The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pannaphat Tanpradubsing, 2023-01-15 01:44:16

Angthong Annual Report

Angthong Annual Report

รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 86 10. กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ดำเนินการเร่งรัดหนี้กับสหกรณ์ ลูกหนี้ที่ได้รับเงินกู้ก่อนหนี้ครบกำหนดชำระคืน 60 วัน ให้ดำเนินการจัดทำหนังสือแจ้งสหกรณ์เพื่อเตือน ให้ส่งชำระหนี้ตามกำหนด ครั้งที่ 1 และก่อนหนี้ครบกำหนดชำระคืน 30 วัน ให้มีหนังสือแจ้งสหกรณ์เตือน ให้ส่งชำระหนี้ ครั้งที่ 2 พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ช่วยในการติดตามเร่งรัดหนี้อีกทางหนึ่ง 11. เมื่อสหกรณ์ได้ส่งชำระหนี้เงินกู้แล้ว ให้สหกรณ์ส่งสำเนาหลักฐานการชำระหนี้ให้ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด เมื่อกรมฯ ส่งใบเสร็จรับเงินให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแล้ว ให้สำนักงานสหกรณ์ จังหวัดส่งใบเสร็จรับเงินให้สหกรณ์ตรวจสอบใบเสร็จรับเงินที่ได้รับทุกครั้ง หากไม่ถูกต้องให้แจ้งกรมฯ ทันที 12. กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ดำเนินการประเมินผลสหกรณ์ที่ได้รับ เงินกู้จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งครบกำหนดชำระในปีงบประมาณปัจจุบัน อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 สหกรณ์ที่ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ส่งชำระหนี้ได้ตามกำหนด 3.2.2 จำนวนสมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 สหกรณ์มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ 3.3.2 สมาชิกสหกรณ์ได้รับการช่วยเหลือให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ พัฒนา อาชีพ ฟื้นฟูอาชีพ และลดต้นทุนการผลิตจากการได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 3.3.3 สมาชิกสหกรณ์มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพ 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ สหกรณ์ที่มีความประสงค์ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 7 แห่ง ได้รับการพิจารณา อนุมัติเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 29,330,000 บาท และสหกรณ์ได้นำเงินไปใช้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์แห่งการขอกู้ตามสัญญาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ระดับจังหวัด (อ่างทอง) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่ประชุมอนุมัติให้สหกรณ์กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 4 สหกรณ์ จำนวน4 สัญญา เป็นเงิน 8,180,000.00 บาท ประกอบด้วย 1.1 สหกรณ์การเกษตรเมืองอ่างทอง จำกัด ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ โครงการ สนับสนุนเงินกู้แก่สหกรณ์ที่ประสบสาธารณภัยและอื่นๆ จำนวน 330,000.00 บาท 1.2 สหกรณ์การเกษตรไชโย จำกัด ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ โครงการ สนับสนุนเงินกู้แก่สหกรณ์ที่ประสบสาธารณภัยและอื่นๆ จำนวน 4,560,000.00 บาท 1.3 สหกรณ์การเกษตรป่าโมก จำกัด ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ โครงการ สนับสนุนเงินกู้แก่สหกรณ์ที่ประสบสาธารณภัยและอื่นๆ จำนวน 1,520,000.00 บาท


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 87 2. คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ระดับจังหวัด (อ่างทอง) ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ที่ประชุมอนุมัติให้สหกรณ์กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 2 สหกรณ์ จำนวน 7 สัญญา เป็นเงิน 17,200,000.00 บาท ประกอบด้วย 2.1 สหกรณ์การเกษตรโพธิ์ทอง จำกัด ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 4 สัญญา เป็นเงิน 13,700,000.00 บาท (สิบสามล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน) ดังนี้ - โครงการปกติ จำนวน 5,000,000.00 บาท - โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้แก่สหกรณ์ ตามโครงการเงินกู้เพื่อปรับ โครงสร้างภาคเกษตร (ASPL) จำนวน 4,000,000.00 บาท - โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมอาชีพในยุค New Normal จำนวน 2,900,000.00 บาท - โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาอาชีพสมาชิกสหกรณ์ ปีที่ 3 จำนวน 1,800,000.00 บาท 2.2 สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน3 สัญญา เป็นเงิน 3,500,000.00 บาท ดังนี้ - โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมอาชีพในยุค New Normal จำนวน 1,000,000.00 บาท - โครงการพัฒนาศักยภาพดำเนินธุรกิจสหกรณ์ประมง และปศุสัตว์ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 วัตถุประสงค์เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก จำนวน 2,000,000.00 บาท - โครงการพัฒนาศักยภาพดำเนินธุรกิจสหกรณ์ประมง และปศุสัตว์ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจแปรรูปผลผลิตปลา จำนวน 500,000.00 บาท 3. คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ระดับจังหวัด (อ่างทอง) ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมอนุมัติให้สหกรณ์กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 2 สหกรณ์ จำนวน 4 สัญญา เป็นเงิน 3,950,000.00 ประกอบด้วย 3.1 สหกรณ์การเกษตรแสวงหา จำกัด ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 2 สัญญา เป็นเงิน 1,950,000.00 ดังนี้ - โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพ ปีที่ 3 จำนวน 1,800,000.00 บาท - โครงการจัดหาและปรับปรุงแหล่งน้ำของสมาชิกสหกรณ์ ปี 2565 จำนวน 150,000.00 บาท 3.2 สหกรณ์ประมงและการแปรรูปอ่างทอง จำกัด ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 2 สัญญา เป็นเงิน 2,000,000.00 บาท ดังนี้ - โครงการปกติ จำนวน 1,000,000.00 บาท


