The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มบ้านนายม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บ้านนายม

เล่มบ้านนายม

50 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


51 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ จากหลักฐานและขอมูลดังไดแสดงใหทราบแลววา ชุมชน โบราณบานนายมเปนชุมชนโบราณที่มีบทบาททางดานการคาภายใน ลุมแมน้ำปาสักตอนบนอยูไมนอย จึงทำใหบุคคลภายนอกมีการเรียกชื่อ ชุมชนบานนายมคูกับเมืองเพชรบูรณ สินคาที่พอคาจากเมืองเพชรบูรณ และบานนายมนำลงไปขายนั้นจะเปนกลุมสินคา “ของปา” และแรธาตุ ซึ่งไดแก ครั่ง กำยาน ขี้ไต หวาย ชัน น้ำมันยาง ยาสูบ เขาสัตว หนังสัตว นอแรด งาชาง เหล็กหางกุง เหล็กจากเมืองหลมสักและ เมืองเลย และเหล็กน้ำพี้ ซึ่งสินคาเหลานี้ไมนาจะเปนของที่ผลิตไดใน เขตบานนายมทั้งหมด หากแตนาจะเกิดจากการรวบรวมสินคาของ พอคาโดยอาศัยตำแหนงที่ตั้งของชุมชนที่เปน “ชุมทาง” สามารถเชื่อม ตอกับชุมชนโบราณที่อยูตอนในได กลุมคนที่นำสินคามาแลกเปลี่ยน นั้นนาจะเปนกลุมไพรสวยที่ตองการอิสระออกมาหาของปาสงสวย แทนการรับราชการ “เขาเดือน - ออกเดือน” ตอนที่ ๖ โบราณสถานกับรองรอยการขยายตัว ของชุมชนบานนายม ในพุทธศตวรรษที่ ๒๓


52 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ในชวงเวลาดังกลาวยังพบวา ในบริเวณชุมชนโบราณบาน นายมนาจะมีการสรางศาสนสถานขึ้นหลายแหง สวนใหญเปนงาน ศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ จากการสำรวจของผูเขียนพบวาภาย ในชวงเวลาดังกลาวในชุมชนโบราณบานนายมมีรองรอยวัดโบราณ อยางนอย ๑๐ แหง ซึ่งปจจุบันบางแหงยังมีสถานะเปนวัด บางแหง ก็กลายเปนวัดรางและถูกทำลาย ดังนี้ ๑. วัดเกาะแกว ตั้งอยูทางทิศตะวันตกของชุมชนบานนายม บริเวณที่ตั้งวัดมีลักษณะคลายเกาะคือมีน้ำจากคลองวังชมภูลอมรอบ ทุกดาน ภายในวัดเกาะแกวนอกจากจะมีโบสถดังที่ไดกลาวมาแลว ดานหนาโบสถยังมีพระเจดียยอมุมทรงเครื่อง มีรูปทรงคอนขางชะลูด ศิลปะอยุธยาตอนปลายจำนวน ๗ องค ปจจุบันเหลืออยูในสภาพ สมบูรณ ๔ องค พระเจดียศิลปะอยุธยาตอนปลายที่หนาโบสถวัดเกาะแกว


53 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ๒. วัดโบสถโพธิ์ทอง ตั้งอยูทางทิศเหนือของชุมชนบาน นายม เปนโบราณสถานที่มีขนาดใหญที่สุดในเขตชุมชนโบราณบาน นายม ภายในวัดพบอาคารกอดวยอิฐภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปูนปน หันหนาไปทางทิศเหนือ ชาวบานเรียกวา “โบสถขวางตะวัน” แตจากการสำรวจและสอบถามชาวบานกลับพบวารอบๆ อาคาร ดังกลาวไมมีรอยรอยการพบชิ้นสวนใบเสมาแตอยางใด อาคารหลังนี้  จึงนาจะเปนวิหารมากกวา ดานหลังเจดียมีการพบรองรอยของพระ เจดียกออิฐจำนวน ๒ องค จากสภาพที่พบในปจจุบัน พบวาอาคารนี้ผนังดานขางและ ดานหนาไดพังทลายและมีการใชอิฐเก าก อผนังขึ้นมาใหม ที่ช องเสา ดานใน เนื่องจากวาผังของฐานอาคารในปจจุบันมีความกวางประมาณ ๑๔.๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๑๘ เมตร แตสวนที่มีการกอผนังนั้น อยูในผังขนาดความกวางประมาณ ๕.๖๐ เมตร ยาวประมาณ ๙.๓๐ เมตร ลักษณะการกอผนังปจจุบันไมสมดุลกับชองเสาและชองหนาตาง ที่ทำขึ้นมาใหม บริเวณฐานอาคารดานนอกมีรองรอยของเสาที่กอดวย  อิฐเปนแนวหลงเหลืออยูทั้ง ๒ ดาน และมีการพบเศษกระเบื้องมุง หลังคาที่ทำดวยดินเผากระจัดกระจายอยูโดยรอบ ซึ่งแสดงใหเห็นวา เดิมอาคารหลังนี้มีขนาดใหญกวาปจจุบัน แตนาจะพังทลายหรือถูก ทิ้งรางในชวงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ จากภาวะสงครามระหวาง สยามกับเวียงจันทนก็เปนได ภายหลังจึงมีการกอผนังและมุงหลังคา ครอบพระพุทธรูปไว ทำใหพระพุทธรูปสวนใหญอยูในสภาพสมบูรณ จนถึงปจจุบัน


54 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ สภาพอาคารโบราณสถานที่ชาวบานเรียกวา “โบสถขวางตะวัน” ภายในวัดโบสถโพธิ์ทองในปจจุบัน ภายในอาคารมีพระพุทธปูนปนประดิษฐานอยูจำนวน ๘ องค พระประธานเปนพระพุทธรูปปูนปนปางมารวิชัย ขนาดหนาตักกวาง ๑.๗๐ เมตร ซึ่งเปนพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญที่สุดภายในอาคาร มี รองรอยการลงรักปดทอง พระพักตรคอนขางกลมมน พระขนงโกง เปลือกพระเนตรใหญ พระนาสิกโดงงุมปลายเล็กนอย พระโอษฐเล็ก และบาง ขมวดพระเกศาเล็กถี่ พระรัศมีเปนเปลวสั้น พระวรกายคอน ขางอวบ นิ้วพระหัตถทั้งสี่เรียงยาวเสมอกัน สังฆาฏิยาวลงมาจรด พระนาภี ปลายสังฆาฏิตัดตรง และมีพระพุทธรูปบริวารที่ยังมีสภาพ สมบูรณอยูอีก ๗ องค


55 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ กลุมพระพุทธรูปปูนปนภายในอาคารโบราณสถานวัดโบสถโพธิ์ทอง ลักษณะทางพุทธศิลปโดยทั่วไปของพระพุทธรูปปูนปนภาย ในอาคาร สวนพระพักตรคอนขางเสี้ยม พระขนงโกง เปลือกพระ เนตรใหญ พระนาสิกโดงงุมปลายเล็กนอย พระโอษฐอิ่มคอนขางบาง ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมียาวแหลม พระวรกายสมสวน นิ้ว พระหัตถทั้งสี่เรียงยาวเสมอกัน หนาตักกวาง สังฆาฏิยาวลงมาจรด พระนาภี ปลายสังฆาฏิตัดตรง ที่นาสนใจคือ พระพุทธรูปบริวาร จำนวน ๒ องคที่อยูสองฝงของพระประธานในแนวระดับเดียวกัน เปน พระพุทธรูปทรงเครื่องนอย ทรงสวมมงกุฎซึ่งประกอบดวยกระบัง หนาและรัดเกลา กุณฑลและพาหุรัด


56 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ เมื่อพิจารณาลักษณะทางพุทธศิลปของพระพุทธรูปทรง เครื่องนอย ๒ องค ที่อยูภายในอาคารซึ่งสามารถกำหนดชวงอายุการ สรางและศิลปะไดคอนขางชัดเจน เทียบเคียงกับพระพุทธรูปศิลปะตางๆ  ในประเทศไทยและสมัยกรุงศรีอยุธยาแลว พบวาพระพุทธรูปทรง เครื่องนอยเปนพระพุทธรูปที่นิยมสรางขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง หรือราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (รุงโรจน ธรรมรุงเรือง, ๒๕๕๓: ๑๔๐ - ๑๔๑) จึงมีความเปนไปไดวาบริเวณ รอบๆ วัดโบสถโพธิ์ทองอาจจะมีการตั้งชุมชนขึ้นในชวงเวลาใกลเคียง หรือหลังจากการตั้งชุมชนที่บริเวณรอบวัดเกาะแกวเล็กนอย เนื่อง จากงานศิลปกรรมที่พบนั้นมีอายุใกลเคียงกัน พระพุทธรูปปูนปนปางมารวิชัย ทรงเครื่องนอย ๒ องค ภายในอาคารโบราณสถานวัดโบสถโพธิ์ทอง


57 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ๓. วัดพระนอน ตั้งอยูริมคลองวังชมภูทางฝงซายซึ่งเปน บริเวณศูนยกลางของชุมชนบานนายมในปจจุบัน วัดพระนอนเปนวัด สำคัญประจำชุมชนบานนายม เนื่องจากเปนที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพอพระนอนซึ่งเปนพระพุทธรูปปางไสยาสนปูนปนที่ชาวบาน นายมใหความเคารพนับถือเปนอยางมาก หลวงพอพระนอนมีลักษณะ หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก หันพระพักตรไปทางทิศเหนือ มี ความยาวประมาณ ๙ เมตร ไดรับการบูรณปฏิสังขรณหลายครั้ง จนยากจะกำหนดอายุการสรางจากงานศิลปกรรมหรือลักษณะทาง พุทธศิลปที่ปรากฏในปจจุบันได ทราบแตเพียงวาเดิมประดิษฐานอยู กลางแจง ตอมาพระสงฆและชาวบานไดชวยกันสรางอาคารไมครอบ ไว (สวาง จานสี, สัมภาษณ) กอนที่จะเปนอาคารคอนกรีตในปจจุบัน พิจารณาจากภาพถายเกากอนการลงสีทอง สันนิษฐานวานาจะเปน พระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลาง ภายในโบสถวัดพระนอนเปนที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพอพระนั่ง พระประธานในโบสถวัดพระนอนซึ่งเปนโบราณสถาน สำคัญแหงหนึ่งในชุมชนบานนายม หลวงพอพระนั่งเปนพระพุทธรูป ปูนปนปางมารวิชัย ลงรักปดทอง หันพระพักตรไปทางทิศตะวันออก ขนาดหนาตักกวาง ๑.๕๐ เมตร โบสถวัดพระนอนสรางอยูบนร องรอย ซากฐานโบสถเดิมในป พ.ศ. ๒๕๑๔ และไดรับการบูรณปฏิสังขรณใหม แลวเสร็จในป พ.ศ. ๒๕๕๕ (พระอธิการรอง ปุฺญนาโค, สัมภาษณ) เนื่องจากวาพระพุทธรูปหลวงพอพระนั่งไดรับการบูรณปฏิสังขรณ หลายครั้ง อาจมีการซอมแซมจนทำใหลักษณะทางพุทธศิลปถูกปรับ เปลี่ยนจนเปนลักษณะดังที่ปรากฏในปจจุบัน จึงทำใหกำหนดอายุการ สรางไดไม่ชัดเจน


