51 ด้วย หากเห็นว่าผู้ที่มาสนใจพืชผักชนิดไหนเป็นพิเศษ หรือผักตัวไหน มีประโยชน์ น�ำไปช่วยรักษาโรคได้ พี่สุพัฒน์ก็จะหามาปลูกอยู่เสมอ เรียกว่าถ้าไม่มีพี่สุพัฒน์ “สวนผักบ�ำบัด” ที่หมายถึงพื้นที่สวนผักด้วย นั้น ก็คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ชวนพิศ ประสม หรือป้าพิศ จิตอาสาคนส�ำคัญ ที่แม้จะอายุมาก แต่พลังก็ไม่ได้ลดน้อยลง ป้าพิศเป็นบุคคลส�ำคัญอีกคนหนึ่งที่ท�ำให้เกิด เรื่องราวของสวนผักบ�ำบัดขึ้น ตั้งแต่เป็นคนที่คอยจัดกระเช้าใส่แก้ว ปลูกผักเล็กๆ หลายต้น ประดับประดาให้สวยงามบริเวณหน้าคลินิก จิตเวช พร้อมทั้งจัดหาหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพและการปลูกผักมาวาง เตรียมไว้ให้ คอยพูดคุยสนทนากับทั้งผู้ป่วย และญาติผู้ป่วยที่นั่งรอพบ หมออยู่หน้าห้อง ใครสนใจปลูกอะไร มีข้อสงสัยตรงไหน ป้าพิศยินดีให้
52 สุพัฒน์ สาระบาล และนันท์ศศิ บุญสิน ชวนพิศ ประสม ขวัญแก้ว คงเรือง
53 ค�ำแนะน�ำอย่างเต็มอกเต็มใจ แถมยังให้ก�ำลังใจผู้ป่วยได้อย่างดี ป้าพิศบอกว่า ความจริงไม่เพียงผู้ป่วยจิตเวชเท่านั้น มีคนไข้มะเร็ง คนไหนเครียดๆ กลัวการรักษา คุณหมอก็มักจะส่งมาที่ป้าพิศ เราก็คุย กับเขา บอกว่าอย่าไปกลัว ก็แค่ “มา-เล็ง” ยังไม่ได้ “มา-ยิง” แล้วก็บอก ให้เอาต้นปูเล่ไปปลูก ให้เขาลืมที่เขาป่วย “เราบอกเขาว่าให้ไปปลูก ปูเล่นะ คอยดูแลให้ดีๆ ถ้าปูเล่ตาย เราก็ตาย ปรากฏว่าตอนนี้คนไข้ คนนี้กลับมาเล่าให้ฟังว่า ต้นปูเล่งามมาก เค้าไม่ตายแล้ว” ไม่เพียงบริเวณหน้าคลินิกในโรงพยาบาล เมื่อหมอจิ๊บมาจัด กระบวนการที่สวนผักบ�ำบัดศรีราชา ป้าพิศก็ยังเป็นก�ำลังส�ำคัญที่คอย ให้ทั้งความรู้ และก�ำลังใจกับผู้ที่มารับการบ�ำบัด บางครั้งก็เป็นฝ่ายช่วย เตรียมอาหารไว้เลี้ยงในสวน โดยมีป้าขวัญแก้ว คงเรือง หรือป้าน้อง คู่หูคนส�ำคัญมาคอยช่วยอยู่เคียงข้างเสมอ ทั้งป้าพิศและป้าน้อง ไม่ได้เป็นผู้มีความรู้ สอนคนให้ปลูกผัก หรือ ดูแลสุขภาพเป็นเท่านั้น แต่ที่บ้านของคุณป้าทั้งสองยังปลูกผักมากมาย แม้จะมีพื้นที่เล็กๆ หน้าบ้าน หรือข้างบ้าน แต่ก็มีผลผลิตเหลือเฟือ เรียกว่าพอกิน เหลือแบ่ง และเหลือขายเลยทีเดียว ที่ส�ำคัญการปลูก ผักของคุณป้าทั้งสอง ก็มีพลังช่วยเปลี่ยนแปลง และเยียวยาผู้คนใน ครอบครัว รวมถึงตัวเองได้ไม่น้อยเช่นกัน ป้าพิศเล่าให้ฟังว่า ลูกชายเคยเครียดมากขนาดจะกระโดดน�้ำตาย ด้วยความที่มีปัญหาครอบครัว “ตอนนั้นเขาโทรมาบอกว่าจะกระโดด น�้ำตายแล้วนะ เราก็บอกว่ากระโดดเลย แต่เอาให้ตายนะ อย่าให้เป็น ภาระ ปรากฏว่าเขาไม่กระโดด กลับมาหาที่บ้าน เราก็เลยชวนให้เขา
54 ลองปลูกผัก ให้เขาเริ่มท�ำเล็กๆจากพื้นที่ใกล้บ้าน เพราะเขาไม่เคยท�ำ มาเลย จนตอนนี้ชีวิตดีขึ้น เริ่มไปท�ำสวนผักในที่ดินที่มีอยู่ แล้วก็เก็บ ผักที่เหลือจากกินมาขายที่ตลาดสีเขียวของโรงพยาบาล” ตัวป้าพิศเอง ตอนช่วงที่รู้สึกเครียดๆ ป้าพิศก็จะออกไปท�ำสวน อยู่ กับต้นไม้ พูดกับต้นไม้เหมือนกัน “เวลาท�ำงานในสวน ก็ลืมๆ เรื่องที่ ตัวเองเครียดๆ ไปโดยไม่รู้ตัว พอเดินเข้าบ้านก็รู้สึกปลอดโปร่ง” ป้าพิศ กล่าว ส่วนป้าน้องก็ใช้เรื่องการปลูกผักท�ำสวนไปเลี้ยงลูกหลานใน ครอบครัวด้วย ป้าน้องเล่าให้ฟังว่า ปกติหลานๆ มักจะอยู่แต่ในห้อง เล่นเกมส์ ไม่สนใจใคร เราเลยชวนให้มาช่วยกันปลูกผัก โรยเมล็ด รดน�้ำ เขาก็เริ่มสนใจ ออกมาท�ำกิจกรรม อยู่กับคนอื่นมากขึ้น
55 “ตอนให้เขาใช้ไม้เสียบลูกชิ้นแยกต้นกล้า พอเขาเขี่ยติดขึ้นมา 2 ต้น เขาก็จะทิ้งไปต้นนึง เราก็บอกว่าไม่ได้นะ เราต้องทะนุถนอม เขา ไม่ให้เขาเจ็บ ตอนใช้ไม้ก็ให้ใช้เบาๆ เราให้เขาลองจิ้มไม้กับ ตัวเองดู แล้วบอกว่าต้นไม้ก็รู้สึกแบบนี้เหมือนกัน จนตอนนี้ไม่ยอมใช้ ไม้เลย ใช้มือตัวเองค่อยๆ แงะออกมา แล้วก็มาคอยดูแลรดน�้ำอย่างดี เอาไม้บรรทัดมาวัดทุกวัน ดูการเติบโตของผัก” ป้าน้องเล่าด้วยรอยยิ้ม แถมป้าน้องยังบอกอีกว่า ทั้งลูกทั้งหลานเคยอยู่กรุงเทพมาก่อน กินผักกันไม่ค่อยเป็น หลานนี่ก็แทบไม่กินเลย พอมาช่วยปลูกผัก มีผัก สดๆ ที่ตัดจากข้างบ้านกิน ตอนนี้กินผักกันทุกคน “เวลากินป้าน้องก็จะให้หลานลองดมก่อน ให้ทายว่ามีอะไรบ้าง แล้วเวลากินผักก็จะบอกเขาว่าอย่าเคี้ยวแรงนะ ให้ค่อยๆ เคี้ยว ไม่งั้น ผักจะเจ็บ แล้วเขาจะไม่ให้รสชาติเรา” คงจะด้วยพลังของสวนผักที่แต่ละคนได้สัมผัสด้วยตัวเอง จึงกลาย มาเป็นพลังส�ำคัญในสวนผักบ�ำบัด ที่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างมี พลัง และท�ำให้ผู้อื่นมีพลังในการเปลี่ยนแปลงตัวเองต่อไป ความจริง ต้องขอบคุณคุณนันท์ศศิ บุญสิน พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบ้านหนองค้อด้วย ที่เห็นความส�ำคัญ เรื่องกิจกรรมสวนผักบ�ำบัด และท�ำงานร่วมกับหมอจิ๊บและทีม ใน การส่งผู้ติดยาเสพติดมาบ�ำบัดที่สวนผัก ถือเป็นความกล้าหาญอย่าง หนึ่ง ที่ก้าวออกจากระบบเดิมๆ ซึ่งท�ำการบ�ำบัดในห้องสี่เหลี่ยมของ โรงพยาบาล มาเป็นพื้นที่สีเขียวในสวนผัก
56 เราพบว่าคนไข้พอปลูกผักแล้ว ผักงอก ก็ดีใจ มีความสุขเกิดขึ้น บางคนเอาผักมาฝาก เกิดสัมพันธ์อันดี โดยมีผักเป็นสื่อ แทนที่จะถามว่าเมื่อคืนนอนหลับมั้ย เราก็คุยกันเรื่องผัก ซึ่งเป็นเรื่องไกลตัวก่อน พอสัมพันธภาพเริ่มดี จากที่คนไข้ปกป้องตัวเอง ไม่พร้อมจะเล่า เรื่องส่วนตัว เขาก็เริ่มค่อยๆ ระบายความในใจออกมา การบ�ำบัดก็ค่อยๆ เริ่มขึ้น ท�ำให้รู้สึกว่าไม่ต้องใช้ความ เป็นหมอ เป็นพยาบาล ก็ช่วยดูแลผู้ป่วยได้
57 เราปลูกผัก ผักปลูกเรา นอกจากบรรยากาศ ธรรมชาติ และสัมพันธภาพ ที่มีส่วนช่วย เยียวยาผู้ป่วยอย่างมากแล้ว หมอจิ๊บยังเล่าอีกหลายเรื่องราวที่สะท้อน ให้เห็นการเรียนรู้ของผู้ป่วยผ่านธรรมชาติในสวนให้ฟังด้วย ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องของผู้ติดยาเสพติดยาเสพติดคนหนึ่งที่ไปรดน�้ำในแปลงที่ ตัวเองปลูก แล้วรู้สึกว่า ผักที่ปลูกไม่ค่อยงาม เขาก็สะท้อนว่า ผมรู้สึก เสียใจที่ไม่ได้ตั้งใจปลูกผักในครั้งแรกจึงส่งผลให้ผักไม่งอกงาม ชีวิต เราก็เหมือนผักที่ต้องใส่ใจตั้งแต่แรก ก็จะท�ำให้ชีวิตมีคุณค่าได้ หรือ ตอนเพาะเห็ด ที่เราทิ้งก้อนเห็ดที่คิดว่าไม่ออกแล้วไป แล้วอยู่ดีๆ วันหนึ่ง ก้อนเห็ดนั้นก็ออกดอกขึ้นมา พอให้ผู้มารับการบ�ำบัดลองมอง และคิดถึงเหตุการณ์นี้ เขาก็สะท้อนว่า พอมีปัจจัยเอื้อทุกอย่างก็เกิดขึ้น ได้ เหมือนกับชีวิต ตอนนี้อาจถูกมองว่าเป็นขยะ ถ้าเมื่อไหร่ได้อยู่ใน พื้นที่ที่เหมาะสม มีปัจจัยเอื้อ ก็อาจเป็นเหมือนเห็ดได้ หากปลูกผักแล้ว ผักมีโรคแมลง ผักไม่โตเหมือนของเพื่อน ก็เป็นการฝึกยอมรับตัวเอง ไปในตัว แทนที่จะต�ำหนิตัวเอง ก็ช่วยกันท�ำความเข้าใจ และหาทาง แก้ไขได้ การเดินทางและเติบโตภายใน คงต้องกล่าวว่า การท�ำงานเรื่องสวนผักบ�ำบัดของหมอจิ๊บ เป็น ก้าวย่างที่ส�ำคัญ ที่ไม่เพียงมีส่วนช่วยเหลือผู้อื่น แต่ยังมีส่วนช่วย พัฒนาตัวของหมอจิ๊บเองในหลายด้าน
