The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pannaphat Tanpradubsing, 2023-01-15 01:44:16

Angthong Annual Report

Angthong Annual Report

รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 36 ปัญหาอุปสรรค กลุ่มเกษตรกรมีทุนดำเนินการไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ สมาชิกมีความต้องการกู้เงิน มากกว่าทุนดำเนินงานกลุ่มเกษตรกร ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข เพิ่มวงเงินกู้ยืมกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น 2.3 ด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.3.1 การตรวจการสหกรณ์ ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ได้รับการตรวจการ จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.3.2 ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ข้อพกพร่อง ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าติดตามการแก้ไขข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี โดยแนะนำให้ ดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว และติดตามผลทุกเดือน ทำให้ ณ วันสิ้นปีไม่มีข้อสังเกตเพิ่มขึ้น ปัญหาอุปสรรค (1) การแก้ไขข้อสังเกตผู้สอบบัญชี ด้านการจัดทำบัญชี เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกเป็น ผู้สูงอายุเสียส่วนใหญ่ ทำให้ไม่สามารถจัดทำบัญชีได้ ทำได้เพียงการจัดทำเอกสารประกอบเท่านั้น (2) สหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรบางแห่งไม่นำข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีมาแก้ไข และไม่รายงานผล ความคืบหน้า ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข สหกรณ์ควรติดตามข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีและจัดเป็นวาระติดตามในการประชุม คณะกรรมการดำเนินการทุก ๆ เดือน เพื่อให้คณะกรรมการทราบว่าได้ดำเนินการคืบหน้าไปถึงขั้นตอนไหน มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร จากนั้นควรรายงานผลความคืบหน้าให้แก่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง และสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 2.4 ด้านการสนับสนุนนโยบายที่สำคัญ 2.4.1 การส่งเสริมการใช้อุปกรณ์การตลาดของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับสนับสนุนจาก กรมส่งเสริมสหกรณ์ มีจำนวน 1 แห่ง ผลการปฏิบัติงาน ใช้ประโยชน์ 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 2.4.2 โครงการลูกหลานกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร เกษตรกรมีผลการประกอบอาชีพมี รายได้มากว่า 12,000 บาท ต่อเดือน ผลการปฏิบัติงาน ส่งเสริมเกษตรกร จำนวน 2 ราย เกษตรกรมีผลการประกอบอาชีพ มีรายได้ มากว่า 12,000 บาท ต่อเดือน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 37 2.4.3 การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ในระบบสหกรณ์ แปลงใหญ่ในระบบสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีจำนวน 3 แปลง ดังนี้ 1. แปลงใหญ่ข้าว ต.วังน้ำเย็น ผลผลิต จำนวน 561 ตัน มูลค่า 4,265,520 บาท 2. แปลงใหญ่มะม่วง ต.บ้านพราน อ.แสวงหา ผลผลิต จำนวน 55 ตัน มูลค่า 597,075 บาท 3. แปลงใหญ่ไม้มงคล ต.แสวงหา อ.แสวงหา ผลผลิต จำนวน 24,405 ต้น มูลค่า 489,738 บาท ปัญหาอุปสรรค (1) สมาชิกแปลงใหญ่ส่วนใหญ่ขาดการมีส่วนร่วม ทำให้แปลงใหญ่ขาดความเข้มแข็ง สมาชิก แต่ละคนต่างคนต่างทำ ไม่รวมกันผลิต ไม่รวมกันขาย (2) เครื่องมือ อุปกรณ์ด้านการเกษตรไม่เพียงพอต่อการผลิต (3) สมาชิกแปลงใหญ่ไม่เห็นความสำคัญของการผลิตตามระบบมาตรฐานการปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดี GAP (Good Agricultural Practices : GAP) ทำให้สมาชิกแปลงใหญ่ไม่สามารถต่อรอง ราคาและผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข (1) บูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดอบรมสมาชิกแปลงใหญ่ให้รับรู้ถึง ประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในการรวมกันซื้อ รวมกันผลิต รวมกันขาย (2) รวบรวมสมาชิกแปลงใหญ่ที่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามแนวทางตามมาตรฐาน GAP เพื่อสร้างการรับรู้ระบบมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอันจะส่งผลให้เกษตรกรกระตือรือร้น ในการสร้างผลผลิตที่ได้มาตรฐานต่อไป 3.สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก ประจำปีงบประมาณ 2565 สหกรณ์การเกษตรแสวงหา จำกัด สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทองได้ส่งเสริมให้สหกรณ์นำโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 15 คน กิจกรรมได้แก่ ส่งเสริมการออม ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม ปัจจัยแห่งความสำเร็จ สหกรณ์การเกษตรแสวงหา จำกัด เห็นคุณค่ากับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการ ดำเนินการของสหกรณ์ โดยมุ่งเน้นทำธุรกิจพอดีกับความต้องการของสมาชิก เช่น การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย การให้เงินกู้กับสมาชิก การดำเนินกิจการเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า สร้างประโยชน์สูงสุดเพื่อให้สมาชิก สามารถลดต้นทุนในการประกอบอาชีพ และเป็นตัวอย่างให้กับสมาชิกอื่นได้นำมาใช้ในโอกาสถัดไป


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 38 1. จำนวนสถาบันเกษตรกร 11 แห่ง จำนวนสมาชิก 6,037 คน สหกรณ์ภาคเกษตร จำนวน 1 แห่ง จำนวนสมาชิก 5,171 คน สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 1 แห่ง จำนวนสมาชิก 502 คน กลุ่มเกษตรกร จำนวน 9 แห่ง จำนวนสมาชิก 364 คน 2. ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และการแก้ปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอโพธิ์ทอง มีการดำเนินงานเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ พระราชบัญญัติสหกรณ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสามารถปิดบัญชี ประจำปีได้ และมีการกำหนดระเบียบขึ้นถือใช้ไว้ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร การดำเนินงานของสหกรณ์ประสบปัญหาสมาชิกผิดนัดชำระหนี้เป็นลูกหนี้ค้างนาน ส่งผลกระทบต่อสภาพ คล่อง สหกรณ์ได้กู้ยืมเงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์เพื่อใช้หมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งสหกรณ์ได้ จัดทำโครงการช่วยเหลือสมาชิกที่มีหนี้ค้างชำระ ปี 2565 โดยลดดอกเบี้ยและค่าปรับให้กับสมาชิกที่เข้าร่วม โครงการ ผลที่ได้รับคือสหกรณ์มีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้สำหรับดำเนินธุรกิจของสหกรณ์เพิ่มขึ้น การจัดทำ โครงการดังกล่าวเป็นการลดภาระต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ และเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการพัฒนา ศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ เพราะเมื่อปัญหาหนี้ค้างนานลดลงก็จะสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ ต่อไป สหกรณ์นอกภาคการเกษตร สหกรณ์ใช้ทุนภายในเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจมิได้กู้ยืมจาก แหล่งเงินทุนภายนอก แต่ไม่สามารถปิดบัญชีได้ตั้งแต่ปีบัญชี 2561-2565 สหกรณ์อยู่ระหว่างดำเนินการปิด บัญชีที่ผ่านมาสหกรณ์ประสบปัญหาสมาชิกผิดนัดชำระหนี้ หนี้ค้างนาน ปัจจุบันคณะกรรมการดำเนินการแจ้ง เตือนและติดตามการชำระหนี้ของสมาชิกให้เป็นไปตามกำหนดสัญญา กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ทุนภายในเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ ที่ผ่านมาการ ดำเนินงานเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ พระราชบัญญัติสหกรณ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีการกำหนด ระเบียบไว้ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของกลุ่มเกษตรกร 2.1 การส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.1.1 การส่งเสริมการยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 อำเภอโพธิ์ทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 39 2.1.2 การจัดมาตรฐานสหกรณ์ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ผ่านมาตรฐาน - แห่ง คิดเป็น ร้อยละ - ไม่บรรลุเป้าหมาย กลุ่มเกษตรกร ผ่านมาตรฐาน 7 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 77.78 บรรลุเป้าหมาย 2.1.3 การส่งเสริมการปิดบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 กลุ่มเกษตรกร ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วัน จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ100 2.2 การส่งเสริมด้านการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.2.1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้บริการในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 กลุ่มเกษตรกร มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 7 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 77.78 2.2.2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะดำเนินการ มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป้าหมาย ร้อยละ 3 ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ทั้งหมด 2 แห่ง ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ปี 2565 208,173,419.20 บาท ผลรวมปริมาณธุรกิจสหกรณ์ปี 2564 209,648,017.95 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบผลรวม = 208,173,419.20 - 209,648,017.95 x 100 = - 0.71 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ - 0.71 ผลการปฏิบัติงาน กลุ่มเกษตรกรทั้งหมด 9 แห่ง ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ปี 2565 6,008,663.97 บาท ผลรวมปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ปี 25641,932,142.49 บาท ร้อยละของการเปรียบเทียบผลรวม = 6,008,663.97 - 1,932,142.49 x 100 = 210.99 1,932,142.49 ผลการประเมินปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 210.99 2.2.3 ส่งเสริมผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีกำไรประจำปี ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 กลุ่มเกษตรกร มีผลการดำเนินงานมีกำไร จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 77.78


