The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการสอนรายวิชาประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by E-book, 2023-10-14 09:16:22

เอกสารประกอบการสอนรายวิชาประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล

เอกสารประกอบการสอนรายวิชาประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล

Keywords: เอกสารประกอบการสอนรายวิชาประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล

41 กรณีศึกษา เจ้าชายนิทราหลังจากถอดท่อหลอดคอ คดีถอดท่อหลอดลม คดีนี้เป็นผู้ชายอายุ19 ปีนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ได้รับ อุบัติเหตุ มีเลือดออกในสมองหลังผ่าตัด ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเจาะคอ (Tracheostomy) เข้ารักษาใน หอ ผู้ป่วยวิกฤตนาน 27 วัน ผู้ป่วยหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้นหลังเอาท่อเจาะคอออก ส่งผลให้มีสมอง ขาดออกซิเจน คดีนี้พยาบาลได้รับคําสั่งจากแพทย์ให้เอาท่อเจาะคอออก โดยหลังสั่งการรักษา แพทย์ผู้สั่ง การรักษาได้เข้าห้องผ่าตัด และไม่ได้เฝ้าดูอาการผู้ป่วยขณะพยาบาลเอาท่อเจาะคอออก หลังจากเอาท่อ เจาะคอออก ผู้ป่วยมีอาการของทางเดินหายใจอุดตัน ญาติผู้ป่วยสังเกตเห็นความผิดปกติและไปบอก พยาบาล แต่พยาบาลคิดว่าไม่เป็นอะไร จึงไม่ได้เข้าไปดูผู้ป่วย (ปกติหลัง ถอดท่อช่วยหายใจ ต้องเฝ้าระวัง สัญญาณชีพ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน และภาวะอื่นๆ ที่เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้ป่วยขาดออกซิเจนอย่าง ใกล้ชิด) จนกระทั่งผู้ป่วยหยุดหายใจ และต้องปั๊มส่งผลให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพเจ้าชายนิทรา ญาติฟ้อง ศาล พิพากษาว่าจำเลยกระทำประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์รวมดอกเบี้ย 5,125,411 บาท คณะกรรมการเพื่อพิจารณาไล่เบี้ยของกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วมีมติให้ผู้ทํา ละเมิดชดใช้ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ของจํานวนที่จ่ายให้โจทก์โดยแพทย์รับผิดร้อยละ 70 ส่วนพยาบาล 2 คน รับผิดร้อยละ 30 (ฎีกา 1541/2549) กรณีศึกษา ประมาทเลินเล่อร้ายแรงจากแพ้ยา หญิงตั้งครรภ์ปากมดลูกเปิดก่อนกําหนดและแพ้ยาโดยผู้ป่วยได้ยา Phenobarb และ Bricanyl แพทย์สั่งการรักษาทางโทรศัพท์โดยที่ไม่ได้มาชักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย ทั้งๆ ที่ห้องพักแพทย์อยู่ ห่างออกไปไม่เกิน 20 เมตร ศาลฎีกา พิพากษาว่าแพทย์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้กระทรวง สาธารณสุข ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นเงิน 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 นับถึง วันที่มีคําพิพากษาถึงที่สุดคิด เป็นเงิน 1,688,630 บาท รวมเป็นเงินที่ต้อง ชําระแก่ผู้เสียหายทั้งหมด 3,688,630 บาท คณะกรรมการเพื่อพิจาณาไล่เบี้ยของกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้ว มีมติไล่เบี้ยเอา จากแพทย์ไม่เต็มจํานวนโดยให้รับผิดร้อยละ 50 ของจํานวนเงินที่กระทรวงฯ จ่ายแก่ผู้เสียหาย (จ่ายเงิน คืนให้กระทรวงฯ จํานวน 1,844,315 บาท) (ฎีกา 6092/2552) บุคคลที่ต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิด เพื่อให้ผู้ถูกละเมิดได้รับการเยียวยา หรือกลับคืนให้ใกล้เคียงสภาพเดิม กฎหมายแพ่งบัญญัติให้ บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิด (Vicarious liability) ดังนี้ 1.นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปตามที่ว่าจ้าง เช่น ถ้าพยาบาลกระทำละเมิด โรงพยาบาลที่เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย เนื่องจากนายจ้างต้องควบคุมการ ประกอบวิชาชีพของพยาบาลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และวิธีการที่นายจ้างกำหนด ดังตัวอย่างฎีกา ต่อไปนี้ กรณีศึกษา นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง จําเลยเป็นผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล บุตรของโจทก์ได้รับบาดเจ็บจาก อุบัติเหตุรถ จักรยานยนต์ที่นั่งซ้อนท้ายชนแผงเหล็กกั้นทางโค้งปากทางเข้าหมู่บ้าน และผู้ขับขี่ถึงแก่ความ


42 ตายในที่เกิดเหตุบุตร ของโจทก์มีอาการเจ็บปวด มีภาวะการบอบช้ำและโลหิตออกในสมอง จะต้องได้รับ การรักษาอย่างทันท่วงที แม้ไม่ปรากฏบาดแผลร้ายแรงที่มองเห็นจากภายนอก แต่พยาบาลเวรซึ่งเป็น ลูกจ้างของจําเลย กลับให้ผู้ช่วยพยาบาลตรวจ คันหลักฐานในตัวบุตรของโจทก์ว่ามีบัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ 30 บาท หรือบัตรประกันชีวิตหรือไม่ เมื่อไม่พบหลักฐานใด จึงสอบถามเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครมูลนิธิที่เป็นผู้นําส่งว่า ใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เมื่อไม่มีคําตอบ จึงปฏิเสธที่จะรับบุตรของ โจทก์ไว้รักษา โดยแนะนําให้ไปรักษายังโรงพยาบาลของรัฐ การที่พยาบาลเวรลูกจ้างของจําเลยปฏิเสธไม่ รับบุตรของโจทก์เข้ารับการรักษาดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรง ที่ทําให้บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตาย จําเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล มีหน้าที่ต้องควบคุมและดูแล ให้มีการ ช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตราย และจําเป็นต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจาก อันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพ ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 36 แต่ กลับไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของลูกจ้างดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ให้จําเลยชําระเงิน จํานวน 1,600,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง (ฎีกาที่ 11332/2555)(25) 2. ตัวการต้องรับผิดชอบในผลแห่งการละเมิดของตัวแทน ที่ได้กระทำไปภายในขอบเขตอำนาจ ของซึ่งกระทำตามที่ตัวการมอบหมาย (ปพพ.มาตรา 427) เช่น บริษัทประกันชีวิตยอมให้ตัวแทนประกัน ชีวิตติดต่อกับผู้เสียหาย เพื่อต่ออายุกรมธรรม์และรับเบี้ยประกันชีวิตล่วงหน้าในนามของบริษัทประกันโดย เปิดเผย เมื่อตัวแทนประกันชีวิตทำการฉ้อฉล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย แล้ว บริษัทประกันต้องรับผิดต่อผู้เสียหายเสมือนตัวแทนประกันชีวิตนั้นเป็นตัวแทนของตน และต้องร่วม รับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทนประกันชีวิตต่อผู้เสียหายด้วย 3. บิดามารดาของผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิด ที่ ผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตกระทำ เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในหน้าที่การดูแล เช่น ผู้เยาว์ขับรถชนคนบาดเจ็บ บิดามารดาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายด้วย 4. ครูอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือครั้งคราว จะต้องร่วมรับผิดกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งได้กระทำระหว่างอยู่ในความดูแลของตน หาก พิสูจน์ได้ว่า ครูอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร(ปพพ. มาตรา 430) เช่น นักศึกษาทำผิดในขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงาน อาจารย์ที่ดูแลต้องรับผิดชอบด้วย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ได้กำหนดให้ หน่วยงานรัฐรับผิดต่อผู้เสียหายจากการละเมิดของเจ้าหน้าที่ โดยผู้เสียหายสามารถฟ้องหน่วยงานของรัฐ โดยตรง ไม่ต้องฟ้องเจ้าหน้าที่ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือ ว่ากระทรวงการคลัง


43 เป็นผู้รับผิด ซึ่งการละเมิดที่เกี่ยวข้องกับรักษาพยาบาล ผู้เสียหายจะฟ้องกระทรวงสาธารณสุขและ โรงพยาบาล ดังตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา ต่อไปนี้(หยุด แสงอุทัย, 2555 : แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร, 2561) กรณีศึกษา ความรับผิดเรื่องละเมิดของเจ้าหน้าที่ โจทก์ถูกน้ำร้อนลวกขณะพยาบาลวางกระเป๋าน้ำร้อน เพื่อลดอาการหนาวสั่นหลังผ่าตัดเนื้องอกที่ หน้าอก แต่จุกที่ปิดกระเป๋าน้ำร้อนปิดไม่แน่น ทําให้มีน้ำรั่วซึมลวกผิวหนังโจทก์แม้จะรักษาจนหายแต่เกิด บาดแผลพองนูนสีดํา คล้ำสลับขาวเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้วบริเวณทรวงอก ทําให้โจทก์ได้รับความ อับอาย ใส่ชุดราตรีและชุดว่ายน้ำไม่ได้ซึ่งมีผลติดตัวไปตลอดชีวิต โจทก์ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์แพทย์ผู้สั่งการรักษาและผู้อํานวยการโรงพยาบาล เป็นจําเลยที่1, 2, 3 และ 4 ตามลําดับ โดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยที่ 1 (กระทรวง สาธารณสุข) และจําเลยที่ 2 (กรมการแพทย์) ร่วมกัน ชําระเงินแก่โจทก์226,217 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง สําหรับค่ารักษาพยาบาล แม้โจทก์จะมีสิทธิเบิกค่ารักษาจากการใช้สิทธิของสามีซึ่งเป็นข้าราชการตํารวจ แต่ไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล ที่เป็นค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นส่วน ของค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ได้อีก (ฎีกาที่ 4641/2551)(26) กรณีการละเมิดนั้นเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหน่วยงานรัฐ สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอากับเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดได้ โดยเจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องใช้เต็มจำนวน แต่จะ พิจารณาจากระดับความร้ายแรงของการกระทำ และความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์หากการ ละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน ให้แต่ละคนรับผิดชอบเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น 2.7 สรุป การรับผิดตามกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะ ฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่เกิดจากการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ผิดพลาดทำให้เกิด ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง หรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ ดังนั้นพยาบาล วิชาชีพจึงต้องทราบเรื่องความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล และตระหนักถึง ความสำคัญได้แก่ การทำนิติกรรมต่างๆ ลักษณะของความรับผิดทางแพ่ง ความรับผิดจากการละเมิด และ อายุความทางแพ่ง เพื่อจะได้นำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างปลอดภัยถูกต้องตามกฎหมายและ จริยธรรมวิชาชีพการพยาบาลและป้องกันการถูกฟ้องร้องได้


44 แบบฝึกหัดบทที่ 2 6. จงอธิบายการทำนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาล 7. จงอธิบายลักษณะการยินยอมรักษาพยาบาล 8. จงบอกอธิบายองค์ประกอบของความรับผิดทางแพ่งที่เกิดจากการประกอบวิชาชีพ 9. จงอธิบายความรับผิดจากการละเมิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล 10. จงอธิบายอายุความทางแพ่ง


45 เอกสารอ้างอิง คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง และ อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. (2562). การควบคุมการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์: กฎหมายวิชาชีพและจรรยาบรรณพยาบาล. เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด. ดาราพร คงจา. (2548). กฎหมายการประกอบวิชาชีพการพยาบาล. นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัทรา จุฑามณี, สุจินตนา พันกล้า. (2560). กฎหมาย และจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด. มานิตย์ จุมปา. (2552). ข้อควรระวังทางกฎหมายของพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท วี พริ้นท์. วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2546). กฎหมายทางการแพทย์ ความรับผิดทางกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. สมใจ ศิระกมล. (2556). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. เชียงใหม่ : บริษัท ครองช่าง พริ้นติ้ง จำกัด. แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2560). กฎหมายและข้อควรระวังของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ พยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด. แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร. (2561). กฎหมายสำหรับพยาบาล. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการตำรารามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. หยุด แสงอุทัย. (2555). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อรัญญา เชาวลิต, ศิริพร ขัมภลิขิต, ทัศนีย์ นะแส, เสาวรส จันทรมาศ. (บรรณาธิการ). (2558). คู่มือ ส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุดทอง. อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม และ สมใจ ศิระกมล. (2558). พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ. เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานา จากัด.


46 แผนบริหารการสอนประจำบทที่3 เนื้อหา บทที่ 3 ความรับผิดทางการพยาบาลตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ 3.1 เกณฑ์การรับผิดทางการพยาบาล 3.2 ประเด็นการประพฤติผิดจริยธรรมทางการพยาบาล 3.3 กรณีศึกษาความรับผิดทางการพยาบาล 3.4 การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 3.5 กระบวนการสืบสวนความรับผิดทางการพยาบาล 3.6 สรุป จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อศึกษาบทที่ 3 แล้วนักศึกษาสามารถ 1. อธิบายหลักเกณฑ์การรับผิดทางการพยาบาลได้ 2. อธิบายประเด็นการประพฤติผิดจริยธรรมทางการพยาบาลได้ 3. อธิบายกรณีศึกษาความรับผิดทางการพยาบาลได้ 4. อธิบายควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ 5. อธิบายกระบวนการสืบสวนความรับผิดทางพยาบาลได้ 6. อธิบายประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่พบบ่อยได้ กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท 1. ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอนวิชาความรับผิดทางการพยาบาลตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ 2. บรรยายด้วยสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมยกตัวอย่างวิเคราะห์กรณีศึกษา 3. สรุปสาระสำคัญจากบทเรียน 4. ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวิชาชาความรับผิดทางการพยาบาลตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์


47 2. ไฟล์การนำเสนอภาพนิ่งผ่านโปรแกรมไมโครซอฟท์เพาเวอร์พอยท์ 3. หนังสืออ่านประกอบค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายวิชาทางการพยาบาลตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4. แบบฝึกหัดบทที่ 3 การวัดผลและการประเมินผล 1. สังเกตจากการซักถามผู้เรียน 2. สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน 3. สังเกตจากความสนใจของผู้เรียน 4. ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัดบทที่ 3 5. ประเมินผลจากการทดสอบปลายภาค 6. แบบประเมินการทำรายงานและการนำเสนอ


48 บทที่ 3 ความรับผิดทางการพยาบาล ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 การพยาบาล หมายความว่า การดูแลช่วยเหลือเมื่อมีการเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ การป้องกัน โรค การส่งเสริมสุขภาพและการช่วยเหลือในการรักษาโรค ทั้งนี้ โดยอาศัยศาสตร์และศิลปะทางการ พยาบาล “การประกอบวิชาชีพการพยาบาล” หมายความว่า การปฏิบัติหน้าที่การ พยาบาลต่อบุคคล ครอบครัวและชุมชน ดังนี้ 1. การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ 2. การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อแก้ไขปัญหาความ เจ็บป่วย บรรเทาอาการและการลุกลามของโรค ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพ 3. การกระทำตามวิธีที่กำหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค 4. การช่วยเหลือแพทย์ในการรักษาโรค ทั้งนี้โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะทางการ พยาบาลในการประเมินภาวะสุขภาพ การวินิจฉัยปัญหา การวางแผน การปฏิบัติและการประเมินผล การผดุงครรภ์หมายความว่า การดูแลช่วยเหลือหญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด และทารกแรกเกิด การตรวจครรภ์ การทำคลอด การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันความ ผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ ระยะ คลอดและระยะหลังคลอด ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการผดุงครรภ์ “การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์” หมายความว่า การปฏิบัติหน้าที่การผดุงครรภ์ต่อหญิง ตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดทารกแรกเกิด และครอบครัว ดังนี้ 1. การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ 2. การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและทารก แรกเกิด เพื่อ ป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด 3. การตรวจการทำคลอดและการวางแผนครอบครัว 4. การช่วยเหลือแพทย์ในการรักษาโรค ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะทางการผดุง ครรภ์ ในการประเมินภาวะสุขภาพ การวินิจฉัยปัญหา การวางแผน การปฏิบัติและการประเมินผล 3.1 เกณฑ์การรับผิดทางการพยาบาล ปัจจุบันผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษไปยังสภาการ พยาบาลว่าประพฤติผิดจริยธรรมต่อผู้ใช้บริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยพบเรื่องร้องเรียนพฤติกรรมบริการ


49 ของพยาบาลจากทั้งหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นคดีความผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ความผิดต่อผู้ป่วย และความผิดต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ร่วมงาน ในคดีความผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ได้แก่ ปลอมลายเซ็น ลงชื่อแทนกัน และเปิดคลินิกโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนความผิดต่อผู้ป่วย ได้แก่ ขาด มาตรฐานในการประกอบวิชาชีพฯ การปฏิบัติการพยาบาลไม่สุภาพ ขาดความปลอดภัยและสิ้นเปลืองและ การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย สำหรับความผิดต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ร่วมงานพบการไม่ยกย่องให้เกียรติ และการกลั่นแกลังหรือใส่ร้าย ประเด็นเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์วิชาชีพ เช่น ความผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ความผิดต่อผู้ร่วมงานและผู้ร่วมวิชาชีพ และประเด็นพฤติกรรมบริการ เช่น มาตรฐานการพยาบาล การ พร่องการบริการ และก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม (คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง และ อุดมรัตน์ สงวนศิริ ธรรม, 2562) บุคคลที่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 1. พยาบาลวิชาชีพ ถ้าปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดหรือได้รับการร้องเรียน สภาการพยาบาลจะแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการจริยธรรมและคณะอนุกรรมการสอบสวน เพื่อพิจารณาความผิดด้านจริยธรรม โดยมี บทลงโทษตามกฎหมายวิชาชีพฯ ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตฯระบุเวลาไม่เกิน 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตฯ 2. บุคคลภายนอกที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ และแอบอ้างว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ พยาบาลและการผดุงครรภ์ทำให้เกิดความเสียทายแก่วิชาชีพฯ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา กรรมการสภา การพยาบาลสามารถนำเรื่องดังกล่าวไปฟ้องศาล เพื่อลงโทษทางอาญาแก่ผู้ที่กระทำผิดได้ หากกระทำผิด จริงจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การพิจารณาความรับผิดทางการพยาบาล ความรับผิดทางการพยาบาล ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับความรับผิดตามกฎหมายอาญา ดังนี้ 1. มีการกระทำซึ่งเป็นองค์ประกอบภายนอก หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือไม่เคลื่อนไหว ร่างกายหรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ โดยรู้สำนึกและอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ กล่าวคือ พยาบาล วิชาชีพรู้สึกตัวและรู้ว่าตนกำลังทำอะไร เช่น พยาบาลวิชาชีพรู้ว่ากำลังฉีดยาให้ผู้ป่วยและมีการปนเปื้อน เชื้อโรค (Contamination) ขณะฉีดยา หรือพยาบาลวิชาชีพไม่เดินไปดูทารกที่ร้องไห้เป็นเวลานานจน ทารกเขียว อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ถือว่าการกระทำจากผู้ที่ป่วยทางจิต ผู้ที่ละเมอ ถูกสะกดจิต ถูกผลัก ถูกเบียด หรือรีเฟล็กซ์ (Reflex) เป็นการกระทำตามกฎหมาย เช่น พยาบาลวิชาชีพถูกผู้ป่วยจิตเวชตีศีรษะ หรือนอนละเมอมาตบหน้าพยาบาล ถือว่าไม่มีการกระทำเพราะผู้ป่วยไม่รู้สำนึกและอยู่นอกอำนาจจิตใจ ของผู้ป่วย 2. กฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์บัญญัติว่า การกระทำนั้นเป็นความผิดและ กำหนดโทษซึ่งสอดคล้องตามหลักกฎหมายอาญา โดยกฎหมายวิชาชีพฯ กำหนดข้อบังคับสภาการ พยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550 หากพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานเกินขอบเขต หรือผิดมาตรฐานการพยาบาล หรือผิดจริยธรรมทางการ พยาบาล เช่น การเปิดเผยความลับผู้ป่วยทีได้จากการประกอบวิชาชีพฯ การรักษาโรคเบื้องต้นที่เกิน


