The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสร์และเทคโนโลยี2_66

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2024-03-17 13:05:19

แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสร์และเทคโนโลยี2_66

แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสร์และเทคโนโลยี2_66


ก คำนำ แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รหัสวิชา ว21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีการจัดกิจกรรมและการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายสอดคล้อง กับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 2 หน่วย คือ หน่วยที่1 พลังงานความร้อน หน่วยที่2 กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ แ ผ น ก า ร จัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เล่มนี้ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งเป็นรายบุคคลและราย กลุ่ม เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้นักเรียน เชื่อมโยงความรู้ทั้งในและต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการด้วยวิธีการที่หลากหลาย สร้างสถานการณ์ การเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูมีบทบาทหน้าที่ในการเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียน เพื่อให้ นักเรียนมีคุณภาพตามสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด รวมทั้งพัฒนานักเรียนให้มีสมรรถนะสำคัญและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด เพื่อให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทย และสังคมโลกได้อย่างมีความสุขการปฏิบัติงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ผู้เรียนมี คุณภาพ และสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ม. 1 เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไป ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของนักเรียนต่อไป ...................................................... (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์)


ข สารบัญ หน้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลังงานความร้อน 1 - 41 แผนการเรียนรู้ที่ 1 ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร (ตอนที่ 1) 1 แผนการเรียนรู้ที่ 2 ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร (ตอนที่ 2) 8 แผนการเรียนรู้ที่ 3 ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร (ตอนที่ 3) 15 แผนการเรียนรู้ที่ 4 ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร (ตอนที่ 4) 21 แผนการเรียนรู้ที่ 5 การถ่ายโอนความร้อนในชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 1) 28 แผนการเรียนรู้ที่ 6 การถ่ายโอนความร้อนในชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 2) 34 แผนการเรียนรู้ที่ 7 สมดุลความร้อน 41 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ 47 - 97 แผนการเรียนรู้ที่ 8 ลมฟ้าอากาศรอบตัว (ตอนที่ 1) 47 แผนการเรียนรู้ที่ 9 ลมฟ้าอากาศรอบตัว (ตอนที่ 2) 54 แผนการเรียนรู้ที่ 10 ลมฟ้าอากาศรอบตัว (ตอนที่ 3) 61 แผนการเรียนรู้ที่ 11 ลมฟ้าอากาศรอบตัว (ตอนที่ 4) 67 แผนการเรียนรู้ที่ 12 ลมฟ้าอากาศรอบตัว (ตอนที่ 5) 73 แผนการเรียนรู้ที่ 13 ลมฟ้าอากาศรอบตัว (ตอนที่ 6) 79 แผนการเรียนรู้ที่ 14 ลมฟ้าอากาศรอบตัว (ตอนที่ 7) 85 แผนการเรียนรู้ที่ 15 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ (ตอนที่1) 91 แผนการเรียนรู้ที่ 16 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ (ตอนที่2) 97 เครื่องมือวัดและประเมินผล 103


1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่…1 พลังงานความร้อน..เรื่อง..ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร (ตอนที่ 1)... รายวิชา…วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…..2.......รหัสวิชา…......ว 21102 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....1..... กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีการศึกษา...2566...ภาคเรียนที่..2..เวลา...4...ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์........................................................................................ 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 2.1 ม.1/9 ม.1/10 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) สสารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาค ซึ่งอาจเป็นอะตอม โมเลกุล หรือไอออน โดยสสารชนิดเดียวกันที่ มีสถานะของแข็งของเหลว แก๊ส จะมีการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค การเคลื่อนที่ของ อนุภาคแตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อรูปร่างและปริมาตรของสสาร เมื่อสสารได้รับหรือสูญเสียความร้อน สสารอาจเกิด การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ขนาด หรือสถานะของสสาร 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • สสารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาค โดยสารชนิดเดียวกันที่มีสถานะของแข็ง ของเหลว แก๊ส จะมีการ จัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค การเคลื่อนที่ของอนุภาคแตกต่างกันซึ่งมีผลต่อรูปร่างและ ปริมาตรของสสาร • อนุภาคของของแข็งเรียงชิดกัน มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากที่สุด อนุภาคสั่นอยู่กับที่ ทำให้มี รูปร่างและปริมาตรคงที่ • อนุภาคของของเหลวอยู่ใกล้กัน มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็งแต่มากกว่าแก๊ส อนุภาคเคลื่อนที่ได้แต่ไม่เป็นอิสระเท่าแก๊ส ทำให้มีรูปร่างไม่คงที่ แต่ปริมาตรคงที่ • อนุภาคของแก๊สอยู่ห่างกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยที่สุด อนุภาคเคลื่อนที่ได้อย่าง อิสระทุกทิศทาง ทำให้มีรูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. รวบรวมข้อมูลและสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการจัดเรียงอนุภาคแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคและ การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส (K) 2. ทดลองเปรียบเทียบการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาค ของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส (P) 3. ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด


2 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 2.1 ม.1/9, ม.1/10 -รายงานกิจกรรมที่ 1 แบบจำลอง - การอภิปรายเปรียบเทียบการจัดเรียง ของ


3 อนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ เป็นอย่างไร อนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และ การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารชนิด เดียวกันในสถานะของแข็ง ของเหลวและ แก๊ส โดยใช้แบบจำลอง 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การจัดเรียงอนุภาค แรงยึด เหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการ เคลื่อนที่ของอนุภาคของสสาร ชนิดเดียวกันในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็นอธิบายและ เปรียบเทียบการจัดเรียง ของอนุภาค แรงยึดเหนี่ยว ระหว่างอนุภาค และการ เคลื่อนที่ของอนุภาคของ สารชนิดเดียวกันในสถานะ ของแข็ง ของเหลวและแก๊ส โดยใช้แบบจำลองได้อย่าง ถูกต้อง -การตรวจผลงานนักเรียน - แบบประเมิน การอภิปราย แสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน การตรวจผลงาน ผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุทักษะ กระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ ปฏิบัติจากกิจกรรม - แบบประเมิน การอภิปราย แสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์


4 - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นและการ ทำงานในระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบประเมิน ระดับการเห็น คุณค่าในตนเอง หรือ Selfesteem - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1-2 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูเกริ่นนำว่าสสารสามารถเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งเป็นอีกสถานะหนึ่งได้ เมื่อได้รับหรือสูญเสีย ความร้อน และ เชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำถามว่าพลังงานความร้อนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของสสารอีกหรือไม่ อย่างไร ให้นักเรียนสังเกตภาพนำหน่วยในชุดกิจกรรมเกี่ยวกับการหลอมแก้ว หรือภาพ วีดิทัศน์ หรือสื่ออื่น ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์จากแก้ว พร้อมทั้งอ่านเนื้อหานำหน่วย และร่วมกันอภิปรายโดยอาจใช้ คำถามดังต่อไปนี้ • จากเรื่องที่อ่าน กล่าวถึงวัสดุชนิดใด (แก้ว) • การทำผลิตภัณฑ์จากแก้วให้มีรูปทรงต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับพลังงานความร้อนหรือไม่ อย่างไร (นักเรียนตอบได้โดยใช้สำนวนภาษาของตนเองเช่น การทำผลิตภัณฑ์จากแก้วเกี่ยวข้องกับพลังงานความร้อน โดยให้ความร้อนกับแก้วในเตาหลอม ความร้อนจะทำให้แก้วหลอมเหลวจากนั้นจึงขึ้นรูป แล้วนำแก้วที่ผ่านการ ขึ้นรูปไปอบเพื่อปรับลดอุณหภูมิลงอย่างช้า ๆ จนกระทั่งถึงอุณหภูมิปกติ) 1.2 ให้นักเรียนสังเกตภาพนำบทในชุดกิจกรรมหรือภาพ วีดิทัศน์ หรือสื่ออื่น ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การผลิตเหรียญกษาปณ์ พร้อมทั้งให้นักเรียนอ่านเนื้อหานำบท และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิต เหรียญกษาปณ์ว่าเกี่ยวข้องกับพลังงานความร้อนอย่างไร โดยอาจใช้คำถามดังต่อไปนี้ • ขั้นตอนการผลิตเหรียญกษาปณ์มีการเปลี่ยนสถานะของโลหะอย่างไรบ้าง (โลหะเกิดการ หลอมเหลว โดยโลหะได้รับความร้อน ทำให้เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวและโลหะเกิดการแข็งตัว โดยโลหะที่อยู่ในแม่พิมพ์สูญเสียความร้อน ทำให้เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง) 1.3 ให้นักเรียนสังเกตภาพ การระเหิดของไอโอดีนอ่านเนื้อหานำเรื่อง และรู้จักคำสำคัญ ทำ กิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียนเกี่ยวกับสสารและสถานะของสสาร


