไปลังกา สมเดจ็ พระเจ้าเอกทัศน์
อยุธยาเปดิ การคา้ กบั องั กฤษเป็นครงั้ แรกในประวัติศาสตรร์ าวพ.ศ. 2๑๕๕ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
อยธุ ยามสี งครามคร้ังใหญ่สดุ กบั ล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
จัดพระราชพธิ มี ธั ยมกรรมขนึ้ เป็นครงั้ แรกในสมัยอยธุ ยา สมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ
สมเด็จพระเจา้ ตากสนิ และสมเดจ็ พระพุทธยอดฟา้ จุฬาโลกทรงพระราชสมภพ สมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั บรมโกศ
นโยบายลดอำนาจเจ้านายหรอื ราชวงศแ์ ละเพ่มิ อำนาจใหก้ ับขนุ นาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ชาวมอญจบั ตัวมังนันทมติ รเข้ามากรงุ ศรีอยธุ ยา สมเด็จพระนารายณม์ หาราช
อยธุ ยารับจ้างชาวตา่ งชาตเิ ป็นขนุ นางระดบั สงู เพื่อคานอำนาจขุนนางไทย สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง
ให้ชาวเชยี งใหม่ไปตัง้ ถ่ินฐานท่ีเมอื งพทั ลุง สงขลา นครศรีธรรมราชเเละจันทบุรี สมเด็จพระราเมศวร
เขมรกวาดต้อนชาวเมืองปราจนี บรุ ี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ยกพษิ ณโุ ลกเป็นราชธานีทางเหนือ เพ่ือปอ้ งกันศึกจากลา้ นนาทางเหนือ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
นำพระพุทธสหิ งิ ค์ลงมาจากเมอื งเชยี งใหม่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เกดิ ประเพณีไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
ตรา “พระธรรมนญู กระทรวงศาล” สมเด็จพระเจา้ ทรงธรรม
หลวงสรศกั ดย์ิ งิ ธรรมเสถียรทีย่ นื ช้าง ณ วดั มณฑป สมเดจ็ พระเพทราชา
ผนวกสโุ ขทัยเข้ากบั อยธุ ยาโดยสมบรู ณ์ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
เพม่ิ ทรงกรมจากทม่ี ีอยเู่ ดมิ ๓ กรมให้เปน็ ๑๓ กรม สมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
สร้างลพบุรี เป็นราชธานเี เหง่ ที่ ๒ ของอยุธยา สมเด็จพระนารายณม์ หาราช
เกดิ วรรณกรรม ลลิ ิตโองการเเช่งนำ้ ใชใ้ นพธิ ีถือนำ้ พพิ ัฒนส์ ตั ยา(ศรสี ัจปานกาล) สมเดจ็ พระรามาธบิ ดีท่ี ๑
ยุติการชิงอำนาจของพระยารามและพระยาบาลเมืองเมอื่ ส้นิ พระมหาธรรมราชาท่ี ๓ สมเด็จพระนครนิ ทราธริ าช
เหตุการณท์ างการเมอื งเกิดข้ึนทพ่ี ระท่ีนั่งสรุ ยิ าสนอ์ มรินทร์โดยกรมขนุ อนรุ กั ษม์ นตรี สมเดจ็ พระเจ้าอทุ มุ พร
ไทยเปิดความสมั พันธ์ทางการค้าครง้ั เเรกกับตะวันตก สมเด็จพระรามาธบิ ดที ่ี ๒
เจ้าแม่วัดดสุ ิตขอพระราชทานอภัยโทษให้หลวงสรศกั ดเิ์ หตกุ ารณช์ กปากฟอลคอน สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช
โปรดเกลา้ ใหข้ ุดคลองลัดบางกรวยเปน็ ครงั้ แรก สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง
สร้างวหิ ารพระมงคลบพิตร สมเดจ็ พระเจา้ ทรงธรรม
อยธุ ยาเปดิ ความสมั พันธท์ างการทตู คร้ังแรกกบั ญีป่ ุ่น สมเด็จพระเอกาทศรถ
อยุธยาส่งออกเครื่องสงั คโลก สมเดจ็ พระนครนิ ทราธิราช
เขมรย้ายเมืองหลวงไปอยู่อดุ มลอื ไชย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
เจา้ ฟา้ อภยั และเจา้ ฟ้าปรเมศร์ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ท่วี ดั โคกพระยา สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ
เขมรย้ายเมืองหลวงไปอย่พู นมเปญ สมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๒
เกดิ กบฏพระยานารายณ์ สมเดจ็ พระไชยราชาธริ าช
เกดิ สงครามยทุ ธหตั ถี สมเด็จพระนเรศวร
อยุธยาประกาศอสิ รภาพจากหงสาวดีท่ีเมอื งแคลง สมเดจ็ พระมหาธรรมราชา
สรา้ งพระธาตุศรสี องรักษ์ สมด็จพระมหาจักรพรรดิ
มีการบนั ทึกพระราชพงศาวดารฉบบั หลวงประเสริฐอักษรนติ ิ์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ชะลอย้ายพระมงคลบพติ รจากดา้ นตะวนั ออกของวงั หลวงมาอยู่ด้านตะวันตก สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
อยุธยาทำสงครามครง้ั สดุ ท้ายกับเขมร สมเดจ็ พระเจา้ อย่หู ัวท้ายสระ
เจ้าฟ้ากุณฑลนพิ นธว์ รรณคดเี รอื่ งดาหลงั (อิเหนาใหญ)่ สมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั บรมโกศ
