The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือดนตรีและท่ารำมังคละ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Preecha Samokae, 2023-09-01 02:33:23

คู่มือดนตรีและท่ารำมังคละ

คู่มือดนตรีและท่ารำมังคละ

Keywords: มังคละ,ดนตรี,ท่ารำ

คำนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ขึ้นชื่อว่าเป็น “เมืองสามธรรม” กล่าวคือเป็นเมืองธรรมะ มีพระพุทธชินราชเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน มีวัดและ โบราณสถานมากมาย เป็นเมืองธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ภูเขา ถ้ำและน้ำตก หลากตระการตา และเป็นเมืองวัฒนธรรม ที่มีรากวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม สืบทอดส่งต่อกันมาจากรุ่น สู่รุ่น ชุมชนแต่ละชุมชนล้วนมีวิถีการดำเนินชีวิต มีอัตลักษณ์อันโดดเด่นของตนเอง การส่งเสริมการอนุรักษ์สืบสานประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นมรดกภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่าของ บรรพบุรุษ เป็นสิ่งสำคัญในสังคมไทยปัจจุบัน ที่จะเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ความเข้มแข็งมั่นคงในชีวิตของเยาวชน และประชาชน การพัฒนา สืบสาน รักษาและต่อยอดรากวัฒนธรรม เป็นกลไกที่สำคัญประการหนึ่งที่จะพัฒนา เมืองพิษณุโลกสู่ความเป็นเมืองสร้างสรรค์ จังหวัดพิษณุโลก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต และสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาสู่การปฏิบัติ (กิจกรรมสืบสาน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดนตรีมังคละมรดกไทยสู่มรดกโลก) เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนในจังหวัด พิษณุโลกเกิดความตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมด้านการดนตรีพื้นบ้านมังคละ ให้ความใส่ใจในการ อนุรักษ์ สืบสาน และพัฒนาให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก สร้างสรรค์ให้มีความโดดเด่นมากขึ้น โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ และสามารถสร้างรายได้ในเชิงเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น ผมขอขอบคุณสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละจังหวัด พิษณุโลก ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละอำเภอทุกอำเภอ ตลอดจนหน่วยงาน สถานศึกษา องค์กรภาคเอกชน และประชาชน ที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายดนตรีพื้นบ้านมังคละ ร่วมมือกันค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชน นำมา สร้างสรรค์เป็นดนตรีและท่ารำมังคละอันเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก ตลอดจนการบูรณาการดนตรีพื้นบ้าน กับดนตรีสากลด้วยการผสมผสานดนตรีมังคละกับดนตรีสากล เป็นการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัฒนธรรม ด้านการดนตรีพื้นบ้านมังคละให้สามารถสร้างรายได้และความภาคภูมิใจให้แก่ประชาชนและชุมชน ส่งผลให้สังคม เกิดความเข้มแข็งด้วยมิติด้านวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน สืบไป (นายภูสิต สมจิตต์) ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก


ก คำนำ ดนตรีพื้นบ้านมังคละ มีประวัติความเป็นมายาวนานอยู่คู่เมืองพิษณุโลก มานานกว่า ๑00 ปี เคยดำรงบทบาทสำคัญในฐานะมหรสพของคนในสังคม ก่อนที่ปัจจุบันจะลดบทบาทและความสำคัญลง ตามยุคสมัยและความเปลี่ยนแปลงของสังคม ดนตรีพื้นบ้านมังคละถูกละเลยและถูกกลบกลืนด้วยวัฒนธรรม ด้านการดนตรีสมัยใหม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้ประกาศให้ มังคละเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ที่สมควรได้รับการดูแล รักษาและส่งเสริมให้คงอยู่คู่สังคม สืบไป ในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ จังหวัดพิษณุโลกโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ได้ดำเนินการ โครงการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต และสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยน้อมนำศาสตร์ พระราชามาสู่การปฏิบัติ: กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาทักษะด้านดนตรีมังคละ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็น โครงการตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดพิษณุโลก ที่ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ ๒ ด้วยความมุ่งหวังที่จะส่งเสริม สร้างสรรค์ให้ดนตรีพื้นบ้านมังคละ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลก มีความโดดเด่นและสามารถ ผสมผสานกลมกลืนกับดนตรีในยุคสมัยใหม่ และสามารถสร้างความสนใจของคนในสังคม ก่อให้เกิดการขยายผล การสืบสานดนตรีมังคละสู่เยาวชนและประชาชนที่ในจังหวัดพิษณุโลกที่สนใจ ต่อไป กิจกรรมตามโครงการ ประกอบด้วย การจัดทำคู่มือเชิงปฏิบัติการดนตรีมังคละและท่ารำ อันเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก (ฉบับแก้ไขปรับปรุง) เป็นการเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของท่ารำที่แสดงให้เห็น ถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดครอบคลุมทั้ง ๙ อำเภอ เนื้อหาดนตรีมังคละบูรณาการกับดนตรีออร์เคสตร้า ตลอดจน เพิ่มเติมเทคนิคการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงเครื่องดนตรีมังคละ เป็นการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เทคนิค สื่อผสม เช่น การใส่ QR Code เสียงดนตรีมังคละแต่ละชนิดและท่ารำมังคละ ซึ่งสามารถเรียนรู้โดยใช้ โทรศัพท์มือถือส่องเข้าไปใน QR Code ทำให้คู่มือเชิงปฏิบัติการดนตรีมังคละและท่ารำอันเป็นอัตลักษณ์ของ จังหวัดพิษณุโลก (ฉบับแก้ไขปรับปรุง) ฉบับนี้ สามารถเป็นทั้งคู่มือการเรียนการสอนดนตรีมังคละตามแบบฉบับ เพลงพื้นบ้านโบราณ การเล่นดนตรีมังคละโดยบูรณาการกับวงออร์เคสตร้า เป็นคู่มือสำหรับนักดนตรีภูมิปัญญา ในการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องดนตรีมังคละ ตลอดจนเป็นคู่มือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ดนตรีมังคละ ของจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น จังหวัดพิษณุโลก กรกฎาคม ๒๕๖๖


สารบัญ หน้าที่ คำนำ ก เอกสารที่ ๑ ดนตรีมังคละ 1 เอกสารที่ ๒ เครื่องดนตรีมังคละ 11 เอกสารที่ ๓ การปฏิบัติเครื่องดนตรีมังคละ 18 เอกสารที่ ๔ บทเพลงมังคละเบื้องต้นและเพลงมังคละเภรีศรีสองแคว 56 เอกสารที่ ๕ รูปแบบวงมังคละและการรวมวงดนตรีมังคละ 69 เอกสารที่ ๖ ท่ารำมังคละเภรีศรีสองแคว 94 เอกสารที่ ๗ ดนตรีมังคละเภรีศรีสองแควสู่สากล : บูรณาการกับวงออร์เคสตร้า 128 เอกสารที่ ๘ เทคนิคการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องดนตรีมังคละ 174 บรรณานุกรม 17๙ คณะทำงาน ข


