The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระพุทธรูปสำริด ในจังหวัดน่าน และแพร่

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

พระพุทธรูปสำริด ในจังหวัดน่าน และแพร่

พระพุทธรูปสำริด ในจังหวัดน่าน และแพร่

31

ภาพท่ี 19 พระพุทธรูปสารดิ ที่วดั บุปผาราม ตาบลฝายแกว้ อาเภอภเู พียง จงั หวดั นา่ น

5. อาเภอลอง จังหวัดแพร่ พบตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดแบบสุโขทัยจานวน 2 องค์ ได้แก่
พระพุทธรูปสาริดที่ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคา ตาบลห้วยอ้อ อาเภอลอง (ภาพท่ี
20 และ 21)

ภาพท่ี 20 (ซ้าย) พระพุทธรูปสาริดท่ีจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคา ตาบลห้วยอ้อ อาเภอลอง จังหวัดแพร่
(ตัวอย่างท่ี 1)
ภาพท่ี 21 (ขวา) พระพุทธรูปสาริดที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคา ตาบลห้วยอ้อ อาเภอลอง จังหวัดแพร่
(ตวั อยา่ งที่ 2)

32

6. อาเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ พบตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดแบบสุโขทัย 1 ตัวอย่าง ที่วัดศรี
สวา่ ง (ภาพท่ี 22)

ภาพที่ 22 พระพทุ ธรปู สารดิ ท่วี ดั ศรีสว่าง อาเภอสูงเมน่

การวิเคราะหแ์ ละเปรียบเทียบรปู แบบศิลปกรรม
พระพทุ ธรูปสาริดแบบสโุ ขทัยที่พบในพน้ื ท่เี มืองน่านและเมืองแพร่-เมืองลอง โดยท่ัวไปมีพทุ ธลักษณะ
ทคี่ อ่ นข้างใกล้เคียงกัน คอื หากเปน็ พระพุทธรูปประทับนั่ง มักประทับขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย
มีพระพักตร์รปู ไข่ พระรัศมเี ปน็ เปลว ไม่มีไรพระศก พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง สว่ นพระโอษฐ์มีความ
แตกต่างกันระหว่างกลุ่มท่ีเมืองน่าน กับกลุ่มท่ีเมืองแพร่-เมืองลอง คือ กลุ่มท่ีเมืองน่านจะยังคงมีพระ
โอษฐท์ หี่ ยกั เปน็ คลืน่ แสดงถงึ อทิ ธิพลของศลิ ปะสโุ ขทัยที่ปรากฏอย่างรุนแรง แต่กลุ่มทเ่ี มืองแพร่-เมือง
ลอง พระโอษฐ์จะมีลักษณะแย้มเล็กน้อยไม่หยักเป็นคล่ืน ส่วนพระวรกาย พระพุทธรูปสาริดท่ีเมือง
น่านจะมีความอวบอ้วนมากกว่าพระพุทธรูปสาริดท่ีเมืองแพร่ พระอุระใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ทรง
ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายแตกออกคล้ายเข้ียวตะขาบ ทั้งน้ี พระพุทธรูป
สาริดที่เมืองแพร่-เมืองลอง จะมีชายสังฆาฏิเป็นเส้นเล็กกว่า โดยลักษณะเช่นนี้จะพัฒนาต่อไปใน
พระพุทธรูปสาริดแบบสกุลช่างเมืองแพร่ นิ้วพระหัตถ์เป็นอย่างธรรมชาติ คือ มีความส้ัน-ยาว ไม่
เท่ากัน ประทับบนฐานหน้ากระดานเต้ีย ๆ ซึ่งพุทธลักษณะดังกล่าวน้ีถือเป็นแบบแผนส่วนใหญ่ของ
พระพุทธรูปในเมืองน่าน-เมืองแพร่-เมืองลอง โดยจะพบกลุ่มท่ีมีความพิเศษแตกต่างจากแบบแผนนี้
บา้ ง คือ กลมุ่ ท่มี ชี ายสงั ฆาฏิเป็นร้ิวแบบธรรมชาติ ซ่ึงจะกลา่ วถงึ ต่อไป

33

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนย่ิงข้ึน ผู้วิจัยขอนาตัวอย่างพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่พบในเมืองน่าน
มาเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่พบในเมืองแพร่-เมืองลอง โดยตัวอย่างที่นามาใช้คือ
พระพุทธรูปสาริดท่ีวัดพญาภู ตาบลในเวียง อาเภอเมืองน่าน กับพระพุทธรูปสาริดท่ีพิพิธภัณฑ์วัดศรี
ดอนคา ตาบลห้วยออ้ อาเภอลอง จังหวัดแพร่

ตารางที่ 1 การเปรยี บเทยี บพระพทุ ธรูปอิทธิพลสโุ ขทัยในเมอื งน่าน : เมืองแพร่-เมืองลอง

องคป์ ระกอบ กล่มุ ในเมอื งน่าน กลุ่มในเมอื งแพร่-เมืองลอง
พระรศั มี

พระพกั ตร์
พระวรกาย

พระหัตถ์
พระเพลา

34

ตารางที่ 1 การเปรยี บเทียบพระพทุ ธรูปอทิ ธพิ ลสโุ ขทัยในเมืองน่าน : เมืองแพร่-เมืองลอง (ตอ่ )

องค์ประ กลุ่มในเมอื งน่าน กลมุ่ ในเมืองแพร่-เมืองลอง
กอบ
สว่ นฐาน

พุทธลักษณะของพระพุทธรูปแบบสุโขทัยท่ีปรากฏในพ้ืนท่ีเมืองน่าน-เมืองแพร่-เมืองลอง น้ี
สามารถเทียบได้กับพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ซ่ึงนักวิชาการหลายท่าน เช่น
ศาสตราจารย์เกียรตคิ ุณ ดร.สันติ เล็กสุขมุ ศาสตราจารย์ ดร.ศกั ด์ิชัย สายสิงห์ ไดก้ าหนดอายุไว้ว่าอยู่
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษท่ี 19 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 (ศักดิ์ชัย สายสิงห์, 2556, p. 178; สันติ
เล็กสุขุม, 2549, p. 81) สาหรับกลุ่มท่ีเมืองน่าน มีนักวิชาการคือ สุรศักดิ์ ศรีสาอางค์ ได้เคย
ทาการศึกษาไว้ โดยกาหนดอายกุ ลมุ่ พระพทุ ธรูปสารดิ แบบสุโขทัยที่เมืองนา่ นไว้วา่ อยูใ่ นชว่ งกลางพุทธ
ศตวรรษท่ี 19 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 โดยมเี คร่อื งมอื ท่ีใช้กาหนดอายุ คือ กลุ่มพระพุทธรปู ลีลาท่ี
วัดพญาภู-วัดพระธาตุช้างค้า ซึ่งปรากฏจารึกการสร้างว่าสร้างในปี พ.ศ. 1969 สมัยพญาสารผาสุม
เป็นเจา้ ผูค้ รองนครนา่ น โดยการกาหนดช่วงอายุของสุรศักด์ิ ศรสี าอางค์ ผู้วิจยั มีความเห็นวา่ เป็นไปได้
เน่ืองจากเมื่อเทียบเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แล้ว เมืองน่านมีความสัมพันธ์กับสุโขทัยนับตั้งแต่ครั้ง
ท่ีมีศูนย์กลางอยู่ท่ีวรนคร (เมืองปัว) กับเวียงภูเพียงแช่แห้งแล้ว และพระพุทธรูปส่วนใหญ่ที่ปรากฏ
ในเมอื งน่าน ยงั มพี ทุ ธลกั ษณะทเ่ี ทียบได้กับพระพทุ ธรูปในศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ เชน่ พระพทุ ธรปู กลุ่มที่
วดั พระเชตุพนวมิ ลมังคลาราม ทม่ี จี ารึก “ทติ ไส” (ภาพท่ี 23) และ “ผ้าขาวทอง” (ภาพที่ 24) สร้างใน
ปี พ.ศ. 1965 และพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีจารึก “ทิดไสหง นางแก้ว” เป็นผู้สร้าง ปัจจุบัน
ประดษิ ฐานอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปน็ ต้น ด้วยเหตุนี้ จึงนา่ จะกาหนดอายุการสร้าง
ของพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่เมืองน่านน้ีได้ว่า คงจะอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษท่ี 19 ถึงปลายพุทธ
ศตวรรษท่ี 20 โดยร่วมสมัยกับพระพทุ ธรปู แบบสุโขทยั หมวดใหญ่

35

ภาพท่ี 23 (ซ้าย) พระพทุ ธรปู สารดิ ศลิ ปะสโุ ขทัย จารึก "ทิตไส..." สรา้ งปี พ.ศ. 1965
(ศกั ดิ์ชยั สายสงิ ห์, 2556, p. 189)

ภาพท่ี 24 (ขวา) พระพุทธรปู สารดิ ศลิ ปะสโุ ขทัย จารกึ "ผ้าขาวทอง" สรา้ งปี พ.ศ. 1965
(ศักด์ิชยั สายสิงห์, 2556, p. 189)

สาหรับพระพุทธรูปลีลาที่ปรากฏในเมืองน่านนั้น ปัจจุบันมีอยู่ท้ังหมด 5 ตัวอย่าง ได้แก่
พระพุทธรูปลีลาที่วัดพญาภู จานวน 2 องค์ พระพุทธรูปลีลาที่วัดพระธาตุช้างค้า 2 องค์ และ
พระพุทธรปู ลีลาท่ีวัดนาปังจานวน 1 องค์ โดยพระพุทธรูปกลุ่มน้ีสามารถกาหนดอายไุ ด้อย่างแน่ชัดว่า
อยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เนื่องจากปรากฏจารึกการสร้างที่ฐานของพระพุทธรูปลีลาที่วัด
พญาภูว่าสร้างในปี พ.ศ. 1969 ตรงกับสมัยที่พญาสารผาสุมเป็นเจ้าผู้ครองนคร ประเด็นสาคัญของ
พระพุทธรูปกลุ่มนี้คือ เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะบางประการกลายจากศิลปะสุโขทัยแล้ว คือ
ส่วนขอบสบง โดยหากเทียบกับพระพุทธรูปลีลาในศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ ปัจจุบันประดิษฐานอยทู่ ี่
พระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (ภาพท่ี 25) จะเห็นได้ว่า องค์ท่ีวัดเบญจมบพิตรฯ จะทา
ขอบสบงเป็นเส้นโคง้ ไหลไปตามพระวรกาย สว่ นองค์ท่ีวดั พญาภู จะทาเป็นขอบตัดตรง ซง่ึ สุรศักดิ์ ศรี
สาอางค์ ให้ความเหน็ ว่านา่ จะเกิดจากความคลาดเคลื่อนในการพยายามเลียนแบบพระพุทธรูปลีลาใน
ศิลปะสุโขทัย

36

ภาพที่ 25 พระพทุ ธรปู ลีลาทีพ่ ระระเบียงวดั เบญจมบพติ ร

ตารางท่ี 2 การเปรยี บเทยี บความแตกต่างของขอบสบงในพระพทุ ธรูปลลี าที่วัดเบญจมบพิตรฯ กับพระพุทธรปู ลลี าท่ี

วดั พญาภู

พระพุทธรูปลีลาท่ีวดั เบญจมบพิตรฯ พระพทุ ธรปู ลลี าทว่ี ดั พญาภู

37
ตัวอย่างสาคัญอีกกลุ่มหนึ่งของพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่ปรากฏในพื้นท่ีเมืองน่าน คือ
พระพุทธรูปแบบท่ีมีชายสังฆาฏิแบบร้ิวธรรมชาติ ซ่ึงปรากฏอยู่ 2 ตัวอย่าง ได้แก่ พระพุทธรูปสาริดที่
วัดกอก ตาบลท่าน้าว อาเภอภูเพียง และพระพุทธรูปสาริดท่ีวัดกู่คา ตาบลในเวียง อาเภอเมืองน่าน
ถือเป็นกลุ่มพิเศษท่ีไม่ปรากฏมากนักแม้ในศิลปะสุโขทัยเองก็ตาม ตัวอย่างของพระพุทธรูปในศิลปะ
สุโขทัย หมวดใหญ่ ที่มีชายสังฆาฏิเช่นนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปปูนป้ันที่วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย (ภาพท่ี
26) และพระพุทธรปู ลลี าปนู ป้ันที่วัดพระศรรี ตั นมหาธาตุ เชลียง ศรีสชั นาลยั (ภาพท่ี 27)

ภาพที่ 26 พระพทุ ธรูปปนู ปน้ั จากวดั ชา้ งล้อม ศรีสัชนาลยั ปัจจุบนั จดั แสดงในพิพิธภัณฑสถานแหง่ ชาตริ ามคาแหง

ภาพท่ี 27 พระพทุ ธรปู ลีลา ทวี่ ดั พระศรรี ตั นมหาธาตุ เชลยี ง ศรสี ชั นาลยั

38

แต่เดิม สรุ ศกั ดิ์ ศรีสาอางค์ ได้เคยกาหนดอายขุ องพระพทุ ธรปู ท่ีมีชายสังฆาฏิแบบธรรมชาติที่
วัดกอกไว้ว่า น่าจะอยู่ในช่วงคร่ึงแรกของพุทธศตวรรษที่ 19 (สุรศักดิ์ ศรีสาอางค์, 2530, p. 74) แต่
จากข้อมลู การขุดคน้ ทางโบราณคดีทีว่ ัดช้างล้อม ศรสี ัชนาลัย เมือ่ ปี พ.ศ. 2527-2528 ซง่ึ ได้พบเคร่ือง
ถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน และได้ใช้เป็นตัวกาหนดอายุการสร้างวัดช้างล้อมว่าไม่เก่าไปกว่าปี พ.ศ.
1840 (ศักด์ิชัย สายสิงห์, 2547, pp. 84-86) การกาหนดอายุพระพุทธรูปที่มีชายสังฆาฏิแบบ
ธรรมชาติที่วัดช้างล้อมจึงเปล่ียนจากเดิมท่ีเช่ือกันว่าเป็นพระพุทธรูปยุคแรกของสุโขทัย มาเป็น
พระพุทธรูปที่สร้างในหมวดใหญ่แล้ว ดังเช่นที่ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ได้กาหนดอายุไว้ว่าอยู่ในช่วงต้นของ
พทุ ธศตวรรษท่ี 20 ดังนัน้ อายุการสรา้ งของพระพุทธรูปสาริดทีว่ ัดกอก อาเภอภเู พยี ง รวมถึงตัวอย่าง
ที่วัดกู่คาในเมืองน่าน จึงไม่น่าจะเก่าไปถึงคร่ึงแรกของพุทธศตวรรษท่ี 19 อย่างท่ีสุรศักด์ิ ศรีสาอางค์
ไดเ้ คยกาหนดไวแ้ ต่เดมิ

