เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิริยาภรณ์ อุดมระติ (ได้รับการสนับสนุนจัดทำเอกสารวิชาการจาก สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา) 2565
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 2 จาก 150 กิตติกรรมประกาศ การจัดทำเอกสารวิชาการการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับนี้ เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในวงการพัฒนาเด็กปฐมวัยจำนวนมาก ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมและทั้งในด้านสาธารณสุข การแพทย์ การศึกษา การพัฒนาสังคม การสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ที่ให้ข้อมูลแนะแนวคิดจากประสบการณ์และมุมมองด้าน การพัฒนาเด็กปฐมวัยดังรายนามต่อไปนี้ ศาสตราจารย์ คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์รองศาสตราจารย์ นพ.สุริยเดว ทรีปาตีรองศาสตราจารย์ นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์รองศาสตราจารย์ นพ.ศิริไชย หงส์สงวนศรี ศาสตราจารย์ นพ. วีระศักดิ์ ชลไชยะ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟูผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริพญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช คุณสโรทร ม่วงเกลี้ยง ดร.ทินสิริ ศิริโพธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ เหมชะญาติ นพ.ธีรชัย บุญยะลีพรรณ คุณนภัทร พิศาลบุตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศวีร์ สายฟ้า อาจารย์หริณญา รุ่งแจ้งคุณพลวัฒน์ การุญภาสกรและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านจากแวดวงการพัฒนาสังคม และเด็กปฐมวัย ข้อคิดเห็น ข้อเสนอ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร คุณสุภาวดี หาญเมธี อาจารย์ธิดา พิทักษ์สินสุข ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์อาจารย์กรองทอง บุญประคอง นพ.สมบูรณ์ จิระวัฒนาสมกุล พญ.ทิพาวรรณ บูรณสิน คุณณัฐยา บุญภักดี, คุณสุดใจ พรหมเกิด รองศาสตราจารย์ ดร.พูลสุข ศิริพูล รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ โชติบาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรินฎา ปุติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฮารีซอล ขุนอินคีรี ดร.กัญญาวีร์ แก้วนุ้ย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช อาจารย์สุรีรัตน์ เศรษฐจินดา อาจารย์ศีลดา รังสิกรรพุม อาจารย์กฤษณา เสมหิรัญ อาจารย์อัมราภัสร์ จันทะแสงโรจน์ อาจารย์ณัฏฐ์ชนินาถ วทัญญูคุณราชัน วงค์ชารี คุณกิตติมา พัวพัฒนกุล คุณเพชรรัตน์ บุญเสนอ คุณโสภา มัดลัง คุณสิริวัลย์เรืองสุรัตน์ และคุณอลงกรณ์ รอดสวัสดิ์จนเกิดเป็นการถักทอความรู้ปฐมวัยภาพใหญ่ นำไปสู่ ความเข้าใจ และการตกผลึกเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีพลัง
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 3 จาก 150 ทั้งนี้ ต้องขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิอีกคณะหนึ่งเป็นอย่างสูง ที่กรุณาเสียสละเวลา ร่วมวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดระบบข้อมูลทั้งหมด ประสานเข้ากับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์วิชาชีพของแต่ละท่าน เรียบเรียงจนเป็นเอกสารวิชาการที่เข้มข้น สอดคล้องเจาะจงไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ และจะเป็นเอกสารเพื่อ การอ้างอิงที่มีคุณูปการยิ่งต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยในภาคส่วนต่างๆ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ปังปอนด์ รักอำนวยกิจผู้เรียบเรียงเอกสาร “ผลกระทบภาพรวมโควิดต่อเด็กปฐมวัยในทุกมิติ : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย” อาจารย์ธิดา พิทักษ์สินสุข ผู้เรียบเรียงเอกสาร “แนวทางและนวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ ของเด็กปฐมวัย สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครอบครัว” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ ผู้เรียบเรียงเอกสาร “แนวทางและนวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยสำหรับสถาน พัฒนาเด็กปฐมวัย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรรยาท อัครจันทโชติ ผู้เรียบเรียงเอกสาร “แนวทางและ นวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการเสียหายของเด็กปฐมวัย: ความรู้พร้อมใช้สำหรับสื่อมวลชนและสาธารณชน” และ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริผู้เรียบเรียงเอกสาร “แนวทางและนวัตกรรมในการลดการใช้สื่อจอใสและ ความเครียดในเด็กปฐมวัย” และท้ายที่สุดขอขอบคุณ คุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานคณะอนุกรรมการด้านสื่อสารเพื่อการพัฒนาเด็ก ปฐมวัย และคณะอนุกรรมการฯ ทั้งคณะ ที่เอื้ออำนวยให้โครงการฯดำเนินไปได้ด้วยดีรวมทั้งคุณพัชราพรรณ กฤษฎาจินดารุ่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และคณะ ที่สนับสนุนให้เกิดโครงการฯนี้ รวมทั้งขอขอบคุณคุณธนรร หาญวรโยธิน กับคุณเอี่ยมโฉม ตั้งธรรม ที่ช่วยเหลือในการประสานงาน จนงาน จัดทำเอกสารครั้งนี้สำเร็จได้โดยราบรื่น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารวิชาการการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูพัฒนาการของเด็ก ปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับนี้ จะนำไปสู่การ สร้างโอกาสเปลี่ยนแปลงการพัฒนาเด็กปฐมวัยทั้งระบบ และเป็นฐานความรู้สำคัญที่ทำให้เกิดการสื่อสาร เผยแพร่ไปยังแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง บุคลากรและสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การร่วมมือกัน ฟื้นฟูพัฒนาการทุกด้านของเด็กปฐมวัยไทยอย่างจริงจัง ให้เกิดรากฐานชีวิตที่เข้มแข็ง และเป็นฐานทุนของ การพัฒนาสังคมไทยให้มั่นคงในอนาคตอย่างแท้จริงต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิริยาภรณ์ อุดมระติ ธันวาคม 2565
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 4 จาก 150 บทสรุปผู้บริหาร จากความจำเป็นของรัฐบาลที่ต้องใช้มาตรการปิดเมือง (Lockdown) เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ ระบาดของไวรัสโคโรนา COVID-19 ในช่วงปี 2563-2564 ทำให้ต้องปิดสถานศึกษา เด็กไม่สามารถไปเรียนได้ ตามปกติ ต้องอยู่กับครอบครัว ส่งผลให้พ่อแม่ผู้ปกรองตกอยู่ในภาวะตึงเครียดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม ความกังวลต่อโรคระบาด และไม่พร้อมดูแลลูกหลาน ในส่วนการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนเป็นแบบออนไลน์ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งได้รับเพียง 10% เท่านั้น ส่งผลให้พัฒนาการของเด็ก ปฐมวัยหยุดชะงัก เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) หากไม่สามารถแก้ปัญหาการถดถอยตั้งแต่ ปฐมวัยได้ จะส่งผลระยะยาว กระทบต่อคุณภาพพลเมือง และสภาพเศรษฐกิจสังคมของประเทศในอนาคต สำนักงานเลขาธิการฯ สภาการศึกษา ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย เห็นเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ในการรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบ วิเคราะห์และค้นหาแนวทางการ ส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัยหลังสถานการณ์COVID-19 ตามหลักวิชาการอย่างรอบด้าน เพื่อสะท้อนภาพความสูญเสียและโอกาสแห่งการฟื้นฟูคืนพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ต่อหน่วยงานทั้งระดับ นโยบายและระดับปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลักดันนโยบาย มาตรการการฟื้นฟูเด็กปฐมวัยที่เร่งด่วน ทันการณ์ เหมาะสมและปฏิบัติได้จริงจนเกิดผล ผลจากการศึกษารวบรวมข้อมูลด้วยหลากหลายกระบวนการทั้งการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) การระดมความคิดเห็นของนักวิชาการหลากสาขา และจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ เด็กปฐมวัยในหลากหลายพื้นที่ พบว่า ก่อนสถานการณ์โควิด การพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทยก็อยู่ในภาวะวิกฤตอยู่แล้วด้วยข้อมูลที่ชัดแจ้งว่า o เด็กปฐมวัยจำนวนกว่าสองล้านคน อาศัยอยู่ในครอบครัวที่ยากจน ร้อยละ 60-80 อยู่ในครัวเรือน ที่เกือบจนถึงจนมาก ร้อยละ 75 ของเด็กปฐมวัยมีมารดาที่มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือต่ำ กว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายายและคนที่ไม่ใช่ญาติ o เด็กที่ได้กินนมแม่เป็นเวลา 6 เดือนมีเพียงร้อยละ 14 ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และยังห่างจากเป้าหมายโภชนาการโลกในปี 2568 ที่ตั้งเป้าไว้ว่าเด็กร้อยละ 50 ต้องได้รับ นมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต o เด็กแรกเกิดเกือบร้อยละ 10 มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ (ต่ำกว่า 2,500 กรัม) เด็กเล็ก อายุ 6-12 เดือนร้อยละ 30 มีภาวะโลหิตจาง ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของสมองและพัฒนาการในวัยต่อ ๆ ไป
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 5 จาก 150 เด็กปฐมวัยมีภาวะเตี้ย แคระแกร็น เพิ่มเป็นร้อยละ 13 หรือประมาณ 500,000 คน และมีภาวะฟันผุราว ร้อยละ 30-50 (ขึ้นอยู่กับพื้นที่) และเด็กได้รับการตรวจสุขภาพฟันทั้งประเทศเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น o เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ 23 โดยล่าช้าสุดในด้านภาษา รองลงมา คือ ด้านกล้ามเนื้อ มัดเล็กและสติปัญญา สถิตินี้เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว ยังไม่สามารถแก้ไขได้ o พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดทักษะการดูแลเลี้ยงดูลูกหลาน ที่ถูกต้องตามวัย พ่อแม่ส่วนใหญ่ถูกค่านิยมผิดครอบงำว่า ต้องเน้นวิชาการกับลูกตั้งแต่ปฐมวัย แต่ในบ้าน มีหนังสือสำหรับเด็กเฉลี่ยไม่ถึง 3 เล่ม ทำให้พัฒนาการและพฤติกรรมไม่สมวัย โดยเฉพาะด้านภาษา และ พบว่าเด็กปฐมวัยในกลุ่มอายุ 3 - 4 ปี ถูกลงโทษโดยใช้ความรุนแรงมากกว่าเด็กในกลุ่มอายุอื่น o พ่อแม่ผู้ปกครองมีความเข้าใจที่ผิดว่า ต้องยื่นมือถือหรือสื่อมีจอให้ลูกหลาน เพราะเป็นเครื่องมือ ช่วยพัฒนาให้ลูกหลานฉลาด ทันสมัย พ่อแม่เองจำนวนมากก็ติดมือถือ จึงเป็นแบบอย่างด้านลบของเด็ก และ มักให้มือถือเพื่อให้ลูกหลานอยู่นิ่ง เด็กปฐมวัยใช้มือถือกว่าร้อยละ 70 o การจัดการเรียนรู้ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ ยังไม่เป็นไปตามหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัย หากแต่เน้นการเร่งเรียนเขียนอ่าน ขาดความเข้าใจเรื่องธรรมชาติการทำงานของสมองและการเห็นคุณค่าใน ตัวตนของเด็ก ซึ่งส่งผลเสียหายรุนแรงต่อพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ สังคม และการเรียนรู้ของเด็ก ครูและ ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่มีความรู้เรื่องพัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการ เนื่องจากไม่ได้เรียนด้านการศึกษาปฐมวัยโดยตรง เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 และมีมาตรการปิดเมือง (Lockdown) ยาวนานกว่า 2 ปีได้สร้าง สภาวะแวดล้อมทางลบ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงเพิ่มขึ้น ต่อการพัฒนาเติบโตของเด็กปฐมวัยทุกด้าน ในภาพรวมสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ร้อยละ 25 ของเด็กปฐมวัย ในช่วงโควิดมีพัฒนาการไม่สมวัย ด้านที่ไม่สมวัยมากสุดคือด้านการใช้ภาษา (Expressive Language - EL) ร้อยละ 75.2 พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language -RL) ร้อยละ 60.1 และด้านกล้ามเนื้อ มัดเล็ก (Fine Motor) และสติปัญญา ร้อยละ 47 ทั้งนี้ เมื่อแยกรายละเอียดของพัฒนาการแต่ละด้าน พบว่า ผลกระทบหลังโควิด ต่อเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย o เด็ก 0-9 ปีติดเชื้อทั้งสิ้น 381,276 คน เสียชีวิต 117 คน (ตุลาคม 2565) เด็กที่ติดเชื้อโควิดส่วนใหญ่ ติดจากคนในครอบครัวหรือญาติที่มาเยี่ยม o ครัวเรือนที่มีเด็กเล็กมีรายได้ลดลงถึงร้อยละ 81 เมื่อเทียบกับร้อยละ 70 ในกลุ่มครัวเรือนที่ไม่มี เด็กเล็ก ร้อยละ 60 ของครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่มีแต่ผู้หญิงและเด็ก ตกอยู่ในสภาพขาดแคลนอาหาร ร้อยละ 37 ได้รับประทานอาหารน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาด
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 6 จาก 150 o ช่วงโควิด แม่และเด็กเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้น้อยลง แม่ตั้งครรภ์ฝากครรภ์น้อยลง เด็กเข้าถึง บริการของรัฐได้ยากขึ้นโดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข การรับวัคซีนลดลงจากร้อยละ 80 เหลือร้อยละ 60 การตรวจวัดคัดกรองพัฒนาการและการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กลดลงกลุ่มเด็กพิเศษไม่ได้รับการดูแลบำบัดต่อเนื่อง o การปิดสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยช่วงโควิด ทำให้เด็กขาดโอกาสทำกิจกรรมทางร่างกาย ขาด โภชนาการ โดยเฉพาะเด็กในกลุ่มเปราะบาง เด็กในชนบท ที่ต้องพึ่งอาหารกลางวันและนมที่สถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัย นอกจากนี้ เด็กบางส่วนต้องตามพ่อแม่ไปทำงานในที่ทำงานที่ขาดสุขอนามัยสำหรับเด็ก บางส่วนถูกกัก หรือทิ้งไว้ในบ้านตามลำพัง o เด็กขาดการเล่น การทำกิจกรรมกลางแจ้ง และเป็นโรคขาดธรรมชาติ (NDD-Nature Deficit Disorder) กลายเป็นเด็ก “รุ่นในร่วม” (Indoor Generation) ที่จะส่งผลต่อสุขนิสัยต่อไปภายหน้า กินนอนไม่เป็น เวลา นอนดึก เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) และหันไปใช้สื่อหน้าจอมากขึ้น ติดเกม ติดมือถือ ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดภูมิต้านทานต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก เด็กเตี้ยและอ้วนมากขึ้น ส่วนใหญ่พบภาวะเตี้ยในเด็ก 0-2 ปีและภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนในเด็ก 3-5 ปีการที่เด็กหมกมุ่นกับหน้าจอมากขึ้น มีผลกระทบต่อสายตา เกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชชั่นซินโดรม (CVS– Computer Vision Syndrome) สายตาสั้น เกิดภาวะตาล้า จอประสาท ตาเสื่อม ตาพร่ามัว o การสวมหน้ากากอนามัย (Mark) ตลอดเวลา กระทบต่อระบบทางเดินหายใจ และการได้รับออกซิเจน ที่จะเข้าไปเลี้ยงสมอง ผลกระทบระยะยาว • เด็กอาจเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดสุขนิสัยในการออกกำลังกายและใช้กิจกรรมทางกาย ไม่ชอบ การเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง กลัวเหนื่อย กลัวร้อน ติดสบาย • เด็กเติบโตเป็นคนที่ขาดระเบียบในการใช้ชีวิตประจำวัน การกิน การนอนไม่เป็นเวลา ขาดการกำกับ ตนเอง และความรับผิดชอบ ไม่ใส่ใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ ตามใจตนเองในการใช้ชีวิต • เด็กติดเกม ติดจออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีผลรุนแรงต่อสุขภาพอนามัย อุปนิสัย การทำงานของ สมอง เด็กจะเรียนรู้ช้า สมาธิสั้น และมีแนวโน้มพฤติกรรมก้าวร้าว ปรับตัวยาก ยืดหยุ่นต่ำ ผลกระทบหลังโควิดต่อเด็กปฐมวัย ด้านพัฒนาการอารมณ์จิตใจ o เด็กปฐมวัยจำนวนเกือบ 500 คนสูญเสียบุคคลในครอบครัว กลายเป็นเด็กกำพร้า และต้องไปอยู่ ในความดูแลของญาติ บางส่วนที่ไม่มีญาติต้องเข้าไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ o พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องทำงานที่บ้าน บางส่วนตกงานถูกเลิกจ้าง บางส่วนไม่สามารถ ประกอบอาชีพได้ตามปกติ รายได้ลดลง และมีความกังวลต่อภาวะโรคระบาด นอกจากยื่นมือถือให้เด็กปฐมวัย ให้อยู่นิ่ง เพื่อพ่อแม่ผู้ปกครองจะทำงานได้ จนทำให้เด็กเกิดภาวะติดมือถือแล้ว ยังมีรายงานว่าครอบครัว จำนวนไม่น้อยระบายอารมณ์และใช้ความรุนแรงกับเด็กมากขึ้น ทำให้เด็กเกิดความเครียด ขาดความสุข และ มีความเสี่ยงทางสุขภาพจิตสูงขึ้น
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 7 จาก 150 o ในเด็กที่ถูกกักตัวแยกจากพ่อแม่ผู้ดูแลในช่วงที่เด็กติดเชื้อหรือผู้ดูแลติดเชื้อ ส่งผลกระทบต่อ สุขภาวะของเด็กทั้งกายและจิตใจ ทำให้เด็กเล็กเครียด หวาดกลัว มีความฝังใจ o เด็กถูกกักบริเวณ/จำกัดพื้นที่ ไม่ได้พบเจอและเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน เด็กขาดโอกาสเล่นหรือ ทำกิจกรรมนอกบ้าน ขาดโอกาสฝึกทักษะอารมณ์ มีปัญหาการจัดการกับอารมณ์ เมื่อโรงเรียนเปิด ครูปฐมวัย ส่วนใหญ่พบว่าเด็กหงุดหงิดงอแงมากขึ้น ดื้อผิดปกติ บางคนเรียกร้องความสนใจ บางคนเก็บตัว ไม่ร่าเริง ส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง กำกับตัวเองได้ไม่ดี โดยไม่ทราบสาเหตุ และเนื่องจากการศึกษาปฐมวัยของ ประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเน้นแต่เนื้อหาวิชาการ ครูขาดความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก จึงไม่ให้ความสำคัญกับทักษะ ด้านอารมณ์ มองไม่เห็นว่าเด็กมีปัญหา แปลสัญญาณที่เด็กแสดงออกไม่ได้ และโรงเรียนไม่มีระบบประเมิน อารมณ์เด็ก พ่อแม่ขาดความรู้และทักษะ ไม่รู้วิธีจัดการอารมณ์ตนเอง ดังนั้นเด็กที่มีความเครียดในช่วง สถานการณ์โควิด จึงไม่ได้รับการแก้ไขพัฒนา o เด็กพิเศษ (เด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา) มีแนวโน้ม มีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น หงุดหงิดง่าย ดื้อ เอาแต่ใจ ให้ความร่วมมือในการฝึกน้อยลง จากการบำบัดฟื้นฟูที่ไม่ต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน และถูกจำกัดให้อยู่บ้านจากการหยุดเรียน บางครอบครัวไม่สามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในช่วงโควิดได้ ผลกระทบระยะยาว • มีงานวิจัยชัดเจนว่า เด็กที่ได้รับประสบการณ์ไม่พึงประสงค์ ACEs – Adverse Childhood Experience มักมีความเครียดรุนแรงต่อเนื่อง ดังนั้น เด็กที่เครียดยาวนานถึง 2 ปีจากความรุนแรงในครอบครัว ที่เพิ่มขึ้น จากการขาดโอกาสเล่น และเรียนรู้ตามธรรมชาติ หรือจากการใช้มือถือวันละนาน ๆ หลายชั่วโมง จะส่งผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้บำบัดแก้ไขได้ยาก การมีภาวะเครียดสะสม ทำให้สมองถูกทำร้าย เรียนรู้ได้ไม่ดีการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทลดน้อยลง และการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทน้อยกว่าปกติ ในระยะยาวจะมีปัญหาสุขภาพกาย-ใจ • เด็กที่ไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไขจะมีบุคลิกภาพและพฤติกรรมเชิงลบมากขึ้น เช่น เก็บตัว ก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน อดทนต่ำ มีความสุขยาก ต่อไปอาจเข้าสู่ปัจจัยเสี่ยงเช่น ยาเสพติด ซึมเศร้า ฯลฯ ในด้านการ เรียนรู้ จะทำให้การใช้เหตุผลและการเรียนรู้ช้า ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต และเมื่อ เป็นผู้ใหญ่ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs – Non Communicable Diseases) มักมีอายุขัย สั้น ด้วยเหตุที่ ผลกระทบทางอารมณ์จิตใจ จะส่งผลต่อไปยังระบบการทำงานอื่นของร่างกาย เช่น ระบบ ภูมิคุ้มกัน ระบบหัวใจ/หลอดเลือด ระบบประสาท เป็นต้น ที่สำคัญ ความทรงจำที่น่ากลัวต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้น ในช่วงโควิด อาจจะยังคงกระตุ้นระบบร่างกายของเด็กซ้ำ แม้เหตุการณ์จะผ่านไปแล้วก็ตาม
