The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับการบริหารจัดการที่ดิน (ปี 2564)

กองเทคโนโลยีทำแผนที่ (KM ปี 2564)

Keywords: ด้านการรังวัดและทำแผนที่

คาํ นาํ

องคความรู “การใชงานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (GIS) สําหรับการบริหารจัดการที่ดิน”
เปน องคความรูท่ไี ดร บั การคัดเลือกจาก คณะกรรมการจัดการความรูของกรมท่ีดิน ประจําปงบประมาณ
พ.ศ. 2564 ซึ่งสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตรท่ี 3 พัฒนาระบบขอมูลท่ีดินและแผนที่แหงชาติ ที่มีศักยภาพ
รองรบั การพฒั นาประเทศและรองรบั การบรกิ ารในระดบั สากล

ทง้ั น้ี เพอ่ื ใหสํานักงานท่ีดินและผูปฏิบัติงานท่ีเกี่ยวของ สามารถนาํ องคความรูเก่ียวกับ
การใชงานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (GIS) สาํ หรับการบริหารจัดการที่ดิน ไปใชในภารกิจตาง ๆ
ของสํานักงานท่ีดิน เพื่อใหเกิดประโยชนและสามารถนําไปใชในการบริหารจัดการขอมูลในสํานักงานท่ีดิน
ไดอยางมปี ระสทิ ธภิ าพ

กองเทคโนโลยที าํ แผนท่ี
กองฝกอบรม
กรมทดี่ นิ กระทรวงมหาดไทย



สารบัญ

บทท่ี 1 ความรเู บือ้ งตนเกี่ยวกบั ระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตร หนา
(Geographic Information System : GIS)
1
บทที่ 2 การใชงานระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร (GIS) สําหรบั การบริหารจดั การทีด่ ิน
17
บทท่ี 3 โปรแกรม Quantum GIS (QGIS Program) 29
3.1 โปรแกรม Quantum GIS และการดาวนโ หลดโปรแกรม 29
3.2 การติดตั้งโปรแกรม QGIS 33
3.3 สวนประกอบของโปรแกรม และเคร่ืองมือพ้นื ฐาน 37
3.4 การกําหนดคา เริ่มตนของโปรแกรม 44
3.5 การนาํ เขาขอมลู 49
3.6 การตรึงคา พกิ ัดภูมศิ าสตร (Registration) 81
3.7 การสรางชนั้ ขอ มลู และการดจิ ไิ ทซร ปู แปลงทดี่ ิน (Digitizing) 89
3.8 การจัดทาํ รูปแผนที่ (Layout Mapping) 95
137
บทท่ี 4 การประยุกตการใชง านโปรแกรม Quantum GIS (QGIS) 151

บทที่ 5 ปญ หา อปุ สรรค และแนวทางแกไข

ภาคผนวก
เอกสารราชการท่ีเกี่ยวของ
 สัญลกั ษณแ ละสเี สนแนวเขตทดี่ ินรัฐ เอกสารการปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ

มาตราสวน 1 : 4,000 (One Map) พ.ศ. 2559 โดยคณะกรรมการปรับปรุงแผนท่ีแนวเขตท่ีดินของรัฐ
แบบบรู ณาการ มาตราสว น 1 : 4,000 (One Map)

สารบญั ภาพ

หนา

ภาพท่ี 1 ตวั อยา งความหมายของ GIS 1
ภาพท่ี 2
ภาพที่ 3 แสดงองคประกอบของ GIS 3
ภาพที่ 4
ภาพท่ี 5 แสดงลักษณะของขอมูลเชงิ เสน (Vector Data) 4
ภาพที่ 6
ภาพที่ 7 แสดงขอมูลเชงิ เสน (Vector Data) 4
ภาพที่ 8
ภาพท่ี 9 ตัวอยา งขอมลู เชิงภาพ (Raster Data) 5
ภาพท่ี 10
ภาพท่ี 11 ตัวอยางชัน้ ขอ มลู GIS 6
ภาพท่ี 12
ภาพที่ 13 ตวั อยา งขอมูลเชงิ บรรยาย (Attribute Data) 6
ภาพที่ 14
ภาพท่ี 15 แสดงลักษณะขอมลู GIS 7
ภาพที่ 16
ภาพที่ 17 แสดงรูปทรงสณั ฐานโลก 8
ภาพท่ี 18
ภาพที่ 19 แสดงพน้ื หลกั ฐานอา งองิ (Reference Datum) 8
ภาพที่ 20
ภาพท่ี 21 แสดงศูนยก าํ เนิดของพน้ื หลักฐาน Indian 1975 เขาสะแกกรัง จังหวัดอุทยั ธานี 9
ภาพท่ี 22
ภาพท่ี 23 แสดงวงโคจรดาวเทยี มบนพืน้ หลกั ฐาน WGS 84 10
ภาพที่ 24
ภาพที่ 25 แสดงการฉายแผนทีร่ ะบบพิกัดภูมิศาสตร 11
ภาพที่ 26
ภาพที่ 27 แสดงการอานคา ลองจจิ ูด (Longitude) และละตจิ ดู (Latitude) 12

แสดงการฉายแผนทีร่ ะบบพิกัดฉาก UTM 13

แสดงการแบงโซนและจุดกาํ เนิดโซนของประเทศไทย 14

แสดงตารางรหสั มาตรฐาน EPSG ทีส่ ําคัญของประเทศไทย 15

แสดงมาตราสว นกราฟก (Graphical Scale) 15

แสดง GIS ในสาํ นักงานทีด่ ิน 17

แสดงหมดุ หลักฐานแผนที่ 18

แสดงระวางแผนที่กรดิ UTM 19

แสดงรูปแปลงท่ดี ินของเอกชน 20

แสดงรปู แปลงท่ดี ินของรฐั 20

แสดงรปู แปลงทด่ี ินจากโปรแกรม DOLCAD 21

แสดงขอมูลดาวเทียมสงออกในรูปแบบไฟลน ามสกลุ .CSV 22

แสดงแผนท่ีภาพถายทางอากาศสีเชิงเลข (DMC) 23

แสดงแผนทภี่ าพถายจากอากาศยานไรคนขบั (UAV) 24

สารบญั ภาพ (ตอ )

ภาพที่ 28 แสดงระวางแผนทภี่ าคพืน้ ดิน หนา
ภาพที่ 29 แสดงระวางแผนท่ีภาพถายทางอากาศ 25
ภาพท่ี 30 แสดงแผนท่ภี ูมปิ ระเทศ มาตราสว น 1 : 50,000 ชุด L7017 26
ภาพที่ 31 แสดงแผนที่ภมู ปิ ระเทศ มาตราสวน 1 : 50,000 ชดุ L7018 27
ภาพที่ 32 แสดงองคป ระกอบของแผนที่ 28
95



บทที่ 1

ความรเู บื้องตนเก่ียวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร
(Geographic Information System : GIS)

1.1 GIS คอื อะไร
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (Geographic Information System : GIS) ประกอบดวย

2 คํา คอื “ระบบสารสนเทศ” (Information System) ซึ่งเปนระบบปฏิบัติการรวบรวม จัดเก็บ และ
วเิ คราะหขอมูลอยางเปนข้ันตอน สามารถสืบคนขอมูลท่ีตองการภายในเวลาอันรวดเร็ว และสามารถ
นาํ ผลการวเิ คราะหไ ปใชในกระบวนการตัดสินใจของผูบริหาร สวนคําวา “ภูมิศาสตร” (Geography)
มาจากรากศัพท “geo” หมายถึง โลก และ “graphy” หมายถึง การเขียน ดังน้ัน “ภูมิศาสตร” จึงหมายถึง
การเขยี นเรอื่ งราวเกีย่ วกับโลก โดยการมุงเนนไปท่ีความสัมพันธของมนุษยกับพื้นท่ี (Spatial Relationship)
“ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร” จึงหมายถึง กระบวนการของการใชคอมพิวเตอรฮารดแวร (Hardware)
ซอฟตแวร (Software) ขอมูลทางภูมิศาสตร (Geographic Data) และการออกแบบ (Personnel
Design) ในการเสริมสรา งประสทิ ธิภาพของการจัดเก็บขอมูล การปรับปรุงขอมูล การประมวลผล และ
การวิเคราะหขอมูล ใหแสดงผลในรูปของขอมูลที่สามารถอางอิงไดในทางภูมิศาสตร หรือหมายถึง
การใชคอมพิวเตอรในการจัดเก็บ และการใชขอมูลเพื่ออธิบายสภาพตาง ๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัย
ลักษณะทางภูมิศาสตรเปนตัวเชื่อมโยงความสัมพันธระหวางขอมูลตาง ๆ GIS เปนระบบขอมูล
สารสนเทศที่อยูในรูปของตารางขอมูล และฐานขอมูลที่มีสวนสัมพันธกับขอมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
ซึง่ รปู แบบและความสัมพันธข องขอมูลเชิงพ้ืนท่ีทั้งหลาย เม่ือนํามาวิเคราะหดวย GIS สามารถท่ีจะส่ือ
ความหมายในเร่ืองการเปล่ียนแปลงที่สัมพันธกับเวลาได เชน การใชประโยชนในท่ีดิน การบุกรุก
ทําลายท่ีดินของรัฐ และการเปลี่ยนแปลงการใชพื้นท่ี เปนตน ขอมูลเหลาน้ี เม่ือปรากฏบนแผนท่ี
สามารถแปลและสื่อความหมายใหเขา ใจไดงายยง่ิ ขึ้น

