๓.พระอาทิตยวงศ์(พระบรมราชาธิราชที่ ๔ หน่อพุทธางกูร) : เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ขึ้น
ครองราชยท์ ี่อยุธยา กส็ ถาปนาพระอาทติ ยวงศเ์ ป็นอปุ ราชครองพิษณุโลก
๔.สมเดจ็ พระไชยราชาธิราช : เม่อื สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ครองราชย์เป็นพระบรมราชาธิราชท่ี ๔ ก็ส่ง
พระอนชุ า คอื พระไชยราชา ไปเปน็ พระอุปราชครองพษิ ณุโลก เน่อื งจากสมเด็จพระรษั ฎาธิราชผูเ้ ปน็ พระโอรส
ยังทรงพระเยาว์ หลังจากนั้นพระองค์ก็สวรรคต พระไชยราชาจึงเสด็จมาจากเมืองพิษณุโลก สำเร็จโทษพระ
รัษฎาธิราช แล้วขึ้นครองราชย์แทน นับจากนั้นมาอยุธยาก็ไม่ได้ส่งใครไปเป็นอุปราชอีกเป็ นเวลานาน จนถึง
รัชกาลพระมหาจักรพรรดิ จึงแต่งตั้งขุนพเิ รนทรเทพเป็นพระมหาธรรมราชา เจา้ เมืองพิษณุโลก เเต่มิได้มีฐานะ
เป็นพระอุปราช เเตก่ ลับใหค้ ล้ายกบั ครง้ั สโุ ขทัยเป็นราชธานี คอื มพี ระมหาธรรมราชาปกครอง
๕.สมเดจ็ พระนเรศวร : หลงั จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ครองราชยท์ ี่อยุธยา กไ็ ด้เเลกตัวพระองค์
ดำ มาจากพม่า เเลว้ ตั้งเป็นพระนเรศวรเปน็ อุปราชครองพษิ ณโุ ลก นับเป็นอปุ ราชครองเมืองพษิ ณุโลกพระองค์
สุดท้าย เพราะมีการเทครัวเมืองเหนือลงมาอยุธยา รัชกาลต่อมาจึงไม่ได้ตั้งอุปราชไปครองพิษณุโลก เเต่ให้
ประทับที่วังหน้าหรือวังจันทร์เกษม ท่ีสมเด็จพระมหาธรรมราชาสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระ
นเรศวร
ซึ่งขณะที่สมเด็จพระนเรศวรครองพิษณุโลกนั้นมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา พระองค์ครองเมืองได้
ราบรื่นเพราะมีเชื้อราชวงศ์พระร่วง เลือกสรรทหารไว้รบคู่พระทัยไว้มากมาย เพราะกำลังพลลดน้อยหลังเสีย
กรงุ ทำให้ทหารมีความเขม้ เเขง็ มาก เพราะได้รบั การฝึกวธิ ีเเบบใหม่ ต่อมาไมน่ านพระเจา้ บเุ รงนองให้อยุธยาไป
ตีเวียงจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรเเละพระมหาธรรมราชาก็เสด็จไป พอถึงหนองบัวลำภูพระนเรศวรประชวร
ดว้ ยไข้ทรพษิ จงึ เลิกทัพกลับมา ช่วงเวลานน้ั เองพระยาจีนจนั ตุ(ชาวจีน) ขุนนางเมืองเขมรที่มาสวามิภักด์ิได้หนี
ไป พระนเรศวรจึงออกตามถึงปากน้ำ เเต่ตามไม่ทันเพราะเรือมีขนาดเล็กกว่าสู้เเรงคลื่นไม่ได้ นับเป็นการรบ
ครั้งเเรกของพระนเรศวร ต่อมาไม่นานก็มาประทับที่อยุธยา เมื่อมาประทับที่อยุธยาปรากฎวา่ เขมรให้พระทศ
โยธาเเละพระสุรินทราชามากวาดต้อนผู้คนเเถบนครราชสีมาไปเขมร พระองค์จึงจัดทัพ ๓,๐๐๐ ตีเขมรเเตก
พ่ายกลบั ไป เปน็ การรบพ่งุ ครบ้ั ที่ ๒
เมื่อพระเจ้าหงสาวดบี ุเรงนองสวรรคต ในเดือน ๑๒ พ.ศ.๒๑๒๔ มังชัยสิงราชพระมหาอุปราชข้นึ
ครองราชย์นามวา่ พระเจ้านันทบุเรง สถาปนามังกะยยอชวาหรือมังสามเกียดเปน็ พระอุปราช ในการผลัดเเผ่น
ดินคราวนี้เจ้าประเทศราชก็ขึ้นไปหงสาวดีถวายบังคมตามประเพณี อยุธยาได้ส่งสมเด็จพระนเรศวรขณะนั้นมี
พระชนมายุ ๒๖ พรรษาขึ้นไปหวังจะได้ดูสถานการณ์บ้านเมืองพม่าในขณะนั้นด้วย บรรดาเมืองประเทศราช
ทั้งหมดมีเมืองคังเมืองเดียวที่เพิกเฉยต่อการครอะงราชย์ก็ถือว่าทำตัวเป็นกบฎ จึงให้พระมหาอุปราชไปตี จัด
ทัพ ๓ ทัพดังนี้
-พระมหาอุปราช
-พระสงั กทัต(นดั จนิ หน่อง)
-พระนเรศวร
ทั้ง ๓ ทัพไปตีเมืองคังหวังประชันฝีมือกันเต็มที่ โดยผลัดเวรกันตีทัพละวัน โดยพระอุปราชาเเละ
พระสังกทัตเข้าตีก่อนเเต่ตีไม่ได้เพราะเห็นว่าเมืองคังมีทางขึ้นทางเดียว ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรเข้าตรวจตรา
เมืองคัง พบว่ามีทางขึ้นอีก ๑ ทาง พอถึงเวรของตนก็เเบ่งทัพเป็น ๒ ทัพ ชาวเมืองไม่รู้ก็ตั้งทัพทางเดียว พระ
นเรศวรเข้าตีทางใหม่จนเข้าเมืองได้ การรบครั้งนี้พระมหาอุปราชาเเละพระสังกทัตอับอายเเละเกลียดชังพระ
นเรศวรมาก พระเจ้านันทบุเรงก็คงไม่ชอบใจเเต่ก็ต้องพระราชทานบำเหน็จให้ตามประเพณี หลังจากเสร็จศึก
สมเด็จพระนเรศวรก็อยู่ที่หงสาวดี ยังไม่เสด็จกลับอยุธยา ตามที่ปรากฎหลักฐานในคำให้การกรุงเก่า เขียนถึง
สมเด็จพระนเรศวรเล่นชนไก่กับพระมหาอุปราชาจนได้ชนะพระมหาอุปราชาจึงตรัสว่า " ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริง
หนอ" พระนเรศวรจึงตอบไปว่า " ไก่จัวนี้อย่าว่าเเต่ชนเอาเดิมพันเลยถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองก็ชนได้" เมื่อ
ความทราบถึงพระเจ้านันทบุเรง ก็ทรงโกรธคงคิดว่าไม่นานอยุธยาจะต้องเเข็งเมือง จึงได้เตรียมศึกไว้โ ดย
ให้นันทสูกับราชสังครำมาตัง้ ยุ้งฉางเตรียมเสบียงทัพที่กำเเพงเพชร อ้างว่าจะไปตีเวยี งจันทน์ ฝ่ายพระนเรศวร
เม่ือไปหงสาวดกี ร็ ้วู า่ เจ้าเมืองประเทศราชของพม่ามิได้เคารพยำเกรงพระเจา้ หงสาวดานนั ทบุเรงเหมือนกับพระ
เจ้าบุเรงนอง จึงเป็นโอกาสดีที่อยุธยาจะประกาศอิสรภาพบ้าง ต่อมาเจ้าเมืองอังวะเเข็งเมือง พระเจ้านันท
บุเรงสั่งให้ ๕ เเมท่ ัพไปตีอังวะ คือ พระเจ้าเเปร พระเจา้ ตองอู พระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าลา้ นชา้ ง เเละพระเจ้า
กรุงอยุธยา โดยอยุธยาส่งพระนเรศวรไป เเต่ไม่ยกไปตามกำหนด ทำให้หงสาวดีระเเวงว่าอยุธยาจะเเข็งเมือง
จงึ หาทางกำจัด ฝ่ายพระนเรศวรทจี่ ดั ทัพชา้ นั้นเพอื่ รอทีท่าว่าองั วะหรอื หงสาวดจี ะชนะ เพราะถ้าองั วะชนะตน
กจ็ ะประกาศอิสรภาพ หากอังวะเเพ้ก็จะทำเฉย ออกทัพจากเมอื งพิษณโุ ลกในพ.ศ.๒๑๒๖ ไปถงึ เมืองเเครง พระ
มหาอุปราชาจึงวางอุบายกำจัดพระนเรศวรโดยให้ขุนนางชาวมอญ ๒ คนคือ พระยาเกียรติเเละพระยารามา
ลอบกำจัดพระนเรศวร เเตท่ งั้ ๒. คนกลับนำความลับมาบอกเเก่พระมหาเถรคนั ฉ่อง มอญเองก็อยากพน้ อำนาจ
หงสาวดีจึงเข้าร่วมกับพระนเรศวร โดยพระมหาเถรคันฉ่อง เเละมอญทั้ง ๒ คนเเจ้งทุกอย่างให้พระนเรศวร
ทราบ จึงได้หลั่งทักษิโณฑก(สุวรรณภิงคาร)ประกาศอิสรภาพ เเล้วจะยกไปตีหงสาวดี เมื่อข้ามเเม่น้ำสะโตง
เเล้วปรากฎว่าหงสาวดีชนะอังวะกำลังจะยกทัพมา จึงได้เทครัวอยุธยาประมาณ ๑๐,๐๐๐ กว่าที่ถูกกวาดต้อน
ไปกลับคืนอยุธยาดังเดิม หงสาวดีจึงให้สุรกรรมาเป็นเเม่ทัพตามทัพอยุธยามาถึงเเม่น้ำสะโตง สมเด็จพระ
นเรศวรยึงปืนที่ยาว ๙ คืบถูกสุกรรมาตายบนคอช้าง เรียกปืนนี้ว่า พระเเสงปืนต้นข้ามเเม่น้ำสะโตง เป็นหนึ่ง
ในพระเเสงอัษฎาวุธเครือ่ งราชูปโภคของกษัตริย์ในปจั จุบัน จากนั้นก็เชิญพระมหาเถรคนั ฉ่องกับพระยาเกยี รติ
เเละพระยารามเเละชาวมอญมาอยู่อยธุ ยา นำทัพเข้าอยุธยาทางด่านพระเจดีย์ ๓ องค์ พระมหาธรรมราชาตั้ง
พระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราช พระยาเกียรติเเละพระยารามตลอดจนชาวมอญมาตั้งบ้านเรือนที่ริมวัด
ขมิน้ สรา้ งวัดขุนเเสน.
หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรจะขึ้นไปสู้ศึกอีกที ขณะจะเดินทัพไปนั้นพวกไทยใหญ่ที่พม่าให้มา
เตรียมเสบียงที่กำเเพงเพชรนั้นเกิดหลบหนี นันทสูราชสังครำซ่ึงไม่รู้ว่าอยุธยาประกาศอิสรภาพ จึงเเจ้งมายัง
พิษณุโลกเพื่อให้ช่วยจับพวกไทยใหญ่อย่าให้หนีไปเวียงจันทน์ได้ เเต่พวกที่หนีกลับมาอยู่ที่พิษณุโลกไม่ได้ไป
เวียงจันทน์เเต่อย่างใด สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงเเจ้งเเต่ผู้รักษาเมืองพิษณุโลกให้รับพวกไทยใหญ่ไว้. นันทสู
ราชสังครำจึงขอตวั พวกไทยใหญ่คืน เเต่ฝ่ายอยุธยาไม่ให้ นันทสูราชสังครำจงึ ขูเ่ จ้าเมืองพิษณุโลกว่า หากไม่สง่
มาให้จะจับชาวกำเเพงเพชรไปเเทน สมเด็จพระนเรศวรจึงรีบเสด็จไปเมืองพิษณุโลก พร้อมมีหนังสือตอบราช
สูสงั ครำว่า พวกไทยใหญม่ าขอพ่งึ บารมี เราคงจะสง่ ให้ไมไ่ ด้
พร้อมกับเกณฑ์กำลงั หวั เมืองเหนือโดยมีพระไชยบูรณ์กับขุนพระศรีเป็นทัพหน้า เเลว้ ยกทัพหลวงตาม
ไปกำเเพงเพชร ฝา่ ยนนั ทสรู าชสังครำทราบเเน่วา่ อยุธยาไม่ยอมอ่อนนอ้ มต่อหงสาวดเี เล้ว คิดว่าคงต่อสู้ไมไ่ ด้จึง
ยกทัพถอยออกจากกำเเพงเพชรไป ส่วนหัวเมืองเหนือทั้งปวงนั้นมีพระยาสวรรคโลกเเลัะะพระยาพิชัยไม่เข้า
ร่วม เพราะคิดว่าคงสู้หงสาวดีไม่ไดั เเล้วไปตั้งมั่นที่เมืองสวรรคโลก เมื่อฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรทราบก็ส่ังรวม
พลที่เมืองตากเพื่อไปตีสวรรคโลก ยกทัพผ่านบ้านลานหอย ตั้งพลับพลาที่วัดศรีชุม เเล้วทำพิธีศรีสัจปานการ
(ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา)เพื่อให้เกิดความจงรักภักดี โดยใช้น้ำจากตระพังโพยศรี จากนั้นจึงส่งข้าหลวงไปเเจง้
พระยาสวรรคโลกเเละพระยาพิชัยให้ยอมนจำนน เเต่ทั้งสองกลับตัวหหัวกรรมกรเมืองโยนให้ข้าหลวง พระ
นเรศวรจงึ ส่งั ตเี มือง ตหี ลายดา้ นก็เข้าไม่ได้ จนกระทงั่ เผาประตูดา้ นใต้คือ ประตูดอนเเหลม จงึ สำเร็จ ประหาร
เจ้าเมอื งทั้ง ๒ กวาดต้อนชาวเมอื งสวรรคโลกเเละพิชยั มาาไวท้ ี่พษิ ณุโลก
เมื่อทราบว่าพม่าจะมาตีอยุธยา จึงเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงลงมาอยุธยาในพ.ศ.๒๑๒๗ จนเป็นเมือง
ร้าง เพราะเกรงวา่ พระเจ้านนั ทบุเรงจะมาเกณฑ์ผู้คน อกี ทัง้ เมอื งเหนอื ก็ส้พู ม่าไม่ได้ จึงใช้อยธุ ยาตัง้ มั่นที่เดยี ว
สงครามครัง้ ที่ ๖ คราวรบกบั พระยาพสิมท่เี มืองสพุ รรณบุรี
-เกดิ ขนึ้ พ.ศ.๒๑๒๗
-ตรงกับสมยั พระเจ้านันบุเรงเเหง่ พม่าเเละสมเดจ็ พระมหาธรรมราชาราชเเห่งอยธุ ยา
-เดือน ๖ พ.ศ.๒๑๒๗ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทราบว่าอยุธยาเเข็งเมือง จึงจะส่งทัพมาตี ทรง
วเิ คราะหว์ า่ อยุธยายงั บอบชำ้ จงึ ไม่สง่ ทพั ใหญ่มา โดยให้จดั ทัพเป็น ๒ ทัพคอื
๑.พระยาพะสมิ (อา) ทหาร ๓๐,๐๐๐ เข้าทางดา่ นพระเจดยี ์ ๓ องค์
๒.พระเจา้ เชยี งใหมค่ อื มงั นรธาช่อราช(น้องชาย) ทหาร ๑๐๐,๐๐๐ ลงมาทางเหนอื
ฝ่ายอยุธยาก็จัดทพั รบั ศกึ ๒ ทางเช่นกัน ดงั นี้
๑.พระยาสโุ ขทัย คุมพลทหารฝ่ายเหนอื ๑๐,๐๐๐ คน
๒.พระยาจกั ร(ี นายทพั )เเละพระยาพระคลงั (ยกกระบตั ร)ใหเ้ ป็นกองทพั เรือดเู เลกรงุ เพ่ือยกไปตีทางอื่น
ได้ทัน พรอ้ มส่ังทำลายเสบียงทกุ ทาง กวาดต้อนคนเข้าเมอื ง เตรยี มปอ้ มปราการอย่างมนั่ คง
แต่ฝา่ ยพมา่ น้ันมเี หตทุ ีจ่ ะตอ้ งทำให้พ่ายเเพค้ ือ ทัพพระเจา้ เชยี งใหม่มาไม่ทนั เพราะเมือ่ ถงึ เดอื นอ้าย มี
เพยี งทัพพระยาพสมิ เทา่ น้ันที่ถึงเมืองกาญจนบรุ ี หหวงั จะยึดเมอื งสุพรรณบรุ เี ปน็ ที่มนั่ เเตอ่ ยธุ ยาให้พระยาจักรี
คมุ ไปรักษาเมอื งกาญจนบรุ ีไวเ้ เล้ว พมา่ จึงไปต้ังรอทพั เชยี งใหมท่ ่ีเขาพระยาเเมน เมอ่ื ถึงเดนื ยีพ่ ระนเรศวรเเละ
พระเอกทศรถจึงออกรบทำพิธีเหยียบชิงชัยภูมิตัดไม้ข่มนามที่ตำบลลุมพลี ไปประทับรอที่ป่าโมก(วิเศษไชย
ชาญ อ่างทอง) ให้พระยาสุโขทัยนำกำลังพลเมืองเหนือไปตีทัพพระยาพะสิมที่เขาพระยาเเมน พระองค์ก็ไป
ประทบั ทีต่ ำบลสามขนอน เมือลสพุ รรณฝ่ายพระยาสโุ ขทยั เข้าตจี นทัพหน้าพม่าเเตกพ่ายไป ผ่านไปไดั ๑๕ วัน
หลงั จากทัพพระยาพะสมิ หนีไป. ทัพเชียงใหม่กม็ าถึงชัยนาท เเล้วใหไ้ ชยะกยอสูเเละนันทกยอมาตั้งท่ีบางพุทรา
อยุธยาก็ให้พระยาราชมนูเป็นนายทพั มีขุนรามเดชะเป็นยกกระบัตร ไปตีพม่าที่บางพุทธาเเบบใช้กองโจร จน
เเตกพา่ ยไป ท่ชี ัยนาทเหมือนเดมิ เเละพระยาเชียงใหม่กย็ กทพั กลับ เสรจ็ ศกึ ครัง้ นี้
สงครามครง้ั ท่ี ๗ คร้งั รบพระเจา้ เชียงใหมท่ ่ีบ้านสระเกศ
-พ.ศ.๒๑๒๘
-ตรงกับรัชกาลของพระเจ้านันทบุเรงและพระมหาธรรมราชา
สงครามครงั้ ที่ ๘ คราวพระเจา้ หงสาวดีลอ้ มกรุง
-พ.ศ.๒๑๒๙
-ตรงกับรัชกาลของพระเจา้ นนั ทบเุ รงและพระมหาธรรมราชา
-การเตรียมทัพของพม่าคือ ให้พระมหาอุปราชาเข้ามาทำนาเตรียมเสบียงก่อนเเล้ว ๑ ปี เมื่อพร้อม
พระเจา้ หงสาวดจี ึงยกทพั เขา้ มา ประชมุ ทพั ทเ่ี มอื งกำเเพงเพชร กำลงั พล ๒๕๐,๐๐๐ มีทัพกษตั รยิ ์ ๓ ทพั ดังน้ี
๑.พระเจ้าหงสาวดนี นั ทบุเรง
๒.พระมหาอุปราชา
๓.พระเจ้าตองอู
ส่วนพระเจา้ เชยี งใหมใ่ หเ้ ปน็ เพียงพนกั งานขนเสบยี งเท่าน้นั พอถงึ นครสวรรค์เเบ่งเส้นทางกันลงมา ดงั นี้
๑.พระมหาอปุ ราชา : ลงมาทางลพบรุ ี สระบุรี
๒.พระเจ้าตองอู : รมิ เเมน่ ้ำฝัง่ ตะวันออก
๓.พระเจ้าหงสาวดี: ฝง่ั ตะวนั ตก
ทพั ลงมาถึงอยธุ ยาในเดือนยี่ ตั้งค่ายลอ้ มกรงุ โดยนยิ มด้านเหนือเเละตะวันออก เพราะเขา้ ตไี ดส้ ะดวก
๑.พระเจ้าหงสาวดี :ขนอนปากคู ทางด้านเหนือ
๒.กองมังมอดราชบตุ รกับพระยาราม : ทุ่งมะขามหยอ่ ง
๓.กองพระยานคร : ตำบลพุทธเลา
๔.กองนนั ทสู : ขนอนบางลาง
๕.พระเจา้ ตองอู : ทงุ่ ชายเคือง. ด้านตะวนั ออก
เมื่อทัพของพระมหาอุปราชาลงมาถึงก็มีการย้ายที่ตั้งทัพ คือ .ให้พระมหาอุปราชาตั้งที่ทุ่งชายเคืองด้าน
ตะวันออก ย้ายพระเจ้าตองอูไปตัง้ ทบ่ี างตะนาวทางใต้
ฝ่ายอยุธยาเตรียมการดงั นี้
๑.ทำนาเตรยี มเสบียง
๒.ระดมคนเป็นกองโจรตัดเสบยี งพม่า
๓.รักษาเมืองเพียงพระนครกับด้านใต้ทางทะเล ส่วนเมืองลเหนือต้ังเเตว่ เิ ศษตไชยชาญปล่อยร้างหมด
เมือ่ พมา่ ลงมนาถงึ บรเิ วณทุ่งหนั ตราดา้ นตะวนั ออกอยุธยายังเกี่ยวข้าวไม่เสร็จ จงึ ใหเ้ จา้ พระยากำเเพงเพชร(สมุ
หกลาโหม)ไปป้องกันราษฎรเกี่ยวข้าว กลับถูกทัพของพระมหาอุปราชาตีเเตก ทำให้พระนเรศสวรโกรธมาก
เพราะอยุธยายังไม่เเพ้พมา่ ทหารจะเสยี ขวัญ สมเด็จพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถจึงออกรบทนั ที รบพุ่งที่ทุ่ง
ชายเคืองไล่ข้าศึกไปได้ ยึดค่ายพระยากเเพงเพชรกลับคืน พอกลับเข้าเมืองถึงกลับสั่งประหารชีวิตพระยากำ
เเพงเพชร เเต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาขอไว้ เเต่ก็ถูกยอดจากตำเเหน่งว่าที่สมุกลาโหม ฝ่ายพม่าเข้าตีเมือง
หลายครั้งกเ็ ข้าไม่ได้ กองโจรอยุธยากเ็ ทีย่ วตดั เสบยี งพม่าจนเสบียงขดั สน สมเด็จพระนเรศวรเห็นเป็นโอกาสที่
ขา้ ศกึ อ่อนเเอกเ็ ข้าตีค่ายหลายคร้ัง เชน่
-ตไี ด้ค่ายพระยานครท่ีปากน้ำพุทธเลาจนเเตกพา่ ย
-ตที พั หนา้ พม่าเเตกพา่ ย ตามประชดิ ถึงคา่ ยหลวงพระเจา้ นนั ทบุเรง ปีนค่ายพม่าถูกขา้ ศกึ เเทงตกลงมา
เรยี กดาบพระนเรศวรว่า พระเเสงดาบคาบค่าย ทำใหพ้ รล่
พระเจา้ นันทบเุ รงทรงหวน่ั ใจ เพราะพระนเรศวรทำพระองค์เหมือนเอาพิมเสนมาเเลกกบั เกลือ ตรัสว่า
หากพระนเรศวรออกรบอีกจะล้อมจบั ให้ได้ จงึ ทำอบุ ายใหล้ กั ไวทำมมู าพร้อมทหารฝีมือดี ๑๐,๐๐๐ ล้อมจับตัว
เมื่อพระนเรศวรไปต้ังคา่ ยท่ีทงุ่ ลุมพลี พม่าทำเหมอื นถอยหนีทำใหั
พระองค์ตกอยู่ในวงล้อมฆ่าศึก ลักไวทำมจู ึงออกมาจับตามเเผน เเต่ถกู พระนเรศวรฆ่าตาย สู้กับทหาร
พม่าสักพกั ทพั ไทยกม็ าช่วยทัน
-ตีทพั พระมหาอปุ ราชาที่ขนอนบางตะนาวเเตกพ่ายถอยไปทีบ่ างกระดาน
ฝ่ายพม่าเห็นว่าคงตีอยธุ ยาไม่ไดเ้ เล้วจงึ ถอยกลับไป
สงครามครง้ั ท่ี ๙ พระมหาอปุ ราชายกทพั มาตีอยธุ ยาครัง้ แรก
-พ.ศ.๒๑๓๓
-ตรงกบั รัชกาลของพระเจา้ นันทบุเรงและพระนเรศวร
สงครามครัง้ ที่ ๑๐ สงครามยุทธหัตถี
-พ.ศ.๒๓๑๕
-ตรงกบั รัชกาลของพระเจา้ นนั ทบุเรงและพระนเรศวร
-พระเจ้าหงสาวดีนนั ทบุเรง รับส่งั ใหพ้ ระมหาอปุ ราชายกทัพมาตีอยุธยา เเตพ่ ระมหาอุปราชาไม่อยาก
มา เพราะว่าโหรทำนายว่าเคราะห์ร้าย ทำให้พระเจ้านนั ทบุเรงโกรธ ได้ประชุมเหล่าเสนาบดที ั้งปวงว่า"อยุธยา
มีรี้พลเพียงนิด ก็ไม่มีใครช่วยปราบลงได้เลย นี่หงสาวดีสิ้นคนดีเเล้วหรือไร พระยาลอตรัสว่าหากกำจัดพระ
นเรศได้อยุธยาก็อยู่ในกำมือเราได้ ควรจัดเเม่ทัพที่มีความสามารถที่เก่งกาจเหมือนพระนเรศวรไปช่วยก็รบก็
พอจะสู้ได้ " เเละไดต้ ัดพ้อต่อพระมหาอุปราชาว่า " เรานี้คนอาภพั ไมเ่ หมือนพระมหาธรรมราชาที่เขามีลูกดีไม่
ต้องให้ใช้ก็ออกไปรบพุ่งให้" เมื่อพระมหาอุปราชาได้ฟังดังนั้นก็อับอาย จึงอาสามาตีเมืองไทย จัดทัพเป็น ๓
เมืองดงั น้ี
๑.เมอื งหงสาวดี กองหน้า คือ เจา้ เมอื งจาปะโรและกองหลวง คือ พระมหาอุปราชา
๒.เมอื งเเปร คอื พระเจ้าเเปร
๓.เมอื งตองอู คือ โอรสพระเจา้ ตองอู ชอื่ นดั จนิ หน่อง
รวมกำลังพล ๒๔๐,๐๐๐ (เเม้จะมีถึง ๓ ทัพเเต่พงศาวดารกล่าวถึงเพียง ๑ ทัพคือ พระมหาอุปราชา ไม่ได้เล่า
ถงึ การรบของพระเจ้าเเปรเเละนดั จนิ หน่องเเต่อย่างใด ) นอกจากนยี้ ังให้พระเจา้ เชียงใหมม่ าสมทบอีกด้วย ยก
ออกจากหงสาวดีวันพุธ เดอื นอ้าย ข้ึน ๗ ค่ำปมี ะโรง พ.ศ.๒๑๓๕ การเดินทัพของพม่าดังน้ี
-พระมหาอปุ ราชายกมาทางด่านพระเจดยี ์ ๓ องค์
-พระเจ้าเเปรเเละนัดจนิ หน่องมาทางดา่ นเเมล่ ะเมา
-พระเจ้าเชียงใหม่ เตรียมเสบียง
การกลา่ วถึงในพงศาวดารระหวา่ งอยธุ ยากับพม่าต่างกนั ดังนี้
-พมา่ กล่าวว่ามารบถงึ ชานพระนครทท่ี ุ่งลุมพลี
-อยุธยา กล่าวว่ารบที่เมืองสุพรรณบุรี เเต่ไทยก็ยึดตามของอยุธยาเพราะดูจากพระเจดีย์ชนช้างใน
สพุ รรณบุรี
ระหวา่ งท่ีพมา่ ยกเข้ามาน้นั ฝ่ายอยธุ ยากำลังเจรียมทัพจะไปตีเขมร เพราะว่าเขมรชอบเข้ามาตีซ้ำเติม
อยุธยา เมื่อปรารภได้ ๖ วัน มีใบบอกจากเมืองกาญจนบุรีว่า เจ้าเมืองกาญจนบุรีได้ลัดเลาะไปตามเเม่น้ำ
กษตั ริย์เห็นพมา่ ยกทพั เขา้ มา พระนเรศวรจึงเตรยี มทพั รบั ศึกดงั น้ี
-สง่ั ย้ายพลท่ตี ้ัง ณ ทุ่งบางขวดเพ่ือไปตีเขมร ไปตงั้ ท่ีทุ่งป่าโมก วิเศษไชยชาญ
-สัง่ ใหเ้ จา้ เมอื งราชบุรี คือ พระอมรินทรฤาชัย คมุ กำลงั ๕๐๐ ไปเป็นกองโจรตัดเสบียง รื้อสะพาน
-ให้พระยาศรไี สยณรงค์เป็นนายทัพ พระยาราชฤทธานนท์เป็นยกกระบัตร ไปรบั ข้าศึกทล่ี ำน้ำทา่ คอย
เมอ่ื เตรียมทุกอย่างเเลว้ สมเดจ็ พระนเรศวรก็ไปทำพธิ ีตดั ไม้ขม่ นามท่ีทุ่งลุมพลี ไปประทับเเรมที่ตำบล
มะม่วงหวาน ป่าโมก ๓ คืน เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ ทรงพระสุบินที่เรียกว่าเทพสังหรณ์ว่า มีน้ำท่วมมาจากทิศ
ตะวันตก พระองค์ได้ลุยน้ำต่อสู้กับจระเข้ใหญ่เเละได้ฆ่าจระเข้นั้นตายลง โหรจึงทำนายว่าจะได้ทำยุทธหัตถี
เเละได้ชยั ชนะ จึงย้ายไปตง้ั ทหี่ นองสาหรา่ ย สพุ รรณบรุ ี
ฝ่ายพระมหาอุปราชามาถึงเเม่น้ำลำกะเพิน ได้ให้พระยาจิตตองทำสะพานข้ามเเม่น้ำ เมื่อเข้ามาถึง
กาญจนบุรีก็ไม่มีใครสู้รบด้วยจึงเดินทัพเข้าเมืองได้สะดวก ต่อมายกทัพถึงตำบลพนมทวนเวลาบ่าย ๓ โมง ก็
เกิดเหตุลางร้าย คือ ลมเวลัมภาพัดฉัตรของพระมหาอุปราชาหักจึงให้โหรทำนาย โหรทราบว่าเป็นลางรา้ ยเเต่
ไม่กล้าบอกตามตรง จึงบอกไปว่าหากเป็นตอนเช้าจะไมด่ ี เเตถ่ า้ เปน็ ตอนเยน็ จะไดล้ าภ เมื่อพระมหาอุปราชาได้
ฟังก็ทรงเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง เเต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงเดินทัพต่อไป ตั้งทัพที่ตำบลตระพังตรุ สุพรรณบุรี ตั้งให้
สมิงจอคร้าน สมิงเป่อ สมิงซาม่วน คุมกองม้าลาดตระเวนสืบข่าวเมืองเหนือ เมื่อฝ่ายสอดเเนมเข้ามาถึงบาง
กระทงิ กท็ ราบว่าพระนเรศวรยกทัพขึ้นไป ซ่ึงขณะน้ันทัพของพระมหาอุปราชาต้งั อยู่ที่ตำบลตระพังตรุ ส่วนทัพ
หน้าของอยุธยาคือ ทัพของพระยาศรีไสยณรงค์ตั้งที่หนองสาหร่าย เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกทัพมาสมทบกบั
ทัพหน้าอยุธยาที่หนองสาหร่าย จึงย้ายทัพหน้าไปตั้งที่ดอนระฆัง ส่วนทัพหลวงจัดทัพเป็นเบญจเสนา ๕ ทัพ
เมื่อทุกอย่างพร้อม พระนเรศวรทรงช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพ(พลายภูเขาทอง) กลางช้าง คือ เจ้ารามราฆพ
ครวญช้าง คือ นายมหานุภาพ ส่วนพระเอกาทศรถทรงช้างเจ้าพระยาปราบไตรจกั ร(พลายบุญเรือง) กลางช้าง
คือ หม่นื ภกั ดีศวร ครวญชา้ งคือ ขุนศรคี ชคง เม่อื ทงั้ ๒ พระองคท์ รงช้างเเล้วก็ได้ยินเสยี งปนื ดังขึน้ จึงให้จหมื่น
ทิพเสนาเอามาไปตรวจดู พยว่าทัพหน้าเเตกพ่ายมาเเล้ว จึงสั่งให้ทัพหน้าหนีไป โดยที่ไม่เอาทัพไปหนุนเพราะ
เกรงว่าจะพากันโดนตีเเตกไปด้วย เมื่อฆ่าศึกไล่ลงมาไม่เป็นขบวน ทัพหลวงก็เข้าตีโอบทันที เเต่ขณะนั้นช้าง
ทรงของทั้ง ๒ พระองค์ซึ่งเป็นช้างชนะงาตกมัน วิ่งไปอยู่ท่ามกลางข้าศึก พระนเรศวรจึงเเก้ด้วยการตรัสเชิญ
พระมหาอุปราชาออกมาทำยุทธหัตถี ฝ่ายพระมหาอุปราชาจึงขับช้างทรงคือพลายพัทธกอ ทั้ง ๒ ทำสงคราม
ยุทธหัตถีกัน ฝ่ายพระมหาอุปราชาพระเเสงของ้าวฟันถูกไหล่ขวาขาดสิ้นพระชนม์ ส่วนพระเอกาทศรถก็ชน
ช้างกับเจ้าเมืองจาปะโรไดร้ ับชยั ชนะ เมื่อเป็นดังนั้นพม่าจึงระดมยิงปืนใส่พระนเรศวรเเละพระเอกาทศรถ ถูก
นายมหานุภาพ(ครวญช้างพระนเรศวร)เเละหมืน่ ภักดีศวร(กลางช้างพระเอกาทศรถ)ตายท้ัง ๒ คน พระนเรศวร
จึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ ๑ องค์บริเวณน้ัน เรียกตำบลน้ันว่า ดอนเจดีย์ พระราชทานชื่อเจา้ พระยาปราบไตร
จักรว่า " เจ้าพระยาปราบหงสาวดี" เรียกพระเเสงของ้าวว่า" เจ้าพระยาเเสนพลพา่ ย" เรียกพระมาลาว่า "พระ
มาลาเบย่ี ง "
สงครามครง้ั ท่ี ๑๑ อยุธยาตเี มอื งทวายเเละตะนาวศรี
-พ.ศ.๒๑๓๕
-ตรงกับรัชกาลของพระเจ้านันทบเุ รงและพระนเรศวร
-หลงั จากเสรจ็ ศึกยุทธหัตถเี เลว้ เมือ่ ถึงพระนคร สมเดจ็ พระนเรศวรจึงสง่ั ประชุมพลปรกึ ษาโทษเเม่ทัพ
นายกองทต่ี ามเสดจ็ ไม่ทนั โดยตามกฎพระอัยการศึก ผู้ทม่ี คี วามผดิ คอื พระยาศรีไสยณรงค์ ความผดิ ฐานรบพุ่ง
โดยพลการจนพ่ายเเพ้ และเจ้าพระยาจักรี พระยาพระคลัง พระยาเทพอรชุน พระยาพิชยั สงคราม พระยาราม
คำเเหง มคี วามผิดฐานตามเสดจ็ ไมท่ นั
