The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนักเรียน ปีการศึกษา 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chakriya.bd, 2023-05-10 10:26:05

Student Manual book TUP 2023

คู่มือนักเรียน ปีการศึกษา 2566

คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 100 4.8 มิให้ผู้เข้าสอบคนอื่นคัดลอกคำตอบของตน รวมทั้งไม่พูดคุยกับผู้ใดในเวลาสอบ หรือมีข้อสงสัยหรือมีความจำเป็นให้แจ้งต่อผู้กำกับการสอบ 4.9 ประพฤติตนเป็นสุภาพชน 4.10 ผู้ใดสอบเสร็จก่อน ผู้นั้นต้องออกไปห่างจากห้องสอบ และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนแก่ผู้ที่ยังสอบอยู่ แต่ทั้งนี้ผู้เข้าสอบทุกคนจะออกจากห้องสอบก่อนเวลา 20 นาที หลังจากเริ่มสอบวิชานั้นไม่ได้ 4.11 ไม่นำกระดาษสำหรับเขียนคำตอบที่ผู้กำกับการสอบแจกให้ ออกไปจากห้องสอบ ข้อ 5 ผู้เข้าสอบผู้ใดกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อ 4 หรือพยายามกระทำการทุจริตในการ สอบวิชาใดให้ผู้กำกับการสอบว่ากล่าวตักเตือน ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกเข้าลักษณะร้ายแรง เมื่อได้สอบสวนแล้วประธาน กรรมการหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการสอบมีอำนาจสั่งไม่ให้ผู้นั้นเข้าสอบวิชานั้น หรือสั่งไม่ ตรวจคำตอบวิชานั้นของผู้นั้น โดยถือว่าสอบไม่ผ่านเฉพาะวิชาก็ได้ ข้อ 6 ผู้เข้าสอบผู้ใดกระทำการทุจริตในการสอบวิชาใด เมื่อได้สอบสวนแล้วให้ประธาน กรรมการหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการสอบ สั่งไม่ตรวจคำตอบและถือว่าผู้นั้นสอบไม่ผ่านวิชา นั้นในการสอบคราวนั้น ข้อ 7 ในกรณีทุจริตในการสอบด้วยวิธีคัดลอกคำตอบระหว่างผู้เข้าสอบด้วยกันให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เข้าสอบนั้นได้สมคบกันกระทำการทุจริต ข้อ 8 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 101


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 102 กลุ่มบริหารงานบุคคล นางสาวภรณ์กมนส์ ดวงสุวรรณ์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 103


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 104 บุคลากรกลุ่มบริหารงานบุคคล 1.นางสาวภรณ์กมนส์ ดวงสุวรรณ์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล 2.นางพิศสมัย บุญสวัสดิ์ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล งานสำนักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล 3.นายประมวล แสงสิทธิ์ธีรกุล ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล งานส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน 4.นายภาวัต โชติสุภาพณ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล งานคณะสี 5.นายปกรกาญจน์ ลานรอบ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล งานระดับชั้นและครูที่ปรึกษา หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 6.นายกีรติ โกบุตร หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 7.นางสาวดวงดี จานลาน หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 8.นายธีรพล เรืองทองดี หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 9.นางสาวอัฉรา แสงศรี หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 10. นางสาวจันทร์แรม บุญตือ หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 11. นางสาวพฤษภา บุญสุข หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 12. นางสุนีย์ อดุลพงศ์พันธุ์ หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 13. นางธิดารัตน์ ทองตะโก หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 14. นายอภิวัฒน์ ขุนสูงเนิน หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 15. นางสาวอุดมพร พรมมา หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 16. นางสาวสุวรณณา รักเสนาะ หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 17. นายสุวัฒน์ ตามสันเทียะ หัวหน้าคณะรักชาติ (สีแดง) 18. นางสาวปุณิกา จุลกรานต์ หัวหน้าคณะผดุงศาสน์ (สีเหลือง) 19. นายภาณุมาศ หมุนเกตุ หัวหน้าคณะเทิดกษัตริย์ (สีฟ้า) 20. นางสาวทัศนีย์ ธรรมโชดก หัวหน้าคณะพัฒนาไทย (สีเขียว) 21. นางสาวปิยะพร ศรีเจริญ หัวหน้าคณะใฝ่คุณธรรม (สีม่วง) 22. นายจักรพงศ์ หมื่นแก้ว หัวหน้างานโครงการพิเศษกลุ่มบริหารงานบุคคล 23. นางสาวอัญชิษฐา ว่องไวพิสิฐกุล หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 105 24. นายวรรณธวัช ศรีโกมลศิลป์ หัวหน้างานเทคโนโลยีสารสนเทศนักเรียน 25. นายภานุเดช ค้าขาย หัวหน้างานบุคลากร 26. นายชิงชัย เตียเจริญ หัวหน้างานพัฒนาบุคลากร 27. นางสาวกนกวรรณ มะลิลา หัวหน้างานสภานักเรียนและส่งเสริมประชาธิปไตย งานหนังสืออนุสรณ์ 28. ว่าที่ ร.ต.อรรถกร จงเกษม หัวหน้างานป้องกันแก้ไข สิ่งเสพติด โรคเอดส์ และอบายมุข 29. นางสาววิสุทธิดา ศศิธร หัวหน้างานสารวัตรนักเรียน 30. นางสาวปวีณา โรจน์จินดางาม หัวหน้างานเพื่อนเพื่อเพื่อน 31. นางสาวกันติกา กล้าหาญ หัวหน้างานชมรม To Be Number One 32. นายกฤษฎา ฉันทะโส หัวหน้างานรักษาความปลอดภัย วิทยุสื่อสาร จราจร และระบบกล้องวงจรปิด 33. นางเทวี พรหมรินทร์ หัวหน้างานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 34. นางสาวประภาพร บุญประเสริฐ งานพัสดุกลุ่มบริหารงานบุคคล 35. นางสาวชนัญชิดา ระดิ่งหิน งานสำนักงาน/งานบุคลากร 36. นางสาวชาคริยา บุตรดี งานสำนักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล 37. ว่าที่ ร.ต.วรท รูปสมศรี งานสำนักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 106 กฎกระทรวง กำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อันเป็นกฎหมายที่มีกฎบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และ มาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 นักเรียนและนักศึกษาต้องไม่ประพฤติตน ดังต่อไปนี้ (1) หนีเรียนหรืออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน (2) เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือมั่วสุมในวงการพนัน (3) พกพาอาวุธหรือวัตถุระเบิด (4) ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด (5) ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจเพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น (6) ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะ ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน (7) แสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในพื้นที่สาธารณะ (8) เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี (9) ออกนอกสถานที่พักเวลากลางคืน เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่ม อันเป็นการสร้างความ เดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ข้อ 2 ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษากำหนดระเบียบว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและ นักศึกษาได้เท่าที่ไม่ขัดแย้งกับกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2548 จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 107 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ พ.ศ. 2564 เพื่อให้การปกครองนักเรียนสามารถสร้างวินัย ส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรมเกิดความ เรียบร้อยภายในโรงเรียน จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ 1. บททั่วไป 1.1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าด้วยข้อบังคับและ แนวทางปฏิบัติสำหรับนักเรียน พ.ศ. 2564 1.2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการทุกคนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป 1.3 ให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ 2. การมาโรงเรียนของนักเรียน 2.1 นักเรียนต้องมาถึงโรงเรียนก่อนเวลา 07.20 น. เพื่อทำกิจกรรมตอนเช้าบริเวณลานอเนกประสงค์ /หน้าชั้นเรียน และเมื่อนักเรียนเข้ามาในโรงเรียนแล้วไม่ว่ากรณีใดๆ จะออกจากโรงเรียนไม่ได้ จนกว่าจะถึงเวลาเลิกเรียนหรือมีผู้ปกครองมารับ หรือได้รับการอนุญาตให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน 2.2 นักเรียนทุกคนต้องปฏิบัติกิจกรรมตอนเช้าดังนี้ 2.2.1 เข้าแถวเคารพธงชาติที่ลานอเนกประสงค์ และบริเวณโดยรอบที่จัดไว้ให้ทุกคน 2.2.2 พบครูที่ปรึกษาเพื่อโฮมรูมในห้องเรียนหรือ บริเวณที่โรงเรียนกำหนดหลังกิจกรรม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่โรงเรียนกำหนดนักเรียนคนใดไม่ให้ความร่วมมือถือว่ามีความผิด 2.3 นักเรียนต้องหยุดทำความเคารพครูที่ปฏิบัติเวรที่ประตูทางเข้าและนักเรียนต้อง พกบัตรประจำตัวนักเรียนมาโรงเรียนทุกวัน การไม่มีบัตรประจำตัวนักเรียนถือว่ามีความผิด 2.4 นักเรียนที่มาโรงเรียนหลังเวลา 07.30 น. ถือว่ามาสายไม่ทันเข้าแถว ครูเวรประตู สนามเทนนิสดูแลนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตอนเช้าที่บริเวณสนามเทนนิส ให้ครูเวรดูแลการแต่งกาย และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับนักเรียนอย่างเข้มงวด นักเรียนที่มาถึงโรงเรียนหลังเวลา 08.10 น. ถือว่ามา โรงเรียนสายถ้านักเรียนมีความผิดอื่นเพิ่มเติม ให้บันทึกความผิดในแบบบันทึกของกลุ่มบริหารงาน บุคคล นักเรียนที่มาโรงเรียนระหว่างเวลา 07.30 – 07.45 น. ตัด 1 คะแนน เวลา 07.45 – 08.10 น. ตัด 2 คะแนน เวลา 08.11 – 09.00 น.ตัด 3 คะแนน และนักเรียนที่มาโรงเรียนตั้งแต่เวลา 09.01 น. เป็นต้นไป จะถูกบันทึก “มาสาย” และตัด 5 คะแนน 2.5 การเข้าเรียนแต่ละคาบ นักเรียนต้องไปตามเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้ในตารางสอน ถ้านักเรียนเข้าห้องเรียนช้าหลังการสอนไปแล้ว 10 นาที ถือว่า “เข้าเรียนช้า” ถ้าไม่เข้าเรียนในคาบ ใดที่เป็นคาบเรียนให้ถือว่าหนีเรียน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 108 - นักเรียนที่เป็นเวรประจำวันต้องดูแลความสะอาดห้องเรียนให้สะอาดตลอดเวลา โดยเฉพาะ การเปิดปิดไฟ พัดลม และตู้ควบคุมสื่ออิเลคทรอนิค - ครูผู้สอนต้องรายงานนักเรียนที่เข้าเรียนช้า และหนีเรียนให้ครูที่ปรึก ษาทราบ ด้วยการบันทึกหลังจากเลิกเรียนทุกคาบ 2.6 นักเรียนต้องมีกระเป๋านักเรียนตามแบบที่โรงเรียนกำหนดเพื่อใส่หนังสือและอุปกรณ์การเรียน การไม่มีกระเป๋าถือว่ามีความผิด 3. การขาดเรียนและการลา 3.1 เมื่อนักเรียนไม่มาโรงเรียนโดยไม่ทราบสาเหตุ ถือว่านักเรียนมีความผิดฐาน“หนีเรียน” และมีเจตนาปกปิดไม่ให้ผู้ปกครองหรือโรงเรียนทราบ 3.2 ทุกครั้งที่นักเรียนไม่มาโรงเรียนให้รีบแจ้งครูที่ปรึกษาทางเบอร์โทรศัพท์ และต้องส่งใบลา ทันทีที่มาโรงเรียน เพื่อป้องกันการ “ออกจากบ้าน” แต่ “ไม่ถึงโรงเรียน”แล้วกลับบ้านให้ “ตรงเวลา” 3.3 ใบลาเป็นแบบที่ถูกต้องตามหลักการเขียนจดหมาย และต้องลงนาม โดยบิดามารดา หรือ ผู้ปกครองที่มามอบตัวนักเรียนเมื่อวันแรกเข้าเรียน ซึ่งมีลายเซ็นตัวอย่างไว้ที่โรงเรียนเท่านั้น และ โรงเรียนถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้ปกครองเมื่อนักเรียนไม่มาโรงเรียน 3.4 กรณีนักเรียนเข้ามาในบริเวณโรงเรียนแล้ว ต้องการออกไปนอกบริเวณโรงเรียนต้องปฏิบัติ ดังนี้ 3.4.1 ต้องมีผู้ปกครองที่มามอบตัวนักเรียนเมื่อวันแรกเข้าเรียน เป็นผู้มารับนักเรียนด้วย ตนเอง 3.4.2 กรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถมารับนักเรียนได้ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อม สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรที่ทางราชการออกให้ของผู้ปกครองมายืนยันเป็นหลักฐาน 3.4.3 โรงเรียนมอบหมายให้รองผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามอนุญาต ในบัตรขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน 3.4.4. กรณีนักเรียนเจ็บป่วยระหว่างเรียนให้แจ้งครูประจำห้องพยาบาล ซึ่งเป็นผู้ พิจารณาว่าควรให้นักเรียนลากลับบ้านหรือถ้าเห็นสมควรครูประจำห้องพยาบาลจะบันทึกส่งกลุ่ม บริหารงานบุคคล เพื่อทำบัตรอนุญาต (ต.อ.พ.ป.6) ต่อไป 3.5 โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียนในกรณี ดังนี้ 3.5.1 ผู้ปกครองขออนุญาตทางโทรศัพท์ 3.5.2 ผู้ปกครองให้บุคคลอื่นมารับตัวนักเรียนโดยมีใบลาที่ถูกต้อง และขัดต่อ ข้อ 3.4.2


