The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

00 รวมเล่ม หน้าหลัง_แนวทางฯ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by phatthanan.sap, 2021-04-20 04:16:25

00 รวมเล่ม หน้าหลัง_แนวทางฯ

00 รวมเล่ม หน้าหลัง_แนวทางฯ

แนวทางปฏบิ ัติ หลักเกณฑ กลไก
และการประเมินผล การรับรองหลกั สูตรและการ
จัดการศึกษาเพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ิทัล

โครงการศกึ ษาและจัดทำกรอบแนวทางการรบั รองมาตรฐานหลกั สตู ร
การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เพอ่ื เตรยี มความพรอ มในการปรบั เปล่ยี นไปสูองคกรดจิ ทิ ลั

สำนักงานคณะกรรมการดจิ ิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ

โดย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบรุ ี







แนวทางปฏิบตั ิ หลักเกณฑ์ กลไก และการประเมนิ ผล การรับรองหลกั สูตรและการจดั การศึกษา
เพื่อพัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดา้ นดิจิทัล

สารบญั

หนา้ ที่

บทสรปุ ผ้บู รหิ าร 1
1. บทน�ำ
2. ปญั หาและอปุ สรรคในการจดั ทำ�แนวทางปฏบิ ัติ หลกั เกณฑ์ กลไก และการประเมินผล 2
5
การรบั รองมาตรฐานหลักสูตรและการจดั การศึกษาเพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครฐั ดา้ นดจิ ทิ ัล
3. กระบวนการรับรองหลกั สูตรพฒั นาทกั ษะดา้ นดจิ ิทัล
4. คณุ สมบัตขิ องสถาบันอบรมฯ ทส่ี ามารถจดั อบรมได้ 7
11
5. กระบวนการยน่ื ขอรบั การประเมนิ เพือ่ รับรองหลักสตู รและการจดั การการอบรม 13
6. การประเมินหลักสูตร
6.1 กรอบการประเมนิ 20
20
6.2 เกณฑก์ ารประเมิน 22
6.3 ค�ำ แนะนำ�เก่ยี วกบั การประเมนิ สถาบนั อบรม
7. หลักสตู รอบรมส�ำ หรับผปู้ ระเมินหลักสูตร 30
31
8. คา่ ธรรมเนียมและค่าใชจ้ ่ายในการรับรองหลกั สตู ร 33
บรรณานกุ รม
ภาคผนวก ก หลกั เกณฑ์ กลไก และการประเมินผลการรับรองมาตรฐานหลักสตู รและการจัด 35
ก-1
การศึกษาเพอื่ พฒั นาบคุ ลากรภาครฐั ดา้ นดิจิทัล
ภาคผนวก ข เอกสารที่ใชย้ น่ื ขอรับการประเมินเพอ่ื รบั รองหลักสูตรและการจดั การการอบรม
ภาคผนวก ค หลักเกณฑ์และอตั ราคา่ ธรรมเนยี มการตรวจรบั รองหลกั สูตร ข-1
ค-1
ภาคผนวก ง กฎกระทรวง กำ�หนดคา่ ธรรมเนียมส�ำ หรบั ผูป้ ระกอบการตรวจสอบและรบั รอง ง-1
พ.ศ. 2552
ภาคผนวก จ ขอ้ มูลรายชอ่ื หน่วยตรวจท่ไี ดร้ ับการแต่งต้ังและอัตราคา่ ใช้จา่ ย จ-1


หนา้ ที่ i

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลกั เกณฑ์ กลไก และการประเมนิ ผล การรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษา หนา้ ท่ี
เพอื่ พัฒนาบุคลากรภาครัฐดา้ นดิจิทัล
14
สารบญั รปู

รูปท่ี 1 กระบวนการยนื่ ขอรบั การประเมินเพอื่ รบั รองหลกั สูตรและการจัดการการอบรม

หน้าท่ี ii

แนวทางปฏิบตั ิ หลกั เกณฑ์ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสตู รและการจัดการศึกษา
เพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครัฐดา้ นดิจทิ ลั

สารบัญตาราง

ตารางที่ 1 กจิ กรรมทสี่ ถาบนั อบรมสามารถด�ำ เนนิ การหลังจากได้รบั ทราบผลการพจิ ารณาจาก สดช. หน้าท่ี
ตารางที่ 2 รายการเอกสารที่ใช้ย่ืนขอรบั การประเมินเพื่อรบั รองหลกั สูตรและการจดั การการอบรม
ตารางท่ี 3 แบบความเหน็ ผู้ประเมนิ หลกั สตู ร 17
ตารางที่ 4 หลักสูตรอบรมสำ�หรบั ผ้ปู ระเมนิ หลักสตู รฯ 19
ตารางที่ 5 ตัวอยา่ งการค�ำ นวณค่าใชจ้ า่ ยในการประเมนิ หลักสตู รฯ 22
31
34

หนา้ ที่ iii



แนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสตู รและการจดั การศกึ ษา
เพ่อื พฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดา นดจิ ทิ ลั

บทสรุปผูบริหาร

รายงานแนวปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผลการรับรองมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนา
บุคลากรภาครัฐดานดิจิทัลฉบับนี้ กลาวถึงขั้นตอนการปฏิบัติการยื่นขอรับรองหลักสูตร หลักเกณฑ
กลไก ในการประเมินผล รวมถึงเอกสารที่ตองใช โดยเริ่มจากสถาบันอบรมจัดทำหลักสูตรในรูปแบบที่เนน
ผลลัพธการเรียนรู (Outcome Base Education : OBE) ทำการทดลองสอน ทำแบบประเมินหลักสูตร
และการจัดการการอบรม จากนั้นยื่นเอกสารที่เกี่ยวของทั้งหมด มายังสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพ่ือ
เศรษฐกจิ และสังคมแหงชาติ (สดช.) เพ่อื ขอรับการประเมนิ โดย สดช. จะทำการคดั เลือกผูเชยี่ วชาญที่มีความรู
ความชำนาญตรงกับหลักสูตรที่ยื่นขอรับรอง เพื่อทำหนาที่เปนผูประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรและการจัดการ
การอบรม ผลการประเมนิ ของผูเช่ียวชาญ จะถกู สง ใหค ณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิ เพ่อื ทำการประชุมสรุปผล

ในกรณีที่ผานการประเมิน หลักสูตรจะไดรับการรับรองเปนระยะเวลา 3 ป นับจากวันที่ไดรับ
การรับรอง ในกรณีที่ไมผานการประเมิน สถาบันอบรมตองทำการปรับปรุงตามที่ผูประเมินแนะนำ
และยน่ื เอกสารท้ังหมดเพื่อใหพ จิ ารณาอกี ครั้ง

หลักสูตรที่ไดรับการรับรองแลว เมื่อมีการจัดการอบรม สถาบันอบรมตองสงรายงานผลการประเมินตนเอง
และแบบรายงานผลการจัดอบรมรายครั้ง และทุกสิ้นปสถาบันอบรมตองสงสรุปรายงานผลการอบรมรายป
มายงั สดช. และเมือ่ ครบระยะเวลา 3 ป สถาบนั อบรมตองทำการปรับปรุงหลักสตู รและยน่ื ขอรับรองใหม

นอกจากนี้ สดช. ควรตองมีการพิจารณาปรับปรุงแนวปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไกในการประเมิน
และรับรองหลักสูตรและการจดั การศกึ ษาทุกป โดยใชผลการประเมินรับรองหลักสูตรและการจัดการศกึ ษา
รวมถึงนโยบายของภาครฐั เปน ขอ มลู ตั้งตน ในการปรบั ปรุงกระบวนการประเมินและรับรองหลกั สูตร

รายงานฉบับนี้ยังกลาวถึงความจำเปนในการจัดหลักสูตรอบรมสำหรับผูประเมินหลักสูตร
สำหรับผูเชี่ยวชาญ ที่ทำหนาที่ประเมินและรับรองหลักสูตร เพื่อทำใหเกิดความชัดเจน และทำใหการประเมิน
รับรองหลกั สูตรเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ

หนาที่ | 1

แนวทางปฏบิ ัติ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลกั สตู รและการจดั การศกึ ษา
เพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครัฐดา นดจิ ิทัล

1. บทนำ

ตามที่รัฐบาลไดจัดทำนโยบายและแผนระดับชาติวาดวยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(พ.ศ. 2561 - 2580) [1] ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560
สำหรับเปนแผนแมบทหลักในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มีความสอดคลอง
กับยุทธศาสตรชาติ 20 ป (พ.ศ. 2561 - 2580) [2] และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560 - 2565) [3] หนึ่งในยุทธศาสตรสำคัญ คือ ปรับเปลี่ยนภาครัฐสูการเปนรัฐบาลดิจิทัลเปนการมุงเนน
การใชเทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทำงานและการใหบริการภาครัฐ เพื่อใหเกิดการปฏิรูปกระบวนการ
ทำงานและขั้นตอนการใหบริการใหมีประสิทธิภาพ ถูกตอง รวดเร็ว อำนวยความสะดวกใหผูใชบริการ สรางบริการ
ของรัฐที่มีธรรมาภิบาล และสามารถใหบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ผานระบบเชื่อมโยงขอมูล
อตั โนมัติ การเปดเผยขอมูลของภาครัฐท่ีไมกระทบตอสิทธิสวนบุคคลและความม่ันคงของชาติ ผานการจัดเก็บ
รวบรวม และแลกเปลี่ยนอยางมีมาตรฐานใหความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรและขอมูล
รวมไปถึงการสรางแพลตฟอรมการใหบริการภาครัฐ เพื่อใหภาคเอกชนหรือนักพัฒนาสามารถนำขอมูล
และบริการของรัฐไปพฒั นาตอยอดใหเ กิดนวตั กรรมบริการและสรางรายไดใหกับระบบเศรษฐกิจตอไป

จากยุทธศาสตรชาติ 20 ป (พ.ศ. 2561 - 2580) นโยบายและแผนระดับชาติวาดวยการพัฒนาดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580) ที่กำหนดยุทธศาสตรที่เกี่ยวของในการเตรียมความพรอม
ใหบุคลากรทุกกลุม มีความรูและทักษะที่เหมาะสมตอการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในยุคดิจิทัล
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันทางเศรษฐกิจของประเทศ พรอมปรับเปลี่ยนภาครัฐสูการเปน รัฐบาลดจิ ิทัล
เพ่ือสรางสังคมคุณภาพดว ยเทคโนโลยดี จิ ิทลั คณะรัฐมนตรีจึงไดพจิ ารณา เรอื่ ง รา งแนวทางการพัฒนาทักษะ
ดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล ที่สำนักงาน ก.พ.
นำเสนอ ในการประชุมเมื่อวันท่ี 26 กันยายน 2560 และไดมีมติเห็นชอบในหลักการ (หนังสือเวียนที่ นร
0505/ว 493 ลงวันที่ 29 กันยายน 2560) [4] จากมติ ครม. ดังกลาว คณะกรรมการขาราชการพลเรือน
จึงไดกำหนดทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อใหทุกสวนราชการ หนวยงานของรัฐ
องคกรกลางบริหารงานบุคคลและหนวยงานที่เกี่ยวของไดใชเปนกรอบแนวทางในการพัฒนาขาราชการ
และบุคลากรภาครัฐตอไป สำนักงาน ก.พ. จึงไดดำเนินการแจงเวียน ทักษะดานดิจิทัลของขาราชการ
และบุคลากรภาครัฐฯ ดังกลาว ไปยังสวนราชการตาง ๆ (หนังสือที่ นร 1013/ว 6 ลงวันท่ี 18 พฤษภาคม 2561)
เรื่อง ทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล [5]
เพื่อใหเปนไปตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ตองการใหทุกสวนราชการ หนวยงานของรัฐ องคกรกลางบริหารงานบุคคล
และหนวยงานท่ีเก่ียวของ ไดใ ชเ ปน กรอบแนวทางในการพฒั นาขาราชการและบุคลากรภาครัฐ เปนกลไกสำคัญ
ในการพัฒนาและเสริมสรางศักยภาพกำลังคน โดยมีสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ
ราชการ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ กระทรวงดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคมและหนวยงานในสงั กดั

หนา ที่ | 2

แนวทางปฏิบตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลักสตู รและการจัดการศกึ ษา
เพ่ือพฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดานดจิ ทิ ลั

สถาบันคุณวุฒิวชิ าชีพ (องคก ารมหาชน) และหนว ยงานท่ีเกี่ยวของทุกภาคสว น ใหการสนบั สนุนการดำเนินงาน
งบประมาณ และทรพั ยากรทเ่ี กีย่ วของตามรางแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขา ราชการและบุคลากร
ภาครัฐ เพ่อื การปรบั เปล่ียนเปนรัฐบาลดิจทิ ลั

ตอมา คณะรัฐมนตรีมีมติใหสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องคการมหาชน) เปนผูรับผิดชอบ
ดำเนินการโครงการอบรมหลักสูตรผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ พรอมมอบหมาย
ใหกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสงั คม รับผิดชอบรับรองกรอบหลักสูตรผูบ รหิ ารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระดับสูงภาครัฐและผูชวยผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ รวมทั้งติดตาม ประเมินผล
และใหคำแนะนำการปรับปรุงและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรใหเหมาะสมกับบริบทและกลุมเปาหมาย
การพฒั นา รวมทัง้ สรา งชุมชนเครอื ขา ยผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสงู ภาครัฐ (GCIO Community)
เพือ่ ขบั เคลือ่ นการพฒั นารัฐบาลดจิ ทิ ลั (หนงั สอื ท่ี นร 0505/39192 ลงวันท่ี 28 พฤศจกิ ายน 2562) [6]

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เห็นชอบตามที่ สำนักงาน ก.พ. เสนอพิจารณา
การปรับปรุงบทบาทหนาที่ความรับผิดชอบ รูปแบบและความสัมพันธ คุณสมบัติและการจัดตั้ง รวมท้ัง
กลไกสนับสนุนการปฏิบัติงานของผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (Government Chief
Information Officer : GCIO) ใหมีความเปนปจจุบันและรองรับภารกิจการเปนผูนำในการปรับเปลี่ยน
หนวยงานภาครัฐเปน รัฐบาลดิจิทลั (หนงั สอื นร 1013/ว3 ลงวนั ที่ 30 มนี าคม 2563) [7]

จากมตขิ องคณะรัฐมนตรที ง้ั 3 ครั้งดงั กลา ว สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพอ่ื เศรษฐกิจและสังคม
แหงชาติ (สดช.) ภายใตกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ใหความสำคัญในการสรางความรูความ
เขาใจ และเพื่อเปนการเตรียมความพรอมบุคลากรภาครัฐ ในการพัฒนาบุคลากรในองคกรใหมีความรู
ความสามารถ พรอมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลดังกลาว จึงไดดำเนินโครงการศึกษา
และจัดทำกรอบแนวทางในการรับรองมาตรฐานหลกั สูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อเตรียมความพรอม
ในการปรับเปลี่ยนไปสูองคกรดิจิทัลขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี (มจธ.)
เปนที่ปรึกษาดำเนินงานโครงการดังกลาว เพื่อใหไดหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรดานดิจิทัลที่มีคุณภาพ
สอดคลองกับกรอบทักษะดานดิจิทัลฯ ที่กำหนดและสามารถนำไปใชไดจริง สำหรับฝกอบรม ขาราชการ
และบุคลากรขององคกรภาครัฐ ซึ่งถือเปนอีกหนึ่งกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนบุคลากรใหมีความรู
ความสามารถ เขาใจ และตระหนักรูในบทบาทหนาที่ที่เปลี่ยนไป รวมถึงเขาใจในศักยภาพดานดิจิทัลทจี่ ำเปน
ตอการปฏิบัติงาน และสามารถระบุสิ่งที่ตองดำเนินการเพื่อเตรียมความพรอมในการเปลี่ยนแปลงไป
สอู งคก รดิจทิ ลั ใหสอดคลอ งกับการเปลี่ยนแปลงดานเทคโนโลยีดิจทิ ลั ที่เปนไปอยางรวดเร็วได

หนา ท่ี | 3

แนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สูตรและการจดั การศกึ ษา
เพอื่ พัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดานดิจทิ ัล

ขอบเขตงานของที่ปรึกษา มจธ. เพื่อใหไดกรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรฯ ตองทำการศึกษา
วิเคราะห การรับรองหลักสูตรและการจัดการศกึ ษา เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัลของตางประเทศ
อยางนอย 3 ประเทศ ศึกษายุทธศาสตรชาติ 20 ป (พ.ศ. 2561 - 2580) ศึกษาสถานภาพปจจุบัน
ของการจัดทำกรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐ
ดานดิจิทัลและการนำไปใชประโยชน พรอมทั้งวิเคราะหปญหาและอุปสรรค รวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบ
ที่เกี่ยวของ รวมทั้งจัดการประชุมระดมสมอง (Focus Group) จำนวน 6 ครั้ง เพื่อรับฟงความคิดเห็น
ขอเสนอแนะจากผูบริหาร ผูเชี่ยวชาญหรือผูทรงคุณวุฒิ รวมถึงหนวยงานฝกอบรมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
เพื่อใหได (ราง) กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล
และ (ราง) แนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนา
บคุ ลากรภาครฐั ดานดจิ ิทัล

