The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มบ้านนายม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บ้านนายม

เล่มบ้านนายม

บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตร ของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ธีระวัฒน แสนคำ� โดย สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


บานนายม : พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำปาสัก เมืองเพชรบูรณ ISBN ผูเขียน: ดร.ธีระวัฒน์ แสนคำ จำนวนที่พิมพ: ๑,๐๐๐ เลม บรรณาธิการ: ผศ. กมล บุญเขต ผูอำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กองบรรณาธิการ: ผศ. พันทิพา มาลา ผศ. ศรีเวียง ไตชิละสุนทร รศ. สังคม พรหมศิริ ดร. สุขสันติ แวงวรรณ ดร. ธรากร จันทนะสาโร อาจารย์ดอกอ้อ ขวัญนิน (รองผูอำนวยการฝายสงเสริมและเผยแพรศิลปวัฒนธรรม) ผศ. ขุนแผน ตุ้มทองคำ (รองผูอำนวยการฝายอนุรักษวิจัยศิลปวัฒนธรรมและภูมิปญญาทองถิ่น) นายวิโรจน หุนทอง นางสาวปวีณา บัวบาง นางสาวณัฐวดี แก้วบาง นางสาวสุพิชญา พูนมี นางอมรรัตน กาละบุตร นางสาวมัลลิกา อุฤทธิ์ นางสาวจิรภา เหมือนพิมทอง กราฟก/ภาพ: นางสาวมนชยา คลายโศก นายพิทักษ จันทรจิระ คณะกรรมการอำนวยการ: อาจารย์จันทรพิมพ มีเปยม รองผูอำนวยการฝายบริหารแบะะุรการ นางนิภา พิลาเกิด นางสาวกุลิสรา ปองเพียร จัดพิมพและเผยแพรโดย: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ๘๓ หมู่ ๑๑ ถ.สระบุรี - หลมสัก ต.สะเดียง อ.เมืองเพชรบูรณ จ.เพชรบูรณ ๖๗๐๐๐ โทรศัพท. ๐๕๖ - ๗๑๗๑๔๐ โทรสาร. ๐๕๖ - ๗๑๗๑๔๐ http://artculture.pcru.ac.th ขอมูลบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติ พิมพที่: ร้านเก้าสิบ ๘๘ หมู่ ๖ ต.ชอนไพร อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ ๖๗๐๐๐ โทร. ๐๘๙ - ๖๔๑๓๕๓๓


คำนำจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม “บานนายม: พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณ แหงลุมน้ำปาสัก เมืองเพชรบูรณ” เปนหนังสือที่สำนักศิลปะและ วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ไดสงเสริมและรวบรวมองค ความรูและมุงหวังที่จะเผยแพรขอมูลทางวิชาการดานประวัติศาสตร ทองถิ่นของบานนายม ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ เพื่อใหเยาวชนและประชาชนรุนหลังไดรับรูถึงเรื่องราวของบานนายม ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยคาดหมายวาผูที่ศึกษาขอมูลจะนำองคความรูนี้ ไปเสริมสรางความรูความเขาใจ และเล็งเห็นคุณคาของรองรอยทาง วัฒนธรรมที่คนในอดีตสรางไว หนังสือเลมนี้เปนผลงานของ ดร. ธีระวัฒน แสนคำ อาจารย ประจำภาควิชาสังคมศาสตร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ซึ่งผูเขียนเปนนักประวัติศาสตรที่ใหความ สนใจเกี่ยวกับเรื่องราวทางดานประวัติศาสตรของภาคเหนือตอนลาง มาอยางตอเนื่องและยาวนาน ในครั้งนี้ผูเขียนไดรับความอนุเคราะหจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ในการ ศึกษารวบรวมเอกสารทางประวัติศาสตรและลงพื้นที่สำรวจขอมูลภาค สนาม จนกระทั่งเรียบเรียงเปนหนังสือที่ทรงคุณคาในดานประวัติศาสตร ทองถิ่นตอชาวจังหวัดเพชรบูรณเลมหนึ่ง


ผลงานชิ้นนี้ไดบอกเลาเรื่องราวสำ คัญชวงหนึ่งของประวัติ- ศาสตรทองถิ่น บานนายม ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ ที่สอดคลองกับเรื่องราวเหตุการณทางประวัติศาสตรครั้งสำคัญของ ชาติ ในครั้งนั้นทำใหทราบถึงความสำคัญของบานนายมในแตละยุค สมัยอยางไมขาดสาย ซึ่งการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตรดังกลาว จะทำใหเราเขาใจถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมของบานนายมในปจจุบัน ไดดียิ่งขึ้น ขอขอบคุณผูเขียน ดร. ธีระวัฒน แสนคำ ที่ไดใหความ อนุเคราะหศึกษาขอมูลและนำผลงานมาตีพิมพเผยแพร โดยหวังวา มุมมองที่ผูเขียนไดนำเสนอในหนังสือเลมนี้จะชวยใหผูอานเขาใจเกี่ยว กับเหตุการณสำคัญในประวัติศาสตรชวงหนึ่งของบานนายม ตำบล นายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ และไดใชเปนขอมูลเพื่อตอ ยอดทางความคิดและการศึกษาคนควาตอไป โดยเฉพาะหวังวาชาว บานนายมจะเกิดความเขาใจในตัวตนและที่มาของวัฒนธรรม จนนำ ไปสูความรูสึกรัก หวงแหน และตระหนักถึงคุณคามรดกของตนเอง ตอไป สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ มีนาคม ๒๕๖๓


คำนำผู้เขียน เมื่อทราบวาทางสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบูรณ ตองการที่จะศึกษาและเผยแพรขอมูลทางประวัติ- ศาสตรทองถิ่นของชุมชนโบราณบานนายม แตยังขาดนักวิชาการที่ จะศึกษาอยางจริงจัง เมื่อผูเขียนทราบความประสงคดังกลาวและได รับการติดตอประสานงานมา ในฐานะนักเรียนวิชาประวัติศาสตรจึง ยินดีและเต็มใจเปนอยางยิ่งที่จะศึกษาและเรียบเรียงขึ้นมาเปนหนังสือ สำหรับเผยแพร ทั้งที่เขาใจดีวาในขณะที่เขียนเรียบเรียงหนังสือเลม นี้ผูเขียนมีขอจำกัดหลายดาน ดวยความสนใจในพัฒนาการทาง ประวัติศาสตรของชุมชนโบราณบานนายมในลุมน้ำปาสัก ซึ่งปรากฏ ชื่อชุมชนคูกับชื่อเมืองเพชรบูรณในเอกสารประวัติศาสตรหลายแหง ดังนั้น ในการศึกษาเรียบเรียงครั้งนี้ เพื่อความสะดวกและ เขาใจงายของผูอาน ผูเขียนจึงไมใชวิธีการนำเสนอแบบงานวิจัยหรือ งานวิชาการที่ผูเขียนเคยปฏิบัติมา แตเนื้อหาทั้งหมดก็ยังยึดหลักฐาน ทางประวัติศาสตรชั้นตนเปนหลักในการศึกษาวิเคราะห เชน พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุและบันทึกรวมสมัย เปนตน ประกอบกับ การศึกษางานเขียนของนักวิชาการที่เคยศึกษาไว และที่ขาดไมไดเลย ก็คือ การลงพื้นที่ภาคสนามสำรวจสถานที่ที่เกี่ยวของและสัมภาษณ ผูรูในทองถิ่น เพื่อใหเกิดความรูความเขาใจเกี่ยวกับพัฒนาการทาง ประวัติศาสตรชุมชนโบราณบานนายมและบริบททั่วไปของชุมชนบาน นายมในปจจุบันมากยิ่งขึ้น


หนังสือ “บานนายม: พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชน โบราณแหงลุมน้ำปาสัก เมืองเพชรบูรณ” เลมนี้ แมวาผูเขียนจะใช ขอมูลหลักฐานจากเอกสารชั้นตนเปนหลักในการศึกษาวิเคราะห ตลอด จนใชขอมูลจากประสบการณในการคนควา รวบรวมและเรียบเรียง ขอมูลจากเอกสารที่มีอยู รวมไปถึงขอมูลจากภาคสนามก็จริง แต เนื้อหาอาจจะมีความตื้นเขินและขัดแยงกับขอมูลหลายอยางที่มีผูนำ เสนอหรือบอกเลาไวกอนหนา ขอใหถือวาขอมูลเหลานั้นเปนขอสันนิษฐาน ใหมที่เกิดจากการศึกษาของผูเขียน และขอใหผูอานไดใชวิจารณญาณ พิเคราะหตามไปดวย ผูเขียนพรอมที่จะรับคำชี้แนะและขอถกเถียง จากทานผูรูทั้งหลายเพื่อปรับปรุงงานใหดีขึ้นในโอกาสตอไป หากหนังสือเลมนี้สามารถทำใหผูอานนำไปใชเปนฐานขอมูล เพื่อต อยอดของการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตรและบทบาทของ ชุมชนโบราณบานนายมอยางละเอียด ลุมลึกและเปนระบบระเบียบได ผูเขียนจักมีความยินดีเปนอยางยิ่ง และเต็มใจที่จะใหหนังสือเลมนี้เปน สะพานหรือบันไดสำหรับการสรางสรรคผลงานทางวิชาการที่ถือวา “ขาดแคลน” อยางยิ่งในชุมชนทองถิ่นปจจุบัน เพื่อสรางความยั่งยืน ทางสังคมและวัฒนธรรมของทองถิ่นบานนายมแห งลุ มน้ำ ป าสัก จังหวัดเพชรบูรณ ใหมั่นคงสืบตอไป ธีระวัฒน แสนคำ คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย


คำขอบคุณ กวาหนังสือ “บานนายม: พัฒนาการทางประวัติศาสตรของ ชุมชนโบราณแหงลุมน้ำปาสัก เมืองเพชรบูรณ” ซึ่งเปนเอกสารเลม หนึ่งในโครงการศึกษาประวัติศาสตรชุมชนโบราณในภาคเหนือตอน ลางของผูเขียนจะสำเร็จลงไดดวยดี ผูเขียนไดรับการชวยเหลือและให กำลังใจจากบุคคลหลายฝาย ใครขอเอยนามขอบคุณไว ณ ที่นี้ คณาจารยอาวุโสของสมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รองศาสตราจารย ดร. จิราภรณ สถาปนะวรรธนะ ศาสตราจารยเกียรติคุณ สรัสวดี อองสกุล และรองศาสตราจารยสมโชติ อองสกุล ที่เปนเสาหลัก ทางวิชาการ ใหคำแนะนำและใหกำลังใจในการศึกษาประวัติศาสตร แกผูเขียนเสมอมา ผูชวยศาสตราจารยกมล บุญเขต ผูอำนวยการสำนักศิลปะ และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ที่เล็งเห็นคุณคาและ ความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตรทองถิ่น โดยใหโอกาสผูเขียน ในการศึกษาและสนับสนุนการจัดพิมพเผยแพรหนังสือและบทความ เกี่ยวกับประวัติศาสตรและศิลปกรรมทองถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ ดวยดีเสมอมา ตลอดจนคณะผูบริหารและเจาหนาที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ที่ใหการตอนรับ ใหความอนุเคราะห เรื่องขอมูล และชวยเหลือในการลงพื้นที่ภาคสนาม โดยเฉพาะคุณ วิโรจน หุนทอง นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ผูเปนทั้งรุนนองและลูกศิษยของผูเขียน  ที่อนุเคราะหเรื่องขอมูลอย างดียิ่งในระหว างการลงพื้นที่เก็บขอมูล ตลอดจนติดตอประสานงานกับผูเขียนในเรื่องตางๆ จนหนังสือเลมนี้ ปรากฏโฉมในบรรพพิภพอยางภาคภูมิ


พระสังฆาธิการ พระภิกษุสามเณร และผูอาวุโสในชุมชนบาน นายมที่อนุเคราะหขอมูลอันมีค ายิ่งต อการศึกษาและเรียบเรียง พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณบานนายม ตลอดจน ผูบริหารและเจาหนาที่องคการบริหารสวนตำบลนายม ที่ใหการสง เสริมสนับสนุนการศึกษาประวัติศาสตรชุมชนโบราณบานนายม และ ประสานงานหลายๆ ดานในการลงพื้นที่เก็บขอมูล คุณครูวิเชียร - คุณครูบุญเพ็ง แสนคำ พอและแมที่คอย อบรมสั่งสอน และแนะนำแตสิ่งดีๆ ใหกับลูกมาโดยตลอด รวมทั้งให โอกาสในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตรที่ลูกสนใจ และใหคา ใชจ ายในการทำงานและการเดินทางลงพื้นที่เก็บขอมูลอย างเต็มที่ ถึงแมวาในใจของทานจะเต็มไปดวยความหวงใย หากแมนมีคุณความดี ที่ปรากฏสืบเนื่องจากผลงานชิ้นนี้ผูเขียนขอมอบเปนเสมือนสิ่งแทน พระคุณของทานทั้งสองดวยเทิดทูนและเคารพรักยิ่ง ขอบคุณ คุณบัญชา ไทยมา คุณสุดารัตน ไทยมา คุณชุลีพร แสนคำ คนในครอบครัวที่คอยใหกำลังใจ และคุณครูชลธิชา แถวบุญตา ภรรยาที่คอยใหกำลังใจ เปนหวงเปนใยและคอยเปนเพื่อนในระหวาง การลงพื้นที่เก็บขอมูลและจัดทำตนฉบับ อยางไรก็ตาม ความตื้นเขินของผลงานทั้งในเรื่องเนื้อหาและ การเรียบเรียงเปนความรับผิดชอบของผูเขียนแตเพียงผูเดียว และ พรอมที่จะรับคำชี้แนะจากทานผูรูทั้งหลายเพื่อปรับปรุงงานใหดีขึ้นใน โอกาสตอไป ดวยจิตคารวะ ธีระวัฒน แสนคำ


ตอนที่ ๑ บทนำ ๑๒ ตอนที่ ๒ เมืองเพชรบูรณ์กับบ้านนายม ๑๖ ตอนที่ ๓ กำเนิดบ้านนายม ๒๔ ตอนที่ ๔ ภูมินามวิทยา “บานนายม” ๓๔ ตอนที่ ๕ บานนายมกับการคาของกรุงศรีอยุธยา ๔๐ ตอนที่ ๖ โบราณสถานกับรองรอย การขยายตัวของชุมชนบานนายม ในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ๕๐ สารบัญ คำนำจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ๔ คำนำผู้เขียน ๖ คำขอบคุณ ๘


ตอนที่ ๗ บานนายมกับสถานการณ ในชวงตนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ๖๖ ตอนที่ ๘ บานนายมกับศึกเจาอนุวงศ พ.ศ. ๒๓๗๐ ๗๕ ตอนที่ ๙ การฟนฟูบานนายม หลังศึกเจาอนุวงศ ๙๔ ตอนที่ ๑๐ บทสงทาย ๑๐๒ บรรณานุกรม ๑๐๖ ประวัติผูเขียน ๑๑๓


12 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ บานนายมเปนชุมชนเกาแกและมีขนาดใหญตั้งอยูในบริเวณ ที่ราบลุมแมน้ำปาสักในเขตตำบลนายม อำเภอเมืองเพชรบูรณ จังหวัด เพชรบูรณ ปรากฏหลักฐานประวัติศาสตรที่กลาวถึงความมีอยูของ ชุมชนบานนายมมาตั้งแตชวงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เปนอยางนอย และมีโบราณสถานที่สามารถกำหนดอายุตั้งแตราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ลงมา กระจายอยูหลายแหงทั้งภายในที่ตั้งชุมชนและบริเวณใกลเคียง ซึ่งมีความน าสนใจเปนอย างมากในดานพัฒนาการประวัติศาสตร โบราณคดีและศิลปกรรมในทองถิ่น ในหลักฐานสมัยอยุธยาตอนปลายระบุวามีชาวบานนายม ลองเรือลงไปทำการคาที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งแสดงใหเห็นวาชุมชนโบราณ บานนายมเปนชุมชนขนาดใหญและมีความสำคัญทางการคาในทองถิ่น เมืองเพชรบูรณไมนอย ซึ่งสอดคลองกับการพบโบราณสถานและ งานศิลปกรรมศิลปะอยุธยาตอนปลายหลายแหงกระจายอยูภายใน ชุมชน ทั้งโบสถ วิหาร พระพุทธรูป พระเจดียและศาสนาคารประเภท อื่นๆ ตลอดจนการพบโบราณวัตถุที่เปนภาชนะดินเผาและโลหะ ซึ่ง เกี่ยวของกับขาวของเครื่องใชในการดำรงชีวิตประจำวันของชาวบาน กระจายอยูทั่วไป ควรที่จะไดรับการศึกษาสืบคนและเผยแพรเปน อยางมาก ตอนที่ ๑ บทนำ


13 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ที ่ผ านมา ขอมูลทางดานประวัติศาสตร โบราณคดีและ ศิลปกรรมของชุมชนโบราณบานนายมยังไมไดรับการศึกษาคนควา และเผยแพรใหเปนที่รูจักของชาวบานนายม ชาวเมืองเพชรบูรณและ ประชาชนทั่วไปมากนัก ผูเขียนจึงไดพยายามที่จะศึกษาคนควาขอมูล ที่เกี่ยวของกับชุมชนโบราณบานนายมจากเอกสารและหลักฐาน ประวัติศาสตรตางๆ ที่มีอยูคอนขางจำกัด และนำขอมูลเหลานั้นมา วิเคราะหเรียบเรียงเปนหนังสือ เพื่อเปนการเผยแพรองคความรูทาง ดานประวัติศาสตรทองถิ่นจังหวัดเพชรบูรณใหพี่นองชาวเพชรบูรณ และประชาชนทั่วไปไดศึกษาเรียนรู อันจะนำไปสูความกาวหนาทาง วิชาการดานประวัติศาสตร โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมของทองถิ่น จังหวัดเพชรบูรณตอไป การศึกษาเรื่อง “บานนายม: พัฒนาการทางประวัติศาสตร ของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำปาสัก เมืองเพชรบูรณ” ของผูเขียนในครั้ง นี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชน โบราณบานนายม โดยใชวิธีการศึกษาคนควาทางประวัติศาสตร (Historical Approach) ซึ่งมีขั้นตอนดังตอไปนี้


14 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ๑. ขั้นตอนเก็บรวบรวมขอมูล ใชเอกสารปฐมภูมิหรือเอกสาร ชั้นตนสำคัญ ไดแก ศิลาจารึก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร เอกสารจดหมายเหตุสมัยรัชกาลที่ ๓ แผนที่โบราณ คำสัมภาษณและ เอกสารชั้นรอง เพื่อการรวบรวมขอมูลตางๆ ที่เกี่ยวของกับชุมชน โบราณบานนายมและชุมชนโบราณใกลเคียงที่เกี่ยวของ รวมไปถึง เอกสารที่มีขอมูลเกี่ยวของกับโบราณคดีและศิลปกรรมในพื้นที่บาน นายม ศึกษาขอมูลทางหลักฐานชั้นตนและชั้นรองเพื่อแยกแยะขอมูล ออกเปนหมวดหมูตามหัวขอหลักของการศึกษาแลว ก็ทำการเก็บขอมูล ภาคสนาม ไดแก การเดินทางลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อปฏิบัติงาน ศึกษา สภาพปจจุบันเชิงภูมิศาสตร และเก็บรวบรวมขอมูลจากโบราณวัตถุ สถานและศิลปกรรมในเขตบานนายม สัมภาษณขอมูลจากผูรูทองถิ่น และถายภาพประกอบการศึกษา


