The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนักเรียน ปีการศึกษา 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chakriya.bd, 2023-05-10 10:26:05

Student Manual book TUP 2023

คู่มือนักเรียน ปีการศึกษา 2566

คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 50 นางสาวจุฑารัตน์ วงศ์ชมพู หัวหน้างานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ฯ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/4 นายณัฐวัฒน์ จริงสันเทียะ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/4 นางสิริกร นามนวด ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/18 นายกฤษณะ โสนามัย หัวหน้างานธรรมศึกษา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/13 นายปิยวัชร์ สุทธิวนิช ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/1 นางสาวภัทรศยา ว่องไว หัวหน้างานบริการทำความสะอาด ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/16 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ว่าที่ ร.ต.หญิงเคลือวัลย์ เพชรเปี่ยม หัวหน้างานยานพาหนะ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/16 นายศุภวัฒน์ มาศรี หัวหน้างานรับนักเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/7 นายภาคภูมิ ภิมาลย์ รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ หัวหน้างานพัฒนาวินัยและความประพฤตินักเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/9


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 51 นางสาววิสุทธิดา ศศิธร หัวหน้างานสารวัตรนักเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/2 นางสาวพิมพ์พร สีขาว ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/11 นางสาววรัญญาภัทร์วรัญญ์วัฒนชัย หัวหน้างานเตรียมพัฒน์รักษ์สิ่งแวดล้อม ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/9 นางสาวชุลีพร สุขขี ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/15 นางสาวจิรสุภรณ์ ทองคำดี หัวหน้างานสัมพันธ์ชุมชน และบริการชุมชน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/12 นายธนวัฒน์ กระแจะจันทร์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/11 นายณัฐพงษ์ วรายศวุฒิวงศ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/6 นายกฤษฎา ฉันทะโส หัวหน้างานรักษาความปลอดภัย วิทยุ สื่อสารจราจร และระบบกล้องวงจรปิด ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/17 นายภูบดี เคลือพลัง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/11


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 52 นายสิทธิพงษ์ ปานนาค หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/17 นางเทวี พรหมรินทร์ รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ หัวหน้างานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/12 นายเจนรงค์ สอนบาล รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ หัวหน้าลูกเสือ-เนตรนารี ระดับชั้น ม.3 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/7 นายสุขพัชร ทัติวงษ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/10 ว่าที่ ร.ต.อรรถกร จงเกษม งานป้องกันและแก้ไขสิ่งเสพติด โรคเอดส์ และอบายมุข ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/18 นางสาวสุนิภา ยุวกิจนุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/9 นางสาวทัศนีย์ ธรรมโชดก หัวหน้าลูกเสือ-เนตรนารี ระดับชั้น ม.2 หัวหน้าคณะพัฒนาไทย ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/12 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นางสาวกูอารีดา ตูแวดอเล๊าะ หัวหน้างานอนามัยโรงเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/18 นางสาวธิดารัตน์ ไพรวัลย์ หัวหน้างานชุมนุม ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/13


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 53 นายดนัย ถิ่นจันทร์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/14 นางสาวนิตยา เปาปวง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/11 นางสาวจิตรลดา สุขสวัสดิ์รัตนา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/6 นายทนงศักดิ์ ตาปู่ หัวหน้าลูกเสือ-เนตรนารี ระดับชั้น ม.1 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/16 นางสาวพนิตนาฏ อัครนิตย์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/14


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 54 นายสห ณ สงขลา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/13 นายวิสุทธิ์ เสาวรส รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/19 นายรวิภาส พยุงวงษ์ หัวหน้างานประสานเครือข่ายผู้ปกครอง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/12 นางสาวอัญชิสา ศรีสมุทร ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/6 นายสุทธิพงษ์ นนท์ธนารักษา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/15 นางสาวปุณิกา จุลกรานต์ หัวหน้าคณะผดุงศาสน์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/4 นางสาวปวีณา โรจน์จินดางาม หัวหน้างานเพื่อนเพื่อเพื่อน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/9 นางสาวกันติกา กล้าหาญ หัวหน้างานชมรม To Be Number One ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/11 นายไกรเวท หาญกลับ หัวหน้างานออกแบบศิลป์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 55 นางสาววชิราภรณ์ เลิศศรี หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หัวหน้างานเศรษฐกิจพอเพียง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/3 นางสาวประภาพร บุญประเสริฐ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/6 นางบุษบา ชูแสง รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ หัวหน้างานบริหารการบัญชี ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/12 นางสาวศุภรัตน์ กว้างขวาง หัวหน้างานบริการจัดเลี้ยง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/1 นางสาวสุธาสินี คำทะเนตร หัวหน้างานการเงิน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/8 นางสาวฐิติมา แทนกลาง หัวหน้างานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/3 นายปาริวัช เก้าอุดม หัวหน้างานระดมทรัพยากรและ การลงทุนเพื่อการศึกษา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/17 นายหาญณรงค์ บุญชอบ หัวหน้างานระบบสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า-ประปา) ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/5 นางภัทรา เมฆานิมิตดี ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/11 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 56 นางสาวแพรวพิตรา ภู่ตระกูล ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/20 นางเกื้อกูล แก้วเรือง


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 57 นางสุภัทรียา นิ่มเจริญ หัวหน้าหลักสูตร Intensive English Courses ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/16 นายวีระยศ ชาลีกุล หัวหน้างานโครงการ English Program ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/3 นายภูมิมาส รักษ์วงศ์ หัวหน้างานทะเบียนและเทียบโอนผลการเรียนรู้, หัวหน้างานพัฒนาระบบและเครือข่าย ข้อมูลวิชาการ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/13 นางสาววรานนท์ กำแพงแก้ว หัวหน้างานโรงเรียนในเครือ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/15 นางสาวจันทร์แรม บุญตือ รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/11 นางสาวนภาพร เสรีสวัสดิ์พิชัย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/2 นางสาวกณิกนันต์ โยธานะ รองหัวหน้ากลุ่มสาระฯ หัวหน้างานวิเทศสัมพันธ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/18 นางบุญญามา พงษ์สุวรรณ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/17 นายตั้ม ทองสุทธิ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/16 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 58 นางสาววีรนุช จันดาวงษ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/13 นางสาวนภาพร กิจกระจ่าง หัวหน้างานโภชนาการและโรงอาหาร ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/16 นางสาวรัชนีวรรณ เผ่าวณิชย์ หัวหน้าสำนักงานบริหารทั่วไป/ หัวหน้างานธุรการโรงเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/12 นายนรภัทร โอทาตะวงค์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/14 ว่าที่ ร.ต.นวนันท์ พิบูลย์ปราชญา หัวหน้างานบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/19 นางสาวจริยา เอิบบุญ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/10 นายวุฒิชัยพงษ์อดัม จันทร์ดก ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/3 นายจิณณวัตร ปานจีน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/20 นางสาวกรองกาญจน์ ชื่นชม ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/16