58
59 หมอจิ๊บเล่าให้ฟังถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวเองให้ฟังว่า การ ปลูกผักท�ำให้รักตัวเองมากขึ้น รู้สึกโชคดีที่ได้มาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เมื่อก่อนเรารู้ว่าธรรมชาติดี แต่ก็คิดว่าต้องท�ำงาน ต้องใช้เงิน การที่ ได้อยู่และเรียนรู้จากธรรมชาติจริงๆ ท�ำให้เราเห็นแก่นชีวิตที่แท้จริง ว่าเราต้องการอะไร นอกจากเรื่องสวนผัก ก็มีเรื่องของธรรมะ และโยคะ ด้วย ที่ท�ำให้เราเติบโต รู้สึกมีความกล้า มีความมั่นใจมากขึ้น ไม่ลังเล ไม่กลัว ธรรมชาติสอนให้เราเห็นบ่อยๆ ว่า ความจริงไม่ใช่สิ่งที่เราคิด เสมอไป ที่เรียนๆ มามันไม่เห็นท�ำให้ชีวิตมีความสุขเลย เมื่อเห็นว่าตัวเองต้องการอะไร และมีความกล้า หมอจิ๊บก็ตัดสินใจลาออกจากการเป็นพยาบาลวิชาชีพ และกล้าที่จะใช้ชีวิต สนุกกับชีวิตมากขึ้น ท่ามกลางธรรมชาติ และเปิดโอกาสให้ธรรมชาติเป็นครู “มีหลายอย่างที่ธรรมชาติสอนเรา เวลาลงไปในสวน มีหลายสิ่ง ที่เราได้เรียนรู้ การได้เห็นวัฏจักรของสรรพสิ่ง ท�ำให้เราเริ่มรู้จักที่จะ ปล่อยวาง และยอมรับความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ท�ำให้รู้สึกมีความสุข ขึ้น ไม่ทุกข์เพราะความยึดติด แล้วก็เข้าใจคนอื่นมากขึ้นด้วย เราเห็น ว่าทุกอย่างมีเหตุปัจจัย คนนี้คิดแบบนี้ เพราะเขามีประสบการณ์แบบ นี้ เราไม่คิดว่าเขาคิดผิด จะไม่บอกว่าท�ำไมเป็นคนแบบนี้ แต่ละคนคิด ต่างกัน มีพฤติกรรมต่างกัน ธรรมชาตินี่แหละสอนเรา ท�ำให้เราเข้าใจ โลก เข้าใจคน เข้าใจตัวเองมากขึ้น”
60 “บางสิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่เคยเห็น เช่นต้น ปูเล่ ถ้าเราดูจะเห็นใบที่หนาแข็งใหญ่ มีเส้นละเอียดมาก เราเห็นถึง พลัง เหมือนปูเล่อยากจะบอกทุกคนในโลกว่าฉันเก่ง ฉันกล้า ฉันสวย มันมีพลังมาก และพลังนี้ก็ถ่ายทอดมาให้เรา เรารู้สึกอยากเป็นคนมี พลัง เข้มแข็ง เหมือนได้รับพลังจากต้นไม้ และเราก็เห็นความเชื่อมโยง ของสิ่งต่างๆ บางสิ่งมีอยู่แต่เรามองไม่เห็นด้วยตา เช่นถ้าเราเอาต้นไม้ เล็กๆ มา เห็นใบพลิ้วไหว ถึงท�ำให้เรารับรู้ว่ามีพลังของลมอยู่ หรือดอก กุหลาบจะบานสีแดงสวยมั้ย ถ้าไม่มีแสงอาทิตย์ ในธรรมชาติยังมีอะไร อีกเยอะที่ให้เราเรียนรู้”
61 นอกจากนี้ธรรมชาติยังสอนว่า เราคิดผิดบ่อยๆ นะ หมอจิ๊บเล่า เรื่องของต้นกุยช่ายตอนท�ำกิจกรรมให้ฟังว่า ต้นกุยช่ายที่เรามักเชื่อ กันว่าจะมีกลิ่นฉุน พอได้ท�ำกิจกรรมดมผัก ถึงรู้ว่ากุยช่ายไม่มีกลิ่น ธรรมชาติมันสอนเราว่าเราคิดผิดบ่อยๆ นะ แล้วเราเอาสิ่งที่เรานึกคิด มาตัดสิน หรืออย่างต้นพุดในสวน ที่ถูกหนอนกินจนโกร๋น เราคิดว่าต้น นี้ตายแน่ แต่พอวันต่อมาไปดู ปรากฏว่าต้นพุดแตกยอดเต็มไปหมด ความคิดกับความจริงมันคนละเรื่องเลย พอเราเห็นอย่างนี้ เราก็เริ่ม ปล่อยวางมากขึ้น ปล่อยวางความคิดเดิมๆ ที่เรายึดติด ซึ่งความยึดติด นี่เป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่นะ ท�ำให้เป็นทุกข์ หมอจิ๊บพูดด้วยรอยยิ้มว่า “ทุกวันนี้รู้สึกมีความสุข ถ้าตื่นมาต้อง ลงสวน ไม่ลงไม่ได้ มันรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ถ้าวันไหน มีเรื่องค้างในใจ พอเจอต้นไม้มันผ่อนคลาย ลืมความเครียด และมันก็คิดได้ ความรู้สึกก็เปลี่ยนไป” ทุกวันนี้แม้ว่าหมอจิ๊บจะไม่ได้เดินทางไปท�ำหน้าที่พยาบาลประจ�ำ อยู่ที่คลินิก แต่หมอจิ๊บก็ยังคงเป็นวิทยากร จัดกระบวนการ มีส่วนช่วย สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตให้ใครอีกหลาย คน ที่ส�ำคัญหมอจิ๊บไม่หยุดที่จะเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง เพื่อท�ำสิ่งที่ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นต่อไปด้วย
62
63 เมื่อความคิดของคนไข้จิตเวช ถูกจุดประกายและได้รับการสานต่อ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เกิดขึ้นจากการจุดประกาย ของคนไข้ เติบโตงอกงามด้วยความตั้งใจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ และ ความร่วมแรงร่วมใจของเครือข่ายอย่าง โครงการสวนผักคนเมือง บ้าน สวนเรียนรู้ Organic Way และ ผู้ประกอบการทางสังคม Urbie เวลาเดินเข้าไปในโรงพยาบาล เรามักสัมผัสบรรยากาศ หรือพลัง บางอย่างที่ท�ำให้เรารู้สึกไม่ค่อยสดชื่น บางครั้งก็แอบมีความรู้สึกหดหู่ แถมเข้ามาด้วย แต่ทุกครั้งที่มีโอกาสเข้าไปที่สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา แล้วได้เดินเข้าไปเยี่ยมชมความคืบหน้าของการท�ำ สวนผักที่ลงมือลงแรงโดยเจ้าหน้าที่ และคนไข้จิตเวช ก็อดที่จะรู้สึก ชื่นบาน และเต็มไปด้วยความหวังไม่ได้ จากวันแรกที่มีแต่ผืนดินที่รกร้าง ไม่มีความรู้ ไม่มีเงินทุน กลับ ไปวันนี้ หลังจากที่ได้รับทุนสนับสนุนและร่วมเป็นสมาชิกกับโครงการ สวนผักคนเมือง ผืนดินที่เคยรกร้างนั้น ตอนนี้ก็เต็มไปด้วยแปลงผักที่ ปลูกทั้งผักจีน ผักสวนครัว พืชสมุนไพร มีซุ้มไม้เลื้อยส�ำหรับพืชกินผล พวกถั่วฝักยาว ฟักทองโดยรอบ อีกทั้งยังมีเรือนอนุบาลต้นกล้า และ โรงเพาะเห็ด แถมด้านหน้า ได้มีที่ส�ำหรับนั่งพักผ่อนคลายร่างกาย และ ชื่นชมสวนผักที่ลงมือลงแรงปลูก และดูแลมากับมืออีกด้วย
64 จะว่าไปสวนผักแห่งนี้เติบโตงอกงามขึ้นมาได้ ก็เพราะมีคนไข้ จิตเวชคนหนึ่งมาจุดประกายกับพี่เพชรซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสถานที่ว่า พื้นที่ว่างเปล่าตรงนี้น่าจะปลูกผักได้ เผื่อว่าเขาจะได้มีวิชาติดตัวออกไป หาเลี้ยงชีพต่อไป และก็มีเจ้าหน้าที่จากหลายฝ่าย หลายภาคส่วนที่มา ช่วยกันสานต่อความคิดความฝันของคนไข้ จนเกิดเป็นโครงการฟื้นฟู ศักยภาพทางสังคมและจิตใจผู้ป่วยจิตเวช โดยเกษตรกรรมขึ้นมา ก่อร่างสร้างแปลง และหลักสูตร คุณกรรณิกา ไชยชนะ หรือนักสังคมสงเคราะห์ประจ�ำสถาบัน จิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เล่าให้ฟังว่า ช่วงที่ปรับสวนผัก ท�ำ แปลง ท�ำโรงเพาะเห็ด เรือนเพาะกล้า จนเป็นเป็นรูปเป็นร่างจริงจัง ขึ้นมานี้ มีส่วนช่วยท�ำให้เครือข่ายการท�ำงานภายในสถาบันเห็นความ พี่เพชร คุณกรรณิกา ไชยชนะ
