The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารวิชาการ-ฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัยหล1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nureeda1399, 2023-03-29 12:02:43

เอกสารวิชาการ-ฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัยหล1

เอกสารวิชาการ-ฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัยหล1

เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 51 จาก 150 - ชื่นชมเมื่อเด็กทำความดี ทำสิ่งต่างๆ สำเร็จ และให้กำลังใจเมื่อทำไม่สำเร็จ เกิดความ ผิดพลาด ให้มองเห็นความล้มเหลวเป็นการเรียนรู้และพยายามต่อไป เพื่อให้เด็กเป็นคนที่ “ล้มแล้วลุกได้” ผลลัพธ์ที่ได้ - เด็กมีความสุขได้ง่าย มีความทุกข์ยาก มีความสุขเป็น จิตใจอ่อนโยน - มีความหวังและกำลังใจ ไม่กลัวความล้มเหลว กล้าคิดกล้าทำ - เป็นที่รักของคนรอบข้าง สร้างพลังงานที่ดีให้กับผู้อื่น 6. ทักษะทางสังคมลำดับแรก คือการพึ่งพาตนเอง และรับผิดชอบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน - ให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง ดูแลของใช้ส่วนตัว อย่างเหมาะแก่วัย ให้เด็กได้แก้ปัญหาในชีวิต ประจำวันด้วยตนเอง ต้องไม่ด่วนให้การช่วยเหลือ หมั่นชื่นชมและให้กำลังใจ - ให้เด็กได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เด็กมีทักษะในการทำงาน การจัดการ มีความรับผิดชอบ และกำกับตนเองให้ทำสิ่งที่ควรทำ มีความอดทนอดกลั้น เหล่านี้ล้วนเป็นทักษะจำเป็นเมื่อ ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น - สร้างความท้าทาย และให้เด็กได้ทำสิ่งที่ยาก (แต่ไม่เกินวัย) เพื่อให้เด็กได้ประเมิน ได้ค้นพบ และได้ขยายศักยภาพของตนออกไปได้อีก 7. ให้เด็กได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆ เพื่อผู้อื่น ได้ทำงานบ้าน งานของครอบครัว - พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีของการทำความดีเพื่อคนอื่น ความมีน้ำใจแบ่งปัน - ฝึกให้ลูกได้รับผิดชอบทำงานบ้านตามวัย เรียกให้ลูกมาช่วยงานอย่างสม่ำเสมอ - สร้างนิสัยจิตอาสา เอื้อเฟื้อและมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น 8. ให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นทั้งกับเด็กในวัยเดียวกัน และกับผู้ใหญ่ - เด็กได้โอกาสพัฒนาทักษะทางสังคม ในการปรับตัว สื่อสาร ยอมรับกฎกติกา ประนีประนอม ต่อรอง แก้ปัญหา ร่วมกับผู้อื่น - ให้เด็กได้มีโอกาสพบกับความหลากหลายของผู้คน และสถานการณ์ที่แปลกใหม่ สถานที่ ที่ไม่คุ้นเคย แต่ต้องทำด้วยความอ่อนโยน และนุ่มนวล ไม่บังคับข่มขู่ ชวนเด็กพูดคุย และประเมินตนเองในการ ปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ 9. ลดการตามใจ และให้เด็กมีโอกาสได้เผชิญความยากลำบากตามวัย - สร้างข้อตกลงร่วมกัน และร่วมกันเคารพกติกา ไม่ด่วนตอบสนองความต้องการของเด็กทันที หากให้คำนึงถึงผลลัพธ์ระยะยาวที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก และชวนกล่อมเกลาให้เด็กคิดทบทวนการกระทำของตน ไม่ปล่อยให้เด็กทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องจนเป็นความเคยชิน


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 52 จาก 150 ผลลัพธ์ที่ได้ (จากข้อ 5 - 9) - เด็กจะเกิดความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง เห็นคุณค่าและความสามารถของตนเอง และ ของผู้อื่น พร้อมที่จะทำกิจกรรมและเปิดรับความสัมพันธ์กับผู้อื่น อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี - มีทักษะที่จำเป็นในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนให้การต้อนรับเป็นสมาชิกในกลุ่ม - เด็กปรับตัวได้ดีในสถานการณ์ต่างๆ กำกับตัวเองได้ดี รู้ว่าควรทำหรือไม่ทำสิ่งใด 10. พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ถูกต้องในการเลี้ยงดูเด็ก ให้ความร่วมมือและพัฒนาเด็กร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย - นำสิ่งที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้คำแนะนำ หลังจากที่ได้ประเมินพัฒนาการของลูกไปปฏิบัติ - เข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้ที่สถานพัฒนาเด็กจัดให้กับผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ - ติดตามข้อมูล หาความรู้และเข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงาน องค์กรต่างๆ จัดให้เพื่อส่งเสริม ความรู้และทักษะให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ปัจจุบันมีช่องทางมากมาย และไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ทำให้เข้าถึงความรู้ ได้โดยง่ายผ่านมือถือ หรือแท็ปเลต - มีสติ และตรวจสอบตนเองอยู่เสมอว่าการเลี้ยงดูของเราเป็นอย่างไร มองให้เห็นว่าถ้าเลี้ยงดู ด้วยวิธีการที่ทำอยู่ จะส่งผลอย่างไรต่อลูกทั้งระยะสั้น และระยะยาว ไม่เป็น “พ่อแม่รังแกฉัน”ที่ตามใจและ ยอมให้เด็กเอาแต่ใจในเรื่องที่ไร้เหตุผล ซึ่งเป็นการทำร้ายเด็กโดยไม่รู้ตัว การเอาใจมากพร้อมจัดการทุกอย่าง ให้ลูก ทั้งที่เด็กในวัยเดียวกันทำด้วยตนเองได้ก็เป็นการบั่นทอนศักยภาพของลูกที่จะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง - หมั่นสังเกต และติดตามพัฒนาการลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางสถานการณ์โควิด กรณีที่ ลูกมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาสุขภาพกายใจ ควรปรึกษา ครู แพทย์พยาบาล ที่ดูแลเด็ก อย่างทันท่วงที ผลลัพธ์ที่ได้ - เด็กสามารถฟื้นฟูพัฒนาการได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพ่อแม่ ผู้ปกครองนำสิ่งที่เรียนรู้มาปฏิบัติ อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ - พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีความรู้ เกิดทักษะในการปฏิบัติ และเรียนรู้และเติบโตไปพร้อมกับ การเติบโตของลูก สิ่งเหล่านี้ยังสำคัญต่อการนำไปใช้ในการตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆ ให้กับลูกอย่างรู้คุณค่า ไม่ตกเป็นเหยื่อของความหลงผิด การชวนเชื่อจากโฆษณาทางธุรกิจ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน การเลี้ยงดูแบบ ตาม ๆ กระแสกันไป - พ่อแม่ ผู้ปกครองมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนเอง การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเป็น แบบอย่างที่ดีให้กับลูก เมื่อพ่อแม่เปลี่ยนลูกก็จะเปลี่ยนตาม - เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย เติบโตเต็มตามศักยภาพ มีต้นทุนชีวิตที่ดีเพื่อเป็นรากฐานสำคัญของ ชีวิตในอนาคต


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 53 จาก 150 นวัตกรรมการฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยสําหรับพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัว สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันหาหนทางที่จะช่วยเหลือเด็กในภาวะ วิกฤต มีผู้พยายามพัฒนาแนวคิด หรือนวัตกรรมเพื่อฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ที่แตกต่าง จากวิธีการเดิมจำนวนไม่น้อย สำหรับนวัตกรรมที่พ่อแม่จะนำไปใช้ อาจทำได้ดังนี้ 1. กิจกรรมที่ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ฝึกปรับตัวในการพึ่งตนเอง ให้เด็กได้ออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน โดยลดความสะดวกสบายลง แลกด้วยความรู้สึกท้าทาย และ ตื่นเต้นกับประสบการณ์และการเรียนรู้ใหม่ ๆ ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว เช่น การใช้ชีวิตในชนบท การตั้งแคมป์ในอุทยานแห่งชาติการศึกษาศูนย์การเรียนรู้ตามวิถีชนบท อาทิ การดำนา การเลี้ยงไก่ การเรียนรู้ ชีวิตเต่า และปล่อยเต่าลงทะเล การลุยป่าชายเลน เป็นต้น โดยทั่วไปในชุมชนต่าง ๆ จะมีพื้นที่เรียนรู้ตามวิถี ชีวิตเช่นนี้จำนวนไม่น้อย ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถพาลูกเข้าไปขอเรียนรู้ได้ และปัจจุบัน ก็มีสถานที่จัด การเรียนรู้ในรูปแบบนี้สำหรับเด็กแพร่หลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมินิฟาร์ม ฟาร์มโคนม ห้องเรียนธรรมชาติ ซึ่งนอกจากเด็กจะได้เรียนรู้ ได้พัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) จากกิจกรรมแล้ว เด็กยังมีความทรงจำที่ดีกับครอบครัว เป็นต้นทุนความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และความมั่นคง ทางจิตใจ มีSelf-Esteem ที่ดี นอกจากนี้เด็กยังมีทัศนคติที่ถูกต้องว่า การเรียนรู้ไม่ได้อยู่แต่ในห้องเรียน เท่านั้น เราสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เป็นการฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กได้ดียิ่ง 2. การทำ Project ตามความสนใจของเด็ก โดยการชวนเด็กให้เรียนรู้และลงลึกในสิ่งที่สนใจ มีเป้าหมายในการเรียนรู้ซึ่งเริ่ม Project อาจจะ เกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จากการฟังนิทานที่มีกิจกรรมท้ายเล่ม การมีแรงบันดาลใจจากสิ่งที่ได้ไปเห็น ไปเที่ยวมา พ่อแม่หลายครอบครัวได้นำแนวคิดการทำโครงการที่โรงเรียนอนุบาล มาปรับใช้สำหรับลูกที่บ้าน ที่มีพ่อแม่เป็นเพื่อนเรียนรู้ เมื่อสังเกตการความสนใจของลูก ความกระตือรือร้น สร้างความรู้สึกสนุก ท้าทาย ให้กับลูก ชวนลูกวางเป้าหมายในการเรียนรู้ แล้วลงมือเรียนรู้ ตัวอย่างโครงการส่วนตัวของเด็ก เช่น เด็กอาจ สนใจการทำไอศรีม การทดลองทำน้ำปั่นรสชาติต่างๆ การประดิษฐ์ของเล่น การทำขนม การซ่อมอุปกรณ์ การศึกษาชีวิตสัตว์ ฯลฯ พ่อแม่ชวนลูกไปสำรวจ สืบเสาะ ทดลองทำ สรุปและบันทึกภาพการเรียนรู้ และบอก เล่าสิ่งที่เรียนรู้ให้คนอื่นได้ฟัง การจัดโอกาสให้เด็กได้เอาจริงเอาจังกับสิ่งที่ตนสนใจ เป็นการสร้างการนิสัยการเรียนรู้ที่เกิดจากการ ริเริ่มด้วยตนเอง นอกจากจะช่วยฟื้นฟูการเรียนรู้และพัฒนาการที่ถดถอยแล้ว ยังเป็นการสร้างเป็นคุณลักษณะ ที่ดีของเด็กในยุคหน้า สร้างความภาคภูมิใจและเห็นศักยภาพของตนเอง นอกจากนี้ยังทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้เพิ่มทักษะในการสนับสนุนการเรียนรู้ของลูกไปด้วยในคราวเดียวกัน


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 54 จาก 150 นอกจากการทำโครงการที่พัฒนาขึ้นมาใหม่แล้ว การทำงานบ้านที่ต้องทำกันในครอบครัว เช่น การล้าง รถ การทำสวน การทำครัว การทำความสะอาดบ้าน ร่วมกันของสมาชิกครอบครัว ก็สามารถสร้างให้เป็น โครงงานสร้างสรรค์ที่สนุก และช่วยฟื้นฟูพัฒนาการที่ถดถอยไป ให้กลับคืนมาสมวัยได้เช่นเดียวกัน 3. การอ่านหนังสือที่มีลักษณะเฉพาะ เป็น Series เป็น Setแม้จบในตอน แต่ก็มีตอนต่อไปให้ติดตาม หนังสือที่อ่านให้ลูกฟังในลักษณะเป็น Series หรือชุด Set จะช่วยให้เด็กมีความผูกพันกับตัวละคร ความกลมกลืนของเนื้อหาที่ร้อยเรียงสัมพันธ์ ทำให้เด็กกระตือรือร้นที่จะอยากจะให้พ่อแม่อ่านให้ฟังอย่าง ต่อเนื่อง และรอคอยตอนต่อไปอย่างจดจ่อ การอ่านนิทานกับลูก เป็นกิจกรรมง่าย ๆ ใช้เวลาไม่นาน แต่สร้าง ผลกระทบที่มีพลังอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องฟื้นฟูเด็กในเรื่องพัฒนาการทางภาษา 4. การเล่นแบบลูสพาร์ท (Loose Parts Play) สร้างโอกาสให้ลูกได้ใช้การสังเกต สำรวจ สร้างสรรค์ มาสร้างรูปแบบต่างๆ อย่าง เพลิดเพลิน การเล่นนี้สนุกตั้งแต่เด็กเริ่มสะสม วัตถุขนาดเล็กๆ ที่มีอยู่ทั้งในบ้าน นอกบ้านไม่ว่า จะเป็นก้อนกรวด จุกขวด กระดุม ลูกแก้ว หลอด เล็ก ๆ กิ่งไม้ ใบไม้ เมล็ดพืช ยางวง ไหมพรม มา จัดใส่กล่อง ขวดโหล ตะกร้า ถาด เพื่อเก็บไว้เล่น การเล่น Loose Part Play อาจเป็นเหมือน นวัตกรรมย้อนยุค ดังเช่นในสมัยก่อนที่เด็กไม่ได้มี ของเล่นมากนัก แต่เด็กจะนำสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมา ทำเป็นของเล่น หรือหาวิธีเล่นเองได้ ทฤษฎีการเล่น Loose Part Play มีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่า “เด็กทุกคนต้องการที่จะสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง” เมื่อเด็กเห็นความหลากหลายของของสะสมเหล่านี้ เด็กจะเกิดความคิดสร้างสรรค์ และนึกสนุกที่จะนำมาจัดเรียงใหม่ ออกแบบใหม่ และปรับแต่งชิ้นส่วนต่างๆ ได้อย่างไม่สิ้นสุด การเล่นแบบนี้ ไม่ถูกตัดสินความถูกผิด สวยไม่สวย ขึ้นกับความพอใจของตัวเด็กเอง เด็กจึงรู้สึกถึงอิสรภาพในการทำงานอย่าง แท้จริง Loose Part Play เป็นการเล่นที่แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ให้คุณค่าต่อการเรียนรู้อย่างมาก การทำกิจกรรมหรือเล่นตามตัวอย่างข้างต้น เป็นการคืนความสุข คลายความเครียดที่สะสมให้แก่เด็ก รวมทั้งเบนความสนใจของเด็ก ๆ ไปจากมือถือ และเป็นโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้ฟื้นฟูพัฒนาการทุกด้าน ท่ามกลางความรักความเอาใจใส่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งจะใช้เวลาฟื้นฟูเพียงไม่กี่เดือน พัฒนาการของ ลูกหลานก็จะกลับมาสมวัยได้ตามที่ควร รูปที่ 3 ตัวอย่างการเล่นแบบบลูสพาร์ท (Loose parts play) (ที่มา : https://littlegreencrafts1.wordpress.com/2020/06/01/)


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 55 จาก 150 สถานการณ์การดูแลเด็กปฐมวัยในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) Learning Loss คืออะไร? ภาวะการเรียนรู้ถดถอย หรือ Learning Loss หมายถึง การที่เด็กๆ กลับมาห้องเรียนภายหลัง สถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้วคุณครูพบว่าเด็ก ๆ ดูงอแง ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ไม่ ค่อยเล่นกับเพื่อน ไม่ทำกิจกรรมตามที่คุณครูบอก ไม่ยอมจับดินสอขีดเขียน เหม่อลอย ติดมือถือ ใช่หรือไม่ ? การฟื้นฟูเด็กหลังสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หมายถึง การที่คุณครูช่วยให้เด็ก ๆ วาดรูปวงกลมได้ใส่กางเกงได้เอง พูดได้เป็นประโยค กระโดดสองขา นั่งเรียบร้อยฟังนิทาน เชื่อฟังคุณครูทำ ตามกิจกรรมที่คุณครูบอกได้ใช่หรือไม่ ? ถ้าเรามองเพียงพฤติกรรม ความสามารถภายนอกที่เด็กปฐมวัยควรทำได้การฟื้นฟูเด็กหลังการปิด สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไปเกือบ 2 ปีเต็ม ก็ดูจะไม่ใช่เรื่องที่น่าจะต้องตื่นตระหนกมากนัก ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว ว่าภายในเวลาไม่นาน ส่วนใหญ่ไม่เกิน 3-6 เดือน ความสามารถเล็กๆน้อยๆเหล่านี้เมื่อเด็กๆได้รับการฝึกฝน เด็กส่วนใหญ่ก็สามารถกลับมาทำกิจกรรมตามที่คุณครูบอกได้อาจจะไม่คล่องแคล่วมาก แต่ก็ค่อยๆเริ่มทำได้ และค่อย ๆ ดีขึ้นตามศักยภาพความสามารถที่แตกต่างของเด็กแต่ละคน ที่จริงแล้วคำว่า Learning Loss หรือ ภาวะการเรียนรู้ถดถอย มีความหมายซับซ้อนมากกว่านี้ Suggested citation: Center on the Developing Child (2007). The Science of Early Childhood Development (InBrief). Retrieved from รูปที่4 แสดงตัวอย่างประสบการณ์ที่เด็กได้รับในช่วงปฐมวัย ช่วยให้เครือข่ายใยประสาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก และรวดเร็ว (แรกเกิด – 6 ปี) จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงถ้าไม่ได้ถูกใช้งาน (Pruning) (ที่มา : www.developingchild.harvard.edu)


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 56 จาก 150 พฤติกรรมภายนอกที่เรามองเห็น เด็กปฐมวัย หรือ เด็ก ๆ ในความดูแลของพวกเรา ที่กำลังวิ่งเล่น นั่งเล่นอยู่ในห้อง สมองของเด็กใน ช่วงวัยนี้มีความพร้อม มีศักยภาพในการเติบโต ได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด (รูปที่ 4) สมองในช่วงวัยนี้มีความ ยืดหยุ่น พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ขึ้นกับประสบการณ์ภายนอกที่เด็กได้รับ (Neuroplasticity) (Center on the Developing Child, 2007) ถ้าเด็กได้รับประสบการณ์ที่ดีได้รับอาหารที่ดีได้รับประทาน นม เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ทุกวัน ร่วมกับการได้รับความรัก ความอบอุ่น ได้รับกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง สมองก็จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ใยประสาทจะแตกกิ่งก้านสาขาเป็นเครือข่ายที่แน่นหนา ในทางตรงกันข้าม ถ้า เด็กได้รับอาหารที่ไม่มีประโยชน์กินขนมถุง น้ำอัดลมทุกวัน ไม่มีกิจกรรมอะไรทำ นอนเล่นโทรศัพท์มือถือ ไม่มี ผู้ใหญ่พูดคุยเล่นด้วย หรือที่เลวร้ายไปกว่านั้น เด็กได้รับความรุนแรง ประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต พ่อแม่ทุบตี ทำร้ายลูก สมองของเด็กกลุ่มนี้ก็จะหยุดการเจริญเติบโต ใยประสาทแตกหัก ไม่มีการสร้างวงจรเครือข่าย ประสาทใหม่ๆ (รูปที่ 5) เด็กกลุ่มนี้ก็จะเติบโตขึ้นแบบที่ไม่พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โครงสร้างสมองไม่พร้อมที่จะ ทำงานยาก ซับซ้อน ไม่พร้อมที่จะทำงานที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรอง แก้ปัญหา และมักพบปัญหา อารมณ์จิตใจและพฤติกรรมเมื่อโตขึ้น รูปที่5 เซลล์ประสาทที่อุดมสมบูรณ์และเซลล์ประสาทที่แห้งแล้งไม่เติบโต (ที่มา Mohammed,A.H.,S.W., Darmopil,S.(2002).Environmentenrichmentand the brain.Progress inBrainResearch,138,109-133.) นอกจากนั้นช่วงวัยนี้ยังเป็นช่วงเวลาสำคัญ (Critical Period) หรือ เป็น "หน้าต่างแห่งโอกาส" (Window of Opportunities) เป็นช่วงอายุที่สมองมีศักยภาพสูงสุดในการสร้างเครือข่ายใยประสาท เพื่อพัฒนาทักษะที่สำคัญในช่วงเวลานั้น (Center on the Developing Child, 2007) เช่น ช่วงอายุ0-1 ปี เป็นช่วงเวลาทองในการสร้างความรักความผูกพัน ช่วงอายุ0-3 ปีเป็นช่วงเวลาทองของการพัฒนาสมองส่วนที่