15 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ๒. การวิเคราะหขอมูล นำขอมูลที่รวบรวมไดมาวิเคราะห เพื่อจัดเรียงลำดับประเด็นและหัวขอการศึกษา นำขอมูลตางๆ โดย เฉพาะขอมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตรขอมูลทางดานโบราณคดี และศิลปะสถาปตยกรรมมาวิเคราะหรวมกัน ๓. การนำเสนอขอมูล ผูเขียนใชการพรรณนาวิเคราะห (Analytical Description) เพื่อใหเห็นภาพพัฒนาการทางประวัติศาสตร ทองถิ่นของชุมชนโบราณบานนายม และลักษณะทางศิลปกรรมภายใน เขตบานนายม โดยแสดงใหเห็นถึงความสัมพันธเชื่อมโยงเปนเหตุเปน ผลกับเนื้อหาที่นำเสนอ พรอมเสนความเห็นเพิ่มเติมของผูเขียนในการ เรียบเรียง แตอยางไรก็ดี เนื่องจากความขาดแคลนของเอกสารหลักฐาน ประวัติศาสตรและขอมูลทางดานโบราณคดี การศึกษาครั้งนี้จึงมีขอ จำกัดเรื่องเอกสารประวัติศาสตร จำเปนตองอาศัยการเทียบเคียง การสันนิษฐานจากหลักฐานโบราณคดีและศิลปกรรมรวมดวย ผล การวิเคราะหศึกษาของผูเขียนที่ปรากฏในหนังสือเลมนี้ จึงยังไมใชเปน ขอยุติทางวิชาการ และจำเปนที่จะตองศึกษาคนควากันตอไป ตาม ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตรและโบราณคดี


16 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


17 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ เมืองเพชรบูรณปรากฏหลักฐานการมีอยูของเมืองมาตั้งแต ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙ โดยมีการพบชื่อเมือง “วชฺชปุร” (วัชชะปุระ) ในจารึกวัดอโศการาม พ.ศ. ๑๙๕๖ (กรมศิลปากร, ๒๕๔๘: ๔๐๓) และชื่อเมือง “พชฺชปุรํ” (แปลเปนภาษาไทยวาเมือง เพชรบูรณ) ในจารึกวัดบูรพาราม พ.ศ. ๑๙๕๖ วาเปนเมืองชายแดน ที่อยูทางทิศตะวันออกเฉียงใตของแควนสุโขทัย (กรมศิลปากร, ๒๕๔๘: ๔๒๒ - ๔๒๔) และมีการพบจารึกลานคำในพระเจดียทรงพุมขาวบิณฑ หรือทรงดอกบัวตูม ศิลปะสุโขทัยที่อยูภายในวัดมหาธาตุกลางเมือง เพชรบูรณ จารึกเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๙๒๖ ระบุชื่อ “พระเจาเพชบุร” ดวย (คณะกรรมการฝายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ, ๒๕๔๔: ๙๓ - ๙๕) นักประวัติศาสตรโบราณคดีมีความเห็นตรงกันวาเมือง “วชฺชปุร”, “พชฺชปุรํ” และ “เพชบุร” ก็คือเมืองโบราณเพชรบูรณ ที่ตั้ง อยูในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ จังหวัดเพชรบูรณ (วิชัย ตันกิตติกร, ๒๕๓๙: ๙๘ - ๑๐๐) ขอความในจารึกดังกลาวไดแสดงใหเห็นถึงอายุ ของเมืองเพชรบูรณไดเปนอยางดี และยังเปนหลักฐานสำคัญในการ ศึกษาประวัติศาสตรทองถิ่นเมืองเพชรบูรณในชวงกอรูปเมืองดวย ตอนที่ ๒ เมืองเพชรบูรณกับบานนายม


18 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พระเจดียวัดมหาธาตุ ถือเปนศูนยกลางของชุมชนโบราณเมือง เพชรบูรณตามความเชื่อแบบจารีต เมืองเพชรบูรณมีพัฒนาการทางประวัติศาสตรมาอยางตอเนื่อง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนตน เมืองเพชรบูรณมีฐานะเปนหัวเมืองชั้นตรี เจาเมืองมีบรรดาศักดิ์และราชทินนามที่ “ออกพระเพ็ชรัตนสงคราม” ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ กรมการเมืองผูใหญประกอบดวย หลวงเพ็ชร พิไชย ปลัด, หลวงศรีพิไชย หลวงพล, ขุนศรีกดานพล มหาดไทย, ขุนภักดีราช ยกกระบัตร, ขุนพรมเสนา สัสดี และขุนนครจักร ขุนเมือง (ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี หมอมราชวงศ, ๒๕๔๒: ๑๐๘) ตอมาใน สมัยอยุธยาตอนปลาย เมืองเพชรบูรณนาจะถูกยกฐานะเปนหัวเมือง


19 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ชั้นโท เจาเมืองมีบรรดาศักดิ์เปน “พระยา” หรือ “ออกญา” เนื่องจาก ปรากฏหลักฐานในพระไอยการตำแหนงนาทหารหัวเมืองในกฎหมาย ตราสามดวง ซึ่งเปนการประมวลกฏหมายเกาสมัยกรุงศรีอยุธยาใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช วา “ออกญา  เพชรัตนสงครามรามภักดีพิริยภาหะ เมืองเพชบูรรณ เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฎขวา” (พระไอยการตำแหนงนาทหาร หัวเมือง, ๒๕๒๙: ๒๖๖) ตำแหนงที่ตั้งเมืองเพชรบูรณอยูใกลกับพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งสรางขึ้นเปนเขตแดนระหวางอาณาจักรสยาม (กรุงศรีอยุธยา) กับ อาณาจักรลานชาง ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับสมเด็จ พระเจาไชยเชษฐาธิราช (วินัย พงศศรีเพียร, ๒๕๕๔: ๕ - ๒๘) จึง อาจจะสามารถกลาวไดวา เมืองเพชรบูรณเปนที่มั่นสำคัญแหงหนึ่ง ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาสำหรับปองกันการล วงล้ำเขามาของ อาณาจักรลานชาง (โยซิยูกิ มาซูฮารา, ๒๕๔๖: ๗๐) ดังปรากฏ หลักฐานวาในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช สมเด็จพระ นเรศวรมหาราชซึ่งขณะนั้นทรงเปนพระมหาอุปราชไดโปรดใหปด ดานเมืองเพชรบูรณเพื่อมิใหชาวไทยใหญหนีไปยังลานชางเวียงจันทน ได (ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๓, ๒๕๔๒: ๒๘๐) และในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราชอาจมีการก อปอมและ กำแพงเมืองเพชรบูรณขึ้นใหมตามแบบยุโรปโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส (ศรีศักร วัลลิโภดม, ๒๕๕๒: ๑๗๖) ทั้งนี้ ก็คงเปนเพราะเมือง เพชรบูรณอาจมีสถานะเปนเมืองหนาดานจึงจำเปนตองมีกำแพงเมือง และปอมที่มั่นคง เพื่อปองกันการยกทัพลงมาของลานชางทางเสนทาง ลุมแมน้ำปาสักนี้ (ต. อมาตยกุล, ๒๕๐๔: ๔๘)


20 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ สำหรับการปกครองในทองถิ่นเมืองเพชรบูรณ นาจะเริ่มตน จาก “หมูบาน” ซึ่งมีผูใหญบานหรือนายบานเปนหัวหนาปกครอง หลายหมูบานรวมกันเปน “ตำบล” มีกำนันซึ่งจะไดรับบรรดาศักดิ์ “พัน” เปนหัวหนาปกครอง หลายๆ ตำบลรวมกันเปน “แขวง” มีหมื่น แขวงเปนผูปกครอง หลายๆ แขวงรวมกันเปนเมือง มี “เจาเมือง” หรือ “ผูรั้งเมือง” ปกครอง (ถนอม อานามวัฒนและคณะ, ๒๕๑๘: ๒๙๐) ในหลักฐานทางประวัติศาสตรสมัยกรุงศรีอยุธยาไดมีการ กลาวถึงชื่อหมูบานในเขตเมืองเพชรบูรณเพียงหมูบานเดียว คือ บาน นายม ซึ่งมีเอกสารทางประวัติศาสตรหลายเลมที่เรียกชื่อบานนายม ตอทายชื่อเมืองเพชรบูรณในชวงปลายกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงธน บุรีวา “เพชรบูรณนายม” (ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๓, ๒๕๔๒: ๕๒๐; วินัย พงศศรีเพียร, ๒๕๔๗: ๙๐) แผนที่แสดงตำแหนงที่ตั้งเมืองเพชรบูรณกับบานนายม


