The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jakkit peekam, 2021-10-28 03:48:30

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565



คำนำ

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยอำเภอวังเหนือ ฉบับนี้ เป็นแผนที่แสดงให้เห็นภาพรวมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักงาน กศน. ที่สนองตอบต่อเจตนารมณ์ของ
พระราชบญั ญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังเหนือ ได้นำกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) แผนการศึกษาแห่งชาติ(พ.ศ.2560-
2579) นโยบายรัฐบาล นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ จุดเน้นของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จุดเน้นเชิงนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการแผนพัฒนา
การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) แผนปฏิบัติราชการประจำปีพ.ศ.2564 ของ
กระทรวงศึกษาธิการ แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2564 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและ
นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 แผนปฏิบัติราชการประจำปีพ.ศ.2564
ของสำนักงาน กศน.และนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ศูนย์การศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังเหนือ นำมาเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2565 บนพื้นฐานการได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
สามารถดำเนนิ ชวี ติ ที่เหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกบั หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีทกั ษะที่จำเป็นใน
โลกทศวรรษที่ 21 สาระของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสถานศึกษา ประกอบด้วย
สรุปภาพรวมงาน/โครงการและงบประมาณ รวมทั้งรายละเอยี ดงาน/โครงการและงบประมาณที่ดำเนินการใน
ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสถานศกึ ษาในแตล่ ะกลมุ่ งาน

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังเหนือ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความ
ร่วมมือในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสถานศึกษา ฉบับนี้จนสำเร็จลุล่วงไป
ด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนปฏิบัตปิ ระจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสถานศึกษา จะเป็นแนวทางใน
การบริหารงาน/โครงการ และงบประมาณ ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการกำกับติดตามผลการดำเนินงานของ
ผู้บริหาร รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงาน และผู้สนใจกิจกรรมงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยต่อไป

ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอวังเหนอื
ตลุ าคม 2564

แผนปฏบิ ัตกิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอวังเหนอื



สารบัญ หน้า

คำนำ ก
สารบัญ ข
ส่วนท่ี 1 บทนำ
1
- กรอบยุทธศาสตรช์ าตริ ะยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) 3
- แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 5
- แผนการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 19
- แผนปฏบิ ัติราชการประจาํ ปงบประมาณ พ.ศ.2564 ของกระทรวงศึกษาธกิ าร 23
- แผนปฏบิ ัติราชการประจาํ ปงบประมาณ พ.ศ.2564 ของสำนักปลัดกระทรวง
26
กระทรวงศกึ ษาธิการ 27
- แผนบูรณาการดา้ นการศึกษาระดับภาค (ภาคเหนือ) 35
- แผนพฒั นาการศึกษาจังหวดั ลำปาง พ.ศ. 2562 – 2565 40
- แผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏบิ ัตกิ ารประจำปี ของจังหวดั ลำปาง
- นโยบายและจุดเนน้ การดาํ เนินงาน สำนักงาน กศน. ปงี บประมาณ 2564 52
ส่วนท่ี 2 ทิศทางการดําเนนิ งาน ของ กศน.อำเภอวังเหนือ ประปีงบประมาณ 2565 69
- วสิ ยั ทศั น์ พันธกจิ เป้าประสงค์ ตวั ช้วี ดั 74
- นโยบายเร่งดว่ น 81
- นโยบายต่อเนอื่ ง
- รายละเอียดงบประมาณรายจ่าย ประจาํ ปงี บประมาณ พ.ศ.2564 82
ส่วนท่ี 3 รายละเอียดโครงการ 85
นโยบายตอ่ เน่อื งด้านการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขน้ั พื้นฐาน
1. โครงการเพม่ิ อัตราการรู้หนงั สอื และยกระดบั การรู้หนังสอื ของประชาชน 88
2. โครงการยกระดบั การจดั การศกึ ษานอกระบบตั้งแต่อนบุ าลจนจบการศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐาน
92
- การจัดการศึกษาหลกั สูตรการศึกษานอกระบบระดับการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน 96
- กจิ กรรมพฒั นาคุณภาพผู้เรยี น
- การจดั ซื้อหนังสอื เรยี น 100

นโยบายตอ่ เนอ่ื งดา้ นการศึกษาต่อเนื่อง
3. โครงการจัดการศึกษาต่อเน่ือง : ทักษะชีวติ /สงั คมและชุมชน/เศรษฐกจิ พอเพียง
- การศกึ ษาเพ่ือพฒั นาทักษะชีวติ
-การศกึ ษาเพื่อพัฒนาสงั คมและชมุ ชน
-การศึกษาตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. โครงการจัดกิจกรรมอบรมหลักสูตรการดแู ลผูส้ งู อายุกระทรวงศกึ ษาธิการ
5. โครงการจัดและส่งเสริมการจดั การศึกษาตลอดชีวติ เพอื่ คงพฒั นาการทางกาย จิตและ

สมองของผสู้ งู อายุ
6. โครงการจดั การศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน : ศูนยฝ์ ึกอาชพี ชุมชน

แผนปฏบิ ัติการประจำปงี บประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอวงั เหนอื



สารบญั (ตอ่ ) หน้า
104
7. โครงการจดั กจิ กรรมพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะการใชภ้ าษาอังกฤษของครแู ละ 108
ประชาชน 111
115
8. โครงการสรา้ งเครือข่ายดิจทิ ลั ชมุ ชนระดบั ตำบล
นโยบายตอ่ เนอื่ งด้านการศึกษาตามอธั ยาศยั 119
123
9. โครงการสง่ เสริมการอ่านและพัฒนาเรยี นรู้ของชมุ ชน
10. โครงการพลกิ โฉมกศน.ตำบล สู่ “กศน.ตำบล 5 ดีพรีเม่ยี ม” 126
นโยบายต่อเนอื่ งดา้ นโครงการอนั เน่อื งมาจากพระราชดำริหรือโครงการอันเก่ียวเน่ืองจาก 129
ราชวงศ์
11.โครงการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเดจ็ พระวชริ เกลา้ เจ้าอยู่หัวสู่ 133
การปฏบิ ัติและปลุกจิตสำนกึ ความรักชาติ ศาสนาและเทดิ ทูนพระมหากษัตรยิ ์
14. โครงการในพระราชดำริ สวนพฤกษศาสตรใ์ นโรงเรยี น กศน.อำเภอวังเหนือ 138
นโยบายตอ่ เนอ่ื งดา้ นหลักสตู ร สื่อรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวดั และประเมนิ ผล
งานบรกิ ารทางวชิ าการ และการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา 142
15. โครงการพฒั นาคุณภาพการเรียนการสอน(พฒั นาคุณภาพผู้เรยี น แบบเรียน สื่อ และ

พัฒนาครู)
16. โครงการพฒั นาการดำเนนิ งานประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม

อัธยาศัยสถานศึกษาในสังกดั
นโยบายต่อเนื่องด้านเทคโนโลยเี พ่ือการศึกษา

17. โครงการเพ่มิ และกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนกลุม่ เป้าหมายโดยเฉพาะ
ผูด้ ้อยโอกาสด้วยเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สารทม่ี คี ุณภาพ

นโยบายตอ่ เนอื่ งด้านบคุ ลากร ระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
18. พัฒนาการบริหารจัดการ สำนกั งาน กศน.จงั หวดั ลำปางและสถานศกึ ษาในสงั กัด
- การพัฒนาบุคลากร
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง
- การพฒั นาระบบการบรหิ ารจดั การ/การพัฒนาองค์ความรู้และฐานขอ้ มลู
19. โครงการนิเทศ ติดตามผลการจดั กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อธั ยาศัย

ส่วนท่ี 4 กศน-กผ -01
ส่วนท่ี 5 กศน-กผ -02
สว่ นที่ 6 กศน-กผ -03
คณะผ้จู ดั ทำ

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอวงั เหนอื

1

ส่วนท่ี 1 บทนำ

กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติได้ดำเนินการยกร่างกรอบยุทธศาสตร์แห่งชาติ ระยะ 20 ปี
(พ.ศ.2561-2580) เพ่ือใช้เปน็ กรอบแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปี โดยกำหนดวิสัยทศั น์ เปา้ หมายและ
ยทุ ธศาสตร์ ดังนี้

วสิ ยั ทัศน์
“ประเทศไทยมีความมน่ั คง มั่งคัง่ ย่งั ยนื เป็นประเทศพฒั นาแลว้ ด้วยการพฒั นาตามหลกั ปรัชญาของ
เศรษฐกจิ พอเพยี ง” และเป็นคติพจนป์ ระจำชาตวิ า่ “มั่นคง ม่ังคง่ั ยงั่ ยนื ”
เปา้ หมาย
1. ความมั่นคง

1.1 การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอก
ประเทศในทกุ ระดับ ท้งั ระดบั ประเทศ สงั คม ชมุ ชน ครัวเรือน และปจั เจกบุคคล และมีความมั่นคงในทกุ มิติ ท้งั มิติ
เศรษฐกจิ สังคม ส่งิ แวดลอ้ ม และการเมอื ง

1.2 ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
ที่เข้มแข็ง เป็นศูนย์กลางและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ระบบการเมืองมีความมั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่
การบรหิ ารประเทศทตี่ ่อเน่อื งและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล

1.3 สังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชน
มคี วามเขม้ แขง็ ครอบครัวมคี วามอบอ่นุ

1.4 ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีที่อยู่อาศัยและ
ความปลอดภัยในชีวติ ทรพั ยส์ ิน

1.5 ฐานทรพั ยากรและสงิ่ แวดลอ้ ม มีความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ
2. ความมงั่ คง่ั
2.1 ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มรายได้สูง
ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากข้ึน

2.2 เศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างรายได้ทั้งภายในและภายนอก
ประเทศ สร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต และเป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งการคมนาคมขนส่ง
การผลติ การคา้ การลงทนุ และการทำธุรกจิ มีบทบาทสำคญั ในระดับภมู ิภาคและระดบั โลก เกดิ สายสัมพันธท์ างเศรษฐกิจ
และการคา้ อย่างมีพลัง

2.3 ความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา
ทนุ ทางการเงนิ ทุนทเ่ี ป็นเคร่ืองมือเครอ่ื งจักร ทนุ ทางสังคม และทนุ ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม

3. ความยง่ั ยืน
3.1 การพัฒนาทส่ี ามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวติ ของประชาชนใหเ้ พิม่ ขน้ึ อยา่ ง

ต่อเนอ่ื ง ซึง่ เปน็ การเจรญิ เตบิ โตของเศรษฐกจิ ที่ไมใ่ ช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดีไม่สร้างมลภาวะตอ่ สิง่ แวดล้อม
จนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศน์

แผนปฏบิ ตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยอำเภอวงั เหนอื

2
3.2 การผลติ และการบริโภคเปน็ มิตรกับสงิ่ แวดล้อม และสอดคล้องกบั กฎระเบยี บของประชาคม
โลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับรว่ มกัน ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมมีคณุ ภาพดีข้ึน คนมีความ
รบั ผิดชอบต่อสงั คม มีความเอ้ืออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชนส์ ว่ นรวม
3.3 ประชาชนทกุ ภาคส่วนในสงั คมยึดถือและปฏิบตั ติ ามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
วตั ถปุ ระสงค์
1. เพ่ือสร้างความปรองดองสมานฉันท์
2. เพอื่ เพ่ิม กระจายโอกาสและคณุ ภาพการให้บริการของรัฐอย่างท่ัวถึง เทา่ เทียม เป็นธรรม
3. เพ่ือลดตน้ ทนุ ให้ภาคการผลิตและบรกิ าร
4. เพอ่ื เพ่ิมมูลค่าสนิ ค้าเกษตร อุตสาหกรรม และบรกิ ารด้วยนวตั กรรม
ยทุ ธศาสตร์ชาตริ ะยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 -2580) มี 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งเกย่ี วข้องกบั สำนกั งาน
ปลดั กระทรวงศึกษาธกิ าร 4 ยุทธศาสตร์ ดงั น้ี
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน และความสงบ
เรยี บร้อยภายใน ตลอดจนการบริหารจดั การความมั่นคงชายแดนและชายฝัง่ ทะเล
2. ยทุ ธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสรมิ สร้างศกั ยภาพศักยภาพคน

2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 3.1 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตให้สนับสนุน
การเจรญิ เตบิ โตของประเทศ

2.2 ยุทธศาสตร์ที่ 3.2 การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ
เท่าเทียม และทว่ั ถึง

2.3 ยุทธศาสตรท์ ่ี 3.3 การปลูกฝังระเบียบวนิ ัย คุณธรรมจริยธรรม ค่านยิ มที่พงึ ประสงค์
3. ยุทธศาสตรท์ ี่ 4 ด้านการสรา้ งโอกาสบนความเสมอภาคและความเทา่ เทียมกนั ทางสงั คม

3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 4.1 การสร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้ำทางด้าน
เศรษฐกิจและสังคม

4. ยุทธศาสตรท์ ่ี 6 ดา้ นการปรบั สมดุลและพฒั นาระบบการบรหิ ารจดั การภาครัฐ
4.1 ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 6.1 การปรับปรงุ โครงสรา้ ง บทบาท ภารกิจของหน่วยงานภาครัฐให้มี

ขนาดท่ีเหมาะสม

แผนปฏบิ ัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยอำเภอวงั เหนอื

3

แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564)

การพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็น 5 ปีแรกของการ
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) สู่การปฏิบัติโดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับท่ี 12 มีหลักการท่ีสำคญั คือ

1) ยดึ “หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง” เพ่ือให้เกดิ บูรณาการ การพฒั นาในทกุ มติ ิอย่างสมเหตุสมผล
มคี วามพอประมาณ และมีระบบภมู คิ ุม้ กันและการบรหิ ารจดั การ ความเสย่ี งทีด่ ี ซง่ึ เป็นเงือ่ นไขทจี่ ำเปน็ สำหรับการ
พฒั นาทยี่ ่งั ยนื ซ่งึ มุ่งเน้นการพฒั นาคนมีความเปน็ คนที่สมบูรณ์ สังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ มีที่ยืนและเปิดโอกาส
ให้กบั ทุกคนในสงั คมไดด้ ำเนินชวี ิตทีด่ ี มีความสุขและอยู่รว่ มกนั อย่างสมานฉันท์

2) ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย
พัฒนาคนให้มคี วามเปน็ คนทสี่ มบรู ณ์ มวี นิ ัย ใฝร่ ู้ มีความรู้ มีทกั ษะ มคี วามคิดสรา้ งสรรค์ มที ัศนคตทิ ีด่ ี รบั ผดิ ชอบตอ่
สังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ รวมถึง
การสรา้ งคนใหใ้ ชป้ ระโยชน์และอยู่กับส่ิงแวดล้อมอยา่ งเกือ้ กลู อนุรกั ษ์ ฟืน้ ฟู ใช้ประโยชนท์ รัพยากรธรรมชาติและ
ส่งิ แวดลอ้ มอยา่ งเหมาะสม

3) ยึด“วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มาเป็นกรอบของวิสัยทัศน์ประเทศไทยใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า
“ม่นั คง มงั่ ค่ัง ยัง่ ยนื ”

4) ยึด “เป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579”ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
มาเป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปีแรกและเป้าหมายในระดับย่อยลงมา ควบคู่กับกรอบ
เปา้ หมายทย่ี ่งั ยืน (SDGs)

5) ยึด “หลักการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน 5 ปีที่ต่อยอดไปสู่ผลสัมฤทธิ์
ทเี่ ปน็ เปา้ หมายระยะยาว”

เป้าหมายรวม ประกอบด้วย 6 เป้าหมาย โดยมีเป้าหมายที่เกีย่ วข้องกบั สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
จำนวน 3 เปา้ หมาย ดังน้ี

1. เป้าหมายที่ 1 คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ มีวินัย มีทัศนคติและพฤติกรรมตาม
บรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์
มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีความเจริญงอกงาม ทางจิตวิญญาณ
มีวิถชี วี ติ ทพ่ี อเพยี ง และมคี วามเป็นไทย

2. เป้าหมายที่ 2 ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความยากจนลดลง เศรษฐกิจฐานราก
มีความเข้มแข็ง ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร การประกอบอาชีพ และบริการทางสังคมที่มี
คณุ ภาพอย่างทวั่ ถงึ และเปน็ ธรรม

3. เป้าหมายที่ 6 มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้
กระจายอำนาจและมสี ่วนรว่ มจากประชาชน

วตั ถปุ ระสงค์
1. เพ่ือใหค้ นไทยทกุ ช่วงวัยมที ักษะความรู้ความสามารถ สามารถพัฒนาตนเองได้ตอ่ เนื่องตลอดชวี ติ
2. เพือ่ ใหร้ ะบบเศรษฐกิจมีโครงสร้างที่เข้มแข็ง มเี สถียรภาพ แขง่ ขันได้ ยั่งยนื
3. เพอื่ รกั ษาทุนธรรมชาติและคุณภาพส่ิงแวดล้อมสู่ความสมดลุ ของระบบนิเวศน์
4. เพอื่ สรา้ งความมนั่ คงภายในประเทศ ปอ้ งกนั และลดผลกระทบจากภยั คกุ คามขา้ มชาติ
5. เพ่ือให้การทำงานเชงิ บูรณาการในลักษณะเชอ่ื มโยงระหว่างหน่วยงานทย่ี ดึ หน้าทแี่ ละพ้ืนที่
ทำใหภ้ าครฐั มีประสทิ ธภิ าพและปราศจากคอร์รปั ชั่น

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยอำเภอวังเหนอื

4
ยทุ ธศาสตรแ์ ผนพฒั นาพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 12 รวม 10 ยุทธศาสตร์
ซ่งึ เกยี่ วข้องกับสำนักงานปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการ 4 ยุทธศาสตร์ ดังน้ี
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยมีเป้าหมาย 1) ให้คนไทยส่วน
ใหญ่มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคมเพิ่มขึ้น 2) คนในสังคมไทยทุกช่วงวัยมีทักษะ
ความรู้ และความสามารถเพิ่มขึ้นและ 3) คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล และสามารถ
เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ
และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้วยการส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนที่สอดแทรก
คุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย จิตสาธารณะ รวมทั้งเร่งสร้างสภาพแวดล้อมภายในและโดยรอบ
สถานศึกษาให้ปลอดจากอบายมุขอย่างจริงจัง พัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะความรู้และความสามารถในการดำรงชีวิต
อยา่ งมีคณุ ค่า ดว้ ยการสง่ เสริมให้เด็กปฐมวัยมีการพฒั นาทักษะทางสมองและทักษะทางสังคมท่เี หมาะสม พัฒนาเด็ก
วัยเรียนและวัยรุ่นให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการทำงานและการใช้
ชวี ิตที่พรอ้ มเข้าสู่ตลาดงาน ส่งเสริมแรงงานใหม้ ีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพทีเ่ ป็นไปตามความต้องการของ
ตลาดงาน พัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นให้สามารถเข้าสู่ตลาดงานเพิ่มขึ้น และยกระดับคุณภาพ
การศึกษาและการเรยี นรู้ตลอดชวี ิต
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยมีเป้าหมาย
เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมของภาครัฐ ด้วยการเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายประชากร
ร้อยละ 40 ท่มี ีรายได้ต่ำสุดให้สามารถเข้าถงึ บริการท่ีมีคุณภาพของรัฐ และมีอาชีพ ทง้ั ในดา้ นการศึกษาในระดับที่
สูงขึ้น การได้รับขยายการคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) และสวัสดิการ (Welfare) ที่เหมาะสมอย่าง
ทั่วถึงและเป็นธรรม และการ พัฒนาทักษะฝีมือเพื่อประกอบอาชีพและยกระดบั รายได้ โดยขยายโอกาสการเข้าถึง
การศึกษาที่มีคุณภาพให้แกเ่ ด็กและเยาวชนท่ีด้อยโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนือ่ ง โดยไม่ถูกจำกัดศักยภาพจาก
สภาพครอบครัว พื้นที่ และสภาพร่างกาย การดูแลนักเรียนยากจนท่ีอาศัยในพื้นที่ห่างไกลที่ครอบคลมุ ตั้งแต่การสร้าง
รายได้ของครัวเรือน การสนับสนุนค่าเดินทางไปยังสถานศึกษา การให้ทุนการศึกษาต่อระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก
นกั เรียนออกจากโรงเรยี นกลางคัน รวมถงึ สนบั สนนุ การใชเ้ ทคโนโลยีเพื่อสง่ เสริมการเรยี นรใู้ นพนื้ ท่ีหา่ งไกล
3. ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศ สู่ความมั่งคั่งและ
ยั่งยืน โดยมเี ป้าหมายเพื่อปกปอ้ งและเชดิ ชูสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นสถาบันหลักของประเทศ และประชาชน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีโอกาสในการศึกษาและการประกอบอาชีพที่
สร้างรายได้เพิ่มขึ้น โดยการรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อให้เกิดความสงบในสังคมและธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของ
ชาติ ด้วยการสร้างจิตสำนกึ ของคนในชาติให้มีความหวงแหน และธำรงรักษาสถาบนั ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
โดยปลกู ฝงั และสร้างความตระหนักถงึ ความสำคญั และป้องกนั แกไ้ ขปัญหาความไมส่ งบในจังหวดั ชายแดนภาคใต้
โดยกระบวนการสนั ตสิ ุขแนวทางสันตวิ ิธี และกระบวนการมีส่วนรว่ มของประชาชนในพ้ืนท่ี บนพนื้ ฐานความแตกต่าง
ทางอัตลักษณ์และชาติพนั ธ์ุ เพอื่ ขจัดความขัดแย้ง ลดความรุนแรงตามแนวทาง “เขา้ ใจ เขา้ ถงึ พัฒนา”
4. ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและ
ธรรมาภบิ าลในสังคมไทย โดยมเี ปา้ หมายเพ่ือลดสัดส่วนคา่ ใชจ้ ่ายดา้ นบุคลากร และเพ่ิมประสิทธิภาพ การบริหาร
จัดการและการให้บริการของภาครัฐ การเพิ่มคะแนนดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นให้อยู่สูงกว่าร้อยละ 50 เมื่อสิ้นสุด
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงาน บทบาท ภารกิจ และคุณภาพบุคลากรภาครัฐ
ให้มีความโปร่งใส ทันสมัย คล่องตัว มีขนาดที่เหมาะสม เกิดความคุ้มค่า สามารถให้บริการประชาชนในรูปแบบ
ทางเลือกที่หลากหลายและมีคุณภาพ ข้าราชการมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าท่ี
องค์กรมีสมรรถนะสูงและมีความทันสมัย ราชการบริหารส่วนกลางมีขนาดเล็กลง และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมี
ขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่รับผิดชอบ และป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้สังคมไทยมีวินัย