เกดิ สงครามครั้งที่ ๒ ระหว่างอยธุ ยากบั พม่าในพทุ ธศักราช ๒๐๙๑ สมดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ
ตงั้ ออกญาเสนาภมิ ุขเปน็ เจา้ เมืองนครศรีธรรมราช สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง
รบกบั พมา่ ทเ่ี มอื งไทรโยค สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
อยุธยามีอิทธิพลเหนือหลวงพระบางและเวียงจันทน์ สมเดจ็ พระเพทราชา
บรู ณะพระเศียรองค์พระมงคลบพิตร วดั มงคลบพิตร สมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวบรมโกศ
สรา้ งวัดพระพทุ ธบาท สมเดจ็ พระเจา้ ทรงธรรม
ทรงสรา้ งวดั วงั ชัย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
เกดิ กบฎไพร่ญาณพเิ ชยี ร สมเด็จพระมหาธรรมราชาธริ าช
สง่ พระนครอินทรไ์ ปครองเขมรในฐานะประเทศราช สมเดจ็ พระบรมราชาธริ าชที่ ๒
กำหนดให้ผูท้ จี่ ะเขา้ รับราชการ ตอ้ งบวชเรียนทางพระพุทธศาสนามาก่อน สมเด็จพระเจ้าอย่หู วั บรมโกศ
๒. คำถาม คณุ สมบตั ติ อ่ ไปน้ีเป็นคุณสมบัติของพระมหากษตั รยิ อ์ ยธุ ยาพระองค์ใด
คณุ สมบัติ พระมหากษัตริย์
๑.มหี ลักฐานว่าขน้ึ ครองราชย์ ๒ รัชกาล สมเด็จพระราเมศวร
กล่าวถงึ ในลลิ ิตยวนพา่ ยทำสงครามกบั พระเจ้าตโิ ลกราชแห่งล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เคยดำรงตำเเหนง่ เจา้ พระยากลาโหมสุริยวงศ์ สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง
มีความเก่ยี วขอ้ งกบั ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนงั ที่วดั สุวรรณดาราม สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
กษตั รยิ อ์ ยธุ ยาทที่ รงมพี ระจรยิ วัตรเหมอื นอยา่ งสามัญชนมากทีส่ ดุ สมเด็จพระเจ้าเสือ
ถูกสำเรจ็ โทษดว้ ยทอ่ นจันทร์ทีว่ ัดโคกพระยาเปน็ พระองค์เเรกของอยุธยา พระเจา้ ทองลัน
พระเจา้ กรงุ จีนราชวงศ"์ เหมง็ "เรียกว่าเจียวลกควนอนิ ทร์ สมเด็จพระนครนิ ทราธริ าช
กษตั รยิ ์อยธุ ยาทีถ่ ูกกวาดตอ้ นไปพม่าเมื่อคราวเสยี กรงุ ครงั้ ท่ี ๒ สมเด็จพระเจา้ อุทมุ พร
สมเด็จพระสรรเพชญ์องค์เเรกของอยธุ ยา สมเด็จพระมหาธรรมราชา
ทำสงครามกับเขมรเปน็ พระองค์สดุ ทา้ ย สมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวทา้ ยสระ
สวรรคตหลังจากอดพระกระยาหาร ๑๐ วัน สมเด็จพระเจา้ เอกทศั น์
มพี ระราชโอรสเปน็ กษัตริย์ถึง ๓ พระองค์ สมเดจ็ พระรามาธบิ ดที ี่ ๒
ทรงครองราชย์ยาวนานถึง ๓๒ ปี สมเด็จพระนารายณม์ หาราช
สวรรคตระหว่างทางขณะเดินทางไปหงสาวดี สมเด็จพระมหนิ ทราธิราช
เริ่มใชพ้ ระนาม "พระศรีสรรเพชญ"์ เป็นพระองค์แรก สมเด็จพระมหาธรรมราชา
สวรรคตในสมยั รตั นโกสนิ ทร์ สมเดจ็ พระเจ้าอทุ มุ พร
มพี ระราชมารดาเป็นธดิ าของกษัตริย์ราชวงศ์พระรว่ ง สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
เปน็ พระอุปราชพระองค์แรกที่ได้ประทบั ณ วงั จันทรเกษม สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระราชนิพนธ์โคลง ๓ เรอ่ื งคอื โคลงทศรถสอนนอ้ ง พาลสี อนน้องและราชสวสั ดิ์ สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช
ปฐมกษัตรยิ อ์ ยุธยา สมเดจ็ พระรามาธิบดที ่ี ๑
เกย่ี วข้องกบั “วันกองทพั ไทย” สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช
มกี ารกล่าวถงึ ในพระนาม “พระนารายณ์เมืองหาง” สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช
กษัตรยิ ์องค์สุดท้ายของอยธุ ยาท่ไี ด้เปน็ พระอุปราชครองเมืองพิษณโุ ลก สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระเจา้ บเุ รงแตง่ ตัง้ ให้เป็นกษตั ริย์ครองอยุธยาในฐานะประเทศราช สมเดจ็ พระมหาธรรมราชา
สันนษิ ฐานว่าคอื พระพันวษาท่ปี รากฏในวรรณคดขี ุนชา้ งขุนเเผน สมเดจ็ พระรามาธิบดที ี่ ๒
มีพระราชนดั ดา(หลาน)เปน็ พระมหากษัตริยถ์ งึ ๓ พระองค์ สมเดจ็ พระรามาธิบดที ่ี ๒
รชั กาลท่ีเสมือนมีกษตั ริย์ ๒ พระองค์เหมอื นกับครั้งสมัยรัชกาลที่ ๔ รัตนโกสินทร์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ข้ึนครองราชย์เเล้วสละราชสมบัติออกผนวชต่อมาไดส้ ึกเพ่ือช่วยบ้านเมืองยามสงคราม สมเดจ็ พระเจ้าอทุ มุ พร