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 59 นางสาวณัฐวรรณ โกวิทจินดาชัย ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/5 นายปฏิพัทธ์ พลศักดิ์ซ้าย ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/20 นางสาวจุฑามาศ ศรีปั้น หัวหน้างานสารสนเทศ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/15 นางสาวปวีณา ลาสงยาง หัวหน้างานโรงเรียนมาตรฐานสากล ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/6 นางสาววีระยา พาวัง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/4 นางสาวกออัญชัญ ติยะสัญ หัวหน้าโครงสร้างหลักสูตร ภาษาต่างประเทศที่สองเข้มข้น ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/19 นางสาวกุสุมา ริยาพันธ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/6 นางสาวนาเดีย เจะบือราเฮง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/17 นางสาวสิริกาญจน์ ระฆังทอง ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/1


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 60 นางสาววิไลลักษณ์ เรียนรู้ นายชยพล วิภาวิน นางสาวลักขณา อิณลา


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 61 นางภัทรพร วงษ์ถาวร ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/10 นางสาวภารดีพิทยาวงศ์ฤกษ์ หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/11 กลุ่มงาน งานโสตทัศนศึกษา งานอนามัย โรงเรียน งานห้องสมุด นางสาวกูอารีดา ตูแวดอเล๊าะ หัวหน้างานอนามัยโรงเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/18 นางสาวชมพูนุท สุนทรมนูกิจ หัวหน้างานวิทยบริการ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/14 นางสาวปัญชญาณ์ภัสส์มั่นคุณากร ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/8


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 62 นางเทวี พรหมรินทร์ หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หัวหน้าลูกเสือ-เนตรนารี ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/12 นายปกรกาญจน์ ลานรอบ หัวหน้างานรักษาดินแดน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/4 นางอนันตญา สนธินรากุล หัวหน้างานแนะแนว ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/13 งานทะเบียน งานวัดและประเมินผล นายรักพันธุ์ เทพปัน หัวหน้างานวัดและประเมินผล ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/10 นายจิตรภาณุ พชรปกรณ์พงศ์ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/5 งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นายภูมิมาส รักษ์วงศ์ หัวหน้างานทะเบียนและเทียบโอนผลการเรียนรู้, หัวหน้างานพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูล วิชาการ ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/13


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 63 นางสาวอัญชิษฐา ว่องไวพิสิฐกุล หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูที่ปรึกษาชั้น ม.3/14 นางสาวสิริวรรณ หวานสนิท ครูที่ปรึกษาชั้น ม.4/17 นางสาวชุติมา ทองมีขวัญ งานแนะแนว นางสาวศรินณา อ่องแช่ม ครูที่ปรึกษาชั้น ม.2/8 นางอนันตญา สนธินรากุล หัวหน้างานแนะแนว ครูที่ปรึกษาชั้น ม.5/13 นางสาวอนุสรา หาพิพัฒน์ หัวหน้างานหลักสูตรนักเรียนเรียนรวม ครูที่ปรึกษาชั้น ม.6/4


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 64 นางจิราพร ฐานบำรุง นายวาธี กองราชา นายปรรณวัจน์ พัชรธัญสิทธิ์ นางสาวสุภาภรณ์ จำนงศิลป์ นางสาวเบญญาภา ขวัญยืน นายธวัชชัย ธงเงิน นายชัยรัตน์ เล้าธนเมธี นางสาวทิวาพร สุริยวงศ์ นางสาวภาวิณี ริดมัด นางสาวสุกัญญา อินวรรณะ นางสาวปราถนา โพธิ์งาม นางสาวไฉน มะเล็งลอย นางสาวศิริพร เท้าเฮ้า นางชนัญชิดา ระดิ่งหิน นางสาวศุภาภรณ์ ฝูงกลิ่น นางสาวชาคริยา บุตรดี นางสาวสุรีรัตน์ เนื้อนิ่มถาวร ว่าที่ ร.ต.วรท รูปสมศรี นางสาวนารีมาน ดูมีแด นายนบบุญ เถียรทอง นางสาวชัชฉัตร ชูปลื้ม นายสันติ บุญกองชาติ พนักงานอัตราจ้าง งานสำนักงานผู้อำนวยการ งานสารบรรณ งานการเงิน งานพัสดุ งานสำนักงานกลุ่มบริหารทั่วไป งานสำนักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล งานโสตทัศนศึกษา งานพยาบาล งานประชาสัมพันธ์ งานทะเบียน/วัดผล งานสำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2566) งานสำนักงานประสานงานครูต่างชาติ งานสำนักงานกลุ่มงานนโยบายและแผน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 65 กลุ่มบริหารงบประมาณ นางสาวกมลทิพย์ สุรสินธุ์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 66


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 67 บุคลากรกลุ่มบริหารงบประมาณ 1.นางสาวกมลทิพย์ สุรสินธุ์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ 2.นางบุษบา ชูแสง ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ /หัวหน้างานบริหารการบัญชี 3.นางศิริพร เนาว์รุ่งโรจน์ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ 4.นางสาวธนิกา ณรสุทธิภัทร ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ /หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา 5.ว่าที่ ร.ต.ชัยศาสตร์ คเชนทร์สุวรรณ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ หัวหน้างานวิเคราะห์และจัดทำแผนของสถานศึกษา/ หัวหน้างานวิจัยและพัฒนา 6.นางสาวปาริชาต จันทร์วิบูลย์ หัวหน้างานโครงการพิเศษ“ธนาคารโรงเรียน” 7.นางสาวสุธาสินี คำทะเนตร หัวหน้างานการเงิน 8.นายปาริวัช เก้าอุดม หัวหน้างานระดมทรัพยากรและการลงทุน เพื่อการศึกษา 9.ว่าที่ ร.ต.นวนันท์ พิบูลย์ปราชญา หัวหน้างานบริหารพัสดุและสินทรัพย์ 10. นางสาวกาญจนา นาถวิทยาคุณ หัวหน้างานตรวจสอบภายใน 11. นางสาวนิสารัตน์ ไชยชนะ หัวหน้างานสำนักงานผู้อำนวยการ 12. นางสาวอุดมพร พรมมา หัวหน้างานสวัสดิการโรงเรียน 13. นางสาวปริปุณณา อุดมโชค หัวหน้างานกลุ่มงานนโยบายและแผน 14. นางอำพรพรรณ นกเที่ยง หัวหน้างานโครงการพิเศษกลุ่มงานนโยบาย และแผน 15. นางสาววริยา ลีนุรัตน์ หัวหน้างานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 16. นายสุขสวัสดิ์ รัตนบุรี หัวหน้างานโรงเรียนในสหวิทยาเขตนวศิรินครินทร์ 17. นางสาววรานนท์ กำแพงแก้ว หัวหน้างานโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการ 18. นางสาววิสาร์ สาลีรูป หัวหน้างานจัดตั้ง เสนอขอ และจัดสรรงบประมาณ หัวหน้างานโรงเรียนพี่-โรงเรียนน้อง/ โรงเรียนอุปถัมภ์ 19. นางสาวรัตติกร จิตปรีดา หัวหน้างานตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล 20. นางสาวจุฑามาศ ศรีปั้น หัวหน้างานสารสนเทศ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 68 21. นายวาธี กองราชา งานบริหารการเงิน/งานบริหารการบัญชี/ งานระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 22. นางสาวสุภาภรณ์ จำนงศิลป์ งานบริหารการเงิน/งานบริหารการบัญชี/ งานระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 23. นางสาวภาวิณี ริดมัด งานบริหารพัสดุและสินทรัพย์ 24. นางสาวสุกัญญา อินวรรณะ งานบริหารพัสดุและสินทรัพย์ 25. นางจิราพร ฐานบำรุง งานสำนักงานผู้อำนวยการ 26. นายปรรณวัจน์ พัชรธัญสิทธิ์ งานสำนักงานผู้อำนวยการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 69


