- 97 – วิธีปฏิบัติท่ารำมังคละเภรีศรีสองแคว ท่าออก : มังคละรัว มือทั้งสองจีบส่งหลัง ซอยเท้า หน้าตรง : กลองขึ้นจังหวะไม้สี่ เริ่มย่ำเท้าซ้าย จังหวะที่ ๒ สลับขวา ซ้าย ๒ จังหวะ (จังหวะที่ ๓ เริ่มท่าที่ ๑) อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๑ ท่าบูชาพระพุทธชินราช ๓ ครั้ง ๑. พนมมือไหว้สูง หัวแม่มือจรดหน้าผาก เงยหน้าขึ้น เล็กน้อย ( ๑ จังหวะ ) ๒. ลดมือไหว้พนมลงมาหว่างอก ( ๑ จังหวะ ) ❖ ปฏิบัติ ๑-๒ นับเป็น ๑ ครั้ง (ปฏิบัติ ๓ ครั้ง) ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะ
- 98 – อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๒ ท่าสมโภชพระบรม สารีริกธาตุ ๓ ครั้ง ๑. มือทั้งสองยื่นออกไป จีบคว่ำระดับอกแล้วม้วนมือ จีบขึ้นเป็นวงบัวบาน เอียงซ้าย เท้าย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวัดไม้สี่ ( ๑ จังหวะ ) ๑ ๒
- 99 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๒. มือทั้งสองจีบปรกข้าง แล้วม้วนมือมาพนมมือ ไหว้สูงทางด้านขวา เอียงขวา เท้าย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวัดไม้สี่ ( ๑ จังหวะ ) ❖ ปฏิบัติ ๑-๒ นับเป็น ๑ ครั้ง (ปฏิบัติ ๓ ครั้ง) ๑ ๒
- ๑00 – อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๓ ท่าเทิดพระเกียรติ ๖ ครั้ง ๑. พนมมือไหว้สูงทางด้านขวา เอียงซ้าย เดาะข้อมือ ไหว้ออกตามจังหวะ ๔ ครั้ง ใน ๑ จังหวะ เท้าย่ำ ซ้าย-ขวา ตามจังหวะไม้สี่ ๒. เลื่อนมือทั้งสองมาทางด้านซ้าย เอียงขวา (มือซ้ายสูง ระดับวงบน มือขวาใกล้มือซ้าย ต่ำกว่ามือซ้าย) มือทั้งสอง จีบคว่ำแล้วม้วนจีบเป็นวงบัวบานทางด้านซ้าย ๒ ครั้งใน ๑ จังหวะ เท้าย่ำซ้าย-ขวาตามจังหวะไม้สี่ ❖ ปฏิบัติ ๑-๒ นับเป็น ๑ ครั้ง (ปฏิบัติ ๖ ครั้ง) ๑
- ๑0๑ - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ท่าเทิดพระเกียรติ(ต่อ) ๒ ๔ ท่านเรศวรเขื่อนสวรรค์ ๓ ครั้ง ๑. มือทั้งสองตั้งสันมือสูง ทางด้านขวา (มือขวาสูงระดับวงบน มือซ้ายสูงระดับวงหน้า) ศีรษะเอียงซ้าย เท้าย่ำซ้าย-ขวาตามจังหวะไม้สี่
- ๑02 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ท่านเรศวรเขื่อน สวรรค์ (ต่อ) ๒. มือทั้งสองผสานมือจีบเข้าหาอก โดยให้แขนขวา ทับแขนซ้าย เอียงขวา เท้าย่ำซ้าย-ขวาตามจังหวะไม้สี่ ❖ ปฏิบัติ ๑-๒ นับเป็น ๑ ครั้ง (ปฏิบัติ ๓ ครั้ง) ๕ ท่าดอกปีบบูชา ๔ ครั้ง ๑. เด็ดดอกปีบมือขวา ( ๑ จังหวะ ) มือขวาจีบปรกข้าง มือซ้ายท้าวเอว เอียงซ้าย
- ๑03 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๒. เด็ดดอกปีบมือซ้าย ( ๑ จังหวะ ) มือซ้ายจีบปรกข้าง มือขวาท้าวเอว เอียงขวา ๓. นำดอกปีบใส่พาน ( ๑ จังหวะ ) เลื่อนมือจีบปรกข้างซ้าย ย้ายเป็นจีบหงายมาทางด้านขวา วางมือจีบหงายไว้บนมือขวาที่แบหงายรองมือจีบซ้าย ระดับ เอว เอียงซ้าย
