101 ข้อก�ำหนดได้ผลในทางปฏิบัติจริง ทางโรงพยาบาลก็มีคณะกรรมการที่ คอยลงมาตรวจประเมินผลอยู่ทุกอาทิตย์ หากเห็นแปลงแผนกไหนเริ่ม รก เริ่มร้าง ก็จะมีคนคอยไปช่วยกันกระตุ้นเตือน ที่ส�ำคัญกิจกรรมนี้ ยังมีผลต่อการพิจารณาขั้นเงินเดือนด้วย ส�ำหรับผลผลิตจากแปลงผักโรงพยาบาล จะส่งเข้าโรงครัวเป็น อันดับแรก หากเหลือก็จะตัดวางขายหน้าสวนบ้าง ตามคลินิกแผนก ต่างๆ บ้าง ทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น เรียกว่าขายดิบขายดี มีคนมา จับจองมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่เอง หรือคนไข้ แถมบางทียัง มีแม่ค้าจากตลาดมาขอซื้อถึงแปลง ด้วยความที่เป็นผักปลอดสารพิษ อย่างแท้จริง ส่วนรายได้จากการจ�ำหน่ายผัก ส่วนหนึ่งจะแบ่งเป็น กองทุนเข้าโรงพยาบาล อีกส่วนหนึ่งก็แบ่งให้แผนกเจ้าของแปลงน�ำไป จัดสรรกันเอง
102 “พื้นที่ตรงนี้ เดิมเป็นสวนไม้ประดับ เราไปดูงานที่โรงพยาบาล อุบลรัตน์ เห็นเขาส่งเสริมให้ชาวบ้านพัฒนาชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง มีการส่งเสริมให้ท�ำเกษตรและท�ำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เลยเกิด แรงบันดาลใจ อยากกลับมาท�ำบ้าง โดยตั้งใจว่าจะท�ำแปลงผักในสวน ให้ชาวบ้านได้เห็นเป็นตัวอย่าง จะได้เกิดแรงบันดาลใจ กลับไปเปลี่ยน จากปลูกไม้ประดับที่บ้านเป็นมาปลูกผักไว้กินเหมือนกัน ซึ่งก็มีคนไข้ หลายคนน�ำกลับไปท�ำ บางคนมาขอเมล็ดพันธุ์ ขอต้นกล้า ขอปุ๋ย เรา ก็แบ่งปันให้ไป” คุณกรีณา นองมณี พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการพิเศษ หนึ่งในผู้ริเริ่มท�ำสวนผักในโรงพยาบาลกล่าว
103 พี่น้อยยังเล่าเสริมว่า ตอนนี้เวลาลงไปเยี่ยมบ้าน แทนที่จะไป ตรวจ แล้วเอายาไปให้เหมือนเมื่อก่อน ทางโรงพยาบาลก็จะลงเยี่ยม บ้านกันเป็นทีม มีทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และสิ่งหนึ่งที่พี่น้อยจะ ติดไม้ติดมือไปเสมอก็คือเมล็ดพันธุ์ ซึ่งชาวบ้านก็เอาไปปลูกกัน พอได้ ผลผลิต บางส่วนก็เก็บเมล็ดพันธุ์กลับมาให้ เราก็เอาใส่ซอง ติดชื่อ แล้วก็น�ำไปแจกจ่ายให้ชาวบ้านต่อไปเรื่อยๆ ก็มีส่วนช่วยท�ำให้ชาวบ้าน ปลูกผัก และมีอาหารปลอดภัยกินกันมากขึ้น สุขภาพก็ดีขึ้นตามมา อาจกล่าวได้ว่า สวนผักโรงพยาบาลแห่งนี้ นอกจากจะช่วยสร้าง เสริมสุขภาพทั้งทางกายและทางใจให้กับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลเอง แล้ว ยังมีบทบาทส�ำคัญที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เป็นตัวอย่าง และ ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาวบ้านให้ดีขึ้นด้วย ภาพที่เห็นในสวนผักของโรงพยาบาลละงูนี้ จึงไม่ใช่มีแต่แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ลงมาชื่นชม ลงมือปลูก และช่วย กันเก็บผลผลิตเท่านั้น แต่ยังมีภาพของผู้ป่วย หรือญาติผู้ป่วยมาท�ำ กิจกรรมร่วมกันที่สวนผักอยู่เสมอๆ ในอนาคต พี่น้อยบอกว่า มีแผนว่า จะแบ่งแปลงให้ผู้ป่วยลงมาปลูกผักด้วย สวนผักโรงพยาบาลแห่งนี้ น่าจะเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า แท้จริง แล้วโรงพยาบาลสามารถเป็นได้มากกว่าที่จ่ายยา หรือที่รักษาคนไข้ จริงๆ ขอขอบพระคุณคุณเฉลิม บัวด�ำ หรือพี่น้อยเป็นอย่างสูง ที่ช่วยพา เราไปเรียนรู้เรื่องราวดีๆ แบบนี้
104