21 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ชุมชนโบราณบานนายมตั้งอยู ทางตอนใตของตัวเมือง เพชรบูรณ หางจากตัวเมืองเพชรบูรณประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ศูนย กลางของชุมชนตั้งอยู ทางฝ งขวาของแม น้ำ ป าสักห างจากลำ น้ำใน ปจจุบันประมาณ ๒ กิโลเมตร ซึ่งเปนบริเวณที่คลองวังชมภูไหล ผานและมาบรรจบกับแมน้ำปาสักที่ทางตะวันออกของชุมชน ปจจุบัน บริเวณชุมชนโบราณบานนายม ก็คือ ชุมชนบานนายม ตำบลนายม อำเภอเมืองเพชรบูรณ จังหวัดเพชรบูรณ การคมนาคมตามลุ มแม น้ำ ป าสักถือเปนเสนทางสำ คัญ ที่เชื่อมระหวางเมืองเพชรบูรณกับกรุงศรีอยุธยาและเมืองสำคัญใน ลุมแมน้ำเจาพระยา จากเมืองเพชรบูรณลงมาจะตองผานเมืองโบราณ สำคัญอยางเมืองศรีเทพ* เมืองชัยบุรี** และเมืองสระบุรี กอนที่จะถึง กรุงศรีอยุธยา นอกจากจะผานชุมชนโบราณในระดับเมืองแลว ใน เสนทางลุ มแม น้ำป าสักก็ยังพบหลักฐานว ามีชุมชนโบราณระดับ หมู บานเรียงรายไปตามสองฝ งแม น้ำ เปนระยะชุมชนโบราณบาน นายมจึงเปนชุมชนโบราณระดับหมู บานซึ่งอยู ทางตอนใตของเมือง เพชรบูรณในเสนทางลุมแมน้ำปาสักที่มีขนาดใหญและมีความสำคัญ มากที่สุด * ต่อมาเรียกว่า “เมืองท่าโรง” และ “เมืองวิเชียรบุรี” ปัจจุบันอยูในเขตอำ ่เภอ วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ** ปัจจุบันอยูในเขตอำ ่ เภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี


22 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ทองทุงบานนายมริมฝงแมน้ำปาสักในชวงตนฤดูฝน ในอดีตการเดินทางระหว างเมืองเพชรบูรณกับชุมชนที่อยู  ทางใตนิยมใชเรือเปนพาหนะในการเดินทางเปนหลัก เรือจากทางใต สวนใหญมักจะแวะพักคางแรมที่บานนายมกอนเดินทางเขาเมืองซึ่ง ตองใชเวลาเดินเรืออีกประมาณ ๑ วัน นอกจากนี้ บริเวณบานนายม ยังเปนจุดตัดของเสนทางคมนาคมทางบกทางฝงขวาของแมน้ำปาสัก ของผูคนที่เดินทางขามภูเขามาจากลุมแมน้ำนาน ซึ่งมีตนทางมาจาก บางมูลนากในเขตเมืองพิจิตร ในป พ.ศ. ๒๔๔๗ สมเด็จฯ กรมพระยา ดำ รงราชานุภาพซึ่งไดเสด็จมาตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณก็ ไดเสด็จมาตามเสนทางนี้และผานบริเวณบานนายม ดังปรากฏใน พระนิพนธ “เรื่องเที่ยวมณฑลเพ็ชรบูรณ” ความวา


23 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ “ระยะทางแต บางมูลนาคไปถึงเมืองเพ็ชรบูรณประมาณ ๓,๐๐๐ เสน ขาพเจาเดินทางอยางสงวนพาหนะแลผูคนหาบหามไม ใหบอบช้ำ เดิน ๕ วัน แตถาจะเดินโดยลำลองเพียง ๔ วันถึงไดไม ลำบากอันใด เพราะหนทางที่เดินถาไปในระดูแผนดินแหงแลวเดินได สะดวก...ถึงเชิงเขาบรรทัด***ที่ปนน้ำไหลลงแมน้ำพิศณุโลกแลแมน้ำ สัก แลเปนพรมแดนเมืองพิจิตรตอกับเมืองเพ็ชรบูรณ หนทางตอน ขามเขาบรรทัดเปนดงดิบเหมือนกับดงพระยาไฟ แตเดินสะดวกดวย ทางลาดคอยๆ ขึ้นไปจนถึงสันเขาบรรทัด พอลงไหลเขาขางตวันออก ไปสัก ๒๐๐ เสนก็ออกจากดงพนเทือกเขา ถึงบานลองคลาแขวง เมืองเพ็ชรบูรณ แตนี้ไปทางเดินตัดขึ้นทิศเหนือไปประมาณ ๕๐๐ เสนถึงบานนายม อันตั้งอยูริมลำน้ำสักใตเมืองเพ็ชรบูรณทางเรือ ลองวัน ๑ เดินบกจากบานนายม ๔๖๐ เสนก็ถึงเมืองเพชรบูรณ...” (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ๒๕๕๐: ๒๓๘ - ๒๓๙) จากหลักฐานทางประวัติศาสตรที่มีอยูแสดงใหเห็นวา ชุมชน โบราณบานนายมนั้นเปนชุมชนโบราณระดับหมูบานที่อยูภายใตการ ปกครองของเมืองเพชรบูรณ ซึ่งเปนหัวเมืองสำคัญของกรุงศรีอยุธยา ในลุมแมน้ำปาสักตอนบน นอกจากชุมชนโบราณบานนายมจะมีความ สัมพันธทางการเมืองการปกครองกับเมืองเพชรบูรณแลว ชุมชนโบราณ บานนายมยังมีความสัมพันธทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม รวมกับเมืองเพชรบูรณดวย ดังจะไดนำเสนอรายละเอียดใหทราบใน สวนตอๆ ไป ***ปจจุบันชาวบานเรียกแนวเขาบรรทัดบริเวณที่เปนเสนทางเชื่อมตอระหวาง จังหวัดพิจิตรกับจังหวัดเพชรบูรณวา “เขารัง”


24 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


25 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ บานนายมตั้งอยู ในบริเวณลุ มแม น้ำาป าสักตอนกลางทาง ตอนใตของเมืองเพชรบูรณ ซึ่งอยูบนเสนทางคมนาคมระหวางเมือง เพชรบูรณกับกรุงศรีอยุธยาซึ่งเปนศูนยกลางอำนาจการเมืองการ ปกครอง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมของพื้นที่ลุมแมน้ำเจาพระยา และสาขามาตั้งแตชวงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ รวมทั้งเปนทางผาน จากเมืองเพชรบูรณไปกรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานครซึ่งขึ้นมามี อำนาจแทนกรุงศรีอยุธยาในตั้งแตตนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เปนตนมา การกำเนิดขึ้นเปนชุมชนขนาดใหญของบานนายมจึงมีความเกี่ยวของ กับเมืองเพชรบูรณและเสนทางคมนาคมในลุมแมน้ำปาสัก รวมทั้ง สภาพภูมิประเทศอันเปนที่ราบลุมกวางขวางเหมาะแกการเพาะปลูก ของบริเวณรอบๆ บานนายมดวย ลักษณะภูมิประเทศโดยรอบบานนายมประกอบดวยปาและ ภูเขาสูงทอดตัวยาวในแนวเหนือ -ใต ดานทิศเหนือเปนที่ราบลุมแมน้ำ ป าสักต อกับเมืองเพชรบูรณ ทางทิศตะวันตกติดกับเขตเทือกเขา เพชรบูรณตะวันตก (หรือที่ชาวบานเรียกวา เขารัง) ที่กั้นระหวางจังหวัด เพชรบูรณกับจังหวัดพิจิตร และมีคลองวังชมภูหรือคลองนายมไหลจาก เขตภูเขาดังกลาวมาบรรจบกับแมน้ำปาสักทางฝงขวาทางทิศใตของ ที ่ตั้งชุมชนบานนายม ทางทิศตะวันออกมีแนวเทือกเขาเพชรบูรณ ตะวันออกเปนขอบเขตที่ราบลุม ทำใหพื้นที่บริเวณบานนายมในปจจุบัน มีลักษณะเปนที่ราบลุมหุบเขาคลายแองกระทะ ลาดเอียงจากทิศเหนือ และทิศตะวันตกลงสูทิศใต โดยมีแมน้ำปาสักเปนแมน้ำสายสำคัญที่ ไหลผานกลางพื้นที่แอง ตอนที่ ๓ กำเนิดบานนายม


26 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ จากตนกำาเนิดและทิศทางการไหลของแม น้ำาป าสักทำาให แมน้ำปาสักไดกลายเปนเสนทางคมนาคมสำคัญที่เชื่อมตอบานเมือง สำ คัญในพื้นที่ดานในกับบานเมืองที่อยู ในพื้นที่ราบลุ มแม น้ำ สาย ใหญและอยูใกลกับชายทะเล กลาวคือ บริเวณเทือกเขาตนกำเนิดของ แมน้ำปาสักสามารถเดินทางขามลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่ง เปนเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยในลุมแมน้ำเลยได สวนทางใตตาม ลำแมน้ำยังมีเมืองโบราณเกาแกและมีความสำคัญตอพัฒนาการทาง ประวัติศาสตรในภูมิภาค นั่นก็คือเมืองศรีเทพ ที่มีความรุงเรืองมา ตั้งแตประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ นอกจากนี้ ยังสามารถเดิน เรือตามแมน้ำปาสักไปออกแมน้ำเจาพระยาที่พระนครศรีอยุธยาและ ออกทะเลที่อาวไทยไดอีกดวย ดังนั้น หากพิจารณาจากแผนที่ภูมิศาสตรแบบกวางๆ แลว ก็จะพบวาบานนายมตั้งอยูในเสนทางลุมแมน้ำปาสักซึ่งเปนเสนทาง คมนาคมโบราณที่สำคัญเสนหนึ่งในภูมิภาคที่เชื่อมระหวางเมืองดาน ในภาคพื้นทวีปกับเมืองชายทะเลมาอยางชานานแลว นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากแผนที่ภูมิศาสตรบริเวณใตเมือง เพชรบูรณก็จะพบวา บริเวณตำแหนงที่ตั้งชุมชนโบราณบานนายมเปน ที่ราบลุมที่กวางขวาง และยังมีคลองวังชมภูไหลมาบรรจบทางฝงขวา ของแมน้ำปาสัก ทำใหตำแหนงที่ตั้งชุมชนโบราณบานนายมมีลักษณะ คลายสามแยก ซึ่งลักษณะเชนนี้ถือเปนตำแหนง “ชุมทาง” ในเสนทาง


