The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pannaphat Tanpradubsing, 2023-01-15 01:44:16

Angthong Annual Report

Angthong Annual Report

สารจากสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง เป็นหน่วยงานทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน การดําเนินงาน ในด้านต่างๆ ให้กับสหกรณ์ จำนวน 30 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 47 แห่ง ของจังหวัดอ่างทอง และ ปฏิบัติงานตามแผนงานประจำปีของกรมส่งเสริมสหกรณ์ นโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง สามารถทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาและ พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ให้ชุมชนสหกรณ์ และชุมชนกลุ่มเกษตรกรมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเราก็สามารถปฏิบัติ ภารกิจต่าง ๆ สำเร็จลุล่วง ด้วยความร่วมมือร่วมใจ สามัคคี ปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบจนทำให้ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ได้รับรางวัลสำนักงานสหกรณ์จังหวัดที่มีผลการประเมินการปฏิบัติงาน และ ผลการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อยู่ในอันดับที่ 25 ของประเทศ สุดท้ายนี้ ในนามผู้บริหารสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ขอขอบคุณบุคลากรสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง และขอขอบคุณคณะกรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ของกลุ่ม เกษตรกรทุกภาคส่วน ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบาย และ ส่งเสริมสนับสนุน และ พัฒนาแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร ให้สามารถทำหน้าที่ในการ ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของคนในชุมชนต่างๆของจังหวัดอ่างทองดีขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2565 ( Annual Report) ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง จะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจ ได้รับทราบและจะเป็นประโยชน์กับผู้ศึกษาต่อไป นายทินกร ตรีเวช สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 26 ธันวาคม 2565


บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปี (Annual Report) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลการดำเนินงานตามนโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์และยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน และรองรับการบริหาร จัดการข้อมูลเพื่อการจัดทำรายงานการประเมินผลความคุ้มค่า ในการปฏิบัติภารกิจของกรมในระดับหน่วยงาน ตามยุทธศาสตร์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง เป็นหน่วยงานส่วนภูมิภาคของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินการขับเคลื่อนงานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ผลการ ปฏิบัติงานส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ของจังหวัดอ่างทอง ประจำปี 2565 มีอัตรากำลังจำนวน 39 คน ประกอบด้วย ข้าราชการ จำนวน 20 คน พนักงานราชการ จำนวน 14 คน และพนักงานจ้างเหมาบริการ จำนวน 5 คน โครงสร้างสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ประกอบ 1) กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ 2) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ 3) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ 4) กลุ่มตรวจการสหกรณ์ 5) ฝ่ายบริหารทั่วไป 6) กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 รับผิดชอบดูแลพื้นที่ จำนวน 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอ่างทอง และอำเภอป่าโมก และกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 รับผิดชอบดูแลพื้นที่ จำนวน 5 อำเภอ คือ อำเภอไชโย อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอแสวงหา และอำเภอสามโก้ โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 7,905,688.69 บาท ปีงบประมาณ 2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง มีสหกรณ์ในความรับผิดชอบดูแล จำนวน 30 แห่ง และมีสมาชิก จำนวน 48,825 คน แบ่งเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร 18 แห่ง สมาชิก จำนวน 36,616 คน สหกรณ์นอกภาคเกษตร 12 แห่ง สมาชิก จำนวน 9,965 คน กลุ่มเกษตรกร 47 แห่ง สมาชิก จำนวน 2,244 คน ปริมาณธุรกิจของสหกรณ์รวม 6,280.04 ล้านบาท และปริมาณธุรกิจ ของกลุ่มเกษตรกร รวม 17.09 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 โดยเมื่อนําสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มาจัดระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ดังนี้ 1) สหกรณ์ระดับชั้น 1 จำนวน 11 แห่ง 2) สหกรณ์ระดับชั้น 2 จำนวน 17 แห่ง 3) สหกรณ์ระดับชั้น 3 จำนวน 2 แห่ง 4) สหกรณ์ระดับชั้น 4 (ชำระบัญชี) จำนวน 2 แห่ง 5) กลุ่มเกษตรกรชั้น 1 จำนวน - แห่ง 6) กลุ่มเกษตรกรชั้น 2 จำนวน 46 แห่ง 7) กลุ่มเกษตรกรชั้น 3 จำนวน 1 แห่ง 8) กลุ่มเกษตรกรชั้น 4 จำนวน - แห่ง


จากการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ที่ผ่านมาเนื่องจากสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบให้การแนะนำส่งเสริมสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรบางกิจกรรมไม่สามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่กำหนด ซึ่งบุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ได้มีแนวทางในการแนะนำส่งเสริมอย่างมีประสิทธิภาพผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น ระบบ ZOOM Cloud Meetings/ application line / facebook เป็นต้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์งานด้านสหกรณ์ต่างๆ ผ่านทาง สถานีวิทยุ / Youtube เคเบิ้ลทีวีหรือสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น จึงมีผลให้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี และด้วยข้าราชการ พนักงานราชการ ในสังกัดปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ จนทำให้ผลการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทองสำเร็จลุล่วงตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้


สารบัญ หน้า สารจากสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ทำเนียบบุคลากร บทสรุปผู้บริหาร ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมหน่วยงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน 2 แนวทางการขับเคลื่อนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับแผนระดับ 3 3 โครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง ประจำปี 2565 4 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 5 สรุปข้อมูลสหกรณ์กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์ 6 ส่วนที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงาน/โครงการภายใต้ แผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 1) ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานและงบประมาณ พ.ศ. 2565 แผนงานพื้นฐาน - แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 14 แผนงานยุทธศาสตร์ - แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า 60 - แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม 66 - แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาส 71 และความเสมอภาคทางสังคม แผนงานบูรณาการ - แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 75 2) ผลการดำเนินงาน/โครงการตามนโยบายสำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งานส่งเสริมและพัฒนา 78 งานกองทุนพัฒนาสหกรณ์ 82 3) รางวัลที่หน่วยงานได้รับจากหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ภายนอก 101


หน้า ส่วนที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์ฯ และสร้างภาพลักษณ์หรือวัฒนธรรมองค์กร ของหน่วยงานในรอบปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 งานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในจังหวัด 104 การจัดงาน/กิจกรรมต่าง ๆ ในวันสหกรณ์แห่งชาติ 107 การจัดงาน/กิจกรรมต่าง ๆ ในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ 108 ภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมกับจังหวัด 109 ภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมกับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 113 ส่วนที่ 4 รายงานข้อมูลงบการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน 117 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน 118 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 119 บทวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านงบประมาณ 122 ส่วนที่ 5 ภาคผนวก 123 ส่วนที่ 6 บรรณานุกรม 134


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมหน่วยงาน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 2 1. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 3 2. แนวทางการขับเคลื่อนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับแผนระดับ 3


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 4 3. โครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง ประจำปี 2565 ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ที่ กลุ่มงาน ข้าราชการ พนักงาน ราชการ รวม 1 สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 1 - 1 2 ฝ่ายบริหารทั่วไป 1 5 6 3 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ 2 1 3 4 กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ 2 2 4 5 กลุ่มส่งเสริมและบริหารการจัดการสหกรณ์ 2 1 3 6 กลุ่มตรวจการสหกรณ์ 2 1 3 7 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 4 1 5 8 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 6 3 9 รวม 20 14 34


