เอกสารประกอบการสอน รายวิชาประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2566
(1) คำนำ เอกสารการสอนเรื่อง ประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลเล่มนี้ เรียบเรียงขึ้น ด้วยเจตนาที่จะใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียนการสอน ในรายวิชาประเด็นกฎหมายและจริยธรรมใน การปฏิบัติการพยาบาล สำหรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี เนื้อหาใน หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึง ความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาล ความรับผิดทางแพ่งกับการปฏิบัติ การพยาบาล ความรับผิดทางการพยาบาลตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ คลินิก การพยาบาลและการผดุงครรภ์กฎหมายที่เกี่ยวข้อง นิติเวชศาสตร์กับการปฏิบัติการพยาบาล และการป้องกัน และแก้ไขปัญหาทางจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาที่นักศึกษาพยาบาลต้อง ศึกษาและนำไปใช้สอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณี เดียวอิศเรศ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฎรำไพพรรณี ที่ให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการเขียนเอกสารนี้ ขอขอบคุณนางสาว ธวัลฉัตร ลีลานันทวงศ์ หัวหน้างานนิติกร ระดับชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี ที่ เอื้อเฟื้อเอกสารตำรากฎหมายและถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้แก่นักศึกษา หวังว่าเอกสารประกอบการ สอนนี้ จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาทุกคนสืบไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์ เมษายน 2566
(2) สารบัญ หน้า คำนำ (1) สารบัญ (2) สารบัญตาราง (5) แผนบริหารการสอนประจำรายวิชา (6) แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 1 1 บทที่ 1 ความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาล 3 1.1 หลักการควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 3 1.2 ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา 4 1.3 หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาที่กับการปฏิบัติการพยาบาล 5 1.4 ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล 14 ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ 14 การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย 14 การเปิดเผยความลับผู้ป่วย 15 การปฏิเสธการช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต 17 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร 18 การทำให้หญิงแท้งลูก 19 1.5 สรุป 25 แบบฝึกหัดบทที่ 1 26 เอกสารอ้างอิง 27 แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 2 28 บทที่ 2 ความรับผิดทางแพ่งกับการปฏิบัติการพยาบาล 30 2.1 การทำนิติกรรม 30 2.2 บุคคลที่หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรม 32 2.3 สภาพบังคับทางแพ่ง 35 2.4 อายุความทางเพ่ง 38 2.5 ความรับผิดจากการละเมิดที่เกี่ยวกับปฏิบัติการพยาบาล 39
(3) สารบัญ (ต่อ) หน้า 2.6 ประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่พบบ่อย 40 2.7 สรุป 43 แบบฝึกหัดบทที่ 2 44 เอกสารอ้างอิง 45 แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3 46 บทที่ 3 ความรับผิดทางการพยาบาลตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ 48 3.1 เกณฑ์การรับผิดทางการพยาบาล 48 3.2 ประเด็นการประพฤติผิดจริยธรรมทางการพยาบาล 50 3.3 กรณีศึกษาความรับผิดทางการพยาบาล 51 3.4 การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 55 3.5 กระบวนการสืบสวนความรับผิดทางการพยาบาล 56 3.6 สรุป 58 แบบฝึกหัดบทที่ 3 59 เอกสารอ้างอิง 60 แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4 61 บทที่ 4 คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 63 4.1 ประเภทคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 63 4.2 การขออนุญาตเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 64 4.3 ขอบเขตในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 69 4.4 ความเสี่ยงและปัญหาทางกฎหมายในการเปิดคลินิกการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ 69 4.5 สรุป 71 แบบฝึกหัดบทที่ 4 72 เอกสารอ้างอิง 73
(4) สารบัญ (ต่อ) หน้า แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5 74 บทที่ 5 นิติเวชศาสตร์กับการปฏิบัติการพยาบาล 76 5.1 ความหมายของนิติเวชศาสตร์ 76 5.2 ประเภทของนิติเวชศาสตร์ 76 5.3 การชันสูตรพลิกศพ 77 5.4 การพยาบาลนิติเวช 79 5.5 บาดแผลทางนิติเวช 80 5.6 การเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน 83 5.7 การดูแลผู้ป่วยคดี 85 5.8 การดูแลผู้ป่วยที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 86 5.9 การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางนิติเวช 90 5.10 สรุป 94 แบบฝึกหัดบทที่ 4 95 เอกสารอ้างอิง 96 แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 97 บทที่ 6 การป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 99 6.1 ปัญหาจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 99 6.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 106 6.3 การตัดสินเชิงจริยธรรมที่เกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติการพยาบาล 108 6.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหากฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 111 6.5 ประเด็นปัญกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลที่พบบ่อย 116 6.6 สรุป 121 แบบฝึกหัดบทที่ 6 122 เอกสารอ้างอิง 123
(5) สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 5.1 วิธีเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อหาลาย DNA 92
(6) แผนบริหารการสอนประจำรายวิชา รหัสวิชา 2504107 รายวิชา ประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล (Legal and Ethics Issues in Nursing Practice) 1 (1-0-2) หน่วยกิต คำอธิบายรายวิชา วิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมที่พบบ่อยในการปฏิบัติการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ และผลกระทบต่อการปฏิบัติการพยาบาลและการดำเนินชีวิต จุดมุ่งหมายรายวิชา 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมที่พบบ่อยในการ ปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อการ ปฏิบัติการพยาบาลและการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้หลักทางจริยศาสตร์ จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง ในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางจริยธรรมเบื้องต้นที่พบบ่อยในการปฏิบัติการพยาบาลได้ เนื้อหารายวิชา บทที่ 1 ความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาล 2 ชั่วโมง 1.1 หลักการควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 1.2 ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา 1.3 หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาที่กับการปฏิบัติการพยาบาล 1.4 ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล 1.4.1 ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ 1.4.2 การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย 1.4.3 การเปิดเผยความลับผู้ป่วย 1.4.4 การปฏิเสธการช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต 1.4.5 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร 1.4.6 การทำให้หญิงแท้งลูก
(7) 1.5 สรุป บทที่ 2 ความรับผิดทางแพ่งกับการปฏิบัติการพยาบาล 2 ชั่วโมง 2.1 การทำนิติกรรม 2.2 บุคคลที่หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรม 2.3 สภาพบังคับทางแพ่ง 2.4 อายุความทางเพ่ง 2.5 ความรับผิดจากการละเมิดที่เกี่ยวกับปฏิบัติการพยาบาลฯ 2.6 ประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่พบบ่อย 2.7 สรุป บทที่ 3 ความรับผิดทางการพยาบาลตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ 2 ชั่วโมง การพยาบาลและการผดุงครรภ์ 3.1 เกณฑ์การรับผิดทางการพยาบาล 3.2 ประเด็นการประพฤติผิดจริยธรรมทางการพยาบาล 3.3 กรณีศึกษาความรับผิดทางการพยาบาล 3.4 การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 3.5 กระบวนการสืบสวนความรับผิดทางการพยาบาล 3.6 สรุป บทที่ 4 คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ชั่วโมง 4.1 ประเภทคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4.2 การขออนุญาตเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4.3 ขอบเขตในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4.4 ความเสี่ยงและปัญหาทางกฎหมายในการเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4.5 สรุป บทที่ 5 นิติเวชศาสตร์กับการปฏิบัติการพยาบาลฯ 2 ชั่วโมง 5.1 ความหมายของนิติเวชศาสตร์ 5.2 ประเภทของงานนิติเวชศาสตร์ 5.3 การชันสูตรพลิกศพ 5.4 การพยาบาลนิติเวช 5.5 บาดแผลทางนิติเวช
(8) 5.5 การเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน 5.7 การดูแลผู้ป่วยคดี 5.8 การดูแลผู้ป่วยที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 5.9 การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางนิติเวช 5.10 สรุป บทที่ 6 การป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 2 ชั่วโมง 6.1 ปัญหาจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 6.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 6.3 การตัดสินเชิงจริยธรรมที่เกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติการพยาบาล 6.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหากฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 6.5 ประเด็นปัญหาเชิงจริยธรรมที่พบบ่อย 6.6 สรุป วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเอกสาร รายงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์กรณีศึกษา นำเสนองานและ อภิปราย 3. ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษากรณีคดีฟ้องร้องทางการแพทย์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ 4. ผู้สอนให้ผู้เรียนสัมนาทางวิชาการเกี่ยวกับประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติ การพยาบาล 5. ผู้สอนประเมินผลการจัดการเรียนรู้ประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติ การพยาบาล สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติ การพยาบาล 2. ไฟล์การนำเสนอภาพนิ่งผ่านโปรแกรมไมโครซอฟท์พาวเวอร์พอยท์ 3. หนังสืออ่านประกอบค้นคว้าเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาประเด็นกฎหมายและจริยธรรม ในการปฏิบัติการพยาบาล 4. สื่อวิดิทัศน์ 5. แบบฝึกหัด
(9) การวัดผลและประเมินผล การวัดผล คะแนนรวมในการวัดผล 100 คะแนน แบ่งเป็น 1. คะแนนระหว่างเรียน 50 คะแนน 1.1 งานที่ได้รับมอบหมายและนำเสนอ 25 คะแนน 1.2 สัมมนาวิชาการ 25 คะแนน 2. คะแนนสอบปลายภาคเรียน 50 คะแนน การประเมินผล ช่วงคะแนน 80 – 100 ได้ระดับ A ช่วงคะแนน 75 – 79 ได้ระดับ B + ช่วงคะแนน 70 – 74 ได้ระดับ B ช่วงคะแนน 65 – 69 ได้ระดับ C + ช่วงคะแนน 60 – 64 ได้ระดับ C ช่วงคะแนน 55 – 59 ได้ระดับ D + ช่วงคะแนน 50 – 54 ได้ระดับ D ช่วงคะแนน 0 – 49 ได้ระดับ F
1 แผนบริหารการสอนประจำบทที่1 เนื้อหา บทที่ 1 ความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาล 1.1 หลักการควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 1.2 ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา 1.3 หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาที่กับการปฏิบัติการพยาบาล 1.4 หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาที่กับการปฏิบัติการพยาบาล 1.4.1 ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ 1.4.2 การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย 1.4.3 การเปิดเผยความลับผู้ป่วย 1.4.4 การปฏิเสธการช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกอยู่ในอันตราย 1.4.5 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร 1.4.6 การทำให้หญิงแท้งลูก 1.5 สรุป จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อศึกษาบทที่ 1 แล้วนักศึกษาสามารถ 1. อธิบายหลักการควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ 2. อธิบายลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญาได้ 3. อธิบายหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาที่กับการปฏิบัติการพยาบาลได้ 4. อธิบายความประมาทในการประกอบวิชาชีพได้ 5. อธิบายการทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วยได้ 6. อธิบายการเปิดเผยความลับผู้ป่วยได้ 7. อธิบายการปฏิเสธการช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกอยู่ในอันตรายได้ 8. อธิบายความผิดเกี่ยวกับเอกสารได้ 9. อธิบายการทำให้หญิงแท้งลูกได้ กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท 1. ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน วิชาความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาล 2. บรรยายด้วยสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมยกตัวอย่างวิเคราะห์กรณีศึกษา
2 3. สรุปสาระสำคัญจากบทเรียน 4. ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวิชาความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาล 2. ไฟล์การนำเสนอภาพนิ่งผ่านโปรแกรมไมโครซอฟท์เพาเวอร์พอยท์ 3. หนังสืออ่านประกอบค้นคว้าเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาความรับผิดทางอาญากับการ ปฏิบัติการพยาบาล 4. แบบฝึกหัดบทที่ 1 การวัดผลและการประเมินผล 1. สังเกตจากการซักถามผู้เรียน 2. สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน 3. สังเกตจากความสนใจของผู้เรียน 4. ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัดบทที่ 1 5. ประเมินผลจากการทดสอบปลายภาค 6. แบบประเมินการทำรายงานและการนำเสนอ
3 บทที่ 1 ความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาล พยาบาลวิชาชีพเกี่ยวข้องกับกฎหมายในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งในฐานะประชาชนที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพจึงจำเป็นต้องเรียนรู้กฎหมายต่างๆ ทั้งกฎหมายทั่วไป กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพของ ประชาชน 1.1 หลักการควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เป็นสิ่งสําคัญสําหรับวิชาชีพ ทําให้วิชาชีพได้รับความเชื่อถือและมีมาตรฐาน หลักการควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ประกอบด้วย (ดาราพร คงจา, 2548; แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2560) 1.1.1 หลักการควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยสภาการพยาบาลเป็นผู้ออกกฎเกณฑ์หรือ ข้อบังคับสําหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์เพื่อรักษามาตรฐานการพยาบาล ดังนี้ 1) กําหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์โดยพยาบาลวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายวิชาชีพกําหนด เช่น สําเร็จการศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิต ไม่เคยต้องโทษจําคุก ไม่เป็นโรคต้องห้ามอันเป็นอุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพ 2) กําหนดให้มีการขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ทําให้สามารถควบคุมดูแลความประพฤติรักษามาตรฐานและ จริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 3) กําหนดข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพ 4) สอดส่องดูแลความประพฤติของพยาบาลวิชาชีพ และมีบทลงโทษสําหรับผู้กระทํา ผิดเพื่อรักษามาตรฐานของวิชาชีพการพยาบาล 1.1.2 หลักการคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนและสงวนอาชีพ โดยกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์กําหนดมิให้บุคคลภายนอกประกอบวิชาชีพ การพยาบาล เพื่อป้องกันอันตรายต่อประชาชน หากฝ่าฝืนต้องได้รับโทษตามกฎหมายอาญาในฐาน ก้าวล่วงวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