27 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ คมนาคมที่สามารถเชื่อมตอไปยังเมืองเพชรบูรณที่อยูทางตอนเหนือ ลงไปยังเมืองสระบุรีและกรุงศรีอยุธยาที่อยูทางตอนใตได นอกจากนี้ ยังสามารถเขามาตามคลองวังชมภูไปยังชุมชนที่อยูหางจากแมน้ำปา สักฝงตะวันตกและขามเทือกเขาเพชรบูรณตะวันตก ไปยังเมืองพิจิตร และบานเมืองในลุมแมน้ำนานตอนลางได ซึ่งมีความเหมาะสมตอการ เปนชุมทางการคาและแลกเปลี่ยนสินคาของผูคนในอดีต แผนที่แสดงตำแหนงที่ตั้งชุมชนโบราณบานนายม


28 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ในขณะเดียวกัน ตำแหนงที่ตั้งของชุมชนโบราณบานนายม ยังมีความสัมพันธกับเสนทางคมนาคมระหว างเมืองเพชรบูรณกับ บานเมืองที่อยูทางตอนใตในลุมแมน้ำปาสัก กลาวคือ บริเวณที่ตั้ง ชุมชนโบราณบานนายมอยูหางจากตัวเมืองเพชรบูรณประมาณ ๑๖ กิโลเมตร สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (๒๕๕๐: ๒๓๙) ทรงพระนิพนธไววา หากเดินทางดวยเรือจากบานนายมทวนแมน้ำ ปาสักไปยังเมืองเพชรบูรณตองใชเวลาเดินเรือประมาณ ๑ วัน ซึ่ง สะทอนใหเห็นวาในอดีตผูคนที่เดินทางดวยเรือมาจากทางใตก็จะแวะ พักคางแรมที่บริเวณตำแหนงที่ตั้งของชุมชนโบราณบานนายมกอน ๑ คืน จึงคอยเดินทางตอไปยังเมืองเพชรบูรณ ทั้งนี้การพักดังกลาว อาจเปนการพักเพื่อจัดเตรียมความเรียบรอยของสินคาหรือสิ่งของ ตางๆ กอนเขาเมืองเพชรบูรณก็เปนได การเปนจุดแวะพักคางแรม ของผูคนที่เดินทางดวยเรือมาจากทางใตอาจจะเปนปจจัยสำคัญอีก ปจจัยหนึ่งที่ทำใหเกิดชุมชนโบราณบานนายมขึ้นมา นอกจากนี้ ตำแหนงที่ตั้งบานนายมอาจจะมีความเกี่ยวของ กับการเปนสถานที่ตั้งด านตรวจของเมืองเพชรบูรณดวยก็เปนได เนื่องจากชุมชนโบราณบานนายมอาจจะเปนชุมชนแหงแรกที่อยูในเขต เมืองเพชรบูรณที่ผูสัญจรมาจากทางตอนใตตองผาน เนื่องจากทาง ตอนใตของชุมชนโบราณบานนายมลงไปไมปรากฏรายงานเกี่ยวกับ การพบรองรอยของชุมชนโบราณที่อยูริมฝงแมน้ำปาสัก จนถึงเขต เมืองทาโรง (หรือเมืองวิเชียรบุรี) แสดงใหเห็นวาทางตอนใตของ


29 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ บานนายมลงไปตามแมน้ำปาสักในอดีตนั้นเปนปาเปลี่ยว ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำ รงราชานุภาพซึ่งเสด็จผ านบานนายมเมื่อเดือน กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๔๔๗ ก็ทรงพระนิพนธไววา “...พอพนบานนายมลงมาวัน ๑ ก็ไมมีบานเรือนผูคนเปนแต ปาเถื่อน ถึงบางแหงถามพวกนำทางวาที่ตรงนี้เขาเรียกวากะไร บอก วาไมมีชื่อเรียกฉนี้ก็มี เมื่อลองลงมาได ๒ วัน คนทำทางบอกวาวัน นี้จะถึงทาแดง ขาพเจาเขาใจวาเห็นจะมีบานชอง ครั้นมาถึงเขาเห็น ไรอยูริมตลิ่ง แตตัวเจาของไรขึ้นไปขัดหางอยูบนกอไผ ใหไตถามได ความวา มาจากบานดอนระยะทางวัน ๑ มาทำไรชั่วคราว จะปลูกทับ  กระทอมอยูก็กลัวเสือ จึงขึ้นไปขัดหางอยูบนกอไผ เพราะทางเปลี่ยว เชนนี้ เรือที่ขึ้นลองตองมีเสบียงอาหารไปดวยใหพอเพียง จะหวังหา ซื้อตามระยะทางไมได ขึ้นลองถึงเวลาจะพักหลับนอน ก็แลวแตจะเห็น หาดตรงไหนเหมาะก็จอดนอน เวลาค่ำตองกองไฟรายไวกันสัตวปามิ ใหทำอันตราย” (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ๒๕๕๐: ๒๔๙ - ๒๕๐) ขอมูลในชั้นหลังดังกลาว สะทอนใหเห็นวาบริเวณชุมชนโบราณ บานนายมอาจเปนที่ตั้งของชุมชนหมูบานแหงแรกของเมืองเพชรบูรณ ที่อยูใตสุด และอาจจะเปนที่ตั้งของดานชั้นนอกของเมืองเพชรบูรณ ที่ คอยตรวจตราผูคน เกวียนและเรือตางๆ จากทางใตกอนที่จะเขาไป ยังเขตเมืองเพชรบูรณก็เปนได


30 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ สภาพปากคลองวังชมภู (ซาย) ซึ่งไหลมาบรรจบกับแมน้ำปาสัก (ขวา) ทางทิศตะวันออกของชุมชนโบราณบานนายมในปจจุบัน จากหลักฐานทางโบราณคดีและศิลปกรรมที่ปรากฏใน บริเวณพื้นที่ชุมชนบานนายมอันเปนที่ตั้งของชุมชนโบราณบานนายม พบวา มีการพบหลักฐานทางศิลปกรรมที่เกาแกที่สุดอยูบริเวณวัด เกาะแกว ซึ่งเปนโบราณสถานที่อยูริมคลองวังชมภูทางทิศตะวันตก ของชุมชนบานนายมในปจจุบัน วัดเกาะแกว เปนโบราณสถานที่ตั้งอยูบนเกาะกลางคลอง วังชมภู ภายในวัดมีโบสถยกฐานสูงซึ่งสรางทับซากฐานโบสถเกาแก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ โดยการนำของพระครูวิชิตพัชราจารย (หลวงพอทบ ธมฺมปฺโญ) ซึ่งเปนพระเกจิอาจารยรูปสำคัญของชุมชนบานนายมใน อดีต (พระอธิการวิรัช อกฺกวณฺโณ, สัมภาษณ) พระประธานภายใน โบสถเปนพระพุทธรูปปูนปนปางมารวิชัย ไดรับการบูรณปฏิสังขรณ หลายครั้งจนยากจะใหรูปแบบทางศิลปกรรมกำหนดอายุได ทางทิศ ตะวันออกดานหนาโบสถมีกลุ มพระเจดียย อมุมขนาดเล็กศิลปะ อยุธยาตอนปลายจำนวน ๗ องค (สวนหนึ่งหักพัง อยูในสภาพ สมบูรณ ๓ องค)


31 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ที่นาสนใจคือ มีกลุมใบเสมาหินชนวนปกอยูโดยรอบโบสถทั้ง ๘ ทิศ ทิศละ ๑ คู ความสูงขนาด ๙๐ เซนติเมตร ความกวางที่ สวนลางของใบเสมาขนาด ๕๐ เซนติเมตร ขอมูลจากการสัมภาษณ ทำใหทราบวาใบเสมาทั้งหมดเปนของเกาแกที่ปกอยูรอบโบสถ เพียง แตมีการบูรณปฏิสังขรณ ทำฐานเสมาใหสูงขึ้นและทาสีใหม ใบที่ ชำรุดก็มีการทำขึ้นมาแทนใหม แตใบเสมาเกานั้นก็ยังเก็บไวดานหลัง พระประธานภายในโบสถ (พระมาก เหล็กเพชร, สัมภาษณ) ใบเสมา รอบโบสถวัดเกาะแกวมีลักษณะเปนใบเสมาหินชนวน กลางแผนจะมีสัน ซึ่งยกสันขึ้นมาจากสวนลางคลายสันอกเลาของบานประตู สันดังกลาวนี้ จะเชื่อมกับกรอบตอนบน ไมมีลวดลายประดับ ใบเสมาลักษณะเชน นี้เปนงานศิลปกรรมที่พบไดในใบเสมาศิลปะอยุธยาตอนกลาง ราว พุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร โบราณคดีและ ศิลปกรรมเทาที่สามารถสืบคนได ทำใหผูเขียนสันนิษฐานวา ชุมชน โบราณบานนายมนาจะเริ่มกอรูปความเปนชุมชนหมูบานขึ้นมาตั้งแต ชวงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ และมีความเปนชุมชนขนาดใหญ มีการสรางศาสนสถานขึ้นเปนศูนยกลางของชุมชนในราวพุทธศตวรรษที่  ๒๒ เปนอยางมาก ดังปรากฏหลักฐานจากใบเสมาศิลปะอยุธยาตอน กลางที่วัดเกาะแกว ขอมูลดังกลาวยังสะทอนใหเห็นวาในชวงแรกของ การกอรูปชุมชนนาจะมีการตั้งถิ่นฐานบานเรือนอยูสองฝงคลองวังชมภู รอบๆ วัดเกาะแกว ซึ่งอยูหางเขามาจากแมน้ำปาสักในปจจุบันกวา ๔ กิโลเมตร ไมไดตั้งอยูริมฝงแมน้ำปาสัก