สำหรับรายงานฉบับนี้ ที่ปรึกษา มจธ. ขอเสนอแนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล
การรับรองมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล ที่สรุปไดจากการระดมความคิดเห็น
ขอเสนอแนะ จากประชุมระดมสมอง (Focus Group) จำนวน 3 ครั้ง สามารถสรุปกระบวนการในการรับรอง
หลักสูตร โดยมีเน้ือหารายละเอยี ดอธิบายไวในหัวขอ ท่ี 3 กระบวนการรบั รองหลกั สูตรพัฒนาทักษะดา นดจิ ทิ ลั

หนาท่ี | 4

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สตู รและการจดั การศกึ ษา
เพอื่ พฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดานดจิ ทิ ัล

2. ปญหาและอุปสรรคในการจัดทำแนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการ
ประเมินผล การรับรองมาตรฐานหลักสตู รฯ

ในกระบวนการจัดทำแนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองมาตรฐาน
หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐนั้น จากการศึกษา
และรวบรวมขอมูลจากการจัดประชุม Focus Group เพื่อระดมสมองจากผูมีสวนไดสวนเสียจำนวน 6 คร้ัง
ที่ปรกึ ษา มจธ. พบปญ หาในการดำเนนิ การอยหู ลายประเด็น ไดแ ก

1) หนวยงานภาครัฐและบุคลากรยังขาดความเขาใจในการนำแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจทิ ลั ฯ
ท่สี ำนักงาน ก.พ. ประกาศ ไปใชอ ยางเปนรูปธรรม

2) การนำแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ ไปใช ยังขาดแรงจูงใจท่ีชัดเจน แมวาหนวยงาน
ภาครัฐจะมีความตองการบุคลากรที่มีทักษะดานดิจิทัลเพื่อการปรับเปลี่ยนองคกร
อยางมีประสิทธิภาพ แตการพัฒนาบุคลากรที่มีอยูในปจจุบันก็ตองใชเวลาและทรัพยากร
จำนวนมาก เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว และเมื่อไมมีการบังคับ
หรือใหแ รงจูงใจ ในการพัฒนาตนเองดา นดิจทิ ัล จงึ ยังไมเหน็ ผลอยางชดั เจน

3) เอกสารแนบของเอกสาร นร 1013/ว6 หรือเอกสาร “ทักษะดานดิจิทัลที่จำเปนสำหรับขาราชการ
และบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล” มีรายละเอียดจำนวนมาก (ในเชิงเนื้อหา
ที่มีความกวางครอบคลุมหัวขอจำนวนมาก) แตมีความชัดเจนไมเทากัน (ในเชิงลึกของเนื้อหา
ในบางหมวด) เชน ในหมวดของ “DLit100 การใชง านเคร่ืองมือดานดจิ ิทลั หรือแอปพลิเคชันข้ันตน
สำหรบั การทำงาน” มกี ารวดั หนว ยความสามารถ เกณฑก ารปฏบิ ตั งิ านท่ชี ดั เจนและสามารถนำไปใช
ไดทันที แตในหมวดของ “DT300 การจัดทำสถาปตยกรรมองคกร (Enterprise Architecture)
เพื่อรองรับการเปลี่ยนผานสูรัฐบาลดิจิทัล” มีการวัดหนวยความสามารถ เกณฑการปฏิบัติงาน
ทก่ี วางและยากแกการเทยี บในหลักสูตรท่ีมรี ะดับที่แตกตา งกัน

4) ขอจำกัดของการใชงานเอกสาร “ทักษะดานดิจิทัลที่จำเปนสำหรับขาราชการและบุคลากรภาครัฐ
เพื่อปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล” อีกประเด็นหนึ่ง คือ การกำหนดใหขาราชการและบุคลากร
ภาครัฐมีหนวยความสามารถ (Unit of Capability: UoC) หนวยความสามารถยอย
(Element of Capability : EoC) และเกณฑการปฏิบัติงาน (Performance Criteria : PC)
ซึ่งเปนสวนประกอบของหนวยความสามารถนั้นดวย ซึ่งขอความนี้ทำใหการจัดทำหลักสูตร
เปนไปไดยาก ที่ตองมีทุกหนวยความสามารถครบในหลักสูตรเดียว เชน ถาตองการสรางหลักสูตร
เพื่อพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ระดับกรม (DCIO)
ตองมีหนวยความสามารถ (Unit of Capability : UoC) ทั้งหมด 12 หนวย ซึ่งประกอบดวย
หนวยความสามารถยอย (Element of Capability : EoC) จำนวน 42 หนวย หรือเกณฑการปฏิบัติงาน

หนา ท่ี | 5

แนวทางปฏิบตั ิ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสตู รและการจดั การศกึ ษา
เพอื่ พัฒนาบุคลากรภาครัฐดา นดจิ ิทัล

(Performance Criteria : PC) จำนวน 136 ตวั ชว้ี ัด เปนตน ซงึ่ จะเห็นไดวาการอบรมเพื่อใหไดผล
ตามท่กี ำหนดเปน ไปไดย าก
5) สถาบันอบรมหรือหนวยงานที่ใหบริการอบรม ยังคงมีแนวทางในการจัดการหลักสูตรแบบเดมิ
โดยเฉพาะหลักสูตรผูบริหารระดับสูง Government Chief Information Officer (GCIO)
ที่ไมไดมุงเนนการประเมินผลแบบที่สามารถวัดผลลัพธการเรียนรูไดทันที (Summative
Assessment) แตเนนในเร่ืองของการทำงานเปน ทีม การสอ่ื สารในกลมุ และการสรางเครือขาย
การทำงานระหวางองคกร ทำใหการอบรมและการประเมินผลเพื่อใหเปนไปตามแนวทาง
การพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาล
ดิจิทัลนั้นทำไดยาก (แมวาการประเมินผลในรูปแบบดังกลาวอาจจะทำใหเกิดผลลัพธการเรียนรู
ทค่ี าดหวังได แตต องใชร ะยะเวลาในการประเมินมากพอสมควร ซงึ่ เปน ขอ จำกดั ของสถาบันอบรม
โดยทวั่ ไปในการติดตามประเมินผูเขารับการอบรมในระยะยาว)
6) ในหลักสูตรผูบริหารระดับสูงดานเทคโนโลยีสารสนเทศของหนวยงานภาครัฐ (GCIO) ผูเขารับ
การอบรม อาจมีความรูและทักษะดา นดจิ ิทลั ในระดับที่แตกตา งกันมาก เพราะมาจากหนวยงาน
ที่แตกตางกันมีระดับการใชเทคโนโลยีดิจิทัลและความพรอมดานดิจิทัลที่แตกตางกันในแตละองคกร
ทำใหการออกแบบหลักสูตรเพื่อตอบสนองกับความตองการและพื้นฐานความรูของผูเขารับ
การอบรมท่แี ตกตางกันทำไดย าก
7) ความตองการดานดิจิทัลของแตละหนวยงานมีความแตกตางกันซึ่งแบงตามพันธกิจ
และภาระหนาที่ของแตละหนวยงาน แมวาจะเปนในหัวขอเดียวกันในหนวยความสามารถ
(UoC) เชน ในประเด็นของกฎหมายหรือระเบียบที่มีความจำเปนตองใชงานที่แตกตางกัน
หรือประเด็นการวิเคราะหขอมูลที่รูปแบบของขอมูล ความพรอม ความสมบูรณ และปริมาณ
ขอมูลที่แตกตางกัน เปนตน การวิเคราะหความตองการของผูเขารับการอบรมและหนวยงาน
ของผูเขารับการอบรม รวมถึงการกำหนดกรณีศึกษาในแตละหลักสูตรจึงมีความสำคัญ
ซง่ึ สถาบันอบรมอาจไมสามารถทำไดอยา งสมบูรณในคราวเดยี ว

จากปญหาและอุปสรรคที่ไดกลาวมาแลวขางตน ที่ปรึกษา มจธ. ไดเสนอประเด็นเพื่อหารือรวมกัน
ในการจัดประชุม Focus Group ท้ัง 6 ครั้ง และ ไดจัดทำเปนขอเสนอกระบวนการรับรองหลักสูตร ดังแสดง
ในหวั ขอท่ี 3

หนาท่ี | 6

แนวทางปฏิบตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สตู รและการจดั การศึกษา
เพอ่ื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ิทลั

3. กระบวนการรับรองหลักสตู รพัฒนาทักษะดานดจิ ทิ ลั

เพื่อใหเกิดความยืดหยุนในการจัดทำหลักสูตรฯ เพื่อใชในการพัฒนาทักษะดิจิทัลใหกับขาราชการ
และ บุคลากรภาครัฐจำนวนกวาสามลานคนทั่วประเทศ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด ที่ปรึกษา มจธ.
จึงขอเสนอใหมีรูปแบบของหลักสูตรที่หนวยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม สถาบันการศึกษา
หรอื สถาบันอบรมเอกชนอื่น สามารถนำเสนอได 3 รูปแบบดังน้ี

1) หลักสูตรพ้ืนฐาน โดยหลักสูตรฯ ที่ตองการยื่นขอรับการรับรองในกลุมนี้ จะตองมีความสอดคลอง
กับแตล ะกลุมของบคุ ลากรตามเกณฑท่ี สดช. กำหนด โดยในเอกสารหลักสูตรตองมีการระบุ
ถึงบทบาทของผูเขารับการอบรมที่เหมาะสมและระดับความพรอมและวฒุ ิภาวะขององคกร
(Digital Government Maturity Domain and Area : MDA) ดังตวั อยาง
- หลักสูตรพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของผูปฏิบัติงานดานเทคโนโลยี (Technologist)
ในหนวยงานที่มกี ารพฒั นาการดา นดิจทิ ลั ระยะเรม่ิ แรก
- หลกั สตู รพัฒนาทกั ษะดา นดิจิทลั ของผบู รหิ ารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO)
หลักสูตรในรูปแบบนี้จะตองมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหนวยความสามารถ (Unit of Capability : UoC)
และหนวยความรู (ทั้งพื้นฐานและที่จำเปน) อยางครบถวนตามที่ระบุในเกณฑฯ
แตจะพิจารณาสวนที่เปนรายละเอียดของหนวยความสามารถ (UoC) เปนสำคัญ เพื่อใหการจดั ทำ
หลักสูตรเปนไปไดอยางยืดหยุนและคลองตัวนั้นหมายความวารายละเอียดที่ระบุอยูใน
ความสามารถยอย (Element of Capability : EoC) และ/หรือ เกณฑการปฏิบัติงาน
(Performance Criteria : PC) อาจยกเวนไดบางสวน

2) หลักสูตรเฉพาะเรื่อง โดยหลักสูตรที่ตองการยื่นขอรับการรับรองในรูปแบบนี้ ตองมีความ
สอดคลองกับหนวยความสามารถอยางนอยหนึ่งหนวยตามเกณฑที่ สดช. กำหนด โดยอาจมีความ
สอดคลองกับหนวยความสามารถไดมากกวาหนึ่งหนวยความสามารถและตองประกอบกับหนวย
ความรูที่มีความสอดคลองกันดวย นอกจากนี้ หลักสูตรจะตองระบุถึงบทบาทของผูเขารับการ
อบรมที่เหมาะสม และระดับความพรอมและวุฒิภาวะขององคกร (Digital Government
Maturity Domain and Area : MDA) ดังตวั อยาง
- หลักสูตรการวิเคราะหขอมูล (Data Analytics) เพื่อตีความและหาขอสรุป
ที่เปนประโยชน ตอการตัดสินใจ (สอดคลองกับหนวยความสามารถ DT600)
โดยตองประกอบดวยองคความรู เกี่ยวกับหลักการสำคัญเกี่ยวกับขอมูล การเลือกใช
และการตีความขอมูล (Data Literacy) เปน องคประกอบหลัก เปนตน
- หลักสูตรการจัดทำและกำกับการใชงานสถาปตยกรรมองคกร (Enterprise
Architecture) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผานสูรัฐบาลดิจิทัล (สอดคลองกับหนวย

หนาท่ี | 7

แนวทางปฏิบตั ิ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สตู รและการจดั การศกึ ษา
เพือ่ พัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดานดิจทิ ัล

ความสามารถ DT200 และ DT300) โดยตองประกอบดวยองคความรูเกี่ยวกับ
สถาปตยกรรมองคกรและการกำกบั ดแู ลเปน องคประกอบหลักดว ย เปนตน
หลักสูตรเฉพาะเรื่องนี้อาจจะเปนหลักสูตรระยะสั้นที่ทำใหผูเขารับการอบรมสามารถอบรม
ไดในระยะเวลาที่รวดเร็ว (วัน หรือ สัปดาห) เพื่อใหสามารถนำความรู ความสามารถและทักษะ
ที่ไดไปใชในงานไดอยางทันทวงทีและมีประสิทธิภาพ โดยจะตองมีเนื้อหาครอบคลุม
ทงั้ หนว ยความสามารถ (Unit of Capability : UoC) และหนวยความรู (ทั้งพื้นฐานและที่จำเปน)
อยางครบถวนตามที่ระบุในเกณฑฯ แตจะพิจารณาสวนที่เปนรายละเอียดของหนวย
ความสามารถ (UoC) เปนสำคัญ เพื่อใหการจัดทำหลักสูตรเปนไปไดอยางยืดหยุนและคลองตัว
นั้นหมายความวารายละเอียดที่ระบุอยูในความสามารถยอย (Element of Capability :
EoC) และ/หรอื เกณฑการปฏบิ ัตงิ าน (Performance Criteria : PC) อาจละไวไดบางสว น
3) หลักสูตรดานดิจิทัลอื่น ๆ โดยหลักสูตรในรูปแบบนี้เปนหลักสูตรกลุมที่มีความยืดหยุนสูง
เนนเพื่อใหเกิดการนำไปประยุกตใชกับหลักสูตรที่มีการดำเนินการอยูแลวหรือมีการปรับปรุง
เพียงเล็กนอย เพื่อใหสอดคลองกับบางสวนที่สำคัญของเกณฑ เพื่อใหผูเขารับการอบรม
หรือหนวยงานภาครัฐสามารถนำความรูไปใชในการพัฒนาหนวยงานของตนเองได
อยา งทันทวงที โดยหลักสตู รในรูปแบบน้ีจะสอดคลองกับ “แนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัล
ของขา ราชการและบุคลากรภาครฐั เพ่ือการปรับเปล่ียนเปนรฐั บาลดจิ ทิ ัล” เพียงบางสวนเทาน้ัน
และอาจมีการขามเทียบกันในหลายหนวยความสามารถเพื่อใหเกิดความนาสนใจและบูรณาการ
ซึ่งผูเขารับการอบรมสามารถเลือกอบรมไดแตจะเทียบหนวยความรูและหนวยความสามารถ
ไดต ามที่ทาง สดช. รบั รองเทา นนั้ ดงั ตัวอยาง
- หลักสูตรผูบริหารระดับสูงของหนวยงานภาครัฐ (CEO/CXO) ซึ่งประกอบดวย หัวขอ
การบรรยายที่ครอบคลุมเนื้อหาบางสวนของหนวยความสามารถยอย (Element of
Capability : EoC) ท่ี DTr101 “กำหนดเปาหมายและแผนงานการเปล่ียนผา นสรู ัฐบาลดจิ ทิ ลั ”
และ DTr102 “การสรา งกลยุทธเ พอ่ื เปลีย่ นผานสูวฒั นธรรมการทำงานแบบดจิ ทิ ลั ” เปน ตน
- หลกั สตู รนักบรหิ ารระดับกลาง ซึ่งประกอบดว ย หวั ขอ การบรรยายท่ีครอบคลุมเน้ือหา
บางสวนของหนวยความสามารถยอย (Element of Capability : EoC) ที่ SPM101
“การวิเคราะหความพรอมของการปรับสูองคกรดิจิทัล” และ SPM304 “การจัดเตรียม
ทรัพยากรเพื่อการบรู ณาการสำหรับองคกรดจิ ทิ ัล” เปนตน
- หลักสูตรสถาปตยกรรมองคกร สำหรับบุคลากรภาครัฐ ซึ่งประกอบดวย เนื้อหา
ที่ครอบคลุมหนวยความสามารถ (UoC) DT200 “จัดทำสถาปตยกรรมองคกร
(Enterprise Architecture) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผานสูรัฐบาลดิจิทัล” และ DT300
“กำกับการใชง านสถาปต ยกรรมองคกร (Enterprise Architecture) ”

หนา ท่ี | 8

แนวทางปฏิบตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสูตรและการจัดการศกึ ษา
เพอื่ พฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดา นดจิ ิทลั

