The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by maw.nfe, 2020-04-25 04:31:05

ประวัติศาสตร์ชาติไทย สค32034 ม.ปลาย

กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.

41

การใชหลักฐานทางประวัติศาสตรที่เปนหลักฐานชั้นตนใชไดสะดวกพอสมควร
แตบ างสว นอาจใชจ ากฉบบั สาํ เนา เพราะตนฉบับเดิมกระดาษกรอบและขาดงาย เนื่องจากอากาศ

รอ นช้ืนและมอี ายมุ าก ดังนน้ั การใชจ ึงตองระมดั ระวงั และตองชว ยกนั ถนอมรกั ษา เพราะหลกั ฐาน

เหลานีเ้ ปนสมบตั ิที่สําคัญของชาติ ไมส ามารถจะหามาใหมท ดแทนได
หลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตร
หลักฐานทางประวัติศาสตร หมายถึง รองรอยหรือหลักฐานท่ีเกิดขึ้นในอดีตท่ีมี

ความเกี่ยวของกับพัฒนาการและความเปนมาของมนุษย ซึ่งแสดงใหเห็นถึงความคิด ความเช่ือ

แ ล ะ ก า ร ดํ า เ นิ น ชี วิ ต ข อ ง ม นุ ษ ย ใ น แ ต ล ะ ยุ ค ส มั ย ห ลั ก ฐ า น ท า ง ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร เ ป น สิ่ ง สํ า คั ญ
ในการศกึ ษาเร่ืองราวทางประวัติศาสตร เพราะชว ยใหสามารถทําความเขาใจเก่ียวกับเร่ืองราวที่
เกดิ ข้นึ ในอดีตไดอ ยางถูกตอ ง ตรงประเดน็ ทราบเรอ่ื งราวไดอ ยางใกลเคยี งกบั ความจริงทีส่ ดุ

ตวั อยางหลักฐานทางประวัตศิ าสตรทใ่ี ชใ นการศึกษาเหตกุ ารณสาํ คญั ในสมยั รตั นโกสนิ ทร

1) จารกึ เปนหลักฐานทางประวตั ิศาสตรประเภท

ลายลักษณอักษรที่มีการบันทึกลงในวัตถุตาง ๆ เชน แผนศิลา

แผนผนัง แผนกระเบื้อง ใบลาน เปนตน มักเปนการบันทึก

เร่ืองราวของชวงเวลาน้ัน ๆ หรือบันทึกวิชาความรูตาง ๆ เมื่อทํา

การจารึกแลว จะไมม ีการแกไข เพราะเปน การจารกึ เพยี งครงั้ เดียว

จงึ มคี วามนา เช่อื ถอื เชน จารึกท่ีวัดพระเชตุพลวิมลมงั คลารามราช

วรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว

(รัชกาลที่ 3) แหงกรุงรตั นโกสนิ ทรโปรดเกลาฯ ใหรวบรวมสรรพวิชา

ท่ีสาํ คญั แลว จารึกไวบ นแผน ทมี่ า : www.attazone02.blogspot.com

2) พงศาวดาร เปน หลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรท ่มี ี
ลักษณะเปนบันทึกเร่ืองราวเก่ียวกับพระมหากษัตริยและราชวงศ
เน้ือหามักเปนเรื่องท่ีเกิดขึ้นในอาณาจักรหรือราชสํานัก ซ่ึงชวยให
ความรูเก่ียวกับพระมหากษัตริยและราชสํานักไดอยางดี เชน
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระราชพงศาวดาร
กรงุ รตั นโกสินทร เปน ตน

ทมี่ า : www.rimkhobfabooks.com

42

3) บันทึกของชาวตางชาติ เปนหลักฐานทาง

ประวัติศาสตรท่ีชาวตางชาติซึ่งเขามาในประเทศไทยไดบันทึก

ถึงเหตุการณท่ีตนเองไดประสบพบเห็นในชวงเวลานั้น ๆ เชน

การดําเนินชีวิตของผูคน ลักษณะทางภูมิศาสตร วัฒนธรรมและ

ประเพณี เปนตน บันทึกของชาวตางชาติท่ีนาสนใจ เชน บันทึกของ

เซอร จอหน เบาวร งิ่ ราชทตู ทสี่ มเดจ็ พระนางเจาวิคตอเรียแหง อังกฤษ

สงมาเจริญสัมพันธไมตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา

เจา อยหู วั (รัชกาลท่ี 4) ใน พ.ศ. 2397 ซึง่ ไดม โี อกาสบนั ทึกถึงราชสํานัก
ที่มา : www.rimkhobfabooks.com
และบา นเมืองในสมัยนัน้ เปนตน

4) เอกสารทางราชการ เปนเอกสารทหี่ นวยงานราชการตาง ๆ ออกข้ึน เพอ่ื ใชใ นงาน

หรือกจิ การที่มคี วามเก่ียวขอ งซงึ่ ถือเปน หลกั ฐานทม่ี คี วามนา เช่อื ถือ เพราะเปน บันทกึ ท่ีอยใู นชวงเวลานั้น

เชน กฎหมายตราสามดวงที่ชําระแกไขในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช

(รัชกาลท่ี 1) เอกสารแจงขาวของกระทรวงการตางประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา

เจาอยหู วั (รัชกาลท่ี 5) พระราชหตั ถเลขาของพระมหากษัตริย ท่มี ีถงึ หนว ยงานตาง ๆ เปน ตน

5) แหลงโบราณสถาน โบราณสถานสําคัญท่ีสามารถใชในการศึกษาเรื่องราว

ทางประวตั ศิ าสตรท เ่ี กิดขึน้ ในรัชสมัยรัตนโกสนิ ทรน น้ั มีดวยกันหลายแหงดว ยกัน เชน วดั พระศรรี ัตน

ศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดพระเชตุพลวิมล

มงั คลารามราชวรมหาวิหาร ปอ มพระสเุ มรุ พระทน่ี ัง่ จักรีมหาปราสาท พระทน่ี ่งั อนันตสมาคม เปนตน

ภาพ : ปอ มพระสุเมรุ กรุงเทพฯ ภาพ : วดั พระศรรี ตั นศาสดาราม
ภาพ : วัดอรณุ ราชวราราม ราชวรมหาวหิ าร

43

ขอมลู ที่ไดจากหลกั ฐานท้งั ความจรงิ และขอเท็จจริง
ในการสรุปขอมูลท่ีไดจากหลักฐาน สิ่งท่ีผูทําการศึกษาคนควาจะมีท้ังขอเท็จจริง

และความจรงิ ท่ีปรากฏอยบู นหลกั ฐาน ผูท่ีทาํ การศกึ ษาจะตองทําความเขา ใจกอ นวาขอเท็จจริงกับ
ความจรงิ ที่ไดจ ากหลักฐานนนั้ แตกตา งกนั อยางไร

ขอเท็จจริง คอื เรื่องราวหรือสิง่ ทปี่ รากฏอยใู นหลกั ฐานซึง่ มีทั้งสวนทเี่ ปนจรงิ (ขอ จริง)
และสว นท่ไี มเปนความจริง (ขอ เทจ็ ) ปะปนกันอยู จึงตอ งไดรบั การประเมินและตรวจสอบความนา เชอื่ ถอื
อยา งรอบคอบ

ความจรงิ คอื เรอ่ื งราวซึ่งไดร ับการประเมนิ และใหก ารยอมรับวามีความนาเชื่อถือ
เปนเร่ืองราวท่ใี กลเคียงกบั ความเปนจรงิ มากท่สี ุด และมีหลักฐานทนี่ า เช่ือถือไดใ หการสนับสนนุ

ดังนั้น การศึกษาเร่ืองราวทางประวัติศาสตร โดยใชขอมูลจากหลักฐานน้ัน
จงึ ตอ งมกี ารแยกแยะถึงขอเท็จจริงและความจริงเสมอ เพราะเร่ืองราวในประวัติศาสตรเปนสิ่งท่ี
เกดิ ข้ึนมาแลวในอดีต เราจึงไมสามารถทราบไดวาเร่ืองราวท่ีเกิดข้ึนนั้นเปนอยางไร การใชขอมูล
จากหลักฐานจึงตองทําการพิจารณาอยางถี่ถวนจนกวาจะไดขอมูลท่ีมีความนาเช่ือถือเพื่อใหได
เรอ่ื งราวที่ใกลเคยี งกับความจรงิ มากทีส่ ดุ

3. การประเมินคณุ คา ของหลกั ฐาน/การวิเคราะหและตีความขอมลู ทางประวตั ศิ าสตร
หลักฐานทางประวัติศาสตรท่ีคนความาได กอนที่จะทําการศึกษาจะตองมี

การประเมินคุณคาวาเปนหลักฐานที่แทจริงเพียงใด การประเมินคุณคาของหลักฐานน้ีเรียกวา
“วพิ ากษว ิธที างประวตั ศิ าสตร” มี 2 วธิ ี ดังตอ ไปนี้

1) การประเมินคุณคาภายนอกหรือวิพากษวิธีภายนอก หมายถึง การประเมิน
คณุ คาของหลักฐานจากลักษณะภายนอกของหลกั ฐานทางประวตั ิศาสตร บางคร้งั ก็มีการปลอมแปลง
เพื่อการโฆษณาชวนเช่ือ ทําใหหลงผิด หรือเพ่ือเหตุผลทางการเมือง การคา ดังนั้น จึงตองมีการ
ประเมนิ วา เอกสารนนั้ เปนของจริงหรือไม ในสว นวิพากษวิธภี ายนอก เพือ่ ประเมินหลักฐานวาเปน
ของแท พิจารณาไดจ ากสงิ่ ท่ปี รากฏภายนอก เชน เน้อื กระดาษ ของไทยแตเดิมจะหยาบและหนา
สวนกระดาษฝรัง่ ทใ่ี ชก ันอยใู นปจจบุ นั เริ่มเขามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว
(รัชกาลท่ี 3) แตท างราชการจะใชกระดาษฝรง่ั หรอื สมุดฝร่ังมากข้ึน ในตนรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลท่ี 5) เกี่ยวกับตัวพิมพดีดเริ่มใชมากข้ึนในกลางรัชสมัย
พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา เจาอยหู วั ถาปรากฏวามีหลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรไ ทยในรชั สมัย
พระบาทสมเดจ็ พระน่ังเกลา เจาอยูหัวใชตวั พิมพดีด กค็ วรสงสัยวา หลกั ฐานนัน้ เปน ของปลอม

44

2) การประเมินคุณคาภายในหรือวิพากษวิธีภายใน เปนการประเมินคุณคา
ของหลกั ฐานจากขอ มูลภายในหลักฐานน้ัน เปนตน วา มชี อื่ บุคคล สถานท่ี เหตกุ ารณ ในชวงเวลาที่
หลักฐานน้ันทําขึ้นหรือไม ดังเชน หลักฐานซ่ึงเชื่อวาเปนของสมัยสุโขทัยแตมีการพูดถึง
สหรัฐอเมริกาในหลักฐานนนั้ ก็ควรสงสัยวาหลักฐานนั้นเปนของสมัยสุโขทัยจริงหรือไม เพราะใน
สมัยสุโขทัยยังไมมีประเทศสหรัฐอเมริกา แตนาจะเปนหลักฐานท่ีทําขึ้น เม่ือคนไทยไดรับรูวามี
ประเทศสหรัฐอเมรกิ าแลว หรือหลกั ฐานเปนของเกา สมยั สโุ ขทัยจริง แตก ารคดั ลอกตอกันมามีการ
เตมิ ช่อื ประเทศสหรัฐอเมริกาเขา ไป เปน ตน

วิพากษวิธีภายในยังสังเกตไดจากการกลาวถึงตัวบุคคล เหตุการณ สถานที่
ถอ ยคํา เปน ตน ในหลักฐานวามคี วามถูกตองในสมยั น้ัน ๆ หรือไม ถาหากไมถูกตองก็ควรสงสัยวา
เปนหลักฐานปลอมแปลง หลักฐานที่แทจริงเทาน้ันท่ีมีคุณคาในทางประวัติศาสตร
สว นหลกั ฐานปลอมแปลงไมม คี ุณคาใด ๆ อีกทงั้ จะทําใหเกิดความรูท่ีไมถูกตอง ดังนั้นการประเมิน
คุณคา ของหลักฐานจงึ มีความสําคญั และจําเปน มาก

4. การวเิ คราะห สงั เคราะห และจัดหมวดหมูขอ มูล
เมื่อทราบวาหลักฐานน้ันเปนของแท ใหขอมูลท่ีเปนขอเท็จจริงหรือความจริง

ในประวัติศาสตรผ ูศึกษาประวัติศาสตรก็จะตองศึกษาขอมูลหรือขอสนเทศในหลักฐานน้ันวาให
ขอมูลทางประวัติศาสตรอะไรบาง ขอมูลนั้นมีความสมบูรณเพียงใด หรือขอมูลนั้นมีจุดมุงหมาย
เบ้ืองตนอยางไร มีจุดมุงหมายแอบแฝงหรือไม ขอมูลมีความยุติธรรมหรือไม จากน้ันจึงนําขอมูล
ท้งั หลายมาจัดหมวดหมู เชน ความเปนมาของเหตกุ ารณ สาเหตุทีท่ ําใหเกิดเหตุการณความเปนไป
ของเหตุการณ ผลของเหตกุ ารณ เปนตน

เมอ่ื ไดข อ มลู เปน เรอ่ื ง เปนประเด็นแลว ผูศึกษาประวัติศาสตรเรื่องน้ันก็จะตอง
หาความสัมพันธของประเด็นตาง ๆ และตีความขอมูลวามีขอเท็จจริงใดที่ซอนเรนอําพราง
ไมกลาวถงึ หรือในทางตรงกันขา มอาจมขี อ มลู กลาวเกินความเปน จริงไปมาก

ในการวิเคราะห สังเคราะหขอมูล ผูศึกษาประวัติศาสตรควรมีความละเอียด
รอบคอบ วางตวั เปน กลาง มจี ินตนาการ มีความรอบรู โดยศกึ ษาขอมูลทง้ั หลายอยา งกวา งขวาง และ
นําผลการศกึ ษาเร่ืองนั้นทีม่ ีแตเดิมมาวิเคราะหเปรียบเทียบ รวมทั้งจัดหมวดหมขู อ มลู ใหเปน ระบบ

5. การเรียบเรียงและการนําเสนอขอมลู /การเรยี บเรียง รายงาน ขอเท็จจริงทาง
ประวัตศิ าสตร

ก า ร เ รี ย บ เ รี ย ง ห รื อ ก า ร นํ า เ ส น อ จั ด เ ป น ข้ั น ต อ น สุ ด ท า ย ข อ ง วิ ธี ก า ร ท า ง
ประวัติศาสตร ซง่ึ มีความสําคญั มาก โดยผูศึกษาประวัติศาสตรจ ะตองนําขอมูลท้ังหมดมารวบรวม
และเรยี บเรยี งหรือนําเสนอใหตรงกับประเด็นหรือหัวเรื่องท่ีตนเองสงสัย ตองการอยากรูเพิ่มเติม

45

ทง้ั จากความรเู ดมิ และความรใู หม รวมไปถึงความคดิ ใหมทไ่ี ดจากการศึกษาคร้งั นซี้ ึ่งเทา กับเปน การรื้อฟน
หรือจําลองเหตุการณท างประวตั ศิ าสตรข ้ึนมาใหม อยางถกู ตอ งและเปนกลาง

ในข้ันตอนการนําเสนอ ผูศึกษาควรอธิบายเหตุการณอยางมีระบบและมีความ
สอดคลอ งตอเนอ่ื ง เปน เหตุเปน ผล มีการโตแยงหรอื สนับสนนุ ผลการศึกษาวิเคราะหแตเดิม โดยมี
ขอมลู สนับสนนุ อยางมีน้าํ หนกั เปน กลาง และสรุปการศึกษาวาสามารถใหค าํ ตอบทผี่ ูศกึ ษามีความสงสัย
อยากรูไดเพยี งใด หรือมขี อ เสนอแนะใหสําหรบั ผูท่ตี องการศกึ ษาตอไปอยางไรบาง

จะเห็นไดวาวิธีการทางประวัติศาสตรเปนวิธีการศึกษาประวัติศาสตรอยางมี
ระบบ มคี วามระมัดระวงั รอบคอบ มีเหตผุ ลและเปน กลาง ซื่อสตั ยตอ ขอมูลตามหลกั ฐานท่ีคน ความา
อาจกลา วไดว า วธิ ีการทางประวตั ศิ าสตรเหมือนกับวิธีการทางวิทยาศาสตร จะแตกตางกันก็เพียง
วธิ กี ารทางวิทยาศาสตรสามารถทดลองไดห ลายคร้ัง จนเกดิ ความแนใ จในผลการทดลอง แตเ หตุการณ
ทางประวตั ศิ าสตรไมส ามารถทําใหเกดิ ข้ึนใหมไดอีก ผศู ึกษาประวตั ิศาสตรท ด่ี จี งึ เปน ผูฟน อดีตหรือ
จําลองอดีตใหมีความถูกตองและสมบูรณที่สุด โดยใชวิธีการทางประวัติศาสตรเพ่ือที่จะไดเกิด
ความเขาใจอดีต อนั จะนํามาสคู วามเขา ใจในปจจุบนั