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 88 - โครงการพัฒนาศักยภาพดำเนินธุรกิจสหกรณ์ประมง และปศุสัตว์ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 1,000,000.00 บาท เชิงคุณภาพ สหกรณ์มีความเข้าใจในระบบการบริหารเงินทุนของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ที่มีระเบียบปฏิบัติ และขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการประเมินชั้นคุณภาพลูกหนี้ทุกปี ทำให้สหกรณ์พยายามปรับปรุง และพัฒนาตนเองเพื่อสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น A ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่าชั้นอื่น โดยการกู้ยืมและส่งชำระ หนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ และสหกรณ์ได้นำเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ สมาชิกสหกรณ์ได้นำเงินที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน จังหวัดอ่างทองมักประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย การแพร่ระบาดของโรคและแมลง บางครั้งฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิกเสียหาย รายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ หรือต่อการดำรงชีพ 6. แนวทางการแก้ไข 6.1 สหกรณ์ที่ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ต้องทำความเข้าใจกับสมาชิกในการนำเงินกู้ไปใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามเงื่อนไขและวัตถุประสงค์ของเงินกู้ และมีการบริหารจัดการหนี้ของสมาชิกอย่างเป็น ระบบ และสามารถชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.2 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ควรเข้าร่วมประชุมและลงพื้นที่ติดตามงาน ควบคู่กับกลุ่มงานวิชาการ ที่รับผิดชอบโครงการ เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้าใจในโครงการและสามารถตอบข้อสงสัย ให้กับสหกรณ์ได้ตลอดจนติดตามหนี้ได้ตามกำหนดระยะเวลา ภาพกิจกรรม ถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ฃ ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ระดับ จังหวัดอ่างทอง ครั้งที่ 1 วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2565 เวลา 10.00 น.


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 89 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรให้มีการบริหารจัดการสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ 1.2 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีความสามารถในการชำระหนี้ให้กับสหกรณ์ ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ระดับจังหวัดอ่างทอง ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 น. ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ระดับจังหวัดอ่างทอง ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 90 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ 2.1สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสหกรณ์ ระยะที่ 1และระยะที่ 2จำนวน 2แห่ง 1. สหกรณ์การเกษตรโพธิ์ทอง จำกัด สมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ราย 2. สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัตว์อ่างทอง จำกัด สมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50ราย 2.2 สมาชิกสหกรณ์ที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ (กลุ่มนำร่องและสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ) ประกอบด้วย 1. ประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ 2 ราย 2. คณะกรรมการเงินกู้ 2 ราย 3. ผู้จัดการสหกรณ์ 2 ราย 4. เจ้าหน้าที่สินเชื่อ 2 ราย 5. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 100 ราย 6. สมาชิกกลุ่มนำร่อง 10 ราย พื้นที่ดำเนินการ 1. สหกรณ์การเกษตรโพธิ์ทอง จำกัด สมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ราย 2. สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัตว์อ่างทอง จำกัด สมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ราย 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 ประสานสหกรณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ 3.1.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินเชื่อของสหกรณ์ และแผนการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ - กิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินเชื่อ ของสหกรณ์และแผนการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ - กิจกรรมที่ 2 การอบรมการบริหารจัดการหนี้และการเสริมสร้างอาชีพของสมาชิกสหกรณ์ 3.1.3รวบรวมความต้องการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพสมาชิกของสหกรณ์ 3.1.4 ส่งเสริมแนะนำ ติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารการจัดการธุรกิจ สินเชื่อสหกรณ์ 3.2.2 สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มนำร่อง) มีความสามารถในการส่งชำระหนี้ กับสหกรณ์ได้


