แนวทางการดาำ เนินงาน
การจัดการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน
โดยครอบครวั
ส�ำนกั พัฒนำนวัตกรรมกำรจัดกำรศกึ ษำ
ส�ำนกั งำนคณะกรรมกำรกำรศกึ ษำขั้นพืน้ ฐำน
แนวทางการดำ� เนินงาน
การจัดการศึกษาขน้ั พน้ื ฐานโดยครอบครวั
สำ� นกั พัฒนานวัตกรรมการจัดการศกึ ษา
สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ค�ำนำ�
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีเจตนาให้ประชาชนมีความเสมอภาคในการได้รับ
การศึกษา โดยให้ความส�ำคัญและความมีอิสระในการเลือกรับการศึกษาได้ทุกรูปแบบ รวมทั้งมุ่งให้การศึกษาทางเลือก
ได้รับความคุ้มครองและการส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ ซ่ึงเป็นหลักการเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2540 โดยความในมาตรา 42 ระบุว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน
การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ท้ังนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าท่ีของพลเมือง
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและเป็นหลักการส�ำคัญหน่ึงของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 12 ที่ก�ำหนดให้บุคคล ครอบครัวมีสิทธิในการ
จดั การศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน
เพื่อสนองเจตนารมณ์ดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลานและส่งเสริม
ให้ภาคสังคมมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นไปตาม
เจตนารมณ์ดังกล่าว ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน จึงท�ำเป็นเอกสาร “แนวทางการด�ำเนินงาน
การจดั การศึกษาขั้นพืน้ ฐานโดยครอบครวั ” ฉบับนี้ขน้ึ เพ่อื ใหท้ กุ ฝ่ายทเี่ ก่ียวขอ้ ง ใช้เป็นแนวปฏบิ ัติในการจดั การศกึ ษา
โดยครอบครัว ซึ่งจะสร้างความชัดเจนให้กับครอบครัว/ผู้จัดการศึกษา ส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาและเจ้าหน้าท่ี
ผู้เก่ียวข้อง ตลอดจนสาธารณชนผู้สนใจท่ีต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ให้มีความรู้
ความเข้าใจในกฎระเบียบ แนวปฏิบัติของทางราชการ บทบาทหน้าท่ีความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย
นอกจากน้ียังได้เพิ่มเติมสาระของเจตคติหรือทัศนคติที่ถูกต้อง ต่อสิทธิของผู้เรียน สิทธิของครอบครัว และวิธีการ
อันเหมาะสมในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวภายใต้บริบทสังคมไทย เพื่อน�ำไปสู่ความร่วมมือและการมีส่วนร่วม
ของทกุ ภาคส่วน โดยคำ� นึงถงึ ประโยชนส์ ูงสุด ท่ีจะเกิดขน้ึ กบั ผ้เู รยี นเปน็ สำ� คัญ
เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน
สารบัญ
หนา้
คำ� น�ำ
บทท่ี 1 บทน�ำ
หลักการและความเปน็ มา 2
บทท่ี 2 การบริหารการศกึ ษาขนั้ พื้นฐานโดยครอบครัว
หลักการจดั การศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐานโดยครอบครัว 6
โครงสรา้ งและบทบาทหนา้ ทก่ี ารบริหารจดั การศึกษาขน้ั พื้นฐานโดยครอบครวั 7
บทบาทหนา้ ทขี่ องส�ำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน 8
บทบาทหน้าทส่ี ำ� นักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษา 11
บทบาทหน้าท่คี ณะกรรมการเขตพืน้ ทก่ี ารศึกษา 14
บทบาทหน้าทขี่ องครอบครวั /ผู้จัดการศึกษา 14
บทบาทหนา้ ทข่ี องส�ำนักงานรบั รองมาตรฐานและประเมนิ คุณภาพการศกึ ษา 17
บทท่ี 3 การจดั การศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐานโดยครอบครวั
1. การอนุญาตจดั การศกึ ษาโดยครอบครัว 20
การเตรียมการเพือ่ ขออนญุ าตจดั การศกึ ษา 21
การย่นื แบบแสดงความประสงค์จะขอจดั การศกึ ษา 22
การย่ืนคำ� ขออนญุ าตจดั การศึกษา 23
วุฒกิ ารศึกษาของผู้จดั การศกึ ษา 24
กรณผี จู้ ดั การศึกษาท่มี ไิ ด้มสี ัญชาติไทย 25
การพิจารณาของคณะกรรมการเขตพ้นื ท่ีการศกึ ษา 27
ขนั้ ตอนการขออนญุ าตจดั การศึกษา 28
2. การจัดท�ำแผนการจดั การศกึ ษาข้ันพ้นื ฐานโดยครอบครัว 29
ความสำ� คญั และความจำ� เป็น 29
องคป์ ระกอบของแผนการจัดการศึกษา 29
ข้อมูลพืน้ ฐานของครอบครวั 29
ขอ้ มูลพน้ื ฐานของผ้เู รยี น 30
ระดับการศึกษาทจี่ ดั 30
จดุ มุ่งหมายของการจดั การศกึ ษา 30
รูปแบบการจัดการศกึ ษา 30
การจดั กลุ่มสาระการเรียนร ู้ 31
การจัดกจิ กรรมพฒั นาผูเ้ รียน 32
การจดั กระบวนการเรยี นร้ ู 32
การจดั การเรียนร้รู ะดับปฐมวยั 33
การจัดการเรียนรู้ระดบั การศึกษาข้นั พน้ื ฐาน 34
การจัดการเรียนรูส้ �ำหรับผู้เรียนท่ีมคี วามตอ้ งการจ�ำเปน็ พเิ ศษ 35
สารบญั (ตอ่ )
3. การวดั และประเมนิ ผลการเรยี นร ู้ 37
แนวทาง วธิ กี ารวดั และประเมินผลการเรียนร ู้ 39
เกณฑ์การตัดสินผลการเรยี น 39
เวลาเรียน 39
คณุ ภาพผเู้ รยี น 39
มติ ขิ องการประเมนิ 40
การให้ระดับผลการเรยี น 41
การเลื่อนชน้ั 41
เกณฑก์ ารจบการศกึ ษา 42
ภารกจิ การวดั และประเมินผลการเรยี นรู้ 42
ภารกิจการวัดและประเมนิ ผลของส�ำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน 44
ภารกจิ การวดั และประเมนิ ผลของส�ำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษา
ภารกิจการวัดและประเมินผลของครอบครัว/ผู้จัดการศกึ ษา 46
4. การเทยี บโอนผลการเรยี น 46
ความหมายของการเทียบโอนผลการเรยี น 47
หลักการเทียบโอนผลการเรียน 47
ขอ้ กำ� หนดในการเทียบโอนผลการเรียน 48
แนวทางการเทียบโอนผลการเรียน 51
แนวปฏบิ ตั ิในการเทียบโอนผลการเรียน 52
5. การย้ายภูมิล�ำเนา 54
6. การเลิกจัดการศึกษา 54
7. สทิ ธิประโยชน์ทางการศึกษา 55
การอดุ หนุนคา่ ใชจ้ า่ ยรายหวั 55
การสมคั รเขา้ ฝึกวิชาศกึ ษาวิชาทหาร
การทดสอบทางการศกึ ษาระดับชาตขิ น้ั พ้ืนฐาน
เอกสารอา้ งองิ
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก ตวั อย่างแบบฟอร์มต่างๆ
ภาคผนวก ข ตวั อยา่ งเป้าหมายคณุ ภาพผเู้ รยี นทม่ี ุ่งหวงั ในแตล่ ะกล่มุ ประสบการณ์
ภาคผนวก ค ตัวอยา่ งการจัดการตารางเรียนรู้
ภาคผนวก ง กฎหมาย วา่ ด้วยสิทธใิ นการจัดการศกึ ษาโดยครอบครัว
ภาคผนวก จ หลักเกณฑแ์ ละวธิ กี ารปรับใช้หลักสตู ร แกนกลางการศึกษาข้นั พืน้ ฐาน
พ.ศ. 2551 ส�ำหรบั กลมุ่ เป้าหมายเฉพาะ
คณะผู้จัดท�ำ
1บทท่ี
บทน�ำ
บทที่
1บทนำ�
หลักการและความเป็นมา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ให้ความส�ำคัญกับการจัดการศึกษาทางเลือก
และก�ำหนดไว้ในมาตรา 49, 50 และ 80 มาตรา 49 ก�ำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา
ไม่น้อยกว่าสิบสองปีท่ีรัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ
หรือผู้อยู่ในสภาวะยากล�ำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษา
โดยทดั เทยี มกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศกึ ษาทางเลือกของประชาชน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมท่ีเหมาะสมจากรัฐ ส่วนมาตรา 50
ก�ำหนดให้บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่
งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง เท่าท่ีไม่ขัดต่อหน้าท่ีของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ส�ำหรับมาตรา 80 (3) ได้บัญญัติให้รัฐต้องด�ำเนินการตามแนวนโยบายด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพ
และมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรปู แบบ ให้สอดคลอ้ งกบั ความเปลยี่ นแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
มาตรา 6 ก�ำหนดให้การจัดการศึกษามีจุดมุ่งหมาย เพ่ือพัฒนาความเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ ท้ังร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการด�ำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมท่ีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และได้ก�ำหนดแนวทางการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
โดยระบุไว้ใน มาตรา 8 (2) การจัดการศึกษายึดหลักให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และมาตรา 12
ก�ำหนดให้บุคคลและครอบครัวมีสิทธิในการจัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามก�ำหนดในกฎกระทรวง
ส�ำหรับมาตรา 10 บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐ
ต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย บุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
อารมณ์ สังคม การส่ือสาร และการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่พึ่งตนเองได้
หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาสต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสรับการศึกษาข้ันพื้นฐานเป็นพิเศษ
การจดั การศึกษาสำ� หรบั บคุ คลซง่ึ มีความสามารถพิเศษในมาตรา 11 บดิ า มารดา หรือผ้ปู กครองมีหน้าที่จดั ให้บตุ ร
หรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล ได้รับการศึกษาภาคบังคับ และการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ
ตามความพร้อมของครอบครัว ในมาตรา 12 ครอบครัวมีสิทธิในการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐาน มาตรา 15 การจัด
การศึกษามี 3 รูปแบบ คือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย อาจจัดการศึกษา
รูปแบบใดรปู แบบหนึ่งหรือทงั้ สามรูปแบบ นอกจากน้หี มวด 4 กำ� หนดแนวการจดั การศึกษา ในมาตรา 22 และ 23
ก�ำหนดให้การจัดการศึกษาต้องยึดหลักการว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และเชื่อว่า
ผู้เรียนมีความส�ำคัญท่ีสุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ
และเต็มตามศกั ยภาพ เป็นความสำ� คญั ทง้ั ความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบรู ณาการตามความเหมาะสม
2
แนวทางการด�ำ เนนิ งานการจัดการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐานโดยครอบครวั
ของแตล่ ะระดับการศกึ ษา ดงั ความในมาตรา 13 และ 14 กำ� หนดให้บิดา มารดา หรอื ผูป้ กครอง บุคคล และครอบครัว
มีสิทธ์ิได้รับสิทธิประโยชน์ คือ การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเล้ียงดู และการให้
การศึกษา ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐส�ำหรับการจัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน และการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีส�ำหรับ
ค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายก�ำหนด มาตรา 61 ให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาท่ีจัดโดยบุคคล
และครอบครัว ตามความเหมาะสมและความจำ� เปน็ และมาตรา 66 กำ� หนดใหผ้ ้เู รียนมีสทิ ธไิ ดร้ ับการพฒั นาขีดความสามารถ
ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกท่ีท�ำได้ เพ่ือให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยี
เพอ่ื การศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองไดอ้ ย่างตอ่ เนือ่ งตลอดชีวิต
ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว เป็นการศึกษาท่ีมีบ้านเป็นฐานของการเรียนรู้ ซึ่งเป็น
รากฐานส�ำคัญตามวิถีไทย (สารานุกรมวิชาชีพครู 2552 หน้า 221-224) โดยผู้ปกครองหรือผู้จัดการศึกษา
เปน็ ผูจ้ ัดการดแู ลทง้ั หมด นับตั้งแตก่ ารจัดสงิ่ แวดลอ้ มให้เออื้ ต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอน การเลอื กกิจกรรม
การจัดหลักสูตร การวัดและประเมินผล (ยุทธชัย เฉลิมชัย 2550 หน้า 21) ตามกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการ
จัดการศึกษาข้ันพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ.2547 ก�ำหนดให้บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซ่ึงเป็นผู้ใช้อ�ำนาจ
ปกครอง หรอื ผปู้ กครองตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ หรอื ผู้จัดการศึกษา ซ่งึ หมายถงึ บุคคลในครอบครัว
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากครอบครัวนั้น ให้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของผู้เรียน
ท้งั นใ้ี ห้เป็นไปตามกฎกระทรวงก�ำหนด
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว มีอยู่อย่างแพร่หลายในหลายประเทศประมาณยี่สิบกว่าปีท่ีผ่านมา
และได้รับการยอมรับมากข้ึนเร่ือยๆ จากรายงานการวิจัยการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ประสบการณ์ของนานา