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 57 จาก 150 เกี่ยวกับการแสดงออกอารมณ์ความเป็นตัวของตัวเอง และการกำกับควบคุมอารมณ์ช่วงปฐมวัย อายุ0-6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนาภาษา การเรียนรู้คำศัพท์การใช้ร่างกายได้คล่องแคล่ว กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และที่สำคัญมาก ๆ ของช่วงอายุ3-6 ปีเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive function) หรือทักษะสมองเพื่อการบริหารจัดการ เป็นช่วงเวลาที่สมองส่วนหน้า หรือสมองส่วน EF จะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด (ภาพที่ 7) รูปที่7 หน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาเด็กปฐมวัย (ที่มา : Citations: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา, 2563; National Scientific Council on the Developing Child, 2007)) เมื่อผ่านช่วง Critical Period นี้ไปแล้ว สมองยังคงพัฒนาต่อได้ถ้าได้รับอาหาร โภชนาการ และ ประสบการณ์ที่เหมาะสม แต่การพัฒนาของสมองจะไม่รวดเร็วเท่ากับช่วงเวลาทองที่ผ่านไปแล้ว (National Scientific Council on the Developing Child, 2007) และนี่คือความหมาย หรือ ความสำคัญ ของคำว่า Learning loss Learning Loss หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงหมายถึง การสูญเสีย หรือ Lose ของช่วงเวลาทอง ช่วงเวลาสำคัญ (Critical Period) ที่สมองเด็กปฐมวัยควรต้องได้รับการพัฒนา อย่างเต็มศักยภาพ และต่อเนื่อง การฟื้นฟูภาวะ Leaning Loss สำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จึงไม่ได้หมายเพียงถึง การช่วยให้เด็ก กลับมาทำกิจวัตรได้ตามปกติใส่กางเกง แปรงฟัน ขีดเขียน ทำตามคำสั่งคุณครูได้แต่หมายถึง การที่คุณครู ผู้บริหาร เข้าใจความสูญเสียของโอกาสในการพัฒนาศักยภาพสมองในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา และร่วมกัน


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 58 จาก 150 เร่งค้นหาเด็กที่ได้รับผลกระทบมาก มีภาวะถดถอยมาก ให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน ร่วมกับ การปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ของเด็กๆในห้องเรียน ให้เป็นแบบ Brain-Based Learning หรือ เรียนรู้ อย่างไร จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพสมองเด็ก (สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้, 2558) กิจกรรมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจะไม่ได้เป็นเพียงการให้เด็กอยู่ในห้องเรียน นั่งฟังนิทาน ตักข้าวกิน เอง เดินไปเข้าห้องน้ำเอง ทำงานศิลปะ ขีดเขียน เล่นเครื่องเล่น แต่คุณครูมีความเข้าใจที่ซับซ้อนไปกว่านั้นว่า เราสามารถใช้กิจกรรมเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการช่วยให้เซลล์สมอง ใยประสาทสมองของเด็กๆ แตกกิ่งก้านสาขา ได้มากขึ้น ด้วยวิธีการง่ายๆ โดยคุณครูกลับมาสังเกตว่า กิจกรรมที่คุณครูทำกับเด็ก ๆ ทุกวัน มีองค์ประกอบ เหล่านี้หรือไม่ 1) เด็ก ๆ มีแรงจูงใจ มีอารมณ์ร่วม สนุก กระตือรือร้นกับกิจกรรมที่คุณครูให้ทำ 2) เด็กใช้ร่างกายและสมองหลาย ๆ ส่วนพร้อมๆกัน ตาดูหูฟัง มือสัมผัส ร่างกายเคลื่อนไหว สมองคิด ใช้ภาษาพูดคุย 3) ห้องเรียนของเรามีบรรยากาศและสัมพันธภาพที่ดีครูยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ใช้วาจาเชิงลบกับเด็ก และ มีช่วงเวลาอิสระให้เด็ก ๆ ได้เล่นด้วยกัน 4) กิจกรรมมีความหมาย เชื่อมโยงกับชีวิต เช่น งานบ้าน งานสวน งานครัว เล่น ฟังนิทาน มีปฏิสัมพันธ์ พูดคุยกับเพื่อน และครูเป็นต้น ถ้าคุณครูสามารถประยุกต์ทุกกิจกรรมของเด็ก ๆ ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีทั้ง 4 องค์ประกอบนี้ คุณครูก็กำลังอยู่ในกระบวนการที่ช่วยให้เด็กฟื้นฟูจากภาวะเรียนรู้ถดถอยแล้ว และที่สำคัญคุณครูกำลังช่วยให้ เครือข่ายใยประสาทสมองของเด็ก ๆ แตกกิ่งก้านสาขาเพิ่มมากขึ้นด้วย ความเข้าใจเรื่อง learning loss จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยให้เราได้กลับมาทบทวนการดูแลเด็ก ปฐมวัยของประเทศไทย บทความนี้นำเสนอแนวทางการส่งเสริมและฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัยหลังการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยนำเนื้อหามาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ หลากหลายสาขา ร่วมกับประสบการณ์ของผู้เขียนในการทำงานกับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยรวบรวมเป็น ข้อมูลสำคัญ 3 ประเด็น คือ 1) สถานการณ์ปัญหาของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก ครอบครัว และ 3) แนวทาง นวัตกรรมสำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟู ภาวะการเรียนรู้และพัฒนาการถดถอย เป็นตัวอย่างให้ครูนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้น


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 59 จาก 150 ปัญหาการดูแลเด็กและครอบครัวของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ปัญหาการดูแลเด็กและครอบครัวของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่สำคัญ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านการบริหารจัดการบุคลากร และสภาพแวดล้อม 2) ปัญหาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย 3) ปัญหาด้านการดูแลสุขภาพ และ ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 4) ปัญหาด้านการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน 1) ปัญหาด้านการบริหารจัดการบุคลากร และ สภาพแวดล้อม 1.1 ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูงขึ้น เนื่องจากการบริหารจัดการที่ต้องมีการแบ่งเด็ก เป็นกลุ่มเล็ก (Bubble Model) (กระทรวงสาธารณสุข [สธ], 2565) และมีค่าใช้จ่ายวัสดุอุปกรณ์ เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อ หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ เครื่องวัดอุณหภูมิ สื่อการสอนออนไลน์ ค่าอินเตอร์เน็ต และสื่อการเรียนรู้ที่ ส่งให้เด็กที่บ้าน ทั้งหมดนี้เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งแตกต่างกันไปตาม การบริหารจัดการของแต่ละสถานที่ 1.2 ครู ผู้ดูแลเด็ก แม่บ้าน ไม่เพียงพอ การเว้นระยะห่างโดยแบ่งเด็กเป็นกลุ่มเล็ก ทำให้ ต้องใช้อัตรากำลังครู พี่เลี้ยงเพิ่ม นอกจากนั้นยังพบปัญหาการติดเชื้อของครู ผู้ดูแลเด็ก หรือ ครู ผู้ดูแลเด็กเป็น กลุ่มเสี่ยงสูง ทำให้ต้องผลัดกันกักตัว ผลัดกันหยุดงาน ส่งผลให้บุคลากรที่ไม่เพียงพออยู่แล้ว มีความขาดแคลน เพิ่มมากขึ้น และส่งผลต่อคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตลอดช่วงเวลาของการแพร่ระบาด 1.3 ครู ผู้ดูแลเด็กมีความเครียดไม่แตกต่างจากครอบครัวทั่วไป ครู ผู้ดูแลเด็ก มีปัญหา ความเครียด ความวิตกกังวล ไม่แตกต่างจากประชาชนทั่วไป ทั้งเรื่องเศรษฐกิจครอบครัว ความไม่แน่นอนของ สวัสดิการที่จะได้รับ ความมั่นคงของอาชีพการงาน ความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการเดินทางมาทำงาน ความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ครอบครัวของตนเอง ความเครียดของครู ผู้ดูแลเด็ก ส่งผลต่อคุณภาพใน การทำงาน การดูแล ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1.4 การพัฒนาศักยภาพครู ผู้ดูแลเด็กหยุดชะงัก ครูไม่ได้รับการพัฒนาคุณภาพ การอบรม ต่างๆ หยุดลง ทำให้ตลอดช่วงเวลา 2- 3 ปีที่ผ่านมา ครู ผู้ดูแลเด็กไม่ได้รับการฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพ โดยเฉพาะในส่วนของการฝึกปฏิบัติ หรือ ศึกษาดูงาน นอกจากนั้นยังพบปัญหาบุคลากรใหม่ที่เพิ่งจบวิชาชีพครู ปฐมวัย โดยพบว่าบัณฑิตที่เพิ่งจบใหม่ ขาดประสบการณ์ฝึกปฏิบัติ ไม่มีประสบการณ์การทำงานกับเด็กมาก่อน การฝึกปฏิบัติในช่วงในช่วง 2-3 ปีสุดท้ายเป็นการฝึกปฏิบัติแบบออนไลน์ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้คุณภาพครู ในช่วง สถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถดถอยลง


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 60 จาก 150 2) ปัญหาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย 2.1 การเรียนรู้ออนไลน์มีประสิทธิภาพน้อยและไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย เด็กเล็กเรียนรู้ได้ดี ที่สุดผ่านประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว ลงมือทำ การเรียนออนไลน์เป็นระยะเวลานาน เป็นการทำลาย ธรรมชาติการเรียนรู้ตามช่วงวัยของเด็ก (ธาม เชื้อสถาปนศิริ, 2565) นอกจากนั้นการเรียนออนไลน์ยังมี อุปสรรคปัญหาหลายอย่าง เช่น เด็กมีปัญหาการเข้าถึงเทคโนโลยี โดยเฉพาะเด็กในครอบครัวยากจน เด็กที่อยู่ ในชนบทห่างไกล (องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย, 2565) 2.2 พ่อแม่ ครอบครัว ไม่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กได้(วีระชาติ กิเลนทอง, 2565) ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด พ่อแม่ ผู้ปกครองหลายครอบครัวมีเวลาอยู่บ้านกับเด็ก มากขึ้น แต่เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องวิธีส่งเสริมการเรียนรู้ ขาด ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการเด็ก หรือพ่อแม่มีความเครียดจากปัญหาเศรษฐกิจ ตกงาน ไม่พร้อมในการดูแลลูก ทั้งหมดนี้ส่งผลให้พ่อแม่จำนวนมาก ไม่สามารถช่วยลูกเรียนรู้ที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ปัญหาด้านการดูแลสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3.1 เด็กขาดการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมพัฒนาการ ในชีวิตประจำวัน (วีระศักดิ์ ชลไชยะ, 2565) (อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, 2565) การอยู่บ้าน ไม่ได้มาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กมีกิจวัตรประจำวัน การกิน การนอนที่เปลี่ยนไป เด็กขาดการกำกับวินัยที่บ้าน เด็กถูกตามใจมากขึ้น การฝึกช่วยเหลือตัวเอง ในชีวิตประจำวันน้อยลง กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมกีฬาถูกจำกัด หรือ ยกเลิก สถานที่ออกกำลังกาย สนามเด็ก เล่น ถูกปิด เด็กๆใช้เวลากับสื่อหน้าจอเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพ พฤติกรรมเนือยนิ่ง ปัญหาทางสายตา ภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มมากขึ้น 3.2 ระบบเฝ้าระวังสุขภาพ และคัดกรองพัฒนาการเด็ก โดยสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยขาด หายไป (ธีรชัย บุญยะลีพรรณ, 2565) ในช่วงสถานการณ์ปกติที่เด็กเล็กมาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกวัน เด็กจะได้รับการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ และพัฒนาการโดยครู ผู้ดูแลเด็ก โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไปตาม ความพร้อมของแต่ละพื้นที่ เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงโดยคุณครู ตรวจสุขภาพร่างกาย สุขภาพฟัน ตรวจสมุด วัคซีนโดยบุคลากรสาธารณสุข ด้านพัฒนาการ ครู ผู้ดูแลเด็ก จะเฝ้าระวังพัฒนาการ โดยสังเกตจาก ความสามารถ และพฤติกรรมของเด็ก หรือเด็กได้รับการคัดกรองพัฒนาการอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบคัด กรองมาตรฐาน เช่น DSPM, Denver แต่ในช่วงสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตลอด 2-3 ปี ที่ผ่านมา ระบบการเฝ้าระวัง การคัดกรองสุขภาพและพัฒนาการโดยสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องหยุดชะงักลง ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการเฝ้าระวังด้านสุขภาพ ไม่ได้รับการดูแล ส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการอย่างทันท่วงที 3.3 การเฝ้าระวังความรุนแรงในเด็ก โดยสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยขาดหายไป (อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, 2565) ในช่วงสถานการณ์ปกติ ครูผู้ดูแลเด็กมีความสำคัญมากในการเฝ้าระวังความรุนแรง ในเด็ก เช่น ครูอาจสังเกตว่าเด็กมีแผลตามตัว เด็กไม่ได้รับการดูแลเรื่องสุขอนามัย หรือเด็กมีพฤติกรรมแปลก


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 61 จาก 150 ไปจากเดิม เงียบซึม ไม่เล่นกับเพื่อน โดยเฉพาะในเด็กที่มาจากครอบครัวเปราะบาง พ่อแม่มีประวัติติดยาเสพ ติดคุก หรือมีโรคทางจิตเวชรุนแรง ซึมเศร้า เด็กในครอบครัวกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสที่จะถูกกระทำรุนแรง กับเด็ก ล่วงละเมิดทางเพศ หรือถูกปล่อยปละละเลย โดยเมื่อมีการปิดสถานศึกษา ครูจึงไม่สามารถทำหน้าที่ เป็นตัวช่วยเฝ้าระวัง ป้องกันความรุนแรงให้กับเด็กได้ 3.4 เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ เด็กพิเศษ ขาดการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการ อย่างต่อเนื่อง (นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, 2565) การให้บริการทางการศึกษาพิเศษ และการอำนวยความสะดวกทางการศึกษา ต้องหยุดชะงัก เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้และพัฒนาการ ได้รับการประเมิน วินิจฉัย และได้รับการดูแลรักษา ล่าช้า เด็กมีปัญหามากขึ้น เด็กขาดโอกาสในการเรียนรู้เรื่องการใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคมกับเพื่อนวัยเดียวกัน 3.5 คุณภาพและการบริหารจัดการเพื่อดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์ถดถอยลง (สโรทร ม่วงเกลี้ยง, 2565) เด็กในสถานสงเคราะห์เป็นกลุ่มเด็กที่ได้รับประสบการณ์ไม่พึงประสงค์รุนแรง มาตั้งแต่ก่อน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อมีการปิดเมือง (Lockdown) ปิดสถานศึกษา สถานสงเคราะห์ก็ดำเนินการตามมาตรการของกรมอนามัย เช่น การงดผู้เข้าเยี่ยม งดกิจกรรมจากกลุ่มจิตอาสา งดการโอบกอด สัมผัสเด็ก งดการออกนอกสถานที่ เด็กต่างคนต่างอยู่ในตึก ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้มีพัฒนาการ ถดถอยลงมากไปอีก จำเป็นต้องฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน 4) ปัญหาด้านการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน 4.1 กิจกรรมของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกับครอบครัวขาดหายไป เช่น กิจกรรมปฐมนิเทศ พ่อแม่ก่อนเข้าเรียน กิจกรรมวันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู หรือ การประชุมแลกเปลี่ยน ระหว่างครู ผู้ปกครอง ส่งผลให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ครู ผู้ดูแลเด็ก และครอบครัว ขาดหายไป ผลกระทบต่อเด็ก ครอบครัว และสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เกิดขึ้นทั้งกับเด็ก ครอบครัว ครู ผู้ดูแลเด็ก สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชน โดยมีผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ดีของครอบครัว โดยพบว่าครอบครัวส่วนใหญ่มีรายได้ลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น และพ่อแม่ตกอยู่ในภาวะเครียดมากขึ้น (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2564) 1) ผลกระทบต่อเด็ก เด็กได้รับผลกระทบทั้ง ด้านสุขภาพ พฤติกรรม พัฒนาการ อารมณ์จิตใจ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กจากครอบครัวเปราะบาง และกลุ่มเด็กพิเศษ 1.1 ด้านสุขภาพ เด็กอาจขาดสารอาหารที่สำคัญ โดยเฉพาะครอบครัวยากจน เด็กไม่ได้รับ อาหารที่มีคุณภาพ พ่อแม่ไม่สามารถจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูก (องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย, 2565)


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 62 จาก 150 เด็กบริโภคของกินเล่นที่มีคุณค่าทางอาหารน้อย ซึ่งแต่ก่อนการมาโรงเรียนจะช่วยให้เด็กได้รับนม และอาหาร กลางวันที่มีประโยชน์(ฉัตร คำแสง และคณะ, 2565) ในส่วนครอบครัวชนชั้นกลางที่ไม่ขาดแคลนอาหาร พบว่าพฤติกรรมการกินของเด็กเปลี่ยนไป เด็กกินอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากขึ้น กินอาหารเดลิเวอรี่ กินอาหารแช่แข็ง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ส่งผลต่อสุขภาพ และการเจริญเติบโต ซึ่งพบได้ทั้งแบบ อ้วนขึ้น หรือ ขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนั้นยังพบว่าเด็กนอนน้อยลง นอนดึกมากขึ้น เด็กขาดวินัย ในการกินการนอน และเด็กมีแนวโน้มสายตาสั้นมากขึ้นจากการใช้สื่อจอใส (วีระศักดิ์ ชลไชยะ, 2565) 1.2 ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม เมื่อโรงเรียนเปิดหลังสถานการณ์โควิด พบว่าเด็ก มีพฤติกรรมถดถอยมากขึ้น สาเหตุสำคัญเกิดจาก การใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้น ชีวิตประจำวันรวนเร การกินนอน ไม่เป็นเวลา เด็กขาดวินัย และไม่มีผู้ใหญ่คอยกำกับดูแลให้ทำกิจวัตรประจำวันตามเวลา โดยพบว่าเด็กงอแง มากขึ้น ความสนใจจดจ่อสั้นลง ไม่นิ่งมากขึ้น ช่วยเหลือตัวเองน้อยลง มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น ไม่คล่องแคล่ว ด้านสังคมพบว่าเด็กขาดทักษะทางสังคม กำกับตัวเองได้น้อยลง ไม่คุ้นชินกับการเล่นกับเพื่อน เด็กบางคนแยกตัว ไม่พูด ไม่เล่น นอกจากนั้นยังพบว่าเด็กวัยอนุบาล 3 และประถม 1 ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ที่ จะอ่านเขียน เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เด็กไม่มีพื้นฐานพอที่จะอยู่ในระดับชั้นใหม่ (วีระชาติ กิเลนทอง, 2565) นอกจากนั้นข้อมูลงานวิจัยของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า เด็กมีความถดถอยด้านการฟัง จับใจความ การฟังคำสั่ง โดยเรื่องที่วิกฤตมากที่สุด คือ สมาธิจดจ่อ และการคิดแยกแยะ ส่วนด้านสังคม เด็กมี ข้อติดขัดด้านการปฏิบัติตนตามข้อตกลงในชั้นเรียน การเล่นกับเพื่อน การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (ยศวีร์ สายฟ้า, 2565) ด้านการเรียนรู้พบว่าการเรียนออนไลน์ การใช้สื่อดิจิทัลมาก ไปทำลายวิธีการเรียนรู้ของ เด็ก เด็กจะคุ้นชินกับการเรียนรู้แบบเป็นผู้รับสาร (Passive Learning) โดยปราศจากการเรียนรู้ตามธรรมชาติ ของเด็กวัยนี้ที่ต้องเรียนรู้แบบลงมือทำ ผ่านประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว 1.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ พบว่าเด็กมีปัญหาด้านอารมณ์เพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่าหลัง สถานการณ์โควิด เด็กมีภาวะวิตกกังวลเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยพบว่าเด็กแต่ละช่วงอายุมีความกังวลที่แตกต่างกัน กลุ่มเด็กโต วัยรุ่นกังวลต่อเรื่องการเงินของครอบครัว กลุ่มเด็กวัยเรียนกังวลเรื่องการสอบ สำหรับเด็กปฐมวัย หรือเด็กที่ต่ำกว่า 10 ขวบกลัวว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวจะติดเชื้อ (ฉัตร คำแสง และคณะ, 2565; Save the Children International, 2020) 1.4 เด็กจากครอบครัวเปราะบาง ครอบครัวยากจนพบว่ามีเด็กปฐมวัยที่หลุดออกจาก ระบบการศึกษาเพิ่มขึ้น (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา , 2564) เด็กไม่ได้เรียนต่อ ย้ายภูมิลำเนา ตามพ่อแม่ที่อาจตกงาน โรงงานปิด หรือกลับไปอยู่ต่างจังหวัด นอกจากนั้นสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโค โรนา 2019 ส่งผลให้ประเทศไทยมีจำนวนเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้น จากการที่พ่อแม่เสียชีวิตจากการติดเชื้อ โดยเด็ก กลุ่มนี้จะได้อยู่กับเครือญาติ ส่วนเด็กที่ไม่มีญาติก็จะถูกส่งเข้าสถานสงเคราะห์(ฉัตร คำแสง และคณะ, 2565) นอกจากนั้นเด็กในครอบครัวเปราะบางที่พ่อแม่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น พ่อแม่ติดยาเสพติด พ่อแม่มีความเครียด จากปัญหาเศรษฐกิจ ตกงาน เป็นหนี้ พบเด็กถูกทำร้าย เผชิญความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้น