ดวยรูปแบบของหลักสูตรดานดิจิทัลอื่น ๆ นี้ จะทำใหเกิดประโยชนทั้งผูเขารับการอบรม
สถาบันอบรมและองคกรภาครัฐที่ทำใหเกิดพลวัตของการอบรมขึ้นไดอยางแทจริง กลาวคือ
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่รวดเร็วทำใหกรอบการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ
ที่มีความกวางและครอบคลุมเนื้อหาจำนวนมาก ซึ่งสวนใหญเปนเนื้อหาดานการบริหารองคกร
แตอาจไมครอบคลุมเนื้อหาดานเทคโนโลยีในเชิงลึก รวมถึงเนื้อหาดานดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลง
อยางรวดเร็วดวย ดังนั้นการจัดทำหลักสูตรรูปแบบนี้ทำใหผูพัฒนาหลักสูตรสามารถนำ
หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหมซึ่งมีเนื้อหาในเชิงลึกมากกวาที่กำหนดในกรอบการพัฒนาทักษะ
ดานดิจิทัลฯ ทำใหเกิดความยืดหยุนและทำใหบุคลากรภาครัฐสามารถไดรับความรูใหม ๆ
ท่ีมีความทันสมัยเทียบเทากับบุคลากรภาคเอกชน สอดคลองกับในโครงการ กลุม Re-skills
Up-skills and New-Skills ของรัฐบาลในปจจุบัน โดยเนื้อหาของหลักสูตรควรมีการปรับปรุง
ใหทันสมัย สอดคลองกับกฎระเบียบที่ปรับเปลี่ยนไป เชน พ.ร.บ. วาดวยการกระทำผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2560 พ.ร.บ. คุมครองขอมูลสวนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ร.ก.
วาดวยการประชมุ ผา นส่ืออเิ ลก็ ทรอนิกส พ.ศ. 2563 เปน ตน

นอกจากนี้หลักสูตรฯ ทั้ง 3 รูปแบบจะตองมีการระบุถึงระดับของความซับซอนที่สอดคลอง
กับวุฒิภาวะขององคกรและกลุมบุคลากรที่เหมาะสมดวย เชน เปนหลักสูตรพื้นฐานที่เหมาะสมกับบุคลากร
ในกลุม “ผูทำงานดานนโยบายและวิชาการ” และ “ผูทำงานดานบริการ” ที่ทำงานอยูในองคกรที่มีวุฒิภาวะ
ใน “ระยะเริ่มแรก” หรือเปนหลักสูตรเฉพาะที่เหมาะสมกับบุคลากรในกลุม “ผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระดับสูงภาครัฐ และผูชวยผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ” ที่ทำงานอยูในองคกรที่มีวุฒิภาวะ
ใน “ระยะกำลังพัฒนา” เปนตน และเพื่อใหการประเมินรับรองฯ เปนไปอยางมีประสิทธิภาพสอดคลอง
กับทรัพยากรที่มี ดังนั้น หลักสูตรที่สถาบันอบรมฯ จะสงเขารับการประเมินและรับรองโดย สดช. จะตองมีเนื้อหา
ที่เพียงพอเหมาะสม กับระยะเวลาการอบรมตอเนื่องอยางนอย 2 วัน (โดยไมจำเปนตองเปนวันที่ติดกัน)
และมคี าใชจ ายในการประเมินตามที่ สดช. กำหนดดวย

หลังจากที่ไดมีการเสนอหลักสูตรในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตามที่ไดกลาวขางตนแลว ที่ปรึกษา มจธ.
เสนอให สดช. โดยคณะกรรมการสง เสรมิ และพฒั นาดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคม แตง ต้ังผูประเมินหลักสูตร
ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อทำการประเมินหลักสูตรและใช “แนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการ
และบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013/ว6 วันที่ 18
พฤษภาคม 2561” เปนแนวทาง (Guideline) ในการประเมิน ซึ่งมีจุดประสงคในการสงเสริมใหหนวยงาน
ขาราชการและบุคลากรภาครัฐใชเปนแนวทางในการพัฒนาศักยภาพดานดิจิทัลขององคกรและบุคลากร ดังนั้น
เพื่อเปนการสงเสริมใหเกิดการจัดทำหลักสูตรและสรางระบบนิเวศ (eco-system) เพื่อพัฒนาขาราชการ
และบคุ ลากรภาครัฐตามแนวทางฯ ดงั กลา ว ทางทป่ี รึกษา มจธ. จึงขอเสนอแนวทางในการรับรองหลักสูตร ดังน้ี

หนา ท่ี | 9

แนวทางปฏิบตั ิ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สูตรและการจัดการศึกษา
เพอ่ื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดา นดจิ ทิ ลั

1) หลักสูตรที่ขอรับการประเมินตองเปนหลักสูตรที่มีเนื้อหาดานดิจิทัลที่เหมาะสมและสอดคลอง
กับความตองการของหนวยงานภาครัฐ โดยสามารถเสนอหลักสูตรได 3 รูปแบบ ไดแก หลักสูตร
พื้นฐาน หลักสูตรเฉพาะเรื่อง และหลักสูตรดานดิจิทัลอื่น ๆ ทั้งนี้ สถาบันอบรมตอง
จัดใหมีการทดลองสอนจริงเพื่อนำขอมูลผลการอบรม เชน ผลการประเมินของผูเขารับการอบรม
และผลการประเมินการสอน มาประกอบเพือ่ ย่นื ขอรบั รองหลกั สตู ร ตามขั้นตอนทีร่ ะบใุ นหวั ขอ 4

2) หลักสูตรตองระบุ ผลลัพธการเรียนรู กระบวนการเรียนการสอน และ วิธีการประเมินผล
ที่สำคญั อยางชัดเจนและสอดคลองกับเกณฑท ี่ สดช. กำหนด เพ่ือใหม่นั ใจไดว าท้ังหมดจะนำไปสู
ผลลัพธการเรียนรูที่วัดผลไดจริงตามที่ระบุไวในเอกสารหลักสูตรเมื่อมีการทวนสอบ
การประเมนิ เมอ่ื มีผผู านการอบรมในหลกั สตู ร

3) สถาบันจะตองสงรายงานผลการอบรม ภายใน 30 วันหลังเสร็จสิ้นการอบรม เพื่อเปน
การประกนั คุณภาพในการจัดการอบรมและรายงานสรุปผลการอบรมรายป

4) หลักสูตรท่ีไดรบั การรบั รองจะมีอายุ 3 ป ซึ่งเมื่อครบกำหนด 3 ป ตองมีการปรับปรงุ หลักสูตร
ใหม ีความทันสมยั และยน่ื เขา มาเพื่อใหพ ิจารณาอีกคร้ัง

5) ในกรณที ม่ี กี ารปรบั ปรงุ หลกั สูตรในสาระสำคญั เชน ชอ่ื หลกั สูตร คุณสมบตั ิของผูสอน ผลลัพธ
การเรียนรู กระบวนการการเรียนการสอนหรือการประเมินผลการอบรม เปนตน กอนรอบ
ระยะเวลา 3 ป ทางสถาบันอบรมตองยื่นหลักสูตรที่มีการปรับปรุงมาเพื่อเขาสูกระบวนการ
รับรองใหม

หนาท่ี | 10

แนวทางปฏิบตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลักสูตรและการจดั การศึกษา
เพอ่ื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล

4. คุณสมบัติของสถาบนั อบรมฯ ทสี่ ามารถจัดอบรมได

มาตรฐานและคุณภาพของสถาบันอบรมเปนปจจัยที่สำคัญในการจัดการการอบรมใหสัมฤทธิ์ผล
เนื่องจากเปนหนวยงานที่ตองรับผิดชอบในการอบรม ตั้งแตการพัฒนาหลักสูตร ดำเนินการขออนุมัติจัดการอบรม
จัดอบรม และประเมินผลการอบรมไปจนถึงการปรับปรุงหลักสูตรดวย โดยสถาบันอบรมที่สามารถยื่นขอ
รับรองหลักสูตร เพื่อพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและหนวยงานภาครัฐฯ เปนสถาบัน
หรือหนวยงานในกลมุ ใดกลุม หนง่ึ ดงั ตอ ไปนี้

(1) สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร วิจัยและนวัตกรรม
หรือ กระทรวง ศึกษาธิการ (สามารถตรวจสอบสถานะไดท ่ี http://www.mua.go.th/university-2.html)

(2) หนวยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม หรือใหบริการที่เกี่ยวของกับการอบรม เชน สถาบัน
พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล (Thailand Digital Government Academy หรือ TDGA )
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (Office of Public sector Development commission : OPD)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงชาติ (National Science and Technology
Development Agency : NSTDA) เปน ตน

(3) สถาบนั อบรมเอกชนท่ไี ดร ับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ
(4) สถาบันที่ไดรับความเห็นชอบโดยสถาบันหรือหนวยงานที่มีอำนาจตามฎหมาย โดยใหสามารถ

จัดอบรมในหัวขอเฉพาะได โดยสถาบันที่จะยื่นขอรับการรับรองหลักสูตรตองสงหลักฐาน
และรายละเอยี ด เพื่อเปนหลักฐานประกอบในการพจิ ารณา ดังน้ี
o ดานกายภาพ ไดแก อาคาร สถานที่ พื้นที่ใชสอยที่จะใชในการเรียนการสอนและจัดกิจกรรม

ทุกประเภทมีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนผูสอนจำนวนผูเขารับการอบรม
ในแตล ะหลกั สูตรและมีเครื่องมือ อุปกรณส นบั สนนุ การเรียนการสอนทเ่ี หมาะสมและเพยี งพอ
o ดานวิชาการ โดยแสดงหลักฐานวาผูเขารับการอบรมจะไดรับการบริหารการศึกษาที่ดี สามารถ
แสวงหาความรไู ดอยา งมีคุณภาพ สถาบนั ตอ งมกี ารบริหารวิชาการท่ีมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล ทั้งในดานการวางแผนการรับผูเขา รับการอบรม การจัดกิจกรรม การเรียนการสอน
การประเมินการอบรมผลการเรียนรู การประกนั คุณภาพ การเรยี นการสอน และการพัฒนา
ปรบั ปรงุ การบรหิ ารวชิ าการ

หนวยงานที่ประสงคจะยื่นขอรับรองหลักสูตรจะตองยื่นคําขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตร
และการจัดอบรม และศึกษา หลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองหลักสูตรและการจัดการการอบรม
เพื่อพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ โดยมีรายละเอียดดังแสดงในเอกสาร
ภาคผนวก ก

หนา ท่ี | 11

แนวทางปฏิบตั ิ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสูตรและการจดั การศึกษา
เพื่อพฒั นาบุคลากรภาครัฐดา นดิจิทัล

ในสวนของ สดช. ที่ปรึกษาไดออกแบบรายละเอียดขั้นตอนการประเมินเพื่อรับรอง รวมถึงแบบฟอรม
เอกสารไวแลวอยางละเอียด ตั้งแตการตรวจรับเอกสาร การประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณารับรอง
และประกาศผล รวมถึงการทบทวนกระบวนการประเมินและรับรองใหมอีกดวย โดยมีขั้นตอนในการยื่นขอรับ
การประเมินฯ สำหรับ สดช. ดังแสดงในหัวขอที่ 5 ขั้นตอนในการย่ืนขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตร
และการจดั การการอบรม

หนาท่ี | 12

แนวทางปฏิบตั ิ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สตู รและการจดั การศึกษา
เพอ่ื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจทิ ลั

5. กระบวนการยื่นขอรับการประเมินเพื่อรบั รองหลักสตู รและการจดั การการอบรม

ที่ปรึกษาฯ ไดออกแบบรายละเอียดกระบวนการยื่นขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตร
และการจัดการการอบรม รวมถึงแบบฟอรมเอกสารอยางละเอียด ตั้งแตการตรวจสอบเอกสาร ประชุม
คณะกรรมการเพื่อพิจารณารับรองและประกาศผล รวมถึงการทบทวนการประเมินและรับรองใหม
โดยมีกระบวนการยืน่ ขอรบั การประเมินเพือ่ รบั รองหลกั สตู รและการจัดการการอบรม ดงั แสดงในรปู ท่ี 1

หนาที่ | 13

แนวทางปฏบิ ัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลกั สตู รและการจดั การศกึ ษา
เพอื่ พฒั นาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ิทัล

หมายเหตุ กรณีผยู นื่ ขอรับรองหลกั สตู รไมเ ห็นดวยกับผลในข้นั ตอนใด สามารถโตแยง/อทุ ธรณ เปน ลายลักษณอกั ษรได

รูปท่ี 1 กระบวนการย่นื ขอรบั การประเมนิ เพ่ือรบั รองหลกั สูตรและการจดั การการอบรม

หนา ที่ | 14

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลักสูตรและการจัดการศกึ ษา
เพื่อพัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดา นดิจิทลั

รูปที่ 1 อธิบายกระบวนการยื่นขอรับการประเมินเพือรับรองหลักสูตรและการจัดการการอบรม
โดยมรี ายละเอยี ดดังตอ ไปนี้

1) สถาบันอบรมที่มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการสงเสริมและพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
และสังคมกำหนดขางตน ที่ตองการยื่นขอรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะดานดิจิทัลสำหรับ
ขาราชการและบุคลากรภาครัฐ จัดทำเอกสารแบบยื่นขอรับรองหลักสูตรตามรูปแบบที่กำหนด
(แบบฟอรม ONDE-CA-001 แบบยื่นขอรับรองหลักสูตร ONDE-CA-002 แบบคุณลักษณะ
ของหลักสูตร) พรอ มเอกสารแนบ และตอ งมเี อกสารแสดงความเปนนิตบิ ุคคล (หนงั สอื บรคิ ณหสนธิ)
ที่ลงนามโดยผูบริหารสูงสุดขององคกร โดยออกแบบ หลักสูตรที่เนนผลลัพธการเรียนรู
(Outcome-Based Education: OBE) ทีม่ เี ปาหมายใหข า ราชการมีทักษะเทียบเทากบั เอกชน

2) สถาบันอบรมจัดเตรียม “ขอมูลการทดลองสอน” หรือ “ขอมูลการจัดการอบรม”
ตามหลักสตู รทอี่ อกแบบตามขอที่ 1) เพื่อใชเ ปน ขอมูลอา งอิงหลกั สตู ร

3) สถาบันอบรมจัดทำเอกสารประกอบ ไดแก การประเมินตนเองหรือแสดงขอมูลหลักฐาน
ซึ่งแสดงวามีประสบการณในการจัดการการอบรมในรูปแบบที่คลายคลึงกันมากอน
โดยใชเอกสารตามรูปแบบที่กำหนด (แบบฟอรม ONDE-CA-003 แบบประเมินคุณลักษณะ
ของหลักสูตรและการจัดการการอบรม ONDE-CA-004 แบบประเมินการบริหารจัดการการอบรม
ONDE-CA-005 แบบรายชื่อผูเขารับการอบรม และ ONDE-CA-006 แบบรายงานผลการจัดอบรม
(รายคร้งั ))

4) สถาบันอบรม ยื่นเอกสารขอรับรองหลักสูตรฯ แก สดช. โดยใชเอกสารตามรูปแบบที่กำหนด
(แบบฟอรม ตามที่ระบุในขอ 1 ขอ 3) และเอกสารประกอบตามที่อางอิงในแบบฟอรมทั้งหมด
ไดแก เอกสารขั้นตอนการออกแบบหลักสูตร เอกสารประกอบการอบรม เอกสารการวัดผล
ของผูเขารับการอบรม (ขอสอบและผลการสอบ) เอกสารการประเมินผูสอนและการจัดการอบรม
เปนตน เพื่อขอรับการตรวจประเมิน พรอมกับแนบเอกสารหนังสือบริคณหสนธิ โดยเอกสาร
ที่ยื่นทั้งหมดตองถูกประทับตราองคกรและลงนามโดยผูบริหารสูงสุดขององคกรหรือผูที่ไดรับ
มอบอำนาจอยางเปนทางการในทุกหนา

5) สดช. ตรวจสอบความถูกตอง ครบถวนของเอกสาร เมื่อถูกตองครบถวน จะสงใหผูเชี่ยวชาญ
ทำการตรวจประเมินหลักสูตรและการจัดการการอบรม โดยผูเชี่ยวชาญจะตองผานการอบรม
เกณฑการประเมินแลว เพ่ือความเขาใจในแนวทางและวัตถุประสงคของการประเมิน รวมถงึ ความ
สอดคลองในการประเมินของผูเ ชีย่ วชาญแตละทา น โดยใชผ ปู ระเมิน 1-5 คน ขนึ้ กับความซับซอน
ของหลักสูตร โดย สดช. อาจจัดใหม ีการตรวจเยี่ยมสถานที่อบรมจริง (Site Visit) เพอื่ การประเมิน
คุณภาพของสภาพแวดลอมการอบรม