5 1.4 ครูนำสนทนา ซักถาม เกี่ยวกับ ว่าสสารแต่ละชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก ซึ่งไม่ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เคยจินตนาการหรือไม่ว่าอนุภาคเล็ก ๆ เหล่านี้ประกอบเข้าด้วยกันจนเป็น สสารในสถานะต่าง ๆ ได้อย่างไร และทราบหรือไม่ว่า การจัดเรียงอนุภาคส่งผลต่อรูปร่างและปริมาตรของสสาร ในแต่ละสถานะอย่างไรเพื่อโยงเข้าสู่กิจกรรมที่ 1 แบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะเป็นอย่างไร 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (แบบจำลองอนุภาคของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส) • กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อย่างไร (นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง) • วิธีดำเนินกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (คาดคะเนและสร้างแบบจำลองอนุภาคตามที่คาด คะเน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแบบจำลองอนุภาค วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้และปรับแก้แบบจำลองอนุภาคที่ สร้างไว้ และนำเสนอแบบจำลองอนุภาคที่ปรับแก้แล้ว) • ข้อควรระวังในการรวบรวมข้อมูลมีอะไรบ้าง (นักเรียนควรรวบรวมข้อมูลจากสื่อบนอินเทอร์เน็ต หรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆที่น่าเชื่อถือ) • นักเรียนต้องรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง (นักเรียนต้องรวบรวมข้อมูล ทั้งการจัดเรียงอนุภาค แรงยึด เหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ เพื่อนำมาปรับแก้แบบจำลอง อนุภาคที่คาดคะเนไว้ให้ถูกต้อง) 2.2 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำกิจกรรม โดยครูเดินสังเกตนักเรียนทุกกลุ่ม เพื่อให้คำแนะนำในการ สร้างแบบจำลองอนุภาคแก่นักเรียนอย่างใกล้ชิด แบบจำลองอาจเป็นรูปวาด ชิ้นงาน หรือบทบาทสมมติ โดย เน้นให้นักเรียนทุกคนได้มีโอกาส ชั่วโมงที่ 3-4 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม 3.2 จากนั้นร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรมและเปรียบเทียบผลการทำกิจกรรมของกลุ่มอื่นกับของ กลุ่มตนเอง รวมทั้งวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยแบบจำลองของแต่ละกลุ่ม 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม จากนั้นนำเสนอ และอภิปรายคำตอบร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า อนุภาคของของแข็งจะสั่นอยู่กับที่และเรียงชิดกัน โดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากกว่าของเหลวและ แก๊ส อนุภาคของของเหลวอยู่ใกล้กัน โดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็งแต่มากกว่าแก๊ส อนุภาคของของเหลวจึงเคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เป็นอิสระ โดยจะเคลื่อนที่รอบ ๆ อนุภาคใกล้เคียง อนุภาคของแก๊ส อยู่ห่างกันมาก โดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมาก อนุภาคจึงเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระทุกทิศทาง 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) นักเรียนร่วมกันนำผลงานแบบจำลองอนุภาคโดยอาจติดผลการทำกิจกรรมรอบผนังห้องเรียนหรือจัด แสดงที่โต๊ะและนักเรียนทุกคนเดินศึกษา (gallery walk) หากผลการทำกิจกรรมของนักเรียนบางกลุ่มไม่ สอดคล้องกับทฤษฎีหรือแนวการสรุป ครูอาจถามคำถามเพิ่มเติมเช่น นักเรียนคิดว่าเหตุใดผลการทำกิจกรรม ของนักเรียนจึงได้ข้อสรุปแตกต่างจากกลุ่มอื่น นักเรียนคิดว่ามีปัจจัยใดส่งผลต่อผลการทำกิจกรรมดังกล่าว เป็น ต้น โดยสาเหตุที่ทำให้ผลการทำกิจกรรมแตกต่างจากแนวการสรุปอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การรวบรวม ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน เป็นต้น


6 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - การจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่าง อนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสาร ชนิดเดียวกันในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ......................................................................................


7 ....................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


8 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่…1….. พลังงานความร้อน…….เรื่อง…...ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร(ตอนที่ 2)..... รายวิชา…วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…..2.......รหัสวิชา…......ว 21102 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....1..... กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีการศึกษา...2566...ภาคเรียนที่..2...เวลา...4...ชั่วโมง………. ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์........................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 2.1 ม.1/9 ม.1/10 ว 2.3 ม.1/1 , 1/2 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) สสารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาค ซึ่งอาจเป็นอะตอม โมเลกุล หรือไอออน โดยสสารชนิดเดียวกันที่ มีสถานะของแข็งของเหลว แก๊ส จะมีการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค การเคลื่อนที่ของ อนุภาคแตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อรูปร่างและปริมาตรของสสาร เมื่อสสารได้รับหรือสูญเสียความร้อน สสารอาจเกิด การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ขนาด หรือสถานะของสสาร ความร้อนอาจทำให้สสารเปลี่ยนสถานะ เมื่อสสารได้รับความร้อน อนุภาคจะเคลื่อนที่เร็วขึ้นและ เคลื่อนที่ออกห่างกันมากขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจะลดลง จนสสารเปลี่ยนสถานะ ในทางกลับกัน เมื่อ สสารสูญเสียความร้อน อนุภาคจะเคลื่อนที่ช้าลงและเข้าใกล้กันมากขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจะเพิ่มขึ้น จนสสารเปลี่ยนสถานะ ขณะที่สสารเปลี่ยนสถานะ ความร้อนทั้งหมดจะถูกใช้ในการเปลี่ยนสถานะโดยไม่มีการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • ความร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนสถานะของสสาร เมื่อให้ความร้อนแก่ของแข็ง อนุภาคของของแข็ง จะมี พลังงานและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง ซึ่งของแข็งจะใช้ความร้อนในการเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวว่า ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว และ อุณหภูมิขณะเปลี่ยนสถานะจะคงที่ เรียกอุณหภูมินี้ว่า จุดหลอมเหลว • เมื่อให้ความร้อนแก่ของเหลว อนุภาคของของเหลวจะมีพลังงานและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง ซึ่งของเหลวจะใช้ความร้อนในการเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส เรียกความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะจาก ของเหลวเป็นแก๊สว่า ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ และอุณหภูมิขณะเปลี่ยนสถานะ จะคงที่ เรียก อุณหภูมินี้ว่า จุดเดือด • เมื่อทำให้อุณหภูมิของแก๊สลดลงจนถึงระดับหนึ่งแก๊สจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกอุณหภูมินี้ ว่า จุดควบแน่น ซึ่งมีอุณหภูมิเดียวกับจุดเดือดของของเหลวนั้น • เมื่อทำให้อุณหภูมิของของเหลวลดลงจนถึงระดับหนึ่ง ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียก อุณหภูมินี้ว่า จุดเยือกแข็ง ซึ่งมีอุณหภูมิเดียวกับจุดหลอมเหลวของของแข็งนั้น


9 • เมื่อวัตถุอยู่ในอากาศจะมีแรงที่อากาศกระทำต่อวัตถุในทุกทิศทาง แรงที่อากาศกระทำต่อวัตถุขึ้นอยู่ กับขนาดพื้นที่ของวัตถุนั้น แรงที่อากาศกระทำตั้งฉากกับผิววัตถุต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่เรียกว่า ความดันอากาศ • ความดันอากาศมีความสัมพันธ์กับความสูงจากพื้นโลก โดยบริเวณที่สูงจากพื้นโลกขึ้นไป อากาศเบา บางลง มวลอากาศน้อยลง ความดันอากาศก็จะลดลง • เมื่อสสารได้รับหรือสูญเสียความร้อนอาจทำให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิ เปลี่ยนสถานะ หรือเปลี่ยน รูปร่าง • ปริมาณความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิขึ้นกับมวล ความร้อนจำเพาะ และอุณหภูมิที่ เปลี่ยนไป • ปริมาณความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนสถานะขึ้นกับมวลและความร้อนแฝงจำเพาะ โดยขณะที่สสาร เปลี่ยนสถานะ อุณหภูมิจะไม่เปลี่ยนแปลง 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมวลความร้อนจำเพาะและอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปของสสารกับปริมาณ ความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนอุณหภูมิของสสาร (K) 2. คำนวณปริมาณความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนอุณหภูมิและปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้จากข้อมูลที่ กำหนดให้วัดอุณหภูมิของสสารโดยใช้เทอร์มอมิเตอร์ได้อย่างถูกต้อง (P) 3. ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration,Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information,


10 and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 2.3 ม.1/1 ม.1/2 -รายงานกิจกรรม 2 ปัจจัยใดบ้างที่มี ผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ของสสาร -คำนวณพลังงานความร้อนโดยใช้ สมการQ = mcΔt -คำนวณปริมาณความร้อนที่ใช้ในการ เปลี่ยนอุณหภูมิและปริมาณต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องได้จากข้อมูลที่กำหนดให้ 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ


11 หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การเปลี่ยนอุณหภูมิของสสาร เนื่องจากได้รับหรือสูญเสีย ความร้อน -การคำนวณพลังงานความร้อน โดยใช้สมการQ = mcΔt -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็นอธิบาย การเปลี่ยนอุณหภูมิ ของสสารเนื่องจาก ได้รับหรือสูญเสีย ความร้อน -ยกตัวอย่างเหตุการณ์ ในชีวิตประจำวันที่ ความร้อนทำให้สสาร เปลี่ยนอุณหภูมิขนาด หรือสถานะ -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุ ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ ได้ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบประเมินระดับ การเห็นคุณค่าใน ตนเอง หรือ Selfesteem - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 5-7


