The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เรื่องของสวนผักกับการบำบัดเยียวยา ขอแนะนำหนังสือออนไลน์ที่ #เว็บไซต์มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มีให้บริการ อยู่ไหนก็อ่านหนังสือได้ผ่าน #แบ่งปันกันอ่านผ่านEbook

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เติบโตไปด้วยกัน

เรื่องของสวนผักกับการบำบัดเยียวยา ขอแนะนำหนังสือออนไลน์ที่ #เว็บไซต์มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มีให้บริการ อยู่ไหนก็อ่านหนังสือได้ผ่าน #แบ่งปันกันอ่านผ่านEbook

1


2 เติบโตไปด้วยกัน สวน+ผัก+คน+เมือง เรื่อง นาถศิริ โกมลพันธุ์ ออกแบบรูปเล่ม/ภาพประกอบ นุชรี รัตนอักษรศิลป์ จ�ำนวน 134 หน้า ISBN 978-616-7828-02-2 พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2558 จัดพิมพ์โดย โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) 912 งามวงศ์วาน 31 ซอยย่อย 7 อ.เมือง จ.นนทบุรี11000 โทร 02-591-1195-6 อีเมล [email protected] เว็บไซต์ www.thaicityfarm.com เฟสบุ๊ก www.facebook.com/thaicityfarm โรงพิมพ์ หจก.ภาพพิมพ์ สนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


3 ค�ำน�ำ 5 บทน�ำ 8 ๑ สวนบ�ำบัดมาแต่หนใด 12 • เรื่องเล่าจากสวนผักบ�าบัดต่างแดน 25 ๒ สวนผักแห่งการบ�ำบัดเยียวยา 30 • เมื่อมีศรัทธา สวนผักแห่งการบ�าบัดเยียวยาจึงเติบโต งอกงาม 34 • เมื่อความคิดของคนไข้จิตเวชถูกจุดประกายและได้รับการสานต่อ 62 • เมื่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ลงมือปลูกผัก 72 • เมื่อลูกที่พ่อล้มป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ได้รู้จักเรื่องสวนผักบ�ำบัด 80 ๓ สวนผักชุมชน 90 • เมื่อโรงพยาบาลไม่ได้เป็นเพียงที่จ่ายยา 97 • เมื่อดาดฟ้าองค์กรมีชีวิต 104 • เมื่อพื้นที่รกร้างกลายเป็นสวนผัก 110 • เมื่อครูและเด็กเรียนรู้ และลงมือท�ำ 118 • เมื่อเราทุกคนล้วนต้องการการเยียวยา 124 สารบัญ


4


5 การปลูกผักกับการบ�ำบัดเยียวยา ถูกกล ่าวถึงมากขึ้น เมื่อมี กลุ่มคนเล็กๆ หลายกลุ่มเริ่มหันมาสนใจที่จะใช้การปลูกผัก และการ ท�ำสวนมารักษาผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดยาเสพติดประสบการณ์ที่เริ่มต้น ขึ้นโดยหมอจิ๊บ ญาดา จ�ำนงค์ทอง อดีตพยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการ คลินิกจิตเวช ซึ่งได้น�ำการปลูกผักมาใช้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาล เมื่อ 3-4 ปีก่อน ได้สร้างประสบการณ์ส�ำคัญและน่าสนใจให้กับกลุ่มคนปลูก ผักในเมือง ด้วยแรงศรัทธาของเธอได้ส ่งผลให้การปลูกผักและการ บ�ำบัดเยียวยาผู้ป่วยขยายกลุ่มคนที่สนใจไปอีกหลายแห่ง ทั้งยังขยาย กระบวนการปลูกผักไปบ�ำบัดผู้ป่วยทางกาย เช่น ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ ฯลฯ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้สร้างความรู้สร้างคุณค่า สร้างความ หมายให้เกิดขึ้นกับผู้ป ่วยและคนรอบข้างได้อย ่างน ่าอัศจรรย์การ ปลูกผักที่คิดว่าเป็นการผลิตอาหารด้วยตนเองของคนเมือง กลายเป็น กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างคนกับธรรมชาติได้อย่างยากจะแยกออก จากกัน เป็นกระบวนการบ�ำบัดเยียวยาที่ช ่วยฟื้นฟูความสมบูรณ์ทั้ง ทางร่างกายและจิตใจให้กับมนุษย์นั่นเอง คำานำา


6 เติบโตไปด้วยกัน สวน+ผัก+คน+เมือง เป็นหนังสือที่สะท้อนการ เติบโตด้านในของมนุษย์ ที่ไม่ได้มีเพียงความต้องการด้านอาหารเพื่อ ยังชีพ แต่ต้องการการบ่มเพาะทางจิตใจเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข ต้องการการใช้แรงงานเพื่อให้ร่างกายได้ขยับก�ำลังของตนเอง เป็นการสร้างสมดุลของชีวิต การปลูกผักของคนที่อาศัยอยู่ในเมือง ซึ่ง แม้จะไม ่ได้ปลูกผักในแปลงขนาดใหญ ่ แต ่เพียงเมื่อได้ลงมือปลูกผัก เขาเหล่านั้นกลับได้ประสบการณ์อันมากมายที่จะแบ่งปันให้กับสังคม เรื่องราวจากหนังสือเล่มนี้บอกถึงพลังของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมที่ จะช ่วยรักษาเยียวยาให้กันและกัน ประสบการณ์เหล ่านี้เกิดขึ้นทั้งใน ประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งผู้เขียนตั้งใจค้นคว้าเพื่อช่วยเติมเต็ม ความรู้ที่ได้เริ่มต้นและเริ่มหยั่งรากลงในผืนดินนี้แล้วอย่างงดงาม อีกหลายประสบการณ์ที่บอกเล ่าอยู ่ในหนังสือเล ่มนี้ของกลุ ่มคน ปลูกผักที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และการใช้ชีวิต เรื่องเล่าเหล่านี้ตอกย�้ำ ประสบการณ์การปลูกผักของคนเมืองว่า มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่ง เดียวกันเสมอ ธรรมชาติมีพลัง และก็ท�ำให้มนุษย์มีพลังชีวิตไปด้วย


7 กระบวนการปลูกผักมีส ่วนในการดึงด้านในของมนุษย์ออกมาให้เห็น ว่า เขามีศักยภาพและมีคุณค ่า สวนผักจึงไม ่ได้บ�ำบัดเฉพาะผู้ป ่วย ประเภทต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว แต่สวนผักได้ท�ำให้พื้นฐานชีวิตข้างใน ของมนุษย์เติบโตได้อย่างแข็งแรง หากเราได้เริ่มต้นเรียนรู้ที่จะปฏิบัติ กับธรรมชาติอย่างเข้าใจและอ่อนน้อม หนังสืออันทรงคุณค ่าเล ่มนี้จะเกิดขึ้นไม ่ได้เลย หากปราศจาก บทเรียนของกลุ ่มคนปลูกผักในเมืองที่เชื่อมโยงกิจกรรมเล็กๆ สู ่การ บ�ำบัดเยียวยา ประสบการณ์และบทเรียนอันทรงคุณค่านี้ ได้สร้างการ เริ่มต้นของความรู้และการให้คุณค่าความหมายของชีวิตที่คนในสังคม สมัยใหม่อันรีบเร่งอาจมองข้ามไป ขอแบ่งปันความรู้จากเรื่องเล่าเหล่า นี้ เพื่อประโยชน์ส�ำหรับทุกคน และเพื่อเป็นความรู้ส�ำหรับสังคมให้ได้ พัฒนาต่อเนื่องไปอย่างสร้างสรรค์ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)


8


9 บทนำา หนังสือเล่มนี้ตั้งใจท�ำขึ้น โดยพยายามค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง ทั้งจากงานศึกษาวิจัย เวปไซต์ต่างประเทศ ตลอดจนเรื่องราว ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น และได้เรียนรู้บนเส้นทางนักปลูกผัก ปลูกเมือง ปลูกชีวิต ของโครงการสวนผักคนเมือง โดยมุ่งเน้นเรื่องการท�ำสวนผัก กับการบ�ำบัดเยียวยา ดูแลรักษาสุขภาพเป็นส�ำคัญ ตลอดระยะเวลาร่วม 5 ปีที่ผ ่านมา เราต ่างก็เติบโตไปด้วยกัน ทั้งทิศทางและเป้าหมายของโครงการ ที่แต ่ละปีเราก็ค ่อยๆ พัฒนา และเติบโตขึ้นในหลายมิติจากสิ่งที่เราค้นพบและเห็นความหวัง จากเมล็ดพันธุ์ที่แตกดอกออกผลของสมาชิก รวมถึงเครือข ่าย จาก แรกเริ่มเราคิดถึงเรื่องการปลูกผัก กับการสร้างอาหารที่ปลอดภัยของ คนเมืองในสถานที่ต ่างๆ ทั้งชุมชน หน่วยงาน องค์กร สถานศึกษา โรงงาน โรงแรม หรือวัด แล้วเราก็ได้เรียนรู้จากการลงมือท�ำและเติบโต ของสมาชิกว่า แท้จริงแล้วเรื่องของการปลูกผักนั้น ไม่ใช่เพียงแค่ได้ อาหารที่ดีเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับมิติอื่นๆ ในชีวิตมากมาย ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ เรื่องของการพัฒนาตนเอง