ประเทศ (อมรวชิ ช์ นาครทรรพ,์ 2543) ระบุวา่ มเี ด็กทีเ่ รยี นอยู่กับบ้านท่ัวโลกจำ� นวนราว 2-3 ลา้ นคน โดยเฉพาะ
ในสหรฐั อเมรกิ ามจี ำ� นวนถึง 1.23 ล้านคน และคาดว่า ในปี 2008 อาจมีเด็กอเมริกันที่เรยี นอยกู่ ับบ้านเป็นจำ� นวน
ถงึ 6.87 ลา้ นคน ส่วนประเทศอน่ื ๆท่ีมีเดก็ เรียนอยู่กับบ้านจำ� นวนมาก ได้แก่ แคนาดา ออสเตรเลยี อังกฤษ ฝร่งั เศส
เป็นต้น พร้อมทั้งได้เสนอว่าแรงผลักดันท่ีท�ำให้เกิดกระแส การจัดการศึกษาโดยครอบครัวมาจากปัจจัยส�ำคัญ
คือ จากความต้องการของผู้เรียน ปัญหาความรุนแรง ยาเสพติด และการล่วงเกินทางเพศ ตลอดจนความเช่ือ
ทางศาสนาเฉพาะกลุ่ม ส�ำหรับปัจจัยอ่ืนได้แก่ ปรัชญาและความเชื่อทางการศึกษาส่วนบุคคลของบิดามารดา
ความตอ้ งการเสรมิ สรา้ งความสัมพันธ์ท่ีดีในครอบครวั นอกจากน้ี ยงั มปี ัจจยั เสริม คอื ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและเทคโนโลยีทางการศึกษาท่ีช่วยให้รูปแบบการเรียนรู้อยู่ท่ีบ้านท่ี “ผู้เรียนก�ำกับวิถีทางการเรียนรู้
ของตนเอง” (self-directed learning) มีความเป็นไปได้มากข้ึนในประเทศท่ีพัฒนา (ส�ำนักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา, 2551 :21-22) การจัดการศึกษาโดยครอบครัวจัดว่าเป็นการศึกษาทางเลือกใน 7 รูปแบบ (สุชาดา
จกั รพสิ ทุ ธิ์ ชชั วาล ทองดีเลศิ อศิ รา สุคงคารัตนกลุ ลายอง เตยี สกลุ และสาทร สมพงษ์, 2546 : 34-35) ซ่ึงไดถ้ ูกจ�ำแนก
ตามโครงการวจิ ัยการศกึ ษาทางเลอื กดังน้ี 1) การศกึ ษาทางเลอื กท่ีจดั โดยครอบครวั 2) การศึกษาทางเลอื กทอ่ี ิงกับ
ระบบ ของรฐั 3) การศกึ ษาทางเลือกสายครภู มู ิปัญญา 4) การศึกษาทางเลอื กสายศาสนธรรม 5) การศึกษาทางเลือก
ที่เป็นสถาบันนอกระบบรัฐ 6) การศึกษาทางเลือกของกลุ่มการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 7) การศึกษาทางเลือกผ่าน
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นการจัดการเรียนรู้บนพ้ืนฐานปัญหาและชีวิต
แท้จริง ซึ่งเป็นปฏิบัติการอย่างหน่ึงของกระบวนการประชาชนอันสืบเนื่องมาจากการศึกษาในระบบไม่อาจตอบ
สนองได้ การศึกษาทางเลือกจึงเกิดข้ึนมาจากจินตนาการทางสังคมท่ีมีความหลากหลาย ท�ำให้เกิดการศึกษา
ในภาคประชาชนข้ึนมา ซ่งึ การจัดการศกึ ษาโดยครอบครวั เป็นการศึกษาทางเลือกรปู แบบหน่งึ ดงั นัน้ การศกึ ษาทางเลือก
จึงเป็นการศึกษาท่ีถูกจัดโดยภาคประชาชน เป็นการศึกษาที่เป็นอิสระและสอดคล้องในความแตกต่างของบุคคล
เพือ่ ความเปน็ มนษุ ยท์ ่สี มบรู ณ์อย่างแท้จรงิ (วราภรณ์ อนุวรรตั น:์ 2554)
แนวทางการดำ�เนนิ งานการจดั การศึกษาขนั้ พ้ืนฐานโดยครอบครวั 3
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจการจัดการและการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2546 ข้อ 1(5) มอี �ำนาจหนา้ ทพี่ ัฒนานวตั กรรมทางการศกึ ษา ประสาน สง่ เสริม สนบั สนนุ และก�ำกบั ดแู ล
การจดั การศึกษาข้นั พื้นฐาน การศกึ ษาเพ่อื คนพิการ ผูด้ ้อยโอกาสและผู้มคี วามสามารถพิเศษ รวมท้ังประสาน สง่ เสรมิ
การจดั การศึกษาขนั้ พนื้ ฐานของเอกชน องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถ่นิ บคุ คล ครอบครวั องคก์ รชมุ ชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอ่ืน โดยก�ำหนดให้ส�ำนักพัฒนานวัตกรรม
การจัดการศึกษาซ่ึงเป็นหน่วยงานหลัก ในการประสานงานและพัฒนาการด�ำเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครวั
ตามข้อ 1(5) ข้อ 3(6)(8) ก�ำหนดให้ศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐาน
และแสวงหาความร่วมมอื หรอื ทนุ เพือ่ การพฒั นารูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการศกึ ษา และด�ำเนนิ การนำ� รอ่ ง
เพื่อให้สามารถน�ำรูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐานไปสู่การปฏิบัติ ส�ำหรับส�ำนักนโยบาย
และแผนการศึกษาขั้นพ้ืนฐานมีอ�ำนาจหน้าท่ีจัดท�ำข้อเสนอนโยบายและแผนการศึกษาข้ันพื้นฐาน และสถาบันสังคมอ่ืน
ท่ีจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษา และประมวลข้อเสนอนโยบาย จัดสรร
งบประมาณเงินอุดหนุนรายหัวส�ำหรับผู้เรียนในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว และส�ำนักวิชาการและมาตรฐาน
การศึกษาเป็นหน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการจัดท�ำมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
การก�ำหนดหลักเกณฑ์การปรับใช้หลักสูตร และเอกสารหลักฐานการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขนั้ พนื้ ฐาน พ.ศ. 2551
การจดั การศกึ ษาข้ันพนื้ ฐานโดยครอบครัวในปงี บประมาณ 2557 มสี �ำนักงานเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษาประถม
ศึกษาและส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษามัธยมศึกษา จ�ำนวน 51 เขต ได้ด�ำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว จ�ำนวน 225 ครอบครัว มีผู้เรียนท้ังส้ิน 397 คน และมีแนวโน้มท่ีจะเพ่ิมขึ้น
อย่างตอ่ เน่ือง ส�ำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พื้นฐานตระหนักในการความสำ� คญั และความจ�ำเป็น จงึ ได้จดั ท�ำ
คู่มือการด�ำเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ปี 2555 เพ่ือเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยครอบครัว และจากผลสรปุ การติดตามและประเมนิ การใช้คู่มือการด�ำเนนิ งานการจัดการศึกษาโดยครอบครวั ปี 2555
พบว่า เอกสารดังกล่าวขาดความชัดเจนบางส่วนจึงไม่สามารถน�ำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน จึงได้พัฒนา และจัดท�ำเป็นเอกสาร “แนวทางการด�ำเนินงาน
การจัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐานโดยครอบครัว” ฉบับน้ีขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายท่ีเกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางและแนวปฏิบัติใน
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว ซ่ึงจะสร้างความชัดเจนให้กับครอบครัว/ผู้จัดการศึกษา ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา
และเจ้าหน้าท่ีผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนสาธารณชนผู้สนใจท่ีต้องการเรียนรู้เก่ียวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
ให้มีความรู้ความเข้าใจในกฎระเบียบ แนวปฏิบัติของทางราชการ บทบาทหน้าท่ีความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง
แต่ละฝ่าย นอกจากนี้ยังได้เพ่ิมเติมสาระของเจตคติหรือทัศนคติท่ีถูกต้องต่อสิทธิของผู้เรียน สิทธิของครอบครัว
และวิธีการ อันเหมาะสมในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวภายใต้บริบทสังคมไทย เพื่อน�ำไปสู่ความร่วมมือ
และการมีส่วนรว่ มของทกุ ภาคส่วน โดยค�ำนึงถึงประโยชนส์ ูงสุดท่ีจะเกดิ ขน้ึ กบั ผ้เู รยี นเป็นสำ� คญั
4
แนวทางการดำ�เนินงานการจัดการศึกษาขน้ั พื้นฐานโดยครอบครวั
2บทท่ี
การบริหาร
การศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน
โดยครอบครวั
บทท่ี 2การบริหารการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐานโดยครอบครวั
หลกั การจดั การศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐานโดยครอบครัว
กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนและให้ความส�ำคัญต่อการจัดการศึกษา
ขน้ั พืน้ ฐานโดยครอบครัว โดยไดด้ �ำเนินการตามพระราชบญั ญัติการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 และทแี่ กไ้ ขเพ่ิมเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ภายใต้หลักหรอื กรอบในการด�ำเนนิ การ 5 ประการ คือ 1)ส่งเสรมิ การมสี ่วนรว่ มของครอบครัว
2)พ่อแม่จะต้องมีอิสระในการด�ำเนินการมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 3)มีความสอดคล้องกับหลักการ
และแนวทางในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 4)มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ และ 5)มีความเป็นสากล
เทียบเคียงกับต่างประเทศได้ นอกจากน้ีกระทรวงศึกษาธิการโดยส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไดป้ ระกาศใช้ “หลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน พุทธศักราช 2551” และ “หลกั เกณฑ์และวธิ ีการปรบั ใช้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พ.ศ.2551 ส�ำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ” เพื่อให้หน่วยงาน และบุคคล
ที่เก่ียวข้องในการจัดการศึกษามีความเข้าใจท่ีชัดเจนตรงกัน และเห็นแนวทางในการน�ำส่ิงที่ก�ำหนดไว้ในหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐานไปสู่การปฏิบัติ ให้เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย
ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธภิ าพและคณุ ภาพ
หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ส�ำหรับ
กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ก�ำหนดไว้ว่าเป็นการจัดการศึกษาท่ีมีความแตกต่างในด้านเป้าหมาย การจัดหลักสูตร
และการเรียนการสอน รวมท้ังการบริหารจัดการต่างๆ เพ่ือให้เป็นไปตามปรัชญา จุดเน้น หรือศักยภาพ
และความต้องการของผู้เรียนที่แตกต่างกัน การศึกษาจะต้องจัดให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพ ความต้องการ
และความจ�ำเป็น เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขและเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ ปัจจุบันการศึกษาส�ำหรับ
กลมุ่ เป้าหมายเฉพาะมีความแตกตา่ งในมติ ทิ ่ีสำ� คัญ ดังน้ี
1. การศึกษาเฉพาะทางที่มีจุดเนน้ พเิ ศษ เช่น กีฬา นาฎศลิ ป์ ปรยิ ตั ิธรรม เป็นต้น
2. การศึกษาที่มีแนวคิด ปรัชญา จุดมุ่งหมายต่างไปจากการศึกษาในระบบ ต้องการการศึกษาแบบ
กา้ วหนา้ (Progressive) การศกึ ษาทางเลอื ก (Alternative Education)
3. การศึกษาที่สนองต่อผู้เรียนที่มีความแตกต่างทางธรรมชาติ ศักยภาพ ฐานะความเป็นอยู่ ภูมิล�ำเนา
เช่น เด็กท่ีมีความสามารถพิเศษ มีความถนัดเฉพาะทาง เด็กพิการ เด็กในภาวะยากล�ำบาก เด็กในพื้นที่ห่างไกล
ทรุ กนั ดาร เด็กไร้สญั ชาติ เป็นต้น
ลกั ษณะการจดั การศกึ ษาสำ� หรบั กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
ลักษณะการจัดการศึกษาส�ำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ในปัจจุบันการจัดการศึกษาส�ำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
ในประเทศไทย มหี ลากหลายลักษณะ สามารถจดั กลุ่มได้ดงั นี้
1. กลุ่มเปา้ หมายเฉพาะที่เป็นการศกึ ษาในระบบ
1.1 โรงเรียนในระบบท่ีมีรูปแบบการจัดการศึกษาหรือการจัดกระบวนการเรียนรู้แตกต่างจาก
โรงเรยี นส่วนใหญ่ท่วั ไป เชน่ โรงเรยี นหมู่บา้ นเด็ก โรงเรียนรงุ่ อรณุ โรงเรียนสตั ยาไส การศึกษาเด็กทมี่ ีความสามารถ
พิเศษ เดก็ พกิ าร ผดู้ ้อยโอกาส เปน็ ตน้
6
แนวทางการดำ�เนนิ งานการจดั การศกึ ษาขน้ั พื้นฐานโดยครอบครวั
1.2 โรงเรียนที่จัดการศึกษาเฉพาะทางหรือมีจุดเน้นเป็นพิเศษ เช่น โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียน
กีฬา โรงเรียนนายสิบทหารบก โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โรงเรียนไปรษณีย์ วิทยาลัยนาฏศิลป์
เป็นต้น
2. กลุ่มเปา้ หมายเฉพาะทีเ่ ป็นการศึกษานอกระบบหรอื ตามอธั ยาศยั
2.1 มีรูปแบบการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นหลากหลาย สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา ธรรมชาติ
และความต้องการของผู้เรียนหรืออาจจัดการเรียนรู้ตามวิถีธรรมชาติ วิถีธรรม วิถีของชุมชน เช่น ศูนย์การเรียนรู้
การศึกษาโดยครอบครวั การศกึ ษาสายตาครูภมู ิปัญญา เปน็ ตน้
2.2 เป็นการศึกษาทางเลือกเพ่ือตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่ไม่ประสงค์จะเรียนในระบบ
การศึกษาปกติ ซึ่งมีเหตุผลมาจากพื้นฐานของบุคคลตามปรัชญาความเช่ือทางการศึกษา และการเรียนรู้
หรือดา้ นอนื่ ๆ
โครงสร้าง/บทบาทการบริหารจัดการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐานโดยครอบครวั
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานได้ก�ำหนดกรอบโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา
ข้ันพื้นฐานโดยครอบครัว ตามขอบข่ายภารกิจที่รับผิดชอบโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาข้ันพื้นฐาน
โดยครอบครวั ดงั แผนภูมทิ ่ี 1
แผนภมู ทิ ่ี 1 แสดงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาขัน้ พื้นฐานโดยครอบครัว
สพฐ.