6. ตัวอยางการนาํ วิธกี ารทางประวตั ิศาสตรม าใชศ ึกษาประวตั ศิ าสตรไ ทย
การศึกษาเร่ืองราวเก่ียวกับปอมพระจุลจอมเกลา จังหวัดสมุทรปราการ
ดวยวธิ กี ารทางประวัตศิ าสตร
1. การกาํ หนดหัวเรื่องท่ีจะศึกษา/การต้ังประเด็นท่ีจะศึกษา จะตองตั้งประเด็น
ปญหาเพ่อื ใชเปน แนวทางในการศกึ ษากอ น เพราะการต้งั ประเด็นปญหาจะชวยกําหนดเปาหมาย
ในการศึกษาประวัติศาสตรไทยไดอยางถูกตองและตรงประเด็น การต้ังกําหนดปญหาเพื่อใชเปน
แนวทางในการศกึ ษานนั้ มีดวยกนั หลายอยาง ดงั น้ี
“ปอ มพระจลุ จอมเกลาสรา งขนึ้ มาเมื่อใด”
“ใครเปนผูท่ีสรางปอมพระจลุ จอมเกลา นี้ข้นึ ”
“ปอมพระจลุ จอมเกลา ถูกสรา งขน้ึ ไวในบริเวณใด”
“ปอมพระจุลจอมเกลาถกู สรา งข้นึ ดวยจุดประสงคใ ด”
“ลักษณะโดยทว่ั ไปของปอมพระจุลจอมเกลา เปน อยา งไร”
“ปอมพระจลุ จอมเกลามคี วามสาํ คญั อยา งไรในทางประวัติศาสตร”

46

ภาพ : ปอ มพระจลุ จอมเกลา

2. การรวบรวมหลักฐาน/สบื คน และรวบรวมขอ มูล ในการศกึ ษาเร่ืองราวเกีย่ วกับ
ปอมพระจุลจอมเกลาน้ันผูท่ไี ดศึกษาจะตองทําการคนควาและรวบรวมขอมูลหลักฐานเกี่ยวกับ
ปอมพระจุลจอมเกลาจากแหลงตาง ๆ ซ่ึงแหลงขอมูลที่สามารถรวบรวมขอมูลหลักฐานไดน้ัน
มีดวยกันหลายอยาง เชน หองสมุดโรงเรียน หองสมุดประชาชน หอสมุดแหงชาติหอจดหมายเหตุ
แหง ชาติ พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหงชาติ พพิ ิธภัณฑท หารเรอื จงั หวดั สมุทรปราการ ปอมพระจุลจอมเกลา
จังหวัดสมุทรปราการ เว็บไซตตาง ๆ นิตยสาร สารคดี รวมถึงผูที่มีความรูเก่ียวกับประวัติศาสตร
หรือเก่ียวกบั ปอมพระจุลจอมเกลา เปนตน

3. การประเมินคาของหลักฐาน/การวิเคราะหและตีความขอมูลทางประวัติศาสตร
เมอื่ ทําการวิเคราะหข อมลู หลักฐานจนไดขอมูลที่มีความถูกตองและตรวจสอบความนาเช่ือถือของ
ขอมูลหลักฐานเหลานั้น ทั้งน้ี ในการศึกษาเร่ืองราวเกี่ยวกับปอมพระจุลจอมเกลาน้ัน ควรใชขอมูล
หลักฐานที่มีความหลากหลายและจะตองมีการเทียบเคียงขอมูลหลักฐานหลาย ๆ อยาง เพื่อใหได
ขอ มูลท่ีมีความถูกตองมากทีส่ ดุ และจะตองวิเคราะหดว ยใจท่ีเปน กลาง ไมม ีอคติ

4. การวิเคราะห สังเคราะหและจัดหมวดหมูขอมูล เม่ือทําการวิเคราะหขอมูล
หลักฐานที่มีจนไดขอมูลท่ีมีความถูกตองและใกลเคียงมากที่สุดแลว ผูที่ทําการศึกษาจะตองนํา
ขอมูลท่ีมีเหลานีไ้ ปใชในการตอบประเด็นปญหาทีต่ ั้งไวเ กย่ี วกับปอ มพระจลุ จอมเกลา ดังนี้

ปอมพระจุลจอมเกลาสรางขึ้นมาเมื่อใด เร่ิมสรางเม่ือ พ.ศ. 2427 รัชสมัย
พระจลุ จอมเกลา เจา อยูหัว พระมหากษัตรยิ รัชกาลท่ี 5 แหงกรุงรตั นโกสินทร

ใครเปน ผูท่ีสรางปอมพระจุลจอมเกลานี้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา
เจาอยูห ัว รชั กาลที่ 5

ปอ มพระจุลจอมเกลา ถกู สรางขึ้นไวใ นบริเวณใด บริเวณปากแมน ้ําเจาพระยา
ฝง ขวาตําบลแหลมฟา ผา อาํ เภอพระสมุทรเจดยี  จังหวัดสมทุ รปราการ

47

ปอ มพระจลุ จอมเกลาถูกสรางขึ้นดวยจุดประสงคใด เพื่อสกัดก้ันการรุกราน
ของกองเรือตา งชาตทิ จ่ี ะรกุ ลํา้ เขามาบรเิ วณปากแมน ํ้าเจา พระยา

ลักษณะโดยท่ัวไปของปอมพระจุลจอมเกลาเปนอยางไร ปอมพระจุลจอมเกลา
มลี ักษณะการสรา งเปน ปอ มปน ใหญแบบตะวนั ตก ประกอบดว ยหลุมปน ใหญจํานวน 7 หลุม ติดตั้ง
ปนอารม สตรองขนาด 155 มลิ ลิเมตร เรียกวา “ปนเสือหมอบ”ซึ่งส่งั มาจากประเทศอังกฤษ ภายใน
ประกอบดวยคหู าและหอ งสําหรับเกบ็ กระสุนปนใหญ มีการออกแบบปอม เพื่อลดการสูญเสียหาก
ถกู โจมตีดว ยการยิงจากปนใหญจ ากฝา ยตรงขาม

ภาพ : ปอ มพระจุลจอมเกลา ภาพ : ปนเสอื หมอบ

ปอ มพระจุลจอมเกลา มีความสําคัญอยางไรในทางประวัตศิ าสตร วิกฤติการณ ร.ศ. 112

(พ.ศ. 2436) ในชวงท่ีมหาอํานาจตะวันตกพยายามคุกคามประเทศไทยปอมพระจุลจอมเกลา

มบี ทบาทสําคัญในการสกัดกนั้ การรุกรานของกองเรือฝร่งั เศส จาํ นวน 3 ลาํ ทเี่ ขา มาบริเวณปากแมน้ํา
เจาพระยา เกิดการตอสูกันและทหารท่ีปอมพระจุลจอมเกลาสามารถยิงเรือรบฝรั่งเศส
จนเกยตื้นได 1 ลํา เรือรบที่เหลือของฝรั่งเศสไดรับความเสียหาย แตสามารถฝาเขาไปจนถึง

กรุงเทพฯ ได ปจจุบันปอมพระจลุ จอมเกลา อยใู นความดูแลของกองทัพเรอื โดยฐานทัพเรือกรงุ เทพ
ซึ่งไดเปดใหป ระชาชนทั่วไปเขา ไปเท่ยี วชม และศึกษาเรื่องราวท่ีสําคัญทางประวัติศาสตรของชาติ

ตลอดจนชมทัศนียภาพของระบบนเิ วศท่ีอยูโ ดยรอบปอมพระจลุ จอมเกลาอกี ดว ย
5. การเรียบเรียงและนําเสนอขอมูล/การเรียบเรียงรายงานขอเท็จจริงทาง

ประวัติศาสตร ในการเรยี บเรียงเรื่องราวทางประวตั ศิ าสตรนั้น ผทู ่ีทําการศกึ ษาจะตองลาํ ดบั เรือ่ งราว
ใหมีความถกู ตอ งตามขอ มูลทไ่ี ดม า และในการนาํ เสนอขอมลู ที่ไดจากหลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรน นั้

สามารถทาํ ไดหลายวิธีการ เชน การนาํ ขอมูลเกยี่ วกบั ปอมพระจลุ จอมเกลามาเลาใหเพื่อน ๆ ฟง การจัดทํา
รายงานเก่ียวกับปอมพระจุลจอมเกลาและความสําคัญทางประวัติศาสตร การจัดนิทรรศการ

เพ่ือเผยแพรค วามรู เปนตน

กิจกรรมทายเรอ่ื งท่ี 2 วธิ กี ารทางประวตั ศิ าสตร
(ใหผ ูเรียนไปทาํ กจิ กรรมทา ยเรอื่ งท่ี 2 ทส่ี มดุ บนั ทกึ กจิ กรรมการเรียนรปู ระกอบชดุ วชิ า)

48

หนว ยการเรยี นรทู ่ี 3
พระราชกรณยี กจิ ของพระมหากษัตริยไทยสมยั รัตนโกสินทร

สาระสาํ คัญ

พระมหากษตั ริยไ ทยทุกพระองค ต้งั แตส มยั สุโขทยั อยุธยา จนถงึ สมัยรัตนโกสินทร
ทรงมพี ระมหากรุณาธิคณุ ตอ แผน ดินไทยทรงบําเพญ็ พระราชกรณียกิจ ทาํ นุบํารงุ สรางบา นแปลงเมอื ง
สงเสรมิ ศลิ ปะ วฒั นธรรม วรรณคดี ศาสนา สืบตอประเพณี และดํารงอยูในความเปนไทย นับวา

เปนบญุ คณุ ของแผนดนิ

บญุ คณุ ของพระมหากษตั ริยและบรรพบุรษุ ทีส่ ําคญั ของชาวไทยทีม่ ีบทบาทเก่ียวกับ
การเมอื งการปกครอง การรวมชาติ การสรางเอกราช การสรา งเสถยี รภาพทางการเมอื ง และการปฏริ ปู
การปกครองแผน ดนิ ต้ังแตอ ดีตจนถึงปจ จุบนั

พระมหากษตั ริยแหง ราชอาณาจกั รไทยทรงมบี ทบาทสาํ คัญอยา งยงิ่ ตอ การสรางสรรค
ความเจริญรุงเรืองและความม่ันคงของชาติ ตั้งแตสมัยสุโขทัยจนถึงปจจุบัน ตางทรงประกอบ

พระราชกรณียกิจใหญนอยเพอ่ื สรางความมน่ั คงใหราชอาณาจกั ร ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร
ใหอยูอยางรมเย็นเปนสุข และสรางสรรคความเจริญรุงเรืองในดานตาง ๆ ใหเปนมรดกตกทอด

มาจนปจจุบัน

ตวั ชว้ี ดั

1. อธิบายพระราชกรณยี กิจของพระมหากษตั รยิ ไ ทยสมัยรตั นโกสนิ ทร
2. อธิบายคณุ ประโยชนข องบุคคลสําคญั ท่มี ีตอการพฒั นาชาติไทย
3. วเิ คราะหพ ระมหากรุณาธคิ ณุ ของพระมหากษตั รยิ ไ ทยท่มี ีผลตอ การพัฒนาชาติไทย
4. เขยี นบรรยายคณุ คา ทไ่ี ดร ับจากการศกึ ษาประวัตศิ าสตรช าตไิ ทย

ขอบขา ยเน้ือหา
เร่อื งท่ี 1 พระราชกรณียกจิ ของพระมหากษตั ริยไ ทยสมัยรัตนโกสินทร

เรอ่ื งท่ี 2 คณุ ประโยชนของบคุ คลสําคญั
2.1 กรมพระราชวงั บวรมหาสรุ สงิ หนาท

2.2 ทาวสุรนารี
2.3 สมเดจ็ เจา พระยามหาศรีสรุ ิยวงศ (ชวง บนุ นาค)

2.4 กรมพระยาดํารงราชานุภาพ
2.5 กรมหลวงชมุ พรเขตอดุ มศักด์ิ

2.6 พระยาอนมุ านราชธน

49

ส่อื การเรียนรู
1. ชุดวชิ าประวัตศิ าสตรช าติไทย รหสั รายวชิ า สค32034
2. สมดุ บนั ทกึ กจิ กรรมการเรียนรูประกอบชดุ วิชา

เวลาทใ่ี ชใ นการศึกษา 27 ช่วั โมง

50

เรื่องที่ 1 พระราชกรณยี กจิ ของพระมหากษัตริยไทยสมยั รตั นโกสนิ ทร
ความหมายของพระราชกรณยี กิจ
พระราชกรณียกิจ หมายถึง งานท่ีพระเจาแผนดินทรงทํา (พจนานุกรม ฉบับ

ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. 2554)

ความสําคญั ของพระราชกรณียกจิ
พระมหากษตั รยิ ไ ทย ทรงคาํ นงึ ถงึ พระราชกรณียกิจ ซึ่งทรงทําเพื่อพัฒนาคุณภาพ

ชีวิตของประชาชน ทํานุบํารุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ใหมีความเจริญรุงเรือง ถาวร
เปนมรดกของชาติสืบไป และทรงบําเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชนสุขแกปวง
อาณาประชาราษฎรและชาตบิ านเมอื งเปนอเนกประการ ยังผลใหพสกนิกรอยูอยางรมเย็นเปนสุข
ภายใตรมพระบารมี สบื มาจนถงึ ทุกวนั น้ี

พระราชกรณยี กจิ ของพระมหากษตั ริย ลว นกอ ใหเกดิ ประโยชนตอสวนรวม แมการปฏิบัติ
พระราชกรณียกจิ จะเปนพระราชภาระอนั หนัก แตก็ทรงกระทาํ อยางครบถวน สมํ่าเสมอ สามารถ
ผกู จิตใจของประชาชนใหเ กดิ ความจงรกั ภักดีตอพระมหากษตั ริยทกุ ๆ พระองค ซ่ึงพระราชกรณียกิจ
ทีส่ ําคัญ ๆ ของพระมหากษัตรยิ ไ ทยในสมัยรตั นโกสนิ ทร มีดงั นี้

51

1.1 พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟา จฬุ าโลกมหาราช (รัชกาลท่ี 1)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช พระปฐมบรมกษัตริยแหงกรุง

รัตนโกสินทร ผูทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร (หรือกรุงรัตนโกสินทร) เปนราชธานี และทรง
สถาปนาราชวงศจ กั รี มีพระนามเดมิ วา ดว ง หรือ ทองดว ง พระราชบิดา คือ สมเด็จพระปฐมบรม
มหาชนก พระนามเดิมวา ทองดี สืบเช้ือสายมาจากเจาพระยาโกษาธิบดี (ปาน) พระราชมารดา

พระนามเดมิ วา หยก หรือ ดาวเรอื ง เสด็จพระบรมราชสมภพเมอ่ื วนั พุธ ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279

เสด็จข้ึนครองราชสมบัติ เมื่อวันเสารท่ี 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เสด็จสวรรคต เม่ือวันพฤหัสบดี
ที่ 7 กนั ยายน พ.ศ. 2352

พระราชกรณยี กจิ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช ทรงบําเพ็ญพระราชกรณียกิจ

เพื่อทํานุบาํ รุงบานเมอื งใหเจรญิ รงุ เรืองนานปั การ โดยเฉพาะในดา นการสงคราม ทรงทําศึกสงคราม
ปองกันและขยายพระราชอาณาจักรหลายครั้ง คร้ังสําคัญในรัชกาล คือ สงครามเกาทัพ
ใน พ.ศ. 2328 ซึ่งไดรับชยั ชนะเปน ที่เล่อื งลือในยุทธวิธกี ารรบของกองทพั ไทยที่มีกําลังพลนอยกวา

ขา ศึกท่ยี กมาถึงเกาทัพ

52

ดานกฎหมายบานเมือง โปรดใหชําระพระราชกําหนดกฎหมายใหถูกตอง

แลวใหอาลักษณชุบเสนหมึกไว ประทับตราพระราชสีห พระคชสีห และบัวแกว ซึ่งเปนตราของ

สมุหนายก สมหุ พระกลาโหม และพระคลัง เพื่อใชบังคับท่ัวราชอาณาจักร กฎหมายน้ีเรียกกันวา

กฎหมายตราสามดวง

ดานศาสนา พ.ศ. 2331 โปรดเกลาฯ

ใหมีการสังคายนาพระไตรปฎก ณ วัดนิพพานาราม

(ปจ จบุ ัน คอื วดั มหาธาตยุ ุวราชรังสฤษฎ์ิ) และโปรดให

ตรากฎพระสงฆควบคุมสมณปฏิบัติและขอพึงปฏิบัติ

ของพุทธศาสนิกชน รวมทั้งพระราชกําหนดกวดขัน

ศีลธรรมขาราชการและพลเมือง มีพระราชศรัทธา

ทาํ นุบํารุงพระอารามท้ังในเขตพระนครและหัวเมือง

หลายแหง วัดประจํารัชกาล คือ วัดพระเชตุพน ภาพ : วดั พระเชตุพลวมิ ลมังคลาราม
วมิ ลมังคลาราม

ดานขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม โปรดใหสรางปราสาท

พระราชวงั วดั วาอาราม เชน วดั พระศรีรตั นศาสดาราม วดั พระเชตพุ นวมิ ลมังคลาราม วดั สระเกศ
และวดั สทุ ศั นเทพวราราม ทั้งยังฟนฟูทํานุบํารุงงานศิลปกรรม ขนบธรรมเนียมและราชประเพณี

ตา ง ๆ ทม่ี ีมาแตครง้ั กรุงศรอี ยุธยา เชน พระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก พระราชพิธโี สกนั ต พระราชพิธี

ถือนํ้าพระพิพฒั นส ัตยา เปนตน

ภาพ : วัดสทุ ศั นเทพวราราม

53

1.2 พระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลศิ หลา นภาลยั (รชั กาลที่ 2)

พระราชประวัติ
พระบาทสมเดจ็ พระพุทธเลิศหลานภาลัย พระนามเดิมวา สมเด็จเจาฟาฉิม เปน
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชกับสมเด็จพระอมรินทรา

บรมราชินี เสด็จพระบรมราชสมภพ เม่ือวันพุธท่ี 24 กุมภาพันธ พ.ศ. 2310 เสด็จขึ้นครอง

ราชสมบัติ เมอ่ื วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 เสด็จสวรรคต เม่ือวันพุธที่ 21 กรกฎาคม
พ.ศ. 2367