12 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูให้นักเรียนสังเกตภาพ การใช้เทอร์มอคัปเปิลวัดอุณหภูมิของอาหาร (อธิบายการใช้เทอร์ มอมิเตอร์แบบที่เรียกว่าเทอร์มอคัปเปิลวัดอุณหภูมิของสสาร ในที่นี้คืออาหารบนเตาย่าง) 1.2 ทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ เทอร์มอมิเตอร์หากพบว่านักเรียนยังมีความรู้พื้นฐานไม่ถูกต้อง ครูทบทวนหรือแก้ไขความเข้าใจผิดของ นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องและเพียงพอที่จะเรียนเรื่องความร้อนกับการเปลี่ยนอุณหภูมิ ของสสารต่อไป 1.3 ครูนำสนทนา ร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการสั่นและการเคลื่อนที่ของอนุภาคทำให้เกิด พลังงานความร้อนในสสาร ซึ่งเราไม่สามารถวัดได้โดยตรง แต่เราสามารถวัดระดับพลังงานความร้อนของสสาร ได้ด้วยการวัดอุณหภูมิโดยใช้เทอร์มอมิเตอร์ 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังต่อไปนี้เพื่อนำสู่กิจกรรมที่ 2 ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร ดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำและสารอื่น ๆ) • กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อย่างไร (นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง) • การทำกิจกรรม ตอนที่ 1 ต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ใดบ้าง (นักเรียนตอบตามรายการวัสดุอุปกรณ์ ครู แนะนำวัสดุอุปกรณ์ วิธีการใช้ และข้อควรระวังในการใช้เทียนไขและเทอร์มอมิเตอร์ การควบคุมตัวแปรเพื่อ ให้ผลการทดลองน่าเชื่อถือ เช่น เทียนไขที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนต้องเป็นเทียนไขชนิดเดียวกัน มีขนาด และความสูงเท่ากัน) • นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง และมีวิธีบันทึกผลอย่างไร (นักเรียนต้องสังเกตและ บันทึกอุณหภูมิของน้ำในบีกเกอร์ ทุก ๆ 30 วินาที เป็นเวลา 3 นาที) • นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าน้ำที่ใส่ในบีกเกอร์มีมวล 60 กรัม (เนื่องจากน้ำปริมาตร 1 ลูกบาศก์ เซนติเมตร มีมวล 1 กรัม ดังนั้นต้องใส่น้ำให้มีปริมาตร 60 ลูกบาศก์เซนติเมตร) 2.2 ร่วมกันระบุปัญหา สมมติฐาน และตัวแปรที่เกี่ยวข้องของการทดลอง 2.3 ร่วมกันอภิปรายและตอบคำถามท้ายกิจกรรมเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ปริมาณความร้อนที่น้ำได้รับส่งผล ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำ โดยน้ำในบีกเกอร์ที่ได้รับความร้อนจากเทียนไข 2 เล่ม มีอุณหภูมิสูงขึ้น มากกว่า ในบีกเกอร์ที่ได้รับความร้อนจากเทียนไข 1 เล่ม 2.4 ให้นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรมตอนที่ 2 และร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังต่อไปนี้ • การทำกิจกรรม ตอนที่ 2 ต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ใดบ้าง (นักเรียนตอบตามรายการวัสดุอุปกรณ์ ครู ควรแนะนำวิธีและข้อควรระวังในการใช้ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์และเทอร์มอมิเตอร์ การควบคุมตัวแปรเพื่อ ให้ผลการทดลองน่าเชื่อถือ เช่น ควรใช้ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ชุดเดียวกันเป็นแหล่งความร้อนให้กับน้ำทั้ง 2 บีก เกอร์) • นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง และมีวิธีบันทึกผลอย่างไร (นักเรียนต้องสังเกตและ บันทึกอุณหภูมิของน้ำในบีกเกอร์ ทุก ๆ 1 นาที เป็นเวลา 5 นาที) 2.5 ร่วมกันระบุปัญหา สมมติฐาน และตัวแปรที่เกี่ยวข้องของการทดลองนี้


13 2.6 ร่วมกันอภิปรายและตอบคำถามท้ายกิจกรรมเพื่อให้ได้ข้อสรุปได้ว่า มวลของน้ำมีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำ โดยน้ำมวล 75 กรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่าน้ำมวล 150 กรัม เมื่อได้รับความ ร้อนปริมาณเท่ากัน 2.7 ครูนำอภิปรายว่า จากการทดลองตอนที่ 1 และ 2 นักเรียนทราบแล้วว่า ปริมาณความร้อนที่น้ำได้รับ และมวลของน้ำมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิของน้ำ นักเรียนคิดว่าชนิดของสสารมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิของสสารหรือไม่ อย่างไร (มี สสารแต่ละชนิดมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแตกต่างกัน เมื่อได้รับความ ร้อนเท่ากัน) เพื่อนำไปสู่การออกแบบการทดลองให้นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรมตอนที่ 3 2.8 ร่วมกันระบุปัญหา สมมติฐาน และตัวแปรที่เกี่ยวข้องของการทดลองนี้ 2.9 ร่วมกันอภิปรายและตอบคำถามท้ายกิจกรรมเพื่อให้ได้ข้อสรุปได้ว่า ชนิดของสสารมีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ โดยเมื่อเวลาผ่านไป กลีเซอรอลหรือน้ำมันพืชมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำ ชั่วโมงที่ 8 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 นักเรียนตอบคำถามระหว่างเรียน เพื่อประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิของสสาร 3.2 ครูแนะนำการคำนวณปริมาณความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิของสสารเปลี่ยนแปลงและปริมาณอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง ครูอาจให้นักเรียนสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เพิ่มเติมได้อีกด้วย จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกัน อภิปรายเพื่อตอบคำถามชวนคิด 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนนำเสนอกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา ของการทดลองทั้ง 3 ตอน 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) นักเรียนร่วมกันเฉลย กิจกรรม ร่วม กัน คิด 2 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - อธิบายการเปลี่ยนอุณหภูมิของสสาร เนื่องจากได้รับหรือสูญเสียความร้อน -การคำนวณพลังงานความร้อนโดยใช้สมการ Q = mcΔt ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... .................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... .....................................................................................


14 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


15 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่…1 พลังงานความร้อน..เรื่อง........ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร. (ตอนที่ 3)........... รายวิชา…วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…..2.......รหัสวิชา…......ว 21102 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....1..... กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีการศึกษา...2566... ภาคเรียนที่..2...เวลา...4...ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 2.3 ม.1/1 , 1/2 ,1/3 ,1/4 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) ความร้อนทำให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิ เมื่อสสารได้รับความร้อนอาจทำให้สสารมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามเมื่อสสารสูญเสียความร้อนอาจทำให้สสารมีอุณหภูมิลดลง โดยทั่วไปเมื่อสสารได้รับความร้อน สสารจะขยายตัว เนื่องจากความร้อนทำให้อนุภาคเคลื่อนที่เร็วขึ้น และระยะห่างระหว่างอนุภาคมากขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อสสารสูญเสียความร้อน สสารจะหดตัว เนื่องจากความ ร้อนทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ช้าลงและระยะห่างระหว่างอนุภาคลดลง 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • ความร้อนทำให้สสารขยายตัวหรือหดตัวได้ เนื่องจากเมื่อสสารได้รับความร้อนจะทำให้อนุภาค เคลื่อนที่เร็วขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวแต่เมื่อสสารคายความร้อนจะทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ช้าลง ทำให้เกิดการ หดตัว • ความรู้เรื่องการหดและขยายตัวของสสารเนื่องจากความร้อนนำไปใช้ประโยชน์ได้ด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างถนน การสร้างรางรถไฟ การทำเทอร์มอมิเตอร์ 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. สร้างแบบจำลองที่อธิบายการขยายตัวหรือหดตัวของสสารเนื่องจากได้รับหรือสูญเสียความร้อน (K) 2. อธิบายตัวอย่างเหตุการณ์การขยายตัวหรือหดตัวของสสารเนื่องจากความร้อนพร้อมทั้งเสนอแนะ แนวทางการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวหรือหดตัวของสสาร (P) 3. ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต


16 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 2.3 ม.1/3 ม.1/4 - รายงานกิจกรรมที่ 3 ความร้อนส่งผล ต่อสารแต่ละสถานะ อย่างไร -ยกตัวอย่างเหตุการณ์การขยายตัวหรือหดตัวของสสาร เนื่องจากความร้อนพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวหรือหดตัวของสสาร -สร้างแบบจำลองที่อธิบายการขยายตัวหรือหดตัวของสสาร เนื่องจากได้รับหรือสูญเสียความร้อน


17 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การขยายตัวหรือหดตัวของ สสารเนื่องจากได้รับหรือสูญเสีย ความร้อน -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็นอธิบาย เหตุการณ์การขยาย ตัวหรือหดตัวของ สสารเนื่องจากความ ร้อนพร้อมทั้งเสนอ แนะแนวทางการ ป้องกันหรือแก้ไข ปัญหาที่เกิดจากการ ขยายตัวหรือหดตัว ของสสารได้อย่าง ถูกต้อง -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุ ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ ได้ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์


18 ทำงานกลุ่ม 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบประเมินระดับ การเห็นคุณค่าใน ตนเอง หรือ Selfesteem - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 9 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูให้นักเรียนดูภาพ การยกตัวของถนน (ซึ่งสามารถอธิบายได้ โดยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการขยายตัวของสสารเมื่อได้รับความร้อน โดยถนนที่สร้างขึ้นได้ออกแบบช่องว่างที่รองรับการขยายตัว น้อยเกินไป นอกจากนี้ ชาวบ้านยังมีความเชื่ออื่น ๆ ในเชิงปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติเช่น เป็นการกระทำของ พญานาคหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 1.2 ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียนเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของสสารเมื่อได้รับหรือสูญเสียความร้อน หากพบว่านักเรียนยังมีความรู้พื้นฐานไม่ถูกต้อง ครู ควรทบทวนหรือแก้ไขความเข้าใจผิดของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องและเพียงพอที่จะ เรียนเรื่องความร้อนกับการขยายตัวหรือหดตัวของสสารต่อไป 1.3 ครูนำเข้าสู่กิจกรรมที่ 3 ความร้อนส่งผลต่อสสารแต่ละสถานะอย่างไร โดยร่วมกันอภิปรายใน ประเด็นดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ผลของความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของอากาศ น้ำ และ เหล็ก) • หลังการทำกิจกรรมแล้ว นักเรียนจะรู้อะไร (อธิบายผลของความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของ อากาศ น้ำ และ เหล็ก) ชั่วโมงที่ 10-12 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูควรมอบหมายให้แต่ละกลุ่มศึกษาผลของความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของสสารที่แตกต่าง กัน ดังนี้ • กลุ่มที่ 1 และ 2 ทำกิจกรรมตอนที่ 1 ศึกษาผลของความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของอากาศ • กลุ่มที่ 3 และ 4 ทำกิจกรรมตอนที่ 2 ศึกษาผลของความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของน้ำ • กลุ่มที่ 5 และ 6 ทำกิจกรรมตอนที่ 3 ศึกษาผลของความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของเหล็ก