จึงสั่งให้จำตรุไว้เพื่อรอวันประหารชีวิต เเต่เมื่อวันเเรม ๑๔ ค่ำ พระพนรัตน์วัดป่าเเก้ว(วัดใหญ่ชัย
มงคล)กบั พระราชาคณะ ๒๔ รปู เข้าเฝา้ ตรัสขอพระราชทานอภยั โทษว่าการได้รบั ชัยชนะของพระองค์เปรียบ
เหมอื นพระพุทธเจา้ ชนะพระวสั วดีมาร เมื่อพระนเรศวรได้ฟังดงั นน้ั ก็ปิติปราโมทย์ย่งิ นัก เมือ่ พระนเรศวรคลาย
ความพิโรธลงบา้ งเเลว้ พระพนรตั น์จงึ ทูลตอ่ อกี ว่า ทหารเหลา่ นีท้ ำคุณมาในรชั กาลกอ่ นๆ ขอใหไ้ วโ้ ทษเถดิ พระ
นเรศวรจงึ ตรัสใหไ้ ปตที วายเเละตะนาวศรีเป็นการไถ่โทษ จงึ จดั ทัพดงั นี้
-พระยาจักรีคุมพล ๕๐,๐๐๐ ไปตีตะนาวศรี ตีอยู่ ๑๕ วันก็ได้ชัยชนะ เเต่งตั้งให้พระยาศรีไสยณรงค์
รักษาเมืองตะนาวศรี
-พระยาพระคลงั คมุ พล ๕๐,๐๐๐ ไปตีมะริด สำหรบั เมืองมะรดิ เป็นเมืองทา่ สำคญั ทางตะวันตก ตเี มือง
มะริด ๒๐ วนั ก็ไดช้ ยั ชนะ เเต่งตงั้ ใหเ้ จา้ เมอื งเดมิ ปกครองฐานะเมืองขนึ้ อยธุ ยา
ทั้ง ๒ ทัพที่ไปตีทวายเเละตะนาวศรีมาถึงอยุธยาในพ.ศ.๒๑๓๖ ปลายปีนั้นก็ไปตีกัมพูชาได้ชัยชนะ
จับนักพระสัฎฐาประหารชีวิตในพิธีปฐมกรรม เมื่อเสร็จศึกก็ตั้งเจ้าเมืองไปครองเมืองเหนือที่ร้างมาตั้งเเต่
ประกาศอิสระภาพมา ๘ ปี ใหม้ เี จ้าเมอื งดังเดมิ
-พระยาชัยบูรณ์ เป็นเจา้ พระยาสุรสหี ์ ครองพษิ ณุโลก
-พระศรีเสาวราช ครองสุโขทัย
-พระองคท์ อง ครองพชิ ัย
-หลวงจา่ ครองสวรรคโลก
ได้สง่ เชลยทไ่ี ดม้ าจากเขมรไปประจำหวั เมืองเหนือ
สงครามคร้ังท่ี ๑๒ สมเด็จพระนเรศวรไดห้ ัวเมืองมอญ
-พ.ศ.๒๑๓๗
-ตรงกับรชั กาลของสมเด็จพระนเรศวร
-ยึดไดเ้ มืองเมาะตะมะ เมาะลำเลงิ ทำให้อยุธยาได้เมืองทา่ ฝั่งอนั ดามนั
สงครามคร้งั ที่ ๑๓ พระนเรศวรตีเมืองหงสาวดคี รง้ั ที่ ๑
-พ.ศ.๒๑๓๘
-ตรงกับรัชกาลของสมเดจ็ พระนเรศวร
-พระนเรศวรดำริว่า บัดนี้เราได้เมืองเมาะตะมะเป็นที่ตั้งทัพเเล้ว ควรที่จะหาโอกาสไปตีพม่าบ้าง
เพราะพม่าทำอยุธยาบอบช้ำมามาก ศึกครั้งนี้ปรากฎในพระราชพงศาวดารเพียงฉบับเดียว คือ ฉบับหลวง
ประเสรฐิ อักษรนติ ์ิ การยกทพั ไปครัง้ นมี้ เี หตผุ ล ๓ ประการคือ
-ถา้ สามารถตีได้ก็จะตี
-ถ้าตไี ม่ได้ ก็สามารถรู้ภมู ิลำเนา กำลังพลสำหรับไปตคี ราวหนา้
-นำครวั อยธุ ยาท่ถี กู กวาดต้อนไปกลับคืน
โดยยกทัพหลวงเมื่อวันอาทิตย์ เดือนอ้ายขึ้น ๓ ค่ำ พ.ศ.๒๑๓๘ มีกำลังพล ๑๒๐,๐๐๐ รวมพลที่เมาะตะมะ
ล้อมเมอื งอยู่ ๓ เดือน ก็ตีไม่ได้อกี ท้งั พระเจ้าเเปร พระเจ้าอังวะ พระเจ้าตองอูยกมาชว่ ยจึงเลิกทพั กลับ
สงครามครง้ั ที่ ๑๔ สมเดจ็ พระนเรศวรตเี มืองหงสาวดี ครั้งท่ี ๒
-พ.ศ. ๒๓๔๒
-ตรงกับรชั กาลของสมเดจ็ พระนเรศวร
-พระนเรศวรไปตีเมืองหงสาวดีครั้งที่ ๒ ห่างจากครั้งแรกถึง ๓ ปี ซึ่งต่างจากพม่าที่มาตีอยุธยาทุกปี
อย่างต่อเนื่องจนมีโอกาศอิกจึงไปตีอีกครั้ง ๑ เหตุที่ยกทัพไปตีเนื่องจากเห็นโอกาสที่พม่าเกิดความวุ่นวาย ตั้ง
ตนเป็นใหญ่ไมย่ อมอ่อนน้อมต่อพระเจา้ หงสาวดี สาเหตุสำคัญคือ พระเจ้าหงสาวดีจงึ ตั้งพระเจ้าอังวะราชบตุ ร
เป็นพระมหาอุปราชาแทนพระองค์เดิม ทำให้พระเจ้าแปรน้อยใจที่ตนไม่ได้เป็นอุปราช จึงไปตีตองอูแต่นัดจิง
หน่องรักษาเมืองเอาไว้ได้ แต่พระเจ้าแปรก็ตัง้ ตนเป็นอิสระไม่อ่อมน้อมต่อหงสาวดี ต่อมากรุงศรีสัตนาคนหตุ ก็
แข็งเมืองเช่นเดียวกนั ฝ่ายพระเจ้าเชยี งใหม่ก็ยอมอ่อนน้อมต่ออยุธยาเพื่อใหช้ ่วยป้องกันภัยจากกรุงศรีสตั นาค
นหุต มีท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่คนหนึ่งได้ตั้งเป็นที่พระยารามเดโช จากนั้นพระนเรศวรจึงจึงโปรดให้
เจ้าพระยาสรุ สีหค์ ุมกำลังพลเมืองเหนือไปห้ามชาวลา้ นช้างไม่ให้มาตีเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังให้พระยาราม
เดโชไปช่วยพระเจ้าเชียงใหม่รักษาเมืองด้วย ฝ่ายล้านช้างซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองเชียงแสนเกรงพระบารมีพระ
นเรศวรจงึ เลกิ ทพั กลบั ไป เจ้าพระยาสรุ สีหจ์ ึงใหพ้ ระยารามเดโชเป็นขา้ หลวงรกั ษาการอยู่ที่เมืองเชยี ง
พระนเรศวรเตรยี มการไปตหี งสาวดีดังนี้
-ให้เจา้ พระยาจักรีคุมกองทัพมจี ำนวนพล ๑๕,๐๐๐ ไปตัง้ อยทู่ ีเ่ มืองเมาะลำเลิง ใน พ.ศ. ๒๑๔๒ เพ่ือ
ทำนาเตรียมเสบียง
-เกณฑ์กองทัพเมืองทวายจำนวนพล ๕,๐๐๐ ไปตั้งต่อเรือสำหรับกองทัพที่เกาะพะรอกแขวงเมืองวัง
ราว (อังกฤษเรียกว่าเมอื งอัมเฮีสต์)
-เมืองยะไข่กบั เมอื งตองอู มีศุภอักษรมาใหอ้ ยธุ ยาว่า หากเสดจ็ ไปตีเมืองหงสาวดจี ะยกกองทพั มาชว่ ย
เหตุผลที่ที่เมืองตองอูเข้าร่วมเพราะอยากได้เมืองชายทะเลตะวันตกเป็นเมืองขึ้น พระเจ้ายะไข่หลังจากถวาย
สาส์นอยุธยาแล้วก็ให้กองทัพเรือยกมายึดเมืองสิเรียมรอทัพอยุธยา ส่วนเมืองตองอูนั้นหวังจะเป็นใหญ่ใน
ดนิ แดนพมา่
แต่ฝ่ายเมืองตองอูนั้นมีเรื่องที่ต้องเปลี่ยนใจคือ พระภิกษุ ชื่อพระมหาเถรเสียมเพรียม เมื่อทราบว่า
พระเจ้าตองอใู ห้มาอ่อนน้อมต่ออยุธยา จึงเขา้ ไปทัดทานพระเจ้าตองอวู ่าหากจะเป็นใหญ่ไม่ควรท่ีจะพ่ึงอยุธยา
จึงวางอุบายยุยงชาวมอญมอญที่อยุธยาเกณฑ์มาทำนาที่เมืองเมาะลำเลิงให้ก่อความวุ่นวาย แล้วแต่งทูตไปยัง
กองทัพเมืองยะไข่ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองสิเรียม ให้มาล้อมหงสาวดี จากนั้นพระเจ้าตองอูจึงตกลงกับเมือง ยะไข่ว่า
จะใหเ้ มืองชายทะเล
สมเด็จพระนเรศวรยกทัพหลวงออกจากพระนคร มีกำลังพล ๑๐๐,๐๐๐ เข้าพม่าทางด่านพระเจดีย์
สามองค์ พักทพั ทเี่ มอื งเมาะตะมะปราบปรามพวกอยเู่ กือบ ๓ เดอื น
ฝา่ ยพระเจา้ ตองอแู ละพระเจ้ายะไข่นัน้ กย็ ังคงล้อมเมืองหงสาวดอี ยู่ เมือ่ ทราบขา่ ววา่ พระนเรศวรข้ึนไป
ถึงเมาะตะมะแล้วพระเจ้านันทบุเรงจึงให้ทัพตองอูเข้าเมือง และพระเจ้าตองอูได้ส่งราชธิดาของพระเจ้าบุเรง
นองกับช้างเผือกตวั ๑ ไปถวายพระเจ้ายะไข่เพือ่ ขอหย่าทัพจากนั้นเชิญพระเจา้ นันทบุเรงไปอยู่ตองอู ทิ้งเมือง
หงสาวดีให้แก่พวกยะไข่เข้าปล้นจนยับเยิน หลังจากพระเจ้านันทบุเรงหนีไปได้ ๘ วัน สมเด็จพระนเรศวรก็
เสด็จไปถงึ เมอื งหงสาวดี พวกยะไข่กพ็ ากนั หลบหลีกหนีไป เมอ่ื เห็นเมืองร้างเชน่ นกี้ ป็ รารภท่ีจะไปตีตองอตู อ่
เมื่อไปถึงตองอูพบว่าเป็นเมืองที่มีคูน้ำลึกมาก จึงทำการทดน้ำออกจากแม่น้ำไปยังเหมืองที่ขุด พม่าเรียกว่า
เหมืองสยามจนน้ำในแม่น้ำลดน้อยลง จึงเข้าปล้นเมือง ล้อมอยู่นาน ๒ เดือนไม่สามารถตีอีกทั้งยังขาดเสบียง
เพราะยะไข่เที่ยวปล้นตัดเสบียง เห็นดังนี้อยุธยาจึงยกทัพกลับ เมื่อพระนเรศวรมาถึงตำบลคับแคจึงโปรดให้
สมเด็จพระเอกาทศรถไปเมืองเชียงใหม่ เพ่ือจะระงับข้อพิพาทซ่ึงเกิดขึ้นในระหว่างพระเจา้ เชียงใหม่กับพระยา
รามเดโช แล้วสมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จกลับมาเมืองเมาะตมะ ทรงตั้งพระยาทะละ เป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะ
แล้วเสดจ็ กลบั อยธุ ยา
ฝ่ายสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยกกองทัพไปถึงเมืองเถิน แล้วให้มีรับสั่งไปยังพระเจ้าเชียงใหม่และ
พระยารามเดโชเขา้ เฝ้า ระงับเหตุเรยี บร้อยกเ็ สด็จกลบั คนื มายงั พระนคร
สงครามครัง้ ที่ ๑๕ สงครามคร้งั สุดทา้ ยของสมเด็จพระนเรศวร
-พ.ศ. ๒๑๔๗
-ตรงกบั รัชกาลของสมเดจ็ พระนเรศวร
-ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงเมื่อไปอยู่เมืองตองอูได้ ๘ เดือน ก็ถูกนัดจินหน่องลอบวางยาพิษปลง
พระชนม์ เวลานั้นพม่ามี ๓ ก๊กคือพระเจ้าตองอู พระเจ้าแปร พระเจ้าอังะ จากนั้นพระเจ้าอังวะขึ้นเป็นใหญ่
นามว่าพระเจ้าสีหสุธรรมราชา ขยายอาณาเขตกว้างขวางออกไป จนกระทั่งมาตีได้เมืองขึ้นอยุธยาคือ เมือง
หน่าย แล้วจะมาตีเมืองแสนหวี ทำให้สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบก็ขัดเคือง สั่งเกณฑ์พลจำนวน ๑๐๐,๐๐๐
ไปตีเมืองอังวะ โดยใช้เส้นทางเมืองเชียงใหม่ แต่เมื่อไปถึงเมืองหาง ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จ
พระนเรศวรเกิดประชวรเปน็ ระลอกข้นึ ท่ีพระพกั ตร์ รบั สงั่ ใหพ้ ระเอกาทศรถเข้าเฝ้า พระเอกาทศรถเสด็จมาถึง
ได้ ๓ วนั ก็สวรรคตที่เมืองหาง เมื่อ วันจนั ทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ปมี ะเสง็ พ.ศ. ๒๑๔๘ มพี ระชนมายุรวม ๕๐
ปี ครองราชย์สมบตั ไิ ด้ ๑๕ ปี
สงครามคร้ังท่ี ๑๖ คราวพมา่ ตเี มืองทวายครงั้ ที่ ๑
-พ.ศ. ๒๑๔๖
-ตรงกับรัชกาลของสมเดจ็ พระเอกาทศรถ
-พระเจ้าอังวะเกณฑ์รี้พล ๔๐,๐๐๐ มาตีเมืองทวาย พ.ศ. ๒๑๔๖ พระยาทวายตายในสงครามเสีย
เมืองทวายแก่พระเจ้าอังวะ จากนั้นจึงมาตีเมืองตะนาวศรี แต่ถูกพระยาสวรรคโลกและพระยาพิชัยตีแตก
กลับไป อยุธยาชนะทัพพม่าทเ่ี มืองตะนาวศรีได้เมอื งทวายกลับคืน
สงครามครงั้ ที่ ๑๗ คราวพมา่ ตีเมืองเชยี งใหม่
-พ.ศ. ๒๑๔๗
-ตรงกบั รชั กาลของสมเด็จพระเอกาทศรถ
-หลังจากที่พระเจ้าอังวะพ่ายแพ้อยุธยาในศึกเมืองทวายและเมืองตะนาวศรี เมื่อกลับไปถึงเมืองเมาะ
ตะมะแลว้ ตนเองกเ็ กิดความอายจงึ หาโอกาสท่ีจะมาตีเมืองของอยธุ ยาอีกครง้ั และผา่ นไปไดไ้ มน่ านกท็ ราบข่าว
ว่าเมืองเชียงใหมเ่ กดิ จลาจลวุน่ วาย ก็เห็นเป็นโอกาสดีทีจ่ ะยกมาตเี ชยี งใหม่เพ่ือแก้อายเม่ือศึกคราวก่อน ทำให้
ในพ.ศ.๒๑๕๗ พม่าเกณฑ์พลทหารเข้าเพื่อตีเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้น เมื่อยกพลเข้ามาถึงเมืองลำพูน ก็ทราบว่า
สะโดะกยอกบั ทา้ วพระยา ซ่ึงคือผูป้ กครองเมอื งเชียงใหม่ ได้พากนั เทครัวจากเชยี งใหม่ลงมาอยู่ทต่ี ้ังมนั่ ท่ีลำปาง
แลว้ เมือ่ พระเจ้าอังวะทราบดังนั้น จงึ เกณฑ์ผคู้ นมาล้อมเมืองลำปางไว้ พยายามเข้าตีหลายครั้งก็ไม่สำเร็จคร้ัน
จะยกทัพกลับก็เกรงจะหาโอกาสท่ีจะมาตีใหม่ไม่ได้อีกจึงลอ้ มเมืองตอ่ ฝา่ ยเมอื งเชียงใหมท่ ่ีอาศยั ในลำปางนั้นก็
ขัดสนเสบียงเชน่ เดยี วกนั แมว้ า่ องั วะจะขาดเสบียงเต่ก็ยังมพี อทีจ่ ะเลีย้ งทัพไดเ้ พราะพระยาน่านนำเสบยี งมาให้
แต่ฝ่ายเมืองเชียงใหม่กลับมีเรื่องที่ทำให้ยอมจำนนต่ออังวะ เนื่องจากพระเจ้าเชียงใหม่ คือ สะโดะกยอ ถึงแก่
พิราลัย เมื่อพระเจ้าอังวะได้เชียงใหม่และลำปางเป็นเมืองขึ้นแล้ว จึงแต่งตั้งพระยาน่านเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่
แล้วลิกทัพกลับหงสาวดีไป ตามจดหมายเหตุของฮอลันดาและอังกฤษกล่าวว่า พระเจ้าอังวะกลับไปได้นาน
อยุธยากข็ ึ้นไปชว่ ยและได้เชยี งใหม่กลับคนื และตามพงศาวดารไทยรบพมา่ กลา่ ววา่
“เรื่องทีไ่ ทยยกกองทัพขนึ้ ไปขับไล่พมา่ ไปจากเมืองเชียงใหม่คราวน้ี ไมม่ ใี นหนงั สือพงษาวดาร มีแต่ใน
จดหมายเหตขุ องพวกฮอลันดาแลอังกฤษที่เข้ามาอยู่ในกรงุ ศรีอยุทธยาในสมัยนนั้ ว่าพวกฝรั่งไมไ่ ด้ข้ึนไปค้าขาย
ทางเมืองเชียงใหม่อยู่เกือบ ๒ ปี เพราะไทยรบกับพม่าอยู่ทางเมืองเชียงใหม่ จนคฤศตศก ๑๖๑๘ (ตรงกับปีม
เมีย พ.ศ. ๒๑๖๑) ไทยกับพม่าจึงได้ทำสัญญาเลิกสงครามกัน ไทยยอมยกเมืองเมาะตะมะให้พมา่ พม่ายอมยก
เมอื งเชยี งใหม่ให้แกไ่ ทย แตน่ ัน้ มาพวกฝรงั่ จงึ ขนึ้ ไปคา้ ขายถึงเมืองเชยี งใหม่ไดด้ ังแตก่ ่อน”
สงครามครั้งท่ี ๑๘ คราวพม่าตเี มอื งทวาย
-พ.ศ. ๒๑๖๕
-ตรงกบั รชั กาลของสมเดจ็ พระเจ้าทรงธรรม
สงครามครง้ั ที่ ๑๙ คราวไทยตเี มอื งเชยี งใหม่
-พ.ศ. ๒๒๐๕
-ตรงกับรชั กาลของสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช
-หลังจากที่พมา่ มีกษัตริย์ปกครองพระนามว่า พระเจ้าสุทโธธรรมราชา ได้มาตีเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ
อีกครั้ง ต่อมาในรัชกาลของพระเจ้าอังวะศริ ินันทสุธรรมราชา พม่ามีความวุ่นวายเนื่องมาจากพวกเม่งจ(ู ฮ่อ)ใน
จีนมีอำนาจ ทำให้เจ้าเมืองจีนหนีมาอาศัยในพม่า เหตุนี้เองทำให้พม่าต้องทำศึกกับพวกเม่งจูหรือฮ่อ เพราะ
พวกฮ่อได้ลงมาตเี มอื งพมา่ ในพ.ศ.๒๒๐๓เพ่ือติดตามเจ้าเมืองจนี แต่เร่อื งน้ีมเี รือ่ งทเี่ กย่ี วกับเชียงใหม่ ดังนี้ พระ
เจา้ เชยี งใหมค่ อื พระแสนเมือง สบื ทราบมาวา่ พวกฮ่อนจ้ี ะมาตีเชียงใหม่อกี ทางหนึ่ง จึงขอความช่วยเหลือไปยัง
อังวะ พระเจ้าอังวะก็ส่งมาช่วยในพ.ศ. ๒๒๐๓ แต่ขณะนั้นอังวะเองก็ต้องรับศึกฮ่อเช่นเดียวกัน จึงเรียกทัพ
พมา่ กลบั คนื ไป ฝา่ ยพระเจา้ เชยี งใหม่ไม่มีทางเลือกจึงมาขอเป็นไมตรีกบั อยุธยา จึงสง่ แสนสุรินทรไมตรีเป็นทูต
มาถวายศุภอัษรและเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระนารายณ์ แห่งอยุธยา เพื่อขอให้ยกทัพปช่วย
เชียงใหม่รบกับฮ่อ ฝ่ายอยุธยาเห็นเป็นโอกาสดีที่จะได้เชยี งใหม่เป็นเมืองขึ้นอีกครั้งจึงรับไมตรีนั้น โดยให้พระ
ยารามเดโชเป็นกองหน้า คุมกำลัง ๑,๐๐๐ และพระยาสีหราชเดโชชัยเป็นกองหลวง คุมกำลัง ๔,๐๐๐
นอกจากนี้ยังให้นำมอญมาสมทบ ผู้คุมกำลังมอญคือ สมิงพระรามคุมกองและสมิงพระตบะ รวมได้ ๑ ทัพเพื่อ
ไปช่วยเชียงใหมโ่ ดยมีผูน้ ำทางไปคือแสนสุรินทรไมตรี จากนั้นสมเดจ็ พระนารายณ์จึงได้ยกทพั หลวงตามขึ้นไป
ในเดือนอ้าย พระองค์พักทัพที่เมืองพิษณุโลกเพื่อรอฟังข่าว แต่เรื่องกลับไม่เป็นตามที่เชียงใหม่คิดเพราะพม่า
สามารถเอาชนะพวกฮ่อได้ พระแสนเมืองผู้ครองเมืองเชียงใหม่จึงเปลี่ยนแผนไปเข้ากับพม่าดังเดิม ส่งคนมา
แจ้งข่าวให้สุรินทรไมตรซี ึ่งขณะนัน้ อยู่ที่เมอื งกำแพงเพชรให้หนีไป พระยาสีหราชเดโชชยั ทราบวา่ สุรินทรไมตรี
หนีไปแล้ว จึงไปแจ้งแก่พระนารายณ์ที่เมืองพิษณุโลก สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงกริ้วที่พระเจ้าเชียงใหม่ไม่
รกั ษาสตั ย์วาจา จงึ ดำรัสสั่งใหเ้ จ้าพระยากลาโหมยกทัพข้ึนไปสมทบ ๕ กอง รวมทหารท้ังส้ิน ๑๐,๐๐๐ เพื่อยก
ไปตีเมอื งเชยี งใหม่ ตามพระราชพงศาวดารไทยรบพม่ากลา่ ววา่
“กองทัพไทยยกขึ้นไปคราวนั้นพวกหัวเมืองขึ้นเชียงใหม่ไม่รู้ตัว ไปถึงเมืองไหนก็หาผู้ต่อสู้ไม่ จึงได้
เมืองด้ง๑ เมืองลอง เมืองเถิน เมืองนครลำปาง กับทั้งเมืองกะเหรี่ยงลว้าที่ข้ึนเมอื งเชยี งใหม่อิกหลายเมือง คือ
เมืองอินทคิรี เมืองรามตี แลเมืองด่านอุมลกุ เปนต้น แต่กำลังที่ยกไปยังน้อยนัก จึงหาได้เมืองเชยี งใหม่ไม่ คร้ัน
สมเดจ็ พระนารายนเ์ สด็จคืนมาพระนครแล้วจงึ ให้หากองทพั กลับมาเม่ือปฉี ลู พ.ศ. ๒๒๐๔”
ตีเชียงใหม่ครั้งที่ ๒ โดยมีโอกาสสำคัญคือ พ.ศ. ๒๒๐๔ พระเจ้าแปรชิงราชสมบัติจากพระเจ้าอังวะ
แล้วขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระเจ้ามหาสีหสุรสุธรรมราชา ทำให้ในพ.ศ. ๒๒๐๕ อยุธยาจึงส่งกองทัพไปตี
เชียงใหม่อีกครั้ง โดยใช้กำลังพลมากกว่าครั้งที่แล้วถึง ๔ เท่าคือจำนวน ๔๐,๐๐๐ นาย โดยมีแม่ทัพคือ
เจ้าพระยาโกษาธิบดี(ขุนเหล็ก) ก่อนไปตีนั้นเจ้าพระยาโกษาธิบดีได้ทดลองบัญชาการรบที่ค่ายทีท่ ุ่งพเนียด ให้
เอาไม้ไผ่ปักทำค่ายโดยเอาโคนชี้ขึ้นฟ้า แต่เมื่อมาตรวจดูพบว่ามีผู้ไม่ทำตามคือเอาโคนไม้ปักลงจึงสั่งประหาร
ทำให้มีผู้ยำเกรงเป็นอย่างมาก นอกจากเจ้าพระยาโกษาธิบดีขุนเหล็กแลว้ ยังมีแม่ทัพคนอื่นๆ คือ พระยาวิชติ
ภักดีเป็นยกกระบัตร พระยาสุรินทรภักดีเป็นเกียกกาย พระยาสีหราชเดโชชันเป็นทัพน่า พระยาสุรสงคราม
เป็นทัพหลัง ยกไปตีเมืองเชียงใหม่ในเดือน ๑๒ ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์จึงยกทัพหลวงขึ้นไปอีก ๖๐,๐๐๐
ในเดือนอ้าย รวมกำลังพลทไี่ ปตีเชยี งใหมค่ ร้ังนีม้ ี ๑๐๐,๐๐๐ นาย
ฝ่ายเมืองเชียงใหม่ก็เตรียมการรับศึกอยุธยาอย่างดีโดยขอให้อังวะมาช่วย แล้วเตรียมการสู้รบตั้งแต่
เมอื งลำปางขน้ึ ไป เมือ่ กองทพั อยุธยาท่ีนำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดีขุนเหล็กไปต้ังประชุมพลทีเ่ มืองเถิน จึงเข้าตี
ลำปางจนได้ชัยชนะ ตามด้วยเมืองลำพูนรบกัน ๗ วันก็ได้ชัยชนะ จากนั้นก็ไปล้อมเมืองเชียงใหม่ไว้ และ
สามารถตีเชียงใหม่ได้สำเร็จ เมื่อพม่ามาถึงก็จะตีเอาเชยี งใหม่กลับคืนแต่ก็ถูกอยธุ ยาตแี ตกพ่ายกลับไป สมเด็จ
พระนารายณ์จดั การบ้านเมืองที่เชยี งใหม่ ๑๕ วนั ให้กพระยาสีหราชเดโชชยั ดูแลเมือง จงึ เสด็จกลบั อยธุ ยา โดย
อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับคืนอยุธยาด้วย(เป็นพระพุทธรูปของสุโขทยั ที่สมเด็จพระบรมราชาธริ าชท่ี ๑ นำมา
ไว้ทอ่ี ยุธยาแต่มีเหตุให้มีผูน้ ำไปไว้ท่ีเชียงใหม่) การศึกครั้งน้ีมีเรื่องท่สี ำคัญเก่ียวกับพระราชบิดาของพระเจ้าเสือ
วา่ เปน็ พระราชโอรสลบั ของพระนารายณ์หรือเปน็ พระราชโอรสของพระเพทราชาดังนี้
“เมื่อสมเด็จพระนารายน์เสด็จประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่คร้ังน้ัน ไดน้ างกุลธิดาชาวเชียงใหม่เปนบาท
บรจิ าคน ๑ นางน้นั มคี รรภข์ ้นึ จะทรงเลย้ี งดกู ล็ อายพระไทย เม่ือปูนบำเหนจ็ ข้าราชการจึงพระราชทานนางนั้น
แกพ่ ระเพทราชา (ข้าหลวงเดมิ ซึ่งเปนลกู พระนมอกิ คน ๑) ดว้ ยได้รบพงุ่ มีความชอบในคราวนน้ั นางคลอดบุตร
เปนชาย พระเพทราชาให้ชื่อว่านายเดื่อ แล้วถวายเปนมหาดเล็ก สมเด็จพระนารายน์ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยง
ทำนบุ ำรุง ด้วยทรงทราบว่าเปนพระราชบุตร แลกมุ ารน้นั ก็ถือว่าตัวเปนพระราชบุตร จึงทนงองอาจต่าง ๆ จน
ที่สคุ คดิ อา่ นให้พระเพทราชาชงิ ราชสมบตั เิ มอ่ื สน้ิ รัชกาลสมเด็จพระนารายน์”
สงครามครั้งที่ ๒๐ คราวรบพม่าทเ่ี มอื งไทรโยค
-พ.ศ. ๒๒๐๖
-ตรงกับรชั กาลของสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช
-เมื่อครั้งพวกจีนฮ่อลงมาล้อมเมืองอังวะ พระเจ้าอังวะสั่งให้ให้มังนันทมิตรซึ่งเป็นอุปราชครองเมือง
เมาะตะมะ เกณฑ์ชาวมอญขึ้นไปช่วยรบแตป่ รากฏวา่ พวกมอญกลับหลบหนีไปเป็นจำนวนมากเหลือไปช่วยองั
วะเพียง๓,๐๐๐ คน เมื่อเสร็จศึกมังนันทมิตรจึงลงมาที่เมาะตะมะจับพวกมอญมาลงโทษ ทำให้พวกมอญไม่
พอใจก่อกบฎจับมังนันทมิตรขังไว้จากนั้นอพยพครัวมอญประมาณ ๑๐,๐๐๐ คนพร้อมกับตัวมังนันทมิตรเข้า
มาพ่ึงอยุธยาทางด่านพระเจดยี ์ ๓ องค์ สมเดจ็ พระนารายณ์ก็รับไว้โดยให้ไปตั้งถนิ่ ฐานท่สี ามโคก(เมืองนนทบุรี)
และรมิ วดั ตองปุคลองคูจามเขตพระนคร อยมู่ าไมน่ านมังนันทมิตรก็ถึงแก่อนิจกรรม เมอื่ พมา่ ทราบดังน้ีแล้วจึง
ให้มังสุรราชาเป็นแม่ทัพคุมพล ๒๐,๐๐๐ และติงกะโบเมียนหวุ่นเป็นกองหน้าคุมพล๑๐,๐๐๐ รวมกำลังพล
ทัง้ สนิ้ ๓๐,๐๐๐นาย ยกมาเมาะตะมะเพ่อื ปราบพวกมอญ แตเ่ มอื่ มาถงึ กพ็ บว่าไดพ้ ากนั หนมี าอยุธยาแลว้ ให้มงั
สุรราชาจึงแจ้งมายังเจ้าเมืองมีหนังสือกาญจนบุรี เพื่อขอตัวมังนันทมิตรละมอญกลับคืน ถ้าไม่ให้จะยกทัพมา
ตาม สมเด็จพระนารายณ์จึงเตรียมรับศึกพม่าโดยให้พระยาสีหราชเดโชชัย ยกกองทัพมาจากเชียงใหม่เพ่ือ
รักษาด่านแม่ละเมา พร้อมกับให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี(ขุนเหล็ก) เป็นแม่ทัพคุมกำลัง ๓๐,๐๐๐ มีพระยาวิเศษ
ไชยชาญเปน็ ยกกระบัตร พระยาราชบุรีเปน็ เกียกกาย และพระยาเพชรบรุ ีเป็นกองหน้าคุมพล ๕,๐๐๐ ไปสู้กับ
พมา่ ทางด่านพระเจดยี ์ ๓ องค์ ขณะนน้ั พม่ายกกองหน้ามาตั้งทเ่ี มืองไทรโยคและกองหลวงตง้ั ท่ีท่าดินแดงแลว้
ทำให้เจ้าพระยาโกษาธิบดีขุนเหล็กซ่ึงขณะนัน้ ตั้งประชุมทัพทีต่ ำบลปรากแพรก รบี ยกกองทัพขึ้นไปรักษาเมือง
กาญจนบรุ ี จากนน้ั สงั่ ใหก้ องหนา้ ของพระยาเพชรบุรีไปขัดตาทัพพม่าท่ีตำบลท่ากระดานและด่านกรามช้าง ริม
ลำน้ำแควใหญ่ ฝ่ายเมืองเชียงใหม่นำทพั โดยพระยาสีหราชเดโชชยั ยกลงมาถึงเมอื งตาก กพ็ บวา่ พมา่ มาทางด่าน
พระเจดีย์ ๓ องค์ไม่ได้มาทางด่านแม่ละเมาตามที่คาดไว้ จึงนำทัพผ่านมาทางเมืองกำแพงเพชร นคร สวรรค์
เมืองอุทัยธานี เข้ามาถึงเมืองศรีสวัสดิ์เขวงเมืองกาญจนบุรี ก็รอฟังคำสั่งการบจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี ฝ่าย
เจ้าพระยาโกษาธบิ ดี เขา้ ไปตีค่ายพม่าที่เมืองไทรโยค รบกนั ได้ ๓ วนั ไลพ่ มา่ ไปจนถงึ คา่ ยหลวงของพม่าท่ีอยู่ท่า
ดนิ แดง มังสุรราชาแม่ทพั ถูกปนื จนลม้ ป่วย พม่าจึงแตกพา่ ยกลบั ไป
สงครามคร้ังที่ ๒๑ คราวไทยตเี มืองพมา่
-พ.ศ. ๒๒๐๗
-ตรงกบั รชั กาลของสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช
เมื่ออยุธยารบพุ่งเอาชนะพม่าไดห้ ลายครั้ง มีแม่ทัพเก่งกล้า คือเจ้าพระยาโกษาธิบดีขุนเหล็กและพระ
ยาสีหราชเดโชชัย นอกจากนีท้ หารกฮ็ กึ เหิมสามารถประเมนิ กำลังของพม่า ได้จึงยกทพั ข้ึนไปตีอังวะ โดยจัดทัพ
เป็น ๓ ทางดังน้ี
-เจ้าพระยาโกษาธิบดขี ุนเหล็ก เป็นแม่ทัพใหญ่ ให้พระยาสีหราชเดโชชัยเป็นนายทัพหน้า พระยาวิชิต
ภักดีเป็นยกกระบัตรทัพ พระยาสุรินทรภักดีเป็นเกียกกาย และพระยาสุรสงครามเป็นกองหลัง ยกไปทางด่าน
พระเจดียส์ ามองค์
-พระยารามเดโชคมุ กองทัพเมอื งเชียงใหม่ไปทางเมืองผาปูน
-พระยากำแพงเพชรคุมกองทัพหวั เมืองเหนือยกไปทางดา่ นแม่ละเมา
รวมกำลังพลประมาณ ๖๐,๐๐๐ นอกจากนี้ยังมีกำลังชาวมอญที่คุมโดยพระยาเกียรติและสมิงพระรามไป
ป้องกันเมอื งทวายไมใ่ หต้ ีโอบหลงั ทพั อยธุ ยาได้
โดยที่กองทพั เจา้ พระยาโกษาธิบดีเม่อื เขา้ เขตเมอื งพม่าก็ไปประชมุ ทพั ทเี่ มาะตะมะ ตเี มอื งรายทางของ
พมา่ ตามลำดบั ทอี่ ยธุ ยาตหี ัวเมืองของพม่าได้งา่ ยเพราะมอญไมเ่ ต็มใจรบกับอยุธยา
ฝ่ายพระเจ้าอังวะทราบดังนี้จึงให้มังจาเลราชบุตร เจ้าเมืองจาเล ออกมาสู้รบกับอยุธยาแต่ก็ถูกตีแตก