สพร. สนผ. สนก. สวก. สทศ. สคส.
สพป./สพม
กนผ. กนอ. กสศ. กนต. กง. กบค. อ่นื ๆ
สมศ. (องค์การมหาชน) ครอบครวั /ผ้จู ัดการศกึ ษา สทศ. (องค์การมหาชน)
แนวทางการดำ�เนินงานการจัดการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐานโดยครอบครวั 7
หมายเหตุ
สพฐ. หมายถงึ สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน
สนก. หมายถงึ สำ� นักพัฒนานวตั กรรมการจัดการศกึ ษา
สวก. หมายถงึ สำ� นกั วิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สนผ. หมายถึง สำ� นกั นโยบายและแผนการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน
สพร. หมายถึง สำ� นกั พัฒนาระบบบรหิ ารงานบคุ คลและนติ กิ ร
สคส. หมายถงึ สำ� นักการคลังและสินทรัพย์
สทศ. หมายถงึ สถาบนั ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สมศ. หมายถงึ สำ� นักรบั รองมาตรฐานและประเมินคณุ ภาพการศกึ ษา
(องคก์ ารมหาชน)
สพป. หมายถงึ สำ� นกั งานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษา
สพม. หมายถงึ สำ� นักงานเขตพ้นื ท่ีการศึกษามัธยมศกึ ษา
กนต. หมายถงึ กลุ่มนิเทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจัดการศกึ ษา
กสศ. หมายถงึ กล่มุ สง่ เสรมิ การจดั การศกึ ษา
กนผ. หมายถึง กลุ่มนโยบายและแผน
กนอ. หมายถงึ กลมุ่ อ�ำนวยการ
กง. หมายถงึ กลุ่มการเงินและสินทรัพย์
กบค. หมายถงึ กลมุ่ บรหิ ารทรัพยากรบุคคล
ครอบครัว หมายถงึ ครอบครวั /ผู้จัดการศึกษาโดยครอบครวั
อนื่ ๆ หมายถงึ สถานศกึ ษา/สถาบันทางการศกึ ษา
บทบาทของสำ� นกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พื้นฐาน
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีบทบาทเกี่ยวกับการจัดการและการส่งเสริมการศึกษา
ข้ันพื้นฐาน ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง
ศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ข้อ 1 (5) มีอ�ำนาจหน้าท่ี พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน
และก�ำกับดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพ่ือคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ
และประสาน ส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐานของเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว
องค์กรชมุ ชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบนั สังคมอน่ื ดงั นี้
8
แนวทางการดำ�เนินงานการจัดการศึกษาขน้ั พืน้ ฐานโดยครอบครัว
บุคคล/หน่วยงาน บทบาทหน้าท่ี
สำ� นกั งานคณะกรรมการ สำ� นักพัฒนานวตั กรรมการศึกษา
การศึกษาข้นั พืน้ ฐาน 1. จัดการศึกษา ประสานงานและพัฒนาการด�ำเนินงานการจัดการศึกษา
โดยครอบครัว ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการส�ำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน ข้อ 1(5) และขอ้ 3(8) (ก) กฎกระทรวงว่าดว้ ย
การแบง่ ส่วนราชการส�ำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน กฎหมายว่าด้วย
สิทธิในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว พ.ศ.2547 ให้เป็นไปอย่างมีระบบ บรรลุผล
ตามเปา้ หมายของภาคสว่ นตา่ งๆ อย่างราบรื่น เรียบรอ้ ยมปี ระสทิ ธภิ าพและคุณภาพ
2. ศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐาน
และแสวงหาความรว่ มมอื เพอ่ื พัฒนารูปแบบและนวัตกรรมในการจดั การศึกษา
3. ด�ำเนินการน�ำร่อง เพื่อให้สามารถน�ำรูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการ
ศกึ ษาข้นั พนื้ ฐานไปสกู่ ารปฏบิ ัติ
4. ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของเด็กและครอบครัวท่ีมี
ความประสงค์ในการจดั การศึกษา
5. สนับสนุนส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการพัฒนาประสิทธิภาพ
การส่งเสริมการจดั การศึกษาโดยครอบครัวอยา่ งเตม็ ตามศักยภาพ
6. ก�ำกับดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวให้เป็นไปอย่างมี
ประสทิ ธิภาพและคุณภาพ
7. วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ในขอบข่าย
การศกึ ษาทางเลอื ก
8. แสวงหาความร่วมมือหรือทุน เพ่ือการพัฒนารูปแบบและนวัตกรรม
ในการจัดการศึกษา สร้างสรรค์เครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการ
พัฒนาการจดั การศกึ ษาโดยครอบครัว
9. ประเมินและรายงานผลการดำ� เนินงานตามสายงาน หน่วยงานท่เี ก่ียวข้อง
และต่อสาธารณะอย่างสม่�ำเสมอตามวาระโอกาสที่เหมาะสม อันมีผลต่อ
การพฒั นายกระดบั ความก้าวหน้าของงานการจัดการศกึ ษาโดยครอบครวั
10. เผยแพร่ประชาสัมพนั ธ์ แลกเปลีย่ นเรียนรขู้ า่ วสารความร้ใู นเวทสี าธารณะ
เครือข่ายภาคการศึกษา เครือข่ายภาคสังคม ข่าวสารเพ่ือความรู้ความเข้าใจ
ของสังคมโดยรวม และมีส่วนร่วมในการพฒั นาการศกึ ษาใหม้ ีความส�ำเรจ็ กา้ วหน้า
ยิง่ ขึ้นไป
11. มีกลไกในการปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาคี
เครือข่ายการศกึ ษาทางเลอื ก และหนว่ ยงานอน่ื ทเี่ ก่ยี วขอ้ ง
แนวทางการดำ�เนนิ งานการจดั การศึกษาข้ันพน้ื ฐานโดยครอบครวั 9
บุคคล/หน่วยงาน บทบาทหนา้ ท่ี
สำ� นักงานคณะกรรมการ ส�ำนกั นโยบายและแผนการศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน
การศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน (ตอ่ ) 1. จัดทำ� ขอ้ เสนอนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาขนั้ พื้นฐาน
2. จัดทำ� ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนนุ เอกชน องคก์ รวชิ าชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสงั คมอนื่ ทีจ่ ดั การศกึ ษาขนั้ พืน้ ฐาน
ใหเ้ ปน็ ไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
3. ประมวลข้อเสนอนโยบาย จัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัวส�ำหรับ
ผเู้ รียนการศึกษาโดยครอบครวั
4. จัดสรรงบประมาณเงนิ อดุ หนุนสำ� หรบั การจัดการศกึ ษาโดยครอบครัว
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ท่เี ก่ียวขอ้ งหรอื ท่ีไดร้ บั มอบหมาย
ส�ำนักวชิ าการและมาตรฐานการศึกษา
1. สนับสนุนทางวิชาการ จัดท�ำมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ก�ำหนดหลักเกณฑ์การปรับใช้หลักสูตร
และเอกสารหลักฐานการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
พทุ ธศักราช 2551 และหลักเกณฑแ์ ละวธิ ีการปรบั ใช้หลักสตู รแกนกลางการศึกษา
ขน้ั พ้นื ฐาน พทุ ธศักราช 2551 ส�ำหรบั กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอ่ืนที่
เกีย่ วข้อง หรือทไี่ ด้รบั มอบหมาย
ส�ำนักทดสอบทางการศึกษา
1. ศึกษา วิจัย และพัฒนาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา รวมทั้งจัด
ระบบ วิธีการทดสอบและพัฒนาเคร่ืองมือวัดมาตรฐานส�ำหรับการประเมินผล
การจดั การศึกษา และการทดสอบทางการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน
2. ด�ำเนินการสอบวัดความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะระดับต่างๆ ให้กับ
นกั เรียนและประชาชนท่วั ไป
3. พัฒนาและส่งเสริมวิชาการด้านการทดสอบและประเมินผลทางการศึกษา
รวมถงึ การพฒั นาบุคลากรดา้ นการทดสอบและประเมนิ ผล
4. ด�ำเนินการเกี่ยวกับระบบข้อมูลและทะเบียนประวัติผู้ส�ำเร็จการศึกษา
และจัดท�ำระบบการเทียบโอนผลการศึกษา รวมทั้งประสานความร่วมมือด้าน
การทดสอบทางการศกึ ษาทั้งในระดบั ชาติและระดบั นานาชาติ
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง หรอื ทไี่ ด้รับมอบหมาย
10
แนวทางการด�ำ เนนิ งานการจัดการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐานโดยครอบครัว
บุคคล/หนว่ ยงาน บทบาทหนา้ ที่
สำ� นกั งานคณะกรรมการ สำ� นักพฒั นาระบบบรหิ ารงานบุคคลและนิติการ
การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน (ตอ่ ) 1. จดั ทำ� ข้อเสนอนโยบาย ระเบยี บ หลักเกณฑ์ แนวปฏบิ ตั เิ กี่ยวกับการบริหาร
งานของสำ� นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
2. ด�ำเนินการเก่ียวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญา งานเก่ียวกับ
ความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอ�ำนาจหน้าที่
ของส�ำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน
3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นท่ี
เก่ียวขอ้ ง หรือท่ไี ดร้ ับมอบหมาย
ส�ำนกั การคลังและสนิ ทรัพย์
1. อนุมัติเงนิ งวดและโอนเงินงบประมาณใหส้ ำ� นักงานเขตพ้นื ทก่ี ารศกึ ษา
2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เก่ียวข้อง หรือท่ไี ดร้ ับมอบหมาย
บทบาทหน้าท่ขี องสำ� นกั งานเขตพนื้ ท่กี ารศึกษา
ตามกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาข้นั พนื้ ฐานโดยครอบครัว พ.ศ.2547 ระบใุ ห้ “ส�ำนกั งาน”
หมายความว่า สำ� นกั งานเขตพน้ื ทกี่ ารศึกษาท่คี รอบครัวมีภูมิล�ำเนา ซง่ึ มบี ทบาทหนา้ ที่ในการก�ำกับ ดูแล สนับสนนุ
ส่งเสริมการจดั การศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน โดยมีบทบาทหนา้ ที่ ดังน้ี
บุคคล/หนว่ ยงาน บทบาทหนา้ ที่
สำ� นกั งานเขตพ้ืนที่ กลุ่มส่งเสรมิ การจดั การศึกษา
การศกึ ษา 1. เป็นหน่วยงานหลักในการประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา
โดยครอบครัว ระหว่างครอบครัว ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและส�ำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน
2. จัดท�ำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้จัดการศึกษา/ครอบครัว/ผู้เรียน ตรวจสอบ
เอกสาร หลักฐานการขออนุญาต การเลกิ จดั การศึกษาโดยครอบครวั
3. จัดท�ำเอกสารต่างๆ เช่น ทะเบียนผู้เรียน ระเบียนแสดงผลการเรียน
ประกาศนยี บัตร แบบรายงานผ้สู �ำเร็จการศกึ ษา เอกสารในการเทยี บโอนผลการเรยี น
และเอกสารทางการศกึ ษาตามท่ีกระทรวงศึกษาธิการก�ำหนด
4. จัดให้มีคณะท�ำงานวิชาการ/คณะท�ำงานติดตามผลการจัดการศึกษา/
คณะท�ำงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการส่งเสริมคุณภาพเชิงวิชาการ
ไดแ้ ก่ การจัดทำ� แผนการจัดการศกึ ษา กระบวนการเรียนรู้ และการวดั ประเมินผล