19 2.2 ให้นักเรียนอ่านวัสดุ อุปกรณ์ วิธีดำเนินกิจกรรม จากนั้นครูอภิปรายวิธีการทำกิจกรรม พร้อมอาจ แสดงหรือแนะนำอุปกรณ์ให้นักเรียนทราบ จากนั้นครูใช้คำถามถามนักเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากการ อ่านดังนี้ • การทำกิจกรรมต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์อะไรบ้าง (นักเรียนตอบตามรายการวัสดุและอุปกรณ์ ครูควร แนะนำวิธีและข้อควรระวังในการใช้ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์) • นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง และมีวิธีบันทึกผลอย่างไร (ตอนที่ 1 ให้นักเรียนสังเกต การเปลี่ยนแปลงของลูกโป่ง พร้อมทั้งบันทึกผลซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบการเขียนบรรยายวาดภาพหรือบันทึกคลิป วิดีทัศน์สั้น ๆ ตอนที่ 2 ให้นักเรียนสังเกตและวัดระดับของน้ำสีในหลอดนำแก๊ส พร้อมทั้งบันทึกผลเป็นตัวเลข และอาจให้นักเรียน เขียนบรรยาย วาดภาพหรือบันทึกคลิปวิดีทัศน์สั้น ๆ ตอนที่ 3 ให้นักเรียนสังเกตการ เคลื่อนที่ของลูกกลมเหล็กผ่านวงแหวนเหล็ก พร้อมทั้งบันทึกผลซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบการเขียนบรรยาย วาดภาพ หรือบันทึกคลิปวิดีทัศน์สั้น ๆ) 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 นักเรียนในแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายและตอบคำถามท้ายกิจกรรม จากนั้นนำเสนอและเปรียบเทียบ ผลการทำกิจกรรมกับกลุ่มอื่น ๆ หากมีข้อมูลใดคลาดเคลื่อนครูนำอภิปรายแก้ไขให้ถูกต้อง 3.2 นักเรียนอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่ออากาศ น้ำ และลูกกลมเหล็กได้รับความร้อนจะมีปริมาตร เพิ่มขึ้นและขยายตัว ในทางตรงกันข้ามเมื่ออากาศ น้ำ และลูกกลมเหล็กสูญเสียความร้อนจะมีปริมาตรลดลง และหดตัว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับอนุภาคของสสาร 3.3 นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและการอ่านเรื่องโครงสร้างอะตอม โดยใช้คำถาม เช่น อะตอมประกอบด้วยอนุภาคอะไรบ้าง อะตอมของแต่ละธาตุเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร นิวเคลียสประกอบด้วยอนุภาคอะไรบ้าง ครูอาจวาดแบบจำลองอะตอมของธาตุต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนระบุชนิด และจำนวนของอนุภาคในแบบจำลอง 3.4 นักเรียนตอบคำถามระหว่างเรียน เพื่อประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับการขยายตัวหรือหดตัวของสสาร เมื่อได้รับหรือสูญเสียความร้อน 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยอาจใช้คำถามดังนี้ • มีเหตุการณ์ใดบ้างที่เกิดจากการขยายตัวหรือหดตัวของสสารอันเนื่องมาจากความร้อน • เราสามารถใช้ประโยชน์จากการขยายตัวหรือหดตัวของสสารอันเนื่องมาจากความร้อนได้อย่างไรบ้าง • การขยายตัวหรือหดตัวของสสารอันเนื่องมาจากความร้อนมีโทษหรือสร้างความเสียหายต่อชีวิตและ ทรัพย์สินได้อย่างไร และจะมีทางป้องกันหรือแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 จากสถานการณ์ถนนยกตัวขึ้นเนื่องจากความร้อน ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำแผ่นพับเพื่ออธิบาย สาเหตุของการยกตัวของถนน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อสื่อสารให้ คนในชุมชนเข้าใจเหตุการณ์ดังกล่าว โดยนักเรียนต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและใช้แบบจำลองอนุภาคของสสาร ประกอบการอธิบาย 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์


20 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - อธิบายการขยายตัวหรือหดตัวของ สสารเนื่องจากได้รับหรือสูญเสีย ความร้อน ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


21 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่…1 พลังงานความร้อน..เรื่อง........ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร. (ตอนที่ 4)........... รายวิชา…วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…..2.......รหัสวิชา…......ว 21102 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....1..... กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีการศึกษา...2566... ภาคเรียนที่..2...เวลา...7...ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 2.3 ม.1/1 , 1/2 ,1/3 ,1/4 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) ความร้อนอาจทำให้สสารเปลี่ยนสถานะ เมื่อสสารได้รับความร้อน อนุภาคจะเคลื่อนที่เร็วขึ้นและ เคลื่อนที่ออกห่างกันมากขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจะลดลง จนสสารเปลี่ยนสถานะ ในทางกลับกัน เมื่อ สสารสูญเสียความร้อน อนุภาคจะเคลื่อนที่ช้าลงและเข้าใกล้กันมากขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจะเพิ่มขึ้น จนสสารเปลี่ยนสถานะขณะที่สสารเปลี่ยนสถานะ ความร้อนทั้งหมดจะถูกใช้ในการเปลี่ยนสถานะโดยไม่มีการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • เมื่อสสารได้รับหรือสูญเสียความร้อนอาจทำให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิเปลี่ยนสถานะ หรือเปลี่ยนรูปร่าง • ปริมาณความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิขึ้นกับมวล ความร้อนจำเพาะ และอุณหภูมิที่ เปลี่ยนไป • ปริมาณความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนสถานะขึ้นกับมวลและความร้อนแฝงจำเพาะ โดยขณะที่สสาร เปลี่ยนสถานะ อุณหภูมิจะไม่เปลี่ยนแปลง 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถ 1. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสสารโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และแบบจำลองได้อย่างถูกต้อง (K) 2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมวลและความร้อนแฝงจำเพาะของสารกับปริมาณความร้อนที่ใช้ในการ เปลี่ยนสถานะของสสาร (K) 3. คำนวณปริมาณความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะและปริมาณต่าง ๆที่เกี่ยวข้องได้จากข้อมูลที่ กำหนดให้วัดอุณหภูมิของสสารโดยใช้เทอร์มอมิเตอร์ได้อย่างถูกต้อง (P) 4. ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ความร้อนทำให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิขนาด หรือสถานะ (K) 5. อธิบายความร้อนจำเพาะของน้ำที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม (K) 6. ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ (A)


22 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน


23 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 2.3 ม.1/1 ม.1/2 - รายงานกิจกรรมที่ 4 ความร้อนทำให้ สสารเปลี่ยนสถานะได้อย่างไร - คำนวณปริมาณความร้อนที่ใช้ในการ เปลี่ยนสถานะและปริมาณต่าง ๆที่ เกี่ยวข้องได้จากข้อมูลที่กำหนดให้โดย ใช้สมการ Q = mL -วิเคราะห์สถานการณ์แปลความหมาย ข้อมูลและคำนวณปริมาณความร้อนที่ ทำให้สสารเปลี่ยนสถานะ 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - ความสัมพันธ์ระหว่างความ ร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของ สสาร -การคำนวณปริมาณ ความร้อนที่ทำให้ สสารเปลี่ยนอุณหภูมิ และเปลี่ยนสถานะ โดยใช้สมการ Q = mcΔt และ Q = mL -ก า ร ต ร ว จ ผ ล ง า น นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง คว าม คิ ด เห็ น ร ะ บุ ทักษะกระบวน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น -นั ก เรียน ได้ คะ แ น น 12 ค ะ แ น น ขึ้ น ไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า