10 เรื่องการเรียนรู้ของเด็ก เรื่องของการจัดการพื้นที่รกร้าง การจัดการของ เสียในเมือง และที่ส�ำคัญเราพบว่า การปลูกผัก มีพลังแห่งการบ�ำบัด เยียวยา รักษาสุขภาพ และมีส่วนช่วยท�ำให้หลายคนพบชีวิตใหม่ที่ดี เรื่องราวที่มีโอกาสได้ไปสัมผัส พูดคุย เรียนรู้ประกอบกับความ เติบโตภายในตัวเอง ที่ต้องบอกว ่าเริ่มต้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ โครงการสวนผักคนเมือง ที่ไม่เคยปลูกผักมาก่อน จนค่อยๆ เก็บเกี่ยว ความรู้แบบครูพักลักจ�ำจากการไปร่วมอบรม การจัดกิจกรรม หรือ เวลาลงไปเยี่ยมแปลงสมาชิก และลงมือปลูกผักเอง แม้จะไม ่ได้มี ผลผลิตสวยงามจนอวดใครได้ตามประสาคนท�ำงานที่ไม่ค่อยมีเวลา ดูแลเอาใจใส่นัก แต่ก็มีความภูมิใจลึกๆ ทุกครั้งที่ได้ออกไปเก็บผักใน สวนมาท�ำกับข้าว และแม้ว่าจะไม่ได้ผลผลิตมากมาย แต่ทุกครั้งที่ได้มี เวลาออกไปท�ำสวน ผสมดิน หยอดเมล็ด ย้ายกล้า ดูแล รดน�้ำ ท�ำปุ๋ย หมัก ถอนวัชพืช ก็ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ใช่แค่เรื่องผัก แต่ เป็นเรื่องราวของความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนอื่น รวมถึงเรื่องราวที่อยู่ภายในใจตัวเอง หลายเรื่องท�ำให้เข้าใจพ่อแม่มาก ขึ้น หลายเรื่องท�ำให้รู้จักและพูดคุยกับคนข้างบ้านมากขึ้น และหลาย เรื่องก็ท�ำให้ปัญหาที่อยู ่ในใจคลี่คลาย บางครั้งก็ได้รับก�ำลังใจ และ ความหวัง จากธรรมชาติในสวน เหล่านี้ท�ำให้เกิดแรงบันดาลใจ อยาก จะแบ่งปันเรื่องราวของพลังสวนผักกับการบ�ำบัด เยียวยา ดูแลรักษา สุขภาพ มาให้ได้อ่านกัน ในขณะเดียวกัน เรื่องของสวนผักกับการบ�ำบัดเยียวยา ถือเป็น เรื่องที่ค่อนข้างใหม่ส�ำหรับบ้านเรา จึงพยายามค้นคว้าหาข้อมูลจาก


11 ต ่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อให้เห็นทั้งความเป็นมา ภาพรวมของการ ท�ำงาน ไปจนถึงหลักฐานงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการช่วยสนับสนุน เรื่องพลังของสวนผักกับมิติด้านสุขภาพให้น่าเชื่อถือมากขึ้น ด้วยความ หวังว่า เรื่องสวนผักกับการบ�ำบัดเยียวยา และดูแลรักษาสุขภาพนี้จะ ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ ่มผู้ที่ท�ำงานในวงการด้าน สุขภาพ เราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลง และลงมือท�ำในระดับปัจเจกนั้น ส�ำคัญ แต่การสนับสนุนในระดับหน่วยงาน องค์กร รวมถึงนโยบาย ก็ เป็นสิ่งส�ำคัญไม ่แพ้กัน บางทีเรื่องของสวนผักอาจจะเป็นทางสว ่างที่ ช่วยให้ผู้ที่ก�ำลังเผชิญกับความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์ทรมานทั้งทางกาย และใจ ได้รับการบ�ำบัดเยียวยา และอาจเป็นหนทางหนึ่งที่ส�ำคัญในการ ดูแลรักษาสุขภาพทั้งของตัวเอง สังคม ประเทศ และโลกของเรา ท่านมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ได้กล่าวไว้ในปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้น เดียวว่า เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรม ไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล แต่คือการบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์ เราเองก็เชื่อว ่าการลงมือปลูกผัก ท�ำสวน ถือเป็นจุดเริ่มต้นและ เป็นหนทางส�ำคัญที่จะท�ำให้เราพบกับชีวิตที่ดีและมีความสุขอย ่าง แท้จริงได้เช่นกัน ขอเพียงเราเปิดใจ เรียนรู้ลงมือท�ำ และเติบโตไป ด้วยกัน ทั้งสวน ผัก คน และเมือง


12


13 ๑ สวนบำาบัดมาแต่หนใด


14


15 จากการลองค้นคว้าเรื่องสวนผักบ�ำบัดดูก็พบว่าอันที่จริง มนุษย์ ใช้เรื่องของธรรมชาติตามวัฒนธรรม ความเชื่อ มาเชื่อมโยงกับ การบ�ำบัด รักษา เยียวยา ไม่ว่าจะเป็นทางกาย หรือทางใจ มานาน แล้ว จนกระทั่งช่วงปลายศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ก็เริ่มพบว่ามีทั้ง โรงพยาบาล, สถานบ�ำบัดฟื้นฟูต่างๆ น�ำเรื่องการท�ำสวน การออกแบบ ภูมิทัศน์สีเขียวขจี ท่ามกลางแสงแดด และอากาศที่บริสุทธิ์ มา เชื่อมโยงกับการบ�ำบัดเยียวยา และฟื้นฟูผู้ป ่วยด้านต ่างๆ มากขึ้น เรื่อยๆ อาจจะด้วยพื้นฐานความจริงที่ว ่ามนุษย์เราเป็นส ่วนหนึ่ง ของธรรมชาติประกอบกับความเชื่อทางวิวัฒนาการว ่า ความอยู ่ รอด และความสามารถของมนุษย์ ในการที่จะเติบโต งอกงาม รู้สึก สมความปรารถนา มีความสุขในชีวิตได้นั้น ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ กับธรรมชาติของแต ่ละคน อีกทั้งยังมีงานศึกษาวิจัยจ�ำนวนมาก ที่ แสดงให้เห็นถึงพลังของธรรมชาติที่มีผลต่อการบ�ำบัดเยียวยาผู้คนใน ด้านต่างๆ โดยพลังของธรรมชาติที่ว่านี้ก็มีตั้งแต่การเข้าถึงธรรมชาติ เสมือนจริง (Virtual) ผ่านรูปภาพ การอ่าน การพูดคุย, การมองเห็น


16 (Viewing) ธรรมชาติผ่านการดูหนัง หรือผ่านหน้าต่าง, การได้เข้าไป อยู่ท่ามกลางสวน (Interacting) ได้ชื่นชมและสัมผัสกับธรรมชาติไป จนถึงการได้ลงมือท�ำ (Action) เช่นการท�ำสวน ได้ขุดดิน หยอดเมล็ด รดน�้ำ ดูแล จนถึงปัจจุบัน เรื่องของธรรมชาติสวน พื้นที่สีเขียว ตลอดจน การเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับการบ�ำบัดเยียวยานั้น มีการพัฒนารูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย และในต่างประเทศก็มี ศัพท์หลายค�ำที่ใช้พูดถึงเรื่องนี้เช่น Healing garden, Therapeutic garden, Horticultural therapy garden, Horticultural therapy, Therapeutic Horticulture, Social Horticulture, Vocational Horticulture, Care Farm, หรือ Ecotherapy แต่ละชื่อต่างก็มีรายละเอียดที่เหมือนและต่างกันออกไป ตัวอย่างการท�ำสวนบ�ำบัดแห่งแรกของสวีเดน ตั้งแต่ปี1986 ที่ Danderyd Hospital ซึ่งกล่าวถึงงานวิจัยเรื่อง Horticultural Therapy : the “healing garden” and gardening in rehabilitation measures at Danderyd Hospital Rehabilitation Clinic, Sweden (2004) นั้น ทางโรงพยาบาลได้ออกแบบสวนกลางแจ้ง ให้เข้าถึงได้ทั้งคนที่ใช้รถ


