The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พื้นฐานธุรกิจดิจิทัล (2)_compressed

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by yingnetnaphit2546, 2024-01-29 09:18:21

พื้นฐานธุรกิจดิจิทัล (2)_compressed

พื้นฐานธุรกิจดิจิทัล (2)_compressed

ปวส. พื้ รหัสวิชา 3204-2001 พื้น พื้ นฐานธุธุ ธุ ร ธุ รกิกิ กิ จ กิ จดิดิ ดิ จิ ดิ จิ จิ ทั จิ ทั ทั ล ทั ล (Business Digital Basic)


คำ นำ หนังสือวิชาพื้นฐานธุรกิจดิจิทัล รหัสวิชา 30204-2001 เล่มนี้ เรียบเรียงขึ้นเพื่อ ใช้ประกอบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ คัญตามหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของสำ นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวง ศึกษาธิการ เนื้อหาของหนังสือมีด้วยกันทั้งหมด 9 หน่วยการเรียนประกอบด้วย บทที่ 1 ธุรกิจดิจิทัล บทที่ 2 นวัตกรรมสำ หรับธุรกิจดิจิทัล บทที่ 3 ระบบการทำ ธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล บทที่ 4 สื่อสังคมออนไลน์กับธุรกิจดิจิทัล บทที่ 5 ธุรกิจ ดิจิทัลโมบาย บทที่ 6 ความมั่นคงปลอดภัยในการทำ ธุรกรรมดิจิทัล บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมการทำ ธุรกรรมดิจิทัล บทที่ 8 หลักการเพิ่มประสิทธิภาพ และการบริหารคุณภาพเพื่อพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัส และบทที่ 9 อาชีพออนไลน์ เละกรณีศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในสถานการณ์ต่างๆมีทักษะการคิดและแก้ ปัญหาและบูรณาการกับการทำ งานตามสาขาอาชีพต่างๆต่อไป ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานธุรกิจดิจิทัลเล่มนี้จะสามารถ ใช้ศึกษาให้เกิดความรู้และเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนผู้สอนตลอดจนผู้สนใจศึกษาทั่วไป เป็นอย่างดีหากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้เขียนขอน้อมรับเพื่อประโยชน์ในการ ปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป


สารบัญ หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานธุรกิจดิจิทัล 1หน่วยที่ 2 โครงสร้างธุรกิจดิจิทัล 19หน่วยที่ 3 นวัตกรรมสำ หรับธุรกิจดิทัล 35หน่วยที่ 4 ระบบการทำ ธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล 58หน่วยที่ 5 สื่อสังคมออนไลน์กับธุรกิจดิจิทัล 77หน่วยที่ 6 ธุรกิจดิจิทัลโมบาย 103หน่วยที่ 7 ความมั่นคงปลอดภัยในการทำ ธุรกรรมดิจิทัล 120หน่วยที่ 8 กฎหมายและจริยธรรมทางธุรกิจดิจิทัล 143หน่วยที่ 9 กรณีศึกษาธุรกิจดิจิทัล 169


หน่น่ น่ ว น่ วยที่ที่ ที่ที่ 1 ความรู้รู้รู้พื้รู้พื้ พื้นพื้ ฐานทางธุธุธุร ธุรกิกิ กิจกิดิดิ ดิจิดิจิ จิทัจิทั ทั ล ทั ล


หัหั หั วหั วข้ข้ ข้ อข้ อเเรื่รื่ รื่อรื่องง 1.ความหมายของธุรกิจ 2.องค์ประกอบของกิจกรรมทางธุรกิจ 3.ความสำ คัญของธุรกิจ 4.ความสำ คัญของเทคโนโลยี สารสนเทศ 5.ความสำ คัญของการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร 6.ความหมายของธุรกิจดิจิทัล 7.เทคโนโลยีที่สนับสนุน ธุรกิจดิจิทัล 8.การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 9.ดิจิทัลทรานฟอร์เมชัน 10.ลักษณะของธุรกิจยุคดั้งเดิม และธุรกิจยุคดิจิทัล 11.การเปลี่ยนแปลงและผลระบบ ของการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เทคโนโลยีดิจิทัล 2


เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ของธุรกิจ องค์ประกอบของกิจกรรมทางธุรกิจ ความสำ คัญ ของธุรกิจ ความสำ คัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ความ สำ คัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารใน ธุรกิจ ความหมายของธุรกิจดิจิทัล เทคโนโลยีที่สนับสนุน ธุรกิจดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ลักษณะของธุรกิจยุคดั้งเดิมและยุคธุรกิจ ดิจทัล การปลี่ยนแปลงและผล กระทบของการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สสมมรรรรถถนนะะย่ย่ ย่ อ ย่ อยย 3


2.จำ แนกองค์ประกอบของกิจกรรมทางธุรกิจได้ 3.อธิบายความสำ คัญของธุรกิจได้ 4.อธิบายความสำ คัญของเทคโนโลยี สารสนเทศได้ 5.อธิบายความสำ คัญของการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารในธุรกิจได้ วัวัตตถุถุปปรระะสสงงค์ ค์เเชิชิงงพพฤฤติติกกรรรรมม 1.อธิบายความหมายของธุรกิจได้ 6.อธิบายความหมายของธุรกิจดิจิทัลได้ 7.อธิบายเทคโนโลยีที่สนับสนุนธุรกิจดิจิทัลได้ 8.อธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้ 9.อธิบายเกี่ยวกับดิจิทัลทรานส์ฟอเมชัน 10.แยกแยะลักษณะของธุรกิจยุคดั้งเดิม และธุรกิจยุคดิจิทัล 11.อธิบายการเปลี่ยนแปลวและผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 12.มีเจตคติที่ดี ปฏิบัติงานด้วยความ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ 4


เเนื้นื้ นื้อนื้อหหาาสสาารระะ การสร้างธุรกิจให้เติบโตการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ทันกระแสโลกเป็นสิ่งจำ เป็นโดยเฉพาะ ในขณะที่ทุกคนเข้าถึงโลกออนไลน์และการขายสินค้าผ่านโลกดิจิทัลในขณะเดียวกัน หลายคนก็ยังไม่ทราบว่าดิจิทัลคืออะไรและสำ คัญอย่างไรต่อผู้ประกอบการซึ่งความ สำ คัญของโลกดิจิทัลคือโอกาสในการเติบโตอีกขั้นหนึ่ง 1.1 ความหมายของธุรกิจ ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิตการจัดจำ หน่ายและการ บริการโดยภายในหน่วยงานหรือธุรกิจนั้นๆมีการนำ ทรัพยากรที่มีอยู่มาผสมผสาน กันอย่างมีระบบมีระเบียบตามกฎเกณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน หรือผู้บริโภค 1.2 องค์ประกอบของกิจกรรมทางธุรกิจ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหรือเรียกสั้นๆว่า 4 M'sประกอบด้วย คน (Man) เป็นทรัพยากรแรกที่ก่อให้เกิดการดำ เนินงานภายในธุรกิจซึ่งนับรวมทั้ง ฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการ 1. เงินทุน (Money or Capital) คือ สินทรัพย์ที่จะนำ มาใช้ในการดำ เนินธุรกิจอาจจะ อยู่ในรูปของ เงินสดหรือสินทรัพย์อื่นๆก็ได้ 2. วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ (Material) คือ อาจจะเป็นรูปของวัตถุดิบถ้าธุรกิจนันเป็น ธุรกิจการผลิต เช่น เครื่องจักรกล วัสดุอะไหล่ต่างๆหรืออาจใช้ในการดำ เนินงานให้ ประสบผลสำ เร็จ 3. การบริหารงานหรือการจัดการ (Management) คือกระบวนการหรือขั้นตอนใน การนำ คน 4. เงินทุนและวัตถุดิบหรือวัสดุอุปกรณ์มาดำ เนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5


1.3 ความสำ คัญของธุรกิจ ธุรกิจเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำ เนินงานในการสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือ ประชาชน โดยนำ ทรัพยากรต่างๆมาเข้ากระบวนการที่เรียกว่า "การดำ เนินธุรกิจ" ซึ่งธุรกิจเหล่านั้นมีผล ต่อการพัฒนาประเทศและสังคมสรุปได้ ดังนี้ การดำ เนินงานของธุรกิจก่อให้เกิดการนำ ทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด 1. ช่วยให้ผู้บริโภคหรือประชาชนได้ใช้สินค้าหรือบริการเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของ ตนเองให้ดีขึ้น 2. 3. ธุรกิจต่าง ๆ ช่วยขจัดปัญหาการว่างงาน และช่วยกระจายรายได้ไปสูประชาชน 4. ช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้กับประเทศในรูปแบบของภาษีอากร ประชาชนหรือผู้บริโภคมีโอกาสได้เลือกสินค้า หรือบริการทวีสนองความพึงพอใจ สูงสุด ได้ง่าย เพราะธุรกิจต่าง ๆ มีการแข่งขันกัน เพื่อพัฒนาสินค้าหรือบุริการ 5. 6. ประเทศสามารถนำ ภาษีอากรที่จัดเก็บไปพัฒนาประเทศ 6


1. การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำ เป็น ในการดำ เนินกิจกรรมต่าง ๆของมนุษย์ สิ่งสำ คัญที่มีส่วนใน การพัฒนากิจกรรมต่างๆของมนุษย์ย่อมประกอบด้วย สื่อที่ใช้สื่อสาร (Communications Media) การสื่อสาร โทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Intormation Technology) ยกตัวอย่างเช่น การบันทึกประวัติข้อมูลผู้ป่วยไว้ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ 2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล ทำ ให้สารสนเทศเผยแพร่หรือ กระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวกสิ่งเหล่านี้เป็นบริการสำ คัญของการสื่อสาร โทรคมนาคมที่ทำ ให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีมากยิ่งขึ้น 3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลการให้การใช้งานด้านต่างๆมีราคาถูกลงเช่นการ ใช้อินเทอร์เน็ตและการใช้งานถูกกว่าน่าเชือถือกว่าและรวดเร็วกว่าการใช้บริการไปรษณีย์ แบบเดิม (Post and Courier)ทั้งนี้หน่วยงานภาคธุรกิจรัฐบาลและบุคคลทั่วไปต่างนิยมใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้นเพราะช่วยประหยัดเวลาและเงินรวมทั้งทำ ให้มี ผลิตผล(Productiyity) เพิ่มขึ้น 1.4 ความสำ คัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศหรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีความสำ คัญใน การดำ รงชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ความสำ คัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมี 5 ประการ ได้แก่ 7


5. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำ ให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และต้นทุนการใช้ไอ ซีที่มีราคาถูกลงมากแม้ว่าการเป็นเจ้าของคู่สายโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ยังเป็นสิ่ง ฟุ่มเฟือยสำ หรับคนในสังคมส่วนใหญ่ แต่ประชาชนจำ นวนมากก็เริ่มมีกำ ลังหามาใช้ได้เอง แล้ว 4. เครือข่ายสื่อสาร (Communication Networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำ นวนการใช้เครือข่ายจำ นวนผู้เชื่อมต่อและจำ นวนผู้ใช้ซึ่งมีศักยภาพในการเข้า เชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น 8


นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังความสำ คัญต่อการ พัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. ด้านเศรษฐกิจ ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีความก้าวหน้าทางด้านเทค โนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมากการ ขยายตัวของผลผลิตการส่งออกและรายได้จากการผลิตอุปกรณ์ด้านสารสนเทศกลายเป็น สินค้าออกที่มีความสำ คัญ 2. ด้านการศึกษา ระบบสารสนเทศทางการศึกษาเป็นสิ่งที่มีความสำ คัญและจำ เป็นอย่างยิ่่ง ระบบสารสนเทศ เป็นหัวใจสำ คัญในทุกขั้นตอนการพัฒนาการศึกษาของประเทศ 3. ด้านสาธารณสุข เทคโน โลยีสารสนเทศช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในส่วนของสุขภาพอนามัย เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนในการให้บริการแก่ประชาชน โดยใช้เทคโนโลยีระบบเครือข่ายสาธารณสุขการปรึกษาผู้ป่วยผ่านดาวเทียม เป็นต้น 4. ด้านการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของเกษตรกรไทยในเรื่องการรับรู้ข่าวสาร ข้อมูลการตลาดผลิตผลทางการเกษตร 5. ด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การนำ คอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของกระทรวง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติสำ หรับการ วางแผนด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบายหรือการนำ ดาวเทียมเข้ามาช่วยในการสำ รวจและ จัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติการนำ คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัด ระบบจราจร เป็นต้น 9


6. ด้านอุตสาหกรรมและการบริการ ได้มีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการเพื่อให้ สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำ ลง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใน การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือการใช้คอมพิวเตอร์เข้าควบคมกระบวนการผลิต เป็นต้น 7. ด้านการท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบหนึ่งในกระบวนการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการให้บริการข่าวสารข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวและอำ นวยความสะดวก ในกาสำ รองที่นั่งเป็นต้น 8. ด้านการบริการของรัฐ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการสำ รองตั๋วโดยสารรถไฟ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยตรวจจับ คนร้าย การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรลงสู่คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 9. ด้านอื่น ๆ ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การจัดสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมต่างๆทั้งเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศ เครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างประเทศหรือเครือข่ายสื่อสารข้อมูลด้วยดาวเทียมขนาดเล็ก การ บันเทิงต่างๆ เช่น การแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ เคเบิลทีวี เป็นต้น 10


1.5 ความสำ คัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร 1. การเพิ่มความสะดวกสบายและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า การเพิ่มความรวดเร็วและถูกต้องในการดำ เนินงาน ธุรกิจ สามารถลดขัน ตอน เป็นการประหยัดเวลา 2. 3. การเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจ 4. การลดต้นทุน ในการดำ เนินธุรกิจ 5. การเพิ่มช่องทางในการขยายตลาด 1.6 ความหมายธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจดิจิทัล (Digital Business) คือ การนำ เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาพัฒนาธุรกิจที่ทำ อยู่หรือการสร้างสรรค์ของธุรกิจใหม่ที่ออกแบบโดยการทำ ให้ภาพของโลกดิจิทัลและ โลกทางกายภาพเข้าด้วยกัน เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีดิจิทัลและการ ทำ งานของคนที่ทำ ให้เกิดสินค้าและบริการรูปบริโภคในการเลือกซื้อลินค้าหรือบริการ ต่างๆจุดประสงค์หลักคือการหาทางเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจนั่นเอง 11


1.7 เทคโนโลยีสนับสนุนธุรกิจดิจิทัล แพลตฟอร์มดิจิทัล หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานหรือแหล่งรวบรวมสินค้าบริการเครื่องมือและ ข้อมูลดิจิทัลเพื่อใช้ในการสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ในทางธุรกิจ เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม (Technology Platform) ได้แก่ 1. สื่อสังคม (Social Media) หรือเทค โน โลยีสื่อสังคม (Social Technology) คือ สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ต่างๆผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) เป็นต้น 2. โมบาย (Mobile) คือ อุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่เคลื่อนที่ได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ตโฟน (Smart Phone) แท็บแลวิต (Tablet) หรืออุปกรณ์ที่มีความสามารถใน การติดต่อ สื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้ (Mobility) การใช้โมบายแอปพลิเคชัน (Mobile application) 3. การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) คือ การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ ข้อมูลจำ นวนมหาศาลในเชิงลึก 4. การประมวลผลกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) หรือคลาวด์ (Cloud) คือ บริการที่ ครอบคลุม ถึงการให้ใช้กำ ลังให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้งดูแลระบบ ประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย 5. อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things : IoT) คือ สภาพแวดล้อม ประกอบด้วย สรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่าน โปรโตคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สายโดยสรรพสิ่งต่างๆมีวิธีการระบุตัวตนได้ รับ รู้บริบทของสภาพแวดล้อมได้ และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำ งานร่วมกัน 12


สภาพยุคเศรษฐกิจทีมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวนำ (Digital Economy) ในการ สร้างการเติบโตทางธุรกิจ มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 1. การใช้ทรัพยากรเมื่อต้องการ (Resource on Demand) ภายใต้เศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจาก กำ ลังการผลิตที่เหลือของทรัพยากรหรือสินทรัพย์ที่มีอยู่ 2. การใช้ศักยภาพของบุคลากรเมื่อต้องการ (Talent on Demand) ในรูปแบบของ แรงงานอิสระ (Freelance Worktorce) คำ ว่า "Freelance" หรือ "Freelancer" คือ ผู้มี อาชีพอิสระไม่ขึ้นตรงต่อหน่วยงาน องค์กรใด ๆ Freelance จะต้องจัดตารางเวลาการ ทำ งานของตนเองและรับเงินจากผู้ว่าจ้างซึ่งตกลงตามความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย 3. การแสวงหาความรู้และข้อมูลที่จำ เป็นเมื่อต้องการ (Intelligence on Demand) ผ่านทาง Crowds และ Cloud โดยการกระจายปัญหาไป ยังชุมชนออนไลน์หรือในโลกไซเบอร์เพื่อค้นหาคำ ตอบและวิธีการในการแก้ปัญหาทาง ธุรกิจเรียกว่า Crowdsourcing ส่วนระบบ Cloud คือ แอปพลิเคชั่นที่ช่วยเก็บข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลด้วยรูปแบบ Saas (Software as a Servic) ผู้ใช้บริการสามารถใช้ได้ทุกที่ โดยไม่จำ เป็นต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่อเก็บข้อมูล ลดความยุ่งยาก 1.8 การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 13


การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลจะอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นตัวนำ ซึ่งทำ ให้ สภาพแวดล้อมในการทำ งานรูปแบบกระบวนการทำ งานตลอดจนกลยุทธตลอดจนโครงสร้าง องค์กรแตกต่างออกไปจากเดิม โดยมีลักษณะที่สำ คัญ คือ มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) และ แอปพลิเคชั่น (Applications) ที่ออกแบบเพื่อรองรับความต้องการของแต่ละคน (The Internet of Me (IoT) ผู้บริโภคต้องการให้มีการทำ งานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆอย่างไร้รอย ต่อ การเกิดขึ้นของแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ มีความสามารถในการใช้ และเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว (Digital Natives) ในขระที่คนรุ่นก่อนหน้า ต้องใช้เวลาปรับตัวให้เขัากับเทคโนโลยีดิจิทัล การทำ งานและการใช้ชีวิต (Work and Life) เปลี่ยนไปเนื่องจากมีการเชื่อมต่อการ ทำ งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและโซเซียลมีเดีย (Social Media) ทำ ให้พนักงานจะอยู่ ที่ใดใช้อุปกรณ์แบบใดเวลาใดก็ได้ งานในยุคเศรษกิจดิจิทัล (Digital Economy) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ งานที่จะ หายไปเนื่องจากแทนที่ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ งานที่เกิดขึ้นใหม่เนื่องจากการใช้ระบบ เครื่องจักรอัติโนมัติ งานที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากยังไม่สามารถแทนที่ได้ด้วยระบบ อัติโนมัติ และงานที่อาศัยความรู้ทักษะควบคุมและใช้งาน รูปแบบการทำ ธุรกิจต้องเผชิญกับการกดดันจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และทำ ลายธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทันจนต้องล่มสลาย องค์กรในยุคเศรษฐกิจ (Digitai Economy) จะมีรูปแบบที่แบนราบและมีขั้นตอนการ ตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้น โครงสร้างการบริหารงานจะเปลี่ยนจากรูปแบบปิรามิดที่มีการทำ งานร่วมกันระหว่าง ผู้นำ หน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนไปเป็นโครงสร้างแบบยืดหยุ่นมีผู้นำ และทีม พัฒนาวัตกรรมที่มีอิสระตัดสินใจได้เองนำ ไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ 14


คือ การเปลี่ยนแปลงองคืกรเพื่อให้เข้ากับเศรษฐกิจดิจิทัลที่แข่งขันกันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งดิจิทัลทรานส์ฟอเมชั่นในธุรกืจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ใน 3 ด้าน คือ 1.9.1. เปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบการดำ เนินธุรกิจ คือ ภาพรวมการทำ งานของธุรกิจประ เภทนั้นๆ ครอบคลุมตั้งแต่วิธีการดำ เนินธุรกิจ กลุ่มลูกค้า การได้รายรับ รายจ่าย ซึ่ง แต่ละธุรกิจจะแตกต่างกันออกไปเมื่อเกิดทรานส์ฟอเมชันขึ้น 1.9.2 การเปลี่ยนแปลงด้านการปฏิบัติ ในการทำ งานแบบยุคก่อนดิจิทัลนั้นพึ่งพากำ ลัง มนุษย์เป็นหลัก แต่เมื่อเกิดดิจิทัลทรานส์หฟอเมชันก็ได้ช่วยเปลี่ยนวิธีการทำ งานและระบบ ปฏิบัติการการให้พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ลดทอนการใช้กำ ลังมนูาญืและความซ้ำ ซ็อนใน วิธีการทำ งานให้น้อยลง 1.9.3 เปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของลูกค้า เมื่อองค์กรผู้ผลิตสินค้าและบริการเริ่มต้นด้วย การดิจิทัลทรานสืฟอเมชันสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับย่อมมีความต่างออกไป สิ่งที่เทคโนโลยีดิจิทัล สามารถทำ ได้ในแง่ประสบการณ์เป็นไปได้ตั้งแต่ความรู้สึก เช่น ง่ายกว่า เร็วกว่า ไปจนถึง สิ่งที่จับเป็นชิ้นเป็นอันจับต้องได้จริง เช่น การใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน 1.9 ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน 15


1.10 ลักษณะของธุรกิจยุคดั้งเดิมและธุรกิจยุคดิจิทัล ลักษณะของะธุรกิจยุคดั้งเดิม มีขนาดเล็กจนถึงปานกลางแต่เดิมมักเป็นธุรกิจในครัวเรือน เช่น SME การ บริหารจัดการแบบเครือญาติ 1. 2. เน้นการใช้แรงงานมากกว่าเทคโนโลยี 3. ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารพื้นฐาน คือ จดหมาย โทรสารและโทรศัพท์ 4. การบันทึกข้อมูลจะใช้วิธีการจดจำ และบันทึกลงสมุด ใช้ระบบเส้นสายในการบริหารงาน การตัดสินใจมักพิจารณาจากแรงสังหรณ์ มากกว่าข้อมูล 5. 6. . ขาดยุทธศาสตร์เชิงรุก ลักษณะของะธุรกิจยุคดิจิทัล 1. การทำ งานเป็นแบบมืออาชีพ 2. ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาช่วยในการดำ เนินการ ใช้รูปแบบการสื่อสารที่รวดเร็ว ส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่ายเข้าสู่ คอมพิวเตอร์ทันทีไม่มีการหยุกพัก จึงสามารถทำ งานต่อเนื่องได้ทันที 3. 4. ใช้ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูล บริหารงานด้วยข้อมูลข่าวสาร การตัดสินใจจะพิจารณาจากข้อมูลเป็น หลัก 5. ใช้ ICT ในการกำ หนดยุทธศาสตร์เชิงรุก โดยเน้นนวัตกรรมที่นำ หน้าคู่ แข่งและมีการมองสถานการณ์ในอนาคต 6. 16


1.11 การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้าน เทคโนโลยีดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีสื่อสารที่มีความเร็วและคุณภาพสูงมาก เทคโนโลยีอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์แบบทุกที่ ทุกเวลา เทคโนโลยีการประมวลผลคลาวด์ เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เทคโนโลยีการเชื่อมต่อสรรพสิ่ง เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ เทคโนโลยีความมั่งคงปลอดภัยไซเบอร์ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การหลอมรวมของกิจกรรม เกิดจากการหลอมรวมระหว่างกิจกรรมทาง เศรษฐกิจของสังคม ผู้บริโภคกลายเป็นผู้ผลิต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้เกิดการผลิตมากขึ้น การแข่งขันบนฐานนวัตกรรม การแข่งขันในเชิงราคาจะเป็นเรื่องของอดีต ธุรกิจไม่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ได้ ยุคของระบบอัจฉริยะมากขึ้นเป็นยุคของการใช้เทคโนโลยีและแอปพลิเคชัน การแข่งขันด้วยข้อมูลเกิดจากข้อมูลผู้ใช้งานและอุปกรณ์เซนเซอร์ต่างๆ การแพร่ระบาดของภัยไซเบอร์หรือการโจมตีบนระบบคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนโครงสร้างกำ ลังคน งานหลายประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาค อุสาหกรรม 17


สรุปสาระสำ คัญ ธุรกิจดิจิทัลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างออกแบบธุรกิจใหม่ๆ เกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์และ การเจรจาระหว่างธุรกิจและสิ่งต่างๆ เทคโนโลยีดิจิทัลผลักดันการปรับปรุงในกระบวนการ ทางธุรกิจ แบบดั้งเดิมเข้าสู่ระบบทางธุรกิจดิจิทัล การสร้างนวัตกรรมดิจิทัลที่สร้างขึ้นโดย ต้องแข่งขันด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นและความคล่องตัวทางเทคโนโลยี ผู้นำ ทางธุรกิจที่ ประสบความสำ เร็จจะต้องมีทักษะทางธุรกิจแบบดิจิทัลบทบาทใหม่ๆ เช่น หัวหน้าเจ้า หน้าที่ดิจิทัลจะกลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาบทบาทผู้นำ ธุรกิจและซีไอโอจะต้องพัฒนาความ เป็นผู้นำ และความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อกำ หนดและดำ เนินกลยุทธ์ดิจิทัล 18


