The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by นงลักษณ์ ใจกล้า, 2019-07-27 00:10:48

คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน

คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน

Page 201

คูมอื การใชส มุนไพรไทย-จีน 191

ผลไมแรงนักตอ พยาธิเขม็ หมุด โดยทดลองกบั พยาธเิ ข็มหมดุ นอกรางกายของหนู ทาํ ใหพยาธิเปนอัมพาตได

นอกจากน้ี arecoline ยงั เปน พิษตอพยาธิไสเดอื น 3

แตไ มม ผี ลตอ พยาธปิ ากขอ

2. จากการทดลองในหลอดทดลองพบวา นํ้าแชสกัดจากเมลด็ มฤี ทธย์ิ ับยงั้ การเจริญของเชอื้

Staphylococcus aureus เช้อื ราที่ทําใหเปนกลากเกลอื้ น และราทีท่ าํ ใหเ กดิ โรคผวิ หนังอ่ืนอีกได นอกจาก

นนั้ สารตม สกดั และนํ้าแชส กดั ยังมีฤทธิ์ทําลายพิษของเชอื้ โรคพวกบาซิลลัสไดอ ยา งมีนยั สาํ คญั สารสกดั

แอลกอฮอลสามารถยับย้ังการเจรญิ ของเช้อื Escherichia coli, Candida albicans, C. tropicalis และ
Triphophyton interdigitate สว นสารละลาย arecoline ความเขม ขน 2% ไมสามารถยับยงั้ การเจริญ
ของเช้ือ S. aureus แตส ารสกดั นา้ํ สามารถยับย้งั การเจริญของเชอื้ นไ้ี ด แมใ นขนาดความเขมขน 1 ตอ
10,000 สวน ดังนัน้ ฤทธิฆ์ า เชอื้ อาจเนอ่ื งจากสารพวกฟนอลและแทนนนิ ทมี่ ีมากในเมลด็ ก็ได3

3. สารสกดั น้ํา สารสกดั แอลกอฮอล สารสกัดดว ยกรด และสารสกดั ดว ยดา งจากเมลด็ มฤี ทธ์ิ

ทาํ ใหหลอดเลือดฝอยขาหลงั ของหนูทดลองหดตวั สารสกัดดว ยดา งจะมีฤทธ์แิ รงและนานท่สี ดุ สารสกดั

ดวยแอลกอฮอลมีฤทธิร์ องลงมา สารสกดั นา้ํ และสารสกัดดวยกรดมีฤทธิ์ไมแ รงนกั สารสกดั นํ้าจะเพมิ่

ฤทธิข์ อง adrenaline ท่ีมตี อ หลอดเลอื ดฝอยขาหลงั ของหนทู ดลอง ทงั้ เพม่ิ ความแรงและระยะเวลาใน
การออกฤทธ์ไิ ดน านขนึ้ สารพวกฟนอลจากหมากสามารถเพิ่มฤทธิข์ อง adrenaline แตต วั ของมนั เองไม

3

แสดงฤทธ์ิทําใหห ลอดเลือดหดตวั

4. หมากมีสารทีท่ ําใหเ กดิ มะเรง็ ทีเ่ ยอื่ เมือกในชองปาก ปกติเมอื่ เคีย้ วหมาก จะทําใหการรับรู

ตอรสนอ ยลง ความอยากอาหารลดลง ฟน ดาํ และโยกคลอนงาย ทอ งผูก เจ็บคอนอยลง และยังแกป วด

ทองอกี ดวย อาจเนื่องจากหมากมีแทนนินปรมิ าณมาก ในกลมุ คนทเ่ี คีย้ วหมากเปนประจํา พยาธลิ าํ ไสจะ

ลดลง อาการกระหายนาํ้ ลดลง อาจเนอ่ื งจากฤทธขิ์ อง adrenaline3
5. เมอื่ รับ adrenaline มากเกินไป ทาํ ใหมีอาการพิษเกิดขึน้ มีอาการน้าํ ลายออกมาก น้ําลาย

ยืด อาเจยี น ปสสาวะมาก มึนงง สลบ ชกั ถาเกดิ จากกนิ มากไป แกโดยใชส ารละลายดางทบั ทมิ เจือจาง
ลา งกระเพาะอาหารและฉีด atropine แกอาการพษิ ตา ง ๆ ที่เกดิ ขน้ึ 3

เอกสารอางอิง

1. The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s Republic of China. Vol.I.
English Edition. Beijing: People’s Medical Publishing House, 2005.