ภาพท่ี 1 ตัวอยางความหมายของ GIS

- 2 -

จากภาพท่ี 1 แสดงภาพตนไมตนหนึ่ง ขอมูลทางดาน GIS ของตนไมตนน้ี สามารถแบง
ไดเปน 2 ลักษณะ คือ (1) ขอมูลเชิงตําแหนง (Location Information) เปนขอ มลู ทแี่ สดงตาํ แหนง
ของตน ไม สามารถระบุตําแหนงเปนระบบพิกัดภูมิศาสตร หรือระบบพิกัดฉาก UTM ก็ได เชน ตนไมตนนี้
มีคาพิกัดภูมิศาสตร ละติจูด 51 องศาเหนือ และลองจิจูด 112 องศาตะวันตก เปนตน (2) ขอมูล
อรรถาธิบาย (Attribute Information) เปนขอมูลที่อยูในรูปของตารางขอมูล และฐานขอมูลท่ีมี
สว นสมั พนั ธก ับขอมลู เชิงตําแหนง (Spatial Data) เชน ตนไมตนนี้ ชื่อวาอะไร ความสูงเทาไร อายุเทาไร
เปนตน
1.2 องคประกอบของระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร

องคประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร โดยหลักการแลวจะประกอบดวย 5 สวน
คอื องคป ระกอบดานฮารดแวร ซอฟตแวร บคุ ลากร วิธีการปฏิบัตงิ าน และขอมลู มีรายละเอยี ดดังนี้

1.2.1 ฮารดแวร (Hardware) คือ เครื่องมือท่ีเปนองคประกอบที่สามารถจับตองได
ไดแ ก เครื่องคอมพิวเตอรและอุปกรณที่เกี่ยวของตาง ๆ เชน ตัวเครื่องคอมพิวเตอร จอภาพ สายไฟ
ดิจิไทเซอร และเครื่อง printer เปนตน ซ่ึงเคร่ืองคอมพิวเตอรที่ใชในระบบ GIS ตองมีสมรรถนะเพียงพอ
ที่จะจัดการกบั ขอมลู เชงิ พืน้ ทท่ี ่มี ปี รมิ าณมากได

1.2.2 ซอฟตแวร (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคาํ ส่ัง ท่ีส่ังใหคอมพิวเตอรทํางาน
ตามทเ่ี ราตองการ ซอฟตแวรดาน GIS เชน Arcview Mapinfo SPANS Geomedia และ Quantum
GIS เปนตน โดยซอฟตแวรดาน GIS ควรมีลักษณะที่สําคัญ 5 ประการ คือ สามารถนาํ เขาขอมูลและ
ตรวจสอบขอ มลู จัดเก็บขอมูลและจัดการฐานขอมูล ประมวลผลและวิเคราะหขอมูล รายงานผลขอมูล
และมีระบบอํานวยความสะดวกแกผ ใู ช

1.2.3 บคุ ลากร (Peopleware) คือ ผูเลือกใช ฮารดแวร และ ซอฟตแวร เพ่ือใหตรงตอ
วตั ถปุ ระสงคของการจัดทาํ แผนที่ และสนองตอบความตองการของหนว ยงานหรอื ผใู ชขอ มลู

1.2.4 วิธีการปฏิบัติงาน (Methodology หรือ Procedure) คือ ข้ันตอนการทํางาน
ซึ่งเราเปน ผูกาํ หนดใหเครื่องคอมพวิ เตอรจดั การกบั ขอมลู

1.2.5 ขอมูล (Data) จัดเปนสวนประกอบที่สําคัญของระบบสารสนเทศทุกประเภท
โดยระบบสามารถสรางขอมูลสารสนเทศที่เปนประโยชนได ถาขอมูลมีความถูกตองสมบูรณและ
เปน ปจ จบุ ัน

- 3 -

บคุ ลากร ฮารดแวร ซอฟตแวร
(People) (Hardware) (Software)
องคประกอบ

GIS

วิธีการ ขอ มูล
(Method) (Data)

ภาพท่ี 2 แสดงองคประกอบของ GIS

1.3 ลักษณะของขอ มูลในระบบสารสนเทศภมู ิศาสตร
1.3.1 ขอมูลเชิงตาํ แหนง (Spatial Data) สามารถแบงได 2 ประเภท คือ
1.3.1.1 ขอมลู เชงิ เสน (Vector Data) คือ ขอ มูลที่แสดงดวย จุด เสน และพ้ืนท่ี

ท่ีประกอบดวยจุดพิกัดทางแนวราบ (X, Y) และ/หรือ แนวดิ่ง (Z) หรือระบบ Cartesian Coordinate
System ถา เปน พกิ ัดตาํ แหนง เดียวกจ็ ะเปนคา ของจุด ถาจุดพิกัดสองจุดหรือมากกวาจะเปนคาของเสน
สวนพื้นที่นั้นจะตองมีจุดมากกวา 3 จุดขึ้นไป และจุดพิกัดเริ่มตนและจุดพิกัดสุดทายจะตองอยู
ตาํ แหนงเดยี วกัน ลกั ษณะขอมลู เชิงพน้ื ท่ใี นรปู แบบเวกเตอร พอสรุปไดดงั น้ี

(1) รูปแบบของจุด (Point Features) เปนตําแหนงพิกัดท่ีไมมีขนาดและ
ทศิ ทาง โดยจุดไมมีมิติ จุดจะบันทึกบนแผนท่ีเปนคาพิกัด (X, Y) จํานวน 1 คู จะใชแสดงขอมูลท่ีเปน
ลักษณะของตําแหนงใด ๆ เชน หมุดโครงงาน หมุดดาวเทียม และหมุดหลักเขตท่ีดิน เปนตน ซ่ึงการแสดง
ขอมูลภูมิศาสตรน้นั ขน้ึ อยูกบั มาตราสวนของแผนที่ หากมาตราสวนเล็กอาจแสดงเปนจุด ถาเปนแผนที่
มาตราสวนใหญอ าจแสดงเปนพืน้ ทรี่ ูปปด

(2) รูปแบบของเสน (Linear Features) มีระยะและทิศทางระหวางจุด
เร่มิ ตนไปยังจุดแนวทาง (Vector) และจุดส้ินสุด เสนใชแทนวัตถุท่ีมี 1 มิติ ถูกบันทึกเปนกลุมคาพิกัด
(X, Y) จาํ นวน 1 ชดุ ประกอบไปดวยลักษณะของเสนตรง เสนหักมุม และเสนโคง เชน เสนโครงงานฯ
ถนน และแมน ้ํา เปนตน

- 4 -

(3) รูปแบบของพื้นที่ (Polygon Features) มีระยะและทิศทางระหวาง
จุดเริ่มตน จุดแนวทาง (Vector) และจุดสิ้นสุด ใชแทนวัตถุที่มี 2 มิติ ถูกบันทึกเปนกลุมคาพิกัด (X, Y)
ของเสน โคง ท่ลี ากมาบรรจบกนั เปน ขอบเขตของพ้ืนที่นั้น ๆ ที่ประกอบกันเปนรูปหลายเหลี่ยมมีขนาดพ้ืนที่
(Area) และเสนรอบรปู (Perimeter) เชน รปู แปลงทีด่ นิ รูปแปลงปาไมถาวร และรูปแปลงท่ีราชพัสดุ
เปน ตน

ขอ มูลเชงิ เสน
(Vector Data)

จดุ (Point) เสน (Line) พืน้ ท่ี (Polygon)
เชน หมดุ หลักเขตที่ดิน เชน เสนโครงงานฯ เชน รูปแปลงทด่ี นิ

หมุดดาวเทยี ม ถนน แมน ้ํา รูปแปลงปา ไม

ภาพท่ี 3 แสดงลกั ษณะของขอมูลเชงิ เสน (Vector Data)

ภาพท่ี 4 แสดงขอมูลเชงิ เสน (Vector Data)

- 5 -

1.3.1.2 ขอมูลเชิงภาพ (Raster Data) คือ ขอมูลท่ีมีโครงสรางเปนชองตาราง
สเ่ี หล่ียมจัตุรัสขนาดเทา ๆ กนั เรียกวา จุดภาพ (Grid Cell or Pixel) เรียงตอ เนื่องกนั ในแนวราบและ
แนวด่ิง ในแตละเซลลสามารถเก็บคาได 1 คา ความสามารถแสดงรายละเอียดของขอมูลขึ้นอยูกับ
ขนาดของเซลล (Resolution) ณ จดุ พิกัด ที่ประกอบข้ึนเปนฐานขอมูลแสดงตําแหนงชุดน้ัน คาที่เก็บ
ในแตละเซลล สามารถเปนไดทั้งขอมูลลักษณะสัมพันธ หรือรหัสท่ีใชอางอิงถึงขอมูลลักษณะสัมพันธ
ท่ีเก็บอยูในฐานขอมูล ตําแหนงของแตละเซลลจะกําหนดดวยตัวเลขประจําสดมภและแถว คาที่กําหนด
ใหแตละเซลลจะแสดงถึงคาของคุณลักษณะที่เซลลนั้นเปนตัวแทน เชน จุด ๆ หนึ่ง (บานหนึ่งหลัง)
แสดงดว ยเซลล 1 เซลล เสนหนง่ึ เสน (แนวถนน) แสดงดวยเซลลหลายเซลลท่ีมีคาเหมือนกัน เกิดเปน
กลุมเซลลท่ีเรียงตอเนื่องกัน รูปหลายเหลี่ยม (รูปแปลงที่ดิน) แสดงดานกลุมเซลลที่ทุกเซลลมีคา
เหมือนกนั ดงั นนั้ เซลลทีม่ ีขอ มูลมากกวา 1 คา จะถูกแยกเก็บคนละแฟมขอมูล เชน ขอมูลแปลงท่ีดิน
1 แฟม ขอมลู ประเภทการใชท่ดี ินของพื้นทเี่ ดียวกนั ตอ งแยกเก็บอกี 1 แฟม การแกไขขอมลู และการวิเคราะห
ขอ มลู จะวิเคราะหแฟมขอมูลหลาย ๆ แฟมรวมกัน Raster Data อาจแปรรูปมาจากขอมูล Vector
หรือแปรจาก Raster ไปเปน Vector ได แตจะมีความคลาดเคลื่อนเกิดข้ึนระหวางการแปรรูปขอมูล
ตัวอยางขอมูลเชิงภาพ (Raster Data) เชน แผนท่ีภาพถายทางอากาศ แผนที่ภาพถายดาวเทียม
และแผนทภี่ มู ปิ ระเทศ 1 : 50,000 (Topo Map) เปนตน

