๒. สร้างบรรยากาศของความรัก ความอบอุ่น ความไว้วางใจ และความม่ันคงทางอารมณ์ให้กับเด็ก
ในวถิ ีชีวิตประจำ�วนั ได้แก่
๒.๑ พ่อแม่หรอื ผู้เล้ยี งดมู บี ุคลิกทใี่ หค้ วามรกั และความอบอุ่นแกเ่ ดก็
๒.๒ พ่อแมห่ รือผเู้ ล้ยี งดเู ปน็ แบบอย่างทด่ี ใี ห้กบั เด็ก
๒.๓ สัมผัสโอบกอดเด็กอยา่ งนมุ่ นวล อ่อนโยน สมาํ่ เสมอทกุ วนั
๒.๔ พูดคุยกับเดก็ ดว้ ยภาษางา่ ยๆ และประสานสายตากบั เด็กบ่อยๆ ฟังและโต้ตอบเสยี งท่เี ด็กทำ�
๒.๕ สนใจและตอบสนองเด็กที่ร้องไห้ หรือแสดงความกังวล หรือต้องการความช่วยเหลืออย่างทันที
ทนั ใด ไมป่ ลอ่ ยให้เดก็ รู้สึกไม่เป็นทต่ี ้องการหรือถกู ทอดทงิ้
๒.๖ เคารพในความอยากรอู้ ยากเหน็ ของเด็ก โดยการสงั เกตความพยายามในการทำ�ส่ิงตา่ งๆ ของเดก็
และส่งเสริมสนบั สนุนใหเ้ ดก็ ท�ำ จนสำ�เรจ็
๒.๗ จัดสภาพแวดล้อมของบา้ นหรอื สถานพฒั นาเด็กปฐมวยั ใหม้ ีความอบอ่นุ ใกล้ชดิ มพี ื้นทว่ี ่างใหเ้ ดก็
ได้คบื คลานหรือเคลอ่ื นไหวอย่างอิสระ โดยไมเ่ ป็นอนั ตราย
๓. จัดประสบการณ์ตรงให้เด็กได้เลือก ลงมือกระทำ� และเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า และ
การเคล่ือนไหวผ่านการเลน่ ไดแ้ ก่
๓.๑ จัดกิจกรรมโดยคำ�นึงถึงตัวเด็กเป็นสำ�คัญ จัดให้สอดคล้องกับอายุ พัฒนาการ ความต้องการ
ความสนใจ และความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล
๓.๒ เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสท้ังหา้ สำ�รวจ ค้นควา้ ทดลองสิ่งตา่ งๆ รอบตัวด้วยตนเอง
โดยอยใู่ นความดูแลของพ่อแม่ เหมาะสมกบั ธรรมชาตแิ ละพัฒนาการของเด็ก
๓.๓ จัดกิจกรรมพรอ้ มๆ กับการเลีย้ งดปู ระจำ�วัน โดยคำ�นึงถงึ ธรรมชาตแิ ละความต้องการของเดก็
๓.๔ จัดกิจกรรมให้เด็กรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ด้วยการใช้อวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ได้แก่ ตาดู
หฟู งั จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส และสมั ผสั ดว้ ยมอื เพอ่ื เก็บเป็นขอ้ มูลพ้นื ฐานเกยี่ วกบั คุณสมบตั ขิ องสิง่ ตา่ งๆ รอบตัว
๓.๕ จัดประสบการณใ์ ห้เด็กสามารถใช้อวยั วะตา่ งๆ ของรา่ งกายไดป้ ระสานสัมพันธก์ ัน ในการปฏิบัติ
กิจวัตรประจำ�วัน เช่น ใช้มือหยิบถว้ ยน้าํ ช่วยเกบ็ ของเล่นเข้าท่ี เป็นต้น
๓.๖ จัดให้เด็กมีโอกาสฝึกการเคลื่อนไหวและการทรงตัว โดยการจัดหาสิ่งต่างๆ เคลื่อนไหวให้เด็กดู
เชน่ กลิ้งลูกบอลผา่ นหนา้ ใหต้ กุ๊ ตาไขลานเดิน เปน็ ต้น
๓.๗ จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ใช้สายตาและมือประสานสัมพันธ์กัน เช่น หยิบของเล่นใส่ตะกร้า
ของเลน่ ใช้ค้อนตอกหมุดพลาสตกิ ทรงกลมลงชอ่ ง เป็นตน้
94 คมู่ ือหลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เด็กอายุตาํ่ กว่า ๓ ปี
๓.๘ สนับสนุนให้เด็กมีโอกาสได้เล่นตามความสนใจที่เหมาะสมกับวัย น่ังเล่นคนเดียว และเล่น
กบั คนอน่ื ตลอดจนสร้างสรรคจ์ นิ ตนาการกบั งานศลิ ปะทีห่ ลากหลาย
๔. จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลท่ีแวดล้อมและสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กอย่าง
หลากหลาย ได้แก่
๔.๑ จัดให้เด็กสัมผัสกับบุคคลใกล้ชิด ส่ิงของรอบตัวเด็ก เช่น หาของให้ลูบคลำ�เล่น ให้จับเสื้อผ้า
ผ้าห่ม เป็นต้น
๔.๒ พดู คุยโต้ตอบกบั เดก็ ดว้ ยความสนใจ และเปน็ ผู้ฟังท่ดี ขี ณะท่ีเดก็ พดู