- ๑ - เอกสารที่ ๑ ดนตรีมังคละ ดนตรีมังคละ เป็นดนตรีพื้นบ้านซึ่งปรากฏหลักฐานบันทึกยืนยันว่ามีความเป็นมายาวนานนับ ร้อยปี เคยมีบทบาทสำคัญในฐานะมหรสพของสังคมเมืองพิษณุโลก และภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง แต่เมื่อสภาพ สังคม เปลี่ยนไปจากสังคมขนาดเล็กมาสู่สังคมขนาดใหญ่ จากสังคมชนบทขยายตัวมาสู่สังคมเมือง และสังคม เกษตรกรรม เปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมอุตสาหกรรม วิถีชีวิตของคนไทยจึงเปลี่ยนไป ทั้งกระแสวัฒนธรรมตะวันตก ที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม ได้ทำให้ดนตรีมังคละเกือบจะยุติบทบาทของตนเองลง โดยสิ้นเชิง ชาวพิษณุโลกรุ่นใหม่ไม่รู้จักดนตรีมังคละ ทั้ง ๆ ที่ดนตรีพื้นบ้านดังกล่าว ได้รับใช้คนในสังคมอย่างใกล้ชิด มาก่อนที่ความนิยมดนตรีประเภทต่าง ๆ จะเกิดขึ้น และดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ปัจจุบัน พอสรุปได้ว่า มีข้อจำกัด บางประการที่ทำให้ดนตรีมังคละ ไม่สามารถดำรงบทบาท เป็นคู่แข่งขันของดนตรีประเภทอื่นได้ เช่นดนตรีไทยดนตรีสากล ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจาก ๑. รูปแบบของดนตรีมังคละ มีรูปแบบเฉพาะตัว คือมีเสียงดังสร้างบรรยากาศคึกคัก สนุกสนานจึง เหมาะที่จะใช้กับงานที่เน้นบรรยากาศ ดังกล่าว เช่น งานทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ตรุษสงกรานต์ งานบวช งานบวชที่ มีขบวนแห่เดินด้วยเท้า เป็นต้น ๒. ขนบประเพณีของสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากครั้งอดีต ทั้งการลดจำนวนลง เช่น การบวช หรือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางประการ เช่น การใช้รถรถยนต์เป็นพาหนะของขบวนแห่ในงานบวช ก็ทำให้ ความต้องการใช้ดนตรีพื้นบ้านสร้างบรรยากาศครึกครื้นลดลง งานแต่งงาน งานตรุษสงกรานต์ ก็เริ่มลดความสำคัญของการจัดขบวน ไปเพิ่มรายละเอียดอื่นมาก ขึ้น โอกาสที่จะใช้ดนตรีมังคละนำขบวนก็น้อยลงไปด้วย ๓. สภาพเศรษฐกิจในสังคมปัจจุบัน ภาวะความบีบคั้นทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นกับคนไทยทุกอาชีพ ศิลปินพื้นบ้านผู้อยู่เบื้องหลังเสียงดนตรีมังคละก็ตกอยู่ในภาวะนี้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นอาชีพการเป็นนักดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งพอจะดำรงชีพอยู่ได้ในสมัยก่อนย่อมเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน การเป็นนักดนตรีพื้นบ้านต้องกลายเป็นอาชีพรอง เมื่อยึดอาชีพอื่นเป็นหลัก นักดนตรีจากวงต่าง ๆ จึงมีเวลาทุ่มเทให้กับดนตรีมังคละน้อยลง ประวัติความเป็นมา ดนตรีเป็นสิ่งที่ถือกำเนิดมาพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ในยุคแรก ๆ มนุษย์มีชีวิตอยู่ ใกล้ชิดธรรมชาติ สิ่งบันเทิงใจที่มนุษย์คิดขึ้นจึงเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำตก ภูเขา ป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น มนุษย์รู้จักใช้ใบไม้มาเป่าเป็นเสียงเพลง ใช้ปล้องไม้ไผ่มาทำเครื่องดนตรี ใช้เขาสัตว์มาเป็นกระบอกเสียงส่งสัญญาณ ซึ่งกันและกัน เมื่อสังคมเจริญขึ้น ความสนุกสนาน ในยามว่างก็คือการรวมกลุ่มกันร้องรำทำเพลง เกี้ยวพาราสีกัน และเป็นการพักผ่อนหย่อนใจควบคู่กันไปด้วย เมื่อย้อนอดีตจากวันนี้ผ่านมา ๑o๐ กว่าปีมาแล้วในจังหวัดพิษณุโลก มีเสียงดนตรีชนิดหนึ่ง ที่ใคร ๆ ได้ยินต้องถามว่าเสียงดนตรีอะไร มีหลักฐานบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในจดหมายเหตุระยะทางไป พิษณุโลก พระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ความว่า


- ๒ - เวลาบ่าย ๔ โมง ๔๐ นาที ไปวัดมหาธาตุ อยู่ฝั่งตะวันออกตรงข้ามกับที่ว่าการมณฑล นมัสการ พระชินราช แล้วดูธรรมาสน์เทศน์ ธรรมาสน์สวด ดูเรือนแก้ว สิ่งทั้งปวงเหล่านี้ล้วนเป็นของดีอย่างเอก ไม่เคยพบ เคยเห็น จะพรรณนาก็จะมากความนัก คิดว่าจะพรรณนาเวลาอื่น เพราะจะดูอีก ดูวันนี้เป็นการรีบ ๆ ผ่าน ๆ แลจดหมายเวลาจะนอนคงจะหยาบไปมากไม่สมกับของดี ดูในวิหารแล้วมาดูรูปพระชินราชจำลอง ติเตียนปฤกษา กับหลวงประสิทธิ์ปฏิมาอยู่จนจวนค่ำแล้วดูบานประตูมุก ดูพระระเบียงนอก ระเบียงใน ดูวิหารพระชินศรีจำลอง ดูพระมหาธาตุ ดูพระสิทธารถ แล้วเลียบไปข้างโบสถ์มาหน้าวิหารพระศาสดา แล้วมาดูพระเหลือ ลืมไป ดูวิหาร พระชินศรีแล้ว ดูมณฑปด้วย ได้ไม้สลักหัวนาคจำแลง ที่จะเป็นหัวบันไดธรรมาสน์อันหนึ่ง ได้นาคปักเป็นหัวมังกร ทำด้วยดินเคลือบอันหนึ่ง เวลาทุ่ม ๑ กลับมาถึงเรือ พอกินข้าวแล้ว พระยาเทพามาบอกว่า มังคละมาแล้ว ลืมเล่าถึงมังคละไป คืนวันเมื่อพักอยู่ที่ไทร โรงโขน ได้ยินเสียงไกล ๆ เป็นกลองตีเป็นเพลง แต่จะสังเกตว่าเป็นอะไรไม่ได้ รุ่งขึ้นกำลังเดินเรือมาตามทาง ได้ยิน อีกหนหนึ่ง ทีนี้ใกล้เขาแห่นาคกันอยู่ริมตลิ่ง แต่ไม่แลเห็นอะไรเพราะพงบังเสีย นึกเอาว่าเถิดเทิงเลวอยู่มาก ก็นึก เสียว่า เถิดเทิงบ้านนอกมันคงลักขูอยู่เอง ครั้นมาจอดที่วัดสกัดน้ำมัน ได้ยินอีกไกล ๆ จึงได้ถามท่านสมภารว่าอะไร ท่านสมภารอธิบายว่า ปี่พาทย์ ชนิดหนึ่งเรียกว่ามังคละ พระยาเทพาอยู่ที่นั่นด้วย ก็อธิบายว่า เป็นกลองคล้าย สองหน้า มีฆ้องมีปี่ ปี่พาทย์ชนิดนี้เล่นไม่ว่าการมงคลแลการอัปมงคล หากันวันกับคืนหนึ่งเป็นเงิน ๗ ตำลึง จึงขอให้ พระยาเทพาเขาเรียกมาตีให้ฟัง เมื่อเขาจัดมาแล้วเขาจึงมาบอก ได้ขึ้นไปดูมังคละ ทีแรกตีเพลงนมยานกทกแป้งฤา อะไรแป้ง จำไม่ได้ถนัดที่เขาบอก เครื่องมังคละนี้เป็นเครื่องเบญจดุริยางค์แท้ มีกลองเล็กรูปเหมือนเถิดเทิงแต่สั้น ขึง หนังหน้าเดียว มีไม้ตียาว ๆ (ที่หมาย ๑) ตรงกับ “วาตตํ” ใบหนึ่งมีกลองขึงสองหน้า เหมือนกลองมลายู เป็นตัวผู้ใบ หนึ่ง ตรงกับ “วิตตํ” เป็นตัวเมียใบหนึ่งตรงกับ “อาตตวิตตํ” (ที่หมาย ๒) กลองสามใบนี้ต้องหุ้มผ้าดอก เหลือไว้แต่ หน้าเพราะเขาว่าฝีมือขึ้นแลฝีมือทำหุ่นดูไม่ได้ และมีปี่คันหนึ่งตัว เป็นทำนองปี่จีน ลิ้นเป็นปี่ชวา ตรงกับ “สุสิรํ” มี ฆ้องแขวนราว ๓ ใบ เสียง ต่าง ๆ กันตรงกับ “ฆนํ” เสียงเพลงนั้นเหมือนกลองมลายู เข้ากับกลองเล่าโต๊ว ไม่น่าฟัง แปลว่าหนวกหู เพลงปี่ก็ไม่อ่อนหวานเป็นทำนองลูกเล่นมากกว่า เพราะลองให้ตีดู ๒ เพลงหนวกหูเต็มที เลยให้อัฐ ไล่มันไปแล้วกลับลงมานอน” เสียงดนตรีที่ดังหนวกหู ดังที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวิจารณ์นั้น ปัจจุบัน ก็ยังเล่นกันอยู่ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงบรรยายไว้ เว้นแต่กลอง สองหน้าในปัจจุบันบางทีใช้ใบเดียว และมีฉิ่งฉาบด้วย แสดงให้เห็นว่า มังคละ เป็นดนตรีในท้องถิ่นของจังหวัด พิษณุโลกที่เล่นกันมาแต่โบราณกาล และคงมีเล่นกันเฉพาะที่เมืองพิษณุโลกเท่านั้น ทั้งนี้พิจารณาจากข้อความ ในจดหมายเหตุระยะทางไปพิษณุโลก ดังกล่าวมาข้างต้นต่อมาจึงได้มีผู้คิดท่ารำประกอบโดยจินตนาการจากสภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของหนุ่มสาวชาวชนบทในยามว่างจากการทำงาน มีงานรื่นเริงหรือในเทศกาลงานบุญต่าง ๆ แต่ก่อนมังคละจะรู้จักกันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบันวงดนตรีมังคละได้รับการพัฒนาให้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย มากขึ้น ความเป็นมาบทเพลงมังคละ คุณค่าของดนตรีมังคละ ทิพย์สุดา นัยทรัพย์และคนอื่นๆ. (๒๕๓๙ : ๓๖ – ๓๘) ชาวพิษณุโลก ซึ่ง มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานได้มีวัฒนธรรมทางดนตรีของตนเองบันทึกเป็นหลักฐานนับร้อยปีมาแล้ว วัฒนธรรมดังกล่าวเป็นวัฒนธรรมราษฎร์อันเกิดจากสุนทรียภาพของชาวบ้านแท้ๆ ดนตรีพื้นบ้านดังกล่าวคือ ดนตรี มังคละ จึงเกิดขึ้นจากความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ให้ความรู้สึกที่คึกคัก เร้าใจ อันเป็นเสน่ห์ของชนบท ต่างจาก วัฒนธรรมทางดนตรีของราชสำนัก ซึ่งอ่อนหวาน นุ่มนวล ตามแบบฉบับของวัฒนธรรมหลวง เสียงดนตรีมังคละ