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวงั เหนือ

5

โปร่งใส และยุติธรรม รวมท้ังสรา้ งความเขม้ แข็ง เป็นภมู คิ ้มุ กันของสงั คมไทยให้ครอบคลุมภาครฐั ภาคเอกชน และ
ภาคประชาชน พรอ้ มทั้งเพ่อื สร้างพลังการขบั เคล่ือนคา่ นยิ มตอ่ ตา้ นการทุจริต

แผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ.2560-2579

พระราชบัญญตั ิการศกึ ษาแหง่ ชาติพ.ศ. 2542 และทแ่ี กไ้ ขเพ่ิมเติม (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการ
สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษามีหน้าที่ในการ
พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ ทบ่ี รู ณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกฬี ากับการศึกษาทุกระดับ และ
ด้วยเหตุท่ีแผน การศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 – 2559) จะสิ้นสุดในปีพ.ศ. 2559 ดังนั้น สำนักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษาจึงได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 ซึ่ง เป็นแผนระยะยาว 20 ปี
เพื่อเป็นแผนแม่บทสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบ แนวทางในการพัฒนาการศึกษาในช่วง
ระยะเวลาดังกล่าว ในการดำเนินการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติได้ให้ความสําคัญ กับการมีสวนรวมของ
ทุกภาคสวน เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจ การยอมรับ และเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำ แผนฯ เพื่อให้
สามารถขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ศึกษาสภาวการณ์ และบริบทแวดล้อมที่มี
ผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ทั้งด้านความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีดิจิทัลแบบก้าวกระโดดที่
ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภูมิภาค และ โลก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไปสู่สงั คม
สงู วยั และทกั ษะของประชากรในศตวรรษ ที่ 21 ที่ทั่วโลกตา่ งต้องเผชญิ กบั ความทา้ ทายและมุง่ พฒั นาประเทศไปสู่
การพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมยุค 4.0 และนำผลการติดตามประเมินแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2552 – 2559
ซึ่งครอบคลมุ ประเด็นทเี่ กี่ยวกบั บริบทการจดั การศึกษา โอกาสทางการศึกษา คณุ ภาพการศึกษา ประสทิ ธิภาพการ
จัดการเรียนการสอน การบรหิ ารจัดการสถานศกึ ษา และการใชจ้ ่ายงบประมาณ รวมท้งั การพัฒนาการศกึ ษากับขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้ยังได้ศึกษา ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษา
ทั้งที่เกิดจากปัญหาของระบบการศึกษา และจาก สภาวการณ์ของโลกที่ประเทศต้องเผชิญ เพื่อนำมากำหนด
แนวคดิ ของการจัดการศึกษา วสิ ยั ทศั น์ วัตถุประสงค์ เปา้ หมายการพัฒนาการศึกษา บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนา รวมทั้งโครงการเร่งด่วนที่สำคัญ และการขับเคลื่อน
แผนการศกึ ษา แหง่ ชาติสู่การปฏิบัตโิ ดยมสี าระสำคญั สรปุ ไดด้ ังน้ี

• ความจำเป็นในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษท่ี
21 ทงั้ ในสว่ นท่เี ปน็ แรงกดดันภายนอก ไดแ้ ก่ การเปลย่ี นแปลงของบริบทเศรษฐกจิ และสงั คมโลก อันเนอื่ งจากการ
ปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 (The Fourth Industrial Revolution)
การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ2573 (Sustainable
Development Goals : SDGs 2030) ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน รวมทั้ง ผลกระทบของการเป็นประชาคม
อาเซียน และความต้องการกำลังคนที่มที ักษะในศตวรรษที่ 21 ประกอบกับแรงกดดันจากภายในประเทศจากการ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ส่งผลให้ ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้การติดกับดัก
ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ทัศนคติความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของประชากรที่ปรับเปลี่ยนไป
ตามกระแส โลกาภิวัตน์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและ เสื่อม
โทรมอย่างรวดเรว็ รวมทั้งระบบการศึกษาที่ยังมีปัญหาหลายประการ นบั ตั้งแตป่ ญั หาคุณภาพ ของคนไทยทุกช่วง
วัย ปัญหาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับ จุดอ่อนของระบบ การศึกษาและการพัฒนา
บุคลากรดา้ นวทิ ยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีและการบริหาร จดั การศึกษาของสถานศึกษาที่ยังไม่เหมาะสม
ขาดความคล่องตัว ยังมีความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาส และความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งปัญหาด้าน

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยอำเภอวังเหนอื

6

คุณธรรม จริยธรรม และการขาด ความตระหนักถึงความสำคัญของการมีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต และการมีจิต
สาธารณะของคนไทย ส่วนใหญ่ ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษา ที่ต้องปรับเปลี่ยนให้สนองและรองรับความท้า
ทาย ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาเป็นกลไกหลักของการ
ขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
(พ.ศ. 2560 – 2579) และกรอบทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 –
2564) เพื่อใหส้ ามารถนำพาประเทศไปสู่ความมน่ั คง ม่ังคง่ั และย่ังยนื ในอีก 20 ปขี ้างหน้า

● วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ตัวชี้วัด และยุทธศาสตร์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ
จากแนวคิดการจัดการศึกษาดังกลา่ วข้างต้น แผนการศกึ ษาแห่งชาติฉบับนี้จึงได้กำหนด วิสยั ทศั น(์ Vision) ไว้ดังนี้
“คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ โลกศตวรรษที่ 21” โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัด
การศึกษา 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2)
เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนญู
แห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญตั กิ ารศึกษาแห่งชาติและยทุ ธศาสตรช์ าติ3) เพ่ือพฒั นาสงั คมไทยใหเ้ ป็นสังคม
แห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดัก ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
และความเหล่ือมลำ้ ภายในประเทศลดลง เพอ่ื ให้บรรลวุ ิสัยทศั น์และจดุ ม่งุ หมายในการจัดการศึกษาดังกลา่ วข้างต้น
แผนการศกึ ษา แห่งชาตไิ ด้วางเปา้ หมายไว้2 ด้าน คือ เปา้ หมายด้านผู้เรยี น (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนา
ผู้เรียนทุกคนให้มี คุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ประกอบด้วย ทักษะและ
คณุ ลกั ษณะต่อไปน้ี

✥ 3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียนได้(Writing) และการคิดเลขเป็น
(Arithmetics)

✥ 8Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical
Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross – cultural Understanding) ทักษะด้านความ
ร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการ
สื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy) ทักษะด้าน
คอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และ
ทักษะ การเรียนรู้(Career and Learning Skills) และความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม
(Compassion)

เป้าหมายของการจดั การศกึ ษา (Aspirations) 5 ประการ ซึง่ มตี วั ชี้วดั เพ่ือการบรรลุ เป้าหมาย
53 ตวั ช้ีวัด ประกอบด้วย เป้าหมายและตวั ชวี้ ัดท่สี ำคญั ดังนี้

1) ประชากรทกุ คนเขา้ ถึงการศกึ ษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอยา่ งท่วั ถงึ (Access) มตี วั ชวี้ ดั
ทส่ี ำคัญ เช่น ประชากรกล่มุ อายุ 6 - 14 ปที ุกคนไดเ้ ข้าเรียนในระดับประถมศึกษาและ มธั ยมศกึ ษาตอนต้นหรือ
เทยี บเท่าทรี่ ัฐต้องจัดให้ฟรโี ดยไม่เกบ็ ค่าใช้จ่าย ผ้เู รียนพิการไดร้ บั การพัฒนาสมรรถภาพหรือบรกิ ารทางการศึกษา
ที่เหมาะสมทุกคน และประชากรวัยแรงงาน มีการศึกษาเฉลย่ี เพ่ิมขึ้น เปน็ ตน้

2) ผู้เรยี นทกุ คน ทุกกลมุ่ เป้าหมายได้รับบริการการศกึ ษาท่มี ีคุณภาพตามมาตรฐาน อยา่ งเทา่
เทยี ม (Equity) มีตัวช้ีวดั ท่สี ำคัญ เช่น ผเู้ รียนระดบั การศึกษาขั้นพ้ืนฐานทุกคนได้รับ การสนับสนนุ คา่ ใชจ้ ่ายใน
การศกึ ษา 15 ปีเปน็ ต้น

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอวังเหนือ

7

3) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผเู้ รียนให้บรรลุขีดความสามารถ เต็มตาม
ศักยภาพ (Quality) มตี วั ชว้ี ดั ทส่ี ำคญั เช่น นกั เรยี นมคี ะแนนผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพน้ื ฐาน
(O-NET) แตล่ ะวิชาผา่ นเกณฑ์คะแนนรอ้ ยละ 50 ข้นึ ไปเพิ่มขน้ึ และคะแนนเฉลีย่ ผลการทดสอบโครงการ
ประเมนิ ผลนักเรียนร่วมกับนานาชาต(ิ Program for International Student Assessment : PISA) ของนักเรยี น
อายุ15 ปสี ูงขึน้ เป็นต้น

4) ระบบการบรหิ ารจัดการศึกษาทีม่ ปี ระสทิ ธิภาพ เพื่อการลงทนุ ทางการศึกษาที่ คุ้มค่าและ
บรรลุเป้าหมาย (Efficiency) มีตัวช้ีวดั ท่ีสำคญั เช่น ร้อยละของสถานศกึ ษาขนาดเล็ก ท่ีไมผ่ า่ นเกณฑก์ ารประเมนิ
คุณภาพภายนอกลดลง มรี ะบบการบริหารงานบุคคล ครแู ละบคุ ลากร ทางการศกึ ษาที่มีประสิทธภิ าพและเปน็ ไป
ตามเกณฑม์ าตรฐาน รวมท้ังมีกลไกส่งเสรมิ ให้ ทุกภาคส่วนสนับสนนุ ทรพั ยากรเพ่อื การจัดการศึกษา เปน็ ตน้

5) ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและ บริบทที่
เปลีย่ นแปลง (Relevancy) มตี วั ชว้ี ดั ท่ีสำคญั เช่น อันดบั ความสามารถในการแข่งขนั ของ ประเทศดา้ นการศึกษาดี
ขึ้น สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผู้เรียนสามัญศึกษา และ จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่ติดอันดับ
200 อนั ดับแรกของโลกเพ่ิมข้นึ เป็นต้น เพือ่ ให้บรรลุวิสัยทัศน์จุดมุ่งหมาย และเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น แผนการ
ศึกษาแห่งชาติ จึงได้กำหนดช่วงเวลาในการดำเนินการในแต่ละเป้าหมายและตัวชี้วัด เป็น 5 ช่วง ดังนี้ระยะ
เร่งด่วน ระยะ 5 ปีแรกของแผน ระยะ 5 ปีที่สองของแผน ระยะ 5 ปีที่สามของแผน และระยะ 5 ปีสุดท้ายของ
แผน ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด แผนการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาการศึกษา
ภายใต้6 ยุทธศาสตร์หลักที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ20 ปีเพื่อให้ แผนการศึกษาแห่งชาติบรรลุเป้าหมายตาม
จดุ มุ่งหมาย วสิ ัยทศั น์และแนวคิดการจัดการศึกษา ดังกลา่ วขา้ งตน้ ดังนี้

ยุทธศาสตรท์ ่ี 1 : การจัดการศกึ ษาเพ่อื ความมน่ั คงของสงั คมและประเทศชาติ มเี ปา้ หมาย
ดงั นี้

1. คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น การจัดกิจกรรมของ สถานศึกษาขั้น
พื้นฐานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สะท้อนความรักและการธำรงรักษาสถาบันหลักของชาติ และการยึดมั่นในการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การจัดการเรียนการสอน/กิจกรรม
เพื่อเสริมสร้างความเปน็ พลเมือง (Civic Education) และ สง่ เสรมิ การอยู่ร่วมกนั ในสังคมพหวุ ัฒนธรรม เปน็ ตน้

2. คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นท่ี พิเศษได้รับ
การศึกษาและเรยี นรู้อยา่ งมีคณุ ภาพ มตี วั ช้ีวดั ทส่ี ำคัญ เช่น นักเรยี นในเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดน
ภาคใตแ้ ละพื้นท่ีพเิ ศษมีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขนั้ พื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์
คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น สถานศึกษาจัดการ ศึกษาสำหรับกลุ่มชนต่างเชื้อชาติศาสนา ภาษา และ
วัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ และแรงงาน ต่างด้าวเพิ่มข้ึน และสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษท่ีจดั อยู่ในมาตรการจงู ใจ
มีระบบเงินเดอื น คา่ ตอบแทนทส่ี งู กว่าระบบปกติเพ่ิมข้ึน เปน็ ตน้

3 คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา การดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิต รูปแบบใหม่
มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สถานศึกษาที่จัดกระบวนการเรียนรู้และปลูกฝังแนวทาง การจัดการความขัดแย้งโดย
แนวทางสันติวิธีเพ่ิมขึ้น มีการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรม เพื่อ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
ภยั คกุ คามในรปู แบบใหม่เพิ่มขน้ึ มีระบบ กลไก และ มาตรการทีเ่ ข้มแขง็ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคาม
ในรปู แบบใหม่ และผูเ้ รยี นในสถานศึกษา ทีม่ คี ดที ะเลาะววิ าทลดลง เปน็ ต้น โดยได้กำหนดแนวทางการพฒั นา คือ
พฒั นาการจดั การศึกษาเพ่ือเสริมสร้าง ความม่นั คงของสถาบันหลักของชาตแิ ละการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนา

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวงั เหนอื

8

พิเศษ เฉพาะกิจจังหวดั ชายแดนภาคใต้และพ้ืนที่พิเศษ ทั้งที่เป็นพื้นที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเขบ็ ชายแดน และพื้นท่ี
เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ และแรงงานต่างด้าว
พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคามใน รูปแบบใหม่ อาทิอาชญากรรมและ
ความรุนแรงในรปู แบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภยั พบิ ัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอบุ ัติใหม่ ภยั จากไซเบอร์ เป็นต้น และมี
แผนงานและโครงการสำคัญ เช่น โครงการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด
ชายแดนภาคใตแ้ ละพืน้ ท่พี เิ ศษ เป็นตน้

ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 2 : การผลติ และพัฒนากำลังคน การวจิ ยั และนวตั กรรรม เพือ่ สร้าง ขีด
ความสามารถในการแขง่ ขนั ของประเทศ มเี ปา้ หมาย ดังนี้

1. กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของ ตลาดงานและ
การพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีตัวชี้วัดทสี่ ำคัญ เช่น มฐี านข้อมูล ความตอ้ งการกำลังคน (Demand)
จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างครบถว้ น สดั สว่ นผู้เรยี น อาชีวศึกษาสูงขึน้ เม่ือเทยี บกับผู้เรยี นสามัญศึกษา และ
สดั สว่ นผู้เรียนวทิ ยาศาสตรส์ ุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยสี ูงข้ึนเมื่อเทยี บกับผูเ้ รียนสงั คมศาสตรก์ ำลงั แรงงาน
ในสาขาอาชีพ ตา่ ง ๆ ทไี่ ดร้ บั การยกระดับคุณวุฒิวิชาชีพเพ่ิมขนึ้ เป็นต้น

2. สถาบันการศึกษาและหน่วยงานท่ีจัดการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความ เชี่ยวชาญและเป็น
เลิศเฉพาะด้าน มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สัดส่วนการผลิตกำลังคนระดับกลางและ ระดับสูง จำแนกตามระดับ/
ประเภทการศึกษา ในสาขาวิชาท่สี อดคลอ้ งกับความต้องการของ ตลาดงานและการพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น รอ้ ยละ
ของสถาบันการศึกษาจัดการศึกษารูปแบบ ทวิภาคี/สหกิจศึกษา/หลักสูตรโรงเรียนในโรงงานตามมาตรฐานท่ี
กำหนดเพิ่มขึ้น จำนวนหลักสูตร ของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาทวิวุฒิ(Dual Degree) เพิ่มขึ้น จำนวนสถาบัน
อาชีวศึกษาและ อุดมศึกษาที่จัดหลักสูตรสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษเพิ่มขึ้น และมีภาคีเครือข่ายความร่วมมือ
ระหว่างรฐั เอกชน สถานประกอบการ สมาคมวิชาชพี และหนว่ ยงานท่จี ัดการศกึ ษาเพม่ิ ขน้ึ เปน็ ตน้

3. การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและ มูลค่าเพิ่มทาง
เศรษฐกิจ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สัดส่วนเงินลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน เมื่อเทียบกับภาครัฐเพิ่มข้ึน
สัดส่วนค่าใช้จ่ายการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเมื่อเทียบกับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของ
ประเทศเพิ่มขึ้น โครงการ/งานวิจัยเพื่อสร้าง องค์ความรู้/นวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
เพิ่มขึ้น บุคลากรด้านการวิจัยและ พัฒนาต่อประชากร 10,000 คน เพิ่มขึ้น นวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ ที่ได้จด
สิทธิบัตรและทรัพย์สิน ทางปัญญาเพิ่มขึ้น และผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น เป็นต้น
โดยไดก้ ำหนดแนวทางการพัฒนา คอื ผลติ และพฒั นากำลงั คนให้มสี มรรถนะในสาขา ท่ีตรงตามความต้องการของ
ตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สง่ เสรมิ การผลิตและพัฒนากำลังคนท่ีมีความเช่ียวชาญ
และเป็นเลิศเฉพาะด้าน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและ
มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และมีแผนงานและ โครงการสำคัญ เช่น โครงการจัดทำแผนผลิตและพัฒนากำลังคนให้
ตรงกับความต้องการของ ตลาดงานในกลุม่ อุตสาหกรรมเป้าหมาย เปน็ ต้น

ยทุ ธศาสตร์ที่ 3 : การพฒั นาศักยภาพคนทกุ ช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรยี นรู้
มีเปา้ หมาย ดงั นี้

1. ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและ คุณลักษณะที่
จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ผู้เรียนที่มีคุณลักษณะและทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
เพิ่มขึ้น ผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีพฤตกิ รรมที่แสดงออกถึง ความมีวินัย และมีจิตสาธารณะเพิม่ ขึ้น สถานศึกษา
ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้ หรือเทยี บเท่าขนึ้ ไป ทีจ่ ัดกจิ กรรมสะทอ้ นการสรา้ งวนิ ัย จิตสาธารณะ และคุณลักษณะท่ี
พงึ ประสงค์เพ่ิมขนึ้ เปน็ ต้น

แผนปฏบิ ัติการประจำปงี บประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวงั เหนอื

9

2. คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐาน การศึกษาและ
มาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ มีตัวชี้วดั ที่สำคัญ เช่น เด็กแรกเกิด – 5 ปีมีพัฒนาการ
สมวยั เพ่ิมขึ้น นกั เรียนมคี ะแนนผลการทดสอบทางการศกึ ษา ระดับชาตขิ ้ันพ้นื ฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์
คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น ผู้สูงวัย ที่ได้รับบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและทักษะชีวิตเพิ่มข้ึน
และมีสาขาและวิชาชีพ ที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยได้รับการส่งเสริมให้ทำงานและถ่ายทอดความรู้/ประสบการณ์
เพม่ิ ขึ้น เป็นต้น

3.สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตาม หลักสูตรอย่างมี
คุณภาพและมาตรฐาน มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก/สถานศึกษาระดับก่อน ประถมศึกษาที่จัดกิจกรรม
การเรียนรู้ได้คุณภาพและมาตรฐานเพิ่มขึ้น สถานศึกษา/สถานพัฒนา เด็กปฐมวัยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับ
หลักสูตรปฐมวัย และสมรรถนะของเด็กที่เชื่อมโยงกับ มาตรฐานคุณภาพเด็กปฐมวัยของอาเซียนเพิ่มข้ึน
สถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานท่ี จัดการศึกษาตามหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและ
ทกั ษะการเรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21 เพม่ิ ข้นึ และสถาบันการศึกษาในระดับอาชวี ศกึ ษาและอุดมศึกษาท่จี ดั การศึกษา
ตามหลักสูตร ท่มี ุ่งพฒั นาผูเ้ รียนใหม้ สี มรรถนะที่สอดคลอ้ งกับยทุ ธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 เพม่ิ ขึน้ เปน็ ตน้

4. แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและ มาตรฐาน และ
ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น แหล่งเรียนรู้ที่ไดร้ ับการพัฒนาให้
สามารถจัดการศึกษา/จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ เพิ่มขึ้น สื่อสารมวลชนที่เผยแพร่หรือจัด
รายการเพอ่ื การศึกษาเพมิ่ ข้ึน ส่ือตำราเรยี น และสื่อ การเรียนร้ทู ่ีผ่านการรับรองมาตรฐานคณุ ภาพจากหนว่ ยงานท่ี
รบั ผิดชอบ และได้รับการพฒั นา โดย การมีส่วนร่วมจากภาครฐั และเอกชนเพมิ่ ขึ้น เป็นตน้

5. ระบบและกลไกการวัด การติดตาม และประเมินผลมีประสิทธิภาพ มีตัวชี้วัด ที่สำคัญ
เชน่ มีระบบและกลไกการทดสอบ การวดั และประเมินความรู้ทักษะ และสมรรถนะของ ผเู้ รยี นทกุ ระดบั การศึกษา
และทกุ กลมุ่ เป้าหมายทีม่ ีประสิทธภิ าพ มีระบบตดิ ตามประชากรวัยเรียน ท่ขี าดโอกาสหรือไม่ไดร้ ับการศึกษา และ
ผู้เรียนทม่ี ีแนวโน้มจะออกกลางคัน เปน็ ต้น

6. ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้มาตรฐานระดับ สากล มีตัวชี้วัดท่ี
สำคัญ เช่น มีฐานข้อมูลความต้องการใช้ครูแผนการผลิตครูอาจารย์และ บุคลากรทางการศึกษาในระยะ 10 ปี
(พ.ศ. 2560 – 2569) จำแนกตามสาขาวิชา ขนาด สถานศึกษา และจังหวัด สัดส่วนของการบรรจุครูที่มาจากการ
ผลติ ครูในระบบปดิ เพิ่มข้ึน มีหลักเกณฑแ์ ละเงื่อนไขที่เอื้อให้ผสู้ ำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาอ่ืนและพัฒนาเพิ่มเติม
เพ่อื เข้าสู่ วิชาชีพครูเป็นตน้

7. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถนะตาม มาตรฐาน มีตัวชี้วัดที่
สำคญั เชน่ ครอู าจารยแ์ ละบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับและประเภท การศกึ ษาไดร้ ับการพฒั นาตามมาตรฐาน
วิชาชีพ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและ
ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเพิ่มขึ้น และ ระดับความพึงพอใจของครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการ
พัฒนาและการใช้ ประโยชน์จากการพัฒนาเพิ่มขึ้น เป็นต้น โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ ส่งเสริมและ
พัฒนาแหล่งเรียนรู้สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึง
แหลง่ เรียนรไู้ ด้ โดยไมจ่ ำกัดเวลาและสถานท่ี สรา้ งเสรมิ และปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีวินัย จิตสาธารณะ
และพฤติกรรมที่พึงประสงค์และพัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัด และประเมินผลผู้เรียน
ให้มปี ระสิทธภิ าพ และมแี ผนงานและโครงการท่ีสำคัญ เช่น โครงการผลิตครูเพ่ือพฒั นา ท้องถนิ่ เป็นต้น

แผนปฏิบัตกิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอวงั เหนอื

10

ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4 : การสรา้ งโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา มีเป้าหมาย
ดงั นี้

1 ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มี คุณภาพ มีตัวชี้วัดท่ี
สำคัญ เช่น ดัชนีความเสมอภาคของอัตราการเข้าเรียนระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามฐานะทางเศรษฐกิจและ
พื้นที่ลดลง ความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ย ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ของนกั เรยี นระหวา่ งพ้ืนท่ี/ภาคการศึกษาในวิชาคณติ ศาสตร์และภาษาอังกฤษลดลง เป็นต้น

2 การเพ่ิมโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยดี จิ ิทัลเพ่ือการศึกษาสำหรับ คนทกุ ช่วงวยั มตี ัวชวี้ ัด
ที่สำคัญ เช่น มีระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาที่ทันสมัย สนองตอบความต้องการของผู้เรียนและ
ผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และสถานศึกษา ทุกแห่งมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและมีคุณภาพ
เปน็ ตน้

3 ระบบข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุมถูกต้อง เป็นปัจจุบัน เพื่อการ
วางแผนการบริหารจัดการศึกษา การติดตามประเมิน และรายงานผล มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีระบบฐานข้อมูล
รายบุคคลที่อ้างอิงจากเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่สามารถเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนฐานข้อมูล
รวมทั้งใช้ประโยชน์ร่วมกนั ระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการและหนว่ ยงานอื่น ด้านสาธารณสุข สังคม ภูมิสารสนเทศ
แรงงาน และ การศึกษา และมีระบบสารสนเทศด้านการศึกษาและด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นระบบเดียวกัน
ทั้งประเทศ ครอบคลุม ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน สามารถอ้างอิงได้เป็นต้น โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ
เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึง การศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
สำหรับคนทุกช่วงวัย พัฒนา ฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงได้และมีแผนงานและ
โครงการสำคัญ เช่น โครงการจัดทำฐานข้อมูลรายบุคคลทุกช่วงวัย ทั้งด้านสาธารณสุข สังคม ภูมิสารสนเทศ
แรงงาน และการศกึ ษา เปน็ ต้น

ยทุ ธศาสตร์ท่ี 5 : การจัดการศกึ ษาเพื่อสร้างเสริมคณุ ภาพชีวิตที่เป็นมิตรกบั สิง่ แวดล้อม
มเี ป้าหมาย ดงั น้ี

1 คนทกุ ช่วงวยั มจี ติ สำนกึ รักษ์สง่ิ แวดลอ้ ม มคี ณุ ธรรม จริยธรรม และ นำแนวคิดตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ครู/ บุคลากรทางการศึกษา ได้รับการอบรมพัฒนาใน
เรื่องการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีพฤติกรรมท่ี
แสดงออกถึงความตระหนักใน ความสำคัญของการดำรงชีวิตท่ีเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม ความมคี ณุ ธรรม จริยธรรม
และการประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น และสถาบันอุดมศึกษาที่ติด
อันดบั มหาวิทยาลยั สเี ขียวของโลกเพิม่ ข้ึน เป็นต้น

2. หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม
คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงสู่ การปฏิบตั ิ มีตัวชีว้ ดั ท่ีสำคัญ เช่น
สถานศึกษา/สถาบันการศึกษาจัดการเรียนการสอนและกิจกรรม เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และการนำ
แนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ เพิ่มขึ้น และสื่อสารมวลชนที่เผยแพร่หรือให้ความรู้
เกี่ยวกับการสร้างเสรมิ คณุ ภาพชีวิตทเ่ี ป็นมติ ร กับสิ่งแวดล้อมเพม่ิ ขึ้น เปน็ ตน้

3. การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในสาขา
ตา่ ง ๆ เพิม่ ข้นึ เปน็ ตน้ โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ สง่ เสรมิ สนบั สนนุ การสร้างจิตสำนึกรกั ษ์ สิ่งแวดล้อม
มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้แหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ และพัฒนาองค์ ความรู้

แผนปฏิบัติการประจำปงี บประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอวงั เหนือ

11

งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีแผนงานและโครงการ
สำคัญ เช่น โครงการน้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพคนทุกช่วงวัย โครงการโรงเรียน
คณุ ธรรม โครงการโรงเรียนสีเขยี ว เป็นตน้

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศกึ ษา มเี ปา้ หมาย ดังนี้
1. โครงสร้าง บทบาท และระบบการบริหารจัดการการศึกษามีความคล่องตัว ชัดเจน และ

สามารถตรวจสอบได้มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีการปรับปรุงโครงสร้างและระบบ บริหารราชการส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค และสถานศึกษาให้มีเอกภาพ สอดคล้องกับบริบทของพื้นท่ี และการบริหารจัดการตามหลัก
ธรรมาภบิ าล เปน็ ต้น

2. ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่งผลต่อ คณุ ภาพและมาตรฐาน
การศึกษา มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สถานศึกษาขนาดเล็ก/สถานศึกษา ที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็น
พิเศษอยา่ งเร่งด่วน ทีไ่ มผ่ า่ นเกณฑ์การประเมนิ คุณภาพ ภายนอกลดลง คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษา
ระดับชาติขัน้ พืน้ ฐานของผเู้ รยี นท่เี รียน ในกลมุ่ สถานศกึ ษาทีเ่ ข้าสรู่ ะบบการบริหารจดั การแนวใหม่สูงขน้ึ เป็นตน้

3. ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการ ของประชาชน
และพ้นื ที่ มีตัวชี้วดั ทส่ี ำคัญ เชน่ จำนวนองคก์ ร สมาคม มลู นธิ หิ รือหนว่ ยงานอนื่ ที่ เขา้ มาจัดการศึกษาหรือร่วมมือ
กับสถานศึกษา ทั้งของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มขึ้น และสัดส่วนการมีส่วนร่วมสนับสนุน
การศึกษาของภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคี เครือข่ายเมื่อเทียบกับรัฐ จำแนกตามระดับการศึกษาสูงข้ึน
เป็นต้น

4 กฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษารองรับ ลักษณะที่แตกต่างกัน
ของผู้เรียน สถานศึกษา และความต้องการกำลังแรงงานของประเทศ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีกฎหมาย
กฎ ระเบียบ และระบบการจัดสรรเงินเพื่อการศึกษาที่เอื้อและ สนองตอบคุณลักษณะที่แตกต่างกันของผู้เรียน
ความต้องการกำลังแรงงานและสภาพปัญหา ที่แท้จริงของประเทศ มีรูปแบบ/แนวทาง กลไกการจัดสรร
งบประมาณผา่ นดา้ นอุปสงคแ์ ละอปุ ทาน ในสดั ส่วนทีเ่ หมาะสม เปน็ ต้น

5. ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความ เป็นธรรม
สร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตามศักยภาพ มีตัวชี้วัด ที่สำคัญ เช่น สถานศึกษาที่มีครู
เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น ครู/ผู้ทรงคุณวุฒิจาก ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการที่ปฏิบัติงาน
สนับสนุนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น และสถานศึกษามี บุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่ปฏิบัติงานสนับสนุนการ
เรยี นการสอนเพ่ิมขึ้น เปน็ ต้น

โดยกำหนดแนวทางการพฒั นา คอื ปรบั ปรุงโครงสร้างการบรหิ ารจดั การศึกษา เพิม่ ประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการสถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัด การศึกษา ปรับปรุงกฎหมาย
เกี่ยวกับระบบการเงินเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบบริหารงานบุคคล ของครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
และมแี ผนงานและโครงการสำคัญ เชน่ โครงการเพิ่ม ประสทิ ธิภาพการบรหิ ารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการ
พัฒนาระบบจัดสรรงบประมาณเพื่อ การศึกษา และโครงการทดลองนำร่องระบบการจัดสรรเงินผ่านด้านอุปสงค์
และอุปทาน เป็นตน้

• การขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ ความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนการ
ศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 สู่การปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญหลายประการ ประกอบด้วย สาระของ
แผนการศึกษาแห่งชาติที่มีความ ชัดเจน ครบถ้วน และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกระดับการศึกษา
การมีส่วนร่วมใน กระบวนการพัฒนาแผนการศึกษาแห่งชาติของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับนโยบาย
ระดับ ปฏิบัติผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสาธารณชน การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์แก่ผูเ้ กี่ยวข้องและ สาธารณชนเพื่อ

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอวงั เหนอื

12

สร้างความตระหนักในความสำคญั ของแผนการศึกษาแห่งชาติการสร้างความรู้ ความเขา้ ใจเกย่ี วกับแผนการศึกษา
แหง่ ชาติและการนำแผนการศึกษาแห่งชาตสิ ู่การปฏบิ ัติ ที่ชัดเจนแกผ่ ู้ปฏิบัติทุกระดับ เพอื่ ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามา
มสี ว่ นรว่ มในการพฒั นาการจัดการศกึ ษา ของชาติ

• แนวทางการขับเคลอื่ นแผนการศึกษาแหง่ ชาติสกู่ ารปฏิบัติ ประกอบด้วย 1) การสร้างความรู้
ความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความสำคัญและ พร้อมเข้าร่วมในการผลักดันแผนการศึกษาแห่งชาติสู่
การปฏิบัตกิ ารสรา้ งความเข้าใจกบั หนว่ ยงาน องค์กร และภาคีทุกภาคสว่ น ถงึ วสิ ยั ทัศน์และเป้าหมายของแผนการ
ศึกษาแห่งชาติ2) การสร้าง ความเชื่อมโยงระหว่างแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2560 – 2579 ยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาการศึกษาระยะ 5 ปีแผนปฏิบัติราชการระยะ 4 ปีและแผนปฏิบัติการ
ประจำปีของหน่วยงาน โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมจัดทำ และติดตาม
ประเมินผลแผนดังกล่าว 3) การปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกฎหมายต่าง ๆ ให้เอื้อ ต่อการขับเคลื่อนการพัฒนา
การศึกษาในระดับต่าง ๆ และ 4) การสร้างช่องทางให้ประชาสังคม มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมใน
การจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทง้ั ระดบั นโยบายและ ระดับพื้นที่

• การดำเนินการการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ แผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2560 – 2579 ได้เสนอรายละเอยี ดการดำเนนิ การ ขับเคล่ือนสูก่ ารปฏบิ ตั ิโดยไดร้ ะบุบทบาทของหน่วยงานใน
ระดับต่าง ๆ อาทิหน่วยงานส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ
เช่น สำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษา
ตามอัธยาศัย สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และหน่วยงานอื่นนอกกระทรวง ศึกษาธิการที่รับผิดชอบจัดการศึกษา
เป็นต้น ส่วนระดับภูมิภาค ประกอบด้วย สำนักงาน ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขต
พ้ืนท่กี ารศกึ ษา เปน็ ตน้ รวมทัง้ ระดับ สถานศึกษาและระดบั หอ้ งเรียน โดยได้กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการ
ดำเนินงานทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานในแต่ละระดับอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานตามแผน
เป็นไป อย่างสอดคล้อง รองรับในกรอบทิศทางเดียวกัน และการจัดการศึกษาเป็นไปตามยุทธศาสตร์และ แนว
ทางการพัฒนาในช่วงเวลาท่ีกำหนด

• การติดตามประเมินผลแผนการศึกษาแห่งชาติ แนวคิดและหลักการติดตามประเมินผล
เป็นการติดตามประเมินผลทีเ่ ปิดโอกาสให้ ผู้มีส่วนไดส้ ่วนเสียกับการจัดการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมนิ
ทั้งการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ โดยแต่ละหน่วยงานประเมินการดำเนินงานของตนควบคู่ไปกับ
การให้หน่วยงานกลางประเมิน มีหลักเกณฑ์การติดตามและประเมินผลตัวชี้วัดที่ชัดเจน โปร่งใส มีมาตรฐาน
และถูกต้องตามหลักวชิ าการ แนวทางการตดิ ตามประเมนิ ผลแผนการศกึ ษาแหง่ ชาติประกอบดว้ ย

1) การประเมิน บริบทก่อนเริ่มโครงการ ประเมินระหว่างดำเนินงาน และประเมินหลังการ
ดำเนนิ งานตามแผน เสรจ็ ส้ิน

2) วางระบบการประเมินระดับกระทรวง ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จังหวัด และเขตพื้นท่ี
เพื่อเชือ่ มโยงแผนปฏบิ ตั ิการแตล่ ะระดบั กับแผนการศึกษาแห่งชาติ

3) สง่ เสรมิ ให้เกิดการประสาน ความร่วมมือระหวา่ งกระทรวงศึกษาธิการ หนว่ ยงานด้านการ
ประเมินคุณภาพการศึกษา ด้าน งบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ เพื่อให้การ
ติดตามประเมนิ ผล มปี ระสทิ ธภิ าพและประสทิ ธิผล

4) จัดใหห้ นว่ ยงานหรือองค์กรท่มี ีความเชีย่ วชาญและเปน็ กลาง เปน็ ผ้ปู ระเมิน
5) จดั เวทีสาธารณะเพือ่ ให้ผู้มสี ่วนไดส้ ว่ นเสยี ได้แสดงความคดิ เห็น และ

แผนปฏิบัตกิ ารประจำปงี บประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังเหนอื

13

6) นำเสนอ ผลการติดตามและประเมินผลแผนการศึกษาแห่งชาตใิ ห้ทุกฝ่ายท่ีเก่ียวข้องไดร้ ับ
ทราบ

ยุทธศาสตร์การจดั สรรงบประมาณรายจา่ ยประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ได้จัดทำให้ สอดคล้องกับ

ยุทธศาสตรช์ าติ (พ.ศ.2561- 2580) แผนแมบ่ ทภายใต้ยุทธศาสตรช์ าติ (พ.ศ.2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย ความมั่นคงแห่งชาติ
(พ.ศ.2562 – 2565) แผนการปฏิรูปประเทศ และนโยบายรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนว
ทางการพฒั นาของยทุ ธศาสตร์ชาติให้เกิดผลอยา่ งเปน็ รูปธรรม ประกอบด้วย6 ยุทธศาสตร์ ดังน้ี

1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีความสงบเรียบร้อยในทุก
ระดบั และทุกมิติ โดยมุ่งเน้นการเสรมิ สร้างความมั่งคงของสถาบันหลักชาติ เรง่ รดั เสรมิ สร้างความมั่นคง ปลอดภัย
ในชวี ิตและทรัพย์สิน พฒั นาและเสริมสร้างการเมืองในระบอบประชาธปิ ไตย เรง่ รัดการป้องกันและปราบปรามยา
เสพติดตงั้ แตต่ ้นนำ้ – กลางน้ำ – ปลายนำ้ บรู ณาการการปอ้ งกนั และแก้ไขปัญหาการก่อเหตุรนุ แรงในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ การป้องกันและบรรเทาสาธรณภัย การปอ้ งกนั และแก้ไขปัญหาความมัน่ คงทางไซเบอร์ การรักษา
ความมั่งคงภายในประเทศและในพื้นที่ชายแดน ส่งเสริมการป้องกันอธิปไตยทั้งทางบก ทางทะเล ทางอากาศ
พัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคง พัฒนาระบบการเตรียมพร้อม
แห่งชาติและระบบภัยพิบัติ บูรณาการกลไกการบริหารจัดความมั่นคง ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคง
เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศ ส่งเสริม
สถานะ บทบาทของประเทศไทยในประชาคมโลกพฒั นาด้านการต่างประเทศใหม้ ีเอกภาพและมีการบูรณาการจาก
ทุกภาคสว่ น

2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน
และสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการเกษตร ได้แก่ เกษตรกร อัตลักษณ์
พื้นถิ่น เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ และการจัดการระบบนิเวศเกษตรส่งเสริมอุตสาหกรรมและ
บริการแห่งอนาคต ได้แก่ อตุ สาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมและบรกิ ารทางการแพทยค์ รบวงจร อุตสาหกรรมและ
บริการดิจิทัล ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการพัฒนาระบบคมนาคม อุตสาหกรรมความ
มน่ั คง และการพัฒนาระบบนเิ วศอุตสาหกรรมฯ การสรา้ งรายได้จากการท่องเทยี่ ว โดยการสร้างความหลากหลาย
ด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เชิงธุรกิจ เชิงสุขภาพ ความงามและแพทย์แผน
ไทย ท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ ท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค รวมทั้งพัฒนาระบบนิเวศและปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อ
การทอ่ งเทยี่ ว โดยเฉพาะดา้ นความปลอดภัยของนักท่องเทย่ี ว การพัฒนาพน้ื ที่และเมืองน่าอยู่อจั ฉริยะ โดยพัฒนา
เมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคและเมืองขนาดกลางให้เป็นเมืองน่าอยู่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน
คมนาคม ระบบโลจสิ ติกส์ พลังงานและดจิ ิทลั การพฒั นาผู้ประกอบการและวสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมยุค
ใหม่ โดยการสร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะ สร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน ตลาด ข้อมูล บริการภาครัฐ การ
พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษได้แก่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และเขตเศรษฐกิจ
พิเศษชายแดน รวมท้งั การส่งเสริมการวิจยั และพัฒนานวตั กรรม

3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเตรียมคนในสังคมไทย
สำหรับการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรมด้วยการปลูกฝัง
คณุ ธรรม จริยธรรม ค่านยิ ม รวมทัง้ เสรมิ สรา้ งการมีจติ สาธารณะ มีความรบั ผดิ ชอบตอ่ สังคมมีความซือ่ สัตย์ มีวินัย
และการเป็นพลเมืองที่ดี การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต เน้นพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้าง

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอวังเหนอื

14

ครอบครัวอบอุ่น เข้มแข็ง พัฒนาคุณภาพคนในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์/ปฐมวัย วัยเรียน/วัยรุ่น
วัยแรงงานและวัยสูงอายุ การพัฒนาการเรียนรู้ โดยการปรับเปลี่ยนระบบการเรยี นรู้ให้มีการพัฒนาทักษะสำหรบั
ศตวรรษที่ 21 การพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวางระบบการเรียนรู้โดยใช้ระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม
รวมถึงการพัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญา การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี โดยส่งเสริมความรอบรู้ด้าน
สุขภาพ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี พัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัย พร้อมทั้งกระจาย
บริการสาธารณสขุ อย่างท่วั ถึงมคี ณุ ภาพ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพการกฬี า

4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาพทางสังคม เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลด
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่นเน้นการเสริมสร้างพลังในชุมชนให้เกิดการสร้างพลังทางสังคม
การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามวัยในท้องถิ่น ส่งเสริม
ศักยภาพ บทบาทสตรี และสิทธิมนุษยชนให้ทุกเพศสภาพเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม การต่อยอด
การพัฒนาบนฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรม การรองรับสังคมสูงวัยการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยการ
ยกระดับศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการธุรกจิ และพัฒนาเกษตรกรรุน่ ใหม่ ส่งเสริมการบริหารจดั การหนี้สินอย่าง
ยัง่ ยนื การสร้างสภาพแวดล้อมและกลไกส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยพฒั นาช่องทางการตลาดเพื่อให้
เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกจิ ในชมุ ชน/พน้ื ท่ี ส่งเสริมนวตั กรรมทางการเงนิ เพื่อสนบั สนนุ แหล่งทุนใหเ้ ศรษฐกิจชุมชน
พฒั นากลไกการใช้ประโยชน์ท่ีดนิ สาธารณะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้มีคา่ เป็นพืชเศรษฐกจิ การสร้างความเสมอ
ภาพและหลักประกันทางสังคมเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติของประชากรทุกช่วงวัย
และทุกกล่มุ

5. ยุทธศาสตร์ด้านการสรา้ งการเตบิ โตบนคณุ ภาพชีวิตท่เี ปน็ มิตรต่อส่ิงแวดล้อม เพอื่ สร้างความสมดุล
และยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว
เศรษฐกจิ ภาคทะเล สงั คมทเี่ ปน็ มติ รต่อสภาพภูมิอากาศ การจดั การมลพษิ ทีม่ ผี ลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ
การจดั การขยะและคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น การยกระดบั กระบวนทัศน์ โดยปรบั เปลีย่ นพฤตกิ รรมประชาชนให้เป็น
มิตรต่อสงิ่ แวดล้อม การบรหิ ารจัดการน้ำท้งั ระบบ ท้ังการจดั การเชงิ ลุ่มน้ำเพื่อเพิม่ ความมัน่ คงด้านน้ำของประเทศ
การเพิ่มผลิตภาพของน้ำ การจัดระบบดูแลน้ำในพื้นที่นิคมเกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ พื้นที่ชลประทาน
พื้นที่เกษตรนำ้ ฝน พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ และแหล่งทอ่ งเที่ยว พัฒนาระบบเสน้ ทางน้ำที่มีความสอดคลอ้ งกับระบบ
ผังเมือง รวมถึงจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัยและการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำ
ธรรมชาติ

6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้ระบบการบริหาร
ราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยการพัฒนาระบบการ
ให้บริการประชาชนและพัฒนาประสทิ ธภิ าพภาครัฐ อาทิ การพฒั นารปู แบบการใหบ้ รกิ ารภาครฐั โดยนำเทคโนโลยี
มาประยุกต์ใช้ เรง่ สนับสนนุ ให้หน่วยงานภาครัฐนำยุทธศาสตรช์ าติ แผนแมบ่ ทภายใตย้ ุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่งคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ
ถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติการบูรณาการเชื่อมโยงภารกิจ
ภาครัฐและการบริหารจัดการการเงินการคลังให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ พัฒนาระบบ
บรหิ ารงานภาครฐั ใหเ้ ปน็ รฐั ที่ทันสมัย เปิดกวา้ ง มคี วามยืดหยุ่นและเปน็ องค์กรขีดสมรรถนะสูง รวมทั้งการต่อต้าน
การทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยเร่งสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดีมีความซื่อสัตย์ สุจริต พัฒนาการบริหาร
จดั การการป้องกันและปราบปรามการทจุ ริตอยา่ งเปน็ ระบบแบบบูรณาการ มีมาตรการควบคุม กำกบั และตดิ ตาม
ตลอดจนการพฒั นากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

แผนปฏิบตั ิการประจำปงี บประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยอำเภอวงั เหนือ

15

นโยบายและจดุ เนน้ กระทรวงศึกษาธกิ าร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