ภายหลังจากการสารวจ ผู้วิจัยได้พบข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกประการหน่ึงเก่ียวกับ
พระพุทธรูปสาริดที่วัดกอก อาเภอภูเพียง คือ ฐานของพระพุทธรูปองค์น้ีมีจารึก โดยไม่ปรากฏ
หลักฐานแน่ชัดว่าเป็นจารึกที่มีการค้นพบเป็นเวลานานแล้ว หรือค้นพบใหม่เมื่อไม่นานมาน้ี และ
ปจั จบุ นั ยังไมป่ รากฏการทาสาเนาจารึก รวมถงึ ยังไมม่ ีการเผยแพรค่ าอ่าน จึงเป็นท่ีนา่ เสยี ดายว่าหากมี
ข้อมลู เก่ียวกบั จารึกน้ี น่าจะชว่ ยให้การกาหนดอายุพระพทุ ธรูปสาริดท่ีวัดกอกมีความแน่นอน อยา่ งไร
ก็ตาม ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่ปรากฏจารึกนั้น ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ได้กาหนดอายุไว้ว่าน่าจะ
อยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 แล้ว แต่เนื่องจากพระพุทธรูปสาริดท่ีวัดกอกน้ียังมีพุทธลักษณะท่ี
ใกลเ้ คียงกบั พระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่อยู่ ดังน้นั จึงกาหนดอายุได้วา่ นา่ จะอยใู่ นชว่ งคร่ึง
แรกของพุทธศตวรรษที่ 20 รวมถึงพระพุทธรูปท่ีมีพุทธลักษณะเดียวกันที่วัดกู่คา ก็น่าจะมีอายุการ
สร้างในระยะเดียวกันดว้ ย

39

ตารางที่ 3 พุทธลักษณะของพระพทุ ธรปู สารดิ วดั กอก เปรยี บเทียบกบั พระพทุ ธรปู ปูนปั้นที่วัดชา้ งลอ้ ม ศรีสัชนาลยั

พระพทุ ธรูปสารดิ วัดกอก น่าน พระพุทธรปู ปูนป้นั วัดชา้ งลอ้ ม ศรีสชั นาลยั

สว่ นในพน้ื ท่ีเมอื งแพร่-เมืองลอง ปรากฏตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดอย่างศิลปะสุโขทัยอยู่เพียง
3 องค์ ซ่ึงมี 2 องค์ ทีป่ จั จบุ ันจดั แสดงอยู่ในพิพธิ ภัณฑ์วดั ศรีดอนคา ตาบลหว้ ยออ้ อาเภอลอง (ภาพที่
20 และ 21) ส่วนอีกองค์หน่ึงประดิษฐานอยู่ท่ีวัดศรีสว่าง อาเภอสูงเม่น (ภาพที่ 22) ซึ่งตัวอย่างที่
วดั ศรีสว่าง มพี ุทธลกั ษณะที่ใกล้เคียงกับพระพุทธรปู หมวดใหญ่มากท่ีสุดจนแยกพุทธลักษณะออกจาก
พระพุทธรูปหมวดใหญ่จริง ๆ ได้ยาก เม่ือเป็นเช่นนี้ อาจสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธรูปท่ีวัดศรีสว่าง
นา่ จะเปน็ พระพุทธรูปแบบสุโขทัยรุ่นแรกทป่ี รากฏในพ้ืนที่เมืองแพร่ แต่เนื่องจากพระพุทธรปู องค์นี้ไม่
มีประวัติการสรา้ งทีช่ ดั เจน ทราบเพียงวา่ ชาวบ้านพบพระพุทธรปู องคน์ ้ีโดยบังเอิญในนา้ ก่อนจะนามา
ประดิษฐานที่วัดศรีสว่างเท่าน้ัน ก็อาจสามารถกาหนดอายุได้อย่างคร่าวว่าควรอยู่ในช่วงกลางพุทธ
ศตวรรรษท่ี 20 ร่วมสมัยกับกลุ่มพระพุทธรูปหมวดใหญ่ที่มีจารึก และมีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็น
พระพุทธรูปทีถ่ กู เคล่อื นย้ายมาจากสุโขทยั โดยตรง ไม่ใช่พระพทุ ธรปู ทสี่ รา้ งขนึ้ ในทอ้ งถนิ่

ส่วนตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดอีก 2 องค์ ในพิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคานั้น จะมีรูปแบบท่ีแสดง
ใหเ้ ห็นถึงความเป็นงานชา่ งพ้ืนบา้ นย่ิงขนึ้ โดยเมือ่ เปรียบเทียบกนั แลว้ ทงั้ 2 ตัวอย่างน้ี มีลกั ษณะบาง

40

ประการท่ีแตกต่างกัน โดยในตัวอย่างท่ี 1 จะมีพระวรกายท่ีค่อนข้างเพรียวบางกว่าตัวอย่างที่ 2
(ตารางที่ 4) นอกจากน้ี ในตัวอยา่ งท่ี 2 ยังมีรายละเอียดบางประการทีก่ ลายจากศลิ ปะสุโขทยั หมวดใหญแ่ ล้ว
กล่าวคือ มีพระพักตร์ท่ีค่อนข้างกลมกว่า พระวรกายหนากว่า ชายสังฆาฏิใหญ่กว่า และนิ้วพระหัตถ์
ส้ันกว่าพระพุทธรูปในหมวดใหญ่ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า ตัวอย่างท่ี 2 น่าจะถูกสร้างขึ้นใน
ชว่ งเวลาหลงั กวา่ ตวั อย่างท่ี 1

ตารางท่ี 4 การเปรียบเทียบพทุ ธลักษณะของพระพทุ ธรูปสารดิ ทีว่ ัดศรดี อนคา ตาบลห้วยอ้อ อาเภอลอง จงั หวดั แพร่

ตัวอยา่ งท่ี 1 ตัวอยา่ งที่ 2

พระพุทธรูปแบบสุโขทัยท่ีพบในเมืองแพร่-เมืองลองน้ี สามารถเทียบได้กับพระพุทธรูปใน
ศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ เช่น กลุ่มพระพุทธรูปที่มีจารึก “ทิตไส” และ “ผ้าขาวทอง” ซึ่งปัจจุบัน
ประดิษฐานอยู่ที่วดั พระเชตพุ นวมิ ลมังคลาราม มีจารึกว่าสร้างปี พ.ศ. 1965 (ศกั ด์ชิ ัย สายสิงห์, 2556,
p. 189) แต่สาหรับตัวอย่างพระพุทธรูปท่ีวัดศรีดอนคาน้ี จะมีพุทธลักษณะที่กลายจากกลุ่ม
พระพทุ ธรปู มีจารกึ ทว่ี ัดพระเชตุพนฯ แลว้ เช่น ลักษณะของพระพักตร์ท่ีแสดงให้เห็นถึงความเป็นงาน

41

ช่างพืน้ บ้านมากยิ่งขนึ้ ดงั นน้ั จึงสามารถกาหนดอายุของพระพุทธรปู แบบสุโขทัยกลุ่มท่ีเมืองแพร่-เมือง
ลองนไ้ี ดว้ า่ น่าจะอยใู่ นชว่ งกลางถงึ ปลายพุทธศตวรรษที่ 20

อย่างไรกต็ าม พระพุทธรปู สารดิ แบบสุโขทยั ทป่ี รากฏในเมืองแพร่น้ันมีอยู่น้อยมาก นอกจาก
พระพุทธรูปที่วัดศรีดอนคา และที่วัดศรีสว่างแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ามีการสร้างพระพุทธรูปสาริดแบบ
สุโขทัยในพ้ืนท่ีใดของเมืองแพร่อีก มีเพียงพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ท่ีวดั ศรีชุมเท่าน้ัน แต่พระพุทธรูป
ดังกล่าวปัจจุบันถูกซ่อมโดยช่างท้องถ่ิน จนทาให้พุทธลักษณะค่อนข้างออกห่างจากพุทธศิลป์สุโขทัย
แล้ว การจะนามาเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่พบท่ีวัดศรีดอนคา อาเภอลองน้ีจึงทาได้
ยาก ด้วยเหตนุ ้ี ผู้วจิ ัยจงึ มีความเหน็ วา่ ความนยิ มในการสร้างพระพุทธรปู แบบสุโขทยั คงปรากฏเพียง
สั้น ๆ ก่อนจะถูกแทนท่ีด้วยพระพุทธรูปแบบสกุลช่างเมืองแพร่ที่ได้รับความนิยมมากกว่า โดยที่
อิทธิพลของพระพทุ ธรูปแบบสโุ ขทัย ไดป้ รากฏบนพระพทุ ธรปู สกุลช่างเมืองแพร่แทน

ระยะท่ี 3 (ราวต้นพทุ ธศตวรรษท่ี 21 ถงึ ต้นพุทธศตวรรษที่ 22)
ชว่ งเวลานี้ เป็นช่วงทอ่ี าณาจักรสโุ ขทยั เส่ือมอานาจลง หวั เมืองทเี่ คยอยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมา
ของอาณาจักรต่างแยกตัวออกเป็นอิสระ บางส่วนตกอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาโดย
อัตโนมัติ ซ่ึงเมืองแพร่ และเมืองน่าน ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาระยะหน่ึงเช่นกัน
ก่อนที่ในปี พ.ศ. 1986 พระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาจะนากองทัพเข้าโจมตีเมืองน่าน
และเมีองแพร่ จนสามารถผนวกเมืองท้ัง 2 เข้าเป็นขอบขัณฑสีมาของอาณาจักรล้านนาได้สาเร็จ
(องค์การบรหิ ารส่วนจังหวัดแพร่, 2550, p. 58) ส่วนพ้ีนท่แี อง่ ลอง-วังชิ้นนนั้ มเี รือ่ งทางประวตั ิศาสตร์
ว่าพระเจ้าติโลกราชไดส้ ง่ คนมาปกครอง (ภเู ดช แสนสา, 2554, p. 114) ทาให้ในชว่ งเวลาน้ี เมีองลอง
ก็อยู่ในสถานะขึน้ ตรงกบั เชียงใหม่เชน่ กนั

ในช่วงเวลานี้ ถงึ แม้วา่ จะเกิดความเปล่ียนแปลงทางสถานะของท้ังเมืองแพร่ เมืองนา่ น รวมถงึ
พ้ืนที่บริเวณแอ่งลอง-วังช้ินก็ตาม แต่ในแง่ของการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมน้ัน ถือว่าเป็นยุคทองอย่าง
แท้จริง ปรากฏท้ังงานประติมากรรมและสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะงานประเภทพระพุทธรูปสารดิ นน้ั
ช่วงเวลานเี้ ปน็ ชว่ งที่มีการสร้างพระพุทธรูปสาริดมากทีส่ ุด และพบในหลากหลายรูปแบบ หลากหลาย
อิทธิพล โดยสามารถจาแนกออกเปน็ กลุ่มได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทมี่ ีพทุ ธลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
ท้องถิ่น กลุ่มท่ีมีการทาสืบต่อจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัย กลุ่มท่ีได้รับอิทธิพลจากศิลปะล้านนา
ระยะแรก และกลุ่มทไ่ี ด้รับอิทธิพลจากศิลปะลา้ นนาระยะหลัง

42

กลุ่มที่ 1 พระพุทธรปู สาริดท่ีมเี อกลักษณเ์ ฉพาะท้องถนิ่
ในช่วงคร่ึงแรกของพุทธศตวรรษที่ 21 ถือได้ว่าเป็นยุคทองของงานศิลปกรรมในอาณาจักร
ล้านนา เกิดการสร้างงานศิลปกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะสกุลช่างอย่างแพร่หลาย ทั้งในพ้ืนที่เมือง
หลวงอย่างเชียงใหม่ รวมไปถึงหัวเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน เมืองลาพูน เมือง
ลาปาง และเมืองนา่ น-เมอื งแพร่-เมอื งลองดว้ ย
งานศลิ ปกรรมพระพุทธรูปท่ีเกิดข้ึนบนพนี้ ทเี่ มืองน่าน-เมืองแพร่-เมืองลอง ในระยะนี้ ปรากฏ
สกลุ ชา่ งสาคญั สกลุ ช่างหนงึ่ โดยผู้วิจยั จะขอเรยี กวา่ “สกลุ ช่างแพร่” เน่อื งจากเป็นสกุลช่างทม่ี รี ูปแบบ
เฉพาะตวั และปรากฏเฉพาะในพืน้ ที่เมืองแพร่-เมืองลอง เทา่ นนั้ ไม่พบการแพร่หลายไปสู่พ้ืนท่ีอ่ืน แม้
ในพื้นทท่ี ม่ี อี าณาเขตติดต่อกันอยา่ งเมอื งนา่ น เมอื งลาปาง หรือศรสี ชั นาลัยก็ตาม
ตัวอย่างพระพุทธรูปที่ปรากฏในพน้ื ท่เี มอื งแพร่-เมืองลอง
พระพุทธรูปสาริดท่ีมีพุทธลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างที่เรียกว่า “สกุลช่างแพร่”
ปรากฏตัวอย่างกระจายอยู่ในพ้ืนที่จังหวัดแพร่ และพบอีกจานวนหนึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดน่าน โดย
สามารถจาแนกออกเปน็ พืน้ ที่ไดด้ ังนี้
1. ตาบลในเวียง อาเภอเมืองแพร่ พบจานวน 5 องค์ ได้แก่ ท่ีวัดพงษ์สุนันท์ จานวน 2 องค์
โดยประดษิ ฐานในพระวิหารจานวน 1 องค์ (ภาพที่ 28) และเก็บรักษาไว้ในกุฏิเจ้าอาวาสอีกจานวน 1
องค์ (ปัจจบุ ันไมส่ ามารถเข้าถึงตัวอย่างโบราณวัตถไุ ด้) วัดหลวง จานวน 3 องค์ (ภาพที่ 29 30 และ 31)