ประกอบด้วย บคุ ลากรจากกลมุ่ สง่ เสรมิ การจัดการศึกษา กลุม่ นิเทศ ติดตาม และ
ประเมินผลการจัดการศึกษา และกลุ่มอ่ืนที่เก่ียวข้องกับการจัดการศึกษา
โดยครอบครวั เชน่ ภาคเี ครอื ข่ายบา้ นเรียน ภาคีเครือข่ายการศึกษาทางเลอื ก ได้แก่
ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้น�ำศาสนา ครูและบุคลากรทาง
การศึกษา เป็นต้น
11
แนวทางการดำ�เนินงานการจดั การศึกษาขนั้ พน้ื ฐานโดยครอบครัว
บุคคล/หนว่ ยงาน บทบาทหนา้ ที่
สำ� นักงานเขตพื้นท่ี 5. ประสานงานและส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นไปอย่าง
การศกึ ษา มีระบบ มีประสทิ ธภิ าพและคณุ ภาพ ไดแ้ ก่ สถานศึกษา สถาบนั การศึกษา หน่วยงานต่างๆ
เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดท�ำแผนการการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
6. ส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของเด็กและครอบครัว
ท่ีมีความประสงค์ในการจัดการศึกษา เช่น จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ให้บริการหรือ
ประสานงานแหล่งเรียนรู้อ่ืนๆ แก่ครอบครัว ผู้จัดการศึกษา ใช้ในการพัฒนา
ความรู้ความสามารถผเู้ รียนอยา่ งเต็มตามศกั ยภาพและมีคณุ ภาพ ตามจดุ มุ่งหมาย
และมาตรฐานการศึกษา
7. วางแผนพัฒนาคณุ ภาพ และแผนปฏิบตั กิ าร เพอ่ื ด�ำเนินงานการจัดการ
ศึกษาโดยครอบครัวอย่างตอ่ เนอ่ื ง
8. การวิเคราะห์ วิจัย และพฒั นานวัตกรรมการจดั การศกึ ษาโดยครอบครวั
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยครอบครัวและผู้เรียนที่มี
คุณภาพตามศกั ยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
9. สนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการพัฒนาการ
จดั การศกึ ษาโดยครอบครัว เพอ่ื คณุ ภาพของเยาวชนตอ่ ชุมชน สงั คม และประเทศ
ชาติอยา่ งเต็มท่ีไรข้ ีดจำ� กดั
10. ติดตามดแู ลการจดั การศกึ ษาข้ันพน้ื ฐานโดยครอบครวั ให้เป็นไปอย่างมี
ประสิทธภิ าพและคุณภาพ
11. ประเมินและรายงานผลการด�ำเนินงานตามสายงานหนว่ ยงานที่เก่ยี วข้อง
และต่อสาธารณะอย่างสม่�ำเสมอตามโอกาสที่เหมาะสม อันส่งผลต่อการพัฒนา
ยกระดับความกา้ วหน้าของงาน
12. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ แลกเปล่ียนเรียนรู้ข่าวสาร ความรู้ในเวที
สาธารณะ เครือข่ายภาคสังคมข่าวสารเพ่ือความรู้ความเข้าใจของสังคมโดยรวม
และมสี ว่ นรว่ มในการพฒั นาการศึกษาใหม้ คี วามส�ำเร็จกา้ วหนา้ ย่ิงขึ้นไป
13. ปฏบิ ัติงานอ่ืนๆ ทเี่ กยี่ วข้อง
กลุม่ นโยบายและแผน
1. น�ำค�ำขออนุญาตจัดการศึกษาโดยครอบครัว เสนอให้คณะกรรมการ
สำ� นักงานเขตพ้ืนท่กี ารศกึ ษาพิจารณาโดยเรว็
2. จัดท�ำข้อมูลจ�ำนวนผู้เรียน ที่จัดการศึกษาโดยครอบครัว เสนอไปยัง
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน เพื่อขอการสนับสนุนงบประมาณ
งบเงนิ อุดหนนุ ค่าใชจ้ ่ายในการจดั การศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน
3. จดั สรรงบประมาณและแจง้ ให้ผจู้ ดั การศกึ ษา/ครอบครัวทราบ
4. ติดตามการใช้จา่ ยงบประมาณ
5. ปฏิบตั งิ านอนื่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
12
แนวทางการด�ำ เนินงานการจัดการศึกษาขั้นพน้ื ฐานโดยครอบครัว
บุคคล/หน่วยงาน บทบาทหน้าท่ี
สำ� นักงานเขตพืน้ ที่ กลุม่ นิเทศตดิ ตามและประเมินผลการจดั การศกึ ษา
การศึกษา 1. ร่วมเป็นคณะท�ำงานวิชาการ/คณะท�ำงานนิเทศติดตามผลการจัดการ
ศกึ ษา/คณะท�ำงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพือ่ ใหค้ �ำปรึกษา แนะนำ� นเิ ทศ
ดูแล ช่วยเหลือ และมีส่วนร่วมในการจัดท�ำแผนการจัดการศึกษาตามบริบท
ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของครอบครัว รวมท้ังการติดตาม
การวัดและประเมนิ การจัดการศกึ ษาและการจดั การเรียนรู้
2. นิเทศ ติดตาม วดั และประเมินผลการจดั การศกึ ษา การเรียนรขู้ องผู้เรยี น
ดว้ ยวิธีการท่หี ลากหลาย
3. สง่ เสริม สนบั สนุนการจดั การศกึ ษาโดยครอบครัวใหเ้ ปน็ ไปอยา่ ง มรี ะบบ
ประสิทธิภาพและคุณภาพ ได้แก่ การสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างครอบครัว
ผู้จัดการศึกษา ในการจัดท�ำแผนการจัดการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา ทัง้ นี้อาจดำ� เนินการรว่ มกับ
ภาคเี ครอื ขา่ ยบา้ นเรยี น/ภาคเครอื ขา่ ยการศกึ ษาทางเลอื ก เปน็ ต้น
4. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และแผนปฏิบัติ
การ เพอ่ื ดำ� เนนิ งานการจัดการศึกษาโดยครอบครวั อย่างต่อเน่อื ง
5. ส่งเสริม สนับสนุนการวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนานวัตกรรมการจัดการ
ศึกษาโดยครอบครัว เพ่ือให้เกิดประสิทธิภาพการพัฒนาการจัดการศึกษาโดย
ครอบครวั และผู้เรียนทีม่ ีคณุ ภาพตามศักยภาพของผเู้ รยี นเปน็ รายบุคคล
6. ส่งเสริม สนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการ
พัฒนาการจัดการศึกษาโดยครอบครัว เพ่ือคุณภาพของเยาวชนต่อชุมชน สังคม
และประเทศชาตอิ ย่างเต็มท่ไี รข้ ดี จ�ำกดั
7. ประเมินการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐาน โดยครอบครัวและรายงานผลการ
ด�ำเนินงาน รองรับการประเมินภายนอก อันส่งผลต่อการพัฒนายกระดับความ
ก้าวหน้าของการจดั การศกึ ษาขั้นพ้ืนฐานโดยครอบครัว
8. ปฏบิ ตั ิงานอ่นื ๆ ทีเ่ กยี่ วขอ้ ง
กลุ่มบรหิ ารงานการเงินและสนิ ทรัพย์
1. แจ้งการอนมุ ตั งิ วดตามบัญชจี ัดสรร
2. ประสานและเบิกจ่ายเงินงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาให้กับ
ผ้จู ดั การศึกษา/ครอบครัว
3. ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินแก่ผู้จัดการศึกษา/
ครอบครวั
4. จัดเก็บเอกสารหลกั ฐานการเบิกจา่ ยเงินเพือ่ การตรวจสอบ
5. ปฏบิ ัตงิ านอนื่ ๆ ที่เกย่ี วขอ้ ง
กลุ่มบริหารทรพั ยากรบุคคล (กลุ่มงานวนิ ัยและนติ ิกร)
ดูแล ช่วยเหลือให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการ
ศึกษาโดยครอบครัวภายใต้บทบาท อ�ำนาจ หน้าท่ีของส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การ
ศึกษาและการปฏบิ ัตงิ านตามระเบียบและขอ้ กฎหมายก�ำหนด
13
แนวทางการดำ�เนนิ งานการจดั การศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐานโดยครอบครวั
บทบาทหน้าท่ีของคณะกรรมการเขตพืน้ ท่กี ารศึกษา
บทบาทหน้าท่ีตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545 และพระราชบญั ญัตกิ ารศกึ ษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 12 และตามกฎกระทรวง
ว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐานโดยครอบครัว พ.ศ.2547 ระบุให้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า
คณะกรรมการเขตพื้นท่ีการศึกษา มีหน้าท่ี ก�ำกับ ดูแล จัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพ้ืนท่ี
การศกึ ษา ตามหลักเกณฑ์และวธิ ีการทีก่ ระทรวงศึกษาธิการและสำ� นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐานกำ� หนด
รวมถงึ การส่งเสรมิ และสนบั สนนุ การจัดการศกึ ษาของบคุ คล ครอบครัว องค์กรชมุ ชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชพี
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอ่ืนที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพ้ืนที่
การศึกษา ดงั น้ี
บคุ คล/หน่วยงาน บทบาทหน้าท่ี
คณะกรรมการ 1. พิจารณาอนุญาตค�ำขออนุญาตจัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐานโดยครอบครัว และให้
เขตพน้ื ท่ีการศึกษา ส�ำนักงานแจ้งผลการพิจารณาค�ำขออนุญาตจัดการศึกษาแก่ครอบครัวที่ย่ืนค�ำขอ
อนุญาตจดั การศึกษาภายในสามสิบวนั นับแต่วนั ที่ไดร้ ับค�ำขออนุญาตจัดการศึกษา
2. พิจารณาการเลกิ จดั การศึกษาขน้ั พ้ืนฐานโดยครอบครวั ในกรณดี งั ตอ่ ไปนี้
2.1 ส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามีค�ำส่ังให้เลิกจัดการศึกษาตามค�ำขอของ
ครอบครวั
2.2 คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีมติให้เลิกจัดการศึกษา กรณี
ส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาเห็นว่าครอบครัวที่ได้รับอนุญาตจัดการศึกษา
ไม่จัดการศึกษาตามแผนการจัดการศึกษาตามข้อ 2 (7) ของกฎกระทรวง
ว่าดว้ ยสทิ ธิ ในการจัดการศกึ ษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ.2547 ใหส้ �ำนักงาน
แนะน�ำ ให้ครอบครัวนั้นปรับปรุงการจัดการศึกษาภายในระยะเวลาท่ีก�ำหนด
หากครอบครัวดังกล่าวไม่ด�ำเนินการตามค�ำแนะน�ำ ให้ส�ำนักงานเสนอ
ต่อคณะกรรมการเพอื่ พิจารณาใหค้ รอบครวั นน้ั เลิกจดั การศกึ ษา
บทบาทหนา้ ทข่ี องครอบครัว/ผู้จดั การศึกษา
ตามกฎกระทรวงว่าดว้ ยสทิ ธใิ นการจัดการศกึ ษาขนั้ พื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ.2547 ระบุ “ครอบครัว”
หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อ�ำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ และ “ผจู้ ดั การศกึ ษา” หมายความว่า บุคคลในครอบครวั หรอื ผู้ที่ไดร้ บั มอบหมายจากครอบครัว
นัน้ ให้จัดการศกึ ษา โดยมบี ทบาทและหนา้ ที่ ดังนี้
14
แนวทางการดำ�เนนิ งานการจัดการศึกษาขนั้ พนื้ ฐานโดยครอบครวั
บุคคล/หน่วยงาน บทบาทหน้าท่ี
ครวบครัว/ผูจ้ ดั การศกึ ษา 1. การเตรยี มความพรอ้ ม
1.1 สำ� รวจความพรอ้ มของครอบครัวในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
1.2 จัดเตรียมความพร้อมของครอบครัวไดแ้ ก่ ผจู้ ดั การศกึ ษา ผู้สอน
สถานที่ในการจัดการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์การเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ ส่ือเพื่อการ
เรียนรู้ เปน็ ตน้
1.1 ศึกษาเอกสารที่เก่ยี วขอ้ ง ไดแ้ ก่ หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน
พทุ ธศกั ราช 2551 หรือหลักสูตรการศึกษาปฐมวยั พุทธศกั ราช 2546 หลกั เกณฑ์
และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ส�ำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ระเบียบ กฎหมายทางการศึกษาที่เก่ียวข้อง
การพัฒนาคณุ ภาพผู้เรยี นแตล่ ะระดับชัน้ ตามหลกั สตู รแกนกลางฯ เปน็ ต้น
2. การขออนญุ าตจดั การศกึ ษาโดยครอบครัว