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 8 จาก 150 ผลกระทบหลังโควิดต่อเด็กปฐมวัย ด้านพัฒนาการทางสังคม o งานวิจัยของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า “เด็กหลังโควิดมีภาวะถดถอยค่อนข้างสูง ติดขัดด้านการปฏิบัติตนตามข้อตกลงในชั้นเรียน การเล่นกับเพื่อน การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น” นอกจากนี้ ครูปฐมวัยโดยทั่วไปพบในทำนองเดียวกันว่า เด็กมีปัญหาในการปรับตัวกลับสู่โรงเรียนอีกครั้ง ไม่สามารถสื่อสาร อารมณ์ความรู้สึกได้ มีปัญหาพฤติกรรม กัด ตี ไม่แบ่งของกับเพื่อน มีความเครียด วิตกกังวล มีผลกระทบต่อ ทักษะสมอง EF หรือกล่าวได้ว่า เด็กมีทักษะทางสังคม (SEL- Social Emotional Learning Skill) ลดลง ปรับตัว ยาก การช่วยเหลือตนเองลดลง ความสามารถในการกำกับตนเองทำได้น้อยลง เด็กมีปัญหาพฤติกรรม ก้าวร้าว ซน สมาธิสั้นมากขึ้น ความสัมพันธ์กับครูและเพื่อนไม่ราบรื่น ขาดทักษะในการสื่อสารกับคนอื่น โดยเฉพาะกับเด็ก ด้วยกัน ซึ่งการขาดทักษะทางสังคมนี้ ส่งผลเชื่อมโยงไปยังพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าด้านอารมณ์ หรือการเรียนรู้ ที่ลดลง o เมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลายลง พบว่าเด็กยังมีความเครียดง่ายเมื่อต้องแยกจากพ่อแม่ หรือคน ในครอบครัว โดยเฉพาะเมื่อต้องแยกมาอยู่ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย o เด็กขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง ไม่สนใจผู้อื่น ใช้เวลาส่วนใหญ่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่สนใจ ทำกิจกรรมอื่น ขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก ผลกระทบระยะยาว • เด็กจะกลายเป็นคนที่มีบุคลิกภาพเก็บตัว ปรับตัวช้า เข้ากับคนยาก ไม่แสดงออก ไม่ร่าเริงตามวัย เหงา ไม่มีเพื่อนเล่น ขาดความสุข ส่งผลให้การเรียนรู้ไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งที่ไม่ได้มีปัญหาทางด้านสติปัญญา • เด็กที่มีทักษะทางสังคมต่ำ จะเป็นเด็กที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าคิดกล้าตัดสินใจ หรือ อาจจะมีพฤติกรรมที่ตรงข้ามคือ ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย เพื่อทดแทนความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจเมื่อต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น • มีแนวโน้มว่าจะมีปัญหาพฤติกรรมการเข้ากลุ่มกับเพื่อน อาจมีแนวโน้มที่จะถูกกลั่นแกล้ง (Bully) จากเพื่อนเมื่อเติบโตต่อไปได้ ผลกระทบหลังโควิดต่อเด็กปฐมวัย ในพัฒนาการด้านสติปัญญา o งานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้า ไทยพบว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด เด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้ได้เพียงร้อยละ 10 เท่านั้นจากที่ควรจะเรียนรู้ได้ เด็กเกิดภาวะสูญเสียการเรียนรู้(Learning Loss) สูงถึงร้อยละ 90 เด็กไม่มีความรู้พอที่จะเรียนในชั้นต่อไป เด็กอนุบาลแทบทุกจังหวัดมีความพร้อมในการเรียนต่ำลง o เนื่องจากโรงเรียนปิดเป็นเวลานาน เด็กขาดโอกาสฝึกฝนและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมตาม หลักการพัฒนาเด็กปฐมวัย ขาดการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ขาดการลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 9 จาก 150 อย่างมีคุณภาพ ไม่ได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน กิจกรรมที่บ้านมีจำกัด พ่อแม่ไม่สามารถ ส่งเสริมให้ลูกเกิดการเรียนรู้ที่บ้านได้ เด็กจึงขาดโอกาสฝึกฝนการสังเกต สำรวจ คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ผ่านกิจกรรมต่างๆ คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่มีความถดถอยในด้าน การฟังจับใจความ และการฟังคําสั่ง โดยเรื่องที่วิกฤตมากที่สุด คือ สมาธิจดจ่อ และการคิดแยกแยะ o เมื่อกลับมาเรียนหลังช่วงโควิด พบว่า จากการปิดเรียนยาวนาน เด็กขาดความกระตือรือร้นที่จะ เรียนรู้ในห้องเรียน เมื่ออยู่กับจออิเล็กทรอนิกส์นานจนกระทบต่อการทำงานของสมอง เด็กจำนวนไม่น้อย ไม่สามารถกำกับสมาธิให้จดจ่อในห้องเรียนได้ตามวัย พูดไม่เป็นภาษา หรือพูดเป็นภาษาต่างดาว เรียนรู้ไม่ได้ ตามกิจกรรมที่ครูจัดให้ยังมีรายงานพบว่า เด็กปฐมวัยที่หลุดออกจากระบบการศึกษามีเพิ่มขึ้น ไม่ได้เรียนต่อ เพราะย้ายภูมิลําเนาตามพ่อแม่ที่ตกงาน ผลกระทบระยะยาว • การปิดเรียนยาวนานจะส่งผลให้เด็กปฐมวัย มีโอกาสเป็นเด็กหางแถวมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เด็กจะเติบโตโดยขาดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ ขาดทักษะในการคิดและลงมือทำงาน ขาดความ คล่องแคล่วในการใช้และควบคุมร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กลดลง ซึ่งจะส่งผลลบต่อความสำเร็จใน เรียนรู้ในวัยต่อๆไป • ทักษะสมอง EF- Executive Functions พัฒนาล่าช้า มีผลต่อความสามารถในการกำกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมเพื่อไปสู่เป้าหมาย ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองต่ำ ซึ่งจะส่งผลต่อการประสบ ความสำเร็จเมื่อเติบโตขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาพสะท้อนของสถานการณ์ ปัญหา รวมถึงผลกระทบหลังโควิดที่มีต่อพัฒนาการเด็ก ปฐมวัยข้างต้นนั้น เปรียบเสมือนส่วนปลายสุดของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำเพียงส่วนน้อย หากแต่ส่วนฐานที่ ซ่อนอยู่ใต้ผิวน้ำนั้น เป็นปัญหาที่หนักหนายิ่งกว่า ดังที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์พญ.แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดลชี้ว่า ภาวการณ์เรียนรู้ถดถอย หรือ Learning Loss นั้น ถ้ามองเผิน ๆ ที่พฤติกรรมหรือความสามารถภายนอกที่เด็กปฐมวัยควรทำได้ก็ดูจะไม่ใช่ เรื่องที่ต้องตื่นตระหนกนัก เพราะทุกคนทราบดีว่า หากเด็กๆ ได้รับการฝึกฝน ส่วนใหญ่ไม่เกิน 3-6 เดือน เด็กจะค่อย ๆ กลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้นตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน แต่เรื่องที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ธรรมชาติของช่วงปฐมวัยนี้มีความสำคัญยิ่งยวด เป็น Critical Period เพราะสมองของเด็กกำลังเติบโตรวดเร็ว ใยประสาทแตกกิ่งก้านสาขาเป็นเครือข่ายที่แน่นหนา เมื่อเกิดโควิด เด็กผ่านประสบการณ์เชิงลบยาวนานกว่า 2 ปีนั่นหมายความว่า สมองของเด็กปฐมวัยถูกยับยั้ง การเจริญเติบโต ใยประสาทแตกหัก ไม่มีการสร้างวงจรเครือข่ายประสาทใหม่ ๆ เด็กกลุ่มนี้จะเติบโตขึ้นแบบ ที่ไม่พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โครงสร้างสมองไม่พร้อมที่จะทำงานยาก ซับซ้อน ไม่พร้อมที่จะคิดวิเคราะห์
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 10 จาก 150 ไตร่ตรอง แก้ปัญหา และมักพบปัญหาอารมณ์จิตใจและพฤติกรรมเมื่อโตขึ้น และเมื่อผ่านช่วง Critical Period นี้ไปแล้ว แม้ว่าสมองยังคงพัฒนาต่อได้ถ้าได้รับอาหาร โภชนาการ และประสบการณ์ที่เหมาะสม แต่การพัฒนาของสมองเด็กกลุ่มนี้จะไม่รวดเร็วเท่ากับช่วงเวลาทองที่ผ่านไปแล้ว (National Scientific Council on the Developing Child, 2007) นี่คือความหมาย ความสำคัญของคำว่า Learning loss ที่หมายถึง การสูญเสียของช่วงเวลาทองที่สำคัญยิ่ง (Critical Period) ที่สมองเด็กปฐมวัยควรต้องได้รับ เวลานี้เมื่อผ่านแล้ว อาจไม่หวนคืนมาใหม่ได้ อีกประเด็นสำคัญยิ่งที่เป็นบริบทหรือสภาพแวดล้อมสมัยใหม่ ที่กระทบรุนแรงมากต่อพัฒนาการของ เด็กปฐมวัยคือ การใช้สื่อหน้าจอหรือมือถือ ซึ่งมีงานวิจัยจากทั่วโลกยืนยันว่า ส่งผลเสียหายร้ายแรง ต่อสมองและพัฒนาการการเติบโตของเด็ก สภาพแวดล้อมที่ผู้ใหญ่ยื่นมือถือให้เด็กปฐมวัยนี้เป็นเรื่อง ที่ต้องได้รับการใส่ใจและแก้ไขอย่างจริงจังโดยเร่งด่วน แนวทางการฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัยหลังโควิด ดังข้อมูลข้างต้น เห็นได้ว่า การฟื้นฟูภาวะ Leaning Loss ของเด็กปฐมวัยนั้น มิได้หมายเพียงถึง การช่วยให้เด็กกลับมาทำกิจวัตรที่บ้านได้ตามปกติหรือเพียงทำกิจกรรมในห้องเรียนได้เท่านั้น หากแต่หมายถึง การที่ทุกระดับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจ “การสูญเสียโอกาสในการพัฒนาศักยภาพสมอง” ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา และร่วมกันช่วยเหลือ ฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างเร่งด่วน ทั้งที่บ้านและในห้องเรียน กลุ่มนักวิชาการและผู้ปฏิบัติกว่า 40 ท่านที่ร่วมกันระดมความรู้ความคิดและประสบการณ์ในการพัฒนา เด็กปฐมวัยในโครงการฯ นี้ต่างเห็นพ้องในข้อเสนอแนะของศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิง วินัดดา ปิยะศิลป์ จากราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลเปลี่ยนแปลงทุกด้านในสังคม ดังนั้น จึงควรถือโอกาสนี้เป็นช่วงจังหวะดีที่ประเทศของเราจะได้มีการทบทวนเรื่องการพัฒนาเด็กและ ระบบการศึกษา เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนควรได้ทบทวนสิ่งที่ทำอยู่ เป็นอยู่ ว่าทำอย่างไรให้เด็กของเราดีขึ้น เก่งขึ้น มีความสุขมากขึ้น แล้วปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้โอกาสนี้ทบทวน เป้าหมายและตัวชี้วัด ปฏิรูประบบการศึกษา รวมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาเด็กให้สอดคล้อง กับโลกที่เปลี่ยนไป แต่หากเราไม่ได้ใช้สถานการณ์วิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส ยังห่วงแต่เรื่องการเรียนเนื้อหา วิชาการไม่ทัน และแก้ปัญหาด้วยการเรียนออนไลน์ หรือเพิ่มเวลาเรียนเพื่อชดเชยเนื้อหาที่ขาดไป ซึ่งนอกจากจะไม่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ยังจะซ้ำเติมก่อให้เกิดความทุกข์เรื้อรังทั้งกับเด็กและพ่อแม่ ผู้ปกครอง เช่นนี้แล้ว ประเทศไทยก็จะเสียโอกาสครั้งสำคัญในการพลิกฟื้นคุณภาพของเด็กและเยาวชน อันจะส่งผลกระทบทางลบต่อความมั่นคงเข้มแข็งของประเทศชาติในอนาคตอย่างแน่นอน จึงเป็นที่มาของข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัยหลังสถานการณ์โควิด -19 ภายใต้คำสำคัญ “3 เร่ง 3 ลด 3 เพิ่ม” ดังนี้
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 11 จาก 150 “3 เร่ง” 1) เร่งกำหนด “การฟื้นฟูเด็กปฐมวัย” เป็นวาระแห่งชาติเพื่อนำมาซึ่งความพร้อมเพียงในการ ขับเคลื่อนทั้งระบบอย่างแท้จริง เกิดระบบ กลไกและแผนงานเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายร่วมกันขับเคลื่อน มีงบประมาณ สนับสนุนตามแผนงาน ระดมทรัพยากรจากกลไกสังคมอื่นๆ มาสนับสนุนการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้เกิดผลที่เห็นได้ชัดเจนในระยะเวลาที่รอช้าไม่ได้ 2) เร่งให้ความรู้ความเข้าใจในการฟื้นฟูแก่ผู้ปกครอง ครูและสังคม ให้ครอบคลุมทั่วถึง ผ่านทุก ช่องทางที่เป็นไปได้ภาครัฐและทุกภาคส่วน ต้องถือเป็นภารกิจในการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการ ฟื้นฟูพัฒนาเด็กแก่ผู้ปกครองและครูโดยเร่งด่วน รวมถึงการเพิ่มการพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Capacity Building) แก่ครูปฐมวัย ได้มีโอกาสเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนเจตคติ ความรู้และทักษะ ให้สามารถรับมือกับสภาวะ ของเด็กปฐมวัยจำนวนมาก ที่ได้รับผลกระทบ และสามารถสร้างความสุขในการเรียนรู้ และเสริมพัฒนาการ สมวัยแก่เด็ก 3) เร่งค้นหา เยียวยา และพัฒนาเด็กในภาวะเปราะบาง จากสถานการณ์โควิด อย่างจริงจังใน ระดับพื้นที่ ด้วยเครื่องมือคัดกรองพร้อมใช้จากภาควิชาการ เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือ เยียวยาที่เหมาะสมกับ ปัญหา ทันการณ์ และเกิดผลดีต่อการฟื้นฟูพัฒนาการ ทั้งเป็นการลดเด็กที่จะมีปัญหาพฤติกรรม ตัดวงจร ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของเด็กในช่วงต่อๆไป
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 12 จาก 150 3 ลด 1) ลดการใช้สื่อจอใสในเด็กปฐมวัยอย่างจริงจัง รณรงค์ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู บุคลากร ทุกฝ่าย และสังคมให้ชัดเจนว่า การยื่นมือถือ หรือสื่อจอใสแก่เด็กปฐมวัยเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ทำลาย พัฒนาการของเด็กทุกด้าน โดยเฉพาะส่งผลเสียหายร้ายแรงยิ่งต่อการทำงานของสมอง ทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว ดังนั้นจะต้องเน้นการห้ามให้มือถือแก่เด็กต่ำกว่า 2 ปีโดยเด็ดขาด และ 3 ปีเป็นต้นไปให้เล่นได้อย่าง มีเงื่อนไข เช่น อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง และจำกัดเวลาเล่นตามวัยที่เหมาะสม 2) ลดความเครียด คืนความสุขแก่เด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์โควิด ต้องมุ่งลดความเครียด และ คืนความสุขแก่เด็กปฐมวัย จะต้องไม่เร่งเรียนเขียนอ่าน รีบเร่งยัดเยียด หรือชดเชยเวลากับการให้ความรู้ แต่ เน้นให้เด็กมีความสุข สนุก อยากมาเรียน ได้ทำกิจกรรมหลากหลาย หรือเล่นสนุกกับเพื่อนให้มากพอ เมื่อเด็ก มีความสุข ก็พร้อมที่จะเรียนรู้ต่อไป 3) ลดการใช้ความรุนแรงกับเด็ก รณรงค์ให้ความรู้ชัดเจนว่า การใช้ความรุนแรงไม่อาจปรับพฤติกรรมใด ๆของเด็กปฐมวัยได้ หากแต่จะสร้างปัญหาในจิตใจของเด็กต่อเนื่องในระยะยาว และกระทบต่อไปถึงพัฒนาการทุก ด้าน ควรฝึกฝนการใช้วินัยเชิงบวก เพื่อปรับพฤติกรรมของเด็กให้ได้ผล 3 เพิ่ม 1) เพิ่มกิจกรรมฟื้นฟูพัฒนาการที่สูญเสียไป ครอบครัวและโรงเรียนต้องมุ่งเน้นการฟื้นฟูศักยภาพ ทุกมิติของเด็กตาม “หลักการปฐมวัย” โดยเฉพาะ o เพิ่มกิจกรรมทางกาย เช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย ดนตรีและการเคลื่อนไหว การเล่น กลางแจ้ง การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬา o เพิ่มการอ่านนิทาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการภาษา ทักษะสมอง EF จินตนาการและเพิ่มความสุข o เพิ่มการเล่นที่หลากหลาย เล่นอิสระที่เด็กได้ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ เล่นกับเพื่อนเพื่อสร้าง ทักษะทางสังคม เล่นในธรรมชาติ เป็นต้น 2) เพิ่มสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า รวมถึงทรัพยากรทั้งปวงที่จำเป็นเพื่อการเติบโตอย่างอยู่ดีมี สุขของเด็กปฐมวัย นอกเหนือจากสวัสดิการเช่น เงินอุดหนุน o เพิ่มของเล่น เพิ่มหนังสือเด็กให้เพียงพอ ในครอบครัวต้องมีหนังสือเด็กไม่น้อยกว่า 3 เล่ม ทั้งเพิ่มของเล่นและหนังสือเด็กในสถานพัฒนาเด็ก โรงเรียนอนุบาล และในชุมชน o เพิ่มพื้นที่เล่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่สำหรับครอบครัว ในชุมชน เพื่อให้เป็นพื้นที่ความสุข เป็นพื้นที่เพิ่มสัมพันธภาพครอบครัวและชุมชน
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 13 จาก 150 3) เพิ่มศักยภาพแก่ อปท. ชุมชนท้องถิ่น และกลไกระดับพื้นที่ เช่น อนุกรรมการปฐมวัยจังหวัด ซึ่งเป็นระบบนิเวศน์ใกล้ตัวเด็ก ให้สามารถดูแล จัดการสภาพแวดล้อม เสริมพลังครอบครัว เพิ่มสวัสดิการใน การฟื้นฟูเด็กปฐมวัย ขยายเงินอุดหนุนถ้วนหน้า การพัฒนาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเครือข่ายชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้เขียนได้จัดทำเอกสารข้อเสนอแนะการฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ที่มีรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งสถานการณ์ปัญหา ผลกระทบ แนวทางปฏิบัติ และนวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัย เสนอต่อ ภาคส่วนต่าง ๆ แยกเป็น 5 ฉบับ เพื่อนำเสนอเจาะจงอย่างละเอียด ไปยังกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ได้แก่ 1) ผลกระทบภาพรวมโควิดต่อเด็กปฐมวัยในทุกมิติ: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 2) แนวทางและนวัตกรรมใน การฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครอบครัว 3) แนวทาง และ นวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยสำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 4) แนวทาง และนวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการเสียหายของเด็กปฐมวัย: ความรู้พร้อมใช้สำหรับสื่อมวลชนและ สาธารณชน และ 5) แนวทางและนวัตกรรมในการลดการใช้สื่อจอใสและความเครียดในเด็กปฐมวัย ดังปรากฏใน เอกสารฉบับสมบูรณ์ เอกสารวิชาการชุดนี้จะได้รับการนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย คณะอนุกรรมการบูรณาการพัฒนาเด็กปฐมวัย และคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อให้มีมติ เห็นชอบ และเพื่อนำเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและนำไปสู่การผลักดันเข้าสู่กลไกหลักที่ เกี่ยวข้อง อันได้แก่กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานรัฐอื่นๆ นอกจากนี้ สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย จะได้ผลักดันให้มีการนำสาระสำคัญของ เอกสารฉบับนี้ออกเผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมาย และสาธารณชนทั่วไปอย่างกว้างขวางต่อไป หากการฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ท่ามกลางสถานการณ์โควิด ได้รับการใส่ใจจริงจังจากรัฐ และสังคม ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ระดมพละกำลังจากทุกฝ่ายในสังคมอย่างเป็นระบบ บูรณาการ มีเอกภาพ จริงจังและต่อเนื่อง ตามแนวทางหลักของ “3 เร่ง 3 ลด และ 3 เพิ่ม” ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมคาดหวังได้ว่า ประเทศไทยจะสามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัยของประเทศไทย ให้สมวัยได้ในระยะเวลาอันสั้น และในระยะยาวประเทศก็จะไม่สูญเสียพลเมืองคุณภาพ จากพัฒนาการ ที่สูญเสียไปของเด็กและเยาวชนในเจนเนอเรชั่นนี้แต่อย่างใด ””””””””””””””””””””””””””””