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 109 3.5.3 นักเรียนอ้างว่าผู้ปกครองไม่อยู่หรือไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ 3.6 กรณีที่นักเรียนขาดเรียนโดยไม่ทราบสาเหตุโรงเรียนจะดำเนินการดังนี้ 3.6.1 มอบให้ครูที่ปรึกษาแจ้งผู้ปกครองตามความเหมาะสม เช่น โทรศัพท์จดหมาย ไปรษณียบัตร เมื่อนักเรียนขาดการติดต่อ 2-3 วัน และเป็นการแจ้งครั้งที่ 1 3.6.2 มอบให้ครูที่ปรึกษาร่วมกับหัวหน้าระดับแจ้งผู้ปกครองในนามกลุ่มบริหาร งานบุคคลโดยทางจดหมายหรือทางโทรศัพท์ เมื่อนักเรียนขาดเรียนติดต่อกัน 5 วัน และถือว่าเป็น การแจ้งครั้งที่ 2 3.6.3 มอบให้ครูที่ปรึกษากับหัวหน้าระดับเชิญผู้ปกครองมาโรงเรียน เพื่อปรึกษาใน นามกลุ่มบริหารงานบุคคล โดยจัดทำหนังสือเชิญส่งไป ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับเมื่อ นักเรียนขาดติดต่อกันเกิน 7 วัน และถือเป็นการแจ้งครั้งที่ 3 3.6.4 กรณีที่นักเรียนขาดเรียนติดต่อกัน 15 วัน โดยผู้ปกครองไม่แจ้งสาเหตุเป็นลาย ลักษณ์อักษร และครูที่ปรึกษาได้ดำเนินตามข้อ 3.6.1 ถึง 3.6.3 แล้ว ครูที่ปรึกษาแจ้งต่อฝ่าย ทะเบียนประกอบคำเสนอ ต่อรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ( เป็นไปตามระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการ ) เพื่อดำเนินการติดตามต่อไป 4. การเรียนในคาบเรียน 4.1 ในระหว่างเวลาเรียน นักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียนเท่านั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากครูผู้สอน 4.2 ห้ามใช้โทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใดระหว่างเวลาเรียน 4.3 ห้ามนำวิชาอื่นมาทำโดยไม่ได้รับอนุญาต 4.4 ต้องตั้งใจเรียน ฟังคำสั่งสอนและคำอธิบายของครู ด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่ลุกออกจาก ที่นั่งโดยไม่ได้รับอนุญาต 4.5 ในกรณีที่ครูไม่อยู่ในห้องเรียน ให้นักเรียนทุกคนอยู่ในห้องเรียนด้วยความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ไม่กระทำการใดๆ รบกวนห้องใกล้เคียงให้เป็นที่เดือดร้อน เมื่อเวลาผ่านไป 10 นาที แล้วครูยังไม่เข้าห้องสอนให้หัวหน้าห้องไปแจ้งที่สำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ 4.6 เมื่อมีการเปลี่ยนที่เรียน ให้นักเรียนเก็บอุปกรณ์การเรียนของตนเข้ากระเป๋า และนำติดตัว ไปเดินเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบด้วยความสงบ ไม่รบกวนห้องต่างๆ ที่เดินผ่าน 4.7 กรณีเปลี่ยนคาบเรียนหรือเปลี่ยนครูผู้สอนโดยไม่เปลี่ยนที่เรียนในช่วงเวลานี้ห้ามนักเรียน ออกนอกห้องเรียน ให้อยู่ในห้องเรียนด้วยความสงบเรียบร้อย เตรียมสมุดหนังสือหรืออุปกรณ์การ เรียนให้พร้อมที่จะเรียนวิชาต่อไป 4.8 กรณีเรียนนอกห้องเรียนหรือสนาม หรือห้องประชุม หรือที่อื่นใด รวมทั้งการพบครูที่ ปรึกษาในคาบโฮมรูมให้ปฏิบัติเสมือนกับอยู่ในห้องเรียน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 110 5. การขออนุญาตออกนอกห้องเรียนหรือเข้าห้องเรียนในขณะเรียน 5.1 เมื่อมีธุระต้องออกนอกห้องเรียนให้นักเรียนขออนุญาตครูผู้สอนและก่อนเข้าห้องเรียนต้อง ขออนุญาตทุกครั้งเช่นกัน 5.2 การขออนุญาตเข้าห้องเรียนต้องขออนุญาตเข้าที่ประตูหน้าห้องเรียน ห้ามขออนุญาตหรือ เข้าห้องเรียนทางประตูหลังห้องเรียน 5.3 เมื่อนักเรียนต้องการพบนักเรียนคนใด ในระหว่างที่ครูกำลังสอนต้องขออนุญาตครูผู้สอนก่อน 6. สิ่งของต้องห้ามมิให้นำมาโรงเรียน 6.1 ห้ามนักเรียนนำสิ่งของต่อไปนี้เข้ามาในโรงเรียนโดยเด็ดขาด 6.1.1 บุหรี่ สุรา ของมึนเมาหรือยาเสพติดทุกประเภท 6.1.2 อุปกรณ์การเล่นพนันทุกประเภท 6.1.3 อาวุธ วัตถุระเบิด สิ่งของที่สามารถใช้เป็นอาวุธ ไม่ใช่อุปกรณ์การเรียนทุก ประเภท 6.1.4 ของผิดกฎหมายทุกชนิด 6.2 ห้ามนักเรียนใช้หรือนำมาในโรงเรียนเพื่อใช้ในขณะแต่งเครื่องแบบนักเรียน 6.2.1 เครื่องประดับทุกประเภท 6.2.2 เครื่องสำอางทุกประเภท 6.3 ห้ามนักเรียนนำสิ่งต่อไปนี้เข้ามาในโรงเรียน เว้นแต่ได้รับอนุญาตล่วงหน้าแล้ว หรือเป็น รายกรณี 6.3.1 รถยนต์ รถจักรยานยนต์ 6.3.2 เครื่องดนตรี เครื่องเสียง 6.3.3 ของเล่นทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่น เช่น ธนูลูกดอก รองเท้าสเก็ต 6.3.4 สินค้าทุกประเภทที่นำมาเพื่อจำหน่ายในโรงเรียน 6.4 กรณีที่นักเรียนนำสิ่งของต้องห้ามตามระเบียบมาโรงเรียน โรงเรียนจะไม่รับผิดชอบ ถ้ามีการ สูญหาย ทั้งที่ถูกยึดไว้หรือมิได้ถูกยึดไว้ เพราะถือว่านักเรียนทำผิดกฎระเบียบและได้ห้ามไว้แล้ว 6.5 กรณีที่นักเรียนทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน โรงเรียนมอบหมายให้ครูยึดสิ่งของนั้น ไว้ก่อนแล้วเชิญผู้ปกครองมารับคืน 6.6 ผู้ปกครองต้องมารับของด้วยตัวเองภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกยึดของ ณ สำนักงานกลุ่ม บริหารงานบุคคล มิฉะนั้นโรงเรียนจะถือว่านักเรียนและผู้ปกครองไม่ประสงค์จะมารับของคืน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 111 7. การรับประทานอาหารในโรงเรียน 7.1 นักเรียนรับประทานอาหารในบริเวณโรงอาหารเท่านั้น และห้ามนำอาหารหรือภาชนะ ต่างๆ ออกนอกโรงอาหาร 7.2 นักเรียนรับประทานอาหารได้เฉพาะเวลาที่กำหนดเท่านั้นคือ 7.2.1 ก่อน 07.15 น. 7.2.2 คาบพักกลางวัน คือ รอบแรก ม.1, ม.2, ม.3 (11.30 น. - 12.20 น.) รอบสอง ม.4, ม.5, ม.6 (12.20 น. - 13.10 น.) 7.3 การเปิดขายอาหารในโรงอาหาร นักเรียนสามารถซื้อได้และรับประทานได้ตามเวลาที่ กำหนดในข้อ 7.2 เท่านั้น 7.4 ในระหว่างเวลาเรียน เวลาสอน ห้ามนักเรียนออกไปซื้อหรือสั่งอาหารจากภายนอกมา รับประทาน 7.5 อนุญาตให้นักเรียนนำอาหารมาจากบ้านได้ เฉพาะเพื่อนำมารับประทานในโรงอาหาร เท่านั้น และรับประทานตามเวลาที่กำหนดในข้อ 7.2 เท่านั้น 7.6 นักเรียนต้องรับประทานอาหารอย่างมีมารยาท ห้ามนั่งบนโต๊ะอาหาร หรือทิ้งเศษอาหารไว้ บนโต๊ะ 7.7 วัสดุโรงอาหารหรือภาชนะ โต๊ะ ม้านั่ง รวมทั้งพื้นและฝาผนัง ล้วนเป็นของใช้ร่วมกัน นักเรียนต้องช่วยกันรักษาความสะอาดและรักษาสภาพของวัตถุเหล่านั้น รวมทั้งปฏิบัติตาม สุขลักษณะที่ถูกต้อง 7.8 เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วให้เก็บภาชนะและทิ้งเศษอาหารในที่ที่กำหนดให้เท่านั้น 8. การแสดงความเคารพของนักเรียน 8.1 การแสดงความเคารพของนักเรียน อาจทำได้หลายวิธีเช่น ยืนตรง คำนับ ไหว้กราบ วันทยาหัตถ์ วันทยาวุธ รวมทั้ง การแสดงกิริยาวาจาอย่างสำรวม อย่างสงบนิ่งหรือนอบน้อม หรือการแสดงความเคารพตามแบบของศาสนาต่างๆ ด้วย ซึ่งนักเรียนต้องใช้ตามกาลเทศะที่ เหมาะสมตามเวลาในชีวิตประจำวันทั้งในและนอกโรงเรียน 8.2 ผู้ที่นักเรียนต้องแสดงความเคารพตามขนบธรรมเนียมเสมอคือ บิดา มารดา ครู ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่ควรเคารพอื่นๆ พร้อมทั้งใช้กิริยาวาจาที่สุภาพกับท่านเสมอทั้งในและนอก โรงเรียน 8.3 นักเรียนต้องทำความเคารพครู ตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยทั้งในและนอกโรงเรียน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 112 8.4 การทำความเคารพในห้องเรียน ให้ทำดังนี้ 8.4.1 เมื่อผู้ที่ควรเคารพเข้ามาในห้องเรียน ให้หัวหน้าห้องเป็นผู้บอกทำ ความเคารพด้วย คำว่า “นักเรียนเตรียม” ให้นักเรียนหยุดทำงานทันทีแล้วหัวหน้าบอกต่อทันทีว่า “ทำความเคารพ” ให้นักเรียนทุกคนทำความเคารพพร้อมกัน 8.4.2 เมื่อนักเรียนจะพูดกับครูให้ “ยืนตรง” 8.4.3 เมื่อจะพบครูหรือจะกลับให้ “ไหว้” 8.5 การทำความเคารพครูนอกห้องเรียน 8.5.1 เมื่ออยู่ในแถว ให้หัวหน้าสั่งว่า “แถว...ตรง” นักเรียนทุกคน “ยืนตรง” 8.5.2 ขณะครูเดินผ่านให้นักเรียนหยุดยืนตรงแล้ว “ไหว้” 8.5.3 เมื่อนักเรียนยืนอยู่กับที่นักเรียนจะเดินผ่าน หรือครูจะเดินนำหน้านักเรียน จะเดินแซงไปให้นักเรียน “ไหว้” แล้วเดินก้มตัวเล็กน้อยค่อยเดินผ่านหรือแซงไป 8.5.4 นอกโรงเรียน นักเรียนทำความเคารพตามความเหมาะสมแก่กาลเทศะ 8.6 การทำความเคารพกรณี อื่นๆ ให้ถือระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการ เคารพของนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2530 ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2530 8.7 นักเรียนต้องสุภาพอ่อนโยนต่อบุคคลทั่วไปรู้จักคำว่า “สวัสดี” “ขอโทษ” และ “ขอบคุณ” ตามโอกาสที่เหมาะสมอยู่เสมอ 8.8 นักเรียนต้องเข้าแถวในพิธีเชิญธงชาติเพื่อแสดงความเคารพสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสถาบันโรงเรียน รวมทั้งฟังโอวาทคำชี้แจงจากครูด้วยความสงบและสำรวม งดภารกิจอื่นๆ เป็นการชั่วคราว 8.9 ขณะที่นักเรียนอยู่ในแถวหรือที่ประชุม เมื่อประธานหรือวิทยากรขึ้นพูดพิธีกร หรือหัวหน้า จะสั่ง “นักเรียนทำความเคารพ” นักเรียนทำความเคารพโดยการ “ไหว้” พร้อมกับคำ กล่าวว่า “สวัสดีครับ/ค่ะ” 8.10 แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนที่นักเรียนเข้ามาเรียน 8.10.1 แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน เมื่ออยู่นอกเครื่องแบบนักเรียน ก็ต้องแต่งกายสุภาพ 8.10.2 แนะนำผู้ปกครองหรือผู้อื่นที่เข้ามาในโรงเรียนให้แต่งกายสุภาพ 8.10.3 ไม่ขีดเขียนหรือพ่นสีตามสถานที่และวัตถุต่างๆ ในโรงเรียน 8.10.4 ไม่ทำลายต้นไม้หรือทรัพย์สินของโรงเรียน 8.10.5 ไม่แสดงกิริยา วาจาหยาบคาย และก้าวร้าวต่อบุคคลทั่วไป 8.10.6 ไม่เล่นในที่ที่โรงเรียนห้ามเล่น


