91 ตรวจเบื้องต้น เนื่องจากยาเสพติดส่วนใหญ่จะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ และสามารถเก็บปัสสาวะได้ง่าย กว่าการเจาะเลือด ส่งตรวจ วิธีการเก็บปัสสาวะส่งตรวจหาสารเสพติด มีดังนี้ 2.1 ระบุรายละเอียดข้อมูลของผู้รับการตรวจพิสูจน์ให้ถูกต้อง โดยระบุจากชนิดและเลขที่บัตร ประจําตัวผู้ป่วย เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานราชการ หากไม่มี บัตร เจ้าหน้าที่ควรพิมพ์ลายนิ้วมือ หรือถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน 2.2 ให้ผู้ป่วยเซ็นในแบบฟอร์มสําหรับยินยอมเข้ารับการตรวจ 2.3 ใช้ขวดหรือภาชนะปากกว้าง ที่สะอาดและแห้งมีฝาปิดมิดชิด และเก็บปัสสาวะประมาณ 30 มล. ห้ามใส่สารกันบูด ปิดฝาให้มิดชิด พันปากขวดด้วยพาราฟิล์ม เทปใสหรือกาว เพื่อป้องกันหกและการ ระเหยของแอลกอฮอล์ 2.4 การเก็บปัสสาวะควรเก็บภายใน 12 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 24 ชั่วโมงภายหลังที่คาดว่ามีการใช้ ยา ขณะเก็บควรควบคุมไม่ให้มีการสับเปลี่ยน หรือปนปลอมสารอื่นลงในปัสสาวะ โดยเฉพาะการเก็บใน เด็กนักเรียน เจ้าหน้าที่ควรเฝ้าอยู่หน้าห้องน้ำ ปิดก๊อกน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้เอาน้ำไปผสม และทดสอบ อุณหภูมิโดยจับกระป๋องจะรู้สึกอุ่น ถ้าจับกระป๋องปัสสาวะที่เก็บมาเย็นแสดงว่าปัสสาวะอาจมีน้ำเจือปน เสร็จแล้วลงรายละเอียดของปัสสาวะ เช่น ปริมาณ สี กลิ่น อุณหภูมิ 2.5 ปิดฉลากข้างขวดหรือภาชนะที่เก็บปัสสาวะ การเก็บปัสสาวะแม้จะเป็นที่นิยม แต่ต้อง ตระหนักว่า การเก็บปัสสาวะเพียงครั้งเดียวเพื่อพิสูจน์ยาเสพติด สามารถตรวจพบเฉพาะเมื่อมีการใช้ยา ภายใน ระยะเวลาไม่กี่วัน ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ จึงต้องตรวจติดตามเป็นระยะๆ หรือใช้วิธีการ ตรวจเส้นผม หรือวิธีการอื่นร่วมด้วย 3. การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อหาลายพิมพ์ DNA (DNA fingerprint) เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล หรือ ลําดับพันธุกรรม ปัจจุบันมีการนํามาใช้เพื่อพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ลูก จากสิ่งส่งตรวจหลายประเภท เช่น เลือด เยื่อบุ กระพุ้งแก้ม ชิ้นเนื้อ เส้นผม วิธีการเก็บตัวอย่างอาจแตกต่างกัน
92 ตารางที่5.1 วิธีเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจเพื่อหาลายพิมพ์ DNA สิ่งส่งตรวจ วิธีเก็บ เลือด เจาะเลือดจํานวน 3 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดแก้วที่มี EDTA เพื่อป้องกันการแข็งตัว ของเลือด เยื่อบุกระพุ้งแก้ม ก่อนเก็บตัวอย่าง ไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที ใช้ไม้ พันสําลีป้าย บริเวณด้านในกระพุ้งแก้มอย่างน้อย 2 อัน พึ่งให้แห้ง แล้วใส่ใน หลอดแก้วหรือหลอดพลาสติก ที่ใหม่สะอาด ปราศจากเชื้อ ชิ้นเนื้อ ใส่ชิ้นเนื้อในขวดแก้วหรือขวดพลาสติก ที่สะอาดปราศจากเชื้อ เส้นผม ต้องมีรากผม เส้นผมที่สามารถตรวจ DNA ได้ ต้องเป็นเส้นผมที่ได้จากการถอน จึงจะมีรากผม โดยเก็บมา (ต้องมีรากผมด้วย) ประมาณ 8-10 เส้น ใส่ถุงพลาสติก ขณะเก็บต้อง ใส่ถุงมือ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ส่วนเส้นผมที่หลุดร่วงเอง ไม่สามารถตรวจ DNA เนื่องจากเป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิต ที่มา: (แสงทอง ธีระทองคำ และไสว นรสาร, 2561) คําพิพากษาศาลฎีกาที่2510/2530 ผู้ตายใช้มีดยาวประมาณ 1 ช่วงแขนไล่ฟันจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 1 จึงใช้ปืนแก๊ปยิงผู้ตาย 1 นัด ขณะที่อยู่ห่างกันประมาณ 4 วา ผู้ตายวิ่งหนีไป 2 วาก็ล้มลง จําเลยที่ 1 เอาปืนลูกซองยาวจากจําเลยที่ 2 มายิงซ้ำอีก 1 นัดแต่ไม่ถูก แล้วจําเลยทั้งสองนําผู้ตายไปทิ้งลงเหว ดังนี้เป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่า จําเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตาย หลังจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ล่วงพ้น ไปแล้ว การกระทําของจําเลยที่เกินกว่ากรณีแห่งการจําต้องกระทําเพื่อป้องกันตัว คําพิพากษาศาลฎีกาที่434/2492 ในการชันสูตรพลิกศพผู้ตาย มีปลัดอําเภอกับผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ทําการชันสูตรพลิกศพ เพราะใน ท้องที่ ใกล้เคียงนั้นไม่มีแพทย์ดังนี้ถือว่าการชันสูตรพลิกศพไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่ไม่ตัดอํานาจโจทก์ ที่นําคดีมาฟ้องได้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่370/2536 จําเลยเพียงแต่ใช้มือจับแขนขวาของผู้เสียหายกระชากไหล่ไปทางด้านหลังเป็นเหตุให้เส้นเอ็นที่ หัวไหล่ขวาของผู้เสียหายอักเสบเล็กน้อย ไม่มีบาดแผลช้ำบวมภายนอก ใช้เวลารักษาประมาณ 15 วัน ถือ ว่าไม่เป็นอันตรายแก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 391
93 คําพิพากษาศาลฎีกา 393/2489 ผู้ลงนามในใบชันสูตรพลิกศพไม่ได้เป็นแพทย์แต่เป็นเพียงสัปเหร่อย่อมเป็นการชันสูตรพลิกศพที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้การชันสูตรพลิกศพเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายอัยการยื่นฟ้องฐานฆ่าคนตายได้ คำพิพากษาศาลฎีกา..../2555 โจทก์ยื่นฟ้องนางณัฐ อายุ 58 ปี อดีตผู้ช่วยพยาบาล เป็นจำเลยในความผิดฐาน “ฆ่าและพยายาม ฆ่าผู้อื่นเพื่อหวังเงินประกันโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เคลื่อนย้ายทำลายศพเพื่อปิดบังการตาย แจ้งความเท็จ ปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม ฉ้อโกง มีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 และ 4 ไว้ในครอบครอง โดยผิดกฎหมาย” เมื่อ 6 ม.ค.-31 ส.ค.44 จำเลยได้กระทำความผิดกฎหมายหลายบทหลายกรรม โดยปลอมและใช้ เอกสารปลอมในการทำประกันชีวิต และประกันอุบัติเหตุให้กับนายรุณ อายุ 31 ปี อดีตสามี โดยทำ ประกันไว้กับบริษัทต่างๆ ถึง 18 บริษัท รวม 20 กรมธรรม์วงเงิน 40,645,000 บาท โดยมีจำเลยเป็นผู้ ได้รับผลประโยชน์ จากนั้นจำเลยได้วางแผนฆ่าผู้ตาย โดยแอบใส่ยาพิษให้ดื่มจนมีอาการง่วงซึมขณะขับรถ และประสบอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำขณะเดินทางไป จ.สระบุรี เมื่อถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลแล้วกลับมา พักฟื้นต่อที่บ้าน จำเลยยังได้ลักลอบใส่ยาพิษร้ายแรงลงในกาแฟให้ดื่มจนเป็นเหตุให้นายรุณถึงแก่ความ ตายตามเจตนา เพื่อหวังผลประโยชน์จากการทำประกัน หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้น บ้านพักจำเลยใน จ.สระบุรี พบวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท 2 และประเภทที่ 4 จำนวนมาก จึงตรวจยึดไว้ เป็นของกลาง โดยจำเลยให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ก.พ.46 ให้จำคุกฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม 18 ปี ฐาน ปลอมเอกสารสิทธิ์เพื่อรับผลประโยชน์ 2 ปี รวม 20 ปี ส่วนข้อหาพยายามฆ่า พิพากษายกฟ้อง เนื่องจาก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ชัดเจนเพียงพอว่าผู้ตายรับสาร “ไซยาไนด์” เพราะผู้ตายได้รับอุบัติเหตุ กระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรงอาจเสียชีวิตเพราะโรคแทรกซ้อนก็ได้ และศาลอุทธรณ์มีคำ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 4 มี.ค.48 ต่อมาอัยการโจทก์และจำเลยยื่นฎีกา ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า ที่ โจทก์ฎีกาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่า และพยายามฆ่านั้น ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่มีพยานมานำสืบ ให้เชื่อได้อย่างแน่ชัดว่าผู้ตายเสียชีวิตลงจากวัตถุออกฤทธิ์ มีเพียงนางฉลวย น้องสาวผู้ตาย เบิกความว่า ก่อนผู้ตายจะเสียชีวิตได้ไปเยี่ยม เมื่อสอบถามผู้ตายก็จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ทราบเพียงว่าไปดื่มกาแฟที่ บ้านจำเลย ส่วนจำเลยเบิกความว่าไม่ได้เป็นคนชงกาแฟให้ผู้ตายดื่ม อีกทั้งคำเบิกความของพยานโจทก์ที่ เป็นแพทย์ ก็ขัดแย้งกันเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิต ส่วนเรื่องที่จำเลยนำศพผู้ตายไปฌาปนกิจก่อนที่จะผ่า ชันสูตรศพนั้น ศาลเห็นว่าเรื่องการผ่าชันสูตรศพเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้ให้การรักษา เมื่อแพทย์ได้มอบศพ ให้จำเลยนำไปประกอบพิธีทางศาสนาจึงไม่ได้เป็นการกระทำโดยพลการ สำหรับข้อหาปลอมและใช้
94 เอกสารสิทธิปลอม ฉ้อโกง ลงลายมือชื่อของผู้ตายในสำเนาเอกสารต่างๆ เพื่อนำไปยื่นกับตัวแทนบริษัท ประกันชีวิตนั้น เห็นว่าที่จำเลยอ้างว่าผู้ตายยินยอมให้จำเลยกระทำ เป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีเหตุผลใด ที่ผู้ตายจะให้จำเลยไปเอาประกันเอง อีกทั้งผู้เอาประกันจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง การกระทำของ จำเลยเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทประกันและผู้ตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอม และใช้เอกสารปลอม ฐานปลอมเอกสารสิทธิเพื่อรับผลประโยชน์ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา จำคุก 20 ปีจำเลยนั้นชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ การปฏิบัติการพยาบาลเกี่ยวกับงานด้านนิติเวชหลายด้าน โดยเฉพาะในแผนกฉุกเฉิน หรือหอ ผู้ป่วย อุบัติเหตุ พยาบาลจึงควรได้รับการอบรมนิติเวชเพื่อให้มีความรู้และทักษะในด้านการดูแลผู้ป่วยและ การเก็บ พยานหลักฐานต่างๆ ทั้งลายลักษณ์อักษรและภาพถ่ายจะช่วยให้พยาบาลมีทักษะในการประเมิน และบันทึกผู้ป่วยคดีได้อย่างถูกต้องอันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำคดีต่างๆ 5.10 สรุป การพยาบาลมีบทบาทสำคัญในงานนิติเวชศาสตร์หลายประการ ทั้งให้การดูแลผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยคดีที่ จะต้องซักประวัติ การช่วยแพทย์ดูแลผู้บาดเจ็บ บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล การเก็บสิ่งส่งตรวจ การดูแลผู้ที่ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ตลอดจนการรวบรวมพยานหลักฐานและการบันทึกบาดแผล ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญ ต่อคดี ดังนั้นพยาบาลจึงจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆและการพัฒนาศักยภาพใน ด้านการพยาบาลนิติเวช เพื่อสามารถให้บริการผู้ป่วยคดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนความปลอดภัย ของตนเองและทีมสหสาขาวิชาชีพที่จะไม่ถูกฟ้องร้องจากผู้รับบริการ
95 แบบฝึกหัดบทที่ 5 16. จงอธิบายความหมายของนิติเวชศาสตร์ 17. จงอธิบายประเภทของงานนิติเวชศาสตร์ 18. จงอธิบายบทบาทของพยาบาลนิติเวช 19. จงบอกอธิบายการดูแลผู้ป่วยที่ถูกล่วงละเมิดทางพศ 20. จงอธิบายวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจที่พยาบาลควรทราบ
96 เอกสารอ้างอิง ณัฐ ตันสรีสวัสดิ์, ธีรโชติ จองสกุล, อุดมศักดิ์ หุ่นวิจิตร. (2550). แนวทางการเขียนชันสูตรบาดแผล. วารสารนิติเวชศาสตร์. 1(1): 1-10. พรทิพย์ โรจนสุนันท์. (2544). นิติเวชศาสตร์: การชันสูตรศพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. มานิตย์ จุมปา. (2552). ข้อควรระวังทางกฎหมายของพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท วี พริ้นท์. วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2546). กฎหมายทางการแพทย์ ความรับผิดทางกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. สมใจ ศิระกมล. (2556). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. เชียงใหม่ : บริษัท ครองช่าง พริ้นติ้ง จำกัด. แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2560). กฎหมายและข้อควรระวังของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ พยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด. แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร. (2561). กฎหมายสำหรับพยาบาล. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการตำรารามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
