The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนักเรียน ปีการศึกษา 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chakriya.bd, 2023-05-10 10:26:05

Student Manual book TUP 2023

คู่มือนักเรียน ปีการศึกษา 2566

คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 1 คำนำ หนังสือคู่มือนักเรียน ผู้ปกครองและครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจ ชี้แจง ทำความตกลงกับนักเรียน และผู้ปกครองที่นำบุตรหลานเข้ามาศึกษาในโรงเรียนนี้ ปัจจุบันนี้การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมโรงเรียน ถือเป็นการฝึกให้นักเรียนมี ประสบการณ์ได้ฝึกทักษะ สร้างประสบการณ์และฝึกให้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยฝึกให้อยู่ในกรอบระเบียบของสังคมนั้นๆ ถ้านักเรียนสามารถปฏิบัติตามระเบียบได้ นักเรียนก็จะมีชีวิตที่มีความสุขดำรงตนอยู่ในสังคมได้ตลอดไป คู่มือฉบับนี้ จึงเป็นเสมือนแนวทางแห่งข้อตกลงและเป็นแนวปฏิบัติของ นักเรียนและผู้ปกครอง ตลอดจนครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ที่จะต้องปฏิบัติให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในส่วนของนักเรียนจะได้ทราบแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนตาม ระเบียบของโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง ในส่วนของผู้ปกครองจะได้ทราบประวัติความเป็นมา ของโรงเรียนรวมไปถึงแนวทางการทำงานของโรงเรียนในแต่ละฝ่าย หากท่านผู้ปกครอง มีความประสงค์จะติดต่อประสานงานท่านสามารถทำความเข้าใจในคู่มือฉบับนี้ เพื่อเป็น แนวทางอำนวยความสะดวกแก่ท่านในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี ท้ายที่สุดนี้ดิฉันขอขอบคุณท่านผู้ปกครองที่ให้ความไว้วางใจนำบุตรหลานเข้า มาเรียน ในสถานศึกษาแห่งนี้ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนทุกคน ที่เข้ามาสู่รั้วชมพู – น้ำเงินที่อบอุ่นไปด้วยความรักและความเมตตา ความเอาใจใส่ของครูทุกท่าน ดิฉันหวังว่า คู่มือฉบับนี้จะมีประโยชน์อย่างสูงสุดให้กับนักเรียน ผู้ปกครองและครูเป็นอย่างดี (นางสาวจินตนา ศรีสารคาม) ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 2 สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ 1 ธงชาติไทย 5 ในหลวง รัชกาลที่ 10 6 พระเกี้ยว 7 ในหลวง รัชกาลที่ 9 8 บทสวดนมัสการพระรัตนตรัย 9 คำปฏิญาณตนของนักเรียน 15 ที่มาของสัญลักษณ์พระเกี้ยว 17 เพลงประจำโรงเรียน 18 ประวัติโรงเรียน 19 สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน 22 ผู้มีอุปการะคุณต่อโรงเรียน 23 อดีตผู้บริหารโรงเรียน 24 ผู้อำนวยการโรงเรียน 29 โครงสร้างการบริหารงานโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 30 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 31 ปรัชญาของโรงเรียน / เอกลักษณ์ของโรงเรียน / อัตลักษณ์ของโรงเรียน 32 กลยุทธ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 34 บทบาทและหน้าที่ของนักเรียน 37 บุคลากรโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 38 กลุ่มบริหารงบประมาณ 65 กลุ่มบริหารวิชาการ 76


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 3 สารบัญ เรื่อง หน้า เกณฑ์การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ 87 แนวปฏิบัติในการเรียนซ่อมเสริมฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561 97 ระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ พ.ศ. 2548 99 กลุ่มบริหารงานบุคคล 102 กฎกระทรวง กำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 106 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ พ.ศ.2564 107 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการว่าด้วย 115 คะแนนความประพฤตินักเรียน พ.ศ.2564 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการว่าด้วยการแต่งกาย 126 และทรงผมนักเรียน พ.ศ.2564 ทรงผมนักเรียนชายและนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย 131 เครื่องแบบนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย 132 เครื่องแบบนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย 133 ตัวอย่างแบบฟอร์มคำสัญญาของ ผู้ปกครอง / นักเรียน 134 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการว่าด้วยกิจกรรมคณะสี พ.ศ.2550 135 งานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 141 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการว่าด้วยคณะกรรมการนักเรียน 142 เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ พ.ศ.2557 กลุ่มบริหารทั่วไป 144 - งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 147 - งานโภชนาการและโรงอาหาร 149 - งานอนามัยโรงเรียน 150 - งานโสตทัศนศึกษา 151


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 4 สารบัญ เรื่อง หน้า - งานสื่อสารองค์กร 154 - งานสัมพันธ์ชุมชนและบริการชุมชน 155 หมายเลขโทรศัพท์อัตโนมัติของโรงเรียน 158 แผนที่ตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 161 เพลงที่ใช้ในพิธีการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 162


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 5


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 6 ในหลวง รัชกาลที่ 10 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติ สิริสมบูรณ์อดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าคณะครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 7