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 91 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการหนี้ และการเสริมสร้างอาชีพ 3.3.2สมาชิกสหกรณ์ที่มีการวางแผนการเงินและสามารถแก้ไขปัญหาหนี้เงินกู้ที่ผิดนัดชำระหนี้ได้ 3.3.3 สหกรณ์สามารถบริหารจัดการสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ ค้างชำระให้แก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการได้ 3.3.4สมาชิกสหกรณ์เกิดแรงบันดาลใจ มีแนวทางในการประกอบอาชีพ การลดต้นทุน สร้างรายได้ 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจสินเชื่อสหกรณ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และการเสริมสร้างอาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สมาชิกนอกโครงการ สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัตว์อ่างทอง จำกัด นำแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการ บริหารการจัดการสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพไปปรับใช้เพิ่มเติมกับสมาชิกที่มีหนี้ค้างชำระจำนวน 18 ราย หนี้ค้างชำระ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 จำนวน 1,178,543.38 บาท และ ณ 31 ตุลาคม 2565 สมาชิก สามารถส่งชำระหนี้ได้เป็นจำนวนเงิน 124,243.00 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.54 ของหนี้ค้างชำระ เชิงคุณภาพ สหกรณ์นำแนวทางการดำเนินงานของโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ ไปใช้ในการดำเนินการกับสมาชิกที่มีหนี้ค้างชำระของสหกรณ์ (นอกโครงการ) ซึ่งมีสมาชิกสนใจเข้าร่วม โครงการของสหกรณ์ ทำให้สมาชิกมีหนี้ค้างชำระลดลง และสหกรณ์สามารถดำเนินการตามแนวทางของ โครงการในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 5.1 สมาชิกขาดความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ตนเอง ไม่ให้ความร่วมมือกับสหกรณ์ ขาดความ เชื่อมั่นในคณะกรรมการดำเนินการ 5.2 สมาชิกมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ และไม่มีอาชีพเสริม 5.3 สหกรณ์ขาดเงินทุนหมุนเวียน เนื่องจากสมาชิกไม่ชำระหนี้ ไม่มีการระดมทุน 6. แนวทางการแก้ไข 6.1 จัดให้มีการอบรมให้กับสมาชิก คณะกรรมการดำเนินการ และฝ่ายจัดการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ของตนเอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 92 6.2 คณะกรรมการดำเนินการ ต้องเป็นผู้นำที่ดีให้แก่สมาชิก เช่น คณะกรรมการที่มีหนี้กับสหกรณ์ จะต้องส่งชำระหนี้ให้ได้ตามกำหนดเวลาเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่สมาชิก และสามารถให้คำแนะนำสมาชิก เมื่อสมาชิกมีปัญหาในการส่งชำระหนี้ 6.3 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้อาชีพให้แก่สมาชิก เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ปลูกผัก เป็นต้น 6.4 สหกรณ์จะต้องมีการจูงใจให้สมาชิกระดมทุน ระดมเงินฝาก และการทวงถามหนี้จากสมาชิก เพื่อให้สหกรณ์ได้มีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ ภาพกิจกรรม ดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการหนี้แก่สมาชิกสหกรณ์ และ การบริหารสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพของสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตรโพธิ์ทอง จำกัด สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัตว์อ่างทอง จำกัด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 93 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสนับสนุนเงินกู้ยืมให้กับกลุ่มเกษตรกรเฉพาะที่มีคุณสมบัติตามที่โครงการฯ กำหนด เพื่อให้มีเงินกู้ยืมใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในแต่ละปี 1.2 เพื่อส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ และราคา ยุติธรรม ตรงตามความประสงค์ของเกษตรกรเอง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร รวมทั้งสร้าง รายได้เพิ่มจากการรวบรวมผลผลิตเพื่อจำหน่าย หรือแปรรูปผลผลิตร่วมกัน 1.3 สร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับเกษตรกร เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสร้างความยั่งยืน ในการเพิ่มทุนภายใน และเพื่อให้การบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกรมีศักยภาพและความเข้มแข็งต่อไป 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ สนับสนุนเงินทุนเพื่อเป็นเงินกู้ยืมให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ได้มาตรฐาน ใช้เงินกู้หมุนเวียนแต่ละรอบ การผลิตตามชนิด การผลิตของพืช สัตว์ และประมง จำนวนเงิน 6,795,000.00 บาท พื้นที่ดำเนินการ : กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และมีความประสงค์ เข้าร่วมโครงการจำนวน 14 แห่ง 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดได้รับวงเงินจัดสรร 3.1.2 ประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด พิจารณากำหนดเป้าหมาย และแจ้งเป้าหมายให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทราบ โดยเรียงลำดับความสำคัญในการพิจารณาให้วงเงินกู้ยืม 3.1.3 กลุ่มเกษตรกรจัดทำเอกสารขอกู้ 3.1.4 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ รับคำขอกู้ ตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบความเหมาะสมการกู้เงิน วิเคราะห์/ให้ความเห็น 3.1.5 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ วิเคราะห์คำขอกู้ และเอกสาร ขอเบิกเงินของกลุ่มเกษตรกร นำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ฯ ระดับจังหวัด นัดหมายประชุม คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ฯ ระดับจังหวัด 3.1.6 คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ระดับจังหวัด พิจารณาคำขอกู้ และรายงานผลการประชุม เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ/ไม่อนุมัติ 3.1.7 ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสหกรณ์จังหวัด อนุมัติ/ไม่อนุมัติ โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในการผลิตและการตลาด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 94 3.1.8 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์แจ้งผลการอนุมัติ/ไม่อนุมัติ โครงการ ให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรทราบ 3.1.9 กลุ่มเกษตรกรจัดทำเอกสารขอเบิกเงิน พร้อม ส่งสัญญาเงินกู้ หนังสือค้ำประกัน 3.1.10 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ โอนเงินเข้าบัญชีกลุ่มเกษตรกร ที่เปิดบัญชีไว้เฉพาะโครงการ 3.1.11 เมื่อกลุ่มเกษตรกรได้รับเงินกู้แล้ว ให้จัดส่งหลักฐานในการรับเงินกู้ให้กลุ่มส่งเสริม สหกรณ์ เพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงินของกลุ่มเกษตรกร 3.1.12 เมื่อกลุ่มเกษตรกรได้รับเงินกู้ ต้องนำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์จังหวัด หรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งผู้แทนกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับมอบหมาย ตรวจสอบแล้วพบว่า กลุ่มเกษตรกรนำเงินกู้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ จะถือว่ากลุ่มเกษตรกรผิดสัญญา ฉะนั้น จะถูกบอกเลิกสัญญาและถูกเรียกเงินคืนทันที 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 กลุ่มเกษตรกรจำนวน 14 แห่ง ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และประสงค์เข้าร่วม โครงการได้รับการอนุมัติเงินกู้ทั้ง 14 แห่ง เป็นจำนวนเงิน 6,795,000.00 บาท 3.2.2 ปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 3.2.3 กลุ่มเกษตรกรสามารถส่งชำระหนี้คืนได้ตามกำหนด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 98 3.2.4 กลุ่มเกษตรกรมีเงินทุนภายในเพิ่มขึ้นในภาพรวม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ในแต่ละปี 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 กลุ่มเกษตรกรมีเงินทุนในการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจได้อย่างกว้างขวาง สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์การผลิต ทั้งพืชและสัตว์มาบริการสมาชิกได้ทั่วถึง สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก 3.3.2 สมาชิกกลุ่มเกษตรกรมีเงินทุนเพียงพอในการประกอบอาชีพการเกษตร สามารถลดต้นทุน การผลิต และรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอแก่การดำรงชีพ 3.3.3 กลุ่มเกษตรกรสามารถขยายตลาดจำหน่ายผลิตผลได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับการ สนับสนุนเงินทุนปลอดดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าภาคเอกชนมีเงินทุนในการประกอบอาชีพ การเกษตร 3.3.4 กลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมให้ดำเนินธุรกิจครบวงจรไม่ต่ำกว่า 2 ธุรกิจต่อกลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจให้เงินกู้ และธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย เนื่องจากโครงการมีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือเกษตรกร ครอบคลุมหลายด้าน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 95 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 14 แห่ง ได้รับเงินทุนหมุนเวียนแต่ละรอบการผลิต ตามชนิดการผลิต จำนวนเงิน 6,795,000.00 บาท เชิงคุณภาพ 1. เกษตรกรสมาชิกมีเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ และช่วยลดต้นทุนการผลิต แบ่ง เบาภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกร 2. กลุ่มเกษตรกร มีความสามารถในการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกรเพื่อตอบสนอง ความต้องการของสมาชิก มีทุนภายในเพิ่มขึ้น สร้างความเข้มแข็งมั่นคงให้กับกลุ่มเกษตรกร 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน กลุ่มเกษตรกรบางแห่งได้รับเงินทุนหมุนเวียนไม่ตรงรอบการผลิต และกลุ่มเกษตรกรบางแห่งในพื้นที่ ประสบปัญหาอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตเสียหาย รอบระยะเวลา การผลิตล่าช้า ส่งผลต่อการชำระหนี้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 6. แนวทางการแก้ไข 6.1 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ควรปฏิบัติหน้าที่ควบคู่กับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการ สหกรณ์ เพื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโครงการ เพื่อที่จะสามารถแนะนำการใช้เงินกู้ยืมได้อย่างถูกต้อง ตามวัตถุประสงค์ตลอดจนติดตามหนี้ให้สามารถส่งชำระตามกำหนดระยะเวลา 6.2 ติดตามการใช้เงินกู้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรที่ขอกู้เงินและที่ได้รับการขยายเวลาชำระหนี้ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันปัญหาการนำเงินกู้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และไม่สามารถส่งชำระหนี้เงินกู้ได้ 6.3 ติดตามการส่งชำระหนี้ของกลุ่มเกษตรกรที่ขอกู้เงินและขอขยายระยะเวลาชำระหนี้ ให้เป็นไป ตามกำหนดเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำในโครงการต่อไป ซึ่งจะเป็น การช่วยเหลือสมาชิก และสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเกษตรกรต่อไป