ไปหลายครง้ั จงึ ไม่ออกรบรักษาคา่ ยล้อมเมืองไว้ กองทัพอยุธยาก็ได้เข้าล้อมเมืองพุกามไว้ ตอ่ มาพระยาสีหราช
เดโชชยั ถูกมังจาเลลอ้ มจับไว้แต่ก็หนีออกมาได้ อยุธยาล้อมเมอื งพุกามไวจ้ นถึงพ.ศ.๒๒๐๘ กต็ หี ักเอาเมืองไม่ได้
อีกทั้งเสบียงอาหารเริ่มหมดไป จึงเลิกทัพกลับ แต่ก่อนกลับนั้นเจ้าพระยาโกษาธิบดีได้วางอุบายส่งหนังสือไป
ยงั มังจาเลว่าอยธุ ยาจะยกทัพกลบั แลว้ จากนนั้ ส่งทหารท่ีป่วยออกมาจากชานเมืองพม่าก่อนแล้ว จึงซุ่มอยู่หลัง
เมืองให้ทหารยิงปืนไฟอย่างปืนสัญญา เผาเชื้อเพลิงหลังค่ายจนแสงไฟสว่างขึ้น พม่าเห็นว่าอยุธยายกทัพกลับ
แล้วจึงกรูกันออกมาหาเก็บทรัพย์สินและจับผู้คน ทำให้ถูกกองทัพอยุธยาที่ซุ่มอยู่ฆ่าตาย วันต่อมาอยุธยาก็ทำ
เช่นเดมิ พม่าคดิ ว่าเป็นอบุ ายจึงไมอ่ อกมา ทพั อยธุ ยาก็เดินทางกลับโดยสะดวก
สงครามครง้ั ที่ ๒๒ คราวพมา่ ลอ้ มกรุงศรีอยุธยา
-พ.ศ. ๒๓๐๒
-ตรงกบั รชั กาลของสมเด็จพระเจ้าเอกทศั น์แห่งอยธุ ยาและพระเจ้าอลองพญาแห่งพม่า
เมื่อพระเจ้าอลองพญาตีได้เมืองหงสาวดีแล้ว ขณะนั้นทางเมืองมอญมีขุนนางมอญคน ๑ เข้าตีเมืองสิเรียม แม่
ทัพพม่าก็ยกกองทัพมาจะตีเอาเมืองสิเรียมคืน พระยามอญจึงนั่งเรือกำปั่นฝรั่งเศสหนีไปจากเมือง เข้ามาอยู่ท่ี
เมืองมะริด พม่าจึงมีหนังสือมาถึงพระยาตะนาวศรีว่าขอให้อยุธยาส่งตัวคืนให้ แต่อยุธยาก็ไม่คืน ทำให้พระ
เจ้าอลองพญาทรงกริ้ว เมื่อพ.ศ. ๒๓๐๒ พระเจา้ อลองพญาลงให้มงั ระราชบุตรกบั มังฆ้องนรธา มาตีเมืองทวาย
โดยใชก้ ำลงั พล ๘,๐๐๐ เมือ่ ตีไดแ้ ล้วจงึ คิดจะมาตเี มอื งตะนาวศรีและเมืองมะรดิ เพราะ ๒ เมอื งนีเ้ ปน็ เมอื งท่ามี
เรือคา้ ขายมากทรัพย์สมบตั มิ ีมหาศาลอีกทั้งยังคดิ ว่ากำลงั พลในเมืองมีน้อยคงจะตีได้ไม่ยาก พระเจ้าอลองพญา
จึงอ้างเหตุที่จะมาตีมะริดและตะนาวศรีว่าอยุธยาไม่ยอมส่งตัวพระยามอญกับเรือกำปั่นฝรั่งเศสจึงจะมาตีเอา
คืน อยุธยาเห็นดังนี้จึงส่งกองทัพไปเมืองมะริด ตะนาวศรีโดยมีแม่ทัพคือพระยายมราช คุมกำลังพล ๓,๐๐๐
พระยาเพชรบุรีเป็นกองหน้า พระยาราชบุรีเป็นยกกระบัตร พระสมุทรสงครามเป็นเกียกกาย พระธนบุรีกับ
พระนนทบุรีเป็นกองหลัง นอกจากนี้ยังให้พระยารัตนาธิเบศร(์ ว่าท่ีจตุสดมภ์กรมวงั ) ไปเป็นกองหนุน คุมกำลัง
พล ๒,๐๐๐ และมีขุนรองปลัดชกู รมการเมืองวิเศษไชยชาญและพวกรวม ๔๐๐ อาสามาเป็นกองอาทมาต ใน
กองทัพพระยารัตนาธิเบศร์ ฝ่ายพม่ามีแม่ทัพคือมังระก็ตีเอาเมืองได้โดยง่าย เมื่อทัพอยุธยาทราบว่าเสียเมือง
แล้วจึงต้งั ค่ายที่แก่งตุม่ ปลายน้ำตะนาวศรี พมา่ กเ็ ขา้ มาตีแตกพ่าย ตามตมี าถงึ ทัพหนุนของพระยารัตนาธิเบศร์
ท่เี มอื งกุย จงึ ให้ขนุ รองปลดั ชูคมุ กองอาทมาตลงไปตั้งสกดั ทางอยู่ที่อ่าวหว้าขาว ด่านสิงขร แตก่ ็พ่ายแพ่แก่พม่า
ทัพอยุธยารีบถอยทัพหนีมาจากเมืองเพชรบุรี พม่าก็ตามเข้า เมื่อพระเจ้าอลองพญาเห็นว่าสามารถตีทัพของ
อยธุ ยาแตกพา่ ยไดง้ ่ายก็คิดจะเข้ามาตีอยุธยาถงึ ชานพระนครโดยเตรยี มทัพที่เมอื งตะนาวศรี จดั ทัพดังน้ี
-ทัพหน้า คอื มังระราชบตุ ร
-พระเจา้ อลองพญาเปน็ ทพั หลวง
โดยยกเข้ามาทางดา่ นสงิ ขร นอกจากนย้ี ังจดั ทพั อกี ๒ ทัพเพอ่ื เข้ามาในภายหลงั
การเตรียมรับศกึ ของอยุธยาคือ ใหพ้ ระยาอภัยมนตรเี ป็นแม่ทพั คุมพล ๑๐,๐๐๐ไปขัดตาทัพพม่าท่ียก
มาด่านพระเจดีย์สามองค์และเมืองตะนาวศรี ณ เมืองกาญจนบุรี ตามใบบอกของพระยากาญจนบุรี แล้วให้
พระยาพระคลงั คมุ พล๑๐,๐๐๐ ไปต้ังเป็นทพั หนุนทรี่ าชบุรี เม่อื มีใบบอกจากพระยากำแพงเพชรว่ามีข้าศึกยก
มาทางด่านแมล่ ะเมากใ็ ห้เจ้าพระยาอภัยราชาไปตัง้ รอรบั ศึก
แต่เรอ่ื งกลบั ไม่เปน็ ตามทอี่ ยธุ ยาคิดเพราะวา่ พม่านัน้ ยกมาเพียงทางด่านสิงขรเมืองตะนาวศรี เมื่อพม่า
ยกมาถึงเมืองราชบุรีก็ได้รบพุ่งกับทัพของพระยาอภัยมนตรี จนกองทัพมังฆ้องนรธาเสียทีแต่ทัพของมังระราช
บตุ รมาช่วยทัน ทำห้ทัพอยธุ ยาแตกพา่ ย พระเจ้าอลองพญาพกั ทัพที่ราชบรุ ี ๔ วันจึงยกเขา้ มาเมืองสุพรรณบรุ ี
ฝ่ายอยุธยานั้นได้เชิญพระเจ้าอุทุมพรให้ลาผนวชมาช่วยบ้านเมือง พระเจ้าอุทุมพรได้ปล่อยตัว
เจ้าพระยาอภัยราชากับพระยายมราช พระยาเพชรบุรีที่ถูกพระเจ้าเอกทัศน์คุมขังข้อหากบฏมาช่วยราชการ
ดังเดิม นอกจากนี้ยังสั่งจำคุกพระยาราชมนตรี ปิ่น กับจมื่นศรีสรรักษ์ฉิมเพราะเป็นสาเหตุก่อความวุ่นวาย ส่ัง
ให้กวาดต้อนราษฎรเข้าเมือง เตรียมเสบียง สร้างแนวกำแพงด้านเหนืออีก ๑ ชั้น ให้เจ้าพระยามหาเสนาเป็น
แม่ทัพ มีแม่ทัพรองคือพระยายมราช พระยารัตนาธิเบศร์ พระยาราชบังสรร คุมพล ๒๐,๐๐๐ ไปรับข้าศึกที่
สุพรรณบุรีตั้งค่ายที่ทุ่งตาลาน แต่พม่าก็ตีแตกอีกเช่นเคย เพราะกำลังพลมากกว่า เจ้าพระยามหาเสนาถูกฆ่า
ตาย ส่วนพระยายมราชกบ็ าดเจ็บกลบั มาตายในพระนคร เหลือพระยารตั นาธเิ บศร์กับพระยาราชบงั สรรเท่าน้ัน
พอถงึ ๕ ขนึ้ ๑๑ ค่ำ ปีมโรง พ.ศ. ๒๓๐๓ พม่าก็เข้ามาลอ้ มกรงุ ไดต้ ั้งค่ายดังนี้
-ต้ังค่ายหลวงท่บี า้ นกมุ่
-มังระราชบุตรกับมงั ฆ้องนรธาทัพหนา้ ต้ังท่ีทุ่งโพธสิ์ ามตน้
ฝ่ายอยุธยามีหลวงอภัยพิพัฒน์(ขุนนางจีน) พาชาวจีนที่ตั้งชุมชนบริเวณบ้านในก่าย ๒,๐๐๐ อาสาตีค่ายโพธ์ิ
สามต้น มีจมื่นทิพเสนาปลัดกรมตำรวจเป็นทัพหนุนคุมกำลัง ๑,๐๐๐ แต่ก็ถูกตีแตกพ่ายกลับมา มังระจึงก็ยก
กองทัพมาตั้งค่ายท่ีเพนยี ด ให้มังฆอ้ งนรธาเป็นกองหนา้ เข้ามาตัง้ ถงึ วัดสามวหิ าร
พม่ายิงปืนใหญ่จากวัดราชพรี วัดกษัตรา วันต่อมาตั้งปืนที่วัดหน้าพระเมรุ วัดช้าง(หัศดาวาศ) ยิงปืน
ถูกยอดพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์หัก แต่พระเจ้าอลองพญาก็ถูกปืนใหญ่แตกใส่จนบาดเจ็บ จนต้องยกทัพ
กลบั ไปทางด่านแม่ละเมา สวรรคตระหว่างทางทเี่ มอื งตาก
สงครามครัง้ ท่ี ๒๓ คราวพมา่ ตีหัวเมอื งปกั ษใ์ ต้
-พ.ศ. ๒๓๐๗
-ตรงกบั รัชกาลของสมเดจ็ พระเจา้ เอกทัศนแ์ ห่งอยธุ ยาและพระเจ้ามงั ระแหง่ พมา่
ก่อนศึกครั้งนี้กรมหมื่นเทพพิพิธ คิดว่าอยุธยาเสียแก่พม่า จึงย้ายจากลังกามาอยู่ที่มะริด เมื่อพม่าตี
เมืองทวาย หยุ ตองจาเจ้าเมืองทวายสู้ไม่ได้จงึ ไปอยู่กับกรมหมน่ื พิพิธที่มะริด ทำให้พม่ามาตีมะริดท้ังสองจึงหนี
ไปยังเมืองกระบุรี มังมหานรธาจึงตีเมืองตะนาวศรีได้อีก พม่าเข้าตีหัวเมืองปักษ์ใต้ได้เมืองมะลิวัน เมืองกระ
เมืองระนอง เมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองปทิว เมืองกำเนิดนพคุณ แลเมืองคลองวาฬ เมืองกุย เมืองปราณ จะ
มาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพพระยาพิพัฒน์โกษากับพระยาตากสินไปรักษาเพชรบุรีไว้ได้ทันยกลงไปจากกรุง
ศรอี ยุทธยา ไปถึงทันรักษาเมอื งเพชรบรุ ไี วไ้ ด้ พมา่ จงึ ถอยกลบั ไปเมืองตะนาวศรที างด่านสงิ ขร
ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมีรับสั่งให้เอากรมหมื่นเทพพิพิธไปคุมไว้ที่เมืองจันทบุรี ส่วนหุยตองจาน้ัน
โปรดใหค้ มุ ไวท้ เี่ มอื งชลบรุ ี
สงครามครั้งท่ี ๒๔ คราวเสยี กรงุ ครง้ั ท่ี ๒
-พ.ศ. ๒๓๑๐
-ตรงกบั รชั กาลของสมเดจ็ พระเจา้ เอกทศั น์แห่งอยธุ ยาและพระเจ้ามังระแหง่ พม่า
พม่าเห็นว่าอยุธยาอ่อนแอจึงยกทัพเข้ามาตีเพื่อทำลายให้ราบคาบและเก้บทรัพย์สมบัติกลับเมืองไป
โดยพระเจา้ มงั ระ พระราชบุตรของพระเจา้ อลองพญาแบ่งทัพออกเป็น ๒ ทางทัง้ ทางเหนอื และใจต้ ดังน้ที ี่
-ทางเหนอื มแี มท่ ัพใหญ่คือเนเมียวสหี บดี ยกเข้ามาทางเมืองเชยี งใหม่
-ทางใต้และตะวนั ตกมีแม่ทพั ใหญค่ ือมงั มหานรธา ยกเขา้ มาทางเมืองทวาย
พมา่ เขา้ มาตีคราวน้ีไมใ่ ช่ทัพกษัตรยิ ์เพราะพระเจ้ามังระไม่ได้ยกมาเอง บางครั้งศึกครั้งน้ีอาจเป็นลักษณะท่ีว่าตี
หัวเมืองได้ถึงไหนก็เอาถึงนั่น เที่ยวปล้นรายทางหากตีไม่ได้จะยกทัพกลับตามที่อังกฤษเรียกว่า“เรด”แต่เม่ือ
เห็นวา่ ตีไดง้ า่ ยจงึ เขา้ มาถึงชานพระนคร พม่าตีเมืองรายทางเปน็ ลำดับชนั้ ถงึ ๔ ชนั้ คอื
-ชั้นที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๐๘ เดือน ๗ ปีระกา เนเมียวสีหบดีให้ฉับกุงโบเป็นทัพหน้ายกมาจากเชียงใหม่ มี
จำนวนพล ๕,๐๐๐ ส่วนมังมหานรธาให้เมขะระโบเป็นทัพหน้ายกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ มีจำนวนพล
๕,๐๐๐ ทัพทางเหนือที่ลงมาจากเชียงใหม่นั้นสามารถเดินทัพได้สะดวกเพราะมีแค่เมอื งตากเมืองเดียวท่ีต่อสู้
ส่วนเมืองอื่นอย่างกำแพงเพชร นครสวรรค์ยอมอ่อนน้อมหมด ส่วนราษฎรส่วนใหญ่จะหนีเข้าป่าไป ทัพทาง
เหนือของฉับกุงโบจึงมาตั้งค่ายที่กำแพงเพชรและนครสวรรค์ ส่วนทัพที่มาทางด่านพระเจดีย์สามองค์นั้นได้ตี
ทัพของพระพิเรนทรเทพเจ้ากรมตำรวจ ซ่ึงจำนวนพล ๓,๐๐๐ รักษาเมอื งกาญจนบุรีจนแตกพ่ายจึงเดินทัพต่อ
มาถงึ แม่น้ำราชบรุ ี ตงั้ ทัพท่ตี ำบลลกู แก ตำบลตอกละออมและดงรงั หนองขาว
ฝ่ายอยุธยาจึงให้พระยารัตนาธิเบศร์ไปรักษาเมืองธนบุรีโดยใช้กองทัพที่เกณฑ์มาจากเมือง
นครราชสีมาและให้พระยายมราชคมุ ไปรักษาเมืองนนทบรุ ี
เมื่อเวลาผ่านไปได้ ๖ เดือนถึงเดือน ๑๒ มีพม่าอยู่ในแผ่นดินอยุธยาประมาณ ๑๐,๐๐๐คน กระจาย
อยู่ทเ่ี มอื งราชบุรี ๕,๐๐๐ คนและเมอื งนครสวรรค์ ๕,๐๐๐ คน
-ชั้นที่ ๒ ผ่านไป ๖ เดือนถึงเดือน ๑๒ เนเมียวสีหบดีลงมาจากเชียงใหม่ คุมพลประมาณ ๒๐,๐๐๐
ผ่านเมอื งตาก พชิ ยั สวรรคโลก สุโขทัย แตเ่ มืองพิษณโุ ลกไม่เสยี แกพ่ ม่า ส่วนมงั มหานรธากเ็ ข้ามาทางทวาย คมุ
พลประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ตั้งทัพที่เมอื งราชบุรี ให้เมขะระโบตีเมืองธนบุรี จนทัพพระยารัตนาธิเบศร์และชาว
นครราชสีมาแตกพ่าย ต่อมากต็ เี มืองนนทบุรี ตวั มงั มหานรธาเข้ามาทางเมืองสุพรรณบุรีต้ันค่ายล้อมกรุงท่ีบ้าน
สกี ุก ใหเ้ มขะระโบไปต้ังอยู่ที่สามแยกบางไทร กองทัพเนเมียวสีหบดีซง่ึ ลงมาทางขา้ งเหนือ จึงมาต้ังล้อมกรุงอยู่
ทวี่ ัดป่าฝา้ ยปากนำ้ พระประสบ
ฝา่ ยอยุธยากน็ ำราษฎรเข้าไปในกำแพงเมือง เตรยี มเสบยี งสู้รบ สมเดจ็ พระเจา้ อทุ ุมพรซึ่งทรงผนวชอยู่
ที่วัดประดู่โรงธรรม ก็เสด็จเข้าไปอยู่ที่วัดราชประดิษฐาน ราษฎรทูลให้ลาผนวชมาช่วยศึกแต่พระองค์ทรงนิ่ง
เฉย อยุธยาม่ได้ส่งทัพไปตพี มา่ ขา้ งนอกกำแพงเมืองเลย รอตัง้ รบั ให้ถึงฤดูน้ำหลากเทา่ นั้น
ครั้นถึงราวเดือน ๖ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ อยุธยาได้ให้พระยาพระคลังคุมพล ๑๐,๐๐๐ ตีค่ายพม่าท่ี
ปากน้ำพระประสบของเนเมียวสีหบดีแต่ก็โดนตีแตกกลับมา ได้พระยาตากสินป้องกันทัพด้านหลังจึงแตกไม่
ยับเยนิ มาก พมา่ จึงย้ายมาต้ังค่ายที่บา้ นโพธิส์ ามต้นและให้มอญรักษาเมืองราชบุรีแทนพมา่ โดยให้พม่ามาต้ังท่ี
ที่ขนอนหลวงรมิ วดั โปรดสัตว์ ฝ่ายพระยาตากสนิ สามารถตีได้ค่ายวดั โปรดสัตวแ์ ต่พม่ายกทัพมาหนุนจึงรักษาไว้
ไม่ได้ ขณะนั้นเองกรมหมืน่ เทพพิพธิ อยทู่ ่ีเมอื งจันทบุรียกทัพมาทางเมืองระยอง เมืองบางละมุง เมืองชลบุรี มี
จำนวนพลกว่า ๑๐,๐๐๐ รวมถงึ พระยารัตนาธิเบศร์กเ็ ข้ารว่ มด้วย มาต้ังอยทู่ ี่เมืองปราจีนบุรี ให้หม่ืนเก้า หมื่น
ศรีนาวา นำพล๒,๐๐๐ เป็นกองหน้า ยกมาต้งั คา่ ยอยู่ท่ปี ากน้ำโยทะกา แต่พม่าก็ให้เมขะระโบกับแนกวนจอโบ
คุมกองทัพพม่าจำนวนพล ๓,๐๐๐ ตไี ดค้ ่ายที่ปากนำ้ โยทะกาแลว้ กรมหม่นื พิพธิ ลัพระยารตั นาธิเบศร์จึงหนีไป
เมอื งนครราชสิมาทางช่องเรือแตก
-ชั้นที่ ๓ ถึงฤดูน้ำหลากพมา่ ไมย่ กทัพกลับอพยพสัตวพ์ าหนะไปเลีย้ งบนท่ดี อน ต่อเรอื ไวใ้ ชจ้ ำนวนมาก
หลงั เสรจ็ ฤดฝู นมังมหานรธาก็ล้มป่วยตายลงท่ีค่ายวัดสีกุก เนเมยี วสีหบดจี ึงเป็นแม่ทัพใหญ่แต่เพียงผู้เดียวและ
ย้ายจากค่ายปากน้ำพระประสบมาอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ให้กองหน้าเข้ามาตั้งค่ายที่วัดภูเขาทอง วัดท่าการ้อง
วดั กระชาย วัดพลบั พลาชยั วดั เตา่ วัดสเุ รนทร วดั แดง
ฝ่ายอยุธยาก็ตั้งค่ายล้อมพระนครไวท้ ุกด้านเช่นเดียวกัน รวม ๙ แห่ง คือ วัดหน้าพระเมรุ เพนียด วัด
มณฑป วัดพิชัย วัดเกาะแก้ว ให้หลวงอภัยพิพัฒน์ขุนนางจีนคุมพวกจีนบ้านนายก่าย ๒,๐๐๐ ตั้งค่ายที่บ้าน
สวนพลู ให้พวกครสิ ตังตั้งคา่ ยท่รี มิ วดั พุทไธสวรรย์ ให้กรมอาสาหกเหล่าตัง้ คา่ ยทวี่ ัคไชยวัฒนาราม
อยุธยาเอาปืนชื่อปราบหงสา ขึ้นตั้งบนป้อมมหาชัยจะยิงพม่า แต่ไม่กล้าใส่กระสุนดินดำ เพราะกลัว
เสียงดังทำให้ปืนไม่ไปถึงพม่า นอกจากนี้พระศรีสุริยพาหะ รักษาป้อมซัดกบ(มุมพระนครข้างตะวันตกเฉียง
เหนือ) ยิงปืนชื่อมหากาลมฤตยูราชยิงค่ายพม่าที่ภูเขาทอง แต่ปืนกลับร้าวเลยใช้ต่อไม่ได้ ต่อมามีการตั้งกฎว่ า
หากจะยิงปืนใหญต่ อ้ งขออนญุ าตท่ีศาลาลูกขุนเสยี ก่อน เม่อื พระยาตากสิน รกั ษาการด้านตะวันออก คือคา่ ยวัด
วัดเกาะแก้ว ยงิ ปนื โดยไมไ่ ด้รบั อนุญาตจึงถูกลงโทษ ทำใหพ้ ระยาตากหนีออกจากพระนคร
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าเอกทัศให้พระยาเพชรบุรีและพระยาตากสินไปตั้งที่วัดใหญ่คอยสกัดตีกอ งทัพ
พมา่ ทย่ี กมาทางท้องทุ่ง แตพ่ ระยาเพชรบรุ ีออกรบพม่าทีร่ ิมวัดสังฆาวาศถูกระเบิดตายบนเรือ ส่วนกองทัพพระ
ยาตากสนิ ถอยกลับมาตั้งอยู่ที่วดั พชิ ยั
-ชั้นระยะที่ ๔ ระยะสุดท้ายหลังน้ำลด ฝ่ายอยุธยาคงคิดว่าไม่รอดแน่พวกจีนที่ตั้งค่ายอยู่สวนพลู
ประมาณ ๓๐๐ หนีไปยังวัดพระพุทธบาท สระบุรี ไปลอกทองคำที่หุ้มพระมณฑปน้อย แล้วเอาไฟเผามณฑป
พระพุทธบาท
สว่ นเนเมียวสหี บดมี าตั้งอยู่ที่เพนียด เขา้ ตีค่ายอยุธยาจนแตกพ่ายทุกค่าย และพม่าขยับมาต้ังค่ายทาง
ด้านเหนือ ที่วัดกุฎีแดง วัดสามพิหาร วัดกระโจม วัดศรีโพธ์ิ วัดนางชี วัดแม่นางปลืม้ วัดมณฑป ด้านใต้วัดพุท
ไธสวรรย์ วดั ชัยวัฒนาราม คา่ ยจนี ท่บี ้านสวนพลกู เ็ สียแก่พมา่ เหมือนกัน แต่คา่ ยวดั พชิ ัยน้นั พระยาตากสินหนีทิ
ไปกอ่ นแลว้
ฝ่ายอยุธยาเกิดความวุ่นวายเนื่องมาจากไฟไหม้บ้านเรือนวัดวาอารามกว่า๑๐,๐๐๐ หลัง ตั้งแต่ด้าน
เหนอื คอื วดั ทา่ ทราย ประตูเขา้ เปลอื ก แขวงปา่ มะพรา้ ว ป่าโทน ปา่ ถ่าน ปา่ ตอง ป่ายา วัดมหาธาตุ วดั ราชบูรณ
และวัดฉัททันต์ ทำให้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ต้องส่งทูตไปหย่าศึก ยอมเมืองอังวะ แต่พม่าไม่ยอม อีกทั้งพม่า
ยงั ใหก้ องทัพท่คี ่ายวัดกฎุ ีแดง วัดสามพิหาร และวดั มณฑป เขา้ มาทำสะพานเรือกข้ามนำ้ ตรงหวั รอข้างมุมเมือง
ดา้ นตะวันออกเฉียงเหนือ อยธุ ยาส่งั ให้จม่นื ศรีสรรักษ์ไปตีทัพพมา่ ที่เข้ามาทำสะพานจนพม่าแตกพ่าย ตีได้ค่าย
พม่า ๑ ค่ายแต่พม่าก็หนุนตีคืน จากนั้นมาขุดเผารากกำแพงอยุธยาตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาไชย ในวันเนา
สงกรานต์ คอื วนั องั คาร เดอื น ๕ ขนึ้ ๙ ค่ำ ปกี ุญ พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาบ่าย ๓ โมง ตอ่ มาไมน่ านกำแพงก็ทรุดกรุง
ศรอี ยุธยาเสยี แก่พม่า รวมเวลาทพ่ี มา่ ตั้งล้อกรุงคือปี ๑ กับ ๒ เดอื น พมา่ จบั เชลยอยธุ ยาได้ ๓๐,๐๐๐ คน จับ
ได้พระเจ้าอุทุมพรไปเป็นเชลยที่พม่าสว่ นสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์หนไี ปซ่อนทีบ่ ้านจิกริมวัดสังฆาวาศ ฝ่ายพม่า
พักที่อยุธ ๙-๑๐ วันเพื่อรวบรวมทรัพย์สมบตั ิจึงยกทัพกลับให้สุกี้รักษาอยธุ ยาที่ค่ายโพธ์ิสามตน้ มกี ำลงั พลรวม
๓,๐๐๐ รวมถงึ ตั้งนายทองอินทร์เป็นเจา้ เมอื งธนบรุ ี การเดินทพั กลับของพม่าแบง่ เปน็ ๓ ทางคอื
-เนเมียวสีหบดีไปทางด่านแม่ละเมาทางเหนือ คุมทรัพย์ที่มีคา่ มาก ราชวงศ์ ข้าราชการด้วยตนเองคุม
-เจา้ เมอื งพุกาม ยกไปทางใตเ้ มอื งธนบุรีและท่าจีนแม่กลอง คุมสิง่ ของที่หนักและขนาดใหญ่
-ไปทางเมืองสพุ รรณบรุ ี รวมกับกองเรือทเี่ มืองกาญจนบรุ ี ยกกลบั ไปทางด่านพระเจดยี ์สามองค์
พม่าได้เชลยไป ๓๐,๐๐๐ ปืนใหญ่ ๑,๒๐๐ กระบอก ปืนเล็กหลายหมื่น แต่ปืนพระพิรุณ (แสนห่า) ใหญ่กว่า
กระบอกอ่ืนพม่าระเบิดเสยี ที่วดั เขมา ขนเอาแต่ทอง เพราะเอาไปไมไ่ หว
ชะตากรรมของพระเจ้าเอกทัศน์ พมา่ ไปพบท่ีบ้านจิก พระองค์อดอาหารกวา่ ๑๐ วันรบั ไปถึงค่ายโพธิ์
สามตน้ ก็สวรรคต สกุ ีเ้ ชิญพระบรมศพมาฝงั ไวท้ ่โี คกพระเมรุ หน้าวหิ ารพระมงคลบพติ ร
ชะตากรรมพระเจ้าอทุ มุ พร เมื่อไปถึงพม่าพระเจา้ มังระให้ลาผนวช ตัง้ ตำหนกั อยู่ที่เมอื งจกั กาย
สรุปรชั กาลของพระมหากษัตริย์อยุธยาท่ที ำสงครามกบั พม่ามดี ังน้ี
-สมเด็จพระไชยราชาธริ าช ๑ ครัง้
-สมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ ๒ คร้ัง
-สมเด็จพระมหินทราธริ าช ๑ คร้ัง
-สมเดจ็ พระมหาธรรมราชา ๔ ครงั้
-สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช ๗ ครง้ั
-สมเด็จพระเอกาทศรถ ๒ ครัง้
-สมเดจ็ พระเจา้ ทรงธรรม ๑ ครัง้
-สมเด็จพระนารายณม์ หาราช ๓ ครงั้
-สมเด็จพระเจา้ เอกทัศน์ ๓ ครั้ง
๒. สงครามอยธุ ยากบั สุโขทัย
สงครามครง้ั ที่ ๑ อยุธยาตีเมอื งชัยนาท
-รชั กาลของสมเดจ็ พระเจา้ อู่ทองและสมเดจ็ พระมหาธรรมราชาท่ี ๑ลิไทย ศึกเมืองชยั นาท ตามชิน
กาลมาลปี กรณ์ พระยาลิไทยทรงขอเมืองคนื อยุธยาก็คืนให้พร้อมกบั ขอให้อยุธยาเปน็ ราชธานีทางใต้
สงครามครั้งที่ ๒
พ.ศ.๑๙๑๖ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑(ขุนหลวงพะงั่ว) ตีเมืองชากังราวศึกครั้งนี้เจ้าเมือง
ชากังราวทั้ง ๒ คนคือพระยาใสเเก้ว พระยาคำเเหง ออกมาสู้รบเป็นสามารถเเเต่ก็ไม่อาจต้านทานได้ พระยา
คำเเหงหนเี ข้าเมืองได้ สว่ นพระยาใสเเก้วถกู ฆ่าตายจงึ ยกทัพกลบั
สงครามครง้ั ท่ี ๓
พ.ศ.๑๙๑๙ ผ่านมาอีก ๓ ปี สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑(ขุนหลวงพะงั่ว) จึงขึ้นไปตีชากังราวอีก
ครง้ั เพราะทา้ วผ่าครองก่อกบฎ ตีไดเ้ มอื งชากงั ราวเปน็ ครัง้ ท่ี ๒
สงครามคร้ังท่ี ๔
พ.ศ.๑๙๒๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑(ขุนหลวงพะงั่ว) ตีเมืองพิษณุโลก(กำเเพงเพชร) ซึ่งถือว่า
เปน็ เมอื งหลวงของสโุ ขทยั ที่ย้ายมาในสมัยพระมหาธรรมราชาท่ี ๒(ลือไทย) สุโขทัยเพล้ียงพล้ำ พระมหาธรรม
ราชาที่ ๒(ลอื ไทย) ไมอ่ าจตา้ นทานกำลังอยธุ ยาได้ จึงยอมอ่อนนอ้ มเปน็ เมอื งขน้ึ นับวา่ สมัยพระบรมราชาธิราช
ท่ี ๑ เป็นสมยั เเรกที่ได้สโุ ขทัยเปน็ เมืองขน้ึ ตรงกับสมยั พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ของสโุ ขทัย
สงครามครัง้ ที่ ๕
พ.ศ.๑๙๓๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑(ขุนหลวงพะงั่ว) ตีชากังราวอีกครั้ง. จนประชวรเเละ
เดนิ ทางกลบั สวรรคตระหวา่ งทาง
บทบาทของอยุธยาในการรวมสุโขทยั เปน็ ดนิ แดนเดยี วกับอยธุ ยา
สมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่๓ แห่งสุโขทัย
พระยาบาลเมือง(บรมปาล)และพระยาราม เกิดวิวาทกันเพื่อชิงราชสมบัติ พระองค์จึงเสด็จไปเมืองพระบาง
(นครสวรรค์) เพื่อระงับเหตุ ตั้งให้พระยาบาลเมือง(บรมปาล)ได้ครองราชย์ที่เมืองหลวงคือ พิษณุโลก เป็น
สมเดจ็ พระมหาธรรมราชาที่ ๔(บรมปาล) ส่วนพระยารามนน้ั ให้ครองเมืองเดิม คอื สุโขทัย
สมเด็จพระนครินทราธิราชทรงขอพระธิดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๒ เป็นมเหสีให้โอรส คือ
เจ้าสามพระยาที่ครองเมืองชัยนาท ทำให้โอรสของเจ้าสามพระยา คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีพระราช
มารดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง มีตาคือ สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๒ ง่ายต่อการผนวกสุโขทัยเข้ากับ
อยุธยา ต่อมาเจ้าสามพระยาได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ จึงส่งพระราเมศวร(สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) เป็น
อุปราชครองเมืองพิษณุโลกหลังกษัตริย์องค์สุดท้ายของสุโขทัย คือสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๔(บรมปาล)
สวรรคตลง ต่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปอยู่พิษณุโลกในพุทธศักราช
๒๐๐๖ เพ่ือป้องกนั ศึกของลา้ นนาสมยั พระเจา้ ตโิ ลกราช เปน็ การผนวกสโุ ขทยั เขา้ อยธุ ยาโดยสมบูรณ์
๓. สงครามอยธุ ยากบั เชียงใหม่
สงครามในรชั กาลของสมเดจ็ พระบรมราชาธิราชที่ ๑
สงครามครัง้ แรกระหว่างอยุธยากบั เชยี งใหมป่ รากฎหลกั ฐานในรชั กาลของสมเดจ็ พระบรมราชาธิราช
ที่ ๑(ขุนหลวงพะง่วั ) แต่ตีไม่สำเร็จ ตไี ด้เพยี งเมืองลำปางเท่านัน้
สงครามในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร
-เกดิ ข้นึ ในพ.ศ. 1933
-ตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระราเมศวร(ครั้งที่ ๒) เป็นการตีเมืองเชียงใหม่ครัง้ ที่ ๒ (ต่อจากพระบรม
ราชาธริ าชที่ ๑) โดยครั้งน้สี ำเร็จเป็นครั้งเเรกของอยุธยา
-เหตุการณ์สำคัญสรุปได้ดังนี้ ทรงยกทัพขึ้นไปล้อมเมืองเชียงใหม่ ตั้งค่ายหลวงห่างคูเมืองประมาณ
๑๕๐ เส้น จึงสง่ั ยงิ ปนื ใหญเ่ ข้าไปในกำแพงเมือง พระเจ้าเชียงใหม่จงึ ขอเวลา ๗ วัน จะนำเครื่องราชบรรณาการ
มาถวาย เมื่อสมเด็จพระราเมศวรรับสาส์น ก็ปรึกษาเเม่ทัพนายกองต่างๆว่า จะรบหรือไม่รบดี เหล่าเเม่ทัพ
ท้งั หลายทูลวา่ ควรจะรบเพราะหากปลอ่ ยไว้ พระเจา้ เชียงใหมจ่ ะเตรียมการได้ทัน เเต่สมเด็จพระราเมศวรกลับ