- 3 - ซึ่งดังกังวาน ฝ่ากระแสคลื่นแห่งวัฒนธรรมใหม่มาสู่สังคมสมัยปัจจุบันได้นั้น ย่อมท้าทายให้ค้นหาและประเมินค่า ดนตรีพื้นบ้านดังกล่าวอย่างน่าสนใจยิ่ง เมื่อพิจารณาอย่างจริงจัง พบว่าดนตรีมังคละได้ดำรงบทบาทบางประการ ในสังคมที่ควรกล่าวถึง ดังนี้ ๑. มังคละในฐานะมหรสพของสังคม สังคมชาวบ้านเป็นสังคมที่เน้นกิจกรรมการรวมกลุ่มคน ในยามที่กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการ ความบันเทิง ดนตรีมังคละสามารถให้ความสำเริงอารมณ์ได้อย่างเต็มที่ ดนตรีมังคละมีบทบาทในงานมงคลต่างๆ อันเป็นหัวใจของชนบท เช่น งานบวช งานแต่งงาน ตรุษสงกรานต์ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า โกนจุก ฯลฯ และ ในบางช่วงใช้ดนตรีมังคละนี้ในงานอวมงคลด้วย นับว่าชาวพิษณุโลกในอดีตได้ใกล้ชิดและใช้ดนตรีพื้นบ้านรับใช้ คนในสังคมอย่างคุ้มค่า และอาจตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเป็นบทบาทร่วมกับเพลงพื้นบ้านมาก่อน ปัจจุบันเพลง พื้นบ้านเมืองพิษณุโลกจะยุติบทบาทด้านนี้ลงโดยสิ้นเชิงแล้ว แต่ดนตรีมังคละยังคงดำรงบทบาทอยู่ได้ แม้ว่าจะลด ความสำคัญลงจากเดิมก็ตาม ๒. มังคละกับการสะท้อนภาพวิถีชีวิตไทย เสียงดนตรีที่ดังเร้าใจ สะท้อนไปทั่วท้องทุ่งมิได้บอกเพียงบุคลิกภาพที่ ร่าเริงเปิดเผยและ จริงใจของชาวบ้านผู้ผลิตและได้ใช้ดนตรีพื้นบ้านเป็นสื่อแห่งสุนทรียรสในกลุ่มของตนเท่านั้น แต่เบื้องหลังดนตรี มังคละก็คือภาพวิถีชีวิตไทยบางส่วนในอดีตที่บทเพลงได้บันทึกไว้และสะท้อนภาพเหล่านั้นมาสู่คนรุ่นใหม่อีกด้วย การนำไม้ขนุนซึ่งเป็นไม้ที่นิยมปลูกกันในชนบทมาใช้ประโยชน์ทำกลองมังคละได้กลองที่มีเสียงดังแปลกออกไปจาก กลองชนิดอื่นๆ ของชาวพิษณุโลกในอดีต ย่อมแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ในภูมิปัญญาของชาวบ้านไทย เมื่อนำมา ผสานกับการสังเกตธรรมชาติรอบๆ ตัว ทั้งการดำรงชีวิตของคน สัตว์ พืช ก็ทำให้ได้จังหวะและทำนองเพลงมังคละ ที่สนุกสนานสอดคล้องกับวิถีชีวิตลูกทุ่งไทย ชื่อเพลงลมพัดชายเขา ใบไผ่ร่วง (ใบไม้ร่วง) นำมาจากความพลิ้วไหว ของธรรมชาติที่หลายคนอาจไม่ได้สังเกตมาก่อนลีลาของ ใบไม้ หรือ ใบไผ่ ขณะค่อยๆ ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินนั้น เป็นภาพธรรมชาติที่ก่อให้เกิดจินตนาการอันบรรเจิดแก่ศิลปินชาวบ้านได้อย่างที่คนในเมืองอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว เพลงสาลิกาลืมดง หิ่งห้อยชมสวน กระทิงเดินดง กระทิงกินโป่ง กระทิงนอนปลัก แพะชนกันก็ล้วนมีที่มาจาก ลีลาต่างๆ ของชีวิตสัตว์ป่า ซึ่งบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าและความใกล้ชิดของคนกับป่าที่คนรุ่นใหม่ ไม่มีโอกาสได้ใช้ชีวิตนั้น เพลงแม่หม้ายนมยาน เพลงนมยานกระทกแป้ง สะท้อนถึงสถานภาพของหญิงหม้าย ในสังคมที่ศิลปินพื้นบ้านกล่าวถึงอย่างกระแนะกระแหนแฝงไว้ด้วยอารมณ์ขันอย่าง แยบยล เพราะสตรีที่เกินวัย สาวและ “กระทก” แป้งนั้น คงเป็นจังหวะที่น่าขันและนำไปตั้งชื่อเพลงซึ่งบ่งบอกถึงจังหวะและลีลาที่สนุกสนานได้ ดี เพลงข้าวต้มบูด และ “แป้ง” จากเพลงนมยานกระทกแป้ง บอกถึงอาหาร ที่นิยมของท้องถิ่นชนบทสมัยก่อน ว่านิยมรับประทานข้าวต้มผัด หรือข้าวต้มมัด ซึ่งมักทำในโอกาสพิเศษต่างๆ แต่เนื่องจากสภาพอากาศและ อุปกรณ์ในกระเก็บ “ข้าวต้ม” นั้นยังไม่ทันสมัยดังเช่นปัจจุบัน ข้าวต้มดังกล่าวจึงมีโอกาสบูดได้ เมื่อรับประทาน อยู่ในปากแล้วรู้ว่าบูดเสียจะกลืนก็ผะอืดผะอม จะคายทิ้งก็คงเสียดายรสชาติที่อร่อยจึงออกมาเป็นชื่อเพลงที่บอก ถึงความกระอักกระอ่วนกึ่งได้กึ่งเสีย ส่วน “แป้ง” ที่กระทกนั้นก็สะท้อนภาพความนิยมการทำอาหารจาก “ข้าว” ธัญพืชซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยทุกคน แต่ชาวชนบทนิยมแปรให้ข้าวมีสภาพเป็นแป้งเสียก่อนจึงนำมา ทำขนมต่างๆ เช่น บัวลอย ฝักบัว ลอดช่อง ตะโก้ ขนมถ้วย ขนมวง ฯลฯ หรือนำแป้งดังกล่าวไปเป็นส่วนผสม ของขนมชนิดอื่น เช่น ขนมกล้วย ขนมแตงไทย ขนมฟักทอง ขนมตาล หรือกล้วยทอด เป็นต้น “กระทกแป้ง” ของสตรีสูงวัยในสังคมชนบทจึงเป็นภาพที่ซ่อนความหมายของวิถีชีวิตไทยไว้ได้มากมายส่วนเพลง คุดทะราด เหยียบกรวด ก็สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน สมัยก่อนโรคคุดทะราดเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง


- 4 - ที่สร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยมาก เพราะชาวบ้านสมัยก่อนไม่ได้สวมรองเท้าการเดินเท้าเปล่าขณะที่เป็นโรคนี้ และเหยียบบนก้อนกรวด คงจะทุรนทุรายจนเห็นได้ชัด จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินชาวบ้านนำมาตั้งชื่อเพลง ดนตรีมังคละเพลงเวียนเทียน และเวียนโบสถ์ ย่อมแสดงภาพชาวบ้านไทยที่นับถือศาสนาพุทธ และมีศรัทธา อย่างแรงกล้าจนนำวัตถุปฏิบัติดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อเพลงมังคละด้วย อย่างไรก็ตามชื่อเสียงอีกเพลงหนึ่งที่สะท้อน ให้เห็นว่าเมืองพิษณุโลกแต่อดีตนั้นเป็นเมืองที่เจ้านายได้ผ่านมาอยู่เสมอ ศิลปะพื้นบ้านจึงจดจำลักษณะอันงามสง่า ของเจ้านายไปตั้งชื่อเพลง ซึ่งตนรู้สึกว่าเป็นทำนอง จังหวะที่สง่างาม คือ เพลงพญาเดิน จะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้ ย่อมยืนยันถึงสุนทรียลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านมังคละได้เป็นอย่างดีนับเป็นการอวดคุณภาพความเป็น ชาวบ้านแท้ๆที่สามารถสะท้อนภาพความเรียบง่ายและมีเสน่ห์ของสังคมเกษตรกรรมบางส่วนในอดีตออกมาอย่าง น่าสนใจศึกษาดนตรีมังคละ ศุภชัย ธีระกุล. ( ๒๕๖๐ : ๒๔) กล่าวว่า คุณค่าของดนตรีมังคละ ดนตรีมังคละเป็นดนตรี ที่มีความเป็นมายาวนาน ซึ่งรับใช้สังคมในงานมหรสพต่างๆ เป็นดนตรีพื้นบ้านที่สะท้อนวิถีชีวิตให้กับสังคมพื้นบ้าน ที่แสดงถึงความร่าเริงชาวบ้าน และมีบทเพลงที่บ่งบอกของลักษณะของผู้แต่งในการมองธรรมชาติและสร้างสรรค์ เป็นบทเพลงที่มีหลากหลาย


- 5 - การสืบทอดดนตรีมังคละในจังหวัดพิษณุโลก ศุภชัย ธีระกุล. ( ๒๕๖๑ : ๒๐-๒๒) อาจารย์ประโยชน์ ลูกพลับ ในสถานะปราชญ์มังคละ และยังเป็นประธานชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละจังหวัดพิษณุโลก ทั้งยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิต เครื่องดนตรีมังคละ ซึ่งยังแสดงดนตรีมังคละและผลิตเครื่องดนตรีมังคละรับใช้สังคมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นว่า ดนตรีมังคละของจังหวัดพิษณุโลกได้รับสืบทอดฟื้นฟูและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังแผนภูมิที่ปรากฏ แผนภูมิการสืบทอดดนตรีมังคละพิษณุโลก - ๗ – นายทองอยู่ ลูกพลับ ร.ร บ้านมะตูม สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม ร.ร ไผ่ขอน้ำ อ.พรหมพิราม อาจารย์อนงค์ นาคสวัสดิ์ อาจารย์ครองศักดิ์ ภุมรินทร์ อาจารย์ประเจิด เศรษฐธัญการ อาจารย์เพ็ญรัตน์ วริรักษ์ อาจารย์ สุพจน์ พฤกษะวัน รศ.สธน โรจตระกูล นายขันแก้ว สมบูรณ์ เป็นต้น นายประโยชน์ ลูกพลับ ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละอำเภอเมืองพิษณุโลก (ร.ร.ชุมชน ๑ วัดสะกัดน้ำมัน) ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละอำเภอบางระกำ (ร.ร.วัดหนองพะยอม) ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละอำเภอวังทอง (ร.ร.วัดท่าหมื่นราม) ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านอำเภอบางกระทุ่ม (ร.ร.วัดโคกสลุด) ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านอำเภอวัดโบสถ์(ร.ร.วัดน้ำคบ) ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านอำเภอพรหมพิราม (ร.ร.วัดสะพานหิน (วงศ์วานประชาสรรค์) ) ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านอำเภอเนินมะปราง (ร.ร.วัดบ้านมุง) ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านอำเภอชาติตระการ (ร.ร.ชุมชนวัดบ้านดง) ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านอำเภอนครไทย (ร.ร.บ้านเข็กใหญ่) นายเพิ่ม เมืองมา นายประพรต คชนิล


- 6 - เครือข่ายดนตรีพื้นบ้านมังคละ จังหวัดพิษณุโลก นอกเหนือจากวงดนตรีพื้นบ้านมังคละของชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละ จังหวัดพิษณุโลก และวงดนตรีพื้นบ้านมังคละของศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละอำเภอ ๙ อำเภอ แล้ว ในจังหวัดพิษณุโลก ยังมี วงดนตรีพื้นบ้านมังคละ ในสถานศึกษาต่างๆ ของจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้ ที่ อำเภอ โรงเรียน ๑ เมืองพิษณุโลก ๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนชุมชน ๑ วัดสะกัดน้ำมัน ๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดจอมทอง ๓. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ๔. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ๕. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ๖. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนจ่าการบุญ ๗. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง ๘. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนสะพานที่ ๓ ๙. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านพลายชุมพล ๑๐. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านกร่าง(พระขาวชัยสิทธิ์) ๑๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดแหลมโพธิ์ ๑๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม(วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) ๑๓. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดมหาวนาราม ๑๔. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดท่ามะปราง) ๑๕. ดนตรีพื้นบ้านมังคละวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก ๑๖. ดนตรีพื้นบ้านมังคละวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพิษณุโลก ๑๗. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก ๑๘. ดนตรีพื้นบ้านมังคละมหาวิทยาลัยนเรศวร ๑๙. ดนตรีพื้นบ้านมังคละมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ๒๐. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดศรีรัตนาราม ๒๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดยางเอน(ประชานุเคราะห์) ๒๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ๒๓. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนจ่านกร้อง ๒๔. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดศรีรัตนาราม(รัตนราษฎร์สงเคราะห์) ๒๕. ดนตรีพื้นบ้านมังคละบ้านทองหลาง หมู่ที่ ๒ ๒๖. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ พิษณุโลก


- 7 – ที่ อำเภอ โรงเรียน ๒ บางระกำ ๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดหนองพะยอม ๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดพรหมเกษร ๓. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านคลองเตย ๔. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา ๓ วังทอง ๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดท่าหมื่นราม ๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนชุมชน ๒ บ้านกกไม้แดง ๓. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ๒ ๔. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านเนินทองราษฎร์พัฒนา ๔ บางกระทุ่ม ๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดโคกสลุด ๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนประชาสามัคคี ๕ วัดโบสถ์ ๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดน้ำคบ ๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดนาขาม ๓. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านวัดโบสถ์(บำรุงวุฒิวิทยา) ๔. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนแก่งบ้านยางป่าคาย ๕. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดเสนาสน์ ๖. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านคลองช้าง ๗. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนคันโช้งพิทยาคม ๘. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดคันโช้ง ๙. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนแก่งบ้านยางป่าคาย ๑๐. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดโบสถ์ศึกษา ๖ พรหมพิราม ๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดสะพานหิน (วงศ์วานประชาสรรค์) ๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนพรหมพิรามวิทยา ๓. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดกระบังมังคลาราม ๔. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดหางไหล ๕. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดท้องโพลง ๖. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านคลองทำเนียบ ๗. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดท่าช้าง ๘. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนราษฎร์บำรุง ๙. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนประชาสามัคคี ๑๐. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนพิรามอุทิศ ๑๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดคลองมะเกลือ


- 8 - ที่ อำเภอ โรงเรียน พรหมพิราม(ต่อ) ๑๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านบุ่งวิทยาคม ๑๓. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนผดุงวิทยา ๑๔. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนศรีภิรมย์พิทยา ๑๕. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนราษฏร์สามัคคี ๑๖. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดห้วยดั้ง ๑๗. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนทับยายเชียง ๑๘. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านป่าสัก ๗ เนินมะปราง ๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดบ้านมุง ๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนไทรย้อยพิทยาคม ๘ ชาติตระการ ๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนชุมชนวัดบ้านดง ๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนวัดเนินสุวรรณ ๓. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านร่มเกล้า ๔. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนสวนเมี่ยงวิทยา ๕. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านห้วยช้างแทง ๖. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนชาติตระการวิทยา ๙ นครไทย ๑. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านเข็กใหญ่ ๒. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านแยง ๓. ดนตรีพื้นบ้านมังคละโรงเรียนบ้านน้ำพริก บทเพลงมังคละ บทเพลงวงมังคละ แต่เดิมมีถึง ๓๘ บทเพลง ดังนี้ ๑. เพลงไม้หนึ่ง ๒. เพลงไม้สอง ๓. เพลงไม้สาม ๔. เพลงไม้สามกลับ ๕. เพลงไม้สามถอยหลัง ๖. เพลงไม้สี่ ๗. เพลงกระทิงเดินดง ๘. เพลงกระทิงนอนปลัก ๙. เพลงกระทิงกินโป่ง ๑๐. เพลงเก้งตกปลัก ๑๑. เพลงข้ามรับ-ข้ามส่ง ๑๒. เพลงข้าวต้มบูด ๑๓.เพลงคางคกเข็ดเขี้ยว ๑๔. เพลงคลื่นกระทบฝั่ง ๑๕. เพลงคุดทะราดเหยียบกรวด ๑๖. เพลงตกปลัก ๑๗. เพลงตกตลิ่ง ๑๘. เพลงตุ๊กแกตีนปุก ๑๙. เพลงถอยหลังลงคลอง ๒๐.เพลงนมยานกระทกแป้ง ๒๑. เพลงนารีชื่นชม ๒๒. เพลงบัวโรย ๒๓. เพลงบัวลอย ๒๔. เพลงใบไม้ร่วม (ใบไผ่ร่วง) ๒๕. เพลงปลักใหญ่ ๒๖. เพลงพญาเดิน ๒๗. เพลงแพะชนกัน ๒๘. เพลงแม่หม้ายนมยาน ๒๙. เพลงรักซ้อน ๓๐. เพลงรักแท้ ๓๑. เพลงรักเร่ ๓๒. เพลงรักลา ๓๓. เพลงลมพัดชายเขา ๓๔. เพลงเวียนเทียน ๓๕. เพลงเวียนโบสถ์ ๓๖. เพลงสาลิกาลืมดง ๓๗. เพลงสาวน้อยประแป้ง ๓๘. เพลงหิ่งห้อยชมสวน


- 9 - โดยชื่อบทเพลงมังคละมาจากจังหวะการบรรเลงของกลองยืน วิธีการถ่ายทอดสั่งสอนของมังคละ ก็เหมือนกันการถ่ายทอดศิลปะของไทยเกือบทุกประเภท มักมีวิธีสอนเล่นหรือต่อกันตัวต่อตัว ไม่มีการจดบันทึกไว้ เป็นหลักฐาน หลายเพลงได้สูญหายไปตามกาลเวลา จากการรวบรวมและชำระเพลงมังคละครั้งสำคัญ เมื่อครั้งสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเป็นศูนย์ วัฒนธรรมวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ได้จัดสัมมนา “๙๐ ปี ดนตรีมังคละ” ขึ้น การสัมมนาครั้งนี้ ได้เชิญวงมังคละทั้งหมด ในแถบภาคเหนือตอนล่างทั้ง ๓ จังหวัด คือ พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ มาชำระเพลง มังคละร่วมกัน สามารถเก็บรวบรวมบทเพลงได้ทั้งหมด ๒๑ บทเพลง ๑. เพลงไม้หนึ่ง ๒. เพลงไม้สอง ๓. เพลงไม้สาม ๔. เพลงไม้สี่ (เพลงครู) ๕. เพลงบัวลอย ๖. เพลงถอยหลังลงคลอง ๗. เพลงใบไม้ร่วง (ใบไม้ร่วง) ๘. เพลงตกปลัก (อีเก้งตกปลัก) ๙. เพลงนมยานกระทกแป้ง ๑๐. เพลงตุ๊กแกตีนปุก ๑๑. เพลงคางคกเข็ดเขี้ยว ๑๒.เพลงแพะชนกัน ๑๓.เพลงคุดทะราดเหยียบกรวด ๑๔.เพลงข้าวต้มบูด ๑๕.เพลงกระทิงกินโป่ง ๑๖.เพลงพญาเดิน ๑๗.เพลงตีนตุ๊กจะ ๑๘.เพลงกวางเดินดง ๑๙.เพลงบัวโรย ๒๐.เพลงรักแท้ ๒๑.เพลงรักเร่ (สาวน้อยปะแป้ง,เพลงรำ) วันเสาร์ที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดเสวนา “รักษ์มังคละ” โดยได้เชิญอาจารย์ประโยชน์ ลูกพลับ ซึ่งเป็นประธานชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน มังคละจังหวัดพิษณุโลกและพบว่าบทเพลงมังคละที่ใช้ในการบรรเลงในปัจจุบันมี ๑๙ บทเพลง ดังนี้ ๑. เพลงไม้สี่ ๒. เพลงไม้หนึ่ง ๓. เพลงไม้สอง ๔. เพลงไม้สาม ๕.เพลงข้าวต้มบูด ๖. เพลงคุดทะราดเหยียดกรวด ๗. เพลงคางคกเข็ดเขี้ยว ๘. เพลงสาวน้อยประแป้ง ๙. เพลงนมยานกระทกแป้ง ๑๐. เพลงเวียนโบสถ์ ๑๑. เพลงบัวลอย ๑๒. เพลงสาลิกาลืมดง ๑๓. เพลงปลักใหญ่ ๑๔. แพะชนแกะ ๑๕. เพลงเก้งตกปลัก ๑๖. เพลงข้ามรับ ๑๗. เพลงข้ามส่ง ๑๘. ถอยหลังลงคลองหรือใบไม้ร่วง ๑๙. ไม้หนึ่งแถม พญาเดินหรือหุ้มใบศรี


- 10 - การไหว้ครูดนตรีมังคละ การเรียนวิชาใด ๆ ก็ตาม คนไทยให้ความเคารพครูบาอาจารย์เสมอ จึงมีวันไหว้ครูเกิดขึ้น โดยกำหนดให้วันพฤหัสบดีเป็นวันไหว้ครู การไหว้ครูดนตรีมังคละก็เช่นกันจะกำหนดวันพฤหัสบดี ข้างขึ้น เดือ น๖ เป็นวันไหว้ครูมังคละทุกปี ภาพที่ ๑ พิธีไหว้ครู และครอบครูดนตรีพื้นบ้านมังคละ (ที่มา: ประโยชน์ ลูกพลับ, ๒๕๕๗) เครื่องเซ่นไหว้ครูมังคละ ประกอบด้วยบายศรี ๒ สำรับ เครื่องกระยาบวช เช่น หัวหมู ไก่ ไข่ สุรา ข้าวสุก และกับข้าว ขนมต้ม ขนมบัวลอย ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวขาว มะพร้าวอ่อน กล้วย ขนุน ผลไม้ หมากพลู และยาเป็นต้นบริเวณพิธี นำเครื่องดนตรีมังคละมาจัดวางไว้บนโต๊ะ แวดล้อมด้วยเครื่องบูชาครูข้างต้น ภาพที่ ๒ เครื่องเซ่นพิธีไหว้ครู และครอบครูดนตรีพื้นบ้านมังคละ (ที่มา: ประโยชน์ ลูกพลับ, ๒๕๕๗)


- ๑1 - ก่อนเริ่มพิธีไหว้ครู จะมีการบูชาพระก่อน แล้วจึงถวายข้าวพระ ลาข้าวพระเป็นลำดับ ต่อจากนั้น จึงจุดธูป ๙ ดอก เทียน ๙ เล่ม ปักไว้ที่เครื่องบูชา แล้วจึงกล่าวคำไหว้ครูดังนี้ แบบไหว้ครูมังคละ ให้ชุมนุมเทวดาก่อน ให้เพลงสาธุการ มีคำบูชาครูดังนี้ พระเพชรฉลูกัน พระวิษณุกรรม พระประโคนธรรพ ขอคำนับถวาย สักการะบูชา อนุรักษ์ คันตุ บริบูนวันตุฯ แบบไหว้ครู อุกาสะวันทิตวา ข้าพเจ้าจะขออัญเชิญพระวิษณุกรรม และพระเพชรฉลูกัน ทั้งเทพบุตรทั้งสี่ กับทั้งพระมหาฤาษีทั้งสี่พระองค์ จงมาสโมสรประชุมในสถานที่นี้ (กราบ) วันนี้ก็เป็นวันดี ขอให้เจริญศรีสุขสวัสดิ์ ข้าพเจ้าตั้งใจปฏิพัทธ์นมัสการพระชินสีห์ พระชนกกุฎี คุณพระปกเกล้าเกศทุกค่ำเช้าเพรางาย ข้าพเจ้าขอไหว้พระอิศวรข้าพเจ้าขอไหว้พระนารายณ์ ข้าพเจ้าขอไหว้เทวดา ทั้งหลายข้าพเจ้าขอไหว้พระคุณบิดามารดา คุณครู จงรักษาให้อยู่เป็นสุข (กราบ ๑) นโมข้าขอนมัสการ ข้าพเจ้าขอกราบกราน ไหว้เทพไททั้ง ๓ พระองค์ พระวิษณุกรรมผู้ทรงฤทธิ์ ท่านประสิทธิ์ ประสาทสรรค์ เครื่องเล่นสารพันในใต้หล้า อีกทั้งเทวดาปัญจสิงขรณ์ ท่านท้าวกางพระกรท่านท้าว ถือพิณดีดดังเสนาะสนั่นอีกทั้งท่านพระประโคนธรรพ และครูเฒ่าครูทั้งนั้นเล่าสืบ ๆ กันมา จนถึงทุกวันนี้ ข้าพเจ้า ขออัญชุลี ขอเชิญพระฤาษีทั้งเจ็ดตน จงมาอวยพรในการมงคล ให้แก่ข้าพเจ้าพร้อมทั้งของนี้ (กราบ ๑ แล้วเปิด เครื่องสังเวย) ศรีสิทธิฤทธิเดโชชัย เดชะพระเลิศไกรประสิทธิ์ด้วยพรมงคล ข้าพเจ้าขอเชิญเทวดาทุกสถาน เบื้องบน มาสถิตแห่งสากลกันเสนียดและจัญไร สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย อุปัทวันตราย อย่าได้มีมา วินาศสันติ อิมัสมิง อะหังวันทามิ อาจาริยัง ประพาสายัง วินาศสันติสิทธิการประระปะชา ตัสมิงสิทธิ พระวะตุสับ (กราบ ๑) ถวายครูว่าดังนี้ สรรพประโคนธรรพ ปะเทวิมัสมิงที่สามาเค สันติเทวา มะหิตฬิกาเตตุ ตุมหิ อะนุรักคันตุ ปะริพนยันตุ (ทุติ, ตะติ ๓ หน) (กราบ ๑ ที) อุกาสะ ข้าพเจ้าขอประสิทธิ์เครื่องพิณดีดสีตีเป่า ขับร้องฟ้อนรำ สิทธิธัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาระคะโต สิทธิการิยะ ตะถาระคะโต สิทธิเตโช ชัยโยนิจจัง สิทธิลาภัง พระวันตุเต ปัตติๆ บูชา คันทัพพระนาคา เวสสุกรรม ปัญจสิงขร เทวาสัมบูชาเย (กราบ ๓ ที่) (เซ่นเหล้า)