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 63 จาก 150 1.5 เด็กพิเศษ เด็กพัฒนาการล่าช้า พบว่าพ่อแม่มีความเครียดเพิ่มมากขึ้น เด็กมีปัญหา อารมณ์และพฤติกรรมเพิ่มขึ้น หงุดหงิดง่ายขึ้น ดื้อเอาแต่ใจ ซนมากขึ้น ไม่ร่วมมือในการฝึกที่บ้าน โดยพบว่า ผู้ปกครองเด็กพิเศษเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่สามารถฝึกพัฒนาการลูกได้อย่างสม่ำเสมอ ที่เหลือทำได้บ้าง ไม่สม่ำเสมอหรือหลายครอบครัวไม่ได้ทำเลย (นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, 2565) 2) ผลกระทบต่อครู ผู้ดูแลเด็ก 2.1 ครูต้องทำงานกับเด็กที่มีปัญหาอารมณ์ พฤติกรรม และพัฒนาการไม่สมวัยเพิ่มมากขึ้น (หริณญา รุ่งแจ้ง, 2565) ผลกระทบต่อเด็กมีเกิดขึ้นทุกด้าน ส่งผลต่อการดูแลเด็ก ซึ่งเห็นได้ชัดในช่วงผ่อนคลาย มาตรการปิดเมือง (Lockdown) และเปิดให้เด็กกลับเข้าสู่ชั้นเรียนได้ โดยพบว่ามีจำนวนเด็กที่ไม่พร้อมทั้งด้าน อารมณ์ พฤติกรรม การช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม และการเรียนรู้ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ ครูต้องให้เวลาช่วยเหลือ ดูแลเด็กเป็นรายบุคคลเพิ่มขึ้น 2.2 ครู มีความสับสน ความเครียด เพิ่มมากขึ้น ครูจำนวนหนึ่งไม่สามารถปรับตัวกับหน้างานที่มี ความเปลี่ยนแปลงพร้อมกันหลาย ๆ เรื่อง ทั้งการป้องกันการติดเชื้อ เน้นย้ำให้เด็กใส่หน้ากาก ล้างมือ การจัด กิจกรรมแบบเว้นระยะห่าง การทำความสะอาดห้องเรียน ของเล่น ที่ต้องเพิ่มความถี่มากขึ้น การต้องทำงานกับ เด็กที่มีปัญหาอารมณ์ พฤติกรรม พัฒนาการไม่สมวัยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกห้องเรียน ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ครู ผู้ดูแลเด็กมีความเครียด กังวล หรือสับสนกับความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองที่เพิ่มมากขึ้น 3) ผลกระทบต่อการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 3.1 ด้านทรัพยากรบุคคล และสวัสดิการครู ผู้ดูแลเด็ก ข้อมูลจากงานวิจัยของ UNESCO สำรวจ สวัสดิการครู พี่เลี้ยงในภาคพื้นเอเชีย และประเทศไทยด้วย พบว่า ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 มีครู ผู้ดูแลเด็กส่วนหนึ่งต้องถูกเลิกจ้าง (Kaga & Bang, 2021) โดยเฉพาะผู้ดูแลเด็กที่ ช่วยงานแบบบางเวลา หรือตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ความไม่มั่นคงในสวัสดิการ ความมั่นคงในอาชีพส่งผลต่อ ความเครียดของครู ผู้ดูแลเด็ก และส่งผลต่อคุณภาพในการดูแลเด็กปฐมวัย 3.2 ครู ผู้ดูแลเด็ก ไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน หยุดชะงักเป็นเวลา เกือบ 3 ปี แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีการประเมินคุณภาพการเข้า ร่วม การดูแลเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องการครูหรือผู้ดูแลเด็กที่มีคุณภาพ การขาดการฝึกอบรมและพัฒนาคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อคุณภาพการดูแลเด็กและครอบครัว โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของเชี้อไวรัสโคโร นา 2019 ที่เด็ก และครอบครัวต้องการการฟื้นฟูทั้งด้านจิตใจอารมณ์ และการเรียนรู้


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 64 จาก 150 4) ผลกระทบด้านบวกต่อเด็ก ครอบครัว และสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 4.1) เด็ก ครอบครัว ครู ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และทักษะการป้องกันโรคติดเชื้อมากขึ้น เรียนรู้การใช้ วัสดุ อุปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิแบบต่าง ๆ การใส่ หน้ากาก ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ การใช้หลอดไฟรังสียูวี 4.2) เด็ก ครอบครัว ครู ผู้ดูแลเด็ก ได้เรียนรู้การใช้สื่อเทคโนโลยีออนไลน์ โดยเฉพาะคุณครูต้อง พัฒนาทักษะทางดิจิตอล การทำคลิปวีดีโอ คุณครูเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้แสดง จัดกิจกรรมออนไลน์ให้เด็กและ ครอบครัวมีส่วนร่วม ใช้วัสดุภายในบ้านเป็นสื่อการเรียนรู้ ทักษะทางดิจิทัลเป็นทักษะใหม่ที่ต้องอาศัยความคิด สร้างสรรค์ โดยพบว่าครูรุ่นใหม่มีทักษะทางดิจิทัล และ การแสดงออก ได้มากกว่าครูที่มีอายุมาก 4.3) ครู ผู้บริหารมีประสบการณ์การแก้ปัญหา ตอบสนองต่อสถานการณ์ใหม่ ๆ ในรูปแบบใหม่ ๆ ได้มากขึ้น มีความคิดยืดหยุ่นในการบริหารจัดการมากขึ้น เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น การจัดกิจกรรมร่วมกับพ่อ แม่โดยใช้บ้านเป็นฐาน (Home-based leaning) 5) ผลกระทบระยะยาว 5.1) ผลกระทบด้านสุขภาพในกลุ่มเด็กและครู ผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, 2565) เป็นผู้มีความเสี่ยงต่อภาวะ Long Covid ซี่งมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันไปในแต่ละ คน บางคนมีอาการไอเรื้อรัง หรือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย และมีผลด้านจิตใจ ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล นอกจากนั้น เด็กที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ใช้เวลาอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ทานอาหารไขมันสูง และมีภาวะอ้วน จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เสี่ยงต่อการเป็นโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable diseases : NCDs) เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน 5.2) ผลกระทบด้านอารมณ์จิตใจ ร่างกายในเด็กเปราะบางที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ (Joining Forces for Children, 2022) จะเกิดผลในระยะยาว ได้แก่ โรคในกลุ่ม NCD ภาวะติดเหล้าบุหรี่ การหลุดออกจากระบบการศึกษา และเสียชีวิตเร็ว เด็กที่ได้รับผลกระทบระยะยาวเป็นกลุ่มเด็กเปราะบาง คือ เด็กที่ถูกทำร้าย ถูกทารุณกรรม เผชิญความรุนแรงในครอบครัว เป็นเด็กที่มีความเครียดสูง (Toxic Stress) ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการอารมณ์จิตใจอย่างมาก รวมทั้งมีผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ความเครียดส่งผลกระทบต่อสมองในส่วนของการเรียนรู้ การใช้เหตุผล และพัฒนาการ 5.3) ผลกระทบระยะยาว ด้านการเรียนรู้ ทักษะทางสังคม และการปรับตัวของเด็ก การฟื้นฟูใน ระยะแรกจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการถดถอย เฝ้าระวังเด็กกลุ่มเปราะบาง และ ให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน นอกจากนั้นการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนของครู กำหนดเป้าหมาย ใหม่ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก จะเป็นการป้องกันผลกระทบ ระยะยาวที่จะเกิดขึ้นกับเด็กในยุคหลังโควิด


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 65 จาก 150 แนวทางในการฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยสําหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย บทความนี้เริ่มต้นเขียนในเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งก็มีการเปิดเทอมอย่างเต็มรูปแบบของสถาน พัฒนาเด็กปฐมวัยมาได้หนึ่งเทอมเต็มแล้ว คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - กันยายน 2565 และขณะนี้ได้เข้าสู่ เทอม 2 ของปีการศึกษา 2565 หรือเป็นช่วงที่เรียกว่า Post Covid Era สิ่งที่น่าสนใจ คือ หากเรากลับไปมองรูปแบบการดูแลเด็ก การจัดกระบวนการเรียนการสอน และ การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในเดือนพฤศจิกายน 2565 นี้ เราจะพบว่าทุกอย่างกลับสู่สภาวะ เหมือนเดิม เด็กเรียนรู้ในห้องเรียน วิถีชีวิตกิน นอน เรียน เล่น รูปแบบการเรียนการสอน วิธีการที่คุณครูปฏิบัติ ต่อเด็ก ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม ราวกับว่าไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน ศาสตราจารย์พญ. วินัดดา ปิยะศิลป์ ตั้งคำถามสำคัญที่ชวนให้สะท้อนคิดว่า “หลังสถานการณ์ ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด การดูแลเด็กปฐมวัยของประเทศไทย เราเก่งขึ้น เท่าเดิม หรือ ถดถอยลง” (วินัดดา ปิยะศิลป์, 2565) การเผชิญสถานการณ์วิกฤติ ภาวะยากลำบาก หรือ อุปสรรคต่าง ๆ นั้น ผลลัพธ์ ภายหลังการเผชิญเหตุการณ์ มีได้ 4 แบบ คือ แบบที่หนึ่ง เก่งขึ้น มีการเรียนรู้และพัฒนาเพิ่มขึ้น แบบที่สอง กลับมาสู่ภาวะปกติ ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม ไม่เกิดการเรียนรู้ ไม่เกิด การเปลี่ยนแปลงใด ๆ แบบที่สาม ถดถอยลง แย่ลง ไม่สามารถกลับไปดีเหมือนเดิมได้ และแบบที่สี่ สิ้นหวัง หมดความหวัง มองไม่เห็นทางออกของการแก้ปัญหา ไร้คุณค่า และหมดพลัง (Richardson, 2002) รูปที่8 หลังสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา การดูแลเด็กปฐมวัยของประเทศไทย เราเก่งขึ้น เท่าเดิม หรือ ถดถอยลง (ที่มา : Citaion วินัดดา ปิยะศิลป์, 2565 ; Richardson, 2002)


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 66 จาก 150 Resilience ล้มแล้วลุก คือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยน เรียนรู้ และลุกขึ้นจากสภาวะ ยากลำบาก ทักษะล้มแล้วลุกเป็นทักษะที่สำคัญในยุคหลังโควิด (Center on the Developing Child, 2015) หรือยุคที่โลกมีความผันผวน ไม่แน่นอน เราคงต้องย้อนกลับมาทบทวนว่า ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เราได้เรียนรู้อะไร และสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรากำลังรับผิดชอบอยู่ ควรต้องมี การปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เราจะปรับเปลี่ยนไหม ปรับเปลี่ยนอย่างไร ข้อเสนอแนะต่อไปนี้ มาจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ผู้เขียนได้รวบรวมเป็นแนวทางสำคัญ 4 ข้อเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในช่วงหลังสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ดังนี้ 1) ทบทวนเป้าหมายสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยหลังสถานการณ์โควิด 2) เร่งค้นหาเด็กและครอบครัวกลุ่มเสี่ยง ประเมินภาวะถดถอย และช่วยเหลือเร่งด่วน 3) เสริมศักยภาพ และเสริมพลังใจครู ผู้ดูแลเด็ก 4) ทำงานร่วมกับครอบครัว โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพพ่อแม่ 1) ทบทวนเป้าหมายศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยหลังสถานการณ์โควิด 1.1 ปรับหลักสูตรสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (วินัดดา ปิยะศิลป์, 2565) ทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้องทำการฟื้นฟูเด็ก และการเตรียมเด็กให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในอนาคต ปรับหลักสูตรการเรียนการสอน โดยพิจารณาว่าอะไรที่ดีอยู่แล้วก็คงไว้และอะไรที่ควรเติมเข้ามาในหลักสูตร นอกจากนั้นต้องมีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนนักศึกษาครูด้วย เพราะโลกเปลี่ยน ครูยุคใหม่ต้องมีเจต คติ ความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไป เป้าหมายของการพัฒนาเด็กปฐมวัยควรกลับมาอยู่ที่การช่วยให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง เสริมสร้าง ตัวตนของเด็ก (Self) เด็กยุคนี้มีความจำเป็นมากที่ต้องมีภาวะจิตใจอารมณ์ที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการ กำกับควบคุมตัวเอง (self-control หรือ self-regulation) เพื่อนำไปสู่การมีความสามารถที่จะ “ล้มแล้วลุก” (Resilience) ซึ่งเป็นทักษะสำคัญของโลกยุคใหม่ ฝึกให้เด็กเป็นคนอ่อนโยน มองเห็นความทุกข์ของคนอื่น จิตใจที่อ่อนโยนเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คือ ฝึกเด็กให้มองเห็นความลำบากของเพื่อน เช่น เห็นเพื่อนติดกระดุมไม่ได้ก็เข้าไปช่วย หรือฝึกให้มองเห็นข้อดี ของเพื่อน ยิ่งฝึกในลักษณะนี้มากเท่าไร จิตใจเด็กจะยิ่งอ่อนโยน จิตใจดี ถึงแม้จะมีชีวิตไม่ดี เช่น พ่อแม่ไม่ค่อยรัก แต่เด็กจะสามารถมีพฤติกรรมของที่ดีได้ เด็กสามารถผูกมิตรกับเพื่อนได้มาก การมองเห็นความทุกข์ของคนอื่น การช่วยเหลือคนอื่น ช่วยให้เด็กมองเห็นความดีงามของตัวเอง เห็นคุณค่าของตัวเอง ฝึกเด็กสร้างสุข ระบายความทุกข์พ่อแม่ ครูต้องให้ความสำคัญกับความทุกข์ความสุขของเด็ก มีการ พูดคุยกับเด็ก ๆ ว่าความสุขความทุกข์ของเด็ก ๆ คืออะไรบ้าง เป็นอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะมีความสุข หรือถ้า


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 67 จาก 150 มีความทุกข์จะทำอย่างไร เพื่อให้เด็กมีสุขภาวะทางอารมณ์จิตใจที่ดี ระบบการศึกษาควรทบทวนให้เด็กมี การเรียนรู้เรื่องนี้ เพื่อป้องกันอาการซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเองที่มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ “จากสถานการณ์โควิด เห็นได้ชัดว่าการเรียนรู้แบบเดิมมันล้าสมัยแล้ว มันใช้งานกับโลกในอนาคตของเด็กไม่ได้” อ. กรองทอง บุญประคอง 1.2 ทบทวนตัวชี้วัดและพัฒนาระบบกำกับติดตามและประเมินผล (วินัดดา ปิยะศิลป์, 2565) เพื่อให้ แน่ใจว่าระบบการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยควบคู่ไปกับการพัฒนาเด็กอย่างรอบด้านได้จริง จึงควรมีการ ทบทวนตัวชี้วัดว่า ตัวชี้วัดที่ใช้อยู่มีความเหมาะสมหรือไม่ ปัจจุบันการศึกษาปฐมวัยเป็นเพียงการฝึกให้เด็กมี ทักษะเพิ่มมากขึ้น โดยที่เป้าหมายยังไม่ชัดเจน ครูเพียงจัดให้เด็กมีกิจกรรมในแต่ละวันเท่านั้น รวมทั้งโรงเรียน มุ่งเน้นไปในเรื่องอ่านออกเขียนได้ เพื่อสนองความต้องการของพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยครูอาจละเลยเรื่องอารมณ์ จิตใจเด็ก การเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์สังคมอย่างจริงจัง 2) เร่งค้นหาเด็กและครอบครัวกลุ่มเสี่ยง ประเมินภาวะถดถอย และช่วยเหลือเร่งด่วน 2.1 ค้นหาเด็กและครอบครัวกลุ่มเสี่ยง ครู ผู้ดูแลเด็กต้องมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของ ภาวะการเรียนรู้ถดถอย ซึ่งถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูเร่งด่วนอาจส่งผลต่ออนาคต จึงมีความจำเป็นต้องเร่งค้นหาให้ การฟื้นฟูเป็นพิเศษ มากกว่าเด็กคนอื่นในห้องเรียน การคัดกรองความเครียด ความรุนแรงในครอบครัว ควรมี รูปแบบที่ชัดเจน โดยเฉพาะครอบครัวกลุ่มเสี่ยง ฐานะยากจน ครอบครัวเปราะบาง พ่อแม่วัยรุ่น ครอบครัว เคร่งเครียดทะเลาะเบาะแว้ง ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อเด็ก โดยรูปแบบการช่วยเหลือควรเป็นลักษณะ Coaching เสริมพลังพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู โดยให้ความสำคัญทั้งด้านการเลี้ยงดูเด็ก และการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ (สโรทร ม่วงเกลี้ยง, 2565) 2.2 ประเมินภาวะถดถอยและเร่งฟื้นฟูเด็กแต่ละคนอย่างเร่งด่วน โดยประเมินคัดกรองเด็กเพื่อสำรวจ ภาวะถดถอยเป็นรายบุคคล แล้วจัดการฟื้นฟูเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม โดยพบว่า ในเด็กที่มีภาวะถดถอยไม่มาก (หริณญา รุ่งแจ้ง, 2565) ครูสามารถช่วยเหลือฟื้นฟูเด็กได้ในเวลาไม่นาน ครูจำเป็นต้องมีทักษะและเข้าใจ รู้จัก สังเกตความถดถอยของเด็กได้ การรู้ว่าเด็กมีปัญหาหรือบกพร่องด้านใด จะเป็นด่านแรกที่ทำให้เด็กได้รับการฟื้นฟู แก้ปัญหา ข้อที่ควรตระหนักมากที่สุดคือ ครูต้องถอยการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับสถานะการเรียนรู้ของเด็ก ที่เป็นจริงในขณะนั้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสภาวะอารมณ์และการเรียนรู้ของเด็ก ครูต้องสอนเด็กให้ตรงกับความรู้ที่ เด็กแต่ละคนมีอยู่จริง ปรับการเรียนการสอนให้เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพัฒนาการด้าน สติปัญญาของเด็ก รวมทั้งเป็นผลดีต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และทัศนคติต่อการเรียนของเด็ก "เด็กที่มีความพร้อมด้านอารมณ์สังคม และอยู่ในกฎกติกาได้ดี อยู่กับเพื่อนได้ดี จะมองเห็นคุณค่าของตนเอง จากการ เป็นคนอ่อนโยนและชอบช่วยเหลือคนอื่น เป็นปัจจัยด้านบวกที่จะส่งผลไปถึงการเรียนในชั้นประถมศึกษาต่อไป" ศาสตราจารย์ พญ. วินัดดา ปิยะศิลป์