2.1 ประสานการด�ำเนินงานกับส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา เพื่อการจัดท�ำ
แผนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ตามความมุ่งหมาย หลักการ และแนวทาง
การจัดการศกึ ษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศกึ ษาแห่งชาติ
2.2 ยื่นแบบแสดงความประสงค์จะขอจดั การศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐานโดยครอบครัว
2.3 ย่ืนคำ� ขออนญุ าตจัดการศึกษาต่อส�ำนักงานเขตพนื้ ทีก่ ารศกึ ษา
3. การจดั แผนการจัดการศึกษา
3.1 ที่สอดคล้องกับบริบท ความต้องการและศักยภาพผู้เรียน โดยจัดท�ำร่วม
หรือภายใตค้ �ำแนะนำ� ของสำ� นกั งาน
3.2 จดั การเรยี นการสอนตามแผนที่ได้รบั อนญุ าตจากสำ� นกั งาน
4. การจัดการเรยี นรู้
4.1 จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
อย่างสรา้ งสรรค์ ซงึ่ ควรประกอบด้วย
4.1.1 จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน หาสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ มุ่งให้
ผเู้ รยี นเกดิ พฒั นาการที่เหมาะสมตามวัย สามารถเรยี นรูไ้ ดด้ ้วยตนเองและก�ำหนด
อตั ราความเร็ว ในการเรยี นรขู้ องตนได้
4.1.2 สร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ด้วยความตระหนักในคุณค่าและจุดมุ่งหมาย
ของชีวิต
4.1.3 จัดกระบวนการเรียนรู้ ท่ีสอดคล้องกับพัฒนาการตามช่วงวัย
โดยค�ำนึงถึงลักษณะเฉพาะตัว สร้างโอกาสให้เด็กได้แสดงออก พบความถนัด
ความสนใจ จุดเด่น ข้อด้อยของตน เพ่ือการพัฒนาพรสวรรค์ที่โดดเด่น
อยา่ งมีความสมดลุ กับพัฒนาการดา้ นอ่ืนๆ
4.1.4 สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้เกิดข้ึนได้ทุกวิถีทาง ทุกโอกาส ทุกสถานท่ี
อย่างมีกระบวนการ ด้วยการซึมซับ รับรู้อย่างเป็นธรรมชาติ จากประสบการณ์ตรง
และการสัมผัส สัมพันธ์กับส่ิงต่างๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ ในภาวะที่เป็นธรรมชาติ
มีเสรีภาพ มีความท้าทาย มีจินตนาการหรือสอดคล้องกับเรื่องราวในชีวิตจริง
และเกดิ จากความสนใจใฝ่รู้จากภายใน
15
แนวทางการดำ�เนนิ งานการจัดการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐานโดยครอบครัว
บคุ คล/หนว่ ยงาน บทบาทหน้าท่ี
ครวบครวั /ผูจ้ ัดการศึกษา 4.1.5 สร้างสถานการณ์หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย
(ต่อ) ตามความสนใจของบุคคล เช่น โครงงาน การศึกษาเป็นกลุ่มร่วมกับเด็ก/
ผู้ใหญ่และครอบครัวอื่นๆ ได้แก่การเดินทาง ท่องเที่ยว ทัศนศึกษา ค่ายพักแรม
การเขา้ รว่ มกจิ กรรมท่สี �ำนกั งาน/สถานศกึ ษา/ชุมชน จัดขน้ึ เช่น เทศกาลประเพณี
กิจกรรมเสริมทักษะดนตรี กีฬา ภาษา กิจกรรมอาสาสมัคร กิจกรรมพัฒนาสติ
และสมาธิ ตลอดจนกจิ กรรมเสริมพ้ืนฐานงานอาชพี งานบา้ น งานครวั ฯลฯ
4.1.6 จัดเก็บหลักฐาน/ร่องรอยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ ผลงาน/ชิ้นงาน แฟ้มสะสมงานเรียนรู้ของผู้เรียน หรือ
หลักฐานอนื่ ๆ ที่เกย่ี วขอ้ ง เพอ่ื แสดงถึงพฒั นาการของผูเ้ รียนอย่างตอ่ เนื่อง
5. กรณีครอบครัวพบหรือต้องการจัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐานโดยครอบครัวให้กับ
เด็กที่มคี วามเสย่ี งพิการหรอื เด็กพกิ าร ใหพ้ จิ ารณาด�ำเนินการตามความเหมาะสม
ไดแ้ ก่
5.1 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของเด็กพิการ ได้แก่ด้านการศึกษา
ด้านการแพทย์ ด้านอาชีพ ด้านสังคม
5.2 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจ�ำจังหวัดซึ่งมี ทุกจังหวัด
และขอรับบริการในเบื้องต้นจากศูนย์การศึกษาพิเศษและหน่วยงานในพื้นท่ีที่ให้
บริการคนพิการ ได้แก่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจ�ำจังหวัด ให้บริการเด็กพิการ
แบบไป-กลับ และศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษาท่ีให้บริการเด็กพิการ
แบบไป-กลบั หรือแบบประจำ� พกั คา้ งในศูนย์
5.3 ผู้จัดการศึกษา/ครอบครัว สามารถศึกษาการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการ
(เด็กพกิ าร 9 ประเภท) ไดท้ ศ่ี ูนย์การศึกษาพเิ ศษ ประจำ� จังหวดั
6. การวดั และประเมินผลการเรยี นรู้
6.1 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการวัด
และประเมนิ ผลของหลักสูตรการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551
6.2 จัดให้มีการเรียนซ่อมเสริมแก่ผู้เรียนในกรณีท่ีผู้เรียนมีผลการเรียน หรือ
ผลการประเมินไม่เปน็ ไปตามที่ระบุไวใ้ นแผนการจดั การศกึ ษาโดยครอบครวั
7. จัดทำ� รายงานผลการจดั การเรียนรู้
7.1 จัดท�ำรายงานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งการ
จดั การเรยี นการสอนและสภาพปญั หาทเี่ ก่ยี วกับการจัดการศึกษาตามทส่ี �ำนกั งาน
เขตพ้นื ท่ีการศกึ ษาก�ำหนดอย่างน้อยปีละหนง่ึ ครง้ั
7.2 ประสานการด�ำเนินงานกับส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาเกี่ยวกับเอกสาร
หลกั ฐานทางการศกึ ษาทีก่ ระทรวงศึกษาธกิ ารก�ำหนด
16
แนวทางการดำ�เนินงานการจัดการศกึ ษาขั้นพืน้ ฐานโดยครอบครวั
3) ออกแบบการเรยี นรแู้ ละจัดการเรยี นรทู้ ่ีตอบสนองความแตกตา่ ง
ระหวา่ งบคุ คลและพัฒนาการทางสมอง เพอ่ื นำ� ผ้เู รียนไปสู่เปา้ หมาย
4) จดั บรรยากาศทเ่ี อ้อื ตอ่ การเรยี นรู้ และดแู ลช่วยเหลือผู้เรยี นใหเ้ กิด
การเรียนรู้
5) จัดเตรียมและเลือกใช้ส่ือให้เหมาะสมกับกิจกรรม น�ำภูมิปัญญา
ทอ้ งถ่ิน เทคโนโลยีทีเ่ หมาะสมมาประยุกตใ์ ชใ้ นการจดั การเรยี นการสอน
6) ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการท่ีหลากหลาย
เหมาะสมกับธรรมชาตขิ องวิชาและระดบั พฒั นาการของผู้เรียน
7) วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน
รวมท้ังปรบั ปรุงการจัดการเรยี นการสอนของตนเอง
ส�ำหรบั ผเู้ รียน ครอบครัวควรแนะน�ำใหม้ บี ทบาทในการมีสว่ นร่วมในการออกแบบการเรียนรู้ ดงั น้ี
1) ก�ำหนดเปา้ หมาย วางแผน และรบั ผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง
2) เสาะแสวงหาความรู้ เขา้ ถึงแหลง่ การเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อความรู้ ตั้งค�ำถาม คิดหาค�ำตอบหรือหาแนวทางแก้ปัญหาด้วย
วิธีการต่างๆ
3) ลงมือปฏบิ ตั จิ ริง สรุปส่งิ ที่ไดเ้ รียนร้ดู ว้ ยตนเอง และน�ำความร้ไู ป
ประยุกต์ใชใ้ นสถานการณ์ตา่ งๆ
4) มปี ฏิสัมพนั ธ์ ท�ำงาน ท�ำกจิ กรรมร่วมกบั กลุ่ม บคุ คล และเพอ่ื น
5) ประเมินและพฒั นากระบวนการเรยี นรู้ของตนเองอย่างตอ่ เนอ่ื ง
2.2.8.3 การจัดการเรยี นรู้ส�ำหรับผเู้ รียนพิเศษท่ีมคี วามตอ้ งการจ�ำเปน็ พเิ ศษ
ผู้เรียนท่ีมีความต้องการจ�ำเป็นพิเศษ เป็นผู้เรียนที่มีความแตกต่างทางธรรมชาติ
มีความบกพร่อง อยู่ในภาวะยากล�ำบาก ในพื้นท่ีห่างไกลทุรกันดาร ผู้เรียนท่ีมีความสามารถพิเศษและมีความถนัด
เฉพาะทาง และผเู้ รยี นทม่ี ีความตอ้ งการเฉพาะ เชน่ ดา้ นกฬี า นาฏศลิ ป์ งานชา่ ง ในการจัดการศึกษาจงึ ควรจดั การ
ศกึ ษาให้สอดคลอ้ งกบั ลกั ษณะเฉพาะของผู้เรียน ในการจดั การศึกษา โดยครอบครวั สามารถจัดกลมุ่ ผู้เรยี นทีม่ ีความ
ต้องการจ�ำเป็นพิเศษ ได้ 2 กลุม่ ดังน้ี
2.2.8.3.1 ผู้เรียนท่ีมีความต้องการจ�ำเป็นพิเศษท่ีมีความบกพร่อง ด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซ่ึงกระทรวงศึกษาธิการก�ำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา
พ.ศ.2552 และประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการจดั ทำ� แผนการจัดการศกึ ษาเฉพาะบุคคล ระดบั การศึกษาขั้นพนื้ ฐาน
พ.ศ.2552 โดยได้กำ� หนดประเภทของคนพกิ ารออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 1. บุคคลทม่ี ีความบกพร่องทางการเห็น
2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3. บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา 4. บุคคลที่มีความบกพร่อง
ทางร่างกาย หรอื การเคลื่อนไหว หรือสขุ ภาพ 5. บคุ คลทมี่ ีปญั หาทางการเรียนรู้ 6. บคุ คลที่มีความบกพร่องทางการพูด
และภาษา 7. บุคคลทมี่ ีปัญหาทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ 8. บคุ คลออทสิ ติก และ 9. บุคคลพิการซ้อน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส�ำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ประเภทผู้เรียนมีความบกพร่อง ครอบครัวจะต้องศึกษาลักษณะของเด็กพิเศษ วิธีการให้การช่วยเหลือ ตลอดจน
ความบกพร่องต่างๆ ของเด็กเพ่ือที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของ
เด็กพิเศษ ครอบครัวจึงต้องก�ำหนดเน้ือหา วิธีการสอนตลอดจนการวัดผลการประเมินผลท่ีเหมาะสมกับเด็กท่ีมี
ความตอ้ งการพิเศษ ซงึ่ เรียกวา่ แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) รายละเอยี ดของแผนการศึกษาเฉพาะบคุ คลมดี ังน้ี
35
แนวทางการดำ�เนนิ งานการจดั การศึกษาข้นั พืน้ ฐานโดยครอบครัว
1) พ้ืนความรดู้ ้านวชิ าทักษะ เชน่ การอา่ น คณิตศาสตร์
2) การพูดและภาษา
3) วุฒิภาวะทางสังคม
4) การใชป้ ระสาทสัมผสั ในการรบั รู้
5) การเคล่ือนไหว รวมไปถึงการเดิน การว่งิ การหยิบจับส่ิงของ
6) การชว่ ยตนเอง
7) วุฒภิ าวะทางอารมณ์
8) การเตรียมอาชพี
นอกจากการจัดท�ำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ผู้จัดการศึกษาต้องก�ำหนดจุดมุ่งหมาย
การเรียนรู้ เพ่ือที่จะทราบความสามารถของผู้เรียน และสามารถจัดเน้ือหาตลอดจนหลักสูตรท่ีจะใช้สอนได้
อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการและความสามารถ ซึ่งจะท�ำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
ในการก�ำหนดจดุ มุ่งหมายส�ำหรับการจดั ท�ำแผนการศึกษาเฉพาะ ประกอบดว้ ย
1) จุดมุง่ หมายระยะยาว โดยปกติก�ำหนดไวไ้ ม่เกนิ 1 ปี ในระยะเวลา
ของการเรยี น 1ปี การก�ำหนดจุดมงุ่ หมายระยะยาวจะตอ้ งสอดคลอ้ งกับระดับความสามารถของผูเ้ รยี น จดุ มงุ่ หมาย
ไม่ควรกำ� หนดสูงเกินไป หรอื ไมค่ วรต่ำ� เกนิ ไปจดุ มงุ่ หมายระยะยาวจะตอ้ งมีการทบทวนอยา่ งนอ้ ยปีละ 1 ครั้ง เช่น
ผู้เรยี นสามารถแต่งตัวได้เอง เปน็ ตน้
2) จุดมุ่งหมายระยะสั้น เป็นจุดมุ่งหมายใน 1 ภาคเรียน ผู้เรียน
สามารถกลดั กระดุมไดถ้ ูกต้อง สามารถสวมรองเทา้ ได้ เปน็ ตน้