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 40 ปัญหาอุปสรรค จากการเข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอโพธิ์ทอง พบปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ดังนี้ (1) สหกรณ์ได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาล แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับใช้ เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่ารัฐบาล ส่งผลให้สหกรณ์ต้องแบกภาระต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของ สหกรณ์สูงขึ้น (2) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประสบปัญหาสมาชิกผิดนัดชำระหนี้ หนี้ค้างนาน ทำให้ผลการ ดำเนินงานขาดทุนสะสมเนื่องจากผู้สอบบัญชีตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (3) สหกรณ์ประสบปัญหาขาดทุนสะสมจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากปัญหาการทุจริตในอดีตทำให้ ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง (4) สหกรณ์ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาดอย่างเต็มที่ (5) สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประสบปัญหาในการประกอบอาชีพเนื่องจากภัยธรรมชาติ และโรคระบาด ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข (1) แนะนำ ส่งเสริม ร่วมกับคณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการ เพื่อวางแผนในการติดตาม เร่งรัดหนี้จากสมาชิก รวมทั้งร่วมกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญาของสมาชิก เพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาเพื่อลดปัญหาหนี้ค้างนาน (2) แนะนำ ส่งเสริม ให้คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการ สำรวจอุปกรณ์การตลาดให้ สามารถใช้ประโยชน์ให้สูงสุด (3) แนะนำ ส่งเสริม ให้คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการ สำรวจความต้องการของสมาชิก ในการขอรับบริการจากสหกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสมาชิก 2.3 ด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2.3.1 การตรวจการสหกรณ์ ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ได้รับการตรวจการ จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการปฏิบัติงาน สหกรณ์ออมทรัพย์ ใช้ Application จำนวน - แห่ง คิดเป็นร้อยละ - 2.3.2 ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ข้อพกพร่อง ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าติดตามการแก้ไขข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี จำนวน 1 สหกรณ์ โดยแนะนำให้ดำเนินการแก้ไข และติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 41 ปัญหาอุปสรรค คณะกรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ไม่ค่อยให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือใน การแก้ไขข้อสังเกตอย่างจริงจัง ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข สหกรณ์ควรติดตามข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีและจัดเป็นวาระติดตามในการประชุม คณะกรรมการดำเนินการทุก ๆ เดือน เพื่อให้คณะกรรมการทราบว่าได้ดำเนินการคืบหน้าไปถึงขั้นตอนไหน มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร จากนั้นควรรายงานผลความคืบหน้าให้แก่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง และสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 2.4 ด้านการสนับสนุนนโยบายที่สำคัญ 2.4.1 การส่งเสริมการใช้อุปกรณ์การตลาดของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับสนับสนุน จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ มีจำนวน 1 แห่ง ผลการปฏิบัติงาน ไม่ได้ใช้ประโยชน์ 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก ประจำปีงบประมาณ 2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทองได้ส่งเสริมให้สหกรณ์นำโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมได้แก่ ส่งเสริมการออม ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม ปัจจัยแห่งความสำเร็จ สหกรณ์ให้ความสำคัญกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงานของสหกรณ์ ใช้วิธีบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสหกรณ์โดยใช้สอยเฉพาะสิ่งที่สำคัญไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย จนเกิน ความพอดีใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและรู้คุณค่า มุ่งเน้นทำธุรกิจพอดีกับความต้องการของสมาชิก เช่น การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย การให้เงินกู้กับสมาชิก 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง มีศักยภาพในการ ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความต้องการพื้นฐานของสมาชิกและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก 1.2 เพื่อรักษา/ส่งเสริม/ผลักดันสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ 2.1 สหกรณ์ที่ดำเนินการในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 30 แห่ง 2.2 กลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินการในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 47 แห่ง โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 42 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาเพื่อยกระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ชั้น 2 สู่ชั้น 1 3.1.1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 ในวันอังคารที่ 22 - 23 มีนาคม 2565 รายละเอียด ดังนี้ - วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565 สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด ณ สถานที่ ทำการสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด - วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565 กลุ่มเกษตรกรทำสวนอ่างทองกรีนฟาร์ม ณ ห้องประชุม สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง - วันพุธที่ 23 มีนาคม 2565 สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด ณ สถานที่ ทำการสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด 3.1.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 ภายในเดือน มิถุนายน 2565 ณ สถานที่ราชการหรือ สถานที่อื่นตามความเหมาะสมในจังหวัดอ่างทอง กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาเพื่อผลักดันระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ภาคการเกษตร ชั้น 3 สู่ชั้น 2 - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 ในวันพุธที่ 23 มีนาคม 2565 ณ สถานที่ทำการ สหกรณ์โคเนื้ออ่างทอง จำกัด - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 ภายในเดือน พฤษภาคม 2565 ณ สถานที่ ทำการสหกรณ์โคเนื้ออ่างทอง จำกัด - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 3 ภายในเดือน กรกฎาคม 2565 ณ สถานที่ทำการ สหกรณ์โคเนื้ออ่างทอง จำกัด 3.2 ความสำเร็จของโครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสามารถมีแนวทางขั้นตอน และวิธีการในการยกระดับชั้น ความเข้มแข็งของตนเอง ซึ่งสหกรณ์ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความเข้มแข็งในระดับชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 27 แห่ง และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความเข้มแข็งในระดับชั้น 1 จำนวน 12 แห่ง 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งเป็นที่พึ่งของสมาชิกและชุมชน 3.3.2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปพัฒนาการดำเนินกิจการ ของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้เจริญก้าวหน้า และสมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรสามารถพัฒนาศักยภาพสู่ความเข้มแข็งทั้ง 4 ด้าน ได้แก่


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 43 1. ความสามารถในการให้บริการสมาชิก (ส่วนร่วม) 2. ประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ 3. ประสิทธิภาพในการจัดการองค์กร 4. ประสิทธิภาพของการบริหารงาน 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ 1. สหกรณ์ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความเข้มแข็งในระดับชั้น 1 และชั้น 2 จำนวน 27 แห่ง 2. กลุ่มได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความเข้มแข็งในระดับชั้น 1 จำนวน 12 แห่ง เชิงคุณภาพ 1. สหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับชั้น 1 และชั้น 2 ร้อยละ 90 2. กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งในระดับชั้น 1 ร้อยละ 25 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน สหกรณ์มิได้นำหลักเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งของกรมส่งเสริมสหกรณ์ มาเป็นแนวทางในการ ดำเนินกิจการ 6. แนวทางการแก้ไข เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ควรนำหลักเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งของกรมส่งเสริมสหกรณ์ แนะนำ คณะกรรมการดำเนินการในที่ประชุม เพื่อนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการดำเนินกิจการ ภาพกิจกรรม สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด กลุ่มเกษตรกรทำสวนอ่างทองกรีนฟาร์ม แนะนำ ส่งเสริม ผลักดันสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 44 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อวัดความเป็นสถาบันสหกรณ์ อันเป็นองค์กรของมวลสมาชิก 1.2 เพื่อประเมินศักยภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์ ผลจากการจัดระดับมาตรฐานสหกรณ์ สามารถ สะท้อนให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละสหกรณ์ สหกรณ์ที่มีศักยภาพที่จะสามารถบริการเป็นประโยชน์แก่ สมาชิก ซึ่งเป็นเจ้าของสหกรณ์ได้ดีเพียงใด มีความสามารถในการบริหารจัดการมากน้อยเพียงใด 1.3 เพื่อนำผลการจัดระดับมาตรฐานสหกรณ์ไปเป็นข้อมูลเบื้องต้น แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริงและสอดคล้องกับความต้องการของสหกรณ์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งก้าวหน้าแก่สหกรณ์ 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ สหกรณ์ที่นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 29 แห่ง 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.3.1 กำหนดแผนงานพร้อมเข้าร่วมประชุมชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ 3.1.2 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อแจ้งให้สหกรณ์ทราบและเห็นความสำคัญ ของมาตรฐานสหกรณ์ 3.1.3 แนะนำ ส่งเสริมและ ผลักดัน ในส่วนที่สหกรณ์ยังตกมาตรฐาน โครงการส่งเสริมและผลักดันสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 45 3.1.4 จัดประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกับระหว่างเจ้าหน้าที่สหกรณ์และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม สหกรณ์ เพื่อหาแนวทางการแก้ไข 3.1.5 ติดตาม และประเมินผล 3.2 ความสำเร็จของโครงการ สหกรณ์ได้รับการส่งเสริมให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 29 แห่ง 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 สหกรณ์ได้ทราบถึงสถานะและผลการดำเนินงานของตนเองในภาพรวมเบื้องต้น เนื่องจากมาตรฐานสหกรณ์เป็นเกณฑ์เบื้องต้นที่สหกรณ์จะสามารถดำเนินงานให้ผ่านได้โดยยึดหลักการและ วิธีการสหกรณ์ 3.3.2 สหกรณ์สามารถนำผลการจัดมาตรฐานไปใช้กำหนดแผนการพัฒนาการดำเนินงานของ สหกรณ์ ปรับปรุงแก้ไขผลการดำเนินงานให้ดีขึ้น เพื่อให้ผ่านมารตฐาน หรือยกระดับการผ่านมาตรฐานสหกรณ์ และสมาชิกได้รับบริการอันเป็นประโยชน์จากสหกรณ์ 3.3.3 สหกรณ์ได้รับสิทธิบางประการที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด เช่น การพิจารณาขอกู้ เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ การพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมถึง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนหรือสถาบันการเงินอื่นๆ 3.3.4 สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและได้รับความน่าเชื่อถือจากสมาชิกและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ สหกรณ์ได้รับการส่งเสริมให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 29 แห่ง เชิงคุณภาพ สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 55.17 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ปัญหาของสหกรณ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน คือ 1. ผลการดำเนินงานในรอบสองปีบัญชีย้อนหลังสหกรณ์มีผลการดำเนินธุรกิจขาดทุน 2. ผลการดำเนินงานในรอบสองปีบัญชีย้อนหลังมีการกระทำอันถือได้ว่าทุจริตต่อสหกรณ์ 3. ผลการดำเนินงานในรอบสองปีบัญชีย้อนหลังสหกรณ์ไม่สามารถจัดทำงบการเงินให้แล้ว เสร็จและส่งมอบให้ผู้สอบบัญชีตรวจแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ได้ 4. ผลการดำเนินการในรอบสองปีบัญชีสุดท้ายสหกรณ์มีสมาชิกน้อยกว่าร้อยละ 60 ที่ร่วมทำธุรกิจ กับสหกรณ์ 5. สหกรณ์ไม่ได้จัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์มาปฏิบัติงานประจำรับผิดชอบการดำเนินงานและธุรกิจ ของสหกรณ์