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 8 ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าคณะครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 9 บทสวดนมัสการพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา........ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ....... ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบลง 1 หน) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม....... พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว ธัมมัง นะมัสสามิ........ ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบลง 1 หน) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ...... พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว สังฆัง นะมามิ....... ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบลง 1 หน) บทแผ่เมตตา สวดพร้อมคำแปล สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งหมด ทั้งสิ้น อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย อัพพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหมดทั้งสิ้น เทอญ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 10 บทสวดมนต์สุดสัปดาห์ การสวดมนต์สุดสัปดาห์ให้ใช้บทสวดบูชาพระรัตนตรัย ด้วยบทสวดต่อไปนี้ 1. บทสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถาเทวมนุสฺสานํ พุทโธ ภควาติ (คำอ่าน) (นำ) อิติปิโส ภะคะวา (รับพร้อมกัน) อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัม ปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะ นุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ. (คำแปล) พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาคือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษ หาผู้ เปรียบเทียบมิได้ และเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทรงเป็นผู้โชคดี ตื่นอยู่ตลอดเวลา คำสวดทำนองสรภัญญะ (ระลึกถึงพระพุทธคุณ) (หัวหน้านำ) องค์ใดพระสัมพุทธ (รับพร้อมกัน) สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลกิเลสมาร บ มิหม่นมิหมองบัว หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคีบ่พันพัว สุวคนธกำจร องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร โปรดหมู่ประชากร มละโอฆะกันดาร ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมศานต์ ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย พร้อมเบญจพิทธจัก- ษุจรัสวิมลใส เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ ข้าขอประณตน้อม ศิระเกล้าบังคมคุณ สัมพุทธการุณ- ยภาพนั้นนิรันตร (กราบ)


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 11 2.บทสวดระลึกถึงพระธรรมคุณ สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปัจจัตฺตํ เวทิตพฺโพวิญญูหิติ (คำอ่าน) (นำ) สะหวากขาโต (รับพร้อมกัน) ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ (คำแปล) พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม สามารถเห็น คุณประโยชน์ด้วย ตนเองได้จริง การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ต้องเลือกเวลา จะปฏิบัติ เวลาใดก็ได้ เชิญชวนผู้อื่นให้มาพิสูจน์ ได้ควรน้อมเข้าไปหาวิญญูชนทั้งหลายสามารถรู้ได้ เฉพาะตนเท่านั้น คำสวดทำนองสรภัญญะ (ระลึกถึงพระธรรมคุณ) (หัวหน้านำ) ธรรมะคือคุณากร (รับพร้อมกัน) ส่วนชอบสาคร ดุจดวงประทีปชัชวาลย์ แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน สว่างกระจ่างใจมล ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล และเก้ากับทั้งนฤพาน สมญาโลกอุดรพิสดาร อันลึกโอพาร พิสุทธิ์พิเศษสุกใส อีกธรรมต้นทางครรไล นามขนานขานไข ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง คือทางดำเนินดุจคลอง ให้ล่วงลุปอง ยังโลกอุดรโดยตรง ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนง ด้วยจิตและกายวาจา (กราบ) 3.บทสวดระลึกถึงพระสังฆคุณ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุซุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโนภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโตสาวกสงฺโฆ ยทิทํจตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐ ปุริสปุคฺคลา เอ ส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตฺตํ โลกัสฺสาติ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 12 (คำอ่าน) (นำ) สุปะฏิปันโน (รับพร้อมกัน) ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัต ตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (คำแปล) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อรู้ทุกข์และทางพ้นทุกข์ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติชอบ จัดเป็นบุคคลสี่คู่ เป็นบุคคลแปด เป็นผู้ควรแก่การเคารพบูชากราบไหว้เป็นผู้ควร แก่การกราบไหว้และเป็นเนื้อนาบุญของโลกหาบุญอื่นมาเปรียบมิได้ คำสวดทำนองสรภัญญะ (ระลึกถึงพระสังฆคุณ) (หัวหน้านำ) สงฆ์ใดสาวกศาสดา (รับพร้อมกัน) รับปฏิบัติมา แต่องค์สมเด็จภควันต์ เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร- ลุทางที่อัน ระงับและดับทุกข์ภัย โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร ปัญญาผ่องใส สะอาดและปราศมัวหมอง เหินห่างทางข้าศึกปอง บ มิลำพอง ด้วยกายและวาจาใจ เป็นเนื้อนาบุญอันไพศาลแต่โลกัย และเกิดพิบูลย์พูนผล สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์ เอนกจะนับเหลือตรา ข้าขอนบหมู่พระศราพกทรงคุณา นุคุณประดุจรำพัน ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน อุดมดิเรกนิรัติศัย จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใด ใด จงดับและกลับเสื่อมสูญ (กราบ)