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 96 ภาพกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ติดตามการใช้เงินกู้ของกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการขยายเวลาชำระหนี้ กลุ่มเกษตรกรทำนาอบทม ประชุมเพื่อพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย วันที่ 7 เมษายน 2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 97 ติดตามการใช้เงินกู้ของกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับเงินกู้กองทุสงเคราะห์เกษตรกร โครงการสร้างความเข้มแข็งฯ ปีที่ 7 (จำนวน 14 แห่ง) ประชุมคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 /2565 วันที่ 28 เมษายน 2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 98 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสร้างโอกาสในการทำเกษตรกรรม และลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ 1.2 เพื่อส่งเสริมการจัดระบบไร่นาของเกษตรกรให้มีความยั่งยืน มีแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรกร ของตนเอง ลดการพึ่งพาน้ำจากระบบชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติ 1.3 เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงจากระบบการทำเกษตรกรรมแบบพึ่งธรรมชาติ เป็นการเกษตรกรรม แบบบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดน้ำ 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ สหกรณ์ในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 2 แห่ง สมาชิกจำนวน 100 ราย ระยะเวลา 6 ปี (2563 - 2568) พื้นที่ดำเนินการ 1. สหกรณ์การเกษตรโพธิ์ทอง จำกัด สมาชิกที่มีความต้องการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาของตนเอง เข้าร่วมโครงการ 62 ราย 2. สหกรณ์การเกษตรแสวงหา จำกัด สมาชิกที่มีความต้องการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาของตนเอง เข้าร่วมโครงการ 38 ราย 3. ผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมที่ดำเนินงาน 3.1.1 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดได้รับจัดสรรวงเงินกู้ยืม ปลอดดอกเบี้ย 3.1.2 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้แทนสถาบันเกษตรกรเป้าหมายเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ วิธีการ ขั้นตอนดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ 3.1.3 สำรวจความเหมาะสมของพื้นที่สมาชิกที่ประสงค์จะเข้าโครงการร่วมกับหน่วยงาน ราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยสมาชิกต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิทำกินในพื้นที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากเป็น ที่เช่าทำกินต้องมีระยะเวลาการเช่าต่อเนื่องครอบคลุมระยะเวลาโครงการ และได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดิน ให้ดำเนินการตามโครงการได้ มีอาชีพเกษตรกรรม และพื้นที่มีความเหมาะสมในการขุดสระเก็บกักน้ำ/ขุดเจาะ บ่อบาดาล 3.1.4 สรุปผลการสำรวจพื้นที่ของสมาชิกเสนอคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ ฯ ระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาคัดเลือกและให้ความเห็นประกอบตามความเหมาะสมของพื้นที่ ทั้งนี้ สถาบันเกษตรกรแต่ละแห่ง ต้องมีสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 3.1.5 คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ฯ ระดับจังหวัด พิจารณาและวิเคราะห์คำขอกู้เงินกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรของสถาบันเกษตรกรตามพื้นที่เป้าหมาย เพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติต่อไป โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นา ระยะที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 99 3.1.6 สถาบันเกษตรกรนำเงินกู้ยืมที่ได้รับไปจัดสรรให้สมาชิกกู้ยืม อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี เพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาตามแผนผังพื้นที่ที่สำรวจ/จัดทำข้อมูล และได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ฯ ระดับจังหวัดแล้วว่า สมาชิกมีศักยภาพและพื้นที่มีความเหมาะสมในการเก็บกัก น้ำได้ 3.1.7 สำนักงานสหกรณ์จังหวัด ติดตาม ตรวจสอบ แนะนำการดำเนินงานตามแผนงานและ กิจกรรมที่ระบุไว้ในแผนคำขอกู้เงินของสถาบันเกษตรกร เพื่อประเมินผลโครงการและรายงานให้กรมทราบตามกำหนด 3.2 ความสำเร็จของโครงการ 3.2.1 เกษตรกรสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตรหรือพัฒนาระบบน้ำ ให้สามารถมีน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี 3.2.2 เกษตรกรสมาชิกสามารถลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำสำหรับใช้ ประโยชน์ในด้านการเกษตร 3.3 ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 3.3.1 สมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ต้องการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาของตนเอง ได้รับการพัฒนา ระบบน้ำในไร่นาให้สามารถใช้ในไร่นาได้จริง หรือมีระบบน้ำใช้เพื่อการเกษตร สามารถลดความเสี่ยงจาก การขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง สมาชิกสถาบันเกษตรกร จำนวน 100 ราย 2 สถาบันเกษตรกร 3.3.2 ลดความเสี่ยงจากวิกฤตการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากธรรมชาติเปลี่ยน และเกิดการขาด น้ำอย่างต่อเนื่อง 3.3.3 เกษตรกรมีโอกาสวางแผนการผลิตก่อนหรือหลังฤดูกาลได้ เนื่องจากมีแหล่งน้ำต้นทุน ส่งผลให้ผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดในระยะเวลาที่เหมาะสม 3.3.4 ลดภาระหนี้สินที่เกิดจากการทำการเกษตรตามระบบธรรมชาติ มาเป็นการเกษตรที่มี ระบบน้ำในพื้นที่ของตนเอง ลดการพึ่งพาการบริหารจัดการน้ำจากระบบชลประทานหรือแหล่งน้ำตา ม ธรรมชาติ 4. ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ ตัวชี้วัด/กิจกรรม หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 1. ติดตามเร่งรัดการส่งชำระหนี้ให้เป็นไปตามกำหนด ครั้ง 2 2 100 2. สหกรณ์สามารถส่งชำระเงินคืนได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ของต้นเงิน แห่ง 2 2 100