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 46 6. ผลการดำเนินงานในรอบสองปีบัญชีย้อนหลัง สหกรณ์ไม่สามารถจัดสรรกำไรสุทธิและจ่าย ทุนสวัสดิการสมาชิกและทุนสาธารณประโยชน์อย่างน้อยหนึ่งครั้งได้ 6. แนวทางการแก้ไข สหกรณ์รู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์และนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้ในการดำเนิน กิจการของสหกรณ์ ภาพกิจกรรม สหกรณ์การเกษตรแสวงหา จำกัด สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด สหกรณ์การเกษตรไชโย จำกัด แนะนำ ส่งเสริม ให้สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตรวิเศษชัยชาญ จำกัด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 47 1. วัตถุประสงค์ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรและเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนทั่วไปได้ รู้จักและยึดถือเป็นแบบอย่างด้านแนวทางในการปฏิบัติงาน อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างให้เกิดขวัญกำลังใจในการ สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ 2.1 สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 2 แห่ง 2.2 สหกรณ์ในภาคการเกษตร จำนวน 2 แห่ง 2.3 กลุ่มเกษตรกร จำนวน 2 แห่ง 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 คัดเลือก โดยมีกำหนดขั้นตอนการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นไว้ 3 ระดับ 1. ระดับจังหวัด 2. ระดับภาค 3. ระดับประเทศ 3.1.2 การพิจารณารางวัล 1. ระดับจังหวัด พิจารณาตัดสินตามประเภทการคัดเลือกของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประเภท การคัดเลือกละ 1 รางวัล โดยจังหวัดจัดทำประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติมอบให้ 2. ระดับภาค พิจารณาตัดสินตามประเภทการคัดเลือกของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประเภทการ คัดเลือกละ 1 รางวัล โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดทำโล่รางวัลเชิดชูเกียรติมอบให้ในงานที่กรมส่งเสริมสหกรณ์จัด ตามความเหมาะสม 3. ระดับชาติ สำหรับสหกรณ์ พิจารณาตัดสินโดยคณะกรรมการระดับกระทรวง จำนวนไม่เกิน 7 รางวัลโดยพิจารณาจากสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นระดับภาคตามประเภทการคัดเลือก และกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะมอบเงินรางวัลให้แก่สหกรณ์ 1 รางวัล จำนวน 200,000 บาท โครงการ พัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่น


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 48 สำหรับกลุ่มเกษตรกร พิจารณาตัดสินโดยคณะกรรมการระดับกระทรวง โดยพิจารณาจาก กลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่น ระดับภาค ตามประเภทการคัดเลือกซึ่งได้กำหนดไว้ และกรมส่งเสริมสหกรณ์จะ มอบเงินรางวัลกลุ่มเกษตรกร 3 รางวัล จำนวน 180,000 บาท โดยสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการ พิจารณาตัดสินเป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรดีเด่นแห่งชาติ จะได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี ณ พลับพลาที่ ประทับ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง 3.1.3 หลักเกณฑ์การคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับรับการคัดเลือก คุณสมบัติของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับการคัดเลือก 1. มีผลการดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 2. ต้องมีข้อมูลย้อนหลัง (งบการเงิน) เพื่อการตรวจสอบไม่น้อยกว่า 3 ปี 3. ถ้าเป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เคยได้รับพระราชทานโล่รางวัลดีเด่นแห่งชาติ มาแล้วจะต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากปีที่ได้รับรางวัล จึงมีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกได้ 4. ต้องเป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านระดับได้มาตรฐานของกรมส่งเสริม สหกรณ์ในปีล่าสุดก่อนเข้ารับการคัดเลือก 5. ในปีล่าสุดก่อนเข้ารับการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต้องไม่มีข้อบกพร่อง และไม่มีข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีที่เป็นสาระสำคัญ 6. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกประเภทที่ส่งผลงานเข้ารับการคัดเลือก ต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายว่าด้วยการสหกรณ์ และไม่ฝ่าฝืนกฎหมายอื่น 3.1.4 ประเภทการคัดเลือก ประเภทการคัดเลือกสหกรณ์ดีเด่น 1. สหกรณ์การเกษตรทั่วไป 2. สหกรณ์โคนม 3. สหกรณ์นิคม 4. สหกรณ์ประมง 5. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำ 6. สหกรณ์ผู้ผลิตยางพารา 7. สหกรณ์ออมทรัพย์ 8. สหกรณ์ร้านค้า 9. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 10. สหกรณ์บริการ 11. โครงการพระราชดำริหรือพื้นที่โครงการหลวง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 49 ประเภทการคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรดีเด่น 1. กลุ่มเกษตรทำนา 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 3. กลุ่มเกษตรทำไร่ 3.1.5 เกณฑ์การประเมินการให้คะแนน ใช้เกณฑ์การตัดสินตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดไว้ 5 หมวด และได้ปรับเพิ่ม คะแนนในอัตราที่เท่ากันทุกหมวด เกณฑ์การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 5 หมวด คะแนนรวม 1,000 คะแนน ดังนี้ 1. ความคิดริเริ่ม 100 คะแนน 2. ความสามารถในการบริหารและการจัดการสถาบัน 350 คะแนน 3. บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน 250 คะแนน 4. ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน 150 คะแนน 5. การทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์ 150 คะแนน และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม 1,000 คะแนน การคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นในแต่ละระดับจะใช้วิธีการให้คะแนน เพื่อจัดลำดับคะแนน โดยคัดเลือกสหกรณ์แต่ละประเภทการคัดเลือกที่ได้คะแนนรวมมากที่สุด ทั้งนี้ สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องได้คะแนนรวม ทั้ง 5 หมวด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (800 คะแนน) และคะแนนแต่ละหมวดจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 3.2 ความสำเร็จของโครงการ สหกรณ์ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและได้รับการคัดเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี พ.ศ. 2565/2566 ได้แก่ 1. ประเภทสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 1 แห่ง - สหกรณ์การเกษตรไชโย จำกัด 2. ประเภทสหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 2 แห่ง - สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด - สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมและพัฒนาสู่ดีเด่น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความคิดริเริ่ม 2) ความสามารถในการบริหารและการจัดการสหกรณ์ 3) บทบาทและการมีส่วนร่วมของ สมาชิกต่อสหกรณ์ 4) ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสหกรณ์ 5) การทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 50 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ สหกรณ์ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและได้รับการคัดเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี พ.ศ. 2565/2566 ได้แก่ 1) ประเภทสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 1 แห่ง - สหกรณ์การเกษตรไชโย จำกัด 2) ประเภทสหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 2 แห่ง - สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด - สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด เชิงคุณภาพ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับทราบผลการวิเคระห์การดำเนินกิจการ ของสหกรณ์และได้รับรู้ถึงจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อคงมาตรฐานเดิม ส่วนจุด ที่ควรพัฒนาจะได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาให้สามารถผ่านการคัดเลือกต่อไปได้ 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน การดำเนินกิจการของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ดำเนินการตามแผนธุรกิจของสหกรณ์ โดยยึดตาม หลักเกณฑ์การประเมินของกรมส่งเสริมสหกรณ์มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจการแต่มิอาจดำเนินการให้ บรรลุผลได้ 6. แนวทางการแก้ไข 6.1 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับสหกรณ์วางแผนการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมในแต่ละหมวด 6.2 การส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่นควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรมีพัฒนา/ปรับปรุง ให้ดีขึ้น โดยการบูรณาร่วมกันระหว่างสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม สหกรณ์ 6.3 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์สรุปผลคะแนนทั้ง 5 หมวดอย่างละเอียด นำไปชี้แจงต่อคณะกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ เพื่อหาวางแผนและกำหนดแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุง ตามหลักเกณฑ์การประกวด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 51 ภาพกิจกรรม 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อให้งานกำกับ ดูแล ตรวจสอบสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกแห่งในจังหวัดอ่างทองมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 1.2 เพื่อกำกับ ดูแล ตรวจสอบสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้ดำเนินกิจการเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง 1.3 เพื่อตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ และอำนาจ กระทำการของสหกรณ์ตามข้อบังคับ 1.4 การตรวจสอบสหกรณ์โดยทีมตรวจการสหกรณ์ระดับจังหวัด โดยการนำผลการวิเคราะห์ความ เสี่ยงข้อมูลการวิเคราะห์สหกรณ์ รายงานข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ร้อยละ 25 ของสหกรณ์ทั้งหมด เพื่อให้ คำแนะนำการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ เพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่อง 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ สหกรณ์ จำนวน 30 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จำนวน 47 แห่ง งานกำกับ ดูแล การแก้ไขข้อบกพร่องสหกรณ์ และงานตรวจการ การประชุมคณะกรรมการ ระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาการคัดเลือกสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรสู่ ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565/2566


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 52 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 นายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ตรวจการสหกรณ์ เข้าตรวจสอบกิจการ และฐานะ การเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และรายงานผลให้นายทะเบียนสหกรณ์ทราบ 3.1.2 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ตรวจสอบสหกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ หากพบว่าเสี่ยงต่อ การทุจริตหรือพบข้อบกพร่องร้ายแรง (Scan) ให้รายงานต่อนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อพิจารณาใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 3.1.3 นายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งแต่งตั้งคณะผู้ตรวจการสหกรณ์เข้าตรวจสอบกิจการและ ฐานะการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ทุกแห่ง โดยตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเงินฝากทุกขั้นตอน และสอบทานยืนยันยอดเงินฝากของสมาชิกรายใหญ่ จำนวน 100 รายแรก เพื่อตรวจสอบความมีอยู่จริง และถูกต้องระหว่างยอดเงินฝากของสมาชิกตามสมุดคู่บัญชีกับข้อมูลทางบัญชีของสหกรณ์ 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 ผู้ตรวจการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รายงานผลการตรวจสอบกิจการและฐานะ การเงินต่อนายทะเบียนสหกรณ์และนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดและครบทุกแห่ง 3.2.2 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ตรวจสอบสหกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบครบทุกแห่ง (Scan) ไม่พบว่าเสี่ยงต่อการทุจริตหรือข้อบกพร่องร้ายแรง 3.2.3 คณะผู้ตรวจการสหกรณ์เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเงินฝากของสหกรณ์ออม ทรัพย์ และสอบทานยืนยันยอดเงินฝากของสมาชิกรายใหญ่ จำนวน 100 รายแรก ไม่พบความผิดปกติ 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 สหกรณ์ได้รับการแนะนำจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ให้ดำเนินธุรกิจตามประเภท ของสหกรณ์ ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์เพื่อป้องกันการเกิดข้อบกพร่องใหม่ 3.3.2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีการดำเนินธุรกิจที่อาจเกิดความเสียหายได้รับการแก้ไข 3.3.3 นายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาใช้อำนาจภายในกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ 1. สหกรณ์จำนวน 30 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 47 แห่ง ได้รับการตรวจสอบกิจการ และฐานะการเงินครบทุกประเด็น 2. สหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ จำนวน 6 แห่ง และสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยน จำนวน 2 แห่ง ได้รับการตรวจสอบโดยทีมตรวจการสหกรณ์ จำนวน 4 ทีม