65 ส�ำคัญเรื่องการท�ำเกษตร และได้มีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วย ดูแลผู้ป่วยมากขึ้น เรียกว่าสวนผักแห่งนี้กลายเป็นพื้นที่สานสัมพันธ์ รวมพลังของคนในสถาบันเดียวกันเลยก็ว่าได้ สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาควบคู่กับสวนผัก ก็คือหลักสูตรกิจกรรม การฟื้นฟูที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยมีแผนการฝึก ส�ำหรับคนไข้แต่ละคนรวม 3 เดือน คือ เริ่มจากการท�ำงานสวนประมาณ 2 สัปดาห์ ช่วงนี้คนไข้ก็จะได้ กวาดใบไม้ รดน�้ำต้นไม้ จัดสวนหย่อม ดูแลรักษา และสร้างเครื่องมือ เมื่อผ่านงานสวน คือคนไข้สามารถลงมาท�ำงานได้ โดยที่ไม่หลบหนี และไม่ท�ำร้ายร่างกายใคร จึงเข้าสู่การฝึกท�ำงานเกษตรที่แปลงผัก โดย จะฝึกตั้งแต่เตรียมดิน เพาะเมล็ด ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว จ�ำหน่าย และ ท�ำบัญชี เมื่อฝึกจะเริ่มช�ำนาญแล้ว ก็จะมีการประสานกับเครือข่ายอื่นๆ ให้คนไข้ได้มีโอกาสไปฝึกภาคปฏิบัติในที่ท�ำงาน หรือสถานประกอบ การอื่นด้วยตัวเองจริงๆ นอกจากงานสวน งานเกษตรแล้ว ในกระบวนการฝึกยังมีการเสริม ทักษะในการสื่อสาร การวิเคราะห์ปัญหา การจัดการอารมณ์ การช่วย กันวางแผนความคู่ไปด้วย เช่นถ้าปลูกผักไม่ขึ้นเกิดจากอะไร ควรจะ แก้ไขอย่างไร หรือควรจะวางแผนอย่างไร เพื่อให้ขายผักที่ปลูกได้ ไม่ เพียงเท่านั้น ยังมีการท�ำกลุ่มจิตบ�ำบัดควบคู่ไปด้วย เป็นช่วงเวลาที่ คนไข้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องชีวิตกัน
66 กิจกรรม • ระยะเวลาในการฝึก 3 เดือน กระบวนการในการฝึก งานสวน • กวาดใบไม้ • รดน�้ำต้นไม้• จัดสวนหย่อม • ดูแลรักษา • สร้างเครื่องมือ เกษตร • เตรียมดิน • เพาะเมล็ดพันธ์ุ • ดูแลรักษา • เก็บเกี่ยว • จ�ำหน่าย• ท�ำบัญชี ประสานเครือข่าย • ฝึกภาคปฏิบัติ • สถานประกอบการ ทักษะทางสังคม จิตใจ • การสื่อสาร / ปฏิสัมพันธ์ • การวิเคราะห์แก้ไขปัญหา • การจัดการอารมณ์ และการแสดงออก • วางแผนในการด�ำเนินชีวิต งานสวน เกษตร เครือข่าย
67 เป้าหมายและผลลัพธ์ ส�ำหรับเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่โครงการฟื้นฟูศักยภาพทาง สังคมและจิตใจผู้ป่วยจิตเวชตั้งไว้ คือ • เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมก่อนส่งคนไข้กลับครอบครัว หรือ สถานที่รองรับ • เพื่อฟื้นฟูทักษะทางสังคม • เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาชีพ สามารถพึ่งตนเองได้ แม้จะต้องอยู่คนเดียว ก็สามารถอยู่ได้ • และเพื่อพัฒนาเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช “ปัญหาใหญ่ที่เราพบคือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการป่วยซ�้ำ และต้องกลับ เข้ามารักษาในโรงพยาบาลใหญ่อยู่เสมอ นอกจากนี้ที่บ้านหรือคนใน ชุมชน ก็ไม่ค่อยยอมรับ บางคนไม่มีญาติ บางคนญาติทอดทิ้ง” คุณ กรรณิการ์กล่าว และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเกือบ 2 ปี ก็ท�ำให้พบ ว่า การท�ำเกษตรนี้มีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้ป่วยได้อย่างมาก “ปลูกผักแล้วได้ออกก�ำลังกาย ได้ออกก�ำลังสมอง ได้คิดวางแผน ประมวลว่าต้องท�ำอะไรบ้าง” “ปลูกผักแล้วได้ขยับมือ ได้ออกก�ำลังนิ้ว” “ปลูกผักแล้วได้ความภูมิใจ ถ้าปลูกแล้วมันตาย เราก็ปลูกใหม่ได้ เหมือนได้รู้ว่าล้มแล้วก็ลุกขึ้นได้” ค�ำพูดเหล่านี้เป็นเสียงสะท้อนจากคนไข้จิตเวชที่มีโอกาสได้ลงมา เรียนรู้เรื่องการปลูกผัก และก็ท�ำให้เรารู้ว่า ปลูกผักนั้นให้อะไรมากกว่า ผักจริงๆ
68 คุณกรรณิการ์ยังเล่าถึงผู้ป่วยรายหนึ่งที่เห็นพัฒนาการชัดเจน เป็น คนที่รู้สึกมีความสุข มีอารมณ์ที่มั่นคงขึ้น และมีความหวังในชีวิตมาก ขึ้น ให้ฟังว่า “มีผู้ป่วยรายหนึ่งป่วยมา 25 ปี เข้าออกโรงพยาบาล ร่วม 26 ครั้ง คือพอส่งกลับบ้าน อยู่ได้วันเดียวก็กลับมาใหม่ จนพอ มาท�ำสวนผัก เขาก็เริ่มมีความหวัง ได้ออกไปฝึกงานที่บ้านสวนเรียนรู้ Organic Way ซึ่งเป็นเครือข่ายในการท�ำงานร่วมกัน เป็นการซื้อใจกัน คือเราให้ความไว้วางใจว่าถ้าเขาออกมาท�ำงานแล้วเขาจะไม่หนี เขาก็ รู้สึกภูมิใจ หลังจากได้ฝึกงานสักพัก เขาก็บอกอยากกลับไปเยี่ยมแฟน ซึ่งเลิกกันแล้ว เราก็พาเขาไป แม้จะไม่เจอแฟนสมใจ แต่เขาก็ได้เขียน
69 ข้อความความรู้สึกฝากไว้ บอกว่าที่มาไม่ได้ตั้งใจจะกลับมาขออยู่ แต่ มาเยี่ยมเฉยๆ แล้วก็จะเอาเงินมาให้ลูก เขาฝึกงานอยู่ได้ช่วงหนึ่ง ก็คิดว่าต้องออกไปหางานท�ำ เขาเลยมา เช่าบ้านอยู่หน้าโรงพยาบาล ไปรับจ้างเข็นของ ระหว่างนี้ทางเจ้าหน้าที่ ก็ลงไปเยี่ยมบ้าน เยี่ยมครอบครัว ติดต่อพี่น้องไปด้วย ผ่านไปประมาณ 1 เดือน น้องสาวกับรับไปดูแล ล่าสุดจากการติดตามก็รู้ว่า เขาไป ท�ำงานอยู่จันทบุรี เป็นผู้ช่วยกุ๊ก จนตอนนี้ก็รวมได้เกือบ 2-3 ปีแล้ว ที่เขาไม่ต้องกลับมาเป็นผู้ป่วยที่โรงพยาบาลอีกเลย” คุณกรรณิการ์ เล่าให้ฟังด้วยแววตาที่เปี่ยมด้วยความหวัง และที่น่าภูมิใจ คือ ก่อนที่ เขาจะไปอยู่ที่จันทบุรี เขาได้กลับมาเยี่ยมโรงพยาบาล ไม่ใช่ในฐานะ ผู้ป่วย แต่ในฐานะผู้ช่วยในสวนผักที่มาถ่ายทอดวิชาการท�ำเกษตรที่เขา ร�่ำเรียนฝึกฝนมาให้เพื่อนๆ ผู้ป่วยด้วย อาจกล่าวได้ว่าสวนผักเเห่งนี้ เกิดขึ้นจากการไม่ละเลยความฝัน ของคนไข้ การร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่หลายภาคส่วน ของสถาบัน เเละน�้ำใจอันงดงามของผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างพี่เพชร ที่ส�ำคัญไม่แพ้กันคือการมีเครือข่ายทางสังคมอื่นๆ ที่ ช่วยดูแลผู้ป่วยจิตเวช อย่างป้าหน่อยที่บ้านสวนเรียนรู้ Organic Way ที่ให้ทางสถาบันได้ไปดูงาน และรับผู้ป่วยไปฝึกงานจริง นอกจากนี้ ก็ มีเครือข่ายอย่าง Urbie ที่มารับซื้อใบเตย และอัญชันจากสวนไปท�ำ น�้ำสมุนไพร และตอนนี้ก็มีนักศึกษาเข้ามาฝึกงาน ช่วยท�ำกิจกรรมกับ ผู้ป่วยด้วย