105 เมื่อดาดฟ้าองค์กรมีชีวิต โครงการสถานีผักแห่ง NECTEC เป็นโครงการที่ได้รับรางวัลรอง ชนะเลิศอันดับหนึ่ง จากการประกวดสวนผักปลูกชีวิต : Growing in (edible) Garden ที่โครงการสวนผักคนเมืองจัดขึ้น สวนผักแห่งนี้เริ่ม ต้นจากการคิดถึงสิ่งแวดล้อม อยากเปลี่ยนดาดฟ้าให้เป็นพื้นที่สีเขียว แต่พลังของสวนผัก ให้มากกว่านั้น สิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดหวังจะมีในชีวิตก็คือความสุข แต่หากนึกถึง เวลาที่หมดไปกับการท�ำงานในองค์กร หรือบริษัทต่างๆในแต่ละวัน หลายคนอาจไปท�ำงานด้วยความทุกข์ บางคนเต็มไปด้วยความเครียด บางคนก็ท�ำงานเหมือนเป็นหุ่นยนต์ มาเช้า เย็นกลับ ไม่สนใจใคร ซึ่ง คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ระดับความสุขนั้นนอกจากจะมีผลต่อสุขภาพและ ชีวิตแต่ละคนโดยตรงแล้ว ยังมีผลต่อการงานขององค์กรด้วยไม่น้อย ทีเดียว ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ถือเป็นองค์กรหนึ่งที่ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนท�ำงาน และหนึ่งในโครงการที่งานพัฒนา บุคลากรและองค์กรคิดท�ำก็คือ การท�ำสวนผักบนดาดฟ้า ซึ่งช่วย ท�ำให้องค์กรมีชีวิต คนในองค์กรมีความสุข และมีความสัมพันธ์ อันดีเกิดขึ้นมา
106 คุณหฤทัย ศรีสุวงศ์ หัวหน้างานพัฒนาบุคลากรและองค์กร เล่า ให้ฟังว่า อันที่จริงสวนผักบนดาดฟ้านี้เกิดขึ้นจากความต้องการ สร้างอาคารเขียว ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของตึก NECTEC โดยตอนแรกก็เริ่มต้นเล็กๆ มีแค่เจ้าหน้าที่ส่วนงานอาคาร และสถานที่กับนักพัฒนาบุคลากรมาช่วยกันท�ำ พอเริ่มเห็นผลผลิตว่า ปลูกได้ดี ก็เริ่มเปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่ที่สนใจแผนกต่างๆ เข้ามาช่วย กันท�ำ วิธีการบริหารจัดการแปลงผักของที่นี่น่า สนใจมากคือ มีการแบ่งแปลงผักเป็นโฉนด ที่ดิน ขนาดประมาณ 1.5 x 1.5 เมตร และ เปิดให้ผู้ที่สนใจมาจับจอง มีการมอบโฉนด เป็นรายปี เจ้าของอยากแบ่งพื้นที่ให้คนอื่น ที่สนใจมาแชร์ด้วยก็ได้ โดยคนที่สนใจจะได้รับการฝึกอบรมเรื่องการปลูกผัก มีทั้งเรียนรู้ จากเจ้าหน้าที่ของ NECTEC เองที่ฝึกฝนฝีมือมาก่อนแล้ว และเรียนรู้ จากวิทยากรภายนอก มีการไปดูงานที่ต่างๆ และกลับมาลงมือปฏิบัติ จริงด้วยกัน เจ้าของแปลงก็มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องดูแล รดน�้ำผักเป็น หลัก เมื่อได้ผลผลิตก็น�ำมาแบ่งปันกันกิน หากได้ผลผลิตมากก็แบ่ง จ�ำหน่ายให้เจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ด้วย
107 “บางแผนก เดิมมีคนสนใจลงมาท�ำแค่คนเดียว พอเห็นผลผลิต ที่ เจ้าของแปลงเอาไปแจก ทีนี่ก็มีคนอื่นสนใจมาเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ” คุณหฤทัย กล่าว นอกจากมาเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติแล้ว สิ่งส�ำคัญที่ท�ำให้สวนผักแห่ง นี้เติบโต ก็คือการมีกลุ่ม CoP : NECTEC PLANT ที่จะนัดหมาย สมาชิกมาพูดคุย ปรึกษาปัญหา แลกเปลี่ยนความรู้ แบ่งปันเคล็ดลับ ในการปลูกผักกัน และมีการบันทึกความรู้เก็บไว้ เพื่อส่งต่อในระบบ intranet ขององค์กรให้คนอื่นๆ ได้เรียนรู้ด้วย อาจกล่าวได้ว่ากิจกรรมปลูกผักบนดาดฟ้านี้ นอกจากจะสร้าง พื้นที่สีเขียวแล้ว ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์กร จากเดิม ที่ตั้งหน้าตั้งตาท�ำงานอย่างเดียว ก็มีการพูดคุยสนิทสนมกันมากขึ้น อีกทั้งยังมีการเรียนรู้ รับฟัง ยอมรับซึ่งกันและกันมากขึ้น