หน่น่ น่ ว น่ วยที่ที่ ที่ที่ 2 โครงสร้ร้ ร้ า ร้ าง ธุธุธุร ธุรกิกิ กิจกิดิดิ ดิจิดิจิ จิทัจิทั ทั ล ทั ล


2.1 ความหมายของโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจดิจิทัล 2.2. แนวคิดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล 2.3 โครงสร้างพื้นฐานในการทำ ธุรกิจดิจิทัล หัหั หั วหั วข้ข้ ข้ อข้ อเเรื่รื่ รื่อรื่องง 20


เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล แนวคิด ในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและ โครงสร้างพื้นฐานในการทำ ธุรกิจดิจิทัล สสมมรรรรถถนนะะย่ย่ ย่ อ ย่ อยย 21


1. อธิบายความหมายของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลได้ 2. อธิบายแนวคิดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลได้ 4. จำ แนกความแตกต่างของโครงสร้างพื้นฐานในการทำ ธุรกิจดิจิทัล วัวัตตถุถุปปรระะสสงงค์ ค์เเชิชิงงพพฤฤติติกกรรรรมม 3. อธิบายโครงสร้างพื้นฐานในการทำ ธุรกิจดิจิทัลได้ 5. จำ แนกโครงสร้างธุรกิจแบบธุรกิจดั้งเดิมและธุรกิจดิจิทัลได้ 6. แยกแยะลักษณะของธุรกิจยุคดั้งเดิมและธุรกิจยุคดิจิทัลได้ 7. มีเจตคติที่ดี ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ 22


การจะปรับเปลี่ยนธุรกิจแบบดั้งเดิมมาเป็นธุรกิจในแบบดิจิทัลสิ่งสำ คัญเริ่มต้นตั้งแต่ โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีจนเป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้กลายเป็นนวัตกรรมในการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลซึ่งทางภาครัฐได้ให้การสนับสนุนการขับ เคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจดิจิทัลในหลายๆด้านนอกจากนี้หน่วยงานหรือองค์กรต้องเรียนรู้และ พร้อมจะปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจทั้งผู้นำ องค์กรพนักงานกระบวนการทำ งานสิ่งแวดล้อมใน องค์กรและรูปแบบการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรการจะปรับเปลี่ยนธุรกิจแบบ ดั้งเดิมมาเป็นธุรกิจในแบบดิจิทัล สิ่งสำ คัญเริ่มต้นตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน ของเทคโนโลยี ดิจิทัล เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีจนเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อให้กลายเป็นนวัตกรรมในการ พัฒนาธุรกิจดิจิทัล ซึ่งทางภาครัฐได้ให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจดิจิทัลใน หลายๆด้านนอกจากนี้หน่วยงาน หรือองค์กรต้องเรียนรู้และพร้อมจะปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ทั้งผู้นำ องค์กร พนักงาน กระบวนการทำ งาน สิ่งแวดล้อมในองค์กรและรูปแบบการสื่อสารทั้ง ภายในและภายนอกองค์กร เเนื้นื้ นื้อนื้อหหาาสสาารระะ 2.1 ความหมายของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) โทรคมนาคม (Telecommunication) และการแพร่ภาพกระจายเสียง (Broadcast) รวมทั้งการ หลอมรวมของเทคโนโลยี (Convergence) ทั้งสามด้านที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม 23


2.2 แนวคิดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล หมายถึง เศรษฐกิจและสังคมที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร (หรือที่เรียกว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ทันยุคสมัย) เป็นกลไกสำ คัญในการขับเคลื่อน การปฏิรูปกระบวนการผลิต การดำ เนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งกิจกรรม ทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และมีคณะกรรมการ เฉพาะด้านทำ หน้าที่ช่วยเหลือ คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ชี้นำ ทิศทางของการพัฒนาให้แก่หน่วยงานทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ และกำ หนดนโยบาย สนับสนุนด้านการสร้างแรงจูงใจ (Incentive) นวัตกรรม (Innovation) จัดหาตลาดให้แก่ เอกชน เพื่อร่วมกันสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง และพัฒนาคนไทยที่มีความสามารถ โดย คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลแห่งชาติ ประกอบด้วย คณะกรรมการเฉพาะด้าน 5 ด้าน คือ 1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Hard Infrastructure) 2. การสร้างความมั่นคงปลอดภัยและความเชื่อมั่นในการทำ ธุรกรรมด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล (Soft Infrastructure) 3. โครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการให้บริการ (Service Infrastructure) 4. การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Economy Promotion) 5. การสร้างสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพและการพัฒนาคลังทรัพยากรสารสนเทศของ ประเทศ (Digital Society) 24


2.2.1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลหรือการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทั้งด้าน โทรคมนาคมและการแพร่ภาพกระจายเสียงเพื่อให้ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ ครอบคลุม ทุกพื้นที่มีขนาดที่พอเพียงกับการใช้งาน มีเสถียรภาพที่มั่นคง ในราคาที่เหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การต่อยอด กิจกรรมการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มี ประสิทธิภาพสูงสุดโดยแนวทางการดำ เนินงานดังนี้ 1. โครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง (National Broadband) หมายถึง โครงข่ายสื่อสาร ความเร็วสูงความเร็วไม่น้อยกว่า 2 Mbps ของประเทศซึ่งจะใช้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน สำ หรับประชาชนทุกคนเพื่อให้ประชาชนได้ใช้งานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในการรับส่ง แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และเข้าถึงบริการสาธารณะเช่นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโทรศัพท์ เคลื่อนที่ 3G/4G/LTE ประชุมทางไกลแบบเห็นหน้า 2. ศูนย์ข้อมูลประมวลผลกลาง (Data Center) หมายถึง ศูนย์ข้อมูลที่มีพื้นที่สำ หรับ ใช้จัดวางระบบประมวลผลกลาง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสาร ต่างๆการออกแบบศูนย์ข้อมูลต้องคำ นึงถึงปัจจัยสำ คัญต่างๆเช่นความมเสถียรภาพ ความพร้อมใช้งานการบำ รุงรักษาความเหมาะสมในการลงทุนความปลอดภัยการองรับ การขยายตัวในอนาคตศูนย์ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่ต้องออกแบบและก่อสร้างอย่างถูกต้องและ ให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้บริการที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องรวมทั้ง ในสถานการณ์ฉุกเฉิน 3. ช่องทางเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ (International Gateway) หมายถึง จุดเชื่อมต่อ และ แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศจากประเทศไทยไปยังศูนย์กลางการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตของโลก (Internet Hub) โดยผ่านวงจรสื่อสัญญาณในหลาย รูปแบบ เช่น ระบบเคเบิลใยแก้วนำ แสงภาคพื้นดิน (Terrestrial Cable) เคเบิลใต้น้ำ (Submarine Cable) 25


4. โครงข่ายส่งสัญญาณระบบดิจิทัลทั่วประเทศ (National Broadcast) หมายถึง โครงข่าย ส่งสัญญาณแพร่ภาพกระจายเสียงระบบดิจิทัลที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศซึ่งการพัฒนา โครงข่ายส่งสัญญาณระบบดิจิทัลจะครอบคลุมถึงการเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์ระบบแอนะ ล็อกดั้งเดิมไปสู่ระบบดิจิทัลทั้งโทรทัศน์ ภาคพื้นดิน โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โทรทัศน์ผ่าน เคเบิลและยังรวมถึงโทรทัศน์แบบใหม่ที่เป็นดิจิทัลอยู่แล้ว เช่น โทรทัศน์อินเทอร์เน็ตที่ สามารถรับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา 5. ดาวเทียม (Satellite) หมายถึง ดาวเทียมที่ถูกส่งไปในช่วงของอวกาศเข้าสู่วงโคจรรอบ โลกโดยใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคม การรายงานสภาพอากาศ การทหาร และการวิจัยทาง วิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันรวมทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม บรอดคาสต์และเพื่อความมั่นคงของประเทศ 6. การบริหารจัดการการใช้ความถี่วิทยุ (Radio Frequency Management) หมายถึง การบริหารจัดการและการกำ กับดูแลการใช้ความถี่วิทยุซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำ กัดเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ โดยต้องให้มีความสมดุลของการกำ กับดูแลการแข่งขันโดยเสรี และการแปรรูปจากกิจการของรัฐไปเป็นเอกชน 26