เพื่อให้การดำเนินการจัดการศึกษาและการบริหารจัดการการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเป็นไปด้วย
ความเรียบร้อย บรรลุเป้าหมาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศนโยบายและ
จดุ เน้นของกระทรวงศึกษาธกิ าร ประจำปงี บประมาณ พ.ศ.2564 เพือ่ ใหส้ ่วนราชการในสังกดั กระทรวงศกึ ษาธิการ
ยึดเป็นกรอบการดำเนินงานในการจัดทำแผนและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พร้อมทั้ง
ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพในทุกมิติ โดยใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่า
เพือ่ มุ่งเปา้ หมาย คือ ผเู้ รียนทุกช่วงวัย

หลกั การตามนโยบาย ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564
กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(พ.ศ. 2561 - 2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทกุ แผนย่อยในประเด็น 12 การพัฒนาการเรียนรู้ และ
แผนย่อยที่ 3 ในประเด็น 11 ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และ
นโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไท ยทุก
ช่วงวัย และนโยบายเร่งด่วน เรื่อง การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21นอกจากนี้ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผน
แม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -
2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) รวมทั้งนโยบายและแผน
ตา่ ง ๆ ทเ่ี ก่ยี วขอ้ ง โดยคาดหวังว่าผเู้ รยี นทุกชว่ งวยั จะไดร้ ับการพฒั นาในทกุ มิติ เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ และมี
ความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประ เทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ดังนั้น ในการเร่งรัดการทำงาน
ภาพรวมกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม และผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ
และประสทิ ธภิ าพในทกุ มิตกิ ระทรวงศกึ ษาธิการจึงกำหนดนโยบายประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 ดงั นี้
1. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการ โดยมุ่งปฏิรูปองค์การเพื่อหลอมรวมภารกิจแ ละ
บุคลากร เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย ฯลฯ ที่สามารถลดการ
ใช้ทรัพยากรทับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยทั้งการ
บริหารงานและการจัดการศกึ ษารองรบั ความเปน็ รฐั บาลดจิ ทิ ลั
2. ปรับรื้อและเปลีย่ นแปลงระบบการบริหารทรัพยากร โดยมุ่งปฏิรูปกระบวนการวางแผนงาน/โครงการ
แบบร่วมมือและบูรณ าการ ที่สามารถตอบโจทย์ของสังคมและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนรวมทั้งกระบวนการจัดทำ
งบประมาณทีม่ ีประสิทธิภาพและใชจ้ า่ ยอย่างคุ้มคา่ สง่ ผลให้ภาคส่วนตา่ ง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และนานาชาติ
เช่ือมน่ั และร่วมสนับสนนุ การพัฒนาคุณภาพการศกึ ษามากย่ิงข้ึน
3. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการและพัฒนากำลังคนของกระทรวงศึกษาธิการโดยมุ่ง
บริหารจดั การอตั รากำลังให้สอดคล้องกบั การปฏริ ูปองค์การ รวมทง้ั พฒั นาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของ
บุคลากรภาครฐั ให้มคี วามพร้อมในการปฏิบัตงิ านรองรับความเป็นรฐั บาลดจิ ทิ ลั
4. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ครอบคลุมถึงการจัด
การศกึ ษาเพ่อื คุณวฒุ ิ และการเรียนรตู้ ลอดชวี ติ ที่สามารถตอบสนองการเปล่ียนแปลงในศตวรรษที่ 21

แผนปฏิบตั ิการประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยอำเภอวงั เหนือ

16

จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

1. การพัฒนาและเสริมสร้างศกั ยภาพทรัพยากรมนุษย์
1.1 การจดั การศึกษาเพ่อื คุณวุฒิ
- จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดยใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ รวมทั้งแนวทางการจัดการ

เรยี นรเู้ ชงิ รุกและการวัดประเมนิ ผลเพอื่ พัฒนาผู้เรยี น ที่สอดคลอ้ งกบั มาตรฐานการศกึ ษาแหง่ ชาติ
- ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาตามความต้องการ

จำเป็นของกลุ่มเปา้ หมายและแตกตา่ งหลากหลายตามบรบิ ทของพื้นท่ี
- พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากประสบการณ์จริงหรือจากสถานการณจำลองผ่าน
การลงมอื ปฏบิ ตั ิ ตลอดจนจดั การเรยี นการสอนในเชิงแสดงความคิดเหน็ เพอื่ เปดิ โลกทัศน์มุมมองร่วมกนั ของผู้เรียน
และครใู ห้มากขน้ึ

- พัฒนาผู้เรยี นให้มีความรอบรูแ้ ละทักษะชีวิต เพอ่ื เปน็ เครื่องมอื ในการดำรงชวี ติ
และสรา้ งอาชีพ อาทิ การใช้เทคโนโลยีดจิ ิทัล สุขภาวะและทัศนคติที่ดตี ่อการดแู ลสขุ ภาพ

1.2 การเรยี นรตู้ ลอดชีวติ
- จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย เน้นส่งเสริมและยกระดับทักษะ

ภาษาอังกฤษ (English for All)
- ส่งเสริมการเรยี นการสอนท่ีเหมาะสมสำหรับผู้ที่เขา้ สูส่ ังคมสูงวยั อาทิ อาชีพท่ีเหมาะสมรองรับ

สังคมสูงวัย หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต และหลักสูตรการดูแลผู้สูงวัย หลักสูตรBUDDY โดยเน้นการมีส่วน
ร่วมในการพัฒนาชุมชน โรงเรียน และผู้เรียน หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์สินค้า
ออนไลน์ระดบั ตำบล

- สง่ เสรมิ โอกาสการเขา้ ถึงการศึกษาเพ่ือทักษะอาชีพและการมีงานทำ ในเขตพฒั นาพิเศษเฉพาะ
กิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพ้ืนที่พเิ ศษ (พนื้ ทสี่ ูง พนื้ ทตี่ ามแนวตะเข็บ ชายแดน และพน้ื ท่ีเกาะแก่ง ชายฝ่ัง
ทะเล ทงั้ กลมุ่ ชนตา่ งเชอ้ื ชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กล่มุ ชนชายขอบ และแรงงานต่างดา้ ว)

- พัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู้ และความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ และ
ภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเป็น
ข้นั ตอน

- พัฒนาครูอาชีวศึกษาที่มีความรู้และความสามารถในทางปฏิบัติ (Hands – onExperience)
เพื่อให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญทางวิชาการ โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศจัดหลักสูตร
การพัฒนาแบบเขม้ ข้นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี

- พฒั นาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากรกระทรวงศกึ ษาธิการให้มีความพร้อมใน
การปฏิบัติงานรองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ โดยจัดให้มีศูนยพ์ ัฒนาสมรรถนะบคุ ลากรระดับ
จังหวดั ท่ัวประเทศ
2. การพัฒนาการศกึ ษาเพอ่ื ความมนั่ คง

- พัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน
“เขา้ ใจ เขา้ ถงึ พัฒนา” เปน็ หลกั ในการดำเนินการ

- เฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด
อาชญากรรมทางไซเบอร์ การคา้ มนุษย์

แผนปฏบิ ัตกิ ารประจำปงี บประมาณ 2565 ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอวังเหนือ

17

- ส่งเสรมิ ให้ใชภ้ าษาทอ้ งถ่ินรว่ มกบั ภาษาไทยเป็นสอ่ื จัดการเรยี นการสอนในพ้ืนท่ที ่ีใช้ภาษาอย่าง
หลากหลาย เพื่อวางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารและใช้ภาษาที่
สามในการต่อยอดการเรยี นร้ไู ดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ

- ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย
สุจรติ จิตอาสา โดยใชก้ ระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาด
3. การสรา้ งความสามารถในการแขง่ ขัน

- สนบั สนนุ ให้สถานศึกษาอาชวี ศึกษาผลติ กำลังแรงงานท่ีมีคุณภาพ ตามความเป็นเลิศของแต่ละ
สถานศกึ ษาและตามบริบทของพืน้ ท่ี รวมทัง้ สอดคลอ้ งกบั ความต้องการของประเทศท้งั ในปจั จุบันและอนาคต

- สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ และจัดการเรียนการสอน
ด้วยเครื่องมือปฏิบัติที่ทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยี โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ( Data
Analysis) และทกั ษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
4. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศกึ ษา

- พัฒนาแพลตฟอร์มดจิ ทิ ัลเพ่ือการเรยี นรู้ และใชด้ ิจทิ ลั เปน็ เครอ่ื งมือการเรยี นรู้
- ศึกษาและปรับปรงุ อัตราเงนิ อุดหนนุ คา่ ใช้จ่ายต่อหัวในการจดั การศึกษาขน้ั พืน้ ฐานใหส้ อดคล้อง
กับสภาพเศรษฐกิจและบทบัญญตั ิของรฐั ธรรมนูญ
- ระดมสรรพกำลังเพื่อส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อลดความ
เหล่อื มล้ำทางการศึกษาให้สอดคล้องพระราชบัญญัติพนื้ ทีน่ วตั กรรมการศกึ ษา พ.ศ. 2562
5. การจดั การศึกษาเพือ่ สรา้ งเสริมคณุ ภาพชีวิตทเ่ี ป็นมติ รกับสิง่ แวดล้อม
- เสรมิ สร้างการรบั รู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสรมิ คุณลักษณะและพฤติกรรมท่พี ึง
ประสงคด์ ้านสงิ่ แวดล้อม
- ส่งเสริมการพัฒนาส่งิ ประดิษฐ์และนวตั กรรมท่ีเปน็ มิตรกับสิ่งแวดล้อม ใหส้ ามารถเป็นอาชีพ
และสรา้ งรายได้
6. การปรบั สมดลุ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
- ปฏิรปู องคก์ ารเพ่ือลดความทับซ้อน เพ่ิมประสทิ ธิภาพและความเป็นเอกภาพของหน่วยงานท่ีมี
ภารกจิ ใกลเ้ คียงกัน เช่น ด้านประชาสัมพันธ์ ดา้ นต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยีด้านกฎหมาย เป็นตน้
- ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงานโดยคำนึงถึง
ประโยชนข์ องผเู้ รียนและประชาชน ตลอดจนกระทรวงศกึ ษาธกิ ารโดยรวม
- สนบั สนนุ กิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติ และประพฤตมิ ิชอบ
- พัฒนาระบบฐานข้อมลู ด้านการศึกษา (Big Data)
- พัฒนาระบบการบรหิ ารจดั การและพัฒนากำลงั คนของกระทรวงศึกษาธิการ ใหส้ อดคล้อง
กับการปฏิรูปองคก์ าร- สนบั สนนุ ให้สถานศึกษาเป็นนิตบิ ุคคล เพื่อให้สามารถบริหารจัดการศกึ ษาทม่ี ีคุณภาพ
ไดอ้ ยา่ งอสิ ระและมปี ระสิทธิภาพ ภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ
- จัดตั้งหน่วยงานวางแผนทางการเงิน (Financial Plan) ระดับจังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
บคุ ลากรของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
- ส่งเสริมโครงการ 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ โดยเน้นปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและ
ภายนอกบริเวณโรงเรียนใหเ้ อือ้ ต่อการเสริมสรา้ งคณุ ธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ

แผนปฏิบัติการประจำปงี บประมาณ 2565 ศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอวังเหนอื

18

การขับเคลอื่ นนโยบายและจุดเนน้ สู่การปฏบิ ตั ิ
1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้นเป็นกรอบแนวทางมา

ใช้ในการวางแผนและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยคำนึงถึงมาตรการ 4 ข้อ
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้แนวทางในการบริหารงบประมาณไว้ ดังนี้ (1) งดดูงาน
ต่างประเทศ 1 ปี ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ (2) ลดการจัดอบรม
สัมมนาทมี่ ขี นาดใหญ่และใชง้ บประมาณมาก (3) ยกเลกิ การจัดงาน Event และ (4) ทบทวนงบประมาณที่มีความ
ซำ้ ซอ้ น

2. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติ
ระดับพื้นที่ โดยให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน สำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักตรวจ
ราชการและตดิ ตามประเมนิ ผล สป. เป็นฝา่ ยเลขานุการและผ้ชู ว่ ยเลขานุการตามลำดับโดยมบี ทบาทภารกิจในการ
ตรวจราชการ ติดตาม ประเมินผลในระดบั นโยบาย และจดั ทำรายงานเสนอตอ่ รัฐมนตรวี ่าการกระทรวงศกึ ษาธิการ
และคณะกรรมการตดิ ตาม ตรวจสอบ และประเมนิ ผลการจดั การศึกษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ทราบตามลำดบั

3. กรณมี ปี ัญหาในเชงิ พ้นื ทหี่ รอื ข้อขดั ข้องในการปฏิบตั งิ าน ใหศ้ ึกษา วเิ คราะห์ข้อมลู และดำเนนิ การแก้ไข
ปัญหาในระดับพื้นทีก่ ่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขขอ้ ขัดข้อง พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการติดตามฯ
ขา้ งต้น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรวี า่ การกระทรวงศึกษาธิการตามลำดับอนึ่ง สำหรบั ภารกิจของส่วน
ราชการหลักและหน่วยงานที่ปฏบิ ัติในลักษณะงานในเชิงหน้าที่(Function) งานในเชิงยุทธศาสตร์ (Agenda) และ
งานในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนเมื่อรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญเพิ่มเติมใน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นอกเหนือจากที่กำหนดหากมีความสอดคล้องกับหลักการนโยบายและจุดเน้นข้างต้น
ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการหลักและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบให้การ
ดำเนินการเกดิ ผลสำเร็จและมปี ระสทิ ธิภาพอยา่ งเป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน

ยทุ ธศาสตรก์ ารพฒั นาภาค
ยทุ ธศาสตร์การพัฒนาภาคมี 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนอื ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื ภาคกลาง ภาคตะวันออก

ภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน โดยที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณใน
แผนงานบูรณาการพ้นื ท่รี ะดบั ภาค ภายใต้เป้าหมายทศิ ทางการพฒั นาภาคท้งั 6 ภาค

ภาคเหนอื : ฐานเศรษฐกจิ สรา้ งสรรคม์ ูลค่าสงู เชอ่ื มโยงเศรษฐกจิ กับประเทศในกล่มุ อนภุ มู ภิ าค
ลมุ่ แมน่ ำ้ โขง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื : ศูนยก์ ลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุม่ แม่นำ้ โขง
ภาคกลางและพืน้ ทกี่ รงุ เทพมหานคร : พัฒนากรุงเทพมหานครสู่มหานครทนั สมยั และภาคกลาง
เป็นฐานการผลิตสินค้าและบรกิ ารทีม่ มี ูลค่าสูง
ภาคตะวันออก : ฐานเศรษฐกิจช้ันนำของอาเซียน
ภาคใต้ : ภาคใต้เป็นเมืองท่องเที่ยวพักผ่อนตากอากาศระดับโลกเป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์
ยางพาราและปาลม์ นำ้ มนั ของประเทศและเมืองเศรษฐกจิ เชอ่ื มโยงการค้าการลงทุนกับภูมภิ าคอน่ื ของโลก
ภาคใตช้ ายแดน : เปน็ แหล่งผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรปู ท่สี ำคัญของประเทศ
และเปน็ เมืองชายแดนเช่ือมโยงการคา้ และการท่องเท่ยี วกบั พ้นื ทีภ่ าคใตแ้ ละการพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซีย
และสิงคโปร์

แผนปฏบิ ตั ิการประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอวังเหนือ

19

แผนปฏิบตั ริ าชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ของกระทรวงศึกษาธกิ าร

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดสาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร (ฉบบั จดั ทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี) ดังนี้

วิสยั ทศั น์
ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อน การพัฒนา

ประเทศสูค่ วามมน่ั คง ม่งั คัง่ ยั่งยืน

พนั ธกิจ
1. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ และ

เทียบเทา่ ระดบั สากล
2. สร้างความเสมอภาคและลดความเหลอ่ื มล้ำทางการศึกษา
3. ผลิต พฒั นา และสรา้ งเสริมศักยภาพกำลงั คนใหม้ ีความพร้อมรองรบั การพัฒนาประเทศ
4. วจิ ยั และพัฒนาเพือ่ สร้างองคค์ วามรู้ นวัตกรรม และส่งิ ประดษิ ฐ์
5. พฒั นาระบบบรหิ ารจัดการศึกษาใหม้ ปี ระสิทธิภาพตามหลกั ธรรมาภิบาล

เปา้ ประสงคร์ วม
1. ผู้เรียนได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติและ

สง่ เสรมิ ทกั ษะที่จำเปน็ ในศตวรรษท่ี 21
2. ประชาชนทุกช่วงวัยและกลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง

เสมอภาค
3. กำลังคนได้รบั การพัฒนาให้มีศกั ยภาพตอบสนองตอ่ ความต้องการของประเทศ
4. ผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี องค์ความรู้ และสิ่งประดิษฐ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอด

เชิงพาณชิ ย์
5. ระบบบรหิ ารจดั การการศึกษามปี ระสทิ ธิภาพตามหลกั ธรรมาภิบาล โดยการมสี ว่ นรว่ มจากทุกภาคสว่ น

ประเด็นยุทธศาสตร์ เปา้ ประสงค์ ตวั ชี้วดั ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์

ยทุ ธศาสตร์ท่ี 1 การจัดการศกึ ษาเพอื่ ความม่ันคงของสังคมและประเทศชาติ

เป้าประสงค์ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับความมั่นคงและ รู้เท่าทันการ

เปล่ยี นแปลงรูปแบบใหม่

ตัวชี้วดั คา่ เป้าหมาย แหล่งข้อมูลรายงาน

1. ร้อยละของผูเ้ รียนท่ีเข้าร่วมกจิ กรรม ร้อยละ 85 สป. (สช. กศน. สสก.)

ที่ส่งเสริมสนับสนุนในการสร้างภูมิคุ้มกันพร้อมรับมือกับ สพฐ. สอศ.

การเปลย่ี นแปลงและภยั คุกคามรูปแบบใหม่ในทกุ รูปแบบ

2. ร้อยละของผู้เรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด ร้อยละ 80 สป. (กศน. ศปบ.จชต.)

ชายแดนภาคใต้ที่ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อการมี สอศ.

งานทำหรือนำไปประกอบอาชีพในท้องถน่ิ

แผนปฏบิ ตั ิการประจำปงี บประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยอำเภอวงั เหนอื

20

กลยุทธ์
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ และ

การปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษัตรยิ ์ ทรงเปน็ ประมขุ
2. ส่งเสริมและสนับสนนุ การจดั การศึกษาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (ยาเสพติด

การค้ามนุษย์ ภัยจากไซเบอร์ ภยั พิบตั จิ ากธรรมชาติ โรคอบุ ตั ใิ หม่ ฯลฯ)
3. ยกระดับคุณภาพการศึกษาและสร้างเสริมโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาการพัฒนาทักษะ

การสร้างอาชพี และการใช้ชวี ิตในสังคมพหุวฒั นธรรมในเขตพฒั นาพเิ ศษเฉพาะกจิ จังหวดั ชายแดนภาคใต้

ยทุ ธศาสตร์ที่ 2 การผลติ และพัฒนากำลังคน การวจิ ัยและนวัตกรรมเพ่ือสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

ของประเทศ

เป้าประสงค์

1. กำลังคนมีทกั ษะ สมรรถนะ สอดคลอ้ งกับความต้องการของตลาดงาน และการพัฒนาประเทศ

2. ผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี องค์ความรู้ และส่ิงประดิษฐ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอด

เชิงพาณชิ ย์

ตัวช้ีวดั ค่าเป้าหมาย และหนว่ ยงานรับผดิ ชอบ

ตัวชีว้ ดั ค่าเปา้ หมาย แหลง่ ข้อมลู รายงาน

1. ร้อยละของกำลังคนที่ได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรท่ี ร้อยละ 90 สป. (สช. กศน.)

ตอบสนองอุตสาหกรรมเปา้ หมายประเทศ สอศ. สสวท.

2. สัดส่วนผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเภท 50 : 50 สป. (ศทก.)

อาชีวศึกษาต่อสามัญศกึ ษา(ปวช.1 : ม.4)

3. ร้อยละของผลงานวิจัย นวัตกรรมเทคโนโลยี องค์ ร้อยละ 80 สป. สกศ. สพฐ. สอศ.

ความรู้ และสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือ

ตอ่ ยอดเชงิ พาณิชย์

กลยุทธ์
1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะ สมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนา

ประเทศ
2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี องค์ความรู้ และสิ่งประดิษฐ์เพ่ือ

สนบั สนุนการพฒั นาประเทศ
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 3 การพฒั นาศกั ยภาพคนทกุ ช่วงวยั และการสรา้ งสังคมแห่งการเรยี นรู้
เป้าประสงค์

1. ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
และมาตรฐานสากล

2. ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ และมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษท่ี
21

3. ครู และบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครูมีสมรรถนะ
สูงสอดคล้องกับการจดั การเรยี นรูใ้ นศตวรรษท่ี 21 เพือ่ ใหส้ ามารถปฏบิ ตั หิ น้าท่ไี ด้อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ

แผนปฏบิ ัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยอำเภอวังเหนอื

21

ตัวชี้วดั ค่าเปา้ หมาย และหน่วยงานรบั ผดิ ชอบ

ตวั ช้ีวดั คา่ เปา้ หมาย แหล่งข้อมูลรายงาน
สทศ.
1.ร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบทาง ร้อยละ 50
สกศ.
การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) แต่ละวิชา
สสวท.
ผา่ นเกณฑค์ ะแนนรอ้ ยละ50 ขึ้นไป เพม่ิ ขนึ้ สพฐ.
สอศ.
2. อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อันดบั 45 มวส.
สป. (สช.)
ดา้ นการศึกษา (IMD) สมศ.

3.จำนวนผูเ้ รียนได้รับการพฒั นาเต็มตามศักยภาพตาม (3,000) สป. (สช.) สพฐ.

ความถนัดและความสามารถ(วิทยาศาสตร์คณติ ศาสตร์ (21,812) สป. (กศน. สช.
สคบศ. ก.ค.ศ.)
ทัศนศิลป์นาฏศลิ ป์ ดนตรี กีฬา ฯลฯ) (3,593) สพฐ. สอศ. คส .สกสค.
สสวท..
( 720)

4. ร้อยละของสถานศึกษาได้รู้สถานภาพและมาตรฐาน ร้อยละ 100
ในด้านการเรียน การสอน และการบริหารของ
สถานศกึ ษาและได้รบั ขอ้ แนะนำในการปรับปรุงและ
พัฒนาคุณภาพของสถานศกึ ษา

5.ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านการประเมินคุณลักษณะ ร้อยละ 80
อนั พึงประสงคต์ ามหลักสูตรระดบั ดีขนึ้ ไป

6. รอ้ ยละของครู และบคุ ลากรทางการศึกษาทกุ ระดับ รอ้ ยละ 90
และประเภทการศึกษาได้รับการส่งเสรมิ และพฒั นา
ตามมาตรฐานวชิ าชีพเพื่อให้สามารถปฏบิ ัติหนา้ ที่ได้
อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

กลยุทธ์
1. พัฒนาและยกระดับคณุ ภาพการศกึ ษาตามมาตรฐานการศึกษา
2. พัฒนาผู้เรียนทุกช่วงวัยให้มีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาศักยภาพตามพหุ

ปัญญา
3. พฒั นาครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา

ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 4 การสรา้ งโอกาสความเสมอภาคและความเทา่ เทียมทางการศึกษา

เป้าประสงค์ ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงเสมอภาค

และเหมาะสมกบั ชว่ งวยั

ตวั ชี้วัด คา่ เปา้ หมาย และหนว่ ยงานรบั ผดิ ชอบ

ตวั ชว้ี ัด ค่าเป้าหมาย แหลง่ ข้อมูลรายงาน

1. อัตราการเข้าเรียนของผู้เรียนแต่ละระดับการศึกษาต่อ ร้อยละ 100 สกศ.