108 ที่ส�ำคัญ พนักงานหลายคนบอกว่า สวนผักแห่งนี้ ช่วยคลาย เครียดได้ พอเห็นผักโตก็รู้สึกสดชื่น ภูมิใจ และมีพนักงานจ�ำนวน ไม่น้อยที่น�ำความรู้ และความสุขแบบนี้ไปแบ่งปันต่อที่บ้าน โดยเริ่ม กลับไปลงมือปลูกผักที่บ้านตัวเอง เริ่มสนใจเรื่องอาหารการกินที่ดีต่อ สุขภาพมากขึ้น บางคนก็เป็นแรงบันดาลใจให้คนบ้านใกล้เรือนเคียง เริ่มลงมือปลูกผักตามด้วย สวนผักแห่งนี้ไม่เพียงสร้างสุขภาพ สร้างความสุข และสร้างความ สัมพันธ์เท่านั้น แต่การท�ำสวนผักในองค์กรยังมีส่วนช่วยสร้างผู้น�ำการ เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีความส�ำคัญในการพัฒนางานอย่างมาก “ผมพบ ว่าการปลูกผักนี้ เป็นการสร้างผู้น�ำความเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี โดย กลุ่มที่เป็นผู้น�ำแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก็มาจากตัวพนักงาน เอง เช่นมีคนที่ดูแลอาคารมาเป็นผู้น�ำสอนเรื่องการปลูกผัก บางคน
109 เป็นช่างภาพก็มาช่วยท�ำกิจกรรม ซึ่งกลุ่มนักปฏิบัติเหล่านี้มีความ ส�ำคัญอย่างมาก เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่จะมีปัญหาอยู่กับความ คิด คือจะคิดอยู่ตลอดเวลา เช่นจะปลูกผัก ก็จะคิดก่อน หาโมเดลต่างๆ แล้วก็ไม่ได้ปลูก แต่พอมาเจอกับนักปฏิบัติ ก็ท�ำให้เกิดการเรียนรู้ และ ผสานเข้าหากัน แล้วก็ท�ำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ เป็นผู้น�ำการ เปลี่ยนแปลงจริงๆ” ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อ�ำนวยการ NECTEC กล่าว หากแต่ละองค์กร ตระหนักถึงความส�ำคัญ และคุณค่าของการแบ่ง พื้นที่ ปันงบประมาณ และช่วยกันพัฒนาพื้นที่ปลูกผักที่ให้มากกว่าผัก ดังที่ NECTEC ท�ำ ก็น่าจะมีส่วนช่วยทั้งให้คุณภาพชีวิตของพนักงาน ดีขึ้น และท�ำให้การท�ำงานในองค์กรมีศักยภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน ขอบคุณรูปภาพบางส่วนจาก NECTEC
110 เมื่อพื้นที่รกร้างกลายเป็นสวนผัก สวนผักชุมชนเคหะทุ่งสองห้อง 327 เป็นหนึ่งในสมาชิกโครงการ สวนผักคนเมือง ได้รับทุนสนับสนุนโครงการขนาดเล็กเมื่อปี2556 แต่ ผลผลิตและมิตรภาพที่ผลิบานในสวนผักบนพื้นที่รกร้างแห่งนี้เกิดขึ้น จากความร่วมมือของส�ำนักงานเขตหลักสี่ตั้งแต่ปี2551 และยังคงเป็น พื้นที่สีเขียวกินได้ที่สร้างทั้งสุขภาพทางกาย ใจ และสังคม คู่ชุมชน แห่งนี้จนถึงปัจจุบัน ปัญหาพื้นที่รกร้างคือ มักกลายเป็นแหล่งมั่วสุม เป็นสถานที่ เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการถูกข่มขืน หรือถูก ชิงทรัพย์ บางแห่งกลายเป็นที่ทิ้งขยะ เป็นแหล่งบ่มเพาะมลพิษ บาง แห่งเป็นสาเหตุแห่งการเกิดอัคคีภัย
111 ตัวเลขของกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2550 พบว่า มีอาคารและ สิ่งก่อสร้าง พื้นที่รกร้างที่ขาดการดูแลจากเจ้าของมากถึง 7,226 แปลง คิดเป็นเนื้อที่ถึง 4,374 ไร่ ซึ่งสามารถน�ำใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มหาศาล และหนึ่งในสิ่งที่ท�ำได้ก็คือ เปลี่ยนพื้นที่รกร้างเป็นสวนผักชุมชน ชุมชนเคหะทุ่งสองห้อง 327 เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีพื้นที่รกร้าง และเป็นพื้นที่ที่มักมีปัญหาทั้งเรื่องไฟไหม้ และปัญหาเรื่องยาเสพติด เป็นแหล่งมัวสุมของวัยรุ่น โชคดีที่ทางส�ำนักงานเขตหลักสี่ตระหนัก ถึงความส�ำคัญของปัญหา และเข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนพื้นที่ จากพื้นที่ รกร้างให้กลายเป็นแปลงผักปลอดสารพิษ และให้ชุมชนได้ใช้พื้นที่ท�ำ กิจกรรมนักส�ำรวจน้อยกับเด็กๆ ตั้งแต่ปี 2551 พร้อมกับช่วยประสาน กับบริษัทไทยคาเนตะ จ�ำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อท�ำสัญญาขอใช้
112