๔.๓ ท�ำ ท่าทางตา่ งๆ แบบงา่ ยๆ ให้เดก็ เลียนแบบ เชน่ เขยา่ ของเล่น เลน่ จ๊ะเอ๋ เปน็ ตน้
๔.๔ ใชว้ นิ ยั เชงิ บวกในการพัฒนาพฤตกิ รรมท่ีพงึ ประสงค์
๕. จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก วัสดุอุปกรณ์ เคร่ืองใช้ และของเล่นท่ีสะอาด
หลากหลาย ปลอดภัย และเหมาะสมกับเด็ก เพ่ือส่งเสริมพัฒนาการเด็กรอบด้าน รวมถึงมีพ้ืนท่ีในการเล่นน้ํา
เลน่ ทราย การจดั สภาพแวดลอ้ มทสี่ ง่ เสรมิ การเรยี นรใู้ หก้ บั เดก็ ในลกั ษณะทสี่ ง่ เสรมิ พฤตกิ รรมทางบวก และการเรยี นรู้
โดยยึดหลักความสะอาด ปลอดภัย ความมีอิสระท่ีเด็กจะได้เล่นหรือสำ�รวจภายในขอบเขตท่ีเหมาะสม มีการจัด
ของเล่นท่ีสร้างความสนใจให้เด็กได้เล่น สัมผัสหรือจับต้อง การจัดของเล่นหรืออุปกรณ์ให้อยู่ในท่ีที่เด็กเอื้อมหยิบ
ไดถ้ ึง ไดแ้ ก่
๕.๑ จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้มีความอบอุ่นปลอดภัย มีพื้นท่ีว่างให้เด็กได้คืบ คลาน
เดนิ วง่ิ เคล่ือนไหวอยา่ งอิสระ โดยไมเ่ ป็นอันตราย
๕.๒ จัดแยกพื้นที่สำ�หรับนอนพักผ่อนและรับประทานอาหารออกจากกัน เพ่ือสุขอนามัยและ
ความสะอาด มีการระบายอากาศท่ดี ี แสงสวา่ งพอเหมาะ สภาพแวดล้อมไมเ่ ป็นพิษ
๕.๓ ตดิ กระจกเงาในทีท่ เ่ี ดก็ สามารถมองเห็นหรือสังเกตตนเองได้
๕.๔ ตกแตง่ ภาพหรือส่งิ ต่างๆ ภายในหอ้ งให้อยู่ในระดบั สายตาของเด็ก
๕.๕ พ้นื ที่หอ้ งไม่ลนื่ ทำ�ดว้ ยวัสดุท่สี ะดวกต่อการท�ำ ความสะอาด
๕.๖ จัดของเล่นท่ีเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ สำ�หรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีเด็กวัยเดียวกัน
หลายคน ของเลน่ แต่ละชนดิ ควรมีจ�ำ นวน ๒ - ๓ ชน้ิ เพ่ือไมใ่ ห้เด็กตอ้ งอดทนรอคอยนานเกินไป และจะตอ้ งเป็นของ
เล่นที่ปลอดภัย ไมม่ ีอนั ตรายกบั เดก็ สามารถล้างท�ำ ความสะอาดได้ มีขนาดใหญเ่ กินกว่าทีเ่ ดก็ จะกลนื ลงคอได้
๕.๗ จดั ของเล่นใหอ้ ยูบ่ นชั้นวางเต้ยี ๆ หรือทท่ี เ่ี ด็กสามารถหยบิ มาเล่นได้ดว้ ยตนเอง
๕.๘ จดั ให้มีหนังสอื ภาพทท่ี �ำ ด้วยกระดาษแขง็ ขอบหนังสอื มน ไมม่ ีเหลยี่ ม
๕.๙ จดั ใหเ้ ด็กแต่ละคนมีวสั ดอุ ุปกรณ์ เครื่องนอน หรือเส้ือผ้าสำ�หรบั เปลีย่ นเป็นของตนโดยเฉพาะ
คมู่ อื หลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเด็กอายุตาํ่ กว่า ๓ ปี 95
๖. จัดหาส่ือการเรียนรู้ที่เป็นสื่อธรรมชาติ เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ส่ือท่ีเอ้ือให้เกิด
การปฏสิ ัมพันธ์ หลีกเลย่ี งการใช้ส่ือเทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต
๗. จัดรวบรวมข้อมูลและติดตามการเจริญเติบโต พัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล
อย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ การติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอายุตํ่ากว่า ๓ ปี ควรมีการติดตาม
และประเมินทุกช่วงอายุ พ่อแม่หรือผู้เล้ียงดูควรสังเกตและบันทึกการเจริญเติบโต พฤติกรรม และพัฒนาการ
ดา้ นต่างๆ ของเด็ก ในการสงั เกต ควรทำ�อย่างแนบเนยี นเป็นธรรมชาติจงึ จะได้เห็นพฤตกิ รรมทแี่ ทจ้ รงิ การรวบรวม
ขอ้ มลู เก่ยี วกบั พฤตกิ รรม พฒั นาการ และความสามารถของเด็ก อาจท�ำ ไดห้ ลายวธิ ีดงั นี้
๗.๑ สังเกตพฤติกรรมทั้งท่ีแสดงออกทางวาจาและท่าทาง การพูดคุยกับเด็ก การเล่นกับเด็ก