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 113 8.10.7 ไม่นำสิ่งที่ครู และนักเรียนคนอื่นๆ เคารพ เช่น พระพุทธรูปในโรงเรียน ธงชาติ ธงประจำโรงเรียนเป็นต้น ไปทำให้เสื่อมเสียหรือเสียหาย 8.10.8 เคารพโรงเรียนโดยปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน 9. การอยู่ในโรงเรียนนอกเวลาเรียน 9.1 นอกเวลาเรียนในที่นี้หมายถึง เวลาก่อนพิธีเคารพธงชาติ และหลังเลิกเรียนคาบสุดท้าย 9.2 เมื่อนักเรียนมาก่อนพิธีเคารพธงชาติ นักเรียนควรใช้เวลาในการเตรียมการเรียน หรือค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ ในโรงเรียน เช่น ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ป้ายประกาศป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายนิเทศ หรือพบครู เพื่อปรึกษาหรือฝึกงานต่างๆ โดยให้ นักเรียนขึ้นอาคารเรียนได้เวลา 06.30 น. 9.3 หลังเลิกเรียนจะอยู่บนอาคารเรียนได้ถึงเวลา 16.00 น. และจะอยู่ในโรงเรียนได้จนถึงเวลา 17.00 น. ยกเว้นนักเรียนที่มีกิจกรรมซึ่งครูควบคุมดูแลอยู่ และถ้าจำเป็นต้องอยู่รอผู้ปกครองให้ นักเรียนอยู่รอบริเวณสวนศรีพัฒนาเฉลิมพระเกียรติ หรือหน้าห้องศูนย์ความเป็นเลิศ 9.4 กรณีเกิดเหตุด่วน เหตุร้าย อุบัติภัย หรือภัยธรรมชาติใดๆ ที่นักเรียนไม่สามารถกลับบ้านได้ หลัง 18.00 น. ให้นักเรียนรายงานครูเวรทันที 10. การเดินทางและการจราจร 10.1 ห้ามนักเรียนขับขี่รถยนต์ หรือจักรยานยนต์ มาโรงเรียน 10.2 นักเรียนต้องแจ้งให้ผู้ปกครองร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎจราจรดังนี้ 10.2.1 จอดรถรับ – ส่ง นักเรียนที่หน้าโรงเรียน บริเวณที่ได้รับอนุญาตให้จอดเท่านั้น 10.2.2 ไม่จอดรถรอนักเรียนในโรงเรียน ในที่ห้ามจอด หรือจอดกีดขวางการจราจร ภายในโรงเรียน หรือจอดรถโดยไม่ดับเครื่องยนต์ 10.2.3 ห้ามใช้สัญญาณแตรรถหรือเร่งเครื่องรถให้เกิดเสียงดังเกินกว่าปกติในโรงเรียน 10.2.4 ห้ามเด็กและผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตขับขี่ ขับรถในโรงเรียน 10.2.5 เชื่อฟังการปฏิบัติงานของครูเวร ยามรักษาการณ์หรือลูกเสือสัญจร ซึ่งอำนวย ความสะดวกเรื่องจราจรของโรงเรียน 10.3 การเดินบนถนนทั้งในและนอกโรงเรียน นักเรียนต้องเดินบนทางเท้าเสมอ กรณีที่ไม่มีทาง เท้าให้เดินชิดขอบทางด้านขวา 10.4 ไม่เล่นบนถนนทั้งในและนอกโรงเรียน 10.5 เมื่อเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ห้ามห้อยโหนหรือยืนบนบันได หรือช่องทางขึ้นลง และต้องเอื้อเฟื้อผู้อ่อนแอกว่า เช่น คนพิการ สตรีมีครรภ์ คนชรา คนป่วยเป็นต้น


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 114 10.6 ข้ามถนนในทางข้าม ใช้สะพานข้ามถนน และช่วยเหลือเอื้อเฟื้อคนพิการด้วย 10.7 ระหว่างทางไม่ว่าโดยการเดินเท้าหรือโดยสารรถ นักเรียนต้องรักษาชื่อเสียงของโรงเรียน เสมอโดย 10.7.1 แต่งกายให้เรียบร้อย 10.7.2 ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นหรือ ไม่แสดงกิริยา วาจาหยาบคาย ก้าวร้าวทั้งต่อ เพื่อน และบุคคลอื่น 10.8 ก่อนออกจากบ้านและกลับถึงบ้าน ต้องทำความเคารพบิดา มารดาและผู้ปกครองเมื่อ มาถึงโรงเรียนและก่อนออกจากโรงเรียนต้องทำความเคารพครูผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรประตู 11. บัตรประจำตัวนักเรียน 11.1 นักเรียนที่เข้าใหม่โรงเรียนจะดำเนินการทำบัตรประจำตัวนักเรียนให้ 11.2 ในกรณีที่นักเรียนทำบัตรหาย หรือบัตรชำรุด นักเรียนที่เป็นเจ้าของบัตรจะต้องรีบขอทำ บัตรใหม่ พร้อมทั้งชำระเงินค่าบัตร ครั้งละ 100 บาท และจะต้องเซ็นชื่อรับบัตรด้วยตนเอง 11.3 นักเรียนคนใดที่ขอทำบัตรใหม่แล้ว บัตรเก่าถือว่าเป็นโมฆะ จะนำมาใช้แสดงเพื่อทำ กิจกรรมใดๆ ของโรงเรียนไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนและตรวจพบนักเรียนจะได้รับโทษสถานหนัก 11.4 สิทธิการใช้บัตรนักเรียนจะสิ้นสุดเมื่อจบหลักสูตร หรือพ้นสถานภาพการเป็นนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 12. ระเบียบข้อบังคับและกฎหมายต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตาม 12.1 กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 12.2 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ พ.ศ. 2564 12.3 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าด้วยคะแนนความประพฤตินักเรียน พ.ศ. 2564 12.4 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าด้วยการแต่งกาย และทรงผมนักเรียน พ.ศ.2564 12.5 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าด้วยกิจกรรมคณะสีพ.ศ. 2550 13. คุณสมบัติอื่น ๆ ของการเป็นนักเรียน 13.1 เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยความบริสุทธิ์ใจ 13.2 ไม่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีความ หรือการถูกลงโทษทางกฎหมาย


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 115 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าด้วยคะแนนความประพฤตินักเรียน พ.ศ. 2564 เพื่อให้การดูแลแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน มีหลักเกณฑ์ในการดำเนินการลงโทษอย่างเป็น ขั้นตอนสามารถปฏิบัติได้เป็นแบบเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้คะแนนความประพฤติ สอดคล้องกับกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและเป็นเกณฑ์การพิจารณาดำเนินการลงโทษหรือ แก้ไขความประพฤตินักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนเป็นกำลังใจแก่นักเรียนที่ประพฤติดี ประพฤติชอบ จึงวางระเบียบว่าด้วยคะแนนความ ประพฤตินักเรียนไว้ดังนี้ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ” ว่าด้วยคะแนนความ ประพฤตินักเรียน พ.ศ. 2564 2. ในระเบียบนี้ คำว่า “นักเรียน” หมายถึง นักเรียนปัจจุบันของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ คำว่า “ครู” หมายถึง ครูปัจจุบันของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ คำว่า “ผู้อำนวยการ” หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของโรงเรียนเตรียม อุดมศึกษาพัฒนาการ คำว่า “รองผู้อำนวยการ” หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการของโรงเรียนเตรียม อุดมศึกษาพัฒนาการ คำว่า “ผู้ช่วยผู้อำนวยการ” หมายถึง ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ของโรงเรียน คำว่า “โรงเรียน” หมายถึง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ คำว่า “คะแนน” หมายถึง คะแนนความประพฤตินักเรียน 3. กำหนดให้นักเรียนทุกคนมีคะแนนความประพฤติคนละ 100 คะแนนทันทีที่เข้าเป็น นักเรียน และนักเรียนทุกคนต้องรักษาคะแนนนี้ไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 70 คะแนนตลอดช่วงชั้น ถ้านักเรียน มีคะแนนความประพฤติ ต่ำกว่า 70 คะแนน ถือว่าไม่ผ่านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4. นักเรียนจะถูกตัดคะแนนตามระเบียบนี้ เมื่อกระทำการใดๆ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ แบบแผน และข้อบังคับของโรงเรียน 5. ครูทุกคนมีสิทธิ์ “เพิ่มคะแนน” ตามความเหมาะสมของความดีของนักเรียนตามเกณฑ์ที่ กำหนด ไว้ในระเบียบนี้


