The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

003.ประวัติวัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

003.ประวัติวัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่

003.ประวัติวัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่

86

สถาปัตยกรรมจานวนไม่น้อยท่ีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเชียงใหม่และล้านนา ก็ได้สร้างและ
ปฏิสงั ขรณ์ขึ้นในระหว่างช่วงยุคทองของเชียงใหม่และล้านนาน้ี79

ลวดลายปูนป้ันท่ีนามาใช่ในการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมของเชียงใหม่ อาจารย์
มารตุ อัมรานนท์ ได้จาแยกประเภทของลวดลายเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ท่ีสาคัญไดด้ งั น้ี

ประติมากรรมรูปเทวดา ถูกนามาใช้มากและถือว่าเป็นแบบอย่างที่สาคัญที่สุด คือ ที่
วิหารวัดมหาโพธาราม(วัดเจ็ดยอด) ซ่ึงทาเป็นรูปเทวดานั่งและยืนประณมหัตถ์ทรงเครื่องอาภรณ์
ประดับเรียงรายอยู่ท่ีผนังสถูป นอกจากนี้ยังพบที่มณฑปปราสาท วัดพระบรมธาตุศรีจอมทอง และ
เจดีย์ทรงปราสาทที่วัดโลกโมลีอาราม เป็นต้น ซ่ึงการประดับประติมากรรมรูปเทวดาในสมัย
ราชวงศ์มังรายน้ี ได้รับอิทธิพลที่สาคัญจากประติมากรรมในลักษณะเดียวกันของศิลปกรรมแบ บ
สโุ ขทยั

ลายพันธ์ุพฤกษา สว่ นใหญเ่ ปน็ ลายประเภทเครือเถาในลักษณะก่ึงประดิษฐ์กึ่งธรรมชาติ
ท่ีถูกนามาใช้สาหรับสาหรับประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในเชียงใหม่และล้านนามากท่ีสุดและอาจ
กล่าวไดว้ ่า ลวดลายแบบน้ีเป็นเอกลกั ษณข์ องเชยี งใหม่และล้านนา จึงน่าจะเรียกเป็นศัพท์เฉพาะได้ว่า
“ลายเครือล้านนา” โดยอิทธิพลทางศิลปกรรมของลายพันธ์พฤกษาและลายเครือล้านนาน้ี ได้นาเอา
รูปแบบของศิลปกรรมจีนในลักษณะของลายประดับเครื่องถ้วยลายครามของจีน โดยเฉพาะสมัย
ราชวงศ์หยวน(Yuan) พ.ศ. 1822-1911 และราชวงศ์หมิง(Ming) พ.ศ.1911-2187 มาดัดแปลงใช้ใน
ลวดลายปูนปั้นประดับสถาปตั ยกรรมในเมืองเชยี งใหม่และล้านนา ลวดลายท่ีสาคัญที่สุด คือ ลายพันธุ์
พฤกษาในประเภทลายแบบช่อดอกไม้(Floral Sprays และ Floral Scrolls) ซ่ึงประกอบด้วยลาย
ประเภทที่สาคัญ ได้แก่ ลายช่อดอกบัว(Lotus Sprays) ลายช่อดอกโบตั๋น(Peony Sprays) และลาย
ช่อดอกเบญจมาศ(Chrysanthemum Sprays)

ตาแหน่งที่มกั นาลวดลายพันธพ์ุ ฤกษาหรอื ลายเครือล้านนาไปใช้ประดับตกแต่ง คือ ลาย
ประดับผนัง ลายประดับกรอบซุ้มหรือส่วนมุม ลายประดับส่วนโค้งตอนบนของซุ้ม และลายประดับ
สว่ นเศยี รนาค

ลายกระหนก ถูกนามาใช้ไม่มากและไม่เด่นชัดนัก ที่สาคัญ คือ ส่วนมุมซุ้มท่ีเป็นรูปตัว
เหงา จะทาลายกระหนกลักษณะเป็นช่อบรรจุอยู่ภายในและมักจะใช้คู่กันกับประติมากรรมรูปหงส์ท่ี
ยืนหนั หนา้ เขา้ สู่ด้านในของซุม้ และชหู างเป็นช่อกระหนก บางแห่งนาไปใช้กับลายบัวคอเส้ือและบัวเชิง
ล่าง เช่น ท่ีซุ้มเจดีย์วัดเจดีย์หลวง นอกจากน้ียังทาเป็นกระหนกแบบตัวเดียวหรือเส้นโค้งงอเรียงราย
กันไปเป็นแถวตามแนวความยาว โดยลายกระหนกของเชียงใหม่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลลวดลายที่

79 เร่อื งเดียวกนั , 186.

87

ประดิษฐจ์ ากธรรมชาติบางแบบของศิลปกรรมจีน คือ ลายประเภทกลุ่มต้นไม้น้าจากเคร่ืองลายคราม
เช่นเดยี วกัน

นอกจากน้ียังมีลวดลายในลักษณะอ่ืนๆ อีกบ้าง แต่ไม่ได้เป็นลวดลายหลักท่ีนามาใช้กัน
อยา่ งแพร่หลาย หรอื บางทกี ป็ รากฏอย่เู ฉพาะบางแหง่ เชน่ ลายเส้นลวด ลายเม็ดไข่ปลาหรือลูกแก้วท่ี
ใช้แบ่งค่ันลายประเภทต่างๆ ลายเมฆที่นิยมใช้ประดับส่วนบ่าของภาชนะประเภทโถหรือไห ซ่ึงเป็น
รูปทรงของกลีบบัวขอบหยัก ภายในบรรจุด้วยลายพันธุ์พฤกษา ลายเปลวไข่มุก ลายแบบกลีบมะยม
ลายรปู ทรงแบบใบเสมา เป็นตน้ 80

2.4.1 ตาแหนง่ ทต่ี กแตง่ งานปนู ป้ัน
สถาปัตยกรรมท่ีมีการนาเอาลวดลายปูนป้ันมาใช้ในการประดับตกแต่ง
แยกตามลกั ษณะรูปทรงของสถาปัตยกรรมและส่วนทส่ี ัมพันธไ์ ด้ 4 ประเภท คอื เจดยี ์ มณฑปปราสาท
(ก)ู่ ซุ้มประตโู ขง และเศยี รนาคประดับเชงิ บันได ซง่ึ เจดยี ์ทีม่ ลี ายปูนปั้นประดับตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็น
เจดยี ท์ รงปราสาทและเจดียแ์ บบพิเศษ ท่มี เี รอื นธาตปุ ระกอบ โดยลายปูนป้ันมักมีตาแหน่งที่ตกแต่งลง
ไปบนตัวอาคารหรือสถูปเจดีย์ตามแบบท่ีกาหนดไว้อย่างมีแบบแผนแน่นอน ตาแหน่งท่ีตกแต่งแต่ละ
ส่วนจะเป็นตัวกาหนดลวดลายปูนปั้นแต่ละลายด้วย โดยเฉพาะอย่างย่ิงในส่วนของซุ้มประตูหรือ
หนา้ ต่างจะเปน็ บริเวณสาคัญที่มีการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยลายเครือหรือลายพันธ์ุพฤกษาหรือลาย
เกียรตมิ ุข ซึง่ ในยคุ แรกๆ การปัน้ ปนู ตกแต่งบริเวณของผนังเรอื นธาตุจะมนี ้อยมาก ในหลายกรณีที่การ
ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นแบบใหม่ หรือตกแต่งโดยการวางลายไปบนพื้นที่ซ่ึงปรกติเป็นพื้นท่ีว่าง ย่อม
บ่งช้ีถงึ งานปูนปั้นในสมัยหลังลงมาแล้ว ดังน้ันตาแหน่งของการตกแต่งลายปูนป้ันจึงเป็นเรื่องสาคัญที่
ต้องพจิ ารณาควบคู่กันไปกบั ตัวลวดลายเองเสมอ81
2.4.2 เทคนิควิธกี ารทาปนู ป้นั ลา้ นนา
สาหรับปูนป้ันสกุลช่างล้านนา เรียกกันว่า “สตายจิน” สันนิษฐานว่า
“สตาย” หมายถงึ การผสม82 “จิน” หมายถึง การป้ัน ดังน้ัน คาว่า สตายจิน คือ การผสมปูนสาหรับ
การปั้นลวดลายนนั่ เอง ซึ่งเทคนคิ นีค้ งเป็นเทคนคิ ปูนปัน้ ที่แพร่หลายกันอยู่ในหมู่บ้านชา่ งปนู ล้านนายุค
รุ่งเรือง หรือช่างอาณาจักรล้านนาเจริญสูงสุดในระหว่างรัชกาลของพญาติโลกราชถึงสมัยพระเมือง
แก้ว คือ เป็นงานปูนปั้นที่ทาจากปูนขาวบดละเอียดเป็นผงผสมกับน้ามันงาเล็กน้อย กวนให้เข้ากัน
แลว้ หมกั ทิ้งไว้ จากนัน้ จึงใชเ้ ครอื่ งมอื ตกแต่งประกอบให้สวยงาม โดยทาในขณะที่ปูนยังไม่แข็งตัว การ

80 เรอ่ื งเดียวกนั , 187-190.
81 สุรสวสั ดิ์ สขุ สวสั ด,ิ์ เทย่ี ววัดเทยี่ ววา ชมปูนปั้นลา้ นนา, (กรงุ เทพฯ : สายธาร, 2545), 19-20.
82 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, ชีวติ ไทย “ช่างสบิ หม”ู่ , (กรงุ เทพฯ : สานกั นายกรฐั มนตร,ี

2526), 79.

