วฒั นธ รม ตุลาควมาร_ปสธทีานั ร ี่ ร๕วาา๔ยค สมฉา บม๒บั เ๕ดท๕ือี่ ๘๔น
ISSN 0857-3727
เไสทนย่ ห์
ในเวทีโ ลก
ภาพ
บอก
สง่ ตอ่ มรดก เ ล่ า
เ พ ร า ะ วั ฒ น ธ ร ร ม ท่ี มี ชี วิ ต
คือวัฒนธรรมที่ยังคงสืบเนื่อง
ไหลเวียนจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่
คนรุ่นต่อ ๆ ไป การสืบทอด
วิถีวัฒนธรรมจึงถือเป็นสิทธิ์
โ ด ย ช อ บ ธ ร ร ม ข อ ง ชุ ม ช น
ดังเช่นการเรียนรู้วิถีไทบ้าน
อี ส า น ผ่ า น “ ฮู ป แ ต ้ ม ”
(จิตรกรรมฝาผนัง) อายุนับ
ร้อยปี บนฝาด้านนอกของ
“สมิ ” (อโุ บสถ) วดั สระบวั แกว้
อ�ำเภอหนองสองห้อง จังหวัด
ขอนแก่น มัคคุเทศก์น้อย
จะเป็นผู้บอกเล่าเร่ืองราว
ของพุทธประวัติ ชาดก และ
วั ฒ น ธ ร ร ม อี ส า น ส่งต่อ
แบ่งปันความรู้แก่เพื่อน ๆ
เยาวชนและผู้มาเยือน
ภสมาพสง ่า: ยาบา้ นแปง้
B วฒั นธ รม
เสนห่ ์ไทยในเวทีโลก วฒั นธ รม
เจ้าของ
ปัจจุบันวิถีโลกก�ำลังหันมาให้ความสนใจภูมิปัญญาของเอเชียซ่ึงรวมทั้งไทย กรมสง่ เสริมวัฒนธรรม
มากขึ้น วารสารวัฒนธรรม ฉบับนี้จึงขอน�ำเสนอเรื่อง “เสน่ห์ไทยในเวทีโลก” บรรณาธกิ าร
พาผู้อ่านไปพบกับเอกลักษณ์ความเป็นไทยซ่ึงมีความโดดเด่นเป็นท่ีรู้จัก นางสาวนันทยิ า สว่างวฒุ ธิ รรม
และช่ืนชมของชาวต่างชาติในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ผ้าไทย อาหารไทย อธิบดีกรมสง่ เสริมวฒั นธรรม
นวดแผนไทย และศลิ ปะการแสดงหนุ่ ละครเลก็ เสนห่ ไ์ ทยแตล่ ะดา้ นทกี่ ลา่ วถงึ ผชู้ ่วยบรรณาธิการ
ล้วนรังสรรค์ขึ้นจากศาสตร์และศิลป์ท่ีส่ังสมจากอดีตและได้รับการสืบทอดมา นายมานัส ทารตั น์ใจ
จนปัจจุบัน องค์ความรู้และภูมิปัญญาในงานวัฒนธรรมทั้งสี่ด้านนี้ได้รับการ รองอธบิ ดีกรมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม
ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยกรมส่งเสริม นางสุนันทา มิตรงาม
วฒั นธรรม กระทรวงวฒั นธรรม เพอ่ื ใหค้ นในชาตไิ ดม้ คี วามภาคภมู ใิ จและรว่ ม รองอธิบดกี รมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม
ปกปอ้ งคุณคา่ แห่งวิถีไทยรว่ มกัน กองบรรณาธกิ าร
นางกลุ ยา เรอื นทองด ี เลขานกุ ารกรม
วารสารวฒั นธรรม ฉบบั สง่ ทา้ ยป ี ๒๕๕๘ ยงั ไดน้ ำ� เสนอเรอื่ งราวชวี ติ ท่ี นางสาวเยาวนศิ เตง็ ไตรรัตน ์
ทุ่มเทให้กับงานวรรณศิลป์ของสองศิลปินแห่งชาติ ครูอบ ไชยวสุ และ โกวิท นางสาวกงิ่ ทอง มหาพรไพศาล
เอนกชัย นักเขียนผู้มุ่งม่ันกับการสร้างงานในแนวทางของตน จนมีผู้อ่าน นายชมุ ศักด ิ์ หร่ังฉายา
ติดตามผลงานอย่างต่อเนื่อง และภายในเล่มยังมีเรื่องน่าสนใจทางวัฒนธรรม นายมณฑล ยิง่ ยวด
ท่ีพรอ้ มมอบความร้สู ่ผู ู้อา่ นอีกมากมาย นางสาวธนพร สงิ ห์นวล
นายศาตนนั ท์ จนั ทรว์ บิ ลู ย ์
นางสาวพนิดา ทวิ าพฒั น ์
นนั ทิยา สวา่ งวฒุ ธิ รรม ฝา่ ยกฎหมาย
นางสาวสดใส จ�ำเนียรกลุ
ฝ่ายจัดพิมพ ์
นางปนัดดา น้อยฉายา
ผจู้ ัดท�ำ
บรษิ ัทวิริยะธรุ กิจ จ�ำกดั
พมิ พท์ ี่
โรงพิมพ์ชมุ นมุ สหกรณ์
ท่านที่ประสงค์จะน�ำข้อเขียนหรือบทความใดๆ ในวารสาร วัฒนธรรม ไปเผยแพร่ กรุณาติดต่อประสานกับบรรณาธิการหรือนักเขียนท่านนั้นๆ โดยตรง
ขอ้ เขยี นหรอื บทความใดๆ ทตี่ พี มิ พเ์ ผยแพรใ่ นวารสาร วฒั นธรรม ฉบบั น ี้ เปน็ ความคดิ เหน็ เฉพาะตวั ของผเู้ ขยี น คณะผจู้ ดั ท�ำไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งเหน็ ดว้ ยและไมม่ ขี อ้ ผกู พนั
กับกรมส่งเสริมวัฒนธรรมแต่อย่างใด หากท่านมีความประสงค์จะส่งข่าวกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปวัฒนธรรมต่างๆ รวมท้ังท่านท่ีต้องการให้ข้อเสนอแนะ หรือส่ง
ข่าวสารเพ่ือการเผยแพรป่ ระชาสัมพันธ์ กรณุ าส่งถึง
กองบรรณาธิการวารสาร วฒั นธรรม
ส�ำนกั งานเลขานุการกรม
กรมสง่ เสรมิ วัฒนธรรม วารสาร
เลขท ่ี ๑๔ ถนนเทยี มรว่ มมิตร เขตหว้ ยขวาง วัฒนธรรม
กรงุ เทพฯ ๑๐๓๑๐ จดั พมิ พ์เพ่อื
การเผยแพร่
Eโท–รmศaัพilท :์ ๐d c๒p๒_๔jo๗ur n๐a๐l@๒๘ho ตtmอ่ a๑il.๒c๐om๘–๙ ห้ามจำ� หนา่ ย 1
Website : www.culture.go.th
ตลุ าคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘
วฒั นธ รม วารสารรายสามเดือน
ปีท ี่ ๕๔ ฉบับท่ ี ๔
ตลุ าคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘
๔ /๕๘ISSN 0857-3727
๔ ๓๔
๘๐ ๙๒
2 วฒั นธ รม
มรดกภูมิปัญญา
๑๘ บนั เทิงศิลป์ มโหรี
๒๖ ชนั้ เชงิ ชา่ ง หตั ถกรรมเครอ่ื งทองเหลอื ง
บา้ นปะอาว
๓๔ สืบสาวเลา่ เรื่อง ตำ�นานพนั ทา้ ยนรสิงห์
๔๒ กีฬา-การละเล่น จากกาบดั ดีถ้ งึ ตจ่ี บั
๕๐ ขนบประเพณี ครูกับศษิ ย์ และพิธีไหว้ครู
ปกิณกะ ๕๘ จกั รวาลทศั น ์ นำ้ �ปลาโอชารส
๑ บทบรรณาธิการ ๖๖ ภาษาและหนังสอื ภาษาบีซู
๑๑๐ เปดิ อ่าน
๑๑๒ วัฒนธรรมปริทัศน์ สยามศิลปิน
เร่ืองจากปก ๗๔ ศลิ ปนิ แหง่ ชาต ิ วรรณศลิ ป์กบั การภาวนา
ของเขมานันทะ
๔ เสนห่ ์ไทยในเวทโี ลก
๘๐ บรมคร ู อบ ไชยวสุ สภุ าพบรุ ษุ นกั ประพันธ์
๘๖ พืน้ บา้ นพ้ืนเมอื ง ประเสรฐิ มโหธร
กบั เครอ่ื งสังคโลกศรีสัชนาลยั
โลกวัฒนธรรม
๙๒ นิทศั นว์ ัฒนธรรม ขมุ ทรัพยแ์ หง่ พิพิธบางลำ�พู
๙๘ แผน่ ดินเดยี ว โบต๋นั ทพิ ยบปุ ผาแหง่ อษุ าคเนย ์
๑๐๔ ศลิ ปะไทยร่วมสมยั หอภาพยนตร ์
กับการอนรุ กั ษ์ “หนงั ไทย”
ในยุคดจิ ทิ ัล
ตลุ าคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 3
เ ร่ื อ ง จ า ก ป ก
เรอื่ ง : อภินนั ท์ บัวหภกั ดี
เสน่ ห์ ไ ทย
ใ น เ ว ที โ ล ก
4 วฒั นธ รม
“ประเทศสยามนามประเทืองวา่ เมอื งทอง” หรือ ประเทศไทย ของคนไทยเราทงั้ หลายนน้ั มปี ระวัตศิ าสตรก์ ารก่อรา่ ง
สรา้ งประเทศมานานนกั หนา คำ� วา่ “สยาม” อาจมปี ระวตั ศิ าสตรม์ านานกวา่ คำ� วา่ “ไทย” ทค่ี ำ� วา่ “ประเทศไทย” หรอื ไทยแลนด ์ นนั้
เพงิ่ จะเรมิ่ ใชม้ าเมอ่ื ๘๐ กวา่ ปที ผ่ี า่ นมา มปี ระกาศรฐั นยิ มเปลยี่ นชอื่ ประเทศ โดยจอมพล ป. พบิ ลู สงคราม ชดั เจน ในป ี พ.ศ. ๒๔๘๒
แต่ค�ำว่า “สยาม” ได้มีภาพจ�ำหลักหินนูนต�่ำท่ีปราสาทนครวัด เมืองเสียมเรียบ ส่ิงมหัศจรรย์อย่างหน่ึงของโลก มีจารึกอักษร
โบราณระบุค�ำ “เสียมกุก” ไว้อย่างชัดเจน ภาพจ�ำหลักนูนต่�ำทหารชาวเสียมท่ีแตกแถว พูดจาหยอกล้อกันสนุกสนาน แม้จะไป
ออกทำ� ศกึ สงครามหนา้ สว่ิ หนา้ ขวาน เหมอื นจะแสดงลกั ษณะเดน่ ของชาวเชอื้ ชาตนิ ไ้ี วอ้ ยา่ งชดั เจนวา่ “ตอ้ งใจมน่ั ยม้ิ ไดเ้ มอ่ื ภยั มา...”
ความเห็นที่มองต่างมุมกันของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่ระบุว่าการเร่ิมนับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาติน้ัน
ควรเร่ิมต้นเม่ือมีบันทึกลายลักษณ์อักษรของคนไทย ซึ่งน่ันก็คือการมี “ภาษาไทย” เกิดขึ้นเม่ือประมาณปี พ.ศ. ๑๘๒๖ “พ่อขุน
รามคำ� แหงหาใครใ่ จในใจ แลใส่ลายสอื ไทน ้ี ลายสือไทนี้จงึ่ มเี พอ่ื พอ่ ขุนผูน้ ้นั ใส่ไว้...” ตามศลิ าจารึกหลกั ท่ ี ๑ พอ่ ขนุ รามค�ำแหง
มหาราช
กับความเห็นต่างว่าจะวางเฉยกับประวัติศาสตร์ในยุคก่อนสุโขทัยไปได้อย่างไร ผู้คนใน สมัยลพบุรี สมัยทวารวดี น้ัน
กไ็ มน่ า่ จะอพยพโยกยา้ ยมาจากไหน หรอื อยา่ งคนทน่ี อนสบายๆ อยใู่ นหลมุ พรอ้ มกบั หมอ้ ไห และของใช ้ ในอารยธรรมระดบั โลก
อยา่ ง อารยธรรมบา้ นเชยี ง นนั้ เลา่ พวกเขาเหลา่ นน้ั นอนสบายอยใู่ นดนิ แดนประเทศไทยเลก็ ๆ ทใ่ี นวนั นเี้ รยี กวา่ จงั หวดั อดุ รธานี
ซง่ึ นนั่ กเ็ ปน็ ดนิ แดนของเราแท้ๆ จะไมน่ บั พวกเขาเหลา่ นเ้ี ข้าไวใ้ นประวัตศิ าสตร์ชาติไทยหรอื อย่างไร ?