6) ผลการประเมินของผูเช่ียวชาญ จะถูกสงใหคณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิ เพื่อทำการประชุม
สรุปผล โดยสามารถสรปุ ผลการพิจารณาไดเ ปน 4 รปู แบบ ไดแ ก

หนาท่ี | 15

แนวทางปฏบิ ัติ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สตู รและการจัดการศึกษา
เพอื่ พัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดา นดจิ ทิ ลั

(1) รับรอง หมายถึง หลักสูตรไดรับการรับรองอยางสมบูรณหรือเปนการรับรองทั้งหลักสูตร
และการจัดการการอบรม ไมจำเปนตองมีการแกไข สามารถดำเนินการจัดอบรมไดทันที
โดยจะไดรับการรบั รองหลกั สูตรและการจั ดการการอบรมเปนระยะเวลา 3 ป และสถาบัน
อบรมตองสง ผลการอบรมใหกับ สดช. ภายใน 30 วันหลงั จากสน้ิ สุดการอบรมทกุ รอบ

(2) รับรองแบบมีเงื่อนไข หมายถึง หลักสูตรไดรับการรับรองอยางมีเงื่อนไขหรือเปนการรับรอง
หลักสตู รเพยี งอยางเดียว โดยสถาบนั อบรมตองทำการปรับปรุงเน้ือหาบางสวนตามความเห็น
ของคณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิ และสามารถจัดการอบรมไดทันทีตามที่ระบุไวในเอกสาร
หลักสูตร และตองสงหลักสูตรท่ีปรับปรุงและผลการอบรม ตามแบบฟอรม ONDE-CA-001,
ONDE-CA-002, ONDE-CA-003, ONDE-CA-004, ONDE-CA-005, ONDE-CA-006 ให สดช.
พจิ ารณาอีกครั้ง ภายใน 30 วนั หลังจากสิ้นสดุ การอบรม (โดยไมตองเสยี คาใชจา ยเพ่ิมเติม)
(ถามี) ถาไมส ง ผลการอบรมในระยะเวลาที่กำหนด และยังไมผา นการรบั รองอยางสมบูรณ
สถาบันอบรมจะไมสามารถจัดการอบรมโดยใชตราสัญลักษณ หรือ อางอิงถึงผล
การรับรองของ สดช. เพื่อการประชาสัมพันธหลักสูตร หรือ ใชในการอางอิงเพื่อขอรับ
การสนับสนุนจากรัฐบาลได (ไมตอ งผานผูประเมินซ้ำ)

(3) ปรับปรุงเล็กนอย หมายถึง หลักสูตรตองปรับปรุงเล็กนอยกอนเพื่อรับการรับรอง
สถาบนั อบรมตองปรับแกเ อกสารหลกั สูตรใหม และสงเอกสารตามแบบฟอรม ONDE-CA-001,
ONDE-CA-002, ONDE-CA-003, ONDE-CA-004, ONDE-CA-005, ONDE-CA-006
ใหสอดคลอ งกบั ความเห็นของคณะกรรมการผูทรงคุณวฒุ ิและยน่ื เอกสารใหมเ พื่อให สดช.
รบั รองอกี คร้งั (ไมตอ งผา นผูป ระเมนิ ซ้ำ)

(4) ปรบั ปรงุ หมายถึง หลักสตู รยงั ไมส อดคลอ งกบั เกณฑที่ สดช. กำหนด ตอ งปรับปรุงเนื้อหา
หลกั สตู รใหม ตามแบบฟอรม ONDE-CA-001, ONDE-CA-002, ONDE-CA-003, ONDE-CA-004,
ONDE-CA-005, ONDE-CA-006 ใหสอดคลองกับความเห็นของคณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิ
และดำเนนิ การยื่นขอการรับรองอีกครั้ง โดยตอ งผานการประเมินของผเู ชีย่ วชาญอีกครง้ั

โดยผลการพิจารณาจากคณะกรรมการผูทรงคุณวฒุ ิ ทง้ั 4 รูปแบบ มกี จิ กรรมท่ีสถาบันอบรมสามารถ
ดำเนนิ การไดภายหลงั จากไดร บั ทราบผลการพิจารณา มรี ายละเอียดแสดงดังตารางท่ี 1 ดังนี้

หนา ท่ี | 16

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสูตรและการจัดการศึกษา
เพอ่ื พฒั นาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ทิ ัล

ตารางท่ี 1 กจิ กรรมท่สี ถาบนั อบรมสามารถดำเนินการหลังจากไดรับทราบผลการพิจารณาจาก สดช.

รปู แบบผลการพจิ ารณา

รายละเอยี ด รบั รอง รับรอง ปรับปรุง ปรบั ปรงุ
แบบมี เอกสาร เอกสาร
เง่อื นไข เลก็ นอ ย

1) สถาบันอบรมสามารถจดั อบรมไดท นั ที 

2) สถาบันอบรมตองทำการปรับปรุงหลักสูตรและย่ืนเอกสารใหค ณะกรรมการ 
ผทู รงคณุ วฒุ ิพิจารณาในประเด็นที่มคี วามเหน็

3) สถาบันอบรมจัดอบรมไดเ พียงรอบเดยี ว และตองทำการสงผลการอบรม 
เพ่อื ให สดช. พิจารณาเพอ่ื ทำการรับรองอีกครง้ั

4) สถาบันอบรมตองทำการยน่ื เอกสารใหมท ้ังหมด 

5) สถาบนั อบรม ไมต อ งเสียคาธรรมเนียมในการรับรองหลักสูตรใหม (ถามี)   

6) สถาบันอบรม ตอ งเสยี คาธรรมเนยี ม ในการรบั รองหลักสูตรใหม (ถาม)ี 

7) สถาบนั อบรม สามารถนำสัญลกั ษณข อง สดช. ไปใชเ พื่อการประชาสัมพันธ  
ไดห ลักสูตรท่ีไดร บั การรับรอง

8) สถาบันอบรม สามารถนำสญั ลกั ษณข อง สดช. ใชใ นประกาศนยี บัตรได 
หลักสตู รและการจัดการศึกษาไดร บั การรบั รองวา มคี ณุ ภาพ

9) สดช. ใหการรบั รองหลกั สูตรและการจัดการศึกษา เปนระยะเวลา 3 ป 

10) ในกรณที ห่ี ลกั สูตรฯ ทย่ี ื่นขอ ไมไดรบั การรับรอง สถาบนั อบรม 
สามารถยืน่ ขออทุ ธรณไ ดภ ายใน 30 วันหลังจากทราบผลการประเมนิ

7) สถาบันอบรมที่ไดรับการรับรอง ตองควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาใหเปนไปตามเกณฑ
การจัดการศึกษาท่ี สดช. ระบุ และสอดคลองกับหลักสูตรที่ไดรบั การรับรองแลว โดยตองทำรายงาน
การประเมินตนเองและติดตามผลลัพธการอบรมของผูเขารับการอบรมโดยสถาบันอบรมตองสง
รายงานการจัดอบรมรายครั้ง ภายใน 30 วัน หลังจากการจัดการอบรมเสร็จสิ้นทุกรอบ
และสรุปรายงานผลการจัดอบรมรายป ตอ สดช. โดยมีเอกสารประกอบรายงาน ดังตอไปนี้
- เอกสารประกอบการสอน
- วิธีการประเมิน เชน ขอสอบ หรือ งานทีม่ อบหมาย
- ผลการประเมินผูเขารบั การอบรม
- ผลการประเมินผสู อน

หนา ที่ | 17

แนวทางปฏิบตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสูตรและการจัดการศึกษา
เพือ่ พฒั นาบุคลากรภาครัฐดา นดิจิทัล

- แบบฟอรมตามเอกสารแนบ เลขที่ ONDE-CA-003 ถึง ONDE-CA-006 (สำหรับรายงานผลการ
จดั อบรมรายคร้ัง)

- แบบฟอรมตามเอกสารแนบ เลขที่ ONDE-CA-007 (สำหรับรายงานผลการจัดอบรมรายป)
ทั้งนี้ สถาบันอบรมควรมีมาตรการในการติดตามผลลัพธการอบรมอยางตอเนื่อง

(เชน การโทรสอบถามขอมูลผเู ขารับการอบรม หรอื การสราง Social Community เปนตน)
เพื่อใหทราบถึงผลลัพธที่ไดจากการอบรม (Outcome) การพัฒนาของผูเขารับการอบรม
หลังจากผานการอบรม เชน ความกาวหนาในสายงาน โครงการดิจิทัลที่ริเริ่มหรือเขารวม
ผลงานอน่ื ๆ ท่เี ก่ียวขอ งกับการอบรม เปน ตน
8) หลักสูตรท่ีไดร ับการรบั รองจะมีอายุ 3 ป นับจากวันท่ี สดช. แจงผลการรับรอง และหลังจาก
ครบอายุการรับรอง สถาบันอบรมตองดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรใหมีความทันสมัย
และยื่นขอการรับรองอีกครั้ง สถาบันอบรมตองบริหารการอบรมใหมีคุณภาพ โดย สดช.
มีสิทธต์ิ รวจสอบ หากพบวา การดำเนินการไมม ีคุณภาพ สดช. มีสทิ ธถ์ิ อนการรับรอง
9) สดช. อาจทบทวนปรับปรุงเกณฑและกระบวนการในการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตร
และการจดั อบรมทุกป ทั้งนี้การทบทวนอาจพจิ ารณาขอมลู อนั ไดแ ก เกณฑการพัฒนาทักษะ
ดานดจิ ทิ ัลของขาราชการและบคุ ลากรภาครัฐ เอกสารหลกั สตู รตาง ๆ รายงานประเมินตนเอง
รายงานการตรวจเยี่ยมสถานที่อบรมจริง (Site Visit) รายงานผลลัพธการอบรมจากผูเขารับ
การอบรม เทคโนโลยีใหม รวมถึงนโยบายภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ มาเปนขอมูลเพื่อใช
ประกอบการทบทวน

จากตารางที่ 1 แสดงถึงผลการพิจารณารับรองหลักสูตรในรูปแบบตาง ๆ และสิ่งที่สถาบันอบรม
และ สดช. ดำเนินการตอได เมื่อทราบถึงผลการดำเนินการ ทั้งนี้ รายละเอียดของแบบย่ืนขอรับรองหลักสูตร
(โดยอางอิงจาก มาตรฐาน ISO 29993:2017 [9] และตามเกณฑ ASEAN University Network Quality
Assurance : AUN QA[10]) มีรายการเอกสารทเ่ี กีย่ วขอ งแสดงดังตารางที่ 2

หนา ที่ | 18

แนวทางปฏิบัติ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สูตรและการจดั การศกึ ษา
เพ่อื พฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดานดิจทิ ลั

ตารางที่ 2 รายการเอกสารท่ใี ชย ่นื ขอรบั การประเมนิ เพ่อื รบั รองหลักสูตรและการจัดการการอบรม

รหัสแบบฟอรม ชื่อเอกสาร คำอธบิ าย

ONDE-CA-001 แบบยนื่ ขอรบั รองหลักสูตร เปน เอกสารท่แี สดงถงึ รายละเอียดท่วั ไปของหลกั สตู ร
ONDE-CA-002
ONDE-CA-003 แบบคุณลักษณะของหลกั สตู ร เปน เอกสารทแี่ สดงถงึ คณุ ลกั ษณะเฉพาะของหลกั สตู รซง่ึ ชว ยให

ONDE-CA-004 สดช. สามารถคดั เลือกผปู ระเมนิ ไดอยางเหมาะสม

ONDE-CA-005 แบบประเมินคณุ ลักษณะของหลกั สูตร เปนเอกสารแบบประเมินหลกั สตู รดวยตนเอง สำหรบั สถาบัน

ONDE-CA-006 และการจัดการการอบรม อบรมท่ีใชในการประเมนิ ตนเองกอ นที่จะสงแบบประเมิน
ONDE-CA-007
ONDE-CA-008 ดงั กลาวแก สดช.
ONDE-CA-009
ONDE-CA-010 แบบประเมินการบริหารจัดการการ เปน เอกสารแบบประเมนิ การบริหารจัดการการอบรมรม

อบรม ดวยตนเอง สำหรับสถาบันอบรมที่ใชใ นการประเมินตนเอง

กอ นที่จะสงแบบประเมินดังกลาวแก สดช.

แบบรายช่อื ผเู ขา รบั การอบรม เปนเอกสารรายงานท่ีตองสงใหก ับ สดช. ภายหลังการฝกอบรม

เสร็จสน้ิ ในแตล ะรอบ ทงั้ น้ี สถาบนั อบรมมีหนาทตี่ องขอ

อนญุ าตผเู ขา อบรมในการจดั เกบ็ และนำสง ขอมูลดังกลา วแก

สดช. เพอ่ื ใชในการตดิ ตามผลลพั ธก ารอบรมตอ ไป

แบบรายงานผลการจัดอบรม เปน เอกสารรายงานสรปุ ผลการอบรมทีต่ อ งสงใหกบั สดช.

(รายคร้งั ) ภายหลงั การฝกอบรมเสรจ็ สิ้นในแตล ะรอบ

แบบรายงานผลการจดั อบรม (รายป) เปนเอกสารรายงานสรปุ ผลรายปข องการอบรมทต่ี องสงให

สดช. กอ นวันที่ 31 มกราคมของทกุ ป

แบบความเห็นผปู ระเมนิ หลกั สตู ร เปนเอกสารสำหรบั ใหผปู ระเมินทำการประเมินแตละหลักสตู ร

แบบสรุปผลการประเมนิ เปน เอกสารสรปุ ผลความเหน็ การประเมนิ หลักสตู รจากคณะ

ผปู ระเมนิ

แบบสรุปผลการตัดสิน เปนเอกสารสรปุ ผลการตดั สนิ การรบั รองหลักสตู รของ

คณะกรรมการผทู รงคุณวุฒิ

ทงั้ น้ี เอกสารดงั ตารางท่ี 2 มรี ายละเอยี ดพรอ มคำอธิบายแสดงดงั ภาคผนวก ข และสามารถดาวนโหลด
เอกสารไดท ี่ https://www.onde.go.th/view/1/รายละเอียดขา ว/ขาวทัง้ หมด/1172/TH-TH

หรอื คิวอารโ คด

หนา ที่ | 19

แนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สูตรและการจดั การศกึ ษา
เพ่ือพัฒนาบุคลากรภาครัฐดา นดจิ ิทลั

6. การประเมินหลักสตู ร

6.1 กรอบการประเมิน

กรอบการประเมินหลักสูตรฝกอบรมของ สดช. ไดน ำแนวทางของหวั ขอการประเมินตามมาตรฐาน
ISO 29993 และเกณฑการประกันคุณภาพหลกั สูตรของเครือขายมหาวิทยาลยั อาเซยี น (AUN-QA) มาเปนตน แบบ
จากนั้นไดปรับเปลี่ยนรายละเอียดใหสอดคลองกับการจัดหลักสูตรฝกอบรมและปรับการใหคะแนน
การประเมินใหเปนแบบงาย จากที่ใน AUN-QA จะมีการใหคะแนนแบงเปน 7 ระดับ ตั้งแตระดับ 1
“ไมพอเพียงเปนอยางยิ่ง” (Absolutely Inadequate) ไปจนถึงระดับ 7 “ดีเลิศ ถือเปนตัวอยางชั้นนำ
หรือระดับโลก” (Excellent – Example of World-class or Leading Practices) แตในการประเมิน
หลักสตู รฝก อบรมตามแนวทางในคูมือฉบบั นี้ ไดปรบั ใหเหลือเพยี ง มี กับ ไมมี กลาวคือ

“มี” หมายถึง มีการดำเนินการตามเกณฑ เชน มีการแสดง แผนการดำเนินการ เอกสาร หลักฐาน
หรือ ผลลัพธ ตามเกณฑ

“ไมมี” หมายถงึ ไมม ขี อมลู สนบั สนุนการดำเนนิ การตามเกณฑแ ตอยา งใด
ทั้งน้ี การที่กำหนดใหประเมินเพียง มี กับ ไมมี เพื่อใหเปนการงายที่ผูจัดอบรมที่ไมเคยดำเนินการ
จัดอบรมตามแนวทางการประกันคุณภาพการศกึ ษา จะไดเริ่มตนดำเนินการ และเพื่อเปนแรงจูงใจใหมีการยื่นขอ
รับรองหลักสูตรโดยผูจัดอบรมในทกุ ระดับ โดยเมื่อมีการดำเนินการประเมินคุณภาพการจัดอบรมไดระยะหนึ่งแลว
อาจมกี ารปรบั ปรงุ เกณฑเ พ่ือใหเ กิดการพัฒนาและยกระดบั คุณภาพในการจดั อบรมใหส ูงขน้ึ ตอไป
ในการประเมินรับรองหลักสูตร ผยู ื่นขอประเมนิ จะยน่ื เอกสารท่เี ก่ียวของหลายฉบับ ตามที่ไดแสดง
ในคูมือประกอบการยื่นขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรและการจัดการอบรม โดยผูประเมิน
จะใหความเห็นในแบบฟอรม ONDE-CA-003 แบบประเมินคุณลักษณะของหลักสูตรและการจัดอบรม
และ ONDE-CA-004 แบบประเมินการบริหารจัดการการอบรม โดยในเอกสารดังกลาวจะมีการอางถึง
รายละเอยี ดในแบบฟอรมหลัก 2 แบบฟอรม คอื
• แบบยื่นขอรับรองหลักสูตร (ONDE-CA-001) ซึ่งแสดงขอมูลของหลักสูตร อาทิ ขอมูลผูยื่นขอ