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 70 หลักเกณฑ์เงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหนังสือ สพฐ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04006/พิเศษ 22 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ด้วยปัจจุบันสถานศึกษาได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าหนังสือเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียนค่าอุปกรณ์การเรียนและ ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นต้น แต่ในการจัดการศึกษาสำหรับสถานศึกษาที่มีความพร้อมและ ศักยภาพเป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงต้องการจะเพิ่มพูนประสิทธิภาพและคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนด้วย รูปแบบวิธีการ สื่ออุปกรณ์และบุคคลากรที่ทำการสอนเพิ่มเติมจากเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปของหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรณีพิเศษ โดยมีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่รัฐจัดสรรให้กอปร กับการตอบข้อหารือ ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานสามารถประกาศให้สถานศึกษาของรัฐในสังกัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อจัดการศึกษานอกหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ในการจัดการศึกษาที่ผ่านมา สถานศึกษาจำนวนมากได้จัดการศึกษาโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 49 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วแต่ยังมีสถานศึกษาบางแห่งเก็บ ค่าใช้จ่ายเพื่อจัดการศึกษาเพิ่มเติมจากเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น กรณีพิเศษ ดังนั้น เพื่อให้การขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเป็นไปในทางเดียวกันและการมีส่วนร่วมสนับสนุน ให้สถานศึกษามีความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษารวมทั้งเป็นการคุ้มครองผู้ปกครอง มิให้เกิดผล กระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของนักเรียนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึง กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถานศึกษาถือปฏิบัติดังนี้ ก. สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่สามารถเรียกเก็บเงิน สนับสนุนจากนักเรียนหรือผู้ปกครองได้ เนื่องจากรัฐบาลได้จ่ายเงินงบประมาณเพื่ออุดหนุนให้แล้ว ดังนี้ 1. ค่าเล่าเรียน 2. ค่าหนังสือเรียน 3. ค่าอุปกรณ์การเรียน 4. ค่าเครื่องแบบนักเรียน 5. ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมวิชาการ ปีละ 1 ครั้ง 6. ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมคุณธรรม/ชุมนุมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด ปีละ 1 ครั้ง 7. ค่าใช้จ่ายในการไปทัศนศึกษา ปีละ 1 ครั้ง 8. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการอินเทอร์เน็ตตามหลักสูตร ปีละ 40 ชั่วโมง


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 71 9. ค่าวัสดุฝึก สอน สอบ พื้นฐาน 10. ค่าสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน 11. ค่าบริการห้องสมุดขั้นพื้นฐาน 12. ค่าบริการห้องพยาบาล 13. ค่าวัสดุสำนักงาน 14. ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น 15. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว 16. ค่าอุปกรณ์การรักษา 17. ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์และอุปกรณ์การเรียนการสอน 18. ค่าใช้จ่ายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 19. ค่าคู่มือนักเรียน 20. ค่าบัตรประจำตัวนักเรียน 21. ค่าปฐมนิเทศนักเรียน 22. ค่าวารสารโรงเรียน สำหรับรายการที่ 19,20,21 และ 22 หากโรงเรียนได้จัดทำเป็นลักษณะพิเศษอย่างมีคุณภาพ สามารถขอรับการสนับสนุนได้โดยประหยัด ตามความจำเป็นเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของท้องถิ่น ข. สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนนอกหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้นักเรียนเกินมาตรฐานที่รัฐจัดให้ สามารถขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายได้ตาม ความสมัครใจของผู้ปกครอง และนักเรียน ดังนี้ ที่ รายการ อัตราการเก็บ/คน/ภาคเรียน 1 ห้องเรียนพิเศษ EP (English Program) - ระดับก่อนปฐมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่เกิน 35,000.- บาท ไม่เกิน 40,000.- บาท 2 ห้องเรียนพิเศษ MEP (Mini English Program) - ระดับก่อนประถมศึกษาตอนต้น - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่เกิน 17,500.- บาท ไม่เกิน 20,000.- บาท 3 ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาต่างประเทศด้าน วิชาการ และด้านอื่นๆ เช่น ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ เป็น ต้น เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับ สภาพฐานะทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น ยกเว้น ค่าใช้จ่ายห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษให้เก็บ ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของห้องเรียน MEP