พระราชกรณยี กจิ

พระองคท รงมีพระราชกรณยี กจิ ที่สาํ คญั ตอ บานเมอื งและราษฎรหลายดา น เพอ่ื ให

เกิดความมัน่ คงและเจรญิ รุงเรอื งของชาติไทย ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย
ถอื วาเปนยคุ ทองของวรรณคดี เพราะวรรณคดีของชาติรงุ เรืองมาก ทรงสงเสริมศิลปะทุกประเภท

ทรงพระปรีชาสามารถในงานวรรณกรรมและบทละครเปนอยา งยงิ่ ทรงพระราชนิพนธงานวรรณกรรม

และบทละครตา ง ๆ ทที่ รงคุณคาไวจ ํานวนมาก เชน เสภาเรื่องขุนชางขุนแผน (บางตอน) บทละคร

เรื่องอิเหนา รามเกียรต์ิ คาวี ไกรทอง มณีพิชัย สังขทอง กาพยเหเรือ และบทพากยโขน
ตอนเอราวณั นาคบาศ และนางลอย เปนตน

54

นอกจากน้ี พระองคยังสนพระราชหฤทัยดานศิลปะการดนตรีเปนอยางย่ิง
ทรงเช่ียวชาญและโปรดซอสามสาย พระองคมีซอคูพระหัตถอยูคันหนึ่ง พระราชทานนามวา
“ซอสายฟาฟาด” ท้งั นี้ พระองคยังพระราชนพิ นธท ํานองเพลงบหุ ลันลอยเล่อื น (บหุ ลนั เลอื่ นลอยฟา
หรอื สรรเสรญิ พระจันทร บางแหงเรียกวา เพลงทรงพระสบุ นิ ) ซงึ่ ในรชั สมัยของพระองค ศิลปะดา น
นาฏกรรมเจริญรุงเรืองมาก ความงดงามไพเราะท้งั บทละคร ทา ราํ ไดป รบั ปรงุ และใชเปน แบบแผน
ทางนาฏศิลปของชาติมาจนปจจบุ ัน

ดานการปกครอง ทรงทํานุบํารุงบานเมืองในทุกดาน โปรดเกลาฯ ใหสราง
ปอมปราการตาง ๆ สรางเมืองนครเขอื่ นขันธ เปน เมืองหนา ดานชายทะเลเพื่อปอ งกนั ขาศึกรุกราน

ดานการคากับตางประเทศ ปรากฏวาการคากับจีนและประเทศทางตะวันตก
เฟองฟูมาก ทรงสงเสริมการคากับตางประเทศ โดยทรงสงเรือสําเภาไปคาขายกับจีน เขมร ญวน
มลายู มีเรือสนิ คา ของหลวงเดนิ ทางไปจนี เปนประจาํ รวมทง้ั ประเทศตะวนั ตกตา ง ๆ เชน โปรตเุ กส
อังกฤษ เปน ตน นาํ รายไดเขา สปู ระเทศจาํ นวนมาก

ดานสังคม ทรงพระราชดําริวา การสูบฝนเปนอันตรายแกผูสูบ ทั้งกอใหเกิดคดี
อาชญากรรมขึ้นมาก แมฝนจะนํารายไดจํานวนมากเขาพระคลังหลวง แตดวยพระมหากรณุ าธิคุณ
ทม่ี ตี อราษฎร ทรงตราพระราชกาํ หนดหามมิใหซ้ือขายและสูบฝน ทรงกําหนดบทลงโทษสําหรับ
ผูฝาฝน ไวอ ยา งหนัก

สว นการพระศาสนา ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหริเร่ิมการประกอบพิธวี ิสาขบชู า
ขึ้นใน พ.ศ. 2360 เปนครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย
ทรงบริหารราชการโดยการกระจายอํานาจการบริหารไปสูบุคคลที่มีความสามารถในดานตาง ๆ
ทรงมอบอํานาจการบริหารราชการแผนดินแกเจานายและขุนนางท่ีทรงไววางพระราชหฤทัย
ทรงสงเสริมใหข าราชการปฏิบัติหนาที่ราชการตามความสามารถและความถนัดของบุคคลนั้น ๆ
การปกครองหัวเมอื งประเทศราช ทรงใชนโยบายสรางดลุ อาํ นาจของขนุ นางในการบริหาร การปกครอง
ดานความสัมพันธระหวางประเทศ ทรงใชนโยบายการทหาร การทูต และการคา ควบคูกันไป
ตามแตสถานการณ ตลอดรัชสมัยของพระองค สงผลใหบานเมืองมีความสุข พสกนิกรไทย
ตางตระหนกั ถึงพระบารมีปกเกลาดานพุทธศาสนา อักษรศาสตร ศิลปะ และนาฏยศิลป อันเปน
ตนแบบแหง ศาสตรและศิลปน านัปการ

55

1.3 พระบาทสมเดจ็ พระนัง่ เกลา เจาอยหู วั (รชั กาลที่ 3)

พระราชประวตั ิ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวพระนามเดิมวา พระองคเจาทับ เปน
พระราชโอรสพระองคใหญในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย กับเจาจอมมารดาเรียม

เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทรที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

เมอ่ื วนั พุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 เสดจ็ สวรรคต เมอื่ วันพุธท่ี 2 เมษายน พ.ศ. 2394
พระราชกรณียกจิ
ในรชั สมยั ของพระองค ไดรับการยกยองวามีความเจริญรุง เรอื งทางดานเศรษฐกิจ

และศาสนาเปนอยางยง่ิ ทรงมพี ระปรีชาสามารถในการนํารายไดเขาสูทองพระคลังมาต้ังแตกอน

ข้ึนครองราชย ครั้นเม่ือเสวยราชยแลว ทรงสรา งความเปนปกแผน ทางเศรษฐกิจดวยการประหยัด
รายจา ยและเพม่ิ พนู รายไดแผนดนิ โดยการแกไขวิธีเก็บภาษอี ากรแบบเดิม เชน เปลี่ยนเก็บอากร
คานาจากหางขาวมาเปนเงิน ทรงต้ังภาษีอากรใหม อีก 38 ชนิด และทรงกําหนดระบบเจาภาษี

นายอากรใหม โดยรัฐเก็บภาษีเองเฉพาะภาษีที่สําคัญบางอยางดวยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลา

เจา อยหู ัวทรงพระปรีชาสามารถในการพาณิชยมานับแตสมัยรัชกาลท่ี 2 จนทรงไดรับการยกยอง
จากสมเด็จพระบรมชนกนาถวา เปน “เจาสัว” เพราะทรงเชี่ยวชาญในดานการคากบั ตางประเทศ
เปนอยางยิ่ง โดยเฉพาะการคากับจีน เปนผลใหมีพระราชทรัพยสวนพระองคเปนจํานวนมาก

กอนเสด็จข้ึนครองราชย พระราชทรัพยดังกลาวนี้บรรจุไวในถุงแดงเก็บรักษาไวในพระคลังขางท่ี

56

ตอมาเรียกวา “เงินถุงแดง” (ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลท่ี 5
พ.ศ. 2436 ทรงใชเ งินถุงแดงเปน คาปฏิกรรมสงคราม ภายหลงั เกิดเหตุการณความขัดแยงระหวาง
ไทยกบั ฝรัง่ เศส เมื่อครง้ั วกิ ฤตการณ ร.ศ. 112)

ดา นพระศาสนา ทรงเปนองคอ ัครศาสนปู ถัมภกตามพระราชประเพณี ในรัชสมัย
ของพระองค ผลที่เกิดจากการท่ีทรงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา คือ ความเจริญรุงเรือง
ทางศิลปกรรมแขนงตาง ๆ โดยเฉพาะสถาปตยกรรม ซ่ึงมีลักษณะเฉพาะเปนพระราชนิยม เชน
การเปลีย่ นแปลงสวนหลังคาโบสถ ไมมีชอฟา ใบระกา หางหงส หนาบันประดับกระเบ้ืองเคลือบ
จานชามจนี เชน ที่วดั ราชโอรสาราม จติ รกรรมกม็ ีลักษณะผสมผสานแบบจีน

ตลอดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว แผนดินสยามมีความม่ันคง
ทงั้ ทางดานการปกครอง เศรษฐกจิ และสังคม ทั้งนี้ กด็ ว ยพระบารมีปกเกลา ดวยพระปรีชาสามารถ

และพระวิจารณญาณที่กวางไกล พระราชภารกิจ
ที่ทรงมี ทําใหบา นเมอื งเปรียบเสมือนฐานแหงความม่ันคง
และความเจริญของประเทศที่ไดรับการบูรณาการ
โดยพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวในอีกหลายรชั กาล
ตอมา จากการทพ่ี ระองคทรงประกอบพระราชกรณียกิจ
เพื่อบานเมืองอยางเต็มพระสติกําลังตลอดเวลาแหง
รัชกาล ทรงไดร บั การถวายราชสดดุ ีจากพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกลาเจาอยูหัววา “พระองคทานเปนหัวใจ
แผนดิน”

ภาพ : วดั ราชโอรสาราม

57

1.4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา เจา อยหู ัว (รชั กาลที่ 4)

พระราชประวตั ิ
พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลาเจาอยูห ัว พระนามเดมิ วา สมเด็จเจาฟามงกุฎ เปน
พ ร ะ ร า ช โอ ร ส ใ น พ ร ะ บ า ท ส ม เด็ จ พ ร ะ พุ ท ธ เ ลิ ศ ห ล า น ภ า ลั ย กั บ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ศ รี สุ ริ เย น ท ร า
บรมราชินี เสด็จพระบรมราชสมภพ เมอ่ื วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เสด็จข้ึนครอง
ราชสมบตั ิ เมือ่ วนั พุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 เสด็จสวรรคต เมอ่ื วันพฤหัสบดที ่ี 1 ตลุ าคม พ.ศ. 2411
พระราชกรณยี กิจ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ไทยตองเผชิญกับการคุกคาม
โดยการแผขยายอํานาจและอิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตกรอบดาน โดยเฉพาะอังกฤษกับ
ฝร่ังเศส ดังนั้น เพื่อความอยูรอดของประเทศไทยในฐานะประเทศเอกราชประเทศเล็กซึ่งดอยกวา
อังกฤษและฝรงั่ เศส จึงตองดําเนินนโยบายการเจรจาผอ นปรนทางการทูต การทําสนธสิ ัญญาไมตรี
และพาณชิ ยก ับประเทศตา ง ๆ
พระราชกรณียกิจที่สําคัญย่ิงของพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว คือ
การรักษาเอกราชของชาติ เพราะในรัชสมัยของพระองคตรงกับสมัยลัทธิจักรวรรดินิยมท่ี
ชาติมหาอาํ นาจตะวนั ตกโดยเฉพาะองั กฤษและฝรั่งเศสกําลังแขงขันแสวงหาอาณานิคม พระองค
ทรงตระหนักวาถึงเวลาท่ีสยามตองยอมเปดสัมพันธภาพกับประเทศตะวันตก โดยทําสนธิสัญญา

58

ในลักษณะใหม เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแหงอังกฤษทรงแตงตั้งเซอรจอหน เบาวริง
เปนอัครราชทูตผูมีอํานาจเต็มเชิญพระราชสาสนมาเจรจาทําสนธิสัญญาทางไมตรีกับสยาม
ใน พ.ศ. 2398 พระองคท รงตอ นรับอยา งสมเกียรติ และโปรดเกลา ฯ ให เซอรจอหน เบาวร ิง เขาเฝา
เพ่ือเจรจากันเปนการภายในแบบมิตรภาพกอน ซึ่งเปนท่ีประทับใจของอัครราชทูตอังกฤษมาก
การเจรจาเปนทางการใชเวลาไมนานก็ประสบความสําเร็จ อังกฤษและสยามไดลงนามใน
สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชยตอกันในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 เปนท่ีรูจักกันในนามวา
สนธิสญั ญาเบาวรงิ

ทีม่ า : https://www.napoleon.org/wp-content/thumbnails/uploads/2002/03/454871_1-tt-width-500-height-
247-crop-1-bgcolor-ffffff-lazyload-0.jpg

พระองคทรงวางรากฐานในการยอมรับความเจริญกาวหนาแบบอารยประเทศ
มาใชใ นสยาม เชน การรับชาวตางประเทศเขามารับราชการดวยการใหเปนลาม เปนผูแปลตํารา
เปน ครูหัดทหารบกและโปลศิ ซง่ึ โปรดใหจัดตัง้ ข้นึ ตามแบบยุโรป นอกจากกิจการดงั กลาวแลว ยังมี
งานสมยั ใหมเ กดิ ขน้ึ อกี มาก เชน การสํารวจทําแผนทชี่ ายแดนพระอาณาเขต การตั้งโรงพมิ พอักษร
ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อพิมพหนังสือราชกิจจานุเบกษา เผยแพรกฎหมาย คําสั่ง ขาวราชการ
ตา ง ๆ สรา งโรงกระสาปนส ทิ ธิการ (ปจ จบุ ันเปน กรมธนารกั ษ) เพ่อื ใชทาํ เงนิ เหรียญแทนเงนิ พดดวง
ใชอฐั ทองแดงและดีบุกแทนเบยี้ หอย จัดตัง้ ศุลกสถาน สถานทเ่ี กบ็ ภาษีอากรมีถนนสําหรับใชรถมา
เกดิ ตกึ แถวและอาคารแบบฝรัง่ โรงสไี ฟ โรงเลื่อยจักร ฯลฯ

นอกจากนี้ทรงทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาใหเจริญรุงเรืองยิ่งข้ึน ทรงกอต้ังคณะ
ธรรมยตุ ิกนิกาย ทรงบูรณะและปฏสิ ังขรณพ ระอารามที่สรางคางในรัชกาลกอนใหลุลวงเรียบรอย
ทีส่ ําคญั ยงิ่ คอื ไดท รงปฏิสงั ขรณพระปฐมเจดียเปน งานใหญ

ดา นการศกึ ษา พระองคท รงตระหนักถงึ ความสําคัญของการศกึ ษาวา เปนรากฐาน
สาํ คญั ในการพัฒนาบานเมอื งใหท นั สมัยแบบตะวนั ตก จึงทรงริเร่ิมสนบั สนนุ การศกึ ษาภาษาองั กฤษ
และวทิ ยาการสมัยใหมข องโลกตะวนั ตก โดยเฉพาะดานดาราศาสตร ทรงมีพระอัจฉริยภาพเปนที่

59

ประจักษเลื่องลือในวงการดาราศาสตรทั่วโลก ดวยทรงสามารถคํานวณวันเวลาและสถานท่ีเกิด
สุริยปราคาไดอยา งถูกตอ งแมน ยาํ จนไดร บั การยกยองวาเปน “พระบิดาแหง วทิ ยาศาสตรไ ทย”

1.5 พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลาเจาอยูหวั (รัชกาลท่ี 5)

พระราชประวัติ
พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลาเจาอยหู ัว พระนามเดิมวา สมเด็จเจาฟาจุฬาลงกรณ
เปน พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจา อยหู วั กบั สมเดจ็ พระเทพศิรินทรา บรมราชินี
เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
เม่อื วันพฤหสั บดีท่ี 1 ตลุ าคม พ.ศ. 2411 เสด็จสวรรคต เม่ือวนั อาทติ ยท่ี 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
พระราชกรณียกิจ
พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวมีมากมาย
เปนอเนกประการ แตท่ีอยูในความทรงจําของอาณาประชาราษฎร ไดแก พระราชกรณียกิจที่
ทรงเลิกทาส โดยใชวิธีผอนปรนเปนระยะ พอมีเวลาใหผูเปนนายและตัวทาสเองไดปรับตัว ปรับใจ
ทรงพระราชดาํ รเิ รม่ิ จัดการศึกษาในทุกระดับ ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขน้ึ เพอื่ ใหก ารศกึ ษาแกค นทกุ ชนั้
ตั้งแตเ จานายในราชตระกลู ไปจนถงึ ราษฎรสามัญ ในตอนกลางและตอนปลายรชั กาลของพระองค
การศึกษาเจรญิ กา วหนา มากขึ้น มีโรงเรียนวิชาชีพช้ันสูงหลายแหงเกิดข้ึน เชน โรงเรียนนายรอย
โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนแพทยาลัย และโรงเรยี นยนั ตรศึกษา เปนตน

60

พระราชกรณยี กจิ สาํ คัญอกี ประการหนึ่ง คือ การปฏริ ูประบบการเงนิ การคลังของ
ประเทศและการปฏิรูประบบบริหารราชการแผนดิน ดา นการเงนิ การคลัง ทรงต้ังหอรัษฎากรพิพัฒน
เม่ือ พ.ศ. 2416 เพื่อจัดระบบรายรับของประเทศใหเต็มเม็ดเต็มหนวยข้ึนกวาแตกอน ทดแทน
วิธีการทีใ่ ชเจาภาษนี ายอากรเปน เครอื่ งมือ ทรงพระราชดาํ ริแกไขระบบบรหิ ารราชการแผน ดนิ ครง้ั ใหญ
เม่ือ พ.ศ. 2435 โดยทรงยกเลิกระบบเสนาบดีแบบเดิม แลวทรงแบงราชการเปนกระทรวงจํานวน
12 กระทรวง ทรงแบงหนาท่ีใหชัดเจน และเหมาะกับความเปนไปของบานเมืองในรัชสมัยของ
พระองค

นอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจดานการสาธารณูปโภค และสาธารณสุข
โปรดเกลา ฯ ใหทดลองจัดการสขุ าภิบาลหวั เมืองข้นึ เปนแหงแรกท่ีตําบลทาฉลอม เมืองสมุทรสาคร
เม่อื พ.ศ. 2448 โปรดเกลาฯ ใหสรางทางรถไฟหลวง
สายแรกระหวางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา และริเริ่ม
กจิ การดา นไฟฟา ประปา และโทรเลข สวนดานการ
สาธารณสุข โปรดเกลาฯ ใหกอต้ังโรงพยาบาลขึ้นเปน
แหงแรก เม่ือ พ.ศ. 2431 พระราชทานนามวา
“โรงศริ ิราชพยาบาล” ปจจบุ ัน คือ “โรงพยาบาลศิริราช”