50 ขอบเขตกำหนด การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อประโยชน์แห่งตน กฎหมายวิชาชีพฯ ถือว่ากระทำนั้นผิดกฎหมาย และระบุโทษว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตไม่เกิน 2 ปี และเพิกถอนใบอนุญาต 3. มีการกระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายใน คือความคิดหรือ จิตใจของผู้กระทำ หากผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดกฎหมายถือว่ามีความผิดเสมอและจะลงโทษ แต่บาง กรณีที่ผู้กระทำประมาทหรือไม่เจตนา อาจมีความผิดถ้ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด (ปอ.มาตรา 59) ซึ่งส่วนใหญ่การกระทำของพยาบาลวิชาชีพมักมีความผิดฐานประมาทในการประกอบ วิชาชีพฯ เนื่องจากพร่องความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ รวมทั้งขาดความรอบคอบ เช่น พยาบาลวิชาชีพ ต่อสายให้ยาทางหลอดเลือดดำโดยมาตรวจสอบว่าเส้นเลือดแตกหรือไม่ทำให้ผู้ป่วยผิวหนังอักเสบบวมสี คล้ำ ทั้งนี้การประมาทในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มักมีสาเหตุจากไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานวิชาชีพ ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์การแพทย์ไม่ถูกต้อง ความบกพร่องด้านการสื่อสาร ความ บกพร่องด้านการบันทึก และความบกพร่องด้านการประเมินและการเฝ้าระวังอาการผู้ป่วย 4. คดียังไม่ขาดอายุความ ตามกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลฯ ผู้เสียหายต้องแจ้งเรื่องกล่าวหา หรือกล่าวหาโทษต่อกรรมการสภาการพยาบาลได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้กล่าวหาหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่อง และรู้ตัวผู้กระทำผิดทั้งนี้ ไม่เกิน 3 ปีนับแต่วันเกิดเหตุหรือวันที่พยาบาลประพฤติผิดจริยธรรม ถ้าการ กล่าวหาหรือกล่าวโทษเกินเวลาที่กำหนดถือว่า คดีขาดอายุความ ไม่สามารถนำมาฟ้องร้องได้ 3.2 ประเด็นการประพฤติผิดจริยธรรมของพยาบาล พยาบาลวิชาชีพที่ถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษ ในคดีจริยธรรมตามข้อบังคับสภาการพยาบาล พ.ศ. 2550 ซึ่งบางกรณีอาจมีความผิดทางแพ่งและอาญาด้วย โดยคดีจริยธรรมตามกฎหมายวิชาชีพฯ คณะกรรมการสภาการพยาบาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด และลงโทษพยาบาลประพฤติจริยธรรมตามมาตรา 4 ทั้งนี้ การประพฤติผิดจริยธรรมของพยาบาลมีประเด็น ต่อไปนี้(มานิตย์ จุมปา, 2552: เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัทรา จุฑามณี, สุจินตนา พันกล้า, 2560) 1. ไม่ดำรงตนให้สมควรในสังคมและไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง เช่น การลงนามแทนผู้อื่น การ แก้ไขเอกสาร เช่น ลงลายมือชื่อแทนเพื่อนในใบรับเงินและรับเงินแทน เพราะเพื่อนไม่ได้ปฏิบัติงานวันนั้น หรือลงลายมือชื่อแทนแพทย์ในใบสั่งยา ใบส่งตรวจ ใบรับรองแพทย์ การก้าวล่วงวิชาชีพอื่น การยักยอก ทรัพย์ การฉ้อโกง 2. ประกอบวิชาชีพไม่ได้มาตรฐานของวิชาชีพ เช่น การปฏิเสธการรักษา การให้น้ำเกลือและยา ปฏิชีวนะแล้วเกิดการอักเสบบวมแดง การทอดทิ้งผู้ป่วย การติดชื่อผู้ป่วยผิดหรือสลับกัน การฉีด KCL เข้า เส้นเลือดโดยตรงแทนการผสมในน้ำเกลือตามแผนการรักษา ป้อนนมทารกอายุ 3 เดือนไม่ระวังทารก สำลักตกจากมือหมดสติเลือดคั่งในสมองหลังผ่าตัดเป็นเด็กพิการทางสมอง 3. ประกอบวิชาชีพโดยไม่สุภาพ และบังคับขู่เข็ญ เช่น การใช้วาจาหรือพฤติกรรมไม่เหมาะสม ใช้กิริยาข่มขู่เด็ก


51 4. ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความสิ้นเปลืองผู้ใช้บริการ เช่น การให้เลือดผิด ความผิดพลาด ในการให้ยา ซึ่งความเสี่ยงเกิดจากบุคคล และระบบการบริหารยาของหน่วยงาน หากส่งผลเสียอย่าง รุนแรงต่อผู้ป่วยพยาบาลอาจได้รับโทษพักใช้ใบอนุญาตไม่เกิน 2 ปี 5. เปิดเผยความลับของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยแก่ญาติ บริษัทประกัน โดยไม่ได้รับอนุญาต นำข้อมูลผู้ป่วยหรือถ่ายรูปผู้ป่วยหรือกิจกรรมพยาบาลไปเปิดเผยในสื่อ สังคมออนไลน์เช่น Facebook, Line 6. ใช้หรือสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การแพทย์ การ สาธารณสุข หรือโรคศิลปะโดยผิดกฎหมาย เช่น การสอนการพยาบาลในโรงเรียนบริบาล ให้ผู้ช่วย พยาบาลสวนปัสสาวะผู้ป่วยโดยไม่ควบคุมดูแล 7. ไม่ยกย่องให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีของผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ร่วมงาน เช่น การด่าว่า ขับไล่ ดู หมิ่น การทะเลาะวิวาท 8. ทับถม ให้ร้าย หรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ร่วมงาน 9. โฆษณาใช้จ้างหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพฯ เช่น สวมชุดพยาบาลการ โฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เครื่องสำอาง 3.3 กรณีศึกษาความรับผิดทางการพยาบาล พยาบาลวิชาชีพมีแนวโน้มได้รับการฟ้องร้องทางการพยาบาลเพิ่มขึ้น พยาบาลจึงควรศึกษา กรณีศึกษาการประพฤติผิดจริยธรรม เพื่อทราบปัจจัยสาเหตุ ความเสี่ยงต่างๆเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการ กระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งบางกรณีศึกษาได้มีการตัดสินโทษทางวิชาชีพการพยาบาลแล้ว (วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546: สมใจ ศิระกมล, 2556: แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร, 2561) 1. การประกอบวิชาชีพพร่องมาตรฐาน ผู้ป่วยอุบัติเหตุรถจักยานยนต์เข้ารับการรักษาแพทย์วินิจฉัยว่า ม้ามแตก ต้องได้รับกาผ่าตัดด่วน าที่ล้างเครื่องมือแจ้งพยาบาลหัวหน้าทีมห้องผ่าตัดว่าเครื่องมือหาย 1 ชิ้น ค้นหาไม่พบ จากการสอบถาม พยาบาลเวรเช้าแจ้งว่าเครื่องมือครบตามรายการที่ระบุไว้ในห่อเครื่องมือ หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ หัวหน้า งาน จ่ายกลางของห้องผ่าตัดได้รายงานหัวหน้าพยาบาลห้องผ่าตัดว่าเครื่องมือหาย 1 ชิ้น พยาบาลหัวหน้า ทีมห้องผ่าตัดในวันเกิดเหตุได้ชดใช้ค่าเครื่องมือที่หายไปตามระเบียบ 3 เดือนต่อมา ผู้ป่วยถูกส่งตัวเพื่อ ผ่าตัดเอาเครื่องมือออกจากช่องท้อง พบว่ามีเครื่องมือดังกล่าว Artery clamp ค้างในช่องท้อง 1 ชิ้น จากกรณีศึกษาดังกล่าว สาเหตุเกิดจากพยาบาลวิชาชีพประมาท โดยมีปัจจัยส่งเสริมคือ โรงพยาบาลไม่ได้กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานห้องผ่าตัดที่ชัดเจน ขาดการควบคุมการนับเครื่องมือ ไม่ตรวจนับก่อนปิดหน้าท้อง การค้นหาเครื่องมือในตัวผู้ป่วย รวมถึงไม่มีการบันทึกการตรวจนับเครื่องมือ ผ้าก็อช และผ้าซับเลือด นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในการชดใช้ค่าเสียหายมากกว่าความปลอดภัยผู้ป่วย การกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพยาบาลมีความผิดทางจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล โดยไม่ตระหนัก ถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย และไม่รักษามาตรฐานในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯ นอกจากนี้ ยัง


52 ผิดตามกฎหมายอาญาฐานประมาท ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายสาหัส และกฎหมายแพ่งฐานละเมิด คณะกรรมการสภาการพยาบาลวินิจฉัยและให้ลงโทษภาคทัณฑ์ แก่พยาบาลผู้ส่งเครื่องมือเวรบ่าย และให้ ข้อเสนอแนะแก่โรงพยาบาลให้แก้ไขการตรวจนับเครื่องมือผ่าตัด โดยให้ดำเนินการนับทั้งก่อนผ่าตัดและ เย็บปิดแผลผู้ป่วย ในส่วนของคดีอาญาและคดีแพ่ง ผู้ป่วยไม่ดำเนินคดี เนื่องจากได้รับชดใช้คำเสียหายทาง แฟงโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเครื่องมือออกจากท้องผู้ป่วย 2. การไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง ปลอมแปลงเอกสาร ฉ้อโกง สภาการพยาบาลได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหาย ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยแห่ง หนึ่ง ว่าได้ถูกทวงถามจากพยาบาลเทคนิค เรื่องการกู้ยืมเงินจำนวน 50,000 บาท โดยมีหลักฐานเป็น สัญญาเงินกู้ว่า ผู้เสียหายได้รับเงินจากพยาบาลเทคนิค เพื่อช่วยให้สอบผ่านเช้าเรียนต่อเป็นพยาบาล วิชาชีพในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อสอบผ่าน พยาบาลเทคนิคจึงนำสัญญาเงินกู้มา ขอรับเงินคืนจากผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงปฏิเสธเพราะไม่เคยได้รับเงินและลายมือชื่อในสัญญาไม่ใช่ของ ผู้เสียหาย จากการสอบสวนจริยธรรมพยาบาลเทคนิคให้การสารภาพว่าต้องการเข้าเรียนต่อหลักสูตร พยาบาลศาสตร์ สอบหลายครั้งไม่ผ่านเลย ได้คำแนะนำจากเพื่อนที่เป็นพยาบาลวิชาชีพว่าอาจารย์ สามารถช่วยได้แต่ต้องจ่ายเงิน 50,000 บาท โดยผู้เสียหายได้ทำสัญญาเงินกู้เป็นหลักฐาน ถ้าสอบไม่ผ่าน ยินดีคืนเงินพยาบาลเทคนิคจึงมอบเงินให้เพื่อนพยาบาลวิชาชีพ พอประกาศผลสอบไม่ผ่านจึงนำสัญญา เงินกู้มาทวงอาจารย์ จากการสอบสวนพยาบาลวิชาชีพ สารภาพว่าต้องการใช้เงินจึงคิดหลอกลวงเพื่อน พยาบาลเทคนิค ว่าตนรู้จักอาจารย์เพราะเคยเป็นลูกศิษย์ จึงปลอมแปลงเอกสารขึ้นมา จากกรณีศึกษาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าพยาบาลวิชาชีพขาดคุณธรรม หลอกลวงเพื่อน ร่วมวิชาชีพ เจตนาทำลายชื่อเสียงของอาจารย์และวิทยาลัยพยาบาลที่ตนเคยศึกษา และยังผิดต่อกฎหมาย อาญา มาตรา 264 ฐานปลอมเอกสารโดยเจตนา และมาตรา 341 ฐานหลอกลวง ฉ้อโกงผู้อื่นโดยเจตนา ส่วนพยาบาลเทคนิค ไม่ซื่อสัตย์ ตามข้อบังคับสภาการพยาบาลฯในหลักทั่วไป ที่ผู้ประกอบวิชาชีพฯย่อม ดำรงตนให้สมควรแก่สังคม และเคารพต่อกฎหมายบ้านเมืองและต้องไม่ทำการใดๆให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งวิชาชีพ คณะกรรมการสภาการพยาบาล จึงมีมติ พักใช้ใบอนุญาต 2 ปี แก่พยาบาลวิชาชีพ และว่า กล่าวตักเตือนแก่พยาบาลเทคนิค ทั้งนี้ผู้เสียหายไม่ได้แจ้งความ จึงไม่มีการพิจารณาคดีอาญา 3. การประกอบวิชาชีพไม่ได้มาตรฐานและไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนได้ให้ยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดทำหมันหญิง หลังคลอด หลังผ่าตัดผู้ป่วยไม่พื้น จากการแสวงหาข้อเท็จจริงพบว่าผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่สี่ ตรวจที่คลินิกฝาก ครรภ์ 8 ครั้ง จากแพทย์และพยาบาล ไม่ทราบว่าเป็นครรภ์แฝด มาคลอดฉุกเฉินที่โรงพยาบาลชุมชนเวลา 24.00 น. พยาบาลรายงานแพทย์เวรแต่แพทย์ไม่มาดูสั่งให้สารน้ำ และพยาบาลทำคลอดทารก หลังคลอด พยาบาลให้ Methergin ผู้ป่วยเสียเลือด 300 ml. ไม่มีภาวะตกเลือด มดลูกหดรัดตัวดี สัญญาณชีพปกติ พยาบาลย้ายผู้ป่วยไปแผนกหลังคลอด เวลา 10.00 น. แพทย์ตรวจเยี่ยมหลังคลอดและแจ้งแพทย์ขอทำ หมัน ก่อนเข้าห้องผ่าตัด ผู้ป่วยช่วยตนเองได้ดี และให้นมทารกได้ มีไข้ 38' C ชีพจร 92 ครั้ง/นาที ความ ดันโลหิต 120/80 mmHg พยาบาลไม่ได้รายงานเรื่องไข้แพทย์ และผู้ป่วยได้รับสารน้ำต่อจากห้องคลอด