17 เข็นหรือคนที่ต้องใช้เครื่องพยุงช่วยเดิน รวมถึงมีการออกแบบอุปกรณ์ เครื่องมือทางการเกษตรเป็นพิเศษ เหมาะสมกับการใช้งานของคนไข้ เช่นมีน�้ำหนักเบา มีด้ามจับพิเศษ หรือมีการท�ำมุมพิเศษ เป็นต้น ที่นี่คนไข้ที่เข้ามาใช้สวนบ�ำบัด มีตั้งแต่อายุ 18-65 ปีซึ่งก็มีทั้ง ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว (pain - or movement - related impairments) มีปัญหาเรื่องความสามารถทางสมอง (cognitive) ไม่ว่า จะเป็นการพูด การอ่าน ความจ�ำ การให้ความสนใจ หรือการใช้เหตุผล รวมถึงคนไข้ที่มีภาวะซึมเศร้า รวมทั้งสิ้น 46 คน จากการศึกษาวิจัย เขาพบว ่าสวนบ�ำบัดที่โรงพยาบาลแห ่งนี้มี ส่วนช่วยบ�ำบัด เยียวยา ฟื้นฟูผู้ป่วยในหลายด้านด้วยกัน หากลองสรุป ความเชื่อมโยงของสวนกับการพัฒนามิติต่างๆ ของคนไข้จะได้ดังนี้ • สวนบ�ำบัดกับการเยียวยาทางจิตใจ (mental healing) : การได้ อยู่ในสวนท่ามกลางธรรมชาติมีส่วนช่วยท�ำให้รู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธินอกจากนี้กลิ่นหอมของดอกไม้ ความงามของ พืชพรรณยังมีส ่วนช ่วยให้คนไข้ลืมความกังวลเรื่องความเจ็บ ป่วยของตัวเองได้ • สวนบ�ำบัดกับความสัมพันธ์ทางสังคม(social interaction) :การท�ำ สวนร ่วมกับผู้อื่นมีส ่วนช ่วยท�ำให้เห็นคุณค ่าในตัวเองมากขึ้น รู้จักควบคุมตัวเองรู้จักที่จะสื่อสารฝึกที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และรู้จักท�ำงานเป็นทีมมากขึ้น การให้การบ้านที่เกี่ยวข้องกับ การท�ำสวน ก็มีส ่วนช ่วยให้ผู้ป ่วยที่มีภาวะเสียการสื่อความ


18 (aphasia) ได้รับการกระตุ้นให้ฝึกพูดและสื่อสารมากขึ้นด้วย • สวนบ�ำบัดกับการกระตุ้นการรับรู้(sensorystimulation):ส�ำหรับ ผู้ป ่วยที่สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย ่างรุนแรง การได้ ท�ำสวน และมีนักบ�ำบัดคอยถามค�ำถามที่เชื่อมโยงกับต้นไม้หรือ พืชพรรณต่างๆ ในสวน โดยให้ผู้ป่วยลองเปรียบเทียบ หรือระบุ ความแตกต่างของพืชพรรณแต่ละชนิด ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นการ รับรู้ได้ หรือดอกไม้หลากสีก็มีส ่วนช ่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส เรื่องการดมกลิ่นและการมองเห็น ผีเสื้อหรือแมลงในสวนก็ชวน ให้สายตาติดตาม หรือพืชผัก สมุนไพรนานาชนิด ก็ช่วยกระตุ้น สัมผัสของรสชาติการได้สัมผัสใบไม้ที่มีพื้นผิวสัมผัสต ่างกัน การได้เดินบนผืนดิน ผืนทราย หรือการได้ยินเสียงน�้ำ เสียงนก ล้วนมีส่วนช่วยกระตุ้นสัมผัสรับรู้ด้านต่างๆ ทั้งสิ้น • สวนบ�ำบัดกับการจัดระบบการรับรู้ใหม ่ (cognitive re- organization) : กิจกรรมต่างๆ ในการท�ำสวน เช่น การวางแผน แปลงปลูกดอกไม้การค�ำนวณความลึกและระยะห่างระหว่างต้น การอ่านวิธีการปลูกจากซองเมล็ดพันธุ์ หรือการฟังเทคนิคการ ปลูกที่มีคนมาสอน ช ่วยฟื้นฟูเรื่องความสนใจ เรื่องการพูด การนับ การจ�ำ การใช้เหตุผลได้ดี • สวนบ�ำบัดกับการฝึกการรับรู้และการเคลื่อนไหว (sensory- motor functions) : การเคลื่อนไหว การท�ำงานในสวน เช่นตอน เก็บผลผลิต ท�ำให้ได้ฝึกกล้ามเนื้อ พัฒนาการเคลื่อนไหว พัฒนาความสมดุล ในการรับน�้ำหนัก และการทรงตัว ได้ดีขึ้น


19 • สวนบ�ำบัดกับการงานอดิเรก (recreation) : การท�ำสวนช่วย เยียวยา และสร้างความสุขทางจิตใจ ท�ำให้ผู้ป ่วยมีความคิด สร้างสรรค์และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้แถมพวกดอกไม้ความ งามต่างๆ ในสวนอาจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ป ่วยไปท�ำงาน ศิลปะอื่นๆ ต่อได้ด้วย เช่นการวาดรูป • สวนบ�ำบัดกับการฝึกอาชีพ (pre-vocationalskills) :การรับผิดชอบ หน้าที่ต่างๆ ในสวน ไม่ว่าจะเป็นการหยิบ ยก ดึง ผลัก การ ขุดดิน การถอนหญ้า ขนดิน เหล่านี้ล้วนเป็นการฝึกความอดทน ในการท�ำงานไปในตัว เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนออกไป ท�ำงานจริง • สวนบ�ำบัดกับการออกแบบ จัดท่าทางในการท�ำงานให้เหมาะสม (teaching ergonomic body position) : แม้ว่าการท�ำสวนจะ เป็นการฝึกความอดทนในการท�ำงาน แต ่หลักส�ำคัญคือการ เรียนรู้ที่จะท�ำงานในท ่าที่สบาย ไม ่เป็นอันตรายต ่อกล้ามเนื้อ หรือกระดูก ด้วย สวนแห่งการเยียวยา ออกแบบได้ อันที่จริง แค่การได้มองเห็นสวน หรือการได้ออกมาอยู่ท่ามกลาง ธรรมชาติเขียวๆ ก็มีผลช ่วยเยียวยารักษาสุขภาพแล้ว เช ่นงานวิจัย ของ Ulrich และทีม จากมหาวิทยาลัย Uppsala University Hospital ที่ประเทศสวีเดน (1993) พบว่าคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ และอยู่ใน ห้องที่มีภาพวิวของสวนธรรมชาติมีความวิตกกังวลน้อยกว่า และต้อง


20 ให้ยาลดความเจ็บปวดน้อยกว่า คนไข้ที่อยู่ในห้อง ที่ติดภาพระบายสี หรือผนังเปล่าๆ งานวิจัยใน Journal Environment and Behavior ปี2001 พบว่า พื้นที่สีเขียวมีผลต ่อการเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องสุขภาพส ่วนบุคคล และ ชุมชน ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น • เด็กอายุระหว่าง 7-12 ปีที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีอาการดีขึ้นเมื่อ ได้ท�ำกิจกรรมในพื้นที่สีเขียว เช ่นอยู ่ในสวน ตกปลา เล่น ฟุตบอล เมื่อเทียบกับกลุ่มเด็กที่นั่งดูโทรทัศน์เล่นวิดีโอเกมส์ • เด็กที่มีโอกาสอยู่ในพื้นที่สีเขียวในชีวิตประจ�ำวัน มีปัญหาเรื่อง โรคอ้วน และปัญหาน�้ำหนักตัวเกินลดลง • คนที่อยู ่ในอพาร์ทเมนท์ ที่ห้องมองเห็นพื้นที่สีเขียว มีปัญหา เรื่องความก้าวร้าว ความรุนแรงในครอบครัวน้อยกว่าคนที่อยู่ ห้องที่มองไม่เห็นพื้นที่สีเขียวเลย • ผู้สูงอายุวัย 80-85 ปีในโตเกียว ที่ได้ท�ำกิจกรรมในพื้นที่สีเขียว มีอัตราการตายลดลง • พื้นที่สีเขียวยังช่วยท�ำให้ชุมชนมีอาชญากรรมลดลง ท�ำให้คนมี ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนบ้านมากขึ้นด้วย เพราะคนจะไม่อยู่ แต่ในห้อง แต่จะออกมาท�ำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น ในการศึกษาเกี่ยวกับการบ�ำบัดที่เรียกว ่า Ecotherapy ของ University of Essex ก็แสดงให้เห็นว ่า การท�ำกิจกรรมทางกาย ท่ามกลางธรรมชาติสีเขียว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การขี่จักรยาน การตก


21 ปลา การขี่ม้า มีผลช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น รู้สึกโกรธ ซึมเศร้า สับสน น้อยลง และมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น อีกทั้งยังพบว่ากิจกรรมทาง กายในพื้นที่สีเขียวยังช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เรื่องของสวน มีผลต่อการบ�ำบัดเยียวยามาก ขึ้น การออกแบบสวนให้เหมาะสม ก็มีบทบาทส�ำคัญไม่แพ้กัน หลักการออกแบบสวนให้มีผลต ่อการบ�ำบัดเยียวยา ที่บทความ เรื่อง Nature That Nurtures ได้รวบรวมและสรุปภาพรวมไว้มีดังนี้ • เขียวเข้าไว้: ควรออกแบบสวนบ�ำบัด ให้มีต้นไม้ดอกไม้ พุ ่มไม้ ทรงสูงบ้างต�่ำบ้าง รายล้อมทั่วบริเวณ โดยควรมี สัดส ่วนของพื้นที่สีเขียวประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก เพียง 30 เปอร์เซ็นต์ให้เป็นที่คอนกรีต หรือเป็นทางเดิน • เน้นความสมจริง : หากจะมีรูปปั้นอยู่ในสวน ก็ควรเป็นรูปปั้นที่ เหมือนจริง ไม่ใช่รูปที่เป็นนามธรรม (abstract) เข้าใจยาก • มีเรื่องราวที่น่าสนใจ : สวนบ�ำบัดควรมีต้นไม้ใหญ ่ที่ดึงดูดให้ นกนานาชนิดมาอยู่ มีพืชพรรณนานาชนิดให้ชื่นชม รวมถึงควร มีที่นั่งหลากหลายให้เลือกนั่ง เก้าอี้บางส่วนควรเคลื่อนย้ายได้ เพื่อความสะดวกในยามที่ต้องการนั่งสนทนาในบรรยากาศที่เป็น ส่วนตัว • เปิดประสาทสัมผัสต่างๆ : ในสวนควรมีองค์ประกอบที่ผู้ป ่วย สามารถที่จะเข้าถึงได้ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ มองเห็น การสัมผัส การดมกลิ่น หรือการได้ยินเสียง อย่างไร ก็ตาม ไม่ควรจะเลือกใช้ดอกไม้ที่มีกลิ่นแรงมากนัก เพราะอาจ