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 72 การเปิดห้องเรียนพิเศษต้องได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี ค. สถานการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพ และความสามารถของนักเรียนที่ นอกเหนือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายได้ตามความสมัครใจของ ผู้ปกครองและนักเรียน โดยไม่รอนสิทธินักเรียนที่ด้อยโอกาส ดังนี้ ที่ รายการ อัตราการเก็บ/คน/ภาคเรียน 1 โครงการพัฒนาทักษะตามความถนัดของนักเรียน นอกเวลาเรียน เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมกับ สภาพฐานะทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นทุกรายการ รวมกันไม่เกิน 1,250.- บาทต่อภาคเรียน 2 ค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ 3 ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก 4 ค่าเรียนปรับพื้นฐานความรู้ ง. สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเสริมเพิ่มเติม ให้กับนักเรียนนอกเหนือจากเกณฑ์มาตรฐาน ทั่วไปที่ได้รับงบประมาณจากรัฐ อาจขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง โดยประหยัดตามความ จำเป็นและเหมาะสมกับสภาพฐานะทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น ตามความสมัครใจของผู้ปกครองและนักเรียน ดังนี้ 1. ค่าจ้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ 2. ค่าสาธารณูปโภคสำหรับห้องเรียนปรับอากาศ 3. ค่าสอนคอมพิวเตอร์ กรณีโรงเรียนจัดคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนเกินมาตรฐาน ที่รัฐจัดให้ ( 1 เครื่อง : นักเรียน 20 คน ) 4. ค่าใช้จ่ายในการจัดร่วมโครงการ โครงงาน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเกินมาตรฐานที่รัฐจัดให้ 5. ค่าใช้จ่ายในการไปทัศนศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนเกินมาตรฐานที่รัฐจัดให้ จ. สถานศึกษาที่จัดให้มีการดูแลด้านสวัสดิการและสวัสดิภาพนักเรียนอาจขอรับการสนับสนุน ค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ตามความจำเป็น และเหมาะสมกับสภาพฐานะทางเศรษฐกิจของ ท้องถิ่น ตามความสมัครใจของผู้ปกครอง และนักเรียนดังนี้ 1. ค่าประกันชีวิตนักเรียน/ค่าประกันอุบัติเหตุนักเรียน 2. ค่าจ้างบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา 3. ค่าตรวจสุขภาพนักเรียนเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากการให้บริการ สาธารณสุขของรัฐ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 73 4. ค่าอาหารนักเรียน 5. ค่าหอพัก 6. ค่าซักรีด สำหรับสถานศึกษาที่จัดให้นักเรียนอยู่ประจำ สามารถขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายตามข้อ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 ได้เท่าที่จ่ายโดยประหยัดตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสภาพฐานะทางเศรษฐกิจของ ท้องถิ่น ฉ. สถานศึกษาต้องพิจารณาให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสให้ได้เรียน โดยไม่รอนสิทธิ์ที่ จะได้รับดังนี้ 1. การเรียนกับครูชาวต่างประเทศ หากสถานศึกษามีการจัดให้นักเรียนทุกคน ควรจัดให้นักเรียน ด้อยโอกาสได้เรียนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 2. การเรียนการสอนโดยครูที่สถานศึกษาจ้างหรือโดยวิทยากรภายนอก 3. ค่าสาธารณูปโภคสำหรับห้องเรียนปรับอากาศ 4. ค่าตรวจสุขภาพนักเรียนเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากการให้บริการสาธารณสุขของรัฐ 5. ค่าเรียนปรับพื้นฐานความรู้ 6. ค่าอาหารนักเรียน 7. การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ/ คุณธรรม/ ชุมนุมลูกเสือ/ เนตรนารี/ ยุวกาชาด และการไป ทัศนศึกษา 8. การเรียน การฝึกใช้คอมพิวเตอร์ และการใช้บริหารอินเตอร์เน็ต ปีละ 40 ชั่วโมง อนึ่ง การเก็บเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ตาม ข้อ ข, ค, ง, จ และ ฉ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ ได้รับอนุมัติจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก่อน จึงจะดำเนินการขอรับการสนับสนุนได้โดยให้มีการ ประกาศประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองและนักเรียนทราบล่วงหน้า


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 74 นโยบายโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน - มุ่งลดค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง - เพิ่มโอกาสทางการศึกษา - พัฒนาคุณภาพผู้เรียน - ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรเงินให้นักเรียนแต่ละคนดังนี้ 1. ค่าจัดการเรียนการสอน - ม.ต้น 3,570 บาท/คน/ปี - ม.ปลาย 3,876 บาท/คน/ปี 2. ค่าหนังสือเรียน - ม.1 808 บาท/คน/ปี - ม.2 921 บาท/คน/ปี - ม.3 996 บาท/คน/ปี - ม.4 1,384 บาท/คน/ปี - ม.5 1,326 บาท/คน/ปี - ม.6 1,164 บาท/คน/ปี 3. ค่าเครื่องแบบนักเรียน คนละ 2 ชุด/ ปี - ม.ต้น 500 บาท - ม.ปลาย 550 บาท 4. ค่าอุปกรณ์การเรียน - ม.ต้น 260 บาท / ภาคเรียน (520 บาท/ปี) - ม.ปลาย 260 บาท / ภาคเรียน (520 บาท/ปี) 5. ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วยกิจกรรมวิชาการ / กิจกรรมคุณธรรม ลูกเสือ / เนตรนารี / กิจกรรมทัศนศึกษา / กิจกรรมบริการสารสนเทศ / ICT / กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนทางไกลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 - ม.ต้น 897 บาท / ปี - ม.ปลาย 969 บาท / ปี


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 75 โครงการที่ขอความร่วมมือโดยสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ประจำปีการศึกษา 2566 ลำดับ รายการ จำนวนเงิน หมายเหตุ 1 ค่าสมาชิกสมาคมผู้ปกครองและครูฯ/ค่าบำรุงสมาชิก 500 2 ค่ากิจกรรมคณะสี 300 3 ค่าบัตรประจำตัวนักเรียนระบบบัตร Digital (ต่อภาคเรียน) 150 4 อื่นๆ ...........................................


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 76 กลุ่มบริหารวิชาการ นางอรทัย พรโกศลสิริเลิศ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 77