กษัตริยอ์ ยุธยาท่ถี ูกยดึ อำนาจเเล้วได้เสด็จไปประทับอยปู่ ท่าคูจาม สมเดจ็ พระรามราชาธิราช
กษตั รยิ ์อยธุ ยาที่ประสูติ ณ ทุง่ หันตรา สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
กษัตรยิ อ์ ยธุ ยาท่ีทำสงครามกบั พมา่ มากท่ีสุด สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
กษัตริยอ์ ยธุ ยาพระองค์เดียวท่ีครองราชยส์ บื ตอ่ จากพระอนุชา สมเดจ็ พระเจ้าเอกทศั น์
กษัตรยิ ไ์ ทยพระองคท์ ี่ ๒ และพระองคเ์ ดยี วของอยุธยาท่ผี นวชขณะครองราชย์ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
นาม"พระศรสี รรเพชญ์"พระองคส์ ดุ ท้ายของอยธุ ยา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทา้ ยสระ
๓. ข้อความตอ่ ไปนเ้ี ป็นคณุ สมบัติสำคัญของพระท่ีนง่ั องคใ์ ดทส่ี รา้ งในสมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยา
คณุ สมบัติ พระท่ีน่งั
พระเจ้าอลองพญายิงปนื ถูกยอดพระทน่ี ่งั หักลงมาในสงครามพ.ศ.๒๓๐๒ พระทีน่ ั่งสุริยาสนอ์ มรินทร์
พระที่น่ังปิดทององค์แรกของกรุงศรีอยธุ ยา พระที่นั่งวิหารสมเดจ็
พระท่นี ่ังที่ถูกกลา่ วถึงในจดหมายเหตุลาลแู บร์ พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท
เป็นทมี่ าของพระนาม “สมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวทา้ ยสระ” พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์
พระทน่ี ่ังองค์เดียวที่อยใู่ นเขตพระราชฐานช้นั ใน พระที่นั่งบรรยงกร์ ัตนาสน์
พระเพทราชาใชเ้ ปน็ ท่ีประดิษฐานพระบรมศพของสมเด็จพระนารายณ์ พระทน่ี ั่งสุริยาสนอ์ มรินทร์
พระทนี่ ั่งทีม่ ีการสันนษิ ฐานวา่ เปน็ ทมี่ าของพระนามพระเจา้ ปราสาททอง พระที่นั่งวิหารสมเด็จ
รชั กาลท่ี ๕ ดัดแปลงเป็นท่ีประทับเพ่อื ประกอบพิธีรัชมังคลาภเิ ษก พระที่น่ังตรีมุข
คำว่า“กลบั ทิศวงั ”มีความเก่ียวขอ้ งกบั พระทนี่ ง่ั องค์ใด พระทน่ี ่ังบรรยงกร์ ัตนาสน์
พระทน่ี ั่งองคเ์ ดยี วท่ีอยใู่ นเขตพระราชฐานชัน้ นอก พระที่น่ังจกั รวรรดไิ พชยนต์
พระทน่ี ่ังองค์เดียวท่ีพระบรมไตรโลกนาถทรงสรา้ งแลว้ ไมม่ ีการรื้อสรา้ งใหม่ พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท
มคี วามเกย่ี วข้องกบั การขึ้นครองราชยข์ องพระเจา้ เอกทัศน์ พระที่นั่งสรุ ยิ าสนอ์ มรนิ ทร์
สมเดจ็ พระนารายณ์ทรงสร้างขึ้นสำหรบั ดูดาวและดูขา้ ศึก พระท่นี ั่งพิสัยศัลลักษณ์
ฐานของพระทน่ี ่งั ประดับดว้ ยปนู ป้นั รปู ครุฑ พระทน่ี ั่งจกั รวรรดไิ พชยนต์
พระทน่ี ่ังที่พระเจ้าทรงธรรมสถาปนาขนึ้ ในบริเวณวดั พระศรสี รรเพชญ์ พระทน่ี ่ังจอมทอง
เปน็ ต้นแบบของพระที่น่ังดุสิตมหาปราสาทที่กรงุ เทพมหานครในปจั จุบนั พระที่น่ังสรุ ิยาสนอ์ มรนิ ทร์
พระท่ีนั่งท่ีสมเด็จพระเจา้ ปราสาททองทรงสถาปนาข้นึ พระทน่ี ่ังจักรวรรดิไพชยนต์
ปรากฏชือ่ ในสมัยพระราเศวรคาดว่าสร้างสมัยพระเจ้าอทู่ อง พระทน่ี ่ังมังคลาภิเษก
ปรากฏชอ่ื ในสมัยเจ้าสามพระยาคาดว่าสรา้ งสมยั พระเจ้าอู่ทอง พระทน่ี ่ังตรมี ุข
เดิมมนี ามว่า“ศรียโสธรมหาพิมานบรรยงค์” พระทน่ี ่ังจักรวรรดิไพชยนต์
๔. คำถาม คณุ สมบัติต่อไปนเ้ี ปน็ คณุ สมบตั ิของวดั ใดในกรงุ ศรีอยธุ ยา
คุณสมบัติ วัด
มีพระบรมราชานสุ าวรยี ์กษัตริย์ ๕ องค์ในสมัยอยุธยา ธนบรุ ี รัตนโกสินทร์ วัดพทุ ไธศวรรย์
วัดทป่ี ระดษิ ฐานพระสารรี ิกธาตุใจกลางเมืองอยุธยา วัดมหาธาตุ
ภายในวัดมี “เจดยี ์เจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยา” วดั ราชบรู ณะ
พบเจดยี ์ทม่ี ีซุ้มจระนำยน่ื ออกมาท้งั ๔ ทิศตามแบบสโุ ขทัยเพียงวดั เดียว วัดพระศรีสรรเพชญ์
พบเจดีย์ทปี่ ระดบั ด้วยปนู ปั้นรปู กลบี บัวโดยรอบ เพียงวัดเดียวในอยุธยา วัดอโยธยา(วดั เดมิ )
พบเจดียฐ์ านสงิ ห์ลอ้ มเพยี ง ๒ วัดในอยธุ ยา วดั ธรรมกิ ราชและวัดแม่นางปลืม้
พบเศยี รพระท่ใี หญ่ทีส่ ุดในอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อแก่” วัดธรรมกิ ราช
วัดที่มพี ระอุโบสถขนาดใหญ่ที่สดุ ในอยธุ ยา วัดมเหยงคณ์
วัดท่มี ีความเกย่ี วขอ้ งกบั พระเจ้าสายน้ำผง้ึ และพระนางสร้อยดอกหมาก วดั พนัญเชิง
เจดีย์ของวดั เรียกกนั ว่า “เจดีย์นักเลง” วัดสามปล้มื