58 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พระพุทธรูปหลวงพอพระนั่ง วัดพระนอน ซากฐานพระเจดียกอดวยอิฐภายในวัดสะอาด ๔. วัดสะอาด ตั้งอยูริมคลอง วังชมภูทางฝงซายทางทิศตะวันออกเฉียง ใตของวัดพระนอน เดิมทีนั้นวัดสะอาด เคยเปนวัดที่มีพระสงฆจำพรรษาอยูตอ มาไมมีพระสงฆเขามาจำพรรษาจึงถูก ทิ้งราง (สุภาพร แผลงมา, สัมภาษณ)  ภายในวัดมีการพบซากฐานพระเจดีย กอดวยอิฐในผังสี่เหลี่ยม ขนาดประมาณ ๓ x ๓ เมตร และมีการพบบอน้ำโบราณ ในบริเวณวัดดวย


59 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ โบสถเกาวัดเสาธงทอง ซึ่งชาวบานเลาวาสรางครอบทับซากอาคารโบราณ  ๕. วัดเสาธงทอง ตั้งอยูริมคลองวังชมภูทางฝงขวาทางทิศ ตะวันตกของชุมชนบานนายม แตเดิมชาวบานเรียกชื่อวัดวา “วัดสะทุง” (รัชนี มณีพันธ, สัมภาษณ) ปจจุบันไมพบรองรอยโบราณสถานแลว เนื่องจากวามีการสรางอาคารครอบทับไว ๖. วัดสะทัน เปนวัดรางตั้งอยูริมคลองวังชมภูทางฝงขวาทาง ทิศตะวันตกของชุมชนบานนายม ตั้งอยูภายในบริเวณวัดเสาธงทอง ในปจจุบัน ชาวบานเขาใจวาเปนวัดคูแฝดกับวัดเสาธงทอง ดังที่มีการ เรียกชื่อ “วัดสะทุง” และ “วัดสะทัน” คูกัน (สุภาพร แผลงมา, สัมภาษณ) บริเวณวัดสะทันปรากฏเนินดินที่เปนซากฐานอาคารกอดวยอิฐขนาด ประมาณ ๖ x ๑๐ เมตร และยังมีซากฐานพระเจดียกอดวยอิฐดวย


60 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ เนินดินที่มีซากอาคารและซากพระเจดียบริเวณวัดสะทัน (ราง)  ตนโพธิ์บริเวณวัดใหม (ราง) ภายในโรงเรียนบานนายม  ๗. วัดใหม เปนวัดรางตั้งอยูริมคลองวังชมภูทางฝงขวา ปจจุบันเปนที่ตั้งของโรงเรียนบานนายมไมปรากฏรองรอยโบราณ สถานแลว มีเพียงตนโพธิ์ขนาดใหญเปนจุดสังเกต (พินิจ นพมาก, สัมภาษณ)


61 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ บริเวณวัดกลวย (ราง) ปจจุบันเปนที่ตั้งตลาดโพธิ์เย็น  ๘. วัดหมอน เปนวัดรางตั้งอยูริมคลองวังชมภูทางฝงขวา ปจจุบันเปนที่ตั้งของโรงเรียนบานนายม ตรงขามกับวัดพระนอน ไม ปรากฏรองรอยโบราณสถานแลว (อบเชย ยินดี, สัมภาษณ) ๙. วัดกลวย เปนวัดรางตั้งอยูริมคลองวังชมภูทางฝงซาย เดิมมีซากพระเจดียกอดวยอิฐ ตอมาถูกปรับพื้นที่จนทำใหไมเหลือ รองรอยโบราณสถาน (อบเชย ยินดี, สัมภาษณ) ปจจุบันเปนที่ตั้ง ตลาดโพธิ์เย็น ซึ่งเปนตลาดจำหนายสินคาและอาหารในชวงเย็นของ ชุมชนบานนายม ๑๐. วัดสวนจินดา เปนวัดรางตั้งอยูริมคลองวังชมภูทางฝง ขวา เปนโบราณสถานที่อยูใกลปากคลองวังชมภูมากที่สุด เดิมมีซาก อาคารกอดวยอิฐและตนโพธิ์ขนาดใหญ ตอมาถูกปรับพื้นที่จนทำให ไมเหลือรองรอยโบราณสถาน (ปูน มามี, สัมภาษณ) ปจจุบันเปนที่  ตั้งบานเรือนของชาวบาน แตยังมีบอน้ำโบราณเหลือเปนสัญลักษณอยู


62 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ บอน้ำโบราณซึ่งยังเหลือเปนสัญลักษณของวัดสวนจินดา (ราง)  นอกจากนี้ ทางทิศตะวันออกทางฝงซายของแมน้ำปาสักตรง ขามกับชุมชนโบราณบานนายมยังมีภูเขาหินปูนลูกยอมๆ บนเขามีถ้ำ หินปูนชาวบานเรียกวา “ถ้ำน้ำบัง” ถ้ำน้ำบังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งวา “ถ้ำนายม” เปนถ้ำศักดิ์สิทธิ์ แตเดิมภายในถ้ำมีพระพุทธรูปบุเงินขนาด เล็กและพระพุทธรูปไมอยูจำนวนมาก ปจจุบันสูญหายเกือบหมดแลว ถ้ำน้ำบังคงเปนถ้ำศักดิ์สิทธิ์ที่คนในชุมชนโบราณบานนายมใหความ นับถือมากอน ดังมีการพบพระพุทธรูปโบราณจำนวนมากภายในถ้ำ มากอน พระอาจารยชอบ ฐานสโม วัดปาสัมมานุสรณ จังหวัดเลย ซึ่งเปนพระกรรมฐานศิษยพระอาจารยมั่น ภูริทตฺโต ก็เคยมาพักจำ พรรษาที่ถ้ำแหงนี้ ดวยเปนสถานที่เหมาะแกการเจริญภาวนาและยัง เปนที่อยูของเหลาเทวดา (สุรีพันธุ มณีวัต, คุณหญิง, ๒๕๕๙: ๑๒๘ - ๑๓๒) ซึ่งเกี่ยวของกับความเปนถ้ำศักดิ์สิทธิ์ของทองถิ่นอีกดวย


63 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ถ้ำน้ำบัง ถ้ำศักดิ์สิทธิ์ริมแมน้ำปาสักในเขตชุมชนโบราณบานนายม การพบรองรอยโบราณสถานสมัยอยุธยาตอนปลายกระจาย  อยูโดยรอบชุมชนโบราณบานนายมในปจจุบัน ไดสะทอนใหเห็นวา อยางนอยในชวงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ชุมชนโบราณบานนายมไดเกิด การขยายตัวเปนอยางมาก นาจะมีผูคนจำนวนมากเขามาตั้งถิ่นฐาน บานเรือนเพื่อทำการคาขายและประกอบอาชีพอื่นๆ การกอสรางโบสถ  วิหารและพระเจดียซึ่งจะตองใชเงินเปนจำนวนมากในการสรางที่เกิด ขึ้นจำนวนมากในชวงเวลาดังกลาว ยังสะทอนใหเห็นวาชุมชนโบราณ บานนายมในชวงเวลานี้มีความเจริญรุงเรืองเปนอยางมาก นาจะมี ผูคนเขาทำการคาและสัญจรไปมาอยางคึกคัก


64 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ การขยายตัวของชุมชนโบราณบานนายมและการขยายตัว ทางการคาในบริเวณนี้ ยังสงผลใหเกิดชุมชนโบราณระดับหมูบาน กระจายอยู ตามเสนทางคมนาคมโบราณที่เชื่อมจากชุมชนโบราณ บานนายมไปยังเมืองเพชรบูรณ ดังมีการพบรองรอยโบราณสถาน ศิลปะอยุธยาตอนปลายหลายแหงอยูระหวางเสนทางจากบานนายม ไปยังเมืองเพชรบูรณ เชน โบราณสถานวัดทุงเรไร โบราณสถาน วัดใน และโบราณสถานวัดศิลาดอกไม ในเขตตำบลชอนไพร อำเภอ เมืองเพชรบูรณ เปนตน ซากพระเจดียบริเวณโบราณ สถานวัดใน (ราง)  ในเขตตำบลชอนไพร ซากฐานพระเจดียโบราณ วัดศิลาโมง ในเขตตำบล วังชมภู


65 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ แผนที่แสดงตำแหนงที่ตั้งวัดโบราณ ในเขตบานนายมทั้ง ๑๐ วัด ในขณะเดียวกันก็มีการพบรองรอยโบราณสถานศิลปะ อยุธยาตอนปลายหลายแหงอยูตามเสนทางจากบานนายมไปยังชอง เขารังซึ่งเปนทางเชื่อมไปยังเมืองพิจิตรและบานเมืองในลุ มแม น้ำ นาน เชน โบราณสถานวัดชางเผือก และโบราณสถานวัดศิลาโมง ตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ เปนตน การพบรองรอยโบราณ  สถานเหล านี้สะทอนใหเห็นถึงการมีอยู ของชุมชนขนาดเล็กระดับ หมูบานตามเสนทางคมนาคมจากชุมชนโบราณบานนายมไปยังเมือง ใหญหรือแหลงทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถนำมาแปรรูปใหเปน สินคาเพื่อสงลงไปขายยังกรุงศรีอยุธยาได ¤ÅͧÇѧªÁÀÙ ñ ò ó ô ø ÷ ù ñð õ ö áÁ‹¹éÓ»†ÒÊÑ¡