70 เมื่อพูดถึงเรื่องของสวนผักบ�ำบัด ส่วนใหญ่คนจะนึกถึงกลุ่ม ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ติดยาเสพติด รวมถึงกลุ่มผู้พิการหรือกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เป็นหลัก ประสบการณ์ที่มีให้เห็นในเมืองไทยที่ผ่านมา ก็ดูเหมือนจะ เป็นเช่นนั้น แต่อันที่จริงเรื่องของการท�ำสวน ปลูกผัก สามารถน�ำไป ประยุกต์ ปรับใช้ และมีผลช่วยบ�ำบัด เยียวยา ฟื้นฟู พัฒนาชีวิตของ คนที่ก�ำลังทุกข์ทรมานด้วยโรคภัยอื่นๆ อีกจ�ำนวนมาก Growing Heath ที่ UK ซึ่งด�ำเนินงานโดย Sustain เป็นโครงการ หนึ่งที่พยายามท�ำงานศึกษารวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่างๆ เพื่อแสดงให้ เห็นประโยชน์ของการปลูกผักที่มีผลต่อสุขภาพด้านต่างๆ เพื่อให้ระบบ บริการทางสุขภาพและทางสังคมหันมาตระหนัก และให้การสนับสนุน เรื่องนี้มากขึ้น จากการรวบรวมหลักฐาน เขาพบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ • การปลูกผักกับปัญหาโรคอ้วน : การท�ำสวนปลูกผักช่วยเพิ่ม กิจกรรมทางกาย ท�ำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ชั่วโมงละ 250-500 แคลอรี่ อีกทั้งมีส่วนช่วยให้กินผักมากขึ้น และส่งผล ให้ผู้ปลูกผักสนใจดูแลเรื่องการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น • การปลูกผักกับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ : ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจาก การรักษาพยาบาล และร่างกายได้รับการฟื้นฟูทั้งเรื่องการพูด การเคลื่อนไหว และการรับรู้ต่างๆ ได้เร็วขึ้น • การปลูกผักกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม : ช่วยให้ ผู้ป่วยความสามารถในการรับรู้ จดจ�ำและการสื่อสารมากขึ้น อีก ทั้งยังช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว และท�ำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่นนอนหลับดีขึ้น เข้าสังคมได้มากขึ้น
71 • การปลูกผักกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยภูมิแพ้ และกลุ่มผู้ติดเชื้อ เอชไอวี : ช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่ ร้ายแรงหรือเรื้อรังได้ดีขึ้น ช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล และอยู่ร่วมกับโรคที่เกิดขึ้นได้อย่างมีความสุขมากขึ้น • การปลูกผักกับความเจ็บปวดเรื้อรังทางร่างกาย : การปลูกผัก ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดเรื้อรัง และช่วยให้ผู้ที่รับการผ่าตัด หรือรับการรักษาด้วยยารูปแบบต่างๆ ฟื้นฟูร่างกายได้ดีขึ้น • การปลูกผักกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย : การปลูกผักช่วยให้ผู้ป่วย ระยะสุดท้ายสามารถรับมือกับความโศกเศร้า ความกังวลใจ ความทุกข์ยากต่างๆ ตลอดจนสามารถเผชิญความตายได้ อย่างสงบ ในเวป http://www.sustainweb.org/growinghealth มีเอกสาร ข้อมูลที่น่าสนใจอีกจ�ำนวนมาก รวมถึงเรื่องวิธีการประเมิน วัดผล ใคร สนใจเข้าไปหาอ่านกันเพิ่มเติมได้นะคะ
72
73 เมื่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีลงมือปลูกผัก บ้านอุ่นไอรัก สถาบันธัญญารักษ์ เป็นบริการรูปแบบหนึ่งของ สถาบัน มีแนวคิดให้ช่วยเหลือตัวเองและเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อป้องกัน และดูแลผู้ได้รับผลกระทบและอันตรายต่างๆ จากการใช้ยาเสพติด โดย เฉพาะผู้ติดเชื้อ เอชไอวี เคยท�ำกิจกรรมกลุ่มหลายรูปแบบ ทั้งศิลปะ การปั้น การท�ำน�้ำยาเอนกประสงค์ การท�ำสบู่ จนพบหัวใจที่ผลิบาน ชีวิตที่พัฒนา บนแปลงผัก บนโลกเรานี้ ต่างคนก็ต่างต้องเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ใน ชีวิตที่แตกต่างกันไป หนักบ้างเบาบ้างขึ้นอยู่กับใจของแต่ละคนที่จะวัด ประมาณ หรือแบกรับเอาปัญหานั้นๆไว้ คนที่หาทางออกไม่เห็น จน ตัดสินใจไปพึ่งพายาเสพติดก็มีไม่น้อย บางคนนอกจากจะติดยาแล้ว ยัง ติดเชื้อ เอชไอวี เพิ่มเข้าไปอีก หากมองในเรื่องศีลธรรมหรือความผิด ชอบชั่วดี ในสายตาของคนทั่วไป หลายคนก็คงตัดสินคนเหล่านี้ว่าเป็น คนไม่ดีไปเรียบร้อยแล้ว แต่ใครจะรู้ว่า แท้จริงแล้ว แต่ละคนก็ล้วนมี หัวจิตหัวใจเช่นเดียวกับเราๆ ท่านๆ เหมือนกัน “ปลูกผัก ได้เห็นต้นไม้โต แล้วรู้สึกมีความสุขมาก” “ปลูกผักแล้วท�ำให้สมาธิดีขึ้น” “รู้สึกภูมิใจที่ได้ปลูกผัก ดีกว่าปล่อยชีวิตให้ว่างเปล่า เป็นการฝึกให้ได้รู้จักท�ำมาหากิน ดีกว่าปล่อยลมหายใจทิ้งไปวันๆ” “ปลูกผักแล้วได้ออกก�ำลังกาย ได้เหงื่อ แล้วรู้สึกสดชื่น นอนหลับสบาย”
74 ค�ำพูดและความรู้สึกเหล่านี้ ได้มาจากการล้อมวงพูดคุยกันของ สมาชิกบ้านอุ่นไอรัก ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในสถาบันธัญญารักษ์ ที่ เปิดโอกาสให้ผู้ที่ติดยาเสพติดเรื้อรัง และผู้ที่ติดเชื้อ เอชไอวี ได้เข้า มาเรียนรู้ และร่วมกันปรับพฤติกรรม ทัศนคติต่างๆ และพัฒนาทักษะ ในการด�ำเนินชีวิต เพื่อช่วยกันป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการ ใช้ยาเสพติด และลดอันตรายจากการติดเชื้อ เอชไอวี เป็นการช่วยกัน ดูแลสุขภาพ และบ�ำบัดรักษา โดยมีเงื่อนไขร่วมกันว่า ช่วงเวลาที่มาอยู่ ร่วมกันคือ ทุกวันเสาร์ ประมาณ 8 ชั่วโมง ทุกคนจะไม่ใช้ยาเสพติดใน บ้านอุ่นไอรักแห่งนี้ คุณจ�ำเรียง เรืองมาก พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการบ้านอุ่นไอรัก และผู้รับผิดชอบโครงการสวนผักพอเพียงชุมชนบ้านอุ่นไอรัก หนึ่งใน สมาชิกโครงการสวนผักคนเมืองปี 3 เล่าให้ฟังว่า โดยปกติที่ผ่านมา สมาชิกบ้านอุ่นไอรักก็จะมาท�ำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน มีการสอนปั้นบ้าง สอนท�ำน�้ำยาเอนกประสงค์บ้าง สอนท�ำสบู่บ้าง จนปีนี้ เห็นมีพื้นที่ ว่างเปล่าอยู่ด้านหน้าบ้าน จึงลองชวนทั้งเจ้าหน้าที่ และสมาชิกในบ้าน อุ่นไอรักให้มาช่วยกันปลูกผัก “คิดว่าอยากหากิจกรรมอะไรก็ได้ที่ท�ำแล้วมีความสุข มาให้พวก เขาท�ำกัน ที่บ้านปลูกผักกินเองอยู่บ้าง แล้วก็รู้สึกว่าปลูกผักแล้วมี ความสุขดี เลยคิดว่าน่าจะลองดู ก็พบว่าได้ผลดีมาก ดีกว่ากิจกรรม อื่นๆที่เคยทดลองท�ำมา และเมื่อพวกเขารู้สึกสบายใจ มีความสุข เวลา ปรับพฤติกรรม หรือพูดคุยแนะน�ำอะไร เขาก็จะคล้อยตามง่ายขึ้น”
75 ถามว่าการท�ำสวนผักที่บ้านอุ่นไอรักแห่งนี้ ช่วยให้เกิดการพัฒนา หรือความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้าง เจ้าหน้าที่บ้านอุ่นไอรักก็ช่วยกัน แบ่งปันแนวคิดและประสบการณ์ให้ฟังว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยที่มาท�ำกิจกรรมที่นี่ยังใช้ยาเสพติดกันอยู่ การท�ำสวน ปลูกผัก มีส่วนช่วยให้พวกเขาลดความอยากยาลง และ ท�ำให้มีสมาธิมากขึ้นได้“ผู้ที่ติดยาเสพติดบางคน เมื่อได้ท�ำกิจกรรม ปลูกผัก ก็เหมือนได้ออกก�ำลังกายไปในตัว พอเหงื่อออก ก็ท�ำให้รู้สึก สดชื่น และลดความอยากยาลงไปได้ นอกจากนี้คนใช้ยาเสพติดส่วน ใหญ่มักจะอยู่ไม่ค่อยนิ่ง ไม่ค่อยมีสมาธิกับอะไร การได้จดจ่ออยู่กับการ ปลูกผัก ดูแลต้นไม้ ก็มีส่วนช่วยท�ำให้เขามีสมาธิขึ้นได้มาก” การท�ำสวนผักร่วมกัน ยังมีส่วนช่วยฝึกความรับผิดชอบได้ เจ้าหน้าที่เล่าว่า “ผู้ป่วยบางคนก็ไม่ค่อยอยากท�ำงาน ไม่ค่อยอยาก รับผิดชอบอะไร การท�ำสวนผักแห่งนี้ เหมือนช่วยท�ำให้พวกเขาได้ฝึก