4 กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับซึ่งออกโดยผู้มีอํานาจสูงสุด เพื่อควบคุมความประพฤติสิทธิ หน้าที่ของบุคคลทั่วไป หากฝ่าฝืนย่อมได้รับโทษ กฎหมายในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในระบบกฎหมาย ลายลักษณ์อักษร จึงต้องตีความตามอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งมีการอุดช่องว่างของ กฎหมาย เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการตัดสินคดีพยาบาลวิชาชีพจําเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจกฎหมาย เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์และช่วยรักษาสิทธิตนเอง และประชาชน 1.2 ลักษณะสําคัญของความรับผิดทางอาญา ความรับผิดทางอาญาตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิ และเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 29) และประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 2) บัญญัติว่าบุคคลไม่ต้อง รับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทํานั้น บัญญัติเป็นความผิดและ กําหนดโทษไว้โดยห้ามลงโทษเกินกว่าโทษที่กฎหมายกําหนด หลักกฎหมายดังกล่าวจึงสอดคล้องกับ สุภาษิตที่ว่า “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมายกําหนด (no guilt, no penalty without law; ละติน: Nullum crimen sine lege)” และใช้บังคับเฉพาะการกระทําในราชอาณาจักรเท่านั้น จากหลัก กฎหมายและสุภาษิต สามารถสรุปลักษณะสําคัญของกฎหมายอาญา ดังนี้ (พระราชบัญัติกฎหมายไทย แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559) ลักษณะสําคัญของกฎหมายอาญา 1. มีบทบัญญัติความผิดและกําหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง กล่าวคือ ในขณะที่กระทําผิด ต้องมี กฎหมายบัญญัติความผิดและโทษเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน เช่น ปอ. มาตรา 288 บัญญัติว่า “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี” และถ้าเป็น การฆ่าบุพการีพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีการไตร่ตรองหรือเตรียมการไว้ก่อน หรือการฆ่าโดยทรมานหรือ กระทําทารุณโหดร้าย หรือฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์ผู้กระทําจะได้รับโทษประหาร ชีวิต 2. ตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร การตีความ หมายถึง การถอดความหมายของข้อความหรือ ศัพท์ต่างๆ ในบทบัญญัติออกมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยใช้ภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ เช่น “การ ประทุษร้าย” คนทั่วไปเข้าใจคือ การใช้แรงทางกายภาพ ทําให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บซึ่งอาจมีแผล เลือดออก หรือฟกช้ำ แต่ใน กฎหมายอาญา “การประทุษร้าย” หมายถึง การกระทําที่เป็นเหตุให้บุคคลอยู่ในภาวะที่ ไม่สามารถขัดขืนได้ไม่ว่าจะใช้ยา ทําให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น การฉีดยา หรือให้ยานอนหลับแก่ผู้ป่วยหากไม่ได้เป็นไปเพื่อการรักษาพยาบาลถือว่าเป็นการประทุษร้ายตามกฎหมาย
5 อาญา ประเด็นพิจารณาในการ ตีความ คือ ต้องตีความตามตัวอักษรเท่านั้น ห้ามตีความเกินตัวบท และไม่ สามารถนําจารีตประเพณีหรือกฎหมายใกล้เคียง มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทําผิดได้ 3. ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ หมายถึง จะไม่มีผลในการเพิ่มโทษแก่บุคคล หากขณะกระทํายังไม่ มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทํานั้นมีความผิด แม้ต่อมาภายหลังมีกฎหมายบัญญัติว่า การกระทําอย่าง เดียวกันนั้นเป็นความผิด ศาลหรือผู้พิพากษาจะนํากฎหมายใหม่ มาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทําผิดไม่ได้ เช่น การจ่ายยา Midazolam และ Triazolam ชนิดเม็ด ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 กองควบคุมยาเสพติด สํานักงานอาหารและยา กําหนดให้มีการควบคุม โดยจําหน่ายได้เฉพาะใน โรงพยาบาล การจ่ายยาต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์และจ่ายครั้งละไม่เกิน 1 เดือน ถ้าร้านขายยา ก. เคยจ่าย ยาทั้งสองชนิดนี้แก่ลูกค้าที่มาซื้อยาโดยไม่มีใบสั่งยา เมื่อปรากฏว่าหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ ร้าน ขายยา ก. ไม่จ่ายยาให้ลูกค้าอีกและแนะนําให้ไปโรงพยาบาล ดังนั้นร้านขายยา ก. ไม่มีความผิดตาม กฎหมายนี้ทั้งนี้ถ้ากฎหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทําความผิด กฎหมายให้ย้อนหลังได้เช่น จําเลยทําผิด ทางอาญา ศาลพิพากษาให้ปรับ หากไม่มีเงินชําระค่าปรับ จําเลยจะต้องถูกจําคุกแทนค่าปรับตามกฎหมาย ลักษณะอาญา ต่อมา ปอ. มาตรา 30 บัญญัติให้กักขังแทนค่าปรับ ดังนั้นศาลสามารถกักขังแทนค่าปรับได้ เพราะโทษกักขังแทนค่าปรับเบากว่าโทษจําคุกแทนค่าปรับ 1.3 หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญามีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอาญามาตรา 59 โดย บุคคลจะรับโทษทางอาญาเมื่อครบองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้ (หยุด แสงอุทัย, 2548: ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, 2554: แสงทอง ธีระทองคำ และไสว นรสาร, 2561) 1. การกระทํา 2. การกระทําโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา 3. กฎหมายบัญญัติว่าการกระทํานั้นเป็นความผิดและกําหนดโทษ 4. ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษ 5. คดียังไม่ขาดอายุความ หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา 1. การกระทํา (Commits an act) หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สํานึกและอยู่ภายใต้การบังคับของจิตใจ กล่าวคือ ผู้กระทําต้องรู้สึกตัวและรู้ว่าตนกําลังทําสิ่งใด เช่น พยาบาลผูกรัดข้อมือผู้ป่วย พยาบาลย่อมรู้ว่ากําลังผูกข้อมือผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้ดึงสายน้ําเกลือ แต่ถ้า ผูกแน่นไปและไม่มีการประเมิน ทําให้มือผู้ป่วยขาดเลือด เกิดแผลเน่า หากรักษาไม่ถูกต้อง จะทําให้มือ พิการได้นอกจากนี้การกระทํายังหมายถึง การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย หรืองดเว้นการกระทําในสิ่งที่ตนมี
6 หน้าที่ เช่น พยาบาลไม่ให้สารอาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว หรือไม่ดูดเสมหะแก่ผู้ป่วยที่ใส่ท่อ ช่วยหายใจ ปล่อยให้เสมหะอุดกั้นทางเดิน หายใจจนผู้ป่วยเสียชีวิต หรือไม่ประเมินผู้ป่วยหลังคลอด ทําให้ ผู้ป่วยตกเลือดและเสียชีวิต อย่างไรก็ตามการกระทําขณะละเมอ ถูกสะกดจิต ถูกผลัก ถูกเบียด หรือการ ตอบสนองที่อยู่นอกอํานาจจิตใจ เช่น ขณะพยาบาลใช้ไม้เคาะที่เข่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีอัมพาต ครึ่งซีกเพื่อทดสอบรีเฟล็กซ์(reflex) ซึ่งตามปกติด้านที่เป็นอัมพาตรีเฟล็กซ์จะเร็ว (Hyperreflexia) ถ้า พยาบาลไม่ระวัง ขาผู้ป่วยอาจกระตุกถูกใบหน้าได้รับบาดเจ็บ กรณีนี้ไม่ถือว่ามีการกระทํา เพราะเป็น ปฏิกิริยาที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับของจิตใจของผู้ป่วย 2. กระทําโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา ความผิดทางอาญานอกจากมีการกระทําที่เป็น องค์ประกอบ ภายนอกแล้ว กฎหมายยังคํานึงถึงองค์ประกอบภายใน คือ จิตใจของผู้กระทํา ซึ่งในทาง อาญาถือว่า ผู้กระทําต้อง มีเจตนาที่จะกระทําผิดเสมอ จึงลงโทษ แต่บางกรณีที่ผู้กระทําอาจทําโดย ประมาท หรือไม่เจตนา อาจมีความผิด ถ้ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทํานั้นเป็นความผิด (ปอ. มาตรา 59 วรรค 1) การกระทําโดยเจตนา (Commits an act intentionally) หมายถึง การกระทําโดยรู้สํานึกใน การกระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น (ปอ.มาตรา 59 วรรค 2) กล่าวคือ ผู้กระทําต้องรู้ข้อเท็จจริงขององค์ประกอบภายนอกของความผิดนั้น และมีความ มุ่งหมายจะให้เกิดผลนั้น หากไม่เกิดผลตามความมุ่งหมาย ผู้กระทํามีความผิดฐานพยายามกระทําความผิด เช่น พยาบาลฉีดยาระงับปวดเกินขนาดจนกดศูนย์การหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายพ้นจากทุกข์ ทรมานตามคําร้องขอของญาติถ้าผู้ป่วยตาย พยาบาลมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา หากไม่ตาย ทันทีจะมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา การกระทําโดยประมาท (Negligence) หมายถึง การกระทําโดยขาดความรอบคอบ ไม่ ระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะนั้นต้องมีตาม “วิสัยและพฤติการณ์” และผู้กระทําไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง อย่างเพียงพอ (ปอ มาตรา 59 วรรค 4) โดยวิสัย หมายถึง ลักษณะของผู้กระทํา โดยคํานึงถึง อายุ เพศ การศึกษา ประสบการณ์อาชีพ ส่วน พฤติการณ์ หมายถึง ข้อเท็จจริงประกอบการกระทํา หรือเหตุ ภายนอกของผู้กระทํา เช่น สภาพแวดล้อม แสงสว่าง ความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ นอกจากนี้การกระทําโดยประมาทยังรวมถึงบุคคลพร่อง ความรู้ทักษะและประสบการณ์ การกระทําโดยไม่เจตนา (Commits an act unintentionally) หมายถึง การกระทําที่ ผู้กระทําไม่ได้ตั้งใจให้เกิด และไม่คาดคิดว่าจะเกิดจากการกระทํานั้น แต่ผลลัพธ์ที่เกิดมากกว่าที่ตั้งใจ เมื่อ กฎหมายบัญญัติไว้ว่าการกระทําในลักษณะเช่นนั้นต้องรับโทษ ผู้กระทําก็ต้องรับผิดด้วย เช่น ใช้มีดฟันที่ ขาผู้ตายมีบาดแผลเล็กน้อย แค่ผิวหนังขาด ถ้ารักษาตามหลักวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ทําให้ถึงตายได้แต่
7 ผู้ตายปล่อยแผลให้สกปรก จึงเกิดหนองและเป็นพิษใน 3 วัน และเป็นบาดทะยักตาย กรณีนี้ถือว่า ผู้กระทํามีความผิดฐานทําให้ผู้อื่นตายโดยไม่เจตนา คําพิพากษาฎีกาที่ 1999/2511 จําเลยใช้เส้นลวดที่ไม่มีวัตถุใดๆ ห่อหุ้มซึ่งทางด้านบนของรั้วไม้ โรงภาพยนตร์ของจําเลย แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้า 220 โวลต์ไปตามเส้นลวดนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้คนข้าม รั้ว เข้าไปลอบดูภาพยนตร์ทางรูของฝาโรงภาพยนตร์ผู้ตายเข้าไปยืนถ่ายปัสสาวะ และเอื้อมมือไปจับ ส่วนบนของรั้ว นิ้วมือจึงไปถูกเส้นลวด จึงถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตาย จําเลยมีความผิดฐานทําให้ ผู้อื่นตายโดยไม่เจตนา 3. กฎหมายบัญญัติว่าการกระทํานั้นเป็นความผิดและกําหนดโทษ ซึ่งเป็นลักษณะสําคัญของ ความรับผิดตามกฎหมายอาญา ที่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหา หรือจําเลยไม่มีความผิด จนกว่าจะมีคําพิพากษาถึงที่สุด และก่อนมีคําพิพากษาถึงที่สุดจะปฏิบัติ ต่อผู้ต้องหาหรือ จําเลยเหมือนเป็นผู้กระทําผิดไม่ได้(มาตรา 29) กฎเกณฑ์นี้เป็นหลักสําคัญของกฎหมาย อาญาที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และการลงโทษบุคคลใด ต้องมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่าบุคคล กระทําผิดจริง 4. ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษ การกระทําของบุคคลที่เป็นความผิดทางอาญา หากกฎหมายระบุเหตุเพื่อยกเว้นความรับผิด ยกเว้นโทษ หรือลดหย่อนโทษ บุคคลนั้นอาจไม่มีความผิด ไม่ ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง ดังนี้ 4.1. เหตุยกเว้นความรับผิด (Justification) หมายถึง การกระทําที่โดยทั่วไปกฎหมาย บัญญัติว่าเป็นความผิด แต่ถ้ามีเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมบังคับให้ผู้กระทําต้องกระทํา และเข้า หลักเกณฑ์เหตุยกเว้นความผิด ผู้กระทําจะไม่มีความผิดทางอาญา ตามกฎหมายอาญาการกระทําที่เป็น เหตุยกเว้นความผิด มี2 ลักษณะ คือ 4.1.1 การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และผู้เสียหายยินยอมให้กระทําเพื่อป้องกัน ตนเองหรือผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายจากการประทุษร้ายที่ใกล้ถึงตัว และกระทําไปพอสมควรแก่เหตุ การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย (Act for defending) เป็นกรณีที่บุคคลจําเป็นต้องกระทํา (ปอ.มาตรา 68) เช่น หญิงสาวกัดลิ้นผู้ชายที่ลวนลามจนขาด ซึ่งโดยทั่วไปตามหลักกฎหมายอาญา การทําให้ผู้อื่นได้รับ บาดเจ็บถึงขั้นลิ้นขาด ถือว่าเป็นอันตรายสาหัสต้องรับโทษหนัก แต่กรณีนี้เป็นการกระทําเพื่อป้องกัน ตนเองซึ่งสมควรแก่เหตุจึงได้รับการยกเว้นความรับผิด การกระทําดังกล่าวไม่ผิดตามกฎหมายอาญา 4.1.2 ผู้เสียหายยินยอมให้กระทํา (Victim consented) โดยความผิดทางอาญาบาง ประเภทผู้เสียหายยินยอมให้กระทําด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่เกิดจากการข่มขู่ รวมทั้งไม่ขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน และความยินยอมเกิดขึ้นในขณะหรือก่อนที่จะกระทําความผิด กฎหมายถือว่า การกระทํานั้นไม่เป็นความผิด เช่น การชกมวยเอาเงินค่าจ้าง หากคู่ชกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
8 ได้รับบาดเจ็บจนเสียชีวิต ตามกฎหมายผู้ตายไม่ใช่ผู้เสียหาย บิดามารดาผู้ตายจึงไม่มีอํานาจฟ้องคดีแทน ผู้ตายได้อย่างไรก็ตาม ความเสียหายบางประเภท แม้ผู้เสียหายยินยอมก็มีความผิด เช่น ความผิดฐาน ข่มขืนกระทําชําเราเด็กอายุต่ํากว่า 15 ปี สําหรับการปฏิบัติการพยาบาล ความยินยอม หมายถึง ความสมัครใจของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการใน การรักษาพยาบาล เช่น การเจาะเลือด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดํา การให้ยาเคมีบําบัด ซึ่งความ ยินยอมที่ถูกต้อง (Valid consent) หรือความยินยอมเมื่อได้รับการบอกกล่าว (Informed consent) ต้อง พิจารณาจากผู้ให้ความยินยอมสมัครใจ ไม่ถูกบังคับ มีความสามารถตามกฎหมาย และได้รับข้อมูลที่ เพียงพอก่อนตัดสินใจ จึงเห็นได้ว่าหลักปฏิบัติในการรักษาพยาบาลจะสอดคล้องกับหลักกฎหมายอาญา แต่เพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ให้ความยินยอมต้องได้รับข้อมูลที่เพียงพอก่อนตัดสินใจ เช่น ผู้ป่วยมีเนื้องอกบริเวณ กระดูกสันหลังระดับคอ เดินได้เอง ไม่มีความพิการใดๆ มารับการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก ก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดจากการผ่าตัด เช่น เลือดออก ปวดช าหรือเป็น อัมพาต หรือผู้ป่วยชายเข้ารับการผ่าตัดรักษาติ่งเนื้อที่ ทวารหนัก (Rectal prolapsed) อาจมีความเสี่ยง ต่อการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศหลังผ่าตัด ทั้งนี้การไม่ให้ข้อมูล หรือให้ไม่ครบถ้วน หากการรักษาไม่ เป็นไปตามที่คาดหวัง จะเป็นข้ออ้างที่ผู้ป่วยและญาติฟ้องร้องได้นอกจากนี้ต้องพิจารณาช่วงเวลาที่ให้ ความยินยอมด้วย ตามหลักต้องถือเอาขณะเข้ารับการรักษาหรือก่อนทําหัตถการ ถ้าผู้ป่วยปฏิเสธการ รักษาถือว่าสิ้นสุดความยินยอม เช่น นาย ก. เป็นโรคเบาหวานและมีแผลเรื้อรังที่ขา แพทย์ลงความเห็นว่า ต้องตัดขา เพื่อป้องกันไม่ให้แผลลุกลาม แต่แพทย์จะตัดขา นาย ก. ทันทีไม่ได้ต้องขอความยินยอมจาก นาย ก. ก่อน โดยการเซ็นใบยินยอมรับการรักษาก่อนเข้ารับการผ่าตัดหรือทําหัตถการ ดังนั้น พยาบาลที่ มีหน้าที่เตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดหรือก่อนทําหัตถการต่างๆ ต้องตรวจสอบว่าผู้ป่วยหรือญาติให้ความยินยอม เป็นลายลักษณ์อักษรไว้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการฟ้องร้อง ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดหรือผลการรักษา ไม่เป็นไปตามที่ผู้ป่วยคาดหวัง 4.2 เหตุยกเว้นโทษ (Excuse) หมายถึง การกระทําที่เป็นความผิดทางอาญา แต่ ผู้กระทําไม่ต้องรับโทษ หากมีเหตุอันควรที่กฎหมายระบุดังนี้(มานิตย์ จุมปา, 2552: แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร, 2561) กระทําด้วยความจําเป็น (Act on account of necessity) หมายถึง การกระทํา เพราะเหตุถูกบังคับ หรืออยู่ภายใต้อํานาจของใครหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืน และกระทําด้วยความจําเป็น เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นอันตรายที่ใกล้ตัว และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้น โดยวิธีอื่น ทั้งนี้อันตรายนั้นต้องไม่ใช่เกิดจากการกระทําผิดของตนเอง และการกระทํานั้นต้องสมควรแก่ เหตุ (ปอ. มาตรา 67) เช่น ผู้ป่วย มะเร็งลําไส้ใหญ่เข้ารับการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อร้ายออก ขณะผ่าตัด ศัลยแพทย์พบว่า มะเร็งได้กระจายไปที่มดลูกและรังไข่ จําเป็นต้องตัดมดลูกและรังไข่เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย
9 โดยไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้ป่วยและญาติเนื่องจากหากรอญาติมาให้ความยินยอม อาจช่วยชีวิตผู้ป่วย ไม่ทัน หรือการผ่าตัดผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเพื่อช่วยชีวิต โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้มี อํานาจ แม้ผลการรักษาทําให้ผู้ป่วยพิการ ตามกฎหมายถือว่าเป็นการกระทําโดยจําเป็น ผู้กระทําจึงไม่ต้อง รับโทษ แต่ถ้าหากเป็นสถานการณ์ที่ไม่รีบด่วนและสามารถเลี่ยงโดยวิธีอื่นได้ผู้กระทําจะอ้างความจําเป็น ไม่ได้เช่น ผู้ป่วยเข้ารับผ่าตัดคลอดบุตรคนที่ 2 ทางหน้าท้อง แพทย์เห็นว่าผู้ป่วยที่ผ่าตัดคลอดบุตร ไม่ควร มีบุตรเกิน 2 คน จึงทําหมันให้โดยการผูกท่อรังไข่ ซึ่งการทําหมันเป็นหัตถการที่สามารถเลื่อนออกไปได้ จนกว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย กรณีนี้จึงอ้างหลักกฎหมายเรื่องความจําเป็น เพื่อเป็นเหตุยกเว้น โทษไม่ได้ในทางกลับกัน หากขณะผ่าตัดแพทย์เห็นไส้ติ่งอักเสบ บวมแดงเป็นภาวะที่ไม่สมควรรอ จึงผ่าตัด ให้แพทย์ย่อมได้รับการยกเว้นโทษเพราะทําเพื่อประโยชน์ผู้ป่วย สําหรับพยาบาลจะพบเหตุการณ์ใน ทํานองนี้เช่น พยาบาลประจําห้องฉุกเฉินใส่ท่อช่วยหายใจให้ผู้ป่วยอุบัติเหตุและหัวใจหยุดเต้น เนื่องจาก ไม่มีแพทย์เวรในขณะนั้น และหากรอแพทย์เวร อาจทําให้ผู้ป่วยสมองขาดออกซิเจนและเสียชีวิต ดังนั้น จึง เป็นการกระทําที่จําเป็นของพยาบาล แม้จะเกินขอบเขตของวิชาชีพ แต่ผู้ป่วยได้ประโยชน์จึงสมควรได้รับ การยกเว้นโทษ การกระทําผิดเพราะความบกพร่องทางจิต (Defective mind) หมายถึง บุคคลกระทําผิด ขณะที่ไม่สามารถรับผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเอง เพราะเป็นโรคจิต จิตบกพร่อง จิตฟั่นเฟือน (ปอ. มาตรา 65) เช่น นาย ก. มีอาการทางจิตจากพิษสุราเรื้อรัง เคยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลประสาท มี อาการประสาทหลอน หวาดระแวง กลัวคนมาทําร้าย จึงเอามีดไปฟันภรรยาที่อยู่ใกล้ๆ จนเสียชีวิต หลัง เกิดเหตุ นาย ก. ยังนั่งงง อยู่ใกล้ศพภรรยา ดังนี้แสดงว่านาย ก. ได้กระทําในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะโรคจิตจากพิษสุรา นาย ก. ไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เพราะมีอาการบกพร่องทางจิต แต่ถ้าผู้กระทํายังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ศาลอาจลดหย่อนโทษตาม สมควร จากหลักดังกล่าว พยาบาลจิตเวชควร ระมัดระวังความปลอดภัยของตน เพราะถ้าผู้ป่วยจิตเวชทํา ร้ายพยาบาล ในขณะที่มีอาการทางจิต ตามกฎหมายผู้ป่วยจะได้รับการยกเว้นโทษ การกระทําตามคําสั่งของเจ้าพนักงาน (Order of an official) เจ้าพนักงานในที่นี้หมายถึง บุคคลที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงาน และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติในตําแหน่งราชการเป็นประจํา หรือเป็นครั้งคราว ไม่ว่าจะได้รับผลประโยชน์จากราชการหรือไม่ ตามหลักกฎหมายอาญา การกระทําตาม คําสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คําสั่งนั้นจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทํามีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตใจว่า มี หน้าที่ต้องปฏิบัติตามผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าผู้กระทําทราบว่าเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แล้วยัง ทําตามคําสั่งจะไม่ได้รับยกเว้นโทษ ทั้งนี้ขึ้นกับระดับความรู้ความสามารถของผู้รับคําสั่ง (ปอ. มาตรา 70)
10 สําหรับการปฏิบัติการพยาบาล การทําตามคําสั่งเจ้าพนักงานน่าจะเป็นลักษณะของการปฏิบัติ ตามแผนการรักษาของแพทย์หากคําสั่งนั้นไม่ถูกต้องและพยาบาลทราบตั้งแต่ต้นแต่ยังปฏิบัติตามและเกิด อันตรายกับผู้ป่วย พยาบาลไม่สามารถอ้างเหตุการกระทําตามคําสั่งเพื่อขอยกเว้นโทษได้(ปอ.มาตรา 70) กรณีศึกษาการกระทําตามคําสั่ง ผู้ป่วยอายุ 46 ปีมีปัญหาเรื่องหัวใจเต้นเร็วชนิด Ventricular tachycardia เนื่องจากผู้ป่วยไม่ ต้องการรักษาโดยวิธีการช็อกด้วยไฟฟ้า (Cardioversion shock) แพทย์เวรห้องฉุกเฉินให้ยา 2 ชนิดแล้ว ไม่ได้ผล จึงส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ (Cardiologist) และสั่งให้ยา Verapamil 5 มิลลิกรัม ฉีด เข้าทางหลอดเลือดดํา 2 นาทีหลังได้ยา ผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำและมีอาการชัก หลังจากนั้นผู้ป่วยหัวใจ หยุดเต้น ทําให้สมองขาดออกซิเจนและขาดเลือด หลังช่วยชีวิตผู้ป่วยกลายเป็นเจ้าชายนิทรา โดยสาเหตุที่ ทําให้ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเกิดจากยาฉีดที่ผู้ป่วยได้รับ เนื่องจากยา Verapamil เป็นยาที่ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มี หัวใจเต้นเร็วชนิด Ventricular tachycardia ซึ่งได้ระบุไว้ในคู่มือการช่วยชีวิตขั้นสูง (Advanced cardiac life support: ACLS) และในแผนภูมิการให้ยาได้เขียนคําว่า “Critical point to remember” นอกจากนี้ ฉลากยาและข้างกล่องยาก็มีคําเตือนทํานองนี้แนบไว้ด้วย จากการนําสืบพบว่าขณะที่ผู้ป่วยอยู่ที่ห้องฉุกเฉิน แพทย์สั่งยา Verapamil ให้ผู้ป่วยโดยมี พยาบาล ก. และพยาบาล ข. รับทราบ ซึ่งพยาบาล ก. เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรผ่านการอบรม ACLS มาแล้ว ก่อนให้ยาพยาบาล ก. ได้ถามแพทย์ว่าแน่ใจหรือที่จะให้Verapamil ในผู้ป่วยรายนี้ เมื่อแพทย์ยืนยันคําสั่ง เดิม ทั้งที่พยาบาล ก.ก็ทราบว่าหากให้ยานี้อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย แต่ก็ยังให้ตามคําสั่งการรักษาของ แพทย์ดังนั้นพยาบาล ก.จึงต้องรับผิดด้วย การกระทําของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปีตามหลักกฎหมาย ถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปีกระทํา ความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ (ปอ. มาตรา 73) เนื่องจากกฎหมายถือว่า เด็กไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ ที่จะ แยกผิดชอบชั่วดี การกระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ระหว่างสามีภรรยา เนื่องจากตามกฎหมายถือว่า สามี ภรรยาเป็นบุคคลคนเดียวกัน ดังนั้นความผิดบางความผิดระหว่างสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จะ ได้รับการยกเว้นโทษ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์วิ่งราวทรัพย์ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ยักยอก การรับ ของโจร ทําให้เสียทรัพย์และบุกรุก 4.3 เหตุลดหย่อนโทษ (Extenuating Circumstance) หมายถึง มีพฤติการณ์หรือ เหตุการณ์ที่ น่าเห็นใจหรือมีเหตุเป็นคุณแก่ผู้กระทําความผิด ให้ลดหย่อนโทษ ได้แก่
11 การกระทําความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด โดยหลักแล้วบุคคลจะ แก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อไม่ต้องรับโทษไม่ได้แต่กฎหมายยอมให้บุคคลยกความไม่รู้นี้ขึ้นเป็นเหตุขอ ลดหย่อนโทษ โดยขึ้นกับสภาพความผิด และพฤติการณ์เฉพาะตัวของผู้กระทําผิด ในบางกรณีศาลอาจจะ ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนด แต่จะไม่ลงโทษไม่ได้(ปอ.มาตรา 64) การกระทําโดยบันดาลโทสะ หมายถึง การที่บุคคลกระทําความผิด เพราะความกดดันจากการ ถูกข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรม จนเป็นเหตุให้บันดาลโทสะ จึงได้กระทําผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นหรือใน ระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิด (ปอ. มาตรา 72) เช่น พยาบาลถูกผู้ป่วยตบหน้าในขณะฉีดยา จึงตบกลับ ด้วยความโกรธ เหตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษ เช่น เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา ตกอยู่ในความทุกข์ อย่างสาหัส มีความดีมาก่อน รับสารภาพผิด เป็นพยานหรือให้ความรู้แก่ศาลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี เช่น ให้เบาะแสคนร้าย เป็นสายสืบให้พนักงานสอบสวน 5. คดียังไม่ขาดอายุความ อายุความ (Prescription) หมายถึง ระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดให้ ต้องฟ้องร้องผู้กระทําความผิด หรือนําตัวผู้กระทําความผิดมาที่ศาล เพื่อพิจารณาพิพากษาลงโทษภายใน เวลากําหนด ซึ่งหากพ้นกําหนดแล้ว ไม่สามารถฟ้องหรือลงโทษผู้นั้น อายุความ แบ่งออกเป็น อายุความ ฟ้องคดีทั่วไป และ อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ 5.1 อายุความฟ้องคดีทั่วไป ระยะเวลาของอายุความแปรตามอัตราโทษตามความผิดทาง อาญา เช่น อายุความ 20 ปีสําหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุก 20 ปีและอายุความ 1 ปี สําหรับความผิดลหุโทษ (ปอ. มาตรา 95) ทั้งนี้อัตราโทษที่นํามาพิจารณากําหนด อายุความฟ้องคดีผู้กระทําผิด ตามที่กฎหมายกําหนดไว้ถืออัตราโทษสูงสุดสําหรับความผิดที่บัญญัติไว้ใน บทมาตราที่โจทก์ฟ้อง ไม่ใช่ถือตามกําหนดโทษที่ศาลพิพากษาลงโทษแก่จําเลย 5.2 อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้เช่น ความผิดฐานบุกรุกหรือหมิ่นประมาท กฎหมาย กําหนดให้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทําความผิด (ปอ. มาตรา 96) เช่น หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า นาย ก. ให้สัมภาษณ์โดยมีข้อความซึ่งอ่านแล้วรู้ทันทีว่า นาย ก. หมิ่นประมาทนาย ข. ตามกฎหมายถือได้ว่า นาย ข. รู้ตัวผู้กระทําความผิดตั้งแต่วันที่ได้อ่านข่าวตาม หน้าหนังสือพิมพ์นั้น ถ้า นาย ข. ไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน ถือว่าคดีขาดอายุความ ตาม ปอ. มาตรา 96 โทษทางอาญา (Criminal Punishment) การลงโทษต่อผู้กระทําผิดทางอาญา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษที่เหมาะสม กับการกระทําความผิด ป้องกันไม่ให้มีการกระทําผิดซ้ำ เกิดความเกรงกลัวหลาบจํา ไม่กล้ากระทําผิดและ เป็นการปรามผู้อื่นไม่ให้กระทําผิดเหมือนผู้ที่ถูกลงโทษ นอกจากนี้การลงโทษยังเป็นการรักษาและแก้ไข นิสัยผู้กระทําผิด เช่น ผู้ถูกลงโทษได้เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ อบรมศีลธรรมเพื่อเปลี่ยนนิสัยให้เป็นคนดี
12 ซึ่งโทษ ทางอาญามี5 ประการ ได้แก่ ประหารชีวิต จําคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน (ปอ. มาตรา 18 รายละเอียด ดังนี้(วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546) 1. ประหารชีวิต (Death) เป็นโทษสูงสุด สําหรับลงโทษผู้กระทําความผิดคดีอุกฉกรรจ์ปัจจุบัน วิธีการประหารชีวิตได้เปลี่ยนแปลงจากการยิงเป้าที่แดนประหาร การฉีดยาหรือสารพิษเข้าร่างกายจน เสียชีวิต (ปอ. มาตรา 19) สารพิษที่ฉีด ได้แก่ 1) Sodium thiopenthal เพื่อให้หลับ 2) Pancuronium bromide ทําให้หยุดหายใจ และ 3) Potassium chloride ทําให้หัวใจหยุดเต้น สําหรับบุคคลที่อายุต่ำ กว่า 18 ปีที่กระทําความผิด และระวางโทษประหารชีวิตหรือจําคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าโทษดังกล่าวได้ เปลี่ยนเป็นจําคุกห้าสิบปี(ปอ. มาตรา 18 วรรคท้าย) ส่วนนักโทษประหารที่เป็นหญิงมีครรภ์ต้องรอ จนกว่าจะคลอดบุตร จึงจะประหารได้(ปอ. มาตรา 247 วรรค 2) 2. จําคุก (Imprisonment) เป็นโทษจํากัดเสรีภาพของนักโทษที่ถูกควบคุมไว้ในเรือนจํา ตาม ระยะเวลาที่กําหนดไว้ในคําพิพากษา ในบางกรณีแม้จําเลยกระทําผิด แต่ศาลอาจให้รอการลงโทษหรือรอ ลงอาญา เพื่อให้โอกาสจําเลยกลับตัว ภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด แต่ไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ศาลมี คําพิพากษา โดยจะกําหนดเงื่อนไขเพื่อควบคุมความประพฤติผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้ทั้งนี้หลักเกณฑ์การรอ การลงโทษหรือรอลงอาญา (ปอ. มาตรา 56) ดังนี้ 2.1 เป็นความผิดมีโทษจําคุก 2.2 ศาลต้องลงโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี 2.3 ผู้กระทําความผิดต้องไม่เคยได้รับโทษจําคุก หรือได้รับโทษจําคุกมาก่อน แต่ต้องเป็น โทษสําหรับ ความผิดที่กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ 2.4 ศาลจะคํานึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้ได้แก่อายุ ประวัติความประพฤติสติปัญญา การศึกษา สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพและสิ่งแวดล้อม 3. กักขัง (Confinement) เป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษอย่างอื่นมาเป็นโทษกักขัง ได้แก่ เปลี่ยน โทษจําคุก ไม่เกิน 3 เดือน (ปอ. มาตรา 23) โทษปรับแล้วไม่ชําระค่าปรับ (ปอ. มาตรา 29) ขัดขืนคํา พิพากษาของศาลให้ริบทรัพย์สิน (ปอ. มาตรา 37) ไม่ยอมทําทัณฑ์บน หรือหาหลักประกันไม่ได้(ปอ. มาตรา 46) และไม่ชําระเงิน ตามที่ศาลสั่ง เมื่อกระทําผิดทัณฑ์บน (ปอ. มาตรา 47) 4. ปรับ (Fine) การเสียค่าปรับคือ การชําระเงินต่อศาลตามจํานวนที่ศาลกําหนดไว้ในคํา พิพากษา (ปอ. มาตรา 28) ถ้าไม่ชําระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นอาจถูกยึดทรัพย์สิน หรือกักขังแทนค่าปรับ (ปอ. มาตรา 29) แต่โดยทางปฏิบัติถ้าไม่ชําระค่าปรับจะถูกกักขังแทน การคํานวณ ระยะกักขังแทนค่าปรับ ให้ถือ 500 บาทต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง ห้าม กักขังเกินกว่า 1 ปีเว้นแต่ศาล พิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ศาลจะสั่งกักขังแทนค่าปรับ เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ห้ามกักขัง เกิน 2 ปี(ปอ. มาตรา 30) ทั้งนี้ โทษปรับสามารถเปลี่ยนโทษเป็น การทํางานบริการสังคม (Public services) หมายถึง การทําสาธารณะประโยชน์ให้แก่สังคม ชุมชน หรือองค์กรการกุศล โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้าง ภายใน ระยะเวลาที่ศาลกําหนด เช่น การช่วยเหลือดูแล อํานวยความสะดวก หรือร้องเพลงให้ความบันเทิง
13 แก่คนพิการ เด็กกําพร้า คนชรา ผู้ป่วยในสถานสงเคราะห์หรือสถานพยาบาล การพัฒนาหรือทําความ สะอาดที่สาธารณะ ซึ่งการทํางานบริการสังคมมีเงื่อนไข ดังนี้(ปอ. มาตรา 30) 1. ผู้ต้องโทษปรับเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ใช่นิติบุคคล 2. ศาลลงโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท 3. ผู้ต้องโทษปรับ ไม่มีเงินชําระค่าปรับ 4. ผู้ต้องโทษปรับ ได้ยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทํางานบริการสังคม หรือทํางาน สาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับ หรือผู้พิพากษาคดีเห็นว่าผู้ต้องโทษปรับอยู่ในเกณฑ์ที่จะ ทํางานบริการสังคม หรือทํางานสาธารณะประโยชน์และผู้ต้องโทษปรับยินยอม 5. ริบทรัพย์สิน (Forfeiture of Property) ศาลมีอํานาจสั่งริบทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ 5.1ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ใช้ในการกระทําความผิด หรือได้มาโดยการกระทําความผิด เว้นแต่ทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทําผิด (ปอ. มาตรา 33) เช่น เงินที่ได้จากการขาย ยาเสพติด อุปกรณ์ทําแท้ง อุปกรณ์การเล่นการพนัน เครื่องมือโจรกรรม 5.2 ทรัพย์สินซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทําหรือมีไว้ครอบครองเป็นความผิด (ปอ. มาตรา 32) เช่น ยาบ้า ยาเสพติด ธนบัตรปลอม ปืนเถื่อน 5.3 ทรัพย์สินซึ่งกี่ยวกับสินบนของพนักงานเพื่อจุงใจให้รางวัลในการกระทำความผิด (ปอ. มาตรา 34) ลหุโทษ (Petty offences) ลหุโทษ หมายถึง ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10, 000 หรือทั้งจําทั้งปรับ (ปอ. มาตรา 102) ซึ่งอัตราโทษเดิมจะปรับไม่เกิน 1,000 บาท แต่ได้รับการ แก้ไขเพื่อ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน โดยอัตราโทษใหม่นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์2558 ตัวอย่างความผิดลหุโทษ (ปอ. มาตรา 367-398) (เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัทรา จุฑามณี, สุจินตนา พันกล้า, 2560) ไม่ยอมบอกชื่อหรือที่อยู่ หรือแกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ทําให้เกิดเสียงดัง อื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควร จนประชาชนรําคาญ รังแก ข่มเหง คุกคามหรือทําให้ ผู้อื่นกลัว ได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรําคาญ กระทําการในลักษณะส่อไปทางอนาจารในที่ สาธารณะ ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ไม่ช่วยผู้อื่นที่ตกอยู่ในอันตราย ทั้งๆ ที่ตัวเองพอจะช่วยได้ ทารุณผู้ที่ช่วยตัวเองไม่ได้และต้องพึ่งพาในการดํารงชีพ