66 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


67 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ในชวงตนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ภายในศูนยอำนาจรัฐกรุง ศรีอยุธยาเกิดความขัดแยงและแกงแยงอำนาจกันขึ้นในหมูเจานาย ทำ ใหเกิดความอ อนแอและประสบความลมเหลวของระบบราชการ บริหารบานเมือง พระเจาอลองพญาแหงศูนยอำนาจรัฐกรุงอังวะ ซึ่ง เปนศูนยอำนาจรัฐแหงใหมแทนศูนยอำนาจรัฐกรุงหงสาวดีในดินแดน พมาปจจุบัน จึงไดโอกาสยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในป พ.ศ. ๒๓๐๓ แตไมประสบผลสำเร็จ ตอมาในป พ.ศ. ๒๓๐๗ พระเจามังระพระ ราชโอรสพระเจาอลองพญาไดเสวยราชสมบัติในศูนยอำนาจรัฐกรุง อังวะจึงยกทัพใหญมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง การยกทัพมาครั้งนี้ไดทำใหเกิดความวุนวายและระส่ำระสาย ภายในศูนยอำนาจรัฐกรุงศรีอยุธยาเปนอยางมาก กองทัพกรุงอังวะ ที่เปนทัพหลวงยกมาทางดานพระเจดียสามองค เมืองกาญจนบุรี แต มีกองทัพสวนหนึ่งของเนเมียวสีหบดี (โปชุปผลา) ยกลงมาจากเมือง เชียงใหมผานเมืองสวรรคโลกและมาตั้งทัพที่เมืองสุโขทัย เพื่อปดสกัด ไมใหกองทัพหัวเมืองยกลงมาชวยกองทัพกรุงศรีอยุธยาที่กำลังจะถูก ตอนที่ ๗ บานนายม กับสถานการณในชวงตนพุทธศตวรรษที่ ๒๔


68 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ปดลอม (สุเนตร ชุตินธรานนท, ๒๕๕๒: ๓๙ - ๔๐) ทำใหบานเมือง ในละแวกนั้นไดรับความเสียหายและผลกระทบรุนแรง ในขณะที่ทาง ลุมแมน้ำนาน เชน เมืองพิชัย เมืองพิจิตรและเมืองพิษณุโลกไมคอย ไดรับผลกระทบจากกองทัพกรุงอังวะมากนัก เพราะไมอยูในเสนทาง เดินทัพของกองทัพกรุงอังวะ แตเจาเมือง กรมการและไพรพลสวนใหญ  ถูกพระเจาเอกทัศน พระมหากษัตริยในราชวงศบานพลูหลวงแหง กรุงศรีอยุธยาเรียกลงไปชวยรับศึกที่กรุงศรีอยุธยา ดวยตำแหนงที่ตั้งของเมืองเพชรบูรณซึ่งอยูในแองหุบเขาที่แยก อยูตางหาก และมีแนวเทือกเขาเปนเหมือนแนวพรมแดนหรือกำแพง กั้นระหวางเมืองเพชรบูรณกับเมืองใกลเคียงทุกดาน ยกเวนทางทิศใต และไมไดอยูใกลเคียงกับเสนทางเดินทัพของฝายกรุงอังวะ นาจะทำให เมืองเพชรบูรณแทบไมไดรับผลกระทบจากสงครามครั้งนี้เลย และสุด ทายกรุงศรีอยุธยาก็ลมสลายดวยการโจมตีของกองทัพกรุงอังวะ เมื่อกองทัพหลวงของกรุงอังวะยกทัพกลับศูนยอำ นาจรัฐ พระยาตาก (สิน) ก็ไดทำการรวบรวมไพรพลจากทางหัวเมืองตะวันออก  กลับมาพยายามจะฟนฟูกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาใหม แตเห็นวาเกินกำลัง ที่จะทำได จึงนำไพรพลลงไปอยูเมืองธนบุรี และตั้งเปนราชธานีของ ศูนยอำนาจรัฐแหงใหมในชื่อกรุงธนบุรี พระยาตากไดสถาปนาตนเอง เปนสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี ในสวนของเมืองเพชรบูรณนั้น ไมปรากฏ หลักฐานเกี่ยวของกับการปกครองทองถิ่นภายในเมือง แตผูเขียน สันนิษฐานวา ก็ยังคงมีรูปแบบการปกครองตามอยางศูนยอำนาจรัฐ กรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ เนื่องจากวาเมืองเพชรบูรณไมไดถูกทำลายหรือ ไดรับผลกระทบจากสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาในป พ.ศ. ๒๓๑๐ จนตองจัดตำแหนงขุนนางกรมการเมืองใหมเหมือนหัวเมืองอื่นๆ


69 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ในป พ.ศ. ๒๓๑๘ กองทัพกรุงอังวะซึ่งมีอะแซหวุนกี้เปน แมทัพ ไดยกพลกวา ๓๕,๐๐๐ คน เขามาโจมตีหัวเมืองฝายเหนือ สงครามครั้งนี้ไดสงผลตอเสถียรภาพของเมืองพิษณุโลกซึ่งเปนหัว เมืองใหญมากที่สุด แมวาจะมีเจาพระยาสุรสีห (บุญมา - ตอมาคือ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในรัชกาลที่ ๑) ซึ่งเปนแมทัพ สำคัญของศูนยอำนาจรัฐกรุงธนบุรีเปนเจาเมืองปกครองอยูก็ตาม และ ในที่สุดก็ตองทิ้งเมืองพิษณุโลกใหกองทัพของอะแซหวุ นกี้เขาเผา ทำลายเมือง เพราะตานทานกำลังไมไหวทั้งที่มีทัพหลวงของพระเจา กรุงธนบุรีมาคอยหนุนอยูทางใตเมือง และมีเจาพระยาจักรี (ทองดวง - ตอมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช) เขาไป ชวยบัญชาการรบภายในเมือง (ธีระวัฒน แสนคำ, ๒๕๕๔: ๑๖๕ - ๑๗๐) เจาพระยาสุรสีหและเจาพระยาจักรีไดนำไพรพลตีฝาวงลอม  ของกองทัพกรุงอังวะที่ลอมเมืองพิษณุโลกอยู ไปทางทิศตะวันออก ไปทางบานมุงดอนชมภู มุงหนาไปทางเมืองเพชรบูรณ ในพระราชพง ศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาระบุขอความวา “เจาพระยาทั้งสองก็ เรงเดินทัพไปถึงเมืองเพชรบูรณ หยุดทัพอยูที่นั้น” (พระราชพงศาวดาร  ฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕: ๔๐๐) และการไปหยุด ทัพที่เมืองเพชรบูรณของเจาพระยาทั้งสองก็ไดทำใหเกิดตำนานเรื่อง เลาเกี่ยวกับที่มาของชื่อ “หลวงพอเพชรมีชัย” วัดมหาธาตุ ขึ้นมาใน ทองถิ่นเมืองเพชรบูรณดวย (ธีระวัฒน แสนคำ, ๒๕๕๘: ๑๓๒)


70 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พระบรมราชานุสาวรียพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก มหาราช ที่หนาสำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลกหลังเดิม อำเภอ เมืองพิษณุโลก เมื่อครั้งยังเปนที่เจาพระยาจักรี พระองคไดนำทหาร ตีฝาวงลอมของทหารกรุงอังวะ ไปพักทัพยังเมืองเพชรบูรณ ขอความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขายังได กลาวตอไปอีกวา ฝายกองทัพเจาพระยาจักรีและเจาพระยาสุรสีหซึ่ง ไปตั้งอยู ณ เมืองเพชรบูรณนั้น ไดเสบียงอาหารเลี้ยงไพรพลบริบูรณแลว  ก็ไดนำกองทัพยกลงไปทางเมืองสระบุรี ขึ้นไปทางปาพระพุทธบาท และ จะยกติดตามกองทัพกรุงอังวะไปทางเมืองสุโขทัย (พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕: ๔๐๑) การเดินทางลงไป ยังเมืองสระบุรีของกองทัพเจาพระยาจักรีและเจาพระยาสุรสีหก็ตอง ผานพื้นที่ชุมชนโบราณบานนายม


71 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ การยกกองทัพตีฝาวงลอมไปยังเมืองเพชรบูรณครั้งนี้ นาจะ สงผลกับความปลอดภัยของเมืองเพชรบูรณในระดับหนึ่ง เนื่องจาก วาคงมีกองทัพกรุงอังวะสวนหนึ่งติดตามกองทัพของเจาพระยาทั้งสอง ไปแนนอน และยังมีขอมูลเกี่ยวกับการรายงานทัพวาไดเกิดการปะทะ กันระหวางกองทหารกรุงธนบุรีกับกองทหารกรุงอังวะที่บานนายม สืบเนื่องมาจากมีกองทัพอังวะสวนหนึ่งขึ้นมาจากเมืองนครสวรรคเพื่อ หาขาวและเสบียงในเขตเมืองเพชรบูรณและบานนายม “...กรมขุนอนุรักษ สงคราม ขุนรามภูเบศ พระญามหาเสนา พระญายมราช และนายทัพ นายกองบอกมาใหกราบทูลวา พมาขัดสนดวยขาวปลาอาหารหนัก เลิกไปจากเมืองอุไทยธานีสิ้นแลว พมาซึ่งตั้งอยูเมืองณครสวรรคนั้น ก็เลิกไป อยูประมาณ ๘๐๐ - ๙๐๐ คอยพมาซึ่งไปหาขาว ณ เมือง เพชรบูรรณนายมนั้น” (ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๓, ๒๕๔๒: ๕๑๙) จากขอความในพระราชพงศาวดารไดสะทอนใหเห็นวา บริเวณ เมืองเพชรบูรณและบานนายมนั้นไมนาจะไดรับความเสียหายหรือ ผลกระทบจากกองทัพของอะแซหวุนกี้ที่ยกติดตามกองทัพเจาพระยา จักรีและเจาพระยาสุรสีห จึงกลายเปนเปาหมายสำคัญในฐานะแหลง เสบียงที่ยังไมถูกทำลาย สงผลใหกองทัพกรุงอังวะสงทหารขึ้นมาเพื่อ ปลนเสบียงลงไปเลี้ยงกองทัพซึ ่งกำลังขัดสนเสบียงอยางหนัก แต กองทัพกรุงธนบุรีก็หาไดปลอยใหกองทหารกรุงอังวะขึ้นมาหาปลนเสบียง ไดตามอำเภอใจ ไดมีการสงแมทัพนายกองขึ้นมาปราบปรามจนทำให เกิดการรบพุงกันที่บริเวณบานนายม