ประชากรกลุ่มอายุ ร้อยละ 100

- ระดับปฐมวัย รอ้ ยละ 100

- ระดบั ประถมศกึ ษา รอ้ ยละ 78

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอวงั เหนือ

22

ตวั ช้วี ดั ค่าเปา้ หมาย แหล่งข้อมูลรายงาน

- ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้ สพฐ.
สป. (สช.)
- ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย (สามัญ - อาชีวศึกษา) สป. (กศน.)
สอศ.
2 . จำนวนนกั เรียนที่เปน็ ผูพ้ ิการผู้ด้อยโอกาสได้รับโอกาส (3,196,638) สป. (กศน.)
สอศ.
ในการเขา้ ถงึ บรกิ ารการศึกษาและการพัฒนาสมรรถภาพ (412,239) สป. (สช.)
สป. (ศทก.) สพฐ.
หรือบริการทางการศึกษาที่เหมาะสมตามความต้องการ (10,058)

จำเปน็ (11,124)

3. จำนวนประชาชนที่เข้าถึงหลกั สตู ร/ส่ือ/ (10,000,000)

แหล่งเรียนร้ทู ีจ่ ัดการศึกษาในรูปแบบการ ( 1,456,400)

เรยี นรูต้ ลอดชีวิต (Lifelong Learning)

กลยุทธ์
1. เพมิ่ โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้อยา่ งเท่าเทียมและเสมอภาค
2. พัฒนาเทคโนโลยีดจิ ิทัลเพื่อการศึกษาสำหรบั คนทุกช่วงวยั
3. พฒั นาระบบการเทยี บประสบการณ์ และการเทยี บโอนความรู้
4. พฒั นาแหล่งเรยี นรใู้ ห้มคี ณุ ภาพ และตอบสนองความต้องการของผ้ใู ช้บริการ

ยุทธศาสตรท์ ่ี 5 การพัฒนาประสิทธภิ าพของระบบบรหิ ารจัดการศกึ ษา

เป้าประสงค์ ระบบบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล ทันสมัยสนับสนุนการจัด

การศึกษาทหี่ ลากหลายตอบสนองความต้องการของผเู้ รียนและการพัฒนาประเทศตามยทุ ธศาสตร์ชาติ

ตวั ชี้วดั คา่ เป้าหมาย และหน่วยงานรับผิดชอบ

ตวั ชวี้ ัด คา่ เป้าหมาย แหลง่ ข้อมูลรายงาน

1. จำนวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้รับการจัดทำ 6 ฉบบั สป. (สน. สช. ก.ค.ศ.)

ปรับปรงุ แกไ้ ข สพฐ. สอศ. คส.

2. จำนวนระบบฐานข้อมูลกลางของกระทรวงที่เชื่อมโยง 5 ฐาน สป. (ศทก.)

ฐานข้อมูลรายบุคคลที่อ้างอิงจากเลขประจำตัวประชาชน 13

หลักระหว่างกระทรว งศึกษาธิการแล ะหน่วยงานอื่ นด ้าน

สาธารณสุข สงั คมภูมิสารสนเทศ แรงงานและการศึกษา

กลยทุ ธ์
1. พัฒนาระบบบรหิ ารจดั การศึกษาและองค์กรตามหลักธรรมาภบิ าล
2. สง่ เสรมิ การมีส่วนรว่ มของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอวังเหนือ

23

แผนปฏบิ ัติราชการประจำปงี บประมาณ พ.ศ.2564 ของสำนักงานปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการ

วสิ ยั ทศั น์
การบริหารและจัดการศึกษาแบบบูรณาการมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ ตลอดชีวิตอย่างมี

คณุ ภาพและมที กั ษะทีจ่ ำเปน็ ในศตวรรษที่ 21

พันธกจิ
1. สง่ เสรมิ สนับสนุน การบรหิ ารและจดั การศึกษาแบบบูรณาการ ทกุ ระดบั ทกุ พ้ืนทอ่ี ยา่ งมีประสิทธิภาพ

สง่ ผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผูเ้ รียน
2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม

อัธยาศยั ให้สอดคลอ้ งกับทักษะทจี่ ำเปน็ ในศตวรรษท่ี 21
3. สง่ เสริม สนบั สนนุ การสรา้ งโอกาส และความเสมอภาคในการเข้าถงึ การศึกษาอย่างทว่ั ถึงตามศักยภาพ

ของผเู้ รียน เพอื่ ลดความเหล่ือมล้ำทางการศึกษา
4. สง่ เสริม สนับสนุน การพฒั นาระบบการบริหารงานบุคคลและพฒั นาสมรรถนะของข้าราชการ ครู และ

บุคลากรทางการศกึ ษาทั้งภาครัฐและเอกชน ทส่ี ง่ ผลตอ่ การพฒั นาทกั ษะทจ่ี ำเปน็ ของผ้เู รียนในศตวรรษที่ 21

เปา้ ประสงคร์ วม
1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการตามหลัก

ธรรมาภบิ าล
2. ผเู้ รียนมีการศกึ ษาและเรยี นร้ตู ลอดชีวิตทมี่ ีคุณภาพ และมีทกั ษะทจี่ ำเป็นในศตวรรษท่ี 21
3. ผเู้ รยี นได้รับโอกาสเขา้ ถงึ การศกึ ษาท่ีมีคณุ ภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
4. ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของผู้เรียน

ในศตวรรษท่ี 21

ประเดน็ ยุทธศาสตร์
1. พฒั นาการจดั การศึกษาเพอื่ ความม่ันคง
2. พัฒนากำลงั คน การวจิ ยั เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3. พฒั นาและเสริมสรา้ งศักยภาพทรพั ยากรมนษุ ยใ์ ห้มคี ุณภาพ
4. สรา้ งโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
5. พฒั นาระบบบรหิ ารจัดการให้มปี ระสิทธภิ าพ

เป้าประสงค์ตามประเด็นยทุ ธศาสตร์
1. ผเู้ รยี นมีคุณภาพ ทกั ษะ และสมรรถนะการเรียนรู้ทีจ่ ำเปน็ ในศตวรรษท่ี 21 สอดคล้องเหมาะสมกับการ

เสรมิ สรา้ งความม่ันคงในแต่ละบริบท
2. ผู้เรียน ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีสมรรถนะที่ตอบสนองความต้องการของ

ตลาดแรงงานและการแขง่ ขนั ของประเทศ
3. ผู้เรยี นมีคณุ ภาพ ทกั ษะและสมรรถนะการเรยี นรทู้ ่ีจำเปน็ ในศตวรรษท่ี 21

แผนปฏบิ ตั ิการประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอวงั เหนอื

24

4. ครู และบคุ ลากรทางการศึกษามีสมรรถนะท่ีส่งผลต่อการพัฒนาทักษะท่ีจำเป็นของผเู้ รยี นในศตวรรษท่ี
21

5. หน่วยงานและสถานศกึ ษามีกิจกรรมสง่ เสริมคุณลกั ษณะที่พึงประสงค์และปรบั เปลยี่ นพฤติกรรมให้เป็น
มติ รกบั ส่งิ แวดล้อม

6. ผ้เู รียนไดร้ ับโอกาสทางการศกึ ษาที่มีคณุ ภาพ อยา่ งทัว่ ถงึ และเสมอภาคดว้ ยรูปแบบทห่ี ลากหลาย
7. หน่วยงานมรี ะบบการบริหารจดั การที่มปี ระสิทธิภาพ ตอบสนองความตอ้ งการของผู้รับบรกิ ารได้อย่าง
สะดวก รวดเรว็ โปร่งใส ตามหลกั ธรรมาภบิ าล

กลยทุ ธ์ภายใตป้ ระเด็นยทุ ธศาสตร์
ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ท่ี 1 พัฒนาการจัดการศกึ ษาเพอื่ ความมน่ั คง

กลยทุ ธ์
1.1 ปลูกฝังค่านิยมและหลักคิดที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพสถาบันหลักของชาติ

ตามระบอบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษตั รยิ ท์ รงเปน็ ประมุข
1.2 ยกระดับและสร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู/้

วิขาชีพ ด้วยศาสตร์พระราชาและตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ และเขตพื้นที่พิเศษ (พื้นที่สูง พื้นที่ตามตะเข็บชายแดนและพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชน
ตา่ งเช้อื ชาติ ศาสนา และวฒั นธรรม กลุม่ ชนชายขอบและแรงงานตา่ งดา้ ว)

1.3 พัฒนากลไกบูรณาการระบบบริหารจัดการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดหรือภัย
คกุ คามรปู แบบใหม่

1.4 พฒั นาความรว่ มมอื ด้านการศกึ ษากบั ตา่ งประเทศ

ประเด็นยุทธศาสตรท์ ี่ 2 พฒั นากำลังคน การวิจยั เพื่อสรา้ งความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
กลยุทธ์
2.1 พัฒนาทักษะแรงงานฝีมือตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่และภูมิภาค

(อาทิ เกษตรกรรม อตุ สาหกรรม ท่องเที่ยว พนื้ ทเ่ี มืองนา่ อยูอ่ ัจฉรยิ ะ)
2.2 ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ

เพื่อพัฒนาการเรียนร้แู ละการอาชีพรปู แบบใหม่ผ่านระบบดิจิทลั
2.3 ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมการบริหารและจัดการศึกษา และพฒั นาบุคลากรวิจัยทางการ

ศึกษา

ประเดน็ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสรมิ สรา้ งศักยภาพทรพั ยากรมนษุ ยใ์ ห้มคี ุณภาพ
กลยุทธ์
3.1 พฒั นาการจดั การศกึ ษาโดยบูรณาการองค์ความรู้แบบสะเตม็ ศึกษา
3.2 สง่ เสรมิ การจดั การเรยี นการสอนพฒั นากระบวนการคดิ อย่างเป็นระบบผ่านประสบการณ์ตรง

จากการลงมอื ปฏิบตั ิ
3.3 สร้างเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สมวัย ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตที่เท่าทันและ

สามารถอยรู่ ว่ มในสังคมศตวรรษท่ี 21

แผนปฏบิ ตั กิ ารประจำปงี บประมาณ 2565 ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยอำเภอวงั เหนอื

25

3.4 สร้างแพลตฟอร์มดิจิทลั รองรับการเรียนรู้รูป แบบใหม่และการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของ
ผเู้ รยี น ครู และบุคลากรทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21

3.5 บูรณาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างหลักคิดและทัศนคติที่ถูกต้องด้านระเบียบ
วินยั คุณธรรมจริยธรรม จิตสาธารณะ ความเป็นพลเมือง

3.6 พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษาไทย ภาษาถิ่น (ภาษาแม่) ต่อยอดการเรียนรู้และ
การประกอบอาชีพ

3.7 ส่งเสริมกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ดว้ ยกระบวนการมีส่วนรว่ ม

ประเด็นยุทธศาสตร์ท่ี 4 สรา้ งโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
กลยทุ ธ์
4.1 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่และ
กล่มุ เปา้ หมาย

4.2 ส่งเสริมพัฒนาโปรแกรมประยุกต์และสื่อการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิทัลออนไลน์แบบเปิดที่
เหมาะสมตอ่ การเข้าถึงและพฒั นาการเรยี นรูต้ ลอดชวี ติ

ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ท่ี 5 พฒั นาระบบบริหารจัดการให้มีประสทิ ธภิ าพ
กลยทุ ธ์
5.1 ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ ใช้ในการบริหารราชการ/บริการ

ประชาชน
5.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูลของจังหวัด ภาค และฐานข้อมูลกลางด้านการศึกษาให้เป็นเอกภาพ

เช่ือมโยงกัน เปน็ ปัจจบุ นั และทนั ตอ่ การใช้งาน
5.3 สร้างและพัฒนากลไกการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพในการบูรณาการเชื่อมโยง

ทุกระดับ และการมีสว่ นรว่ มกบั ทกุ ภาคส่วนในพ้ืนทน่ี วัตกรรมการศึกษา
5.4 เร่งรัด ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับ

บริบทที่เปลี่ยนแปลง
5.5 ปรับปรุงโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัวไม่ซ้ำซ้อน

และทันสมัย เออ้ื ต่อการพฒั นาประสิทธิภาพและขดี สมรรถนะองค์กร
5.6 พัฒนาเครือข่ายต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบให้มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ เฝ้าระวัง

และตดิ ตามพฤติกรรมเสย่ี งการทุจรติ
5.7 พัฒนาระบบงานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา

เพื่อยกระดับสมรรถนะการปฏิบตั ิงาน

แผนปฏิบตั ิการประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอวังเหนอื

26

แผนงานบรู ณาการดา้ นการศึกษาระดบั ภาค(ภาคเหนอื )ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 2 : การสร้างความ สามารถในการแขง่ ขนั ของประเทศ
แนวทางที่ 1 เพิ่มศักยภาพภาคอตุ สาหกรรม การค้าและการลงทุน

โครงการพัฒนาเมอื งสำคัญภาคเหนือ
กิจกรรมท่ี 1 การจดั ระบบข้อมูลสารสนเทศดา้ นการศกึ ษาสำหรบั การพัฒนาเมอื งสำคัญ (Big Data)

จดั ระบบข้อมลู สารสนเทศดา้ นการศึกษาสำหรบั การพฒั นาเมอื งสำคญั (Big Data)
เป้าหมายหลัก : (จงั หวดั เชยี งใหม,่ จังหวดั พษิ ณโุ ลก,จังหวดั นครสวรรค์ (เมืองนครสวรรค)์ ,

กิจกรรมที่ 2 จดั ทำแผนยทุ ธศาสตรด์ ้านการศึกษาเพ่ือพัฒนาเมืองสำคญั ภาคเหนือ องิ บริบทพน้ื ที่
จดั ทำแผนยุทธศาสตร์ดา้ นการศึกษาเพ่ือพัฒนาเมืองสำคัญภาคเหนอื องิ บริบทพนื้ ที่(17 จังหวัด)

กิจกรรมที่ 3 การออกแบบวิจัยและพัฒนารปู แบบเมืองสำคัญภาคเหนอื อิงบรบิ ทพน้ื ท่ี ออกแบบวจิ ัยและ
พัฒนารูปแบบเมอื งสำคัญภาคเหนอื องิ บริบทพืน้ ที่(17 จงั หวัด)

กจิ กรรมที่ 4 พัฒนาศกั ยภาพคนในภมู ิภาคเหนือเพื่อรองรับเมอื งสำคญั (ครู ผเู้ รียน)
1. การจัดทำหลกั สูตรพฒั นาศกั ยภาพคนในภมู ิภาคเหนือเพ่อื รองรับเมืองสำคัญ
1.1 หลักสูตรยกระดับคณุ ภาพการศึกษาในทุกระดบั พัฒนาครูผูส้ อนใหส้ ามารถจดั การ
เรียนการสอนให้นักเรยี นมที ักษะในการคิดวิเคราะห์
1.2 หลกั สตู รพัฒนาทักษะภาษาเพ่ือการสื่อสาร เช่นภาษาจนี อังกฤษ ฯลฯ
1.3 หลักสตู รดา้ นการออกแบบเพือ่ เศรษฐกิจสรา้ งสรรค์ยกระดับการให้บรกิ ารและ
นวัตกรรม

กจิ กรรมที่ 4 จัดทำแผนยุทธศาสตรด์ ้านการศึกษาเพื่อพัฒนาเมอื งสำคัญยกระดบั คณุ ภาพสาขาวิชาท่ี
สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองสำคัญ

กจิ กรรมท่ี 5 การออกแบบวิจัยและพัฒนารปู แบบเมืองสำคัญ
1. วจิ ัยและพัฒนานวตั กรรม สนับสนุนการเรียนรู้ เพอ่ื สนับสนนุ มติ ิทางการศกึ ษา (17 จังหวดั )
1.1 พฒั นาระบบขนส่งสาธารณะ โครงขา่ ยคมนาคมและแนวทางแก้ไขปัญหาจราจรใน
เมืองสำคัญเป้าหมายหลัก เชยี งใหม่ พิษณโุ ลก เป้าหมายรอง นครสวรรค์
1.2 จัดทำผงั เมือง จดั รูปท่ดี นิ การใช้ประโยชน์จากพน้ื ท่ีบริเวณสถานขี นส่งระบบราง
เป้าหมายหลกั นครสวรรค์ เชยี งราย (เชยี งของ)เป้าหมายรอง จงั หวัดทม่ี ีการจดั ตง้ั สถานีขนส่ง
ระบบราง
1.3 ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยเี พ่ิมมูลคา่ ทางธรุ กิจดา้ นอาหารและการแปรรูป
อุตสาหกรรมสนิ คา้ ในครัวเรือน

กิจกรรมท่ี 6 พัฒนาศักยภาพคนในภูมิภาคเหนือเพ่ือรองรับเมืองสำคัญ (ครู ผู้เรียน)
1. การเพ่ิมศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ ทกั ษะการคิด

วิเคราะห์
สำหรบั ผู้เรยี นทุกระดับการศึกษา 5 กลุ่มสาระ (ไทย วิทยาศาสตรค์ ณติ ศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ สังคม) และ
ปฐมวยั 3 ขวบ (17 จังหวดั )

2. สนับสนนุ ราชภัฏตามพระราโชบาย (ม.ราชภฏั )
3. การผลิตและพฒั นากำลังคนเพือ่ รองรบั เมืองสำคญั (อาชวี /อุดมศึกษา)
4. ส่งเสริมทักษะภาษาเพ่ือการสอ่ื สาร เช่น ภาษาจีน อังกฤษ ฯ (สพฐ./อดุ มศึกษา)

4.1 จา้ งครูสอนชาวต่างชาติ (จีน องั กฤษ)

แผนปฏบิ ัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอวงั เหนือ

27

4.2 พัฒนาครผู ูส้ อน
4.3 สนบั สนนุ สื่อนวัตกรรม
4.4 ส่งเสรมิ กจิ กรรมการเรยี นการสอน (ค่าย)
พฒั นาระบบเช่ือมโยงด้านการศกึ ษา
กจิ กรรมท่ี 4 พัฒนาศักยภาพคนในภมู ภิ าคเหนือเพื่อรองรบั เมอื งสำคัญ (ครู ผเู้ รยี น)
1. มหกรรมการศึกษาและอาชีพ (Job & EducationExpo)
2. การจัดตลาดนัดแรงงานโดยความรว่ มมอื ระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานและ
สถานประกอบการเพ่ือรองรบั เมืองสำคัญ
3. ส่งเสริมการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะวสิ าหกิจเพ่อื สรา้ งผู้ประกอบการใหม่Startup เพอ่ื
รองรบั เมืองสำคัญ

แผนพฒั นาการศกึ ษา (พ.ศ.2562-2565) จงั หวัดลำปาง

วสิ ัยทศั น์
“ผู้เรียนเป็นคนดี มวี ินยั ใฝเ่ รียนรูส้ ู่การสร้างสรรค์นวตั กรรมในการดำรงชีวติ บนพน้ื ฐานปรชั ญาของ

เศรษฐกจิ พอเพยี งและวฒั นธรรมท้องถิ่น”

พนั ธกจิ
1. สง่ เสรมิ สนับสนุน และพฒั นาการจัดการศกึ ษาใหผ้ ้เู รยี นมีทักษะในศตวรรษท่ี 21 เป็นคนดี มวี ินัย

สามารถค้นพบความถนัดในอาชพี ดำเนนิ ชวี ิตตามหลักปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง มีความภมู ิใจในวฒั นธรรม
ทอ้ งถน่ิ ของตน และรักษส์ ิ่งแวดลอ้ ม

2. สง่ เสริมพฒั นาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศกึ ษาตามมาตรฐานวิชาชพี
3. สร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทัง้ ในระบบ นอกระบบและตามอธั ยาศัยอย่างทั่วถงึ และเป็น
ธรรม
4. พฒั นาประสทิ ธิภาพการบริหารจดั การตามหลักธรรมาภิบาล
5. สง่ เสรมิ สนับสนนุ ให้ทกุ ภาคสว่ นมสี ่วนร่วมในการจดั การศกึ ษาในทุกระดบั เพื่อตอบสนอง
ความตอ้ งการของประชาชนในพ้ืนที่

เปา้ ประสงค์หลัก
1. ผ้เู รยี นมีทกั ษะในศตวรรษที่ 21 เปน็ คนดี มีวินัย สามารถค้นพบความถนดั ในอาชีพ ดำเนินชีวติ ตาม

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง มคี วามภูมใิ จในทอ้ งถ่ินของตน และรักษส์ ิ่งแวดลอ้ ม
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาไดร้ ับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานวชิ าชพี
3. ประชาชนไดร้ บั โอกาสทางการศกึ ษาทงั้ ในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศยั อยา่ งทัว่ ถึงและเป็นธรรม
4. หน่วยงานทางการศกึ ษาได้รบั การพัฒนาประสทิ ธภิ าพการบริหารจัดการตามหลกั ธรรมาภิบาล
5. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจดั การศกึ ษาให้ทุกระดับสามารถบรู ณาการการจัดการศึกษาร่วมกนั เพ่ือ

ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพ้ืนที่

แผนปฏบิ ัตกิ ารประจำปงี บประมาณ 2565 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยอำเภอวังเหนอื

28

ยทุ ธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์
1. การจัดการศึกษาเพื่อความม่นั คงของสงั คมและประเทศชาติ
2. การผลติ และพฒั นากำลงั คน การวิจัย และนวัตกรรมเพ่ือสรา้ งขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั ของ

ประเทศ
3. การพฒั นาศักยภาพคนทุกช่วงวยั และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
4. การสรา้ งโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทยี มทางการศึกษา
5. การจัดการศึกษาเพื่อสรา้ งเสรมิ คณุ ภาพชวี ิตท่เี ป็นมติ รกับสิง่ แวดล้อม
6. การพัฒนาประสิทธภิ าพของระบบบริหารจดั การศึกษา