ในบางคร้งั เพ่อื ให้ได้ขอ้ มลู ทีส่ มบรู ณ์ จะต้องท�ำ อย่างต่อเน่อื งและบันทกึ ไว้เป็นหลกั ฐานอย่างสมํ่าเสมอ ในสมุดบนั ทึก
สขุ ภาพแม่และเด็ก (เลม่ สีชมพ)ู และใช้ค่มู ือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพฒั นาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ของกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสขุ หรือของหน่วยงานอ่ืน
๗.๒ ดจู ากความพรอ้ มของเด็กดา้ นร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สงั คม และสติปัญญา
๗.๓ สงั เกตหรอื พิจารณาจากผลงานของเด็ก
๗.๔ สอบถามจากพอ่ แมห่ รอื ผูเ้ ล้ียงดู หากเปน็ กรณที ่เี ด็กอยูใ่ นสถานพฒั นาเดก็ ปฐมวัยเป็นประจำ�
๗.๕ กำ�หนดคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ เป็นการกำ�หนดความคาดหวังที่จะเกิดกับเด็กหลังจากเด็ก
อายคุ รบ ๓ ปี
๘. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชน มีส่วนร่วม
ทั้งการวางแผน การสนบั สนนุ สอ่ื การเข้าร่วมกจิ กรรม และการประเมนิ พัฒนาการเด็ก
96 คูม่ ือหลกั สูตรการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรบั เด็กอายุตํ่ากว่า ๓ ปี
บทที่ ๕
การจดั สภาพแวดลอ้ ม สื่อ และแหล่งเรียนรู้
การจัดสภาพแวดล้อม
การเรยี นรขู้ องเดก็ ปฐมวยั จะเปน็ ไปอยา่ งราบรนื่ และมปี ระสทิ ธภิ าพ หากเดก็ อยใู่ นสภาพแวดลอ้ มทเ่ี หมาะสม
มีการสนับสนุน อำ�นวยความสะดวกจากผู้ใหญ่ ภายใต้บรรยากาศที่มีความสุข ไม่เคร่งเครียดด้วยกฎระเบียบ
ที่เครง่ ครดั หรอื ยากต่อการปฏิบัติ การจัดการสภาพแวดลอ้ ม จงึ จัดแบง่ เป็น ๓ ด้าน ดงั น้ี
การจัดการสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ เป็นการจัดการสภาพแวดล้อมตามแนวคิดเร่ืองการตอบสนอง
ความต้องการพ้ืนฐานและการเรียนรู้โดยการปฏิสัมพันธ์กับส่ิงแวดล้อม การจัดการจึงมีเป้าหมายให้เด็กอยู่ร่วมกัน
อย่างมีสุขอนามัยท่ีดี มีพื้นที่ในการตอบสนองการทำ�กิจกรรมต่างๆ อย่างคล่องตัว และตอบสนองการทำ�กิจกรรม
ท่ีหลากหลาย ลักษณะการจัดการจึงเน้นในเรื่องของความสะอาด ความปลอดภัย ความสะดวกที่จะทำ�ให้รู้สึก
คล่องตัว สดใส กระฉับกระเฉง บ้านและสถานที่เลี้ยงดูเด็กท่ีมีลักษณะกายภาพที่ดี คือ มีการถ่ายเทอากาศท่ีดี
มีอุณหภูมิท่ีเหมาะสม มีแสงสวา่ งพอเพียง มีความสงบที่จะทำ�กิจกรรมอยา่ งสบายและมีสมาธิ มีท่ีให้เก็บวัสดุของใช้
และผลงาน มีทีจ่ ดั แสดงเพือ่ การส่อื สารข้อมูล แต่ละจุดของพ้นื ทีจ่ ะต้องสะดวกในการเข้า - ออก พอ่ แมห่ รือผเู้ ล้ยี งดู
สามารถเข้าไปดแู ลไดอ้ ยา่ งท่วั ถึงในทุกพน้ื ท่ี
การจดั การสภาพแวดลอ้ มดา้ นจติ ภาพ เปน็ การจดั การบา้ นและสถานทด่ี แู ลเดก็ ตามแนวคดิ เรอ่ื งการเรยี นรู้
อยา่ งมคี วามสขุ การจดั สภาพแวดลอ้ มจงึ เปน็ การจดั เพอื่ ใหเ้ กดิ บรรยากาศทดี่ ใี นการอยรู่ ว่ มกนั ซง่ึ จะเกดิ ความสะดวก
ปลอดภัย ราบร่นื จากการท�ำ กจิ กรรมในห้องทีม่ ลี ักษณะทางกายภาพที่เหมาะสม และมกี ารปฏิบตั ติ อ่ กนั ทเี่ หมาะสม
ของผทู้ อี่ ยใู่ นสภาพแวดลอ้ มทง้ั เดก็ และผใู้ หญ่ นอกจากนยี้ งั รวมถงึ กฎ ระเบยี บ กตกิ า ขอ้ ตกลงทท่ี กุ คนสามารถปฏบิ ตั ิ
ร่วมกันไดแ้ ละเกดิ ความสุขในการอยู่รว่ มกัน การจัดการสภาพแวดลอ้ มดา้ นจติ ภาพจึงมเี ปา้ หมายเพือ่ ให้เด็กไดเ้ รียนรู้
การอยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมแห่งความสุข พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูมีท่าทีที่อบอุ่นให้ความมั่นใจแก่เด็ก สนับสนุน
ให้เด็กได้ประสบความสำ�เร็จในกิจกรรมต่างๆ มีสถานท่ีท่ีเด็กสามารถมีความเป็นส่วนตัว หรือเมื่อต้องการอยู่
ตามลำ�พงั หรือเมือ่ ต้องการความสงบ ใหอ้ ิสระเดก็ ในการสอ่ื สาร เคล่ือนไหว ท�ำ กิจกรรมตา่ งๆ รวมท้ังกฎ ระเบียบ
ต่างๆ สามารถยืดหยนุ่ ไดเ้ มอื่ จ�ำ เป็น
คู่มือหลกั สูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรบั เด็กอายตุ า่ํ กวา่ ๓ ปี 97
การจัดการสภาพแวดล้อมด้านสังคม เป็นการจัดการสภาพแวดล้อมท่ีเกิดจากแนวคิดเร่ืองการเรียนรู้
ทางสังคมของเด็กปฐมวัย ท่ีเรียนรู้ทางสังคมจากการเล่น การทำ�กิจกรรม และการทำ�งานร่วมกับผู้อ่ืนทั้งเด็กและ
ผู้ใหญ่ การจัดการสภาพแวดล้อมด้านสังคมจึงเป็นการจัดการที่ให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สนับสนุน
ให้ปฏิบัติตนในลักษณะท่ีสังคมยอมรับและเกิดทักษะทางสังคม มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น สนับสนุนให้เกิด
การแบง่ ปนั กนั ทัง้ ในดา้ นความคิด ความรสู้ กึ พื้นท่ี และอปุ กรณต์ า่ งๆ จัดให้มบี รรยากาศแบบประชาธปิ ไตย เดก็ ได้
แสดงความเหน็ และมีส่วนรว่ มในการตดั สนิ ใจต่างๆ เช่น การก�ำ หนดขอ้ ตกลง กตกิ า กฎ ระเบยี บต่างๆ การแบง่ หน้าที่
การฝกึ การมวี ินัยในตนเอง
การเรียนรู้ของเด็กที่เกิดด้วยวิธีการเดียวได้ปฏิสัมพันธ์สิ่งแวดล้อมท้ังด้านวัตถุและบุคคล พ่อแม่หรือ
ผู้เล้ียงดูจะต้องพยายามจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้ทำ�กิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
กบั สง่ิ ของ และกบั กระบวนการตา่ งๆ รวมถงึ ใหเ้ ดก็ ไดป้ ฏสิ มั พนั ธก์ บั ประสบการณต์ า่ งๆ และพอ่ แมห่ รอื ผเู้ ลย้ี งดจู ะตอ้ ง
มีการวางแผนการจัดกิจกรรมประจำ�วันให้เด็กได้พัฒนาทั้งร่างกายและสังคม โดยการเตรียมส่ือ วัสดุที่เหมาะสม
เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เกิดกระบวนการคิด ให้เด็กได้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เด็ก
ไดป้ ฏสิ มั พนั ธก์ บั ผคู้ นและกระบวนการตา่ งๆ อยา่ งกวา้ งขวาง การทเี่ ดก็ อยใู่ นสภาวะแวดลอ้ มทเ่ี หมาะสม เดก็ จะพฒั นา
ความรู้สึกท่ีดตี ่อตนเอง เกิดความเชื่อมน่ั ในตนเอง และมีความคดิ ริเร่ิมสรา้ งสรรค์
ส่ือ
ส่ือ เป็นตัวกลางกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายท่ีกำ�หนด การเรียนรู้ของเด็กอายุต่ํากว่า ๓ ปี
จำ�เป็นต้องผ่านการลงมือปฏิบัติจริงหรือเกิดจากการค้นพบด้วยตนเอง เป็นประสบการณ์ตรง ซ่ึงเด็กจะเรียนรู้จาก
ส่ิงทีเ่ ปน็ รปู ธรรม หรือมองเห็นจบั ต้องได้ ไปสสู่ ่ิงท่เี ปน็ นามธรรมเมือ่ เข้าสอู่ ายุที่สงู ขึน้ การเรียนรู้ของเดก็ วยั นจี้ งึ ขึน้ อยู่
กับของจรงิ ทพ่ี บเหน็ ของเลน่ ที่เลยี นแบบของจริง นิทาน และเพลง ดงั น้ี
๑. ของเลน่
ของเล่น เป็นสิ่งท่ีประกอบการเล่นของเด็ก ของเล่นช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเกิด
ความม่ันใจในการเล่น ของเล่นอาจจัดทำ�ข้ึนเองจากวัสดุ สิ่งของ เศษวัสดุเหลือใช้ท่ีมีอยู่รอบตัวในชีวิตประจำ�วัน
หรือเป็นการเลือกซื้อของเล่นที่มีขายในท้องตลาด ซ่ึงการจัดหาของเล่นให้เด็กต้องคำ�นึงถึงความปลอดภัยและ