72 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ไดบันทึกขอมูลเกี่ยวกับเหตุการณดังกลาวซึ่งเกิดขึ้นในป พ.ศ. ๒๓๑๙ วา “ณ วันศุกร เดือน ๑๐ ขึ้น ๓ ค่ำ พญาราชภักดีซึ่งตามพมา ทางเพชรบูรรณนายมนั้น ยิงพมาตายเปนอันมาก จับเปนได ๙ คน” (ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๓, ๒๕๔๒: ๕๒๐) ซึ่งสอดคลองกับขอความในพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากตนฉบับของบิชติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ที่บันทึกไววา “วันศุกร เดือน ๑๐ ขึ้น ๓ ค่ำ พญาราชภักดีซึ่งไปตามพมาทางเพชรบูรนายม นั้น ยิงพมาตายเปนอันมาก จับได ๙ คน” (ประชุมพงศาวดารฉบับ กาญจนาภิเษก เลม ๒, ๒๕๔๒: ๓๖๕) สวนในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาไดใหราย ละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณนี้ไวมากที่สุด ระบุวา “...ณ วันศุกรเดือน สิบขึ้นค่ำหนึ่ง พระยาราชภักดีและพระยาพลเทพขึ้นไปตามพมาทาง เมืองเพชรบูรณกั้น พบพมาที่บานนายมไดรบกัน ตีทัพพมาแตกหนี ไปทางเมืองอุทัยธานี จับเปนไดเกาคนบอกสงลงมาถวาย จึงโปรด ใหมีตราไปถึงพระยาราชภักดีใหยกไปติดตามพมาซึ่งแตกหนีไปนั้น แตกองพระยาพลเทพใหยกกลับลงมา ณ กรุง” (พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕: ๔๐๖ - ๔๐๗)


73 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ แมวาในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากตนฉบับของบิชติชมิวเซียม กรุง ลอนดอน จะไมระบุสถานที่ปะทะรบพุงระหวางกองทหารกรุงอังวะกับ กองทัพพระยาราชภักดีวาเกิดขึ้นที่ใด แตพระราชพงศาวดารฉบับ พระราชหัตถเลขาก็ไดใหขอมูลวาการปะทะรบพุงกันในครั้งนั้นเกิดขึ้น ที่บริเวณบานนายม ถึงแมวาในพระราชพงศาวดารฉบับนี้อาจจะบัน ทึกวันที่เกิดเหตุการณคลาดเคลื่อนตางไปจากพระราชพงศาวดารทั้ง สองฉบับกอนหนาก็ตาม เนื่องจากขอความในพระราชพงศาวดารใหขอมูลค อนขาง นอยมาก ทำใหทราบเพียงวาเกิดการรบพุงกันระหวางกองทหารกรุง อังวะกับกองทัพพระยาราชภักดีที่บริเวณชุมชนโบราณบานนายม ซึ่ง ฝายทหารกรุงอังวะไดลมตายและแตกพาย ทั้งยังสามารถจับเปน ทหารกรุงอังวะได ๙ คนอีกดวย สวนบริเวณที่เกิดการสูรบและผล กระทบที่เกิดขึ้นภายในชุมชนโบราณบานนายมนั้นไมปรากฏหลักฐาน ผูเขียนสันนิษฐานวานาจะมีชาวบานนายมจำนวนหนึ่งที่ทิ้งบานเรือน หลบหนีภัยจากการปลนเสบียงของทหารกรุงอังวะไปอยูตามปาเขา ในบริเวณใกลเคียง


74 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


75 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ศึกเจาอนุวงศเกิดขึ้นในชวงป พ.ศ. ๒๓๖๙ - ๒๓๗๑ เจาอนุวงศ เปนพระมหากษัตริยของอาณาจักรลานชางเวียงจันทน ครองราชย ตั้งแตป พ.ศ. ๒๓๔๖ - ๒๓๗๐ เปนพระโอรสของเจาสิริบุญสาร เดิมถูกเชิญมาชุบเลี้ยงในฐานะพระโอรสของเจาประเทศราชที่กรุงเทพ มหานคร ตอมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ไดโปรดฯ ใหเจาอินทวงศและเจาอนุวงศซึ่งเปนพระโอรส ของเจาสิริบุญสารกลับไปเวียงจันทน และใหเจาอินทวงศเปนพระมหา กษัตริยกรุงเวียงจันทนในฐานะประเทศราชของสยาม ภายหลังจากเจา อินทวงศสิ้นพระชนม เจาอนุวงศจึงไดรับโปรดเกลาเปนพระมหากษัตริย กรุงเวียงจันทนตอจากพระเชษฐาในป พ.ศ. ๒๓๔๗ เจาอนุวงศไดปฏิบัติราชการบานเมืองมีความดีความชอบมา แตครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย รัชกาลที่ ๒ เเละรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๓ จึงได รับความไววางพระราชหฤทัยเปนอันมาก และทรงโปรดฯ ใหเจาราช บุตร (โย) พระโอรสเจาอนุวงศเปนเจานครจำปาศักดิ์ในป พ.ศ. ๒๓๖๔ ทำใหเจาอนุวงศมีกำลังและอำนาจมากขึ้นสามารถวากลาวหัวเมือง ตอนที่ ๘ บานนายมกับศึกเจาอนุวงศ พ.ศ. ๒๓๗๐


76 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ชายพระราชอาณาเขตได เมื่อมีขอราชการขึ้นกราบบังคมทูลฯ ก็ทรง เห็นชอบตามนั้น (สุรศักดิ์ ศรีสำอาง, ๒๕๔๕: ๒๔๖ - ๒๔๙) แต เมื่อภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยเสด็จสวรรคต ในป พ.ศ. ๒๓๖๗ ความสัมพันธระหวางราชสำนักทั้งสองก็ไมคอย มีความราบรื่นเทาใดนักดวยสาเหตุหลายประการ จนกระทั่งในป พ.ศ. ๒๓๖๙ เจาอนุวงศไดนำกองทัพลาวเขามากวาดตอนชาวลาวทาง ฝงขวาแมน้ำโขงและหมายจะยกลงไปตีกรุงเทพมหานคร ในสายตา ของไทยเรียกการกระทำของเจาอนุวงศครั้งนี้วา “กบฏเจาอนุวงศ” แตสายตาของลาวนี่คือ “การกูเอกราช” จากอำนาจของไทย (คะนะพา สาวันนะคะดีและมะนุดสาดฯ, ๒๐๐๒: ๔๐ - ๔๔; ดวงไช หลวงพะสี, ๒๐๐๑: ๑๘ - ๒๐; ดารารัตน เมตตาริกานนท, ๒๕๕๕: ๑๒๓) สาเหตุของการกบฏครั้งนี้ในเอกสารของไทย สุวิทย ธีรศาศวัต ไดศึกษาวิเคราะหไววาเกิดจากสาเหตุ ๔ ประการ ไดแก ประการแรก เจาอนุวงศทูลขอแบงชาวลาวบางสวนที่ถูกกวาดตอนมาในสมัยธนบุรี กลับไปยังเวียงจันทน ประการที่สอง เจาอนุวงศทูลขอพระราชทาน พวกหมอมละครเล็กๆ ผูหญิงขางในซึ่งเปนละครชั้นเล็กในรัชกาลที่ ๒ ประการที่สาม เจาอนุวงศขอพระราชทานเจาหญิงดวงคำ ลาวชาว เวียงจันทนซึ่งตกมาแตครั้งกรุงธนบุรี แตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลา เจาอยูหัวไมพระราชทานตามคำขอแมแตอยางเดียว จึงทำใหเจาอนุวงศ เสียหนาและไมพอใจ และประการที่สี่ เจาอนุวงศไดเห็นความทุกขยาก ของชาวลาวที่ถูกกวาดตอน แลวถูกเกณฑแรงงาน รวมทั้งถูกกดขี่แรง งานและสวยสาอากรคนลาว จึงทำการกบฏขึ้น (สุวิทย ธีรศาศวัต, ๒๕๔๓: ๑๐๙ - ๑๑๑)


77 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ส วนสาเหตุของการกบฏในทัศนะของลาวไดมีนักวิชาการ วิเคราะหไววาเกิดจากสาเหตุ ๔ ประการ ประการแรก เพราะนโนบาย ของสยามที่พยายามทำใหชาวลาวกลายเปนชาวสยามโดยวิธีการ สักเลก ประการที่สอง สยามกดขี่ลาวมาก โดยยกตัวอยางจากการ เกณฑไปตัดตนตาลที่สุพรรณบุรี ประการที่สาม เจาอนุวงศถูกขุนนาง ผูใหญของสยามหลายคนดูหมิ่นพระเกียรติยศ และประการที่สี่ การ ปดลอมทางเศรษฐกิจลาวของสยาม ทำใหลาวตองไปติดตอคาขายกับ จีนตอนใต (มยุรี เหงาสีวัทน และเผยพัน เหงาสีวัทน, ๑๙๘๘: ๖ - ๓๘; สุวิทย ธีรศาศวัต, ๒๕๔๓: ๑๐๙ - ๑๑๒) อนึ่ง จากการศึกษาเอกสารชั้นตนเกี่ยวกับความรับรูของชาว ลาวในศึกเจาอนุวงศในเอกสาร “พื้นเวียง” พบวา ปญหาที่ทำใหเกิด ศึกเจาอนุวงศนั้นมาจากการสักเลกในหัวเมืองลาว (ภาคอีสานปจจุบัน) ทำใหเกิดความเดือดรอนทั้งไพรและเจานายเปนอันมาก (จารุบุตร เรืองสุวรรณ, ๒๕๒๕: ๒๓) และเกิดความขัดแยงระหวางเจาเมือง นครราชสีมา (โคราช) กับเจาอนุวงศขึ้น ดวยเอกสารระบุวา เจา เมืองนครราชสีมามีลักษณะเจาเลหเพทุบาย และมีความตองการที่จะ เปนใหญ มีอำนาจเหนือหัวเมืองอีสานและจำปาศักดิ์ จึงไดวางแผน ตางๆ เพื่อทำใหเกิดความเดือนรอนเกือบทุกหัวเมือง (ธวัช ปุณโณทก,  ๒๕๒๖: ๘๓) ทำใหเจาอนุวงศและชาวลาวไมพอใจยิ่งนัก เจาอนุวงศจึงยกทัพลงมา ๓ ทาง คือ ทางแรก กองทัพหลวง มีเจาอนุวงศเปนแมทัพใหญ กับเจาราชวงษ (เหงา) ราชบุตรองครอง เปนแมทัพหนา ยกไปทางเมืองนครราชสีมา สระบุรี ทางที่สอง กองทัพ จำปาศักดิ์ของเจาราชบุตร (โย) เจานครจำปาศักดิ์ ยกมาทางเมือง