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 14 จาก 150 บทนำ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ลุกลามไปทั่วโลก พลิกโฉมการ ดำรงชีวิตของประชากรโลกทุกระดับ ความรุนแรงของสถานการณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้เกิดมาตรการ ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดหลายมิติ โดยเฉพาะการปิดสถานศึกษา สถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัย และสถานที่ต่าง ๆ ส่งผลต่อการดําเนินกิจกรรมตามปกติของเด็กและเยาวชนทั่วโลก ที่ต้องใช้ชีวิต วัยเรียน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีกับห้องเรียนผ่านระบบออนไลน์ (Online) ที่ไม่สามารถตอบสนองการเรียนรู้ ของเด็กได้อย่างสมบูรณ์ สถานการณ์ห้องเรียนที่เปลี่ยนไป ลดทอนโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กอย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กปฐมวัย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมกับธรรมชาติและพัฒนาการอย่าง ต่อเนื่องและรอบด้าน เมื่อเด็กไม่สามารถไปศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนได้ตามปกติ และจำเป็นต้องอยู่ ภายใต้การดูแลของครอบครัว ที่ตกอยู่ในภาวะตึงเครียดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และความกังวลต่อ โรคระบาด จนไม่มีความพร้อมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมตามช่วงวัย ทำให้พัฒนาการ ของเด็กปฐมวัยหยุดชะงัก เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) เด็กปฐมวัยพูดช้า และเข้าใจภาษาได้ ช้าลง รวมถึงมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กที่แย่ลงด้วย สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย พบว่า 1 ใน 4 หรือประมาณ 25% ของเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า มีความจำเป็นต้องอาศัยการดูแล เอาใจ ใส่จากพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วน 1 สอดคล้องกับข้อมูลจากนักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่า ภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) ของเด็กไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ประมาณ 1 ปี การศึกษา เทียบเท่าคะแนน PISA ที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ประมาณ 29-30 คะแนน2 และประเทศไทยยังมีคะแนน เฉลี่ยต่ำกว่าประเทศมาเลเซียในทุกด้านของการประเมิน3 (ประเทศมาเลเซียคะแนนด้านการอ่าน 415 คะแนน คณิตศาสตร์440 คะแนน และวิทยาศาสตร์438 คะแนน ในขณะที่ประเทศไทยมีคะแนน ด้านการอ่าน 393 คะแนน คณิตศาสตร์419 คะแนน และวิทยาศาสตร์426 คะแนน ตามลำดับ) นอกจากนั้นยังพบว่าโรคจากการใช้เวลากับหน้าจออย่างไม่เหมาะสมมีมากขึ้น กล่าวคือ โรคออทิสติกเทียม หรืออาการคล้ายออทิสติก (Autistic-like Symptoms) เด็กมีความบกพร่องในการสื่อสารกับคนอื่น และ ขาดทักษะทางสังคม ไม่สามารถบอกความต้องการหรือสามารถบอกปฏิเสธได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งบอกไม่ได้ ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร หรือผู้อื่นรู้สึกอย่างไร มีปัญหาเด่นชัดเรื่องการปรับตัวเข้ากับสังคม และเด็กที่มีอาการนี้ มักมีปัญหาพัฒนาการล่าช้าในหลายด้าน และมีปัญหาด้านพฤติกรรมต่าง ๆ ตามมา 1 https://theactive.net/data/learningeducation-20221203/ (เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566) 2 https://theactive.net/read/learning-loss-worldbank/ (เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน /2565) 3 https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/(เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566)
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 15 จาก 150 จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนปัญหาการแข่งขันที่ประเทศไทยอาจไม่สามารถไปต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากยังไม่เร่งแก้ปัญหา จะยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำที่รุนแรง และส่งผลระยะยาว เมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้น ส่งผล กระทบทั้งด้านรายได้แรงงาน และสภาพเศรษฐกิจ สังคมของประเทศในอนาคต สํานักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็ก ปฐมวัย เห็นเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ในการจัดทำชุดเอกสารวิชาการการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และ ฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบ การส่งเสริมและฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัยหลังสถานการณ์การแพร่ ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามหลักวิชาการอย่างรอบด้าน เพื่อสะท้อนภาพความ สูญเสียและโอกาสแห่งการฟื้นคืนพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ต่อหน่วยงานผู้กำกับดูแลทั้งระดับนโยบาย และ ระดับปฏิบัติการ รวมทั้งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ครอบครัว ชุมชน และสังคม ผู้เกี่ยวข้องในทุกมิติ ให้เข้าถึง ข้อมูลอย่างรอบด้าน อันจะนำไปสู่การพัฒนาผลักดันนโยบาย มาตรการการขับเคลื่อนเพื่อการฟื้นฟูเด็กปฐมวัย ที่เร่งด่วน เท่าทันสถานการณ์ เหมาะสมและปฏิบัติได้จริง การจัดทำเอกสารวิชาการเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัยหลังสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ชุดนี้เริ่มจากพัฒนากรอบการรวบรวมข้อมูลตามฐาน พัฒนาการ 4 ด้านของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา และการเรียนรู้ผนวกรวมกับการวิเคราะห์ผลกระทบของสถานการณ์โควิด รวมทั้งบริบทรอบตัวทุกมิติที่มีต่อ เด็กปฐมวัย โดยรวบรวมจากงานวิจัยหรือเอกสารเผยแพร่ขององค์กรด้านการแพทย์ การศึกษา และการพัฒนา เด็กปฐมวัย มีการรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหา ผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว กลไกสภาพแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อเด็ก อาทิ การเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงาน ให้ตอบรับกับมาตรการดูแลเด็กปฐมวัย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่สำคัญ ยังรวบรวมบทเรียนและนวัตกรรมการแก้ปัญหาที่พัฒนา หรือค้นพบระหว่างการรับมือ สถานการณ์ฉุกเฉินด้านการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น และกำหนดเป็นประเด็นการสังเคราะห์ ประกอบด้วย สถานการณ์ และปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผลกระทบของปัญหาต่อ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย แนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการฟื้นฟูและดูแลเด็กปฐมวัย ที่ตอบรับกับบทบาทของผู้เกี่ยวข้องทุกมิติ ตามผังภาพประกอบด้านล่าง
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 16 จาก 150 โดยมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปฏิบัติงานเพื่อการดูแลเด็กปฐมวัยจากหลากหลายสาขา ร่วมสนับสนุน การนำข้อมูลและข้อคิดเห็น ประกอบด้วย กุมารแพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก นักการศึกษา ผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัย ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่ศึกษาวิจัยด้านเด็กปฐมวัยสาขาต่าง ๆ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาและการพัฒนาเด็กปฐมวัย (ดังรายนามในภาคผนวก) สังเคราะห์เป็นชุดความรู้เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ประกอบด้วย 5 เรื่อง ได้แก่ 1) ผลกระทบภาพรวมโควิดต่อเด็กปฐมวัยในทุกมิติ: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 2) แนวทาง และนวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครอบครัว 3) แนวทางและนวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยสำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 4) แนวทางและนวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการเสียหายของเด็กปฐมวัย: ความรู้พร้อมใช้สำหรับ สื่อมวลชนและสาธารณชน 5) แนวทางและนวัตกรรมในการลดการใช้สื่อจอใสและความเครียดในเด็กปฐมวัย
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 17 จาก 150 ผลกระทบภาพรวมโควิดต่อเด็กปฐมวัยในทุกมิติ : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สถานการณ์ของเด็กปฐมวัย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เนื่องจากพัฒนาการของเด็กปฐมวัย มีผลมาจากสภาพแวดล้อมของเด็กและครอบครัวมากกว่าเด็กใน ช่วงวัยอื่น ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่มีปัญหาด้านการเข้าถึงทรัพยากรด้าน การพัฒนาเด็กปฐมวัย และมีบริบทความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคมสูง ทำให้ความรู้และความเข้าใจ ในบริบทการพัฒนาเด็กปฐมวัย ต้องอยู่บนฐานของความรู้ความเข้าใจครอบครัว ชุมชน และสภาพแวดล้อม ของเด็กในเชิงนโยบายด้วย โดยก่อนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาพรวมของเด็กปฐมวัยในประเทศไทยยังอยู่ใน สถานะที่น่าเป็นห่วง ทำให้เด็กปฐมวัยที่มีความเสี่ยงด้านพัฒนาการในด้านต่างๆ อยู่แล้ว มีความเสี่ยงมากขึ้น จากผลของการระบาดของโควิด กับการบริหารจัดการในการดูแลเด็กในช่วงการปิดเมือง (Lockdown) และ ช่วงการผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง โดยมีแนวโน้มที่ปัญหาของพัฒนาการเด็กปฐมวัยจะมีมากขึ้น และมีความ หลากหลายเพิ่มขึ้น ทำให้การเน้นเยียวยา การฟื้นฟู และการพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทยก็มีความซับซ้อน มากขึ้น และจะใช้เวลาในการบรรลุผลมากขึ้นด้วย จากการรวบรวมข้อมูล พบว่า แม้ว่าในเชิงทฤษฎีการพัฒนาเด็กเล็กในแง่พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก จะทำได้ดีที่บ้านมากกว่าที่โรงเรียน ในประเทศไทยก็มีเด็ก 3-5 ปีที่อยู่ในระบบโรงเรียนเกือบร้อยละ 100 เนื่องจากสภาพแวดล้อม ความจำเป็นของพ่อแม่ผู้ปกครอง และทัศนคติความเข้าใจของพ่อแม่/ผู้ปกครอง (ในที่นี้จะใช้คำว่า “พ่อแม่”) ที่ว่าโรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็กเล็กจะสามารถ “เตรียมความพร้อมทางด้าน วิชาการ” ได้ดีกว่า ยังคงเป็นมายาคติและความเข้าใจผิดของพ่อแม่ผู้ปกครองไทย ที่สับสนระหว่างพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กเล็ก กับ “ความรู้” ที่เด็กพึงมีเมื่อโตขึ้น ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ฝากความหวังของ การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ไว้กับศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ที่ยังมีความหลากหลายในแง่การจัด กระบวนการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อเด็กปฐมวัย ในสถานการณ์โควิด นอกจากโรงเรียนปิดในช่วงมาตรการปิดเมือง (Lockdown) ทำให้เด็กไม่ได้ไป โรงเรียน และไม่ได้เรียนรู้แล้ว พ่อแม่ยังไม่สามารถดูแลส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่บ้านได้ เนื่องจากไม่มี ความพร้อม ไม่ได้เตรียมตัว และขาดปัจจัยหลายประการ เช่น พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจ เรื่องการส่งเสริม การเรียนรู้และพัฒนาการเด็ก พ่อแม่บางส่วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์โควิด หากพ่อแม่ใน ครอบครัวใดได้รับผลกระทบเชิงลบจากโควิดจนมีปัญหาความเครียด ก็จะส่งต่อผลกระทบเชิงลบไปยังเด็กได้ มากขึ้น ดังนั้น นอกจากจะไม่ได้ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกแล้ว ยังทำลายพัฒนาการของลูกด้วย
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 18 จาก 150 นอกจากนี้ แม้โรงเรียนจะมีการเรียนทางไกลหรือการเรียนออนไลน์ในช่วงที่โรงเรียนปิด ก็ไม่สามารถทำ ให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ เนื่องจากการเรียนทางไกลของเด็กปฐมวัยมีอุปสรรคปัญหาหลายเรื่องทั้งใน ด้าน Supply Side และ Demand Side เช่น การจัดการเรียนรู้ที่ขาดความใกล้ชิดกับเด็ก ขาดการเรียนรู้ใน ลักษณะกิจกรรม ขาดการแตะเนื้อต้องตัวหรือสบตา ขาดการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาการที่ดีและ ต่อเนื่อง เด็กมีปัญหาการเข้าถึงเทคโนโลยีโดยเฉพาะเด็กในครอบครัวยากจนหรือเด็กที่อยู่ในชนบทห่างไกล การมีส่วนร่วมของนักเรียนจึงต่ำ เด็กขาดแรงจูงใจและขาดความกระตือรือร้นที่จะเรียน (Lack of Competitive Zone) และเด็กขาดความตั้งใจ หรือใส่ใจในการเรียน ทั้งนี้ เด็กที่มีความต้องการพิเศษยังไม่สามารถเรียน ออนไลน์ได้อีกด้วย ช่วงก่อนโควิด-19 ปัญหาสำคัญของพัฒนาการเด็กปฐมวัยก็มีอยู่แล้ว • เด็กปฐมวัยส่วนมากอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด เกือบครึ่งอยู่ในครอบครัวฐานะยากจนถึงยากจน มาก เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75) มีแม่ที่มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือต่ำกว่า (ร้อยละ 52 มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมปลาย ร้อยละ 23 มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย) • เด็กที่อยู่กับพ่อแม่มีเพียงร้อยละ 28-47 เท่านั้น ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กไทยอาศัยอยู่กับ ปู่ย่าตายายและคนที่ไม่ใช่ญาติแน่นอนว่า เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่จำนวนหนึ่งเป็นเด็กปฐมวัย • นอกจากเด็กส่วนใหญ่จะไม่ได้อยู่กับพ่อแม่แล้ว เด็กที่แม้อยู่กับพ่อแม่ แต่ก็ไม่ได้รับการส่งเสริม ให้เกิดการเรียนรู้หรือพัฒนาเท่าที่ควร โดยพ่อแม่ไม่ค่อยทำกิจกรรมกับลูกและไม่มีสื่อในบ้านเพียงพอใน การส่งเสริมพัฒนาการลูก ทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญา • พ่อแม่ต้องการความรู้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูก โดยผลการสำรวจจากสวนดุสิตโพล พบว่า สิ่งที่พ่อแม่ต้องการในการเลี้ยงลูกมากที่สุดคือ 1. ความรู้และทักษะในการพัฒนาเด็ก 2. นโยบายในการพัฒนา เด็กที่ใช้ได้จริงและ 3.การแก้ปัญหาความยากจนและการช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจ ตามลำดับ • เด็ก Alpha Generation (หรือเด็กที่เกิดหลังปี 2552) ได้รับการเลี้ยงดูแบบประคบประหงม แม้แต่ในครอบครัวที่ยากจน พ่อแม่ไม่ยอมให้ลูกเผชิญความยากลำบาก เด็กขาดทักษะการแก้ปัญหา ขาด ทักษะ “ล้มแล้วลุกได้” (Resilience) และขาดทักษะทางด้านอารมณ์ • ครูและผู้ดูแลเด็กไม่มีความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก โดยงานวิจัย พบว่า ครูและผู้ดูแลเด็กใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น ที่มีความรู้เรื่องพัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการ เนื่องจาก ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนจบด้านการศึกษาปฐมวัยโดยตรง • เด็กในพื้นที่กรุงเทพมหานครเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยน้อยที่สุด คือเข้าถึงการศึกษา เพียงร้อยละ 71
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 19 จาก 150 • ระบบการศึกษาของไทยในทุกระดับยังเป็นระบบแพ้คัดออก แม้พระราชบัญญัติการศึกษา ปฐมวัยจะยกเลิกการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา แต่ในทางปฏิบัติยังมีการเน้นการเร่งเรียน เขียนอ่านเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งระบบแพ้คัดออกส่งผลเสียต่อจิตใจ สังคม และอารมณ์ของเด็ก ทำให้เด็กที่แพ้ เกิดความรู้สึกล้มเหลวตั้งแต่ยังเล็ก เกิดความวิตกกังวล เครียดต่อเนื่อง หากแพ้ซ้ำซากจะมี แนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ และอาจจะออกจากระบบการศึกษาในที่สุด ส่วนเด็กที่ชนะ มักจะสั่งสม ความเห็นแก่ตัว • เด็กแรกเกิดเกือบร้อยละ 10 มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ(ต่ำกว่า 2,500 กรัม) ทารก ที่ได้กินนมแม่ในช่วงแรกเกิด มีเพียงร้อยละ 30 เด็กที่ได้กินนมแม่เป็นเวลา 6 เดือนมีเพียงร้อยละ 14 ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังห่างจากเป้าหมายโภชนาการโลกในปี 2568 ที่ตั้ง เป้าหมายไว้ว่า เด็กครึ่งหนึ่งต้องได้รับนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต • เด็กเล็กอายุ 6-12 เดือนร้อยละ 30 มีภาวะโลหิตจาง ซึ่งแม้ว่าเมื่ออายุเกินหนึ่งขวบแล้วปัญหา โลหิตจางจะลดลง แต่ยังจะมีเด็กจำนวนหนึ่งที่มีปัญหานี้ตกค้าง ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองและ พัฒนาการในขั้นอื่นต่อไป • การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรี ปี 2562 ระบุว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีประมาณ 1 ใน 10 คน หรือประมาณ 5 แสนคน มีภาวะเตี้ย แคระแกร็น ปานกลางหรือรุนแรง ทั้งเป็นเด็กที่อยู่ในครอบครัว ยากจนและยากจนมาก พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้และโดยภาพรวมมีลักษณะ เตี้ย ตัน (เตี้ยและอ้วน) ความสูงโดยเฉลี่ยยังไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ โดยมีสาเหตุมาจากการขาดกิจกรรมทางร่างกาย และการออกกำลังกายที่เหมาะสมทั้งที่บ้านและศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล • เด็กปฐมวัยประมาณร้อยละ 30 มีพัฒนาการต่ำกว่าเกณฑ์ • เด็กปฐมวัยมีภาวะฟันผุ ประมาณร้อยละ 30-50 (ขึ้นอยู่กับพื้นที่) และเด็กได้รับการตรวจ สุขภาพฟันทั้งประเทศเพียงร้อยละ 40 • จากการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติ พบว่า ด้านที่ตกจากเกณฑ์มากที่สุด คือ ด้านสุขภาพ โดยเรื่องที่ไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด คือ สุขภาพฟันและช่องปาก • ครอบครัวมีสื่อสำหรับเด็กน้อย โดยเฉลี่ยในบ้านมีหนังสือสำหรับเด็กไม่ถึง 3 เล่ม มีแนวโน้มพ่อ แม่เลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้น พ่อแม่เกินกว่าร้อยละ 50 เลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์มือถือ โดยผล การสำรวจครูที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า เด็กพูดไม่เป็นภาษาเพราะพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายให้เด็กเล่นแต่ โทรศัพท์มือถือเมื่ออยู่บ้าน แม้ว่าในทางวิชาการจะแนะนำไม่ให้เด็กใช้จอก่อน 2 ปี