113 พื้นที่ และขออนุญาตใช้น�้ำประปา โดยทางชุมชนจะเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าน�้ำเอง ที่น่าชื่นชม และน่าประทับใจคือ แม้ว่าโครงการที่ทางเขต มาสนับสนุนจะสิ้นสุดไปนานแล้ว แต่สมาชิกก็ยังเห็นคุณค่า และมาช่วยกันท�ำแปลงผักอยู่จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ภาพบรรยากาศยามเย็นที่สมาชิกจากหลากอาชีพหลายชุมชนที่ อยู่ใกล้เคียง มารวมตัวกัน รดน�้ำ ดูแลพืชผักของแปลงตัวเอง ช่างดู เปี่ยมไปด้วยความสุข และมีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง นับเป็นภาพที่หาดูได้ไม่ ง่ายนักในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในชุมชนเมืองที่บ้านเรือนอยู่เรียงกัน อย่างค่อนข้างแออัดเช่นนี้ เรียกว่าแทนที่จะต้องนั่งรถไปสวนสาธารณะ หรือไปฟิตเนสเพื่อออกก�ำลังกาย คนกลุ่มนี้ก็มาถือจอบถือเสียม รดน�้ำ พรวนดิน ปลูกผักกันที่สวนผักชุมชนแห่งนี้ เป็นการออกก�ำลังกายไป ในตัว ท่ามกลางธรรมชาติที่เขียวขจี แถมยังได้ผักปลอดภัยจากสาร เคมีที่ปลูกเองกับมือไว้กิน บางคนก็ได้แบ่งปันเพื่อนบ้าน หากยังมี เหลือ ก็น�ำไปขายที่ตลาด เป็นรายได้เสริม สมาชิกสวนผักคนเมืองแห่งนี้ เขาแบ่งงานรับผิดชอบกันเป็น แปลงๆ ใครมีแรงท�ำมากก็ได้พื้นที่ดูแลมากหน่อย ใครท�ำไม่ค่อยไหว ก็ได้พื้นที่น้อยหน่อย ใครอยากจะปลูกผักอะไรในแปลงของตัวเองก็ สามารถท�ำได้ทั้งนั้น ได้ผลผลิตมาจะเก็บไว้กินเอง จะแบ่งคนอื่น หรือ จะขาย ก็สุดแท้แต่เจ้าของที่ดูแลแปลง โดยพวกเขาจะหารเฉลี่ยค่าน�้ำ
114 กัน ส่วนวันไหนใครไม่ว่างมารดน�้ำ เพื่อนคนอื่นๆ ก็จะช่วยรดน�้ำแทน ให้ เป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน คุณรัชนี ชนะแสวง หนึ่งในสมาชิก เล่าให้ฟังว่า “เมื่อก่อนคนที่มา ช่วยกันท�ำนี่ก็ไม่ได้รู้จักกันนัก เพราะอยู่กันคนละชุมชน เคยเจอหน้า กันเฉยๆ แต่พอมาท�ำสวนผักด้วยกันก็สนิทสนมกันมากขึ้น มีอะไรก็ ช่วยเหลือกัน หรือใครมีผลผลิตอะไรก็แบ่งปันกันกิน” อาจกล่าวได้ว่า นอกจากประโยชน์ส่วนตัวจากการได้ออกก�ำลังกาย ได้อาหารปลอดภัยไว้กิน ได้รายได้เสริมจากการขายผัก รวมถึงได้ ความภูมิใจ และความสุขใจที่ได้เห็นผลผลิตงอกงามแล้ว สวนผักแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่สานสัมพันธ์ เกิดเป็นมิตรภาพของ ผู้คนที่มาร่วมแรงร่วมใจกัน ที่ส�ำคัญพวกเขายังได้ท�ำประโยชน์ให้ กับคนส่วนรวม โดยท�ำให้พื้นที่รกร้างซึ่งเคยสร้างปัญหาให้ชุมชน หายไป กลายเป็นพื้นที่สีเขียว มีอากาศดีๆ ให้คนในชุมชน ได้หายใจกัน แถมยังมีส่วนช่วยจัดการขยะอินทรีย์ให้กับเมือง โดยการน�ำเศษอาหารจากครัวเรือนมาท�ำปุ๋ยหมักใช้ในแปลงด้วย หัวใจส�ำคัญแห่งความส�ำเร็จคือ “คนที่มาท�ำต้องรักและชอบท�ำ เกษตร คนที่ชอบก็จะท�ำได้นาน แล้วก็พยายามที่จะศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุงอยู่ตลอด ที่ส�ำคัญคือต้องรวมกลุ่มกันท�ำ ท�ำคนเดียวไม่ค่อย ยั่งยืน เราใช้วิธีแบ่งแปลงกันรับผิดชอบ ปลูกแล้วก็เอามาแบ่งกันกิน เวลาเจออุปสรรคก็ช่วยกันแก้ไข บางครั้งก็ต้องอดทน เช่น ปัญหา
115