ภาพที่ 28 (ซ้าย) พระพทุ ธรูปแบบสกุลช่างแพร่ ท่ีวหิ ารวัดพงษส์ ุนนั ท์ ตาบลในเวียง อาเภอเมืองแพร่
ภาพที่ 29 (ขวา) พระพุทธรูปสาริด “พระเจ้าแสนตอง” วดั หลวง ตาบลในเวยี ง อาเภอเมอื งแพร่

43

ภาพที่ 30 (ซ้าย) พระพทุ ธรปู สารดิ ในพิพธิ ภัณฑ์วัดหลวง ตาบลในเวียง อาเภอเมอื งแพร่ (ตวั อย่างที่ 1)
ภาพที่ 31 (ขวา) พระพทุ ธรูปสารดิ ในพิพิธภณั ฑ์วัดหลวง ตาบลในเวยี ง อาเภอเมืองแพร่ (ตัวอย่างที่ 2)

2. อาเภอสูงเม่น พบจานวน 3 องค์ ปัจจุบันประดิษฐานที่วัดสูงเม่นทั้งหมด (ภาพที่ 32 33
และ 34)

ภาพที่ 32 (ซา้ ย) พระพุทธรูปสารดิ ทว่ี ดั สูงเมน่ ตาบลสงู เมน่ อาเภอสงู เม่น (ตัวอยา่ งท่ี 1)
ภาพที่ 33 (ขวา) พระพทุ ธรปู สารดิ ท่ีวัดสูงเมน่ ตาบลสงู เมน่ อาเภอสงู เมน่ (ตวั อยา่ งที่ 2)

44

ภาพที่ 34 พระพุทธรปู สารดิ ที่วัดสูงเม่น ตาบลสูงเม่น อาเภอสูงเม่น (ตัวอยา่ งที่ 3)

3. อาเภอลอง พบจานวน 11 องค์ ได้แก่ ทวี่ ดั แม่ปาน จานวน 1 องค์ (ภาพที่ 35) วัดแม่ลาน
เหนือ จานวน 3 องค์ (ภาพที่ 36 37 และ 38) วดั น้ารนิ จานวน 1 องค์ (ภาพที่ 39) วัดบา้ นปง จานวน
1 องค์ (ภาพท่ี 40) วดั ใหม่พมา่ จานวน 1 องค์ (ภาพท่ี 41) วัดตา้ แปน้ จานวน 1 องค์ (ภาพท่ี 42) วดั
สะแล่ง จานวน 1 องค์ (ภาพท่ี 43) วดั ดอนมลู จานวน 1 องค์ (ภาพท่ี 44) และจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์
วดั ศรีดอนคา จานวน 1 องค์ (ภาพท่ี 44)

ภาพท่ี 35 (ซ้าย) พระพทุ ธรปู สารดิ ทว่ี ดั แม่ปาน ตาบลแมป่ าน อาเภอลอง
ภาพที่ 36 (ขวา) พระพทุ ธรปู สารดิ ทว่ี ัดแม่ลานเหนอื ตาบลหว้ ยออ้ อาเภอลอง (ตัวอย่างที่ 1)

45

ภาพที่ 37 (ซ้าย) พระพุทธรูปสารดิ ท่ีวัดแม่ลานเหนือ ตาบลห้วยออ้ อาเภอลอง (ตัวอยา่ งท่ี 2)
ภาพที่ 38 (ขวา) พระพุทธรูปสารดิ ท่วี ัดแมล่ านเหนอื ตาบลห้วยอ้อ อาเภอลอง (ตวั อยา่ งท่ี 3)

ภาพที่ 39 (ซา้ ย) พระพุทธรปู สารดิ ท่ีวัดน้าริน ตาบลต้าผามอก อาเภอลอง
ภาพที่ 40 (ขวา) พระพุทธรปู สารดิ “พระเจา้ ฝนแสนหา่ ” วดั บา้ นปง ตาบลต้าผามอก อาเภอลอง

46

ภาพท่ี 41 (ซา้ ย) พระพทุ ธรูปสาริดที่วัดใหมพ่ ม่า ตาบลต้าผามอก อาเภอลอง
ภาพที่ 42 (ขวา) พระพุทธรปู สาริด “พระเจา้ แสนตอง” วัดต้าแปน้ ตาบลเวียงต้า อาเภอลอง

ภาพท่ี 43 (ซ้าย) พระพทุ ธรปู สารดิ ทีพ่ พิ ิธภัณฑ์วดั สะแลง่ ตาบลห้วยอ้อ อาเภอลอง
ภาพที่ 44 (ขวา) พระพทุ ธรูปสารดิ ที่วัดดอนมูล ตาบลหว้ ยออ้ อาเภอลอง

47

ภาพท่ี 45 พระพทุ ธรูปสารดิ ทพ่ี ิพธิ ภณั ฑ์วดั ศรีดอนคา

4. จังหวัดน่าน พบจานวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ พระพุทธรูปสาริดท่ีวัดพระเนตร อาเภอเวียงสา
จานวน 2 ตวั อย่าง (ภาพท่ี 46 และ 47) และทวี่ ัดเชยี งแล ตาบลริม อาเภอท่าวังผา (ภาพที่ 48)

ภาพท่ี 46 (ซา้ ย) พระพทุ ธรูปสาริดท่ีวัดพระเนตร (ตัวอย่างท่ี 1)
ภาพท่ี 47 (ขวา) พระพุทธรูปสารดิ ทว่ี ดั พระเนตร (ตัวอย่างที่ 2)

48

ภาพท่ี 48 พระพุทธรปู สารดิ ทวี่ ัดเชียงแล

การวเิ คราะหแ์ ละเปรยี บเทียบรปู แบบศิลปกรรม
กลุ่มพระพุทธรูปสาริดท่ีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างที่เรียกว่า “สกุลช่างแพร่” น้ี มีพุทธ
ลักษณะสาคัญคือ มพี ระพักตร์รูปไข่หรือค่อนข้างกลม พระรัศมีเปน็ เปลว ไมม่ ีไรพระศก พระขนงเป็น
เส้นโค้งต่อกันปลายสะบัดข้ึนเล็กน้อย พระเนตรหร่ีลงต่า หางพระเนตรสะบัดขึ้นเล็กน้อย พระนาสิก
โด่ง ริมพระโอษฐ์บาง มีร่องเชื่อมระหว่างพระนาสิกและพระโอษฐ์ พระหนุเป็นปม พระวรกาย
ค่อนข้างบาง ทรงครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิมีท้ังแบบที่ยาวจรดพระนาภี ทาปลายแยกออกเป็น
เข้ียวตะขาบ และแบบที่ยาวจรดพระเพลา ข้อสาคัญของพระพุทธรูปสาริดกลุ่มน้ีคือ มีการสร้างเป็น
พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธริ าบแสดงปางมารวิชัยท้ังหมด ไมม่ ีการแสดงปางอืน่ พระกรขวาส่วนท่ี
ยื่นลงมาวางท่ีพระชานุนั้นกางออกมากกว่าพระพุทธรูปในศิลปะอ่ืน นิ้วพระหัตถ์ท้ัง 4 มีความยาว
ไล่เลีย่ กัน หรอื ในบางตวั อย่างก็ทานิว้ พระหัตถ์ยาวเทา่ กัน มักประทับบนฐานท่ีมีลักษณะเปน็ ฐานเขียง
ในผงั แปดเหลี่ยมซอ้ นกนั 2-3 ช้ัน มีขาตัง้ รองรับ
พุทธลักษณะดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการอิทธิพลศิลปะสุโขทัยได้เป็นอย่างดี โดยสามารถ
จาแนกไดด้ ังตารางที่ 5 ซึ่งตวั อยา่ งที่นามาใช้คอื พระพุทธรูปสารดิ “พระเจา้ ฝนแสนห่า” วัดบ้านปง

49

ตารางท่ี 5 การจาแนกองค์ประกอบของพระพุทธรูป “สกลุ ช่างแพร่”

องคป์ ระกอบ ลกั ษณะ อทิ ธพิ ลทางศลิ ปะ
ศิลปะสุโขทยั
- พระรศั มเี ปน็ เปลว

- พระพักตรแ์ ปน้ คล่คี ลายจากพระ
พักตร์รูปไข่ ใน
ศลิ ปะสโุ ขทยั

- พระขนงเป็นเส้นโค้ง คล่ีคลายจากการทา

ต่อกัน ปลายสะบัดข้ึน ปลายพระขนง และ

เล็กนอ้ ย พระเนตรในศิลปะ

- พระเนตรหร่ีลงต่า สุโขทัย

ป ล า ย ส ะ บั ด ขึ้ น

เลก็ น้อย

- พระนาสิกโดง่ ศิลปะลา้ นนา

- แ ย้ ม พ ร ะ โ อษ ฐ์

เล็กนอ้ ย

- มีร่องเช่ือมระหว่าง

พ ร ะ น า สิ ก แ ล ะ พ ร ะ

โอษฐ์

- พระหนเุ ปน็ ปม

50

ตารางที่ 5 การจาแนกองคป์ ระกอบของพระพทุ ธรปู “สกลุ ช่างแพร่” (ต่อ)

องค์ประกอบ ลักษณะ อิทธิพลทางศิลปะ

- พระวรกายเพรียว ศลิ ปะสโุ ขทัย ยกเวน้

บาง ลกั ษณะการกางพระ

- ทรงครองจีวรห่ม กรขวา ที่ถือเป็ น

เฉียง ลกั ษณะทอ้ งถิน่

- ชายสังฆาฏิยาวจรด

พระนาภี

- ประทับนั่งขัดสมาธิ

ราบ

- พระกรขวากางออก

มากกว่าศลิ ปะอน่ื

- น้ิวพระหัตถ์มีความ

ยาวไล่เลี่ยกันมากจน

เกอื บเสมอกัน

- ประทับบนฐานเขียง อาจพฒั นามาจาก

ในผังแปดเหลี่ยมซ้อน ฐานหนา้ กระดานท่ี

กัน 2-3 ช้ัน มีขาต้ัง มขี า ในศิลปะ

รองรับ สโุ ขทัย

ด้วยความท่ีพระพุทธรูปสาริด “สกุลช่างแพร่” มีพุทธลักษณะท่ีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่
เหมือนกบั สกลุ ช่างใด ๆ บนพื้นทภี่ าคเหนอื ในชว่ งระยะเวลาเดยี วกนั นี้ จงึ ทาใหเ้ กิดประเดน็ ทน่ี ่าสนใจ
ตามมาว่า ท่ีมาของพระพุทธรูปกลุ่มน้ีจะมาจากที่ใด เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีพระพุทธรูปสกุลช่างใด
สกลุ ช่างหน่ึงทมี่ พี ุทธลกั ษณะใกลเ้ คียงกนั และมคี วามสัมพนั ธก์ บั กลมุ่ สกลุ ชา่ งแพร่นี้

ภายหลังจากการสารวจ ผู้วิจัยได้พบข้อมูลอย่างหน่ึง คือ ที่วัดสะแล่ง ตาบลห้วยอ้อ อาเภอ
ลอง มีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปหินทราย สกุลช่างพะเยาเก็บรักษาไว้ ช่ึงเม่ือตรวจสอบโดยอ้างอิงจาก
งานวจิ ยั เรอื่ ง พระพทุ ธรปู หนิ ทรายสกลุ ชา่ งพะเยา ท่ีศกั ดช์ิ ยั สายสิงห์ ได้ทาการศึกษาไว้ สามารถสรปุ
ได้ว่าช้ินส่วนพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาที่พบในวัดสะแล่งนี้ มีท้ังหมวดที่ 2 กลุ่มที่ 1 (พบ
เฉพาะส่วนพระเศียร) กาหนดอายุอยู่ท่ีราวพุทธศตวรรษที่ 20 มีพุทธลักษณะคือ มีพระพักตร์เป็นรูป
ไข่ พระขนงโก่งเป็นวงโค้ง พระเนตรเหลือบลงต่า พระนาสิกเล็กและโด่ง พระโอษฐ์ย้ิมเล็กน้อย ทา
ขอบพระโอษฐ์เป็นเส้นคู่ อีกแบบหน่ึงพบเพียงพระวรกาย มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง

51

แสดงปางมารวชิ ยั ครองจีวรหม่ เฉียง ชายสงั ฆาฏิเปน็ แผ่นใหญ่ ยาวจรดพระนาภี คลา้ ยกับพระพทุ ธรูป
หินทรายสกุลชา่ งพะเยา หมวดท่ี 3 ระยะท่ี 1 ซึง่ กาหนดอายอุ ยู่ในช่วงตน้ หรือกลาง พุทธศตวรรษ
ท่ี 21 (ศกั ดช์ิ ัย สายสงิ ห์, 2532, pp. 55-90)