76
77 ความรับผิดชอบร่วมกัน ให้เห็นคุณค่าของสิ่งที่จะได้มาร่วมกันว่าจะ ต้องใช้ความพยายามเพียงใดกว่าจะได้มา” สิ่งที่ผู้ป่วยได้เรียนรู้จากธรรมชาติ ยังเป็นเรื่องที่เชื่อมโยง เกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาด้วยเหมือนกัน เช่นหากเราให้ความรัก ความเอาใจใส่ในการดูแลพืชผักที่ปลูกไว้อย่างดี ผักก็จะเติบโตงอกงาม เหมือนกันชีวิตเรา เราก็ต้องรัก และดูแลเอาใจใส่ให้ดีเช่นกัน ไม่เพียงผู้ป่วยเท่านั้น สวนผักแห่งนี้ยังเป็นที่เรียนรู้ และท�ำ กิจกรรมร่วมกันของเจ้าหน้าที่ พยาบาลของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ ด้วย ในวันที่ผู้ป่วยไม่มา ก็มีเจ้าหน้าที่มาช่วยดูแลรดน�้ำ ผลผลิตที่ได้ก็ แบ่งปันกันไปกิน เป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เจ้าหน้าที่บ้านอุ่นไอรัก และสมาชิกยังคิดฝันร่วมกันถึงอนาคตว่า หากเป็นไปได้ อาจจะมีการปรับพื้นที่ว่างที่เหลืออยู่รอบๆ บ้านอุ่นไอ รัก และแบ่งแปลงให้สมาชิกที่สนใจรับผิดชอบ เมื่อได้ผลผลิตก็น�ำมา จ�ำหน่ายร่วมกัน เป็นการสร้างรายได้เสริม ท�ำให้สามารถพึ่งพาตนเอง ได้มากขึ้นต่อไปด้วย เห็นได้ว่าพืชผักและธรรมชาติ ไม่เคยแบ่งแยก หรือตัดสินใคร แถมยังมีพลังมหาศาลที่จะช่วยเยียวยาทั้งกายและใจให้ผู้คน อยู่ที่ว่า ใครจะมองเห็น และเปิดโอกาสให้ตัวเองได้สัมผัสหรือเปล่าเท่านั้น
78 งานศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนจาก National Center for Research Resources เรื่องความเชื่อมโยงของสวนผักชุมชนกับการบ�ำบัด เยียวยาทางจิตใจและทางสังคมของผู้ติดเชื้อ เอชไอวี โดยเน้นในกลุ่ม ที่ตกงานและมีปัญหาเรื่องซึมเศร้า พบว่าการท�ำสวนผักชุมชน มีส่วน ช่วยบรรเทาอาการทุกข์ทรมานทางใจของผู้ติดเชื้อ เอชไอวี และท�ำให้ สุขภาพทางกายดีขึ้นได้ ในกระบวนการศึกษานั้น ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยจะ มาท�ำงานในสวนผักชุมชนเป็นเวลา 2 วันต่อสัปดาห์ และท�ำติดต่อกัน 8 สัปดาห์ แต่ละครั้งก็จะได้รับเงินค่าตอบแทนเล็กน้อย เวลาท�ำงานก็ เริ่มตั้งแต่ 7.30-11.30 น. โดยงานก็มีตั้งแต่การรดน�้ำ ถอนหญ้า ปลูก ผัก และเก็บเกี่ยว ก่อนเริ่มกิจกรรมแต่ละวัน จะมีการให้ความรู้ต่างๆ ก่อน เช่น เรื่องพืชผัก เรื่องระบบอาหาร หรือเรื่องแมลงต่างๆ ส่วน ตอนท้ายกิจกรรม จะมีการนั่งล้อมวง แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้ และความ รู้สึกนึกคิดร่วมกัน รวมถึงการเขียนบันทึกส่วนตัวด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีกิจกรรมเสริมอื่นๆในสวน เช่นการท�ำงานร่วมกับ อาสาสมัครที่มาท�ำงานในสวน การจัดดอกไม้ หรือการท�ำน�้ำสมุนไพร ต่างๆ งานนี้มีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 11 คน แต่มีเพียง 6 คนที่เข้าร่วม อย่างสม�่ำเสมอ ซึ่งพบว่าระดับของความซึมเศร้า และความวิตกกังวล มีแนวโน้มที่จะลดลง แม้ว่าตัวเลขทางสถิติจะไม่มีนัยส�ำคัญก็ตาม คือ จากระดับคะเเนนความซึมเศร้าก่อนร่วมท�ำสวนผักอยู่ที่ 12.7 หลัง ร่วมอยู่ที่ 11.3 เเละระดับคะเเนน ความวิตกกังวลลดลงจาก 11.2 เป็น
79 7.7 แต่เรื่องราว ประสบการณ์ ความรู้สึกที่ผู้เข้าร่วมได้สะท้อนออกมา เกี่ยวกับการท�ำมาสวนผักชุมชน ก็มีตั้งแต่ว่า • เขารู้สึกว่าตื่นเช้ามาแล้วมีที่ไป • การมาท�ำสวนท�ำให้เขาไม่หมกมุ่นจมอยู่ในความคิดที่เป็นทุกข์ • การท�ำสวนผัก ท�ำให้อารมณ์ดี มีสมาธิมากขึ้น แล้วก็ท�ำให้มี แรงบันดาลใจ • การท�ำสวนผักท�ำให้เขาจดจ่ออยู่แต่กับเรื่องดีงาม • การท�ำสวนผักท�ำให้ความโกรธ ความเกลียดลดน้อยลง • การท�ำสวนผักท�ำให้เขาเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง หรือท�ำอะไรเองที่ บ้านได้ และหลายคนก็วางแผนว่าจะกลับไปปลูกผัก ปลูก ดอกไม้เองที่บ้านด้วย • การท�ำสวนผักนี้ท�ำให้เขารู้สึกอยากจะช่วยเหลือผู้อื่น อยากจะ สอน และชวนผู้อื่นท�ำสวนผักในชุมชนตัวเองมากขึ้น • การท�ำสวนผักท�ำให้เขาเรียนรู้การท�ำงานแบบเป็นทีมมากขึ้น • การท�ำสวนผักท�ำให้เขาได้เรียนรู้และตระหนักถึงความส�ำคัญ ของการเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น หากวัดกันเชิงปริมาณ ผลของการท�ำสวนผักชุมชนที่มีต่อกายใจ อาจดูน้อยนิด แต่หากวัดกันในเชิงคุณภาพ ที่บอกเล่าออกมาจากหัวใจ ก็จะเห็นว่าเรื่องเล็กๆ นี้ มีค่ายิ่งใหญ่ต่อชีวิตใครหลายคน ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21986870
80 เมื่อลูกที่พ่อล้มป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ได้รู้จักเรื่องสวนผักบำ�บัด เรื่องราวของสวนผักบ�ำบัดที่หมอจิ๊บบอกเล่าผ่านเฟสบุ๊คตัวเอง มี พลัง สร้างแรงบันดาลใจให้คุณธรรมนูญ มานู เพื่อนที่ก�ำลังเผชิญความ ทุกข์ทั้งจากความทุกข์กายของผู้เป็นพ่อ และความทุกข์ใจของตัวเอง ได้พบหนทางสู่ชีวิต “ใหม่” จะเกิดอะไรขึ้น หากวันดีคืนดี ตัวคุณหรือคนที่คุณรัก เกิดล้ม หมอนนอนเสื่อ ร่างกายที่เคยเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้อย่าง อิสรเสรี บัดนี้กลับไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ แม้จะเป็นอัมพฤกษ์เพียง ครึ่งซีก แต่ก็ส่งผลให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แม้แต่ยามจะ
81 กิน ยามจะนอน ยามจะอาบน�้ำ ก็ยังไม่สามารถท�ำได้ ยังไม่นับความ สามารถในการพูดจาสื่อสารที่ถูกตัดขาดไปด้วย ว่าไปแล้ว อาการที่ว่ามานี้ นับวันจะได้ยินคนเป็นกันมากขึ้น ยามได้ข่าว เชื่อว่าหลายคนก็คงจะภาวนาอย่าให้ถึงคราวตัวเอง คุณ ธรรมนูญ มานูหรือที่เพื่อนๆ มักเรียกหรือรู้จักกันในนามว่าดาบตุ้ม ก็ คงเป็นเช่นนั้น แต่ชีวิตคนเราก็ไม่แน่ไม่นอน อยู่ที่ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะเลือกเผชิญหน้ากับมันอย่างไรมากกว่า คนที่ล้มป่วย แขนขาอ่อนแรง เป็นอัมพฤกษ์ ร่างกายด้านขวาช่วย ตัวเองไม่ได้นั้น ไม่ใช่ตัวคุณธรรมนูญเอง แต่คือคุณพ่อ ครั้นจะหวัง พึ่งคุณหมอ พาไปโรงพยาบาลไหน ก็มีแต่โดนไล่กลับ บอกให้ไปรักษา ตัวที่บ้าน