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 13 4. บทสวดชยสิทธิหรือบทพาหุง พาหํ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ ครีเมขลํ อุทิตโฆรสเสนมารํ ทานาทิธมฺมวิธินา ชิตวา มุนินฺโทตนฺตชสา ภวตุเต ชยสิทฺธิ นิจฺจํ (คำอ่าน) (นำ) พาหุง (รับพร้อมกัน) สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเม ขะลัง อุทิตโฆรสเสนมารัง ทานาทิธัมฺมะวิธินา ชิตวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะสิทธิ นิจจัง (คำแปล) สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมปราชญ์ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนามาร สามารถเนรมิตแขนได้พันแขน มีมือถืออาวุธครบทั้งพันมือขี่ช้างชื่อคีรีเมลข์ ส่งเสียงร้องดังกึกก้องน่าสะพรึงกลัว แต่ด้วยบารมีธรรมต่างๆ มีทานบารมีเป็นต้น พระองค์ก็สามารถเอาชนะหมู่มารได้ด้วยเดชอำนาจของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านตลอดกาลเป็นนิจเทอญ บทสวดชัยสิทธิคาถา ทำนองสรภัญญะ (นำ) ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุท- (รับพร้อมกัน) ธวิสุทธะศาสดา ตรัสรู้อะนุตตะระสมา- ธิ ณ โพธิบัลลังก์ ขุนมารสะหัสสะพะหุพา- หุวิชชาวิชิตฃลัง ขี่คีรีเมขะละประทัง คะชะเหี้ยมกระเหิมหาญ แสร้งเสกสราวุธะประดิษฐ์ กาละคิดจะรอนราญ คุมพลพหลพะยุหะปาน พระสมุทรทะนองมา หวังเพื่อผจญวะระมุนิน- ทะสุชินนะราชา พระปราบพะหลพะยุหะมา- ระมะเลืองมลายสูญ ด้วยเดชะองค์พระทศพล สุวิมลละไพบูลย์ ทานาทิธัมมะวิธิกูล ชะนะน้อมมะโนตาม ด้วยเดชะสัจจะ วะนา และนะมามิองค์สาม ขอจงนิกรพะละสยาม ชะยะสิทธิทุกการ ถึงแม้จะมีอริวิเศษ พะละเดชะเทียมมาร ขอไทยผจญพิชิตตะผลาญ อริแม้นมุนินทรฯ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 14 5. บทสวดเคารพคุณบิดามารดา (คำสวด) (นำ) อะนันตะคุณะสัมปันนา (รับพร้อมกัน) ชะเนตติชะนะกา อุโภ มัยหัง มาตาปิตูมังวะ ปาเท วันทามิ สาทะรัง. (คำแปล) บิดามารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมอันหาที่เปรียบมิได้ ข้าพเจ้า ขอกราบไหว้เท้าทั้งสอง ของบิดามารดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูง คำสวดทำนองสรภัญญะ (นำ) ข้าขอนบชนกคุณ (รับพร้อมกัน) ชนนีเป็นเค้ามูล ผู้กอบนุกูลพูน ผดุงจวบเจริญวัย ฟูมฟักทนุถนอม บ่ บำราศนิราศไกล แสนยากเท่าไรไร บ่ คิดยากลำบากกาย ตรากทนระคนทุกข์ ถนอมเลี้ยงฤๅรู้วาย ปกป้องซึ่งอันตราย จนได้รอดเป็นกายา เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็บ่เทียบบ่เทียมทัน เหลือที่จะแทนทด จะสนองคุณานันต์ แท้บูชาไนยอัน อุดมเลิศประเสริฐคุณฯ (กราบ) 6. บทสวดสัจจคาถา นตฺถิเม สรณํ อญญํ พุทโธ เม สรณํ วรํ เอเตน สจจวชฺเชน โหตุ เม ชยมงฺคลํ นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ธมฺโม เมสรณํ วรํ เอเตน สจฺจวชฺเชน โหตุ เม ชยมงฺคลํนตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ เอเตนสจฺจวชุเชน โหตุ เม ชยมงฺคลํ (คำอ่าน) นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 15 7. คำแผ่เมตตา เมื่อสวดมนต์ไหว้พระประจำวันก่อนนอนจบแล้ว ให้สวดมนต์แผ่เมตตา ดังนี้ สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ อนีฆา โหนฺตุ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ (คำอ่านและคำแปล) สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ทั้งสิ้น อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อัพพะยาปัชฌา โหนตุจงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหมด ทั้งสิ้น เทอญ คำปฏิญาณตนของนักเรียน พวกเราเป็นไทย อยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะเรามีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ซึ่งบรรพบุรุษของเรา ได้เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิต และความลำบาก ยากเข็ญเข้าแลกไว้ เราต้องสละชีพเพื่อชาติ เราต้องบำรุงศาสนา เราต้องรักษาพระมหากษัตริย์ เรานักเรียนจักต้องประพฤติตน ให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เรานักเรียนจักต้องไม่กระทำตนให้เป็นที่เดือดร้อน แก่ตนเองและผู้อื่น