การพบช้ินส่วนของพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาในบริเวณเมืองลองนี้ ทาให้อาจจะ
สันนิษฐานได้ว่า อิทธิพลของศิลปะพะเยาอาจจะมีการส่งผ่านมายังเมืองลอง แต่เนื่องจากช้ินส่วนของ
พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาท่ีพบในบริเวณเมืองแพร่-เมืองลอง มีจานวนท่ีน้อย และพบที่
วัดสะแล่งเพียงแห่งเดียว อีกท้ังช้ินส่วนของพระพุทธรูปที่พบน้ันก็ไม่ได้เช่ือมโยงกัน ทาให้การจะ
สันนิษฐานว่าศิลปะเมืองพะเยากับศิลปะเมืองแพร่มีความเกี่ยวข้องกันน้ันอาจจะไม่ชัดเจนนัก โดย
อาจจะเป็นช้ินส่วนที่ถูกเคล่ือนย้ายมาในยุคหลังก็ได้ เมื่อเป็นเช่นน้ีจึ งน่าจะสันนิษฐานได้ว่า
พระพุทธรูปสกุลช่างเมืองแพร่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้น คงจะไม่ได้มีที่มาจากพระพุทธรูปหินทราย
สกุลช่างพะเยา

ดังนั้น การค้นหาที่มาของกลุ่มพระพุทธรูปสาริด “สกุลช่างแพร่” จึงจาเป็นต้องใช้ตัวอย่าง
พระพุทธรปู สาริดทพ่ี บในช่วงเวลาก่อนหน้าเปน็ หลัก โดยสามารถสรปุ ได้ว่า ทม่ี าของพระพทุ ธรูปสาริด
กลุ่มน้ี คงจะเกิดจากวิวัฒนาการท่ีสืบเน่ืองต่อมาจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ดังปรากฏตัวอย่าง
พระพทุ ธรปู สาริดในพิพิธภณั ฑ์วดั ศรีดอนคา ซง่ึ ได้กลา่ วถึงในกลมุ่ ท่ี 1 “พระพุทธรูปสารดิ ขัดสมาธริ าบ
แบบสุโขทัย” แล้ว โดยตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดแบบสุโขทัยที่วัดศรีดอนคานั้น แสดงให้เห็นถึง
อิทธิพลศิลปะสุโขทัยที่เร่ิมคลี่คลายไปสู่งานช่างพื้นบ้านแล้ว และคงจะมีการคลี่คลายสืบต่อมา
จนกระท่ังเกดิ เปน็ พระพุทธรปู สารดิ รูปแบบใหม่อย่างท่เี รียกว่า “สกลุ ช่างแพร่”

การกาหนดอายุพระพุทธรูปสาริด “สกุลช่างแพร่” นั้น เน่ืองจากในปัจจุบันปรากฏตัวอย่าง
พระพุทธรูปเพียง 2 ตัวอย่าง ท่ีมีศักราชการสร้างท่ีแน่นอน ได้แก่ พระพุทธรูปสาริด “พระเจ้าแสน
ตอง” ท่ีพพิ ิธภณั ฑ์วดั หลวง โดยมคี าจารกึ ว่า “...จุลสกั ราชได้ 876 (พ.ศ. 2057) ตวั ในปกี าบเส็ด เดอื น
แปด เจ้าเมืองแพร่จันทราหื้อหล่อสารูปพระพุทธเจ้าตนนี้ 150,000 น้าทองแล...” (สุรศักด์ิ ศรี
สาอางค์, 2546, p. 133) และพระพุทธรูปสาริดที่วัดแม่ลานเหนือ (ตัวอย่างที่ 2) ซึ่งมีจารึกว่าสร้างปี
พ.ศ. 2059 (ภูเดช แสนสา, 2554, p. 57) ด้วยเหตุนี้ จึงน่าจะพอสันนิษฐานได้อย่างคร่าว ๆ ว่า
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 คงมีความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปสาริด “สกุลช่างแพร่”เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม
จากการตรวจสอบพุทธลักษณะของพระพุทธรูป “พระเจ้าแสนตอง” ที่วัดหลวง และพระพุทธรูป
สาริดที่วัดแม่ลานเหนือ (ตัวอย่างที่ 2) พบว่ามีพุทธลักษณะที่ค่อนข้างห่างจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัย
มากแล้ว กล่าวคือ พระพักตร์ไม่เป็นรูปไข่อย่างพระพุทธรูปหมวดใหญ่ แต่มีพระนลาฏค่อนข้างกว้าง

52

และพระหนุเส้ียม ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งของพระพุทธรูปกลุ่มนี้คือ มีการทาชายสังฆาฏิท้ังแบบท่ี
ยาวจรดพระนาภี ปลายแยกออกเป็นเขีย้ วตะขาบ และแบบที่ยาวจรดพระเพลาจนไม่เหน็ รายละเอียด
ปลายสังฆาฏิ ซึ่งในพื้นที่เมืองแพร่-เมืองลอง ปรากฏตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดในสกุลช่างเดียวกันที่มี
พุทธลกั ษณะเช่นนี้อีก ได้แก่ พระพทุ ธรปู สาริดทีว่ ดั สงู เม่น (ตัวอย่างท่ี 1 และ 3) (ภาพท่ี 32 และ 34)
“พระเจ้าแสนตอง” ที่วัดต้าแป้น (ภาพท่ี 42) พระพุทธรูปสาริดที่ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระวหิ าร
วัดพงษ์สุนันท์ (ภาพท่ี 28) พระพุทธรูปสาริดทีว่ ัดแม่ลานเหนอื (ตัวอย่างท่ี 2) (ภาพท่ี 37) พระพุทธรูป
สาริดท่ีวัดดอนมูล (ภาพที่ 44) รวมทั้งพระพุทธรูปสาริดท่ีปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง
ด้วย (ภาพที่ 43) ดังน้ันจึงอาจสันนิษฐานต่อไปได้ว่า พระพุทธรูปสาริด “สกุลช่างแพร่” ท่ีมีลักษณะ
พระพกั ตร์อย่างพระเจ้าแสนตอง วัดหลวง คงจะมอี ายุอยู่ในชว่ งเวลาเดียวกัน คอื กลางพุทธศตวรรษที่
21

พระพุทธรูป “สกุลช่างแพร่” รูปแบบต่อมาท่ีมีการสารวจพบ คือ กลุ่มท่ีมีพระพักตร์เป็นรูป
ไข่ พบจานวน 1 ตัวอย่าง คือ พระพุทธรูปท่ีวัดใหม่พม่า (ภาพท่ี 41) แม้พระพุทธรูปองค์น้ีจะไม่
ปรากฏหลักฐานการสร้าง แต่จากการตรวจสอบรูปแบบ พบว่า แม้พุทธลักษณะโดยรวมจะเป็นอย่าง
“สกุลช่างแพร่” แล้ว แต่การทาพระพักตร์รูปไข่ ย่อมแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะสุโขทัยที่ยังปรากฏ
อย่างเด่นชัด ต่างจากกลุ่มท่ีมีจารึกอย่าง “พระเจ้าแสนตอง” วัดหลวง ดังน้ันจึงมีความเป็นไปได้ว่า
พระพุทธรูปกลุ่มน้ีน่าจะสร้างข้ึนในช่วงเวลาก่อนกลุ่มพระเจ้าแสนตอง คืออยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21
โดยอาจเป็นกลุ่มที่มวี ิวัฒนาการสืบเน่ืองมาจากกลุ่มพระพุทธรูปแบบสโุ ขทัยที่พิพธิ ภัณฑ์วัดศรีดอนคา
และมีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นพระพุทธรูป “สกุลช่างแพร่” รุ่นแรก ๆ ด้วย ดังที่ได้เปรียบเทียบใน
ตารางที่ 6

53

ตารางท่ี 6 การเปรยี บเทยี บพระพทุ ธรปู “สกุลช่างแพร่” ทม่ี ีพระพกั ตร์รปู ไข่ กบั พระพทุ ธรูปสารดิ แบบสโุ ขทัยที่วัด

ศรดี อนคา

ตัวอย่างพระพุทธรปู ท่ีวัดใหม่พม่า พระพทุ ธรปู สารดิ แบบสโุ ขทยั ทีว่ ัดศรีดอนคา

นอกเหนือจากพระพุทธรูป “สกุลช่างแพร่” ที่มีพระพักตร์รูปไข่แล้ว ในพ้ืนท่ีเมืองแพร่-เมืองลอง
ยังปรากฏพระพุทธรูป “สกุลช่างแพร่” ที่มีพระพักตร์แป้น มีการทาชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี
ปลายแยกออกเป็นเขี้ยวตะขาบ ซึ่งปรากฏอยู่เป็นจานวนมาก ตัวอย่างของพระพุทธรูปกลุ่มน้ี ได้แก่
พระพุทธรูปสาริดทว่ี ดั นา้ รนิ (ภาพท่ี 39) “พระเจา้ ฝนแสนห่า” ทว่ี ัดบ้านปง (ภาพท่ี 40) พระพุทธรูป
สาริดท่ีวัดแม่ปาน (ภาพท่ี 35) พระพุทธรูปสาริดท่ีวัดแม่ลานเหนือ (ตัวอย่างที่ 1 และ 3) (ภาพที่ 36
และ 38) โดยเป็นกลุ่มที่ไม่ปรากฏหลักฐานศักราชการสร้างท่ีแน่นอนเช่นกัน แต่จากลักษณะพระ
พกั ตร์ มคี วามเปน็ ไปไดว้ ่าพระพุทธรปู กลมุ่ น้จี ะมีววิ ฒั นาการสบื ต่อมาจากพระพทุ ธรปู สารดิ “สกุลชา่ ง
แพร่” แบบพระพักตร์รูปไข่ ดังนั้นจึงกาหนดอายุไว้ว่าอยู่ในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษท่ี 21 โดย
อย่ใู นระยะหลังกวา่ กลมุ่ พระพักตร์รูปไข่ แต่สร้างข้ึนก่อนกลมุ่ “พระเจ้าแสนตอง” วัดหลวง

นอกเหนือจากส่วนพระพักตร์แล้ว ในพระพุทธรูปสาริดสกุลช่างแพร่บางตัวอย่าง ยังปรากฏ
องค์ประกอบอ่ืนทีส่ ามารถนามาใช้กาหนดอายุได้อีก เช่น ตวั อย่างพระพุทธรปู สาริดทวี่ ัดแม่ลานเหนือ
(ตัวอย่างที่ 2) ซึง่ ปรากฏคาจารกึ ท่ีฐาน (ภาพท่ี 49) แมว้ ่าในปัจจุบันจารึกดงั กล่าวจะอยู่ในสภาพชารุด
จนไม่สามารถอา่ นศักราชการสร้างไดแ้ ล้ว แต่ในอดีต ภเู ดช แสนสา ไดเ้ คยทาการศึกษาและแปลจารึก
ที่ฐานของพระพุทธรูปท่ีวัดแม่ลานเหนือนี้ไว้ โดยจารึกดังกล่าวระบุศักราชว่าอยู่ในปี พ.ศ. 2059 (ภู
เดช แสนสา, 2554, p. 57) จึงสามารถกาหนดอายุพระพุทธรูปสาริดที่วัดแม่ลานเหนือองค์นี้ได้ว่าอยู่
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษท่ี 21 ตรงกับรัชสมัยของพญาแก้วแห่งอาณาจักรล้านนา และอยู่ในระยะ

54

หลังจากพระพุทธรูปสาริด “พระเจ้าแสนตอง” เล็กน้อย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความนิยมในการสร้าง
พระพทุ ธรูปสารดิ ทีม่ ีจารึกเชน่ น้ี มกั ปรากฏอยู่ในชว่ งกลางพทุ ธศตวรรษท่ี 21

ภาพท่ี 49 ชิ้นสว่ นจารกึ บนฐานพระพทุ ธรูปสาริด วัดแม่ลานเหนอื (ตัวอย่างที่ 2)

พระพทุ ธรปู สารดิ สกลุ ชา่ งแพร่อีกองค์หนึ่งท่สี ามารถนาองคป์ ระกอบอนื่ มาช่วยในการกาหนด
อายุได้ คือ พระพุทธรูปสาริดที่ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคา (ภาพที่ 45) โดยตัวอย่างนี้
ถือเป็นอีกตัวอย่างหน่ึงที่มีพุทธลักษณะกลายจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัยแล้ว เห็นได้ชัดจากรูป
พระพักตร์ที่มีลักษณะเกือบเป็นส่ีเหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม ทรงครองจีวรห่มเฉียง ชาย
สังฆาฏยิ าวจรดพระนาภี ปลายตดั ตรง ตา่ งจากตัวอย่างอื่น ๆ ทมี่ กั ทาปลายแยกออกเป็นเขยี้ วตะขาบ
ประทับบนฐานบัวที่ยืดสูง มีขาต้ังแบบล้านนา ต่างจากตัวอย่างอื่น ๆ ท่ีเป็นฐานเขียง 8 เหล่ียมซ้อน
กัน แม้ในบางตัวอย่าง เช่น “พระเจ้าแสนตอง” จะมีการทาฐานบัวท่ีมีขาต้ัง แต่ก็เป็นฐานท่ีพัฒนามา
จากฐานแบบสกุลช่างแพร่ โดยขาตั้งยังมีรูปแบบเดิมอยู่ จึงต้องถือว่าเป็นคนละกรณีกับพระพุทธรูป
สาริดทีว่ ัดศรีดอนคา ซึ่งในอาณาจักรลา้ นนาช่วงรัชกาลของพญาแก้วจะนยิ มฐานพระพุทธรูปท่มี ีขาตั้ง
มาก ตัวอยา่ งเช่น พระพทุ ธรปู ปางมารวิชัยที่วัดพนั เตา เชยี งใหม่ ทมี่ จี ารึกวา่ สร้างปี พ.ศ. 2040 (ศักดิ์
ชัย สายสิงห์, 2556, p. 314) หรือพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ เป็นตน้
แต่ในตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดที่ปรากฏในเมืองเชียงใหม่นั้น จะมีการเจาะช่องกระจกลายเมฆด้วย
ในขณะทพ่ี ระพุทธรูปสาริด “สกลุ ช่างแพร่” องค์ท่วี ดั ศรีดอนคานไ้ี มม่ ี มีเพยี งขาตงั้ เทา่ นน้ั ด้วยเหตผุ ล
ดังกล่าวนี้ จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่า ตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดท่ีวัดศรีดอนคาดังกล่าวน้ีคงจะสร้างขึ้น
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษท่ี 21 ช่วงที่พญาแก้วเป็นกษัตริย์ล้านนา ทั้งน้ี เนื่องจากพระพุทธรูปสาริด
“สกุลชา่ งแพร่” ทีม่ พี ุทธลักษณะอย่างท่วี ดั ศรดี อนคาน้ีปรากฏอยู่เพียงตัวอย่างเดยี ว ไม่พบเพิม่ เติมอีก
ท้งั ในเมืองแพร่และเมืองลอง จึงมคี วามเป็นไปได้ว่าคงเปน็ งานช่างพน้ื บ้านที่สร้างข้ึนเพยี งแค่ครง้ั เดียว
ไม่ปรากฏความนยิ มสืบทอดต่อลงมาอกี