ภาพที่ 5 ตวั อยางขอ มูลเชิงภาพ (Raster Data)

- 6 -

ภาพที่ 6 ตวั อยา งช้ันขอ มูล GIS
1.3.2 ขอมูลอรรถาธิบาย (Attribute Data) คือ สวนของตารางฐานขอ มูล (Data
Base) เปนขอมูลบอกรายละเอียดของขอมูลเชิงพ้ืนท่ีตาง ๆ เชน ช่ือเลขที่ดิน ช่ือระวาง UTM ชื่อตําบล
ช่อื อาํ เภอ และชือ่ จงั หวัด เปน ตน โดยจดั เก็บขอมูลเชิงสมั พนั ธ (Relational Database)

ภาพที่ 7 ตวั อยา งขอมูลเชงิ บรรยาย (Attribute Data)

- 7 -

ขอมูล GIS
(Data)

ขอมูลเชงิ ตาํ แหนง ขอมูลอรรถาธิบาย
(Spatial Data) (Attribute Data)

ขอ มูลเชงิ ภาพ ขอมูลเชิงเสน
(Raster Data) (Vector Data)

จุด เสน พ้ืนท่ี
(Point) (Line) (Polygon)

ภาพท่ี 8 แสดงลกั ษณะขอมลู GIS

1.4 พ้นื หลกั ฐานอางอิง (Datum)

1.4.1 รูปทรงสัณฐานโลก เนื่องจากในขอเท็จจริงโลก (Earth) ของเรารูปรางพื้นผิว
มีลักษณะขรุขระ สูง ตํ่า ไมราบเรียบ และไมเปนรูปทรงกลม แตโลกมีลักษณะเปนรูปทรงรี (Oblate
Ellipsoid) คือ มีลักษณะปองตรงกลาง ขั้วเหนือ  ใตแบนเล็กนอยเหมือนผลสม ดังนั้น เพื่อความสะดวก
ตอการพิจารณารปู ทรงสัณฐานของโลกและในกิจการของแผนท่ี จึงไดมีการจําลองรูปทรงสัณฐานที่ใช
แทนโลกขึ้นเพือ่ ใชใ นการอางอิง จาํ นวน 3 แบบ คอื

(1) ทรงกลม หรือ สเฟยรอยด (Spheroid) เปนรูปทรงที่งายที่สุด จึงเหมาะเปน
สัณฐานของโลกโดยประมาณ ใชกับแผนที่มาตราสวนเล็กที่มีขอบเขตกวางขวาง เชน แผนที่โลก
แผนที่ทวปี หรือแผนทีอ่ ื่น ๆ ท่ีไมตอ งการความละเอยี ดถกู ตอ งสูง เปนตน

(2) ทรงรี หรือ อิลิปซอยด (Ellipsoid) โดยท่ัวไป รูปทรงรีจะแตกตางกับรูปทรงกลม
เพียงเล็กนอย ซึ่งรูปทรงรีจะมีลักษณะใกลเคียงกับสัณฐานจริงของโลกมากกวาทรงกลม จึงเหมาะ
สาํ หรับใชเปนพื้นผิวการรงั วัดและการสรางแผนที่ที่ตองการความละเอียดถูกตองสูง เชน แผนท่ีระดับ
ชุมชนเมอื ง แผนที่นํารอง และแผนท่ภี มู ปิ ระเทศมาตราสวนใหญ เปนตน

(3) ยีออยด (Geoid) คือ รูปทรงของสนามแรงดึงดูดของโลก โดยประมาณแลว
เปนผิวที่ทับกันสนิทกับผิวเฉล่ียของมหาสมุทร มีรูปทรงท่ีบุบเบี้ยวตามแรงดึงดูดของโลกไมราบเรียบ
เปน รูปทรงทีเ่ หมือนกับสัณฐานจริงของโลกมากทส่ี ดุ และมกั ใชใ นการคํานวณแผนที่ประกอบกับรปู ทรงรี

- 88 -

ภาพท่ี 9 แสดงรปู ทรงสัณฐานโลก
การกาํ หนดตาํ แหนงบนพ้ืนผิวโลกใหมีความถูกตองน้ัน นอกจากวิธีที่ใชในการรังวัดตอง
มีความถูกตองสูงแลว ส่ิงที่มีความสําคัญไมนอยไปกวากัน คือ พื้นหลักฐานอางอิง (Reference Datum)
ซ่ึงใชเปนระบบอางอิงในการหาตําแหนง (Reference System) และโครงขายทางยีออเดซี (Geodetic
Network) ซงึ่ ประกอบดวยหมุดหลักฐานทร่ี งั วดั เชื่อมโยงกันเปนโครงขายและมีคาพิกัดบนระบบอางอิง
โดยพนื้ หลักฐานอา งองิ มี 2 ชนดิ คอื พนื้ หลักฐานทางราบและพนื้ หลกั ฐานทางด่งิ

ภาพที่ 10 แสดงพ้นื หลักฐานอางองิ (Reference Datum)

- 9 -

พ้ืนหลักฐานทางราบท่ีใชในประเทศไทยมีหลายพื้นหลักฐาน ในที่นี้จะกลาวถึงเฉพาะ
พืน้ หลกั ฐานอินเดยี น พ.ศ. 2518 (Indian 1975) และพื้นหลักฐานสากล (WGS 84) ซ่งึ มรี ายละเอียดดงั น้ี

1.4.2 พ้ืนหลักฐานอินเดียน พ.ศ. 2518 (Indian 1975) องคการแผนท่ี กระทรวงกลาโหม
สหรฐั อเมริกา ไดทําการปรับแกและยายศูนยกําเนิดของพ้ืนหลักฐานจากเขากะเลียนเปอร ประเทศอินเดีย
มาเปนเขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี การปรับแกครั้งน้ีใชเทคนิคการรังวัดจากดาวเทียมดอปเปลอร
จาํ นวน 9 สถานี ซงึ่ ตําแหนงสัมพทั ธท ีไ่ ดจากการรังวัดดาวเทยี มดอปเปลอร มีความถูกตองสูงกวาท่ีได
จากงานโครงขา ยสามเหลยี่ มเปน จุดควบคุม โครงขา ยสามเหลี่ยมซ่ึงประกอบดวย จํานวนหมุดสามเหล่ียม
ท้ังสิ้น 426 สถานี เรียกผลลัพธจากการปรับแกโครงขายสามเหล่ียมในครั้งน้ีวา พื้นหลักฐาน Indian 1975
จดั เปนพน้ื หลักฐานทองถ่ิน (Local Datum) ประจําประเทศไทย เพราะพ้ืนหลักฐานดังกลาวมีรูปทรงรี
ท่มี บี างสวนของพื้นผิวเขากันไดกับพื้นผิวโลกบริเวณท่ีประเทศไทยต้ังอยู โดยกําหนดใหผิว Ellipsoid
สัมผสั กบั ผิว Geoid ที่หมดุ หลักฐานแผนที่ เขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี และที่สําคัญพ้ืนหลักฐานนี้
ยงั เปน พ้นื หลักฐานอา งองิ ทางราบในแผนท่ีภมู ปิ ระเทศ มาตราสวน 1 : 50,000 ชุด L7017 อกี ดวย

จดุ ศูนยก ําเนิดพ้นื หลักฐาน เขาสะแกกรงั (หมดุ สามเหล่ียมหมายเลข 91)
ละติจดู 15°22′56.0487″ เหนอื
ลองจิจูด 100°00′59.1906″ ตะวนั ออก
ความสูงเหนอื พืน้ ยีออยด = −22.460 เมตร
รปู ทรงรเี อเวอรเ รสท 1830

ภาพที่ 11 แสดงศนู ยก าํ เนิดของพ้นื หลักฐาน Indian 1975 เขาสะแกกรงั จังหวัดอุทยั ธานี

- 10 -

1.4.3 พ้ืนหลักฐาน WGS 84 (World Geodetic System 1984) ปจจุบันในการจัดทํา
แผนท่ขี องประเทศตา ง ๆ ใชระบบพิกัดที่มีมูลฐานรวมกัน (Global Datum) ซึ่งไดแก พื้นหลักฐาน WGS 84
ท่ีใชรูปทรงรีที่มีจุดศูนยกลางอยูท่ีศูนยกลางมวลของโลก (Earth’s center of mass) และใชจุดดังกลาว
เปน จุดกําเนิด (Origin) พ้ืนหลักฐาน WGS 84 พฒั นาโดยกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยอาศัยขอมูลทางกราวิตี้ (Gravity Data) และขอมูลจากการรังวัดดาวเทียมดอปเปลอรท่ีมีสถานี
ครอบคลุมทั่วโลก เพ่ือใชพัฒนากิจการดานอวกาศ โดยเฉพาะระบบการกําหนดตําแหนงดวยดาวเทียม
พ้ืนหลักฐานนี้ใชจุดศูนยกลางของโลกเปนจุดกาํ เนดิ คลายกบั ระบบ GRS (Geocentric Reference
System) และพื้นหลักฐาน WGS 84 น้ียังมีลักษณะทางกายภาพเหมือนกับ ITRS (International
Terrestrial Reference System) และที่สําคัญจุดศูนยกลางของโลกและจุดกาํ เนิดของพื้นหลักฐาน
ยงั เปน จุดศูนยกลางของวงโคจรดาวเทียม GPS อีกดวย พ้ืนหลักฐานน้ีปจจุบันไดรับการยอมรับวาเปน
พ้นื หลกั ฐานทีม่ ีความละเอียดถูกตอง (ความคลาดเคลื่อนตําแหนงศูนยกลางของโลกประมาณ + 1 เมตร)
และประเทศไทยไดจัดทําแผนท่ีชุดใหม โดยใชพื้นหลักฐานนี้อางอิงทางราบ คือ แผนท่ีภูมิประเทศ
มาตราสวน 1 : 50,000 ชุด L7018