32 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ โบสถวัดเกาะแกวในปจจุบัน เสมาโบราณ วัดเกาะแก้ว ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากขอมูลดานภูมิศาสตรก็จะพบวาน้ำใน แมน้ำปาสักนั้นชวงหนาแลงจะมีน้ำนอยมาก จนไมสามารถเดินเรือได หรือไดเฉพาะเรือขนาดเล็กเทานั้น ซึ่งมีลักษณะใกลเคียงกับขนาดของ ความกวางของแมน้ำปาสักในปจจุบัน แตในชวงฤดูฝนหรือฤดูน้ำหลาก น้ำในแมน้ำปาสักจะลนตลิ่งขึ้นมาทวมจนถึงบริเวณที่เปนชุมชนบาน นายมในปจจุบัน ดังนั้น บริเวณริมฝงแมน้ำปาสักในเขตบานนายมจึง ไมเหมาะตอการตั้งถิ่นฐานบานเรือนถาวร เพราะน้ำจะทวมในชวงฤดู น้ำหลาก จึงมีการตั้งถิ่นฐานบานเรือนขึ้นบนที่ดอนสองฝงคลองวังชมภู


33 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ใบเสมาหินชนวน ศิลปะอยุธยาตอนกลาง ซึ่งปกอยูรอบโบสถวัดเกาะแกว หางจากแมน้ำปาสักประมาณ ๒ กิโลเมตร เพื่อหลีกเลี่ยงอุทกภัย การสัญจรไปมาทางน้ำในชวงน้ำลดจากแมน้ำปาสักจึงตองอาศัยเรือ ขนาดเล็กเขามาตามลำคลองวังชมภู ภายหลังเมื่อมีผูคนเขามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้เพิ่มมากขึ้น ก็เกิดการขยายตัวของชุมชนมาทางทิศตะวันออกของวัดเกาะแกวตาม ลำคลองวังชมภูดังจะไดกลาวใหทราบตอไป


34 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


35 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ชื่อบาน “นายม” เปนชื่อเกาแกที่นาจะมีการเรียกชื่อนี้มา อยางนอยก็ตั้งแตชวงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เปนตนมา เนื่องจาก ชื่อ “นายม” ไดปรากฏอยูในเอกสาร “พรรณนาภูมิสถานพระนคร ศรีอยุธยา” เอกสารจากหอหลวง (ฉบับความสมบูรณ) คูกับเมือง เพชรบูรณ วามีพอคาจากเมืองเพชรบูรณนายมนำเรือหางเหยี่ยว บรรทุกสินคาของปาลงไปขายที่กรุงศรีอยุธยา (วินัย พงศศรีเพียร, ๒๕๔๗: ๙๐) นอกจากนี้ ในเอกสาร “พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)” ก็มีการกลาวถึงชื่อบานนายมคูกับเมือง เพชรบูรณในชวงตนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ประชุมพงศาวดารฉบับ กาญจนาภิเษก เลม ๓, ๒๕๔๒: ๕๒๐) ที่มาของชื่อชุมชน “บานนายม” นั้นนาจะมีความเกี่ยวของกับ สภาพภูมิประเทศที่ตั้งชุมชนซึ่งเปนที่ราบกวางขวางเหมาะแก การ เพาะปลูกขาว เพราะบริเวณที่ตั้งบานนายมเปนที่ราบลุมริมฝงแมน้ำ ปาสัก ซึ่งเหมาะแกการเพาะปลูกและทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะ อยางยิ่งการทำนา ตามชื่อชุมชนที่มีคำวา “นา” ขึ้นตน ปกติแลวชื่อ ชุมชนที่มีคำวา “นา” ขึ้นตนนั้น มักจะเปนชุมชนที่อยูในที่ราบหรือ เปนชุมชนที่มีพื้นที่ในการทำนาคอนขางกวางขวาง ซึ่งพบไดทั่วไปทุก ภูมิภาคในประเทศไทย ตอนที่ ๔ ภูมินามวิทยา “บานนายม”


36 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ แตที่นาสนใจคือ คำวา “ยม” ที่ตอทายคำวา “นา” นั้นมีที่ มาอยางไร ซึ่งผูเขียนไดสัมภาษณชาวบานนายมเกี่ยวกับที่มาของชื่อ ชุมชนบานนายม ทำใหพบวาที่มาของชื่อชุมชนที่มีการบอกเลาสืบตอ กันมาเปนมุขปาฐะในทองถิ่นนั้นมีอยูสำนวนเดียว ซึ่งระบุวาเดิมนั้นชื่อ “บานนานางยม” หรือ “บานนางยม” กอนที่จะกรอนเสียงหรือเพี้ยน มาเปนชื่อ “บานนายม” ซึ่งสามารถสรุปมุขปาฐะไดวา เดิมทีนั้นบริเวณบานนายมเปนดงเปนปา ตอมามีนางยมซึ่ง เปนชาวลาว บางก็วานางยมเปนธิดาของเจาเมืองลาว ไดสมัครพรรค พวกอพยพขามแมน้ำโขง คอยๆ เลือกที่อยูหนีสัตวรายและไขปาจนใน  ที่สุดก็มาตั้งบานเรือนอยูที่ริมแมน้ำปาสักบริเวณบานนายมในปจจุบัน จากนั้นก็ทำการบุกเบิกถางปาเพื่อทำนาทำไร จนพื้นที่บริเวณนี้โลง เตียน แลวทำนาเพาะปลูกขาวเพื่อเลี้ยงครอบครัวและไพรพล บริเวณ  ที่นางยมตั้งหมูบานนั้นจึงมีชื่อวา “นานางยม” สวนบานเรือนที่มาตั้ง รวมกันเปนชุมชนก็เรียกวา “บานนางยม” ตอมา นางยมก็พาชาวบานสรางพระนอนขึ้นเพื่อเปนที่สักการบูชา โดยใหหันพระพักตรไปทางทิศเหนือเพื่อหันกลับไปยังดินแดน ลาวบานเดิมของนางยม ปจจุบันก็คือพระพุทธรูปพระนอนที่ประดิษฐาน อยูภายในวัดพระนอน ซึ่งเปนพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบานนายม และใกลเคียงใหความเคารพศรัทธาเปนอยางมาก เมื่อนางยมถึงแก กรรมไปแลวชาวบานก็ยังเรียกชื่อ “บานนานางยม” หรือ “บานนาง ยม” เรื่อยมา แตตอมาเสียงก็กรอนหรือเพี้ยนมาเปน “บานนายม” ดังที่เรียกกันอยูในปจจุบัน (อบเชย ยินดี, สัมภาษณ; สุภาพร แผลง มา, สัมภาษณ; รัชนี มณีพันธ, สัมภาษณ)


37 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ พระพุทธรูปหลวงพอพระนอน วัดพระนอน มีมุขปาฐะทองถิ่นเลาวาเปนพระพุทธรูปที่นางยมซึ่งเปนชาวลาวสราง เมื่อพิจารณาจากมุขปาฐะเราไม สามารถที่จะกำหนดอายุ หรือศักราชที่เกิดเหตุการณเหลานี้ขึ้นมาได แตชาวบานสวนหนึ่งเชื่อวา บรรพบุรุษของตนเองอพยพมาจากลาว โดยมีคำบอกเลาสืบรุนตอ รุนกันมา ดังเชนเรื่องเลาของตนตระกูลนางอบเชย ยินดี ที่เลาวา  บรรพบุรุษของตนเปนชาวลาวที่อพยพมาเมื่อกวา ๒๐๐ ปมาแลว (อบเชย ยินดี, สัมภาษณ) นอกจากนี้ ภายในวัดพระนอนยังมีพระพุทธรูป โลหะปางมารวิชัยองคหนึ ่ง ขนาดหนาตักกวาง ๓๘ เซนติเมตร ความสูงรวมฐาน ๙๕ เซนติเมตร ซึ่งมีลักษณะทางพุทธศิลปเปน พระพุทธรูปศิลปะลานชางหรือศิลปะลาว ไมทราบที่มาแนชัด ทราบ แตเพียงวาเดิมประดิษฐานอยูขางๆ องคพระนอน ตอมาเจาอาวาสจึง นำมาเก็บรักษาไว บางคนก็เชื่อวาเปนพระพุทธรูปที่นางยมอัญเชิญมา จากลาวดวย (พระอธิการรอง ปุฺญนาโค, สัมภาษณ)


38 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พระพุทธรูปโลหะปางมารวิชัย ศิลปะลานชางหรือศิลปะลาว วัดพระนอน แตมุขปาฐะดังกลาวมีความขัดแยงกับหลักฐานทางประวัติ- ศาสตรโบราณคดีและศิลปกรรมอื่นๆ ที่พบในเขตชุมชนโบราณบาน นายมโดยเฉพาะพระพุทธรูปปูนปน ซากวิหารและพระเจดียที่เปน โบราณสถานนั้นสวนใหญเปนศิลปะอยุธยาและบางสวนเปนศิลปะ รัตนโกสินทรไมไดมีความเกี่ยวของหรือสอดคลองกับการเขามาตั้ง ถิ่นฐานของนางยมและชาวลาวแตอยางใด