ตราบใดที่ความเห็นต่างดังนี้ยังมีอยู่ในสังคมไทยก็จะยิ่งเป็นแรงผลักดันให้การศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ของชาติไทย
ยิ่งก้าวหน้า ดังน้ันเอาความเห็นต่างดังกล่าวมาวางไว้แค่ตรงที่ ประเทศไทย ได้มีการก่อร่างสร้างชาติมาแล้วอย่างยาวนาน
นับพันปีกนั ดกี ว่า แล้วกว็ า่ ด้วยเรื่อง เสนห่ ไ์ ทยในเวทโี ลก ของเรากันต่อไป
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 5
การก่อร่างของประเทศไทยท่ียาวนานมากมายขนาดน้ี ดเู รว็ ยอ่ ขยาย ดงึ ภาพเขา้ ดนั ภาพออก ไดอ้ กี อยา่ งมากมาย
ยอ่ มสรา้ งสงิ่ ทเ่ี รยี กไดว้ า่ เปน็ “ภมู ปิ ญั ญาไทย” ไวอ้ ยา่ งมากมาย ละเอยี ดลออ
ภูมิปัญญาหลายส่ิงหลายอย่าง เมื่อยุคสมัยผ่านไปก็อาจจะ
พ้นสมัย ถูกละท้ิงหลงลืมไป แต่อีกหลายสิ่งหลายอย่างก็มี นอกจากน้ันเทคโนโลยีการคมนาคมทุกวันน้ีก็สามารถ
กระบวนการพฒั นา ม ี “คน” ผหู้ ยบิ จบั ภมู ปิ ญั ญานนั้ ขนึ้ มาใหม ่ น�ำพาผู้คนจากอีกซีกโลกหนึ่งข้ามไปถึงอีกซีกโลกหน่ึงได้ด้วย
แลกเปลย่ี นกบั ภมู ปิ ญั ญาอนื่ ๆ หลอ่ หลอม รวบรวม เปลย่ี นแปลง เวลาไม่นาน การผา่ นแดน การตรวจคนเขา้ เมืองตา่ งๆ สมัย
กันไปเรอื่ ยๆ ตามการเดินทางของกาลเวลา นี้ก็ไม่ชักช้า การรวมตัวกันของประชาคมโลกต่างๆ เช่น
ประชาคมยโุ รป ประชาคมภาคพนื้ เอเชยี แปซฟิ กิ หรอื กระทงั่
ในวันนี้ประเทศไทยอันเก่าแก่พอประมาณของเราจึง ประชาคมอาเซยี น ทเ่ี ราคนไทยคนุ้ เคย เหลา่ นลี้ ว้ นเออ้ื อำ� นวย
มภี มู ปิ ัญญาตา่ งๆ หลากหลายทีถ่ า่ ยทอดสบื ต่อมาแต่โบราณ ให้มีการเช่ือมโยงถึงกันในกระบวนการต่างๆ โดยเฉพาะใน
ภูมิปัญญาส่วนหน่ึงอาจเรียกว่า “วัฒนธรรม” หรือ “วิถีชีวิต” เรอื่ งธรุ กจิ ทอ่ งเทย่ี วทเ่ี ปน็ ผลประโยชนร์ ว่ มกนั ของทกุ ภาคสว่ น
บางส่วนอาจเป็นงานเทศกาล งานประเพณี บางสิ่งเป็นสิ่งท่ี การท่องเท่ียวน้ีนับว่าได้น�ำพาท้ังข้อมูลข่าวสารและนัก
จบั ตอ้ งไดเ้ ปน็ รปู ธรรมเหน็ ชดั แตก่ ม็ ภี มู ปิ ญั ญาจำ� นวนไมน่ อ้ ย ท่องเท่ียวจ�ำนวนมากเดินทางเช่ือมโยงถึงกันได้อย่างรวดเร็ว
ทว่ี งการวฒั นธรรมเรยี กกนั วา่ “มรดกภมู ปิ ญั ญาทางวฒั นธรรม ทวั่ ทั้งโลก
ท่ีจับต้องไม่ได้” อันได้แก่ ทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญ
ในดา้ นตา่ งๆ เชน่ นทิ าน นยิ าย ตำ� นาน วรรณกรรมมขุ ปาฐะ ดังนั้นในวันน้ีภูมิปัญญามากหลายในด้านต่างๆ ของ
ตลอดจนท่วงท�ำนองของการขับล�ำน�ำ ร่ายโศลก การขับร้อง คนไทยเรา จึงนับว่าได้รับการแนะน�ำตัวสู่โลกมาแล้วนาน
และบรรเลงดนตรตี า่ งๆ เปน็ ต้น หลายสิบปีตามกระบวนการเปลย่ี นแปลงทางเทคโนโลยี และ
ที่ส�ำคัญยิ่งคือการท่องเท่ียวท่ีได้เร่ิมแนะนำ� ตัวในประเทศไทย
โลกเราทุกวันนี้เล็กและแคบกว่าโลกในยุคก่อนมาก มาต้ังแต่ประมาณ ๖๐ ปีที่ผ่านมา ตามปีเกิดขององค์กร
และผู้คนในโลกวันน้ีแม้จะต่างภูมิปัญญา ต่างเชื้อชาติศาสนา การทอ่ งเท่ียวแหง่ ประเทศไทย ทีเ่ กดิ ขึ้นในป ี ๒๕๐๓
สผี วิ ภาษา ทอ่ี ยอู่ าศยั แมอ้ ยกู่ นั หา่ งไกลชนดิ คนละซกี โลก แต่
สงิ่ ทเ่ี รยี กวา่ “เทคโนโลยสี มยั ใหม”่ กลบั ทำ� ใหโ้ ลกกวา้ งใหญใ่ น จากวันนั้นถึงวันน้ีมีผู้คนชาวต่างประเทศเดินทางผ่าน
วันน้ีเล็กและแคบลงเป็นอย่างยิ่ง ภูมิปัญญาจากซีกโลกหนึ่ง เขา้ มาสปู่ ระเทศไทยในแตล่ ะป ี เรม่ิ ตน้ ตง้ั แตป่ ลี ะไมก่ ห่ี มนื่ คน
อาจถูกน�ำส่งให้ไปแนะน�ำตัวถึงบ้านถึงห้องนอนของผู้คน ผา่ นไป ๕๕ ป ี มาถงึ วนั น ี้ ในปปี จั จบุ นั มนี กั ทอ่ งเทย่ี วเดนิ ทาง
ในอีกซีกโลกหนึ่งได้อย่างง่ายๆ ฟรีๆ ไม่เสียเงิน รายการ เขา้ มาในประเทศไทยตามสถติ ขิ องการทอ่ งเทย่ี วแหง่ ประเทศไทย
โทรทัศน์ ภาพยนตร์สารคดี เว็บไซต์ โปรแกรมและแอป- ถงึ ปลี ะ ๒๐ ลา้ นคน จงึ อาจประเมนิ ตวั เลขกลมๆ ไดว้ า่ อยา่ งตำ่�
พลิเคชันต่างๆ ในโลกการสื่อสารสังคมไร้พรมแดนอย่าง ผคู้ นในโลกนบั ไดน้ า่ จะเกนิ หลกั รอ้ ยลา้ นคนแลว้ ทเ่ี คยเดนิ ทาง
LINE, facebook, Youtube สามารถนำ� ส่งท้ังภาพและเสียง เข้ามาในประเทศไทย คนเหล่านั้นย่อมได้เคยสัมผัสกับ
ที่ชัดเจนแจ่มแจ๋วของการแสดงท่ีดีท่ีสุด ผลงานศิลปะชน้ิ เลศิ ภมู ปิ ัญญาไทยหลากหลายมาแล้วอยา่ งแนน่ อน
ทส่ี ดุ และงานเทศกาลประเพณที ย่ี ง่ิ ใหญท่ สี่ ดุ ของดนิ แดนหนึ่ง
ไปสู่สายตาของผู้คนในท่ีต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วยิ่งกวา่ แต่ในบรรดาภูมิปัญญาไทยหลากหลายนั้น ภูมิปัญญา
กะพริบตา ท้ัง real time ท้ังยังสามารถดูซ้�ำแล้วซ�้ำอีก ดูช้า ชนดิ ใดจะประทบั ใจชาวโลก จนอาจนบั ไดว้ า่ เปน็ เสนห่ ไ์ ทยใน
สายตาชาวโลก เป็นส่ิงซ่ึงจะแนะน�ำให้ชาวต่างชาติรู้จักและ
ประทับใจในความเป็นไทย มีทัศนคติท่ีดีต่อการจะสังสรรค์
6 วัฒนธ รม
เสวนากับคนไทย และแน่นอนที่อาจจะเป็นส่ิงซ่ึงท�ำให้ชาว
โลกรสู้ กึ วา่ จะอยเู่ ฉยไมไ่ ดแ้ ลว้ ตอ้ งเดนิ ทางเขา้ มาทอ่ งเทย่ี วใน
ประเทศไทย มาท�ำความรู้จักกับภูมิปัญญาไทยกันด้วยตัวเอง
สักหน่อย หรือแม้จะไม่มีโอกาสเดินทางมาก็ขอให้ได้มีส่วน
รู้จักความเป็นไทยเช่นว่าน้ีกันให้มากขึ้นในดินแดนของตน
จะมสี ิ่งใดมาเปน็ ดรรชนีชี้วัดว่าภูมปิ ัญญาไทย ส่งิ ไหน จะเปน็
เสนห่ ไ์ ทย ไดถ้ งึ ขนาดนั้น
ใน Frankfurt Book Fair งานเทศกาลหนงั สือทใ่ี หญ่ที่
สดุ ในโลก ณ เมอื งแฟรงกเ์ ฟริ ต์ ประเทศเยอรมน ี ทสี่ �ำนกั พมิ พ์
ต่างๆ ทั่วโลกต่างน�ำหนังสือของประเทศตนมาส�ำแดง
เพื่อซื้อขายลิขสิทธ์ิการจัดพิมพ์หนังสือ และบ่อยครั้งยังมีการ
ขายลิขสิทธ์ท่ีมากกว่าหนังสือ เช่นลิขสิทธ์ิการน�ำไปผลิตเป็น
สื่ออื่นๆ เช่นส่ือภาพยนตร์และสื่อออนไลน์ต่างๆ มีผู้มาซ้ือ
และขายลิขสิทธ์ิในงานเทศกาลน้ีจากทั่วโลกจ�ำนวนมากมาย
มหาศาล หนังสือดังๆ ระดับโลก อย่าง Harry Potter,
Star Wars, The Lord of the Rings ก็เห็นความสำ� คัญ จะ
ตอ้ งเดนิ ทางมาเปดิ ตวั กนั ทน่ี อ่ี ยา่ งขนานใหญด่ ว้ ย บรษิ ทั ดงั ๆ
ของไทยเรา อย่างนานมีบุ๊คส ์ โอเดียนสโตร์ แพรวสำ� นกั พมิ พ์
ฯลฯ ก็จะต้องพากันไปซื้อลิขสิทธิ์หนังสือในงานน้ีมาแปล
เปน็ ภาษาไทยจำ� หน่ายด้วยเช่นกนั
ปรากฏว่าในหลายปีต่อเน่ืองกันท่ีผ่านมา หนังสือจาก
ประเทศไทยที่ขายดีท่ีสุดในงานน้ี ท้ัง ขายส่ง คือขายลิขสิทธิ์
การจัดพิมพ์ในต่างประเทศ และ ขายปลีก คือขายเป็นเล่มๆ
ได้แก่หนังสือท่ีว่าด้วย อาหารไทย ติดตามด้วยหนังสือ
นวดไทย ผ้าไทย และ มวยไทย เป็นลำ� ดับต่อๆ มา
เพียงเท่านี้จะพอเป็นดรรชนีชี้วัด เสน่ห์ไทยใน
เวทีโลก ที่เป็นจริงได้หรือยัง ถ้ายัง เราลองมาพิจารณา
สิ่งอน่ื ๆ กันตอ่ ไป
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 7
8 วฒั นธ รม
อาหารไทย
Thai Food
◆
เพราะประเทศไทยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้�ำอันอุดมสมบูรณ์ “ในน้�ำมีปลา ในนามีข้าว” คนไทยเราจึงมีวัตถุดิบ
หลากหลายให้น�ำมาเลือกสรร จัดท�ำอาหารอย่างพิถีพิถัน และจากวิวัฒนาการอันยาวนานจึงกลายเป็นภูมิปัญญาเร่ืองการ
ท�ำอาหารที่หลากหลาย ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากท้องถิ่นต่างๆ สู่เมืองใหญ่ จากบ้านเรือนราษฎรท่ัวไป สู่คุ้มขุนนางคหบดี
กระทั่งถึงในรั้วในวัง เราคนไทยจึงมีต�ำนานอาหารไทยเลื่องชื่อหลากหลาย อีกทั้งยังได้ใช้ภูมิปัญญาไทยดัดแปลงอาหารพ้ืนถ่ิน
ของพนี่ อ้ งตา่ งเชอ้ื ชาตทิ เ่ี ขา้ มาอยรู่ ว่ มประกอบกนั เปน็ สงั คมไทย เชน่ อาหารจนี อาหารฝรง่ั อาหารอนิ เดยี อาหารมอญ ใหก้ ลาย
เป็นอาหารไทยเลิศรสต่างๆ ท้ังคาวหวานสารพัน ภูมิปัญญาไทยเรื่องอาหารการกินน้ีครอบคลุมตั้งแต่เรื่องวิธีการปรุงอาหาร
อาหารพนื้ ถนิ่ ตา่ งๆ ทง้ั สภ่ี าค มารยาทในการรบั ประทานอาหาร รสชาตอิ าหาร วธิ กี ารถนอมอาหาร และคณุ คา่ ทางโภชนาการ
เปน็ ต้น
ในวันนี้แทบไม่ต้องสงสัยว่า อาหารไทย น้ันเป็นสุดยอดอาหารอร่อยชนิดหน่ึงของโลก รายการอาหารไทย เช่น
กว๋ ยเตย๋ี วผดั ไทย ตม้ ยำ� กงุ้ ตม้ ขา่ ไก ่ มสั มนั่ ไก ่ สม้ ตำ� กระทงั่ ขา้ วเหนยี วมะมว่ ง เปน็ ทร่ี จู้ กั ไปทว่ั โลก รา้ นอาหารไทย พอ่ ครวั
แม่ครัวไทย ได้รับการส่งออกไปทำ� งานสร้างสรรค์อาหารไทยอย่างกว้างขวางทั่วทุกนานาอารยประเทศในโลก ในการประกวด
ทำ� อาหารตา่ งๆ อาหารไทย พอ่ ครวั แมค่ รวั ไทย ไดร้ บั ชยั ชนะหลากหลาย แมก้ ระทงั่ ในการประกวดท�ำอาหารญป่ี นุ่ รายการดงั
ทั่วโลก เช่น เชฟกระทะเหล็ก ในประเทศญ่ีปุ่น ผู้ชนะเลิศยังชนะใจกรรมการด้วยการใช้เทคนิคการตบแต่งอาหารของไทย คือ
การแกะสลักผลไม้ไปประกอบกับการตบแต่งอาหารญี่ปุ่น ยังผลให้ชนะใจกรรมการได้รับรางวัลชนะเลิศไปในที่สุด ผู้ชนะเลิศ
ยงั กลา่ วใหส้ มั ภาษณ์อย่างชดั ถ้อยชดั คำ� วา่ เคยมาเรยี นการแกะสลกั ผลไมใ้ นประเทศไทยไปใช้เป็นเคลด็ ลับ
การขยายตวั ของอาหารไทยหลากหลาย โครงการครวั ไทยสคู่ รวั โลก การสง่ ออกพอ่ ครวั แมค่ รวั ไทยไปทว่ั ทกุ ทวปี ทกุ เมอื งใหญ่
ทวั่ โลก ชยั ชนะในการประกวดประชนั การทำ� อาหารหลากหลาย นา่ จะเปน็ อกี สง่ิ หนงึ่ ทจี่ ะชว่ ยยนื ยนั ไดถ้ งึ เสนห่ ไ์ ทย อาหารไทย
ในเวทีโลกได้เปน็ อย่างด ี
ตลุ าคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 9
สุขภาพไทย
T h a i W e l l n e s s
◆
เกดิ ขนึ้ จากความสำ� เรจ็ ในการเกบ็ รกั ษาและสง่ ผา่ นองคค์ วามรดู้ า้ นสขุ ภาพของไทยจากอดตี มาจนถงึ ปจั จบุ นั องคค์ วามร ู้
ด้านสุขภาพของไทย ได้แก่ การแพทย์แผนไทย ต�ำรับยาและสมุนไพรไทย การนวดไทย ซ่ึงในอดีตวัดและวังจะเป็นศูนย์กลาง
แห่งภูมิปัญญานี้ รูปธรรมท่ีเด่นชัดท่ีสุดคือท่ีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ “วัดโพธิ์” ซ่ึงพระมหากษัตริย์รัชกาลท่ี ๓
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรด ให้จารึกต�ำรับการแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย การนวดบ�ำบัดกดจุด เอาไว้ทั้งในรูปของศิลาจารึก
บนผนัง จิตรกรรม และสิ่งซึ่งเป็นท่ีรู้จักกันดีคือประติมากรรมลอยตัว ฤๅษีดัดตน ในสวนหย่อมรอบบริเวณวัด ที่จัดสร้างไว้