82 แม้สภาพร่างกายของคุณธรรมนูญยังคงเป็นปกติ แต่คงปฏิเสธไม่ ได้ว่า เมื่อคนในครอบครัวล้มป่วย สภาพจิตใจของเขาก็ไม่เป็นปกตินัก ประกอบกับปัญหาชีวิตด้านอื่นๆก็รุมเร้า ท�ำให้เกิดความเครียดสะสม มากมาย จนถึงขั้นคิดอยากจะลงมือคร่าชีวิตคน เพื่อตัดปัญหาเลย ทีเดียว ไม่น่าเชื่อว่า จุดเปลี่ยนของชีวิตคน จะมีจุดเริ่มต้นจากเฟสบุ๊ค นี่เอง คุณธรรมนูญเล่าให้ฟังว่าตอนเล่นเฟสบุ๊ค บังเอิญไปอ่านเจอเกี่ยว กับสวนผักบ�ำบัดที่ศรีราชา และก็บังเอิญอีกเช่นกัน ที่ผู้ที่ท�ำโครงการ นี้ ก็คือหมอจิ๊บ หรือคุณญาดา จ�ำนงค์ทอง ซึ่งเคยเป็นเพื่อนเก่าสมัย เรียน จึงตัดสินใจโทรศัพท์ไปปรึกษา อยากเอาเรื่องสวนผักบ�ำบัดไปใช้ รักษาพ่อบ้าง หลังจากที่ได้พูดคุยกับหมอจิ๊บ คุณธรรมนูญจึงเกิดแรงบันดาลใจ ลงมือเปลี่ยนสวนไม้ประดับที่เคยมีอยู่เต็มพื้นที่หน้าลานบ้าน เป็น แปลงปลูกผัก กลายเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้พ่อ ได้ออกก�ำลังกาย ฝึกกล้ามเนื้อจากการท�ำสวน ถอนหญ้า ตัดผัก “ตอนแรก พ่อเดิน แทบไม่ไหว ไม่มีแรงท�ำอะไร แต่ก็ค่อยๆ ให้พยายามท�ำสวนไป ทีละนิดละหน่อย จนตอนนี้ร่างกายดีขึ้นมาก เริ่มใช้กรรไกรตัดกิ่ง ได้ นอนเตียงแล้วลุกขึ้นเองได้ตามปกติ อาบน�้ำเองได้ กินข้าวเอง ได้ จากเมื่อก่อนเวลากินต้องเอาหน้าไปที่ช้อน ตอนนี้ก็นั่งกินได้ปกติ วันที่มะระออกลูก พ่อชี้ให้ดูแล้วพูดว่า “มะระ” ได้ ผมเกือบน�้ำตาไหล ตอนนี้เรียกว่าพ่อหายดีเกือบ 99% เลยทีเดียว”
83 คุณธรรมนูญเคยพูดถึงพืชผักที่งอกงามเต็มลาน หน้าบ้านไว้ว่า “ภาพผลผลิตต่างๆ จริงๆแล้วมันไม่ใช่ ตรงนั้น ผลผลิตจริงๆของผมคือ พ่อผมเดินได้ พูดได้ หายจากอาการดังกล่าวต่างหาก จากการบ�ำบัดด้วยพืช ผักสวนครัว พ่อผมได้เดิน ออกก�ำลังกาย เดินพูดกับผัก เด็ดใบไม้ ถอนหญ้า กินผักที่ปลูก” ไม่เพียงร่างกายของคุณพ่อที่ฟื้นฟูขึ้นเท่านั้น จิตใจ ของคุณธรรมนูญ หลังจากที่ลงมือท�ำสวนผักด้วยตัวเอง ก็ค่อยๆ ได้รับการเยียวยาจากพลังของธรรมชาติจนดี ขึ้น จากที่เคยเต็มไปด้วยความเครียด และต้องอาศัย คุณธรรมนูญ
84 เหล้าเป็นที่พึ่ง จึงจะนอนหลับได้ ปัจจุบันหลังจากเริ่มลงมือปลูกผัก คุณธรรมนูญก็บอกลาเหล้ามาร่วม 5-6 เดือนแล้ว แถมยังตั้งปฏิญาณ ว่าจะไม่กลับไปกินเหล้าอีกด้วย “เรากินเหล้ามาตั้งแต่ม.3 ที่หลับนอนคือตามราวสะพาน ตามคิว รถ คนที่มาปลุกให้ตื่นตอนเช้าก็คือคนกวาดขยะ เป็นขี้เมามาตลอดจน ท�ำงาน ปกติพอเลิกงาน 4 โมงเย็น เราก็จะแวะระหว่างทาง หาเหล้า กิน กว่าจะกลับบ้านก็ตี 2 ตี 3 เดี๋ยวนี้ พอเลิกงานปุ๊บ ก็จะโทรถามที่
85 บ้านว่าผักเป็นยังไง แล้วก็รีบกลับมารดน�้ำผัก รู้สึกเป็นห่วงผักที่ปลูกไว้ เพื่อนโทรมาชวนไปกินเหล้า ก็บอกว่าเดี๋ยวรดน�้ำผักก่อน เดี๋ยวตามไป เขาโทรมาตาม จนตอนหลังเขาเลิกตามแล้ว พอเพื่อนเข้ามาหาที่บ้าน ก็เห็นเราพรวนดิน รดน�้ำผักจริง เราก็ตัดผักแจกเพื่อนไป แล้วก็เริ่ม เห็นว่าปลูกผักนี่ มันก็เมื่อย มันก็เหนื่อย แล้วมันก็หลับได้ ไม่ต้องกิน เหล้าก็ได้ ก็เลยปฏิภาณว่าต่อไปนี้จะไม่กินเหล้าแล้ว” คุณธรรมนูญเล่า ให้ฟังด้วยน�้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความสุข นอกจากจะเลิกเหล้าได้แล้ว พลังของสวนผักยังมีส่วนช่วยช�ำระล้าง ความเครียด และความโกรธแค้นที่อยู่ในจิตใจ อีกทั้งยังช่วยปลอบ ประโลม ท�ำให้คุณธรรมนูญใจเย็น และมีหัวใจที่อ่อนโยนขึ้นด้วย หมอจิ๊บผู้มีประสบการณ์เรื่องการท�ำสวนผักบ�ำบัด และถือว่าเป็น บุคคลส�ำคัญคนหนึ่งที่มีส่วนช่วยท�ำให้คุณธรรมนูญก้าวผ่านปัญหา อุปสรรคต่างๆ ของชีวิตช่วงนั้นมาได้ เล่าให้ฟังว่า “เมื่อก่อนไม่สนิท กันเลย เรากลัวเขาด้วยซ�้ำ เพราะตอนเรียนเขาค่อนข้างเกเร พอเขา มาถามเรื่องสวนผักบ�ำบัด ตอนแรกเราก็ไม่แน่ใจว่าจะมาไม้ไหน แต่ก็ คิดว่าบางทีเราอาจจะช่วยอะไรใครได้บ้าง ก็เลยเริ่มคุย และให้ค�ำแนะน�ำ ให้ก�ำลังใจมาตลอด โดยเราก็จะเน้นให้เขาพยายามเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจพืช เข้าใจสัตว์ผ่านการท�ำสวนผักของเขา แล้วก็แนะน�ำให้เขา รู้จักร้องเพลง รู้จักพูดคุยกับผัก และก็ให้ชวนให้พ่อมาชมสวนด้วย โดยเขาจะส่งการบ้านเราทางเฟสบุ๊คตลอดว่าท�ำอะไรไปแล้วบ้าง คิด อย่างไร รู้สึกอย่างไร เราก็จะเห็นว่าเขาดูมีความสุขขึ้น และก็รู้สึกว่า
86 เขาอ่อนโยนขึ้น เริ่มใส่ใจเรื่องจิตใจของคน ของพืช ของสัตว์มากขึ้น” ที่น่าสนใจคือ กระบวนการบ�ำบัดเยียวยาที่ค่อยๆเกิดขึ้น และได้ ผลดีส�ำหรับตัวคุณธรรมนูญนั้น ไม่ได้เริ่มต้นจากการพูดถึงปัญหา ที่ รุมเร้าอยู่ในใจ แล้วผู้ให้การบ�ำบัดจึงค่อยๆ พยายามหาทางเยียวยา รักษาให้ หมอจิ๊บบอกว่า ความจริงตอนแรกตัวเองไม่รู้เลยว่าเพื่อนมี ปัญหาอะไรรุมเร้าบ้าง จนเมื่อเขาปลูกผักโต เขาก็ชวนไปดู ไปชิมผัก ที่ปลูกเองกับมือที่บ้าน เขาจึงได้ระบายเรื่องราวต่างๆ ออกมาให้ฟัง อาจจะด้วยความไม่ตั้งใจ แต่ด้วยบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และพืชผัก ธรรมชาติได้ช่วยกล่อมเกลาจิตใจเขาให้อ่อนโยนและเปิดกว้างขึ้น เขา จึงเกิดความไว้วางใจ และพูดออกมา คล้ายกับกระบวนการสวนผัก บ�ำบัดที่หมอจิ๊บมีประสบการณ์ท�ำมา เรื่องราวของพ่อลูกคู่นี้ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า การ ปลูกผักที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ ที่หลายคนอาจมองข้ามนั้น แท้จริง แล้วมีพลังแสนยิ่งใหญ่ เปิดโอกาสให้เราได้ใกล้ชิด สัมผัสกับธรรมชาติ มากขึ้น และธรรมชาตินี่เองก็มีพลังในการช่วยบ�ำบัด เยียวยา รักษาทั้ง กายและใจของเราได้อย่างที่บางคนอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว คุณธรรมนูญบอกว่าสวนผักบ�ำบัดนี้ท�ำให้เขาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไปมาก จากเมื่อก่อนเป็นคนที่ฝ่ายปกครองเอือมระอา เรียกเข้าห้อง ทุกวัน สอบก็ได้เกรด 0 ไม่ก็ติด ร ตลอด แต่วันนี้เขากลายเป็นคนที่มี ความสุข ประสบความส�ำเร็จในชีวิต และเรียกได้ว่าใครมีปัญหา ทุกคน ก็มักจะเรียกหาแต่ธรรมนูญ