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 100 เชิงคุณภาพ เกษตรกรสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ สามารถพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาของตนเองให้สามารถ มีน้ำไว้ใช้ในการทำการเกษตรได้จริง สามารถเพิ่มรอบการผลิตของเกษตรกร ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลน น้ำในฤดูแล้งได้ และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตร 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน พื้นที่ทำการเกษตรกรของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการประสบปัญหาอุทกภัยซ้ำซ้อน ราคาพืชผลตกต่ำ ส่งผลต่อรายได้ของสมาชิกภายหลังเข้าร่วมโครงการ 6. แนวทางการแก้ไข ควรส่งเสริมการจัดระบบไร่นาของเกษตรกรให้มีความยั่งยืน มีแหล่งน้ำในฟาร์มของตนเอง ลดการพึ่งพา น้ำจากระบบชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติ ภาพกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ติดตามการใช้เงินกู้ของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการสนับสนุนเงินทุน เพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาฯ ระยะที่ 2


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 101 3) รางวัลที่หน่วยงานได้รับจากหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ภายนอก ติดตามเร่งรัดการส่งชำระหนี้ ปีที่ 2 งวดที่ 1 สหกรณ์ทั้ง 2 แห่ง สามารถส่งชำระหนี้ได้ร้อยละ 25 ของต้นเงินภายในกำหนด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 102 นายทินกร ตรีเวช สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง รับมอบเกียรติบัตรเข้าร่วมโครงการรณรงค์ความเป็นไทย “รักษ์ผ้าไทย รักษ์ความเป็นไทย รักษ์วัฒนธรรมไทย ร่วมใจกันใส่ผ้าไทยไปทำงาน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ จังหวัดอ่างทอง ประจำเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ประเภท องค์กร/หน่วยงาน ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง และได้รับเกียรติจากนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัด อ่างทอง เป็นประธานมอบเกียรติบัตรฯ ในครั้งนี้ด้วย ณ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 103 ส่วนที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์หรือวัฒนธรรม องค์กรของหน่วยงาน ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 104 วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2565 นายทินกร ตรีเวช สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง พร้อมด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ ในสังกัด เข้าร่วมโครงการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จังหวัดอ่างทอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม 2565 ณ วัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง 1) งานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในจังหวัด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 105 วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.00น. สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง โดยนายวัชราคม ทัพไชย เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์อาวุโส พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย ทำความสะอาด ปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณโดยรอบวัดราชสกุณา อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 106 วันพุธที่ 10 สิงหาคม 2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ร่วมกับขบวนการสหกรณ์ในจังหวัด อ่างทอง จัดโครงการ1 จังหวัด 1 ความดีเพื่อแม่ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระพราราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ วัดสี่ร้อย ตำบลสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยมีกิจกรรม ภายในโครงการ ลงนามถวายพระพร ทำบุญเลี้ยงภัตตาหารเพลพระภิกษุสงฆ์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ทำความสะอาดล้างโบสถ์ และทำความสะอาดห้องน้ำ โดยมี นายทินกร ตรีเวช สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง เป็นประธานเปิดโครงการ มีข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ ในสังกัดสำนักงานสหกรณ์จังหวัด อ่างทอง พร้อมด้วย ผู้แทนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดอ่างทอง เข้าร่วมงาน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 107 2) การจัดงาน/กิจกรรมต่าง ๆ ในวันสหกรณ์แห่งชาติ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 108 วันที่ 29 กันยายน 2565 นายทินกร ตรีเวช สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง พร้อมด้วย นายสันติ จันทร์ สถานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ สหกรณ์ นางสาวโชติกา อ่อนศรี ผู้อำนวยการกลุ่ม ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ และ นางสาวฐิติกร เพียรหาผล หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป เข้าร่วมงานวันคล้ายสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ครบรอบ 50 ปีโดยมี นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบ นโยบายในการทำงานเพื่อพัฒนาสหกรณ์และการ ขับเคลื่อนงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้กับข้าราชการ และ เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายอัชฌา สุวรรณ นิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมให้การต้อนรับ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ ถนนกรุงเกษม กรุงเทพมหานคร 3) การจัดงาน/กิจกรรมต่าง ๆ ในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ครบรอบ 50 ปี