97 แผนบริหารการสอนประจำบทที่6 เนื้อหา บทที่ 6 การป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 6.1 ปัญหาจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 6.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 6.3 การตัดสินเชิงจริยธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล 6.4 แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหากฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติ การพยาบาล 6.5 ประเด็นปัญหาเชิงจริยธรรมที่พบบ่อย 6.6 สรุป จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อศึกษาบทที่ 6 แล้วนักศึกษาสามารถ 1. อธิบายปัญหาจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลได้ 2. อธิบายปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลได้ 3. อธิบายการการตัดสินเชิงจริยธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลได้ 4. อธิบายแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหากฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติ การพยาบาลได้ 5. อธิบายประเด็นปัญหาเชิงจริยธรรมที่พบบ่อยได้ กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท 1. ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอนวิชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม ในการปฏิบัติการพยาบาล 2. บรรยายด้วยสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 3. สรุปสาระสำคัญจากบทเรียน 4. ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6
98 สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวิชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรมในการปฏิบัติ การพยาบาล 2. ไฟล์การนำเสนอภาพนิ่งผ่านโปรแกรมไมโครซอฟท์เพาเวอร์พอยท์ 3. หนังสืออ่านประกอบค้นคว้าเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาทาง จริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 4. แบบฝึกหัดบทที่ 6 การวัดผลและการประเมินผล 1. สังเกตจากการซักถามผู้เรียน 2. สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน 3. สังเกตจากความสนใจของผู้เรียน 4. ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัดบทที่ 6 5. ประเมินผลจากการทดสอบปลายภาค 6. แบบประเมินการทำรายงานและการนำเสนอ
99 บทที่ 6 การป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล ปัญหาความเจ็บป่วยของผู้รับบริการในปัจจุบันมีความซับซ้อน ต้องใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใน การรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสูงขึ้น ประชาชนมีความรู้และความคาดหวัง เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มขึ้นพร้อมที่จะปกป้องสิทธิของตนเอง ขณะเดียวกันจำนวนพยาบาลมีจำกัดต่อปริมาณ ผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดปัญหาทางจริยธรรมและกฎหมายมากขึ้น พยาบาลวิชาชีพจึงควรศึกษาประเด็นปัญหา ทางจริยธรรมและกฎหมายให้มากขึ้น เพื่อจะได้ตระหนักถึงความสำคัญและป้องกันการฟ้องร้องทางการ พยาบาล รวมถึงช่วยกันพัฒนาวิชาชีพ 6.1 ปัญหาจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล ในปัจจุบันเป้นยุคโลกที่ไร้พรมแดน สิ่งต่างๆ สามารถเชื่อมโยงถึงกันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร และประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งมีความต้องการปกป้องสิทธิของตนเองมากขึ้น ใน การรับบริการสุขภาพ มีการซักถามข้อมูลการเจ็บป่วย ข้อขัดแย้ง หรือปฏิเสธการรักษา จึงก่อให้เกิดการ เผชิญปัญหาจริยธรรม (Ethical problems) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาทางกฎหมาย (Legal problems) และปัญหาขัดแย้งทางจริยธรรม (Ethical dilemmas) โดยมีรายละเอียด ดังนี้(กนกวรรณ ฉันธนะมงคล, 2562: สุพิศ รุ่งเรืองศรี และคัทรียา ศิริภัทรากูล แสนหลวง (บรรณาธิการ), 2561) 1. ปัญหาทางกฎหมาย ปัจจุบันการฟ้องร้องทางการแพทย์ต่อกระทรวงสาธารณสุขมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในปีพ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2558 พบว่า มีคดีแพ่งจํานวน 241 คดี(ถอนฟ้อง 140 คดี) คดีอาญามี36 คดี(ถอน ฟ้อง 8 คดี) คดี ผู้บริโภค 133 คดีคดีปกครอง 2 คดีทุนทรัพย์ที่ฟ้องประมาณ 2,873 ล้านบาท กระทรวงการคลังได้มี คําสั่งให้ไล่เบี้ยตั้งแต่ปี2539 ถึงปัจจุบันมีจํานวน 4 คดีประกอบด้วย แพทย์จํานวน 3 คน พยาบาล 5 คน สาเหตุหลักในการฟ้องร้องส่วนใหญ่คือ การรักษาผิดพลาด ร้อยละ 49.36 รองลงมาคือ การทําคลอด และ ไม่ดูแลเอาใจใส่ผู้ใช้บริการ ร้อยละ 23.83 และ 9.79 ปัญหาทางกฎหมายที่พบบ่อยในการปฏิบัติได้แก่ 1.1 ขอบเขตการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์พยาบาลวิชาชีพมี บทบาทหน้าที่ หลักในการช่วยเหลือและดูแลผู้ที่เจ็บป่วย และช่วยเหลือแพทย์ในด้านการรักษา หาก กระทําเกินขอบเขตที่กฎหมายวิชาชีพกําหนด ในด้านการรักษาโรคทั่วไป การทําหัตถการต่างๆ เช่น การ เขี่ยสิ่งแปลกปลอมจากกระจกตา การเจาะ Arterial blood gas ย่อมมีความผิดตามกฎหมาย เนื่องจาก ก้าวล่วงต่อวิชาชีพเวชกรรม การเปิดคลินิกเอกชนของพยาบาลวิชาชีพกฎหมายอนุญาตให้กระทําการ
100 พยาบาลและการผดุงครรภ์รวมถึงการปฐมพยาบาลเท่านั้น ไม่รวมการรักษาโรคเบื้องต้น หากพยาบาล รักษาโรคฯ ย่อมผิดกฎหมาย และผิดต่อกฎหมายสถานพยาบาลด้วย พยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลกําหนดและขึ้น ทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) สามารถให้ การรักษาโรคเบื้องต้นตามข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ การพยาบาล และการผดุงครรภ์พ.ศ. 2550 เช่น การจ่าย Oral Rehydration Salts (ORS) ให้แก่ผู้ป่วยที่ ท้องเสีย การ ฉีดกลูโคสให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ผลน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 50 mg แต่ในปัจจุบันยังมีประเด็น ขัดแย้งในด้าน กฎหมายเรื่องการจ่ายยาซึ่งกฎหมายยาไม่ได้อนุญาตการปฏิบัติหน้าที่ที่เกินขอบเขตที่ กฎหมายกําหนดไว้และผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบ หากถูกดําเนินคดีอาญา ศาลมักจะลงโทษจําคุก และ/ หรือ ปรับเนื่องจากเป็นอันตรายต่อประชาชน และเป็นมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน เช่น ใน คดีที่พยาบาลขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision) แทนการผ่าฝีในปาก (Excision) หากถูก ฟ้องร้องทั้งแพทย์และพยาบาลมีความผิดตามกฎหมาย สําหรับพยาบาลจะมีความผิดฐานเป็น บุคคลภายนอกประกอบวิชาชีพแพทย์ (มาตรา 26) ตามพระราชบัญญัติประกอบวิชาชีพ เวชกรรม พ.ศ. 2525 ซึ่งมีโทษจําคุก 3 ปีและปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 43) และถือว่าประพฤติ ผิดจริยธรรมใน การประกอบวิชาชีพการพยาบาลด้วย) แต่ในกรณีนี้แพทย์เจ้าของคลินิกมีการสื่อสารที่ดี กับผู้เสียหาย จึงไม่ได้ฟ้องร้องตามกฎหมาย ในกรณีข่าวที่พยาบาลฉีดสารกลูตาไธโอนเพื่อให้ผิวขาว หรือ ข่าวเปิดคลินิกเอกชนเพื่อรักษาโรค จ่ายยาและออกใบรับรองแพทย์กลางกรุงเทพฯ ย่อมมีความผิดตาม กฎหมายอาญาในประเด็น การประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต ปลอมแปลงใบรับรองแพทย์ ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ประกอบกิจการและดําเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต 1.2 บทบาทพยาบาลในฐานะผู้ช่วยเหลือแพทย์บทบาทพยาบาล มีบทบาทที่อิสระกับ บทบาทที่ไม่อิสระ ได้แก่ บทบาทที่ช่วยเหลือแพทย์ในการรักษาโรค โดยแพทย์มอบหมายให้ปฏิบัติซึ่ง พยาบาลอาจลำบากใจในการปฏิเสธ หรือในบางกรณีมิอาจขัดคําสั่งได้เพราะเป็นผู้บังคับบัญชาพยาบาลจึง ต้องปฏิบัติเช่น การสั่งพยาบาลให้เย็บปิดแผลผ่าตัดหน้าท้องแทน เพราะมีภารกิจอื่น การจ่ายยาแก่ผู้ป่วย วิกฤต อย่างไรก็ตาม คําสั่งทางการแพทย์ใดที่เกินขอบเขตและพยาบาลปฏิเสธ หากถูกยืนยันให้กระทํา เพราะการถูกบังคับ ผู้สั่งการย่อมต้องรับผิดด้วย การรับคําสั่งการรักษาทางโทรศัพท์จะมีโอกาสผิดพลาด ได้พยาบาลที่รับคําสั่งต้อง ทบทวนคําสั่งจนแน่ใจว่าฟังไม่ผิด แล้วต้องติดตามแพทย์มาลงนามกํากับ โดยเร็วที่สุดและไม่เกิน 24 ชั่วโมง 1.3 การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต พยาบาลสามารถให้การปฐมพยาบาล โดยไม่ ต้องรอความยินยอม จากผู้ป่วยหรือญาติแม้ผู้ป่วยจะเสียชีวิต พยาบาลก็ไม่ต้องรับผิด หากช่วยเหลือตาม มาตรฐานและขอบเขตที่พึงกระทํา เช่น ผู้ป่วยหมดสติหยุดหายใจ คลําชีพจรไม่ได้ พยาบาลสามารถ ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Basic life support) ก่อนที่ทีมแพทย์จะมาให้การรักษา ในทางกลับกันหาก พยาบาลพบผู้ป่วยฉุกเฉินที่สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้แต่ไม่ช่วยอาจมีความผิดตามกฎหมายอาญาฐาน ปฏิเสธการช่วยเหลือ
101 1.4 ความผิดพลาดที่เกิดจากการปฏิบัติการพยาบาล พยาบาลกระทําผิดตามกฎหมาย อาญา ฐานประมาท ได้แก่ 1.4.1 การติดชื่อผู้ป่วยผิด ทําให้ผลการชันสูตรสิ่งส่งตรวจสลับผู้ป่วย ส่งผลให้ การวินิจฉัยโรคและการรักษาผิดพลาด 1.4.2 การผสม Potassium chloride (KCl) ในยาปฏิชีวนะ เพื่อฉีดเข้าเส้นเลือด โดยเข้าใจว่าเป็น Sterile water หรือแผนการรักษาให้ผสมใน 5% D/N/2 แต่พยาบาลนําไปฉีดเข้าเส้น เลือดโดยตรง ทําให้ผู้ป่วยหยุดหายใจและเสียชีวิต 1.4.3 การป้อนนมทารก โดยขาดความระมัดระวัง เด็กสําลักนมและตกจากมือ คนอุ้ม เด็กหมดสติหัวใจหยุดเต้น หลังผ่าตัดกลายเป็นผู้พิการทางสมอง หากกรณีที่ผิดปกติไม่ สามารถตามแพทย์ได้และหากไม่ทําคลอดจะเป็นอันตรายต่อมารดาและทารก 1.4.4 การทําคลอดทารกท่ากัน ทารกไหปลาร้าหัก ซึ่งโดยปกติพยาบาลวิชาชีพ สามารถทําคลอดปกติได้เท่านั้น หากตามแพทย์ไม่ได้ และหากไม่ทำจะเกิดอันตรายต่อมารดาและทารก พยาบาลจึงกระทําได้ 1.4.5 การผูกชื่อข้อมือทารกแรกเกิดผิดคน ทําให้มารดานําทารกที่ไม่ใช่บุตรของตน กลับบ้านและเลี้ยงดูจนวัยรุ่น จึงทราบว่าเกิดการผิดพลาดสลับตัวบุตร ส่งผลต่อจิตใจทั้งสองครอบครัว 1.4.6 การฉีดยาผิดตําแหน่ง ทําให้ผู้ป่วยพิการ เดินไม่ได้ 1.4.7 การรักษาเบื้องต้นในผู้ที่หมดสติและตัดเสื้อผ้าผู้ป่วยโดยไม่ได้รับความ ยินยอม ในกรณีนี้ต้องพิจารณาตามความจําเป็น หากไม่ตัดไม่สามารถให้การรักษาพยาบาลได้จะถือว่า พยาบาลไม่มีความผิด ในทางกลับกันหากเสื้อผ้าถอดได้แต่พยาบาลไม่กระทํา ถือว่ามีความผิดทางอาญา ฐานทําให้เสียทรัพย์และอาจมีความผิดทางแพ่งฐานละเมิดด้วย 1.4.8 การบันทึกทางการพยาบาล มีความสําคัญเพราะถือว่าเป็นเอกสารทาง กฎหมาย พยาบาลจึงต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับวัน เวลา อาการและอาการแสดงของผู้ป่วย และการ รักษา เพื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และถูกต้องตามความเป็นจริง หากเขียนผิดให้ขีดฆ่า และลงนามกํากับ ในกรณีที่พยาบาลเขียนบันทึกทางการพยาบาลผิดพลาด เช่น ผู้ป่วยอาการไม่ดีต้องมี พยาบาลดูแลใกล้ชิด แต่เขียนว่า ผู้ป่วยอาการดีจึงไม่มีผู้ดูแลใกล้ชิด ผู้ป่วยเข้าห้องน้ำเอง เป็นลมล้ม เสียชีวิต พยาบาลผู้เขียนบันทึกต้องรับผิดทางอาญาฐานประมาท ทําให้ผู้อื่นเสียชีวิต และต้องรับผิดทาง แพ่งฐานละเมิด นอกจากนี้ยังพบประเด็นที่เป็นข่าวหลายกรณี เช่น การให้เลือดผิดกลุ่ม การหยอด น้ำกรดแทนยาสลบ การเย็บแผลฝีเย็บหลังคลอดแต่ปิดทวารหนัก ทําให้หญิงไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้ 2. ปัญหาขัดแย้งทางจริยธรรม ปัญหาขัดแย้งทางจริยธรรมในการพยาบาล (Ethical problems in nursing) หมายถึง ปัญหา ทางการพยาบาลที่ต้องพิจารณาว่า ควรทํา หรือไม่ควรทํา หรือเป็นปัญหาที่พยาบาลไม่อาจหาข้อยุติมี ความขัดแย้ง ซับซ้อนในการตัดสินใจ (ethical dilemmas) และยากต่อการตัดสินใจ พยาบาลวิชาชีพจึง