87 ที่ส�ำคัญ พลังของสวนผักบ�ำบัดที่พนัสนิคมแห่งนี้ ยังแผ่ขยาย ความสุขและความดีงามไปสู่ผู้คนที่อยู่รอบข้างด้วย วันนี้หากใครมี โอกาสได้ไปเยี่ยมสวนแห่งนี้ ก็จะเห็นความเติบโตและงอกงาม จาก แปลงผัก ก็ขยายสู่การปลูกข้าว เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา ซึ่งคุณธรรมนูญ ตั้งใจท�ำด้วยความฝันว่าอยากจะให้พื้นที่บ้านเเห่งนี้เป็นที่ที่คนเข้ามา เรียนรู้ เเละน�ำไปปรับใช้ ทั้งเรื่องการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย เรื่องการท�ำ เกษตร เเละเรื่องการบ�ำบัดเยียวยาผู้ป่วยอัมพฤกษ์ ซึ่งคงมีหลายคน ก�ำลังเผชิญอยู่ ใครยังไม่ได้ปลูกผัก ท�ำตั้งเเต่วันนี้ ลงมือท�ำเถอะ เราได้กับตัวเรา ได้ผลจริงๆ คุณธรรมนูญกล่าว นอกจากการท�ำสวนผักแล้ว คุณธรรมนูญ ยังประดิษฐ์เครื่องออกก�ำลังกายรูปแบบต่างๆ ให้ คุณพ่อได้ออกก�ำลังกาย เป็นการช่วยท�ำกายภาพบ�ำบัด ให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นด้วย
88 การท�ำสวนมีผลดีต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคอัมพฤกษ์หลายประการ ด้วยกันคือ • ช่วยท�ำให้ร่างกายแข็งแรงและแข็งแกร่งขึ้น • ท�ำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย • ท�ำให้ได้เคลื่อนไหวไปรอบๆ และช่วยท�ำให้การทรงตัวสมดุลขึ้น • ท�ำให้หัวใจท�ำงานดีขึ้น • ได้เผาผลาญแคลอรี่ • ท�ำให้รู้สึกสนุก มีความสุข Thrive องค์กรที่ท�ำงานกับผู้ป่วยหลายด้าน รวมถึงโรคหัวใจและ โรคอัมพฤกษ์ โดยใช้การท�ำสวนมาช่วยเยียวยา และเปลี่ยนแปลงชีวิต ผู้คน ได้แนะน�ำไว้ว่า ส�ำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรท�ำสวนประมาณ 30 นาที ต่อวัน โดยเริ่มจากกิจกรรมง่ายๆ ก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาความยากของ กิจกรรมขึ้นไป เขาแบ่งระดับความยากไว้ 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 : เริ่มเพาะเมล็ด ย้ายกล้า ปลูกลงกระถางเล็กๆ เป็นระยะ การท�ำงานในร่ม การเริ่มต้นนี้มีส่วนช่วยให้คุ้นเคยกับการท�ำสวนมากขึ้น และมีส่วน ช่วยฟื้นฟูการท�ำงานของร่างกายหลายด้าน เช่น ตอนเพาะเมล็ด ช่วยให้ ผู้ป่วยได้ขยับมือ ขยับนิ้ว และช่วยให้สายตาท�ำงานดีขึ้น ในขั้นตอนการ ย้ายกล้าลงปลูกในกระถาง ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และยืดหยุ่นมาก ขึ้น ที่ส�ำคัญท�ำให้เกิดความมั่นใจขึ้นด้วย
89 ระดับที่ 2 : ปลูกพืชผักลงกระถางและลงแปลงในสวน จากการท�ำงานในร่มก็เคลื่อนตัวออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ สัมผัส ธรรมชาติด้านนอก ระดับนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และมีความ สมดุลมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดี รู้สึกมีพลังมากขึ้น ระดับที่ 3 : การดูแลสวน เช่น การตัดแต่งกิ่ง ถอนวัชพืช ตัดหญ้า ระดับนี้เป็นระดับที่ยากที่สุด แต่ก็มีประโยชน์มากเช่นกัน คือจะช่วย พัฒนาเรื่องการงอ การยืดแขน ช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นดีขึ้น ท�ำให้ ทรงตัวได้สมดุลขึ้น เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น อีกทั้งยังท�ำให้ปอด หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิตท�ำงานดีขึ้น ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ และลดน�้ำหนักได้ดี แถมยังช่วยสร้างคามมั่นใจให้เพิ่มมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งส�ำคัญระหว่างท�ำกิจกรรมคือการดูแลตัวเองให้ไม่ ร้อนไม่หนาวเกินไป ดื่มน�้ำบ่อยๆ ท�ำงานตามจังหวะของตัวเอง และต้อง รู้จักฟังเสียงตัวเอง หากรู้สึกเหนื่อยก็ต้องพัก อาจจะท�ำกิจกรรมรอบละ 10 นาที วันละ 3 รอบก็ได้ หากรู้สึกไม่สบายตัว หายใจไม่ทัน หรือเจ็บ ก็ ต้องหยุด และเรียกหาความช่วยเหลือ หากเป็นไปได้ ลองทบทวนและบันทึกความรู้สึกความเปลี่ยนแปลง ของตัวเองและของพืชผักที่ตัวเองปลูกไปด้วยในแต่ละครั้ง หากคุณเป็นคนดูแลผู้ป่วย อย่าลืมว่าการกระตุ้น การสร้างแรงจูงใจ ชักชวนให้ผู้ป่วยท�ำสวนเป็นสิ่งส�ำคัญ และเมื่อท�ำส�ำเร็จ การชื่นชมก็เป็น สิ่งส�ำคัญไม่แพ้กัน ใครสนใจอยากเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติม เข้าไปศึกษากันต่อได้ที่ http://www.thrive.org.uk
90
91 ๓ สวนผักชุมชน
92
93 เล่าถึงพลังของสวนผักกับการบ�ำบัดเยียวยาคนที่ได้ชื่อว่าเป็น ผู้ป่วยทั้งทางกายและทางใจกันมาพอสมควรแล้ว คราวนี้อยากจะเล่า ถึงพลังของสวนผักกับเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งรวมถึงการ บ�ำบัดเยียวยาผู้คนในสังคมที่ก�ำลังทุกข์ทรมานกับความ “ป่วย” เป็น อาการที่อาจไม่ถึงกับต้องไปพบแพทย์ แต่ก็กระทบกระเทือนต่อการใช้ ชีวิต และอาจเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายอื่นๆ ตามมา เชื่อว่าสาเหตุหลักที่ท�ำให้คนจ�ำนวนมากล้มป่วย คือ ความเครียด ประกอบกับการขาดการออกก�ำลังกาย บางคนท�ำแต่งาน บางคน นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน แถมยังชอบกินอาหารส�ำเร็จรูป อาหาร ฟาสฟูดส์ หรือฝากท้องไว้กับร้านอาหารข้างทาง แต่ละเมนูที่กินก็ เต็มไปด้วยผักที่มีสารเคมีตกค้าง ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ปี 2557 พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกว่า 60,000 คนต่อปี เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทยต่อเนื่องมาถึง 13 ปี ยังไม่นับ โรคเรื้อรัง อย่างโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคอ้วน ที่ก�ำลัง คุกคามอย่างหนักไม่แพ้กัน
94 สิ่งที่อยากบอกคือ เรื่องของการท�ำสวนผักกับสุขภาพนั้น ไม่ได้ เป็นประโยชน์เฉพาะผู้ป่วย และจ�ำกัดอยู่เพียงการบ�ำบัดเยียวยาผู้ป่วย ในโรงพยาบาล หรือสถานฟื้นฟูเท่านั้น แต่เป็นประโยชน์ส�ำหรับคนทุก คน และสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน หน่วยงาน สถานศึกษา หรือ บ้านตัวเอง มีงานศึกษาวิจัยที่ต่างประเทศหลายชิ้น ซึ่งกลุ่ม Gardening Matters รวบรวมไว้ในบทความเรื่อง “Multiple Benefits of Community Gardening” แสดงให้เห็นว่าการท�ำสวนผักชุมชน มีผลดี ต่อสุขภาพหลายด้านด้วยกัน ขอยกตัวอย่างให้เห็นสักเล็กน้อย คือ • เขาพบว่า การท�ำสวนผักชุมชน ช่วยท�ำให้คนในชุมชนเข้าถึง อาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยมากขึ้น และก็พบอีกว่า คนที่ท�ำ สวนผักนั้น มีแนวโน้มที่จะกินผัก ผลไม้ต่อวันมากขึ้นด้วย