1. กฎหมาย (Law) หมายถึง การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อรองรับการทำ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้แทนธุรกรรมในรูปแบบกระดาษได้ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 2. ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) หมายถึง ความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง กับการทำ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางโลกดิจิทัลซึ่งมี ความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการรักษาความลับของข้อมูลที่ต้อง คำ นึงถึงการป้องกันภัยและควบคุมการทำ รายการผ่านระบบออนไลน์การป้องกันการละเมิด ข้อมูลมาตรฐานที่เกี่ยวข้องและวิธีการจัดการความปลอดภัยความเชื่อมั่นของผู้ใช้ 3. การอำ นวยความสะดวกทางการค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (e-Trade Facilitation) หมายถึง การอำ นวยความสะดวกทางการค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดต้นทุน/ความผิดพลาดเพิ่ม ประสิทธิภาพและผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ 4. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transaction) หมายถึง กิจกรรมที่กระทำ ขึ้นระหว่าง หน่วยธุรกิจบุคคลรัฐตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใดๆเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้าการบริการและการติดต่องานราชการโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแค่ บางส่วน เช่น การชำ ระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) การซื้อขายสินค้าและการ บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Trading and Service) การรับรองสิทธิ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (e-Health) การยื่นคำ ร้องคำ ขอหนังสือ/เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดทำ รายงาน และเผยแพร่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing and e-Reporting) 2.2.2 การสร้างความมั่นคงปลอดภัย และความเชื่อมั่นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การสร้างความมั่นคงปลอดภัย และความเชื่อมั่นในการทำ ธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล หรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมาย กฎระเบียบและมาตรฐานต่างๆเพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นในการทำ ธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลโดยมีแนวทางการดำ เนินงาน ดังนี้ 27


1. รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) หมายถึง การออกแบบและปรับเปลี่ยนรูปแบบ บริการของรัฐโดยอาศัยข้อมูลดิจิทัลเพื่อสร้างบริการของรัฐในรูปแบบใหม่ผ่านเทคโนโลยี Mobile Social Cloud Technology ในยุคอินเทอร์เน็ต โดยมีลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ (1) Reintegration : การบูรณาการการทำ งานของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เข้าด้วย กัน เพื่อให้เกิดการกำ กับควบคุมการบริหารภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ (2) Needs-Based Holism : การปรับปรุงองค์กรภาครัฐเพื่อให้เกิดการให้บริการ สาธารณะที่ให้ความสำ คัญต่อการนำ ความต้องการของพลเมืองมาเป็นศูนย์กลาง (3) Digitalization : การใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการนำ ระบบบริหารสารสนเทศมา ใช้ รวมถึงการให้ความสำ คัญต่อการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งจะเข้ามาแทนที่วิธีการ ทำ งานแบบเดิม 2. แพลตฟอร์มการให้บริการ (Service Platforms) หมายถึง แพลตฟอร์มสำ หรับการให้ บริการเฉพาะด้านที่อำ นวยความสะดวกต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น แพลตฟอร์มให้บริการ ข้อมูลท่องเที่ยว แพลตฟอร์มให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 3. การจัดส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Logistics) หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารเพื่ออำ นวยความสะดวกทางการค้าและการจัดการโซ่อุปทานเพื่อความสามารถใน การแข่งขัน 4. นวัตกรรมการบริการข้อมูล (Data Service Innovation) หมายถึง นวัตกรรมการ บริการข้อมูลที่นำ ความคิดและแนวทางการดำ เนินงานใหม่ๆผ่านการคิดอย่างเป็นระบบ และ เข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้บริการมาใช้เป็นแนวทางการสร้างบริหารจากข้อมูล เช่น ข้อมูลเปิดภาครัฐโดยมีรูปแบบการให้บริการทีมีความแตกต่างไปจากเดิมเพื่อมุ่งตอบสนอง ต่อความพึงพอใจของลูกค้า 2.2.3 โครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการให้บริการ โครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการให้บริการหรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมบริการผ่านระบบดิจิทัลของทั้งภาครัฐและเอกชนได้อย่างมีประ สิทธิสูงสุดโดยมีต้นทุนต่ำ สุดโดยมีแนวทางการดำ เนินงาน ดังนี้ 28


การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล หรือการส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจและปรับเปลี่ยนวิธีการทำ ธุรกิจจากการแข่งขันเชิงราคาไปสู่การสร้างคุณค่า ของสินค้าและบริการ (Service Innovation) ที่ผู้บริโภคพอใจสูงสุด โดยมีแนวทาง การดำ เนินงาน ดังนี้ 1. พาณิชย์ดิจิทัล (Digital Commerce) หมายถึง การค้าที่อยู่บนพื้นฐานของการหลอม รวม เทคโนโลยีเพื่อต่อยอดองค์ความรู้เชิงธุรกิจให้กับธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็กและสร้าง ธุรกิจเกิดใหม่ (Start Up) ด้วยการนำ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับ ภาคธุรกิจในการปรับเปลี่ยนแนวคิดและกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) บนพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนโฉมการดำ เนินธุรกิจ (Business Transformation) โดยมุ่งเน้นระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 2. ผู้ประกอบการดิจิทัล (Digital Entrepreneur) หมายถึง เจ้าของธุรกิจที่มีการใช้ ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเข้มข้นเพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพในการบริหาร จัดการการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจตลอดจนการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีมาปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจแบบเดิม 3. นวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation) หมายถึง ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆที่เกิดจาก การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดการ สร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนบนพื้นฐานของการหลอมรวมเทคโนโลยี 4. ห่วงโซ่อุปทานดิจิทัล (Digital Supply Chain) หมายถึง ขั้นตอนการดำ เนินธุรกิจ ดิจิทัลซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์และบริการต้นน้ำ ไปจนกระทั่งผลิตภัณฑ์และบริการ ปลายน้ำ รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการและการจัดการกิจกรรมต่างๆที่เป็นการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ 5. เนื้อหาดิจิทัล (Digital Content) หมายถึง สารสนเทศที่มีรูปแบบดิจิทัล โดยอาศัยการ สื่อ หรือการแสดงเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน โทรทัศน์ดิจิทัลรวมถึงป้ายโฆษณาระบบดิจิทัลและโรงภาพยนตร์ระบบดิจิทัล 2.2.4 การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 29


1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย โดยคนทุกกลุ่มในสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองไม่ว่าจะเป็นเด็กก่อนวัยเรียนเด็กและเยาวชน วัยเรียนที่อยู่ทั้งในและนอกระบบการศึกษาสามัญผู้ใหญ่ในวัยทำ งานผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสทุก ประเภท 2. คลังข้อมูลดิจิทัล (Digital Archive) หมายถึง การจัดทำ คลังข้อมูล/ความรู้ดิจิทัลโดยจะ ต้องมีแผนการแปลงข้อมูลประเภทต่างๆ เพื่อจัดเข้าคลังข้อมูล/ความรู้และทยอยแปลงข้อมูล เข้าระบบ เช่น แปลงข้อมูลองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมเป็นดิจิทัลเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมอัต ลักษณ์ความเป็นไทยหรือข้อมูลเก่าของหน่วยงานภาครัฐใหม่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อประโยชน์ ในการจัดเก็บป้องกันข้อมูลสูญหายความสะดวกในการใช้งานและการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง หน่วยงาน 3. ห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) หมายถึง ห้องสมุดดิจิทัลที่รวบรวมความรู้ทุกประเภท และทำ การเชื่อมโยงห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์กับห้องสมุดแบบเดิมของทั้งภาครัฐสถานศึกษาและ เอกชน 4. ชุมชนดิจิทัล (Digital City) หมายถึง การประยุกต์ใช้และบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลภายในชุมชนนำ ไปสู่การบริหารจัดการพลังงานที่ ชาญฉลาดการบริหารจัดการของเสียการบริการข้อมูลสำ หรับการเดินทางเพื่ออำ นวยความ สะดวกให้กับประชาชนเพื่อความปลอดภัยและเพื่อสิ่งแวดล้อม 2.2.5 การสร้างสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพและการพัฒนาคลังทรัพยากรสารสนเทศ ของประเทศ การสร้างสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพและการพัฒนาคลังทรัพยากรสารสนเทศของประเทศหรือการ สร้างสังคมดิจิทัลที่ทั่วถึงเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐได้ ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกันผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลรวมทั้งมีพลเมืองดิจิทัลที่ฉลาดรู้เท่า ทันข้อมูลข่าวสารและมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยมีแนวทางการดำ เนินงาน ดังนี้ 30