- ๑04 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๔. มือทั้งสองม้วนมือจีบหงายจากด้านขวาระดับเอว ขึ้นพนมมือไหว้สูงทางด้านซ้าย เอียงขวา ( ๑ จังหวะ ) ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะไม้สี่ ปฏิบัติ ๑ – ๒ – ๓ – ๔ นับเป็น ๑ ครั้ง ปฏิบัติ ๔ ครั้ง
- ๑05 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ท่าสร้อยเชื่อม (ก่อนท่าสองแคว สำราญ) ๔ ครั้ง ❖จังหวะฆ้อง ๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ – ๘ จังหวะเก้งตกปลัก ๒ จังหวะ ๑. มือทั้งสองจีบหงายมาทางด้านซ้าย พร้อมม้วนมือจีบเป็นตั้งวง (มือซ้ายยื่นออกไปด้านซ้าย ระดับเอว มือขวาระดับชายพก) เอียงซ้าย ( ๑ ครั้ง ) ๑ ๒
- ๑06 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ท่าสร้อยเชื่อม ก่อนท่าสองแควสำราญ (ต่อ) ๒. มือทั้งสองจีบหงายมาทางด้านขวา พร้อมม้วนมือจีบ เป็นตั้งวง (มือขวายื่นออกไปด้านขวา ระดับเอว มือซ้าย ระดับชายพก) เอียงขวา ( ๑ ครั้ง ) ❖ปฏิบัติทั้งหมด ๔ ครั้ง คือ ๑ – ๒ – ๑ - ๒ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวะเก้งตกปลัก ๑ ๒
- ๑07 – อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๖ ท่าสองแควสำราญ ๖ ครั้ง ๑. มือทั้งสองจีบเข้าอก หันซ้าย เอียงซ้าย แล้ววาดมือ จีบทั้งสองออกไปตั้งวงแขนตึงระดับไหล่ หันขวา เอียงขวา ( ๑ จังหวะ ) ๑ ๒
- ๑08 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ท่าสองแควสำราญ(ต่อ) ๒. มือทั้งสองจีบเข้าอก หันขวา เอียงขวา แล้ววาดมือ จีบทั้งสองออกไปตั้งวงแขนตึงระดับไหล่ หันซ้าย เอียงซ้าย ( ๑ จังหวะ ) ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวะนมยานกระทกแป้ง ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ นับเป็น ๑ ครั้ง ปฏิบัติ ๖ ครั้ง ๑ ๒
- ๑09 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๗ ไก่เหลืองหางขาว ๓ ครั้ง ๑. มือขวาจีบปรกข้าง มือซ้ายส่งจีบหลัง ลักคอตามจังหวะ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะเพลงนมยาน กระทกแป้ง ๒. ท่าบิน : มือขวาวงบน มือซ้ายวงกลาง เอียงซ้าย ขยับข้อมือตั้งวงขึ้น-ลง ตามจังหวะ
- ๑10 – อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ไก่เหลืองหางขาว(ต่อ) ๓. ท่าบิน : มือซ้ายวงบน มือขวาวงกลาง เอียงขวา ขยับข้อมือตั้งวงขึ้น-ลง ตามจังหวะ ๔. ปฏิบัติเหมือนข้อ ๒ ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะ ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ – ๓ – ๔ ใน ๑ จังหวะนมยานกระทกแป้ง นับเป็น ๑ ครั้ง ปฏิบัติ ๓ ครั้ง
- ๑11- อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๘ หวาน หวาน น้ำตาลโตนด ๓ ครั้ง ท่านวดตาล ๑. มือซ้ายวาดมือตั้งวงบน แล้วพลิกหน้ามือเป็นแบหงาย ฝ่ามือขึ้น วาดมือขวามาทับหน้ามือซ้าย เอียงซ้าย ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวะไม้สาม ๑ จังหวะ ๒. มือขวาวาดมือตั้งวงบน แล้วพลิกหน้ามือเป็นแบหงาย ฝ่ามือขึ้น วาดมือซ้ายมาทับหน้ามือขวา เอียงขวา ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวะไม้สาม ๑ จังหวะ