102 ต้องพิจารณาให้รอบคอบ และมีกระบวนการคิดพิจารณาตัดสินใจ เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ชัดเจน เพื่อลด ผลกระทบต่อผู้ใช้บริการและ ภาพลักษณ์ของวิชาชีพ ลักษณะปัญหาขัดแย้งทางจริยธรรมในการพยาบาล สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 2.1 ความสัมพันธ์และการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกับผู้ใช้บริการและผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมวิชาชีพ ในด้านผู้ใช้บริการพบ พฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดปัญหา เช่น วาจาไม่สุภาพ หน้าบึง ขาดความเห็นอกเห็นใจ ความนุ่มนวล ความ เมตตา หรือศิลปะในการปลอบโยน ไม่มีเหตุผลในการปฏิบัติพร่องความรับผิดชอบ ขาดความตระหนักต่อ สิทธิมนุษยชน เหตุการณ์เหล่านี้เมื่อเกิดแล้ว จะไม่มีผลดีต่อวิชาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้อง และมักเป็นเหตุให้เกิด การฟ้องร้องทางการพยาบาล ส่วนในด้านผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมวิชาชีพ อาจพบประเด็นในข้อสงสัยถึงแผนการ ดูแลรักษาผู้ป่วยที่เกินจําเป็น หรือมีความเห็นต่างในการดูแลผู้ป่วย ตลอดจนการไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน จนก่อให้เกิดการกระทบกระทั่ง และอาจมีผลต่อการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน การบอกความจริงแก่ผู้ป่วย (Telling truth) เป็นปัญหาจริยธรรมซึ่งต้องคํานึงถึงสิทธิผู้ป่วย ควรได้รับรู้ข้อมูลการเจ็บป่วยและแนวทางการรักษาพยาบาล อย่างไรก็ตามหากการบอกความจริงแล้ว ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีจะก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางจริยธรรม ดังนั้นการบอกความจริงต้องใช้ ทักษะในการแจ้งข่าว ประคับประคองจิตใจผู้ป่วยและคํานึงถึงอายุวุฒิภาวะ สมรรถนะในการตัดสินใจ การรับรู้ของผู้ป่วยที่อาจเกิดปฏิกิริยาแตกต่างกัน โดยบางรายอาจต้องการรับทราบ เพื่อเตรียมตัวและให้ ความร่วมมือในการรักษา ในทางกลับกัน หากประเมินแล้ว ผู้ป่วยยังไม่พร้อมอาจต้องชลอการบอกความ จริง เช่น ผู้ป่วยวิตกกังวลมากต่อการเป็นมะเร็งเต้านม แพทย์พยาบาลอาจต้องรอเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยพร้อม รับฟังข่าวร้าย ดังนั้นพยาบาลจึงต้องคิดวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และตัดสินใจเลือกการบอก ความจริงอาจบอกทั้งหมด การบอกบางส่วน การชลอการบอกความจริง หรือการไม่บอกความจริง การรักษาความลับผู้ใช้บริการ (Confidentiality) ที่รับรู้จากการประกอบวิชาชีพ เนื่องจาก การเปิดเผยอาจทําให้ผู้ใช้บริการเสื่อมเสีย และไม่เคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้บริการ ส่งผล ต่อการรักษาพยาบาล เพราะผู้ใช้บริการจะไม่ไว้วางใจ ในการขอข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย หากเป็นผู้ป่วยขอ เองสามารถกระทําได้แต่ถ้าผู้อื่นขอ เช่น ญาติหรือเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยต้อง มีหนังสือมอบฉันทะ เพื่อแสดงความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลสุขภาพ ซึ่งพยาบาลต้องให้เฉพาะที่ได้รับอนุญาต ในทํานอง เดียวกัน การถ่ายรูปผู้ป่วย แม้จะกระทําเชิงวิชาการ ควรปิดหน้าผู้ป่วย เพื่อรักษาความลับให้ผู้ป่วย การรักษาความลับ มีข้อยกเว้น 5 ประการ คือ 1) กรณีที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ประกอบ วิชาชีพเพื่อการรักษาพยาบาล และทําให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์2) การกระทําเพื่อปกป้อง ผู้อื่นให้ปลอดภัย จากโรค 3) ผู้ป่วยไม่อาจตัดสินใจหรือรับผิดชอบตนเอง จึงจําเป็นต้องแจ้งแก่ ญาติหรือผู้รับผิดชอบผู้ป่วย 4) กรณีที่อาจเกิดผลกระทบต่อความสงบและมั่นคงของประเทศ และ 5) ผู้ป่วยรับรู้และยินยอมให้ เปิดเผย ทั้งนี้พยาบาลต้องร่วมกับแพทย์และทีมสุขภาพ เพื่อประเมินอันตรายหรือผลกระทบต่อผู้ป่วย หรือผู้อื่น เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีขอให้ไม่บอกภริยา พยาบาลต้องประเมินด้วยว่าภริยาจะได้รับผลกระทบ อะไรหรือไม่ ผู้ป่วยสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้หรือไม่ หากผู้ป่วยไม่สามารถทําได้
103 พยาบาลอาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเปิดเผยข้อมูล โดยยึดหลักการทําประโยชน์มากกว่า การปกปิด ความลับ หรือการเคารพเอกสิทธิ์ ความยินยอมเมื่อได้รับการบอกกล่าว (Informed consent) ในการรักษาพยาบาลแพทย์ หรือพยาบาล ต้องให้ข้อมูลอย่างเพียงพอแก่การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการรักษา ทางเลือก ความเสี่ยง ประโยชน์ที่ได้รับ และความไม่แน่นอนต่างๆ จากการรักษา พร้อมประเมินความเข้าใจและการยอมรับของ ผู้ป่วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักจริยธรรมการเคารพเอกสิทธิ์และสิทธิผู้ป่วย บางกรณีผู้ป่วยอาจไม่ยินยอมรับ การรักษา เช่น การตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่แผลติดเชื้อรุนแรงเพื่อรักษาชีวิต ผู้ป่วยอาจคํานึงถึง ภาพลักษณ์ของตน และความสามารถในการเดิน จึงไม่ยอมให้ตัดเท้า แพทย์พยาบาลจําเป็นต้องรอให้ ผู้ป่วยพร้อม จึงสามารถให้การรักษาพยาบาลได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ผู้ป่วยอุบัติเหตุเสียเลือดมาก หมดสติ ก่อนให้ความยินยอมรักษาและไม่มีญาติในกรณีนี้แพทย์ได้รับความยินยอมตามข้อบ่งชี้ว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะ ที่ไม่สามารถให้ความยินยอมรักษาได้ ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีพยาบาลต้องพิจารณาตามสถานการณ์ว่าใครจะ เป็นผู้ให้ความยินยอม ต้องแจ้งผู้ปกครองเด็กหรือให้เด็กลงนามยินยอมเอง เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เด็ก เช่น นักเรียนหญิง อายุ15 ปีมาพบแพทย์ด้วยตกขาวและปวดท้องน้อยมา 1 สัปดาห์ให้ประวัติว่ามี เพศสัมพันธ์กับแฟนโดยสมัครใจ ปฏิเสธการตรวจภายใน พบสูติแพทย์และการบอกผู้ปกครอง แพทย์สงสัย ว่าผู้ป่วยมีอุ้งเชิงกรานอักเสบจากการติดเชื้อ (Pelvic inflammatory disease) จากกรณีนี้แพทย์ผู้ให้การ รักษาต้องพิจารณาเนื่องจากไม่มีคํายินยอมจากผู้ปกครอง และถ้าแจ้งผู้ปกครอง ผู้ป่วยย่อมปฏิเสธการ รักษา ผลที่ตามมาคือ อาการผู้ป่วยอาจรุนแรงเพิ่มขึ้น ดังนั้นแพทย์อาจต้องยึดหลักการทําประโยชน์โดย รักษาผู้ป่วยก่อน และให้คําแนะนําเพื่อป้องกันตนเองด้วย อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยไม่มีความสามารถใน การให้ความยินยอม (Capacity to informed consent) เช่น ผู้ที่ปัญญาอ่อน หรือมีสิ่งบ่งชี้ว่า อาจถูก ทารุณกรรมทางเพศ (Sexual abuse) แพทย์จําเป็นต้องเปิดเผยความลับเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในอนาคต 2.2 ชีวิตและความตาย 2.2.1 การให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบตามธรรมชาติ(Passive euthanasia) เป็นปัญหา ขัดแย้งทางจริยธรรม ที่สําคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ป่วยระยะท้ายว่า ควรจะปล่อยให้ผู้ป่วยจากไปอย่าง สงบ หรือควรยึดความตายของผู้ป่วย ใครจะเป็นผู้มีสิทธิตัดสิน ทั้งนี้การวิเคราะห์ทางจริยธรรมโดยเน้น การเคารพเอกสิทธิ์ให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบตามธรรมชาติ(Passive euthanasia) เมื่อผู้ป่วยต้องการที่ จะพ้นจากความเจ็บป่วยทุกข์ทรมาน พยาบาลและแพทย์ควรยุติการรักษาพยาบาล เพราะคํานึงถึงสิทธิที่ จะตาย (Right to die) ปัจจุบันมีกฎหมายสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนา ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดความตายในระยะท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการ ทรมานจากการเจ็บป่วยได้(มาตรา 12 วรรค 1) และเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขปฏิบัติตาม เจตนาของบุคคล การกระทํานั้นไม่มีความผิด (มาตรา 12 วรรค 3) ทั้งนี้แพทย์ต้องพิจารณาว่าสมควร หรือไม่ หากแพทย์เห็นสมควรว่าการช่วยเหลือจะเป็นการยืดความตาย แพทย์สามารถปล่อยให้ผู้ป่วยจาก ไปอย่างสงบ โดยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย แต่ต้องให้การรักษาพยาบาลแบบประคับประคอง (Palliative
104 care) อย่างไรก็ตาม ยังมีพยาบาลและแพทย์บางกลุ่มที่ยังมีความรู้สึกว่าขัดต่อจรรยาบรรณที่ต้อง ช่วยเหลือผู้ป่วยจนสุดความสามารถ สําหรับเมตตามรณะ (Active euthanasia) เป็นการกระทําให้ผู้ป่วย ตาย พ้นทุกข์ทรมานโดยผู้ป่วยหรือญาติไม่ยินยอม ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา ฐานฆ่าคนตาย โดยเจตนา) 2.2.2 การทําแท้ง เป็นประเด็นปัญหาทางจริยธรรม ที่ต้องพิจารณาว่าหญิงตั้งครรภ์สามารถ ทําแท้งทารกที่ตนไม่ปรารถนาได้หรือไม่ ในทางกลับกันทารกในครรภ์มีสิทธิในชีวิตตามหลักสิทธิมนุษยชน สําหรับประเทศไทยซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ไม่เห็นด้วยกับการทําแท้ง และในทาง กฎหมายต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์คือ การตั้งครรภ์นั้นอาจทําให้มารดาได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือ หญิงตั้งครรภ์ถูกข่มขืน และต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของแพทยสภา จึงสามารถทําแท้งได้ แต่ในกรณีที่ มารดาวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอดส์หรือทารกพิการ กฎหมายยังไม่อนุญาตให้ทําแท้ง จึงยังเป็นประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม 2.2.3 การปลูกถ่ายอวัยวะ อาจก่อประเด็นจริยธรรมทั้งด้านผู้บริจาคอวัยวะหรือญาติที่ เกี่ยวข้อง เช่น การเปลี่ยนไต ตับ หัวใจ ซึ่งผู้ป่วยต้องรับอวัยวะจากผู้อื่น จึงทําตามเจตนารมย์ของผู้บริจาค กับด้านผู้รับอวัยวะที่อาจได้รับอันตรายจากการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือในกรณีซื้อขายอวัยวะ ดังนั้นแพทย สภาจึงได้ประกาศหลักเกณฑ์การปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อลดประเด็นปัญหาจริยธรรมดังกล่าว ดังนี้ผู้บริจาค สามารถบริจาคอวัยวะขณะที่ยังมีชีวิตแก่ญาติโดยสายเลือด หรือคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกับผู้รับอวัยวะ มาแล้วอย่างน้อยสามปีโดยแพทย์ต้องอธิบายให้ผู้บริจาคเข้าใจถึงความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่างๆ แก่ผู้ บริจาคทั้งจากการผ่าตัด หรือหลังการผ่าตัดอวัยวะที่บริจาคออกแล้ว เมื่อผู้บริจาคเข้าใจและเต็มใจที่จะ บริจาคแล้วจึงลงนามแสดงความยินยอมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (Informed consent form) ในกรณีปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ที่สมองตาย ต้องพิจารณาสมองตายตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ แพทยสภา และผู้ที่สมองตายดังกล่าว ต้องไม่มีภาวะดังนี้ มะเร็งทุกชนิดยกเว้นมะเร็งสมองชนิดปฐมภูมิ และโลหิตเป็นพิษ การทดสอบเอชไอวี(HIV) ให้ผลบวก ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยที่เป็น โรค การติดเชื้อทั่วไป สมองอักเสบเฉียบพลัน หรือไขสันหลังอักเสบเฉียบพลัน หรือปลายประสาทอักเสบ เฉียบพลัน ผู้ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุแน่นอน ผู้ป่วยที่เป็นโรควัวบ้า (Creutzfeldt Jacob disease) หรือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน ญาติผู้ตายที่จะบริจาคอวัยวะต้องเป็นทายาท หรือ ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ตาย และจะเป็นผู้ลงนามบริจาคอวัยวะเป็นลายลักษณ์อักษร โดยไม่รับสิ่งตอบ แทนเป็นค่าอวัยวะ พร้อมทั้งมีพยานลงนามรับรองไม่น้อยกว่าสองคน ทั้งนี้ศัลยแพทย์ผู้ทําการปลูกถ่าย อวัยวะ ต้องเป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา และกระทําในสถานพยาบาลของรัฐหรือ เอกชน ซึ่งเป็นสมาชิกของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย 2.2.4 เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อช่วยเหลือสตรีที่มีบุตรยาก การใช้เทคโนโลยีช่วย การเจริญพันธุ์ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางจริยธรรม เช่น การใช้อสุจิหรือไข่จากผู้บริจาค การอุ้มบุญ (Surrogate motherhood) ก่อให้เกิดปัญหาสิทธิของทายาท หรืออาจเกิดปัญหาในการทําลายตัวอ่อน จากการผสมเทียมที่มีตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งคน แต่ประเด็นจริยธรรมที่ถูกกล่าวมากที่สุดคือ การรับจ้าง