เป็นทซ่ี ่องสุมกำลงั พลของพระเจ้าทรงธรรมยึดอำนาจจากพระศรเี สาวภาคย์ วัดมหาธาตุ
วัดทมี่ เี จดียป์ ระธานสงู ทสี่ ุดในอยธุ ยา วัดใหญ่ชัยมงคล
จดหมายเหตุราชทตู ลังกากลา่ วถงึ ”วดั ปัลลัญกร”นา่ จะหมายถงึ วดั ใด วดั ไชยวฒั นาราม
พระปรางค์ประธานของวัดพงั ทลายลงในพุทธศกั ราช ๒๔๔๗ สมยั ร.๕ วดั มหาธาตุ
มจี ิตรกรรมฝาผนังพระพุทโฆษาจารย์ไปลังกา วัดพทุ ไธศวรรย์
วัดที่ไมถ่ ูกพมา่ เผาทำลายคราวเสียกรงุ ครง้ั ท่ี ๒ วัดหนา้ พระเมรุ
วดั ที่มีพระปรางค์ประธานสมบรู ณท์ ่สี ุดในอยธุ ยา วัดราชบรู ณะ
วดั ทใี่ ช้ฝังพระศพเจ้าฟา้ ธรรมาธิเบศร วดั ไชยวัฒนาราม
ผู้สร้างคอื พระนางกัลยาณชี ายาของพระเจ้าสุวรรณราชา วดั มเหยงคณ์
พระองค์เจา้ พีรพงศ์ภาณุเดชขุดกรทุ ่วี ัดนี้ วดั กุฎีดาว
นยิ มเรยี กกันว่า วดั กระเบอ้ื งเคลอื บ วดั บรมพุทธาราม
พระอุโบสถของวดั ประดิษฐานพระพุทธรูปทท่ี ำจากทองคำ ปูนปั้นและนาค วัดพนญั เชิง
วัดพระนอน(พระพุทธไสยาสน์)ทมี่ ขี นาดใหญ่ทีส่ ุดในอยธุ ยา วัดโลกยสุธาราม
วัดท่ีมวี หิ ารพระนอนใหญ่ที่สดุ ในอยธุ ยา ขนาดกวา้ งขวางถึง ๙ หอ้ ง วัดธรรมกิ ราช
สมัยรัชกาลท่ี ๑ มีการพบเทวรูปพระเจา้ อทู่ องท่ีพระปรางค์ประธานของวดั วัดพทุ ไธศวรรย์
วดั ทจ่ี ำพรรษาของสมเดจ็ พระพุทธโฆษาจารย์ผูแ้ ต่งวรรณคดีราโชวาทชาดก วดั อโยธยาหรอื วดั เดิม
วดั ทส่ี มเด็จพระราเมศวรสรา้ งถวายแดส่ มเดจ็ พระรามาธบิ ดีที่ ๑ วดั พระราม
สรา้ งข้นึ ในบริเวณที่ถวายพระเพลงิ พระศพของเจา้ อ้ายพระยา เจ้ายพี่ ระยา วัดราชบูรณะ
ชอื่ เดิมของวดั คือ วัดมุขราช วัดธรรมิกราช
สรา้ งขน้ึ ในบริเวณท่ีถวายพระเพลงิ พระศพของเจา้ แก้วเจ้าไทย วัดใหญ่ชัยมงคล
พระเจ้าอูท่ อง ทรงสรา้ งข้ึนในบรเิ วณพระตำหนักเวยี งเหลก็ (ท่ีประทบั เดิม) วัดพุทไธศวรรย์
พระประธานของวัดสร้างข้ึนก่อนการสถาปนาอยุธยาถึง ๒๖ ปี วัดพนัญเชิง
ระบบการก่ออฐิ พระเจดยี เ์ ป็นแบบอิงลิชบอนด์ วัดมเหยงคณ์และวดั กุฎีดาว
มีการจัดงานเทศกาลเทกระจาดท่ยี ง่ิ ใหญ่ วัดพนัญเชงิ
มีเจดยี ป์ ระธานของวดั เปน็ เจดยี ์ช้างลอ้ ม ประดับปูนปั้นช้างถึง ๘๐ เชือก วดั มเหยงคณ์
วดั ประจำพระราชวงั ของกรุงอโยธยา วดั อโยธยา(วัดเดิม)
วดั ทอี่ ยธุ ยาใช้เจรจาสงบศกึ กับพระเจ้าบุเรงนองในสงครามเสียกรงุ ครั้งที่ ๑ วดั หนา้ พระเมรุ
สร้างขึน้ ในบริเวณที่ถวายพระเพลงิ พระศพของสมเด็จพระรามาธบิ ดที ่ี ๑ วดั พระราม
บูรณะโดยใชเ้ งนิ สนับสนนุ จากนายพลอนู ุ ผู้นำพมา่ วดั พระมงคลบพิตร
พบ”บานประตปู ระดับมุก”ท่ีสร้างสมยั พระเจ้าอยูห่ ัวบรมโกศ วดั บรมพทุ ธาราม
สถานะเปน็ วัดประจำพระราชวงั เชน่ เดยี วกับวดั พระแกว้ วดั พระศรสี รรเพชญ์
พระเพทราชาสรา้ งข้นึ บนนวิ าสสถานเดิมของพระองค์ วดั บรมพทุ ธาราม
พระมหาจักรพรรดิสร้างขึ้นบนนวิ าสสถานเดิมของพระองค์ วดั วังชัย
รอบระเบียงคดของวัดประดษิ ฐานพระพุทธรปู ๑๐๘ องค์ วดั พุทไธศวรรย์
วัดในอยุธยาเปน็ นริ าศเรื่องหนึ่งของสนุ ทรภู่ วัดภเู ขาทอง
ชาวตา่ งชาตินำอฐิ ทีว่ ดั นไี้ ป ๓ ก้อนแล้วนำกลบั มาคืน วดั มหาธาตุ
ชว่ งพ.ศ. 2499-๒๕๐๐มีคนรา้ ยได้ลักลอบขุดกรทุ วี่ ดั น้ี จนมขี า่ วโดง่ ดัง วัดราชบรู ณะ
มเี จดยี ์แปดเหล่ยี ม 4 ชั้น ยอดบนพบปรางค์ขนาดเล็ก แหง่ เดยี วในอยธุ ยา วัดมหาธาตุ
วัดทส่ี มเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิทรงผนวชและจำพรรษา วัดราชประดิษฐาน
มีเจดีย์ศิลปะสโุ ขทยั เรยี งรายกนั ๓ องค์ ใช้บรรจุอัฐิของกษัตริย์ ๓ พระองค์ วัดพระศรสี รรเพชญ์
เปน็ ที่จำพรรษาของสมเด็จพระพนรัตนว์ ัดป่าแกว้ วดั ใหญช่ ัยมงคล
วัดทสี่ มเด็จพระเพทราชาทรงผนวชและจำพรรษา วดั พระยาแมน
เปน็ ทป่ี ระทบั ของตรสั นอ้ ยในแผน่ ดินของพระเจ้าเสือ วัดพุทไธศวรรย์
นำมาทำเปน็ ละครเร่ืองพิษสวาท วดั กฎุ ีดาว
สรา้ งโดยขุนนางชาวมอญชอ่ื ว่า พระยาเกยี รติ พระยาราม วัดขนุ แสน
พบเศยี รพระหนิ ทรายที่ถูกปกคลมุ ด้วยรากไม้ วดั มหาธาตุ
เกย่ี วขอ้ งกบั คำวา่ “ถวายวงั เพื่อสร้างวดั ” วดั พระศรสี รรเพชญ์
วดั ประจำรชั กาลของสมเด็จพระเจา้ ปราสาททอง วดั ไชยวัฒนาราม
วดั ประจำรชั กาลของสมเด็จพระเพทราชา วัดบรมพทุ ธาราม