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 116 6. ครูทุกคนมีสิทธิ์ “ตัดคะแนน” ตามความเหมาะสมของความผิดของนักเรียนตาม ระเบียบนี้โดยเมื่อรวมคะแนนแต่ละครั้งแล้วไม่เกินเกณฑ์ต่อไปนี้ 6.1 ครูทุกคนมีสิทธิ์ตัดคะแนนได้ครั้งละไม่เกิน 10 คะแนน 6.2 หัวหน้าระดับ รองหัวหน้าระดับ หัวหน้าคณะ รองหัวหน้าคณะ และหัวหน้างานใน กลุ่มบริหารงานบุคคล หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้มีสิทธิ์ตัดคะแนนนักเรียนคนใด คนหนึ่งได้ครั้งละ ไม่เกิน 30 คะแนน 6.3 ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนมีสิทธิ์ตัดคะแนนนักเรียนคนใดคนหนึ่งได้ครั้งละไม่เกิน 40 คะแนน 6.4 รองผู้อำนวยการมีสิทธิ์ตัดคะแนนนักเรียนคนใดคนหนึ่งได้ครั้งละไม่เกิน 50 คะแนน 6.5 การตัดคะแนนเกิน 40 ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่มบริหารงานบุคคล พิจารณาคะแนนความประพฤติตามข้อ 8 7. การตัดคะแนนตามข้อ 6.1 – 6.5 จะมีผลเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรองผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล 8. ให้คณะกรรมการกลุ่มบริหารงานบุคคลพิจารณาคะแนนความประพฤติประกอบด้วย 8.1 รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ประธาน 8.2 ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน รองประธาน 8.3 หัวหน้าระดับทุกระดับ กรรมการ 8.4 หัวหน้าคณะทุกคณะ กรรมการ 8.5 ครูที่ปรึกษา กรรมการ 8.6 คณะกรรมการที่โรงเรียนแต่งตั้ง กรรมการ 9. นักเรียนจะถูกพิจารณาลงโทษ เมื่อรวมคะแนนที่ถูกตัดเป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังนี้ 9.1 20 – 30 คะแนน แจ้งผู้ปกครองรับทราบครั้งที่ 1 9.2 30 – 39 คะแนน เชิญผู้ปกครองมารับทราบครั้งที่ 2 ขอความร่วมมือควบคุมดูแล แก้ไข ปรังปรุงพฤติกรรมของนักเรียน 9.3 40 – 49 คะแนน เชิญผู้ปกครองพบและทำทัณฑ์บน 9.4 50 คะแนนขึ้นไป หยุดปรับปรุงพฤติกรรรม ทำกิจกรรมตามที่โรงเรียนได้รับมอบหมาย 9.5 หากนักเรียนกระทำความผิดอีกไม่ว่าจะเป็นความผิดใดๆ ให้เชิญผู้ปกครองมาร่วม แก้ปัญหา และให้นักเรียนเปลี่ยนสถานศึกษา


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 117 9.6 สำหรับนักเรียนชั้น ม. 3 ผู้ที่ถูกตัดคะแนนตั้งแต่ 50 คะแนนขึ้นไปของช่วงชั้น หรือ ถูกลงโทษทำทัณฑ์บน 2 ครั้งขึ้นไป จะไม่ได้รับการพิจารณาให้เข้าเรียนต่อชั้น ม. 4 10. ผู้อำนวยการมีสิทธิ์ยับยั้ง ลด เพิ่ม การตัดคะแนน การเพิ่มคะแนน การลงโทษ ทุกประเภท ทุกกรณีตามที่เห็นสมควร 11. โรงเรียนมอบหมายการลงโทษนักเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ตามความเหมาะสมดังนี้ 11.1 มอบหมายครูทุกคนว่ากล่าวตักเตือน หรือตัดคะแนนด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตาม ระเบียบนี้ โดยประสานงานกับครูที่ปรึกษาและหัวหน้าระดับเชิญผู้ปกครองร่วมแก้ปัญหา 11.2 มอบหมายรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ลงโทษนักเรียนโดยทำทัณฑ์บน เป็นหนังสือ และเชิญบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิดและรับรองการทำทัณฑ์ บนไว้ด้วย 11.3 มอบหมายให้หัวหน้าระดับหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการกลุ่ม บริหารงานบุคคลลงโทษนักเรียน โดยมอบหมายให้ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 118 12. เกณฑ์การตัดคะแนน กรณีความผิด ไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ 1.การแต่งกาย 1.1 ทรงผมผิดระเบียบแก้ไขโดยเร็ว 1.2 ทรงผมผิดระเบียบแก้ไขไม่ได้โดยเร็ว 1.3 ไว้หนวดเครา จอน 1.4 เสื้อ กางเกง กระโปรง เข็มขัด ถุงเท้า รองเท้า คอซอง ผิดระเบียบ (ทุกกรณี) 1.4.1 เสื้อ 1.4.2 กางเกง/กระโปรง 1.4.3 เข็มขัด 1.4.4 ถุงเท้า/รองเท้า 1.4.5 คอซองผิดระเบียบ 1.5 ไม่ปักจุด (แห่งละ) 1.6 มีหรือใช้เครื่องประดับมีค่าหรือไม่ เหมาะสมต่อการเป็นนักเรียน 1.7 มีหรือใช้เครื่องสำอางเสริมแต่ง 1.8 ไว้เล็บยาว , เคลือบเล็บ , ทาสีเล็บ 1.9 ตกแต่งทรงผม เช่น ทำสี ถัก โกน ต่อผม โบว์ที่คาดผม 1.10 สวมหมวก 1.11 สวมแว่นตาที่ไม่ใช่แว่นสายตาหรือกรอบสี ฉูดฉาด , สวมคอนแทคเลนส์สีสันแฟชั่น 1.12 สวมชุดพลศึกษาในวันที่ไม่มีการเรียน พลศึกษา และวันที่มีการสอบ 1.13 เจาะหู ใส่ตุ้มหู ผิดระเบียบหรือเจาะอวัยวะ อื่นตามแฟชั่น และห้ามนักเรียนชายเจาะหู 1.14 สัก, เขียนลาย ติดสติ๊กเกอร์ตามอวัยวะอื่นๆ 1.15 นักเรียนหญิงไม่สวมเสื้อซับใน 1.16 สวมเสื้อซับในสีฉูดฉาดหรือมีลวดลาย 1.17 นักเรียนกันคิ้ว, เขียนคิ้ว, แต่งหน้า, ทาปาก 5 20 5 20 5 5 5 5 5 5 5 10 10 20 5 10 10 10 20 5 10 5 ให้โอกาสแก้ไขไม่เกิน 1 วัน รายงานตัวเป็นประจำ ให้โอกาสแก้ไขไม่เกิน 1 วัน ให้โอกาสแก้ไขไม่เกิน 1 วัน ให้โอกาสแก้ไขไม่เกิน 1 วัน ให้โอกาสแก้ไขไม่เกิน 1 วัน ให้โอกาสแก้ไขไม่เกิน 1 วัน ให้โอกาสแก้ไขไม่เกิน 1 วัน ให้โอกาสแก้ไขไม่เกิน 1 วัน ให้โอกาสแก้ไขไม่เกิน 1 วัน ยึดและเชิญผู้ปกครองมารับ ด้วยตนเองภายใน 7 วัน ให้แก้ไขทันที ให้แก้ไขทันที ให้แก้ไขทันที ยึดและเชิญผู้ปกครองมารับ ยึดและเชิญผู้ปกครองมารับ อบรมแก้ไขตามกรณี เชิญผู้ปกครองแก้ไขตามกรณี เชิญผู้ปกครองแก้ไขตามกรณี อบรมแก้ไขตามกรณี อบรมแก้ไขตามกรณี อบรมแก้ไขตามกรณี


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 119 กรณีความผิด ไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ 1.18 ไม่ติดเข็มพระเกี้ยว (ระดับม.ปลาย) 1.19 ไม่มีโบว์ผูกผม 1.20 นักเรียนชายไม่อนุญาตให้ใส่เสื้อยืดคอ กลมภายในเสื้อนักเรียน 2. การเรียนและการร่วมกิจกรรมในโรงเรียน 2.1 มาโรงเรียนสาย (อ้างอิงข้อมูลในระบบ Checker) 2.1.1 มาโรงเรียนเวลา 07.31 – 07.45 น. 2.1.2 มาโรงเรียนเวลา 07.46 – 08.10 น. 2.1.3 มาโรงเรียนเวลา 08.11 – 09.00 น. 2.1.4 มาโรงเรียนเวลา 09.01 – 16.00 น. 2.2 เข้าเรียน / เข้าแถว / เข้าประชุมช้ากว่าที่ โรงเรียนกำหนด 2.3 หนีเรียน / หนีแถว / หนีประชุม / ไม่เข้า ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัด 2.4 หนีโรงเรียน หรือขาดเรียนโดยไม่มีเหตุผล อันควร 2.5 ไม่เข้าร่วมกิจกรรมโฮมรูม 2.6 ไม่บันทึกข้อมูลการมาโรงเรียน 2.7 รบกวนผู้อื่นขณะมีการเรียนหรือไม่สนใจ การเรียนหรือทำกิจกรรมอื่น 2.8 ไม่นำกระเป๋านักเรียนมาโรงเรียน (ในวันที่มีการเรียนการสอน) 2.9 ใช้กระเป๋านักเรียนผิดระเบียบ 2.10 ไม่มีสมุด หรืออุปกรณ์การเรียน 2.11 ไม่ทำการบ้าน หรือไม่ส่งงานครู 2.12 ไม่ไปรายงานตัวตามที่ครูนัดหมายหรือฝ่าฝืน คำสั่งครู 2.13 ไม่ส่งใบลา 2.14 ทุจริตในการสอบ 5 5 5 5 1 2 3 5 5 10 30 5 5 5 10 10 5 5 10 5 30 ให้แก้ไขทันที ให้แก้ไขทันที อบรมแก้ไขตามกรณี เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข ให้โอกาสอีกไม่เกิน 1 วัน พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 120 กรณีความผิด ไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ 3. พฤติกรรมทางเพศและพฤติกรรมก้าวร้าว 3.1 กระทำอนาจาร 3.2 แสดงอาการของความพอใจทางเพศ เช่น โอบกอด จับมือถือแขน 3.3 ชายหญิงอยู่ในที่ลับตาสองต่อสอง 3.4 มี / เผยแพร่ / พกพาสื่อลามกทุกชนิด 3.5 ประพฤติตัวไม่เหมาะสมตามจารีตประเพณี 4. พฤติกรรมก้าวร้าว ทะเลาะวิวาท 4.1 กลั่นแกล้ง ล้อเลียนผู้อื่น 4.2 กล่าวคำหยาบ ส่อเสียด ด่าทอ เหน็บแนม นินทา 4.3 หมิ่นประมาท 4.4 ก้าวร้าวต่อบุคคลอื่น หรือบุพการี ผู้อื่น ด้วยกิริยาท่าทาง วาจาไม่สุภาพ หรือด้วย ลายลักษณ์อักษร 4.5 ก้าวร้าวต่อครูหรือกระด้างกระเดื่องต่อครู 4.6 ทะเลาะวิวาท 4.7 ก่อเหตุทะเลาะวิวาทหรือยุยงส่งเสริมให้ ก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือทะเลาะวิวาท เป็นกลุ่ม 4.8 พกอาวุธ หรือเจตนาใช้วัสดุอื่นเป็นอาวุธ 4.9 ทำร้ายร่างกาย 4.10 ข่มขู่นักเรียนด้วยกัน 50 30 30 20 10 10 10 20 30 30 30 50 50 50 30 พิจารณาให้รับโทษขั้นสูงสุด เชิญผู้ปกครองมารับทราบและ หาทางแก้ไข พิจารณาโทษขั้นสูงสุด เชิญผู้ปกครองมารับทราบและ หาทางแก้ไข เชิญผู้ปกครองมารับทราบและ หาทางแก้ไข เชิญผู้ปกครองมารับทราบและ หาทางแก้ไข เชิญผู้ปกครองมารับทราบและ หาทางแก้ไข เชิญผู้ปกครองมารับทราบและ หาทางแก้ไข พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง เชิญผู้ปกครองมารับทราบและหา ทางแก้ไข


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 121 กรณีความผิด ไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ 5. อบายมุขต่างๆ 5.1 เข้าไปแหล่งอบายมุขหรือสถานที่ที่ไม่ เหมาะสมกับสภาพนักเรียน 5.2 สูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าหรือมีบุหรี่ในครอบครอง 5.3 ดื่มหรือมีสุราหรือของมึนเมา 5.4 มีหรือเสพหรือจำหน่ายสิ่งเสพติด 5.5 เล่นหรือมีอุปกรณ์การพนันทุกชนิด 6. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน 6.1 ลักทรัพย์ ฉ้อโกง กรรโชกทรัพย์ 6.2 เปิดไฟ เปิดพัดลม เปิดน้ำทิ้งไว้ โดยไม่มี เหตุผลอันสมควร 6.3 ขีดเขียน พ่นสีต่างๆ ขว้างปา หรือทำให้ ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหาย 6.4 การนำอุปกรณ์สื่อสารมาใช้ไม่ถูกกาลเทศะ 6.6 การนำเงินจำนวนมากมาโรงเรียนโดยไม่มี เหตุจำเป็น 6.7 เล่นกีฬาในที่ห้ามเล่น 7. การรักษาความสะอาด 7.1 สั่งน้ำมูกหรือถ่มน้ำลายไม่เป็นที่ 7.2 ทิ้งขยะไม่เป็นที่ 30 50 50 50 30 30 5 30 10 10 10 5 10 พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง และส่งไปเสียค่าปรับตาม กฎหมาย พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง และส่งไปเสียค่าปรับตาม กฎหมาย พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง และส่งไปเสียค่าปรับตาม กฎหมาย อบรม ชดใช้ค่าเสียหายและ พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง ชดใช้ค่าเสียหายและพิจารณา ให้รับโทษขั้นสูง ยึดและเชิญผู้ปกครองมารับด้วย ตนเองภายใน 7 วัน อบรม อบรม อบรม อบรม