ภาพที่ 12 แสดงวงโคจรดาวเทยี มบนพื้นหลักฐาน WGS 84

- 11 -

ในการแปลงพื้นหลักฐาน (Datum Transformation) ของกรมที่ดิน ระหวาง
พื้นหลักฐาน Indian 1975 กบั พืน้ หลกั ฐาน WGS 84 มีสมการในการแปลง ดงั น้ี

พื้นหลักฐาน Indian 1975 = พื้นหลักฐาน WGS 84 + Parameter โดยที่
Parameter มีคาเปน

Δ X =  204.5 เมตร
Δ Y =  837.9 เมตร
Δ Z =  294.8 เมตร
มีคา RMS (Root Mean Square) แตละมิติ = 0.09 เมตร (อางอิงจากประกาศ
กรมแผนทท่ี หาร เร่อื งคา ตวั แปรทีเ่ หมาะสมในการแปลงพื้นหลกั ฐาน เมื่อวนั ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551)
1.5 ระบบพิกดั อางองิ (Coordinate Reference System)
ขอมูลเชิงตําแหนงที่อยูในรูปของวัตถุหรือคุณลักษณะใด ๆ บนภาคพ้ืนผิวโลก จะตองมี
พกิ ดั กาํ กับ เพือ่ ใหทราบถึงตําแหนงที่อยูท่ีแนนอนและสามารถใชคํานวณหาความสัมพันธเชิงตําแหนง
ระหวา งกนั ได ระบบพิกัดท่ีนยิ มใชในประเทศไทยมีอยู 2 ระบบ คอื
1.5.1 ระบบพิกัดภูมิศาสตร (Geographic Coordinate System : GCS) เปนระบบ
ที่ใชพื้นผวิ สามมิติของรปู ทรงกลมในการกําหนดตาํ แหนง บนพ้ืนผิวโลก โดยอางอิงดวยคาของลองจิจูด
(Longitude) และละตจิ ูด (Latitude) คาทั้งสองเปนคาวัดมุมท่ีศูนยกลางของโลก ปกติมีคาเปนองศา
ลิปดา และฟล ิปดา (หรอื เปน Degree Minute และ Second : DMS)

ภาพที่ 13 แสดงการฉายแผนที่ระบบพกิ ดั ภูมิศาสตร
(1) ศนู ยก าํ เนดิ ของละติจูด (Origin of Latitude) กําหนดขึ้นจากแนวระดับท่ีตัด
ผานศูนยกลางของโลกและต้ังฉากกับแกนหมุน เรียกแนวระนาบศูนยกําเนิดนั้นวา เสนศูนยสูตร

- 12 -

(Equator) ซึ่งแบงโลกออกเปนซีกโลกเหนือและซีกโลกใต ฉะน้ัน คาระยะเชิงมุมของละติจูด จะเปน
คาเชงิ มุมท่เี กิดจากมมุ ทีศ่ นู ยกลางของโลกกับแนวระดับฐานกําเนิดมมุ ทเ่ี สนศูนยสตู ร ท่ีวัดคาของมมุ ออกไป
ทั้งซกี โลกเหนอื และซกี โลกใต คาของมมุ จะส้นิ สุดท่ีข้ัวโลกเหนือและข้วั โลกใต มีคาเชิงมุม 90 องศา

(2) ศนู ยกําเนิดของลองจิจูด (Origin of Longitude) กําหนดข้ึนจากแนวระนาบ
ทางต้ังที่ผานแกนหมุนของโลกตรงบริเวณตําแหนงบนพื้นโลกที่ผานหอดูดาว เมืองกรีนิช (Greenwich)
ประเทศอังกฤษ เรียกศูนยกําเนิดนี้วา เสนเมริเดียนเริ่มแรก (Prime Meridian) เปนเสนที่แบงโลก
ออกเปน ซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก คาระยะเชิงมุมของลองจิจูดเปนคาท่ีวัดมุมออกไปทาง
ตะวนั ตกและตะวันออกของเสนเมริเดียนเริ่มแรก วัดจากศูนยกลางของโลกตามแนวระนาบที่มีเมริเดียน
เรม่ิ แรกเปน ฐานกําเนิดมมุ คา ของมุมจะส้ินสุดที่เสนเมริเดียนตรงขามเสนเมริเดียนเร่ิมแรก มีคาของมุม
ซีกโลกละ 180 องศา

ภาพท่ี 14 แสดงการอานคา ลองจิจูด (Longitude) และละติจดู (Latitude)
1.5.2 ระบบพิกัดฉาก UTM (ยูทเี อ็ม) คําวา UTM ยอมาจาก Universal Transverse
Mercator หมายถึง ระบบการฉายแผนที่ (Map Projection) เพื่อถายทอดตําแหนงจากพื้นผิวโลก
ซงึ่ มีลักษณะเปนพ้ืนผิวโคงทรงรี (Ellipsoid) ลงบนพื้นผิวทรงกระบอก โดยระบบนี้จะแตกตางจากระบบ
ด้ังเดิมทใี่ ชละตจิ ดู และลองจิจูด ระบบกริดแบบยทู เี อม็ เปน ระบบเสนโครงชนิดหน่ึง ที่ใชผิวรูปทรงกระบอก
เปนผวิ แสดงเสนเมรเิ ดยี น (เสนลองจิจูด) และเสนละติจูดของโลก โดยใชทรงกระบอกตัดโลกระหวาง
ละตจิ ูด 84 องศาเหนือ และ 80 องศาใต ในลักษณะแกนรูปทรงกระบอกทํามุมกับแกนโลก 90 องศา
รอบโลกจะแบงสวนของโลกออกเปนทั้งหมด 60 โซน ๆ ละ 6 องศา โซนท่ี 1 อยูระหวาง 180 องศา
กับ 174 องศาตะวันตก และมีลองจิจูด 177 องศาตะวันตก เปนเมริเดียนยานกลางโซน (Central
Meridian) สําหรับประเทศไทยตั้งอยูท่ีโซน 47 และ โซน 48 โดยโซนที่ 47 เร่ิมจากเสนลองจิจูด 96 องศา
ตะวนั ออก ถงึ เสน ลองจิจูด 102 องศาตะวันออก และมีเสนลองจิจดู 99 องศาตะวันออก เปนเสนเมริเดียนกลาง
โซนที่ 48 เร่ิมจากเสนลองจิจดู 102 องศาตะวันออก ถึงเสนลองจิจูด 108 องศาตะวันออก และมีเสน
ลองจจิ ูด 105 องศาตะวันออก เปน เสนเมรเิ ดียนกลาง

- 13 -

ภาพท่ี 15 แสดงการฉายแผนที่ระบบพิกัดฉาก UTM
ระบบพกิ ดั ฉาก UTM มหี นว ยเปนเมตร โดยในแตละโซนมีเสนเมริเดียนกลางตัดกับ
แนวศนู ยส ูตรเปน มุมฉาก ณ จุดตัดน้ีเรียกวา จุดกําเนิดโซน ทิศทางที่ขนานกับแนวเมริเดียนกลางและชี้
ข้ึนไปทางทิศเหนอื เรียกวา ทิศเหนอื กรดิ
จดุ กําเนิดคาพิกัดในแตละโซน เกิดจากเสนเมริเดียนกลางโซนน้ัน ตัดต้ังฉากกับ
แนวศูนยสตู ร โดยมคี า พิกัดของจุดกําเนดิ ดงั น้ี
(1) สําหรับซีกโลกเหนือ จุดกําเนิดแตละโซนมีคาพิกัดสมมุติเปน 500,000 เมตร
ทางตะวนั ออก และ 0 เมตร ทางเหนอื (500,000 m E, 0 m N)
(2) สําหรับซีกโลกใต จุดกําเนิดแตละโซนมีคาพิกัดสมมุติเปน 500,000 เมตร
ทางตะวันออก และ 10,000,000 เมตร ทางเหนือ (500,000 m E, 10,000,000 m N)

- 14 -

ภาพที่ 16 แสดงการแบงโซนและจุดกาํ เนิดโซนของประเทศไทย
1.6 ระบบคา พิกัดในรูปแบบ European Petroleum Survey Group (EPSG)

มาตรฐานรหัสพ้ืนหลักฐานแผนที่ (Map Datum) และการฉายแผนที่ (Map Projection)
ตามมาตรฐาน European Petroleum Survey Group (EPSG) ปจจุบันช่ือวา The OGP Surveying
and Positioning Committee มาตรฐานนี้เปนที่ยอมรับมาตรฐานนานาชาติ ISO และมาตรฐาน
วิชาชพี OGC

- 15 -

พ้ืนหลกั ฐาน ระบบพกิ ดั และการฉายแผนที่ รหัสมาตรฐาน
WGS 84 Geographic Coord.Sys. EPSG: 4326
WGS 84 UTM Zone 47N EPSG: 32647
WGS 84 UTM Zone 48N EPSG: 32648
Indian Datum 1975 Geographic Coord.Sys. EPSG: 4240
Indian Datum 1975 UTM Zone 47N EPSG: 24047
Indian Datum 1975 UTM Zone 48N EPSG: 24048

ภาพท่ี 17 แสดงตารางรหสั มาตรฐาน EPSG ท่ีสําคัญของประเทศไทย

1.7 มาตราสว นของแผนที่ (Map Scale)

มาตราสวนของแผนท่ี เปน สง่ิ ท่ีบง บอกถึงอตั ราสวนระหวา งระยะทางจริงบนภูมิประเทศ
กับระยะบนแผนที่ ซ่ึงวิธใี นการทํามาตราสวนน้นั มีอยูห ลายชนิดแตชนิดทน่ี ิยมใชกนั มดี ังน้ี

(1) มาตราสว นกราฟก (Graphical Scale) เปน มาตราสวนท่เี ขยี นเปนเสนตรง แลวแบง
ออกเปนสวน ๆ จํานวนเทา ๆ กัน โดยมีการกํากับหนวยที่อานไวบน Bar ซึ่งตามปกติแผนที่ทุกฉบับ
จําเปน จะตองบอกใหทราบวา ใช Scale เทาใด เชน มาตราสวน 1 : 1,000 เพื่อใหผูใชทราบวาระยะจริง
ในภมู ิประเทศ 1,000 ซม. จะแทนดว ยระยะบนแผนท่ี 1 ซม. เปนตน