พระเจา้ อยูห่ วั บรมโกศดัดแปลงเจดยี ข์ องวดั เป็นศิลปะแบบย่อมมุ ไมส้ บิ สอง วัดภูเขาทอง
วัดทม่ี รี ูปแบบสถาปตั ยกรรมโกธิกแบบโบสถ์ครสิ ต์ วัดนเิ วศธรรมประวัติ
สมเด็จมหาจักรพรรดสิ ร้างเพ่ือถวายเปน็ พระราชกุศลแด่พระสุริโยทยั วดั สวนหลวงสบสวรรค์
วัดประจำตระกลู ของโกษาเหล็กและโกษาปาน วดั สมณโกฏฐาราม
อโุ บสถของวดั ประดิษฐานพระประธาน ๗ องค์ ตามคติพระพุทธเจา้ ทง้ั ๗ วดั ชมุ พลนิกายาราม
ขุดกรุพบเหรียญจารกึ นามกษัตรยิ ช์ ่อื พระเจ้าไซนลุ อาบีดนี แคว้นแคชเมยี ร์ วัดราชบรู ณะ
ใช้ตั้งพระเมรขุ องกรมหลวงโยธาทพิ และกรมหลวงโยธาเทพ วดั พทุ ไธศวรรย์
วัดทไี่ ด้ช่ือว่าเป็น “สสุ านกษัตริย”์ วัดพระศรสี รรเพชญ์
๕. ประเด็นท่คี วรศกึ ษาและมีความน่าสนใจเกยี่ วกบั กรุงศรีอยุธยา
-กษัตริย์อยุธยาที่ถูกเเย่งชิงราชบัลลังก์เเล้วไม่ถูกปลงพระชนม์มี ๒ พระองค์คือ สมเด็จพระราเมศวร
ครง้ั ท่ี ๑ เเละสมเด็จพระรามราชาธิราช
-อยธุ ยาตีเมอื งพม่า เกิดขนึ้ ใน ๒ รชั กาล คอื สมยั สมเดจ็ พระนเรศวรเเละสมเด็จพระนารายณ์
-เกิดการทำสงครามยุทธหัตถีครั้งเเรกในสมัยอยุธยาและถือเป็นครั้งที่ ๒ ของไทย คือ ศึกระหว่าง
เจา้ อ้ายพระยาเเละเจา้ ยีพ่ ระยาชิงราชสมบตั ิ
-การทำการค้าระหว่างอยธุ ยากบั ฮอลันดา เริ่มต้นคร้งั เเรกสมัยสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช
-มีการขุดคลองขอื่ หน้า คร้งั ที่ ๒ ของอยุธยา เกิดขน้ึ สมยั สมเด็จพระมหาธรรมราชา
-เกิดช้างเผอื ก ๗ เชอื กในประวัตศิ าสตร์ คือ สมยั สมเดจ็ พระมหาจักรพรรดิ
-พระเจา้ ช้างเผอื กของอยธุ ยามี ๒ พระองค์ คือ พระมหาจักรพรรดเิ เละพระบรมไตรโลกนาถ
-กษตั ริยอ์ ยุธยาท่ีร่วมสมยั กับพระเจ้าติโลกราชเเห่งล้านนา คือ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
-สตรีผู้มีบทบาทในการเเก้ไขปัญหาข้อขัดเเย้งในราชสำนักของอยุธยาสมัยพระนารายณ์มหาราช คือ
เจา้ เเมว่ ัดดสุ ิต
-กษตั รยิ อ์ ยุธยาผู้สถาปนาราชวงศ์สุโขทยั คอื สมเด็จพระมหาธรรมราชาธริ าช
-พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อความมั่นคงของพระมหากษัตริย์เกิดขึ้นครั้งเเรกสมัย
สมเด็จพระรามาธบิ ดีท่ี ๑
-อยุธยาย้ายธานีไปอยู่พิษณุโลก เมื่อพ.ศ.๒๐๐๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันศึกทางเหนือ ตรงกับสมัย
สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
-พระมหาอุปราชเเหง่ อยุธยาพระองค์เเรกท่ีประทับ ณ วังจนั ทรเกษม คือ สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช
ตรงกบั สมยั สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
-พระสงฆ์อยุธยาผู้ให้กำเนิดลัทธิสยามวงศ์ในลังกา คือ พระอุบาลีเถระ วัดธรรมาราม ตรงกับสมัย
สมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวบรมโกศ
-พระราชพงศาวดารกรงุ ศรีอยุธยาฉบบั หลวงประเสรฐิ อกั ษรนิติ์ เเต่งข้นึ ในสมยั พระนารายณม์ หาราช
-วัดพนญั เชงิ เกี่ยวข้องกับพระเจา้ สายนำ้ ผง้ึ
-กษัตริย์ที่สร้างวัดราชบูรณะในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพเจ้าอ้ายพระยาเเละเจ้ายี่พระยา คือ
พระเจา้ สามพระยา
-กษัตริย์ที่สถาปนาขุนพิเรนเทพครองเมืองพิษณุโลก เเต่งตั้งเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา รวมถึง
พระราชทานพระวิสุทธกิ ษัตรีเปน็ พระมเหสี เพ่อื เป็นความดีความชอบท่ีสนับสนุนตนข้ึนครองราชย์ คือ สมเด็จ
พระมหาจกั รพรรดิ
-ทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรคอื พระราชมนู
-วันกองทัพไทย มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรเเละ
พระมหาอปุ ราชา
-วัดสวนหลวงสบสวรรค์ เป็นสถานท่ีถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระสรุ โิ ยทัย สร้างในสมัย
สมเดจ็ พระมหาจักรพรรดิ
-วัดบรมพทุ ธาราม ถอื เป็นวัดประจำรัชกาลของสมเดจ็ พระเพทราชา
-ความขัดเเย้งภายในระหว่างเจ้านายอยุธยา คือ สมเด็จพระมหินทราธิราชกับพระมหาธรรมราชา
มีสาเหตุมาจากสมเด็จพระมหินทราธิราชร่วมกับพระไชยเชษฐาแห่งล้านนา เพื่อตีเมืองพิษณุโลก เพื่อกำจัด
พระมหาธรรมราชา แตไ่ มป่ ระสบผลสำเร็จและเกดิ ความขดั แยง้ กนั