2. ลนี า ผพู ฒั นพงศ, กองกานดา ชยามฤต, ธรี วัฒน บุญทวีคณุ (คณะบรรณาธิการ). ชอ่ื พรรณไมแ หง ประเทศไทย (เตม็ สมิตินันทน
ฉบับแกไ ขเพิ่มเตมิ พ.ศ. 2544). สํานักวชิ าการปา ไม. กรมปา ไม. พมิ พคร้งั ที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บรษิ ัท ประชาชน จํากดั , 2544.

3. ชัยโย ชยั ชาญทพิ ยุทธ, วชิรา แดนตะวัน, สถาพร ล้ิมมณ,ี ชะนะ ครองรักษา, ทิพวัลย ทรัพยเจริญ. สมนุ ไพร อันดบั ที่ 03: การ
4. รGวoบnรgวมQขFอ .มูลZเhบo้อื nงgตyนaสoําPหaรoบั zงhาiนวXจิ uัยeข.อ2งnโdคeรdง.กาBรศeึกijษinาgว:ิจNยั สatมioนุ nไaพlรC. hกinรeงุ sเทeพTมraหdาiนtiคonรa:lจMฬุ eาdลiงcกinรณe Pมuหbาlวisิทhยinาลgยั H, o2u5s2e7,.2003.
5. Liu TS, Pan QP, Zhou YS, Wu ZY. XiuZhen Zhongyaoyinpian Caise Tuben. 1st ed. Hunan: Hunan Science &

Technology Publishing House, 2006.

Page 202

192 กรมพฒั นาการแพทยแ ผนไทยและการแพทยทางเลอื ก

โหราเดือยไก: Fuzi (附子)

โหราเดือยไก หรือ ฟูจ่ือ คือ รากแขนงแหงท่ีผานการฆาฤทธิ์ของพืชที่มีช่ือวิทยาศาสตรวา
Aconitum carmichaeli Debx. วงศ Ranunculaceae1

2 เซนตเิ มตร

โหราเดือยไก (Radix Aconiti Lateralis Preparata)

ช่ือไทย: โหราเดอื ยไก (ภาคกลาง)2,3
ชอื่ จนี : ฟูจอ่ื (จีนกลาง), หูจื้อ (จีนแตจ๋วิ )1
ชื่ออังกฤษ: Prepared Common Monkshood Daughter Root1
ชอื่ เครือ่ งยา: Radix Aconiti Lateralis Preparata1
การเกบ็ เกีย่ วและการปฏบิ ตั หิ ลังการเกบ็ เกี่ยว:

เก็บเกี่ยวรากในฤดูรอน แยกเอารากแกว รากฝอย และดินออก เอาเฉพาะรากแขนงมาลางน้ํา
ใหสะอาด นาํ ไปตากแหง เกบ็ รกั ษาไวใ นทม่ี อี ากาศเย็นและแหง มีการระบายอากาศดี1
การเตรยี มตัวยาพรอมใช:

การเตรียมตัวยาพรอมใชม ี 5 วธิ ี ดังนี้
วธิ ที ี่ 1 โหราเดือยไกแชน ํ้าเกลอื เตรียมโดยนาํ วัตถุดบิ สมุนไพรท่ปี ราศจากสิ่งปนปลอม มาลา ง
นาํ้ ใหส ะอาด ใสภาชนะที่มีฝาปด เตมิ นา้ํ เกลอื ปรมิ าณท่เี หมาะสม แชท งิ้ ไวขา มคืน แลว เตมิ เกลอื บรสิ ุทธิ์
ลงไปอกี แชอ ยางตอเนอ่ื ง โดยใหน าํ ตัวยาออกมาตากแดดหรือผ่งึ ใหแหง ทุกวัน จากนั้นนําตัวยาไปแชใ น
นาํ้ เกลือใหม แชจ นกระทงั่ ผวิ นอกของตวั ยามผี ลึกของเกลอื เกาะติดอยูเ ม่ือตัวยาแหงแลว และเน้ือในของ
ตัวยามีลักษณะแขง็ 1,4