รับรอง รายละเอียดในการออกแบบหลักสูตร เชน หัวขอ วัตถุประสงค องคกรที่เหมาะสม
กลุมบุคลากรเปาหมาย เนื้อหาของหลักสูตรพรอมการเปรียบเทียบกับกรอบเนื้อหาหลักสูตร
ดานดิจิทัลที่จัดทำโดยสำนักงาน กพ. จำนวนชั่วโมงการเรียนรู กิจกรรมการอบรม แนวทาง
การวัดผล การประเมินผล การรบั ความเห็นและผลปอ นกลบั
• แบบคุณลักษณะของหลักสูตร (ONDE-CA-002) เปนการแสดงรายละเอียด การเปรียบเทียบ
คุณลักษณะตาง ๆ ของหลักสูตร เทียบกับกรอบพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ เชน ประเภท
และลักษณะของเนื้อหา ทักษะดา นดิจทิ ัลทต่ี องการพฒั นา ทั้งในมติ ขิ อง ความรู ประสบการณ
คุณลกั ษณะ และสมรรถนะ

หนา ที่ | 20

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลักสูตรและการจดั การศึกษา
เพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดา นดจิ ทิ ัล

นอกเหนือจากแบบฟอรม ONDE-CA-001 และ ONDE-CA-002 ผูยื่นขอรับรองหลักสูตร สามารถ
แนบเอกสารประกอบอื่น เชน แผนพับ เว็บไซต เลมหลักสูตร เอกสารประกอบการสอน ตัวอยาง
แบบประเมินการเรียนการสอน และ/หรือ ผลการประเมิน เพื่อเปนขอมูลประกอบการพิจารณาประเมิน
หลักสูตร โดยแบงเกณฑออกเปน 2 สวน คือ สวนที่เกี่ยวกับตัวหลักสูตร (ONDE-CA-003) และสวนที่เกี่ยวกับ
การบริหารจดั การการอบรม (ONDE-CA-004) โดยมีหมวดเกณฑคณุ ภาพดงั นี้

แบบฟอรม ONDE-CA-003 (รายละเอยี ดดังแสดงในภาคผนวก ข) ประกอบดวย
1. จดุ ประสงคของหลักสตู ร
2. ผเู ขา รบั การอบรมและผมู สี ว นไดสวนเสยี
3. ผลการเรยี นรูท ค่ี าดหวัง
4. ขอ กำหนดของหลกั สตู ร
5. โครงสรางและเนื้อหาของหลักสตู ร
6. กลยทุ ธก ารเรยี นการสอน
7. การประเมินผเู ขารับการอบรม
8. คุณสมบตั ิของผูสอน
9. สง่ิ อำนวยความสะดวกและโครงสรางพนื้ ฐาน

และแบบฟอรม ONDE-CA-004 ประกอบดวย
1. การประเมินผเู รียน
2. คุณภาพของผสู อน
3. คณุ ภาพการใหบ ริการผูเ ขารับการอบรม และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดอบรม
4. การปรบั ปรงุ คุณภาพหลักสูตร
5. การปรบั ปรุงคุณภาพการอบรม

ในการประเมินเกณฑแตละขอ จะตองทำการตรวจสอบวาผูยื่นขอรับรองมีการแสดงเอกสาร
หรือหลักฐาน ที่แสดงถึงการดำเนินการตามเกณฑขอนั้น ๆ หรือไม โดยผูยืน่ ขอรับรองจะกรอกรายละเอียด
ของเอกสารอางอิงมาใหวา อยูในเอกสารประกอบฉบับใด หนาใด ตำแหนงใด โดยอาจอางถึงขอมูล
ใน ONDE-CA-001 ONDE-CA-002 เว็บไซต หรอื เอกสารประกอบอ่นื ๆ ก็ได

• กรณีมหี ลกั ฐานทแ่ี สดงถงึ การดำเนนิ การตามเกณฑ ตามเอกสารอา งอิงทร่ี ะบุ หรือในเอกสารประกอบ
อืน่ ๆ ใหป ระเมนิ วา “มี/ใช” และอาจแสดงความคดิ เหน็ ในสง่ิ ท่สี ามารถปรบั ปรงุ ใหด ีข้ึนไดอ กี

• กรณีไมพบเอกสาร ควรใหความเห็นวา “ไมมี/ไมใช” และอธิบายวา หลักฐานที่อางถึงนั้น
ไมไดแสดงถงึ การดำเนินการตามเกณฑอยา งไร

• กรณีพบเอกสารแตผูประเมินเห็นวาไมสอดคลองกับเกณฑการประเมิน ควรใหความเห็น
วา “ขอมูลไมช ัดเจนขอเอกสารเพ่ิมเติม”

หนาท่ี | 21

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลกั สูตรและการจัดการศึกษา
เพอื่ พฒั นาบุคลากรภาครัฐดา นดิจิทลั

เมื่อไดประเมินเกณฑที่ระบุในแบบฟอรม ONDE-CA-003 และ ONDE-CA-004 ครบแลว
ใหผูประเมินแตละทานสรุปความเห็นตามแบบฟอรม ONDE-CA-008 และจากนั้นผูรับผิดชอบของ สดช.
สรุปผลการประเมินตามแบบฟอรม ONDE-CA-009 วาคำขอรับรองหลักสูตรนี้ควรผานการรับรอง
ควรรับรองโดยมีเงื่อนไข เห็นควรใหมีการปรับปรุงหลกั สูตรเล็กนอย หรือเห็นควรปรับปรุง แกไขในสวนใด
กอนยื่นขอรับรองใหมอีกครั้ง โดยแตละหลักสูตรจะไดรับการประเมินโดยผูเชี่ยวชาญ และความเห็น
ของผูประเมินทุกทาน จะถูกเสนอคณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิของ สดช. เพื่อประชุมสรุปผลการตัดสิน
อกี ครงั้ หน่ึง แสดงตัวอยา งดังตารางท่ี 3

ตารางท่ี 3 แบบความเหน็ ผูประเมินหลักสตู ร

สำหรับสถาบนั อบรม สำหรับผูประเมนิ

ขอ ท่ี เกณฑ เอกสารอางอิง ม/ี ใช ไมม/ี ขอ มลู ไมช ัดเจน หมายเหตุ
พรอ มคำอธิบาย ไมใช ขอเอกสาร
เพ่มิ เติม

1 จุดประสงคข องหลักสตู ร

1.1 มีการกำหนด จุดประสงคท่ชี ัดเจน

1.2 มกี ระบวนการในการทบทวน

จุดประสงคของหลักสตู ร

6.2 เกณฑก ารประเมิน

เกณฑคุณภาพที่กำหนดในแบบฟอรม ONDE-CA-003 และ ONDE-CA-004 เปนเกณฑ
ในการประเมินหลักสูตร ซึ่งถูกใชเปนแนวคิดในการจัดทำเอกสารประเมินตนเอง และแนวทางสำหรับ
ผูประเมินในการประเมินหลักสูตรและการจัดการการอบรม โดยรายละเอียดแตละเกณฑ ไดจัดทำเปน
แบบฟอรมการประเมินและเอกสารที่เกี่ยวของ เลขที่ ONDE-CA-001 ถึง ONDE-CA-004 และรายงาน
ประกอบการพิจารณา ONDE-CA-005 ถึง ONDE-CA-007 และใชในการประเมินคุณภาพหลักสูตร
และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล โดยแตละเกณฑมีคำอธิบายและขอกำหนด
เปนเกณฑยอยทีใ่ ชในการประเมินหลักสูตร พรอมทั้งตัวอยางแหลงขอมลู ท่ีเกี่ยวของกับเกณฑ รายละเอียด
ดังน้ี

หนาที่ | 22

แนวทางปฏิบตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลักสูตรและการจัดการศกึ ษา
เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ทิ ัล

• เกณฑในแบบฟอรม ONDE-CA-003 แบบประเมนิ คณุ ลักษณะของหลกั สูตรและการจดั อบรม
เกณฑค ุณภาพที่ 1 : จดุ ประสงคข องหลักสตู ร
คำอธิบาย
ผจู ัดทำหลกั สูตรควรมีการกำหนดจุดประสงคของหลักสูตรทชี่ ัดเจน เพอ่ื ใหผูเขารับการอบรม
ทราบถึงวัตถุประสงค และเปาหมายของหลักสูตร วาตองการพัฒนาผูเรียนใหไดผลลัพธอะไร
มีลกั ษณะโดยรวมเปนอยา งไร รวมถงึ มีการทบทวนจดุ ประสงคของหลกั สตู ร ใหมคี วามเปน ปจจุบัน
เกณฑย อย
1. มีการกำหนด จุดประสงคทช่ี ดั เจน
2. มกี ระบวนการในการทบทวน จดุ ประสงคของหลักสูตร

เกณฑค ณุ ภาพที่ 2 : ผูเ ขา รบั การอบรมและผมู ีสว นไดส ว นเสยี
คำอธิบาย

ผูรับผิดชอบการดำเนินการหลักสูตรและการจัดการศึกษา ควรมีการกำหนด การสื่อสาร
และประกาศเกณฑ เงือ่ นไขการรับผูเขารบั การอบรมอยา งชดั เจนและเปน ปจ จบุ นั
เกณฑยอ ย

1. มกี ารระบุผมู ีสวนไดส ว นเสียอยางชัดเจน ทัง้ ผูเ ขา อบรม หนวยงานเปา หมายและภาคสว นอน่ื ๆ
2. มีการกำหนดคณุ สมบัตขิ องผเู ขารับการอบรม
3. มกี ารกำหนดกระบวนการและเกณฑใ นการคัดเลือกผเู ขารับการอบรม

เกณฑค ณุ ภาพท่ี 3 : ผลการเรยี นรูทค่ี าดหวัง
คำอธิบาย

ผูทผี่ านการฝก อบรมจากหลักสตู รเปนผูสะทอนคุณภาพของหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร
จึงควรยึดผลสำเร็จของผูเรียนเปนหลัก การกำหนดผลการเรียนรูของผูเรียนที่คาดหวังไว
ในหลักสูตร ควรนำความตองการของผูไดรับประโยชน (Stakeholders) และขอเสนอแนะตาง ๆ
จากผูเกีย่ วของมาพิจารณาออกแบบหลักสตู ร
เกณฑย อย

1. หลักสูตรไดก ำหนดผลการเรยี นรทู ส่ี อดคลอ งกับวตั ถุประสงค/ เปา หมาย และเปน ทเี่ ขาใจดี
โดยผรู ับการอบรม

2. ผลการเรยี นรูทค่ี าดหวงั ครอบคลมุ ท้ังความรแู ละทกั ษะความสามารถ
3. ผลการเรยี นรทู ่ีคาดหวงั สะทอ นความตองการของผมู ีสว นไดส ว นเสยี ทุกภาคสว น
4. มีกระบวนการในการทวนสอบผลการเรียนรูทคี่ าดหวัง อยา งสม่ำเสมอ

หนา ท่ี | 23

แนวทางปฏิบตั ิ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลกั สตู รและการจัดการศึกษา
เพื่อพัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดา นดิจทิ ัล

เกณฑค ุณภาพท่ี 4 : ขอกำหนดของหลกั สตู ร
คำอธิบาย

หนวยงานผูจดั อบรมควรมีการสื่อสารและเผยแพรขอกำหนดของหลักสูตร รวมถึงขอมูลตาง ๆ
ที่เกี่ยวของกับหลักสูตร เพื่อใหผูมีสวนไดสวนเสียไดรับรู ขอกำหนดของหลักสูตรและรายละเอียด
ของวิชา ตองแสดงถึงผลการเรียนรูที่คาดหวัง ซึ่งประกอบไปดวย ทักษะดานดิจิทัลของขาราชการ
และบุคลากรภาครัฐ 5 องคประกอบ ไดแก 1) ความสามารถ 2) ความรู 3) ประสบการณ 4)
คุณลกั ษณะ และ 5) สมรรถนะ ซ่งึ ชว ยใหผเู รียนเขาใจถงึ กระบวนการการเรียนการสอนที่ทำใหบรรลุ
ผลการเรียนรู วิธีการวัดประเมินผลที่แสดงถึงการบรรลุผล รวมไปถึงความสัมพันธของหลักสูตร
และองคประกอบในการเรยี น
เกณฑย อย

1. รายละเอียดหลักสูตร/รายวิชา มีความครบถวน ทันสมัย พรอมใช และมีการสื่อสาร
ไปยงั ผูมีสวนไดส วนเสียทุกภาคสวน

2. มชี อ งทางใหผ มู ีสว นไดส วนเสียเขา ถึง และ สอบถามขอ มลู ของหลกั สตู ร/รายวิชาได

เกณฑคณุ ภาพท่ี 5 : โครงสรา งและเน้อื หาของหลกั สูตร
คำอธิบาย

หลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอนและวิธีการวัดประเมินผลมีความเชื่อมโยง
และ เอื้อประโยชนใหแกกัน เพื่อนำไปสูผลการเรียนรูที่คาดหวัง โดยแตละรายวิชาในหลักสูตร
มีสวนชวยใหหลักสูตรบรรลุผลการเรียนรูที่คาดหวัง หลักสูตรควรมีการจัดเรียงรายวิชา
อยา งเปน ระบบ เปนลำดบั และมีการบูรณาการ (ซ่งึ กนั และกัน) อกี ท้งั แสดงใหเห็นถึงความสัมพันธ
และความกาวหนาของรายวิชาอยางชัดเจน ตั้งแตหลักสูตรพื้นฐานที่มีรายวิชาพื้นฐาน หลักสูตร
เฉพาะเรื่องทีม่ ีรายวิชาเฉพาะทาง และหลักสูตรดานดิจทิ ัล ที่มีความยืดหยุนเพื่อใหผูเ รียนสามารถ
นำไปประยุกตกับสิ่งที่ไดเรียนมาแลว อาจเรียกกระบวนการดังกลาววา “ความสอดคลอง
เชงิ สรางสรรค” (Constructive alignment) หมายถึง ผเู รยี นจะเกดิ การเรยี นรูไดโดยผานกิจกรรม
การเรียนรูที่เกี่ยวของกัน รวมถึงมีการนำเอาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกี่ยวของกับสาขา
มาปรบั เขา กบั หลักสูตร มีการทบทวนหลกั สตู รเปน ระยะเพื่อใหแ นใ จวา หลักสูตรมีความสัมพันธกัน
และทนั สมยั อยตู ลอดเวลา
เกณฑยอย

1. หลักสูตรมรี ะบุกิจกรรมการเรียนรเู พ่อื นำไปสผู ลการอบรมที่คาดหวัง
2. แตละหัวขอ/รายวิชาในหลักสูตรมีสวนรวมอยางชัดเจน ในการทำใหบรรลุผลการอบรม

ทีค่ าดหวงั

หนา ที่ | 24

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลกั สูตรและการจดั การศกึ ษา
เพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ทิ ัล

3. หลักสูตรมีความเชื่อมโยง มีการบูรณาการและจัดลำดับหัวขอ/รายวิชา อยางเหมาะสม
และทนั สมยั

4. หลักสูตรมีความสอดคลองกับกรอบมาตรฐานที่กำหนดโดย สดช. ในระดับ Unit of
Competency (UoC)

เกณฑค ุณภาพที่ 6 : กลยุทธก ารเรยี นการสอน
คำอธิบาย

ผูรับผิดชอบในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัลรวมกันพิจารณา
และกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจนของหลักสูตรที่มุงเนนใหเกิดการเรียนรู
อยางมีคุณภาพ (Quality learning) ของผูเรียน วิธีการเรียนการสอนควรมีความหลากหลาย
ตามลักษณะของรายวิชา และมุงเนนที่ผูเรียน เพื่อทาใหผูเรียนตื่นตัว ตองการเรียนรู พรอมที่จะเรียน
และรับความรูใหม ๆ รูจักประสานความรูเกาและใหมเพื่อประยุกตใช รูจักแกปญหา เรียนรู
จากประสบการณจริง มีกระบวนการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรูรวมกัน สรางบรรยากาศ
การเรียนการสอนท่ยี ืดหยุน รวมมอื กัน และฝกความเปนผใู ฝร ูตลอดชวี ติ (Lifelong learners)
เกณฑยอย

1. มีการระบุเปาหมายของกิจกรรมการเรียนรูอยางชัดเจน และมีการสื่อสารเปาหมาย
กับผเู ขา รับการฝก อบรม

