วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน มัธยมเทศบาล 6 นคอุดรธานี ผู้วิจัย นายณัฐกานต์ โหมดนอก โครงงานทางด้านคอมพิวเตอร์ศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม หลักสูตรปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566
วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน มัธยมเทศบาล 6 นคอุดรธานี นายณัฐกานต์ โหมดนอก รหัสประจำตัวนักศึกษา 63040145101 โครงงานทางด้านคอมพิวเตอร์ศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม หลักสูตรปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566
ก ชื่อวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการ ใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชื่อผู้วิจัย นายณัฐกานต์ โหมดนอก อาจาร์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.พวงทอง เพชรโทน ปริญญา ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของผู้เรียน ที่เรียนด้วยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งาน โปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานีจำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งาน โปรแกรม Photoshop 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop มีลักษณะเป็นแบบ ประเมินแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 5.96 และค่าเฉลี่ยของ คะแนนหลังเรียนเท่ากับ 17.43 ตามลำดับ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop แบบวัดความพึงพอใจ มีทั้งหมด 15 ข้อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และ S.D.เท่ากับ 0.61 อยู่ในระดับความพึ่งพอใจมากที่สุด
ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานทางด้านคอมพิวเตอร์ศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้อย่างสมบูรณ์ด้วยความกรุณาและ ความ ช่วยเหลืออย่างดีจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พวงทอง เพชรโทน อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่กรุณาให้ คำปรึกษาแนะนำ และตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ อย่างละเอียดจนสมบูรณ์ตลอดจนให้ข้อคิดที่เป็น ประโยชน์และดูแลให้กำลังใจแก่ผู้ศึกษาด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่งเสมอมา ผู้ศึกษารู้สึกซาบซึ้งใน ความ กรุณาและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณ นายมนัส ผิวชัยภูมินายพุทธศาสน์ จิตจง และ นายวรุฒ สิทธิโคตร ที่คอยให้ คำแนะนำและตรวจแก้ไขข้อบกพร่อง ผู้ศึกษา รู้สึกซาบซึ้งในความกรุณา และขอขอบพระคุณอย่างยิ่งที่ กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์และมี คุณค่าอย่างยิ่งต่อ การทำการศึกษาในครั้งนี้อย่างดียิ่ง ขอขอบพระคุณคณะผู้บริหารและคณะครู โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานีที่สนับสนุนและ อำนวยความสะดวกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทดลองใช้เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษา และขอขอบคุณนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานีที่ให้ความร่วมมือในการศึกษาครั้งนี้และ ขอขอบคุณทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานีประจำปีงบประมาณ 2566 เหนือสิ่งอื่นใดผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา เป็นอย่างสูง ที่เป็นผู้ให้ชีวิตให้กำลังใจ สนับสนุนทุนทรัพย์ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวทุกคนที่ได้ช่วยให้กำลังใจกับผู้ศึกษา เสมอมา คุณและ ประโยชน์ใด ๆ ที่อาจเกิดจากศึกษาฉบับนี้ผู้ศึกษาขออุทิศเพื่อบูชาแด่บิดา มารดา และผู้มีพระคุณสูงสุด ครู อาจารย์ที่ให้ปัญญา และผู้มีพระคุณทุกท่าน นายณัฐกานต์ โหมดนอก
ค สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ........................................................................................................................ ....................... ก กิตติกรรมประกาศ........................................................................................................................ ........ ข บทที่ 1 .................................................................................................................... ............................. 1 ความเป็นมาและความสำคัญ........................................................................................ .......... 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย........................................................................................ ................ 2 ขอบเขตการวิจัย.................................................................................................... ................. 2 สมมติฐานของการศึกษา.................................................................................................... ..... 3 นิยามศัพท์เฉพาะ............................................................................................... ..................... 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ................................................................................................ ...... 4 บทที่ 2 ............................................................................................................................. .................... 5 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551................................................... 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ................................................ 7 ความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน..................................................................... 8 ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.......................................................................... 11 ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน..................................................................................... 12 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน............................................................................. 14 ขั้นตอนการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน............................................................................. 18 การหาคุณภาพคอมพิวเตอร์ช่วยสอน..................................................................................... 19 ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน............................................................. 21 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.................................................................................................................. 22 บทที่ 3 ................................................................................................................................................. 26 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง...................................................................................................... 26 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.......................................................................................................... 26 การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย............................................................ 27 วิธีการดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล............................................................... 29 การวิเคราะห์ข้อมูล.................................................................................................................. 51 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล................................................................................................ 51
ง สารบัญ(ต่อ) เรื่อง หน้า บทที่ 4 ............................................................................................................................. .................... 37 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล............................................................... 37 ขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล.............................................................................. 37 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล............................................................................................................. 38 บทที่ 5 .............................................................................................................................. ................... 40 วัตถุประสงค์ของการศึกษา.................................................................................................... 40 สมมติฐานของการศึกษา........................................................................................................ 40 วิธีดำเนินการศึกษา................................................................................................................ 41 สรุปผลการศึกษา................................................................................................................ ... 41 อภิปรายผล................................................................................................................ ............ 42 ข้อเสนอแนะ................................................................................................................ .......... 43 บรรณานุกรม............................................................................................................................. ............ 45 ภาคผนวก............................................................................................................................. ................. 47 ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา.................................................................................. 48 ภาคผนวก ข แบบประเมินและผลการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา......................... 91 ภาคผนวก ค ผลการวิเคราะห์ข้อมูล........................................................................................ 109 ภาคผนวก ง ภาพเก็บรวบรวมข้อมูล....................................................................................... 113 ภาคผนวก จ ประวัติผู้จัดทำ.................................................................................................... 115
จ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 3.1 กำหนดการทดลอง 30 4.1 ผลการวิเคราะห์หาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 38 4.2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน 38
ฉ สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 โครงสร้างทั่วไปและการสืบค้นในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์................... 14 2 โครงสร้างทั่วไปและการสืบค้นในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบฝึกหัด.............. 15 3 โครงสร้างทั่วไปและการสืบค้นในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทจำลอง..................... 16 4 โครงสร้างทั่วไปและการสืบค้นในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบทดสอบ........... 17 5 โครงสร้างทั่วไปและสืบค้นบทเรียนคอมพิวเตอร์สอนประเภทเกม........................................... 18