- ๑1๒ - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ หวาน หวาน น้ำตาลโตนด (ต่อ) ท่าหลอมน้ำตาล ๓. มือทั้งสองจีบหงาย ม้วนจีบระดับเอว ม้วนมือออกตั้งวง กลาง แล้วม้วนมือเป็นจีบหงายเข้าหากัน เยื้องไปทางด้านซ้าย ระดับเอว เอียงซ้าย ๑ จังหวะ ๔. มือทั้งสองจีบหงาย ม้วนจีบระดับเอว ม้วนมือออกตั้งวง กลาง แล้วม้วนมือเป็นจีบหงายเข้าหากัน เยื้องไปทางด้านขวา ระดับเอว เอียงขวา ๑ จังหวะ ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ – ๓ – ๔ นับเป็น ๑ ครั้ง ปฏิบัติ ๓ ครั้ง
- ๑13 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๙ ปักธงชัย ๘ ครั้ง ๑. มือขวายื่นไปจีบคว่ำ ด้านหน้าระดับเอว แล้วม้วนมือ จีบเป็นวงบัวบาน มือซ้ายท้าวเอว เอียงซ้าย ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวะไม้สาม ๑ จังหวะ ๒. มือซ้ายตั้งสันมือสูงระดับศีรษะ เดาะมือตามจังหวะ ๔ ครั้ง เอียงขวา มือขวาท้าวเอว ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวะไม้สาม ๑ จังหวะ ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ นับเป็น ๑ ครั้ง ปฏิบัติ ๘ ครั้ง
- ๑14 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๑๐ น้ำตกงาม ๖ ครั้ง ๑. มือทั้งสองวาดขึ้นไปตั้งวง มือขวาสูงระดับวงบน มือซ้าย สูงระดับวงหน้า (ปาก) เอียงซ้าย เงยหน้ามองมือ ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวะไม้สาม ก้าวขึ้นไป ตามมือตั้งวง ๒. มือทั้งสองวาดลงมาจีบ โดยมือขวาจีบหงายชายพก มือซ้ายจีบส่งหลัง เอียงขวา ก้มตัวลงเล็กน้อย ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวะไม้สาม ก้าวถอยลงตามมือจีบ ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ นับเป็น ๑ ครั้ง ปฏิบัติ ๖ ครั้ง
- ๑15 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ท่าสร้อยเชื่อม (ก่อนท่าแข่งเรือยาว) ๔ ครั้ง ❖จังหวะฆ้อง ๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ – ๘ เคาะขอบกลองสองหน้า เก๊ะ – เก๊ะ เก๊ะ มังคละตีรับ เป็นจังหวะ โกร๊ก – โกร๊ก โกร๊ก ( ๒ ครั้ง ) ๑. มือทั้งสองวาดขึ้นตั้งวงระดับเอว แล้ววาดลงมาแตะสะโพก เอียงขวา ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา-ซ้าย แล้วแตะขวา ตามจังหวะฆ้อง ๑ – ๒ – ๓ – ๔ ๒. มือทั้งสองวาดขึ้นตั้งวงระดับเอว แล้ววาดลงมาแตะสะโพก เอียงซ้าย ❖ ลักษณะเท้า ย่ำขวา-ซ้าย-ขวา แล้วแตะซ้าย ตามจังหวะฆ้อง ๕ – ๖ – ๗ – ๘
- ๑16 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ท่าสร้อยเชื่อม ก่อนท่า แข่งเรือยาว (ต่อ) ๓. ปฏิบัติเหมือน ข้อ ๑ (ตามจังหวะเคาะขอบกลอง และมังคละตีรับครั้งที่ ๒) ๑ ๒