88

เตรยี มทรายและปูนปัน้ ต้องรอ่ นทรายและปนู ให้ละเอยี ด สาหรับปนู ขาวแต่เดิมนัน้ ได้มาจากการนาหิน
ชนิดหนึ่งสีดาเขียว(หินปูน) มาเผาให้สุก แล้วทิ้งไว้ในท่ีร่ม หินน้ันจะผุขาวข้ึนมาเป็นปูนขาวด้วย
ความชืน้ ในอากาศ วิธีนี้จะได้ปูนขาวเป็นผงละเอียด มีคุณภาพดี แต่เนื่องจากปัจจุบันปูนขาวท่ีใช้งาน
ช่างนั้นใชน้ ้าฉีดแทนทจ่ี ะท้ิงไวใ้ หเ้ ยน็ ปูนขาวจงึ จาตัวเป็นกอ้ นเลก็ ๆ ดงั นนั้ จึงตอ้ งนามาร่อนเอาปูนขาว
ก้อนเล็กๆ ทง้ิ ไปไม่นามาบดใชเ้ ลย จะเอาแต่ปูนทร่ี ่อนมาใช้เทา่ นัน้ 83

งา นปู น ปั้น ปร ะ ดับ ส ถา ปัต ย กร ร มล้ าน น ามี ค ว า มง ด งา ม แล ะมี ลั กษ ณ ะ
ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ สุรจิต คอทอง ได้ทาการศึกษาประติมากรรมปูนป้ันล้านนาในจังหวัด
เชียงใหม่ พบว่า เทคนคิ วธิ ีการทีช่ ่างชาวล้านนาในอดตี ได้ใช้ในงานประดบั ตกแตง่ พระเจดีย์น้ัน มีอยู่ 2
วธิ ีการ คอื

ประการแรก เป็นเทคนิคปั้นปูนแบบมีโกลน คือ รองพื้นด้วยปูนก่อน
จากน้ันจึงป้ันทับด้วยลวดลายปูนปั้นอีกชั้นหน่ึง เทคนิคแบบน้ีสามารถทาให้ความรู้สึกเป็นสามมิติ
ค่อนข้างมาก มีความประณีต และจะนิยมอยู่ในช่วงสมัยตั้งแต่ล้านนายุคต้นลงมาจนถึงสิ้นสุดยุคทอง
ของล้านนา ซ่ึงมีลักษณะท่ีเป็นของตนเองและความงดงามเป็นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่าการสร้าง
งานดงั กล่าวนอ้ี าจสรา้ งด้วยจิตศรทั ธาเป็นพทุ ธบูชา

ประการท่ีสอง คือ เทคนิคการปั้นปูนแบบไม่มีโกลน เทคนิคแบบนี้เป็นการ
ปั้นปูนแปะประดับลงบนตัวเจดีย์โดยทไี่ ม่ได้มีการรองชั้นปูนไว้ก่อน ดังนั้นเทคนิคนี้จึงดูคล้ายงานที่เป็น
สองมิติ ไม่มีความตื้นลึก หนาบาง ขาดความประณีต เทคนิคดังกล่าวน้ีพบมากในงานศิลปกรรม ยุค
หลงั นบั ตัง้ แต่สมัยพม่าปกครองเมืองเชยี งใหม่เป็นต้นมา

นอกจากสองเทคนิคดังกล่าวมาแล้วนั้น ยังพบว่ามีเทคนิคพิเศษเฉพาะอีก
แบบหนึ่ง คือ การป้ันปูนแกะสลัก เทคนิคนี้เป็นการป้ันปูนลงไปก่อน จากน้ันจะทาการแกะสลัก
ลวดลายขน้ึ มา แตเ่ ทคนิคนพ้ี บน้อยมาก และมไิ ด้มอี ยู่ในเขตเมอื งเชียงใหม่84

2.4.3 วิเคราะห์ลวดลายปนู ปน้ั ประดบั พระเจดียห์ ลวง
ในส่วนของลวดลายปูนปั้นประดับพระเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่นั้น จาก
การขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อเตรียมการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยกรมศิลปากรมอบหมายให้
บรษิ ทั ศิวกรการชา่ ง จากดั เป็นผู้ดาเนินการพบว่า มีหลักฐานประติมากรรมปูนปั้นประดับเจดีย์หลวง
จานวนมากท้ัง 4 ด้าน ส่วนมากชารดุ โดยพบมากที่สุดทางด้านทิศตะวันออก ลักษณะของลวดลายปูน

83 สรุ สวสั ด์ิ สุขสวสั ด,ิ์ เอกสารหมายเลข 14 เร่ือง “การบูรณะ: พระธาตุศรจี อมทองและขอ้ สังเกต
บางประการ”. กรมศิลปากร สถาปตั ยกรรมลา้ นนา 1-3 เม.ย. 2536, 12.

84 สรุ จิต คอทอง, การศึกษารปู แบบประตมิ ากรรมปูนปัน้ ล้านนาในจงั หวัดเชียงใหม่. (การค้นควา้
แบบอิสระ ศกึ ษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชวี ศกึ ษา มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่, 2542). 19-20.

89

ปั้นท่ีพบเป็นชิ้นส่วนของปูนปั้นท่ีประดับอยู่ที่ซุ้มเรือนธาตุ บันไดนาคซึ่งเป็นรูปดอกไม้ ลายเครือเถา
และส่วนของตัวมกรคาบนาค นอกจากนี้ยังพบปูนป้ันรูปกลีบบัวจานวน 2 ช้ิน มีขนาดเท่ากัน คือ
ขนาดกว้างยาว 20x20 เซนตเิ มตร อยูท่ างด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออกด้านละช้ิน เข้าใจว่าเป็น
ส่วนกลีบบัวท่ีประดับบัวหงายใต้องค์ระฆัง และพบปูนปั้นใบโพธิ์อีก 1 ใบ ด้านทิศตะวันออก น่าจะ
เปน็ ชิ้นสว่ นทตี่ ดิ อยูใ่ นซมุ้ เหนือพระพุทธรูปในซ้มุ 85

ลวดลายปูนปั้นพระเจดีย์หลวงนี้ ถือเป็นหลักฐานสาคัญในการศึกษา
ศิลปกรรมและฝมี อื ช่างในสมยั พระเจ้าติโลกราชและพระเมืองแกว้ เนื่องจากภายหลังการพังทลายคร้ัง
ใหญเ่ มื่อราวปี พ.ศ. 2088 ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระเจดีย์หลวงเคยบูรณะเปลี่ยนแปลงรูปทรง หรือ
ลวดลายปูนปั้นอีกเลย เพราะเป็นช่วงเวลาของความเส่ือมโทรมและระส่าระส่ายในเมืองเชียงใหม่ อีก
ท้ังเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่โตมาก ดังนั้นจึงสามารถนามาใช้เป็นแบบฉบับเปรียบเทียบถึงโครงสร้าง และ
วิธีการของประติมากรรมปูนปั้นในยุคทองของล้านนาได้เป็นอย่างดี ลักษณะลวดลายปูนป้ันตกแต่งที่
หลงเหลือหลักฐานอยู่มีเพียงบางส่วน โดยเฉพาะทางด้านทิศเหนือซึ่งยังคงมีร่องรอยปูนปั้นปรากฏ
ค่อนข้างชัดเจนกวา่ ด้านอนื่ ๆ ซงึ่ มารตุ อมั รานนท์86 และสุรสวัสดิ์ สุขสวัสด์ิ87 ได้ทาการศึกษาลวดลาย
ปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมในเมืองเชียงใหม่ และได้กล่าวถึงปูนป้ันประดับพระเจดีย์หลวง พอจะ
สรุปรายละเอียดไดด้ งั น้ี

