The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

003.ประวัติวัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

003.ประวัติวัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่

003.ประวัติวัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่

36

ใช้ประดับภาพชาดก แต่บางครั้งก็ไม่มีการประดับใดๆ การเจาะช่องท้องไม้ปรากฏมาก่อนแล้วต้ังแต่

ศิลปะปาละตอนต้น แต่ไม่ปรากฏลวดบัวลูกแก้วคาดขนาบบน-ล่าง แสดงให้เห็นว่าประเด็นนี้เป็น
พัฒนาการในศิลปะพุกามเอง ลักษณะสาคัญอีกประการหน่ึงคือ มีทางประทักษิณภายใน2 วนรอบ

แกนกลางและครรภคฤหะท้ังส่ที ศิ (รปู ท่ี 12) ซึ่งเจติยวิหารหลายองค์มีทางประทักษิณภายในถึง 2 ชั้น

เชน่ อานนั ทเจดีย์ เปน็ ตน้ แกนกลางทึบรองรับศิขระ

ช่องทอ้ งไม้ บางครงั้ ใชป้ ระดบั ภาพชาดก พระพทุ ธรปู 4 ทิศ

ทางประทักษณิ ภายใน

มณฑป 4 ทศิ

รูปที่ 11: ส่วนฐานเจติยวิหารในศิลปะพุกามตอน รปู ท่ี 12: ลายเส้นแสดงเจตยิ วหิ ารแบบแกนกลาง-ครรภคฤหะ

ปลาย 4 ทิศ ตัวอย่างจากอนันทเจดยี ์

ท่มี า: ผศ.ดร.เชษฐ์ ตงิ สญั ชลี ทมี่ า: Percy Brown, Indian Architecture: Buddhist and

Hindu Periods, pl. CLIII.

สว่ นเรือนธาตมุ ีลักษณะแคบสูง มีประตูท้ังสี่ทิศนาเข้าไปสู่พระพุทธรูปประทับน่ังหรือยืน
พิงแกนกลาง ซึ่งต่อมาประตูทางเข้าได้พัฒนากลายเป็นซุ้มจระนาประดิษฐานพระพุทธรูปท่ีเรือนธาตุ
เจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะล้านนา ส่วนห้องคูหาท่ีเคยเข้าไปได้ก็กลายเป็นห้องทึบตัน มีประเด็นท่ี
น่าสนใจประการหน่ึง คือ ซุ้มทางเข้าของเจติยวิหารในศิลปะพม่าปรากฏ “การเรียงอิฐแบบแนวต้ัง”
(True Arch) (รูปที่ 13) ซง่ึ เปน็ ลักษณะท่ีพบในศลิ ปะโรมันและศิลปะจีน ในขณะที่ “การเรียงอิฐแบบ
สันเหล่ือม” (Corbelled Arch) กลับเป็นการเรียงอิฐท่ีพบในศิลปะอินเดียและศิลปะเอเชียอาคเนย์
ส่วนมาก ดังน้ันศิลปะพม่าจึงเป็นศิลปะเดียวในเอเชียอาคเนย์ก่อนพุทธศตวรรษท่ี 19 ท่ีสามารถก่อ
อาคารโดยใชร้ ะบบการเรยี งอฐิ แบบแนวตงั้ ได้ โดย เชษฐ์ ตงิ สัญชลี ไดว้ เิ คราะหว์ ่า เนื่องจากระบบการ

2 ทางประทักษิณภายใน คือ ทางเดินรอบครรภคฤหะภายในอาคาร วนรอบแกนกลางและครรภคฤ

หะส่ที ิศ ซง่ึ ปรากฏมาแลว้ ในศิลปะอินเดียสมัยท่ี 4 หลายสกุล เช่น ศิลปะจาลุกยะตะวันตกระยะแรก ศิลปะจันเทล
ละ เป็นต้น โดยเทวาลัยที่ปรากฏทางประทักษิณภายในรอบครรภคฤหะนั้น เรียกว่า “สันธารปราสาท” โปรดดู
เชษฐ์ ติงสัญชลี, เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ: พัฒนาการทางด้านรูปแบบต้ังแต่ศิลปะศรีเกษตรถึงศิลปะมัณฑเล,
255.

37

เรียงอฐิ แบบแนวตั้ง ปรากฏอยใู่ นศลิ ปะโอรสิ สาในอนิ เดียตะวนั ออกเช่นกนั เช่น ท่ีวัดอุทัยคีรี ศิลปะโอ
ริสสาสมัยเภามการ และเทวาลัยจอสัฐโยคินี เมืองภูวเนศวร ศิลปะสมัยโสมวังศี-คงคาตะวันออก จึง
เป็นไปไดห้ รอื ไม่ที่ระบบการเรียงอิฐแบบแนวต้ัง ในศิลปะพม่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะโอริสสา3
และสง่ ต่ออทิ ธพิ ลนีใ้ หศ้ ิลปะลา้ นนาในระยะต่อมา

รปู ท่ี 13: การเรียงอิฐแบบแนวต้งั
(True Arch) เจตยิ วิหารในศลิ ปะพมา่
ทม่ี า: ผศ.ดร.เชษฐ์ ตงิ สญั ชลี

ถัดข้ึนไปจากเรือนธาตุเป็นช้ันหลังคา ซ่ึงเจติยวิหารสมัยพุกามตอนปลายส่วนมากมีช้ัน
หลังคาเป็น “ชุดฐานบัว” ซ้อนกัน 3 ช้ัน(รูปที่ 14) ต่างจากพุกามตอนต้นท่ีนิยม “ชุดหลังคาลาด” 3
ช้ันซ้อนกัน(รูปท่ี 15) การเปล่ียนแปลงดังกล่าวอาจเนื่องมาจาก ความนิยมแผนผังแบบครรภคฤหะ-
มณฑป ท่ีมีทางประทักษิณภายในโดยรอบนั้นเส่ือมลง ทาให้ผนังเรือนธาตุมีขนาดเล็กและแคบลง จึง
ไม่จาเป็นต้องใช้หลังคาลาดอีกต่อไป หลังคาชุดฐานบัว 3 ชั้นจึงถูกนามาแทนท่ีชั้นหลังคาลาด และ
เน่ืองจากเจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะล้านนามีขนาดเล็กลงกว่าศิลปะพุกามมาก ส่วนยอดจึงได้ลด
จานวนชั้นซ้อนและจานวนสถูปิกะลงด้วย จนกลายเป็นเจดีย์ทรงปราสาท 5 ยอดในศิลปะล้านนา4
ส่วนยอดในเจติยวิหารศิลปะพม่าปรากฏทั้งแบบยอดศิขระและยอดเจดีย์ ซึ่งอาคารท่ีเป็นยอดศิขระ
ปรากฏมาก่อนแล้วในศิลปะอินเดียเหนือ แต่อาคารยอดเจดีย์ดูเหมือนว่าจะเป็นลักษณะเฉพาะใน
ศลิ ปะพมา่ และไดร้ บั ความนยิ มอย่างยง่ิ ในศลิ ปะพกุ าม

3 เรื่องเดียวกัน, 246-247.
4 เรอ่ื งเดยี วกัน, 314, 389.

38

รูปที่ 14: ชั้นหลังคาเป็นชุดฐานบัวซ้อนกัน 3 ช้ัน รูปท่ี 15: ชุดหลังคาลาดซ้อนกัน 3 ช้ัน ศิลปะพุกาม
ศลิ ปะพุกามตอนปลาย ตอนต้น
ทมี่ า: ผศ.ดร.เชษฐ์ ตงิ สญั ชลี ทมี่ า: ผศ.ดร.เชษฐ์ ตงิ สญั ชลี

ลวดลายประดับที่สาคัญ ได้แก่ ลายกาบบน กาบล่าง และประจายามอก ประดับที่เสา
ติดผนังของเรือนธาตุ บางแห่งเร่ิมนิยมแทรกสัตว์หัวเดียวสองตัวลงไปในกาบล่างด้วย5 โดยตัวอย่าง

เจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะล้านนาระยะแรกที่ได้รับอิทธิพลเจติยวิหารสมัยพุกามตอนปลาย ได้แก่

เจดีย์วัดป่าสัก(รูปที่ 16) เจดีย์วัดสองพ่ีน้อง เชียงแสน จังหวัดเชียงราย เจดีย์เชียงยัน(รูปท่ี 17) วัด
พระธาตหุ ริภญุ ชัย จังหวดั ลาพูน เป็นต้น6

รปู ที่ 16: เจดียว์ ดั ป่าสัก อ.เชยี งแสน จ.เชยี งราย รูปที่ 17: เจดยี ์เชยี งยัน วดั พระธาตุหริภญุ ชัย จ.ลาพนู
ท่มี า: สารวจวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555 ท่ีมา: สารวจวันท่ี 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

5 เรอ่ื งเดียวกนั , 253-337.
6 ศักดิช์ ยั สายสิงห์, ศลิ ปะเมืองเชยี งแสน : วเิ คราะหง์ านศิลปกรรมรว่ มกับหลักฐานทางโบราณคดี

และเอกสารทางประวัติศาสตร์, (กรงุ เทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 37-57.

39

ส่วนเจดีย์ทรงระฆังกลุ่มอิทธิพลลังกาในสมัยพุกามตอนปลาย(รูปที่ 18) ก็เป็นพื้นฐาน
ให้กับเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะล้านนาระยะแรกเช่นกัน โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์แบบลังกาผสมพม่าแท้
ซึ่งอิทธพิ ลลงั กาท่ียังแสดงให้เห็นในเจดีย์กลุ่มนี้มีหลายประการ เช่น การท่ีเจดีย์อยู่ในผังกลมแตกต่าง
ไปจากเจดยี ก์ ลุ่มพม่าแท้ท่ีมักอยู่ในฐานผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม การที่เจดีย์ไม่มีชั้นประทักษิณด้านบน ไม่มี
บันไดขึ้นและไม่มีการประดับสถูปิกะทาให้แตกต่างไปจากเจดีย์กลุ่มพม่าแท้ที่มักมีทางประทักษิณ
บันไดทางขึ้นและการประดับสถูปิกะที่มุมเสมอ ส่วนองค์ระฆังไม่มีรัดอก และมีบัลลังก์สี่เหล่ียมไม่เพ่ิม
มุมตามแบบลังกา โดยอิทธิพลแบบพม่าแท้ในเจดีย์กลุ่มนี้ ได้แก่ การนาเอาลวดบัวแบบพม่าแท้มาใช้
กลา่ วคือ ฐานบวั ท่มี ีลกู แก้ว 2 เส้นและมกี ารเจาะช่องท้องไม้ ทาให้ฐานของเจดีย์มีสัดส่วนค่อนข้างยืด
สูงและองคร์ ะฆังมขี นาดเล็กลง7 นอกจากน้ีท่ีฐานของเจดีย์บางองค์ยังปรากฏการประดับช้างล้อมรอบ
ฐานเจดีย์ ซงึ่ มลี กั ษณะเปน็ ช้างหมอบสลับกบั เสาตดิ ผนัง โดยเจดีย์ในศิลปะพุกาม ช้างล้อมมักเป็นช้าง
หมอบเสมอ ซ่ึงจะแตกต่างจากเจดีย์ฐานช้างล้อมหรือหัตถีปราการ (ช้างที่ล้อมรอบฐานประทักษิณ
หรือกาแพงท่ีล้อมรอบฐานประทักษิณ) ในศิลปะลังกาที่พบว่ามีท้ังแบบ “ช้างยืน” และแบบ “ช้าง
หมอบ” ที่มกั อยู่ในผังสเ่ี หล่ียม โดยมีฐานขนาดใหญ่กวา่ ตัวเจดีย์มาก ทาใหส้ ามารถใช้พื้นที่บนฐานช้าง
ล้อมเป็นที่เดินประทกั ษิณได้8

รปู ท่ี 18: เจดยี ก์ าธาปาถปู าจี เจดยี ์กลมุ่ อทิ ธพิ ลลังกา
สมัยพุกามตอนปลาย ประดบั ช้างล้อมรอบฐานเจดีย์
ท่ีมา: ผศ.ดร.เชษฐ์ ติงสญั ชลี

7 เชษฐ์ ติงสัญชลี, “เจดีย์กลุ่มอิทธิพลลังกาในศิลปะพม่าโดยสังเขป” เอกสารประกอบโครงการ
เสวนาวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ความสัมพันธ์ทางพุทธศาสน์-พุทธศิลป์ระหว่างศรีลังกา พม่า และไทย,
ภาควชิ าประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร, (กรุงเทพฯ : เอราวณั การพมิ พ์, 2555), 63-64.

8 เชษฐ์ ตงิ สญั ชล,ี เจดีย์ในศลิ ปะพมา่ -มอญ: พฒั นาการทางด้านรูปแบบตั้งแต่ศลิ ปะศรเี กษตรถึง
ศิลปะมณั ฑเล, 174.

40

ตัวอย่างเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะ
ลา้ นนาระยะแรกท่ีได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ทรง
ระฆังกลุ่มอิทธิพลลังกาในสมัยพุกามตอนปลาย
เช่น เจดีย์วัดอุโมงค์เถรจันทร์ (รูปท่ี 19) จังหวัด
เชียงใหม่ เป็นต้น ต่อมาได้พัฒนาให้ยืดสูงข้ึน
และกลายเป็นเจดีย์แบบเฉพาะในศิลปะล้านนา
ตลอดมาจนถึงระยะหลงั 9

รูปท่ี 19: เจดยี ว์ ัดอโุ มงค์เถรจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่
ที่มา: สารวจวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

1.2 ศลิ ปะสโุ ขทัย
ในระยะแรกศิลปะล้านนาและศิลปะสุโขทัยมีรูปแบบและแรงบันดาลใจท่ีมาจากแหล่ง
เดียวกัน คือ หริภุญชัย พุกาม และขอม10 โดยอิทธิพลศิลปกรรมสุโขทัยที่มีต่อล้านนา ได้แก่ การนา
ชุดบัวถลา 3 ฐานรองรับองค์ระฆังท่ีเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังสุโขทัยมาใช้ การทาองค์
ระฆงั ทีค่ อ่ นข้างใหญ่ และมบี ัลลังก์ในผังสเ่ี หล่ียมจัตุรัส ส่วนฐานมีการประดับช้างล้อม ซ่ึงคติการสร้าง
ช้างล้อมที่ฐาน สุโขทัยคงรับรูปแบบมาจากลังกา โดยเช่ือว่า ช้างคือผู้ค้าจุนจักรวาลดังน้ันองค์เจดีย์
อาจแทนความหมายของการจาลองจักรวาลด้วยก็ได้ แต่ที่เป็นน่าสังเกตว่าเจดีย์ที่มีช้างล้อมในสมัย
สุโขทัยเราจะพบเฉพาะในเจดีย์ทรงระฆัง(รูปที่ 20) ขณะท่ีการประดับช้างรอบฐานเจดีย์ในล้านนาน้ัน
ปรากฏท้ังในเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย และในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 21 มีปรากฏการประดับช้างล้อม
ในเจดยี ์ทรงปราสาทแบบลา้ นนาดว้ ย ตวั อยา่ งทสี่ าคญั ได้แก่ พระเจดียห์ ลวง จังหวัดเชียงใหม่ ซ่ึงสร้าง
ขนึ้ ในสมัยพระเจา้ ตโิ ลกราช มีช้างประดับสว่ นฐานรอบชั้นประทักษณิ เป็นตน้ 11

9 ศกั ดช์ิ ยั สายสิงห,์ ศลิ ปะเมอื งเชยี งแสน : วิเคราะห์งานศิลปกรรมรว่ มกบั หลกั ฐานทางโบราณคดี
และเอกสารทางประวตั ิศาสตร์, 86-95.

10 ศักด์ชิ ยั สายสิงห,์ การศึกษาเชงิ เปรยี บเทยี บศลิ ปกรรมสโุ ขทัยและล้านนา, เอกสารคาสอน
รายวชิ า 317 263 ศลิ ปะสโุ ขทัยและเชยี งแสน ภาควิชาประวตั ิศาสตร์ศลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศลิ ปากร
ปีการศึกษา 2543, 3.

11 เร่ืองเดยี วกนั , 27-29.

41

รูปท่ี 20: เจดียว์ ดั ชา้ งล้อม อ.ศรสี ชั นาลยั
จ.สโุ ขทยั
ที่มา: www.panoramio.com/photo/
32859454

1.3 ศลิ ปะอยธุ ยา

ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนากับอยุธยาคงมีการ

ติ ด ต่ อ กั น ม า แ ล้ ว ตั้ ง แ ต่ รั ช ก า ล ข อ ง พ ร ะ เ จ้ า ส า ม ฝั่ ง แ ก น
พ.ศ. 196912 และเพ่ิมมากขึ้นต้ังแต่รัชกาลของพระเจ้าติ

โลกราชซึ่งทาสงครามกับพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ การทา

สงครามควบคู่ไปกับการส่งทูตเจริญสัมพันธไมตรีมีอยู่เป็น

ระยะๆ ซึ่งปรากฏในหลักฐานเอกสารทั้งของล้านนาและ
อยุธยา13 ดังนั้นการรับอิทธิพลทางรูปแบบของศิลปะจึง

น่าจะเป็นไปได้ เพราะท่ีอยุธยาเองก็ปรากฏการสร้าง

เจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาท่ีวัดแค(ร้าง)(รูปท่ี 21) (แต่มี

รูปท่ี 21: เจดียว์ ดั แค(รา้ ง) จ.อยธุ ยา สัดส่วนท่ีแตกต่างเล็กน้อย) นอกจากน้ีเจดีย์ทรงปราสาท
ท่มี า: www.lek-prapai.org/watch.php
?id=983 ของล้านนายังปรากฏลักษณะเรือนธาตุในผังสี่เหลี่ยมเพิ่ม
มุม โดยมีมุมขนาดใหญ่ท้ังท่ีมุมประธานและมุมท่ีเพิ่ม ทาให้มี

การอ้างอิงแบบแผนของปรางค์แบบอยุธยา เช่น ท่ีเรือนธาตุ

พระเจดีย์หลวง จงั หวัดเชยี งใหม่ และยงั มพี ระพุทธรูปหลายองค์ในล้านนาที่ปรากฏอิทธิพลของศิลปะ

อยธุ ยา เช่น พระเจา้ แข้งคม ในวดั ศรเี กดิ พระพุทธรปู ทรงเครอื่ งในวดั พระสิงห์ เชียงใหม่ เปน็ ตน้

12 พระพุทธพุกาม และพระพุทธญาณ, ตานานมูลศาสนา, แปลโดย สดุ ศรสี มวงศ์ และพรหม ขมา
ลา, พิมพ์ครั้งที่ 2, (เชียงใหม่ : นครพงิ ค์การพมิ พ,์ 2513), 252-259.

13 พระยาประชากจิ กรจกั ร, พงศาวดารโยนก, 330-370. และพงศาวดารฉบบั หลวงประเสรฐิ อกั ษร
นิติ, 448-453.