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 5 4) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (แยกตามยุทธศาสตร์จัดสรรงบประมาณ) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ เป็นเงิน 7,905,688.69 บาท แบ่งรายละเอียด ตามแผนงานยุทธศาสตร์ได้ดังนี้ หน่วย : บาท แผนตามยุทธศาสตร์ ปี 2565 แผนงานบุคลากรภาครัฐ 3,786,371.00 แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 18,000.00 แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 2,582,492.95 แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า 63,900.00 แผนงานยุทธศาสตร์สนับสนุนการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 1,437,124.74 แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม 17,800.00 รวม 7,905,688.69 ที่มา : ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 6 5. สรุปข้อมูลสหกรณ์กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ข้อมูลสถิติของสหกรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565) จำนวนกลุ่มเกษตรกรและจำนวนสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ประเภทสหกรณ์ จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) จำนวนสมาชิก จำนวนสมาชิกที่มี ส่วนร่วมในการ ดำเนินธุรกิจ(คน) รวมสมาชิก ร้อยละ ทั้งหมด(คน) สมาชิกสามัญ (คน) สมาชิกสมทบ (คน) 1. สหกรณ์การเกษตร 16 37,139 34,449 2,690 11,099 29.89 2. สหกรณ์ประมง 2 172 172 - 129 75.00 3. สหกรณ์นิคม - - - - - - 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 6 9,185 8,255 930 7,716 84.01 5. สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - 6. สหกรณ์บริการ 4 589 589 - 379 64.35 7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 2 600 599 1 579 96.50 รวม 30 47,685 44,064 3,621 19,902 ที่มา : กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง สถานะสหกรณ์ ประเภทสหกรณ์ จำนวนสหกรณ์(แห่ง) จำนวน สหกรณ์ ทั้งหมด ดำเนินงาน หยุดดำเนินงาน เลิก/ ชำระบัญชี จัดตั้งใหม่ 1. สหกรณ์การเกษตร 16 - - - 16 2. สหกรณ์ประมง 2 - - - 2 3. สหกรณ์นิคม 0 - - - - 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 6 - - - 6 5. สหกรณ์ร้านค้า 0 - - - - 6. สหกรณ์บริการ 4 - 2 - 6 7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 2 - - - 2 รวม 30 - 2 - 32 ที่มา : กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 7 ปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเภทสหกรณ์ ปริมาณ ธุรกิจของ สหกรณ์ (แห่ง) ปริมาณธุรกิจ แยกตามประเภทการให้บริการท (ล้านบาท) รวมทั้งสิ้น รับฝากเงิน ให้เงินกู้ จัดหาสินค้า มาจำหน่าย รวบรวม ผลผลิต แปรรูป ผลผลิต บริการ และอื่นๆ 1. สหกรณ์การเกษตร 16 187.03 229.25 859.00 1.50 - 20.28 1,297.06 2. สหกรณ์ประมง 2 0.10 1.72 2.12 - - 0.09 4.03 3. สหกรณ์นิคม - - - - - - - - 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 6 880.98 3,765.42 - - - 329.66 4,976.06 5. สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - - 6. สหกรณ์บริการ 4 - 0.26 - - - 0.93 1.19 7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เเนี่ยน 2 0.58 1.12 - - - - 1.70 รวม 30 1,068.69 3,997.77 861.12 1.50 0.00 350.96 6,280.04 ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ ประเภทสหกรณ์ ผลการดำเนินงานปีล่าสุดที่มีการปิดบัญชีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กำไร/ขาดทุน สุทธิ ในภาพรวม (ล้านบาท) ผลการดำเนินงานในภาพรวม การดำเนินงานมีผลกำไร - ขาดทุน จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) รายได้ (ล้านบาท) ค่าใช้จ่าย (ล้าน บาท) สหกรณ์ที่มีผลกำไร สหกรณ์ที่ขาดทุน จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) กำไร (ล้านบาท) จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) ขาดทุน (ล้านบาท) 1. สหกรณ์การเกษตร 16 45.32 30.57 12 36.63 4 2.72 33.91 2. สหกรณ์ประมง 2 0.22 0.14 2 0.25 - - 0.25 3. สหกรณ์นิคม - - - - - - - - 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 6 84.66 76.15 6 286.42 - - 286.42 5. สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - - 6. สหกรณ์บริการ 4 0.223 0.22 3 0.19 1 0.05 0.14 7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 2 0.015 0.01 2 0.005 - - 0.005 รวม 30 130.438 107.09 25 323.495 5 2.77 320.725 ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 8 ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์จำแนกตามประเภท ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ประเภทสหกรณ์ สหกรณ์ ชั้น 1 สหกรณ์ ชั้น 2 สหกรณ์ ชั้น 3 สหกรณ์ ชั้น 4 รวม สหกรณ์ภาคการเกษตร 1. สหกรณ์การเกษตร 6 9 1 - 16 2. สหกรณ์ประมง - 2 - - 2 3. สหกรณ์นิคม - - - - - สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 5 1 - - 6 5. สหกรณ์ร้านค้า - - - - - 6. สหกรณ์บริการ - 3 1 2 6 7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน - 2 - - 2 รวม 11 17 2 2 32 ที่มา : กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ เปรียบเทียบ 3 ปี (ปี พ.ศ. 2563 – 2565) ระดับชั้น ระดับชั้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 (แห่ง/ร้อยละ) ระดับชั้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 (แห่ง/ร้อยละ) ระดับชั้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 (แห่ง/ร้อยละ) ชั้น 1 8/25% 8/25% 11/34.38% ชั้น 2 20/62.50% 19/59.38% 17/53.13% ชั้น 3 1/3.13% 3/9.36% 2/6.3% ชั้น 4 2/6.24% 2/6.25% 2/6.3% รวม 31 32 32 **ปี 2563 มีสหกรณ์ตั้งใหม่ จำนวน 1 แห่ง ที่มา : กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 9 ข้อมูลสถิติของกลุ่มเกษตรกร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวนกลุ่มเกษตรกรและจำนวนสมาชิกกลุ่มเกษตรกร (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565) ประเภทกลุ่มเกษตรกร จำนวน กลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) จำนวนสมาชิก จำนวนสมาชิก ที่มีส่วนร่วมใน การดำเนิน ธุรกิจ(คน) รวมสมาชิก ร้อยละ ทั้งหมด(คน) สมาชิก สามัญ(คน) สมาชิก สมทบ(คน) 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา 36 1,453 1,453 - 752 51.75 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 7 291 291 - 134 46.05 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 3 115 115 - 63 54.78 4. กลุ่มเกษตรกรอื่นๆ 1 91 91 - 70 76.92 รวม 47 1,950 1,950 - 1,019 52.26 ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง สถานะกลุ่มเกษตรกร (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565) ประเภทกลุ่มเกษตรกร จำนวนแห่ง จำนวนกลุ่ม เกษตรกร ทั้งหมด (กลุ่ม) ดำเนินงาน หยุด ดำเนินการ เลิก/ชำระ บัญชี จัดตั้งใหม่ 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา 33 3 - - 36 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 6 1 - - 7 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 3 - - - 3 4. กลุ่มเกษตรกรอื่นๆ 1 - - - 1 รวม 43 4 - - 47 ที่มา : กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 10 ปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565) ประเภทกลุ่มเกษตรกร ปริมาณธุรกิจ ของกลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) ปริมาณธุรกิจ แยกตามประเภทการให้บริการ (ล้านบาท) รับฝาก เงิน ให้ เงินกู้ จัดหา สินค้ามา จำหน่าย รวบรวม ผลผลิต แปรรูป ผลผลิต บริการ และอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา 36 - 6.27 4.06 - - 0.16 10.49 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 7 - 1.23 2.32 - - 0.03 3.58 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 3 - 1.25 - - - 0.04 1.29 4. กลุ่มเกษตรกรอื่นๆ 1 - - 1.35 - - 0.38 1.73 รวม 47 - 8.75 7.73 - - 0.61 17.09 ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565) ประเภทกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงานปีล่าสุดที่มีการปิดบัญชีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กำไร/ขาดทุน สุทธิใน ภาพรวม(บาท) ผลการดำเนินงานในภาพรวม การดำเนินงานมีผลกำไร - ขาดทุน จำนวน กลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) รายได้ (บาท) ค่าใช้จ่าย (บาท) กลุ่มเกษตรกรที่มีผลกำไร กลุ่มเกษตรกรที่ขาดทุน จำนวน กลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) กำไร (บาท) จำนวน กลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) ขาดทุน (บาท) 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา 36 472,206.48 93,450.56 33 481,200.17 3 156,069.74 325,130.43 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 7 173,253.60 45,358.60 7 127,895.00 0 0 127,895.00 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 3 55,104.88 6,192.24 3 48,912.64 0 0 48,912.64 4. กลุ่มเกษตรกรอื่นๆ 1 (-331,357.58) 69,254.00 0 0 1 400,611.58 -400,611.58 รวม 47 369,207.38 214,255.40 43 658,007.81 4 556,681.32 101,326.49 ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 11 ผลการจัดระดับชั้นกลุ่มเกษตรกรจำแนกตามประเภท (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565) ประเภทกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ชั้น 1 กลุ่มเกษตรกร ชั้น 2 กลุ่มเกษตรกร ชั้น 3 กลุ่มเกษตรกร ชั้น 4 รวม 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา 0 36 0 0 36 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 0 6 1 0 7 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 0 3 0 0 3 4. กลุ่มเกษตรกรอื่นๆ 0 1 0 0 1 รวม 0 46 1 0 47 ที่มา : กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง กราฟแสดงผลการจัดระดับชั้นกลุ่มเกษตรกร (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565) ที่มา : กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 0 5 10 15 20 25 30 35 40 45 50 ชั้น1 ชั้น2 ชั้น3 ชั้น4 0 46 1 0 ระดับชั้น