ภาพ : โรงพยาบาลศริ ริ าช

สว นพระราชกรณยี กจิ ที่สาํ คญั ที่สดุ คือ การที่ทรงรักษาอิสรภาพของชาตไิ วไ ดรอด
ปลอดภัย ในขณะท่ีประเทศเพ่ือนบานโดยรอบทุกทิศตองตกเปนอาณานิคมของชาติตะวันตก
แตชาติไทยสามารถดาํ รงอธปิ ไตยอยไู ดอยา งนา อศั จรรย

โดยสรปุ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา เจา อยหู วั ทรงดาํ เนนิ การปฏิรูปประเทศ
ในลักษณะ “พลิกแผน ดนิ ” ซึง่ สงผลเปนคุณประโยชนอ ยา งใหญหลวงตออาณาประชาราษฎร และ
กอ ใหเ กดิ ความเจรญิ รุงเรอื งเปน อเนกอนันตแ กบานเมอื งทา มกลางกระแสการคุกคามของจกั รวรรดิ
นยิ มตะวันตกในขณะนนั้ พระราชกรณียกิจตาง ๆ ลวนเปนการวางรากฐานและเปนตนแบบของ
ความเจรญิ ทั้งดานการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทยสืบตอมาจนถึง
ปจ จุบนั

61

1.6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา เจา อยูหวั (รัชกาลท่ี 6)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว พระนามเดิมวา สมเด็จเจาฟามหาวชิราวุธ

เป นพระ ราชโอรสในพระบาทสมเด็ จพระ จุ ลจ อมเกล าเจ า อยู หั วกั บสม เด็ จพร ะศรี พั ชริ นทร า
บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปหลวง เสดจ็ พระบรมราชสมภพ เมื่อวันเสารท่ี 1 มกราคม

พ.ศ. 2423 เสด็จข้ึนครองราชสมบัติ เมื่อวันอาทิตยท่ี 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เสด็จสวรรคต

เมือ่ วันพฤหสั บดที ี่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

พระราชกรณียกิจ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา

เจาอยูหัว มีพระราชกรณียกิจอันเปนคุณูปการ

ตอประชาชนชาวไทยและประเทศมากมาย ดวย

พ ร ะ ปรี ช า ส า มา ร ถ ดุ จ นั กป ร า ช ญ ข อ งพ ร ะ อง ค
โดยทรงวางแผนการพัฒนาดานตาง ๆ เรมิ่ จากการ

ท่พี ระองคมพี ระราชดํารใิ นการทีจ่ ะนําพาประเทศ

ไปสคู วามเจรญิ ใหทดั เทยี มกับนานาอารยประเทศ
ซ่ึงทรงเนนการใหการศึกษาแกพสกนิกรเปน ภาพ : จฬุ าลงกรณมหาวิทยาลัย

62

ประการสําคัญ ทรงปรับปรุงโรงเรียนมหาดเล็กซึ่งต้ังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา

เจาอยูหัว เปน “โรงเรียนขาราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว”

เมอื่ พ.ศ. 2453 และโปรดสรางอาคารเรียนท่ีอําเภอปทุมวัน เมื่อ พ.ศ. 2458 ตอมาทรงสถาปนา

ข้ึนเปน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เม่ือ พ.ศ. 2459 โปรดใหตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร

ใน พ.ศ. 2461 พรอ มทัง้ ทรงขยายงานดานประถมศึกษาใหก วา งขวางขึน้

พระราชกรณียกิจการพัฒนาประเทศที่สําคัญ คือ ทรงเปลี่ยนธงชาติจาก

ธงชางเผือกเปน “ธงไตรรงค” เชนปจจุบัน นอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจในการสรางความเจริญ

กา วหนา ใหกบั ประเทศอีกดา นหน่ึง คือ พระราชกรณียกิจเพ่ือการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรงจัดต้ังคลัง

ออมสิน (ปจจุบนั คอื ธนาคารออมสิน) ทรงกอตง้ั บรษิ ทั ปนู ซีเมนตไทย

น อ ก จ า ก น้ี ยั ง มี พ ร ะ ร า ช ก ร ณี ย กิ จ ด า น กิ จ ก า ร ก อ ง เ สื อ ปา แ ล ะ ก อ ง ลู ก เ สื อ

พระองคทรงจัดตั้งกองเสือปา เม่ือวันท่ี

1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 มีพระราชประสงค

ที่จะฝกหัดอบรมขาราชการพลเรือนใหไดรับ

การฝกอบรมอยางทหาร เปนพลเมืองที่มี

ระเบียบวินัยและมีความสามัคคีในชาติ สวน

กองลูกเสือโปรดเกลาฯ ใหจัดตั้งเปนกิจการ

ของเยาวชนตั้งขึ้นคูกับกองเสือปา เม่ือวันท่ี

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 และไดรับการยกยองวา

เปนพระบดิ าแหง ลูกเสอื ไทย ภาพ : กองลูกเสือหลวง

แมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว จะทรงพระปรีชาสามารถทางดาน
การปกครอง ทรงมีความเปนประชาธปิ ไตยแตช าวไทยและชาวตางประเทศก็รจู ักพระองคและยกยอง
พระองคทางดานอักษรศาสตรม ากกวามพี ระราชนพิ นธม ากมายท้งั ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชน
พระขรรคเพชร ศรอี ยุธยา นายแกวนายขวัญ เปนตน

ในรัชสมัยของพระองคนับเปนยุครุงเรืองของกิจการพิมพและหนังสือพิมพ
ทรงไดร บั การถวายพระราชสมัญญาวา “สมเดจ็ พระมหาธรี ราชเจา” หมายถึง พระมหากษัตรยิ ผ เู ปน
ปราชญท่ยี ง่ิ ใหญ มใิ ชจะทรงเปนปราชญดา นอกั ษรศาสตร ผรู จนาคาํ ประพนั ธหลากหลายประเภท
จํานวนมากเทานน้ั หากแตท รงเปนพระเจา แผน ดินผมู ีความสุขุมคัมภีรภาพ ทรงมพี ระราชวสิ ยั ทศั น
ท่ีกวางไกล จึงทรงวางแผนบริหารประเทศในลักษณะ “การต้ังรับและปองกัน” ปญหาที่อาจจะ
เกิดข้ึนในอนาคต เชน การปองกันตนเองของพลเรือน การวางระบบใหการศึกษาแกราษฎร
ท้งั ประเทศ

63

1.7 พระบาทสมเด็จพระปกเกลา เจา อยูห ัว (รชั กาลที่ 7)

พระราชประวัติ

พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลาเจาอยูหัว พระนามเดิมวา สมเด็จเจาฟาประชาธิปก

ศักดิเดชน เปนพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวกับสมเด็จพระศรีพัชริน

ทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปหลวง เสด็จพระบรมราชสมภพ เม่ือวันพุธที่

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 เสดจ็ ข้ึนครองราชสมบัติ เมื่อวนั พฤหสั บดีท่ี 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันท่ี 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เสด็จสวรรคต เมื่อวันศุกรท่ี 30 พฤษภาคม

พ.ศ. 2484

พระราชกรณียกจิ

พระองคทรงริเริ่มสิ่งใหมใหปรากฏในแผนดินหลายประการ ทั้งการเมือง

การปกครอง เศรษฐกิจ และสงั คม โดยเฉพาะการวางรากฐานระบบขาราชการพลเรือนไทยในยุค

ปจ จบุ นั อันมาจากแนวพระราชดําริ 4 ประการ คือ

1) ใหขาราชการพลเรือนอยูในระเบียบเดียวกัน

2) ใหเลือกสรรผูมีความรูความสามารถเขารับ

ราชการ 3) ใหข า ราชการพลเรือนยึดถือการเขารับ

ราชการเปนอาชีพ และ 4) ใหขาราชการพลเรือน

มีวินยั ซึ่งจากแนวพระราชดาํ ริน้ี ทรงรางกฎหมาย

วา ดว ยระเบียบขาราชการพลเรือนข้ึนเปนคร้ังแรก

นอกจากนี้ยงั มีพระราชกรณยี กจิ ตาง ๆ ดังตอไปน้ี ภาพ : อนสุ าวรยี ป ระชาธิปไตย

64

ดานการปกครอง พระองคมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ใหแด
คนไทยแตถูกทักทวงจากพระบรมวงศชั้นผูใหญ จึงไดระงับไปกอน ตอมาเกิดเหตุการณปฏิวัติ
โดยคณะราษฎรในวันท่ี 24 มถิ ุนายน พ.ศ. 2475 พระองคจ ึงยนิ ยอมสละพระราชอาํ นาจ และเปน
พระมหากษัตรยิ ภ ายใตร ฐั ธรรมนูญ นําไปสูการต้ังรัฐสภาและรัฐบาล เพ่ือบริหารราชการแผนดิน
ตอมามีการรางรัฐธรรมนูญฉบับใหม และพระราชทานรัฐธรรมนูญสําหรับการปกครองแผนดิน
เม่ือวนั ที่ 10 ธนั วาคม พ.ศ. 2475

ดานการศึกษาและการศาสนา ทรงปฏริ ปู มหาวิทยาลยั โดยทรงสรางกลไกการปฏิรูป
มีการแตงต้ังคณะกรรมการปฏิรูปจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย นับเปนคร้ังแรกที่ผูหญิงและผูชาย
ไดรับความเสมอภาคทางการศึกษา มีโอกาสเขารับการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะแพทยศาสตร
ดานศาสนา ทรงจัดพิมพพระไตรปฎกฉบับพิมพอักษรไทยสมบูรณ ขนานนามวา “พระไตรปฎก
สยามรฐั ”

1.8 พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานันทมหดิ ล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รชั กาลที่ 8)

65

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระนามเดิมวา พระวรวงศเธอ พระองคเจาอานันทมหิดล เปนพระราชโอรสในสมเด็จ
พระมหติ ลาธเิ บศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวนั อาทิตยที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 เสด็จข้ึนครองราชสมบัติ
เม่ือวนั เสารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เสด็จสวรรคต เม่ือวนั อาทิตยที่ 9 มิถนุ ายน พ.ศ. 2489
พระราชกรณียกิจ
พ ร ะ ร า ช ก ร ณี ย กิจ ใน กา ร บริ หา ร จั ด ก า ร ข อง พ ร ะ บา ทส มเ ด็ จ พ ร ะ ปร เ ม น ท ร
มหาอานันทมหดิ ล ดานการปกครอง ไดพ ระราชทานรฐั ธรรมนญู แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2489 ซ่ึงเปนรัฐธรรมนญู ฉบับถาวรฉบับที่ 2 ประกาศใชหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ฉบับที่ 1
พทุ ธศักราช 2475 ทปี่ ระกาศใชมาเปนเวลา 14 ป
การแกไ ขความบาดหมางระหวางชาวไทย - จนี โดยพระองคไ ดเ สดจ็ ประพาสสาํ เพง็
อยางเปน ทางการ โดยมีพระราชประสงคสําคญั ทีจ่ ะเชื่อมสัมพันธไมตรีระหวางชาวไทยกับชาวจีน
นอกจากน้ี พระองคไดทรงประกอบพระราชกรณียกิจท่ีมีความสําคัญและเปนคุณประโยชนแก

ประเทศชาติอยา งไพศาล ในฐานะพระประมุขสูงสุดของ
ประเทศไทย ซง่ึ เปนประเทศเอกราช โดยการเสด็จพระราช
ดําเนินตรวจพลสวนสนามกองทหารสหประชาชาติ
พรอ มดวยลอรด หลุยส เมานตแบตเตน ผูบัญชาการ
ทหารฝายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต
การเสด็จพระราชดําเนินในคร้ังนี้เปนการประกาศ
ยื น ยั น แ น ชั ด ถึ ง ส ถ า น ภ า พ ค ว า ม เ ป น เ อ ก ร า ช ข อ ง
ภาพ : ตรวจพลสวนสนามกองทหารสหประชาชาติ ประเทศไทย สรางขวัญและกําลังใจใหแกประชาชน
ชาวไทยอยางดยี ่ิง

66

1.9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

พระราชประวตั ิ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พระนามเดิมวา
พระวรวงศเธอ พระองคเจาภูมิพลอดุลยเดช เปนพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร

อดุลยเดชวกิ รมพระบรมราชชนก กบั สมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี เสดจ็ พระบรมราชสมภพ

เมื่อวันจันทรท ่ี 5 ธนั วาคม พ.ศ. 2470 เสด็จขึน้ ครองราชสมบัติ เม่ือวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และ
ในวนั ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โปรดเกลาใหต้ังการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอยาง
โบราณราชประเพณี มีพระปฐมบรมราชโองการแกประชาชนชาวไทยวา “เราจะครองแผนดิน

โดยธรรม เพ่ือประโยชนสุขแหงมหาชนชาวสยาม” เสด็จสวรรคต เม่ือวันพฤหัสบดีท่ี 13 ตุลาคม

พ.ศ. 2559
พระราชกรณียกจิ
พระราชกรณยี กจิ ของพระองคใ นระยะเรม่ิ แรก ทรงเนน การแกไ ขปญ หาเฉพาะหนา

นําไปสูการพัฒนา เนนการเกษตรเปนหลัก เพราะราษฎรสวนใหญของประเทศประกอบอาชีพ

กสกิ รรม ทรงตระหนักวา เกษตรกรสวนใหญการศึกษานอ ย ขาดหลักวิชาสมยั ใหมตองเผชิญปญหา
ดา นทรัพยากรธรรมชาตนิ า้ํ ดนิ ปาไม แตกตา งกนั ไปในแตละภูมิภาค พระองคมีพระราชประสงค

ใหเ กษตรกรเรยี นรเู ร่อื งการอาชีพ มีการพัฒนาที่เหมาะสมสอดคลองกับสภาพแวดลอม ดังท่ีทรง

พระกรณุ าโปรดเกลา ฯ ใหจัดต้ังศูนยศกึ ษาการพัฒนาอันเนอื่ งมาจากพระราชดาํ รขิ นึ้ ในภมู ภิ าคตา ง ๆ

ไดแก

67

1. ศนู ยศึกษาการพฒั นาหวยฮองไคร จงั หวัดเชยี งใหม
2. ศนู ยศ ึกษาการพฒั นาภพู าน จงั หวัดสกลนคร
3. ศูนยศ กึ ษาการพัฒนาหว ยทราย จงั หวดั เพชรบุรี
4. ศนู ยศ ึกษาการพฒั นาเขาหนิ ซอน จังหวัดฉะเชิงเทรา
5. ศนู ยศึกษาการพฒั นาอาวคงุ กระเบน จังหวัดจนั ทบุรี
6. ศูนยศกึ ษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธวิ าส
พระราชกรณียกิจดานการพัฒนาท่ีสําคัญ คือ การบริหารจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ มเปนส่ิงทท่ี รงสนพระราชหฤทัยอยางย่ิง ทรงตระหนักวาปญหาเกษตรกร
มาจากทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอมท่ีเส่ือมโทรม ถูกทาํ ลายจาํ นวนมาก ทรงคดิ คน ดัดแปลง
ปรับปรุง และแกไขดวยการพัฒนาที่ดําเนินการไดงาย ไมยุงยากซับซอน สอดคลองกับสภาพ
ความเปนจรงิ ของความเปนอยู และระบบนเิ วศในแตละภูมภิ าค พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติมา
ตลอดรชั สมัยเปนที่ยอมรับ ทรงสรางรปู แบบที่เปนตัวอยางของการพัฒนาแบบยั่งยืน ผสมผสาน
ความตอ งการของราษฎรใหเ ขา กบั การประกอบอาชีพ โดยทรงนําพระราชดําริมาปฏิบัติจริง และ
สามารถพัฒนาใหเปน ทฤษฎีใหม ซึ่งเปนระบบการจดั การที่ดนิ และแหลง นา้ํ เพื่อการเกษตรท่ีย่ังยืน
ทาํ ใหเกษตรกรสามารถดาํ เนินชวี ติ ไดอ ยางมคี วามสขุ ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
เพือ่ การพฒั นาประเทศ โดยทรงเนนคนเปนศูนยกลางตลอดมา พระองคเปนตนแบบการบริหาร
จัดการท่ีดีในทุกพระราชภารกิจ ในฐานะพระมหากษัตริยภายใตรัฐธรรมนูญ ทรงเก้ือหนุน
การบริหารราชการทุกรัฐบาล แนวพระราชดําริจํานวนมากท่ีพระราชทานใหรัฐบาลนําไปปฏิบัติ
ลวนมีจุดมุงหมายใหประชาชนชาวไทยมีความสุข ไดรับบริการจากรัฐอยางท่ัวถึง เขาถึงทรัพยากร
ของชาติอยา งเทาเทียมกนั และใชท รัพยากรอยา งชาญฉลาด

พระราชกรณียกจิ ในชว งสมยั ตน ๆเปน ลกั ษณะ
ของการพัฒนาสังคม เชน การรณรงคหาทุนเพ่ือ
กอสรางอาคารพยาบาล การตอสูโรคเร้ือนของ
มลู นธิ ริ าชประชาสมาสัย การจัดต้ังโรงเรยี นสงเคราะห
เด็กยากจน

พระราชกรณียกจิ ดา นการพฒั นาทส่ี าํ คญั ยงิ่
คือ งานพัฒนาท่ีเกี่ยวของกับน้ํา ศาสตรท้ังปวง
ที่เกี่ยวกับนํ้า ทั้งการพัฒนา การจัดหาแหลงนํ้า
การเกบ็ กกั น้ํา การระบาย การควบคุม การทาํ นา้ํ เสยี ใหเ ปน น้ําดี ตลอดจนการแกไขปญหาน้ําทวม
นอกจากนี้ ยังมีพระราชดํารเิ กีย่ วกับการแกไ ขปญ หานาํ้ เสยี เชน โครงการ “นา้ํ ดไี ลนํา้ เสีย” ในการแกไข

68

ปญหามลพิษทางนํ้า โดยทรงใชน้ําที่มีคุณภาพดีจากแมนํ้าเจาพระยาใหชวยผลักดันและเจือจางน้ํา
เนา เสียใหอ อกจากแหลง น้าํ ของชมุ ชนภายในเมืองตามคลองตาง ๆ

แนวพระราชดาํ รดิ านการเกษตรทสี่ ําคญั คอื “ทฤษฎใี หม” เปนการใชประโยชน
จากพ้นื ทีท่ ม่ี ีอยจู าํ กัดใหเ กิดประโยชนสงู สดุ

พ.ศ. 2540 ประเทศไทยประสบปญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทรงชี้แนะ

แนวทางการดําเนินชีวติ ใหแ กร าษฎร เปนผลใหเกิดการพัฒนา
สังคมและทรัพยากรบุคคลอยางมั่นคง ย่งั ยืน และสงบสุข

โครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริในรัชสมัยของ
พระองคมที ้ังสน้ิ มากกวา 4,000 โครงการอยใู นความรับผิดชอบ
ของสํานกั งานคณะกรรมการพิเศษเพ่ือประสานงานโครงการ
อันเน่อื งมาจากพระราชดาํ ริ (สาํ นกั งาน กปร.)