42

ศิลปะพุกาม สุโขทัย และอยุธยา ล้วนเป็นแหล่งบันดาลใจท่ีสาคัญในศิลปะล้านนา โดย
ชา่ งล้านนาได้นาเอาเทคนิคและรูปแบบศิลปกรรมจากอาณาจักรข้างเคียงมาผสมผสานและพัฒนาจน
เกิดรูปแบบใหม่ท่ีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของงานศิลปะสมัยล้านนาอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามจาก
รูปแบบศิลปกรรมท้ังเจดีย์ทรงปราสาทและเจดีย์ทรงระฆัง พบว่ามีความใกล้เคียงกับศิลปะพุกาม
มากกวา่ แห่งอนื่ ๆ

2. วเิ คราะห์รปู แบบของพระเจดีย์หลวง จังหวดั เชยี งใหม่ และงานปนู ปัน้ ประดับตกแตง่
2.1 สว่ นฐาน
จากหลักฐานพบว่า ส่วนฐานของพระเจดีย์หลวงมีร่องรอยการบูรณะสร้างซ้อนกัน

มากกว่า 1 คร้ัง ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานทางเอกสารท่ีกล่าวถึงการบูรณะพระเจดีย์หลวงในหลาย
สมยั โดยองค์ประกอบส่วนฐานทีส่ าคัญของพระเจดียห์ ลวงสามารถแบง่ การวิเคราะห์ได้ ดงั น้ี

2.1.1 ฐานเขยี ง ชน้ั เขยี ง และชุดฐานบัวคว่า-บัวหงาย (รูปที่ 22)

ชดุ ฐานบัวคว่า-บวั หงาย

ชัน้ เขียงซ้อนกัน 2 ชน้ั ฐานเขยี ง 1 ฐาน
แนวก่ออิฐรอบฐานพระเจดีย์หลวง เจาะช่องทอ้ งไม้

รปู ที่ 22: ฐานเขยี ง ชน้ั เขยี ง และชุดฐานบวั คว่า-บวั หงาย
ทีม่ า: สารวจวนั ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ฐานช้ันแรกเป็นฐานเขียง 1 ฐานและชั้นเขียง
ซ้อนกัน 2 ช้ัน ก่ออิฐฉาบปูน ด้านบนของฐานปูด้วยศิลา
แลง ความสูงของฐานช้ันแรกปิดปากอุโมงค์ไว้เกือบมิด
เหลือให้เห็นเพียงช่องด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก
เท่าน้ัน(รูปที่ 23) จากรูปแบบที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า มี
การก่อฐานส่วนน้ีขึ้นภายหลังจากการสร้างอุโมงค์เสร็จ
แล้ว จึงมีลักษณะเป็นการก่ออิฐปิดทับทางเข้าอุโมงค์ โดย
ในประเด็นนี้ สุรพล ดาริห์กุล ได้วิเคราะห์ว่า เน่ืองจากอุโมงค์

รูปท่ี 23: ทางเข้าอโุ มงค์ข้างบนั ไดด้านทศิ เหนอื
ทีม่ า: สารวจวันท่ี 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

43

ภายใต้พระเจดยี ์หลวงทรุด จงึ ได้มีการก่ออิฐปิดอุโมงคแ์ ละก่อเสริมฐาน และทาให้ลักษณะของฐานชั้น
ล่างบางแหง่ ก่อเหลือ่ มเขา้ ไปในอโุ มงค์14

รปู ท่ี 24: ชอ่ งท้องไมท้ ่ีหนา้ กระดานแนวก่ออิฐ
รอบฐานพระเจดีย์หลวง(ดา้ นทศิ ใต้)
ทม่ี า: สารวจวนั ที่ 21 ธนั วาคม พ.ศ. 2556

รูปท่ี 25: เจาะชอ่ งทอ้ งไมป้ ระดับฐานเจดีย์
วัดปา่ สกั อ.เชยี งแสน จ.เชียงราย
ทมี่ า: สารวจวนั ท่ี 21 ธนั วาคม พ.ศ. 2556

บริเวณหน้ากระดานของแนวเสรมิ ฐานชัน้ แรกที่ก่อเป็นแนวอิฐรอบฐานพระ
เจดีย์หลวงน้นั มที ้องไมป้ ระดบั ช่องกากบาท(รปู ที่ 24) ซ่งึ การเจาะชอ่ งท้องไมป้ ระดับฐานเจดีย์ลักษณะ
นี้พบมาก่อนแล้วท่ีเจดีย์วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยฐานเจดีย์วัดป่าสักมีการเจาะ
ช่องท้องไม้ 2 รูปแบบ คือ ท่ีหน้ากระดานด้านล่างเจาะเป็นช่องส่ีเหล่ียม ส่วนท่ีหน้ากระดานชั้นบน
เจาะเป็นช่องแปดเหล่ียม(รูปท่ี 25) ซึ่งจิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา ได้อธิบายถึงประเด็นนี้ในหนังสือพระเจดีย์
เมอื งเชียงแสนว่า การเจาะช่องของช้ันหน้ากระดานที่เจดีย์วัดป่าสักควรจะมีความสัมพันธ์กับรูปแบบ
ในศิลปะพม่าแบบพุกามมากกว่าแห่งอื่น เพราะในศิลปะพุกามมักปรากฏการเจาะช่องต้ังแต่ท้องไม้
ของฐานด้านล่างตลอดจนท้องไม้ของช้ันฐานใต้องค์ระฆังหรือส่วนยอด ซ่ึงเมื่อเปรียบเทียบตาแหน่ง
และเค้าโครงของลวดลายประดบั บางชนดิ ท่ปี ระดับเจดีย์วัดป่าสักพบว่ามีรูปแบบและตาแหน่งท่ีคล้าย
กับเจดยี ใ์ นศลิ ปะพกุ าม สว่ นความแตกต่างของการเจาะช่องท้องไม้ส่วนฐานท้ังที่เป็นช่องสี่เหลี่ยมและ
แปดเหลี่ยมน้ัน เน่ืองจากเจดีย์วัดป่าสักได้ถูกบูรณะมาแล้ว และช่องแปดเหล่ียมก็ไม่ปรากฏร่องรอย

14 สรุ พล ดารหิ ก์ ลุ , “ปัญหาและความรู้ใหม่ทเี่ กีย่ วกบั โบราณสถานพระเจดยี ห์ ลวง เมืองเชยี งใหม”่
สมโภช 600 ปี พระธาตุเจดียห์ ลวง, (เชยี งใหม่ : ประชาสมั พันธ์ จงั หวดั เชียงใหม่, 2538), 172.

44

ปูนป้ันหลงเหลืออยู่ ดังน้ันช่องแปดเหลี่ยมนี้อาจเป็นลักษณะของการโกลนอิฐเพ่ือพอกปูนให้เป็นรูป
ลกู กรงคล้ายกบั สว่ นทอ้ งไมข้ องชัน้ แปดเหลี่ยมเหนอื เรือนธาตกุ ็ได้15

จากการสารวจและตรวจสอบเอกสารการบูรณะพระเจดีย์หลวงที่กล่าวถึง
การสร้างแนวเสรมิ ฐานชั้นแรก16 เช่ือวา่ แนวก่ออิฐรอบฐานพระเจดีย์หลวงนี้น่าจะสร้างข้ึนในภายหลัง
โดยมขี ้อสังเกตดังน้ี

ประการแรก ลกั ษณะอิฐทีใ่ ช้ก่อรอบฐานพระเจดีย์หลวงมีขนาดแตกต่างไป
จากอิฐท่ีใช้ในการก่อสร้างหลัก การก่ออิฐห่างออกจากฐานช้ันแรกและส่วนปลายของแนวก่ออิฐรอบ
ฐานน้ีแต่ละด้านไปบรรจบกับบันไดนาคโดยเว้นระยะห่างจากบันไดนาคเพียงเล็กน้อย(รูปท่ี 26) โดย
บริเวณด้านข้างของบันไดนาคยังคงปรากฏร่องรอยงานปูนปั้นตกแต่งตัวมกรคายนาคอยู่ ซึ่งถ้าช่างจง
ใจสร้างแนวก่ออิฐรอบฐานพระเจดีย์หลวงน้ีมาแต่แรกพร้อมกับการสร้างพระเจดีย์หลวง ตัวมกรคาย
นาคไม่น่าจะมีปนู ป้นั ตกแตง่ รายละเอียดบรเิ วณน้ี ควรเป็นเพียงการโกลนให้เรียบร้อยเท่าน้ันเนื่องจาก
จะต้องมกี ารกอ่ อฐิ ปดิ ทับอย่แู ล้ว

ปรากฏร่องรอยปูนปน้ั
ประดับบนั ไดมกรคายนาค

รปู ท่ี 26: แนวกอ่ อิฐรอบฐานพระเจดีย์หลวง(ดา้ นทิศเหนอื ) มีเวน้ ช่องห่างจากบันไดเล็กนอ้ ย
ทีม่ า: สารวจวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประการท่ีสอง บริเวณฐานบัวที่รองรับบันไดนาคน้ัน มีการเจาะช่องท้องไม้
ทหี่ น้ากระดานโดยรอบเชน่ กนั แตจ่ ากรูปแบบที่ปรากฏมีความแตกต่างจากช่องท้องไม้บริเวณแนวก่อ
อฐิ รอบฐานพระเจดยี ห์ ลวง กล่าวคือ ช่องท้องไม้ท่ีแนวก่ออิฐรอบฐานพระเจดีย์หลวงมีร่องรอยปูนปั้น
ฉาบอยู่แต่เปน็ การฉาบปนู ตามรปู ร่างของอิฐไมม่ รี ายละเอียดของลวดลาย(รูปที่ 27) เมื่อเทียบกับหน้า

15 จริ ศักดิ์ เดชวงศ์ญา, พระเจดียเ์ มืองเชยี งแสน, (เชยี งใหม่ : สรุ ิวงศ์บคุ๊ เซนเตอร,์ 2539), 48.
16 วเิ ศษ เพชรประดับ, รายงานการขุดคน้ ศกึ ษาเพื่อเตรยี มการบรู ณะพระเจดยี ์หลวง อ.เมือง จ.
เชียงใหม,่ 14.

45

กระดานฐานบวั รองรับบันไดนาค บางช่วงของช่องท้องไม้ส่วนนี้ยังคงปรากฏร่องรอยปูนป้ันมีลักษณะ
คล้ายลายเมฆ ช่องท้องไม้แต่ละช่องมีเสาค่ันระหว่างกลาง(รูปที่ 28) รายละเอียดต่างจากร่องรอยปูน
ปัน้ ท่แี นวกอ่ อฐิ มีข้อสังเกตว่าบริเวณรอยต่อของแนวก่ออิฐรอบฐานพระเจดีย์หลวงปิดทับช่องท้องไม้
ที่หน้ากระดานฐานบัวรองรับบันไดนาคบางส่วน แสดงให้เห็นว่าส่วนฐานรองรับบันไดนาคน่าจะถูก
สรา้ งขึน้ ก่อน จึงปรากฏลวดลายปูนปั้นคล้ายลายเมฆเต็มพ้ืนที่ ต่อมาจึงมีการก่อแนวอิฐรอบฐานพระ
เจดีย์หลวงในภายหลัง ซ่ึงบางส่วนปิดทับปูนป้ันประดับช่องท้องไม้ที่หน้ากระดานฐานรองรับบันได
นาค โดยแนวก่ออิฐรอบฐานดังกล่าวมิได้ช่วยเสริมฐานพระเจดีย์หลวงให้มีความแข็งแรงขึ้นแต่
ประการใด นอกจากน้ีขนาดของอิฐและเทคนิคลวดลายการป้ันปูนประดับช่องไม้บริเวณหน้ากระดาน
ของทง้ั สองตาแหน่งก็มีความแตกต่างกัน ดังน้ันจึงเชื่อว่าแนวก่ออิฐรอบฐานพระเจดีย์หลวงน่าจะเป็น
งานบรู ณะในสมัยหลงั หรอื อยา่ งน้อยกค็ วรสรา้ งหลงั จากทม่ี ีการสร้างบันไดนาคเสรจ็ เรียบร้อยแล้ว

รูปที่ 27: รอ่ งรอยปนู ปัน้ แนวกอ่ อฐิ รอบฐานพระเจดีย์หลวง(ด้านทิศใต)้
ทมี่ า: สารวจวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รูปท่ี 28: รอ่ งรอยปูนป้ันประดับสว่ นฐานรองรับบนั ไดนาคพระเจดยี ห์ ลวง(ด้านทิศเหนอื )
ท่ีมา: สารวจวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ถัดข้ึนมาจากชั้นเขียงเป็นชุดฐานบัวคว่า-บัวหงาย ประกอบด้วย บัวคว่า
หน้ากระดานและบัวหงาย ซ่ึงชุดฐานแบบน้ีเป็นองค์ประกอบของฐานเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา
ในช่วงต้นพทุ ธศตวรรษที่ 21 และมกี ารพัฒนาให้สว่ นฐานยืดสูง มอี งค์ประกอบมากข้ึนในสมัยต่อมา

46

2.1.2 ชน้ั ประทกั ษณิ และบันไดนาค
เหนือชุดฐานบัวคว่า-บัวหงาย เป็นชั้นประทักษิณที่มีระเบียงล้อมรอบ
สามารถเดินเวียนประทักษิณโดยรอบเรือนธาตุได้ มีลักษณะเป็นชั้นเขียงยกสูงประดับประติมากรรม
รูปช้างปูนปั้นคร่ึงตัวโดยรอบ(รูปที่ 29) ซึ่งในการสารวจขุดค้นเพื่อเตรียมการบูรณะพระเจดีย์หลวงปี
พ.ศ. 2529 พบว่าท่ีหน้ากระดานรอบฐานชั้นนี้มีช้างปูนปั้นคงเหลือสมบูรณ์เพียงตัวเดียวอยู่ทางด้าน
ทิศใต้เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบหลักฐานเป็นส่วนเท้าหน้าของช้าง 3 คู่ และพบช้ินส่วนตัวช้างท่ี
พังทลาย คงเหลือให้เห็นว่าเป็นรูปช้างที่ก่อด้วยอิฐภายในแล้วปั้นปูนภายนอก ปัจจุบันได้ถูกบูรณะ
หมดแลว้ จากรอ่ งรอยที่ปรากฏจานวนช้างทีป่ ระดบั อยโู่ ดยรอบจานวน 28 ตวั 17

รูปท่ี 29: ชนั้ ประทกั ษิณพระเจดยี ห์ ลวงมรี อ่ งรอยประดบั ช้างปนู ป้นั โดยรอบฐานช้ันน้จี านวน 28 ตัว
ทม่ี า: สารวจวนั ท่ี 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

เจดียท์ มี่ ีฐานชา้ งลอ้ มมีปรากฏมาแล้วท้ังในศิลปะพม่าแบบพุกามและศิลปะ
สุโขทัย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกา และต่างก็เป็นแรงบันดาลใจท่ีสาคัญให้ศิลปะล้านนา
ระยะแรก สันนิษฐานว่าล้านนาคงรับเอาอิทธิพลช้างล้อมมาพร้อมๆ กับการรับพุทธศาสนาลังกาวงศ์
อาจมีมาแล้วตง้ั แตส่ มัยของพระเจา้ กอื นา ช่วงตน้ พุทธศตวรรษท่ี 20 โดยเจดีย์ช้างล้อมท่ีปรากฏข้ึนใน
ลา้ นนาเปน็ แหง่ แรก คือ เจดยี ์วัดสวนดอก เมืองเชียงใหม่ เป็นเจดีย์ทรงกลมต้ังอยู่บนช้ันประทักษิณท่ี
มีช้างล้อม มีความเก่ียวข้องกับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์สานักรามัญที่พระสุมนเถรนามาเผยแผ่
ในแคว้นล้านนา18 รูปแบบเจดีย์แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา ที่มีทั้งอิทธิพล
ศิลปะพุกามและศลิ ปะสโุ ขทัย19 ตอ่ มาในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ไดป้ รากฏเจดยี ช์ ้างล้อมที่สาคัญ
อีกแห่ง ได้แก่ เจดีย์วัดป่าแดงหลวง(ร้าง) เมืองเชียงใหม่(รูปที่ 30-31) มีลักษณะเป็นเจดีย์ส่ีเหล่ียม
ผสมทรงกลม รูปแบบเปรียบเทียบได้กับเจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย(รูปท่ี 20) คือ ส่วนฐาน

17 วิเศษ เพชรประดับ, รายงานการขดุ ค้นศึกษาเพือ่ เตรียมการบูรณะพระเจดียห์ ลวง อ.เมือง จ.
เชียงใหม,่ 18, 33.

18 สรุ พล ดารหิ ์กลุ , เจดยี ์ช้างลอ้ มกบั ประวัตศิ าสตร์บา้ นเมอื งและพระพทุ ธศาสนาลังกาวงศ์ใน
ประเทศไทย, (กรงุ เทพฯ : สานกั พมิ พแ์ ห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั , 2554), 259.

19 ศกั ดชิ์ ัย สายสงิ ห,์ ศิลปะล้านนา, (กรงุ เทพฯ : มติชน, 2556), 91.

47

ประดบั ชา้ งลอ้ ม20 มกี ารเจาะช่องจระนาประดิษฐานพระพุทธรูปด้านละ 5 องค์ ส่วนรองรับองค์ระฆัง
เป็นชุดบัวถลา 3 ฐาน และมีบัลลังก์ในผังสี่เหลี่ยม ซ่ึงเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังแบบ
สโุ ขทยั 21

รูปท่ี 30: เจดีย์วัดปา่ แดงหลวง(รา้ ง) จ.เชียงใหม่ รูปที่ 31: ภาพลายเสน้ เจดยี ์วัดปา่ แดงหลวง(รา้ ง)
ท่ีมา: สารวจวันที่ 22 มนี าคม พ.ศ. 2555 จ.เชียงใหม่

มีข้อน่าสังเกตว่าการประดับช้างรอบฐานเจดีย์ในล้านนา ไม่ได้พบเฉพาะ
เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยเท่าน้ัน โดยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ได้ปรากฏการประดับช้างรอบฐาน
เจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ในล้านนาด้วย ซึ่งพบท้ังเจดีย์ทรงปราสาทยอดที่มีช้างประดับรอบช้ัน
ประทกั ษิณ และเจดยี ์ทรงปราสาทยอดท่มี ชี ้างประดับรอบฐานเจดีย์โดยไม่มีชั้นประทักษิณ ท้ังหมด 3
แห่ง ได้แก่ พระเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง เจดีย์วัดเชียงม่ัน(รูปท่ี 32-33) จังหวัดเชียงใหม่ และเจดีย์
วัดหัวหนอง(ร้าง) (รูปที่ 34) เวียงกุมกาม22 ซึ่งเจดีย์ลักษณะนี้ไม่เคยปรากฏในศิลปะอื่นมาก่อน
ดังนน้ั จึงน่าจะเปน็ รปู แบบทีพ่ ฒั นาขึ้นมาในศิลปะลา้ นนาเอง

20 ปจั จุบันไมป่ รากฏช้างปูนปัน้ เหลอื อยแู่ ลว้ แต่ได้รับการยืนยันวา่ ในอดีตมีหลักฐานของชา้ งปนู ป้นั
ประดับอยู่ท่ฐี านเจดยี แ์ หง่ นี้ ดใู น พิเศษ เจียจนั ทรพ์ งษ,์ “โบราณสถานในแคว้นล้านนา”, การขึ้นทะเบียน
โบราณสถานภาคเหนอื , กรมศลิ ปากร จดั พมิ พ์ พ.ศ. 2525, 6-7.

21 สรุ พล ดารหิ ์กลุ , เจดีย์ชา้ งลอ้ มกบั ประวตั ศิ าสตร์บ้านเมอื งและพระพุทธศาสนาลงั กาวงศใ์ น
ประเทศไทย, 195.

22 เรือ่ งเดียวกนั , 259.

48

รปู ที่ 32: เจดยี ว์ ัดเชยี งมั่น จ.เชียงใหม่ รูปท่ี 33: ภาพลายเส้นเจดียว์ ดั เชยี งมั่น จ.เชียงใหม่
ท่มี า: สารวจวันท่ี 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รปู ท3่ี 4: เจดยี ์วดั หัวหนอง(ร้าง) เวยี งกุมกาม
ทม่ี า: www.sarapee.ac.th/www/picture/
huanong_2.jpg

รปู แบบศิลปกรรมชา้ งลอ้ มที่ช้ันประทกั ษิณพระเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
มีลักษณะเป็นช้างปูนปั้นขนาดใหญ่ยืนสองขาหน้าโผล่คร่ึงตัวออกมาจากผนัง(รูปท่ี 35) ลักษณะช้าง
ปูนปั้นท่ปี รากฏมีรูปแบบเหมอื นกบั ช้างล้อมทเี่ จดีย์วดั ป่าแดงหลวง(รา้ ง) และเจดยี ว์ ัดเชยี งมั่น ซ่ึงเจดีย์
ท้ังสามแห่งล้วนสร้างและบูรณะคร้ังสาคัญในสมัยพระเจ้าติโลกราช อย่างไรก็ตามสุรพล ดาริห์กุล ได้
วิเคราะห์ว่ารูปแบบของช้างปูนปั้นประดับฐานเจดีย์เหล่าน้ี ไม่น่าจะมีความสัมพันธ์กับอายุสมัยของ
เจดีย์ช้างล้อมแต่อย่างใด แต่น่าจะเป็นหลักฐานท่ีแสดงถึงความนิยมนาช้างล้อมมาประดับส่วนฐาน
เจดีย์ในสมัยพระเจ้าติโลกราชได้เป็นอย่างดี23 สอดคล้องกับประวัติความเป็นมาของวัดเจดีย์หลวงที่
กล่าวถึงการปรับเปล่ียนรูปแบบเจดีย์ครั้งสาคัญในสมัยพระเจ้าติโลกราชในปี พ.ศ. 2022 ว่าได้มีการ

23 เรอ่ื งเดยี วกนั , 259.