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 20 จาก 150 • เด็กปฐมวัยเผชิญความรุนแรงมากกว่าวัยอื่น จากการสำรวจ พบว่า เด็กที่ถูกทำร้ายไม่ว่า ทางด้านจิตใจหรือร่างกาย ส่วนใหญ่เป็นเด็กในวัย 3-4 ปีซึ่งเป็นช่วงวัยที่สมองและพัฒนาการด้านต่างๆ กำลัง พัฒนาอย่างมาก • เด็กที่มีความเสี่ยงในเรื่องพัฒนาการมากที่สุดคือ เด็ก ACEs (ACEs – Adverse Childhood Experiences) หรือเด็กที่ได้รับประสบการณ์ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพทั้งกาย และใจใน ระยะยาว เสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มีความเครียดสะสม การเรียนรู้ของสมองไม่ดี อายุขัยสั้น ฯลฯ ทั้งนี้โควิดจัดเป็นความเครียด (COVID-Related Stressors) ที่ส่งผลต่อวิถีทางพัฒนาการของเด็ก (Development Trajectory) โดยมีการจัดให้สถานการณ์โควิดเป็นประสบการณ์อันไม่พึงประสงค์ตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งจะส่งผลกระทบ ระยะยาวต่อเด็กทั้งสุขภาพกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม แนวโน้มปัญหา ผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวที่เกิดขึ้นกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิดต่อเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย o ในช่วงแรกของการระบาดมีเด็กติดเชื้อน้อยมาก จนกระทั่งในช่วงหลังที่เป็นการระบาดของ เชื้อโอไมครอน โดยก่อนหน้านี้ พบสถิติเด็กติดเชื้อสะสม 12,000 ราย เสียชีวิต 39 ราย โดยสาเหตุของการ ติดเชื้อไม่ใช่จากการไปโรงเรียน แต่ติดเชื้อจากคนในบ้าน ทั้งนี้ ณ ปัจจุบัน (ตุลาคม 2565) ยังไม่มีวัคซีนสำหรับ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและมีแนวโน้มที่จะมีวัคซีนสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป แต่มีแนวโน้มว่าพ่อแม่จะไม่นำ เด็กมาฉีดวัคซีน เนื่องจากก่อนหน้ามีพ่อแม่เพียงครึ่งหนึ่งของเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป ที่นำเด็กมาฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ในระยะหลังๆ ของการระบาดผู้ใหญ่ลดความระมัดระวังเรื่องการป้องกันการติดเชื้อลง ทำให้เด็กในบ้านติดเชื้อเพิ่มขึ้น o มีเด็กแรกคลอดติดเชื้อโควิด 506 คน หรือประมาณร้อยละ 7 ของเด็กแรกคลอดในขณะนั้น เป็นการติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดแม่ที่ป่วย ไม่ใช่การติดเชื้อจากในครรภ์หรือจากน้ำนมแม่ เด็ก 0-9 ขวบติด เชื้อทั้งหมด 381,276 คน เสียชีวิต 117 คน (ตุลาคม 2565) เด็กที่ติดเชื้อโควิดส่วนใหญ่ติดจากคนใน ครอบครัวหรือญาติที่มาเยี่ยม o ครอบครัวเด็กขาดรายได้และฐานะทางการเงินของครัวเรือนแย่ลง ทำให้ความมั่นคงทางด้าน อาหารโดยเฉพาะในครัวเรือนเปราะบางลดลง ส่งผลให้เด็กเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้อย่าง จำกัด เนื่องจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลถูกล็อกดาวน์เป็นเวลานาน โดยการสำรวจทางโทรศัพท์ โดยธนาคารโลกและ Gallup Poll ในช่วง เมษายน - มิถุนายน 2564 พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยเข้าถึง อาหารได้น้อยลง โดยร้อยละ 60 ของครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่มีแต่ผู้หญิงและเด็ก ขาดแคลนอาหาร และเกือบร้อยละ 40 ของกลุ่มดังกล่าวมีความหิวและไม่มีอาหารรับประทาน ทั้งนี้ ครัวเรือนร้อยละ 37 ได้รับประทานอาหารน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาด โดยร้อยละ 3.2 รายงานว่าต้องอดอาหารในบางมื้อ โดยเฉพาะครัวเรือนที่ขาดทั้งพ่อและแม่
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 21 จาก 150 o พ่อแม่ไม่สามารถจัดการให้ลูกมีกิจวัตรประจำวันที่เหมาะสมและสม่ำเสมอเมื่ออยู่บ้านในช่วง สถานการณ์โควิด เพราะมีภาระในการทำงาน ทำให้เด็กไม่มีการฝึกวินัยในเรื่องการเป็นอยู่ และรวมถึงวินัยใน การออกกำลังกายและดูแลสุขภาพ o แม่และเด็กเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้น้อยลงจากมาตรการล็อคดาวน์แม่ตั้งครรภ์ฝากครรภ์ น้อยลง โรงพยาบาลงดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ในช่วงสถานการณ์โควิด เด็กปฐมวัยได้รับบริการด้านสุขภาพ น้อยลง มีการงดการตรวจพัฒนาการเด็กและสุขภาพช่องปากเด็ก ทำให้เด็กได้รับการตรวจพัฒนาการและ สุขภาพช่องปากและฟันลดลงอย่างมาก เด็กได้รับวัคซีนต่างๆ ตามกำหนดลดลงจากร้อยละ 80 เหลือร้อยละ 60 เด็กพิเศษไม่ได้รับบริการด้านการฟื้นฟูในช่วงโควิดแม้จะมีการใช้ Telemedicine ในการตรวจรักษา แต่ เด็กขาดโอกาสมาฝึกพัฒนาการที่โรงพยาบาล เด็กในพื้นที่ห่างไกลได้รับบริการทางสุขภาพน้อยลง เช่น พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ o การปิดสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็ก เด็กขาด โอกาสได้รับบริการกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ ขาดโอกาสการมีกิจกรรมทางร่างกาย ขาดการออกกำลังกาย ขาดโภชนาการที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะเด็กในกลุ่มเปราะบางที่ต้องพึ่งอาหารกลางวัน และนม ที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและโรงเรียน คุณภาพชีวิตของเด็กลดลงเนื่องจากกิจวัตรประจำวันที่ทำให้เด็กได้กิน นอน ออกกำลังกายเป็นเวลาผิดเพี้ยน หรือลดคุณภาพลงเมื่อเด็กอยู่บ้าน เด็กอาจต้องกินอาหารเหมือนของ ผู้ใหญ่หรือกินอาหารที่ด้อยคุณค่าทางโภชนา พ่อแม่ไม่มีเวลาทำอาหาร บางครอบครัวต้องพาเด็กออกไปทำงาน ด้วยในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บขยะ งานก่อสร้าง หรือต้องทิ้งเด็กเล็กไว้ตามลำพังหรือไว้กับพี่ที่ ยังเป็นเด็ก ซึ่งอาจเกิดอันตรายกับเด็กได้ o เด็กขาดการเล่นการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ขาดการสัมผัสธรรมชาติ เด็กไม่ได้สัมผัสธรรมชาติ เล่นกลางแจ้ง ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเล่นในพื้นที่สาธารณะ พ่อแม่ก็ไม่ได้พาลูกทำกิจกรรม หรือออกกำลังกาย ทำให้เจตคติเชิงบวกต่อการเล่นหรือมีกิจกรรมทางกายในเด็กลดลง เกิดคนรุ่นใหม่ที่เป็น “รุ่นในร่ม” (Indoor Generation) ไม่สนใจการมีกิจกรรมกลางแจ้งหรือการออกกำลังกาย เด็กมีนิสัยการกิน และการนอนที่เปลี่ยนไป นอนไม่เป็นเวลา นอนดึก เกิดพฤติกรรมรากงอก (Sedentary Behavior) ไม่ชอบ เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เด็กหันไปใช้สื่อหน้าจอมากขึ้น ติดเกม (Gaming Disorder) ติดอินเทอร์เน็ต ซึ่ง WHO จัดการติดเกมไว้ว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง o เด็กที่แม่ติดเชื้ออาจมีพัฒนาการช้า โดยผลจากการติดตามเปรียบเทียบเด็กที่คลอดจากแม่ที่ ติด/ไม่ติดเชื้อโควิด พบว่า ที่วัย 6 เดือน พัฒนาการการเติบโตของเด็กไม่ต่างกัน แต่เมื่อติดตามไปที่วัย 1 ปี พบว่ามีความต่างกันที่พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor) และพัฒนาการด้านภาษา (Communication) ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าแม่ที่ติดเชื้อมีความเครียดมากกว่า
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 22 จาก 150 o เด็กถูกแยกกักตัวส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ (Well Being) ของเด็กทั้งกายและจิตใจ เด็กที่ ถูกแยกจากพ่อแม่ผู้ดูแลในช่วงที่เด็กติดเชื้อหรือผู้ดูแลติดเชื้อ ส่งผลต่อความเป็นอยู่และจิตใจของเด็ก เด็กเครียด หวาดกลัว และเสี่ยงต่ออันตรายหากการดูแลไม่ทั่วถึง o ทำให้ความครอบคลุมในการคัดกรองพัฒนาการเด็กลดน้อยลง เนื่องจากโรงเรียนปิด ไม่ได้ทำ การคัดกรองที่โรงเรียน และพ่อแม่ไม่ได้พาลูกไปตรวจคัดกรองที่โรงพยาบาลเนื่องจากการทำงานเกี่ยวกับการ บริการสุขภาพแก่เด็กของหน่วยงานสาธารณสุขไม่เปิดบริการในสถานการณ์โควิด o การติดตามเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าลดลง การติดตามเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าทำได้น้อยลงทั้งปี 2564 และ 2565 ทำให้เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการไม่ได้รับการบำบัดช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจในเดือน มิถุนายน 2565 พบว่า หลังจากศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลเปิดแล้ว พัฒนาการของเด็กดีขึ้นเมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 แสดงว่าครู/ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีส่วนช่วยเด็กได้อย่างมากในด้าน พัฒนาการ o เด็กเตี้ยและอ้วนมากขึ้น ในสถานการณ์โควิดอัตราเด็กปฐมวัยมีร่างกายดีสมส่วนลดลง เด็กมี ภาวะเตี้ยมากขึ้น และมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนมากขึ้น โดยส่วนใหญ่พบภาวะเตี้ยในเด็ก 0-2 ปีและภาวะเริ่ม อ้วนและอ้วนในเด็ก 3-5 ปีเนื่องจากเด็กที่อยู่บ้าน กินอาหารซ้ำๆ พ่อแม่ขาดความรู้ด้านโภชนาการ มีข้อจำกัด เรื่องรายได้ เด็กขาดการออกกำลังกายและขาดการทำกิจกรรมทางกาย นอกจากนี้ พบว่า การให้นมแม่ลดลง ทั้งนี้ คาดว่าการขาดแคลนโภชนาการที่ดีในช่วงสถานการณ์โควิดเป็นผลกระทบอย่างหนักต่อครอบครัวยากจน o เด็กได้รับการตรวจฟันและช่องปากลดลง เด็ก 3-5 ปีได้รับการตรวจฟันน้อยลงอย่างมาก เนื่องจาก การบริการของทันตแพทย์ลดน้อยลง ซึ่งอาจจะทำให้เด็กมีปัญหาฟันผุเพิ่มขึ้นโดยที่เดิมเป็นปัญหามากอยู่แล้ว o ผลกระทบด้านสุขภาพสายตาในช่วงสถานการณ์โควิด ทั้งการเรียนออนไลน์และการขาด กิจกรรมทางกายนอกบ้านที่ทำให้เด็กหมกมุ่นกับหน้าจอมากขึ้น มีผลกระทบต่อสายตา เกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชชั่น ซินโดรม (CVS – Computer Vision Syndrome)สายตาสั้น เกิดภาวะตาล้า จอประสาทตาเสื่อม หรือตาพร่ามัว ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิดต่อเด็กปฐมวัยด้านอารมณ์และจิตใจ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่มีประกาศปิดเมือง (Lockdown) ทั้งประเทศ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพบริบทรอบตัวเด็กหลายมิติ ที่จะนำไปสู่ผลกระทบทางลบต่อภาวะอารมณ์ จิตใจของเด็กปฐมวัย สภาพบริบทเหล่านั้นได้แก่ o วิถีชีวิตเด็กเปลี่ยนไป เด็กมีกิจวัตรประจำวัน การกิน การนอนที่เปลี่ยนไป จากตารางชีวิตที่เคย มีที่โรงเรียน เมื่ออยู่บ้านเด็กขาดการกำกับวินัย ใช้สื่อหน้าจอมากขึ้น ขาดการเล่นกับเพื่อน การฝึกช่วยเหลือ ตัวเองในชีวิตประจำวันน้อยลง เด็กขาดความทรงจำที่เป็นประสบการณ์ดีๆ ในชีวิต เด็กถูกตามใจมากขึ้น
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 23 จาก 150 o เด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่มากขึ้น มีเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้นจากการที่พ่อแม่เสียชีวิตจากการติดเชื้อ 448 คน รวมทั้งมีเด็กถูกแยกจากพ่อแม่เนื่องจากพ่อแม่ติดเชื้อ ทำให้เด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เด็กไม่ได้อยู่ กับพ่อแม่มากอยู่แล้ว o พ่อแม่ยากจนมากขึ้น พ่อแม่ขาดรายได้ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ทำงานรับจ้างรายวัน บางคนตกงาน โดยพ่อแม่ในกรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบมากกว่าพ่อแม่ในต่างจังหวัดซึ่งเข้าถึงอาหารได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ พบว่า ระบบช่วยเหลือของรัฐในสถานการณ์โควิด ช่วยแก้ปัญหาความยากจนของครัวเรือนได้ไม่มากนัก o เด็กเสี่ยงต่อการเผชิญความรุนแรงและอันตรายต่างๆ พบว่า เด็กถูกทำร้าย เผชิญความรุนแรง ในครอบครัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กในครอบครัวที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น พ่อแม่มีความเครียดจากปัญหาเศรษฐกิจ พ่อแม่ติดยาเสพติด โดยเด็กที่อยู่บ้านตามลำพังมีความเสี่ยงต่อจากการถูกทำร้าย ถูกทารุณกรรมทางเพศ (Sexual Abuse) หมกมุ่นกับสังคมออนไลน์ ติดอินเทอร์เน็ต ติดเกม หรือมีโอกาสถูกชักจูงหรือถูกล่อลวงได้ง่าย o กลุ่มเด็กเปราะบางมีมากขึ้น โดยในที่นี้เด็กเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ เด็กที่สูญเสีย พ่อแม่ เด็กที่พ่อแม่ตกงาน เด็กในสถานสงเคราะห์ เด็กที่ถูกกระทำรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเด็กที่มาจาก ครอบครัวที่พ่อแม่มีประวัติติดยาเสพ ติดคุก หรือมีโรคทางจิตเวช รุนแรง ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยได้หรือซึมเศร้า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจของเด็กปฐมวัย o เด็กเครียดมากขึ้น ซึมเศร้า และขาดความสุขเพิ่มมากขึ้น โดยสถานการณ์โควิดจัดเป็น ACEs หรือประสบการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างหนึ่งสำหรับเด็ก ที่สร้างความเครียดให้เด็กได้จากหลายสาเหตุ เช่น เด็กสูญเสียพ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัว พ่อแม่เครียด ครอบครัวมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ไม่ได้เล่นกับเพื่อน เหงา กลัวจะติดเชื้อ ไม่คุ้นกับการเรียนออนไลน์ และโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในภาวะ ACEs ที่มีความเครียดมาก่อน อยู่แล้ว จากข้อมูลสถิติที่สำรวจ พบว่า เด็กวิตกกังวลและซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้นมากในสถานการณ์โควิด โดยมีเด็ก ที่วิตกกังวลเพิ่มจากร้อยละ 26 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 62.4 ในปี 2564 และเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มจากร้อยละ 3.8 เป็นร้อยละ 39.4 ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีความวิตกกังวลว่าพ่อแม่หรือญาติจะติดเชื้อโควิด o เด็กมีพฤติกรรมถดถอย เด็กที่กลับมาเข้าโรงเรียนมีพฤติกรรมถดถอย งอแงมากขึ้น การช่วยเหลือ ตัวเองน้อยลง กำกับตัวเองได้น้อยลง แยกตัว ไม่พูด ขี้กลัว ไม่เล่น ทั้งนี้ เด็กมีความเหลื่อมล้ำด้านการปรับตัว โดยในครอบครัวที่มีความพร้อมและโรงเรียนที่มีการดูแลเด็กอย่างดี เด็กสามารถปรับตัวได้เป็นปกติในเวลา ไม่เกิน 3 เดือน o อารมณ์ของพ่อแม่กระทบต่ออารมณ์และความสุขของเด็ก ในช่วงสถานการณ์โควิด เด็กเครียด มากขึ้นจากการที่พ่อแม่มีความเครียด ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ และในบางกรณีส่งผลให้มีการทำร้ายลูก จากการสำรวจ พบว่า เด็กถูกตีถูกทำร้ายมากขึ้น โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง โดยความรุนแรงในครอบครัว เกิดขึ้นในครอบครัวทุกระดับฐานะ แต่เกิดขึ้นมากกว่าในครอบครัวที่ยากจนและครอบครัวเปราะบาง
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 24 จาก 150 o ครูมองไม่เห็นปัญหาของเด็ก ครูอาจเห็นว่าเด็กบางคนงอแงหงุดหงิดมากขึ้น แต่ครูขาดความรู้ เรื่องพัฒนาการเด็กหรือไม่เข้าใจการแสดงออกของเด็กจึงมองไม่เห็นว่าเด็กมีปัญหา ทั้งนี้ ศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน ยังขาดระบบและเครื่องมือในการประเมินสภาพจิตใจเด็ก จึงทำให้ ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจของเด็ก ไม่ได้รับการแก้ไข o เด็กกลุ่มเปราะบางได้รับผลกระทบระยะยาว เด็กเปราะบางเป็นเด็กที่มีความเครียดสูง ที่ส่งผล กระทบต่อพัฒนาการอารมณ์จิตใจอย่างมาก รวมทั้งต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะผลต่อสมองในส่วน ของการเรียนรู้ การใช้เหตุผล และพัฒนาการ ซึ่งส่งผลระยะยาวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ทำให้มีพัฒนาการทาง อารมณ์สังคมล่าช้า เรียนรู้ช้า ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลที่ดี เด็กจะมีแนวโน้มมีพฤติกรรมเสี่ยง มักมีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตก่อนวัย เสพสุรา และสูบบุหรี่ o เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ในช่วงวิกฤตโควิด พบว่า มีเด็ก 43,060 คนไม่ได้กลับเข้าสู่ โรงเรียน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่เป็นเด็กจากครอบครัวเปราะบาง ครอบครัวยากจน หรือเด็กย้าย ภูมิลำเนาตามพ่อแม่ที่ตกงานกลับไปอยู่ต่างจังหวัด ทำให้สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาพัฒนาการและความเครียดตามมา o กลุ่มเด็กพิเศษไม่ได้รับการดูแลบำบัดอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเด็กพิเศษ เช่น เด็กพัฒนาการล่าช้า บกพร่องทางสติปัญญา และเด็กออทิสติกไม่ได้ไปรับการบำบัดฟื้นฟูต่อเนื่อง แม้พ่อแม่พยายามพัฒนาลูกตาม โปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูออนไลน์ แต่ก็มีข้อจำกัดเพราะการฝึกบางอย่างต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์พิเศษ ด้วย o กลุ่มเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กถูกละเลย เจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์ไม่มีความรู้เรื่องการรับมือ กับสถานการณ์โควิด เด็กไม่ได้เรียน/ ไม่ได้เล่น ต้องถูกจำกัดให้อยู่ในพื้นที่จำกัด ส่งผลต่อสภาพจิตใจและทำให้ เด็กมีพัฒนาการถดถอย ผลกระทบของแพร่ระบาดของโควิดต่อเด็กปฐมวัยด้านสังคม o สถานการณ์โควิดทำให้เกิดครอบครัวยากจนมากขึ้น ครอบครัวโดยเฉลี่ยมีรายได้ลดลง มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ครอบครัวที่ยากจนประสบปัญหาขาดแคลนอาหารมากถึงร้อยละ 37 โดยเฉพาะครอบครัว ที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่กับเด็ก o เกิดความเหลื่อมล้ำด้านผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย ครอบครัวที่มีเด็กเล็กได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์โควิดมากกว่าครอบครัวที่ไม่มีเด็กเล็ก o มีเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้น เป็นเด็กปฐมวัยประมาณร้อยละ 20 (อายุแรกเกิดถึง 3 ปีร้อยละ 12 และ อยู่ในวัยอนุบาลร้อยละ 9) o กลุ่มเด็กเปราะบางมีปัญหามากขึ้น โดยกลุ่มเด็กเปราะบางที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ เด็กที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ (Mental Health) อยู่แล้ว เด็กที่เผชิญปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เด็กพิการ เด็กกำพร้า และเด็กผู้หญิง
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 25 จาก 150 o เด็กขาดผู้ดูแลเพราะพ่อแม่ ครู ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เพราะโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปิดและครูเองก็อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ทำให้บางครอบครัวต้องนำเด็กไปฝากคนอื่นดูแล หรือพา เด็กออกไปทำงานด้วย เด็กอาจได้รับอันตรายในด้านต่าง ๆ o เด็กขาดกิจกรรมหรือของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ เนื่องจากไม่มีสภาพแวดล้อมในบ้าน หรือในชุมชนเข้ามาทดแทนกิจกรรมการพัฒนาการหรือการเรียนรู้ทางสังคมที่จัดโดยศูนย์เด็กเล็ก/ โรงเรียน อนุบาล ทำให้เด็กมีการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) เด็กอุดอู้อยู่ในบ้าน ทำให้เบื่อ เครียด ส่งผลให้มี พฤติกรรมก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเอง ขาดระเบียบวินัย และทำให้ปัญหาการดูโทรทัศน์หรือเล่นโทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น o เด็กขาดปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ในช่วงที่โรงเรียนปิดและเด็กต้องอยู่บ้าน โดยมีสาเหตุมาจากการ ที่ตัวเด็กรวมทั้งพ่อแม่ติดสื่อหน้าจอ ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิดต่อเด็กปฐมวัยด้านสติปัญญา ในที่นี้ผลกระทบของเด็กปฐมวัยด้านสติปัญญา หมายถึง “ผลกระทบด้านพัฒนาการ และการเรียนรู้ของ เด็ก” ซึ่งงานวิจัยที่ศึกษาการเรียนรู้ในส่วนของเด็กปฐมวัย มักพูดถึงทักษะที่สำคัญ คือ SEL- Social Emotional Learning หรือทักษะสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก ทางการแพทย์เมื่อพูดถึงผลกระทบทางด้านสติปัญญา จะมีมิติอื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ซึ่งหากเด็กมีสุขภาพไม่ดี หรือสภาวะด้านอารมณ์และจิตใจไม่ดีจะส่งผลทำให้สภาวะทางด้าน สติปัญญาไม่ดีด้วย ทั้งนี้ UNESCO รายงานว่า Learning Loss จากสถานการณ์โควิดแบ่งออกเป็น 3 ด้านด้วยกันคือ 1. ด้านความรู้และทักษะวิชาการ พบมากในระดับมัธยมศึกษา 2. ด้านสังคม (ความสามารถในการเข้าสังคม มี เพื่อน ทำงานร่วมกัน) พบมากในวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากสถานการณ์โควิด ส่วนเด็กโตได้รับผลกระทบในลักษณะของการขาดโอกาสในการทำกิจกรรมร่วมกัน และ 3. ด้านอารมณ์ (ความสามารถในการจัดการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ การควบคุมอารมณ์ของตนเอง การกำกับควบคุม พฤติกรรมและการเรียนรู้ของตนเอง การมีสมาธิในการเรียนรู้ ไปจนถึงการตระหนักในคุณค่าของตนเอง) พบได้ในเด็กทุกวัย ซึ่งประเด็นนี้ อาจเกี่ยวพันกับความถดถอยด้านสังคม เพราะฉะนั้น การแก้ไขปัญหาการ ถดถอยของการเรียนรู้จะต้องไม่คำนึงมิติใดมิติหนึ่งเป็นหลักเพียงด้านเดียว การศึกษาภาวะการเรียนรู้ที่ถดถอย (Leaning Loss) จากสถานการณ์โควิดในต่างประเทศ มักจะเน้น การศึกษาผลกระทบในเด็กประถมศึกษา ซึ่งเน้นพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เป็นเรื่องของการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยจากรายงานต่างๆ ทั่วโลก รายงานผลกระทบของสถานการณ์โควิดต่อ เด็กทางด้านสติปัญญา พบว่า เด็กทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคนมีความสามารถด้านการอ่านได้น้อยกว่าเกณฑ์