ยทุ ธศาสตร์ที่ 1 การจดั การศึกษาเพอ่ื ความมน่ั คงของสงั คมและประเทศชาติ
เป้าประสงคเ์ ชิงยทุ ธศาสตร์
1.ผู้เรียนทกุ ชว่ งวัยมคี วามรักในสถาบันหลกั ของชาติ และยดึ มนั่ การปกครองระบอบประชาธปิ ไตย
อนั มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมขุ
2.ผูเ้ รียนทกุ ช่วงวัยได้รบั การศึกษาการดูแลป้องกนั จากภัยคกุ คามชวี ติ ในรูปแบบใหม่
3.ผู้เรยี นทุกช่วงวัยในพ้นื ท่ีสงู มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา
กลยุทธ์
1. เสริมสร้างจิตสำนกึ ของพลเมือง ความรักสถาบนั ชาติ และยึดม่นั การปกครองระบบประชาธิปไตย

อนั มีพระมหากษัตรยิ ท์ รงเปน็ ประมขุ
2. ส่งเสรมิ โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของประชาชนในพื้นทส่ี งู
3. ส่งเสรมิ การจัดการศกึ ษา การดแู ลและป้องกันจากภยั คุกคามในรปู แบบใหม่

ตวั ช้ีวดั
1. ร้อยละของสถานศกึ ษาท่จี ัดกจิ กรรมส่งเสริมการเรียนร้ทู ่ีสะท้อนความรกั และการธำรงรกั ษาสถาบนั หลัก

ของชาตแิ ละการยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษัตริย์ทรงเปน็ ประมุขเพ่มิ ขึน้
2. รอ้ ยละของผู้เรยี นในพนื้ ทส่ี ูงมโี อกาสในการเข้าถึงการศึกษา
3. รอ้ ยละของสถานศึกษาทจ่ี ัดการเรยี นการสอนหรือจัดกิจกรรมเพื่อเสรมิ สร้างความจำ ความรู้

ความเขา้ ใจ การนำไปใช้ วิเคราะห์ ประเมนิ ค่า สงั เคราะห์ สรา้ งสรรค์ ทถี่ กู ต้องเกย่ี วกบั ภัยคุกคามในรปู แบบใหม่*
*ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ได้แก่ ปัญหายาเสพติด การหนีข้ามประเทศ การก่อการร้าย การบุ กรุกป่า

อาชญากรรมปญั หาความรนุ แรง ภัยไซเบอร์ โรคภยั ภยั พิบัติทางธรรมชาติ
โครงการ

1. แผนงานบรู ณาการ
โครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีมีวินัยและความรับผิดชอบสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา
จงั หวดั ลำปาง

2. แผนงานพืน้ ฐาน
(1) โครงการส่งเสริมพัฒนากิจการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และ กิจกรรม
พฒั นาผูเ้ รยี น
(2) โครงการส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานตามพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รชั กาลท่ี 10 ส่กู ารปฏิบัติ

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอวงั เหนือ

29

(3) โครงการสง่ เสริมความเขม้ แขง็ การดำเนินงานปอ้ งกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในสถานศกึ ษา
(4) โครงการส่งเสริมและการจดั การศึกษาบนพื้นทส่ี ูง
ยทุ ธศาสตร์ท่ี 2 การผลติ และพฒั นากำลังคน การวจิ ัย และนวตั กรรมเพ่ือสร้างขดี ความสามารถในการแขง่ ขัน
ของประเทศ
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. ผู้เรียนค้นพบความถนัดและมีทัศนคติทดี่ ีในการประกอบอาชีพ
2. ผู้เรยี นไดร้ ับการพฒั นาให้มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
3. หน่วยงานการศึกษามงี านวิจัยและพัฒนาเพื่อสรา้ งองคค์ วามรู้ และนวัตกรรมในการจัดการศกึ ษาที่
เกย่ี วข้องในการสร้างผลผลิตและมูลคา่ เพม่ิ ทางเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง
กลยทุ ธ์
1. สง่ เสริมสถานศกึ ษาให้มีการผลิตและพัฒนาผูเ้ รยี นให้มีทักษะทีจ่ ำเป็นและมีสมรรถนะตรงตาม ความ
ต้องการของตลาดแรงงาน
2. ส่งเสริมใหส้ ถานศกึ ษา วจิ ยั พัฒนา สร้างองค์ความรู้และนวตั กรรมท่เี กี่ยวข้องในการสร้างผลผลติ และ
มลู ค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง
3. สง่ เสริมใหท้ ุกภาคส่วนมสี ่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสร้างนวัตกรรมในสาขาวชิ าชีพตา่ งๆ
ตวั ชี้วัด
1. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการผลติ และพฒั นาผู้เรียนให้มีทกั ษะท่ีจำเปน็ และมสี มรรถนะตรงตามความ
ตอ้ งการของตลาดแรงงาน
2. จำนวนงานวจิ ัย องค์ความรู้และนวัตกรรมท่ีสร้างผลผลิตและมลู ค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของจงั หวดั ลำปาง
3. จำนวนเครอื ข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา เอกชน สถานประกอบการ และชุมชนในการจดั
การศึกษาและสรา้ งนวตั กรรมในสาขาวชิ าชพี ต่าง ๆ

โครงการ
1. แผนงานบรู ณาการ

โครงการพฒั นาระบบการจดั การเรียนร้เู พอ่ื สร้างสำนึกรกั ลำปาง
2. แผนงานพนื้ ฐาน

(1) โครงการเพิ่มประสบการณ์อาชีพ(Work Experience) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัด
ลำปาง

(2) โครงการเสริมสรา้ งศกั ยภาพบุคลากรเพ่ือพัฒนากำลังคนสู่ความเป็นเลศิ และสอดคล้องกับความ
ตอ้ งการของตลาดแรงงานและการพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมของประเทศ

(3) โครงการขับเคลื่อนการศึกษาระดบั อาชวี ศึกษาในพ้นื ทีจ่ ังหวัดลำปาง
(4) โครงการ สอน 108 อาชพี
(5) โครงการสอนนอ้ ง เตรยี มความพรอ้ มสอู่ ดุ มศึกษา
(6) โครงการวิจยั และพฒั นานวตั กรรมการเรียนร้อู ยา่ งยงั่ ยนื และมคี ณุ ภาพ

แผนปฏบิ ัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยอำเภอวังเหนอื

30

ยุทธศาสตรท์ ี่ 3 การพัฒนาศกั ยภาพคนทุกชว่ งวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรยี นรู้
เป้าประสงค์เชิงยทุ ธศาสตร์
1. ผเู้ รยี นทุกช่วงวัยมที ักษะและคณุ ลกั ษณะพน้ื ฐานของพลเมืองไทย
2. ผู้เรียนทกุ ช่วงวยั มีมีทักษะและคณุ ลักษณะท่ีจำเปน็ ในศตวรรษท่ี 21*
3. ผเู้ รยี นทกุ ชว่ งวยั มีทกั ษะความรูค้ วามสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐาน

วชิ าชพี และพฒั นาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ
4. สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาจดั กระบวนการเรยี นร้ตู ามหลกั สตู รอย่างมีคณุ ภาพและมาตรฐาน
5. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทุกระดับและทุกประเภทการศึกษามีสมรรถนะตามมาตรฐาน

วชิ าชพี
* ทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ
ทกั ษะ 3R คือ Reading-อ่านออก, (W) Riting - เขยี นได้, (A) Rithmatics - คดิ เลขเป็น
8C คือ 1.Critical Thinking and Problem Solving : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ แก้ไขปัญหาได้

2.Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม 3.Cross-cultural Understanding :
ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม 4.Collaboration teamwork and
leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ 5.Communications information and media
literacy : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันส่ือ 6.Computing and ICT literacy :ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
และการรูเ้ ท่าทันเทคโนโลยี 7.Career and learning skills : ทกั ษะทางอาชีพและการเรียนรู้และ 8.Compassion
: มีคณุ ธรรม มีเมตตา กรณุ า มีระเบียบวินยั

กลยทุ ธ์
1. ส่งเสรมิ ให้ผู้เรยี นทุกชว่ งวัยมีทกั ษะและคณุ ลักษณะพนื้ ฐานของพลเมืองไทย
2. สง่ เสริมให้ผเู้ รยี นทกุ ช่วงวยั มีทักษะและคณุ ลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษท่ี 21
2. สง่ เสริมให้ผเู้ รยี นทกุ ช่วงวัยมที ักษะความรู้ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานการศกึ ษาและ
มาตรฐานวิชาชพี และพัฒนาคณุ ภาพชวี ติ ไดต้ ามศักยภาพ
3. ส่งเสริมให้สถานศกึ ษาทุกระดับการศึกษาจดั กระบวนการเรียนร้ตู ามหลกั สตู รอยา่ งมคี ุณภาพและ
มาตรฐาน
4. สง่ เสรมิ ให้ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทุกระดบั และประเภทการศึกษาได้รบั การพัฒนา
สมรรถนะตามมาตรฐานวชิ าชีพ
ตัวชี้วัด
1. รอ้ ยละของผเู้ รยี นทุกช่วงวัยมีคณุ ลักษณะและทักษะการเรยี นร้ใู นศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้น
2. ร้อยละของผเู้ รยี นทกุ ชว่ งวัยมคี ุณลักษณะตามค่านยิ ม 12 ประการ เพมิ่ ข้นึ
3. รอ้ ยละของผเู้ รยี นระดบั ปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยเพมิ่ ข้นึ
4. รอ้ ยละของผู้เรยี นระดบั การศกึ ษาข้ันพื้นฐานมคี วามรูค้ วามสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐาน
การศกึ ษา
5. ร้อยละของผเู้ รียนระดบั อาชวี ศกึ ษาทมี่ ีความรคู้ วามสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและ
มาตรฐานวิชาชพี

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวงั เหนอื

31

6. ร้อยละของผ้เู รียนระดับอดุ มศกึ ษาที่มีความรคู้ วามสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและ
มาตรฐานวิชาชีพ

7. รอ้ ยละของวัยแรงงานและผู้สูงวยั ทีไ่ ด้รบั บริการทางการศกึ ษา พัฒนาทักษะอาชีพและทักษะชวี ติ เพ่มิ ข้นึ
8. รอ้ ยละของสถานศกึ ษาทีส่ ามารถจดั กระบวนการเรียนรู้ไดค้ ณุ ภาพและมาตรฐานเพ่มิ ข้ึน
9 ร้อยละของแหลง่ เรียนรู้ สอ่ื นวตั กรรม ท่ีไดร้ บั การพัฒนาให้สามารถใหบ้ ริการทางการศกึ ษา
10. สถานศกึ ษามีระบบ กลไก การวดั และติดตามประเมินผลความรู้ ทกั ษะ และสมรรถนะของผูเ้ รียนทกุ
ระดบั การศึกษาทมี่ ปี ระสิทธิภาพ
11. ร้อยละครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทกุ ระดบั และประเภทการศึกษาได้รับการพฒั นา
สมรรถนะตามมาตรฐาน
12. รอ้ ยละของสถานศกึ ษาท่ีมกี ารจัดกจิ กรรมในการปลูกฝังจติ สำนกึ ด้านวนิ ยั

โครงการ
1. แผนงานบูรณาการ

(1) โครงการพัฒนาระบบการจัดการเรยี นรูเ้ พอ่ื สร้างสำนกึ รกั ลำปาง
(2) โครงการการพัฒนาความเขม้ แขง็ ของบุคคลทุกช่วงวัยด้วยสหวิทยาการ
(3) โครงการลำปางนครแห่งการอ่าน
(4) โครงการพฒั นาการจดั การศกึ ษาระดบั ปฐมวัย
(5) โครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีมีวินัยและความรับผิดชอบสำหรับเด็กและเยาวชนใน

สถานศกึ ษาจงั หวัดลำปาง
2. แผนงานพ้ืนฐาน

(1) โครงการอบรมเชิงปฏิบตั ิการระบบดูแลชว่ ยเหลือเดก็ ก่อนวัยเรยี น
(2) โครงการเฝ้าระวังการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน นักศึกษา แบบบูรณาการการมีส่วนร่วม

ทุกภาคส่วน
(3) โครงการเสริมสร้างจิตวญิ ญาณและอดุ มการณ์ของความเป็นครูและการปฏิบตั งิ าน (ครูผชู้ ว่ ย)
(4) โครงการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาตามแนว PISA-Like และ O-NET
(5) โครงการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นม.ต้น โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์

สงั เคราะห์ การอ่านและการเขยี นส่ือความ
(6) โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาSTEM Education)ของครูผู้สอนระดับ

ประถมศกึ ษาและมธั ยมศึกษาตอนตน้
(7) โครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้บริหารโรงเรียนและบุคลากร

ทางการศึกษาสูส่ งั คมอาเซียนและไทยแลนด์ยคุ 4.0
(8) โครงการส่งเสริมเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครูผู้สอนระดับ

ประถมศกึ ษา
(9) โครงการพฒั นาทักษะการส่ือสารภาษาอังกฤษเพ่ือการจัดกระบวนการเรยี นการสอนในศตวรรษ

ท่ี 21 สำหรบั นกั เรียนที่เขา้ รบั การทดสอบระดับชาติ (Student’s Boot Camp)

แผนปฏิบตั ิการประจำปงี บประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวังเหนอื

32

ยุทธศาสตรท์ ่ี 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา
เปา้ ประสงคเ์ ชิงยทุ ธศาสตร์
1. ผู้เรียนทุกคนได้รบั โอกาสและความเสมอภาคในการเขา้ ถึงการศกึ ษาที่มีคณุ ภาพ
2. การเพิ่มโอกาสทางการศกึ ษาผา่ นเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั เพ่ือการศกึ ษาสำหรบั คนทุกช่วงวัย
3. จังหวัดลำปางมีระบบเครอื ข่ายขอ้ มลู สารสนเทศในการจัดการศกึ ษา
กลยทุ ธ์
1. ส่งเสรมิ ให้ผเู้ รียนทุกช่วงวัย ทกุ ประเภทได้รบั โอกาสทางการศึกษาอยา่ งทั่วถึง
2. ส่งเสริมและสนบั สนนุ ใหท้ ุกภาคสว่ นมสี ่วนร่วมในการลดความเหลื่อมลำ้ ทางการศกึ ษาสำหรับคน

ทกุ ช่วงวัย
3. ส่งเสริมให้สถานศึกษาเปน็ ศูนย์การเรยี นรเู้ พอ่ื เพ่มิ โอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ

การศึกษาสำหรบั คนทกุ ช่วงวยั
4. ส่งเสริมการบูรณาการฐานขอ้ มลู สารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลมุ ถูกตอ้ ง เปน็ ปัจจุบนั
ตวั ชี้วัด
1. รอ้ ยละของผูเ้ รียนในแตล่ ะชว่ งวยั ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเหมาะสม
2. รอ้ ยละของเครือขา่ ยทมี่ สี ว่ นรว่ มในการจัดการศึกษาสำหรับคนทุกชว่ งวัย
3. รอ้ ยละของสถานศึกษาท่ีได้รับบรกิ ารอนิ เตอรเ์ น็ตความเรว็ สูงครอบคลุมทกุ พนื้ ท่ี
5. หนว่ ยงานการศึกษามีระบบสารสนเทศทางการศึกษาท่ีครอบคลุม ถกู ต้อง เปน็ ปจั จบุ ัน สามารถอ้างอิงได้

เพอ่ื ใช้ประโยชน์ในการวางแผน การบริหารจดั การศึกษา การตดิ ตาม ประเมนิ และรายงานผล
โครงการ
1. แผนงานบูรณาการ
(1) โครงการการพัฒนาความเขม้ แขง็ ของบุคคลทุกชว่ งวยั ด้วยสหวทิ ยาการ
(2) โครงการพฒั นาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
2. แผนงานพน้ื ฐาน
(1) โครงการ ส่งเสริม และพัฒนาการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับการพัฒนาพร้อม
เขา้ สปู่ ระเทศไทยยคุ 4.0
(2) โครงการพัฒนา กศน.ตำบล/แขวง ให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทาง
การศกึ ษาใหก้ ับประชาชนในชมุ ชน
(3) โครงการจดั การศึกษาต่อเน่อื ง (ทักษะชีวิต/เศรษฐกิจพอเพยี ง/สังคมชมุ ชน)
(4) โครงการการพฒั นาระบบงานขอ้ มูลสารสนเทศสำนกั งานศึกษาธิการจังหวดั ลำปาง

ยุทธศาสตรท์ ่ี 5 การจดั การศึกษาเพอ่ื สรา้ งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมติ รกับสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงคเ์ ชิงยทุ ธศาสตร์
1. ผ้เู รยี นในทกุ ช่วงวยั มีทักษะชวี ิต สามารถดำเนินชวี ิตตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง รักและ

ภมู ใิ จในทอ้ งถิน่ ของตน
2. ผเู้ รียนในทกุ ชว่ งวยั มจี ิตสำนึกรักษ์สง่ิ แวดล้อม มีคุณธรรมและจริยธรรม

แผนปฏบิ ตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอวังเหนือ

33

กลยทุ ธ์
1. เสรมิ สร้างใหผ้ ู้เรียนทกุ ชว่ งวยั มจี ติ สำนึกรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนยี มประเพณี
ภมู ิปัญญาของท้องถนิ่ และนำแนวคดิ ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งสู่การปฏบิ ัติ
2. ส่งเสรมิ สถานศึกษาพฒั นาหลกั สูตร แหล่งเรียนรู้ และสือ่ การเรียนรู้ ทีเ่ ป็นมติ รกบั ส่ิงแวดล้อม และนำ
แนวคิดตามหลกั ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงสู่การปฏบิ ตั ิ
3. สง่ เสรมิ การวิจยั เพอ่ื พัฒนาองค์ความรแู้ ละนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตท่เี ปน็ มิตรกับ
สิ่งแวดลอ้ ม
4. สง่ เสริมคณุ ธรรม จริยธรรมใหแ้ กผ่ เู้ รียนทุกชว่ งวัย

ตัวชว้ี ดั
1. ร้อยละของผู้เรยี นทกุ ชว่ งวัยมพี ฤติกรรมที่แสดงออกถงึ จิตสำนกึ รักษ์ส่ิงแวดลอ้ ม วฒั นธรรม

ขนบธรรมเนยี มประเพณี ภมู ิปญั ญาของท้องถน่ิ และประยกุ ต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งในการดำเนนิ
ชวี ติ

2. ร้อยละของสถานศกึ ษาที่พัฒนาหลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสือ่ การเรียนรู้ ที่เปน็ มติ รกับส่ิงแวดล้อม
3. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมเสริมสรา้ งคณุ ธรรม จรยิ ธรรม
4. รอ้ ยละของสถานศกึ ษาทนี่ ำแนวคดิ ตามหลักปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงสกู่ ารปฏบิ ัติ
5. จำนวนงานวจิ ยั และนวตั กรรมทีเ่ ก่ียวข้องกับการสรา้ งเสริมคุณภาพชวี ิตทเ่ี ปน็ มติ รกับส่ิงแวดล้อม
6. ร้อยละสถานศึกษาที่จดั กจิ กรรมสบื สานวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น
7. ร้อยละของสถานศึกษาทม่ี ีการจัดกิจกรรมในการปลูกฝงั จิตสำนึกดา้ นความสะอาดของสิง่ แวดล้อม
โครงการ
1. แผนงานบรู ณาการ

(1) โครงการพัฒนาระบบการจดั การเรยี นรเู้ พอื่ สรา้ งสำนกึ รกั ลำปาง
(2) โครงการพัฒนาการจดั การศึกษาระดับปฐมวยั
(3) โครงการเสริมสร้างความเป็นคนดีมีวินัยและความรับผิดชอบสำหรับเด็กและเยาวชนใน

สถานศึกษาจังหวดั ลำปาง
2. แผนงานพืน้ ฐาน

(1) โครงการการขับเคลอื่ นพฒั นาการเรยี นร้ตู ามหลกั ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งในสถานศึกษา
(2) โครงการโรงเรยี นคุณธรรม
(3) โครงการแปลงขยะเป็นบุญดว้ ยศาสตร์และศลิ ปพ์ อเพยี ง
(4) โครงการเพิ่มประสิทธภิ าพการบริหารจัดการขยะ

ยุทธศาสตรท์ ี่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
เปา้ ประสงคเ์ ชิงยทุ ธศาสตร์
1. ทกุ ภาคส่วนมสี ่วนรว่ มในการจัดการศกึ ษา สามารถบรู ณาการการจัดการศึกษารว่ มกนั เพื่อสร้างชุมชน

แหง่ การเรยี นรู้ สืบสานวัฒนธรรมท้องถิน่ ส่งเสรมิ คนดี มีวินัย และรักษ์สิง่ แวดล้อม
2. หน่วยงานการศกึ ษาและหน่วยงานทจี่ ดั การศึกษามีการบริหารงานตามหลักธรรมมาภบิ าล
3. ระบบบรหิ ารงานบุคคลมคี วามเป็นธรรม และสรา้ งขวัญกำลงั ใจในการปฏิบตั ิงาน
4. ระบบนเิ ทศ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจดั การศกึ ษามีประสทิ ธภิ าพ

แผนปฏบิ ัติการประจำปงี บประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอวังเหนอื

34

กลยุทธ์
1. พัฒนาระบบบรหิ ารจัดการศึกษาใหม้ ีประสิทธิภาพและประสิทธผิ ลตามหลกั ธรรมาภิบาล
2. สง่ เสริมการมสี ่วนรว่ มในการจดั การศกึ ษาทต่ี อบสนองความต้องการของประชาชนจงั หวัดลำปาง
3. พัฒนาระบบงานบริหารงานบคุ คลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศกึ ษา
4. พัฒนาระบบนิเทศ ตดิ ตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจดั การศึกษาใหม้ ปี ระสิทธิภาพ
ตวั ชว้ี ัด
1. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลัก
ธรรมาภิบาล
2. รอ้ ยละของสถานศกึ ษาทีม่ ีคณุ ภาพตามเกณฑป์ ระกนั คุณภาพการศกึ ษา
3. รอ้ ยละของสถานศึกษาที่บรหิ ารงานตามหลกั ธรรมาภิบาล
4. จำนวนเครือข่ายการศึกษาที่มศี ักยภาพและความพร้อมในการสง่ เสริมสนับสนุนในการจัดการศึกษาเพอ่ื
ตอบสนองความต้องการของประชาชนจังหวัดลำปาง
5. จำนวนองค์กร สมาคม มูลนิธิหรือหน่วยงานอื่นที่เข้ามาจัดการศึกษาหรื อร่วมมือกับสถานศึกษา
ทง้ั ของรัฐ เอกชน และองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ เพิ่มขนึ้
6. หน่วยงานการศึกษามีระบบสรรหาและแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการ
ศึกษาตามหลกั เกณฑค์ วามรคู้ วามสามารถ ประสบการณ์ และความสำเรจ็ ในวชิ าชีพ
7. ร้อยละของสถานศกึ ษาทม่ี ีครเู พียงพอตอ่ การจดั การเรียนการสอน
8. ร้อยละของครู/ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน/ผู้ประกอบการที่ปฏิบัติงานสนับสนุนการเรียนการสอน
เพิม่ ขน้ึ
9. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีระบบนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาให้มี
ประสิทธภิ าพ