ลวดลายประดบั เสารับซ้มุ ลด
เสารับซุ้มลดทาเป็นสองชั้นซ้อนกันมีลักษณะระเบียบการประดับตกแต่ง
แบบเดียวกับที่นิยมใช้กันทว่ั ไปในเจดียข์ องเชยี งใหม่ คือ ประกอบด้วย บัวคอเสื้อ(กาบบน) บัวเชิงล่าง
(กาบล่าง) แลว้ จงึ เป็นลวดบวั ทหี่ ัวเสาซ่งึ รองรบั ส่วนโคง้ ของซุ้ม
ลายกาบบน-กาบล่าง (รูปท่ี 100) ที่พระเจดีย์หลวงน้ีผูกลายเป็นแบบ
กระหนกอยูใ่ นพืน้ ท่สี ามเหล่ียม มีทั้งลายช่อกระหนกผักกูดซึ่งเป็นลายดอกคล้ายลายเมฆไหลที่มุมเสา
และออกลายกระหนกผักกูดสลับไปมา การผูกลายลักษณะนี้ ปรากฏอยู่เฉพาะส่วนเสาคู่หน้าเท่านั้น
ส่วนลายบัวเชิงล่างที่ประดับโคนเสาไม่ปรากฏเหลืออยู่ แต่ก็น่าจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน ที่น่าสังเกต
คือ บรเิ วณปลายกระหนกผักกูดจะมีลายเปลวสะบดั ทานองเดียวกบั ทพ่ี บในลายกาบของซุ้มประตูโขง
วัดเจ็ดยอด ลายเปลวสะบัดแบบนี้เราพบมาแล้วในลายประจายามก้ามปูท่ีท้องไม้ และเปลวของลาย
เปลวไข่มุกตกแต่งวิหารวัดเจ็ดยอด บัวคอเส้ือท่ีประดับอยู่ท่ีส่วนบนของเสาคู่หลังนี้เป็นลักษณะของ

85 รายงานการบรู ณปฏิสงั ขรณ์พระเจดียห์ ลวง วดั เจดียห์ ลวงวรวหิ าร จงั หวดั เชยี งใหม่, 57.
86 มารุต อัมรานนท,์ ลายปูนป้นั ประดับสถาปัตยกรรมในเมอื งเชยี งใหมส่ มัยราชวงศ์มังราย, 89-
97.
87 สรุ สวสั ด์ิ สุขสวัสด,์ิ ม.ล., เทยี่ ววัดเทีย่ ววา ชมปนู ปั้นล้านนา, 113-119.

90

ลายพันธุ์พฤกษาที่ประกอบด้วยดอกและใบประดับตกแต่งอยู่ภายใน โดยมีกรอบซ่ึงทาเป็นแบบเส้น
ลวดบังคบั อยู่

รูปท่ี 101: ลายดอกโบตั๋นตกแต่งวหิ ารเจด็ ยอด รูปท่ี 100: ลวดลายปูนป้นั ประดบั เสารบั ซมุ้ ลด
ทมี่ า: สารวจเมือ่ วันท่ี 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 พระเจดยี ห์ ลวงดา้ นทิศเหนอื
ทมี่ า: สารวจวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

สว่ นบัวเชงิ ล่างซ่งึ ประดบั โคนเสาทาเป็นแบบ
ช่ อ ด อ ก ไ ม้ ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย ก้ า น แ ล ะ ใ บ อ ยู่ ภ า ย ใ น
เปรียบเทียบได้กับลายดอกมุมเสาในกาบล่างของซุ้ม
ประตูโขงวัดเจ็ดยอด ซึ่งอาจคล่ีคลายมาจากลายดอก
โบต๋ัน(รูปท่ี 101) ตกแต่งวิหารเจ็ดยอดนั่นเอง อัน
แสดงถึงลักษณะงานปูนปั้นร่วมสมัยกันระหว่างวัด
เจด็ ยอดและองคพ์ ระเจดีย์หลวงท่ีสร้างในรัชกาลพระ
เจ้าตโิ ลกราชน้ี

กรอบซ้มุ จระนา
ในส่วนของกรอบซุ้มจระนาด้านทิศเหนือ(รูปที่ 102) ซึ่งเป็นซุ้มลด คือมี
ส่วนด้านหน้าและส่วนด้านหลัง คงเหลือร่องรอยท่ีปรากฏเพียงบางส่วน น่าจะมีการประดับแต่ละชั้น
เป็น 2 แถว เรียงขนานกันไปตามแนวโค้ง หลักฐานที่เหลืออยู่ของซุ้มด้านนอก ส่วนล่างเป็นลายพันธ์ุ
พฤกษาที่เป็นลายเครอื มกี ้านและใบขนาดใหญ่ เล้อื ยไปตามแนวความโค้ง โดยมีแนวเส้นลวดบังคับอยู่
ท้ังส่วนล่างและบน เหนือเส้นลวดขึ้นไปเป็นแบบลายกระหนกเรียงรายขนานกันไปกับลายแบบพันธ์ุ
พฤกษาท่ีส่วนล่าง ท่ีมุมท้ัง 2 ข้างของกรอบซุ้มทั้งด้านหน้าและหลังนั้น ปรากฏอยู่เฉพาะแต่กรอบซุ้ม
ด้านหลังทาเป็นรูปโครงสร้างของตัวเหงาภายในบรรจุด้วยลายกระหนก ส่วนกรอบซุ้มด้านหน้าเหลือ
เฉพาะโครงสรา้ งทก่ี อ่ ด้วยอิฐในลักษณะของตัวเหงาเช่นกัน แต่ไม่ปรากฏลวดลายเหลืออยู่เลย บริเวณ

91

ก่ึงกลางของกรอบซุ้มท้ังด้านหน้าและหลังทาเป็นแบบมุมยอดแหลม ด้านหน้าไม่ปรากฏลวดลาย
ด้านหลังเหลือลวดลายประดับอยู่บางส่วนท่ีทาให้ทราบได้ว่าเป็นแบบลายกระหนก ลวดลายประดับ
กรอบซุม้ จระนาพระเจดยี ห์ ลวงน้ี มลี ักษณะลายเชน่ เดยี วกับลายเครือท่ีมีมาแต่แรกในกรอบซุ้มจระนา
รอบเจดีย์วัดป่าแดงหลวง(รูปท่ี 103) ปลายซุ้มซ้อนช้ันบนเป็นลายกระหนกผักกูดขนาดใหญ่ตาม
สดั ส่วนของเรอื นธาตุ

รูปท่ี 102: ซุ้มจระนาด้านทศิ เหนอื วดั เจดยี ห์ ลวง รปู ท่ี 103: ซุ้มจระนารอบเจดยี ์วดั ป่าแดงหลวง
ทม่ี า: สารวจเมือ่ วนั ท่ี 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 ทม่ี า: สารวจเมื่อวนั ท่ี 22 มนี าคม พ.ศ. 2555

ลายมกรคายนาค
ที่เชิงบันไดทั้ง 4 ด้านของพระเจดีย์หลวง มีมกรคายนาค(รูปที่ 104) เป็น
ราวบันไดซึ่งนิยมกันท่ัวไปในเชียงใหม่และล้านนา เศียรนาคทาเป็นรูปทรงสูงข้ึนไปคล้ายงู มีลวดลาย
ตกแต่งเหนือเศียรนาคทาให้ดูคล้ายสวมกระบังหน้ารูปทรงกรวยพับมุมตรงกลางเล็กน้อย ในส่วนนี้มี
การออกลายดอกและเครือก้านใบตามแนวดิ่งของสันกระบัง สองข้างออกลายตามแนวนอนมีเส้นลวด
ค่นั เร่ิมจากแถวบนเป็นลายกระหนกผกั กดู ท่มี เี ปลวสะบัดออกมาอกี เช่นกัน ถัดลงมาเป็นแถวลายดอก
คล้ายลายเมฆไหลลักษณะลายเช่นเดียวกับท่ีกล่าวถึงมาแล้วในลายกาบบนของเสารับซุ้มเจดีย์หลวง
ถัดลงมาเป็นแถวลายดอกขนาดเล็ก แถวของลายเครือก้านใบ และแถวของลายเปลวไข่มุก ซึ่งมี
ลกั ษณะของเปลวไม่สะบัด แต่มีการกรีดเส้นล้อ ซ่ึงมีต้นแบบมาจากลายเปลวไข่มุกอีกประเภทท่ีวิหาร
เจ็ดยอด นอกเหนือจากลายเปลวไข่มุกท่ีมีเปลวสะบัดดังกล่าวมาแล้ว ปิดท้ายแถวล่างสุดด้วยลาย
เครือกา้ นใบ น่าสงั เกตว่าการออกลายส่วนกระบังหน้าของนาคราวบันไดพระเจดีย์หลวงเรียงกันอยู่ใน
แนวนอนน้ีมิได้เกิดข้ึนคร้ังนี้เป็นครั้งแรก หากมีมาแล้วอย่างชัดเจนในลายมกรคายนาคของซุ้มจระนา
วดั ปา่ สัก เชยี งแสน(รูปท่ี 105)