น อ ก จ า ก น้ี พ ร ะ อ ง ค ยั ง ท ร ง มี พ ร ะ ป รี ช า ส า ม า ร ถ
ในศาสตรส าขาตาง ๆ ซ่ึงสงผลตอการพัฒนาท้ังส้ิน ทั้งในดาน
การประดิษฐ ไดแก การประดิษฐ “กังหันชัยพัฒนา” ซึ่งเปน
เครอื่ งกลเตมิ อากาศแบบทนุ ลอย
งานทางดานวรรณศิลป พระองคท รงเชย่ี วชาญในภาษาหลายภาษาทรงพระราชนิพนธ
บทความ แปลหนังสือ เชน นายอินทรผูปดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนก
ฉบบั การต ูน เปนตน งานทางดา นดนตรี พระองคท รงพระปรชี าสามารถเปนอยางมาก และรอบรูในเรื่อง
การดนตรีเปนอยางดี พระองคท รงดนตรีไดหลายชนิด เชน แซ็กโซโฟนคลาริเน็ต ทรัมเปต กีตาร
และเปย โน พระองคย ังไดป ระพันธเพลงที่มีความหมายและไพเราะหลายเพลงดวยกัน เชน เพลง
พระราชนพิ นธแ สงเทียน เปนเพลงแรก นอกจากนยี้ งั มเี พลงสายฝน ยามเยน็ ใกลรุง ลมหนาว ย้ิมสู
สายลม ค่าํ แลว ไกลกงั วล ความฝน อนั สูงสุด เราสู และเพลงพรปใ หม เปนตน

69

ตลอดรัชสมัยพระองคไดทรงทุมเทกําลัง
พระวรกาย และกาํ ลังพระสติปญญา เพ่ือพสกนิกร
ของพระองค ดังที่ปรากฏในโครงการอนั เนอ่ื งมาจาก
พระราชดําริตาง ๆ ซึ่งเปนพระราชกรณียกิจดาน
การพัฒนาเพ่ือบําบัดทุกขบํารุงสุขของประชาชน
เพ่ือใหประชาชนของพระองคมีความเกษมสุข
โดยเทาเทียมกัน

กลาวไดวา นับแตเม่ือพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิง
ถวัลยราชสมบัติ พระองคทรงบําเพ็ญพระราช
กรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชนสุขของปวงอาณา
ประชาราษฎรและความเจริญกาวหนาของชาติ
บานเมอื งเปนอเนกประการยังผลใหราษฎร อยูเย็น
เปน สขุ ภายใตพ ระบรมโพธสิ มภารตลอดมา พระองค
จึงทรงเปน ม่ิงขวญั ศนู ยร วมจิตใจ และพลงั สามัคคีของคนไทยทง้ั ชาติตลอดกาลนิรันดร

70

1.10 สมเดจ็ พระเจาอยหู วั มหาวชริ าลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกรู (รัชกาลท่ี 10)

พระราชประวตั ิ
สมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระนามเดิมวา
สมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เจาฟาวชิราลงกรณ เปนพระราชโอรสพระองคเดียวในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดช (รชั กาลที่ 9) กับสมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เสดจ็ พระราชสมภพ เม่อื วันจนั ทรที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกลา
โปรดกระหมอมใหป ระกาศสถาปนาสมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เจาฟาวชิราลงกรณ ข้ึนเปน สมเด็จ
พระบรมโอรสาธริ าช เจาฟา มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกมุ าร เมื่อวันท่ี 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515
ภายหลงั จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดช (รัชกาลท่ี 9) เสด็จสวรรคต
เมอ่ื วนั ท่ี 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สภานิติบัญญัตแิ หง ชาตริ ับทราบมติคณะรัฐมนตรี กราบบังคมทูล
เชญิ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช เจา ฟา มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จข้ึนครองสิริราช
สมบัตสิ บื ราชสันตตวิ งศเ ปนพระมหากษตั รยิ  รชั กาลที่ 10 เมื่อวนั ท่ี 29 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2559
ตอมาในวันท่ี 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอกเปรม ติณสูลานนท ผูสําเร็จราชการ
แทนพระองค นายพรเพชร ลขิ ิตชลชยั ประธานสภานติ ิบัญญตั แิ หงชาติ พลเอกประยุทธ จันทรโอชา
นายกรัฐมนตรี นายวรี ะพล ตัง้ สวุ รรณ ประธานศาลฎกี า เขาเฝาทูลละอองพระบาท กราบบังคมทูลเชิญข้ึน
ครองราชยเ ปน พระมหากษตั ริย รชั กาลที่ 10 แหงพระบรมราชจกั รีวงศ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

71

เจาฟามหาวิชราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงตอบรับข้ึนทรงราชย เฉลิมพระปรมาภิไธยวา
“สมเด็จพระเจา อยหู ัวมหาวชิราลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกูร”

พระราชกรณียกิจ
สมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงปฎิบัติพระราช
กรณียกิจ เพ่อื แบงเบาพระราชภาระในพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดช (รชั กาลท่ี 9)
และสมเดจ็ พระนางเจาสิริกิต์ิพระบรมราชินีนาถ มาตั้งแตครั้งยังทรงพระเยาวเร่ิมตั้งแตการตาม
เสดจ็ พระราชดาํ เนนิ ไปยงั ภูมิภาคตา ง ๆ
เพื่อทอดพระเนตรความเปนอยูและ
ความทุกขยากเดือดรอนของราษฎร
ทรงเรียนรูแนวทางการพระราชทาน
ความชว ยเหลือราษฎรซ่งึ ประสบปญหา
แตกตางกันในแตละพ้ืนที่โดยเฉพาะ
การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาแหลงนํ้า
และการพัฒนาชีวิตความเปนอยูของ
ราษฎรผยู ากไรในถ่ินทรุ กันดาร ทําใหทรงเขา พระราชหฤทัยถึงความทกุ ขย ากของราษฎรทกุ หมเู หลา
นอกจากนี้ พระองคทรงเอาพระราชหฤทัยใสเก่ียวกับการสงเสริมการศึกษาของ
เยาวชนไทยโดยทรงรบั โรงเรียนหลายแหง ไวใ นพระราชูปถัมภ เน่อื งจากทรงตระหนักวาการศึกษา
จะสามารถพฒั นาเยาวชนซ่ึงเปนกําลังหลักในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต จึงพระราชทาน
พระราชดําริดานการสงเสริมการศึกษา ไดแก “โครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระเจาอยูหัว
มหาวชิราลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกูร” เพ่ือสนบั สนนุ การสงเสริมการศกึ ษาแกเดก็ และเยาวชน
ในยามท่ีราษฎรประสบความเดือดรอนเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เชน
เม่ือครั้งเกิดมหาอุทกภัยในป พ.ศ. 2554 พระองคไดเสด็จพระราชดําเนินไปทรงเย่ียมพสกนิกร
ยังพ้ืนทต่ี า ง ๆ เพอื่ สรางขวญั กาํ ลังใจ และยังไดพ ระราชทานความชวยเหลือแกร าษฎรผูประสบภัย
สรา งความปล้มื ปต ิแกผไู ดรับพระมหากรุณาธคิ ุณเปน อยางย่ิง เปนตน
พระราชภาระสําคัญประการหนงึ่ ท่ีทรงปฏิบัติตอเนื่อง คือ การเสด็จแทนพระองค
พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
ท้ังในประเทศและตา งประเทศ โดยการเสดจ็ พระราชดาํ เนนิ แทนพระองคไปทรงเยอื นมติ รประเทศ
ท่ัวทกุ ทวปี นอกจากจะเปน การเจรญิ สัมพนั ธไมตรีระหวา งประเทศไทยและประเทศตา ง ๆ ใหแ นน แฟน
ยิ่งข้ึนแลว ยงั ไดท อดพระเนตรกจิ การอันเปน ประโยชนตา ง ๆ อนั จะนํามาใชในการพัฒนาประเทศ
โดยเฉพาะดา นการทหาร

72

สาํ หรับการเสด็จพระราชดําเนินแทนพระองคใ นประเทศนั้น ไดเ สด็จพระราชดาํ เนนิ
ไปในการพระราชพธิ สี ําคญั หลายโอกาส อาทิ การเปลย่ี นเครือ่ งทรง “พระพุทธมหามณีรัตนปฏมิ ากร”
หรือ “พระแกวมรกต” ตามฤดูกาล การบําเพ็ญพระราชกุศล เน่ืองในวันสําคัญทางศาสนา
การตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล และพระราชทานธงชัยเฉลิมพล การพระราชทานปริญญาบัตร
ในสถาบันการศึกษาตาง ๆ การพระราชทานพระราชวโรกาสใหเอกอัครราชทูตประเทศตาง ๆ
เฝาทูลละอองพระบาทถวายราชสาสน และอักษรสาสน ตราตง้ั ท้ังยงั พระราชทานพระราชวโรกาส
ใหน ายทหารและนายตาํ รวจช้ันนายพล เฝาทลู ละอองพระบาท ถวายสตั ยปฏิญาณในโอกาสเขารับ
ตําแหนง

การทุมเทพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจนอยใหญ โดยมิทรงวางเวนของ
สมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สะทอนถึงพระราชหฤทัยมุงมั่น
ในการขจัดทุกขบํารุงสขุ แกพ สกนกิ ร เพ่ือสืบสานพระราชปณธิ านของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภมู พิ ลอดุลยเดช (รัชกาลท่ี 9) และสมเด็จพระนางเจาสิรกิ ิต์พิ ระบรมราชนิ ีนาถ ซง่ึ ยงั ประโยชนส ขุ
แกราษฎรทกุ หมูเ หลาสบื มา

นอกจากน้ี สมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชริ าลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ยังทรง
หวงใยและทรงคํานึงถึงความอยูดีมีสุขของประชาชนเปนสําคัญ และพระองคมีพระราชปณิธาน
แนว แนทจี่ ะทําใหป ระเทศชาติม่นั คงและประชาชนมชี วี ติ ความเปน อยทู ดี่ ขี ้นึ ดว ยมพี ระราชประสงค
ทีจ่ ะสบื สาน รักษา และตอ ยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและแนวพระราชดําริตาง ๆ
ในการบําบัดทุกขและบํารุงสุขใหประชาชนและพัฒนาประเทศใหเจริญกาวหนาทรงพระกรุณา
โปรดเกลา ฯ ใหหนว ยราชการในพระองค รว มกบั หนวยราชการตาง ๆ และประชาชน ทุกหมูเหลาที่มี
จิตอาสา บําเพ็ญสาธารณประโยชนในพ้ืนที่ตาง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดรอน และแกไขปญหา
ใหแกป ระชาชน ไมว าจะเปนปญหาน้าํ ทว มในเขตชุมชน ปญหาการจราจร และอ่ืน ๆ เพื่อสืบสาน
พระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ท่ีทรงหวงใย
ปญหาน้ําทวมและปญหาการจราจร ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดตาง ๆ ซึ่งพระองค
ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหจัดโครงการจิตอาสา “เราทําความดี ดวยหัวใจ” ระหวางวันท่ี 28
กรกฎาคม - 3 สงิ หาคม พ.ศ. 2560 ในพื้นท่ีกรุงเทพมหานครกอน เพ่ือเปนแบบอยางในการพัฒนา
สภาพแวดลอ ม และความเปน อยูในชุมชนใหมีสภาพทด่ี ีขึ้น

โครงการจติ อาสา “เราทาํ ความดี ดว ยหวั ใจ” โครงการในพระราชดําริ สมเด็จพระเจาอยูหัว
ไดปลุกจิตสํานึกในการทําความดี ปลูกฝงใหคนทุกเพศทุกวัย ไดต่ืนตัวในการบําเพ็ญตน ใหเปน
ประโยชนแกส ังคม ชมุ ชน และประเทศชาติ
กิจกรรมทา ยเร่อื งท่ี 1 พระราชกรณยี กจิ ของพระมหากษตั รยิ ไทยสมัยรตั นโกสินทร
(ใหผ เู รียนไปทาํ กจิ กรรมทา ยเรอ่ื งที่ 1 ทีส่ มดุ บนั ทกึ กิจกรรมการเรยี นรปู ระกอบชุดวิชา)

73

เรือ่ งท่ี 2 คุณประโยชนข องบุคคลสําคญั
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา)
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงรวมศึกสงครามขับไลอริราชศัตรูปกปอง

พระราชอาณาจักรตลอดพระชนมชีพของพระองค ซ่ึงพระองคไดเสด็จไปในการพระราชสงคราม
ทั้งทางบกและทางเรือในรัชสมัยสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี จํานวน 16 ครั้ง ในรัชสมัย
พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช จาํ นวน 8 คร้ัง โดยเฉพาะอยา งยิง่ ในการทาํ สงคราม
เกาทัพกบั พมา

นอกจากพระองคจะทรงอุทิศพระองคเสด็จไปในการศึกสงครามกอบกูเอกราชและ
ปองกันพระราชอาณาจักรตลอดพระชนมชีพแลว ยังทรงเสริมสรางความม่ันคงใหแกบานเมือง
เม่ือทรงเห็นวาบานเมืองสงบเรียบรอยเปนปกติสุข ไดทรงอุปถัมภบํารุงการพระศาสนา ศลิ ปะ
วรรณกรรม และสถาปตยกรรม ทรงเปนประธานรวมกบั พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก
สังคายนาพระไตรปฎก ทรงสรางวัดชนะสงคราม (วัดตองปุ) วัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง)
วดั ปทุมคงคา (วัดสําเพง็ ) วดั สุวรรณดาราราม เปนตน

ทาวสุรนารวี ีรสตรีเมอื งนครราชสมี า
เหตุการณประวัติศาสตรอันเปนท่ีมาแหงวีรกรรมของทาวสุรนารี เกิดข้ึนเม่ือ
พุทธศักราช 2369 หลังจากพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
ไดเ พียง 2 ป พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสินทร รัชกาลท่ี 3 ฉบับเจาพระยาทิพากรวงศ บันทึก
ความไวว า
"เจา อนุเวยี งจันทนเ ปน กบฏ..ฝา ยอนุเวียงจนั ทนต้งั แตกลบั ไปถึงเมอื งแลวกต็ รกึ ตรอง
ที่จะคดิ มาประทุษรายตอกรงุ เทพมหานครจึงใหมหาอุปราช ราชวงศ สุทธิสารกับทาวเพี้ยขุนนาง
ผูใหญมาปรึกษาวาท่ีกรุงเดี๋ยวน้ีมีแตเจานายเด็ก ๆ ขุนนางผูใหญก็นอยตัวฝมือทัพศึก
กอ็ อ นแอ ท้ังเจาพระยานครราชสมี ากไ็ มอ ยูหัวเมอื งรายทางกไ็ มม ีทก่ี ีดขวาง การเปน ทีห่ นักหนาแลว
ไมควรเราจะเปนเมอื งข้ึนชาวองั กฤษกม็ ารบกวนอยูเราจะยกทัพไปตีเอากรงุ ก็เหน็ จะไดโดยงา ย..."
เจาอนุวงศ หรือเรียกกันเปนสามัญวา เจาอนุตามท่ีกลาวถึงในพระราชพงศาวดารนี้
เปนบตุ รพระเจา บญุ สารเสด็จขึ้นครองนครเวียงจนั ทน ตอจากเจาอินทวงศเปนผูมีความสวามิภักด์ิตอ
กรุงเทพฯ มาแตร ชั กาลพระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลิศหลานภาลัยและรบั ทําราชการตา ง ๆ โดยแข็งขัน
สืบมา จนเปนท่ีสนิทชิดชอบพระราชอัธยาศัยสวนมูลเหตุที่เจาอนุวงศคิดเปนกบฏ จะเขามาตี
กรงุ เทพฯ กลาววาเน่อื งจากทูลขอครัวชาวเวียงจนั ทน ท่ีถูกกวาดตอนมาแตค ร้งั กรงุ ธนบุรีเพอ่ื จะนํา
กลับไปบา นเมืองแตพ ระบาทสมเดจ็ พระนั่งเกลาเจาอยหู วั ไมพระราชทานใหตามประสงคดวยทรง