- 12 - ลาครูว่าดังนี้ สรรพประโคนธรรพ สรรพปะโคนธา มหาเดชะ อิมัสมิง อัดทะราเค เทวาพระลายันตุฯ , (ทุติ, ตะติ, ๓ หน) กราบ ๓ หน หมดพิธี เมื่อเสร็จพิธีไหว้ครูแล้ว ก็นำเครื่องบูชาเหล่านั้นมารับประทาน แล้วก็เลี้ยงข้าวปลาอาหารกัน และอาจจะมีการบรรเลงเพลงมังคละเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่าบทไหว้ครู จะกล่าวถึงเทพทางวิชาดนตรี ครูผู้สืบทอดวิชา และสั่งสอนต่อ ๆ กันมาไม่ว่าจะเป็นครูประเภทครูแนะนำ ครูสั่งครูสอน ครูที่ช่วยต่อกลอน ต่อสติ ต่อปัญญาให้แก่ศิษย์จะอัญเชิญ มารับการสักการบูชาทั้งหมด เช่น ครูทอง ครูไทย ปู่กาล หลวงตาง่วน ลุงเส็ง เขียวเอี่ยม เป็นต้น นี่คือความกตัญญู ที่แฝงอยู่ในศิลปะการดนตรีพื้นบ้าน


- ๑3 – เอกสารที่ ๒ เครื่องดนตรีพื้นบ้านมังคละ เครื่องดนตรีพื้นบ้านมังคละ ดนตรีมังคละเป็นดนตรีพื้นบ้านที่มีการละเล่นกันมาอย่างยาวนาน อยู่คู่คนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่างยังมีการพบเห็นและยังมีการบรรเลงในงานสำคัญทั้งงานมงคลและอวมงคล ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ในวงดนตรีมังคละนั้นประกอบด้วย เครื่องกระทบ เป็นส่วนใหญ่ โดยมีเครื่องดำเนินทำนองเพียงเครื่องเดียว คือ ปี่มังคละ ซึ่งในวงดนตรีมังคละ ประกอบไปด้วยเครื่อง ดนตรีหลัก ๕ ชนิด ดังนี้ กลองยืน กลองหลอน กลองมังคละ ฆ้องหาม (ฆ้อง ๓ เสียง) ปี่มังคละ ซี่งเป็นเครื่องหลัก และจำเป็นต้องมีในวงมังคละทุกครั้งที่มีการแสดง และเครื่องประกอบจังหวะต่างๆ เช่น ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ หรืออาจจจะมี กรับ ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีเสริมวงมังคละให้มีความสนุกสนานมากขึ้น กลองยืน – กลองหลอน ไม้ตีกลองยืน มีลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง มีความยาวมากกว่าไม้ไม้ตีกลองหลอน ไม้ตีกลองหลอน มีลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง มีความยาวน้อยกว่าไม้ไม้ตีกลองยืน ไม้ตีกลองหลอน ไม้ตีกลองยืน


- ๑4 – กลองยืน มีลักษณะเป็นกลองสองหน้า มีความยาวของกลอง ๒๘ นิ้ว ด้านหน้ากลองใหญ่กว้าง ๑๐ นิ้ว ด้านหน้ากลองเล็กกว้าง ๗ นิ้ว เป็นเครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่เป็นจังหวะหลักของวงมังคละและบ่งบอกถึงการบรรเลง ในบทเพลงต่างๆในวงดนตรีมังคละ มีลักษณะเสียงเสียงต่ำกว่ากลองหลอน กลองหลอน มีลักษณะเป็นกลองสองหน้าและเล็กกว่ากลองยืน มีความยาวของกลอง ๒๘ นิ้ว ด้านหน้า กลองใหญ่กว้าง ๙ นิ้ว ด้านหน้ากลองเล็กกว้าง ๖ ๑ ๒ นิ้ว เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงจังหวะสอดแทรกกับกลองยืน ให้บทมีการมีความน่าสนใจมากขึ้นมีลักษณะเสียงสูงกว่ากลองยืน กลองยืน กลองหลอน


- ๑5 – กลองมังคละ กลองมังคละ หรือในบางพื้นที่เรียกตามเสียงที่ดังว่า โกรกหรือโกร๊ก มีลักษณะเป็นกลองหน้าเดียว ขนาดเล็ก ด้านหน้ากลองหุ้มด้วยหนังทำจากไม้ขนุน หรือไม้ที่มีในท้องถิ่นด้านท้ายอีกด้านหนึ่งเจาะรูขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง ๑ นิ้ว ไว้ตรงกลางเรียก ดาก เวลาตีใช้ตีด้วยหวาย ๒ อัน ปลายหวายพันเอาไว้ด้วยเชือกเมื่อตีจะเกิดเสียง ดังโกร๊ก กลองมังคละ ดากกลองมังคละ ไม้ตีกลองมังคละ


- ๑6 – ฆ้องหาม (ฆ้อง ๓ เสียง) ฆ้องหาม หรือฆ้อง ๓ เสียง เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้การหามไว้บนบ่าและเป็นเครื่องดนตรีที่ไว้กำกับจังหวะ ในการบรรเลงของวงมังคละ ซึ่งจังหวะช้าหรือ เร็วก็ขึ้นอยู่กับ ฆ้องหาม และจะมีฆ้อง ๓ ใบ สำหรับแขวนฆ้อง โดยลูกฆ้องต้องคัดเลือกให้มีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ฆ้องที่แขวนอยู่บนคานหามส่วนที่อยู่หน้าสุดมีเสียงสูงเป็นฆ้อง ใบเล็กสุด เรียกว่า ฆ้องหน้า ส่วนฆ้องอีก ๒ ลูก จะเป็นฆ้องหลังที่จะมีข้างใดข้างหนึ่ง ที่จะมีเสียงที่สูงกว่าอีกข้าง คานหาม ฆ้อง ๓ เสียง ไม้ตีฆ้อง ไม้ตีฆ้องหน้า ไม้ตีฆ้องหลัง


- ๑7 – ปี่มังคละ ปี่มังคละ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ดำเนินทำนองเพียงชิ้นเดียวในวงมังคละ ทำนองปี่ในการบรรเลงเกิดขึ้นจาก การด้นสด หรือการบรรเลงตามความรู้สึกความเชี่ยวชาญของผู้บรรเลง มีลักษณะคล้ายปี่จีนเลาปี่ มีลักษณะ เป็นข้อๆ ส่วนลิ้นปี่มีลักษณะคล้ายปี่ชวา หรือปี่แน เสียงของปี่เป็นเสียงที่เร้าใจและมีเสียงดังเจิดจ้า แจ่มใส ล าโพงปี่ เลาปี่ กา พวด ลิ้นปี่