55

ด้วยการจาแนกพุทธลกั ษณะของพระพทุ ธรูป “สกลุ ช่างแพร่” ดังกล่าวนแ้ี ลว้ จึงสามารถสรุป
ววิ ัฒนาการของพระพุทธรูปสกลุ ช่างดงั กลา่ วได้ดังตารางท่ี 7

ตารางที่ 7 ววิ ฒั นาการของพระพุทธรปู สารดิ “สกลุ ชา่ งแพร่”

ระยะท่ี 1 (ตน้ พทุ ธศตวรรษท่ี ระยะท่ี 2 (คร่งึ แรกของพุทธศตวรรษที่ ระยะที่ 3 (กลางถงึ ปลายพทุ ธ
21) 21) ศตวรรษท่ี 21)

- มีพระพกั ตรร์ ูปไข่ ใกล้เคียงกับ - พระพักตรแ์ ป้น - พระพักตร์ยาว พระนลาฏ
อิทธิพลศลิ ปะสโุ ขทยั - พระวรกายเพรยี วบางย่งิ ขน้ึ กวา้ ง
- พระวรกายยงั คงความอวบอว้ น - ทาชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลาย พระหนเุ ส้ยี ม
ไม่เพรยี วบาง แยกออกเปน็ เขีย้ วตะขาบอย่างเดยี ว - พระวรกายเพรียวบาง
- ปรากฏชายสังฆาฏิ 2 แบบ
ได้แก่ แบบยาวจรดพระนาภี
ปลายแยกออกเป็นเขยี้ วตะขาบ
และแบบยาวจรดพระเพลา ไม่
เหน็ ปลาย

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งเก่ียวกับพระพุทธรูปสาริด “สกุลช่างแพร่” คือ พระพุทธรูปสาริด
กลุ่มที่พบในเขตเมืองลอง มีรูปแบบท่ีหลากหลายกว่าตัวอย่างที่พบในเมืองแพร่ จึงอาจสันนิษฐาน
ต่อไปได้ว่า การสร้างพระพุทธรูปแบบสกุลช่างเมืองแพร่นี้ น่าจะเริ่มต้นและแพร่หลายในพ้ืนท่ี
แอ่งลอง-วังชิ้นก่อน ก่อนจะส่งไปยังเมืองแพร่ และทั้งเมืองแพร่และเมืองลองคงมีการติดต่อรับ
วัฒนธรรมซ่ึงกันและกันตลอดมา จนกระทั่งเม่ืออาณาจักรล้านนาส้ินสภาพ ตกเป็นเมืองข้ึนของพม่า
การสร้างพระพทุ ธรูปสารดิ ในสกุลช่างแพร่กส็ ้นิ สดุ ลงไปด้วย

56

สาหรับกลุ่มพระพุทธรูปสกุลช่างเมืองแพร่ท่ีพบในพ้ืนท่ีจังหวัดน่านนั้น เน่ืองจากได้พบ
ตัวอย่างพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะดังกล่าวนี้เพียง 3 องค์ จึงมีความเป็นไปได้ว่า อิทธิพลสกุลช่าง
เมืองแพร่คงแผ่ข้ึนมาถึงเมืองน่าน แต่อาจไม่แพร่หลายนัก หรือมิฉะนั้น ตัวอย่างทั้ง 3 องค์น้ี อาจถูก
เคลอ่ื นยา้ ยมาจากเมอื งแพร่ โดยที่มไิ ดส้ ร้างขน้ึ ในพน้ื ท่ีจังหวดั นา่ นโดยตรงกเ็ ปน็ ได้

กลมุ่ ที่ 2 พระพทุ ธรูปสาริดท่ีมีการทาสืบต่อจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัย
พระพุทธรูปสาริดกลุ่มสาคัญอีกกลุ่มหน่ึงท่ีมีการสร้างบนพ้ืนท่ีเมืองน่าน-เมืองแพร่-เมืองลอง
คือ พระพุทธรูปสาริดที่ทาสบี ทอดตอ่ ลงมาจากอิทธพิ ลศิลปะสุโขทัย ซ่ึงเป็นรูปแบบท่ีได้รับความนิยม
มากในพื้นท่ีเมืองน่าน โดยที่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ พื้นท่ีใกล้เคียงเมืองน่านอย่างเชน่ เมีองพะเยา เมือง
แพร่ ต่างก็มีการสร้างพระพุทธรูปแบบท่ีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว จนอาจถือได้ว่า กลุ่มพระพุทธรูป
สารดิ ทท่ี าตอ่ จากอิทธพิ ลศลิ ปะสโุ ขทัย เป็นกลุ่มสกุลชา่ งที่เปน็ เอกลกั ษณ์เฉพาะตนของเมืองน่าน
ตวั อย่างพระพุทธรปู ที่ปรากฏในพ้ืนทเ่ี มอื งน่าน
ตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดที่ทาต่อจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัยนี้ ปรากฏตัวอย่างกระจายอยู่
ทั่วไปในพ้ืนทจ่ี งั หวดั นา่ น ดังนี้
1. อาเภอเมืองน่าน พบ 3 องค์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ปัจจุบันประดิษฐาน
อยูท่ ่ีวัดพระธาตุช้างคา้ (ภาพท่ี 50 และ 51) และ “พระเจา้ ทองทิพย์” ที่วัดสวนตาล (ภาพที่ 52)

ภาพท่ี 50 (ซ้าย) พระพุทธรูปสารดิ ทีว่ ัดพระธาตชุ า้ งค้า (ตวั อยา่ งที่ 1)
ภาพที่ 51 (ขวา) พระพุทธรูปสารดิ ท่วี ัดพระธาตุช้างค้า (ตัวอยา่ งที่ 2)

57

ภาพท่ี 52 พระพุทธรปู สารดิ “พระเจ้าทองทพิ ย์” วดั สวนตาล

2. อาเภอสนั ติสุข พบ 2 องค์ เปน็ พระพุทธรูปประทับนง่ั ปางมารวชิ ัย ปจั จบุ ันประดษิ ฐานอยู่
ที่วดั ปา่ แลวหลวง (ภาพที่ 53 และ 54)

ภาพท่ี 53 (ซ้าย) พระพุทธรปู สาริดทว่ี ัดปา่ แลวหลวง อาเภอสันติสุข (ตัวอยา่ งท่ี 1)
ภาพที่ 54 (ขวา) พระพทุ ธรูปสาริดท่วี ัดปา่ แลวหลวง อาเภอสันติสขุ (ตวั อยา่ งที่ 2)

58
3. อาเภอภูเพียง พบ 2 องค์ ได้แก่ พระพุทธรูปลีลาที่วัดนาปัง (ภาพที่ 55) และพระพุทธรูป
ปางมารวชิ ยั ที่วดั กอก (ภาพที่ 56)

ภาพท่ี 55 พระพุทธรูปลลี าที่วดั นาปงั อาเภอภเู พียง (กรมศลิ ปากร, 2530, p. 115)

ภาพที่ 56 พระพทุ ธรปู สารดิ ที่วัดกอก อาเภอภูเพียง

59
4. อาเภอแมจ่ ริม พบ 1 องค์ เปน็ พระพุทธรูปประทับน่ังปางมารวชิ ยั ปจั จุบันประดิษฐานอยู่
ทว่ี ัดพรหม (ภาพที่ 57)

ภาพท่ี 57 พระพุทธรปู สารดิ ท่วี ดั พรหม อาเภอแมจ่ รมิ

5. อาเภอปวั พบ 2 องค์ เป็นพระพุทธรูปประทับน่ังปางมารวิชัย ปจั จุบันประดิษฐานอยู่ท่ีวัด
ปรางค์ (ภาพท่ี 58 และ 59)

ภาพท่ี 58 (ซา้ ย) พระพทุ ธรูปสารดิ ทว่ี ดั ปรางค์ อาเภอปวั (ตัวอย่างท่ี 1) (กรมศิลปากร, 2530, p. 105)
ภาพท่ี 59 (ขวา) พระพทุ ธรูปสาริดท่ีวดั ปรางค์ อาเภอปวั (ตวั อย่างที่ 2) (กรมศิลปากร, 2530, p. 107)

60

6. อาเภอเวียงสา พบ 1 องค์ เปน็ พระพุทธรูปประทบั นั่งปางมารวิชัย ปจั จบุ นั ประดิษฐานอยู่
ทว่ี ดั สถาน (ภาพท่ี 60)

ภาพท่ี 60 พระพุทธรูปสารดิ ที่วัดสถาน อาเภอเวยี งสา

การวเิ คราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบศิลปกรรม
กลุ่มพระพุทธรูปสาริดแบบท่ีทาสืบทอดต่อจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัยในเมืองน่านนี้ โดยรวม
ยังคงพุทธลักษณะหลักตามอย่างอิทธิพลสุโขทัย กล่าวคือ มีพระรัศมีเป็นเปลว ไม่มีไรพระศก พระ
พักตรร์ ปู ไข่ พระขนงโกง่ พระนาสกิ โดง่ แย้มพระโอษฐ์เลก็ น้อย ทรงครองจีวรห่มเฉยี ง ชายสังฆาฏยิ าว
จรดพระนาภี ปลายแยกออกเป็นเขี้ยวตะขาบ ประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย นิ้วพระหัตถ์
เป็นอย่างธรรมชาติ คือ มีความส้ัน-ยาว ไม่เท่ากัน ประทับบนฐานหน้ากระดาน ซึ่งเป็นข้อแตกต่าง
จากกลุม่ ที่ได้รบั อิทธิพลจากศิลปะล้านนาระยะหลัง ดังจะไดก้ ลา่ วถึงในกลุ่มที่ 4 “พระพทุ ธรูปสาริดที่
ได้รบั อทิ ธิพลจากศิลปะลา้ นนาระยะหลัง”
แต่เดิม สุรศักดิ์ ศรีสาอางค์ ได้เคยจัดพระพุทธรูปสาริดกลุ่มที่ทาสืบต่อจากอิทธิพลศิลปะ
สุโขทัยน้ีไว้ว่าอยู่ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 1993-2101 ยกเว้นพระพุทธรูปสาริดกลุ่มที่วัดปรางค์ ตาบล
วรนคร อาเภอปัว ซ่งึ ทา่ นได้จัดไว้วา่ อย่ใู นช่วงครง่ึ แรกและครึ่งหลังของพุทธศตวรรษท่ี 20 (สุรศักด์ิ ศรี
สาอางค์, 2530, p. 76) ตามลาดับ ซึ่งภายหลังจากการสารวจ ผู้วิจัยมีความเห็นบางส่วนที่ต่างจาก
ท่าน คือ พระพุทธรูปกลุ่มนี้น่าจะมีอายุเก่าท่ีสุดอยู่ในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 20 แล้ว
เน่ืองจากในช่วงคร่ึงแรกของพุทธศตวรรษที่ 20 ยังคงปรากฏการสร้างพระพุทธรูปตามแบบอิทธิพล
ศิลปะสุโขทัยในระยะที่ 2 กลุ่มท่ี 1 ซึ่งยังมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่อยู่ ในขณะที่
พระพุทธรูปสาริดบางตัวอย่าง เช่น ตัวอย่างที่วัดปรางค์ อาเภอปัว แม้จะมีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย

61

แต่ฝีมือที่ปรากฏมีลักษณะเป็นงานช่างพ้ืนบ้าน เช่น ส่วนพระพักตร์ที่แป้นกว่าพระพุทธรูปในอิทธิพล
ศิลปะสุโขทัย และการทาชายสังฆาฏิเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ปลายสังฆาฏแิ ยกออกคลา้ ยหางปลา ไม่เป็น
เขยี้ วตะขาบอยา่ งศิลปะสุโขทัย ดังน้ันจึงมคี วามเป็นไปได้วา่ ตวั อย่างที่วัดปรางค์ ซึ่งสรุ ศกั ดิ์ ศรีสาอางค์
เคยจัดให้อยู่ในช่วงคร่ึงแรกของพุทธศตวรรษที่ 20 น้ัน อาจไม่เก่าไปกว่าคร่ึงหลังของพุทธศตวรรษท่ี
20

ตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดที่มีความเป็นไปได้ว่าน่าจะเป็นพระพุทธรูปรุ่นแรก ๆ ของกลุ่มน้ี
คือ พระพทุ ธรปู สารดิ ท่วี ดั กอก อาเภอภเู พียง พทุ ธลกั ษณะโดยรวมของพระพุทธรปู องค์น้ียังคงมีความ
ใกล้เคียงกับพระพุทธรูปในระยะท่ี 2 กลุ่มที่ 1 อยู่ แต่มีความแตกต่างคือ เม็ดพระศกของพระพุทธรูป
องค์นมี้ ขี นาดเล็กลงจากกลุ่มพระพุทธรปู ที่ไดร้ ับอทิ ธิพลจากศลิ ปะสุโขทยั พระรัศมเี ป็นของทาใหม่ แต่
สันนิษฐานว่าของเดิมน่าจะเป็นรูปเปลวไฟ กาหนดอายุได้ว่าน่าจะอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20
ถงึ ต้นพุทธศตวรรษท่ี 21

ตารางที่ 8 เปรียบเทยี บตวั อยา่ งพระพุทธรูปสารดิ แบบศิลปะสโุ ขทัยในเมืองน่าน กบั ตวั อย่างพระพุทธรูปสารดิ ท่ี

สรา้ งสบื ตอ่ จากศลิ ปะสโุ ขทยั

ตวั อย่างพระพุทธรูปสารดิ แบบสโุ ขทัยท่วี ดั พญาภู พระพุทธรูปสาริดแบบสบื ต่ออทิ ธิพลศิลปะ

สุโขทยั ท่วี ัดกอก

62

ในระยะต่อมา พระพุทธรูปกลุ่มที่ทาสืบต่อจากศิลปะสุโขทัยนี้จะแสดงออกถึงความเป็นงาน
ช่างพื้นบ้านมากย่ิงข้ึน โดยกลุ่มที่ยังมีความใกล้เคียงกับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอยู่ ได้แก่ พระพุทธรูป
สาริดที่วัดพระธาตุช้างค้า 2 องค์ และพระพุทธรูปสาริดที่วัดสถาน อาเภอเวียงสา ซ่ึงพุทธลักษณะ
ยังคงมีความใกล้เคียงกับพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่เมืองน่านอยู่ แต่ปรากฏการทาพระหนุเป็นปมที่
เห็นไดอ้ ยา่ งชัดเจน และส่วนฐานของพระพุทธรูปได้ปรบั จากฐานหน้ากระดานเกล้ียงแบบสโุ ขทยั เปน็
ฐานท่ีมีการทาช่องเว้าตรงกลาง มีขาต้ังเตี้ย ๆ ซ่ึงเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปสาริดที่สืบทอดจาก
ศิลปะสุโขทัยในเมอื งนา่ น

เมื่อเปรียบเทียบพระพุทธรูป 2 องค์ที่วัดพระธาตุช้างค้า กับพระพุทธรูปสาริดท่ีวัดสถาน
อาเภอเวียงสา พบว่ากลุ่มที่วัดพระธาตุช้างค้ามีความใกล้เคียงกับต้นแบบในศิลปะสุโขทัยมากกว่า
ส่วนองค์ท่วี ัดสถานจะมีความเป็นงานช่างพ้นื บ้านมากยิ่งขึ้น และจุดทเ่ี หน็ ได้ชดั ในตวั อย่างทีว่ ัดสถานน้ี
คือ ส่วนฐานทางด้านซ้ายและขวามีความไม่สมดุลกัน เมื่อตั้งแล้วจะรู้สึกได้ว่าองค์พระสามารถโยก
คลอนได้ จึงน่าจะเป็นการแสดงออกถึงงานช่างพื้นบ้านได้อีกประการหน่ึง แสดงการเปรียบเทียบดัง
ตารางท่ี 9

ตารางท่ี 9 เปรียบเทยี บตัวอย่างพระพุทธรปู สาริดทวี่ ดั พระธาตชุ า้ งคา้ กับพระพุทธรูปสาริดทว่ี ดั สถาน

ตัวอยา่ งพระพทุ ธรูปสารดิ ท่วี ัดพระธาตุช้างคา้ ตัวอยา่ งพระพทุ ธรูปสารดิ ทีว่ ัดสถาน

63

เน่ืองจากพระพุทธรูปกลุ่มที่วัดพระธาตุช้างค้า และวัดสถานน้ีมีการกลายจากอิทธิพลศิลปะ
สุโขทัยอีกระดับหนึ่ง ดังน้ันจึงอาจสามารถกาหนดอายุได้ว่า ควรมีอายุการสร้างอยู่ในช่วงหลังจาก
พระพทุ ธรปู สาริดท่วี ดั กอก คอื อยใู่ นชว่ งตน้ พทุ ธศตวรรษที่ 21 แลว้

พระพุทธรูปสาริดอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการทาสืบต่อจากศิลปะสุโขทัย และสามารถกาหนดอายุได้
ว่าควรอยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษท่ี 21 เช่นกัน คือ กลุ่มท่ีปรากฏฝีมือว่าเป็นงานช่างพื้นบ้านอย่าง
ชดั เจน ตัวอย่างสาคญั ของพระพทุ ธรปู กลมุ่ น้ีคือ พระพทุ ธรปู สาริด 2 องค์ ท่ีวดั ปรางค์ อาเภอปัว โดย
พระพุทธรูปท้ัง 2 ตัวอย่างนี้ มีพุทธลักษณะที่แตกต่างกันพอสมควร โดยในตัวอย่างท่ี 1 (ภาพท่ี 58)
แม้จะมีพุทธลักษณะที่ออกจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัยแล้ว แต่ก็ยังมีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยที่ชัดเจน
กว่าตัวอย่างท่ี 2 ในขณะท่ีตัวอย่างท่ี 2 (ภาพท่ี 59) น้ันจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานช่างพ้ืนบ้าน
มากยิ่งข้ึน ได้แก่ การทาพระพักตร์ยาวผิดรูป ส่วนชายสังฆาฏิท่ีแสดงลักษณะเพียงคร่าว ๆ ไม่เห็น
รายละเอียดของเข้ียวตะขาบชดั เจนนกั ดงั น้นั จงึ สนั นิษฐานได้ว่า พระพทุ ธรูปสาริดทว่ี ัดปรางค์ อาเภอ
ปัว ตัวอย่างที่ 2 น่าจะมีอายุการสร้างหลังกว่าตัวอย่างที่ 1 โดยอยู่ในช่วงคร่ึงแรกของพุทธศตวรรษท่ี
21

ตารางท่ี 10 เปรียบเทยี บตัวอย่างพระพทุ ธรปู สาริดทวี่ ดั ปรางค์ ตวั อยา่ งท่ี 1 และตวั อย่างท่ี 2

พระพุทธรูปสารดิ ท่ีวัดปรางค์ ตวั อยา่ งที่ 1 พระพทุ ธรูปสารดิ ท่ีวัดปรางค์ ตวั อย่างท่ี 2

64

ตารางท่ี 11 เปรียบเทียบตัวอย่างพระพุทธรูปสารดิ ทว่ี ดั ปรางค์ ตวั อยา่ งที่ 1 และตวั อยา่ งท่ี 2 (ตอ่ )

พระพุทธรูปสารดิ ท่วี ัดปรางค์ ตัวอยา่ งที่ 1 พระพทุ ธรูปสารดิ ท่วี ัดปรางค์ ตวั อยา่ งที่ 2

อยา่ งไรก็ตาม จากข้อมูลทสี่ รุ ศักดิ์ ศรีสาอางค์ ได้รวบรวมไว้ในเอกสาร “เมอื งนา่ น โบราณคดี
ประวตั ิศาสตร์ และศลิ ปะ” ได้ระบุว่าพระพุทธรูปสารดิ ตัวอยา่ งท่ี 1 แต่เดมิ พระเศียรหักหายไป ตอ่ มา
ทางวัดได้นาเศียรของพระพุทธรูปในหมวดเดียวกัน (จากเอกสารระบุว่าเป็นระยะท่ี 1 หมวดท่ี 1 ช่วง
ระหว่างกลางพุทธศตวรรษท่ี 19 ถึงพ.ศ. 1992) มาต่อแทน (สุรศักดิ์ ศรีสาอางค์, 2530, p. 76) หาก
เป็นเช่นน้ี ย่อมต้องถือว่าส่วนพระเศียรกับส่วนพระวรกายเป็นคนละส่วน ต้องวิเคราะห์แยกออกจาก
กัน โดยส่วนพระเศยี ร เน่อื งจากยังปรากฏพุทธลักษณะสาคัญของอิทธิพลศิลปะสโุ ขทัยอยู่ คือ การทา
หางพระเนตรเป็นเส้นโค้งตวดั ขึ้น เทียบได้กับตัวอย่างพระพุทธรปู สาริดที่วัดพระธาตุช้างค้าในระยะที่
2 หมวดที่ 1 องค์ท่ี 2 ในขณะที่พระพุทธรปู สาริดทวี่ ดั กอกนัน้ เสน้ โคง้ ท่หี างพระเนตรหายไปแลว้ และ
ไม่ปรากฏในกลุ่มพระพุทธรูปท่ีทาสืบต่อจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอีก ดังนั้นส่วนพระเศียรของ
พระพุทธรปู สาริดทวี่ ดั ปรางค์ องคท์ ี่ 1 จึงนา่ จะมีอายุรว่ มสมยั กบั พระพุทธรปู สารดิ ในระยะที่ 2 หมวด
ที่ 1 (กลางพุทธศตวรรษที่ 19 – ปลายพุทธศตวรรษที่ 20) ได้ ในขณะท่ีส่วนพระวรกาย ดังท่ีได้กล่าว
ไปในขา้ งต้นแลว้ วา่ พระพทุ ธรปู สาริดองค์น้ีมพี ุทธลักษณะบางประการที่ต่างจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัย
แล้ว คือ การทาชายสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ และปลายสังฆาฏิมีลักษณะคล้ายหางปลา ไม่เป็นเข้ียว
ตะขาบ ดังนั้นจึงมคี วามเปน็ ไปได้วา่ อาจเป็นงานพ้ืนถ่ิน จึงกาหนดอายุของพระวรกายของพระพุทธรูป
ท่ีวัดปรางค์ ตัวอย่างที่ 1 ไว้ว่าน่าจะอยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 โดยสร้างข้ึนในระยะหลังจาก
ตัวอย่างพระพทุ ธรูปสารดิ ทีว่ ัดกอกแล้ว

65

นอกเหนือจากตัวอยา่ งพระพุทธรูปสาริดทวี่ ดั ปรางค์ อาเภอปัว ในพื้นทจ่ี งั หวัดน่านยงั ปรากฏ
พระพุทธรูปสาริดท่ีสร้างสืบต่อจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัยในอาเภออ่ืน ๆ อีก เช่น ตัวอย่างที่วัดพรหม
อาเภอแม่จริม (ภาพท่ี 57) วัดป่าแลวหลวง อาเภอสันติสุข (ภาพท่ี 53 และ 54) เป็นต้น ซึ่งตัวอย่าง
เหล่านี้ยังคงองค์ประกอบของพระพุทธรปู ภายใตอ้ ิทธิพลศิลปะสโุ ขทัย แต่มีรายละเอียดหลายจุด เช่น
พระพักตร์ พระวรกาย ที่แสดงความเป็นงานช่างพ้ืนบ้านมากข้ึน กาหนดอายุได้ว่าน่าจะอยู่ในช่วง
คร่งึ แรกของพทุ ธศตวรรษที่ 21 ในระยะเดียวกบั พระพุทธรปู สาริดที่วัดปรางค์ อาเภอปวั ตัวอยา่ งที่ 2

ในกลุ่มพระพุทธรูปสาริดที่ทาสืบทอดต่อมาจากศิลปะสุโขทัย ยังปรากฏอยู่อีก 1 ตัวอย่างที่มี
พุทธลักษณะพิเศษ และถือว่ามีความสาคัญยิ่งในเมืองน่าน คีอ “พระเจ้าทองทิพย์” ท่ีวัดสวนตาล
พระพุทธรูปองค์น้ีปรากฏหลักฐานการสร้างว่าอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 1992 -1993 ในสมัยพระเจ้าติโลกราช
ในโอกาสท่ีพระองค์สามารถผนวกเมืองน่านเข้าไว้ในอาณาจักรลา้ นนาได้สาเรจ็ (กรมศิลปากร, 2530,
p. 16) โดย “พระเจ้าทองทิพย์” ถีอเปน็ พระพุทธรูปที่มรี ปู แบบผสมระหว่างอทิ ธิพลศลิ ปะสโุ ขทัยและ
ศิลปะล้านนาอย่างแท้จริง กล่าวคือ มีพระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์รูปไข่ ทรงครองจีวรห่มเฉียง ชาย
สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายแยกออกเป็นเข้ียวตะขาบ ประทับน่ังขัดสมาธิราบ ตามอย่างอิทธิพล
ศิลปะสุโขทัย แต่พระวรกายมีความอวบอ้วน และพระหนุเป็นปมตามอย่างศิลปะล้านนา ตัวอย่าง
พระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะอย่าง “พระเจ้าทองทิพย์” นี้ พบเพียงอีกตวั อย่างหน่ึงท่ีวัดหัวข่วงเท่านั้น
ดังน้ันจึงมีความเป็นไปได้ว่าพุทธลักษณะของ “พระเจ้าทองทิพย์” เป็นรูปแบบพิเศษท่ีสร้างขึ้นใน
เฉพาะในโอกาสพิเศษเทา่ น้นั และการที่พบตวั อยา่ งทคี่ ล้ายกนั ทวี่ ัดหวั ขว่ ง มคี วามเปน็ ไปไดว้ ่าอาจเป็น
การจาลองแบบไปจากพระเจ้าทองทิพย์ โดยพุทธลักษณะเช่นนี้มิได้มีการทาสืบทอดต่อมาในสกุลชา่ ง
เมืองน่านอกี