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 12 กลุ่มอาชีพแยกตามประเภทผลิตภัณฑ์(ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565) ประเภทผลิตภัณฑ์ จำนวนกลุ่ม ร้อยละ อาหารแปรรูป 17 40.48 ผ้าและเครื่องแต่งกาย 2 4.76 ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก/เครื่องประดับ 20 47.62 เพาะปลูก 3 7.14 จำนวนกลุ่มอาชีพทั้งหมด 42 กลุ่ม ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 13 ส่วนที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน และผลการ ปฏิบัติงาน /โครงการภายใต้แผนปฏิบัติงาน และงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 14 1) ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานและงบประมาณ พ.ศ. 2565 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน (ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร) 1. จำนวนสถาบันเกษตรกร 19 แห่ง จำนวนสมาชิก 11,117 คน สหกรณ์ภาคเกษตร จำนวน 3 แห่ง จำนวนสมาชิก 1,408 คน สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 9 แห่ง จำนวนสมาชิก 9,269 คน กลุ่มเกษตรกร จำนวน 7 แห่ง จำนวนสมาชิก 440 คน 2. ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และการแก้ปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร การส่งเสริมและพัฒนา การกำกับ การพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ของกลุ่มส่งเสริม สหกรณ์ ปฏิบัติงานตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ ภายใต้พระราชบัญญัติสหกรณ์และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการเผยแพร่ให้ความรู้ อุดมการณ์ หลักการ วิธีการ ให้แก่บุคลากรสหกรณ์บุคคลทั่วไป 2.1 การส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.1.1 การส่งเสริมการยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.67 กลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.1.2 การจัดมาตรฐานสหกรณ์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ผ่านมาตรฐาน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 58.33 ไม่บรรลุเป้าหมาย กลุ่มเกษตรกร ผ่านมาตรฐาน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 57.14 ไม่บรรลุเป้าหมาย 2.1.3 การส่งเสริมการปิดบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ สามารถส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.67 กลุ่มเกษตรกร สามารถส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 อำเภอ เมืองอ่างทอง แผนงานพื้นฐาน แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน งานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 15 2.2 การส่งเสริมด้านการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.2.1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้บริการในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สมาชิกสหกรณ์ มีส่วนร่วมในการใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.00 สมาชิกกลุ่มเกษตรกร มีส่วนร่วมในการใช้บริการ เกินร้อยละ 60 จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ42.86 2.2.2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะดำเนินการ มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป้าหมาย ร้อยละ 3 ผลการปฏิบัติงานสหกรณ์ทั้งหมดจำนวน 15 แห่ง 1. ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ปี 2565 5,021,700,635. 71 บาท 2. ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ปี 2564 5,500,987,025.03 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบ = 5,021,700,635. 71 - 5,500,987,025.03 x 100 = - 8.71 5,500,987,025.03 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ - 8.71 ผลการปฏิบัติงานกลุ่มเกษตรกรทั้งหมดจำนวน 7 แห่ง 1. ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ปี 2565 244,650.00 บาท 2. ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ปี 2564 1,115,000.00 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบ = 244,650.00 - 1,115,000.00 x 100 = - 78.06 1,115,000.00 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ - 78.06 2.2.3 ส่งเสริมผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีกำไรประจำปี ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.00 กลุ่มเกษตรกร มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.3 ด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.3.1 การตรวจการสหกรณ์ ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ได้รับการตรวจการ จำนวน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.3.2 การชำระบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในทะเบียนชำระบัญชี จำนวน 4 แห่ง ผลการปฏิบัติงาน ถอนชื่อกลุ่มเกษตรกรได้ จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 2.3.3 การแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ใช้Application ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ออมทรัพย์ ใช้ Application จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 16 2.3.4 ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ข้อพกพร่อง ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ที่มีข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี 6 แห่ง อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไข 6 แห่ง กลุ่มเกษตรกรที่มีข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี 7 แห่ง อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไข 7 แห่ง 2.4 ด้านการสนับสนุนนโยบายที่สำคัญ -ไม่มี- 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก ประจำปีงบประมาณ 2565 การเข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอเมืองอ่างทอง การส่งเสริมและพัฒนา ด้านองค์กร สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนาความเข็มแข็งตามศักยภาพ ด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก ด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาล และด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครอง ระบบสหกรณ์ ส่งเสริมให้สหกรณ์นำแอปพลิเคชัน มาใช้ในสหกรณ์เพื่อให้สมาชิกสามารถใช้แอปพลิเคชัน ในการตรวจสอบยอดการทำธุรกรรมของตนเอง เป็นการป้องกันการทุจริตได้ มีการส่งเสริมการออมเงิน ให้กับสมาชิกและให้การช่วยเหลือสมาชิกด้านเงินทุนในการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งจัดหาปัจจัยการผลิตที่มี คุณภาพมาจำหน่ายให้กับสมาชิก เป็นการลดต้นทุนการผลิตของสมาชิก เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร การเข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ดี ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. การวางแผน (Planning) การดำเนินงาน ภายในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง จัดการประชุม ข้าราชการและบุคลากร เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในการเข้าแนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย ในปีงบประมาณที่ผ่านมา นำผลการวิเคราะห์สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มากำหนดเป็นแผนการปฏิบัติงานในการ เข้าแนะนำส่งเสริม 2. การปฏิบัติงานในพื้นที่ (Promotion) ตามปฏิทินปฏิบัติงานการส่งเสริมและพัฒนาการกำกับ โดยได้เข้าร่วมประชุมชี้แจง แผนการปฏิบัติงานหรืองานโครงการต่าง ๆ ร่วมกับคณะกรรมการดำเนินการ และ ฝ่ายจัดการ และร่วมกันลงมือปฏิบัติงานร่วมกัน 3. การตรวจสอบ ติดตาม และรายงาน (Checking and Reporting) จัดทำรายงานผลการทำงานส่งเสริม และพัฒนา จัดทำรายงานต่าง ๆ การตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน พร้อมจัดทำข้อเสนอแก้ไข 4. การประเมินผลให้ข้อเสนอแนะและการพัฒนา (Development) การประเมินผลการปฏิบัติงาน การวัดผลการปฏิบัติงาน และการพัฒนาระบบงาน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 17 1. จำนวนสถาบันเกษตรกร 7 แห่ง จำนวนสมาชิก 1,151 คน สหกรณ์ภาคเกษตร จำนวน 2 แห่ง จำนวนสมาชิก 746 คน สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 1 แห่ง จำนวนสมาชิก 98 คน กลุ่มเกษตรกร จำนวน 4 แห่ง จำนวนสมาชิก 307 คน 2. ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และการแก้ปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ในเขตอำเภอป่าโมก มีการดำเนินงานเป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การดำเนินงานรอบปีบัญชีของแต่ละสหกรณ์ สามารถจัดทำงบการเงินประจำปี และปิดบัญชีได้มีการกำหนดระเบียบขึ้นถือใช้ตามวัตถุประสงค์และอำนาจกระทำการต่างๆ ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน คณะกรรมการดำเนินการมีความรู้ความเข้าใจ สามารถบริหารงานได้ตามบริบท ของแต่ละสหกรณ์ อีกทั้งฝ่ายจัดการมีความรู้ ความเข้าใจในหน้าที่ตนเองมีการดำเนินงานเพื่อประโยชน์แก่มวลสมาชิก สหกรณ์ดำเนินงานเป็นไปตามแผนการดำเนินงานประจำปีที่กำหนดไว้ กลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอป่าโมก มีการดำเนินงานเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องการดำเนินงานรอบปีบัญชีของแต่ละกลุ่มเกษตรกร สามารถจัดทำงบการเงิน ประจำปีปิดบัญชีได้มีการกำหนดระเบียบขึ้นถือใช้ตามวัตถุประสงค์และอำนาจกระทำการต่างๆ ครอบคลุมการ ดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน คณะกรรมการดำเนินการมีความรู้ความเข้าใจ สามารถบริหารงาน ได้ตามบริบทของแต่ละกลุ่มเกษตรกร มีการดำเนินงานเพื่อประโยชน์แก่สมาชิก กลุ่มเกษตรกร 2.1 การส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.1.1 การส่งเสริมการยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.1.2 การจัดมาตรฐานสหกรณ์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ผ่านมาตรฐาน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 67 กลุ่มเกษตรกร ผ่านมาตรฐาน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.1.3 การส่งเสริมการปิดบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ส่งงบการเงิน ส่งให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร ส่งงบการเงิน ส่งให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ100 อำเภอป่าโมก