2.2.8.3.2 ผู้เรียนที่มคี วามตอ้ งการจำ� เปน็ พเิ ศษที่มคี วามสามารถพิเศษ
ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ หมายถึง ผู้เรียนท่ีมีความสามารถอันโดดเด่น
ในดา้ นสตปิ ัญญา ความคดิ สร้างสรรค์ การใช้ภาษา ด้านทัศนศลิ ป์ ดา้ นศลิ ปะการแสดง ดา้ นดนตรี ด้านกฬี า และ
ความสามารถทางวิชาการในสาขาใดสาขาหน่ึง หรือ หลายสาขา เม่ือเปรียบเทียบกับผู้เรียนท่ีมีอายุระดับเดียวกัน
สภาพแวดล้อมเดยี วกนั การจัดหลักสูตรและการเรียนรู้ การบริหารจดั การตา่ งๆ จงึ ตอ้ งให้เปน็ ไป ตามศกั ยภาพและ
ความสามารถของผเู้ รียน เพอ่ื ให้ผเู้ รียนเกดิ การเรยี นรไู้ ดเ้ ต็มตามศักยภาพ
แนวทางการออกแบบการจัดการเรยี นรสู้ ำ� หรับผ้เู รยี นท่ีมคี วามต้องการจำ� เปน็ พิเศษ มีดังต่อไปนี้
1) สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกโอกาส ทุกสถานท่ีอย่างมีกระบวนการ ด้วยการซึมซับ รับรู้
อย่างเป็นธรรมชาติ จากประสบการณ์ตรง และการสัมผัส สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ในภาวะท่ีเป็น
ธรรมชาติ มีเสรภี าพมคี วามท้าทาย มจี นิ ตนาการหรอื สอดคลอ้ งกับเรอ่ื งราว ในชีวติ จริง และเกิดมาจากความสนใจ
รู้จากภายในตัวผู้เรียนเอง อาจจะท�ำโดยการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน หาสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ โดยเน้นให้
ผู้เรียนเกิดพัฒนาการ ท่เี หมาะสม สามารถเรียนรไู้ ดด้ ้วยตนเองและกำ� หนดอัตราความเรว็ ในการเรยี นรู้ของตนได้
2) สร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ด้วยความตระหนักในคุณค่าและจุดมุ่งหมายของชีวิต แทนการกระตุ้นด้วย
การแขง่ ขนั และความเห็นแกต่ นเอง ตัวอยา่ งเชน่ การให้ผเู้ รียนทำ� กจิ กรรมออกก�ำลังกาย ตอ้ งเนน้ การออกกำ� ลังกาย
ที่ไม่มีการแข่งขันหรือกระตุ้นความเครียด เช่น ว่ายน้�ำเล่น เต้นแอโรบิก วิ่งเล่น หรือปีนเขาเดินป่า หากเป็นกีฬา
แข่งขันหรือต่อสู้ แข่งขันแล้วสู้ไม่ได้ โดยเฉพาะผู้เรียนในกลุ่มผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องจะมีปัญหาทางอารมณ์
พยายามหลีกเลี่ยงการกีฬาท่ีต้องต่อสู้ เช่น มวย ฟันดาบ ยูโด หรืออ่ืนๆ ซ่ึงจะกระตุ้นอารมณ์โกรธและใช้ความ
รุนแรงของผูเ้ รียน
36
แนวทางการด�ำ เนินงานการจดั การศึกษาขั้นพ้นื ฐานโดยครอบครวั
3) สร้างสถานการณ์หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย ตามความสนใจของบุคคล
โดยอาจให้ผู้เรียนท�ำกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ โดยกระท�ำภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของพ่อแม่ กิจกรรมเหล่าน้ี
ต้องมีตัวผู้รับประโยชน์จากกิจกรรมท่ีชัดเจน เช่น กลุ่มผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องให้ไปอ่านหนังสือให้ผู้สูงอายุฟัง
หรือไปช่วยดูแลสุขอนามัยของผู้สูงอายุ ไปช่วยประคองเวลาเดินไปเข้าห้องน้�ำ นอกจากนั้นการแสดงความชื่นชม
ของผู้รบั ประโยชน์จะท�ำให้รู้สึกว่าตนมีคุณค่ามาก กจิ กรรมพัฒนาสติและสมาธิ ตลอดจนกิจกรรมเสรมิ พ้นื ฐานงาน
อาชีพ งานบา้ น งานครัว เปน็ ตน้
3. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
3.1 แนวทาง/วิธีการวัดและประเมนิ ผลการเรยี นรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องยึดหลักการส�ำคัญคือ การประเมินเพ่ือพัฒนา
ผู้เรียน และเพ่ือตัดสินระดับความก้าวหน้าทางการเรียน การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบผล
ส�ำเร็จนั้น ผู้จัดการศึกษา/ครอบครัวจ�ำเป็นต้องพัฒนาและประเมินผลผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
สะท้อนสมรรถนะส�ำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ซึ่งเป็นเป้าหมายของหลักสูตร และเป็น
เป้าหมายของการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทุกระดับชั้นเรียน การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบผล
ส�ำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนที่มุ่งหวัง ซ่ึงเชื่อมโยงกับความรู้
สมรรถนะ ทกั ษะ และคณุ ลักษณะส�ำคญั ท่รี ะบุไวใ้ นมาตรฐานการเรียนรู้และตวั ชีว้ ดั ท่ีครอบครัวปรับใช้ ให้เหมาะสม
กับลักษณะเฉพาะธรรมชาติการเรียนรู้ ความถนดั ความสนใจ และศกั ยภาพของตวั ผ้เู รยี น ซึ่งเปน็ คุณภาพทีต่ ้องการ
ใหเ้ กดิ แกเ่ ยาวชนทกุ คนในระดบั การศึกษาข้ันพ้นื ฐาน
สิ่งส�ำคัญที่มีผลอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของการวัดและประเมินผล ได้แก่
วิธีการและเครื่องมือท่ีใช้ในการประเมิน ควรให้ความส�ำคัญต่อการประเมินตามสภาพจริงและใช้วิธีการ
ท่ีหลากหลาย เช่น การให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ได้มีโอวาสวางแผนการท�ำงานเอง ปฏิบัติจริง ภายใต้ค�ำแนะน�ำ
และการอ�ำนวยความสะดวกจากผู้ปกครอง ท้ังนี้ในการวัดและประเมินผลจึงควรใช้วิธีการประเมินท่ีหลากหลาย
รอบด้าน เพื่อให้ผลการประเมินมีความตรง (Valid) คือผลการประเมินสอดคล้องกับศักยภาพท่ีแท้จริงของผู้เรียน
ซึ่งอาจด�ำเนินได้โดยการสังเกตพฤติกรรมขณะท�ำงาน สนทนา ต้ังค�ำถาม ตรวจผลงาน นอกจากน้ียังสามารถ
ประเมินความสามารถของผู้เรียนในมิติของพัฒนาการได้อีกด้วย โดยอาศัยแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ท้ังนี้
ครอบครัวหรือผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัวต้องให้ความร่วมมือกับส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาในการก�ำหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ เคร่ืองมือ และการจัดเก็บหลักฐาน/ร่องรอยการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลท่ีเป็นประโยชน์ในการ
ปรับปรุงการเรียนการสอน และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ของผู้เรียนตลอดเวลา ท่ีจัดกิจกรรม เพ่ือให้การวัดและ
ประเมินผลเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซ่ึงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามแนวทางของหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 ไดก้ ำ� หนดจุดม่งุ หมายของการวัดและประเมนิ ผลการเรยี นร้อู อกเป็น 2 ประการ ดังน้ี
3.1.1 เพ่อื พัฒนาผเู้ รยี น (Formative Assessment) เปน็ การดำ� เนินการประเมนิ ผ้เู รยี น เป็นระยะๆ
อย่างสม่�ำเสมอเพ่ือให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
ของผู้เรียนอย่างต่อเน่ือง ทั้งนี้เพราะการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนนั้น มีวัตถุประสงค์ที่ส�ำคัญคือการปรับปรุง
พัฒนา และแกป้ ัญหาในการเรียนร้ขู องผู้เรียนโดยมงุ่ หวังผลในดา้ นการบรรลุตามเปา้ หมายการเรียนรู้หรอื มาตรฐาน
การเรียนรู้ท่ีก�ำหนดไว้ ครอบครัวและผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมิน จึงควรด�ำเนินการประเมินอย่างต่อเน่ือง
ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพ่ือให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ไปพัฒนาผู้เรียน ครอบครัวจึงต้องเลือกใช้วิธีการ
37
แนวทางการดำ�เนินงานการจัดการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐานโดยครอบครวั
และเครื่องมือประเมินที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง ใช้หลักการมีส่วนร่วมทั้งจากผู้เรียนเอง จากส�ำนักงาน
เขตพ้ืนท่ีการศึกษา จากแนวทางดังกล่าวจะพบได้ว่าวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
จึงได้แก่การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) เน้นปฏิบัติจริงที่หลากหลาย ผู้ปกครองประเมิน
ในประเด็นการประเมินเดียวกันซ้�ำได้หลายคร้ัง และสามารถเก็บผลงาน/ช้ินงานของนักเรียนไว้ในแฟ้มสะสมงาน
เพื่อใหผ้ เู้ รียนสามารถพฒั นางานไดอ้ ยา่ งต่อเนื่อง และเป็นหลกั ฐานแสดงความสามารถของผเู้ รยี น
3.1.2 เพ่ือตัดสนิ ผลการเรยี น เปน็ การประเมนิ สรุปผลการเรยี นรู้ (Summative Assessment)
ซึ่งมีหลายระดับ ได้แก่ เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียน จบรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือกลุ่มประสบการณ์น้ัน
เพื่อตัดสินให้คะแนน หรือให้ระดับผลการเรียน ให้การรับรองความรู้ความสามารถของผู้เรียนว่าผ่านกลุ่มสาระ
การเรียนร้/ู กลุ่มประสบการณห์ รอื ไม่ ควรได้รบั การเลอ่ื นช้ันหรอื ไม่ หรอื สามารถจบหลักสูตรหรือไม่ ผเู้ รยี นมกี ารพฒั นา
อันเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือไม่ และใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนรู้ต่อไป ในการประเมิน
เพื่อตัดสินผลการเรียนท่ีดีต้องให้โอกาสผู้เรียนแสดงความรู้ความสามารถด้วยวิธีการท่ีหลากหลาย และพิจารณา
ตัดสนิ บนพื้นฐาน ของเกณฑ์ผลการปฏิบตั ิมากกวา่ ใชเ้ ปรียบเทยี บระหวา่ งผเู้ รยี น
ข้อควรค�ำนึงในการวัดและประเมินผลจะต้องค�ำนึงถึงปัจจัยความแตกต่างของผู้เรียน เช่น
ผ้เู รียนที่มคี วามพิการอาจต้องมีการปรับการประเมนิ ผลทเี่ อื้อตอ่ สภาพผู้เรยี น ทัง้ วิธีการและเครื่องมือทใ่ี ช้ หรอื กล่มุ ผ้เู รียน
ทม่ี ีจุดเน้นเฉพาะด้าน เช่น เน้นด้านอาชีพ นาฏศิลป์ พลศึกษา ฯลฯ อาจกำ� หนดสัดสว่ นนำ้� หนักคะแนนและวธิ กี าร
ประเมนิ ทใี่ หค้ วามสำ� คัญแกท่ ักษะปฏบิ ตั นิ ้นั ๆ
การจัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐานในปัจจุบันนอกจากจัดอย่างทั่วถึงแล้วยังมุ่งเน้นคุณภาพ
ดา้ นสงั คม และรัฐต้องการเหน็ หลกั ฐานอันเปน็ ผลมาจากการจดั การศกึ ษา นั่นคอื คณุ ภาพของผเู้ รียนทเ่ี ป็นไปตาม
มาตรฐานของหลักสูตร หน่วยงานที่รับผิดชอบนับตั้งแต่สถานศึกษา ต้นสังกัด หน่วยงานระดับชาติ ที่ได้รับ
มอบหมาย จงึ มีบทบาทหน้าทใ่ี นการตรวจสอบคุณภาพผเู้ รยี นตามความคาดหวังของหลกั สูตร ดงั น้นั หลักสตู รแกนกลาง
การศกึ ษาขนั้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 จงึ ก�ำหนดให้มีการวดั และประเมนิ ผลการเรยี นร้ใู น 4 ระดบั ไดแ้ กร่ ะดบั
ชนั้ เรยี น ระดบั สถานศึกษา ระดบั เขตพนื้ ทีก่ ารศึกษา และระดับชาติ ทุกระดบั มเี จตนารมณ์เชน่ เดียวกนั คอื ตรวจสอบ
ความก้าวหน้าในการเรียนรขู้ องผเู้ รยี น เพอื่ น�ำผลการประเมนิ มาใช้เป็นข้อมลู ในการพัฒนาอยา่ งตอ่ เนอื่ ง เชน่ เดยี วกบั