49

นาช้างล้อมมาประดับท่ีส่วนฐานพระเจดีย์หลวงด้วย ซึ่งตามคติการสร้างช้างล้อมในพระพุทธศาสนา

หมายถึง ช้างเป็นผู้ค้าจุนจักรวาล เปรียบเสมือนเจดีย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดังน้ันการนาช้าง

ล้อมมาประดับฐานเจดีย์ จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นสถานท่ีศักดิ์สิทธิ์และเน้นถึงความสาคัญ

ของเจดีย์แห่งนั้นน่ันเอง ส่วนการนาช้างล้อมมาประดับท่ีฐานเจดีย์ทรงปราสาทน้ัน นับเป็นรูปแบบที่

เกดิ ขน้ึ ใหมใ่ นสมัยพระเจ้าติโลกราช ซ่งึ นา่ จะเรมิ่ มาจากการเข้ามาของศาสนาพุทธลังกาใหม่ นิกายวัด

ป่าแดง โดยกล่มุ พระภิกษุที่ได้เดินทางไปสืบศาสนาในลังกาและกลับมาเผยแผ่ในอยุธยา สุโขทัย และ

ล้านนา แล้วมารุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าติโลกราช ซ่ึงเป็นยุคทองของล้านนา ทาให้ลักษณะงาน

ศิลปกรรมท่ีปรากฏในสมัยนี้ออกมาในรูปแบบท่ีหลากหลาย โดยในระยะแรกพระเจ้าติโลกราชได้นา

ช้างล้อมมาประดับฐานเจดีย์ทรงระฆังซ่ึงมีลักษณะเหมือนเจดีย์ช้างล้อมในสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์วัดป่า

แดงหลวง ซึ่งปรากฏรูปแบบและอิทธิพลศิลปะสุโขทัยค่อนข้างชัดเจน ต่อมามีการพัฒนาโดยประดับ

ช้างล้อมที่ฐานเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ด้วย ได้แก่ พระเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง และวัดเชียงมั่น

จังหวัดเชยี งใหมต่ ามลาดบั หลกั ฐานช้างปูนปั้นท่ีเหลอื สมบรู ณ์

ช้างปูนปั้น สร้างขนึ้ ใหม่โดยกรมศลิ ปากร เพียงตัวเดยี ว (ดา้ นทศิ ใต้)

รูปที่ 35: ชา้ งปนู ป้นั ขนาดใหญย่ ืนสองขาหน้าโผล่ครึง่ ตัวออกมาจากผนงั ประดับรอบช้นั ประทกั ษณิ วัดเจดยี ห์ ลวง
ที่มา: สารวจวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จากการสารวจขุดแต่งโดยกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2529 พบว่าบริเวณ
ระเบียงชั้นประทักษิณล้อมรอบเรือนธาตุด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้มีการก่อเรียงอิฐเป็นแนวยาวคล้าย
กาแพงเสริมระเบียงท่ีพังทลาย ซ่ึงอิฐที่ใช้ก่อมีลักษณะเป็นอิฐหักคร่ึงแผ่นและมีขนาดเดียวกับอิฐท่ีก่อ
เสริมฐานชั้นแรกครั้งหลังสุด ดังน้ันแนวอิฐที่ก่อเสริมบริเวณระเบียงชั้นประทักษิณน้ีและแนวอิฐเสริม
ฐานช้นั แรกครั้งหลังสุดนา่ จะทาขึ้นในสมยั เดียวกัน โดยก่อข้ึนเพ่ือป้องกันดินและอิฐไม่ให้หล่นลงเบื้อง
ลา่ ง ซึ่งเป็นการก่อขึ้นภายหลังจากเจดีย์พงั ทลายแล้ว24

ท่หี นา้ กระดานของระเบียงชัน้ ประทกั ษณิ มกี ารเจาะช่องกระจกโดยรอบ(รูป
ที่ 36) บางส่วนยังคงปรากฏร่องรอยปูนป้ันประดับตกแต่งอยู่ เป็นรูปกรอบวงโค้งหลายวงชนกัน มี
ลักษณะคล้ายกับลายกรอบคดโค้งบนเครื่องถ้วยจีน อันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะจีนที่มีต่อ

24 วเิ ศษ เพชรประดับ, รายงานการขดุ คน้ ศึกษาเพอ่ื เตรยี มการบูรณะพระเจดยี ห์ ลวง จ.เชยี งใหม่,
19.

50

ศิลปกรรมล้านนาในระยะน้ี โดยลายประเภทกรอบคดโค้งเป็นลายทีน่ ยิ มประดับที่หน้ากระดาน ซึ่งพบ
มาก่อนแล้วที่ลายปูนปั้นประดับเจดีย์วัดป่าสัก อ.เชียงแสน นอกจากน้ียังพบว่าช่องกระจกท่ีหน้า
กระดานระเบียงชั้นประทักษิณน้มี ลี ักษณะคลา้ ยกบั ชอ่ งกระจกประดับฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยซึ่ง
พบท่วี ัดเจดียห์ ลวง จ.เชยี งใหม่ โดยมีจารึกท่ีฐานระบุว่าสรา้ งในปี พ.ศ. 202525 (รูปที่ 37) ซึ่งส่วนฐาน
ของพระพุทธรูปในกลุ่มนี้มีลักษณะสาคัญ คือ มักทาฐานหน้ากระดานท่ีเจาะช่องคล้ายกับลายช่อง
กระจก และส่วนหน่ึงมีจารึกที่ฐานท่ีสามารถกาหนดอายุได้ว่าอยู่ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช26 และมี
รูปแบบเดียวกับช่องท้องไม้ท่ีหน้ากระดานฐานบัวรองรับบันไดมกรคายนาค(รูปท่ี 38)ด้วย จาก
หลักฐานดังกล่าวจึงเชื่อว่าปูนปั้นลายช่องกระจกท่ีระเบียงชั้นประทักษิณ และช่องท้องไม้ท่ีหน้า
กระดานฐานบัวรองรับบันไดมกรคายนาครวมถึงช่องกระจกที่ฐานพระพุทธรูปที่พบในวัดเจดีย์หลวง
น่าจะเป็นงานสร้างในสมัยเดยี วกนั คือในสมยั พระเจา้ ติโลกราช

รูปที่ 36: ช่องกระจกทหี่ น้ากระดานระเบียงชั้นประทักษิณ วัดเจดยี ห์ ลวง จ.เชยี งใหม่
ทีม่ า: สารวจวนั ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รปู ท่ี 37: พระพทุ ธรปู ปางมารวชิ ยั และลายเสน้ วัดเจดยี ห์ ลวง จ.เชยี งใหม่ รปู ท่ี 38: ช่องท้องไม้ที่หนา้ กระดานฐานบวั
ทมี่ า: พระพทุ ธรปู ในประเทศไทย รูปแบบ พฒั นาการและความเช่อื ของ รองรับบนั ไดมกรคายนาค (ทิศตะวนั ออก)
คนไทย ที่มา: สารวจวนั ท่ี 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

25 ศกั ดช์ิ ยั สายสงิ ห์, พระพทุ ธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเช่ือของคนไทย,
(กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556), 310. และ A.B.
Griswold. Dated Buddha Images of Northern Siam, p.41. และ Jean Boisselier. La Sculpture en
Thailand, No 10, Pl. VIII.

26 เรื่องเดยี วกนั , 309-310.

51

บรเิ วณตรงกลางของระเบียงช้ันประทกั ษิณแต่ละดา้ นมีบันไดทอดยาวต้ังแต่
พื้นขึ้นมาสู่ระเบียงหน้าซุ้มเรือนธาตุท้ังส่ีทิศ บันไดทาเป็นมกรคายนาค 5 เศียร(รูปที่ 39) ตั้งอยู่บน
ฐานบัวคว่า-บัวหงาย อยู่บนพ้ืนระดับเดียวกับฐานชั้นแรก จากการขุดค้นโดยกรมศิลปากรปี พ.ศ.
2529 พบว่าเศียรนาคมีลักษณะค่อนข้างชารุดเป็นส่วนมาก มีเหลือหลักฐานเป็นลวดลายปูนปั้น
ประดับที่ตัวนาคด้านทิศเหนือเพียงบางส่วน ทาให้ทราบว่าตัวมกรคายนาคน้ันเป็นลักษณะงานก่ออิฐ
ภายในป้ันปูนประดับลวดลายภายนอก ราวบันไดทาด้วยศิลาแลงพอกปูน ตรงกลางทางข้ึนทาเป็น
ข้ันบันไดต้ังแต่พ้ืนข้ึนไป ลักษณะของขั้นบันไดก่ออิฐเรียงซ้อนกัน 4 ก้อน และด้านบนก่อทับด้วยศิลา
แลงอีก 1-2 ก้อน ฉาบปูนภายนอก ระหว่างบันไดกับตัวนาคทาเป็นช่องพื้นฉาบปูนลาดเอียงขนานลง
มากับบันได สันนิษฐานว่าทาไว้สาหรับเพื่อประโยชน์เป็นทางระบายน้าจากพื้นระเบียงด้านบน และ
เพอ่ื ปอ้ งกันรักษาลายปนู ปั้นท่ปี ระดบั ตวั มกรคายนาคดังกลา่ ว27

ชอ่ งฉาบปูนเรยี บ เป็นทางระบายนา้

ขั้นบันไดปรากฏเพยี งดา้ นทิศตะวนั ออกด้านเดียว
อีก 3 ดา้ นฉาบปูนเรยี บ

มกรคายนาค 5 เศยี ร

รปู ท่ี 39: บนั ไดมกรคายนาคทิศตะวันออก พระเจดยี ห์ ลวง
ทมี่ า: สารวจวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นอกจากนี้ในเอกสารการขุดค้นพระเจดีย์หลวงฉบับดังกล่าว ยังระบุถึง
บนั ไดทกุ ดา้ นมลี ักษณะกอ่ อิฐฉาบปูนเรยี บไม่มีขึ้นบันได มีเพียงบันไดทางด้านทิศตะวันออกเท่านั้นท่ีมี
ร่องรอยของขั้นบันไดทางขึ้นไปสู่ระเบียงช้ันประทักษิณด้านบนได้เพียงด้านเดียว โดยได้วิเคราะห์ว่า
การทบ่ี ันไดมลี ักษณะฉาบปูนเรียบน้ันแสดงให้เห็นว่าผู้สร้างเจาะจงมิให้ใช้ประโยชน์เป็นบันไดทางขึ้น
การจะขนึ้ ไปสู่ชัน้ ประทักษิณชนั้ บนน่าจะขึ้นจากทางอุโมงค์เชิงบันไดชิดฐานเจดีย์ที่มีอยู่ท้ัง 4 ด้าน ใน
เวลาต่อมาพระเจดีย์หลวงคงมีสภาพชารุด เป็นเหตุให้อุโมงค์บางแห่งทรุดโทรมเสียหาย ดังน้ันจึงได้มี
การก่อปดิ ภายในอุโมงคเ์ ป็นบางชว่ งในสมัยพระเมืองแก้วเพื่อเสริมยันมิให้อุโมงค์ทรุดตัวลงมา รวมทั้ง
ก่ออิฐฉาบปนู ปิดปากอุโมงคท์ างขึ้นเกอื บท้ังหมด ยกเว้นด้านทิศเหนือ และได้ก่อเสริมอิฐเป็นขั้นบันได

27 วเิ ศษ เพชรประดับ, รายงานการขดุ ค้นศกึ ษาเพื่อเตรียมการบูรณะพระเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่,
15.

52

เพ่ือขึ้นไปสู่ระเบียงช้ันบนเฉพาะด้านทิศตะวันออก ส่วนบันไดด้านอ่ืนๆ คงก่อเรียบมิให้ข้ึนได้เช่นเดิม
โดยหลกั ฐานเห็นไดช้ ัดเจนจากการขดุ ค้นทางโบราณคดีดงั กล่าว28

แตเ่ มือ่ ตรวจสอบภาพถา่ ยเกา่ กอ่ นการบูรณะพระเจดีย์หลวง(รูปที่ 40) ถ่าย
เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดย Scott Holcomb พบว่าบริเวณบันไดทางด้านทิศเหนือยังคงปรากฏร่องรอย
ข้นั บันไดทางข้นึ คอ่ นข้างชดั เจน ดังนน้ั ประเด็นทมี่ ีผู้สันนิษฐานว่าผู้สร้างพระเจดีย์หลวงมิได้จงใจสร้าง
บันไดทางขน้ึ ตัง้ แตแ่ รก จึงทาบันไดฉาบปนู เรยี บทัง้ 4 ด้าน แล้วต่อมาในสมัยพระเมืองแก้วจึงก่อเสริม
อฐิ เปน็ ขั้นบนั ไดเฉพาะด้านทศิ ตะวนั ออกเพยี งดา้ นเดยี วน้ันไมน่ า่ จะเปน็ ไปได้ จากหลักฐานที่ปรากฏใน
ภาพจึงเชื่อว่า ในอดีตน่าจะมีการทาข้ันบันไดครบท้ัง 4 ด้าน เพื่อใช้เป็นทางขึ้นไปสู่ช้ันประทักษิณ
ด้านบน แต่อาจมีการปรับเป็นทางลาดในการบูรณะคร้ังใดคร้ังหน่ึงในภายหลัง เน่ืองจากพระเจดีย์
หลวงมีสภาพทรุดโทรมและเกรงว่าอาจเกิดอันตรายข้ึนได้ ดังน้ันจึงได้มีการดัดแปลงทาให้บันไดมกร
คายนาคทุกด้านยกเว้นบันไดทิศตะวันออก มีลักษณะเป็นการก่ออิฐฉาบปูนเรียบไม่มีขั้นบันไดอย่างที่
ปรากฏในปจั จบุ ัน(รปู ที่ 41)

มีขน้ั บนั ได ก่ออิฐฉาบปูนเรียบ
ไม่มีขนั้ บันได

รปู ท่ี 40: พระเจดียห์ ลวง ด้านทศิ เหนอื ปพี .ศ.2517 รปู ที่ 41: พระเจดีย์หลวง ด้านทิศเหนอื (ปัจจุบนั )
โดย Scott Holcomb ที่มา: สารวจเม่อื วนั ท่ี 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ทม่ี า: www.flickr.com/photos/scottholcomb/
5511436940/in/photostream/

28 เร่อื งเดียวกัน, 38.

53

2.1.3 อโุ มงค์ใตฐ้ านเจดีย์ ช่องทางเข้าอุโมงค์ท่ถี กู ก่ออิฐปดิ แล้ว

ชอ่ งทางเขา้ อุโมงคท์ ่ยี งั ไม่ไดก้ ่ออฐิ ปิดทบึ

รูปที่ 42: อโุ มงคใ์ ตฐ้ านพระเจดยี ห์ ลวง ปจั จุบันถกู ก่ออิฐปิดเกอื บทกุ ด้าน เหลอื ให้เหน็ เป็นชอ่ งเพียง 2 ด้าน
ที่มา: สารวจเมอ่ื วนั ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บรเิ วณฐานเจดียท์ ีด่ ้านข้างบนั ไดทกุ ด้าน มีอุโมงค์หรือช่องทางเข้าไปภายใน
ฐานเจดีย์ได(้ รปู ที่ 42) แต่ถูกก่ออิฐปิดตันเกือบทุกด้าน เหลือให้เห็นเป็นช่องเพียง 2 ด้าน คือ ด้านทิศ
เหนอื พบข้างบนั ไดดา้ นซา้ ย และดา้ นทิศตะวันออกพบอยู่ข้างบันไดด้านขวา อุโมงค์มีลักษณะเป็นช่อง
ทางเดิน 2 ชั้น ผนังก่ออิฐเรียบท้ังสองด้าน อิฐที่ใช้ก่อมีขนาดเดียวกับส่วนอ่ืนของเจดีย์ ไม่มีร่องรอย
ฉาบปูน เพดานก่ออิฐแบบวงโค้งซ่ึงเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการก่อสร้างซุ้มประตูและอุโมงค์ในศิลปะ
พุกามทีส่ ามารถรบั น้าหนกั เคร่ืองบนได้เป็นอย่างดี ภายในอุโมงค์มีร่องรอยการแตกร้าวและทรุดตัวใน
บางแห่ง และมีการก่ออิฐอุดช่องอุโมงค์ในลักษณะของการค้ายันเพดานไม่ให้ทรุดเป็นระยะ โดยเมื่อ
ขุดเจาะแนวอฐิ ชั้นล่างทก่ี อ่ คา้ ด้านทิศเหนอื ต่อเน่ืองไปจนถึงส่วนหนึง่ ของทางเขา้ ทางทิศตะวันออก ทา
ให้เชื่อว่าอุโมงค์ช้ันล่างน้ีสามารถทะลุถึงกันได้โดยรอบท้ังส่ีด้าน(รูปท่ี 43) จากอุโมงค์ช้ันล่างมีช่อง
บันไดขึ้นไปสู่อุโมงค์ชั้นที่สอง(รูปที่ 44) ซึ่งมีความสูงใกล้เคียงกับช้ันแรกแต่มีความกว้างน้อยกว่า ที่
ส่วนปลายช่องอุโมงค์ช้ันบนเฉพาะด้านทิศเหนือท่ีได้มีการขุดสารวจ มีลักษณะเป็นบันไดทอดขึ้นไปสู่
ข้างบน แต่ส่วนปลายถูกก่ออิฐปิดตัน ทาให้ไม่มีช่องทางออกไปสู่ระเบียงชั้นบนได้29 เม่ือได้มีการขุด
เจาะอุโมงคท์ ะลุผ่านบริเวณระเบียงมมุ เรือนธาตุด้านทิศตะวนั ออกเฉยี งเหนือ เพ่ือพิสูจน์ข้อสันนิษฐาน
ทว่ี ่าในอดตี มีการใช้อโุ มงคเ์ พือ่ เป็นทางขึ้นไปสู่ระเบียงเรือนธาตุได้หรือไม่ พบว่ามิได้มีหลักฐานการก่อ

29 สรุ พล ดาริหก์ ลุ , “ปญั หาและความรูใ้ หมท่ เ่ี กีย่ วกับโบราณสถานพระเจดยี ห์ ลวง เมอื งเชยี งใหม่”
สมโภช 600 ปี พระธาตุเจดยี ์หลวง, 171.

54
ปิดอุโมงค์ไว้ตามข้อสมมุติฐานแต่ประการใด อุโมงค์คงจะทาไว้แต่แรกเพียงเท่าน้ี ลักษณะของอุโมงค์
สันนิษฐานว่าน่าจะมีลักษณะเหมือนกันทุกด้านที่เหลือ หรืออย่างน้อยก็มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับที่ขุด
คน้ ดงั กล่าว30

รูปท่ี 43: แผนผังแสดงชอ่ งทางเดนิ ภายในอุโมงคพ์ ระเจดยี ห์ ลวง
ที่มา: http://patirop.blogspot.com/2013/08/blog-post_28.html

รูปที่ 44: แผนผังแสดงช่องทางเดนิ ภายในอโุ มงค์พระเจดยี ์หลวง ทางดา้ นทศิ เหนือ
ท่มี า: http://patirop.blogspot.com/2013/08/blog-post_28.html

30 วิเศษ เพชรประดบั , รายงานการขุดค้นศึกษาเพื่อเตรยี มการบูรณะพระเจดียห์ ลวง จ.เชยี งใหม่,
17-18.

55

การศึกษาที่ผ่านมามีผู้สันนิษฐานว่า อุโมงค์ใต้ฐานเจดีย์ที่ปรากฏอยู่ข้าง
บันไดทุกด้านน้ัน น่าจะมีความสัมพันธ์กับบันไดนาคท้ังส่ีด้านซ่ึงมีลักษณะก่ออิฐฉาบปูนเรียบ ไม่มี
ขนั้ บันได ไม่สามารถใช้งานได้ จึงต้องใช้ทางเดินในอุโมงค์ใต้ฐานเจดีย์เป็นทางขึ้นไปสู่ลานประทักษิณ
รอบระเบียงเรอื นธาตดุ ้านบน ดังท่ีได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อข้างต้น แต่เม่ือตรวจสอบหลักฐานภาพถ่าย
เก่า(รูปท่ี 40) พบว่าในอดีต ก่อนการขุดค้นเพื่อบูรณะพระเจดีย์หลวง ปีพ.ศ. 2529 บันไดนาคยังคง
ปรากฏร่องรอยขั้นบันไดท้ังส่ีด้าน ดังนั้นการสร้างอุโมงค์ใต้ฐานพระเจดีย์หลวง อาจไม่ได้สร้างเพ่ือใช้
เป็นทางขึน้ ไปส่ลู านประทกั ษิณดงั ท่ีเคยมผี ู้สนั นิษฐานไวใ้ นอดตี ซ่งึ มขี อ้ สงั เกตดงั นี้

รูปท่ี 45: อนนั ทเจดีย์(Nanpaya) เจตยิ วิหารสมยั พุกามมที างเดนิ ประทักษณิ
ภายใน กอ่ อิฐแบบแนวตง้ั มีการเจาะชอ่ งเพ่ือให้แสงสว่างส่องเขา้ ไปภายในได้
ทม่ี า: ผศ.ดร.เชษฐ์ ติงสญั ชลี

การสร้างอุโมงค์ใต้ฐานเจดีย์ในศิลปะล้านนา น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากเจ
ติยวิหารในศิลปะพม่าแบบพุกาม(รูปที่ 45) ซ่ึงนิยมทาทางประทักษิณภายในเจดีย์สาหรับใช้เดิน
วนรอบแกนกลางและครรภคฤหะทั้งส่ีทิศ และอาจมีความสัมพันธ์กับการประดิษฐานพระบรม
สารีริกธาตุท่ีอยู่ภายในเจดีย์ด้วย กล่าวคือ ทางเดินภายในอุโมงค์ใช้สาหรับเดินเข้าไปบูชาพระบรม
สารีริกธาตุได้ โดยในตานานวัดเจดีย์หลวง ฉบับวัดหม่ืนล้าน ก็มีข้อความบรรยายถึงการประดิษฐาน
พระเกศธาตุและพระบรมสารีริกธาตุไว้ว่า พระเกศธาตุประดิษฐานในกระบอกไม้รวก(ไม้ไผ่) บรรจุใน
ผอบทองคา แล้วขุดหลุมลึก 5 วา ปูพ้ืนด้วยแผ่นศิลา แล้วตั้งแท่นวางผอบทองคาที่กลางหลุม บรรจุ
สิ่งของบูชาพระเกศธาตุ จากนั้นปิดผนึกห้องกรุ และพระอินทร์วางกลยันต์จักรผันหรือหุ่นพยนต์ดูแล
รักษาพระเกศธาตุ แลว้ จึงกอ่ พระเจดียส์ ูง 3 ศอกเบ้ืองบน31

31 จีราวรรณ แสงเพ็ชร์, ระบบการจัดและการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในประเทศไทย,
วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2552),
133. อ้างถึง ธรรมตานานกูฎาคารมหาเจดีย์หลวงกลางเวียงเชียงใหม่ ฉบับวัดหม่ืนล้าน (คัดลอกใบลาน โดย
พระภิกษุไชยวุฒิ วัดหม่ืนล้าน เม่ือปี พ.ศ. 2499 และแปลโดย นักวิจัยสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่),
เอกสารไมโครฟลิ ์ม หมายเลข 78.010L.01L.057-057, สถาบนั วิจยั สังคม มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ จังหวัดเชยี งใหม่.