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 18 ด้านการจัดมาตรฐานสหกรณ์ สหกรณ์มีผลการดำเนินงานขาดทุน อันเกิดจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัย จะสูญ การดำเนินงานรอบสองปีย้อนหลังมีการกระทำอันถือได้ว่าทุจริตต่อสหกรณ์ โดยเจ้าหน้าที่ทำบัญชีทุจริต ในหน้าที่ ทำให้ไม่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งสหกรณ์อยู่ระหว่างการดำเนินงานแก้ไขโดยติดตามหนี้ค้างชำระของสมาชิก และกรณีเจ้าหน้าที่ทุจริตสหกรณ์ได้สอบข้อเท็จจริง และได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งอยู่ระหว่าง ชั้นพนักงานสอบสวน ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข สหกรณ์ติดตามหนี้ค้างชำระจากสมาชิกและลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้ สหกรณ์มีรายได้กลับเข้ามาในสหกรณ์ 2.2 การส่งเสริมด้านการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.2.1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้บริการในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 10 กลุ่มเกษตรกร มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการ เกินร้อยละ 60 จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.67 2.2.2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะดำเนินการ มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป้าหมาย ร้อยละ 3 ผลการปฏิบัติงานสหกรณ์ ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ปี 2565 44,897,770.87 บาท ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ปี 2564 47,108,781.58 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบ = 44,897,770.87 - 47,108,781.58 x 100 = - 4.69 47,108,781.58 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ - 4.69 ผลการปฏิบัติงานกลุ่มเกษตรกร ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกรปี 2565 491,195.00 บาท ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกรปี 2564 420,000.00 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบผลรวม = 491,195 - 420,000.00 x 100 = 16.95 420,000.00 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 16.95 2.2.3 ส่งเสริมผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีกำไรประจำปี ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.67 กลุ่มเกษตรกร มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 19 2.3 ด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.3.1 การตรวจการสหกรณ์ ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ได้รับการตรวจการ จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.3.2 การชำระบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในทะเบียนชำระบัญชี -ไม่มี- 2.3.3 การแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ Application ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์การเกษตร ใช้ Application จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 33.34 2.3.4 ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ข้อบกพร่อง ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าติดตามการแก้ไขข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี โดยแนะนำ ให้ดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว และติดตามผลการแก้ไข ทำให้ ณ วันสิ้นปีไม่มีข้อสังเกตเพิ่มขึ้น ปัญหาอุปสรรค การแก้ไขข้อสังเกตผู้สอบบัญชี ด้านการจัดทำงบการเงินกลุ่มเกษตรกร เนื่องจากเป็น กลุ่มเกษตรกรขนาดเล็กสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ สามารถจัดทำเอกสารประกอบในการบันทึกบัญชี แต่ไม่สามารถออกงบการเงินได้จึงเป็นข้อสังเกตผู้สอบบัญชี ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการประจำเดือน สหกรณ์จัดทำเป็นวาระหนึ่งวาระในการ ติดตามแก้ไขข้อสังเกตผู้สอบบัญชี และรายงานผลการแก้ไขให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทราบ 2.4 ด้านการสนับสนุนนโยบายที่สำคัญ -ไม่มี- 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก ประจำปีงบประมาณ 2565 สหกรณ์การเกษตรป่าโมก จำกัด มีสมาชิก ทั้งสิ้นจำนวน 570 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565) ดำเนินธุรกิจ จัดหาสินค้ามาจำหน่าย และให้สินเชื่อ การดำเนินงานสหกรณ์ได้จัดหาปัจจัยการผลิต และสินค้า อุปโภคบริโภคมาจำหน่ายตามความต้องการของสมาชิก โดยให้บริการจัดส่งถึงบ้านของสมาชิก สามารถ ตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่พึ่งของสมาชิกได้อย่างดีด้วยความ ร่วมมือกันของคณะกรรมการดำเนินงาน เจ้าหน้าที่ และสมาชิกของสหกรณ์ทำให้มีผลการดำเนินงานที่ดีมีกำไร สุทธิ 1,083,577.54 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 64.50


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 20 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการได้ให้คำแนะนำ ส่งเสริม ตามกฎหมายสหกรณ์ ระเบียบข้อบังคับสหกรณ์ ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากมีเรื่องใดที่สหกรณ์มีข้อ สงสัยหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ที่รับผิดชอบดูแลได้ทันที จึงทำให้การ ดำเนินงานต่างๆ ของสหกรณ์มีความรวดเร็ว 2. สหกรณ์มีผลการดำเนินงานมีกำไรอย่างต่อเนื่องเป็นที่พอใจและสร้างความไว้วางใจให้สมาชิก ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการบริหารจัดการภายในที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้ นอกจากนี้สหกรณ์ได้ช่วยเหลือ งานด้านสาธารณประโยชน์ สาธารณกุศลต่างๆ ในชุมชนผู้ประสบภัยในพื้นที่ เป็นต้น 3. การเข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรป่าโมก จำกัด เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ในอุดมการณ์สหกรณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ ให้แก่สมาชิก คณะกรรมการและฝ่ายจัดการ ได้ตระหนัก ถึงอุดมการณ์สหกรณ์ “ความเชื่อร่วมกันที่ว่าการช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามหลักการ สหกรณ์ซึ่งจะนำไปสู่การกินดี อยู่ดี มีความเป็นธรรม และสันติสุขในสังคม”