14 1.4 ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลมีโอกาสเสี่ยงต่อการกระทําความผิดทางอาญาบางประเภท โดยบาง ความผิดเป็น ลหุโทษ บางความผิดมีโทษหนัก ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลที่ ควรทราบ มีดังนี้(เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัทรา จุฑามณี, สุจินตนา พันกล้า, 2560) 1. ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ 2. การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย 3. การเปิดเผยความลับ 4. การปฏิเสธการช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต 5. ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร: การปลอมเอกสาร และการทําหรือรับรองเอกสารเท็จ 6. การทําให้หญิงแท้งลูก 1. ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ (Malpractice/professional negligence/professional misconduct) ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ หมายถึง การกระทําหรือการพยาบาลที่ขาดความ ระมัดระวัง หรือไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอตามวิสัยของวิชาชีพจนเกิดความเสียหาย อันตรายต่อ สุขภาพหรือชีวิตแก่ ผู้ใช้บริการ การตัดสินว่าการกระทําใด เป็นการประกอบวิชาชีพโดยประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาตามมาตรฐานวิชาชีพ และสภาพแวดล้อมหรือพฤติการณ์ขณะกระทําเป็นองค์ประกอบ ซึ่ง สภาการพยาบาลแต่งตั้งให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาเป็นผู้กําหนด โดยยึดหลักพยาบาลวิชาชีพควรมีความ ระมัดระวังเทียบเท่ากับบุคคลใน วิชาชีพเดียวกันในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน หากไม่ได้ใช้ความ ระมัดระวังตามวิสัยของผู้ประกอบวิชาชีพแสดงถึง การขาดความรู้หรือไม่ได้รับการอบรม ถือว่าเป็นการ ประมาท เช่น การให้ยาผู้ป่วยต้องใช้หลักการบริหารยา 6 ประการ (six rights) คือ ถูกคน ถูกยา ถูกขนาด ถูกทาง ถูกเวลา และถูกเทคนิค ทั้งนี้สาเหตุของความ ประมาทอาจเกิดจากการปฏิบัติการพยาบาลเกิน ขอบเขตวิชาชีพ พร่องมาตรฐานวิชาชีพ หรืองดเว้นการกระทําในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ต้องทํา จนทําให้ ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบ และอาจทําให้พยาบาลวิชาชีพถูกฟ้องร้องว่า กระทําความผิดฐานประมาท จน เป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บเล็กน้อย (ปอ. มาตรา 390) อันตรายสาหัส (ปอ. มาตรา 300) หรือถึงแก่ความตาย (ปอ. มาตรา 291) และอาจได้รับโทษตามกฎหมาย 2. การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย (Abandonment) ความผิดฐานนี้เกี่ยวกับผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือสัญญา ทอดทิ้งผู้ซึ่งตนรับผิดชอบดูแลและ พึ่งตนเอง ไม่ได้เพราะอายุความเจ็บป่วย กายพิการ หรือจิตพิการ จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (ปอ. มาตรา 307) สําหรับ พยาบาลความ ผิดฐานนี้จะเกิดในหลายกรณีเช่น ไม่ขึ้นเวร หลับเวร ดูละคร ไม่ดูแล หรือขาดความเอาใจ ใส่ดูแลผู้ป่วยตามหน้าที่ ทําให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายหรือมีอาการหนักขึ้น
15 หากเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลคนวิกลจริตหรือผู้ป่วยจิตเวช แต่ไม่ดูแลปล่อยให้ผู้ป่วยออกไปโดยลําพัง ทํา ให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือตนเอง กฎหมายกําหนดอัตราโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท (ปอ. มาตรา 373) เช่น พยาบาลมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวช แต่ละเลยการดูแลจนผู้ป่วยหลบหนีออกจากโรงพยาบาลแล้วเกิด อันตราย สิ่งสําคัญคือ แม้ในทางอาญาความผิดนี้จะเป็นเพียงลหุโทษ แต่ถ้าผู้ที่อยู่ในความดูแลได้รับ อันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการละเลยหน้าที่ของพยาบาล จะเป็นเหตุให้ พยาบาลได้รับโทษเพิ่มขึ้น (ปอ. มาตรา 300, 291) ญาติผู้ตายเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งได้ 3. การเปิดเผยความลับ (Confidential disclosure) ความลับ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งเรื่องส่วนตัวเรื่องเดียวกันอาจเป็น ความลับของ บุคคลหนึ่ง แต่อาจไม่เป็นความลับสําหรับบุคคลอื่น เช่น วัน เดือน ปีเกิด หมายเลขบัตรประจําตัว ประชาชน สถานะทางการเงิน หรือโรคประจําตัว รวมถึง สิ่งที่ระบุตัวตนอื่นๆ เช่น หนังสือเดินทาง (Passport) บัตรผ่านก่อนขึ้นเครื่องบิน (Boarding pass) นอกจากนี้ความลับยังรวมถึงข้อความซึ่งผู้มี ประโยชน์ได้เสีย ต้องการปกปิด เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจหรือการประกอบอาชีพ การเปิดเผยความลับตามประมวลกฎหมายอาญา (ปอ. มาตรา 323) เป็นความผิดเกี่ยวกับ ชื่อเสียงและ ศักดิ์ศรีของบุคคล ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความได้ผู้กระทําผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหก เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ โดยองค์ประกอบความผิด ประกอบด้วย รู้ความลับ ผู้อื่นมาเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือจากการศึกษาอบรม หรือเปิดเผยความลับนั้น ในประการที่น่าจะ เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด การเปิดเผยความลับที่ได้มาจากการประกอบวิชาชีพพยาบาล โดยพยาบาลมีหน้าที่รักษาความลับ ของผู้ป่วย ครอบคลุมถึงข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการรักษา หรือข้อมูลที่ได้จากบุคลากรสุขภาพต่อบุคคลที่สาม ซึ่งอาจเป็นสมาชิกในครอบครัว สามีภรรยา เพื่อนสนิทของผู้ป่วย หรือบริษัทประกันชีวิต ตัวอย่างข้อมูลที่ เป็นความลับของผู้ป่วย เช่น ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด หมายเลขบัตรประชาชน ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการรักษาพยาบาล ฯ การเปิดเผยความลับของผู้ป่วยพยาบาลอาจกระทำโดยตั้งใจ หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การวางเวชระเบียนผู้ป่วยไว้ปลายเตียง ทำให้ผู้อื่นสามารถอ่านได้ การส่งเวรของ พยาบาล การโพสต์รูปผู้ป่วยในสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น กรณีศึกษา การเปิดเผยความลับ 1. ผู้ป่วยหญิง อายุ20 ปีมาด้วยตกเลือดจากคลินิกเถื่อน ผู้ป่วยแจ้งพยาบาลว่า ห้ามบอกทาง บ้าน ห้ามโทรเข้าเบอร์บ้าน ถ้าจะติดต่อให้ใช้เบอร์มือถือของผู้ป่วยเท่านั้น เพราะผู้ปกครองต่อต้านการทํา แท้ง จากการตรวจเอกสาร พยาบาลพบว่าผู้ป่วยไม่มีประวัติเกี่ยวกับกรุ๊ปเลือดจึงโทรศัพท์ไปที่บ้าน มารดา ของผู้ป่วยรับสาย พยาบาลแจ้งว่า ลูกสาวของเธอกําลังรักษาที่โรงพยาบาล และมีเลือดออกจากช่องคลอด จึงอยากทราบกรุ๊ปเลือด จะได้เตรียมเลือดเผื่อไว้จากการสนทนาแม้พยาบาลไม่ได้บอกถึงการวินิจฉัยโรค แต่มารดาของผู้ป่วยรู้ทันทีว่า ลูกสาวไปทําแท้งซึ่งครอบครัวต่อต้าน เมื่อผู้ป่วยทราบเรื่อง จึงฟ้อง โรงพยาบาลและพยาบาลฐานเปิดเผยข้อมูลที่ผู้ป่วยไม่ยินยอม ศาลตัดสินให้ผู้ป่วยชนะและให้โรงพยาบาล ใช้ค่าสินไหมทดแทน
16 2. พยาบาล ได้เข้าไปสืบค้นข้อมูลในเวชระเบียนของผู้ป่วยรายหนึ่งจากระบบคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาล และนําข้อมูลที่ได้ไปบอกสามีหลังจากนั้นสามีของพยาบาลคนนี้ได้โทรศัพท์ไปหาผู้ป่วย และ ข่มขู่ว่าจะนําข้อมูลสุขภาพที่ได้มาไปดําเนินการทางกฎหมาย เมื่อผู้ป่วยทราบว่ามีพยาบาลเอาข้อมูลของ ตนไปบอกแก่บุคคลที่สาม (สามีของพยาบาล) ผู้ป่วยจึงฟ้องไปยังสถานพยาบาล ในที่สุดพยาบาลถูกไล่ออก จากงาน เนื่องจากนําข้อมูลผู้ป่วยไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว (Personal gain) และมีเจตนาร้ายต่อผู้ป่วย (Malicious harm) ศาลตัดสินให้ลงโทษจําคุก 10 ปีปรับ 250,000 เหรียญสหรัฐ โทษจําคุกให้รอลงอาญา 2 ปีและให้ทําประโยชน์ให้สังคม (Community service) เป็นเวลา 100 ชั่วโมง 3. พยาบาลในคลินิกได้สืบค้นข้อมูลผู้ใช้บริการชาย ซึ่งเป็นแฟนกับน้องสาวของสามีและพบว่า ผู้ชายคนนี้เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงไปบอกน้องสาว แล้วน้องสาวนําเรื่องดังกล่าวไปถามฝ่ายชาย เมื่อผู้ชายทราบว่าได้ข้อมูลมาจากพยาบาลที่ทํางานในคลินิก จึงฟ้องคลินิกและพยาบาล ในที่สุดพยาบาล ถูกไล่ออกจากงาน เนื่องจากความอยากรู้อยากเห็นส่วนตัว โดยคลินิกไม่ต้องรับผิดชอบ (อรัญญา เชาวลิต, ศิริพร ขัมภลิขิต, ทัศนีย์ นะแส, เสาวรส จันทรมาศ (บรรณาธิการ), 2558) ความผิดฐานเปิดเผยความลับเป็นความผิดที่ยอมความได้และได้รับการยกเว้นความรับผิดหาก เข้าเงื่อนไขต่อไปนี้คือ เพื่อประโยชน์ในการรักษา หรือพัฒนาคุณภาพการพยาบาล จําเป็นต้องปกป้อง คุ้มครองบุคคลอื่นๆ ในสังคมให้ปลอดภัยจากโรคหรือเหตุการณ์ที่รุนแรง คําสั่งศาล หรือรายงานการทํา รุนแรงในครอบครัว สําหรับพยาบาลต้องระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลที่เป็นความลับของผู้ป่วยถูกเปิดเผย เช่น รับ-ส่งเวรในห้องที่เป็นสัดส่วน หลีกเลี่ยงการอภิปรายข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยขณะตรวจเยี่ยมทางการ พยาบาล การเรียนการสอนข้างเตียง ไม่โพสต์ข้อมูลของผู้ป่วยลงในสื่อออนไลน์ ในลักษณะที่จะทําให้ ผู้ป่วยเกิดความเสียหาย ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการนําภาพหรือข้อมูลผู้ป่วยไปเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวและเรื่องเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของผู้ใช้บริการ เช่น ภาพใบหน้า บาดแผล ข้อมูลอื่นๆ หากนําไปเผยแพร่ต่อทางอินเตอร์เน็ต ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก จะมีความผิดทั้งตาม กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2560 ดังนี้ 1. นําเรื่องจริงของผู้อื่นไปเล่าต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง (Defamation ถูกดูหมิ่น (insult) หรือถูกเกลียดชัง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (Contempt) ต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่ง หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (ปอ. มาตรา 326) ซึ่งตาม หลักกฎหมายอาญา ถ้าข้อหาหมิ่นประมาท เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ห้ามไม่ให้พิสูจน์ เพราะการ พิสูจน์ความจริงไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม (ปอ. มาตรา 330) เข้าทํานองยิ่งจริงยิ่งผิด 2. นําเรื่องไม่จริงของผู้อื่นไปพูดต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อชื่อเสีย เกียรติคุณของบุคคลนั้น เป็นความผิดทางแพ่ง ฐานละเมิดไขข่าว (ปพพ. มาตรา 423) 3. นําข้อมูลที่บิดเบือน เรื่องไม่จริงหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดย ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด
17 เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 โทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสน บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ 4. นําภาพของผู้อื่นไปตัดต่อ ดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โดยประการที่ผู้นั้นน่าจะเกิด ความเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังหรือได้รับความอับอาย เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ คอมพิวเตอร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 16 มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินสองแสน บาท ความผิดตาม มาตรานี้หากผู้เสียหายตายก่อนร้องทุกข์ญาติผู้เสียหาย ได้แก่ บิดา มารดา ผู้เสียหายที่ ตายแล้วได้คู่สมรสหรือบุตรร้องทุกข์แทนได้ 5. ใส่ความผู้ตายต่อหน้าบุคคลที่สาม ซึ่งจะเป็นเหตุให้บิดามารดา คู่สมรสหรือบุตรของผู้ตายเสีย ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้ตาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่ง ปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 6. กระทําการใดๆ อันเป็นการดูหมิ่น เหยียดหยามศพ ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสาม เดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 7. ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาท ได้กระทําโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนต์หรือตัวอักษรให้ปรากฎ ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง บันทึกภาพ บันทึกอักษร หรือโดยการป่าว ประกาศ ผู้กระทำต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท (ปอ. มาตรา 328) เช่น - นาย ก ได้แสดงข้อความในจดหมายที่ได้รับนาย ข. โดยรู้อยู่ว่าจดหมายนั้นมีข้อความหมิ่น ประมาทผู้อื่น ถือว่านาย ก. มีความผิดฐานหมิ่นประมาท - นาย ก. ได้ส่งต่อข้อมูลที่มีข้อความดูหมิ่นผู้เสียหาย ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปเผยแพร่ ต่อไปให้บุคคลอื่นอีกหลายคน เท่ากับเป็นการใส่ความผู้เสียหาย และเป็นการขยายความเสียหายออกไป จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาที่ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสอง แสนบาท (ปอ. มาตรา 328) 4. การปฏิเสธการช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต เจตนารมณ์ของกฎหมายตามมาตรานี้เพื่อกําหนดให้บุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุทําหน้าที่พลเมืองดี เข้าไปช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากอันตราย แม้ไม่ใช่หน้าที่ตามกฎหมายและไม่ได้ค่าตอบแทน หากตนเอง พอจะช่วยได้โดยไม่เกิดอันตราย เช่น เห็นคนหมดสติแล้วช่วยปั๊มหัวใจ หรือโทรศัพท์แจ้งหน่วยบริการ การแพทย์ฉุกเฉินเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสม ในต่างประเทศถือว่าเป็นการกระทําของพลเมือง ดี(Good Samaritan Act) การไม่ช่วยเหลือหรือปฏิเสธการช่วยเหลือผู้อื่นที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ทั้งๆ ที่ตนอาจช่วยได้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จัดเป็นลหุโทษ (ปอ. มาตรา 374) เช่น เห็นคนกําลังจะจมน้ำแทนที่จะหาทางช่วยเหลือ กลับถ่ายคลิปโพสต์เพื่อให้คนกด แชร์หรือกดไลค์ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายนี้ตัวอย่างความรับผิดของพยาบาลตามมาตรานี้เช่น การ ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยบอกว่าเตียงเต็ม อ้างกฎระเบียบต่างๆ
18 หรือไม่รับรักษา เพราะไม่มีเงินวางมัดจํา ไม่มีบัตรประกันสังคม หรือบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ โรงพยาบาล 5. ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ความผิดเกี่ยวกับเอกสารเกี่ยวข้องกับพยาบาล ประกอบด้วย ความผิดฐานปลอมเอกสาร และ ความผิดฐานทําหรือรับรองเอกสารเท็จ 5.1 การปลอมเอกสาร (Forge Document) การปลอมเอกสารเป็นการกระทําเอกสารโดยทีผู้กระทําไม่มีสิทธิหรือไม่มีอํานาจ และทําให้ ผู้อื่นได้รับความเสียหาย มีองค์ประกอบ (ปอ. มาตรา 264) ดังนี้ 5.1.1 ทําเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วน เติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วย ประการใด ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร 5.1.2 นําเอกสารปลอมที่ทําขึ้น ไปใช้ในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น 5.1.3 กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยไม่ได้รับ ความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคําสั่ง เพื่อนําเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการ ที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ใด ความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้ง จําทั้งปรับ สําหรับผู้ที่ปลอมเอกสารราชการ หรือปลอมเอกสารสิทธิจะได้รับโทษหนักขึ้น เช่น แก้ไขผลการ สอบความรู้เพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ แก้ไขใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯที่หมดอายุ การแก้ไข ใบสั่งยา แก้ไขตัวเลขในใบเสร็จรับเงิน ปลอมลายมือชื่อเพื่อรับเงินประกันชีวิต ใช้ใบรับรองแพทย์ที่ไม่มีชื่อ ผู้รับการตรวจจากแพทย์หรือการแก้ไขใบรับรองแพทย์ให้มีจํานวนวันลามากขึ้น สําหรับพยาบาลทํางาน คลินิกที่ออกใบรับรอง แพทย์หรือลงความเห็นในใบรับรองแทนแพทย์ที่มีลายเซ็นแพทย์อยู่แล้ว ตาม กฎหมายถือว่าเป็นการปลอมเอกสาร เพราะพยาบาลไม่มีสิทธิออกใบรับรองแพทย์เว้นแต่ได้รับมอบหมาย ให้เขียนแทน โดยแพทย์ต้องให้ข้อมูล รายละเอียดทุกประการในใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้การปฏิบัติการพยาบาลต้องระมัดระวังไม่ให้ผู้ใช้บริการใช้เอกสารปลอม เช่น นําบัตร ประจําตัวของคนอื่นมาใช้เพื่อประโยชน์ในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่ารักษาพยาบาล 5.2 การทําหรือรับรองเอกสารเท็จ (Making certification of false document) การทําเอกสารเท็จ หมายถึง ผู้กระทํามีสิทธิและมีอ้านาจทําเอกสารนั้น แต่ผู้ทําไม่ระบุข้อมที่เป็น จริง ซึ่งองค์ประกอบความผิดฐานทําหรือรับรองเอกสารเท็จ มีดังนี้(ปอ. มาตรา 269) 5.2.1 เป็นผู้ทําคํารับรองเป็นเอกสารเท็จ หรือเป็นผู้ใช้หรืออ้างคํารับรองนั้นโดยทุจริต 5.2.2 ใช้เอกสารเท็จในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ความผิดฐานทําหรือรับรองเอกสารเท็จต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่ หมื่นบาท สำหรับการปฏิบัติการพยาบาล มีโอกาสเกิดการกระทำผิด ได้ดังนี้ การลงบันทึกบาดแผลว่าแผล ดีไม่มีสิ่งคัดหลั่ง ทั้งๆ ที่แผลผู้ป่วยบวมแดงและแผลติดเชื้อ หรือการบันทึก ไม่ได้ประเมินหรือวัดสัญญาณ ชีพ แต่ลงในบันทึกทางการพยาบาลว่าผู้ป่วยไม่มีไข้สัญญาณชีพปกติ