92

รปู ท่ี 104: กระบงั หน้าเหนือเศยี รนาค ราวบันไดมกรคาย รปู ที่ 105: กระบังหน้าเหนอื เศียรนาคทซ่ี ุ้มจระนา
นาควัดเจดยี ห์ ลวง วดั ป่าสัก เชยี งแสน จ.เชียงราย
ทม่ี า: สารวจเมอ่ื วนั ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 ที่มา: สารวจเม่ือวนั ที่ 24 มนี าคม พ.ศ. 2555

นอกจากน้ียังพบว่ามีร่องรอยการประดับพระเจดีย์หลวงด้วยการหุ้มแผ่น
ทองจังโกปดิ ทองคาเปลวเหลืออยู่เป็นบางส่วนท่ีบริเวณเรือนธาตุย่อเก็จ และพบหลักฐานแผ่นทองจัง
โกท้ังขนาดใหญ่เล็กและเป็นชิ้นส่วนเป็นจานวนมาก ซ่ึงสอดคล้องกับท่ีกล่าวไว้ในเอกสารทาง
ประวัติศาสตร์ว่ามี การหุ้มทองพระเจดียใ์ นสมยั พระเมืองแกว้

ลวดลายปูนป้ันประดับพระเจดีย์หลวง นับเป็นหลักฐานที่สาคัญใน
การศกึ ษาศิลปกรรมและลวดลายที่สร้างขน้ึ และนิยมในสมยั พระเจ้าติโลกราชและพระเมืองแก้วซ่ึงเป็น
ยุคทองของล้านนา เน่ืองจากหลังจากการพังทลายจากแผ่นดินไหวคร้ังใหญ่เม่ือปี พ.ศ. 2088 ก็ไม่
ปรากฏหลักฐานการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์หลวงอีกเลย ดังน้ันจึงเช่ือว่ารูปแบบศิลปกรรมและ
ลวดลายปูนป้ันพระเจดีย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่น่าจะสร้างขึ้นในสมัยนี้ จากการสารวจพบว่ามีลวดลาย
ปูนป้ันเหลือเพียงบางส่วน คือ บริเวณซุ้มจระนา เสารับซุ้มลด บันไดมกรคายนาค และกรอบช่อง
กระจกบริเวณระเบียงทางเดินประทักษิณด้านบน ในส่วนของลวดลายปูนปั้นท่ีประดับ จะเป็นลาย
พันธพุ์ ฤกษาและลายกระหนกเปน็ สว่ นใหญ่ มีลักษณะลายที่ใกล้เคียงกับลายปูนป้ันท่ีวัดเจ็ดยอด และ
วัดป่าแดงหลวง ซ่ึงสร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช แต่รายละเอียดจะแตกต่างกันบ้าง เน่ืองจาก
เอกลกั ษณ์ของลายปูนป้ันลา้ นนาหรือวา่ “สะตายจิน” นนั้ จะนิยมออกลวดลายท่ีเป็นอิสระ ไม่นิยมทา
ตามซ้าๆกัน แต่มีองค์ประกอบและความรู้สึกหรืออารมณ์ของลวดลายเท่าน้ันท่ีเหมือนกัน โดยเฉพาะ
อย่างย่ิงเม่ือสารวจลวดลายปูนปั้นในช่วงยุคทองล้านนานั้น จะพบว่ามีรูปแบบของลวดลายไม่ซ้ากัน
เลย ดังน้ันเราจึงสามารถศึกษาได้เพียงรูปแบบของลวดลายที่นิยมสร้างในสมัยนั้น เพื่อเป็นข้อ
สันนิษฐานลวดลายทน่ี า่ จะเป็นไปได้สาหรับใชต้ กแต่งพระเจดยี ์หลวง แตไ่ ม่สามารถกาหนดไปได้แน่ชัด
ว่า ลวดลายปูนปั้นประดับซุ้มจระนาและส่วนอื่นๆ ของพระเจดีย์หลวงท่ีไม่หลงเหลือร่องรอยปูนป้ัน
นั้นเป็นแบบใด

บทท่ี 4
บทสรปุ และรูปแบบสนั นษิ ฐานภาพ 3 มติ ิ พระเจดีย์หลวง

พระเจดยี ห์ ลวง วดั เจดยี ์หลวง จังหวดั เชียงใหม่ เป็นเจดยี ข์ นาดใหญ่ที่มีความสาคัญ และ
ปรากฏร่องรอยการบูรณะสร้างทับซ้อนกันหลายคร้ัง ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารและตานานต่างๆที่
กล่าวถึงการสร้างและบูรณะวดั ของกษัตรยิ ล์ า้ นนาในหลายรชั สมัย โดยในการศึกษาค้นคว้าท่ีผ่านมาได้
มีข้อคิดเหน็ เก่ียวกับองค์พระเจดีย์หลวงที่แตกต่างกันไป ทั้งข้อสันนิษฐานว่าส่วนยอดที่หักหายไปควร
มีลักษณะอย่างไร บันไดนาคท่ีเทปูนเรียบไม่มีข้ันบันได อุโมงค์ภายในองค์เจดีย์ และประเด็นปัญหา
อืน่ ๆ ท่ยี ังหาข้อสรุปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการศึกษาและทารูปแบบสันนิษฐานมาบ้างแล้ว แต่ก็
ยังมีความสับสนในด้านข้อมูล และหลักฐานท่ีมีอยู่มีความขัดแย้งกัน จึงเป็นประเด็นสาคัญใน
การศกึ ษาและทารูปแบบสนั นษิ ฐานภาพ 3 มติ ิ โดยมขี ้อสรปุ ดงั น้ี

ชนั้ ประทักษิณ (ชา้ งล้อม)

ชดุ ฐานบัวควา่ บวั หงาย

ชนั้ เขยี ง 2 ชนั้
ฐานเขยี ง

ทางเข้าอโุ มงคข์ า้ งบันได บนั ไดมกรคายนาค 5 เศยี ร

รูปที่ 106: ลายเสน้ ส่วนฐาน รปู แบบสันนิษฐานพระเจดยี ห์ ลวง

สว่ นฐาน (รปู ท่ี 106)
ส่วนฐานของพระเจดีย์หลวงปรากฏร่องรอยการบูรณะ และสร้างทับซ้อนกันหลายครั้ง
โดยมลี ักษณะเปน็ ฐานเขยี ง 1 ฐาน และช้ันเขียงซ้อนกัน 2 ชั้น ต่อด้วยชุดฐานบัวคว่า-บัวหงายซึ่งเป็น
รูปแบบฐานของเจดีย์ล้านนา ถัดขึ้นมาเป็นชั้นประทักษิณท่ีมีระเบียงล้อมรอบ บริเวณช้ันประทักษิณ
ประดับด้วยประติมากรรมรูปช้างปูนปั้นคร่ึงตัวโดยรอบ ซึ่งการนาช้างมาล้อมฐานเจดีย์เป็นรูปแบบที่
ไดร้ บั ความนยิ มมากในสมัยพระเจ้าตโิ ลกราช ดงั ปรากฏในเจดีย์หลายองคท์ สี่ ร้างขน้ึ ในสมยั น้ี

93

94

ทางเขา้ อโุ มงคข์ า้ งบนั ได

รปู ที่ 107: รูปแบบสันนิษฐานพระเจดยี ์หลวง ส่วนบนั ไดนาคและอโุ มงค์ทางเข้าภายในเจดีย์

บริเวณข้างบันไดทุกด้านยังคงปรากฏร่องรอยอุโมงค์ทางเข้าไปภายในองค์เจดีย์ (รูปท่ี
107-109) มีลกั ษณะเปน็ อโุ มงค์ 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูนเรียบ ไม่มีการเจาะช่องแสง ไม่มีลวดลายประดับ
แต่ปัจจุบันถูกก่ออิฐปิดทางเข้าไปเกือบหมดทุกด้านเหลือให้เห็นเป็นช่องเพียง 2 ด้านเท่าน้ัน ซ่ึงใน
อดีตมีการสันนิษฐานว่าอุโมงค์ดังกล่าวน่าจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบันไดมกรคายนาคทั้ง 4 ทิศ
คือ เน่ืองจากบันไดนาคมีลักษณะก่ออิฐฉาบปูนเรียบ ไม่มีขั้นบันได จึงต้องใช้ทางเดินภายในอุโมงค์
เพอื่ เปน็ เส้นทางไปส่ชู ัน้ ประทกั ษณิ ดา้ นบน แต่จากการตรวจสอบหลักฐานภาพถ่ายเก่าก่อนการบูรณะ
พบว่าบันไดนาคทางด้านทิศเหนือยังคงปรากฏขั้นบันไดทอดยาวตั้งแต่ส่วนฐานไปถึงช้ันประทักษิณ
ดา้ นบน ดังนั้นจึงเชื่อว่าบันไดมกรคายนาคในอดีตน่าจะมีการทาขั้นบันไดครบทุกด้าน เพ่ือขึ้นไปสู่ชั้น
ประทักษณิ ด้านบนได้ สว่ นทางเดนิ ภายในอุโมงคอ์ าจสร้างขึ้นตามคติเพื่อใช้เป็นทางสาหรับเข้าไปบูชา
พระบรมสารีริกธาตุท่ีอยู่ภายในองค์เจดีย์ แต่ไม่ใช่เป็นทางเดินหลักสาหรับข้ึนไปช้ันประทักษิณ
ด้านบนเนื่องจากอุโมงค์มีขนาดเล็ก ไม่มีการเจาะช่องให้แสงผ่านเข้ามา และไม่สะดวกต่อการใช้งาน
รองรับคนจานวนมาก