78 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ อุบลราชธานี เขมราฐ ยโสธรและศรีสะเกษ และทางที่สาม กองทัพ อุปราช (ติสสะ) ยกทัพมาทางเมืองกาฬสินธุ รอยเอ็ด สุวรรณภูมิ สุรินทรและสังขะ เมื่อกองทัพหลวงสามารถยึดเมืองนครราชสีมาได เจาราชวงษ จึงไดนำไพรพลทัพหนาราว ๖,๖๐๐ คนลงไปกวาดตอนชาวลาวที่เมือง  สระบุรี (ประชุมจดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันท, ๒๔๗๓: ๑๐๕) สามารถกวาดตอนครัวมาจากเมืองสระบุรีมายังเมืองนคร ราชสีมาเปนครัวไทย ๑๑๐ ครัว จีน ๒๒๐ ครัว และลาวหมื่นคน เศษ (สุวิทย ธีรศาศวัต, ๒๕๔๓: ๑๑๘) ในขณะเดียวกันเจาราชวงษ ก็ไดยกทัพจากเมืองนครราชสีมากลับไปทางเมืองเพชรบูรณ โดยกวาด ตอนครัวเรือนแถบนี้ไปดวย โดยไปตั้งมั่นที่เมืองหลมสัก ดวยเหตุขางตนดังที่กลาวมา จึงทำใหบริเวณลุมแมน้ำปาสัก พื้นที่เมืองเพชรบูรณและเมืองหลมสักตองกลายเปนสวนหนึ่งในพื้นที่ สงคราม และยังเปนสมรภูมิที่สำคัญแหงหนึ่งดวย นอกจากนี้ เมือง หลมสักยังเปนเมืองที่มีชาวลาวอยูเปนจำนวนมากจึงอาจเปนเปาหมาย สำคัญที่เจาราชวงษตองการยกทัพมากวาดตอนไปยังเมืองเวียงจันทน ดวยการศึกครั้งนี้เจาอนุวงศมีเปาหมายหลักๆ คือ กวาดตอนชาวลาว  กลับถิ่นฐานเดิม นั่นเอง (มารติน สจวต - ฟอกซ, ๒๕๕๓: ๒๐) การที่เมืองเพชรบูรณตั้งอยูในลุมแมน้ำปาสักตอนบน อันเปน เมืองในเสนทางคมนาคมที่สามารถผานไปยังเมืองหลมสักและเวียงจันทน ได ทำใหเจาราชวงษ (เหงา) ซึ่งนำกองทัพลาวสวนหนึ่งไปกวาดตอน ชาวลาวที่เมืองสระบุรีกลับเวียงจันทน ไดเลือกที่จะเดินทางผานทาง


79 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ เมืองเพชรบูรณและเมืองหลมสัก ทั้งเปนการกระจายเปาหมายของ การถูกโจมตีจากกองทัพสยามเปนหลายทาง จึงทำใหเมืองเพชรบูรณ ไดรับผลกระทบจากศึกเจาอนุวงศดวย ทั้งนี้ ภายในเมืองเพชรบูรณ เองก็อาจมีชาวลาวจำนวนไมนอยที่เขามาอาศัยอยูในเมือง ซึ่งอาจจะ เกิดจากการอพยพมาหรือถูกกวาดตอนมาตั้งแตครั้งสมัยกรุงธนบุรี ก็เปนได กองทัพลาวที่ยกเขามาในเขตลุ มแม น้ำาป าสักตอนบนนั้น ทัพแรกเปนกองทัพที่ยกมาจากทางเหนือ ซึ่งรวมพลอยูที่เมืองหลมสัก ไพรพลสวนใหญจึงมาจากเมืองหลมสัก โดยมีขุนนางกรมการเมือง หล มสักและขุนนางจากราชสำ นักเวียงจันทนคุมไพร พลมาทั้งสิ้น ๗๐๐ คน เปนไพรพลเมืองหลมสัก ๕๐๐ คน และไพรพลจาก เวียงจันทน ๒๐๐ คน ลงมาตั้งคายอยูที่บานสะเดียงใกลกับเมือง เพชรบูรณ กอนที่จะปฏิบัติการเกลี้ยกลอม (แกมบังคับ) เจาเมืองและ กรมการเมืองเพชรบูรณใหเขารวม “...ครั้น ณ วันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๔ อายราชวงเมืองหลมศัก เปนแมทับ อายขติย อายทาวคง อายทาวณู เมืองลมศัก อายเมือง ซายกับอายหลวง พลโยธาเมืองเวียงจัน ไพรเมืองเวิยงจัน ๒๐๐ ลม ๕๐๐ ยกลงมาตั้งคายทุงนาสเดียงสองคาย ทางไกลเมืองเพชบูนปร มาร ๒ เสน กรมการแลชาวบานภาครัวหนีเขาปา...อายลาวตัวนาย ๕ คน ใหหาหลวงธอรบาล หลวงแพง หลวงดอกไม นายบุญจัน บุตพญาเพชบูนคนเกา ขุนทำมคุน ขาพเจา ออกไป ณ คาย อาย ลาวถามวากรมการแลไพรอยูพรอมกันฤา ขาพเจามีชือ ๖ คน บอก วากรมการแลไพรซึ่งไมไดลงมาติจราชการอยู ณ กรุงนั้นอยูพรอม


80 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ กัน อายลาวจึ่งบอกวาจยกลงมาตีกรุง กรมการแลไพรซึ่งขึ้นมานี้จ ยอมเขาดวยฤาไม ขาพเจามีชือ ๖ คนภากันนิ่งอยู อายลาวจึ่งวาจ ภากันนิ่งอยุวากไร หลวงอินผูรักษาเมืองกับพระสำรวจ พญาเพชบูน ตาโปนก็ยอมเขาดวยแลว ขาพเจามีชื่อ ๖ คนก็รับคำอายลาววาจะ เขาดวย...” (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๓๓ - ๓๔) เมื่อพิจารณาจากหลักฐานเอกสารตางๆ แลว พบวากองทัพ ลาวที่ยกมาจากเหนือนั้นไมไดเขาทำสงครามหรือสรางความเสียหาย ใหกับเมืองเพชรบูรณ หากแตเปนการยกลงมาแลวเกลี้ยกลอมบังคับ ใหเขารวมทัพดวยเทานั้น และฝายเจาเมืองและกรมการเมืองเพชรบูรณ  ก็เขารวมดวย ผูเขียนสันนิษฐานวาเปาหมายของกองทัพลาวที่ยกมาจาก ทางเหนือคือการนำ ไพร พลจากเมืองหล มสักและเมืองเพชรบูรณ เขารวมทัพเพื่อไปสมทบกับกองทัพหลวงของเจาอนุวงศที่เมือง นครราชสีมาหรือที่เมืองสระบุรี เพื่อจะยกลงไปตีกรุงเทพมหานคร ดังปรากฏขอมูลวาพระสุริยวงษา เจาเมืองหลมสักไดนัดกับพระณรงค กองนอก ขุนนางเมืองเพชรบูรณวา “อายเวียงจันยกลงมาโคราชแลว จะภากันขึ้นไปหาอายเวียงจัน” (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๓๔) แตสถานการณไมเปนตามคาดคิด พระณรงคกองนอกไดพา ครัวหลบหนีเขาปา กองทัพจากทางเหนือที่ลงมาตั้งที่เมืองเพชรบูรณ ยังไมไดเคลื่อน กองทัพของเจาราชวงษก็ยกขึ้นมาจากเมืองสระบุรี ดวย มีขาววาทางราชสำนักสยามไดสงกองทัพยกขึ้นมา


81 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ กองทัพลาวที่ยกมาจากทางใต มีเจาราชวงษ (เหงา) พระ โอรสของเจาอนุวงศเปนแมทัพ จำนวนไพรพลนั้นมีหลักฐานระบุไม ตรงกัน จดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันทอางคำใหการของพระยา นรินทรระบุวามีกำลังไพรพลประมาณ ๖,๖๐๐ คน มีปนคาบศิลา ประมาณ ๑,๐๐๐ กระบอกเศษ (ประชุมจดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏ เวียงจันท, ๒๔๗๓: ๑๐๗) สวนจดหมายเหตุราชการทัพเมืองเวียง จันทน ฉบับที่ ๑ อางคำใหการของแสนยศบุญเรืองเมืองดานซายวา “ราชวงษเมืองเวียงจันคุมกองทับมาหมื่นเสศ” (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๒๑) โดยเจาราชวงษไดกวาดตอนเอาครัวเมือง บัวชุมและเมืองชัยบาดาลขึ้นมาดวย (เติม วิภาคยพจนกิจ, ๒๕๔๐: ๑๒๐) เปาหมายคือกวาดตอนผูคนทั้งชาวสยามและชาวลาว โดย เฉพาะอยางยิ่งชาวลาวกลับไปยังเวียงจันทนใหไดมากที่สุด อาจรวม ถึงการขับไลกลุมอำนาจฝายสยามที่มีอิทธิพลอยูในเมืองหลมสักออก ไปดวย (ไผท ภูธา, ๒๕๕๔: ๑๓๘) และเจาราชวงษก็ประสงคจะ ใชเมืองหลมสักเปนคายใหญในการกวาดตอนชาวสยามและชาวลาว ในเขตเมืองเพชรบูรณ หลมสัก นครไทย นครชุม ดานซาย แกนทาว น้ำปาดและเมืองเลย (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๔๐) เมื่อกองทัพของลาวทั้งจากทางเหนือและทางใตไดมาสมทบ กันแลวที่เมืองเพชรบูรณ ดูเหมือนวากองทัพลาวไดแบงกำลังออก เปนหลายสวน เพื่อตั้งคายตามรายทางจากเมืองเพชรบูรณจนถึงเมือง หลมสักสำหรับเตรียมรับศึกจากทางกองทัพสยาม และใชเปนที่พัก ของครัวชาวเมืองที่กวาดตอนมาไดจากหมูบานตางๆ ตลอดจนในปา ใกลเคียงคายนั้นๆ