1 บทที่ 1 1 ความเป็นมาและความสำคัญ การศึกษาเป็นพื้นฐานของการพัฒนามนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมา พัฒนาตนเองและสังคมให้เกิดความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น การศึกษาจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิตที่จำเป็นสำหรับทุกคนในการดำรงชีวิต (ทิศนา แขมมณี, 2545) จากหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ที่มุ่งหวังให้มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับสภาพความ เปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจสังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เป็นการสร้างกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาให้สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคล สังคมไทย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) แนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุค ศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ทักษะ ด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) จากการสอนรายวิชาคการออกแบบกราฟิก (เพิ่มเติม) เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop เป็น โปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟฟิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะ เป็นงาน ด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย อีกทั้งยังสามารถตกแต่งภาพและการสร้างภาพ ซึ่ง กำลังเป็นที่นิยมสูงมากใน ขณะนี้ เราสามารถใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพ การใส่ Effect ต่างๆให้กับภาพ และตัวหนังสือ การทำภาพ ขาวดำ การทำภาพถ่ายเป็นภาพเขียน การนำภาพมารวมกัน การ Retouch ตกแต่งภาพ (จเร หัตถภูมิเกษตร.2557) พบว่า ใน การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ กำหนดเวลาเรียนคาบละ 60 นาที โดยมีการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์ (เพิ่มเติม) นั้น สัปดาห์ละ 2 คาบ ส่งผลให้เกิดปัญหาในการเรียนการสอนในเรื่องเวลาเรียนที่มีจำกัด และเนื้อหาในรายวิชาเป็น คอมพิวเตอร์ (เพิ่มเติม) ค่อนข้างต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจภายในห้องเรียน โดยลักษณะของรายวิชานี้เป็นรายวิชา ปฏิบัติ ซึ่งส่งผล ทำให้ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้าและไม่เท่ากัน โดยนักเรียนนั้นไม่มีความสามารถปฏิบัติชิ้นงาน ออกมาได้อย่างสร้างสรรค์ เนื่องจาก การเรียนรู้ไม่ทัน และความสามารถของผู้เรียนในการเรียนรู้ของแต่ละ คนผู้เรียนบางคนไม่สามารถที่จะเรียนทันในบทเรียน ให้ เด็กที่ไม่สามารถสร้างชิ้นงานที่ดีละสร้างสรรค์ได้ การสอนแบบโครงงานจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่อง การใช้โปรแกรม Photoshop ได้อย่างเต็มที่และ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เพราะผู้เรียนได้มีการลงมือทำผลงานด้วย ตนเอง การศึกษาได้เน้นให้ความสำคัญกับการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการสอนเป็นอย่างมากการ นำรูปแบบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเข้ามาใช้กับระบบการเรียนการสอนสมัยใหม่ ทำให้การเรียน การสอนแบบเดิม ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของสื่อ มัลติมีเดียที่ประกอบด้วยรูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูด และเทคนิคการนำเสนอที่เร้าใจ เพิ่มความน่าสนใจ ให้กับบทเรียนมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีแบบฝึกหัด เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง เป็น สื่อสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในลักษณะที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้เป็นอย่างดีบทบาทของ สถาบันการศึกษาในด้านการจัดการเรียนการสอนจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและแนว
2 ทางการจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรทางการศึกษา ที่ต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับการ จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ แล้วนำมาปรับปรุงกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน แบบเดิม โดยที่การปรับเปลี่ยนนี้จะต้องสอดคล้องกับการเรียนของนักศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้บทบาทของผู้เรียนเปลี่ยนจากผู้รับมาเป็นผู้เรียนผู้ศึกษาค้นคว้า และเปลี่ยนบทบาท ของครูจากผู้สอนหรือผู้ถ่ายทอดความรู้อย่างเดียว มาเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ทำให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองความ แตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดีมีนักวิชาการหลายท่านกล่าวถึงความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ ดังนี้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นสื่อการศึกษายุคใหม่ที่มี ประสิทธิภาพมาก และยังมีข้อได้เปรียบเหนือสื่ออื่น ๆ ด้วยกันหลายประการ เช่นสามารถถ่ายทอดเนื้อหา บทเรียนได้ใกล้เคียงกับการเรียนในห้องเรียนโดยคอมพิวเตอร์จะนำเสนอเนื้อหาบทเรียนทีละหน้า บน จอคอมพิวเตอร์ และผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมโต้ตอบกับบทเรียน ได้รับข้อมูลย้อนกลับ และสามารถตรวจ คำตอบด้วยตนเองคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงกลายเป็นสื่อการศึกษาที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในแวดวง การศึกษาในปัจจุบัน (สิทธิชัย ไตรโยธี, 2556 : 58) ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการใช้งานโปรแกรม Photoshop เพื่อ สามารถนำมาช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชา การออกแบบกราฟิกของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ขึ้นมาเพื่อจะได้นำผลการวิจัยนี้ เป็นแนวทางสำหรับครูอาจารย์ ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอน ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ต่อการเรียนการสอนของผู้เรียนที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป และ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และ ยกระดับ คุณภาพการศึกษาในลำดับต่อไป 2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2.1. เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งาน โปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2.2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของผู้เรียนที่เรียนด้วยการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น 2.3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น 3 ขอบเขตการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3 3.1.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานีจำนวน 231 คน 3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานีจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการ เลือกแบบเจาะจง 3.2 ตัวแปรที่ศึกษา 3.2.1 ตัวแปรตัน การเรียนโดย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) 3.2.2 ตัวแปรตาม 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ความพึ่งพอใจ 3.3 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 4 สมมติฐานของการศึกษา 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ให้มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 80/80 2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop อยู่ในระดับดี 5 นิยามศัพท์เฉพาะ 5.1 ประสิทธิภาพ หมายถึง การทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ในคุณภาพและปริมาณที่ต้องการซึ่ง หมายถึง ผลสำเร็จ หรือการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย 5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสำเร็จ ความสามารถของบุคคลในด้านต่างๆ ทั้งด้าน ความรู้ ทักษะกระบวนการ ตลอดจนค่านิยม ความเห็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากผ่านกระบวนการเรียนการ สอน การฝึกฝนอบรมมาแล้ว 5.4 สื่อการเรียนรู้หมายถึง เครื่องมือหรือเทคนิคการสอนต่างๆ ที่สนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อ เร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 5.5 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Assisted Instruction :CAI) รากศัพท์เดิมมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา หมายถึง การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย อาจ
4 พบอีกคำหนึ่งที่มีความหมายเหมือนกันคือ Computer Aided Instruction ปัจจุบันประเทศทางแถบยุโรป รู้จักคำว่า Computer-Based Teaching (CBT) มากกว่าซึ่งหมายถึงการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก (อัจฉรีย์ (คำแถม)พิมพิมูล, 2550 : 5) 6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6.1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop สำหลับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6.2. ได้รับผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยการเรียนการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่อง โปรแกรม Photoshop สำหลับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6.3. ได้รับความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop อยู่ในระดับดี
บทที่ 2 เอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด และ ทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีขอบข่ายการศึกษาตามลำดับ ดังนี้ 1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) 3. ความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4.ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 5. ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) มุ่งเน้นพัฒนา ผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้ 1.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) มุ่งให้ผู้เรียนเกิด สมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสารมีวัฒนธรรมในการ ใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อ ขจัดและลดปัญหา ความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความ ถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้ วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การ คิดอย่าง สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือ สารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ เผชิญได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ ความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ใน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
6 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ ในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกัน ใน สังคมด้วยการ สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่าง เหมาะสม การปรับตัว ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยง พฤติกรรม ไม่พึงประสงค์ที่ส่งผล กระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ และมี ทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อ สาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม 2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็น ผู้ ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนนั้นสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ใน ฐานะ ที่เป็นพลเมืองไทยและพลโลก มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์8 ประการดังนี้ 2.1 รักชาติศาสน์กษัตริย์: ผู้เรียนตระหนักถึงความรักชาติศาสน์พระมหากษัตริย์ 2.2 ซื่อสัตย์สุจริต: ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต 2.3 มีวินัย: ผู้เรียนปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ของสถานศึกษา 2.4 ใฝ่เรียนรู้: ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ 2.5 อยู่อย่างพอเพียง: ผู้เรียนตระหนักถึงการใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง 2.6 มุ่งมั่นในการทำงาน: ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย 2.7 รักความเป็นไทย: ผู้เรียนอนุรักษ์และส่งเสริมความเป็นไทย 2.8 มีจิตสาธารณะ: ผู้เรียนมีจิตสาธารณะต่อผู้อื่นเสมอ 3. มาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญ ของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้จะระบุสิ่งที่ผู้เรียนนั้นควรพึงรู้มีคุณธรรม จริยธรรม และ ค่านิยมอันพึงประสงค์เมื่อได้จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้มาตรฐานการเรียนรู้เป็น กลไกสำคัญของการ ขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้สะท้อนให้ทราบว่า ผู้เรียนต้องการอะไร จะ สอนอย่างไร และประเมินอย่างไร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อ การประกันคุณภาพการศึกษา โดยระบบการประเมินคุณภาพภายนอก รวมไปถึงการทดสอบระดับเขต พื้นที่การศึกษาและการทดสอบ ระดับชาติและยังมีการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวว่า เป็น สิ่งสำคัญที่จะช่วยสะท้อนภาพการจัด การศึกษาที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนด 4. ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละดับชั้น ซึ่ง สะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนด เนื้อหา