-บคุ คลที่มสี ว่ นทำใหพ้ ระนเรศวรมหาราชประกาศอสิ รภาพจากหงสาวดี คือ พระยาเกยี รติ พระยาราม
และพระมหาเถรคันฉ่อง
-กษัตริย์อยุธยาที่มีนิวาสถานเดิมมาจากบ้านพลูหลวง จังหวัดสุพรรณบุรีเเละสถาปนาราชวงศ์บ้าน
พลหู ลวง คือ สมเดจ็ พระเพทราชา
-การสร้างอนุสาวรีย์ของชาวต่างชาติที่เข้ามาในสมัยอยุธยา ณ เมืองนครศรีธรรมราชา เพื่อระลึกถึง
ออกญาเสนาภิมุข เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
-การปรับปรงุ รูปเเบบการปกครองท่สี ามารถใชจ้ นถึงการปฏริ ปู การปกครองสมยั รัชกาลท่ี ๕ เกดิ ข้ึนใน
สมยั พระบรมไตรโลกนาถ
-คำให้การชาวกรุงเก่า และคำให้การขุนหลวงหาวัด เป็นเอกสารที่ได้จากเมืองพม่า มีความเกี่ยวข้อง
กับสมเดจ็ พระเจา้ อุทมุ พร
-ปฐมจุฬาราชมนตรี คอื เจ้าพระยาบวรราชนายกหรอื เฉกอะหมัด
-สมัยอยุธยาที่เปรียบได้กับสมัยรัชกาลที่ ๔ นั่นคือเสมอมีกษัตริย์ ๒ พระองค์ ตรงกับสมัยพระเรศวร
มหาราชาครองราชยค์ ู่กับพระเอกาทศรถ
-กษตั รยิ ์อยธุ ยาท่ที รงชอบล่าสตั วเ์ เละตกปลาคอื สมเดจ็ พระเจ้าเสอื เเละสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวท้ายสระ
-กษัตริย์อยุธยาที่ทรงบูรณะพระเจดีย์ภูเขาทองให้เป็นพระเจดีย์เเบบย่อมุมไม้สิบสองคือ สมเด็จ
พระเจ้าอยหู่ วั บรมโกศ
-หอดดู าวเเห่งเเรกของไทยเกิดขึ้นในสมยั สมเด็จพระนารายณม์ หาราช
-อยุธยามีระบบการประปาใชค้ รัง้ เเรกในสมัยของสมเด็จพระนารายณม์ หาราช
-กษัตริย์ที่ทรงสร้างเจดีย์ ๓ องค์ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เเละสมเด็จ
พระบรมราชาธิราชที่ ๔
-วรรณกรรม "คำหลวง "เร่ืองเเรกคอื มหาชาติคำหลวง พระราชนพิ นธใ์ นสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
-อยุธยาเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูตกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เเห่งฝรั่งเศส เพื่อถ่วงดุลอำนาจของ
ฮอลนั ดา เกิดข้ึนในสมยั สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
-การสร้างเมืองสาครบุรี นครชัยศรี นนทบุรี เพื่อเป็นเมืองใหม่ตามยุทธศาสตร์ป้องกันการรุกราน
ของพม่า เกิดข้นึ ในสมยั สมเดจ็ พระมหาจักรพรรดิ
-พระมหากษัตริย์ที่ทรงสร้างพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาท เพื่อทอดพระเนตรกระบวน
เเห่มหรสพเเละการฝึกซ้อมอาวุธของทหาร คอื สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
-กษัตริย์ที่ทรงเนรเทศกรมหมื่นพิพิธไปอยู่ที่ประเทศลังกา เพราะกรมหมื่นพิพิธจะสนับสนุนสมเด็จ
พระเจา้ อทุ ุมพรมาเป็นพระมหากษตั รยิ ์ คอื สมเด็จพระเจา้ เอกทัศน์
-การเกณฑ์ทหารครง้ั เเรกเกิดขึน้ ในสมยั สมเดจ็ พระรามาธบิ ดีท่ี ๒
-การลดอำนาจของสมหุ กลาโหมใหเ้ ปน็ เพียงท่ีปรึกษาราชการเเผ่นดิน เเล้วใหโ้ กษาธิบดีคุมหัวเมืองใต้
เเทน เกิดข้นึ ในสมยั สมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ ัวบรมโกศ
-เซอรไ์ อเเซกนิวตันร่วมสมยั กับสมเด็จพระนารายณม์ หาราช
-การคา้ เเบบผกู ขาดเกดิ ขึ้นในสมยั สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
-สเปนเเละฮอลันดาเดนิ ทางเขา้ มาทำการค้ากับอยุธยาคร้งั เเรกในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
-ไทยเปิดความสมั พนั ธ์ทางการคา้ กับเดนมาร์กเเละองั กฤษคร้ังแรกในสมัยสมเดจ็ พระเจ้าทรงธรรม
-ฝรงั่ เศสถือเปน็ ชาติตะวนั ตกชาตสิ ุดท้ายท่เี ขา้ มาเปดิ การคา้ กับอยธุ ยาในสมยั พระนารายณม์ หาราช
-ในช่วงเเรกอยธุ ยายกทพั ไปตีเขมรจนสำเร็จ ทำใหเ้ ขมรย้ายเมอื งหลวงไปอยู่พนมเปญ คอื สมยั สมเด็จ
พระบรมราชาธริ าชท่ี ๒ เจา้ สามพระยา
-กษตั รยิ ท์ ่ีถูกยดึ อำนาจครง้ั เเรกของอยุธยาคอื สมเดจ็ พระราเมศวร
-กษตั รยิ ์ทค่ี รองราชย์ระยะเวลาส้ันทสี่ ุดของอยุธยาคือ พระเจ้าทองลัน ๗ วัน แตบ่ างหลกั ฐานกล่าวว่า
สมเดจ็ เจ้าฟ้าไชยครองราชยเ์ พียง ๓ วัน
-ราชวงศอ์ ูท่ อง มกี ษัตริย์เพียง ๓ พระองค์ คอื พระเจา้ อูท่ อง พระเจ้าทองลัน พระรามราชาธิราช
-กษตั ริย์อยุธยาทถ่ี ูกยดึ อำนาจเเลว้ ได้เสดจ็ ไปประทับอย่ปู ท่าคูจาม คือ สมเดจ็ พระรามราชาธิราช