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 122 กรณีความผิด ไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ 7.3 ไม่ทำเวรรักษาความสะอาดห้องเรียน 7.4 รับประทานอาหารหรือนำอาหารขึ้นไปบน อาคาร 7.5 นำอาหารออกจากบริเวณโรงอาหารโดย ไม่ได้รับอนุญาต 7.6 เดินรับประทานอาหาร 7.7 รับประทานอาหารในเวลาเรียน 7.8 นำอุปกรณ์การรับประทานอาหารออกจาก บริเวณโรงอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต 7.9 ไม่เก็บภาชนะที่ใช้รับประทานให้เรียบร้อย 7.10 ทำให้เกิดความสกปรกภายในโรงเรียน ด้วยวิธีต่างๆ 8. ความปลอดภัย 8.1 นำรถยนต์ รถจักรยานยนต์มาโรงเรียน 8.2 ข้ามถนนหน้าโรงเรียนในที่ห้ามข้าม 8.3 นำพาบุคคลภายนอกเข้ามาโดยไม่ได้รับ อนุญาต 8.4 ให้บุคคลภายนอกแต่งชุดนักเรียน แล้วนำ เข้ามาในโรงเรียน 8.5 ให้ผู้ปกครองเข้ามารับ – ส่งบุตรหลาน ภายในโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต 8.6 สั่งซื้ออาหาร/สิ่งของจากภายนอกโรงเรียน และนำเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต 10 10 10 10 10 10 10 10 30 10 20 30 5 10 อบรม อบรม อบรม อบรม อบรมและยึดอาหารไว้จนกว่าจะ ถึงคาบพักรับประทานจึงให้ นักเรียนรับคืน อบรม อบรม อบรม อบรมและให้แก้ไข/ทำให้เป็นปกติ อบรมและเชิญผู้ปกครองร่วม แก้ไข อบรม อบรม พิจารณาให้รับโทษ อบรม พิจารณาให้รับโทษ เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 123 13. ความผิดอื่นที่มิได้ระบุไว้ในข้อ 12 หรือจำเป็นต้องตีความให้คณะกรรมการกลุ่มบริหาร งานบุคคล ตามข้อ 8 พิจารณาคะแนนความประพฤตินักเรียนและตีความ กรณีความผิด ไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ 9. เอกสารและความผิดอื่นๆ 9.1 ไม่พกบัตรประจำตัวนักเรียน 9.2 ปลอมลายเซ็นผู้ปกครอง และบุคคลอื่น 9.3 แก้ไขเอกสารของโรงเรียน ของผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่น หรือทำเอกสารปลอม 9.4 นำบุคคลอื่นมาแอบอ้างเป็นผู้ปกครอง 9.5 แอบอ้างชื่อบุคคลอื่นมาเป็นชื่อตน 9.6 กล่าวเท็จ ให้การเท็จ 9.7 นำเอกสารของโรงเรียนไปใช้แอบอ้าง หรือไม่เป็นไปตามที่โรงเรียนมอบหมาย 9.8 ไม่นำหนังสือเชิญผู้ปกครองไปให้ผู้ปกครอง ตามที่ได้รับมอบหมาย 9.9 ประพฤติผิดนอกโรงเรียน โดยแต่งกาย เครื่องแบบนักเรียนหรือโดยประกาศตนเป็น นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ หรือกระทำการใดอันทำให้โรงเรียนเสื่อมเสีย 9.10 ประพฤติผิดนอกโรงเรียนหรือกระทำการใด อันทำให้ตนเองได้รับโทษและถูกดำเนินคดี ตามกฎหมาย 5 30 30 30 30 20 20 10 50 อบรม พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไข พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง พิจารณาให้รับโทษขั้นสูง สิ้นสุดสภาพการเป็นนักเรียน หมายเหตุ โทษขั้นสูง 1. ทำทัณฑ์บน 2. ตัดคะแนนความประพฤติ 3. ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 124 14. การเพิ่มคะแนนความประพฤติดี และประพฤติชอบดังต่อไปนี้ กรณีความดี ไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ 14.1 แต่งกายถูกต้องเรียบร้อยและประพฤติตน ตามระเบียบของโรงเรียน 14.2 ได้รับรางวัลจากการประกวด การแข่งขัน หรือกิจกรรมระหว่างโรงเรียนระดับชาติ ประเภทต่างๆ 14.3 เก็บเงินหรือสิ่งของมีค่าของผู้อื่นได้และนำส่ง 14.4 หารายได้พิเศษช่วยเหลือจุนเจือครอบครัว เป็นประจำจนถือว่าเป็นแบบอย่างได้ 14.5 เป็นนักเรียนผู้นำหรือปฏิบัติหน้าที่สม่ำเสมอ โดยไม่มีข้อบกพร่อง 14.6 เป็นกรรมการนักเรียนและปฏิบัติหน้าที่ สม่ำเสมอโดยไม่มีข้อบกพร่อง 14.7 เป็นกรรมการคณะสีและปฏิบัติหน้าที่ สม่ำเสมอโดยไม่มีข้อบกพร่อง 14.8 เป็นสารวัตรนักเรียนและปฏิบัติหน้าที่ สม่ำเสมอโดยไม่มีข้อบกพร่อง 14.9 แจ้งเหตุหรือแจ้งข่าวให้ครูทราบจนเป็นผลดี ต่อการปกครองนักเรียน 14.10 เต็มใจช่วยเหลืองานโรงเรียนหรือช่วยครู ทำงานโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ 14.11 เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดีเป็นที่ประจักษ์ 14.12 เป็นผู้มีความความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 14.13 เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรทางการเรียน และกิจกรรม 14.14 เป็นผู้มีความประพฤติดีและชักจูงเพื่อน ไม่ให้มั่วสุมกับอบายมุข 10 10 5-10 5-10 5-10 5-10 5-10 5-10 5-10 5-10 5 5 5 5-10 พิจารณาเมื่อสิ้นปี แต่ละชั้นปี ปีละ 10 คะแนน กิจกรรมที่นอกเหนือจาก ด้านวิชาการ อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 125 กรณีความดี ไม่เกิน (คะแนน/ครั้ง) หมายเหตุ 14.15 บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อยู่เสมอ 14.16 เป็นผู้มีความอ่อนน้อม ถ่อมตน จรรยา มารยาทงดงาม 14.17 ชักจูงเพื่อนเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อโรงเรียนและชุมชน 5-10 5-10 5-10 อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ การกระทำความดีความชอบตามข้อ 14 นี้ ต้องมีหลักฐานชัดเจน หรือมีผู้รับรองที่เชื่อถือได้ ประกอบการเสนอเพิ่มเติม 15. ครูทุกคนมีสิทธิ์เสนอเพิ่มคะแนนได้ไม่เกินครั้งละ 10 คะแนน ให้นักเรียน โดยเสนอต่อ หัวหน้าระดับ หรือหัวหน้าคณะ เพื่อเสนอรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล และนักเรียนผู้นั้น จะได้คะแนนเพิ่มเมื่อรองผู้อำนวยการเห็นชอบแล้ว 16. คะแนนที่นักเรียนได้เพิ่มไม่สามารถนำไปหักล้างที่ถูกตัด แต่ให้นำไปเป็นเหตุผลในการ ขอลดโทษได้ตามสมควรแก่กรณี 17. ผู้ที่ได้คะแนนเพิ่มจะได้รับการยกย่อง ชมเชยด้วยวิธีการอื่นๆ อีก ตามที่โรงเรียนจัดขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่นักเรียนผู้นั้น 18. ให้ยกเลิกระเบียบหรือข้อบังคับอื่นใดของโรงเรียนที่ขัดต่อระเบียบนี้ และให้ใช้ระเบียบ นี้แทน 19. ให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานกลุ่มบุคคล รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ 20. ให้ใช้ระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 (นางสาวจินตนา ศรีสารคาม) ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 126 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าด้วยการแต่งกาย และทรงผมนักเรียน พ.ศ. 2564 1. เครื่องแบบนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1.1 เสื้อ ใช้ผ้าสีขาว ห้ามใช้ผ้าแพรหรือผ้าไหม เป็นเสื้อแบบปกคอทหารเรือ ความหนา ของผ้าให้หนาพอที่จะมองไม่เห็นเสื้อชั้นใน ที่อกเสื้อทำสาบตลบเข้าข้างในกว้าง 3 ซม. แขนสั้น ต้นแขนไม่มีจีบ มีจีบรัดที่ปลายแขน 6 จีบ ขอบแขนกว้าง 3 ซม.แขนเสื้อยาวเหนือศอก มีกระเป๋าติด ริมขอบเสื้อด้านล่างขวา ผูกคอซองสีเดียวกับกระโปรง ขนาดของตัวเสื้อจะต้องพอเหมาะกับตัว ทั้งความกว้างและความยาวปักตัวอักษร ต.อ.พ.สีน้ำเงินด้านขวาอกเสื้อต่ำจากไหล่ประมาณ 12 - 13 ซม. และต้องสวมเสื้อซับในสีขาวเต็มตัว 1.2 กระโปรง ใช้ผ้าสีกรมท่าไม่มีลวดลาย ไม่ใช้ผ้ามัน ผ้ายีนส์ ผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบ มีจีบ ด้านหน้า ด้านละ 6 จีบ หันจีบออกด้านข้างด้านละ 3 จีบ เย็บทับบนจีบจากใต้ขอบกระโปรงลงมา ประมาณ 7 ซม. ความยาวชายกระโปรงคลุมเข่าเลยอออกมา 5 ซม. ความกว้างของชายกระโปรงวัด จากเข่าที่ยืนชิดข้าง ข้างละประมาณ 1 ฟุต ขอบเอวกว้างประมาณ 2 ซม. ความยาวของขอบเอว จะต้องพอเหมาะและขอบเอวต้องอยู่ที่เอว 1.3 ถุงเท้า ใช้ถุงเท้าสีขาว/สีขาวพื้นดำความยาวเหนือข้อเท้าอย่างน้อย 2 นิ้ว ไม่มีลวดลาย ห้ามใช้ถุงเท้าบางใสหรือถุงเท้าหนา สำหรับเล่นกีฬา 1.4 รองเท้า ใช้รองเท้าหนังสีดำแบบนักเรียนหัวมน (ห้ามใช้ชนิดที่มีรัดข้างหลังเท้า) ไม่มีลวดลาย สูงไม่เกิน 3 ซม. ห้ามสวมรองเท้าหัวแหลม 1.5 คอซอง ให้ใช้สีเดียวกับกระโปรง ผูกปมทับเหนือหรือรอยผ่าของคอเสื้อประมาณ ครึ่งหนึ่งของความยาวทั้งหมด และชายของคอซองแยกออกข้างละประมาณ 6 - 7 ซม. 2. เครื่องแบบนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2.1 เสื้อ ใช้ผ้าสีขาว ห้ามใช้ผ้าแพรหรือผ้าไหม เป็นเสื้อแบบปกคอเชิ้ตผ่าตลอด ห้ามใช้ แบบคอฮาวาย ความหนาของผ้าให้หนาพอที่จะมองไม่เห็นเสื้อชั้นใน ที่อกเสื้อทำสาบตลบเข้าข้างใน กว้าง 3 ซม. ใช้กระดุมสีขาว 5 เม็ด ไม่รัดรูป แขนสั้น แขนเสื้อยาวเหนือศอกปลายแขนจีบเล็กน้อย ข้างละ 6 จีบขอบแขนประกอบด้วยผ้า 2 ชั้น กว้าง 3 ซม. ชายเสื้ออยู่ในกระโปรงและมองเห็นเข็ม ขัดปักอักษร ต.อ.พ. สีน้ำเงินทางด้านขวาของอกเสื้อต่ำจากไหล่ประมาณ 12 - 13 ซม.และต้องสวม เสื้อซับในสีขาวเต็มตัว