เพ่ือให้ประชาชนไทยมาดู จดจ�ำ และคัดลอกไปใช้ในชีวิตประจ�ำวัน กระท่ังในกาลต่อมาวัดแห่งนี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น
“มหาวิทยาลยั แหง่ แรกของประเทศ”
ปัจจุบันการแพทย์แผนไทย สมุนไพร ต�ำรายาไทย การนวดไทย ได้รับการรวบรวม เก็บรักษา และพัฒนาอย่างเป็น
วทิ ยาศาสตร ์ โดยการดแู ลของแพทยสภา สมาคมแพทยแ์ ผนไทยแหง่ ประเทศไทย มหี นว่ ยงานรองๆ ลงมาอนั เปน็ ทย่ี อมรบั เชน่
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เป็นหน่วยปฏิบัติงาน และยังมีภาคเอกชนไทยจำ� นวนมากต่างรวบรวม
ต�ำรับต�ำราเก่าแก่ของบรรพชน ก่อก�ำเนิดเป็นภาคธุรกิจย่อยหรือ SME ด�ำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของภาครัฐอีก
เป็นจำ� นวนมาก
ในเร่ือง การนวดไทย ซึ่งมีจุดเด่นในเร่ืองการนวดผ่อนคลาย นวดบ�ำบัดรักษา และการนวดประคบ อบสมุนไพรไทย
ส�ำหรับในประเทศก็มีโรงเรียนสอนการนวดไทยที่หลากหลาย อย่างเป็นที่รู้จักกันดี เช่นสถาบันสอนการนวดแผนไทยวัดโพธ ์ิ
เป็นต้น ส่วนในต่างประเทศการเรียนการสอนการนวดไทยก็มกี ันอกี มากมายเปน็ ลำ่� เปน็ สัน
องคค์ วามรู้ในดา้ นสุขภาพไทยต่างๆ เหล่าน้เี ป็นต้นทุนอันสำ� คัญยิ่งทีท่ �ำใหบ้ ุคลากรและสถานบริการดา้ นสขุ ภาพของไทย
มคี วามพรอ้ มในเบอ้ื งตน้ ซง่ึ เมอื่ รวมกบั ความคดิ ประสมประสานอยา่ งไทยๆ จงึ สามารถประยกุ ตใ์ หเ้ ขา้ กบั ความเปน็ สากลไดเ้ ปน็
เน้ือเดียว ส่งผลให้การประกอบการด้านสุขภาพของไทยเราก้าวไกลไปเป็นท่ียอมรับในระดับโลก จนในปัจจุบัน เกาะสมุย
เกาะพะงัน เมืองเชียงใหม่ และ เมืองภูเก็ต ของประเทศไทย สามารถก้าวข้ึนเป็นศูนย์กลางสำ� คัญของการบริการด้านสุขภาพ
ของไทยและของเอเชียตะวนั ออกเฉยี งใตไ้ ปแลว้
และก็เป็นเช่นเดียวกับอาหารไทย ในวันนี้ไม่เพียงแต่ความเป็นศูนย์สุขภาพท่ีสำ� คัญของภูมิภาค แต่สุขภาพไทยยังได้รับ
การส่งออกไปสู่นานาชาติ ผลิตภัณฑ์สุขภาพไทยหลากหลายได้รับการแนะน�ำตัวสู่สังคมโลก ทั้งสมุนไพรไทย เคร่ืองหอมไทย
ลูกประคบไทย รวมท้ังการนวดไทย วันน้ีผู้ประกอบการหัตถศาสตร์หรือร้านนวดไทย ได้น�ำพาหมอนวดแผนไทยท้ังชายหญิง
ขยายขอบเขตการท�ำงานออกไปได้ในหลายเมืองใหญ่ของโลก สร้างมาตรฐานและช่ือเสียงของสุขภาพไทยให้เป็นที่รู้จักต่อไป
ในทัว่ ทกุ สารทิศ
10 วัฒนธ รม
ตลุ าคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 11
ผา้ ไทยและพัสตราภรณ์ไทย
Thai Traditional Textiles
◆
(ภาพ : อดลุ ตัณฑโกศัย)
คืออีกผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยซ่ึงเป็นเสน่ห์ไทยอันลำ�้ ค่า ท�ำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักไปท่ัวโลก ทว่าหากกล่าวถึง
ผ้าไทยและพัสตราภรณ์ไทย ก็ย่อมอดมิได้ที่จะกล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
แห่งประเทศไทย ด้วยสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถ น้ันนอกจากจะทรงเป็นพระแม่แห่งสยามแล้ว ยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
กจิ กรรมศลิ ปาชพี ของประเทศไทยอยา่ งแทจ้ รงิ โดยเฉพาะกจิ กรรมดา้ นผา้ ไทยและพสั ตราภรณไ์ ทยประเภทตา่ งๆ ทเี่ หลา่ ศลิ ปนิ
และชาวชา่ งชำ� นาญศลิ ปส์ าขาผา้ ทอ และเสอ้ื ผา้ แพรพรรณประเภทตา่ งๆ หลากหลายทวั่ ทกุ ภมู ภิ าค ตา่ งใชม้ รดกภมู ปิ ญั ญา กำ� ลงั กาย
กำ� ลงั ปญั ญา ตลอดจนฝีไม้ลายมือ สร้างสรรคผ์ ลติ ภัณฑ์ผ้าไทยและพัสตราภรณไ์ ทยหลายหลากอยา่ งสดุ ฝีมอื ทง้ั ผ้าขดิ ผ้าจก
ผ้าฝ้าย ผ้าไหม มัดหม่ี และ ผ้ายก ฝากช่ือฝากฝีมือไว้ในแผ่นดิน ร่วมเฉลิมฉลองพระปณิธานและพระกรุณาธิคุณ
กันอย่างเต็มเร่ียวแรง
12 วัฒนธ รม
เพราะพระองค์น้ันไม่เพียงแต่จะทรงเป็นพระผู้อุปถัมภ์ผลงานผ้าไทยและพัสตราภรณ์ไทยต่างๆ เท่าน้ัน พระองค์ยังทรง
เป็นศิลปิน เป็นพระผู้ผดุงศิลปะ เป็นผู้ให้แนวทางสร้างสรรค์ร่วมสมัย จัดหาแนวทางและตลาดใหม่ๆ ตลอดจนทรงเป็น
แบบอย่างในการทรงฉลองพระองคผ์ า้ ไทย ปรากฏเป็นภาพวาดภาพถา่ ยงดงามไปทวั่ โลก โดยเฉพาะในผลติ ภัณฑผ์ า้ ราคาแพง
อย่างผ้าไหมไทย ผ้าไหมแพรวา และผ้าซิ่นตีนจก จนงานผ้าไหมที่แทบจะส้ินใจไปแล้วช่วงหนึ่งได้กลับมาอีกคร้ังในนามของ
“ผา้ ไหมแห่งองค์พระราชินี” และพระองค์จึงได้รับการขนานพระนามว่าเป็นพระผู้ปลุกชีวิตผ้าไหมไทยให้กลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นอีก
ครง้ั หนงึ่ ประชาชนชาวตา่ งประเทศทง้ั ทเ่ี ดนิ ทางมาทอ่ งเทยี่ วในประเทศไทยและพำ� นกั อาศยั อยใู่ นประเทศตา่ งๆ สามารถเลอื ก
ซ้อื หาผลิตภณั ์ผา้ ไหมไทยได้จากพ้นื ที่ใกลเ้ คียงในประเทศของตน เพราะไหมไทยได้แพร่กระจายออกไปอยา่ งกว้างขวางทว่ั โลก
และด้วยเหตุดังนี้เอง ผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและพัสตราภรณ์ไทย จึงเป็นอีกหน่ึงภูมิปัญญาไทยที่เป็นเสน่ห์ไทยอันยิ่งใหญ่
ในเวทโี ลก
ตัวอยา่ งโทนสีไทย (บางส่วน) จากงานวิจยั ของไพโรจน์ พทิ ยเมธี ตุลาคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 13
(กราฟกิ : ไพโรจน์ พทิ ยเมธี)
หุ่นละครเล็ก
Thai Puppet
◆
เสน่ห์ไทยในเวทีโลกและสุดท้ายที่ จะมาเล่าให้ฟังต่อจากน้ี ก็คือเสน่ห์ไทยที่เป็นเสน่ห์แห่งวัฒนธรรมไทยซ่ึงเป็น
มรดกอันจับต้องไม่ได้ นั่นคือฝีมือในการละเล่นและการแสดงชนิดหนึ่ง ซึ่งนับเป็นการแสดงท่ีใช้ภาษาอันสามารถสื่อสารกันได้
ท่วั โลก นน่ั คอื ภาษาท่าทาง ซึ่งการแสดงนีจ้ ะใช้ภาษาท่าทางโดยการเชิดหุ่นมาเปน็ สื่อในการเลา่ เรื่อง แต่ใช้ทว่ งท่าของนาฏศลิ ป์
ช้นั สงู ของไทยอันเป็นเอกลักษณ์อย่างยิง่ มาเป็นสิ่งทีส่ รา้ งความเปน็ เอกลกั ษณ์โดดเด่นเฉพาะตวั ท้งั ตวั หนุ่ และทั้งคนเชิด ซ่ึงเปิด
ใหผ้ ้ชู มไดเ้ ห็นลีลาท่าทางทง้ั ตวั ผ้เู ชดิ และตัวห่นุ
นั่นคือการแสดงหุ่นเชิดหรือ หุ่นละครเล็กคณะโจหลุยส์ หรือท่ีมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในวันนี้ว่า นาฏยศาลา
หนุ่ ละครเลก็ น่ันเอง
หุ่นละครเล็กน้ันตามประวัติความเป็นมาเพ่ิงเกิดขึ้นได้ไม่นาน คือประมาณ ๑๐๐ ปีล่วงมาแล้ว จากแบบอย่างของ
หุ่นหลวง และ หุ่นเล็ก ซึ่งเป็นการแสดงหุ่นชาววังในราชส�ำนัก น�ำมาดัดแปลงประสมประสานเป็นหุ่นนอกวังอันมีลักษณะ
เฉพาะตัว คือมีกลไกเชิดหุ่นได้อย่างละเอียดลออคล่องแคล่ว ลงไปได้ถึงอวัยวะทุกส่วนสัดของตัวหุ่น สามารถเลียนแบบกิริยา
ท่าทางของมนุษย์ได้อย่างครบครัน โดยมีครูใหญ่ของคณะหุ่นนี้คือ ครูแกร ศัพทวณิช เป็นนายโรง น�ำพาคณะหุ่นออกเดินสาย
แสดงไปทว่ั กรงุ ใกลไ้ กล จนได้รบั ความนิยมอยา่ งสูง
แต่ต่อมาด้วยความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย การแสดงหุ่นละครเล็กก็ได้รับผลกระทบจนท�ำให้ต้องปิดตัวลงไป แต่ ๕๐
ปตี อ่ มา ครสู าคร ยงั เขยี วสด ซง่ึ เตบิ โตขน้ึ ในคณะหนุ่ ละครเลก็ คณะนก้ี ไ็ ดฟ้ น้ื ฟกู ารแสดงขน้ึ มาใหม ่ โดยฝกึ ใหบ้ ตุ รธดิ าทง้ั เกา้ คน
สามารถเชิดหุน่ ได้ทั้งหมด และเร่ิมออกทำ� การแสดงในช่ือคณะใหม่วา่ “คณะโจหลยุ ส์” ในปี ๒๕๒๘
ดว้ ยความมงุ่ มน่ั ในการทำ� การแสดงคณุ ภาพทพี่ ฒั นาขนึ้ เรอื่ ยๆ ดว้ ยแนวคดิ อนั กลา้ หาญของบคุ คลในครอบครวั จนมคี วาม
ทันสมัยในแง่มุมต่างๆ ไปกันได้ดีย่ิงกับยุคสมัย และแม้จะประสบกับความยากลำ� บากจนถึงขนาดต้องยกโรงย้ายวิกกันบ้าง
บางครั้ง จาก โจหลุยส์เธียเตอร์ ที่จังหวัดนนทบุรี มาที่ สวนลุมไนต์บาซาร์ และย้ายต่อมายัง เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์
รมิ แมน่ ำ้� เจา้ พระยา ถนนเจรญิ กรงุ ในปจั จบุ นั การแสดงหนุ่ ละครเลก็ คณะนไี้ ดพ้ ฒั นาไปจนถงึ จดุ ทเ่ี ปน็ การแสดงระดบั นานาชาติ
สามารถแขง่ ขันกบั การแสดงห่นุ จากทว่ั โลกได้อย่างสมศักดศ์ิ รี
ดว้ ยพระอปุ การคณุ อยา่ งยงิ่ ในสมเดจ็ พระเจา้ พนี่ างเธอ เจา้ ฟา้ กลั ยาณวิ ฒั นา กรมหลวงนราธวิ าสราชนครนิ ทร ์ ผปู้ ระทาน
นามใหม่ให้แก่คณะหุ่นละครเล็กว่า “คณะนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก” ทางคณะจึงได้ใช้ช่ืออันเป็นมงคลนามน้ีเรื่อยมา ในวันน้ี
หนุ่ ละครเลก็ คณะนี้ได้รบั การส่งเสริมให้ยกคณะไปแข่งขันในระดับนานาชาต ิ และสามารถนำ� ช่อื เสยี งมาสู่ประเทศไทยหลายคร้งั
โดยเฉพาะรางวลั ชนะเลศิ ระดบั นานาชาตใิ นเทศกาลหนุ่ นานาชาต ิ World Festival of Puppet Arts ทก่ี รงุ ปราก สาธารณรฐั เชก็
มาแลว้ ถึงสองหน
รางวลั ระดบั นานาชาตหิ ลากหลายทไี่ ดร้ บั จงึ เปน็ สง่ิ ยนื ยนั ไดว้ า่ นาฏยศาลา หนุ่ ละครเลก็ ในวนั นน้ี น้ั กา้ วหนา้ ไปไกลจนถงึ
ระดบั โลกแลว้ อยา่ งไมต่ อ้ งสงสยั และเปน็ เสนห่ ไ์ ทยในเวทโี ลกอกี อยา่ งหนงึ่ ทสี่ ามารถแสดงออกซงึ่ วฒั นธรรมการรา่ ยรำ� อนั ออ่ นชอ้ ย
งดงามของคนไทยไปในขณะเดียวกับท่ีใช้ฝีไม้ลายมือในการเชิดหุ่น จนหุ่นสามารถบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาษาท่าทางให้ผู้ชม
เข้าใจเร่อื งราวทัง้ หมดได้
14 วฒั นธ รม
ตลุ าคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 15
เสน่ห์ไทยในเวทีโลก มิได้จ�ำกัดอยู่เพียง อาหารไทย สุขภาพไทย ผ้าไทย และ หุ่นไทย ดังได้เล่ามานี้เท่านั้น
ยังมีอีกหลายส่ิง เช่น “ยิ้มสยาม” เสน่ห์บนใบหนา้ ของชาวไทยทั้งมวลท่ีจะชักชวนให้ชาวต่างประเทศที่สนใจ อยากตามมารู้จัก
เสน่ห์ไทยในรูปแบบต่างๆ ต่อไปอีก รอยยิ้มจึงเป็นเสน่ห์ไทยอย่างแรกที่จะช่วยน�ำใครๆ ไปรู้จักกับเสน่ห์ไทยอีกหลากหลาย
รอยย้ิมของคนไทยนั้นไม่เหมือนชนชาติใดๆ คือสวยงามและเปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดีที่คนท่ัวโลกต่างรับรู้และ
เข้าใจความหมาย คอื มติ รภาพจากคนไทยท้ังมวล
16 วฒั นธ รม
นอกจากท่ีกล่าวมาแล้ว เราคนไทยก็ยังมีเสน่ห์ไทยในเวทีโลกอีกชนิดหน่ึง ซ่ึงก็นับได้ว่าแพร่ขยายขจรไกลไปท่ัวทุก
เมืองใหญ่ในแทบทุกมุมโลก น่นั ก็คือ มวยไทย ทง้ั แม่ไม้ลกู ไม้หลากหลายสำ� นกั ร้อยแปดกระบวนทา่ จดั หนกั จัดเต็มมาด้วยกนั
ได้ทั้งหมด
ไมท่ ราบเหมอื นกันว่าทา่ นผู้อา่ นจะอยากรูจ้ กั เสน่หไ์ ทยแทๆ้ ในเวทีโลกประการน้ดี ว้ ยอีกหรอื ไม ่ ?