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 53 เชิงคุณภาพ 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกแห่งในจังหวดอ่างทอง ได้รับการกำกับ ดูแล ให้ดำเนิน กิจการถูกต้องตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ 2. สหกรณ์ประเภทออมทรัพย์และประเภทเครดิตยูเนี่ยน ได้รับการตรวจสอบจากผู้ตรวจการ สหกรณ์ ถึงการดำเนินธุรกิจรับฝากเงินให้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์ ตามแนวทางของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่มุ่งเน้นให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเงินฝาก และสอบทานยืนยันยอดเงินฝากของสมาชิกรายใหญ่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหาย 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ทีมผู้ตรวจการสหกรณ์ที่เข้าตรวจสอบธุรกิจการรับฝากเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์เข้าปฏิบัติหน้าที่ใน ระหว่างเวลาทำการของสหกรณ์ ซึ่งเป็นเวลาที่สมาชิกสหกรณ์เดินทางมาติดต่อทำธุรกรรมกับสหกรณ์ 6. แนวทางการแก้ไข ผู้ตรวจการสหกรณ์อาจใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม เรียกให้สหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน รายงานการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี/วิสามัญประจำปี และรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการมาเพื่อตรวจสอบแทนการลงพื้นที่ ภาพกิจกรรม การตรวจการสหกรณ์ภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร ทีมผู้ตรวจการสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ลงพื้นที่เข้าตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของ สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทุกแห่ง เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเงินฝากและสอบ ทานยืนยันยอดเงินฝากของสมาชิกรายใหญ่ จำนวน 100 รายแรก


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 54 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อให้งานกำกับ ดูแล และการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีประสิทธิภาพ 1.2 เพื่อพัฒนางานด้านกำกับ ดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์และ ผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการปฏิบัติงาน 1.3 เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องติดตาม ตรวจสอบ ผลการแก้ไขข้อบกพร่อง และติดตามเฝ้าระวังการดำเนินงาน ของสหกรณ์ 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ คณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง ประกอบด้วย 1) สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 2) ผู้อำนวยการ ธกส. สาขาอ่างทอง 3) หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์อ่างทองและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ 4) เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 5) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง 6) อัยการจังหวัดอ่างทอง 7) ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 8) ผู้เกี่ยวข้องและผู้แทนสหกรณ์ที่มีข้อบกพร่อง พื้นที่ดำเนินโครงการ : สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน จัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง ทุกไตรมาส ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 สหกรณ์ที่มีข้อบกพร่อง จำนวน 3 แห่ง และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง จำนวน 1 แห่ง ได้รับการแก้ไขโดยหาตัวผู้รับผิดชอบได้ มีการติดตามการแก้ไขทำให้มูลค่าความเสียหายลดลง 3.2.1 สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ประสบปัญหาในการดำเนินงานได้รับแนวทางการแก้ไขปัญหา ทำให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถป้องกันการทุจริตได้ งานกำกับ ดูแล การแก้ไขข้อบกพร่องสหกรณ์ และงานตรวจการ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 55 3.2.3 สหกรณ์ที่มีข้อบกพร่อง มีการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายทั้งคดีแพ่งและ คดีอาญาตามแนวทางของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 สหกรณ์ที่มีข้อบกพร่อง จำนวน 3 แห่ง และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง จำนวน 1 แห่ง สามารถดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ เนื่องจากมีอัยการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และหัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบัญชี เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน 3.3.2 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้องทราบกระบวนการดำเนินคดีแพ่งและ คดีอาญา รวมทั้งกระบวนการสืบทรัพย์บังคับคดี โดยสามารถแนะนำสหกรณ์ปฏิบัติเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตาม กฎหมายได้ 3.3.3 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์และสหกรณ์สามารถติดตามผลการแก้ไขข้อบกพร่องเดิม และ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องใหม่ได้ 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ 1. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง จัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหา ในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวมจำนวน 4 ครั้ง ประกอบด้วย สหกรณ์ที่มีข้อบกพร่อง จำนวน 3 แห่ง และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่องจำนวน 1 แห่ง 2. คณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่มีข้อบกพร่องจำนวน 15 คน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 คน ผู้แทนสหกรณ์ จำนวน 3 คน ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรจำนวน 1 คน รวมจำนวน 22 คน เชิงคุณภาพ 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย สามารถดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์ เนื่องจากได้รับคำแนะนำจากคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยอัยการจังหวัด อ่างทอง และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายโดยตรง 2. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ สามารถให้คำแนะนำสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในการติดตามผล การแก้ไขข้อบกพร่อง ทำให้สถานะผลการแก้ไขข้อบกพร่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขไปสู่สถานะดำเนินการ แก้ไขแล้วเสร็จ 3. ที่ประชุมคณะทำงาน ฯ มีการอภิปรายถึงข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรแต่ละ แห่ง เป็นการสร้างกรอบการดำเนินงานให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรที่มีข้อบกพร่องสามารถนำไปเป็นแนว ทางการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาในสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรของตนได้


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 56 4. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง และสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์อ่างทอง มีความเข้าใจ เกี่ยวกับระเบียบและข้อบังคับอย่างชัดเจน ทำให้การปฏิบัติงานแก้ไขข้อบกพร่องเป็นแนวทางเดียวกัน 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 5.1 ผู้เข้าประชุมซึ่งเป็นกรรมการสหกรณ์ มีการเปลี่ยนแปลงตามวาระทำให้ข้อมูลในการนำเสนอต่อ คณะทำงานฯ ไม่ชัดเจน 5.2 สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ไม่สามารถนำตัวผู้รับผิดชอบมาดำเนินคดีได้ เนื่องจากหลบหนีคดีอาญา 5.3 สหกรณ์ไม่มีการจัดทำทะเบียนคุมรายละเอียดการดำเนินการตามกฎหมายทั้งคดีแพ่งและ คดีอาญา แต่ละหมายเลขคดีให้ชัดเจน 6. แนวทางการแก้ไข 6.1 สหกรณ์ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลข้อบกพร่องในสหกรณ์ของตนอย่างละเอียด เพื่อให้กรรมการ ดำเนินการซึ่งเข้ามารับหน้าที่ใหม่นำมาศึกษารายละเอียด และสามารถนำเสนอการแก้ไขข้อบกพร่องได้อย่างต่อเนื่อง 6.2 สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ไม่สามารถนำตัวผู้รับผิดชอบมาดำเนินคดีได้ เนื่องจากหลบหนีคดีอาญา ควรมีการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน สหกรณ์ และชุมชน ในการสืบหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี ตามกฎหมายภายในกำหนดอายุความ 6.3 สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรมีการจัดทำทะเบียนคุมรายละเอียดผลของการดำเนินคดีแพ่งและ อาญา โดยมีเอกสารประกอบให้ชัดเจน ภาพกิจกรรม การดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ “คณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหา ในการดำเนินงาน ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 57 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนสามารถนำผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง วิเคราะห์สถานภาพสหกรณ์ รายงานของผู้สอบบัญชีรายงานข้อสังเกตผู้สอบบัญชี ข้อมูลการวิเคราะห์สหกรณ์จากนักการเงินประจำจังหวัด มาพิจารณากำหนดแนวทางการตรวจการสหกรณ์ร่วมกัน 1.2 เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากรซึ่งทำหน้าที่ผู้ตรวจการสหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความ เข้าใจ และทักษะในการปฏิบัติงาน 1.3 เพื่อให้งานกำกับ ดูแล ระบบตรวจการสหกรณ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ ข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการสหกรณ์ และพนักงานราชการที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ จำนวน 18 คน พื้นที่ดำเนินโครงการ : สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ข้าราชการ ที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการสหกรณ์ และพนักงานราชการ ที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ โดยเชิญนายสัญญาชัย กองเขต ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจการสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการ ตรวจการสหกรณ์” และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการตรวจการสหกรณ์เพื่อให้ข้าราชการ ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการเข้าตรวจการสหกรณ์ 3.2 ความสำเร็จของโครงการ ผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นข้าราชการบรรจุใหม่ ได้รับฟังประสบการณ์ของวิทยากรเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคในการเข้าตรวจสอบสหกรณ์ และแนวทางแก้ไข ในการติดต่อประสานงานกับสหกรณ์เพื่อเข้าตรวจสอบ สหกรณ์ตลอดจนผู้ตรวจการสหกรณ์ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับข้าราชการบรรจุใหม่ที่จะต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการสหกรณ์ต่อไป 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 ผู้ตรวจการสหกรณ์ สามารถรายงานผลการตรวจสอบสหกรณ์ได้อย่างครบถ้วน และ รายงานผลการตรวจสอบครบทุกประเด็น 3.3.2 ผู้ตรวจการสหกรณ์มีการวางแผนเข้าตรวจการสหกรณ์ในความรับผิดชอบ และเข้า ตรวจสอบตามแผนที่ตั้งไว้ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ตามมาตรการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและ คุ้มครองระบบสหกรณ์”