ภาพท่ี 18 แสดงมาตราสวนกราฟก (Graphical Scale)
(2) มาตราสวนคาํ พดู (Verbal Scale) มาตราสวนแผนทอ่ี าจบอกเปนคําพดู ธรรมดาก็ได
เชน มาตราสวน 1 น้วิ ตอ 1 กโิ ลเมตร การบอกมาตราสวนน้ีแมวาจะสะดวกมากในเวลาอาน แตก็ไม
สะดวกในเวลาใชกับประเทศตาง ๆ ท่ีมีหนวยวัดระยะไมเหมือนกัน ย่ิงกวานี้มาตราสวนคําพูดไมเหมาะ
ที่จะปรับใหเขากับการคํานวณ เพื่อหาระยะทางในภูมิประเทศไดเหมือนกับมาตราสวนแบบอื่น ๆ
เราอาจจะแกไขไดโดยการเขียนสญั ลักษณเปนสากล เชน 1 เซนติเมตร = 100 เมตร

- 16 -

(3) มาตราสวนเศษสวน (Representative Fraction) เปนวิธีการบอกมาตราสวน
ท่ีสําคัญและนิยมใชกันมากท่ีสุด โดยคํานวณไดจากอัตราสวนเปรียบเทียบระหวางระยะในแผนที่กับ
ระยะทางในภูมิประเทศ ในลกั ษณะเศษสวนอยางงาย ๆ การบอกมาตราสวนแบบเศษสวน ไมมีหนวย
ของการวัดระยะใด ๆ กํากับไว ซ่ึงอาจเปนหนวยวัดมาตราใด ๆ ก็ได การเขียนอาจเขียนเปน 1 / 1,000
หรือ 1 : 1,000 ก็ได ซ่ึงหมายความวา เศษเปนระยะในแผนที่ สวนเปนระยะในภูมิประเทศจริง
สามารถเขียนเปนสูตรไดดังน้ี มาตราสวน (S) = ระยะในแผนที่ (MD) / ระยะในภูมิประเทศ (GD)
เม่ือ S = Scale, MD = Map Distance และ GD = Ground Distance

 แผนท่ีมาตราสวนใหญ (Large Scale) หมายถึง แผนที่ที่สามารถแสดงรายละเอียดไดชัดเจน
แตครอบคลุมพ้ืนที่ไมกวางมาก เชน มาตราสวน 1 : 4,000 จะสามารถใสรายละเอียดของท่ีดินแตละ
แปลงได หรอื สามารถใสรายละเอยี ดของอาคารสํานักงานได

 แผนที่มาตราสวนเล็ก (Small Scale) หมายถึง แผนที่ท่ีไมสามารถแสดงรายละเอียด
ไดชัดเจน แตมีขอมูลครอบคลุมพ้ืนที่กวางใหญ เชน แผนที่มาตราสวน 1 : 50,000 ของกรมแผนที่ทหาร
ใชแสดงภมู ปิ ระเทศของประเทศไทย

บทท่ี 2

การใชง านระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร (GIS) สําหรับการบริหารจดั การท่ีดิน

กรมที่ดินมีภารกิจในการคุมครองสิทธิดานท่ีดินใหแกประชาชนใหเปนไปตามกฎหมาย
และเปนศูนยขอมูลท่ีดินและแผนท่ีแหงชาติ ที่มีระบบฐานขอมูลท่ีดินเปนมาตรฐานเดียวกัน สามารถ
รองรบั การใชป ระโยชนจ ากทดี่ นิ ในการพัฒนาประเทศ เพ่ือใหการบริหารจดั การขอมูลสารสนเทศที่ดิน
เกิดประโยชนสูงสุด กรมท่ีดินจึงไดนําระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (GIS) มาใชงานและบูรณาการ
รวมกับฐานขอมูลท่ีดิน ซึ่งไดแก ขอมูลรูปแปลงท่ีดินของภาครัฐและภาคเอกชน ขอมูลระวางแผนที่
ภาพถา ยทางอากาศ ขอมูลแผนทีภ่ ูมปิ ระเทศ ขอมลู หมุดหลักฐานแผนท่ี และขอมูลหมุดหลักเขตที่ดิน
เพื่อนาํ มาใชประโยชนในการออกเอกสารสิทธิที่ดิน การตรวจสอบพิสูจนสิทธิการถือครองท่ีดิน การแกไข
ปญหาขอ พิพาททีด่ นิ ระหวางภาครัฐและเอกชน การพจิ ารณาแกไขปญหาการบุกรกุ ที่ดินของรฐั การพิจารณา
ออกใบอนุญาตดูดทราย และการพิจารณาจัดทดี่ ินทาํ กนิ ใหชุมชน

RTK GNSS
Network

โปรแกรม ท่ดี ินของรฐั
DOLCAD (Land State)

Web Portal GIS การตรงึ คา พิกัด
Land GIS ในสาํ นักงาน ภูมศิ าสตร

ทีด่ ิน (Registration)
การดิจไิ ทซ
การคน หา ระวาง Base Map รปู แปลงท่ดี นิ
UTM บน (Digitizing)
 ภาพถา ยทางอากาศ
Google Earth  แผนท่ีภมู ิประเทศ

ภาพท่ี8790Eas t 19 แสดง GIS ในสํานกั งานที่ดนิ

eWNo tsrh

564 0

132 0

- 18 -

การนําระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร (GIS) มาบูรณาการในสวนท่ีเกี่ยวของ สามารถเช่ือมโยง
งานรังวัดและทําแผนท่ีในสํานักงานที่ดินน้ัน ขาราชการไมวาจะเปนฝายรังวัด ฝายทะเบียน และกลุมงาน
วิชาการ จําเปนตองมีความรู ความเขาใจ ขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตร (GIS) ท่ีสําคัญของกรมท่ีดินวา
สามารถแบงเปนกี่ประเภท มีอะไรบาง ช่ือไฟลดิจิทัลนามสกุลอะไร และนําไปใชประโยชนไดอยางไร
โดยสามารถอธิบายไดดังนี้
2.1 ขอ มูลเชิงเสน (Vector Data)

ขอมลู เชงิ เสน (Vector Data) เปนขอมูลท่ีแสดงดวย จุด (Point) เสน (Line) และพื้นท่ี
(Polygon) สว นใหญแลว ขอมลู เชงิ เสน (Vector Data) ท่ีอยูในรูปแบบดิจิทัลน้ัน จะมีไฟลนามสกุลเปน
SHP KML KMZ และ XML เปน ตน ซ่ึงขอ มลู เชงิ เสนของกรมที่ดนิ ทใ่ี ชงานอยูเปน ประจํา มดี งั นี้

2.1.1 หมดุ หลักฐานแผนท่ี วัตถปุ ระสงคการสรางและรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่ เพื่อใช
ในการสรางระวางแผนที่ ใชเปนหมุดออก  เขา เสนโครงงานแผนที่ และใชเปนหมุดโยงยึดเพื่อเก็บ
รายละเอียดรูปแปลงท่ีดิน เปนตน หมุดหลักฐานแผนท่ีเปนหมุดอางอิงตําแหนงทางราบ ไดจากการรังวัด
ดว ยระบบดาวเทยี มและการวางโครงหมดุ หลักฐานแผนที่ สวนใหญแลวขอมูลหมุดหลักฐานแผนท่ี ที่อยู
ในรปู แบบดจิ ิทัลนั้น จะมีไฟลนามสกุลเปน Shape (.shp)

ภาพที่ 20 แสดงหมดุ หลักฐานแผนท่ี

- 19 -

2.1.2 ระวางแผนท่ีกริด UTM ระวางแผนที่ หมายถึง แผนที่แสดงตําแหนง ที่ต้ังแนวเขต
ของแปลงทีด่ ิน และรายละเอยี ดตาง ๆ เพ่อื การออกเอกสารสิทธใิ นทดี่ ิน

การเรียกชื่อระวางแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม มาตราสวน 1 : 4,000 ใหนํา
หมายเลขประจําแผนทภ่ี มู ิประเทศ มาตราสว น 1 : 50,000 ลําดับชุด L7017 และหมายเลขแผน ซ่ึงมี
คาพกิ ัดมมุ ลางซายของระวางแผนทน่ี น้ั ปรากฏอยู แลวตามดวยคาพิกัดแนวราบหลักสิบและหลักหนวย
ของกิโลเมตรท่ีเปนเลขคู และตามดวยคาพิกัดแนวต้ังหลักสิบและหลักหนวยของกิโลเมตรท่ีเปนเลขคู
ของมุมลางซายของระวางแผนท่ีระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม มาตราสวน 1 : 4,000 เชน 4936II9400
ระวางแผนท่ีกริด UTM เปนขอมูลที่แสดงดวยพ้ืนท่ี (Polygon) สวนใหญแลวขอมูลระวางแผนที่กริด
UTM ทอ่ี ยูใ นรปู แบบดิจิทลั นัน้ จะมไี ฟลนามสกลุ เปน Shape (.shp)

ภาพท่ี 21 แสดงระวางแผนท่ีกรดิ UTM
2.1.3 รปู แปลงทีด่ ิน ตามมาตรฐานขอ กาํ หนดขอ มูลภูมสิ ารสนเทศพ้นื ฐาน (Fundamental
Geographic Data Set: FGDS) ชั้นขอมูลแปลงท่ีดิน หมายถึง ชั้นขอมูลที่จัดเก็บขอมูลขอบเขตและ
ตําแหนง รูปแปลงท่ีดนิ พรอมทั้งขอมูลลักษณะประจําพื้นฐานของแปลงที่ดิน รูปแปลงที่ดินเปนขอมูล
ทแี่ สดงดว ยพ้ืนท่ี (Polygon) สว นใหญแลว ขอมลู รูปแปลงที่ดินท่ีอยูในรูปแบบดิจิทัลนั้น จะมีไฟลนามสกุล
เปน Shape (.shp) โดยรูปแปลงท่ีดินสามารถจําแนกตามลักษณะการถือครองไดเปน 2 ประเภทใหญ ๆ
ดงั น้ี