5. การรู้เท่าทันข้อมูลและสื่อ (Media Literacy) หมายถึง ความสามารถของแต่ละบุคคลในการ เข้าถึง เข้าใจ ตีความ ประเมิน และสร้างข้อมูลและสื่อในรูปแบบที่หลากหลายด้วยความตระหนัก ถึงผลกระทบของข้อมูลและสื่อต่างๆ ดังกล่าวโดยไม่ถูกครอบงำ และสามารถใช้สื่อเป็นประโยชน์ต่อ การเรียนรู้และการดำ รงชีวิตของทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม 6. ระบบดิจิทัลตามหลักการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design) หมายถึง การออกแบบที่ เป็นสากลให้กับคนทุกๆกลุ่มไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไปคนพิการและผู้สูงอายุโดยหลักการของ อารยสถาปัตย์หรือการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) มี 7 ประการคือ (1) การใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน (Equitable Use) (2) มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexibility in Use) (3) เรียบง่ายและใช้งานได้ง่าย (Simple and Intuitive) (4) ข้อมูลสารสนเทศ สามารถรับรู้ได้ (Perceptible Information) (5) ทนต่อความผิดพลาด (Tolerance for Error) (6) ใช้ได้ด้วยความสามารถทางกายภาพต่ำ (Low Physical Effort) (7) ขนาดและพื้นที่สำ หรับการใช้งาน (Size and Space for Approach and Use) 7. บริการสุขภาพที่ทั่วถึงและเท่าเทียม (Universal Healthcare) หมายถึง บริการสุขภาพ อันทันสมัยและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลที่ประชาชนชาวไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่าง ทั่วถึงเท่าเทียมอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีโดยไม่มีอุปสรรคในเรื่องของค่าใช้จ่ายโดยที่บริการสุขภาพ เหล่านี้ถือเป็นสิทธิตามกฎหมายของประชาชนไทยทุกคน 31


2.3 โครงสร้างพื้นฐานในการทำ ธุรกิจดิจิทัล องค์กรและธุรกิจต่างๆต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำ ธุรกิจแบบเดิมเป็นรูปแบบธุรกิจดิจิทัล ทำ ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงการดำ เนินงานของธุรกิจ ดังนี้ 2.3.1 ผู้นำ องค์กร ในฐานะผู้กำ หนดทิศทางและนำ ทางขององค์กรผู้นำ จึงต้องทำ หน้าที่ในการส่งเสริมการ ทำ งานอย่างเข้มแข็งและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำ คัญของ องค์กรพนักงานทุกคนจะต้องเข้าใจเป้าหมายขององค์กรและมีการดำ เนินงานไปใน ทิศทางเดียวกันเพื่อลงมือปฏิบัติงานได้ทันทีและรวดเร็ว 2.3.2 พนักงาน พนักงานนั้นจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนสิ่งที่มักพบได้บ่อยๆคือพนักงานมักเข้าใจว่า เมื่อมีองค์กรหรือธุรกิจมีการปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัลก็แสดงว่าองค์กรจะปรับลดจำ นวนพนักงาน ลงดังนั้นลำ ดับแรกองค์กรจะต้องทำ ให้พนักงานเข้าใจตรงกันก่อนว่าเทคโนโลยีคือเครื่องมือที่ ช่วยให้ทำ งานได้ดีขึ้นทำ ให้พนักงานมีเวลาให้ความสำ คัญกับงานที่ต้องการความคิดและความ สามารถได้มากขึ้น 2.3.3 สร้างกระบวนการทำ งานแบบแพลตฟอร์ม เมื่อพนักงานมีความพร้อมด้านทัศนคติแล้วต้องมีการปรับวิธีการทำ งานด้วยเช่นเดียวกัน เทคโนโลยีช่วยให้การติดต่อประสานงานเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว แต่ถ้ารูปแบบการ ทำ งานยังเป็นแบบปิดกั้นเราก็จะไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยรูปแบบ การทำ งานที่เหมาะสมนั้นจะต้องเป็นแบบ Open Platform และต้องไม่มีการทำ งานแบบต่าง คนต่างทำ อีกต่อไปต้องสร้างการทำ งานที่เชื่อมต่อกันเพื่อใช้ประโยชน์ของความชำ นาญที่แตก ต่างกันของแต่ละแผนกให้สูงสุด 32


2.3.4 สร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อความคล่องตัว นอกจากตัวคนซึ่งเป็นส่วนสำคัญและวิธีการทำงานที่เป็นฟันเฟืองหลักแล้วการ สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลก็มีความสำคัญไม่แพ้ส่วน อื่นๆสิ่งแวดล้อมดังกล่าวนั้นรวมถึงการสร้างบรรยากาศสิ่งอำนวยความสะดวก และวิถีชีวิตในที่ทำงาน 2.3.5 สร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น จะไม่สามารถประสบความสำ เร็จได้หากขาดการ สื่อสาร ภายในองค์กรอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องโดยต้องเริ่มจากการสื่อสารถึงประโยชน์ของ ธุรกิจดิจิทัลด้วยคอนเทนต์ที่น่าสนใจน่าติดตามกระชับเข้าใจง่ายและตรงจุด ทั้งนี้ ไม่จำ เป็นว่าการสื่อสารเรื่องดิจิทัลจะต้องทำ ผ่านสื่อดิจิทัลเท่านั้นสื่อต่างๆที่ พนักงานพบเห็นบ่อยๆก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เช่น สโลแกนที่ช่วยให้จดจำ เสื้อยืด สกรีนโลโก้เป็นต้น 33


สรุปสาระสำ คัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล รัฐบาลได้วางนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลโดยมีการ จัดตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำ หนดทิศทางของการพัฒนา ให้แก่หน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัล ด้านการสร้าง ความมั่นคงปลอดภัย และความเชื่อมั่นในการทำ ธุรกรรมด้วย เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการให้บริการด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการสร้างสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพและการพัฒนาคลังทรัพยากร สารสนเทศของประเทศ โครงสร้างพื้นฐานในการทำ ธุรกิจดิจิทัลหน่วยงานหรือองค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ ทำ ธุรกิจแบบเดิมๆเป็นการทำ ธุรกิจในแบบดิจิทัลทำ ให้องค์กรต้องเปลี่ยนแปลงการดำ เนินงาน ของธุรกิจตั้งแต่ระดับผู้นำ องค์กร พนักงาน กระบวนการทำ งานแบบแพลตฟอร์มการสร้างสิ่ง แวดล้อมและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อความสำ เร็จในธุรกิจ 34


หน่น่ น่ ว น่ วยที่ที่ ที่ที่ 3 นวัวั วั ต วั ตกรรม สำสำสำสำหรัรั รั บรั บธุธุธุร ธุรกิกิ กิจกิ


3.ขั้นตอนของนวัตกรรม 4.ตัวอย่างนวัตกรรม 5.นวัตกรรมธุรกิจ 7.นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล 8.ข้อดีและข้อควรคำ นึงถึงของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล 9.นวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิทัล 10.ข้อเสนอแนะนำ ในการสร้างนวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิทัล 11.กระบวนการสร้างนวัตกรรมสำ หรับธุรกิจดิจิทัล 2.องค์ประกอบของนวัตกรรม หัหั หั วหั วข้ข้ ข้ อข้ อเเรื่รื่ รื่อรื่องง 1.ความหมายของนวัตกรรม 6.ประเภทของนวัตกรรมธุรกิจ 36


เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายของนวัตกรรม องค์ประกอบของนวัตกรรม ขั้นตอนของนวัตกรรม ตัวอย่างนวัตกรรม นวัตกรรมธุรกิจ ประเภทของนวัตกรรมธุรกิจนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล ข้อดี และข้อควรคำ นึงถึงของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ ดิจิทัล ข้อเสนอแนะในการสร้าง นวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิทัล และ กระบวนการสร้างนวัตกรรมสำ หรับธุรกิจดิจิทัล สสมมรรรรถถนนะะย่ย่ ย่ อ ย่ อยย 37