7 จัดทำหน่วยการเรียนรู้จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผล เพื่อตรวจสอบ คุณภาพผู้เรียน 4.1 ตัวชี้วัดชั้นปีเป็นเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ 4.2 ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดเพื่อความเข้าใจ ดังนี้ ว 4.2 ม. 1/1 ว หมายถึง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4/1 หมายถึง สาระที่ 4 มาตรฐานข้อที่ 1 ม. 1/1 หมายถึง ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยง ความรู้ กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหา ความรู้และปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรม ด้วยการลง มือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น โดยกำหนดสาระสำคัญดังนี้ 1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 1.1 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับ สิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การ เปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากรปัญหาและ ผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนำ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตการลำเลียงสารเข้าและ ออกจากเซลล์ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์ กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กันรวมทั้งนำความรู้ไป ใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 1.3 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอด ลักษณะ ทางพันธุกรรม สารพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่มีผลต่อชีวิต ความหลากหลายทาง ชีวภาพและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1.2 สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติ ของการ เปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
8 มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำ ต่อวัตถุลักษณะ การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุรวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 2.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่าย โอนพลังงาน ปฏิกิริยาระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่นปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้อง กับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1.3 สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการคิด และวิวัฒนาการ ของเอกภพ กาแล็กซีดาวฤกษ์และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิกิริยาสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อ สิ่งมีชีวิต และการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลกกระบวนการเปลี่ยนแปลง ภายในโลกและบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้า อากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้ง ผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 1.4 สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้ เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็น ขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทำงาน และ การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม 3. ความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer( Assisted Instruction) หรือซีเอไอ (CAI)จัดเป็นสื่อ การสอนที่สามารถสนองต่อความแตกต่างในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดีซึ่งนักวิจัยและนักการ ศึกษาที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้สรุปความหมายไว้ดังต่อไปนี้ถนอมพร เลาหจรัสแสง อ้างใน ยอดชาย ขุนสังวาล กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหมายถึง สื่อการเรียน การสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบ หนึ่งซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด ดึงดูดความสนใจและกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ผู้เรียนเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์หรือ การโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับข้อมูลย้อนกลับ บุญเกื้อ ควรหาเวช (2555) กล่าวว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง วิถีทางของการสอน รายบุคคล โดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหา ประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์มีการ แสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วยบทเรียนโปรแกรมที่ เตรียมไว้อย่างเหมาะสม
9 วุฒิชัย ประสารสอย (2555) ได้กล่าวถึงความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่าคอมพิวเตอร์ช่วย สอนเป็นการจัดโปรแกรมเพื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อช่วยถ่ายโยงเนื้อหาความรู้ไปสู่ ผู้เรียน Stolurow (2555) ได้กล่าวถึงคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นวิธีการของการ สอนรายบุคคลโดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กัน มี การแสดงเนื้อหาตามลำดับต่างกัน บทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสมมีการใช้สื่อต่างๆซึ่งเป็นการ สอนรายบุคคลอย่างแท้จริง สุปรีชา สอนสาระ (2558) ได้กล่าวถึง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไว้ว่า สื่อการเรียนการสอนทาง คอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิกราฟ วีดิทัศน์ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือสามารถดึงดูด ความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของ สื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการ ได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK).นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้ เป็นอย่างดีรวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา ประภาทพย์อัคคะปัญญาพงศ์ (2559 : 13) ได้กล่าวว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นเป็นมือ อิเล็กทรอนิกส์ที่น่าสนใจที่สามารถช่วยสงเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ได้เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนสามารถนําเสนอเนื้อหาความรู้แก่ผู้เรียนสามรถทำได้หลายรูปแบบ เช่น สามารถนําเสนอเรื่องราวที่มีทั้ง ภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหวได้พร้อม ๆ กัน ทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจ ช่วยเพิ่มแรงจูงใจใน การเรียนรู้แก่ผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนและสนุกสนานกับการเรียน จากความหมายดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มา เป็นเครื่องมือสร้างให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนนำไปเรียนด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้ใน โปรแกรมประกอบไปด้วย เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด แบบทดสอบลักษณะของการนำเสนออาจมีทั้งตัวหนังสือ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีหรือเสียง เพื่อดึงดูดผู้เรียนเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการแสดงผลการ เรียนให้ทราบทันทีด้วยข้อมูลย้อนกลับ(Feedback) แก่ผู้เรียน และยังมีการจัดลำดับวิธีการสอนหรือกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละคน ทั้งนี้จะต้องมีการวางแผนการในการผลิตอย่างเป็นระบบใน การนำเสนอเนื้อหา ในรูปแบบที่แตกต่างกัน 1.2 ลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบรายบุคคล ที่นำเอา หลักการของบทเรียนโปรแกรมและเครื่องช่วยสอนมาผสมผสานกัน รูปแบบของสื่อ ถูกออกแบบให้ทำงาน ภายใต้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ข้อมูลการเรียนรู้จะอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูลที่นำมาลง หรือ ติดตั้ง ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ อาจจะเล่นบนแผ่น CD-Rom/DVD โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนอง ในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็น รายบุคคลโดยมีคุณลักษณะองค์ประกอบที่สำคัญ แบ่งเป็น
10 1 การนำเข้าสู่บทเรียน 2 การนำเสนอสาระเนื้อหา 3 การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมกับผู้เรียนรู้ 4 การทดสอบประเมินผล คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) นับเป็นกระบวนการเรียนรู้โดยยึดหลักการที่สำคัญที่เรียกว่า 4 Is อันได้แก่ 1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้การนำเสนออาจเป็นไป ในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ทางตรงได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประเภทเกมและการ จำลอง 2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่าง บุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตก ต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด 3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับ คอมพิวเตอร์ช่วย สอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด 4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที(Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือ การให้คำตอบ นี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วย สอน ที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 1.3 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบ่งไปตามลักษณะวิธีการนำเสนอเนื้อหามีผู้แบ่งประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ หลากหลาย บ้างก็5 แบบ 7 แบบ ซึ่งก็แตกต่างกันบ้าง คล้ายกันบ้าง ซึ่งในเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน ไพโรจน์ตีรณธนากุล และไพบูลย์เกียรติโกมล ได้แบ่งตามลักษณะของวิธีการนำเสนอเนื้อหาและ กระบวนการเรียนการสอน เป็น 8 ประเภท ดังนี้ 1. แบบการสอน (Instruction)เพื่อใช้สอนความรู้ใหม่แทนครูซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบ Self-Study Package เป็นรูปแบบของการศึกษาด้วยตนเอง จะเป็นชุดการสอนที่จะต้องใช้ความระมัดระวัง และทักษะในการพัฒนาที่สูงมาก เพราะจะยากเป็นทวีคูณกว่าการพัฒนาชุดการสอนแบบโมดูลหรือแบบ โปรแกรมที่เป็นตำรา ซึ่งคาดว่าจะมีบทบาทมากในอนาคตอันใกล้นี้โดยเฉพาะIMMCAI :Interaction Multi Media CAI บน Internet 2. แบบสอนเสริมหรือทบทวน (Tutorial) เป็นบทเรียนเพื่อทบทวนการเรียนจากห้องเรียน หรือจากผู้สอนโดยวิธีใด ๆ จากทางไกล หรือทางใกล้ก็ตาม การเรียนมักจะไม่ใช่ความรู้ใหม่ หากแต่จะเป็น ความรู้ที่เคยได้รับมาแล้วในรูปแบบอื่น ๆแล้วใช้บทเรียนซ่อมเสริมเพื่อตอกย้ำ ความเข้าใจที่ถูกต้องและ