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 58 3.3.3 ผู้ตรวจการสหกรณ์มีเทคนิคในการประสานงานกับสหกรณ์ เช่น การขอตรวจเอกสารที่อยู่ ในความครอบครองของจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ได้รับความร่วมมืออย่างดี 3.3.4 สร้างเสริมประสบการณ์ให้กับผู้ตรวจการสหกรณ์ซึ่งเป็นข้าราชการบรรจุใหม่ 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ 1. ผู้ตรวจการสหกรณ์และผู้เกี่ยวข้องได้รับการอบรม จำนวน 18 คน 2. ผู้ตรวจการมีการจัดทำแผนการเข้าตรวจสอบสหกรณ์ตามแผนการตรวจการร้อยละ 25 ของสหกรณ์ทั้งหมด (8 แห่ง) และตรวจการตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ร้อยละ 15 ของสหกรณ์ทั้งหมด (5 แห่ง) เชิงคุณภาพ 1. ผู้ตรวจการสหกรณ์สามารถตรวจการสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ผู้ตรวจการสหกรณ์สามารถรายงานผลต่อนายทะเบียนสหกรณ์ครบถ้วนตามประเด็นที่นาย ทะเบียนสหกรณ์กำหนด 3. ผู้ตรวจการสหกรณ์เสนอให้มีการแนะนำสหกรณ์ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และ ระเบียบของสหกรณ์ เพื่อป้องกันข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นใหม่ 4. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้ารับการอบรม 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 5.1 ผู้ตรวจการสหกรณ์ขาดองค์ความรู้ด้านการบัญชี ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบการบันทึกบัญชีของ สหกรณ์ได้ 5.2 ข้าราชการบรรจุใหม่ ขาดทักษะและประสบการณ์ในการตรวจการสหกรณ์ 6. แนวทางการแก้ไข กรมส่งเสริมสหกรณ์ ควรรวบรวมปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการสหกรณ์ จัดทำ เป็นหนังสือคู่มือการตรวจการสหกรณ์ ที่มีการรวบรวมกรณีศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และเทคนิค ต่างๆ จากผู้มีประสบการณ์เพื่อให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบสหกรณ์กรณีพบเหตุต้อง สงสัยภาพถ่ายแสดงการตรวจการ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 59 ภาพกิจกรรม การดำเนินการ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ตามมาตรการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์” โดยในการประชุมมีนายทินกร ตรีเวช สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในที่ประชุม ในการนี้ได้รับเกียรติจาก นายสัญญาชัย กองเขต ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจการสหกรณ์ กรมส่งเสริม สหกรณ์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “แนว ทางการตรวจการสหกรณ์” ณ ห้องประชุม สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วม ประชุมทั้งสิ้น มีจำนวน 18 คน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 60 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และเข้าถึง องค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต รวมถึงการสร้างอาชีพการเกษตรอย่างยั่งยืน ให้เกิดความมั่นคง ในการประกอบ อาชีพการเกษตร 1.2 เพื่อให้สหกรณ์เป็นศูนย์กลางในการสร้างอาชีพทางการเกษตรที่มั่นคง มีการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน รวมทั้งสามารถยกระดับสหกรณ์ให้เป็นที่พึ่ง ของสมาชิกอย่างแท้จริง 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ เกษตรกรในโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตรจังหวัดอ่างทอง จำนวน 2 ราย 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 เข้าร่วมอบรม / ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างทักษะในการประกอบอาชีพตามความ ต้องการของเป้าหมาย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสิงห์บุรี 3.1.2 ประสานงาน ขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสาขาที่สอดคล้องกับความ จำเป็นในการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรของกลุ่มเป้าหมาย ให้ความรู้ คำแนะนำ หรืออำนวยความสะดวก ในการสมัครเข้าอบรมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในเนื้อหาวิชาหรือหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง 3.1.3 แนะนำให้เกษตรกรที่มีความสนใจและมีความพร้อมสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ หรือสหกรณ์อื่น ๆ ในพื้นที่ และให้มีส่วนร่วมในการใช้บริการจัดหาสินค้า มาจำหน่าย การออม การรวบรวมผลผลิต หรือบริการด้านการเกษตรของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร หรือมีส่วนในการ บริหารงานสหกรณ์ 3.1.4 แนะนำให้เกษตรกรนำผลผลิต / สินค้า มาวางจำหน่ายในร้านค้าสหกรณ์ ซุปเปอร์ มาร์เก็ตสหกรณ์ และร่วมกิจกรรมเชื่อมโยงกับโครงการอื่นของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 3.1.5 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานของเกษตรกรทุก 2 เดือน รายงานผลตามแบบ รายงานที่กำหนดและรายงานกลับมายังกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร เมื่อสิ้นสุดโครงการ โครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ (นำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร) แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรกรสร้างมูลค่า


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 61 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 เกษตรกรเป้าหมายในโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 12,000 บาท จำนวน 2 ราย 3.1.2 เกษตรกรเป้าหมายในโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 จำนวน 2 ราย 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 สหกรณ์สามารถนำลูกหลานสมาชิกและบุคคลทั่วไป เข้ามาทำอาชีพการเกษตรที่ บ้านเกิดของตนเอง เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงในการดำรงชีวิต 3.3.2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง เป็นที่พึ่งให้กับมวลสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป 3.3.3 บรรเทาปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบเศรษฐกิจฐานราก 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ 1. เกษตรกรเป้าหมายในโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 12,000 บาท จำนวน 2 ราย 2. เกษตรกรเป้าหมายในโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 จำนวน 2 ราย เชิงคุณภาพ 1. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถจัดทำแผนการผลิตที่สอดคล้องกับฤดูกาล พื้นที่ของตนเอง 2. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถจัดทำบัญชี เพื่อการรับรู้รายได้ รายจ่าย จากกิจกรรม การเกษตรเพื่อจะได้วางแผนจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ขยายตลาดได้เพิ่มขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น 4. เกษตรกรเป้าหมายในโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ได้รับการส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ บางราย มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางการเกษตรจากที่วางแผนการ ผลิตไว้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ไม่เป็นไป ตามแผนที่วางไว้ 6. แนวทางการแก้ไข การสนับสนุนให้เกษตรกรสร้างเครือข่ายระหว่างกันจะทำให้เกษตรกรเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมทางการเกษตรได้มากขึ้น จึงควรให้ความสำคัญและต่อยอดจากปัจจุบัน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 62 ภาพกิจกรรม เกษตรกรเข้าร่วมการอบรมตามโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อสร้าง โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทองร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสิงห์บุรี ติดตาม แนะนำ ส่งเสริมเกษตรกรในโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ปีงบประมาณพ.ศ. 2565 ภายใต้กิจกรรมนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านสานต่ออาชีพการเกษตรกร


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 63 กิจกรรม : ส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร มาใช้ในการแปรรูปผลผลิต สร้างความหลากหลายของสินค้า รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่สหกรณ์เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การทำสื่อประชาสัมพันธ์และการวางแผนการตลาด 1.2 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ของสหกรณ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 ประสานงานกับสหกรณ์ เป้าหมายเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพ สหกรณ์ให้เข้าสู่ระบบการผลิตเกษตรแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 3.1.2 จัดอบรมหลักสูตรการใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตร/การพัฒนา ผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์/การทำสื่อประชาสัมพันธ์และการวางแผนการตลาด (จัดอบรม 3 วัน ผู้เข้าอบรม 30 ราย) 3.1.3 ติดตามการขับเคลื่อนโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดกิจกรรมหลัก และผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการ 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้การใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตร/ การพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์/การทำสื่อประชาสัมพันธ์และการวางแผนการตลาด 3.2.2 สินค้าของสหกรณ์ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 3.2.3 สินค้าของสหกรณ์มีตลาดรองรับที่แน่นอน 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 ผู้เข้ารับการอบรมมีองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตร สร้างมูลค่า การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การวางแผนการตลาด การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขายและการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ 3.3.2 สหกรณ์เป้าหมายมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดและสามารถจำหน่ายได้ โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 64 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ 1.สหกรณ์ได้รับการส่งเสริมสินค้าเกษตรแปรรูป จำนวน 1 แห่ง 2.อัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปขยายตัว ยอดจำหน่ายสินค้า ปี 2564 มูลค่า ทั้งสิ้น 20,000 บาท และยอดจำหน่ายสินค้า ปี 2565 มูลค่าทั้งสิ้น 66,320 บาท ดังนั้น อัตราการขยายตัว ของยอดจำหน่ายสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 231.6 3. พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป ได้จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ แหนมปลานิล และน้ำพริก ปลานิลแดดเดียว เชิงคุณภาพ 1. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตร สร้างมูลค่า การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การวางแผนการตลาด การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขายและการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ โดยสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ได้ 2. สหกรณ์มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และสามารถจำหน่ายได้ 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 5.1 คณะกรรมการ สมาชิก ติดภารกิจ ทำให้ยากต่อการประสานงาน 5.2 สมาชิกขาดการมีส่วนร่วมที่ดี 5.3 สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย 6. แนวทางการแก้ไข 6.1 สหกรณ์ควรมีการประชาสัมพันธ์การรับสมาชิกเพิ่ม 6.2 ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 65 ภาพกิจกรรม จัดโครงการฝึกอบรมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การทำสื่อประชาสัมพันธ์ และการวางแผนการตลาด ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน ระหว่างวันที่ 27 – 29 มิถุนายน2565 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำพริกปลานิลแดดดียว และ แหนมปลานิล