- 18 – เอกสารที่ ๓ การปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านมังคละ การปฏิบัติการตีฆ้องหาม วิธีการตีฆ้องหาม จะใช้มือข้างที่ถนัดจับไม้ตีฆ้องหาม จับปลายไม้ให้เข้าระหว่างอุ้มมือแล้วใช้การกำไม้ ระหว่างกลางมือกำให้แน่น ส่วนจุดในการตีฆ้องหามจะต้องตีกลางที่เป็นตุ่มตรงกลางจึงจะได้เสียงที่ดี โดยฆ้องหน้าที่มีเสียงสูงเรียกเสียงเหม่ง ฆ้องหลังที่มีเสียงสูงเรียก โม้ง ต่ำกว่าเรียกโหม่ง การบรรเลงจะตีให้จังหวะ ยืนช้า เร็ว ก็ขึ้นอยู่กับจังหวะของฆ้องเป็นหลักให้กับเครื่องดนตรีชิ้นอื่นในจังหวะตก การจับไม้ตีฆ้อง คานหาม


- 19 – วิธีการหาม ฆ้องหาม (ยืนบรรเลง) วิธีการหาม ฆ้องหาม (นั่งบรรเลง)


- ๒0 – เสียงต่ำโม้ง เสียงสูงโหม่ง เสียงเหม่ง ฆ้องหลัง ฆ้องหน้า จังหวะในบรรเลงฆ้องหาม ฆ้องหน้า - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - - เหม่ง ฆ้องหลัง - - - โม้ง - - - โม้ง - - -โหม่ง - - - โหม่ง - - - โม้ง - - - โม้ง - - - โหม่ง - - - โหม่ง การบรรเลงฆ้องหาม ร่วมกับเครื่องประกอบจังหวะอื่น (ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่) เมื่อนำมาบรรเลงร่วมกับเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ ซึ่งได้แก่ ฉาบเล็ก และฉาบใหญ่ จะมีการบรรเลง ร่วมกันใน ฉาบเล็กจะทำหน้าที่ขัดกับ ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก วิธีการบรรเลง ๑. ใช้มือข้างที่ถนัดในลักษณะคว่ำมือ ยกฉาบในระดับพอสมควรโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ จับเชือก (พู่จับฉาบ) พอสมควรโดยใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยประคองหนังฉาบ ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดในลักษณะ หงายมือใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับเชือก (พู่จับฉาบ) โดยใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยประคองหนังฉาบ ๒. เมื่อตีลงบนฉาบกระทบกัน ให้ปล่อยนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย พร้อมให้ขยับฉาบไปข้างหน้าพอสมควร จะได้เสียง แช่ ๓. จากนั้นให้ใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยประคองฉาบในลักษณะเดิมและให้ดึงฉาบมาประกบกัน เลื่อนไปข้างหลังพอสมควร ได้เสียง วับ จุดในการตี


- ๒1 – ๑. ยกฉาบ ๒. เสียงแช่ ๓. เสียงวับ ฉาบใหญ่ วิธีการบรรเลง ๑. ใช้มือข้างที่ถนัดในลักษณะคว่ำมือ ยกฉาบในระดับพอสมควรโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ จับเชือก (พู่จับฉาบ) พอสมควรโดยใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยประคองหลังฉาบ ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดในลักษณะ หงายมือใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับเชือก (พู่จับฉาบ) โดยใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยประคองหนังฉาบ ๒. เมื่อตีลงบนฉาบกระทบกันโดยไม่ปล่อยปล่อยนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย ได้เสียง ฉาบ จากนั้นให้ยก ฉาบขึ้นเพื่อบรรเลงใหม่ ๑. ยกฉาบ ๒. เสียงฉาบ


- ๒2 – จังหวะในบรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ ฆ้องหาม ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ - - - ฉาบ - - - ฉาบ - - - ฉาบ - - - ฉาบ - - - ฉาบ - - - ฉาบ - - - ฉาบ - - - ฉาบ ฉาบเล็ก - แช่- วับ - แช่- วับ - แช่- วับ - - - - - แช่- วับ - แช่- วับ - แช่- วับ - - - - ฆ้องหน้า - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - - เหม่ง - - -เหม่ง - - - เหม่ง ฆ้องหลัง - - - โม้ง - - - โม้ง - - -โหม่ง - - - โหม่ง - - - โม้ง - - - โม้ง - - - โหม่ง - - - โหม่ง การปฏิบัติการตีกลองยืน - กลองหลอน วิธีการจับไม้ตีกลองยืน-หลอน จะใช้โคนนิ้วหัวแม่มือ กับโคนนิ้วชี้หนีบไม้กลอง ในส่วนปุ่มกันลื่น ด้านท้ายไม้อย่างหลวมๆ ใช้การจับไม้แบบนี้ใช้ได้ทั้งกับกลองยืนและกลองหลอน ในการตีให้ใช้การสะบัดจากข้อมือ เข้าหาหน้ากลอง การจับไม้กลองยืน – กลองหลอน


- ๒3 – การยืนบรรเลงกลองยืน การปฏิบัติกลองยืน ระบบเสียงกลองยืน กลองยืน หน้าใหญ่ หน้าเล็ก 1. เท่ง 2. เก๊ะ 3. ตุ๊บ ๑. ป๊ะ


- ๒4 – เสียงเท่ง วิธีการตีให้เกิดเสียง “เท่ง” จะตีด้วยมือข้างที่ถือไม้ตีกลองยืน ตีในส่วนของหน้าใหญ่ โดยการตีนั้น จะใช้การสะบัดข้อมือเข้าหาหน้ากลองพอไม้กลองกระทบหน้ากลองแล้วให้บิดมือกลับ ช่วงที่บิดมือกลับเพื่อไม่ให้ ไม้กลองกระทบกับหนังกลองอีก ในส่วนมือด้านกลองหน้าเล็กนั้น ไม่ต้องประคบหรือแตะหน้ากลองด้านหน้าเล็ก ให้เปิดหน้ากลองไว้ การบิดข้อมือตีกลองหน้าใหญ่ การบิดข้อมือออกหลังจากตีกลองหน้าใหญ่ การวางมือหน้ากลองหน้าเล็ก


- ๒5 – การวางมือหลังจากการตีกลองทั้งสองหน้า จุดที่ใช้ในการตีให้เกิดเสียงเท่ง - ๒๘ – ใส่ QR code การบรรเลง


- 26 – เสียง ตุ๊บ วิธีการตีให้เกิดเสียงตุ๊บ นั้น จะตีด้วยมือข้างที่ถือไม้ตีกลองยืนในส่วนของหน้าใหญ่ โดยการตีนั้นจะให้ส่วน ส้นมือวางไว้บนหน้ากลอง จากนั้นให้ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยแล้วตีกดลงหน้ากลองโดยส่วนที่กระทบ คือส่วน หน้ามือส่วนปลาย นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ในลักษณะแบมือ เมื่อสัมผัสหน้ากลองให้กดนิ้วไว้ค้างไว้ ส่วนมือ ด้านกลองหน้าเล็กไม่ต้องประคบหรือแตะหน้ากลองด้านหน้าเล็ก ให้เปิดหน้ากลองไว้ การวางส้นมือบนกลองหน้าใหญ่ การตีด้วยปลายนิ้วส่วนในบนกลองหน้าใหญ่


- ๒7 - การวางมือหน้ากลองหน้าเล็ก การวางมือหลังจากการตีกลองทั้งสองหน้า


- 28 – จุดที่ใช้ในการตีให้เกิดเสียงตุ๊บ ใส่ QR code การบรรเลง


- 29 - เสียง เก๊ะ วิธีการตีให้เกิดเสียงเก๊ะ นั้นจะตีด้วยมือข้างที่ถือไม้ตีกลองยืนในส่วนของหน้าใหญ่ โดยการตีจะใช้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย แตะหน้ากลองค้างไว้ จากนั้นให้สะบัดข้อมือเข้าหาหน้ากลองโดยให้ไม้กระทบกับขอบกลอง ส่วนมือด้านกลองหน้าเล็กนั้นไม่ต้องประคบหรือแตะหน้ากลองด้านหน้าเล็กให้เปิดหน้ากลองไว้ การวางนิ้วบนหน้ากลองใหญ่ การตีขอบกลองหน้ากลองใหญ่ การวางมือหน้ากลองหน้าเล็ก


- ๓0 - จุดที่ใช้ในการตีให้เกิดเสียงเก๊ะ ใส่ QR code การบรรเลง


- ๓1 – เสียง ป๊ะ วิธีการตีให้เกิดเสียงป๊ะนั้น จะตีด้วยมือข้างที่ไม่ถือไม้ตีกลองยืนในส่วนของหน้าเล็ก โดยการตีนั้น จะตี โดยใช้ส่วนกลางมือระหว่างส้นมือกับกลางมือกระทบกับขอบกลองโดยส่วนที่จะกระทบกับหน้ากลองคือส่วนของ หน้ามือในส่วนของปลายนิ้ว นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย เมื่อสัมผัสหน้ากลองให้ยกนิ้วออกทันที ส่วนมือ ด้านกลองหน้าใหญ่นั้นให้ใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย นิ้วก้อยประคบหรือแตะหน้ากลองด้านใหญ่ไว้ การวางมือบนกลองหน้าเล็ก การตีกลองหน้าเล็ก การยกมือหลังจากการตีกลองหน้าเล็ก