เหมาะกบั วยั ของเดก็
๑.๑ ลักษณะของเลน่ เด็ก ของเล่นทเ่ี ก่ียวขอ้ งกบั การเล่นของเด็ก แบ่งเปน็
๑.๑.๑ ของจริง เป็นของเล่นที่เป็นสิ่งของหรือเครื่องใช้ในชีวิตจริง ของเล่นชิ้นแรกท่ีมีคุณค่า
ต่อชีวิตเด็กมากท่ีสุด คือ พ่อแม่ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าทารกจะสนใจมองหน้าพ่อแม่มากกว่าสิ่งอ่ืน และหันตามเสียงของ
พ่อแม่ การเรียนรู้ของทารกจะเริ่มต้นจากการรับรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมในชีวิตจริงไปสู่การรับรู้ภาพสัญลักษณ์ตามลำ�ดับ
ขน้ั ตอนของพัฒนาการทางสติปญั ญา ของจริงทเ่ี ดก็ เลน่ ได้ เชน่ ชอ้ น ถว้ ย ชามพลาสตกิ เป็นตน้
98 คู่มอื หลกั สูตรการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเดก็ อายตุ า่ํ กวา่ ๓ ปี
๑.๑.๒ ของเล่นที่เลียนแบบของจริง เป็นของเล่นท่ีทำ�ข้ึนให้มีรูปแบบเหมือนของจริงท่ีมีอยู่
ในชวี ิตประจ�ำ วัน อาจทำ�จากวสั ดุประเภทไม้ พลาสตกิ โลหะ หรอื กระดาษก็ได้ เช่น ตุ๊กตาสตั ว์ขนออ่ นนมุ่ ต๊กุ ตาคน
ลูกบอลเด็กเลน่ รถเดก็ เลน่ ของเลน่ เครือ่ งครัว/เคร่ืองใช้ในบ้าน เปน็ ต้น
๑.๑.๓ ของเลน่ สรา้ งสรรค์ เปน็ ของเลน่ ทท่ี �ำ ขนึ้ โดยไมม่ รี ปู แบบทแ่ี นน่ อนตายตวั สามารถประกอบ
เข้าด้วยกันให้เป็นอะไรก็ได้ตามความต้องการหรือจินตนาการของผู้เล่น เช่น ตัวต่อพลาสติก พลาสติกสร้างสรรค์
บลอ็ กไม/้ พลาสตกิ วสั ดทุ ใี่ ชใ้ นการวาดภาพ/การปน้ั /การประดิษฐ์ เปน็ ตน้
๑.๑.๔ ของเล่นเพื่อการศึกษา เป็นของเล่นท่ีทำ�ขึ้นให้มีรูปแบบช่วยพัฒนาทักษะการสังเกต
ทกั ษะกล้ามเน้ือมือประสานสัมพันธก์ ับตา ทักษะการคิด เช่น บล็อกไม/้ พลาสตกิ เกมภาพตดั ตอ่ เกมโดมโิ น เป็นต้น
๑.๑.๕ ของเลน่ พน้ื บา้ น เปน็ ของเลน่ ทท่ี �ำ ขนึ้ จากวสั ดตุ ามธรรมชาตหิ รอื วสั ดทุ ม่ี อี ยใู่ นทอ้ งถน่ิ ดว้ ย
เช่น โมบายปลาตะเพียนใบลาน ตะกร้อใบลาน ตุ๊กตาสัตว์ทำ�จากฟาง กังหันลมใบตาล ล้อกล้ิงไม้ไผ่
นก/ตั๊กแตนสานใบมะพร้าว กะลารองเท้า ปี่ใบมะพร้าว และรปู ปัน้ ดินเหนยี วรูปสัตว์ เป็นต้น
๑.๒ ประเภทของเล่นเด็ก ของเล่นเด็กมีหลากหลายรูปแบบ ข้ึนอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้เล่น
แบ่งเปน็
๑.๒.๑ ของเล่นฝึกประสาทสัมผัส เป็นของเล่นท่ีดึงดูดความสนใจของเด็กในการมองเห็น ได้ยิน
และสัมผัส เช่น โมบายรูปทรงขาว - ดำ�/หลากสี ของเล่นเขย่า/บีบแล้วมีเสียง ของเล่นมีผิวสัมผัสเรียบ/ขรุขระ
ของเล่นหยบิ จับไวใ้ นมือได้ เสยี งเพลง เป็นต้น
๑.๒.๒ ของเลน่ ฝกึ การเคล่ือนไหว เปน็ ของเลน่ ท่ีเคลอ่ื นท่ไี ป - มาได้ กระตุ้นใหเ้ ดก็ ใชก้ ลา้ มเน้ือ
แขน - ขา เช่น ลูกบอล ของเลน่ ลากจูงได้ ของเลน่ ไขลาน ของเลน่ มลี อ้ เล่ือน เปน็ ตน้
๑.๒.๓ ของเล่นฝึกความสัมพันธ์มือ - ตา เป็นของเล่นท่ีฝึกให้เด็กได้พัฒนาการประสาน
สัมพันธ์ระหว่างการใช้กล้ามเน้ือมือ - ตา อย่างมีจุดหมาย เช่น กระดานฆ้อนตอก กล่องหยอดรูปทรง ของเล่น
ร้อยลูกปดั เม็ดโต ของเลน่ รอ้ ยเชอื กตามรู ของเล่นผูกเชือก/รปู ซปิ /ติดกระดมุ เปน็ ตน้
๑.๒.๔ ของเล่นฝึกภาษา เป็นของเล่นที่ช่วยในการฟัง การส่ือสารทางด้านการฟัง การพูด
เลา่ เร่ือง เช่น หนงั สือภาพ นิทาน เทปเพลงเดก็ เครอื่ งดนตรี หุน่ มือ เป็นต้น
๑.๒.๕ ของเล่นฝึกการสังเกต เป็นของเล่นฝึกทักษะการเปรียบเทียบ การจำ�แนกหรือจัดกลุ่ม