ตลุ าคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 17
~ บั น เ ทิ ง ศิ ล ป์
รังสิต จงฌานสิทโธ
~◆~
มโหรเี ป็นลักษณะการประกอบวงดนตรีประเภทหน่งึ
ของชาวไทยสยาม ปรากฏตามหลกั ฐานทางประวตั ิศาสตร ์
โบราณคดแี ละวรรณกรรม อยา่ งน้อยกต็ ้ังแต่สมัย
กรงุ ศรีอยุธยาเปน็ ต้นมา มกี ารเคลอ่ื นไหวพฒั นาทางรูปแบบ
และวธิ กี ารบรรเลงมาจนกระท่ังปัจจบุ ัน
ดังจะได้กลา่ วเคา้ ความประกอบความคดิ เหน็ อันเป็นส่วนตัว
ตามท่ีสงั เกตและศึกษามาบ้างพอเปน็ สงั เขป
~◆
มโหรี
18 วฒั นธ รม
วงมโหรีหญิงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ปโทรนะ กรอ�ำมบะดน้วาย แ ซลอะสนากั มร้อสงา ย กระจับปี่
(จิตรกรรมฝาผนงั ในพระที่นงั่ พทุ ไธสวรรย์
พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ)
ตุลาคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 19
การขบั ไม ้ อันเชือ่ กันวา่ เป็นต้นเคา้ ของวงมโหรี วงมโหรเี คร่ืองส่ี
(ท่มี าของภาพ : หนงั สือ ต�ำนานเคร่ืองมโหรีปีพ่ าทย์ ) (ท่ีมาของภาพ : หนังสือ ตำ� นานเคร่ืองมโหรปี ีพ่ าทย์ )
จากการศึกษาและความเห็นของท่านแต่ก่อน เช่น สมเดจ็ ฯ เพมิ่ โทนกำ� กบั จงั หวะเขา้ มาประกอบล�ำนำ� ตา่ งๆ ผสมผเสกบั
กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงนิพนธ์ ต�ำนานมโหรี ขนบของเพลงพณิ เปน็ เรอื่ งราวตา่ งๆ บา้ ง เปน็ เชงิ สงั วาสบา้ ง
ปี่พาทย์ เป็นปฐม กระทั่ง “เครื่องดนตรีไทย” (ในหนังสือ นับเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผสมผสานระหว่างของหลวง
ประวัติเครื่องดนตรีไทย ต�ำนานการผสมวงมโหรีปี่พาทย์และ กับไพร่บ้านพลเมือง ซึ่งมีชีวิตชีวาและมีความสดใหม่ด้วย
เครอื่ งสาย) ของนายธนติ อยโู่ พธ ิ์ อดตี อธบิ ดกี รมศลิ ปากร ซงึ่ ปฏิภาณ ตามหลักฐานภาพเขียนต้ังแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มี
รวบรวมพิมพ์เมื่อปี ๒๕๑๙ และของท่านอื่นๆ อีกหลายท่าน คนดีดกระจับปี่ ๑ คนสีซอสามสาย ๑ คนตีโทน (ทับ) ๑ คน
อธิบายว่ามโหรีเป็นวงดนตรีประเภทขับกล่อมประกอบการ ขบั ลำ� น�ำ ๑ รวม ๔ คนเปน็ ปฐม
ขับล�ำน�ำ บ�ำเรอท้าวพระยามหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง
มาแต่เดิม นักดนตรีน้ันก็น่าจะเป็นผู้หญิง และเข้าใจกันว่า ต่อมามีการเพิ่มร�ำมะนา (น่าจะเป็นของมุสลิมทาง
มโหรนี นั้ พฒั นาการเคลอ่ื นคลายมาจากวงขบั ไม ้ ประกอบการ ตะวนั ออกกลาง) คกู่ บั โทน เพม่ิ เครอื่ งเปา่ คอื ขลยุ่ ๑ เลา คน
สรรเสริญสวดบูชาพระผู้เป็นเจ้ามหาเทพต่างๆ และเป็นบท ขับล�ำน�ำนั้นตีกรับประกอบจังหวะอีกด้วย มีฉิ่งเป็นเคร่ือง
ร�ำพันถึงพระบุญญาบารมีของท้าวพระยามหากษัตริย์ อัน ตีก�ำกับจังหวะที่ท�ำด้วยโลหะอีกคู่ เป็น ๖ คน รวมทั้งคนขับ
เป็นพระราชประเพณีสมโภชต่างๆ ของหลวง เช่น สมโภช บรรเลงเป็นท�ำนองประกอบการขับล�ำน�ำและรับเป็นท�ำนอง
พระเศวตฉัตร สมโภชช้างเผือก สมโภชลงพระอู่เจ้านาย ดนตรตี ามชว่ งและวรรคตอนทเี่ หมาะสม เพอ่ื ขบั กลอ่ มบำ� เรอ
ช้ันเจ้าฟ้า ฯลฯ ประกอบด้วย คนขับ ๑ คน คนสีซอสามสาย ทา้ วไทเมอ่ื ไสยาเปน็ หลกั สว่ นทจ่ี ะทรงพระส�ำราญในเวลาท่ี
๑ คน คนไกวบัณเฑาะว์ ๑ คน เปน็ ข้าราชบรพิ ารผู้ชาย ไม่บรรทมคงเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ดังมีหลักฐานใน
เพลงยาวต�ำรามโหรี ซ่ึงบอกช่ือล�ำน�ำระเบียบการเรียบเรียง
เมื่อประกอบเป็นวงมโหรีชั้นแรก เพิ่มคนดีดพิณซึ่ง เพลงถึง ๑๓๗ เพลง ช่ือเพลงบางเพลงยังมีกลิ่นอายของ
แตเ่ ดมิ ขบั ลำ� นำ� ไปดว้ ย เหมอื นหนมุ่ สาวชาวบา้ นลา้ นนาขบั ซอ “แขก” อยู่รางๆ เช่น อรุ่ม ยิกิน เนระคันโยค เนระปาตี
ดีดพิณ (ซึง) ด้วยตนเองคนเดียว หรือนาฏกุเวรคนธรรพ์ เป็นต้น น่าจะเป็นต้นของเพลงมโหรีซึ่งมีซอสามสายอันเป็น
ครวญล�ำน�ำกับพิณเย้ยพญาครุฑในเร่ือง กากี แทนที่จะเป็น วัฒนธรรมร่วมกับทางมุสลิมตะวันออกกลาง มาจนมลาย ู
เรื่องการร�ำพันสรรเสริญแบบวงขับไม้ ยกบัณเฑาะว์ออกไป ชวา จากนนั้ ยงั ปรากฏชอ่ื เพลงญป่ี นุ่ ขอม มอญ คละเคลา้ อย ู่
20 วฒั นธ รม
วงมโหรเี คร่อื งใหญ ่ หรอื “วงใหญ”่
(ท่ีมาของภาพ : หนังสือ ต�ำนานเคร่อื งมโหรปี ีพ่ าทย์)
แสดงถึงวัฒนธรรมและผู้คนหลายชนชาติในกรุงศรีอยุธยา ดังภาษติ อศิ รญาณทว่ี ่า “เจา้ ว่างามก็งามไปตามเจ้า กใ็ ครเล่า
โบราณ ที่ส่งผลตอ่ การรอ้ งรำ� ทำ� เพลงของเรา จะไม่งามตามเสด็จ” แม้จะดูประชดประชันสักหน่อยแต่คง
จะเป็นจริงตามยุคสมัย ถึงจะมีธรรมเนียมข้อห้ามก�ำหนด
ตอ่ มาวงมโหรมี กี ารพฒั นาไปอกี มกี ารนำ� เครอ่ื งดนตรี กฎหมายประการใด ดจู ะเปน็ เรอ่ื ง “ตหี วั ลบ กลบหวั แตก” ทำ�
ของปี่พาทย์บางช้ินเข้ามาร่วมเช่นระนาดและฆ้องวง ดัง ไม่รู้ไม่ชี้หลีกเล่ียงกันไป โดยเฉพาะผู้มีอำ� นาจวาสนาบารมี
ความใน เพลงยาวไหว้ครูมโหรี ซ่ึงมีเค้าว่าแต่งเม่ือคร้ัง อันเป็นขุนนางผู้ใหญ่ระดับอัครมหาเสนาบดี ก็ต้องมีการ
พระเจา้ อย่หู ัวบรมโกศ ปลายกรงุ ศรีอยธุ ยา วา่ แสดงออกถงึ วาสนาบารม ี เสาะหาผคู้ นครบู าอาจารยม์ าสรา้ ง
วงของตนเองขึ้น ดังความใน เพลงยาวเล่นว่าความ ของ
ขอพระเดชเดชาภวู นาถ พระบาทปกเกลา้ เกศี เจ้าพระยาพระคลัง (หน) บทหนง่ึ ว่า
ขา้ ผู้จ�ำเรียงเร่อื งมโหรี ซอกรับกระจบั ปรี่ ำ� มะนา
โทนขลุ่ยฉ่งิ ฉาบระนาดฆอ้ ง ประลองเพลงขบั กลอ่ มพรอ้ มหนา้ ครน้ั พระกรุณาจะใกลห้ ลบั มกั ใหข้ บั นางกรายสายสมร
ขอเจริญศรสี ุขสวสั ดิท์ ุกเวลา ใหป้ รีชาชาญเชยี่ วในเชิงพิณ แลว้ ไปมลายคู เู่ พอ่ื นนอน ถา้ จวนตน่ื แลว้ จงึ ยอ้ นมาทางใน
แต่ขนาดของระนาดและฆ้องวงของทางปี่พาทย์ต้อง
ปรบั ลดขนาดปรบั เสยี ง เพอื่ ใหเ้ ขา้ กบั มโหรแี ตเ่ ดมิ ดว้ ยคนเลน่ การมโหรีก็เฟื่องฟุ้งรุ่งเรืองออกมาภายนอกด้วย
เป็นสตรี และคงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่างกันอย่าง ประการฉะนี้ จนถึงมีต�ำรับต�ำราบอกชื่อเพลง ระเบียบการ
กว้างขวาง มที ำ� นองลลี าใหม่ๆ เพ่มิ ข้นึ อีกมากมาย เรียงเพลง และเน้ือร้องบทเพลงเป็นอันมาก ดังได้รู้เห็นกัน
จนทกุ วันนี้
จากนั้นเข้าใจว่ามโหรีซึ่งเป็นของหลวงมาแต่เดิม เม่ือ ค ร้ั น ล ่ ว ง ก รุ ง เ ก ่ า ม า ถึ ง ก รุ ง ธ น บุ รี ป ร า ก ฏ ต า ม
เพิ่มเครื่องปี่พาทย์บางอย่างเข้าไป มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น จดหมายเหตุฉลองพระแก้วมรกต ว่ามีมโหรีชาติต่างๆ เช่น
กับภายนอกวังยิ่งข้ึน และคงแผ่อิทธิพลออกมานอกวังด้วย มโหรีจีน มโหรีฝร่ัง มโหรีญวน เป็นตน้
เพราะผูค้ นและขนบท่ีเพ่ิมขึ้นมาเป็นของภายนอก เม่ือมีการ
ปรับปรุงพัฒนาก็ย่อมส่งผลไปภายนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ตลุ าคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 21
ลกั ษณะการรวมวงมโหรีมาจนปจั จบุ นั มีขนบดังน้ ี
ก) วงมโหรีเคร่ืองเล็ก หรือ เคร่ืองเดี่ยว ประกอบด้วย ซอสามสาย ๑ คัน ซอด้วง ๑ คัน ซออู้ ๑ คัน จะเข้ ๑ ตัว ระนาดเอก
๑ ราง ฆอ้ งวงใหญ ่ ๑ วง ขลุ่ยเพยี งออ ๑ เลา โทน ๑ ใบ ร�ำมะนา ๑ ใบ ฉ่ิง ๑ คู่
ข) วงมโหรีเครื่องคู่ มีดังน้ี ซอสามสาย ๑ คัน ซอสามสายหลิบ ๑ คัน (ขนาดเล็กและเสียงแหลมกว่าซอสามสาย) ซอด้วง
๒ คัน ซออู้ ๒ คัน จะเข้ ๒ ตัว ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา (ขนาดเล็กและเสียงแหลมกว่าขลุ่ยเพียงออ) ระนาดเอก
๑ ราง ระนาดทุ้ม ๑ ราง ฆ้องวงใหญ ่ ๑ วง ฆ้องวงเลก็ ๑ วง โทน ๑ ใบ ร�ำมะนา ๑ ใบ ฉง่ิ ๑ ค ู่ ฉาบเลก็ ๑ ค ู่
ค) วงมโหรเี ครอื่ งใหญ ่ หรอื วงใหญ ่ ประกอบดว้ ย ซอสามสาย ๑ คนั ซอสามสายหลบิ ๑ คนั ซอดว้ ง ๒ คนั ซออ ู้ ๒ คนั จะเข้
๒ ตวั ขลยุ่ เพยี งออ ๑ เลา ขลยุ่ หลบิ ๑ เลา ระนาดเอก ๑ ราง ระนาดทมุ้ ๑ ราง ฆอ้ งวงใหญ ่ ๑ วง ฆอ้ งวงเลก็ ๑ วง ระนาดเอกทอง
หรือเหล็ก ๑ ราง ระนาดทุ้มทองหรอื เหลก็ ๑ ราง โทน ๑ ใบ รำ� มะนา ๑ ใบ ฉง่ิ ๑ ค่ ู ฉาบเล็ก ๑ ค่ ู ฆ้องโหม่ง ๑ ใบ
ในวงมโหรีทุกประเภทดังกล่าวข้างต้นนี้ แต่เดิมมา ท้ังระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตลอดจนระนาดเอกทอง
และระนาดทมุ้ ทอง ตอ้ งปรบั ใหม้ ขี นาดเลก็ ลงกวา่ ของปพ่ี าทยด์ ง้ั เดมิ ทกุ อยา่ ง เรยี กวา่ “ระนาดมโหร”ี “ฆอ้ งมโหร”ี แตป่ จั จบุ นั หาเครอื่ งดนตรี
ขนาดยอ่ มเชน่ นัน้ ไม่ได้งา่ ยแลว้ โดยทั่วไปจึงคงใช้เครอ่ื งดนตรีของวงปี่พาทยป์ รกต ิ
22 วัฒนธ รม
วงมโหรเี ครอ่ื งค ู่ บรรเลงสาธติ ในงาน ๑๐๐ ปี
ดุริยบรรณ ณ หอแสดงดนตรี จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั
(ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์, มิถุนายน ๒๕๕๘)
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 23
ต่อมาเมื่อถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จ ให้ข้าราชการขุนนางแอบมีโขน ละคร มโหรี ปี่พาทย์ ของ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงฟื้นฟูส่ิงต่างๆ ที่เคยมี ตนเองอยา่ งแพรห่ ลาย จนชน้ั แตพ่ ระยามหาเทพ (ทองปาน)