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 26 จาก 150 ขั้นต่ำ และเด็กในประเทศที่ฐานะปานกลางถึงยากจนร้อยละ 53 มีภาวะ Learning Loss ไม่สามารถอ่าน หนังสือได้เมื่อจบชั้นประถมศึกษา นอกจากนี้ เด็ก 23.8 ล้านคนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งเด็ก เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะหันไปมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือมีชีวิตที่เสี่ยง โดยการประเมินความสูญเสียของ Learning Loss ในมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ มีการคิดมูลค่าความสูญเสียจาก Learning Loss ทั่วโลก เป็นเงิน 308.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ได้มีนโยบายสั่งปิดโรงเรียนทั้ง 2 ปีการศึกษา ในปี 2563 เพียงแต่ในปี 2563 มีมติให้เปิดเรียนช้ากว่าปกติ ต่อมาในปี 2564 สถานการณ์โควิด ระบาดหนักทำให้โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนได้ แต่หลายที่ที่มีความเสี่ยงต่ำก็พยายามเปิดการเรียนการสอน ด้วยวิธี On-hand (การส่งสื่ออุปกรณ์ไปให้ที่บ้าน) และ On-demand (การส่งคลิปวิดีโอ) ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของ การเรียนโดยสองวิธีนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละโรงเรียน โดยพบว่า ครูบรรจุใหม่และครูย้ายมาใหม่ยัง ขาดทักษะและประสบการณ์ในการปรับการเรียนการสอนตามสถานการณ์ ทำให้สอนได้ไม่เต็มที่หรือไม่มี คุณภาพเพียงพอ และ พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อมและเวลาเพียงพอ รวมทั้งขาดความรู้ความ เข้าใจในการส่งเสริมให้ลูกได้เรียนแบบ On-hand หรือ On-demand นอกจากนี้ พบว่า ผู้ปกครองจำนวนไม่ น้อยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์แรงงานที่ย้ายถิ่นฐาน หรือครอบครัวด้อยโอกาสที่ไม่สามารถจัดการเรียนให้ลูกได้เลย โดยสรุป จากการศึกษาและรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นส่งผลต่อ พัฒนาการและการเรียนรู้ของกลุ่มเด็กปฐมวัยในประเทศไทย มีผลมาจากพฤติกรรมและผลกระทบของ สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ดังนี้ o ผลกระทบด้านการศึกษา สถานการณ์การปิดศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน ทำให้การเรียนในระดับเด็ก เล็กและอนุบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนต้องปิดตัวลงด้วย ส่งผลให้การเรียนการสอนขาดประสิทธิภาพ การเรียนรู้ของเด็กไม่เกิดขึ้นตามที่คาดหวัง โดยเฉพาะเด็กนักเรียนกลุ่มชายขอบ เด็กด้อยโอกาส เด็กพิเศษ และเด็กที่มีการสอนทางไกลเป็นเวลานาน เด็กไม่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงหรือได้รับการประคับประคอง ดูแลจากครู เด็กเข้าไม่ถึงการศึกษาหรือเกิดช่องว่างทางการศึกษา (Learning Gap) มากขึ้น เกิดความไม่เท่า เทียมในการเข้าถึงการศึกษาและการใช้เทคโนโลยีในเด็กจากครอบครัวยากจนหรือเด็กชายขอบ o พ่อแม่ไม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่บ้านในลักษณะของ Home-Based Learning ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ งานวิจัยพบว่า พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังน้อยลงในช่วงสถานการณ์โควิด พ่อแม่ไม่สามารถ ส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้หรือทำกิจกรรมกับลูกตามที่โรงเรียนมอบหมายได้ งานวิจัยยังชี้ว่า ในช่วงปิดเมือง (Lockdown) เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเองลดลง และเวลาเฉลี่ยที่เด็กทำการบ้านและอ่านหนังสือลดลงในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งอาจเป็นเพราะครอบครัวไม่มีหนังสือให้เด็กอ่าน หรือไม่สามารถเข้าถึงหนังสือได้ o เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากขึ้น พบว่า การปิดเรียนเป็นเวลานานในช่วงสถานการณ์โควิด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มขึ้น o เด็กขาดความกระตือรือร้น ความใส่ใจในการเรียนรู้ ขาดความทะเยอทะยาน
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 27 จาก 150 o เด็กมีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ทำให้เด็กขาดเรียนมากขึ้น o ในเด็กพิเศษ เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้และพัฒนาการ การให้บริการทางการศึกษาพิเศษ และ การอำนวยความสะดวกทางการศึกษาต้องหยุดชะงัก เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้และพัฒนาการ ได้รับการ ประเมิน วินิจฉัย และได้รับการดูแลรักษาล่าช้าลง ทำให้เด็กมีปัญหามากขึ้น o เด็กมีปัญหาด้านอารมณ์เด็กเหงา หงุดหงิด ฉุนเฉียว ก้าวร้าว วิตกกังวล เครียด ผู้ปกครองกังวล เกี่ยวกับการสอบเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ในระบบการศึกษาไทย ที่ยังมีการวัดความพร้อมด้านวิชาการ ส่งผลให้ เด็กเครียดเรื่องการเรียนเนื้อหาความรู้ที่พ่อแม่คาดหวัง ที่ไม่ใช่การเรียนรู้และการพัฒนาการที่ควรจะเป็นในเด็กปฐมวัย o เด็กมีปัญหาด้านสุขภาพ เด็กขาดการเล่นการออกกำลังกายกลางแจ้งและนอนดึก ทำให้สุขภาพ ไม่แข็งแรง ขาดแคลนอาหารที่มีคุณประโยชน์ มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ o เด็กติดสื่อหน้าจอ ติดโซเชียลมีเดีย ติดอินเทอร์เน็ต ติดเกม โดยผู้ปกครองบางบ้านเปิดสื่อ หน้าจอทิ้งไว้ให้เด็กดู ผลของการติดหน้าจออาจนำไปสู่การถูก Bully การล่อลวงทางเพศ ชักชวนให้เสพสาร เสพติด เล่นพนันออนไลน์ นอกจากนั้น ยังมีผลกระทบต่อสมองและการเรียนรู้ในระยะยาว เช่น ไอคิวลดลง หรือสติปัญญาต่ำ งานวิจัยของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการ ติดตามพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก 3 เดือน-3 ปี605 คน โดยติดตามเป็นช่วง ๆ พบว่า ค่าเฉลี่ยไอคิว ของเด็กอยู่ที่ 100 ในช่วงก่อนโควิด และวิจัยในเด็ก 118 คนในช่วงโควิด รวมทั้งเด็กที่เกิดในช่วงโควิดอีก 39 คน พบว่าในสถานการณ์โควิดในปี 2563 ไอคิวเด็กลดลงเหลือ 86 และในปี 2564 ไอคิวลดลงอีกเหลือ ประมาณ 79 ทั้งนี้ จากการศึกษาและข้อสังเกตเกี่ยวกับ Leaning Loss ในประเทศไทยจากกรมการปกครอง ส่วนท้องถิ่นซึ่งดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในชุมชน พบว่า 1. เด็กปฐมวัยไม่ได้รับการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง 2. เมื่อโรงเรียนเปิด เด็กร้องไห้ไม่อยากเรียน มาสาย และอยากกลับบ้าน 3. พัฒนาการของ เด็กปฐมวัยถดถอย เมื่อกลับสู่ชั้นเรียน สิ่งที่เคยทำได้กลับทำไม่ได้ 4. เด็กไม่เล่นกับเพื่อน ชอบอยู่คนเดียว เด็กพูดไม่เป็นภาษา และไม่ยอมพูดกับเพื่อน อาจเพราะเด็กขาดสังคมเมื่ออยู่บ้านและไม่มีเพื่อนเล่น 5. เด็กสมาธิสั้น มีอาการเหม่อลอย 5. เด็กมีการติดสื่อหน้าจอเพิ่มขึ้น เด็กใช้เวลาไปกับการใช้อินเทอร์เน็ต มากขึ้น (ไม่รวมเวลาเรียน Online) งานวิจัยของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำนิยาม Learning Loss ที่ครอบคลุม 5 ด้านด้วยกัน ได้แก่ การถดถอยทางด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านร่างกายและสุขภาวะ ด้านสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งนี้ พบข้อมูลของภาวะการเรียนรู้ถดถอย ร่วมกันของเด็กชั้นอนุบาล ประถมศึกษาตอนต้น และประถมศึกษาตอนปลาย ในเรื่องสมาธิจดจ่อ การอดทน รอคอย การอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ที่มีความถดถอยและถึงขั้นวิกฤติโดยปัญหารองลงมาคือเรื่อง ความรับผิดชอบในการทำงานให้เสร็จ การตรงต่อเวลา การใช้เวลาอยู่กับสื่อหน้าจอ ซึ่งทั้งหมดจะเพิ่ม จำนวนความถดถอยมากขึ้นตามระดับชั้นที่สูงขึ้น
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 28 จาก 150 ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อภาครัฐ และแนวทางการแก้ปัญหา/แนวทางปฏิบัติ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กปฐมวัยในภาพรวม 1) ผลักดันวาระการฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัย ให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยคณะกรรมการนโยบาย การพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกลไกหลักในการผลักดันประเด็นการฟื้นฟูพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก เนื่องจากเด็กเป็นฐานสำคัญในการพัฒนากำลังคนของประเทศ และในภาพรวม พัฒนาการของเด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กปฐมวัยยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานและมีแนวโน้มต่ำลง 2) ผลักดันสวัสดิการเงินอุดหนุนสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 6 ปีให้เป็นการอุดหนุนถ้วนหน้าเพื่อให้เด็ก ปฐมวัยได้รับการช่วยเหลือและมีพัฒนาการที่ดีอย่างทั่วถึง 3) การฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัยในลักษณะบูรณาการระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย (โดยกรม ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น) ควรมีการบูรณาการด้านเนื้อหา โดยมอบหมายให้ - กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยและกรมสุขภาพจิตเป็นเจ้าภาพหลัก ในการจัดทำแผน บูรณาการและฟื้นฟูเด็กปฐมวัยอายุก่อน 3 ปีโดยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำแผน บูรณาการและฟื้นฟูเด็กปฐมวัยอายุ 3-6 ปีโดยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก 3-6 ปี 4) กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กำกับ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ทั้งที่เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกับ โรงเรียน อนุบาลที่สังกัดภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ - ต้องมีจุดมุ่งหมายที่เป็นเอกภาพร่วมกัน ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยคือ เพื่อให้มีพัฒนาการที่ดีใน ทุกด้าน และสร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย ไม่เน้นการเรียนวิชาการ การสอบ และการแข่งขันในทุกลักษณะ รวมทั้งใช้มาตรฐานการดูแลเด็กปฐมวัยและแผนการดำเนินงานที่เป็นแผนงานเดียวกัน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติ ดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้วยมาตรฐานใหม่ที่เกิดผลสัมฤทธิ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ - จัดหลักสูตรการสอนให้เป็นมาตรฐานตามหลักวิชาการด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่เน้น นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป และหลักพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน การส่งเสริมทักษะสมอง และการส่งเสริมการสร้างคุณค่าในตนเองของเด็กปฐมวัย
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 29 จาก 150 - มีการจัดทำมาตรฐานพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่มีการประเมินและปรับปรุงทุก 2 ปี (เพื่อให้เป็นมาตรฐานที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่รวดเร็ว เช่น PM 2.5 และปัญหาภัยพิบัติ อุบัติใหม่ เป็นต้น) รวมทั้งจัดทำตัวชี้วัดเพื่อคัดกรองเด็กกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ และมีการประเมิน พัฒนาการเด็กปฐมวัยปีละ 2 ครั้งตามช่วงอายุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาล ทั้งนี้ ควรเน้นตัวชี้วัดไป ที่พัฒนาการ และการเรียนรู้ ไม่ใช้ตัวชี้วัดด้านวิชาการ - ควรมีการประเมินมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ มาตรฐาน และตัวชี้วัดที่ใช้ประเมิน ควรเน้นที่ผลลัพธ์พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก นอกเหนือจากสภาพแวดล้อม และกระบวนการที่หน่วยงานเลือกใช้ในการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย และปรับผลลัพธ์พัฒนาการเด็ก/ การ เรียนรู้ของเด็กให้เป็นส่วนสำคัญใน KPI ในการประเมินผลงานของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ โรงเรียน อนุบาล เพื่อให้การพัฒนาเด็กเป็นประเด็นที่ ผู้บริหารหรือฝ่ายนโยบายให้ความสำคัญและเอาจริงเอาจังให้มีการ ดำเนินการจนบรรลุผล - จัดทำระบบการอบรมครู/ผู้ดูแล ที่เน้นการ Un-Learn และ Re-Learn การดูแลและการจัดการ เรียนรู้เด็กปฐมวัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเพิ่มเติมประเด็นการสื่อสารกับพ่อแม่ และประเด็นการป้องกัน อุบัติภัยและจัดการปัญหาฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เข้าไปในหลักสูตรด้วย - จัดทำระบบการประเมินครู/ผู้ดูแลเด็กด้านความรู้และสภาพจิตใจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จัดทำ ระบบการสุ่มประเมินศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาล โดยมีหน่วยงานกลางเป็นเจ้าภาพร่วมกัน - ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการปิดการเรียนการสอนเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค การ ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลควรมีระยะเวลาที่สั้นสุด และควรมีการเปิดชดเชยเวลาคุณภาพที่ขาด หายไปในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากครอบครัวไม่มีองค์ความรู้ที่จะฟื้นฟูเด็กที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด ทั้งนี้ ระยะเวลาการชดเชยอาจเป็นไปในลักษณะทางเลือก (Optional) - รวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมที่หลากหลาย ในการจัดทำรูปแบบและดำเนินการเรื่อง โรงเรียนพ่อแม่ ผ่านการดำเนินการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลทุกแห่ง โดยหน่วยงานผู้ปฏิบัติ จะต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณดำเนินการ ให้ครอบคลุมการให้ความรู้แก่พ่อแม่ที่เพียงพอ 5) กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำแผนการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤตต่าง ๆ บนความ เข้าใจร่วมกันว่า เด็กปฐมวัยเป็นเด็กกลุ่มพิเศษที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีเฉพาะในภาวะไม่ปกติต่าง ๆ เช่น การอพยพ การปิดเมือง (Lockdown) การกักตัว การให้วัคซีน และการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ แผนปฏิบัติ การในภาวะความจำเป็นต่าง ๆ จะต้องบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบนความเข้าใจร่วมกันว่า การคุ้มครอง
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 30 จาก 150 และดูแลเด็กปฐมวัยเป็นวาระแห่งชาติ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงการวางแผนดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง และจัดการให้เด็ก กลับเข้าสู่ระบบการดูแลแบบปกติโดยเร็วกว่าประชากรกลุ่มอื่น 6) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพหลัก - ในการจัดทำแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสังคมและครอบครัวเด็กปฐมวัย รวมทั้งดำเนินการ แก้ปัญหาเด็กปฐมวัยในประเด็นเร่งด่วน เช่น ปัญหาเด็กติดจอ ติดเกม และติดสื่อ ปัญหาความปลอดภัยและ ความรุนแรงในเด็ก และประเด็นการพัฒนาเด็กในระยะยาว เช่น การให้ความรู้พ่อแม่ การสื่อสารกับครอบครัว และการจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบอย่างถ้วนหน้าและทั่วถึง ทั้งนี้ จำนวนเด็ก ปฐมวัยในประเทศไทยที่มีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้ขนาดของเงินอุดหนุนและผลประโยชน์ที่ได้รับมี ความคุ้มค่าเพิ่มมากขึ้นในอนาคต - ในการคัดกรองเด็กกลุ่มเปราะบาง เด็ก ACEs หรือเด็กกลุ่มเสี่ยง (เช่น ครอบครัวยากจน พ่อแม่วัยรุ่น เด็กพิการ) ในชุมชนทุกคน แม้ว่าเด็กจะอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาล หรือ พ่อแม่เด็ก โดยเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมดูแล 7) กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นควรเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการ สิ่งแวดล้อมในครอบครัวและชุมชน ที่เอื้อต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ผลักดันให้เกิดพื้นที่เล่นในชุมชน พื้นที่การเรียนรู้ที่ปลอดภัย จัดสรรงบประมาณที่จำเป็นและเพียงพอในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสาธารณะ เพื่อรองรับความต้องการของพ่อแม่ในการดูแลเด็กปฐมวัย และได้รับความไว้วางใจจากพ่อแม่ทุกกลุ่มในชุมชน 8) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปรับปรุง รวมทั้งปรับเนื้อหาในการ เรียนการสอนของนักศึกษาครู ให้ทันกับข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ ที่ก้าวหน้าขึ้น และให้ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ปฐมวัยทั้งในมิติพัฒนาการรอบด้าน มิติพัฒนาการด้านตัวตน และมิติพัฒนาการด้านทักษะสมองรวมทั้ง การบูรณาการความรู้จากทั้งด้านสาธารณสุข จิตวิทยาพัฒนาการ ประสาทวิทยาศาสตร์ เช่น นำคู่มือ DSPM ให้นักศึกษาครูได้เรียนรู้ เข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติใช้กับเด็ก รวมทั้งถ่ายทอดสู่พ่อแม่ได้ ให้ความรู้เรื่องสุขภาวะ เด็กที่เข้มข้นมากขึ้น 9) คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย - ปรับระบบฐานข้อมูลระดับจังหวัดในเรื่องเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ดี มีการบริหาร จัดการระบบข้อมูลที่มีการสังเคราะห์ให้เห็นข้อมูลสำคัญร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยสถิติจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบหลัก สามารถเชื่อมต่อถึงระดับนโยบาย เพื่อพัฒนานโยบายและมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้อง กับสภาพที่เป็นจริงของเด็กปฐมวัยทุกพื้นที