39 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ผูเขียนสันนิษฐานวา ที่มาของการอธิบายชื่อชุมชนวามาจาก ชื่อ “บานนานางยม” หรือ “บานนางยม” นาจะเกิดขึ้นในเมื่อไมนานมา นี้ หรืออาจจะเกิดขึ้นหลังชวงศึกเจาอนุวงศ (พ.ศ. ๒๓๖๙ - ๒๓๗๑) เนื่องจากบริเวณบานนายมเปนอีกสมรภูมิสำคัญในการรบพุงระหวาง กองทัพสยามกับกองทัพเวียงจันทน ซึ่งมีความเปนไปไดวาหลังสงคราม สงบลงอาจมีการกวาดตอนชาวลาวหรือมีชาวลาวสวนหนึ่งอพยพ เขามาตั้งถิ่นฐานอยูบริเวณบานนายม อาจทั้งในชวงหลังศึกเจาอนุวงศ และหลังเหตุการณวิกฤตการณ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ที่สยาม ตองเสียดินแดนฝงซายแมน้ำโขงใหกับฝรั่งเศส ชวงเวลาดังกลาวก็ มีชาวลาวอพยพขามแมน้ำโขงมาอยูทางฝงขวาคอนขางมากเชนกัน ทั้งนี้ ในชุมชนบานนายมปจจุบันก็ยังมีคนบางกลุมที่สำเนียงภาษา คลายคลึงกับภาษาลาวและมีวัฒนธรรมเชนเดียวกับชาวลาว (สุภาพร แผลงมา, สัมภาษณ) เพื่ออธิบายที่ไปที่มาและสรางอัตลักษณของ กลุมชาวลาวที่อพยพเขามาอยูในภายหลัง ดังนั้น ชื่อ “บานนายม” จึงเปนชื่อเกาแกที่ยากจะสืบคนที่มา ของคำวา “นายม” ได ซึ่งตองอาศัยผูรูมาชวยกันศึกษาสืบคนตอไป แต  ที่ชัดเจนคือ ชื่อ “นายม” มีการใชมาตั้งแตปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เปนอยางนอย และมีการใชเรื่อยมาจนถึงปจจุบัน


40 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


41 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือชวงเวลาประมาณพุทธศตวรรษ ที่ ๒๒ - ๒๓ การขยายตัวทางการคาของปากับชาวตางชาติ ไมวาจะ เปนชาวจีน ญี่ปุนและชาติตะวันตกไดเริ่มรุงเรืองขึ้น และเนื่องจากวา หัวเมืองฝายเหนือของกรุงศรีอยุธยา (ซึ่งก็คือบริเวณภาคเหนือตอนลาง ในปจจุบัน) เปนแหลงของปาซึ่งเปนสินคาสงออกที่สำคัญของกรุงศรี- อยุธยา (วรางคณา นิพัทธสุขกิจ, ๒๕๕๐: ๒๑ - ๕๐) จากการศึกษาของสายชล สัตยานุรักษ พบวาในชวงสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลายอย างนอยก็นับตั้งแต สมัยสมเด็จพระ นารายณมหาราชลงมา สังคมอยุธยาไดปนปวนอยางมาก เนื่องจาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สงผลใหเจานาย ขุนนางและไพรตางก็ เขามาทำการคาในระบบเงินตรา ไดเกิดคนอีกกลุมหนึ่งคือ “ไพรมั่งมี” ซึ่งสามารถเสียเงินแทนการเขาเวรรับราชการ ทำใหสังคมและเศรษฐกิจ ในขณะนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง กลุมไพรตองการเปนอิสระมากขึ้น ดวยเหตุนี้ไพรจึงหนีออกจากระบบดวยวิธีการตางๆ เชนหนีเขาปาเพื่อ  เก็บของปามาขาย (สายชล สัตยานุรักษ, ๒๕๔๖: ๓๗ - ๓๘) ตอนที่ ๕ บานนายมกับการคาของกรุงศรีอยุธยา


42 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ช วงเวลาดังกล าวคงมีผูคนขยับขยายพื้นที่การเกษตรและ เลือกหาตั้งถิ่นฐานในบริเวณแหลงทรัพยากรธรรมชาติที่เปนสินคา ของปาสามารถสงสวยแทนการถูกเกณฑแรงงานได ชาวเมืองเพชรบูรณ คงขยับขยายการตั้งบานเรือนไปตามพื้นที่ลุมแมน้ำปาสักทางตอนใต มากขึ้น ซึ่งมีที่ราบลุมกวางขวาง แหลงน้ำมีความอุดมสมบูรณ และ เปนเสนทางคมนาคมที่เชื่อมระหวางชุมชนตอนในและแหลงของปาที่ อยูทางทิวเขาทางทิศตะวันตกตามคลองวังชมภูได ตำแหนงที่ตั้งชุมชน บานนายมจึงเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานของผูคนในชวงเวลาดังกลาว เปนอยางยิ่ง ในเอกสารพรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา เอกสาร จากหอหลวง (ฉบับความสมบูรณ) ซึ่งสันนิษฐานวา ตนฉบับเดิมอาจ ไดบันทึกขึ้นตามพระกระแสรับสั่งของพระมหากษัตริยหรือรับสั่งของ เจานายพระองคใดพระองคหนึ่งในสมัยตนกรุงรัตนโกสินทร ที่กลาวถึง สภาพบานเมืองของกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระเจาอยูหัวบรมโกศ ไดมีความตอนหนึ่งกล าวถึงเรือสินคาจากหัวเมืองฝ ายเหนือที่นำ สินคาลงไปขายที่กรุงศรีอยุธยา วา “อนึ ่ง เรือระแหงแขวงเมืองตาก แลเรือหางเหยี ่ยวเมือง เพชรบูรณนายมบรรทุกครั่ง กำยาน เหลกหางกุง เหลกลมเลย เหลก น้ำภี้ ใต หวาย ชัน น้ำมันยาง ยาสูบ เขา หนัง หนองา อนึ่ง เรือใหญ ทายแกว งชาวเมืองสวรรคโลกยแลหัวเมืองฝ ายเหนือบันทุกสินคา ตางๆ ฝายเหนือมาจอดเรือฃายริมแมน้ำแลในคลองใหญวัดมหาธาตุ ในเทศกาลนาน้ำ ๑” (วินัย พงศศรีเพียร, ๒๕๔๗: ๙๐)


43 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ จากบันทึกดังกลาวจะเห็นไดวา พอคาชาวเมืองเพชรบูรณ ไดนำสินคาประเภทของปาจำนวนมากลงไปขายที่กรุงศรีอยุธยาใน ชวงฤดูน้ำหลาก ซึ่งมีบริเวณจุดขายหรือตลาดอยูริมแมน้ำและคลอง แถววัดมหาธาตุ สินคาสำคัญ คือ ครั่ง, กำยาน, ขี้ไต, หวาย, ชัน, น้ำมันยาง, ยาสูบ, เขา, หนัง, และหนองา รวมทั้งสินคาประเภทแร เหล็ก คือ เหล็กหางกุง เหล็กน้ำพี้ และเหล็กที่มาจากแหลงเมืองหลมสัก และเมืองเลย ซึ่งนาจะเปนสินคาประเภทแรเหล็กเหลานี้นาจะเปน สินคาที่พอคาชาวเมืองเพชรบูรณรับมาจากพอคาชาวเมืองหลมสัก และเมืองเลยซึ่งอยูในบริเวณที่เปนแหลงแรเหล็กเหลานี้อีกทอดหนึ่ง ครั่ง นอกจากเอกสารพรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา แลว ยังมีหลักฐานในสมัยรัตนโกสินทรตอนตนระบุวา เมืองเพชรบูรณ เปนแหลงครั่งสำคัญและมีกองสวยครั่งขนาดใหญดวย (ขวัญเมือง จันทโรจนี, ๒๕๓๔: ๒๘๓ - ๒๘๔) ครั่ง เปนสินคาสำคัญตั้งแต สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงตน กรุงรัตนโกสินทรของเมือง เพชรบูรณ


44 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ กำยาน เปนยางของไมยืนตนชนิดหนึ่ง สูงราว ๑๕ เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมแดง มีรองตามยาว ใบรีรูปใบหอก ใบแกดานลาง มีขนขาวนุม ดอกสีขาวรูประฆัง ออกดอกเปนชอ ชันหรือยางไมของ กำยานมีกลิ่นหอม นำไปใชเปนสวนประกอบของประทีปจุดใหเกิดกลิ่น หอม กำยานที่มีขายในตลาดกรุงศรีอยุธยาสวนใหญมีรายงานวา แหลง กำยานมีมากทางภาคเหนือ และบางสวนมาจากลาว ซึ่งมีพอคาลาว นำสินคาบรรทุกเกวียนเดินทางขามภูมิภาคเขามายังกรุงศรีอยุธยา (วรางคณา นิพัทธสุขกิจ, ๒๕๕๐: ๓๙ - ๔๐) ผูเขียนสันนิษฐานวา กำยานจากเมืองเพชรบูรณนาจะไดจากในปาสวนหนึ่ง สวนหนึ่งนาจะ ไดจากการติดตอคาขายกับพอคาชาวลาว เพราะวาเมืองเพชรบูรณ อยูติดแดนกับศูนยอำนาจรัฐลานชางเวียงจันทน กำยาน เปนยางไมที่มีกลิ่นหอม มีความเปนไปไดวาพอคาชาว เมืองเพชรบูรณและบานนายมน าจะติดต อซื้อขายกำ ยานกับ พอคาชาวลาว ขี้ไต, หวาย, ชัน และน้ำมันยาง ถือเปนสินคาของปาที่ไดมา จากตนไมในปาโดยตรง โดยเฉพาะขี้ไตและชันที่ไดจากยางไม สวน น้ำมันยางนั้นก็มาจากยางของตนยางที่ไดจากการขุดลำตนแลวกอไฟ


45 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ยาสูบ เมืองเพชรบูรณและบริเวณลุมแมน้ำปาสักตอนบนเปนแหลง ปลูกยาสูบที่สำคัญและส งขายไปตามหัวเมืองต างๆ ตั้งแต สมัย กรุงศรีอยุธยาจนถึงปจจุบัน ยาสูบ ในเมืองเพชรบูรณมีการปลูกยาสูบจำนวนมากตั้งแต อดีตจนถึงปจจุบัน ชื่อเสียงของยาสูบเมืองเพชรบูรณเปนที่รูจักและโดง  ดังจากสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร ดังที่สมเด็จฯ กรม พระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ไดเสด็จมาตรวจ ราชการที่เมืองเพชรบูรณในป พ.ศ. ๒๔๔๗ ทรงพระนิพนธไววา สินคาสำคัญของเมืองเพชรบูรณ คือ ยาสูบ เพราะรสดีกวายาสูบที่ อื่นหมดทั้งเมืองไทย ชาวเมืองเพชรบูรณจึงหาผลประโยชนดวยปลูก ยาสูบขายเปนพื้น และสงขายไปตามบานเมืองใกลเคียง จนถึงกรุงเทพ มหานคร (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ๒๕๔๓: ๑๓๒) เผาเพื่อใหน้ำยางซึมหยดออกมาเปนจำนวนมาก ของปาเหลานี้ก็คง ไดจากปาภายในเมืองเพชรบูรณนี้เอง เพราะเมืองเพชรบูรณเปนเมือง ที่อยูในแองมีภูเขาลอมรอบเกือบทุกดาน