- ๑17 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๑๑ แข่งเรือยาว ๖ ครั้ง ๑. กำมือหลวมๆ ทำท่าพายเรือระดับอก ม้วนมือออกแล้ว ม้วนลงเข้าอก ๑ รอบ แล้วม้วนออก พร้อมค้างมือทั้งสองนิ่ง เยื้องออกข้างสะโพกด้านขวา เอียงซ้าย ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา-ซ้าย แตะขวา ตามจังหวะ คางคกเข็ดเขี้ยว ๑ จังหวะ ๒. กำมือหลวมๆ ทำท่าพายเรือระดับอก ม้วนมือออกแล้ว ม้วนลงเข้าอก ๑ รอบ แล้วม้วนออก พร้อมค้างมือนิ่ง เยื้องออกข้างสะโพกด้านซ้าย เอียงขวา ลักษณะเท้า ย่ำขวา-ซ้าย-ขวา แตะซ้าย ตามจังหวะคางคก เข็ดเขี้ยว ๑ จังหวะ ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ นับเป็น ๑ ครั้ง ปฏิบัติ ๖ ครั้ง
- ๑18 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๑๒ น้ำน่านไหล ๖ ครั้ง ๑. มือซ้ายท้าวเอว มือขวาแขนตึง มือแบหงาย ปลายนิ้วตก หงายหน้าแขนขึ้นตึงระดับไหล่ แล้วพลิกข้อมือเป็นตั้งวง คว่ำแขนวาดลงข้างลำตัว (ลักษณะท่ารำส่าย) เอียงขวา หันไปทางด้านขวา ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะคางคก เข็ดเขี้ยว ๑ ๒
- ๑19 – อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ น้ำน่านไหล (ต่อ) ๒. มือขวาท้าวเอว มือซ้ายจีบคว่ำระดับเอว ทางด้านขวา หันมาด้านซ้ายพร้อมปล่อยมือจีบออกเป็นแบหงาย ปลายนิ้ว ตก แขนตึงหันไปด้านซ้าย เอียงซ้าย ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะ ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ นับเป็น ๑ ครั้ง ปฏิบัติ ๖ ครั้ง ๑ ๒
- ๑20 – อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๑๓ ปลาสร้อยเล่นหาด ๔ ครั้ง ๑. มือขวาแบมือตะแคงไปด้านหน้าระดับเอว มือซ้ายแบมือ ตะแคงไปด้านหลัง ก้มตัวสะบัดข้อมือตามจังหวะไม้หนึ่ง ๒ จังหวะ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา ตามจังหวะไม้หนึ่ง ๒. มือทั้งสองประกบกันด้านหน้าระดับเอว พลิกไปซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะ ๒ จังหวะ ก้มตัวลงเอียงซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะพร้อมกับมือ ๒ จังหวะ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะไม้หนึ่ง ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ นับเป็น ๑ ครั้ง ปฏิบัติ ๔ ครั้ง
- ๑๒1 – อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๑๔ ค้างคาวลอดถ้ำ ๒ ครั้ง ๑. มือทั้งสองจีบคว่ำลงข้างลำตัว แล้วยกขึ้นมาตั้งวงกลาง (๒ จังหวะไม้หนึ่ง) ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะไม้หนึ่ง ๒. มือทั้งสองเคลื่อนมือตั้งวงเข้าหากันในลักษณะไหว้ ประสานมือขวาทับมือซ้าย แล้วเคลื่อนออกจากกันไปตั้งวง กลาง (๑ จังหวะ) ปฏิบัติ ๒ ครั้ง ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะไม้หนึ่ง
- ๑22 – อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ค้างคาวลอดถ้ำ (ต่อ) ๓. มือขวาจีบวนรอบศีรษะตัวเอง แล้วเคลื่อนออกเป็นจีบหงาย แขนตึงระดับไหล่ด้านหน้า ๔๕ องศา มือซ้ายจีบส่งหลัง เอียงซ้าย (๒ จังหวะ) ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันไปตามจังหวะไม้หนึ่ง ๑ ๒