53 ตามแพทย์ผ่าตัด พยาบาลวิสัญญีให้ยาระงับความรู้สึก และติดตามสัญญาณชีพ ระหว่างผ่าตัดความดัน โลหิตผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงและลดต่ำเหลือ 50/30 mmHg จึงสอบถามทีมผ่าตัด ไม่พบการเสียเลือด จึงเพิ่มสารน้ำ BP 60/40 mmHg พร้อมกันนี้เห็นเข็มให้สารน้ำไม่เหมาะสม และป้ายบอกระดับให้สารน้ำ ปิดทับตัวเลข ทำให้อัตราเพิ่มสารน้ำไม่เพียงพอ และไม่เห็นปริมาณสารน้ำที่ผู้ป่วยได้รับ วิสัญญีพยาบาลจึง ตัดสินใจใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วย พยาบาลที่ช่วยผ่าตัดเห็นเลือดมีสีคล้ำ จึงทักท้วงและสอบถามแพทย์ ซึ่งไม่ สั่งการใดๆ เพิ่ม และทำผ่าตัดจนเสร็จ รวมเวลาผ่าตัด 1 ชั่วโมง 30 นาที สั่งจองเลือด 5 ยูนิด ไม่ได้ให้ เลือด เพราะรีบส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลจังหวัด โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว จากกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าวิสัญญีพยาบาลไม่ได้ศึกษาประวัติ และประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยา ระงับความรู้สึก การตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไม่เหมาะสม ทีมผ่าตัดขาดการประสานงานอย่าง ใกล้ชิดขณะผ่าตัด และพร่องความตระหนักของสัญญาณชีพ ไม่ให้การช่วยเหลือทันที นอกจากนี้พยาบาล ในห้องคลอดและหลังคลอด ไม่ประเมินและไม่บันทึกการคลอดตามมาตรฐาน จึงก่อให้เกิดประเด็น ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เนื่องจากประมาทในการเฝ้าระวังผู้คลอดที่มีความเสี่ยง ไม่คำนึงถึงความ ปลอดภัยและพฤติกรรมการทำงานกับผู้ร่วมวิชาชีพไม่เหมาะสม จึงถือว่าเป็นการกระทำผิดมาตรฐานการ พยาบาล และมีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 300 ฐานประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส และ กฎหมายแพ่ง มาตรา 420 ฐานละเมิดโดยประมาททำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ร่างกาย ซึ่งมีการประนีประนอม ยอมความ คณะกรรมการสภาการพยาบาลจึงมีมติให้ลงโทษพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 6 เดือนแก่ วิสัญญีพยาบาล 4. เข็มกลัดติดสายยางหาย พยาบาลห้องคลอดทำงานนอกเวลาเวรบ่าย ทำแผลผู้ป่วยชายหลังผ่าตัดไส้ติ่งที่มีท่อระบาย หนองที่ต้องตัดสายท่อวันละ 1 นิ้ว โดยพยาบาลที่ถูกกล่าวหาแจ้งว่า ได้กลัดเข็มกลัดแล้ว เมื่อพยาบาลเวร เช้ามาทำแผล ไม่พบท่อระบายหนอง และผู้ป่วยบอกว่าพยาบาลเวรบ่ายไม่ได้กลัด จึงรายงานหัวหน้าและ แพทย์ ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับยาระงับความรู้สึกและค้นพบท่อผลุบเข้าไปข้างใน จึงดึงท่อออกมา พยาบาลเวร บ่ายมีความผิดฐานประมาท คณะกรรมการสภาการพยาบาล มีมติให้ว่ากล่าวตักเตือน 5. การประกอบวิชาชีพไม่ได้มาตรฐาน: การทำงานเกินขอบเขตวิชาชีพ ผู้ป่วยชายอายุ 55 ปี ได้รับอุบัติเหตุจากจักรยานการล้มแฮนด์รถกระแทกบริเวณท้อง ต่อมา 3 ชั่วโมงปัสสาวะไม่ออก จึงไปแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชน พยาบาลวิชาชีพ หัวหน้าแผนกได้ตรวจหน้า ท้องพบว่ามีแผลถลอก Bladder full กดเจ็บเล็กน้อยไม่แข็งตึง แนะนำวิธีให้ผู้ป่วยปัสสาวะเองได้ ตรวจ หน้าท้องช้ำ ไม่พบ Bladder full แนะนำให้นอนโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ และอธิบายกับญาติว่าอาจ มีอันตรายต่อช่องท้อง จึงสั่งรับไว้ในโรงพยาบาล และเขียนคำสั่งการรักษาโดยไม่ได้รายงานแพทย์ ต่อมา ผู้ป่วยปวดท้องมาก หน้าซีด Hct 42% พยาบาลเวรบ่ายใส่ NG tube ได้ Content สีขาวขุ่นประมาณ 100-200 cc มีกลิ่นเหล้า ผู้ป่วยยังบ่นปวดท้อง จึงฉีด Tramal 1 amp. IM โดยไม่ได้รายงานแพทย์และ ไม่ได้บันทึกแผนการรักษา ในช่วงเวรดึกพยาบาลรับทราบอาการจากการรับเวร หลังจากนั้นไปตรวจผู้ป่วย หน้าท้องไม่แข็งตึง แต่มีอาการเกร็งเมื่อถูกกด ต่อมาผู้ป่วยปวดท้องมากขึ้น จึงฉีด Tramal 1 amp. IM


54 และส่งเวรกับพยาบาลเวรเช้า โดยไม่ได้รายงานแพทย์ และไม่ได้บันทึกแผนการรักษาพยาบาล แต่ใช้ วิธีการส่งเวรซึ่งเป็นวิธีที่ปฏิบัติต่อกันมา โดยจะบันทึกการดูแลรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยรับใหม่ ผู้ป่วยที่ มีอาการหนักและมีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ต่อมาพยาบาลเวรเช้าตรวจดูผู้ป่วย พบว่า รู้สึกตัวดี หน้าท้อง แข็งตึงเล็กน้อย บ่นปวดท้อง ให้น้ำเกลือ NG tube มี Content ติดถุงเล็กน้อย แพทย์เวรเช้ามาตรวจ ผู้ป่วยทุกราย ยกเว้นรายนี้ จนประมาณ 10.00 น. แพทย์ประจำตึกมาตรวจ ให้ส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล จังหวัด เพื่อรับการผ่าตัด ภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม จากกรณีศึกษานี้ สาเหตุเกิดจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยไม่รายงานแพทย์ จึงเป็นการทำเกิน ขอบเขตวิชาชีพ ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ความปลอดภัย มีปัจจัยเสริม ได้แก่ ขาดระบบการปฏิบัติงานที่มี มาตรฐานทั้งการรับส่งเวร รายงานแพทย์ และการบันทึกทางการพยาบาล การกระทำดังกล่าวเป็นการ ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพฯ ที่ต้องรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพฯ ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และสิ้นเปลืองของผู้ป่วย นอกจากนี้ มีความผิดตามกฎหมายอาญามาตร 291 ฐานประมาททำให้ผู้อื่นถึง แก่ความตาย และกฎหมายแพ่งมาตรา 420 ฐานละเมิดโดยประมาททำให้ผู้อื่นเสียหายถึงแก่ชีวิต โรงพยาบาลได้ช่วยเหลือครอบครัวอย่างดี จึงไม่ได้ฟ้องคดีแพ่งละอาญา คณะกรรมการสภาการพยาบาลมี มติให้ว่ากล่าวตักเตือน 6. ทารกหลังคลอดถูกน้ำร้อนลวกในโรงพยาบาลของรัฐ คดีแพ่ง หมายเลขแดง 456/2525 ประกอบคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ 3954/2536 จำเลยในคดีที่ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ได้แก่ 1) กระทรวงสาธารณสุข 2) ผู้อำนวยการโรงพยาบาล 3) แพทย์เวร 4) พยาบาล 5) เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลในห้องทารกแรกเกิด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์คลอดบุตรสาวที่ โรงพยาบาล โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าพยาบาลเวรทำคลอด หลังคลอดได้ให้นักศึกษาพยาบาลพาเข้า ไปในห้องทารกแรกคลอดเพื่อให้ความอบอุ่น ปรากฏว่าตู้อบเสีย นักศึกษาพยาบาลจึงขออนุญาตจาก จำเลยที่ 4 เพื่อใช้กระเป๋าน้ำร้อนแทนขณะให้ความอบอุ่น จำเลยที่ 5 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบไม่อยู่ปฏิบัติ หน้าที่ ต่อมาน้ำร้อนได้ซึมออกจากฝาจุกเกลียวถูกตัวเด็กด้านขวาบาดเจ็บสาหัส ตะโพกขวาถูกลวกจนเนื้อ ตาย โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 2-5 ให้ร่วมกันรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทน จำเลยทั้งห้าให้การสู้คดีว่าเหตุ ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัยและจำเลยทั้งห้ามิได้เป็นผู้ใช้กระเป๋าน้ำร้อนแต่นักศึกษาพยาบาลซึ่งมิได้ถูกฟ้อง เป็นจำเลยด้วยเป็นผู้กระทำ ศาลได้พิจารณาระบุว่า "เหตุสุดวิสัย" คือ เหตุใดๆที่เกิดขึ้นไม่มีใครอาจ ป้องกันได้ แม้จะจัดการด้วยความระมัดระวังตามสมควร (ปพพ. มาตรา 8) จากคดีที่น้ำร้อนรั่วซึมจากจุก เกลียว เพราะปิดจุกเกลียวไม่แน่นพอ แสดงว่า เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง หาใช่เหตุ สุดวิสัยไม่ ซึ่งนักศึกษาพยาบาลได้กระทำโดยประมาท แต่ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 5 ผู้ช่วยพยาบาลในห้อง ทารกแรกเกิดมีหน้าที่รับผิดชอบ แต่ไม่อยู่ประจำหน้าที่ ถือได้ว่า เป็นผู้มีหน้าที่โดยเฉพาะ แต่ละเลยหน้าที่ ปล่อยให้นักศึกษาพยาบาลที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้ใช้กระเป๋าน้ำร้อนตามลำพัง จึงต้องรับผิดในผลที่ นักศึกษาพยาบาลได้กระทำ ส่วนหัวหน้าพยาบาลเวรเป็นผู้ควบคุมดูแลนักศึกษา ขาดความระมัดระวังกลับ ให้นักศึกษา ซึ่งไม่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ความอบอุ่น จึงควรเรียกจำเลยที่ 5 ให้ระมัดระวังขณะที่นักศึกษา พยาบาลใช้ระเป๋าน้ำร้อน แต่หาได้กระทำไม่ หัวหน้าพยาบาลเวรจึงต้องรับผิดชอบ เช่นเดียวกับจำเลยที่ 5


55 สำหรับจำเลยที่ 2, 3 ไม่ได้มีหน้าที่หรือร่วมกันออกคำสั่งให้นักศึกษาพยาบาลให้ความอบอุ่นแก่ทารก จึง ยกฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายบัญญัติให้ร่วมรับผิดในผลที่เกิดจากกระทำของตัวแทน จำเลยที่ 4, 5 ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย พิพากษาให้ จำเลยที่ 1, 4 และ 5 ร่วมกันชดใช้เงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และศาลฎีกา ได้ตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมายพิพากษายืน 3.4 การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การกระทำการพยาบาลโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนนั้นไม่สามารถทำได้ กฎหมายกำหนดวิธีการควบคุม การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ได้แก่ การห้ามบุคคลภายนอกประกอบวิชาชีพฯ การ ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพฯ การรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพและการพิจารณาการประพฤติผิดจริยธรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้(สมใจ ศิระกมล, 2556: สิวลี ศิริไล, 2556 : อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม และ สมใจ ศิระกมล, 2560: แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2560) การห้ามบุคคลภายนอกประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การควบคุมการประกอบวิชาชีพฯ ( ม. 27 ) ห้ามมิให้ผู้ใดที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพฯ กระทำการ พยาบาลหรือการผดุงครรภ์ หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพ ฯ เว้นแต่ 1. การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง เช่นการล้างแผล ฉีดอินซูลิน การกินยา ปฏิชีวนะด้วยตนเอง 2. การช่วยเหลือผู้อื่นตามหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อบรรเทาการเจ็บป่วยโดยไม่ได้รับผลประโยชน์ ตอบแทน และต้องไม่ฉีดยาหรือสารใดๆ เข้าร่างกายผู้ป่วย และไม่ให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุ ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษ เช่น อสม. ทำแผลให้ผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้านได้ เจาะน้ำตาล DTX ได้ 3. นักเรียน นักศึกษา ผู้รับการฝึกอบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและ การผดุงครรภ์ จากสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของรัฐหรือได้รับอนุญาตจากทาง ราชการให้จัดตั้งหรือสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการสภาการพยาบาลรับรองและอยู่ในความควบคุม ของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ เช่น นักศึกษาพยาบาลสามารถฉีด ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาภายใต้การดูแลของอาจารย์พยาบาลหรือพยาบาลวิชาชีพ 4. บุคคลซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรที่สภาการพยาบาลรับรอง หรือบุคคลที่มีวุฒิ ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลด้านต่างๆที่ผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 1 ปี ตามหลักสูตรอบรมและสถาบัน ทางราชการมอบหมายให้กระทำการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขกำหนด เช่น การกระทำการพยาบาลและผดุงครรภ์ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง การเช็ดตัวลดไข้ จัดเตรียมและให้ อาหาร การวัดสัญญาณชีพ การสังเกตอาการหลังผ่าตัด ส่วนการกระทำต่อผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องทำ


56 ร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ชั้น 1 เช่น การดูดเสมหะทางท่อหายใจ การให้ ออกซิเจน 5. ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ตาม ข้อจำกัดและ เงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพนั้น 6. การพยาบาลและการผดุงครรภ์ของที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ ผู้สอนใน สถาบันการศึกษา ซึ่งมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพของต่างประเทศ ตามข้อบังคับสภาการพยาบาล 7. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพฯ ในกรณีที่มีสาธารณภัยหรือภัยพิบัติอย่างร้ายแรง 8. ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาล ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด 3.5 กระบวนการสืบสวนความรับผิดทางการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพฯต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ สภาการพยาบาล ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550 การพิจารณาทางด้าน จริยธรรมแห่งวิชาชีพ กำหนดกระบวนการสืบสวนและสอบสวนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเมื่อมีผู้กล่าวหา หรือกล่าวโทษว่ามี ผู้ประกอบวิชาชีพประพฤติผิดจริยธรรม ดังนี้(อรัญญา เชาวลิต, ศิริพร ขัมภลิขิต, ทัศนีย์ นะแส, เสาวรส จันทรมาศ. (บรรณาธิการ), 2558: แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2560) 1. การกล่าวหา โดยผู้เสียหายหรือญาติและการกล่าวโทษโดยกรรมการที่พบเห็นหรือทราบเรื่อง ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพประพฤติผิดจริยธรรม โดยยื่นเรื่องต่อสภาการพยาบาล ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ กล่าวหาหรือ ผู้กล่าวโทษรู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแต่ไม่เกิน 3 ปีนับ แต่วันที่มีการประพฤติผิดจริยธรรม แห่งวิชาชีพนั้น การถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษ ที่ได้ยื่นเรื่องไว้แล้วไม่เป็นเหตุให้ระงับการ ดำเนินการ 2. การสืบสวนโดยคณะอนุกรรมการจริยธรรมที่สภาการพยาบาลแต่งตั้งจากสมาชิกสามัญไม่น้อย กว่า 3 คน ทำหน้าที่สืบสวน แสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับข้อกล่าวหา หรือข้อ กล่าวโทษหรือกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่ามีพฤติกรรมอันสมควรให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรม (ม. 34) แล้วทำรายงานและความเห็นเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และมีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 2.1 ให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเมื่อยังมีข้อสงสัยบางประการ และเสนอคณะกรรมการพิจารณา 2.2 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวน เมื่อเห็นว่าข้อกล่าวหา หรือข้อกล่าวโทษนั้นมีมูล 2.3 ให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ เมื่อเห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นไม่มีมูล (ม.36) 3. การสอบสวนโดยคณะอนุกรรมการสอบสวนที่สภาการพยาบาลแต่งตั้ง จากสมาชิกสามัญไม่ น้อยกว่า 3 คน ทำหน้าที่สอบสวนโดยแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ พร้อมส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหา


57 หรือกล่าวโทษให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษ ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มทำการสอบสวน เมื่อ คณะอนุกรรมการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ให้เสนอสำนวนการสอบสวน พร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการ เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด (ม.34-4.40) 4. อำนาจของคณะอนุกรรมการจริยธรรมและคณะอนุกรรมการสอบสวน ให้คณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุดนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำหรือส่ง เอกสารหรือวัตถุพยานเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานได้ (ม.38) 5. สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษ เพื่อให้เกิดความยุติธรรม กฎหมายจึงให้สิทธิผู้ถูก กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษ ดังนี้ 5.1 รับทราบข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษพร้อมทั้งสำเนาเรื่องจากประธาน อนุกรรมการ สอบสวนไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มทำการสอบสวน 5.2 ทำคำชี้แจงหรือยื่นพยานหลักฐานต่อประธานอนุกรรมการสอบสวนภายใน 15 วันนับแต่ วันที่ได้รับเรื่องและขอขยายเวลาได้ (ม.39) 5.3 ทำหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการสภาการพยาบาลภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง แต่งตั้งอนุกรรมการสอบสวนหรือนับแต่วันทราบเหตุแห่งการคัดค้านว่าการสอบสวนจะไม่ได้รับความ ยุติธรรม ในกรณีที่อนุกรรมการเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำผิดจริยธรรม หรือมีประโยชน์ได้เสียใน เรื่องที่สอบสวน หรือมีเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหาหรือ ผู้ถูกกล่าวโทษ หรือเป็นคู่สมรสหรือญาติ เป็นผู้ บุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดาและมารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูก กล่าวโทษ (ข้อบังคับสภาฯ ) 6. การพิจารณาความผิดด้านจริยธรรม เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณา สำนวนการสอบสวนและ ความเห็นของคณะอนุกรรมการสอบสวนแล้ว อาจมีมติดังนี้ 6.1 ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มก่อนวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ 6.2 วินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (1) ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ (2) ว่ากล่าวตักเตือน (3) ภาคทัณฑ์ (4) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี (5) เพิกถอนใบอนุญาต (ม.42) พนักงานเจ้าหน้าที่ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ (ม.5) และมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบใบอนุญาต ค้นหรือยึดเอกสารหลักฐานหรือสิ่งของที่อาจใช้เป็น พยานหลักฐานในการพิจารณาหรือดำเนินคดี ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือเวลาที่ทำ การของสถานที่ ดังนี้ 1) สถานที่ที่ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ปฏิบัติงานอยู่ 2) สถานที่ที่เชื่อว่ามีการประกอบ วิชาชีพฯ ´ 3) สถานที่ที่ทำการสอนหรือเชื่อว่าทำวิชาการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการ พยาบาลและ การผดุงครรภ์ ( ม.45 ทวิ ) ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงาน


58 เจ้าหน้าที่ แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง (ม.45 ตรี) และผู้รับผิดชอบสถานที่ดังกล่าวต้องอำนวยความสะดวกในการ ปฏิบัติงาน (ม.45) บทกำหนดโทษ 1. โทษทางด้านจริยธรรม เป็นการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่กระทำผิดจริยธรรม แห่งวิชาชีพ ตามมาตรา 42 ที่กล่าวมาแล้วคือ การว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ การพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลา ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี และเพิกถอนใบอนุญาต 2. โทษทางอาญาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ 2.1 ผู้ใดกระทำการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ โดยไม่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ หรือ แสดงตนให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพฯ ตามมาตรา 27 หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ไปทำ การประกอบวิชาชีพในระหว่างที่ถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพหรือแสดงตนให้ผู้อื่น เข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพฯ นับแต่วันที่ทราบคำสั่งให้พักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพแล้ว ตามมาตรา 43 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ (ม.46) 2.2 ผู้ที่พ้นจากสมาชิกภาพแล้วไม่ส่งใบอนุญาตคืนต่อเลขาธิการสภาการพยาบาล ภายใน 15 วันนับแต่วันที่รับทราบการขาดจากสมาชิกภาพ ตามมาตรา 31 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ( ม.47) 2.3 ผู้ที่ไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ ตามที่คณะอนุกรรมการจริยธรรมและ คณะอนุกรรมการสอบสวนแจ้งให้ส่งตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.48 ) 2.4 ผู้ที่ไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 45 ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( ม.48 ทวิ ) 3.6 สรุป พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้ปฏิบัติ วิชาชีพตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หากไม่ปฏิบัติตามก็ให้สิทธิผู้รับบริการสามารถยื่นข้อกล่าวหาผู้ประกอบ วิชาชีพที่ประพฤติผิดจริยธรรมได้ โดยมีกระบวนการพิจารณาสอบสวนเป็นขั้นตอนตามกฎหมายกำหนดท รวมทั้งมีบทกำหนดโทษทางวิชาชีพและทางอาญาไว้ด้วย จากกรณีศึกษาจะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุ ให้พยาบาลถูกร้องเรียน ได้แก่ การขาดความรู้และทักษะในการพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ จนเป็นเหตุ ให้ผู้บริการไม่ปลอดภัย ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพจึงจำเป็นต้องพัฒนาความรู้และทักษะทางการพยาบาลให้ ได้มาตรฐานอยู่เสมอ เพื่อจะได้ปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ กฎหมายและ จริยธรรมวิชาชีพ


59 แบบฝึกหัดบทที่ 3 1. จงอธิบายความหมายของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 2. จงอธิบายคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 3. จงอธิบายการควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4. จงบอกอธิบายข้อยกเว้นของการกระทำการพยาบาลและการผดุงครรภ์โดยผู้ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพ 5. จงอธิบายบทลงโทษทางวิชาชีพและโทษทางอาญาของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์


60 เอกสารอ้างอิง คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง และ อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. (2562). การควบคุมการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์: กฎหมายวิชาชีพและจรรยาบรรณพยาบาล. เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัทรา จุฑามณี, สุจินตนา พันกล้า. (2560). กฎหมาย และจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด. มานิตย์ จุมปา. (2552). ข้อควรระวังทางกฎหมายของพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท วี พริ้นท์. วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2546). กฎหมายทางการแพทย์ ความรับผิดทางกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. สมใจ ศิระกมล. (2556). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. เชียงใหม่ : บริษัท ครองช่าง พริ้นติ้ง จำกัด. สิวลี ศิริไล. (2556). จริยศาสตร์สำหรับการพยาบาลและการผดุงครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2560). กฎหมายและข้อควรระวังของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ พยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด. แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร. (2561). กฎหมายสำหรับพยาบาล. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการตำรารามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. อรัญญา เชาวลิต, ศิริพร ขัมภลิขิต, ทัศนีย์ นะแส, เสาวรส จันทรมาศ. (บรรณาธิการ). (2558). คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุดทอง. อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม และ สมใจ ศิระกมล. (2560). พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ. เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด.