22 ส่งผลกระทบต่อคนไข้บางกลุ่มได้เช่น ผู้ป่วยที่ผ่านการให้คีโม บ�ำบัดมา • ทางเดินเป็นเรื่องส�ำคัญ : ในสวนควรมีทางเดินที่กว้าง สามารถ วนรอบได้ทาสีเล็กน้อยให้สว่าง ชัดเจน เพื่อให้คนมีปัญหาทาง สายตา คนที่ใช้รถเข็น หรือใช้อุปกรณ์ช ่วยเดิน สามารถเข้า ถึงสวนได้ รอยต ่อระหว ่างทางเดินก็ควรจะมีระยะห ่างที่ เหมาะสม ไม่กระทบต่อคนไข้ที่ใช้ไม้เท้าเดิน • ใส่ใจเรื่องน�้ำ : การนั่งมอง หรือฟังเสียงน�้ำตก หรือสายน�้ำไหล ในสวนที่เขียวขจีมีส่วนช่วยท�ำให้เกิดการผ่อนคลายได้ดังนั้นใน สวนก็ควรมีองค์ประกอบของน�้ำ แต่ควรดูแลระบบน�้ำ และรักษา ความสะอาด ไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นด้วยเช่นกัน • เข้าถึงง่าย : สวนบ�ำบัดควรจะอยู่ไม่ไกลมาก เข้าถึงได้ง่าย หาก มีประตูก็ไม่ควรจะเป็นประตูปิดที่หนักเกินไป ทั้งนี้ทั้งนั้น การออกแบบในรายละเอียดต ่างๆ ของสวนบ�ำบัด แต่ละแห่ง ก็ควรค�ำนึงถึงกลุ ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาใช้สวนด้วย เช่น หากออกแบบสวนบ�ำบัดในโรงพยาบาลเด็ก ก็ควรมีองค์ประกอบที่เรียก ความสนใจของเด็กๆ ได้ ในขณะเดียวกัน ก็ควรช่วยเยียวยาคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองที่อาจจะอยู่ในภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า ได้ด้วยเช่นกัน Care farming : การเกษตรบำบัด เรื่องราวของสวนที่กล ่าวมาข้างต้น ส ่วนใหญ ่เป็นรูปแบบของ


23 สวนทั่วไป ผสมผสานระหว ่างไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้ประดับ และพืช สมุนไพรต่างๆ แต่เรื่องที่อยากเน้นและน�ำมาเล่าสู่กันฟังมากขึ้นเป็น พิเศษในฐานะที่ท�ำโครงการสวนผักคนเมือง ก็คือเรื่องของการปลูกผัก ท�ำเกษตร ที่มีส่วนช่วยบ�ำบัดเยียวยาผู้คนทั้งผู้ป่วย บุคคลพิเศษ และ กลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น ผู้ต้องขัง ผู้ติดยาเสพติด วัยรุ่นที่มีปัญหา หรือ ผู้ตกงาน เป็นต้น ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศแถวยุโรป อย่างเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เรื่องของ Care Faming ค ่อนข้างได้รับความนิยมอย ่าง แพร่หลาย มีฟาร์มที่เปิดโอกาสให้คนกลุ ่มนี้เข้าไปช ่วยท�ำงานนับ พันแห ่ง ส ่วนใหญ ่จะท�ำงานเชื่อมโยงกับโรงพยาบาล หรือกลุ ่ม สังคมสงเคราะห์ในชุมชน องค์ประกอบอันเป็นหัวใจส�ำคัญของ Care Farm คือ • การเชื่อมโยงกับธรรมชาติ • การเชื่อมโยงกับผู้คน • และการเชื่อมโยงกับการท�ำงานที่มีความหมาย คนที่มาท�ำงานในสวนเกษตร Care Farm นี้จะไม่ได้ถูกมองว่า เป็นผู้ป่วย ที่ต้องมารับการบ�ำบัด แต่พวกเขาจะเข้ามาท�ำงาน ในฐานะ ของผู้ช่วยท�ำเกษตรคนหนึ่ง ที่มาช่วยผลิตอาหารให้กับชุมชน อีกทั้งยัง ได้ค่าจ้างในการท�ำงานด้วย การเปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้ได้ท�ำงานที่มีคุณค่า มีการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ชัดเจน สอดคล้องกับศักยภาพของแต ่ละคน


24 เป็นการท�ำงานท ่ามกลางธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย อีกทั้งยังท�ำงานด้วยความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน คือมีเกษตรกรที่ คอยสอน และแบ่งปันความรู้ให้ในฐานะเพื่อนคนหนึ่ง มีการพบปะพูด คุยกับเจ้าหน้าที่บ้าง กับลูกค้าที่มาซื้อผลผลิตบ้าง ก็มีส่วนช่วยท�ำให้ คนกลุ่มนี้มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น เห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น งานวิจัยของมหาวิทยาลัย University of Essex เรื่อง Care farming in the UK: Evidence and Opportunities (2008) ยัง พบว่า การมาท�ำเกษตรและกิจกรรมต ่างๆ ที่ Care farm มีส ่วน ช ่วยลดอารมณ์ความรู้สึกโกรธ ความสับสน ความซึมเศร้า ความ ตึงเครียด และความอ่อนล้าได้แถมยังท�ำให้หลายคนรู้สึกมีชีวิตชีวา กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจ�ำนวนผู้ที่ต้อง กลับเข้าไปรับการบ�ำบัดเยียวยาที่สถานพยาบาลลดลง รวมถึงผู้ที่มีปัญหาด้านการศึกษา และผู้ที่ต้องคดีท�ำผิดซ�้ำๆ ก็ลดจ�ำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด จนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลาย ประเทศให้ทุนสนับสนุนเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้น ที่น่าสนใจคือ เขายังพบว่า การท�ำ Care Farm นี้ไม่เพียงช่วย บ�ำบัด เยียวยา พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และคนกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยท�ำให้เกษตรกรเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น หลายคน


25 รู้สึกว ่ามีเพื่อนมาช ่วยท�ำงาน ท�ำให้แนวโน้มปัญหาเรื่องการเลิกท�ำ เกษตร ทิ้งหรือขายที่ดินที่ใช้ผลิตอาหารลดน้อยลงด้วย หน่วยงาน Dutch National Support Centre for Agriculture and Care ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เขาได้ออกคู่มือส�ำหรับผู้ที่สนใจจะ ท�ำ Care Farm ออกมา มีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อ Dutch Care Farm Handbook ใครสนใจก็ไปหาดาวน์โหลดมาอ่านกันได้ เรื่องเล่าจากสวนผักบำบัดต่างแดน มาถึงตรงนี้คงจะพอเห็นภาพรวม และประโยชน์ของเรื่องสวน บ�ำบัด และการท�ำเกษตรบ�ำบัดกันมาพอสมควรแล้ว อันที่จริงยังมีราย ละเอียดเรื่องประเภทของสวน และรูปแบบการบ�ำบัดอีกมาก บางแห่ง ก็มีโปรแกรมการรักษา หรือมีการเรียนการสอนเพื่อการบ�ำบัดโดยใช้ พืชสวน เป็นหลักสูตรปริญญา หรือประกาศนียบัตร บางแห่งมีการออก ใบรับรองโดยองค์กรวิชาชีพด้วย ในต ่างประเทศอย ่างสหรัฐอเมริกา ก็มีสมาคมพืชสวนบ�ำบัด (American Horticultural Therapy Association) ที่ท�ำงานเรื่องนี้โดยเฉพาะเลย เรียกว่า เป็นทางเลือก แห่งการบ�ำบัดเยียวยา ที่หลายประเทศให้ความส�ำคัญ ก่อนจะไปถึงเรื่องเล่าจากเมืองไทยที่หลายคนอาจก�ำลังสงสัย ว่า บ้านเรามีรูปแบบการบ�ำบัดเยียวยาแบบนี้หรือไม ่ อยากจะขอเล่า เรื่องราวของการท�ำเกษตรกับการบ�ำบัดเยียวยาเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ที่มี โอกาสได้ไปเรียนรู้มาก่อน