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 21 1. จำนวนสถาบันเกษตรกร 17 แห่ง จำนวนสมาชิก 25,272 คน สหกรณ์ภาคเกษตร จำนวน 6 แห่ง จำนวนสมาชิก 24,796 คน สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 1 แห่ง จำนวนสมาชิก 96 คน กลุ่มเกษตรกร จำนวน 10 แห่ง จำนวนสมาชิก 380 คน 2. ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และการแก้ปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์มีการกำหนดระเบียบ และการแก้ไขข้อบังคับของสหกรณ์ให้สอดคล้องกับระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์และประกาศกฎกระทรวง เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของสหกรณ์ สหกรณ์ส่วน ใหญ่มีทุนภายในของสหกรณ์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้ดำเนินการ และสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้ค้างชำระได้บางส่วน มีการติดตามหนี้สินอย่างเคร่งครัด สหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรมีการดำเนินธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย การรวบรวมผลผลิต (ข้าวเปลือก) การแปรรูป ผลผลิต (ปลาช่อนแดดเดียว) ในภาพรวมทุกธุรกิจมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นและมีการให้บริการสมาชิกได้ทั่วถึง มีความพึงพอใจในสหกรณ์ระดับอำเภอมีการออมทรัพย์ โดยการระดมทุนถือหุ้นเพิ่มและเงินฝากเพิ่มขึ้น มีการเชื่อมโยงธุรกิจมากขึ้น รวมทั้งให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของรัฐ ได้แก่ เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ เงินกู้ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ทำให้สภาพคล่องในการดำเนินการมากขึ้น ส่งผลให้การเข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรประสบความสำเร็จ ดังนี้ 1. กิจกรรมด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กร - กิจกรรมรักษาระดับสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจระดับมั่นคงดีมาก ผลการ ดำเนินงาน สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด สามารถรักษาระดับสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการดำเนิน ธุรกิจอยู่ในระดับมั่นคงดีมาก - กิจกรรมยกระดับมาตรฐานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงาน สามารถรักษาระดับ มาตรฐานสหกรณ์อยู่ในระดับดีมาก และดีเลิศได้ 4แห่ง คือ สหกรณ์การเกษตรวิเศษชัยชาญ จำกัด สหกรณ์ประมง และการแปรรูปอ่างทอง จำกัด สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด สำหรับกลุ่มเกษตรกรสามารถรักษามาตรฐานกลุ่มเกษตรกรได้ 10 กลุ่ม ผ่านมาตรฐานทุกกลุ่ม 2. ด้านการพัฒนาการดำเนินธุรกิจ กิจกรรมยกระดับการให้บริการสมาชิกของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงาน สามารถ พัฒนาการให้บริการสมาชิกได้ทั่วถึงเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 70 สหกรณ์จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร วิเศษชัยชาญ จำกัด สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด และสหกรณ์ประมงและแปรรูปอ่างทอง จำกัด สำหรับกลุ่มเกษตรกรสามารถรักษาระดับการให้บริการสมาชิกได้ร้อยละ 60 ทั้ง 10 กลุ่ม อำเภอวิเศษชัยชาญ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 22 3. ด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร - สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการแก้ไขข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีแล้วเสร็จ ทำให้จังหวัดอ่างทอง ไม่มีข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์แจ้งให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องแก้ไข - ไม่มีสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่องเพิ่มมากขึ้น - มีการติดตามการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.) เพื่อเสนอความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาให้แก่คณะทำงานระดับจังหวัดทราบโดยตลอด 2.1 การส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.1.1 การส่งเสริมการยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.1.2 การจัดมาตรฐานสหกรณ์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ผ่านมาตรฐาน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.67 บรรลุเป้าหมาย กลุ่มเกษตรกร ผ่านมาตรฐาน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 บรรลุเป้าหมาย 2.1.3 การส่งเสริมการปิดบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ส่งงบการเงิน ส่งให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร ส่งงบการเงิน ส่งให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.2 การส่งเสริมด้านการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.2.1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้บริการในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.71 กลุ่มเกษตรกร มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการ เกินร้อยละ 60 จำนวน 10 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 100 2.2.2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะดำเนินการ มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป้าหมาย ร้อยละ 3 ผลการปฏิบัติงานจำนวนสหกรณ์ทั้งหมด 7 แห่ง ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ปี 2565 716,205,905.12 บาท ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ปี 2564 1,169,384,451.1 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบ = 716,205,905.12 - 1,169,384,451.1 x 100 = - 38.75 1,169,384,451.1


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 23 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 38.75 ผลการปฏิบัติงานจำนวนกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด 10 แห่ง ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ปี 2565 3,986,566 บาท ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ปี 2564 3,977,157 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบผลรวม = 3,986,566 - 3,977,157 x 100 = 0.23 3,977,157 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร เพิ่มขึ้น จากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 0.23 2.2.3 ส่งเสริมผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีกำไรประจำปี ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.71 กลุ่มเกษตรกร มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ปัญหาอุปสรรค สมาชิกไม่ให้ความร่วมมือในการส่งชำระหนี้ เนื่องจากจังหวัดอ่างทองประสบอุทกภัยทำให้ ผลิตผลน้อยลงกว่าทุกปี รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้สภาพเศรษฐกิจในครัวเรือนมีรายได้ลดลงไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย เป็นปัญหาในการส่งชำระหนี้ของ สมาชิก และส่งผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจของสหกรณ์ในพื้นที่ ในส่วนของสมาชิกที่มีหนี้สินค้าค้างเดิม บางรายที่ รอการซื้อหนี้แทนจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เงื่อนไขเวลาในการรับซื้อหนี้ของกองทุนทำให้ สหกรณ์ประสบปัญหามีหนี้ค้างชำระและสหกรณ์มีหนี้ซ้ำซ้อนหลายทางทำให้ประสิทธิภาพการชำระหนี้ลดลง ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข ในช่วงที่จังหวัดอ่างทองประสบภาวะน้ำท่วมและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับผลกระทบดังกล่าวทุกรายทางเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าแนะนำสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านหนี้สิน และการปรับโครงสร้างหนี้ของสหกรณ์ การพิจารณาให้ความเห็นชอบวงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกันเป็นกรณี พิเศษ แนวทางการประชุมใหญ่สามัญประจำปี การแนะนำเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ เช่น โครงการส่งเสริม อาชีพสมาชิกสหกรณ์ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลา เพื่อเพิ่มมูลค่าพร้อมสำรวจความต้องการ ความช่วยเหลือ ของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วย 2.3 ด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.3.1 การตรวจการสหกรณ์ ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ได้รับการตรวจการ จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.3.2 การชำระบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในทะเบียนชำระบัญชี -ไม่มี-