61 แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4 เนื้อหา บทที่ 4 คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4.1 ประเภทคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4.2 การขออนุญาตเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4.3 ขอบเขตในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4.4 ความเสี่ยงและปัญหาทางกฎหมายในการเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4.5 สรุป จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อศึกษาบทที่ 4 แล้วนักศึกษาสามารถ 1. อธิบายประเภทคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ 2. อธิบายการขออนุญาตเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ 3. อธิบายได้ขอบเขตในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ 4. อธิบายความเสี่ยงและปัญหาทางกฎหมายในการเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท 1. ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอนวิชาคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง 2. บรรยายด้วยสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมยกตัวอย่างวิเคราะห์กรณีศึกษา 3. สรุปสาระสำคัญจากบทเรียน 4. ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4 สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวิชาคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง 2. ไฟล์การนำเสนอภาพนิ่งผ่านโปรแกรมไมโครซอฟท์เพาเวอร์พอยท์ 3. หนังสืออ่านประกอบค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายวิชาคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


62 4. แบบฝึกหัดบทที่ 4 การวัดผลและการประเมินผล 1. สังเกตจากการซักถามผู้เรียน 2. สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน 3. สังเกตจากความสนใจของผู้เรียน 4. ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัดบทที่ 4 5. ประเมินผลจากการทดสอบปลายภาค 6. แบบประเมินการทำรายงานและการนำเสนอ


63 บทที่ 4 ความคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พยาบาลวิชาชีพได้ขออนุญาติเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิด ประโยชน์ในการกระจายบริการพยาบาลในที่ต่างๆ ส่งผลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการสุขภาพ ตามนโยบายรัฐ และรับการดูแลสุขภาพตามศักยภาพของสถานบริการแต่ละระดับ ดังนั้น พยาบาลที่ ต้องการเปิดคลินิกซึ่งเป็นสถานบริการเอกชน จึงควรศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตในการ ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และประเด็นความเสี่ยงและปัญหาทางกฎหมายในการ เปิดคลินิก 4.1 ประเภทคลินิกการพยาบาลและการผดุงรรภ์ คลินิกจัดเป็นสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 โดยคลินิกของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตาม คุณวุฒิของผู้ดําเนินการสถานพยาบาล ดังนี้(สภาการพยาบาล, 2528: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2559: แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร, 2561) 1. คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หมายถึง สถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน ที่จัดให้มี บริการ ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ซึ่งควรดําเนินการ โดยผู้ ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้น 1 ที่ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติกับสภาการ พยาบาลตลอดเวลาเปิดทําการ 2. คลินิกเฉพาะทางด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หมายถึง สถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วย ค้างคืน ที่จัดให้มีบริการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ และการ ประกอบวิชาชีพเฉพาะ ทางด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในสาขาที่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ชั้น 1 ได้รับ วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากสภาการพยาบาล หรือเรียกว่า ผู้ปฏิบัติการ พยาบาลขั้นสูง ทั้งนี้ คลินิกเฉพาะทาง ด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ที่เปิดได้ตามกฎหมาย เช่น สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ สาขาการพยาบาล ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สาขาการพยาบาลเด็ก สาขาการผดุง ครรภ์ สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน และสาขาการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชและสุขภาพจิต นอกจากนี้ แพทย์และพยาบาลสามารถเปิดคลินิกร่วมกัน และดําเนินการในพื้นที่เดียวในลักษณะ สหคลินิกแต่ต้องแยกบริการเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนว่า เป็นการบริการด้านเวชกรรม หรือการพยาบาล


64 และการผดุงครรภ์ ในกรณีที่เป็นคลินิกเวชกรรม ซึ่งผู้ดําเนินการเป็นแพทย์และพยาบาลประจําคลินิก พยาบาลประจําคลินิกจะเป็นผู้ที่ทําหน้าที่ผู้ช่วยแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถประกอบวิชาชีพร่วม และไม่ สามารถทําหน้าที่ตรวจรักษาแทนแพทย์ได้ ยกเว้นกรณีที่เป็นคลินิกไตเทียม ซึ่งตามกฎหมายกําหนดต้องมี ผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรม การฟอกเลือดด้วยไตเทียม มีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 1 คน ต่อผู้ป่วยที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 4 คน ซึ่งมีการดําเนินการเปิดตามกฎหมายสถานพยาบาลแล้ว 4.2 การขอใบอนุญาตเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ รายงานจนถึงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ว่ามีผู้ประกอบวิชาชีพขอเปิดคลินิกทั่วประเทศ จํานวน 23,054 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ ในเขตภูมิภาค คิดเป็นร้อยละ 78.95 ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่ขออนุญาตเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุง ครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 23.91 รองจากแพทย์ คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์เกือบทั้งหมดจะตั้งอยู่ใน ส่วนภูมิภาค เช่นเดียวกับทันตแพทย์ ต่างจากแพทย์ที่กระจายทั้งเขตกรุงเทพมหานครและภูมิภาคในอัตรา ใกล้เคียงกัน พยาบาลวิชาชีพที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล ในเขตกรุงเทพมหานครให้ ยื่นคําขอที่กองการประกอบโรคศิลปะ สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข สําหรับต่างจังหวัด ให้ยื่น ณ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่สถานพยาบาลตั้งอยู่ โดยผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ สถานพยาบาลจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายสถานพยาบาลกําหนด และจัดทําแผนงานการจัดตั้ง สถานพยาบาล มีสถานพยาบาล ชื่อสถานพยาบาล เครื่องมือ เครื่องใช้ เวชภัณฑ์ ยานพาหนะ และผู้ ประกอบวิชาชีพตรงตามสาขาที่ขอเปิดสถานพยาบาล ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ เกี่ยวข้อง ดังนี้(กฎกระทรวง, 2558: เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัทรา จุฑามณี, สุจินตนา พันกล้า, 2560: แสงทอง ธีระทองคำ และไสว นรสาร, 2561) 1. ลักษณะโดยทั่วไป ต้องมี 1.1 ตั้งอยู่ในทําเลที่สะดวก ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 1.2 อาคารต้องมั่นคงแข็งแรง ไม่อยู่ในสภาพชํารุด และเสี่ยงต่ออันตรายจากการใช้สอย 1.3 บริเวณทั้งภายนอกและภายในต้องสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยอย่าง เหมาะสม และมีสิ่งอํานวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย 1.4 การสัญจรและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องกระทําได้โดยสะดวก โดยขนาดความกว้างประตูเข้า


65 ออก ไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ผู้พิการสามารถเข้าออกได้สะดวก และมีทางลาดเอียงสําหรับรถเข็นผู้ป่วย 1.5 มีห้องตรวจหรือห้องให้การรักษาเป็นสัดส่วนและมิดชิด 1.6 มีห้องน้ำห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะอย่างน้อยหนึ่งห้อง 1.7 มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ ไม่มีกลิ่นอับทึบ 1.8 มีระบบการเก็บและกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเหมาะสม แยกขยะติดเชื้อ (ถุงขยะสีแดง) และ ขยะมูลฝอยทั่วไป 1.9 มีระบบการควบคุมการติดเชื้อที่ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ การทําความสะอาดห้องตรวจ การ ทําให้เครื่องมืออุปกรณ์ปราศจากเชื้อ โดยระบุวันเดือนปีที่ทําให้ปราศจากเชื้อ การจัดทําคู่มือหรือแผนภูมิ แสดงขั้นตอนการทําความสะอาด และการจัดเก็บและทําลายขยะติดเชื้ออย่างวิธีตามหลักสุขาภิบาล 1.10 มีถังดับเพลิงขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ปอนด์ สภาพพร้อมใช้งาน ติดตั้งให้ส่วนบนสุดของถังอยู่ สูงจากพื้นอาคารไม่เกิน 1.50 เมตร 2. ลักษณะการให้บริการของคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 2.1 มีความปลอดภัย มีความสะดวก และเหมาะสมต่อผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการในการ ประกอบ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 2.2 บริเวณภายนอกและภายในต้องสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย 2.3 การใช้พื้นที่ประกอบกิจการสถานพยาบาลโดย 2.3.1 มีพื้นที่บริการไม่ต่ำกว่า 20 ตารางเมตร มีพื้นที่เชื่อมและเปิดติดต่อถึงกันได้ 2.3.2 จัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยอย่างเหมาะสม มีสิ่งอํานวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการและญาติ มีห้องตรวจรักษา ทําหัตถการ ให้คําปรึกษา เป็นสัดส่วนมิดชิด สะอาด ปลอดภัย และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 3 x 3 เมตร 2.3.3 ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกับร้านขายยาตามกฎหมายยาหรือพื้นที่เดียวกับการประกอบ อาชีพอื่น 2.3.4 ไม่ตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกับสถานพยาบาลของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นซึ่งให้บริการในลักษณะเดียวกัน 2.3.5 กรณีการให้บริการในอาคารเดียวกับการประกอบกิจการอื่น จะต้องมีการแบ่งพื้นที่ ให้ชัดเจนและต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินได้สะดวก 2.3.6 กรณีที่มีการบริการของลักษณะสหคลินิก หรือมีคลินิกหลายลักษณะอยู่ในอาคาร เดียวกัน ต้องแบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้ชัดเจนตามมาตรฐานของการให้บริการนั้น มีประตูเข้าออกคนละทาง


66 3. การกําหนดชื่อสถานพยาบาล และการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการ และสิทธิของผู้ป่วย 3.1 มีป้ายชื่อคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่ถูกต้องอย่างน้อย 1 ป้าย ดังนี้ 3.1.1 แผ่นป้ายมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีขาว มีความกว้างไม่น้อยกว่าสี่สิบ เซนติเมตร และ ความยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบเซนติเมตร 3.1.2 แสดงประเภทและลักษณะถูกต้อง โดยต้องมีคําว่า “คลินิกการพยาบาลและการผดุง ครรภ์” นําหน้าชื่อหรือต่อท้ายชื่อ 3.1.3 จัดทําแผ่นป้ายชื่อสถานพยาบาลเป็นตัวอักษรไทย สีฟ้ามีความสูงไม่น้อยกว่าสิบ เซนติเมตร (กรณี ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีชื่อตรงกับภาษาไทย ขนาดตัวอักษรต้องเล็กกว่าอักษรไทย) 3.1.4 เลขที่ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล มีความสูงไม่น้อยกว่าห้าเซนติเมตร เลขอารบิค อักษรสีฟ้า 3.2 แสดงแผ่นป้ายชื่อสถานพยาบาลไว้ในบริเวณ หรือตัวอาคารสถานพยาบาล ที่มองเห็นได้ ชัดเจนจากภายนอก 3.3 ห้ามใช้ชื่อสถานพยาบาล ที่มีลักษณะชักชวนหรือโอ้อวดเกินความจริง หรืออาจทําให้เกิด ความ เข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานพยาบาล 3.4 ห้ามใช้ชื่อสถานพยาบาลที่สื่อความหมาย หรืออ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เว้นแต่ได้รับ พระบรมราชานุญาตหรือพระราชานุญาต 3.5 สถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ในอําเภอหรือในเขตเดียวกัน จะต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน เว้นแต่กรณีที่ผู้ขอรับ ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่ และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล เดิม เป็นบุคคลหรือนิติบุคคลเดียวกัน หรือมีหนังสือยินยอมจากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ สถานพยาบาลเดิมให้ใช้ชื่อซ้ำกันได้ แต่ต้องมีตัวอักษรหรือหมายเลขเรียงลําดับหรือที่ตั้งสถานที่ต่อท้ายชื่อ 3.6 มีข้อความแสดงวัน เวลา ที่ให้บริการไว้โดยเปิดเผย มองเห็นได้ชัดเจนจากด้านนอกคลินิกและ ตรงกับที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล โดยแสดงใบอนุญาตในที่เปิดเผยและเหมาะสม ได้แก่ ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล (แบบ ส.พ.7) และใบอนุญาตให้ดําเนินการ สถานพยาบาล (แบบ ส.พ. 19) 3.7 ผู้รับอนุญาตแสดงรายละเอียดผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (แบบส.พ.6) ในบริเวณที่ผู้ป่วยมาติดต่อขอใช้บริการ ให้อ่านได้ชัดเจนดังนี้ 3.7.1 รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมแว่นดํา ที่ถ่ายไม่เกินหนึ่งปี มีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร


67 3.7.2 จัดให้มีแผ่นป้ายพื้นสีน้ำเงิน ตัวอักษรสีขาวแสดงรูปถ่าย และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในสถานพยาบาล 3.8 แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาล และค่าบริการที่สถานพยาบาล โดยจัดทํา เป็นแผ่นพับ เล่มหรือแฟ้มเอกสาร หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์แสดงให้ผู้ป่วยทราบ 3.9 จัดทําแผ่นป้ายให้อ่านได้ชัดเจนด้วยตัวอักษรไทย ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร แสดงให้ผู้ป่วยทราบว่าจะสอบถามอัตราค่ารักษาพยาบาล และค่าบริการของสถานพยาบาลได้ที่ใด โดย แสดงไว้ในที่เห็นชัดเจน 3.10 แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาลที่ ได้รับ ๆ โดยจัดทําแผ่นป้ายให้อ่านชัดเจน ด้วยอักษรไทยขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร 4. ชนิดและจํานวนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ ที่จําเป็นประจําสถานพยาบาล 4.1 ข้อมูลทางทะเบียน 4.1.1 ตู้หรือชั้นหรืออุปกรณ์เก็บเวชระเบียนที่มั่นคง ปลอดภัยและต้องจัดให้เป็นระเบียบ สามารถ รับหาได้ง่าย หรือถ้าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลสํารอง เพื่อป้องกันข้อมูลสูญ หายและต้องไม่อยู่ในระบบการเชื่อมอินเตอร์เนตตามที่กฎกระทรวงกําหนด 4.1.2 มีการจัดเตรียมทะเบียนผู้ป่วย สําหรับการมารับบริการของผู้ป่วย อย่างน้อยต้องมี รายการ ดังนี้ ชื่อ นามสกุล อายุผู้ใช้บริการเลขที่ประจําตัวผู้ใช้บริการวัน เดือน ปี ที่มารับบริการ และการ วินิจฉัยโรค หรือการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 4.1.3 มีเอกสารเวชระเบียนหรือบัตรผู้ป่วยนอก ที่สามารถบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ ผู้ใช้บริการ ดังนี้ 1) ชื่อสถานพยาบาลและสถานที่ติดต่อพร้อมเบอร์โทรศัพท์ 2) เลขบัตรประจําตัว ผู้ใช้บริการ 3) วัน เดือน ปี ที่มารับบริการ 4) ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี) และ ข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ของผู้ป่วย ได้แก่ เชื้อชาติ สัญชาติ สถานภาพสมรส ที่อยู่ เลขที่บัตรประจําตัว ประชาชน 5) ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา ผลการตรวจร่างกายของผู้ใช้บริการ 6) การวินิจฉัยโรคและ การรักษาพยาบาลและ 7) ลายมือชื่อผู้ประกอบวิชาชีพผู้ให้การรักษาพยาบาล 4.2 เครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้ในการตรวจรักษาและบริการ ได้แก่ 4.2.1 เตียงตรวจโรคที่ได้มาตรฐาน พร้อมที่นอน หมอน และผ้าคลุมตัว 4.2.2 โต๊ะพร้อมเก้าอี้สําหรับซักประวัติผู้ใช้บริการ 4.2.3 โต๊ะ ตู้ หรือชั้นสําหรับวางอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ 4.2.4 ตู้หรือชั้นเก็บยาและเวชภัณฑ์เป็นสัดส่วน 4.2.5 อ่างฟอกมือ ชนิดที่ไม่ใช้มือเปิดปิดน้ำ สบู่ ผ้าหรือกระดาษเช็ดมือที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง


68 4.2.6 ที่นั่งพักรอของญาติผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่มีพนักพิง 4.2.7 ถังขยะติดเชื้อ 4.2.8 อุปกรณ์สําหรับทําลายเชื้อและการทําปราศจากเชื้อ และ/หรือ มีอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ โรค ตามระบบมาตรฐาน เช่น หม้อต้ม หม้อนึ่ง 4.3 เครื่องมือเครื่องใช้และเวชภัณฑ์ที่จําเป็น และอยู่ในสภาพพร้อมใช้ดังนี้ 4.3.1 เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจรักษาเบื้องต้น และบริการทางการพยาบาล เช่น หูฟัง เครื่องวัดความดันโลหิต ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกายสําหรับเด็กและผู้ใหญ่ ไม้กดลิ้น ไฟฉาย เครื่องชั่ง น้ำหนัก ถุงมือสะอาด หรือปราศจากเชื้อ ชุดทําแผลและกรรไกรตัดไหม ชุดทําคลอด (ใช้กรณีฉุกเฉิน) 4.4 ยาและเวชภัณฑ์ที่จําเป็น ได้แก่ 4.4.1 ยาสามัญประจําบ้านหรือยาตําราหลวง จํานวน 52 รายการ เช่น ยาเม็ดบรรเทาปวด ยา ลดไข้ พาราเซตามอล ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย ยาระบายมะขามแขก ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซลฯ 4.4.2 อุปกรณ์การนับเม็ดยาอย่างน้อยสองชุด 4.4.3 ยาล้างตา (3% boric acid) 4.4.4 น้ำยาฆ่าเชื้อ (Disinfectant and Antiseptics) เช่น Alcohol, Chlorhexidine gluconate (Hibiscrub), Povidine iodine, Sodium hypochlorite, Chlorhexidine cetrimide (Savlon), 0.9% Normal saline ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการ อบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) จากสภาการ พยาบาล สามารถ รักษาเบื้องต้นตามข้อกําหนดการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงให้ จ่ายยาตามคู่มือการใช้ ยาที่สภาการพยาบาลกําหนด เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ส เตียรอยด์ (Analgesics, Antipyretic and NSAIDs) ได้แก่ Acetaminophen (Paracetamol), Acetyl salicylic acid (Aspirin), Ibuprofen ยาแก้แพ้ (Antihistamines) ได้แก่ Chlorpheniramine maleate, Hydroxycine ยาออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Drugs) คือ ยาแก้ไอ ขับเสมหะ ได้แก่ Dextrometrophan, Mixt. Tussis, Ammon mixt, Guaifenesin เป็นต้น 4.5 แผนการและขั้นตอนการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน พร้อมเบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาลที่จะส่งต่อ ติดไว้ในที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน 4.6 อุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพ (Basic Life Support) ได้แก่ ถุงบีบลม หน้ากากครอบช่วยการ หายใจ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ที่จําเป็นประจําสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน


69 4.3 ขอบเขตในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจําคลินิก กระทํากิจกรรมการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตาม ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุง ครรภ์ พ.ศ. 2550 ตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์โดยเคร่งครัด ได้แก่ การช่วยเหลือบรรเทาอาการ การปฐมพยาบาล ในกรณีฉุกเฉินหรือวิกฤต การบริการให้คําปรึกษา และแก้ปัญหาเกี่ยวกับด้านสุขภาพอนามัย หรือให้คําแนะนำในการดูแลสุขภาพแก่บุคคลและครอบครัว การปฏิบัติหัตถการต่างๆ ฯ การบันทึกข้อมูลในบัตรผู้ป่วยนอก ครอบคลุมตามมาตรฐานการบันทึกข้อมูล และส่งต่อการพยาบาลในรายที่เกินขีดความสามารถทุกราย สําหรับพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษา เบื้องต้น) ให้กระทําการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกําหนดในการรักษาโรคเบื้องต้น และการให้ ภูมิคุ้มกันโรค ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลข้อกําหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. 2545 เช่น การ รักษาเบื้องต้น การตรวจสุขภาพเด็กดี และการให้ภูมิคุ้มกันโรค หัตถการเพิ่มเติม เช่น การใส่สายให้อาหาร ทางสายยาง (NG tube for feeding) การสวนล้างกระเพาะอาหาร (Gastric lavage) เพื่อล้างสารพิษ การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว การสวนคาสายปัสสาวะ (Urine catheterization) การตรวจมะเร็งปาก มดลูก (Pap smear) พร้อมทั้งบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ อาการและการ เจ็บป่วย การรักษาโรคหรือการให้ยาตามคู่มือยาที่สภาการพยาบาลกําหนด ส่วนใหญ่เป็นยารับประทาน ยาใช้ภายนอก 4.4 ความเสี่ยงและปัญหาทางกฎหมายในการเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์จัดเป็นการทําธุรกิจเชิงสุขภาพ ผู้ใช้บริการจึง ต้องการ การดูแลที่มีมาตรฐานคุ้มกับค่าใช้จ่าย หากไม่เป็นไปตามคาดหวัง จะเกิดความไม่พอใจ และใน การปฏิบัติกิจกรรม บางประการอาจก้าวล่วงวิชาชีพอื่นโดยจําเป็นหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจนําไปสู่การ ฟ้องร้องทางกฎหมาย ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพจึงควรทราบประเด็นความเสี่ยงและปัญหาทางกฎหมาย ใน การเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ดังนี้(วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546: สมใจ ศิระกมล, 2556: สิวลี ศิริไล, 2556: แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2560) 1. การเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล และใบอนุญาตดําเนินการสถานพยาบาล หากไม่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และศาลจะสั่งริบบรรดาสิ่งของที่ใช้ใน


70 การประกอบกิจการสถานพยาบาลได้ (มาตรา 57) 2. การเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมาย แต่ปฏิบัติกิจกรรมเกินขอบเขตการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยในการเปิดคลินิกตามกฎหมายสถานพยาบาล อนุญาตให้พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติตาม ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550 และต้องไม่ก้าวล่วงต่อวิชาชีพอื่น แต่ความเป็นจริงในการปฏิบัติกิจกรรมบาง ประการที่พยาบาลวิชาชีพ กระทําได้ในสถานพยาบาลรัฐ แต่ไม่สามารถปฏิบัติในคลินิก เช่น พยาบาล วิชาชีพสามารถฉีดยาคุมกําเนิดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลได้ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจาก กระทําตามข้อจํากัดและเงื่อนไขของกฎหมาย และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ใน คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ด้วยเกินขอบเขตวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์หากกระทํา จะก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นวิชาชีพที่กระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การ บําบัดโรค การป้องกันโรค การผดุงครรภ์ การปรับสายตาด้วยเลนช์สัมผัส การแทงเข็มหรือการฝังเข็มเพื่อ บําบัดโรค หรือเพื่อระงับความรู้สึก รวมถึงการกระทําทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสสาร การ สอดใส่วัตถุใดๆ เข้าไปในร่างกาย ทั้งนี้ เพื่อการคุมกําเนิด การเสริมสวย หรือการบำรุงร่างกาย การ อนุญาตให้เฉพาะแพทย์และทันตแพทย์จ่ายยาให้ผู้ป่วยของตน พยาบาลไม่สามารถใส่สายหรือฉีดสารใดๆ เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ การจ่ายยาซึ่งกฎหมายยาอนุญาตให้พยาบาลจ่ายยาสามัญประจําบ้านได้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม พยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรมการพยาบาลเวชปฏิบัติ (การรักษาเบื้องต้น) ตาม กฎหมายอาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สามารถให้การรักษาเบื้องต้นและจ่ายยาตามที่สภาการ พยาบาลกําหนด จึงเป็นการถือกฎหมายคนละฉบับ ซึ่งยังเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างวิชาชีพ ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรักษาการกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุขทุกฉบับ ต้อง พิจารณาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งพยาบาลเวชปฏิบัติจําเป็นต้อง จ่ายยา เพื่อรักษาผู้ป่วยตามขอบเขตวิชาชีพ 3. การเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมาย แต่ปฏิบัติกิจกรรมพร่องมาตรฐาน การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ส่งผลให้พยาบาลผิดตามกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หากการกระทําผิดก่อให้เกิดผลกระทบมาก ผู้เสียหายอาจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาได้ โดยไม่มี ผู้บังคับบัญชา หรือต้นสังกัดเข้ามาร่วมรับผิด เพราะเป็นธุรกิจส่วนตน กรณีศึกษา การเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 1. พนักงานเจ้าหน้าที่กับตํารวจบุกคลินิกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ย่านธุรกิจกลางกรุงเทพมหานคร ขณะ กําลัง ซิลิโคนให้กับลูกค้าต่างชาติ หลังผู้ใช้บริการฉีดซิลิโคนเพื่อเสริมก้น ร้องเรียนว่าซิลิโคนไหลเข้าไปอุด กั้นปอด ทําให้หายใจไม่สะดวก เจ้าหน้าที่ยังพบยาฉีดเสริมความงามหลายชนิด เช่น พลาเซนต้า รกแกะ


71 กลูต้าไธโอน ซิลิโคน รวมทั้งพบยาแผนปัจจุบันอีกหลายรายการ ที่มีจํานวนขอบเขตเกินกว่าคลินิก พยาบาลและการผดุงครรภ์ จากกรณีศึกษานี้ จะเห็นได้ว่าพยาบาลก้าวล่วงวิชาชีพแพทย์และเภสัชกร จึงมี ความผิดหลายประการ ได้แก่ 1)จําหน่ายยาแผนปัจจุบัน โดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท 2) จําหน่ายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตํารับยา ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 3) ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับ อนุญาต มีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 4) ประกอบกิจการและ ดําเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ 2. คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2544 โจทก์ฟ้องว่าจําเลยประกอบกิจการและดําเนินการ สถานพยาบาล โดยกระทําเป็นปกติธุระ ทั้งนี้ ไม่ได้รับใบอนุญาตและจําเลยรับทําแท้งแก่หญิงมีครรภ์ ซึ่ง เป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และจําเลยขายยาบรรจุเสร็จหลายขนาน โดยจัดเป็นชุดในคราวเดียวกัน กล่าวคือ ยาพาราเซตามอล ยาเตตร้าชัยคลิน และยาคลอร์เฟนิรามิน อย่างละ 1 เม็ด จํานวน 3 ชุด ให้แก่ ผู้มีชื่อซึ่งได้ทําแท้งกับจําเลย โดยมีเจตนาให้ผู้ซื้อใช้ยาร่วมกัน เพื่อบําบัดบรรเทารักษาหรือป้องกันโรค ทั้งนี้ โดยจําเลยไม่ได้เป็นเภสัชกรชั้นหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลย มีความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4 มาตรา 75 ทวิ 122 ทวิ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 4, 16, 24, 57 พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 มาตรา 26, 43 เรียงกระทงลงโทษ ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานขายยาบรรจุเสร็จหลายขนานโดยจัดเป็นชุดในคราวเดียวกันจําคุก 2 ปี ฐานประกอบกิจการและดําเนินกิจการสถานพยาบาลจําคุก 2 ปี ฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรมจําคุก 2 ปี รวมจําคุก 6 ปี จําเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งคง จําคุก 3 ปี ริบของกลาง 4.5 สรุป กฎหมายสถานพยาบาลเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้เพื่อควบคุมกิจการสถานพยาบาลเอกชนให้มี คุณภาพ และไม่เอาเปรียบผู้ใช้บริการ อันเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพ ที่ต้องการเปิดคลินิกต้องศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้การพยาบาลตามขอบเขตที่กำหนดและมี มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ สำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรมการพยาบาลเวช ปฏิบัติ (การรักษาเบื้องต้น) ตามกฎหมายอาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สามารถให้การรักษา เบื้องต้นและจ่ายยาตามที่สภาการพยาบาลกําหนดในสถานบริการของรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ปัจจุบันที่ประชาชน จะไปรับบริการสุขภาพยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งมีพยาบาลเวชปฏิบัติ สามารถจ่ายยารักษาโรคเบื้องต้นตามขอบเขตวิชาชีพ


72 แบบฝึกหัดบทที่ 4 11. จงอธิบายประเภทคลินิกการพยาบาลการผดุงครรภ์ 12. จงอธิบายการขอเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 13. จงอธิบายขอบเขตในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 14. จงบอกอธิบายความเสี่ยงและปัญหาของการเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 15. จงอธิบายหลักการกำหนดชื่อสถานพยาบาลการพยาบาลและการผดุงครรภ์


73 เอกสารอ้างอิง กฎกระทรวง. กําหนดวิชาชีพและจํานวนผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล พ.ศ. 2558. (2 เมษายน 2558). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 26 ก หน้า 50-53. กฎกระทรวง. กําหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2558. (2 เมษายน 2558). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 26 ก หน้า 23-32. กฎกระทรวง. กําหนดชื่อสถานพยาบาล และการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาลผู้ประกอบวิชาชีพ ในสถานพยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการและสิทธิของผู้ป่วย พ.ศ. 2558. (2 เมษายน 2558). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 26 ก. หน้า 18-23. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, สิรินดา ศรีจงใจ, ศิริภัทรา จุฑามณี, สุจินตนา พันกล้า. (2560). กฎหมาย และจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล. กรุงเทพฯ : บริษัทสุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด. วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2546). กฎหมายทางการแพทย์ ความรับผิดทางกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. สภาการพยาบาล. พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: จุดทอง สิวลี ศิริไล. (2556). จริยศาสตร์สำหรับการพยาบาลและการผดุงครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมใจ ศิระกมล. (2556). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. เชียงใหม่ : บริษัท ครองช่าง พริ้นติ้ง จำกัด. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559. แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร. (2561). กฎหมายสำหรับพยาบาล. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการตำรารามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2560). กฎหมายและข้อควรระวังของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ พยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.


74 แผนบริหารการสอนประจำบทที่5 เนื้อหา บทที่ 5 นิติเวชศาสตร์กับการปฏิบัติการพยาบาล 5.1 ความหมายของนิติเวชศาสตร์ 5.2 ประเภทของนิติเวชศาสตร์ 5.3 การชันสูตรพลิกศพ 5.4 การพยาบาลนิติเวช 5.5 บาดแผลทางนิติเวช 5.6 การเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน 5.7 การดูแลผู้ป่วยคดี 5.8 การดูแลผู้ป่วยที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 5.9 การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางนิติเวช 5.10 สรุป จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อศึกษาบทที่ 5 แล้วนักศึกษาสามารถ 1. อธิบายความหมายของนิติเวชศาสตร์ได้ 2. อธิบายประเภทของนิติเวชศาสตร์ได้ 3. อธิบายการชันสูตรพลิกศพได้ 4. อธิบายการพยาบาลนิติเวชได้ 5. อธิบายบาดแผลทางนิติเวชได้ 6. อธิบายการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานได้ 7. อธิบายการการดูแลผู้ป่วยคดีได้ 8. อธิบายการดูแลผู้ป่วยที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ 9. อธิบายการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางนิติเวชได้ กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท 1. ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน วิชานิติเวชศาสตร์กับการปฏิบัติการพยาบาล 2. บรรยายด้วยสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 3. สรุปสาระสำคัญจากบทเรียน 4. ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5


75 สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวิชานิติเวชศาสตร์กับการปฏิบัติการพยาบาล 2. ไฟล์การนำเสนอภาพนิ่งผ่านโปรแกรมไมโครซอฟท์เพาเวอร์พอยท์ 3. หนังสืออ่านประกอบค้นคว้าเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานิติเวชศาสตร์กับการปฏิบัติ การพยาบาล 4. แบบฝึกหัดบทที่ 5 การวัดผลและการประเมินผล 1. สังเกตจากการซักถามผู้เรียน 2. สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน 3. สังเกตจากความสนใจของผู้เรียน 4. ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัดบทที่ 5 5. ประเมินผลจากการทดสอบกลางภาค 6. แบบประเมินการทำรายงานและการนำเสนอ


76 บทที่ 5 นิติเวชศาสตร์กับการปฏิบัติการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลมีความเกี่ยวพันกับงานนิติเวชศาสตร์ เนื่องจากพยาบาลเป็นด่านหน้าใน การด ผู้ป่วย และอาจพบผู้ป่วยคดีที่ต้องเก็บพยานหลักฐานต่างๆ รวมถึงการบันทึกบาดแผล การเก็บสิ่งส่ง ตรวจ การ ช่วยแพทย์ตรวจผู้ที่ถูกข่มขืน การดูแลผู้บาดเจ็บทั้งที่เกิดจากอุบัติเหตุและถูกทําร้ายร่างกาย การปฏิบัติงานใน หอผู้ป่วยที่มีโอกาสพบผู้ป่วยประเภทนี้มากที่สุด ได้แก่ ห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วยอุบัติเหตุ หอผู้ป่วยวิกฤต ห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้นและห้องคลอด เช่น ผู้ป่วยถูกข่มขืนมาตรวจที่ห้องฉุกเฉิน ถ้า พยาบาลไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านนิติเวช อาจทําให้พยานหลักฐานปนเปื้อนหรือถูกทําลาย ไม่สามารถ นําไปใช้อ้างอิงในกระบวนการยุติธรรมได้ ดังนั้นพยาบาลจึงจําเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับงานนิติเวชศาสตร์ 5.1 ความหมายของนิติเวชศาสตร์ นิติเวชศาสตร์ (Forensic Medicine) หมายถึง วิชาที่ใช้หลักการแพทย์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาทาง กฎหมาย ซึ่งเชื่อมโยงกับการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี ดังนั้นงานนิติเวชจึง หมายถึง งานที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยคดีทุกราย อาจมีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี เช่น บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร ถูกทําร้ายร่างกาย ถูก ข่มขืนกระทําชําเรา ความรุนแรงในครอบครัว การทารุณกรรมเด็ก สตรีและผู้สูงอายุ การละเมิดสิทธิ มนุษยชน การทําแท้งที่ผิดกฎหมาย การตรวจหาสารพิษหรือสารเสพติดในร่างกาย การตรวจพิสูจน์ความ เป็นพ่อแม่ลูก ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจาก การรักษา การตรวจศพ การออกใบชันสูตรศพ การออก ใบรับรองแพทย์เพื่อรับเงินประกัน การเป็นพยานศาล ตลอดจนการให้คําแนะนําผู้ป่วยและญาติกรณีเป็น คดีในการติดต่อบริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันรถยนต์ และการแนะนําในการติดต่อกับสถานีตํารวจเพื่อ แจ้งขอรับใบมรณบัตร 5.2 ประเภทของงานนิติเวชศาสตร์ งานนิติเวชศาสตร์ แบ่งออกเป็นสาขาต่างๆ ดังนี้ (ณัฐ ตันสรีสวัสดิ์, ธีรโชติ จองสกุล, อุดมศักดิ์ หุ่นวิจิตร, 2550) : แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร, 2561) 1. นิติพยาธิวิทยา (Forensic Pathology) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ (Forensic autopsy) ที่ตายผิดธรรมชาติการตรวจและผ่าศพหรือชิ้นส่วนของศพ การตรวจวิเคราะห์ชิ้นเนื้อ การ ตรวจซากโครงกระดูก การรวบรวมเถ้ากระดูกพิสูจน์ว่าผู้ตายเป็นใคร และการฉีดยาศพเพื่อป้องกันศพเน่า