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 68 จาก 150 การประเมินภาวะโภชนการของเด็กทุกคนอย่างสม่ำเสมอ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสามารถติดตาม ภาวะโภชนาการ โดยชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงของเด็กว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ น้ำหนัก ส่วนสูง เป็นตัวชี้วัด ด้านสุขภาพแบบง่ายที่ครูสามารถทำได้ ที่ผ่านมาโรงเรียนมีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง แต่ไม่มีการวิเคราะห์ ประเมินผล ไม่นำไปสู่การปรับปรุงและแก้ปัญหา ควรทบทวนกิจกรรมฐานกายของโรงเรียนว่าคุณภาพและปริมาณเพียงพอกับเด็กหรือไม่ สถาน พัฒนาเด็กปฐมวัยควรสร้างโอกาสให้เด็กได้มีกิจกรรมทางกายมากๆ ฝึกให้เด็กออกกำลังกายจนเป็นนิสัย การ ออกกำลังกายเป็นเครื่องมือฟื้นฟูสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ การออก กำลังกายเป็นกระบวนการฟื้นฟูร่างกาย จิตใจ สมองได้ดี การออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจ เข้มแข็ง สมองว่องไว 2.3 ผู้บริหารสนับสนุนการจัดสิ่งแวดล้อม เวลา และสิ่งอำนวยความสะดวก (หริณญา รุ่งแจ้ง, 2565) ให้ครูสามารถทำงานฟื้นฟูเด็กได้อย่างคล่องตัว ต้องจัดกิจกรรมกลางแจ้งให้เด็กได้เคลื่อนไหว ซึ่งเวลานี้ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการฟื้นฟูเด็ก จัดพื้นที่สนามเด็กเล่น ให้เด็กได้เล่นอิสระด้วยกัน โดยเน้นเรื่องความ ปลอดภัย ความสะอาด ให้เด็กและครอบครัวมีเจตคติเชิงบวกต่อการทำกิจกรรมทางกาย ส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการให้เด็กได้ทำกิจกรรมทางกาย 3) เสริมศักยภาพ และเสริมพลังครู ผู้ดูแลเด็ก ครูเป็นบุคคลสำคัญที่จะดำเนินการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยของเด็ก การมองเห็นความสำคัญของ ภาระหน้าที่ของครู และให้ความสำคัญกับเสริมพลังและฟื้นฟูครูเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อให้ครูมีความสามารถ มีกำลังใจที่พร้อมจะทำงานดูแลเด็กและครอบครัว การส่งเสริมศักยภาพและเสริมพลังครู มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ 1) ช่วยให้ครูปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลเด็กได้อย่างผ่อนคลาย ไม่เครียด และมีพลังในการทำงานกับเด็ก และ 2) เพื่อเสริมศักยภาพ ความสามารถที่จำเป็นเร่งด่วนให้ครูนำไปใช้การได้ทันที แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพครูในช่วงหลังสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3.1 ผู้บริหารมองเห็นความสำคัญของครู ผู้ดูแลเด็ก ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือ ช่วยเหลือครูให้มีสุขภาวะที่ดี ดูแลสภาวะอารมณ์ความรู้สึกและจิตใจของครู ใส่ใจดูแลว่าครูได้รับผลกระทบ อะไรบ้างแล้วช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ให้ความมั่นคงด้านสวัสดิการ การดูแลครอบครัวของครู ผู้ดูแลเด็ก (กรองทอง บุญประคอง, 2565) 3.2 ผู้บริหารช่วยให้ครูได้เรียนรู้ทักษะที่สำคัญ คือ ทักษะการรู้เท่าทันและจัดการอารมณ์ตัวเอง ครูจำเป็น ต้องพัฒนาทักษะนี้ภายในตัวเองก่อน จึงจะสามารถเข้าใจเด็ก สังเกตเด็กเป็น และนำไปสู่การ ช่วยเหลือเด็กและครอบครัวเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ความเครียด ในต่างประเทศ จะสอนให้ครูรู้จักทักษะการ


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 69 จาก 150 กลับมาดูแลตัวเอง (Self-care guide for teachers) (Calm, n.d.) โดยพบว่าครูที่มีสภาวะอารมณ์ที่มั่นคง จะเป็นครูที่ช่วยดูแลเด็กและครอบครัวได้อย่างมีพลัง เป็นกระบวนการสำคัญในการฟื้นฟูเด็กและครอบครัว 3.3 ทักษะสำคัญที่ครู ผู้ดูแลเด็ก ควรได้รับการส่งเสริมศักยภาพ หรือความสามารถที่จำเป็นเร่งด่วน ที่ครูควรได้รับการพัฒนาเพื่อนำไปใช้การได้ทันที ได้แก่ 3.3.1 ทักษะในการสังเกตอารมณ์ของเด็ก (วินัดดา ปิยะศิลป์, 2565) ช่วงหลังสถานการณ์ โควิด เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ครูควรต้องมีทักษะในการสังเกตและเข้าใจอารมณ์เด็ก การดูแลช่วยเหลือเด็ก เริ่มต้นด้วยครูดูแลด้านอารมณ์ของเด็กก่อน เวลาเด็กมีอารมณ์ เช่น เครียด กลัว กังวล ไม่มั่นใจ ไม่อยากทำ เด็กจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น เด็กบางคนร้องไห้งอแง บางคนไม่นิ่ง วุ่นวาย บางคน ต่อต้าน ไม่สนใจ หรือ บางคนนิ่งเฉย ซึม หากครูไม่มีทักษะในการสังเกตอารมณ์เด็ก ไม่เข้าใจอารมณ์ ก็ยากที่ จะตอบสนองพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกได้อย่างเหมาะสม 3.3.2 ทักษะการดูแลสุขภาพ สังเกตพัฒนาการ และเฝ้าระวังครอบครัวกลุ่มเสี่ยง โดยสังเกตและคัดกรองภาวะถดถอยทางพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อค้นหาเด็กที่ ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน และให้การเยียวยา ฟื้นฟู ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้เฝ้าระวัง ได้แก่ o การประเมินภาวะสุขภาพ โภชนาการ ด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อค้นหาเด็ก น้ำหนักน้อย ตัวเตี้ย หรือ เด็กที่มีภาวะอ้วน โดยใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของกรมอนามัย (สำนักโภชนาการ, 2564) o การเฝ้าระวังและสังเกตพัฒนาการเด็กที่ถดถอย หรือล่าช้า โดยอาจใช้แบบประเมิน พัฒนาการเด็ก DSPM (Developmental surveillance and Promotion Manual) หรือในกรณีที่คุณครูไม่ สามารถใช้แบบประเมิน DSPM (สธ, 2557) คุณครูอาจคัดกรองอย่างง่าย เช่น “Checklist พัฒนาการเด็ก ปฐมวัย” (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว, 2557) “สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก กรมอนามัย” (สธ, 2563) หรือในเด็กโตอายุ 5-6 ปีขึ้นไปอาจใช้“แบบสังเกตความคล่องแคล่วในการใช้ ร่างกาย” กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ, 2565ก) o การเฝ้าระวังปัจจัยด้านลบ ที่ส่งผลต่อเด็ก จากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมของครอบครัว โดยการเฝ้าระวังครอบครัวกลุ่มเสี่ยง โดย “แบบประเมินปัจจัยเสี่ยง 10 ข้อ” (CDC, 2021; สถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว, 2563) 3.3.3 ทักษะการจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางพัฒนาการและการเรียนรู้อย่าง เร่งด่วน วางแผนการจัดประสบการณ์พัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลตามปัญหาที่เกิดขึ้น เน้นการจัดกิจกรรมแบบ Active Learning ให้เด็กได้ลงมือทำ ได้เคลื่อนไหว จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านที่ถดถอย


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 70 จาก 150 3.3.4 ทักษะการสื่อสารและทำงานร่วมกับพ่อแม่ บทบาทที่สำคัญอีกอย่างของสถานพัฒนา เด็กปฐมวัย คือ การสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในการช่วยฟื้นฟูภาวะถดถอย การทำงานกับผู้ปกครองต้องใช้ทักษะในการสื่อสารเป็นอย่างมาก ครู ผู้ดูแลเด็กต้องมีทักษะการสื่อสารเชิงบวก ทั้งคำพูดและท่าที มีความเป็นกัลยาณมิตร รับฟังสิ่งที่พ่อแม่สื่อสาร หากทำได้ดีการพัฒนาเด็กจะมีความ เชื่อมโยงสอดคล้องกันทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน 3.4 ผู้บริหารสนับสนุนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ของครู หรือ PLC (Professional learning community) (กสศ, 2565) PLC เป็นแนวทางที่จะช่วยให้ครูสามารถปรับตัวและช่วยฟื้นฟูการเรียนรู้ของเด็ก ได้อย่างมีคุณภาพ และมีพลัง PLC มีกระบวนการสำคัญ คือ ครูช่วยกันหาแนวทางแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน มีกลุ่มช่วยเหลือ (Support Group) ให้ครูได้ระบายความรู้สึก บอกเล่าปัญหา ใช้พลังกลุ่มในการ ให้คำปรึกษา PLC ช่วยพัฒนาศักยภาพครู ช่วยให้ครูมีทักษะล้มแล้วลุก หรือ Resilience ครูเรียนรู้ทักษะ การแก้ปัญหา พัฒนาทักษะการคิดแบบยืดหยุ่น เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานอย่างสร้างสรรค์ 4) ทำงานร่วมกับครอบครัว โดยเน้นพัฒนาศักยภาพพ่อแม่ บทบาทที่สำคัญอีกด้านของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย คือ การสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง การแก้ไข ภาวะถดถอยความร่วมมือของผู้ปกครองมีความสำคัญมาก การแก้ปัญหาต้องทำร่วมกันทั้งที่บ้านและโรงเรียน 4.1 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างครูกับพ่อแม่ ว่าเป็นไปในลักษณะใด ช่วยเหลือเกื้อกูลกันหรือไม่ เพราะพ่อแม่และครูต่างเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้พัฒนาของเด็ก ดังนั้นพ่อแม่ และครูควรมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ร่วมมือร่วมใจกันเป็นปัจจัยด้านบวกให้เด็ก 4.2 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทำหน้าที่เป็นโรงเรียนพ่อแม่ (อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, 2565) เนื่องจากปัจจุบัน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและค่านิยมสังคมเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูก ประกอบกับ หลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเตรียมการเป็นพ่อแม่ ที่จะช่วยให้เลี้ยงลูกได้อย่างมีคุณภาพในประเทศไทย ยังขาดแคลนและไม่ทั่วถึง จำเป็นที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยควรมีบทบาทเป็นศูนย์เรียนรู้ ที่ให้ความรู้ใน การพัฒนาทั้งเด็กและพ่อแม่ผู้ปกครองไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้การพัฒนาหรือการดูแลแก้ปัญหาเด็ก มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โรงเรียนซึ่งมีครูที่มีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลพัฒนาเด็กอยู่แล้ว จึงควรแบ่งปัน ความรู้แก่พ่อแม่ ทำหน้าที่เป็นห้องเรียนหรือโรงเรียนพ่อแม่ไปด้วย โดยเน้นที่ความร่วมมือที่ดีระหว่างบ้านและ โรงเรียน จะเป็นพลังในการสร้างเด็กที่มีคุณภาพ 4.3 ครูและผู้บริหาร สื่อสารกับพ่อแม่ ผู้ปกครองสม่ำเสมอ ให้ทราบถึงปัญหาของสถานการณ์การ เรียนรู้ถดถอย ครูและโรงเรียนจะทำอะไร อย่างไร และให้คำแนะนำครอบครัวเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะเด็ก


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 71 จาก 150 กลุ่มเสี่ยง หรือ เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ (หริณญา รุ่งแจ้ง, 2565) เช่น เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า มีปัญหาอารมณ์พฤติกรรม มีปัญหาสุขภาพอนามัย หรือ มีปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องของพ่อแม่ 4.4 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม ภาคประชาสังคมและ ภาคธุรกิจ (อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, 2565) ให้มีส่วนร่วม สนับสนุนฟื้นฟูการเรียนรู้ของเด็ก ผ่านการจัด กิจกรรมสาธารณะ การจัดพื้นที่เล่นในชุมชน การเป็นจิตอาสาพี่เลี้ยงชุมชน และเสริมสร้างความมั่นคง ทางอาหารให้ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้มีทิศทางการดูแลเด็ก ไปในทางเดียวกัน เชื่อมพลังชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ ให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต นวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยสำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 1) การบำบัดฟื้นฟูเด็กเปราะบางด้วยการเรียนร่วมกับเด็กปกติ (Trauma sensitive classroom) นับเป็นนวัตกรรมหนึ่งของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบ้านพักเด็กและ ครอบครัว กรุงเทพฯ ที่นำเด็กกลุ่มเปราะบาง เด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต (Adverse Childhood Experience) เข้ามาเรียนร่วมกับเด็กปกติที่สถาบันฯ โดยการจัดห้องเรียนร่วม เพื่อช่วยเยียวยา ฟื้นฟูสุขภาพ และจิตใจเด็ก โดยเน้นส่งเสริมพัฒนาการอารมณ์ สังคม รูปแบบการจัดกิจกรรมช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย เท่าทันความรู้สึกทางกายใจ และกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการผ่านห้องเรียนธรรมชาติ ในส่วนของเด็กปกติก็จะ ได้เรียนรู้เรื่องความแตกต่าง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน ซึ่งสามารถเริ่มปลูกฝังได้ตั้งแต่ช่วงปฐมวัย (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว, 2564) “บางครั้งพ่อแม่ไม่สามารถเป็นตัวช่วยเดียวของลูกได้ ชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้องเป็นพลังสำคัญที่ช่วย เหลือเด็กที่ถูกทำร้าย ถูกทารุณกรรม” รศ. นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ 2) โรงเรียนพัฒนาตนเอง (Teacher and School Quality Program: TSQP) กองทุนเพื่อความ เสมอภาคทางการศึกษา (กสศ, 2565) สนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อให้โรงเรียนสามารถ พัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และคุณภาพของเด็ก คือ ครูรู้จักศักยภาพ ของเด็กเป็นรายบุคคล ครูทั้งโรงเรียนมีการรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูออกแบบวิธีการเรียนรู้ใหม่ จัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับช่วงวัย และมีระบบดูแลช่วยเหลือเด็กเป็นรายบุคคล โดยในช่วงหลังสถานการณ์ โควิด ได้มีการดำเนินการฟื้นฟูเด็กจากภาวะเรียนรู้ถดถอย เพื่อให้เด็กกลับมาสู่ห้องเรียนอย่างมีความสุข มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยครูทำงานร่วมกับผู้ปกครองในการฟื้นฟูเด็ก (ตารางที่ 1) 3) โรงเรียนวิถีพุทธ เป็นรูปแบบที่มีมานานแล้วในประเทศไทย โดยในต่างประเทศได้มีการนำ กระบวนการฝึกสติ ฝึกการผ่อนคลายมาใช้ในโรงเรียน เรียกว่า Calm School (Calm, n.d.) ซึ่งเป็น


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 72 จาก 150 กระบวนการที่ช่วยให้เด็กกลับมามีสติ ฝึกการหยุดนิ่งอยู่กับตัวเอง ฝึกการยับยั้งตัวเอง ในประเทศไทยใช้ พุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญ โดยโรงเรียนวิถีพุทธมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กได้ใกล้ชิดพุทธศาสนา ใกล้ชิดธรรมชาติ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลง ฝึกให้เด็กรู้จักสงบตัวเอง ยับยั้งตัวเองเป็น เป็นรากฐานที่ดีและเป็นช่วงเวลาสำคัญในที่เริ่มฝึกฝนได้ตั้งแต่ช่วงปฐมวัย (วินัดดา ปิยะศิลป์, 2565) 4) การจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยโดยใช้ธรรมชาติเป็นฐาน (Nature-Based Early Childhood Education) (Froebel USA, 2019) เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กได้ออกไปสัมผัสธรรมชาติมากขึ้น และให้เด็กสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองจากการสัมผัส สังเกต บันทึก ตั้งคำถาม ส่วนครูมีหน้าที่จัดกระบวนการ เรียนรู้ และเป็น co-learner คอยสังเกตเด็ก ดูว่าเด็กสนใจอะไร ร่วมเรียนรู้ไปกับเด็ก ประเทศไทยมีความ พร้อมในการเป็น Nature-Based Preschool มาก เพราะยิ่งห่างไกลความเจริญมากเท่าไหร่ ก็พบว่า มีธรรมชาติอยู่รอบตัวเด็กมากกว่าในเมือง 5) ชุดเครื่องมือสังเกตเด็กและเครื่องมือในการทำงานร่วมกับพ่อแม่ กระทรวงสาธารณสุขได้ ออกแบบเครื่องมือวัดประเมินพัฒนาการ พฤติกรรม อารมณ์จิตใจเด็กไว้หลายแบบ เพื่อใช้กับโรงเรียน ซึ่งมี การตกลงร่วมกันในระดับนโยบาย แต่ในทางปฏิบัติ พบว่าครูยังไม่รู้จัก และยังมีการนำไปใช้น้อย ปัจจุบัน มีเครื่องมือหลายอย่างที่ครูสามารถนำไปสังเกตเด็ก แล้วให้ความช่วยเหลือเด็ก หรือประสานความช่วยเหลือ กับหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ 5.1 เครื่องมือสังเกตอาการ 9S โดยกรมสุขภาพจิต (สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ, 2565) เป็นแบบสังเกตอาการพฤติกรรมและอารมณ์จิตใจเด็ก ประกอบด้วยข้อคำถาม 9 ข้อ แยกตามกลุ่มปัญหา คือ กลุ่มปัญหาพฤติกรรม ซนเกินไป ใจลอย รอคอยไม่ได้ กลุ่มปัญหาอารมณ์หงุดหงิดง่าย ท้อแท้เบื่อหน่าย ไม่อยากไปโรงเรียน และกลุ่มปัญหาทักษะสังคม ถูกเพื่อนแกล้ง แกล้งเพื่อน ไม่มีเพื่อน คุณครูสามารถใช้เครื่องมือนี้ เพื่อคัดกรองเด็ก เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือต่อไป 5.2 School Health Hero (สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์, 2565) แอพพลิเคชั่น โดยกรมสุขภาพจิตร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูประเมินเด็กในโรงเรียนเพื่อดูว่ามี ความเสี่ยงด้านพฤติกรรม อารมณ์ โดยใช้เครื่องมือสังเกตอาการ 9S และเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ถึงแนวทาง เบื้องต้นในการช่วยเหลือเด็ก โดยถ้าครูต้องการความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ก็สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ใน เขตสุขภาพในระบบสาธารณสุขได้ 5.3 โรงเรียนฉลาดเล่น: Active School (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2563) เป็นโรงเรียน ที่เด็กๆจะได้มีความสุขในการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าเด็กที่เคลื่อนไหววันละ อย่างน้อยประมาณ 30 นาที สมองจะพร้อมต่อการเรียนรู้ โรงเรียนฉลาดเล่นปลูกฝังการเคลื่อนไหวร่างกาย ตลอดช่วงวันอย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น (Play) ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 แบบ แบบแรก คือ


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 73 จาก 150 "Free Play" เป็นการเล่นสนุกเพื่อการผ่อนคลาย ได้ EQ หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ แบบที่ 2 คือ "Active Play" เป็นการเล่นเสริมทักษะ และแบบที่ 3 คือ "Sports & Exercise" หรือ การออกกำลังกาย โดยมีคู่มือและ โปรแกรมให้ครูที่สนใจเข้าอบรมเพื่อนำไปใช้ในโรงเรียน 5.4 เครื่องมือให้ความรู้และพัฒนาทักษะพ่อแม่ ปัจจุบันมีเครื่องมือพร้อมใช้สำหรับครูในการ ทำงานกับพ่อแม่ ทั้งแบบกิจกรรมในพื้นที่ เช่น Triple P - Preschool Parenting Program (ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ และ อมรา ธนศุภรัตนา, 2563) เป็นโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม (Preschool Parenting Program) ดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 4 ครั้ง (กิจกรรมสร้างสายใย กิจกรรมสร้างวินัย กิจกรรมสร้างเด็กเก่ง 1 & 2) ครูสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมกับพ่อแม่ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยได้ Net PaMa (เน็ตป๊าม้า, 2565) เป็นโปรแกรมการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ พ่อแม่สามารถศึกษาด้วย ตนเอง เช่นสอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก มีคอร์สเร่งรัดเพื่อจัดการปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย เช่น ปัญหาติดเกม ซน สมาธิสั้น ร้องโวยวาย และคอร์สจัดเต็มสำหรับการเรียนรู้การปรับพฤติกรรมเด็กอย่างละเอียด ตารางที่ 1 : ตัวอย่างโปรแกรมฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้และพัฒนาการ สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมต้น โครงการโรงเรียนพัฒนาตัวเอง (TSQP) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ, 2565) ปัญหาที่พบ : เด็กเขียนได้สักพักก็ฟุบตัวลงกับโต๊ะ เด็กลุกเดินไปมา เด็กโดนดุ เด็กเบื่อ ไม่อยากมาเรียน การคัดกรองเด็ก: - ครูสังเกตเด็กและประเมินเด็กเป็นรายบุคคล สังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างใส่ใจ - คุณครูใช้แบบสังเกตท่าทางและการใช้ร่างกายเด็ก (กสศ, 2565) หรืออาจเลือกใช้แบบประเมิน พัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) หรือแบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก กรมอนามัย ร่วมด้วย ข้อค้นพบ : เด็กมีฐานกายไม่พร้อม ความทนทาน ความคล่องแคล่วของการใช้ร่างกายน้อยกว่าวัย เริ่มฟื้นฟูเด็กอย่างไร 1. ตั้งเป้าหมายการฟื้นฟูเด็ก o เด็กกลับมาห้องเรียนแล้วมีความสุข มีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความสุขของเด็กๆกลับคืนมา o เด็กมีพื้นฐานด้านร่างกายที่แข็งแรงขึ้น มีแรงจูงใจในการเรียนรู้และทำกิจกรรม 2. สื่อสารกับผู้ปกครอง เพื่อทำงานร่วมกันกับครอบครัว ให้พ่อแม่เห็นความสำคัญของฐานกาย ผ่านงานบ้าน งานสวน งานครัว 3. ออกแบบ "กิจกรรมฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้" โดยเน้นฐานกาย o เอาฐานกายให้แน่นก่อน ให้เด็กสนุก ได้ท้าทายความสามารถ เป็นการเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว o สอดแทรกกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ความคิด ได้แก้ปัญหา ได้ทำงานร่วมกับเพื่อน ได้สื่อสาร