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 16 ที่ รล. 0002/1652 สำนักราชเลขาธิการ 17 กรกฏาคม 2521 เรื่อง พระราขทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2 เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2 อ้างถึง หนังสือที่ ศธ. 0811/906 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2521 ตามที่ท่านขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาเรื่องกระทรวงศึกษาธิการ เปิด โรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญในท้องที่ตำบลสวนหลวง เขตพระโขนง กรุงเทพ ให้ชื่อว่า “โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา 2” นับตั้งแต่ต้นปีการศึกษา 2521 เป็นต้นไป โรงเรียนนี้เป็นสาขาของโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาฯลฯ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อนุมัติให้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาใช้ ตราพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียนโดยอัตโนมัติมิได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต อีก ต่อมา เมื่อโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาย้ายไปสังกัดกรมสามัญศึกษาก็ได้ใช้ตราพระเกี้ยวเป็นตรา ประจำโรงเรียนตลอดมา เช่น นักเรียนใช้เข็มพระเกี้ยวปักที่หน้าอกแทนอักษรย่อนามโรงเรียน เป็นต้น เมื่อโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2 เป็นสาขาของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโดยตรง ในกรณีนี้ จึงใคร่ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2 ได้ใช้ตรา พระเกี้ยวประจำโรงเรียนด้วย ความละเอียดแจ้งอยู่แล้วนั้น ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณากราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระราชทาน พระบรมราชานุญาตตามที่ขอพระราชทานพระมหากรุณา (ลงนาม) หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ (หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์) ราชเลขาธิการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 17 ที่มาของสัญลักษณ์พระเกี้ยว พระเกี้ยว เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรส พระราช ธิดาของพระมหากษัตริย์ คำว่า พระเกี้ยว ถ้าเป็นคำนามแปลว่า เครื่องประดับศีรษะหรือ เครื่องสวมจุก ถ้าเป็นคำกริยา แปลว่า ผูกรัดหรือพัน พระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ที่ชาว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภูมิใจ ทั้งนี้สืบเนื่องจากชื่อของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ในสมเด็จ พระปิยมหาราชซึ่งได้พระราชทาน กำเนิดมหาวิทยาลัยนี้ “จุฬาลงกรณ์” แปลว่า เครื่องประดับศีรษะหรือจุลมงกุฎ จุลมงกุฎมีความหมายสำคัญยิ่งคือ เกี่ยวโยงถึง พระนามาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระเจ้า ลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ จึงมีความหมายว่าจุลมงกุฎ หรือพระราชโอรสของสมเด็จฯเจ้าฟ้ามงกุฎฯยิ่งกว่านั้นยังมีความเกี่ยวกันถึง พระปรมาภิไธย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งหมายความว่า “พระจอมเกล้าน้อย” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้ พระเกี้ยว เป็นพิจิตรเรขา (สัญลักษณ์) ประจำรัชกาลของพระองค์เมื่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการ พลเรือน หรือต่อมาได้รับพระราชทาน ชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก จึงทรงโปรดเกล้า พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของนักเรียน มหาดเล็ก ต่อมา เมื่อโรงเรียนมหาดเล็กกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตตามที่กราบบังคม ทูลขอพระราชทานเมื่อโรงเรียนมหาดเล็กได้วิวัฒน์ขึ้นเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯและ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารก็ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนข้อความ ใต้พระเกี้ยวตามชื่อ ซึ่งได้พระราชทานใหม่ตลอดมา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ ตราพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล. 0002/1652 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2521 เป็นต้นมา


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 18 เพลงประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ มาร์ชเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ คำร้อง ทำนอง อ.อร่าม ขาวสะอาด ธงพระเกี้ยวชมพูพลิ้วดูงามสง่า เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ * สถาบันการศึกษาเยาวชน พวกเราเริ่มต้นด้วยการรักเรียน รวมกันมั่นคงในความพากพียร ผลลัพธ์หมุนเวียนกลับมาถึงตน เพื่อสังคม เพื่อชาติไทย สามัคคีมีไว้ ผลดียิ่งใหญ่เลิศล้น ชมพูโบกสะบัดพระเกี้ยวเด่นชัดทุกๆคน สถาบันเริ่มต้นเด่นดี... (ซ้ำ *) (พร้อมกัน)...พระเกี้ยวชมพู คู่เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ** ดั่งสายโลหิตเดียว ยึดเหนี่ยวด้วยพระเกี้ยวชมพูสดสี ผูกมิตรไมตรี ศักดิ์ศรีน้องพี่ สมัครสมาน เราต้อง มองไกล เพื่อไทยในอนาคตกาล เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ให้เจริญสุขศานต์ตลอดไป... (ซ้ำ**)


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 19 ประวัติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ที่ตั้ง เลขที่ 499 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10250 โทรศัพท์ 0-2722-7970-6 โทรสาร 0-2321-3888 ประวัติการก่อตั้งและพัฒนาโรงเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ได้รับการประกาศตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 มีชื่อเดิมว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2 เพื่อให้เป็นสาขา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ทั้งนี้ คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู อดีตผู้อำนวยการโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาได้ขอที่ดินจากท่านเจ้าสัวอื้อจือเหลียง ซึ่งต่อมานายยอดยิ่ง เอื้อวัฒนสกุล บุตรชาย ได้เป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินจำนวน 38 ไร่ ให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2 เมื่อคุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชูไปดำรงตำแหน่ง รอง อธิบดีกรมสามัญศึกษา คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา ท่านได้ดำเนินการจัดตั้งสาขาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น รวมทั้งได้วางแผน และขออนุมัติก่อสร้างอาคารต่างๆ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เริ่มรับนักเรียนชั้น ม.1 จำนวน 12 ห้องเรียนใน ปีการศึกษา 2521 โดยอาศัยเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปีต่อมาจึงได้ย้ายมาเรียนใน สถานที่ปัจจุบัน ในปีเดียวกันนี้(9 พฤศจิกายน 2522)กรมสามัญศึกษาได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2 เป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ และได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน เช่นเดียวกับ โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา และมีปรัชญาของโรงเรียนคือ “ความเป็นเลิศทางวิชาการ และคุณธรรม”