77 2. นิติเวชคลินิก (Clinical Forensic Medicine) เป็นการตรวจทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ ผู้ป่วยคดีทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นการตรวจบาดแผลการบาดเจ็บต่างๆ การรวบรวมหลักฐาน เสื้อผ้า ตรวจผู้ ต้องสงสัย และการตรวจพิสูจน์ผู้เสียหายที่ถูกข่มขืน รวมทั้งการให้ความเห็นเพื่อประกอบการดําเนินคดี 3. นิติจิตเวช (Forensic Psychiatry) เป็นการตรวจสภาพจิตของผู้ป่วยคดีโดยจิตแพทย์ อาจ เป็นผู้ต้องหาหรือจําเลยว่ามีสภาพจิตผิดปกติหรือไม่ เพื่อเป็นเหตุยกเว้นโทษหรือลดหย่อนโทษ ถ้าพบว่ามี ความผิดปกติ แพทย์จะส่งไปรับการรักษาที่สถาบันกัลยาราชนครินทร์ (โรงพยาบาลนิติจิตเวชเดิม) ซึ่ง รับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรง 4. นิติพิษวิทยา (Forensic Toxicology) เป็นการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหา ระดับ แอลกอฮอล์ สารเสพติดและสารพิษต่างๆ ตลอดจนยาประจําตัวที่ได้รับเกินขนาด เช่น ยารักษาโรค หวัด ยากันชัก ยาระงับปวดหรือยาอื่นๆ 5. การพิสูจน์หลักฐาน (Evidence Examination) เป็นการตรวจวัตถุพยานที่มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น คราบอสุจิ น้ำลาย เส้นผม เนื้อเยื่อ ลายพิมพ์นิ้วมือ และวัตถุพยานที่มาจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น รองเท้า เอกสาร ตั๋วจํานํา ใบเสร็จรับเงิน อาวุธปืน กระสุน เศษแก้ว รวมถึงวัตถุพยานที่ขนาดเล็กและน้อยมาก (trace evidence) เช่น คราบสี คราบเลือดที่ติดตามผนังห้องที่เกิดเหตุ 6. นิติซีโรโลยี (Forensic Serology) เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ตรวจวินิจฉัยเลือดและ สิ่งคัดหลั่ง (Secretion) เช่น น้ำอสุจิ น้ำลาย เยื่อบุกระพุ้งแก้ม เส้นผม การตรวจหมู่เลือด การตรวจลาย พิมพ์ DNA พิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ลูก หรือพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลในเหตุภัยพิบัติที่มีคนตายจํานวนมาก เช่น การเสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ ไฟไหม้สถานบันเทิงกลางกรุงเทพ 5.3 การชันสูตรพลิกศพ (Postmortem examination or autopsy) การชันสูตรพลิกศพหรือการตรวจหลังการตาย หมายถึง การตรวจสภาพศพ เพื่อค้นหาสาเหตุ และพฤติการณ์ที่ทําให้ตาย ตลอดจนเพื่อพิสูจน์บุคคลว่าผู้ตายเป็นใคร อายุประมาณเท่าไร เชื้อชาติอะไร การชันสูตรพลิกศพ ประกอบด้วย การดูสภาพศพภายนอก เช่น ลักษณะของเลือด หรือการคั่งของเลือด และการผ่าศพดู พยาธิสภาพภายใน การเก็บเลือดหรือสิ่งคัดหลั่ง การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษอื่นๆ ทั้งนี้ กฎหมายกําหนดให้ผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพคือ แพทย์และ พนักงานสอบสวน (ปวิ อ. มาตรา 150) โดยให้ชันสูตรพลิกศพ (ปวิ อ. มาตรา 148) ในกรณีต่อไปนี้ (พรทิพย์ โรจนสุนันท์, 2544: แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร, 2561) 1. การตายผิดธรรมชาติ (Unnatural death) หมายถึง การเสียชีวิตที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการ


78 เจ็บป่วย ตามกฎหมายการตายผิดธรรมชาติ ได้แก่ การตายที่เข้าเงื่อนไขต่อไปนี้ 1.1 ฆ่าตัวตาย (Committed suicide/self inflicted) คือ การกระทําเพื่อจบชีวิต ตนเอง เช่น กิน ยาฆ่าแมลง ใช้มีดแทงตัวเอง แขวนคอตาย 1.2 ถูกผู้อื่นทําให้ตาย (Homicide) หมายถึง การตายที่เกิดจากการกระทําของผู้อื่น ไม่ว่า กระทําโดย เจตนาหรือไม่เจตนา เช่น ถูกยิง ถูกแทง ทุบตีจนตาย จับกดน้ำจนตาย 1.3 ถูกสัตว์ทําร้ายตาย (Animal bite) เช่น ถูกสุนัขเพื่อนบ้านกัดจนตาย การชันสูตรพลิกศพ จะทําให้รู้ว่าการตายนั้นถูกสัตว์กระทําโดยธรรมชาติที่มีความดุร้าย หรือถูกคนปล่อยสัตว์ไปทําร้าย หรือใช้ สัตว์เป็นเครื่องมือในการทําผิดทางอาญา 1.4 ตายจากอุบัติเหตุ (Accidental death) เช่น รถชน จมน้ำ ไฟฟ้าดูด ตกต้นไม้ 1.5 ตายโดยไม่ปรากฏเหตุ (Undetermined death) หมายถึง การตายที่ขณะ เสียชีวิตยังไม่ทราบ สาเหตุการตายที่แน่ชัด เช่น ญาติพบศพผู้ตายในห้องนอนหลังกลับจากงานเลี้ยง ซึ่ง สาเหตุการตายอาจเกิดจาก เสพยาเสพติดเกินขนาด การวางยาพิษ โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หลอด เลือดในสมองแตก หรือพบศพที่ จมน้ำตาย อาจมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ โรคลมชัก ว่ายน้ำแล้วเกิดตะคริว หรืออาจถูกฆาตกรรม โดยการจับโยนลง มาจากสะพานแล้วจมน้ำตาย หรือถูกฆ่าจากที่อื่นแล้วนําศพมา โยนลงสะพาน 2. การตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน (Detention/custody death) หรือ ตายโดยการกระทําของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เช่น การตายขณะที่ถูกควบคุมตัว กักขังหรือจำคุกการชันสูตรพลิกศพในกรณีดังกล่าว สามารถทําได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตจากญาติสาย ตรง ยกเว้นผู้ป่วยนับถือศาสนาอิสลาม ที่ไม่ให้กระทําการใดๆต่อศพและต้องทําพิธีฝังศพภายใน 24 ชั่วโมง หลังการตาย ในกรณีที่ญาติไม่ยินยอมให้ชันสูตรศพ และไม่มีประเด็นน่าสงสัยเกี่ยวกับคดี ควรให้ญาติสายตรง เซ็นไม่ยินยอมให้ผ่าศพไว้เป็นหลักฐาน เพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายในภายหลัง อย่างไรก็ตามในกรณีที่ มีประเด็นทางคดีอาญาและจําเป็นต้องผ่าศพ แพทย์จะพยายามรักษาสภาพศพให้อยู่ในสภาพที่ถูกรบกวน น้อยที่สุด สําหรับผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพนอกโรงพยาบาล ได้แก่ พนักงานสอบสวนร่วมกับแพทย์ ทาง นิติเวชหรือแพทย์สาขาอื่นทั้งจากโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชนแล้วแต่บริบทของคดี การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภายหลังตาย จะช่วยประมาณระยะเวลาการตายของบุคคล ในการ ชันสูตรพลิกศพ โดยภายหลังการตายจะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ 1. Algor mortis หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายเย็นลงหลังจากเสียชีวิต โดยทั่วไปหลัง


79 การตายอุณหภูมิจะลดลงเฉลี่ยประมาณ 1 องศาเซลเซียสต่อชั่วโมง 2. Livor mortis (Hypostasis or lividity) หมายถึง ผิวหนังในส่วนที่ต่ำกว่าเปลี่ยนเป็นสีม่วง แดง เนื่องจากเลือดไหลลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วงของโลก เช่น ถ้าตายในท่านอนหงาย แผ่นหลังจะมีสีม่วง แดง การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่พบใน 2 ชั่วโมงแรกหลังตาย แต่เริ่มเห็นชัดเจนภายหลังการตาย 4 ชั่วโมง และ เกิดเต็มที่ 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นการเปลี่ยนแปลงนี้จะเริ่มหายไป 3. Rigor mortis (Postmortem rigidity) เกิดจากการตกตะกอนของโปรตีนในกล้ามเนื้อ ทํา ให้ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง โดยช่วงที่ตายใหม่ๆ กล้ามเนื้อแขนขาจะอ่อนปวกเปียก และเริ่มมีการแข็งเกร็งของ แขนขา หลังการตาย 4-8 ชั่วโมง จนเต็มที่ในระยะเวลา 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นการแข็งเกร็งจะหายไป ถ้า ผู้ตายชักก่อน ตายจะพบปลายเท้าจิกลง น่องเกร็งเป็นลูก หรือขณะตายตกใจสุดขีด เช่น ถูกยิงตาย จะพบ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ทันทีที่ตาย (Cadaveric spasm) 5.4 การพยาบาลนิติเวช การพยาบาลนิติเวช (Forensic Nursing) หมายถึง การประยุกต์ศาสตร์และศิลปะทางพยาบาลให้ เชื่อมโยงกับกระบวนการทางกฎหมายและสังคม เพื่อสืบค้นและดูแลจัดการผู้บาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิตจาก การ กระทํารุนแรง การทําผิดทางอาญา หรือเกิดจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้กระทําผิด (Perpetrators) หรือเหยื่อผู้ถูกกระทํา (Victims)) งานส่วนใหญ่ของพยาบาลนิติเวชจะเน้นผู้ป่วยคดีที่ยังมี ชีวิตอยู่ หรือบาดเจ็บที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ การทําร้ายร่างกาย อุบัติเหตุ จากจราจร ถูกรถชน บาดเจ็บจากการทํางาน การบาดเจ็บของนักโทษ (Prisoners) การประมาทเลินเล่อ จากการรักษาพยาบาล การก่อการร้าย การใช้อาวุธสงคราม ตลอดจนการรวบรวมพยานหลักฐานและการ บันทึกบาดแผล การพยาบาลนิติเวชเกิดขึ้น ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ในราวปี ค.ศ. 1990 โดยทําหน้าที่ ติดต่อประสานงานระหว่างแพทย์กับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกากําหนดหน้าที่ของ พยาบาลนิติเวช ไว้ดังนี้ (สมใจ ศิระกมล, 2556: แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร, 2561) 1. พัฒนาแนวปฏิบัติด้านนิติเวชที่เหมาะสมและได้มาตรฐานสําหรับพยาบาล 2. คัดแยก (Triage) ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการกระทําผิดทางอาญาได้ 3. รายงานหน่วยงานกฎหมาย (Legal agencies) ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม 4.. บันทึกรวบรวมและเก็บรักษาพยานหลักฐาน 5. คุ้มครองพยานหลักฐานให้ปลอดภัย 6.. ประสานงานระหว่างโรงพยาบาล หน่วยงานด้านกฎหมาย แพทย์ผู้รักษา ผู้พิพากษา และส่ง


80 ต่อกรณี เกิดภาวะวิกฤต 7.. เชื่อมโยง การแพทย์ การพยาบาล กฎหมาย และหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ได้ 8. พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและปกป้องไม่ให้บุคลากรต้องถูกฟ้องร้อง สําหรับประเทศไทยการปฏิบัติงานด้านนิติเวช เช่น การตรวจผู้ป่วยคดีการชันสูตรศพเป็นหน้าที่ ของแพทย์ โดยตรงส่วนพยาบาลจะมีบทบาทในการบันทึกบาดแผล การเก็บรวบรวมพยาน หลักฐาน การ เก็บตัวอย่างส่งตรวจ การดูแลผู้ป่วยที่ถูกลวงละเมิดทางเพศ และการสังเกตและเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยจิต เวชที่ทําผิดทางอาญา 5.5 บาดแผลทางนิติเวช บาดแผลทางนิติเวช (Forensic Wound) หมายถึง ผลของการกระทําที่ทําให้เกิดการบาดเจ็บ ทําให้เนื้อหนังของร่างกายแยกออกจากกัน อาจมีเลือดออกภายนอกหรือภายในก็ได้การแบ่งประเภท บาดแผลทางนิติเวช จะเน้นสาเหตุและอาวุธที่ทําให้เกิดบาดแผล เพื่อแยกลักษณะบาดแผลให้ใกล้เคียง กับ ความเป็นจริงมากที่สุด ดังนี้ (แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร, 2561) 1. บาดแผลเกิดจากของแข็งไม่มีคม (Blunt force injury) เกิดจากร่างกายกระทบกับวัตถุ แข็ง ไม่มีคมอย่างแรง เช่น ท่อนไม้ ท่อพีวีซี รองเท้าบู๊ท หรือล้อรถยนต์ทับ บาดแผลจะมีหลายลักษณะ ดังนี้ 1.1 แผลถลอกตื้น (Abrasion) เป็นบาดแผลที่มีหนังกําพร้าหลุด แผลไม่ลึก อาจมีน้ำเหลืองและ เลือดซึมออก 12-24 ชั่วโมง แผลจะแห้งและตกสะเก็ดภายใน 2-3วัน และมีเซลล์ผิวหนังใหม่ขึ้นมาแทนที่ ภายใน 4-7 วัน สาเหตุของแผลถลอกอาจเกิดจากผิวหนังถูกถู ข่วน ลื่นล้ม หรือไถลไปบนพื้นที่ขรุขระ 1.2 แผลฟกช้ำ (Contusion or bruise) เป็นบาดแผลที่เกิดจากการกระแทกหรือการบิดที่ ผิวหนัง จนมีการฉีกขาดของหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังชั้นในหนังแท้หรือชั้นไขมัน แต่ไม่มีการฉีกขาดของ ผิวหนังชั้นนอก จึงเห็นแผลมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ส่วนใหญ่รอยฟกช้ำมักพบบริเวณผิวหนังที่บาง ไม่ตึง และมีไขมันใต้ผิวหนัง มาก เช่น ต้นขา หน้าท้อง แผลฟกช้ำเฉพาะที่อาจบอกถึงสาเหตุของการบาดเจ็บได้ เช่น ผู้ที่ถูกข่มขืนจะมีรอยช้ำ บริเวณข้อมือ แขน และต้นขา สําหรับผู้สูงอายุที่ถูกทารุณหรือทําร้ายร่างกาย จะมีรอยช้ำมากกว่าปกติ เพราะหลอดเลือดเปราะง่าย บาดแผลฟกช้ำที่เห็นจากภายนอกเพียงเล็กน้อย อาจมีการบาดเจ็บของอวัยวะภายในมาก และอาจเป็นสาเหตุทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เช่น แผลฟกช้ำที่ทรวง อกอาจมีการฉีกขาดของปอด โพรงเยื่อหุ้มปอด หรือมีเลือดออกในโพรงเยื่อหุ้มปอด 1.3 แผลฉีกขาด (Laceration) เกิดจากแรงฉีกหรือแรงบด ทําให้ผิวหนังฉีกขาด ขอบแผลกระ รุ่ง


81 กระดิ่งไม่เรียบมีรอยช้ำ และถลอกรอบแผล ความยาวของแผลไม่เป็นเส้นตรง มักเกิดบริเวณที่มีกระดูก รองรับ แผลฉีกขาดมีหลายลักษณะขึ้นกับการกระทําและตําแหน่งของบาดแผล เช่น ผิวหนังปริขาด (Striate tear) ผลหนังถลกจากแรงกระชาก (Avulsion/degloving) บาดแผลถูกบดทับ (Crush) อวัยวะ ถูกตัดขาด (Traumatic amputation) 2. บาดแผลเกิดจากของมีคม (Sharp force injury) แผลชนิดนี้เกิดจากวัตถุที่มีคม เช่น มีด แก้ว หรือเหลักแหลม เป็นบาดแผลที่พบได้บ่อยจากการถูกแทง หรือถูกฟัน ขอบแผลจะเรียบ ไม่มีรอย ฟกช้ำ พบเลือดออกจากแผลร่วมด้วย แบ่งได้ดังนี้ 2.1 แผลถูกของมีคมหรือบาดแผลถูกฟัน (Cut or incised wound) เป็นแผลฉีกขาดที่มีขอบ เรียบ ไม่มีรอยถลอก หรือรอยช้ำที่ขอบแผล และผิวหนังขาดทุกชั้น แผลอาจลึกถึงชั้นกระดูก แต่ความลึก จะ น้อยกว่าความยาวของแผล เกิดจากการกระทําตนเองหรือถูกผู้อื่นกระทํา โดยแผลที่เกิดจากการ กระทำตัวเอง (Suicidal incised wound) มีลักษณะเฉพาะคือ มีหลายแผลซ้ำๆ แสดงถึงการลังเล ไม่กล้า (Tentative or hesitate wounds) แผลส่วนใหญ่มีลักษณะตื้น มักอยู่ในตําแหน่งที่มีหลอดเลือดหรือ อวัยวะสําคัญ เช่น ลำคอด้านหน้า ข้อมือด้านฝ่ามือ หน้าอก ท้อง หัวใจ และบาดแผลมักจะอยู่ในด้านตรง ข้ามกับมือข้างที่ถนัด เช่น ถนัดขวา จะพบแผลที่ข้อมือซ้าย ส่วนแผลถูกผู้อื่นกระทํา (Homicidal incised wound) มักมีหลายตําแหน่ง ตามร่างกาย และลักษณะแตกต่างกัน เช่น ถูกแทงด้านหลัง จะเป็นแผลกรีด ยาวลึกตามอาวุธที่ใช้ ถ้าเกิดจาก การต่อสู้ป้องกันตัว (Defense wound) แผลมักจะเกิดบริเวณมือหรือ แขนด้านนอก 2.2 แผลถูกแทง (Stab wound or puncture wound) ขอบแผลจะเรียบ อาจมีรอยถลอกที่ ขอบแผล จะมีความลึกมากกว่าความยาว จึงมีการทําลายอวัยวะใต้แผลมาก ส่งผลให้เลือดออกใต้แผล มากกว่า ภายนอก โดยลักษณะของบาดแผลถูกแทง สามารถบอกลักษณะและขนาดของวัตถุที่ใช้แทงได้ เช่น บาดแผล ถูกแทงด้วยมีดทําครัว เหล็กเสียบน้ำแข็ง (Ice pick) หรือเหล็กขูดชาร์ป 2.3 บาดแผลถูกตัดขาด (Chop wound) ลักษณะของบาดแผลจะเหมือนแผลที่ถูกของมีคม แต่ ส่วนปลายแผล จะถูกตัดขาดไป เช่น แผลถูกตัดนิ้วมือ 3. บาดแผลถูกกระสุนปืนและวัตถุระเบิด (Gun shot and blast injury) 3.1 บาดแผลกระสุนปืนหรือแผลถูกยิง (Gun shot wound) แผลถูกยิงมีข้อสังเกตจาก ลักษณะของแผลที่มีรูลึก ทางเข้าของแผลจะเล็ก ขอบแผลมีรอยถลอกตื้น อาจพบรอยไหม้หรือเขม่าปืนสี ดํารอบแผล ถ้ายิง ในระยะเผาขนและกดยิง รอยแผลจะเป็นแฉกๆ ส่วนทางออกจะมีรูใหญ่กว่าทางเข้า และมีเลือดออก 3.2 บาดแผลถูกระเบิด (Blast injury) ลักษณะของแผลจะคล้ายกับแผลที่เกิดจากของแข็ง