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 78 บุคลากรกลุ่มบริหารวิชาการ 1.นางอรทัย พรโกศลสิริเลิศ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ 2.นางอลิสา สิงห์เจริญ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ /หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3.นายปิยวัชร์ สุทธิวนิช ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ 4.นายรักพันธุ์ เทพปัน ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ /หัวหน้างานวัดผลและประเมินผล 5.นางสาวสุนิภา ยุวกิจนุกูล ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ 6.นางสาวธิษณาวดี ดิษฐวิเศษ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 7.นางสาวศิริพร มณีขาว หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 10. นายกิตติศักดิ์ ศรีคำเบ้า หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 11. นายสิทธิพงษ์ ปานนาค หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 12. นายสห ณ สงขลา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 13. นางสาววชิราภรณ์ เลิศศรี หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ /หัวหน้างานเศรษฐกิจพอเพียง 14. นางสาวนภาพร เสรีสวัสดิ์พิชัย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 15. นางเทวี พรหมรินทร์ หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 16. นางอนันตญา สนธินรากุล หัวหน้างานแนะแนว 17. นางญาติมา โล่อธิกุลธนันต์ หัวหน้างานสำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ 18. นางสาวกมลวดี เจริญกุล หัวหน้างานหลักสูตรสถานศึกษา 19. นายวีระยศ ชาลีกุล หัวหน้างานโครงการ English Program 20. นางสุภัทรียา นิ่มเจริญ หัวหน้างานหลักสูตร Intensive English Course 21. นางสาวกออัญชัญ ติยะสัญ หัวหน้างานหลักสูตรภาษาต่างประเทศที่สองเข้มข้น 22. นางธันยธร ตวงวาสนา หัวหน้างานหลักสูตร ITP/หัวหน้างานศูนย์คอมพิวเตอร์ 23. นายศรัณพงษ์ เทศเวช หัวหน้างานวางแผนการจัดการเรียนรู้ 24. นายภูมิมาส รักษ์วงศ์ หัวหน้างานทะเบียนและเทียบโอนผลการเรียนรู้ 25. นายยุทธพล สะและหมัด หัวหน้างานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 26. นายณัชภัค บุญเติมนิติกุล หัวหน้างานพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 79 27. นางสาวมยุรา ทิทา หัวหน้างานนิเทศการศึกษา 28. นางสาวจุฑารัตน์ วงค์ชมภู หัวหน้างานพัฒนาแหล่งเรียนรู้และผลิตเอกสาร 29. นางสาวชมพูนุท สุนทรมนูกิจ หัวหน้างานวิทยบริการ 30. นายศุภวัฒน์ มาศรี หัวหน้างานรับนักเรียน 31. นางสาวกณิกนันต์โยธานะ หัวหน้างานวิเทศสัมพันธ์ 32. นางสาวภัทรภร ขันแข็ง หัวหน้างานพัฒนาวิชาการโรงเรียนในเครือ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 33. นางสาวกนกกาญจน์ เซี่ยงจง หัวหน้างานพัฒนาและประเมินการอ่านคิด วิเคราะห์/คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 34. นางสาวปวีณา ลาสงยาง หัวหน้างานโรงเรียนมาตรฐานสากล 35. นางสาวอนุสรา หาพิพัฒน์ หัวหน้างานหลักสูตรนักเรียนเรียนรวม 36. นางนิติยา ก่อเกียรติสิริ หัวหน้างานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน 37. นายกฤษณะ โสนามัย งานธรรมศึกษา 38. นางสาวสิริกาญจน์ ระฆังทอง งานสำนักงานวิชาการ 39. นายนบบุญ เถียรทอง งานสำนักงานวิชาการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 80 ความนำ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สพฐ.1239/2560 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 และคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 30/2561 ลงวันที่ 5 มกราคม 2561 ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยมีคำสั่งให้โรงเรียนดำเนินการใช้หลักสูตรในปี การศึกษา 2561 โดยให้ใช้ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นมา ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็น เป้าหมาย และกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพและมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมาย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จึงได้ทำการปรับปรุงหลักสูตร ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 ในกลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเป็นกรอบในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตร ของสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มี กระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์จุดหมายสมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด โครงสร้างเวลาเรียน ตลอดจนเกณฑ์การวัดประเมินผลให้มีความสอดคล้อง กับมาตรฐานการเรียนรู้ โดยโรงเรียน กำหนดทิศทางในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละระดับชั้นตามความพร้อมและ จุดเน้น โดยมีกรอบแกนกลางเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการจัดการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมคุณภาพ มีความรู้อย่างแท้จริง และมีทักษะในศตวรรษที่ 21


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 81 การปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ ยังคงหลักการและโครงสร้างเดิมของหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คือ ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความ เจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ คำนึงถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียน มีทักษะจำเป็นสำหรับการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ)เป็นสำคัญเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมที่จะ ประกอบอาชีพ เมื่อจบการศึกษาหรือสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น สามารถแข่งขันและอยู่ ร่วมกับประชาคมโลกได้ กรอบในการปรับปรุงคือ ปรับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. 1239/2560 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 และคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานที่30/2561 ลงวันที่ 5 มกราคม 2561 ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่ม สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ซึ่งสาระสำคัญของการปรับ หลักสูตรมี ดังนี้ 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1.1 จัดกลุ่มความรู้ใหม่และนำทักษะกระบวนการไปบูรณาการกับตัวชี้วัด เน้น ให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 1.2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสำหรับ ผู้เรียนทุกคนที่เป็นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาต่อ ระดับที่สูงขึ้น


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 82 1.3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เฉพาะเจาะจงแยกส่วนระหว่างผู้เรียนที่เลือกเรียนในแผนการเรียนที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์ และ แผนการเรียนที่เน้นวิทยาศาสตร์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในส่วนของแผนการเรียนที่ไม่ เน้นวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น ส่วน มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของแผนการเรียนที่เน้นวิทยาศาสตร์ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนา ส่งเสริมให้มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องลึกซึ้ง และกว้างขวางตามศักยภาพของตนเองให้มากที่สุดอันจะเป็นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศทางด้าน วิทยาศาสตร์ ศึกษาต่อในวิชาชีพที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์ 1.4 ปรับจากตัวชี้วัดช่วงชั้นในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เป็นตัวชี้วัดชั้นปี 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้เพิ่มสาระเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย การออกแบบและเทคโนโลยี และวิทยาการคำนวณ ทั้งนี้เพื่อเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการ สาระทางคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กับกระบวนการเชิงวิศวกรรม ตามแนวคิดสะ เต็มศึกษา 3. สาระภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นสาระหนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ยังคงมาตรฐานการเรียนรู้เดิม แต่ปรับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดให้ มีความชัดเจน สอดคล้องกับพัฒนาการตามช่วงวัย มีองค์ความรู้ที่เป็นสากล เพิ่มความสามารถ ทักษะ และกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ที่ชัดเจนขึ้นหลักสูตรสถานศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้น สำหรับ นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพด้าน ความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันต่อไป


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 83 หลักสูตรโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ พุทธศักราช 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิสัยทัศน์ของโรงเรียน : มุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพให้มีความรู้ความสามารถสู่ มาตรฐาน สากล มีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย มีคุณลักษณะเป็นพลโลก และอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข หลักการ : หลักสูตรโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ พุทธศักราช 2560 ยึดหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร มาตรฐานสากลโดยจัดบูรณาการกับสาระการเรียนรู้พื้นฐานและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยมี หลักการสำคัญดังนี้ 1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลเมืองและเป็นพลโลกเทียบเคียง มาตรฐานสากลโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. ส่งเสริมผู้เรียนปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ส่งเสริมพัฒนาให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ ร่วมกันรับผิดชอบต่อ สังคมโลก 5. เสริมสร้างภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง จุดมุ่งหมาย : หลักสูตรโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ พุทธศักราช 2560 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้สากลเพื่อให้ เทียบเคียงมาตรฐานสากล มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนดังนี้ 1. มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยแลปฏิบัติ ตน ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่นับถือ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง 2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการคิดทางแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและ ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 84 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข 6. มีความรู้ความสามารถและทักษะในการสื่อสารอย่างน้อยสองภาษา 7. นำความรู้ความสามารถและทักษะมาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก และสังคมโลก สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน : โรงเรียนมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการดำรง ตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลกโดยมีสมรรถนะสำคัญ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ : มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อให้สามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักชาติศาสน์กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 9. กตัญญู


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 85 มาตรฐานการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน : มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในการอ่านหนังสือ เอกสาร วารสาร ตำราเรียนและสื่อต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการอ่านมาคิดวิเคราะห์ นำไปสู่ การแสดงความคิดเห็น การแก้ปัญหาในเรื่องราวต่าง ๆ รวมถึงสามารถถ่ายทอดความคิดด้วย การเขียนที่มีสำนวนภาษาถูกต้อง ชัดเจน มีข้อมูลสนับสนุนอย่างเพียงพอและมีเหตุผลโดย ลำดับความคิดอย่างมีขั้นตอนเป็นระบบเป็นไปตามระดับศักยภาพของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น คุณลักษณะของนักเรียนที่เป็นพลโลก (World citizens) 1. เป็นเลิศทางวิชาการ (Smart) 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 86 โครงสร้างเวลาเรียน โครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (แก้ไขเพิ่มเติม ตามคำสั่ง สพฐ. ที่ 922/2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551) กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียน ดังนี้