105 ตั้งครรภ์และที่รุนแรงสุดคือ การ ตั้งบริษัทรับจัดหาแม่อุ้มบุญ ทําให้คู่สามีภรรยาที่เป็นหมัน ต้องจ่ายค่า นายหน้าเป็นเงินจํานวนมาก จึงถือว่าเป็นการค้ามนุษย์) ดังนั้น แพทยสภาจึงมีหลักเกณฑ์ในการใช้ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์อันจะช่วยคุ้มครองเด็กที่เกิดจากวิธีการดังกล่าว โดยให้กระทําในกรณีมีบุตร ยาก ดังนี้ 1) กรณีที่คู่สมรสต้องการมีบุตรโดยให้ภรรยาเป็นผู้ตั้งครรภ์อาจให้บริการโดยใช้เซลล์ สืบพันธุ์จากผู้บริจาคเพื่อการปฏิสนธิภายในหรือภายนอกร่างกาย หรือรับบริจาคตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์ 2) กรณีคู่สมรสต้องการมีบุตรโดยให้หญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาตั้งครรภ์แทน จะให้บริการได้ เฉพาะกรณีใช้ตัวอ่อนที่มาจากเซลล์สืบพันธุ์ของคู่สมรสเท่านั้น การให้บริการดังกล่าว ต้องไม่มีค่าตอบแทน และหญิงตั้งครรภ์แทน จะต้องเป็นญาติโดยสายเลือดของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 2.3 กฎเกณฑ์ทางสังคม การใช้เทคโนโลยีเกินจําเป็น การจัดสรรทรัพยากร ความรู้และทักษะทางการพยาบาล เช่น ผู้ป่วย มาด้วยปวดศีรษะจากไมเกรน ใช้สิทธิประกันสังคม ต้องการทํา CT scan พยาบาลต้องอธิบายว่า การ ตรวจที่ผู้ป่วยขอทํานั้นไม่จําเป็น หากผู้ป่วยยังยืนยัน ผู้ป่วยต้องออกค่าใช้จ่ายเองเพราะเกินจําเป็น หรือ การนอนรักษาในโรงพยาบาล แพทย์ต้องพิจารณาตามความจําเป็นและภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากเตียงมีจํากัด การให้เตียงแก่ผู้ป่วยที่มีอุปการะคุณกับโรงพยาบาลอาจเป็นประเด็นทางจริยธรรม ทั้งนี้การปฏิบัติการพยาบาลพบความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมและกฎหมาย 4 ประการ ได้แก่ 1. การพยาบาลที่ถูกจริยธรรมและกฎหมาย เช่น การให้ยาตามแผนการรักษาและมาตรฐาน วิชาชีพ ผู้ป่วยปลอดภัย การดูแลผู้ป่วยด้วยความเอื้ออาทร 2. การพยาบาลที่อาจถูกจริยธรรมแต่ผิดกฎหมาย เช่น พยาบาลใส่ท่อช่วยหายใจแก่ผู้ป่วย เพื่อ ช่วยชีวิต หรือช่วยทําคลอดทารกที่ติดไหล่ เพื่อช่วยมารดาและทารกเนื่องจากตามแพทย์ไม่ได้ 3. การพยาบาลที่ไม่มีจริยธรรมแต่ถูกกฎหมาย เช่น พยาบาลให้ยาระงับปวดทุก 4 ชั่วโมงตาม แผนการรักษาแก่ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย แม้ว่าผู้ป่วยจะร้องขอยาระงับปวดก่อนเวลา 4. การพยาบาลที่ผิดจริยธรรมและผิดกฎหมาย เช่น พยาบาลให้ยาแก่ผู้ป่วยผิดคน กรณีศึกษา ชวนคิด วิเคราะห์ 1. พยาบาลโรงพยาบาลชุมชนได้รับคําสั่งจากแพทย์ให้ย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาลประจําจังหวัด แต่ พยาบาลเห็นว่าผู้ป่วยอาการไม่ดีอยากให้ใส่ท่อช่วยหายใจก่อน เพื่อความปลอดภัยผู้ป่วย จึงรายงาน แพทย์ทราบ แต่แพทย์ปฏิเสธ สถานการณ์ขัดแย้งทางจริยธรรมคืออะไร และจะแก้ไขอย่างไร 2. อาจารย์พยาบาลนํานักศึกษาไปดูงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลแห่งหนึ่ง พบว่า พยาบาลได้รับอนุญาตจากแพทย์ให้เขียนใบรับรองแพทย์แทนแพทย์ซึ่งแพทย์ได้ลงนามไว้แล้ว และให้ พยาบาลเติมความเห็นการตรวจรักษา โดยแพทย์บอกว่าเชื่อใจพยาบาล และช่วยทําให้ผู้ป่วยไม่ต้อง เดินทางกลับไปมา เพื่อรับใบรับรองแพทย์ซึ่งพยาบาลสมัครใจทํา สถานการณ์ขัดแย้งทางจริยธรรมคือ อะไรและจะแก้ไขอย่างไร
106 6.2 ปัจจัยที่ทําให้เกิดปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล ปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมในการพยาบาล มีสาเหตุปัจจัยสนับสนุน ดังนี้(สิวลี ศิริไล, 2553: เพ็ญจันทร์แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัททรา จุฑามณีและ สุจินตนา พันกล้า, 2560) 1.ปัจจัยทางสังคม เกิดจากความคาดหวังต่อการบริการทางการแพทย์และการพยาบาลใน ปัจจุบัน ซึ่ง แตกต่างจากอดีตที่คนไทยยกย่องแพทย์และพยาบาลเป็นผู้มีพระคุณและมีเมตตากรุณาต่อ ผู้ใช้บริการ ในปัจจุบันมีการบริการทางการแพทย์เชิงธุรกิจ ซึ่งมีประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทั้งภาครัฐ และเอกชน มีการเปรียบเทียบการบริการเพิ่มมากขึ้น ผู้ใช้บริการเสียเงินเพิ่มย่อมคาดหวังการบริการทีดี และมีคุณภาพมากขึ้น 2. ด้านผู้ใช้บริการ ทัศนคติและความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบริการทางการแพทย์และ พยาบาล การคํานึงถึงสิทธิของผู้ใช้บริการและใช้บริการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นปัญหาการ ฟ้องร้องจึงตามมา หากไม่พึงพอใจหรือได้รับความเสียหายจากการบริการ การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาลไม่เพียงพอ และขาดความอดทน ใจร้อน หรือมีอคติจึงเกิดการร้องเรียนพยาบาล 3. ด้านพยาบาล การพร่องจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพส่วนใหญ่เป็นเรื่องการสื่อสารสร้าง สัมพันธภาพ รองลงมาคือการขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะพยาบาลที่เพิ่งสําเร็จ การศึกษา ทําให้พร่องทักษะในการดูแลผู้ใช้บริการ และอาจพร่องทักษะในการจัดการความขัดแย้ง ตลอดจนการขาดคุณลักษณะหรือ บุคลิกภาพของพยาบาลที่ต้องมีเมตตา เสียสละ อ่อนหวาน นุ่มนวล จึง ส่งผลให้เกิดปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรม 4. หน่วยงานหรือองค์กร เกิดจากระบบบริหารงานที่ไม่สร้างเสริมขวัญและกําลังใจแก่พยาบาล โดยพยาบาลต้องทํางานหนัก (Workload) แต่ได้รับค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานต่ํา จึง ทําให้พยาบาลเบื่อหน่ายท้อแท้ส่งผลให้ขาดความกระตือรือร้นในการพยาบาลและลาออกในที่สุด 5. ผู้ร่วมงานด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น แพทย์ทันตแพทย์นักกายภาพบําบัด ซึ่งหากบุคลากร เหล่านี้ให้เกียรติและให้ความร่วมมือย่อมทําให้พยาบาลภาคภูมิใจ และเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติการ พยาบาล ในทางกลับกัน หากพยาบาลไม่ได้รับการยอมรับ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง และขาด ความร่วมมือในการปฏิบัติงานอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ 6. เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่นํามาใช้ในการวินิจฉัยโรคและการรักษา ซึ่งทําให้ เกิดประสิทธิภาพ แต่ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพย่อมเพิ่มเติมด้วย ส่งผลให้ผู้ใช้บริการคาดหวังว่าจะได้รับการ รักษาที่ดีที่สุดและหายจากโรคที่เป็นอยู่โดยเร็ว เมื่อไม่ได้ตามคาดหวัง ย่อมนํามาสู่การฟ้องร้องในที่สุด พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำผิดจริยธรรม พฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดจริยธรรมวิชาชีพมีหลายช่องทางและหลายรูปแบบ ได้แก่ พฤติกรรมส่วนตัว พฤติกรรมบริการ พฤติกรรมวิชาชีพ และพฤติกรรมทางสังคม ดังนี้(คัทรียา ศิ ริภัทรากูร แสนหลวง, อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม, 2562) 1. พฤติกรรมส่วนตัว เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงถึงความรับผิดชอบส่วนตน ต่อผู้อื่น และ ต่อวิชาชีพ ได้แก่ การแต่งกายที่สะอาดสะอ้านถูกระเบียบ การวางตัวที่เหมาะสมตามกาลเทศะ การมี
107 บุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือเป็นแบบอย่างอันดี กิริยาสุภาพ น้ำเสียงอ่อนโยน คล่องแคล่วว่องไว ดำรงตนอย่าง พอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ อดทน ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ รับผิดชอบ กระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง 2. พฤติกรรมบริการ เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่มีต่อผู้รับบริการ ในด้าน การเคารพสิทธิมนุษยชนและผู้ป่วย รับผิดชอบต่อบริการที่มีคุณภาพ มีน้ำใจ ใส่ใจช่วยแก้ปัญหา รักษา ความลับของผู้ป่วย ปลอบโยนให้กำลังใจ ป้องกันอันตรายมิให้เกิดกับผู้รับบริการ กล้ารับผิดชอบหากเกิด ความผิดพลาดและรีบแก้ไข 3. พฤติกรรมทางวิชาชีพ เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการสร้าง ความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพ เผยแพร่ชื่อเสียงของวิชาชีพให้ประจักษ์แก่คนทั่วไป เป็นผู้นำทางการ พยาบาล ส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติทางการพยาบาล สนับสนุนการทำวิจัยทางการพยาบาล จัดทำ เอกสารทางวิชาการ เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาล ร่วมกิจกรรมองค์กรวิชาชีพ ให้ความร่วมมือกับ สถาบัน องค์กรและนานาชาติ 4. พฤติกรรมทางสังคม เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของ พยาบาลที่มีต่อสังคม การทำให้สังคมไว้ใจในวิชาชีพพยาบาล การประกอบวิชาชีพบนพื้นฐานจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้บริการด้วยคุณภาพทั่วถึง เท่าเทียมทุกชนชั้น แสดงให้เห็นได้ว่ามีการ พัฒนาการพยาบาลอย่างต่อเนื่องและมีความปลอดภัย พฤติกรรมทุกด้านย่อมมีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายได้ทั้งสิ้นเพราะเป็นการกระทำกับ มนุษย์ พยาบาลควรระมัดระวังในการปฏิบัติการพยาบาล หากเกิดความผิดพลาดควรรีบแก้ไขมิให้รุนแรง มากขึ้น ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม (Ethical dilemmas) เป็นการต้องพิจารณาเลือกระหว่างความจำเป็นกับศีลธรรม หลักการกับผลประโยชน์ สิ่งใดควร ทำสิ่งใดไม่ควรทำ เป็นสิ่งที่พยาบาลไม่อาจหลีกเลี่ยงและต้องเผชิญทุกขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ ข้อขัดแย้งทาง จริยธรรมนั้นจะคำนึงถึงคุณสมบัติ 3 ประการ ซึ่งได้แก่ 1. ปัญหานั้นไม่สามารถแก้ได้โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ปัญหาที่ก่อให้เกิดความพิศวงหรือสับสนยากที่จะตัดสินใจโดยใช้ความจริงหรือข้อมูลมาช่วยได้ 3. ผลของปัญหาจริยธรรมนั้นจะต้องกระทบมากกว่าเหตุการณ์ในขณะนั้น คือ จะต้องมีผล ต่อเนื่องเกิดขึ้นในการแก้ไข ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมใดก็ตามมักไม่มีความผิดหรือความถูกต้องอย่างแท้จริงและไม่มี คำตอบตายตัวที่จะใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาได้ สรุปประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม คือ สถานการณ์ที่ไม่มีความผิดหรือถูกต้องอย่างแท้จริง ไม่มี คำตอบที่เตรียมไว้ใช้ในการแก้ปัญหาได้ทันที มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาทางเลือกที่มีหลายทาง การส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรม การส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมในพยาบาล ควรมีการจัดกลยุทธ์ในการพัฒนา
108 อย่างเป็นองค์รวม (Holistic approach) โดยดำเนินการให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการปฏิบัติ หน้าที่ปกติและพัฒนาต่อเนื่อง กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาจริยธรรมในองค์กรที่ผู้บริหารองค์กร พยาบาลอาจนำไปปรับใช้ ได้แก่ (อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม, 2558) 1.การจัดกิจกรรมต่างๆ ในขณะทำงาน เช่น การจัดอบรม การพูดคุย อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางจริยธรรมที่พบระหว่างปฏิบัติหน้าที่ผสมผสานกับการ ปฐมนิเทศ 2. การเสริมสร้างค่านิยมหลักด้านจริยธรรมขององค์กรโดยการวางแผนการสื่อสารให้ ทั่วถึงทั้งองค์กร และสื่อสารทุกโอกาสที่ทำได้ 3. การเป็นแบบอย่างที่ดีด้านจริยธรรมของผู้บริหาร และผู้บริหารร่วมการพัฒนาจริยธรรม การพัฒนาจริยธรรมเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้ปฏิบัติ 4. การจัดการเชิงรุกโดยการป้องกันการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม ด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ มาตรฐานจริยธรรมอย่างเพียงพอ และนิเทศหรือให้คำปรึกษา 5. การหานวัตกรรมหรือเทคนิควิธีต่างๆ ในการพัฒนาจริยธรรมของบุคลากรในองค์กร 6. การให้รางวัลและยกย่องผู้มีพฤติกรรมจริยธรรมที่ดี 7. ตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อมีการฝ่าฝืนจริยธรรมและจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดความ เสี่ยงการฝ่าฝืนจริยธรรมในอนาคต 8. สื่อสารเกี่ยวกับความยุติธรรมในองค์กรและการยืนหยัดมั่นคงทำในสิ่งที่ถูกต้อง การส่งเสริมจริยธรรมด้วยการให้รางวัลหรือการลงโทษ มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมของ ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าการส่งเสริมและพัฒนาจริยธรรมนั้น ควรใช้จิตวิทยาเชิงบวก มากกว่าจะทำให้เกิดผลคงทนถาวร การลงโทษผู้กระทำความผิดทางจริยธรรมด้วยวิธีการต่างๆ มักไม่ได้ผล ควรใช้ในกรณีที่ เป็นความผิดทางจริยธรรมร้ายแรงไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ผู้อื่นอาจเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เช่น การแสดง ความก้าวร้าวใช้ความรุนแรงกับผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เป็นต้น การพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน เป็นการดำเนินงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อ การทำผิดและขจัดอุปสรรคของการทำงานและการประพฤติผิดจริยธรรม เช่น การปรับปรุงกฏระเบียบให้ เอื้อต่อการทำงาน หรือส่งเสริมให้คนอยากทำความดีหลีกเลี่ยงกฎระเบียบที่เคร่งครัดส่งเสริมให้คนทุจริต หลบเลี่ยง 6.3 การตัดสินเชิงจริยธรรมที่เกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติการพยาบาล การตัดสินเชิงจริยธรรม (Ethical decision making) หมายถึง การประเมินตัดสินประเด็นขัดแย้ง ทาง จริยธรรมอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ เป็นการเลือกกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางเลือกที่มากกว่าหนึ่ง ทางเลือก หรือ ประเด็นปัญหาที่ซับซ้อน ซึ่งอาจเกิดข้อขัดแย้งหรือยากต่อการตัดสินใจ ทําให้การตัดสินเชิง จริยธรรมต้องอาศัย กระบวนการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม ซึ่งช่วยในการพิจารณาประเด็นขัดแย้งทาง