82 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ คายแรกนั้นตั้งอยูที่บานนายมทางใตเมืองเพชรบูรณ ซึ่งเปน เสมือนปราการสำคัญด านแรกที่กองทัพสยามตองเขาตีเมื่อยกทัพ ขึ้น มาจากทางใต จากนั้นก็มีคายที่บานตะโพน บานสะเดียง เมือง เพชรบูรณและคายใหญที่สุดที่เมืองหลมสัก คายบานนายม ปจจุบันคือบริเวณบานนายม ตำบลนายม อำเภอเมืองเพชรบูรณ ตั้งอยูทางทิศใตของตัวเมืองเพชรบูรณปจจุบัน จำนวนไพรพลที่รักษาคายนั้นไมปรากฏหลักฐานวามีจำนวนเทาใด คายบานนายมถือวาเปนปราการดานแรกของกองทัพลาว ที่ตั้งสะกัดกั้นกองทัพสยามที่จะยกมาจากกรุงเทพฯ ทางเมืองสระบุรี หรือเมืองลพบุรีตามพื้นที่ลุมแมน้ำปาสัก ดังจะเห็นไดวาเมื่อทัพของ พระยาวิชิตณรงค พระยาพิไชยสงคราม พระยาณรงคเดชาและ พระ ยาบริรักษราชาซึ่งยกขึ้นมาจากกรุงเทพฯ เปนทัพแรก ก็ไดปะทะกับ กองทัพลาวที่คายบานนายมเปนแหงแรกในบริเวณลุมแมน้ำปาสัก ตอนบน ดังที่ไดนำเสนอใหทราบมาแลวกอนหนา หลังจากที่กองทัพสยามสามารถตีค ายบานนายมของกอง ทัพลาวไดแลว พระยาวิชิตณรงค พระยาพิไชยสงคราม พระยาณรงค เดชาและพระยาบริรักษราชาไดจัดแจงรวบรวมไพรพลฝายสยามที่ บานนี้ และไดตั้งคายขนาดเล็กขึ้นมารอบบานนายมจำนวน ๖ คาย จัดแจงรวบรวมไว ณ บานนายมแลว ไดตั้งคายมั่น ณ บานนายม ๖ คายดวย (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๑๖) ทั้งนี้ คง เพื่อรักษาพยาบาลแมทัพนายกองและไพรพลที่บาดเจ็บ และรอกองทัพ  เจาพระยาอภัยภูธรที่กำลังจะยกขึ้นมาสนับสนุนจากกรุงเทพฯ


83 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ จากการลงพื้นที่สำรวจภาคสนามและสัมภาษณชาวบาน พบวา ทุงนาบริเวณทางดานทิศตะวันออกของวัดโบสถโพธิ์ทอง หรือ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืองของชุมชนบานนายมนั้น ชาวบานเรียก วา “นาคลี” ดวยมีคำบอกเลาสืบตอกันมาวาบริเวณนี้เคยเปนที่ตั้ง คายหรือตั้งทัพสมัยโบราณ แตไมรูวาเปนสมัยไหน และมีเจาเมือง ซึ่งก็ไมรูวาเจาเมืองอะไรเคยมาตีคลีแขงกันบริเวณดังกลาว (พระเมธี ปฺญาวุฑฺโฒ, สัมภาษณ; สวาง จานสี, สัมภาษณ) หากพิจารณา จากคำบอกเลาของคนในทองถิ่นก็อาจเชื่อไดวา บริเวณทุงนานี้นาจะ เคยเปนที่ตั้งค ายของทั้งฝ ายลาวและฝ ายสยามในศึกเจาอนุวงศมา กอนก็เปนได บริเวณ “นาคลี” ซึ่งสันนิษฐานวานาจะเคยเปนบริเวณที่ตั้งคาย หรือ สมรภูมิรบระหวางฝายลาวกับฝายสยามที่บานนายม ตามที่ปรากฏหลักฐานในเอกสารจดหมายเหตุ


84 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ การปะทะกันระหวางกองทัพสยามกับกองทัพลาวที่บานนายม นั้น เกิดขึ้นในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปกุนนพศก ซึ่งตรงกับวันเสารที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๓๗๐ (กรมวิชชาธิการ กระทรวงธรรมการ, ๒๔๗๕: ๔๖) ผูเขียนเห็นวาเปนเหตุการณรบที่สำคัญจึงนำมาเสนอ ใหทราบ การรบครั้งนี้เปนการเขาตีคายลาวที่บานนายมของกองทัพ สยาม มีการรบพุงถึงขั้นตะลุมบอน แมทัพนายกองทั้งสองฝายตางก็ ไดรับบาดเจ็บหลายคน เอกสารราชการทัพเมืองเวียงจันทน ฉบับที่ ๑ ไดบันทึกเหตุการณและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสงครามในสมรภูมิ บานนายมไวคอนขางละเอียด ดังนี้ “วันศุกร ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ ปกุญนพศก พญาพิไชยวารี ถือหนังสือบอกเจาพญามะหาเสนา ลงมาฉบับ ๑ วา ณ วันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ เพลา ๒ ยามเสศ ขุนจบจักระวาฬ ซึ่งใหขึ้นไปสืบราชการทางเมืองลมศัก กลับถือหนังสือบอกพญาวิชิด ณรง พญาพิไชยสงคราม พญาณรงเดชา พญาบริรักราชา ลงมาถึง พญาไกรโกษาฉบับ ๑ วา นายทัพ นายกองยกไปถึงบานกองทูน ณ วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ นายศุขภาขุนไกร เมืองจันชาวบานนายม มาแจงวา อายลาวซึ่งตั้งคายอยู ณ บานนายม รูวากองทัพกรุงเทพฯ ยกขึ้นไป อายลาวจะกวาดครัวที่อยูในคายกับครัวบานนายมขึ้นไป เมืองลมศัก พญาวิชิดณรง พญาพิไชยสงคราม พญาณรงเดชา พญา บริรักราชา นายทัพ นายกอง รีบยกขึ้นไป ณ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ พรอมกันระดมตีอายลาวๆ สูรบอยูแตเพลาเชากรู จนเพลาเชา ๓ โมงเสศ คิดพรอมกันเขาแหก คาย อายลาวยิงถูกพญาราชเดช ๒ สุน หลวงจำนงราชาถูกแขน


85 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ตลอดแหง ๑ ขุนตำรวจถูกไตไลขวา ๑ หมืนมหาดเลกถูกแขนตลอด ชายโครงแหง ๑ หลวงสำแดงฤทธิรงแหง ๑ อายลาวแทงหลวงเพชดา ถูกฅอลึกประมาณเมลดเขาเปลือกแหง ๑ อายลาวแตกทิ้งคายหนีไป พญาณรงเดชาเขาสกัดฟนอายลาวตายหลายคน อายลาวแทงพญา ณรงเดชาถูกราวนมขวาเลี่ยงไป แผลลึก ๓ นิ้วแหง ๑ ขุนหมืนนาย ไพรตายบางปวยบาง ฆาอายแสนขันซายตายนาย ๑ กับไพร ๔๗ คน อายลาวเจบปวยเปนอันมาก นายทัพ นายกอง ไดปนคาบสิน ลาอายลาวกองพญาวิชิตณรง ๑๐ พญาพิไชยสงคราม ๑๐ พญา ณรงเดชา ๖ พญาบริรักราชา ๘ เขากัน ๓๔ บอก อายลาวเมือง ลมสัก นายทัพนายกองจับไดตัดหู ตัดมือ เอาหนังสือผูกฅอปลอยไป คน ๑ แตไทยเขาดวยอายลาว กลับนำอายลาวมากวาดครอบครัว จับไดคน ๑ นายทัพนายกองใหตัดศีรศะเสียบไว แลครัวซึ่งอายลาว กวาดเอาไวในคาย กับครัวบานนายมนัน พญาวิชิดณรง พญาพิไชย สงคราม พญาณรงเดชา พญาบริรักราชา จัดแจงรวบรวมไว ณ บานนายมแลว ไดตั้งคายหมั้น ณ บานนายม ๖ คาย...” (จดหมาย เหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๑๕ - ๑๖) ขอความในเอกสารจดหมายเหตุขางตนแสดงใหเห็นถึง เหตุการณรบที่บานนายมไดเปนอยางดี นอกจากนี้ ในเอกสารราชการ ทัพเมืองเวียงจันทน ฉบับที่ ๓ ยังไดใหขอมูลที่เปนการขยายความ จากขอความขางตนวา “...พญาวิชิดณรง พญาพิไชยสงคราม พญาณรงเดชา พญา บริรักราชา บอกมาเปนใจความวา ณ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ตี คายอายลาวที่ตั้งอยูเมืองเพชบูน บานนายม แตกกระจัดกระจาย จับ


86 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ เปนได ๑๐๐ คน ตายเสียเปนอันมาก แตเพียหมื่นนาเมืองเลยตัดมือ เขียนหนังสือผูกคอปอยเขาไปในเมืองลมสัก แลวมาลอมคายอายลาว ที่บานตะโพนไว...” (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๔๐) เมื่อพิจารณาจากหลักฐานและสภาพภูมิประเทศบริเวณที่ตั้ง ของบานนายม ซึ่งอยูทางทิศใตของเมืองเพชรบูรณแลว การรบที่บาน นายมนั้นน าจะเปนการปะทะกันครั้งแรกระหว างกองทัพสยามกับ กองทัพลาวในบริเวณลุมแมน้ำปาสักตอนบน กอนที่ฝายสยามจะสง กำลังจากกรุงเทพฯ และหัวเมืองฝายเหนือเขามาสนับสนุนไพรพลของ พระยาวิชิตณรงค พระยาพิไชยสงคราม พระยาณรงคเดชาและพระ ยาบริรักษราชาที่ยกทัพขึ้นมากอนหนา ความเสียหายของฝายสยามจากผลการรบที่สมรภูมิบาน นายมนั้น ทำใหพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวทรงมีพระราชดำริวา กองทัพลาวที่ตั้งคายอยูที่บานนายมนั้นเห็นทีจะไมใชแคไพร พลลาวจากเมืองหลมสักเพียงอยางเดียว แตอาจจะมีไพรพลของเจา ราชวงษสมทบอยูก็เปนได ดังปรากฏพระราชดำริในเอกสารราชการ ทัพเมืองเวียงจันทน ฉบับที่ ๑ วา “...แตกำลังอายลาวเมืองลมสักนั้นหาอาจ (อาจหาญ - ผูเขียน) ที่จะลงมาตั้งรับรบพุงถึงบานนายมไม ดีรายจะเปนอายราชวงษเมือง เวียงจันจะมากฎหลังอายลาวลมศักจึ่งกำเริบรักษาคายรบพุงสามาด จำจะตองกระทำแกอายลาวลมสักใหยับเยิน ทัพพญาศรีราชเดโชก็ได ยกไปจากคายหลวงมะมวงสองคอร แต ณ วันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ แลว ราชการทางเมืองลมสักนี้ ใหกระทำเสียใหสำเรจโดยเรว...” (จดหมาย เหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๑๖)