19 การเขียนบันทึกไม่ตรงตามความจริง เนื่องจากผู้ป่วยขอร้อง หรือต้องการปกปิดข้อมูลเพื่อช่วย ผู้ป่วย เช่น นักเรียนมัธยมไปทําแท้งมีเลือดออกทางช่องคลอด มาขอใบรับรองการเจ็บป่วย แต่ไม่ต้องการ ให้อาจารย์และเพื่อนทราบเรื่องที่ตนเองไปทําแท้ง หากพยาบาลปฏิบัติตามจะทําผิดกฎหมายฐานทํา เอกสารเท็จทันทีดังนั้นพยาบาลควรพิจารณาให้รอบคอบ 6. การทําให้หญิงแท้งลูก (Induced abortion) การแท้งบุตร (Abortion) ในทางการแพทย์ หมายถึง การสิ้นสุดการตั้งครรภ์ขณะที่อายุครรภ์ น้อยกว่า 20 สัปดาห์หรือทารกมีน้ำหนักน้อยกว่า 500 กรัม ส่วน “แท้ง” ในทางกฎหมาย หมายถึง การ ทําให้ทารกตายในครรภ์ หรือคลอดออกมาในลักษณะที่ไม่มีชีวิต ซึ่งความผิดฐานทําให้แท้งบุตรมีบัญญัติไว้ ในกฎหมายอาญา มาตรา 301-305 โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้ 6.1 การทําให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนแท้งลูก เป็นการเอาผิดกับหญิงตั้งครรภ์ แล้วไป ทําแท้งไม่ว่าจะกระทําให้แท้งโดยวิธีใด เช่น การกินยาขับเลือด กระโดดโลดเต้น ขี่ม้าหรือมี พฤติกรรมที่ผาดโผน ย่อมมีความผิดและได้รับโทษ จําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ (ปอ. มาตรา 301) 6.2 การทําให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม เป็นการเอาผิดกับผู้ที่รับทําแท้งด้วยวิธีการใดๆ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์นั้นแท้งบุตรออกมา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ทําแท้งเป็นผู้ที่มีความรู้ในการทําแท้ง เช่น แพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์หรือหมอตําแย ที่เปิดคลินิกรับทําแท้ง หรือรับปรึกษาปัญหาครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็น การกระทําผิดฐาน ทําแท้ง ต้องรับโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ทั้งนี้ความยินยอมของหญิงที่ขอทําแท้ง ไม่ใช่เหตุยกเว้นความรับผิดตามกฎหมาย ถ้าการกระทํานั้นเป็น เหตุให้หญิงได้รับอันตรายสาหัส หรือ ถึงแก่ความตายผู้กระทําจะได้รับโทษหนักขึ้น โดยมีอัตราโทษจําคุก ไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกิน สองแสนบาท ตามลําดับ (ปอ. มาตรา 302) กรณีศึกษา ความผิดฐานทาแท้งโดยผู้เสียหายยินยอม จําเลยไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใช้บ้านพักของตนเองตรวจรักษาโรคให้หญิง ตรวจภายใน และทําแท้ง โดยไม่ได้รับอนุญาต จําเลยมีความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ลงโทษจําคุก 1 ปีประกอบ โรคศิลปะโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต ลงโทษจําคุก 6 เดือน สําหรับความผิดฐานทําแท้งโดยหญิงยินยอม ลงโทษทุกกระทงๆ ละไม่เกิน 5 ปีส่วนบัตรประจําตัวลูกค้า บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า และบัตรประจําตัวนักศึกษาราชภัฏที่จําเลยรับไว้ให้คืนแก่เจ้าของไป หากไม่ได้เป็นผู้ทําให้หญิงตั้งครรภ์แต่เป็นธุระพาไปทําแท้ง ตามกฎหมายถือว่าเป็นผู้สนับสนุน ใน การ ทําผิดต้องรับโทษฐานผู้ให้การช่วยเหลือหรือสนับสนุน ดังกรณีศึกษาต่อไปนี้ กรณีศึกษา ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการทําแท้ง ผู้เสียหายตั้งครรภ์เนื่องจากถูกจําเลยที่1 ข่มขืนกระทําชําเรา หลังจากนั้นจําเลยที่ 1 พร้อมด้วย จําเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นมารดาของจําเลยที่ 1 ได้พาผู้เสียหายขึ้นรถกระบะไปยังบ้านไม้ชั้นเดียว เพื่อให้หญิง อายุประมาณ 40 ปีเป็นคน ทําแท้งโดยใช้ตะขอใส่เข้าไปในช่องคลอดของผู้เสียหายแล้วเขย่าๆ โดยมีหญิง
20 วัยรุ่น 2 คน ช่วยกันจับขาผู้เสียหายไว้ซึ่งใช้เวลาประมาณ 30 นาทีระหว่างนั้นจําเลยที่1 นั่งขวางประตู บ้านไว้พฤติการณ์ของจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนหรือให้ความสะดวกก่อน หรือขณะกระทําความผิด เพราะการทําให้หญิงแท้งลูก ไม่ว่าหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็เป็นความผิด ทั้งนั้น ไม่ยินยอม จึงมีบทลงโทษหนักขึ้น ต้องระวางโทษไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 6.3 การทําให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม การทําแท้งตามมาตรานี้เป็นการกระทําที่ หญิงตั้งครรภ์ไม่ยินยอม จึงมีบทลงโทษหนักขึ้น ต้องระวางโทษไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่ หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าหญิงตั้งครรภ์ได้รับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทําต้องระวางโทษ จําคุกหนึ่งปีถึงสิบปีและปรับสองหมื่นบาทถีงสองแสนบาท และถ้าหญิงตั้งครรภ์ถึงแก่ความตาย ผู้กระทํา ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท (ปอ. มาตรา 303) 6.4 การพยายามทําให้หญิงแท้งลูก หมายถึง การทําแท้งที่ไม่ได้กระทําไปจนครบ กระบวนการ หรือกระทําไปจนครบทุกขั้นตอน แต่ไม่บรรลุผลคือ หญิงไม่แท้ง หากหญิงนั้นยินยอม ผู้กระทําไม่ต้องรับโทษ (ปอ. มาตรา 304) เพราะความผิดยังไม่สําเร็จ คือ ยังไม่แท้งลูก กรณีศึกษา ความผิดฐานพยายามทําแท้ง หญิงกับจําเลยได้เสียกันจนหญิงมีครรภ์จําเลยเสี้ยมสอนให้หญิงกินยาและกดท้องน้อย เพื่อ เจตนาทําให้แท้งลูก หญิงทําตามแต่ไม่แท้งลูก จําเลยช่วยฉีดยาให้แท้ง ก็ไม่แท้ง การกระทําของจําเลยเป็น ความผิดฐานพยายามทําให้แท้งลูก ไม่ต้องรับโทษ หากการทําแท้งไม่สําเร็จ แต่ผลจากการทําแท้งทําให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทําจะมีความผิด ฐานพยายามทําให้แท้งลูก (ปอ. มาตรา 304) และความผิดฐานทําร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย (ปอ. มาตรา 290) ซึ่งเป็นการกระทํากรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ดังกรณีศึกษาต่อไปนี้ กรณีศึกษา ความผิดฐานทําแท้ง ทําให้หญิงถึงแก่ความตาย จําเลยทําแท้งให้หญิง โดยเอามือทั้งสองกดรีดอย่างแรงตั้งแต่ลิ้นปี่ลงไป แล้วถีบท้องอีก 3 ครั้ง จน หญิงชัก ตาเหลือกอยู่นาน น้ำลายออก ดิ้น พูดไม่ได้และตาย มีโลหิตออกจากหูจมูกและช่องคลอด การ กระทําของจําเลย เป็นความผิดฐานทําร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย 6.5 การทําแท้งที่ถูกกฎหมาย (Legal Abortion) ตามประมวลกฎหมายอาญาการทําแท้งจะ ถูกกฎหมาย หากแพทย์เป็นผู้กระทำ (ปอ.มาตรา 305) จําเป็นต้องกระทําเนื่องจากสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ซึ่งหากตั้งครรภ์ต่อไปจะเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น โรคหัวใจกำเริบ โรคไตกำเริบ หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากการกระทําผิดทางเพศ ได้แก่ถูกข่มขืน กระทําชําเรา (มาตรา 276) หญิง อายุไม่เกิน 15 ปีตั้งครรภ์จากการถูกชําเราโดยเด็กยินยอมหรือไม่ก็ตาม (มาตรา 277) และตั้งครรภ์ เนื่องจากถูกล่อลวง ข่มขืนใจ ประทุษร้ายหรือใช้อํานาจครอบงํา โดยผิดทํานองคลองธรรม (มาตรา 282- 284) ถ้าผู้เสียหายได้แจ้งความไว้ที่สถานีตํารวจ และมีหลักฐานการตรวจว่าถูกข่มขืน ต่อมาภายหลังผู้ถูก
21 ข่มขืนตั้งครร กรณีนี้แพทย์ผู้ทําการยุติการตั้งครรภ์ให้หญิงนั้น ไม่ต้องรับผิดเพราะถือว่าเป็นการทําแท้งที่ ถูกกฎหมาย จากเงื่อนไขดังกล่าวจะเห็นว่า กฎหมายเกี่ยวกับการทําแท้ง ไม่ได้รับการแก้ไขให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของสังคมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์กฎหมายนี้ไม่คุ้มครองผู้ที่ต้องการ ทําแท้ง เนื่องจากแม่ติดเชื้อเอชไอวี ทารกพิการ หรือหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมเนื่องจากอยู่ในวัยเรียนหรือ ปัญหาทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีการลักลอบทําแท้งโดยผู้ที่ขาดความรู้ทางการแพทย์ หรือการทําแท้งที่ไม่ ปลอดภัย (Unsafe abortion) และ เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมา เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อ ในอุ้งเชิงกราน ตกเลือด มดลูกทะลุและบางรายต้องเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งเป็นความสูญเสียที่ประมาณค่า ไม่ได้ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการเพื่อหาทางออกให้กับผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าว สําหรับการทําแท้งถูกกฎหมายนั้น แพทยสภาได้กําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการ ตั้งครรภ์ทางการแพทย์และประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โดยมี รายละเอียด ดังนี้ 1. การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่กฎหมายอนุญาตนั้น จะทําได้เมื่อหญิงตั้งครรภ์ยินยอม 2. แพทย์ผู้กระทําต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมาย โดยต้องเป็นสูติแพทย์เท่านั้น 3. การยุติการตั้งครรภ์ให้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้ 3.1 เนื่องจากปัญหาสุขภาพทางกายของหญิงตั้งครรภ์หรือ 3.2 เนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์รวมถึงมีความเครียด เนื่องจากทารกในครรภ์ พิการ โครโมโซมผิดปกติ(หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดทารกพิการ เช่น ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือเชื้อไวรัสซิก้าขณะตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก มีโรคทางพันธุกรรมซึ่งจะส่งผลให้ทารก พิการทางร่างกาย หรือสติปัญญา) ในกรณีที่เป็นโรคทางพันธุกรรมอย่างรุนแรง ต้องส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ คําปรึกษาแนะนําทางพันธุศาสตร์(Genetic counseling) และ 3.3 ต้องได้รับการรับรองหรือเห็นชอบจากแพทย์ที่ไม่ใช่ผู้กระทําการยุติการตั้งครรภ์อย่างน้อย หนึ่งคน ทั้งนี้ต้องมีการบันทึกการตรวจและวินิจฉัยโรคในเวชระเบียนเพื่อเป็นหลักฐาน 4. การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์กรณีถูกข่มขืนหรือถูกล่อลวงตามมาตรา 305(2) ต้องมี หลักฐาน หรือข้อเท็จจริงอันควรเชื่อได้ว่า หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากการกระทําความผิดอาญา โดยหญิงที่ถูก ข่มขืนต้องไปแจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตํารวจ และได้รับการตรวจจากแพทย์และมีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่า ถูกข่มขืนจริง 5. ถ้าอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์สามารถการยุติการตั้งครรภ์ในคลินิกได้แต่ถ้าอายุครรภ์ มากกว่าสิบสองสัปดาห์ต้องทําในโรงพยาบาลเท่านั้น 6. แพทย์ที่ทําการยุติการตั้งครรภ์จะต้องทํารายงานเสนอต่อแพทยสภา ตามเงื่อนไขและ ระยะเวลาในแบบฟอร์มที่แพทยสภากําหนด
22 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (Teenage Pregnancy) ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศไทยมีจํานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ สุขภาพของ บุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจในภาพรวม ปัญหาดังกล่าวมีความซับซ้อนไม่ อาจแก้ด้วยอํานาจ หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ การแก้ปัญหาจึงต้องสร้างกลไก กําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดําเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการให้การ แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นรูปธรรม มีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันจึงมี กฎหมายใหม่ที่ตราขึ้นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 มีผลบังคับใช้120 วันนับแต่วัน ประกาศ) (39) ซึ่งมีสาระสําคัญพอสรุปได้ดังนี้ วัยรุ่น หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกินสิบปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึงยี่สิบปีบริบูรณ์และสิทธิของวัยรุ่น มี ดังต่อไปนี้ 1. ตัดสินใจด้วยตนเอง 2. สิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้รับการบริการอนามัยเจริญพันธุ์(ให้การบริการส่งเสริม ปัดรักษาและฟื้นฟูที่เกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์) 3. ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว 4. ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ 5. ได้รับสิทธิอื่นๆ ตามที่กฎหมายกําหนดอย่างครบถ้วน ถูกต้องและเพียงพอ การดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีหน่วยงานและองค์กรที่ต้องรับผิดชอบ 1. สถานศึกษา ดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยจัดให้มีการเรียนการ เรื่องเพศวิถี(กระบวนการเรียนรู้ในเรื่องเพศที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย การมีสัมพันธภาพ กับผู้การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พฤติกรรมทางเพศ สุขภาวะทางเพศ และมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ ส่งม กระทบต่อเรื่องเพศ) จัดหาและพัฒนาผู้สอน รวมถึงระบบการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียน หรือนักศึกษ ที่ตั้งครรภ์ให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมและต่อเนื่อง 2. สถานบริการด้านการพยาบาล ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการ ตั้งคร ในวัยรุ่นแก่ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นวัยรุ่นอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและเพียงพอ และมีบริการให้คําปรึกษา และบริกา อนามัยการเจริญพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการจัดให้มีระบบส่งต่อให้ได้รับการจัดสวัสดิการ สังคมอย่างเหมาะมี 3. สถานประกอบกิจการ ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ใน วัยรุ่นให้คําปรึกษาและบริการอนามัยการเจริญพันธุ์รวมถึงการจัดให้มีระบบส่งต่อให้ได้รับการจัด สวัสดิการสังคม ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่นอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและเพียงพอ และจัดหรือสนับสนุนให้ลูกจ้างซึ่ง เป็นวัยรุ่นเข้าถึงบริกาอย่างเหมาะสม
23 การจัดสวัสดิการสังคมเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดย การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีดังนี้ 1. ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเด็กระดับจังหวัดและระดับอําเภอ สร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนใน พื้นที่ เป็นแกนนําป้องกัน แก้ไขและเฝ้าระวังการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมีหน่วยงานของรัฐและ เอกชนทําหน้าที่คอยช่วยเหลือและประสานงาน จะเข้ารับการฝึกอาชีพ และประสานงานเพื่อจัดหางานให้ ตามความเหมาะสม 2. จัดให้มีการฝึกอาชีพตามความสนใจและความถนัดแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ก่อนและหลังคลอด ที่ ประสงค์ 3. จัดหาครอบครัวทดแทนในกรณีที่วัยรุ่นไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองได้ปัญหาอื่นๆ ตามมา ดังนั้นรัฐจึงมีมาตรการทางกฎหมายที่จะช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นดังกล่าว การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่วนใหญ่ผู้ตั้งครรภ์ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร จึงนําไปสู่การทําแท้งที่ผิดกฎหมายแต่ สําหรับคู่สมรสอีกจํานวนมีความพร้อมที่จะมีบุตรแต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หรือมีบุตรยากจึงต้องพึ่งพา เทคโนโลยีทางการโดยให้คนอื่นตั้งครรภ์แทน และนําไปสู่กฎหมายที่ว่าด้วยการตั้งครรภ์โดยอาศัย เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แทน การตั้งครรภ์แทน (Surrogacy) การตั้งครรภ์แทนหรือการอุ้มบุญ หมายถึง การตั้งครรภ์โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการ เจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมีข้อตกลงเป็นหนังสือไว้กับสามีและภรรยาที่ชอบด้วย กฎหมายก่อนตั้งครรภ์ว่าจะให้ทารกในครรภ์เป็นบุตรของสามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จากปัญหาสังคมที่ซับซ้อนขึ้นในปัจจุบัน ความต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทน นอกจากเกิดจาก สามีภรรยา ที่มีบุตรยากแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากชายรักชาย หรือหญิงรักหญิงที่อยู่ด้วยกันฉันท์สามีภรรยาซึ่ง ไม่สามารถมีบุตรได้จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วย โดยใช้อสุจิหรือไข่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผสม กับไข่หรืออสุจิของผู้บริจาค ทำให้เด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์มีลักษณะไม่ สอดคล้องกับพันธุกรรมของผู้มีบุตรยาก หรือผู้ที่ต้องการมีบุตรผ่านเทคโนโลยีทางการแพทย์อาจ ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ต่อมาจึงมีการประกาศพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัย เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์พ.ศ. 2558 เพื่อกําหนดสถานะความเป็นบิดามารดาของเด็ก และ ควบคุมไม่ให้นําเทคโนโลยีเจริญพันธุ์นี้ไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนี้ 1. สามีและภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งภรรยาไม่อาจตั้งครรภ์และประสงค์จะมีบุตร โดยให้ หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่สามีหรือภรรยาไม่ใช่สัญชาติไทย ต้องจดทะเบียนสมรส แล้วไม่น้อยกว่าสามปี 2. หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ต้องไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของสามีหรือภรรยาที่ชอบด้วย กฎหมายตามข้อ 1
24 3. หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ข้อ 1 ใน กรณีที่ไม่มีญาติสืบสายโลหิต ให้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทนได้ภายใต้หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกําหนด 4. หญิงที่ตั้งครรภ์แทนต้องเคยมีบุตรมาก่อน ถ้าหญิงนั้นมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายหรือชาย ที่อยู่ กินฉันท์สามีภรรยา จะต้องได้รับความยินยอมจากสามีด้วย 5. ผู้ให้บริการการตั้งครรภ์แทน ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการให้ดําเนินการให้มีการ ตั้งครรภ์แทน 6. ห้ามไม่ให้ดําเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือธุรกิจ 7. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อตกลงการ ตั้งครรภ์และค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาสุขภาพของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนในขณะตั้งครรภ์การยุติการ ตั้งครรภ์และหลังคลอด รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของเด็ก ที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนหลังคลอด เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน 8. การยุติการตั้งครรภ์แทน ต้องกระทําโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และได้รับความยินยอม เป็นหนังสือ จากสามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทนและหญิงที่รับ ตั้งครรภ์แทน เว้นแต่หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนไม่ยินยอม ให้ถือว่ายกเลิกข้อตกลง และหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ไม่ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายตาม ข้อตกลงดังกล่าว 9. ห้ามบุคคลใดทําการเป็นคนกลางหรือนายหน้า โดยเรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นๆ เพื่อเป็นการตอบแทนในการจัดการหรือชี้ช่องให้มีการรับตั้งครรภ์แทน 10. ห้ามโฆษณาหรือแจ้งข่าวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทนว่า มีหญิงประสงค์จะเป็นผู้รับตั้งครรภ์ แทนผู้อื่น หรือมีบุคคลประสงค์จะให้หญิงอื่นเป็นผู้รับตั้งครรภ์แทน ไม่ว่าจะทําเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือไม่ วิธีการดําเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน การดําเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน ตามกฎหมายทําได้2 วิธีดังนี้ 1. ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีและไข่ของภรรยา ที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทนนั้น 2. ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีหรือไข่ของภรรยา ที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทนกับไข่ หรืออสุจิของผู้บริจาค โดยห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ข้อกําหนดในความเป็นบิดามารดาและการคุ้มครองของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์แทน เช่น การไม่ยอมรับเด็กที่คลอดออกมา แล้ว พิการร่างกายหรือพิการทางสติปัญญา ดังที่เคยเป็นข่าวสามีภรรยาชาวออสเตรเลียปฏิเสธไม่ยอมรับทารก แฝด ความผิดปกติทางโครโมโซม หรือหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเปลี่ยนใจ ไม่ยอมมอบเด็กที่เกิดมาให้กับผู้ที่ เป็นบิดามารดาตามข้อตกลง กฎหมายจึงกําหนดเงื่อนไขความเป็นบิดามารดา และคุ้มครองเด็กที่เกิดจาก การรับตั้งครรภ์แทนไว้ดังนี้
25 1. ทารกที่เกิดจากอสุจิหรือไข่ หรือตัวอ่อนของผู้บริจาค ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ของสามีและภรรยาที่ประสงค์จะมีบุตร โดยผู้บริจาคอสุจิหรือไข่ซึ่งนํามาใช้ปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน เพื่อการ ตั้งครรภ์ไม่มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน 2. ในกรณีที่สามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนถึงแก่ความตาย ก่อนทารกเกิด ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองทารกนั้น จนกว่าจะมีการตั้งผู้ปกครองขึ้นใหม่ 3. ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนนําข้อตกลงที่ทําไว้กับสามีและภรรยาที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทน แสดงต่อแพทย์ผู้รับฝากครรภ์หรือผู้ที่จะทําคลอด เพื่อเป็นหลักฐานออกใบรับรองการเกิดและแจ้งเกิด 4. ให้สามีและภรรยาที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทน มีหน้าที่แจ้งเกิดต่อนายทะเบียน ยกเว้นกรณี ที่สามีและภรรยาถึงแก่ความตายก่อนทารกเกิด ไม่อยู่ในประเทศไทย หรือไม่ปรากฏตัวภายหลังการคลอด แล้ว ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ทําหน้าที่แจ้งเกิดแทน 5. ห้ามไม่ให้สามีและภรรยาที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทน ปฏิเสธการรับทารกที่เกิดจากการรับ ตั้งครรภ์แทน เพื่อควบคุมไม่ให้มีการหาประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ กฎหมายจึงกำหนดเงื่อนไข ดังนี้ 1. ห้ามผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์รวมทั้งรับ ฝาก รับบริจาค ใช้ประโยชน์จากอสุจิไข่ หรือตัวอ่อน หรือทําให้ตัวอ่อนสิ้นสภาพ 2. ห้ามสร้างตัวอ่อนเพื่อกิจการอื่น ยกเว้นการบําบัดรักษาภาวะการมีบุตรยาก ดังที่เคยเป็นข่าว กรณีชาวญี่ปุ่นว่าจ้างให้หญิงไทยนับสิบรายรับตั้งครรภ์แทน โดยใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของตัวเองกับไข่ ของหญิงไทยหลายๆ คน เมื่อคลอดแล้วได้นําเด็กออกนอกประเทศไทย กรณีนี้ถือว่าสร้างตัวอ่อนเพื่อ กิจการอื่น ไม่ใช่เพื่อแก้ไขภาวะมีบุตรยาก จึงถือว่าเป็นข้อห้ามของกฎหมาย ผู้กระทําจึงมีความผิด 3. ห้าม ซื้อ ขาย นําเข้าหรือส่งออก อสุจิไข่ หรือตัวอ่อน 1.5 สรุป การรับผิดตามกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล มีความสำคัญกับ พยาบาลวิชาชีพอย่างมาก ที่พยาบาลจะต้องทราบและสามารถประยุกต์กฎหมายใช้ในการปฏิบัติการ พยาบาลได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล ทั้งเรื่องหลักการควบคุมการ ประกอบวิชาชีพ ลักษณะของความรับผิดทางอาญา หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา เหตุยกเว้นความรับ ผิดทางอาญา ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ การทอดทิ้งผู้ป่วย การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย การ ปฏิเสธการช่วยเหลือเมื่อพบผู้ตกอยู่ในอันตราย ความผิดที่เกี่ยวกับเอกสาร คำรับรอง การปลอมแปลง เอกสาร รวมทั้งการทำแท้งประเภทต่างๆ เพื่อให้พยาบาลปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและป้องกันการถูก ฟ้องร้อง
26 แบบฝึกหัดบทที่ 1 1. จงอธิบายความหมายของหลักความรับผิดทางอาญาในการปฏิบัติการพยาบาล 2. จงอธิบายการกระทำที่เป็นความประมาทในการปฏิบัติการพยาบาล 3. จงบอกอธิบายความผิดที่เกี่ยวกับการเปิดเผยความลับของผู้ป่วยในการปฏิบัติการพยาบาล 4. จงอธิบายความผิดที่เกี่ยวกับการทำเอกสาร ทำคำรับรองเอกสาร และการปลอมแปลงเอกสารใน การปฏิบัติการพยาบาล 5. จงอธิบายหลักการทำให้หญิงแท้งลูกที่ถูกต้องตามกฎหมาย
27 เอกสารอ้างอิง ดาราพร คงจา. (2548). กฎหมายการประกอบวิชาชีพการพยาบาล. นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์. ทวีเกียรติมีนะกนิษฐ. (2554). คําอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125. ตอนที่ 30 ก. ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์2551. หน้า 20. พระราชบัญัติกฎหมายไทยแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนที่ 31 ก. วันที่ 7 เมษายน 2559 หน้า 1-6. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัทรา จุฑามณี, สุจินตนา พันกล้า. (2560). กฎหมาย และจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด. มานิตย์ จุมปา. (2552). ข้อควรระวังทางกฎหมายของพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท วี พริ้นท์. วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2546). กฎหมายทางการแพทย์ ความรับผิดทางกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2560). กฎหมายและข้อควรระวังของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ พยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : วิญญูชน. แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร. (2561). กฎหมายสำหรับพยาบาล. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการตำรารามาธิบดี. หยุด แสงอุทัย. (2555). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อรัญญา เชาวลิต, ศิริพร ขัมภลิขิต, ทัศนีย์ นะแส, เสาวรส จันทรมาศ. (บรรณาธิการ). (2558). คู่มือ ส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
28 แผนบริหารการสอนประจำบทที่2 เนื้อหา บทที่ 2 ความรับผิดทางแพ่งกับการปฏิบัติการพยาบาล 2.1 การทำนิติกรรม 2.2 บุคคลที่หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรม 2.3 สภาพบังคับทางแพ่ง 2.4 อายุความทางเพ่ง 2.5 ความรับผิดจากการละเมิดที่เกี่ยวกับปฏิบัติการพยาบาล 2.6 ประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่พบบ่อย 2.7 สรุป จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อศึกษาบทที่ 2 แล้วนักศึกษาสามารถ 1. อธิบายหลักการทำนิติกรรมได้ 2. อธิบายลักษณะบุคคลที่หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมได้ 3. อธิบายสภาพบังคับทางแพ่งได้ 4. อธิบายอายุความทางเพ่งได้ 5. อธิบายความรับผิดจากการละเมิดที่เกี่ยวกับปฏิบัติการพยาบาลได้ 6. อธิบายประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่พบบ่อยได้ กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท 1. ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน วิชาความรับผิดทางแพ่งกับการปฏิบัติการพยาบาล 2. บรรยายด้วยสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมยกตัวอย่างวิเคราะห์กรณีศึกษา 3. สรุปสาระสำคัญจากบทเรียน 4. ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวิชาความรับผิดทางแพ่งกับการปฏิบัติการพยาบาล 2. ไฟล์การนำเสนอภาพนิ่งผ่านโปรแกรมไมโครซอฟท์เพาเวอร์พอยท์ 3. หนังสืออ่านประกอบค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายวิชาความรับผิดทางแพ่งกับการปฏิบัติ
29 การพยาบาล 4. แบบฝึกหัดบทที่ 2 การวัดผลและการประเมินผล 1. สังเกตจากการซักถามผู้เรียน 2. สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน 3. สังเกตจากความสนใจของผู้เรียน 4. ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัดบทที่ 2 5. ประเมินผลจากการทดสอบปลายภาค 6. แบบประเมินการทำรายงานและการนำเสนอ
30 บทที่ 2 ความรับผิดทางแพ่งกับการปฏิบัติการพยาบาล กฎหมายแพ่ง (Civil Law) เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในฐานะ เอกชนกับเอกชนทุกฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกันและสามารถต่อรองเพื่อตกลงกระทำการใดๆภายใต้ขอบเขต ของกฎหมาย เช่น สภาพบุคคล การหมั้น การรับรองบุตร ครอบครัว มรดก ทรัพย์สิน หนี้สิน ดังนั้นความ เสียหายทางแพ่งจึงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือเฉพาะตัว ถ้าคู่กรณีตกลงกันไม่ได้ จะต้องนำคดีไป ฟ้องต่อศาล รัฐจึงจะยื่นมือเข้ามาไกล่เกลี่ยหรือช่วยตัดสินตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ความผิดทางแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลเป็นประเด็นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจาก การละเมิด เพราะการปฏิบัติการพยาบาลอาจเกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย ชื่อเสียงและ ทรัพย์สินในต่างประเทศมีการฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากพยาบาลโดยตรง แต่ในประเทศไทยมี ระบบเยียวยา ผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ และระบบ ไกล่เกลี่ยของแต่ละหน่วยงานที่บรรเทาความเสียหายระดับหนึ่ง บางคดีจะสิ้นหลัง เจรจาไกล่เกลี่ย แต่ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจอาจฟ้องไปยังหน่วยงานที่พยาบาลปฏิบัติงานอยู่ได้ สำหรับ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดเรื่องละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ถือว่าพยาบาลเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นผู้เสียหายจึงฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก กระทรวงต้นสังกัด โดยพยาบาลไม่ต้องถูกไล่เบี้ย ยกเว้นความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรงของพยาบาล จึงจะมีการไล่เบี้ยตามสัดส่วนของความรับผิดชอบ หลักทั่วไปที่ควร ทราบเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง มีดังนี้ 2.1 การทำนิติกรรม นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายและโดยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการ ผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ นิติกรรมจะมีผลสมบูรณ์ต้อง กระทำให้ถูกหลักเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดไว้ คือวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดย กฎหมาย ไม่เป็นการ พ้นวิสัย ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หากกระทำการฝ่าฝืนวัตถุที่ประสงค์ดังกล่าว นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะคือเสียเปล่าไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย (วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546:แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2560) ความสมบูรณ์ของนิติกรรม กฎหมายได้บัญญัติถึงเรื่องความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่ทำขึ้นเป็น 3 กรณีคือ 1. กรณีที่นิติกรรมกระทำขึ้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดทุกประการย่อมสมบูรณ์มี ผลใช้บังคับ