เหน็ ต่าง ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารกรงุ ศรอี ยธุ ยา ฉบับหมอบลัดเลย์วา่ " เปน็ พระเจา้ เเผน่ ดนิ ใหญ่ เขาไม่
รบเเลว้ เราจะให้รบนั้นมิควร ถงึ มาตรว่าพระเจ้าเชียงใหม่จะมิคงอยใู่ นสัตยานสุ ัตย์กด็ ี ใชว่ า่ จะพ้นมือทหารเรา
นั้นเมื่อไรมี " กระนั้นเมื่อครบ ๗ วัน พระเจ้าเชียงใหม่กลบั ผิดสัญญา ฝ่ายสมเด็จพระราเมศวรเองก็เสบียงใกล้
จะหมด เพราะข้าวเเพงถึงทะนานละสิบสลึง จึงเร่งตีเชียงใหม่จนสำเร็จ พระเจ้าเชียงใหม่หนีไปได้ จับได้เพียง
โอรส จึงใหค้ รองเมอื งเเลว้ จึงเสด็จกลับ ระหว่างเสด็จกลับนนั้ ได้เเวะประทับเเรมท่ีเมืองพิษณุโลก นมัสการพระ
พุทธชินราช พระชินสีห์ โดยการเปลื้องเครื่องต้นถวายเป็นพุทธบูชา สมโภช ๗ วันจึงเสด็จกลับ ส่วนชาว
เชยี งใหม่ท่ถี ูกกวาดต้อนมาในศึกครั้งนใ้ี ห้ไปตั้งถิน่ ฐานทเี่ มืองพัทลงุ สงขลา นครศรธี รรมราชเเละจันทบุรี
สงครามในรชั กาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี 2 เจา้ สามพระยา
-พ.ศ.1985 ตรงกับสมัยของพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา เหตุมาจากท้าวช้อยรบแพ้พระเจ้าติโลก
ราช จึงหนีมาอยทู่ ี่เมืองเทิง(อำเภอเทิง จังหวัดเชยี งรายในปจั จุบนั ) เปน็ เหตใุ ห้เจา้ เมอื งเทงิ เกรงอำนาจของพระ
เจา้ ตโิ ลก จนต้องมาสวามภิ ักดิ์กบั อยธุ ยา อยุธยาก็สง่ ทัพไปช่วย แตก่ ไ็ มส่ ามารถตีเชยี งใหม่ไดส้ ำเร็จ เพราะทรง
พระประชวรจึงยกทพั กลับ
-พ.ศ. 1987 พระองค์ไปตีเชยี งใหมเ่ ปน็ คร้ังท่ี ๒ ในรชั กาลนี้โดยทรงตั้งทัพหลวงทตี่ ำบลปะทายเขษม
ตไี ดเ้ มอื งประเทศราชของเชยี งใหม่ พร้อมทัง้ กวาดตอ้ นเชลย 120,000 คนกลับอยธุ ยา
สงครามในรชั กาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
-พ.ศ.๑๙๙๙ พระยายุธิษฐิระ เจ้าเมืองเชลียง(สวรรคโลก) หันไปสวามิภักดิ์กับพระเจ้าติโลกราช เเห่
งเชียงใหม่ กรีฑาทัพมาตีกำเเพงเเพงเพชรสำเร็จ เเล้วมาตีชัยนาทต่อเเต่ไม่สำเร็จ เพราะพระบรมไตรโลกนาถ
ป้องกันได้ทัน. จึงถอนทัพกลับเกิดการสู้รบกับทพั อยุธยาที่ตามขึ้นไปที่เมืองเถิน ทัพของพระเจ้าเชียงใหม่เเตก
พ่ายกลับไป
-พ.ศ.๒๐๐๔ พระยาเชลียงนำพระเจ้าติโลกราชตีเมืองพิษณุโลก เเต่ไม่สำเร็จ จึงเปลี่ยนเป้าหมายไปตี
กำเเพงเพชร สู้รบฟาดฟนั กนั ถงึ ๗ วนั กไ็ มส่ ำเร็จ จงึ เลิกทัพกลับไป
-พ.ศ.๒๐๐๖ ตเี มอื งเชียงใหม่ เเต่ไมส่ ำเรจ็ กย็ กทัพกลับ เเตพ่ ระบรมไตรโลกนาถ เกรงว่าเมืองเหนือจะ
วุ่นวายเพราะพระเจ้าเชียงใหม่มีอำนาจมาก สถาปนาเมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีทางเหนือ เพื่อป้องกันศึก
ล้านนา สถาปนาพระบรมราชาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองอยุธยาเเทน ในฐานะราชธานีทางทิศใต้ขึ้นกับเมือง
พษิ ณโุ ลก ประทบั อยู่ ณ เมืองพษิ ณุโลกจนสิ้นรัชกาล
-พ.ศ.๒๐๑๘ เป็นการจบศกึ ระหวา่ งอยธุ ยากบั เชียงใหม่ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เนอื่ งจากมหาราช
ท้าวบญุ ขอเป็นไมตรกี บั อยธุ ยา
สงครามในรชั กาลของสมเด็จพระรามาธิบดที ่ี 2
-สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ขึ้นไปช่วยป้องกันหัวเองเหนือ ขับไล่เชียงใหม่ออกไปได้ เละยกไปตี
เชียงใหม่ ได้เมืองลำปางไว้ในอำนาจ การทำสงครามกับล้านนาสมัยนี้มีสาเหตุมาจากพระเมืองแก้ว แห่ง
อาณาจกั รลา้ นนา ยกทัพมาตีกรงุ สุโขทยั ของอยธุ ยา
สงครามในรชั กาลสมเด็จพระไชยราชาธริ าช
-พ.ศ.๒๐๘๑ พระมหาเทวีศรีจริ ะประภาแห่งเชยี งใหม่ถวายราชบรรณาการ
-ต่อมาเชียงใหม่หันไปออ่ นน้อมแก่พระเจ้าตะเบง็ ชะเวตีแ้ หง่ พม่า หลังจากเป็นไมตรีกบั อยุธยาอยู่ ๗ ปี
เปน็ เหตุให้ในพ.ศ. ๒๐๘๘ สมเดจ็ พระไชยราชาตอ้ งไปตีเชยี งใหม่ไว้ในอำนาจเปน็ ครั้งที่ ๒ เพอื่ ป้องกนั ภยั ทีจ่ ะ
เกดิ ขน้ึ ในภายหลงั ช่วงน้เี องเปน็ จุดเร่มิ ตน้ ของการมีอำนาจของท้าวศรสี ุดาจนั ทร์ เพราะพระไชยราชามอบให้
เปน็ ผู้สำเรจ็ ราชการแทน มอี ำนาจเทียบเทา่ พระองค์ ซ่ึงเปน็ กษตั ริย์ จดั ทัพโดยใหพ้ ระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้า
มีกำลังพล ๒ หมน่ื ส่วนทัพหลวงพักทเี่ มืองกำแพงเพชร ศกึ ครงั้ นี้ทำใหพ้ ระมหาเทวีศรีจิระประภาอ่อนน้อม
ยอมต่ออยธุ ยาอีกครง้ั
สงครามในรชั กาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
-หลังจากที่พม่ามีกษัตริย์ปกครองพระนามว่า พระเจ้าสุทโธธรรมราชา ได้มาตีเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ
อีกครั้ง ต่อมาในรัชกาลของพระเจ้าอังวะศิรินันทสธุ รรมราชา พม่ามีความวุ่นวายเนื่องมาจากพวกเม่งจู(ฮ่อ)ใน
จีนมีอำนาจ ทำให้เจ้าเมืองจีนหนีมาอาศัยในพม่า เหตุนี้เองทำให้พม่าต้องทำศึกกับพวกเม่งจูหรือฮ่อ เพราะ
พวกฮ่อไดล้ งมาตีเมืองพมา่ ในพ.ศ.๒๒๐๓เพื่อตดิ ตามเจ้าเมืองจีน แต่เร่ืองนมี้ เี รื่องท่ีเกี่ยวกบั เชียงใหม่ ดังน้ี พระ
เจา้ เชยี งใหมค่ อื พระแสนเมือง สืบทราบมาว่าพวกฮ่อนจ้ี ะมาตีเชียงใหม่อีกทางหน่ึง จงึ ขอความช่วยเหลือไปยัง
อังวะ พระเจ้าอังวะก็ส่งมาช่วยในพ.ศ. ๒๒๐๓ แต่ขณะนั้นอังวะเองก็ต้องรับศึกฮ่อเช่นเดียวกัน จึงเรียกทัพ
พม่ากลับคนื ไป ฝ่ายพระเจา้ เชียงใหม่ไม่มีทางเลือกจงึ มาขอเป็นไมตรีกับอยุธยา จึงส่งแสนสุรินทรไมตรีเป็นทูต
มาถวายศุภอัษรและเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระนารายณ์ แห่งอยุธยา เพื่อขอให้ยกทัพปช่วย
เชียงใหม่รบกับฮ่อ ฝ่ายอยุธยาเห็นเป็นโอกาสดีที่จะได้เชยี งใหม่เป็นเมืองขึ้นอีกครั้งจึงรับไมตรีนั้น โดยให้พระ
ยารามเดโชเป็นกองหน้า คุมกำลัง ๑,๐๐๐ และพระยาสีหราชเดโชชัยเป็นกองหลวง คุมกำลัง ๔,๐๐๐
นอกจากนี้ยังให้นำมอญมาสมทบ ผู้คุมกำลังมอญคือ สมิงพระรามคุมกองและสมิงพระตบะ รวมได้ ๑ ทัพเพ่ือ
ไปช่วยเชียงใหมโ่ ดยมีผูน้ ำทางไปคือแสนสุรินทรไมตรี จากนั้นสมเด็จพระนารายณ์จึงได้ยกทัพหลวงตามขึ้นไป
ในเดือนอ้าย พระองค์พักทัพที่เมืองพิษณุโลกเพื่อรอฟังข่าว แต่เรื่องกลับไม่เป็นตามที่เชียงใหม่คิดเพราะพม่า
สามารถเอาชนะพวกฮ่อได้ พระแสนเมืองผู้ครองเมืองเชียงใหม่จึงเปลี่ยนแผนไปเข้ากับพม่าดังเดิม ส่งคนมา
แจ้งข่าวให้สุรินทรไมตรซี ึง่ ขณะนั้นอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรให้หนีไป พระยาสีหราชเดโชชัยทราบว่าสรุ ินทรไมตรี
หนีไปแล้ว จึงไปแจ้งแก่พระนารายณ์ที่เมืองพิษณุโลก สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงกริ้วที่พระเจ้าเชียงใหม่ไม่
รักษาสัตยว์ าจา จึงดำรสั สั่งให้เจ้าพระยากลาโหมยกทัพข้ึนไปสมทบ ๕ กอง รวมทหารทง้ั สิน้ ๑๐,๐๐๐ เพื่อยก
ไปตเี มืองเชยี งใหม่ ตามพระราชพงศาวดารไทยรบพมา่ กลา่ ววา่
“กองทัพไทยยกขึ้นไปคราวน้นั พวกหัวเมืองขนึ้ เชยี งใหม่ไมร่ ตู้ ัว ไปถงึ เมืองไหนกห็ าผู้ต่อสูไ้ ม่ จงึ ได้เมือง
ด้ง๑ เมืองลอง เมืองเถิน เมืองนครลำปาง กับทั้งเมืองกะเหรี่ยงลวา้ ที่ข้ึนเมืองเชียงใหม่อิกหลายเมือง คือเมือง
อินทคิรี เมอื งรามตี แลเมอื งดา่ นอุมลุกเปนต้น แต่กำลังท่ยี กไปยังน้อยนัก จึงหาไดเ้ มอื งเชยี งใหมไ่ ม่ ครั้นสมเด็จ
พระนารายน์เสด็จคนื มาพระนครแล้วจึงให้หากองทัพกลับมาเม่ือปีฉลู พ.ศ. ๒๒๐๔”
ตีเชียงใหม่ครั้งที่ ๒ในรัชกาลนี้ โดยมีโอกาสสำคญั คอื พ.ศ. ๒๒๐๔ พระเจ้าแปรชงิ ราชสมบัติจากพระ
เจ้าอังวะแล้วขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระเจ้ามหาสีหสุรสุธรรมราชา ทำให้ในพ.ศ. ๒๒๐๕ อยุธยาจึงส่ง
กองทัพไปตเี ชียงใหมอ่ กี ครั้ง โดยใช้กำลังพลมากกวา่ คร้ังท่ีแล้วถึง ๔ เทา่ คือจำนวน ๔๐,๐๐๐ นาย โดยมแี ม่ทัพ
คือ เจ้าพระยาโกษาธบิ ดี(ขุนเหล็ก) ก่อนไปตีนั้นเจ้าพระยาโกษาธิบดีได้ทดลองบัญชาการรบท่ีคา่ ยที่ทุ่งพเนยี ด
ใหเ้ อาไมไ้ ผป่ ักทำค่ายโดยเอาโคนช้ีขึน้ ฟ้า แตเ่ มื่อมาตรวจดูพบว่ามีผู้ไม่ทำตามคือเอาโคนไม้ปักลงจึงสั่งประหาร
ทำให้มีผู้ยำเกรงเป็นอย่างมาก นอกจากเจ้าพระยาโกษาธิบดีขุนเหล็กแล้ว ยังมีแม่ทัพคนอื่นๆ คือ พระยาวิชิต
ภักดีเป็นยกกระบัตร พระยาสุรินทรภักดีเป็นเกียกกาย พระยาสีหราชเดโชชันเป็นทัพน่า พระยาสุรสงคราม
เป็นทัพหลัง ยกไปตีเมืองเชียงใหม่ในเดือน ๑๒ ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์จึงยกทัพหลวงขึ้นไปอีก ๖๐,๐๐๐
ในเดอื นอ้าย รวมกำลงั พลทีไ่ ปตีเชยี งใหม่ครง้ั นม้ี ี ๑๐๐,๐๐๐ นาย
ฝา่ ยเมอื งเชยี งใหมก่ ็เตรยี มการรบั ศึกอยุธยาอยา่ งดโี ดยขอให้องั วะมาช่วย แลว้ เตรยี มการสรู้ บตงั้ แตเ่ มืองลำปาง
ขนึ้ ไป เมอ่ื กองทัพอยุธยาท่ีนำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดีขุนเหลก็ ไปต้งั ประชมุ พลที่เมืองเถนิ จึงเข้าตีลำปางจนได้
ชัยชนะ ตามดว้ ยเมอื งลำพนู รบกนั ๗ วนั ก็ไดช้ ัยชนะ จากนั้นกไ็ ปล้อมเมืองเชยี งใหม่ไว้ และสามารถตีเชียงใหม่
ได้สำเรจ็ เม่ือพมา่ มาถึงก็จะตเี อาเชยี งใหม่กลับคืนแต่ก็ถูกอยธุ ยาตีแตกพา่ ยกลับไป สมเดจ็ พระนารายณ์จัดการ
บ้านเมืองที่เชียงใหม่ ๑๕ วัน ให้กพระยาสีหราชเดโชชัยดูแลเมือง จึงเสด็จกลับอยุธยา โดยอัญเชิญพระพุทธ
สิหิงค์กลับคืนอยุธยาด้วย(เป็นพระพุทธรูปของสุโขทัยที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ นำมาไว้ที่อยุธยาแต่มี
เหตใุ หม้ ีผูน้ ำไปไว้ท่เี ชยี งใหม)่
๔. สงครามอยธุ ยากบั เขมร
สงครามในรัชกาลสมเด็จพระเจา้ อู่ทอง
-พ.ศ.๑๘๙๕ ขอมเเปรพักตร์ไปร่วมมือกับพระยาเลอไทยเเห่งสุโขทัยเพื่อกำจัดอยุธยา จึงส่ง
พระราเมศวรไปตีเขมรเเต่ไม่สำเร็จ จึงเชิญขุนหลวงพะงั่วขณะนั้นครองเมืองสุพรรณบุรีไปช่วย จึงสามารถตี
เมืองยโสธรปุระได้ กษัตริย์ขอมคือพระบรมลำพงศ์สวรรคต ขุนหลวงพะงั่วจึงเเต่งตั้งปาสัต โอรสพระบรม
ลำพงศ์ ครองราชย์ที่กรุงยโศธรปุระ ในฐานะเมืองขึ้นอยุธยา เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยจึงกวาดต้อนเชลยจำน วน
มากลงมาทีอ่ ยุธยา
สงครามในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร
-รัชกาลของสมเด็จพระราเมศวร เกิดศึกครั้งที่ ๒ ระหว่างเขมรกับอยุธยา มีต้นเหตุมาจากพระยา
ละเเวกเข้ามากวาดต้อนราษฎรของอยุธยา เเถบบางปลาสร้อย(ชลบุรี) เเละจันทบุรีกลับไปเขมร ตาม
พงศาวดารกล่าวว่าประมาณ ๖,๐๐๐-๗๐๐๐คน ทำให้ในพ.ศ.๑๙๓๖ พระองค์ยกทัพไปตีเขมรโดยให้พระยา
ชัยณรงค์ยกทัพหน้าไป รบกันที่สะพานเเเยก ๓ วันจึงสำเร็จ เเต่จับได้เพียงบุตรของพระเจ้ากัมพูชาเท่านั้น
กวาดต้อนผู้คนกลบั มา จึงทำพธิ ีประเวศพระนครอีกครง้ั
สงครามในรชั กาลสมเด็จพระบรมราชาธริ าชที่ ๒ เจา้ สามพระยา
-พ.ศ.๑๙๗๔ อาณาจักรขอม ตรงกับสมัยพระเจ้าธรรมาโศก ได้เข้ามากวาดต้อนราษฎรเเถบชายเเดน
ของอยุธยา เป็นเหตุให้พระบรมราชาธิราชที่ ๒ เจ้าสามพระยา ต้องยกทัพไปตีนครธม นานถึง ๗ เดือน จึง
สามารถยึดเอาเมอื งได้ จึงส่งพระราชโอรสองค์โตคือ พระนครอินทร์ ไปครองเมืองนครหลวง ในฐานะประเทศ
ราชของอยยุ า เเตอ่ ยู่ไดไ้ มน่ านกส็ ้ินพระชนม์ สว่ นสาเหตุน้ันตคี วามไดห้ ลายอยา่ งคือ เเพอ้ ากาศกับถกู ปลงพระ
ชนม์ การตนี ครธมคร้ังนี้ เป็นการตีเขมรครั้งท๓่ี ของอยุธยา หลงั จากตมี าเเล้ว ๒ คร้ังในสมัยของพระเจ้าอู่ทอง
เเละพระราเมศวร เเตค่ รัง้ น้ีได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด โดยใหน้ ำพระยาเเกว้ พระยาไทย ผคู้ นตลอดจนเทวรูป
ศิลปขอมมากมายกลับมาอยุธยาด้วย เมื่อพระนครอินทร์สิ้นพระชนม์เเล้ว อยุธยาก็ไม่เเต่งตั้งใครครองเมือง
เเละร้างไป เขมรเองกถ็ อื โอกาศย้ายเมอื งหลวงใหม่ ไปต้ังทีพ่ นมเปญ เพือ่ ใหไ้ กลต่อการรกุ รานของอยุธยาเเสดง
ถงึ พระราชอำนาจของอยุธยาที่เหนอื ะกวา่ รัฐใกลเ้ คียง เเม้เเต่เขมรทเี่ คยยิง่ ใหญ่ กต็ อ้ งยอมจำนนตอ่ อยุธยา
สงครามในรัชกาลสมเดจ็ พระมหาจักรพรรดิ
-เมื่อเสร็จศึกจากหงสาวดี พระมหาจักรพรรดิสั่งประชุมทัพที่เพนียดช้าง เพื่อไปตีเขมรเหตุที่มากวาด
ต้องผู้คนแถบปราจีนบุรีไปละแวก โดยให้รวมพล ๕๐,๐๐๐ และเกณฑ์จากปักษ์ใต้เป็นทัพเรือ มีแม่ทัพคือ
พระยาเยาว์ มีกองหน้าคือพระศรีโชฎึก ต่อมาพระมหาจักรพรรดิจึงยกทัพหลวงตามไปทางพระตระบอง ถึง
เมืองละแวก ฝ่ายพระยาละแวกสู้ไม่ได้จึงแต่งสาส์นออกมาทูลว่าอีก ๓ วันจะนำบรรณาการมาถวาย พอครบ
กำหนดพระยาละแวกก็นำบรรณาการพร้อมกับพระราชบุตรคือนกั พระสโุ ทและนักพระสุทันมาถวาย จากนั้นก็
แต่งตั้งพระยาละแวกเป็นเจ้าประเทศราช กวาดต้อนชาวปราจีนบุรีมาอยุธยาดังเดิม พอมาถึงอยุธยาก็ให้นัก
พระสุทนั ไปเปน็ เจ้าเมอื งสวรรคโลก
สงครามในรชั กาลสมเดจ็ พระมหาธรรมราชา
-พ.ศ. ๒๑๑๓ พระเจ้ากรุงกัมพูชา ครองเมืองละแวกนั้น เห็นว่าอยุธยาบอบช้ำกับการสงครามคราว
เสียกรุง จึงเห็นประโยชน์ที่จะมาย่ำยี เพราะต้องการอยากจะได้ทรัพย์สินที่หลงเหลือกลับไปบ้าง จึงยกทัพ ๒
หมื่นคนเข้ามา ผ่านมาทางเมืองนครนายก ตั้งทัพที่ตำบลบ้านกระทุ่ม จากนั้นเข้าประชิดชานพระนคร พระ
มหาธรรมราชาจึงปรึกษากับเสนาบดีว่าจะเอาอย่างไร พระยาเพทราชาเห็นว่าบ้านเทืองบอบช้ำ ไม่อาวุธและ
ผู้คนจะรักษาเมืองได้ จึงเชิญพระมหาธรรมราชาไปประทับที่พิษณุโลกก่อน แต่ขุนเทพวรชุนเห็นว่าศึกนี้ไม่ใช่
ศึกใหญ่ควรจะตั้งรับ ฝ่ายพระมหาธรรมราชาก็ทรงเห็นด้วย เมื่อพระยาละแวกมาถึงบัญชาการรบอยู่ในวัด
สามพิหาร อยุธยายิงปืนถูกพระจำปาธิราชกองหน้าของละแวกตายบนคอช้าง แม้ว่าพระยาละแวกจะพยายาม
สู้ตลอด ๓ วันแต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้จึงยกทัพกลับไป แต่ก็ได้กวาดต้อนผู้คนแถบตำบลบ้านนานครนายก
กลบั ไปด้วย
-พ.ศ.๒๑๑๗ พระยาละแวกยกมาอีกคร้งั จบั ชาวเมืองธนบรุ ี ชลบรุ ีไปเปน็ เชลย มาถึงชานพระนครก็ไม่
สามารถตีไดเ้ นื่องจากสมเด็จพระนเศวรที่ยกทัพไปช่วยพม่านั้นเกิดประชวรเป็นไข้ทรพิษ ที่หนองบัวลำภู เมือง
อุดรธานี จงึ กลับมาช่วยได้ทนั เขมรก็แตกพ่ายเปน็ คร้ังที่ ๒
-พระนเรศวรสู้กับพระยาจีนจันตุ ครั้งนั้นพระเจ้าบุเรงนองให้อยุธยาไปช่วยตีเวียงจันทน์ สมเด็จพระ
นเรศวรเเละพระมหาธรรมราชาก็เสด็จไป พอถึงหนองบัวลำภูพระนเรศวรประชวรด้วยไข้ทรพิษ จึงเลิกทัพ
กลับมา ช่วงเวลาน้ันเองพระยาจีนจันตุ(ชาวจีน) ขุนนางเมืองเขมรที่มาสวามิภกั ดิ์ได้หนีไป พระนเรศวรจึงออก
ตามถึงปากน้ำ เเต่ตามไม่ทันเพราะเรือมขี นาดเล็กกว่าสู้เเรงคลื่นไม่ได้ นับเป็นการรบคร้ังเเรกของพระนเรศวร
ต่อมาไม่นานก็มาประทับที่อยุธยา เมื่อมาประทับที่อยุธยาปรากฎว่าเขมรให้พระทศโยธาเเละพระสุรินทราชา
มากวาดต้อนผ้คู นเเถบนครราชสีมาไปเขมร พระองค์จึงจัดทพั ๓,๐๐๐ ตเี ขมรเเตกพ่ายกลบั ไป
สงครามในรชั กาลสมเดจ็ พระนเรศวร
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงครองราชย์ก็ปรารภที่จะไปตีเขมร เพราะเขมรชอบยกทัพเข้ามาซ้ำเติม
อยุธยาในยามบอบช้ำ เมื่อสั่งรวมพลทหารเสร็จ ก็มีใบบอกจากเมืองกาญจนบุรีว่าพระมหาอุปราชายกทัพเข้า
มา จึงทำสงครามกับหงสาวดีโดยการทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะ หลังจากนั้นก็ให้แม่ทัพนายกองไปตีทวายกับ
ตะนาวศรี เมอ่ื ทุกอย่างเรียบร้อยจึงสงั่ เกณฑ์ทัพท่ีทุ่งหันตรา มกี ำลังพลหนง่ึ แสน ให้พระราชมนเู ป็นทัพหน้าคุม
พลห้าพัน เพื่อไปตีเขมร ยกทัพออกจากค่ายพระพิจิตร เมื่อไปถึงปรากฏว่าทัพของพระราชมนูแตกพ่ายจน
มาถึงทัพหลวง พระนเรศวรถึงกับสั่งประหารพระราชมนูแต่พระเอกาทศรถขอไว้ จึงให้เข้าตีเมืองปัตบองและ
โพธสิ ัตว์จนไดช้ ยั ชนะ เข้าล้อมเมอื งละแวก ๓ เดือนกต็ ไี มไ่ ด้จึงยกทพั กลบั
ปลายปี พ.ศ. 2136 สมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพหลวงไปตีละแวกอีกคร้ัง ครง้ั น้ีมชี ยั ชนะทำพิธีปฐม
กรรมพระสัฏฐาเจ้ากรุงกมั พุชา กวาดต้อนผู้คนมาอยธุ ยา
สงครามในรัชกาลสมเดจ็ พระเจา้ ทรงธรรม
เมื่อถึงรัชกาลนี้เขมรมีพระมหากษัตริย์พระนามว่าสมเด็จพระไชยเชษฐา ทรงย้ายเมืองหลวงจาก
ละแวกไปอยูอ่ ุดมลือไชย ประกาศตนเป็นอสิ ระไมข่ น้ึ กับอยธุ ยา แมอ้ ยธุ ยาจะส่งทพั ไปปราบแต่กไ็ ม่สำเร็จ
สงครามในรชั กาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
เขมรเป็นประเทศราชของอยุธยาในรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวร ต่อมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้
แข็งเมืองขึ้น เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงครองราชย์จึงยกทัพไปตีเขมรจนได้ชัยชนะ ทำให้ศิลปะแบบ
เขมรกลับมาเฟ่ืองฟูอกี คร้ัง เชน่ วัดไชยวฒั นาราม เป็นต้น
สงครามในรัชกาลสมเดจ็ พระอยหู่ วั ทา้ ยสระ
เปน็ รชั กาลสดุ ท้ายที่อยธุ ยาได้ทำสงครามกับเขมร เนอื่ งมาจากเขมรมักชงิ อำนาจกนั ภายในราชวงศ์ซ่ึง
จะมีฝา่ ยหนึ่งไปขอความช่วยเหลือจากญวนและฝา่ ยหนึ่งมาขอความชว่ ยเหลือจากอยธุ ยา มเี จ้านายเขมรคือ
สมเด็จพระศรีธรรมราชาและสมเด็จพระองค์ทองเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
พระองค์ก็ทรงรับไว้โดยให้ประทับที่ตำบลัดค้างคาว ต่อมาอยุธยาจึงสนับสนุนให้สมเด็จพระศรีธรรมราชาไป
ปกครองเขกลับไปครองอำนาจในเขมรอีกครั้ง โดยที่ส่งเจ้าพระยาพลเทพและพระยาราชสุภาไปยังเขมร แต่
สมเด็จพระแก้วฟ้าไม่รับไมตรีของอยธุ ยา เปน็ เหตุให้เขมรกบั อยุธยาต้องทำสงครามกัน อยุธยาได้ชัยชนะคร้ังน้ี
แต่กบ็ อบช้ำอยู่ไม่นอ้ ย แตท่ ำใหเ้ มืองพุทไธมาสมีความสำคญั ในฐานะเมืองท่า
กบฏ
1.ขนุ หลวงพอ่ ง่วั เสดจ็ มาจากสพุ รรณบุรียดึ อำนาจจากสมเดจ็ พระราเมศวร
ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวว่า “ครั้นเถิงศักราช ๗๓๒ จอศก
(พ.ศ. ๑๙๑๓) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจา้ เสด็จมาแต่เมืองสุพรรณบุรี ขึน้ เสวยราชสมบตั ิพระนครศรีอยุธยา
แลทา่ นจงึ ให้สมเดจ็ พระราเมศวรเจ้าเสดจ็ ไปเสวยราชสมบัตเิ มอื งลพบรุ ี”
เกิดขึ้นในพ.ศ. 1913 หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สวรรคตในพ.ศ. ๑๙1๒ พระราชโอรสคือ
สมเดจ็ พระราเมศวรซ่ึงขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระอุปราชครองเมืองหนา้ ด่านทางเหนือ คือ เมืองลพบุรี ได้
เสดจ็ มาครองราชยท์ ่ีอยุธยา แตห่ ลังจากครองราชย์ได้เพียง ๑ ปี พระเจา้ ลุง(พช่ี ายมเหสีของพระเจ้าอู่ทอง) คือ
ขุนหลวงพะงั่ว ก็ได้เสด็จมาจากเมืองสุพรรณบุรี(เมืองหน้าอีก ๑ เมือง) ฝ่ายสมเด็จพระราเมศวรเห็นดังนั้นก็
เกรงพระราชอำนาจ จึงออกมาต้อนรับ เชิญเข้าพระราชวังมอบราชสมบัติให้ แล้วเสด็จไปครองเมืองลพบุรี
ตามเดิม ลกั ษณะสำคัญควรจำ คือ
-ถอื เป็นการยดึ อำนาจชิงราชสมบตั แิ ละกบฏครง้ั แรกของอยุธยา
-สมเดจ็ พระราเมศวรถอื เปน็ กษตั ริย์พระองค์แรกที่ถูกชงิ อำนาจ
-สมยั อยธุ ยามกี ษตั รยิ อ์ ยู่ ๒ พระองค์ท่ถี ูกชิงราชสมบตั แิ ต่ไม่ถูกสำเร็จโทษ คือ สมเด็จพระราเมศวร(ไป
ครองเมืองลพบรุ )ี และสมเดจ็ พระรามราชาธิราช(ไปอยปู่ ทา่ คจู าม) ทั้ง ๒ พระองคเ์ ปน็ กษตั ริย์ในราชวงศ์อูท่ อง
-สมเด็จพระราเมศวรเป็นกษัตริย์อยุธยาพระองค์เดียว ที่มีบทบาทเป็นทั้งผู้ถูกชิงอำนาจและผู้ชิง
อำนาจ ทำใหพ้ ระองค์จึงเปน็ กษัตรยิ ์ทีค่ รองราชย์ ๒ ครัง้
-สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑(ขุนหลวงพะงั่ว) เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ชิงราชสมบัติ และเป็น
พระองค์แรกทีป่ ราบดาภิเษก ปฐมกษตั รยิ ร์ าชวงศส์ พุ รรณภมู ิ
2.สมเด็จพระราเมศวรเสด็จมาจากลพบุรีสำเรจ็ โทษพระเจา้ ทองลนั
ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวว่า “ศักราชได้ ๗๕๐ มะโรงศก
(พ.ศ. ๑๙๓๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวรหนัก แล
เสด็จกลับคืน ครั้นเถิงกลางทางสมเด็จพระบรมราชาเจ้านฤพาน แลจึงเจ้าทองลันพระราชกุมารท่านได้เสวย
ราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาได้ ๗ วัน จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบุรี ขึ้นเสวยร าชสมบัติ
พระนครศรีอยธุ ยา แลท่านจึงให้พฆิ าตเจา้ ทองลันเสีย”
เกิดขึ้นในพ.ศ. 1931 หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี1(ขุนหลวงพะงั่ว) ทำให้
ราชสมบัติตกแกผ่ เู้ ป็นพระราชโอรสคือ พระเจ้าทองลันหรือพระเจ้าทองจันทร์ ซ่งึ ขณะนัน้ ยังทรงมีพระชนมายุ
เพียง ๑๕ พรรษา แตห่ ลงั เหตกุ ารณ์ผ่านไปไดเ้ พียง ๗ วันก็เกดิ การผลัดแผน่ ดินข้ึนอกี คร้ัง เมอ่ื สมเด็จพระราเม
ศวรเสด็จมาจากเมืองลพบุรีนำพระเจ้าทองลันไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ที่วัดโคกพระยา เหตุการณ์ครั้งนี้
ลกั ษณะสำคญั ควรจำ คือ
-ยุวกษัตริยอ์ งค์แรกของอยุธยา คือ พระเจ้าทองลัน
-กษัตริย์อยุธยาที่ครองราชย์ในระยะเวลาสั้นที่สุด คือ พระเจ้าทองลัน ๗ วัน แต่หลักฐานบางแหล่ง
บอกวา่ คอื เจ้าฟ้าไชย ครองราชย์ ๒-๓ วนั
-กษตั รยิ ์อยธุ ยาพระองค์แรกท่ีถูกสำเรจ็ โทษดว้ ยท่อนจันทน์ ณ วัดโคกพระยา คอื สมเด็จพระเจ้าทอง
ลัน ผสู้ งั่ สำเรจ็ โทษ คือ สมเด็จพระราเมศวร
3.เจ้าพระมหาเสนาเชญิ นครอนิ ทร์จากเมอื งสพุ รรณบรุ ีมายดึ อำนาจสมเด็จพระรามราชาธริ าช
ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวว่า “ศักราช ๗๗๑ ฉลูศก (พ.ศ.