- ๑23 – อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ค้างคาวลอดถ้ำ (ต่อ) ๔. มือซ้ายจีบวนรอบศีรษะตัวเอง แล้วเคลื่อนออกเป็นจีบ หงายแขนตึงระดับไหล่ด้านหน้า ๔๕ องศา มือขวาจีบส่งหลัง เอียงขวา (๒ จังหวะ) ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย-ขวา สลับกันตามจังหวะ ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ - ๓ ครั้งที่ ๑ ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ - ๔ ครั้งที่ ๒ ๑ ๒
- ๑24 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ ๑๕ กล้วยตากบาง กระทุ่ม ๒ ครั้ง ท่าตัดกล้วย ๑. มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบไว้ใกล้ๆ มือซ้ายที่ตั้งวงบน เอียงซ้าย ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย - ขวา –ซ้าย แตะขวา ๒. มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบไว้ใกล้ๆ มือขวาที่ตั้งวงบน เอียงขวา ❖ ลักษณะเท้า ย่ำขวา –ซ้าย – ขวา แตะซ้าย
- ๑25 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ กล้วยตากบางกระทุ่ม (ต่อ) ท่าปลอกกล้วย ๓. มือซ้ายจีบหงายระดับชายพก มือขวาจีบคว่ำบนมือซ้าย แล้ว คลายจีบออกไปเป็นแบบหงายปลายนิ้วตรง (นับเป็น ๑) ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย – ขวา สลับกัน โดยหันขวาหมุนรอบ ตัวเอง ๑ ๒
- ๑26 - อันดับที่ ท่ารำ จำนวน วิธีปฏิบัติท่ารำ กล้วยตาก บางกระทุ่ม (ต่อ) ท่าตากกล้วย ๔. มือซ้ายแบหงายปลายนิ้วตกด้านซ้ายข้างลำตัวระดับเอว มือ ขวาจีบคว่ำระดับชายพก เอียงซ้าย ❖ ลักษณะเท้า ย่ำซ้าย – ขวา – ซ้าย - แตะขวา (นับเป็น ๑) มือขวาแบหงายปลายนิ้วตกด้านขวาข้างลำตัวระดับเอว มือซ้ายจีบคว่ำระดับชายพก เอียงขวา ❖ ลักษณะเท้า ย่ำขวา – ซ้าย – ขวา - แตะซ้าย (นับเป็น ๒) ❖ปฏิบัติ ๑ – ๒ – ๓ – ๔ (๒ ครั้ง) ๑ ๒
- ๑27 - ท่ารำมังคละเภรีศรีสองแควทั้ง 15 ท่ารำ ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของ ทุกอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการบูรณาการความร่วมมือร่วมใจจากคณะทำงานหลายภาคส่วน ดังนี้ ที่ปรึกษา ผศ.สมบูรณ์ พนเสาวภาคย์ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ผู้สร้างสรรค์ท่ารำ ๑๕ ท่ารำ ๑. ดร.รุ่งนภา ฉิมพุฒ อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาศิลปะการแสดง สาขานาฏศิลป์ไทย ๒. ผศ.สมบูรณ์ พนเสาวภาคย์ อาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย ๓. ดร.อโณทัย ส้มอ่ำ อาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย ๔. ผศ.ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม ๕. นางเรณู ทองวัฒน์ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนวัดน้ำคบ คบ.นาฏศิลป์ วิทยาลัยครู พิบูลสงคราม พิษณุโลก ศศ.ม.วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๖. นางสาวมะลิวัลย์ กลิ่นมั่น ครูโรงเรียนวัดสะพานหิน (วงศ์วานประชาสรรค์) คบ.ภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ๗. นางสาวรุ่งทิพย์ เสือขำ ครูโรงเรียนวัดบ้านมุง ครุศาสตรบัณฑิต เอกวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก ๘. นางสาวณัฐนรี เกตุพรหมมา ครูโรงเรียนวัดบ้านมุง ครุศาสตรบัณฑิต เอกวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ๙. นางสาวปรารถนา กัดจิตร์ ครูโรงเรียนวัดบ้านมุง ครุศาสตรบัณฑิต เอกวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ผู้เขียนบรรยายท่ารำ ๑. ดร.รุ่งนภา ฉิมพุฒ อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาศิลปะการแสดง สาขานาฏศิลป์ไทย ๒. นางเรณู ทองวัฒน์ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนวัดน้ำคบ คบ.นาฏศิลป์ วิทยาลัยครู พิบูลสงคราม พิษณุโลก ศศ.ม.วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ๑28 – เอกสารที่ ๗ ดนตรีมังคละสู่สากล : บูรณาการกับวงออร์เคสตรา เมื่อกล่าวถึงดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของแถบภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีกันบรรเลงกันอย่างแพร่หลาย ในจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ คือดนตรีมังคละ เป็นดนตรีพื้นบ้านซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่า ดนตรี มัคละนี้เป็นดนตรีที่เป็นมงคลใช้ในการพระศาสนาสมัยศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์เข้ามาเมื่อครั้งสมัยสุโขทัย ใช้สำหรับการแห่พระพุทธรูป มีลักษณะคล้ายวงดนตรีประเภทเครื่องแห่ของศรีลังกา และยังมีหลักฐาน ในจดหมายเหตุของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อครั้งตามเสด็จหัวเมืองเหนือ ความทราบแล้วนั้น อีกทั้งดนตรีมัคละยังมีการสืบทอดรักษาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้ยังคงได้เห็นกัน จนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป วิถีชีวิตของคนไทยจึงเปลี่ยนไป หลายอย่างมีการปรับตัวให้เข้ากับ กระแสสังคม ศิลปะและดนตรีก็เช่นกัน จะเห็นได้ว่าปัจจุบันความนิยมดนตรีมีความหลากหลาย การผสมผสาน ดนตรีที่ไม่มีพรมแดนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเข้าถึงง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นการนำดนตรีพื้นบ้านมังคละบูรณาการกับ ดนตรีตะวันตก หรือวงออร์เคสต้านั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สามารถสืบสานดนตรีมังคละนี้ไว้ได้ นอกจากการ จัดโครงการอบรมการนำดนตรีมังคละสู่การศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก มีการประดิษฐ์ท่ารำ เป็นต้น การนำดนตรี มังคละมาผสมผสานกับดนตรีออร์เคสตรานั้นเป็นส่วนที่ทำให้ดนตรีมังคละก้าวสู่สากลได้ จังหวัดพิษณุโลกได้จัด ให้มีการระดมความคิดระหว่างหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก จึงได้มีการนำ แกนกลางของเพลงมังคละเบื้องต้นจำนวน ๖ เพลง มาต่อยอดผสมกับวงออร์เคสตรา โดยการประสานงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.