24 การทางวิทยาศาสตร์ที่ ได้ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แ บ บ ป ร ะ เมิ น พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบประเมินระดับ การเห็นคุณค่าใน ตนเอง หรือ Selfesteem - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 13-14 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูให้นักเรียนดูภาพ ธารน้ำแข็งโคลัมเบีย ในรัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา อ่านเนื้อหา จากนั้นร่วมกันอภิปรายโดยอาจใช้คำถาม ดังนี้ • จากภาพ พบการเปลี่ยนแปลงของสสารชนิดใดสสารชนิดดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (จากภาพ พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งโดยน้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำ หรือน้ำแข็งหลอมเหลวเป็นน้ำ) • ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับความร้อนและการเปลี่ยนสถานะอย่างไร (ธารน้ำแข็งโคลัมเบีย ในรัฐ อะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา จากภาพพบว่าน้ำแข็งหลอมเหลวเป็นน้ำซึ่งจะเชื่อมโยงเพื่อเรียนรู้ต่อไปว่า ความร้อนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสถานะของสสารอย่างไร รวมถึงเป็นภาพที่ช่วยสร้างความตระหนักเรื่องภาวะ โลกร้อน) 1.2 ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียนเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของสสารเมื่อได้รับหรือสูญเสียความร้อน หากพบว่านักเรียนยังมีความรู้พื้นฐานไม่ถูกต้อง ครู ควรทบทวนหรือแก้ไขความเข้าใจผิดของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องและเพียงพอที่จะ เรียนเรื่องการเปลี่ยนสถานะของสสารในระดับอนุภาคต่อไป 1.3 ครูนำเข้าสู่กิจกรรมที่ 4 ความร้อนทำให้สสารเปลี่ยนสถานะได้อย่างไร โดยอาจใช้คำถามว่าความ ร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนสถานะของสสารอย่างไร ขณะที่สสารเปลี่ยนสถานะ สสารมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือไม่ อย่างไร 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูให้นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรมในชุดกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (การเปลี่ยนสถานะของน้ำเนื่องจากความร้อน)


25 • กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อย่างไร (นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง) • วิธีดำเนินกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (ใส่น้ำแข็งก้อนเล็กปริมาณ 2 ใน 3 ของบีกเกอร์ ให้ความ ร้อน แล้วใช้แท่งแก้วคนตลอดเวลา สังเกตและบันทึกสิ่งที่พบในบีกเกอร์และอุณหภูมิของน้ำแข็งในบีกเกอร์ ทุก ๆ 1 นาที จนสิ่งที่อยู่ในบีกเกอร์เดือด และได้รับความร้อนต่อไปอีก 3 นาที เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างอุณหภูมิกับเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทำกิจกรรม) • ข้อควรระวังในการทำกิจกรรมมีอะไรบ้าง (นักเรียนควรระวังการใช้ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์และเทอร์มอ มิเตอร์) • นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง (นักเรียนควรสังเกตและบันทึกสิ่งที่พบในบีกเกอร์และ อุณหภูมิของน้ำแข็งในบีกเกอร์ ทุก ๆ 1 นาที จนสิ่งที่อยู่ในบีกเกอร์เดือด และได้รับความร้อนต่อไปอีก 3 นาที) 2.2 ให้นักเรียนอ่านวัสดุ อุปกรณ์ วิธีดำเนินกิจกรรม จากนั้นครูอภิปรายวิธีการทำกิจกรรม พร้อมอาจ แสดงหรือแนะนำอุปกรณ์ให้นักเรียนทราบ จากนั้นครูใช้คำถามถามนักเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ชั่วโมงที่ 15-19 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้ไปเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา ตั้งแต่เริ่มวัดอุณหภูมิของน้ำแข็งจนสิ้นสุดการทำกิจกรรมโดยใช้กระดาษกราฟ หรือครูอาจให้นักเรียนเขียน กราฟโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปนำเสนอผลการทำกิจกรรม และกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อุณหภูมิกับเวลา จากนั้นร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรมและเปรียบเทียบผลการทำกิจกรรมของกลุ่มอื่นกับ ของกลุ่มตนเอง 3.2 นักเรียนอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อให้ความร้อนแก่น้ำจนน้ำเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็น ของเหลว และของเหลวเป็นแก๊ส อุณหภูมิของน้ำขณะเปลี่ยนสถานะจะคงที่ 3.3 นักเรียนสามารถอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร ได้แก่ ปริมาณความร้อนที่ สสารได้รับหรือสูญเสีย มวล และความร้อนแฝงจำเพาะของสาร 3.4 นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือเรียน เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการคำนวณปริมาณความ ร้อนที่สสารได้รับหรือสูญเสียเมื่อสสารมีการเปลี่ยนสถานะและปริมาณอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นครูและ นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบคำถามชวนคิด 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนร่วมกันเขียนผังมโนทัศน์ในบทเรียนเรื่องความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร 4.2 ครูและนักเรียนอภิปรายสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากบทเรียนร่วมกัน 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 เชื่อมโยงความรู้เรื่องความร้อนจำเพาะของสารไปสู่ผลของค่าความร้อนจำเพาะของน้ำที่มีผลต่อ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแลกเปลี่ยนความรู้กันในชั้นเรียน 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด


26 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - ความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนกับการ เปลี่ยนสถานะของสสาร - การคำนวณปริมาณความร้อนที่ทำให้ สสารเปลี่ยนอุณหภูมิและเปลี่ยนสถานะ โดยใช้สมการ Q = mcΔt และ Q = mL ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ................................................................................ ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ......................................................................................


27 ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


28 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่…1 พลังงานความร้อน..เรื่อง...การถ่ายโอนความร้อนในชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 1)................. รายวิชา……..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…..2.......รหัสวิชา…......ว 21102 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....1..... กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีการศึกษา...2565... ภาคเรียนที่..2...เวลา...4...ชั่วโมง……… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 2.3 ม.1/6 ,1/7 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) การถ่ายโอนความร้อนมี 3 วิธี คือ การนำความร้อน การพาความร้อนและการแผ่รังสีความร้อน การ นำความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนที่อาศัยตัวกลาง โดยที่อนุภาคของตัวกลางไม่เคลื่อนที่ แต่สั่นต่อเนื่องกัน ไป การพาความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนซึ่งอาศัยตัวกลางที่เป็นของเหลวหรือแก๊ส โดยที่อนุภาคของ ตัวกลางเคลื่อนที่ไปพร้อมกับพาความร้อนไปด้วย การแผ่รังสีความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนที่ไม่ต้อง อาศัยตัวกลาง แต่ความร้อนส่งผ่านโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • การถ่ายโอนความร้อนมี 3 แบบ คือ การนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน การนำความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนที่อาศัยตัวกลาง โดยที่ตัวกลางไม่เคลื่อนที่ การพาความร้อนเป็นการ ถ่ายโอนความร้อนที่อาศัยตัวกลาง โดยที่ตัวกลางเคลื่อนที่ไปด้วย ส่วนการแผ่รังสีความร้อนเป็นการถ่ายโอน ความร้อนที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลาง • ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ เช่นการเลือกใช้ วัสดุเพื่อนำมาทำภาชนะบรรจุอาหาร เพื่อเก็บความร้อน หรือการออกแบบระบบระบายความร้อนในอาคาร 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกความแตกต่างของการถ่ายโอนความร้อนวิธีต่างๆได้ (K) 2. สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการถ่ายโอนความร้อนวิธีต่าง ๆได้(P) 3. ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต


29 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 2.3 ม.1/6 ม.1/7 - รายงานกิจกรรมที่ 1 ความร้อนถ่ายโอนผ่าน ของแข็งได้อย่างไร -สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการถ่ายโอนผ่านของแข็ง -ออกแบบ เลือกใช้ และสร้างอุปกรณ์เพื่อแก้ปัญหาใน ชีวิตประจำวันโดยใช้ความรู้เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอน ความร้อน 11. การวัดประเมินผล


30 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การถ่ายโอนความร้อนโดยวิธี นำความร้อน -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็นอธิบาย การถ่ายโอนความร้อน โดยวิธีนำความร้อน -ก า ร ต ร ว จ ผ ล ง า น นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง คว าม คิ ด เห็ น ร ะ บุ ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ ได้ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แ บ บ ป ร ะ เมิ น พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นั ก เรียน ได้ คะ แ น น 12 ค ะ แ น น ขึ้ น ไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบประเมินระดับ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์


31 - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) ทดลอง การเห็นคุณค่าใน ตนเอง หรือ Selfesteem - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 กระตุ้นความสนใจโดยให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียนวีดิทัศน์ หรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการทำ ประมงในทะเลน้ำลึก พร้อมทั้งให้นักเรียนอ่านเนื้อหานำบทจากนั้นครูและนักเรียนอภิปรายถึงวิธีการที่ชาว ประมงเก็บรักษาสัตว์ทะเลที่จับได้ให้ยังคงความสดไม่เน่าเสียจากแบคทีเรียที่เจริญเติบโตในอุณหภูมิ สูงได้อย่างไร การป้องกันการเน่าเสียของสัตว์ทะเลเกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนความร้อนอย่างไร(ภาพนำบท คือ ภาพแสดงเรือประมงที่ออกจับสัตว์ทะเลน้ำลึกห่างไกลจากชายฝั่ง เป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรือบางครั้ง อาจจะนานมากกว่าครึ่งปีสัตว์ทะเลที่จับขึ้นมาได้ต้องเก็บไว้ในห้องเย็นเพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ ทำให้สัตว์ทะเลเน่าเสียระหว่างการขนส่งไปจนถึงผู้บริโภคได้ 1.2 กระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับเรื่องการถ่ายโอนความร้อนวิธีต่าง ๆ โดยอาจใช้ภาพในหนังสือเรียน วีดิ ทัศน์ หรือสื่ออื่น ๆ ที่แสดงถึงการประกอบอาหารด้วยความร้อนวิธีต่าง ๆ นักเรียนอ่านเนื้อหานำเรื่อง จากนั้น ครูอาจใช้คำถามเพื่ออภิปรายดังนี้ - ในภาพแสดงวิธีการทำอาหารอะไรบ้าง (การย่าง การทอด) - การประกอบอาหารแต่ละวิธี มีการถ่ายโอนความร้อนหรือไม่ อย่างไร 1.3 ให้นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียน เกี่ยวกับ ความหมายของการถ่ายโอนความร้อนและการจัดเรียงอนุภาค การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารในแต่ละ สถานะ หากพบว่านักเรียนยังมีความรู้พื้นฐานไม่ถูกต้อง ครูควรทบทวนหรือแก้ไขความเข้าใจ ผิดของนักเรียนเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเพียงพอในการเรียนต่อไป ชั่วโมงที่ 2-3 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1กระตุ้นความสนใจโดยใช้ภาพแสดงแท่งเหล็กที่มีลูกชิ้นเสียบไว้หลายลูก ปลายด้านหนึ่งของแท่งเหล็ก ได้รับความร้อนครูกระตุ้นให้นักเรียนคิดว่ามีการถ่ายโอนความร้อนอย่างไร ลูกชิ้นที่ตำแหน่งใดจะสุกก่อน เพื่อ เชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมที่ 1 ความร้อนถ่ายโอนผ่านของแข็งได้อย่างไร 2.2 ให้นักเรียนอ่านวิธีดำเนินกิจกรรม จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจุดประสงค์ของกิจกรรม และวิธีดำเนิน กิจกรรมในชุดกิจกรรม โดยอาจใช้คำถามดังนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (เรื่องการถ่ายโอนความร้อนของแผ่นอะลูมิเนียม) • การทำกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (เตรียมอุปกรณ์ตามภาพในหนังสือเรียน แล้วทำกิจกรรมเพื่อ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของชิ้นเทียนไขซึ่งวางบนแผ่นอะลูมิเนียมที่ได้รับความร้อน จากนั้นสร้างแบบจำลองการ ถ่ายโอนความร้อนของของแข็ง และสืบค้นข้อมูลแบบจำลองการถ่ายโอนความร้อนของของแข็งจากแหล่งที่ เชื่อถือได้ เพื่อนำมาปรับปรุงแบบจำลองของตนเอง และนำเสนอ)