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 31 จาก 150 - พัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยวิธีใหม่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีมาตรฐาน และทันสมัยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น สร้างช่องทางการสื่อสารเพื่อสร้างความรอบรู้ให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กผ่าน Digital Platform และ Social Media ที่เป็นพื้นที่กลางที่ทุกคนสามารถตรวจสอบและ เข้าถึงได้ - ทบทวนช่องทางการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยเพื่อให้ความรู้เรื่องสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ เช่น กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต ศูนย์วิชาการ และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ที่เข้าไม่ถึง ได้รับการเผยแพร่เข้าถึง พ่อแม่ผู้ปกครองอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ยากจน ด้อยโอกาส การศึกษาน้อย หรืออยู่ในชนบทห่างไกล - สร้างเครือข่ายการศึกษาปฐมวัยของศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล ทั้งภาครัฐและเอกชน โรงเรียนนวัตกรรมต่างๆ เช่น โรงเรียนสุขภาวะ (สสส.) โรงเรียนส่งเสริมทักษะสมอง EF เป็นต้น รวมเป็น เครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจเรื่องการศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก ปฐมวัยอย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ให้คำปรึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานที่สามารถ ปรับตัว ยืดหยุ่นได้แก่ครู/ผู้ดูแล รวมทั้งจัดทำระบบ Coaching ช่วยเหลือครูในเรื่องการสอน และกลุ่ม ช่วยเหลือครู (Support Group) โดย คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับ หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) - ปรับลดอายุเด็กที่จะเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อแบ่งเบาภาระพ่อแม่ผู้ปกครอง ให้เป็นทางเลือก แก่พ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตรที่บ้าน - กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย และกระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันมาตรการที่ใช้ควบคุมโรคเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย โดยมาตรฐาน เฉพาะนี้จะต้องไม่สร้างความเสี่ยงต่อเด็กเพิ่มขึ้น มาตรการแยกหรือกักตัวหรือการดูแลเด็ก ควรพิจารณาเป็น รายกรณี โดยขึ้นอยู่กับอาการเจ็บป่วย ความจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ปัจจัยเสี่ยงต่อ ความรุนแรงของโรค สภาพครอบครัว รวมถึงการมีผู้มีความเสี่ยงอยู่ในครัวเรือน การตัดสินใจแยกเด็กที่ติดเชื้อ หรือกักตัว ควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นหลัก โดยไม่ควรขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการแพทย์เพียงอย่าง เดียว แต่ควรคำนึงถึงผลกระทบอื่น เช่น ความทุกข์ของเด็กจากการต้องถูกแยกจากผู้ปกครอง ความเสี่ยงที่เด็ก อาจเผชิญกับความรุนแรง การถูกทำร้าย การถูกละเลย และการถูกแสวงประโยชน์ในระหว่างที่ต้องถูกแยกจากครอบครัว - ผลักดันโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อรองรับภาวะวิกฤต ชุมชนสามารถมีส่วนร่วม ในการช่วยเหลือดูแลเด็กและครอบครัวได้ เช่น จัดหาอาสาสมัครมาช่วยครูดูแลเด็กในช่วงที่เด็กต้องอยู่บ้าน จัดทำชุดอาหารกลางวันแจกจ่ายให้เด็ก สถานที่ทำงานจัดหาสถานที่สำหรับบุตรหลานของเจ้าหน้าที่ที่มีความ จำเป็นต้องพาเด็กมาเลี้ยงในสถานที่ทำงาน
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 32 จาก 150 - ผลักดันโครงการสวัสดิการเพื่อการดูแลแม่และเด็กปฐมวัยแบบถ้วนหน้า เช่น โครงการ สวัสดิการแม่เลี้ยงลูก โครงการอาหารเช้า/อาหารเย็น โครงการอาหารเสริมต่างๆ (Nutritional Programs) โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และ กรมอนามัยเป็นเจ้าภาพหลักในการศึกษาความ เป็นไปได้และจัดงบประมาณที่เหมาะสม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย 1) เพิ่มความใส่ใจในการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย จัดให้มีการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องตาม มาตรฐานที่สอดคล้องกับฝ่ายสาธารณสุข และการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนควรมีเป้าหมายให้ได้ผลลัพธ์ตาม เกณฑ์มาตรฐานชาติที่มีการประเมินและปรับปรุงทุก 2 ปี เช่น เด็กฟันผุน้อยลง เด็กสูงขึ้น รวมทั้งปรับวิธีการ ส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดังกล่าว เช่น ปรับรูปแบบวิธีการออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนโภชนาการที่ ดำเนินการในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน 2) เพิ่มประเภทการตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัย เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงต่าง ๆ ด้านสุขภาพ ให้เป็น มาตรฐาน เช่น ตรวจภาวะซีด ตรวจออกซิเจนและการเต้นของหัวใจเด็ก ตรวจสีอุจจาระเด็กแรกเกิด ตรวจช่อง ปากเป็นระยะ ตรวจการได้ยิน ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก 3) ศึกษาและทบทวนสถานการณ์การนอน การพักผ่อน และความสูงของเด็ก เนื่องจากปัญหาเด็ก ติดจอ ติดเกม และติดโซเชียลมีเพิ่มมากขึ้นและอยู่ในขั้นวิกฤต รวมทั้งจัดทำการตรวจวัดประเมินปีละ 2 ครั้ง พร้อมทั้งรายงานต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อขอความร่วมมือในการงดจอและสนับสนุนการออกกำลังกาย และ การเล่นกลางแจ้งนอกห้องเรียน 4) สร้างโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ฝึกให้เด็กออกกำลังกายจนเป็นนิสัย เพื่อร่างกายที่แข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง มี Self-Esteem และมีสมองที่ว่องไว ทั้งนี้ การออกกำลังกายสามารถช่วย บำบัดฟื้นฟูเด็ก ACEs ได้ด้วย 5) สนับสนุนให้ชุมชนจัดพื้นที่ให้เป็นสนามเด็กเล่นและพื้นที่ทำกิจกรรมสำหรับเด็กและครอบครัว โดยมีการจัดการดูแลอย่างเป็นระบบ กำหนดมาตรการการใช้สนามเด็กเล่นร่วมกัน โดยต้องคำนึงถึงจำนวน และการเข้าถึงพื้นที่ จัดระบบไม่ให้แออัด มีความปลอดภัยและความสะอาด มีการดูแลรักษาความสะอาดพื้นที่ และอุปกรณ์ มีการสื่อสารวิธีการใช้และการรักษาพื้นที่ และวิธีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อให้เกิด พัฒนาการ รวมถึงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ดูแลพื้นที่ ถึงวิธีการใช้พื้นที่อย่างมีคุณภาพเพื่อให้เด็กได้โอกาสมี พัฒนาการที่ดี รวมทั้งส่งเสริมเจตคติเชิงบวกที่มีต่อการทำกิจกรรมทางกาย ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองเห็น ความสำคัญของการส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมทางกาย และดึงเด็กออกจากหน้าจอด้วยการทำกิจกรรม ทางกายร่วมกัน
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 33 จาก 150 6) รัฐบาลลงทุนเรื่องโภชนาการของเด็กปฐมวัยมากขึ้น ทั้งในเรื่องงบประมาณค่าอาหาร การดูแล เรื่องคุณภาพอาหาร และคุณค่าทางโภชนาการ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ครู แม่ครัว ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 7) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลให้อาหาร 3 มื้อ ทั้งมื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็นแก่เด็ก โดยเป็นการสนับสนุนแบบทางเลือก (Optional) เพื่อเป็นการดึงดูดให้เด็กที่หลุดออกนอกระบบกลับเข้าสู่ ระบบ รวมทั้งลดผลกระทบจากวิกฤตโควิดและลดความเหลื่อมล้ำ 8) ควรมีการจัดบริการเพื่อรองรับผู้ป่วยเด็ก โดยให้เด็กยังอยู่กับครอบครัวได้ เช่น ช่องทางการให้ คำปรึกษาทางการแพทย์สำหรับเด็ก เพื่อลดจำนวนเคสที่ต้องเข้าสู่โรงพยาบาล และลดความหนาแน่นของการรอรับ บริการ จัดทำสายด่วน รวมไปถึงศูนย์พักคอยที่เป็นมิตรสำหรับเด็กและครอบครัว (Community Isolation Center) 9) ควรผลักดันสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลเด็กปฐมวัยให้เป็นสวัสดิการถ้วนหน้า โดยสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับกรมอนามัย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านอารมณ์และจิตใจ 1) ทบทวนเป้าหมายการศึกษาปฐมวัย ให้เพิ่มเติมเป้าหมายด้านอารมณ์และจิตใจ โดยเน้นการเห็น คุณค่าในตัวเองและการมีสมรรถนะด้านอารมณ์และจิตใจตามวัย 2) ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ควรเพิ่มเติมแนวคิด/แนวปฏิบัติของศาสนาเพื่อพัฒนา อารมณ์จิตใจเด็ก และเชื่อมความร่วมมือในการพัฒนาอารมณ์และจิตใจเด็กกับครอบครัวและชุมชนผ่าน กิจกรรมและนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เด็กคุมใจ คุมกาย (Self-Control) ดังนี้ (1) การเรียนรู้เรื่องการควบคุมอารมณ์จิตใจ ควบคุมการแสดงออกหรือพฤติกรรมของตนเอง ให้เหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะสมอง EF -Executive Function (2) การฝึกให้เด็กเป็นคนอ่อนโยนและมองเห็นความทุกข์ของคนอื่น(Empathy) (3) การพัฒนาทักษะ“ล้มแล้วลุกได้” (Resilience) 3) เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้ใกล้ชิดธรรมชาติส่งเสริมให้เป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยน มีอารมณ์ที่ ผ่อนคลาย สงบ มีความสุข และเบิกบานใจ ทั้งนี้ควรบรรจุเรื่องการใกล้ชิดธรรมชาติเข้าในหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย และผลักดันงบประมาณในพื้นที่โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ จัดสรรพื้นที่ธรรมชาติ ที่ปลอดภัย เพื่อรองรับกิจกรรมของเด็กปฐมวัยในพื้นที่
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 34 จาก 150 4) เนื่องจากอารมณ์และจิตใจเด็กมีพื้นฐานสำคัญมาจากครอบครัวและการเลี้ยงดู ครูอาจทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษา รับฟัง ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ (Emotional Support) พ่อแม่ ทั้งในยามปกติและในยามวิกฤต ศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาล ควรมีนวัตกรรมวางระบบเพื่อรับฟัง ให้คำแนะนำ และให้กำลังใจพ่อแม่เป็นระยะ 5) ปัจจุบัน งานวิจัยพบว่า เด็กมีความทุกข์จากการกลั่นแกล้งกัน (Bully) ในโรงเรียนมากที่สุด แต่เด็กไม่มีทักษะในการระบายความทุกข์ ครู/ผู้ดูแลและพ่อแม่ควรฝึกเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ให้มีทักษะระบาย ความทุกข์และสร้างความสุข เพื่อป้องกันเด็กจากอาการซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ทั้งนี้ ต้องมีการจัดวางระบบ การติดตามเฝ้าระวัง และคัดกรองปัญหาในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนที่มีความถี่และมาตรการที่ชัดเจน โดยใช้องค์ ความรู้จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เช่น • Triple P -Preschool Parenting Program (โปรแกรมให้ความรู้พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กในเรื่องของจิตใจ) • คำแนะนำสำหรับพ่อแม่ในการดูแลอารมณ์จิตใจเด็กยามเกิดสถานการณ์วิกฤต • เครื่องมือสำหรับครูเพื่อคัดกรอง ดูแล แก้ปัญหาเด็ก • เครื่องมือสังเกตอาการ 9s (แบบสังเกตอาการ 9s ที่ครูสามารถจะใช้เพื่อสังเกตเด็กว่ามี ปัญหาหรือผิดปกติเรื่องใด เพื่อจะดำเนินการแก้ไขต่อไป) • School Health Hero แอพพลิเคชั่น (เครื่องมือช่วยครูประเมินเด็กในโรงเรียน เพื่อดูว่ามี ความเสี่ยงด้านใดหรือไม่ หากครูคัดกรองแล้วพบว่าเด็กมีปัญหา ก็จะปรึกษากับ School Health Hero ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในเขตสุขภาพของสาธารณสุข) • คู่มือ DSPM (คู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย) • ระบบ Child Protection Information System (ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการคุ้มครองเด็ก โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เมื่อแจ้งเหตุเข้ามาสู่ระบบจะมีการคัดกรองและส่งต่อให้เข้าสู่ระบบการรักษา) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสังคม 1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาล และพ่อแม่ควรให้ความสำคัญแก่เด็กปฐมวัยในด้านการ สื่อสาร การปรับตัว การมีความคิดยืดหยุ่น การมองโลกในแง่ดี โดยส่งเสริมความสามารถทางสังคม (Social Competence) ทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving Skill) โดยให้โอกาสเด็กได้เล่น ลงมือทำและ แก้ปัญหา เผชิญความยากลำบากด้วยตัวเอง ฝึกความตระหนักรู้อย่างมีวิจารณญาณ (Critical Consciousness) เสริมสร้างความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) ให้เด็กทำอะไรด้วยตัวเอง เพื่อให้เด็กรับรู้ ถึงความสามารถของตนเอง พัฒนาการรับรู้ถึงความหมายหรือเป้าหมาย (Sense of Meaning or Purpose) ในสิ่งที่ทำหรือเรียนรู้ 2) ควรมีการบรรจุการแก้ปัญหาสื่อจอใสของเด็ก ให้เป็นวาระเร่งด่วนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียน อนุบาล และหน่วยงานต้นสังกัดที่ดูแลเด็กโดยตรง (องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อลด
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 35 จาก 150 การใช้สื่อจอใส และสื่อสารให้พ่อแม่ทราบถึงประโยชน์ของการดูแลควบคุมลูกในการใช้สื่อหน้าจอ พ่อแม่ไม่ควรให้ ลูกใช้สื่อหน้าจอพร่ำเพรื่อ หรือเปิดหน้าจอทิ้งไว้โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกหรือใช้มือถือเลี้ยงลูก 3) ปรับหลักสูตรการเรียนอนุบาลใหม่ทั้งหมดเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้สอดคล้องกับข้อ ค้นพบทางวิชาการที่เน้นพัฒนาการการเรียนรู้แบบไม่เร่งเรียน และเน้นการพัฒนา Non-cognitive Skills มากกว่า Cognitive Skills ในเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ เพื่อเตรียมเด็กให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในอนาคตใน ศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะทางด้านสังคมที่มีความจำเป็นมากขึ้นในโลกอนาคต 4) ในการฟื้นฟูเด็กเปราะบางที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ควรเพิ่มการอบรมครูเพื่อ ดูแลเด็กเปราะบาง เช่น หลักสูตร “ผู้ประคอง” ที่ใช้ในการอบรมครูที่ไปสอนพ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลลูก หลักสูตรการดูแลเด็กในภาวะยากลำบาก หลักสูตรการดูแลเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตที่ไม่พึงประสงค์และ หลักสูตรนักปฏิบัติการการเล่น/ การนำกิจกรรมต่างๆ ไปฟื้นฟู/ พัฒนาเด็ก 5) ในการแก้ปัญหาเด็กในครอบครัวยากจนและเปราะบาง โดยเฉพาะครอบครัวมีภาวะวิกฤตร่วม ด้วย ควรมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เป็นแกนหลักในการคัด กรองและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวของในพื้นที่โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ และชุมชนที่ อาจช่วยดำเนินการในด้านนวัตกรรมทางสังคมในการช่วยเหลือเด็กในครอบครัวยากจนและเปราะบาง ทั้งนี้ จะต้องมีการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปฏิบัติเพิ่มเติมอย่างจริงจัง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสติปัญญา 1) ดำเนินการประเมินภาวะถดถอยของเด็กแต่ละคนอย่างเร่งด่วน โดยมีการฟื้นฟูพัฒนาการและ การเรียนรู้ที่ไม่ใช่การเร่งเรียนหรือปรับพื้นฐานให้เด็กอ่านออกเขียนได้ มีการประเมินคัดกรองเด็กเพื่อสำรวจ ภาวะถดถอยเป็นรายบุคคล 2) จัดการฟื้นฟูโดยผ่านการเล่นและใช้การเรียนรู้แบบ Active Learning และ Play-Based Learning โดยปรับรูปแบบกิจกรรมให้ยืดหยุ่นในแง่ของเนื้อหาและสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับภาวะถดถอย ของเด็กแต่ละคน มีการจัดกระบวนการเรียนรู้เสริมเพิ่มเติมสำหรับเด็กแต่ละกลุ่มแต่ละราย 3) ลดตัวชี้วัดด้านวิชาการ เนื่องจากเด็กมีภาวะถดถอยและจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูด้านที่ถดถอย ให้เป็นปกติก่อน 4) ในกรณีที่มีการปิดเรียนอีก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บ้าน (Home-Based Learning) ส่งสื่อ วัสดุอุปกรณ์ไปให้เด็กที่บ้าน มอบหมายทำความเข้าใจกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ในการทำกิจกรรมกับเด็ก รวมทั้งอำนวยความสะดวกอาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) มีบริการส่งถึงบ้าน หากผู้ปกครองไม่สะดวก หรือจ่ายเป็นเงินสดค่าอาหารกลางวันหากผู้ปกครองต้องการ และมีการติดตาม
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 36 จาก 150 พัฒนาการของเด็กทางไลน์กลุ่มครู-ผู้ปกครอง และจัดวีดีโอคอลที่ทำให้เห็นหน้าเด็กและผู้ปกครองรวม ทั้งบรรยากาศที่บ้าน 5) ในด้านการเสริมศักยภาพครู/ ผู้ดูแล -ผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยควรเห็นความสำคัญอันดับต้น ๆ ในการช่วยเหลือครูให้มีสุขภาวะ ที่ดี ดูแลสภาวะอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจของครูและส่งเสริมให้ครูมีกำลังใจในการฟื้นฟูเด็ก ผู้บริหารให้ การสนับสนุน ให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือ มีการประเมินความเครียดและสุขภาพจิตครู/ผู้ดูแลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง -ควรจัดหาเครื่องมือที่ช่วยให้ครู/ผู้ดูแลเกิดทักษะในการสังเกตเด็กมากขึ้น เช่น DSPM เครื่องมือ ประเมินปัญหาพฤติกรรมในเด็กโดยกรมสุขภาพจิต และเครื่องมืออื่นๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญหน่วยงานต่างๆ พัฒนาขึ้น โดยมอบหมายให้หน่วยงานกลางรวบรวม เช่น คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และใช้ กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ของครู หรือ PLC เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และคำแนะนำในการฟื้นฟูเด็ก 6) เสริมศักยภาพพ่อแม่และครอบครัว โดย 1. สนับสนุนให้พ่อแม่รู้จักควบคุมอารมณ์และจัดการ ความเครียดได้2. ส่งเสริมให้พ่อแม่รู้จักสังเกตสัญญาณต่างๆ ของลูก และตอบสนองอย่างเหมาะสม รวมทั้งมี อารมณ์เชิงบวกขณะมีปฏิสัมพันธ์กับลูก 3. ปรับเปลี่ยนทัศนคติของพ่อแม่ต่อตัวชี้วัดด้านพัฒนาการ/ การเรียนรู้เด็กว่าไม่ใช่การเรียนรู้ด้านวิชาการ โดยปรับทัศนคติให้พ่อแม่รับทราบความสำคัญของการพัฒนาเด็ก ปฐมวัยจากครอบครัวที่ถูกต้องในด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ และจิตใจในแต่ละช่วงวัย 4. ให้ความ มั่นใจกับพ่อแม่ได้ว่าภาครัฐจะมีกระบวนการสนับสนุนครอบครัวในการฟื้นฟูและเลี้ยงดูเด็กผ่านกระบวนการ ให้ความรู้และคำแนะนำแก่พ่อแม่ 7) รณรงค์“ลดสื่อจอใสในเด็กปฐมวัย” ให้เป็นวาระสำคัญ เพื่อลดกระบวนการบั่นทอนสมรรถนะ ในการเรียนรู้ของสมองเด็ก โดยกำหนดให้ชัดเจนว่า “ก่อน 2 ขวบ งดให้สื่อจอใสโดยเด็ดขาด หลัง 3 ขวบขึ้น ไปให้ใช้สื่อจอใสได้ตามเงื่อนไขเวลาไม่เกิน 30 นาที” 8) กระทรวงศึกษาธิการควรเป็นเจ้าภาพหลักในการวบรวมองค์ความรู้ และสื่อสารผ่านศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก/โรงเรียนอนุบาลให้แก่พ่อแม่ในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก รวมทั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น/กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานหลักในการสื่อสารกับพ่อแม่ด้วย ”””””””””””””””””””””””””””””””””””””