มาแตก่ รงุ ศรอี ยธุ ยาโบราณ นบั แตเ่ รอ่ื งการปกครอง บทกำ� หนด ซ่ึงไปถูกจีนอ้ังยี่ยิงตายท่ีเมืองสาครบุรี (มหาชัย สมุทรสาคร)
กฎหมายพระอัยการ การพระศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ยงั มเี รอื นแพหนา้ บา้ นไวเ้ ปน็ ทร่ี บั ประทานอาหารพระราชทาน
วรรณคดตี า่ งๆ ไพรบ่ า้ นพลเมอื งกค็ งโดยเสดจ็ ฯ ฟน้ื ฟสู บื ทอด มมี โหรสี าวๆ หม่ ผา้ สที บั ทมิ ไวบ้ �ำรงุ บำ� เรออารมณ ์ ขบั กลอ่ ม
สร้างสรรค์การมหรสพของตนข้ึนมาเหมือนกัน เช่นดนตรี อวดชาวเรือชาวแพเป็นที่ครึกครื้น มหากวีสุนทรภู่เขียนไว้ใน
ประเภทเคร่ืองสายชาวบ้าน มีจะเข้ ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ย ฯลฯ แม ่ ก กา ของ กาพย์พระไชยสรุ ิยา ว่า
อันมีมาแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า เมืองลพบุรี
ดังท่ี นิโกลาส์ แชรแวส ชาวฝรั่งเศสท่ีเข้ามาสมัยน้ันบันทึก อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่ง ทีห่ นา้ ตาดีด ี ทำ� มโหรีท่ีเคหา
ราชอาณาจกั รสยาม* ค่�ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอลอ่ กามา
สมยั พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หลา้ นภาลยั ทรงเคย มโหรจี งึ มไิ ดม้ หี นา้ ทเี่ พยี งขบั กลอ่ มใหห้ ลบั สบายอยา่ ง
เปน็ สามญั ชน หนอ่ เนื้อเชือ้ ไขชาวอมั พวาถ่ินฐานชาวเพลงอนั แต่ก่อนแล้ว
เล่ืองชื่อมาแต่เก่าก่อน จนกระทั่งรุ่นหนุ่ม จึงทรงคุ้นเคยกับ
วัฒนธรรมชาวบ้านเป็นอย่างดี ในรัชสมัยจึงพระราชนิพนธ์ ครั้นล่วงมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-
บทละครนอกชนิด “เจ็บแสบ” หลายเรื่อง มีการปรับปรุง เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ไม่ทรงห้ามปรามการมีละครผู้หญิงซ่ึง
เอาปี่พาทย์เข้ารับร้องเสภา เพ่ิมเคร่ืองดนตรีในวงปี่พาทย์ เคยเป็นของหวงห้ามเฉพาะในราชส�ำนัก ซ้�ำยังทรงสนับสนุน
ทั้งยังทรงช�ำนาญเป็นเลิศในการทรงซอสามสาย ดังปรากฏ ว่าท�ำให้บ้านเมืองครึกครื้น มโหรีผู้หญิงจึงเส่ือมทรามลง
เพลงพระราชนพิ นธ ์ บหุ ลนั ลอยเลอื่ น อนั เปน็ อมตะ โขนละคร การคมนาคมกบั นานาประเทศโดยเฉพาะทางตะวนั ตกสะดวก
กไ็ ด้รบั การสง่ เสริมปรบั ปรุงเป็นอันมาก ขนึ้ กว่าแตก่ ่อน การไหลบา่ ของวฒั นธรรมต่างแดนยอ่ มยงั ให้
เกดิ ผลสะเทอื นเปน็ ธรรมดา การมโหรคี งจะไดม้ กี ารปรบั ปรงุ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรด เปลยี่ นแปลงครงั้ ใหญท่ งั้ ภายในวงั และนอกวงั มกี ารเพม่ิ เครอื่ ง
การดนตรีโขนละครฟ้อนร�ำอันเป็นเครื่องประโลมโลกย์ ทรง ดนตรีบรรดามีในวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายเข้าไปรวมอยู่ใน
หนักแนน่ ศรทั ธาในการพระศาสนาเปน็ อุกฤษ จงึ เปน็ โอกาส
*แต่ในหนังสือ ต�ำนานเคร่ืองมโหรีปี่พาทย์ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรง-
ราชานุภาพ เสนอว่าวงเครื่องสายมามีขึ้นในรัชกาลที่ ๔ โดยเอาอย่าง
ดนตรชี าวจนี เมอ่ื วงมโหรผี ู้หญงิ เส่อื มทรามลง
24 วฒั นธ รม
จติ รกรรมฝาผนังรว่ มสมัยภาพวงดนตรหี ญิงยุคเปอรเ์ ซียโบราณ อนั อาจเป็นต้นเค้ารากเหงา้ หน่งึ ของวงมโหรีแห่งสยามประเทศ
(เอื้อเฟอ้ื ภาพ : อาจารย์อานันท ์ นาคคง)
วงมโหรี เช่น ระนาด ฆ้องวง หรือแม้แต่จะเข้ ซอด้วง ซออู้ บรรณานกุ รม
อนั เปน็ ของไพรบ่ า้ นพลเมอื ง กไ็ ดร้ บั การยกระดบั กลายมาเปน็ ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ต�ำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์.
เคร่ืองดนตรีในวงมโหรี มีเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ขึ้นอีกหลายเท่า พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๕๑๒.
เล่นกันได้ทุกเพศทุกวัย และไม่ใช้ในการกล่อมพระบรรทม พิมพ์แจกเป็นบรรณาการเน่ืองในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวง
แต่เป็นสิ่งส�ำหรับฟังโดยทั่วไป ความหมายแต่เดิมก็เล่ือนไป ไพเราะเสยี งซอ (อนุ่ ดรู ยะชวี นิ ). กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พจ์ นั วาณชิ ย,์
แต่ก็ยังต้องมีซอสามสายเป็นตัวหลักตัวน�ำอยู่ตามขนบมโหร ี ๒๕๑๙.
ท่ีซอสามสายจะคลอคนขับล�ำน�ำไปตามเดิม แต่กระจับปี่น้ัน มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. ฟังและเข้าใจเพลงไทย. พิมพ์
เปน็ อนั เสอื่ มสญู ไปดว้ ยการเอาจะเขเ้ ขา้ มาแทน เพลงทบี่ รรเลง พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ นางเจริญใจ สุนทร-
กส็ ามารถเอาเพลงหลายชนดิ มาเลน่ ไดห้ ลากหลาย ไมไ่ ดจ้ ำ� กดั วาทนิ . กรงุ เทพฯ : บรษิ ทั อมรนิ ทรพ์ รน้ิ ตงิ้ แอนดพ์ บั ลชิ ชงิ่ จ�ำกดั
ตามแบบมโหรีแต่เดิม ท้ังเพลงของปี่พาทย์หรือเครื่องสาย (มหาชน), ๒๕๕๕.
และมโหรีจึงพฒั นาลงตวั มาจนทกุ วันน ี้ สจุ ติ ต ์ วงษเ์ ทศ. รอ้ งรำ� ทำ� เพลง : ดนตรแี ละนาฏศลิ ปช์ าวสยาม. พมิ พ ์
ครงั้ ท ่ี ๓ กรงุ เทพฯ : กองทนุ เผยแพรค่ วามรสู้ สู่ าธารณะ, ๒๕๕๑.
ตลุ าคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 25
ช้ั น เ ชิ ง ช่ า ง
ห ตั ถ ก ร ร ม พัทธนันท ์โอษฐ์เจษฎา
เสียงโกร่งดังกร่างกร่ิง กร่างกริ่ง พร้อมกับเสียงล้อเกวียนบดกรวด
ตอ่ เนอื่ งยาวแตย่ ำ่� รงุ่ คอ่ ยๆ เลอื นหายไปจากวถิ ชี วี ติ ของคนไทยรว่ ม ๓๐ ปี
เฉกเช่นเดียวกับงานช่างฝีมือโบราณหลายต่อหลายแขนงท่ีมีลมหายใจ
ผะแผ่ว ตราบจนกระทั่งกระแสการอนุรักษ์ ฟื้นฟู วัฒนธรรมท้องถ่ิน
ของหลายภาคส่วนได้เข้ามาช่วยพยุงหนุนเสริมงานเหล่านั้นข้ึนมาใหม่
บ้างก็ล้มลุกคลุกคลาน ขาดผู้สืบสาน แต่ก็มีไม่น้อยที่สามารถฟื้นคืนชีวิต
และปรบั ตวั อยกู่ บั โลกปจั จุบันได้
ชุดเชย่ี นหมากทองเหลอื งของบา้ นปะอาว
ผลิตขน้ึ เป็นครัง้ แรกเพอ่ื ใชป้ ระกอบในภาพยนตร ์
ต�ำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (๒๕๔๕)
ปจั จบุ ันกลายเป็นสินค้าสำ� คัญทไ่ี ด้รบั ความนยิ ม
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
26 วฒั นธ รม
เครื่องทองเหลอื ง
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 27
เครอื่ งทองเหลอื ง : ดงู า่ ยแตท่ ำ� ยาก
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เครื่องทองเหลือง
บ้านปะอาว ต�ำบลปะอาว อ�ำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวิชาช่างฝีมือดั้งเดิมแขนงหน่ึงที่ยังคงมีลมหายใจ ม ี
การประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองต่อความต้องการใน
โลกปัจจุบัน โดยยังคงรักษาคุณค่าและอัตลักษณ์ของเครื่อง
ทองเหลืองแบบดัง้ เดิมไว้ไม่ให้สญู สลาย
“งานช่างทองเหลืองมันเบ่ิงคือง่าย แต่มันกะบ่ง่าย
มนั เปน็ งานละเอยี ด ผเู้ พนิ่ บม่ กั กะเฮด็ บไ่ ดโ้ ดน ผมู้ กั กะเฮด็ ได้
เปน็ อาชพี ได้”
ค�ำบอกเล่าของ สุเทพ ร่วมรักษ์ วัย ๔๗ ปี ผู้สืบทอด
วิชาช่างนับเน่ืองมาเป็นรุ่นท่ี ๖ บอกเล่าถึงศิลปะการหล่อ
เคร่ืองทองเหลือง ว่าผู้ท่ีจะมาท�ำงานต้องมีความรักชอบเป็น
พน้ื ฐาน จงึ จะสามารถท�ำงานไดน้ าน
วชิ าชา่ งหลอ่ ทองเหลอื งของชาวปะอาวเปน็ งานสบื ทอด
กันมาจากรุ่นสู่รุ่น บางคนถึงกับกล่าวว่าเป็นงานช่างฝีมือที่
สืบทอดมาแต่อารยธรรมก่อนประวตั ิศาสตรท์ บ่ี ้านเชียง
การแกะลวดลายลงบนข้ผี งึ้ เปน็ ขั้นตอนสำ� คญั
ในกระบวนการผลิตแบบสญู ขผ้ี ง้ึ
เนอ่ื งจากลวดลายตา่ งๆ ท่ีเกิดข้ึนในข้นั ตอนนี้
จะเป็นลวดลายที่เกิดข้นึ จริงบนเคร่อื งทองเหลอื ง
28 วฒั นธ รม
รปู ทรงต่างๆ ของผลิตภัณฑ์เครอื่ งทองเหลือง กรรมวธิ สี รา้ งสรรค์หตั ถกรรมทองเหลือง
เกิดจากการปน้ั หุ่นแล้วน�ำขี้ผ้งึ มากลงึ รอบห่นุ
ก่อนที่จะกลึงขผี้ งึ้ ให้สวยงามตามรปู ทรงทต่ี ้องการ เทคนคิ และวธิ กี ารหลอ่ โลหะทองเหลอื งของชาวบา้ นปะอาว เรยี กกนั วา่
“การหลอ่ แบบสญู ขผ้ี งึ้ ” หรอื “ขผี้ งึ้ หาย” (lost-wax casting process)
มีวัสดุและอปุ กรณต์ ่างๆ ดังน้ี
วัสด ุ
มักเป็นของหาง่ายในท้องถ่ิน ได้แก่ ดินโพน (ดินจอมปลวก)
ทว่ั ไป ดนิ โพนเหนยี ว มลู ววั แกลบ ขผี้ งึ้ ขสี้ ดู (ชนั โรง) ขซ้ี ี (ยางไมจ้ กิ
ไมร้ ัง)
อุปกรณ์
๑. มอนน้อย คืออุปกรณ์ท่ีใช้กลึงหุ่นหรือแม่แบบ ประกอบด้วย
ส่วนตา่ งๆ ดงั น้ี
๑.๑ โฮงเสี้ยน หรือโฮงกลึง เป็นไม้โค้งงอคล้ายล้อเกวียน
ทำ� เปน็ สองชนิ้ ซา้ ย-ขวา สำ� หรบั ยดึ ไมม้ อนกลงึ หนุ่ แตล่ ะขา้ ง
เจาะรูกลมๆ ส�ำหรบั เสยี บไมม้ อน
๑.๒ ไม้มอน คือไม้แกนกลางส�ำหรับขึ้นรูปหุ่นเพื่อช่วยใน
การกลงึ ทำ� จากไมเ้ นอื้ แขง็ เหลากลม ยาวพอดกี บั ความกวา้ ง
ของโฮงเสย้ี น หัวท้ายจะใสเ่ ขา้ ไปในรูเพอ่ื ใช้กลงึ หุ่น
๑.๓ ไม้เหยียบ มักท�ำจากไม้เน้ือแข็ง ใช้เหยียบกดยึด
โฮงเสี้ยนใหน้ ง่ิ ขณะกลงึ หนุ่
๑.๔ มีดกลึง หรือเหล็กเส้ียน มักจะท�ำจากเหล็กหรือไม้ ม ี
หน้าตัดคล้ายส่ิว เป็นอุปกรณ์ท่ีช่วยในการกลึงให้แบบ
เรยี บเสมอ
๒. แมพ่ มิ พล์ วดลาย มกั ทำ� จากเขาควาย เนอ่ื งจากมคี ณุ ลกั ษณะ