32 2.3 เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเกี่ยวกับขั้นตอนการทำกิจกรรมที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ จากนั้นครูและ นักเรียนร่วมอภิปรายเพื่อแก้ไขสิ่งที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ เน้นย้ำเกี่ยวกับวิธีการบันทึกผล ข้อควรระวังในการทำ กิจกรรม โดยอาจใช้คำถามดังนี้ • ข้อควรระวังในการทำกิจกรรมนี้มีอะไรบ้าง (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ แต่ครูควรกำชับให้นักเรียน ระวังการใช้มือสัมผัสกับแผ่นอะลูมิเนียมที่ได้รับความร้อน) • นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง และมีวิธีบันทึกผลอย่างไร (สังเกตการเปลี่ยนแปลงของ ชิ้นเทียนไขเมื่อให้ความร้อนแก่แผ่นอะลูมิเนียม บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นและบันทึกผลการสังเกตอย่างละเอียด หรือ อาจใช้กล้องบันทึกภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) 2.4 ให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมตามวิธีการในหนังสือเรียน สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2.5 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเพื่อวาดแบบจำลองการถ่ายโอนความร้อนผ่านของแข็ง โดย แสดงถึงการจัดเรียง อนุภาคของของแข็งเมื่อได้รับความร้อน จากนั้นนำเสนอแบบจำลองที่สร้างขึ้นตามความคิดของตนเอง ชั่วโมงที่ 4 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ให้นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลการถ่ายโอนความร้อนผ่านของแข็งจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น หนังสือ หรือเว็บไซต์โดยให้นักเรียนระบุแหล่งที่มาของข้อมูล นักเรียนนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาปรรับแก้ แบบจำ ลองของตนเอง พร้อมทั้งอธิบายแนวทางในการปรับแก้แบบจำลองอีกครั้ง 3.2 ให้นักเรียนใช้ข้อมูลที่ได้จากการอภิปรายร่วมกัน มาใช้ตอบคำถามท้ายกิจกรรม 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 ร่วมกันอภิปรายถึงสถานการณ์ที่ครูได้เคยถามนักเรียนก่อนนำเข้าสู่กิจกรรมว่าการนำลูกชิ้นหลาย ลูกเสียบกับแท่งเหล็กแล้วนำ ปลายด้านหนึ่งของแท่งเหล็กไปให้ความร้อน จะเกิดการถ่ายโอนความร้อนอย่างไร และลูกชิ้นที่ตำแหน่งใดจะสุกก่อน เพราะเหตุใด (นักเรียนควรตอบได้ว่าเกิดจากการนำความร้อนจากปลายแท่ง เหล็กที่ได้รับความร้อนต่อเนื่องไปยังบริเวณอื่นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าซึ่งอยู่ข้างเคียง มีผลทำให้ลูกชิ้นที่เสียบไว้ใกล้ กับปลายแท่งเหล็กด้านที่ได้รับความร้อนสุกก่อนลูกที่อยู่ถัดไป) 4.2 ครูและนักเรียนอภิปรายสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากบทเรียนร่วมกัน 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 ร่วมกันอภิปรายโดยใช้การถามตอบเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การนำความร้อนเป็นการถ่ายโอนความ ร้อนโดยการสั่นของอนุภาค เมื่ออนุภาคซึ่งเป็นตัวกลางได้รับความร้อน อนุภาคนั้นจะสั่นมากขึ้น มีอุณหภูมิ เพิ่มขึ้น และไปชนกับอนุภาคที่อยู่ข้างเคียง ทำให้อนุภาคที่อยู่ข้างเคียงสั่นมากขึ้น และมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามไป ด้วย ความร้อนจะถ่ายโอนจากบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งพลังงานความร้อนไปยังบริเวณที่ห่างออกไป การนำความ ร้อนเกิดขึ้นกับสสารได้ทุกสถานะ สสารแต่ละชนิดจะนำความร้อนได้แตกต่างกัน ดังนั้นเราสามารถนำความรู้ เกี่ยวกับการนำความร้อนไปใช้ในการเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน 5.2 ให้นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความเข้าใจของตนเองลงในสมุดบันทึก และอาจให้ นักเรียนยกตัวอย่างการนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องการนำความร้อนไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากใน หนังสือเรียน 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้


33 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - การถ่ายโอนความร้อนโดยวิธีนำความร้อน ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


34 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่…1 พลังงานความร้อน..เรื่อง...การถ่ายโอนความร้อนในชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 2)................... รายวิชา…วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…..2.......รหัสวิชา…......ว 21102 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....1..... กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีการศึกษา...2566... ภาคเรียนที่..2...เวลา...3..ชั่วโมง……..… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์............................................................................................ 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 2.3 ม.1/6 ,1/7 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) การถ่ายโอนความร้อนมี 3 วิธี คือ การนำความร้อน การพาความร้อนและการแผ่รังสีความร้อน การ นำความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนที่อาศัยตัวกลาง โดยที่อนุภาคของตัวกลางไม่เคลื่อนที่ แต่สั่นต่อเนื่องกัน ไป การพาความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนซึ่งอาศัยตัวกลางที่เป็นของเหลวหรือแก๊ส โดยที่อนุภาคของ ตัวกลางเคลื่อนที่ไปพร้อมกับพาความร้อนไปด้วย การแผ่รังสีความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนที่ไม่ต้อง อาศัยตัวกลาง แต่ความร้อนส่งผ่านโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • การถ่ายโอนความร้อนมี 3 แบบ คือ การนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน การนำความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนที่อาศัยตัวกลาง โดยที่ตัวกลางไม่เคลื่อนที่ การพาความร้อนเป็นการ ถ่ายโอนความร้อนที่อาศัยตัวกลาง โดยที่ตัวกลางเคลื่อนที่ไปด้วย ส่วนการแผ่รังสีความร้อนเป็นการถ่ายโอน ความร้อนที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลาง • ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ เช่นการเลือกใช้ วัสดุเพื่อนำมาทำภาชนะบรรจุอาหาร เพื่อเก็บความร้อน หรือการออกแบบระบบระบายความร้อนในอาคาร 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมายของการถ่ายโอนความร้อนของของเหลวและแก๊ส (K) 2. รวบรวมข้อมูลและสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการถ่ายโอนความร้อนของของเหลวและแก๊ส(P) 3. ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต


35 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 2.3 ม.1/6 ม.1/7 - รายงานกิจกรรมที่ 2 การถ่ายโอน ความร้อนของของเหลวและแก๊สเป็น อย่างไร - รายงานกิจกรรมที่ 3 การถ่ายโอน ความร้อนโดยไม่อาศัยตัวกลางเป็น อย่างไร -สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการถ่ายโอน ความร้อนของของเหลวและแก๊ส -ออกแบบ เลือกใช้ และสร้างอุปกรณ์เพื่อ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันโดยใช้ความรู้ เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนความร้อน


36 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การถ่ายโอนความร้อนของ ของเหลวและแก๊ส - การถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ อาศัยตัวกลาง -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็นอธิบาย และเปรียบเทียบการ ถ่ายโอนความร้อนวิธี ต่าง ๆ -ก า ร ต ร ว จ ผ ล ง า น นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง คว าม คิ ด เห็ น ร ะ บุ ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ ได้ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แ บ บ ป ร ะ เมิ น พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นั ก เรียน ได้ คะ แ น น 12 ค ะ แ น น ขึ้ น ไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80