มีข้อสังเกตว่าความสูงของฐานเขียงช้ันแรกปิดปากทางเข้าอุโมงค์ไว้เกือบมิด นอกจากน้ี
ยังมีบางส่วนปิดทับส่วนฐานบัวคว่า บัวหงายท่ีรองรับบันไดนาค ซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยปูนป้ัน
ประดับเป็นรูปลายเมฆท่ีมีลักษณะเดียวกับลวดลายช่องกระจกที่ฐานพระพุทธรูปในซุ้มจระนาพระ
เจดีย์หลวงมีจารึกระบุปีการสร้างตรงกับสมัยพระเจ้าติโลกราช ดังน้ันจึงเชื่อว่าส่วนฐาน ชั้น
ประทกั ษิณท่มี ชี า้ งลอ้ ม อุโมงค์ทางเดนิ ภายในเจดีย์ และบันไดนาคน่าจะเป็นงานสร้างใหม่ในสมัยพระ
เจา้ ติโลกราช สว่ นฐานเขียงชน้ั แรกทม่ี ีความสงู เกือบปดิ ปากอโุ มงค์นีน้ า่ จะเปน็ งานบรู ณะ หรือสร้างข้ึน
ภายหลงั จากทสี่ ร้างเจดีย์เสร็จแลว้

95

ทางเข้าอโุ มงคข์ ้างบันได บันไดภายในอุโมงค์ขน้ึ ไปสชู่ น้ั บน

รูปท่ี 108: ภาพจาลองแผนผังอุโมงคท์ างเดนิ ภายในพระเจดยี ห์ ลวง

96

บันไดภายในอโุ มงคข์ ้นึ ไปสู่ชัน้ บน

ทางเข้าอโุ มงค์ขา้ งบันได

ทางเดนิ ชั้นนี้เดนิ ทะลกุ นั ไดร้ อบทงั้ 4 ดา้ น

รูปท่ี 109: ภาพจาลองแผนผังอุโมงคท์ างเดนิ ภายในพระเจดยี ห์ ลวง

เนื่องจากเจดีย์ค่อนข้างทรุดโทรม มีการก่ออิฐปิดทึบทางเดินภายในอุโมงค์เป็นระยะๆ
เพ่อื คา้ ยนั ไม่ให้เจดีย์พังทลาย ทาให้ไม่สามารถเข้าไปสารวจเก็บข้อมูลภาคสนามได้ จึงได้ศึกษาข้อมูล
จากเอกสารบันทึกการขุดค้นก่อนการบูรณะโดยกรมศิลปากร รวมถึงแผนผังแสดงช่องทางเดินและ
วีดีโอที่บันทึกภาพภายในอุโมงค์พระเจดีย์หลวง เพ่ือนามาทาเป็นต้นแบบในการทาภาพสันนิษฐาน
ภายในอุโมงค์ จากภาพแสดงให้เห็นว่าเมื่อเดินผ่านช่องทางเข้าบริเวณข้างบันไดแต่ละด้านเข้ามา
ภายในอุโมงค์แล้วจะมีบันไดทางข้ึนไปสู่ชั้นบนตาแหน่งเดียวกับชุดฐานบัวคว่า บัวหงาย โดยทางเดิน
ภายในชั้นน้ีเช่ือว่าสามารถทะลุกันได้โดยรอบท้ัง 4 ด้าน จากอุโมงค์ชั้นล่างมีช่องบันไดข้ึนไปสู่อุโมงค์
ชั้นท่ีสอง ตาแหนง่ เดียวกบั หน้ากระดานท่ีมีช้างล้อมช้ันประทักษิณ ที่ส่วนปลายช่องอุโมงค์ช้ันบนได้มี
การขุดสารวจเฉพาะด้านทิศเหนือ มีลักษณะเป็นบันไดทอดข้ึนไปสู่ข้างบน แต่ส่วนปลายถูกก่ออิฐปิด
ตนั ทาให้ไม่มีชอ่ งทางออกไปสูร่ ะเบียงชนั้ บนได้ ตอ่ มามกี ารขุดเจาะอุโมงค์ทะลุผ่านบริเวณระเบียงมุม
เรือนธาตุด้านทศิ ตะวนั ออกเฉียงเหนือ เพ่ือพสิ ูจน์ข้อสนั นิษฐานท่ีว่าในอดีตมีการใช้อุโมงค์เพ่ือเป็นทาง
ข้ึนไปสู่ระเบียงเรือนธาตุได้หรือไม่ พบว่ามิได้มีหลักฐานการก่อปิดอุโมงค์ไว้ตามข้อสมมุติฐานแต่
ประการใด อโุ มงคค์ งจะทาไวแ้ ต่แรกเพียงเท่าน้ี

97

รปู ท่ี 110-111: รูปแบบสนั นษิ ฐานส่วนเรือนธาตุ พระเจดียห์ ลวง

98

เรอื นธาตุ (รปู ที่ 110-111)
มีลกั ษณะผังสเ่ี หล่ยี มเพิม่ มมุ มมี ุมขนาดใหญท่ งั้ มุมประธานและมุมท่ีเพิ่ม เรือนธาตุแต่ละ
ดา้ นมีซมุ้ จระนาประดิษฐานพระพทุ ธรปู ขนาดใหญท่ ง้ั 4 ทศิ ตวั ซุม้ มลี กั ษณะเป็นซุ้มลดก่ออิฐวงโค้งลึก
เข้าไปภายในเรือนธาตุ โดยการซ้อนแบบจระนาซุ้มลดน้ันนิยมทากันมากในช่วงพุทธศตวรรษน้ี ส่วน
กรอบซุ้มเป็นกรอบวงโค้งแบบซุ้มหน้านางซ่ึงเป็นอิทธิพลศิลปะสุโขทัย จากหลักฐานพบว่าซุ้มจระนา
ด้านทิศตะวันออกมีการก่ออิฐปิดทึบต้ังแต่ด้านล่างถึงส่วนบนของช่องซุ้มจระนา เปิดเพียงช่องเล็กๆ
ตรงสว่ นฐานดา้ นลา่ งไว้ ภายในมฐี านชุกชสี าหรับประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ โดยมีผู้สันนิษฐานว่าการ
ทซ่ี มุ้ จระนาด้านทิศตะวนั ออกนี้แตกต่างจากด้านอ่ืน เนื่องจากเคยเป็นท่ีประดิษฐานพระแก้วมรกตมา
กอ่ น จงึ ไดม้ กี ารก่ออฐิ ปดิ ซุ้มด้านนแี้ ละทาช่องมปี ระตปู ิดเปิดได้เพ่ือเป็นการป้องกันรักษาองค์พระแก้ว
มรกต แตจ่ ากการศึกษาข้อมูลแลว้ เช่ือวา่ ซมุ้ จระนาด้านทิศตะวันออกท่ีก่ออิฐปิดทึบนั้น น่าจะเป็นการ
ก่อขึ้นภายหลังที่เจดีย์พังทลายลงมาแล้ว เน่ืองจากลักษณะของการก่ออิฐท่ีค่อนข้างหยาบ และเม่ือ
สารวจภายในซุ้มจระนาทิศตะวันตกยังพบลกั ษณะการก่ออฐิ คลา้ ยๆกนั แตไ่ มส่ งู เทา่ นอกจากน้ีภายใน
ซุ้มจระนาด้านทิศตะวันออกด้านหลังกาแพงอิฐ ยังพบหลักฐานเป็นร่องรอยลงรักปิดทองจังโก ซึ่งมี
ลักษณะเหมือนกับท่ีพบในซุ้มจระนาด้านทิศตะวันตกอีกด้วย ดังนั้นจึงเชื่อว่าซุ้มจระนาด้านทิศ
ตะวนั ออกควรจะมีลกั ษณะแบบเดียวกันซุ้มจระนาอีก 3 ด้านท่ีเหลือและมีการก่ออิฐปิดทึบซุ้มจระนา
ดา้ นทิศตะวนั ออกในภายหลัง