87 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ในเบื้องตนฝายสยามอาจจะคาดการณเกี่ยวกับจำนวนไพร พลลาวเมืองหลมสักที่มากวาดตอนชาวเมืองเพชรบูรณผิดพลาด จึง สงกองกำลังขึ้นมาจำนวนไม มาก ทำใหแม ทัพนายกองไดรับบาด เจ็บและไดรับความเสียหายมากกวาที่คิดไว หลังการรบที่บานนายม ทำใหฝายสยามพอที่จะวิเคราะหสถานการณออกจึงไดสงกำลังมา สนับสนุน สวนฝายลาวเอง ก็ไดรับความเสียหาย สูญเสียไพรพลและ อาวุธเปนจำนวนมาก จนกระทั่งคายบานนายมถูกฝายสยามตีแตก ก็ พากันทิ้งคายหนีขึ้นมาทางเหนือ แลวเขาสมทบกับกองกำลังอีกสวน หนึ่งที่ตั้งคายอยูที่บานตะโพน และนาจะมีสวนหนึ่งที่หนีขึ้นไปยังเมือง หลมสัก คายบานตะโพน ซึ่งในเอกสารจดหมายเหตุระบุวาเปนสถาน ที่ตั้งคายของกองทัพลาวจากเมืองหลมสักแหงหนึ่ง สันนิษฐานวานา จะเปนบริเวณชุมชนโบราณที่ชาวบานเรียกวา “นาโพน” ตั้งอยูระหวาง บานนายมกับบานชอนไพรซึ่งอยูทางตอนใตของตัวเมืองเพชรบูรณ บริเวณดังกลาวมีการพบเศษภาชนะดินเผาและเศษภาชนะที่ทำดวย โลหะกระจายอยู ซึ่งสะทอนใหเห็นวาบริเวณนาโพนเคยเปนที่ตั้งชุมชน โบราณมากอน และชื่อสถานที่ในความทรงจำของชาวบานนายมก็มี ความใกลเคียงกับชื่อบานตะโพนในเอกสารจดหมายเหตุ


88 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ บริเวณทุง “นาโพน” ซึ่งอยูทางทิศเหนือของบานนายมปจจุบัน สันนิษฐานวานาจะเปนที่ตั้งของบานตะโพนในอดีต คายบานตะโพนคงเปนคายขนาดเล็กจึงปรากฏชื่อและบทบาท ไมมากนักในสงครามครั้งนี้ ในเอกสารจดหมายเหตุกลาววา หลังจาก ที่กองทัพสยามสามารถตีคายบานนายมแตกแลว ก็ไดยกมาลอมคาย ลาวที่บานตะโพนไว (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๔๐)


89 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ฝายลาวก็คงไมสามารถรักษาคายที่บานตะโพนไดนานนัก เพราะกองทัพสยามไดยกตามขึ้นมาแลวลอมคายไว แมไมปรากฏ หลักฐานวาคายบานตะโพนถูกกองทัพสยามตีแตกเมื่อไร แตผูเขียน สันนิษฐานวาคายบานตะโพนคงถูกตีแตกหลังจากการรบที่บานนายม ไมนาน เพราะบริเวณชุมชนโบราณบานตะโพนนั้นอยูใกลกับบานนายม และหากคายบานตะโพนไมแตก กองทัพสยามก็คงไมสามารถยกทัพขึ้น ไปยังเมืองเพชรบูรณและเมืองหลมสักได นอกจากนี้ ยังปรากฏขอมูล วาในระหวางที่กองทัพสยามลอมคายลาวบานตะโพนไว พระยาเพชร พิไชยซึ่งคุมไพรพลจากหัวเมืองฝายเหนือมาตีคายลาวที่เมืองนครไทย ก็ไดเรงนำไพรพลสวนหนึ่งมาชวยกองทัพสยามทางเมืองเพชรบูรณ - หลมสักนี้ดวย (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๔๐) คายบานสะเดียง ปจจุบันคือบริเวณบานสะเดียง ตำบล สะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ ตั้งอยูทางทิศตะวันตกเฉียงใตของตัว เมืองเพชรบูรณปจจุบัน คำวา “สะเดียง” นาจะมาจากคำวา “สะเตียง” ในภาษาเขมร ซึ่งแปลวา คนปา (อางใน กำพล จำปาพันธ, ๒๕๕๕: ๔๕) ทั้งนี้ อาจเปนเพราะบริเวณบานสะเดียงนั้นอยูติดกับพื้นที่ปาทางทิศตะวัน ตกของเมืองเพชรบูรณ และอาจเปนหมูบานของชาวขาหรือชาวละวา (ลัวะ) ซึ่งเปนกลุมชนดั้งเดิม หรืออาจถูกกวาดตอนมาจากบานเมือง ทางฝงซายแมน้ำโขงตั้งแตสมัยกรุงธนบุรีก็เปนได ในปจจุบันนี้ภาย ในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณและบางส วนของอำเภอหนองไผ ก็ยัง มีกลุมชนที่สันนิษฐานวาสืบเชื้อสายมาจากชาวลัวะปรากฏอยู (ธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป, ๒๕๕๕: ๔๓)


90 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ สี่แยกสะเดียง ศูนยกลางชุมชนบานสะเดียงซึ่งอยูทิศทางตะวันตก ของเมืองเพชรบูรณในปจจุบัน


91 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ คายบานสะเดียงนั้นไดเปนที่ตั้งของกองทัพลาวที่ยกมาจาก เมืองหลมสัก ตั้งแตกอนหนาที่จะเขายึดเมืองเพชรบูรณ ในเอกสาร จดหมายเหตุระบุวากองทัพลาวไดตั้งคายที่ทุงนาบานสะเดียงจำนวน ๒ คาย (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๓๓) และใน เอกสารราชการทัพเมืองเวียงจันทน ฉบับที่ ๒ ระบุวา คายลาวที่บาน สะเดียงมีทาวคงและทาวณูซึ่งเปนนองของพระสุริยวงษา เจาเมืองหลมสัก กับอายเมืองซาย เมืองเวียงจันทนคุมไพรพลจำนวน ๑,๐๐๐ คนมา ตั้งคาย “...อายทาวคง อายณู นองอายพญาสุริวงษากับอายเมือง ซายเมืองเวียงจันคุมไพรพันหนึ่งมาตั้งคายบานสเดียง บานตโพน แขวง  เมืองเพชบูรร...” (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๒๕) คายเมืองเพชรบูรณ ปจจุบันคือบริเวณพื้นที่ดานในเขตกำแพง เมืองเกาของเมืองเพชรบูรณซึ่งอยูสองฝงแมน้ำปาสักในเขตเทศบาล เมืองเพชรบูรณ คายเมืองเพชรบูรณแมไมปรากฏบทบาทในเอกสารชั้นตนถึง การเปนสมรภูมิรบอยางชัดเจน แตก็เชื่อไดวาคายเมืองเพชรบูรณนั้น เปนคายสำคัญคายหนึ่งของกองทัพลาว โดยเฉพาะอยางยิ่งเปนที่ตั้ง มั่นของกองทัพลาวที่ยกมาจากเมืองหลมสัก ซึ่งใชเปนที่รวบรวมกำลัง ไพรพลกรมการเมืองเพชรบูรณที่ยอมเขารวมกองทัพ และเปนฐาน ในการกวาดตอนชาวเมืองเพชรบูรณไปยังเมืองหลมสัก


92 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ คายเมืองหลมสัก ปจจุบันคือบริเวณที่ตั้งชุมชนริมสองฝง ลำน้ำพุง ในเขตตำบลหลมเกา อำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ ซึ่งมีวัดตาลและวัดทุงธงชัยเปนศูนยกลาง ในเอกสารจดหมายเหตุ ระบุวา เจาราชวงษไดสั่งใหตั้งคายชักปกกาขนาดเล็กจำนวน ๙ คาย รอบเมืองหลมสัก แลวชักปกการอบกันทั้ง ๙ คาย (จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๒๘) คายเมืองหลมสักเปนคายใหญที่สุดของกองทัพลาวที่ใชเปน ฐานที่มั่นในการรับศึกกับกองทัพสยามและเปนฐานบัญชาการในการ กวาดตอนชาวเมืองในเขตเทือกเขาเพชรบูรณ เชน เมืองนครไทย เมือง นครชุม เมืองดานซาย เมืองแกนทาว และเมืองน้ำปาด เปนตน มา ไวที่เมืองหลมสัก กอนที่บางสวนจะถูกกวาดตอนไปไวที่หัวเมืองทาง ฝงซายแมน้ำโขง (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๑๖) ในคำใหการของแสนยศบุญเรือง เมืองดานซาย ระบุวา “...ราชวงษเมืองเวียงจันคุมกองทับมาหมื่นเสศ มาตั้งอยูเมือง หลมศัก ราชวงจัดกองเรงทับไปรับครัวเมืองน้ำปาดพันเสฏ ใหแตง กองทัพมารักษาคายภูตะแคงคาย ๑ เขาพังงาบคาย ๑ หวย ๗ คด คาย ๑ แลวใหถางทางหลังคายที่หวย ๗ คดมาหลังคายเขาพังงาบ แตคายเขาพังงาบมาถึงหลังคายเขาภูตแคง...” (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๒๑)


93 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ต อมาเมื่อกองทัพลาวของเจาราชวงษถูกกองทัพสยามที่มี เจาพระยาอภัยภูธรเปนแมทัพตีแตก เจาราชวงษก็พาไพรพลและกวาด ตอนชาวเมืองไปทางเมืองเลย จากนั้นกองทัพสยามของเจาพระยา อภัยภูธรก็ใชเมืองหล มสักเปนที่รวมไพรพลที่มาจากหัวเมืองฝ าย เหนือกอนที่จะไลติดตามกองทัพเจาราชวงษไปทางเมืองเลยและเมือง หนองบัวลำภู แผนที่เมืองเพชรบูรณ เมืองหลมสัก และชุมชนโบราณตางๆ ที่เกี่ยวของกับศึกเจาอนุวงศในแผนที่สมัยตนกรุงรัตนโกสินทร (Santanee Phasuk and Philip Stott, ๒๐๐๔: ๑๓๐ - ๑๓๑)