เชน่ ของเล่นรูปทรงเรขาคณิต แผน่ ภาพจบั คู่ บลอ็ กต่างสีต่างขนาด เปน็ ต้น
๑.๒.๖ ของเล่นฝึกการคิด เป็นของเล่นสอนให้เด็กมีสมาธิและรู้จักแก้ปัญหา คิดใช้เหตุผล เช่น
ภาพตัดต่อ ตัวตอ่ ภาพปริศนา บล็อกไม้/พลาสติก เปน็ ตน้
๑.๒.๗ ของเล่นฝึกความคิดสร้างสรรค์ เป็นของเล่นท่ีส่งเสริมให้เด็กสร้างจินตนาการ
ตามความนึกคิด หรือแสดงบทบาทสมมติ เช่น บล็อกไม้/พลาสติก ตัวต่อ ของเล่นเครื่องครัว/เคร่ืองใช้ในบ้าน
ของเล่นร้านคา้ ของเล่นเครอื่ งมอื แพทย์ เปน็ ต้น
คู่มือหลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เดก็ อายุตํา่ กว่า ๓ ปี 99
๑.๓ ของเลน่ ตามวยั เด็กมคี วามสนใจของเลน่ แตกต่างกนั ตามความสามารถของวยั ดงั น้ี
๑.๓.๑ ของเล่นสำ�หรับเด็กแรกเกิด - ๓ เดือน มักเป็นของเล่นกระตุ้นทักษะการใช้สายตา
การฟงั เสียง และการสัมผัส เช่น เคร่ืองแขวนหรือโมบายทม่ี สี ตี ัดกันชดั เจน (ขาว - ด�ำ /แดง - เขยี ว/นา้ํ เงิน - เหลอื ง)
ทำ�ด้วยผ้าอ่อนนุ่มหรือพลาสติกเน้ือดี มีกระด่ิงห้อยและมีเสียงกรุ๋งกร๋ิงเวลาลมพัดไป - มา ของเล่นเขย่าหรือบีบ
แล้วเกิดเสียง ตุ๊กตาผ้ารูปสัตว์ ลูกบอลผ้า ของเล่นพลาสติกสอดกำ�ได้ ของเล่นแบบคานมหาสนุกให้ใช้น้ิวสัมผัส
เป็นตน้
๑.๓.๒ ของเล่นสำ�หรับเด็กอายุ ๓ - ๖ เดือน มักเป็นของเล่นท่ีฝึกทักษะการมองตามวัตถุ
การได้ยินเสียง การใช้กล้ามเน้ือมือ - นิ้วมือในการหยิบจับส่ิงต่างๆ และการสังเกต เช่น ตุ๊กตายางเป็นรูปต่างๆ
ลูกบอลผ้า/พลาสตกิ ของเลน่ บบี แล้วเกดิ เสียง ของเลน่ เขยา่ มเี สียงอยขู่ า้ งใน และของเล่นท่ีกลิ้งไป - มามเี สยี งขา้ งใน
เป็นต้น
๑.๓.๓ ของเล่นสำ�หรับเด็กอายุ ๖ - ๑๒ เดือน มักเป็นของเล่นที่ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อ
มือ - นิ้วมือ การประสานสัมพันธ์มือ - ตา การสัมผัส และการสังเกต เช่น บล็อกไม้/พลาสติก กล่องหยอดบล็อก
รปู ทรงต่างๆ ของเล่นไขลานเดินได้ ตุ๊กตา ของเล่นท่ีเปน็ ของจรงิ เป็นต้น
๑.๓.๔ ของเล่นส�ำ หรบั เดก็ อายุ ๑ - ๓ ปี มกั เปน็ ของเล่นทีฝ่ กึ ทักษะการเคลอื่ นไหว การประสาน
สัมพันธ์มือ - ตา มาใช้กล้ามเนื้อมือ - ข้อมือ การสังเกตเปรียบเทียบ และการใช้ความจำ� และความคิดสร้างสรรค์
เชน่ ของเลน่ ลากจูงและผลกั ไป - มาได้ กระดานฆ้อนตอก บล็อกไม/้ พลาสติก ภาพตดั ตอ่ อยา่ งง่าย ตัวต่อพลาสติก
ขนาดใหญ่ ตกุ๊ ตา ของเล่นจ�ำ ลอง เปน็ ต้น
อายุ ตารางการเลน่ และของเล่นเด็กแรกเกิด - ๓ ปี ประโยชน์
ความสนใจของเด็ก การสง่ เสรมิ การเลน่ ของเลน่ /วสั ดอุ ปุ กรณ์
แรกเกิด - ๓ เดือน วตั ถุที่ดงึ ดดู สายตา แขวนโมบายทีม่ ีสีสดใส โมบายท�ำ จากผา้ หรือ ฝกึ การมองดู
เคล่อื นไหวได้ มเี สียง หมุนแกว่งไป - มาได้ กระดาษสี มีกระด่งิ หอ้ ย การมองตามวตั ถุ และ
ใบหนา้ ผเู้ ลี้ยงดู มีเสยี ง โมบายปลาตะเพียน การฟังเสียง
มอื ของเดก็ เอง พดู คุย รอ้ งเพลง เหก่ ล่อม ผเู้ ล้ยี งดู ฝกึ การมองสบตา
วตั ถทุ ่มี ีเสยี ง และการรับรเู้ สียง
หาของเล่นอ่อนน่มุ สสี ด ตกุ๊ ตาขนนุ่ม/ยาง ฝึกการใชก้ ลา้ มเนอ้ื
วตั ถุมสี ตี ดั กัน มีลวดลาย ให้หยบิ จับและสัมผัส ลูกบอลผ้า/หมอนผา้ มอื - แขน
หาของเล่นถอื เขยา่ ของเลน่ เปน็ หว่ งใหญ่ ฝึกการฟังเสยี ง - หัน
มเี สียงดังกรงุ๋ กร๋งิ มีชัน้ ย่อยห้อยอยดู่ ้วย หาเสียง และการใช้
กลา้ มเนือ้ มือ - แขน
หาของเลน่ สีขาว - ด�ำ ของเลน่ เปน็ หมอนผ้า ฝกึ การมองอยา่ ง