74

พระราชดําริวา ครัวชาวเวียงจันทนเ หลา น้ีไดต้งั ภูมิลาํ เนาอยเู ปน หลกั แหลงมนั่ คงแลว ซ่ึงเปนเหตุให
เจาอนุวงศมคี วามอปั ยศ จึงเปนกบฏจะยกทัพเขา มาตกี รุงเทพมหานคร

การเตรียมกําลังเขามาตีกรุงเทพฯ ครั้งน้ันเจาอนุวงศไดไปเกลี้ยกลอมบรรดา
หัวเมอื งตาง ๆ ใหเขารวมดวยเจาเมืองใดขัดขืนก็ฆาเสีย มีเจาเมืองกาฬสินธุ เปนตน ราษฎรและ
เจาเมืองอนื่ ๆ พากันกลวั อาํ นาจยอมเขาดวยหลายเมือง เม่ือเห็นวามีกําลังมากพอก็ใหยกกองทัพ
ไปพรอมกันที่เมอื งนครราชสีมา

การท่ีกองทัพของเจาอนุวงศยกผานเมืองตาง ๆ ไปโดยสะดวกก็โดยใชอุบายลวง
เจาเมืองกรมการรายทางวา มศี ภุ อกั ษรจากกรุงเทพฯ โปรดใหเกณฑกองทัพมาชวยรบกับอังกฤษ
เจาเมืองกรมการเมอื งหลงกลและพากันเช่ือฟงจัดหาเสบียงอาหารใหและไมมีใครขัดขวางยอมให
ผา นไปแตโดยดีทุกเมอื ง

เม่ือเจาอนุวงศยกกองทัพมาต้ังอยูที่เมืองนครราชสีมานั้นเปนเวลาท่ีเจาพระยา
นครราชสีมาไมอยู ไปราชการท่เี มอื งขุขันธค งมแี ตก รมการผูนอ ยรักษาเมืองอยู เชน พระยาพรหม
ยกรบัตร เปนตนเจาอนุวงศไดสั่งใหพระยาพรหมยกรบัตรเตรียมกวาดครอบครัวขึ้นไปเมือง
เวียงจันทนใหเสร็จภายในเวลา 4 วัน พระยาพรหมยกรบัตรกลัวอํานาจก็จําตองยอมทําตามและ
แกลงจดั หาหญิงรูปงามใหเ จา อนุวงศเพ่ือลวงใหตายใจ

ฝายพระยาปลัดซ่ึงไปราชการกับเจาเมอื งนครราชสีมาเมื่อทราบขาววาเจาอนุวงศ
ลงมากวาดตอนครัวเมืองนครราชสีมาไปเปนจํานวนมาก จึงขออนุญาตเจาพระยานครราชสีมา
กลบั มาชวยครอบครวั และชาวเมืองไดเขา เฝา เจา อนุวงศ โดยลวงเจาอนุวงศวา เจาเมืองนครราชสีมา
หนีไปเสียแลวเจาอนุวงศหลงเช่ือ ก็มอบใหพระยาปลัด และพระยาพรหมยกรบัตรควบคุมครัว
เมืองนครราชสีมา ออกเดินทางไปเมืองเวยี งจนั ทน

เหตุการณที่ครอบครัวชาวเมืองนครราชสีมา รวมกําลังกันตอสูครั้งนี้เอง ท่ีไดเกิด
วรี สตรคี นสาํ คญั ขึน้ ในประวตั ศิ าสตรของชาตไิ ทยน่นั คอื ทานผูห ญงิ โม ภริยาพระยาปลดั ไดค วบคุม
กําลังฝายผูหญิงหนุนชวยสูรบอยางองอาจกลาหาญ โดยคบคิดวางแผนกับผูนําฝายชาย และ
กรมการเมอื งจัดหาหญิงสาวใหน ายทัพนายกอง ทีค่ วบคมุ ครอบครวั ไปจนถึงช้ันไพรจนพวกลาวกับ
ครอบครัวชาวเมืองสนทิ เปนอันดี แลว ออกอุบายแจงวาครอบครวั ทีอ่ พยพไปไดร ับความยากลําบาก
อดอยาก ขอมดี ขวาน ปน พอจะไดย งิ เนือ้ มากินเปนเสบยี งเลย้ี งครอบครัวไปตามทาง

เม่ือเดินทางถึงทุงสัมฤทธ์ิก็พรอมใจกันเขาสูทัพลาว ดวยอาวุธอันมีอยูนอยนิด
บา งกต็ ัดไมตะบองเสย้ี มเปนหลาว สามารถฆาฟนศัตรลู มตายเปน จํานวนมาก หลังจากชัยชนะของ
ชาวครอบครวั เมืองนครราชสมี าครัง้ น้ี ทําใหเ จา อนวุ งศหวาดหว่นั ไมกลาที่จะยกทัพลงมายังกรุงเทพฯ
พากันถอยทพั กลบั ไป และถกู ปราบจบั ตัวมาลงโทษที่กรงุ เทพฯ ในที่สุด

75

จากวรี กรรมของคุณหญิงโมทไ่ี ดรวบรวมครอบครัวชายหญิงชาวเมืองนครราชสีมา
เขาตอสูขาศึกศัตรูจนแตกพายไปครั้งน้ัน เปนเหตุใหเจาอนุวงศไมยกทัพไปตีกรุงเทพ ฯ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานบําเหน็จ
ความชอบแตง ตงั้ ข้ึนเปนทา วสรุ นารี

สมเดจ็ เจาพระยาบรมมหาศรสี รุ ยิ วงศ (ชวง บญุ นาค)
สมเด็จเจาพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ เปนบุคคลท่ีมีบทบาทเดนท่ีสุดทานหนึ่งใน
ประวตั ศิ าสตรก ารเมอื งการปกครองของไทย ช่อื เสยี งและความสามารถของทา นเรม่ิ ปรากฏขน้ึ ตั้งแต
ในรชั กาลที่ 3 เปน ตน มา
นอกจากน้พี ระองคไ ดร บั การแตง ตั้งเปน ผูส าํ เรจ็ ราชการแผน ดนิ ในระหวา งทร่ี ชั กาลท่ี 5
ยังไมทรงบรรลุนิติภาวะ จากการท่ีพระองคศึกษาภาษาอังกฤษทําใหเปนผูท่ีมีความคิดทันสมัย
กา วหนากวา คนอ่นื ๆ ในสมัยนั้น พระองคไ ดนาํ ความเจริญของตะวนั ตกทั้งทางดานศิลปวิทยาการ
และเทคโนโลยีสมัยใหมมาใช
ทางดานศาสนา พระองคไ ดทํานุบํารุงพทุ ธศาสนาโดยการสรางและปฏสิ ังขรณว ดั วา
อารามตา ง ๆ เปนจาํ นวนมากทัง้ ในพระนครและหัวเมอื ง
ทางดานวรรณกรรม การละคร และดนตรี พระองคไดสงเสริมใหมีการแปล
พงศาวดารจนี เปนภาษาไทย ทางดา นสถาปตยกรรมและการกอสราง พระองคไดรบั มอบหมายงาน
ดานนี้มาตั้งแตสมัยรัชกาลท่ี 3 ใหทําการทํานุบํารุงบานเมืองใหมั่นคงและเจริญรุงเรือง ไดแก
การสรางถนน ขุดคคู ลอง การสรางปอมปราการ

สมเดจ็ พระเจา บรมวงศเ ธอ กรมพระยาดาํ รงราชานภุ าพ
สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงเปนพระราชโอรส
องคที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา เจาอยหู ัว เจา จอมมารดาชุม ธดิ าพระอพั ภันตริกามาตย (ดิศ)
ตนสกลุ “โรจนดิศ” เปน เจาจอมมารดา ประสูตใิ นพระบรมมหาราชวัง เมอื่ วนั ท่ี 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405
ทรงประกอบพระกรณียกจิ ดา นตา ง ๆ ซึ่งลว นแตเ ปนงานใหญ และงานสาํ คัญอยางยิ่ง
ของบา นเมือง ทรงเปนกาํ ลังสาํ คญั ในการบรหิ ารประเทศหลายดาน และทรงเปนท่ีไววางพระราช
หฤทยั ในพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา เจา อยูหัว เปนอยางสูง ผลงานดานตาง ๆ ของพระองค
แสดงใหเหน็ ถึงพระอัจฉรยิ ภาพอันสูง เปนท่ีประจักษแกมหาชนทุกยุคทุกสมัย พระราชกรณียกิจ
ดา นตา ง ๆ ของพระองค มดี ังน้ี

76

1. ดานการศกึ ษา
ถึงแมวาพระองคจะทรงปฏิบัติหนาที่ทางการศึกษา อยูในชวงระยะเวลาส้ันเพียง

ประมาณ 3 ป (พ.ศ. 2333 - 2335) แตพระองค ทรงมีพระดําริริเริ่มเปนเย่ียมในพระกรณียกิจ
ดา นนี้ ไดแก

1) ทรงเร่ิมงานจัดการศึกษาเปนคร้ังแรก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา
เจาอยูหัวโปรดเกลาฯ ใหเปลี่ยนสภาพ “โรงเรียนทหารมหาดเล็ก” ซ่ึงเปนโรงเรียนฝกสอนวิชา
ทหารใหแกน ายรอย นายสิบ ในกรมทหารมหาดเลก็ มาเปน โรงเรียนสําหรับพลเรือน มีช่ือเรียกวา
“โรงเรียนพระตาํ หนักสวนกุหลาบ” และพระองคทรงดํารงตาํ แหนง ผูจัดการโรงเรยี น

2) ในขณะที่ทรงดํารงตาํ แหนงอธบิ ดีกรมธรรมการ ไดท รงจัดวางระเบยี บการบรหิ าร
ราชการของกรมและโรงเรียน กลา วคือ ทรงวางระเบยี บ ขอบงั คับตาํ แหนงหนาที่เสมียน พนักงาน
ในการเขา รบั ราชการ การเล่ือนตาํ แหนง ลาออก ลงโทษ ตลอดจนทรงกําหนดใหมีการตรวจสอบ
และรายงานผลตรวจโรงเรียนท้งั ในกรงุ และหัวเมืองของพนักงานดว ย

3) ทรงขยายการศึกษาโดยอาศัย “วัด” ซึ่งเปนสถานที่ถายทอดวิชาความรู และ
อบรมศีลธรรมใหแกราษฎรมาแตโ บราณ และ “วดั มหรรณพาราม” เปนโรงเรียนหลวงแหงแรกท่ี
ทรงจัดต้ังขึ้น ซ่ึงการศึกษาลักษณะน้ีไดขยายออกไปอยางกวางขวางทั่วกรุงเทพฯ ในเวลาตอมา
และเมอ่ื ทรงปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการสอน ตลอดจนจัดพิมพตําราเรียนเรียบรอยแลว ไดทรง
ขยายการศกึ ษาออกไปสรู าษฎรตามหวั เมอื งตา ง ๆ โดยทรงจดั ตั้งโรงเรียนหลวงข้ึนทั่วประเทศ เม่ือป
พ.ศ. 2435

4) ทรงรเิ รม่ิ จัดใหม ีการตรวจสอบตําราเรียนและออกประกาศรับรอง ท้ังน้ี เพ่ือให
นักเรียนมีความรู และความสามารถอยางเหมาะสม และทรงกําหนดใหมีการปรับปรุงหลักสูตร
ตําราเรียนข้ึนใหม คอื ตาํ ราแบบเรยี นเรว็

5) ทรงจดั ตง้ั “โรงเรียนฝกหัดขา ราชการพลเรือน” เมื่อ พ.ศ. 2442 ในขณะท่ีทรง
ดํารงตําแหนงเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซ่ึงตอมา ใน พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกลา เจา อยหู วั ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหเ ปลย่ี นชอื่ เปน “โรงเรียนมหาดเล็ก” และ
เปลย่ี นเปน “จฬุ าลงกรณม หาวิทยาลยั ” ในเวลาตอมา

6) ทรงปรับปรุงและแกไขขอบกพรองตาง ๆ ของหอพระสมุดวชิรญาณ ซ่ึงเปน
หอสมุดแหงเดียวในพระนคร เชน ทรงกําหนดใหมีการแตงตั้งคณะกรรมการดําเนินงาน
จัดงบประมาณสําหรับซอ้ื หนังสือ กําหนดระเบียบวิธกี ารยืม และการเปนสมาชิก เปนตน

77

2. ดา นมหาดไทย
เปนกิจการสาํ คญั ยงิ่ ในการบริหารประเทศ พระองคทรงมีบทบาทสําคัญยิ่งในการ

กอตั้งและปฏิรูปการจัดระเบียบการปกครอง ภายในประเทศ และการบริหารราชการของ
กระทรวงมหาดไทย ไดแ ก

1) ทรงจัดการบังคับบัญชางานภายในกระทรวง ใหมีรูปแบบเปนระบบราชการ
ชดั เจนขนึ้ มลี ําดับข้นั การบังคับบญั ชา มกี ารแบง งานและเลอื กสรร ผมู คี วามรูค วามสามารถเขารับ
ราชการ โดยการจัดสอบคดั เลือก ตลอดจนออกระเบียบวินัยตา ง ๆ เชน เลกิ ประเพณใี หข าราชการ
ทํางานอยูที่บาน กําหนดใหมีการประชุมขาราชการทุกวัน กําหนดเวลาการทํางาน ตลอดจนจัด
ระเบียบสง ราง เขยี น และเกบ็ หนังสอื ราชการ เปน ตน

2) ทรงจัดระบบการปกครองสวนภูมิภาค ซ่ึงเรียกวา “ระบบเทศาภิบาล” ไดเปน
ผลสําเร็จ และนับวาเปนผลงานสําคัญท่ีสุดของพระองค โดยทรงรวมหัวเมืองตาง ๆ จัดเขาเปน
“มณฑล” และมี “ขาหลวงเทศาภิบาล” เปนผูบังคับบัญชา อยูในอํานาจของเสนาบดี
กระทรวงมหาดไทยอกี ชนั้ หนึง่ สาํ หรบั การแบง เขตยอยลงไปเปนจงั หวัด อําเภอ ตําบล และหมูบาน นั้น
ใน พ.ศ. 2440 ไดอ อก “พระราชบญั ญัติลกั ษณะการปกครองทองท”่ี บงั คับใชทั่วพระราชอาณาจักร

พระราชกรณียกิจดานการปกครองสวนทองถิ่นท่ีสําคัญอีกประการหน่ึง คือ
ทรงรเิ ร่ิมจัดตัง้ “การสขุ าภบิ าลหัวเมือง” ในป พ.ศ. 2448 โดยเร่มิ ที่ ตาํ บลทาฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร
เปน แหงแรก และนับเปน การปูพืน้ ฐานการปกครองสวนทองถ่ินดังน้ัน พระกรณียกิจดานมหาดไทย
ทกุ ประการ จงึ ลวนแตเปนคุณประโยชนแ กประเทศชาตแิ ละประชาชนยงั่ ยนื มาจนถงึ ปจ จุบนั

นอกจากพระราชกรณียกิจดา นการศกึ ษาและดานมหาดไทยแลว พระองคยงั ทรงรบั
พระราชภาระจัดการและมสี ว นรวมในการปรบั ปรงุ กิจการดานอ่นื ๆ อกี หลายดาน ไดแ ก ดานการ
ปาไม ซึ่งทรงริเริ่มกอต้ังกรมปาไมข้ึน เพ่ือใหหนวยงานของรัฐไดเขาไปควบคุมดูแลกิจการปาไม
โดยตรง และทรงริเริ่ม ใหดําเนินการออกพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง และกฎขอบังคับตาง ๆ
เพ่อื เปนผลประโยชนข องกรมปา ไมเ ปนหลักสําคัญ และเปนรากฐานในการ ปฏบิ ตั งิ านของกรมปา ไม
มาจนถึงปจ จุบนั ทรงริเร่มิ การออกโฉนดทด่ี ิน

3. ดานสาธารณสขุ
ทรงรบั ภาระในการจดั การโรงเรียนแพทยตอจาก พระเจานองยาเธอ พระองคเจา

ศรีเสาวภางค ทรงมีพระดําริริเร่ิมใหมีโอสถศาลา สําหรับรับหนาที่ผลิตยาแจกจายใหราษฎรใน
ตําบลหา งไกล ซง่ึ ปจ จุบัน คอื สถานอี นามยั และทรงจัดตง้ั ปาสตุรสภา สถานทีป่ อ งกันโรคพิษสุนัขบา
ซ่ึงในปจจุบันโอนไปอยูในสังกัดของสถานเสาวภา สภากาชาดไทย นอกจากน้ีพระองคยังทรงรับ

78

พระภารกิจดานงานสรรพากร และงานอุตสาหกรรมโลหกิจ ซ่ึงเปนแนวทางพัฒนางานมาจนถึง
ปจ จุบนั ดว ย

4. ดา นศลิ ปวฒั นธรรม
ทรงริเริ่มและวางรากฐานการดําเนินงานของกิจการพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ

หอสมุดแหงชาติ และพระองคทา นกท็ รง อุทิศเวลา ทรงพระนิพนธหนงั สือ ตาํ ราตาง ๆ ดานประวัติศาสตร
และโบราณคดี อนั เปนมรดกทางปญ ญาของชาวโลกมาจนกระทั่งทุกวนั นี้ จนไดร บั การยกยอ งวา เปน
บดิ าทางโบราณคดีและประวตั ิศาสตรไ ทย