26


27 Youth Harvest Project เป็นหนึ่งในโครงการขององค์กร Garden City Harvest ในรัฐ Montana ที่นอกจากจะส่งเสริมการท�ำ สวนผักชุมชน ให้คนมีรายได้น้อยเข้าถึงอาหารที่ดีและปลอดภัยแล้ว ยังท�ำโครงการ เพื่อเปิดพื้นที่สวนผักให้เยาวชนกลุ ่มเสี่ยงที่มีคดีทาง กฎหมายได้เข้ามาท�ำงานในสวน เรียกว่าแทนที่จะต้องถูกส่งไปอยู่ใน ห้องขัง ศาลเยาวชน Missoula Youth Drug Court ก็ส่งมาอยู่ที่สวน ผัก Peas Farm แทน โครงการสวนผักคนเมืองมีโอกาสได้ไปฟังคุณ Laurie Strand Bridgeman หัวหน้าโครงการ Youth Harvest Project มาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์กับนักศึกษาทั้งป.ตรีป.โท และ ป.เอก ที่เรียนภาควิชา เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คุณ Laurie เล่าให้ฟัง ว่าองค์กรนี้เชื่อว่าการท�ำสวนผักจะช่วยเยียวยาและพัฒนาอารมณ์และ จิตใจของเยาวชนได้เขาจึงประสานงานกับศาล รับเยาวชนมาท�ำงาน ในสวน โดยทางโครงการจะจ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ อาจไม ่ใช ่เรื่องง ่ายนักที่อยู ่ดีๆ จะให้เยาวชนกลุ ่มนี้จะมาท�ำสวน ผักซึ่งเป็นงานที่หนักพอดู ดังนั้นการสร้างบรรยากาศการท�ำงาน ร ่วมกันอย ่างเป็นมิตรระหว ่างเยาวชนกลุ ่มเสี่ยง กับนักศึกษา มหาวิทยาลัย ที่มาฝึกงานในสวน จึงมีส่วนส�ำคัญที่จะสร้างแรงจูงใจให้ ท�ำงานอย่างมีความสุข อีกทั้งยังท�ำให้คนที่มีฐานะที่ต่างกัน เข้าใจกัน มากขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันทางโครงการก็จะมีเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะในการพูด คุย ให้ค�ำปรึกษาอย่างคุณ Laurie ลงมือท�ำสวนเคียงข้างกันไปด้วย


28 นอกจากเยาวชนจะภูมิใจในผลงาน เมื่อได้เก็บผลผลิตที่ตัวเองลงมือลงแรงปลูก และดูแลมากับมือแล้ว พวกเขายังมีโอกาส ได้น�ำผลผลิตที่ปลูกได้ไปแจกจ่ายให้กับ คนยากไร้ในโครงการ Food Bank หรือธนาคารอาหาร ส่วนผลผลิตที่เหลือก็จะน�ำไปจ�ำหน่ายให้กับ ผู้สูงอายุและคนในชุมชน ในราคาถูก เป็นตลาดเคลื่อนที่ (Mobile Market) ช่วยให้คนจ�ำนวนมากเข้าถึง อาหารปลอดภัยได้


29 นับเป็นช่วงเวลาส�ำคัญที่เยาวชนจะได้เปิดใจ พูดคุยถึงปัญหาที่ตัวเอง เผชิญระหว ่างท�ำสวน เป็นการช ่วยบ�ำบัดเยียวยาและแก้ไขปัญหาไป ในตัว ที่น่าสนใจคือ โครงการนี้ยังผนวกเรื่องของการบริการ การท�ำงาน เพื่อสังคม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบ�ำบัดด้วย คุณ Laurie บอกว่า นอกจากเยาวชนจะภูมิใจในผลงาน เมื่อได้เก็บผลผลิตที่ ตัวเองลงมือลงแรงปลูกและดูแลมากับมือแล้ว พวกเขายังมีโอกาส ได้น�ำผลผลิตที่ปลูกได้ไปแจกจ ่ายให้กับคนยากไร้ในโครงการ Food Bank หรือธนาคารอาหาร ส่วนผลผลิตที่เหลือก็จะน�ำไปจ�ำหน่ายให้กับ ผู้สูงอายุและคนในชุมชน ในราคาถูก เป็นตลาดเคลื่อนที่ (Mobile Market) ช่วยให้คนจ�ำนวนมากเข้าถึงอาหารปลอดภัยได้การท�ำงาน เพื่อสังคมนี้ท�ำให้เยาวชนรู้จักดูแลผู้อื่น และเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น แน ่นอนว ่าการท�ำงานกับเยาวชนกลุ ่มเสี่ยง หรือที่ต้องคดีมานั้น อาจจะไม่ง่ายนัก แต ่การเปิดพื้นที่ เปิดโอกาส ให้เยาวชนเหล ่านี้ได้ เยียวยา และค้นพบศักยภาพและคุณค ่าที่แท้จริงในตัวเองนั้นเป็นสิ่ง ส�ำคัญ และโครงการ Youth Harvest Project ก็นับเป็นหนึ่งในตัวอย่าง ที่น่าสนใจที่พยายามท�ำสิ่งนี้ ใครสนใจลองอ่านเรื่องราวของพวกเขาเพิ่มเติมได้ที่ http://www. gardencityharvest.org


30


31 ๒ สวนผักแห่งการ บำาบัดเยียวยา


32


33 แม้ว่าในต่างประเทศ เรื่องของสวนและการเกษตร กับการบ�ำบัด เยียวยา จะเป็นที่รู้จักกันมานาน แต่ส�ำหรับในเมืองไทย เรื่องนี้ยังไม่ เป็นที่แพร่หลายนัก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเมล็ดพันธุ์ที่ก�ำลังงอกงามเป็น ความหวังอยู่ จากประสบการณ์การท�ำโครงการสวนผักคนเมืองมาเป็นเวลาร่วม 5 ปี เราพบว่าเรื่องของการปลูกผัก ที่แรกเริ่ม เราตั้งใจอยากจะให้ คนในเมืองรู้จักพึ่งตนเอง เรียนรู้ปลูกพืชผัก และมีอาหารที่ปลอดภัย กินเองนั้น กลายเป็นกิจกรรมหรือกระบวนการส�ำคัญ ที่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงในชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของผู้คน มากมาย ทั้งผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สถาบันจิตเวช สถาน บ�ำบัดฟื้นฟู ไปจนถึงผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้าน รวมถึงบุคคลทั่วไปที่เผชิญ กับความทุกข์ทางกายและใจ มีเรื่องเล่า ประสบการณ์ ตลอดจนเทคนิค วิธี การจัดรูปแบบกระบวนการ ที่หลายคนพยายามสร้างสรรค์ขึ้น จนมี ข้อค้นพบมากมาย ที่อยากจะชวนให้เรียนรู้ และเติบโตไปด้วยกัน


34 เมื่อมีศรัทธา สวนผักแห่งการบำบัดเยียวยา จึงเติบโต งอกงาม ญาดา จ�ำนงค์ทอง หรือหมอจิ๊บ คือสมาชิกโครงการสวนผักคน เมืองคนแรกที่ท�ำให้เรารู้จักเรื่องของสวนผักบ�ำบัด และเห็นถึงพลังของ สวนผักที่มีส่วนช่วยเยียวยาผู้ป่วยจิตเวช และผู้ติดยาเสพติด “ศรัทธา” ค�ำนี้มีพลังยิ่งใหญ่ น่าเสียดายที่หายไปจากใจใครหลาย คน โดยเฉพาะคนในยุคปัจจุบัน แต่ก็เชื่อว่า หากใครหาพบ และท�ำใน สิ่งที่ตนเองศรัทธาอย่างแท้จริง เรื่องที่ดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ก็


35 กลับเป็นไปได้ขึ้นมา ดังเช่นเรื่องราวของคุณญาดา จ�ำนงค์ทอง หรือที่ ใครๆ เรียกว่าหมอจิ๊บ อดีตพยาบาลวิชาชีพ ช�ำนาญการ คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลแหลมฉบัง ที่ท�ำงานบ�ำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตด้วยการ จ่ายยาเป็นหลักมาเป็นเวลานาน แต่หลังจากที่ได้ทดลองปลูกผักด้วย ตัวเอง รวมถึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของคนไข้จิตเวชที่ได้ลองปลูก ผัก สิ่งที่เธอได้เรียนรู้ ก็ท�ำให้เธอรู้สึกศรัทธาและเชื่อมั่นว่าการปลูกผัก จะสามารถช่วยเยียวยารักษาจิตใจของผู้ป่วยจิตเวชให้ดีขึ้นได้ หมอจิ๊บเล่าย้อนถึงประวัติการท�ำงานบนเส้นทางพยาบาลที่ ยาวนานถึง 26 ปี ให้ฟังว่า ตอนแรกท�ำงานที่อนามัย ด้วยความที่ เพื่อนพยาบาลเห็นว่าเป็นคนชอบท�ำกระบวนการกลุ่ม ชอบชวนผู้ป่วย