- ๓2 – การประคบหน้ากลองหน้าใหญ่ จุดที่ใช้ในการตีให้เกิดเสียงป๊ะ - ๓๕ – ใส่ QR code การบรรเลง


- 33 - แบบฝึกหัดจังหวะกลองยืน ๑๐ รูปแบบ - - - x - x - x - - -ป๊ะ - เท่ง- ป๊ะ - x - x - x - x - ป๊ะ- เท่ง - ป๊ะ- เท่ง - - x x - x - x - - ป๊ะเก๊ะ - ป๊ะ- เก๊ะ - - x x - - x x - - ป๊ะเท่ง - - ป๊ะเท่ง - - - x - x x x - - - ป๊ะ - เท่งป๊ะเท่ง - - x x - x x x - - ป๊ะเท่ง - เท่งป๊ะเท่ง รูปแบบ ที่ ๑ รูปแบบ ที่ ๒ รูปแบบ ที่ ๓ รูปแบบ ที่ ๔ รูปแบบ ที่ ๕ รูปแบบ ที่ ๖


- ๓4 – แบบฝึกหัดจังหวะกลองยืน ๑๐ รูปแบบ (ต่อ) การจบบทเพลงโดยใช้กลองยืน - - - ป๊ะ - เท่ง - เท่ง - ป๊ะ เท่ง เท่ง - เท่ง - ป๊ะ - x - x - x x x - ป๊ะ - เท่ง - เท่งป่ะเท่ง - - x x - x - x - - ตุ๊บ ป๊ะ - ตุ๊บ - ป๊ะ - - - x - x - x - - - เท่ง - ตุ๊บ - ป๊ะ - x x x - x x x - ป๊ะเท่งเท่ง - ป๊ะเท่งเท่ง รูปแบบ ที่ ๗ รูปแบบ ที่ ๘ รูปแบบ ที่ ๙ รูปแบบ ที่ ๑๐


- 35 – การยืนบรรเลงของกลองหลอน การปฏิบัติกลองหลอน ระบบเสียงกลองหลอน กลองหลอน หน้าใหญ่ หน้าเล็ก 1. ติง 2. หนืด ๑. จ๊ะ


- ๓6 – เสียง ติง วิธีการตีให้เกิดเสียงติง นั้นจะตีด้วยมือข้างที่ถือไม้ตีกลองหลอนในส่วนของหน้าใหญ่ โดยการตีนั้นจะใช้ การสะบัดข้อมือเข้าหาหน้ากลอง พอไม้กลองกระทบหน้ากลองแล้วให้บิดกลับเพื่อไม่ให้ไม้กลองกระทบกับหนัง กลอง ส่วนมือด้านกลองหน้าเล็กไม่ต้องประคบหรือแตะหน้ากลองด้านหน้าเล็กให้เปิดหน้ากลองไว้ การบิดข้อมือตีกลองหน้าใหญ่ การบิดข้อมือออกหลังจากตีกลองหน้าใหญ่ การวางมือหน้ากลองหน้าเล็ก


- ๓7 – จุดที่ใช้ในการตีให้เกิดเสียงติง ใส่ QR code การบรรเลง


- 38 – เสียง หนืด วิธีการตีให้เกิดเสียงหนืด นั้นจะตีด้วยมือข้างที่ถือไม้ตีกลองหลอนในส่วนของหน้าใหญ่ โดยการ ตีนั้นจะใช้ไม้ตี เมื่อไม้กลองกระทบหน้ากลองแล้วให้บิดกลับช่วงที่บิดมือกลับเพื่อไม่ให้ไม้กลองกระทบกับหนังกลอง อีก ซึ่งในช่วงที่บิดข้อมือกลับนั้นให้ใช้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ให้ทำลักษณะเหมือนจะประคบหรือแตะหน้ากลอง หน้าใหญ่พร้อมกับลูบหน้าหนังกลองด้านใหญ่ขึ้นพอประมาณ การลูบหน้าหนังกลองนั้นต้องทำอย่างให้ได้จังหวะ ที่พอดีกับความเร็วในการบรรเลงด้วย ในส่วนมือด้านกลองหน้าเล็กนั้นไม่ต้องประคบหรือแตะหน้ากลองด้านหน้า เล็กให้เปิดหน้ากลองไว้ การวางมือในการตีกลอง การบิดข้อมือตีกลองหน้าใหญ่


- 39 – การประคบเพื่อพร้อมที่จะลูบหน้ากลองใหญ่ การลูบหน้ากลองใหญ่ (หนืด)


- ๔0 – การวางมือหน้ากลองหน้าเล็ก จุดที่ใช้ในการตีให้เกิดเสียงติงหนืด ใส่ QR code การบรรเลง


- ๔1 – เสียง จ๊ะ วิธีการตีให้เกิดเสียงจ๊ะ นั้นจะตีด้วยมือข้างที่ไม่ถือไม้ตีกลองหลอนในส่วนของหน้าเล็ก โดยการตีนั้น จะตีโดยจะใช้ส่วนกลางมือระหว่างส้นมือกับกลางมือกระทบกับขอบกลองโดยส่วนที่จะกระทบกับหน้ากลอง คือ ส่วนของหน้ามือในส่วนของปลายนิ้ว นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย นิ้วก้อย เมื่อสัมผัสหน้ากลองให้ยกนิ้วออก ทันที ในส่วนมือด้านกลองหน้าใหญ่นั้นให้ใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยประคบหรือแตะหน้ากลองด้านใหญ่ไว้ การวางมือบนกลองหน้าเล็ก การตีกลองหน้าเล็ก


- ๔2 – การยกมือหลังจากการตีกลองหน้าเล็ก การประคบหน้ากลองหน้าใหญ่


- ๔3 – จุดที่ใช้ในการตีให้เกิดเสียงจ๊ะ ใส่ QR code การบรรเลง


- ๔4 – แบบฝึกหัดจังหวะกลองหลอน ๑๕ รูปแบบ - x x x - x - x - จ๊ะติงหนืด - จ๊ะ -ติง - x - x X x - x - ติง - จ๊ะ ติง จ๊ะ - ติง - x x x - x x x - จ๊ะติงหนืด - จ๊ะติงหนืด - x x x - x - x - จ๊ะติงหนืด -ติง - จ๊ะ - x - x x x - x - หนืด - จ๊ะ ติง จ๊ะ - ติง - x - x - x x x - ติง - ติง -จ๊ะ ติง จ๊ะ - x - x - x - x - ติง - จ๊ะ - ติง - จ๊ะ - - x x - x - x - - ติง จ๊ะ - ติง - จ๊ะ รูปแบบ ที่๒ รูปแบบ ที่ ๓ รูปแบบ ที่ ๔ รูปแบบ ที่ ๕ รูปแบบ ที่ ๖ รูปแบบ ที่ ๗ รูปแบบ ที่ ๘ รูปแบบ ที่ ๑


- 45 - - ๔๕ - - x x x x x - x - จ๊ะติงจ๊ะ ติง จ๊ะ - ติง x x - x - x x x ติง จ๊ะ - ติง - จ๊ะติง จ๊ะ - - x x - - x x - - ติง จ๊ะ - - ติงจ๊ะ - - x x - x x x - - ติง จ๊ะ - จ๊ะติงจ๊ะ - - x x x x - x - - ติง จ๊ะ ติง จ๊ะ - ติง x x - x - - x x ติง จ๊ะ - ติง - - ติง จ๊ะ - x x x - x - x - จ๊ะติงจ๊ะ -หนืด-หนืด รูปแบบ ที่ ๙ รูปแบบ ที่ ๑๐ รูปแบบ ที่ ๑๑ รูปแบบ ที่ ๑๒ รูปแบบ ที่ ๑๓ รูปแบบ ที่ ๑๔ รูปแบบ ที่ ๑๕ ใส่ QR code การบรรเลง


- ๔6 – การปฏิบัติกลองมังคละ (โกรก) การปฏิบัติตีกลองมังคละ การจับไม้ตีกลองมังคละ จะจับปลายไม้ให้เข้าระหว่างข้อนิ้วในลักษณะกำมือ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือบีบระหว่างไม้กับข้อนิ้วชี้ที่ทำลักษณะงอรับกับนิ้วหัวแม่มือ แล้วกดไม้กลองมังคละให้อยู่กับที่ ให้มากที่สุด การจับไม้ตีกลองมังคละ จุดที่ไม้กลองกระทบกับหน้ากลอง


Click to View FlipBook Version