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 20 นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนมีผู้บริหาร 14 คน ตามลำดับดังนี้ 1. คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2 (17 พ.ค.- 1 ต.ค. 2522) ท่านดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติก่อนเกษียณอายุราชการ 2. นายอุดม วัชรสกุณี ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มา รักษาการในตำแหน่ง ครูใหญ่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2 ต่อจากคุณหญิงสุชาดา ถิรวัฒน์ ท่านดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสามัญ ศึกษาก่อนเกษียณอายุราชการ 3. คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิต ผู้อำนวยการโรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ มา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการต่อจากนายอุดม วัชรสกุณี ท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจนเกษียณอายุราชการ 4. นางลัดดา ตระหง่าน ผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยานุกูลนารี จังหวัดเพชรบูรณ์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการต่อจากคุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิต ท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 9 โรงเรียนสตรีวิทยาจน เกษียณอายุราชการ 5. นางวิเชียร สามารถ ผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 9 จากโรงเรียนศรีอยุธยามา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการต่อจากนางลัดดา ตระหง่าน จนเกษียณอายุราชการ 6. นางเพ็ญศรี ไพรินทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 9 จากโรงเรียนศรีอยุธยา มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการต่อจากนางวิเชียร สามารถ จนเกษียณอายุราชการ 7. นางลัดดา พร้อมมูล ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 9 จากโรงเรียนเบญจมราชา ลัย มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการต่อจากนางเพ็ญศรี ไพรินทร์และย้ายไปดำรง ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย จนเกษียณอายุ ราชการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 21 8. นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 9 จากโรงเรียน สุรศักดิ์มนตรีมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการต่อจาก นางลัดดา พร้อมมูล และย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย 9. นางอ่องจิต เมธยะประภาส ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 9 จากโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาศึกษา พัฒนาการต่อจาก นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์และย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้าน นโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 10. นายอุดม พรมพันธ์ใจ ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะผู้อำนวยการ เชี่ยวชาญ จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียม อุดมศึกษาพัฒนาการ และย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักมัธยมศึกษาตอนปลาย 11. นายภักดี คงดำ ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จากโรงเรียนเทพลีลา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จนเกษียณอายุราชการ 12. นายธีระพงศ์ นิยมทอง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จนเกษียณอายุราชการ 13. นางวรรณดี นาคสุขปาน ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จากโรงเรียนสายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการ และย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา 14. นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จนเกษียณอายุราชการ 15. นางสาวจินตนา ศรีสารคาม ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ จากโรงเรียนวชิรธรรมสาธิต ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดม ศึกษาพัฒนาการ จนถึงปัจจุบัน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 22


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 23 ผู้มีอุปการะคุณต่อโรงเรียน ท่านอื้อจือเหลียง ผู้มอบที่ดินให้สร้างโรงเรียน คุณยอดยิ่ง เอื้อวัฒนสกุล บุตรนายอื้อจือเหลียง ผู้มีอุปการะคุณต่อโรงเรียน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 24 อดีตผู้บริหารโรงเรียน คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ผู้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงเรียน ผู้มีอุปการะคุณต่อโรงเรียน และเป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก (พ.ศ.๒๕๑๙ - ๒๕๒๒)


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 25 นายอุดม วัชรสกุณี ครูใหญ่ – อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ ๙ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๒ - ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิต ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ ๙ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ - ๒๕๓๒ นางลัดดา ตระหง่าน ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ ๙ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๒ - ๒๕ ตุลาคม ๒๕๓๖ นางวิเชียร สามารถ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ ๙ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๓๖ - ๓๐ กันยายน ๒๕๓๘


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 26 นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ ๙ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๔ - ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ นางอ่องจิต เมธยะประภาส ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ ๙ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ - ๘ ตุลาคม ๒๕๕๑ นางเพ็ญศรี ไพรินทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ ๙ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ - ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๒ นางลัดดา พร้อมมูล ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ ๙ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ - ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๔


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 27 นายอุดม พรมพันธ์ใจ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ - ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นายภักดี คงดำ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ นายธีระพงศ์ นิยมทอง ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ นางวรรณดี นาคสุขปาน ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ – ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 28 นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 29 นางสาวจินตนา ศรีสารคาม ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ถึง ปัจจุบัน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 30


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 31 รายชื่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 1. นายปรีชา จิตรสิงห์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานกรรมการ 2. ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ 3. นายอำนาจ อัปษร ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ 4. นายจักรวี วิสุทธิผล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ 5. นายบัญชา เหล่าอุดมกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ 6. ผศ.ดร.สุกัญญา แช่มช้อย ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ 7. นายธีระพงศ์ นิยมทอง ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ 8. นายอภิเชษฐ์ งามสง่า ผู้แทนผู้ปกครอง กรรมการ 9. นางอลิสา สิงห์เจริญ ผู้แทนครู กรรมการ 10. นายธนวัฒน์ ปัญญาสกุลวงศ์ ผู้แทนศิษย์เก่า กรรมการ 11. นายวีรกิตติ์ อภิโชควัชรศักดิ์ ผู้แทนองค์กร กรรมการ 12. นายสมานมิตร แยงไธสง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ 13. พระครูวรกิจจาทร ผู้แทนองค์กรศาสนา กรรมการ 14. นายวิทวัส ตะวันธรงค์ ผู้แทนองค์กรศาสนา กรรมการ 15. นางสาวจินตนา ศรีสารคาม ผู้อำนวยการ กรรมการและ เลขานุการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 32 ปรัชญาของโรงเรียน “ความเป็นเลิศทางวิชาการ และคุณธรรม” School’s Philosophy: “Academic and Ethical Excellence" เอกลักษณ์ของโรงเรียน “สถานศึกษาที่พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม” School’s Identity: “Cultivating Students’ Academic and Ethical Excellence" อัตลักษณ์ของนักเรียน “ซื่อสัตย์ กตัญญู ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เพียรก้าวทันเทคโนโลยี” Students’ Identity: “TUP students are fully equipped with integrity, gratitude, Inquisitiveness and they also perseveringly keep pace with technology” วิสัยทัศน์ของโรงเรียน “มุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสู่มาตรฐานสากล มีคุณลักษณะเป็นพลโลก และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” School’s Vision: “To Promote and Develop Learners to Live in Harmony and Also to Be Able to Reach the International Standards with World Class Character"