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 37 จาก 150 แนวทางและนวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครอบครัว วิกฤตเด็กปฐมวัย และสถานการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงแพร่ระบาดโควิด-19 นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิดในปี 2563 ที่ลุกลามหนัก จนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนทั่ว โลก ไม่ว่าจะเป็น การสวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่าง การกักตัว การใช้เจลแอลกอฮอล์ จนถึง การ ปิดที่ทำงานและสถานศึกษา ซึ่งรวมถึงสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ทำให้คาดเดาไว้ว่า สถานการณ์นี้จะส่งผล กระทบรุนแรงต่อเด็กปฐมวัย (0-6 ปี) อันเป็นวัยแรกเริ่มของชีวิต ซึ่งกำลังมีการเจริญเติบโตและพัฒนาทุกด้าน อย่างรวดเร็ว รวมถึงการสร้างและพัฒนาสายสัมพันธ์กับผู้คนและสิ่งต่างๆ รอบตัว อีกทั้งยังเป็นวัยที่เป็น รากฐานของชีวิตมนุษย์ สถาบันสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics : AAP) ได้จัดให้สถานการณ์โควิดเป็นหนึ่งในปัจจัยส่งผลกระทบระยะยาวต่อเด็กทั้งสุขภาพกาย จิตใจ และ สติปัญญา ดังนั้น ผลกระทบที่มีต่อเด็กปฐมวัยอันเป็น “ฐานทุนชีวิต” ที่จะต้องใช้และพัฒนาต่อไปตลอดทุกช่วง ชีวิต รวมถึงการเรียนรู้ที่หยุดชะงักและพัฒนาการที่ถดถอย จึงกระทบอย่างรุนแรง ไม่เพียงต่อคุณภาพของเด็ก เท่านั้น แต่ยังจะเป็นผลกระทบระยะยาวต่อคุณภาพของพลเมืองในอนาคต ซ้ำเติมวิกฤตพัฒนาการเด็กปฐมวัย ที่ล่าช้าร้อยละ 25 มาเกือบ 20 ปี ให้หนักหน่วงมากขึ้น อย่างไรก็ดี ช่วงปฐมวัยก็เป็นวัยที่ตอบรับการเปลี่ยนแปลง สามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว ดังนั้น หากเด็ก ปฐมวัยได้รับการฟื้นฟู เยียวยา ด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ เด็กจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ในทางตรงข้าม หากเด็กไม่ได้รับการช่วยเหลือทันการณ์เราจะสูญเสียโอกาสที่ดีที่สุดในการพัฒนาเด็ก และ ต้องเผชิญกับปัญหาเด็กและเยาวชนที่หนักหน่วงยิ่งกว่าเดิมในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า มองในมุมดีและโอกาส สถานการณ์โควิดอาจจะทำให้เกิดการการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อการพัฒนาเด็ก ปฐมวัย ผ่านข้อเสนอเชิงนโยบาย แผนปฏิบัติการ และความร่วมมือของทุกภาคส่วนโดยเร่งด่วน ยกระดับการ พัฒนาเด็กปฐมวัย ให้เป็น “วาระแห่งชาติ” เพื่อประเทศของเราได้กลับมาใส่ใจ และเอาจริงกับการนำพาเด็ก ปฐมวัย ก้าวผ่านพ้นวิกฤตที่มีอย่างยาวนานเสียที เป็นที่ทราบกันดีว่า การพัฒนาเด็กต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเต็มที่จากทุกภาคส่วน แต่ผู้ที่มีบทบาท สูงสุด คือ“ครอบครัว” พ่อแม่ผู้ปกครองต้องตื่นตัว ขวนขวาย เร่งช่วยเหลือลูกหลาน ขณะเดียวกันครอบครัวก็ ต้องได้รับการช่วยเหลือ ประคับประคอง สนับสนุนให้“ครอบครัวเข้มแข็ง” มีความรู้ ทักษะ มีความตระหนัก และมีทัศนคติที่ถูกต้องในการเลี้ยงเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้รับการปกป้อง คุ้มครอง อบรมเลี้ยงดู สร้างการเรียนรู้ และ ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการให้เต็มตามศักยภาพของเด็กแต่ละบุคคล
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 38 จาก 150 พ่อแม่ ผู้ปกครองควรตระหนักว่า ▪ ปฐมวัย...เป็นวัยทองของชีวิต เป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ ▪ ปฐมวัย...ไวต่อปัจจัยที่มากระทบ ▪ ปฐมวัย...ผ่านแล้วผ่านเลย จากเอกสารรายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่เสนอโดย คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผล ภาคราชการ กลุ่มกระทรวง คณะที่ 2 เมื่อพฤศจิกายน 2562 ได้กล่าวไว้ว่า ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่สําคัญที่สุด ของชีวิต เพราะเป็นช่วงที่พัฒนาการด้านต่าง ๆ เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา ภาษา จริยธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะทางสังคม อีกทั้งการลงทุนในช่วงแรกของชีวิตจะทําให้ได้รับ ผลตอบแทนสูงที่สุด และยังช่วยเพิ่มผลิตภาพของการลงทุนในช่วงระยะเวลาถัดไป เนื่องจากทักษะที่ได้รับใน ช่วงแรกจะช่วยสนับสนุน การเรียนรู้ในระยะเวลาต่อมา ปฐมวัย...คือหน้าต่างแห่งโอกาส เส้นกราฟแสดงอัตราผลตอบแทนของการลงทุนด้านการศึกษาในแต่ละระดับอายุ จากงานวิจัยของ Heckman (2008) ที่มา : วีระชาติ กิเลนทอง (2560)
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 39 จาก 150 งานวิจัยของศาสตราจารย์เจมส์ แฮคแมน (2011, 2013) ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ พบว่า หากภาครัฐลงทุนในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเปราะบางที่มาจากครอบครัวที่ไม่พร้อม จะนำไปสู่อัตราผลตอบแทนคืนกลับต่อสังคมที่สูงถึงร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือการลงทุนในตลาดหุ้น ของประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ยังมีการศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่องยาวนานจากนักการศึกษาปฐมวัย แพทย์ นักประสาทวิทยาศาสตร์ และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ฯลฯ ที่สอดคล้องกับข้อสรุปของ ดร.เจมส์ แฮคแมน ทารกในครรภ์มารดา และ 6 ปีแรก เป็นช่วงวัยที่ระบบประสาทและสมองเจริญเติบโตในอัตราสูงสุดกว่า ร้อยละ 80 ของชีวิตมนุษย์ o ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้าง Synapse จำนวนมากในสมอง และเป็นเวลาที่ สมองส่วนหน้าสุดที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การตัดสินใจ การควบคุมอารมณ์และความคิด (ทักษะสมอง EF) มีการพัฒนาอย่างมากเช่นกัน o เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่พัฒนาการทุกด้านไม่ว่า ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีพัฒนาการที่เร็วและต่อเนื่อง สังเกตได้ว่าเด็กที่มีอายุต่างกัน เพียงแค่หลักเดือนก็มีพัฒนาการที่แตกต่างกันมาก o ปฐมวัยเป็นวัยที่สร้างและพัฒนาตัวตน หากเด็กได้รับโอกาสที่ดีก็สามารถพัฒนาต่อเป็นการ ตระหนักรู้ และเห็นคุณค่าของตนเอง นำไปสู่การมีตัวตน (Self) ที่แข็งแรง อันมีส่วนสำคัญที่จะเปิดโลกการ เรียนรู้ และการสร้างความสัมพันธ์ของเด็กต่อผู้อื่น ความรู้สึกไว้วางใจ การมองโลกในแง่ดี มีความหวัง มีพลัง o การอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เด็กปฐมวัยได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงวัยนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดีเฉลียวฉลาด คิดเป็น ทําเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็น และมีความสุขเป็น o ปฐมวัย ไวต่อปัจจัยที่มากระทบในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านตัวตน (Self) พัฒนาการ 4 ด้าน (4 Domains of child development) พัฒนาการของสมอง (Brain development) จึงต้อง ระมัดระวังสิ่งที่จะมากระทบต่อเด็กในช่วง เพราะจะเกิดผลเสียต่อพัฒนาการในระยะถัดไป และต่อเนื่อง ยาวนาน ขณะเดียวกัน ก็เป็นวัยที่สามารถฟื้นตัวใหม่ได้เร็ว
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 40 จาก 150 สถานการณ์เด็กก่อนโควิด...วิกฤตที่เรื้อรังก่อนวิกฤตหนักที่ถาโถม ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 เด็กปฐมวัยก็อยู่ในสภาวะวิกฤตยาวนาน อนามัยแม่และเด็ก - แม่วัยใส (อายุ 10-19 ปี) - การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ - ทารกกินนมแม่อย่างเดียว ตลอด 6 เดือน >100,000 คน ร้อยละ 41.6 ร้อยละ 23 สสส.,รายงานสถานการณ์เด็ก เยาวชน และครอบครัว, 2560 แม่วัยใส - UNFPA Thailand https://thailand.unfpa.org › default › files › pub- - หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจำนวนมากขึ้น ส่งผลต่อ ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากภาวะตกเลือด ทารก ในครรภ์เติบโตช้าหรือคลอดก่อนกําหนด เด็กที่เกิด มามีโอกาสโลหิตจาง - แนวโน้มเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 20 ร้อยละ 5.63 ในปี2559 เป็น ร้อยละ 6.31 ในปี 2562 https://www.nesdc.go.th/ewt _w3c/ewt_dl_link.php?nid=10 104 สังคม จิตใจ - เด็กกำพร้า/ถูกทอดทิ้ง >90,000 คน สสส.รายงานสถานการณ์เด็ก เยาวชน และครอบครัว 2560 - เด็กปฐมวัยถูกทำร้ายทางกาย อายุ1-2 ปี - เด็กปฐมวัยถูกทำร้ายทางกาย อายุ 3-5 ปี - ผู้เลี้ยงดูเชื่อว่าการลงโทษทางร่างกาย เป็นสิ่งที่ จำเป็นในการเลี้ยงเด็ก ร้อยละ 72.7 ร้อยละ 47.5 ร้อยละ 65.1 สุขภาพเด็กปฐมวัย 2561 https://www.thaihealthreport. com/index2561-07 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล - เด็กที่ไม่ได้อยู่อาศัยกับพ่อแม่หรืออยู่กับฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ร้อยละ 46.3 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สุขภาพเด็กปฐมวัย 2561 https://www.thaihealthreport. com/index2561-07
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 41 จาก 150 พัฒนาการและการเรียนรู้ - เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีหนังสือสำหรับเด็กอย่าง น้อย 3 เล่มที่บ้านและ 10 เล่มที่บ้าน ร้อยละ 34 และ ร้อยละ 8.9 รายงานผลฉบับสมบูรณ์การสำรวจ สถานการณ์เด็กและสตรี ปี 2562Thailand 2091 MICS Survey Findings Report National(Thai).pdf https:/mics-surveysprod.s3.amazonaws.com/MICS6/ - เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ต่อเนื่องเกือบ 20 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และ สติปัญญา โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในครอบครัว แหว่งกลาง ร้อยละ 23 ในปี 2560 ร้อยละ 25 ในปี2561 สุขภาพคนไทย พ.ศ. 2561, มหาวิทยาลัยมหิดล - พัฒนาการด้านทักษะสมอง EF ซึ่งเป็นทักษะสมอง ระดับสูง ล่าช้า โดยเฉพาะด้านการยับยั้งชั่งใจ ความจำขณะทำงาน และการควบคุมอารมณ์ ร้อยละ 29 สถาบันประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2558-2559 - เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและต่ำกว่า 2 ปี ที่เล่นอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศ ที่ ร้อยละ 50.9 - เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่อาจส่งผลภาวะสมาธิสั้นได้ ร้อยละ 67.1 ร้อยละ 24.2 ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรี ในประเทศไทย ปี 2558-2559 โดย องค์การยูนิเซฟประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ สถานการณ์สำคัญของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อเด็กปฐมวัย โควิด 19 จัดเป็นหนึ่งในประสบการณ์อันไม่พึงประสงค์ตั้งแต่วัยเด็ก (ACEs – Adverse Childhood Experiences) เป็นความเครียด (COVID-Related Stressors) ที่ส่งผลต่อวิถีทางพัฒนาการของเด็ก เมื่อโลก เผชิญกับการระบาดของโควิด ได้เกิดสถานการณ์สำคัญที่กระทบต่อเด็กปฐมวัย ดังนี้
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 42 จาก 150 การติดเชื้อในเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยติดเชื้อสะสม 1,200 ราย เสียชีวิต 39 ราย สาเหตุการติดเชื้อจากคนในบ้าน และ 2 ปีแรก ยังไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เมื่อผู้ใหญ่ผ่อนคลายการป้องกันตนเอง เด็กจะป่วยมากขึ้น มาตรการปิดเมือง (Lockdown) มาตรการปิดเมืองทำให้ปริมาณการเข้ารับบริการแม่และเด็กลดลง การดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์บริการ ด้านการฝากครรภ์ และคลินิกสุขภาพเด็กดีลดลง ทำให้เด็กขาดการทำกิจกรรมยามว่างในพื้นที่ปลอดภัย เช่น สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ โอกาสทำกิจกรรมของเด็กลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะกิจกรรมนอกบ้าน เด็กใช้มือถือ ติดจออิเล็กทรอนิกส์ o พ่อแม่ใช้มือถือเลี้ยงลูก การ Work from Home ของพ่อแม่ และการเรียน Online ของเด็ก ผลักให้ สมาชิกในครอบครัวและเด็กปฐมวัยใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้น o งานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนา บริหารศาสตร์ : นิด้า และ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) (2564) พบว่ายุคโควิด-19 เด็กไทยใช้เวลาอยู่กับ สื่อออนไลน์ถึงร้อยละ 89 และอยู่กับผู้ปกครองเพียงร้อยละ 11 o ผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กใช้สื่อออนไลน์วันละ 1-3 ชั่วโมง สูงถึงร้อยละ 77.67 รองลงมาคือ 4-6ชั่วโมง ร้อยละ 16.3 และ 7 ชั่วโมงขึ้นไป ร้อยละ11.91 o ผู้ปกครองส่วนใหญ่ เริ่มให้เด็กได้ใช้สื่อตั้งแต่อายุเพียง 2-3 ปีซึ่งยังเป็นวัยที่เด็กควรงดการเข้าถึงสื่อออนไลน์ o เด็กปฐมวัยมีโอกาสในการใช้สื่อตามลำพังและเข้าถึงสื่อที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับวัยมากขึ้น การปิดสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย o การปิดสถานพัฒนาเด็กส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 3-5 ปีถึงร้อยละ 86.3 จากจำนวนเด็ก ทั้งหมดในช่วงวัยดังกล่าว ทำให้พัฒนาการถดถอย เรียนรู้หยุดชะงัก o กิจวัตรประจำวันของเด็กแปรปรวน กินนอนเล่นไม่เป็นเวลา - ขาดการฝึกฝนการช่วยเหลือตนเอง การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างต่อเนื่อง - ไม่ได้นอนกลางวันตามเวลา ไม่ได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ดื่มนมทุกวัน o สูญเสียโอกาสในการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่สถานพัฒนาเด็กจัดให้ เด็กขาดโอกาสในการได้เรียนรู้ ผ่านการเล่น การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ขาดการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากพอ ขาดการพัฒนาสร้าง ทักษะและพัฒนาการผ่านประสบการณ์และประสาทสัมผัส ตามหลักการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กปฐมวัย o ขาดความทรงจำอันเป็นประสบการณ์ดีๆ ในชีวิตจากการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในวันสำคัญหรือ กิจกรรมทางสังคมวัฒนธรรมที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชนจัดขึ้น o เด็กเล็กจำนวนหนึ่งเมื่อถึงวัยที่จะเข้าสู่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ก็ไม่มีโอกาสได้เข้าเรียน
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 43 จาก 150 เด็กต้องอยู่แต่ในบ้าน ในขณะที่ครอบครัวแบกรับปัญหามากขึ้น o เมื่อครอบครัวมีภาวะความเครียด พ่อแม่ต้องทำงานที่บ้าน และหลายบ้านขาดทักษะในการพัฒนา ลูก และเด็กต้องอยู่บ้านนาน ๆ - ครอบครัวขาดความรู้และทักษะในการพัฒนาเด็ก การพัฒนาทักษะที่จำเป็น และสำคัญ สำหรับช่วงปฐมวัยทำอย่างขาดตกบกพร่อง โดยเฉพาะผู้ปกครองกลุ่มเด็กพิเศษ มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่สามารถฝึกพัฒนาการลูกได้อย่างสม่ำเสมอ ที่เหลือทำได้ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ได้ทำเลย ส่วนตัวพ่อแม่ ผู้ปกครองเองพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีความเครียด - ครอบครัวมีความเครียด และวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยของสมาชิกใน ครอบครัว ความเครียดจากการสูญเสีย และเศรษฐกิจตกต่ำ ความเครียดเหล่านี้จะส่งต่อถึงภาวะอารมณ์ของ เด็ก เกิดความรุนแรงในบ้านที่กระทำต่อเด็ก - งานวิจัยของกรมสุขภาพจิต พบว่าความเครียด ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของผู้ใหญ่ (พ่อแม่)อยู่ในระดับร้อยละ 40–70 สะท้อนสู่อารมณ์ของเด็ก ปฏิกิริยาจากความเครียดของพ่อแม่ ทำให้เด็ก จะซึมซับระบบความเครียดนี้เข้าไปได้โดยอัตโนมัติ o เด็กได้รับอาหารโภชนาการที่ต่ำลง ครอบครัวยากจนขึ้น ครอบครัวที่ยากจน ร้อยละ 37 ขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะครอบครัวที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่กับเด็ก มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในครอบครัวเด็กเล็ก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายการจ้างผู้ดูแลเด็กและค่าอาหารเพิ่ม เมื่อเด็กไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อาหารกลางวัน และ นมจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ปิด รวมทั้งค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ป้องกันไวรัสให้แก่เด็กด้วย แม่และเด็กเข้าถึงบริการด้านสุขภาพน้อยลง - เด็กได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัยลดลงมาก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2562 (ร้อยละ 63.7 เทียบกับร้อยละ 91.2) เนื่องจากไม่สามารถไปรับการฉีดวัคซีนตามกำหนดได้ กลุ่มเด็กพัฒนาการล่าช้าก็ยิ่งเสียโอกาสได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม - แม่ตั้งครรภ์ฝากครรภ์น้อยลง โรงพยาบาลงด หรือลดการตรวจพัฒนาการเด็กและสุขภาพในช่องปาก การสูญเสียพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือคนในครอบครัวป่วย o พบเด็กปฐมวัยที่สูญเสียพ่อแม่หรือผู้ดูแล เป็นเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 20 (อายุแรก เกิด–3 ปีร้อยละ 12 และวัยอนุบาล ร้อยละ 9) - การสูญเสียผู้เป็นที่รักของเด็กเป็นความรู้สึกรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเด็ก ทั้งความกลัว วิตกกังวล และทำให้ชีวิตเด็กต้องเผชิญกับสิ่งที่เด็กคาดเดาไม่ได้ ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง และความไม่มั่นคงทางจิตใจ เด็กเปราะบางมากขึ้น กลัวการจาก กลัวความตาย - บางครอบครัวขาดผู้ดูแล ต้องนำเด็กไปฝากคนอื่นดูแลหรือพาเด็กไปทำงานด้วย ทำให้สัดส่วน เด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ซึ่งมีมากอยู่แล้ว มีมากยิ่งขึ้น