อ่อนนุม่ ยืดหยนุ่
๓. กระทะตม้ ขี้ผ้งึ
๔. เตาถา่ น สำ� หรบั ใหค้ วามรอ้ นในกระบวนการรีดขีผ้ ้ึงเป็นเส้น
๕. เตาเผาชิน้ งานและเหลก็ คีบ
๖. เตาหลอมทองเหลอื งและอปุ กรณต์ ักน�้ำทอง
๗. กระดง้
๘. ฟนื
ข้ันตอนการหล่อเครื่องทองเหลืองแบบขีผ้ ึ้งหาย
การทำ� เครอื่ งทองเหลอื งแบบขผ้ี งึ้ หาย แบง่ ได ้ ๑๓ ขน้ั ตอน ดงั น้ี
๑. การเตรยี มดนิ เพือ่ ทำ� หุ่น (แมแ่ บบ) แบง่ เป็นสองลักษณะ
๑.๑. หุ่นหรือแม่แบบ ใช้ดินโพนท่ัวไป ซ่ึงเหนียวเล็กน้อย
ผสมกบั มลู ววั ในอตั ราสว่ น ๒ : ๑ หนุ่ ทไ่ี ดจ้ ากสว่ นผสมของ
มูลวัวกับดินโพนจะเกาะตัวแน่น กลึงง่าย มีความโปร่ง
ไมท่ บึ มาก ยามทด่ี นิ ไดร้ บั ความรอ้ นสงู ในเตาอบจะขยายตวั
ได้ดี ไม่แตกร้าว (ไม่นิยมใช้มูลควาย เนื่องจากคุณสมบัติ
การยดึ เกาะไมด่ ีเทา่ อกี ท้ังมีกล่ินรุนแรงกวา่ )
๑.๒ ดินหุ้มแบบข้ีผึ้งภายนอกก่อนน�ำไปเผา ใช้ดินโพน
เนือ้ เหนยี วกว่าแบบแรก ผสมกับแกลบในอตั ราสว่ น ๓ : ๑
อปุ กรณท์ ตี่ อ้ งใชใ้ นขนั้ ตอนน ้ี คอื ครกมอง ใชต้ ำ� ดนิ และสว่ น
ผสมใหเ้ ขา้ กนั
☞ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 29
☞
๒. การปั้นหุ่น (แม่แบบ) น�ำดินโพนท่ีผสมกับมูลวัวมาปั้นเป็น “มอนนอ้ ย” เปน็ อุปกรณก์ ารกลึงข้นึ รปู ห่นุ เคร่อื งทองเหลือง
รปู ทรงและขนาดตามตอ้ งการ โดยน�ำไมม้ อนมาประกอบเปน็ แกนกลาง ท่ชี าวบา้ นปะอาวผลติ ขนึ้ เอง
ของหนุ่ น�ำไปผง่ึ แดดให้แหง้ จากนัน้ กลงึ ใหไ้ ดส้ ดั ส่วน
๓. การเตรียมข้ีผ้ึง น�ำข้ีผ้ึง ขี้สูด และข้ีซี ต้มหลอมรวมกันใน
อัตราส่วน ๓ : ๑ : ๒_๕ (อัตราส่วนข้ีซีขึ้นอยู่กับสภาพอากาศร้อน
หรอื เย็น) จากนั้นน�ำไปเทใสถ่ าด ปล่อยให้เยน็ เป็นแผ่นข้ผี ง้ึ
อุปกรณท์ ี่ต้องใช้ในข้นั ตอนนี้ คอื กระทะและเตาไฟ
๔. การรดี เสน้ ขผ้ี งึ้ นำ� ขผี้ งึ้ ทเ่ี ตรยี มจากขอ้ ๓ มาลนไฟใหอ้ อ่ นตวั
แล้วใส่กระบอกของบั้งเดียก (อุปกรณ์ส�ำหรับรีดเส้น ท�ำจากไม้ไผ่
คล้ายกระบอกสูบ) เพ่ือรีดเป็นเส้น โดยก่อนใส่ข้ีผึ้งต้องอังบ้ังเดียกให้
แกนกระบอกซึ่งทำ� จากเหล็กอุ่น เพ่ือช่วยให้ขี้ผ้ึงไม่แข็งตัว จากนั้นดัน
ด้ามกระบอกของบั้งเดียกเพ่ือบีบอัดให้ข้ีผ้ึงออกมาเป็นเส้น ใส่ลงบน
กระด้ง วิธีการรีดให้ส่ายบง้ั เดยี กไปมาคล้ายการบบี เส้นขนมจีน
อปุ กรณท์ ตี่ อ้ งใชใ้ นขนั้ ตอนน ้ี ไดแ้ ก ่ บง้ั เดยี ก เตาถา่ น และกระดง้
๕. การพนั ขผ้ี งึ้ หรอื เคยี นขผ้ี ง้ึ นำ� เสน้ ขผี้ งึ้ ทไ่ี ดจ้ ากการรดี ในขอ้ ๔
มาพนั รอบหนุ่ ในขอ้ ๒ แลว้ นำ� ขผี้ ง้ึ ไปลนไฟใหน้ มุ่ บบี ขผ้ี ง้ึ ใหเ้ สมอกนั
กอ่ นนำ� ไปกลึงใหเ้ รียบเสมอื นชน้ิ งานทจี่ ะออกมาจริง
๖. การตกแต่งลวดลาย ตกแต่งลวดลายตามแบบชิ้นงานที่
ต้องการ ช่างทองเหลืองบ้านปะอาวมักใช้แม่พิมพ์เขาควายกดลงบน
ข้ผี ึ้ง แต่ก่อนกดตอ้ งน�ำแบบชุบนำ้� เสียกอ่ น ป้องกนั ขีผ้ ง้ึ ตดิ แบบ
๗. การโอบเพ็ดหรือการโอบดิน เก็บลวดลายบนแม่แบบขี้ผ้ึง
โดยน�ำเศษดินโพนผสมมูลวัวมาผสมน้�ำเล็กน้อยให้พอปั้นได้ แล้วน�ำ
มาโอบรอบหุ่นแบบที่เขียนลวดลาย ตกแต่งเป็นช้ินงานท่ีต้องการ
ขั้นตอนนี้ตอ้ งใสส่ ายชนวน (ติดแซง) ส�ำหรับเป็นช่องเททองเหลืองลง
ไปแทนขีผ้ ้ึงดว้ ย
๘. การโอบเบ้า น�ำดินโพนเหนียวผสมแกลบโอบรอบหุ่นและ
ป้ันให้มีฐานกว้างพอจะตง้ั ช้นิ งานบนดนิ ได ้ เป็นขนั้ ตอนโอบท้ายสุด
๙. การผ่ึงแดด น�ำไปผ่ึงแดดให้แห้ง ระยะเวลาขึ้นอยู่กับช้ินงาน
และแดด
๑๐. การสุมเบ้า น�ำชิ้นงานท่ีแห้งดีแล้วไปสุมเบ้าในเตาเผา
อณุ หภมู ิราว ๗๐๐ องศาเซลเซียส
๑๑. การคว่�ำเบ้า น�ำเบ้าออกมาตั้งโดยคว่�ำลง เพื่อให้ขี้ผ้ึงที่
ละลายไหลออกจากเบา้ ชอ่ งทางทไ่ี หลออกคอื ชอ่ งทตี่ ดิ ชนวนไว ้ กลาย
เป็นรเู พ่ือเททองเหลอื ง
๑๒. การเททองเหลือง ระหว่างสุมเบ้าจะละลายน�้ำทองเหลือง
ไว้ที่อุณหภูมิราว ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส เมื่อทองเหลืองละลายดีแล้ว
น�ำไปเทลงในหุ่นแม่แบบจนเต็ม ทิ้งไว้ราว ๒๐ นาที จึงกะเทาะแบบ
ออกมาเป็นชิ้นงาน
๑๓. การตกแตง่ นำ� ชนิ้ งานทไี่ ดม้ ากลงึ ตกแตง่ ใหส้ วยงาม กอ่ น
นำ� ไปใชง้ านหรือจำ� หน่าย
30 วัฒนธ รม
ลกู กระพรวนท่มี ลี ักษณะใกลเ้ คยี ง ปะอาว : บา้ นปล่อยนอ้ ง
กับงานชา่ งยุคก่อนประวัตศิ าสตรน์ ้ี
เปน็ เสมอื นหลักฐานเช่ือมโยง “ผู้เฒ่าผู้แก่แต่เก่าเพ่ินกะมาแต่หนองบัวลุ่มภู สมัย
รากเหงา้ ของงานช่างฝีมอื ชาวปะอาว ท้าวค�ำผงพุ่นละ่ ”
ว่าสบื ทอดความรมู้ าตงั้ แต่
สมัยบ้านเชยี ง บญุ ม ี ลอ้ มวงศ ์ เลา่ ถงึ ประวตั คิ วามเปน็ มาของหมบู่ า้ น
ว่า บรรพบุรุษของชาวปะอาวอพยพย้ายถ่ินมาแต่เมือง
เวียงจันทน์ เมื่อครั้งที่พระวอพระตาน�ำไพร่พลอพยพจาก
กรุงศรีสัตนาคนหุตมาต้ังบ้านท่ีหนองบัวลุ่มภู ภายหลังเกิด
ศึกสงครามจนท�ำให้พระวอพระตาตายในที่รบ ท้าวค�ำผง
บุตรของพระตา ได้น�ำพาไพร่พลหนีมาตั้งถิ่นฐาน ณ ห้วย
จาระแม ที่ตงั้ ของจงั หวดั อบุ ลราชธานปี ัจจบุ ัน
พ่อขุนใหญ่และพ่อขุนน้อยอพยพติดตามมากับท้าว
ค�ำผงด้วย ท้ังสองชักชวนผู้คนส่วนหน่ึงให้แยกย้ายออกไปหา
ท่ีท�ำกินและลงหลักปักฐาน เมื่อพบทำ� เลเหมาะ ขุนใหญ่ผู้พี่
ไดย้ กใหข้ นุ นอ้ ยผนู้ อ้ งปกั หลกั อย ู่ จงึ เรยี กหมบู่ า้ นนต้ี ามคำ� ลาว
อีสานว่า “ป๋าอาว” (“ป๋า” แปลว่าปล่อยทิ้ง “อาว” หมายถึง
น้องชาย) ซ่ึงกลายมาเป็นบ้านปะอาว ส่วนขุนใหญ่ผู้พี่ได้
ไปลงหลักปักฐานที่บ้านโพนเมือง เขตอ�ำเภอม่วงสามสิบ
จังหวดั อุบลราชธานี
ตุลาคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 31
อเคารช่อื พี งเทสอรงิมเจหาลกือกงา รท�ำนา ชา่ งทองเหลอื งที่บา้ นปะอาว
แต่โบราณมา ชาวบ้านปะอาวมีวิถีชีวิตเกษตรกรรม ในโลกปจั จบุ นั งานชา่ งฝมี อื ตกอยบู่ นความสลบั ซบั ซอ้ น
ท�ำนาเป็นหลัก ส่วนหัตถกรรมเครื่องทองเหลืองถือเป็น ต้องเรียนรู้ท่ีจะผสมผสานคลุกเคล้าดุจการปรุงต�ำรับอาหาร
อาชีพเสริมยามว่างเว้นจากงานหลัก แต่ละปีจะมีการเท เลิศรสให้คนได้ล้ิมลอง การปรับประยุกต์ลวดลาย ลักษณะ
ทองเหลืองเพียงครั้งเดียว จากน้ันจะหาบหรือบรรทุกเกวียน เคร่ืองมือเคร่ืองใช้ต้องสอดคล้องกับปัจจุบันจึงจะท�ำให้งาน
เข้าไปในเมอื ง ขายให้รา้ นสังฆภัณฑ์บ้าง ขายตามบา้ นบ้าง ช่างฝีมอื คงอยไู่ ด้
ยามว่างจากงานท้องทุ่งหลังเก็บเก่ียวแล้ว คนรุ่นเก่า ทกุ วนั นใี้ นบา้ นปะอาวมชี า่ งหลอ่ เครอื่ งทองเหลอื งราว
จะเตรียมเบ้าหลอมทองเหลืองจากวัสดุที่หาได้ในท้องถ่ิน ๓๐ คน แตก่ ผ็ ลดั เปลยี่ นหมนุ เวยี นกนั เขา้ มาท�ำ ทท่ี ำ� ประจำ� มี
จากน้ันแต่ละครอบครัวก็จะหาบเบ้าเข้าไปในป่า หาท�ำเล ไมม่ ากนัก
หลอมเททองเหลือง เน่ืองจากหาฟืนและก่อไฟได้ง่าย ระยะ
ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนมาทำ� ที่ใต้ถุนบ้าน ปัจจุบันมีการรวมตัว “คนรนุ่ ผมรนุ่ ท ี่ ๖ กม็ เี ทา่ น ้ี รนุ่ ๗ นนั้ ไมร่ จู้ ะมสี กั กคี่ น
กันเปน็ กลุม่ ทำ� เคร่ืองทองเหลอื งในบริเวณวดั ของหมบู่ ้าน เพราะงานนี้มันใช้เวลา ละเอียด คนรุ่นหลังเขาท�ำอย่างอื่น
มันเร็ว ได้เงินเร็วกว่า แต่ผมก็ภูมิใจท่ีได้สืบความรู้ของปู่ย่าไว้
การท�ำเครื่องทองเหลืองเป็นศาสตร์และศิลป์ท่ีงดงาม ท่ีเหลือคงตอ้ งเปน็ เร่อื งของคนรุ่นหลงั ”
ต้องประกอบด้วยความรู้ทางด้านโลหะวิทยาและศิลปะ
ความรู้เหล่าน้ีถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นการเรียนรู้ผ่าน ทองค�ำ ประทุมมาศ เล่าขณะที่สองมือยังคงประณีต
ประสบการณ์ มีการปรับเปล่ียนเพื่อให้เกิดความง่าย งดงาม ลวดลายลงบนแม่แบบขี้ผ้ึง
และเหมาะสมกับประโยชนใ์ ช้สอยในแต่ละยุคสมยั
เสียงฟ้าค�ำรามยามบ่าย เป็นสัญญาณว่าอีกไม่นาน
ในอดตี เครอ่ื งทองเหลอื งทนี่ ยิ มผลติ กนั ไดแ้ ก ่ เตา้ ปนู เม็ดฝนกจ็ ะร่วงหล่นจากฟ้า
ตะบันหมาก กระพรวน (หมากหิ่ง) โกร่ง ระฆัง ขันลงหิน
ระยะหลงั เครอ่ื งใชบ้ างอยา่ งไมเ่ ปน็ ทนี่ ยิ มจงึ หมดไป แตก่ ม็ กี าร “โอ.้ ..มนั กะจ๋งั ซ่ลี ะครับ ตอ้ งตากเบ้าอกี หลายม้อื ”
ท�ำเพิ่มเติมเป็นชุดเช่ียนหมาก คนโทน�้ำ แจกัน เชิงเทียน บุญมี ล้อมวงศ์ กล่าวอย่างข�ำๆ พร้อมกับเดินไปเก็บ
พานรองรูปแบบต่างๆ โดยลวดลายท่ีเป็นอัตลักษณ์ของ ช้ินงานท่ีตากไว้เข้าร่มก่อนที่ฝนจะตกลงมาเปียกชิ้นงานที่
เคร่ืองทองเหลืองบ้านปะอาว ได้แก่ ลายบัว ลายหมากหวาย เพียรปั้นแต่ง
ลายไข่ปลา ลายลูกกลิ้ง นอกจากน้ีแล้วยังมีลวดลายที่ สายฝนโปรยปรายลงแผ่นดิน รอเมล็ดพันธุ์แตกหน่อ
ออกแบบขึ้นใหม่ในระยะหลังด้วย อ่อนเป็นต้นไม้ของฤดูกาลใหม่ หากแต่วันพรุ่งนี้ บ้านปะอาว
จะมชี า่ งหลอ่ เครอื่ งทองเหลอื งสบื ทอดมรดกวฒั นธรรมโบราณ
ของชาวอบุ ลราชธานหี รอื ไม ่ ยงั คงเปน็ คำ� ถามทไ่ี มม่ คี ำ� ตอบ
ขอบคณุ
คุณบญุ ม ี ลอ้ มวงศ ์ คุณสุเทพ รว่ มรกั ษ์ คณุ หนมู อญ ประทุมมาศ
และคณุ ทองคำ� ประทุมมาศ
บรรณานุกรม
สุรยิ า โชคสวัสดิ์ และเจรญิ ชมุ มวล. ทร่ี ะลกึ พิธวี างศลิ าฤกษ์สร้าง
พระมหาธาตเุ จดยี ศ์ รีบรู พา. อบุ ลราชธาน ี : ศิริธรรมออฟเซท,
๒๕๕๖.