รูปท่ี 112: รปู แบบสันนิษฐานสว่ นยอด พระเจดยี ์หลวง

99

สว่ นยอด (รูปที่ 112)
ส่วนยอดมีลักษณะเป็นหลังคาเอนลาดเพิ่มมุมต่อเนื่องจากเรือนธาตุซ้อนลดหล่ันกัน 2
ช้ัน ทุกมุมของชายคาหลังคาลาดมีร่องรอยประดับส่วนงอนข้ึนคล้ายที่เรียกว่า “หางวัน” และมี
รอ่ งรอยรูปสามเหลี่ยมประดับที่มุมเหนือหลังคาลาดชั้นท่ี 2 โดยแนวเอนลาดของหลังคาทรงปราสาท
ทาให้ไม่มีพ้ืนที่เพียงพอสาหรับประดับเจดีย์ท่ีมุมทั้งสี่ ดังนั้นเจดีย์หลวงจึงมีระเบียบกระพุ่มยอดเดียว
สันนิษฐานว่าลักษณะดังกล่าวคงปรับเปล่ียนในสมัยพระเจ้าติโลกราช นับเป็นการเปลี่ยนแปลงคร้ัง
สาคัญของเจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะล้านนา เป็นการผสมผสานระหว่างเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา
กับเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด จนเกิดเป็นเจดีย์รูปแบบใหม่ คือ เจดีย์ทรงปราสาทยอดเดียวแบบ
ล้านนา
เหนอื ชัน้ หลงั คาลาดเป็นชุดบัวถลาในผงั แปดเหลี่ยมซ้อนลดหล่ันกัน 3 ช้ัน ซึ่งควรรองรับ
องค์ระฆัง บัลลังก์ ปล้องไฉนและปลีตามลาดับ แต่ปัจจุบันพังทลายไปหมดแล้ว จากการศึกษาพบว่า
เจดีย์ล้านนาท่ีมีชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยมนิยมสร้างกันมากในสมัยพระเมืองแก้ว
เพราะพบหลักฐานที่กล่าวถึงการสร้างหรือบูรณะเจดีย์หลายองค์ท่ีมีฐานบัวในผังแปดเหล่ียมในสมัยนี้
ซึ่งพบท้ังเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงปราสาทยอด ต่อมาในช่วงปลายพุทธศตวรรษท่ี 21 พัฒนาการ
ของเจดีย์ได้พยายามเน้นความสูงของเจดีย์ให้มากข้ึน โดยยืดส่วนฐานให้สูงขึ้น ขณะท่ีส่วนยอดและ
องค์ระฆังมีขนาดเล็กลงมากดัง ดังนั้นจึงเช่ือว่าการเปลี่ยนแปลงชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังของพระ
เจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ที่เปล่ียนแปลงในสมัยพระเจ้าติโลกราชน่าจะเปรียบได้กับส่วนยอดของ
เจดีย์บรรจุอัฐิของพระองค์ในวัดเจ็ดยอด ท่ีพระเจ้ายอดเชียงรายสร้างข้ึน หรือเปรียบเทียบกับเจดีย์
ทรงระฆังในระยะเดียวกัน ส่วนการปรับเปลี่ยนจากชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังเป็นผังแปดเหล่ียม
น่าจะเป็นงานบูรณะในสมัยพระเมืองแก้ว หรือกลางพุทธศตวรรษที่ 21 และควรเป็นงานบูรณะก่อน
เจดยี ์วดั หนองจริน เนอื่ งจากสดั ส่วนของเจดีย์ยงั ไมเ่ ปล่ยี นแปลงใหย้ ดื สูงมากนกั โดยส่วนยอดของพระ
เจดีย์หลวงท่ีหายไปอาจเปรียบเทียบได้กับเจดีย์ทรงระฆังล้านนาท่ีสร้างร่วมสมัยกัน ซึ่งพบว่ามีการ
ปรับเปลย่ี นชดุ ฐานบัวรองรบั องค์ระฆังจากผงั กลมเป็นผังแปดเหล่ยี มในระยะเวลาเดียวกัน
ลวดลายปูนป้ันประดับพระเจดีย์หลวง นับเป็นหลักฐานท่ีสาคัญในการศึกษาศิลปกรรม
และลวดลายท่ีสร้างข้ึนและนิยมในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพระเมืองแก้วซ่ึงเป็นยุคทองของล้านนา
เนื่องจากหลังจากการพังทลายจากแผ่นดินไหวคร้ังใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2088 ก็ไม่ปรากฏหลักฐานการ
บูรณปฏสิ ังขรณพ์ ระเจดยี ์หลวงอกี เลย ดังน้นั จึงเชอ่ื ว่ารปู แบบศิลปกรรมและลวดลายปูนปั้นพระเจดีย์
ในปัจจุบันส่วนใหญ่น่าจะสร้างข้ึนในสมัยน้ี ในส่วนของลวดลายปูนปั้นที่ประดับ จะเป็นลายพันธ์ุ
พฤกษาและลายกระหนกเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะลายท่ีใกล้เคียงกับลายปูนป้ันที่วัดเจ็ดยอด และวัด
ปา่ แดงหลวง ซงึ่ สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช แต่รายละเอียดของลวดลายแตกต่างกันบ้าง เน่ืองจาก

100

เอกลักษณ์ของลายปูนปั้นล้านนาหรือว่า “สะตายจิน” ที่จะนิยมออกลวดลายท่ีเป็นอิสระ ไม่ทา
ลวดลายซ้าๆกัน แต่มอี งคป์ ระกอบและความรู้สกึ หรืออารมณ์ของลวดลายเทา่ นน้ั ท่เี หมือนกนั

กล่าวโดยสรุปจากการศึกษาข้อมูลเก่ียวกับพระเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง จังหวัด
เชียงใหม่ เชื่อว่ารูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในปัจจุบัน ส่วนใหญ่น่าจะเป็นงานสร้างในสมัย
พระเจ้าติโลกราช เน่ืองจากเป็นรูปแบบและลวดลายท่ีนิยมสร้างกันในสมัยนั้น รวมถึงหลักฐาน
ทางด้านเอกสารที่ระบุถึงการเปลี่ยนแปลงส่วนยอดของเจดีย์ทรงปราสาทมาเป็นกระพุ่มยอดเดียวใน
สมยั ของพระองค์ ขณะทีส่ ่วนยอดหายไป ยังคงปรากฏร่องรอยชุดฐานบัวถลา 3 ช้ัน รองรับองค์ระฆัง
ผังแปดเหล่ียม สันนิษฐานว่าน่าเป็นงานบูรณะในสมัยพระเมืองแก้วหรือกลางพุทธศตวรรษท่ี 21
มาแล้ว และควรเป็นงานบูรณะก่อนเจดีย์วัดหนองจริน เน่ืองจากสัดส่วนของเจดีย์ยังไม่เปลี่ยนแปลง
ให้ยดื สูงมากนัก และยังพบหลกั ฐานท่กี ลา่ วถึงการสรา้ งหรือบรู ณะเจดยี ห์ ลายองค์ท่มี ีฐานบัวในผังแปด
เหลีย่ มในสมัยพระเมืองแกว้ ส่วนที่มีการเปรยี บเทียบส่วนยอดของพระเจดยี ห์ ลวงกบั ส่วนยอดเจดีย์วัด
เชียงม่ันว่ามีความใกล้เคียงกันมากท่ีสุดน้ัน อาจเป็นไปได้ว่าการก่อกวมเจดีย์วัดเชียงมั่นครั้งหลังโดย
พญาแสนหลวง ในปี พ.ศ. 2114 ได้มีการจาลองรูปแบบมาจากพระเจดีย์หลวงซึ่งเป็นเจดีย์ที่มี
ความสาคัญและมีขนาดใหญ่ท่ีสุดในล้านนามาเป็นต้นแบบให้วัดเชียงม่ัน จึงทาให้ลักษณะส่วนยอด
ของพระเจดีย์หลวงและเจดีย์วัดเชียงมั่นตั้งแต่ช้ันหลังคาลาดข้ึนไปมีลักษณะใกล้เคียงกัน หรืออาจ
เปรียบเทียบได้กับเจดีย์ทรงระฆังในผังแปดเหล่ียมที่สร้างร่วมสมัยกัน ซ่ึงพบว่ามีการปรับเปล่ียนชุด
ฐานบวั รองรบั องค์ระฆังจากผังกลมเป็นผงั แปดเหลยี่ มในระยะเวลาเดียวกนั

101

ลายเสน้ และรปู แบบสันนิษฐานภาพ 3 มติ ิ

สว่ นยอด
เรอื นธาตุ
สว่ นฐาน
รปู ที่ 113: ลายเส้นรปู แบบสนั นษิ ฐานพระเจดยี ห์ ลวงแบบสมบรู ณ์