11 สมบูรณ์ดีขึ้น สามารถใช้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ดังนั้น CAI ประเภทนี้จึงไม่สามารถนำมาสอน แทนครูได้ทั้งหมด เพียงแต่นำมาใช้สอนเสริมหรือใช้ทบทวนในรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนมาแล้วใน ชั้นเรียนปกติ 3. แบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติ(Drill and Practice) เพื่อใช้เสริมการปฏิบัติหรือเสริมทักษะ กระทำบางอย่างให้เข้าใจยิ่งขึ้นและเกิดทักษะที่ต้องการได้เป็นการเสริมประสิทธิผลการเรียนของผู้เรียน สามารถใช้ในห้องเรียน เสริมขณะที่สอนหรือนอกห้องเรียน ณ ที่ใด เวลาใดก็ได้สามารถใช้ฝึกหัดทั้งทางด้าน ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์รวมทั้งทางช่างอุตสาหกรรมด้วย 4. แบบสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) เพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้หรือ ทดลองจาก สถานการณ์ที่จำลองจากสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะหาไม่ได้หรืออยู่ไกล ไม่สามารถนำเข้ามาในห้องเรียนได้ หรือมีสภาพอันตราย หรืออาจสิ้นเปลืองมากที่ต้องใช้ของจริงซ้ำ ๆ สามารถใช้สาธิตประกอบการสอน ใช้ เสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ซ่อมเสริมภายหลังการเรียนนอกห้องเรียน ที่ได้เวลาใด ก็ได้ 5. แบบสร้างเป็นเกม (Game) การเรียนรู้บางเรื่อง บางระดับ บางครั้ง การพัฒนาเป็น ลักษณะเกม สามารถเสริมการเรียนรู้ได้ดีกว่า การใช้เกมเพื่อการเรียน สามารถใช้สำหรับการเรียนรู้ความรู้ ใหม่หรือเสริมการเรียนในห้องเรียนก็ได้รวมทั้งสามารถสอนทดแทนครูในบางเรื่องได้ด้วยจะเป็นการเรียนรู้ จากความเพลิดเพลิน เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีระยะเวลาความสนใจสั้น เช่น เด็กหรือในภาวะสภาพแวดล้อม ที่ไม่อำนวย เป็นต้น 6. แบบการแก้ปัญหา (Problem Solving)เป็นการฝึกการคิด การตัดสินใจ สามารถใช้กับ วิชาการต่าง ๆ ที่ต้องการให้สามารถคิดแก้ปัญหา ใช้เพื่อเสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ในการฝึกทั่ว ๆ ไป นอกห้องเรียนก็ได้เป็นสื่อสำหรับการฝึกผู้บริหารได้ดี 7. แบบทดสอบ (Test) เพื่อใช้สำหรับตรวจวัดความสามารถของผู้เรียน สามารถใช้ ประกอบการสอนในห้องเรียน หรือใช้ตามความต้องการของครูหรือของผู้เรียนเอง รวมทั้งสามารถใช้นอก ห้องเรียน เพื่อตรวจวัดความสามารถของตนเองได้ด้วย 8. แบบสร้างสถานการณ์เพื่อให้ค้นพบ (Discovery) เป็นการจัดทำเพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง โดยการลองผิดลองถูก หรือเป็นการจัดระบบ นำล่องเพื่อชี้นำสู่การ เรียนรู้สามารถใช้เรียนรู้ความรู้ใหม่หรือเป็นการทบทวนความรู้เดิม และใช้ประกอบการสอนในห้องเรียน หรือการเรียนนอกห้องเรียน สถานที่ใด เวลาใด ก็ได้(ไพโรจน์ตีรณธนากุล และไพบูลย์เกียรติโกมล, 2539) 4. ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อที่จะช่วยให้ครูจัดการเรียนรู้ได้บรรลุจุดหมายของหลักสูตร โดยมีผู้กล่าวถึง ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดังนี้ เกียรติพงษ์ยอดเยี่ยมแกร (ม.ป.ป.) กล่าวถึงประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังนี้ 1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว 2. ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ เป็นต้น 3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่การให้รางวัล หรือคะแนน
12 4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป 5. ใช้ในงานเพื่อการสอน 6. การทบทวนบทเรียนเพื่อฝึกหัด 7. การวัดผลหรือสอบเลื่อนชั้น 8. ช่วยให้รับรู้ข่าวสารมากขึ้น อรพันธุ์ประสิทธิรัตน์(2552: 65) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดังนี้ 1) ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนเอง และสามารถเรียนตามลำพังด้วยตนเอง 2) ด้านภาพ เสียง และสีสัน เป็นสิ่งดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้สนใจในบทเรียน 3) เป็นการเสริมแรงแก่ผู้เรียนได้รวดเร็วในระหว่างที่เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความตื่นเต้น ไม่เบื่อหน่ายและเมื่อทำผิดพลาดก็สามารถแก้ไขได้ทันที 4) ผู้เรียนได้เรียนตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปยาก หรือเลือกที่จะเรียนในหัวข้อที่ตนเองสนใจ ก่อนได้ 5) ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหาหรือบทเรียนที่เคยเรียนไปแล้วซ้ำได้อีกตามความต้องการ 6) ผู้สอนใช้เวลาในการสอนน้อยลง และมีเวลาในการเตรียมบทเรียนอื่นๆ ได้มากขึ้น 7) ผู้สอนมีเวลาในการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ 8) ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร 9) ช่วยฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผลเพราะต้องแก้ปัญหาตลอดเวลา รุจโรจน์แก้วอุไร (2558: 77) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดังนี้ 1) สามารถตอบสนองการเรียนรู้ส่วนบุคคลได้ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามระดับ ความสามารถและอัตราความเร็วตามที่ต้องการ 5. ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กิดานันท์ มลิทอง (2543: 275, อ้างถึงใน มัณฑนา ศรีเทพ, 2553: 26-27) ได้กล่าวถึงประโยชน์ ของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียในด้านการศึกษาไว้มากมายหลายด้านดังนี้ 1.ดึงดูดความสนใจ บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่ประกอบด้วยภาพกราฟิกภาพเคลื่อนไหวแบบ วีดีทัศน์ และเสียง นอกเหนือไปจากเนื้อหา ตัวอักษร จะดึงดูดความสนใจของ นักเรียนได้เป็นอย่างดีและช่วยในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและนักเรียนด้วย 2. ให้สารสนเทศหลากหลาย ด้วยการใช้ซีดีรอมในการให้ข้อมูลและสารสนเทศในปริมาณที่มากมาย และหลากหลายรูปแบบเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียนที่สอน 3. ทดสอบความเข้าใจ นักเรียนบางคนอาจจะไม่กล้าถามข้อสงสัยหรือคำถามในห้องเรียนการใช้ สื่อผสมจะช่วยแก้ปัญหาในสิ่งนี้ได้ โดยการใช้ลักษณะศึกษารายบุคคล 4. สนับสนุนความคิดรวบยอด ระบบมัลติมีเดียสามารถแสดงสารสนเทศเพื่อสนับสนุนความคิดรวบ ยอดของนักเรียน โดยการเสนอสิ่งที่ให้ตรวจสอบย้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียน
13 บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์และคณะ, 2544: 17, อ้างถึงใน มัณฑนา ศรีเทพ, 2553: 26-27)กล่าว ไว้ว่า สื่อ มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้คุ้มค่ามากขึ้นด้วย เหตุผลดังต่อไปนี้ 1. เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิดและทฤษฎีการ เรียนรู้มากขึ้น 2. มัลติมีเดียในรูปแบบซีดี-รอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวกและสามารถทำสำเนาได้ง่าย 3. มัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ ด้วยตัวเองตามศักยภาพ ความ ต้องการ และความสะดวกของตนเอง 4. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถ สร้างบทเรียน สื่อมัลติมีเดียใช้เอง 5. ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหาได้ 6. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียนเท่านั้น นักเรียน อาจจะ เรียนที่บ้านที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ตนเองต้องการ 7. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับนักเรียนได้ทุกระดับ อายุละ ความรู้ 8. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียน แล้ว ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายยังช่วยเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อ สถานศึกษาอื่นๆอีก ด้วย จึงสรุปได้ว่า สื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียมีประโยชน์มากมาย ทั้งด้านการศึกษา ด้านนักเรียน ด้าน สถานศึกษาตลอดจนครูผู้สอนเอง เนื่องจาก สื่อมัลติมีเดียมีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความ วีดิโอ จึงกระตุ้นความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้นยังสามารถเรียนซ้ำหลายๆครั้ง ไม่ จำกัดเวลาและสถานที่ สามารถวางแผนวิธีการเรียนของตนเองได้ สนองความแตกต่างระหว่าง บุคคล สามารถเก็บข้อมูลไว้ใน รูปแบบซีดี-รอมและทำสำเนาได้สร้างความสะดวกสบาย และที่ สำคัญคือสามารถออกแบบการสร้าง บทเรียนให้เหมาะสมกับนักเรียนได้ทุกระดับช้ำด้วย ข้อจำกัด 1. ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่างๆเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะ ลดลง มากแล้วก็ตามแต่การที่จะนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางแห่งบางสถานที่ นั้นนจำเป็นต้อง มีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่าย ตลอดจนการดูแลรักษาด้วย 2. การออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้น นับว่ายังมีน้อย เมื่อเทียบกับ การออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์มีจำนวนและ ขอบเขตจำกัดที่ จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
14 3. ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้ได้กับ เครื่อง คอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน เป็นต้นว่า ซอฟท์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ ของ IBM ไม่ สามรถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของ Macintosh ได้ 4. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้นนับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น 5. เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้าจึงมีลำดับ ขั้นตอนใน การสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการสอนจึงไม่สามารถช่วย ในการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้ 6. ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีผู้แบ่งประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้หลายประเภท ดังนี้ 6.1 คอมพิวเตอร์ประเภทติวเตอร์คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำมาเสนอเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา ใหม่หรือการทบทวนเนื้อหาเดิม ส่วนใหญ่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทนี้จะมีแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัด เพื่อทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนประกอบอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้เรียนมีอิสระที่จะตัดสินใจว่าจะทำ แบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดหรือไม่ อย่างไรหรือจะเลือกเนื้อหา ส่วนไหน เรียงลำดับในรูปแบบใด เพราะ การเรียนโดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นผู้เรียนสามารถที่จะ ควบคุมการเรียนของตนได้ตามความต้องการ (ไพโรจน์คชชา 2540 หน้า 50 : ธวัชชัย งามสันติวงศ์2540 หน้า 17, ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2541 หน้า 11-12 สุกรีรอดโพธิ์ทอง 2544 หน้า 25-32) ภาพที่ 1 โครงสร้างทั่วไปและการสืบค้นในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ ที่มา : ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2541 : 72
15 6.2 คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบฝึกหัด คือบทเรียนทางคอมพิวเตอร์ที่มุ่ง ให้ผู้ใช้ทำ แบบฝึกหัดจนสามารถเข้าใจในเนื้อหาในบทเรียนนั้นได้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบฝึกหัดเป็น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนที่อ่อนหรือเรียนไม่ทันคนอื่นได้มีโอกาสทำความเข้าใจ บทเรียนสำคัญๆ ได้โดยที่ผู้สอนไม่ต้อง เสียเวลาในชั้นเรียนอธิบายเนื้อหา (ไพโรจน์คชชา 2540 หน้า 50 : ธวัชชัย งามสันติวงศ์2540 หน้า 17, ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2541 หน้า 11-12 : สุกรีรอดโพธิ์ทอง 2544 หน้า 25-32) ภาพที่ 2 โครงสร้างทั่วไปและการสืบค้นในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบฝึกหัด ทีมา : ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2541 84 6.3 คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบจำลอง คือบทเรียนทางคอมพิวเตอร์ที่นำเสนอเนื้อหาใน รูปแบบการจำลอง (Simulation) โดยการจำลองสถานการณ์ที่เสมือนจริงขึ้นและบังคับให้ผู้เรียนต้อง ตัดสินใจแก้ปัญหา (Problem - Solving) ในตัวบทเรียนจะมีคำแนะนำ เพื่อช่วยในการตัดสอนใจของผู้เรียน และแสดงผลลัพธ์ในการตัดสินใจนั้น ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำลอง คือลดค่าใช้จ่ายและลด อันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ที่เกิดในสถานการณ์(ไพโรจน์คชชา 2540 หน้า 50 : ธวัชชัย งาม สันติวงศ์2540 หน้า 17 : ถนอม พร เลาหจรัสแสง, 2541, หน้า 11-12 : สุกรีรอดโพธิ์ทอง 2544 หน้า 25- 32
16 ภาพที่ 3 โครงสร้างทั่วไปและการสืบค้นในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทจำลอง ที่มา : ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2541 : 94 6.4 คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบทดสอบ คือการใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ในการสร้างแบบทดสอบ การวัดการสอบ การตรวจให้คะแนน การค้านวณผลสอบ ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบทดสอบ คือการที่ผู้เรียนได้รับผลป้อนกลับทันที (Immediate Feedback) ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการทดสอบที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปนอกจากนี้การใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ในการคำนวณผลสอบยังมีความแม่นยำและรวดเร็วอีกด้วย (ไพโรจน์คชชา2540 หน้า 50 : ธวัชชัย งามสันติวงศ์2540 หน้า 17 : ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2541 หน้า 11-12 : สุกรีรอดโพธิ์ทอง 2544, หน้า 25-32)