(1) รปู แปลงทีด่ นิ ของเอกชน หมายถึง แปลงท่ีดินทถ่ี อื ครองโดยบุคคล หรือนิติบุคคล
ตา ง ๆ ท่อี ยใู นความดูแลของกรมท่ีดิน

- 20 -

ภาพท่ี 22 แสดงรูปแปลงท่ดี ินของเอกชน
(2) รปู แปลงท่ีดนิ ของรฐั หมายถึง ท่ดี ินอันเปนสาธารณสมบตั ิของแผนดนิ ทกุ ประเภท
ที่อยูในความดแู ลของหนว ยงานของรฐั ตาง ๆ เชน ปาไมถ าวร ปาสงวน ปาชายเลน อุทยาน นสล. สปก.
ท่รี าชพัสดุ นิคมสหกรณ และนคิ มสรางตนเอง เปน ตน

ภาพที่ 23 แสดงรปู แปลงทีด่ ินของรฐั

 21 

- 21 -

2.1.4 ขอมูลจากโปรแกรม DOLCAD โปรแกรม DOLCAD เปนโปรแกรมสําหรับ
การคํานวณและสรางรูปแผนท่ีในงานรังวัดและทําแผนท่ีของชางรังวัด โดยภายหลังจากทําการรังวัดที่ดิน
ชางรงั วัดจะนําขอ มลู การรังวดั จากงานสนาม นําขอมูลท่ีไดจากการรังวัดมาปอนเขาสูโปรแกรม DOLCAD
เพอ่ื ทาํ การคํานวณคาพิกัดฉากหลักเขตท่ีดินและเนื้อที่แปลงที่ดิน รวมถึงสรางแผนที่รูปแปลงที่ดิน
สําหรบั พิมพลงบนโฉนดที่ดินและจัดทําหลักฐานการรังวัดตาง ๆ นอกจากนี้แลว โปรแกรม DOLCAD
ยังสามารถสงออกรูปแปลงที่ดนิ ใหอยูในรูปแบบไฟลนามสกุล Shape (.shp) ซึ่งไฟลนามสกุล Shape
(.shp) สามารถนาํ เขาในโปรแกรม GIS ไดตอ ไป

ภาพท่ี 24 แสดงรูปแปลงทด่ี ินจากโปรแกรม DOLCAD
2.1.5 ขอมูลจาก RTK Network ปจจุบันกรมท่ีดินไดนําเทคโนโลยีการรังวัดทําแผนที่
โดยวิธีแผนที่ช้ันหนึ่ง ดวยระบบโครงขายการรังวัดดวยดาวเทียมแบบจลน (RTK GNSS Network)
มาใชในการรังวัดทําแผนท่ี เพ่ือใหรูปแปลงท่ีดินมีคาพิกัดภูมิศาสตรท่ีถูกตอง การรับสัญญาณดวย
เครอื่ งรับสญั ญาณดาวเทียม RTK Network ชางรังวัดสามารถสงออกขอมูลดาวเทียมใหอยูในรูปแบบ
ไฟลนามสกุล .CSV ได ซ่ึงไฟล .CSV ยอมาจาก Comma Separated Value เปนไฟลขอความ
ประเภทหน่งึ ทใี่ ชส าํ หรับเกบ็ ขอมูลในรูปแบบตาราง และใชเคร่ืองหมายจุลภาค (,) ในการแบงแตละคอลัมน
โดยปกติเราสามารถบันทึกไฟลจาก Microsoft Excel ออกมาเปน .CSV ไฟลไดโดยตรง หรืออาจไดไฟล
.CSV จากการสงออกไฟลจากระบบฐานขอมูลอ่นื ๆ

ขอ มูลดาวเทยี มที่อยูในรูปแบบไฟลน ามสกุล .CSV เม่ือนําเขามาในโปรแกรม GIS แลว
ในช้ันขอมูลจะแสดงเปนแบบจุด (Point) และสามารถขึ้นรูปแปลงที่ดินจากขอมูลแบบจุด (Point)
ไดหลากหลายวธิ ดี วยกนั

- 22 -

ภาพท่ี 25 แสดงขอ มูลดาวเทียมสง ออกในรปู แบบไฟลนามสกุล .CSV
2.2 ขอมูลเชิงภาพ (Raster Data)

ขอมูลเชิงภาพ (Raster Data) สวนใหญแลวขอมูลเชิงภาพท่ีอยูในรูปแบบดิจิทัลนั้น
จะมีไฟลนามสกุลเปน .SID, .TIFF และ .JPG เปนตน ขอมูลเชิงภาพของกรมที่ดินท่ีใชงานอยูเปน
ประจํา มดี งั น้ี

2.2.1 แผนที่ภาพถายทางอากาศสีเชิงเลข (Digital Mapping Camera : DMC)
แผนที่ภาพถายทางอากาศสีเชิงเลข (DMC) หมายถึง ภาพถายทางอากาศที่อยูในรูปแบบดิจิทัลที่ผาน
กระบวนการดดั แก (Rectified) ผลกระทบจากการถา ยภาพโดยที่แกนกลองเอียงจากแกนด่ิง (Tilted)
และความเพี้ยนของจุดภาพเนื่องจากความสูงตางของภูมิประเทศ (Relief Displacement) โดยอางอิง
กบั ระบบพกิ ดั ทใ่ี ชในการอา งอิง ภาพถา ยทางอากาศเปนส่ิงที่บันทึกปรากฏการณตาง ๆ บนภูมิประเทศ
ณ ชวงเวลาน้ัน สวนใหญแลวขอมูลภาพถายทางอากาศที่อยูในรูปแบบดิจิทัลนั้น จะมีไฟลนามสกุล
เปน .SID ซ่ึงเปนไฟลที่ผานการบีบอัดขอมูลใหมีขนาดไฟลเล็กลง เพื่อสะดวกตอการจัดเก็บและสงตอ
ขอ มูล

- 23 -

ภาพที่ 26 แสดงแผนที่ภาพถายทางอากาศสีเชิงเลข (DMC)
2.2.2 แผนท่ีภาพถายจากอากาศยานไรคนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV)
อากาศยานไรคนขบั (UAV) เปน ยานพาหนะทางอากาศขนาดเล็กมีการควบคุมและสั่งการการบินดวย
ระบบอัตโนมัติและแบบก่ึงอัตโนมัติโดยไมมีนักบินอยูบนเครื่อง สามารถควบคุมดวยอุปกรณควบคุม
ระยะไกล แผนที่ภาพถายจากอากาศยานไรคนขับสามารถแสดงรายละเอียดภูมิประเทศไดชัดเจน
แตครอบคลุมพ้ืนท่ีไมกวางมาก เชน แผนที่ภาพถายจากอากาศยานไรคนขับ มาตราสวน 1 : 500
จะสามารถใสรายละเอียดท่ีดินแตละแปลงได จุดเดนของภาพถายจากอากาศยานไรคนขับ
คือ ใชระยะเวลาไมนานในการบินถายภาพ เสียคาใชจายนอย และไดขอมูลภาพถายเปนปจจุบัน
สว นใหญแ ลว ขอ มลู ภาพถา ยจากอากาศยานไรคนขับที่อยูในรูปแบบดจิ ิทัลนนั้ จะมไี ฟลน ามสกุลเปน .SID

- 24 -

ภาพท่ี 27 แสดงแผนที่ภาพถายจากอากาศยานไรคนขบั (UAV)
2.2.3 ระวางแผนที่ UTM ของกรมท่ีดิน ระวางแผนที่ หมายถึง แผนท่ีระวางท่ีใชสําหรับ
การลงท่หี มายรูปแปลงทดี่ ินและรายละเอียดตาง ๆ มีขนาด 50 x 50 เซนติเมตร ใชในการออกโฉนดท่ีดิน
มี 2 ประเภท คือ ระวางแผนท่ีภาคพื้นดิน (Ground map) และระวางแผนที่ภาพถายทางอากาศ
(Aerial Photograph)

(1) ระวางแผนท่ีภาคพ้ืนดิน การสรางจะตองทําการวางเสนโครงงานหมุดหลักฐาน
แผนท่ี หรอื สรา งหมดุ ดาวเทียมใหมีจํานวนเพียงพอ โดยปกติจะตองมีเสนโครงงานหมุดหลักฐานแผนท่ี
ผาน 3 เสน หรือมหี มดุ ดาวเทยี มอยางนอ ย 16 หมดุ กระจายครอบคลุมพื้นที่ท่ีสรางระวาง สวนใหญแลว
ขอ มลู ระวางแผนทภี่ าคพนื้ ดนิ ที่อยใู นรูปแบบดจิ ิทัลนัน้ จะมไี ฟลนามสกุลเปน .SID หรอื .TIFF

- 25 -

ภาพท่ี 28 แสดงระวางแผนท่ีภาคพ้นื ดิน
(2) ระวางแผนท่ีภาพถายทางอากาศ การสรางจะตองมีจุดบังคับภาพอยางนอย
๔ จดุ ในบริเวณมมุ ระวางแผนที่และเปน จุดท่มี ีความคมชดั สามารถช้ีตําแหนงบนภาพถายทางอากาศ
และเปนตําแหนงท่ีสามารถมองเห็นรายละเอียดบนพ้ืนดินไดอยางชัดเจน มาใชในการปรับแกความเอียง
และมาตราสวนของภาพถายทางอากาศ เพื่อสรางเปนระวางแผนท่ีภาพถายทางอากาศ การปรับแก
ความเอียงและมาตราสวนของภาพถายทางอากาศ เพื่อสรางระวางแผนที่ภาพถายทางอากาศ
ใหดําเนินการตามหลักวิชาการทําแผนที่ภาพถายทางอากาศ (Photogrammetry) สวนใหญแลวขอมูล
ระวางแผนทีภ่ าพถายทางอากาศที่อยูในรูปแบบดิจทิ ัลน้ัน จะมไี ฟลนามสกลุ เปน .SID