46 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ เขา, หนัง, และหนองา “เขา” ในที่นี้ก็คงหมายถึง เขาสัตว พวกเขากวางและเขาควาย เปนตน “หนองา” ในที่นี้ก็คงหมายถึง “นอ” พวกนอแรด (นอระมาด) นอกระซู “งา” ก็คงหมายถึงงาชาง นอกจากนี้ ยังมีขอมูลวาชางที่ศูนยอำนาจรัฐกรุงศรีอยุธยาสงออกไปขายนั้นสวน หนึ่งมาจากเมืองเพชรบูรณดวย (วรางคณา นิพัทธสุขกิจ, ๒๕๕๐: ๓๓) สวน “หนัง” ในที่นี้ผูเขียนสันนิษฐานวาคงหมายถึง หนัง กวาง เพราะมีขอมูลวาเมืองเพชรบูรณเปนเมืองหนึ่งที่เปนแหลงหนัง กวาง (วรางคณา นิพัทธสุขกิจ, ๒๕๕๐: ๒๘) ในสมัยพระเจาปราสาท ทอง พอคาชาวญี่ปุนตองการหนังกวางจำนวนมากไปเปนวัตถุดิบทำ เครื่องหนังและเสื้อหนัง ถุงมือ รวมทั้งทำซองปน สวนหนังกวางเนื้อ ออนใชสำหรับเช็ดเลนส (วรางคณา นิพัทธสุขกิจ, ๒๕๕๐: ๓๐) สินคาของปาและแรธาตุเหลานี้ นอกจากจะถูกสงมารวบรวม  ที่เมืองเพชรบูรณแลว สินคาสวนหนึ่งที่มาจากบริเวณทางตอนใตของ เมืองเพชรบูรณและใกลเคียงนาจะถูกลำเลียงมารวบรวมที่บริเวณ ชุมชนโบราณบานนายม เมื่อถึงเวลาน้ำหลากก็ลองเรือลงไปยังกรุงศรี อยุธยาพรอมๆ กับขบวนเรือของพอคาเมืองเพชรบูรณ จนทำใหเกิด การเรียกชื่อบานนายมตอทายชื่อเมืองเพชรบูรณวา “เพชรบูรณนายม” ดังไดกลาวมาแลว การรวบรวมสินคาน าจะเกิดขึ้นในช วงฤดูแลง เนื ่องจาก สามารถเดินทางไปติดต อกับชุมชนที่อยู ตอนในและเขตเทือกเขา คอนขางสะดวกกวาในชวงฤดูฝน สินคานาจะถูกสงมารวบรวมไวกอน ที่จะนำลงเรือบรรทุกสินคาลงไปที่กรุงศรีอยุธยาในชวงหนาน้ำหลาก


47 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ เนื่องจากเปนช วงเวลาเดียวที่สามารถเดินเรือในแม น้ำ ป าสักได อยางสะดวก บริเวณที่พอคาจากเมืองเพชรบูรณและบานนายมนำ สินคาลงไปขายนั้นคือ ตลาดหนาวัดมหาธาตุ ซึ่งถือเปนตลาดสำคัญ ที่พอคานำผลิตผลทางหัวเมืองฝายเหนือใสเรือมาจอดเรียงรายขาย สินคา ตลาดนี้นับวามีความสำคัญตอการคาภายในกับตลาดที่อยู ภายในกำแพงเมือง (ชาญวิทย เกษตรศิริ, ๒๕๕๐: ๒๗๒) เสนทางการขนสงสินคาจากชุมชนโบราณบานนายมไปยัง กรุงศรีอยุธยานั้น สามารถเดินทางไดทั้งทางบกและทางเรือ นาจะ เปนเสนทางเดียวกันกับเสนทางคมนาคมที่ใชกันในสมัยรัตนโกสินทร หรือชวงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ซึ่งมีเสนทางสำคัญ ๒ สาย ดังนี้ เสนทางที่ ๑ เปนเสนทางเรือซึ่งเวลาที่นำสินคาลงไปขายที่ กรุงศรีอยุธยาก็จะสามารถนำสินคาลงไปทางเรือไดทางเดียวกัน คือ ลองเรือไปตามแมน้ำปาสัก ผานเมืองทาโรง เมืองชัยบุรี และเมือง สระบุรี เรือที่ใชในการนำสินคาลงไปนั้น ตามหลักฐานประวัติศาสตร ระบุวาเปน “เรือหางเหยี่ยว” ซึ่งมีลักษณะคลายเรือหางยาว หางเรือ แผกางออกคลายหางเหยี่ยว กลางลำเรือปองเล็กนอย ในแมน้ำปาสักฤดูแลงเรือใหญไมสามารถลองได เพราะใน แมน้ำมักจะมีขอนไมที่พังจากตลิ่งกีดขวางทางเรือตลอดสาย ดังนั้น หากเรือใหญจะขนสินคาจากเมืองเพชรบูรณลงไปขายที่กรุงศรีอยุธยา ก็ตองอาศัยลองเรือในฤดูน้ำหลากเทานั้น เพราะเรือบรรทุกสินคา เหลานั้นไมไดขึ้นลองในแมน้ำตลอด การลองเรือสินคาในสมัยรัตนโกสินทรจากพระนิพนธสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพบันทึก ไววา


48 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ “...ประเพณีของพอคาเมื่อใกลจะถึงเวลาน้ำหลากเขาบรรทุกสินคาลง เรือเตรียมไว พอน้ำทวมฝงก็ลองเรือหลีกแมน้ำปาสักตอนมีไมลมกีด ขวาง ไปตามที่ลุมที่น้ำทวมบนตลิ่งจนถึงที่กวางพนเครื่องกีดขวางทาง แมน้ำปาสัก เมื่อสงสินคาแลวก็รีบซื้อของในกรุงเทพฯ บรรทุกกลับ ไปใหทันฤดูน้ำ พอถึงเมืองเพชรบูรณก็เอาเรือขึ้นคาน เรือบรรทุกสินคา ขึ้นลองแตปละครั้งเดียวเทานั้น...” (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ๒๕๔๓: ๑๓๘) นาจะสะทอนใหเห็นภาพการลองเรือสินคาจากชุมชน โบราณบานนายมไปยังกรุงศรีอยุธยาในสมัยกรุงศรีอยุธยาไดใน ระดับหนึ่ง เรือเมืองเพชรบูรณในแมน้ำปาสักหนาแลงจากภาพถายเกา สะทอน ใหเห็นถึงการสัญจรและขนสงสินคาจากชุมชนโบราณบานนายมใน สมัยอยุธยาไดระดับหนึ่ง


49 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ เสนทางที่ ๒ เปนเสนทางบกที่เดินทางจากชุมชนโบราณบานนายม ไปยังกรุงศรีอยุธยาโดยผานทางเมืองพิจิตร และเมืองนครสวรรคซึ่ง อยูในลุมแมน้ำเจาพระยา เสนทางนี้เริ่มตนจากทองที่อำเภอบางมูล นากในจังหวัดพิจิตรปจจุบัน ไปเมืองเพชรบูรณ เสนทางนี้ยังเปนเสน ทางที่พอคาในบริเวณที่ราบลุมแมน้ำนานนำสินคาไปจำหนายยังเมือง เพชรบูรณและชุมชนใกลเคียงดวย และเสนทางดังกลาวทำใหชุมชน โบราณบานนายมและเมืองเพชรบูรณเชื่อมตอกับหัวเมืองฝายเหนือ แถบลุมแมน้ำนาน โดยจะเริ่มตนที่บางมูลนาก ผานเมืองภูมิ บาน กำบาง บานโภช บานกองทูล บานนาเฉลียง บานนายม และถึงเมือง เพชรบูรณ (ขวัญเมือง จันทโรจนี, ๒๕๓๔: ๑๗๑) เสนทางดังกลาวในคราวสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการเมืองเพชรบูรณในป พ.ศ. ๒๔๔๗ ก็ไดใชเสนทาง นี้ในการเดินทาง (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ๒๕๔๓: ๑๒๙ - ๑๓๐) เพราะแมน้ำปาสักจะมีอุปสรรคในการเดินทางในฤดูแลง ดังไดกลาวมาแลว สวนในทองถิ่นลุมแมน้ำปาสักในเมืองเพชรบูรณ พบวามีการ ใช “เรือพายมา” (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ๒๕๔๓: ๑๓๖ - ๑๓๗) ซึ่งเปนเรือขุดชนิดหนึ่งที่นิยมขุดจากซุงไมสักหรือไม ตะเคียน มีกงตั้งและเสริมกราบ มีหูกระตาย หัวและทายเรือแบบนี้ งอนสูงเทาๆ กัน ฉะนั้นจึงกลับขางใดขางหนึ่งใหเปนหัวหรือทายไดทันที ทำใหเคลื่อนที่ไดโดยใชพายหรือแจว และสามารถหลบหลีกขอนไม ในแมน้ำไดสะดวก สำหรับเรือพายมาที่มีขนาดใหญ ทายเรือจะมี ประทุนสำหรับพักอาศัย และใชแจวแทนการใชพาย


Click to View FlipBook Version