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว ครอบครัว/ผู้จัดการศึกษา ด�ำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก�ำหนด ตลอดจนจัดท�ำรายงานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมท้ัง
การจัดการเรียนการสอน และสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาตามท่ีส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก�ำหนด
อย่างน้อยปีละ 1 ครงั้ ท้ังน้ีส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศกึ ษาจะด�ำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างนอ้ ย
ปีละ 1 คร้ัง เช่นเดียวกัน โดยการประเมินจากส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา จะเป็นการประเมินท่ีสอดคล้องกับ
เป้าหมายในการจัดการศึกษา ที่ร่วมกันวางแผนกับครอบครัว ซ่ึงอาจจะด�ำเนินการได้หลายวิธี เช่น การให้ผู้เรียน
แสดงการท�ำงาน ท่ีสะท้อนถึงศักยภาพของผู้เรียนตามเป้าหมายของการจัดการจัดศึกษา (เช่นการปฏิบัติการ
ประกอบอาหาร การเล่นกฬี า การทดลองทางวทิ ยาศาสตร์ การจัดท�ำชนิ้ งาน การวาดภาพ การท�ำโครงงาน ฯลฯ)
ทั้งน้ีการประเมินดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในลักษณะของการเป็นกรรมการร่วมกันระหว่างส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ี
การศึกษา กับผู้จัดการศึกษา /ครอบครัว เป็นการประเมินอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ผลการประเมินตรงตามสภาพ
(Concurrent validity) และศักยภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง ในกรณีที่ผู้เรียนมีผลการวัดและประเมิน
จากส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาในระดับไม่ผ่าน ส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาต้องแจ้งให้ครอบครัวทราบและ
ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข โดยให้ผู้จัดการศึกษา/ครอบครัวจัดการเรียนรู้เพ่ือซ่อมเสริมให้แก่ผู้เรียน และด�ำเนินการ
จัดให้มีการประเมินผลใหม่ตามทีส่ ำ� นักงานเขตพน้ื ทกี่ ารศกึ ษาก�ำหนด
38
แนวทางการดำ�เนินงานการจัดการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐานโดยครอบครัว
3.2. เกณฑต์ ัดสนิ ผลการเรียนการจัดการศึกษาข้ันพน้ื ฐานโดยครอบครัว
การตัดสนิ ผลการเรยี นท�ำใหค้ รอบครวั /ผ้จู ดั การศึกษาทราบถึงพัฒนาการของผู้เรยี นและการจดั การ
เรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครอบครัวหรือผู้จัดการศึกษาควรใช้เกณฑ์ตัดสินผลการเรียนตามเป้าหมาย
ของคุณภาพผู้เรียนตามพัฒนาการของผู้เรียน หรือในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดกลุ่มประสบการณ์ การอ่าน
คิด วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมท้ังกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามแผนการจัดการศึกษาท่ีครอบครัว
และส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาร่วมกันก�ำหนด ควรค�ำนึงถึงการประเมินเพื่อการพัฒนาผู้เรียนเป็นเป้าหมาย
ส�ำคัญ (Formative Assessment) และประเมินเพ่ือตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน (Summative Assessment)
มีการเก็บข้อมูลของผู้เรียน ทุกด้านอย่างต่อเน่ือง สม�่ำเสมอและครอบครัวควรจัดเก็บร่องรอยเอกสาร หลักฐาน
ช้ินงานของผู้เรียนไว้เพื่อปรับปรุงให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและเป็นหลักฐานการประเมิน
ของส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา เกณฑ์การตัดสินผล การเรียนส�ำหรับการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐานโดยครอบครัว
ควรค�ำนงึ ถงึ สิง่ ส�ำคญั ดังตอ่ ไปนี้
3.2.1 เวลาเรียน ส�ำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่เป็นการศึกษาในระบบ ผู้เรียนควรมีเวลาเรียน
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด ส�ำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยครอบครัว ซ่ึงท่ีเป็นการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้อยู่ในดุลพินิจของส�ำนักงานเขตพื้นท่ี
การศึกษาและผจู้ ดั การศกึ ษา/ครอบครวั
3.2.2 คุณภาพผเู้ รียน
ระดับปฐมวัย : ผู้เรียนจะต้องได้รับการประเมินพัฒนาการทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย
อารมณ์จติ ใจ สงั คม และด้านสติปญั ญาตามแผนการจดั การศกึ ษาและสอดคล้องกบั หลักสตู รการศึกษาปฐมวัย
ระดับประถมศกึ ษาและระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้ /มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย : ผ้เู รียนจะต้อง
ได้รับการประเมินคุณภาพตามแผนการจัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐานโดยครอบครัว และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชวี้ ัดท่คี รอบครวั /ปรับใช้
3.2.3 มติ ิของการประเมิน
ระดับปฐมวัย : ผู้เรียนจะต้องได้รับการประเมินพัฒนาการทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย
อารมณ์จิตใจ สงั คมและด้านสติปญั ญาตามหลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2546 และตามเกณฑ์ทสี่ �ำนกั งาน
เขตพ้ืนท่ีการศกึ ษาและครอบครัว/ผู้จดั การศกึ ษารว่ มกนั ก�ำหนด
ระดับประถมศกึ ษาและระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น/มัธยมศึกษาตอนปลาย : ผูเ้ รียนต้องได้
รบั การประเมินและตดั สนิ ผลการเรยี นครอบคลุมทง้ั ในด้านความรู้ เจตคติ ทกั ษะการปฏบิ ตั ิ การอ่าน คิดวิเคราะห์
และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมทั้งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามเกณฑ์ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาและ
ครอบครัว/ผู้จัดการศกึ ษาร่วมกันกำ� หนด
จากแนวทางปฏิบัติงานการวัดและประเมินการเรียนรู้ ตามหลักฐานแกนกลางการศึกษา
ขน้ั พนื้ ฐานพทุ ธศกั ราช 2551 ในกรณที ผ่ี ู้เรียนมหี ลักฐานการเรียนรู่ทีแ่ สดงวา่ มคี วามสามารถดเี ลศิ ส�ำนักงานเขตพน้ื ที่
การศึกษาอาจใหโ้ อกาสผู้เรียนเลื่อนชั้นกลางปกี ารศึกษา โดยแตง่ ตั้งคณะกรรมการการฝา่ ยวิชาการ ประเมินผู้เรียน
และตรวจสอบคณุ สมบตั ใิ หค้ รบถ้วนตามเงิอ่ื นไขท้งั 3 ประการ ต่อไปน้ี
1) มีผลการเรียนในปีการศึกษาท่ีผ่านมาและมีผลการเรียนระหว่างปีท่ีก�ำลังศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม
2) มวี ุฒิภาวะเหมาะทีจ่ ะเรียนในช้นั สูงขึน้
3) ผา่ นการประเมนิ ผลความรคู้ วามสามารถทุกรายวชิ าของช้ันปที ีเ่ รียนปจั จบุ นั และความรู้
ความสามารถทุกรายวิชาในภาคเรียนแรกของช้ันปีที่จะเลื่อนข้ันการอนุมัติให้เล่ือนชั้น
กลางปกี ารศกึ ษาไปเรยี นชัน้ สูงขน้ึ ได้ 1 ระดับช้นั น้ี ต้องได้รับการยินยอมจากผ้เู รียนและ
ผปู้ กครอง และตอ้ งด�ำเนินการใหเ้ สรจ็ สิ้นก่อนเปิดภาคเรียนที่ 2 ของปีการศกึ ษานน้ั
39
แนวทางการดำ�เนินงานการจัดการศึกษาขั้นพืน้ ฐานโดยครอบครัว
ส�ำหรับในกรณีที่พบว่ามีผู้เรียนกลุ่มพิเศษประเภทต่างๆ มีปัญหาในการเรียนรู้ ให้ส�ำนักงาน
เขตพ้ืนท่ีการศึกษา ร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัด/ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา และครอบครัว/ผู้จัดการศึกษา
หาแนวทางการแก้ไขและพัฒนา
3.3 การใหร้ ะดบั ผลการเรยี น
ระดับปฐมวัย : ครอบครัว/ผู้จัดการศึกษาให้ระดับผลการเรียนจากการประเมินพัฒนาท้ัง 4 ด้าน
ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ-์ จติ ใจ สังคมและด้านสติปญั ญาตามหลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย
ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/มัธยมศึกษาตอนปลาย : ครอบครัว/ผู้จัด
การศึกษาสามารถให้ระดับผลการเรียน หรือระดับคุณภาพเป็นระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบ ร้อยละ หรือ
ระบบที่ใชค้ �ำสำ� คญั สะท้อนมาตรฐาน ตัวชีว้ ดั ตามความเหมาะสม หากครอบครัว/ผูจ้ ดั การศึกษา เลอื กการใหร้ ะดบั
ผลการเรียนอยา่ งใดอยา่ งหนึ่งตอ้ งเลอื กตลอดระดบั การศึกษา
ส�ำหรับในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายน้ัน ควรให้ระดับผลการเรียนเป็นระบบตัวเลข 8 ระดับ
เพอ่ื ประโยชน์และความสะดวกสำ� หรับตวั นักเรียนเองในการเทียบเคียง เพอ่ื ศึกษาต่อในระดับ ทส่ี งู ขึน้ ดังน้ี
ตารางที่ 1 ระบบการให้ระดบั ผลการเรยี น
ระบบตัวเลข ระบบตวั อกั ษร ระบบรอ้ ยละ ระบบที่ใช้ค�ำสำ� คญั สะทอ้ นมาตรฐาน
5 ระดับ 4 ระดบั 2 ระดับ
4 A 80-100 ดเี ยี่ยม ดีเยี่ยม ผ่าน
3.5 B+ 75-79 ดี ดี
3 B 70-74
2.5 C+ 65-69 พอใช้
2 C 60-64 ผา่ น
1.5 D+ 55-59 ผา่ น
1 D 50-54
0 F 0-49 ไมผ่ า่ น ไม่ผา่ น ไม่ผ่าน
ตัวอยา่ งการให้ระดับผลการเรียน
ระดบั ปฐมวยั
ครอบครัวเปี่ยมสุขจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เลือกใช้ระดับผลการเรียน 3 ระดับ คือ ดี พอใช้
ปรับปรุง การท่ีจะใหผ้ ู้เรียนได้ผลการเรยี นใดนั้นให้เทียบเคยี งกับข้อมลู สารสนเทศตามเกณฑก์ ารประเมิน ดังน้ี
ผ้เู รยี นมผี ลการประเมนิ รอ้ ยละ 75 ขึน้ ไป ใหไ้ ด้รับผลการเรียน ระดับดี
ผเู้ รียนมผี ลการประเมนิ อยรู่ ะหว่างร้อยละ 50 - 74 ใหไ้ ดร้ บั ผลการเรียน ระดบั พอใช้
ผ้เู รียนมผี ลการประเมินอยรู่ ะหวา่ งรอ้ ยละ 0 - 49 ใหไ้ ดร้ บั ผลการเรยี น ระดับปรบั ปรงุ
40
แนวทางการดำ�เนินงานการจดั การศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐานโดยครอบครวั
ระดบั ประถมศกึ ษา
ครอบครัวอุ่นรักจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา เลือกใช้ระดับคุณภาพการให้ระดับผลการเรียน
4 ระดบั คอื ดเี ยีย่ ม ดี ผ่าน และไมผ่ า่ น การทจ่ี ะให้ผเู้ รียนไดร้ บั ผลการเรยี นใดน้นั ใหเ้ ทยี บเคยี งกับระบบ การให้
ระดบั ผลการเรยี น ตามตารางที่ 1 เชน่
ผเู้ รียนมีผลการประเมนิ รอ้ ยละ 80 ขนึ้ ไป ใหไ้ ด้รับผลการเรียน ระดับดเี ยีย่ ม
ผเู้ รียนมผี ลการประเมนิ อยรู่ ะหว่างร้อยละ 65 - 79 ให้ไดร้ บั ผลการเรยี น ระดับดี
ผู้เรียนมผี ลการประเมนิ อยรู่ ะหวา่ งร้อยละ 50 - 64 ให้ได้รับผลการเรยี น ระดับผา่ น