36 คุย เลยได้ท�ำงานอยู่แผนกสุขภาพจิตและจิตเวช แต่พอมาท�ำงานด้าน จิตเวชที่โรงพยาบาลอย่างจริงจัง ก็เริ่มรู้สึกว่าการให้ยาคนไข้ที่มารักษา ที่คลินิก ไม่น่าใช่ค�ำตอบ เป็นวิธีที่รู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ เพราะยา ที่กินเข้าไปก็ไปท�ำงานกับระบบประสาทต่างๆ ซึ่งหากบางคนแพ้ยา รุนแรง ก็จะน่าสงสารมาก หรือคนไข้บางคนก็ต้องเสียเงินมากมายเพื่อ มาหาหมอ กว่าจะมาถึงก็ล�ำบาก เพื่อมาฟังหมอบอกว่าให้ลดยาหรือ ให้เพิ่มยาที่กินเท่านั้น กลายเป็นคนไข้ต้องพึ่งหมอตลอด ซึ่งรู้สึกว่ามัน ไม่ใช่ ความรู้สึกขัดแย้งนี้คงสั่งสมอยู่ในใจหมอจิ๊บมานาน จนได้ค้นพบ เส้นทางแห่งการปลูกผัก ที่เปลี่ยนแปลงทั้งชีวิตตัวเอง ชีวิตผู้ป่วย รวมถึงคนแวดล้อมมากมาย หมอจิ๊บเล่าให้ฟังถึงแรงบันดาลใจครั้งแรกที่เริ่มสนใจที่จะน�ำเรื่อง การปลูกผักมาใช้ช่วยบ�ำบัดผู้ป่วยจิตเวชว่า จากประสบการณ์พบว่า คนไข้ส่วนใหญ่จะว่างงาน คือเวลาไปท�ำงานในบริษัทก็ไม่ค่อยได้รับ การยอมรับ บางคนถูกไล่ออก ต้องมาอยู่บ้าน พอมาอยู่บ้าน ครอบครัว ก็ไม่ค่อยยอมให้ท�ำอะไร เพราะท�ำแล้วมักจะเกิดปัญหาตามมา เช่น หุงข้าว ข้าวก็ล้นหม้อ ไปล้างจาน จานก็แตก คนไข้ส่วนใหญ่ก็เลยรู้สึก เครียด ท้อแท้ บางคนเป็นโรคซึมเศร้า และถึงขั้นอยากตาย จึงคิดว่า หากหากิจกรรม อย่างการปลูกผักมาให้ท�ำ ก็น่าจะช่วยท�ำให้คนไข้ หมกมุ่นกับความคิดของตัวเองน้อยลง และได้มีกิจกรรมอะไรท�ำบ้าง อันที่จริง คงต้องยอมรับว่าในระยะแรกๆ หมอจิ๊บและทีมจิตอาสา โรงพยาบาล ก็ยังไม่รู้ว่าควรจะน�ำเรื่องการปลูกผักมาเชื่อมโยงกับ


37 คนไข้ที่ตัวเองดูแลอยู่ได้อย่างไร กลยุทธ์แรกที่ทีมใช้ คือพยายามน�ำ เรื่องการปลูกผักมาน�ำเสนอในรูปแบบที่ดึงดูดความสนใจ โดยปลูก ผักและจัดเป็นกระเช้าผักสวยๆ มาโชว์ไว้ที่หน้าห้องรักษา พร้อมทั้งมี เมล็ดพันธุ์ คู่มือ และจิตอาสาที่มีความรู้เรื่องการปลูกผักมาคอยแนะน�ำ ช่วงเริ่มต้น ผู้ป่วยก็ยังไม่ค่อยสนใจนัก อาจเป็นเพราะว่าหลายคน เห็นเป็นเรื่องไกลตัว บางคนคิดว่าตัวเองไม่มีที่ปลูก หรือบางคนก็อาจ เห็นว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่ได้มีอะไรพิเศษ คนที่มาสนใจกลับเป็น เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล จนกระทั่งมีคนไข้จิตเวชรายหนึ่ง ได้รับแจก เมล็ดพันธุ์กลับไปปลูกที่บ้าน และกลับมาหาหมอจิ๊บ พร้อมกับความ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ทั้งยาและทั้งค�ำปรึกษาของหมอจิ๊บที่พยายาม ให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่เคยได้ผล จากวันนั้นแสงแห่งศรัทธาที่ จะน�ำเรื่องสวนผักมาใช้ช่วยบ�ำบัดเยียวยาผู้ป่วยจึงส่องสว่างขึ้น


38 ปลูกผักบำบัดจิตใจ หมอจิ๊บเล่าถึงคนไข้คนนั้นซึ่งถือเป็นแรงบันดาลใจ ส�ำคัญ ที่ท�ำให้ตัวเองก้าวเดินบนเส้นทางสวนผักบ�ำบัด อย่างต่อเนื่องให้ฟังว่า “คนไข้คนนี้น่าสนใจมาก เขามี พัฒนาการช้า ตัวเล็ก มาบ�ำบัดที่คลินิกจิตเวชด้วยโรค ซึมเศร้า ทุกครั้งที่มาจะพูดความรู้สึกถึงพ่อกับแม่ว่า เกลียดสองคนนี้มาก เพราะท�ำตัวไม่เหมาะสม ไม่เคย ฟังเขาเลย เราท�ำจิตบ�ำบัดให้ 7-8 ครั้งก็ไม่ส�ำเร็จ มี อยู่วันหนึ่งป้าพิศ (ชวนพิศ ประสม) ซึ่งเป็นจิตอาสา ให้เมล็ดผักกลับไปปลูก อีกประมาณ 2-3 อาทิตย์ อยู่ ดีๆ คนไข้ก็จูงมือแม่มาหาหมอด้วย เราเลยมีโอกาสได้ ป้าพิศ (ชวนพิศ ประสม)


39 ท�ำครอบครัวบ�ำบัด เราถามเขาว่าอยากบอกอะไรแม่มั้ย เขาก็บอกว่า อยากบอกว่ารักแม่มาก เราถามเขาว่าอยากท�ำอะไรให้แม่มั้ย เขาบอก ว่าอยากกราบแม่ สุดท้ายเขาก็นั่งลงกราบที่ตักแม่ แม่น�้ำตาไหลพราก ทั้งคู่กอดกัน เชื่อว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้เพราะว่าการปลูกผัก น่าจะ ท�ำให้เขาอารมณ์ดีขึ้น รู้สึกผ่อนคลาย มีจิตใจที่อ่อนโยนและมีความ สุขมากขึ้น และคิดว่าการมาวุ่นกับเรื่องปลูกผักก็คงจะช่วยท�ำให้ความ รู้สึกที่เคยหมกมุ่นว่าเกลียดพ่อแม่คลายไปด้วย พอเราท�ำจิตบ�ำบัด ท�ำ ครอบครัวบ�ำบัดจึงเห็นผล” ที่น่าประทับใจคือ จากเมล็ดพันธุ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ทางป้าพิศให้ไป วันนั้น จนวันนี้หากใครมีโอกาสได้ไปเยี่ยมบ้านของเขา ก็จะเห็นว่าบริเวณหน้าบ้านมีพืชผักนานาชนิดปลูกอยู่ในภาชนะ เหลือใช้ที่เขาสร้างสรรค์มากมาย จนกระทั่งบางวันมีคนมาขอซื้อผักถึงบ้าน ที่ส�ำคัญจากคนที่เคย รู้สึกเกลียดแม่ ตอนนี้เขายังกลายเป็นมือเพาะถั่วงอกคนเก่ง ให้แม่ได้ ใช้ในร้านขายก๋วยเตี๋ยวด้วย จากผู้ป่วยคนนั้น เมล็ดพันธุ์ผักก็ได้ไปเติบโต งอกงาม และ ช่วยพัฒนาชีวิต เยียวยาจิตใจคนอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งผู้ป่วยจิตเวช โรคซึมเศร้าและผู้ติดยาเสพติด ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล แหลมฉบัง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบ้านหนองค้อ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ทั้งทีมงานจิตอาสา ทั้งเพื่อนและญาติพี่น้อง ตลอด จนตัวของหมอจิ๊บเอง


40 • “คุณลุงที่เคยคิดฆ่าตัวตาย พอเราเอาเมล็ดผักไปให้ แล้วคุณลุง ก็เอาเมล็ดผักที่ตัวเองมีอยู่ออกมาให้ด้วย เขาก็เกิดความ ภาคภูมิใจ เห็นคุณค่าตัวเองมากขึ้น ก็เลิกคิดฆ่าตัวตาย” • “เพื่อนท�ำงานอยู่ที่โรงพยาบาลต�ำรวจที่สระแก้ว เห็นเราท�ำ เลยลองน�ำไปใช้ในหอผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งตามปกติเวลากลางวัน คนไข้ส่วนใหญ่มักต้องกินยานอนหลับ บางคนก็จะมีนิสัย ก้าวร้าวอยู่เสมอ แต่หลังจากที่ได้ทดลองน�ำกิจกรรมปลูกผัก เพาะถั่วงอกไปให้คนไข้ได้ท�ำกันในช่วงกลางวัน ปรากฏว่าคนไข้ ลดความก้าวร้าวลงได้” • “น้องสาวตัวเอง ป่วยเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia) เคยกิน ยาแล้วแพ้ยารุนแรง จนเราเห็นแล้วน�้ำตาไหล พอเรามีพื้นที่ สวน ให้เขาได้ลองท�ำอย่างอิสระ เพียงไม่ถึงเดือน เราเห็นความ เปลี่ยนแปลงของน้องในทิศทางที่มีพัฒนาการมาก” • ลูกชายป้าพิศ จิตอาสา เคยเครียดมากขนาดจะกระโดดน�้ำตาย ด้วยความที่มีปัญหาครอบครัว ป้าพิศเลยชวนให้เขาลองปลูกผัก ให้เขาเริ่มท�ำเล็กๆ จากพื้นที่ใกล้บ้าน เพราะเขาไม่เคยท�ำมา เลย จนตอนนี้ชีวิตดีขึ้น เริ่มไปท�ำสวนผักในที่ดินที่มีอยู่ แล้วก็ เก็บผักที่เหลือจากกินมาขายที่ตลาดสีเขียวของโรงพยาบาล • พี่สุพัฒน์ สาระบาล จิตอาสา ได้แรงบันดาลใจ กลับไปพลิก ฟื้นที่ดินที่ตัวเองปล่อยร้างไว้ ให้กลายเป็นสวนผัก ที่เปิดให้คน ที่สนใจเข้าไปเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้โรงพยาบาลที่สนใจบ�ำบัด ผู้ป่วยด้วยแนวคิดสวนผักบ�ำบัด มาใช้พื้นที่สวนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย


41 เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องราวความเติบโต งอกงามที่เกิดขึ้นจากพลัง ของสวนผัก ที่ทั้งหมอจิ๊บเล่าให้ฟังจากปาก และที่ผู้เขียนได้สัมผัส และ เห็นด้วยตา นอกจากนี้ จากการบันทึกและรวบรวมข้อมูลการท�ำกลุ่มสวนผัก บ�ำบัดกับผู้ป่วยจิตเวช และผู้ติดยาเสพติดของหมอจิ๊บ ยังพบว่า • ผู้ป่วยจิตเวชที่เข้าร่วมกิจกรรมสวนผักบ�ำบัดจ�ำนวน 20 คน มี ภาวะซึมเศร้าลดลง 75 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออาการไม่ก�ำเริบ และสามารถพัฒนาการเรียนรู้ ความคิด สมาธิ ตลอดจนเห็น คุณค่าในตัวเองมากขึ้น


42 • ผู้ติดยาเสพติดที่มาท�ำกลุ่มติดต่อกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง รวม 16 ครั้ง ที่สวนผักบ�ำบัดของพี่สุพัฒน์ เรียนรู้ที่จะยอมรับความจริงและเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น โดยเรียนรู้และเชื่อมโยงผ่านธรรมชาติของผัก ที่ส�ำคัญ กระบวนการสวนผักบ�ำบัด ยังมีส่วนช่วยให้หมอจิ๊บ เชื่อมั่นในการรักษาด้วยธรรมชาติมากขึ้น จนตัดสินใจลาออกจากการ เป็นพยาบาลวิชาชีพ ช�ำนาญการ ออกเดินทางให้ความรู้ ท�ำกิจกรรม สร้างแรงบันดาลใจช่วยขับเคลื่อนเรื่องสวนผักบ�ำบัดให้เป็นที่รู้จักมาก ขึ้น ไปพร้อมกับการเดินทางภายในเพื่อพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เทคนิคและกระบวนการในการทำสวนผักบำบัด สวนผักบำ�บัดกับคลินิกจิตเวช• การให้ค�ำปรึกษา เชื่อมโยงกับวิถีการกินอยู่ เมื่อถามถึงเทคนิคที่หมอจิ๊บใช้ในการท�ำเรื่องสวนผักบ�ำบัด ในช่วงที่เป็นพยาบาลจิตเวช หมอจิ๊บก็ออกตัวว่าไม่แน่ใจว่าจะเรียก ว่าเทคนิคหรือเปล่า แต่ในกระบวนการให้ค�ำปรึกษา หลังจากที่คุย เรื่องปัญหาต่างๆแล้ว สุดท้ายก็มักจะโยงมาเรื่องการกินอยู่เสมอ “นักวิชาการส่วนใหญ่มักหลงลืมว่าสุขภาพไม่ใช่เรื่องของพยาบาล อย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของวิถีการกินอยู่ ด้วย เราเชื่อว่าคนเราจะป่วยทั้งทางกายและจิต ส่วนหนึ่งมันมาจาก


43 เรื่องการกิน อย่างคนไข้คนหนึ่งมาด้วยอาการแน่นหน้าอก กลัวจะ เป็นมะเร็ง แต่จริงๆ แล้วเขาไม่ได้เป็นอะไรนัก เราก็จะชวนให้เขาลอง ทบทวนดูว่าเขากินอะไรบ้าง แล้วอาหารที่กินนั้นปลอดภัยจริงหรือ ป่าว ถ้าซื้ออาหารกิน เชื่อมั่นได้มั้ย กว่าอาหารจะเดินทางมาถึงเราใช้ เวลานานแค่ไหน สุดท้ายเราก็จะสอดแทรกเรื่องการปลูกผักกินเอง คือ ท�ำให้เขาตระหนักถึงปัญหาเรื่องอาหารการกินที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แล้ว ก็ท�ำให้เขาตระหนักถึงความส�ำคัญของการปลูกผัก แต่สิ่งส�ำคัญคือการ ท�ำด้วยความศรัทธาจริงๆ และพูดทุกสิ่งออกมาจากใจจริงๆ เรียกว่า คุยไปคุยมาเราก็แทรกเรื่องผักได้กับคนไข้ทุกคนเลยนะ ถ้าเขาสนใจ ไม่รู้ว่าจะปลูกยังไง ก็จะส่งออกมาหาป้าพิศและทีมจิตอาสา ซึ่งคอย ให้ความรู้อยู่ข้างนอกห้องตรวจ หรือให้ลองทดลองท�ำที่แปลงผักใน โรงพยาบาล หากใครปลูกผักกินเองอยู่แล้ว เราก็จะแทรกให้เขาเห็น คุณค่าของสิ่งที่ตัวเองท�ำอยู่” หมอจิ๊บกล่าว เราจะไม่ใช้วิธีพูดบังคับ ว่าคุณน่าไปปลูกผักนะ เพราะจะท�ำให้เกิดความรู้สึกต่อต้าน เราจะให้อิสระในการเลือกก่อน อาจเลือกผักที่น่าสนใจไปตั้งโชว์ เช่นปูเล่ ดูว่ามีใครสนใจบ้าง แล้วก็มีคนที่มีความรู้ คอยตอบค�ำถาม อาจจะเริ่มเล็กๆ เพียงไม่กี่คน ก็มีพลังที่จะชวนคนอื่นเข้ามาด้วยได้


44 • การเยี่ยม “สวนผัก” ที่บ้านผู้ป่วย แทนการเยี่ยม “ผู้ป่วยจิตเวช” อีกหน้าที่หนึ่งของพยาบาลจิตเวชคือการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย สิ่งที่ หมอจิ๊บจะพกติดตัวไปด้วยก็คือเมล็ดพันธุ์ผัก หากสังเกตเห็นว่าบ้าน ไหนปลูกผักอยู่บ้างแล้ว ก็จะชวนคุย ชื่นชมผักต่างๆ ที่คนไข้ปลูก ซึ่ง อาจเป็นกิจกรรมที่ไม่เคยเห็นคุณค่า แต่พอมีคนมาชื่นชม คนไข้ก็จะมี ความสุข รู้สึกกระตือรือร้น อยากพาชมสวนผักที่ตัวเองปลูก ถึงแม้ว่า ผักที่ปลูกอยู่จะไม่ใช่ฝีมือของคนไข้ แต่มีคนในบ้านปลูก หมอจิ๊บก็จะ ฝากเมล็ดพันธุ์ไว้ให้ หลังจากนั้นคนไข้ก็มักจะมาเล่าเรื่องผักๆ ให้ฟัง บางคนมีอะไรก็น�ำมาแบ่งปันให้เสมอ ด้วยแววตาที่มีความสุข เมื่อเรา ช่วยกระตุ้นให้เขาเห็นว่าธรรมชาติมีคุณค่ามากมาย จากเดิมที่เคยมอง ข้ามไป ผู้ป่วยก็ได้ปรับมุมมอง ปรับความคิดตัวเอง