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 74 จาก 150 o ทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และให้กำลังใจเด็ก 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อนครูในพื้นที่ (PLC - Professional Leaning Communities) และถ้ามีโค้ช หรือผู้รู้ด้านเด็กในพื้นที่ทำงานร่วมกัน จะทำให้คุณครูมีพลังในการดูแลเด็ก และ เรียนรู้จากสิ่งที่ทดลองทำได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างกิจกรรมในพื้นที่ • กิจกรรมฐานกาย เดินต่อเท้า กิจกรรมการทรงตัว การกระโดดแบบต่างๆ การม้วนหน้า การดึง การโหน นอนหงายยกศีรษะโดยไหล่ติดพื้น เดินตามเส้น กิจกรรมออกกำลังกาย • กิจกรรมใช้ร่างกายเคลื่อนไหวพร้อมจังหวะดนตรี กิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำสั่ง • กิจกรรมกล้ามเนื้อมัดเล็ก บิดผ้าให้แห้ง ทำงานบ้าน ถอนหญ้า เปิดฝาขวด บีบ กด ดึง ฉีก ตัด คีบ หนีบ ดินสอแท่งใหญ่ • เกมการเล่นต่างๆ การเล่นบทบาทสมมุติ • เทคนิคที่ใช้ในห้องเรียน 1) นั่งสมาธิตอนเช้าก่อนเข้าเรียน 2) หนึ่งชั่วโมงก่อนเลิกเรียน ฝึกกิจกรรม ฐานกาย โดยเน้นให้เด็กสนุกและค่อยๆท้าทายให้ยากขึ้นเรื่อย ๆ 3) การเล่นเกมเป็นกลุ่ม ฝึกการวางแผน การต่อรอง การทำงานเป็นกลุ่ม 4) เล่านิทานสั้น ๆ ให้เด็กฟัง แล้วให้เด็กแสดง ละครจากนิทาน ประเมินผลอย่างไร - ความสุขและรอยยิ้มของเด็กๆ รอยยิ้มของเด็ก คือ การประเมินผลที่ดีที่สุดของครู - หลังจากฟื้นฟูครบ 2 สัปดาห์เด็กขาดเรียนน้อยลง ป่วยน้อยลง เด็กมีรอยยิ้มมากขึ้น ทะเลาะกันน้อยลง มีความกระตือรือร้น อยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทำไมการจัดโปรแกรมฟื้นฟูพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ต้องเริ่มต้นด้วยการสังเกตร่างกายเด็ก และส่งเสริมฐานร่างกายก่อน ลำดับขั้นการพัฒนาสมอง เริ่มต้นจากฐานร่างกายก่อน โดยเริ่มจากการพัฒนาระบบประสาทสัมผัส ทั้ง 7 (การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส การกอดสัมผัส การทรงตัว การเคลื่อนไหวง่าย ๆ ) ต่อมา คือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ซับซ้อนขึ้น (เช่น ปีนป่าย ตีลังกา โยนรับบอล ตีตบแปะ กระโดดเชือก) ต่อมาเป็น การทำงานของสมองขั้นสูงที่ซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่ การใช้ภาษา ความเข้าใจสิ่งรอบตัว การมีสมาธิ จดจ่อ ความ สามารถในการกำกับตัวเอง การเล่นกีฬา ดังภาพในพิรามิดพื้นฐานสมองระบบประสาทในเด็ก (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว, 2560; Williams & Shallenberger, 1996) (ภาพที่ 5)


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 75 จาก 150 เมื่อเด็กมีระบบประสาทสัมผัสและการใช้ร่างกายที่คล่องแคล่ว สมองจึงจะมีความพร้อมที่จะต่อ ยอดไปสู่ทักษะขั้นสูงต่อไป เช่น การมีสมาธิจดจ่อในงานยาก การกำกับตัวเอง การคิดวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และการเรียนรู้วิชาการ เด็กปฐมวัยที่สมองขาดโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการเล่น การใช้ประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหวร่างกาย ระบบประสาทจะเปราะบาง ไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ โดยมักพบว่าเด็กจะมีปัญหาการเรียนเมื่อเข้าสู่วัยประถม (แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ, 2559) (รูปที่ 9) รูปที่ 9 พื้นฐานสมอง ระบบประสาทในเด็ก (ที่มา : Citation: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว,2560; Williams & Shallenberger, 1996)


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 76 จาก 150 รูปที่ 10 พื้นฐานสมอง เปรียบเทียบเหมือนรากฐานของบ้าน (ที่มา : Citation: แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ. (2559) ตารางที่ 2: ตัวอย่างกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูเด็ก สำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ภายหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กิจกรรมเหล่านี้เป็น Active Learning ที่เหมาะกับการฟื้นฟูเด็กปฐมวัย โดยเน้นให้เด็กได้ เคลื่อนไหว ลงมือทำ ออกไปกลางแจ้ง มีทั้งกิจกรรมที่ทำร่วมกันทั้งห้องเรียน แบ่งกลุ่มย่อย และ กิจกรรมรายบุคคล (รวบรวมมาจากข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา) กิจวัตรประจำวัน o กิจกรรมฝึกเด็กให้รู้จักกิจวัตรประจำวัน - ตารางกิจวัตรประจำวัน หรือตารางเรียน ในตอนเริ่มต้นแต่ละวันครูต้องพูดคุยให้เด็กรู้ว่า วันนี้จะต้องทำอะไร เวลาใด เด็กจะได้รู้ว่าเส้นทางชีวิตของตนเองใน 1 วันเป็นอย่างไรบ้าง เขาต้องทำ อะไรบ้าง เวลาใด - กิจกรรมช่วยเหลือตัวเอง กิจกรรมที่ฝึกให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองให้มากขึ้น เช่น การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง - กิจกรรมฝึกเด็กให้ปฏิบัติตามข้อตกลง เมื่อกลับมาโรงเรียนต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น เด็กต้อง ฝึกปฏิบัติตามข้อตกลงทั้งหลาย เช่น ฝึกให้รอ เล่นของเล่นแล้วเก็บเข้าที่ นอนกลางวัน ทำตามข้อตกลง ในการเล่นกับเพื่อน ฯลฯ


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 77 จาก 150 o กิจกรรมออกกำลังกาย เด็กที่สุขภาพแข็งแรงจะเห็นคุณค่า ความสามารถของตัวเอง ทำให้เด็กมี พลังมีศรัทธาในตัวเอง สามารถฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคที่อาจจะต้องเผชิญในอนาคตได้ การออกกำลัง กายยังทำให้สมองทำงานได้ดี ประสาทสัมผัสต่างๆ ทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว การทำงานของ สมองที่จะคิดวางแผน คิดจัดการ คิดแก้ปัญหาก็จะทำได้ดี ทำได้อย่างว่องไว o กิจกรรมแบ่งปัน ช่วยให้เด็กได้รู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง การทำเพื่อผู้อื่นควรเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆที่เป็น กิจวัตร เช่น ช่วยคุณครูเก็บจานอาหาร แบ่งเวรกันทำความสะอาดห้องเรียน หรือ การช่วยกันทำ ขนมไปบริจาคในวันสำคัญ กิจกรรม Play-Based Learning และ Active Learning 1) กิจกรรมใกล้ชิดธรรมชาติเด็กที่ใกล้ชิดธรรมชาติจะเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยน ธรรมชาติช่วยให้เด็กมี อารมณ์ที่ผ่อนคลาย สงบ มีความสุข เบิกบาน 2) กิจกรรมส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เพื่อฟื้นฟูทักษะสังคมให้เด็กในชั้นเรียนครูจึงควรเน้น ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กด้วยกัน ด้วยการส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เล่นกับเพื่อน ครูพูดคุย สื่อสารกับเด็กมากขึ้น สื่อสารกับพ่อแม่ให้มีปฏิสัมพันธ์กับลูกมากขึ้น 3) กิจกรรมสื่อสาร เป็นกิจกรรมที่ฝึกเด็กให้สื่อสารความต้องการ สื่อสารความคิด อารมณ์ความรู้สึก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลควรต้องใส่ใจให้เด็กฝึกการสื่อสารให้มาก คิดกิจกรรมที่ให้เด็ก ได้มีโอกาสสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิด 4) กิจกรรมฝึกการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ฝึกให้เด็กแก้ปัญหาด้วยตัวเองในขอบเขตที่เด็กจะทำได้ ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นมาก ๆ และใช้การเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อฟื้นฟูเด็ก 5) กิจกรรมพัฒนาทักษะเชิงคุณลักษณะ เป็นการพัฒนาปัญญาในมิติที่ไม่ใช่การเรียนเขียนอ่าน แต่เป็น ปัญญาที่เป็นคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ * ทักษะการรู้จักตนเอง คือรู้ว่าฉันเป็นอย่างไร ฉันสามารถทำอะไรได้ ทำให้เด็กรู้จักตัวเอง รู้ความสามารถของตัวเองมากขึ้น * ทักษะการกำกับตนเอง การกำกับตนเองด้านอารมณ์หรือด้านพฤติกรรม * ทักษะการยืดหยุ่นทางจิตใจ การปรับตัวเมื่อเผชิญปัญหา ฝึกเด็กให้มีความยืดหยุ่นทางด้าน จิตใจและอารมณ์ กล้าเผชิญปัญหา ฝ่าฟันความยากลำบาก กิจกรรมพิเศษ 1) กิจกรรมวันสำคัญประจำปีเช่น วันปีใหม่ วันเด็ก วันสงกรานต์ วันมาฆบูชา วันลอยกระทง โดยเน้นให้เด็กทำงานกลุ่มร่วมกัน และ จัดกิจกรรมร่วมกับครอบครัว และ ชุมชน 2) กิจกรรมกีฬาสีช่วยให้เด็กมีการปรับตัวทั้งทางด้านอารมณ์ สังคมได้ดี


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 78 จาก 150 3) กิจกรรมจิตอาสา ทำให้เด็กได้รู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง จากการได้ช่วยเหลือผู้อื่น ปลูกฝังการทำ ประโยชน์ให้ชุมชน พื้นที่รอบข้าง เช่น เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บใบไม้ที่สนาม กวาดถูพื้นที่ส่วนกลาง หรือ ทำความสะอาดวัดในชุมชน กิจกรรมเสริมศักยภาพพ่อแม่ กิจกรรมให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กมากขึ้น โดยครูเป็นผู้จัดกิจกรรม เตรียมสื่อ อุปกรณ์ และให้พ่อแม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น * กิจกรรมเมนูอาหารแนะนำ ให้แม่ครัวสอนพ่อแม่เกี่ยวกับวิธีการประกอบอาหารที่ทำให้เด็ก ชอบ ควรเป็นเมนูที่ทำได้ง่าย ราคาถูก และมีคุณค่าทางโภชนาการ * กิจกรรมอ่านนิทาน กิจกรรมปลูกผักไว้กินเอง กิจกรรมงานบ้านกับลูก เน้นกิจกรรมที่ สอดคล้องกับบริบทของครอบครัว และเหมาะกับวัยของเด็กด้วย โดยเฉพาะเด็กที่ต้องการการฟื้นฟู เพื่อให้คำแนะนำ/ส่งเสริมด้านโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการ และรับฟังปัญหาที่พ่อแม่กังวล สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นตัวอย่างการ ลด เลิก ใช้สื่อหน้าจอกับเด็กเน้นใช้ “สื่อเย็น” เช่น นิทาน วาดภาพ การปั้น การเล่น สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยควรคืนสภาพที่ควรเป็นปกติ และการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติของเด็กให้มากที่สุด และเร็วที่สุดการใช้สื่อหน้าจอเพื่อทดแทนชั้นเรียนต้องลดเลิก และ ลดการมอบหมายการเรียนรู้ที่บ้านผ่าน สื่อออนไลน์ สนับสนุนให้พ่อแม่จัดกิจกรรมโดยใช้สื่อเย็น และ เสริมกิจกรรมทางกาย ให้มากขึ้น


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 79 จาก 150 แนวทางและนวัตกรรมในการฟื้นฟูพัฒนาการที่เสียหายของเด็กปฐมวัย : ความรู้พร้อมใช้สำหรับสื่อมวลชนและสาธารณชน เรื่องของเด็ก คือ เรื่องของทุกคน คำกล่าวที่ว่า “เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” หรือ “เด็กคืออนาคตของชาติ” ถูกตอกย้ำในหลายวาระ เพื่อแสดงถึงความสำคัญของเด็กที่มีต่ออนาคตของสังคม อนาคตของชาติ และอนาคตของโลก ดังนั้น การสร้าง เด็กให้มีคุณภาพตั้งแต่วันนี้ จึงเป็นการสร้างสังคมให้มีคุณภาพในอนาคตได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการสร้างเด็ก ปฐมวัยช่วง 6 ปีแรก ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ระบบประสาทและสมองเจริญเติบโตในอัตราสูงสุดกว่าร้อยละ 80 ของชีวิตมนุษย์ เด็กในช่วงวัยนี้เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและมีความสามารถในการเรียนรู้ทุกสิ่ง ถือเป็น โอกาสทองในการพัฒนามนุษย์ แต่หากเด็กถูกละเลยและไม่ได้รับการพัฒนาที่ถูกต้องเหมาะสม โอกาสทองนั้นก็จะไม่ หวนกลับมาอีก มีงานวิจัยจำนวนมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา (Knudsen 2004, Knudsen et al. 2006; Cunha et al., 2010; Currie and Almond, 2011; Heckman and Mosso, 2014; Attanasio et al., 202 0 อ้างถึงใน วีระชาติ กิเลนทอง, 2565) ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า การพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงสำคัญที่สุดของ การสร้างทุนมนุษย์ให้แก่ประเทศ การลงทุนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยจะเป็น การช่วยลดความแตกต่างด้านทุนมนุษย์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิต และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ ทางเศรษฐกิจและสังคม ลดต้นทุนที่เกิดจากการก่ออาชญากรรมและยาเสพติด และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านการผลิตของประเทศได้ ข้อมูลหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคืองานวิจัยของศาสตราจารย์เจมส์ แฮกแมน (2011, 2013) ผู้ได้รับรางวัล โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่พบว่า หากภาครัฐลงทุนในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเปราะบาง ที่มาจากครอบครัวที่ไม่พร้อม จะนำไปสู่อัตราผลตอบแทนคืนกลับต่อสังคมที่สูงถึงร้อยละ 10 ต่อปี โดยเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าการลงทุนด้านการศึกษาและเรียนรู้กับเด็กปฐมวัย 1 ดอลล่าร์ จะได้ผลประโยชน์ ต่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ และสังคมโดยรวมประมาณ 7 ถึง 12 ดอลล่าร์ ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่สูงมากเมื่อ เทียบกับการลงทุนประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือการลงทุนในตลาดหุ้นของ สหรัฐอเมริกา


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 80 จาก 150 รูปที่ 11 เส้นกราฟแสดงอัตราผลตอบแทนของการลงทุนด้านการศึกษาในแต่ละระดับอายุ จากงานวิจัยของ Heckman (2008) (ที่มา : วีระชาติ กิเลนทอง (2560)) อย่างไรก็ตาม แม้การลงทุนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยจะเป็นพันธกิจสำคัญของภาครัฐ แต่การที่เด็กคน หนึ่งจะเติบโตขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์ ช่วยสร้างสังคมและโลกที่ดี มีคุณภาพได้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ จากคนทั้งสังคมที่จะช่วยกันสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของเด็ก เพื่อส่งเสริม ปกป้อง และโอบอุ้มให้เด็กคนหนึ่งมีโอกาสทองในการพัฒนาได้อย่างเต็มที่ รูปที่ 12 แผนภูมิรูปภาพแสดงจำนวนสัดส่วนเด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 3-6 ปี ณ เดือนตุลาคม 2565 (ที่มา: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ตุลาคม 2565) ปัจจุบัน ประเทศไทยมีจำนวนเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 0 – 6 ปี ประมาณสี่ล้านสามแสนกว่าคน (สำนัก บริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ตุลาคม 2565) และมีกฎหมายนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย จำนวนมาก ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 – 2570)


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 81 จาก 150 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 รวมถึงกฎหมายสำคัญด้านเด็ก ปฐมวัยฉบับปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2562 ที่ช่วยกำกับให้การดำเนินงาน ด้านเด็กปฐมวัยของประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ก็ยังพบว่า การพัฒนาเด็กปฐมวัยในไทยยังดำเนินการ ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนัก (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2564) ดังที่โครงการสำรวจสถานการณ์เด็ก และสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2562 ที่ดำเนินงานโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ และ องค์การยูนิเซฟ (2563) ที่พบว่ายังมีเด็กปฐมวัยจำนวนมากในประเทศไทยต้องประสบปัญหาด้านพัฒนาการล่าช้า รวมทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครองเองก็ขาดความรู้ความเข้าใจและขาดทักษะการดูแลเลี้ยงดูที่ถูกต้องตามวัยด้วย หรือผลการวิจัย ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาของกระทรวงสาธารณสุข (กรมอนามัย, 2564) ที่พบว่า เด็กอายุ 3 - 5 ปี มีพัฒนาการ สมวัยน้อยกว่าเด็กอายุ 0 -2 ปีทั้งที่เป็นเด็กที่เข้าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (ศูนย์พัฒนาเด็กหรือโรงเรียนอนุบาล) แล้ว จะเห็นได้ว่า ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่องค์การอนามัยโลกประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของโลกตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 นั้น เด็กปฐมวัยในไทยจำนวนมากก็ไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสมอยู่แล้ว เมื่อต้องเผชิญกับ ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น จึงยิ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยใน ประเทศไทย วิกฤตโควิด-19 กับหลุมแห่งพัฒนาการของเด็กปฐมวัย “เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเด็กที่เติบโตในช่วงโควิด-19 เพราะเด็กรุ่นนี้จะเป็นเหมือนหลุม ที่ไม่ สามารถเทียบกับรุ่นพี่ กับรุ่นน้องได้ หากไม่เร่งแก้ปัญหา ภาพรวมการพัฒนาประเทศก็จะถดถอยตาม เด็กทุก คนเรียนเพื่อเติบโตเป็นอนาคตของชาติ หากเราไม่ได้ทำอะไร เด็กจะมีภาวะการเรียนรู้ถดถอยไปเรื่อย ๆ เมื่อ ไปอยู่ในตลาดแรงงานก็จะกระทบต่อความสามารถในการพัฒนาประเทศ การแก้ปัญหาจึงต้องทำแบบ “วิ่ง มาราธอน” หรือแก้ปัญหาระยะยาว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต” (วีระชาติ กิเลนทอง, 2565) ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว หรือ คิด for คิดส์ (2565) ได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์เด็ก เยาวชน และครอบครัว ปี 2022 ระบุว่าการที่เด็กไทยต้องเผชิญวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 มายาวนานเกือบ 3 ปีส่งผลกระทบที่สำคัญต่อเด็กปฐมวัย ดังนี้ - การปิดสถานศึกษา ทำให้เด็กเผชิญภาวะการเรียนรู้ถดถอย พัฒนาการหยุดชะงัก - เด็กเข้าถึงบริการของรัฐได้ยากขึ้น ถูกทอดทิ้งจากรัฐ ภาวะโภชนาการน่าเป็นห่วง - เด็กถูกผลักให้ใช้สื่อออนไลน์ ทั้งที่ยังขาดทักษะพื้นฐานและการรู้เท่าทันสื่อ - เด็กเกิดความเครียด และมีความเสี่ยงทางสุขภาพจิต - เด็กสูญเสียบุคคลในครอบครัว กลายเป็นเด็กกำพร้า