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 87 เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 1. การตัดสิน การให้ระดับคะแนนและการรายงานผลการเรียน 1.1 การตัดสินผลการเรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักเกณฑ์การวัด และประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน ดังนี้ 1) ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของ เวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ๆ 2) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 3) ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา 4) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา กำหนดในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1.2 การให้ระดับผลการเรียน การตัดสินผลการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้ระบบผ่านและไม่ผ่าน โดย กำหนดเกณฑ์การตัดสินผ่านแต่ละรายวิชาที่ร้อยละ 50 จากนั้นจึงให้ระดับผลการเรียนที่ผ่าน สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ แนวการให้ระดับผลการเรียน 8 ระดับ และความหมายของแต่ละระดับดังแสดงในตาราง ดังนี้ ระดับผลการเรียน ความหมาย ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ 4 ดีเยี่ยม 80 – 100 3.5 ดีมาก 75 – 79 3 ดี 70 – 74 2.5 ค่อนข้างดี 65 – 69 2 น่าพอใจ 60 – 64 1.5 พอใช้ 55 – 59 1 ผ่านเกณฑ์ 50 – 54 0 ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 0 - 49


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 88 ในกรณีที่ไม่สามารถให้ระดับคะแนนผลการเรียน 8 ระดับได้ ให้ใช้ตัวอักษรแสดงผลการ เรียนที่ระบุเงื่อนไขในแต่ละวิชาของผลการเรียนดังนี้ “มส” หมายถึง ผู้เรียนไม่มีสิทธิเข้ารับการประเมินผลปลายภาคเรียน โดยผู้เรียนที่มีเวลา เรียนไม่ถึงร้อยละ 80 ของเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาและไม่ได้รับการผ่อนผันให้เข้ารับการวัดและ ประเมินผลปลายภาคเรียน “ร” หมายถึง รอการตัดสินและยังตัดสินผลการเรียนไม่ได้ เนื่องจากผู้เรียนไม่มีข้อมูลผล การเรียนรายวิชานั้นครบถ้วน ได้แก่ ไม่ได้วัดผลกลางภาคเรียน / ปลายภาคเรียน ไม่ได้ส่งงานที่ มอบหมายให้ทำ ซึ่งงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินผลการเรียน หรือมีเหตุสุดวิสัยทำให้ ประเมินผลไม่ได้ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้นให้ผล การประเมินเป็นผ่านและไม่ผ่าน กรณีที่ผ่านให้ระดับผลการเรียนเป็นดีเยี่ยม ดี และผ่าน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การ ปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเรียนเป็น ผ่านและไม่ผ่าน 1.3 การเปลี่ยนผลการเรียน 1) การเปลี่ยนผลการเรียน “0” สถานศึกษาจัดให้มีการซ่อมเสริมในมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ผู้เรียนสอบไม่ ผ่าน แล้วจึงสอบแก้ตัวได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ภายในปีการศึกษานั้น ถ้าผู้เรียนไม่ได้ดำเนินการสอบแก้ตัวตาม ระยะเวลาที่สถานศึกษากำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะพิจารณาขยายเวลาออกไปอีก 1 ภาคเรียน สำหรับภาคเรียนที่ 2 จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในปีการศึกษานั้น การสอบแก้ตัวให้ได้ ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1” 2) การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” มี 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 มีเหตุสุดวิสัย ทำให้ประเมินผลการเรียนไม่ได้ เช่น เจ็บป่วย เมื่อผู้เรียนได้เข้า สอบหรือส่งผลงานที่ติดค้างอยู่เสร็จสิ้น ให้ได้ระดับผลการเรียน 0 – 4 กรณีที่ 2 สถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อผู้เรียนได้เข้าสอบ หรือ ส่งผลงานที่ติดค้างอยู่เสร็จสิ้นแล้ว ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน 1 (0 – 1)