17 ภาพที่ 4 โครงสร้างทั่วไปและการสืบค้นในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบทดสอบ ที่มา : ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2541 : 108 6.5 คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกม คือบทเรียนทางคอมพิวเตอร์ที่ทำให้ผู้ใช้มีความสนุกสนาน เพลิดเพลินจนลืมไปว่ากำลังเรียนอยู่ เกมคอมพิวเตอร์ทางการศึกษาเป็น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทที่ สำคัญประเภทหนึ่ง เนื่องจากใช้กับเด็กตั้งแต่ประถมศึกษาไปจนถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาใช้กับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาเพื่อเป็นการปูทางให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียน คอมพิวเตอร์ได้ดีอีกด้วย (ไพโรจน์คชชา 2540, หน้า 50 : ธวัชชัย งามสันติวงศ์2540 หน้า 17 : ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2541 หน้า 11-12 : สุกรีรอดโพธิ์ทอง 2544 หน้า 25-32
18 ภาพที่ 5 โครงสร้างทั่วไปและสืบค้นบทเรียนคอมพิวเตอร์สอนประเภทเกม ที่มา ถนอมพร จรัสแสง2541 108 สรุป เรียนคอมพิวเตอร์สอนมีหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งแบ่งรูปแบบหรือประเภทของเรียน คอมพิวเตอร์สอนตามความคิดเห็นของเชี่ยวชาญ แต่ละประเภทมีลักษณะและรูปแบบนำเสนอเรียนแตกต่าง ไป แต่ละรูปแบบได้การพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มการเรียนรู้ของ 7. ขั้นตอนการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำเป็นต้องมีการออกแบบการสอนเพื่อเป็ก หลักประกันว่า ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ของทุกรูปแบบการเรียนการสอน ดังนั้น จึงมีการพัฒนาขึ้นตามหลักของการออกแบบและพัฒนาระบบการสอน ซึ่งมีหลักการออกแบบและพัฒนา ระบบรูปแบบ (Model) หลักการและขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาการสอนอย่างมีระบบตามหลักการ ของ Generic ID Model : ADDIE ซีลและกลาสโกลว์ (Seels, Brabala & Glasgow, Zita, 1990,p.8 ได้ เสนอแนวคิดในการพัฒนาบทเรียนในรูปแบ ADOXE MODEL 5 ชั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นการวิคราะห์(Analysal 2. ขั้นการออกแบบ (Design) 3. ขั้นการพัฒนา (Development) 4. ขั้นการทดลองใช้(Implementation) 5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
19 7.1.1 ขั้นการวิเคราะห์( Analysis) การวิเคราะห์เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบ ระบบ การเรียนการสอน เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ส่งผลไปยังขั้นตอน อื่นๆ ทั้งระบบ ฝ่าการวิเคราะห์ไปละเอียดเพียงพอจะทำให้ขั้นตอนต่อไปขาดความสมบูรณ์ ใน นตอนนี้จึงใช้เวลา นางมา เปรียบเทียบกับ นอน ๆ โดยพิจารณาถึงรายละเอียดของ ภารกิจและเป้าหมายที่ต้องดำเนินการภายใต้ของ เขตความต้องการ 7.1.2 การออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งวัตถุประสงค์ (Critictive) ซึ่งจะทำให้เห็นว่าการเรียนรู้นั้น ได้อะไรขึ้นมาบ้างและจะเป็นแนวทางให้พัฒนาระบบ การสอนได้อย่างมี ประสิทธิภาพการกำาหนดเนื้อหาความรู้และ ทดสอบ Sejeet Meter Test) การกำหนดเนื้อหาความรู้ จะต้องกำหนดลำดับขั้นตอนของเนื้อหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ไว้ก่อนและในการออกแบบ ทดสอบ ควรได้ดำเนินการเป็นขั้นตอนโดยกำหนดวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ ใช้ข้อทดสอบต้องแน่ใจว่าหลอนนั้น สอดคล้องวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ไว้ครอบสองแน่ใจว่าข้อทดสอบนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนที่วาง ไว้ข้อทดสอบต้องมีลักษณะที่เชื่อถือได้แม่นยำวัดได้ถูกต้องเที่ยงตรง การเลือกและการออกแบบสื่อ (Media selection/Design) ต้องให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการเรียน โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของ เงินทุนและสิ่งอำนวยความ สะดวกให้ใช้สื่อชนิดนั้น ๆ 7.1.3 ขั้นการพัฒนา (Development) ขั้นตอนนี้เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จาก ขั้นตอนการ ออกแบบมาดำเนินการต่อเป็นการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อพัฒนาเป็นบทเรียนตามแผนการ ที่วิเคราะห์ไว้ตั้งแต่ ขั้นตอนแรกโดยใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยการ ดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง บทเรียนต้นแบบ ที่พร้อมจะนำไปทดลองใช้ในขั้นต่อไป 7.1.4 ขั้นการทดลองใช้(Implementation) การทดลองใช้เป็นการนำบทเรียนที่ พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายตามวิธีการที่วางแผนไว้ตั้งแต่ต้น 7.1.5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation) การประเมินผลเป็นขั้นตอนสุดท้ายของ กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อประเมินผลตัวบทเรียน และนำผลที่ได้ไปปรับปรุงส่วน ต่างๆ ที่ พบข้อบกพร่องเพื่อให้ได้บทเรียนที่มีคุณภาพ 8. การหาคุณภาพคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 8.1 การตรวจสอบคุณภาพ 8.1.1 การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ เป็นการตรวจสอบในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบสิ่งที่ ปรากฏในสื่อ ซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ถ้าส่วนที่ปรากฏมีลักษณะชัดเจน ง่ายและสะดวกแก่ การรับรู้สื่อนั้นเป็นสื่อที่มีศักยภาพสูงในการสื่อสาร การตรวจสอบที่สำคัญในขั้นนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ลักษณะสื่อ และเนื้อหาสาระในสื่อ 8.1.2 การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative) ผู้ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบสื่อในขั้นนี้ได้ดี ที่สุด คือ นักโสตทัศนศึกษา หรือนักเทคโนโลยีการศึกษาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชียวชาญด้านสื่อการเรียนการสอน ในการตรวจสอบควรมีจำนวนผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 คน โดยใช้แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์อาจจะ มีการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้นำผลการประเมินมารวมกัน เพื่อชี้แนะการปรับปรุงหรือดำเนินการ
20 ต่อไป ผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระในการตรวจสอบเนื้อหาสาระที่ปรากฏในสื่อ ผู้ตรวจสอบได้ผู้เชี่ยวชาญใน เนื้อหาสาระเฉพาะและครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนอย่างน้อย 3 คน กระทำการตรวจสอบโดยใช้แบบ ประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์แสดงความเห็นเพื่อการปรับปรุงในส่วนที่ควรปรับปรุง หรือให้ความเห็นชอบ เพื่อดำเนินการต่อไป ซึ่งการตรวจสอบในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ ตรวจดูการทำงานของ สื่อว่า เมื่อใช้สื่อนั้นกับผู้เรียนเป้าหมาย ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ข้อใดบ้าง ตามเกณฑ์ที่ กำหนดไว้หรือไม่ ควรจะต้องมีการปรับปรุงสื่อหรือไม่ อย่างไรในการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบจะพิจารณาทุก อย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกแบบเนื้อหาสาระ รูปแบบการเสนอเนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน (ถ้ามี) ความยากง่ายของภาษาหรือภาพที่ใช้สื่อสาร ตัวอย่างประกอบ แบบทดสอบเพื่อการวัดผลในส่วนนั้น ๆ ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย หรือแม้กระทั่งวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทั้งในส่วนเนื้อหาสาระและเกณฑ์เป็นต้น 8.2 เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอนนิยมใช้กันมากมี2 แบบ คือ 8.2.1 แบบทดสอบที่ใช้ในที่นี้เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ควรเป็น แบบทดสอบที่มีความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) สูง และสามารถวัดได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดในแต่ละ วัตถุประสงค์โดยทั่วไปการพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ 2) พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ แล้วคำนวณจำนวนข้อ ทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ 3) สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน วัตถุประสงค์ให้มีจำนวนข้ออย่างน้อยที่สุดเป็น 2 เท่าของจำนวนข้อทดสอบที่ต้องการ เพื่อการคัดเลือกข้อที่ เหมาะสมหลังจากที่ได้นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบ 4) พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้องและการแก้ไขปรับปรุงแบบทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5) นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมายที่มีความรู้เรื่องเนื้อหาในสื่อแล้ว 6) วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหาและค่าความยาก ง่าย 7) คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนตามต้องการ และสามารถวัดค่าตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สำหรับ แต่ละวัตถุประสงค์ 8.3 แบบสังเกต ในระหว่างการทดลองใช้สื่อ ผู้ตรวจสอบควรจะสังเกตและบันทึกการแสดงของสื่อ และพฤติกรรมการใช้สื่อในการเยนการสอนของผู้ใช้เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง สิ่งสำคัญที่ควรสังเกตและ บันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือ 1) ความสามารถเข้าใจได้ง่าย (understandable) 2) การใช้ประสามสัมผัสได้ง่าย เช่น มีขนาดอ่านง่ายหรือดูง่าย คุณภาพของเสียงดีฟังง่าย 3) การเสนอตัวชี้แนะ (cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตได้ง่าย (Noticable) 4) ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม ทั้งเวลาการนำเสนอและตอบสนอง อีกทั้งระยะเวลาการ สื่อสารเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน 5) วิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อน
21 8.4 ผู้เรียนสนใจและติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอด 8.4.1. ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เรียนหรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งคัดเลือกมา โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละครั้งของการทดสอบ ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายคนใดที่ได้รับ เลือกเป็นตัวแทนในการทดสอบแล้ว จะไม่เป็นตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายในการทดสอบครั้งต่อไป อนึ่ง ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายจะต้องเป็นบุคคลที่ไม่เคยเรียนหรือไม่มีความรู้เนื้อหาสาระที่สอนในสื่อมาก่อน การทดสอบสื่อ 8.4.2 การทดสอบสื่อในการตรวจสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน โดยปกติจะดำเนินการ โดยการทดลองใช้สื่อกับตัวแทนกลุ่มเป้าหมายในสภาพการณ์จริงปกติซึ่งแบ่งการดำเนินการออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ 8.4.2.1 การทดสอบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-on One testing) ให้ตัวแทน กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการเรียน เก่ง ปานกลาง อ่อน อย่างละ 1 คน เรียนกับสื่อในระหว่างการทดลองใช้สื่อ ให้ผู้ตรวจสอบทำการสังเกตการใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด โดยใช้แบบสังเกตและบันทึกผลการ สังเกตเพื่อป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข 8.4.2.2 การทดสอบกลุ่มเล็ก (Small group testing) การทดสอบสื่อด้วยกลุ่ม ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเล็ก จำนวนประมาณ 5 - 10 คน การทดสอบสื่อในขั้นนี้บางครั้งอาจจะต้อง กระทำมากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจสอบดูว่าสิ่งที่แกไขปรับปรุงในสื่อแล้วนั้น ช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุ วัตถุประสงค์ได้ดีขึ้น ถึงระดับเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือยัง 8.4.2.3 การทดสอบกลุ่มใหญ่ (Large group testing) การทดสอบสื่อในขั้นนี้ เป็นการทดสอบด้วยกลุ่มตัวแทนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหญ่ประมาณ 30 คน เป็นขั้นการทดสอบที่หลังจากสื่อ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนมีคุณภาพหรือมาตรฐานสูง ในบางครั้งการทดสอบขั้นนี้อาจให้ระดับมาตรฐานแก่ สื่อถ้าผู้ตรวจสอบพบผลจากการวิเคราะห์ว่าคุณภาพสื่ออยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ก็จะหยุดการทดสอบสื่อในขั้น นี้และแจ้งผลการทดสอบสื่อขั้นนี้เป็นมาตรฐานของสื่อในบางกรณีผู้ตรวจสอบบางคน อาจจะให้มีการ ทดสอบภาคสนามต่อจากการทดสอบกลุ่มใหญ่ และถือผลการทดสอบภาคสนามเป็นมาตรฐานของสื่อ 9 ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไพโรจน์คะเชนทร์(2556) ได้จัดประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง (Teacher made tests) และแบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized tests) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทจะถามเนื้อหาเหมือนกัน คือถามสิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนการ สอนซึ่งจัดกลุ่มพฤติกรรมได้6 ประเภท คือ ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้การวิเคราะห์การ สังเคราะห์และการประเมิน 9.1 แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเองเพื่อใช้ในการทดสอบผู้เรียนในชั้น เรียน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