82 ไม่มีคม แต่มีความรุนแรงมากกว่า และมีเศษของวัตถุระเบิดติดอยู่ที่บาดแผล กระจายทั่วไปหรือบาดแผล ถูกความร้อนร่วมด้วย อาจเกิดจากถังแก๊สหุงต้มระเบิด ลูกระเบิดที่เป็นอาวุธสงคราม 4. บาดแผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ (Thermal wound) หรือพลังงานอื่น บาดแผลมีหลายลักษณะขึ้นกับสาเหตุ เช่น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ถูกสารเคมี ถูกกระแสไฟฟ้าช็อต ถูก ฟ้าผ่า ถูกรังสี หรือบาดแผลถูกความเย็น (Frost bite) นอกจากนี้ยังมีบาดแผลลักษณะอื่น ได้แก่ แผลจากเศษกระจก (Dicing injuries) หมายถึง แผลเกิดจากการแตกของกระจกเป็นเศษแก้ว เล็กๆ จํานวนมาก ทําให้ผู้ได้รับบาดเจ็บ มีแผลกระจัดกระจายหลายแผล แต่แผลไม่กว้างและไม่ลึก บาง แผลอาจมีเศษแก้วฝังอยู่ด้วย ส่วนมากเกิดจากอุบัติเหตุกระจกรถยนต์แตก แผลถูกกัด (Bite mark injuries) ถ้าเป็นรอยฟันคนกัด จะมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม แผลไม่ลึก และเขี้ยว สาเหตุมักจะเกิดจากการข่มขืนและผู้เสียหายไม่ยินยอม ถ้าเป็นรอยกัดของสัตว์มักเกิดจากสัตว์ ดุร้ายหรือคนสั่งกัด แผลจะเป็นรูปตัวยูและมีเขี้ยว เช่น เลี้ยงสุนัขที่มีนิสัยดุร้ายไว้ในบ้าน แล้วปล่อย ออกมากัดคนที่ไม่ชอบ การบันทึกบาดแผล การบันทึกบาดแผลที่ถูกต้องและครบถ้วน จะช่วยในการชี้กลไกและพฤติการณ์ของการบาดเจ็บ และใช้เป็นหลักฐานที่ดีในกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันการตรวจบาดแผลทางนิติเวชมีความก้าวหน้า มาก โดยแพทย์สามารถตรวจบาดแผลและระบุว่าบาดแผลที่ศพเกิดขณะผู้ตายยังมีชีวิต หรือเกิดภายหลัง การเสียชีวิตแล้ว (Wound vitality) สามารถประเมินอายุของบาดแผลในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการ ฆาตกรรมและอุบัติเหตุ สําหรับพยาบาลส่วนใหญ่รับผิดชอบเฉพาะการบันทึกแผลในผู้ป่วยคดีที่ยังมีชีวิต หลักการบันทึก มีดังนี้ 1. บันทึกทันทีที่ผู้ป่วยเข้ามาในห้องฉุกเฉิน 2.. ขอความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนถ่ายภาพ หากผู้ป่วยไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ต้องขอ ความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้แทน 3. การถ่ายภาพบาดแผล (Photography) เป็นวิธีการบันทึกหลักฐานที่เหมาะสมสําหรับ พยานหลักฐานที่บอบบาง แตกหักง่าย (Fragile) หรืออาจเน่าเปื่อย เสื่อมสลาย (Perishable evidence) ไปตามกาลเวลา ภาพถ่ายบาดแผลควรแสดงให้ทราบขนาด โดยใช้ไม้บรรทัดวางใกล้กับแผล หรือหาก แผลมีลักษณะเป็นรูอาจใช้เหรียญบาทวางไว้ใกล้แผล เพื่อประมาณขนาดบาดแผล นอกจากนี้ควรบรรยาย ประกอบภาพเป็นลายลักษณ์อักษร ควรถ่ายภาพผู้ป่วยและบาดแผลทุกตําแหน่งก่อนให้การ รักษาพยาบาล โดยไม่ต้องทําความสะอาดบาดแผลก่อนถ่ายภาพ


83 4. การบันทึกบาดแผลทางนิติเวช จะใช้แบบฟอร์มรูปคน (Body map/anatomy chart and diagrams) ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง หรือเฉพาะส่วนของร่างกาย ช่วยให้ง่ายต่อความเข้าใจ โดยข้อมูล บาดแผลจะประกอบด้วย ลักษณะของบาดแผล จํานวนของบาดแผล ขนาดของแผล 3 มิติ โดยบอกทั้ง ความกว้าง ยาว และลึกตําแหน่งที่พบบาดแผล วัตถุแปลกปลอมที่พบในแผล อายุของบาดแผล (ถ้าบอก ได้) หรืออาจระบุว่าเป็นแผลสด ยังมีเลือดไหล แผลแห้งตกสะเก็ด หรือมีทั้งแผลใหม่และเก่าปนกัน การบันทึกบาดแผลของแพทย์ หรือบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นการให้ข้อเท็จจริงว่า บาดแผลที่ ตรวจ มีลักษณะอย่างไร ต้องใช้เวลาในการรักษาประมาณกี่วันจึงจะหาย โดยผู้มีหน้าที่ในการตัดสินว่า บาดแผลมีลักษณะใด เป็นอันตรายสาหัสหรือไม่ คือผู้พิพากษาซึ่งจะตัดสินตามข้อกฎหมาย 5.6 การเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน การเก็บพยานหลักฐานควรเก็บเมื่อมีสถานการณ์ผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยอุบัติเหตุ การบาดเจ็บหรือ บาดแผล เกิดจากการกระทําผิดอาญา การตายที่เคลือบแคลง หรือความผิดพลาดจากการรักษาพยาบาล โดยพยานหลักฐานต่างๆ ที่ใช้ประกอบการพิจาณาคดีในกระบวนการยุติธรรม ต้องเก็บอย่างถูกต้อง มี มาตรฐาน และมีกระบวนการคุ้มครองหลักฐาน ไม่ให้เสื่อมสภาพถูกทําลาย สับเปลี่ยนรวมทั้งมีวิธีการ นําไปตรวจสอบตามมาตรฐาน การแปลผล การตรวจสอบถูกต้อง และมีการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบซ้ำ เมื่อถูกร้องขอ ทั้งนี้ หลักการเก็บพยานหลักฐาน มีดังนี้ (วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546: มานิตย์ จุมปา, 2552: แสงทอง ธีระทองคำ และไสว นรสาร, 2561) 1. การทิ้งร่องรอยหลังสัมผัส (Locard's exchange principle) หลักการนี้ คือทุกครั้งที่มีการ สัมผัส จะมีการทิ้งร่องรอย (Every contact leaves a trace) กล่าวคือ เมื่อวัตถุ 2 อย่างสัมผัสกัน จะเกิด การแลกเปลี่ยนพื้นผิวที่สัมผัส เช่น ผู้ถือมีดจะทิ้งร่องรอยคือ ลายพิมพ์นิ้วมือไว้ที่ด้ามมีด หากพยาบาลจับ ด้ามมีดด้วยมือเปล่าปลายนิ้วมือของพยาบาลจะปรากฏที่ด้ามมีดด้วย ดังนั้นการเก็บพยานหลักฐานต้อง ระวังการปนเปื้อน โดยการใส่ถุงมือ และให้มีผู้เกี่ยวข้องหรือเข้าถึงพยานหลักฐานให้น้อยที่สุด 2. ห่วงโซ่การครอบครองพยานหลักฐาน (Chain of custody) หมายถึง เอกสารบันทึก กระบวนการเก็บพยานหลักฐาน หรือเส้นทางในการรับ-ส่งพยานหลักฐาน ซึ่งมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การ เก็บตัวอย่างพยานหลักฐาน การเก็บรักษา การส่งต่อ การรับมอบ การนําตัวอย่างหลักฐานไปพิสูจน์ การ รายงานผลการตรวจรวมถึงการทําลายพยานหลักฐาน โดยแต่ละขั้นตอนต้องบันทึกเป็นลายลักอักษรเพื่อ หาผู้รับผิดชอบ เพราะพยานหลักฐานมีโอกาสถูกสับเปลี่ยนได้


84 วิธีการเก็บพยานหลักฐาน 1. เสื้อผ้า ต้องตัดตามตะเข็บ (seam lines) หลีกเลี่ยงตําแหน่งที่เป็นตําหนิ เช่น รู รอยแทง รอยขาด จากการตัด/การกรีด (Rip) รอยกระรุ่งกระดิ่ง หากเปียกชื้น ต้องพึ่งให้แห้ง ห้ามใส่ถุงพลาสติก 2. ระวังการทําลายหลักฐานโดยไม่ตั้งใจ เช่น การทําความสะอาดบาดแผลก่อนเก็บหลักฐาน การ ใช้มือเปล่าจับวัตถุพยาน 3. หากมีวัตถุพยานหลายชนิด ควรแยกเก็บ ไม่ควรใส่ถุงเดียวรวมกัน 4. ชุดสําหรับบรรจุพยานหลักฐาน อาจเป็นกล่อง ถุงกระดาษ หรือขวด ขึ้นอยู่กับลักษณะของ หลักฐาน ถุงพลาสติกที่มีซิป (Zipper locked plastic bag) เหมาะสําหรับวัตถุพยานที่เป็นยา ตัวอย่างดิน เศษหญ้าหรือเศษไม้ 5. ถุงบรรจวัตถุพยาน ถ้าเป็นหลักฐานทางชีววัตถุ ห้ามใส่ถุงพลาสติก หรือถุงที่อากาศถ่ายเทไม่ได้ เพราะจะทําให้มีความชื้น เกิดเชื้อรา แบคทีเรีย ถ้าส่งตรวจ DNA ค่าจะคลาดเคลื่อน 6. ปิดผนึกให้มิดชิดและดําเนินการตามหลักห่วงโซ่การคุ้มครองพยานหลักฐาน การบันทึกพยานหลักฐาน การบันทึกพยานหลักฐาน (Documentation of evidence) ประกอบด้วย การบันทึกบาดแผล และการบันทึกพยานหลักฐานอื่นๆ สรุปได้ดังนี้ 1. การบันทึกบาดแผล สามารถบันทึกทั้งเป็นลายลักษณ์อักษร ภาพถ่าย คลิปภาพเคลื่อนไหว หรือแบบฟอร์มรูปคน ดังที่กล่าวไว้ในการบันทึกบาดแผล 2.. การบันทึกพยานหลักฐานอื่นๆ ได้แก่ 2.1 ประวัติ ผลการตรวจร่างกาย ลักษณะของบาดแผลที่ตรวจพบมีเศษสิ่งของติดค้าง เช่น เศษ ดิน เศษกระจกติดมากับแผลหรือไม่ มีเลือดออกมากน้อยประมาณเท่าใด 2.2 สิ่งที่ตรวจพบในตัวผู้ป่วย เช่น ทรัพย์สินของผู้ป่วย (Patient property) ของใช้ประจําตัว ยา ติดตัว เส้นขน เส้นใยต่างๆ 2.3 สิ่งที่ควรตรวจพบ แต่ตรวจไม่พบ เช่น ผู้ป่วยให้ประวัติว่าถูกทําร้ายร่างกาย โดยคนร้ายได้ใช้ ของไม่มีคมฟาดที่ใบหน้าด้านซ้าย แต่จากการตรวจร่างกายไม่พบร่องรอยของการบาดเจ็บบริเวณใบหน้า 2.4 เสื้อผ้าที่สกปรกมากหรือติดเชื้อมากและจําเป็นต้องทําลาย ก่อนทําลายต้องแจ้งผู้ป่วยและลง บันทึกไว้เป็นหลักฐาน 2.5 คํานึงถึงการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย การรักษาความลับและหลีกเลี่ยงการให้ข่าวแก่สื่อมวลชน ในทางที่ จะทําให้เกิดความเสียหาย หรือทําให้ผู้ป่วยถูกคุกคามความเป็นส่วนตัวและมีผลเสียต่อรูปคดี


85 5.7 การดูแลผู้ป่วยคดี การดูแลผู้ป่วยคดี หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่เจ้าพนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ตํารวจส่งมาเพื่อ ตรวจชันสูตรผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการกระทําของผู้อื่น ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น รถชน ได้รับ บาดเจ็บขณะ ปฏิบัติงานให้นายจ้าง หรือผู้ป่วยที่สงสัยว่าอาจจะเป็นคดีขึ้นภายหลัง เนื่องจากสาเหตุการ บาดเจ็บเป็นที่น่าสงสัยอาจเป็นคดี เช่น ถูกลอบวางยาพิษ ทําแท้ง ถูกสัตว์ทําร้าย ทําร้ายตัวเอง ถูกคนกัด หรือความผิดทางเพศ พยาบาลจึงควรปฏิบัติดังนี้ (วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, 2546: มานิตย์ จุมปา, 2552: แสวง บุญฉลิมวิภาส, 2560) 1. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ เพศ อายุ การพูด (เสียง สําเนียง วิธีพูด ภาษาที่พูด) ลักษณะท่าทางการ เดิน สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา (ถ้าทราบ) ตําหนิ (รอยสัก แผลเป็น) ความพิการของร่างกาย อาชีพ ความสูง น้ำหนัก ผม ขน ฟัน และลายพิมพ์นิ้วมือ 2. บันทึกผลการตรวจร่างกาย ร่องรอยของการบาดเจ็บตามร่างกายเสื้อผ้าที่สวมใส่ สี ลักษณะ ความผิดปกติที่พบ เช่น รู หรือรอยขาด 3. เก็บรักษาพยานหลักฐานต่างๆ อย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงการปนเปื้อน และคุ้มครองพยานหลัก ปลอดภัย การจัดการกับเสื้อผ้า กระเป๋าเงินและทรัพย์สินของมีค่าอื่นๆ ควรใส่ถุงกระดาษ ระบุชื่อ นามสกุล ผู้ป่วย ลงลายมือชื่อผู้ที่เก็บหลักฐานให้อ่านออก พร้อมลงวันเดือนปีที่เก็บให้เรียบร้อย 4. ป้องกันการใช้เอกสารปลอม โดยแนะนําผู้ที่มาติดต่อสถานพยาบาล ควรมีบัตรประจําตัวผู้ป่วย บัตรประจําตัวประชาชนเป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันว่าไม่ได้เอาชื่อผู้อื่นมาแอบอ้าง 5. เฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีสัญญาณอันตราย (Red flag) และมีโอกาสที่จะเป็นผู้ป่วยคดี เช่น มีประวัติ พยายามฆ่าตัวตาย (Suicidal attempt) มีหลักฐานว่าผู้ที่ติดเหล้าหรือติดยาเสพติด อาการสําคัญที่มา โรงพยาบาลไม่ชัดเจน เช่น อ่อนเพลีย วิตกกังวล ซึมเศร้า หวาดกลัว เกรี้ยวกราด นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ลักษณะการบาดเจ็บไม่สอดคล้อง กับข้อมูลที่ผู้ป่วยและญาติให้ประวัติเข้ามารับการตรวจที่ห้องฉุกเฉิน ซ้ำๆ บาดเจ็บหลายระบบ และลักษณะบาดแผลเกิดในเวลาที่แตกต่างกัน ขาดอาหารหรือขาดน้ำ มี หลักฐานว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศ รูปบาดแผลผิดปกติ เช่น รอย คล้ายเชือก มีคราบดินทรายติดตาม ร่างกาย ฟันผุ แว่นตาหัก กลิ่นปัสสาวะติดตามเสื้อผ้า เล็บยาว นอกจากนี้ ถ้าเป็นศพไม่มีญาติ หรือไม่ทราบว่าผู้ตายเป็นใคร เช่น มูลนิธิปอเต็กตึ้งนําร่างชายคน หนึ่ง ซึ่งนอนหมดสติอยู่กลางถนน เมื่อมาถึงโรงพยาบาลผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และไม่ทราบว่าผู้ป่วยเป็นใคร โดยทั่วไปมัก ระบุเป็นชายไทยไม่ทราบชื่อ (ภาษาอังกฤษเรียกว่า “John Doe”) หรือหญิงไทยไม่ทราบชื่อ (ภาษาอังกฤษเรียก ว่า “Jane Doe” หากไม่ทราบชื่อทั้งครอบครัว เรียก “The Doe family”) และให้