56

ในลาดบั ตอ่ มาตานานได้กล่าวถงึ การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในสมัย
พญาแสนเมอื งมาว่าเร่มิ การวางฐานรากพระเจดีย์ ที่หอ้ งกลางตั้งต้นพระศรีมหาโพธ์ิเงินประดับทองคา
พระพทุ ธรปู ทองคาและเงิน เครื่องบูชาสักการะ จากน้ันจึงก่อสร้างสืบไป และได้มีการสร้างครอบคร้ัง
ใหญ่ในสมัยพระเจา้ ติโลกราช รวมถงึ การประดษิ ฐานพระบรมสารีริกธาตุใน “ท้องพระเจดีย์ หรือห้อง
พระเจดีย์” คือ เรือนธาตุ ประกอบด้วย พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่ ขนาดย่อย อัฐิพระธาตุสาวก
พระพุทธปฏมิ าทองคา เงิน แก้วผลึกและสาริดจานวนมาก รูปพระอัครสาวก สุพรรณบัตร แก้วแหวน
รวมทง้ั ของมีค่าตา่ งๆ ท่ีประชาชนถวายเปน็ พทุ ธบูชา32

จากข้อความในตานานข้างต้นสังเกตว่าระบบการจัดและรายละเอียดของ
ตาแหน่งการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุมีความหลากหลายท้ังตาแหน่งส่ิงของท่ีบรรจุ ซึ่ง
สอดคล้องกับการศึกษาจีราวรรณ แสงเพ็ชร์ ท่ีแบ่งการจัดและการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ภายในเจดยี ์ลา้ นนาไดเ้ ป็น 3 ระดบั คือ

ระดบั ส่วนฐาน บรเิ วณฐานพระเจดีย์ระดบั พื้นดิน
ระดับส่วนกลาง บริเวณส่วนกลางเรือนธาตุของเจดีย์ทรงปราสาท หรือ
สรา้ งภายในองค์ระฆงั ของเจดยี ท์ รงระฆงั
ระดับส่วนยอด เหนือเรือนธาตุเจดีย์ทรงปราสาทหรือบริเวณบัลลังก์และ
ส่วนยอดของเจดีย์ทรงระฆัง ซ่ึงห้องกรุในระดับส่วนยอดน้ีจะเป็นห้องกรุที่มีขนาดเล็กว่าห้องกรุระดับ
สว่ นกลางและห้องกรรุ ะดบั สว่ นฐาน
โดยการประดิษฐานพระเกศธาตุภายในพระเจดีย์หลวงครั้งแรกอยู่บริเวณ
ส่วนฐานตาแหน่งแกนกลางพระเจดีย์ระดับลึกจากพื้นดิน เป็นระบบการประดิษฐานท่ีนิยมกันใน
ระยะแรกซึง่ ได้รับอทิ ธพิ ลมาจากอินเดยี และศรีลงั กาโดยส่งตอ่ มายงั พม่าดว้ ย ส่วนการประดิษฐานพระ
บรมสารีริกธาตุในระยะต่อมาเร่ิมมีความหลากหลายท้ังในส่วนของระดับตาแหน่งการประดิษฐาน
รวมท้ังวัตถุส่ิงของที่บรรจุ โดยการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชนั้นอยู่
ในตาแหน่งเรือนธาตุ ทั้งน้ีอาจเนื่องจากเป็นการสร้างเจดีย์ใหม่ครอบเจดีย์องค์เดิมจึงไม่สามารถ
ประดิษฐานในระดับพื้นดินได้ อีกประการหนึ่งอาจเก่ียวกับระบบการแบ่งความสาคัญของสิ่งของท่ี
บรรจุ โดยห้องกรุระดับล่างสุดมีความสาคัญท่ีสุด โดยจะประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุร่วมกับพระ
พุทธปฏมิ าทส่ี ร้างด้วยวัสดตุ า่ งๆ คอื แก้วผลกึ งา สาริดและไมจ้ ันทน์ สาหรับห้องกรุช้ันบนจะบรรจุอัฐิ
ของพระสาวก และพระงา แสดงใหเ้ ห็นถงึ ความแตกต่างในการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับอัฐิ
พระสาวกท่ีจะไม่อัญเชิญมาประดิษฐานร่วมในตาแหน่งเดียวกัน ซ่ึงลักษณะดังกล่าวจะปรากฏสืบ

32 จรี าวรรณ แสงเพ็ชร์ อ้างถงึ ข้อความใน ธรรมตานานกูฎาคารมหาเจดยี ห์ ลวงกลางเวียงเชยี งใหม่
ฉบับวดั หมนื่ ล้าน, 10.

57

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์33 อย่างไรก็ตามการประดิษฐานพระเกศธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ
ดังกล่าว ไม่ว่าจะอยู่ในตาแหน่งใด ล้วนแสดงถึงความสาคัญของพระเจดีย์หลวงในฐานะเจดีย์ประจา
เมอื ง เป็นศูนย์กลางการปกครองและพทุ ธศาสนาทัง้ สนิ้ ซ่ึงการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุภายใน
องค์เจดีย์ลักษณะน้ีพบมาแล้วในเจติยวิหารในศิลปะพม่าแบบพุกาม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์
กันระหว่างเจติยวิหารในศิลปะพุกามกับพระเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการประดิษฐานพระ
บรมสารรี กิ ธาตภุ ายในห้องกรุของเจดยี ์และเจติยวิหารในสมัยพุกามแบง่ ได้ 3 ระดับเชน่ กนั คือ

ห้องกรุระดับล่างบริเวณส่วนฐาน เรียกว่า ออก ถาปนา แทค (auk htar-
pa-nar taik)

ห้องกรุระดับกลางบริเวณองค์ระฆังหรือห้องคูหาเจติยวิหาร เรียกว่า อแล-
ถาปนา แทค (alei htar-pa-nar taik)

ห้องกรุระดับบนบริเวณส่วนยอด เรียกว่า อแทะ ถาปนา แทค (ahtet
htar-pa-nar taik)34

นอกจากการสร้างทางเดินประทักษิณภายในเจดีย์และการประดิษฐานพระ
บรมสารีรกิ ธาตแุ สดงถึงอทิ ธพิ ลของเจติยวหิ ารในศลิ ปะพุกามแล้ว ยังมีเทคนิคการก่ออิฐแบบแนวตั้งท่ี
ปรากฏในศิลปะล้านนาก็เป็นเทคนิคที่ช่างพุกามนิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมเช่นกัน แต่เม่ือ
ศึกษาจากรูปแบบอุโมงค์ทางเดินใต้ฐานพระเจดีย์หลวงพบว่ามีความแตกต่างจากทางประทักษิณ
ภายในเจตยิ วิหารในศลิ ปะพกุ ามซ่งึ ไดร้ บั อทิ ธพิ ลมาจากสันธารปราสาทในเทวาลัยอินเดีย กล่าวคือ เจ
ติยวหิ ารหรือเทวาลัยที่มีทางประทักษิณอยู่ภายในทั้งศิลปะพุกามและศิลปะอินเดีย จะมีการเจาะช่อง
ประตูหรือช่องหน้าต่างให้แสงธรรมชาติผ่านเข้าไปภายในได้ ทาให้ทางประทักษิณภายในเจดีย์ไม่มืด
มาก และช่างจะออกแบบให้แกนกลางบริเวณส่วนฐานมีลักษณะทึบตันเพื่อทาหน้าท่ีรองรับน้าหนัก
ของเจตยิ วิหารชน้ั บน จงึ ทาให้สว่ นฐานมีความแข็งแรงและสามารถเดินวนรอบทางประทักษิณภายใน
เจดีย์ได้ ขณะที่ลักษณะอุโมงค์ใต้ฐานพระเจดีย์หลวงมีลักษณะก่ออิฐทึบตัน ผนังก่อเรียบท้ังสองด้าน
ไม่มีการเจาะช่องประตู-หน้าต่าง(รูปท่ี 46-47) ทาให้ทางเดินภายในอุโมงค์ค่อนข้างมืด บางช่วงของ
อุโมงค์มีขนาดความกว้างและความสูงไม่มากนัก เดินผ่านได้ไม่สะดวก นอกจากนี้การท่ีส่วนฐานพระ
เจดียห์ ลวงมลี ักษณะเปน็ ช่องอโุ มงคย์ าวไปจนถึงบรเิ วณใตเ้ รือนธาตุแทนที่จะทาให้แกนกลางของเจดีย์
เป็นแบบทึบตันเหมือนเจติยวิหารในศิลปะพุกาม อาจเป็นสาเหตุหน่ึงท่ีทาให้ฐานพระเจดีย์หลวงไม่
สามารถรับน้าหนักเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ด้านบนได้ จึงเกิดการทรุดตัว ต่อมาได้แก้ปัญหาโดยการก่ออิฐ
ค้ายันภายในอุโมงค์เป็นระยะๆ เพ่ือป้องกันไม่ให้เจดีย์ทรุดตัวไปมากกว่าเดิม และได้ปิดปากทางเข้า

33 จีราวรรณ แสงเพช็ ร์, ระบบการจัดและการประดษิ ฐานพระบรมสารรี ิกธาตุในประเทศไทย, 419.
34 เรื่องเดยี วกนั , 83.

58

อุโมงค์ทุกด้าน เหลือไว้เป็นช่องเพียง 2 ด้าน คือ ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก จึงทาให้ไม่สามารถ
ใช้ทางเดนิ ในอโุ มงคไ์ ด้อีก ดังนั้นข้อสันนิษฐานที่ว่าในอดีตต้ังใจสร้างอุโมงค์ใต้ฐานพระเจดีย์หลวงเป็น
ทางเดินไปสู่ลานประทักษิณด้านบนซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับบันไดนาคที่มีลักษณะเทปูนเรียบท่ีไม่มี
ขั้นบันไดนั้นจึงไม่น่าจะเป็นไปได้ เน่ืองจากถ้าต้องการใช้อุโมงค์เพ่ือเป็นทางเดินข้ึนไปสู่ลาน
ประทักษิณด้านบนจริง ภายในอุโมงค์น่าจะมีการเจาะช่องแสง รวมถึงลักษณะของอุโมงค์ควรมีความ
กว้างและความสูงมากกว่านเ้ี พอื่ ให้สะดวกตอ่ การใช้งาน โดยอาจเปรยี บเทียบได้กับอุโมงค์ใต้เจดีย์ท่ีวัด
อโุ มงค(์ สวนพทุ ธธรรม)(รปู ท่ี 48) จงั หวดั เชียงใหม่ ซึ่งมีอิทธิพลศิลปะพุกามค่อนข้างชัดเจน และมีการ
ทาทางเดินภายในอุโมงค์เช่นเดียวกัน แต่ลักษณะของอุโมงค์มีความสูงและความกว้างค่อนข้างมาก
และบางช่วงยังมีการเจาะช่องแสงเพื่อให้แสงจากภายนอกผ่านเข้ามา ทาให้สามารถเห็นรายละเอียด
ลวดลายภาพจิตรกรรมภายในอุโมงคไ์ ด้

รูปที่ 46: ทางเดินภายในอโุ มงค์พระเจดียห์ ลวง ลักษณะก่ออฐิ ทึบ ไม่เจาะช่องแสง มีบันไดขน้ึ ไปช้ันสอง
ทีม่ า: http://www.youtube.com/watch?v=7c66YxjysC4

รปู ท่ี 47: ทางเดินภายในอุโมงคพ์ ระเจดยี ์หลวง บางช่วงมีความสงู ไมม่ ากนกั
ท่มี า: http://www.youtube.com/watch?v=7c66YxjysC4

59

เพดานมภี าพจิตรกรรมฝาผนงั

เจาะชอ่ งแสงทอี่ โุ มงค์

รปู ท่ี 48: ทางเดินภายในอุโมงค์วดั อุโมงค(์ สวนพุทธธรรม) จ.เชียงใหม่ มกี ารเจาะช่องเพอื่ ให้แสงผา่ นเข้าไปภายในได้
ทีม่ า: สารวจวนั ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นอกจากน้ีที่มณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย บริเวณผนังอาคารด้านตัดตรง
ประตูทางเข้าเป็นอุโมงค์เดินเข้าไปภายในมณฑป ขนาดความสูงพอให้คนเดินได้(รูปท่ี 49) มีบันได
ทางเดินขึ้นไปทะลุด้านบนของอาคาร(รูปที่ 50) บริเวณเพดานมีการประดับภาพสลักชาดกบนแผ่น
หินชนวนและภาพจติ รกรรมฝาผนัง ซ่ึงอุโมงค์ท่ีวัดศรีชุมน้ีก็ปรากฏการเจาะช่องระบายอากาศให้แสง
สว่างผ่านเข้ามาภายในอุโมงค์ได้35 เช่นเดียวกับท่ีวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่เช่นกัน ซึ่งแตกต่างจาก
อุโมงค์ใต้ฐานพระเจดีย์หลวงที่มีลักษณะทึบตัน ทางเดินบางช่วงไม่สูงนักต้องหมอบหรือก้มคลานจึง
สามารถเดินผ่านได้ และภายในไม่มีการเจาะช่องแสงแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝา
ผนัง หรือภาพชาดกประดับภายในผนังหรือเพดานของอุโมงค์ดังเช่นเจดีย์วัดอุโมงค์และวัดศรีชุม
ดงั นัน้ อโุ มงคท์ างเดนิ ใตฐ้ านพระเจดียห์ ลวงจึงไมน่ ่าจะสร้างข้ึนเพื่อประโยชน์ให้เป็นทางเดินสาหรับข้ึน
ไปสู่ระเบียงลานประทักษิณด้านบนดังข้อสรุปข้างต้น แต่อาจสร้างข้ึนตามคติเพ่ือใช้เป็นทางสาหรับ
เข้าไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุที่อยู่ภายในองค์เจดีย์ โดยไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้
เสน้ ทางนไี้ ด้ เนื่องจากอุโมงค์มีขนาดเล็ก ไม่มีการเจาะช่องให้แสงผ่านเข้ามา และไม่สะดวกต่อการใช้
งานรองรับคนจานวนมาก

35 ดูใน สินชัย กระบวนแสง, รวมบทความเกีย่ วกบั สโุ ขทยั และศรสี ชั นาลยั , ภาควชิ าโบราณคดี
คณะโบราณคดี มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร (2546), 23. และโครงการอุทยานประวตั ิศาสตรส์ ุโขทัย รายงานการขดุ คน้
แหล่งโบราณคดี “วดั ศรชี ุม” 2524.

60

รูปที่ 49: ทางเดนิ ภายในอโุ มงคม์ ณฑปวัดศรีชุม จ.สโุ ขทยั รปู ท่ี 50: มมุ บนมณฑปวดั ศรีชมุ จ.สโุ ขทัย
ท่มี า: http://1.bp.blogspot.com/_XWRYVrcz_JY/TGfV ท่ีมา: http://ww1.hdnux.com/photos/
dByHNbI/AAAAAAAAABk/dzxIqW8hOdo/s400/6_6.JPG 12/21/36/2693052/6/628x471.jpg

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานจากเอกสารและ
หลักฐานท่ีได้ศึกษาเท่านน้ั แตเ่ นือ่ งจากปัจจุบันอุโมงค์ใต้ฐานพระเจดีย์หลวงมีสภาพทรุดโทรมและถูก
ก่ออฐิ ปิดทึบเป็นระยะๆ ทาใหไ้ ม่สามารถขุดค้นเพ่อื หาข้อสรุปไดว้ ่าอุโมงคน์ ี้สร้างเพ่ือประโยชน์ใด และ
กอ่ เสร็จไปจนถงึ ลานประทกั ษิณชน้ั บนไดห้ รอื ไม่ หรือกอ่ ไมเ่ สร็จคือ ทาไว้แต่เพียงน้ีแต่แรก ตามท่ีระบุ
ไวใ้ นรายงานการขดุ ค้นเมอ่ื ปี พ.ศ. 2529

2.2 ส่วนเรอื นธาตุ
ส่วนเรือนธาตุอยู่ในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ประดับซุ้มจระนาประดิษฐานพระพุทธรูปท้ัง 4
ด้าน ซงึ่ แบง่ การวิเคราะห์รายละเอยี ดส่วนต่างๆ ของเรือนธาตุไดด้ งั น้ี

2.2.1 เรือนธาตุ
ลักษณะของเรือนธาตุพระเจดีย์หลวงมีผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม มีมุมขนาดใหญ่
ทั้งมุมประธานและมุมที่เพ่ิม(รูปท่ี 51) ทาให้มีการอ้างอิงถึงรูปแบบท่ีสัมพันธ์กับปรางค์แบบอยุธยา
ตอนต้น36 (รูปท่ี 52) ซึ่งแตกต่างจากเจดีย์ทรงปราสาทของล้านนาในระยะแรกท่ีมีลักษณะเรือนธาตุ
เปน็ แบบส่ีเหล่ียมยกเก็จ37 (รูปท่ี 53) ท่ีเกิดจากการยกของเสารับซุ้มจระนา เป็นลักษณะท่ีสืบทอดมา

36 ที่ได้รับอทิ ธิพลมาจากศลิ ปะขอมมรี ะเบยี บท่เี ห็นได้ชัดเจนในรชั กาลของสมเดจ็ พระบรมไตร
โลกนาถ เช่น พระศรีมหาธาตเุ มอื งพษิ ณุโลก และพระศรีรตั นมหาธาตุ เมอื งเชลียง (ศรสี ัชนาลยั ) โปรดดู สันติ เลก็
สขุ ุม, ศลิ ปะภาคเหนอื : หรภิ ุญชยั -ลา้ นนา, พมิ พค์ ร้งั ท่ี 3, (กรงุ เทพฯ : เมอื งโบราณ, 2555), 100, 175.

37 ที่เรียกวา่ เพ่มิ มมุ กับยกเก็จนน้ั (รูปที่ 54) แม้จะมลี กั ษณะการเพ่มิ จานวนมมุ จากเดมิ เช่นเดยี วกัน

แต่กม็ คี วามแตกต่างกนั โดยการเพมิ่ มุม หมายถงึ การเพม่ิ จานวนมุมยอ่ ยขนาบขา้ งมมุ เดมิ มุมเดมิ จงึ มฐี านะเป็นมมุ
ประธาน สว่ นยกเก็จเปน็ การเพ่ิมมมุ ทง้ั ทีด่ ้านและท่มี มุ ด้านสด่ี ว้ ย เสาประดับผนังทีน่ นู พน้ ระนาบผนงั หรอื เสา
ประดบั มุมของอาคารก็คือการยกเกจ็ เช่นกัน โปรดดู สันติ เล็กสุขมุ , รวมบทความ มุมมอง ความคิด และ
ความหมาย : งานช่างไทยโบราณ, (กรุงเทพฯ : เมอื งโบราณ, 2548), 101.

61

ต้ังแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา นิยมในงานก่อสร้างสายวัฒนธรรมทวารวดี ศิลปะขอม
สมัยกอ่ นเมืองพระนคร ศิลปะพกุ ามประเทศพม่า และศลิ ปะลา้ นนาระยะแรก38

ซ้มุ จระนา 4 ทิศ
มุมประธานขนาดใหญ่

รปู ที่ 51: เรือนธาตพุ ระเจดยี ห์ ลวง มซี ุ้มจระนาประดิษฐานพระพทุ ธรูปท้ัง 4 ทิศ
ท่มี า: สารวจวนั ท่ี 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

รูปท่ี 52: เรือนธาตผุ ังสเี่ หลยี่ มเพิม่ มุม มีมมุ ขนาดใหญท่ งั้ รปู ที่ 53: เรือนธาตุผังสเี่ หลยี่ มยกเกจ็ เจดยี ว์ ัดปา่ สัก

มมุ ประธานและมมุ ที่เพิ่ม เจดยี ์วดั สม้ จ.อยุธยา อ.เชียงแสน จ.เชยี งราย

ทม่ี า: สารวจวันท่ี 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ทม่ี า: สารวจวนั ที่ 24 มนี าคม พ.ศ. 2555

เพ่ิมมมุ ยกเกจ็

รูปท่ี 54: ลายเสน้ แสดงผงั เจดยี แ์ บบส่เี หล่ยี มเพ่มิ มุม(รปู ซ้าย) และเจดยี ์ผงั ส่เี หลยี่ มยกเกจ็ (รูปขวา)
ท่มี า: ปรับปรุงลายเส้นจากหนงั สอื รวมบทความ มมุ มอง ความคดิ และความหมาย: งานช่างไทยโบราณ

38 เรอื่ งเดียวกนั , 102.