ในส่วนของพระพุทธรูปลีลา จากการสารวจพบตัวอย่างเพียง 1 องค์ คือท่ีวัดนาปัง อาเภอ
ภูเพียง (ภาพที่ 55) โดยมีพุทธลักษณะท่ีเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัยมากแล้ว ได้แก่ ส่วน
พระพักตร์ท่ีมีความเป็นงานช่างพื้นบ้านมากขึ้น ส่วนพระหัตถ์ขวาที่ยกขึ้นแสดงอภัยมุทรามีความ
แตกต่างจากกลุ่มพระพุทธรูปลีลาที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย เช่น กลุ่มพระพุทธรูปลีลาที่
วัดพญาภูอย่างชัดเจน นอกจากน้ี ยังปรากฏเส้นรัดประคด และชายผ้าหน้านางที่สบง ซึ่งใน
พระพุทธรูปลีลาแบบสุโขทัยท่ีเมืองน่านไม่เคยปรากฏพุทธลักษณะเช่นน้ีมาก่อน กาหนดอายุได้ว่า
น่าจะอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษท่ี 21 ในระยะเดียวกับพระพุทธรูปสาริด
ท่ีวดั กอก

66

ตารางที่ 11 เปรียบเทยี บตัวอยา่ งพระพทุ ธรปู ลลี าท่วี ัดพระธาตชุ า้ งค้า กบั พระพทุ ธรูปลลี าที่วัดนาปัง

พระพุทธรูปลีลาทีว่ ดั พญาภู พระพุทธรปู ลีลาทีว่ ดั นาปงั

67

พระพุทธรูปสาริดท่ีทาสืบต่อจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัยนี้ ถือเป็นกลุ่มท่ีได้รับความนิยมมาก
ที่สุดในพื้นที่เมืองน่าน และมีการทาสืบทอดต่อลงมาเร่ือย ๆ แม้ในช่วงท่ีอาณาจักรล้านนาล่มสลาย
และเมืองน่านต้องตกเป็นเมีองข้ึนของพม่าก็ตาม จนกระทั่งเม่ือเมืองน่านตกอยู่ภายใต้ภาวะสงคราม
ผูค้ นถกู กวาดต้อนไปยังท่ตี า่ ง ๆ จนเมอื งร้าง การสร้างพระพทุ ธรปู สาริดกลุ่มน้จี ึงหมดไป

กล่มุ ท่ี 3 พระพทุ ธรปู ขดั สมาธิเพชรแบบลา้ นนา

อทิ ธพิ ลทางศลิ ปะท่ปี รากฏในพื้นทีเ่ มืองน่าน-เมืองแพร่ นอกเหนือจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัยท่ี
เข้ามาต้ังแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 19 และมีการทาสืบต่อลงมาแล้ว ยังปรากฏงานศิลปกรรมท่ีได้รับ
อิทธิพลจากศิลปะล้านนาอีกด้วย สันนิษฐานวา่ คงมีการรับเข้ามาหลังจากท่ีอาณาจักรสุโขทัยล่มสลาย
และพระเจ้าตโิ ลกราชได้ผนวกเมืองท้ัง 2 น้ี เขา้ เป็นสว่ นหนึ่งของอาณาจักรล้านนา โดยรูปแบบสาคัญ
ท่ีมีการส่งผ่านเข้ามายังพื้นท่ีเมืองน่าน-เมืองแพร่-เมืองลอง ก็คือพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร ซึ่งเป็น
รูปแบบที่ได้รับความนิยมในอาณาจักรล้านนาต้ังแต่พุทธศตวรรษท่ี 19 และปรากฏเป็นอย่างมากใน
ยคุ ทองของล้านนา (ต้นถงึ กลางพุทธศตวรรษที่ 21)

ตัวอยา่ งพระพทุ ธรูปที่ปรากฏในพนื้ ท่ีเมืองน่าน-เมอื งแพร่-เมืองลอง
พระพุทธรูปสาริดขัดสมาธิเพชรแบบล้านนาท่ีปรากฏในพ้ืนที่เมืองน่าน-เมืองแพร่-เมืองลอง
น้ัน พบในพ้ืนท่ีเมืองน่านมากกว่าเมอื งแพร่-เมืองลอง โดยสามารถจาแนกตามพน้ื ที่ได้ดังน้ี
1. อาเภอเมืองน่าน พบ 7 ตัวอย่าง ได้แก่ ที่วัดพระธาตุช้างค้า จานวน 1 องค์ (ภาพที่ 61)
วัดภูมินทร์ จานวน 2 องค์ (ภาพท่ี 62 และ 63) และจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแหง่ ชาติน่าน จานวน
4 องค์ (ภาพท่ี 64 65 66 67)

68

ภาพที่ 61 พระพุทธรูปสารดิ ที่วัดพระธาตุชา้ งค้า
ภาพท่ี 62 (ซา้ ย และขวา) พระพทุ ธรปู สารดิ ทว่ี ัดภมู นิ ทร์ (ตัวอยา่ งท่ี 1) (สรุ ศกั ด์ิ ศรสี าอางค์, 2530, p. 123)

69

ภาพท่ี 63 (ซา้ ย) พระพทุ ธรปู สารดิ ทวี่ ัดภูมนิ ทร์ (ตัวอยา่ งที่ 2)
ภาพท่ี 64 (ขวา) พระพทุ ธรปู สาริดทพ่ี ิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน (ตัวอย่างที่ 1)

ภาพที่ 65 (ซา้ ย) พระพุทธรูปสาริดท่ีพิพธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ นา่ น (ตัวอยา่ งท่ี 2)
ภาพท่ี 66 (ขวา) พระพทุ ธรูปสารดิ ทพ่ี พิ ธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ นา่ น (ตัวอย่างท่ี 3)

70

ภาพที่ 67 พระพุทธรปู สารดิ ทีพ่ พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ นา่ น (ตวั อยา่ งท่ี 4)

2. อาเภอท่าวังผา พบ 2 ตัวอย่าง ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์วัดศรีมงคล (ก๋ง) ตาบลยม
(ภาพท่ี 68 และ 69)

ภาพท่ี 68 (ซ้าย) พระพทุ ธรูปสารดิ ทพ่ี ิพิธภัณฑว์ ัดศรมี งคล (ก๋ง) (ตวั อย่างท่ี 1)
ภาพที่ 69 (ขวา) พระพุทธรูปสารดิ ท่พี ิพธิ ภัณฑว์ ัดศรีมงคล (กง๋ ) (ตวั อย่างท่ี 2)

71
3. อาเภอปวั พบ 6 ตัวอยา่ ง ได้แก่ ท่วี ดั นาคา จานวน 1 องค์ (ภาพที่ 70) วัดปา่ ตอง จานวน
2 องค์ (ภาพท่ี 71 และ 72) วดั ดอนมูล จานวน 1 องค์ (ภาพที่ 73) วัดตน้ แหลง จานวน 1 องค์ (ภาพ
ที่ 74) และที่วัดปา่ เหมอื ดจานวน 1 องค์ (ภาพท่ี 75)

ภาพท่ี 70 (ซ้าย) พระพทุ ธรูปสารดิ ที่วัดนาคา
ภาพที่ 71 (ขวา) พระพุทธรูปสารดิ ที่วดั ปา่ ตอง (ตวั อยา่ งที่ 1) (ทม่ี า : วัดปา่ ตอง)

ภาพท่ี 72 (ซ้าย) พระพทุ ธรูปสารดิ ทีว่ ดั ป่าตอง (ตัวอยา่ งท่ี 2) (ทม่ี า : วัดป่าตอง)
ภาพท่ี 73 (ขวา) พระพทุ ธรูปสารดิ ทีว่ ัดดอนมลู

72

ภาพท่ี 74 (ซ้าย) พระพทุ ธรปู สารดิ “หลวงพ่อเพชร” ทีว่ ดั ต้นแหลง
ภาพที่ 75 (ขวา) พระพุทธรปู สารดิ ทีว่ ัดปา่ เหมอื ด

4. อาเภอเมืองแพร่ พบ 1 ตัวอย่าง ประดิษฐานอยู่ทวี่ ัดพงษ์สุนนั ท์ (ไมส่ ามารถเขา้ ถึงตวั อย่าง
โบราณวตั ถไุ ด)้

5. อาเภอลอง พบ 1 ตัวอยา่ ง ปัจจุบนั จัดแสดงอยใู่ นพพิ ธิ ภัณฑ์วัดหลวง (ภาพท่ี 76)

ภาพที่ 76 พระพุทธรปู สารดิ ทีพ่ ิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคา

73

การวเิ คราะหแ์ ละเปรยี บเทียบรปู แบบศิลปกรรม
พระพุทธรูปแบบล้านนาระยะแรกในเมืองน่าน-เมืองแพร่ โดยท่ัวไปยังคงรักษาแบบแผน
เช่นเดียวกับพระพุทธรูปแบบล้านนาระยะแรกที่เมืองเชียงใหม่ กล่าวคือ มีพุทธลักษณะเป็น
พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย มีพระรัศมีเป็นรูปลูกแก้ว ทรงครองจีวรห่ม
เฉยี ง ชายสังฆาฏิสนั้ เหนือพระถัน นว้ิ พระหตั ถ์เป็นแบบธรรมชาติ
ตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดแบบล้านนาระยะแรกท่คี วรจัดให้เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาในพ้ืนที่
เมืองน่าน-เมืองแพร่ ได้แก่ พระพุทธรูปสาริดที่วัดพระธาตุช้างค้า (ภาพท่ี 61) และพระพุทธรูปที่
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคา อาเภอลอง (ภาพที่ 76) โดยตัวอย่างท้ัง 2 น้ี ยังคงมี
รูปแบบที่ใกล้ชิดกับตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดแบบล้านนาระยะแรกที่เชียงใหม่ ซ่ึงเป็นต้นแบบของ
ศิลปะล้านนาอยู่ เช่น ยังคงทาพระพักตร์กลม พระวรกายอวบอ้วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิสน้ั
เหนอื พระถัน และปลายสังฆาฏยิ งั คงลักษณะของเขยี้ วตะขาบอยู่
สาหรับตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดท่ีวัดพระธาตุช้างค้าน้ัน สุรศักด์ิ ศรีสาอางค์ ได้เคย
เปรียบเทียบว่ามีความคล้ายคลงึ กับพระพุทธรปู สาริดที่วัดพระเจา้ เม็งราย เชียงใหม่ (ภาพที่ 77) ซึ่งมี
จารึกว่าสร้างข้ึนในปี พ.ศ. 2013 และให้ความเห็นว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน คือ คร่ึงแรก
ของพุทธศตวรรษที่ 21 (สุรศักด์ิ ศรีสาอางค์, 2530, p. 78) โดยผู้วิจัยมีความเหน็ เพ่ิมเติมจากสรุ ศักด์ิ
ศรีสาอางค์ ว่าพระพทุ ธรูปสาริดท่วี ัดพระธาตุชา้ งคา้ น้ี น่าจะสรา้ งขึ้นในช่วงหลังกว่าพระพุทธรูปสาริด
ท่ีวัดพระเจ้าเม็งรายแล้ว เนื่องจากมีพุทธลักษณะบางประการท่ีคล่ีคลายจากจากพระพุทธรูปวัดพระเจ้า
เม็งราย ได้แก่ ส่วนอุษณีษะที่ยืดสูงขึ้น พระพักตร์ท่ีเร่ิมคลายจากทรงกลมแล้ว และส่วนชายสบงท่ีมี
การเพิ่มชายผ้า ปลายแยกออกเป็นเข้ียวตะขาบมาแทรกระหว่างชายผ้า 2 ชายด้วย ต่างจาก
พระพุทธรูปสาริดวัดพระเจ้าเม็งรายท่ีมีชายผ้าซ้าย-ขวา ข้างละ 1 ชายเท่าน้ัน ไม่มีรายละเอียดอ่ืน
แทรกเข้ามา แสดงให้เห็นถึงความเป็นงานช่างพ้ืนบ้านที่เร่ิมเข้ามาผสมกับอิทธิพลศิลปะล้านนา
ระยะแรก และจะปรากฏชัดย่ิงข้ึนในพระพุทธรปู สารดิ ระยะหลงั โดยสามารถเปรยี บเทียบได้ดังตาราง
ที่ 12 และ 13

74

ภาพที่ 77 พระพุทธรูปสารดิ ท่วี ดั พระเจา้ เม็งราย เชียงใหม่ (ศกั ด์ิชยั สายสิงห์, 2551, p. 174)

ภาพท่ี 78 ภาพลายเสน้ พระพทุ ธรปู สารดิ ทีว่ ดั พระเจา้ เมง็ ราย เชียงใหม่ (ศักดช์ิ ัย สายสิงห์, 2551, p. 175)

ตารางท่ี 12 การเปรยี บเทยี บพระพุทธรูปสาริดท่ีวดั พระธาตชุ า้ งค้า กบั พระพุทธรปู วัดพระเจ้าเมง็ ราย เชยี งใหม่

พระพทุ ธรปู วัดพระเจา้ เม็งราย เชยี งใหม่ พระพุทธรูปวัดพระธาตชุ ้างคา้ น่าน

75

ตารางที่ 12 การเปรียบเทียบพระพทุ ธรปู สารดิ ที่วัดพระธาตชุ ้างคา้ กบั พระพุทธรูปวดั พระเจ้าเม็งราย เชยี งใหม่ (ต่อ)

พระพุทธรปู วดั พระเจา้ เมง็ ราย เชียงใหม่ พระพุทธรูปวดั พระธาตชุ า้ งค้า น่าน

ตารางที่ 13 เปรยี บเทยี บลกั ษณะชายผ้า (สบง) ระหว่างพระพุทธรปู วัดพระธาตุช้างค้า กบั ภาพลายเสน้ พระพุทธรูป