22 9.1.1 แบบทดสอบปรนัย (Objective tests) ได้แก่แบบถูก – ผิด (True-false) แบบจับคู่ (Matching) แบบเติมคำให้สมบูรณ์ (Completion) หรือแบบคำตอบสั้น (Short answer) และแบบ เลือกตอบ (Multiple choice) 9.1.2 แบบอัตนัย (Essay tests) ได้แก่ แบบจำกัดคำตอบ (Restricted response items) และ แบบไม่จำกัดความตอบ หรือ ตอบอย่างเสรี(Extended response items) 9.2 แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized tests) เป็นแบบทดสอบที่สร้าง โดยผู้เชี่ยวชาญที่มา ความรู้ในเนื้อหา และมีทักษะการสร้างแบบทดสอบ มีการวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบมีคำชี้แจง เกี่ยวกับการดำเนินการสอบ การให้คะแนนและการแปลผล มีความเป็นปรนัย (Objective) มีความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) แบบทดสอบมาตรฐาน ได้แก่ California Achievement Test, Iowa Test of Basic Skills และ Standford Achievement Test เป็น 9.3 แบบปากเปล่า เป็นการทดสอบที่อาศัยการซักถามเป็นรายบุคคล ใช้ได้ผลดีถ้ามีผู้เข้าสอบ จำนวนน้อย เพราะต้องใช้เวลามาก ถามได้ละเอียด เพราะสามารถโต้ตอบกันได้ 9.4 แบบเขียนตอบ เป็นการทดสอบที่เปลี่ยนแปลงมาจากการสอบแบบปากเปล่า เนื่องจากจำนวน ผู้เข้าสอบมากและมีจำนวนจำกัด แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 9.4.1 แบบความเรียง หรืออัตนัย เป็นการสอบที่ให้ผู้ตอบได้รวบรวมเรียบเรียงคำพูดของตนเอง ในการแสดงทัศนคติความรู้สึก และความคิดได้อย่างอิสระภายใต้หัวเรื่องที่กำหนดให้เป็นข้อสอบที่สามารถ วัดพฤติกรรมด้านการสังเคราะห์ได้อย่างดีแต่มีข้อเสียที่การให้คะแนน ซึ่งอาจไม่เที่ยงตรง ทำให้มีความเป็น ปรนัยได้ยาก 9.4.2 แบบจำกัดคำตอบ เป็นข้อสอบ ที่มีคำตอบถูกใต้เงื่อนไขที่กำหนดให้อย่างจำกัด ข้อสอบ แบบนี้แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ แบบถูกผิด แบบเติมคำ แบบจับคู่และแบบเลือกตอบ 9.5 แบบปฏิบัติเป็นการทดสอบที่ผู้สอบได้แสดงพฤติกรรมออกมาโดยการกระทำหรือลงมือปฏิบัติ จริงๆ เช่น การทดสอบทางดนตรีช่างกล พลศึกษา เป็นต้น สรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบ่งได้2 ประเภท คือ แบบทดสอบมาตรฐาน ซึ่งสร้างจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านวัดผลการศึกษา มีการหาคุณภาพเป็นอย่างดีส่วนอีกประเภท หนึ่ง คือแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการทดสอบในชั้นเรียน ในการออกแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคำศัพท์เพื่อการสื่อสาร ผู้วิจัยได้เลือกแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบปฏิบัติในการวัด ความสามารถในการนำคำศัพท์ไปใช้ในการสื่อสารด้านการการพูดและการเขียนและเลือกแบบทดสอบแบบ เขียนตอบที่จำกัดคำตอบโดยการเลือกตอบจากตัวเลือกที่กำหนดให้ใน การวัดความรู้ความเข้าใจความหมาย ของคำศัพท์และการนำคำศัพท์ไปใช้ในการฟังและการอ่าน 10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ณัฐริน เจริญเกียรติบวร มัทนา ถนอมศักดิ์ 2560 เรื่อง คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องทำงานของ สำหรับนักเรียนการครั้งสร้างหา ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการทำงานของ คอมพิวเตอร์ สำหรับชั้น ที่ 2 เพื่อผลการเรียน การทำงานของคอมพิวเตอร์สอน สำหรับนักเรียนชั้น
23 มัธยมศึกษาที่ 1 ระหว่างเรียน-หลังเรียน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเรียน ชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 ที่มีต่อการใช้ คอมพิวเตอร์สอนเรื่องการท างานของคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างใน การวิจัยครั้งได้แก่ เรียนชั้นมัธยมศึกษา1 โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ ทวีวัฒนาในพระราชูปถัมภ์ภาคเรียน1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน คน ซึ่งได้มา ด้วย วิธีการการสุ่มอย่างง่าย Simple random samplingเครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียน คอมพิวเตอร์ สอนเรื่องการท างานของคอมพิวเตอร์ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาที่ 1 2 คู่มือการใช้ บทเรียน คอมพิวเตอร์สอนเรื่องการงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 13 และ แบบทดสอบ บทเรียนจำนวน ชุด 3แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องการท างานของคอมพิวเตอร์ สำหรับ เรียนชั้นมัธยมศึกษาเป็นแบบปรนัยชนิด เลือกตอบ ตัวเลือก จำนวน ข้อ และ 4แบบสอบถาม พึง พอใจของเรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าดัชนี ประสิทธิผล (EI) และการ ทดสอบค่า t (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนเรื่อง การท างานของ คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.30/31.09 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนดไว้2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการท างาน ของ คอมพิวเตอร์มีคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 73 (ค่าดัชนี ประสิทธิผล EI = 0.73) มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังการใช้บทเรียน CAI สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การท างานของ คอมพิวเตอร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด ( X = 4.56, SD = 0.13) มณฑิรา พันธุ์อัน, นุสรา เดชจิตต์ (2559) ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ปรากฏการณ์ของ โลกและเทคโนโลยีอวกาศ วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน เทศบาล 3 ชุมชนวัด จันทราวาส จังหวัดเพชรบุรีผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อง ปรากฏการณ์ของโลกและ เทคโนโลยีอวกาศ วิชาวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 89.55/80.90 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ไว้คือ 80/80 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา วิทยาศาสตร์เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยี อวกาศหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 15.334 น าไป เปรียบเทียบกับค่า ที่ df (39-1) =38 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและ เทคโนโลยีอวกาศ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส จังหวัดเพชรบุรีจำนวน 39 คน สรุปคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.62, SD = 0.52) เกรียงกวินท์ชูรา และภควัฒน์วงศ์วรรณ วัฒนา (2562) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง แรงและการเคลื่อนที่สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นตาม เกณฑ์S030 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับ หลังเรียน โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน โรงเรียนน้ำ ยืนวิทยา ตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือ
24 ที่ใช้ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หัวข้อย่อย และแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความ ยากระหว่าง 0.50-0.74 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.22-0.55 และค่าความ เชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.42/34.242. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นิวาต นิวาตโสภณ (2556) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงาน เรื่อง ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนโดยการจัดการ เรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนวัดนาง แก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีและหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 2) เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการ จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อประเมินโครงงานของนักเรียนที่ เรียนรู้แบบโครงงาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องข้อมูลและเทคโนโลยี สารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียน วัดนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 30 คน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 3) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนเรื่องข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับการเรียนรู้แบบ โครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องข้อมูลและ เทคโนโลยีสารสนเทศ 5) แบบประเมินผล โครงงานนักเรียน 6) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที(t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 82 56/31.92 เป็นไปตามเกณฑ์80/80 ที่ตั้งไว้2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการ ประเมินโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคุณภาพระดับดี4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อ การ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องข้อมูลและเทคโนโลยี สารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก (x= 4.25, SD = 0.65)
25 ปทุมวัน ดุษฎี (2556) ได้ทำการวิจัยเรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียการสร้าง คําไทยตามหลักเกณฑ์ทางภาษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีวัตถุประสงค์ 3 คือ 1) เพื่อสร้าง บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียการสร้างคําไทยตามหลักเกณฑ์ทางภาษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย 3) เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของผู้เรียนที่ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย 4) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยทดลองกับประชากร คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ภาค เรียนที่3 1 ปีการศึกษา2552 โรงเรียนบ้านหินลาดอำเภอคุระบุรีจังหวัดพังงาจำนวน46 คน ผลการ ประเมินคุณภาพบทเรียน คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียการสร้างคําไทยตามหลักเกณฑ์ทางภาษาสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่โดย 3 ผู้เชี่ยวชําญจนวน3 ท่านและด้านการนําเสนอจำนวน3 ท่านปรากฏ ว่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ4.23 และ 4.33 ตามลำดับซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียน คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียคะแนนการทดสอบ หลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนเรียนอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจ ต่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ4.51 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมากสรุปได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ มัลติมีเดียการสร้างคําไทยตาม หลักเกณฑ์ทางภาษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพและ สามารถนําไปใช้สอนได้
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ประเด็นการศึกษาของผู้วิจัยส่วนใหญ่มีขอบเขตอยู่ที่ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. วิธีการดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานีจำนวน 231 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานีจำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการ เลือกแบบเจาะจง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งาน โปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เนื้อหาประกอบด้วย 2.1.1 การใช้งานโปรแกรมเบื้องต้น 2.1.2 การใช้งานเครื่องมือในโปรแกรมเบื้องต้น 2.1.3 การใช้งานฟังก์ชันต่างๆ 2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2.2.1 แบบทดสอบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ
27 2.2.2 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีลักษณะเป็นแบบประเมินแบบ ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ 3. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 3.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีขั้นตอนดังนี้ 3.1.1 การวิเคราะห์(A : Analysis) 3.1.1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3.1.1.2 ศึกษาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3.1.1.3 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เชิงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับคำอธิบาย รายวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้ในหลักสูตร และวิเคราะห์เนื้อหา 3.1.1.4 ศึกษาหลักการ วิธีการ ทฤษฎีและเทคนิควิธีการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน จากตำรา เอกสารต่าง ๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาตรวจและเห็นชอบ จึงดำเนินการขั้นต่อไป 3.1.2 การออกแบบ (D : Design) 3.1.2.1 ศึกษาโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3.1.2.3 ออกแบบ หน้าจอ ภาพกราฟิก และต้นแบบของบทเรียน 3.1.2.4 สร้างบทเรียนต้นแบบและตรวจสอบการทำงานของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1แล้วนำไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาตรวจพิจารณาและเห็นชอบจึงดำเนินการขั้นต่อไป 3.1.3 การพัฒนา (D : Development) หลังจากได้รับคำเสนอแนะจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ผู้ศึกษาได้พัฒนาบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามที่ ออกแบบไว้แล้วนำเสนอต่อกรรมการพิจารณาโครงงานวิจัย จำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบคุณภาพบทเรียน โดยใช้แบบประเมินเกมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และนำมาปรับปรุงแก้ไข้ตามคำแนะนำ 3.1.4 การทดลองใช้(I : Implementation)
28 3.1.4.1 สร้างสื่อแนะนําการเรียนรู้ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ไม่นับรวมเวลาที่ใช้ในการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.1.4.2 ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของ องค์ประกอบในแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ และวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สูตรการค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) กำหนดเกณฑ์การพิจารณา ไว้ดังนี้ เห็นว่าสอดคล้อง ให้คะแนน +1 ไม่แน่ใจ ให้คะแนน 0 เห็นว่าไม่สอดคล้อง ให้คะแนน - 1 3.1.4.3 นําข้อมูลที่รวบรวมจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มาวิเคราะห์หาค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เป็นรายข้ออยู่ระหว่าง -1 0 1 และปรับปรุง แผนการจัดการเรียนรู้ ตามข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของผู้เชี่ยวชาญ 3.1.4.4 จัดเตรียมสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อนําไปทดลองใช้ 3.1.4.5 ทดลองใช้รายบุคคล นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งาน โปรแกรม Photoshop ไปทดลองใช้ กับนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานีในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 3 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีผล การเรียนอยู่ในระดับ เก่ง ปานกลาง อ่อน อย่างละ 1 คน โดยดำเนินการทดลองตาม แบบแผนการทดลอง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 75.52/88.28 และบันทึกข้อบกพร่องเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุง 3.1.5 การประเมินผล (E : Evaluation) ดำเนินการทดลองภาคสนามกับนักเรียน กลุ่มตัวอย่างตามแบบแผนการทดลอง และประเมินผลบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ การหาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของผู้เรียน และความพึงพอใจ 3.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.2.1 ศึกษาทฤษฎีและวิธีการสร้างแบบทดสอบ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3.2.2 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3.2.3 วิเคราะห์เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเพื่อ กำหนดจำนวนข้อสอบที่ต้องการจริง 3.2.4 เขียนแบบทดสอบฉบับร่าง ทั้งแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 3.2.5 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อปรับปรุงและแก้ไขให้มีความ เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
29 3.2.6 นำแบบทดสอบที่ปรับปรุงแล้ว เสนอผู้เชี่ยวชาญ พร้อมประเมิน เพื่อตรวจสอบความ สอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ โดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่างข้อสอบกับ จุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งมีรายนามผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 3.2.6.1 นายพุทธศาสน์ จิตจง 3.2.6.2 นายมนัส ผิวชัยภูม 3.2.6.3 นางสาวปุญยวีร์ บัวเข็ม มีเงื่อนไขการประเมินความสอดคล้อง ดังนี้ ให้คะแนน +1 เมื่อแน่ใจว่า ข้อสอบนั้นวัดตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้คะแนน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่า ข้อสอบนั้นวัดตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้คะแนน -1 เมื่อแน่ใจว่า ข้อสอบนั้นวัดไม่ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 3.3 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยเรื่อง การใช้งาน โปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีขั้นตอนดังนี้ 3.3.1 ศึกษาทฤษฎีการวัดความพึงพอใจ เกณฑ์การวัดความพึงพอใจ และการสร้าง แบบสอบถาม 3.3.2 สร้างแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบประเมินแบบประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบประเมินของลิเคิร์ท (Likert) และกำหนดเกณฑ์การวัดความพึงพอใจ แบ่งระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 5 = พอใจมากที่สุด, 4 = พอใจมาก, 3 = พอใจปานกลาง, 2 = พอใจน้อย, 1 = พอใจน้อย ที่สุด จำนวน 10 ข้อคำถาม 3.3.3 จัดพิมพ์แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อนําไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป 4. วิธีดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการทดลอง โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งได้กำหนดวันและเวลา การทดลอง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 รายละเอียดดัง ตารางที่ 3.1
30 ตารางที่ 3.1 กำหนดการทดลอง แผนการ จัดการ เรียนรู้ที่ หัวข้อเรื่องในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เวลา (นาที) วัน/เดือน/ปี ที่ดำเนินการ - ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน 50 8/ส.ค./2566 1 การสร้างหน้ากระดาษและนำเข้ารูปภาพ 50 8/ส.ค./2566 2 เครื่องมือในโปรแกรม Adobe Photoshop 50 15/ส.ค./2566 3 การใช้งานเครื่องมือเบื้องต้น 50 15/ส.ค./2566 4 การสร้างข้อความเบื้องต้น 50 22/ส.ค./2566 - ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน 50 22/ส.ค./2566 สรุปขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ดังนี้ 4.1 ทดสอบก่อนเรียน (Pretest) ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pretest) จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลาในการทดสอบ 50 นาที 4.2 เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้ศึกษาให้กลุ่มตัวอย่างทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยใช้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน ใช้เวลาในการทดสอบ 30 ชั่วโมง การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4.3 นําแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้ งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สอบถามนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง และชี้แจงทำ ความเข้าใจขั้นตอนการตอบแบบสอบถามอย่างละเอียด โดยผู้ศึกษาให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด และเมื่อ กลุ่มตัวอย่างส่งแบบสอบถามคืน ผู้ศึกษาได้ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของการตอบ โดยหาก พบว่าไม่ถูกต้องและครบถ้วน ผู้ศึกษาให้กลุ่มตัวอย่างตอบใหม่อีกครั้ง 4.4 รวบรวมข้อมูลไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่อไป
31 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 5.1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( X )ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t-test) แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples) 5.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนและหลังเรียนด้วยการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( X )และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยกำหนดเกณฑ์การ วัดความพึงพอใจไว้ดังนี้ 5.3 วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยกำหนดเกณฑ์การวัดความพึงพอใจไว้ดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.51– 5.00 หมายถึง มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง มาก ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง น้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง น้อยที่สุด 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้ 6.1 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้ 6.1.1 ร้อยละ (Percentage) สูตร p = ×100 เมื่อ p แทน ค่าร้อยละ แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นค่าร้อยละ n แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด 6.1.2 ค่าเฉลี่ย (Mean) สูตร ̅= ∑ เมื่อ ̅ แทน ค่าเฉลี่ย ∑ แทน ผลรวมข้อมูลทั้งหมด แทน จำนวนข้อมูล 6.1.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้สูตรดังนี้
32 สูตร S.D. = √∑ 2−(∑) 2 (−1) เมื่อ S.D. = แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = แทน คะแนนแต่ละกลุ่มตัวอย่าง − 1 = แทน จำนวนตัวแปรอิสระ = แทน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (∑) 2 = แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง ∑ 2 = แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวด้วยยกกำลังสอง 6.1.4 ความแปรปรวน ใช้สูตร 2 = ∑(−̅) 2 −1 2 คือความแปรปรวน ความแปรปรวนจะวัดเป็นหน่วยยกกำลังสอง แทนที่จุดข้อมูลในชุดข้อมูล ∑ หมายถึง "รวม" จะบอกคุณให้คำนวณพจน์ต่อไปนี้สำหรับค่าแต่ละค่า ของ แล้วบวกมันเข้าด้วยกัน ̅คือค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง คือจำนวนสมาชิกของข้อมูล 6.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 6.2.1 การประเมินความสอดคล้อง ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยการหาค่าดัชนีความ สอดคล้อง (IOC) ใช้สูตรดังนี้ IOC = ∑ IOC = คือ ดัชนีความสอดคล้อง A R = คือ คะแนนการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ ∑ = คือ ผลรวมของคะแนนพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ = คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 6.2.2 การหาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สูตรดังนี้ 6.2.2.1 ความยากของข้อสอบอิงกลุ่ม 6.2.2.1.1 กรณีข้อสอบแบบเลือกตอบ ( ให้คะแนน 0, 1) คัดเลือกข้อสอบที่มีค่า p อยู่ระหว่าง 0.2 ถึง 0.8 สูตรคำนวณดัชนีความยาก มีดังนี้ =
33 เมื่อ แทน ดัชนีความยาก แทน จำนวนที่ตอบข้อนั้นถูก (ทั้งในกลุ่ม, ปานกลาง, ต่ำ) แทน จำนวนผู้ตอบทั้งหมด 6.2.3 การหาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของเบรนแนน (Bernnan) ใช้สูตรดังนี้ = − เมื่อ S คือดัชนีความไว Rpost คือจํานวนผู้ตอบถูกหลังสอน Rpre คือจํานวนผู้ตอบถูกก่อนสอน N คือจำนวนนักเรียนทั้งหมด 6.2.4 การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตรของ ของโลเวทท์ (Lovett) = 1 − ∑ − ∑ 2 ( − 1)( − ) 2 เมื่อ แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์ แทน คะแนนสอบของนักเรียนแต่ละคน แทน จำนวนข้อสอบทั้งฉบับ แทน คะแนนเกณฑ์หรือจุดตัดของแบบทดสอบ 6.2.5 การหาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามเป็นรายข้อ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม (Item Total correlation) ใช้สูตรดังนี้ = ∑−∑∑ √[∑ 2−(∑) 2][∑2−(2)] ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม จำนวนคน ∑ ผลรวมของคะแนนรายข้อ ∑ ผลรวมของคะแนนรวมทุกข้อ ∑ ผลรวมของผลคูณระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทุกข้อของทุกคน ∑ 2 ผลรวมของคะแนนรายข้อแต่ละตัวยกกำลังสอง ∑ 2 ผลรวมของคะแนนรวมทุกข้อแต่ละตัวยกกำลังสอง