Page 203

คูมอื การใชส มนุ ไพรไทย-จนี 193

วิธีท่ี 2 โหราเดอื ยไกแวนสดี าํ (ทางการคาเรียก เฮยซุนเพ่ยี น) เตรียมโดยนําวตั ถดุ บิ สมุนไพรท่ี

ปราศจากส่ิงปนปลอม มาลางนํ้าใหส ะอาด นํามาแชใ นนํ้าเกลือหลาย ๆ วัน แลวนาํ ไปตมจนกระท่ังเน้อื ใน
ใส นาํ ตัวยาออกมาลา งดวยนาํ้ สะอาด ห่ันเปนแวนตามยาวขนาดหนาประมาณ 5 มลิ ลิเมตร จากนัน้ นําไป

แชน ํา้ อกี คร้ัง แลว ลางนํ้าใหส ะอาด ยอ มสตี ัวยาดวยสผี สมอาหารใหไ ดสชี าเขม แลวนาํ ไปนง่ึ จนกระท่งั ผวิ
ดานนอกของตัวยามีนํา้ มัน และเปน มัน นาํ ไปปงตอ ใหแ หง ประมาณ 50% แลว นําไปตากแหง หรอื ปงตอ
จนตัวยาแหง1,4

วิธที ี่ 3 โหราเดือยไกแวน สขี าว เตรยี มโดยนาํ วัตถดุ บิ สมนุ ไพรท่ีปราศจากสิ่งปนปลอมมาลา ง

นา้ํ ใหสะอาด นาํ มาแชใ นนาํ้ เกลือหลาย ๆ วนั แลว นําไปตม จนกระท่ังเนือ้ ในใส นาํ ตวั ยาออกมา ปอกเอา
ผวิ นอกออก หนั่ เปนแวนตามยาวขนาดหนาประมาณ 3 มลิ ลเิ มตร จากนัน้ นําไปแชน ํ้าอีกครัง้ ลา งน้าํ ให
สะอาด นําไปนึง่ จนกระท่ังมองเหน็ เน้อื ในตวั ยา ตากแดดใหแหงประมาณ 50% แลวรมดว ยควันกํามะถัน
ตากแดดใหแหง 1,4

วธิ ที ่ี 4 โหราเดอื ยไกค ่วั เตรยี มโดยนาํ ทรายท่ีสะอาดใสใ นภาชนะท่เี หมาะสม แลว ใหความรอ น
ทอ่ี ุณหภูมิสูง ใสต ัวยาทไี่ ดจ ากวิธที ี่ 3 คนอยางสมา่ํ เสมอจนกระทงั่ ตัวยาเร่ิมพองตวั และเปลย่ี นสเี ลก็ นอย
นําออกจากเตา รอ นเอาทรายออก แลวตงั้ ทง้ิ ไวใหเย็น4

วิธีท่ี 5 โหราเดือยไกจืด เตรยี มโดยนําตวั ยาทไี่ ดจ ากวิธที ี่ 1 มาแชนํ้าสะอาดในภาชนะท่ีเหมาะสม
โดยเปลย่ี นนํ้าทกุ วนั วนั ละ 2-3 คร้ัง จนกระทัง่ ตวั ยาไมม รี สเคม็ ของเกลอื แลว นําไปนึ่งพรอมกบั ถั่วดาํ

ชะเอมเทศ และน้าํ ในปริมาณท่ีเหมาะสม น่ึงจนกระทง่ั มองเห็นเนอ้ื ในตวั ยา เมื่อนาํ มาห่ันและชิมดูจะไม