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 44 จาก 150 - เด็กที่ไม่มีญาติที่ถูกส่งเข้าสถานสงเคราะห์ มีระบบสวัสดิการเด็ก “บริการครอบครัว ทดแทน” เด็กเหล่านี้มีโอกาสถูกปล่อยปละละเลย เช่นเดียวกับเด็กในครอบครัวที่มีความเสี่ยงต่อการดูแลไม่ เหมาะสม เช่น พ่อแม่มีประวัติติดยาเสพติด ติดคุก ป่วยโรคทางจิตเวชรุนแรง ซึมเศร้า พ่อแม่เหล่านี้มีโอกาสที่ จะกระทำรุนแรงกับลูกซ้ำ ๆ ปล่อยปละละเลยเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จึงเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ในช่วงหลังสถานการณ์โควิด การปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และกติกาที่เข้มงวดเพื่อชีวิตที่ปลอดภัย o การใช้ชีวิตที่มีข้อจำกัด สวนทางกับพัฒนาการตามวัยที่สดใสร่าเริงของเด็กปฐมวัย o มาตรการเพื่อความปลอดภัยจากโรคในชีวิตประจำวัน ที่เด็กต้องปรับตัว ส่งผลต่อการเรียนรู้และ พัฒนาการเด็ก - การใช้หน้ากากอนามัย ทำให้หายใจลำบาก ต้องสูดคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ตลอดเวลา - การใช้หน้ากากอนามัยทำให้ไม่เห็นสีหน้าและรูปปากในการออกเสียง ทำให้เด็กขาดทักษะใน การสังเกต และเรียนรู้อารมณ์ของผู้อื่นผ่านสีหน้า และยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการด้านการพูด การออก เสียงอย่างถูกต้องชัดเจน เพราะเด็กไม่ได้เห็นรูปปากขณะผู้อื่นออกเสียง - การรักษาระยะห่าง และอยู่ใน Bubble ของตนเอง ทำให้ต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด ขาดอิสระใน การพบปะและทำกิจกรรมร่วมกัน - มีข้อห้าม และกติกาที่ฝืนธรรมชาติ หรือเปลี่ยนแปลงวิถีเดิมของเด็ก เช่น การเล่นที่ไม่ รวมกลุ่มใกล้ชิด การปิดสนามเด็กเล่น การนั่งในที่ที่กำหนด ความเข้มงวดในการใช้เจลแอลกอฮอล์ การล้างมือ การห้ามพ่อแม่มาส่งที่ห้องเรียน / ในบริเวณโรงเรียน ลดการโอบกอดสัมผัสใกล้ชิด การตรวจ ATK ฯลฯ - ในกรณีที่เคยป่วย หรือมีสมาชิกในบ้านเคยเป็นผู้ป่วย เมื่อเข้าสู่ชั้นเรียนจะถูกกีดกัน หรือมี ปฏิกิริยารังเกียจจากเพื่อนนักเรียนในโรงเรียน หรือชุมชนที่เด็กเกี่ยวข้องด้วย ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยทุกกลุ่มมีพัฒนาการทุกด้านถดถอย การเรียนรู้ถูกลดทอน และมีพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วง สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ชีวิตของเด็กเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ความสุขถูกลดทอนจากชีวิตที่ควรมี ความสุขตามประสาเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ ประกอบกับ “ครอบครัว” ไม่แข็งแรง ด้วยขาดความรู้ความเข้าใจ ที่มากพอ ขาดทักษะในการเลี้ยงดูเด็ก และยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อหลักการในการเลี้ยงดูและพัฒนา เด็กปฐมวัย เมื่อต้องดูแลเด็กด้วยตนเองมากขึ้น และขาดการประคับประคอง สิ่งที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เมื่อเด็กกลับสู่ชั้นเรียน พบว่า สิ่งที่เคยทำได้ กลับทำไม่ได้ การช่วยเหลือ ตนเอง และกำกับตัวเองทำได้น้อยลงมาก บางคนมีอาการเหม่อลอย แยกตัว อยู่ไม่นิ่ง พูดไม่เป็นภาษาหรือไม่ ยอมพูดกับเพื่อนหรือครู ร้องไห้ไม่อยากจากบ้าน หรือมีอาการติดสื่อหน้าจอขึ้นมาก หากไม่ได้รับการฟื้นฟูดูแล
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 45 จาก 150 อย่างเหมาะสมทันเวลา อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการในระยะถัดไป รวมถึงการพัฒนาทักษะสมอง และ ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กอย่างถาวร โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางและเด็กในสถานสงเคราะห์ ผลกระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกาย o เด็ก ACEs หรือเด็กที่ได้รับประสบการณ์ไม่พึงประสงค์ มีปัญหาสุขภาพกาย-ใจ ในระยะยาว และ เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง (NCDs) เครียดสะสม สมองเรียนรู้ไม่ดี อายุขัยสั้น o เด็กปฐมวัยมีแนวโน้มเกิดภาวะขาดธรรมชาติ(NDD-Nature Deficit Disorder) การไม่ได้สัมผัส ธรรมชาติ ขาดการเล่นกลางแจ้งหรือพื้นที่สาธารณะ นานเข้าจะขาดภูมิต้านทานต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก และ ยิ่งหันไปใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น o เด็กที่แม่ติดเชื้อ เสี่ยงต่อการมีพัฒนาการล่าช้า เปรียบเทียบกับเด็กที่แม่ไม่ติดเชื้อ เมื่อผ่านไป 1 ปี เด็กมีความแตกต่างที่พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และพัฒนาการด้านภาษา สาเหตุอาจเกิดจากแม่มี ความเครียดมากกว่า และเด็กที่ถูกแยกกักตัวเมื่อพ่อแม่หรือครอบครัวติดเชื้อจะส่งผลลบต่อเด็กทุกด้าน o เด็กมีสุขภาพที่อ่อนแอลง อ้วนขึ้น เตี้ยลง มีปัญหาสายตา ฟันผุมากขึ้น เพราะขาดการดูแล สุขภาพอนามัยและพัฒนาการที่มากพอ การใช้จอนาน ขาดการดูแลพฤติกรรมการกิน อาหารที่ได้ไม่มีคุณค่า ทางโภชนาการที่ดีพอ ขาดการออกกำลังกาย ผลกระทบระยะยาว - เด็กไม่สนใจการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย ไม่ชอบการเคลื่อนไหว หรือการทำ กิจกรรมที่ต้องออกแรง กลัวเหนื่อย กลัวร้อน ติดสบาย - ขาดระเบียบในการใช้ชีวิตประจำวัน การกิน การนอน ขาดการกำกับตนเองและความ รับผิดชอบ ไม่ใส่ใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ ตามใจตนเองในการใช้ชีวิต - เด็กติดเกม ติดจออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีผลรุนแรงต่อสุขภาพอนามัย อุปนิสัย การทำงานของ สมอง เด็กจะเรียนรู้ช้า สมาธิสั้น และมีแนวโน้มพฤติกรรมก้าวร้าว ปรับตัวยาก ยืดหยุ่นต่ำ ผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ o มีปัญหาการจัดการกับอารมณ์ เด็กจะหงุดหงิดง่าย อารมณ์เสีย งอแง ดื้อผิดปกติ เรียกร้องความ สนใจ เก็บตัว ไม่ร่าเริง ช่วยเหลือตัวเองน้อยลง กำกับตัวเองได้ไม่ดี o เด็กเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ขาดความสุขสูงมากขึ้น เด็กอาจมีความวิตกกังวลสูงได้หลายด้าน จากความกังวลเรื่องโรค สถานการณ์ที่กระทบต่อครอบครัว และความกดดันที่พ่อแม่ห่วงเรื่องการเรียน จึงมา เร่งรัดการเรียนของลูก ยิ่งเพิ่มความเครียดให้เด็กมากขึ้น o สมองเด็กปฐมวัยที่มีความไวต่อผลกระทบต่าง ๆ เมื่อได้รับผลกระทบมากขึ้นหลายส่วน โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเปราะบางซึ่งมีความเครียดสูง จะส่งผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์จิตใจ และอาจกระทบไป ถึงระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน และทำให้มีพัฒนาการทางอารมณ์สังคมล่าช้า
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 46 จาก 150 o เด็กพิเศษ (เด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา) มีแนวโน้ม มีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น เด็กหงุดหงิดง่าย ดื้อ เอาแต่ใจ ให้ความร่วมมือในการฝึก น้อยลง จากการบำบัดฟื้นฟูที่ไม่ต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน และถูกจำกัดให้อยู่บ้านจากการ หยุดเรียนตามมาตรการการควบคุมการระบาด แม้มีโปรแกรมการฝึกออนไลน์ แต่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึง เพราะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์พิเศษที่บางครอบครัวไม่สามารถจัดหาได้ ผลกระทบระยะยาว - ความรุนแรงในครอบครัวที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับต้องอยู่บ้านเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เด็กทุกช่วงอายุ ร้อยละ 65 รู้สึกเบื่อ เหงา หงุดหงิด และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า รูปที่ 1 ผลกระทบจากความเครียดรุนแรง (Toxic stress) ที่มีต่อสมองของเด็ก (ที่มา : Persistent fear and chronic anxiety can affect young children’s learning and development. Center on the developing child, 2010) - เด็กมีบุคลิกภาพ และพฤติกรรมเชิงลบ เช่น เก็บตัว ก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน อดทนต่ำ มีความสุขยาก - ความเครียดสั่งสมระยะยาว ส่งผลต่อการทำงานของสมอง โดยเฉพาะในส่วนของการเรียนรู้ ทำให้การใช้เหตุผลและการเรียนรู้ช้า ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต - ความเครียดระยาวส่งผลให้เด็กมีภาวะซึมเศร้าได้ ผลกระทบต่อพัฒนาการด้านสังคม o เด็กมีทักษะทางสังคม (SEL- Social Emotional Learning) ลดทอนไปมาก ปรับตัวยาก การช่วยเหลือตนเองลดลง ความสามารถในการกำกับตนเองทำได้น้อยลง เด็กมีปัญหาด้านการปรับตัวเมื่อกลับ สู่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ความสัมพันธ์กับครูและเพื่อนในชั้นเรียนไม่ราบรื่น มีปัญหาพฤติกรรม ก้าวร้าว ซน สมาธิสั้นมากขึ้น
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 47 จาก 150 o เด็กมีความเครียดง่ายเมื่อต้องแยกจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัว โดยเฉพาะเมื่อต้องมาอยู่ใน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเมื่อสถานการณ์โควิดสงบลง o เด็กขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง ไม่สนใจผู้อื่น ใช้เวลาส่วนใหญ่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่สนใจ ทำกิจกรรมอื่น ขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก o ขาดทักษะในการสื่อสารกับคนอื่น โดยเฉพาะกับเด็กด้วยกัน o ภายใต้มาตรการเรียนออนไลน์ เด็กปฐมวัยคือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะเป็นการ เรียนการสอนที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัยมากที่สุด ทำให้เด็กขาดพัฒนาการทางสังคม ขาดการปฏิสัมพันธ์กับเด็ก วัยเดียวกัน อันเป็นทักษะสำคัญยิ่งต่อความสามารถในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตต่อไป ผลกระทบระยะยาว • เด็กอาจจะปรับตัวช้า เข้ากับคนยาก มีบุคลิกภาพเก็บตัว ไม่แสดงออก ไม่ร่าเริงตามวัย เหงา ไม่มีเพื่อนเล่น ขาดความสุข ส่งผลให้การเรียนรู้ไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งที่ไม่ได้มีปัญหาทางด้านสติปัญญา • เด็กที่มีทักษะทางสังคมต่ำ จะเป็นเด็กที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าคิดกล้าตัดสินใจ หรืออาจจะมีพฤติกรรมที่ตรงข้ามคือ ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย เพื่อทดแทนความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจเมื่อต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น • มีแนวโน้มมีปัญหาพฤติกรรมการเข้ากลุ่มกับเพื่อน อาจมีปัญหาที่จะถูกกลั่นแกล้ง (Bully)จากเพื่อนได้ ผลกระทบต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา o ในสถานการณ์โควิด งานวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้ได้เพียงร้อยละ 10 จากสิ่งที่เด็กควร จะเรียนรู้ได้เท่านั้น เด็กปฐมวัยเกิดภาวะสูญเสียการเรียนรู้(Learning Loss) สูงถึงร้อยละ 90 เนื่องจาก โรงเรียนปิดเวลานานและพ่อแม่ไม่สามารถส่งเสริมให้ลูกเกิดการเรียนรู้ที่บ้านได้ o เด็กขาดโอกาสในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ การลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่าง มีคุณภาพ ไม่ได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน o เด็กขาดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ มีผลมาจากการปิดเรียน ส่งผลให้เด็กอยู่กับจออิเล็กทรอนิกส์ นาน ทั้งเพื่อความบันเทิง และการเรียนทางไกลที่ไม่มีประสิทธิภาพ พ่อแม่ไม่มีความรู้และไม่มีเวลาจัด ประสบการณ์ที่มีคุณภาพให้เด็กได้มากพอ o พ่อแม่ ผู้ปกครอง ขาดการติดต่อและขาดความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับทางโรงเรียน ทำให้ไม่ได้รับ ความช่วยเหลือด้านคำแนะนำ และการร่วมมือพัฒนาเด็กด้วยกันจากครูและผู้ดูแลเด็ก o เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ และพัฒนาการ เข้าไม่ถึงการให้บริการ และ การอำนวยความสะดวก ไม่ได้รับการประเมิน วินิจฉัย และได้รับการดูแลรักษาที่ล่าช้า ซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่เดิม
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 48 จาก 150 ผลกระทบระยะยาว • ความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ ขาดทักษะในการคิดและลงมือทำงาน ความคล่องแคล่วในการ ใช้และควบคุมร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กลดลง ทำให้พบกับความสำเร็จในการลงมือทำได้ยาก • ทักษะสมอง EF พัฒนาล่าช้า มีผลต่อความสามารถในการกำกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมเพื่อไปสู่เป้าหมาย ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองต่ำ ประสบความสำเร็จได้ยาก • พัฒนาการทางสติปัญญาที่ล่าช้า ส่งผลต่อพัฒนาการอีก 3 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคม แนวทางการฟื้นฟู ความเสียหายจากสถานการณ์โควิด-19 การรวบรวมแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการประชุมจัดการความรู้ ในการฟื้นฟูพัฒนา เด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์โควิด-19 (สิงหาคม 2565) ได้ข้อสรุปสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่จะช่วยฟื้นฟูเด็กให้ กลับมามีพัฒนาการที่สมวัย มีการเรียนรู้ที่สามารถทดแทนการเรียนรู้ที่หายไป และเกิดผลดีต่อเด็กในระยะยาวดังนี้ 1) เพิ่มกิจกรรมนอกบ้านให้มากขึ้น เด็กได้เล่น ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมทางกายให้มาก Timmons et al. (2021) ได้กล่าวไว้ว่า การเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับอายุ ทำให้ เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการตาม Milestone ได้เร็วกว่าและดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้รับกิจกรรมทางกาย - พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรให้โอกาสพาเด็กมาสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ให้เด็กได้ออกมาเล่น กลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นต่างๆ - ทำกิจกรรมออกกำลังกายร่วมกับเด็กเช่น วิ่งด้วยกัน ชวนลูกปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เล่นเกม เป็นต้น - การออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านกับธรรมชาติ จะเพิ่มความกระตือรือร้นต่อสิ่งรอบตัว ไม่ว่า จะเป็นการสำรวจธรรมชาติรอบบ้าน หน้าบ้าน การรดน้ำต้นไม้ ปลูกผัก ผลลัพธ์ที่ได้ จากการทบทวนวรรณกรรมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร (2012-2021) พบว่ายิ่งมี กิจกรรมทางกายมากเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการดีทุกด้าน ไม่เฉพาะทางกายเท่านั้น ได้แก่ - มีสมรรถนะร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ตื่นตัว ทรงตัวดี - มีพัฒนาการด้านการรู้คิด การแก้ปัญหา การยั้งคิดไตร่ตรอง หรือทักษะสมอง EF ที่ดีได้ - มีสุขภาพกระดูก และโครงร่างกายที่ดี - การออกกำลังกายช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาพัฒนาการด้านอารมณ์ ช่วยบำบัดฟื้นฟูเด็ก ACEs
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 49 จาก 150 ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงวินัดดา ปิยะศิลป์นำเสนอแผนภาพให้เห็นว่า การสร้างนิสัยออกกำลังกาย จะช่วยให้เด็กสะสมชัยชนะเล็ก ๆ และสะสมความสามารถที่เพิ่มขึ้นจากการออกกำลังกาย บางครั้งทำไม่ได้ ก็จะพยายามต่อไป ทำให้เด็กมีจิตใจที่เข้มแข็ง รูปที่ 2 กราฟแสดงการสร้างนิสัยออกกำลังกาย ช่วยให้เด็กสะสมชัยชนะเล็ก ๆ (ที่มา : www.youtobe.com/watch?v=kvhEEfq-g) 2) ปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของลูกในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง - สร้างวินัยในชีวิตประจำวัน กิน นอน เล่น เป็นเวลา - จัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การนอนที่เพียงพอ ได้เล่น การลงมือทำให้มากพอ - สร้างนิสัยที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ และความปลอดภัย ผลลัพธ์ที่ได้ - เด็กได้รับการฟื้นฟูพัฒนาการด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว มีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น - ลดการเจ็บป่วย และความเสี่ยงต่อโรค - เด็กมีนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพ และมีวินัยในการกำกับตัวเองในระยะยาว - เด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง จะส่งผลต่อการเรียนรู้ มีพลังในการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ มีบุคลิกภาพที่ดี 3) สร้างสัมพันธภาพ เพิ่มกิจกรรมครอบครัว สร้างบรรยากาศในบ้านที่มีความสุข ลดความเครียด ความก้าวร้าวรุนแรง - รับฟังเด็กให้มาก ยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่ออารมณ์สงบลงแล้วจึงค่อยสอน - พูดคุยและสร้างข้อตกลงการอยู่ร่วมกันในครอบครัว และทุกคนช่วยกันรักษากติกา - มีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน (เช่น เล่น เล่านิทาน ทำอาหาร ทำงานบ้าน) ในชีวิตประจำวัน หรือ มีกิจกรรมพิเศษ ในการใช้เวลาร่วมกัน หากพ่อแม่อารมณ์ดีมีความสุข ความสัมพันธ์กับลูกดี จะกลายเป็นความทรงจำที่ดีของต่อลูก - ไม่ใช้ความก้าวร้าวรุนแรงในครอบครัว ไม่กดดันเรื่องการเรียน ไม่เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 50 จาก 150 ผลลัพธ์ที่ได้ - เด็กจะความสุข มีคุณภาพของจิตใจที่ดี มองโลกอย่างมีความหวัง - เด็กจะมีแนวโน้มเป็นคนอารมณ์ดี คนอารมณ์ดีจะมีความไวต่ออารมณ์ของคนอื่น รับรู้อารมณ์ ผู้อื่นได้ และสามารถตอบสนองผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม ทำให้เป็นที่รักของคนรอบข้าง - เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว หากมีปัญหาใดๆเกิดขึ้นในอนาคต เด็กจะกลับมาบ้าน และ มีพ่อแม่เป็นที่ปรึกษา ที่พึ่งทางใจ ความทรงจำที่ดีที่ได้จากครอบครัว จะช่วยฟื้นฟูอารมณ์ใน ยามลูกเศร้า ผิดหวัง หรือทำผิดพลั้ง เด็กจะมีความคงทนต่อสถานการณ์ที่กระทบต่ออารมณ์ได้ดี 4) สร้างความมั่นคงทางจิตใจ ด้วยการฝึกสติ เรียนรู้เรื่องอารมณ์ เด็กไม่เล็กเกินกว่าที่จะเรียนรู้เรื่องจิตใจที่อยู่ภายใน การเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ผ่านการสะท้อน ความรู้สึก เด็กสามารถเรียนรู้ที่จะฝึกฝนให้เกิดความสงบในใจได้ โดยทำร่วมไปกับพ่อแม่ผู้ปกครอง และมี ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่าง - ชวนพูดคุยให้เด็กเข้าใจอารมณ์ของตนเอง ว่ากำลังรู้สึกอย่างไร บอกตัวเองได้ บอกพ่อแม่ได้ การพูดออกมาจะทำให้เด็กผ่อนคลายลง เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ซึ่งจะเป็นฐานของการเข้าใจ ความรู้สึกของผู้อื่นได้ดีขึ้นต่อไป - ฝึกการควบคุมตน ควบคุมใจ เช่น การฝึกเดินในสนามแบบช้า ๆ ไปด้วยกัน การชวนคิดอย่าง ใคร่ครวญ การประเมินการกระทำ ผลการกระทำที่เกิดขึ้นทั้งสิ่งที่เห็น และสิ่งที่อยู่ภายในใจ - พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นแบบอย่าง ทั้งการฝึกสติที่ทำไปด้วยกัน และวิธีการจัดการกับอารมณ์เมื่อ เผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้ - เด็กจะมีความสามารถในการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง และสามารถปรับอารมณ์สู่ความเป็น ปกติได้เร็วเมื่อเผชิญความทุกข์ความไม่พอใจ มีสติ ลดความหุนหันพลันแล่นและแสดงออกอย่างเหมาะสม มีความสุขง่ายขึ้น 5) สร้างนิสัยแห่งความสุข - พ่อแม่ ผู้ปกครองหมั่นฝึกให้เด็กเป็นคนอ่อนโยน รู้จักการให้ ทำตัวให้เป็นประโยชน์ มอง โอกาสที่จะทำสิ่งที่ดีให้กับผู้อื่น ผ่านนิทาน เรื่องเล่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันการที่เด็ก ช่วยเหลือคนอื่นจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของตนเอง ช่วยให้เด็กมีความสุข - ชวนให้เด็กมองเห็นความดี ความงาม สุขและสนุกได้ง่ายกับเรื่องเล็กๆ ในสิ่งใกล้ตัว ให้เด็กได้ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ - เมื่อมีความผิดพลาด ให้อภัยตนเอง ให้อภัยผู้อื่นได้ง่าย ให้โอกาสตนเอง ให้โอกาสผู้อื่น