34 6.2.6 การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตามวิธีของ ครอนบาค (Cronbach) สัมประสิทธิ์แอลฟา ( - Coefficient) − − = 2 2 i S S 1 n 1 n α เมื่อ α แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด/แบบประเมิน n แทน จำนวนข้อของแบบวัด/แบบประเมินทั้งฉบับ 2 i S แทน ความแปรปรวนของคะแนนรายข้อ 2 S แทน ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ 6.3 ที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย 6.3.1 การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพกระบวนการและประสิทธิภาพผลลัพธ์ของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ใช้สูตรดังนี้ 100 A N X E1 = เมื่อ E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ x แทน คะแนนรวมของแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบย่อยทุกชุดรวมกัน A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดทุกชุดรวมกัน N แทน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 100 B N x E2 = 75 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดที่ได้จาก กิจกรรมกลุ่ม การปฏิบัติการทดลองและการทดสอบย่อยด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์เรื่อง การใช้งาน Photoshop ซึ่งต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75 75 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดที่ได้จาก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนรู้ตามการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้งาน Photoshop ซึ่งต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75 6.3.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ ทดสอบค่าที(t-test) แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples) ใช้สูตร ดังนี้
35 (N 1) N D ( D) D t 2 2 − − = เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่จะใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤต พื่อทราบนัยสำคัญ D แทน ความแตกต่างระหว่างคะแนนแต่ละคู่ N แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนคู่ แทน ผลรวม df แทน ความเป็นอิสระมีค่าเท่ากับ N – 1 6.3.3 การหาค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index: E.I.) โดยวิเคราะห์จาก คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มตามวิธีการของกูดแมน (Goodman) เฟรสเซอร์ (Fletchers) และชไนเดอร์ (Schneider) ดัชนีประสิทธิผล = ร้อยละของผลรวมคะแนน − ร้อยละของผลรวมคะแนนก่อนเรียน 100 − ร้อยละของผลรวมคะแนนก่อนเรียน ⅈ = 2 0 0 ⁄ − 1 0 0 ⁄ 100 − 1 0 0 ⁄ 2 0 0 ⁄ แทน ร้อยละของผลรวมของคะแนนก่อนเรียน 1 0 0 ⁄ แทน ร้อยละของผลรวมของคะแนนหลังเรียน 6.3.4 วิเคราะห์ความพึงพอใจ คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) x ̅=(∑x)/n เมื่อ x ̅ แทน ค่าเฉลี่ย ∑x แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มี 2 สูตร สูตรที่ 1 S.D.=√((x-x ̅)^2/(n-1)) สูตรที่ 2 S.D.=√((n∑x^2-(∑x)^2)/n(n-1) )
36 เมื่อ S.D. คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน X คือ ข้อมูล (ตัวที่ 1,2,3,...,n ) x ̅ คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต n คือ จำนวนข้อมูลทั้ง
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังต่อไปนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษากำหนดความหมายของสัญลักษณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง ̅แทน ค่าเฉลี่ย (Mean) E1 แทน ประสิทธิภาพกระบวนการจากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียน E2 แทน ประสิทธิภาพผลลัพธ์จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) t แทน สถิติทดสอบที่ใช้เปรียบเทียบค่าวิกฤตเพื่อทราบความมีนัยสําคัญ ∑ แทน ผลรวม df แทน ระดับความเป็นอิสระ (Degrees of Freedom) * แทน นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลัง เรียนด้วยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
38 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 วิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อการสอน โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปรากฏผล ดังตารางที่ 4.1 ตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์หาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อการสอน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การทดสอบ n ̅ S.D. T-test ก่อนเรียน 28 5.89 1.73 28.47* หลังเรียน 28 16.79 1.57 * นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตารางที่ 4.1 พบว่าการทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1 ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 5.89 และค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 16.79 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของ นักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ ระดับ .05 ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนสอน โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ ค่าเฉลี่ย (̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ปรากฏผลดังตารางที่ 4.2 ตารางที่ 4.2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ข้อ รายการประเมิน ̅ S.D. แปลผล 1 เนื้อหามีความน่าสนใจและเข้าใจง่าย 4.75 0.57 มากที่สุด 2 เนื้อหามีเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน 4.72 0.58 มากที่สุด 3 ความยากง่ายของเนื้อหา เป็นไปตามระดับของผู้เรียน 4.61 0.67 มากที่สุด 4 เนื้อหามีความสอดคล้องกับบทเรียน 4.64 0.55 มากที่สุด 5 เนื้อหามีความถูกต้อง 4.61 0.67 มากที่สุด 6 เนื้อหามีประโยชน์ต่อผู้เรียน 4.75 0.57 มากที่สุด 7 เนื้อหาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.71 0.52 มากที่สุด 8 สื่อมีความน่าสนใจ 4.61 0.67 มากที่สุด 9 ตัวอักษรมีความชัดเจนและอ่านง่าย 4.57 0.73 มากที่สุด
39 จาตารางที่ 4.2 พบว่าการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบวัดความพึงพอใจ มีทั้งหมด 15 ข้อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และ S.D.เท่ากับ 0.61 อยู่ ในระดับความพึ่งพอใจมากที่สุด 10 ภาพประกอบมีความเหมาะสมกับเนื้อหา 4.61 0.67 มากที่สุด 11 สื่อใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน 4.75 0.57 มากที่สุด 12 สื่อใช้งานที่ไหนก็ได้มีความสดวกสบาย 4.64 0.67 มากที่สุด 13 ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากสื่อ 4.71 0.59 มากที่สุด 14 ผู้เรียนมีความประทับใจในสื่อ 4.61 0.67 มากที่สุด 15 ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการรับชมสื่อไปใช้ ในชีวิตประจำวัน 4.61 0.67 มากที่สุด ภาพโดยรวม 4.67 0.61 มากที่สุด
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้มีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2. สมมติฐานของการศึกษา 3. วิธีดำเนินการศึกษา 4. สรุปผลการศึกษา 5. อภิปรายผล 6. ข้อเสนอแนะ 1. วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.1 เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งาน โปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น 1.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น 2. สมมติฐานของการศึกษา 2.1เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งาน โปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ด้วย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพอใจมาก
41 3. วิธีดำเนินการศึกษา 3.1 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 28 คน ได้มาโดยเจาะจง (Purposive Sampling) 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้ งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองมี ดังนี้ 3.2.1 สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop 3.2.3 แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2.5 แบบประเมินความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งาน โปรแกรม Photoshop 3.2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.2.2.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหนังเรียน เรื่องการใช้งาน โปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ที่ 0.5 ขึ้นไป ค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.54 - 0.79 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.21 – 0.43 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 3.2.2.3 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 มีลักษณะเป็นแบบประเมินแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าดัชนีความ สอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.5 ขึ้นไปและมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.77 4. สรุปผลการศึกษา การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 4.1 นักเรียนที่เรียนโดยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
42 4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจ มาก ( X = 4.67, S.D. = 0.61) 5. อภิปรายผล การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สามารถอภิปรายการศึกษาได้ดังนี้ 5.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Photoshop ที่ผู้วิจัยได้สร้างและ พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ทั้งนี้อาจ เนื่องมาจากได้ผ่านการศึกษา พัฒนาอย่างเป็นระบบ และมีการปรับปรุงในแต่ละขั้นตอน อีกทั้งได้ผู้เชี่ยวชาญ ได้ช่วยตรวจเครื่องมือและประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทำให้ได้เครื่องมือต่างๆ มี ประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้ใช้เวลาและกระบวนการในการดำเนินการทดลอง 3 ครั้ง คือ แบบเดี่ยว แบบกลุ่ม เล็กและแบบกลุ่มใหญ่ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงแก้ไขทุกครั้งที่มีผลการประเมินประสิทธิภาพออกมา ก่อนที่ จะนำมาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในขั้นตอนของการหาประสิทธิภาพนั้น ผู้รายงานได้ดำเนินการตามแนวคิดที่ พรเทพ เมืองแมน (2544: 43) ได้กล่าวว่า การออกแบบบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูผู้สอน ต้องอาศัยหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ได้แก่ การรับรู้ (Perception) การจำจด (Memory) การ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถจัดระเบียบ (Organize) การให้ผู้เรียนฝึกและทำซ้ำมาก ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิด ทักษะความชำนาญและสามารถจดจำได้ดี การมีส่วนร่วม(Participation) และการมี ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ของผู้เรียนในการเรียน การสร้างแรงจูงใจ (Motivation) การถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of Leaming) และความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Diflerence) และสำหรับ ขั้นตอน การประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจเครื่องมือ และประเมินคุณภาพ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พร้อมทั้งได้ให้คำแนะนำในสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขไว้อย่างละเอียด ส่งผลให้ ผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความสมบูรณ์และเหมาะสมที่สุด 5.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์นักเรียนที่เรียนโดยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 พบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งจากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแสดงให้ เห็นว่า การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Photoshop ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ยังสอดคล้อง กับ ศุภนุช ประพิณ (2550) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่า การนำเครื่อง คอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อช่วยในการเรียนการสอน โดยมีการนำเสนอ ใน