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 82 จาก 150 นายแพทย์ธีรชัย บุญยะลีพรรณ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในงานเสวนาวิชาการ “ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้หลังโควิด-19 แนวทางฟื้นฟู รับเปิดเทอมใหม่” เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา, 2565) ว่า จากการ ใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย วัดแนวโน้มพัฒนาการเด็กปฐมวัยของประเทศไทย พบว่า เด็กไทย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 มีพัฒนาการไม่สมวัย โดยพัฒนาการเด็กไม่สมวัยที่พบมากสุด คือ พัฒนาการ ด้านการใช้ภาษา Expressive Language (EL) อยู่ที่ระดับ ร้อยละ 75.2 พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา Receptive Language (RL) ร้อยละ 60.1 และ Fine Motor พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ร้อยละ 47 ซึ่งคาดการณ์ว่าตัวเลขพัฒนาการด้านการใช้มือหรือกล้ามเนื้อมัดเล็กซึ่งเชื่อมโยงกับการเรียนรู้จะยิ่ง แย่ลงเรื่อย ๆ ในเด็กปฐมวัยของไทย เพราะจากการทดสอบ มีนิ้วที่แข็งแรงเหลืออยู่เพียงนิ้วเดียวคือนิ้วชี้ที่เด็กใช้ ในการเลื่อนหน้าจอสมาร์ทโฟน รูปที่ 13 สถานการณ์พัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย (ที่มา: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2565)) สอดคล้องกับที่ รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง (2565) หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาเด็ก ปฐมวัยในประเทศไทย ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสถาบันวิจัยเพื่อการประเมิน และออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งระบุผลการวิจัยว่า กลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัย ที่สำรวจในปี 2565 ซึ่งเป็นปีที่มีการปิดเรียนเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 อย่างยาวนาน มีระดับความ พร้อมเฉลี่ยทางด้านวิชาการ ต่ำกว่ากลุ่มตัวอย่างที่สำรวจในปี 2563 (ไม่มีผลกระทบจากโควิด) และ กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจในปี 2564 (ได้รับผลกระทบจากโควิดเล็กน้อย) โดยหากพิจารณาจากสัดส่วนของเด็ก หางแถว (Fraction of The Bottom-10) พบว่าการปิดเรียนเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 อย่างยาวนาน ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีโอกาสเป็นเด็กหางแถวมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 83 จาก 150 นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบด้วยว่าเด็กระดับอนุบาล 3 ของไทยเกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) กว่าร้อยละ 90 นั่นคือ การปิดเรียนแต่ละวันทำให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ไปกว่าร้อยละ 90 ของระดับการเรียนรู้ที่ควรจะได้หากไม่มีการปิดเรียนเพราะการระบาดของโควิด-19 จากผลกระทบและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในประเทศไทย จำเป็นที่จะต้องให้สาธารณชน ตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมพัฒนาและแก้ปัญหาเด็กปฐมวัย ดังได้กล่าวไปข้างต้นว่า การพัฒนาเด็ก ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของพ่อแม่ผู้ปกครอง สถานศึกษา หรือภาครัฐเท่านั้น แต่ทุก ๆ คนในสังคมต้องมีบทบาท ร่วมกัน โดยเฉพาะสื่อมวลชน ในฐานะแหล่งข้อมูลข่าวสาร แหล่งเรียนรู้สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย และแหล่ง สร้างความคิดความเชื่อให้แก่บุคคลและสังคม ที่จะมาช่วยกันทำให้สาธารณชน ตระหนักถึงความจำเป็นในการ ขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย และฟื้นฟูส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่ถดถอยไป ในช่วง ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและอย่างจริงจัง สถานการณ์และปัญหาการใช้สื่อของเด็กปฐมวัย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการปิดสถานศึกษา ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปิดพื้นที่กิจกรรมต่างๆ ในที่สาธารณะ ตลอดจน การเลี่ยงที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ด้วยมุ่งหวังที่จะลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ต่อเนื่องยาวนานมา ตั้งแต่ปี 2563 ผลักดันให้เด็กปฐมวัยต้องถูกจำกัดพื้นที่ และจำกัดการทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริม การเรียนรู้และกระตุ้นพัฒนาการที่หลากหลายทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมถึงการรู้คิดเชิง จริยธรรม เด็กต้องเข้าสู่การเรียนรู้หน้าจอออนไลน์ตั้งแต่ระดับอนุบาล และใช้สื่อหน้าจอต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งผ่อนคลายความเครียด และเป็นของเล่นหลักในบ้าน สื่อออนไลน์ จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) (สยามรัฐออนไลน์, 2564) พบว่า ยุคโควิด-19 เด็กไทยใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์ถึงร้อยละ 89 อยู่กับผู้ปกครอง เพียงร้อยละ 11 โดยผู้ปกครองอนุญาตให้ลูกใช้สื่อออนไลน์วันละ 1-3 ชั่วโมง สูงถึงร้อยละ 77.67 รองลงมา คือ 4-6 ชั่วโมง ร้อยละ 16.13 และ 7 ชั่วโมงขึ้นไป ร้อยละ 11.91 แต่ข้อค้นพบที่สำคัญ คือ ผู้ปกครองส่วน ใหญ่เริ่มอนุญาตให้เด็กใช้สื่อตั้งแต่อายุเพียง 2-3 ปีเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเด็กรุ่นใหม่มีการเริ่มต้นใช้สื่อที่อายุน้อยลง เช่นเดียวกับข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสถาบันวิจัยเพื่อ การประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (วีระชาติ กิเลนทอง, 2565) ที่พบว่า เด็กปฐมวัยใช้เวลากับหน้าจอ (Screen Time) เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในที่นี้ นับเฉพาะเวลาที่เด็กเล่นเกม หรือ ดูรายการผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บแลต โทรศัพท์มือถือเท่านั้น ไม่ได้นับรวมเวลาที่เด็กปฐมวัยใช้กับการเรียนออนไลน์


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 84 จาก 150 รูปที่ 14 กราฟแสดงเวลาเฉลี่ยที่เด็กใช้กับหน้าจอ (นาทีต่อสัปดาห์) ในแต่ละระดับอายุ (ไม่รวมเวลาเรียนออนไลน์) ปี 2559 – 2564 (ข้อมูล Longitudinal) (ที่มา: https://www.the101.world/weerachart-kilenthong-interview/) จากกราฟด้านบนซึ่งเป็นการศึกษาระยะยาวกับเด็กคนเดิม ตั้งแต่ปี 2559 – 2564 พบว่า เด็กใช้เวลา กับหน้าจอออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และมีการเริ่มใช้ตั้งแต่อายุ 1 ปี ในขณะที่หากเปรียบเทียบเด็กที่มี ระดับอายุเท่ากัน ก็พบว่าในช่วงปี 2563 – 2564 ซึ่งเป็นช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เด็กใช้เวลาอยู่ หน้าจอออนไลน์ (ไม่รวมเวลาเรียนออนไลน์) มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น ในปี 2563 เด็กระดับอายุ 5 ปี ใช้เวลาหน้าจอเกือบ 600 นาทีต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 80 นาที ส่วนเด็กระดับอายุ 5 ปี ในปี 2564 ใช้เวลาหน้าจอมากกว่า 800 นาทีต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมงทีเดียว ในขณะที่ หากเปรียบเทียบเด็กระดับอายุ 6 ปี ในปี 2562 ใช้เวลาหน้าจอประมาณ 400 นาทีต่อสัปดาห์ ปี 2563 ใช้เวลา หน้าจอประมาณ 600 นาทีต่อสัปดาห์ และในปี 2564 ใช้เวลาหน้าจอประมาณ 800 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งแสดง ให้เห็นว่าเด็กระดับอายุ 6 ปีใช้เวลาหน้าจอเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 200 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งการเพิ่มมากขึ้น ของเวลาเหล่านี้ ย่อมหมายถึงเวลาที่ควรจะให้กับกิจกรรมอื่นที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่หลากหลายรอบด้าน ลดลงไปด้วย ทั้งนี้ในการนำเสนอสถานการณ์การใช้สื่อจอใสในเด็กปฐมวัย: แนวทาง และนวัตกรรมในการฟื้นฟู (มุมมองจากหมอพัฒนาการเด็ก) ของศาสตราจารย์ นพ. วีระศักดิ์ ชลไชยะ (2565) พบข้อมูลการได้รับสื่อ หน้าจอในเด็กปฐมวัยซึ่งรวบรวมจากหลายงานวิจัย พบว่าเด็กปฐมวัยได้รับสื่อหน้าจอในปริมาณที่สูงมาก


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 85 จาก 150 ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลการได้รับสื่อหน้าจอของเด็กปฐมวัย (ที่มา : วีระศักดิ์ ชลไชยะ (2565)) แม้ว่าเด็กปฐมวัยเหล่านี้จะถูกจัดว่าอยู่ในเจนอัลฟา (Generation Alpha) 4 ซึ่งเติบโตมาในยุค สื่อดิจิทัลและสื่อออนไลน์ที่หลากหลาย มีความสามารถและเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว แต่ทักษะ ความสามารถเหล่านั้นก็ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม เพื่อมิเพียงแค่ใช้เทคโนโลยีได้ แต่ต้องฉลาดใน การรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีเหล่านั้นด้วย เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เกิดขึ้น จึงเป็นการเร่งให้เด็กปฐมวัย ใช้เทคโนโลยีเร็วเกินไปในขณะที่ความสามารถในการรู้เท่าทันยังไม่พร้อม ในขณะที่หากจะพึ่งพ่อแม่ผู้ปกครอง ในการส่งเสริมความรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีของบุตรหลาน กลับพบว่าผู้ปกครองและครู ยังมีความสามารถที่จะแนะนำ ช่วยเหลือ และสนับสนุนเด็กและเยาวชนได้จำกัด เพราะจากการประเมินของมหาวิทยาลัยมหิดลและกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในเดือน พฤศจิกายน 2020 (อ้างถึงในศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว, 2565) พบว่า ผู้ใหญ่อายุ 31 ปีขึ้นไป มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศน้อยกว่าเด็กและเยาวชนอายุ 11-30 ปี และระดับทักษะของผู้ใหญ่ มีแนวโน้มลดลงตามกลุ่มอายุที่เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มอายุ 51-70 ปีมีทักษะระดับพื้นฐานเท่านั้น ในแง่นี้ ครัวเรือน ข้ามรุ่นจึงประสบปัญหาในการสนับสนุนเด็กและเยาวชนอย่างมาก 4 Generation Alpha คือ กลุ่มประชากรที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ.2553 หรือ ค.ศ.2010 เป็นต้นไป


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 86 จาก 150 รูปที่ 15 คะแนนทักษะรู้เท่าทันสื่อ-สารสนเทศโดยเฉลี่ย ตามช่วงอายุ (ที่มา : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564 (อ้างถึงในศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว, 2565)) เมื่อเด็กยังไม่มีความพร้อม และผู้ใหญ่รอบตัวก็อาจจะยังไม่สามารถช่วยได้ โอกาสประสบกับความ เสี่ยงและผลกระทบทางลบจากสื่อออนไลน์จึงค่อนข้างสูง แม้จะยังไม่มีข้อมูลภัยออนไลน์ที่เด็กปฐมวัยพบ แต่ก็ สามารถอ้างอิงจากผลสำรวจเด็กไทยกับภัยออนไลน์ ปี 2562 และปี 2563 ที่จัดทำโดย COPAT กรมกิจการ เด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย (2563) ได้ว่า ปัจจุบันเด็กไทยช่วงอายุ 6-18 ปี ต้องเผชิญพฤติกรรมเสี่ยงภัยออนไลน์จำนวนมาก เช่น การพูดคุยกับคนที่ไม่รู้จัก ให้ข้อมูลส่วนตัว แชร์ภาพและ สถานที่อยู่ของตนเอง นัดพบกับเพื่อนออนไลน์ ซึ่งนำไปสู่การกลั่นแกล้งรังแก ทุบตี ทำร้าย ทารุณกรรม ทางเพศ บางรายถูกถ่ายภาพหรือคลิปวิดีโอแล้วนำไปประจาน ข่มขู่เรียกเงิน ทั้งนี้ เว็บไซต์หรือเนื้อหาข้อมูล ที่ผิดกฎหมาย/เป็นอันตรายที่เด็กเข้าถึงมากที่สุด 4 อันดับแรก คือ ความรุนแรงร้อยละ 49 การพนัน ร้อยละ 22 สื่อลามกอนาจารร้อยละ 20 และสารเสพติดร้อยละ 16 และมีเด็กจำนวนมากที่มีประสบการณ์ ถูกกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์หรือการระรานทางไซเบอร์ (Cyber Bullying) ดังนั้น การที่เด็กปฐมวัยใช้เวลา อยู่หน้าจอออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงโควิด-19 จึงมีโอกาสที่เด็กจะมีความเสี่ยงต่อภัยออนไลน์มากขึ้น จนน่าเป็นห่วง แพลตฟอร์ม TikTok เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่ได้รับความนิยมพุ่งสูงอย่างมากในช่วงโควิด-19 ด้วยคลิป วิดีโอสั้นที่ใช้เวลาดูไม่นานนัก และมีฟีดวิดีโอต่าง ๆ มากมายที่ถูกเลือกสรรมาว่าสอดคล้องกับความสนใจของ ผู้ใช้สื่อตามการเก็บข้อมูลในอัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม นอกจากการเปลี่ยนดูแต่ละคลิปในเวลาอันสั้น หรือ การไถหน้าฟีดของแพลตฟอร์มอย่างรวดเร็ว ที่อาจจะส่งผลต่อการรับรู้ภาพในสมองของเด็กแล้ว เนื้อหาใน แพลตฟอร์ม TikTok เองก็มีเนื้อหาจำนวนมากที่ไม่เหมาะกับเด็กมากนัก ซึ่งเรื่องนี้ ในเว็บไซต์ข่าว Newsroom ของ TikTok (2564) ทางผู้ประกอบการเองก็ได้ออกมายอมรับว่ามีเนื้อหาจำนวนมากที่อาจจะสร้างผลกระทบ กับเด็กและเยาวชน ทาง TikTok จึงได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันภัยออนไลน์สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปีในการเข้าใช้งาน5 อย่างไรก็ตาม สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ มีเด็กไทยจำนวนมากไม่ได้กรอกข้อมูล 5 มาตรการดังกล่าวของ TikTok จะกล่าวถึงในหัวข้อแนวทางสําหรับสื่อมวลชนในการฟื้นฟูพัฒนาการที่เสียหายของเด็กปฐมวัย


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 87 จาก 150 อายุจริงเพื่อสมัครใช้งานสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ การเข้าถึงแพลตฟอร์ม YouTube หรือ TikTok แม้จะไม่ได้สมัครใช้งานเปิดบัญชีรายชื่อ (Account) แต่ก็สามารถเข้าไปรับชมเนื้อหาต่าง ๆ ในแพลตฟอร์ม นั้นได้อยู่ดี สื่อโทรทัศน์ : ห้องเรียนเสริมและห้องนั่งเล่นที่มีแต่รายการของผู้ใหญ่ สื่อโทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อหลักประเภทหนึ่งที่ครองใจเด็กปฐมวัย เพราะมีภาพและเสียงที่ตื่นตาตื่นใจ ดึงดูดความสนใจของเด็กได้ง่าย แต่ปัญหาคือ รายการโทรทัศน์ในบ้านเรายังมีรายการที่ผลิตสำหรับเด็กปฐมวัย อยู่น้อยมาก เด็กจึงหันไปรับชมรายการรูปแบบอื่น ๆ ทางโทรทัศน์แทน อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่ง ช่วงโควิด-19 ก็ได้ทำให้สังคมไทยเห็นความสำคัญของการใช้สื่อโทรทัศน์เพื่อการเรียนรู้ ทดแทนปัญหาสื่อออนไลน์ที่ยังไม่ทั่วถึง แม้ปัจจุบัน ดูเหมือนว่าสัดส่วนผู้ชมรายการโทรทัศน์จะลดลง และถูกแทนที่ด้วยสื่อออนไลน์ หลากหลายแพลตฟอร์ม แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กไทยจำนวนมากยังคงมีสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อหลักประเภท หนึ่งอยู่ ดังเช่นข้อมูลผลสำรวจของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เรื่องพฤติกรรมการใช้สื่อของเด็ก พ.ศ. 2561 พบว่า เด็ก 3-6 ปี รับชมสื่อโทรทัศน์เป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 30 รองลงไปคือ หนังสือ ร้อยละ 21 และ ยูทูบ ร้อยละ 19 ในขณะที่ผลสำรวจรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (2564) แสดงข้อมูลจากบริษัท เอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่ได้มีการเปลี่ยนผ่านจากทีวีแอนะล็อคมาสู่ทีวีดิจิทัล จำนวนรายการเด็ก มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง รูปที่ 16 ผลสำรวจรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในโทรทัศน์ดิจิทัล พ.ศ. 2558-2563 (ที่มา : สำนักงาน กสทช. (2564))


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 88 จาก 150 นั่นคือ ในปี 2558 ซึ่งเป็นปีแรกที่ทีวีดิจิทัลให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ มีจำนวนรายการเด็กมากถึง 771 รายการ ก่อนจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญจนเหลือเพียง 545 รายการในปีถัดมา และมีแนวโน้มลดลงต่อมา เรื่อย ๆ จนกระทั่งเหลือเพียง 218 รายการในปี 2563 หรือลดลงจำนวน 553 รายการจากปี 2558 คิดเป็น อัตราลดลงประมาณร้อยละ 71.73 ซึ่งหากจะแยกตามช่อง นั่นแสดงให้เห็นว่าแม้เด็กปฐมวัยจะยังสนใจรับชม สื่อโทรทัศน์ แต่ก็แทบไม่มีรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยทางหน้าจอให้เห็น อย่างไรก็ตาม ในช่วงโควิด-19 ซึ่งปรากฏปัญหาเด็กจำนวนมากเข้าไม่ถึงสื่อออนไลน์ รวมถึงครูที่ ขาดแคลนสื่อที่จะใช้สอนเด็กทางไกล คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติได้อนุมัติช่องโทรทัศน์ชั่วคราวเพื่อการศึกษา (DLTV) จำนวน 15ช่องของกระทรวงศึกษาธิการ และช่องเพื่อการเรียนรู้ ALTV ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) อีก 1 ช่อง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ที่ต้องหยุดชะงักไปจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 อย่างไรก็ตาม การใช้สื่อโทรทัศน์ DLTV ดังกล่าว เป็นการใช้สื่อเพื่อการศึกษา ที่เด็กอาจต้องนั่งอยู่ หน้าจอนิ่ง ๆ และเน้นการจำลองภาพบรรยากาศห้องเรียนให้เด็กได้รับชม ซึ่งหากครูผู้สอนไม่ได้มีกิจกรรมเสริม ก็อาจกลายเป็นว่าเด็กรับชมสื่อโทรทัศน์ในพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) คือ การทำกิจกรรม โดยไม่มีการขยับร่างกาย ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยด้วย ในขณะที่ช่อง ALTV แม้จะ พยายามสร้างสรรค์รายการที่กระตุ้นการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก แต่เนื่องจากในขณะนั้น ALTV ได้รับ ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์แบบชั่วคราว ทำให้ไม่มีข้อกำหนดที่ใช้บังคับให้ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีต่าง ๆ หรือผู้ให้บริการโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต (OTT) ต้องออกอากาศช่อง ALTV ด้วย ผลที่เกิดขึ้น จึงทำให้เด็กใน พื้นที่ห่างไกลที่สัญญาณทีวีภาคพื้นดินไม่ครอบคลุม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มที่มีปัญหาการ เข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตด้วย ไม่สามารถรับชมได้ สื่อหนังสือ : ทักษะการอ่านที่ถดถอยและการให้เวลาของผู้ปกครองที่น้อยลง หนังสือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะทางภาษา ทำให้เด็กอ่านเป็น คิดเป็น ส่งผลต่อ การเรียนรู้อื่นๆ แต่เด็กไทยจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงหนังสือ มีปัญหาพัฒนาการทางภาษาล่าช้า และผู้ปกครอง เองก็ไม่มีเวลาอ่านหนังสือกับบุตรหลาน ทำให้สถานการณ์การอ่านของเด็กปฐมวัยวิกฤตหนักยิ่งขึ้นไปอีกในช่วง โควิด-19 ประเทศไทยได้ทำบันทึกข้อตกลงกับองค์การยูนิเซฟว่า ครอบครัวที่มีเด็กอายุ 0 – 3 ปี ควรมีหนังสือ อย่างน้อย 3 เล่ม แต่จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2561 ของสำนักงานสถิติ แห่งชาติ ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ (2561) กลับพบว่า มีเด็กปฐมวัยเข้าไม่ถึงหนังสือถึง 1.1 ล้านครัวเรือน ด้วยปัญหาคือ หนังสือเด็กมีราคาแพง และเด็กจำนวนมากในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงหนังสือได้ (มรรยาท อัครจันทโชติ, 2563)


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 89 จาก 150 รูปที่ 17 สถิติการอ่านหนังสือในเด็กปฐมวัย (ที่มา: https://www.the101.world/weerachart-kilenthong-interview/) นอกจากนี้ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ยังพบข้อมูลว่าครอบครัวอ่านหนังสือให้เด็กปฐมวัยฟัง น้อยลงด้วย (วีระชาติ กิเลนทอง, 2565) โดยพบค่าเฉลี่ยของจำนวนวันต่อสัปดาห์ที่ผู้ปกครองอ่านหนังสือให้ เด็กปฐมวัยในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 (เปรียบเทียบกับก่อนการระบาด) ลดลงอย่างชัดเจน ในขณะที่ เด็กกลุ่มตัวอย่างที่อ่านหนังสือเอง ก็น้อยลงอย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อมูลชุดนี้เป็นข้อมูลที่ติดตามกลุ่ม ตัวอย่างเดิมทุกปี ดังนั้น ข้อค้นพบที่ได้จึงทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน นอกจากนี้ ทิพย์สุดา สินชวาลวัฒน์ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการวิทยุ ZOOM สื่อ ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2565, 17 เมษายน) ว่า สถานการณ์ตลาดหนังสือในช่วงโควิด-19 นั้น มีหนังสือหลายประเภทที่ขายออนไลน์ได้ดีขึ้น แต่หนังสือ สำหรับเด็กเล็กกลับค่อนข้างซบเซา โดยเฉพาะในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 ซึ่งกลับมาจัดเต็ม รูปแบบครั้งแรกหลังสถานการณ์โควิด ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 6 เมษายน 2565 ก็พบว่า หนังสือสำหรับ เด็กขายได้น้อยผิดจากสถานการณ์ก่อนโควิดที่มักจะมีผู้ปกครองพาเด็ก ๆ มาเลือกซื้อหนังสืออย่างคึกคัก ทั้งนี้ ในกรณีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่อ่านได้ผ่านทางหน้าจอนั้น ก็มีงานวิจัยจำนวนมากที่พบว่า อาจจะทำให้เด็กๆ จับใจความในเนื้อหาที่อ่าน หรือเปิดให้พ่อแม่โต้ตอบกับเด็กได้น้อยลง ดังนั้น หากให้เด็ก อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พ่อแม่จึงควรมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กระหว่างการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ให้ เหมือนกับเวลาที่อ่านหนังสือที่พิมพ์ออกมาเป็นเล่ม ๆ ด้วย (AAP Council on Communications and Media, 2016) จากสถานการณ์การใช้สื่อและปัญหาในการใช้สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อ โรคโควิด-19 ที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากปัญหาที่สะสมมานานของเมืองไทย คือ ขาดการสนับสนุนส่งเสริมให้มีสื่อสำหรับเด็กที่มีคุณภาพ ในจำนวนที่มากเพียงพอ และหลากหลายเพื่อ ตอบสนองความสนใจและความต้องการเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วงวัย เมื่อมีสถานการณ์โควิด-19 จึงยิ่งซ้ำเติมปัญหา การใช้สื่อของเด็กให้รุนแรงมากขึ้น