32 วฒั นธ รม
สื บ ส า ว เ ล่ า เ รื่ อ ง
เรื่อง : อภวิ ันทน ์ อดุลยพเิ ชฏฐ์
ภาพ : วจิ ติ ต ์ แซ่เฮง้
พนั ท้ายพลกิ หนา้ ต�ำนาน
รูปปั้นพันทา้ ยนรสงิ ห์ภายในศาล
34 วัฒนธ รม
นรสงิ ห์ เมื่อเอ่ยนาม “พันท้ายนรสิงห์” ในความรับรู้ของคนไทย
สว่ นใหญจ่ ะนกึ ถงึ ภาพขา้ ราชบรพิ ารผมู้ คี วามซอื่ สตั ยต์ อ่ หนา้ ที่
ของตน
แต่ในอีกด้านหนึ่ง เรื่องราวในตำ� นานพันท้ายนรสิงห์
ผู้กลายเป็นเจ้าพ่อผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งโคกขาม ยังสะท้อนความ
สมั พนั ธร์ ะหวา่ งมนษุ ยก์ บั สภาพภมู ปิ ระเทศทอ้ งถน่ิ ภาคกลาง
ในอดตี ดว้ ย
ศาลพนั ท้ายนรสงิ ห์
จะเหน็ รูปปน้ั ไกช่ นขนาดตา่ งๆ
ทมี่ ีผู้น�ำมาแก้บนตามเร่ืองเลา่
ที่วา่ พระพทุ ธเจ้าเสอื
โปรดการชกมวยและตไี ก่
ดังนัน้ พนั ทา้ ยนรสิงห์
จึงน่าจะชอบไก่ชนเชน่ กัน
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 35
บรเิ วณท่เี ชื่อกนั ว่าเปน็ หลักประหารพนั ทา้ ยนรสงิ ห์
36 วฒั นธ รม
ตลุ าคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 37
แบบอยา่ งในอุดมคติ กงิ่ ไมใ้ หญร่ มิ ตลง่ิ โขนเรอื (สว่ นหวั ของเรอื ) หกั ตกลงไปในนำ้�
พนั ทา้ ยนรสงิ หเ์ หน็ ดงั นนั้ จงึ กราบบงั คมทลู ใหพ้ ระพทุ ธเจา้ เสอื
กลา่ วกนั วา่ พนั ทา้ ยนรสงิ หม์ ตี วั ตนอยใู่ นรชั สมยั สมเดจ็ ประหารชีวิตตนเพราะกระท�ำความผิดตามกฎพระอัยการ
พระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือพระพุทธเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา พระพุทธเจ้าเสือทรงเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจึงพระราชทาน
(ครองราชยร์ ะหวา่ งป ี ๒๒๔๖–๒๒๕๑) เรอื่ งราวกลา่ ววา่ ในปี อภัยโทษ แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยินยอม ยังคงยืนกรานขอรับ
๒๒๔๗ พระพุทธเจ้าเสือเสด็จด้วยเรือพระที่น่ังเอกไชยไป พระราชอาญา ท้ายที่สุดพระพุทธเจ้าเสือจึงทรงต้องตัดสิน
ทรงปลา (ตกปลา) ทป่ี ากนำ้� เมอื งสาครบรุ ี (จงั หวดั สมทุ รสาคร พระทัยให้น�ำพันท้ายนรสิงห์ไปประหารชีวิตท่ีต�ำบลโคกขาม
ปัจจุบัน) พันท้ายนรสิงห์ทำ� หน้าที่นายท้ายเรือพระที่นั่ง เม่ือ และโปรดเกลา้ ฯ ใหต้ ้งั ศาลเพยี งตา ณ จุดประหารนน้ั พรอ้ ม
เรือมาถึงบริเวณโคกขามซึ่งเป็นล�ำคลองขนาดเล็กที่คดเค้ียว ทงั้ น�ำโขนเรือทห่ี กั ตง้ั ไวท้ ่ีศาลน้ันดว้ ย ภายหลงั จงึ มกี ารสรา้ ง
และน้�ำไหลเช่ียว ยากแก่การควบคุมเรือ เรือพระที่นั่งจึงชน ศาลพันท้ายนรสิงห์ข้ึนใหม่บริเวณที่ต้ังของศาลเพียงตาเดิม
38 วฒั นธ รม
(ซา้ ย) ซากเรือโบราณ ภายในบรเิ วณวดั โคกขาม บา้ นพนั ทา้ ยนรสงิ ห ์ ตำ� บลโคกขาม
ทมี่ ีผนู้ �ำมาตั้งไว้ อำ� เภอเมือง จังหวัดสมทุ รสาคร
ในบริเวณศาล
(ลา่ ง) คลองโคกขาม ตำ� นานอกี สำ� นวนหนงึ่ เลา่ วา่ พนั ทา้ ยนรสงิ หซ์ ง่ึ ทำ� หนา้ ที่
ขา้ งๆ ศาลพนั ทา้ ยนรสิงห์ นายทา้ ยเรอื พระทน่ี งั่ ในการเสดจ็ ทรงปลาของพระพทุ ธเจา้ เสอื
รวู้ า่ มผี คู้ ดิ ลอบทำ� รา้ ยพระพทุ ธเจา้ เสอื จงึ หาเหตใุ หห้ วั เรอื หกั
เสียก่อน เพื่อไม่ให้เรือพระที่น่ังไปถึงจุดที่กบฏซุ่มเตรียมปลง
พระชนม์ โดยตนเองยอมถูกประหารชีวติ แทน
แม้ภายหลังจะมีการวิเคราะห์ว่าเรื่องราวของพันท้าย-
นรสิงห์เพ่ิงจะปรากฏขึ้นในพระราชพงศาวดารที่เรียบเรียงข้ึน
เมอื่ สมยั กรงุ รัตนโกสินทรน์ เี่ อง รวมทง้ั อาจเปน็ เร่อื งเสรมิ แตง่
ขนึ้ มา หรอื กระทงั่ วา่ อาจไมเ่ คยมอี ยจู่ รงิ เลยกไ็ ด ้ ทวา่ ต�ำนาน
พันท้ายนรสิงห์กลับกลายเป็นแบบอย่างในอุดมคติของ
ข้าราชการที่มีความซ่ือสัตย์ต่อหน้าท่ี ยอมรับความผิดเพื่อ
รักษาความศักด์ิสิทธ์ิของกฎหมายของบ้านเมืองจนได้รับการ
ยกย่องให้เป็นหนึ่งในบุคคลส�ำคัญของชาติ เคียงคู่กับวีรบุรุษ
วีรสตรี และบุรพกษัตริย์ ดังปรากฏในหนังสือแบบเรียนของ
รฐั ไทย
คุณสมบัติพลเมืองดีท่ีน่ายกย่องเช่นนี้ท�ำให้เร่ืองราว
ของพันท้ายนรสิงห์ได้รับการผลิตซ�้ำในรูปแบบต่างๆ จาก
เร่ืองเล่าสู่นวนิยาย ละคร ภาพยนตร์ ละครเวที เพลงลูกทุ่ง
การต์ นู เปน็ ตน้ คนทกุ รนุ่ ทกุ วยั จงึ ยงั คงรบั รถู้ งึ วรี กรรมของทา่ น
สบื เนอ่ื งกนั มา
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 39
พันท้ายนรสงิ หก์ ับแม่นวล ภรรยาค่ชู วี ติ
รบั บทโดย ชชู ัย พระขรรคช์ ยั และ สพุ รรณ บูรณะพิมพ ์
จากภาพยนตร์ พนั ท้ายนรสงิ ห ์ (พ.ศ. ๒๔๙๓)
(ภาพจากหนังสือ สพุ รรณ บูรณะพิมพ์ ราชินีแห่งการละคร ๒๕๒๘)
40 วัฒนธ รม
“เจ้าพอ่ ” แหง่ โคกขาม
ส�ำหรับชาวโคกขาม เมืองสมุทรสาคร พันท้ายนรสิงห์ คลองโคกขามไปออกที่บริเวณแม่น้�ำท่าจีน คลองขุดนี้กว้าง
มไิ ดเ้ ปน็ เพียงสามัญชนคนกล้าเทา่ นน้ั แต่ยงั ได้รบั การยกยอ่ ง ๕ วา ลกึ ๖ ศอก แลว้ เสรจ็ ในป ี ๒๒๕๒ รชั สมยั พระเจา้ อยหู่ วั
ให้เป็น “เจ้าพ่อ” ของท้องถ่ินโคกขาม ศาลพันท้ายนรสิงห์ ทา้ ยสระ พระราชทานนามว่า “คลองสนามไชย” (ต่อมาเรยี ก
สถานท่ีประดิษฐานรูปปั้นของท่านในชุดนายท้ายเรือสมัย “คลองมหาชัย” ส่วนชาวบ้านเรียก “คลองถ่าน” ปัจจุบันรู้จัก
อยธุ ยายนื ผง่ึ ผายพรอ้ มดว้ ยไมพ้ ายคดั ทา้ ยเรอื ในมอื กลายเปน็ ในช่ือ “คลองด่าน”) การขุดคลองลัดโคกขามคงท�ำให้การ
สถานท่ีศักด์ิสิทธ์ิท่ีคนทั้งในท้องถิ่นและคนต่างถ่ินที่มาถึง เดนิ ทางทางน้�ำสะดวกรวดเรว็ ขน้ึ และเสน้ ทางนเ้ี องนา่ จะเปน็
โคกขามตอ้ งแวะสกั การบชู า ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากพวงมาลยั มากมาย เส้นทางสัญจรท่ีส�ำคัญในอดีตดังท่ีสมเด็จพระบวรราชเจ้า
ที่คล้องทับกันเต็มไม้พายคัดท้ายเรือ และรูปปั้นไก่ชนท่ีผู้คน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงเลือกใช้เป็นเส้นทาง
นำ� มาสักการะตงั้ อยู่ท้ังภายในและภายนอกศาล เดนิ ทพั ไปรบกับพมา่ ท่ถี ลางและชมุ พรเม่ือปี ๒๓๕๒
มีผู้ท่ีศึกษาต�ำนานประจ�ำท้องถิ่นริมแม่น้�ำและชายฝั่ง นอกจากทโ่ี คกขามแลว้ ยงั มกี ารสรา้ งอนสุ าวรยี พ์ นั ทา้ ย
ทะเลภาคกลางจำ� แนกตำ� นานพนั ทา้ ยนรสงิ หว์ า่ จดั อยใู่ นกลมุ่ นรสิงห์ขึ้นที่วัดนรสิงห์ ต�ำบลนรสิงห์ อ�ำเภอป่าโมก จังหวัด
ต�ำนานไทยที่เป็นเจ้าพ่อประจำ� ถ่ิน (Mythical Legend) โดย อ่างทอง ดว้ ยเชือ่ วา่ ถ่ินนีเ้ ปน็ บ้านเกดิ ของทา่ น
อยู่ในกลุ่มเร่ืองราวของดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตในน้�ำหรือ
ริมน้�ำท่ีได้กลายเป็นส่ิงศักด์ิสิทธ์ิประจ�ำท้องน�้ำบริเวณที่เสีย จะเหน็ ไดว้ า่ นอกจากตำ� นานพนั ทา้ ยนรสงิ หจ์ ะมคี วาม
ชีวิต (reincarnation as water-spirit) ซึ่งลักษณะเช่นน้ีเป็น ส�ำคัญในฐานะบุคคลต้นแบบแล้วในอีกด้านหน่ึงต�ำนาน
ต�ำนานประจำ� ถ่นิ ทีป่ รากฏในหลายประเทศทว่ั โลก พันท้ายนรสิงห์สะท้อนความสัมพันธ์ของผู้คนกับภูมิประเทศ
ของท้องถ่ินริมแม่นำ้� ภาคกลางในอดีต ดังท่ีปรากฏตำ� นานส่ิง
ในอีกมุมหนึ่ง ต�ำนานพันท้ายนรสิงห์ยังสะท้อนถึง ศักด์ิสิทธ์ิประจ�ำถิ่นอีกหลายเร่ืองที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ
ความสมั พนั ธข์ องผคู้ นกบั ภมู ปิ ระเทศในทอ้ งถน่ิ ดงั เนอ้ื เรอ่ื งที่ ตำ� นานพนั ทา้ ยนรสงิ หเ์ ชน่ เดยี วกนั หากแตม่ รี ายละเอยี ดของ
กลา่ วถงึ เหตทุ เี่ รอื พระทน่ี งั่ ของพระพทุ ธเจา้ เสอื ชนกงิ่ ไมร้ มิ ฝง่ั สภาพภูมิประเทศท่ีแตกต่างกันไป ความหมายจากต�ำนาน
ก็เพราะคลองโคกขามมีขนาดเล็กและคดเคี้ยวมาก ความ พนั ทา้ ยนรสงิ หจ์ งึ เปน็ ตวั อยา่ งหนง่ึ ทใ่ี หข้ อ้ มลู ทนี่ า่ สนใจในการ
คดเคี้ยวของคลองโคกขามจึงเป็นอุปสรรคส�ำคัญส�ำหรับการ ศึกษาเรื่องราวของท้องถ่ินประกอบกับเอกสารและข้อมูลอื่น
สัญจรทางน�้ำในบริเวณดังกล่าว ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าเสือ ไดเ้ ชน่ กัน
จงึ มรี บั สงั่ ใหพ้ ระยาราชสงครามคมุ ไพรพ่ ลท�ำการขดุ คลองลดั
อ้างอิง
ศิราพร ณ ถลาง. ทฤษฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์
ต�ำนาน-นทิ านพน้ื บา้ น. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพแ์ หง่ จุฬาลงกรณ ์
มหาวิทยาลยั , ๒๕๕๗.
สายป่าน ปุริวรรณชนะ. ต�ำนานประจ�ำถ่ินริมแม่น�้ำและชายฝั่งทะเล
ภาคกลาง : ความสมานฉันท์ในความหลากหลาย. กรุงเทพฯ :
โครงการเผยแพรผ่ ลงานวชิ าการ คณะอกั ษรศาสตร ์ จฬุ าลงกรณ ์
มหาวทิ ยาลยั , ๒๕๕๒.