102

รูปที่ 114: รูปแบบสันนษิ ฐานภาพ 3 มติ ิ พระเจดยี ห์ ลวง (ดา้ นขา้ ง)

103

รูปที่ 115: รูปแบบสนั นษิ ฐานภาพ 3 มิติ พระเจดยี ์หลวง (ดา้ นบน)

104

รปู ท่ี 116: รปู แบบสันนษิ ฐานภาพ 3 มิติ พระเจดยี ์หลวง

105

รปู ท่ี 117: รูปแบบสนั นษิ ฐานภาพ 3 มติ ิ พระเจดยี ์หลวง
รูปที่ 118: รูปแบบสนั นิษฐานภาพ 3 มติ ิ พระเจดยี ์หลวง

106

รายการอา้ งอิง

กรมศลิ ปากร. ประชมุ พงศาวดารภาคท่ี 61. กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พ์อักษรโสภณ, 2479.
_________. พงศาวดารโยนก. สานกั พิมพ์ศิลปาบรรณาคาร. พระนคร : โรงพมิ พร์ ุ่งเรืองรตั น์, 2504.
คณะกรรมการจดั พิมพ์เอกสารประวัตศิ าสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี. ประชมุ ศิลาจารึกภาคท่ี 3.

กรงุ เทพฯ : สานักทาเนยี บนายกรัฐมนตรี, 2508.
คณะกรรมการเอกลกั ษณ์ของชาติ. ชีวิตไทย “ช่างสบิ หมู่”. กรงุ เทพฯ : สานกั นายกรฐั มนตรี, 2526.
โครงการบรู ณะพระเจดยี ์หลวง. หน่วยศลิ ปากรท่ี 4 กองโบราณคดี กรมศลิ ปากร.
โครงการอทุ ยานประวตั ิศาสตร์สโุ ขทัย รายงานการขดุ ค้นแหลง่ โบราณคดี “วดั ศรีชุม” 2524.
จารึกลา้ นนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลาปาง ลาพนู และแม่ฮ่องสอน. กรงุ เทพ : กรม

ศิลปากร, 2551.
จิรศักด์ิ เดชวงศญ์ า. “องคป์ ระกอบสถาปัตยกรรมรูปสามเหล่ียมของเจดยี ล์ า้ นนามาจากไหน” เมือง

โบราณ. ปีท่ี 27 ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2544).
_________. พระเจดยี ์เมอื งเชียงแสน. เชียงใหม่ : สรุ ิวงศบ์ คุ๊ เซนเตอร์, 2539.
_________. พระเจดียเ์ มอื งเชียงใหม่. เชยี งใหม่ : สานกั พิมพ์วรรณรักษ์, 2541.
จีราวรรณ แสงเพ็ชร์. ระบบการจัดและการประดิษฐานพระบรมสารรี ิกธาตใุ นประเทศไทย. วทิ ยานพิ นธ์

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบณั ฑติ สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร
,2552.
ฉา่ ทองคาวรรณ, อา่ นและอธิบายคา. “จารึกหลักท่ี 76 ศิลาจารึกวัดชียงมัน่ จงั หวัดเชียงใหม่” ประชมุ
ศิลาจารกึ ภาค 3. กรงุ เทพฯ : คณะกรรมการจัดพมิ พเ์ อกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
และโบราณคดี สานักนายกรัฐมนตรี, 2508.
_________. คาอา่ นจารกึ วัดเชยี งมั่น ดา้ นท่ี 1. เขา้ ถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2557. ฐานข้อมูลจารึกใน
ประเทศไทย http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_image_
detail.php?id=1425
เชษฐ์ ตงิ สัญชล.ี “เจดยี ์กลุ่มอิทธพิ ลลังกาในศลิ ปะพม่าโดยสังเขป” เอกสารประกอบโครงการเสวนา
วิชาการด้านประวตั ิศาสตร์ศลิ ปะ ความสมั พันธท์ างพทุ ธศาสน์-พทุ ธศลิ ป์ระหว่างศรีลงั กา
พมา่ และไทย. ภาควิชาประวัติศาสตร์ศลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร.
กรงุ เทพฯ : เอราวณั การพิมพ์, 2555.

107

_________. เจดยี ์ในศิลปะพมา่ -มอญ: พัฒนาการทางด้านรูปแบบตงั้ แตศ่ ิลปะศรีเกษตรถงึ ศลิ ปะ
มณั ฑเล. กรงุ เทพฯ : เมอื งโบราณ, 2555.

_________. หวั หน้าภาควิชาประวตั ิศาสตรศ์ ลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร, 2 พฤษภาคม
2557. (สัมภาษณ)์

ตานานพน้ื เมืองเชียงใหม่. พระนคร : คณะกรรมการจดั พิมพ์เอกสารทางประวตั ิศาสตร์ สานกั
นายกรัฐมนตรี, 2524.

ธรรมตานานกูฎาคารมหาเจดียห์ ลวงกลางเวยี งเชียงใหม่ ฉบับวดั หม่นื ลา้ น (คัดลอกใบลาน โดย
พระภกิ ษุไชยวุฒิ วดั หมนื่ ลา้ น เมอ่ื ปี พ.ศ. 2499) และแปลโดย นักวจิ ัยสถาบันวจิ ยั สังคม
มหาวิทยาลยั เชียงใหม.่

ประภัสสร์ ชูวเิ ชียร. เจดียท์ รงกลมแบบล้านนาที่ปรากฏในอยุธยากบั ความสัมพันธท์ างประวัติศาสตร์.
รายงานประกอบการศึกษาปริญญาศลิ ปศาสตร์บัณฑิต สาขาวชิ าประวตั ศิ าสตรศ์ ิลปะ
มหาวิทยาลัยศลิ ปากร ปี 2543.

พระธาตเุ จดยี ห์ ลวงกบั การบูรณปฏสิ ังขรณ์. แผ่นพบั 8 หน้า รวมทัง้ ภาพประกอบ.
พระนคร : ห้างหนุ้ ส่วนจากัด ศวิ พร, 2501.

พระพุทธพุกาม และพระพุทธญาณ (สุด ศรีสมวงศ์ และพรหม ขมาลา แปล). ตานานมูลศาสนา. พิมพ์
คร้งั ที่ 2. เชยี งใหม่ : นครพงิ ค์การพมิ พ์, 2513.

พระยาประชากจิ กรจกั ร. พงศาวดารโยนก. พมิ พ์ครงั้ ท่ี 2. กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พร์ งุ่ วัฒนา, 2515.
พระรัตนปญั ญาเถระ (ร.ต.ท. แสง มนวทิ รู แปล). ชนิ กาลมาลีปกรณ์. กรมศลิ ปากรจัดพิมพค์ รง้ั แรก
พเิ ศษ เจียจนั ทร์พงษ์. “โบราณสถานในแคว้นลา้ นนา”. การขน้ึ ทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือ. กรม

ศลิ ปากร จดั พิมพ์ พ.ศ. 2525.
ไพฑูรย์ ดอกบวั แก้ว, “เจดีย์หลวงกับการบูรณะครัง้ ใหม่” เอกสารประกอบการสมั มนาเรื่อง ศิลปะ

สถาปัตยกรรมล้านนา : สภาพปญั หาและแนวทางอนรุ ักษ์ ณ วดั เจดยี ์หลวงวรวหิ าร อาเภอ
เมือง จังหวัดเชยี งใหม่ ระหวา่ งวันท่ี 1-3 เมษายน 2536, (เอกสารโรเนียว).
ภภพพล จนั ทร์วัฒนกลุ . 60 วัด วัง และสถานท่ีสาคญั ในพมา่ . กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2553.
มารุต อัมรานนท์. ลายปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมในเมืองเชียงใหมส่ มยั ราชวงศ์มังราย. วทิ ยานพิ นธ์
ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิ าโบราณคดีสมัยประวตั ศิ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร,
2524.
ยพุ ิน เข็มมกุ ด์. พุทธศาสนาในล้านนาไทยสมยั ราชวงศ์มงั ราย พ.ศ. 1839-2101. เชียงใหม่ : วทิ ยาลัย
ครเู ชยี งใหม่, 2527.

108

รายงานการบรู ณปฏิสงั ขรณ์พระเจดีย์หลวง วดั เจดยี ์หลวงวรวหิ าร จังหวัดเชยี งใหม่. บริษัทศิวกรการ
ชา่ งจากดั , 2536.