รูส กึ ชาทล่ี น้ิ จากนน้ั นาํ ออกจากเตา แยกเอาถั่วดาํ และชะเอมเทศออก เอาเฉพาะตัวยา นํามาหั่นเปนแผน
บาง ๆ ตากใหแ หง (ใชถ ั่วดาํ 10 กิโลกรมั และชะเอมเทศ 5 กโิ ลกรัม ตอตวั ยาทเี่ ตรยี มโดยวิธีท่ี 1 หนกั
100 กโิ ลกรมั )4
คุณภาพของตวั ยาจากลักษณะภายนอก:

6

ตัวยาท่มี คี ณุ ภาพดี ตอ งเปนแวน ขนาดหนาสมํ่าเสมอ หนาตัดสีเหลอื งอมนํ้าตาลเปน มนั
สรรพคณุ ตามตาํ ราการแพทยแ ผนจีน:

โหราเดือยไก รสเผ็ด รอน มฤี ทธเ์ิ สริมหยางใหร ะบบหวั ใจ ใหค วามอบอุนแกก ระเพาะอาหาร

เสรมิ ความแขง็ แรงของไต บํารุงธาตุไฟ กระจายความเย็นท่ีมาจับ บรรเทาอาการปวด รางกายออนแอจาก
ปวยเร้อื รัง เหงอ่ื ออกมาก อาเจยี นมาก ถา ยมาก มอื เทา เยน็ ปวดปส สาวะบอยตอนกลางคนื 1

โหราเดือยไกเปน สมุนไพรทีม่ พี ษิ จึงตองฆา ฤทธ์ยิ ากอ นใช ซง่ึ ทาํ ไดหลายวธิ โี ดยมวี ตั ถปุ ระสงค

1

เพื่อลดพิษของยาและเพือ่ สะดวกในการใช

Page 204

194 กรมพฒั นาการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลอื ก

โหราเดอื ยไกแ ชนํา้ เกลอื มีวัตถปุ ระสงคเพื่อปองกันใหต วั ยาไมเนาเสยี สะดวกในการเก็บรักษา4

โหราเดือยไกแ วน สีดาํ และโหราเดอื ยไกแ วน สีขาว ไดผานกระบวนการฆา ฤทธย์ิ าแลว จงึ สามารถ

4

นํามาใชเขาตํารบั ยาไดเลย

โหราเดือยไกคั่ว มีฤทธ์ิใหความอบอุนแกไตเพื่อใหมามฟนคืนสูสภาพปกติเปนหลัก เหมาะ
สาํ หรบั ผปู ว ยทมี่ ีอาการหนาวเย็นปวดทองและทรวงอก อาเจยี นและทอ งเสยี 4

โหราเดือยไกจืด มีฤทธ์ิแรงในการชวยเสริมหยางเพ่ือใหผูปวยหนักฟนตัว บรรเทาอาการปวด
เหมาะสาํ หรับผปู วยที่หยางพรองมาก มือเทาเย็น ชีพจรเตนจังหวะออน เกิดอาการบวมนา้ํ 4
สรรพคุณตามตาํ ราการแพทยแผนไทย:

โหราเดือยไก มีสรรพคณุ แกลมจับโปง (แกปวดตามขอ ) และใชภ ายนอกเปนยาชาเฉพาะที่3
ขนาดท่ใี ชและวิธีใช:

การแพทยแผนจีน ใชขนาด 3-15 กรัม ตมเอานํ้าดื่ม1
ขอ หามใช ขอควรระวัง และอาการขา งเคยี ง:

หามใชในหญงิ มคี รรภ และหามใชรว มกบั ตัวยา ปน เซ่ยี เปยห มู กวาโหลว ไปจี๋ เพราะเมือ่ ใช
รว มกันแลว จะทาํ ใหฤทธข์ิ องตัวยาหมดไป (การแพทยแผนจีน)1
ขอ มูลวิชาการท่ีเกี่ยวขอ ง:

1. โหราเดอื ยไก มีฤทธ์ิลดความดันโลหิตในสุนัข ตานอักเสบในหนูถีบจักร และหนขู าว7 ระงับ

8

ปวดในหนูถีบจักร และเสรมิ ภมู ติ า นทานในหนขู าว
2. โหราเดอื ยไก มสี รรพคุณรกั ษาโรคหัวใจ8
3. โหราเดือยไกมีพิษมาก ความเปนพิษแตกตางกันมากหรือนอยจะขึ้นอยูกับแหลง ปลกู อายุ

เก็บเกีย่ ว วิธีฆา ฤทธ์ขิ องยา และระยะเวลาในการตม มีรายงานวา โหราเดอื ยไกจ ากแหลง ตา ง ๆ มคี วาม
เปนพิษแตกตางกันถึง 8 เทา เม่ือฆาฤทธิ์ของยาแลวจะสามารถลดพิษไดมากถึง 81% โดยทั่วไปขนาด
ของยาที่ทาํ ใหเ ปนพิษจะสูงกวา ขนาดรับประทานมาก3 การศกึ ษาพษิ เฉียบพลันในหนูถีบจกั ร โดยฉีดสาร
สกัดน้าํ เขาหลอดเลือดดําพบวา ขนาดสารสกัดเทยี บเทา ผงยาที่ทําใหห นถู บี จกั รตายรอยละ 50 (LD50) มี
คา เทากับ 13.75 กรมั /กโิ ลกรมั และขนาดของสารสกดั ตํ่าสดุ ที่ทําใหหนขู าวตายเทยี บเทาผงยา 23.40
กรัม/กิโลกรมั 8

เอกสารอางอิง

1. The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s Republic of China. Vol.I.
English Edition. Beijing: People’s Medical Publishing House, 2005.

Page 205

คมู ือการใชสมนุ ไพรไทย-จนี 195

2. ลีนา ผูพ ัฒนพงศ, กองกานดา ชยามฤต, ธรี วฒั น บุญทวคี ุณ (คณะบรรณาธกิ าร). ชอ่ื พรรณไมแหง ประเทศไทย (เต็ม สมิตินนั ทน
ฉบับแกไ ขเพม่ิ เติม พ.ศ. 2544). สาํ นกั วชิ าการปา ไม. กรมปา ไม. พิมพครัง้ ที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษทั ประชาชน จํากดั , 2544.

3. ชยันต วเิ ชยี รสุนทร, แมนมาส ชวลติ , วิเชียร จรี วงศ. คาํ อธิบายตําราพระโอสถพระนารายณ. พิมพค รงั้ ท่ี 2. กรุงเทพมหานคร :
สํานกั พิมพอมรนิ ทร, 2548.

4. Gong QF. Zhongyao Paozhi Xue. 2nd ed. Beijing: National Chinese Traditional Medicine Publishing House, 2003.
5. Ye DJ, Zhang SC, Huang WL, Pan SH, Gong QF, Chen Q. Processing of Traditional Medicine. 7th ed. Shanghai:

Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 2001.
6. Liu TS, Pan QP, Zhou YS, Wu ZY. XiuZhen Zhongyaoyinpian Caise Tuben. 1st ed. Hunan: Hunan Science &

Technology Publishing House, 2006.
7. Bensky D, Gamble A. Chinese herbal medicine: Materia medica. Revised edition. Washington: Eastland Press,

1993.
8. Qu SY. Radix Aconiti Lateralis Preparata: fu zi. In: Wang BX, Ma JK, Zheng WL, Qu SY, Li R, Li YK (eds.).

Modern study of pharmacology in traditional Chinese medicine. 2nd ed. Tianjin: Tianjin Science & Technology Press,
1999.