109 จริยธรรมอย่างเป็นระบบ โดยการ ตัดสินเชิงจริยธรรมที่มีประสิทธิภาพ ต้องเป็นการตัดสินใจร่วมระหว่างผู้ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว แพทย์พยาบาล และทีมสุขภาพ บนพื้นฐานศีลธรรม กฎหมาย หลัก จริยธรรม ความเชื่อ คุณค่า วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละสังคม ประสบการณ์และกฎเกณฑ์อื่นๆ ดังนั้น การตัดสินเชิงจริยธรรมจึงเป็นทักษะและเครื่องมือที่สําคัญสําหรับพยาบาล เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด และ ผลกระทบน้อยที่สุด เช่น การยืดระยะเวลาผู้ป่วยระยะ ท้าย การบอกความจริงว่าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอช ไอวีการช่วยเพื่อนพยาบาลเพื่อปกปิดความผิดในการให้ยา ผู้ป่วยผิดเตียง โดยเกณฑ์การตัดสินเชิง จริยธรรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้(แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2560: แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นร สาร, 2561) 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) ความต้องการ ปัญหาทางร่างกายและจิตใจ การ รักษา คุณค่า ความเชื่อ การตัดสินใจและการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนนโยบาย กฎหมาย วัฒนธรรม ประเพณีและสังคม ที่เป็นสาเหตุหรือปัจจัยให้เกิดความขัดแย้ง รวมทั้งหลัก จริยธรรมที่เกี่ยวข้องและเลือกผู้ที่ เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ 2. การกําหนดประเด็นปัญหาขัดแย้งทางจริยธรรม (Identification of ethical dilemmas) ซึ่งเป็น สถานการณ์ที่มีทางเลือกให้ตัดสินใจอย่างน้อย 2 ทางเลือก แต่ละทางเลือกไม่เป็นที่ พึงพอใจ 3. การกําหนดทางเลือกที่จะปฏิบัติ(Identification and analysis of alternatives) โดย วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียแต่ละทางเลือก เพื่อหาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์สอดคล้องกับบริบทของผู้ใช้บริการ 4. การตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ(Making the decision and implementation) บน พื้นฐานของทฤษฎีจริยศาสตร์หลักจริยธรรม แนวคิดจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ การทําความกระจ่าง ในค่านิยม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการตัดสินใจและวางแผนร่วมกัน เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ สามารถปฏิบัติได้มีประโยชน์สูงสุดและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด 5. การประเมินผล (Evaluation) เพื่อวัดผลของการตัดสินใจว่า ช่วยลดความขัดแย้ง หรือ เป็นไปตามที่ คาดหวังไว้หรือไม่ เกิดผลกระทบ หรือการเรียนรู้ใด และต้องปรับแผนหรือไม่ ความรู้สึกของ ผู้เกี่ยวข้อง และ เกิดการเรียนรู้อะไร หากการตัดสินเชิงจริยธรรมสามารถแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเครียด ส่งผล ให้การพยาบาลมีคุณภาพ เพิ่มคุณค่าและความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการต่อวิชาชีพการพยาบาล หลักจริยธรรมของวิชาชีพพยาบาล (Ethical principles) หลักจริยธรรมเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติทางการพยาบาล มีการพัฒนามาจากทฤษฏี ทางจริยศาสตร์2 ทฤษฏีซึ่งหลักจริยธรรมที่สำคัญและสามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการ พยาบาลมี 6 ประการ คือ 1. หลักเคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย (Autonomy) ในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ ให้การนับถือ ผู้ป่วยในความเป็นบุคคลให้โอกาสผู้ป่วยในการตัดสันใจอย่างอิสระ
110 2. การทำประโยชน์(Beneficence) เป็นสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกหลักเทคนิค ครอบคลุมทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม 3. การไม่ทำอันตราย (Non maleficence) ที่อาจเกิดขึ้นเป็นการให้การพยาบาลด้วยความ ละเอียด รอบคอบและดูแลปกป้องผู้ป่วยไม่ให้เกิดอันตรายโดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ก ผู้ที่มีปัญหาทางจิต ผู้ป่วย ไม่รู้สึกตัว ฯ 4. ความซื่อสัตย์ (Fidelity/ confidentiality) การรักษาสัญญาและการปกปิดความลับของ ผู้ป่วย ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย เป็นการเก็บข้อมูลที่เป็นอันตรายหรือน่าอับอายของผู้ป่วยเป็นความลับ โดยข้อมูล ของผู้ป่วยจะนำไปเปิดเผยได้เฉพาะกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเท่านั้น 5. ความยุติธรรม (Justice) การกระทำต่อผู้ป่วยและครอบครัวด้วยให้การพยาบาลทุกคนเท่า เทียมกันไม่เลือกชนชั้น เชื้อชาติศาสนา 6. การบอกความจริง (Veracity) เป็นให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ผู้ป่วยอธิบายการวินิจฉัย การรักษา และการพยากรณ์โรคให้ผู้ป่วยเข้าใจ แนวคิดจริยธรรมในการพยาบาล 1. การพิทักษ์สิทธิ์ (Advocacy) หมายถึง การช่วยเหลืออย่างเต็มที่เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิด ขึ้นกับผู้ป่วยในทางกฎหมายถือเป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแทนบุคคลที่ไม่สามารถปกป้อง ตนเองได้ 2. ความรับผิดชอบ (Accountability/responsibility) เป็นแนวคิดทางจริยธรรมที่สำคัญในการ ปฏิบัติการพยาบาลที่เกี่ยวพันถึงสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยตามขอบเขตที่กำหนดตาม กฎหมายและตามความรับผิดชอบทางจริยธรรมที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณวิชาชีพ 3. ความร่วมมือ (Cooperation) เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระทำที่แสดงถึงการมีส่วนร่วม ระหว่างพยาบาลกับผู้ร่วมงานอื่นในทีมสุขภาพ ต้องร่วมมือกันกำหนดเป้าหมายรักษาคำมั่นสัญญาและ เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ยาวนานในวิชาชีพเพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพที่ดีในการดูแล ผู้ป่วย 4. ความเอื้ออาทร (Caring) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการให้คุณค่าในสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับ ผู้ป่วยพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความเอื้ออาทรจะชี้ให้เห็นถึงบทบาทพื้นฐานของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย นอกจากนี้ความเอื้ออาทรยังแสดงถึงหน้าที่ทางจริยธรรมที่พยาบาลจะต้องมีเพื่อแสดงถึงศิลปะและคุณ ความดีที่พยาบาลจะต้องมีในการปฏิบัติการพยาบาล รูปแบบการตัดสินใจเชิงจริยธรรม รูปแบบการตัดสินใจเชิงจริยธรรมได้ถูกพัฒนาไว้ในรูปแบบของ DICIDE model ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้(วณิชา พึ่งชมภู, 2557) - D-Define the problem หมายถึง การชี้ให้เห็นถึงปัญหาว่าอะไรคือสิ่งสำคัญของปัญหาใน เหตุการณ์ใครที่เข้ามามีส่วนร่วมในปัญหานี้บ้าง อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องและอะไรคือภาระหน้าที่ที่ต้องทำ อะไรคือปัญหาหลักที่สำคัญต้องแก้ไข
111 - E (Ethical review) หมายถึง การทบทวนปัญหาจริยธรรมที่เกิดขึ้นโดยพิจารนาว่าปัญหามี หลักการทางจริยธรรมข้อใดบ้างที่เกี่ยวข้องโดยหลักการทางจริยธรรมหลักที่สำคัญจะช่วยเป็นแนวทางใน การตัดสินใจแก้ไขประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม - C (Consider the options) หมายถึง การพิจารนาถึงทางเลือก โดยพิจารนาว่าปัญหา จริยธรรมที่เกิดขึ้นมีทางเลือกอะไรบ้างและแต่ทางเลือกมีวิธีการปฎิบัติอย่างไร - I (Investigate outcomes) หมายถึง การพิจารนาผลที่ตามมาของแต่ละทางเลือกโดย พิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก - D (Decide on action ) หมายถึง การตัดสินใจเลือกปฎิบัติโดยเลือกทางเลือกที่มีข้อดีมาก ที่สุดและข้อเสียมีน้อยที่สุด กำหนดวัตถุประสงค์วางแนวทางและวางแผนในการปฎิบัติเพื่อให้เกิด ประสิทธิผลสูงสุด - E (Evaluate results) หมายถึง การประเมินผลลัพธ์ที่ได้ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ หรือไม่ 6.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหากฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล แนวทางการป้องกันปัญหากฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล ใช้หลักการเดียวกับ การบริหารความเสี่ยง ดังนี้(แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร, 2561: 261-275) 1. การศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูลความเสี่ยงที่เกิดในหน่วยงานหรือองค์กร โดยการเก็บ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรม จากการปฏิบัติการพยาบาล แหล่งประโยชน์ ต่างๆ เช่น รายงานอุบัติการณ์ การสนทนากับบุคลากรและผู้ป่วย การอ่านรายงานการแสดงความคิดเห็น และข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการต่อหน่วยงาน หรือการประชุมของผู้บริหาร หรือคณะกรรมการบริทาร ความเสี่ยง 2. การวิเคราะห์ความเสี่ยงและค้นหาสาเหตุของปัญหา (Root Causes Analysis: RCA) โดย นำข้อมูลปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมจากการปฏิบัติการพยาบาล จัดลำดับความถี่และความรุนแรง ของปัญหา เช่น ปัญหาใดที่เกิดขึ้นบ่อย ปัญหาใดที่เกิดไม่บ่อย แต่เกิดแล้วส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวช้องแสดงว่า มีความสำคัญและต้องได้รับการแก้ไขอย่างรีบด่วน 3. การป้องกันปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมจากการปฏิบัติการพยาบาล 3.1 เชิงระบบ ควรปฏิบัติดังนี้ 3.1.1 จัดการเรียนการสอนและอบรมความรู้ ที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ รวมทั้งจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง 3.1.2 สร้างเสริมระบบบริการที่ปลอดภัยในปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วย เช่นจัดจำนวน บุคลากรให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วย ปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่ เอื้ออำนวยให้บุคลากรสามารถพัฒนา ความรู้และทักษะทางการพยาบาลและการใช้เครื่องมือใหม่ๆ จัดทำแนวปฏิบัติในการทำหัตถการที่ชัดเจน เช่น แนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อทักษะการดูแลผู้ป่วยที่คาห่อระบายทรวงอก การดูแลผู้ป่วยที่