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 33 พันธกิจ 1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสูงขึ้นสู่มาตรฐานสากล ให้รู้จักการค้นคว้าเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม ยึดในหลักประชาธิปไตย มีคุณลักษณะเป็นพลโลก ภายใต้พหุวัฒนธรรมบนพื้นฐานอันดีงามของความเป็นไทย 3. บริการการศึกษาแก่นักเรียนในเขตพื้นที่บริการอย่างทั่วถึง 4. สนับสนุนผู้บริหารให้มีความสามารถในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ 5. พัฒนาครูให้มีองค์ความรู้ และมีสมรรถนะสูง มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 6. พัฒนาระบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสร้างความเข้มแข็งด้วยระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ 7. จัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม และสร้างเครือข่ายกลุ่มร่วมพัฒนา เป้าประสงค์ 1. นักเรียนเป็นคนดี มีความสุข และเก่งตามมาตรฐานสากล 2. นักเรียนมีคุณลักษณะเป็นพลโลก 3. ครูได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสูงขึ้น มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ 4. โรงเรียนมีระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ 5. โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา 6. โรงเรียนบริหารงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และเอื้อต่อสังคม


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 34 กลยุทธ์ของโรงเรียน กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและสมรรถนะผู้เรียนให้สูงขึ้น สู่มาตรฐานสากล กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคุณธรรมนำความรู้ ส่งเสริมคุณลักษณะเป็นพลโลกภายใต้วิถีชีวิต ประชาธิปไตย และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตสาธารณะ และมีภูมิคุ้มกันตัวเอง ดำรงอยู่ภายใต้พหุวัฒนธรรม กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการขยายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้ทั่วถึง กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหารให้มีคุณภาพ ส่งเสริมครูให้มีองค์ความรู้และสมรรถนะใน การสอนตลอดจน มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ กลยุทธ์ที่ 5 เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษา ส่งเสริมแนวร่วมการกำกับดูแล การจัดการศึกษา และสร้างเครือข่ายกลุ่มร่วมพัฒนา SCHOOL AGENDA SCHOOL AGENDA “การก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางการศึกษา” AGENDA กลุ่มบริหาร กลุ่มบริหารวิชาการ “ส่งเสริมนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ และยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน” กลุ่มบริหารงบประมาณ “ส่งเสริมให้ผู้เรียน รู้จักการประหยัดและการออม” กลุ่มบริหารงานบุคคล “พัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม กตัญญู มีจิตสาธารณะ และเสียสละเพื่อส่วนรวม” กลุ่มบริหารทั่วไป “พัฒนานักเรียนให้ดูแลสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงาน” กลุ่มงานนโยบายและแผน “ขับเคลื่อนกลยุทธ์สถานศึกษามาตรฐานสากล”


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 35 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โรงเรียนมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะความสามารถในการดำรงตนอยู่ใน สังคมอย่างมีความสุข โดยมีสมรรถนะสำคัญ ดังนี้ 1) ความสามารถในการสื่อสาร ( Communication Capacity) 2) ความสามารถในทางคิด (Thinking Capacity) 3) ความสามารถในทางแก้ปัญหา (Problem – Solving Capacity) 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต (Capacity for Applying Life skills) 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (Capacity for Technological Application) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ประพฤติดี มีความรู้ เป็นพลโลกที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล โดยได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้ 1) รักชาติศาสน์ กษัตริย์มีสติ รู้คิด มีความเข้มแข็งทั้งกายใจ รู้ละอายและเกรงกลัว ต่อบาป 2) ซื่อสัตย์สุจริต มีศีลธรรมและความอดทน 3) มีวินัย เคารพผู้ใหญ่ และเคารพกฎหมาย 4) ใฝ่หาความรู้ เข้าใจความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5) ปฏิบัติตนตามพระราชดำรัสอยู่อย่างพอเพียง ดำรงตนด้วยความไม่ประมาทใช้ชีวิต อย่างสมดุล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน 6) มุ่งมั่นในการทำงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวมมากกว่า ตนเอง 7) รักความเป็นไทย ส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม 8) มีจิตสาธารณะ หวังดีต่อผู้อื่น รู้จักการแบ่งปัน และเสียสละเพื่อส่วนรวม 9) มีความกตัญญูต่อพ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้มีพระคุณ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 36 คุณลักษณะ และศักยภาพผู้เรียนที่เป็นสากล 1) ความรู้พื้นฐานในยุคดิจิทัล 2) ความสามารถคิดประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ 3) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จุดเน้น 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระวิชาหลัก เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 3 2) นักเรียน มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และคิดอย่างเป็นระบบ 3) เพิ่มศักยภาพนักเรียนในด้านภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ทุกคน เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในระดับประเทศและสากล 4) นักเรียนทุกคนทุกคนมีความเป็นไทย มีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม มีความสำนึกศรัทธา และยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5) นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ยึดในหลักประชาธิปไตย มีความ พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมพหุวัฒนธรรม 6) สร้างโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนทุกคนในเขตพื้นที่บริการ เข้าเรียนต่อระดับ มัธยมศึกษาอย่างทั่วถึง 7) มีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง 8) ส่งเสริมให้ครู และทุกหน่วยงานมี Best Practice มีความสามารถในการจัดการ ความรู้ 9) สร้างความสัมพันธ์อันดี และพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเครือข่ายทุกกลุ่ม ให้เข็มแข็ง