- 26 -

ภาพท่ี 29 แสดงระวางแผนที่ภาพถา ยทางอากาศ
2.2.4 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) หมายถึง ขอมูลภาพ (Image) ของ
แผนที่ภูมิประเทศมาตราสวนหลักของกรมแผนที่ทหาร โดยขอมูลภาพจะประกอบดวยเซตของคา
หรือจุดภาพ (Pixel) ที่มาพรอมกับขอมูลที่อธิบายถึงขอมูล (Metadata) สวนใหญแลวขอมูลแผนท่ี
ภมู ิประเทศ มาตราสวน 1 : 50,000 ท่ีอยใู นรูปแบบดิจิทัลนั้น จะมีไฟลนามสกลุ เปน .SID หรือ .TIFF

(1) แผนท่ีภูมิประเทศ มาตราสวน 1 : 50,000 ชุด L7017 อางอิงอยูบนพ้ืนหลักฐาน
Indian Thailand  1975 ของกรมแผนทที่ หาร ปจ จบุ นั เลกิ ผลติ ไปแลว แตกรมที่ดินยงั ใชแผนทชี่ ุดน้อี ยู

- 27 -

ภาพท่ี 30 แสดงแผนทภี่ ูมปิ ระเทศ มาตราสวน 1 : 50,000 ชดุ L7017
(2) แผนที่ภูมิประเทศ มาตราสวน 1 : 50,000 ชุด L7018 อางอิงอยูบนพื้นหลักฐาน

WGS 84 เปนชุดแผนที่ท่ีใชกันอยูในประเทศไทยเปนสวนใหญ

- 28 -

ภาพที่ 31 แสดงแผนทีภ่ ูมปิ ระเทศ มาตราสว น 1 : 50,000 ชดุ L7018

บทที่ 3

โปรแกรม Quantum GIS (QGIS Program)

3.1 โปรแกรม Quantum GIS และการดาวนโหลดโปรแกรม
3.1.1 โปรแกรม Quantum GIS
โปรแกรม Quantum GIS หรือ QGIS เปนโปรแกรม Desktop GIS ประเภทหนึ่ง

ทมี่ ีประสิทธภิ าพในการนํามาใชจัดการขอมูลภูมิสารสนเทศ จัดอยูในกลุมซอฟตแวรรหัสเปด (Free and
Open Source Software : FOSS) ที่ใชงานงาย ลักษณะการใชงานเปนแบบ Graphic User Interface
ซึ่งสะดวกตอการใชงานไมวาจะเปนการเรียกใชขอมูลภาพ ขอมูลตาราง การแสดงผลตาราง การแสดง
ผลกราฟ ตลอดจนสามารถสบื คน ขอมูล วิเคราะหขอมูล และนําเสนอขอมูลไดในรูปแบบแผนท่ี นอกจากนี้
ยงั สามารถเรยี กใชข อมูลเชิงเสน (Vector) เชงิ ภาพ (Raster) ในรูปแบบท่ีเปนมาตรฐานแพรหลาย

วิวัฒนาการของโปรแกรม Quantum GIS หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปวา QGIS
เปนโปรแกรมท่ไี ดร บั การพัฒนาขึ้นโดยกลุมนักพฒั นาซอฟตแ วรจากประเทศเยอรมัน ในป ค.ศ. 2002
ต้ังแตเวอรชัน 0.0.1Alpha และไดมีพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปจจุบันไดออกเวอรชันลาสุดมา คือ
เวอรชัน 3.18.0Zürich แตเนื่องจากขณะน้ีเวอรชัน 3.16.5Hannover เปนเวอรชันที่มีความเสถียร
(Long term release : most stable) จึงเหมาะสมแกการนํามาใชงาน อีกท้ังยังเปนเวอรชันที่ไดรับ
การปรับปรุงทั้งในเร่ืองของ bug ในตัวของโปรแกรม ทําใหการทํางานของระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งในสวนการแกไขขอมูลเชิงพ้ืนที่ (Edit, Insert, Delete Data) มีการเพิ่มเติมในสวนของปุมการทํางาน
ท่ีชว ยในเรื่องของการแสดงผล รวมไปถึงการพัฒนาการทํางานในสวนของขอมูลเชิงภาพ (Raster Data)
ท่ีเพมิ่ ฟงกช ันในการประมวลผลขอมูลภาพไดหลากหลาย สอดคลองกับการทํางานของ Gdal library
Ogr library ในรปู แบบ X/MIT style ภายใต Open Source license และท่ีสําคัญโปรแกรม Quantum
GIS ไดถูกพฒั นาใหร องรบั การทํางานรว มกับขอ มูลในรปู แบบที่แตกตางกันตามมาตรฐานสากล Open
Geospatial Consortium (OGC) รวมไปถึงในเร่ืองของการแสดงผลทั้งในสวนของขอมูล GDAL Raster
Formats และ OGR Vector Formats

โปรแกรม QGIS เวอรชัน 3.16.5 Hannover

- 3300 -

การดาวนโหลดโปรแกรมจากเว็บไซต เนื่องจากโปรแกรม Quantum GIS สามารถ
ติดตั้งไดบ นระบบปฏิบตั ิการ Window, MacOS X, Linux และ Android ดังนั้น กอนจะทําการดาวนโหลด
โปรแกรม จําเปนตอ งทราบระบบปฏบิ ตั กิ ารของเครอื่ งคอมพวิ เตอรท ีเ่ ราจะทําการตดิ ต้ังโปรแกรมกอน

รปู ตัวอยาง ระบบปฏบิ ัติการ Window 64bit
3.1.2 การดาวนโ หลดโปรแกรม

การดาวนโหลดโปรแกรมจากเวบ็ ไซต สามารถดําเนนิ การได ตามขั้นตอนดังตอ ไปน้ี
1

2

- 3311 -

1. ทําการเขาเว็บไซต โดยการพิมพ https://www.qgis.org/en/site/forusers
/index.html ลงในชอง URL เพื่อดาวนโ หลดโปรแกรม

2. เลอื ก Download QGIS
3

4
3. เลือกแถบ ALL RELEASES
4. เลือก here

5
5. เลือกระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอรของเคร่ืองที่ตองการลงโปรแกรม win64
สาํ หรับระบบปฏิบตั ิการ window 64bit และ win32 สําหรบั ระบบปฏบิ ัติการ window 32bit

- 3322-

6

7
6. เลือกไฟลท ต่ี องการดาวนโ หลด

 QGISOSGeo4W3.16.51Setupx86_64.exe สาํ หรบั ระบบปฏิบตั กิ าร 64bit
 QGISOSGeo4W3.16.5.1Setupx86.exe สาํ หรบั ระบบปฏบิ ตั ิการ 32bit
7. ระบบจะทําการดาวนโ หลดโปรแกรม

9
8
8. เม่ือทําการดาวนโ หลดเสรจ็ แลว ใหเ ลือกลูกศรลง แลว เลือก แสดงในโฟลเดอร
9. เลือกไฟลท ี่ดาวนโ หลดมา เพื่อทาํ การติดตัง้ โปรแกรมตอไป

- 33 -

3.2 การติดตั้งโปรแกรม QGIS
การติดตั้งโปรแกรม สามารถดําเนินการได ตามขน้ั ตอนดงั ตอไปน้ี

1

1. กดเลอื กไฟลท่ีทาํ การดาวนโ หลดจากหวั ขอ ท่ี 3.1.2 โดย
 QGISOSGeo4W3.16.51Setupx86 สําหรับเคร่ืองคอมพิวเตอรระบบปฏิบัติการ

32bit
QGISOSGeo4W3.16.51Setupx86_64 สําหรบั เคร่อื งคอมพิวเตอรระบบปฏิบัติการ

64bit

2
2. จะปรากฏหนาตาง Setup ขนึ้ มา ใหเลอื ก Next

- 34 -

3

3. เลอื ก I Agree

4

4. เลอื ก Next

- 3355-

5

5. เลือก Install

6

6. ระบบจะทาํ การติดตั้งโปรแกรม

- 36 -

7
7. เม่ือทาํ การติดต้ังโปรแกรมเสรจ็ เรยี บรอ ย ใหเลอื ก Finish

8
8. เมอื่ ทําการตดิ ตง้ั โปรแกรมเรียบรอยแลว ท่ีหนา Desktop ปรากฏโฟลเดอร QGIS 3.16
ข้นึ มา ใหเขาโฟลเดอรนี้ จากน้นั ใหเลอื กท่ี QGIS Desktop 3.16.5 เพอ่ื เรม่ิ ใชง านโปรแกรม

- 37 -

3.3 สวนประกอบของโปรแกรม และเครอ่ื งมือพื้นฐาน
สวนประกอบของโปรแกรม หรือชุดคําสั่ง หรือ User Interface (UI) ของโปรแกรม QGIS

ประกอบดวย 5 สวน ดังน้ี 1. Menu Bar 2. Tool Bar 3. Panels 4. Map View และ 5. Status Bar
โดยสว นตาง ๆ เหลา นี้ สามารถเคลอื่ นยา ยปรบั ขนาดได ตามความถนดั ของผูใชง าน

1. Menu Bar 2. Tool Bar

4. Map View

3. Panels

5. Status Bar

รูปแสดงหนาตางโปรแกรม
3.3.1 Menu Bar คอื ชุดคําสง่ั ที่เก็บคําสั่งท้ังหมดของโปรแกรม การเรียกใชงานแถบคําสั่ง
สามารถทําไดโ ดยการเลอ่ื นเมาสไ ปท่ชี อ่ื ชดุ คําสง่ั ทีต่ อ งการแลวคลิกซาย จากน้ันจะปรากฏรายการคําส่ัง
ตาง ๆ สามารถใชง านได โดยคลิกเลอื กคาํ สั่งท่ตี อ งการ โปรแกรมจะทําการเรยี กใชงานคาํ สงั่ นนั้ ๆ