๑๙๕๒) สมเด็จพระรามเจ้ามีความพิโรธแกเ่ จ้าเสนาบดี แลท่านให้กมุ เจา้ เสนาบดี ๆ หนีรอดแลขา้ มไปอยู่ฟากป
ท่าคูจามนั้น แลเจ้าเสนาบดีจึงให้ไปเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรี ว่าจะยกเข้ามาเอา
พระนครศรีอยุธยาถวาย ครั้นแลสมเด็จพระอินทราชาเจ้าเสด็จมาเถิงไซร้ จึงเจ้าเสนาบดียกพลเข้าไปปล้นเอา
พระนครศรอี ยธุ ยาได้ จงึ เชิญสมเด็จพระอนิ ทราชาเจา้ ขนึ้ เสวยราชสมบัติ แลทา่ นจงึ ใหส้ มเดจ็ พระยารามเจ้าไป
กินเมืองปทา่ คจู าม”
เกิดขึ้นในพ.ศ.1952 ในรัชกาลของสมเด็จพระรามราชาธิราช เมื่อพระองค์ครองราชย์ครบปีที่ ๑๕ ก็
มีเหตุการณ์ที่นำไปสู่การผลดั แผ่นดินอีกครั้งคือ พระองค์ทรงมีข้อพิพาทกับเจ้ามหาเสนาบดี(คาดว่าน่าจะเปน็
ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทางราชวงศ์สุพรรณภูมิ)จนทำให้เจ้ามหาเสนาบดีหนีไปตั้งหลักที่ปท่าคูจาม จากนั้นไปนัด
หมายกบั เจา้ นครอินทร์(หลานของสมเดจ็ พระบรมราชาธิราชท่ี ๑)ครองเมอื งสุพรรณบุรีใหม้ าชิงราชสมบัติ เม่ือ
ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อย เจ้ามหาเสนาบดีก็ได้นำพรรคพวกกำลังพลของตนเข้ายึดพระราชวังหลวงไว้แล้ว จึง
เชิญเจ้านครอินทร์ข้ึนครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ ๗๐ พรรษา พระนามว่า สมเด็จพระอินทราชาหรือสมเด็จ
พระนครินทราธริ าช ส่วนสมเดจ็ พระรามราชานัน้ กใ็ ห้ไปประทับทปี่ ท่าคจู าม
เหตกุ ารณ์คร้ังน้ลี กั ษณะสำคัญควรจำ คอื
-การยึดอำนาจครั้งนี้ถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์อู่ทองโดยสมบูรณ์ และราชวงศ์สุพรรณภูมิก็ได้อำนาจ
อยา่ งเดด็ ขาด
-สมเดจ็ พระรามราชาเปน็ กษัตริยพ์ ระองค์สดุ ท้ายของราชวงศ์อยู่ทอง
-สมยั อยธุ ยามีกษัตริย์อยู่ ๒ พระองคท์ ีถ่ กู ชิงราชสมบตั ิแต่ไม่ถูกสำเร็จโทษ คอื สมเดจ็ พระราเมศวร(ไป
ครองเมืองลพบุรี) และสมเดจ็ พระรามราชาธิราช(ไปอยู่ปท่าคจู าม) ทงั้ ๒ พระองค์เป็นกษตั รยิ ์ในราชวงศอ์ ทู่ อง
4.เจ้าอ้ายพระยา(เมืองสุพรรณบุร)ี เจ้ายี่พระยา(เมอื งแพรกศรีราชา) ทำยทุ ธหัตถีท่เี ชงิ สะพานป่าถ่าน
ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสรฐิ อักษรนติ ิ์กล่าววา่ “ศักราช ๗๘๖ มะโรงศก (พ.ศ.
๑๙๖๗) สมเด็จพระอินทราชาเจ้าทรงประชวร นฤพาน ครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระยาแลเจ้าญี่พระยาพระราชกุมาร
ท่านชนชา้ งด้วยกัน ณ สะพานป่าถ่าน เถิงพิราลัยท้ัง ๒ พระองค์ที่นัน้ จึงพระราชกุมารเจ้าสามพระยาได้เสวย
ราชสมบัติพระนครอยุ (ธยา ทรงพระ) นามสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า แลท่านจึงให้ก่อพระเจดีย์สอง
พระองค์ สวมที่เจ้าพระยาอ้ายแลเจ้าพระยาญี่ชนช้างด้วยกัน เถิงอนิจภาพตำบลป่าถ่านนั้น ให้ศักราชน้ัน
สถาปนาวัดราชบณุ ”
สรุปได้ว่าในพ.ศ. 1967 หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระนครินทราธิราช ก็เกิดการแย่งชิงราช
สมบัติกันระหว่างพระราชโอรสพระองค์โตและพระองค์ที่ ๒ คือ เจ้าอ้ายพระยา ผู้ครองเมืองสุพรรณบุรี และ
เจ้ายี่พระยา ผู้ครองเมืองแพรกศรีราชา(หรือเมืองสรรค์) เหตุการณ์สำคัญคือ เจ้ายี่พระยายกทัพจากเมือง
สุพรรณบรุ ี พักทพั ทวี่ ัดชัยภูมิ สว่ นเจา้ อ้ายพระยายกมาจากเมืองแพรกศรีราชา พกั ทัพท่ีวดั พลับพลาชัย ตำบล
ป่ามะพร้าว เมื่อทั้งสองยกทัพมาปะกันที่เชิงสะพานป่าถ่าน จนถึงขั้นทำยุทธหัตถีกัน แต่ก็สิ้นพระชนม์ทั้ง ๒
พระองค์ ทำให้เสนาบดีไปเชิญเจ้าสามพระยาที่เมืองชัยนาทมาครองราชย์ หลังจากที่เจ้าสามพระยาได้ข้ึน
ครองราชย์ ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒(เจ้าสามพระยา) พระองค์ทรงสร้างศาสนาสถาน
เป็นที่ระลึกถึงพระเชษฐาทั้ง ๒ พระองค์คือ เจดีย์ ๒ องค์ตรงสะพานป่าถาน เรียกว่า เจดีย์เจ้าอ้ายเจ้ายี่ ส่วน
บริเวณที่ถวายพระเพลิงสรา้ งวดั ราชบูรณะ ลักษณะสำคญั ควรจำ
-การทำยุทธหัตถคี ร้งั น้ีเปน็ ยทุ ธหัตถีคร้ังแรกของอยุธยา คร้งั ที่สองของไทย
-วัดทม่ี คี วามสำคัญกบั เหตุการณค์ รง้ั นี้ คือ วดั ราชบรู ณะ
5.สมเดจ็ พระไชยราชาธริ าชเสดจ็ มาจากพิษณุโลกสำเร็จโทษพระรษั ฎาธิราชทว่ี ดั โคกพระยา
ตามพระราชพงศาวดารกรงุ เก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนติ ิ์กล่าวว่า “ครั้นเถิงศักราช ๘๙๖ มะเมีย
ศก (พ.ศ. ๒๐๗๗) พระราชกมุ ารทา่ นนน้ั เป็นเหตจุ งึ ไดร้ าชสมบัติแกพ่ ระไชยราชาธิราชเจ้า”
ในพ.ศ. 2077 หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔(หน่อพุทธางกูร) ทำให้ราช
สมบัติตกแก่พระราชโอรส คือ สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมารขณะมีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษาเท่านั้น แต่
ครองราชย์ได้เพียง ๕ เดือนเท่านั้น พระไชยราชาธิราชผู้เป็นพระเจ้าอา ขณะนั้นเป็นพระอุปราชครองเมือง
พิษณุโลก ได้กลับมายึดอำนาจพระรัษฎาที่ราชย์เเล้วปลงพระชนม์ สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วดั โคกพระยา
แลว้ ขึ้นเปน็ กษตั รยิ ์เเทน ข้อสำคัญควรจำ
-พระรษั ฎาธริ าช คอื กษัตรยิ อ์ ยธุ ยาทีข่ นึ้ ครองราชยข์ ณะมีพระชนมายนุ ้อยที่สุดคือ ๕ พรรษา
-พระรัษฎาธิราชเป็นยุวกษัตริยอ์ งค์ที่ ๒ ของอยุธยา
6.ทา้ วศรีสดุ าจนั ทร์ตัง้ ขนุ วรวงศาธิราชเป็นกษัตรยิ ์สำเรจ็ โทษพระยอดฟา้
หลังจากสมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้าสวรรคตในพุทธศักราช ๒๐๘๙ พระยอดฟ้าก็ได้ขึ้นครองราชย์
สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงยุวกษัตริย์ พระชนมายุเพียง ๑๑ พรรษาเท่านั้น การ
ครองราชย์ครัง้ น้ีกลับเปน็ เพียงหุ่นเชดิ เรื่องราวทบ่ี ันทกึ ในรชั กาลของพระยอดฟ้านเี้ ต็มไปด้วยเรื่องราวของท้าว
ศรีสดุ าจันทน์และขนุ วรวงศาธิราช เพราะอำนาจท้ังหมดมไิ ด้อย่ใู นมือของพระยอดฟ้าแต่อย่างใด กลับตกอยู่ใน
มือของท้าวศรีสดุ าจันทน์ เม่อื มองถงึ สาแหลกการสบื ราชสมบัติแลว้ ผทู้ มี่ ีสิทธใ์ิ นราชบัลลังกอ์ กี ๑ พระองค์ คือ
พระเฑียรราชา ผู้เป็นอนุชาของสมเด็จพระไชยราชา แต่เนื่องด้วยอำนาจของท้าวศรีสุดาจันทน์นั้นมีมาก
ขุนนางผู้สนับสนุนก็มีไม่น้อย สั่งสมอำนาจมาแต่ครั้งที่สมเด็จพระไชยราชามอบให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน
คราวศึกเมืองเชยี งใหม่ครั้งท่ี ๒ เหตนุ ีเ้ องทำให้พระเฑียรราชาตดั สนิ ใจลาผนวชอยู่ทีว่ ดั ราชประดิษฐาน เพราะ
เกรงภัยทจ่ี ะเกิดข้ึนกับตน เมอื่ เป็นเชน่ นี้แล้วราชสำนักอยุธยากย็ ิ่งเกิดความวุ่นวายมากย่ิงข้ึน หามีผู้ใดท่ีจะทัด
ทานอำนาจของท้าวศรีสุดาจันทน์ได้ บ้านเมืองเกิดความปั่นป่วน มีเหตุอันไม่เป็นมงคลอยู่หลายประการ เมื่อ
เกิดเหตุดงั กลา่ วข้นึ ก็ยิ่งทำใหท้ า้ วศรีสุดาจนั ทร์วติ กว่าจะมสี ิ่งมาทำให้ตนตอ้ งสิ้นวาสนา จึงหาผู้ท่จี ะมาคมุ้ ครอง
ตน โดยได้ลักลอบมีสัมพนั ธ์สวาทกับผู้เฝ้าหอพระดา้ นนอก(พระที่นั่งพิมานรัตยา) ชื่อว่าบุตรพันศรีเทพ ต่อมา
ได้เป็นขุนชินราช ผู้รักษาหอพระด้านใน ทั้งสองมีบุตรด้วยกันจนท้องโตขึ้น จึงเลื่อนยศเป็นขุนวรวงศาธิราช
ตามลำดบั ตอ่ มาไดอ้ ้างแก่ขนุ นางทงั้ ปวงวา่ พระยอดฟ้านั้นยังทรงพระเยาวนน์ ัก ควรจะยกขุนวรวงศาธิราชข้ึน
เป็นพระมหากษัตริย์ และทุกอย่างก็เป็นอย่างที่คิด ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะคัดค้าน ขุนวรวงศาธิราชก็ได้เป็นกษัตริย์
ปกครองตามประสงค์
หลงั จากพระยอดฟ้าครองราชย์ได้เพียง ๒ ปมี ีพระชนมายุ ๑๓ พรรษาเท่าน้ัน กเ็ กิดเรื่องที่น่าเศร้าขึ้น
เมอ่ื ขนุ วรวงศาธิราชสำเรจ็ โทษพระยอดฟ้าเสยี ทวี่ ดั โคกพระยา สว่ นพระอนุชาคือพระศรีศิลป์ มีพระชนมายุ ๗
พรรษานน้ั มิได้ถกู ปลงพระชนม์
7.ขนุ พเิ รนทรเทพกำจัดขุนวรวงศาธริ าชมอบราชสมบตั ิแดพ่ ระเฑยี รราชา
พ.ศ. 2091หลังจากขุนวรวงศาธิราชครองราชย์ได้ ๔๒ วัน ขุนพิเรนเทพ(สมเด็จพระมหาธรรมราชา
ในกาลต่อมา)และพรรคพวก อาทิ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ เป็นต้น ร่วมมือกันกำจัดท้าวศรี
สดุ าจันทร์และขุนวรวงศาธริ าชเสีย โดยมีโอกาสเหมาะเม่ือ สมหุ นายกมาทลู วา่ พบชา้ งเผือกท่ีเมืองลพบุรี จึงได้
นำช้างเผือกมาที่วัดแม่นางปลื้มถงึ วัดซอง(เพนียดช้าง) ทำให้ขุนวรวงศาธิราช ท้าวศรีสุดาจนั ทร์ พระราชโอรส
และพระศรีศิลป์เสด็จพระราชดำเนินไป เมื่อเสด็จถึงคลองสระบัว ขุนพิเรนทรเทพและพรรคพวกได้ออกมา
สังหารทั้งหมดจนสิ้น เหลือเพียงพระศรีศิลป์เพียงพระองค์เดียว นำพระศพไปเสียบประจารที่วัดแร้ง เหลือ
เพยี งพระศรีศลิ ปเ์ พียงพระองค์เดียว เม่ือชิงราชสมบตั ิสำเร็จจึงได้เชิญพระเฑียรราชา ซ่งึ ขณะนั้นผนวชอยู่ท่ีวัด
ราชประดิษฐาน ลาผนวชมาปราบดาภเิ ษกครองราชย์ ขณะน้นั มพี ระชนมายุ ๓๖ พรรษา
8.กบฏพระศรศี ิลป์สมัยพระมหาจักรพรรดิ
ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติก์ ล่าวว่า “ศักราช ๙๒๓ ระกาศก (พ.ศ.
๒๑๐๔) พระศรีศิลป์บวชอยู่วัดมหาธาตุ แล้วหนอี อกไปอยู่ตำบลมว่ งมดแดง แลพระสังฆราชวดั ป่าแก้วให้ฤกษ์
แกพ่ ระศรีศลิ ป์ ใหเ้ ข้ามาเข้าพระราชวัง ณ วัน ๗๑๙ คํา่ ครง้ั นัน้ พระยาสีหราชเดโชเป็นโทษรับพระราชอาชญา
อยู่ แลพระยาสีหราชเดโชจึงให้ไปว่าแก่พระศรีศิลปว์ ่า คร้นั พน้ วันพระแลว้ จะให้ลงพระราชอาชญาฆ่าพระยาสี
หราชเดโชเสีย แลขอใหเ้ รง่ ยกเขา้ มาให้ทนั แต่ในวันพระนี้ แลพระศรีศลิ ป์จงึ ยกเข้ามาแต่ในวัน ๕๑๔๘ คํ่า เพลา
เย็นนั้นมายังกรุง ครั้นรุ่งขึ้นในวันพระนั้น พระศรีศิลป์เข้าพระราชวังได้ ครั้งนั้นได้ พระศรีศิลป์มรณภาพใน
พระราชวงั นัน้ ครัน้ แลรู้ว่าพระสังฆราชป่าแกว้ ให้ฤกษ์แก่พระศรศี ิลป์เป็นแมน่ แล้วไซร้ กใ็ ห้เอาพระสังฆราชป่า
แกว้ ไปฆ่าเสีย”
พระศรีศิลป์เป็นพระราชโอรสองค์หนึ่งของสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระอนุชาของพระยอดฟ้า เม่ือ
ครงั้ มีการล้มลา้ งอำนาจของขุนวรวงศาธริ าชนั้น แม้พระศรีศลิ ป์จะอยู่ในเหตุการณด์ ังกล่าวแต่ก็ไม่ได้ถูกสังหาร
สมเด็จพระมหาจักรพรรดทิ รงดูแลไว้อยา่ งดี ให้บวชเรยี นที่วดั ราชประดษิ ฐาน ก่อกบฏเม่ืออายุ ๑๔ ปี พระมหา
จักรพรรดิก็ทรงเมตตาเลี้ยงดูต่อ เมื่อพ.ศ. 2104 อายุ ๒๐ ปีจึงคุมออกมาให้ผนวชที่วัดมหาธาตุ แต่พระศรี
ศิลป์กห็ นีไปกอ่ กบฎอีกครัง้ โดยพระพนรตั นว์ ัดป่าแกว้ คอยช่วยเหลือ ใหฤ้ กษย์ าม แตก่ ็ถกู กำจัดตายในที่รบโดย
กองทัพของพระราเมศวรและพระมหนิ ทร์
9.กบฏสลุ ต่านเจ้าเมอื งตานี
ตามพระราชพงศาวดารกรงุ เก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติก์ ล่าวว่า “ครั้งนั้นพระยาศรีสุรต่านพระ
ยาตานีมาช่วยการเศิก พระยาตานีนั้น เป็นขบถแลคุมชาวตานีทั้งปวงเข้าในพระราชวัง ครั้นแลเข้าใน
พระราชวังได้เอาช้างเผือกมาขี่ยืนอยู่ณท้องสนาม แล้วจึงลงช้างออกไปณทางตะแลงแกง แลชาวพระนครเอา
พวนขึงไวต้ ่อรบดว้ ยชาวตานี ๆ นน้ั ตายมาก แลพระยาตานนี ั้นลงสำเภาหนไี ปรอด”
ในพุทธศกั ราช ๒๑๐๖ ซ่งึ เป็นช่วงทอ่ี ยุธยาวนุ่ วายจากการทำสงครามช้างเผือกกบั พม่า พระยาตานีศรี
สรุ ยิ ต่าน ฉวยโอกาสยกทัพเรือยกทัพเรือ ๒๐๐ ลำเข้ามาในอยธุ ยา กอ่ กบฏเข้าถึงพระราชวังหลวง ซึ่งขณะน้ัน
พระมหาจักรพรรดอิ ยูท่ ีเ่ กาะมหาพราหมณ์ แต่ท้งั หมดก็กระทำการไมส่ ำเรจ็
10.กบฏญาณพเิ ชียร
ตามพระราชพงศาวดารกรงุ เกา่ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กลา่ วว่า “ศกั ราช ๙๔๓ มะเสง็ ศก (พ.ศ.
๒๑๒๔) ญาณประเชียรเรียนศาสตราคม แลคิดเปน็ ขบถ คนท้ังปวงสมคั รเข้าด้วยมาก แลยกมาจากเมืองลพบุรี
แลยนื ชา้ งอยู่ตำบลหวั ตรี แลบรเทศคนหนึ่งอยู่ในเมอื งนนั้ ยิงปืนออกไปตอ้ งญาณประเชียรตายกับคอช้าง”
เกิดในพุทธศักราช ๒๑๒๔ ตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช นับเป็นกบฎไพร่ครั้ง
เเรกในสมยั อยุธยา ผูก้ อ่ กบฏก็คือ ญาณพเิ ชียรหรือญาณประเชยี รหรือญาณประเชียรเรียนศาสตราคม จากชื่อ
เรยี กน้ี เเสดงว่าเปน็ ผู้ทมี่ คี วามรใู้ นวชิ าอาคมอยมู่ าก เเตก่ ม็ กั เรยี กวา่ ขนุ โกหก ใชอ้ ุบายหลอกชาวบา้ นให้มาเข้า
รว่ มกบั ตนจนมผี ้รู ่วมกอ่ กบฎจำนวนมาก รวมพลทต่ี ำบลบ้านย่ลี น้ ฝา่ ยอยุธยาจึงใหเ้ จา้ พระยาจักรีออกไปปราบ
เเต่กลับพ่ายเเพ้ตายในที่รบในตำบลมหาดไทย ทหารอยุธยยาบางพวกหลบหนี บางพวกไปเข้ากับพวกกบฏ
ฝ่ายญาณพิเชียรเมื่อรวบรวมกำลังพลได้ ๓๐๐๐ คนเเล้ว หวังที่จะไปตั้งมั่นที่เมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองสำคัญ
เเสดงให้เห็นถึงอำนาจของผู้ก่อกบฎครั้งนี้เป็นอย่างดี เม่ือพระมหาธรรมราชาเห็นดังนั้นจึงให้พระยาศรีราช
เดโช เตรียมรบกับพวกบฎ ญาณพิเชียรถูกลอบยิง ณ ตำบลหัวตรี ตายบนคอช้าง ผู้ที่ลอบยิงคือ ชาวอมรวดี
คาดวา่ น่าจะหมายถึงชาวตะวันตก ผู้ที่เข้ารว่ มกับญาณพเิ ชียรจงึ เเตกพ่ายหนไี ป
11.สมเดจ็ พระเจา้ ทรงธรรมยึดอำนาจพระศรเี สาวภาคย์
ในพ.ศ. 2153 หลังจากพระศรีเสาวภาคย์ทรงครองราชย์ได้เพียง ๑ ปี ๒ เดือนเท่านั้น พระเจ้าทรง
ธรรม(พระนามเดิมคือ พระศรศี ิลป์) เป็นพระราชโอรสในสมเดจ็ พระเอกาทศรถ ได้รว่ มมือกับบุตรบุญธรรมคือ
จม่นื ศรีเสารักษ์ ซอ่ งสุมกำลังพลกนั ที่วัดมหาธาตุ บกุ เขา้ พระราชวังหลวงทางประตูมงคลสุนทร นำสมเด็จพระ
ศรเี สาวภาคย์ไปสำเรจ็ โทษดว้ ยท่อนจนั ทนท์ ่ีวดั โคกพระยา
12.กบฏญี่ปุ่นสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
เกิดขึ้นในพ.ศ. 2155 สมัยสมเดจ็ พระเจ้าทรงธรรม ปรากฎในหลักฐานของฮอลันดาวา่ ญปี่ ุน่ ไม่พอใจ
ที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมยึดอำนาจสำเร็จโทษพระศรีเสาวภาคย์ รวมถึงออกญากรมนายไว และทหารอาสา
ญี่ปุ่นก็ถูกกำจัดด้วย พวกญี่ปุ่นในอยุธยา ๒๘๐ คน ไม่พอใจจึงได้ก่อกบฏขึ้น โดยเข้าคุมตัวสมเด็จพระเจ้าทรง
ธรรมไวเ้ พื่อจะเสนอข้อแลกเปลีย่ น คือ ใหส้ ง่ ตวั ขุนนางอยุธยา ๔ คนท่ีมสี ว่ นทำให้ออกญากรมนายไวตาย พระ
เจ้าทรงธรรมก็ทำตาม ชาวญี่ปุ่นจงึ ออกจากอยุธยาแล้วเข้ายึดเมืองเพชรบุรี อยุธยาก็ส่งทัพไปปราบเเละขับไล่
ออกไปได้
13.ออกญากลาโหมศรีสุรยิ วงศ(์ พระเจา้ ปราสาททอง)ยดึ อำนาจพระเชษฐาธิราช
เกดิ ขน้ึ พ.ศ.2173 หลงั จากครองราชย์ได้พยี ง ๔ เดอื นมารดาของออกญากลาโหมศรสี ุริยวงศ์ได้ถึงแก่
กรรม บรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปร่วมงานกันมาก เหตุนี้เองทำให้พระเชษฐาธิราชทรงโกรธ เพราะคิดว่าจะซอ่ ง
สุมกำลังพลก่อกบฏ ด้วยความที่กลัวว่าจะมีผู้มาแย่งชิงราชสมบัติ จึงคิดหาทางกำจัดออกญากลาโหมศรีสุริ
ยวงศ์ โดยเตรียมทหารขึ้นประจำป้อม วางอุบายให้ขุนมหามนตรีไปเรียกออกญากลาโหมศรีสุริยวงศ์เพื่อมาดู
มวย แล้วจะลอบทำร้าย แต่แผนการทั้งหมดนี้กลับล่วงรู้ไปถึงออกยากลาโหมศรีสุริยวงศ์ โดยเจ้าหมื่นสรรเพธ
ภักดเี ปน็ ผู้แอบแจ้งแผนนน้ั เมื่อเป็นเชน่ นแี้ ลว้ ขนุ นางทง้ั หมดที่ไปร่วมงานนั้นก็ตกเปน็ กบฏทง้ั หมด จงึ ไดร้ ว่ มมือ
กันกำจัดพระเชษฐาธริ าช โดยนำไปสำเร็จโทษท่ีวดั โคกพระยา อยู่ในราชสมบตั ิเพียง ๘ เดือน
14.กบฏหวั เมืองปกั ษใ์ ต้
เกดิ ขน้ึ ในรชั กาลของสมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2174
15.พระศรสี ธุ รรมราชาราชชงิ ราชสมบตั ิจากเจา้ ฟา้ ไชย
เกิดขึ้นในพ.ศ. 219๙ เจ้าฟ้าไชยครองราชย์ได้ไม่นาน พระนารายณ์(พระอนุชาของเจ้าฟ้าไชย) ซ่อง
สุมกำลงั พลกับสมเดจ็ พระศรีสุธรรมราชานำสมเดจ็ เจ้าฟ้าไชยไปสำเรจ็ โทษทว่ี ดั โคกพระยา
16. พระนารายณ์ชงิ ราชสมบตั ิพระศรีสธุ รรมราชา
หลงั จากสมเดจ็ พระศรีสธุ รรมราชาได้ขึ้นครองราชย์เปน็ พระมหากษัตรยิ ์ สถาปนาใหพ้ ระนารายณ์เป็น
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แตก่ ็มีเหตทุ ่ตี ้องให้มกี ารแยง่ ชงิ ราชสมบัติอีกครงั้ คือ พ.ศ.2199เม่อื ครองราชย์
ได้ ๒ เดือน สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาหมายจะลักลอบเสพสังวาสกับกรมหลวงโยธาทิพ พระขนิษฐาของ
สมเด็จพระนารายณ์ ทำให้พระนารายณ์ทรงกริ้วและจะชิงราชสมบัติ ทั้ง ๒ ฝ่ายสู้รบกันจนบาดเจ็บแต่พระ
นารายณ์กส็ ามารถสำเร็จโทษพระศรีสุธรรมราชาได้ จากนน้ั กป็ ราบดาภิเษกเปน็ กษตั รยิ ์
17.กบฏพระไตรภูวนาทติ ย์
เกดิ ข้ึนในพ.ศ.2199 รัชกาลของสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช เหตกุ ารณส์ ำคัญ คือ หลังจากที่สมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชยึดอำนาจจากพระศรีสุธรรมราชาเเล้วครองราชย์เป็นกษัตริย์ ก็ได้ให้พระไตรภูวนาทิต
ยวงศ์(หรือพระองค์ทอง)ผู้เป็นพระอนุชา ไปประทับ ณ วังหลัง เเต่ผ่านไปได้เพียง ๒ เดือนก็ได้ร่วมมือกับขุน
นางกอ่ กบฎขน้ึ จนต้องถกู สำเรจ็ โทษไป
๑๘.กบฏแขกมกั กะสนั
เหตุการณ์ก่อนหน้า คือ มีชาวมักกะสันกลุ่มหนึ่งหนีชาวฮอลันดามาจากเกาะเซเลเบส โดยมีผู้นำคือ
เจ้าชายมาการซ์ าร์ มีพรรคพวกอีก ๓๐๐ คนมาอยู่ที่อยุธยา พระเจ้าอยู่หัวนารายณ์ก็ทรงพระราชทานที่ดินให้
พำนกั ต้งั ชุมชนที่ยา่ นคลองตะเคยี น
การก่อกบฏครั้งนี้ปรากฎในหนังสือจดหมายเหตุของฟอร์บัง ว่าพวกมักกะสันเตรียมการก่อความ
วุ่นวายร่วมกับชาวเขมรและชาวจามตรงกับพ.ศ.2199 สาเหตุมาจากแค้นใจชาวฝรั่งเศสในอยุธยา ต้องการ
สำเร็จโทษพระนารายณ์ยกราชสมบัติเจ้าฟ้าอภัยทศ จากนั้นก็ให้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม เริ่มต้นมีการ
ปล่อยข่าวลือว่า “มีมหัศจรรย์ดาวเจ็ดดวงเรยี งกันบนท้องฟา้ เป็นรูปจันทร์ครึ่งซีกล้อมรอบดวงจันทร์” และทำ
การสู้รบกับอยุธยาโดยมีหัวหน้าคือเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ ใช้กำลังพลถึง ๗,๐๐๐ คน ชาวต่างชาติถึง ๔๐ คน
พวกมักกะสันมีอาวุธหลักคือกริซ กระทำการอย่างบ้าคลั่งอยธุ ยาเสียทหารจำนวนมาก รวมถึงเจ้าพระยาวิไชย
เยนทร์ก็เกือบเอาตัวไม่รอด รอดมาได้เพราะกระโดดน้ำหนีไปได้ ต่อมาไปสู้รบที่เมืองธนบุรีคือท่ี ป้อมวิไชย
ประสทิ ธิ์(ป้อมวิชาเยนทร์) ฝ่ายกบฏถูกปราบลงได้
19.พระเพทราชายึดอำนาจพระนารายณ์ทีล่ พบุรี
พ.ศ.2231พระเพทราชายึดอำนาจจากพระนารายณ์เม่ือครัง้ ทรงพระประชวรที่เมืองลพบุรี ตลอดจน
กำจัดผทู้ ีม่ ีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ก็คือ เจา้ ฟา้ น้อย เจ้าฟ้าอภัยทศทว่ี ัด ส่วนโอรสบุญธรรมพระนารายณ์คือ พระปีย์
ถกู ผลักจากชาลาพระทนี่ ง่ั สทุ ธาสวรรค์
20.กบฏเมอื งนครราชสมี าต่อเนอ่ื งถึงนครศรธี รรมราชสมยั พระเพทราชา
กบฏครั้งนี้เกิดขึ้นในรัชกาลของสมเด็จพระเพทราชา ใช้เวลาเนิ่นนานหลายปีกว่าจะปราบกบฏลงได้
คอื ต้ังแตพ่ .ศ. 2232 ถึง2241 สบื เนือ่ งมาจากเจ้าเมืองนครราชสีมาคือพระยายมราช (สงั ข)์ เกิดแข็งเมืองข้ึน
ไม่ยอมรับอำนาจของสมเด็จพระเพทราชา อยุธยาก็ส่งกองทัพไปปราบแม้จะไม่เสยี เมอื ง ก็ทำให้เจ้าพระยายม
ราชหนีไปร่วมกบั พระยารามเดโชเจ้าเมอื งนครศรีธรรมราช อยธุ ยาก็สง่ ทพั ไปตีจนสำเร็จ
21.กบฏธรรมเถียร
เกดิ ข้ึนในรชั กาลของสมเดจ็ พระเพทราชา พ.ศ.๒๒๒๗ เปน็ กบฎไพรค่ รงั้ เเรกในสมัยพระเพทราชาเเละ
ครั้งที่ ๒ ของอยุธยารองจากกบฏญาณพิเชียร เเสดงให้เห็นถึงปัญหาสิทธิธรรมหรือความชอบธรรมในการ
ครองราชย์ของพระองค์ อาจจะมผี ทู้ ไ่ี มพ่ อใจใจการมีอำนาจครง้ั นี้ โดยเหตุการณ์สำคญั ของการก่อกบฎมดี ังนี้
ผู้ก่อกบฎช่อื วา่ ธรรมเสถยี ร นา่ จะมีความใกล้ชิดกับเจ้าฟ้าอภัยทศ ได้อ้างตนวา่ เป็นเจา้ ฟา้ อภัยทศ(พระ
ขวัญ) พระอนชุ าของสมเด็จพระนารายณ์ ทถ่ี ูกพระเพทราชาสำเรจ็ โทษ ณ วดั ซาก ก่อนหนา้ นัน้ โดยใช้วิธีการ
ปลอมตัวติดไฝ น่งั พลายพระยามงคลรัตนาศน์ ชา้ งทรงของพระนารายณ์มาจากเมืองลพบุรซี ่ึงคือเมืองที่เจ้าฟ้า
อภยั ทศถกู ฆ่าตาย เทีย่ วหลอกชาวบา้ นในเขตเมืองนครนายก สระบุรี ลพบุรีให้มาเข้ารว่ มกบั ตน เเสดงให้เห็น
ว่ากำลังส่วนใหญ่ของผู้ก่อกบฎเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา มีอาวุธเพียงเครื่องมือทำไร่นาเช่น มีด จอบ เป็นตน้
เม่อื ถงึ ตำหนกั นครหลวง จงึ เชิญพระพรหม วัดปากคล้องชา้ งเข้าเฝา้ หวังจะให้เป็นกำลังหลอกล่อให้ชาวบ้านมา
เขา้ เรว่ มเพ่มิ เเต่ไมส่ ำเร็จ จากนน้ั จึงเดินทางเข้ามาถงึ ชานเมืองใกล้พเนียดช้าง พระเพทราชาจงึ ใหห้ ลวงสรศักด์ิ
มีตำเเหน่งเป็นพระอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลขณะนั้นออกไปปราบธรรมเสถียร ซึ่งการสู้รบครัง้ น้ี
อยุธยาเตรียมการเป็นอย่างดี ถึงกับต้องอัญเชิญพระเเสงขอพลพ่าย ของพระนเรศวรที่ใช้ฟันพระมหาอปุ ราชา
คราวสงครามยทุ ธหัตถีมาใช้เลยทเี ดยี ว เเต่ก็ไม่ไดใ้ ช้อาวธุ นใ้ี นการสงั หารเเต่อยา่ งใด เพราะมีการกล่าววา่ หลวง
สรศักดิ์ยิงปืนจากปอ้ มมหาชัยถูกธรรมเสถียรที่ยืนช้าง ณ วัดมณฑป(ตามพระราชพงศาวดารบางฉบับกล่าววา่
ตรงทำนบรอ) ต่อมาได้ถกู นำไปประหารชวี ิตทว่ี ดั สีฟัน
22.กบฏบญุ กวา้ ง
มกั เรยี กกันวา่ กบฎลาว เพราะผู้ทก่ี ่อกบฎมีเชอ้ื สายลาว เกดิ ขึน้ ในรชั กาลของสมเด็จพระเพทราชา ตรง
กับพ.ศ.๒๒๓๕ นับเป็นกบฎไพร่ครั้งที่ ๒ ในรัชกาลของพระองค์ เเละเป็นครั้งที่ ๓ ครั้งสุดท้ายในสมัยอยุธยา
เกิดขึ้นที่เมืองนครราชสีมา โดยผู้ที่ก่อกบฎชื่อว่า บุญคว้าง เป็นผู้มีวิชาอาคม มีผู้เข้าร่วม ๒๘ คน เข้ายึดเมือง
นครราชสีมา พระยานครราชสมี าเห็นว่าคงสู้ไม่ได้จึงออกอุบายยุยงให้มาตีอยธุ ยา บญุ ควา้ งจึงยกพลมาที่ลพบุรี
พร้อมกำลังพล ๔,๐๐๐พร้อมท้ังกวาดต้อนผู้คนเพิ่มท่ีเมอื งบวั ชุม ชัยบาดาล ฝ่ายอยุธยาไดส้ ่งพระยาสุรเสนา
พร้อมกำลงั พลอีก ๕,๐๐๐ มาปราบลงได้
23.พระมหาอุปราช(สมเดจ็ พระเจ้าบรมโกศ)ทำสงครามกลางเมืองกับเจา้ ฟา้ อภยั )
ในพ.ศ.2276 หลังจากการสวรรคตของสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั ท้ายสระ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติกัน มี
เหตุมาจาก เจ้าฟ้านเรนทร(กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์)พระโอรสองค์โตของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ที่พระราชบิดา
มอบราชสมบัติให้นั้นทรงไม่รับราชสมบัติและออกผนวช โดยเห็นแก่พระเจ้าอา(เจ้าฟ้าพร)ที่ควรจะได้รับราช
สมบัติอยู่แล้วเพราะทรงเป็นถึงอุปราช ทำให้พระเจ้าอยู่หวั ท้ายสระมอบราชสมบัตใิ หแ้ ก่เจ้าฟา้ อภัย พระโอรส
องค์ถัดมา เป็นเหตุให้เกิดสงครามกลางเมือง เพื่อชิงราชสมบัติระหว่างเจ้าฟ้าพร(พระบัณฑูรน้อย)อนุชาของ
พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระผู้เป็นพระอุปราชและเจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ผู้ที่พระ
เจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงมอบราชสมบัติให้(เจ้าฟ้าอภัยมีผู้สนบั สนุนคือเจ้าฟ้าปรเมศร์พระอนุชา) สงครามจบลง
ด้วยชัยชนะของพระอุปราชเจ้าฟ้าพร นำตัวเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัด
โคกพระยา การทำสงครามกลางเมอื งครั้งนีเ้ ป็นสงครามกลางเมืองครั้งที่ใหญ่ทีส่ ุดในสมัยอยุธยา สูญเสียกำลงั
ทหารมากกวา่ ครง้ั ใดทีผ่ ่านมา สูร้ บกนั อย่างเปิดเผย สรา้ งคา่ ยคปู ระตูหอรบเพยี บพร้อม นานกวา่ ๑ ปี ประดุจ
ศกึ พมา่ มาลอ้ มกรุง นำมาซงึ่ ความออ่ นแอของกำลังทหารของอยุธยาเปน็ อย่างมาก
24.กบฏเจา้ สามกรม
คำว่า เจ้าสามกรม มาจากเจ้านายราชวงศ์ที่ทรงกรม ๓ พระองค์ พระราชโอรสของสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประกอบดว้ ยกรมหม่ืนจิตรสุนทร กรมหม่ืนสุนทรเทพและกรมหมื่นเสพภักดี
พระราชโอรสของพระเจ้าอยู่หวั บรมโกศท่ที รงกรมมี ๔ พระองค์ คือ กรมหม่ืนเทพพิพธิ (หรือพระองค์
เจ้าแขก ต่อมาถูกพระเจ้าเอกทัศน์เนรเทศไปลังกา) กรมหมื่นจิตรสุนทร(หรือพระองค์เจ้ามังคุด) กรมหม่ืน
สนุ ทรเทพ(หรือพระองค์เจ้ารถ) กรมหม่นื เสพภกั ด(ี หรอื พระองคเ์ จา้ ปาน)
กบฏในครั้งนี้เกิดขึ้นในพ.ศ.2301 หลังการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งทั้งสาม
พระองค์ดำเนินการขณะที่ยังไม่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชบิดา โดยประชุมพลวางแผนที่ตำหนัก
ศาลาลวด ฝ่ายพระอุปราชคือพระเจ้าอุทุมพรที่ได้รับราชสมบัติก็เตรียมรับมือโดยประชุมพลที่ตำหนักสวน
กระต่าย ขน้ั ต้นใช้พระราชาคณะ ๕ รปู เกลี้ยกลอ่ มแต่ไมเ่ ป็นผล จึงนำตวั ไปสำเรจ็ โทษท่วี ดั โคกพระยา
บทท่ี ๓
เศรษฐกจิ และสังคมอยธุ ยาสู่เมอื งท่าแห่งอษุ าคเนย์
พระมหากษัตริย์ ความสามัคคีของราษฎร ตลอดจนทำเลทต่ี ้ังท่ีนำมาสู่ปัจจัยท่ีสำคัญนั่นคือ ความม่ัง
คั่งทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างย่ิงการค้าท้ังภายในและภายนอกกับตา่ งประเทศที่นำรายได้มาสู่อยธุ ยาอย่าง
มากมายมหาศาล เป็นเงินทุนในการต่อยอดสร้างศิลปวัฒนธรรมที่งดงาม อาทิ วัดวาอาราม เป็นต้น เมื่อ
กล่าวถึงการค้าของอยุธยาแล้ว หลายคนคงนึกถึงคำว่า “เมืองท่านานาชาติ” อย่างแน่นอน ที่เป็นเช่นนั้น
เพราะว่าอยุธยามีการติดต่อค้าขายกับนานาอารยประเทศทั้งในเอเชียและตะวันตก มีเรือสินค้าเข้ามาจอด
เทียบท่าคา้ ขาย เพราะถือวา่ เปน็ เมอื งทา่ ท่รี วบรวมสินคา้ ชนดิ ตา่ งๆไม่วา่ จะเปน็ ของป่า เครอ่ื งเทศ สนิ ค้าเหลา่ นี้
ล้วนเป็นที่ต้องการของพ่อค้าวานิช โดยเฉพาะพ่อค้าชาวตะวันตกที่เดินทางมาแสนไกลทั้งค้าขายด้วยตนเอง
หรือเอกชนและบรรษัทการค้าของประเทศ ส่งผลให้อยุธยาเป็นเมืองท่านานาชาติในพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓
นน่ั เอง
เศรษฐกิจและการคา้ ของอยุธยา
๑.ปจั จยั ท่สี ง่ เสรมิ ความเจรญิ ทางเศรษฐกิจและการค้าของอยธุ ยา
๑.)ภูมศิ าสตร์สภาพทต่ี ง้ั : อยุธยาตั้งท่รี าบล่มุ เเมน่ ้ำเจา้ พระยาตอนล่าง มเี เม่นำ้ สามสายลอ้ มรอบ คือ
เเม่น้ำเจ้าพระยา เเม่น้ำป่าสัก เเม่น้ำลพบุรี ส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ มีเหมาะสมอย่างยิ่งในการ
ผลิตสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว ดังเห็นได้จากอยุธยามีทุ่งจำนวนมากมาย อาทิ ทุ่งปากกราน ทุ่งลุมพลี ทุ่ง
ภูเขาทอง เป็นต้น จนได้ชื่อว่าเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำเลยทีเดียว และการคมนาคมทางน้ำผ่านแม่น้ำสายสำคัญ
เหล่านี้ การค้าภายในนั้นสามารถควบคุมเส้นทางการค้า เพื่อติดต่อหัวเมืองทางเหนือสำหรับรวบรวมสินค้า
เกษตร ของป่าจากดินเเดนตอนในลำเลียงมาขายที่อยุธยา ส่วนการค้าภายนอกกับต่างประเทศนั้น เรือสินค้า
สามารถแล่นเขา้ มาค้าขายไดส้ ะดวก เน่อื งจากอยธุ ยาอยู่ไม่หา่ งจากอ่าวไทย
๒.)พระมหากษัตริย์อยุธยาไม่กีดกันชาวต่างชาติ : พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงส่งเสริมการค้ากับ
ต่างประเทศ ทรงไมร่ งั เกียจบคุ คลต่างชาตติ ่างภาษา แมว้ า่ ชาวตา่ งชาติโดยเฉพาะชาวตะวันตกจะวัตถุประสงค์
อื่นที่นอกเหนือจากการค้าขายกค็ ือ การเผยแพร่ศาสนา แต่พระองค์ก็มิทรงขัดขวางเหมือนชาติอ่ืน อย่างกรณี
ของญี่ปุ่นที่มิให้ชาวต่างตะวันตกยกเว้น ฮอลันดา เข้าไปค้าขายภายในประเทศได้ เพราะชาติตะวันตกมุ่งที่จะ
เผยแผ่ศาสนาทำให้ชาติเหล่านั้นหนั มาทำการคา้ กับอยธุ ยาเป็นอย่างมากและกษัตรยิ ์อยธุ ยาเองก็ยังให้เสรีภาพ
แก่ราษฎรของพระองค์ในการเลือกนบั ถือศาสนาตามความเชื่อ เพราะถือว่าการมีชาวต่างชาตมิ าต้ังถิ่นฐานเป็น
การมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เเสดงถึงบารมีในการปกครองบ้านเมืองให้เป็นสขุ ซึ่งชาติท่ีค้าขายกับอยธุ ยามา
ยาวนานท่ีสดุ ก็คอื จนี มมี าต้งั แตส่ มัยกรุงสุโขทยั สว่ นชาตติ ะวนั ตกน้นั เข้ามาคา้ ขายคร้ังแรกตรงกับรัชกาลของ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โดยโปรตเุ กสเป็นชาตแิ รกท่ีเข้ามา ส่วนหลักฐานเกี่ยวกับชาวต่างชาตใิ นสมัยอยุธยา
นั้น ปรากฏในบันทึกของชาวตะวันตก พบมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์เพราะอยู่ในช่วงที่การค้าและการ
ตา่ งประเทศเฟื่องฟู อาทิ บนั ทกึ ลาลุเเบร์ชาวฝรงั่ เศส เปน็ ตน้
๓.)พระมหากษัตริย์อยุธยาพระราชทานที่ดินให้ชาวต่างชาติ พระมหากษัตริย์อยุธยาทรง
พระราชทานท่ีดินให้กับชาวตา่ งชาติ สำหรับเปน็ ทีอ่ ยู่อาศยั ทำให้เกดิ ชมุ ชุนชาวตา่ งชาตบิ รเิ วณด้านใตเ้ กาะเมือง
เช่น บ้านโปตุเกส บ้านฮอลันดา บ้านฝรั่งเศส บ้างอังกฤษ บ้านญี่ปุ่น ชุมชนจีน มุสลิม มีศาสนสถานสำหรับ
ประกอบศาสนาได้ เชน่ โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสตเ์ กดิ ขึน้ ครง้ั แรกในประวตั ิศาสตร์ตรงกับสมัยรัชกาลสมเด็จ
พระไชยราชาธิราช โดยชาวโปรตุเกสเพื่อเป็นความดีความชอบจากศึกเมืองเชียงกราน นอกจากนี้แล้วยังมี
โกดงั สำหรับเกบ็ สนิ ค้า เพ่ือปอ้ งกนั สนิ คา้ เสยี หายเนอ่ื งจากพอ่ คา้ ที่มาค้าขายเป็นเวลานานกว่าจะเดนิ ทางกลับ
๔.ประสิทธิภาพการบริหาราชการ : อยุธยามีประสิทธิภาพทางด้านกำลังทหารและรูปแบบการ
ปกครอง จัดการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมีอำนาจเหนือรัฐต่างๆใกล้เคียง ส่งผลต่อความมั่งค่ัง
ของอยุธยาทั้งสิ้น เช่น ประเทศราชทางด้านเหนือเป็นแหล่งผลิตสินค้าประเภทของป่าจากทรัพยากรทาง
ธรรมชาติเพื่อส่งออก หัวเมืองเมืองประเทศแถบชายทะเลเป็นเมืองท่าค้าขาย เป็นต้น หากการปกครองของ
อยุธยาไม่มีประสิทธิภาพเมื่อใดก็จะเป็นเหตุให้หัวเมืองเหล่านั้นไม่ยอมรับในพระราชอำนาจ ไม่ยอมส่งส่วย
บรรณาการมาให้ส่งผลต่อจำนวนสินค้าที่จะส่งออกซึง่ มีปริมาณน้อยลง แตอ่ ยุธยาก็มีนโยบายในการควบคุมหัว
เมืองเหล่านีไ้ ดเ้ ปน็ อย่างดี แม้จะมีบางรชั กาลท่วี นุ่ วายไปบ้างกต็ ามที
๕.นโยบายการค้าของอยุธยา : เน้นการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีโดยเฉพาะจีน ส่วนการส่งทูตไป
ตะวันตกนั้น เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถได้สง่ ทูตไปฮอลันดา และรัชกาลทีส่ ่งทูตไปตะวันตก
มากที่สุดคือ สมัยสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช ส่งทูตไปฝรั่งเศสถึง ๔ ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการจัดกรมเพือ่ ดูเเล
การค้าโดยเฉพาะ เช่น กรมพระคลังสินค้า กรมท่าซ้าย กรมท่าขวา ส่วระบบการค้าที่สำคัญที่สุดก็คือ " ต้ัง
ระบบการคา้ ของหลวงทเี่ เตง่ เรือสำเภาไปขายตา่ งเเดน" มีทง้ั สำเภาหลวงองพระมหากษตั รยิ ์และขนุ นาง
๖.อยธุ ยามีสินค้าทเ่ี ปน็ ที่ต้องการของตลาด เช่น เครื่องเทศ ของปา่ หนงั สตั ว์ ดีบุก เป็นตน้
๒.ลักษณะเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ลักษณะเศษฐกิจของอยุธยานั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับสุโขทัย คือ เศรษฐกิจแบบยังชีพ พึ่งพาจาก
การเกษตร อาศัยแรงงานการผลิตแบบภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นรากฐานของการผลิตเพื่อการค้าในช่วงต่อๆมา
แบ่งออกเปน็ ๒ ลักษณะ ดังนี้
๑.)เกษตรกรรม เนื่องจากปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ที่ดี ส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นท่ี
เอื้ออำนวยต่อการเกษตรของอยุธยาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการผลิตข้าว ซึ่งเพียงพอต่อประชากรในราชธานี
ได้ ส่วนผลผลิตอนื่ ๆก็มีจำพวกของป่า เช่น งาชา้ ง ไม้ฝาง นอแรด นอกจากน้ยี งั มแี ร่ธาตุอย่างดีบุก ซ่ึงมีมากใน
ภาคใต้ เช่น ถลาง ภูเก็ต เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นที่ต้องการของต่างชาติอย่างมาก ด้วยความอุดมสมบูรณ์
ของพื้นที่ตั้งและอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ี ส่งผลทำให้อยุธยาไมจ่ ำเปน็ ทีม่ ีระบบชลประทานเหมือนอย่างสุโขทัย
แต่ที่มีการขุดคลองขึ้นมากมายนั้นก็เป็นไปเพื่อการคมนาคม ส่วนพระมหากษัตริย์ก็ทรงส่งเสริมความเป็น
สริ มิ งคลและสรา้ งขวัญกำลงั ใจให้แก่ราษฎรดว้ ยการจัดพระราชพิธีท่ีสำคัญ เชน่ พระราชพธิ ีจรดพระนังคัลแรก
นาขวัญ พระราชพธิ ีพชื มงคลและพระราชพธิ ีพิรณุ ศาสตร์ เป็นตน้
๒.)การค้า การค้าในช่วงต้นของกรุงศรีอยุธยาเป็นการค้ากับประเทศในทวีปเอเชียโดยเฉพาะกับจีน
ซึ่งป็นการค้าแบบที่เรียกว่า รัฐบรรณาการหรือจิ้มก้อง กษัตริย์และขุนนางจะค้าขายโดยเรือสำเภาเมื่อถึง
รัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ อยุธยาได้เปิดการค้ากับโปรตุเกส ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการค้ากับตะวันตก
เป็นครั้งแรก นับป็นการก้าวเข้าสู่สังคมเมืองท่านานาชาติ รูปแบบการค้าที่สร้างรายได้ให้กับอยุธยาเป็นอย่าง
มากคือ การค้าผูกขาดโดยกรมพระคลังสินค้านั่นเอง โดยการค้าแบบผูกขาดเริ่มต้นขึ้นในสมัยสมเด็จพระ
มหาจกั รพรรดิ ส่วนนัน้ กรมพระคลังสินค้าต้งั ขนึ้ ในสมยั สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง
การค้ากับตะวันตกรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตามที่ปรากฏในบันทึก
ของตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฝรั่งเศสมีการส่งทูตไปฝรั่งเศสถึง ๔ ครั้ง และเริ่มตกต่ำลงหลังจากการขับ
ไล่ชาวฝรงั่ เศสออกจากอยุธยาในสมยั พระเพทราชา เรยี กกนั ว่าการปฏวิ ตั ิสยาม ๒๒๓๑ แม้ในรัชกาลต่อๆมาจะ
มีการฟื้นฟูแต่ก็ไม่รุ่งเรืองเหมือนอย่างเก่า เพราะยุโรปทำสงครามกัน ชาวตะวันตกมาค้าขายอีกครั้งในช่วง
รัตนโกสนิ ทร์
๓.รายไดข้ องอยธุ ยา
๑.สมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ เรียกว่า สมส่วยสัดพัฒนาการขนอนตลาด หรือ สมพัตสรอากร
ขนอนตลาด หรอื ส่วยสาอากร แบ่งเป็น ๓ ประเภทดังน้ี
-อากรขนอน คือ ค่าผา่ นด่าน เป็นประเภทเดียวกบั จงั กอบ มดี ่านขนอนสำหรบั จัดเก็บ
-อากรตลาด คือ การเก็บจากรา้ นค้าและผมู้ าค้าขายในตลาด
-ส่วย มักเรียกกันวา่ การส่งส่วยคอื การนำสิง่ ของ เงินทองหรือของมีค่าตามที่ท้องพระคลังหรอื รฐั บาล
ต้องการมาใหเ้ พือ่ แทนการเกณฑแ์ รงงงาน มีมากในราษฎรแถบหวั เมอื งหา่ งไกล เพราะไม่สะดวกท่จี ะเข้าเกณฑ์
แรงงาน สว่ นใหญ่แลว้ จะเป็นของปา่ ดบี กุ เป็นตน้ และท้องพระคลงั จะนำไปขายอีกที
แบง่ เป็น ๓ ลกั ษณะคือ
เคร่ืองราชบรรณาการ คือ สง่ิ ของเงนิ ทองท่ีได้จากเมืองข้ึนหรือประเทศราช เช่น ตน้ ไม้เงินต้นไม้ทอง
เปน็ ต้น เพื่อแสดงความอ่อนนอ้ ม โดยการสง่ เครอื่ งราชบรรณาการน้ีกำหนดสง่ ๓ ปีตอ่ ๑ ครง้ั
ส่งส่วยแทนแรงงาน คือ การนำเงินหรือสิ่งของมาส่งให้ท้องพระคลังแทนการเกณฑ์แรงงาน สำหรับ
การเกณฑ์แรงงานนน้ั เป็นไปเพ่ือสรา้ งสรรค์ประโยชนใ์ ห้บ้านเมือง ราษฎรก็จะได้รบั การคมุ้ ครองตามสังกัด แต่
มิได้มีการให้ค่าจ้าง โดย ๑ ปีจะมีการเกณฑ์แรงงาน ๖ เดือน ซึ่งการส่งส่วยแทนแรงงานนี้มักจะเป็นราษฎร
ห่างไกล ไม่สะดวกมาเกณฑ์แรงงาน ส่วยใช้เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนเป็นเงิน
รชั ชูปการ
ส่วยทรัพย์มรดก ส่วยประเภทนี้ได้หลังจากผู้ทีร่ ่ำรวย ศักดินาสูง มีทรัพย์สินจำนวนมาก ได้มรณะลง
เงินทองที่มีจะถูกริบให้ทางราชการบางส่วน เหลือให้เพียงพอต่อความจำเป็นในการใช้จ่ายของผู้เป็นทายาท
เทา่ น้นั
๒.สมัยสมเด็จพระนารายณม์ หาราช มกี ารปรบั ปรุงดังน้ี
-อากรค่านา
-ภาษีเรือหรอื จงั กอบเรือ
-จังกอบสนิ ค้า
-อากรสวน
-ฤชา
๓.กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้แบ่งไวด้ ังนี้
๑)ส่วย มักเรียกกันว่าการส่งส่วยคือการนำสิ่งของ เงินทองหรือของมีค่าตามที่ท้องพระคลังหรือ
รัฐบาลต้องการมาให้เพื่อแทนการเกณฑ์แรงงงาน มีมากในราษฎรแถบหัวเมืองห่างไกล เพราะไม่สะดวกที่จะ
เขา้ เกณฑ์แรงงาน สว่ นใหญแ่ ล้วจะเป็นของปา่ ดีบุก เปน็ ต้นและทอ้ งพระคลังจะนำไปขายอีกที
๒) อากร หมายถึง รายได้ที่มาจากการเก็บผลประโยชน์บางส่วนที่ราษฎรประกอบอาชีพจะเป็นเงิน
ทองหรือสิ่งของก็ได้ ตวั อยา่ งอากรจากการทำไร่ ทำนา เชน่ อากรสวน อากรคา่ นา เป็นตน้ หรืออากรจากการ
ได้รับสิทธิจากรัฐบาลให้กระทำหรือประกอบอาชีพ เช่น เก็บของป่า ต้มกลั่นสุรา จับปลาในน้ำ เป็นต้น
ตวั อย่างลกั ษณะอากรทสี่ ำคัญ ดังน้ี
-อากรค่านา เก็บเปน็ เงินคิดอตั ราไรล่ ะ ๑ สลึงต่อปี นอกจากนีย้ ังมกี ารเกบ็ เปน็ หางขา้ วอกี ดว้ ย
-อากรสวน เช่น มะม่วงต้นละ ๑ บาทตอ่ ปี ทเุ รียนตน้ ละ ๒ สลงึ ตอ่ ปี เป็นต้น
๓) จังกอบ เป็นได้ได้จากการเก็บค่าผ่านทางหรือภาษีศุลกากรในปัจจุบัน โดยมีเมืองที่อยู่ปากเเม่น้ำ
เพื่อใช้เป็นด่านขนอน สำหรับจัดเก็บค่าผ่านด่าน เก็บในลักษณะการชักส่วนสินค้า หรือตามอัตราขนาดของ
ยานพาหนะบรรทกุ สนิ ค้า พิกดั ๑ ใน ๑๐ สว่ นหรือ ๑๐ หยบิ ๑ นอกจากนย้ี ังมีการเสียภาษปี ากเรืออีกด้วย
๔) ฤชา เป็นการเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อมีการติดต่อกับทางราชการ เช่น การออกโฉนดที่ดิน เป็นต้น
รายได้จากฤชามาจากการค้ากับต่างประเทศเป็นหลัก และยังมีเงินค่าปรบั ทางการศาลทีเ่ รียกวา่ เงินพินัย คือ
ผแู้ พ้คดีจะต้องถูกปรับเงนิ เข้าหลวงครึ่งหน่งึ
นอกจากทั้ง ๔ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีรายได้ที่สำคัญอย่างมาก คือ รายได้จากกรมพระ
คลังสินค้า เป็นการค้าแบบผูกขาด ชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายจะไม่ชอบกรมพระคลังสินค้าอย่างมาก แต่ก็
สรา้ งรายไดม้ หาศาล ตามลกั ษณะ ดังน้ี
สามารถกำหนดราคาสินค้าได้เองและกำหนดสินค้าต้องหา้ มหรือสินค้าผูกขาด คือ สินคา้ ที่ต้องซ้ือขาย
ผ่านกรมพระคลังสินค้าเท่านั้น สินค้าประเภทนี้มักมีราคาที่สูง รวมทั้งเป็นที่ต้องการของตลาดเพราะหายาก
กรมพระคลังสินค้าจะซ้ือจากราษฎรไว้เพ่ือสร้างกำไร เช่น นอแรด ไม้กฤษณา ไม้ฝาง ไม้จันทน์ ไม้หอม หมาก
สง งาช้าง ข้าว เกลือ ดีบุก ที่สร้างรายได้มากเพราะซื้อมาจากราษฎรในราคาที่ถูก บางอย่างได้มาฟรีจากการ
สง่ สว่ ย แล้วพระคลงั สินค้ากน็ ำไปขายในราคาทส่ี งู อกี อย่างหาซ้อื จากใครไมไ่ ด้ นอกจากกรมพระคลังสินค้า ทำ
ให้มีสิทธิ์ในการเพ่ิมราคา ผู้ซื้อกไ็ ม่มีสิทธิ์ตอ่ รองราคา สินค้าผูกขาดนี้รวมถงึ สินค้าทีช่ าวต่างชาตินำมาขายหาก
สนิ คา้ เพื่อความม่ันคง เชน่ อาวุธยุทโธปกรณ์ คาบศลิ า ปนื ใหญ่ ดนิ ปนื เป็นตน้ ตอ้ งขายให้กรมพระคลังสินค้า
เท่านั้น ถ้าอยุธยาไม่ต้องการให้นำออกไป เพราะเกรงว่าหากขายให้บุคคลอื่น เช่น เจ้านายและขุนนางอาจจะ
ซ่องสุมรวบรวมไว้จนมีอำนาจในการชิงราชสมบัติได้ นอกจากสินค้าขาออกจะขายได้กำไรมากแล้ว สินค้าขา
เข้าก็สร้างกำไรเช่นเดียวกัน คือ สินค้าที่ซื้อมาจากต่างประเทศจำพวกผ้าแดง เครื่องถ้วย น้ำหอม รับซื้อมาใน
ราคาที่ถูก แต่กข็ ายใหร้ าษฎรในราคาท่สี ูงขึน้
สินค้าผูกขาดอยุธยานั้นมิได้เปน็ ชนิดเดียวกันทกุ รัชกาล แต่ขึ้นอยู่กบั นโยบายการค้าว่าค้าขายกับชาติ
ไหน สินค้านั้นมีความต้องการมากเพียงใด ทำให้กษัตริย์อยุธยากำหนดสินค้าผูกขาดต่างกัน เช่น ในยุคเริ่มตั้ง
กรมพระคลงั สินคา้ สมัยพระเจา้ ปราสาททอง จะผกู ขาดสนิ ค้าประเภท ดนิ ประสิว ตะกั่ว ฝาง เป็นตน้
๔.กรมราชการท่ีดแู ลการค้า
๑.กรมพระคลังสินค้า : สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ดูแลโดยเสนาบดี
พระคลัง คือ โกษาธิบดี หน้าที่ดูเเลรายได้ของอาณาจักร ควบคุมการค้าภายในกับภายนอก กิจการ
ต่างประเทศหรือชาวต่างชาติที่เข้ามาทำกิจกรรมใดในอาณาจักรต้องขึ้นกรมน้ี โกษาธิบดีที่ดูแลกรมพระ
คลังสินค้าที่สำคัญในสมัยพระนารายณ์ คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี(ขุนเหล็ก) ระบบการค้าเเบบพระคลังสินคา้
เป็นระบบผูกขาด ที่ทำเพื่อค้าขายกับตะวันตก ทำหน้าที่ผูกขาดสินค้าหายาก เช่น ดินปืน คาบศิลา ปืนใหญ่
ดินปืน งาช้าง หนังกวาง ไม้ฝาง ไม้กฤษณา ทองคำ เงิน ซึ่งห้ามราษฎรซื้อขายกับชาวต่างชาติโดยตรง ต้องซื้อ
กับพระคลังสินค้าเท่านั้น การค้าเเบบนี้ทำกำไรให้อยุธยาอย่างมาก หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกรมพระคลงั สนิ คา้
เชน่ หมตู่ ึกสิบสองท้องพระคลงั ใช้สำหรับเก็บสินค้าต้องห้ามในสมัยอยธุ ยา
๒.กรมท่าซา้ ย ดแู ลการค้ากบั จีน ญ่ีปนุ่ ฮอลนั ดา มีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี(คนจนี )เป็นเจา้ กรม
๓.กรมท่าขวา ดูแลการค้ากับอนิ เดีย ลังกา อาหรับ เปอร์เซยี มลายู ชวา เวยี ดนาม ฝรง่ั เศส อังกฤษ
มีพระยาจุฬาราชมนตรี(ชาวเเขก)เป็นเจ้ากรม สำหรับปฐมจุฬาราชมนตรี คือ เจ้าพระยาบวรราชนายกหรือ
เฉกอะหมดั ตน้ ตระกลู บุนนาค
๕.ประเภทสนิ ค้าของอยธุ ยา
๑.สนิ คา้ สง่ ออก : ส่วนใหญเ่ ป็นสินคา้ ทรพั ยากรจากป่า เช่น ไม้ฝาง ไมส้ ัก กำยาน งาช้าง นอเเรด เขา
สตั ว์ ชะมดเช็ด รังนก ขา้ ว น้ำตาล ทองคำ. ทองเเดง ดีบุก ช่วงอยธุ ยาตอนปลายอยุธยาส่งชา้ งไปขายที่อนิ เดยี
๒.สนิ คา้ นำเข้า : สัง่ เพ่อื อปุ โภคบรโิ ภค เชน่ ผา้ จากอินเดยี อาวุธ บางสว่ นอยุธยาทำหนา้ ที่เปน็ สินค้า
คนกลางรบั มาขาต่อ
สินคา้ จีน(ผ้าไหม ผ้าเเพร รงั นก)
สนิ ค้าญี่ปนุ่ : ทองเเดง เหล็ก หฉู ลาม
สนิ ค้าอนิ เดยี : ผา้ อัญมณี
สินคา้ เปอรเ์ ซีย อาหรับ : น้ำกุหลาบ. ผ้าเยียรยบั . กระจก
สินคา้ ยุโรป : อาวุธปนื ปืนใหญ่ ดินปืน
พัฒนาการด้านสังคม
๑.โครงสร้างชนชั้นทางสงั คม
การแบ่งชนชั้นทางสังคมของอยุธยา ไม่ได้ฝังรากลึกถาวรลงไปสู่ลูกหลานเหมือนระบบวรรณะของ
อินเดยี แตเ่ ป็นไปเพื่อการจดั ระเบยี บในสงั คมเทา่ นนั้ และการเปล่ียนแปลงโครงสร้างทางสังคมของอยุธยาขึ้นก็
อยู่กบั ความรู้ความสามารถ อำนาจ หากไพร่กระทำความดีความชอบก็สามารถเลื่อนจากไพรส่ ่ชู นช้นั อ่ืนๆ เช่น
เป็นขนุ นางได้ และเชน่ เดียวกันหากขนุ นางกระทำความผดิ ก็มสี ทิ ธ์ถิ ูกถอดยศจากขนุ นางสู่ไพร่ได้
การแบ่งชนชั้นในสังคมอยุธยานั้น มีแบบแผนมากขึ้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตรากฎ
พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและตำแหน่งนาทหารหัวเมืองขึ้นในพุทธศักราช ๑๙๙๘ ด้วยการกำหนด
ศักดินา เพื่อเป็นการกำหนดสิทธหิ น้าท่ีความรบั ผิดชอบของบุคคลแต่ละชนชั้น และเป็นแม่บทในการปรบั ไหม
ลงโทษผูก้ ระทำผิดอีกด้วย ซึง่ แบ่งเปน็ ชนชนั้ ปกครองคือ พระมหากษตั ริย์ พระราชวงศแ์ ละขุนนาง ส่วนชนชั้น
ผ้ถู ูกปกครองกค็ อื ไพร่ พ่อคา้ ทาส และผ้ทู ่ีไมถ่ กู จัดว่าเป็นผถู้ กู ปกครองหรือผ้ปู กครองคือพระสงฆน์ ่นั เอง
ชนชนั้ ปกครอง
๑.)พระมหากษัตริย์ สถานะของพระมหากษัตริย์อยุธยานั้น ถือคติสมมติเทพหรือเทวราชา คือ
พระมหากษัตริย์เป็นเทวะหรือเทพเจ้าโดยสมมติ ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮนิ ดู เป็นการอวตานของ
เหลา่ เทพลงมาปกครอง ทีร่ ับอิทธพิ ลมาจากอาณาจักรขอม โดยทข่ี อมเองก็รับมาจากอินเดยี อีกที จึงมีพระราช
พิธีที่ยกย่องการเป็นเทพ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น ฐานะของกษัตริย์ในคติเทวราชาหรือสมมติ
เทพแบง่ ออกเปน็ ๕ ลกั ษณะ ดังน้ี
-พระเจ้าอยู่หัว คอื การเปน็ ผนู้ ำประเทศ
-พระเจ้าแผน่ ดิน คอื การเปน็ เจ้าของท่ดี ินทัง้ ปวงในพระราชอณาจักร มสี ิทธ์ิท่ีจะพระราชทานหรือยึด
จากใครก็ได้ ดังนั้นจงึ มีหน้าที่ท่ีจะอำนวยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดิน เพื่อให้ราษฎรทำการเกษตรได้ผลดี จึง
ก่อให้เกิดพระราชพิธีต่างๆมากมาย เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีพิรุณศาสตร์ พิธีพืชมงคล
เป็นต้น
-เจ้าชีวิต คือมีสถานะเป็นเจ้าของชีวิตของราษฎรทั้งปวง สามารถกำหนดชีวิตชนทั้งปวงได้ และ
ราษฎรเองกต็ ้องเคารพเทดิ ทูน ผใู้ ดจะละเมดิ มิได้
-ธรรมราชา คือ กษัตริย์ผู้คุณธรรม เมตตาธรรม และยุติธรรมในการปกครอง ตัวอย่างหลักธรรมทาง
พระพุทธศาสนาสำหรับกษัตริย์ คือ ทศพิธราชธรรม ราชจรรยานวุ ัตร จักรวรรดวิ ตั รและธรรมมะ ๔ ประการ
-พระมหากษตั ริย์ คือ การเปน็ นักรบหรอื จอมทัพปผู้ยิ่งใหญ่ ปกปอ้ งค้มุ ครองยามมีศึกสงครามและทำ
สงครามขยายอาณาเขตใหก้ วา้ งใหญ่
ดังนั้นพระมหากษัตริย์อยุธยาจึงมีความแตกต่างจากพ่อปกครองลูกของสุโขทัย เพราะอยุธยาเป็น
อาณาจักรที่กว้างใหญ่และกำลังคมมีมากกวา่ ทำให้ไม่สามารถดำรงสถานะเสมือนพ่อปกครองลูกได้ เเต่ก็ยังมี
บางส่วนที่อยุธยานำจากสุโขทัยมาปรับใช้ก็คือแนวคิดธรรมราชา ตามคติของพระพุทธศาสนานั่นเอง แต่
อย่างไรก็ตามบทบาทหนา้ ที่ของพระมหากษัตริย์ทั้ง ๒ แนวคิดนี้ ก็ไม่ได้แตกต่างกันนัก ล้วนมีจุดประสงคท์ ี่จะ
นำความร่มเยน็ มาสอู่ าณาประชาราษฎร์เชน่ เดยี วกนั
๒.) พระราชวงศ์ คือ บุคคลผู้มีเชื้อสายทางเครือญาติใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ มีราชสกุลลดหล่ัน
กันตามการสืบชื้อสาย ส่งไปปกครองยังหัวเมืองสำคัญต่างๆ แต่ภายหลังมีการยกเลิกเมืองลูกหลวง เพราะ
ปัญหาชิงราชบัลลังก์จึงไม่มีการส่งเจ้านายไปปกครอง จะใช้วิธีการทรงกรมควบคุมไพร่พลในเขตราชธานีแทน