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 90 จาก 150 แนวทางสําหรับสื่อมวลชนและสาธารณชนในการฟื้นฟูพัฒนาการที่เสียหายของเด็กปฐมวัย สื่อมวลชน : สรรค์สร้างสื่อสร้างสรรค์ & สร้างพลังขับเคลื่อนแนวคิด การฟื้นฟูพัฒนาการที่เสียหายของเด็กปฐมวัยที่ถดถอยและหยุดชะงักไปในช่วงโควิด-19 นั้น สื่อมวลชนควรทำพันธกิจ 2 ด้านไปพร้อมๆ กัน คือ 1. สรรค์สร้างสื่อสร้างสรรค์ : เพิ่มจำนวนปริมาณและคุณภาพของสื่อที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก 2. สร้างพลังขับเคลื่อนแนวคิด : สื่อสารเพื่อสร้างให้สังคมเกิดความตระหนักรู้และร่วมขับเคลื่อน การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน แนวทางการสรรค์สร้างสื่อสร้างสรรค์ 1. ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นในพันธกิจของสื่อมวลชนที่มีต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในช่วงโควิด-19 2. เรียนรู้ที่จะเข้าใจความต้องการและพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัยเพื่อผลิตสื่อที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก และตอบสนองความสนใจของเด็กได้ 3. ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กเป็นที่ปรึกษาและช่วยแนะนำในการผลิตสื่อเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริม พัฒนาการของเด็กปฐมวัยหลังโควิด-19 และหากเป็นไปได้ ควรมีกระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อออกแบบ รายการที่จะมุ่งแก้ปัญหาพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในแต่ละประเด็นให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลจริง 4. สร้างสื่อที่มุ่งให้เด็กปฐมวัยได้คิด ได้มีส่วนร่วมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการทำงานของสมอง ไม่ให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่ง 5. สร้างสรรค์กิจกรรมเชิงกายภาพที่ให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วม และเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การเล่น ด้วยกันระหว่างคนกับคน 6. แม้ว่าจะเป็นสื่อที่ต้องการแก้ปัญหาการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ถดถอยของเด็กปฐมวัย แต่สิ่ง สำคัญ คือ ต้องทำให้เด็ก “เพลิน” และ “สนุก” ไม่ใช่การยัดเยียด หรือมุ่งเป็นสื่อการสอน สื่อเพื่อการศึกษา 7. เครือข่ายผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็กแต่ละแพลตฟอร์ม ควรรวมตัวกันเสนอของบประมาณจากภาครัฐ เพื่อใช้ในการออกแบบสื่อแต่ละแพลตฟอร์ม ให้เข้าถึงเด็กที่หลากหลาย และช่วยฟื้นฟู ส่งเสริมพัฒนาการของ เด็กปฐมวัยหลังโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเปราะบางที่ประสบปัญหาในการเรียนรู้ 8. ร่วมกันกำกับดูแลเนื้อหาของสื่อมวลชน หรือสื่อในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ให้มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงเนื้อหาหรือรูปแบบการนำเสนอ ที่อาจสร้างผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา และคุณธรรมจริยธรรม


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 91 จาก 150 แนวทางการสร้างพลังขับเคลื่อนแนวคิด 1. ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นในพันธกิจของสังคมที่มีต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย 2. ออกแบบการสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มคนหลากหลายในสังคม และใช้การสื่อสารหลากหลาย แพลตฟอร์มทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ และออนกราวน์(สื่อในพื้นที่เชิงกายภาพ) โดยเน้นให้สาธารณะตระหนักถึง ความสำคัญในการร่วมพัฒนาเด็กปฐมวัย และเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในช่วงโควิด-19 ตลอดจน เข้าใจถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกันแก้ไข 3. สื่อสารแนวทางการใช้สื่อและการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และชุมชน ซึ่งประกอบด้วย (ธนิกา บุญมา, 2560) - เด็กอายุน้อยกว่า 18-24 เดือน หลีกเลี่ยงการใช้สื่อมีจอทุกชนิด (ยกเว้นวิดีโอแชท) - เด็กอายุ 18-24 เดือน ถ้าต้องการใช้สื่อมีจอ ให้เลือกโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่มีคุณภาพสูง เหมาะสมกับเด็กและใช้ไปด้วยกันกับเด็ก หลีกเลี่ยงให้เด็กวัยนี้ใช้สื่อมีจอตามลำพัง - เด็กอายุ 2-5 ปี ให้จำกัดเวลาการใช้สื่อมีจอ ที่มีโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันคุณภาพสูง เหมาะสมกับเด็กไว้ที่ 1 ชั่วโมงต่อวัน และใช้ไปด้วยกันกับเด็ก จะช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เด็กเห็นมากขึ้น และช่วย ให้เด็กประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การเรียนรู้ในชีวิตจริงรอบๆ ตัวเด็กได้ - อย่าให้เด็กรีบใช้เทคโนโลยี เพียงเพราะกลัวว่าเด็กจะตามไม่ทันเทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากเด็ก สามารถเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีได้โดยง่ายและรวดเร็ว ตั้งแต่แรกเริ่มใช้ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่โรงเรียน - หลีกเลี่ยงโปรแกรมที่หน้าจอเปลี่ยนไปมาเร็ว ๆ (Fast-Paced Programs) ที่เด็กเล็กยังไม่ เข้าใจในสิ่งที่ตนดู รวมถึงเนื้อหาที่มีความรุนแรง - ปิดโทรทัศน์และอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อไม่ใช้งาน - หลีกเลี่ยงการใช้สื่อมีจอเพื่อทำให้เด็กสงบ ถึงแม้ว่าจะใช้แค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม เช่น เวลาที่ทำหัตถการทางการแพทย์ เวลานั่งเครื่องบิน เนื่องจากการใช้สื่อมีจอเพื่อทำให้เด็กสงบนั้น มักนำไปสู่ ความเคยชิน จนไม่สามารถจำกัดเวลาการใช้ได้เด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ด้วยตนเองได้ ถ้ามีความจำเป็นให้ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอรับความช่วยเหลือ - ควบคุมเนื้อหาของสื่อมีจอและแอปพลิเคชันที่เด็กใช้หรือดาวน์โหลด ทดสอบแอปพลิเคชัน นั้นก่อนที่จะให้เด็กใช้ ใช้ไปด้วยกันกับเด็ก และถามเด็กว่าเด็กคิดอย่างไรเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนั้นๆ - ควรจัดให้ช่วงเวลาและสถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นที่ปลอดสื่อมีจอสำหรับพ่อแม่และเด็ก ได้แก่ ก่อนเวลานอน 1 ชั่วโมง ภายในห้องนอน ระหว่างมื้ออาหาร และระหว่างช่วงเวลาการเล่นด้วยกันของพ่อแม่กับเด็ก - จุดเน้นสำคัญ คือ สำหรับเด็กปฐมวัย ผู้ใหญ่ไม่ควรปล่อยให้เด็กรับสื่อหรือใช้สื่อตามลำพัง จะต้องจัดสรรเวลาการใช้สื่อของเด็กให้เป็นเวลาและพื้นที่สำหรับครอบครัว 4. รวมพลังสังคมขับเคลื่อนไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและนโยบาย เพื่อการพัฒนาเด็ก ปฐมวัยที่ยั่งยืน ได้แก่ การนำเสนอข้อมูลและความเห็นของภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันเป็นนโยบาย เสนอต่อภาครัฐ และเป็นตัวแทนภาคสังคมในการติดตามความคืบหน้าด้านนโยบาย ดังนี้


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 92 จาก 150 - รัฐบาลต้องจัดให้วาระเรื่องการฟื้นฟูและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยหลังโควิด-19 เป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง และบูรณาการหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการเร่งดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม - รัฐบาลออกมาตรการสนับสนุนผู้ผลิตสื่อคุณภาพสำหรับเด็ก เช่น กระทรวงการคลังลดหย่อน ภาษีสำหรับผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็ก หรือลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลหรือหน่วยงานที่ร่วมสนับสนุนการผลิตสื่อ สำหรับเด็ก - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เร่งสำรวจข้อมูลครอบครัวหรือชุมชน ที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงสื่อ อุปกรณ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และพื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็ก และเพิ่มสวัสดิการ ให้แก่ครอบครัวที่มีเด็กปฐมวัย - กระทรวงสาธารณสุขควรนำโครงการถุงหนังสือเพื่อเด็กแรกเกิดกลับมาดำเนินงานอีกครั้ง - กระทรวงศึกษาธิการจัดหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเด็กทุกระดับ และสนับสนุน งบประมาณการจัดซื้อหนังสือและสื่อคุณภาพสำหรับเด็กให้แก่โรงเรียนในระดับปฐมวัย โดยเฉพาะโรงเรียนใน พื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สนับสนุนและลงทุนในการพัฒนาโปรแกรม และ แอปพลิเคชันที่เหมาะสมกับเด็ก ออกมาตรการกำกับดูแลสื่อออนไลน์ ได้แก่ การควบคุมและป้องกันภัย ออนไลน์ การกำกับดูแลร้านเกม การจัดเรตติ้งเกม ฯลฯ - คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ส่งเสริมผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็ก กำหนดสัดส่วนและช่วงเวลารายการสำหรับเด็กเพื่อเพิ่มพื้นที่สื่อคุณภาพ สำหรับเด็ก และกำกับดูแลสื่อที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมอย่างจริงจัง - กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ บรรจุเรื่องการให้ทุนสนับสนุนการผลิตสื่อสำหรับฟื้นฟู และพัฒนาเด็กปฐมวัยหลังโควิด-19 เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกองทุน - หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น จัดพื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็กและห้องสื่อสำหรับเด็กที่เด็ก สามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ ภาคเอกชน : เสริมทุนหนุนพลัง ที่ผ่านมา สื่อสำหรับเด็กต้องเผชิญปัญหาการขาดงบประมาณสนับสนุน ซึ่งนอกจากการสนับสนุน งบประมาณจากภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจในฐานะหน่วยหนึ่งของสังคมก็สามารถที่จะเข้ามามี ส่วนร่วมได้ ดังนี้ 1. องค์กรภาคเอกชนจำนวนมากมีโครงการกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ของหน่วยงาน เช่น การพาบุคลากรไปปลูกต้นไม้ บริจาคสิ่งของ ในช่วงหลังโควิด-19 นี้ โครงการ CSR ของหน่วยงานควรปรับมาสู่ การปลูกคน สร้างคน โดยเน้นโครงการที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัยได้


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 93 จาก 150 2. เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมหรือเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนสื่อคุณภาพสำหรับเด็กที่จะช่วยส่งเสริม พัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 3. เพิ่มพื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็กหรือห้องสื่อสำหรับเด็กในหน่วยงาน สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ จำเป็นต้องพาเด็กปฐมวัยมาที่ทำงานด้วย เด็กจะได้มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์รวมถึงใช้เวลากับพ่อแม่ผู้ปกครอง ได้มากขึ้น สาธารณชน : พลเมืองผู้ตื่นรู้ สาธารณชนหรือคนในสังคมทุกคนสามารถเข้ามามีบทบาทในการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยได้ ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้ 1. ตระหนักว่าเรื่องของเด็กเป็นเรื่องของทุกคน และทุกคนต้องเชื่อมพลังในการดูแลเด็กร่วมกัน 2. เชื่อมั่นว่าเราทุกคนล้วนเป็นพลังที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นได้ 3. ส่งเสริมให้มีพื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็กในส่วนกลางที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 4. จัดพื้นที่ในชุมชนช่วยดูแลเด็กที่พ่อแม่ผู้ปกครองมีภาระจำเป็นต้องไปทำงาน เพื่อเด็กจะได้ไม่ต้อง อยู่แต่หน้าจอ และสามารถเข้าถึงสื่อคุณภาพอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับเด็กได้ 5. ร่วมบริจาคหนังสือ ของเล่น หรือสื่อคุณภาพสำหรับเด็กไปยังพื้นที่ที่ขาดแคลน 6. ร่วมให้การสนับสนุนโครงการของชุมชน ภาคประชาสังคมหรือภาคธุรกิจที่มุ่งพัฒนาเด็กปฐมวัย 7. ร่วมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีการนำไปปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม นวัตกรรมสําหรับสื่อมวลชนและสาธารณชนในการช่วยฟื้นฟูพัฒนาการที่เสียหายของเด็กปฐมวัย ตัวอย่างของนวัตกรรมที่จะสามารถนำมาช่วยฟื้นฟูพัฒนาการที่เสียหายของเด็กปฐมวัย ได้แก่ โครงการ Movies Without Pictures นักการศึกษาหลายท่านได้ทดลองนำเสียงเข้าไปใช้เป็นสื่อการสอนในห้องเรียน และพบว่าสามารถ พัฒนาทักษะทางการฟังและการตีความของเด็กๆ ได้ดีที่สำคัญ สื่อเสียงยังช่วยพัฒนาทักษะของเด็กในการใช้ ภาษา ตลอดจนทักษะในการใช้ดนตรีและเสียงต่างๆ เพื่อสื่อสารอารมณ์และความคิดของตนเองอีกด้วย ซึ่งผล ที่ได้แตกต่างอย่างมากกับกลุ่มเด็กที่ใช้วิดีทัศน์และเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ สื่อเสียงเป็นสื่อที่มีศักยภาพอย่างมากในการเสริมสร้างจินตนาการ เพราะสื่อเสียง เป็นเหมือน “สื่อตาบอด” (Blind Medium) ซึ่งใช้เพียง “เสียง” และ “ความเงียบ” ในการสื่อสารเนื้อหาทั้งในเชิงข้อมูลและเชิงอารมณ์ เด็กๆที่เป็นผู้ฟังจะรู้สึกเหมือนถูกสื่อเสียงดึงให้เข้าไปรู้สึกร่วมในเรื่องราว เนื่องจากการใช้เสียงเพียงอย่างเดียว จะกระตุ้นให้เด็กพยายามใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาตีความสาร และถอดรหัสเสียง จนเกิดเป็นภาพยนตร์ที่ถูก สร้างขึ้นในใจของแต่ละคน (Movie Created within The ‘Theatre of The Mind’) เด็กแต่ละคนจะเป็นผู้ กำกับภาพยนตร์ของตนเอง จึงไม่มีทางที่เด็กต่างคนจะเกิดภาพจินตนาการที่เหมือนกันได้เลย ตัวอย่างเช่น ภาพไดโนเสาร์ที่เด็ก ๆ ฟังจากละครวิทยุจะมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับการรับรู้ความขี้เล่น สนุกสนานความ


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 94 จาก 150 กลัว และประสบการณ์เชิงอารมณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งแตกต่างจากการรับชมภาพยนตร์เกี่ยวกับไดโนเสาร์ของ ฮอลลีวู้ด ที่ทำให้เด็กทุกคนมีภาพไดโนเสาร์ที่เหมือนกัน (Ferrington, 1994) Imagination Development Group เป็นกลุ่มหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นมาเพราะเห็นความสำคัญของสื่อเสียงที่มี ต่อเด็ก โดยมีจุดเริ่มต้นมาจาก Mark E. Cooper (อ้างถึงใน Ferrington, 1994) ดุษฎีบัณฑิตสาขาจิตวิทยา และ สาขาการประพันธ์เพลง ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการบำบัดเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับประสาทจิตวิทยา (Neuropsychological) เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ในโรงเรียนได้ดีขึ้น สิ่งหนึ่งที่เขานำมาช่วยในการบำบัดก็คือ สื่อเสียง นอกจากนี้ เขายัง เห็นว่า การที่เด็กรับชมโทรทัศน์หรือภาพยนตร์มากๆ ส่งผลให้เด็กมีสมาธิสั้น และขาดทักษะในการคิดเป็นภาพ ดังนั้น เขาจึงร่วมมือกับ Carl Johnson นักแต่งเพลงละครโทรทัศน์และภาพยนตร์มือรางวัล เพื่อทำโครงการ ภาพยนตร์ในจิตใจ (Movies In My Mind) หรือ ภาพยนตร์ที่ไม่มีภาพ (Movies Without Pictures) เพื่อให้เด็ก ๆ ได้หลับตาฟังภาพยนตร์เรื่องละประมาณ 30 นาที สนุกไปกับภาพยนตร์ และสร้างภาพของตนเองขึ้นมาในจิตใจ โครงการดังกล่าวพิสูจน์ให้เห็นว่า เด็กๆ ที่ได้รับฟังภาพยนตร์สามารถพัฒนาทักษะการฟัง พัฒนาสมาธิ ความสามารถในการจินตนาการ และการคิดเป็นภาพได้อีกด้วย โครงการนี้กวาดรางวัลสื่อสำหรับเด็ก และสื่อใน ดวงใจของบรรดาพ่อแม่และครูมากมายนับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา โครงการ RIECE Thailand วีระชาติ กิเลนทอง ได้ให้สัมภาษณ์ใน The 101.World (วจนา วรรลยางกูร, 2565) ถึงโครงการ RIECE Thailand ซึ่งมีกิจกรรม ‘พานิทานกลับบ้าน’ ให้เด็กเล็กยืมนิทานกลับไปให้ผู้ปกครองอ่านให้ฟัง ซึ่ง ดำเนินการมาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว และเก็บผลการประเมินอย่างต่อเนื่อง พบว่า ผู้ปกครองอ่านนิทานให้ฟัง เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เด็กมีทักษะด้านความเข้าใจในการฟัง (Listening Comprehension) เพิ่มขึ้น แม้ว่าช่วง โควิด-19 จะพบว่า ผู้ปกครองอ่านหนังสือให้เด็กฟังลดลง และเด็กเองก็อ่านหนังสือลดลง แต่ก็ยังเป็นนวัตกรรม ที่ชุมชนสามารถนำไปปฏิบัติได้