116 จากการท�ำลายของศัตรูพืช สัตว์เลี้ยง หรือจากคนที่ไม่ได้ปลูกแต่มา เก็บกิน” “ในเมืองมีที่รกร้างอยู่มาก อยากแนะน�ำให้ไปติดต่อกับเจ้าของที่ อาจจะประสานกับส�ำนักงานเขตให้รู้ว่าเป็นที่ของใคร แล้วจะขอปลูกผัก ได้หรือไม่ อยากให้ลองท�ำดู เพราะได้ประโยชน์มาก แล้วก็ช่วยพัฒนา จิตใจด้วย จาก 1 เมล็ดเล็กๆ จนโตเป็นต้นผักให้เรากิน หรือถ้าปลูกไม้ กินผล ก็ต้องคอยเฝ้าดู จากเมล็ด เป็นต้น เป็นดอก เป็นผล มันสอน ให้เรารู้จักธรรมชาติ รู้จักการรอคอย พอได้ผลผลิตก็ภูมิใจ เหมือน เราปลูก รดน�้ำ ดูแลเขา เขาก็ตอบแทนให้ผลผลิตเรา” คุณปฐมพงศ์ น�้ำเพชร อีกหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงคนส�ำคัญของสวนผักชุมชนแห่งนี้ กล่าว เรื่องราวดีๆ อย่างนี้ คงเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุน ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐอย่างส�ำนักงานเขตที่มาช่วยเริ่มปรับพื้นที่ และเจรจาท�ำสัญญาขอใช้พื้นที่ให้ คงเกิดขึ้นไม่ได้หากเจ้าของที่ดินไม่ อนุญาตให้ใช้พื้นที่ และก็คงเกิดขึ้นไม่ได้อย่างต่อเนื่องยาวนานขนาดนี้ หากขาดการร่วมแรงร่วมใจกันของสมาชิกทุกคน
117 ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการท�ำสวนผักชุมชนนี้ มีความ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสุขภาพของผู้คนอย่างไม่ควรมองข้ามทีเดียว ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี เคยกล่าวเกี่ยวกับเมืองสุขภาวะ ไว้ว่า การจะสร้างเมืองสุขภาวะขึ้นมาได้นั้น สิ่งส�ำคัญต้องเริ่มจากการ สร้างชุมชนซึ่งเป็นหน่วยย่อยก่อน ชุมชนเมืองจะต้องอยู่ร่วมกันอย่าง สมดุล มีความถูกต้องในระดับหน่วยย่อยก่อน จึงจะน�ำไปสู่ความเป็น เมืองสุขภาวะได้ และท่านก็เล่าถึงงานวิจัยที่มีการศึกษาพบว่า ชุมชนที่มีความอบอุ่น รักใคร่กันนั้น คนในชุมชนจะมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วย
118
119 เมื่อครูและเด็กเรียนรู้ และลงมือทำ ครูอุษาเริ่มต้นจากความอยากมีอาหารที่ดีๆ ให้ทั้งตัวเองและเด็กๆ ที่มาเรียนกิน เมื่อสะสมความรู้ได้แรงบันดาลใจ จนกล้าตัดสินใจที่จะ ลงมือท�ำ ดาดฟ้าตึกของสถานรับเลี้ยงเด็กบ้านรังษีจึงกลายเป็นสวนผัก ที่ให้ทั้งอาหารดีๆ ให้ทั้งพื้นที่เรียนรู้กับเด็กๆ และให้ชีวิตใหม่ที่ดีกับครู ภาพตึกแถวริมถนน มองเข้าไปด้านใน มีเด็กๆ ก�ำลังเล่นกันอย่าง สนุกสนานเต็มพื้นที่ ท�ำให้ตอนแรกพบ เรานึกไม่ค่อยออกว่า สถานที่ แห่งนี้จะมีสวนผักอยู่ตรงไหน หน้าตาเป็นอย่างไร แต่หลังจากได้พูดคุย และก้าวย่างขึ้นไปบนดาดฟ้า สถานที่ที่ครูอุษา หรือคุณกัญญ์ณัทพัชร บุณยะโหตระ เจ้าของสถานรับเลี้ยงเด็กบ้านรังษีแห่งนี้บอกว่า เด็กๆ ชอบขอขึ้นมาประจ�ำ ก็อดรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับความเขียวขจีของพืชผัก ที่งอกงาม อยู่บนตึกแถวแห่งนี้ไม่ได้
120 ครูอุษาเล่าให้ฟังว่าตัวเองไม่เคยปลูกต้นไม้มาก่อนเลย จ�ำได้ ว่าเคยปลูกพลูด่างครั้งนึง พลูด่างยังตาย แต่ด้วยความที่สนใจเรื่อง สุขภาพ อยากมีอาหารดีๆ กิน เลยคิดว่าน่าจะลองปลูกผักไว้กินเอง บ้าง “ตอนแรกๆ ก็สนใจ ลองหาข้อมูลความรู้ทางอินเตอร์เนทดู แต่ ก็ยังไม่ลงมือท�ำ ไม่คิดว่าจะท�ำได้ มาเริ่มเปิดใจจริงๆ ก็ตอนเห็น เรื่องราวของคุณสงัด ที่อยู่แถวตลาดเทวราช ท�ำบันไดปีนขึ้นไปปลูกผัก บนดาดฟ้า ก็มาคิดว่าเขายังอุตสาห์หาทางขึ้นไปท�ำ เรามีบันไดพร้อม มีดาดฟ้าว่างๆ ที่ไม่เคยใช้ประโยชน์ ก็น่าจะลองท�ำดู” ครูอุษาเล่าถึง แรงบันดาลใจแรกเริ่มให้ฟัง เมื่อตั้งใจจะท�ำ และเริ่มลงมือท�ำ ก็ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถ แม้จะต้องใช้ความพยายามทั้งในเรื่องการขนอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นดาดฟ้า ชั้น 4 ด้วยแรงกายล้วนๆ และการเรียนรู้ ลองผิดลองถูกหลายครั้ง แต่