112 ผ่าตัดเต้านมและมีท่อระบาย จัดและตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ตลอด 24 ชั่วโมง อย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ มีมาตรการในการป้องกันความเสี่ยง เช่น เตียงและราวกั้นเตียง ผู้ป่วยต้องอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ พื้นหรือทางเดินไปห้องน้ำต้องไม่เปียกหรือลื่น ควรมีการเฝ้าระวังเป็น พิเศษในกลุ่มผู้ป่วยทีความรู้สึกตัวไม่คงที่ หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ยานอนหลับ 3.1.3 มีระบบการสื่อสารกับบุคลากรในทีมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้ พยาบาล ต้องมีการพูดอย่างเปิดเผยและชัดเจนกับพยาบาลและบุคลากรอื่นในทีมสุขภาพ รวมทั้งมีการประเมิน ข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย เพื่อรายงานแพทย์และบุคคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ รักษาพยาบาลได้ทันท่วงที 3.1.4 มีระบบการเขียนบันทึกทางการพยาบาล (Nurses' notes) ที่ดีและมี ประสิทธิภาพซึ่งการบันทึกทางการพยาบาลมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการรักษาพยาบาล ดังนี้ 1) เพื่อรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย การรักษาพยาบาล การ ปฏิบัติต่อผู้ป่วย ตลอดจนผลของการปฏิบัตินั้นๆ 2) ในทางคดีเป็นพยานเอกสารซึ่งพยาบาลผู้เขียนอาจต้องให้การในชั้น พนักงานสอบสวนและในชั้นศาล เมื่อรายงานดังกล่าวถูกอ้าง หรืถูกนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในคดี 3) ปัญหาด้านกฎหมาย พยาบาลอาจเสี่ยงต่อความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญาเรื่องการทำเอกสารเท็จได้โดยไม่เจตนา เช่น การเขียนบันทึกทางการพยาบาลล่วงหน้า โดยยังไม่ ปฏิบัติการพยาบาล 3.1.5 สร้างความสมดุลในการรักษาพยาบาล โดยสร้างงานเชิงรุก เน้นการมีส่วนร่วมใน การบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อลดจำนวนผู้มารับบริการที่โรงพยาบาล สร้างความสัมพันธ์ ที่ดีกับผู้รับบริการเพื่อลดความขัดแย้งในการบริการ 3.1.6 สร้างระบบการเยียวยาและเจรจาไกล่เกลี่ยอย่างเป็นธรรม โดยไม่คำนึงว่าใครผิด หรือถูก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้เสียหายทางการแพทย์ และสร้างกลไกที่ทำให้ผู้เสียหายมั่นใจ ว่าจะได้รับความเป็นธรรม 3.2 พยาบาลวิชาชีพควรป้องกันปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรม โดยปฏิบัติ ดังนี้ 3.2.1 สร้างความไว้วางใจ (Trust) โดยการสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างพยาบาล และผู้ใช้บริการควรให้บริการอย่างสุภาพ นุ่มนวล โปร่งใส เติมหัวใจความเป็นมนุษย์ ให้เกียรติและเคารพ ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้บริการ ตลอดจนการช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคอย่างรวดเร็วและเต็ม ใจ สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดปัญหาความไม่พึงพอใจ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการฟ้องร้องได้ 3.2.2 เสริมสร้างสมรรถนะ (Competence) พยาบาลต้องพัฒนาความรู้ ทักษะ โดย ศึกษาความรู้ทางกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้เข้าใจ อย่างลึกซึ้ง และศึกษาความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้ทันกับสถานการ์การ เปลี่ยนแปลงทางสุขภาพและสังคมตลอดจนไม่ปฏิบัติการพยาบาลเกินขอบเขตของวิชาชีพ และปฏิบัติการ พยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยความรอบคอบและความปลอดภัย
113 3.2.3 ยึดมั่นในจริยธรรมแห่งวิซาชีพการพยาบาล (Nursing ethics) โดยยึดหลัก จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพและให้การพยาบาลตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ 3.2.4 ฝึกควบคุมตนเอง (Self regulation) เนื่องจากพยาบาลเป็นด่านหน้า ต้องรับ สถานการณ์ต่างๆ ทั้งจากผู้ใช้บริการ ครอบครัว และบุคลากรในทีมสุขภาพ จึงจำเป็นต้องใช้สติในการ พิจารณาไตร่ตรองว่าสิ่งใดควรทำ หรือไม่ควรทำ เพื่อไม่ให้เกิดการประพฤติผิดในการประกอบวิชาชีพ หาก ไม่มีความรู้หรือทักษะควรสอบถามผู้รู้ เพื่อจะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง แนวทางแก้ไขเบื้องต้น เมื่อเกิดปัญหาทางกฎหมาย อาจถูกฟ้องร้องไปที่หน่วยงานที่สังกัด สภา การพยาบาล จึงควรมีการผ่อนหนักให้เป็นเบาและป้องกันความเสื่อมเสียที่จะเกิดกับวิชาชีพ ดังนี้ 1. พยายามลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยรีบให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย และรายงานความจริง ต่อแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข และช่วยให้อันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยลดลง 2. รายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อหาทางช่วยเหลือประนีประนอมกับผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือญาติ ผู้เสียหาย 3. การติดต่อสื่อสารกับญาติผู้ป่วย โดยการยอมรับผิดในสิ่งที่ทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม 4. การเขียนรายงานเหตุการณ์ (Incident report) ผู้เขียนควรเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือ ผู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง เช่น กรณีมีผู้ป่วยกระโดดตึก ผู้ที่เขียนรายงานควรเป็นพยาบาลที่อยู่ในเวร หรือ พยาบาลหัวหน้าเวรที่รายงานควรเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังตามช่วงระยะเวลาที่เกิดเหตุ 5. การตอบคำถามบุคคลภายนอก ญาติผู้ป่วย หรือการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน กรณีมีการ ร้องเรียนควรเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงาน นิติกร หรือ แพทย์หน่วยนิติเวช เพื่อป้องกัน การแพร่กระจายข่าวที่ก่อให้เกิดความเสียหาย 6. กรณีเกิดปัญหาทางกฎหมาย ควรนำเรื่องปรึกษาผู้มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะทาง เช่น นิติ กร ของหน่วยงาน นิติกรสภาการพยาบาล นักกฎหมาย เพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงจะได้หาแนวทางในการ ประนีประนอม หรือไกล่เกลี่ยเหตุการณ์ เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา แนวทางในการแก้ไขประเด็นจริยธรรมทางการพยาบาล ประเด็นปัญหาจริยธรรมทางการพยาบาล มีความยุ่งยากของประเด็นที่เกี่ยวกับผู้ป่วยที่เกิดข้อ ขัดแย้งเชิงจริยธรรมที่พยาบาลต้องใช้ความไวเชิงจริยธรรมและการใช้เหตุผลทางจริยธรรมในการตัดสินใจ แก้ปัญหาด้วยความรอบคอบ (คัทรียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง, อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม, 2562) 1. การรู้หรือตระหนักถึงประเด็นปัญหาทางจริยธรรมว่าคืออะไร หรืออยู่จุดไหน 2. เหตุใดประเด็นดังกล่าวจึงเป็นปัญหาทางจริยธรรม 3. ใครคือบุคคลที่สำคัญที่สุดในการตัดสินปัญหา 4. พิจารณาบทบาทของผู้ตัดสินใจ 5. พิจารณาทางเลือกและผลดีที่สุดในการตัดสินใจ 6. ตัดสินใจเลือกทางเลือก
114 7. เปรียบเทียบการตัดสินใจกับหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ 8. ติดตามประเมินผลการตัดสินใจ เรียนรู้ผลการตัดสินใจเพื่อปรับใช้ในโอกาสต่อไป การปฏิบัติเมื่อถูกฟ้องร้อง เมื่อเกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกจากการปฏิบัติการพยาบาล และพยาบาลซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ที่คิดว่าปฏิบัติหน้าที่ชอบแล้ว หากไม่สามารถ ประนีประนอมได้อาจถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา จึงควรทราบขั้นตอนปฏิบัติในการ ขอให้แก้คดีดังนี้ 1. คดีอาญา 1.1 แจ้งต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น เพื่อขอให้อัยการพิจารณารับแก้ต่างคดีซึ่งจะพิจารณาว่า การฟ้องร้องนั้นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไม่ ถ้าไม่เกี่ยวข้องหรือการปฏิบัติการพยาบาลไม่ ถูกต้อง อัยการอาจไม่รับช่วยแก้คดี 1.2 หากอัยการรับแก้ต่างคดีแล้ว ผู้ถูกฟ้องร้องหรือพยาบาลต้องทํา “ใบแต่งทนาย” เพื่อ มอบหมาย ให้อัยการเป็นทนายฝ่ายพยาบาลที่ถูกฟ้องร้องหรือผู้ต้องหา 1.3 ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลจะไต่สวนมูลฟ้อง เพื่อวินิจฉัยว่าคดีมีมูลหรือไม่ (ปวิอ. มาตรา 162 โดยศาลมีอํานาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจําเลย ในวันไต่สวนมูลฟ้อง ผู้ต้องหาจะไม่ไปก็ได้แต่อัยการใน ฐานะทนาย จะซักค้านโจทก์แทนและห้ามศาลถามคําให้การผู้ต้องหา เพราะยังไม่ใช่จําเลย จนกว่าจะ ประทับรับฟ้อง (ปวิอ. มาตรา 165) 1.4 หากศาลเห็นว่าคดีมีมูล ศาลจะประทับรับฟ้อง และถ้ายังไม่ได้ตัวพยาบาลที่ถูกฟ้อง ให้ออก หมาย เรียกหรือหมายจับ (ปอ. มาตรา 169) เพื่อดําเนินคดีในฐานะจําเลยซึ่งต้องใช้หลักประกันตัวต่อศาล มิฉะนั้น ศาลจะขังไว้ที่เรือนจํา อัยการจะช่วยแก้คดีไปจนถึงวันที่ศาลพิพากษา และอัยการจะแจ้งคําตัดสิน ให้ท่านทราบ หากจําเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาให้แจ้งต่ออัยการ เพื่อดําเนินการต่อไป 1.5 นอกจากคดีอาญาแล้ว ข้าราชการอาจถูกดําเนินการทางวินัยราชการ โดยผู้บังคับบัญชาอาจ ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย ทําให้ไม่มีสิทธิเลื่อนเงินเดือน หรือความก้าวหน้าในชีวิตราชการจะหยุด ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด 2. คดีแพ่ง 2.1 แจ้งต่อผู้บังคับบัญชาในระดับกรม หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อส่งหนังสือถึงสํานักงานอัยการ สูงสุดหรืออัยการจังหวัด ให้พิจารณารับแก้ต่างคดีซึ่งจะพิจารณาว่าการฟ้องร้องนั้นเกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงจะรับช่วยแก้คดี 2.2 ในคดีแพ่ง จําเลยต้องทําคําให้การเพื่อสู้คดีหรือแก้ฟ้องคดีเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน หากจําเลยนิ่งเฉย ถือว่ารับตามที่ถูกฟ้อง (ปวิพ. มาตรา 177) จึงเห็นได้ว่า การดําเนินคดีแพ่งต่างจาก คดีอาญา คือ คดีอาญา ถ้าจําเลยไม่รับสารภาพ ถือว่าปฏิเสธ ดังนั้น จําเลยคดีแพ่งต้องติดต่ออัยการอย่าง ใกล้ชิด และเตรียมพยานหลักฐาน ทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารให้พร้อม ทั้งนี้ถ้าข้าราชการที่ถูกฟ้อง ไม่ให้ความร่วมมือสํานักงานอัยการจังหวัดจะส่งเรื่องคืน หรือถอนตัวจากการเป็นทนายแก้คดี
115 นอกจากนี้ตามกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ระบุให้หน่วยงาน รับผิดชอบต่อผู้เสียหายในเหตุแห่งการละเมิด ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐหรือที่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลปฏิบัติ ตาม หน้าที่ของตน และผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานรัฐโดยตรง แต่ไม่ให้ฟ้องเจ้าหน้าที่ (มาตรา 5) แต่ถ้า การปฏิบัติหน้าที่นั้นไม่ใช่หน้าที่ผู้เสียหายสามารถฟ้องเจ้าหน้าที่ได้แต่ไม่ให้ฟ้องหน่วยงานรัฐ (มาตรา 6) อย่างไรก็ตาม หาก เจ้าหน้าที่รัฐกระทําโดยจงใจ เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือประมาทอย่างร้ายแรง หน่วยงานรัฐสามารถฟ้องไล่เบี้ย เพื่อให้เจ้าหน้าที่รับผิดในการละเมิดนั้น (มาตรา 8) โดยสิทธิฟ้องไล่เบี้ยค่า สินไหมทดแทนคืนแก่หน่วยงาน มีอายุความไม่เกิน 1 ปีนับแต่ได้ชําระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย (มาตรา 9) วิธีปฏิบัติเมื่อพยาบาลทำผิดกฎหมาย การทำผิดกฎหมายและถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยในคดีเพ่งหรืออาญา เนื่องจากความบกพร่อง การไม่ มีเจตนาร้าย หรือด้วยเหตุความไม่รู้ ย่อมนำมากล่าวอ้างเพื่อให้พ้นผิดมิได้ ดังนั้นวีปฏิบัติตัวที่ดีเมื่อ พยาบาลทำผิดกฎหมายแล้ว ควรทำดังนี้(คัทรียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง, อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม, 2562) 1. การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อผู้ป่วยและญาติ มีความเห็นอกเห็นใจและเห็นคุณค่าศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ อย่าเอาแต่ใจตนเอง 2. การให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นจริงในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อจำกัดในการ รักษาพยาบาล โดยยึดถือสิทธิผู้ป่วยและกฏระเบียบของโรงพยาบาล 3. การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยพิจารณาตามความจำเป็นและ ความพร้อมของหน่วยงาน 4. การจัดเตรียมและบันทึกเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน 5. การศึกษากฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียนและการฟ้องร้องที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคดี จริยธรรมและโทษทางการประกอบวิชาชีพ กฎหมายแพ่งโทษละเมิด กฎหมายอาญาโทษจำคุก ระเบียบ ข้าราชการพลเรือนโทษทางวินัย 6. การสังเกตุสัญญาณอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้น เช่น ผู้ป่วยอาการทรุดลงหรืออาจนำไปสู่การ เสียชีวิต ความวิตกกังวลที่อาจนำไปสู่ความไม่พอใจที่รุนแรง การฟ้องร้องดำเนินคดีไม่อาจสร้างความ เข้าใจที่ดีต่อกันได้ แต่หากการกระทำดังกล่าว ไม่สามารถแก้ปัญหาได้และพยาบาลตกเป็นจำเลยต้องขึ้นศาล พยาบาลควรเตรียมตัว ดังนี้ วิธีปฏิบัติตัวของพยาบาลเมื่อต้องขึ้นศาลในฐานะจำเลย หากพยาบาลต้องขึ้นศาลในฐานะจำเลยควรปฏิบัติตัว ดังนี้ (คัทรียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง, อุดม รัตน์ สงวนศิริธรรม, 2562) 1. การเจรจาและการต่อสู้คดีของพยาบาล ต้องมีการกำหนดประเด็นและสถานการณ์ที่ชัดเจนซึ่ง อาจมีหลายกรณี ได้แก่ กรณีฟ้องร้องทางแพ่งหรือมีผู้รับผิดชอบทางแพ่ง การฟ้องคดีอาญาและมีผู้รับผิด