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 66 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (ประเด็นแผนแม่บท 15 พลังทางสังคม) 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสร้างความร่วมมือของงานวิจัยพัฒนา และงานบริการวิชาการเกษตร ให้สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ในพื้นที่เป้าหมายให้มีศักยภาพการผลิตในรูปแบบบูรณาการ 1.2 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับรู้ด้านสหกรณ์และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันใน การพัฒนาให้มีความเป็นอยู่ที่ดี 1.3 เพื่อสร้างเสริมความรู้ ทักษะด้านการสหกรณ์ และสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ สหกรณ์ สร้างจิตสำนึกในการทำงานร่วมกันให้ประชาชน จนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 1.4 เพื่อให้ประชาชนได้มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว 1.5 เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถ นำไปปรับใช้เพื่อประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ 2.1 ดำเนินการจัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวมจำนวน 4 ครั้ง 2.2 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ ไตรมาสละ 100 ราย รวมจำนวน 400 ราย 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 จัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ ภายใต้โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ ไตรมาสละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ 1. จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ครั้งที่ 1 วันที่ 28 ธันวาคม 2564 2. จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ครั้งที่ 2 วันที่ 3 มีนาคม 2565 3. จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ครั้งที่ 3 ระหว่างเดือน เมษายน ถึง มิถุนายน 2565 4. จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ครั้งที่ 4 ภายในเดือน กรกฎาคม 2565 (โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว) โครงการ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 67 3.1.2 เข้าร่วมจัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ ภายใต้โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุ เคราะห์ฯ ตามวัน และสถานที่ ที่หน่วยงานเจ้าภาพในพื้นที่กำหนด ทั้งนี้ในกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ จัดขึ้นเพื่อ ให้คำปรึกษา แนะนำการจัดตั้งสหกรณ์การบริหารงานในสหกรณ์ และให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสหกรณ์ รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสอนอาชีพ เสริมเพื่อเพิ่มรายได้ การออม การวางแผนการใช้เงิน เพื่อให้ผู้รับบริการได้นำความรู้และทักษะไปใช้ในวิถีชีวิต 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 เข้าร่วมจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ จำนวน 4 ครั้ง 3.2.2 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 400 ราย ได้รับความรู้ ความเข้าใจด้านการสหกรณ์ รวมถึงการให้คำปรึกษาเรื่องสหกรณ์ 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 เกษตรกรที่มีปัญหาด้านการเกษตร สามารถเข้าถึงบริการทางวิชาการและได้รับการ แก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอย่างครบวงจรในคราวเดียวกัน 3.3.2 เกษตรกรและประชาชนทั่วไปสามารถนำความรู้เรื่องการสหกรณ์ การส่งเสริมอาชีพ การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ 1. เข้าร่วมจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ จำนวน 4 ครั้ง 2. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้ ความเข้าใจด้านการสหกรณ์ รวมถึงการให้ คำปรึกษาเรื่องสหกรณ์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 ราย เชิงคุณภาพ 1. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับบริการวิชาการด้านการสหกรณ์เห็นถึงประโยชน์ ในการเป็นสมาชิกของสหกรณ์ 2. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักของเศรษฐกิจ พอเพียง ด้านการลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน มีความเป็นเหตุเป็นผลประกอบกับใช้ความรู้และคุณธรรม ในการดำรงชีพในครัวเรือน 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้มี การจำกัดจำนวนคนที่จะเข้าร่วมโครงการฯ และการดำเนินโครงการฯ ยังไม่ทั่วถึงแก่เกษตรกรเท่าที่ควร 6. แนวทางการแก้ไข การจัดกิจกรรมให้เกษตรกรที่เข้าโครงการได้มีส่วนร่วม เช่น การส่งเสริมการลดค่าใช้จ่ายภายใน ครัวเรือนโดยการส่งเสริมให้ทำผลิตภัณฑ์ใช้เองได้รับความสนใจจากเกษตรเป็นอย่างมาก ควรมีการส่งเสริม อย่างต่อเนื่อง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 68 ครั้งที่ 1 ณ วัดไผ่วง อำเภอวิเศษชัยชาญ ครั้งที่ 2 ณ วัดบางศาลา อำเภอไชโย ครั้งที่ 3 ณ วัดสามโก้ อำเภอสามโก้ ครั้งที่ 4 ณ โรงเรียนวัดโพธิ์เกรียบ อำเภอโพธิ์ทอง เข้าร่วมจัดนิทรรศการ ประชาสัมพันธ์ให้คำปรึกษาด้านการสหกรณ์รวมถึงการการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนแก่เกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่เข้าโครงการฯ (ไตรมาสที่ 1-4)


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 69 1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ในการดำเนินงาน สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ในชีวิตประจำวัน ทั้งในระดับองค์กรและระดับสมาชิก 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตร จำนวน 5 แห่ง 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 ประชาสัมพันธ์โครงการให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดทราบ 3.1.1 ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จังหวัดละ 2 แห่ง 3.1.1 ส่งรายชื่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พร้อมทั้งสรุปผลการให้คะแนนสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ให้คณะกรรมการระดับเขต 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้และ สามารถเป็นแบบอย่างได้ ตามแนวทางโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 5 แห่ง 3.2.2 คัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าร่วมการประกวดผลงานการขับเคลื่อนปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในระดับเขต จำนวน 2 แห่ง 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 สหกรณ์เกิดความเข้าใจในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหาร จัดการองค์กร 3.3.2 สมาชิกเกิดความเข้าใจในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ปรับใช้ ในชีวิตประจำวัน 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้และ สามารถเป็นแบบอย่างได้ จำนวน 5 แห่ง 2. สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ สามารถลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้ จำนวน 5 แห่ง โครงการ ขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 70 เชิงคุณภาพ สหกรณ์และสมาชิกสามารถนำหลักของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ได้อย่างสม่ำเสมอ และ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้แก่สหกรณ์อื่นหรือสมาชิกในครอบครัวต่อได้ 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 5.1 สัดส่วนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯ ยังมีไม่มากเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิกของสหกรณ์ 5.2 ซึ่งสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯ ไม่สามารถบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากสมาชิก ทำอาชีพเกษตรกร ทำให้บางครั้งลืมไม่ได้บันทึกรายรับ-รายจ่าย สมาชิกบางรายเขียนหนังสือไม่คล่อง 6. แนวทางการแก้ไข การดำเนินโครงการต้องทำอย่างต่อเนื่อง ควรมีการประชาสัมพันธ์ ขยายผลจากสมาชิกที่เข้าร่วม โครงการฯ ไปยังสมาชิกส่วนใหญ่ของสหกรณ์ ให้เห็นถึงการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันแล้วเกิดผลดีอย่างไร เพื่อให้สมาชิกคนอื่นนำไปเป็นตัวอย่างต่อไป ภาพกิจกรรม การประชุมโครงการประกวดผลงานการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 71 ออกเยี่ยมสมาชิกสหกรณ์การเกษตรวิเศษชัยชาญ จำกัด ผู้เข้าร่วมโครงการ 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและลดต้นทุนในการประกอบอาชีพการเกษตรแก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1.2 เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ประกอบอาชีพการเกษตรมีโอกาสนำเงินส่วนที่ได้รับ การช่วยเหลือไปฟื้นฟูประกอบอาชีพ ตลอดจนมีเงินทุนไว้ใช้จ่ายในครัวเรือน แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางสังคม โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร การส่งเสริมให้สมาชิกสหกรร์นำหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 72 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง ที่มีหนี้เงินกู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ต้นเงินกู้ขอรับการชดเชยไม่เกิน 300,000.- บาทแรก จำนวน 2,409 ราย ต้นเงินกู้ 380,483,455.41 บาท พื้นที่ดำเนินโครงการ : สหกรณ์การเกษตรภายในจังหวัดอ่างทอง 7 แห่ง 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ได้รับโอนเงินอุดหนุนเพื่อชดเชยดอกเบี้ยจาก กรมส่งเสริมสหกรณ์ 3.1.2 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรเป้าหมาย (สมาชิกที่ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยในปี 2565) เอกสารประกอบการเบิกจ่าย และคำนวณดอกเบี้ยให้ครบถ้วน ถูกต้อง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่โครงการฯ กำหนด ก่อนเบิกจ่ายเงินอุดหนุน เพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 3.1.3 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง โอนเงินชดเชยดอกเบี้ยให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ ผ่านการตรวจสอบ งวดที่ 1 ภายในเดือนธันวาคม 2564 และงวดที่ 2 ภายในเดือนมิถุนายน 2565 ทั้งนี้ ระยะเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับการโอนงบประมาณให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ของสำนักงบประมาณ 3.1.4 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง รายงานผลการเบิกจ่ายตามแบบที่กำหนด ให้กรม ส่งเสริมสหกรณ์ทราบภายในเดือนกรกฎาคม 2565 กรณีตรวจสอบพบภายหลังจากโอนเงินชดเชยดอกเบี้ยให้ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรว่าสมาชิกขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ ให้ส่งคืนเงินอุดหนุนส่วนที่สมาชิกขาดคุณสมบัติ ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2565 3.1.5 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ติดตาม แนะนำ และกำกับการเบิกจ่ายของสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรให้กับสมาชิกที่ผ่านการตรวจสอบและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ตามแบบที่กำหนดและรายงานให้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบภายในเดือนสิงหาคม 2565 3.1.6 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง สรุปผลการดำเนินโครงการฯ ปัญหาและอุปสรรค รายงานให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ ภายในเดือนกรกฎาคม 2565 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตรได้รับการลดภาระดอกเบี้ย 3.2.2สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของสมาชิกเพิ่มขึ้น 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้รับความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนด้านภาระหนี้สิน 3.1.2 สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้รับโอกาสในการฟื้นฟูตนเองในช่วงการพักชำระหนี้


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 73 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ได้รับการช่วยเหลือในการลดภาระดอกเบี้ย และต้นทุน ในการผลิต จำนวน 7 สหกรณ์ สมาชิก 2,409 ราย จำนวนเงิน 1,437,124.74 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ลำดับ ที่ สหกรณ์ จำนวนสมาชิกที่ ได้รับชดเชย (ราย) จำนวนเงินที่ได้รับ ชดเชย (บาท) 1 สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด 29 1,935.21 2 สหกรณ์การเกษตรแสวงหา จำกัด 556 533,493.92 3 สหกรณ์การเกษตรป่าโมก จำกัด 233 69,758.12 4 สหกรณ์การเกษตรวิเศษชัยชาญ จำกัด 662 328,759.04 5 สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัตว์อ่างทอง จำกัด 62 20,856.50 6 สหกรณ์การเกษตรเมืองอ่างทอง จำกัด 51 22,310.64 7 สหกรณ์การเกษตรโพธิ์ทอง จำกัด 816 460,011.31 รวม 2,409 1,437,124.74 เชิงคุณภาพ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับความช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นต้นทุนในการประกอบอาชีพที่สมาชิกกู้ยืมมา ช่วยเหลือให้สมาชิกได้รับเงินเพื่อนำไปฟื้นฟูอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิก ส่งเสริมให้สมาชิกมีเงินออมเพิ่มมากขึ้น สามารถสร้างความสุขที่ยั่งยืนให้แก่สถาบัน ครอบครัวของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ขั้นตอนในการตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความซ้ำซ้อนในบางขั้นตอน จึงทำให้กระบวนการในการเบิกจ่ายเงินให้แก่สหกรณ์มีความล่าช้า สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ได้รับเงินชดเชยช้าลง 6. แนวทางการแก้ไข 6.1 ลดขั้นตอนในการตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้มีการตรวจสอบ คุณสมบัติในการจ่ายเงินชดเชยในครั้งแรกแล้ว โดยไม่ต้องดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติใหม่เนื่องจากได้รับการ ตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชนเป็นที่เรียบร้อยแล้วในการจ่ายเงินชดเชยในครั้งแรก 6.2 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ควรเข้าประชุมและลงพื้นที่ติดตามงาน ควบคู่ไปกับกลุ่มงานวิชาการ ที่รับผิดชอบโดยตรงจะทำให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้าใจในโครงการและสามารถตอบข้อสงสัย ให้กับสหกรณ์ได้ตลอดจนติดตามหนี้ได้ตามกำหนดระยะเวลา