3.3.2 Tool Bar คอื แถบเคร่อื งมอื ทใี่ ชส าํ หรบั การเขาถึงฟงกชันตาง ๆ ที่ใชในการทํางาน
รายการแถบเครื่องมือแตละรายการมีความชวยเหลือแบบ pop  up เม่ือนําเมาสล ากไปชี้คางท่ีรูป
ไอคอนเครอื่ งมอื นั้น จะปรากฏคาํ อธบิ ายสัน้ ๆ เกีย่ วกบั วัตถปุ ระสงคข องเคร่อื งมือ นอกจากน้ีแถบเคร่ืองมือ
ทกุ ตัว สามารถเคลือ่ นยา ยไดตามความตอ งการของผใู ชง าน

โดยแถบ Tool Bar ทใี่ ชงานประจํา มีดังน้ี

- 3388 -

3.3.2.1 Project Toolbar ใชสําหรบั จดั การหรือทํางานเกี่ยวกบั โครงการ

New Project คอื การสรางเอกสารงานใหม
Open Project คือ การเรียกเปด เอกสารงานที่มอี ยูในเครื่องฯ ทถี่ ูกจัดเกบ็
Save Project คือ การบันทึกเอกสาร
New Print Layout คอื การพมิ พแผนทีจ่ ากแผนทที่ ่ีทําไวกอ นหนานี้
Show Layout Manager คือ การเรยี กแผนท่ีท่ีพมิ พไ วกอนหนาแลวออกมา
Style Manager… คือ เครื่องมือท่ีผูใชสามารถจัดการ และสรางสัญลักษณ
ตามความตองการของผใู ช
3.3.2.2 Map Navigation Toolbar เปนเครือ่ งมือทใ่ี ชสาํ หรับยอ ขยาย เล่ือนแผนท่ี

Pan Map ใชเ ลื่อนตําแหนง ของแผนท่ีไปยงั ตาํ แหนง หรอื จุดที่ตองการ
Pan Map to Selection ใชเ ลอ่ื นตาํ แหนงของแผนทไ่ี ปยังตําแหนงของขอมูลที่เลือกไว
Zoom In ใชข ยายมาตราสวนของแผนท่ี
Zoom Out ใชยอ มาตราสวนของแผนที่

- 3399 -

Zoom Full ใชด ขู อบเขตของขอมูลทงั้ หมด
Zoom to Selection ยอไปยังขอมูลท่ีเลือกไว และเปลี่ยนมาตราสวนใหเห็น
ขอมูลทีเ่ ลอื กไวทง้ั หมด
Zoom to layer เปล่ียนมุมมองเปนสวนที่มองเห็นขอมูลชัน้ ทเี่ ลือกไดครบท้ังหมด
Zoom to Native Resolution ใชเปลี่ยนความละเอียดของขอมูลเชิงภาพเทากับ
ความละเอียดของหนา จอ (ภาพไมแตก)
Zoom Last กลบั ไปมมุ มองกอ นหนานี้
Zoom Next กลับไปมุมมองหลัง
New Map View เพิ่มหนา ตางการทํางานขึน้ มา

New 3D Map View เพ่มิ หนาตา งการทํางาน 3D ขึน้ มา
New Spatial Bookmark… การสรางที่บนั ทึกใหมใ หกับโครงการ
Show Spatial Bookmarks แสดงทบ่ี นั ทึกโครงการไวก อนหนา น้ี
Temporal Controller Panel หนาตางควบคุมใหสัญลักษณปรากฏข้ึนในเวลา
ที่กาํ หนด
Refresh การเคลยี รค า ใหเ ปนปจจุบัน
3.3.2.3 Selection Toolbar เปนกลุมของเคร่ืองมือในการเลือก หรือยกเลิก
การเลกิ ขอมลู ในแผนที่

- 40 -

Select Feature by Area or Single Click คือ คําสั่งในการเลือกขอมูล โดย
การกําหนดขอบเขตในการเลือกจากการตกี รอบในแผนที่
Select Feature by Value การเลือกขอมูลดวยการใชค า ของขอมลู
Deselect Feature from All Layers คือ คําสั่งยกเลิกการเลือกขอมูลจาก
ทกุ ช้ันขอมูล
3.3.2.4 Attributes Toolbar เปนกลุมของเครื่องมือในการเรียกดูคุณสมบัติ
ขอมูลในตาราง การวัด การให Label เปน ตน

Indentify Features คําสง่ั ในการดขู อมูลบรรยายของขอมูลทีค่ ลิกเลือก
Open Attribute Table คําสงั่ ในการเปดตารางคําบรรยายของชดุ ขอมูลทั้งหมด
Open Field Calculator การคาํ นวณตาง ๆ
Show Statistical Summary การแสดงผลรวมและขอมูลสถติ ิ
Measure Line การวัดระยะทางในแผนที่
Show Map Tips คาํ สง่ั ในการนาํ ขอ มูลในตารางแสดงผลบนแผนที่
Run Feature Action คาํ สั่งการดําเนินการทํางานขอ มลู
Text Annotation เครื่องมือในการสราง ปรับปรุง และแกไขกลอ งขอ ความ

- 41 -

3.3.2.5 Digitizing Toolbar เปน เคร่ืองมือสําหรับการสราง แกไข ปรับปรุงขอมูล
เชงิ เสน (Vector)

Current Edits คือ คําสงั่ เลือกแกไขขอมูลปจ จุบนั
Toggle Editing คือ คําส่ังเริ่มเขา สกู ารปรบั ปรุง แกไข หรือสรา งขอมลู
Save Layer Edits คอื คาํ สั่งการบันทึกช้ันขอ มูลท่แี กไข
Add Feature คือ คําสง่ั การนําเขา ขอมลู
Vertex Tool คือ คําสั่งยายตําแหนงท่ีเลือกท้ังหมดของขอมูล Node Tool คําสั่ง
ในการยาย Node ในจุด เสน หรอื รูปปด เพือ่ แกไขรปู รางของ Feature
Modify the Attributes of All Selected Features Simultaneously
คอื คําสง่ั ในการปรับแตง แกไข ขอ มูลเชิงบรรยายหลายขอมูลพรอมกนั ในครั้งเดยี ว
Delete Selected คอื คาํ สั่งในการลบจุด เสน หรือรูปปด ที่ไดเลือกไว
Cut Features คือ คําส่ังในการลบ และจัดเก็บในหนวยความจํา เพื่อรอการนําไป
วางของจุด เสน หรอื รูปปดที่ไดเลือกไว
Copy Features คือ คําสงั่ ในการทาํ สําเนาจดุ เสน หรอื รูปปดท่ไี ดเ ลือกไว
Paste Features คือ คาํ ส่ังในการวางจุด เสน หรือรูปปดท่ีไดเลือกสําเนาเก็บไว
ในหนว ยความจาํ
Undo คือ การยกเลกิ คําส่งั กอนหนา
Redo คอื การใชคาํ สั่งเดมิ กอนท่ีจะทาํ กันยกเลิก

- 42 -

3.3.2.6 Manage Layer Toolbar ใชส ําหรบั จดั การ เพมิ่ สราง ขอมูลเชิงพื้นท่ี
ทั้งที่เปน ขอมลู เชิงเสน (Vector) และขอ มูลเชิงภาพ (Raster)

Add Vector Layer… คอื การเพม่ิ ช้ันขอมูลเชงิ เสน
Add Raster Layer… คือ การเพ่มิ ชั้นขอมลู เชิงภาพ
Add Mesh Layer คอื การนาํ เขา ขอมลู โครงขาย
Add Delimited text Layer คือ การนําเขาช้ันขอมูลพิกัดจากเอกสาร เชน
SCV, Excel เปนตน
Add SpatiaLite Layer… คอื การเพม่ิ ชัน้ ขอ มูลเชิงเสนจากฐานขอมูลเชิงพื้นที่
SpatiaLite
Add/Edit Virtual Layer คอื การสรา งชัน้ ขอมูลเสมือนกบั ชั้นขอมูลที่เลอื กไว
Add PostGIS Layers… คือ การเพมิ่ ช้นั ขอมลู เชิงเสนจากฐานขอมูลเชิงพน้ื ที่ Post GIS
Add WMS/WMTS Layer… คือ การเพ่ิมขอมูลแผนที่จากแหลงใหบริการขอมูล
บนเครอื ขา ยอินเทอรเ น็ต
Add WCS Layer… คือ การเพิม่ ช้ันขอ มลู Web Coverage Service (raster)
Add WFS Layer คือ การเพิ่มชั้นขอมูล WFS (Web Feature Service) ใหบริการ
ขอมูลแผนที่ ท่ีเปนแบบเชิงเสน (Shapefile) หรือจะอยูในรูปของ .CSV, .GML
.GEOJSON ซึ่งขอมูลน้ัน สามารถนาํ ไปวิเคราะหหรือใชงานตอ ไดโดยไมต อ งทํา
การปรบั แก
New Shapefile Layer… คอื การสราง Shape File ใหม

- 43 -

3.3.3 Panels คอื ชุดคําสัง่ ทเี่ ปน Widgets (โปรแกรมประยกุ ตทปี่ รบั เปล่ยี นโตตอบได)
ที่ใชทํางานรว มกบั คําสง่ั อื่น เพอื่ ใชใ นการดําเนนิ งานทม่ี คี วามซบั ซอนมากข้นึ

3.3.4 Map View คอื สวนการแสดงผลของแผนที่ทั้งหมดตามที่ไดกําหนดไวใน Map
Legend และนอกจากแสดงผลแผนทใ่ี หด แู ลว ผใู ชยงั สามารถปรับแตง ลบ  เพม่ิ รายละเอียดของชั้น
ขอ มลู ตาง ๆ

3.3.5 Status Bar คือ สวนท่ีแสดงตําแหนงปจจุบันท่ี Mouse pointer ช้ีอยู (ซึ่งสามารถ
เปล่ียนเปนแสดงขอบเขตของแผนที่ท่ีแสดงอยูได โดยคลิกไอคอนดานซายสุดของแถบ Status Bar)
นอกจากน้ี ยังบอกมาตราสวนและระบบพิกัดแผนที่ ทใี่ ชอ ยอู กี ดว ย


Click to View FlipBook Version