116 คดีอาญา รวมทั้งการต่อสู้ด้วยคดีความผิดต่างๆ เช่น เหตุสุดวิสัย ความจำเป็นในการรักษา การกระทำ ละเมิด การกระทำโดยประมาท การแต่งตั้งทนาย และการประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ เป็นต้น 2. การเตรียมแฟ้มเอกสารทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับคดี และมาตรฐานการรักษาพยาบาลเพื่อ ประกอบคำชี้แจงให้ศาลเข้าใจคดีที่เกิดขึ้น 3. การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยมากที่สุดเท่าที่จะให้ได้ 4. การให้ปากคำแก่ศาลอย่างตรงไปตรงมา และกระชับประเด็น วิธีปฏิบัติตัวของพยาบาลเมื่อต้องขึ้นศาลในฐานะพยานบุคคล หากพยาบาลถูกกักตัวให้เป็นพยานในศาล หรือในคดีที่พยาบาลมีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะใน หน้าที่การงานที่รับผิดชอบ พยาบาลควรเตรียมตัว ดังนี้(คัทรียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง, อุดมรัตน์ สงวนศิ ริธรรม, 2562) 1. การรับหมายศาล ที่โจทก์หรือจำเลยก็ตามอ้างให้พยาบาลเป็นพยานในคดี ถือเป็นความ รับผิดชอบที่พยาบาลต้องให้ความร่วมมืออย่างเคร่งครัด โดยถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ต้องลางาน แจ้ง หัวหน้างานรับทราบเพื่อจัดผู้ปฏิบัติงานแทน 2. การสาบานตนตามความเชื่อในศาสนา หรือหลักการที่ตนยึดถือต่อหน้าศาลก่อนจะเริ่มให้ ปากคำ 3. การให้ปากคำตามคำซักถามของทนายและคำอนุญาตของศาล พยาบาลจะต้องเรียบเรียง เหตุการณ์และถ้อยคำให้กระชับ พูดให้เสียงดังชัดเจนและไม่ควรกลัว 4. การให้ความเคารพต่อศาลอย่างเหมาะสม เมื่อไปศาลพยาบาลต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า ระวังกิริยามารยาท และทำความเคารพศาลเช่นเดียวกับผู้อื่น การป้องกันการเกิดปัญหาผิดกฎหมาย การปฏิบัติการพยาบาลให้ได้ดี รวมทั้งการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดปัญหาการทำผิดกฎหมาย ต้อง ตระหนักดังนี้(คัทรียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง, อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม, 2562) 1. การมีความรู้และทักษะในการทำงาน 2. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับบริการ และผู้ร่วมงาน 3. การมีจริยธรรมและคุณธรรม 4. การให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติอย่างเหมาะสม 5. การไม่ประมาทและทำตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างเหมาะสม 6. การรายงานแพทย์เกี่ยวกับอาการผู้ป่วย 7. การทำงานไม่เกินขอบเขตของพยาบาล 6.5 ประเด็นปัญหากฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลที่พบบ่อย การตัดสินใจปัญหาจริยธรรม อาจเกิดข้อขัดแย้งเชิงจริยธรรม โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ความเสี่ยงและการตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล ด้วยพยาบาลปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
117 มนุษย์ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิตและยังเป็นส่วนหนึ่งของทีมสุขภาพด้วย การเปลี่ยนแปลงบทบาท หน้าที่ของพยาบาล ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระบบคุณภาพ สิทธิผู้ป่วยตามรัฐธรรมนูญ ล้วนส่งผลต่อการเกิดความขัดแย้งทางจริยธรรม สิ่งที่พยาบาลบอกว่ามีประโยชน์เหมาะสม ปลอดภัยกับ ผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยอาจเห็นตรงข้ามก็ได้ (สิวลี ศิริวิไล, 2556) จากการทบทวนและศึกษาพบว่าประเด็นความ ขัดแย้งเชิงจริยธรรมของพยาบาล ได้แก่ (วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546: มานิตย์ จุมปา, 2552: :แสงทอง ธี ระทองคำ และ ไสว นรสาร, 2561) 1. การบอกความจริง (Truth telling) การที่ผู้ป่วยได้รับรู้ความจริงเกี่ยวกับตนเองเป็นสิทธิของผู้ป่วย สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยควรมีโอการรับรู้ ข้อมูลทุกสิ่งที่เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งการรับรู้ความจริงอาจเกิดความทุกข์แก่ผู้ป่วยและญาติสมควรบอกหรือไม่ ควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ ดูจากบุคลิกภาพส่วนตัวของผู้ป่วย ความพร้อมของผู้ป่วย กรณีศึกษา นางวดี อายุ 62 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการอ่อนเพลีย ติดเชื้อในระบบทางเดิน หายใจ ผลการตรวจเลือด ปรากฎว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว แพทย์ได้ตัดสินใจบอกผลการตรวจเลือดแก่ นายวิชัย ผู้เป็นสามีของผู้ป่วย นายวิชัยขอร้องไม่ให้แพทย์บอกผลเลือดแก่นางวดีเพราะไม่ต้องการให้นาง วดีเสียใจและต้องการให้นางมีความหวังว่าแพทย์สามารถช่วยเหลือรักษานางได้ แพทย์ได้บอกให้พยาบาล เก็บเรื่องนี้เป็นความลับ นางวดี ซึ่งรู้สึกตัวดีตลอด พยายามที่จะถามพยาบาลผู้ให้การดูแลทุกครั้งว่าผล เลือดเป็นอย่างไร 2. ชีวิตและการตายอย่างมีศักดิ์ศรี (Death and dignity) ประเด็นสำคัญในเรื่อง ชีวิตและการตายอย่างมีศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้แก่การพิจารณาใช้เทคโนโลยี ทางการแพทย์ เพื่อชะลอความตายแก่ผู้ป่วยในวาระสุดท้ายและสภาพสิ้นหวังว่าเป็นการสมควรหรือไม่ โดยเฉพาะในรายที่แสดงเจตนารมย์อย่างชัดเจนว่าพร้อมเผชิญความตาย ควรจะยุติความตายโดยสิ้นเชิง อย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยได้อยู่กับครอบครัว ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อและจากไปอย่างสงบ แทนการ จากไปอย่างโดดเดี่ยวทุกข์ทรมานพร้อมอุปกรณ์เครื่องช่วยทางการแพทย์ รวมทั้งบทบาทของแพทย์และ พยาบาลต่อผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตควรเป็นอย่างไร การตัดสินใจช่วยฟื้นคืนชีพ การยุติการ รักษา การยุติการให้สารอาหารและสารน้ำ กรณีศึกษา ผู้ป่วย อายุ 82 ปี ป่วยด้วยโรคมะเร็งตับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งอาการทรุดลงตามลำดับ วันหนึ่งผู้ป่วยบอกกับบุตรสาวว่าต้องการกลับบ้านถ้าจะตายก็ขอตายที่ บ้าน เมื่อบุตรสาวของผู้ป่วยได้บอกกับแพทย์ เธอได้รับการตำหนิว่า “คุณเป็นลูกไม่สงสารแม่ ถ้ากลับบ้าน ผู้ป่วยจะทรมานมาก” พร้อมทั้งกำชับพยาบาลว่าไม่ให้อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ในขณะเดียวกันผู้ป่วยก็ ได้รบเร้าบุตรสาวที่จะกลับบ้าน และบอกกับบุตรสาวว่าตัวเองไม่กลัวตาย ถ้าจะตายก็ขอให้พร้อมญาติ ซึ่ง บุตรสาวก็ยินยอมและเห็นด้วยกับผู้ป่วย จึงได้ปรึกษากับพยาบาลผู้ดูแล พยาบาลเห็นด้วยกับผู้ป่วยและ ญาติแต่ไม่อยากขัดคำสั่งแพทย์
118 3. การปกปิดความลับ (Confidentiality) เป็นการเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล (Privacy right) ในการรักษาพยาบาลที เกี่ยวกับความลับหรือข้อมูลของผู้ป่วยโดยประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่พบบ่อยคือการปกปิดความลับใน เรื่องโรคของผู้ป่วยเอดส์กับอันตรายที่จะเกิดกับญาติผู้ป่วยหากไม่ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์ การปกปิด ข้อเท็จจริง หรือวิธีการที่ไม่เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลอื่น ความลับของผู้ป่วยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโรค อาการ และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวผู้ป่วย และในกระบวนการรักษาพยาบาล ถือเป็นจรรยาบรรณวิชาชีพที่ สำคัญที่แพทย์และพยาบาลไม่พึงนำไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระบวน รักษาพยาบาล ทั้งนี้เพราะการเปิดเผยความลับของผู้ป่วยอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อตัวผู้ป่วย และต่อ กระบวนการรักษาพยาบาล และประเด็นสำคัญที่สุดคือเป็นการไม่เคารพต่อความเป็นมนุษย์และสิทธิ ส่วนตัวของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ไม่ว่าการเปิดเผยความลับนั้นจะมีความมุ่ง หมายอันใดก็ตาม เว้นแต่จะเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อผู้ป่วย กรณีศึกษา ผู้ป่วยชาย อายุ 45 ปี แต่งงานแล้วมีบุตร 1 คน อายุ 3 ปี ผู้ป่วยมีประวัติติดยาเสพติด ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งใกล้บ้าน เขาป่วยอย่างรุนแรงด้วยโรคที่สัมพันธ์กับเอดส์ ขณะที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ภรรยาของผู้ป่วยได้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยได้ขอร้องแพทย์ และพยาบาลไม่ให้บอกกับภรรยาเกี่ยวกับโรคที่เขาเป็นอยู่ ซึ่งหลาย ๆ ครั้งที่ภรรยาได้ถามเกี่ยวกับโรคของ ผู้ป่วยเพราะเห็นว่าอาการของผู้ป่วยไม่ทุเลาลง พยาบาลต้องการช่วยเหลือภรรยาผู้ป่วยเพื่อจะได้ป้องกัน การติดเชื้อ ทำให้รู้สึกคับข้องใจต่อประเด็นนี้มาก 4. พันธะหน้าที่ต่อวิชาชีพกับหน้าที่ต่อตนเอง ( professional obligation an duty to self) ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในข้อนี้คือ การที่พยาบาลต้องให้การดูแลผู้ป่วยทุกคน อย่างเท่าเทียมกันแต่ผลจากการดูแลอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่พยาบาล เช่นการดูแลผู้ป่วยเอดส์ การดูแล ผู้ป่วยติดเชื้อโรคระบาดโควิด 2019 เป็นต้น กรณีศึกษา โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง รับผู้ป่วยเอดส์ อายุ 45 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่เคยมารับการ รักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการ AIDS dementia complex (ADC) และมีประวัติเคยทำร้ายพยาบาลและ ผู้ช่วยพยาบาลขณะให้การพยาบาลและขณะให้ยา ในครั้งนี้ผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาลด้วยมีอาการของ ภาวะปอดบวม พยาบาล ก. ซึ่งเป็นหัวหน้าเวรและได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยรายนี้ ปฏิเสธที่จะให้การ ดูแลผู้ป่วยรายนี้โดยให้เหตุผลว่ากลัวที่จะถูกผู้ป่วยทำร้ายร่างกายและตนเองกำลังตั้งครรภ์ไม่ต้องการเสี่ยง ต่อการได้รับการติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ ในขณะเดียวกันพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลคนอื่นๆก็ปฏิเสธที่จะ ให้การพยาบาลผู้ป่วยรายนี้เนื่องด้วยกลัวที่จะถูกทำร้ายและได้รับเชื้อเอชไอวี 5. การตัดสินใจกู้ฟื้นคืนชีพ (Resuscitation decisions) ประเด็นการตัดสินใจกู้ฟื้นคืนชีพให้กับผู้ป่วย เกี่ยวกับหลักการรักษาทางการแพทย์จริยธรรมและ กฎหมายวิชาชีพ ซึ่งผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิที่จะวางแผนชีวิตของตน หรือถ้าผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้ผู้แทน โดยชอบธรรมของผู้ป่วยควรแสดงเจตจำนงไว้เป็นหลักฐานว่าเมื่อหัวใจและปอดทำงานล้มเหลวแล้วจะทำ