2. กิจกรรมการเรยี นรชู ว ยใหผูเ รยี นบรรลุผลการเรียนรทู ก่ี ำหนด

เกณฑค ุณภาพท่ี 7 : การประเมินผูเขารบั การอบรม
คำอธิบาย

การประเมินผูเรียนเปนกลไกสำคัญในการจัดการเรียนการสอน ผลลัพธการประเมิน
สงผลโดยตรงตอความสามารถของผูเรียน และสะทอนใหเห็นทั้งความสำเร็จของผูสอน
ในการจัดการเรียนการสอนและความสำเร็จของผูเรียนตามผลการเรียนรูที่คาดหวัง การประเมิน
ควรมีความชัดเจนโดยแสดงทั้งเกณฑการประเมิน วธิ ีการประเมิน ชว งเวลาการประเมิน และอยางนอย
ควรครอบคลุมรายละเอียดตอไปน้ี

o เกณฑและวิธีการประเมินผูเรียน ควรมีความหลากหลายตามลักษณะของรายวิชา
การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนผลการเรียนรูที่คาดหวัง โดยกำหนดอยางชัดเจน
ในหลักสูตร และแสดงไวในแตละรายวิชาของหลักสูตรนั้น ๆ รวมทั้งมีการระบุน้ำหนัก
ของการประเมินไวในรายวิชา ซึ่งตองเปดเผยใหผูเรียนหรือผูเกี่ยวของรับรูได สามารถ
ยืนยันความถกู ตอง ความนา เชื่อถือ และความเทย่ี งธรรมของเกณฑและวธิ กี ารประเมนิ

o ทั้งวิธีการและเกณฑที่ใชในการประเมินควรมีการพิจารณา ตรวจสอบ ปรับปรุงแกไข
ใหม ีความเหมาะสมอยางสมำ่ เสมอ รวมทัง้ การคดิ สรางแนวทางประเมนิ ใหม ๆ

หนาท่ี | 25

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสูตรและการจดั การศกึ ษา
เพอ่ื พฒั นาบุคลากรภาครัฐดา นดิจทิ ลั

o ทัง้ นี้ ควรกำหนดชวงเวลาของการประเมนิ ใหร ับรลู ว งหนาและสะทอนผลการประเมิน
กลับยงั ผถู กู ประเมินเพอ่ื ใหเ กิดการแกไ ขและพัฒนา

เกณฑย อ ย
1. การวัดผลผเู ขารบั การอบรมถูกออกแบบใหส อดคลอ งกับการบรรลผุ ลการอบรมท่ีคาดหวงั
2. มีการกำหนดรายละเอียดการวัดผลอยางชัดเจน เชน ชวงเวลา วิธีการ กฎระเบยี บ น้ำหนกั ของ
คะแนน รบู คิ และการประเมนิ ผล รวมทงั้ มีการสื่อสารรายละเอยี ดดังกลาวกบั ผเู ขารบั การอบรม
3. ผูเ ขา รบั การอบรมมีชอ งทางในการรอ งเรยี นท่สี ะดวก

เกณฑคณุ ภาพท่ี 8 : คุณสมบตั ิของผูสอน
คำอธิบาย

ผูสอนมีความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร คุณภาพของผูสอน
ขึ้นกับคุณวุฒิการศึกษาที่ตรงกับหลักสูตรที่สอน ความเขาใจ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ
ในศาสตรท ่ีสอน ทักษะในการถายทอดความรแู กผ ูเ รียน รวมทั้งมจี รรยาบรรณวชิ าชีพ
เกณฑยอ ย

- คุณสมบัตขิ องผูส อนและผูช ว ยสอน (ถา ม)ี ทก่ี ำหนดมีความเหมาะสมกบั หลกั สูตร

เกณฑคุณภาพที่ 9 : ส่งิ อำนวยความสะดวกและโครงสรางพื้นฐาน
คำอธิบาย

สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสรางพื้นฐานเปนส่ิงจำเปนตอการบริหารจัดการหลักสตู ร
เพื่อใหบรรลุเปาหมายและวัตถุประสงคที่กำหนดไว ควรจัดใหมีหองเรียนพรอมอุปกรณ
โสตทัศนูปกรณ เครื่องคอมพิวเตอร หองปฏิบัติการ ตลอดจนการจัดการดานสภาพแวดลอม
และความปลอดภยั โดยคำนึงถึงความเพียงพอ เหมาะสม และทนั ตอยคุ สมัย
เกณฑยอ ย

1. สถานท่แี ละอุปกรณม ีความทนั สมยั และเพียงพอในการอบรม
2. ตำราและ/หรือเอกสารประกอบการอบรม มีความทันสมัยและเพียงพอในการสนับสนุน

การอบรม
3. หองปฏิบัติการและ/หรือ เครื่องมือตาง ๆ (ถามี) มีความทันสมัยและเพียงพอในการ

สนบั สนนุ การอบรม (Internet, Notebook, Tablet)
4. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงระบบ e-learning มีความทันสมัยและเพียงพอ

ในการสนบั สนนุ การอบรม

หนา ที่ | 26

แนวทางปฏิบัติ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสูตรและการจัดการศกึ ษา
เพื่อพฒั นาบุคลากรภาครัฐดานดิจทิ ัล

• เกณฑในแบบฟอรม ONDE-CA-004 แบบประเมินการบรหิ ารจดั การการอบรม
เกณฑค ุณภาพที่ 1 : การประเมินผูเ รียน
คำอธิบาย
การประเมินเขาอบรม ควรมีรูปแบบที่เหมาะสม และสอดคลองกับผลการเรียนรู
และกระบวนการเรียนรูที่ออกแบบไว โดยผูเรียนตองรับทราบและเขาใจถึงผลการเรียนรูที่คาดหวัง
และวิธีการประเมินผลการเรียนรูดังกลาว กระบวนการ วิธี ในการประเมิน ตองมีความถูกตอง
เชื่อถือได นอกจากนี้ผูเขาอบรมควรไดรับผลการประเมินอยางทันเวลา เพื่อใหทราบถึงพัฒนาการ
ของตนเองและเปนประโยชนในพฒั นาการเรยี นรู
เกณฑยอย
1. ผูรับการฝก อบรมเขาใจผลการเรียนรทู ่กี ำหนด
2. มกี ารนำกระบวนวิธีการวัดผลที่กำหนด และแนวการใหคะแนนมาใชเ พื่อใหมีความถูกตอง
เชือ่ ถือไดแ ละยุตธิ รรมในการวดั ผลการอบรม
3. เมือ่ ฝกอบรมแลวเสรจ็ ผรู ับการฝกอบรมแสดงออกซึ่งความรคู วามสามารถตามผลการเรยี นรู
4. ชว งเวลาในการใหข อมลู ปอนกลับแกผูเขา รบั การอบรมมีความเหมาะสมและชวยใหพัฒนา
การอบรมใหดีข้ึน

เกณฑค ณุ ภาพท่ี 2 : คณุ ภาพของผูสอน
คำอธิบาย

นอกเหนือจากการกำหนดคุณสมบัติของผูสอน เชน คุณวุฒิ ประสบการณ หรือ ทักษะ
ที่ตองมีแลว ผูจัดการอบรมควรมีการตรวจสอบอัตราสวนของผูสอนกับผูเขารับการอบรม
เพ่อื ประกอบการพิจารณาคุณภาพการเรียนรู และการใหบ รกิ ารทเี่ กีย่ วของกบั การจัดอบรม รวมถึง
มีการประเมินการเรยี นการสอน เพื่อประโยชนใ นการพัฒนาผสู อนและคณุ ภาพการสอนตอ ไป
เกณฑยอ ย

1. มีการตรวจสอบอัตราสวนผสู อนกบั ผูเขา รบั การอบรม เพอื่ ประโยชนใ นการพัฒนาคุณภาพ
การอบรมและบรกิ ารที่เกี่ยวขอ ง

2. มกี ารกำหนดและประเมินความสามารถของผสู อน

เกณฑคุณภาพที่ 3 : คณุ ภาพการใหบริการผูเ ขารับการอบรมและส่ิงอำนวยความสะดวก
ในการจัดอบรม

คำอธิบาย
เพื่อใหการจัดอบรมดำเนินการไดอยางมีประสิทธิภาพ บุคลากรสนับสนุน เอกสารประกอบ

การสอน สถานที่ อุปกรณ เครื่องมือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสิ่งอำนวยความสะดวกตาง ๆ

หนาที่ | 27

แนวทางปฏิบตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลกั สตู รและการจัดการศึกษา
เพอื่ พฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดานดจิ ิทลั

ตองมีความเหมาะสมกับการเรียนการสอนที่ออกแบบไว มีความสอดคลองกับทักษะที่ตองการ
พัฒนา และมีความเปนปจ จุบนั
เกณฑยอย

1. มกี ารกำหนดและประเมนิ ความสามารถของบคุ ลากรสนับสนุน
2. มีการทบทวนความเหมาะสมของสถานที่ อุปกรณ และ/หรือ หองปฏิบัติการที่ใชในการ

จัดอบรม
3. มกี ารทบทวน/ปรบั ปรงุ ตำราและเอกสารที่ใชใ นการจัดอบรม
4. มีการทบทวน/ปรับปรุง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ใหเ พยี งพอตอการสนบั สนุนการอบรม

เกณฑค ุณภาพที่ 4 : การปรับปรุงคุณภาพหลักสตู ร
หากผูจ ัดอบรมไมไดเ ปนผพู ัฒนาหลกั สูตรเอง เชน ใชหลักสูตรของเจา ของผลติ ภณั ฑ ให

ประเมินเฉพาะขอยอ ย 4.5
คำอธิบาย

การพัฒนาหลักสูตรใหมีคุณภาพดี มีความทันสมัย สามารถตอบสนองตอความตองการ
ของผเู รยี น จำเปน ตอ งมีการปรับปรงุ เนื้อหา โครงสรา ง และกิจกรรมการเรยี นรูใ หเหมาะสม ดังน้ัน
ผูพฒั นาหลักสตู ร จำเปน ตอ งมีความเขาใจในความตองการของผูมีสว นไดส วนเสีย ท้ังตัวผูเรียนเอง
นายจาง หรอื องคก รของผูเรยี น รวมถึง ทิศทางขององคความรู และทกั ษะที่ปรบั เปลี่ยนไป ดังนั้น
การพัฒนาหลักสูตรจึงจำเปนตองมีขอมูลจากผูมีสวนไดสวนเสียมาประกอบการพัฒนาหลักสูตร
และมีการทบทวนกระบวนการพัฒนาหลกั สูตรอยา งสมำ่ เสมอ
เกณฑย อย

1. ความตองการของผูมีสวนไดสวนเสียถูกนำมาพิจารณาในการพัฒนา ทบทวนและปรับปรุง
หลกั สูตร

2. ผูเขารบั การอบรมมีสว นรว มในการพฒั นา ทบทวนและปรบั ปรงุ หลักสตู ร
3. หนว ยงานตนสงั กัดของผรู บั การอบรม มีสว นรวมในการพฒั นา ทบทวนและปรบั ปรงุ หลักสตู ร
4. มกี ระบวนการพัฒนาหลักสตู ร และมีการทบทวน ปรบั ปรงุ กระบวนการพัฒนาหลักสตู ร
5. มีการประเมนิ หัวขอการอบรม และหลกั สตู ร อยา งเปนระบบโดยผเู ขารับการอบรม
ตวั อยา งแหลง ขอ มลู
- การออกแบบ การทบทวน กระบวนการอนุมัตหิ ลกั สูตร และรายงานการประชมุ
- เอกสารแสดงความเห็นและขอมลู ปอ นกลับจากผมู สี วนไดส ว นเสีย
- ขอ มลู ปอ นกลบั รายวชิ าและหลักสูตร
- การใชขอ มลู ปอ นกลับในการปรบั ปรงุ
- ตวั อยา งแบบสอบถามขอมลู ปอนกลบั จากผเู รียน/หนว ยงานตน สงั กัด

หนา ที่ | 28

แนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสูตรและการจดั การศึกษา
เพอ่ื พฒั นาบุคลากรภาครัฐดา นดจิ ทิ ัล

- รายงานจากการสำรวจ การสนทนากลุม การสนทนา การตดิ ตาม
เกณฑคุณภาพท่ี 5 : การปรับปรุงคุณภาพการอบรม
คำอธิบาย

การมีระบบที่มีประสิทธิภาพในการรับขอมูลปอนกลับจากผูเขารับการอบรม
ทั้งกระบวนการอบรม เนื้อหาหลักสูตร วิธีการสอน สิ่งสนับสนุน รวมถึงการบริการของผูบริการ
การอบรม รวมถึงผูไดรับประโยชนของการฝกอบรม เชน ผูบังคับบัญชา เพื่อนรวมงาน
จากหนวยงานตนสังกัดผูรับการฝกอบรม เปนตน เปนกลไกสำคัญที่จะทำใหหลักสูตรไดรับทราบ
ผลการดำเนินการในดานตาง ๆ เพื่อนำมาใชปรับปรุงพัฒนา จึงพึงมีระบบการรับขอมูล
ผลการประเมินการดำเนินการของหลักสูตรในดานตาง ๆ อยางสม่ำเสมอ โดยอาศัยกลไกการรับ
ขอมูลปอนกลับ เชน การสำรวจ การตอบแบบสอบถาม การติดตามผล การสนทนากลุม
การสนทนา ฯลฯ นำมาใชเ พื่อรวบรวมปจจยั นำเขา (input) และขอ มูลปอนกลับจากผูมีสวนไดสวนเสีย
และนำขอมูลปอนกลับมาปรบั ปรงุ พฒั นาหลักสตู รและการจัดการการอบรมอยา งเปนรปู ธรรม
เกณฑยอย

1. มีระบบการประเมนิ ผลการอบรม เพอื่ ปรบั ปรงุ ผลลัพธก ารอบรม
2. มกี ารประเมนิ และปรับปรงุ คณุ ภาพการใหบ รกิ ารและส่ิงสนบั สนนุ การอบรม
3. มีการกำหนดเกณฑในการพิจารณาผลปอนกลับของผูมีสวนไดสวนเสีย เพื่อพัฒนา

การจดั การการอบรม
4. มีการนำผล อตั ราการผา น ไมผาน ของผเู ขา รบั การอบรม มาใชพฒั นาการจัดการการอบรม
5. มีระบบการติดตาม (follow up) รวบรวมขอ มูลปอนกลบั จากผเู ขา รบั การอบรม
6. มีระบบการติดตาม (follow up) รวบรวมขอ มลู ปอนกลบั จากตนสงั กดั ของผูเขา รับการอบรม
ตัวอยางแหลง ขอมูล
- กระบวนการทบทวนคุณภาพการอบรม และรายงานการประชุม
- การประกันคณุ ภาพการวัดผลและการสอบ
- ผลการตรวจประเมินจากภายนอก
- ขอ มลู ปอ นกลบั รายวิชาและหลักสตู ร
- การใชขอมลู ปอ นกลับในการปรับปรงุ
- ตวั อยางแบบสอบถามขอมลู ปอนกลบั จากผเู รียน/หนว ยงานตนสงั กัด
- รายงานจากการสำรวจ การสนทนากลมุ การสนทนา การติดตาม
- ขอรอ งเรยี น และการดำเนินการแกไข

เพื่อใหผานการประเมิน อยางนอยสถาบันอบรม ตองดำเนินการใหมีเนื้อหาของหลักสูตร
ท่ีสอดคลองกับเกณฑ ในแบบฟอรม ONDE-CA-003 เพอ่ื ไดรับการรับรองตวั หลักสูตร และสถาบัน
อบรมตองแสดงหลักฐานในการดำเนินการจัดการการอบรมที่สอดคลองกับเกณฑ ในแบบฟอรม

หนาท่ี | 29

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สตู รและการจัดการศึกษา
เพ่ือพฒั นาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ิทัล

ONDE-CA-004 เพื่อใหไดรับการรับรองการจัดการการอบรม ดังรายละเอียดดังกลาวขางตน
โดยผูประเมิน สามารถขอเอกสารเพิ่มเติม ผานการประสานงาน หรือระบบ ของ สดช. หรือ
เขาเยีย่ มชมการจัดการอบรม ณ สถานที่จริงไดแลวแตก รณี เพอื่ ใหม ่ันใจไดว า สถาบนั อบรมสามารถ
ดำเนินการไดตามที่ระบุไวในเอกสารหลักสูตร ONDE-CA-001 และ ONDE-CA-002 อยางแทจริง
กอนที่จะสรุปผลและนำเสนอใหคณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิพิจารณาผลการรับรองหลักสูตรและ
การจัดการศึกษา ในขั้นตอนสุดทายตอไป (สามารถดูรายละเอียดใน “คูมือการประเมินหลักสูตร
และการจดั การการอบรม” และ “คูมือประกอบการย่ืนขอรับการประเมนิ เพ่ือรับรองหลักสูตรและ
การจดั การการอบรม)