พลเรือเอกพระเจา บรมวงศเธอ กรมหลวงชมุ พรเขตอดุ มศกั ดิ์
พลเรือเอกพระเจาบรมวงศเธอ กรมหลวงชมุ พรเขตอดุ มศกั ด์ิ พระบดิ าแหงราชนาวไี ทย
ถงึ แมว าเสด็จในกรมฯ จะทรงแกไ ข ปรับปรุง ระเบียบการศึกษาใหมีความกาวหนา แตสถานท่ตี ้ัง
โรงเรยี นนายเรอื นั้นไมมที ตี่ ง้ั เปนหลักแหลงทม่ี น่ั คง ตอ งโยกยายสถานท่ีเรยี นบอ ย ๆ ซึ่งเปนเหตุผล
ประการหนึ่งที่ทําใหผลการเรียนของนักเรียนนายเรือไมดีเทาที่ควร เสด็จในกรมฯ ทรงพยายาม
ทกุ วถิ ที างทจ่ี ะปรบั ปรงุ กจิ การดา นน้ีใหกาวหนา จงึ ไดนําความขึ้นกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกลา เจาอยูหัว ขอพระราชทานที่ดินเพ่ือตั้งเปนโรงเรียนนายเรือ ซ่ึงไดทรงพระกรุณา
โปรดเกลาฯ พระราชทานทด่ี นิ บรเิ วณพระราชวงั เดิม ฝงธนบุรี และไดดดั แปลงเปน โรงเรียนนายเรอื
เมือ่ ป พ.ศ. 2448
พระอัจฉริยะดานการดนตรี พระองคทรงมีอจั ฉรยิ ะทางดา นการดนตรี ทรงพระราช
นพิ นธเพลงไวห ลายเพลง ไดแก เพลงดอกประดู (เพลงสัญลักษณของกองทัพเรือ) เพลงเดินหนา
เพลงดาบของชาติ ซ่ึงทรงนพิ นธไ วเปน โคลงสี่สภุ าพ และเพลงสรรเสริญพระบารมี สํานวนขับรอง
ของทหารเรือนอกจากนีพ้ ระองคยงั ศกึ ษาวิชาแพทยแ ผนโบราณรบั รกั ษาบคุ คลทั่วไปโดยทรงเลา เรียน
กับพระยาพิษณุฯ หัวหนาหมอหลวงแหงพระราชสํานัก โดยพระองคจะไมทรงยินยอมรักษาใคร
จนกวา จะไดร ับการทดลองแมนยาํ แลววา เปนยาทร่ี กั ษาโรคชนดิ พ้ืน ๆ ใหหายขาดไดเสียกอนท่ีจะ
รกั ษาผปู ว ย
ทรงตั้งฐานทัพเรือท่ีสัตหีบ ดวยพระองคทรงมีความเห็นทางดานยุทธศาสตรวา
สมควรใชพื้นที่บริเวณตําบลสัตหีบสรางเปนท่ีมั่นสําหรับกิจการทหารเรือข้ึนตามชายฝงและ
เกาะตาง ๆ ในอาวสัตหีบ เพราะทําเลเหมาะแกการสรางเปนฐานทัพเรือตามพระราชประสงค
ดงั น้นั พระองคจ งึ ทูลเกลาฯ ขอพระราชทานทด่ี ินที่สตั หีบเพอื่ เปนกรรมสทิ ธแิ์ กกองทพั เรอื
ในดา นการปอ งกันฐานทัพ ทรงใหความเห็นวา ควรสรางปอมปนใหญขนาดต้ังแต
16 นว้ิ ลงมาจนถึง 4.7 นวิ้ และปน ยิงเครื่องบินดว ย ไวบนยอดเกาะตา ง ๆ ในอาวสตั หีบ

79

ศาสตราจารยพระยาอนุมานราชธนราชบัณฑิต
พระยาอนุมานราชธน เปนบุคคลผูใฝหาความรูมาตั้งแตเด็ก ชอบสะสมหนังสือ
อา นหนังสือ ศึกษาในช้ันตนท่ีโรงเรียนบานพระยานานาพิพิธภาษี (โต บุนนาค) ตอมาเขาเรียนที่
โรงเรียนอัสสัมชัญ จบถงึ ช้นั มธั ยมปท ่ี 4 เร่ิมแรกทํางานที่โอสถศาลารัฐบาล และโรงแรมโอเรียลเต็ล
ตามลําดบั และไดเขา รบั ราชการในกรมศลุ กากร ตําแหนงเสมยี นพนักงาน ดว ยความขยันในหนาที่
การงาน ทา นจึงไดรบั เล่อื นตําแหนงตามลําดับพรอมกับรบั พระราชทานบรรดาศักดิ์เปน ขุน หลวง
พระ พระยา โดยเปนพระยาอนุมานราชธน ตาํ แหนงผูช ว ยอธิบดกี รมศุลกากร
ตอมาหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งขณะนั้นดํารงตําแหนงอธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร
ไดช กั ชวนใหท านเขารับราชการในกรมศลิ ปากรในตาํ แหนง หัวหนากองศิลปวิทยา จนในท่ีสุดเปน
อธิบดีกรมศิลปากร ชวงที่ทานดํารงตําแหนงอธิบดีกรมศิลปากร ไดรับแตงตั้งเปนราชบัณฑิต
หลังเกษียณอายรุ าชการทา นไดด ํารงตาํ แหนง ผูร ักษาการตําแหนงนายกราชบณั ฑติ ยสถาน โดยเปน
ประธานกรรมการชําระปทานุกรม ประธานกรรมการทําอกั ขรานกุ รมภูมศิ าสตรไ ทย ประธานกรรมการ
บัญญัติศัพทภาษาตางประเทศเปนภาษาไทย และประธานคณะบรรณาธิการคําสารานุกรมไทย
เปนตน
ผลงานของพระยาอนุมานราชธน ทา นเปน บคุ คลท่ไี ดร บั การยกยอ งวา เปน นกั ปราชญ
เปนบุคคลที่แสวงหาความรู จึงเปนบุคคลผูรอบรูในหลายสาขาวิชา เปนท่ีรูจักของชาวไทยและ
ตา งประเทศ มีดังน้ี
1. งานดา นประวตั ศิ าสตร ไดแ ก งานแปลเรอ่ื ง อารยธรรมยคุ ดึกดําบรรพ บนั ทกึ
ความรตู า ง ๆ ทเี่ ปน จดหมายโตตอบระหวา งพระยาอนุมานราชธนกบั สมเดจ็ เจา ฟา กรมพระยา
นรศิ รานุวัตติวงษ
2. งานดา นภาษาศาสตร ทานเปนนกั นิรกุ ตศิ าสตร เขียนตาํ รานริ กุ ตศิ าสตรเ ผยแพร
ทั้งภาษาไทยและภาษาตา งประเทศ และเปนตาํ ราเรียน
3. งานดานมานุษยวทิ ยา ทา นไดเ ขยี นตาํ ราเรื่อง วัฒนธรรม ฟน ความหลังชีวติ ชาวไทย
สมัยกอนและการศึกษาเรื่องประเพณีไทย ประกอบดวยประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เกิด - ตาย
ปลูกเรือน การแตง งาน ประเพณีเก่ียวกบั เทศกาลตรษุ - สารท เปนตน

ทานเปน ผูว างรากฐานการศกึ ษาความรูทางดานคติชนวิทยา ซ่ึงไดรวบรวมงาน
เกย่ี วกบั นทิ านพน้ื บาน การละเลน ความเชอื่ และประเพณี โดยแปลนทิ านของตางประเทศ วจิ ารณ
นิทานไทย ซึ่งผลงานของทานตีพิมพโดยใชนามปากกา “เสฐียรโกเศศ” รวมกับนาคะประทีป
ผลงานบางเร่ืองที่ทา นแตงเอง ไดแ ก หโิ ตปเทศ ทศมนตรี นิยายเบงคลี กถาสริตสาคร ทิวาราตรี
พันหนึ่งทิวา นิทานอหิ รายราชธรรม สิบสองเรอื่ ง ฯลฯ

80

4. ทางดานภาษาและวรรณคดี ทา นไดเขยี นสารานกุ รมพรอมคําอธบิ าย และไดจัดทํา
พจนานกุ รมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 เพ่อื ใชอ า งอิงในภาษาไทยไดอยางถูกตอง ทานเปน
ผูร เิ รมิ่ การเรียนวรรณคดี โดยพิจารณาถงึ วรรณศลิ ปและบญั ญตั ิศัพทวรรณคดีในภาษาไทย

ผลงานทางดา นวชิ าการของทา นมมี ากมาย ซงึ่ ไดร ับการสรรเสริญทงั้ ภายในประเทศ
และตา งประเทศ พรอ มยกยอ งใหทา นเปนปราชญข องประเทศไทย

กจิ กรรมทา ยเร่ืองท่ี 2 คุณประโยชนข องบุคคลสาํ คญั
(ใหผเู รียนไปทํากิจกรรมทา ยเร่อื งที่ 2 ท่ีสมดุ บนั ทกึ กจิ กรรมการเรียนรูประกอบชุดวชิ า)

81

หนวยการเรยี นรทู ่ี 4
มรดกไทยสมัยรัตนโกสินทร

สาระสาํ คญั
ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ไดรบั การสืบสานมายาวนานของไทย

ตั้งแตอดีตจวบจนปจจุบันไดถูกส่ังสมและมีคุณคาจนกลายเปนมรดกไทย ซึ่งศิลปวัฒนธรรม

ขนบธรรมเนยี ม ประเพณีอันโดดเดนเหลานี้ลวนเปนเอกลักษณท่ีบงบอกความเปนชาติไทยอยาง
ชัดเจน หากแตวาการไดรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมตางชาติ มีผลทําใหมรดกไทย ตลอดจน
วถิ กี ารดําเนนิ ชีวติ คา นยิ มและระบบประเพณตี าง ๆ ไดถกู แปรเปลย่ี นตามกาลเวลา

ตวั ชว้ี ัด

1. อธิบายความหมายและความสาํ คัญของมรดกไทย

2. ยกตัวอยางมรดกไทยสมัยรตั นโกสนิ ทรไดอ ยา งนอ ย 3 เร่ือง

3. วิเคราะหมรดกไทยสมยั รัตนโกสนิ ทรท ่มี ผี ลตอ การพัฒนาชาติไทย

4. อธิบายความหมายความสาํ คัญของการอนรุ ักษมรดกไทย
5. ยกตัวอยา งการมสี ว นรวมในการอนรุ ักษม รดกไทย

ขอบขา ยเนื้อหา

เรอื่ งท่ี 1 ความหมายและความสําคญั ของมรดกไทย
เรอื่ งท่ี 2 มรดกไทยสมยั รัตนโกสนิ ทร

2.1 ดานสถาปต ยกรรม

2.2 ดานประติมากรรม

2.3 ดานจติ รกรรม
2.4 ดา นวรรณกรรม

2.5 ดานดนตรี และนาฏศิลป

2.6 ดานประเพณี

2.7 ดา นการแตงกายและอาหาร
2.8 ตวั อยา งการมสี ว นรวมการอนรุ กั ษมรดกไทยสมยั รตั นโกสนิ ทร

82

เรื่องที่ 3 มรดกไทยทมี่ ผี ลตอการพัฒนาชาตไิ ทย
เรื่องท่ี 4 การอนรุ กั ษมรดกไทย
เร่ืองท่ี 5 การมีสวนรว มในการอนรุ ักษมรดกไทย

สื่อการเรยี นรู
1. ชุดประวัตศิ าสตรช าตไิ ทย รหสั รายวชิ า สค32034
2. สมุดบันทกึ กิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดวชิ า

เวลาทใ่ี ชใ นการศกึ ษา 24 ชว่ั โมง

83

เร่ืองที่ 1 ความหมายและความสาํ คญั ของมรดกไทย
คณะกรรมการอํานวยการวันอนุรักษมรดกไทย ใหความหมายคําวา มรดกไทย

หมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมท่ีแสดงออกถึงสัญลักษณของความเปนชาติ ซึ่งไดแก โบราณวัตถุ
ศลิ ปวตั ถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหตั ถกรรม นาฏศลิ ป และดนตรี ตลอดจนถึงการดําเนินชีวิต
และคุณคา ประเพณตี าง ๆ อันเปนผลผลิตรวมกันของผูค นในผืนแผน ดนิ ในชวงระยะเวลาทผี่ า นมา

มรดกไทย สามารถแบง ได 7 ประเภท ดังน้ี
1. โบราณวตั ถุและศิลปวัตถสุ มยั ตา ง ๆ หมายถึง สิง่ ของ หรอื รอ งรอยของความเจริญ
ในอดีตท่ีผานมา ซึ่งมีคุณคาตอคนรุนหลัง เชน ศิลปะทวารวดี ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา และศิลป
รัตนโกสินทรโบราณวัตถุสวนมากเปนลวดลายปูนปนและลวดลายดินเผา เศียรพระพุทธรูป
เครอื่ งสงั คโลก ปนู ปน รปู ยกั ษเ ทวดา
2. ศิลปวัตถุ เปนผลงานสรางสรรคทางทัศนศิลปที่ประกอบดวย ผลงานศิลปะ
ลักษณะตาง ๆ เชน ภาพเขียน รูปปน เครือ่ งลายคราม เคร่ืองถม เครื่องทอง และสิ่งที่ทําดวยฝมือ
อยางประณีต มีคุณคาสูงสงในทางศลิ ปะ เปน ตน
3. โบราณสถาน เปนหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสถานทนี่ ั้น อันเปนประโยชน
ในทางศลิ ปะ ประวตั ศิ าสตร หรอื โบราณคดี รวมถึงสถานทท่ี ่ีเปนแหลง โบราณคดี แหลงประวตั ศิ าสตร
และอุทยานประวัติศาสตรดวย โบราณสถานโดยทั่วไป หมายถึง อาคารหรือสิ่งกอสรางที่มนุษย
สรางขน้ึ ที่มคี วามเกา แก มปี ระวัติความเปนมาที่เปนประโยชนทางดานศลิ ปะ ประวัติศาสตร หรือ
โบราณคดี และยังรวมถึงสถานท่ีหรือเนินดินท่ีมีความสําคัญทางประวัติศาสตร หรือมีรองรอย
ทเ่ี ปนกจิ กรรมของมนุษยปรากฏอยู
4. วรรณกรรม หมายถงึ วรรณคดหี รอื ศลิ ปะ ทเี่ ปนผลงานอันเกดิ จากการคิด และ
จนิ ตนาการ แลวเรียบเรียง นํามาบอกเลา บันทึกขับรอง หรือสื่อออกมาดวยวิธีตาง ๆ โดยท่ัวไป
แลวจะแบงวรรณกรรมเปน 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ คือ วรรณกรรมที่บันทึกเปน
ตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันไดแก วรรณกรรมท่ีเลาดวยปาก ไมไดจดบันทึก ดวยเหตุนี้
วรรณกรรมจึงมคี วามหมายครอบคลมุ กวางถึงประวัติ นทิ าน ตาํ นาน เรอ่ื งเลา ขาํ ขัน เร่อื งสน้ั นวนิยาย
บทเพลง คาํ คม เปนตน
5. ศลิ ปหัตถกรรม จําแนกเปนประเภทตา ง ๆ ไดหลายลักษณะ เชน การจดั ประเภท
ของงานศลิ ปหัตถกรรมไทยตามประโยชนใชสอย เชน ที่อยูอาศัย เครื่องมือประกอบอาชีพ อาวุธ
เครอื่ งใชต า ง ๆ เคร่อื งนุงหม ยานพาหนะ และวัตถุท่ีเก่ียวเนื่องกับความเชื่อ การจัดประเภทของ
งานศิลปหัตถกรรมไทยตามวสั ดุและกรรมวธิ กี ารผลติ เชน การปน และหลอ การทอและเยบ็ ปก ถกั รอ ย
การแกะสลัก การกอ สรา ง การเขยี นหรือการวาด การจกั สาน การทาํ เคร่ืองกระดาษ และกรรมวธิ อี นื่ ๆ
การจดั ประเภทของงานศิลปหัตถกรรมไทยตามสถานภาพของชา ง เชน ศิลปหตั ถกรรมฝม ือชา งหลวง
ศิลปหตั ถกรรมฝม ือชาวบาน

84

6. นาฏศิลปและดนตรี
“นาฏศิลป” หมายถึง ศิลปะการฟอนรํา หรือความรูแบบแผนของการฟอนรํา

เปนสงิ่ ทีม่ นษุ ยประดิษฐด ว ยความประณีต งดงาม ใหความบันเทิง โนมนาวอารมณและความรูสึก
ของผูชมใหคลอยตาม ศิลปะประเภทน้ีตองอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับรองเขารวมดวย
เพ่ือสง เสรมิ ใหเกดิ คณุ คา ยิง่ ขึ้น

“ดนตรีไทย” สันนิษฐานวาไดแบบอยางมาจากอินเดียเน่ืองจากอินเดียเปน
แหลง อารยธรรมโบราณที่สําคญั แหงหน่ึงของโลก อารยธรรมตาง ๆ ของอินเดียไดเขามามีอิทธิพล
ตอ ประเทศตา ง ๆ ในแถบเอเชียอยางมาก ท้ังในดานศาสนา ประเพณี ความเชอ่ื ตลอดจนศิลปะ
แขนงตาง ๆ โดยเฉพาะทางดา นดนตรี และยังถอื เปนมรดกอันลํา้ คาของชาติไทยอีกดวย

7. ประเพณตี า ง ๆ ประเพณไี ทยแบงออกไดเปน 2 ลกั ษณะ คอื
1) ประเพณีสวนบุคล ไดแก ประเพณีเกี่ยวกับการแตงงาน ประเพณีการเกิด

ประเพณกี ารตาย ประเพณีการบวช ประเพณีการข้ึนบานใหม ประเพณีทาํ บญุ อายุ เปนตน
2) ประเพณีสวนรวม ไดแ ก ประเพณที างศาสนาตา ง ๆ เชน ประเพณีการทาํ บญุ

เขาพรรษา ออกพรรษา ประเพณีตรุษ สารท ลอยกระทงประเพณเี ทศกาลสงกรานต และประเพณี
วนั สําคัญทางพระพุทธศาสนา เปนตน