119 การกู้ฟื้นคืนชีพหรือไม่ การกู้ฟื้นคืนชีพเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตก็ควรรีบทำเต็มความสามารถ แต่หาก ผู้ป่วยแสดงเจตจำนงไว้เป็นหลักฐานแล้วก็อาจปล่อยให้ชิวิตจบอย่างสงบ ขณะที่มีสติบริบูรณ์เพื่อกล่าว อำลาญาติมิตรหรือฎิบัติตามศาสนา อาจมีคุณค่าอย่างมหาศาลต่อจิตวิญญาณของผู้ป่วยและญาติ 6. การรักษาที่ไร้ประโยชน์ (Futility) การรักษาที่ไร้ประโยชน์ เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาให้รอบด้านทั้งด้านหลักวิชาการแพทย์ จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพและกฎหมาย เพราะเมื่อให้การรักษาไประยะหนึ่งแล้วไม่ช่วยให้อาการ ทุเลาแต่กลับเพิ่มความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วย เพิ่มภาระด้านเศรษฐกิจแก่ผู้ป่วยและญาติ ทีมผู้ให้การรักษา อาจพิจารณายุติการรักษา หรืองดการรักษาบางอย่างลงได้ 7. ไม่ให้การรักษาหรือการยุติการรักษา (Withholding or withdrawal of treatment) ทีมผู้ให้การดูแลควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยและญาติเป็นหลัก หลักในการพิจารณาคือ การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่เป็นผลดีแก่ผู้ป่วย หากดำเนินการต่อไปจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็น อันตรายต่อร่างกายผู้ป่วย เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจระยะยาวอาจเกิดการติดเชื้อ การใช้ยาฆ่าเชื้อบาง ชนิดที่มีราคาแพงอาจส่งผลต่อการทำงานของตับและไตที่ทำงานลดลงอยู่แล้ว การให้สารน้ำทางหลอด เลือดดำ เป็นต้น 8. การยุติการให้สารอาหารและสารน้ำ (Fluids and nutrition) ทีมผู้ให้การดูแลควรพิจารณาวิธีการที่ให้ผลดีและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพราะการให้สาร น้ำและสารอาหารถือเป็นการรักษาเพื่อพยุงชีวิต (Life-sustaining treatment) ทั้งนี้ควรอธิบายถึงพยาธิ สภาพและความจำเป็นต่างๆของผู้ป่วยในระยะใกล้จะเสียชีวิตให้ญาติเข้าใจ ทีมผู้ให้การดูแลควรปรับ แผนการรักษาเป็นระยะๆเพื่อมั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ทำให้ได้รับความสุขสบายที่สุด การดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้ายควรให้การดูแลเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน ไม่ทอดทิ้ง ให้ความจริงแก่ญาติ ปราศจากการรบกวน การดูแลผู้ป่วยใกล้จะเสียชีวิตเป็นกิจกรรมพยาบาลที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความ อดทนและความเมตตาต่อ ผู้ที่กำลังจะจากไปในระดับที่สูงมากกว่าปกติ พยาบาลควรมีที่ปรึกษาเพื่อช่วย วางแผนการดูแลที่ดีที่สุดกับผู้ป่วยทีมผู้ดูแลจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกันและสนับสนุนให้กำลังใจ ในการทำงานร่วมกัน 9. ปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกับผู้รับบริการและผู้ร่วมงาน ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วย คือ การสื่อสารของเจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและ ญาติ ทั้งเนื้อหา ข้อมูลและวิธีการสื่อสารตลอดระยะเวลาการดูแลรักษา เริ่มด้วยการสื่อสารที่ดีสร้างความ ไว้วางใจให้เกิดขึ้นก่อน บอกความจริงเรื่องการวินิจฉัยโรคและการรักษาอย่างเปิดเผยและเคารพการ ตัดสินใจของผู้ป่วยในทุกขั้นตอนของกระบวนการรักษา ประเด็นปัญหามักเกิดจากการขาดมนุษยสัมพันธ์ ที่ดี ไม่มีศิลปะทางการพยาบาล ปฏิบัติงานไม่ซื่อสัตย์ขัดสิทธิมนุษยชน การสื่อสารที่ดีจะทำให้เกิด ปฏิสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ให้บริการและผู้ร่วมงาน คือ มีทักษะการใส่ใจ ทักษะการตั้งใจฟังและการแสดงออก อย่างเข้าอกเข้าใจและเห็นใจกัน
120 10. การใช้เทคโนโลยีและการให้บริการเกินความจำเป็น ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการรักษาพยาบาล เช่น การใช้เทคโนโลยีตรวจวินิจฉัยอาการ โรค การใช้เทคโนโลยีชะลอวัย เทคโนโลยีทำนายความพิการ เป็นต้น ต้องพิจารณาด้วยหลักยุติธรรมใน การให้บริการ(Justice) มิให้ประชาชนบางกลุ่มขาดโอกาส ควรให้สิทธิผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้าถึงบริการ สุขภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 11. ความรู้และทักษะทางการพยาบาล การที่พยาบาลมีความรู้และทักษะทางการพยาบาลที่ถูกต้อง จะทำให้สามารถวิเคราะห์การดูแล ผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยได้ และพยาบาลสามารถโต้แย้งให้ ข้อมูลเชิงวิชาการกับแพทย์ผู้รักษาได้ ทำให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการ การพัฒนาความรู้และทักษะพยาบาล ทำให้การบริการมีประสิทธิภาพ เกิดความเชื่อถือวิชาชีพพยาบาลมากขึ้น ยอมรับวิชาชีพพยาบาลในฐานะ ที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น 12. การยินยอมรับการรักษาโดยได้รับข้อมูล (Informed consent) ความยินยอมของผู้รับบริการ หมายถึง ความเต็มใจของผู้รับบริการจากการประกอบวิชาชีพเวช กรรมการพยาบาล โดยยอมรับการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพที่พึงกระทำต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ยินยอมให้ฉีดสารต่างๆเข้าร่างกาย ให้เจาะเลือด ให้ทำแผล เป็นต้น การประกอบวิชาชีพพยาบาลเป็นการ กระทำต่อชีวิตและร่างกายของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับการยินยอมจากผู้รับบริการตามสิทธิมนุษยชน ก่อน ลงมือปฏิบัติการพยาบาลทุกชนิด ความยินยอมนั้นต้องไม่ขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม เป็นความยินยอมที่ ต้องได้รับการบอกกล่าวหรือให้ข้อมูล โดยทั่วไปก่อนให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย แพทย์และพยาบาล ต้องให้ข้อมูลหรืออธิบายและได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย ประเด็นจริยธรรมที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วย ไม่เข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญของการรักษานั้นๆ หรือเกิดความรู้สึกขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนาส่วนตน จึงเกิดความลังเลหรือไม่ยินยอมรักษา ตามสิทธิเสรีภาพแห่งตน ดังนั้นการที่แพทย์และพยาบาลตัดสินใจ แทนผู้ป่วยนั้น อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย หลักการยินยอม มีดังนี้ 1) การเคารพสิทธิส่วนบุคคล บุคคลที่มีความสามารถตามกฎหมายสิทธิ สมบูรณ์ต่อร่างกายตนและตัดสินใจว่าจะยอมให้ใครทำอะไรกับร่างกายตนเองได้2) ผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการแพทย์กับผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กันซึ่งตั้งบนพื้นฐานการมอบความไว้วางใจต่อผู้ประกอบวิชาชีพ การกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพจึงเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีความรู้ทางการแพทย์ จึงถือเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องให้ความกระจ่างต่อผู้ป่วยในการรักษา (แสงทอง ธีระทองคำ และไสว นรสาร, 2561) การกระทำที่อาจผิดกฎหมายเกี่ยวกับการยินยอม ได้แก่ 1) ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าผู้ ประกอบวิชาชีพพยาบาลกระทำโดยที่ผู้รับบริการไม่ยินยอม 2) ความผิดต่อเสรีภาพ ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลกระทำโดยผู้รับบริการไม่ยินยอม ย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น และอาจมีความผิด ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นได้ ข้อยกเว้น กรณีไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอม มีดังนี้1) กรณีฉุกเฉิน รีบด่วน จำเป็นต้องทำการ
121 ตรวจ รักษา เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยให้พ้นอันตราย 2) กรณีผู้รับบริการไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เป็นเด็ก ปัญญาอ่อนวิกลจริต ควรได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง 3) การตรวจร่างกายผู้ต้องหา ถ้าพนักงาน สอบสวนส่งผู้ต้องหาไปให้แพทย์ตรวจ แม้ผู้ต้องหาไม่ยินยอมแพทย์สามารถตรวจได้ รูปแบบและลักษณะการให้ความยินยอม มีดังนี้1) ลงชื่อ/พิมพ์ลายนิ้วมือเป็นลายลักษณ์อักษร 2) ถ้าไม่มีการลงชื่อ/พิมพ์ลายนิ้วมือ อาจเป็นการยินยอมด้วยการแสดงออกโดยดีไม่ขัดขืน 3) ความ ยินยอมนั้นไม่ขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม 4) เป็นความยินยอมเฉพาะเรื่อง เป็นครั้งคราว อุปสรรคต่อการยินยอม มาจากผู้ป่วยได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ ความรีบเร่งของระบบบริการ บุคลากรขาดทักษะในการให้ข้อมูล การไม่ใส่ใจข้อมูลของผู้ป่วย เป็นต้น 6.6 สรุป พยาบาลวิชาชีพอาจจะเผชิญกับประเด็นปัญหาจริยธรรมทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย จากข้อขัดแย้งเชิงจริยธรรมที่พยาบาลต้องใช้ความความไวเชิงจริยธรรมและการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมใน การพิจารณาปัญหาอย่างรอบคอบ คำนึงถึงทัศนคติ ความเชื่อทางศาสนา ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจเชิงจริยธรรมจึงมีความสำคัญอย่าง มาก เนื่องจาก ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพมีความซับซ้อน และประชาชนมีความคาดหวังต่อสิทธิที่ตนจะ ได้รับ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีและบริการสุขภาพ จึงต้องอาศัยความสามารถและประสบการณ์ของพยาบาลที่ได้รับการ ฝึกฝนมาเป็นอย่างดีเป็นผู้พิจารณาปัญหาเหล่านี้ ดังนั้นพยาบาลจึงควรศึกษาข้อกฎหมาย แนวทางป้องกัน และแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนาความรู้ทักษะ และมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล จะทํา ให้ป้องกันการเกิดปัญหาจริยธรรมต่างๆ
122 แบบฝึกหัดบทที่ 6 21. จงอธิบายปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 22. จงอธิบายงปัญหาขัดแย้งทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความตายในการปฏิบัติการพยาบาล 23. จงอธิบายปัญหากฎหมายการใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็นในการปฏิบัติการพยาบาล 24. จงบอกอธิบายแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหากฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการ พยาบาล 25. จงอธิบายวิธีการปฏิบัติเมื่อถูกฟ้องคดีอาญา-คดีแพ่ง
123 เอกสารอ้างอิง กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. (2562). จริยธรรมทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง และ อุดมรัตน์สงวนศิริธรรม. (2562). การควบคุมการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์: กฎหมายวิชาชีพและจรรยาบรรณพยาบาล. เชียงใหม่: บริษัท สยามพิมพ์นานา จำกัด. เพ็ญจันทร์แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัททรา จุฑามณีและ สุจินตนา พันกล้า. (2560). กฎหมาย และจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัทสุขุมวิทการพิมพ์จากัด. มานิตย์ จุมปา. (2552). ข้อควรระวังทางกฎหมายของพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท วี พริ้นท์. สิวลี ศิริไล. (2556). จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2546). กฎหมายทางการแพทย์ ความรับผิดทางกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. สมใจ ศิระกมล. (2556). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. เชียงใหม่ : บริษัท ครองช่าง พริ้นติ้ง จำกัด. แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2560). กฎหมายและข้อควรระวังของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ พยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด. แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร. (2561). กฎหมายสำหรับพยาบาล. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการตำรารามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. สุพิศ รุ่งเรืองศรี และคัทรียา ศิริภัทรากูล แสนหลวง. (บรรณาธิการ). (2561). ปฐมนิเทศวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์. เชียงใหม่: บริษัทสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สมาร์ทโค๊ตติ้งแอนส์ เซอร์วิส จำกัด. อุดมรัตน์สงวนศิริธรรม และ สมใจ ศิระกมล. (2558). พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ. เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด. วณิชา พึ่งชมภู. (2557). คู่มือการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เรื่อง จริยธรรม ประเด็น ขัดแย้งและทางแนวทางการตัดสินใจ. เชียงใหม่: กลุ่มวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.