121 ทั้งครู และเด็กๆ ที่มาเรียนพิเศษ ซึ่งบางคนอยู่ที่นี่เหมือนเป็นบ้านหลัง ที่สอง ต่างก็มาช่วยกันอย่างขยันขันแข็ง จากพื้นที่ดาดฟ้าว่างเปล่า ที่คนอยู่บนตึกแห่งนี้มาถึง 28 ปีอย่าง ครูอุษา บอกว่าแทบไม่เคยขึ้นมาเหยียบดาดฟ้าแห่งนี้เลย ตอนนี้กลาย เป็นที่ที่ทั้งครูและเด็กอยากจะขึ้นมา “เด็กที่นี่ส่วนใหญ่อยู่บนตึก ห้อง เช่า คอนโด บ้านไม่มีที่ พอได้เห็นสวนผักดาดฟ้าแบบนี้ ก็ตื่นเต้น วัน ไหนที่เราท�ำเมนูผักเลี้ยง แล้วบอกว่าเป็นผักที่ตัดมาจากดาดฟ้าที่เด็กๆ ช่วยกันปลูก เขาก็จะดีใจมาก กินกันอย่างภูมิใจ” ครูอุษาบอก นอกจากมีอาหารที่ดีกินแล้ว พวกเขายังเรียนรู้ที่จะแยกขยะ บาง ส่วนน�ำไปขาย ส่วนเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ที่เหลือจากการท�ำ อาหารและการกินของเด็กๆ ก็น�ำมาท�ำน�้ำหมักชีวภาพ และน�ำมาท�ำ ดินหมักไว้ใช้ในแปลง ครูอุษาบอกว่า พอมีแปลงผัก เศษผัก ผลไม้
122
123 ต่างๆ ก็ไม่เหลือทิ้งออกไปนอกอาคารเลย กลายเป็นที่ต้องการด้วยซ�้ำ นอกจากนี้พวกโต๊ะนักเรียนที่ช�ำรุดแล้ว ก็ยังน�ำมาดัดแปลงเพื่อท�ำ ชั้นปลูกผักได้ หรือเปลเด็กที่ใช้ไม่ได้แล้ว ก็เตรียมไว้มาท�ำเป็นค้างให้ ผักเลื้อย เรียกว่ามีการน�ำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้กันอย่างคุ้มค่าที่สุด ที่ส�ำคัญ สวนผักดาดฟ้าแห่งนี้ เปลี่ยนแปลงชีวิตของครูอุษา คน อยู่ตึกคนนี้อย่างมาก ครูอุษาบอกว่า จากเดิมเป็นคนขี้โรค เป็นภูมิแพ้ เจ็บหัวเข่า ท�ำอะไรก็รู้สึกไม่ค่อย แข็งแรง บางทีก็ต้องไปฟิตเนสออกก�ำลังกายเสริม พอมาปลูกผัก ตอนนี้สุขภาพดีขึ้นมาก รู้สึกแข็งแรง ไม่เจ็บเข่า ท�ำอะไรก็มีแรง ไม่ต้องไปเข้าฟิสเนสเหมือนเมื่อก่อน แถมยังบอกอีกว่า “เมื่อก่อนฝันว่าอยากไปอยู่ต่างจังหวัด อยากมี ที่ แต่ตอนนี้รู้สึกไม่อยากไปไหนแล้ว ชอบที่นี่มาก บางวันขึ้นมาอยู่บน สวนผักดาดฟ้านี้จนถึง 4 ทุ่ม นั่งได้เพลิน ไม่ต้องกลัวสัตว์ร้าย ทั้งๆที่ เมื่อก่อนไม่เคยคิดอยากจะก้าวขึ้นมาบนนี้เลย” อาจกล่าวได้ว่า หัวใจส�ำคัญของความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นนี้คือการ ลงมือท�ำ ส่วนปัญหาต่างๆ ที่เจอระหว่างทาง ก็หาทางเรียนรู้ ทดลอง ปรับปรุงแก้ไข โดยครูคนส�ำคัญของครูอุษาก็คือ ความรู้ ในเวปสวนผักคนเมืองบ้าง ในอินเตอร์เนทอื่นๆ หรือ ใน youtube ที่หลายคนแบ่งปันกันไว้นั่นเอง “รู้สึกภูมิใจมากที่ท�ำได้ เพราะจริงๆ ไม่คิดว่าจะท�ำได้” ครูอุษา กล่าว
124
125 เมื่อเราทุกคนล้วนต้องการ การเยียวยา สวนผักแห่งสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติหมู่บ้านพลัมประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งในสวนผักที่ได้รับรางวัลจากการประกวดสวนผักปลูกชีวิต : Growing in (edible) Garden สวนผักแห่งนี้เปิดมิติให้เราตระหนัก ว่าเราทุกคนในสังคมล้วนต้องการการเยียวยาโดยเฉพาะจากความ โกรธ ความโศกเศร้า ความกลัว และสวนผักก็เป็นพื้นที่แห่งการเยียวยา ที่มีพลัง I entrust myself I entrust myself To the Earth To the Earth And she entrusts herself to me ขอมอบใจ และกาย น้อมถวาย ด้วยความยินดี บนแผ่นพื้นดิน แม่ธรณี ก็มอบกาย ฉันเช่นกัน
126