Page 206

196 กรมพฒั นาการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลอื ก

อบเชยจนี : Rougui (肉桂)

อบเชยจีน หรือ โรวกุย คือ เปลือกตนของพืชที่มีช่ือวิทยาศาสตรวา Cinnamomum cassia
Presl วงศ Lauraceae1

5 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร

อบเชยจีน (Cortex Cinnamomi)

ชื่อไทย: อบเชยจีน2,3
ชื่อจีน: โรวกุย (จีนกลาง), เหน็กกุย (จีนแตจิ๋ว)1
ช่ืออังกฤษ: Cassia Bark1
ชื่อเคร่ืองยา: Cortex Cinnamomi1
การเกบ็ เกีย่ วและการปฏบิ ตั หิ ลังการเก็บเก่ียว:

เก็บเกี่ยวเปลือกตนในฤดูใบไมรวง ทําใหแหงในที่รม เก็บรักษาไวในทีม่ ีอากาศเย็นและแหง
มีการระบายอากาศดี1

การเตรียมตัวยาพรอมใช:
นําวตั ถดุ ิบสมนุ ไพรมาขูดผวิ สว นที่ขรุขระออก แลว หัน่ เปน ชิน้ บาง ๆ หรือทุบใหแ ตกกอ นใช1 ,4

คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก:

ตัวยาท่ีมีคุณภาพดี ตองมีน้ําหนัก ผิวนอกละเอียด เน้ือหนา ดานหนาตัดสีมวงแดงหรือสี
แดงเขม มีน้ํามันมาก กลิ่นหอมฉุนมาก รสเผ็ดอมหวาน เมื่อเค้ียวจะมีกากนอย5
สรรพคุณตามตําราการแพทยแผนจีน:

อบเชยจีน รสเผด็ อมหวาน รอน มฤี ทธเ์ิ สรมิ หยาง บาํ รุงธาตไุ ฟในระบบไต แกอวยั วะเพศไม

แขง็ ตัว มดลกู เย็น ปสสาวะบอยตอนกลางคนื หลั่งเรว็ กลั้นปส สาวะไมอ ยู และมีฤทธ์กิ ระจายความเย็น

Page 207

คมู ือการใชสมุนไพรไทย-จีน 197

ระงับปวด รกั ษาอาการหยางของมา มและไตพรอ ง (ปวดทอ งนอ ย คลน่ื ไสอ าเจียน มือเทา เย็น อุจจาระ
เหลว) รวมทั้งมีฤทธิ์ใหความอบอุนและทะลวงจิงลั่ว ทาํ ใหระบบหมุนเวียนท้ังเลือดและชี่หมุนเวียนดี

กระจายความเยน็ ระงบั ปวด ชาเนอ่ื งจากความเย็น แกประจาํ เดือนไมม าเนือ่ งจากภาวะพรอง เยน็ ทาํ ให
การหมุนเวยี นของเลอื ดตดิ ขัด ปวดประจาํ เดอื น เปน ตน 1,3
สรรพคุณตามตาํ ราการแพทยแ ผนไทย:

อบเชยจีน รสเผ็ด หวาน สรรพคุณแกลมอัณฑพฤกษ ปลกุ ธาตอุ ันดับใหเจริญ แกไขสันนิบาต
แกออนเพลยี ขบั ผายลม6
ขนาดทใ่ี ชแ ละวิธใี ช:

การแพทยแ ผนจีน ใชข นาด 1-4.5 กรัม ตม เอานํา้ ดม่ื 1
ขอหา มใช ขอควรระวงั และอาการขางเคยี ง:

ควรระมดั ระวังในการใชใ นผปู ว ยท่ีมีแนวโนม เลือดออกงาย1 หา มใชในผปู วยทเ่ี ปน ไขโ ดยไมรู
สาเหตุ หรือในสตรีมีครรภ และผปู วยทเ่ี ปนแผลในกระเพาะอาหาร รวมท้งั ผูปวยที่แพอ บเชยจีน7 ในทาง
การแพทยแ ผนจนี ไมใ ชอบเชยจีนรวมกับช่ือสอื จือ เพราะจะถกู ลางฤทธิ์ได1
ขอมูลวิชาการทีเ่ กี่ยวขอ ง:

1. สารสกัดน้าํ ขนาดเทียบเทา ผงยา 20 กรัม/กโิ ลกรัม มฤี ทธิ์ลดไข บรรเทาอาการปวดในหนูถบี
จักร และสาร cinnamic acid ทีแ่ ยกไดจากเปลอื กตนอบเชยจนี แสดงฤทธ์ิระงับปวดในหนูทดลอง และ
แสดงฤทธ์ลิ ดไขใ นกระตาย8

2. เมอ่ื ใหกระตา ยรบั ประทานผงอบเชยจนี ขนาด 1.2 กรัม/กโิ ลกรมั ติดตอกนั นาน 6 วนั พบวา

มฤี ทธชิ์ ว ยใหอ าการขาดออกซิเจนของกลา มเนื้อหวั ใจดีข้ึน และสารสกดั สามารถเพิ่มการไหลเวยี นของเลอื ด
ทไ่ี ปเลี้ยงหวั ใจในหนูตะเภา นอกจากน้ีเมอื่ ใหหนขู าวรบั ประทานสารสกดั นํา้ ขนาดเทยี บเทาผงยา 10 กรัม/
กโิ ลกรมั หรอื สารสกัดอีเทอร (น้าํ มันหอมระเหย) ขนาด 0.8 มลิ ลลิ ติ ร/กิโลกรมั วนั ละคร้งั ติดตอกนั
นาน 5 วนั พบวา สามารถตานการแข็งตวั ของเลือดได8

3. สารสกัดนาํ้ ยังมีฤทธติ์ า นเชอ้ื แบคทีเรยี และเชื้อไวรสั บางชนดิ ในหลอดทดลอง3
4. การศกึ ษาพิษเฉยี บพลันในหนูถีบจกั ร โดยฉดี สารสกัดน้ําเขาหลอดเลือดดํา และใหโ ดยวิธี
รับประทาน พบวาขนาดของสารสกดั นํา้ เทยี บเทา ผงยาท่ีทาํ ใหหนูถีบจกั รตายรอยละ 50 (LD50) มคี า
เทา กับ 18.48 และ 120 กรมั /กโิ ลกรมั ตามลาํ ดบั และเมอ่ื ใหสาร cinnamic acid แกห นูถบี จกั รโดยวิธี

รับประทาน ฉีดเขาหลอดเลือดดาํ และ ฉดี เขาชอ งทอ ง พบวา ขนาดของสารดังกลาวท่ีทาํ ใหห นูถีบจกั ร
ตายรอ ยละ 50 (LD50) มคี าเทา กับ 225, 132 และ 610 มลิ ลิกรมั /กโิ ลกรมั ตามลาํ ดบั 8

Page 208

198 กรมพฒั นาการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลอื ก

5. การทดสอบความเปนพษิ พบวา เม่ือปอนสารสกัดเปลือกอบเชยจนี ดวย 70% แอลกอฮอล
9
ใหหนขู าวในขนาด 500 มลิ ลิกรัม/กิโลกรัม และขนาดทท่ี าํ ใหห นถู บี จักรตายมีคา
ไมเปน พิษตอ ตวั ออ น

มากกวา 2 กรมั /กโิ ลกรมั เม่ือปอ นสารสกัดยาตํารับดวยนํ้าใหหนูถบี จกั รหรือหนูขาว ขนาดทที่ าํ ใหหนู
ตายครึง่ หนึ่งคือ 15 กรัม/กโิ ลกรัม10 เมื่อปอ นยาตํารับใหกระตายในขนาด 0.8 กรมั /กโิ ลกรมั ไมพบพิษ11

เมอ่ื ฉีดสารสกดั เปลอื กอบเชยจนี ดวยแอลกอฮอลเ ขาชอ งทองหนูถีบจักร พบวาขนาดท่ที ําใหห นตู ายเปน