เชน่ ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวบรมโกศ มีเจ้าทรงกรมถงึ ๑๓ กรม สมยั อยุธยานั้นมีการจดั ลำดับเชื้อพระ
ราชวงศ์เปน็ ๓ ข้นั คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจา้ และหมอ่ มเจา้
-เจ้าฟา้ คอื พระราชโอรสหรอื พระราชธดิ าของกษตั ริยท์ ่ีประสูตจิ ากพระมเหสี
-พระองคเ์ จ้า คอื พระราชโอรสหรือพระราชธดิ าของกษัตรยิ ์ท่ีประสูตจิ ากสนม หรอื เปน็ พระโอรสธิดา
ท่มี พี ระชนกและชนนีเป็นเจ้าฟา้ ทงั้ ๒
-หม่อมเจ้า คอื พระราชโอรสหรอื พระราชธดิ าของเจา้ ฟ้าหรอื พระองค์เจ้า
๓.) ขุนนาง คือ ผู้ที่รับราชการ สนองพระราโชบายของพระมหากษัตริย์ มีบทบาทในการบริหาร
ราชการตำแหน่งตา่ งๆ ทัง้ ภายในราชธานแี ละหัวเมอื ง ฐานะของขุนนางนัน้ ขนึ้ อยู่กบั หลักเกณฑ์ดังน้ี
-ยศหรือบรรดาศกั ด์ิ คอื ลำดับชนั้ ขุนนาง ได้แก่ เจา้ พระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมนื่ พัน
-ราชทินนาม คอื ชอื่ พระราชทานท่สี อดคลอ้ งกับตำแหน่ง ได้แก่ ยมราช สหี ราชเดโช สรุ สหี ์
-ตำแหนง่ คือ หน้าทข่ี องงาน ไดแ้ ก่ สมุหนายก สมุหกลาโหม เสนาบดี
-ศกั ดินา คอื เกณฑก์ ำหนดกรรมสิทธทิ์ ี่นาตามยศ
ชนชั้นผูถ้ ูกปกครอง
๑.)ไพร่ คือ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มีศักดินา ๒๕ ไร่ ไพร่ชายอายุ ๑๘-๖๐ ปีต้องถูกเกณฑ์
แรงงานทงั้ หมด ๖ เดอื นต่อปี เข้าเดอื นเวน้ เดอื นหรอื อาจจะส่งส่วยแทนก็ได้
ไพร่นั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ ไพร่หลวง(ขึ้นตรงตอ่ พระมหากษตั ริย์ มอบหมายให้ขุนนางดแู ล
และไพร่หลวงที่หาสิ่งของมาให้ราชการแทนการเกณฑ์แรงงานจะเรยี กว่า ไพร่ส่วย) และไพร่สม(ตามสังกัดมูล
นาย) การจะพ้นจากการเกณฑ์แรงงานนั้นต้องมีอายุครบ ๖๐ ปีหากมีสงครามอาจเป็น ๗๐ ปีหรือมีบุตรรับ
ราชการ ๓ คน การที่รับราชการตามสังกัดมูลนาย เป็นไปเพื่อจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและถูกจำกดั
สิทธิ์ในการย้ายที่อยู่ โดยสัสดีหรือกรมสรุ ัสวดีเป็นผู้จัดทำสารบัญชี แต่การเป็นไพรไ่ ม่ไดฝ้ ังรากลึกลงสายเลอื ด
ไพร่ทุกคนสามารถเลื่อนเป็นขุนนางได้ หากมีความชอบ หรือบวชเป็นภิกษุเพื่อให้พ้นจากการเกณฑ์แรงงาน
แมก้ ระท่งั การขายตัวเปน็ ทาสรับใช้ตามบ้านขนุ นางก็มเี ชน่ กัน
๒.)พ่อค้า คือ ชาวต่างชาติที่มาค้าขายกับอยุธยามีมากมายทั้งชาวตะวันตก เช่น ฮอลันดา โปรตุเกส
อังกฤษ ฮอลันดา สเปน ฝร่งั เศส เปน็ ต้น ชาวตะวันออกเชน่ จีน ริวกวิ แขก ญีป่ ุน่ เป็นตน้ พระมหากษัตริย์ก็จะ
พระราชทานที่ดินให้อยู่เป็นชุมชน บริเวณนอกเกาะเมืองแต่เมื่อเฉกอะหมัดได้รับการแต่งตั้งให้เป็น
จุฬาราชมนตรี(จุฬาราชมนตรีคนแรกที่ดูแลกรมท่าขวา ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง) จึงได้มาอาศัยในเกาะ
เมอื ง แถบยา่ นป่าตอง คือ บา้ นทา่ กายี สามารถประกอบอาชีพ ประกอบศาสนาได้ มีหวั หนา้ หมู่บ้านชาติต่างๆ
ดูแล ขึ้นกับกรมท่า คือกรมท่าขวาและกรมท่าซ้าย นอกจากนี้ยังมีชาวพื้นเมือง เช่น ชาวมอญซึ่งมีการอพยพ
เข้ามาในสมยั สมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จพระนารายณ์
สมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั บรมโกศ ตั้งชุมชุนท่ีปากลดั หรือปากนำ้ สามโคก(ปทมุ ธานี)
ชาวมอญคนสำคัญคือ พระยาเกียรติและพระยาราม ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชามีส่วนในการ
ประกาศอิสรภาพ จงึ ให้ตัง้ ชมุ ชนและสรา้ งวัดสำคัญคอื วัดขนุ แสน คาดวา่ เปน็ ต้นราชวงศจ์ ักรี และยงั มชาวลาว
เขมรทถี่ กู กวาดต้อนเข้ามาอกี ดว้ ย
๓.)ทาส คือ ผู้มีฐานะต่ำสุดในสังคม เป็นคนกลุ่มน้อยที่มีในอยธุ ยา มีศักดินา ๕ ไร่ เป็นทรัพย์สินของ
นายเงิน มสี ิทธขิ์ ายหรือลงโทษได้ แตห่ า้ มทำให้ตาย ทาสมี ๗ ประเภทตามไดม้ า คือ
-ทาสสินไถ่
-ทาสในเรือนเบ้ีย
-ทาสที่บิดามารดายกให้ลกู ของตน
-ทาสทา่ นให้
-ทาสท่ีได้มาโดยการชว่ ยเหลือใหพ้ น้ จากโทษปรับ
-ทาสท่ีได้มาโดยการชว่ ยให้พ้นจากความอดอยาก
-ทาสเชลย
การพ้นจากการเปน็ ทาสมดี ังนี้ ออกบวช เป็นเมียนายเงิน ไปสงครามแลว้ รอดกลับมา ฟอ้ งว่านายเงินเป็นกบฏ
และนำเงินมาไถต่ วั
ผู้ที่ไมถ่ กู จดั วา่ เปน็ ผู้ถกู ปกครองหรือผปู้ กครอง
๑.)พระสงฆ์ คือ นกั บวชสบื ทอดพระพทุ ธศาสนา เป็นผ้ทู ี่บุคคลทกุ ชนชน้ั เคารพ
๒.วิถีชวี ิตในอยุธยา
๑.)การศาสนา สังคมอยุธยามีศูนย์กลางอยู่ที่วัด ทุกชนชั้นทางสังคมตั้งแต่พระมหากษัตริย์ถึงไพร่ทาส มี
ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทำให้ทกุ กิจกรรมทุกวถิ ีชวี ติ ลว้ นมคี วามสัมพันธ์กับวัดอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ วัด
จึงเปน็ แหล่งรวบรวมศิลปกรรม วัฒนธรรมของชาติ ดงั เห็นได้จากภายในเกาะเมืองของอยธุ ยานั้นมวี ดั ถงึ ๑๖๘
วัด มี ๔๗ วัดที่เป็นพระอารามหลวง วัดที่สำคัญที่สุดของอยุธยาสร้างในสมยั สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็น
วัดประจำพระราชวงั เทียบกับวัดพระแก้ว คือ วัดพระศรีสรรเพชญ์นั่นเอง คติการสร้างวัดนั้นเปน็ ไปตามความ
เล่อื มใสในพระพทุ ธศาสนา เพ่อื เป็นทอี่ าศยั ของพระสงฆ์ รวมถึงสร้างถวายแด่บุพพการี พระมหากษัตริย์ก็นิยม
สรา้ งวดั ทีม่ ีความโอ่อา่ วจิ ิตรงดงาม เพ่อื แสดงบญุ ญาธกิ ารของพระองค์ เช่น สมเดจ็ พระรามาธิบดีท่ี ๑ สร้างวัด
พทุ ไธสวรรค์ สมเดจ็ พระเพทราชา สร้างวดั บรมพุทธาราม เปน็ ต้น นอกจากพระมหากษัตริยแ์ ล้วขุนนางก็นิยม
สรา้ งวดั ประจำตระกลู อีกดว้ ย ทำใหว้ ัดในอยุธยาน้ันมมี ากมายจนมีคนกลา่ วกนั ว่า สร้างวดั ให้ลกู เลน่ เลยทเี ดียว
พระพทุ ธศาสนากบั พระมหากษตั ริย์และชนชน้ั ปกครอง สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถเป็นกษัตริย์ผู้ท่ี
มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามากที่สุด เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของอยุธยาที่ผนวชขณะ
ครองราชย์ ทรงผนวชทว่ี ัดจุฬามณี เมอื งพิษณโุ ลกถึง ๘ เดอื น นอกจากนีก้ ษตั รยิ ์ทุกพระองค์ยังมคี วามเลื่อมใส
ในพระพุทธศาสนาสะท้อนผ่านการสร้างวัดที่สำคัญหลายวัด ทำนุบำรุงกิจการศาสนาให้รุ่งเรือง เช่น สมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ส่งสมณทูตไปสืบทอดพระพุทธศาสนาที่ลังกา จนเกิดนิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์
เป็นตน้
วัดกับวีถีชีวิตประชาชนทั่วไปวัดยังมีประโยชน์ที่สัมพันธก์ ับวิถีชีวิตมากมาย เช่น เป็นที่เรียนหนังสอื
ของเด็กชาย เรียนรู้สรรพวิชาต่างๆโดยมีพระสงฆ์เป็นผู้อบรมสั่งสอน เป็นสถานพยาบาลเพราะภายในวัดมี
พระสงฆ์ผูร้ ใู้ นด้านตำรายารกั ษาโรค และเป็นศนู ย์กลางทพี่ บปะของชมุ ชนทำกจิ กรรมต่างๆ อีกดว้ ย
อยุธยากับศาสนาอื่นๆ ในกรุงศรีอยุธยาน้ันมีหลายศาสนา ท่ีเข้ามามีบทบาทในสังคมอยุธยา
เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู เป็นผลมาจากการค้าขายกับต่างประเทศ แต่ผู้คนต่างศาสนาใน
อยธุ ยากย็ ังคงอยรู่ ่วมกนั ไดอ้ ยา่ งสันติ
เพราะพระมหากษัตริย์อยุธยาให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ประชาชนของพระองค์เอง ดังเช่น
สมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกนับถือ
ศาสนา ส่วนชาติตะวันตกที่เข้ามาค้าขายพระองค์ก็ไม่ทรงกีดกัน ให้เผยเเผ่ศาสนาตลอดจนประกอบพิธีกรรม
ทางศาสนาได้อย่างอิสระ นอกจากนี้แล้วยังพระราชทานที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและสร้างศาสนสถานได้
อย่างเช่นปรากฏหลักฐานว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชพระราชทานที่ดินเพื่อปูนบำเหน็จให้กับชาวโปรตุเกส
คราวช่วยรบกับพม่าที่เมืองเชียงกราน มีการสร้างโบสถ์คริสต์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นอกจากโบสถ์คริสต์
อยา่ งโบสถเ์ ซนต์ปอล นกิ ายโดมนิ ิกนั แล้วนีย้ ังมีศาสนสถานอ่นื ๆ คอื ศาลเจ้าของจีน สุเหรา่ ของชาวมุสลิม เป็น
ตน้
๒.)การศึกษา ศูนย์กลางการศึกษาของอยุธยาก็คือวัด เป็นแหล่งเรียนรู้สรรพวิชาต่างๆ มีผู้สอนคือพระสงฆ์
ส่วนมากแล้วผู้ที่ได้เรียนหนังสือก็คือเด็กผู้ชาย โดยใช้วิธีการบวชเรียน ส่วนเด็กผู้หญิงนั้นไม่นิยมเรียนหนังสือ
แตจ่ ะเรียนรงู้ านบา้ นงานเรือน เย็บปกั ถักรอ้ ยเป็นหลกั แตถ่ า้ เป็นลูกขนุ นางผดู้ ีมีสกุลเดก็ ผหู้ ญิงน้นั ก็มีโอกาสจะ
ไดเ้ รียนอยู่บ้าง (หลกั ฐานตา่ งๆทีบ่ ันทกึ เรือ่ งราวเหลา่ นีจ้ ะเปน็ บนั ทึกของชาวต่างชาติ เชน่ โยสต์ เซาเตน็ พอ่ ค้า
ฮอลันดา) ต่อมาชาวตะวันตกเข้ามาค้าขายมากขึ้นการศึกษาก็ขยายตัวมากเช่นกัน ซึ่งเป็นผลจากการเผยเเผ่
ศาสนาคริสต์ ชาวฝร่งั เศสไดต้ ัง้ รร สอนศาสนา ภาษา ให้เดก็ ท่ีเข้ารีต สมเด็จพระนารายณ์ก็ได้ใหพ้ ระโหราธิบดี
แต่หนังสือจินดามณขี ึ้นเป็นหนงั สือแบบเรียนเล่มแรกของอยุธยา เพื่อให้เด็กมีความรูไ้ ม่เขา้ รีตอยา่ งฝร่ัง ต่อมา
ในสมัยรัชกาลท่ี ๕ ได้เปลยี่ นเป็น มลู บทบรรพกจิ
การศกึ ษาของเด็กในสมัยสมเดจ็ พระนารายณ์มีมากขึ้น และไม่น่าเชื่อว่าสมยั สมเด็จพระนารายณ์จะมี
การสง่ นกั เรียนไปเรยี นต่างประเทศดว้ ย โดยมีผู้เขียนหนังสอื ประวตั ิศาสตรไ์ ทยกลา่ ววา่
“สมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับฝรั่งเศสและได้ส่งนักเรียนไทยไปเรียนที่
ฝรั่งเศสถึง ๓ รนุ่ ดว้ ยกัน คอื
๑.พ.ศ.๒๒๒๗ ส่งนกั เรยี นไทยไป ๔ คนพร้อมกับบาทหลวงวาเชค เพอื่ ไปเรยี นวิชาชา่ ง
๒.พ.ศ.๒๒๒๙ ส่งนกั เรียนไทยไป ๑๒ คน โดยฝากไปกบั คณะราชทูต เดอโซมองต์
๓.พ.ศ.๒๒๓๐ ส่งนักเรียนไทยไป ๕ คน โดยฝากไปกับคณะราชทูต ลาลูแบร์ ทั้งหมดได้เข้าศึกษาที่
มหาวิทยาลัย หลุยสเ์ ลอกรงั ”
๓.)บ้านเรือน ชาวอยุธยาสร้างบ้านที่ทำมาจากไม้ มีลักษณะชั้นเดียวแต่ยกใต้ถุนสูง เนื่องมาจากปัจจัยทาง
ภมู ิศาสตร์พน้ื ทีร่ าบลุม่ แม่น้ำ พอถงึ ฤดนู ้ำหลากน้ำก็จะทว่ ม จงึ สรา้ งบ้านยกใต้ถนุ สงู เพื่อป้องกนั น้ำท่วม ถ้าเป็น
บ้าน ขุนนางร่ำรวยจะสร้างบ้านจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก เรียกว่าเรือนเครื่องสับ สร้างอย่างกว้างขวาง
ใหญ่โต ประดับตกแตง่ ด้วยเคร่ืองถ้วยหรือผ้าแพรราคาสูงจากตา่ งประเทศ แต่ถ้าเป็นบ้านราษฎรท่ัวไปจะสร้าง
ด้วยไม้ไผ่ธรรมดาเรียกว่าเรือนเครื่องผูก ที่นิยมสร้างด้วยไม้เพราะมีการห้ามสร้างบ้านด้วยอิฐ แม้แต่บ้าน
ชาวต่างชาติ หากจะสร้างก็ต้องขออนุญาต ตัวอย่างบา้ นชาวต่างชาติท่ีสร้างด้วยอิฐ เช่น บ้านวิไชเยนต์ รวมถึง
บริษัทการคา้ ของตา่ งชาตอิ ย่าง VOC ของฮอลันดา
๔.)การเเต่งงานระหว่างชาวต่างชาติกับชาวอยุธยาอยุธยาได้ชื่อว่าเป็นเมืองท่านานาชาติ มีชาวต่างชาติเข้า
มาอยุธยาอย่างมากมายไม่ขาดสายประมาณ ๔๐ ชาติและอยู่ในอยุธยาเป็นเวลานาน บางครั้งก็ปักหลักอยู่ท่ี
อยุธยาเป็นการถาวร มีการแต่งงานได้อิสระ ทำให้อยุธยามีลูกครึ่งอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะโปรตุเกสที่มี
นโยบายอาศัยอยูก่ บั คนพ้ืนเมือง
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
๑.ความสัมพันธ์กับประเทศในทวปี เอเชียสมัยอยธุ ยา
๑.)ความสัมพันธ์กบั อนิ เดยี เเละมุสลิม
อินเดียเเละรฐั ในตะวนั ออกกลาง คนไทยเรียกวา่ " เเขก" เเบง่ กลุม่ ตามเช้ือชาติ ศาสนา คือ
-เเขกพราหมณ์ คือผูน้ ับถือศาสนาพราหมณ์ มบี ทบาททางดา้ นวฒั นธรรม การคา้ เเต่ในอยธุ ยาเหลอื
อทิ ธิพลเฉพาะในราชสำนกั
-เเขกมัวร์หรอื เเขกเทศ : คือ ผ้นู บั ถอื ศาสนาอิสลาม เรยี กวา่ ชาวมสุ ลิมจากตะวนั ออกกลาง คอื
อินเดีย เปอร์เซยี อาหรับ ตรุ กี มีบทบาททางการค้าระหว่างรฐั ร่ำรวย บนั ทกึ คณะทตู ของกษัตรยิ ์สุลยั มาน
เเละ เอกสารลาลูเเบร์ กล่าววา่ "พ่อค้าเปอรเ์ ซยี อาหรับ เป็นขนุ นางทีม่ บี ทบาทสำคัญ ท้ังการเมือง การค้า
โดยเฉพาะช่วงศตวรรษท่ี ๒๒-๒๓ นน่ั คือ ตระกูลบนุ นาค"
นอกจากน้ยี ังมเี เขกกลุ่มอื่นๆ คอื เเขกมลายู เเขกมักกะสัน(หมูเ่ กาะในอนิ โดนเี ซีย ) เเขกจาม(จาก
จามปา) พวกนี้เป็นพ่อค้ารายย่อย เกษตรกรที่มารบั ราชการ คือ กลมุ่ ท่ีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
สินคา้ ทพี่ ่อค้าอินเดยี และมุสลิมนำมาขาย คือ ผ้าชนดิ ตา่ งๆ
กรมราชการท่ดี ูแลการคา้ กับอนิ เดียและมสุ ลิม คือ กรมท่าขวา มีพระยาจฬุ าราชมนตรเี ป็นเจา้ กรม
ปฐมจฬุ าราชมนตรี คือ เจา้ พระยาบวรราชนายกหรือเฉกอะหมดั ื ตน้ ตระกูลบนุ นาค นอกจากนี้ชาวอนิ เดยี ละ
มสุ ลิม ยังมีบทบาทในกรมพระคลัง กรมท่า เพ่ือค้าขายกบั ชาวมุสลิม สมยั ของสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช
พ.ศ.๒๒๒๕ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไดส้ ่งราชทูตไปจกั รวรรดิเปอร์เซยี ฟอลคอลกล่าวว่า
ราชทตู จากเปอร์เซียพยายามเกล้ียกล่อมใหน้ บั ถือศาสนาอสิ ลาม เช่นเดียวกบั ฝร่งั เศสพยายามเกลีย้ กล่อมให้
พระนารายณ์นบั ถือศาสนาคริสต์ แตท่ งั้ ๒ ก็ไม่ประสบผลสำเรจ็
การคา้ กับมสุ ลิมในสมยั สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตกต่ำลงมาก เพราะฟอลคอลกำจัดอิทธพิ ล
มสุ ลิม
๒.)ความสัมพนั ธ์กบั จนี
ไทยคา้ ขายกบั จีนมาตงั้ เเต่สมัยสโุ ขทยั จนถึงอยธุ ยาก็ยงั ค้าขายกับจีนอยู่ ในรูปเเเบบ" รฐั บรรณาการ
หรือ จิ้มก้อง " เเม้ว่าจีนจะถือว่าประเทศที่ไปค้าขายด้วยเป็นเมืองขึ้น เเต่ประเทศเหล่านั้นก็ไม่เดือดร้อน
เนื่องจากได้ผลประโยชน์มาก เพราะสินค้าที่อยุธยาต้องการขายเเละซื้อจากจีนนั้นมีจำนวนมาก ทั้งนำมาขาย
ให้อยุธยาเองเเละให้ต่างชาติ ดังนั้นการถวายบรรณาการให้จักรพรรดิฮ่องเต้ เพื่อขอให้อำนวยความสะดวกให้
เรือสินค้าอยุธยา สินค้าที่อยุธยานำไปขายจีน คือ ข้าว ของป่า งาช้าง ไม้ฝาง รังนก ขนนกยูง ไม้จันทน์ ไม้
กฤษณา กำยาน ส่วนที่ไทยซ้ือกับจนี คือ ผ้าไหม ผ้าเเพร เครื่องลายคราม การไปติดต่อกับจีนนั้นคา่ ใช้จ่ายจีน
จะออกให้ ขอนุญาตให้นำสินค้าออกไปขาย โดยไม่เสียภาษี อยุธยาติดต่อกับจีนในฐานะเมืองในอารักขา ส่ง
บรรณาการ ๓ ปีตอ่ ครง้ั
▪คนจนี ท่ีมาอย่อู ยธุ ยามีความใกล้ชดิ เปรียบเสมอื นพีน่ อ้ ง ไม่หา่ งไกลเหมือนชาตอิ นื่ ๆ ได้รับสทิ ธ์ติ ่างๆ
มากกว่าชาตอิ น่ื ๆเชน่ กนั
▪ ในชว่ งตน้ กรุงศรอี ยุธยาไดค้ ้าขายกบั จีนในราชวงศ์หมิง
กษัตริย์อยุธยาที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมากที่สุด คือ สมเด็จพระนครินทราธิราช เมื่อครั้งยัง
ครองเมืองสุพรรณบุรี เคยเสด็จไปเมืองจีน เมื่อพระองค์ครองราชย์การค้ากับจีนก็รุ่งเรืองอย่างมาก
ศิลปวฒั นธรรมแบบจนี กถ็ กู นำมาใช้ท่อี ยธุ ยา ฟ้นื ฟกู ารทำเครอื่ งสังคโลกอกี คร้งั เพื่อส่งออกไปขายยงั รฐั ต่างๆ
▪สมัยพระเจ้าปราสาทอง ตั้งกรมพระคลังสินค้า จัดเรือสำเภาไปขายยังต่างประเทศก็จ้างพนักงาน
จีนม่กมายประจำเรือ
▪ชาวจีนคนสำคัญในสมัยพระนารายณ์ ได้รับการเเต่งตั้งเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ ตำเเหน่งหัวหน้า
จัดการคา้ ขายทางทะเลสนิ ค้าท่ขี ายให้ญปี่ ุ่น คอื ไมฝ้ าง เครอื่ งเทศ หนังกวาง หนังปลากะเบน หนงั ฉลาม ตะก่ัว
ดบี กุ เเละสนิ คา้ ทอี่ ยุธยาซื้อจากญ่ีป่นุ คอื ทองเเดง ฉากญ่ปี นุ่ ผา้ เเพร ดาบ
▪ กรมราชการทีด่ ูแลการคา้ กับจีน คอื กรมท่าซา้ ย มีพระยาโชฎกึ ราชเศรษฐเี ปน็ เจา้ กรม
๓.)ความสัมพนั ธก์ บั ญี่ป่นุ
อยธุ ยาค้าขายกบั จนี มาหลายรัชกาล มีการสง่ สำเภาไปขายทญ่ี ปี่ นุ่ เชน่ ในรชั กาลสมเด็จพระมหา
จักรพรรดิ
อยธุ ยาเปิดความสัมพนั ธ์ทางการทูตกบั ญป่ี ่นุ ครั้งเเรกในพ.ศ.๒๑๔๙ ตรงกบั สมยั ของสมเดจ็ พระ
เอกาทศรถเเละโชกุนอเิ ยยาสุ ตระกลู โทะกงุ ะวะของญ่ีปนุ่ โดยญปี่ ุ่นถวายสมเด็จพระเอกาทศรถ ๒ ฉบับ ฉบับ
ท่ี ๒ ในพ.ศ.๒๑๕๑ อยุธยาจงึ เเตง่ ทูตไปญี่ปนุ่
สมัยสมเด็จพระเจา้ ทรงธรรม จากหลักฐานของฮอลนั ดา กลา่ วถงึ ญปี่ ุ่นก่อจลาจลว่า หลงั จากพระ
เจ้าทรงธรรมสำเร็จโทษพระศรีเสาวภาคย์เเละออกญากรมนายไว ทหารอาสาญ่ปี ุ่น ทำใหญ่พวกญ่ปี ุ่นไม่พอใจ
จงึ เขา้ จบั ตัวพระเจ้าทรงธรรม เเต่ตกลงกนั ได้ จากนั้นญป่ี ุ่นเขา้ ยึดเพชรบรุ ี อยุธยากส็ ่งทัพไปปราบเเละขบั ไล่
ออกไป
พ.ศ.๒๑๖๖ เขมรกอ่ กบฏ ญป่ี ุ่นเขา้ ไปเเทรกเเทรง พระเจ้าทรงธรรมก็มีสาสน์ ไปยงั โชกุน ใหห้ า้ ม
ปรามญีป่ ่นุ ไม่ให้เขา้ ยุ่ง โชกนุ กใ็ หอ้ ยุธยาจดั การได้
ออกญาศรีวรวงศ์(ออกญากลาโหมศรีสุริยวงศ์) ชกั ชวนให้ออกญาเสนาภิมขุ (ญามาดะ นางามาซา)
สนับสนนุ พระเชษฐาธริ าช(โอรสของพระเจา้ ทรงธรรม)ขน้ึ ครองราชย์ สำเร็จโทษพระศรศี ิลป์(อนชุ าของพระเจา้
ทรงธรรม) ตอ่ มาได้ไม่นานออกญากลาโหม สำเรจ็ โทษพระเชษฐาธริ าชเเล้วสถาปนาพระอาทิตยวงศ์เป็น
กษัตริย์ ด้วยความที่ออกญากลาโหมไมไ่ วใ้ จออกญาเสนาภิมุขเเละหาทางกำจัด เมื่อมีโอกาสก็สง่ ไปปราบกบฎ
เเละเป็นเจา้ เมืองนครศรีธรรมราช อยู่ไดไ้ ม่นานก็ถกู วางยาจนถงึ เเก่กรรม เเละเกิดความวุ่นวายเพราะญี่ปุน่ ฆา่
ฟนั กนั ทีเ่ มืองนครศรธี รรมราช ทำให้ญีป่ นุ่ อพยพไปเขมร เเละเข้ามาอยธุ ยา พระเจา้ ปราสาทกใ็ ห้อยู่ในอยุธยา
ไดต้ ามปกตโิ ดยไม่เอาโทษ เเต่ตอ่ มาพระเจา้ ปราสาททองส่งั เผาหม่บู ้านญปี่ นุ่ จนความสมั พันธท์ ั้ง ๒ ประเทศ
ชะงกั ลง
พ.ศ.๒๑๗๘เเละพ.ศ.๒๑๘๓ พระเจ้าปราสาททองส่งทูตไปเจริญสมั พันธไมตรกี ับญี่ปนุ่ เเตไ่ มส่ ำเรจ็
พ.ศ.๒๑๙๙ เจ้าฟา้ ไชย ถวายเครอ่ื งบรรณาการเจรญิ ไมตรกี ับญป่ี นุ่ ก็ไมส่ ำเรจ็ เพราะญ่ีปุ่นปิด
ประเทศคา้ ขายเฉพาะกบั จีนเเละฮอลนั ดาเท่านั้น
เเมญ้ ่ปี ุน่ จะปดิ ประเทศเเต่อยธุ ยากย็ ังค้าขายกับญป่ี ุน่ ได้ โดยอาศัยจีนเปน็ ลูกเรือไปขาย ญีป่ ุ่นกใ็ ห้
ขายไดโ้ ดยอนุโลมวา่ เปน็ เรอื จีน
๔.)ความสัมพันธก์ ับหมู่เกาะในอินโดนเี ซยี (ชวา) มลายู
▪แต่เดมิ อยุธยาคา้ ขายกบั ประเทศในหมูเ่ กาะไดเ้ สรี ตอ่ มาฮอลันดาเข้ายดึ ครอง ทำใหต้ ้องคา้ ขายผา่ น
บรษิ ทั อินเดียตะวนั ออกของฮอลันดา(VOC)
หลกั ฐานท่สี ำคัญท่ีกล่าวถึงการค้ากับประเทศในหมเู่ กาะ คือ การส่งออกเครื่องสงั คโลกในสมัยของ
สมเด็จพระนคริทราธิราช
▪นอกจากประโยชน์ทางด้านการค้าแล้ว อยุธยายงั ได้รับศลิ ปวัฒนธรรมของประเทศเหลา่ นม้ี าด้วย
เช่น วรรณคดอี ิเหนาใหญ่(ดาหลัง) อเิ หนาเลก็ ทน่ี ิพนธโ์ ดยเจา้ ฟา้ กุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ สมยั สมเดจ็ พระ
เจ้าอยูห่ วั บรมโกศ มีเค้าเร่ืองมาจากนทิ านปันหยีของชวา
๕.)ความสัมพนั ธก์ บั ลังกา
▪อยธุ ยาค้าขายกับลงั กา เชน่ เดยี วกบั ประเทศอ่นื ๆ ไม่มีอะไรโดดเดน่ มากนัก แต่มีดา้ นที่โดดเดน่
มากกวา่ การคา้ คือ ดา้ นพระศาสนา ดงั ปรากฏในสมยั ของสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั บรมโกศ ได้ส่งสมณทูตไปลังกา
มพี ระอุบาลเี ปน็ ผนู้ ำ ไปสบื ทอดพระพุทธศาสนาท่ลี งั กาเน่ืองจากเสื่อมโทรมมากจากอาณานคิ มตะวนั ตก จน
เกิดนิกายสยามวงศห์ รืออุบาลีวงศ์
▪ส่วนดา้ นการเมืองปรากฏว่าพระเจา้ เอกทัศน์เนรเทศกรมหมื่นพพิ ิธไปลังกา เพราะคิดจะนำพระเจา้
อทุ มุ พรกลบั เจา้ มาครองราชย์และกลับมาตง้ั ชุมนุมเจา้ พมิ ายในสมยั ธนบุรี
๒.ความสัมพนั ธก์ บั ประเทศในทวปี ยโุ รปสมยั อยธุ ยา
ลำดับการเข้ามาค้าขายกับอยธุ ยาของชาวยโุ รป
ประเทศ รชั สมัย
๑.โปรตุเกส สมเด็จพระรามาธบิ ดีท่ี ๒
๒.สเปน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๓.ฮอลันดา สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช
๔.อังกฤษ สมเดจ็ พระเจ้าทรงธรรม
๕.เดนมาร์ก สมเดจ็ พระเจ้าทรงธรรม
๖.ฝรง่ั เศส สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช
๑.)ความสัมพันธก์ บั โปรตุเกส
▪พ.ศ.๒๐๕๔ ตรงกบั สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๒ โปรตเุ กสยึดมะละกาได้ เมื่อรวู้ า่ มะละกาเคยเป็น
เมืองขึ้นของอยุธยา จึงอยากเจริญสัมพันธไมตรี อุปราชเมืองกัวของโปรตุเกสได้ส่ง "เฟอนันเดส" มาถวาย
บรรณาการเจรญิ ไมตรีเพื่อการค้ากับอยุธยา อยุธยากร็ บั ไมตรีน้ันเปน็ อย่างดี พร้อมกบั สง่ ราชทูตไปมะละกาอีก
ดว้ ย
▪พ.ศ.๒๐๕๙ เมือ่ ความสัมพันธท์ ้ัง ๒ ประเทศแน่นแฟ้นขน้ึ โปรตุเกสจึงส่ง "ดูอาร์เต้ โกเอโย " เข้ามา
อยุธยา เพื่อทำสนธิสัญญาทางกับพระรามาธิบดีที่ ๒ นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกของไทย โดยสนธิสัญญา
ระหว่างอยธุ ยากับโปรตเุ กสน้ี มีสาระสำคญั คือ
-โปรตเุ กสจะจัดหาปนื กระสุนดนิ ดำให้อยุธยาตลอดจนใหค้ นไทยต้ังหลกั เเหลง่ ในมะละกาได้
-อยุธยาตอ้ งใหส้ ทิ ธพิ ิเศษทางการค้าและอำนวยความสะดวกด้านการคา้ ให้กับพ่อคา้ ชาวโปรตเุ กส
-อยุธยาอนุญาตใหโ้ ปรตเุ กสตัง้ หลกั เเหล่งและประกอบศาสนาครสิ ต์ในอยธุ ยาได้อยา่ งเสรี
▪พ.ศ.๒๐๘๑ สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ขณะนนั้ มีชาวโปรตเุ กสอยใู่ นอยธุ ยา ๑๓๐ คน เม่ือพม่า
ตีเมืองเชียงกราน ซึ่งเป็นศึกกับพม่าครั้งเเรกในประวัติศาสตร์ได้จ้างทหารชาวโปรตุเกสช่วยรบจำนวน ๑๒๐
คน จนไดช้ ัยชนะ จงึ พระราชทานท่ดี ินสำหรบั สรา้ งโบสถ์ครสิ ต์ เปน็ โบสถ์คริสตเ์ เหง่ เเรกในอยุธยา
▪พ.ศ.๒๑๔๒ สมัยสมเด็จพระนเรศวร โปรตุเกสเป็นพันธมิตรกับสเปน ซึ่งขณะนั้นสเปนไม่ถูกกับ
ฮอลันดา ก็ทำให้โปรตุเกสพลอยไม่ถูกกับฮอลันดาไปด้วย ส่งผลต่ออยุธยาเนื่องจากโปรตุเกสและฮอลันดา
กระทำการก่อความวนุ่ วายข้ึน
พ.ศ.๒๑๕๑ สมเดจ็ พระเอกาทศรถส่งทูตไปถวยสาส์นแด่อปุ ราชโปรตุเกสทเี่ มืองกัว
พ.ศ.๒๑๕๑ สมเด็จพระเอกาทศรถ ส่งทูตไปฮอลันดา ซึ่งเป็นทูตคณะเเรกในประวัติศาสตร์ไทยท่ี
เดินทางไปยุโรป จงึ ทำใหโ้ ปรตุเกสคดิ วา่ ฮอลนั ดาจะมาเเขง่ การคา้ กับตน
▪ พ.ศ.๒๑๕๙ สมัยพระเจ้าทรงธรรม โปรตุเกสจงึ ส่ง"บาทหลวงฟรานซสิ โก""มาอยุธยา ทลู ให้พระเจ้า
ทรงธรรมขับไล่ฮอลันดาออกไปจากอยุธยา เเต่พระเจ้าทรงธรรมก็มิได้ปฏิบตั ิตาม เพราะไม่ได้มีผลกระทบ กับ
อยธุ ยา เมื่อเปน็ เช่นนี้โปรตุเกสจึงกล่นั เเกลง้ ฮอลนั ดาไมใ่ หไ้ ดร้ บั ความสะดวกสบายทางการคา้
คร้ังแรกทำการยึดเรือฮอลันดา อยธุ ยาจงึ เกล้ียกล่อมสำเรจ็ เเต่เหตกุ ารณ์ท่โี ปรตุเกสยึดเรือฮอลันดาก็
เกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ในพ.ศ.๒๑๖๗ ครั้งนี้ถือว่าโปรตุเกสละเมิดน่านน้ำอยุธยา พระเจ้าทรงธรรมจึงทรง