1. อธิบายความหมายของนวัตกรรมได้2. แยกองค์ประกอบของนวัตกรรมได้3. จัดลำ ดับขั้นตอนของนวัตกรรมได้4. ยกตัวอย่างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำ วันได้5. อธิบายความหมายของนวัตกรรมธุรกิจได้6. จำ แนกประเภทของนวัตกรรมธุรกิจได้7. อธิบายความหมายของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลได้8. ยกตัวอย่างนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลได้9. จำ แนกข้อดีและข้อควรคำ นึงถึงของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลได้10. อธิบายนวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิทัลได้11. อธิบายข้อเสนอแนะในการสร้างนวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิทัลได้12. อธิบายกระบวนการสร้างนวัตกรรมสำ หรับธุรกิจดิจิทัลได้13. เรียงลำ ดับกระบวนการสร้างนวัตกรรมสำ หรับธุรกิจดิจิทัลได้14. มีเจตคติที่ดี ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ วัวัวัตวัตถุถุถุปถุปรระะสสงงค์ค์ค์เค์เชิชิชิงชิงพพฤฤติติติกติกรรรรมม 38


นวัตกรรม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง น. สิ่งที่ทำ ขึ้นใหม่หรือแปลกจาก เดิม ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการหรืออุปกรณ์ เป็นต้น คำ ว่า “นวัตกรรม” เป็นคำ ที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทยคำ นี้เป็นศัพท์บัญญัติของ คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำ กริยาว่า Innovate แปลว่า ทำ ใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ในภาษา ไทยเต็มใช้คำ ว่า “นวกรรม” ต่อมา พบว่าคำ นี้มีความหมายคลาดเคลื่อนจึงเปลี่ยนมาใช้คำ ว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ ) หมายถึง การนำ สิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจาก วิธีการที่ทำ อยู่เดิมเพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้นดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใดๆก็ตามเมื่อมีการนำ เอา ความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมที่เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมของ วงการนั้นๆ เช่น ในวงการศึกษานำ เอามาใช้ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา" (Educational Innovation) สำ หรับผู้ที่กระทำ หรือนำ ความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆมาใช้นี้เรียกว่าเป็น “นวัตกรรม” (Innovator) เเนื้นื้ นื้อนื้อหหาาสสาารระะ เทคโนโลยีดิจิทัลทำ ให้รูปแบบธุรกิจที่มีอยู่เกิดความต่อเนื่องมากขึ้นหรือเกิดเป็นธุรกิจ รูปแบบใหม่ที่ทำ ให้ธุรกิจที่แตกต่างกันสามารถเชื่อมถึงกันได้ทั้งหมดทำ ให้เกิดผลิตภัณฑ์ ใหม่บริการใหม่หรือประสบการณ์ใหม่ๆด้านข้อมูลและเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนอง การสื่อสารสองทางและเรียลไทม์ให้แก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพนวัตกรรมด้านดิจิทัลที่ เกิดขึ้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและธุรกิจทำ ให้องค์กรต่างๆเห็นถึง ความจำ เป็นที่ต้องพัฒนากลยุทธ์เพื่อให้สามารถรักษาการตลาดไว้โดยอาศัยเทคโนโลยี ดิจิทัล 3.1 ความหมายของนวัตกรรม 39


3.2 องค์ประกอบของนวัตกรรม องค์ประกอบของนวัตกรรม ประกอบด้วย 1. ความใหม่ในที่นี้คือสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำ มาก่อนเคยทำ มาแล้วในอดีตแต่นำ มา รื้อฟื้นใหม่หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม 2. ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนาไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบหรือการ ทำ ซ้ำ 3. มีประโยชน์สามารถนำ ไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำ เนินงานได้ถ้าในทางธุรกิจ ต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจสร้างมูลค่าเพิ่ม 4. นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้ 3.3 ขั้นตอนของนวัตกรรม 1. การคิดค้น (Invention) เป็นการยกร่างนวัตกรรมประกอบด้วยการศึกษาเอกสารทฤษฎีที่เกี่ยว กับนวัตกรรมการกำ หนดโครงสร้างรูปแบบของนวัตกรรม 2. การพัฒนา (Development) เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ยกร่างไว้การ ตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมและการปรับปรุงแก้ไข 3. ชั้นนำ ไปใช้จริง (Implement) เป็นขั้นที่มีความแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติเดิมมาในขั้นตอนนี้ รวมถึงขั้นการทดลองใช้นวัตกรรมและการประเมินผลการใช้นวัตกรรม 4. ชั้นเผยแพร่ (Promotion) เป็นขั้นของการเผยแพร่การนำ เสนอหรือการจำ หน่าย 40


3.4 ตัวอย่างนวัตกรรม เมื่อเสียงเตือนภัยดังขึ้นนั่นหมายถึงอันตรายแต่จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่สามารถได้ยินเสียง เตือนภัยได้แน่นอนว่าอันตรายที่ว่านั้นอาจหมายถึงชีวิต Furenexo สตาร์ตอัปจากนิวยอร์กที่เริ่มต้นจากการเป็นแคมเปญในตัวอุปกรณ์ดังกล่าว มีเซนเซอร์รับเสียงดังมากโดยเฉพาะ เช่น เสียงเตือนของไซเรน และจะเปลี่ยนเสียงนั้น เป็นการสั่นสะเทือนให้ผู้ใช้งานรับรู้แทน เมื่อบรรดาเด็กทารกในประเทศด้อยพัฒนามีปัญหาเกี่ยวกับการดื่มนมแม่พวกเขาจะต้อง เผชิญกับภาวะขาดโภชนาการซึ่งอาจนำ ไปสู่การเสียชีวิตแต่อุปกรณ์ใหม่นี้จะช่วยให้ พวกเขามีโอกาสรอดชีวิตและเติบโตมากขึ้น NIFTY CUP คือ ถ้วยป้อนอาหารธรรมดาๆแต่มีความพิเศษอยู่ตรงที่การ ออกแบบของปลายถ้วยนั้นสร้างมาเพื่อรองรับกับปากของทารกน้อยโดยเฉพาะถ้วยนี้ได้ รับความร่วมมือจากองค์การอนามัยโลกมหาวิทยาลัยวอชิงตันและโรงพยาบาลเด็กในซี แอทเทิล 3.4.1 อุปกรณ์เตือนภัยสำ หรับผู้พิการทางการได้ยิน 3.4.2 ถ้วยป้อนอาหารที่ช่วยชีวิตเด็กทารก 41


3.4.3 ห่วงรัดเครื่องดื่มแบบแพคที่สามารถย่อยสลายได้ เมื่อทนเห็นบรรดาสัตว์ทะเลต้องติดหรือกลืนพลาสติกเข้าไปเป็นอาหารด้วยอุปกรณ์ ใหม่จาก Saltwater Brewery ที่สามารถทานได้และย่อยสลายได้นี้จะช่วยลดปริมาณ ขยะในท้องทะเลและไม่ต้องคุกคามชีวิตของบรรดาสัตว์อีกต่อไป 3.4.4 ของเล่นไฮเทคที่ช่วยพัฒนาทักษะการเข้าสังคมให้แก่เด็กออทิสติก Leka ของเล่นไฮเทคมีดีมากกว่าความน่ารักของเล่นอัจฉริยะนี้จะทำ หน้าที่เป็นบัดดี้ให้ แก่บรรดาเด็กๆออทิสติกโดยเฉพาะซึ่งพวกเขาสามารถเล่นได้แม้อยู่เพียงคนเดียว เจ้าของเล่นนี้สามารถส่งเสียงร้องและเสียงดนตรีพูดคุยสื่อสารนอกจากนั้นยังมีแสงและ การสั่นเพื่อตอบสนองต่อปฏิกิริยาที่เด็กออทิสติกสื่อสารกับของเล่น 3.4.5 วีลแชร์สำ หรับผู้พิการในพื้นที่ห่างไกล สำ หรับผู้พิการที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวการมีวีลแชร์สามารถช่วยให้พวก เขาใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นแต่สำ หรับผู้พิการในพื้นที่ห่างไกลแล้ววีลแชร์ปกติไม่สามารถ ใช้ได้กับพื้นที่แบบชนบท SafariSeat คือ วีลแชร์รุ่นใหม่แบบราคาถูกที่ใช้หลักการเดียวกับ จักรยานผู้พิการเพียงโยกคันโยกวีลแชร์ก็จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ 42