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 37 บทบาทและหน้าที่ของนักเรียน (Student Code of Conduct) 1. ประพฤติและปฏิบัติตนตามระเบียบของโรงเรียน 1.1 นักเรียนอยู่ในกฎและระเบียบของโรงเรียน 1.2 นักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ในการอยู่ในกฎระเบียบของโรงเรียน และสนับสนุน การประพฤติปฏิบัติตามหน้าที่ของนักเรียน 1.3 นักเรียนเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น 1.4 นักเรียนมีความรักใคร่สามัคคีในหมู่คณะ 2. ให้ความสำคัญในการพัฒนาจิตใจให้เป็นผู้มีจริยธรรมและค่านิยมที่ดีงาม 2.1 นักเรียนให้ความสำคัญในการรู้จักตนเอง พัฒนาด้านคุณธรรมในการดำเนินชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2.2 นักเรียนเอาใจใส่ในการฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและมีจิตสาธารณะ 2.3 นักเรียนมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อสร้างสรรค์ และพัฒนาให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 3. ให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือกับกิจกรรมการเรียนการสอน 3.1 นักเรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาหาความรู้ 3.2 นักเรียนทำงานและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ 3.3 นักเรียนหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความรู้ให้สูงขึ้น 4. ให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือกับอาจารย์ที่ปรึกษา 4.1 นักเรียนแต่ละห้องร่วมกันสร้างข้อตกลงและระเบียบวินัยของห้องเรียนเพื่อใช้ใน การปกครองดูแลกันเอง 4.2 นักเรียนร่วมกันเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมโดยวิธีการทางประชาธิปไตยให้เป็นหัวหน้าห้อง เป็นกรรมการห้อง หรือผู้แทนห้องไปร่วมกิจกรรมกับโรงเรียน 4.3 นักเรียนให้ความร่วมมือกับครูที่ปรึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ 5. มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการนักเรียนและกิจกรรมของนักเรียน 5.1 มีโอกาสสมัครเพื่อรับการเลือกตั้งเป็นประธานนักเรียน หัวหน้าคณะหัวหน้าระดับชั้น คณะกรรมการนักเรียนในตำแหน่งต่างๆ 5.2 นักเรียนมีโอกาสในการร่วมพัฒนาโรงเรียนโดยการเสนอโครงการ การดำเนินการและ ร่วมกิจกรรมของโรงเรียนทุกครั้ง


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 38 ผู้บริหารโรงเรียน นางสาวจินตนา ศรีสารคาม ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นางสาวสายพิณ พุทธิสาร รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป นางสาวกมลทิพย์ สุรสินธุ์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ นางสาวภรณ์กมนส์ ดวงสุวรรณ์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล นางอรทัย พรโกศลสิริเลิศ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 39 นางสาวพฤษภา บุญสุข หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/13 นายภาณุมาศ หมุนเกตุ หัวหน้าคณะเทิดกษัตริย์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/6 นางสาวจุฑาทิพย์ แซ่กี้ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/3 นายปกรกาญจน์ ลานรอบ รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่ม บริหารงานบุคคล หัวหน้างานรักษาดินแดน หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/4 นางสาวปิยะพร ศรีเจริญ รองฯหัวหน้ากลุ่มสาระฯ หัวหน้าคณะใฝ่คุณธรรม ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/14 นางสาวกาญจนา นาถวิทยาคุณ หัวหน้างานตรวจสอบภายใน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/20 นางสาวเพ็ญประภา พุฒซ้อน หัวหน้างานสื่อสารองค์กร ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/14 นางธิดารัตน์ ทองตะโก หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นางสาวธิษณาวดี ดิษฐวิเศษ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/18


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 40 นางสาวรัชนานาฎ วราฤทธิชัย ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/11 นายวรเดช สังปริเมนต์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/10 นายจิตรภาณุ พชรปกรณ์พงศ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/5 นางสาวภาวิณีย์ เสมอภาค นายชิงชัย เตียเจริญ หัวหน้างานพัฒนาบุคลากร ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/2 นายธีรพล เรืองทองดี หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/10 นายวุฒิชัย ศรีจรูญ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/13


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 41 นางสาวณราวดี เสือพริก ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป หัวหน้าสำนักงานกลุ่มบริหารทั่วไป ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/17 นางชยารัตน์ โพธิ์พุทธภูมิ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/7 นายวีระวัช รัตนบุรี ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/10 นางอลิสา สิงห์เจริญ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/1 นางสาวอุดมพร พรมมา หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หัวหน้างานสวัสดิการโรงเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นางสาวมยุรา ทิทา รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ หัวหน้างานนิเทศการศึกษา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/7 นายวรรณธวัช ศรีโกมลศิลป์ หัวหน้างานเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศนักเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/2 นายประมวล แสงสิทธิ์ธีรกุล ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล หัวหน้างานส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/2 นางอารีย์ สุวรรณพงษ์ รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/1


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 42 นางสาวนิสารัตน์ ไชยชนะ หัวหน้างานสำนักงานผู้อำนวยการ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/7 นางสาวธนิกา ณรสุทธิภัทร ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/2 นางสาวพิยดา สุทธิจุฑามณี ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/4 นางนิติยา ก่อเกียรติสิริ หัวหน้างานจัดระบบควบคุมภายใน หัวหน้างานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/3 นางสาววิลัย นัยเนตร ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/12 นางสาวกนกกาญจน์ เซี่ยงจง หัวหน้างานการอ่านคิดวิเคราะห์/คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/8 นางสาวดวงดี จานลาน หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/8 นางสาวพิมพิไล แถลงธรรม ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/2 นางชิษฐา เหลืองทอง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/4