ผูเ้ รยี นมีผลการประเมินต่�ำกวา่ รอ้ ยละ 50 ใหไ้ ดร้ ับผลการเรยี น ระดับปรับปรุง
กรณีท่ีครอบครัวเลือกใช้ระดับคุณภาพอ่ืนๆ สามารถท�ำได้แต่ต้องใช้ระบบการผลการเรียนเพื่อการ
เทียบเคียงข้อมลู สารสนเทศตามเกณฑก์ ารประเมินตามตารางท่ี 1
การเลอ่ื นชนั้ เม่ือสิน้ ปกี ารศกึ ษาผเู้ รียนจะไดร้ บั การเลอื่ นชั้นเมื่อมคี ณุ สมบตั ติ ามเกณฑด์ งั ตอ่ ไปน้ี
ระดับปฐมวยั
ผู้เรียนมีผลการประเมินพัฒนาการผ่านท้ัง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและ
ดา้ นสตปิ ญั ญาตามหลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศกั ราช 2546
ระดับประถมศึกษาและระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ /มธั ยมศึกษาตอนปลาย
1) ผู้เรียนมีผลการประเมินผลการเรียนผ่านทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ / กลุ่มประสบการณ์
ตามเกณฑ์ที่สำ� นักงานเขตพ้นื ทก่ี ารศกึ ษา และผู้จดั การศึกษา/ครอบครวั รว่ มกนั ก�ำหนด
2) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ
กิจกรรมพฒั นาผ้เู รยี นผา่ นตามเกณฑท์ สี่ ำ� นกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษา และผ้จู ดั การศกึ ษา/ครอบครวั รว่ มกนั ก�ำหนด
3.4 เกณฑก์ ารจบการศึกษา
การจัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐานโดยครอบครัวมีความแตกต่างด้านวัตถุประสงค์ รูปแบบ และวิธีการ
ในการจัดการศึกษา ที่มุ่งสนองจุดเน้นและความต้องการของผู้เรียนรายบุคคล ซึ่งส่งผลต่อการก�ำหนดเกณฑ์
การจบการศกึ ษา เกณฑท์ ่กี �ำหนดในแตล่ ะระดับการศึกษาควรครอบคลุมสิ่งส�ำคญั ดังต่อไปนี้
ระดบั ปฐมวยั
ผู้เรียนมีผลการประเมินพัฒนาการผ่านการประเมินท้ัง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ
สังคมและดา้ นสติปัญญาตามหลักสตู รการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศกั ราช 2546
ระดับประถมศึกษา
ผู้เรียนต้องบรรลุคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัดท่ีครอบครัวปรับใช้ตามเกณฑ์
ที่สำ� นกั งานเขตพนื้ ทกี่ ารศกึ ษา และผู้จัดการศกึ ษา/ครอบครัวรว่ มกันก�ำหนด ดังนี้
1. ผเู้ รยี นมีผลการประเมินตามสาระการเรียนรู้ กล่มุ ประสบการณ์ ในระดบั ผ่านขน้ึ ไป
2. ผเู้ รยี นมีผลการประเมินการอา่ น คดิ วเิ คราะหแ์ ละเขียนในระดบั ผา่ นขนึ้ ไป
3. ผเู้ รยี นมผี ลการประเมนิ คณุ ลักษณะอนั พงึ ประสงคใ์ นระดับผา่ นข้ึนไป
4. ผู้เรียนเขา้ รว่ มกจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี นและมีผลการประเมินในระดบั ผา่ น
41
แนวทางการดำ�เนนิ งานการจดั การศึกษาขั้นพ้ืนฐานโดยครอบครวั
ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้ และมัธยมศึกษาตอนปลาย
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นการจบการศึกษาภาคบังคับ และการศึกษาระดับ
มัธยมศกึ ษาตอนปลาย เปน็ การจบการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน ผเู้ รยี นตอ้ งบรรลุคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรแู้ ละตวั ชีว้ ัด
ทีค่ รอบครัวปรับใช้ ตามเกณฑ์ท่ีสำ� นักงานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษาและผูจ้ ัดการศกึ ษา/ครอบครัวร่วมกันกำ� หนด ดังน้ี
1. ผเู้ รยี นมผี ลการประเมินตามสาระการเรยี นร/ู้ กลุ่มประสบการณ์ในระดับผา่ นข้นึ ไป
2. ผู้เรยี นมีผลการประเมนิ การอ่าน คดิ วิเคราะหแ์ ละเขยี นในระดับผา่ นข้นึ ไป
3. ผเู้ รยี นมผี ลการประเมนิ คณุ ลักษณะอันพงึ ประสงคใ์ นระดับผา่ นขึ้นไป
4. ผู้เรยี นเข้ารว่ มกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รยี นและมผี ลการประเมนิ ในระดับผา่ น
3.5 ภารกจิ การวัดและประเมนิ ผลการจดั การศึกษา
ภารกจิ การวัดและประเมินผลการจัดการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐานโดยครอบครัว ไดแ้ บง่ เป็นภารกิจในสว่ นท่ี
เกี่ยวข้องกับส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา
และผู้จดั การศึกษา/ครอบครัว ประกอบด้วย
3.5.1 ภารกิจการวดั และประเมนิ ผลของสำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน
ส�ำนักนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน
การจัดการศึกษาและส่วนท่เี ก่ียวข้องกบั การวัดและประเมินผลการจัดการศึกษาข้นั พ้ืนฐานโดยครอบครัว ดังต่อไปนี้
3.5.1.1 ศึกษา วเิ คราะห์ รูปแบบและนวัตกรรม ในการวัดและประเมินผลการจดั การศึกษา
ขน้ั พ้นื ฐานโดยครอบครัวไปสู่การปฏิบตั ิ
3.5.1.2 สนบั สนนุ ทางวชิ าการแกส่ �ำนกั งานเขตพืน้ ทกี่ ารศกึ ษา จดั ทำ� แนวปฏิบัต/ิ พฒั นาวิธีการ
เคร่ืองมือ การวัดและประเมินผลการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐานโดยครอบครัว ให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ
และมีประสิทธภิ าพ
3.5.1.3 ก�ำกับดูแลการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน การเทียบโอน ให้เป็นไป
ตามระเบยี บวธิ ปี ฏบิ ตั อิ ย่างมปี ระสิทธภิ าพ
3.5.2 ภารกิจการวัดและประเมินผลของส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/ส�ำนักงาน
เขตพ้ืนที่การศึกษามธั ยมศกึ ษา
ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา มีหน้าท่ีในการหน้าท่ีในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการ
ศกึ ษาและส่วนท่ีเกย่ี วขอ้ งกับการวัดและประเมนิ ผลการจดั การศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครวั ดังต่อไปนี้
3.5.2.1 แต่งต้งั คณะกรรมการวัดและประเมินผลการจัดการศึกษาโดยครอบครวั ทำ� หนา้ ที่
ที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ตรวจสอบยืนยันผลการเรียน ผลการวัดและประเมิน
ผู้เรยี น ซึง่ ผปู้ ระเมนิ ระดบั เขตพื้นทก่ี ารศึกษา ควรทำ� ความเข้าใจกับครอบครวั ในหลกั การประเมนิ โดยยดึ ประโยชน์
ของผู้เรียนเป็นส�ำคัญ คณะกรรมการควรประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถหรือปฏิบัติหน้าท่ีด้าน
หลักสตู ร การจัดการเรียนการสอน การวดั และประเมินผล และการจดั การศึกษาโดยครอบครวั ที่ส�ำนกั งานเขตพ้ืนท่ี
การศึกษาและครอบครัวเห็นพ้องร่วมกัน ส�ำหรับระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น ควรมีจ�ำนวนกรรมการ
จ�ำนวน 5-7 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรมีจ�ำนวนกรรมการ จ�ำนวน 7-9 คน หรือตามความเหมาะสม
โดยให้ผู้แทนของสำ� นกั งานเขตพนื้ ท่ีการศกึ ษา ทำ� หน้าทเี่ ป็นประธานคณะกรรมการ ประกอบดว้ ย
1) ก�ำหนดกรอบการประเมิน โดยวิเคราะห์และเชื่อมโยงแผนการจัดการศึกษา
ของครอบครัว/ผู้จัดการศึกษา กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวช้ีวัด ทั้งด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่ครอบครัวปรับใช้จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551
42
แนวทางการดำ�เนินงานการจดั การศึกษาข้นั พน้ื ฐานโดยครอบครวั
2) ประสานงานกับครอบครัว/ผู้จัดการศึกษาโดยท�ำความตกลงร่วมกันในเร่ือง
กรอบการประเมิน สัดส่วนคะแนนหรือเกณฑ์การตัดสินผล และร่วมกันก�ำหนดค่าน�้ำหนัก/หน่วยกิต ในแต่ละ
กลุ่มสาระ/กลมุ่ ประสบการณ์ และตรวจสอบผลลการประเมินท่ีครอบครัวดำ� เนินงาน
3) ให้ข้อเสนอแนะครอบครัว / ผู้จัดการศึกษา ในการประเมินผลการจัด
การศกึ ษา จดั ทำ� และรวบรวมหลักฐาน/รอ่ งรอย การเรียนรู้ของผเู้ รียนอยา่ งต่อเน่อื ง โดยครอบครัวจะต้องจดั เตรียม
เอกสารหลักฐานดังนี้
3.1) รายงานการประเมินผลการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในรอบ 1 ปี
ควรประกอบด้วย
1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนและข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวในส่วนท่ี
เกยี่ วกับการจดั การศกึ ษาโดยครอบครวั
2) ผลการจดั การศึกษาในรอบ 1 ปี
3) ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านต่างๆ ตามแผนการจัดการศึกษา
โดยครอบครวั ได้แก่ ด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอันพงึ ประสงค์
4) จุดเด่น / ความส�ำเรจ็ ที่ส�ำคญั ของการจัดการศึกษา
5) ปัญหาอปุ สรรค หรอื สง่ิ ทคี่ วรพัฒนา
6) แนวทางการจดั การเรยี นรูใ้ นปตี ่อไป
7) ข้อคดิ เห็น / ขอ้ เสนอแนะอื่นๆ
3.2) หลักฐาน/ ร่องรอยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน และผลการ
ปฏิบัติกิจกรรมท่ีสะท้อนความรู้ ทักษะ และเจตคติของผู้เรียน ซ่ึงควรประกอบด้วย บันทึกผลการเรียนรู้ บันทึก
กิจกรรมการเรียนรู้ ผลงาน/ช้ินงาน ภาพถ่ายในเก่ียวข้องกับการเรียนรู้ ซีดี แฟ้มสะสมงานของผู้เรียนท่ีแสดง
พฒั นาการความกา้ วหนา้ ในการเรยี นร้ทู ่สี ามารถใชป้ ระเมินความสามารถของผเู้ รยี นได้
4) ก�ำหนดเวลาที่ครอบครัวพร้อมรับการประเมินประสิทธิภาพในการจัด
การศกึ ษา และผลการเรยี นรู้ของผู้เรียนในระยะเวลาทค่ี รอบครัวขอรับการประเมิน หรอื เม่ือครบรอบปดี ้วยรูปแบบ
และข้อมูลท่ีรายงานตามที่คณะกรรมการวิชาการ/คณะกรรมการวัดและประเมินผลการจัดการศึกษา
โดยครอบครัวก�ำหนดตามความเหมาะสมร่วมกัน พร้อมท้ังนัดหมายก�ำหนดเวลาท่ีครอบครัวจะต้องได้รับการ
ประเมินประสิทธิภาพการจัดการศึกษาและผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ในระยะเวลาท่ีครอบครัวขอรับการประเมิน
หรือครบรอบปี ท่ีครอบครัวจัดการศึกษา โดยไม่ให้มีความล่าช้าอันจะส่งผลให้ผู้เรียนเสียสิทธิในการผ่านชั้นปี
ชว่ งชน้ั หรือระดบั การศึกษา
5) ด�ำเนินการประเมินร่วมกับครอบครัว/ผู้จัดการศึกษา มีการวัดประเมินผล
การเรียนรู้เป็นรายภาค/ รายปี/รายช่วงชั้น ตามแผนการจัดการศึกษาของครอบครัว และประเมินเพื่อตัดสินผล
การจบการศกึ ษา โดยพจิ ารณาจากประเด็นดงั ต่อไปน้ี
5.1) ผลการจัดการศึกษาของครอบครัว รวมท้ังหลักฐาน / ร่องรอย
การจดั การเรียนรขู้ องผู้เรยี น สอดคล้องกบั เปา้ หมายคุณภาพผเู้ รียนท่ีก�ำหนด
5.2) คณุ ภาพของผเู้ รียน บรรลุตามมาตรฐาน/ตวั ช้ีวดั ที่ครอบครวั ปรับใช้
5.3) เมื่อผู้เรียนได้รับการประเมินผลการเรียนรู้จบระดับการศึกษา
ตามแผนการจัดการศกึ ษาของครอบครัวที่ได้รับการอนญุ าตจากส�ำนักงานเขตพนื้ ทก่ี ารศึกษา
43
แนวทางการดำ�เนินงานการจัดการศึกษาข้นั พื้นฐานโดยครอบครัว