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 127 2.2 กระโปรง ถุงเท้า รองเท้า ใช้เช่นเดียวกับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2.3 เข็มขัด ใช้เข็มขัดหนังสีดำ กว้างประมาณ 3 – 4 ซม. หัวเข็มขัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม 3. เครื่องแบบพลศึกษาและกีฬานักเรียนหญิง 3.1 เสื้อ เป็นเสื้อแขนสั้น คอโปโล สีกรมท่า มีกระเป๋าข้างซ้าย 1 ใบ ที่กระเป๋ามีเครื่องหมายพระ เกี้ยว ใต้เครื่องหมายพระเกี้ยวปักอักษรย่อ ต.อ.พ. สีขาว 3.2 กางเกงเป็นกางเกงวอร์มขายาวสีกรมท่าเข้ม เอวรัด 3.3 รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นสีขาวล้วน ไม่มีลวดลาย (หมายเหตุ เสื้อและกางเกงพลศึกษามี จำหน่ายที่ร้านสหกรณ์ของโรงเรียน) 4. เครื่องแบบนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4.1 เสื้อ ใช้เป็นผ้าสีขาว ห้ามใช้ผ้าดิบ ความหนาของผ้าไม่บางเกินควร เป็นเสื้อแบบเชิ้ตคอ ตั้งสาบที่อกตลบออกด้านนอกกว้าง 4 ซม. ใช้กระดุมสีขาวกลมแบน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. มีกระเป๋าอกซ้ายปักตัวย่อ ต.อ.พ. สีน้ำเงินทางขวาของอกเสื้ออยู่สูงจากแนวกระเป๋าซ้าย ประมาณ 4 ซม. ขนาดของตัวเสื้อจะต้องพอเหมาะกับตัว เวลาสวมเสื้อชายเสื้ออยู่ในกางเกงและ มองเห็นเข็มขัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายประดับเครื่องหมายตราพระเกี้ยวโลหะสี ทองอยู่เหนืออักษรย่อ ต.อ.พ. โดยเหนือตัว อ.ประมาณ 1 ซม. 4.2 กางเกง ใช้เป็นสีดำ ห้ามใช้ผ้ายีนส์ หรือผ้าดิบ และผ้าทุกชนิดที่สีตกจางออกง่าย ขนาด ของกางเกงไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ขาสั้นเพียงถึงกลางเข่าเมื่อยืนตรง ปลายขาพับชายเข้าข้างใน กว้าง 5 ซม.ผ่าตรงส่วนหน้า ข้างละ 2 จีบ ห้ามมีกระเป๋าด้านหลัง ขอบกางเกงจะต้องอยู่ที่เอว 4.3 เข็มขัดเป็นหนังสีน้ำตาลแบบนักเรียน หัวเข็มให้มีเข็มสำหรับสอดรูเข็มขัดเพียง เข็มเดียวบนเข็มขัดจะต้องเรียบไม่มีลายใดๆ 4.4 ถุงเท้า เป็นถุงเท้าสีขาวแบบเรียบ/สีขาวพื้นดำความยาวเหนือข้อเท้าอย่างน้อย 2 นิ้ว แต่ไม่เกินครึ่งน่อง และไม่พับข้อ ห้ามใช้ถุงเท้าที่ทำด้วยผ้าลูกฟูกชนิดหนา 4.5 รองเท้าเป็นรองเท้าหุ้มส้นสีดำ ชนิดผูก ทำด้วยหนังหรือผ้าใบ ห้ามสวมรองเท้า ส้นสูง หรือไม่มีลวดลาย ถ้าเป็นรองเท้าผ้าใบขอบรองเท้าเป็นขอบสีดำ ตาไก่ร้อยเชือกและเชือกร้อย ต้องเป็นสีดำ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 128 5. เครื่องแบบพลศึกษาและกีฬานักเรียนชาย 5.1 เสื้อ เป็นเสื้อยืดคอปก แขนสั้น สีกรมท่า มีกระเป๋าข้างซ้าย 1 ใบ ที่กระเป๋ามี เครื่องหมายพระเกี้ยว ใต้เครื่องหมายพระเกี้ยวปักอักษรย่อ ต.อ.พ. สีขาว 5.2 กางเกง เป็นกางเกงวอร์มขายาวสีกรมท่าเข้ม เอวรัด (อนุโลมให้ใส่กางเกงนักเรียนหรือ กางเกงลูกเสือ) 5.3 รองเท้า ผ้าใบสีดำ (ใช้เหมือนกับรองเท้านักเรียน) 6. การปักเครื่องหมายต่างๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 , 2, 3) ปักอักษรของโรงเรียน (ต.อ.พ.) ตามแบบที่ โรงเรียนกำหนดที่อกเบื้องขวาให้ปัก ต.อ.พ. ตรงกับแนวระดับกระดุมเม็ดที่ 2 และให้ปักเครื่องหมาย แสดงระดับชั้นเป็นรูปวงกลมสีน้ำเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตรบริเวณมุมของปกเสื้อด้านซ้าย ดังนี้ ม.1 ปัก 1 จุด , ม. 2 ปัก 2 จุด , ม. 3 ปัก 3 จุด นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 , 5, 6) ปักอักษรของโรงเรียน (ต.อ.พ.) ตามแบบที่ โรงเรียนกำหนดที่อกเบื้องขวาให้ปัก ต.อ.พ. ตรงกับแนวระดับกระดุมเม็ดที่ 2 นักเรียนหญิง นักเรียนชายกลัดเข็มพระเกี้ยวสีทอง ให้ข็มพระเกี้ยวอยู่เหนือ ต.อ.พ. ประมาณ 1 ซม. ให้ปัก เครื่องหมายแสดงระดับชั้นเป็นรูปวงกลม สีชมพูเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร บริเวณมุมของปก เสื้อด้านซ้าย ดังนี้ ม.4 ปัก 1 จุด , ม. 5 ปัก 2 จุด , ม. 6 ปัก 3 จุด อักษรย่อของโรงเรียน (ต.อ.พ.) ให้ใช้ตรายางที่โรงเรียนประทับเป็นแบบเท่านั้น 7. กระเป๋านักเรียน 7.1 นักเรียนทุกคนต้องใช้กระเป๋าหลักแบบของโรงเรียน หรือ ใช้กระเป๋าถือแบบนักเรียนสี ดำ สำหรับใส่หนังสือมาโรงเรียน 7.2 ในกรณีที่ต้องใช้กระเป๋าเคียง ให้ใช้กระเป๋าเคียงของโรงเรียนเท่านั้น 7.3 ห้ามขีดเขียน หรือติดรูปต่างๆ บนกระเป๋านอกจากชื่อของเจ้าของ ซึ่งจะต้องมี ความเป็นระเบียบและไม่มีลวดลายเกินไป 8. การใช้เครื่องประดับ 8.1 แว่นสายตาให้ใช้กรอบเป็นสีสุภาพ และรูปทรงสุภาพ 8.2 นาฬิกาข้อมือให้ใช้แบบและราคาที่เหมาะสมกับสภาพของนักเรียน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 129 8.3 สร้อยคอ ต้องมีความยาวและขนาดพอเหมาะ เก็บไว้ในเสื้อได้อย่างมิดชิดไม่ให้อยู่ นอกเสื้อ ใช้วัตถุที่ทำด้วยโลหะสีเงิน และใช้เฉพาะห้อยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา 8.4 ที่ติดผม ให้ใช้กิ๊บธรรมดาสีเดียวกับผม ห้ามใช้กิ๊บปากเป็ด หรือที่คาดผม นักเรียนหญิง ที่ไว้ผมยาวให้มัดผมและผูกโบว์ นักเรียนชั้น ม.ต้น ให้ผูกโบว์สีขาว นักเรียนม.ปลาย ให้ผูกโบว์สี กรมท่า ขนาดโบว์มีขนาดไม่เกิน 1 นิ้ว 8.5 ห้ามสวมแหวน สร้อยหรือกำไล (ข้อมือ-ข้อเท้า) สายสิญจน์ ลูกประคำ หินประดับ และ เชือกถักทุกชนิด 8.6 นักเรียนชายห้ามเจาะหู ห้ามใส่ต่างหู สำหรับนักเรียนหญิงให้ใส่ต่างหูได้ข้างละ 1 ที่ ติ่งหูและเป็นต่างหูที่ทำด้วยโลหะเงินหรือทองหรือนากมีลักษณะเป็นห่วงกลมขนาดวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มม. หรือเป็นเม็ดเท่าเม็ดพริกไทย 8.7 เครื่องประดับที่ผิดระเบียบของโรงเรียนหากพบและถูกยึดไว้ให้ผู้ปกครองมารับได้ที่ กลุ่มบริหารงานบุคคลภายใน 7 วัน 9. ทรงผมนักเรียนชาย 9.1 นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาวไม่เลย ตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย โดยมีความยาว ด้านบนและด้านหน้าไม่เกิน 7 ซม. 9.2 ห้ามนักเรียน ดัดผม ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม 9.3 ห้ามนักเรียนไว้หนวดหรือเครา 9.4 การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผม เป็น รูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย 10. ทรงผมนักเรียนหญิง และแต่งหน้า 10.1 นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสม และรวบให้เรียบร้อย 10.2 นักเรียนหญิงที่ไว้ผมสั้น ปลายผมต้องตัดตรง และให้ยาวเลยติ่งหูลงมาไม่เกิน 2 นิ้ว 10.3 นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือตอนปลาย ไว้ผมยาวปลายต้องตัดตรง ต้อง รวบผมและมัดผมเสมอใบหูตอนบนผูกโบว์ให้เรียบร้อย โดยมีความยาววัดจากโบว์ถึงปลายผมไม่เกิน 30 ซม. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้ผูกโบว์สีขาว และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 130 ให้ผูกโบว์สีกรมท่า โบว์มีความกว้าง 1 นิ้ว การตกแต่งทรงผมไม่อนุญาตให้ซอย, เซ็ท, ดัด, เปลี่ยนสี ผม, ต่อผม, โกนผม, หรือตกแต่งเป็นทรงต่างๆ 10.4 ห้ามนักเรียนแต่งหน้า, ทาปาก, เขียนคิ้ว, กันคิ้ว ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 (นางสาวจินตนา ศรีสารคาม) ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 131


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 132


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 133


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 134


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 135 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าด้วยกิจกรรมคณะสี พ.ศ. 2550 เพื่อให้การดำเนินงานดูแลนักเรียนและกิจกรรมคณะนักเรียนมีระเบียบที่เหมาะสม สอดคล้อง กับภาวะสังคมและสภาพการณ์ปัจจุบัน ก่อให้เกิดผลดีต่อนักเรียนตามวัตถุประสงค์ของ โรงเรียน จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ หมวดที่ 1 บททั่วไป ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าด้วยกิจกรรมคณะสี พ.ศ.2550” ข้อ 2 ในระเบียบนี้ “นักเรียน” หมายถึง นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ “ครู” หมายถึง ครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ “คณะสี” หมายถึง คณะสีซึ่งกำหนดขึ้นตามระเบียบนี้ “ครูที่ปรึกษา” หมายถึง ครูที่ปรึกษาของคณะสีของนักเรียน “ฝ่ายบริหาร” หมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 3 โรงเรียนกำหนดวัตถุประสงค์ของคณะสีของนักเรียนดังนี้ 3.1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักทำงานเป็นหมู่คณะ และทำกิจกรรมอันเป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม 3.2 เพื่อแบ่งความรับผิดชอบของครูที่มีต่อนักเรียนเป็นคณะสี และแต่ละคณะสี สามารถบริหารงานของตนโดยไม่ขัดต่อระเบียบและนโยบายของโรงเรียน หมวดที่ 3 การจัดตั้งคณะสี ข้อ 4 ให้กลุ่มบริหารงานบุคคลแบ่งนักเรียนออกเป็นคณะสีและใช้สีประจำคณะดังนี้ 4.1 คณะรักชาติ สีแดง 4.2 คณะผดุงศาสน์ สีเหลือง 4.3 คณะเทิดกษัตริย์ สีฟ้า