94 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


95 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ หลังจากกองทัพสยามสามารถตีคายตางๆ ของกองทัพลาว ที่ตั้งอยูในพื้นที่เมืองเพชรบูรณและเมืองหลมสักไดแลว เจาราชวงษ และแมทัพนายกองของลาวก็ไดกวาดตอนผูคนชาวเมืองสระบุรี เมือง เพชรบูรณ และเมืองหลมสัก ขามเขาไปทางเมืองเลย เพื่อจะไดขาม แมน้ำโขงไปยังเมืองเวียงจันทน แตในบริเวณเมืองเพชรบูรณและเมือง หลมสักก็ยังมีชาวเมืองอีกจำนวนไมนอยที่ไมไดถูกกวาดตอนไป เพราะ วาไดหลบหนีไปซอนอยูในปาตั้งแตมีขาวลือวากองทัพลาวจะยกมา และหลบหนีไปในระหวางสงคราม พระยาเพชรพิไชยซึ่งเปนแมทัพและเปนขุนนางชั้นผูใหญใน บรรดาแมทัพนายกองทัพหนาที่ยกมาตีลาวทางเมืองหลมสักและเมือง เพชรบูรณ ไดเห็นวามีชาวเมืองจำนวนไมนอยที่หลบซอนอยูในปา บัดนี้ กองทัพลาวก็ถูกตีแตกและยกออกไปไกลจากเมืองมากแลว เห็นควรที่ จะมีการเกลี้ยกลอมใหชาวเมืองกลับเขามาอยูภายในเมือง เพื่อฟนฟูและ รักษาบานเมืองไวตอไป ในเอกสารจดหมายระบุวา พระยาเพชรพิไชย ไดมอบหมายใหหลวงนครชุมกับไพรจำนวน ๒๐ คน อยูเกลี้ยกลอม ชาวเมืองใหกลับเขามาและทำบัญชีไว ดังปรากฏความในเอกสารราชการ ทัพเมืองเวียงจันทน ฉบับที่ ๒ วา ตอนที่ ๙ การฟนฟูบานนายมหลังศึกเจาอนุวงศ


96 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ “...หนังสือ ขาพเจาพญาเพชพิไชย แมทัพ นายทัพ นายกอง บอกลงมาวา ดวยครัวเมืองลมศักยังระส่ำระสายหนีซุมซอนอยูในปาดง เปนอันมาก ขาพเจาใหหลวงณคอรชุมกับไพร ๒๐ คนใหอยู ณ เมือง ลมศัก ใหเกลี้ยกลอมครัวโดยเยนครัวที่เขามาอยูบานเรือนแลว ขาพเจา ไดมีหนังสือปตราไวใหครัวเตมใจ แลวทำบาญชียชายหญีงแลชายสะกัน (ชายฉกรรจ-ผูเขียน) ใหรูวามากแลนอย แลชายสะกันนั้น ขาพเจาจะ เอาเขากระบวนทัพไปดวย...” (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๒๔ - ๒๕) นอกจากเอกสารจดหมายเหตุขางตนแลว ยังมีเอกสารราชการ ทัพเมืองเวียงจันทน ฉบับที่ ๓ อีกชิ้นหนึ่งที่ขยายความเกี่ยวกับการ เกลี้ยกลอมชาวเมืองใหออกมาจากปา ความวา “...ครอบครัวเมือง หลมศักยังหลบหนีอยูในปาเปนอันมาก พญาเพชพิไชยใหหลวงนครชุม เขียนหนังสือลาวไปปกไวทุกบานว าเปนกระบถแต อายอณุเวียงจัน อายพญาสุริยวงษา เพิยควานแลไพรเมืองหลมศัก เมืองดานซายนั้น สมเดจพระพุทธิเจาอยูหัวทรงเหนวาบุตรภรรยาอยูในเงื้อมมืออาย ราชวงษ อายสุริยวงษาเปนความจวนตัวกลัวไภจึ่งไปสูรบ ทังนี้หา เปนกระบถไม ใหภากันออกหาหลวงนครชุมมาอยูบานเรือนตามเดิม แลเขาณะเมืองหลมศักเหลือจากอายลาวเผามีอยูทุกบานประมาณ ๔๐๐ เกียร ถาไพรเมืองหลมศักกลับเขามาอยูบานเรือนแลว ใหหลวง  นครชุมเกบรวบรวมไวจะไดเปนกำลังราชการ...” (จดหมายเหตุรัชกาล ที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๔๔)


97 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ขอความในเอกสารจดหมายเหตุแสดงใหเห็นวา ในระยะแรก ที่สงครามเริ่มสงบลง และมีการเกลี้ยกลอมชาวเมืองใหกลับออกมาจาก ปานั้น ยังคงมีชาวเมืองบางสวนที่ยังไมไวใจตอสถานการณ และกลัว จะมีความผิดตางๆ นานา จึงยังไมออกจากปามา ทำใหพระยาเพชร พิไชยตองใชวิธีการเขียนหนังสือปกแจงไวตามบานในทำ นองข มขู  วาถาไมกลับออกมาจะถือวาเขารวมเปนกบฏกับเจาอนุวงศ แตถา กลับออกมาจะถือว าไม มีความผิดดวยเปนความจวนตัวและถูกบีบ บังคับ (ธีระวัฒน แสนคำ, ๒๕๕๖: ๑๒๓ - ๑๒๔) สิ่งสำ คัญที่ราชสำ นักสั่งหามใหขุนนางที่มาทำ หนาที่เกลี้ย กลอมชาวเมืองปฏิบัติคือ หามมิใหขมเหงเก็บเอาสิ่งของของชาวเมือง “...แลวไดมีหนังสือปตราหามมิใหกองทัพกรุงหัวเมืองแลขาหลวงไป มากิจราชการกระทำคุมเหงเกบเอาสิ่งของของครัวใหไดความเดือด รอน ที่มีชายสะกรร ๑๐ คน ไดเอามาใชในกระบวร ๗ คน ๓ คน นั้นใหอยูรักษาครัว กับชางก็เอามาบันทุกกระสุนดินดำเสบียงอาหาร บาง เอาไวกับครัวบางตามมากและนอย...” (จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๓, ๒๕๓๐: ๑๐๘) แนวทางการเกลี้ยกล อมผูคนใหกลับเขามายังบานเรือน ชุมชนเดิมดังกลาว คงไมไดเนนเฉพาะพื้นที่เมืองหลมสักเทานั้น แตใน เขตเมืองเพชรบูรณและบริเวณชุมชนบานนายมก็นาจะมีแนวทางการ เกลี้ยกลอมแบบเดียวกัน เนื่องจากบานนายมก็ไดรับผลกระทบจาก สงครามครั้งนี้เปนอยางมาก ทั้งเปนที่ตั้งของคายเจาราชวงษและเปน ที่เกิดการรบพุงกันอยางหนักครั้งแรกของระหวางสองฝาย ชาวบาน


98 สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ นายมคงหลบหนีเขาปาเพื่อเอาตัวรอดเปนจำนวนมาก และมีความ เปนไปไดอยางมากที่อาคารบานเรือนรวมทั้งศาสนสถานภายในชุมชน บานนายมจะถูกเผาทำลายในชวงเวลาดังกลาว จนทำใหศาสนสถาน หลายแหงถูกทิ้งรางจนถึงปจจุบัน เมื่อสงครามสงบลงผูคนก็คงเริ่มทยอยกลับเขามาตั้งถิ่นฐาน อยูบริเวณบานเรือนเดิมของตน และมีการสรางที่อยูอาศัยขึ้นมาใหม รวมทั้งฟนฟูวัดวาอารามสำคัญๆ ที่สามารถบูรณปฏิสังขรณได เชน วัดพระนอน วัดเกาะแกว และวัดโบสถโพธิ์ทอง เปนตน เมื่อทุกอยาง เริ่มเขาสูภาวะปกติผูคนก็เริ่มกลับมาประกอบอาชีพและทำมาหากิน ตามเดิมที่เคยปฏิบัติมากอน บานไม ้ โบราณซึ่งเป ้ นทรงพื้นเมืองที่อยู ็ ติดกับโบราณสถานวัดสะอาด ่


99 บานนายม พัฒนาการทางประวัติศาสตรของชุมชนโบราณแหงลุมน้ำ�ปาสัก เมืองเพชรบูรณ ในชวงเวลาดังกลาวนาจะมีกลุมชาวลาวสวนหนึ่งที่ถูกกวาด ตอนหรือหนีการกวาดตอนมาตั้งบานเรือนอยู บริเวณบานนายม ทั้งนี้ เนื่องจากวามีชาวลาวกลุมใหญที่ถูกกวาดตอนขึ้นมาจากเมือง สระบุรี ผูเขียนเชื่อวาเมื่อเกิดการสูรบกันระหวางกองทัพสยามกับ กองทัพเวียงจันทนที่บานนายม ชาวลาวที่ถูกกวาดตอนมาก็คงหลบ หนีเอาตัวรอดเชนกัน เมื่อสงครามสงบก็ออกจากปาลงมาตั้งบานเรือน อยูรวมกับกลุมคนพื้นถิ่น จึงทำใหพบวามีคนบางกลุมในชุมชนบาน นายมปจจุบันที่มีสำเนียงภาษาคลายคลึงกับภาษาลาว มีวัฒนธรรม เชนเดียวกับชาวลาว ประโยคที่เปนอัตลักษณและเปนที่รูจักของชุมชน ใกลเคียงวาเปนสำเนียงเฉพาะของชาวบานนายมก็คือ “นายมกินขนม หมกโกย กินบหมดโยนลงโหย” (นายมกินขนมหมกกลวย กินไมหมด่ โยนลงหวย) ซึ่งจะมีสำเนียงแตกตางจากชุมชนที่อยูใกลเคียง นอก จากนี้ ยังปรากฏงานศิลปกรรมแบบลาวอยูภายในพื้นที่บานนายม ดวยดังไดกลาวมาแลวกอนหนา หลักฐานในชวงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ไดแสดงใหเห็น ว าชุมชนบานนายมยังมีสถานะความเปนชุมชนอยู เช นเดียวกับก อน หนานี้ ไมไดถูกทิ้งรางไปเปนเวลานานมากนัก แตผูคนนาจะลดลง เปนอยางมาก ดังจะพบวามีชุมชนและบานเกาอยูหนาแนนเฉพาะริมฝง คลองวังชมภูในบริเวณใกลเคียงกับวัดพระนอนเทานั้น สวนบริเวณ อื่นก็ขยายตัวออกมาจากบริเวณรอบๆ วัดพระนอนในระยะหลัง แตอยางไรก็ดี บานนายมก็ยังถือวาเปนชุมชนหมูบานที่มีขนาด ใหญที่สุดในละแวกนี้ ดังจะเห็นไดวามีการใชชื่อบานนายมตั้งขึ้นเปน


Click to View FlipBook Version