จาํ นวนคร่งึ หนึ่งคือ 1 กรมั /กโิ ลกรมั 12 และการฉดี ยาตํารบั เขาชองทองหนถู บี จักร พบวา ขนาดท่ที ําให
สตั วทดลองตายเปนจํานวนครง่ึ หน่ึงคือ 23.6 กรัม/กิโลกรัม13

6. มีรายงานการศึกษาวิจัยทางคลินิกในประเทศจีนวา เม่ือใหผูปวยโรคบิดชนิดเฉียบพลัน
จํานวน 110 คน รับประทานยาแคปซลู อบเชยจีน 1.2-1.5 กรมั ติดตอ กัน 2 ครัง้ โดยใหห า งกันครัง้ ละ
1 ช่วั โมง หลังจากน้ันใหรบั ประทานอีก 1.2-1.5 กรมั ติดตอ กัน 3 ครัง้ โดยใหห างกนั ครงั้ ละ 2 ชวั่ โมง

พบวา ยาแคปซูลอบเชยจีนสามารถรกั ษาโรคบดิ ชนดิ เฉียบพลนั ไดอยางมนี ัยสําคญั เมื่อเปรยี บเทยี บกบั
กลุมควบคุม8

เอกสารอางองิ

1. The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s Republic of China. Vol.I.
English Edition. Beijing: People’s Medical Publishing House, 2005.

2. ชยันต พิเชียรสุนทร, แมน มาส ชวลติ , วเิ ชยี ร จีรวงศ. คําอธิบายตาํ ราพระโอสถพระนารายณ. พมิ พค รั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
สํานักพิมพอมรนิ ทร, 2548.

3. เยน็ จิตร เตชะดาํ รงสิน. การพัฒนาสมุนไพรแบบบรู ณาการ. กรุงเทพมหานคร: สํานกั งานกิจการโรงพมิ พ องคการทหารผานศึกใน
พระบรมราชูปถมั ภ, 2550.

4. Lei GL, Dun BS. Zhongyao Paozhi Jishu Zhinan. 1st ed. Xi-an: World Library Publishing House, 2002.
5. Liu TS, Pan QP, Zhou YS, Wu ZY. XiuZhen Zhongyaoyinpian Caise Tuben. 1st ed. Hunan: Hunan Science &

Technology Publishing House, 2006.
6. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. คัมภรี เภสัชรัตนโกสนิ ทร. กรุงเทพมหานคร : บรษิ ัท ศลิ ปสยามบรรจภุ ัณฑแ ละการพิมพ จํากัด, 2547.
7. World Health Organization. WHO monographs on selected medicinal plants. Volume 1. Geneva: World Health

Organization, 1999.
8. Qu SY. Cortex Cinnamomi: rou gui. In: Wang BX, Ma JK, Zheng WL, Qu SY, Li R, Li YK (eds.). Modern study of

pharmacology in traditional Chinese medicine. 2nd ed. Tianjin: Tianjin Science & Technology Press, 1999.
9. Yamasaki K, Hokoyama H, Nunoura Y, Umezawa C, Yoneda K. Studies on effect of crude drugs on enzyme

activities. 1. Influence of cinnamon bark upon protein digestive action by pancreatin. Shoyakugaku Zasshi 1982;
36:11-6.
10. Aburada M, Takeda S, Ito E, Nakamura M, Hosoya E. Protective effects of juzentaihoto, dried decoction of 10
Chinese herbs mixture, upon the adverse effects of mitomycin C in mice. J Pharmacobio Dyn 1983; 6(12): 1000-4.
11. Akhtar MS. Hypoglycaemic activities of some indigenous medicinal plants traditionally used as antidiabetic drugs. J
Pak Med Ass 1992; 42(11): 271-7.
12. Woo WS, Lee EB, Han BH. Biological evaluation of Korean medicinal plants. III. Arch Pharm Res 1979; 2: 127-31.
13. Shin KH, Lee EB, Chung MS, Kim OJ, Yoon KY. The acute and subacute toxicities and pharmacological actions of
Gami Ssanghwa Tang preparations. Korean J Pharmacog 1990; 21(2): 179-85.


Click to View FlipBook Version