โครงการ
1. แผนงานบรู ณาการ

(1) โครงการพฒั นาระบบการจดั การเรยี นรเู้ พอื่ สรา้ งสำนกึ รักลำปาง
(2) โครงการการพัฒนาความเขม้ แขง็ ของบุคคลทุกชว่ งวยั ด้วยสหวทิ ยาการ
2. แผนงานพ้นื ฐาน
(1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนในกำกับสำนักงานศึกษาธิการ

จงั หวัดลำปาง
(2) โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิ บาลในหน่วยงานการศึกษา

สถาบนั การศกึ ษา และสถานศกึ ษา "ปอ้ งกนั การทจุ รติ " ในจงั หวัดลำปาง
(3) โครงการพฒั นาประสิทธภิ าพบุคลากรในสำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั ลำปาง
(4) โครงการเพ่มิ ประสิทธภิ าพเครือข่ายนักวางแผนการศึกษาจังหวัดลำปาง
(5) โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาของส่วนราชการ หน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัด

กระทรวงศกึ ษาธิการในจังหวัดลำปาง
(6) โครงการนิเทศตดิ ตามผลตามนโยบายการตรวจราชการ
(7)โครงการนิเทศติดตามและประเมนิ ผลการปฏบิ ัตงิ านด้านการศกึ ษาของสว่ นราชการหน่วยงานและ
สถานศกึ ษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจงั หวดั ลำปาง

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอวงั เหนือ

35

แผนพัฒนาจงั หวัดและแผนปฏิบตั ิการประจำปี 2564 ของจงั หวดั ลำปาง

วิสัยทศั น์
“ลำปางเมืองนา่ อยู่ นครแหง่ ความสุข”

พันธกจิ
1. สนบั สนุนอำนวยความสะดวกและเสรมิ สรา้ งบรรยากาศทเ่ี อ้ือตอ่ การพฒั นาเศรษฐกจิ ภายในจงั หวัดให้

สามารถเพ่ิมมลู คา่ ทางเศรษฐกิจบนพนื้ ฐานของเศรษฐกจิ เชิงสรา้ งสรรค์
2. พฒั นายกระดับขดี ความสามารถในการประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมและวิสาหกิจ

ชุมชนใหม้ ีประสิทธภิ าพสามารถแขง่ ขนั ได้ในตลาดการคา้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี นและตลาดโลก
3. ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางจดั จำหนา่ ยผลิตภัณฑ์และบริการของวิสาหกจิ ขนาดกลางขนาดยอ่ มและ

วสิ าหกจิ ชุมชนทง้ั ภาคผลิตภาคบริการและพาณชิ ยกรรมท้ังภายในและภายนอกประเทศ
4. สง่ เสรมิ ใหม้ กี ารผลิตและจำหนา่ ยสินคา้ เกษตรและเกษตรแปรรูปคณุ ภาพสากลสรา้ งมูลค่าเพิม่

สอดคล้องกบั ความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
5. กำหนดนโยบายจดั ทำแผนงานเตรยี มความพร้อมดา้ นโครงสรา้ งทางกายภาพบุคลากรและการบริหาร

จดั การในการพัฒนาพืน้ ที่ของจังหวัดใหก้ ้าวสคู่ วามเป็นศนู ย์กลางโลจสิ ตกิ สข์ องภาคเหนือตอนบน
6. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมลำปางให้มีความเข้มแข็งมีภมู ิคมุ้ กนั รักวัฒนธรรมท้องถน่ิ

และถ่ินกำเนิดตามวิถีลำปางโดยดำรงชวี ติ ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
7. เสริมสรา้ งพัฒนาขดี ความสามารถในการรักษาชีวติ ทรัพย์สนิ และความม่นั คงของคนในจงั หวดั ส่งเสรมิ

การมสี ว่ นร่วมของภาคประชาชนและชมุ ชนในการสร้างความเขม้ แข็งมน่ั คงตลอดจนการเผ้าระวงั และป้องกันภยั ใน
ชมุ ชน

8. สนับสนุนส่งเสริมให้ทุกภาคสว่ นในสงั คมมีการดำเนินงานการบรหิ ารจดั การในทุกระดับใหโ้ ปรง่ ใสและ
เปน็ ธรรมภายใตห้ ลักธรรมาภิบาล

เปา้ ประสงคร์ วม
1. เพ่ือสรา้ งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเนน้ ส่งเสรมิ การท่องเที่ยว การค้าการลงทุนและ

การเกษตร ทส่ี อดคล้องกบั ศักยภาพของพ้ืนท่ี และแกไ้ ขปัญหาความยากจน ด้วยการเสริมสร้างอาชพี สนองตอบ
ตอ่ ความต้องการของประชาชนจังหวัดลำปาง

2. เพอ่ื พัฒนาคุณภาพคุณภาพชวี ิตของประชาชนจังหวดั ลำปางทกุ กลมุ่ ทุกชว่ งวัย ในดา้ นการจัดสวสั ดกิ าร
สังคม อยา่ งท่วั ถงึ และเปน็ ธรรม

3. เพอ่ื เสรมิ สรา้ งจงั หวดั ลำปางให้เป็นสงั คมทมี่ ่ันคง ประชาชนอยรู่ ่วมกันอยา่ งสันติ ภายใต้กลไกการเชื่อม
ประสานความสัมพนั ธ์ปรองดองที่มีประสทิ ธภิ าพ

4. เพื่อสรา้ งฐานทรัพยากรธรรมชาติใหอ้ ดุ มสมบูรณ์ สวู่ ถิ ีการดำรงชวี ติ ทย่ี ัง่ ยนื ของประชาชนและคณุ ภาพ
ทด่ี ีของส่งิ แวดล้อม

ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 1 การพฒั นาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของเศรษฐกิจเชิงสรา้ งสรรค์ และการสรา้ งมูลคา่ เพิม่

ใหก้ ับสินค้าและบริการ และเสรมิ สร้างความเข้มแข็งใหเ้ ศรษฐกจิ ชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

แผนปฏิบัติการประจำปงี บประมาณ 2565 ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอวังเหนอื

36

เป้าประสงค์เชงิ ยุทธศาสตร์ : จังหวัดลำปางเปน็ แหลง่ ผลิตเซรามกิ สินค้าหตั ถอุตสาหกรรม และบรกิ าร
ทางการท่องเท่ยี ว บนพ้ืนฐานของเศรษฐกิจเชงิ สร้างสรรค์ที่มคี วามโดดเด่นมีคณุ ภาพระดับสากลสามารถสรา้ ง
มูลคา่ ทางเศรษฐกจิ อย่างยง่ั ยืน

กลยทุ ธ์
1. พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในดา้ นการประกอบธรุ กิจทั้งความรู้ในด้านการพฒั นากระบวนการผลิต

การบริหารจดั การ การตลาดและการส่งเสริมการเข้าถึงแหลง่ เงินทุนเพ่ือเพิม่ ขดี ความสามารถในการแขง่ ขันใน
ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี นและตลาดโลก

2. ส่งเสรมิ และพัฒนาผ้ผู ลิตและผู้ประกอบการผลิตภณั ฑ์เซรามิกและหตั ถอตุ สาหกรรมในด้านการ
ออกแบบและผลติ สินค้าที่มคี ุณภาพมาตรฐานตรงตามความตอ้ งการของตลาดเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการบรหิ าร
จัดการต้นทุนบนพน้ื ฐานของเศรษฐกิจเชิงสรา้ งสรรค์

3.พัฒนาคุณภาพโครงสร้างพ้ืนฐาน แหลง่ ท่องเทีย่ ว สินคา้ บริการดา้ นการทอ่ งเทยี่ วตลอดจนพัฒนา
กจิ กรรมการท่องเท่ยี วที่เน้นอัตลกั ษณช์ มุ ชน ท่ีสรา้ งมูลค่าทางเศรษฐกจิ และความย่งั ยนื ให้กับสง่ิ แวดลอ้ ม ชุมชน
เจ้าของพื้นท่ตี ลอดจนการพฒั นาขดี ความสามารถของบุคลากรและสร้างจิตสำนึกด้านการทอ่ งเที่ยวใหก้ ับ
ประชาชนในพนื้ ที่

4. เสริมสรา้ งความเข้มแขง็ ให้เศรษฐกิจชมุ ชนตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง โดยการส่งเสรมิ การ
รวมกลมุ่ เครือขา่ ยวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกจิ ชุมชน และสนับสนุนการพัฒนาเครือขา่ ย
ผู้ประกอบการ และเครือข่ายชมุ ชน บนฐานรากของความรู้สมัยใหม่ และภมู ิปญั ญาท้องถ่ิน

5. ส่งเสรมิ การประชาสมั พันธ์และการตลาดผลิตภัณฑเ์ ซรามิกสนิ คา้ หตั ถอุตสาหกรรมและบรกิ ารการ
ท่องเทย่ี วของจังหวดั ลำปางใหเ้ ป็นทร่ี ู้จักแพรห่ ลายท้ังระดับในและต่างประเทศ

ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 2 การสรา้ งเสริมและพัฒนาจงั หวัดลำปางให้มีความพรอ้ มรองรบั การเปน็ ศูนย์กลางโลจิสติกส์
อยา่ งเปน็ ระบบ

เป้าประสงค์เชงิ ยุทธศาสตร์ : จังหวดั ลำปางเป็นศูนยก์ ลางโลจสิ ตกิ สท์ างบกของภาคเหนือตอนบน
กลยุทธ์

1. สร้างการรบั รขู้ อ้ มลู ให้เกิดการตืน่ ตัว (Awareness) ในกลุ่มบคุ ลากรทุกระดับและทกุ ภาคสว่ น เพอ่ื ให้
เกดิ การพฒั นาศักยภาพและพร้อมรองรับการเป็นศนู ย์กลางโลจิสติกส์ทางบกของภาคเหนือตอนบน

2. เสรมิ สร้างพฒั นาและเช่ือมโยง โครงสรา้ งพืน้ ฐานระบบสาธารณูปโภค ระบบการขนส่งท้งั ทางถนน ทาง
รางและรูปแบบอ่นื ๆ ส่ิงอำนวยความสะดวกทจ่ี ำเปน็ อน่ื ๆ ตลอดจนเทคโนโลยสี ารสนเทศทีส่ ามารถรองรับ
แผนงานการเป็นศนู ย์กลางฯ ในอนาคต และเอ้อื ต่อการประกอบธุรกจิ

3. สนับสนนุ และสง่ เสรมิ ให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนในพืน้ ทเี่ ป้าหมายที่กำหนด และเช่ือมโยงกบั 12
จังหวดั รอบขา้ ง ในลักษณะการพัฒนาเป็นห่วงโซ่อปุ ทานในการผลิตสนิ คา้ และบริการให้มีคณุ ภาพ

ยทุ ธศาสตร์ท่ี 3 การส่งเสริมและพัฒนาสินคา้ เกษตรปลอดภยั และได้มาตรฐานแบบครบวงจร
เปา้ ประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : จังหวดั ลำปางเปน็ แหล่งผลติ และจำหนา่ ยผลิตภัณฑ์การเกษตร เกษตรแปร

รูปที่มคี ณุ ภาพมาตรฐาน โดดเดน่ ของกลมุ่ จังหวัดภาคเหนือและของประเทศ

แผนปฏบิ ตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยอำเภอวังเหนอื

37

กลยุทธ์
1. ปรบั ปรุงและพฒั นาโครงสรา้ งพนื้ ฐาน เทคโนโลยีการผลิตและสงิ่ อำนวยความสะดวกทจ่ี ำเป็น โดย

มุ่งเนน้ การพฒั นาแหล่งน้ำ การปฏริ ูปทด่ี นิ และการใชเ้ ทคโนโลยที ี่เหมาะสม เพื่อให้การผลิตภาคเกษตรกรรมมี
ประสทิ ธภิ าพและมีตน้ ทนุ ท่ีเหมาะสม

2. การพัฒนาประสทิ ธภิ าพการผลติ ทางการเกษตรและสรา้ งมูลค่าเพม่ิ ภายใตแ้ นวคิดเกษตรปลอดภัยและ
เกษตรอนิ ทรยี ์ควบคู่กบั การพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปให้มีความหลากหลายสอดคลอ้ งกับความต้องการของตลาด

3. สง่ เสริมและพฒั นาเครือขา่ ยเกษตรกรและผ้ผู ลิตสนิ ค้าเกษตรปลอดภยั ให้ผลติ สินคา้ ที่มคี ุณภาพได้
มาตรฐานปลอดภยั ต่อผู้บรโิ ภคมีความโดดเด่นเปน็ เอกลกั ษณ์ และสามารถสรา้ งมูลคา่ เพิ่มทางเศรษฐกจิ และพัฒนา
และสง่ เสริมผลิตภณั ฑส์ นิ ค้าเกษตรและบรรจภุ ณั ฑ์ ใหม้ ีมลู ค่าเพ่ิมทางเศรษฐกิจและสร้างการยอมรับในระดบั ชาติ

4. พัฒนาสถาบันเกษตรกร เครอื ขา่ ยผู้ผลติ และชมุ ชนให้เขม้ แขง็ มคี วามสามารถในการเข้าถงึ แหลง่
เงนิ ทนุ และสามารถหาปจั จัยผลิตในราคาถูก

5. ประชาสมั พันธส์ ่งเสริมพฒั นาชอ่ งทางการตลาดสนิ คา้ เกษตรปลอดภัยของจงั หวดั ลำปางทัง้
ภายในประเทศและตา่ งประเทศ เพื่อสรา้ งการยอมรบั ในระดบั ชาติ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและ
เครอื ข่ายผ้ผู ลิต

ยุทธศาสตร์ท่ี 4 การเสริมสร้างและพฒั นาคณุ ภาพชีวติ ของประชาชน และสังคมลำปางใหเ้ ป็นสังคมแห่ง
การเรยี นรูม้ ีความเข้มแข็งมีภูมคิ ุม้ กนั สามารถดำรงชีวิตตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

เป้าประสงค์เชงิ ยทุ ธศาสตร์ : ประชาชนลำปางมีโอกาสทางสังคม มีภมู คิ ุ้มกนั ช่วยเหลอื ตนเองได้ โดย
เน้นการขับเคลอื่ นในมิติการพัฒนา ปอ้ งกัน ในลักษณะการสร้างโอกาส พร้อมกับเสริมศักยภาพไปท่ีตัวคน
ครอบครวั และชุมชน

กลยุทธ์
1. สร้างเสรมิ สุขภาพของประชาชนอย่างเปน็ องคร์ วมและพัฒนาคุณภาพการให้บริการสขุ ภาพทง้ั ระบบ

และบูรณาการ ในทุกระดบั และส่งเสรมิ และสนับสนุนการกีฬาและการออกกำลงั กายเพ่ือสุขภาพ
2. สง่ เสริมคณุ ภาพชวี ิตและสร้างหลักประกันทางสังคมให้แกแ่ รงงานทัง้ ในและนอกระบบ
3. ส่งเสรมิ และสนับสนนุ การศกึ ษาของเด็ก เยาวชนและประชาชนใหม้ คี ณุ ภาพ มีการเรยี นรู้ตลอดชวี ติ

สามารถเขา้ ถึงแหล่งอาชีพที่เหมาะสม และมสี ภาพแวดล้อมทางสังคมและสวัสดิการทางสังคมที่ดี
4. เสริมสรา้ งและยกระดบั ความเข้มแขง็ ให้กบั สถาบนั ครอบครัว สถาบันทางสังคม เพ่ือสรา้ งภมู ิคุ้มกนั

รวมท้ังสนับสนุน ให้ดำรงชวี ติ ตามวถิ ลี ำปางตามแนวปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
5. ส่งเสริมและสนับสนนุ ใหเ้ กิดความรกั และภาคภูมิใจในท้องถิ่น การอนุรักษแ์ ละเผยแพรศ่ าสนาประเพณี

ศลิ ปวฒั นธรรมทอ้ งถน่ิ ให้เปน็ ทีร่ ู้จักอยา่ งกว้างขวาง
6. พฒั นาโครงสร้างพน้ื ฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกพ้ืนฐานเพ่ือการบรกิ ารประชาชนอย่างทั่วถงึ และการ

จัดการทรัพยากรนำ้ เพ่อื อุปโภค บรโิ ภคอย่างเปน็ ระบบครอบคลมุ ทกุ พ้ืนที่ มปี ระสทิ ธภิ าพและมาตรฐาน
7. พฒั นาและยกระดบั คณุ ภาพชวี ิตประชาชน ใหม้ ที ักษะความรู้ มภี ูมิค้มุ กนั และความสามารถในการ

ดำรงชวี ติ อย่างมีคณุ ค่า

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปงี บประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวงั เหนอื

38

ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 5 การรักษาความมั่นคงการจดั ระเบยี บสังคมและสร้างความร่วมมือในการรกั ษาความสงบ
เรียบร้อย

เปา้ ประสงคเ์ ชิงยุทธศาสตร์ : จงั หวัดลำปางมเี สถียรภาพด้านความมั่นคงมากขึ้น ภายใต้การอย่รู ่วมกัน
อย่างสนั ตขิ องประชาชนและการมกี ลไกป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ปัญหายาเสพติด และปัญหา
อาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลยทุ ธ์
1. ปลกู จิตสำนกึ การเคารพเทิดทนู สถาบนั พระมหากษัตริย์ และการสร้างความสามัคคปี รองดองตามแนว

พระราชดำรัสของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ฯ
2. พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจดั การความมั่นคงและการจัดระเบียบทางสังคมภายใต้การมสี ว่ น

ร่วมของทุกภาคส่วน เพ่ือความสงบเรยี บรอ้ ยภายในชุมชน
3. กระตุ้นการมีสว่ นร่วมของประชาชนทัง้ ระดบั ครอบครัวและชุมชน ในการให้ความร่วมมือป้องกัน

อาชญากรรมและแก้ไขปัญหายาเสพตดิ อบายมุขและปัญหาแรงงานต่างด้าวในจงั หวัด
4. สง่ เสริมการดำเนนิ งานของเครือข่ายภาคประชาชนในการสร้างความสามัคคปี รองดองและสมานฉนั ท์

และการมสี ว่ นรว่ มในการปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหาด้วยตนเอง
5. พัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี กระบวนการและปจั จัยอ่นื ท่ีเกีย่ วข้อง เพื่อเสริมสรา้ งประสิทธิภาพในการ

รักษาความสงบเรียบรอ้ ยและความปลอดภยั ในชวี ติ และทรัพยส์ นิ
6. การสง่ เสรมิ ศักยภาพดา้ นการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของส่วนราชการ องคก์ ารปกครอง

ท้องถิน่ ภาคประชาชน เยาวชน มลู นธิ ิ องค์กรการกุศล ให้มีความพร้อมในการรบั มือกบั สาธารณภยั
7. สง่ เสรมิ และสนบั สนนุ การดำเนินงานของศนู ย์ยตุ ธิ รรมชุมชน ประจำตำบล เพื่ออำนวยความยตุ ิธรรม

และลดความเหล่ือมลำ้ ในชมุ ชน

ยุทธศาสตรท์ ่ี 6 การส่งเสริมการบรหิ ารจัดการทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อมอย่างสมดุลและยงั่ ยนื
เป้าประสงค์เชงิ ยทุ ธศาสตร์ : จงั หวดั ลำปางมฐี านทรพั ยากรท่ไี ด้รับการอนรุ ักษ์ ฟน้ื ฟู และพฒั นา

สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม : การมรี ะบบกลไกการป้องกนั และแกไ้ ขปัญหาส่ิงแวดลอ้ มที่มี
ประสทิ ธภิ าพ
กลยทุ ธ์

1. ส่งเสรมิ การอนรุ กั ษ์และฟื้นฟทู รัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม รวมทงั้ อนุรกั ษค์ วามหลากหลายทาง
ชีวภาพและรกั ษาคณุ ภาพสง่ิ แวดลอ้ ม

2. เพ่ิมประสิทธภิ าพการบรหิ ารจดั การทรัพยากรนำ้ ทง้ั ระบบเพอ่ื ใหเ้ กดิ ความมั่นคง สมดุลและย่ังยนื
3. สง่ เสริมการอนุรักษพ์ ลงั งาน และสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน
4. พัฒนาและสง่ เสริมการบริหารจัดการนำ้ เสีย และขยะอย่างย่งั ยืน
5. เพม่ิ ขดี ความสามารถในการนำเทคโนโลยเี ขา้ มาใช้ในการบรหิ ารจัดการทรัพยากรธรรมชาตแิ ละ
ส่งิ แวดล้อม ตลอดจนการกำหนดมาตรการบงั คับใชท้ างกฎหมายอย่างเข้มงวดและจริงจัง
6. สนับสนุนและพฒั นาใหเ้ กิดเครือข่ายรกั ษ์และเฝ้าระวังด้านสงิ่ แวดล้อมในพน้ื ท่เี สย่ี งภยั โดยเนน้ การมี
สว่ นร่วมของภาคแี ละภาคประชาชนในท้องถน่ิ ในการบรหิ ารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

แผนปฏิบัตกิ ารประจำปงี บประมาณ 2565 ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวงั เหนือ

39
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 7 การบริหารกิจการบา้ นเมืองทดี่ ีด้วยหลักธรรมาภิบาล

เป้าประสงคเ์ ชิงยทุ ธศาสตร์ : การบริหารจัดการองค์กรมคี วามโปร่งใสภายใตก้ ระบวนการมสี ว่ นร่วมของ
ทุกภาคสว่ นและกลไกการตรวจสอบท่มี ีประสิทธภิ าพ
กลยุทธ์

1. พฒั นาประสิทธิภาพและคุณภาพการบรหิ ารจดั การภาครฐั เพอ่ื ไปสอู่ งค์กรที่มีสรรถนะสงู ภายใต้การ
บรหิ ารจัดการหลกั ธรรมาภิบาล

2. พฒั นาสมรรถนะบุคลากรภาครฐั ในทกุ ระดบั และปลูกจิตสำนกึ ดา้ นคุณธรรมใหแ้ กผ่ ปู้ ฏิบัติงานในการ
ทำงานและการบริหารจัดการ ด้วยหลกั ธรรมาภบิ าล
3. ปรบั ปรุงระบบและกลไกการปฏบิ ตั ิงานของหน่วยงานให้มีลกั ษณะการบูรณาการ ความร่วมมอื ในการ
ดำเนินงาน ในทุกมิตขิ องจงั หวดั และสนับสนุนการนำเทคโนโลยเี ข้ามาใชเ้ พ่ือเพ่ิมประสทิ ธิภาพในการบรหิ าร
จดั การรวมถงึ การบังคบั ใชก้ ฎหมาย
4. เพิม่ ประสิทธภิ าพกระบวนการงบประมาณ และกลไกการตดิ ตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่
โปรง่ ใส ด้วยความเปน็ ธรรมและจริยธรรมในการปฏบิ ตั ิงาน
5. ส่งเสรมิ ธรรมาภิบาลและการบรหิ ารจัดการแบบมีสว่ นร่วมของชมุ ชนเพือ่ ไปสนู่ ครสุจริต

แผนปฏิบัตกิ ารประจำปงี บประมาณ 2565 ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอวังเหนอื

40

นโยบายและจดุ เน้นการดาํ เนนิ งาน สาํ นักงาน กศน.