ตลุ าคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 41
ถจาึง ก“ ก“าตบีจ่ ดับั ด”ี้”
ทีมชาตไิ ทยของกีฬากาบดั ดี้
ญาตใิ กล้ชดิ ของ “ต่ีจับ”
ในการแขง่ ขันกฬี าเอเชียนเกมส์
ครัง้ ท ่ี ๑๓ ที่กรงุ เทพฯ
42 วัฒนธ รม
กี ฬ า - ก า ร ล ะ เ ล่ น
เร่อื ง : พทิ ยะ พงศแ์ จง้ งาม
ภาพ : นติ ยสาร สารคดี
การละเล่นพื้นบ้านส่ ู กีฬาสากล
ตุลาคม-ธนั วาคม ๒๕๕๘ 43
เมอื่ ราว ๓๐–๔๐ ปกี อ่ น เดก็ ๆ มกั ชวนกนั วง่ิ เลน่ อยทู่ ส่ี นามใน
ยามว่าง การเล่น “ชัย” ท่ีแพร่หลายอยู่ในช่วงหน่ึงคือการ
วิ่งไล่จับตามเส้นที่แบ่งคนเป็นสองฝ่ายพอๆ กัน โดยขีดเส้น
สมมุติทางขวางเข้าราวห้าหรือเจ็ดเส้น ฝ่ายรับเข้าประจำ� เส้น
ละหนง่ึ หรอื สองคน (จำ� นวนเสน้ และคนแปรตามจำ� นวนผเู้ ลน่ )
ฝ่ายรุกต้องฝ่าแต่ละด่านให้ได้โดยไม่ให้ฝ่ายรับแตะถูกตัว
หากพลาดพลั้งก็จะต้องเปล่ียนกลับมาเป็นฝ่ายรับแทน
ถ้าฝ่ายรุกบุกทะลุไปจนแดนสุดท้ายได้ก็จะร้องประกาศว่า
“ชัย” เป็นอันชนะ บางถิ่นเรียกช่ือการละเล่นชนิดนี้ต่างไป
เช่น เตย บอลลูนไหลหลิน ฯลฯ ก็มี แต่ผู้ใหญ่สูงวัยกว่านั้น
อาจรู้จักการว่ิงเล่นอีกประเภทหนึ่งท่ีคล้ายกัน นั่นคือ “ตี่จับ”
44 วฒั นธ รม
ต่ีจับ : การละเล่นพื้นบ้าน การเลน่ ตจี่ บั ในอดตี ไมเ่ พยี งแตเ่ ปน็ การละเลน่ ของเดก็
เล็กๆ ด้วยหนุ่มสาววัยแรกรุ่นท่ียังถูกเน้ือต้องตัวกันไม่ได้
การเล่นเตยหรือต่ีจับคล้ายกันตรงที่เป็นการออก เหมอื นในยคุ ปจั จบุ นั พงึ ใจเขา้ รว่ มการละเลน่ นใี้ นชว่ งเทศกาล
ก�ำลังกายกลางแจ้งอย่างสนุกสนาน แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย งานบุญต่างๆ อาทิ ช่วงสงกรานต์ เพราะถือเป็นโอกาสที่จะ
โดยให้ฝ่ายรุกพยายามฝ่าเข้าไปในดินแดนของฝ่ายรับเช่น ได้ไล่ต้อนเพศตรงข้ามหรือเกี้ยวกันอย่างเปิดเผย โดยไม่ถูก
เดยี วกนั ตง้ั ขอ้ ตกลงหลกั ๆ อยา่ งไมม่ เี วลาและกตกิ าปลกี ยอ่ ย สงั คมนินทาเชน่ เดยี วกบั การละเล่นลกู ชว่ ง สะบา้ ฯลฯ
มาก�ำหนดมากนัก ขีดเส้นสมมุติทางขวางขึ้นเช่นเดียวกัน
มีชื่อเรียกที่บ่งบอกตรงตัว โดยต่ีจับนั้น ผู้เล่นจะต้องร้องค�ำ ไม่มีใครตอบได้แน่ชัดว่าการละเล่นตี่จับเกิดข้ึนใน
ว่า “ต่ี” อย่างต่อเนื่อง และต้องไม่ให้ตนเองถูกฝ่ายตรงข้าม ประเทศไทยครั้งแรกเม่ือใด เพียงแต่รับรู้กันว่ามีมาเน่ินนาน
“จบั ” ได้ ปู่ย่าตายายรู้จักดี “กาญจนาคพันธุ์” (ขุนวิจิตรมาตรา พ.ศ.
๒๔๔๐–๒๕๒๓) เขยี นเลา่ ไวใ้ นหนงั สอื เดก็ คลองบางหลวง วา่
ส่วนข้อแตกต่างท่ีเห็นชัดก็คือ การเล่นเตยนั้นฝ่ายรุก สมัยท่านยังเด็กในยุครัชกาลที่ ๕ ตี่จับคือหน่ึงในการเล่น
จะว่ิงเข้าไปในดินแดนฝ่ายรับพร้อมๆ กัน เมื่อถึงเส้นหน่ึงๆ บนบกยอดนยิ มของเดก็ ผชู้ าย
อาจแบ่งให้คนหน่ึงหลอกล่อ ท่ีเหลือก็ฝ่าเข้าด่านแรกๆ ไปได้
ง่าย แต่ต่ีจับน้ันฝ่ายรุกจะบุกแดนของฝ่ายตรงข้ามทีละคน ต่ีจบั : กฬี าพ้ืนเมอื ง
อาศัยความอึดว่องไว ไหวพริบปฏิภาณของตนล�ำพังต่อสู้กับ
ฝ่ายตรงข้ามราว ๔–๕ คน สิ่งส�ำคัญท่ีสุดคือฝ่ายรุกต้องออก จากการศึกษาประวัติศาสตร์กีฬาและการละเล่น
เสียง “ตี่” อยู่ตลอดเวลา นับว่าต้องมีลมหายใจยาวหรือปอด ของไทยตั้งแต่อดีต พบว่าอาจแบ่งออกได้เป็นสามลักษณะ
แข็งแรงสักหน่อย เพราะถ้าขาดเสียงก่อนฝ่าด่านได้หรือไม่ได้ อย่างแรกเป็นไปเพ่ือซ้อมพละก�ำลัง เตรียมรบทัพจับศึก เช่น
กลบั มายังแดนตนเพ่อื ผลดั คนกอ่ นหมดเสยี ง ก็ถอื วา่ แพ้ มวยปล�้ำ แข่งเรือ กระบ่ีกระบอง ข่ีช้าง ขี่ม้า ตีคลี เล่นว่าว
อย่างที่สองเป็นการละเล่นตามเทศกาลงานประเพณี เช่น
ขบั พณิ ฟอ้ นรำ� ระบำ� โคม ฯลฯ อยา่ งทส่ี าม เปน็ ไปเพอ่ื ความ
เพลิดเพลินในยามว่างปรากฏหลักฐานอยู่ในวรรณคดีเช่น ลิง
ชิงหลัก ปลาลงอวน หวั ล้านชนกัน ชกั เย่อ เป็นตน้
เม่ือประเทศตะวันตกแผ่อิทธิพลมากข้ึนตั้งแต่สมัย
รัชกาลท่ี ๔ เรื่อยมา เกมกีฬาใหม่ๆ เช่น โครเกต์ (croquet)
ราวเดอร์ (rounders) ฟุตบอล ฯลฯ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่
เจ้านายชั้นสูง คร้ันหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก
ระบอบสมบรู ณาญาสทิ ธริ าชยเ์ ปน็ ระบอบประชาธปิ ไตยเมอ่ื ปี
๒๔๗๕ การกฬี าไดร้ บั การสง่ เสรมิ จากภาครฐั เชน่ จดั ตง้ั กรม
พลศึกษา ให้วิชาพลศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในแผนการศึกษา
แห่งชาติ ส่งเสริมให้เกิดสมาคมกีฬาสากลสมัครเล่นต่างๆ
เพ่ิมข้ึน ฯลฯ ขณะเดียวกันก็เกิด “สมาคมกีฬาสยาม” ในปี
ตลุ าคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 45
46 วัฒนธ รม
“ตจ่ี ับ” ในหนังสอื แบบเรยี นภาษาไทย
ชั้นประถมปที ่ี ๓ ยคุ ทศวรรษ ๒๕๐๐
(เออ้ื เฟอื้ ภาพ : เอนก นาวกิ มลู )
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๘ 47
กาบัดด้ี : ญาตขิ องตี่จับ
จากอกี ฝัง่ มหาสมทุ ร
๒๔๗๕ (ตอ่ มาเปลย่ี นชอ่ื เปน็ “สมาคมกฬี าไทย”) ภารกจิ หลกั แม้จุดก�ำเนิดของตี่จับในดินแดนไทยจะยังไม่ชัดเจน
คือจัดแข่งขันกีฬาพ้ืนเมือง เช่น ว่าว ตะกร้อ หมากรุก แต่ในดินแดนชมพูทวีปมีบันทึกถึงกีฬาประเภทหน่ึงเรียกช่ือ
กระบก่ี ระบอง ฯลฯ เปน็ ประจ�ำทกุ ป ี ดว้ ยหว่ งวา่ กฬี าพน้ื บา้ น ว่า “กาบัดด้”ี (Kabaddi) นยิ มเล่นกันมากว่า ๔,๐๐๐ ปแี ล้ว
จะสญู หายไป
ปราชญ์ภารตะกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการละเล่น
การรวมศูนย์อ�ำนาจรัฐในช่วงน้ัน มีไปจนถึงความ กาบัดดี้ว่าเพื่อฝึกซ้อมประลองก�ำลังในการต่อสู้ ป้องกันตัว
พยายามรวบรวม “กีฬาพื้นเมือง” จากท่ัวประเทศ โดยให้ และใช้ในกองทัพเพื่อการรบ โดยมีรูปแบบและวิธีเล่นพัฒนา
แตล่ ะจงั หวดั จดั หาชอื่ และวธิ เี ลน่ สง่ เขา้ มาสว่ นกลางเพอ่ื เรยี บ ไปตามยุคสมัยและสภาพแวดล้อมของภูมิประเทศ แผ่ขยาย
เรียงเป็นหนังสือในชื่อเดียวกัน ก่อนจะแจกจ่ายออกไปให้ ในวงกว้าง จนนับว่าเป็นเกมกีฬายอดนิยมในพ้ืนที่ซึ่งปัจจุบัน
แต่ละจังหวัดจัดการแขง่ ขนั ขึน้ นับเป็นเอเชียใต้ อันได้แก่ประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล
บงั กลาเทศ ศรีลงั กา เป็นส�ำคัญ
เม่ือปี ๒๕๒๗ รองศาสตราจารย์ชัชชัย โกมารทัต
และคณะ ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกีฬาและการละเล่นพื้นเมือง หลักฐานของการละเล่นกาบัดดี้ย่อมมีปรากฏอยู่ใน
ในประเทศไทย พบว่ามีการละเล่นระหว่างปี ๒๔๖๐–๒๔๘๐ มหากาพย์ มหาภารตะ แม้กระทั่งวรรณคดีทางพุทธศาสนาก็
ราว ๖๐ กวา่ ลกั ษณะ อาท ิ กอ๊ บแกบ๊ โกง๋ เกง๋ กระเตงิ กระตอ้ ย ยงั กลา่ ววา่ เจา้ ชายสทิ ธตั ถะทรงเลน่ กาบดั ดเ้ี พอื่ ความแขง็ แกรง่
กอล์ฟชาวบ้าน เก้าอี้คน ขี่ม้าชิงหมวก ขี่ม้าฟันดาบ แข่งเต่า ของรา่ งกายและจติ ใจ
ขว้างนุ่น ข่ีม้าชนกัน ขว้างราว ขว้างคิง ค้�ำสาว คุลาตีผ้า
จบั ควายสา้ ม จ้�ำบกั ยม ตไี ก ่ ตจี่ บั แนดขอนทงุ แนดนงั่ ตง้ั เต ยังมีการอธิบายเช่ือมโยงว่าการเปล่งเสียงร้องพร้อม
มอญ ตาเขย่ง เตย ตีขอบกระด้ง เต้นสากถีบครก นกคุ่ม เคลื่อนไหวร่างกายขณะเล่นกีฬานี้ คือการกลั้นลมหายใจ
ฟ้อนเชิง ปีนทะรูด ฟัก ลอย พุ่งเรือ ปลาหมอตกกระทะ เฉกเช่นเดียวกับการก�ำหนด “ปราณ” ในทางโยคะศาสตร์ ส่ง
ผเี ขา้ ขวด ฟดั ถม แมแ่ นดแยง่ เสา ย่�ำเงา ลบั ลต้ี กี ระปอ๋ ง ลกู กง๋ ผลดีต่อทง้ั กายและจิตไดเ้ สมอกัน
อีแม่ไล่ตี ไล่นก อีหย่อหนังว้อ แมวกับปลาย่าง ยิง แหล่ง
โยนหมอน ลงิ เกยี่ ลกู หนอนซอ้ น หนอนเลขแปด ไหสองนว้ิ มอื ชาวไทยเราเช่ืออย่างสนิทใจว่า “กาบัดดี้” เป็นญาติ
มดั ฟนื แยล้ งร ู ลากทางหมาก ลงิ ชงิ หลกั เสอื กนิ ววั แยง่ เมอื ง สนทิ รว่ มเชอ้ื สายกบั “ตจ่ี บั ” เมอ่ื ครงั้ กาบดั ดเ้ี ปดิ ตวั ใหช้ าวโลก
ราวเด้อ เรือลูกโป่ง ลูกฉุด วิ่งป้อย อ้าว้าย อ้ายโม่ง อุ่ย ประจักษ์ในกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ ๑๑ เช่นเดียวกับชาวลาว
เป็นตน้ เชอื่ วา่ “อ/ี่ Eu” และชาวมาเลเซยี เชอื่ วา่ “ชดิ กู ดู ู /Chi-du-ku-du”
กเ็ ปน็ ญาตริ ่วมเช้ือสายกาบดั ดเี้ หมอื นกนั
งานวิจัยนี้เสนอว่าการเล่นเกมและกีฬาพ้ืนเมืองไทย
ซบเซาลงเม่ือเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังจากสงคราม กาบดั ดี้ : กฬี าสากล
สงบ ผู้คนหันไปสนใจอารยธรรมของต่างประเทศท่ีหลั่งไหล
เข้ามารวมถึงเกมกีฬาแบบสากล การละเล่นพ้ืนเมืองจึง การแขง่ ขนั กฬี าเอเชยี นเกมสร์ ะหวา่ งประเทศในเอเชยี
หลงเหลือตกคา้ งเลน่ กันอยู่เฉพาะในชนบทบางถิน่ ดว้ ยกนั ครงั้ แรกจดั ขนึ้ ทกี่ รงุ เดล ี ประเทศอนิ เดยี เมอ่ื ป ี ๒๔๙๔
มีชาติที่เข้าร่วม ๑๑ ประเทศ จากนั้นหมุนเวียนไปทุก ๔ ปี
นี่อาจเป็นสาเหตุหน่ึงที่ท�ำให้การละเล่น “ตี่จับ” ผา่ นมาจนถงึ ครงั้ ท ่ี ๑๑ มปี ระเทศจนี เปน็ เจา้ ภาพในป ี ๒๕๓๓
หลงเหลอื อยู่เพียงกลมุ่ เลก็ ๆ
48 วัฒนธ รม