62

โดยเรือนธาตทุ ม่ี ลี ักษณะเป็นส่ีเหลี่ยมเพ่ิมมุมและมีมุมประธานขนาดใหญ่น้ี
ยังปรากฏที่เจดีย์วัดป่าตาล(รูปท่ี 55) และกู่พระเจ้าติโลกราช วัดเจ็ดยอด(รูปที่ 56) จังหวัดเชียงใหม่
แต่ขนาดของมุมได้ลดขนาดเล็กลงแล้ว39 ซึ่งเจดีย์ทั้ง 3 แห่งเป็นเจดีย์ที่อยู่ในช่วงคร่ึงแรกของพุทธ
ศตวรรษท่ี 21 อนั เป็นหลักฐานแสดงถงึ การตดิ ตอ่ สมั พันธ์กนั ระหว่างล้านนาและอยุธยา โดยเฉพาะใน
สมัยพระเจ้าติโลกราชที่มีความสัมพันธ์กับอยุธยาค่อนข้างมากทั้งด้านการสงครามและศาสนา ซึ่ง
ปรากฏออกมาในรูปแบบของงานศิลปกรรมในสมัยน้ี ท่ีมีเปล่ียนแปลงรูปทรงเจดีย์และมีรูปแบบ
หลากหลาย

รปู ที่ 55: เรือนธาตเุ จดยี ์วดั ปา่ ตาล จ.เชยี งใหม่ รูปที่ 56: เรอื นธาตุกู่พระเจา้ ตโิ ลกราช วัดเจด็ ยอด จ.เชียงใหม่
ทม่ี า: สารวจวนั ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ท่ีมา: สารวจวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

รูปที่ 57: แนวอิฐก่อปิดทับบัวคว่าฐานเจดยี เ์ ดมิ จากการสารวจขุดค้นเม่ือปี พ.ศ. 2529
บริเวณเพมิ่ มมุ ซุ้มดา้ นทศิ ใตบ้ นระเบียงชัน้ พบว่าบริเวณเรือนธาตุของพระเจดีย์หลวงมีโครงสร้างที่
ประทักษิณ พระเจดยี ห์ ลวง ซึ่งเปน็ การแสดง ไม่สมดุลกับฐานหน้ากระดานท่ีรองรับ กล่าวคือ ฐาน
ความพยายามในการบูรณะหลงั การพงั ทลายลง หน้ากระดานทมี่ ชี ้างประดับน้นั มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม
มาคร้ังแรก จัตุรัส ซึ่งสัมพันธ์กับส่วนอ่ืนๆ ของเจดีย์ แต่เรือนธาตุ
ท่มี า: ศิลปากร ปี 32, ฉบับท่ี 1 (มี.ค.-เม.ย. , สี่เหลี่ยมเพ่ิมมุมน้ันมีลักษณะขยายยาวออกมาทางด้าน
2531) ทิศใต้ จึงดเู หมือนเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซ่ึงในรายงาน
ระบุว่าพบหลักฐานเกี่ยวกับการสร้างทับซ้อนบริเวณ
เรือนธาตุด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ภายหลัง คือ มีการก่อ
เสริมฐานย่อเก็จหนา 1 เมตรโดยใช้อิฐขนาดเดียวกับ
ของเดิมแลว้ ฉาบปนู และหลักฐานการสรา้ งทบั ซอ้ นจาก

39 จริ ศกั ด์ิ เดชวงศ์ญา, พระเจดีย์เมืองเชยี งแสน, 107, 112.

63

รอยแตกแยกของส่วนบัวหงายบริเวณมุมเรือนธาตุด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้อีกแห่งหนึ่งด้วย ซ่ึงจาก
หลักฐานดังกล่าวสันนิษฐานว่าน่าจะมีการสร้างซ้อนเรือนธาตุด้านทิศใต้ภายหลังจากท่ีเจดีย์พังทลาย
ลงมาแล้ว(รูปท่ี 57) เพ่ือค้ายันไม่ให้เจดีย์ด้านบนพังทลายลงมามากกว่าเดิม จึงเป็นเหตุให้ส่วนของ
เรือนธาตุโดยเฉพาะซุ้มเรือนธาตุด้านทิศใต้ขยายออกมาจนทาให้ระเบียงด้านน้ีแคบลงด้วย(รูปที่ 58)
และทาใหส้ ่วนของเรอื นธาตมุ ีขนาดไมส่ ัมพนั ธ์กับฐานชัน้ ล่างดงั กล่าวแล้วข้างตน้

รปู ที่ 58: ร่องรอยการกอ่ อิฐเสริมบรเิ วณเรือนธาตดุ า้ นทศิ ตะวนั ตกและทิศใต้ โดยก่อเลอ่ื มกันเป็นช้นั ข้ึนไป
ทาให้ระเบียงดา้ นน้แี คบลง
ทมี่ า: รายงานการบรู ณปฏสิ งั ขรณพ์ ระเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวงวรวหิ าร จงั หวดั เชยี งใหม่

2.2.2 ซุม้ จระนา (รูปท่ี 59)
เรือนธาตุประดับด้วยซุ้มจระนาท้ัง 4 ทิศ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ตัว
ซุ้มเป็นแบบซุ้มลดมีลักษณะก่ออิฐวงโค้งลึกเข้าไปภายในเรือนธาตุ โดยการซ้อนแบบจระนาซุ้มลดน้ัน
นยิ มทากนั มากในช่วงพทุ ธศตวรรษนี้ อาจเป็นการสืบทอดรูปแบบมาจากพุทธศตวรรษท่ี 20 หรืออาจ
เป็นการหยิบยืมรูปแบบซุ้มลดมาจากซุ้มโขง และกู่40 ส่วนกรอบซุ้มเป็นกรอบวงโค้งแบบซุ้มหน้านาง
ซึ่งเปน็ อิทธิพลศลิ ปะสโุ ขทยั โดยกรอบซมุ้ ลกั ษณะดังกล่าวพบมาก่อนแล้วท่ีเจดีย์วัดป่าแดงหลวง(ร้าง)
(รูปท่ี 60) ซ่งึ ปรากฏอิทธพิ ลศิลปะสุโขทยั ค่อนข้างชดั เจน

40 รุ่งโรจน์ ธรรมรงุ่ เรือง, “ซมุ้ จระนาของเจดยี ท์ รงปราสาทยอดในศิลปะลา้ นนา ระหว่างพทุ ธ
ศตวรรษที่ 19-21” ภาควิชาประวตั ศิ าสตร์ศลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร, 2541, 31.

64

รปู ที่ 59: ซมุ้ จระนาด้านทิศเหนอื พระเจดยี ์หลวง รูปท่ี 60: ซมุ้ จระนาเจดีย์วดั ปา่ แดงหลวง(ร้าง)
วดั เจดียห์ ลวง จ.เชยี งใหม่ จ.เชยี งใหม่
ทม่ี า: สารวจวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 ท่ีมา: สารวจวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สภาพของพระเจดีย์หลวงหลังจากท่ีได้พังทลายลงมา ปรากฏเหลือซุ้ม
จระนาที่อยู่สมบูรณ์อยู่เพียง 2 ด้านเท่านั้น คือด้านทิศเหนือ(รูปท่ี 59) และทิศตะวันออก(รูปท่ี 61)
สว่ นด้านทิศใต้(รปู ท่ี 62)และทศิ ตะวันตกนัน้ คงพงั ทลายมาหมดตั้งแต่ตอนต้นแล้ว โดยซุ้มจระนาด้าน
ทิศเหนืออยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ท่ีสุด ทาให้รับน้าหนักและรักษาส่วนมาลัยเถาเหนือเรือนธาตุ
ทางด้านน้ีไว้ได้มาก ทาให้ทราบถึงแบบแผนของลวดบัวของพระเจดีย์องค์น้ีได้ และคาดว่าซุ้มจระนา
ด้านอื่นน่าจะมีลักษณะเหมือนกัน สาหรับซุ้มจระนาด้านทิศตะวันออกจะเห็นได้ว่ามีการก่ออิฐปิดทึบ
ตั้งแต่ด้านล่างถึงส่วนบนของช่องซุ้มจระนา เปิดเพียงช่องเล็กๆ ตรงส่วนฐานด้านล่างไว้ ภายในมี
ลักษณะเปน็ โพรงมีพระพุทธรูปปูนปนั้ ขนาดใหญป่ ระดิษฐานอยู่ คล้ายกับซุ้มจระนาด้านทิศเหนือ โดย
มีผู้สันนิษฐานว่าการที่ซุ้มจระนาด้านทิศตะวันออกมีลักษณะแตกต่างไปจากซุ้มจระ นาด้านอื่นนั้น
เนอ่ื งจากเคยเปน็ ทสี่ าหรบั ประดษิ ฐานพระแกว้ มรกตมากอ่ น จงึ ได้มีการก่ออิฐปิดซุ้มด้านน้ีและทาช่อง
มีประตูปิดเปดิ ไดเ้ พื่อเปน็ การปอ้ งกันรักษาองค์พระแกว้ มรกต41

41 สรุ พล ดารหิ ก์ ลุ , “ปญั หาและความรใู้ หมท่ ีเ่ กย่ี วกบั โบราณสถานพระเจดยี ห์ ลวง เมืองเชยี งใหม่”
สมโภช 600 ปี พระธาตุเจดยี ห์ ลวง, 172-173.

65

ฐานชกุ ชภี ายในซ้มุ จระนาดา้ นทิศตะวันออก
สนั นษิ ฐานวา่ เคยเป็นทป่ี ระดิษฐานพระแกว้ มรกต

รปู ท่ี 61: ซมุ้ จระนาด้านตะวนั ออกพระเจดยี ์หลวง รปู ที่ 62: ซ้มุ จระนาดา้ นทิศใตพ้ ระเจดียห์ ลวง กอ่ นการบูรณะ

ก่อนการบูรณะ โดย สรุ เจตน์ เนื่องอัมพร (พ.ศ. 2505)

ทีม่ า: สมโภช 600 ปี พระธาตเุ จดยี ์หลวง ทีม่ า: https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hpho

tos -ak-ash2/s720x720/392134_384408424980083 _13

8258412_n.jpg

ในประเด็นนี้ สุรพล ดาริห์กุล ได้วิเคราะห์ว่าสาเหตุท่ีซุ้มจระนาด้านทิศ
ตะวันออกมีลักษณะแตกต่างจากซุ้มด้านอื่นนั้น เน่ืองจากเป็นการก่ออิฐเสริมขึ้นภายหลังจากที่พระ
เจดีย์หลวงได้พังทลายลงมาแล้ว เพ่ือการค้ายันและรับน้าหนักของอิฐส่วนที่เหลือด้านบนไม่ให้
พังทลายลงมาอกี แต่การที่ต้องเปิดเป็นชอ่ งไว้ ก็เพื่อสาหรับสักการบูชาเน่ืองจากภายในซุ้มดังกล่าวยัง
มีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่น่าสนใจประการสาคัญที่ซุ้มจระนา
ด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออกด้วย กล่าวคือ บริเวณผนังภายในซุ้มจระนาด้านทิศตะวันตกมี
ร่องรอยของการลงรักปิดทองทบั ซอ้ นกนั 2 ระยะอยา่ งเห็นได้ชัด หลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการ
การบูรณะคร้ังใหญ่โดยมีการลงรักปิดทองทับซ้อนของเดิมลงไปอีกหนึ่งครั้ง ซึ่งสุรพลได้วิเคราะห์ว่า
ร่องรอยการลงรักปิดทองผนังภายในซุ้มจระนาคร้ังแรกน่าจะอยู่ในช่วงแรกสร้างคร้ังรัชสมัยพระเจ้าติ
โลกราช ส่วนร่องรอยการลงรักปิดทองครั้งที่สอง คือ การบูรณะอีกครั้งในสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย
ดังปรากฏในเอกสารตามท่ีกล่าวมาแล้วในตอนต้น ซึ่งเม่ือได้มีการตรวจสอบที่ผนังของซุ้มจระนาด้าน
ทศิ ตะวันออก พบว่าท่ีผนังด้านในบางส่วนและส่วนที่อิฐก่อปิดทับนั้น มีร่องรอยของการทารักปิดทอง
สองช้ันเช่นเดียวกันกบั ทพี่ บในซุ้มทิศตะวันตก แสดงให้เห็นว่าซุ้มจระนาด้านทิศตะวันออกจะต้องเปิด
กวา้ งโดยไม่มีอะไรปิดอยตู่ ลอดมา และการก่ออิฐปดิ ซุม้ ดังทีเ่ ห็นในปัจจบุ ันเป็นการกระทาภายหลัง42

42 เร่อื งเดียวกัน, 173.

66

เมื่อตรวจสอบกับภาพถ่ายเก่าและเอกสารบันทึกการขุดค้นก่อนการบูรณะ
พระเจดีย์หลวงปี โดยสุวิน วัชรเสถียร ซึ่งเป็นผู้หน่ึงท่ีมีส่วนร่วมในการขุดค้นเพื่อหาแนวทางการ
บูรณะในปี พ.ศ. 2529 พบว่ามีความเห็นท่ีสอดคล้องกัน โดยสุวินเชื่อว่าบริเวณซุ้มจระนาด้านทิศ
ตะวันออกน้ีน่าจะเป็นงานสร้างเสริมขึ้นภายหลังจากท่ีเจดีย์ได้พังทลายลงมาในครั้งแรกแล้ว เพ่ือค้า
ยันผนังด้านข้างไม่ให้พังทลายลงมามากกว่าเดิม เนื่องจากลักษณะการก่ออิฐที่มีความหยาบตลอดจน
หลักฐานท่ีค้นพบน้ันขัดแย้งกับสภาพที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังปรากฏร่องรอยการก่ออิฐค้ายันผนัง
ดา้ นข้าง ในซมุ้ จระนาดา้ นทศิ ตะวนั ตก(รูปท่ี 63) และด้านทิศใต้(รูปท่ี 64-65) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความ
พยายามท่ีจะบรู ณะใหม่อีกครั้งแต่ไมส่ าเรจ็ คงเป็นลักษณะเช่นเดียวกับท่ีได้กระทาอยู่ที่ซุ้มจระนาด้าน
ทิศตะวันออก เพียงแต่ว่าวงโค้งของซุ้มด้านทิศตะวันตกและทิศใต้คงพังไปหมดแล้วก่อนหน้านี้ ดังน้ี
การกอ่ อิฐคา้ ยนั ผนงั จึงไม่สงู ถงึ วงโค้งของซุ้มเชน่ ด้านทิศตะวันออก43

รอ่ งรอยการกอ่ อฐิ คา้ ยนั ผนัง

รูปที่ 63: ภายในซุม้ จระนาดา้ นทศิ ตะวนั ตก
ภายหลงั การขุดคน้ ปรากฏรอ่ งรอยการกอ่
อิฐค้ายันผนังไวท้ งั้ สองดา้ น
ท่มี า: สมโภช 600 ปี พระธาตเุ จดยี ์หลวง

รูปท่ี 64: (รูปซา้ ย) ภายในซุ้มจระนาด้านทิศใตป้ รากฏรอ่ งรอยการกอ่ อิฐผนงั เพ่ือพยายามบูรณะใหมอ่ กี ครงั้ แต่ไม่สาเรจ็
รปู ท่ี 65: (รูปขวา) ภายในซมุ้ จระนาดา้ นทิศใตภ้ ายหลงั การขุดคน้ เรยี บรอ้ ยแลว้
ท่มี า: สมโภช 600 ปี พระธาตเุ จดยี ห์ ลวง

43 สวุ นิ วัชรเสถยี ร, “บันทึกอดตี พระเจดยี ห์ ลวง : คุณค่าและวญิ ญาณของลา้ นนาท่ไี มอ่ าจเรยี ก
กลับคนื มาได”้ สมโภช 600 ปี พระธาตุเจดียห์ ลวง, 178-181.

67

ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยกับการวิเคราะห์ของท้ังสองท่านข้างต้น ว่าแต่แรกซุ้ม
จระนาดา้ นทิศตะวนั ออกทเ่ี รือนธาตุพระเจดีย์หลวงน่าจะมีลักษณะแบบเดียวกับซุ้มจระนาอีก 3 ด้าน
ท่เี หลือ แตเ่ นอื่ งจากเจดีย์มีการพังทลายลงมา จึงได้มีการก่ออิฐเสริมผนังให้มีความแข็งแรงค้ายันผนัง
ส่วนทเ่ี หลือในภายหลัง เพ่ือไม่ให้เจดีย์พังทลายไปมากกว่าเดิม โดยเช่ือว่าถ้ามีความต้ังใจจะก่ออิฐปิด
ซุ้มจระนาด้านทิศตะวันออกเพื่อใช้สาหรับเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตซึ่งพระเจ้าติโลกราชได้
อัญเชิญมาจากเมืองลาปางมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวงจริง ลักษณะอิฐที่ก่อควรมีระเบียบเดียวกับ
อิฐท่ีใช้ก่อพระเจดีย์หลวงส่วนอ่ืนๆ และน่าจะปรากฏร่องรอยปูนปั้นประดับตกแต่งเพ่ือเน้น
ความสาคัญของซุ้มจระนาด้านน้ีมากกว่าจะเป็นเพียงการก่ออิฐเรียบๆ สูงถึงวงโค้งของซุ้มจระนาดังที่
ปรากฏในปจั จบุ ัน แต่จากรอ่ งรอยหลักฐานทพี่ บ จะเห็นว่าลักษณะการก่ออิฐและความหยาบของฝีมือ
ช่างท่ีปรากฏน้ัน ขัดแย้งกับลักษณะการก่ออิฐส่วนอื่นๆ ของเจดีย์ท่ีเป็นงานบูรณะต่อเติมในสมัยพระ
เจ้าติโลกราชเช่นเดียวกัน อย่างน้อยก็ควรมีระเบียบในการก่อสร้างแบบเดียวกัน นอกจากน้ีท่ีผนัง
ภายในซมุ้ จระนายังปรากฏร่องรอยการลงรักปิดทองทับกันถึง 2 ระยะท่ีซ่ึงมีลักษณะเหมือนกันทั้งซุ้ม
จระนาด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกน้ัน นับเป็นหลักฐานสาคัญอย่างหน่ึงที่แสดงให้เห็นว่าใน
อดีตซมุ้ จระนาดา้ นทศิ ตะวันออกน่าจะมีลักษณะเปิดกว้างเหมือนซุ้มจระนาด้านอ่ืน ผู้เขียนเชื่อว่าถ้ามี
การก่ออิฐปิดซุ้มจระนาด้านทิศตะวันออกในสมัยพระเจ้าติโลกราชเพื่อเป็นท่ีประดิษฐานพระแก้ว
มรกตตามท่ีเคยมีการสันนิษฐานไว้จริง ก็ไม่น่าจะปรากฏร่องรอยการลงรักปิดทองท่ีผนังภายในซุ้ม
จระนาด้านทิศตะวันออก ซึ่งบางส่วนของกาแพงอิฐที่ก่อได้ปิดทับร่องรอยลงรักปิดทอง 2 ชั้น
เช่นเดียวกับซุ้มจระนาด้านทิศตะวันตก โดยการปิดทองทับคร้ังท่ี 2 ควรจะเป็นการบูรณะในรัชสมัย
พระเจ้ายอดเชยี งราย โดยลกั ษณะการก่ออิฐปดิ ซุ้มจระนาดา้ นทิศตะวนั ออกที่กอ่ ปิดทึบเหลือเพียงช่อง
ขนาดเล็กตรงสว่ นฐานดา้ นลา่ ง ทาใหภ้ ายในซุม้ ดา้ นหลังกาแพงอิฐค่อยข้างมืด มองไม่เห็นรายละเอียด
ภายในมากนัก จึงไม่มีความจาเป็นที่จะต้องลงรักปิดทองภายในซุ้มดังกล่าวอีก ดังนั้นจึงเช่ือว่าซุ้ม
จระนาด้านทศิ ตะวันออกน่าจะมรี ปู แบบเหมอื นซุ้มจระนาด้านอื่นๆ ส่วนกาแพงอิฐท่ีก่อสูงถึงวงโค้งน้ัน
น่าจะเปน็ งานบูรณะในภายหลงั

2.3 สว่ นยอด (รปู ท่ี 66)
ถัดจากเรือนธาตุข้ึนไปก่ออิฐเป็นรูปหลังคาเอนลาดเพิ่มมุมต่อเน่ืองจากเรือนธาตุซ้อน
ลดหลั่นกัน 2 ชั้น ทุกมุมของชายคาหลังคาลาดมีร่องรอยประดับส่วนงอนขึ้นคล้ายท่ีเรียกว่า “หาง
วัน”44 และมีร่องรอยรูปสามเหลี่ยมประดับที่มุมของหลังคาลาดชั้นที่ 2 โดยแนวเอนลาดของหลังคา
ทรงปราสาทคงปรบั เปล่ยี นในคราวสรา้ งปฏสิ งั ขรณค์ ร้ังพระเจ้าติโลกราช ลักษณะเอนลาดของหลังคา