-บุคคลที่ไปทูลเชิญพระเจ้านครอินทร์ผู้ครองเมืองสุพรรณบุรีให้มายึดอำนาจของพระรามราชาธิราช
คือ เจ้าพระยาเสนาบดี
-ตำเเหน่งพระมหาอุปราชหรอื วังหน้า ปรากฎคร้งั เเรกในสมยั ของสมเดจ็ เจา้ สามพระยา
-หลังจากที่พระมหาธรรมราชาธิราชที่ ๔ แห่งสุโขทัยสวรรคต พระราชโอรสคือพระยาบาลเมือง เเละ
พระยารามเกิดทำสงครามเเย่งชิงอาณาจักร เป็นเหตุให้กษัตริย์อยุธยาเสด็จไประงับเหตุที่เมืองพระบางหรือ
นครสวรรค์ คือ สมเดจ็ พระนครรินทราธริ าช
-วรรณคดีลลิ ิตยวนพา่ ย เป็นวรรณคดีเฉลมิ พระเกยี รติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
-กษตั ริย์อยธุ ยาทีท่ รงผนวชตามรอยของพระมหาธรรมราชาท่ี ๑ เเห่งสโุ ขทยั คอื พระบรมไตรโลกนาถ
-กษัตริย์อยุธยาที่ครองราชย์ราชธานีอยุธยาขณะที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปกครองราชธานีเมือง
เหนืออยู่พษิ ณโุ ลก คอื พระบรมราชาธริ าชที่ ๓
-การก่อกำเเพงเมืองพชิ ัย(ปจั จบุ ันคือ อ.พิชัย จ.อตุ รดิตถ์ )เกดิ ขึ้นคร้งั เเรกสมัยพระบรมราชาธิราชท่ี ๓
-การสร้างวิหารหลวงวัดพระศรีสรรพเพชญ์เเละหล่อพระศรีสรรเพชญ์ เกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จ
พระรามาธบิ ดที ่ี ๒
-กรมพระสุรัสวดี ตง้ั ข้นึ ครงั้ เเรกสมยั ของสมเด็จพระรามาธิบดที ี่ ๒
-อยุธยาใชป้ ืนไฟในการทำสงครามครั้งเเรก คือ สงครามเมืองเชียงกราน โดยทหารรับจา้ งชาวโปรตเุ กส
เกดิ ข้ึนสมยั สมเดจ็ พระไชยราชาธิราช
-พระมหาเทวีศรีจิระประภา ผู้ปกครองอาณาจักรล้านนา ถวายเครื่องราชบรรณาการสวามิภักดิ์ต่อ
กษตั ริย์อยธุ ยาในสมยั สมเดจ็ พระไชยราชาธริ าช
-ไส้ศึกของพม่าที่ใช้มาเพื่อตัดกำลังของกรุงศรีอยุธยาคราวสงครามเสียกรุงครั้งที่ ๑ สมัยสมเด็จ
พระมหินทราธริ าช คอื พระยาจักรี
-หลังจากพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพที่เมืองเเครงเเล้วจึงยกทัพกลับอยุธยา อังวะจึงส่ง
เเมท่ ัพมาตามจนถูกพระเเสงปนื ตน้ ข้ามเเม่นำ้ สะโตงตายบนคอชา้ ง คือ สุรกรรมา
-"จะเป็นขบถหรือ" คำกล่าวนี้สมเด็จพระเอกาทศรถตรัสออกมา เป็นเหตุให้เจ้าฟ้าสุทัศน์เสวยยาพิษ
ฆา่ ตวั ตาย
-พระพิมลธรรมอนันตปรชี า วดั ระฆัง ตอ่ มาคอื สมเด็จพระเจา้ ทรงธรรม
-ขุนนางที่ชวนให้ฟอลคอลเข้ารับราชการในอยุธยา สังกัดกรมพระคลังสินค้าตำเเหน่งสมุห์บัญชี คือ
เจา้ พระยาโกษาธบิ ดี ขนุ เหล็ก สมหุ นายก
-คณะทูตชดุ เเรกท่ีสมเด็จพระนารายณม์ หาราชสง่ ไปฝรงั่ เศส เกดิ เรอื เเตกทเ่ี กาะมาดากสั การ์ มีราชทตู
คอื ออกพระพิพัฒน์ราชไมตรี
-กบฏเเขกมักกะสนั คือเหตุการณท์ างการเมอื งท่ีเลวร้ายทีส่ ดุ ในสมัยสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช
-ตรากฎหมายลักษณะพยาน เป็นกฎหมายฉบับเเรกของอยุธยา เกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จ
พระรามาธบิ ดีที่ ๑ พระเจ้าอทู่ อง
-เริ่มตน้ พระราชพิธถี ือน้ำพระพิพฒั นส์ ตั ยาคร้งั เเรก ในสมยั สมเดจ็ พระรามาธบิ ดีท่ี ๑ พระเจา้ อู่ทอง
-วรรณคดึเรอ่ื งเเรกของอยธุ ยาคือ ลิลิตโองการเเชง่ น้ำ เกิดขน้ึ ในสมยั สมเดจ็ พระรามาธิบดที ่ี ๑
-อยุธยาตีเขมรเเละไดเ้ ปน็ เมอื งข้ึนครง้ั เเรกสมยั สมเดจ็ พระรามาธบิ ดีที่ ๑ พระเจา้ อทู่ อง
-สงครามคร้ังเเรกระหว่างอยุธยากับสุโขทัยคือ สงครามอยุธยาตีเมืองชัยนาท เกิดขึ้นสมัยพระมหา
ธรรมราชาลิไทยเเห่งสุโขทยั เเละพระรามาธิบดีท่ี ๑ พระเจา้ อทู่ อง
-สร้างวัดพทุ ไธสวรรค์สรา้ งสมัยพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอทู่ อง
-สรา้ งวดั ใหญช่ ัยมงคล(หรือวดั เจา้ เเก้วเจ้าไทย หรอื วดั ป่าเเก้ว) สมยั พระรามาธิบดที ี่ ๑ พระเจ้าอทู่ อง
-ผยู้ ึดอำนาจจากพระเจา้ ทองลัน ยวุ กษัตรยิ อ์ งค์เเรกของอยุธยา คือ พระราเมศวร
-เมืองหนา้ ด่านของอยธุ ยาท่มี ีความเกยี่ วขอ้ งกับพระราเมศวรมากทส่ี ดุ คือ เมอื งลพบุรี
-อยธุ ยาตกี มั พชู าครงั้ ที่ ๒ ในสมัยของสมเด็จพระราเมศวร
บรรณานกุ รม
กรมศลิ ปากร. นำชมอทุ ยานประวัตศิ าสตร์อยธุ ยา. กรงุ เทพฯ : กรมศลิ ปากร, 25๔๓.
กำพล จำปาพันธ์. อยุธยาจากสงั คมเมอื งท่านานาชาติสู่มรดกโลก. พิมพค์ รงั้ ท่ี ๓. นนทบรุ ี : มิวเซียมเพรส,
2๕๖๑.