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 74 ภาพกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ติดตามการเบิกเงินชดเชยโครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรโพธิ์ทอง จำกัด สหกรณ์การเกษตรวิเศษชัยชาญ จำกัด สหกรณ์การเกษตรแสวงหา จำกัด สหกรณ์การเกษตรป่าโมก จำกัด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 75 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (ประเด็นแผนแม่บท 15 เศรษฐกิจฐานราก) 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตร เชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์ ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.2 เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาผลผลิตทางการเกษตรด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 1.3 เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่เกษตรกรมีทางเลือกในการขายผลผลิตสร้างความเป็นธรรมและ เพิ่มอำนาจต่อรอง 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ 2.1 สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด 2.2 สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด 2.3 กลุ่มเกษตรกรทำไร่นาสวนผสมสมาชิกแปลงใหญ่ตำบลวังน้ำเย็น 2.4 สหกรณ์การเกษตรโพธิ์ทอง จำกัด 2.5 สหกรณ์การปศุสัตว์อ่างทอง จำกัด 2.6 สหกรณ์ประมงและการแปรรูปอ่างทอง จำกัด 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 ประสานงาน แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริหาร จัดการสินค้าเกษตรและการเชื่อมโยงเครือข่าย 3.1.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวางระบบการบริหารจัดการผลผลิตเกษตรระดับจังหวัด 3.1.3 ประสานงาน แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริหาร จัดการสินค้าเกษตรและการเชื่อมโยงเครือข่าย 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสหกรณ์ภายในจังหวัดและต่างจังหวัด 3.2.2 สินค้าของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีตลาดรองรับที่แน่นอน 3.2.3 มีแผนด้านการผลิต การรวบรวม และการตลาดสินค้าเกษตร สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ของจังหวัดอ่างทอง โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร แผนงานบูรณาการ แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 76 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการด้านการตลาด การเชื่อมโยงเครือข่าย/คลัสเตอร์ 3.3.2สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้ (ปริมาณธุรกิจ) เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 3 3.3.3 มูลค่าสินค้าเกษตรที่ซื้อขายผ่านช่องทางการตลาด 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการด้านการตลาด การเชื่อมโยงเครือข่าย/คลัสเตอร์ จำนวน 3 แห่ง 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้ ปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.224 3. มูลค่าสินค้าเกษตรที่ซื้อขายผ่านช่องทางการตลาด มูลค่า 81.925 ล้านบาท เชิงคุณภาพ 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตร โดยการเชื่อมโยง เครือข่ายระหว่างสหกรณ์ภายในจังหวัดและต่างจังหวัด 2. สินค้าของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีตลาดรองรับสินค้าเกษตรที่แน่นอน 3. มีความสามารถในการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 5.1 สหกรณ์ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการตลาด 5.2 คณะกรรมการส่วนใหญ่สูงวัย การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือสื่อประชาสัมพันธ์มาใช้ จึงเป็นเรื่องที่ยาก 5.3 สินค้าเกษตรที่มีอยู่ในกลุ่มเป้าหมายมีราคาสูง เช่น ปลา ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนาน ทำให้มี ต้นทุนการผลิตที่สูง ส่งผลให้ราคาสินค้าสูงกว่าราคาสินค้าชนิดเดียวกันในท้องตลาด 6. แนวทางการแก้ไข 6.1 จัดอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ในด้านการตลาด 6.2 ใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม 6.3 ลดต้นทุนการผลิต หรือพัฒนาสินค้าให้มีความโดดเด่น ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 77 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวางระบบบริหารจัดการผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 ราย ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 78 2) ผลการดำเนินงาน/โครงการตามนโยบายสำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อเสริมสร้างการเกษตรแบบแปลงใหญ่ให้มีตลาดรองรับ โดยการเชื่อมโยงตลาดร่วมกัน 1.2 เพื่อส่งเสริมช่องทางการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าสหกรณ์ 1.3 เพื่อส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิต 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ แปลงใหญ่ปลานิล ปี 2561 สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ร่วมกับหน่วยงานบูรณาการ ได้แก่ สำนักงานประมงจังหวัดอ่างทอง และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอ่างทอง ในการให้ความรู้ด้านการลดต้นทุนการผลิต การเลี้ยง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการบริหารจัดการด้านการตลาด 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 แปลงใหญ่ปลานิลมีตลาดรองรับ 3.2.2 สินค้าได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าสหกรณ์ 3.2.3 เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ เนื่องจากมีตลาดรองรับแน่นอน 3.3.2 เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสหกรณ์ภายในจังหวัดและต่างจังหวัด 3.3.3 มีการบริหารจัดการกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ แปลงใหญ่สหกรณ์มีการดำเนินธุรกิจรวบรวม ดังนี้แปลงใหญ่สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ่างทอง จำกัด มีการรวบรวมผลผลิตปลาสดจากสมาชิก จำนวน 238.935 ตัน มูลค่ารวม 2,231,865 บาท และผลผลิตแปรรูป ปลาช่อนแดดเดียว จำนวน 316 แพค มูลค่ารวม 78,070 บาท ช่องทางการจำหน่ายปลาสด ดังนี้ 1. ตลาดแพปลาคลองสี่ จังหวัดปทุมธานี 2. ตลาดสุวพันธุ์ จังหวัดอ่างทอง โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ งานส่งเสริมและพัฒนา


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 79 3. บริษัท ไอทีฟู้ดส์อินดัสทรีส์จำกัด 4. พ่อค้าจังหวัดใกล้เคียง ช่องทางการจำหน่ายปลาแดดเดียว ดังนี้ 1. ตลาดออนไลน์ 2. เครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 3. ตลาดในชุมชนและหน่วยงานราชการ 4. ออกงานแสดงสินค้า เชิงคุณภาพ 1. แปลงใหญ่ปลานิลรวบรวมผลผลิตจากสมาชิก และจำหน่ายตามช่องทางการตลาดข้างต้น สามารถลดปัญหาสมาชิกไม่มีแหล่งจำหน่ายผลผลิตได้ 2. มีตลาดรองรับผลผลิตของสมาชิกที่แน่นอน 3. เกษตรกรมีการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง และบริหารจัดการรวมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ เนื่องจากรวมซื้ออาหารปลา วัสดุอุปกรณ์ และ เพิ่มรายได้ โดยการขายให้กับตลาดปลา ซึ่งไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางเป็นการลดปัญหาการกดราคา 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 5.1 สหกรณ์ดำเนินธุรกิจรวบรวมผลผลิต แต่ไม่มีรถขนส่ง ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น 5.2 อาหารปลาราคาสูง 6. แนวทางการแก้ไข 6.1 สหกรณ์ไม่มีรถขนส่งผลผลิต ทำให้สหกรณ์มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากต้องจัดจ้างเอกชนซึ่งมี ราคาสูง กรมส่งเสริมสหกรณ์ ควรให้การสนับสนุนสหกรณ์ขนาดเล็ก ในดำเนินธุรกิจรวบรวมอย่างเป็นรูปธรรม 6.2 แนะนำให้สหกรณ์ใช้วัตถุดิบที่ทดแทนอาหารปลา เช่น ปลาป่น รำข้าว ฯลฯ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 80 รูปภาพกิจกรรม สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทองลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมการรวบรวมผลผลิต (ปลา) เพื่อจำหน่ายไปยัง ตลาดแพปลาคลองสี่ จังหวัดปทุมธานี ออกงานแสดงสินค้า เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า ได้แก่ ปลาช่อนแดดเดียว ณ ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด สาขาปิ่นเกล้า และ เออีซี เทรดเซนเตอร์ประตูน้ำ กรุงเทพ ธุรกิจรวบรวมผลผลิตปลาและการคัดแยกปลาของสมาชิก


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 81 จำหน่ายสินค้าโดยการเชื่อมโยงขบวนการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และจัดส่งสินค้าผ่านทางไปรษณีย์ไทย จำหน่ายสินค้าโดยการเชื่อมโยงขบวนการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และจัดส่งสินค้าผ่านรถขนส่งห้องเย็น