44 หางวัน เป็นศัพท์ทางเหนอื ใช้เรียกส่วนโค้งงอนทปี่ ระดบั ตรงมุมหลงั คา มรี ูปแบบและตาแหน่ง
เดยี วกบั หางหงส์

68

ดังกล่าวทาให้ไม่มีพื้นที่เพียงพอสาหรับประดับเจดีย์ท่ีมุมท้ังส่ี ดังน้ันเจดีย์หลวงจึงมีระเบียบกระพุ่ม
ยอดเดียว คือ มีเฉพาะยอดกลาง ไม่มีเจดีย์บริวารประดับที่มุม ซ่ึงการบูรณะพระเจดีย์หลวงในสมัย
พระเจ้าตโิ ลกราชนี้นบั เป็นการเปลย่ี นแปลงครั้งสาคัญของเจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะล้านนา เป็นการ
ผสมผสานระหว่างเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนากับเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด และพัฒนาจนเกิดเป็น
เจดีย์รูปแบบใหม่ คือ เจดีย์ทรงปราสาทยอดเดียวแบบล้านนา และเป็นต้นแบบให้เจดีย์ทรงปราสาท
ยอดองค์อืน่ ๆ ได้รับความนิยมสร้างเรอื่ ยมาจนกระทง่ั หมดยคุ ของศิลปะลา้ นนา

ชุดฐานบวั ถลาในผังแปดเหลี่ยม
ซ้อนกัน 3 ชน้ั

หลังคาลาดชัน้ ที่ 2
หางวนั หลังคาลาดช้นั ที่ 1

รปู ที่ 66: ส่วนยอดพระเจดียห์ ลวง ประกอบดว้ ย หลังคาลาดซ้อนกนั 2 ชัน้ ชดุ บวั ถลาในผงั แปดเหล่ยี ม รองรับองค์
ระฆงั ปล้องไฉน และปลยี อดตามลาดับ
ทีม่ า: สารวจวันท่ี 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะการปรับเปล่ียนรูปแบบเจดีย์จากเรือนชั้นซ้อนมาเป็นหลังคาลาดซ้อนกัน 2-3
ช้ันในเจดีย์ล้านนา น่าจะมีความสัมพันธ์กับเจติยวิหารในศิลปะพุกาม โดยเฉพาะเจติยวิหารที่มีการ
ทาทางประทกั ษณิ ภายในเจดีย์ ก็มักจะปรากฏการทาหลังคาลาดซ้อนชั้นรองรับส่วนยอด เช่น อนันท
เจดีย์ ในเมืองพุกาม แต่มีส่วนที่แตกต่างกันคือ เจติยวิหารในศิลปะพุกามมักนิยมสร้างเจดีย์ที่มีขนาด
ใหญ่จึงมีพ้ืนที่มากพอสาหรบั ประดบั สถูปิกะหรือเจดีย์จาลองที่บริเวณมุมของหลังคาลาดแต่ละชั้น(รูป
ที่ 67) ในขณะที่เจดีย์ในล้านนามีขนาดของเรือนธาตุท่ีเล็กกว่าทาให้ไม่มีพ้ืนท่ีเพียงพอต่อการประดับ
เจดีย์ท่ีมุมท้ังส่ี แต่ช่างได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการประดับด้วยหางวันและองค์ประกอบสามเหลี่ยมท่ี
บริเวณมุมของหลังคาลาดแทน(รูปท่ี 68) ซ่ึงจิรศักด์ิ เดชวงศ์ญา ได้วิเคราะห์ว่า ลักษณะการประดับ
ทรงสามเหลี่ยมเหนือเรือนธาตุและชั้นลดของเจดีย์ทรงปราสาทล้านนาน้ัน อาจได้รับอิทธิพลรูปแบบ
การประดับกลีบขนุนของปรางค์ที่ผ่านจากศิลปะสุโขทัย ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 มากกว่าที่จะ

69

ผ่านทางศิลปะอยุธยา ราวพุทธศตวรรษท่ี 2145 อันแสดงให้เห็นว่ามีการใช้องค์ประกอบสามเหล่ียม
ประดับท่ีส่วนเหนือเรือนธาตุเจดีย์ล้านนามาแล้วต้ังแต่ศิลปะล้านนาระยะแรก นอกจากนี้ที่เจดีย์วัด
พระยืน จงั หวัดลาพูน ซง่ึ สรา้ งข้นึ ในชว่ งพทุ ธศตวรรษที่ 20 มีการบูรณะครั้งสาคัญหลายคร้ัง แต่ยังคง
มีเค้าโครงท่ีพอศึกษารูปแบบบางประการได้บ้าง คือ เป็นเจดีย์ท่ีสร้างบนยกพื้นเป็นช้ันลดหลั่น มีชั้น
ประทักษิณด้านบน(รูปท่ี 69) เหนือเรือนธาตุเป็นหลังคาลาดรองรับชุดฐานซ้อนต่อยอดทรงระฆัง
บัลลังก์ และปล้องไฉน ซ่ึงก็ปรากฏการประดับรูปทรงสามเหล่ียมบริเวณมุมของหลังคาลาด(รูปท่ี 70)
เช่นเดียวกับพระเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่เช่นกัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การประดับองค์ประกอบ
สามเหลี่ยมดังกล่าวอาจเป็นรูปแบบงานประดับที่นิยมนามาใช้ประดับส่วนเหนือเรือนธาตุแทนการ
ประดับเจดยี จ์ าลองประจามมุ ของเจดียท์ รงปราสาทยอดล้านนาในสมยั นี้

รปู ที่ 67: ส่วนยอดเจตยิ ะวิหารศลิ ปะพุกามตอนต้น
มีการประดับสถูปิกะและองคป์ ระกอบสามเหล่ียม
บริเวณมมุ ของหลังคาลาดแต่ละชั้น
ทม่ี า: ผศ.ดร.เชษฐ์ ติงสญั ชลี

รปู ท่ี 68: บริเวณหลังคาลาดพระเจดียห์ ลวง มีการ
หางวันและองคป์ ระกอบสามเหลย่ี มลักษณะคลา้ ย
กลบี ขนนุ บริเวณมุมของหลังคาลาด
ที่มา: สารวจวนั ท่ี 21 ธนั วาคม พ.ศ. 2556

45 จิรศกั ด์ิ เดชวงศญ์ า, “องค์ประกอบสถาปัตยกรรมรปู สามเหล่ียมของเจดียล์ า้ นนามาจากไหน”
เมอื งโบราณ, ปที ่ี 27 ฉบบั ท่ี 3, (ก.ค.-ก.ย. 2544), 51-57.

70

รปู ที่ 69: เจดยี ์วดั พระยนื จ.ลาพนู เป็นเจดยี ์ทรง รปู ที่ 70: ส่วนยอดของเจดียว์ ัดพระยนื จ.ลาพนู มลี ักษณะ
ปราสาทยอด มีชนั้ ประทักษณิ ด้านบน โดยเจดียอ์ งค์ เปน็ ช้ันหลังคาลาดซ้อนลดหลน่ั กัน มีการประดบั องค์ประ
ปจั จบุ นั กอบสามเหลี่ยมบริเวณมมุ ของหลงั คาลาด
ที่มา: สารวจวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ทมี่ า: สารวจวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เหนือชัน้ หลงั คาลาดเปน็ ชุดบัวถลาในผงั แปดเหลี่ยมซ้อนลดหล่ันกัน 3 ช้ัน ซ่ึงควรรองรับ
องค์ระฆัง บัลลังก์ ปล้องไฉนและปลีตามลาดับ แต่ปัจจุบันพังทลายไปหมดแล้ว จากการศึกษาข้อมูล
ด้านเอกสารและงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ได้มีการเปรียบเทียบส่วนยอดของพระเจดีย์หลวง(รูปที่ 71)
กับส่วนยอดของเจดยี ์วดั เชยี งมัน่ (รูปท่ี 72) วา่ มคี วามคลา้ ยคลึงกัน แต่ยงั คงมีการถกเถียงกันว่ามีความ
ถูกต้องหรือไม่ และชุดบัวถลาในผังแปดเหล่ียมท่ีรองรับองค์ระฆังพระเจดีย์หลวงเป็นรูปแบบเดิมท่ีมี
การเปล่ียนแปลงในสมัยพระเจ้าติโลกราชหรือควรเป็นงานบูรณะในภายหลัง โดยมีข้อสังเกตและ
วิเคราะหไ์ ด้ดังน้ี

รูปที่ 71: (รูปซ้าย) สว่ นยอดพระเจดยี ์หลวง จ.เชยี งใหม่
รูปท่ี 72: (รูปขวา) ส่วนยอดเจดยี ว์ ัดเชียงม่นั จ.เชยี งใหม่
ท่ีมา: สารวจวนั ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

71

ประการแรก ที่มีผู้สันนิษฐานว่าส่วนยอดท่ีหายไปของพระเจดีย์หลวงน่าจะมีความ
คลา้ ยคลงึ กับเจดีย์วัดเชียงมั่นมากที่สุดนั้น เน่ืองจากมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมตั้งแต่ส่วนฐานถึงชุด
บัวถลาใต้คอระฆังทีใ่ กล้เคยี งกนั กลา่ วคือ เป็นเจดยี ์ทรงปราสาทยอดเดียวท่ีมีช้างล้อมท่ีฐาน มีหลังคา
ลาดในผังเพ่ิมมุมและมีระเบียบชุดบัวถลาในผังแปดเหลี่ยมรองรับองค์ระฆังท่ีเหมือนกัน นอกจากน้ี
ตามประวัติการก่อสร้างเจดีย์วัดเชียงม่ันได้มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช
เช่นเดียวกับพระเจดีย์หลวง46 ขณะเดียวกันก็มีนักวิชาการบางท่านท่ีไม่เห็นด้วยกับข้อสันนิษฐาน
ดังกล่าว โดยเห็นว่าแม้จะมีจารึกวัดเชียงม่ัน พ.ศ. 212447 ซ่ึงจารึกขึ้นในสมัยท่ีมังนรธาช่อปกครอง
เชียงใหม่ได้กล่าวถึง พญาติโลกราชให้ก่อเจดีย์วัดเชียงม่ันด้วยหินแลงเมื่อ พ.ศ. 2014 ในเวลาที่
ใกลเ้ คียงกบั การทพ่ี ระองค์ใหบ้ รู ณะก่อเสริมพระเจดีย์หลวง48 แต่จารึกวัดเชียงม่ันกล่าวต่อมาอีกว่าใน
พ.ศ. 2114 ได้มกี าร “กอ่ กวม” หรอื ก่อพระเจดีย์องคใ์ หมค่ รอบเจดยี ว์ ัดเชียงม่ันองค์เดิมโดยพญาแสน
หลวง49 อันเป็นประเพณีนิยมของการบูรณปฏิสังขรณ์ในวัฒนธรรมล้านนา50 ดังข้อความตอนหนึ่งใน
จารกึ วา่

“ปีศักราช 833 (พ.ศ. 2014) พระดิลกราชเจ้าก่อพระเจดีย์ด้วยหินแลง เป็นถ้วนสองได้
87 ปี ในปเี ปลกิ สง้า ศักราชได้ 920 (พ.ศ. 2101) เมืองเชียงใหม่เป็นขัณฑสีมาสมเด็จพระมหาธรรมิก
ราชาธิราชเจา้ แลว้ พระมหาธรรมิกราชเจา้ มรี าชศรัทธาปลงราชทานอ่างอาบเงินลูกหนึ่งหนักสี่พันน้า
ไวห้ อื้ พญาหลวงสามล้าน กบั ราชทานสรา้ งวัดเชียงมน่ั ว่าฉันนี้ ในปีดับเปล้า ศักราช 927 (พ.ศ. 2108)
พระราชอาชญาห้ือเป็นพญาแสนหลวง ในปรี วงเม็ด ศักราช 933 (พ.ศ. 2114) ได้ก่อเจดีย์กวม ทีหนึ่ง

46 ดูใน สรุ พล ดาริห์กลุ , “ปัญหาและความรูใ้ หมเ่ ก่ียวกับโบราณสถานพระเจดีย์หลวง เมือง
เชยี งใหม”่ สมโภช 600 ปี พระธาตเุ จดยี ์หลวง, 170.

47 จารึกลา้ นนา ภาค 2 เลม่ 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลาปาง ลาพูน และแมฮ่ ่องสอน, (กรงุ เทพ
: กรมศิลปากร, 2551), 2-10.

48 ม.ล. สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์, “การบูรณปฏิสังขรณ์ พระเจดีย์หลวงครั้งล่าสุด การค้นหาแก่นสารจาก
ความไรแ้ กน่ สาร” เมืองโบราณ, 157.

49 คณะกรรมการจัดพมิ พ์เอกสารประวตั ิศาสตร์ วฒั นธรรมและโบราณคดี, ประชมุ ศิลาจารกึ ภาคท่ี
3, (กรุงเทพฯ : สานักทาเนียบนายกรัฐมนตร,ี 2508), 211.

50 การบรู ณปฏิสังขรณพ์ ระเจดยี ์หลวง ซ่ึงสร้างข้นึ มาแต่สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา พ.ศ. 1934 ก็มีการ
“ก่อกวม” กันเสมอมา โดยเฉพาะอย่างย่ิงการบูรณะในสมัยพญาติโลกราชซึ่งก่อทับองค์ “กู่หลวง” ท่ีพังทลายลง
แล้วในราว พ.ศ. 2022-2024 ตลอดถึงการบูรณะในสมัยพระเมืองแก้ว ดูใน “พระธาตุเจดีย์หลวงกับการ
บูรณปฏิสังขรณ์” แผ่นพับ 8 หน้า รวมท้ังภาพประกอบ (ไม่มีปีที่พิมพ์, สถานท่ีพิมพ์), และตานานพื้นเมือง
เชียงใหม่ (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพเ์ อกสารทางประวตั ิศาสตร์ สานกั นายกรฐั มนตรี, 2524), 67.

72

เป็นถ้วนสามที พญาแสนหลวงจาราชทานสร้างแปลงก่อเจดีย์ วิหารอุโบสถ ปีฎกฆระ สร้างธรรม
เสนาสนะ กาแพง ประตขู รง ในอารามชู่ อนั เถิง...”51

จากขอ้ ความในจารึกข้างตน้ มกี ารกลา่ วถึง การก่อเจดีย์วัดเชียงมั่นคร้ังท่ี 2 โดยพระเจ้าติ
โลกราชด้วยหินแลง และก่อกวมคร้ังท่ี 3 โดยพญาแสนหลวง ซ่ึงลักษณะการก่อกวมเจดีย์ในล้านนา
น้ัน อาจคงรูปแบบเดิมหรือมีการเปล่ียนแปลงรูปแบบของเจดีย์เป็นแบบอ่ืนก็ได้ ดังน้ันที่มีการอ้างอิง
ว่าส่วนยอดท่ีหายไปของวัดเจดีย์หลวงน่าจะมีลักษณะคล้ายกับวัดเชียงม่ันมากที่สุดเพราะมีรูปแบบท่ี
ใกลเ้ คยี งกันและยังมจี ารึกกลา่ วถงึ การบรู ณะในสมัยพระเจา้ ตโิ ลกราชทใี่ นช่วงเวลาเดียวกันนั้น อาจยัง
ไม่มีน้าหนักมากพอที่จะนามาเป็นข้อสรุปได้ว่าส่วนยอดของเจดีย์ท้ังส ององค์น่าจะมีลักษณะท่ี
เหมอื นกัน

มีข้อน่าสังเกตว่าต้ังแต่ปี พ.ศ. 2101 เป็นต้นมาอาณาจักรล้านนาตกอยู่ภายใต้การ
ปกครองของพม่าแล้ว โดยพม่าได้ใช้นโยบายยึดจารีตท้องถ่ินปกครองเชียงใหม่ และได้มีการค้าชู
อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาสืบต่อมา ดังเช่นหลักฐานในจารึกท่ีกล่าวถึงการสร้างและบูรณะวัดต่างๆ
ในช่วงระยะเวลานี้ ตามคตินิยมกษัตริย์พม่ามักสร้างหรือจาลองเจดีย์องค์สาคัญข้ึนมาใหม่ แต่อาจ
สร้างให้มขี นาดเล็กลง เนือ่ งจากการสร้างเจดียข์ นาดใหญต่ อ้ งใช้เวลาในการก่อสร้างค่อนข้างมาก และ
อาจเสี่ยงต่อการสร้างไม่เสร็จ ตัวอย่างเช่น เจดีย์มินกุน(Mingun)(รูปท่ี 73) ประเทศพม่า สร้างโดย
พระเจ้าปดุง เมื่อ พ.ศ. 2333 เม่ือสร้างไปได้เพียงผนังอาคารยังไม่ได้สร้างหลังคา ได้ยกเลิกการสร้าง
เพราะโหรทานายวา่ ถา้ สร้างเสรจ็ พระเจ้าปดุงจะสิ้นพระชนม์ แต่จากซากที่หลงเหลืออยู่มีผู้คานวณว่า
ถา้ สรา้ งเสรจ็ จะเป็นเจดยี ์ท่ใี หญ่ทส่ี ุดในโลก หา่ งออกไปทางทิศใต้ราว 800 เมตร มีรูปจาลองของเจดีย์
โป่งด่อพะยา(รูปที่ 74) สงู เกือบ 5 เมตร ซึ่งเชื่อกันว่าใช้เป็นแบบจาลองของเจดีย์มินกุนน่ันเอง52 หรือ
เจดีย์ประธานที่วัดกุโถ่ด่อ(กุโสดอ)(รูปที่ 75) ซ่ึงพระเจ้ามินดงโปรดให้สร้างขึ้นที่มัณฑะเลใน พ.ศ.
2400 ก็ได้จาลองแบบมาจากเจดีย์ชเวซโิ กง่ (ชเวซิกอง)(รปู ท่ี 76) ทีพ่ ุกาม53

51 ฉา่ ทองคาวรรณ, คาอ่านจารกึ วัดเชียงมนั่ ด้านท่ี 1, เขา้ ถงึ เมอ่ื 10 พฤษภาคม 2557, ฐานข้อมลู
จารกึ ในประเทศไทย http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_image_detail.php?id=1425

52 ภภพพล จนั ทรว์ ัฒนกลุ , 60 วัด วงั และสถานที่สาคญั ในพม่า, (กรงุ เทพฯ : เมอื งโบราณ, 2553),
160. และ สุรสวสั ด์ิ ศขุ สวัสด,ิ์ ศิลปะในประเทศพม่า, (กรุงเทพฯ : สายธาร, 2554), 281-282.

53 สรุ สวสั ดิ์ ศุขสวัสดิ,์ ศิลปะในประเทศพมา่ , 171.