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 136 4.4 คณะพัฒนาไทย สีเขียว 4.5 คณะใฝ่คุณธรรม สีม่วง ข้อ 5 ให้กลุ่มบริหารงานบุคคลแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 คณะสี เป็นครูที่ปรึกษาของ แต่ละคณะสี ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ข้อ 6 ให้นักเรียนทุกคนอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของครูที่ปรึกษาในคณะที่ตนสังกัดอยู่ หมวดที่ 4 ครูคณะสี ข้อ 7 ครูคณะสีมีหน้าที่ดังนี้ 7.1 ฝึกอบรมสั่งสอนให้นักเรียนมีวินัย มีคุณธรรมใฝ่เรียน รักษาสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตนตามระเบียบคำสั่งโรงเรียนและระเบียบคณะสี 7.2 จัดกิจกรรมหรืองานคณะสีตามนโยบายของโรงเรียน 7.3 ประสานงานกับผู้ปกครองและบุคคลอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลนักเรียน และ ประสานงานกับคณะสี 7.4 กรณีได้รับมอบหมายเป็นเวรประจำวัน มีหน้าที่เพิ่มขึ้นดังนี้ 7.4.1 ควบคุมดูแลนักเรียนด้านการแต่งกายระเบียบวินัยและความ ประพฤติอื่น ตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด 7.4.2 ดูแลให้นักเรียนรักษาความสะอาดบริเวณที่รับผิดชอบ 7.4.3 ดูแลอาคารสถานที่ และทรัพย์สินของโรงเรียนตามระเบียบราชการ 7.4.4 ป้องกันอุบัติภัยอื่นๆ 7.5 เป็นครูกลุ่มบริหารงานบุคคลโดยตำแหน่ง 7.6 ร่วมมือและปฏิบัติตามคำสั่ง และโครงการของคณะสีหรือกลุ่มบริหารงานบุคคล หมวดที่ 5 หัวหน้าคณะสี ข้อ 8 หัวหน้าคณะสีมีคุณสมบัติดังนี้ 8.1 เป็นครูในคณะสี 8.2 เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 8.3 มีลักษณะเป็นผู้นำที่ดี 8.4 เป็นผู้เสียสละเวลาเพื่อราชการ 8.5 เป็นผู้มีทัศนคติที่ดีต่องานของคณะสีและโรงเรียน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 137 ข้อ 9 การดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะสี 9.1 หัวหน้าคณะดำรงตำแหน่งและเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากโรงเรียน 9.2 ให้ดำรงตำแหน่งได้คราวละ 2 ปี และมีสิทธิดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย (หรือตามความเหมาะสม) ข้อ 10 การพ้นจากตำแหน่งของหัวหน้าคณะสี 10.1 ตาย 10.2 ลาออก ย้าย ลาศึกษาต่อ 10.3 ครบวาระ 10.4 ขาดคุณสมบัติตามข้อ 8 10.5 ผู้อำนวยการโรงเรียนเห็นสมควรให้ออกจากตำแหน่ง ข้อ 11 เมื่อดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะสีว่างลงก่อนกำหนด ให้รองผู้อำนวยการกลุ่ม บริหารงานบุคคลดำเนินการสรรหาหัวหน้าคณะสีจากครูในคณะสีภายใน 7 วัน และให้ดำรง ตำแหน่งจนครบวาระ ข้อ 12 อำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะสี 12.1 เป็นกรรมการกลุ่มบริหารงานบุคคลโดยตำแหน่ง 12.2 จัดประชุมคณะสี 12.3 จัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายครูและฝ่ายนักเรียนคณะสี 12.4 จัดครูเป็นเวรประจำวัน 12.5 เป็นผู้นำกิจกรรมหน้าเสาธงตอนเช้า 12.6 จัดและส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตรตามนโยบายของโรงเรียน 12.8 ประเมินผลการปฏิบัติงานของครูในคณะสีเสนอในโรงเรียน เพื่อปรับปรุงและ พิจารณาความดีความชอบเป็นพิเศษ 12.9 รับข้อคิดเห็นของครูและนักเรียนในคณะสีเสนอโรงเรียน 12.10 ควบคุม ดูแล ตักเตือน และลงโทษนักเรียนที่หัวหน้าคณะสีเห็นว่าไม่สามารถ แก้ไขได้และเสนอต่อกลุ่มบริหารงานบุคคล 12.11 รายงานความประพฤตินักเรียนที่หัวหน้าคณะสีเห็นว่าไม่สามารถแก้ไขได้ต่อ กลุ่มบริหารงานบุคคล


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 138 12.12 บริหารงานคณะสีและออกระเบียบของคณะสีได้โดยไม่ขัดต่อระเบียบของ โรงเรียน และโดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการโรงเรียน 12.13 ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย หมวดที่ 6 คณะกรรมการบริหารคณะสี ข้อ 13 ให้หัวหน้าคณะสีเสนอคณะกรรมการบริหารจากครูในคณะสีต่อโรงเรียน เพื่อขอ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ 13.1 รองหัวหน้าคณะสี 2-3 คน 13.2 กรรมการฝ่ายพัฒนา 1 คน 13.3 กรรมการฝ่ายสวัสดิการ 1 คน 13.4 กรรมการฝ่ายส่งเสริมวิชาการ 1 คน 13.5 กรรมการฝ่ายระเบียบวินัย 1 คน 13.6 กรรมการฝ่ายสาระสนเทศและประชาสัมพันธ์ 1 คน 13.7 กรรมการฝ่ายเหรัญญิก 1 คน 13.8 กรรมการฝ่ายกีฬาและนันทนาการ 1 คน 13.9 กรรมการฝ่ายเลขา 1 คน ข้อ 14 คณะกรรมการบริหารครบวาระตามตำแหน่งหัวหน้าคณะสี แต่การเปลี่ยนแปลง ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนครบวาระให้เสนอโรงเรียนเพื่อถอดถอนและแต่งตั้ง ข้อ 15 หน้าที่ของรองหัวหน้าคณะสี 15.1 ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าคณะสีเมื่อได้รับมอบหมาย หรือเมื่อหัวหน้าคณะสีไม่อยู่ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ได้ 15.2 ควบคุม ดูแลการปฏิบัติหน้าของคณะกรรมการนักเรียนคณะสี 15.3 ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ หรือคณะสีต่างๆ 15.4 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 16 หน้าที่ของกรรมการฝ่ายพัฒนา 16.1 ประสานงานกับฝ่ายบริหาร 16.2 จัดและดำเนินการให้นักเรียนดูแลรักษาความสะอาด 16.3 ปรับปรุงบริเวณอาคารสถานที่ของคณะสีให้สวยงาม


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 139 16.4 พัฒนาคุณธรรมนักเรียน 16.5 ป้องกันแก้ไขการใช้ยาในทางที่ผิดของนักเรียน 16.6 บันทึกรายงานการปฏิบัติงาน ข้อ 17 หน้าที่ของคณะกรรมการฝ่ายสวัสดิการ 17.1 จัดเวรดูแลรักษาความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน 17.2 จัดสถานที่และสวัสดิการอื่นๆ เมื่อมีกิจกรรมของคณะสี 17.3 ป้องกันอุบัติภัยในบริเวณรับผิดชอบของคณะสี 17.4 จัดเวรดูแลความเรียบร้อยในโรงเรียน 17.5 จัดสวัสดิการอื่นๆแก่ครู 17.6 ประสานงานกับฝ่ายบริหาร ข้อ 18 หน้าที่ของคณะกรรมการฝ่ายส่งเสริมวิชาการ 18.1 ประสานงานกับฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ 18.2 จัดให้มีการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการ และประสานงานการแข่งขันวิชาการ ภายใน-ภายนอกโรงเรียน 18.3 สนับสนุนการเรียนการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพ 18.4 ส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิชาการทุกประเภททั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร 18.5 ดูแลและตรวจสอบการจัดทำเอกสารของคณะสี ข้อ 19 หน้าที่ของคณะกรรมการฝ่ายระเบียบวินัย 19.1 ควบคุมดูแลการแสดงความเคารพ การแต่งกาย การใช้เครื่องประดับและ มารยาทของนักเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ 19.2 ตรวจบัตรประจำตัว กระเป๋าใส่หนังสือ อุปกรณ์อื่นๆ ของนักเรียนและการ มาโรงเรียนสาย 19.3 ตักเตือนลงโทษนักเรียนตามระเบียบ 19.4 บันทึกรายชื่อนักเรียนทำผิดระเบียบ 19.5 บันทึกรายงานการปฏิบัติงาน ข้อ 20 หน้าที่ของคณะกรรมการฝ่ายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ 20.1 รวบรวมข้อมูลต่างๆ 20.2 ควบคุมดูแลทรัพย์สินของคณะสี


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 140 20.3 ประกาศเกียรติคุณนักเรียนของคณะสี ข้อ 21 หน้าที่ของคณะกรรมการฝ่ายเหรัญญิก 21.1 รับ-จ่ายเงินของคณะสี 21.2 ควบคุมดูแลทรัพย์สินของคณะสี 21.3 จัดทำบัญชีการเงินของคณะสี ข้อ 22 หน้าที่ของคณะกรรมการฝ่ายกีฬาและนันทนาการ 22.1 คัดเลือกและฝึกซ้อมนักกีฬา 22.2 ร่วมจัดกีฬาภายในโรงเรียนและนันทนาการ 22.3 จัดและดำเนินการเกี่ยวกับการเชียร์และขบวนพาเหรด ข้อ 23 หน้าที่ของคณะกรรมการฝ่ายเลขานุการ 23.1 จัดข้อมูลและเอกสารการประชุม 23.2 บันทึกการประชุม 23.3 จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานของคณะสี 23.4 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่หัวหน้าคณะสีมอบหมาย ข้อ 24 ให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2550


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 141 งานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม มีจุดประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ พร้อมซื่อสัตย์ และมีวินัยในตนเอง 2. เพื่อให้นักเรียนรวมพลังทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม 3. เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตนตามกฎและระเบียบวินัยของโรงเรียน แนวทางการจัดกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 1. กิจกรรมอบรมคาบจริยธรรมของระดับชั้น 2. กิจกรรมตอนเช้า - กิจกรรมหน้าเสาธง - กิจกรรมพบครูที่ปรึกษา - กิจกรรมรักษาความสะอาด - กิจกรรมห้องเรียน 3. กิจกรรมสร้างความรับผิดชอบ พร้อมซื่อสัตย์ และมีวินัยในตัวเอง 4. กิจกรรมรวมพลังทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม 5. กิจกรรมการปฏิบัติตนเป็นคนดี ปฏิบัติตนตามกฎและระเบียบของโรงเรียน การประเมินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม รายการประเมิน 1. การเข้าร่วมกิจกรรมอบรมคาบจริยธรรม 2. กิจกรรมตอนเช้า 3. กิจกรรมสร้างความรับผิดชอบ พร้อมซื่อสัตย์ และมีวินัยในตัวเอง และปฏิบัติตามกฎ และระเบียบของโรงเรียน เกณฑ์ผ่านการประเมิน 1. เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80 2. ถูกตัดคะแนนน้อยกว่า 30 คะแนน นักเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 1. ศึกษาหาความรู้และจัดทำรายงาน เรื่องหลักธรรม คำสอน ในศาสนาของนักเรียน 2. วิเคราะห์ข้อดีและข้อควรปรับปรุงของนักเรียน 3. ทำกิจกรรมช่วยเหลือครอบครัว 4. เข้าร่วมโครงการเยาวชนคนดี เพื่อทำความดีภายในและภายนอกโรงเรียน หรือทำ ความดีตามที่ได้รับมอบหมาย 5. ทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการกลุ่มบริหารงานบุคคล