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 109 นายสันติ จันทร์สถานนท์ รักษาราชการแทน สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ได้มอบหมายให้ นายขจรยศ วัลไพจิตร นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ และ นางสาวกันยา จันทร์หอมหวล เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ เข้าร่วมงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day ) ระหว่างวันที่ 18 – 28 ธันวาคม 2564 เพื่อร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการสหกรณ์ และสนับสนุนสื่อ ประชาสัมพันธ์ด้านการสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ จัดโดย สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง ณ พื้นที่ในจังหวัด อ่างทอง จำนวน 7 ครั้ง 4) ภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมกับจังหวัด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 110 วันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม 2564 นางพรสวรรค์ เริงมิตร สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง มอบหมายให้ นางสาวรจนา สวัสดิ์จิตร ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 และนางสาวนิชาภา เนื้อเย็น หัวหน้าฝ่ายบริหาร ทั่วไป และข้าราชการในสังกัด ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดอ่างทองเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ให้กับสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัดและสมาชิกสหกรณ์การเกษตรป่าโมก จำกัด ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขัง จนเกิดเป็นน้ำเน่าเสีย โดยได้นำสารเร่ง พด. จำนวน แจกจ่ายให้สมาชิก สหกรณ์ จำนวน 1,000 ลิตร เพื่อไปช่วยย่อยบำบัดน้ำเสีย ลดกลิ่นเหม็นและเพื่อฟื้นฟู้พื้นที่ประสบอุทกภัย ณ ตำบลบางปลากด อำเภอป่าโมกและตำบลโพสะ อำเภอเมืองอ่างทอง วันที่ 20 มกราคม 2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง นายสันติ จันทร์สถานนท์ ผู้อำนวยการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ เข้าร่วมการจัดเวทีประชาคม “โครงการขับเคลื่อนการเกษตรระดับ หมู่บ้านสู่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง” ซึ่งหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดอ่างทอง ได้ คัดเลือกหมู่นำร่อง หมู่ 1 หัวท้ายสุด ตำบลอบทม อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อน โครงการฯ สินค้าหลักของหมู่บ้าน ได้แก่ ข้าว พริก เมล่อน วัว หมู จากกการจัดเวทีประชุมคม ได้คัดเลือก เมล่อน เป็นผลิตภัณฑ์นำร่องในการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สูงขึ้น ในส่วนของสำนักงานสหกรณ์ จังหวัดอ่างทอง รับผิดชอบ ในเรื่องของการรวมกลุ่มและการตลาด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 111 วันพฤหัสบดี ที่ 30 มิถุนายน 2565 นายขจรยศ วัลไพจิตร ผู้อำนวยการ กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริม สหกรณ์ และข้าราชการ พนักงานราชการ เข้าร่วมงาน โครงการคลินิกเกษตรในพระราชนุเคราะห์สมเด็จพระ บรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อจัดนิทรรศการ ให้ คำปรึกษาด้านการสหกรณ์ พร้อมด้วยสนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการสหกรณ์ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมงาน จำนวน 100 ราย ณ อาคารอเนกประสงค์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาดไทย ตำบลมหาดไทย วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.30 น. นางสาวโชติกา อ่อนศรี ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและ พัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัด อ่างทอง ตามกลุ่มภารกิจ เพื่อกำหนดประเด็นการพัฒนา เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และแนวทางในการจัดทำ แผนงาน/โครงการ ในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) และ (ยกร่าง) แผนปฏิบัติ ราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัดอ่างทอง (กลุ่มภารกิจด้านเศรษฐกิจ) ณ ศูนย์ปฏิบัติการ จังหวัดอ่างทอง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 112 วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2565 นางสาวโชติกา อ่อนศรี ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหาร การจัดการสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานจัดทำ แผนพัฒนากำลังคนจังหวัดอ่างทอง ครั้งที่ 2/2565 จัดโดย สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานอ่างทอง ณ ห้อง ประชุม อาคารฝึกอบรม ชั้น 1 สำนักงานพัฒนาฝีมือ แรงงานอ่างทอง โดยมีนายศักดิ์ดา บรรดาศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานการประชุม เพื่อ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการพัฒนากำลังคน พ.ศ. 2565 แผนงาน/โครงการพัฒนากำลังคน พ.ศ. 2566 - 2570 ของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงข้อมูลความต้องการกำลังแรงงาน และการฝึกอบรมของสถาน ประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 - 2570 สำหรับเตรียมข้อมูลเข้าสู่การประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงาน และ ประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 วันพฤหัสบดี ที่ 25 สิงหาคม 2565 นางสาวสรารัตน์ บุญวงค์นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ เข้าร่วม ประชุมแนวทางขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรทฤษฎีใหม่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีนางณัฐธัญ กาหลง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง เป็นประธานการประชุม เพื่อดำเนินการ สำรวจและคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณสมบัติและมีความประสงค์เข้าร่วมโครงการตามแนวทางการขับเคลื่อน โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรทฤษฎีใหม่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมพระ พิรุณ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 113 วันอังคารที่ 8 มีนาคม 2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัด อ่างทอง โดย นายทินกร ตรีเวช สหกรณ์จังหวัดอ่างทอง เป็น ประธานเปิดการประชุมโครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาด ภายในสำหรับสินค้าเกษตร ภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาและ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดอ่างทอง กิจกรรมจัดประชุมเชิง ปฏิบัติการวางระบบการบริหารจัดการผลผลิตการเกษตรระดับ จังหวัด ครั้งที่ 1 เพื่อสนับสนุนและเพิ่มบทบาทด้านการตลาด ให้ สหกรณ์ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวม แลกเปลี่ยนซื้อขาย ผลผลิตการเกษตร ทั้งด้านพืช ด้านปศุสัตว์และด้านประมง ใช้ ระบบสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหาร จัดการสินค้าเกษตรและเชื่อมโยงเครือข่ายสินค้าคลัสเตอร์ของ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่เกษตรกรมีทางเลือกในการขายผลผลิตทั้งตลาดใน ประเทศและตลาดออนไลน์ เพิ่มอำนาจต่อรอง อันจะส่งผลต่อรายได้และคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร โดยมีผู้แทนสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวน 6 แห่ง และเจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด อ่างทอง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง 5) ภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมกับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 114 วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565 เวลา 08.00 น. น า ย ท ิ น ก ร ต ร ี เ ว ช ส ห ก ร ณ ์ จ ั ง ห ว ั ด อ ่ า ง ท อ ง พร้อมด้วย นายสันติ จันทร์สถานนท์ ผู้อำนวย กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบการรวบรวมผลผลิต ของสมาชิกสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด ผลปรากฎว่า สหกรณ์มีการรวบรวมผลผลิตของสมาชิก แต่ไม่ผ่านระบบสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด อ่างทอง จึงได้แนะนำให้สหกรณ์ดำเนินการผ่านระบบ สหกรณ์ ซึ่งในวันนี้จับปลาบ่อของ นายบุญธรรม กีรติวิทยากร พื้นที่ 6 ไร่ 2 งานและนำไปจำหน่ายที่ตลาด แพปลาคลองสี่ จังหวัดปทุมธานี ผลผลิตที่ได้ จำนวน 7,600 กิโลกรัม มูลค่าทั้งสิ้น 114,000 บาท สมาชิกมีความพึงพอใจอย่างมาก