127 บทเพลงแห่งหมู่บ้านพลัม Gatha for Planting a Tree หรือ ต้นไม้กับผืนดิน ในอัลบั้ม Plum Blossom 2 เป็นหนึ่งในบทเพลงที่ หมู่บ้านพลัม ใช้เป็นบทเพลงภาวนาในขณะที่ลงมือปลูกต้นไม้ วันที่มีโอกาสได้ไปเยือนสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ หมู่บ้าน พลัม ประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา นอกจาก บรรยากาศที่สงบเรียบง่ายท่ามกลางขุนเขาแล้ว เรายังได้เห็นแปลง พืชผักที่งอกงามอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย สะท้อนถึงความประณีต ละเอียดอ่อน และความมีสติของผู้ปลูกเป็นอย่างดี ชุมชนหมู่บ้านพลัม เป็นชุมชนผู้ฝึกปฏิบัติการเจริญสติตาม แนวทางของพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ หัวใจของการปฏิบัติคือ การปฏิบัติธรรมในทุกขณะของการด�ำเนิน ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทานอาหาร ท�ำงาน ท�ำครัว และการท�ำสวนก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติด้วย พื้นที่ สวนผักแห่งนี้ จึงถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับหอปฏิบัติธรรม คุณสุภาพร พัฒนาศิริ ตัวแทนจากหมู่บ้านพลัม เล่าให้ฟังว่าการ ปลูกผักเป็นหนึ่งวิถีการปฏิบัติ การท�ำความเข้าใจตัวเองเป็นสิ่งที่ นักบวชต้องเรียนรู้ การปลูกผักที่หมู่บ้านพลัม นอกจากจะเป็นอาหารแล้ว ยังมีส่วน ช่วยให้ได้เรียนรู้ที่จะรักษาศีล อย่างการไม่ใช้สารเคมี ไม่ฆ่าสัตว์ ที่ส�ำคัญยังเป็นการฝึกสติ และช่วยท�ำให้อ่อนโยนกับตัวเองด้วย
128 “ความจริงไม่ใช่แค่ผู้ป่วยจิตเวชนะ แต่เราทุกคนในสังคมล้วน ต้องการการเยียวยา เรามีความโกรธ ความเศร้า ถ้าได้ใช้เวลาอยู่ใน แปลงผัก เราจะรู้เลยว่าเราได้รับการเยียวยา ท�ำให้เราอ่อนโยนกับ ตัวเอง และอ่อนโยนกับผู้อื่นมากขึ้น เราไม่ได้ปลูกผักแบบเคร่งเครียด ไปกับการปลูก แต่กระบวนการปลูกผัก ท�ำให้เราเข้าใจธรรมชาติ และ เห็นหลักธรรมบางอย่างจริงๆ การปลูกผักแล้วคิดว่าผักของฉัน มี หนอนก็จะฆ่าหนอน กับการเรียนรู้ว่าในที่สุดแล้วเราต้องอยู่ร่วมกัน เป็นการปลูกผักแบบมีสติ มันต่างกันมาก มันกล่อมเกลาจิตใจ” คุณสุภาพรยังเน้นย�้ำด้วยว่า ความจริงแล้วผักเป็นของก�ำนัลจาก จักรวาล จากผืนดิน และเป็นผลจากการท�ำงานของเรา แต่ที่ส�ำคัญคือเราต้องไม่ท�ำให้การปลูกผักท�ำลายปณิธานที่เรา จะบ่มเพาะความรัก ความเมตตา และพลังแห่งสติ ชาวสวนของชุมชนแห่งนี้ไม่ใช้ใครที่ไหน แต่คือคณะหลวงพี่ที่ อาศัยอยู่ที่นี่ พวกท่านท�ำงานด้วยความเบิกบาน ปราศจากความกังวล ด้วยความเชื่อมั่นว่า “เมื่อเราท�ำการใดๆ ด้วยสติ ด้วยความเมตตา เรา จะหมดความกลัว พลังของพระพุทธองค์ พลังของจักรวาล พลังของ ทุกสิ่งทุกอย่าง อยู่ตรงนั้นเพื่อเกื้อกูลเราเสมอ” นี่คือสิ่งที่หลวงพี่กล่าว การปลูกผักยังท�ำให้ได้เรียนรู้ถึงความแปรแปลี่ยน และวัฏจักรของ สิ่งต่างๆ ด้วย คุณสุภาพรยกตัวอย่างให้ฟังว่า เราใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
129
130 แปรรูป เช่น อาหารที่เหลือ เราก็เอาไปหมัก เอาไปท�ำปุ๋ยปลูกผัก แล้ว เราก็กินผัก ผักก็กลับมาที่ตัวเรา เป็นวัฏจักร เป็นความสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน หรือเวลาที่เรามองที่ใบผัก เราเห็นแสงอาทิตย์มั้ย เห็นแม่น�้ำ มั้ย เห็นผืนดินมั้ย เห็นปู่ย่าตายายมั้ย คนปลูกผักและอยู่กับผักจะเห็น นะ เราจะรู้ว่าถ้าไม่มีแสงอาทิตย์ จะไม่มีต้นไม้ ถ้าไม่รักษาต้นน�้ำ ก็ไม่มี น�้ำรดผัก และถ้าไม่มีองค์ความรู้จากปู่ยาตายายที่ตกทอดมา เราจะ ปลูกผักได้หรือ ถ้าเราไม่เริ่มท�ำวันนี้ วันข้างหน้าลูกหลานเราก็คงปลูก ผักไม่ได้ ทุกวันนี้ถ้าเราถามลูกว่าปลูกผักยังไง เขาก็จะถาม Google ตอบได้ แต่ท�ำไม่เป็น การท�ำเป็น เราต้องท�ำให้เขาดูให้เขาเห็น