37 การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง -แบบประเมินระดับ การเห็นคุณค่าใน ตนเอง หรือ Selfesteem ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 เชื่อมโยงความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปสู่กิจกรรมต่อไปโดยใช้คำถามว่ามีการถ่ายโอนความร้อนด้วยวิธีอื่นอีก หรือไม่อย่างไร 1.2 การถ่ายโอนความร้อนของของเหลวและแก๊สเป็นอย่างไร ชั่วโมงที่ 2-3 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1ให้นักเรียนอ่านวิธีดำเนินกิจกรรม จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจุดประสงค์และวิธีดำเนิน กิจกรรมโดยอาจใช้คำถามดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (เรื่องการถ่ายโอนความร้อนของน้ำและอากาศ) • การทำกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (ตอนที่ 1 ให้ความร้อนแก่น้ำ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเมล็ด แมงลักในน้ำ วัดอุณหภูมิของน้ำเมื่อได้รับความร้อน สร้างแบบจำลองการถ่ายโอนความร้อนของของเหลวตาม ความคิดของกลุ่มและสืบค้นข้อมูลการถ่ายโอนความร้อนของของเหลวจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แล้วนำมาปรับปรุง แบบจำลองของตนเอง นำเสนอ ตอนที่ 2 แขวนพู่กระดาษให้สูงจากเทียนไข เมื่อจุดเทียนไขแล้ววัดอุณหภูมิ ของอากาศ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของพู่กระดาษ สร้างแบบจำลองการถ่ายโอนความร้อนของแก๊สตาม ความคิดของกลุ่ม และสืบค้นข้อมูลการถ่ายโอนความร้อนของแก๊สจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แล้วนำมาปรับปรุง แบบจำลองของตนเอง นำเสนอ) • ข้อควรระวังในการทำกิจกรรมมีอะไรบ้าง (ควรระวังการใช้ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ และการจุดเทียนไข) 2.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเกี่ยวกับขั้นตอนการทำกิจกรรมที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ จากนั้นครูและ นักเรียนร่วมอภิปรายเพื่อแก้ไขสิ่งที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ เน้นย้ำเกี่ยวกับวิธีการบันทึกผล ข้อควรระวังในการทำ กิจกรรม โดยอาจใช้คำถามดังนี้ • ในตอนที่ 1 นักเรียนต้องติดตั้งเทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิของน้ำที่ตำแหน่งใดบ้าง (จุ่มกระเปาะเทอร์มอ มิเตอร์ลงในบริเวณใกล้กับก้นบีกเกอร์ และจุ่มอีกอันลงในบริเวณใกล้กับผิวน้ำ ให้กระเปาะเทอร์มอมิเตอร์จมใต้ ผิวน้ำ) • ในตอนที่ 1 สิ่งที่ต้องสังเกตและวัดมีอะไรบ้าง (สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับเมล็ดแมงลัก และวัดอุณหภูมิของน้ำ บริเวณใกล้กับก้นบีกเกอร์ และบริเวณใกล้ผิวน้ำ ทุก ๆ 30 วินาที จนน้ำเดือด) • ในตอนที่ 2 นักเรียนต้องติดตั้งเทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิของอากาศที่ตำแหน่งใดบ้าง (จัดเทอร์มอ มิเตอร์ให้กระเปาะอยู่บริเวณปลายบนและปลายล่างของพู่กระดาษ)


38 • ในตอนที่ 2 สิ่งที่ต้องสังเกตและวัดมีอะไรบ้าง (สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับพู่กระดาษและวัดอุณหภูมิของ อากาศที่ตำแหน่งปลายบนและปลายล่างของพู่กระดาษ ทุก ๆ 30 วินาที เป็นเวลา 3 นาที) 2.3 แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 4 - 5 คน เพื่อทำกิจกรรมที่ 2 พร้อมทั้งออกแบบตารางบันทึกผลการทำ กิจกรรม 2.4 ให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมตามวิธีการดำเนินกิจกรรมตอนที่ 1 ในหนังสือเรียน และสังเกตการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2.5 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกัน และวาดแบบจำลองการถ่ายโอนความร้อนของของเหลว โดย แสดงถึงการจัดเรียงอนุภาคของของเหลวเมื่อได้รับความร้อน จากนั้นนักเรียนนำเสนอแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตามความคิดของกลุ่ม 2.6 ให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมตามวิธีการดำเนินกิจกรรมตอนที่ 2 ในชุดกิจกรรม สังเกตการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2.7 ให้นักเรียน 1 - 2 กลุ่ม นำเสนอผลการสังเกต นักเรียนกลุ่มอื่นฟังการนำเสนอ และเปรียบเทียบผล การทำกิจกรรมร่วม 2.8 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันและวาดแบบจำลองการถ่ายโอนความร้อนของแก๊ส โดยแสดงถึง การจัดเรียง อนุภาคของแก๊สเมื่อได้รับความร้อน จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแบบจำลองที่สร้างขึ้นตามความคิดของ ตนเอง 2.9 ให้นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลการถ่ายโอนความร้อนของแก๊สจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น หนังสือ เว็บไซต์หรือวีดิทัศน์ พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาปรับแก้ แบบจำลองของตนเอง และอธิบายแนวทางการปรับแก้แบบจำลอง 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การพาความร้อนเกิดขึ้นกับสสารที่เป็นของเหลวและแก๊ส ตัวกลางจะพาความร้อนไปพร้อมกับการเคลื่อนที่ของอนุภาคของตัวกลาง และความรู้เกี่ยวกับการพาความร้อน สามารถนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้ 3.2 ให้นักเรียนใช้ข้อมูลที่ได้จากการอภิปรายร่วมกัน มาใช้ตอบคำถามท้ายกิจกรรม 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากความเข้าใจของตนเองโดยใช้แผนผังเวนน์เปรียบเทียบความ เหมือนและความแตกต่างกันระหว่างการพาความร้อนและนำความร้อน 4.2 ใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยว่าถ้าบริเวณที่ไม่มีสสารที่เป็นตัวกลางใดเลยในการนำความ ร้อนหรือพาความร้อนความร้อนจะถ่ายโอนมายังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าได้หรือไม่ เช่น ในอวกาศระหว่างโลก และดวงอาทิตย์ บางช่วงไม่มีตัวกลาง ไม่มีอากาศ โลกของเราได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้อย่างไร เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมที่ 3 การถ่ายโอนความร้อนโดยไม่อาศัยตัวกลางเป็นอย่างไร ต่อไป 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 ให้นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่อาศัยตัวกลาง พร้อมทั้งระบุ แหล่งที่มาของข้อมูลครูแนะนำตัวอย่างแหล่งสืบค้นข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น หนังสือ วีดิทัศน์ เว็บไซต์ของ หน่วยงานราชการ


39 5.2 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการแผ่รังสีความร้อนเป็นการถ่ายโอนความ ร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางที่เป็นอนุภาคของสสาร แต่ความร้อนถ่ายโอนโดยแผ่รังสีอินฟราเรดซึ่งเป็นคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - การถ่ายโอนความร้อนของของเหลวและ แก๊ส - การถ่ายโอนความร้อนโดยไม่อาศัยตัวกลาง ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ................................................................................ ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ......................................................................................


40 ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


41 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 หน่วยการเรียนรู้ที่……1……. พลังงานความร้อน……..….เรื่อง………...สมดุลความร้อน ........................................ รายวิชา…วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…..2.......รหัสวิชา…......ว 21102 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....1..... กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีการศึกษา...2566... ภาคเรียนที่..2...เวลา...7..ชั่วโมง…….… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 2.3 ม.1/5 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) ความร้อนถ่ายโอนจากสสารที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังสสารที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจนกระทั่งอุณหภูมิของ สสารทั้งสองเท่ากันสภาพที่สสารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน เรียกว่า สมดุลความร้อน เมื่อมีการถ่ายโอนความร้อน ระหว่างสสารซึ่งมีอุณหภูมิต่างกันจนเกิดสมดุลความร้อน ปริมาณความร้อนที่สสารหนึ่งได้รับจะเท่ากับปริมาณ ความร้อนที่อีกสสารหนึ่งสูญเสียความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวันหรือใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • ความร้อนถ่ายโอนจากสสารที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ไปยังสสารที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจนกระทั่งอุณหภูมิของ สสารทั้งสองเท่ากัน สภาพที่สสารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน เรียกว่า สมดุลความร้อน • เมื่อมีการถ่ายโอนความร้อนจากสสารที่มีอุณหภูมิต่างกันจนเกิดสมดุลความร้อนความร้อนที่เพิ่มขึ้น ของสสารหนึ่งจะเท่ากับความร้อนที่ลดลงของอีกสสารหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถ 1. อธิบายสมดุลความร้อน (K) 2. คำนวณปริมาณความร้อนระหว่างสสารเมื่อสมดุลความร้อนและปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (P) 3. ออกแบบเลือกใช้และสร้างอุปกรณ์ที่ใช้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนในการออกแบบและ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้)


42 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 2.3 ม.1/5 - รายงานกิจกรรมที่ 4 น้ำอุณหภูมิต่างกันผสมกัน จะเป็นอย่างไร -วิเคราะห์สถานการณ์การถ่ายโอนความร้อนและ คำนวณปริมาณความร้อนที่ถ่ายโอนระหว่างสสารจน เกิดสมดุลความร้อนโดยใช้สมการ Qสูญเสีย = Qได้รับ 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด


43 วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - สมดุลความร้อน - การคำนวณปริมาณความร้อน ที่ถ่ายโอนระหว่างสสารจนเกิด สมดุลความร้อนโดยใช้สมการ Qสูญเสีย = Qได้รับ -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็นอธิบาย เกี่ยวกับสมดุลความ ร้อน -ก า ร ต ร ว จ ผ ล ง า น นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง คว าม คิ ด เห็ น ร ะ บุ ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ ได้ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แ บ บ ป ร ะ เมิ น พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นั ก เรียน ได้ คะ แ น น 12 ค ะ แ น น ขึ้ น ไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบประเมินระดับ การเห็นคุณค่าใน - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน


44 และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) ตนเอง หรือ Selfesteem การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ใช้ภาพในหนังสือเรียน และถามคำถามสร้างความสนใจ เพื่ออภิปรายว่าใช้อุปกรณ์ใดในการวัด อุณหภูมิของร่างกายและมีวิธีการวัดอย่างไร จึงจะทราบผลว่าอุณหภูมิของร่างกายเป็นเท่าใด (การวัดอุณหภูมิ ร่างกายโดยใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดไข้อาจใช้การอมในปาก หรือสอดใต้รักแร้ เป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เทอร์มอ มิเตอร์และร่างกายเกิดสมดุลความร้อนซึ่งอุณหภูมิที่อ่านได้จะมีค่าคงที่ค่าหนึ่ง) 1.2 ให้นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน เพื่อประเมินความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อ ปริมาณความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนสถานะและเปลี่ยนอุณหภูมิ หากครูพบว่านักเรียนยังมีความรู้พื้นฐานไม่ ถูกต้อง ครูควรทบทวนหรือแก้ไขความเข้าใจผิดเพื่อให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเพียงพอในการเรียนต่อไป 1.3 ตั้งคำถามให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยว่าเมื่อมีการถ่ายโอนความร้อนระหว่างน้ำที่มีอุณหภูมิต่างกัน อุณหภูมิของน้ำทั้งสองจะเปลี่ยนแปลงไปจนกระทั่งเป็นอย่างไร เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมที่ 4 น้ำอุณหภูมิ ต่างกันผสมกันจะเป็นอย่างไร ชั่วโมงที่ 2-3 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ให้นักเรียนอ่านวิธีดำเนินกิจกรรม จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจุดประสงค์และวิธีดำเนิน กิจกรรมโดยอาจใช้คำถามดังนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (เรื่องการถ่ายโอนความร้อนระหว่างน้ำที่มีอุณหภูมิต่างกัน) • การทำกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (เทน้ำเย็น 25 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในแคลอรีมิเตอร์แล้ววัด และบันทึกอุณหภูมิเริ่มต้น วัดและบันทึกอุณหภูมิน้ำร้อน 25 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่บรรจุในแก้ว แล้วเทน้ำร้อน ลงในแคลอรีมิเตอร์ปิดฝาให้แน่น จากนั้นวัดอุณหภูมิของน้ำทุก ๆ 10 วินาที เป็นเวลา 2 นาที เขียนกราฟแสดง ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของน้ำกับเวลา หลังจากนั้นทำกิจกรรมทั้งหมดซ้ำอีกครั้ง โดยเปลี่ยนอุณหภูมิของ น้ำให้ต่างจากเดิม) 2.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเกี่ยวกับขั้นตอนการทำกิจกรรมที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ จากนั้นครูและ นักเรียนร่วมอภิปรายเพื่อแก้ไขสิ่งที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ เน้นย้ำเกี่ยวกับวิธีการบันทึกผล 2.3 ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน เพื่อทำกิจกรรมที่ 4 2.4 ให้นักเรียนนำผลจากการทำกิจกรรมมาอภิปรายร่วมกัน และตอบคำถามท้ายกิจกรรม 2.5 ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าเมื่อผสมสสารที่มีอุณหภูมิต่างกัน สสารจะมีการ ถ่ายโอนความร้อนจนกระทั่งสมดุลความร้อน ซึ่งอุณหภูมิของสสารทั้งสองจะเท่ากัน 2.6 นักเรียนอ่านและอภิปรายวิธีการคำนวณปริมาณความร้อนของสสารที่ถ่ายโอนในขณะสมดุลความร้อน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ในขณะสมดุลความร้อน ปริมาณความร้อนที่สสารหนึ่งสูญเสียไปจะเท่ากับปริมาณความ ร้อนที่อีกสสารหนึ่งได้รับหรือเขียนอธิบายโดยใช้ความสัมพันธ์ Q สูญเสีย = Q ได้รับ


45 2.7 ร่วมกันอภิปรายเพื่อศึกษาวิธีการคำนวณหาสมดุลความร้อนของสสาร และปริมาณอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยครูให้นักเรียนอ่านทำความเข้าใจโจทย์ตัวอย่างในหนังสือเรียนทีละข้อ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจแนวทางในการ วิเคราะห์และวิธีการหาคำตอบ 2.8 ให้นักเรียนตอบคำถามระหว่างเรียนและคำถามชวนคิด แสดงวิธีการคำนวณเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ จากนั้นนักเรียนอภิปรายและนำเสนอวิธีการคำนวณ 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ให้นักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนเรื่องการถ่ายโอนความร้อน จากนั้นนักเรียนทำกิจกรรมตรวจสอบ ตนเอง เพื่อสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากบทเรียน โดยการเขียนบรรยาย วาดภาพ หรือเขียนผังมโนทัศน์สิ่งที่ได้ เรียนรู้จากบทเรียนเรื่องการถ่ายโอนความร้อน 3.2 นำเสนอผังมโนทัศน์ โดยอาจให้นักเรียนนำเสนอและอภิปรายภายในกลุ่ม หรืออภิปรายร่วมกันใน ชั้นเรียน หรือติดแสดงผลงานบนผนังห้องเรียน แล้วให้นักเรียนทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยอาจเขียน ข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นลงในกระดาษแผ่นเล็กติดไว้ จากนั้นครูและนักเรียนอภิปรายสรุปองค์ความรู้ที่ได้ จากบทเรียนร่วมกัน ชั่วโมงที่ 4-7 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 ครูให้นักเรียน สร้างตู้ขนส่งสินค้ากันความร้อนได้อย่างไร 4.2 ครูใช้เวลาในชั้นเรียนเพื่ออภิปรายและช่วยหาแนวทางในการออกแบบชิ้นงานร่วมกับนักเรียน แล้วให้นักเรียนสร้างและทดสอบชิ้นงานนอกเวลาเรียน จากนั้นจึงนำผลการทดสอบที่ได้มาอภิปรายร่วมกันใน ห้องเรียนต่อไป 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลและนำความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนมาใช้ในการสร้าง ชิ้นงานอย่างไรบ้าง 5.2 ครูและนักเรียนร่วมกันเปรียบเทียบประสิทธิภาพตู้ขนส่งสินค้ากันความร้อนของกลุ่มตนเองกับ กลุ่มอื่น ๆ ให้มีความน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ต้องควบคุมปัจจัยใดบ้าง 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - สมดุลความร้อน - การคำนวณปริมาณความร้อนที่ถ่ายโอนระ หว่างสสารจนเกิดสมดุลความร้อนโดยใช้ ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ......................................................................................


46 สมการ Qสูญเสีย = Qได้รับ ................................................................................ ...................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


47 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 หน่วยการเรียนรู้ที่…2…กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ…….เรื่อง……..ลมฟ้าอากาศรอบตัว.(ตอนที่ 1).... รายวิชา…วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…..2.......รหัสวิชา…......ว 21102 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....1..... กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีการศึกษา...2566... ภาคเรียนที่..2...เวลา...3..ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 3.2 ม.1/1 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตั้งแต่เริ่มกำเนิดโลกจนกระทั่งปัจจุบัน บรรยากาศส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม บรรยากาศมีสมบัติและองค์ประกอบแตกต่างกัน ไปตามระดับความสูงจากผิวโลก นักวิทยาศาสตร์ใช้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความสูง แบ่ง บรรยากาศเป็น 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นโทรโพสเฟียร์ชั้นสตราโตสเฟียร์ ชั้นมีโซสเฟียร์ ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ และชั้นเอก โซสเฟียร์ ด้วยสมบัติและองค์ประกอบ ทำให้บรรยากาศแต่ละชั้นเกิดปรากฏการณ์และส่งผลต่อมนุษย์และ สิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • โลกมีบรรยากาศห่อหุ้ม นักวิทยาศาสตร์ใช้สมบัติและองค์ประกอบของบรรยากาศในการแบ่ง บรรยากาศของโลกออกเป็นชั้น ซึ่งแบ่งได้หลายรูปแบบตามเกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปนักวิทยาศาสตร์ใช้ เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความสูงแบ่งบรรยากาศได้เป็น 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นโทรโพสเฟียร์ ชั้นสตราโตส เฟียร์ ชั้นมีโซสเฟียร์ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ และชั้นเอกโซสเฟียร์ • บรรยากาศแต่ละชั้นมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตแตกต่างกัน โดยชั้นโทรโพสเฟียร์มีปรากฏการณ์ ลมฟ้า อากาศที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ชั้นสตราโตสเฟียร์ช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้มายังโลกมากเกินไปชั้นมีโซสเฟียร์ช่วยชะลอวัตถุนอกโลกที่ผ่านเข้ามา ให้เกิดการเผาไหม้กลายเป็นวัตถุ ขนาดเล็กลดโอกาสที่จะทำความเสียหายแก่สิ่งมีชีวิตบนโลก ชั้นเทอร์โมสเฟียร์สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุ และ ชั้นเอกโซสเฟียร์เหมาะสำหรับการโคจรของดาวเทียมรอบโลกในระดับต่ำ 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถ 1. สร้างแบบจำลองชั้นบรรยากาศแสดงการแบ่งชั้นบรรยากาศของโลกตามเกณฑ์ที่ตนเองสร้างขึ้น(P) 2. เปรียบเทียบประโยชน์ของชั้นบรรยากาศแต่ละชั้น (K) 3. ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ (A)


Click to View FlipBook Version