รายงานเบือ้ งต้นพระเจดียห์ ลวง. หนว่ ยศลิ ปากรท่ี 4 กรมศลิ ปากร.
รุ่งโรจน์ ธรรมรงุ่ เรือง. “ซ้มุ จระนาของเจดีย์ทรงปราสาทยอดในศลิ ปะล้านนา ระหว่างพทุ ธศตวรรษท่ี

19-21”. ภาควิชาประวัติศาสตรศ์ ลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541.
ลมลู จนั ทน์หอม(บรรณาธกิ าร). ตานานเชียงใหมป่ างเดิม. (ผลงานปรวิ รรตของนกั ศึกษาทเ่ี รยี นอักษร

ลา้ นนา ร่นุ ท่ี 2 พ.ศ. 2546). เชยี งใหม่ : สานกั ศิลปวัฒนธรรม สถาบนั ราชภัฏเชียงใหม่,
2547.
วิเศษ เพชรประดับ และวงศ์ฉัตร ฉตั รกุล ณ อยุธยา. รายงานการขุดแตง่ ศกึ ษาและบรู ณะเจดียว์ ดั ร่ม
โพธ(์ิ ร้าง). หนว่ ยศลิ ปากรท่ี 4 กองโบราณคดี กรมศลิ ปากร ปี 2528.
วเิ ศษ เพชรประดับ. รายงานการขุดค้นศึกษาเพือ่ เตรียมการบูรณะพระเจดยี ห์ ลวง อ.เมอื ง จ.เชยี งใหม่.
หน่วยศลิ ปากรที่ 4 กองโบราณคดี กรมศลิ ปากร, 2529.
ศักดช์ิ ัย สายสิงห์. การศกึ ษาเชงิ เปรยี บเทยี บศลิ ปกรรมสุโขทยั และลา้ นนา. เอกสารคาสอนรายวชิ า 317
263 ศิลปะสโุ ขทัยและเชยี งแสน ภาควชิ าประวตั ิศาสตรศ์ ลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย
ศิลปากร ปีการศกึ ษา 2543.
_________. ดารงวชิ าการ รวมบทความทางวชิ าการคณะโบราณคด.ี ปที ่ี 3 ฉบบั ที่ 6 (กรกฎาคม-
ธนั วาคม) 2547. คณะโบราณคดี มหาวทิ ยาลัยศิลปากร.
_________. พระพุทธรปู ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชือ่ ของคนไทย. กรงุ เทพฯ :
ภาควชิ าประวตั ิศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศลิ ปากร, 2556.
_________. ศลิ ปะเมอื งเชยี งแสน : วิเคราะห์งานศลิ ปกรรมร่วมกับหลักฐานทางโบราณคดแี ละ
เอกสารทางประวัติศาสตร์. กรงุ เทพฯ : กรมศลิ ปากร, 2551.
_________. ศิลปะลา้ นนา. กรงุ เทพฯ : มตชิ น, 2556.
สงวน โชตสิ ขุ รัตน์. “ตานานวดั เจดยี ์หลวงเมอื งนพบรุ ีนครเชยี งใหม่” ประชุมตานานลา้ นนาไทยเลม่ 2.
กรุงเทพ : โอเดยี นสโตร์, 2515.
_________. ตานานพนื้ เมืองเชยี งใหม่. พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวตั ิศาสตร์
สานกั นายกรฐั มนตรี, 2514.
_________. ตานานเมอื งเหนือ เล่ม2. นครเชียงใหม่ : สานักพมิ พร์ ัตนากร, 2498.
_________. ประชมุ ตานานลา้ นนาไทย. พมิ พ์ครง้ั ท่ี 2. นนทบรุ ี : ศรีปัญญา, 2556.
สมโภช 600 ปี พระธาตุเจดีย์หลวง. เชียงใหม่ : ประชาสมั พันธ์ จงั หวัดเชียงใหม่, 2538.

109

สมหมาย เปรมจิตต์(บรรณาธกิ าร). ตานานเชียงใหม่ปางเดิม. เชยี งใหม่ : สถาบนั วิจยั สงั คม
มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม,่ 2537.

สันติ เล็กสขุ มุ . รวมบทความ มุมมอง ความคดิ และความหมาย : งานชา่ งไทยโบราณ. กรุงเทพฯ :
เมืองโบราณ, 2548.

_________. ศลิ ปะภาคเหนอื : หริภุญชัย–ลา้ นนา. พิมพ์ครง้ั ท่ี 3. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555.
สินชัย กระบวนแสง. รวมบทความเกย่ี วกบั สุโขทยั และศรีสชั นาลยั . ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี

มหาวทิ ยาลัยศิลปากร, 2546.
สุรจิต คอทอง. การศึกษารปู แบบประติมากรรมปนู ป้นั ล้านนาในจงั หวดั เชยี งใหม.่ (การค้นคว้าแบบ

อสิ ระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542).
สรุ พล ดาริห์กุล. “ความรู้ทไี่ ด้จากการขุดค้นศึกษาพระเจดีย์หลวงเมืองเชียงใหม่” ศลิ ปากร ปที ี่ 32 ฉบับ

ท่ี 1. (มี.ค.-เม.ย. 2531).
_________. “ปัญหาและความรใู้ หม่ท่ีเกีย่ วกับโบราณสถานพระเจดยี ห์ ลวงเมืองเชยี งใหม่” สมโภช 600

ปี พระธาตุเจดยี ์หลวง. เชยี งใหม่ : ประชาสมั พันธ์ จงั หวัดเชยี งใหม่, 2538.
_________. เจดีย์ช้างล้อมกับประวตั ศิ าสตร์บ้านเมืองและพระพทุ ธศาสนาลังกาวงศใ์ นประเทศไทย.

กรงุ เทพฯ : สานักพิมพแ์ ห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , 2554.
สรุ สวัสดิ์ ศุขสวัสด์ิ, ม.ล. “การบูรณปฏสิ งั ขรณ์ พระเจดีย์หลวงคร้งั ลา่ สุด การคน้ หาแกน่ สารจากความไร้

แกน่ สาร” เมืองโบราณ. ปที ี่ 19 ฉบบั ที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2536).
_________. รายงานการวจิ ัยเรอื่ ง “นิกายพระพุทธศาสนาในล้านนาระหวา่ งรัชสมัยพระเจา้ ติโลก

ราช-พญาแก้ว” (พ.ศ. 1984-2068/ A.D.1441-1525). เชยี งใหม่ :
มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่, 2555.
_________. ศลิ ปะในประเทศพม่า. กรงุ เทพฯ : สายธาร, 2554.
_________. เท่ียววัดเทีย่ ววา ชมปูนปนั้ ล้านนา. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2545.
_________. เอกสารหมายเลข 14 เร่อื ง “การบรู ณะ: พระธาตศุ รีจอมทองและข้อสงั เกตบางประการ”.
กรมศิลปากร สถาปตั ยกรรมลา้ นนา 1-3 เม.ย. 2536.
สวุ ิน วชั รเสถยี ร, “บนั ทกึ อดตี พระเจดยี ห์ ลวง : คุณค่าและวิญญาณของลา้ นนา ที่ไม่อาจเรยี กกลับคืนมา
ได”้ สมโภช 600 ปี พระธาตเุ จดียห์ ลวง. เชียงใหม่ : ประชาสัมพนั ธ์ จังหวัดเชยี งใหม่,
2538.
เอกสารไมโครฟิล์ม หมายเลข 78.010L.01L.057-057. สถาบันวิจยั สังคม มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่ จงั หวดั
เชยี งใหม่.

110

ประวัติผู้วจิ ัย

ช่อื – สกลุ นำงสำวศิวพร วงษแ์ ดง
ทอี่ ยู่ 1 หมู่ 3 ซอยค้บู อน 27 (สยำมธรณี) ถนนค้บู อน แขวงท่ำแร้ง
เขตบำงเขน กรุงเทพฯ 10220
ทที่ ำงำน บริษัท Game.punks Asia Co., Ltd.
ประวัติกำรศึกษำ
สำเร็จกำรศึกษำศิลปะบัณฑติ สำขำคอมพิวเตอรอ์ ำร์ต
พ.ศ. 2549 เกยี รตนิ ยิ มอันดบั 1 คณะศิลปกรรม มหำวิทยำลยั รงั สติ
ศึกษำตอ่ ระดบั ปริญญำมหำบัณฑิต สำขำวชิ ำประวัติศำสตร์ศลิ ปะ
พ.ศ. 2554 บัณฑติ วทิ ยำลยั มหำวทิ ยำลยั ศิลปำกร วังท่ำพระ

ประวัตกิ ำรทำงำน ตำแหนง่ 3D Graphic Designer บรษิ ทั FX Post Production
พ.ศ. 2549 ตำแหน่ง 3D Environment Artist บริษัท พรอมท์นำว จำกดั
พ.ศ. 2550 – 2556 ตำแหน่ง 3D Environment Artist บริษทั Game.punks Asia Co., Ltd.
พ.ศ. 2556 – ปจั จุบัน


Click to View FlipBook Version