73

รปู ที่ 73: เจดยี ์มินกนุ (Mingun) ประเทศพมา่ รูปที่ 74: เจดีย์โปง่ ด่อพะยา เชอ่ื วา่ เป็นแบบจาลอง
ทีม่ า: http://farm1.static.flickr.com/68/223346874 เจดยี ม์ นิ กุน ประเทศพม่า
_7092794836.jpg ทมี่ า: http://www.go-myanmar.com/mingun/

รูปที่ 75: เจดยี ก์ โุ ถ่ด่อ (Kuthodaw) ประเทศพมา่ รปู ที่ 76: เจดยี ์ชเวซกิ อง (Shwezigon) ประเทศพมา่

ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/File:Kuthodaw ท่มี า: http://en.wikipedia.org/wiki/File:Shwezigon.jpg

_paya.JPG

ในประเด็นน้ี เชษฐ์ ติงสญั ชลี เสนอว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ท่ีการก่อกวมเจดีย์วัดเชียง
มั่นในครั้งพญาแสนหลวงน้ี อาจเป็นการจาลองรูปแบบหรือได้รับบันดาลใจมาจากพระเจดีย์หลวง
จังหวัดเชียงใหม่ เน่ืองจากพระเจดีย์หลวงเป็นเจดีย์องค์สาคัญและมีขนาดใหญ่ท่ีสุดในศิลปะล้านนา
รวมถึงระยะเวลานับจากพระเจดีย์หลวงพังทลายลงใน พ.ศ. 2088 จนถึงการก่อกวมเจดีย์วัดเชียงม่ัน
ในปี พ.ศ. 2114 น้ันห่างกันประมาณ 26 ปี ซ่ึงมีความเป็นไปได้ว่าผู้สร้างอาจเคยเห็นส่วนยอดท่ี
สมบรู ณ์ของพระเจดียห์ ลวงกอ่ นท่สี ่วนยอดจะพงั ทลาย จึงได้มีการจาลองรูปแบบดังกล่าวเป็นต้นแบบ
ในการกอ่ กวมเจดีย์วดั เชยี งม่ันในครงั้ น้ี ทาให้รปู แบบทางสถาปัตยกรรมโดยรวมของเจดีย์วัดเชียงม่ันที่
ปรากฏในปัจจุบัน โดยเฉพาะส่วนยอดต้ังแต่หลังคาลาดซ้อนกัน 2 ชั้น ต่อด้วยชุดฐานบัวถลาในผัง
แปดเหล่ียม 3 ชั้นซ้อนกัน รองรับองค์ระฆังทรงกลม มีลักษณะท่ีใกล้เคียงกับพระเจดีย์หลวงมาก แต่
อาจสร้างเจดีย์วัดเชียงม่ันให้มีขนาดเล็กกว่าพระเจดีย์หลวง เนื่องจากถ้าจะสร้างเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่

74

เท่าพระเจดีย์หลวงจะต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างท่ีค่อนข้างนาน54 ส่วนรายละเอียดบางส่วนที่มี
ความแตกตา่ งกัน เช่น บริเวณเรือนธาตุท่ีมีขนาดของยกเก็จค่อนข้างตื้น มีจระนาขนาดเล็กขนาบข้าง
จระนากลาง รวมถงึ ลวดลายปูนป้นั ประดับบนบานประตหู ลอกที่เปน็ ลายแผงกุดั่นดอกลอย น่าจะเป็น
งานบูรณะในภายหลัง โดยลักษณะของลวดลายน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ผ่านการ
พฒั นามาแลว้ โดยชา่ งท้องถนิ่ 55

ประการที่สอง เมื่อพิจารณาจากชุดฐานบัวถลาในผังแปดเหล่ียม 3 ช้ัน ท่ีรองรับองค์
ระฆังของพระเจดีย์หลวงยังมีข้อน่าสงสัยอยู่ว่าจะเป็นรูปแบบเดิมท่ีมีการบูรณะในสมัยพระเจ้าติโลก
ราชหรือไม่ เน่ืองจากเม่ือศึกษาเปรียบเทียบกับเจดีย์องค์อื่นๆ ท่ีกาหนดอายุอยู่ในช่วงปลายพุทธ
ศตวรรษท่ี 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ซ่ึงเป็นช่วงเวลาที่พระเจ้าติโลกราชทรงครองราชย์นั้น พบว่า
ส่วนเหนอื เรือนธาตุเป็นชดุ ฐานบัวในผังกลมซ้อนลดหลัน่ กนั 2-3 ฐาน รองรบั องคร์ ะฆัง ได้แก่ เจดีย์วัด
รม่ โพธิ(์ ร้าง) และกู่พระเจา้ ตโิ ลกราช เป็นตน้ อันเป็นรูปแบบทสี่ อดคลอ้ งกับเจดีย์ทรงระฆังของล้านนา
ในชว่ งเวลาเดยี วกนั ซง่ึ มีรายละเอียดดงั นี้

เจดีย์วัดร่มโพธิ์(ร้าง) (รูปท่ี 77-78) มีช่ือปรากฏอยู่ในเอกสารโฉนดท่ีดิน
วดั รา้ งของกรมการศาสนา ชอื่ เดมิ เป็นอยา่ งไรไมป่ รากฏ จึงไม่สามารถค้นคว้าประวัติความเป็นมาของ
วัดนี้ได5้ 6 แต่จากรูปแบบเจดีย์พอกาหนดอายุได้ว่าควรอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 โดยส่วนยอดของ
เจดีย์วัดร่มโพธิ์(ร้าง) มีลักษณะเป็นชุดฐานบัวคว่าบัวหงายในผังกลมซ้อนลดหล่ันกัน 2 ฐาน บริเวณ
ทอ้ งไม้ประดับด้วยลกู แกว้ อกไก่ 2 เส้น ถัดข้ึนไปเปน็ องคร์ ะฆงั ทรงกลม บัลลังก์รปู ฐานบัวคว่าบัวหงาย
เพิ่มมุมประดับดว้ ยลกู แก้วอกไก่ ตอ่ ด้วยกา้ นฉตั ร บัวฝาละมี ปล้องไฉนและปลีตามลาดับ จากรูปแบบ
ดังกล่าวอาจเทียบได้กับเจดีย์ทรงระฆังแบบพื้นเมืองของล้านนา เช่น เจดีย์พระธาตุหริภุญชัย(รูปท่ี
79) เมืองลาพูน ซ่ึงมีองค์ประกอบท่ีสาคัญคือ เป็นชุดฐานบัวคว่าบัวหงายในผังกลมซ้อนกัน 3 ฐาน
ประดบั ดว้ ยลูกแกว้ อกไก่ 2 เสน้ รองรบั องคร์ ะฆงั กลม จากชุดฐานบัวที่มีรูปทรงสูงข้ึนไปอย่างมาก ทา
ใหส้ ว่ นขององคร์ ะฆงั มีขนาดเล็ก เหนอื องค์ระฆงั ประดับด้วยบัลลังก์เพ่ิมมุมไม้สิบสอง ส่วนยอดมีก้าน
ฉัตร บัวฝาละมี ปล้องไฉนและปลีตามลาดับ โดยเจดีย์พระธาตุหริภุญชัยนับเป็นต้นแบบเจดีย์ทรง
ระฆังแบบล้านนาที่ถือว่าลงตัวที่สุด หากพิจารณาพัฒนาการทางด้านรูปแบบน่าจะกาหนดอายุอยู่
ระหว่างรัชกาลพระเจ้ากือนา ลงมาจนถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณช่วงต้นถึงปลายพุทธ

54 สมั ภาษณ์ เชษฐ์ ตงิ สัญชลี, หวั หนา้ ภาควชิ าประวตั ิศาสตรศ์ ลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวทิ ยาลยั
ศลิ ปากร, 2 พฤษภาคม 2557.

55 จริ ศักดิ์ เดชวงศ์ญา, พระเจดีย์เมืองเชยี งใหม่, 122.
56 วเิ ศษ เพชรประดบั และวงศ์ฉตั ร ฉตั รกุล ณ อยุธยา, รายงานการขุดแต่งศึกษาและบูรณะเจดีย์วัด
ร่มโพธิ(์ รา้ ง), หน่วยศลิ ปากรที่ 4 กองโบราณคดี กรมศิลปากร ปี 2528, 1.

75

ศตวรรษที่ 2057 เนื่องจากมีรูปแบบท่ีพัฒนามาจากเจดีย์วัดพระบวช(รูปท่ี 80) อย่างชัดเจน กล่าวคือ
รปู ทรงของเจดยี ไ์ ด้รบั การปรบั ปรุงใหส้ ูงโปร่งยงิ่ ข้ึนจนได้สัดส่วนท่ีสมบูรณ์แบบ ส่วนฐานบัวย่อเก็จน้ัน
น่าจะมีอายุในสมัยพระเมืองแก้ว ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 2158 โดยเจดีย์รูปแบบน้ีแพร่หลายอยู่ใน
ลา้ นนาจานวนมาก59 ได้แก่ เจดีย์ของวัดร้างข้างหอประชุมติโลกราช เจดีย์วัดกิตติ(ร้าง)(รูปท่ี 81) อยู่
ภายในโรงเรียนอนบุ าลเชียงใหม่ เจดีย์วดั ปงสนุก(รูปท่ี 82) เมืองเชียงแสน เป็นต้น60

รูปที่ 77: (ซา้ ย) เจดยี ์วดั รม่ โพธิ์(รา้ ง) จ.เชยี งใหม่
ทม่ี า: www.bloggang.com/data/m/moonfleet/picture/1261120199.jpg
รปู ที่ 78: (กลาง) ลายเส้นเจดยี ว์ ดั รม่ โพธ(์ิ รา้ ง) จ.เชยี งใหม่
ทมี่ า: พระเจดยี เ์ มอื งเชียงใหม่
รปู ที่ 79: (ขวา) วดั พระธาตุหริภญุ ชัย จ.ลาพนู
ทม่ี า: สารวจวันท่ี 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

57 ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ดารงวิชาการ รวมบทความทางวิชาการคณะโบราณคดี, ปีที่ 3 ฉบับที่ 6
(กรกฎาคม-ธนั วาคม) 2547, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร, 65.

58 ประภัสสร์ ชูวิเชียร, เจดีย์ทรงกลมแบบล้านนาท่ีปรากฏในอยุธยากับความสัมพันธ์ทาง
ประวตั ศิ าสตร์, รายงานประกอบการศกึ ษาปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑติ สาขาวิชาประวตั ศิ าสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร ปี 2543, 22.

59 ศักดิ์ชยั สายสิงห,์ ศลิ ปะล้านนา, 101.
60 สันติ เลก็ สุขมุ , ศิลปะภาคเหนือ : หรภิ ุญชัย-ลา้ นนา, 74-75.

76

รูปท่ี 80: (ซ้าย) เจดีย์วดั พระบวช อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ท่ีมา: สารวจวันท่ี 24 มีนาคม พ.ศ. 2555
รปู ท่ี 81: (กลาง) เจดียว์ ัดกิตต(ิ รา้ ง) จ.เชยี งใหม่ (อยใู่ นโรงเรยี นอนบุ าลเชยี งใหม่)
ท่มี า: สารวจวนั ท่ี 25 มนี าคม พ.ศ. 2555
รปู ท่ี 82: (ขวา) เจดียว์ ัดปงสนกุ อ.เชยี งแสน จ.เชยี งราย
ท่มี า: http://commons.wikimedia.org/wiki/File:เจดยี ์วัดปงสนกุ เมืองเชยี งแสน.JPG

นอกจากเจดยี ท์ รงระฆังท่ีมีชดุ ฐานบวั ควา่ บัวหงายรองรับองค์ระฆังจะเป็นที่
นิยมในสมัยนี้แล้ว ยังมีเจดีย์ทรงระฆังอีกกลุ่มหนึ่งท่ีรูปทรงไม่สูงเพรียวเพราะเปล่ียนจากชุดฐานบัว
คว่าบัวหงายมาเปน็ ชุดบวั ถลา หรือวงแหวนรปู บัวคว่าซ้อนลดหล่ันกัน เจดีย์ที่สาคัญได้แก่ เจดีย์วัดป่า
แดงหลวง(รูปที่ 83) เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเช่ือกันว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิพระเจ้าสามฝ่ังแกนท่ีพระเจ้าติโลก
ราชโปรดใหส้ ร้างข้ึนเม่ือ พ.ศ. 199061 แต่ในชินกาลมาลีปกรณ์ที่เขียนขึ้นโดยพระภิกษุฝ่ายวัดป่าแดง
กลับกลา่ วถึงเฉพาะการสรา้ งพระอโุ บสถ ณ วัดปา่ แดงมหาวิหาร อันเป็นท่ีปลงพระศพพระราชมารดา
เท่าน้ัน ไม่ได้กล่าวถึงการสร้างเจดีย์แต่อย่างใด และวัดแห่งนี้ยังได้กลายเป็นศูนย์กลางของศาสนา
“ลังกาใหม่” หรือ “นิกายวัดป่าแดง” ท่ีพระเจ้าติโลกราชทรงเป็นผู้อุปถัมภ์62 โดยส่วนรองรับองค์
ระฆังของเจดีย์วัดป่าแดงหลวงมีลักษณะท่ีแตกต่างไปจากเจดีย์ทรงระฆังพ้ืนเมือง คือ เป็นชุดฐานบัว
ถลาในผังกลมซ้อนกัน 3 ชั้นก่อนถึงองค์ระฆัง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังสมัยสุโขทัย
(รูปท่ี 84) การท่ีมาพบในศิลปะล้านนาแสดงให้เห็นถึงแรงบันดาลใจที่รับมาจากสุโขทัย ซ่ึงอาจขึ้นมา

61 พระยาประชากจิ กรจกั ร, พงศาวดารโยนก, พิมพค์ ร้งั ท่ี 2 (กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พ์รุ่งวฒั นา, 2515),
327.

62 พระรัตนปัญญาเถระ (ร.ต.ท. แสง มนวิทูร แปล), ชนิ กาลมาลีปกรณ์, 126.

77

ในล้านนาคราวท่ีพระสุมนเถรมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 2063 และมาปรากฏ
อีกครั้งหน่ึงในช่วงต้นพุทธศตวรรษท่ี 21 ในสมัยพระเจ้าติโลกราชจากกลุ่มของพระภิกษุล้านนาท่ีได้
เดินทางไปสบื ศาสนาในลงั กาและกลับมาเผยแพร่ในอยธุ ยา สโุ ขทัยและลา้ นนา

รูปที่ 83: เจดยี ์วัดปา่ แดงหลวง(ร้าง) จ.เชียงใหม่ รปู ท่ี 84: เจดีย์ทรงระฆงั สมยั สโุ ขทยั ลกั ษณะเฉพาะคือสว่ น
ที่มา: สารวจวนั ท่ี 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 รองรับองค์ระฆงั เป็นชดุ ฐานบวั ถลาในผงั กลมซ้อนกัน 3 ชัน้
ทมี่ า: สารวจวนั ที่ 6 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จากข้อมูลข้างต้นพอสรุปได้ว่า เจดีย์ทรงระฆังท่ี
สร้างและบูรณะในสมัยพระเจ้าติโลกราชนิยมทาชุดฐานบัว
รองรับองค์ระฆังอยู่ในผังกลมโดยพบ 2 รูปแบบ คือ เป็นชุด
ฐานบัวคว่าบัวหงายและชุดฐานบัวถลา ซ้อนลดหล่ันกัน 2-3
ชั้น ซึ่งลักษณะชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังดังกล่าวมีปรากฏ
อยู่ในชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังของเจดีย์ทรงปราสาทยอด
แบบล้านนาด้วยและมีรูปแบบท่ีใกล้เคียงกัน ทั้งน้ีพบชุดฐาน
บวั รองรับองค์ระฆงั ในรูปแบบอน่ื บ้าง เช่น ชุดฐานรองรับองค์
ระฆังในผังแปดเหล่ียม ที่เจดีย์แปดเหล่ียม “อนิมิสเจดีย์”(รูป
รปู ที่ 85: อนมิ ิสเจดีย์ วดั เจ็ดยอด จ.เชยี งใหม่ ที่ 85) วดั เจด็ ยอด แตไ่ ม่เป็นทน่ี ิยมมากนกั ดังนน้ั อาจกล่าวได้
ทม่ี า: สารวจวันท่ี 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ว่าลักษณะของเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงปราสาทแบบ
ลา้ นนาน่าจะมีพฒั นาการทางด้านรูปแบบในแนวทางเดียวกัน
และอาจนามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของเจดีย์ที่
สร้างและบรู ณะในแตล่ ะสมยั ไดด้ ้วย

63 ก่อนช่วงเวลานน้ั ไม่พบเจดยี ์ท่ีมชี ดุ ฐานบวั ถลารองรบั ทรงระฆังในแควน้ ล้านนา ดูใน สันติ เล็กสขุ ุม,
ศิลปะภาคเหนือ : หรภิ ุญชัย-ลา้ นนา, 115.

78

กู่พระเจ้าติโลกราช (รูปท่ี 86-87) วดั เจ็ดยอด แม้จะไม่ใชเ่ จดีย์ที่สร้างในรัช
สมยั ของพระเจ้าตโิ ลกราช แตเ่ ป็นเจดีย์ที่มีประวัติการก่อสร้างสัมพันธ์กับพระองค์อย่างมาก กล่าวคือ
เป็นเจดีย์ที่สร้างข้ึนเพื่อบรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราชโดยพระยอดเชียงรายในปี พ.ศ. 203464 โดยมี
ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบล้านนา ส่วนยอดของเจดีย์เป็นการผสมผสานระหว่างหลังคา
ลาดขนาดใหญแ่ ละช้นั ลดท่ียกเก็จต่อเน่ืองจากเรือนธาตุ เหนือชั้นลดเป็นชุดฐานบัวคว่าบัวหงายในผัง
กลมซ้อนลดหลั่นกัน 3 ฐาน รองรับองค์ระฆังท่ีมีขนาดเล็กลง ต่อยอดด้วยบัลลังก์ในผังกลม ก้านฉัตร
ปล้องไฉนและปลี โดยมีความเห็นว่าพระยอดเชียงรายน่าจะทรงคัดเลือกรูปแบบท่ีเป็นผลงานช้ิน
สาคัญของพระเจ้าติโลกราชมาเป็นต้นแบบเพื่อสร้างเจดีย์อุทิศถวายแด่พระองค์65 ซึ่งสันนิษฐานว่า
เจดีย์ที่เป็นงานช้ินสาคัญและน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กู่พระเจ้าติโลกราชแห่งนี้ ได้แก่ พระเจดีย์
หลวง วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นต้นแบบของเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบล้านนาที่
สาคัญที่สุดองค์หนึง่ และมีเอกสารบันทึกถึงการเปล่ียนแปลงรูปแบบจากเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดมา
เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดกระพุ่มเดียวในสมัยพระเจ้าติโลกราช ในส่วนรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
ตั้งแต่ส่วนเหนือเรือนธาตุขึ้นไปประกอบด้วยหลังคาลาด ชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆัง ควรต่อด้วย
บัลลังก์ ก้านฉัตร ปล้องไฉนและปลีตามลาดับ ซ่ึงเป็นวิวัฒนาการที่สอดคล้องกับเจดีย์ทรงปราสาท
ยอดเจดีย์ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ดังท่ีกล่าวมาแล้วในเจดีย์วัดร่มโพธ์ิ66 ดังนั้นส่วนยอดของกู่พระ
เจ้าติโลกราชอาจเป็นตัวอย่างหนึ่งท่ีทาให้สันนิษฐานถึงเค้าโครงส่วนยอดพระเจดีย์หลวงที่
เปลยี่ นแปลงในสมยั พระเจา้ ติโลกราชกเ็ ป็นได้

รูปที่ 86: (ซ้าย) กพู่ ระเจา้ ตโิ ลกราช
วัดเจด็ ยอด จ.เชยี งใหม่
ทมี่ า: สารวจวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รปู ท่ี 87: (ขวา) ลายเส้นก่พู ระเจา้ ติโลกราช
วดั เจ็ดยอด จ.เชยี งใหม่

64 สงวน โชติสุขรตั น,์ ประชุมตานานลา้ นนาไทย เลม่ 2, 114.
65 ศักดช์ิ ัย สายสงิ ห,์ ศลิ ปะลา้ นนา, 120.
66 จิรศกั ด์ิ เดชวงศญ์ า, พระเจดีย์เมืองเชยี งใหม่, 115.

79

แต่ในประเด็นน้ียังมีข้อน่าสงสัยอยู่ว่า ถ้ากู่พระเจ้าติโลกราชซึ่งสร้างโดย
พระยอดเชยี งรายไดแ้ รงบันดาลใจมาจากพระเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่จริง เหตุใดส่วนรองรับองค์
ระฆังจึงมีรูปแบบที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ส่วนยอดของกู่พระเจ้าติโลกราชประกอบด้วยหลังคาลาด 1
ช้ัน ถัดไปเป็นชุดฐานบัวคว่าบัวหงายในผังกลมรองรับองค์ระฆัง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับชุดฐานบัว
รองรับองคร์ ะฆงั ในเจดียท์ รงระฆังแบบล้านนาท่ีสร้างร่วมสมัยกัน ขณะท่ีส่วนยอดของพระเจดีย์หลวง
ประกอบดว้ ยชน้ั หลังคาลาดซ้อนกัน 2 ช้ัน ถัดไปเป็นชุดฐานบัวถลาในผังแปดเหลี่ยมรองรับองค์ระฆัง
โดยจิรศักด์ิ เดชวงศ์ญา ได้วิเคราะห์ว่า ส่วนยอดของพระเจดีย์หลวงที่มีชุดฐานบัวถลาในผังแปด
เหลี่ยมท่ีปรากฏในปัจจุบัน ไม่น่าจะเป็นงานสร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช แต่ควรเป็นงานบูรณะใน
สมัยพระเมืองแก้ว67 มาแล้ว เนื่องจากศิลปะล้านนาท่ีมีอายุก่อนพุทธศตวรรษท่ี 21 ไม่ปรากฏว่าการ
สร้างเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมเป็นที่นิยมแพร่หลายมากนัก อาจเป็นไปได้ว่าการปรับเปลี่ยนชุดฐานบัวใน
ผังกลมเป็นผังแปดเหลี่ยมเป็นการเกิดขึ้นตามวิวัฒนาการเท่านั้น68 แต่ความนิยมจะเร่ิมปรากฏอย่าง
มากในสมัยพระเมืองแก้วลงมา ตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งพบมากที่สุดในเมือง
เชยี งแสน และท่สี าคัญคอื มเี จดีย์บางองค์ท่ีสร้างครอบทับเจดีย์องค์เดิมก็เป็นรูปแบบน้ี ได้แก่ วัดอาทิ
ต้นแก้ว(รูปที่ 88) แสดงให้เห็นว่าเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และก็น่าจะอยู่ในยุคท่ีเมือง
เชยี งแสนหรืออาณาจกั รล้านนารุ่งเรอื ง

เจดยี ์องค์เดิมวัดอาทติ น้ แก้ว

รปู ท่ี 88: เจดีย์วดั อาทติ น้ แก้ว อ.เชียงแสน จ.เชยี งราย เจดีย์องคน์ อกเปน็ ทรงแปดเหล่ยี มสรา้ งครอบทบั เจดียอ์ งคเ์ ดิม
ที่มา: สารวจวันท่ี 24 มนี าคม พ.ศ. 2555

67 เรื่องเดียวกนั , 115.
68 จริ ศักด์ิ เดชวงศ์ญา, พระเจดียเ์ มืองเชยี งแสน, 33.