ขจร สุขพานิช. ออกญาวไิ ชเยนทรห์ รอื การต่างประเทศในสมยั สมเดจ็ พระนารายณ.์ พิมพ์ครง้ั ท่ี ๒. นนทบุรี :
ศรีปญั ญา, 2๕๖๐.
จิตสงิ ห์ ปิยะชาติ. กบฏกรงุ ศรอี ยธุ ยา. กรุงเทพฯ : ยปิ ซี กรุ๊ป, 2๕๕๑.
จิตสิงห์ ปยิ ะชาติ. แผน่ ดนิ ประวตั ิศาสตรอ์ ยธุ ยา. กรงุ เทพฯ : ยิปซี กรุ๊ป จำกัด, 2๕๕๔.
ชาญวิทย์ เกษตรศริ ิ. อยธุ ยา ประวัติศาสตรแ์ ละการเมอื ง. พิมพ์ครงั้ ที่ ๖. สมุทรปราการ : มูลนิธโิ ตโยตา้
ประเทศไทย, 2๕๖๑.
ชมพนู ุท นาครี กั ษ์และคณะ. หนังสือเรียนรายวิชาพ้ืนฐานประวัติศาสตร์ เลม่ ท่ี ๑ ประวัตศิ าสตรไ์ ทย เวลาและ
ยุคสมัยทางประวตั ิศาสตร์ ประเดน็ วิภาค บุคคลสำคัญและภมู ปิ ญั ญาไทย ชัน้ มัธยมศกึ ษาปีที่ ๔-๖.
กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพ์พฒั นาคณุ ภาพวิชาการ( พว.), 2๕๑๕.
ณรงค์ พ่วงพศิ และวฒุ ชิ ยั มลู ศิลป์. หนงั สอื เรยี นรายวิชาพืน้ ฐานประวตั ศิ าสตร์ม.๒. พมิ พค์ รัง้ ท่ี ๓.
กรงุ เทพฯ : สำนกั พมิ พ์อกั ษรเจริญทัศน์, 2๕๕๘.
ธดิ า ศาลายา. ประวัตศิ าสตร์สมยั อยุธยา. พิมพค์ รง้ั ท่ี ๒. นนทบุรี : สำนักพมิ พ์สารคดี, 2๕๖๑.
บรษิ ัทสำนักพิมพ์ศรีปัญญาจำกดั . พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบบั พนั จนั ทนุมาศและเอกสารอื่น ๆ.
นนทบรุ ี : ศรปี ญั ญา, 2๕๕๒.
ธดิ า ศาลายา. ประวตั ิศาสตร์สมยั อยุธยา. พิมพค์ รงั้ ที่ ๒. นนทบรุ ี : สำนกั พมิ พ์สารคด,ี 2๕๖๑.
ปิยนนั ท์ เลาหบุตร. สถาบันพระมหากษตั ริยไ์ ทย.
ปิยะ มอี นนั ต.์ ๔๑๗ ปแี ผน่ ดินกรงุ ศรอี ยุธยา : กษัตริย์ ราชวงศ์ สงั คม การเมืองการปกครอง กบฏและ
สงคราม. พิมพ์ครัง้ ที่ ๒. พระนครศรอี ยุธยา : สำนักพมิ พ์คำนำ, 2๕๖๓.
ประกอบ โชประการ. พระนครสองศตวรรษ. พระนคร : สำนักพมิ พร์ วมการพิมพ์, 2๕๑๕.
ประยุทธ สิทธพิ ันธ์. ขุนนางสยาม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยาม, 2๕๒๐.
พลาดศิ ยั สิทธธิ ัญกจิ . ประวัตศิ าสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2๕๔๗.
ภาสกร วงศต์ าวัน. ประเทศราชชาตศิ ตั รแู ละพอ่ ค้านานาชาติบนแผ่นดินอยธุ ยา. กรุงเทพฯ : ยปิ ซี กรปุ๊ จำกดั ,
25๕๓.
ภาสกร วงศต์ าวนั . ประวัติศาสตร์ไทยจากคนไทยทงิ้ แผ่นดินถงึ ยคุ เปลย่ี นแปลงการปกครอง ๒๔๗๕.
กรงุ เทพฯ : ยปิ ซี กร๊ปุ , 25๕๕.
มาณพ ถาวรวฒั นส์ กลุ . ขุนนางอยธุ ยา. กรงุ เทพฯ : สำนกั พมิ พ์มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, 2๕๓๖.
มาตยา องิ คนารถ, ทวี ทองสว่างและวัฒนา รอดสำอางค.์ ประวัตศิ าสตร์ไทย. กรงุ เทพฯ : O. S. Printing
House Co., Ltd, ๒๕๒๙.
มูลนิธิสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา. นามานกุ รมพระมหากษัตริยไทย. กรงุ เทพฯ : มลู นธิ ิสมเด็จพระเทพ
รตั นราชสดุ า, 2๕๕๔.
ลำจลุ ฮวบเจรญิ . เกรด็ พงศาวดารกรุงศรีอยธุ ยา. พมิ พ์คร้ังท่ี ๔. เชยี งใหม่ : สำนกั พิมพ์ The knowledge
center, 2๕๔๙.
วชิรญาณ. พงษาวดารเร่อื งเรารบพมา่ คร้ังกรุงศรีอยุทธยา. [ระบบออนไลน]์ . แหลง่ ท่ีมา
https://sites.google.com. (2๐ เมษายน 25๖๓)
วทิ ยา ปานะบตุ ร. คมู่ ือเตรียมสอบรายวชิ าพื้นฐานประวัตศิ าสตร์ม.๔-๖. กรุงเทพฯ : สำนกั พมิ พ์พ.ศ.พฒั นา,
แสงเพชร. เกรด็ ประวตั ิศาสตร์บนแผ่นดนิ อยธุ ยา. กรุงเทพฯ : สำนกั พิมพม์ งคลสยาม, ๒๕๖๑.
สำนกั พมิ พโ์ ฆษิต. พระราชพงศาวดารกรงุ ศรอี ยธุ ยา ฉบับหมอบรัดเล. พิมพค์ รงั้ ที่ ๒. กรุงเทพฯ :
สำนกั พมิ พโ์ ฆษิต, 2๕๔๙.
อนันต์ อมรรดัย. คำให้การชาวกรงุ เก่า. นนทบุรี : สำนกั พิมพ์จดหมายเหตุ, 2๕๔๔.
อุดม เชยกวี งศ.์ ประวตั ิศาสตร์ชาตไิ ทย. กรุงเทพฯ : สำนกั พมิ พ์แสงดาว, ๒๕๕๓.