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 82 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจให้สมาชิกกู้ยืม หรือจัดหาสินค้ามาจำหน่าย หรือรวบรวม ผลผลิต 1.1.1 กรณีที่สหกรณ์ขอกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย หรือรวบรวมผลผลิตจะต้องมีสมาชิกทำธุรกิจกับสหกรณ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนบุคคลทั้งหมด ที่ทำธุรกิจกับสหกรณ์ในแต่ละวัตถุประสงค์ที่ขอกู้ (บุคคลทั้งหมด หมายถึง สมาชิกและบุคคลภายนอก) โดยพิจารณาจากผลการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ปีใดปีหนึ่งในรอบ 4 ปีบัญชีที่ผ่านมา 1.1.2 การพิจารณาจำนวนคนที่ทำธุรกิจกับสหกรณ์ตามข้อ (1) ให้ยกเว้นกรณี - สหกรณ์ขอกู้เงินเพื่อดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมันของสหกรณ์ - สหกรณ์ขอกู้เงินเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย หรือรวบรวมผลผลิตในปีแรก 1.1.3 สำหรับกรณีอื่นที่นอกเหนือจากที่กำหนด ให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัด พิจารณาใน เบื้องต้น พร้อมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับการขอกู้ หากเห็นควรให้สหกรณ์กู้เงิน ให้นำเสนอคณะอนุกรรมการ พิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อพิจารณากลั่นกรองคำขอกู้นั้นๆ เพื่อนำเสนอ ผู้มีอำนาจอนุมัติตามระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) พ.ศ. 2557 ข้อ 19 เป็นรายกรณีไป 1.2 เพื่อลงทุนในทรัพย์สิน ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้ 1.2.1 ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของวงเงินลงทุนในทรัพย์สิน และสหกรณ์ต้องสมทบการลงทุน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของวงเงินลงทุน ยกเว้น กรณีสหกรณ์ขอกู้เพื่อสร้างสำนักงานให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 70 ของวงเงินลงทุนสร้าง สำนักงาน และสหกรณ์ต้องสมทบการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของวงเงินลงทุน 1.2.2 กรณีที่สหกรณ์ได้รับการสนับสนุนเงินทุนภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาค เกษตร (ASPL) และสามารถบริจาคเงินได้ตามบันทึกข้อตกลง ให้มีสิทธิกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ไปลงทุน เพิ่มเติมในปัจจัยพื้นฐาน โดยไม่ต้องสมทบการลงทุน และคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี โครงการการสนับสนุนเงินทุนสหกรณ์โดยกองทุนพัฒนา สหกรณ์ เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 83 คุณสมบัติของสหกรณ์ที่จะกู้ยืม 1. สหกรณ์ทุกประเภท 2. มีทุนเรือนหุ้นไม่ต่ำกว่า 50,000.- บาท 3. มีวินัยทางการเงิน และไม่มีหนี้ผิดนัดค้างชำระต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ทุกเงินทุน สำหรับกรณีสหกรณ์ได้รับการผ่อนผัน การขยายเวลาชำระหนี้ การลดหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การไกล่ เกลี่ยคดี การประนีประนอมหนี้ และสหกรณ์สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข 4. ไม่มีการทุจริต และไม่มีข้อบกพร่องทางการเงินและทางบัญชี ในกรณีที่สหกรณ์ มี ข้อบกพร่องหรือทุจริต ต้องได้รับการแก้ไขแล้ว 5. สหกรณ์ตั้งใหม่ไม่เกิน 1 ปี ให้กู้ได้ไม่เกิน 500,000.- บาท ระยะเวลาให้กู้ยืม 1. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ ระยะเวลาให้กู้ไม่เกิน 1 ปี หรือ 1 ฤดูกาลผลิต 2. เพื่อลงทุนในทรัพย์สิน ระยะเวลาให้กู้ไม่เกิน 15 ปี 3. กรณีระยะเวลาให้กู้ยืมนอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 ให้พิจารณาเป็นรายๆ ไป อัตราดอกเบี้ย และค่าปรับเงินกู้ การกำหนดอัตราดอกเบี้ย และค่าปรับเงินกู้ยืม ตามระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่าด้วยการ บริหารเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) พ.ศ. 2557 ข้อ 17 1. ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 10 ต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ บริหาร กพส.กำหนด (ประกาศคณะกรรมการบริหาร กพส.เรื่อง เกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ การเรียกเก็บอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ และการกำหนดวงเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2562) 2. กรณีที่สหกรณ์หรือสมาชิกสหกรณ์ประสบสาธารณภัย คณะกรรมการบริหาร กพส. อาจให้ กู้โดยไม่คิดดอกเบี้ยภายในระยะเวลาเท่าใดก็ได้ 3. การคิดดอกเบี้ยให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สหกรณ์รับเงินกู้ยืม ถึงวันที่สหกรณ์ได้ส่ง ชำระหนี้ให้แก่ผู้ให้กู้ 4. การคิดค่าปรับในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี สำหรับต้นเงินที่ค้างชำระนับแต่วันถัดจากวันที่ถึง กำหนดชำระจนถึงวันที่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผัน/ขยายเวลาชำระหนี้ หรือปรับปรุง โครงสร้างหนี้ หลักประกันเงินกู้ หลักประกันเงินกู้ ตามระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) พ.ศ. 2557 ข้อ 18 สหกรณ์ต้องให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ทั้งคณะ รวมทั้งผู้จัดการหรือผู้ ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์ (ถ้ามี) เป็นผู้ค้ำประกันในฐานะส่วนตัว ในกรณีที่มี


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 84 การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ ต้องจัดให้คณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ค้ำประกัน เพิ่มเติม และอาจจัดให้มีหลักประกันเงินกู้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ดังนี้ ด้วยก็ได้ 1. จำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ของสหกรณ์ และ/หรือบุคคลอื่น 2. จำนำสังหาริมทรัพย์ หรือตราสารหนี้ของสหกรณ์ และ/หรือบุคคลอื่น 3. บุคคลอื่น การพิจารณาหลักประกันเงินกู้ ให้เป็นอำนาจของผู้มีอำนาจอนุมัติให้กู้เงิน ตามระเบียบกรมส่งเสริม สหกรณ์ว่าด้วยการบริหารเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) พ.ศ. 2557 ข้อ 19 เว้นแต่การกู้เงินเพื่อลงทุนใน ทรัพย์ ต้องจำนองทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันด้วย 1. เงินกู้ กพส. ทุกสัญญาต้องจัดให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ทั้งคณะ รวมทั้ง ผู้จัดการสหกรณ์หรือผู้ที่ได้มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์ (ถ้ามี) เป็นผู้ค้ำประกันในฐานะส่วนตัว 2. กรณีที่สหกรณ์มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ และสหกรณ์ยังมี หนี้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ให้สหกรณ์จังหวัดแจ้งสหกรณ์ เรียกให้คณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ค้ำ ประกันเงินกู้เพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยคณะกรรมการชุดเก่ายังไม่ พ้นภาระการค้ำประกันแต่อย่างใด 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินโครงการ จังหวัดอ่างทอง ได้รับการจัดสรรโครงการปกติจำนวน 14 ล้านบาท โครงการพิเศษจำนวน 28.7 ล้านบาท รวมทั้ง 2 โครงการ เป็นเงินจำนวน 42.7 ล้านบาท ให้กับสหกรณ์จำนวน 7 แห่ง พร้อมทั้งได้ติดตาม เร่งรัดหนี้สินเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ที่ถึงกำหนดชำระ จำนวน 5 สหกรณ์ เป็นเงินจำนวน 20.4 ล้านบาท พื้นที่ดำเนินโครงการ : สหกรณ์การเกษตรภายในจังหวัดอ่างทอง 7 แห่ง 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน การดำเนินการในการพิจารณาคำขอกู้เงิน 1. สหกรณ์ส่งเอกสารขอกู้เงินให้ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2. กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์รับคำขอกู้เงิน พร้อมเอกสารประกอบคำขอกู้เงิน พร้อมทั้งดำเนินการ ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารโดยทันที หากตรวจสอบแล้วพบว่า - เอกสารถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ให้ระบุความบกพร่อง รายการที่ต้องแก้ไข หรือให้ระบุ เอกสารที่ต้องการให้ผู้ยื่นคำขอแนบเพิ่มเติม โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการแก้ไขและจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม ให้ครบถ้วนภายใน 15 วัน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ และพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้เป็นหลักฐาน - เอกสารถูกต้อง ครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน และให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์วิเคราะห์ความจำเป็น ความเป็นไปได้ของแผนงาน/โครงการ ความเหมาะสม ของจำนวนเงินกู้ที่สหกรณ์จำเป็นต้องใช้ พร้อมทั้ง เสนอความเห็นประกอบการขอกู้เงินของสหกรณ์ หากเห็นสมควรให้สหกรณ์กู้ยืมเงินให้เสนอเรื่องให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัด เพื่อดำเนินการต่อไป


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 85 3. สำนักงานสหกรณ์จังหวัด รับเรื่องจากกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์แล้ว ให้เจ้าหน้าที่จัดทำทะเบียน คุมเรื่องที่ขอกู้ และบันทึกวันที่รับคำขอกู้ไว้เป็นหลักฐาน และดำเนินการวิเคราะห์ความจำเป็น ความเป็นไปได้ ของแผนงาน/โครงการ ความเหมาะสมของจำนวนเงินกู้ที่สหกรณ์จำเป็นต้องใช้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนว ทางการวิเคราะห์คำขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ พร้อมทั้งให้ความเห็นประกอบการเสนอคำขอกู้เงินของ สหกรณ์ เสนอสหกรณ์จังหวัดลงนามเพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ และเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติเป็นลำดับถัดไป 4. จัดประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาคำขอกู้เงินของสหกรณ์ 5. สรุปผลการประชุมเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่ออนุมัติให้กู้ตามอำนาจการอนุมัติ 6. สหกรณ์จังหวัด แจ้งกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อขอเบิกเงินกู้และรับเงินโอนเข้าบัญชี แจ้งผล การอนุมัติให้กู้ พร้อมเอกสารแบบฟอร์มสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกันและหลักประกันอื่นๆ ให้กลุ่มส่งเสริม สหกรณ์ทราบ เพื่อแจ้งให้สหกรณ์ทราบและจัดทำสัญญากู้ยืม สัญญาค้ำประกัน และหลักประกันอื่นๆ ต่อไป และในกรณีไม่อนุมัติ ให้แจ้งผลให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ทราบเพื่อแจ้งสหกรณ์ทราบต่อไป 7. กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ให้คำแนะนำสหกรณ์ เรื่อง การจัดทำหลักฐานการกู้ยืม หลักประกัน และให้ตรวจสอบสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน หลักประกันอื่นๆ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ก่อนส่งให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัด 8. สหกรณ์จังหวัด ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน และหลักประกันอื่นๆ พร้อมเอกสารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงนามในเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วน โอนเงินเข้าบัญชีของสหกรณ์ และส่งสำเนาต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งให้กรมฯ เอกสารต้นฉบับและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน คู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงินและคู่ฉบับสัญญาค้ำประกัน ให้สหกรณ์เก็บไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งแจ้งให้กลุ่มส่งเสริม สหกรณ์ทราบด้วย 9. เมื่อสหกรณ์ได้รับเงินกู้จาก กพส. ให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ดำเนินการตรวจสอบติดตามผลการใช้เงินกู้ของสหกรณ์ลูกหนี้ ภายในเวลา 3 เดือน และหลังจากสหกรณ์รับเงินกู้ไป แล้ว 6 เดือน ตรวจสอบผลการใช้เงินกู้ของสหกรณ์ว่า สหกรณ์ใช้เงินกู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ หากพบว่าสหกรณ์ใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์ ให้แจ้งสหกรณ์เป็นลายลักษณ์อักษรภายในเวลา 7 วัน เพื่อบอกเลิก สัญญาและเรียกเงินกู้คืน กรณีสหกรณ์หมดความจำเป็นในการใช้เงินกู้ แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ หากตรวจพบ สหกรณ์หมดความจำเป็น ให้แจ้งสหกรณ์เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้สหกรณ์ส่งชำระหนี้คืนโดยเร็ว กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัด จัดทำรายงานตรวจสอบ ติดตามผลการ ใช้เงินกู้ของสหกรณ์ลูกหนี้ตามแบบรายงานที่กำหนด และสรุปรายงานการตรวจสอบการใช้เงินกู้และติดตาม เร่งรัดหนี้ ให้กรมฯ ทราบทุกเดือน


Click to View FlipBook Version