นวัตกรรมธุรกิจ (Business Innovation) หมายถึง การทำ สิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆการ สร้างสรรค์การพัฒนาต่อยอดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดการจัดการการผลิต กระบวนการระบบโครงสร้างองค์กรรูปแบบธุรกิจเพื่อที่จะสร้างมูลค่าใหม่ๆสำ หรับลูกค้า และผลตอบแทนทางการเงินให้กับธุรกิจโดยเป็นที่ยอมรับต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและผล ตอบแทนทางการเงินให้กับธุรกิจไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมจรรยาบรรณขนบธรรมเนียมและ ประเพณีต่าง ๆ นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืนการที่ธุรกิจจะประสบความสำ เร็จและยั่งยืนได้ธุรกิจ ต้องค้นหา “นวัตกรรมธุรกิจ” ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องนวัตกรรมมิใช่เพียงแค่ความคิด สร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆแต่ต้องเป็นความคิดใหม่ๆที่สามารถขายได้หรือการทำ ให้ความ คิดใหม่ๆมีมูลค่าเชิงพาณิชย์แหล่งที่สำ คัญที่สุดของการเกิดนวัตกรรมอยู่ที่ “ลูกค้าหรือ ตลาดการแข่งขัน” เพราะจะแสดงถึงความต้องการของผู้บริโภคความเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่คู่แข่งนำ หน้าเข้ามาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องอาจจะสร้างอัตราเร่งสู่นวัตกรรมใหม่ของธุรกิจ ไทย โดย 1. ต้องมีความก้าวหน้าในองค์ความรู้และเทคโนโลยีในลักษณะ “วัฒนธรรมการเรียน แบบรับรู้” ซึ่งในต่างประเทศมีการพัฒนาต่อยอดความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างต่อ เนื่องจากการสร้างพื้นฐานมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะสถาบันการศึกษาและธุรกิจเอกชนที่ เป็นบริษัทระดับโลก 3.5 นวัตกรรมธุรกิจ 43


2. การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ของธุรกิจ แยกเป็น (1) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงหรือความรู้ใหม่เพื่อผลิต สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาสู่ตลาด (2) นวัตกรรมกระบวนการทางธุรกิจที่สามารถใส่หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อให้ ธุรกิจมีความความแตกต่างเหนือคู่แข่งขัน (3) นวัตกรรมธุรกิจ-ความรู้ คือ การที่ธุรกิจมุ่งสนใจในนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และ นวัตกรรม กระบวนการมาอย่างยาวนานจึงเกิดความคิดใหม่ที่จะแสวงหานวัตกรรมใหม่ ทางธุรกิจ เช่น นวัตกรรม การตลาด นวัตกรรมการจัดการ เพราะเป็นสิ่งที่ครอบคลุม ประเด็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น 3. การเพิ่มอัตราเร่งสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ โดย (1) เร่งการเรียนรู้ ความรู้ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ จากทุกแห่งทั่วทุกที่จากทุกมุม โลก (2) ธุรกิจคงต้องทบทวนความคิดใหม่ ว่าการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้น เป็นการศึกษาและเรียนรู้แบบ “วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบการรับรู้” ไม่ใช่ “วัฒนธรรมการ เรียนรู้แบบการผลิตภาพ หรือการเรียนรู้แบบนวัตกรรมและผลิตภาพ” (3) ธุรกิจต้องเรียนรู้และเข้าใจทั้งนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ และนวัตกรรม ธุรกิจ-ความรู้การเป็นองค์กรแบบใหม่ที่เรียกว่า “องค์กรนวัตกรรมและ ผลิตภาพ” จะทำ ให้ธุรกิจเป็น “ธุรกิจ แห่งนวัตกรรม” ที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ อย่างยั่งยืน 44


3.6 ประเภทของนวัตกรรมธุรกิจ ประเภทของนวัตกรรมธุรกิจ ประกอบด้วย 3 นวัตกรรมหลัก 1. นวัตกรรมจากความต้องการของลูกค้าการให้บริการสินค้าที่สร้างความสะดวกให้กับ ลูกค้าหรือการเก็บข้อมูลความต้องการจากลูกค้าจะต้องสัมผัสกับลูกค้าโดยตรงแล้วนำ ความต้องการนั้นมาตอบสนองอย่างละเอียดและพิถีพิถันอาจใช้ไอที(IT)มาวิเคราะห์ความ ต้องการและรูปแบบการบริโภครองลูกค้านอกจากนี้อาจใช้วิธีการดึงดูดลูกค้าโดยใช้การ์ด สะสมแต้มการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าคิดค้นการบริการใหม่ที่เกิดจากการเชื่อม ประสานธุรกิจซึ่งถือว่าเป็นบริการที่ก้าวข้ามกรอบเดิมของธุรกิจกาสร้างสรรค์นวัตกรรม ใหม่ที่ก้าวข้ามกรอบของธุรกิจเดิม เช่น ใช้เทคโนโลยีเดิมของตัวเองและระบบ GPS เป็นฐานในการเชื่อมประสานข้อมูลด้านสถานที่การจัดการแสดงโรงภาพยนตร์ การท่อง เที่ยว ฯลฯ ทำ ให้บริษัทสามารถให้บริการเนวิเกชันและให้บริการแนะนำ ส่วนตัวหรือ แนะนำ ข้อมูลของบริษัทต่อผู้บริโภคซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นบริการใหม่ที่ก้าวข้ามกรอบเดิมของ ธุรกิจ 2. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ คือ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ให้ดีขึ้น หรือเป็นสิ่งใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลกต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อ องค์กรนวัตกรรมผลิตภัณฑ์นั้นยังสามารถถูกแบ่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible Product) หรือ สินค้าทั่วไป เช่น รถยนต์รุ่นใหม่ ทีวีที่ใช้เทคโนโลยีสูงหรือ High Definition TV (HDTV) ดีวีดีหรือ Digital Video Disc (DVD) และ ผลิตภัณฑ์ ที่ จับต้องไม่ได้ (Intangible Product) เช่น การบริการ (Services) เช่น แพ็กเกจทัวร์ อนุรักษ์ธรรมชาติ ธุรกรรมการเงินธนาคารโดยผ่านทางโทรศัพท์ (Telephone Finance Banking) เป็นต้น 3. นวัตกรรมกระบวนการ เป็นการเปลี่ยนแนวทางหรือวิธีการผลิตสินค้าหรือบริการ ให้การให้บริการ ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เช่น การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just In Time) การบริหารงานคุณภาพ องค์กรรวม (Total Quality Management) และการผลิตแบบกะทัดรัด (Lean Production) เป็นต้น 45


นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Innovation) หมายถึง ธุรกิจผลิตภัณฑ์และบริการ ใหม่ๆที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้ บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดการ สร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนบนพื้นฐานของการหลอมรวมเทคโนโลยี ที่เรียกว่า สแมคไอ (SMACI) สแมคไอ (SMACI) หัวใจสำ คัญของธุรกิจดิจิทัล เพื่อสนับสนุนธุรกิจดิจิทัลอย่างมี ประสิทธิภาพ องค์ประกอบสำ คัญทั้ง 5 ประการนี้เป็นสิ่งที่องค์กรควรนำ มาใช้เพื่อก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด 1. Social (S) ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เก็บโปรไฟล์ของลูกค้า 2. Mobile (M) ช่องทางการติดต่อสื่อสารและเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน 3. Analytics (A) วิเคราะห์ความต้องการและค้นหาความสัมพันธ์ต่างๆจากฐานข้อมูลโปรไฟล์ ลูกค้า 4. Cloud (C) เทคโนโลยีสำ คัญที่ช่วยให้สามารถเปิดธุรกิจใหม่และกระจายสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว 5. Internet of Things (I) อุปกรณ์สำ หรับจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมต่างๆ เช่น การขับรถ เพื่อให้สามารถคำ นวณเบี้ยประกันจากวิธีการขับรถได้ เป็นต้น 3.7 นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล 46


3.8 ข้อดีและข้อควรคำ นึงของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล 3.8.1 ข้อดีของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล 1. ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้น 2. กำ ไรที่เพิ่มขึ้น 3. ประสบการณ์ของความสำ เร็จจากการล้มเหลว 4. สร้างคุณค่าต่อชีวิตและสังคม 3.8.2 ข้อควรคำ นึงถึงของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล 1. นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลเป็นค่าใช้จ่าย 2. ตลาดผู้บริโภคไม่พึงประสงค์ 3. พนักงานวิกฤติ 47


Click to View FlipBook Version