หรอื สสี ดใสตัดกนั เปน็ ตารางหมากรกุ มีจุดหมาย
หรอื เป็นวงกลมซอ้ นกนั
100 คู่มือหลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรบั เด็กอายตุ ํ่ากวา่ ๓ ปี
อายุ ความสนใจของเดก็ การส่งเสรมิ การเล่น ของเลน่ /วัสดุอุปกรณ์ ประโยชน์
๓ - ๖ เดอื น วตั ถุทีม่ เี สียง
หาของเล่นให้ควา้ จบั ของเล่นเขย่า เคาะหรือ ฝกึ การใช้กลา้ มเนือ้
วตั ถุท่เี คล่อื นไหวได้เอง
๖ - ๑๒ เดือน ใบหนา้ ผูเ้ ล้ยี งดู สมั ผัส กำ� เขยา่ เคาะ บบี แลว้ เกดิ เสยี ง มอื - นิว้ มือ
มองตนเองในกระจก
คลานดว้ ยเขา่ เกาะ ยนื บีบใหเ้ กดิ เสียง ฝกึ การฟังเสียงและ
ตัง้ ไข่
เสียงเพลง คน้ หาทิศทาง
สง่ิ ของที่เคลือ่ นทไ่ี ด้ หาของเล่นท่เี คลื่อนไหว ตุ๊กตาไขลาน ของเลน่ ฝกึ การใช้กล้ามเนอ้ื มอื -
ส่ิงของใกล้ตวั
หรอื กลงิ้ ไปมาได้ ที่มีลอ้ ของเล่นทีก่ ลง้ิ ได้ นิ้วมือ
๑ - ๓ ป ี ชอบเดนิ ไม่อยู่นิ่ง
เลน่ จ๊ะเอก๋ ับเด็ก ผ้เู ลีย้ งดู ฝกึ การรับรู้เสียง
ขว้างปาส่ิงของ
เลน่ ตบมือ รอ้ งเพลง
เลน่ คนเดยี ว
อมุ้ เด็กยนื หนา้ กระจก กระจกเงา ฝกึ การรบั รู้ตนเอง
ช้ีใหด้ ูตวั เอง
ใหอ้ สิ ระเดก็ ในการคลาน พนื้ ที่เรียบไมอ่ นั ตราย ฝกึ การใช้กลา้ มเนือ้
คอยดแู ลใกลๆ้ ช่วยพยุง แขน - ขา
ใหเ้ ด็กน่งั ทรงตวั และการทรงตัว
ให้ฟงั เพลง เล่นตบมอื เทปเพลง ของเลน่ มีเสียง ฝึกการฟังเสยี งและ
เปน็ จงั หวะเพลง จงั หวะเพลง
ออกทา่ ทาง เล่นจับปดู ำ�
เลน่ ซอ่ นของ เอาผา้ คลุม
หาของเล่นที่กลงิ้ ไป - มาได้ ลกู บอลผา้ /พลาสตกิ ฝกึ การใชก้ ลา้ มเนอ้ื
ใหเ้ ดก็ จบั เล่น โยนลงพ้ืน รถไขลาน มือ - น้วิ มอื
ให้เด็กใช้มือหยิบจับถ้วย ถว้ ย ชาม ชอ้ นพลาสตกิ ฝกึ การใชก้ ล้ามเนื้อ
ชาม ชอ้ นพลาสตกิ หรือ มอื - นิ้วมอื
ตักนํ้า หรืออาหารเข้าปาก และการช่วยตนเอง
หาของเล่นลากจูงได้ ขบวนรถไฟไม้ ของเล่น ฝึกการเคลือ่ นไหว
ให้เด็กลากไป - มา ท่ลี ากจูง จกั รยาน ๓ ลอ้ การทรงตัว และการรบั รู้
ทศิ ทาง
หาของเลน่ ท่ตี กไมแ่ ตก กลอ่ งกระดาษ ฝึกการใชก้ ลา้ มเนอ้ื
ใหเ้ ด็กได้ทดลองขว้างปา กระปอ๋ งแป้งพลาสติก มอื - ตา
ตอก หรอื ถอด ลูกบอลเลก็ กระดาษ และการกะระยะ
ฆอ้ นตอก
หาของเลน่ สรา้ งสรรค์ ภาพตดั ต่อง่ายๆ ฝกึ การใชก้ ล้ามเนื้อ
ใหเ้ ดก็ เล่นอยา่ งอสิ ระ บล็อกไม้/พลาสติก มอื - ตา การสังเกต
กล่องมีรูใส่บลอ็ ก และสมาธิ
คมู่ อื หลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เด็กอายตุ ํา่ กวา่ ๓ ปี 101
อาย ุ ความสนใจของเด็ก การส่งเสริมการเลน่ ของเลน่ /วสั ดอุ ปุ กรณ ์ ประโยชน์
ขีดเขยี น
หาสีเทยี นแท่งใหญ่ และ ดินสอเทยี น กระดาษ ฝึกการใชก้ ลา้ มเนอ้ื
ฟงั นิทาน/ดูรูปภาพ
กระดาษให้ขดี เขยี นเลน่ มือ - นวิ้ มือ และ
เลน่ นํา้ เลน่ ทราย
การประสานมือ - ตา
เลียนแบบผใู้ หญ่
หารปู ภาพชี้ชวนให้เด็กดู รูปภาพเหมือนจริง ฝกึ การสังเกต รู้จกั ชือ่
และสอนใหร้ ้จู กั ค�ำ เรยี ก หนงั สือนิทาน ส่ิงต่างๆ และการรบั ฟัง
รปู ร่างลกั ษณะ เลา่ นิทาน
ให้เดก็ ตักน้าํ เล่น รดน้าํ ของเล่นท่ีตักตวงนํ้า/ ฝึกการใช้กล้าเนอ้ื
ลงพ้นื หาของเล่น ทราย ทำ�ดว้ ยพลาสตกิ มือ - นิ้วมือ การใชแ้ ขน
ท่ใี ชต้ วงทราย กระป๋องตักนํา้ และการประสานมอื - ตา
หาของเล่นเลียนแบบ ตุ๊กตามเี ส้ือผ้าถอดได้ ฝึกทกั ษะการสรา้ ง
การกระทำ�ของผใู้ หญ ่ ของใช้ในบ้านจำ�ลอง สมั พันธ์กับส่งิ รอบตวั