โสภณ ลาวรรณ์ ดร.ศุภฤกษ์ วังซ้าย และประพันธ์โดย ดร.วรชาติ กิจเรณู ซึ่งนำเพลงมังคละ จำนวน ๖ เพลงมาเข้าสู่กระบวนการประพันธ์เพลง (composition) ดังนี้ ๗.๑ เพลงไม้สี่ เป็นไม้ครูจึงนำเสนอเป็นเพลงแรก โดยแนวคิดในการประพันธ์นั้น มีทำนอง เรียบเรียงเสียงประสานให้ได้ความสุนทรีย์เกี่ยวเนื่องกับการพระศาสนา การบูชาองค์พระพุทธชินราช พระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดพิษณุโลก และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๗.๒ เพลงเก้งตกปลัก เพลงนี้มีลักษณะพื้นฐานของจังหวะดนตรีมังคละที่มีการประดิษฐ์ไว้เดิม คล้ายอาการของเก้งที่ตกลงไปในปลัก มีการพยายามที่จะดิ้นขึ้นมาจากปลักนั้น ทำนองของเพลงจึงมีแนวคิด ที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานให้มีการล้อ การเหลื่อมของดนตรีมีลักษณะเหมือนเก้งตกปลัก ดังความหมายของ เพลงนั้นบ่งบอกถึงความอดทนพยายามที่จะต่อลมหายใจของดนตรีพื้นบ้านมังคละให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ต่อไป ๗.๓ เพลงนมยานกระทกแป้ง ในบทเพลงกลองนั้น ผู้ประดิษฐ์เพลงกลองได้จินตนาการถึงสาว มีอายุที่มีหน้าอกยาน เวลารำหน้าขบวนก็มีการผัดแป้งไปด้วยรำไปด้วย ลักษณะไม้กลองจึงมีการตีที่โยกไป เพื่อแสดงถึงความหมายดังกล่าว ทำนองเรียบเรียงเสียงประสานจึงมีความสนุกสนานหยอกล้อระหว่างเครื่องดนตรี ในวงออร์เคสต้าทั้งเครื่องสาย เครื่องเป่า ทำให้เกิดความสัมพันธ์กับเพลงนมยานกระทกแป้ง ๗.๔ เพลงไม้สาม เป็นไม้เพลงกลองพื้นฐานทั่วไปที่มีเสียง “เท่ง” จำนวน ๓ ครั้ง ใน ๑ หน้าทับ เพลงกลอง แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวพิษณุโลก ชีวิตกับสายน้ำ การเกษตร ทำนองเรียบเรียง เสียงประสานจึงมีความเรียบง่ายประสานไปกับทำนองเพลงไม้สาม
- 129 – ๗.๕ เพลงคางคกเข็ดเขี้ยว ลักษณะพิเศษของเพลงกลองเพลงนี้ มีการนำไม้ตีไปกระทบกับขอบ ของกลองทำให้เหมือนกับคางคกเข็ดเขี้ยว การเรียบเรียงเสียงประสานจึงมีลักษณะการล้อเหลื่อมกันของเครื่องเป่า ในวงออร์เคสต้า ทำให้เกิดความคล้ายคลึงกับไม้กลองและชื่อเพลงคางคกเข็ดเขี้ยว โดยใช้เสียงเครื่องเป่าเป็นตัวนำ ล้อรับกับตลอดทั้งเพลงเปรียบดัง คางคกหลายๆ ตัวในยามฝนตกออกมาส่งเสียงร้องเข็ดเขี้ยว เพลงนี้บ่งบอกถึง ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยมีบทเพลงมังคละ เพลงคางคกเข็ดเขี้ยวบูรณาการกับวงออร์เคสต้าที่แสดงออกมาได้อย่างชัดเจน ๗.