31 2. กรณีนิติกรรมที่กระทำขึ้นมีข้อที่อาจเสื่อมเสียบางประการ กฎหมายจึงเข้าคุ้มครองปกป้องสิทธิ ของฝ่ายที่เสียเปรียบโดยกำหนดให้นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ตลอดไปหรือสิ้นผลไป สุดแท้แต่ฝ่ายที่ เสียเปรียบนั้นจะเลือกเรียกว่านิติกรรมที่เป็นโมฆียะ 3. กรณีนิติกรรมที่กระทำขึ้นไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติในเรื่องที่เป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะ แยกเหตุแห่งโมฆะกรรมอันเกิดจากวัตถุประสงค์ของนิติกรรม ได้อีกเป็น 3 กรณี คือ 3.1 นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเช่น ทำสัญญาซื้อขายเฮโรอีน วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขายจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติยา เสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 3.2 นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย คือ ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ไก่ทำสัญญาจ้างไข่ ไปเก็บดวงดาวบนท้องฟ้า สัญญานี้ย่อมตกเป็นโมฆะ 3.3 นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น สมยศมีภรรยาและได้ทำสัญญากับดาริกา ซึ่งเป็นหญิงว่าจะอยู่กินฉันสามีภรรยา สัญญานี้เป็น โมฆะเพราะขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน องค์ประกอบของของนิติกรรมที่สมบูรณ์ 1. มีการแสดงเจตนา หมายถึง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้บุคคลภายนอกรับรู้ถึงความ ต้องการหรือเจตนาของตนที่จะทำนิติกรรมตามกฎหมาย แบ่งเป็น 1.1 การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง อาจทำโดยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือกิริยาที่ทำให้เข้าใจ อย่างใดอย่างหนึ่งเช่นการเซ็นชื่อในสัญญา การชำระเงินเมื่อซื้อสินค้า การส่ายหน้าหรือโบกมือปฏิเสธ 1.2 การแสดงเจตนาโดยปริยาย เป็นการแสดงเจตนาโดยการกระทำอื่นๆที่ทำให้ต่างฝ่ายต่าง เข้าใจว่ามีความประสงค์ใดในการแสดงกิริยานั้น เช่น การขึ้นรถเมล์แล้วยื่นเงินค่าโดยสารให้พนักงาน ก่อให้เกิดนิติกรรมสัญญาซื้อขาย 2. เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การกระทำที่กฎหมายให้อำนาจบุคคลกระทำ หรือกฎหมายไม่ได้บัญญัติห้ามกระทำ เช่น การทำสัญญากู้ยืมเพื่อการศึกษา การทำสัญญาจ้างงาน เป็นต้น 3. เป็นการกระทำด้วยใจสมัคร หมายถึง นิติกรรมนั้นไม่ได้เกิดจากการบังคับ ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือเกิดจากการฉ้อฉล 4. มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หมายถึง เป็นนิติกรรมที่มีกฎหมายรับรอง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามข้อตกลง คู่กรณีสามารถนำคดีขึ้นฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย 5. ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิ หมายถึง การก่อการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิ ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรม มีสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายหนึ่งให้ปฏิบัติตามนิติกรรมที่ทำขึ้น เช่น สัญญาจ้าง งาน สัญญาซื้อกู้ พินัยกรรม การประนีประนอมยอมความ การบอกเลิกสัญญา เป็นต้น
32 นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม โดนนิติกรรมบางประเภท กฎหมายจำกัดเงื่อนไขไว้ เพื่อป้องกันการถูกเอาเปรียบหรือได้รับความเสียหาย เนื่องจากข้อจำกัดของ ตนเองโดยบุคคลเหล่านี้ในทางกฎหมายเรียกว่าผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรม 2.2 บุคคลที่หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรม ตามกฎหมายแพ่งบุคคลที่มีข้อจำกัดในการทำนิติกรรมบางประเภท มีดังนี้(ดาราพร คงจา, 2548 : คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง และ อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม, 2562) 1. ผู้เยาว์ ( Minor) หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ การบรรลุนิติภาวะหรือการพ้นจากภาวะ ผู้เยาว์มีได้2 กรณี คือ (1) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (2) อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์แต่ได้ทำการสมรสโดย ชอบด้วยกฎหมาย คือ สมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว หรือเมื่อศาลอนุญาตให้ทำการ สมรสก่อนนั้นได้ความสามารถในการใช้สิทธิของผู้เยาว์ แยกได้ 2 กรณี คือกรณีที่ต้องได้รับความยินยอม จากผู้แทนโดยชอบธรรม และกรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง 1.1 กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 บัญญัติว่า "ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการ ใดๆที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอม เช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นการใดๆ ในที่นี้ หมายความถึงเฉพาะการทำ "นิติกรรม" เท่านั้น ถ้าเป็นการกระทำอย่างอื่นที่มิใช่นิติกรรม เช่น ผู้เยาว์กระทำละเมิดต่อผู้อื่น ผู้เยาว์จะต้องรับผิดชอบในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ผู้แทนโดยชอบธรรม หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่างๆแทนผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ใน การทำนิติกรรม ผู้แทนโดยชอบธรรมได้แก่ผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดาและมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองร่วมกันในกรณีที่ผู้เยาว์นั้นมีทั้งบิดาและมารดา 1.2 กรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง นิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เยาว์กระทำได้โดย ลำพังตนเองไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมอันเป็นข้อยกเว้นหลักทั่วไป คือ 1.2.1 การทำนิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไป ซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง นิติกรรมที่ทำให้ได้ไปซึ่งสิทธิเช่น การรับ การให้โดยเสน่หา โดยไม่มีภาระผูกพัน นิติกรรมที่ทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่ เช่น การที่เจ้าหนี้ทำนิติกรรม ปลดหนี้ให้ 1.2.2 นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น รับรองบุตร
33 1.2.3 นิติกรรมที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์ซึ่งเป็นการสมควรแก่ฐานานุรูป เช่น การซื้ออาหารกิน ซื้อสมุดดินสอ ขึ้นรถประจำทาง ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของผู้เยาว์เป็น รายๆ ไป 1.2.4 การทำพินัยกรรม ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปี บริบูรณ์ ถ้าผู้เยาว์ทำ พินัยกรรมในขณะที่อายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ แม้ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม พินัยกรรม นั้นก็ยังคงเป็นโมฆะ 1.2.5 การจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้น ไป สามารถจำนำสิ่งของในโรงรับจำนำได้แต่การจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 748 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม 2. คนไร้ความสามารถ (Incompetence) คือ บุคคลวิกลจริต หรืออยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ รับผิดชอบตนเองได้ เนื่องจากอายุหรือความเจ็บป่วย ซึ่งคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดานของผู้นั้น หรือ พนักงานอัยการร้องขอต่อศาล และศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ การสิ้นสุดแห่งการเป็นคนไร้ ความสามารถจะมีได้ในกรณีที่คนไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย หรือเมื่อศาลได้สั่งเพิกถอนคำสั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถ บุคคลที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล ผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ บิดามารดา ในกรณีที่คนไร้ความสามารถยังมิได้ทำการสมรส หรือ อาจจะเป็นภริยาหรือสามี ในกรณีที่คนไร้ความสามารถทำการสมรสแล้ว นิติกรรมที่คนไร้ความสามารถได้ ทำลงตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือไม่ก็ตาม จะต้องให้ผู้อนุบาลเป็น ผู้ทำแทน ข้อสังเกตคนวิกลจริตที่ศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ย่อมถือว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้มี ความสามารถเหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป จึงสามารถทำนิติกรรมใดๆได้สมบูรณ์ เว้นแต่อาจจะเป็นโมฆียะ ได้ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่านิติกรรมนั้นได้ทำขึ้นในขณะที่ผู้นั้นวิกลจริตอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่ว่าผู้นั้น เป็นคนวิกลจริต 3. คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้เพราะมี กายพิการ จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ ติดสุรายาเมา และคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลแล้วศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ การ สิ้นสุดแห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ จะมีได้กรณีที่บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถ หรือเมื่อศาลได้สั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้น บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถจะตกอยู่ในความพิทักษ์ของบุคคลที่เรียกว่าผู้พิทักษ์และจะถูกจำกัดความสามารถ บางชนิด กล่าวคือ โดยหลักทั่วไปคนเสมือนไร้ความสามารถย่อมสามารถที่จะทำนิติกรรมใดๆได้และมีผล สมบูรณ์ เช่นการยินยอมรับการรักษาพยาบาล ยกเว้นแต่นิติกรรมที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง
34 และพาณิชย์ มาตรา 34 เช่น การนำทรัพย์สินไปลงทุน การทำสัญญากู้ยืมหรือรับประกัน การ ประนีประนอมยอมความ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน หรืออสังหาริมทรัพย์เกิน กว่า 3 ปี เป็นต้น จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นเป็นโมฆียะ 4. บุคคลล้มละลาย บุคคลที่ศาลสั่งล้มละลายไม่สามารถทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน เว้น แต่กระทำตามคำสั่งของศาล หรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการศัพท์ หรือ เจ้าหนี้ 5. สามีภริยา เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันจึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกัน ในการทำนิติ กรรมบางประเภท เช่นการกู้ยืมเงิน การเซ็นสัญญาค้ำประกันบุคคล โดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยินยอมย่อมทำ ไม่ได้ ความสามารถของบุคคลในการให้ความยินยอมรักษาพยาบาล การให้ความยินยอมเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นขั้นตอนหนึ่งในการรักษาพยาบาลสาเหตุที่ต้อง ขอความยินยอม เนื่องจากการรักษาพยาบาลมีอันตรายหรือเสี่ยงต่อผู้ป่วย เช่น การสัมผัสผู้ป่วย การใช้ เข็มแทง การเจาะ การใส่สายหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย รวมทั้ง การผ่าตัดการดมยาสลบ โดยการยินยอมมี 2 ลักษณะ คือการยินยอมโดยชัดแจ้ง และยินยอมโดยปริยาย 1.การยินยอมโดยชัดแจ้ง คือการยินยอมด้วยวาจา หรือการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร 2.การยินยอมโดยปริยาย ได้แก่ การแสดงออกทางพฤติกรรม เช่น พยักหน้า หรือเหยียดแขนออก เพื่อให้พยาบาลเจาะเลือด การรักษาในโรงพยาบาล การทำหัตถการที่อันตรายต้องขอความยินยอมจากผู้ป่วยหรือญาติ ยกเว้นการรักษาในภาวะฉุกเฉินวิกฤต ตามกฎหมายไม่ต้องขอความยินยอม โดยหลักการแม้ผู้ป่วยจะให้ ความยินยอม หน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ยังต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน วิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวที่ถูกต้อง ความยินยอมรับรักษาที่ถูกต้อง มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความสมัครใจ 2) การได้รับข้อมูลที่ เพียงพอต่อการตัดสินใจที่รับหรือปฏิเสธการรักษา เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการวินิจฉัย อาการ การพยากรณ์ โรค ปัจจัยเสี่ยง ข้อดี ข้อจำกัดของการรักษาหรือการทำหัตถการที่ผู้ป่วยจะได้รับรวมถึงทางเลือกในการ รักษา และ 3) ความสามารถของบุคคล โดยประเด็นความสามารถจะพิจารณาจากอายุและความสามารถ ในการรับรู้ข้อมูล ดังนี้ 1. อายุตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วย บุคคลอายุ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป สามารถเซ็นยินยอมเข้ารับ การรักษาพยาบาลด้วยตนเองได้ ถ้าอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ต้องให้บิดามารดายินยอม สำหรับผู้มีอายุ 15
35 ปีบริบูรณ์ในทางปฏิบัติ แม้ผู้เยาว์ไม่ได้เซ็นยินยอมเอง แต่ต้องให้ผู้เยาว์รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาลที่จะได้รับด้วย นอกจากนี้หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กฎหมายรับรองให้ ผู้เยาว์อายุ 10 ปีบริบูรณ์ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านอนามัยเจริญพันธุ์ด้วย ในต่างประเทศการ ยินยอมรักษาเกี่ยวกับการบำบัดยาเสพติ การใช้ยาคุมกำเนิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากผู้เยาว์โต พอจะรู้เรื่องและดูแลตัวเองได้ กฎหมายกำหนดให้ผู้เยาว์เซ็นยินยอมด้วยตน 2. คนไร้ความสามารถ ในทางการแพทย์คนไร้ความสามารถ หมายถึง คนที่ไม่สามารถรับรู้ ข้อมูลได้เนื่องจากความเจ็บป่วย เช่น ไม่รู้สึกตัว โรคสมองเสื่อม สมองพิการแต่กำเนิด หลงลืม หรือเป็น โรคทางจิตที่ไม่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ จะต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมในการ รักษาพยาบาลแทน 3. สามีภรรยา ในเรื่องยินยอมการรักษา สามีหรือภรรยา สามารถเซ็นยินยอมด้วยตนเองโดยไม่ ต้องรออีกฝ่าย ยกเว้น การทำหมัน การตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์การอุ้มบุญ การทำแท้งที่ ถูกกฎหมาย ซึ่งคู่สมรสต้องให้ความยินยอมด้วย สำหรับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาก่อนการตัดสินใจ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการวินิจฉัย อาการ การพยากรณ์โรค ปัจจัยเสี่ยง ข้อดี ข้อจำกัดการรักษา หรือการทำหัตการและทางเลือกในการรักษา ต้อง ให้ข้อมูลทุกครั้งก่อนทำหัตถการที่อันตราย เช่น นอนโรงพยาบาลครั้งเดียวแต่ต้องผ่าตัด 5 ครั้งก็ต้องเซ็น 5 ครั้ง ซึ่งปกติจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะให้ข้อมูลเหล่านี้ ส่วนพยาบาลตรวจสอบเอกสารว่าครบถ้วน หรือไม่ โดยพยาบาลเซ็นรับรองเป็นพยานในใบยินยอมได้ สิ่งสำคัญ คือ พยาบาลไม่ควรเป็นผู้ให้ข้อมูล เกี่ยวกับวิธีการรักษาเองเพราะมิใช่ผู้ให้การรักษาโดยตรงและอาจเกิดปัญหาตามมาทีหลังได้ 2.3 สภาพบังคับทางแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีบทบัญญัติที่เป็นสภาพบังคับในทางแพ่งไว้ 4 ประการ ได้แก่ โมฆะกรรม โมฆียกรรม การบังคับชำระหนี้และค่าสินไหมทดแทน (อรัญญา เชาวลิต, ศิริพร ขัมภลิขิต, ทัศนีย์ นะแส, เสาวรส จันทรมาศ. (บรรณาธิการ), 2558: แสงทอง ธีระทองคำ และไสว นรสาร, 2561) ปพพ.มาตรา 150 "การใดที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็น การขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ" 1. โมฆะกรรม หมายถึง ความสูญเปล่าของนิติกรรม เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีนิติกรรมเกิดขึ้น และ ผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้น ได้องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ที่ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะกรรม
36 1.1 เป็นการต้องห้ามชัดเจนโดยกฎหมายห้ามไม่ให้กระทำ เช่น การซื้อขายยาเสพติด ดังนั้นการทำ สัญญาซื้อขายเฮโรอีน หรือสิ่งที่กฎหมายห้ามซื้อขายกันย่อมทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ หรือการฆ่าผู้อื่น ถ้า นายเอ บุตรชายนายบี ซึ่งเป็นผู้ป่วยในความดูแลของนางสาวสี นายเอ ได้มาว่าจ้างให้นางสาวสีฉีดยาให้ บิดาตนตาย เพื่อจะได้เป็นทายาทในกองมรดกของนายบีซึ่งข้อตกลงดังกล่าวต้องห้ามตามกฎหมายคือ ฆ่า คนตาย ดังนั้นนิติกรรมที่นายเอและนางสาวสีทำขึ้นจึงเสียเปล่า เสมือนไม่มีข้อตกลงใดๆเกิดขึ้น 1.2 เป็นการพ้นวิสัย คือ เป็นการกระทำในสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ เช่น การทำสัญญาชุบชีวิตคน ตายให้ฟื้นกลับมา เป็นต้น 1.3 ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน คือ นิติกรรมที่กระทำนั้นมี ผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม และศีลธรรมอันดี เช่น ตกลงให้ยาแก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ระยะรุนแรงให้ตายเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน เป็นต้น 2. โมฆียกรรม หมายถึง การทำนิติกรรมที่สมบูรณ์อยู่ในขณะที่ทำ แต่อาจถูกฝ่ายที่เสียเปรียบ จากการทำนิติกรรมนั้นบอกล้างได้ในเวลาต่อมา เป็นผลให้นิติกรรมนั้นสิ้นสุดลง และตกลงเป็นโมฆะกรรม เช่น ทำสัญญาว่าจ้างแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนไต โดยสำคัญผิดคิดว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญโรคไต แต่ที่จริงแพทย์ผู้นั้น เชี่ยวชาญทางสูติกรรม ซึ่งเป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล ย่อมทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆียะกรรม ซึ่งอาจถูกฝ่ายว่าจ้างบอกล้างได้ในภายหลัง อันเป็นผลให้สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะกรรมไปได้ 3. การบังคับชำระหนี้อาจเป็นการชำระเงินหรือการส่งมอบทรัพย์สิน การกระทำอย่างใดอย่าง หนึ่งหรืองดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของหนี้ที่เกิดขึ้น เพราะหนี้ที่เกิดขึ้น และมี ผลตามกฎหมาย เจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้บิดพริ้วไม่ชำระหนี้ดังกล่าวก็ ย่อมขออำนาจจากศาลเพื่อให้มีการบังคับลำระหนี้ให้ถูกต้อง 4. การชดใช้ค่าเสียหาย การชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดให้กับผู้เสียหายตาม กฎหมายแพ่ง เรียกว่า“ค่าสินไหมทดแทน”ความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการ พยาบาลฯ ที่สำคัญคือ เรื่อง ละเมิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติว่า“ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการ นั้น” หากผู้เสียหายฟ้องร้อง ผู้กระทำละเมิดจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากกฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่รับรองและคุ้มครองสิทธิโดยให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอย่างเป็นธรรมเพื่อให้บุคคล ผู้เสียหายคืนสู่ฐานะเดิมให้ได้ใกล้เคียงที่สุด กล่าวคือ ผู้กระทำความผิดจะต้องถูกบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนในเมื่อตนทำให้ผู้อื่นเสียหายการชดใช้ค่าเสียหายเป็นหน้าที่ที่เกิดขึ้นจากผลของ กฎหมาย เช่น ขับรถชนรั้วบ้านคนอื่นพัง แม้จะไม้ต้องซ่อมแซมรั้วบ้านให้แต่ต้องมีหน้าที่ผูกพันตาม
37 กฎหมายที่จะต้องต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ การตกลงค่าสินไหมทดแทน คู่กรณีสามารถตกลงกันได้ โดยมี หลักเกณฑ์ ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนี้ 4.1 กรณีทรัพย์สินเสียหาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 วรรคสอง บัญญัติ ว่า“อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่ การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคา ทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย” เช่น พยาบาลบี ตัดเสื้อผ้าและเครื่องประดับ คือ สร้อยคอของผู้ป่วย ค่าสินไหมทดแทนก็คือ ค่าจ้างซ่อมแซม เสื้อผ้าและเครื่องประดับหากไม่สามารถซ่อมแซมได้ ค่าสินไหมทดแทนก็คือราคาเสื้อผ้าและเครื่องประดับ ดังกล่าว 4.2 กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 บัญญัติว่า “ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้นค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ อีก ด้วยถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลคนหนึ่งคนใดต้อง ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายไปด้วยไซร้ท่านว่าบุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” อธิบายได้ว่า ค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้ให้กับทายาท ได้แก่ 1) ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็น เกี่ยวกับการปลงศพ เช่น ค่าโลงศพ ค่าธรรมเนียมวัด ค่าบำเพ็ญกุศล 2) ค่าขาดไร้อุปการะ เช่น บิดา มารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร หรือบุตรมีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบิดามารดา 3) ค่ารักษาพยาบาลและค่า ขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย (ถ้ามี) องค์ประกอบของความรับผิดทางแพ่งจากการประกอบวิชาชีพ องค์ประกอบของความรับผิดทางแพ่งจากการประกอบวิชาชีพ (Element of Liability) มีดังนี้ 1. มีหน้าที่ตามกฎหมาย (Legal duty) หมายถึง บุคคลที่ถูกฟ้องมีหน้าที่ตามกฎหมาย หรือต้อง ทำสัญญาโดยใช้ความรู้ ทักษะ ความชำนาญ รวมทั้งการตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัย ของผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภค คดีตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1932 เนื่องจากหญิง สาวคนหนึ่งได้ดื่มเบียร์ที่เพื่อนซื้อมาฝาก และพบซากหอยทากอยู่ในขวดเบียร์ คดีนี้แม้ผู้เสียหายไม่ได้เป็น คนซื้อเอง แต่ถือว่าเป็นผู้บริโภคซึ่งบริษัทผู้ผลิตมีหน้าที่ต้องดูแลควบคุมคุณภาพสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภค ปลอดภัย เมื่อมีหอยทากในขวดเบียร์ บริษัทจึงต้องรับผิดชอบ สำหรับการปฏิบัติพยาบาล ตามกฎหมาย พยาบาลมีหน้าที่ต้องดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ ได้แก่ - บันทึกสัญญาณชีพและเฝ้าระวังภาวะช็อกหรือมีเลือดออกหลังผ่าตัด - ประเมินและตรวจสอบการอุดตันของสายสวนเข้าหลอดเลือดดำส่วนกลาง (central line) - ปฏิบัติตามแผนการรักษาพร้อมกับให้คำแนะนำ เพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ - บันทึกการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของผู้ป่วย และรายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ รวมถึงบันทึก การสื่อสารด้วยวาจาไว้ด้วย - จัดสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่น การยกราวกั้นเตียงขึ้น ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วย หลังคลอดแรกยังไม่ครบ 24 ชั่วโมงลุกไปห้องน้ำเองตามลำพัง
38 2. ไม่ได้กระทำตามหน้าที่ (Breach of duty) หมายถึง การไม่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานวิชาชีพ เช่น - ไม่วัดสัญญาณชีพผู้ป่วยหลังผ่าตัด - ไม่ประเมินระดับความรู้สึกตัว และปฏิกิริยาของม่านตาต่อแสงในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ - ไม่บันทึกและรายงานอาการของผู้ป่วยสูงอายุที่แรกวับรู้สึกตัวดี แต่ต่อมามีอาการสับสน - ไม่บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลว - ไม่ประเมินชีพจรที่ข้อเท้าและหลังเท้าในผู้ป่วยที่กระดูกชาหัก - ไม่ตรวจสอบความถูกต้องก่อนให้ยาหรือให้เลือดแก่ผู้ป่วย - ไม่พัฒนาแนวปฏิบัติของโรงพยาบาลหรือหน่วยงาน - ผูกยึดผู้ป่วยโดยไม่มีเหตุผลสมควร - ให้ข้อมูลการเจ็บของผู้ป่วยกับนักข่าวหรือสื่อสาธารณะโดยไม่ขออนุญาตผู้ป่วย - นำเสนอรูปภาพผู้ป่วยในการประชุมวิชาการหรือรายงานโดยไม่ปกปิดใบหน้าผู้ป่วย 3. เกิดผลโดยตรงต่อผู้ป่วย (Causation/ proximate cause) เช่น พยาบาลลืมเอาราวกั้น เตียงขึ้นทำให้ผู้ป่วยตกเตียง ส่งผลให้กระดูกข้อสะโพกหัก 4. เกิดความเสียหาย (Damage/harm) หมายถึง การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ ทำให้เกิด ความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เช่น ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจะมีความปวดทุกข์ทรมาน ต้องเข้ารับการผ่าตัด นอนโรงพยาบาลนานขึ้น และ ต้องทำกายภาพบำบัดซึ่งความเสียหาย อาจแบ่งได้ดังนี้ - ความเสียหายที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ (Special damage) ความเสียหายประเภทนี้ สามารถคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้เช่น ค่ายา ค่าแพทย์ ค่าอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ต่างๆ - ความเสียหายไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ (General damage) เช่น ความปวด ความทุกข์ ทรมาน ชื่อเสียง 2.4 อายุความทางแพ่ง อายุความ คือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ถ้าผู้เสียหายใช้ สิทธินั้นร้องเรียนต่อศาลเกินระยะเวลากำหนด ศาลจะมีคำสั่งยกฟ้องได้ เนื่องจากคดีขาดอายุความ ทั้งนี้ ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการละเมิด ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้เรื่องการละเมิด และรู้ตัวผู้กระทำละเมิด และไม่เกิน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ละเมิด ทั้งนี้ การกระทำบางเรื่องที่ผิดทั้งสัญญา และละเมิด จะให้ผลแตกต่างในเรื่องอายุความโดยการทำละเมิดมีอายุความ 1 ปี ส่วนการผิดสัญญามีอายุ ความ 10 ปีในกรณีที่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาและอายุความทางอาญายาวกว่าให้ใช้อายุความที่ ยาวกว่ามาบังคับใช้ (ปพพ. มาตรา 448) การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีโอกาสเสี่ยงต่อการกระทำละเมิด ต้องชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ไม่ว่าจะกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ หากศึกษาจากคดีที่เกิดขึ้นจะพบว่าทุก
39 ขั้นตอนของการพยาบาลมีโอกาสเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือ สิทธิอย่างหนึ่งได้ ดังนั้น พยาบาลจึงต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และการ สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดปัญหาการฟ้องร้องในการปฏิบัติการพยาบาลได้ 2.5 ความรับผิดจากการละเมิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล ละเมิด (Tort) หมายถึง การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย จน เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ผู้ละเมิด หรือผู้กระทำต้องรับผิดชอบจากการกระทำ โดยการชดใช้ค่าสินไหทดแทน (ปพพ. มาตรา 420) ซึ่งหลัก สำคัญของการละเมิด มีดังนี้(มานิตย์ จุมปา, 2552: : อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม และ สมใจ ศิระกมล, 2558: เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัทรา จุฑามณี, สุจินตนา พันกล้า, 2560) 1. กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย หมายถึง การฝ่าฝืนข้อห้ามหรือการกระทำในสิ่งที่ กฎหมายบัญญัติห้ามกระทำ หรืองดเว้นในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ต้องทำตามกฎหมาย หรือไม่มีสิทธิไม่มีอำนาจ ตามกฎหมาย เช่น กฎหมายห้ามพยาบาลรับทำแท้งไม่ว่ากรณีใดๆ ถ้าพยาบาลฝ่าฝืนไปรับทำแท้งถือว่า กระทำในสิ่งที่กฎหมายห้ามหรือการงดเว้นการกระทำในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ต้องทำ เช่น ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วย หายใจ พยาบาลมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดูดเสมหะและดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ถ้าพยาบาลไม่ดูด เสมหะและผู้ป่วยมีทางเดินหายใจอุดตันขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้ นอกจากนี้การกระทำยังรวมถึงการ ไม่ป้องกันผลที่จะเกิดขึ้น หรือการไม่ป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพ เช่น พยาบาลลืมบอกผู้ป่วยที่ได้ยานอนหลับก่อนผ่าตัดว่าหลังรับประทานยาแล้ว ห้ามลงจากเตียงโดยลำพัง ต่อมาผู้ป่วยลุกและล้มในห้องน้ำ ถือว่าพยาบาลไม่ได้เฝ้าระวังและป้องกันการหกล้ม 2. การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ การกระทำโดยจงใจ หมายถึง การกระทำที่ตั้งใจ หรือเจตนาโดยผิดกฎหมาย ไม่มีสิทธิหรือใช้สิทธิเกินขอบเขต ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โดยรู้สำนึก ถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น การกระทำโดยจงใจทางแพ่งมีความหมายแตกต่างจากการกระทำ โดยเจตนาทางอาญา กล่าวคือ การกระทำโดยเจตนานอกจากระทำโดยรู้สำนึกแล้ว ยังประสงค์ต่อผลหรือ เล็งเห็นผล (ปอ.มาตรา 59 วรรค 2) แต่การกระทำโดยจงใจในทางแพ่ง ผู้กระทำไม่จำเป็นต้องประสงค์ต่อ ผลที่จะเกิดขึ้นส่วนการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ หมายถึง การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังใน ระดับวิญญูชน ซึ่งอาจเทียบได้กับความระมัดระวังของบุคคลในอาชีพเดียวกัน ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์หรือหาได้ใช้เพียงพอไม่ (ปอ. มาดรา 59 วรรค 4) ดังนั้น ไม่ว่าการกระทำ นั้น ผู้กระทำจะตั้งใจหรือเกิดจากความประมาทต้องรับผิดทางแพ่ง หากทำให้บุคคลอื่นเสียหาย 3. ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย หมายถึง การกระทำที่ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ - ความเสียหายแก่ชีวิต หมายถึง ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เช่น ฉีดยาเกินขนาดทำให้ผู้ป่วย เสียชีวิต
40 - ความเสียหายแก่ร่างกาย หมายถึง ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น ถูก ตัดขาเนื่องจากเนื้อเยื่อถูกกดทับ เกิดแผลกดทับเนื่องจากไม่ได้พลิกตะแคงตัวผู้ป่วย แพ้ยาจนผิวหนังพุพอง หรือช็อกเนื่องจากไม่ได้ซักประวัติการแพ้ - ความเสียทายแก่อนามัย หมายถึง ความไม่สุขสบายและความรู้สึกต่างๆ เช่น ความปวด ความ ทุกข์ทรมาน ความเศร้าใจ เสียใจ - ความเสียหายแก่เสรีภาพ หมายถึง การทำให้ผู้อื่นถูกจำกัดอิสรภาพ เช่น การกักขัง หน่วง เหนี่ยวผู้อื่นการผูกยึดโดยไม่มีเหตุผลสมควร - ความเสียหายแก่ทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ หมายถึง การทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายทำให้ผู้อื่น เสียสิทธิต่างๆ โดยทรัพย์สิน หมายถึง ทั้งทรัพย์สินที่มีรูปว่างและไม่มีรูปร่าง รวมถึงลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ต่างๆ ในกรณีการปฏิบัติการพยาบาลอาจทำให้ทรัพย์สินของผู้ป่วยเสียหายได้ ในระหว่างที่เคลื่อนย้าย ผู้ป่วยหรือการรื้อค้น หยิบฉวยทรัพย์สินของผู้ป่วยที่เก็บไว้ข้างเตียง จะเห็นว่าความรับผิดเรื่องละเมิดจะต้องเข้าองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อดังกล่าว หากไม่ครบ องค์ประกอบ เช่น ทำผิดกฎหมายแต่ไม่มีใครได้รับความเสียหายจากการกระทำของนาย ก. กฎหมายยังไม่ ถือว่าเป็นการละเมิด หรือ ถ้าผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดทางกฎหมายแพ่ง และไม่ ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายและญาติขอร้องให้พยาบาลช่วยปลด เครื่องช่วยหายใจให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบ เนื่องจากทุกข์ทรมานจากอาการของโรคมาก พยาบาลสงสารจึง ปลดเครื่องช่วยหายใจตามที่ร้องขอ และผู้ป่วยเสียชีวิต กรณีนี้พยาบาลมีความผิดทางอาญาฐานฆ่าคนตาย โดยเจตนา ต้องรับโทษทางอาญา แต่ในทางแพ่ง ญาติจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไม่ได้ ถ้าพยาบาล พิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นผู้ป่วยและญาติยินยอม 2.6 ประเด็นปัญหาความรับผิดทางแพ่งที่พบบ่อย กรณีศึกษา คดีเสียชีวิตจากงูกัด ผู้ป่วยเสียชีวิตจากถูกงูกัด ผู้ป่วยมีประวัติถูกงูเห่ากัดมาที่โรงพยาบาล และพยาบาลได้แก้ขัน ชะเนาะ ที่ญาติทําไว้เพื่อป้องกันพิษงูเข้าสู่หัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาต่อมา ญาติฟ้องที่แพทย์มาดู ผู้ป่วยช้า ปล่อยให้ผู้ป่วยรอนาน 3 ชั่วโมง โดยแพทย์อ้างว่าติดผ่าตัด ส่วนพยาบาลแก้ขันชะเนาะแล้วให้ ญาติดูแลผู้ป่วยแทน เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วขึ้น แม้จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ให้ประวัติผิด แท้จริงแล้ว ไม่ใช่งูเห่า แต่เป็นงูเขียวหางไหม้ซึ่งแนวทางการรักษาต่างกัน แต่ศาลวินิจฉัยว่า ไม่ว่าจะเป็นงูชนิดใด หาก แพทย์มาตรวจด้วยตนเองตั้งแต่แรก ผู้ป่วยจะไม่เสียชีวิต การกระทําของจําเลย ถือว่าเป็นการประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง พิพากษาให้จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจํานวน 500,000 มาท แต่มีผู้กระทำผิด ละเมิดหลายคน คณะกรรมการพิจารณาไล่เบี้ยของกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วมีมติให้ผู้ทําละเมิด ชดใช้เต็มจำนวน ตามสัดส่วนของการกระทำความผิด โดยให้แพทย์รับผิด ร้อยละ 60 พยาบาลรับผิด ร้อยละ 40