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 24 2.3.3 การแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ Application - ไม่มี- 2.3.4 ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ข้อพกพร่อง ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าติดตามการแก้ไขข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ในจำนวน 7 สหกรณ์ โดยแนะนำให้ดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว และติดตามผลทุกเดือน ทำให้ ณ วันสิ้นปีบัญชีไม่มีข้อสังเกตเพิ่มขึ้นและ สามารถแก้ไขได้ 2 ประเด็น/2 สหกรณ์ ปัญหาอุปสรรค สหกรณ์บางแห่งไม่นำข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีมาแก้ไข และไม่รายงานผลความคืบหน้า ทำให้มี ข้อสังเกตตกค้าง ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข สหกรณ์ควรติดตามข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีและจัดเป็นวาระติดตามในการประชุม คณะกรรมการดำเนินการทุก ๆ เดือน เพื่อให้คณะกรรมการทราบว่าได้ดำเนินการคืบหน้าไปถึงขั้นตอนไหน มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร จากนั้นควรรายงานผลความคืบหน้าให้แก่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง และสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 2.4 ด้านการสนับสนุนนโยบายที่สำคัญ 2.4.1 การส่งเสริมการใช้อุปกรณ์การตลาดของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับสนับสนุนจาก กรมส่งเสริมสหกรณ์ มีจำนวน 3 แห่ง ผลการปฏิบัติงาน ใช้ประโยชน์ 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.4.2 การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ในระบบสหกรณ์ แปลงใหญ่ในระบบสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีจำนวน 2 แปลง (1) แปลงใหญ่สหกรณ์ประมงและการแปรรูปอ่างทอง เลี้ยงปลาช่อน ผลผลิตจำนวน 137 ตัน มูลค่า 8,344,680 บาท (2) แปลงใหญ่สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง ผลผลิต จำนวน 239 ตัน มูลค่า 2,231,865 บาท ปัญหาอุปสรรค (1) สมาชิกสหกรณ์มีความสามารถในการผลิต แต่ไม่มีช่องทางในการจำหน่ายทำให้ต้องพึ่งพา พ่อค้าคนกลางในพื้นที่ จึงถูกกดราคา (2) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และภัยพิบัติทำ ให้ขายผลผลิตได้ลดลง และกำลังการซื้อจากผู้บริโภคต่ำ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 25 ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข ได้เข้าร่วมแก้ไขปัญหาการถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อปลาช่อนจากสมาชิกของ สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด โดยแนะนำให้ดำเนินธุรกิจรวบรวมและแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลา จำหน่าย การหาแหล่งทุนกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เป็นการช่วยเหลือสมาชิกโดยตรงในการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด พร้อมแนะนำวิธีการ/ขั้นตอน ในการรวบรวม แปรรูป และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปถึงผู้บริโภคให้ได้รับ สินค้าที่มีคุณภาพและราคายุติธรรม โดยปัจจุบันสหกรณ์สามารถจัดจำหน่ายปลาช่อนแดดเดียวให้กับสหกรณ์ ต่าง ๆ และบุคคลภายนอกด้วย 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก ประจำปีงบประมาณ 2565 ในช่วงปี 2564 – 2565 จังหวัดอ่างทองประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ได้แก่ น้ำท่วม ภัยแล้ง และ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เกษตรกรได้รับความ เดือดร้อนจากปัญหาดังกล่าว ส่งผลสภาวะเศรษฐกิจภายในครัวเรือน การส่งชำระหนี้ต่อสถาบันการเงินที่ได้ กู้ยืมมา ทางสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ได้มีการหารือ แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสรุปได้รับแจ้งว่า สมาชิกถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อปลา ซึ่งจะทำ ให้ขาดทุนจากการเลี้ยงปลาได้ ทางสำนักงานจังหวัดอ่างทองจึงมีการจัดอบรมให้แก่สมาชิกในด้านการแปรรูป อาหาร โดยนำปลามาแปรรูปเป็นปลาช่อนแดดเดียว ปลาร้า ปลาส้ม น้ำพริกเพื่อเพิ่มมูลค่า ในขณะเดียวกัน ก็ได้จัดหาแหล่งเงินทุน ได้แก่ เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์, เงินโครงการสินเชื่อใหม่ชุมชนสร้างไทย มาให้สมาชิก ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเสียดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต และประสานงานกับส่วนราชการได้แก่ สำนักงานประมงจังหวัดอ่างทอง สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง เพื่อเป็นการบูรณางานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน และประสานกับแพปลาที่จังหวัดปทุมธานีให้รับซื้อปลาในราคาที่สูงกว่าตลาดท้องถิ่นเดิม พร้อมได้ให้สหกรณ์นำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในงานแสดงสินค้าในสถานที่ต่างๆ เพื่อหาคู่ค้าทางธุรกิจ และประชาสัมพันธ์ไปยังสหกรณ์ทั่วประเทศเพื่อแนะนำสินค้า มีคุณภาพ ราคายุติธรรมจากจังหวัดอ่างทอง โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 มีผลิตปลาช่อนแดดเดียวจำหน่ายให้แก่สหกรณ์และผู้บริโภคทั่วไป จำนวน 761 กิโลกรัม มูลค่า 190,250 บาท ปัจจุบันสหกรณ์ดำเนินธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับ ของผู้บริโภค ทำให้สมาชิกสหกรณ์มีโอกาสที่จะขายปลาได้มูลค่าสูงขึ้น และเข้าถึงแหล่งเงินดอกเบี้ยต่ำ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 26 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแปรรูปของสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด เกิดจากความ เดือดร้อนมาจากภัยธรรมชาติ โรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจ ทำให้สมาชิกสหกรณ์ซึ่งแต่เดิมเพาะเลี้ยงปลา และจัดจำหน่ายให้แก่พ่อค้าโดยไม่มีการรวมกลุ่ม ต่อมาได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ในการแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์สามารถมีสถานที่จำหน่ายปลาสดได้ราคา สูงกว่าราคาพ่อค้าท้องถิ่น พร้อมทั้งมีการฝึกอบรมให้ความรู้ในการแปรรูปสินค้า (ปลา) เพื่อเพิ่มมูลค่า ทั้งนี้ความสำเร็จที่กล่าวมาเกิดจากรวมตัวเพื่อแก้ไขปัญหาของสมาชิก และความร่วมมือในการบูรณาการ ร่วมกันของหน่วยงานราชการจังหวัดอ่างทอง ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น อันเป็น วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ที่ต้องการช่วยเหลือสมาชิกให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 27 1. จำนวนสถาบันเกษตรกร 7 แห่ง จำนวนสมาชิก 1,549 คน สหกรณ์ภาคเกษตร จำนวน 2 แห่ง จำนวนสมาชิก 1,327 คน กลุ่มเกษตรกร จำนวน 5 แห่ง จำนวนสมาชิก 222 คน 2. ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และการแก้ปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ในอำเภอสามโก้เป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ ในอดีตสหกรณ์ประสบปัญหามีการทุจริตภายใน สหกรณ์ ตรวจพบในปีพ.ศ. 2558 พบการทุจริต ปลอมแปลงสัญญาณเงินกู้การปลอมแปลงใบถอนเงินฝาก ของสมาชิก ทำให้สหกรณ์ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินและสหกรณ์ดำเนินธุรกิจขาดทุน ติดต่อกัน มาหลายปี ทำให้สหกรณ์ปิดบัญชีไม่ได้ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561 ถึงปี พ.ศ. 2565 ผลการเข้าดำเนินการ แนะนำ ส่งเสริม ด้านการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ เรื่องการดำเนินคดีต่างๆ กับผู้กระทำการทุจริต ถึงศาลพิพากษา ถึงที่สุดและสหกรณ์กำลังดำเนินการ ติดตามสืบทรัพย์บังคับคดี นำเงินคืนกลับสหกรณ์ ตามคำสั่งศาล สหกรณ์ ดำเนินการจ่ายเงินคืนให้กับเจ้าหนี้ต่าง ๆ เจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์ เจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 636,413.10 บาท เพื่อเป็นการเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับเจ้าหนี้ต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมได้แนะนำการปิดบัญชีของสหกรณ์ได้สำเร็จเรียบร้อย 1 ปีบัญชี คือ ปีบัญชีสิ้นสุด 31 มีนาคม 2561 ตลอดจนแนะนำให้สหกรณ์จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ภายใน 150 วัน เป็นไปตามข้อบังคับ และกฎหมาย 2.1 การส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.1.1 การส่งเสริมการยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงาน สหกรณ์มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 กลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80 2.1.2 การจัดมาตรฐานสหกรณ์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ผ่านมาตรฐาน – แห่ง คิดเป็นร้อยละ - กลุ่มเกษตรกร ผ่านมาตรฐาน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.1.3 การส่งเสริมการปิดบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ส่งงบการเงิน ส่งให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน - แห่ง กลุ่มเกษตรกร ส่งงบการเงิน ส่งให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80 อำเภอสามโก้