ความสําคญั ของมรดกไทย
มรดกไทยเปนส่ิงท่ีบุคคลในชาติควรใหความสําคัญและหวงแหน เพราะเปนสิ่งที่
บงบอกความเปนเอกลักษณของชนชาติไทย ซึ่งแสดงใหเห็นความเจริญรุงเรืองของประเทศไทย
ตัง้ แตอ ดตี ทผี่ านมาจวบจนปจ จุบัน มรดกไทยจงึ มีความสาํ คญั ในดา นตา ง ๆ ดังน้ี
1) แสดงใหเหน็ ถึงประวตั ิศาสตรค วามเปนมาของชนชาตขิ องเผาพนั ธทุ อ งถ่นิ
2) แสดงถงึ เกยี รติและความภาคภูมิใจของคนในทอ งถ่ินและของคนในชาติ ทําให
เกิดความรกั หวงแหน เหน็ คุณคา
3) กอ ใหเ กิดความรูสกึ ความสามัคคี เปนอนั หนง่ึ อนั เดยี วกันในชาติ เปนความมนั่ คง
ของชาติ
4) เปนหลักฐานท่ีเปนประโยชนตอการศึกษา คนควา วิจัย (การดําเนินการทาง
วิชาการ) เพื่อการเผยแพรการสบื ทอดและนํามาใชในการพฒั นาคุณภาพชีวติ อันนําไปสกู ารพัฒนา
สังคมเศรษฐกิจท่ีย่ังยืนตอไป เชน การประกอบอาหาร การถักทอผา การคิดประดิษฐลายผา
วธิ กี ารตดั เยบ็ เครือ่ งมือ เคร่ืองใช เครอ่ื งเรือน การแพทย การผลิตยา เปน ตน

กิจกรรมทา ยเรอ่ื งท่ี 1 ความหมายและความสาํ คญั ของมรดกไทย
(ใหผเู รียนไปทํากิจกรรมทายเรอ่ื งท่ี 1 ที่สมดุ บนั ทกึ กิจกรรมการเรยี นรปู ระกอบชดุ วชิ า)

85

เรอ่ื งท่ี 2 มรดกไทยสมยั รตั นโกสินทร
ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทรตอนตน เปนการสืบทอดและสรางเลียนแบบสมัย

กรงุ ศรีอยุธยาทัง้ ประตมิ ากรรม สถาปตยกรรม จิตรกรรม หัตถศิลป การฟนฟูงานศิลปะประเภท
ตาง ๆ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 3 มีการนําศิลปะจีนเขามาผสมผสานในงาน
ศิลปกรรม ตง้ั แตส มัยรชั กาลท่ี 4 เปนตนมา วฒั นธรรมตะวันตกก็ไดเ ขา มามอี ิทธพิ ลตอลกั ษณะของ
การสรางสรรคผลงานทัศนศิลปของไทยดวย สงผลใหงานศิลปะแบบด้ังเดิมเส่ือมความนิยมลง
แตใ นปจ จุบันไดร ับการรอ้ื ฟน ใหมใ นรปู ของงานศลิ ปาชีพ ศิลปะประจําชาติ ตลอดจนงานภูมปิ ญ ญา
ทอ งถิ่นตาง ๆ

1. ดานสถาปต ยกรรม
สถาปต ยกรรมทางศาสนา ไดแ ก
1.1 วัด
ในยุครัตนโกสนิ ทรต อนตน มีรูปแบบการดาํ เนนิ รอยตามแบบสถาปต ยกรรมสมัย

กรงุ ศรีอยุธยา เชน การสรางโบสถว ิหารใหมีฐานโคง การสรางหอไตรหรือหอพระไตรปฎกกลางน้ํา
เปน ตน ตอมาเมอ่ื มกี ารทํามาคาขายกับตางชาติมากขึ้น จึงไดรับอิทธิพล ท่ีเห็นไดชัด คือ ในสมัย
รชั กาลที่ 3 ที่ไดร ับอทิ ธพิ ลจากจนี

การเปลยี่ นแปลงวัดที่เห็นไดชัด เชน การนําชอฟา ใบระกา หางหงส ออกจาก
หลงั คาโบสถ วิหาร แลวเปล่ียนมาเปนกออิฐถือปูนโดยการใชลวดลายดินเผาเคลือบประดับหนา
แทนการใชไ มส ลกั แบบเดิม นยิ มใชเ สาเปนส่เี หล่ยี มทึบ ไมมีเสาบัว

วัดที่มีการผสมผสานสถาปตยกรรมตะวันตก เชน วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร
ในจังหวดั พระนครศรอี ยธุ ยา ทเ่ี ปนศิลปะแบบกอธิค

1.2 วัง

ภาพ : พระทีน่ งั่ จกั รมี หาปราสาทและพระทน่ี งั่ อาภรณภ ิโมกขป ราสาท เปนสถาปตยกรรมในรตั นโกสนิ ทรต อนตน

86

พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช โปรดเกลา ฯ ใหสรางพระราชวัง
ตามแบบกรุงศรีอยุธยา 3 แหง คือ พระบรมมหาราชวัง พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวัง
บวรสถานพิมขุ โดยท้ังตาํ แหนง ที่ตั้งนั้นยึดหลักยุทธศาสตรเปนสําคัญ ตามตําราพิชัยสงคราม คือ
“มแี มน าํ้ โอบลอ มภูเขาหรือหากไมมภี เู ขา มแี มนํ้าเพยี งอยา งเดียวกไ็ ด เรยี กวา นาคนาม”

ท่ีอยูอาศัยของพระมหากษัตริย พระบรมวงศานุวงศ และขุนนางไทยผูสูงศักดิ์
ในสมยั น้ัน เรยี กขานตามแตบ รรดาศกั ดิ์ ใหเหน็ ถงึ บรรดาศักด์ิที่ชัดเจน อาทิ พระตําหนกั พระท่ีนั่ง
พระวิมานหรือพระมหาปราสาท โดยเฉพาะพระวิมานและพระมหาปราสาท ใชเฉพาะเรือนที่มี
เจา ของเปน พระมหากษตั รยิ เทาน้นั สว นที่ประทบั ของพระมหากษัตริยห รือแมจะเปนพระมหาอปุ ราช
เรียกวาพระราชวัง เวนแตพระราชวังประทับถาวรของพระมหากษัตริยเทาน้ัน ท่ีเรียกวา
พระบรมมหาราชวัง และวงั หลายแหงเปน จุดเริ่มตนของศลิ ปะไทยแขนงตาง ๆ เชน ชา งสิบหมู

ลักษณะของปราสาท พระราชวัง พระบรมมหาราชวัง ของพระมหากษัตริย
พระบรมวงศานวุ งศและขนุ นาง แบงไดเปน 3 สมัย คือ สมัยตน (รัชกาลท่ี 1 - 3) เปนยุคสืบทอด
สถาปตยกรรมแบบกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยกลาง (รัชกาลที่ 4 - 6) ซ่ึงประเทศไทยไดรับ
อทิ ธพิ ลสถาปตยกรรมตะวันตก และสมัยหลัง (รัชกาลท่ี 7 - ปจจุบัน) เปนยุคแหงสถาปตยกรรม
รวมสมัย

1.3 ทพี่ กั อาศยั

ภาพ : ตกึ แถว ยา นบางรัก

https://th.wikipedia.org/wiki/สถาปตยกรรมสมัยรตั นโกสนิ ทร#/media/File:Thanon_Chaoren_Krung_3.JPG/

ในสมัยรัตนโกสินทรต อนตน หลงั จากทพ่ี ระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช
สถาปนากรุงเทพมหานครข้ึนเปนเมอื งหลวงแหงกรงุ รตั นโกสินทร พระองคมีพระราชประสงคท่ีจะ
ทําใหกรุงรัตนโกสินทรเปนเหมือนกรุงศรีอยุธยาแหงท่ีสอง มีการสรางสถาปตยกรรมท่ีสําคัญ
เลียนแบบกรุงศรีอยุธยา สวนบานพักอาศัย เรือนไทยท่ีคงเหลือจากสงครามก็ถูกถอดและนํามา
ประกอบใหม

87

สมัยรัชกาลท่ี 4 เรม่ิ มีการติดตอกบั ชาติตะวันตกมากข้ึน มีการสรางอาคารรูปแบบ
ตาง ๆ เพื่อรองรับกิจกรรมทางธุรกิจนอกเหนือจากท่ีอยูอาศัย และวัดวาอารามในอดีต ไดแก
โรงงาน โรงสี โรงเลือ่ ย หางรานและที่พักอาศัยของชาวตะวันตก นอกจากน้ีการสรางอาคารของ
ทางราชการ กระทรวงตาง ๆ และพระราชวังทม่ี รี ูปแบบตะวนั ตกผสมผสานกับสถาปตยกรรมไทย
ในรปู แบบนโี อคลาสสคิ เชน พระทีน่ ่ังจักรมี หาปราสาท พระที่นั่งอนนั ตสมาคม เปนตน

ภาพ : พระท่นี ัง่ อนนั ตสมาคม ซง่ึ มกี ารสรางในรูปทรงแบบยุโรป
ท่มี า : https://mgronline.com/travel/detail/9590000026961

สําหรับท่พี กั อาศัย ในการประยกุ ตยคุ แรก ๆ เรือนไมจ ะนาํ ศิลปะตะวันตกมาประยุกต
เชน เรือนปนหยา ซ่ึงดัดแปลงมาจากเรือนไมของยุโรป สรางข้ึนในพระราชวังกอนแพรหลาย
สบู านเรือนประชาชน หลังคาเรือนปน หยาท่ีมุงดว ยกระเบื้องทุกดา นของหลังคาจะชนกันแบบปรา
มิด ไมม หี นา จ่ัวแบบสถาปต ยกรรมดงั้ เดมิ จากนัน้ ไดวิวัฒนาการเปนเรือนมะนิลา ในบางสวนอาจ
เปนหลงั คาปน หยา แตเปดบางสวนใหมหี นา จัว่ หลงั จากน้นั ก็มีเรอื นขนมปงขงิ ซึง่ ไดร ับอทิ ธพิ ลจาก
เรือนขนมปงขิงสมัยโบราณของตะวันตก ซึ่งมีการตกแตงอยา งหรูหรา มีครีบระบายอยางแพรวพราว
โดยท้งั เรอื นขนมปง ขิงและเรอื นมะนลิ า เปน ศลิ ปะฉลุลายทีเ่ ฟอ งฟมู ากในสมัยรชั กาลที่ 5 - รัชกาลที่ 6

ในสมยั รัชกาลท่ี 5 เริ่มมีการใหกรรมสิทธิ์ท่ีดนิ อีกท้ังเกิดยานตลาดเปนศูนยกลาง
ชุมชน ทําใหเกิดที่พักอาศัยและรานคาตามยานหัวเมือง เรียกสถาปตยกรรมเชนน้ีวา เรือนโรง
มีลักษณะเปน เรือนพนื้ ติดดิน ไมต้ังอยูบนเสาสงู เชน เรอื นไทยในอดตี ต้ังอยูยา นชมุ ชนการคาชาวจีน
ท่เี ขามาทาํ การคาขาย โดยเปดหนา รา นสาํ หรบั ขายของ สว นดานหลังไวพ กั อาศัย สรา งเรยี งรายกัน

88

เปนแถว จึงกลายเปน หองแถวในเวลาตอมา ถึงแมว า เรือนไทยจะไดรับอทิ ธิพลตะวันตก แตค นไทยกย็ งั
ถือเร่ืองคติการสรางบานแบบไทย ๆ อยู เชน การยกเสาเอกและการถือเรื่องทิศ ตอมาสถาปนิก
และนักตกแตง ซึง่ สาํ เร็จการศึกษาจากตางประเทศไดกลับนํามาใชในการทํางาน ทําใหมีแนวโนม
นาํ เอารปู แบบสถาปต ยกรรมแบบอ่ืนมาดว ย

ในปจจุบันสถาปตยกรรมโดยเฉพาะในเมืองหลวงหรือตามเมืองใหญ ๆ แทบไม
หลงเหลอื รูปแบบสถาปต ยกรรมไทยในอดีต สถาปต ยกรรมในยคุ หลงั อตุ สาหกรรม ไดเ นน การสรา ง
ความงามจากโครงสราง วัสดุ การออกแบบโครงสรางใหมีความสวยงามในตัว เชน ใชเหล็ก
ใชก ระจกมากขน้ึ ผนังใชอ ฐิ และปนู นอ ยลง ใชโครงสรา งเหล็กมากข้นึ ออกแบบรูปทรงใหเปน กลอง
มผี นังเปน กระจกโลง เปนตน

ภาพ : วดั ราชโอรสาราม
ทม่ี า : http://www.painaidii.com/business/147899/photo/9/lang/th/#photo

ภาพ : พระที่น่ังจกั รมี หาปราสาท เปนพระที่นั่งทีส่ รา งข้นึ ในสมัยสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลาเจาอยูหัว
โดยไดร ับแนวความคิดมาจากสถาปตยกรรมตะวนั ตก

ท่ีมา : https://mareenatravel.files.wordpress.com/2014/11/175517-90-2393.jpg

89

2. ดานประติมากรรม
ประตมิ ากรรมไทยสมัยรัตนโกสนิ ทร
เรม่ิ ตัง้ แตสถาปนากรงุ รตั นโกสินทรเม่ือ พ.ศ. 2325 จนถึงปจจุบัน นับเปนยุคแหง
การเปล่ยี นแปลงทางศลิ ปวฒั นธรรม ที่เปน ไปอยางรวดเร็วฉบั พลันมากกวา ยคุ สมัยในอดีตที่ผานมา
เนอ่ื งจากอิทธิพลของความเจริญทางเทคโนโลยี อารยธรรมตะวันตกท่ีหล่ังไหลเขามาในประเทศ
อยางรวดเร็วและมากมาย การติดตอ กับนานาประเทศทวั่ โลก เปน ไปอยา งกวางขวาง มีการส่ือสาร
ท่ีฉับพลัน มีสวนอยางมากตอการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และการสรางงานประติมากรรม
กลาวโดยสรปุ ประตมิ ากรรมไทยสมยั รัตนโกสนิ ทรแบงออกไดเปน 3 ระยะ คือ ประติมากรรมแบบ
ดัง้ เดิม ประตมิ ากรรมระยะปรบั ตวั และประตมิ ากรรมรวมสมยั

ประตมิ ากรรมแบบดั้งเดมิ
ในสมัยรชั กาลท่ี 1 ถึงรัชกาลท่ี 3 การสรางงานประตมิ ากรรม ดําเนินรอยตามแบบ
ประเพณนี ยิ มทที่ าํ กันมาแตอดตี ของไทย
สมัยรชั กาลท่ี 1 เปน ยคุ ท่ีเรมิ่ สถาปนากรุงรตั นโกสินทร เปนชวงเวลาแหงการสราง
บา นเมืองใหม จงึ มีการสรางพระพทุ ธรูปนอ ยมาก พระประธานทสี่ รา งในสมัยนี้ทสี่ าํ คัญ คือ พระประธาน
ทีพ่ ระอุโบสถ และพระวิหาร วดั มหาธาตุยุวราชรงั สฤษฎ์ิราชวรมหาวหิ าร ฝม ือพระยาเทวารังสรรค
เปน พระพุทธรปู ทีม่ ขี นาดใหญ จนดเู กือบคบั อาคาร มีฐานชกุ ชีเตี้ย เปน ผลในการแสดงอํานาจราชศกั ด์ิ
พระพุทธรูปสวนใหญเคล่ือนยายมาจากสุโขทัย และจังหวัดทางภาคกลางท่ีองคพระพุทธรูปเหลานี้
ถูกทอดทิง้ อยูตามโบราณสถานทปี่ รักหกั พงั ตองกราํ แดด กรําฝน นาํ มาบรู ณะใหมกวา 1,200 องค
และสง ไปเปนพระประธานตามวัดตาง ๆ ในกรุงเทพฯ ที่เหลือนํามาประดิษฐานไว ณ ระเบียงวัด
พระเชตุพนวมิ ลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พันกวาองค ท้ังช้ันนอก และช้ันใน ประติมากรรมอ่ืน ๆ
ที่สําคัญ คือ หัวนาค และเศียรนาคจําแลง และยักษทวารสําริดปดทอง ประจําประตูทางเขา
พระมณฑป หอพระไตรปฎก หลังปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดารามฝมือครูดํา
ชา งปนเอกสมัยรชั กาลท่ี 1

90

ภาพ : ยักษบ นฐานปลายพลสิงห เหนือบันไดทางข้นึ พระมณฑป วดั พระศรีรตั นศาสดาราม
ทมี่ า : http://kanchanapisek.or.th/kp6/pictures14/s14-110-2.jpg

สมัยรัชกาลท่ี 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย โปรดเกลาฯ ใหบูรณะ
ศิลปสถาน และงานศิลปะอ่ืน ๆ โดยเฉพาะดานประติมากรรมเปนพิเศษ เชน ทรงปนหุนพระยา
รกั ใหญ รักนอ ย และรูปพระลกั ษณ พระราม ซงึ่ เปนหุนหลวงท่ีสวยงามมาก ปจ จุบันอยูในพพิ ธิ ภณั ฑ
สถานแหง ชาติ ทรงปน หุน พระพักตร พระพทุ ธประธาน 2 องค คอื พระพทุ ธจุฬารกั ษ พระประธาน
พระอุโบสถวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร และพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธาน
พระอโุ บสถวัดอรณุ ราชวรารามราชวรมหาวิหาร งานช้ินทส่ี าํ คัญอกี ช้นิ หน่ึง คอื ทรงรว มสลกั บานประตู
พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร รูปพรรณพฤกษาซอน 3 ชั้น มีภาพสัตว
ประเภทนก และกระตา ยประกอบ


Click to View FlipBook Version