86 การรักษาตามอาการ ถ้าผู้ป่วยฟื้นขึ้นมาภายหลัง จะทําการสอบถามประวัติจากผู้ป่วยและติดต่อญาติ โดย ประสานงานกับนักสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาล กรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตในภายหลัง และไม่ทราบว่า ผู้ป่วยเป็นใคร ต้องเก็บหลักฐานต่างๆ เท่าที่มีในตัวผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ รองเท้า นาฬิกา ตั๋ว จํานํา และบัตรต่างๆ ส่วนการบันทึก จะใช้แนวทาง ารบันทึกแบบผู้ป่วยคดี 5.8 การดูแลผู้ป่วยที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้เสียหายที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual assault/ sexual molestation) มีทั้งเพศหญิง เพศ ชาย ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ควรได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกาย ตลอดจนการตรวจพิเศษใน ห้องปฏิบัติการ ต้องมีใบเซ็นยินยอม และมีแนวทางปฏิบัติดังนี้(แสงทอง ธีระทองคำ และไสว นรสาร, 2561) 1. การซักประวัติ สิ่งที่ควรซักได้แก่ 1.1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ชื่อ สกุล อายุ เพศ ที่อยู่ ประวัติประจําเดือนครั้งสุดท้าย การตั้งครรภ์ การ คุมกําเนิด การมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายก่อนเกิดเหตุการณ์ โรคประจําตัวโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 1.2 ประวัติการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ได้แก่ วัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ ประวัติเหตุการณ์โดยย่อ ของการกระทําชําเรา จํานวนคนที่กระทํา ถูกมอมยาหรือมอมสุราหรือสารเสพติดอื่น การถูกข่มขู่ การใช้ อาวุธ การผูกมัด จํานวนครั้งของการร่วมเพศ การใช้ถุงยางอนามัย มีการหลั่งอสุจิหรือไม่ ถ้ามีเป็นการหลั่ง ที่ใด การใช้อาวุธหรือวัตถุอื่นร่วมด้วยหรือไม่ 1.3 ภายหลังเกิดเหตุ ผู้เสียหายได้อาบน้ำ ชําระล้างอวัยวะเพศ ปัสสาวะ อุจจาระ เปลี่ยนเสื้อผ้า หรือแปรงฟัน บ้วนปาก รับประทานอาหาร ดื่มน้ำมาก่อนรับการตรวจหรือไม่ 1.4 การสอบถามพฤติกรรมเด็กจากผู้ปกครอง พ่อแม่ หรือคนที่เด็กไว้ใจ โดยแยกถามเกี่ยวกับ พฤติกรรมต่างๆ เช่น โกรธง่าย ซึมเศร้า กลัวโดยไม่มีเหตุผล แบบแผนการขับถ่าย ปัสสาวะ อุจจาระ การ นอน เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ 1.5 ประวัติการแพ้ เช่น แพ้ยา แพ้ยางลาเท็กซ์ 1.6 ถ้าเด็กเปิดเผยชื่อผู้กระทําผิด ต้องถามเกี่ยวกับรายละเอียดอื่นๆ ประกอบด้วย 1.7 เด็กที่ถูกข่มขืน มักมีพฤติกรรมทางเพศผิดปกติ ขาดเรียน ผลการเรียนเลวลง การขับถ่าย ผิดปกติ เบื่ออาหาร 2. การตรวจร่างกาย ต้องตรวจโดยแพทย์ด้วยความนุ่มนวล ให้ผู้เสียหายรู้สึกมั่นใจ ไม่ให้ดู เหมือนว่า ถูกกระทําซ้ำเติม ควรอธิบายขั้นตอนการตรวจ ให้ดูเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจ พร้อมทั้ง


87 อธิบายรายละเอียด และให้ผู้เสียหายยินยอม ดังต่อไปนี้ 2.1 การตรวจร่างกายทั่วไป ต้องตรวจอย่างระมัดระวังและละเอียด ทั้งเสื้อผ้าที่สวมใส่และตาม ร่างกาย เพื่อหาร่องรอยการบาดเจ็บ ที่ไม่ใช่ตําแหน่งที่มีการล่วงละเมิดทางเพศโดยตรง เช่น รอยซ้ำ รอย ถลอก รอยกัดข่วน โดยเฉพาะบริเวณคอ หลัง กัน และแขนขา รวมถึงมือและเล็บ เพื่อหาเส้นผมหรือขน และอาจมีเศษเนื้อเยื่อติดอยู่ 2.2 การตรวจร่างกายในตําแหน่งที่มีการล่วงละเมิดทางเพศ ได้แก่ บาดแผลจากการกัด จูบ หรือ ดูด อย่างแรง บาดแผลจากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก และช่องปาก 2.3 การตรวจหาร่องรอยของสารคัดหลั่งบนร่างกาย และรอบอวัยวะเพศ 3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วยการตรวจต่อไปนี้ 3.1 การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual transmitted diseases: STD) เช่น VDRL anti HIV, HBsAg 3.2 การตรวจเลือด ปัสสาวะ เพื่อตรวจหายาหรือสารเสพติด ซึ่งอาจมีการใช้ในการล่วงละเมิดทาง เพศ เช่น ยาในกลุ่ม Benzodiazepine, Midazolam (Dormicum, alprazolam) ยาอี (Ecstasy) ยาไอซ์ (Ice/ methamphetamine/amphetamine) 3.3 การตรวจวินิจฉัยการตั้งครรภ์ ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืนกระทําชําเรา และมี การแจ้งความไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ผู้เสียหายต้องการยุติการตั้งครรภ์แพทย์ทําแท้งได้โดยไม่ผิดกฎหมาย 3.4 การตรวจวัตถุพยาน เพื่อหาหลักฐานของการทําร้าย การมีเพศสัมพันธ์ของผู้เสียหาย ซึ่งมี หลายวิธีในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการตรวจหาตําแหน่งของคราบ การตรวจหาอสุจิ และการตรวจหาเอนไซม์ ดังนี้ 3.4.1 การตรวจหาตําแหน่งของคราบอสุจิ ปกติคราบอสุจิจะมีขาวขุ่น ทึบแสง ค่อนข้างหนืด และมีกลิ่นเฉพาะ ถ้าแห้งและติดตามเสื้อผ้าสีอ่อน จะสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ถ้าเป็นเสื้อผ้าสีเข้ม อาจใช้แว่นขยายช่วย 3.4.2 การตรวจหาตัวอสุจิและน้ำอสุจิ น้ำอสุจิ (Semen) สร้างจากอัณฑะ ปกติน้ำอสุจิ 1 มิลลิลิตร จะมีตัวอสุจิประมาณ 60 ล้านตัว อสุจิแต่ละตัวประกอบด้วยส่วนหัวและส่วนหาง ถ้านําไปย้อมสี ส่วนหัวจะติดสีแดง ส่วนหางจะติดสีน้ำเงิน อสุจิจะสามารถเคลื่อนไหวได้ประมาณ 6 ชั่วโมงหลังการหลั่ง 3.4.3 การตรวจหาเอนไซม์ Acid phosphatase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในอสุจิจํานวนมาก โดยน้ำ อสุจิ 1 มิลลิลิตร มี Acid phosphatase ประมาณ 2,500 units ซึ่งจะพบเอนไซม์นี้ในช่องคลอดประมาณ 20 units การทดสอบทําโดยใช้น้ำยาหยดลงบริเวณที่สงสัยว่ามีคราบอสุจิ ถ้าเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วง ชนิดของน้ำยาภายใน 60 วินาที แสดงว่าการทดสอบหาคราบอสุจิให้ผลบวก


88 3.4.4 การเก็บวัตถุพยานอื่นๆ เพื่อส่งตรวจหา DNA เช่น เส้นผม ขนเพชร เนื้อเยื่อจากซอกเล็บ และเสื้อผ้า หลักการดูแลรักษาผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 1. การรักษาทางด้านร่างกาย เช่น บาดแผลต่างๆ ร่องรอยการถูกทําร้าย การได้รับสารพิษ 2. การรักษาทางด้านจิตใจ เช่น การส่งปรึกษาทีมจิตเวช เพื่อเยียวยาด้านจิตใจ 3. การป้องกันการติดเชื้อ HIV โดยหลังการถูกข่มขืนกระทําชําเรา ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อ HIV และได้รับยาต้านไวรัส HIV ป้องกันภายใน 72 ชั่วโมง ยกเว้นผู้ป่วยที่ติดเชื้ออยู่ก่อนแล้ว แพทย์จะให้คําแนะนําและส่งไปรักษากับแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อต่อไป 4. การป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การให้รับประทานยาคุมกําเนิดประเภทฉุกเฉิน 5. การป้องกันการเกิดซ้ำ และการให้การดูแลผู้ป่วยในกรณีพิเศษต่างๆ เช่น หญิงปัญญาอ่อน เด็ก ที่ถูก คนในครอบครัวซึ่งเป็นพ่อแท้ๆ พ่อเลี้ยงหรือพี่น้องล่วงละเมิดทางเพศ (Incest) ต้องติดต่อกับ หน่วยงานที่มี บทบาทในการช่วยเหลือดูแล เมื่อผู้ป่วยจําหน่ายออกจากโรงพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย และครอบครัว บทบาทพยาบาลกับการปฏิบัติกับผู้เสียหายที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ในสหรัฐอเมริกามีพยาบาลที่ตรวจผู้เสียหายที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยเฉพาะ เรียกว่า “Sexual assault nurse examiner หรือ SANE” โดยบางรัฐกําหนดให้พยาบาลที่ทําหน้าที่นี้ ต้องเป็นผู้ปฏิบัติการ พยาบาลขั้นสูง (Advanced Practice Nurse: APN) โดยผ่านการอบรมภาคทฤษฎีอย่างน้อย 40 ชั่วโมง และผ่านการฝึกปฏิบัติภาคสนาม โดยมีพี่เลี้ยง (Preceptorship) อีก 45 ชั่วโมง จึงจะได้วุฒิบัตร และ สามารถตรวจผู้เสียหายที่เกี่ยวเนื่องจากการล่วงละเมิดทางเพศได้(แสงทอง ธีระทองคำ และไสว นรสาร, 2561) สําหรับพยาบาลวิชาชีพ แม้ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ควรมีทักษะในการเก็บและรักษา พยานหลักฐาน ทั้งพยานหลักฐานที่มีโอกาสสูญหาย เน่าเปื่อย เสื่อมสลาย รวมถึงการประเมินรักษาการ บาดเจ็บ การป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันการตั้งครรภ์ การเก็บหลักฐานทางนิติเวช การ ให้คําปรึกษาและให้การเห็นใจ โดยบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้เสียหายที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ สรุปได้ ดังนี้ 1. แนะนําผู้ที่ถูกข่มขืน ให้แจ้งความและนําใบแจ้งความมายื่นเมื่อมาพบแพทย์ ส่วนการพิจารณา ผู้ถูกข่มขืนควรได้รับการตรวจอย่างรีบด่วนหรือไม่ ให้ดูที่ระยะเวลาที่มาตรวจ ดังนี้ 1.1 ถ้ามาตรวจภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) หลังจากถูกข่มขืน หรือรายที่มีความผิดปกติมาก พยาบาลควรจัดให้ผู้ถูกข่มขืนได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ภายในวันนั้น ซึ่งจะมีโอกาสพบร่องรอยการ


89 ข่มขืน 1.2 ถ้ามาตรวจหลังเกิดเหตุการณ์เกิน 3 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน เป็นกลุ่มที่อาจมีร่องรอยเหลืออยู่ บ้าง อาจตรวจทันทีหรืออาจนัดตรวจในวันรุ่งขึ้น 1.3 ถ้าเลย 7 วันแล้ว ผู้เสียหายจะมาตรวจวันไหนก็ได้ เพราะจะตรวจไม่พบร่องรอยการถูกข่มขืน 2.. คํานึงถึงหลักความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และการรักษาความลับเสมอ การตรวจร่างกาย ต้องให้ผู้ป่วยรับรู้และยินยอม กรณีที่ผู้ถูกข่มขืนเป็นเด็ก ขณะตรวจร่างกายควรให้ผู้ปกครองอยู่ด้วย แต่ การซักประวัติ ควรต้องแยกสอบถาม เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้รับจากเด็กและผู้ปกครองว่าตรงกัน หรือไม่ ทั้งนี้ พยาบาลควรระวังไม่ให้ข้อมูลของผู้ถูกข่มขืนเปิดเผย 3. การเก็บพยานหลักฐาน ได้แก่ พยานวัตถุที่ได้จากผู้เสียหาย อาจเป็นพยานที่ไม่ใช่คราบหรือ ของเหลว เช่น เสื้อผ้า ชุดชั้นใน เส้นผม ขนเพชร เศษเนื้อเยื่อที่เล็บ เส้นใย เศษแก้ว เศษดิน ทราย คราบ โคลน อาจตกหล่นหรือติดมากับเสื้อผ้าผู้เสียหาย พยานเหล่านี้ถ้ามีความชื้นต้องผึ่งให้แห้งก่อนบรรจุใส่ใน ซองกระดาษปิดให้มิดชิด พร้อมเขียนชื่อสกุล ชนิดของวัตถุที่อยู่ในชอง วันเวลาที่เก็บ และลงลายมือชื่อผู้ เก็บ เพื่อส่งต่อไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ส่วนพยานหลักฐานที่เป็นคราบหรือของเหลว เช่น คราบเลือด คราบน้ำลาย คราบอสุจิตามร่างกาย เล็บมือ ตามเสื้อผ้า ขอบหรือเป้ากางเกง คราบเหล่านี้ต้องส่งตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อพิสูจน์หา DNA หรือ อสุจิ โดยควรผึ่งคราบเหล่านี้ให้แห้งอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อน บรรจุใส่ถุงกระดาษ หลีกเลี่ยงการบรรจุในถุงพลาสติก หรือภาชนะที่อากาศถ่ายเทไม่ได้ (Air tight) เพราะ จะเกิดการอับชื้น เกิดแบคทีเรียและเชื้อรา (Mold contamination) และหากนําไปพิสูจน์หา DNA อาจ ทําให้ค่าที่ทดสอบคลาดเคลื่อนได้ 4. ก่อนเก็บพยานหลักฐาน หากมีบาดแผลตามร่างกาย ห้ามเช็ดบาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือ แอลกอฮอล์ ไม่ใช้สารหล่อลื่นในการเก็บตัวอย่างจากช่องคลอดหรือบริเวณอวัยวะเพศเพราะจะทําลาย DNA 5. พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน ควรปฏิบัติต่อผู้ที่ถูกข่มขึ้นอย่างระมัดระวัง โดยควรนึก ถึง ภาวะทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด เช่น การตาม แพทย์เพื่อมาตรวจในเด็กที่ถูกข่มขืน ควรตามให้ครบทั้งทีมทั้งวิสัญญีแพทย์และสูตินรีแพทย์เพื่อทําการ ตรวจภายใน 6. ส่งปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์นิติเวช จิตแพทย์ กรณีผู้ถูกข่มขืนอายุไม่เกิน 15 ปี ต้องส่ง ปรึกษากุมารแพทย์ ผู้ถูกข่มขืนที่ปัญญาอ่อน/คนเร่ร่อน/ ถูกกระทําโดยคนในครอบครัว ต้องได้รับ การประเมิน จากสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมและป้องกันการถูกกระทําซ้ำ


90 5.9 การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางนิติเวช การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางนิติเวชเป็นการตรวจชีววัตถุในคนสุขภาพดี ผู้ป่วย หรือศพที่ตายโดย ไม่ทราบสาเหตุ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการดําเนินทางคดี วิธีการเก็บต้องได้มาตรฐานและเป็นที่ ยอมรับของศาล พยาบาลต้องรู้วิธีการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการปนเปื้อน การสูญหายและการ เสื่อมสลายของตัวอย่าง นอกจากนี้ ต้องระบุรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ให้ครบ ได้แก่ ชื่อ วันที่เก็บ เลขที่ของ ผู้ป่วย ในกรณีที่สิ่งส่งตรวจเป็นเลือด ต้องระบุตําแหน่งที่เจาะเลือดของร่างกาย ถ้ายังไม่นําส่ง ห้องปฏิบัติการทันที สิ่งส่งตรวจทุกชนิดต้องเก็บที่ตู้เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส วัตถุตัวอย่างที่ต้องเก็บ ส่งตรวจมีหลายประเภท ได้แก่ (แสวง บุญลิมวิภาส, 2560: แสงทอง ธีระทองคำ และไสว นรสาร, 2561) 1. วัตถุตัวอย่างที่ได้จากคนที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น อาเจียน น้ำลาย น้ำล้างกระเพาะอาหาร เลือด และ ปัสสาวะ 2. วัตถุและอวัยวะจากศพ ได้แก่ กระเพาะอาหาร และสิ่งที่อยู่ภายใน เลือด ปัสสาวะ ของเหลว ในกระเพาะอาหาร น้ำดี ตับ ไต ปอด สมอง หัวใจ เส้นผม (ตัวอย่างข้อนี้แพทย์นิติเวชเป็นผู้เก็บ) 3. วัตถุอื่นๆ ที่สงสัยว่าเป็นสารพิษเจือปน ที่ทําให้เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยหรือสาเหตุการตาย ยารักษาโรคต่างๆ ที่พบในบริเวณใกล้เคียงผู้ป่วยหรือผู้ตาย สารเคมีต่างๆ ที่พบในบริเวณใกล้เคียง เครื่องดื่มหรืออาหารที่สงสัยว่าเจือปนสารพิษ วิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจที่พยาบาลควรทราบ มีดังนี้ 1.. การเจาะเลือดเพื่อวิเคราะห์แอลกอฮอล์ ในรายที่สงสัยว่ามีแอลกอฮอล์ในร่างกายหรือคนเมา จากได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยแล้ว การเจาะหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมีวิธีการดังนี้ 1.1ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เช่น Betadine เช็ดผิวหนังที่เจาะเลือด ดูดเลือด 3-5 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดแก้วสูญญากาศที่มีสาร Sodium fluoride (NaF) เพื่อป้องกันการแข็งตัวของ เลือด 1.2 ปิดฝาให้สนิทและพันด้วยพาราฟิล์ม (parafilm) หรือกาวทับอีกครั้งเพื่อป้องกันการระเหย ของแอลกอฮอล์กรณีไม่สามารถเจาะเลือดได้ให้เก็บปัสสาวะ ซีรั่ม หรือพลาสม่าแทน หากผลการตรวจ พบว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดมากกว่า 50 mg% ตามกฎหมายถือว่า มีระดับแอลกอฮอล์เกิน มาตรฐาน หากขับรถจะมีความผิดตามกฎหมายจราจร สําหรับทางการแพทย์จะถือว่าเมาสุรา เมื่อมี ปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดมากกว่า 150 mg% 2.. การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อหาสารเสพติด สิ่งส่งตรวจเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยมีสารเสพ ติดในร่างกายมีหลายประเภท เช่น ปัสสาวะ เลือด เส้นผม และเล็บ โดยทั่วไปนิยมใช้ปัสสาวะเป็นสิ่งส่ง


Click to View FlipBook Version