95 • เขาพบว่า การท�ำสวนถือเป็นการออกก�ำลังกายในระดับกลางถึง ระดับสูง ช่วยลดปริมาณคอเรสเตอรอล ช่วยลดความดันโลหิต สูงได้และยังพบอีกว่า การท�ำสวนเป็นการออกก�ำลังกายที่สร้าง แรงจูงใจให้คนท�ำกิจกรรมบ่อยและนานกว่ากิจกรรมทางกาย อื่นๆ เช่น การเดิน, การขี่จักรยาน • เขาพบว่า สวนผักชุมชนเป็นพื้นที่สีเขียวรายล้อมด้วย ธรรมชาติ ที่ช่วยให้ผู้คนที่เข้ามาสัมผัสรู้สึกผ่อนคลาย หาย เครียด ท�ำให้มีสมาธิและมีความพึงพอใจในชีวิตมากขึ้น • นอกจากนี้เขายังพบว่า สวนผักชุมชน มีส่วนช่วยท�ำให้คนรู้จัก กัน มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และช่วยเป็นหูเป็นตา ดูแลกัน และกันมากขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดอาชญากรรม หรือการ กระท�ำที่ก้าวร้าว รุนแรง ในบริเวณนั้นได้ด้วย ยังไม่นับประโยชน์ของสวนผักชุมชนที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นมีส่วนช่วยผลิตออกซิเจน ช่วยดูดซับกักเก็บน�้ำฝน ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ ช่วยลดขยะอินทรีย์ หรือช่วยลดค่าน�้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่งอาหาร การเดินทางไป ซื้ออาหาร และช่วยลดบรรจุภัณฑ์ใส่พืชผักต่างๆ ที่เราต้องไปซื้อมา ตลอดจนประโยชน์ด้านการที่เป็นที่เรียนรู้ ท�ำให้คนรู้จักที่มาของอาหาร เข้าถึงธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งก็ล้วนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพองค์รวม ของเราทั้งนั้น
96 เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มสนใจกันมากขึ้นบ้างแล้ว คราวนี้อาจจะ ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มยังไง มีความเป็นไปได้แบบไหนบ้าง เลยอยากเล่า ประสบการณ์สวนผักแห่งชุมชนต่างๆ ที่เคยไปเยี่ยมเยือนมา เพื่อให้ เป็นทั้งแรงบันดาลใจและเป็นแนวทางส�ำหรับน�ำไปประยุกต์ใช้กัน ทราบหรือไม่ว่า • จากรายงานโครงการศึกษาวิจัยแผนการลงทุนด้านสุขภาพใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) พบว่าคนไทยมากกว่าร้อยละ 75 บริโภคผักและ ผลไม้ต�่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กรอนามัยโลกก�ำหนดไว้ คือ 400 กรัมต่อวัน • งานศึกษาวิจัยจ�ำนวนมากพบว่าการบริโภคผักและผลไม้อย่าง น้อย 400 กรัมต่อวัน สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค มะเร็งได้ร้อยละ 50 และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ร้อยละ 30 อ้างอิงจาก สถานการณ์การบริโภคผักและผลไม้ของคนไทย, สุจิตต์ สาลีพันธ์ ส�ำนักโภชนาการ กรมอนามัย
97 เมื่อโรงพยาบาล ไม่ได้เป็นเพียงที่จ่ายยา เมื่อโรงพยาบาลไม่ได้เป็นเพียงที่จ่ายยา และรักษาผู้ป่วย แต่ ให้ความส�ำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพของเจ้าหน้าที่ และให้ความ ส�ำคัญกับการส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพให้กับชุมชน สวนผักที่ โรงพยาบาลละงูจึงเติบโตงอกงาม เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้ ใครหลายคน ภาพที่คุ้นชินของโรงพยาบาล คือภาพบรรยากาศความเจ็บไข้ได้ป่วย ของผู้คนที่มาเข้าคิวรอพบแพทย์ กับภาพความรีบเร่ง คร�่ำเคร่งท�ำงาน ของเจ้าหน้าที่ พนักงาน พยาบาล หรือแพทย์แผนกต่างๆ ที่ต้องให้ บริการผู้ป่วยซึ่งหลั่งไหลกันเข้ามาแทบไม่ขาดสายในแต่ละวัน โดยมาก
98
99 แล้ว ระยะเวลาที่เราอยู่ที่โรงพยาบาลแต่ละครั้งก็นานหลายชั่วโมง แต่ เวลาที่ได้พบพูดคุยกับหมอจริงๆ ก็แค่อึดใจเดียว ก่อนจะได้ยา กลับ บ้านไปจะอยู่กับความป่วยไข้อีกนานแค่ไหน ก็อีกเรื่องหนึ่ง ต้องยอมรับว่า ด้วยความคุ้นชินกับภาพบรรยากาศของ โรงพยาบาลที่เป็นเช่นนี้ เมื่อมีโอกาสได้ไปเยือนโรงพยาบาลละงู จังหวัดสตูล และได้พูดคุยกับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่เกี่ยว กับการขับเคลื่อนเรื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ที่ให้ความส�ำคัญ ทั้งเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลทุกฝ่าย และให้ความส�ำคัญกับการส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพให้กับชุมชน ด้วย ก็อดรู้สึกชื่นชมไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโรงพยาบาลเข้า มามีบทบาทส�ำคัญในการส่งเสริมเรื่องการปลูก และการบริโภคผัก ปลอดสารพิษ หลังจากที่ตระหนักว่าสาเหตุส�ำคัญของความเจ็บไข้ได้ ป่วยนั้นก็มาจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีนั่นเอง และวิธีการ ส�ำคัญที่ทางโรงพยาบาลน�ำมาใช้ ก็คือการท�ำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง หากใครมีโอกาสได้ไปเยือนโรงพยาบาลละงูแห่งนี้ ก็จะเห็นสวนผัก หลากหลายชนิดเขียวสะพรั่งต้อนรับอยู่ด้านหน้า สวนผักแห่งนี้ ไม่ได้ท�ำเป็นแปลงติดกัน ทว่า ได้รับการออกแบบการจัดวาง อย่างสวยงาม กลมกลืนกับสนามหญ้าอย่างลงตัว ที่ส�ำคัญสวนผักแห่งนี้ ไม่ได้เกิดจากแรงงานของคนสวน แต่เกิด จากน�้ำพักน�้ำแรงของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกแผนก ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ เช่นห้องผ่าตัด ห้องเอ็กซเรย์
100 ห้องชันสูตร ฝ่ายเวชระเบียน ตลอดจนฝ่ายบริหาร โดยแต่ละแผนก ต่างก็มีแปลงรับผิดชอบของตัวเอง พร้อมกับมีป้ายติดก�ำกับแสดง ผลงานไว้ คุณเฉลิม บัวด�ำ หรือพี่น้อย แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ โรงพยาบาลละงู เล่าให้ฟังว่า “ทุกเช้าก่อนเข้าท�ำงาน และทุกเย็น ตอน ประมาณ 4 โมง เจ้าหน้าที่แต่ละแผนกก็จะมารดน�้ำ พรวนดิน ถอน หญ้า ปลูกผักกัน บางแผนก หัวหน้าก็จะน�ำทีมลูกน้องลงมาท�ำด้วยกัน หมด บางแผนกก็แบ่งหน้าที่กันลงมาท�ำ ตอนแรกบางคนก็บ่นว่าเป็น ภาระ งานเยอะ ไม่มีเวลา แต่พอได้ลงมาท�ำกันจริงๆ ได้เห็นผลผลิต ก็เริ่มติดใจ เกิดความสนุกสนาน ผูกพันใกล้ชิดกัน ระหว่างคนที่ลงมา ช่วยท�ำแต่ละแผนก คราวนี้ก็ลงมากันตลอด” ภาพบรรยากาศสวนผักโรงพยาบาลยามเย็นที่ได้เห็น มีพนักงาน แต่ละแผนกลงมาขุดดินบ้าง รดน�้ำบ้าง เก็บผลผลิตบ้าง ช่วยกัน คนละไม้ละมืออย่างขยันขันแข็ง บรรยากาศก็เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ บางคนก็ได้ผักติดไม้ติดมือกันกลับบ้านคนละก�ำ 2 ก�ำ ล้วนเป็นเครื่องยืนยันถึงค�ำบอกเล่าของพี่น้อยได้เป็นอย่างดี นอกจากความสมัครใจของตัวพนักงานเจ้าหน้าที่เองแล้ว พี่น้อยยัง บอกว่าที่โรงพยาบาลเองก็มีกลยุทธ์ที่จะให้เจ้าหน้าที่ลงมารับผิดชอบ อย่างต่อเนื่องด้วย คือ ทางโรงพยาบาลจะก�ำหนดให้พนักงาน เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องออกก�ำลังกายให้ได้อย่างน้อย 12 วันต่อ 1 เดือน และการท�ำสวนผักก็นับเป็นการออกก�ำลังกายได้อย่างหนึ่ง และเพื่อให้