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 28 ปัญหาอุปสรรค สหกรณ์ภาคการเกษตรทั้ง 2 แห่ง มีปัญหาเรื่องที่ตั้งสำนักงาน เกิดจากสหกรณ์ขาดสภาพคล่อง ทางการเงิน ถูกเจ้าหนี้ฟ้องดำเนินคดีและขายทอดตลาดที่ดิน และทรัพย์สินของสหกรณ์ ทำให้เกิดปัญหา เรื่องการย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ แต่เดิมสมาชิกขาดศรัทธาและการติดต่อกับสหกรณ์อยู่แล้ว จึงทำให้ สมาชิกขาดการติดต่อกับสหกรณ์มากขึ้น ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไข สหกรณ์ต้องจัดประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทราบถึงสาเหตุการย้ายที่ตั้งสำนักงาน และแจ้งที่ตั้ง แห่งใหม่ให้สมาชิกทราบ ตลอดจนจัดประชุมกลุ่มสมาชิก ชี้แจงความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของสหกรณ์ 2.2 การส่งเสริมด้านการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.2.1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้บริการในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 กลุ่มเกษตรกร มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการ เกินร้อยละ 60 จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80 2.2.2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะดำเนินการ มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป้าหมาย ร้อยละ 3 ผลการปฏิบัติงาน จำนวนสหกรณ์ 2 แห่ง 1. ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ปี 2565 403,318.72 บาท 2. ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ปี 2564 467,969.20 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบผลรวม = 403,318.72 - 467,969.20 x 100 = - 13.81 467,969.20 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 13.81 ผลการปฏิบัติงานจำนวนกลุ่มเกษตรกร 5 แห่ง 1. ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกรปี 2565 1,091,420 บาท 2. ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกรปี 2564 1,093,860 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบผลรวม = 1,091,420 - 1,093,860 x 100 = - 0.22 1,093,860 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 0.22 2.2.3 ส่งเสริมผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีกำไรประจำปี ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน - แห่ง กลุ่มเกษตรกร มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 29 ปัญหาอุปสรรค สหกรณ์ภาคการเกษตรทั้ง 2 แห่ง ประสบปัญหาการขาดทุนจึงขาดความศรัทธาจากสมาชิก และสหกรณ์ขาดสภาพคล่องทางการเงินตลอดจนเจ้าหนี้ของสหกรณ์ฟ้องดำเนินคดี และตามอายัดทรัพย์ จึงไม่สามารถดำเนินธุรกิจขึ้นใหม่ได้ มีเพียงติดตามเร่งรัดหนี้จากสมาชิก และนำเงินที่รวบรวมรับชำระหนี้ได้ นำมาจ่ายคืนแก่เจ้าหนี้ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของเจ้าหนี้ต่าง ๆ และลดแรงกดดันจากเจ้าหนี้ลง เพื่อลดปัญหาการร้องเรียนและร้องทุกข์ ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไข สหกรณ์ควรเชิญเจ้าหนี้ดำเนินคดีทุกรายมาเจรจาตกลงขอความร่วมมือ อนุเคราะห์ เรื่องการ ชะลอการอายัดทรัพย์ต่าง ๆ ของเจ้าหนี้ เพื่อให้สหกรณ์ได้ดำเนินธุรกิจเพื่อฟื้นฟูธุรกิจ และสร้างรายได้ให้กับ สหกรณ์ และมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น เพื่อนำเงินมาคืนเจ้าหนี้ต่าง ๆ 2.3 ด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.3.1 การตรวจการสหกรณ์ ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ได้ได้รับการตรวจการ จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.3.2 ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ข้อบกพร่อง ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน (1) การแก้ไขข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเรื่องปัญหาการทุจริตต่าง ๆ สหกรณ์ได้ดำเนินการฟ้อง ดำเนินคดีกับผู้กระทำการทุจริตถึงชั้นศาลพิพากษาแล้ว สหกรณ์ได้ดำเนินการจัดจ้างทนาย ติดตามสืบทรัพย์ บังคับคดีกับผู้กระทำการทุจริต ตามคำพิพากษาศาล (2) การปิดบัญชีของสหกรณ์ สหกรณ์ภาคการเกษตรทั้ง 2 แห่ง ไม่สามารถปิดบัญชีได้ภายใน กำหนด สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ได้ตั้งคณะทำงานเข้าช่วยดำเนินการปิดบัญชี สหกรณ์ทั้ง 2 แห่ง ดำเนินการไปแล้วประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของการปิดบัญชี ซึ่งสหกรณ์ทั้ง 2 แห่ง ไม่สามารถปิดบัญชีได้ ตั้งแต่ ปีบัญชีพ.ศ. 2561 เป็นต้นมา ปัญหาอุปสรรค (1) สหกรณ์ทั้ง 2 แห่ง เจ้าหน้าที่บัญชีขาดทักษะและความรู้เรื่องบัญชี ตลอดจนมีการ เปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่บ่อยครั้ง จึงทำให้การทำงานไม่ติดต่อกัน ทำให้เป็นปัญหาในการปิดบัญชี (2) ปัญหาอุปสรรคในการติดตามสืบทรัพย์ คณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่เดียวกัน กับผู้กระทำการทุจริตในสหกรณ์จึงไม่พร้อมจะให้ความร่วมมือกับสหกรณ์ในการทำสืบทรัพย์ให้สหกรณ์ จึงเป็น เรื่องยากในการติดตามทรัพย์ และผู้กระทำการทุจริตส่วนใหญ่กระทำการถ่ายเททรัพย์ไปสู่บุคคลที่สามแล้ว และบางรายก็เตรียมการจดทะเบียนหย่ากับคู่สมรสไว้ก่อนแล้ว จึงทำให้ยากในการติดตามทรัพย์


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 30 ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข (1) สหกรณ์จัดจ้างทนายเข้ามาดำเนินการแทนสหกรณ์ ในการติดตามสืบทรัพย์ และบังคับคดี จากผู้กระทำการทุจริต (2) สหกรณ์ควรมีมติมอบหมายคณะกรรมการช่วยกันสอดส่อง สืบหาทรัพย์ และแจ้งให้ทนายทราบ (3) สหกรณ์ควรทำหนังสือขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอข้อมูล เช่น สำนักงานที่ดิน สำนักงานขนส่ง ธนาคาร เป็นต้น 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก ประจำปีงบประมาณ 2565 กลุ่มเกษตรกรในอำเภอสามโก้ มีจำนวน 5 กลุ่มเกษตรกร ดำเนินธุรกิจ 4 กลุ่มเกษตรกร หยุดดำเนิน ธุรกิจ 1 กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายและธุรกิจสินเชื่อ ได้รับบริการจาก กลุ่มเกษตรอย่างทั่วถึง โดยทุนของกลุ่มเกษตรกรและเงินกู้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำให้สมาชิกได้รับเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ลดต้นทุนการผลิตได้บางส่วน แต่ยังไม่เพียงพอทั้งหมด กลุ่มเกษตรกร ดำเนินธุรกิจมีผลกำไรและผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ สามารถประชุมใหญ่ได้ ภายใน 150 วัน ตามข้อบังคับและกฎหมาย มีเพียงกลุ่มเกษตรกรทำสวนครัวสุขภาพอ่างทอง ซึ่งหยุดดำเนินธุรกิจและปิดบัญชี ไม่ได้ ได้เข้าแนะนำการปิดบัญชีจนแล้วเสร็จ ตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2561 – 31 ธันวาคม 2564 สามารถส่ง ผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อตรวจสอบเรียบร้อย 1. จำนวนสถาบันเกษตรกร 9 แห่ง จำนวนสมาชิก 1,220 คน สหกรณ์ภาคเกษตร จำนวน 2 แห่ง จำนวนสมาชิก 940 คน กลุ่มเกษตรกร จำนวน 7 แห่ง จำนวนสมาชิก 280 คน 2. ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และการแก้ปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอไชโยทุกแห่ง เมื่อดำเนินงานครบปีแล้วสามารถปิดบัญชีได้ มีการกำหนดระเบียบขึ้นถือใช้ไว้ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ที่ผ่านมา การดำเนินงานเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ พระราชบัญญัติสหกรณ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์แก่บรรดาสมาชิกโดยให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ สหกรณ์ใช้ทุนภายในของตนเองเพื่อใช้หมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ สหกรณ์ดำเนินงานเป็นไปตาม แผนการดำเนินงานประจำปีที่ได้กำหนดไว้ สหกรณ์มีการวางแผนและมีการติดตามทวงถามหนี้อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้สหกรณ์ไม่ประสบปัญหาหนี้ค้างนาน ในปี 2565 สหกรณ์การเกษตรไชโย จำกัด ได้รับการคัดเลือก อำเภอไชโย


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 31 เป็นสหกรณ์ดีเด่นระดับจังหวัด สำหรับสหกรณ์ประเภทการเกษตรด้วย สหกรณ์มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ฝึกงานผู้นำเยาวชนเกษตรไทยในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 1 ราย และมีเกษตรกรในโครงการนำลูกหลานเกษตรกร กลับบ้านสานต่ออาชีพการเกษตร จำนวน 1 ราย กลุ่มเกษตรกรดำเนินงานเป็นไปตามแผนการดำเนินงานประจำปีที่ได้กำหนดไว้ กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่ยื่นเรื่องขอกู้เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ สามารถให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการของสมาชิก ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ โดยเปรียบเทียบจากทุนดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีที่ผ่านมาของกลุ่มเกษตรกร 2.1 การส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.1.1 การส่งเสริมการยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.1.2 การจัดมาตรฐานสหกรณ์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ผ่านมาตรฐาน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร ผ่านมาตรฐาน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.1.3 การส่งเสริมการปิดบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 7แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.2 การส่งเสริมด้านการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.2.1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้บริการในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 2แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการ เกินร้อยละ 60 จำนวน 7 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 100 2.2.2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะดำเนินการ มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป้าหมาย ร้อยละ 3 ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ทั้งหมด 2 แห่ง ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ปี 2565 112,275,290.41 บาท ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ปี 2564 128,841,895.98 บาท