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 115 วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 นายทินกร ตรีเวช สหกรณ์จังหวัด อ่างทอง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนา ความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก กลุ่มเกษตรกร การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ และหลักการ ควบคุมภายในที่ดี รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรในการพัฒนากลุ่มเกษตรกร ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรและผู้นำกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย ได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งทั้ง 4 ด้าน จากผู้เชี่ยวชาญ และได้ระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดแนวทาง ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก การเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินธุรกิจ การควบคุมภายใน และการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารงาน สามารถนำมาพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยมีคณะกรรมการการกลาง กลุ่มเกษตรกร ผู้นำกลุ่มเกษตรกร และเจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเข้าร่วมจำนวน 28 คน ณ ห้อง ประชุมชั้น 3 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 116 ส่วนที่ 4 รายงานข้อมูลงบการเงิน (ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 117 งบแสดงฐานะการเงิน ปี 2565 ปี 2564 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินทดรองราชการ 5,000.00 5,000.00 เงินฝากคลัง 58,965.08 41,170.00 ค้างรับจากกรมบัญชีกลาง 53,352.00 53,352.00 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 117,317.08 99,522.00 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน อาคาร (สุทธิ) (2) 1,596,824.13 1,835,769.47 ครุภัณฑ์ (สุทธิ) (3) 1,482,147.64 1,762,185.51 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 3,078,971.77 3,597,954.98 รวมสินทรัพย์ 3,196,288.85 3,697,476.98 หนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า-บุคคลภายนอก 53,800.00 53,800.00 สาธารณูปโภคค้างจ่าย 11,501.10 11,850.49 เงินรับฝากอื่น 6,525.08 - เงินประกันอื่น 52,440.00 41,170.00 รวมหนี้สินหมุนเวียน 124,266.18 106,820.49 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินทดรองราชการรับจากคลัง - ดำเนินงาน 5,000.00 5,000.00 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 5,000.00 5,000.00 รวมหนี้สิน 129,266.18 111,820.49 ทุน ทุนของหน่วยงาน 1,567,150.00 1,567,150.00 รายได้ สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม 2,018,506.49 1,931,910.29 รายได้ สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (518,633.82) 86,596.20 รวมส่วนทุน 3,067,022.67 3,585,656.49 รวมหนี้สินและทุน 3,196,288.85 3,697,476.98


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 118 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 รายได้จากการดำเนินงาน รายได้ค่าธรรมเนียมอื่น 1,200.00 รายได้จากงบบุคลากร 3,786,371.00 รายได้จากงบลงทุน 438,400.00 รายได้จากงบดำเนินงาน 2,245,293.95 รายได้จากงบอุดหนุน 1,437,124.74 รายได้จากงบกลาง 140,318.00 รายได้สรก.รับเงินนอก 74,117.87 รายได้ปรับเงินฝากคลัง 91,912.95 รวมรายได้จากการดำเนินงาน 8,214,738.51 ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายงบบุคลากร (4) 3,784,371.00 ค่าใช้จ่ายงบกลาง (5) 91,418.00 ค่าใช้จ่ายดำเนินการ (6) 2,296,343,.56 ค่าใช้จ่ายงบอุดหนุนทั่วไป 1,437,124.74 ค่าใช้จ่ายงบรายจ่ายอื่น (7) 168,731.82 ค่าใช้จ่ายอื่น (8) 955,383.21 รวมค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน 8,733,372.33 รายได้สูง/(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ -518,633.82


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 119 หมายเหตุที่ 1 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ 1.1 หลักการบัญชี เป็นไปตามหลักการและนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด และระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( New GFMIS ) , ระบบบัญชีแยกประเภท ตามเกณฑ์คงค้าง 1.2 ขอบเขตของข้อมูลในรายงาน รายงานที่ปรากฏในรายงาน รวมถึงสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นของรัฐบาลใน ภาพรวม แต่ให้หน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาและบริหารจัดการ ให้แก่รัฐบาลภายใต้อำนาจ หน้าที่ ตามกฎหมาย รวมถึงสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นของหน่วยงานที่ใช้เพื่อประโยชน์ใน การดำเนินงานของหน่วยงานเอง ไม่ว่ารายการดังกล่าวจะเป็นรายการที่เกิดจากเงินงบประมาณหรือเงินนอก งบประมาณ ซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นของสำนักงาน 1.3 การรับรู้รายได้ 1) รายได้จากเงินงบประมาณรับรู้เมื่อได้รับอนุมัติ 2) รายได้เงินนอกงบประมาณรับรู้เมื่อเกิดรายได้ 3) รายได้แผ่นดินรับรู้ เมื่อได้รับเงิน 1.4 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย คำนวณจากราคาทุนของครุภัณฑ์ อาคารและสิ่งปลูกสร้าง โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งาน โดยประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ดังนี้ -อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 15 ปี -ครุภัณฑ์ต่างๆ 2 - 15 ปี หมายเหตุที่ 2 อาคาร (สุทธิ) อาคารพักอาศัย 813,800.00 ค่าเสื่อมสะสม-อาคารพักอาศัย -193,370.03 อาคารสำนักงาน 6,471,200.00 ค่าเสื่อมสะสม - อาคารสำนักงาน 5,945,976.70 อาคารเพื่อประโยชน์อื่น 1,288,213.00 ค่าเสื่อมสะสม - อาคารเพื่อประโยชน์อื่น 1,288,209.00 ส่วนราชการ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 120 สิ่งปลูกสร้าง 1,010,849.00 ค่าเสื่อมสะสม - สิ่งปลูกสร้าง -559,682.14 รวม 1,596,824.13 หมายเหตุที่ 3 ครุภัณฑ์ (สุทธิ) ครุภัณฑ์สำนักงาน 542,479.00 ค่าเสื่อมสะสม - ครุภัณฑ์สำนักงาน -383,320.76 ครุภัณฑ์ยานพาหนะ 4,690,400.00 ค่าเสื่อมสะสม - ครุภัณฑ์ยานพาหนะ -3,677,129.88 ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ 240,159.21 ค่าเสื่อมสะสม - ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ -234,607.45 ครุภัณฑ์โฆษณา 408,500.00 ค่าเสื่อมสะสม - ครุภัณฑ์โฆษณา -376,162.57 ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ 982,399.83 ค่าเสื่อมสะสม - ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ -785,065.68 ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว 14,600.00 ค่าเสื่อมสะสม - ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว -14,598.00 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 96,000.00 ค่าเสื่อมสะสม - โปรแกรมคอมพิวเตอร์ -21,506.06 รวม 1,482,147.64 หมายเหตุที่ 4 ค่าใช้จ่ายงบบุคลากร ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 3,784,371.00 รวม 3,784,371.00 หมายเหตุที่ 5 ค่าใช้จ่ายงบกลาง เงินช่วยการศึกษาบุตร 88,640.00 ค่ารักษาพยาบาลคนไข้นอก-ร.พ.รัฐ 2,778.00 รวม 91,418.00