45 เคล็ดลับส�ำคัญอีกประการคือ ทุกครั้งที่กลับลงไปเยี่ยม แทนที่จะ บอกว่า “จะไปเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวช” ก็จะบอกว่า “จะมาตามดูเมล็ดผัก ที่เคยให้ไว้ปลูก” ซึ่งค�ำพูดเล็กๆน้อยๆเช่นนี้ หมอจิ๊บบอกว่ามีความ ส�ำคัญต่อจิตใจของผู้ป่วยอย่างมาก คือช่วยลดตราบาป (STIGMA) ให้ ผู้ป่วยเนื่องจากผู้ป่วยจิตเวชไม่ต้องการให้ใครรู้ว่าตนเองป่วยทางจิต ญาติเองก็รู้สึกอับอายไม่อยากให้ข้างบ้านรู้ ดังนั้นการไปเยี่ยมผู้ป่วย โดยให้ทุกคนรู้ว่าไปเยี่ยมผัก ไปติดตามเมล็ดพันธุ์ที่ฝากปลูกไว้ จึง สร้างความรู้สึกที่ดีกับผู้ป่วย ญาติ คนข้างบ้าน ตลอดจนพยาบาลผู้ท�ำ หน้าที่เองก็มีความสุขในการเยี่ยมบ้าน สวนผักกับกระบวนการบำบัด จากประสบการณ์การท�ำงานของหมอจิ๊บและทีมจิตอาสา พบ ว่าการออกจากห้องสี่เหลี่ยมของคลินิกในโรงพยาบาล ไปท�ำกิจกรรม บ�ำบัดร่วมกันในสวนผักท่ามกลางธรรมชาติ มีส่วนช่วยเยียวยาชีวิตผู้ ป่วยได้อย่างดี พื้นที่ที่ทีมสวนผักบ�ำบัดใช้ท�ำกระบวนการคือ สวนผักคนเมือง ศรีราชา ของคุณสุพัฒน์ สาระบาล อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แนวคิดส�ำคัญ คือ เชื่อว่าธรรมชาติให้พลังชีวิต สามารถช่วย รักษา เยียวยา ปรับแนวคิดทุกคนได้ โดยการเข้าถึงธรรมชาติผ่าน ประสาทสัมผัสทั้ง 6 จะท�ำให้ได้พลังชีวิตคืนกลับมา ท�ำให้เกิดความ คิดสร้างสรรค์ที่ดี เกิดการเข้าใจชัดประจักษ์แจ้ง ซึ่งจะท�ำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเอง


46 เทคนิค กระบวนการ• เน้นกระบวนการที่สร้างสรรค์ เรียบง่าย ยืดหยุ่น ให้เวลา ให้โอกาส ให้พื้นที่ อย่างเข้าใจธรรมชาติ • พัฒนาสัมพันธภาพและความไว้วางใจ ท่ามกลางบรรยากาศที่ เป็นกันเอง อยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่นเหมือนครอบครัวเดียวกัน ตัวอย่างรูปแบบกิจกรรมสวนผักบำบัด ล�ำดับ ความรู้/หลักสูตร/ เทคนิค 1. ประเมินความรู้สึก ก่อนมาถึงสวน/ และเมื่อมาถึงสวน 2. กิจกรรม “พูดกับผัก” 3. กิจกรรม “ฟังผักพูด” รายละเอียด ให้สมาชิกเขียนถึงอารมณ์ตนเองก่อนมา เพื่อประเมินความพร้อมก่อนท�ำกิจกรรม ประเมินความรู้สึกนึกคิด สภาพอารมณ์ ก่อนมาและเมื่อมาถึงสวน ให้สมาชิกหามุม หาผักที่ชื่นชอบมาก ที่สุด มีสมาธิอยู่ตรงนั้น ห้ามคุยกัน แล้ว จินตนาการว่า ถ้าผักพูดได้...ผักอยาก บอกอะไรกับเรา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้สมมติว่า ถ้าเป็นผัก อยากบอกอะไร กับคน....ให้บันทึก....ให้เวลาพอสมควร เน้นทุกคนห้ามคุยกัน เพื่อให้มีสมาธิกับ ผัก จากนั้น มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน


47 ล�ำดับ ความรู้/หลักสูตร/ เทคนิค 4. กิจกรรม “วาดภาพผัก” 5. กิจกรรม “ดมกลิ่นผัก” 6. กิจกรรม ”ส�ำรวจผัก” รายละเอียด วาดภาพ/ระบายสี ผัก/ต้นไม้ในสวน ที่ ชอบมากที่สุด...บรรยายใต้ภาพ...อยาก บอกอะไรกับคนที่เห็นภาพ ในขณะวาด ภาพ รู้สึกอย่างไร ...และแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ถามสมาชิก “ยืนตรงนี้ ได้กลิ่นผัก/ใบไม้ / ต้นไม้ อะไรบ้าง ในสวน” และแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ตั้งค�ำถาม “ในสวนมีผักกี่ชนิด อะไรบ้าง” และให้เดินชมสวนผัก และบันทึกชื่อผัก ต่างๆ จากนั้นให้มาน�ำเสนอในกลุ่ม


48 ล�ำดับ ความรู้/หลักสูตร/ เทคนิค 7. ฝึกกระบวนการ “เขียน” 8. ฝึกกระบวนการ “พูด” 9. ฝึกกระบวนการ “ฟัง” รายละเอียด ให้บันทึกทุกครั้งที่มา เพื่อกลั่นกรอง ความคิดก่อนพูดโดยผ่านการเขียน และ เพื่อให้มีสมาธิ ฝึกการพูดจากใจ จากความรู้สึก ระหว่างท�ำกระบวนการกลุ่ม ให้มีสมาธิ ฟังเพื่อนพูด หัดจัดประเด็น และเป็นการ ช่วยส่งเสริมให้เพื่อนมีก�ำลังใจในการพูด


49 นอกจากกระบวนการบ�ำบัดในรูปแบบต่างๆ แล้ว ผู้ที่มารับการ บ�ำบัดยังมีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องการปลูกผัก เพาะถั่วงอก เพาะเห็ด มี ส่วนช่วยในการท�ำแปลง ปรุงดิน ปลูกผัก บางครั้งก็มีการท�ำอาหารกิน ร่วมกัน เป็นวิชาการพึ่งพาตนเองที่ติดตัวกลับไป จนบางคนรู้สึกผูกพัน และกลับมาเยี่ยมสวน บางคนเอาต้นไม้มาฝาก แม้ว่าจะจบการบ�ำบัด ไปแล้วก็ตาม เคล็ดลับสำ�คัญที่ค้นพบ แม้จะไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการท�ำสวนผักบ�ำบัดมาก่อน และ ไม่เคยเรียนรู้เทคนิควิธีการที่ไหน แต่การได้ทดลองลงมือท�ำจริง ท�ำให้ หมอจิ๊บได้เรียนรู้และค้นพบหัวใจส�ำคัญหลายประการด้วยกัน หากลอง สรุปเป็นข้อๆ ก็จะได้ดังนี้ • การพูดคุยประเมินความรู้สึกก่อนเริ่มกิจกรรมส�ำคัญมาก หาก ผู้รับการบ�ำบัดไม่พร้อม รู้สึกอยากพัก ก็จะปล่อยให้เป็นอิสระ ด้วยความเมตตา ไม่บังคับ ไม่จับผิด ไม่ลงโทษ • การอยู่ในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ ผ่อนคลาย ท�ำให้เกิดความ สุข เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ • การได้พูดกับผักหรือฟังผักพูด ได้จดจ่ออยู่กับธรรมชาติ ช่วย ท�ำให้คนมีจิตใจที่อ่อนโยนขึ้น ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น เข้าใจ ตัวเอง และเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น


50 • สัมพันธ์ภาพที่ดี ท�ำให้เกิดความไว้วางใจ เชื่อมั่นในตัวบุคคล และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความส�ำคัญมากที่ท�ำให้ผู้รับการบ�ำบัดลด ความกลัว ความหวาดระแวง รู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเอง และกล้า ที่จะพูดเปิดใจ เล่าปัญหาที่อยู่ภายในให้ฟังอย่างเป็นธรรมชาติ • ทีมงานที่มาช่วยท�ำกิจกรรมในสวนผักบ�ำบัด ควรเป็นทีมที่มี ความสุข มีใจรักและเข้าใจธรรมชาติ เห็นคุณค่าในสิ่งที่ตัวเองท�ำ ซึ่งจะสามารถช่วยผู้อื่นได้อย่างมีพลัง รู้จักทีมงานผู้เป็นกำ�ลังและพลังสำ�คัญ ของสวนผักบำ�บัดศรีราชา คงต้องยอมรับว่า ล�ำพังหมอจิ๊บคนเดียว กระบวนการสวนผัก บ�ำบัดทั้งหมดคงไม่สามารถเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ได้ ดังนั้นทุกครั้งที่ ผู้รับการบ�ำบัดมาที่สวน ก็จะมีทีมจิตอาสามาช่วยเสมอ พี่สุพัฒน์ สาระบาล จิตอาสาโรงพยาบาลแหลมฉบัง ถือเป็นก�ำลัง ส�ำคัญที่เสียสละทั้งพื้นที่ ทั้งเวลา ทั้งก�ำลัง ในการพลิกฟื้นผืนดินที่เคย รกร้างว่างเปล่า ให้กลายเป็นสวนผัก และดูแลพืชผักให้เติบโตงอกงาม ด้วยความตั้งใจ แทนที่จะคิดหวังปลูกผักเพื่อขาย พี่สุพัฒน์ก็เกิด แรงบันดาลใจจากสิ่งที่หมอจิ๊บท�ำ และเปิดพื้นที่ให้ผู้ป่วยเข้ามาใช้พื้นที่ ท�ำกระบวนการบ�ำบัดอย่างเต็มที่ ที่ส�ำคัญ ในกิจกรรมแต่ละครั้ง พี่ สุพัฒน์ยังเป็นก�ำลังส�ำคัญในการสอนทักษะความรู้เรื่องการปลูกผัก เพาะเห็ด เพาะถั่วงอก ไปจนถึงเรื่องเตาชีวมวล ให้กับผู้ที่มารับการ บ�ำบัด และเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้ผ่านการลงมือท�ำจริงที่สวน


Click to View FlipBook Version