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 89 การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น ถ้าไม่มา ดำเนินการตามกำหนดให้เรียนซ้ำรายวิชา หากมีเหตุสุดวิสัย ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะ พิจารณาขยายเวลาการแก้ “ร” ออกไปอีกไม่เกิน 1 ภาคเรียน สำหรับภาคเรียนที่ 2 ต้องดำเนินการ ให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น หากพ้นกำหนดแล้วให้ดำเนินการดังนี้ 1) ให้เรียนซ้ำรายวิชา ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐาน 2) ให้เรียนซ้ำหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม โดยให้อยู่ ในดุลยพินิจของสถานศึกษา 3) หากผลการเรียนเป็น “0” ให้ดำเนินการแก้ไขตามหลักเกณฑ์ 3) การเปลี่ยนผลการเรียน “มส” การเปลี่ยนผลการเรียน “มส” มี 2 กรณี ดังนี้ 3.1 กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียน “มส” เพราะมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่มี เวลาเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียน ดำเนินการดังนี้ (1) สถานศึกษาจัดให้เรียนเพิ่มเติม ในชั่วโมงซ่อมเสริม/เวลาว่าง/วันหยุด หรือมอบหมายงานให้ทำจนมีเวลาเรียนครบตามกำหนด (2) จัดให้สอบเป็นกรณีพิเศษ ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน 1 การแก้ “มส” ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จในปีการศึกษานั้น ถ้าไม่มา ดำเนินการตามกำหนด ให้เรียนซ้ำ ถ้ามีเหตุสุดวิสัย สถานศึกษาสามารถขยายเวลาแก้ “มส” ออกไป อีกไม่เกิน 1 ภาคเรียน ดังนั้น กำหนดให้ดำเนินการตาม ข้อ 3.2 3.2 กรณีกรณีผู้เรียนได้ผลการเรียน “มส” เพราะมีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด ดำเนินการดังนี้ (1) ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐานให้เรียนซ้ำรายวิชานั้น (2) ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ให้เรียนซ้ำ รายวิชาหรือเปลี่ยนรายวิชาใหม่ 4) การเปลี่ยนผล “มผ” กรณีที่ผู้เรียนได้ผล “มผ” สถานศึกษาจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจน ครบตามเวลาที่กำหนด แล้วจึงเปลี่ยนผลการเรียนเป็น “ผ” และผู้เรียนต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้น ภายในภาคเรียนนั้นๆ ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะพิจารณาขยายเวลา ออกไปอีกไม่เกิน 1 ภาคเรียน สำหรับภาคเรียนที่ 2 ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 90 1.4 การเลื่อนชั้นใหม่ เมื่อสิ้นปีการศึกษา ผู้เรียนจะได้รับการเลื่อนชั้น เมื่อมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 1) รายวิชาพื้นฐานได้รับการตัดสินผลการเรียนผ่านทุกรายวิชา 2) รายวิชาเพิ่มเติมได้รับการตัดสินผลการเรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา กำหนด 3) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถาน กำหนดในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) ระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นควรได้ไม่ต่ำกว่า 1.00 ทั้งนี้ รายวิชาใดที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน สถานศึกษาสามารถซ่อมเสริมผู้เรียนให้ได้รับ การแก้ไขในภาคเรียนถัดไป ทั้งนี้สำหรับภาคเรียนที่ 2 ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษา นั้น 1.5 การเรียนซ้ำชั้น ผู้เรียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนใน ระดับที่สูงขึ้น สถานศึกษาอาจตั้งกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำ การซ้ำชั้น มี 2 กรณี ดังนี้ 1) ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า 1.00 และมีแนวโน้มว่า จะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น 2) ผู้เรียนมีผลการเรียน 0, ร, มส เกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในปี การศึกษานั้น ทั้งนี้ หากเกิดลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือทั้ง 2 ลักษณะ ให้สถานศึกษาแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณา หากเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ให้ซ้ำชั้น โดยยกเลิกผลการเรียนเดิม และให้ใช้ผลการเรียนใหม่แทน 1.6 การรายงานผลการเรียน การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบความก้าวหน้า ในการเรียนของผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทำเอกสารรายงานให้ ผู้ปกครองทราบเป็นระยะๆ หรืออย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง การรายงานผลการเรียนสามารถรายงานเป็นระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียนที่ สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 91 2. เกณฑ์การจบการศึกษา 2.1 เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม ไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชา พื้นฐาน 66 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด 2) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชา พื้นฐาน 66 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 11 หน่วยกิต 3) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การ ประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด 4) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การ ประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด 5) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากำหนด 2.2 เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต โดยเป็น รายวิชาพื้นฐาน 41 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด 2) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชา พื้นฐาน 41 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 40 หน่วยกิต 3) ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์ การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด 4) ผู้เรียนมีผลประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์ผลประเมิน ตามที่สถานศึกษากำหนด 5) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การ ประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 92 การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 1) การประเมินการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ หมายเหตุ 1.1 การประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้เน้นการประเมินระหว่างเรียนมากกว่าการ ประเมินหลังเรียน 1.2 ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละสาระครบตามที่โรงเรียนกำหนดจึงจะได้รับการ ตัดสิน ได้ “1” ผ่าน ม.1 – ม. 6 ประเมินเป็นรายภาค ประเมินก่อนเรียน ประเมินระหว่างเรียน ประเมินหลังเรียน สรุปการประเมินผลการเรียนรู้เป็นรายภาค ได้ “0” ไม่ผ่าน ได้ “1-4” ผ่าน ซ่อมเสริม ปรังปรุง พัฒนา


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 93 2) การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้ 1. กิจกรรมแนะแนว 2. กิจกรรมนักเรียน 3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ม.1 – ม. 6 เป็นรายภาค สรุปการประเมินผลการเรียนรู้เป็นรายภาค ไม่ผ่าน ผ่าน ซ่อมเสริม ปรังปรุง พัฒนา สรุปเวลาเข้าร่วมกิจกรรม อย่างน้อยร้อยละ 80 การปฏิบัติกิจกรรม ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 94 3) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนที่ต้องผ่านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้ง 8 ประการคือ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ ไม่ผ่าน ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ซ่อมเสริม ปรังปรุง พัฒนา พิจารณาการตัดสิน ครูผู้สอนทุกรายวิชา ประเมินนักเรียน คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณ์อันพึง ประสงค์ กำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ม.1 – ม.6 ประเมินเป็นรายภาค ประเมินผลจากครูผู้สอน ทุกรายวิชา โดยใช้ฐานนิยม


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 95 4) การประเมินการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนสื่อความ ผู้เรียนจะได้รับการประเมินความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนสื่อ ความเป็นรายปีเพื่อดูพัฒนาการในการอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียนสื่อความ โดยครูผู้สอนใน รายวิชาพื้นฐานทุกรายวิชาและทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หากผลการประเมินไม่ผ่าน ผู้เรียนต้องได้รับ การปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาโดยครูผู้สอนและคณะกรรมการประเมินความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียนสื่อความของโรงเรียนจนกว่าจะผ่าน จึงสามารถผ่านช่วงชั้นหรือจบ การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับการประเมินรูปแบบอื่น ไม่ผ่าน ซ่อมเสริม ปรังปรุง พัฒนา พิจารณาการตัดสิน ครูผู้สอนทุกรายวิชา ประเมินนักเรียน คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณ์อันพึง ประสงค์ กำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ม.1 – ม.6 ประเมินเป็นรายภาค ประเมินผลจากครูผู้สอน ทุกรายวิชา โดยใช้ฐานนิยม ดีเยี่ยม ดี ผ่าน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 96 การประเมินผลกิจกรรมชุมนุม การประเมินผลการจัดกิจกรรมชุมนุม เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่ง สำหรับการผ่านช่วง ชั้นหรือจบหลักสูตร นักเรียนต้องเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมชุมนุม ตลอดจนผ่านการประเมินตาม เกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดตามแนวประเมินดังนี้ 1. ประเมินการร่วมกิจกรรมชุมนุมตามวัตถุประสงค์ของชุมนุม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตามสภาพจริงให้ได้ผลการประเมินที่ถูกต้อง ครบถ้วน 2. ครูที่ปรึกษากิจกรรมชุมนุม และนักเรียนจะมีบทบาทในการประเมินดังนี้ 2.1 ครูที่ปรึกษากิจกรรมชุมนุม (1) ต้องดูแลและพัฒนานักเรียนให้เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม (2) ต้องรายงานเวลา และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน (3) ต้องศึกษาติดตาม และพัฒนานักเรียนในที่กรณีนักเรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม 2.2 นักเรียน (1) ปฏิบัติกิจกรรมให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ (2) มีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ80 ของเวลาเรียน ทั้งหมด พร้อมทั้งแสดงผลการปฏิบัติกิจกรรม และพัฒนาการด้านต่าง ๆ (3) ถ้าไม่เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ ต้องปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ ครูที่ปรึกษากิจกรรมมอบหมาย 3. เกณฑ์การผ่านกิจกรรมชุมนุม 3.1 นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด 3.2 นักเรียนผ่านจุดประสงค์ที่สำคัญของแต่ละกิจกรรม 3.3 นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์ประเมินตามเกณฑ์จึงได้ผลการเรียน “ผ” ในกิจกรรม ชุมนุม ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลของกิจกรรมเป็น “มผ” สถานศึกษาจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทำ กิจกรรมในส่วนที่ผู้เรียนไม่ได้เข้าร่วมหรือไม่ได้ทำจนครบถ้วน แล้วจึงเปลี่ยนผลจาก “มผ” เป็น “ผ” ได้ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลยพินิจของ สถานศึกษา