6.3 คำแนะนำเกยี่ วกับการประเมินสถาบันอบรม

เก่ยี วกับมาตรวัดในการประเมินคุณภาพของสถาบนั อบรมเพื่อใหส อดคลองกบั Maturity Level
ของสถาบันอบรม ซึ่งในโครงการศึกษาและจัดทำกรอบแนวทางการรับรองมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนา
บุคลากรภาครัฐเพื่อเตรียมความพรอมในการปรับเปลี่ยนไปสูอ งคกรดิจิทัลน้ี ขอบเขตของงานครอบคลุม
เฉพาะเรื่องของการรับรองหลักสูตรและการจัดการการอบรม ยังมิไดมีการศึกษาและวิเคราะหอยาง
ละเอียดถึง Maturity ขององคกร (สถาบันอบรม) ในสวนของแบบสำรวจระดับความพรอมและวุฒิภาวะ
ขององคกรในการพัฒนาไปสูรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Maturity Domain and Area :
MDA)[8] นัน้ เปนการประเมิน Maturity ของหนว ยงานภาครฐั ที่สงบุคลากรเขารับการอบรม ซ่ึงมกี ารระบุ
อยางชัดเจนแลววา สถาบันอบรมตองดำเนินการวิเคราะหหลักสูตรที่เสนอวาเหมาะสมกับองคกรที่มี
Maturity ในระดบั ใด

อยางไรก็ดี การกำหนด Maturity ของสถาบันอบรม อาจมีประโยชนในกรณีที่มีผูยื่นขอ
รับรองหลักสูตรเขามาเปนจำนวนมาก และ สดช. มีความตองการที่จะจัดหมวดหมู ความพรอม
ของสถาบันอบรม เพื่อใหเปนสถาบันอบรมที่เหมาะสมกับการจัดการอบรม โดยแบงตาม Maturity
Level ของแตละสถาบัน เชน มหาวิทยาลัย อาจมีความพรอมทั้งทางดานคณาจารย อุปกรณ
ทรัพยากรสนับสนุนและสถานที่มากกวาสถาบันอบรมเอกชน ในสังกัดกระทรวงศึกษา แตในทางกลับกัน
การอบรมบางประเภท เชน การอบรม Certificate ของ CompTIA A+ หรือ MTA Windows Server
Administration ความเช่ยี วชาญอาจจะอยกู บั ฝงของบริษัทเอกชนมากกวาของมหาวิทยาลยั การจดั ทำ
Maturity Model อาจตองมีการพิจารณาทั้งมิตขิ องความพรอม และมิติดานประสบการณท ำงานจริง
ควบคกู นั ไปดว ย ซง่ึ อาจตองใชระยะเวลาในการดำเนนิ การพอสมควร

หนาท่ี | 30

แนวทางปฏบิ ัติ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สตู รและการจัดการศึกษา
เพ่อื พัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดา นดิจิทัล

7. หลักสตู รอบรมสำหรบั ผูประเมนิ หลักสูตร

เพื่อใหการประเมินสอดคลองกับนโยบายในการพัฒนาขาราชการและบุคลากรภาครัฐใหทัน
กับการปรับเปลี่ยนไปสูรัฐบาลดิจิทัล องคประกอบที่สำคัญที่สุดสวนหนึ่งคือ “ผูประเมินหลักสูตร”
ซึ่งตองเปนผูมีความเชี่ยวชาญดานดิจิทัล ในสาขาใดสาขาหนึ่งซึ่งสอดคลองกับหลักสูตรที่ตองประเมิน
และผูประเมินจำเปนจะตองรับทราบและยอมรับในเกณฑที่ใชประเมินหลักสูตร ดังนั้นจึงมีความจำเปน
ที่จะตองจัดใหมีหลักสูตรอบรมสำหรับผูประเมินหลักสูตร ซึ่งจะใชระยะเวลาประมาณ 2 วัน
โดยมีรายละเอียดแสดงดงั ตารางท่ี 4

ตารางที่ 4 หลักสูตรอบรมสำหรบั ผปู ระเมินหลักสูตรฯ

หัวขอการอบรม รายละเอยี ด หมายเหตุ
ระยะเวลาโดยประมาณ 3 ช่ัวโมง
บทนำ การประเมนิ เพือ่ การ ทม่ี า ความสำคญั และองคประกอบตา ง ๆ เอกสารประกอบ : สไลด
ประกอบการอบรม
รบั รองหลักสูตรฯ ของการประเมนิ เปา หมายของการประเมนิ
ระยะเวลาโดยประมาณ 3 ช่ัวโมง
รปู แบบของหลกั สตู ร กระบวนการประเมิน เอกสารประกอบ : เอกสารเกณฑ
มาตรฐานหลักสูตรที่ สดช. กำหนด
ท้งั การประเมินหลักสตู รและการประเมนิ และสไลดป ระกอบการอบรม
ระยะเวลาโดยประมาณ 3 ช่ัวโมง
การจัดการการอบรม เอกสารประกอบ : เอกสาร
รายละเอยี ดกระบวนการ แบบฟอรม
เกณฑก ารประเมิน หลกั สตู ร หลกั การและวธิ กี ารในการประเมนิ หลักสตู ร การประเมิน ตัวอยางหลักสตู ร
และสไลดประกอบการอบรม
ดานดจิ ิทัลฯ และการจดั การการอบรมตามเกณฑที่ สดช. ระยะเวลาโดยประมาณ 3 ชว่ั โมง
เอกสารประกอบ : ตัวอยางหลักสตู ร
กำหนด และสไลดป ระกอบการอบรม

แนวทางในการประเมนิ เกณฑการประเมนิ ทกี่ ำหนดขน้ึ โดยอา งอิง
จาก ISO 29993:2017 รวมถงึ วิธีการประเมิน
แบบฟอรมในการประเมนิ หลกั สูตร การแสดง
ตวั อยา งการประเมินหลกั สตู รตวั อยา ง

ทดลองการประเมินจริง ทดลองใชเ กณฑในการประเมนิ กบั หลักสตู ร
ตัวอยาง

จากตารางที่ 4 หลักสูตรการอบรมขางตน จะใชระยะเวลาประมาณ 2 วัน โดยในรุนแรก ที่ปรึกษา มจธ.
จะดำเนินการจัดอบรมผูประเมินใหจำนวนไมเกิน 20 คน เพื่อให สดช. สงผูเชี่ยวชาญหรือเจาหนาท่ี
ที่เกี่ยวของ เขารวมการอบรม เอกสารการอบรม รวมทั้งวิดีทัศนบันทึกการอบรมจะถูกสงมอบในโครงการดวย
นอกจากนี้ หาก สดช. ตองการใหที่ปรึกษา มจธ. จัดหลักสูตรการอบรมผูประเมิน ที่ปรึกษา มจธ.
จะดำเนินการให โดยจะจัดทำเปนโครงการเสนอในภายหลัง

หนา ที่ | 31

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลักสตู รและการจัดการศึกษา
เพอ่ื พฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดานดจิ ิทลั

สวนการคัดเลือกผูเชี่ยวชาญเพื่อทำหนาที่เปนผูประเมินหลักสูตร ทาง สดช. สามารถเลือกกลุม
ผูเชี่ยวชาญจากรายชื่อผูเชี่ยวชาญดานดิจิทัล (Pool List) ที่ผานการอบรมเปนผูประเมินและมีความเชี่ยวชาญ
ในดานที่สอดคลองกับเอกสารหลักสูตรที่สถาบันผูเสนอหลักสูตรไดระบุในเอกสารแบบคุณลักษณะ
ของหลักสูตร ดานความสามารถ หัวขอดานเนื้อหา (ONDE-CA-002 แบบคุณลักษณะของหลักสูตร)
โดยคัดเลือกผูประเมินจำนวน 1-5 คน ขึ้นกับความซับซอนของหลักสูตร เพื่อความรวดเร็วในการประเมิน
และสะดวกในการติดตามผล โดยหลังจากสงเอกสารหลักสูตรใหผูประเมินประมาณ 2 สัปดาห สดช.
ควรจัดใหมีการประชุมคณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิ (อาจใชเปนการประชุมแบบออนไลน หรือประชุม
ในสถานที่ที่ สดช. กำหนด) โดยมีเจาหนาที่ของ สดช. ทำหนาที่เปนเลขานุการการประชุมเพื่อบันทึกผล
การพิจารณา ซึ่งผลการพิจารณาแบงไดเปน 4 รูปแบบ ไดแก รับรอง รับรองแบบมีเงื่อนไข ปรับปรุง
เล็กนอย และปรบั ปรงุ โดย สดช. จะแจง ผลการตดั สินใหสถาบันอบรมทราบตอไป

ทั้งนี้ ในการคัดเลือกผูประเมิน สดช. ควรแจงรายชื่อผูประเมินใหกับสถาบันอบรมที่ยื่นขอรับรอง
ทราบเพื่อใหสถาบันอบรมพิจารณาเห็นชอบ หากสถาบันอบรมไมเห็นดวยกับรายชื่อผูประเมินสามารถแจงขอ
เปลี่ยนผูประเมินได ซึ่ง สดช. อาจตองดำเนินการเสนอชื่อผูประเมินเพิ่มเติมใหสถาบันอบรมพิจารณาใหม
อีกทั้งควรพิจารณาประเด็นผลประโยชนทับซอนของผูประเมินดวย โดยควรมีขอความที่แจงถึงการยอมรับ
วาไมมีผลประโยชนทบั ซอนกบั หนวยงานหรอื หลกั สูตรท่ผี ูประเมนิ จะทำการประเมนิ ดังตัวอยา ง
“ขา พเจา (ช่อื ผปู ระเมิน) ขอยนื ยันวา ขาพเจา มิไดม ีผลประโยชนทบั ซอนกับหลักสูตรที่ขาพเจาจะประเมินน้ี
หรอื หนวยงานผูย่นื ขอรบั รองหลักสตู รทป่ี ระเมนิ ”

หนาท่ี | 32

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลักสูตรและการจดั การศึกษา
เพ่ือพัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดานดจิ ิทัล

8. คาธรรมเนียมและคา ใชจายในการรบั รองหลักสูตร

ในการยื่นขอรับการประเมนิ เพ่ือรับรองหลักสูตรและการจดั การการอบรม สดช. ควรมีการกำหนด
คา ธรรมเนยี มในการย่นื คำขอโดยอา งองิ กฎกระทรวง กำหนดคาธรรมเนียมสำหรบั ผูประกอบการตรวจสอบ
และรบั รอง พ.ศ. 2552 ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภณั ฑอ ุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งทปี่ รึกษา ไดทำการศึกษา
และไดจัดทำรางตัวอยางประกาศหลักเกณฑและอัตราคาธรรมเนียมการตรวจรับรองหลักสูตรของ สดช.
ดังที่แสดงในภาคผนวก ค โดยอางอิงขอมูลจากกฎกระทรวง กำหนดคาธรรมเนียม สำหรับผูประกอบการ
ตรวจสอบและรับรอง พ.ศ. 2552 กระทรวงอุตสาหกรรม ดังแสดงในภาคผนวก ง

นอกจากนี้ สดช. ควรมีการเตรียมการดานงบประมาณในการดำเนินการ ในการประเมินและรับรอง
หลักสูตรดานดิจิทัลฯ นี้ สำหรับการฝกอบรมเกณฑการประเมินสำหรับผูเชี่ยวชาญที่จะเปนผูประเมิน
โดยคาใชจายในการอบรมผูประเมินตอครั้งระยะเวลา 2 วัน ประมาณ 100,000 บาท โดยมีจำนวนผูเขาอบรม
ไมเ กิน 20 คนตอ ครงั้

ที่ปรึกษาฯ ขอเสนอใหมีการจัดเก็บคาใชจายสำหรับการประเมิน โดยสถาบันอบรมผูยื่นขอ
รับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรฯ ควรเปนผูรับผิดชอบ โดยมีแนวคิดของการคำนวณคาใชจายสำหรับ
ผูประเมินมาจากจำนวนวันที่ใชสำหรับการประเมิน และ จำนวนผูประเมินที่ตองใชในแตละหลักสูตร
ตามตัวอยางคิดคาใชจายวันละ 15,000 บาท โดยหลักสูตรพื้นฐาน ใชเวลา 2.5 วัน หลักสูตรเฉพาะเรื่อง
และหลักสูตรดิจิทัลอื่น ๆ ใชเวลา 1.5 วัน (ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกลาวไดรวมเวลาที่ใชในการประชุมสรุปผล
การประเมินไวแลวดว ย) โดยในกรณีทม่ี ผี ูประเมิน จำนวน 3 คนตอ หลกั สตู ร หลักสูตรพน้ื ฐาน คดิ คา ผูป ระเมิน
รวม 112,500 บาท ตอหลักสูตร หลักสูตรเฉพาะเรื่องและหลักสูตรดิจิทัลอื่น ๆ คิดคาผูประเมิน จำนวน
67,500 บาท ตอหลักสูตร ทั้งนี้ คาใชจายดังกลาวยังไมรวมคาใชจ า ยในการเดนิ ทางหรือจดั สงเอกสาร จำนวน
10,000 บาท ซึ่งสถาบันอบรมตองชำระกอน ในขั้นตอนการยื่นขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรฯ
(ขั้นตอนที่ 1) ทำใหคาใชจายรวมสำหรับพื้นฐานที่ใชผูประเมิน จำนวน 3 คน ๆ ละ 2.5 วัน เปนเงินจำนวน
122,500 บาท และคาใชจายรวมสำหรับหลักสูตรเฉพาะเรื่องและหลักสูตรดิจิทัลอื่น ๆ ที่ใชผูประเมินจำนวน
3 คน ๆ ละ 1.5 วัน เปนเงินจำนวน 77,500 บาท ตอหลักสูตร มีรายละเอียดของตัวอยางการคิดคาใชจาย
ดงั แสดงในตารางที่ 5

หนา ที่ | 33

แนวทางปฏิบัติ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สตู รและการจดั การศกึ ษา
เพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ทิ ลั

ตารางที่ 5 ตวั อยา งการคำนวณคาใชจ า ยในการประเมนิ หลักสตู รฯ

รายการ หลกั สูตรพื้นฐาน หลักสตู รเฉพาะเร่อื ง หลักสูตรดจิ ทิ ัลอน่ื ๆ
15,000 บาท
คาใชจายสำหรบั ผูประเมินฯ (ตอ คน ตอวัน) 15,000 บาท 15,000 บาท 1.5 วนั
67,500 บาท
จำนวนวันทใ่ี ชในการประเมินหลกั สูตร 2.5 วนั 1.5 วัน
10,000 บาท
รวมคา ใชจา ยสำหรับผูประเมิน 112,500 บาท 67,500 บาท
(กรณผี ูประเมนิ 3 คน) 10,000 บาท 10,000 บาท 77,500 บาท

คาบริหารจดั การ (คาจัดสงเอกสาร
คา พิมพเ อกสารเพ่มิ เติม เปนตน )

รวมคา ใชจ า ยในการประเมนิ หลกั สูตร 122,500 บาท 77,500 บาท

หมายเหตุ 1) คาตรวจประเมนิ ของผูเชีย่ วชาญกำหนดไวที่ 15,000 บาท ตอคน ตอวนั (อางองิ อัตราจาก สมอ.)
2. จำนวนวันที่ใชในการประเมิน หลักสูตรพ้ืนฐาน จำนวน 2.5 วัน หลักสูตรเฉพาะเรื่อง และหลักสตู รดจิ ิทลั อ่ืน ๆ
จำนวน 1.5 วัน โดยมีผูประเมินจำนวน 3 คน

ทั้งนี้ ที่ปรึกษาฯ ไดแนบรายชื่อหนวยตรวจท่ีไดรับการแตงตั้งเปนหนวยตรวจประเมินของเอกชน
และตัวอยางอัตราคาใชจายในการตรวจประเมินโรงงาน ที่กําหนดโดยสํานักงานคณะกรรมการ
การมาตรฐานแหงชาติ (สมอ.) โดยมรี ายละเอียด ดงั แสดงในภาคผนวก จ

หนาท่ี | 34

แนวทางปฏิบตั ิ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลกั สูตรและการจัดการศึกษา
เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดา นดจิ ิทลั