131 ที่น่าสนใจคือ จากประสบการณ์ของคุณสุภาพร พบว่า การปลูก ผักยังท�ำให้เกิดความมั่นคงภายในจิตใจด้วย “ความจริงแล้ว เวลาปลูก ผัก เราก็จะหาคนช่วยกินนะ บางคนอาจคิกว่าจะกินไม่พอ แต่พอปลูก จริงๆ เราจะรู้เลยว่าเรากินน้อยมาก เราก็เอาไปแจกบ้านโน้นหน่อย บ้านนี้หน่อย สิ่งนี้ท�ำให้ความงก ความละโมบ ความกลัวที่จะไม่มีกิน มันค่อยๆ น้อยลงไปเรื่อยๆ และก็ท�ำให้เรามีความมั่นคงในใจเกิดขึ้น เรื่อยๆ ด้วย ซึ่งสิ่งนี้เป็นประโยชน์มากเวลาเราต้องเผชิญกับวิกฤตบาง อย่าง เช่น เรากลัวตาย ความมั่นคงในใจนี้มันจะช่วยเรามาก การปลูก ผักไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ถ้าเราปลูกและหัดสังเกตจิตใจของเรา เราชอบมั้ย เราโกรธมั้ย มันก็จะกล่อมเกลาเรา และจะขยายขอบข่ายออกไปโดยที่ เราไม่รู้ตัวว่าเราเปลี่ยน”
132 ขอขอบคุณสมาชิกโครงการสวนผักคนเมืองที่ก้าวเดินบนเส้นทาง นักปลูกผัก ปลูกเมือง ปลูกชีวิต ได้เรียนรู้ เติบโตและแบ่งปันเรื่องราว ดีๆ ให้แก่กัน ขอขอบคุณเครือข่ายเพื่อนร่วมทาง อย่าง NECTEC, สถานปฏิบัติ ธรรมนานาชาติ หมู่บ้านพลัม ประเทศไทย และโรงพยาบาลละงู ที่ร่วม กิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ขอขอบคุณเป็นพิเศษส�ำหรับหมอจิ๊บ และทีมจิตอาสา ที่พร้อม ต้อนรับ เปิดโอกาสให้ได้ร่วมเรียนรู้ และยินดีแบ่งปันประสบการณ์ บอกเล่าเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจให้เราได้เสมอ อีกทั้งยังเป็นก�ำลัง ส�ำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเรื่องสวนผักบ�ำบัดให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมาก ขึ้นด้วย สุดท้ายขอขอบคุณพลังแห่งธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน�้ำ แสง อาทิตย์ ลม ฟ้า อากาศ เมล็ดพันธุ์ พืชผัก และสิ่งต่างๆทั้งที่มองเห็น และมองไม่เห็น ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง ช่วยดูแลรักษา บ�ำบัด เยียวยา ผู้คนมากมาย คำ�ขอบคุณ
133 บรรณานุกรม Davies, G., Devereaux, M., Lennartsson, M., Schmutz, U., and Williams, S. “The benefits of gardening and food growing for health and wellbeing” Garden Organic and Sustain. April 2014 Ecotherapy : The green agenda for mental health. Mind week report, May 2007 Franklin, Deborah . “How Hospital Gardens Help Patients Heal”. Nature that Nurtures. Scientific American, Vol 306, March 2012. Hine, R., Peacock, Jo., and Pretty, J. “Care farming in the UK : Evidence and Opportunities” National Care Farming Initiative (UK). January 2008. “Multiple Benefits of Community Gardening” Gardening Matter. เข้าถึงได้จาก www.gardeningmatters.org. (วันที่ค้นข้อมูล 14 พฤษภาคม 2558).
134 S derback, I., S derstr m, M., Sch lander, E. “Horticultural therapy : the ‘healing garden’ and gardening in rehabilitation measures at Danderyd Hospital Rehabilitation Clinic, Sweden” Pediatric Rehabilitation. 2004, Vol 7, No. 4, 245-260. Thompson, Andrea. “Need to recharge your brain? Step outside”. เข้าถึงได้จาก http://www.nbcnews.com. (วันที่ค้นข้อมูล 2 กุมภาพันธ์ 2558). Ulrich, R. S., Lunden, O., and J. L. Eltinge .“Effects of exposure to nature and abstract pictures on patients recovering from heart surgery.” Paper presented at the Thirty-Third Meeting of the Society for Psychophysiological Research, Rottach-Egern, Germany. Psychophysiology, 1993.