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 97 แนวปฏิบัติในการเรียนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาผู้เรียนซ้ำรายวิชาและ การเรียนซ้ำชั้นฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 1) การเรียนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ในกรณีที่ผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของแต่ละ รายวิชาแต่ละภาคเรียน 1.1 จัดให้ผู้เรียนเรียนซ่อมเสริมและสอบแก้ตัวได้ภาคเรียนละ 2 ครั้ง ตามวันเวลาที่ โรงเรียนกำหนด 1.2 หากผู้เรียนไม่ได้มาเรียนซ่อมเสริมและสอบแก้ตัวตามวันและเวลาที่โรงเรียนกำหนด โรงเรียนจะจัดให้ผู้เรียนเรียนซ้ำรายวิชานั้นๆในภาคเรียนถัดไป 2) การเปลี่ยน “ร” ในกรณีผู้เรียนได้“ร” ไม่สามารถตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนในบางรายวิชาได้ เนื่องจากผู้เรียนขาดสอบกลางภาค/ปลายภาค และผู้เรียนไม่ได้ติดต่อกับโรงเรียนเพื่อขอปรับปรุงผล การเรียนตามวัน เวลาที่กำหนด โรงเรียนจะจัดให้ผู้เรียนเรียนซ้ำรายวิชานั้นๆในภาคเรียนถัดไป 3) กรณีเปลี่ยน “มส” 3.1 ในกรณีที่ผู้เรียนได้ “มส” และมีเวลาเรียนที่ขาดหายไปไม่เกินร้อยละ 30 ให้ผู้เรียน ดำเนินการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียนได้ภายในเวลาที่กำหนด 3.2 ในกรณีที่ผู้เรียนผ่านการซ่อมเสริมตามข้อ 3.1 แล้วยังได้ “มส” ไม่เกิน 4 รายวิชาต่อปี หรือผู้เรียนที่ได้ มส เนื่องจากขาดเรียน มากกว่าร้อยละ 30 ของเวลาเรียนทั้งหมด โรงเรียนจะจัดให้ ผู้เรียน เรียนซ้ำรายวิชานั้นในปีการศึกษาถัดไป 3.3 ในกรณีที่ผู้เรียนได้ “มส” ตั้งแต่ 5 รายวิชาขึ้นไปต่อปี โรงเรียนจะจัดให้ผู้เรียน เรียนซ้ำ รายวิชานั้นในปีการศึกษาถัดไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่ง ประกอบด้วยครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อผู้เรียน ในการเรียนระดับสูงขึ้น 4) การเรียนซ้ำรายวิชา โรงเรียนจะจัดให้ผู้เรียนเรียนซ้ำเป็นรายวิชาในกรณีต่อไปนี้ 4.1 ผู้เรียนไม่มาทำการซ่อมเสริมและสอบแก้ตัวเพื่อพัฒนาผู้เรียน ตามวันเวลาที่กำหนดทั้ง 2 ครั้ง 4.2 ผู้เรียนมาทำการซ่อมเสริมและสอบแก้ตัวเพื่อพัฒนาผู้เรียน ตามวันเวลาที่กำหนด ทั้ง 2 ครั้งแล้วแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 98 4.3 ผู้เรียนติด “ร” เนื่องจากขาดสอบกลางภาค/ปลายภาคโดยไม่แจ้งสาเหตุ และไม่มา ติดต่อขอปรับปรุงผลการเรียนภายในเวลาที่กำหนด 4.4 ผู้เรียนติด “มส” ไม่เกิน 4 รายวิชาต่อปี 5) การเรียนซ้ำชั้น 5.1 ในกรณีที่ผู้เรียนมีผลการเรียนเฉลี่ยของปีการศึกษาที่ผ่านมาต่ำกว่า 1.00 โรงเรียน จะ จัดให้มีการเรียนซ้ำชั้นในปีการศึกษาถัดไป และให้ยกเลิกผลการเรียนเดิม 5.2 ในกรณีที่ผู้เรียนติด “มส” ตั้งแต่ 5 รายวิชาขึ้นไปต่อปีและคณะกรรมการจัดการ เรียนรู้ของผู้เรียนเห็นว่าจะเกิดปัญหาต่อผู้เรียนในการเรียนระดับสูงขึ้น โรงเรียนจะจัดให้มีการเรียน ซ้ำชั้นในปีการศึกษาถัดไป และให้ยกเลิกผลการเรียนเดิม


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 99 ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ พ.ศ. 2548 โดยที่เห็นสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบให้ เหมาะสมยิ่งขึ้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ พ.ศ. 2548” ข้อ 2 ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ พ.ศ. 2506 ระเบียบนี้ใช้บังคับแก่ผู้เข้าสอบสำหรับการสอบทุกประเภทในส่วนราชการและ สถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และให้หมายความรวมถึงผู้เข้าสอบในสถานศึกษาที่อยู่ใน กำกับดูแลหรือสถานศึกษาที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นสถาบันอุดมศึกษา ของรัฐและสถาบันการศึกษาเอกชน ข้อ 4 ผู้เข้าสอบต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ 4.1 การแต่งกาย ถ้าเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาต้องแต่งเครื่องแบบนักเรียนหรือ นักศึกษาแล้วแต่กรณี ถ้าเป็นผู้สมัครสอบต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยตามประเพณีนิยม 4.2 ผู้เข้าสอบจะต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องตรวจสอบให้ทราบว่าสถานที่สอบอยู่ ณ ที่ใด ห้องใด 4.3 ไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาเริ่มสอบตามสมควร ผู้ใดไปไม่ทันเวลาลงมือสอบ วิชาใด ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบวิชานั้น แต่สำหรับการสอบวิชาแรกในตอนเช้าของแต่ละวัน ผู้ใดเข้าห้อง สอบจากเวลาลงมือสอบแล้ว 15 นาทีจะไม่ได้รับอนุญาตให้สอบวิชานั้น เว้นแต่มีเหตุความจำเป็นให้ อยู่ในดุลพินิจของประธานดำเนินการสอบพิจารณาอนุญาต 4.4 ไม่เข้าห้องสอบก่อนได้รับอนุญาต 4.5 ไม่นำเอกสาร หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องสื่อสารใดๆ เข้าไปในห้องสอบ 4.6 นั่งตามที่กำหนดให้ จะเปลี่ยนที่นั่งก่อนได้รับอนุญาตไม่ได้ 4.7 ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการสอบและคำสั่งของผู้กำกับการสอบโดยไม่ทุจริต ในการสอบ


Click to View FlipBook Version