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 32 ร้อยละของการเปรียบเทียบผลรวม = 112,275,290.41 - 128,841,895.98 x 100 = - 12.85 128,841,895.98 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 12.85 ผลการปฏิบัติงาน กลุ่มเกษตรกรทั้งหมด 7 แห่ง ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ปี 2565 2,847,795.67 บาท ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ปี 2564 5,042,425.00 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบผลรวม = 2,847,795.67 - 5,042,425 x 100 = -43.52 5,042,425 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 43.52 2.2.3 ส่งเสริมผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีกำไรประจำปี ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ปัญหาอุปสรรค สมาชิกไม่ให้ความร่วมมือในการส่งชำระหนี้ เนื่องจากจังหวัดอ่างทองประสบน้ำท่วมทำให้ ผลิตผลน้อยลงกว่าทุกปี รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำ ให้สภาพเศรษฐกิจในครัวเรือนมีรายได้ลดลงไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย เป็นปัญหาในการส่งชำระหนี้ของสมาชิก และส่งผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจของสหกรณ์ในพื้นที่ ในส่วนของสมาชิกที่มีหนี้สินค้าค้างเดิม บางรายที่รอการ ซื้อหนี้แทนจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เงื่อนไขเวลาในการรับซื้อหนี้ของกองทุนทำให้ สหกรณ์ประสบปัญหามีหนี้ค้างชำระและสหกรณ์มีหนี้ซ้ำซ้อนหลายทางทำให้ประสิทธิภาพการชำระหนี้ลดลง ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข ในช่วงที่จังหวัดอ่างทองประสบภาวะน้ำท่วมและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับผลกระทบดังกล่าวทุกราย ทาง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าแนะนำสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือด้าน หนี้สินและการปรับโครงสร้างหนี้ของสหกรณ์ การพิจารณาให้ความเห็นชอบวงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกันเป็น กรณีพิเศษ แนวทางการประชุมใหญ่สามัญประจำปี การแนะนำเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์ สามารถใช้เป็นแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และสามารถบริการสมาชิกได้อย่างทั่วถึง 2.3 ด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.3.1 การตรวจการสหกรณ์ ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ได้รับการตรวจการ จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 33 2.3.2 ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ข้อพกพร่อง ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าติดตามการแก้ไขข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ในจำนวน 1 สหกรณ์ โดยแนะนำให้ดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว และติดตามผลทุกเดือน ทำให้ ณ วันสิ้นปีไม่มีข้อสังเกตเพิ่มขึ้น ปัญหาอุปสรรค สหกรณ์บางแห่งไม่นำข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีมาแก้ไข และไม่รายงานผลความคืบหน้า ทำให้มีข้อสังเกตตกค้าง ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข สหกรณ์ควรติดตามข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีและจัดเป็นวาระติดตามในการประชุม คณะกรรมการดำเนินการทุก ๆ เดือน เพื่อให้คณะกรรมการทราบว่าได้ดำเนินการคืบหน้าไปถึงขั้นตอนไหน มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร จากนั้นควรรายงานผลความคืบหน้าให้แก่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง และสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 2.4 ด้านการสนับสนุนนโยบายที่สำคัญ -ไม่มี- 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก ประจำปีงบประมาณ 2565 สหกรณ์การเกษตรไชโย จำกัด ได้รับการคัดเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่น ระดับจังหวัด โดยได้รับการส่งเสริม และพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ 1. ความคิดริเริ่ม 2. ความสามารถในการบริหารและการจัดการสหกรณ์3. บทบาท และการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสหกรณ์ 4. ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสหกรณ์ 5. การทำ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยแห่งความสำเร็จ สหกรณ์การเกษตรไชโย จำกัด มีแผนการดำเนินงานของสหกรณ์ชัดเจน มุ่งเน้นทำธุรกิจพอดี กับความต้องการของสมาชิก เช่น การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย การให้เงินกู้กับสมาชิก การดำเนินกิจการ เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า สร้างประโยชน์สูงสุดเพื่อให้สมาชิกสามารถลดต้นทุนในการประกอบอาชีพ และเป็นตัวอย่างให้กับสมาชิกอื่นได้นำมาใช้ในโอกาสถัดไป


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 34 1. จำนวนสถาบันเกษตรกร จำนวน 7 แห่ง จำนวนสมาชิก 2,479 คน สหกรณ์ภาคเกษตร จำนวน 2 แห่ง จำนวนสมาชิก 2,228 คน กลุ่มเกษตรกร จำนวน 5 แห่ง จำนวนสมาชิก 251 คน 2. ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และการแก้ปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอแสวงหา เมื่อดำเนินงานครบปีแล้วสามารถปิดบัญชีได้ มีการกำหนดระเบียบขึ้นถือใช้ไว้ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ที่ผ่านมา การดำเนินงานเป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ แก่บรรดาสมาชิกโดยให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ สมาชิกมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ สหกรณ์ใช้ทุนภายในของตนเองเพื่อใช้หมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ สามารถดำเนินงานให้เป็นไป ตามแผนการดำเนินงานประจำปีที่ได้กำหนดไว้ สหกรณ์มีการวางแผนและมีการติดตามทวงถามหนี้อย่าง ต่อเนื่อง จึงทำให้สหกรณ์ไม่ประสบปัญหาหนี้ค้างนาน กลุ่มเกษตรกรดำเนินงานเป็นไปตามแผนการดำเนินงานประจำปีที่ได้กำหนดไว้ กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่ยื่นเรื่องขอกู้เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ สามารถให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการของสมาชิก ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ โดยเปรียบเทียบจากทุนดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีที่ผ่านมาของกลุ่มเกษตรกร 2.1 การส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.1.1 การส่งเสริมการยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.1.2 การจัดมาตรฐานสหกรณ์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ผ่านมาตรฐาน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 กลุ่มเกษตรกร ผ่านมาตรฐาน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80 2.1.3 การส่งเสริมการปิดบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ส่งงบการเงิน ส่งให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร ส่งงบการเงิน ส่งให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 อำเภอแสวงหา


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 35 ปัญหาอุปสรรค สหกรณ์มีผลการดำเนินงานขาดทุน อันเกิดจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ทำให้ไม่ผ่าน มาตรฐาน ซึ่งสหกรณ์อยู่ระหว่างการดำเนินงานแก้ไข โดยสหกรณ์อยู่ระหว่างการฟ้องร้องดำเนินคดี ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข สหกรณ์ติดตามการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้ สหกรณ์มีรายได้กลับเข้ามาในสหกรณ์ 2.2 การส่งเสริมด้านการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.2.1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้บริการในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.2.2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะดำเนินการ มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป้าหมาย ร้อยละ 3 ผลการปฏิบัติติงานสหกรณ์ทั้งหมด 2 แห่ง ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ปี 2565 179,149,853.23 บาท ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ปี 2564 192,265,645.94 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบผลรวม = 179,149,853.23 - 192,265,645.94 x 100 = - 6.82 192,265,645.94 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 6.82 ผลการปฏิบัติติงานกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด 5 แห่ง ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ปี 2565 3,586,954.78 บาท ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ปี 2564 3,461,139.00 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบผลรวม = 3,461,139 - 3,586,954.78 x 100 = 3.63 3,461,139 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 3.63 2.2.3 ส่งเสริมผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีกำไรประจำปี ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 กลุ่มเกษตรกร มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80


Click to View FlipBook Version