ประจาํ ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564

วสิ ยั ทัศน์
คนไทยทุกช่วงวัยได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีทักษะที่จําเป็น

และสมรรถนะที่สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศ สามารถดํารงชีวิตได้อย่างเหมาะสมบนรากฐานของหลัก
ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ
1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั ท่มี ีคุณภาพ สอดคลอ้ ง กับหลกั ปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพยี ง และความเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เพอ่ื ยกระดับการศึกษา และพฒั นา
สมรรถนะ ทักษะการเรียนรู้ของประชาชนกลุ่มเปา้ หมายให้เหมาะสมในแต่ละชว่ งวัย ให้พร้อมรับ การเปล่ียนแปลง
และการปรบั ตัวในการดํารงชีวติ ได้อย่างเหมาะสม กา้ วสู่การเปน็ สงั คมแหง่ การเรียนรตู้ ลอดชีวติ อย่างย่ังยืน

2. พัฒนาหลักสตู ร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศกึ ษา การวัด
และประเมินผลในทุกรูปแบบให้มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้และบริบท
ในปจั จุบนั

3. ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา และนําเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อเพิ่มช่องทางและโอกาส
การเรียนรู้ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดและให้บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ใหก้ ับประชาชนกลมุ่ เปา้ หมายอยา่ งท่วั ถึง

4. ส่งเสริมสนับสนุน แสวงหา และประสานความร่วมมือเชิงรุกกับภาคีเครือข่าย ให้เข้ามามีส่วนร่วม ใน
การสนับสนุนและจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ
ให้กบั ประชาชน

5. ฒนาระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีเอกภาพ เพื่อการบริหารราชการที่ดี บนหลัก
ของธรรมาภบิ าล มีประสทิ ธิภาพ ประสิทธผิ ล และคล่องตัวมากยง่ิ ข้ึน

6.ยกระดับการบริหารและการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ คุณธรรม และ
จริยธรรมทีด่ ี เพอื่ เพ่ิมประสิทธิภาพของการให้บรกิ ารทางการศึกษาและการเรยี นรู้ทมี่ คี ุณภาพมากย่งิ ขึ้น

เป้าประสงค์
1. ประชาชนผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษารวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับโอกาส

ทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษา
ตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามบริบท สภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละ
กลมุ่ เป้าหมาย

2. ประชาชนได้รับการยกระดับการศึกษา สร้างเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หน้าที่ความเป็น
พลเมืองที่ดีภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่สอดคล้องกับหลัก
ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง อันนําไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
เพอื่ พัฒนา ไปสูค่ วามมัน่ คงและยง่ั ยนื ทางดา้ นเศรษฐกิจ สงั คม วัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร์ และสง่ิ แวดล้อม

3. ประชาชนได้รบั การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และแสวงหาความรูด้ ว้ ยตนเองผ่านแหล่งเรียนรู้
ชอ่ งทางการเรียนรู้ และกจิ กรรมการเรยี นรรู้ ูปแบบต่าง ๆ รวมทัง้ มเี จตคติทางสังคม การเมือง วิทยาศาสตร์ และ

แผนปฏิบตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอวงั เหนือ

41
เทคโนโลยีทเี่ หมาะสม สามารถคดิ วเิ คราะห์ แยกแยะอยา่ งมีเหตุผล และนาํ ไปประยุกต์ใช้ในชวี ิตประจําวัน รวมถงึ
การแก้ปัญหาและพฒั นาคุณภาพชวี ิตไดอ้ ย่างสร้างสรรค์

4. หนว่ ยงานและสถานศึกษา กศน. มหี ลกั สูตร สอ่ื นวัตกรรม ช่องทางการเรียนรู้ และกระบวนการ
เรยี นรใู้ นรูปแบบทหี่ ลากหลาย ทันสมยั และรองรบั กบั สภาวะการเรยี นรใู้ นสถานการณ์ต่าง ๆ เพอ่ื แก้ปัญหา และ
พฒั นาคุณภาพชวี ิตตามความตอ้ งการของประชาชนและชุมชน รวมทง้ั ตอบสนองกบั การเปลีย่ นแปลงบรบิ ท
ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมอื ง วัฒนธรรม ประวตั ิศาสตร์ และสง่ิ แวดล้อม

5. หน่วยงานและสถานศึกษา กศน. สามารถนาํ เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั มาพฒั นา
เพอื่ เพ่ิมช่องทางการเรยี นรู้ และนํามาใช้ในการยกระดับคุณภาพในการจดั การเรียนรแู้ ละโอกาสการเรียนรู้ ใหก้ บั
ประชาชน

6. ชมุ ชนและภาคีเครือขา่ ยทุกภาคส่วน มสี ่วนร่วมในการจัด ส่งเสริม และสนบั สนนุ การศกึ ษา นอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการขับเคลอื่ นกิจกรรมการเรยี นรขู้ องชุมชน

7. หนว่ ยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจดั การองค์กรท่ีทันสมยั มปี ระสิทธิภาพ และเป็นไป
ตามหลกั ธรรมาภบิ าล

8. บุคลากร กศน. ทุกประเภททุกระดบั ได้รับการพฒั นาเพื่อเพิ่มทักษะและสมรรถนะในการปฏบิ ตั งิ าน
และการให้บริการทางการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั รวมถึงการปฏิบตั ิงานตามสายงานอย่างมี
ประสิทธภิ าพ

แผนปฏิบตั ิการประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอวังเหนอื

42

แผนปฏบิ ตั กิ ารประจำปงี บประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อำเภอวังเหนือ

43

จุดเนน้ การดาํ เนนิ งานประจาํ ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564

1. นอ้ มนาํ พระบรมราโชบายด้านการศกึ ษาสู่การปฏบิ ตั ิ
1.1 สบื สานศาสตรพ์ ระราชา โดยการสร้างและพฒั นาศูนย์สาธิตและเรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อ

เป็นแนวทางในการจัดการบริหารทรัพยากรรูปแบบต่าง ๆ ทั้งดิน น้ำ ลม แดด รวมถึงพืชพันธ์ุต่าง ๆ และส่งเสรมิ
การใช้พลงั งานทดแทนอย่างมปี ระสิทธภิ าพ

1.2 จัดให้มี “หนึ่งชุมชน หนง่ึ นวตั กรรมการพฒั นาชุมชน” เพอ่ื ความกนิ ดี อยู่ดี มงี านทํา
1.3 การสร้างกลุ่มจิตอาสาพัฒนาชุมชน รวมทั้งปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม
จริยธรรม มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง และเป็นผู้มีความพอเพียง ระเบียบวินัย สุจริต จิตอาสา ผ่านกิจกรรมการ
พัฒนา ผเู้ รยี นโดยการใชก้ ระบวนการลกู เสือและยวุ กาชาด

2. ส่งสริมการจัดการศึกษาและการเรยี นรตู้ ลอดชีวิตสําหรับประชาชนท่เี หมาะสมกับทุกช่วงวัย
2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทําในรูปแบบ Re-Skill& Up-Skill และการสร้าง

นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความหลากหลาย ทันสมัย และตอบสนองความต้องการของประชาชน
ผ้รู ับบรกิ าร และสามารถออกใบรับรองความรูค้ วามสามารถเพอื่ นาํ ไปใชใ้ นการพัฒนาอาชพี ได้

2.2 สง่ เสริมและยกระดับทกั ษะภาษาอังกฤษให้กับประชาชน (English for ALL)
2.3 สง่ เสรมิ การเรียนการสอนที่เหมาะสมสําหรับผ้ทู ี่เข้าสูส่ ังคมสูงวยั อาทิ การฝึกอบรมอาชพี ท่ีเหมาะสม
รองรับสังคมสูงวัย หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสมรรถนะผู้สูงวัย และหลักสูตร การดูแลผู้สูงวัย
โดยเน้นการมสี ่วนร่วมกับภาคีเครอื ขา่ ยทกุ ภาคส่วนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สงั คมสูงวัย

3. พฒั นาหลักสูตร สือ่ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา แหล่งเรยี นรู้ และรปู แบบ การจดั การศึกษา
และการเรียนรู้ ในทกุ ระดับ ทุกประเภท เพ่ือประโยชน์ต่อการจดั การศึกษาท่เี หมาะสม กบั ทกุ กลุ่มเปา้ หมาย
มคี วามทนั สมัย สอดคลอ้ งและพรอ้ มรองรับกบั บรบิ ทสภาวะสังคมปจั จบุ นั ความต้องการ ของผูเ้ รยี น และ
สภาวะการเรยี นรู้ในสถานการณ์ตา่ ง ๆ ทจ่ี ะเกดิ ข้นึ ในอนาคต

3.1 พัฒนาระบบการเรียนรู้ ONIE Digital Leaming Platform ท่รี องรับ DEEP ของกระทรวงศกึ ษาธิการ
และชอ่ งทางเรยี นรรู้ ปู แบบอนื่ ๆ ทง้ั Online On-site และ On-air

3.2 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ อาทิ Digital Science Museum/ Digital Science Center/
Digital Library ศูนย์การเรียนรู้ทุกช่วงวัย และศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ กศน. (Co-Learning Space) เพื่อให้
สามารถ “เรยี นรไู้ ดอ้ ย่างทวั่ ถึง ทกุ ท่ี ทกุ เวลา”

3.3 พัฒนาระบบรับสมัครนกั ศึกษาและสมคั รฝึกอบรมแบบออนไลน์ มีระบบการเทียบโอนความรู้ ระบบ
สะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) และพัฒนา/ขยายการให้บริการระบบทดสอบอิเล็กทรอนิกส์
(E-exam)
4. บรู ณาการความร่วมมือในการสง่ เสรมิ สนบั สนนุ และจดั การศกึ ษาและการเรยี นรใู้ ห้กบั ประชาชนอยา่ งมี
คณุ ภาพ

4.1 ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง
สง่ เสรมิ และสนบั สนนุ การมีสว่ นร่วมของชมุ ชน อาทิ การสง่ เสรมิ การฝึกอาชพี ทเี่ ปน็ อัตลักษณ์และบริบทของชุมชน
สง่ เสริมการตลาดและขยายช่องทางการจําหน่ายเพ่อื ยกระดบั ผลติ ภณั ฑ์/สินคา้ กศน.

4.2 บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งในส่วนกลาง และ
ภูมภิ าค

แผนปฏิบตั ิการประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั อำเภอวังเหนอื

44

5. พฒั นาศกั ยภาพและประสิทธิภาพในการทาํ งานของบคุ ลากร กศน.
5.1 พัฒนาศักยภาพและทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy & Digital Skills)

ใหก้ ับบุคลากรทุกประเภททุกระดับ รองรบั ความเป็นรัฐบาลดิจทิ ลั อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทง้ั พัฒนาครใู ห้มีทักษะ
ความรู้ และความชํานาญในการใช้ภาษาอังกฤษ การผลิตสอ่ื การเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนเพ่ือฝึกทักษะ
การคิดวเิ คราะห์อยา่ งเปน็ ระบบและมเี หตผุ ล เป็นขนั้ ตอน

5.2 จดั กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพนั ธ์ ของบุคลากร กศน.และกิจกรรมเพิ่มประสิทธภิ าพ ในการทํางาน
ร่วมกันในรูปแบบตา่ ง ๆ อาทิ การแข่งขันกีฬา การอบรมเชิงปฏิบัตกิ ารพฒั นาประสทิ ธภิ าพ ในการทํางาน

6. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสรา้ งและระบบบริหารจัดการองค์กร ปจั จัยพน้ื ฐานในการจัดการศกึ ษา และการ
ประชาสัมพนั ธส์ ร้างการรบั รู้ตอ่ สาธารณะชน

6.1 เร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ... ให้สําเร็จ และปรับโครงสร้าง การบริหาร
และอตั รากาํ ลังใหส้ อดคล้องกับบริบทการเปล่ยี นแปลง เรง่ การสรรหา บรรจุ แตง่ ตัง้ ทมี่ ปี ระสิทธภิ าพ

6.2 นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ พัฒนาระบบการทํางานและข้อมูล
สารสนเทศด้านการศึกษาที่ทันสมัย รวดเร็ว และสามารถใช้งานทันที โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลาง กศน. เพื่อจัดทํา
ข้อมลู กศน. ทงั้ ระบบ (ONE ONIE)

6.3 พัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมโดยรอบของหน่วยงาน
สถานศึกษา และแหลง่ เรยี นรทู้ ุกแหง่ ใหส้ ะอาด ปลอดภัย พรอ้ มให้บรกิ าร

6.4 ประชาสัมพันธ์/สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการบริการทางวิชาการ/กิจกรรม ด้าน
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสร้างช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ ของ
หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด อาทิ ข่าวประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อรูปแบบต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ/มหกรรม
วชิ าการ กศน.

การจดั การศกึ ษาและการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรสั โคโรนา 2019
(COVID - 19) ของสาํ นักงาน กศน.

จากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เมือ่ เดอื นธนั วาคม 2562 ส่งผล
กระทบต่อระบบการจัดการเรียนการสอนของไทยในทุกระดับชั้น ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออก
ประกาศและมีมาตรการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังกล่าว อาทิ กําหนดให้มี การเว้น
ระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ห้ามการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษา
ทุกประเภท เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ ฝึกอบรม หรือการทํากิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมาก
การปิดสถานศึกษาด้วยเหตุพเิ ศษ การกาํ หนดให้ใชว้ ธิ ีการจดั การเรยี นการสอนรปู แบบใหม่ อาทิ การจดั การเรียนรู้
แบบออนไลน์ การจัดการเรียนรู้ผ่านระบบการออกอากาศทางโทรทัศน์ วิทยุ และโซเซียลมีเดีย ต่าง ๆ รวมถึง
การส่ือสารแบบทางไกลหรือดว้ ยวิธอี เิ ลก็ ทรอนิกส์

ในส่วนของสํานักงาน กศน. ได้มีการพัฒนา ปรับรูปแบบ กระบวนการ และวิธีการดําเนินงานในภารกิจ
ต่อเนื่องต่าง ๆ ในสถานการณ์การใช้ชีวิตประจําวัน และการจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับการชีวิตแบบปกติวิ ถีใหม่
(New Normal) ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ให้ความสําคัญกับการดําเนินงานตามมาตรการการป้องกัน การ
แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COMID - 19) อาทิ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกประเภท หากมีความ
จําเป็นตอ้ งมาพบกลุม่ หรืออบรมสมั มนา ทางสถานศึกษาต้องมีมาตรการป้องกันทีเ่ ข้มงวด มีเจล แอลกอฮอลล้าง

แผนปฏบิ ตั กิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยอำเภอวังเหนือ

45

มือ ผ้รู บั บรกิ ารต้องใสห่ นา้ กากอนามยั หรือหน้ากากผ้า ตอ้ งมกี ารเวน้ ระยะหา่ งระหวา่ งบุคคล เน้นการใช้สื่อดิจิทัล
และเทคโนโลยอี อนไลน์ในการจดั การเรยี นการสอน

ภารกจิ ต่อเน่ือง
1. ด้านการจัดการศกึ ษาและการเรยี นรู้
1.1 การศึกษานอกระบบระดบั การศึกษาข้ันพื้นฐาน
1) สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดย

ดาํ เนนิ การ ให้ผู้เรยี นไดร้ ับการสนบั สนุนค่าจัดซ้ือหนงั สือเรียน คา่ จัดกจิ กรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรยี น และค่าจัดการ
เรียน การสอนอย่างทั่วถึงและเพียงพอเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสีย
คา่ ใช้จา่ ย

2) จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย พลาด
และขาดโอกาสทางการศกึ ษา ผา่ นการเรยี นแบบเรยี นรู้ด้วยตนเอง การพบกลมุ่ การเรียนแบบช้นั เรียน และการจัด
การศกึ ษาทางไกล

3) พัฒนาประสิทธิภาพ คุณภาพ และมาตรฐานการจัดการศึกษานอกระบบระดับ
การศึกษา ขั้นพื้นฐาน ทั้งด้านหลักสูตรรูปแบบ/กระบวนการเรียนการสอน สื่อและนวัตกรรม ระบบการวัดและ
ประเมนิ ผล การเรยี น และระบบการให้บริการนกั ศึกษาในรูปแบบอ่นื ๆ

4) จัดให้มีการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และ
ประสบการณ์ ที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กําหนด และสามารถตอบสนองความ
ต้องการ ของกลมุ่ เป้าหมายไดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพ

5) จัดให้มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีคุณภาพที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้และเข้าร่วม
ปฏิบตั ิ กิจกรรม เพ่ือเป็นสว่ นหนึ่งของการจบหลักสูตร อาทิ กจิ กรรมเสริมสร้างความสามคั คี กิจกรรมเกี่ยวกับการ
ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดการแข่งขันกีฬา การบําเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการ
ปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด
กจิ กรรม จติ อาสา และการจัดตง้ั ชมรม/ชมุ นมุ พร้อมทง้ั เปดิ โอกาสใหผ้ เู้ รียนนํากิจกรรมการบําเพญ็ ประโยชนอ์ ่ืน ๆ
นอกหลกั สตู รมาใชเ้ พม่ิ ชว่ั โมงกิจกรรมให้ผู้เรียนจบตามหลกั สูตรได้

1.2 การส่งเสรมิ การรู้หนังสอื
1) พฒั นาระบบฐานขอ้ มลู ผู้ไม่รหู้ นงั สอื ให้มีความครบถว้ น ถกู ตอ้ ง ทนั สมยั และเป็นระบบ

เดียวกัน ท้งั สว่ นกลางและสว่ นภูมิภาค
2) พัฒนาและปรบั ปรงุ หลกั สูตร สื่อ แบบเรียนเคร่อื งมือวัดผลและเคร่ืองมือการดําเนินงาน

การ สง่ เสริมการรู้หนังสือที่สอดคลอ้ งกบั สภาพและบรบิ ทของแตล่ ะกล่มุ เป้าหมาย
3) พัฒนาครู กศน. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถ และ

ทกั ษะการ จดั กระบวนการเรยี นรู้ใหก้ ับผู้ไม่รู้หนังสืออยา่ งมีประสิทธิภาพ และอาจจัดใหม้ ีอาสาสมัครส่งเสริมการรู้
หนงั สอื ใน พ้นื ทีท่ ่ีมคี วามตอ้ งการจาํ เป็นเปน็ พิเศษ

4) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้
หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือให้กับประชาชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดชวี ติ ของประชาชน

แผนปฏบิ ัตกิ ารประจำปงี บประมาณ 2565 ศนู ยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอวังเหนือ

46

1.3 การศึกษาต่อเนื่อง
1) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทาํ อย่างยงั่ ยืน โดยให้ความสําคญั กบั การจัดการศึกษาอาชีพ

เพื่อการมีงานทําในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทางหรือการ
บริการ รวมถึงการเน้นอาชีพช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพของแต่
ละพื้นที่ มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาประเทศ
ตลอดจน สร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีการส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การ
พฒั นา หน่ึงตําบลหนึง่ อาชพี เด่น การประกวดสนิ คา้ ดีพรีเม่ียม การสร้างแบรนดข์ อง กศน. รวมถึงการส่งเสริมและ
จัดหาชอ่ งทางการจาํ หนา่ ยสนิ ค้าและผลติ ภณั ฑ์ และใหม้ กี ารกาํ กับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพ
เพ่อื การมีงานทําอยา่ งเปน็ ระบบและต่อเน่ือง

2) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ
ที่สอดคล้องกับความต้องการจําเป็นของแต่ละบุคคล และมุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการดํารงชีวิต
ตลอดจน สามารถประกอบอาชีพพึ่งพาตนเองได้มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่
ในสังคม ได้อย่างมีความสุขสามารถเผชญิ สถานการณต์ ่าง ๆ ทีเ่ กดิ ขึน้ ในชวี ติ ประจําวนั ไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ และ
เตรียมพร้อมสําหรับการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของข่าวสารข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอนาคต
โดยจัดกิจกรรมทมี่ เี นือ้ หาสําคัญตา่ ง ๆ เช่น การอบรมจติ อาสา การใหค้ วามร้เู พอ่ื การป้องการการแพร่ระบาด ของ
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COMID - 19) การอบรมพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิต การอบรมคุณธรรม และ
จริยธรรม การป้องกันภัยยาเสพติด เพศศึกษา การปลูกฝังและการสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ ความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน ผ่านการอบรมเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ค่ายพัฒนาทักษะชีวิต การจัดตั้งชมรม/ชุมนุม
การอบรมสง่ เสริมความสามารถพิเศษตา่ ง ๆ เปน็ ตน้

3) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้
แบบบูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรมการประชุม สัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรม จิต
อาสา การสร้างชมุ ชนนักปฏิบัติ และรูปแบบอ่ืน ๆ ท่เี หมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และบริบทของชุมชน แต่ละพื้นที่
เคารพความคิดของผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างและหลากหลายทางความคิดและอุดมการณ์ รวมทั้งสังคม
พหุวัฒนธรรม โดยจัดกระบวนการใหบ้ ุคคลรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รว่ มกันสร้างกระบวนการจิตสาธารณะ
การสร้างจิตสํานึกความเป็นประชาธิปไตย การเคารพในสิทธิและเสรีภาพ และรับผิดชอบต่อหน้าที่ความเป็น
พลเมือง ที่ดีภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรม การเป็นจิตอาสา การบําเพ็ญประโยชน์ในชุมชนการ บริหารจัดการน้ำ การรับมือกับสาธารณภัย
การอนรุ กั ษ์พลงั งาน ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม การชว่ ยเหลอื ซ่งึ กนั และกนั ในการพฒั นาสงั คมและชุมชน
อย่างยง่ั ยืน

4) การจัดกิจกรรมการเรียนรตู้ ามหลักปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงผา่ นกระบวนการเรยี นรู้ตลอด
ชีวิต ในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับประชาชน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง และมีการ
บรหิ ารจดั การ ความเสี่ยงอยา่ งเหมาะสม ตามทิศทางการพัฒนาประเทศสคู่ วามสมดุลและยง่ั ยืน

1.4 การศึกษาตามอธั ยาศัย
1) พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านและพัฒนา

ศักยภาพ การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น การพัฒนา กศน. ตําบล
ห้องสมุด ประชาชนทุกแห่งให้มีการบริการที่ทนั สมัย ส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน การสร้าง
เครอื ข่าย สง่ เสรมิ การอา่ น จดั หน่วยบริการห้องสมดุ เคลอ่ื นที่ หอ้ งสมดุ ชาวตลาด พร้อมหนังสอื และอุปกรณเ์ พื่อจัด

แผนปฏิบัตกิ ารประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั อำเภอวังเหนือ


Click to View FlipBook Version