วดั พระเจา้ เมง็ ราย

ภาพลายเสน้ พระพุทธรปู วัดพระเจ้าเม็งราย พระพุทธรปู วัดพระธาตชุ า้ งค้า น่าน

เชยี งใหม่

ในส่วนของตัวอย่างพระพุทธรูปสาริดที่ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคา ตาบล
ห้วยอ้อ อาเภอลอง มีพุทธลักษณะท่ียังคงใกล้เคียงกับพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรแบบล้านนาท่ีเป็น
ตน้ แบบเช่นกัน โดยสว่ นอุษณีษะยังมีลักษณะเตี้ย ไมย่ ีดสงู อย่างพระพุทธรูปสาริดทว่ี ดั พระธาตชุ ้างค้า
น่าน พระเนตรหรี่ลงต่า พระวรกายยังคงความอวบอ้วน ทรงครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยังคงมี
ลักษณะเป็นเขยี้ วตะขาบชัดเจนอยู่ ทรงประทบั บนฐานหน้ากระดานเต้ีย ๆ และปรากฏชายผา้ สบงที่มี
ขอบผา้ จานวน 2 ชาย (ซา้ ย-ขวา ฝัง่ ละ 1 ชาย) ซึ่งลกั ษณะชายผา้ ท่ีมเี พยี งฝั่งละ 1 ชายนี้ เป็นรูปแบบ
ที่พบในพระพุทธรูปประทับน่ังขัดสมาธเิ พชรในศิลปะล้านนา ในขณะที่พระพุทธรูปประทับน่ังขัดสมาธิเพชร
แบบสุโขทัย จะมีชายผ้าฝ่ังละ 2 ชาย ในลักษณะซ้อนทับกัน ดังตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปประทับ
นั่งขัดสมาธิเพชรที่ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ท่ีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย จึงมี
ความเป็นไปได้ว่าพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรท่ีวัดศรีดอนคาน้ี น่าจะเป็นรูปแบบที่รับมาจากล้านนา
มากกว่าจะรับจากอิทธิพลพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรแบบสุโขทัย ซ่ึงจากพุทธลักษณะที่ยังคงมีความ

76

ใกล้เคียงกับศิลปะล้านนาที่เป็นต้นแบบเช่นนี้ จึงกาหนดอายุได้ว่าน่าจะอยู่ในช่วงครึ่งแรกของพุทธ
ศตวรรษที่ 21

ภาพท่ี 79 พระพทุ ธรปู สารดิ ทพี่ ิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก สโุ ขทยั (ศกั ดชิ์ ัย สายสิงห์, 2556, p. 249)

ตารางท่ี 14 เปรยี บเทียบลกั ษณะชายผ้าของพระพุทธรปู สารดิ ท่วี ดั ศรดี อนคา กบั พระพุทธรปู ขดั สมาธิเพชรแบบ

สุโขทัย

พระพุทธรปู ขดั สมาธเิ พชรแบบสโุ ขทยั พระพุทธรปู ทีว่ ดั ศรีดอนคา

พิพธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก

77

พระพุทธรูปแบบล้านนาระยะแรกนี้ ระยะถัดมาจะปรากฏความเป็นงานช่างพ้ืนบ้านมากข้ึน
ตัวอย่างสาคัญได้แก่ พระพูทธรูปท่ีปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน (ภาพที่ 64) ซ่ึง
เดิมเป็นสมบัติของเจ้าผู้ครองนครน่าน มีพุทธลักษณะท่ีคลี่คลายเพิ่มเติมจากพระพุทธรูปแบบล้านนา
ระยะแรกท่ีวัดพระธาตุช้างค้า ได้แก่ ส่วนอุษณีษะ มีการตกแต่งลวดลายจนดูคล้ายกับเคร่ืองประดับ
เม็ดพระศกคลคี่ ลายจากขมวดก้นหอยกลายเป็นหนามขนุน มไี รพระศก พระขนงโก่งเปน็ วงโคง้ ไมเ่ ปน็
เส้นนูนชัดเจนนกั พระเนตรหรล่ี งต่า พระนาสิกค่อนข้างแบน แย้มพระโอษฐ์เล็กนอ้ ย ชายสังฆาฏเิ ปน็
เส้นนูนขึ้นมา ไม่แบนราบไปกับพระวรกายอย่างพระพุทธรูปแบบเดียวกันท่ีวัดพระธาตุช้างค้า ด้วย
พทุ ธลักษณะเชน่ นี้ ย่อมแสดงใหเ้ ห็นถงึ การคล่ีคลายจากอทิ ธิพลศลิ ปะลา้ นนาระยะแรกไปสู่ความเป็น
งานช่างพ้ืนบ้านมากย่ิงขึ้น สามารถกาหนดอายุได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงคร่ึงแรกของพุทธศตวรรษ
ที่ 21 โดยอย่ใู นชว่ งหลังจากการสร้างพระพทุ ธรูปสาริดแบบล้านนาระยะแรกท่วี ดั พระธาตชุ า้ งค้า

ตารางที่ 15 เปรยี บเทยี บลักษณะของพระพทุ ธรปู ทพ่ี พิ ิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ น่าน กับพระพุทธรปู ท่ีวัดพระธาตุ
ช้างคา้

พระพทุ ธรูปขัดสมาธเิ พชรท่ีวดั พระธาตุชา้ งคา้ พระพทุ ธรูปทพี่ พิ ธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ นา่ น

ในระยะถัดมา พระพุทธรูปแบบล้านนาระยะแรกที่พบในเมืองน่าน จะยิ่งปรากฏความเป็น
งานชา่ งพน้ื บ้านชัดเจนยิ่งข้นึ โดยปรากฏอยู่ 2 รูปแบบดว้ ยกนั แบบแรกคอื กลุ่มทย่ี งั คงแบบแผนของ
พระพุทธรูปล้านนาระยะแรก แต่รายละเอียดต่าง ๆ เช่น พระพักตร์ พระวรกาย จีวรและชายสังฆาฏิ
กลายเป็นงานช่างพ้ืนบ้านไปหมดสิ้น ตัวอย่างของพระพุทธรูปกลุ่มนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปสาริดขัดสมาธิเพชร

78

ที่วัดภูมินทร์ (ตัวอย่างที่ 2) (ภาพท่ี 63) ซึ่งมีลักษณะพระพักตร์เป็นงานช่างพี้นบ้านอย่างชัดเจน เช่น
การทาพระขนงเป็นเส้นกางออก เป็นลักษณะที่คลี่คลายจากการทาพระขนงโก่ง พระเนตรท้ัง 2 ข้าง
ไม่เท่ากัน ไม่แย้มพระโอษฐ์ ทรงครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยังคงส้ันเหนือพระถัน และยังคง
ลักษณะของเขี้ยวตะขาบอยู่ ด้วยความที่ตัวอย่างนี้ยังคงพุทธลักษณะบางอย่างจากศิลปะล้านนา
ระยะแรกท่ีเป็นต้นแบบ ทาให้สามารถกาหนดอายุได้ว่าน่าจะอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษท่ี 21 หรือ
อย่างช้าสุดไม่เกินชว่ งตน้ ของครึง่ หลงั พุทธศตวรรษท่ี 21

ตารางท่ี 16 เปรยี บเทียบรปู แบบพระพทุ ธรูปสารดิ ทพ่ี พิ ิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ น่าน กับตัวอยา่ งพระพทุ ธรปู สารดิ ที่

วดั ภมู ินทร์ (ตัวอยา่ งท่ี 2)

พระพทุ ธรูปท่พี พิ ธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ น่าน พระพทุ ธรปู ท่วี ัดภมู นิ ทร์ (ตวั อย่างท่ี 1)

พระพุทธรูปท่ียังมีแบบแผนของศิลปะล้านนาระยะแรก แต่ปรากฏฝีมืองานช่างพ้ืนบ้านนี้ ยัง
ปรากฏในพื้นที่อาเภอปัว จังหวัดน่านด้วย ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปสาริดแบบขัดสมาธิเพชรท่ี
วัดป่าตอง ตาบลศิลาเพชร (ตัวอย่างที่ 1 และ 2) (ภาพที่ 71 และ 72) และพระพุทธรูปสาริดท่ีวัดดอนมูล
ตาบลศิลาเพชร (ภาพท่ี 73) โดยตัวอย่างเหล่านี้ได้คล่ีคลายจากตัวอย่างพระพุทธรูปที่วัดภูมินทร์ไป
อกี ชนั้ หน่ึง เชน่ สว่ นพระพักตรท์ ่ปี รากฏความเปน็ งานชา่ งพนื้ บ้านอย่างชัดเจน รวมทงั้ สว่ นชายสงั ฆาฏิ
ท่ีไม่ปรากฏความเป็นเขี้ยวตะขาบที่ชัดเจนแล้ว ซึ่งในตัวอย่างที่วัดป่าตอง (ตัวอย่างที่ 1) และวัด ดอนมูล
มีการใช้ฐานเป็นลายพรรณพฤกษา แต่ในตัวอย่างท่ีวัดป่าตอง จะใช้ฐานฉลุลายเป็นช่องโปร่ง ใน ขณะท่ี
ตัวอยา่ งทว่ี ดั ดอนมลู จะเป็นฐานทบึ จึงนา่ จะสนั นษิ ฐานไดว้ ่า พระพทุ ธรูปทวี่ ัดปา่ ตองและวดั ดอนมลู น่าจะ

79

สร้างข้ึนโดยช่างคนเดียวกัน และถือเป็นงานช่างพื้นบ้านรูปแบบหน่ึง เป็นท่ีน่าเสียดายว่าพระพุทธรปู
ที่วัดดอนมูลปัจจุบันพระเศียรหักหายไปแล้ว จึงไม่สามารถเทียบพระพักตร์ได้ ด้วยความท่ีตัวอย่าง
กลุ่มน้ีมีลักษณะของงานช่างพ้ืนบ้านปรากฏชัดเจนนี้ ทาให้สามารถกาหนดอายุได้ว่า น่าจะอยู่ในช่วง
ครงึ่ หลงั ของพทุ ธศตวรรษที่ 21 หลังกว่าตวั อยา่ งพระพุทธรูปสาริดท่ีวัดภูมนิ ทร์ (ตวั อยา่ งท่ี 1) แลว้

ตารางที่ 17เปรยี บเทียบพระพทุ ธรูปสาริดทวี่ ัดปา่ ตอง (ตวั อย่างท่ี 1) กับตัวอย่างทวี่ ัดดอนมูล

พระพทุ ธรูปทว่ี ดั ปา่ ตอง (ตวั อย่างที่ 1) พระพทุ ธรปู ที่วดั ดอนมลู

รูปแบบท่ี 2 ของพระพุทธรูปอิทธิพลศิลปะล้านนาระยะแรกในเมืองน่าน คือ กลุ่มที่รับเอา
อิทธิพลศิลปะสุโขทัยเข้ามาผสม ตัวอย่างสาคัญของพระพุทธรูปกลุ่มนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปสาริดท่ี
วัดภูมินทร์ (ตัวอย่างที่ 2) ซ่ึงยังคงแบบแผนบางอย่างของพระพุทธรูปแบบล้านนาระยะแรกไว้ เช่น
การทาพระรัศมเี ปน็ รูปลูกแก้ว พระวรกายอวบอว้ น และประทับน่งั ขัดสมาธิเพชร แต่มกี ารนาอิทธิพล

80

ศลิ ปะสโุ ขทยั เขา้ มาผสม เช่น การทาชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายแยกออกเปน็ เขยี้ วตะขาบ ซ่งึ
ในตัวอยา่ งทวี่ ดั ภมู นิ ทรน์ ี้ สรุ ศักดิ์ ศรสี าอางค์ ได้เคยกาหนดไว้วา่ อยู่ในช่วงคร่งึ แรกของพทุ ธศตวรรษท่ี
22 โดยเปรียบเทียบพระพักตร์ว่ามีส่วนคล้ายกับพระพุทธรูปสาริดท่ีวัดพระธาตุช้างค้า (ปัจจุบันถูก
โจรกรรมไปแล้ว) ส่วนปลายชายจีวรและขอบสบงมีส่วนคล้ายกับพระพุทธรูปสาริดอีกตัวอย่างหน่ึงท่ี
วัดพระธาตุช้างค้า (สุรศักด์ิ ศรีสาอางค์, 2530, p. 84) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระพุทธรูปองค์น้ียงั มี
พระพักตร์ท่ีปรากฏอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอย่างเด่นชัดอยู่ นอกจากนี้ ยังมีการนาฐานบัวงอนแบบ
ล้านนาเข้ามาใช้ ซ่ึงฐานของพระพุทธรูปท่ีวัดภูมินทร์น้ีมีความใกล้เคียงกับฐานของพระพุทธรูปสาริด
จากวัดหลวง จังหวัดพะเยา ท่ีมีจารึกว่าสร้างปี พ.ศ. 2045 ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า ตัวอย่าง
ดังกล่าวท่ีวัดภูมินทร์น่าจะมีอายุไม่ใหม่ไปกว่าคร่ึงหลังของพุทธศตวรรษท่ี 21 ดังน้ันการกาหนดอายุ
พระพุทธรูปที่วัดภูมินทร์ ควรกาหนดใหม่ว่า น่าจะอยู่ในช่วงกลาง ถึงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษท่ี 21
ไม่ใหม่ไปถงึ ตน้ พุทธศตรรษที่ 22 ดงั ท่สี รุ ศกั ดิ์ ศรีสาอางค์ ได้เคยกาหนดอายไุ ว้

ภาพท่ี 80 พระพทุ ธรปู สารดิ ทวี่ ัดหลวง พะเยา (ศกั ดช์ิ ัย สายสงิ ห์, 2556, p. 319)

ตารางที่ 18 เปรียบเทยี บลกั ษณะฐานบัวงอนของตัวอยา่ งพระพุทธรูปท่วี ดั ภูมนิ ทร์ กบั พระพุทธรปู ทีว่ ัดหลวง พะเยา

พระพทุ ธรปู ทวี่ ดั ภูมนิ ทร์ (ตวั อย่างท่ี 2) พระพุทธรูปทวี่ ดั หลวง พะเยา


Click to View FlipBook Version