บรรณานกุ รม

[1] สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติ
วาดวยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580), สืบคนเมื่อ 18 มกราคม 2564.
จาก. https://onde.go.th/assets/portals/1/files/620425-Government%20Gazette.PDF
[2] สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). ยุทธศาสตรชาติ (พ.ศ. 2561-2580), สืบคนเม่ือ
18 มกราคม 2564. จาก. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
[3] สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหงชาติ
ฉบบั ท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2565), สืบคน เมอ่ื 18 มกราคม 2564. จาก.
https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_news.php?filename=develop_issue&nid=6420
[4] สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). หนังสือที่ นร 0505/ว493 เรื่อง รางแนวทางการพัฒนา
ทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล, สืบคนเมื่อ
18 มกราคม 2564. จาก. https://www.soc.go.th/wp-content/uploads//slkupload/v60_493%20(1).pdf
[5] สำนักงาน ก.พ.. (2561). หนังสือที่ นร 1013/ว 6 เรื่อง ทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากร
ภาครัฐเพื่อการปรบั เปล่ยี นเปน รัฐบาลดิจิทัล, สบื คน เม่ือ 18 มกราคม 2564. จาก.
https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/03_hnangsuuesamnakngaan_k.ph_.pdf
[6] สำนักงาน ก.พ.. (2562). หนังสือที่ นร 0505/39192 เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการผูบริหาร
เทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (Government Chief Information Officer Management Guideline)
หน  าท่ี 35, ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 18 ม ก ร า ค ม 2564. จ า ก . https://www.ocsc.go.th/sites/default/
files/attachment/circular/w363_30_miikh._63_gcio_echphaaasngmaadwy_.pdf
[7] สำนักงาน ก.พ.. (2563). หนังสือที่ นร 1013/ว 3 เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการผูบริหารเทคโนโลยี
สารสนเทศระดับสงู ภาครฐั , สบื คนเมื่อ 18 มกราคม 2564. จาก.
https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/circular/w363_gcio_.pdf
[8] สำนกั งาน ก.พ.. (2560). แบบสำรวจระดับความพรอ มและวฒุ ิภาวะขององคกรในการพฒั นาไปสูรัฐบาล
ดิจิทัล (Digital Government Maturity Domain and Area : MDA), สืบคนเมื่อ 18 มกราคม 2564.
จาก. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/mda_220762_v3.pdf

หนาท่ี | 35

แนวทางปฏิบตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองหลกั สูตรและการจดั การศกึ ษา
เพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดา นดิจทิ ลั

บรรณานกุ รม (ตอ )

[9] International Organization for Standardization (2017). มาตรฐาน ISO 29993:2017 Learning
services outside formal education – Service requirements, ส ื บค  นเม ื ่ อ 18 มกราคม 2564.
จาก. https://www.iso.org/standard/70357.html
[10] เครือขายมหาวิทยาลัยอาเซียน (2538). (ASEAN University Network Quality Assurance :
AUNQA), สบื คน เมื่อ 18 มกราคม 2564. จาก. http://www.aun-qa.org/

หนา ที่ | 36





แนวทางปฏบิ ตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สูตรและการจัดการศึกษา
เพื่อพัฒนาบคุ ลากรภาครฐั ดานดิจิทัล

หลักเกณฑ วิธกี าร และเงื่อนไข
การรับรองหลักสูตรและการจัดการการอบรมเพอ่ื พฒั นาทกั ษะดา นดจิ ิทลั

ของขา ราชการและบคุ ลากรภาครัฐ

1. ขอบขา ย
เอกสารนี้กำหนดหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรการอบรม
เพื่อพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ ซึ่งครอบคลุมขั้นตอนการยื่นคำขอ การตรวจ
ประเมินผล การตรวจตดิ ตามผล และการตออายกุ ารรบั รอง การยกเลิก การพักใช และการเพิกถอนการรับรอง
การรองเรียน การอุทธรณ รวมทัง้ การเปลยี่ นแปลงตา ง ๆ ทีเ่ ก่ียวขอ งกับการรบั รอง

2. เอกสารอา งอิง
2.1 มาตรฐาน ISO 29993:2017 (การใหบรกิ ารการเรียนรนู อกระบบ)
2.2 ASEAN University Network Quality Assurance : AUN QA)
2.3 กฎกระทรวงกำหนดคา ธรรมเนียมสำหรับผปู ระกอบการตรวจสอบและรบั รอง (ถา มี)
2.4 หนงั สอื สำนักงาน ก.พ. ท่ี นร 1013/ว 6 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 เร่ือง ทักษะดา นดจิ ทิ ัล

ของขา ราชการและบุคลากรภาครัฐเพือ่ การปรับเปลย่ี นเปนรฐั บาลดจิ ิทัล
2.5 แบบสำรวจระดบั ความพรอ มและวฒุ ิภาวะขององคก รในการพฒั นาไปสรู ฐั บาลดจิ ทิ ลั (Digital

Government Maturity Domain and Area : MDA) สำนกั งาน ก.พ.

3. นยิ าม
ความหมายของคำท่ีใชใ นเอกสารนี้

3.1 สถาบันอบรม หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร วิจัย
และนวัตกรรม หรือ กระทรวงศึกษาธิการ หนวยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม หรือใหบริการ
ที่เกี่ยวของกับการอบรม สถาบันอบรมเอกชนที่ไดรับการรับรองจากระทรวงศึกษาธิการ และสถาบนั
ทไ่ี ดร ับความเหน็ ชอบจาก สดช.

3.2 ผูเ ชย่ี วชาญ หมายถงึ กลมุ บคุ คลท่มี คี วามรู ความสามารถ ความเชีย่ วชาญ ในหลักสูตรฝก อบรม
ท่จี ะถูกประเมนิ รับรองโดย สดช. จะคัดเลือกมาเก็บไวในรายชื่อผเู ชี่ยวชาญดา นดจิ ิทลั (Pool List)

3.3 ผูประเมิน หมายถึง ผูเชี่ยวชาญจากรายชื่อผูเชี่ยวชาญดานดิจิทัล (Pool List) ที่ผานการอบรม
เปนผูประเมินและมีความเชี่ยวชาญในดานที่สอดคลองกับหลักสูตร และไดรับการแตงตั้งเปน
ผูป ระเมนิ จากคณะกรรมการสงเสรมิ และพัฒนาดจิ ิทัลเพอ่ื เศรษฐกจิ และสังคม

3.4 คณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิ หมายถึง คณะกรรมการรับรองหลักสูตรการพัฒนากำลังคนดานดิจิทัล
ท่ถี กู แตงตงั้ โดย สดช. เพอ่ื พจิ ารณาตัดสนิ ผลการประเมนิ หลักสตู รให สดช. ดำเนนิ การรบั รองหลกั สตู ร

ภาคผนวก ก - 1

แนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สตู รและการจดั การศึกษา
เพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครฐั ดานดจิ ิทัล

3.5 หลักสูตรอบรม หมายถึง หลักสูตรการอบรมดา นดิจิทัลที่ถูกจัดตัง้ ขึน้ สำหรบั ขาราชการและบุคลากร
ภาครัฐ ที่มีเนื้อหาเพียงพอสำหรับระยะเวลาในการอบรมตั้งแต 2 วัน ขึ้นไป และมีเนื้อหาสอดคลอง
กับเกณฑท ี่ สดช. กำหนด

3.6 ผูเขารับการอบรม หมายถึง ขาราชการ หรือบุคลากรภาครัฐ ที่ตองการพัฒนาทักษะดานดิจิทัล
เพ่ือนำไปพัฒนาองคก รทส่ี งั กดั

4. เงอื่ นไขท่ัวไป
4.1 การดำเนินการเพื่อขอการรับรองหลักสูตรและการจัดการอบรม เชน การยื่นคำขอ การติดตอ

ประสานงาน การตรวจประเมนิ ใหใชภ าษาไทยเปนหลัก
4.2 ขอ กำหนดท่ี สดช. ใชใ นการรบั รองหลกั สูตรมีดงั ตอไปนี้

1) การรับรองหลักสูตรพื้นฐาน ใชทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ
เพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล ตาม ว6/2561 หรือ มาตรฐานอื่นท่ี สดช. ใหความ
เหน็ ชอบ

2) การรับรองหลักสูตรเฉพาะดาน ใชทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ
เพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล ตาม ว6/2561 หรือ มาตรฐานอื่นที่ สดช. ใหความ
เหน็ ชอบ

3) การรับรองหลักสูตรดิจิทัลอื่น ๆ ใชมาตรฐานดานดิจิทัลอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับหลักสูตรน้ัน
ตามท่สี ดช. ใหค วามเห็นขอบ

4.3 สถาบันอบรม ตอ ง
1) ปฏิบัติตามขอกำหนดในแตละกิจกรรมตามที่ระบุในประกาศกำหนด ขอบขาย และมาตรฐาน
อางอิง สำหรับการรับรองหลักสูตรของ สดช. และหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวของ
ท่ี สดช. กำหนด รวมทั้งท่อี าจมีการแกไข หรอื กำหนดเพ่ิมเตมิ ในภายหลัง
2) จัดเตรียมการทั้งหมดที่จำเปนตอการตรวจประเมิน ไดแก การตรวจสอบเอกสารและขอมูล
การใหสิทธิเขาไปในบริเวณสถานที่ การตรวจบันทึก รายงาน และ การสอบถามพนักงาน
ณ สถาบันอบรม หรือ สถานที่อบรมตามที่ระบุไวในหลักสูตร รวมทั้งการตรวจประเมินการจัด
การศึกษาตามท่ี สดช. กำหนด
3) ยินยอมให สดช. เขาถึงเอกสารที่เกี่ยวของกับหลักสูตรและการอบรม และยินยอมให สดช.
นำขอมูลที่ยน่ื ไปใชในการวิเคราะหต รวจสอบหลกั สูตร
4) จดั ทำเอกสารตามแบบฟอรมที่ สดช. กำหนด
5) สงมอบบันทึกเกี่ยวกับการรองเรียน และผลการดำเนินการท่ีเกี่ยวของกับหลักสูตรที่ยื่นขอ
รับการประเมนิ ให สดช. เม่ือไดรบั การรอ งขอ

ภาคผนวก ก - 2

แนวทางปฏิบตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรบั รองหลกั สูตรและการจัดการศึกษา
เพื่อพัฒนาบคุ ลากรภาครฐั ดา นดิจิทลั

6) สงมอบเอกสารและหลักฐานตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับการรับรองระบบงาน เชน แผนการสอน
เอกสารประกอบการสอน ขอสอบ หรือ ผลการประเมินผูเขารับการอบรม เปนตน ให สดช.
เม่อื ไดรับการรองขอ

7) ชำระคาธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดคาธรรมเนียมสำหรับการตรวจสอบเอกสาร และ
คาธรรมเนียมสำหรับผูประเมินรับรอง และคาบริการตามอัตราที่ สดช. กำหนด ในประกาศ
กำหนดอัตราคาบริการสำหรับการประเมินและรับรองหลักสูตรฯ คาธรรมเนียมและคาบริการ
ทช่ี ำระแลวไมส ามารถเรียกคืนได (ถามี)

5. เง่ือนไขสำหรบั ผูยนื่ ขอรับการประเมนิ และรับรองหลกั สตู รฯ
5.1 สถาบันอบรมที่สามารถยื่นขอรับรองหลักสูตร เพื่อพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและ

หนวยงานภาครัฐฯ ตองเปนสถาบนั หรอื หนวยงานในกลุม ใดกลมุ หนึง่ ดังตอไปนี้
1) สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร วิจัยและนวัตกรรม หรือ

กระทรวงศึกษาธิการ
2) หนวยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม หรือใหบริการที่เกี่ยวของกับการอบรม เชน สถาบัน

พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล (Thailand Digital Government Academy หรือ TDGA)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (Office of Public sector Development
commission : OPD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีแหงชาติ (National Science and
Technology Development Agency : NSTDA) เปนตน
3) สถาบันอบรมเอกชนทไ่ี ดร ับการรับรองจากกระทรวงศกึ ษาธิการ
4) สถาบันที่ไดรับความเห็นชอบโดยสถาบันหรือหนวยงานที่มีอำนาจตามฎหมาย โดยใหสามารถ
จัดอบรมในหัวขอเฉพาะได โดยสถาบันที่จะยื่นขอรับการรับรองหลักสูตรตองสงหลักฐานและ
รายละเอยี ด เพอ่ื เปนหลักฐานประกอบในการพิจารณา ดงั น้ี

o ดานกายภาพ ไดแก อาคาร สถานที่ พื้นที่ใชสอยที่จะใชในการเรียนการสอนและ
จัดกจิ กรรมทุกประเภทมีจำนวนเพยี งพอและเหมาะสมกับจำนวนผูส อน จำนวนผูเขารับ
การอบรมในแตละหลักสูตรและมีเครื่องมือ อุปกรณสนับสนุนการเรียนการสอน
ทเี่ หมาะสมและเพยี งพอ

o ดานวิชาการ โดยแสดงหลักฐานวาผูเขารับการอบรมจะไดรับการบริหารการศึกษาที่ดี
สามารถแสวงหาความรูไดอยางมีคุณภาพ สถาบันตองมีการบริหารวิชาการที่มีคุณภาพ
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทั้งในดานการวางแผนการรับผูเขารับการอบรม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินการอบรมผลการเรียนรู การประกัน
คุณภาพ การเรียนการสอน และการพฒั นาปรบั ปรุงการบริหารวชิ าการ

ภาคผนวก ก - 3

แนวทางปฏบิ ตั ิ หลกั เกณฑ กลไก และการประเมนิ ผล การรบั รองหลกั สูตรและการจัดการศกึ ษา
เพ่ือพฒั นาบุคลากรภาครัฐดา นดิจทิ ลั

6. การประเมินและรบั รองหลกั สูตรฯ
6.1 กระบวนการยื่นขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรและการจัดการอบรมของสถาบันอบรม

เพื่อให สดช. พิจารณารับรอง มีขั้นตอนในการยื่นขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรและ
การจดั การการอบรม 5 ข้นั ตอน ดังนี้
1) ยื่นคำขอรับการประเมินฯ : สถาบันอบรมยื่นคำขอรับการประเมิน โดยมีแบบฟอรม หลักฐาน

ประกอบตามท่ี สดช. กำหนด พรอมชำระคา ธรรมเนยี ม (ถามี)
2) ตรวจสอบเอกสาร : สดช. ดำเนินการตรวจสอบความครบถว นของเอกสารและหลกั ฐานประกอบ

ที่สถาบันอบรมยื่นคำขอ พรอมแจงคาใชจายในการตรวจประเมิน (ถามี) โดยใชเวลาใน
การตรวจสอบเอกสารประมาณ 1 สัปดาห
3) ตรวจประเมินฯ : ผูประเมินของ สดช. ทำการตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรและการจัดการ
การอบรม ตามแนวปฏิบัติ หลักเกณฑที่ สดช. กำหนด โดย สดช. จะทำการคัดเลือกผูเชี่ยวชาญ
ที่มีความรูความชำนาญตรงกับหลักสูตรดังกลาว จำนวน 1-5 คน ขึ้นกับความซับซอนของหลักสูตร
เพื่อทำหนาที่เปนผูประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรและการจัดการการอบรม โดยใชเวลาในการตรวจ
ประเมนิ ฯ ประมาณ 3 สปั ดาห
4) ประชุมสรุปผลเพื่อการตัดสิน : ผลประเมินของผูเชี่ยวชาญ จะถูกสงใหคณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิ
เพื่อทำการประชุมสรุปผลเพื่อการตัดสิน โดยใชเวลาในการจัดประชุมเพื่อสรุปผลการตัดสิน
ประมาณ 3 สัปดาห
5) แจงผลการตัดสิน : สดช. แจงผลการตัดสิน ใหสถาบันอบรมทราบ โดยใชเวลาในการจัดทำ
หนงั สือแจง ผลการตัดสิน ประมาณ 2 สัปดาห
6.2 การแตงตั้งผปู ระเมนิ
1) สดช. จะแตงตั้งผูประเมินโดยคัดเลือกผูเชี่ยวชาญในสาขาที่สอดคลองกับหลักสูตรที่ประเมิน
จากรายชอื่ ผเู ชี่ยวชาญดา นดิจิทัล (Pool List)
2) ผปู ระเมนิ จะตองผา นการอบรมหลักสูตรผูประเมินท่จี ดั ขนึ้ โดย สดช.
3) จำนวนผูประเมิน ขึ้นอยูกับความซับซอนของหลักสูตร (จำนวน 1-5 คน) โดย สดช. จะแจง
รายชื่อผูประเมินใหกับสถาบันอบรมผูยื่นขอรับรองหลักสูตรฯ เพื่อพิจารณา หากสถาบันพบวา
ผปู ระเมนิ ไมเ หมาะสม ใหท ำหนังสือแจง ความจำนงขอเปลย่ี นผปู ระเมนิ พรอมเหตผุ ลโดยละเอียด
กลับมายงั สดช. เพ่ือดำเนินการคดั เลอื กผปู ระเมนิ รายใหมตอ ไป
4) ผูประเมินตอง

• มคี วามเขาใจมาตรฐานการตรวจสอบและรับรอง และหลกั เกณฑ วิธกี าร และเง่ือนไข
• มีความรูในขัน้ ตอนการดำเนินงานและเอกสารทีใ่ ชในการตรวจประเมนิ
• มีความรูความเชยี่ วชาญในสาขาท่เี ก่ียวของกบั หลักสตู รที่ประเมิน

ภาคผนวก ก - 4


Click to View FlipBook Version