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 95 จาก 150 การผลิตสื่อเด็กปฐมวัยแบบ Transmedia ปัจจุบัน รายการโทรทัศน์ได้ปรับตัวไปสู่การออกแบบรายการแบบทรานส์มีเดีย ซึ่งหมายถึง การใช้สื่อ หลากหลายแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เล่าเรื่องที่ต่างกันออกไป แต่ช่วยเติมเต็มให้เกิดความรู้และอารมณ์ร่วมไปกับ สื่อนั้นมากขึ้น ซึ่งผู้เขียนเองได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน PRIX JEUNESSE INTERNATIONAL ซึ่งเป็นเทศกาล รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กของโลก จัดทุก 2 ปีที่เมืองมิวนิค ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และพบว่า รายการเด็กหลายรายการของต่างประเทศออกแบบเป็นทรานส์มีเดีย เพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจและกระตุ้น การเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น เช่น รายการ Mimicries (2016) ของสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง เป็นรายการสำหรับเด็กปฐมวัย สอนให้เด็กรู้จักสังเกตธรรมชาติและสัตว์รอบ ๆ ตัว ทางรายการออกแบบให้ เด็กรับชมรายการโทรทัศน์ จากนั้น ชวนให้เด็ก ๆ ออกไปสังเกตรอบ ๆ บ้านกับผู้ปกครอง และชวนกันถ่ายรูป ด้วยแอปพลิเคชันของรายการ ตามโจทย์ที่รายการนำเสนอในตอนนั้น เพื่อแลกเปลี่ยนกันกับเด็กคนอื่นๆ และ หากเด็ก ๆ ได้เจอสิ่งมีชีวิตหรือพืชที่ทำให้รู้สึกแปลกหรืออยากรู้ ก็สามารถถ่ายภาพส่งมาทางแอปพลิเคชัน เพื่อให้รายการไปนำเสนอเป็นตอนใหม่ได้ด้วย ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นจากหลาย ๆ รายการทั่วโลก ทั้งนี้ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า การออกแบบสื่อที่เชื่อมโยงกันแบบทรานส์มีเดียที่ใช้แพลตฟอร์มสื่อ หลากหลายในการนำเสนอเรื่องเล่า ทำให้ผู้ใช้สื่อต้องใช้ประสาทสัมผัสที่หลากหลายในการรับสื่อ และ เชื่อมโยงเรื่องเล่าระหว่างสื่อต่าง ๆ ลักษณะดังกล่าวทำให้สมองทั้งส่วนสัญชาตญาณ ส่วนอารมณ์ และส่วน เหตุผลถูกกระตุ้นให้ทำงานประสานเข้าด้วยกัน (Bailenson, Beall et al., 2005; Rutledge, 2015 อ้างถึงใน มรรยาท อัครจันทโชติ, 2560) นวัตกรรมการกำกับดูแลของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสื่อ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสื่อหลายแห่งที่ให้ความสำคัญกับการช่วยปกป้องไม่ให้เด็กเข้าถึง เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และอาจส่งผลต่อพัฒนาการหรือการเรียนรู้ของเด็กได้ ยกตัวอย่างเช่น YouTube หรือ Google Play มีฟังก์ชันการตั้งค่าความปลอดภัยสำหรับการเข้าใช้งานของเด็ก แต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง TikTok ที่นำเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วยกำกับดูแลแพลตฟอร์มของตนเอง ได้แก่ (TikTok, 2564) - Screen Time Management หรือ การจำกัดเวลาใช้งานบนหน้าจอ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถ จำกัดเวลาได้ตั้งแต่ 40 นาที, 60 นาที, 90 นาที หรือสูงสุดที่ 120 นาทีต่อวัน - Restricted Mode หรือ การจำกัดเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยเมื่อเปิดใช้ฟีเจอร์ TikTok จะจำกัด การแสดงเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้ชมในแต่ละกลุ่ม ช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมเนื้อหาที่ต้องการรับชม ได้ โดยหากต้องการรับชมเนื้อหาที่ไม่ได้ถูกกลั่นกรอง จะต้องใส่รหัสพาสเวิร์ดที่ตั้งไว้ - Direct Message หรือ การจำกัดการส่งข้อความ โดย TikTok ได้ปิดการรับส่งข้อความสำหรับ ผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี เพื่อเป็นการป้องกันคนแปลกหน้าที่จะเข้ามาสื่อสารโดยตรงกับกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งอาจเกิดเป็นภัยคุกคามได้


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 96 จาก 150 - การค้นหา (Search): ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่ากำหนดการค้นหาของบุตรหลานได้ ทั้งเนื้อหา ผู้ใช้ แฮชแท็ก และเสียง - ความคิดเห็น (Comments): ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่าได้ว่า ใครสามารถเข้ามาแสดงความ คิดเห็นในวิดีโอของบุตรหลาน โดยจะเลือกเปิดให้ทุกคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น เลือกเฉพาะคนที่รับเป็น เพื่อน หรืออาจจะตั้งค่าไม่ให้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ - การค้นหาและดูเนื้อหาในแอคเคาน์ (Discoverability): ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่าความเป็น ส่วนตัวให้กับแอคเคาน์ของบุตรหลานได้ หรือกำหนดว่า ใครที่สามารถเข้าถึงหรือดูเนื้อหาของบุตรหลาน รวมทั้งสามารถตั้งค่าเป็นสาธารณะที่เปิดให้ทุกคนสามารถค้นหาและดูเนื้อหาได้ - วิดีโอที่ชื่นชอบ (Liked videos): ผู้ปกครองสามารถกำหนดได้ว่า ใครที่จะสามารถดูวิดีโอที่บุตร หลานของตนเข้าไปกดไลค์ หรือชื่นชอบได้ ล่าสุด TikTok ได้กำหนดให้แอคเคาน์ผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี มีสถานะเป็นส่วนตัว โดยผู้ใช้ที่มีอายุ ต่ำกว่า 16 ปี เมื่อเปิดแอคเคาน์ TikTok จะถูกตั้งค่าเป็นส่วนตัวโดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่าจะมีเพียงผู้ที่ เป็นเจ้าของบัญชี (Account) อนุมัติเท่านั้น จึงจะสามารถติดตามและดูเนื้อหาในแอคเคาน์นั้นได้ รวมไปถึง วิดีโอที่สร้างโดยผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี จะไม่อนุญาตให้มีการดาวน์โหลด การแสดงความคิดเห็นบนวิดีโอของ ผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีจะสามารถตั้งค่าโดยกำหนดให้เฉพาะ "เพื่อน" ที่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือเลือก "ปิดรับความคิดเห็น" ทั้งหมด, ผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี จะไม่สามารถใช้ Duet และ Stitch และแอคเคาน์ของ ผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี จะถูกตั้งค่าโดยอัตโนมัติไม่ให้มีการแนะนำแอคเคาน์แก่ผู้ใช้อื่น ๆ ซึ่งเป็นมาตรการ หนึ่งที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอื่น ๆ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ นอกเหนือจากนวัตกรรมเหล่านี้ที่ยกตัวอย่างมา สื่อมวลชนยังสามารถช่วยประชาสัมพันธ์ หรือคนใน ชุมชนสามารถแนะนำคนรอบข้างที่มีบุตรหลานให้รู้จักแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ช่วยปกป้องการใช้สื่อออนไลน์ของ เด็กปฐมวัยได้อีกด้วย เช่น - Time Away ช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถปิดกั้น จำกัดแอปพลิเคชันที่ไม่เหมาะสม รวมทั้ง จัดตารางเวลาการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ตโฟนของลูกได้ - Mama Bear ช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองติดตามกิจกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ของลูก และแจ้งเตือน ให้รู้เวลาที่ลูกเพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อ ใช้คำต้องห้าม หรืออัพโหลดและแท็กรูปภาพในสังคมออนไลน์


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 97 จาก 150 สรุป จากข้อมูลทั้งหมดทำให้เห็นได้ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการเรียนรู้ถดถอยและพัฒนาการ หยุดชะงักของเด็กปฐมวัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 อย่างหนัก ยิ่งตอกย้ำ ด้วยปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่พร้อมของครอบครัว และปัญหาคุณภาพของสื่อมวลชนในประเทศไทยที่มี มากอยู่ก่อนแล้ว จึงยิ่งทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยนี้กลายเป็นวิกฤตของประเทศอย่างรุนแรง และมี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเนื่องระยะยาวสู่สังคมไทยทั้งมวล อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเด็กปฐมวัยเหล่านี้จะ สูญเสียโอกาสทองของการพัฒนาไประยะหนึ่ง แต่หากทุกฝ่ายในสังคมทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู โรงเรียน ชุมชน สื่อมวลชน และสาธารณชนร่วมมือกัน ช่วยโอบอุ้มและฟื้นฟูเด็กปฐมวัยอย่างจริงจังและเร่งด่วน ก็อาจจะยังไม่ สายเกินไป เราทุกคนต้องมองเห็น “เด็ก” เป็น “เด็กของเรา” เป็น “เรื่องของเรา” และต้องทำโดย “เร็ว” เพราะเด็กโตขึ้นทุกวัน เรื่องของเด็กจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรรออีกต่อไป ”””””””””””””””””””””””””””


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 98 จาก 150 แนวทางและนวัตกรรมในการลดการใช้สื่อจอใสและความเครียดในเด็กปฐมวัย บทบาทของสื่อจอใสกับเด็กปฐมวัย : ผลดีหรือผลเสีย การพัฒนาเทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วรุนแรง ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของทุกผู้ทุกคน ในโลกสมัยใหม่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงชีวิตและวิถีการเติบโตของเด็กปฐมวัยในรุ่น ปัจจุบันที่เรียกว่ารุ่น Alpha Generation อย่างสิ้นเชิง นับแต่ลืมตาดูโลก เด็กปฐมวัยรุ่นนี้ก็สัมผัสกับเทคโนโลยี หลากหลายโดยเฉพาะด้านการสื่อสาร ไม่ว่าในรูปของ โทรทัศน์ สมาร์ตโฟน โน้ตบุ๊กส์แท็บเล็ต อินเทอร์เน็ต วิดีโอเกมส์ โซเชียลมีเดีย ฯลฯ ซึ่งมีอยู่รอบตัวให้เด็กเห็น และหยิบใช้ง่ายตลอดเวลา เป็นที่ชัดเจนว่า บทบาท ของเทคโนโลยีเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อวิถีการพัฒนาและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยตรง เป็นทั้งโอกาสที่เด็ก จะได้รับการส่งเสริมพัฒนาโดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นที่กังวลกันทั่วไปว่า สื่อหน้าจอ เหล่านี้จะส่งผลเสียหายต่อช่วงวัยอันสำคัญที่สุด ที่ซึ่งฐานรากของชีวิตทั้งด้าน สมอง ร่างกาย จิตใจ ของเด็ก ปฐมวัยกำลังก่อรูปพัฒนาอย่างรวดเร็ว ผลกระทบทั้งด้านดีและด้านเสียของสื่อหน้าจอที่มีต่อเด็กเป็นอย่างไร6 o ผลดีผู้สนับสนุนการใช้สื่อหน้าจอเห็นว่า การใช้สื่อหน้าจอจะส่งผลดีมากต่อเด็ก ขึ้นอยู่กับว่า เทคโนโลยีนั้นถูกใช้อย่างไร ประโยชน์ของการใช้สื่อหน้าจอ เช่น สร้างโอกาสเข้าถึงข้อมูลและแหล่งเรียนรู้ มากมาย ในหลายกรณีเด็กจะได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียด ซึ่งชีวิตปกติไม่อาจมองเห็นได้ เช่น ชีวิตใต้น้ำ การเติบโตของต้นไม้ แมลง เป็นต้น สื่อเทคโนโลยียังเชื่อมโยงเด็กให้เข้าถึงสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนที่อยู่ ห่างไกล เด็กสามารถเล่นกับเพื่อนหรือเรียนรู้ที่จะเล่นเป็นทีมผ่านเกมในสื่อหน้าจอได้ เด็กสามารถแสดงความ คิดเห็นของตน สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง แชร์ความคิดเห็น รับฟังและสร้างสัมพันธภาพ รวมทั้งเข้าถึงมุมมอง ของผู้อื่นได้ผ่านสื่อเทคโนโลยี และเด็กสามารถสร้างสรรค์ความคิดใหม่ ๆ ฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ เช่น ดนตรี ศิลปะ ผ่านแอปพลิเคชันที่มีในโลกดิจิทัลได้โดยง่าย 6 CN Associates, The Impact of Technology on Children https://www.cerritos.edu/hr/_includes/ docs/ August_2021_The_Impact_of_Technology_on_Children_ua.pdf, 2021


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 99 จาก 150 o ผลเสีย ในขณะที่ ผู้ที่เห็นว่าสื่อเทคโนโลยีสร้างผลกระทบทางลบมากกว่า ก็ให้เหตุผลว่า เนื่องจากเทคโนโลยีถูกสร้างขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ ให้เกิดความอยากดูต่อเนื่องยาวนาน ดังนั้น โดยตัวเทคโนโลยีนี้เองจึงสร้างผลกระทบทางลบ โดยเฉพาะต่อเด็กปฐมวัยมากมายหลายด้าน ดังที่ราชวิทยาลัย กุมารแพทย์อเมริกัน7 ได้ชี้ว่า - ด้านร่างกาย เด็กจะติดอยู่กับสื่อ จนไม่อยากลุกเดิน เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายใด ๆ ทำให้ กลายเป็นเด็กอ้วน งานวิจัยชี้ว่า ในเด็ก 2 ขวบที่ใช้สื่อหน้าจอมากนั้น จะมีดัชนีมวลกาย (Body Mass IndexBMI)เพิ่มสูงขึ้น อันมาจากการเห็นโฆษณาอาหาร และนั่งดูไปกินไป การเป็นโรคอ้วนจะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพ อื่น ๆอีกมากมายเมื่อโตขึ้น นอกจากนี้ ถ้าใช้สื่อดิจิทัลมาก สายตาเด็กจะอ่อนเปลี้ย หากใช้มากก่อนนอนจะ กระทบต่อคุณภาพการนอน อาจเนื่องจากเนื้อหาสื่อที่เร้ามากเกินไป และจากแสงสีฟ้าที่ออกมาจากจอ รบกวน การหลั่งของสารเมลาโทนินในสมอง ซึ่งจะส่งผลต่อไปถึงระบบภูมิคุ้มกันและระบบการทำงานของร่างกาย โดยรวมของเด็ก - ด้านอารมณ์จิตใจ มีงานวิจัยเพิ่มขึ้น8 ที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อดิจิทัลกับความเครียด ในเด็ก เช่น ความเครียดกังวลที่เกิดจากการดูสื่อแล้วเปรียบเทียบสิ่งที่ตนมีกับที่เห็นในจอ ในเด็กที่โตขึ้นแม้จะ พบว่าสื่อหน้าจออาจช่วยเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน หรือคลายความเครียดได้ในหลายกรณี แต่ก็พบว่า มักเกิดความเครียดกังวลขึ้นจากการขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างเป็นธรรมชาติแบบ Face-to-Face กับผู้คน เกิดความเครียดจากการถูกรังแกทางไซเบอร์(Cyber Bullying) หรือเปรียบเทียบกับคนอื่น การที่ไม่ได้รับการตอบ กลับจากเพื่อนในโซเชียลมีเดียแบบฉับพลันทันใจ - ด้านการพัฒนาทักษะทางสังคม เนื่องจากการพัฒนาทักษะสังคมนั้นต้องใช้การฝึกฝน จนมีประสบการณ์พอที่จะเข้าสังคม แต่เทคโนโลยีที่อยู่ต่อหน้าเด็กเป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้เด็ก ขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร อาจส่งผลให้เด็กพูดช้า และพูดไม่ชัด และเด็กจะละสายตามาเล่นกับเพื่อน น้อยลง เล่นมือถือหรืออยู่หน้าจอคนเดียวมากขึ้น อาจทำให้กลายเป็นคนกลัวสังคม ขี้อาย ไม่กล้าเผชิญหน้ากับ สถานการณ์ต่าง ๆ ในสังคม เด็กจะมีโอกาสสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นลดลง อาจกลายเป็นคนที่ชอบอยู่คน เดียว ไม่อยากอยู่กับคนอื่นนอกจอหรือแม้แต่กับพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือไม่รู้และไม่มีทักษะว่าจะเข้าไปผูกพัน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กหรือผู้ใหญ่คนอื่นอย่างไร - ด้านการพัฒนาสมอง มีงานวิจัยพบว่า เด็กที่ใช้จอเป็นเวลานาน จะมีความสามารถในการ จดจ่อลดลง และ “ช่วงเวลาจดจ่อใส่ใจ” (Attention Span) สั้นลง เด็กจะไม่มีใจจดจ่อกับกิจกรรมที่ต้องใช้ สมาธิในการแก้ปัญหา เพราะชินอยู่กับหน้าจอที่เคลื่อนไหวรวดเร็วทันใจ และหากเด็กใช้สื่อหน้าจอในการหา คำตอบแก้ปัญหาต่าง ๆ มากกว่าจะใช้สมองของตนขบคิด เชื่อมโยงข้อมูลและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สมอง ของเด็กจะขาดโอกาสพัฒนา สมรรถนะในการทำงานของสมองก็ลดลง ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า ความสามารถใน 7 THE AMERICAN ACADEMY OF PEDIATRICS, Media and Young Minds, POLICY STATEMENT| https://publications.aap.org/pediatrics/article/138/5/e20162591/60503/Media-and-Young-Minds, 2016 8 Elizabeth Hoge, Digital Media, Anxiety, and Depression in Children, https://publications.aap.org/pediatrics/article /140/Supplement_2/S76/34184/Digital-Media-Anxiety-and-Depression-in-Children, 2017


เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม และฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หน้า 100 จาก 150 การสังเกตของเด็กที่ติดสื่อหน้าจอจะน้อยกว่าเด็กที่ไม่ติด ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์อเมริกันจึงชี้ว่า การใช้สื่อ หน้าจอมากตั้งแต่เด็กเล็ก จะทำให้ทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Functions-EF) ของเด็กปฐมวัยอ่อนแอลง o ปัจจัยอื่นที่ส่งผลกระทบทางลบจากสื่อหน้าจอต่อเด็ก นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างสื่อหน้าจอกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวมา ข้างต้น ยังมีงานวิจัยอื่นอีกมากมายที่ชี้ให้เห็นว่า การใช้สื่อหน้าจอในเด็กปฐมวัยสัมพันธ์กับปัจจัยอีกหลาย ประการ เช่น - อายุของเด็ก เด็กยิ่งอายุมากขึ้น การใช้สี่อดิจิทัลจะเพิ่มขึ้น - เนื้อหาของสื่อดิจิทัลที่รุนแรง ส่งผลต่อพฤติกรรม โดยเฉพาะในเด็กผู้ชายที่มีเศรษฐานะยากจน - การติดการใช้สื่อดิจิทัล เด็กไม่ได้ติด Content หรือเนื้อหาในสื่อหน้าจอ แต่ติดวิธีการ (Process) ที่เข้าถึงง่ายของสื่อกลุ่มนี้ เด็กจะคุ้นเคยกับการเข้าถึงได้ง่าย และเรียนรู้วิธีการเข้าถึงสื่อดิจิทัลได้ง่าย และรวดเร็ว สามารถเล่นได้ทันที o ปัจจัยค่านิยม บทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองและความสัมพันธ์กับเด็ก9 งานวิจัยจำนวนมากชี้ว่า - การเลี้ยงดูที่ไม่อบอุ่นคงเส้นคงวา หากเด็กใช้สื่อหน้าจอที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม และอยู่ใน สภาพการเลี้ยงดูของครอบครัวที่ไม่อบอุ่นคงเส้นคงวาด้วย ก็พบว่าทักษะสมอง EF ของเด็กจะยิ่งอ่อนแอลง การย่อหย่อน ไม่กำกับดูแลการใช้สื่อหน้าจอของเด็กอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เช่น การจำกัดเวลา กำหนดช่วงเวลาที่ เหมาะสม จะทำให้เด็กใช้สื่อมากขึ้น เป็นต้น - ค่านิยมที่ผิดของพ่อแม่ผู้ปกครองต่อการใช้สื่อหน้าจอ10 พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อย มีทัศนคติว่าการใช้สื่อดิจิทัลเป็นเรื่องทันสมัย ทำให้เด็กฉลาด พ่อแม่เหล่านี้คิดว่า ถ้าไม่ให้ลูกใช้สื่อดิจิทัลตั้งแต่ เล็ก ลูกจะไม่มีทักษะ จะตกเทรนด์ ไม่เป็น Smart Kid ลูกจะใช้ดิจิทัลไม่ทันเพื่อน จึงส่งเสริมให้ใช้มาก และชื่น ชมว่าลูกฉลาดที่ใช้ได้คล่อง - การใช้สื่อหน้าจอแบบ Media Multitasking พ่อแม่ผู้ปกครองบางส่วนใช้สื่อหน้าจอหลาย ชนิดทำงานพร้อมกัน (Media Multitasking) ให้เด็กเห็น จนเป็นความเคยชินหรือปกติธรรมดาที่เด็กจะเอาอย่าง ซึ่งส่งผลให้การใช้งานสื่อในเด็กมากขึ้น - พ่อแม่ผู้ปกครองนิยมใช้สื่อจอใสในการจัดการพฤติกรรมเด็ก เมื่อใดที่ต้องการให้เด็กอยู่นิ่ง เช่น เมื่อพ่อแม่ทำงานไม่อยากให้ลูกกวนใจ เมื่อไปในที่สาธารณะเช่น ร้านอาหาร ไม่อยากให้ลูกวุ่นวาย ทำให้ เด็กเคยชินและเรียกหาสื่อหน้าจอตลอดเวลา -ยิ่งพ่อแม่ผู้ปกครองใช้สื่อดิจิทัลมาก เด็กก็ยิ่งใช้มาก มีงานวิจัยชี้ชัดว่า หากผู้ใหญ่ในบ้านใช้สื่อ หน้าจอมาก ก็มักจะมีปฏิสัมพันธ์กับลูกหลานน้อย และถ้าผู้ใหญ่ใช้สื่อหน้าจอมาก ลูกหลานจะมีนิสัยใช้สื่อหน้าจอมาก ด้วยเช่นกัน 9 ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ, Problematic Child Media Use สำรวจพ่อแม่ที่มีลูกวัยเรียน 6-10 ปี และวัยรุ่นในช่วงล็อกดาวน์ในสถานการณ์โควิด 10 ข้อมูลจากการประชุมหัวข้อ “สถานการณ์การใช้สื่อจอใสในเด็กปฐมวัย : แนวทางและนวัตกรรมในการฟื้นฟู”, คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยฯ , 11 ส.ค. 2565


Click to View FlipBook Version