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 121 หมายเหตุที่ 6 ค่าใช้จ่ายงบดำเนินงาน เงินค่าครองชีพ 2,000.00 เงินสมทบประกันสังคม 89,184.00 ค่าเช่าบ้าน 503,397.00 เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน 5,200.00 ค่าใช้จ่ายฝึกอบรม-ภายนอก 84,790.00 เบี้ยเลี้ยง 92,110.00 ค่าที่พัก 3,150.00 ค่าใช้จ่ายเดินทางภายในประเทศ 16,617.00 ค่าวัสดุ 203,703.79 ค่าซ่อมแซมและบำรุงฯ 44,230.10 ค่าเชื้อเพลิง 153,651.10 ค่าจ้างเหมาบริการบุคคล-ภายนอก 739,011.00 ค่าไฟฟ้า 111,767.34 ค่าประปาและน้ำบาดาล 23,478.92 ค่าโทรศัพท์ 65,254.31 ค่าสื่อสารและโทรคมนาคม 19,470.00 ค่าไปรษณีย์และขนส่ง 33,599.00 ค่าใช้จ่ายในการประชุม 84,230.00 ค่าประชาสัมพันธ์ 21,100.00 ค่าใช้สอยอื่น 400 รวม 2,296,343.56 หมายเหตุที่ 7 ค่าใช้จ่ายงบรายจ่ายอื่น เบิกเกินส่งคืน 1,501.00 โอนเงินให้ สรก. 91,912.95 โอนรายได้แผ่นดินให้บก. 1,200.00 ปรับเงินฝากคลัง 74,117.87 รวม 168,731.82


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 122 หมายเหตุที่ 8 ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าเสื่อมราคา-อาคาร 54,253.33 ค่าเสื่อมราคา-อาคารสำนักงาน 342,151.08 ค่าเสื่อมราคา-สิ่งปลูกสร้าง 65,940.93 ค่าเสื่อมราคา-ครุภัณฑ์สำนักงาน 63,007.96 ค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ยานพาหนะ 315,800.00 ค่าเสื่อมราคา-ครุภัณฑ์ไฟฟ้า 2,557.71 ค่าเสื่อมราคา-ครุภัณฑ์โฆษณา 28,204.22 ค่าเสื่อมราคา-ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ 65,648.01 ตัดจำหน่าย-software 17,819.97 รวม 955,383.21 บทวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านงบประมาณของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทองได้รับการจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 7,905,688.69 บาท โดยจำแนกเป็นงบบุคลากร 3,786,371 บาท งบ ดำเนินงาน 2,243,792.95บาท งบลงทุน 438,400บาท และงบเงินอุดหนุน 1,437,124.74 บาท ตารางงบประมาณรายจ่ายสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทองประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2564 หน่วย : บาท งบประมาณ รายจ่าย งบประมาณ เพิ่ม/ลด ปี 2564 สัดส่วน ปี2565 สัดส่วน บาท (ร้อยละ) งบบุคคลากร 3,663,000.00 39.89 3,786,371.00 47.90 123,371.00 3.37 งบดำเนินงาน 2,504,547.66 27.27 2,243,792.95 28.38 260,754.71 -10.41 งบลงทุน 971,400.00 10.58 438,400.00 5.54 533,000.00 -54.86 งบเงินอุดหนุน 2,044,743.58 22.26 1,437,124.74 18.18 607,618.84 -29.72 รวมทั้งสิ้น 9,183,691.24 100.00 7,905,688.69 100.00 1,278,002.55 -13.92 หากพิจารณาแล้วงบประมาณที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทองได้รับในแต่ละปีจะถูกจัดสรรให้กลุ่ม งานต่างๆตามแผนงาน/โครงการเพื่อดำเนินการตามภารกิจ ซึ่งงบประมาณที่ได้รับจัดสรรรวมถึงการเบิกจ่าย งบประมาณเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่สะท้อนประสิทธิภาพของการดำเนินงานและการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน จากการวิเคราะห์งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2564 พบว่า งบประมาณที่สำนักงานสหกรณ์ จังหวัดอ่างทองได้รับจัดสรร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้รับจัดสรรลดลงร้อยละ -13.92 แบ่งเป็นงบ ดำเนินงานลดลงคิดเป็นร้อยละ -10.41 งบลงทุนลดลงคิดเป็นร้อยละ -54.86 และงบเงินอุดหนุนลดลงคิดเป็น ร้อยละ -29.72 ตามลำดับ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 123 ส่วนที่ 5 ภาคผนวก สรุปผลสำเร็จตามตัวชี้วัดหลักของงาน/ โครงการตามแผนปฏิบัติงานและงบประมาณ ราชจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563-2565


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 124


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 125


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 126


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 127


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 128


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 129


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 130


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 131


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 132


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 133 ส่วนที่ 6 บรรณานุกรม


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 134 บรรณานุกรม กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์. (2565) กราฟแสดงผลการจัดระดับชั้นกลุ่มเกษตรกร (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์. (2565) จํานวนสหกรณ์และจํานวนสมาชิกสหกรณ์. (รายงานประจําปี2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์. (2565) ผลการจัดระดับชั้นกลุ่มเกษตรกร.จำแนกตามประเภท (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์. (2565) ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ จําแนกตามประเภท. (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์. (2565) ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ เปรียบเทียบ 3 ปี. (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์. (2565) สถานะกลุ่มเกษตรกร. (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์. (2565) สถานะสหกรณ์. (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์. (2565) ผลการดําเนินงานของกลุ่มเกษตรกร. (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์. (2565) ผลการดําเนินงานของสหกรณ์. (รายงานประจําปี 2565,สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์. (2565) กลุ่มอาชีพแยกตามประเภทผลิตภัณฑ์. (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์. (2565) จํานวนกลุ่มเกษตรกรและจํานวนสมาชิกกลุ่มเกษตรกร. (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์. (2565) ปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร. (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์. (2565) ปริมาณธุรกิจของสหกรณ์. (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายบริหารทั่วไป. (2565) ข้อมูลทางการเงินสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง. (รายงานประจําปี2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายบริหารทั่วไป. (2565) สรุปผลการปฎิบัติงาน และผลเบิกจ่ายงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติงาน. (รายงานประจําปี 2565, สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง)


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2565 135


Click to View FlipBook Version