๖ เพลงไม้หนึ่ง เป็นไม้เพลงกลองพื้นฐานทั่วไปที่มีเสียง “เท่ง” จำนวน ๑ ครั้ง ใน ๑ หน้าทับ เพลงกลอง จึงทำให้ใน ๑ เพลงกลองนั้นสั้น ทำให้เกิดความรู้สึกของจังหวะที่เร็วขึ้น ผู้ประพันธ์ จึงนำมาไว้เป็น ส่วนท้ายของเพลงเพื่อการลงจบแบบทำนองเพลงไทย ที่เรียกว่างออกลูกหมด ในส่วนของเพลงเถาต่างๆ ของเพลง ไทยเดิม ลูกหมดนั้นบ่งบอกถึงการจบเพลง โดยมีเพิ่มความเร็วของจังหวะและจบลงด้วยความเร็วนั้น ทำให้เกิด ความรู้สึกประทับใจในการรับฟังเพลง การเรียบเรียงเสียงประสานนี้มีแนวคิดตั้งต้นจากเพลงกลองมังคละทั้ง ๖ เพลง เพื่อให้คงไว้ซึ่ง อัตลักษณ์เฉพาะของดนตรีพื้นบ้านมังคละ แล้วจึงใช้หลักการประพันธ์เพลง (composition) มาสู่กระบวนการ ประพันธ์ การฝึกซ้อม การบรรเลงจริงตามลำดับ โดยการบรรเลงเพื่อบันทึกภาพวีดิโอครั้งนี้ มีคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักเรียน ร่วมบรรเลงดังนี้ ๑) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.โสภณ ลาวรรณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อำนวยการ 2) อาจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ วังซ้าย โรงเรียนจ่านกร้อง อำนวยเพลง 3) อาจารย์ ดร.วรชาติ กิจเรณู มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ประพันธ์ 4) อาจารย์ภากร สิริทิพา มหาวิทยาลัยนเรศวร ควบคุมเสียง 5) อาจารย์ภูมินทร์ ภูมิรัตน์ มหาวิทยาลันนเรศวร บรรเลงเครื่องลม ๖) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจิภาส ภูธนัญนฤภัทร มหาวิทยาลัยราชภัฎ บรรเลงเครื่องสาย พระนครศรีอยุธยา ๗) อาจารย์ ดร.ยงยุทธ เอี่ยมสอาด โรงเรียนสาธิต บรรเลงเครื่องสาย มศว ประสานมิตร ๘) อาจารย์ ดร.นวเทพ นพสุวรรณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี บรรเลงเครื่องสาย ราชมงคลธัญบุรี ๙) อาจารย์กรกช อ่ำทิม โรงเรียนบ้านสวนวิทยาคม บรรเลงเครื่องลม ๑๐) อาจารย์สุริเทพ รักบัว โรงเรียนมัธยมศึกษา บรรเลงเครื่องลม เทศบาลสวรรคโลก ๑๑) อาจารย์อัศวิน โลหะการก วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย บรรเลงเครื่องลม ๑๒) อาจารย์ประโยชน์ ลูกพลับ ประธานชมรมอนุรักษ์ดนตรี พื้นบ้านมังคละจังหวัดพิษณุโลก ๑๓) อาจารย์ ดร.ศุภชัย ธีระกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ๑๔) สมาชิกนักดนตรีมังคละ ชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละจังหวัดพิษณุโลก ๑๕) นิสิตภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- 130 – ๑๖) ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เอื้อเฟื้อสถานที่ฝึกซ้อมและถ่ายทำวีดิโอ ๑๗) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต และสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาสู่การปฏิบัติ : กิจกรรมเสริมสร้าง และพัฒนาทักษะด้านดนตรีมังคละ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้การบูรณาการดนตรีพื้นบ้านมังคละกับวงดนตรีออร์เคสตรา ได้มีการต่อยอดไปสู่นักดนตรี สถาบันการศึกษา หรือการเข้าสู่สากล จึงได้บันทึกโน้ตในรูปแบบโน้ตสากลไว้ดังนี้
- 131 –
- ๑๓2 –
- ๑33 –
- ๑34 -
- ๑35 -
- ๑36 -
- ๑37 -
- ๑38 -
- ๑39 -
- ๑40 -
- ๑41 -
- ๑42 -
- ๑43 -
- ๑44 -
- ๑45 -
- ๑46 -