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 43 นางญาติมา โล่อธิกุลธนันต์ หัวหน้างานสำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/14 นางสาวภัทรภร ขันแข็ง หัวหน้างานพัฒนาวิชาการโรงเรียนในเครือ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/1 นางสาวอัญชนา คำน้อย ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/7 นายพัลลภ เต่าให้ หัวหน้างานระบบสาธารณูปโภค (เครื่องปรับอากาศ)/งานบริหารจัดการอาคาร ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/11 นายเศรษฐ์โสรช ชื่นอารมย์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/5 นายศรัณพงษ์ เทศเวช หัวหน้างานตารางสอน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/5 นางสาวภรภัทร ไทยภักดี ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/15 นายไกรวิทย์ ธรรมโชติ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/10 นางช่อผกา วงศ์เฉลียว ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/12


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 44 นางสาวรัตติกร จิตปรีดา หัวหน้างานตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/13 นางสาวธณัฐกรณ์ แก่นแก้ว ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/13 นางสาวประคอง ยิ่งจอหอ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/15 นางธิดารัตน์ นิยมถิ่น ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/10 นางสาวผกากรอง ธนศรีสถิตย์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/7 นางสาวณัชชา ปัสสามั่น ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/12 นางสาวสุภัสสร นาถมทอง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/15


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 45 นายกีรติ โกบุตร หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/2 นางสาวอัฉรา แสงศรี หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/2 นางสุนีย์ อดุลพงศ์พันธุ์ หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/19 นางศิริพร เนาว์รุ่งโรจน์ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/5 นางพิศสมัย บุญสวัสดิ์ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล หัวหน้างานสำนักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/1 นางธันยธร ตวงวาสนา หัวหน้างานหลักสูตร ITP/หัวหน้างาน ศูนย์คอมพิวเตอร์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/12 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางสาวศิริพร มณีขาว หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/2 นายรักพันธุ์ เทพปัน รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้างานวัดและประเมินผล ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/10 นางสาวกันตพัฒน์ ภัทรประสิทธิ์ผล รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/3


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 46 นางสาวสุวรรณา รักเสนาะ หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/9 นางสาวชลิดา สิงคิรัตน์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/5 นายอภิวัฒน์ ขุนสูงเนิน หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/8 นางสาวกนกวรรณ มะลิลา หัวหน้างานสภานักเรียนและส่งเสริม ประชาธิปไตย/งานหนังสืออนุสรณ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/5 นางสาววิสาร์ สาลีรูป หัวหน้างานจัดตั้ง เสนอขอ และจัดสรรงบประมาณ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/1 นางสาวฐิตินันท์ กัณหะวงศ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/9 นางสาวพรพิมล ราชนิยม ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/5 นายสุวัฒน์ ตามสันเทียะ หัวหน้าคณะรักชาติ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/11 นายภาวัต โชติสุภาพณ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล งานคณะสี ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/7


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 47 นางสาวกมลวดี เจริญกุล หัวหน้างานหลักสูตรสถานศึกษา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/10 นายภานุเดช ค้าขาย หัวหน้างานบุคลากร ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/8 ว่าที่ ร.ต.ชัยศาสตร์ คเชนทร์สุวรรณ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ หัวหน้างานวิเคราะห์และจัดทำแผนของสถานศึกษา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/1 นางสาวณัฏฐ์ทิตา สิริธราเมธีกุล ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/13 นางสาวปาริชาต จันทร์วิบูลย์ หัวหน้างานโครงการพิเศษ “ธนาคารโรงเรียน” ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/16 นางสาวภัทรวรรณ มากโภคา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/14 นางสาวปริปุณณา อุดมโชค หัวหน้างานกลุ่มงานนโยบายและแผน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/6 นางสาวสวรา วรขันธ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/12 นายวีระชัย อัฐนาค ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/6


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 48 นางสาววริยา ลีนุรัตน์ หัวหน้างานคณะกรรมการารศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/9 นายสุขสวัสดิ์ รัตนบุรี หัวหน้างานโรงเรียนในสหวิทยาเขต นวศิรินครินทร์ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/12 นางสาวกาญจนา วงษ์เจริญ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/8 นางสาวพรนิภา ฤทธิ์ผักแว่น ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/9 นางสาวฮุสนา เจะบือราเฮง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/4 นายกิตติพงษ์ จงกิตติมหา หัวหน้างานพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/7 นายชัยชนะ วิวัฒนรัตนบุตร ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/1 นางอำพรพรรณ นกเที่ยง หัวหน้างานโครงการพิเศษกลุ่มงานนโยบาย และแผน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/7 นายจักรพงศ์ หมื่นแก้ว หัวหน้างานโครงการพิเศษ กลุ่มบริหารงานบุคคล ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/6


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 49 นายสิทธิพรหม วินัยธรรม ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/9 นายณัชภัค บุญเติมนิติกุล หัวหน้างานพัฒนาสื่อและนวัตกรรม ทางการศึกษา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/5 นายภูวดล นุ่นเกลี้ยง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/9 นางสุพรรณี ศิริโชติ นายอัษฎางเดช คงชงโค นายชยุตม์ กมลเดชเดชา หัวหน้างานออกแบบและพัฒนาเว็ปไซต์โรงเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/7 นางสาวพิยดา สอนเสนา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/4


Click to View FlipBook Version