เกณฑ์ทพั เข้าตียึดเรอื ส่งคนื ฮอลันดา จากนัน้ จำคุกโปรตเุ กส
พ.ศ.๒๑๗๑ โปรตเุ กสโจมตีเรือกำป่ันหลวงของอยธุ ยาเเละปิดอ่าวเมืองมะรดิ เเต่ไม่สำเรจ็
▪ทั้งหมดที่กลา่ วมาน้ี ทำให้ความสัมพนั ธ์อนั ดรี ะหวา่ งอยธุ ยากับโปรตเุ กสลดนอ้ ยลง
▪ต่อมาสมัยพระนารายณ์มหาราชเป็นยุครุ่งเรืองทางการค้ากับต่างประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์อันดี
ระหวา่ งไทยกบั โปรตุเกสถูกฟื้นฟูอกี ครั้งหนง่ึ
๒.)ความสัมพนั ธ์กับสเปน
▪ สเปนเปิดความสมั พันธ์ทางการค้าครงั้ แรกกบั อยธุ ยาในสมยั สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยทส่ี เปน
ซึง่ มอี ำนาจอยู่ทีม่ ะนลิ า ฟลิ ิปปนิ ส์ ได้ส่งราชทตู เข้ามาเจรญิ สมั พันธไมตรี สมเด็จพระนเรศวรทรงมอบช้างให้แก่
ผู้สำเร็จราชการสเปน ๒ เชื่อ เพื่อเป็นบรรณาการ และได้ตั้งสถานีการค้าท่ีอยุธยาขึ้น บริเวณฝั่งแม่น้ำ
เจา้ พระยา แตค่ วามสมั พันธท์ างการค้าก็มิไดร้ าบรืน่ เหมือนชาติอ่ืนๆ เพราะวา่ สเปนมุ่งจะยึดเขมรเพื่อใช้เผยแผ่
ศาสนาคริสต์นอกเหนือจากมะนิลาและเปิดการค้ากับเขมรมากกว่าที่จะค้าขายกับอยุธยา แต่ก็ไม่ประสบ
ผลสำเร็จเพราะอยุธยายกทัพไปตีเขมรในสมัยสมเด็จพระนเรศวรและก็ยังคงมีอำนาจเหนือเขมรอยู่ อีกอย่าง
สเปนกระทำการส่งผลกระทบต่อเรือสำเภาอยุธยาที่ไปค้าขายยังเมืองมะนิลาเป็นเหตุให้อยุธยาเลิกค้าขายกับ
สเปน
ร้อยเรยี งเหตกุ ารณค์ วามสัมพันธอ์ ยุธยากบั สเปน
พ.ศ. ๒๑๓๖ สมเดจ็ พระนเรศวรตเี มอื งละแวกของเขมร มีชาวโปรตเุ กสถกู จบั
พ.ศ. ๒๑๔๑ สมเด็จพระนเรศวรเปิดความสัมพันธ์ทางการค้ากับสเปน โดยฝ่ายสเปนคือ ผู้สำเร็จ
ราชการสเปน เมืองมะนลิ า ประเทศฟลิ ิปปนิ ส์
พ.ศ. ๒๑๔๒ โปรตุเกสร่วมมือกับสเปน ทำให้ฮอลันดาซึ่งไม่ถูกกันกับโปรตุเกสก็เป็นสงครามกับ
สเปนด้วย จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๑๖๗ โปรตุเกสยึดเรือฮอลันดา สเปนเองก็ร่วมมือกับโปรตุเกสด้วย พระเจ้า
ทรงธรรมทรงพิโรธ เพราะปรตุเกสและสเปนละเมิดน่านน้ำ จึงเข้ายึดคืนเรือให้ฮอลันดาตามเดิม แม้เรื่องนี้จะ
ไมเ่ กย่ี วกับสเปนโดยตรงแตก่ ็ทำให้ความสมั พนั ธ์อันดชี ะงักลง
หลังความสัมพันธ์อันดีชะงักลงในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ผ่านไปจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์
มหาราชกไ็ ด้รื้อฟน้ื กลับมาคา้ ขายอกี คร้งั
สมยั สมเดจ็ พระเพทราชา อยุธยาทำสัญญาทางการค้ากบั สเปน
สมยั พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ สเปนตัง้ สถานีการค้าอกี คร้ัง
๓.)ความสมั พนั ธ์กับฮอลันดา
▪ฮอลนั ดาเข้ามาอยธุ ยาครัง้ เเรกที่เมืองปัตตานใี นพ.ศ.๒๑๔๗ สมัยสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช โดยสง่
"คอเนลิสสเปกซ์"มาเจรญิ สมั พันธไมตรี
▪พ.ศ.๒๑๕๐ สมเดจ็ พระเอกาทศรถสง่ ทูตไปฮอลันดาเขา้ เฝ้าพระเจ้ามอริส นับเปน็ คร้ังเเรกท่ีทูตไทย
ไปยุโรป
▪สมยั พระเจ้าทรงธรรม ไทยทำสัญญากบั ฮอลันดาในพ.ศ.๒๑๖๐ ทำให้อังกฤษเเละโปรตุเกสไม่พอใจ
ถึงขนาดยึดเรือของฮอลันดา
▪สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ.๒๑๗๕ พระเจ้าเฮนรี่ ของฮอลันดาส่งทูตมาถวายสารพระเจ้า
ปราสาททอง กท็ ำให้ความสัมพนั ธอ์ ยุธยากบั ฮอลนั ดาแนบแน่นมากขนึ้
▪สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ.๒๑๗๖ ฮอลันดาตั้งสถานีการค้าที่อยุธยาและได้สิทธิพิเศษในการ
ผูกขาดการคา้ หนงั สตั ว์และฝางจากอยุธยา
▪ แมว้ ่าสมัยพระเจ้าปราสาททองนก้ี ารคา้ กับฮอลนั ดาจะรุง่ เรืองเพราะฮอลนั ดาใชต้ ง้ั สถานกี ารค้าเพ่ือ
คา้ ขายกบั จนี แต่ความสมั พันธ์กลบั เสื่อมถอยลงเพราะเม่ือปัตตานีก่อกบฏ ฮอลนั ดาสญั ญาว่าจะชว่ ยปราบ เเต่
มีข้อเเลกเปลี่ยนคือ ให้ฮอลันดาผูกขาดฝางเเละหนังกวางเพียงผู้เดียว เเต่ฮอลันดาไม่ทำตามสัญญาคือปราบ
กบฏ กลบั อา้ งว่าสง่ เรือรบมา ๖ ลำเเต่ไมท่ ันทัพไทย พระเจา้ ปราสาททองโกรธเเละไม่ให้ผูกขาด ต่อมาการค้า
ไทยกับต่างประเทศตกต่ำลงไทยจึงหันมาเอาใจฮอลันดา ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจางการค้าเเถบนี้ผู้เดียว เเต่พระเจ้า
ปราสาททองหาทางลดอำนาจการค้าฮอลันดาลง โดยทำการค้าเอง เเต่งสำเภาไปจีน อินเดีย ประกาศสินค้า
ตอ้ งหา้ มให้ขายกับพระคลังสินคา้ เท่านนั้ หา้ มนำข้าวสาร ข้าวเปลอื กออกนอกประเทศก่อนไดร้ ับอนุญาต ทำให้
ฮอลันดาไม่พอใจ ใช้เรอื ๒ลำปิดอา่ วเมืองตะนาวศรี ขดั ขวางเรอื ต่างชาตอิ ื่นๆไมใ่ ห้เขา้ ออกตะนาวศรี พระเจ้าป
ราทองถงึ กับโกรธส่ังหา้ มคนไทยเเละมอญทำงานกับฮอลันดา เเตฮ่ อลนั ดาขู่ว่าจะย้ายสถานีการค้าไปเขมร ไทย
จึงยอมเปน็ มติ รกับฮอลันดา
▪พ.ศ.๒๒๐๔ สมยั สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฮอลันดายึดสำเภาหลวงของไทย
▪พ.ศ.๒๒๐๗ สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฮอลันดานำเรือรบปิดอ่าวไทย ประกาศสงครามกับไทยมี
สาเหตุจากชาวจีนปิดล้อมสถานีการค้าของตน ไทยจึงทำสัญญาสงบศึกวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๒๐๗ นับเป็น
สญั ญาเสียเปรียบและเสยี สทิ ธิสภาพนอกอาณาเขตฉบบั แรก สัญญามสี าระคอื
•ถ้าคนไทยกบั ฮอลันดาทะเลาะกนั ให้กษัตรยิ ์ลงโทษคนผิดตามสมควร
•บรษิ ทั ฮอลนั ดามีสิทธิ์ทำการค้าในไทยตามชอบใจ บริษทั ฮอลนั ดาจะเสยี ภาษีอากรขาเข้าเเละขาออก
ตามอตั ราเดิมจะเรียกเกบ็ เพ่มิ มิได้
•ไทยจะจ้างชาวจีน ญี่ปุ่นมาประจำเรือสินค้ามิได้ เเละต้องไม่นำพวกนี้มาทำงานในไทย ถ้าเรือ
ฮอลันดาพบลกู เรือชาวจนี ญปี่ ุ่น จะยดึ เรอื ไว้
•บริษทั ฮอลนั ดามสี ทิ ธใ์ิ นการผูกขาดสง่ หนงั กวาง หนงั วัว
•มีข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจทางการศาล คือ ถ้าคนใดเป็นหนี้บริษัทเเละไม่ยอมชำระ กษัตริย์ไทยต้อง
ช่วยเหลอื ผา่ นออกญาพระคลงั คมุ ขังลกู หน้ีจนกว่าจะชำระครบ ถ้าไม่ได้ใหส้ ง่ ตัวลกู หนี้ใหบ้ ริษัท
•สนธสิ ญั ญาฉบบั นไ้ี ทยเสียเปรียบฮอลันดา นบั เป็นครง้ั เเรกที่ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตตรงกับ
สมัยพระนารายณ์ คือ ถ้าคนในบังคับฮอลันดาทำผิดให้ส่งตัวคนผิดให้บริษัทฮอลันดาลงโทษตามกฎหมาย
ฮอลนั ดา เเตถ่ ้าหัวหนา้ บรษิ ัททำผิดเองใหไ้ ทยกกั กนั ผูท้ ำผิดไวใ้ นบ้านบุคคลน้นั เเจ้งไปยงั ข้าหลวงใหญ่
▪สมัยพระนารายณ์อังกฤษเเละฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทเพื่อถ่วงดุลอำนาจฮอลันดา ทำให้ฮอลันดา
ถอนตัวการค้าออกไป เเต่ความสัมพันธ์กับฮอลันดากลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในปลายสมัยพระนารายณ์ เพ ราะ
พระเพทราชา ต้องการกำจัดฝรั่งเศส ฮอลันดาก็สนับสนุนช่วยเหลือ ดังนั้นเมื่อพระเพทราชาครองราชย์
ฮอลนั ดากบั ไทยกม็ สี มั พันธไมตรีกนั
สมัยสมเด็จพระเพทราชา ได้ฟนื้ ฟคู วามสัมพันธ์อีกคร้งั เพราะว่าอยุธยาขับไล่ฝรง่ั เศส ซึ่งฮอลันดาไม่
ถูกกับฝร่ังเศสอยู่แลว้ ก็คอยสนบั สนนุ
▪พ.ศ ๒๓๐๓ สมัยพระเจ้าอุทุมพร ไทยทะเลาะกับฮอลันดา คราวนี้ฮอลันดาประนีประนอมก่อน เเต่
ไทยก็ตดั สทิ ธพิ เิ ศษทฮี่ อลนั ดาเคยได้มา
๔.ความสัมพันธ์กับองั กฤษ
▪อังกฤษเปิดความสัมพันธ์ทางการค้ากับอยุธยาในสมัยของพระเจ้าทรงธรรม โดยในพ.ศ.๒๑๕๕
กัปตันธอมัส เอสซิงงตัน ได้เดินเรือโกลบเขา้ มาอยุธยาเเละได้ค้าขายกนั สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมให้สิทธิพิเศษ
เเก่อังกฤษคือ ไม่ต้องนำสินค้าไปให้กรมพระคลังสินค้าเลือกก่อน สินค้าของอังกฤษเป็นประเภทผ้าส่วนใหญ่
นอกจากนี้เเล้วพระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชทานตึกให้เป็นสถานีการคา้ มีผู้อำนวยการคนเเรกคือ ลูกัส อันทู
นิส เเต่การค้าของอังกฤษกลับไม่ประสบผลสำเร็จเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ เนื่องจากมีฮอลันดาขัดขวาง จนย้าย
สถานีการค้าไปปตั ตานี มปี ีเตอร์ ฟลอรนี เปน็ ผอู้ ำนวยการ ก็ตอ้ งประสบปญั หาเดมิ คือ มีฮอลนั ดาขดั ขวาง
▪พ.ศ.๒๑๕๘ ลูกัส อันทูนิส ผู้อำนวยสถานีการค้าคนเเรกของอังกฤษประจำอยุธยา เดินทางกลับ
อังกฤษ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจงึ ฝากสาสน์ ไปถวายพระเจา้ เจมส์เเหง่ อังกฤษดว้ ย
▪พ.ศ.๒๑๖๑ อังกฤษตดั สนิ ใจเลิกสถานกี ารคา้ ที่อยธุ ยาเเละปตั ตานีออกไประยะหนึง่ เนือ่ งจากปญั หา
เดิมรุนเเรงขึ้น เพราะอังกฤษเเละฮอลันดาทำสงครามกันที่ยุโรป ที่อยุธยาก็ขัดเเย้งกันยิ่งขึ้น เเม้จะพยายาม
เปิดสถานีการค้าใหม่ทนี่ ครศรีธรรมราชกถ็ ูกฮอลนั ดาขดั ขวางอกี
▪พ.ศ.๒๑๖๖ อังกฤษสง่ เรือบีมารับพอ่ คา้ อังกฤษไปยงั ปตั ตาเวีย เลกิ สถานกี าาค้าอยา่ งสมบรู ณ์
▪เมื่อเวลาผ่านไป ๓๕ ปี ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์ชักนำให้อังกฤษมาค้าขาย เพราะขณะนั้น
ฮอลันดามีอำนาจมากจึงอยากให้ช่วยถ่วงดุลอำนาจฮอลันดา อังกฤษจึงเปิดการค้ากับอยุธยาเป็นครั้งที่ ๒ ส่ง
เรือโฮปเเวล เข้ามาอยุธยา ตั้งจอห์นเซาท์ กับ โทมัส โค๊ตส์ มาประจำสถานีการค้ากับอยุธยา ครั้งนี้อังกฤษ
ได้รับความลำบากทางการค้าจากการทีเ่ จ้าพระยาพระคลงั เอาเปรียบอังกฤษคือซื้อสินค้าจากองั กฤษหากขาย
ไมไ่ ดก้ ็จะส่งคนื ทำให้คิดจะเลิกสถานกี ารค้าอกี เเตพ่ ระนารายณท์ รงขอให้ค้าขายตอ่ อีก
▪พ.ศ.๒๒๐๖ สมเดจ็ พระนารายณ์หันไปให้ฝร่ังเศสมาถ่วงดลุ อำนาจฮอลันดาเเทนองั กฤษ
▪อังกฤษตั้งนายสถานีการค้าคนใหม่คือ เเฮมมอนด์ กิบบอน อังกฤษได้ผูกขาดดีบุกที่ไชยา ชุมพร
พัทลงุ
▪อยุธยาเสนอให้อังกฤษตั้งป้อมที่ปัตตานีเเละผูกขาดพริกไทยได้ เเต่อังกฤษขอเปลี่ยนเป็นทำสัญญา
ซื้อสนิ ค้าเปน็ จำนวนเเน่นอนจากองั กฤษทกุ ปี เเต่อยธุ ยาไมร่ ับ จึงยกเลกิ ขอ้ เสรอน้ีไป
▪อังกฤษส่งริชาร์ด เบอร์นา บี มาอยุธยาเเละมีความสนิทกับฟอลคอน สมคบกันโกงบริษัทสถานี
การค้าอังกฤษ ทำให้พ่อค้าอังกฤษกู้ยืมเงินจากพระนารายณ์โดยเสียดอกเบี้ยให้ร้อยละ ๒ ต่อเดือน ต่อม า
บรษิ ัทถูกไฟไหม้ ๆเเละอังกฤษยกเลกิ สถานกี ารคา้ ไปในพ.ศ.๒๒๒๗
๕.ความสมั พนั ธก์ บั เดนมารก์
▪เดนมาร์กเปิดความสัมพันธ์ทางการค้ากับอยุธยาในสมัยของพระเจ้าทรงธรรม ตรงกับพุทธศักราช
๒๑๖๔
๖.ความสัมพนั ธ์กับฝร่งั เศส
ชาวฝรง่ั เศสเข้ามาค้าขายกับอยธุ ยาในพ.ศ.๒๒๐๕ ตรงกับสมัยของสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราชา มี
สงั ฆราชลัลเเบรต์เปน็ ผ้นู ำ โดยมีวัตถปุ ระสงค์คือเผยเเผ่ศาสนาครสิ ต์เป็นหลักเเละทำการคา้ อยธุ ยาก็สนใจจะ
เปน็ มิตรกับฝรัง่ เศสเพอื่ ใช้คานอำนาจของฮอลนั ดาทีก่ ำลงั คุกคามอยุธยา
▪พ.ศ.๒๒๐๗ ฝรั่งเศสส่งสังฆราชปลั ลู เเละบาทหลวงอีก ๔ รูป รวม ๕ รปู สมเดจ็ พระนารายณ์ก็ทรง
อนุญาต ถือเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เเรกที่ให้เสรภี าพเเก่ราษฎรในการนับถือศาสนา ทำให้บาทหลวง
คิดวา่ สมเดจ็ พระนารายณ์จะเข้ารีต ดว้ ยเหตุนเ้ี องทำใหช้ าวฝรั่งเศสจงึ ไมเ่ ปน็ ทพ่ี อใจของขนุ นางบางสว่ นเเลัพระ
สงฆ์ เพราะวา่ สง่ ผลกระทบต่อกิจการของพระพุทธศาสนา สมยั นมี้ ีขุนนางชาวกรกี ชอื่ วา่ ฟอลคอน รับราชการ
ในกรมพระคลังสินค้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับชาวฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ จนในปลายรัชกาลสมเด็จพระ
นารายณฝ์ รง่ั เศสไดล้ ะเมิดอธิปไตยอยธุ ยา เเต่ถูกปราบโดยพระเพทราชา
▪พ.ศ.๒๒๑๖ พระเจา้ หลยุ สท์ ี่ ๑๔เเละสันตปาปาเคลเมนต์ท่ี ๙ ถวายสาสน์ พระนารายณ์ ขอบพระทัย
ทอี่ ำนวยความสะดวกทางการเผยเเผ่ศาสนา
▪พ.ศ.๒๒๒๓ ฝร่ังเศสตั้งสถานีการคา้ ทีอ่ ยุธยาคร้ังเเรก ผอู้ ำนวยการคนเเรกคอื นายเดสลงั สบ์ โู ร
▪พ.ศ.๒๒๒๓ อยุธยาส่งคณะทูตชุดที่ ๑ ไปฝรั่งเศสจุดประสงค์หลักคือ อยุธยาต้องการให้ฝรั่งเศส
ถ่วงดุลอำนาจฮอลนั ดา มีราชทตู คือ ออกญาพพิ ัฒน์ราชไมตรี เเต่เรือเเตกทเี่ กาะมาดากสั การ์
▪พ.ศ.๒๒๒๕ สังฆราชปัลลู ถวายสาสน์ ของพระเจ้าหลุยส์ท่ี ๑๔ ถวายเเดพ่ ระนารายณ์ โดยเนอ้ื หาคือ
ให้พระนารายณอ์ ำนวยความสะดวกให้กับบรษิ ัทการค้าของฝรัง่ เศส
▪พ.ศ.๒๒๒๖ อยุธยาสง่ คณะทูตชุดท่ี ๒ ไปฝรงั่ เศส มจี ดุ ประสงค์หลักคือ ตดิ ตามข่าวคณะทูตชุดเเรก
มีราชทูตคอื ขุนพชิ ยั วาทติ เเละขุนพชิ ติ ไมตรี คราวน้ีเดนิ ทางถงึ โดยสวสั ดิภาพอยู่ฝรัง่ เศส ๒ ปี จึงเดนิ ทางกลับ
พ.ศ.๒๒๒๗ ฝรั่งเศสส่งคณะทูตชุดที่ ๑ มาอยุธยาเดินทางมาพร้อมกันกับคณะทูตชุดที่ ๒ ของ
อยุธยา เดนิ ทางถึงอยุธยาในวนั ที่ ๒๓ กันยายน ๒๒๒๘ มีราชทูตคอื เชอวาเลยี เดอโชมองต์ การรับคณะทูตชุด
นี้ไทยรับอย่างสมพระเกียรติ มีฟอลคอนช่วยจัดการเป็นล่ามให้โดยขั้นเเรกเเปลสาส์นเป็นภาษาโปรตุเกส
จากนั้นจึงเเปลโปรตุเกสเป็นไทย เพราะฟอลคอนพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ได้ พูดได้เพียงภาษาโปรตุเกสเเละไทย
วัตถุประสงค์ของคณะทูต คอื
•ตอ้ งการเผยเเผ่ศาสนาครสิ ต์นิกายโรมันคาทอลกิ
•ต้องการให้พระนารายณเ์ ข้ารีต
•ต้องการส่งเสริมความสมั พันธท์ างการค้า
ทั้ง ๓ ข้อน้มี เี พยี งข้อเดยี วทีอ่ ยธุ ยาให้ไม่ได้คือ ใหพ้ ระนารายณเ์ ขา้ รีต
นอกจากวัตถุประสงค์ ๓ ข้อนี้เเล้วอยุธยายังได้ทำสนธิสัญญาการค้ากับฝรั่งเศสในวันที่ ๑๐ ธันวาคม
๒๒๒๘ ทีเ่ มืองลพบรุ ี ผลู้ งนามในสัญญาคอื
ฝ่ายอยธุ ยา คือ เจา้ พระยาวไิ ชเยนต์
ฝ่ายฝรัง่ เศส คือ เชอวาเลยี เดอโชมองต์ สญั ญานอี้ ยุธยาเสยี เปรียบฝรงั่ เศส
โดยสาระของสญั ญามีดังน้ี
•อยุธยาจะไม่เกบ็ ภาษขี าเขา้ เเละขาออกจากบรษิ ทั อินเดยี ตะวนั ออกของฝรัง่ เศส
•ฝร่งั เศสมสี ิทธเิ์ ข้าพิจารณาคดีกรณคี นฝร่งั เศสมีเรือ่ งกบั อยุธยา
•ยกเมอื งสงขลาพรอ้ มเมอื งข้ึนใหฝ้ รัง่ เศสเเละสรา้ งป้อมท่เี มืองสงขลาได้
▪พ.ศ.๒๒๒๘ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ทูตชุดที่ ๑ ของฝรั่งเศสเดินทางกลับ อยุธยาก็ส่งทูตชุดที่ ๓ ไป
ฝรง่ั เศสด้วย มรี าชทตู คอื ออกพระวิสูตรสุนทรหรอื โกษาปาน ถึงฝรง่ั เศสเมอื่ ๑๘ มิถนุ ายน ๒๒๒๙
▪พ.ศ.๒๒๓๐ วันที่ ๑ มีนาคม คณะทูตชุดที่ ๓ ของอยุธยาเดินทางกลับ ฝรั่งเศสก็ส่งทูตชุดที่ ๒ มามี
เดอลาลูเเบร์ เซเบเรตเ์ ป็นหัวหนา้ มีจดุ ประสงคค์ อื เเกส้ ัญญาเพิ่มเติม ดังน้ี
•ฝรง่ั เศสไม่เสียภาษีใดๆทง้ั จงั กอบ อากรขนอน ฤชาในการค้าขายกับอยธุ ยา ได้
•ฝรง่ั เศสได้ผกู ขาดดีบกุ ท่ถี ลางเเละบางพลี
•ไทยยกเมืองมะรดิ ใหฝ้ รง่ั เศสและสรา้ งป้อมที่เมืองมะริด
•ไทยเสียสิทธสิ ภาพนอกอาณาเขต
•เเตส่ นธิสัญญาฉบบั นี้ไมไ่ ด้ประกาศใช้เพราะอยุธยากับฝร่งั เศสมเี รื่องกัน
ในคณะทตู ชดุ ลาลูเเบร์นม้ี ีทหารฝรั่งเศสมาดว้ ยนำโดยนายพลเดฟาร์ซเปน็ ผูบ้ ังคับบัญชา อ้างวา่ เพ่ือถวายความ
คุ้มครองพระนารายณ์ โดยฟอลคอนเสนอให้ประจำการที่เมืองมะริดเเละบางกอก อ้างว่าเพื่อป้องกันการ
รุกรานจากอังกฤษเเละฮอลันดา
▪เดือนพฤษภาคม ๒๒๓๑ สมเดจ็ พระนารายณ์ทรงพระประชวรที่เมืองลพบุรี พระเพทราชาได้เข้ายึด
อำนาจ สำเร็จโทษพระปีย์(โอรสบุญธรรม) เจ้าฟ้าน้อยเเละเจ้าฟ้าอภัยทศ(ทั้ง ๒ เป็นพระอนุชาของพระ
นารายณ์) ด้วยความที่พระเพทราชาไม่ชอบฟอลคอนเเละฝรั่งเศสอยู่เเล้ว เนื้องจากละเมิดอธิปไตยอยุธยาจึง
จับฟอลคอนประหารชีวิตเเละจับกุมฝรั่งเศส ปิดล้อมปัอมบางกอกเมืองธนบุรี วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๒๓๑
พระนารายณ์สวรรคต ทำให้พระเพทราชาปราบดาภิเษกครองราชย์ ทำสงครามกับฝรั่งเศสที่ป้อมบางกอก
ฝรั่งเศสหมดเสบยี งอาหาร จึงทำสัญญาสงบศกึ ในวนั ท่ี ๓๐ กันยายน ๒๒๓๑ มสี าระสำคัญคือ
•ฝร่ังเศสคืนปอ้ มบางกอก
•อยุธยายอมให้ฝรงั่ เศสออกจากพระนคร
•อยุธยาคือเรือกำปั่นของฝรั่งเศส ๒ ลำเเละเรือชื่อ ออริฟลัม ๑ ลำ มอบเรือที่มีปืน ๗๔ กระบอกให้
ฝร่ังเศส
หลังจากเหตุการณ์นี้ตรงกับรัชกาลของพระเพทราชาทำให้ความสัมพันธ์อยุธยากับฝรั่งเศสยุติลง เเม้
พระเจ้าเสือจะพยายามรอ้ื ฟืน้ เเตก่ ็ไมส่ ำเรจ็ เพราะยุโรปทำสงครามกัน
บทที่ ๔
ศิลปกรรมลำ้ วจิ ติ ร เนรมติ อยธุ ยา
เม่ือกล่าวถึง “กรุงศรีอยธุ ยา” ในทุกวนั นี้ คงไม่มใี ครไม่กล่าวถึงกล่มุ โบราณสถานต่างๆ มากมาย ที่ตั้ง
อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา มรดกโลกของไทยเป็นแน่ ถึงแม้ว่าจะเหลือให้เราเห็นเพียงซาก
ปรักหักพังก็ตามที แต่ก็ยังคงมีมนต์ขลัง มนต์เสน่ห์ในตัวอยู่เสมอ พอที่จะให้เราได้จินตนาการถึงความย่ิงใหญ่
ในอดตี ได้ไม่น้อย ไมว่ า่ จะเปน็ วดั วาอาราม พระราชวังโบราณ จนอดทจี่ ะคดิ ไม่ได้ว่าหากกรุงศรีอยุธยายังคงอยู่
ถึงปัจจุบัน จะมีความงดงามมากเพียงใด แต่อนิจจาทุกสิ่งไม่เที่ยง มีตั้งอยู่และดับไปเสมอ อยุธยาราชธานีที่
ยงิ่ ใหญข่ องเรากเ็ ช่นกัน อย่างไรก็ตามถึงแม้วา่ อยุธยาจะถึงกาลอวสานไปแล้ว แต่มรดกวฒั นธรรมตา่ งๆ ก็ยังคง
ถูกถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน และคงจะดีเป็นอย่างมากหากเราคนไทยทุกคนได้เรียนรู้ สนใจในมรดกของชาติ
พรอ้ มทจี่ ะรกั ษาให้คงอย่สู ืบไป
ซึ่งผู้เขียนขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำพาทุกท่านที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ได้ย้อนรอยประวัติความเป็นมา
วิวัฒนาการของศิลปกรรมอยุธยา โดยรวบรวมเรียบเรยี นส่งิ ทค่ี วรรู้ เกีย่ วกับมรดกของอยุธยาไมว่ ่าจะเป็นวัดวา
อาราม พระราชวงั ตา่ งๆ เพอ่ื ใหง้ า่ ยตอ่ การศึกษา สรุปไดด้ ังนี้
๑.ศลิ ปกรรมสมยั อยุธยา
งานสถาปตั ยกรรม
งานสถาปัตยกรรมสมัยอยธุ ยาแบง่ ออกเปน็ ๔ ยคุ สมัย ดังนี้
๑.สมยั สมเด็จพระเจ้าอ่ทู อง-สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลจากขอมเขมร เราเรียกศิลปะสมัยนี้ว่า ศิลปะลพบุรี ดังเห็นได้จากการสร้าง
พระปรางค์เป็นประธานของวัด เช่น วัดพระราม วัดพุทไธสวรรย์ วัดราชบูรณะ เป็นต้น ส่วนผนังของศาสน
สถานอย่างผนงั พระวิหาร พระอโุ บสถ นยิ มเจาะชอ่ งลมแนวตั้ง เช่น วดั พทุ ไธสวรรย์ วดั ราชบูรณะ เปน็ ตน้
๒.สมัยสมเดจ็ พระรามาธบิ ดที ่ี ๒-สมเดจ็ พระเจา้ ทรงธรรม
เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย หลังจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงย้ายราชธานีไปอยู่
พิษณุโลกซึ่งเป็นเมืองสำคัญของสุโขทัย ทำให้ได้รับอิทธิพลนี้มา เปลี่ยนการสร้างประธานของวัดจาก
พระปรางค์มาเป็นการสร้างเจดีย์ลังกาแบบสุโขทัยแทน เช่น พระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ของวัดพระศรีสรรเพชญ์
เจดยี ์ชัยมงคล วัดใหญ่ชยั มงคลทีส่ มเด็จพระนเรศวรทรงสถาปนาข้นึ เป็นตน้
๓.สมัยสมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททอง-สมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัวท้ายสระ
เป็นยุคที่ศิลปะเขมรกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงยึดเขมรเป็น
ประเทศราชได้สำเร็จอีกครั้ง คือ การสร้างพระปรางค์เป็นประธานของวัด เช่น วัดไชยวัฒนาราม เป็นต้น
นอกจากน้ียังมีศิลปะแบบอื่นๆ อย่างเจดยี ์ยอ่ มุมไม้สิบสองถือเป็นศิลปะแบบแท้ของอยธุ ยาและศิลปะแบบฝร่ัง
ในสมยั สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช เชน่ วดั เตวด็ วังนารายณร์ าชนเิ วศน์ เป็นต้น
๔.สมัยสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวบรมโกศ-เสียกรุงครงั้ ท่ี ๒
นับเป็นอกี ๑ ยุคทง่ี านทางดา้ นศิลปกรรมอยธุ ยาเฟ่ืองฟูในหลายๆดา้ น เพราะอยใู่ นยคุ ทีเ่ รียกว่า “ครั้ง
บ้านเมืองดี” สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงบูรณะวัดจำนวนมากมาย ศิลปะที่โดดเด่นคือ การสร้างพระ
เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เช่น เจดีย์วัดภูเขาทอง เป็นต้น และเจดีย์ทรงลังกาสูง เป็นต้นแบบของยุคสมัย
รตั นโกสนิ ทรส์ บื มา
งานประติมากรรม
งานประติมากรรมในสมัยอยุธยาสว่ นใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางต่างๆ นอกจากนี้ยังมปี นู
ปั้นประดับอาคาร เช่น ปูนปั้นช้างประดับเจดีย์ช้างล้อม ปูนปั้นรูปครุฑ เป็นต้น การแบ่งยุคสมัยของงาน
ประติมากรรมแบ่งได้เป็น ๓ ยุคดงั น้ี
๑.สมยั สมเด็จพระเจา้ อู่ทอง-สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ
เรียกศิลปะของพระพุทธรูปสมัยนี้ว่า “ศิลปะอู่ทอง” อู่ทองยุคแรกที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น
ได้รับอิทธิพลขอมหรือศิลปะลพบุรี ทำให้ลักษณะของพระพุทธรูปมีพระพักตร์เหลี่ยม ต่อมามีการผสมผสาน
ศิลปะสุโขทัยเข้ามาด้วยคือ รัศมีเปลวไฟ ในสมัยอยุธยาตอนต้นนิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปางสมาธิ
ขนาดใหญ่ เชน่ หลวงพอ่ โตวัดพนญั เชงิ พระมงคลบพติ ร เป็นตน้
๒.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ-สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง
การที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จไปประทับ ณ พิษณุโลก ทำให้อยุธยาได้รับอิทธิพลสุโขทัย
อย่างเด่นชัดมากขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็เป็นยุคที่เกิดพระพุทธรูปศิลปะแบบแท้อยุธยา คือ พระพุทธรูป
ทรงเครื่องน้อย ตัวอย่างพระพุทธรูปสำคัญในสมัยนี้คือ พระศรีสรรเพชญ์ สร้างในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี
ท่ี ๒ เป็นต้น
๓.สมัยสมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททอง-เสียกรงุ คร้ังที่ ๒
ยุคนี้สืบทอดต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ คือ การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประดับ
เครื่องประดับมากกวา่ เดิม นิยมสร้างพระพทุ ธรปู ปางหา้ มสมุทร
งานจิตรกรรม
ส่วนใหญ่เป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา คือ การวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังตามพระวิหาร พระ
อุโบสถ ปจั จบุ นั หลงเหลอื ใหช้ มอยนู่ ้อยมาก แบ่งออกเปน็ ๓ ยคุ ดงั น้ี
๑.ยคุ ตน้ นยิ มวาดภาพุทธประวตั ิ สที นี่ ิยมใช้วาด คอื ดำ แดง ขาว เรียกวา่ สเี อกรงค์ เชน่ ในกรุพระปรางค์วัด
ราชบรู ณะ เป็นตน้
๒.ยุคกลาง นยิ มวาดภาพไตรภูมิ ที่นิยมใช้วาด คือ ขาว เหลือง ดำ แดง และเขียว เรยี กว่า สีเบญจรงค์ เชน่ วดั
สวุ รรณาราม เพชรบรุ ี เป็นตน้
๓.ยคุ ปลาย นิยมวาดภาพทุ ธประวตั ิ ใช้สีวาดมากข้นึ มีการปิดทองเสริมในภาพดว้ ย เชน่ วัดศาลาปูน เป็นตน้