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 142 ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าด้วยคณะกรรมการนักเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ พ.ศ. 2557 คณะกรรมการนักเรียนมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในทุกด้าน เป็นผู้ประสานงานและ อำนวยความสะดวกในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ทั้งการแก้ปัญหาและพัฒนาให้เป็นไปตามนโยบายของ โรงเรียนมีกระบวนการที่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และทักษะความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ จึง ให้ระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ว่าด้วยคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการ พ.ศ. 2557 ไว้ดังต่อไปนี้ 1) โครงสร้างการบริหารของคณะกรรมการนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โครงสร้างคณะกรรมการนักเรียน ที่ปรึกษา : สมาคมนักเรียนเก่า---------------------------------ที่ปรึกษา : หัวหน้างานคณะกรรมการ นักเรียนและงานส่งเสริมประชาธิปไตย ประธานนักเรียน รองประธาน รองประธาน (จากกลุ่มกิจการพิเศษ) ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวินัยและคุณธรรม ฝ่ายกิจกรรมภายใน ฝ่ายกิจกรรม ภายนอกและ เลขานุการ เพื่อน เพื่อ เพื่อน สารวัตร นักเรียน กองร้อย พิเศษ โสตทัศนศึกษา นักเรียนหัวหน้าระดับ ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 นักเรียนหัวหน้าคณะสี คณะรักชาติ (สีแดง) คณะผดุงศาสน์ (สีเหลือง) คณะเทิดกษัตริย์ (สีฟ้า) คณะพัฒนาไทย (สีเขียว) คณะใฝ่คุณธรรม (สีม่วง)


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 143 2) ขอบเขตงานและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการนักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ประกอบด้วย คณะกรรมการจำนวนทั้งสิ้น 20 คน ดังต่อไปนี้ (1) ประธานนักเรียน หมายความว่า เป็นตัวแทนของนักเรียนในการสื่อสารกับอาจารย์ ดูแลบริหารงานส่วนรวม และให้ความช่วยเหลือให้ทุกโครงการสำเร็จได้ด้วยดี (2) รองประธานนักเรียน (ฝ่ายวิชาการ) รับผิดชอบในการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรม ทางด้านวิชาการ (3) รองประธานนักเรียน (ฝ่ายวินัยและคุณธรรม) ดูแลความเรียบร้อย พิทักษ์รักษา กฎและระเบียบวินัยของโรงเรียน (4) รองประธานนักเรียน (ฝ่ายกิจกรรมภายใน) ดูแลควบคุมกิจกรรมภายในโรงเรียน ช่วยอาจารย์ทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน (5) รองประธานนักเรียน ฝ่ายกิจกรรมภายนอกและเลขานุการ เข้าร่วมกิจกรรมกับ หน่วยงานภายนอก เชื่อมความสัมพันธ์กับผู้มาเยือนจากต่างโรงเรียน เป็นเลขานุการในการออก หนังสือเชิญประชุมและ จัดทำรายงานการประชุมประสานงานกับกรรมการในทุกๆ เรื่อง รวมถึง รักษาภาพลักษณ์ของนักเรียนในโรงเรียนด้วย (6) นักเรียนหัวหน้าคณะสี ทุกคณะสี เป็นไปตามระเบียบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการว่าด้วยกิจกรรมคณะสี พ.ศ. 2550 รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ทั้งส่วนกลางแต่ละพื้นที่ที่รับผิดชอบความสะอาดในห้องเรียน และความเรียบร้อยของการเข้าแถว เคารพธงชาติ (7) นักเรียนหัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นผู้แทน ของนักเรียนทุกคนในระดับชั้นดูแลกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในระดับชั้นที่ได้รับมอบหมาย และทำ หน้าที่รวบรวมคะแนน ความสะอาดของห้องเรียนรวมถึงดำเนินโครงการพิเศษของระดับชั้นดำเนิน โครงการพิเศษของระดับชั้น (8) ผู้แทนกลุ่มสารวัตรนักเรียน ลดพื้นที่เชิงลบที่จะนำไปสู่อบายมุขในโรงเรียน ออกตรวจ อาคารในช่วงเช้า รวมถึงช่วยงานของโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย (9) ผู้แทนกลุ่มเพื่อนเพื่อเพื่อน เพิ่มพื้นที่เชิงบวกภายในโรงเรียน จัดโครงการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอบายมุขรวมถึงช่วยงานอาจารย์กลุ่มบริหารงานบุคคล (10) ผู้แทนกลุ่มกองร้อยพิเศษ ดูแลกิจกรรมด้านการจราจรของโรงเรียน และกิจกรรม ของลูกเสือ (11) ผู้แทนกลุ่มโสตทัศนศึกษา ให้คำปรึกษาและให้การสนับสนุนการทำสื่อประชาสัมพันธ์ กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 144 นางสาวสายพิณ พุทธิสาร รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป กลุ่มบริหารทั่วไป


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 145


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 146 บุคลากรกลุ่มบริหารทั่วไป 1.นางสาวสายพิณ พุทธิสาร รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป 2.นางภัทรพร วงษ์ถาวร ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป 3.นางสาวณราวดี เสือพริก ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป 4.นายณัฐวัฒน์ จริงสันเทียะ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป 5.นางสาวรัชนีวรรณ เผ่าวณิชย์ หัวหน้าสำนักงานบริหารทั่วไป/งานธุรการโรงเรียน 6.นางสาวจิรสุภรณ์ ทองคำดี หัวหน้างานสัมพันธ์ชุมชนและบริการชุมชน 7.นางสาวศุภรัตน์ กว้างขวาง หัวหน้างานบริการจัดเลี้ยง 8.ว่าที่ ร.ต.หญิงเคลือวัลย์ เพชรเปี่ยม หัวหน้างานยานพาหนะ 9.นางนิติยา ก่อเกียรติสิริ หัวหน้างานจัดระบบควบคุมภายใน 10. นางสาวฐิติมา แทนกลาง หัวหน้างานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 11. นายหาญณรงค์ บุญชอบ หัวหน้างานระบบสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า-ประปา) 12. นายพัลลภ เต่าให้ หัวหน้างานระบบสาธารณูปโภค (เครื่องปรับอากาศ)/งานบริหารจัดการอาคาร 13. นายไกรเวท หาญกลับ หัวหน้างานงานออกแบบศิลป์ 14. นางสาวภัทรศยา ว่องไว หัวหน้างานบริการทำความสะอาด 15. นางสาววรัญญาภัทร์ วรัญญ์วัฒนชัย หัวหน้างานโครงการพิเศษ(เตรียมพัฒน์ รักษ์สิ่งแวดล้อม)/อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 16. นางสาวกูอารีดา ตูแวดอเล๊าะ หัวหน้างานอนามัยโรงเรียน 17. นางสาวนภาพร กิจกระจ่าง หัวหน้างานโภชนาการและโรงอาหาร 18. นางสาวภารดี พิทยาวงศ์ฤกษ์ หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา 19. นางสาวเพ็ญประภา พุฒซ้อน หัวหน้างานสื่อสารองค์กร 20. นายชยุตม์ กมลเดชเดชา หัวหน้างานออกแบบและพัฒนาเว็ปไซต์โรงเรียน 21. นายกิตติพงษ์ จงกิตติมหา หัวหน้างานพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 22. นางสาวไฉน มะเล็งลอย งานสำนักงานกลุ่มบริหารทั่วไป 23. นางสาวเบญญาภา ขวัญยืน งานสารบรรณ 24. นางสาวปราถนา โพธิ์งาม งานพยาบาล 25. นายธวัชชัย ธงเงิน งานโสตทัศนศึกษา 26. นายชัยรัตน์ เล้าธนเมธี งานโสตทัศนศึกษา 27. นางสาวทิวาพร สุริยวงษ์ งานโสตทัศนศึกษา 28. นางสาวศิริพร เท้าเฮ้า งานสื่อสารองค์กร


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 147 กลุ่มงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม หัวหน้างาน นางสาวฐิติมา แทนกลาง แผนผังบริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ หมายเลข ชื่ออาคาร หมายเลข ชื่ออาคาร 1 ห้องแนะแนว 15 - 11 ห้องกลุ่มบริหารวิชาการ 2 ห้องกลุ่มบริหารทั่วไป 16 - 12 ห้องงานนโยบายและแผน 3 ห้องงานบุคลากร 17 ห้องงานอนามัยโรงเรียน 4 ห้องโสตทัศนศึกษา 18 ร้านค้าสวัสดิการสมาคมผู้ปกครอง และครูฯ 5 ห้องสมุดเทคโนโลยีสารสนเทศ 19 ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล 6 ห้องศูนย์โทรทัศน์ 20 ห้องกลุ่มสาระฯสังคมฯ 7 ห้องโสตทัศนศึกษา 23 ห้องปฏิบัติงานไม้ 8 - 9 ห้องพัสดุ 24 ห้องพักครูภาษาต่างประเทศ 10 ห้องเอกสาร 25 ห้องมัลติมีเดีย 13 ห้องการเงิน บัญชีและบริหาร สินทรัพย์ 26 ห้องปฏิบัติงานโลหะ 14 ห้องงานทะเบียนและวัดผล 27 ห้องเกียรติยศ


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 148 งานสิ่งแวดล้อม งานสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ พัฒนาและปรับปรุงสภาพบรรยากาศ ภูมิทัศน์ ของโรงเรียนให้ เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งการคัดแยกขยะ ลดปริมาณขยะ ประหยัดพลังงาน และอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม 1. จัดตกแต่งบริเวณทั่วไปให้เป็นสัดส่วน ร่มรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามและมี บรรยากาศที่ดี เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ 2. จัดสถานที่สำหรับพักผ่อน การออกกำลังกายให้เหมาะสมและเพียงพอ 3. จัดสภาพบรรยากาศทั่วไป ให้เอื้ออำนวย สนับสนุน ส่งเสริมต่อกิจกรรมการจัดการ เรียนรู้ 4. จัดทำแผนหรือโครงการสำหรับงานสิ่งแวดล้อม 5. แบ่งเขตพื้นที่และจัดผู้รับผิดชอบ ให้ดูแล ปรับปรุงพัฒนา บริเวณที่รับผิดชอบให้มี สภาพเรียบร้อย สะอาด ปลอดภัย และพร้อมใช้งานตลอดเวลา 6. จัดระบบในการซ่อมบำรุงและดูแลสภาพแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ 7. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


คู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ประจำปีการศึกษา 2566 149 งานโภชนาการและโรงอาหาร หัวหน้างาน นางสาวนภาพร กิจกระจ่าง ระเบียบการใช้โรงอาหาร 1. ซื้อและรับประทานอาหารตามเวลาที่โรงเรียนกำหนดไว้ดังนี้ 2. เช้า 06.00 น. - 07.15 น. (ร้านค้าจำหน่ายอาหาร – เครื่องดื่มให้แก่นักเรียนถึงเวลา 07.10 น.) พักกลางวัน รอบ ม.ต้น 11.30 น. - 12.20 น. (ร้านค้าจำหน่ายอาหาร – เครื่องดื่มให้แก่นักเรียนถึงเวลา 12.10 น.) รอบ ม.ปลาย 12.20 – 13.10 น. ( ร้านค้าจำหน่ายอาหาร – เครื่องดื่มให้แก่นักเรียนถึงเวลา 13.00 น. ) 3. ระยะเวลาในการรับประทานอาหารแต่ละรอบ ให้นักเรียนรับประทานอาหารให้เสร็จภายใน เวลา 45 นาที ของทุกรอบ ทั้งนี้เพื่อให้เวลาแก่พนักงานได้ทำความสะอาด 4. ขณะที่รับประทานอาหารจะต้องสำรวม กิริยามารยาท และเว้นระยะห่างตามมาตรการป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์โรคระบาด 5. นักเรียนต้องรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ภายในโรงอาหารเท่านั้น 6. ไม่นำภาชนะใส่อาหาร ออกนอกบริเวณโรงเรียน โดยเด็ดขาด 7. เมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อย โปรดช่วยกันเก็บภาชนะที่ใช้แล้วไปใส่ในที่รองรับที่ โรงเรียนจัดเตรียมไว้ให้ถูกต้อง 8. แยกเศษขยะประเภทกระดาษ พลาสติก ขวดน้ำ และอื่นๆ ทิ้งลงในถังขยะที่โรงเรียนจัดเตรียม ไว้ให้ 9. นักเรียนต้องช่วยกันรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการใช้โรงอาหาร และ ช่วยกันดูแลรักษาภาชนะ โต๊ะที่นั่งรับประทานอาหาร มิให้ชำรุดเสียหาย 10. พื้นที่นั่งรับประทานอาหารกลางวันโรงเรียนจัดให้นักเรียนนั่ง ดังนี้ 10.1 ม.1 และ ม.6 นั่งที่โรงอาหารเล็ก 10.2 ม.2, ม.3, ม.4 และ ม.5 นั่งที่โรงอาหารใหญ่


Click to View FlipBook Version