80

และถ้าเชอื่ ว่าวัดอาทิตน้ แกว้ เปน็ วัดเดียวกับที่เอกสารกล่าวถึงว่าสร้างขึ้นใน
สมัยพระเมืองแก้วปี พ.ศ. 205769 ส่วนในชินกาลมาลีปกรณ์ได้กล่าวว่าในสมัยพระเมืองแก้วได้มา
ประชุมทาสังฆกรรมพระภกิ ษุทง้ั 3 ฝา่ ยท่ีเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ. 205870 จงึ อาจสันนิษฐานได้ด้วยว่า
เจดีย์องค์นอกควรเป็นงานท่ีสร้างขึ้นในคราวนี้ และอาจเป็นหลักฐานที่สาคัญอย่างหนึ่งท่ีสัมพันธ์กับ
วิวัฒนาการทางด้านรูปแบบของเจดีย์ทรงน้ีท่ีเกิดขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษท่ี 21 หลักฐานดังกล่าว
สัมพันธ์กับเจดีย์หลวง(รูปที่ 89) เมืองเชียงแสน ซึ่งถือว่าเป็นเจดีย์สาคัญองค์หนึ่งในเจดีย์กลุ่มน้ี ตาม
ประวัติมีการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2058 ในรัชสมัยของพระเมืองแก้ว โดยกล่าวว่ามีการขุดเอา
เจดีย์องค์เดิมออกและสร้างเจดีย์ข้ึนใหม่ และน่าจะมีการบูรณะต่อมาในระยะหลัง จนทาให้ระเบียบ
แบบแผนเปล่ียนไปหลายอย่าง โดยเฉพาะส่วนฐานล่างสุดท่ีเป็นฐานบัวในผังแปดเหลี่ยมตั้งแต่ฐาน
เขยี งชัน้ ล่างสดุ น่าจะเปน็ ฐานท่สี ร้างพอกทับข้นึ ใหม่ในสมยั หลงั ทช่ี า่ งไม่เขา้ ใจรูปแบบด้งั เดิมแลว้ 71

รูปที่ 89: เจดยี ์วดั เจดยี ห์ ลวง อ.เชยี งแสน จ.เชียงราย
ที่มา: สารวจวนั ท่ี 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

มีการสันนิษฐานว่าความนิยมสร้างเจดีย์แปดเหล่ียมที่ปรากฏอย่างมากใน
สมัยพระเมืองแก้ว น่าจะเกิดจากการรับอิทธิพลมาจากศิลปะอยุธยาก็ได้ เพราะมีการสร้างเจดีย์ทรง
ระฆงั แปดเหล่ยี มอยโู่ ดยทัว่ ไปในศิลปะอยุธยาตอนต้นควบคกู่ บั การสร้างปรางค์ เช่น เจดีย์วัดพระแก้ว
สรรคบุรี(รูปที่ 90) เจดีย์วัดจงกลม อยุธยา(รูปที่ 91) และยังคงสร้างต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลาง
ได้แก่ เจดีย์มุมปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ(รูปที่ 92) เจดีย์วัดสามปลื้ม ตลอดจนเจดีย์วัดใหญ่ชัย

69 ดใู น ศักด์ชิ ยั สายสิงห์, ศิลปะลา้ นนา, 131. อ้างถึง กรมศิลปากร, ประชมุ พงศาวดารภาคท่ี 61,
(กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรโสภณ, 2479), 174-175.

70 พระรัตนปญั ญาเถระ, ชนิ กาลมาลปี กรณ์, 140.
71 ศกั ดช์ิ ยั สายสิงห,์ ศิลปะลา้ นนา, หน้า 131-137.

81

มงคลก็แสดงถึงพฒั นาการของรูปแบบทม่ี ีมาโดยตลอด72 ซ่งึ ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนากับอยุธยาคง
มีการติดตอ่ มาแล้วต้ังแต่รัชกาลของพระเจ้าสามฝั่งแกนราว พ.ศ. 1969 และเพิ่มมากข้ึนตั้งแต่รัชกาล
ของพระเจ้าติโลกราชที่ทาสงครามควบคู่ไปกับการส่งทูตเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าบรมไตร
โลกนาถเปน็ ระยะๆ ซึ่งปรากฏในหลกั ฐานเอกสารท้ังของล้านนาและอยธุ ยา

รูปที่ 90: (ซ้าย) เจดีย์วดั พระแกว้ สรรคบุรี จ.ชัยนาท
ท่ีมา: สารวจวนั ท่ี 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
รูปที่ 91: (กลาง) เจดียว์ ดั จงกลม จ.อยุธยา
ที่มา: http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E9485205/E9485205-50.jpg
รูปท่ี 92: (ขวา) เจดยี ม์ ุมปรางค์ประธานวดั ราชบูรณะ จ.อยุธยา
ท่ีมา: www.siamfreestyle.com/images/content_images/attraction_images/pns/pns_att330008009.jpg

นอกจากน้ียังพระพุทธรูปหลายองค์ในล้านนาปรากฏอิทธิพลของศิลปะ
อยุธยา เช่น พระเจ้าแข้งคมในวัดศรีเกิด พระพุทธรูปทรงเครื่องในวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ และ
พระพุทธรูปจากวัดพญาภู จังหวัดน่าน เป็นต้น ขณะท่ีอยุธยาเองก็มีการสร้างเจดีย์ทรงระฆังแบบ
ล้านนาที่วัดแค(ร้าง) เช่นกัน แต่มีลักษณะสัดส่วนแตกต่างเล็กน้อย ประกอบกับในรัชกาลของพระ
เมอื งแก้ว พทุ ธศาสนาในล้านนาไม่มีเหตกุ ารณ์วุ่นวายหรือเกิดปัญหาขัดแย้งในหมู่สงฆ์ดังเช่นที่ผ่านมา
เพราะได้ทานุบารุงสงฆ์ท้ังฝ่ายพ้ืนเมืองเดิม ฝ่ายรามัญ และฝ่ายลังกาวงศ์73 จึงทาให้พระพุทธศาสนา
เจรญิ รงุ่ เรือง ดังทปี่ รากฏในศลิ าจารึกระบถุ งึ การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจานวนมากท่ัว

72 จริ ศกั ดิ์ เดชวงศญ์ า, พระเจดีย์เมืองเชยี งใหม่, หน้า 33-37.
73 ดูใน จริ ศักด์ิ เดชวงศญ์ า, พระเจดียเ์ มอื งเชยี งแสน, 37. และ ยพุ ิน เข็มมกุ ด,์ พุทธศาสนาใน
ลา้ นนาไทยสมยั ราชวงศ์มงั ราย พ.ศ. 1839-2101 (เชยี งใหม่ : วิทยาลยั ครูเชียงใหม,่ 2527), 94-98.

82

ราชอาณาจักรตลอดสมัยของพระองค์74 ดังนั้นจึงน่าจะเป็นไปได้ว่าในสมัยพระเมืองแก้วอาจมีการรับ
แรงบันดาลใจจากศิลปะอยุธยามาพัฒนาร่วมกับเจดีย์ล้านนา จนเกิดความนิยมในการสร้างเจดีย์ที่มี
ฐานบัวรองรบั องคร์ ะฆงั ในผงั แปดเหล่ียมหลายองค์ทีส่ ร้างในระยะน้ี

สาหรับในเมืองเชียงใหม่ก็มีพบเจดีย์ทรงระฆังท่ีมีชุดฐานรองรับองค์ระฆังผังแปดเหลี่ยม
บ้าง ท่ีหลงเหลืออยู่มักเป็นเจดีย์ท่ีมีการซ่อมแซมไปบ้างแล้ว เจดีย์ในกลุ่มน้ีมีอายุอยู่ในสมัยล้านนา
ตอนปลายทัง้ ส้นิ ซึง่ มปี รากฏท้งั เจดยี ท์ ีม่ ีฐานแบบบัวควา่ บวั หงาย (เจดีย์แบบพื้นเมือง) ได้แก่ เจดีย์วัด
ดวงด(ี รูปท่ี 93) เจดีย์วดั พนั แหวน75(รปู ที่ 94) และเจดีย์ที่มีฐานแบบบวั ถลา ซึ่งได้มีการยืดส่วนท้องไม้
ทาใหจ้ ังหวะหา่ งของช้ันมีความคล้ายคลึงกับจังหวะของชุดฐานบัวในผังแปดเหลี่ยมของเจดีย์พื้นเมือง
ได้แก่ เจดยี ์วัดเชษฐา(รา้ ง)(รปู ที่ 95) และเจดยี ว์ ัดอุโมงค์อารยมณฑล เชยี งใหม่76

รูปท่ี 93: เจดยี ว์ ดั ดวงดี จ.เชียงใหม่
ทีม่ า: www.bloggang.com/data/n/nontree/picture/1334916945.jpg
รปู ที่ 94: เจดีย์วดั พันแหวน จ.เชียงใหม่
ทม่ี า: www.bloggang.com/data/m/moonfleet/picture/1270123030.jpg
รปู ที่ 95: เจดียว์ ัดเชษฐา(ร้าง) จ.เชยี งใหม่
ท่ีมา: สารวจวันที่ 25 มนี าคม พ.ศ. 2555

74 สุรสวสั ดิ์ ศขุ สวัสดิ,์ รายงานการวิจยั เรื่อง “นิกายพระพทุ ธศาสนาในลา้ นนาระหวา่ งรชั สมัยพระ
เจา้ ตโิ ลกราช-พญาแกว้ ” (พ.ศ. 1984-2068/ A.D.1441-1525), (เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555), 22.

75 ซึง่ มกี ารเพ่ิมจระนาประดิษฐานพระพุทธรูปทีฐ่ านดา้ นทิศเหนือ ปลายปี พ.ศ. 2539 ไดม้ กี าร
เปลีย่ นแปลงใหมแ่ ลว้ โดยรอ้ื จระนาด้านทิศเหนอื ออกและเพ่มิ ลายประดบั ทล่ี อกแบบมาจากโบราณสถานทีต่ ่างๆ ดู
ใน จริ ศักดิ์ เดชวงศญ์ า, พระเจดียเ์ มืองเชยี งใหม่, 29.

76 เรอ่ื งเดียวกัน, 29, 53.

83

นอกจากเจดีย์ทรงระฆังล้านนาจะมีการเปล่ียนแปลงชุดฐานรองรับองค์ระฆังจากผังกลม
มาเปน็ แบบแปดเหลยี่ มแลว้ การเปลีย่ นแปลงดงั กล่าวยังปรากฏในเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบล้านนา
ด้วยเช่นกัน ได้แก่ เจดีย์วัดหนองจริน(ร้าง) และเจดีย์วัดปู่เปี้ย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น โดยเจดีย์วัด
หนองจริน(ร้าง)(รูปที่ 96-97) เป็นตัวอย่างเจดีย์ทรงปราสาทท่ีสร้างข้ึนราวคร่ึงแรกของปลายพุทธ
ศตวรรษท่ี 21 ซ่ึงเป็นรูปแบบท่ีพัฒนามาจากกู่พระเจ้าติโลกราช วัดเจ็ดยอด ส่วนยอดมีลักษณะเป็น
หลังคาลาดขนาดใหญ่รับชั้นลดรูปฐานบัวคว่า-บัวหงายแบบยกเก็จต่อเนื่องด้วยมาลัยเถาในผังแปด
เหลย่ี มรองรบั องคร์ ะฆัง เนอ่ื งจากส่วนฐานของเจดีย์วัดหนองจรินมีความสูงมาก รวมถึงเรือนธาตุที่ยก
เก็จค่อนข้างย่ืนออกมาทาให้จระนาทั้งส่ีด้านมีความลึก และโครงสร้างรับน้าหนักส่วนยอดมีขนาดที่
เล็กไปดว้ ย จึงมผี ลตอ่ เนือ่ งถึงทรงระฆงั ทีม่ ขี นาดเล็กจนหมดความสาคญั ของรปู แบบไป

รูปที่ 96: เจดียว์ ัดหนองจลิน(วดั เจด็ ลิน) จ.เชียงใหม่ รูปที่ 97: ส่วนยอดเจดยี ว์ ัดหนองจลิน(วัดเจด็ ลิน)

ทีม่ า: สารวจวันท่ี 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ท่มี า: สารวจวันท่ี 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขณะที่เจดีย์วัดปู่เป้ีย(รูปท่ี98-99) ซึ่งมีอายุราวคร่ึงหลังของปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ได้

พัฒนารปู แบบไปมากย่ิงข้ึน บริเวณส่วนยอดไม่ปรากฏช้ันหลังคาลาดขนาดใหญ่แล้ว แต่ยังคงมีช้ันลด

รูปฐานบัวคว่าบัวหงายรับมาลัยเถาและองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยม โดยลักษณะของมาลัยเถาไม่ตรง
แบบแผนมากนกั 77

77 เรอ่ื งเดียวกัน, 114-116.

84

รปู ที่ 98: เจดยี ์วดั ปเู่ ปย้ี จ.เชียงใหม่ รูปที่ 99: ส่วนยอดเจดยี ์วดั ปเู่ ปยี้
ท่ีมา: สารวจวนั ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ทีม่ า: สารวจวนั ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อาจกลา่ วไดว้ ่าเจดีย์ล้านนาท่ีมีชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหล่ียมนิยมสร้างกัน
มากในสมัยพระเมืองแกว้ เพราะพบหลกั ฐานทกี่ ล่าวถึงการสร้างหรอื บูรณะเจดีย์หลายองค์ในรัชกาลน้ี
ที่มีฐานบัวในผังแปดเหล่ียม ซ่ึงพบทั้งเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงปราสาทยอด ต่อมาในช่วงปลาย
พุทธศตวรรษที่ 21 พัฒนาการของเจดีย์ได้พยายามเน้นความสูงของเจดีย์ให้มากข้ึน โดยยืดส่วนฐาน
ใหส้ ูงข้นึ ขณะท่ีส่วนยอดและองค์ระฆังมีขนาดเล็กลงมากดังเชน่ เจดีย์วัดหนองจรนิ เปน็ ตน้

จากการศึกษาข้างต้น พอสรุปถึงความเป็นไปได้เก่ียวกับพระเจดีย์หลวงได้ท้ังหมด 3
แนวทาง คอื

แนวทางแรก รูปแบบของพระเจดีย์หลวงที่ปรากฏในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นงานสร้างใน
สมัยพระเจ้าติโลกราช โดยส่วนยอดที่เป็นชุดฐานบัวถลาในผังแปดเหล่ียมรองรับองค์ระฆังก็เร่ิม
ปรากฏแล้วในสมัยน้ี แต่ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ส่วนงานบูรณะในสมัยพระยอดเชียงราย และ
พระเมอื งแกว้ อาจเปน็ งานบรู ณะทีไ่ ม่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมมากนัก

แนวทางท่ีสอง รูปแบบพระเจดีย์หลวงท่ีสร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช ส่วนยอดควรเป็น
ชุดฐานบัวถลาในผังกลมรองรับองค์ระฆัง เน่ืองจากเม่ือตรวจสอบเจดีย์องค์อ่ืนที่สร้างในระยะนี้พบว่า
ส่วนใหญ่มีชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังในผังกลม และมีรูปแบบที่สอดคล้องกับเจดีย์ทรงระฆังท่ีสร้าง
ร่วมสมัยกัน ส่วนการปรับเปล่ียนรูปแบบจากชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังในผังกลมมาเป็นชุดฐานบัว
รองรับองค์ระฆังในผังแปดเหล่ียมน่าจะเป็นงานบูรณะในสมัยพระเมืองแก้วแล้ว ซ่ึงปรากฏความนิยม
ในการสร้างและบรู ณะเจดีย์หลายองค์ทม่ี ชี ดุ ฐานบวั รองรับองค์ระฆังในผงั แปดเหลีย่ มในระยะนี้

85

แนวทางที่สาม พระเจดีย์หลวงในสมัยพระเจ้าติโลกราชอาจสร้างไม่เสร็จตั้งแต่แรก
เนอื่ งจากเป็นเจดยี ท์ ่มี ขี นาดใหญม่ าก ต่อมาพระยอดเชียงรายจึงได้จาลองแบบพระเจดีย์หลวงมาสร้าง
เป็นเจดีย์องค์ใหม่แต่มีขนาดเล็กลง คือ กู่พระเจ้าติโลกราช เพื่ออุทิศถวายแด่พระเจ้าติโลกราชท่ีวัด
เจ็ดยอด ตามคตินยิ มท่ีมักนารูปแบบเจดีย์องค์สาคัญๆ มาเป็นต้นแบบในการสร้างเจดีย์องค์ใหม่ และ
พระเจดยี ห์ ลวงมกี ารบรู ณะครงั้ สาคัญอีกครง้ั ในสมัยพระเมอื งแกว้ ดงั นน้ั ส่วนยอดที่เป็นชุดฐานบัวถลา
รองรบั องคร์ ะฆังในผงั แปดเหลี่ยมอาจเปน็ งานบูรณะในสมยั พระเมืองแกว้

อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนนัก แต่ผู้เขียนเช่ือว่า มีความเป็นไปได้ท่ีการ
เปล่ียนแปลงชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหล่ียมของพระเจดีย์หลวง น่าจะเป็นงานบูรณะใน
สมัยพระเมืองแก้ว หรือกลางพุทธศตวรรษท่ี 21 มาแล้ว และควรเป็นงานบูรณะก่อนเจดีย์วัดหนอง
จริน เนื่องจากสัดส่วนของเจดีย์ยังไม่เปล่ียนแปลงให้ยืดสูงมากนัก ส่วนประเด็นท่ีมีการเปรียบเทียบ
ส่วนยอดของพระเจดีย์หลวงกับส่วนยอดเจดีย์วัดเชียงม่ันว่ามีความใกล้เคียงกันมากท่ีสุดนั้น อาจ
เป็นไปได้ว่าการก่อกวมเจดีย์วัดเชียงม่ันคร้ังหลังโดยพญาแสนหลวง ในปี พ.ศ. 2114 ได้มีการจาลอง
รูปแบบมาจากพระเจดีย์หลวงซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีความสาคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนามาเป็น
ต้นแบบให้วัดเชียงมั่น จึงทาให้ลักษณะส่วนยอดของพระเจดีย์หลวงและเจดีย์วัดเชียงมั่นตั้งแต่ชั้น
หลงั คาลาดขึ้นไปมีลกั ษณะใกล้เคยี งกนั

2.4 ลวดลายปูนปัน้ และงานประดับตกแตง่
ลายปูนป้ันท่ีนามาใช้ในการตกแต่งสถาปัตยกรรมของล้านนาน้ัน อาจกล่าวได้ว่ามี
จดุ มงุ่ หมายเชน่ เดยี วกับคตินิยมในการทาลายปูนปั้นทัว่ ๆไป คือ เป็นส่วนประกอบที่ถูกนามาใช้ในการ
ประดับตกแต่งบางส่วนของสถาปัตยกรรมและบางลักษณะเท่าน้ัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาความ
ว่างเปล่าของพื้นผนังที่มีขนาดของพ้ืนผิวที่เรียบและกว้างใหญ่เกินไป หรือเพ่ือเป็นการเน้นถึง
ความสาคัญขององค์ประกอบบางส่วนของสถาปัตยกรรม ตลอดจนเป็นเจตนาที่สร้างความหมายที่มี
ความสัมพันธ์กับคติความเช่ือ และจุดมุ่งหมายในการสร้างหรือเป็นการประดับตกแต่ง โดยมุ่งถึง
แบบอยา่ งความงามตามคตนิ ิยมในช่วงเวลานน้ั ไดเ้ ชน่ เดยี วกนั 78
โดยในระยะแรกเริ่มนั้น ไม่ปรากฏเหลือหลักฐานร่องรอยของการใช้ลวดลายปูนป้ัน
สาหรบั ประดับตกแตง่ สถาปัตยกรรมไวเ้ ลย หลกั ฐานเร่มิ ปรากฏชัดเจนขึ้นต้ังแต่รัชสมัยของพญาติโลก
ราช(พ.ศ. 1985-2031) เรื่อยไปจนถึงรชั สมัยพญาเมืองแก้ว(พ.ศ. 2038-2068) โดยในช่วงเวลาน้ีถือได้
วา่ เปน็ ยุคทองของศิลปกรรมแขนงต่างๆ วัฒนธรรมตลอดจนพุทธศาสนาของเชียงใหม่และล้านนา ซ่ึง
มีหลักฐานและผลงานด้านต่างๆ ปรากฏอยู่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งลวดลายปูนป้ันประดับ

78 มารุต อมั รานนท,์ ลายปนู ปน้ั ประดบั สถาปตั ยกรรมในเมืองเชียงใหมส่ มัยราชวงศม์ งั ราย.
(วิทยานพิ นธ์ศิลปศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาวชิ าโบราณคดสี มยั ประวตั ิศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร, 2524), 35.


Click to View FlipBook Version