ใหเ้ ล่น และการเลยี นแบบ
การกระท�ำ
๑.๔ การเลือกของเลน่ เดก็ หลักเกณฑ์ท่คี วรคำ�นงึ ถงึ มีดงั นี้
๑.๔.๑ ความปลอดภัยในการเล่น ของเล่นสำ�หรับเด็กอาจทำ�ด้วยไม้ ผ้า พลาสติก หรือโลหะ
ท่ีไม่มีอันตรายเกี่ยวกับผิวสัมผัสที่แหลมคม หรือมีช้ินส่วนที่หลุดหรือแตกหักง่าย ตลอดจนทำ�ด้วยวัสดุท่ีไม่มีพิษ
มภี ยั ตอ่ เดก็ ในสที ท่ี าหรอื สว่ นผสมในการผลติ มขี นาดไมเ่ ลก็ เกนิ ไปจนท�ำ ใหเ้ ดก็ กลนื หรอื หยบิ ใสร่ จู มกู หรอื เขา้ ปากได้
รวมท้ังมนี ํ้าหนักพอเหมาะท่เี ดก็ สามารถหยิบเล่นเองได้
๑.๔.๒ ประโยชน์ในการเล่น ของเล่นที่ดีควรช่วยเร้าความสนใจของเด็กให้อยากรู้อยากเห็น
มีสีสันสวยงามสะดุดตาเด็ก มีการออกแบบที่ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการท่ีจะเล่นอยา่ งริเริ่มสร้างสรรค์
หรือแก้ปัญหา ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว และการใช้มือได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังเสริมสร้าง
การพัฒนาประสาทมือ - ตาให้สัมพันธก์ นั
๑.๔.๓ ประสิทธิภาพในการใช้เล่น ของเล่นท่ีเหมาะในการเล่นควรมีความยากง่ายเหมาะกับ
ระดับอายุและความสามารถตามพัฒนาการของเด็ก ของเล่นที่ยากเกินไปจะบั่นทอนความสนใจในการเล่นของเด็ก
และทำ�ให้เด็กรู้สึกท้อถอยได้ง่าย ส่วนของเล่นที่ง่ายเกินไปก็ทำ�ให้เด็กเบื่อไม่อยากเล่นได้ นอกจากนี้ของเล่นควร
ทำ�ให้เด็กได้ใช้ประสบการณ์ตรงและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความแข็งแรงทนทาน และปรับเปลี่ยนดัดแปลง
ใชป้ ระโยชน์ได้หลายโอกาส หลายรูปแบบ หรือเลน่ ไดห้ ลายคน
๑.๔.๔ ความประหยัดทรัพยากร ของเล่นท่ีดีไม่จำ�เป็นต้องมีราคาแพงหรือผลิตด้วยเทคโนโลยี
ที่ทันสมัย มีตราเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมท่ัวไป หากแต่เป็นวัสดุของหรือของเล่น
ที่สามารถจัดหาได้ง่าย มีราคาย่อมเยา และมีอยู่ในท้องถิ่นนั้น โดยหาซ้ือได้ง่ายหรือทำ�ข้ึนเองได้จากภูมิปัญญา
พื้นบา้ นหรือวฒั นธรรมทอ้ งถ่ิน
102 คูม่ ือหลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเดก็ อายุตาํ่ กว่า ๓ ปี
ตารางเกณฑพ์ จิ ารณาการเลือกซือ้ ของเลน่ ให้เดก็
ประเด็นการพิจารณา ใช่ ไม่ใช่
๑. ของเล่นมีลักษณะปลอดภยั สำ�หรับเด็กตามวัย สที ใ่ี ช้เป็นสีท่ปี ลอดภยั ไม่มชี ้ินสว่ นแหลมคม
หรอื แตกหักง่าย
๒. ของเล่นเหมาะกับวัยของเด็ก ไมย่ ากหรือง่ายเกินไปทเี่ ดก็ จะเลน่ ได้เอง
๓. ของเล่นดึงดดู ความสนในใจการเล่น ท้าทายความสามารถของเด็ก
๔. ของเลน่ มกี ารออกแบบอยา่ งพถิ พี ถิ นั เหมาะสมกับธรรมชาติของเด็ก
๕. ของเล่นสามารถปรับเปลย่ี นรูปแบบได้หลากหลาย ใชเ้ ล่นไดห้ ลายแบบ หลายวิธี ตามความตอ้ งการ
ของผู้เลน่
๖. ของเล่นมีความคงทน ใชเ้ ล่นได้นาน ไม่บบุ สลายง่าย
๗. ของเล่นช่วยสง่ เสรมิ ทักษะการเรียนรขู้ องเดก็ ทำ�ใหเ้ ด็กเรียนรูห้ ลายๆ ดา้ นเกี่ยวกับสงิ่ แวดลอ้ มรอบตัว
๘. ของเลน่ ช่วยขยายความคดิ สร้างสรรค์ของเดก็ ท�ำ ให้เด็กใชจ้ นิ ตนาการคดิ ทำ�ส่งิ ใหม่ๆ
๙. ของเลน่ ทำ�ให้เด็กมสี มาธิ ใจจดจอ่ อยู่กบั การเล่นเป็นเวลานานพอควร ตามช่วงความสนใจของวยั
๑๐. ของเล่นท�ำ ความสะอาดไดง้ า่ ย หรอื นำ�กลับมาเล่นใหมไ่ ด้
๑๑. ของเลน่ ทำ�ใหเ้ ดก็ เกดิ ความรูส้ กึ ดตี ่อตนเองและค้นพบความสำ�เรจ็
๑๒. ของเล่นมีราคาไม่แพงจนเกินไป เมือ่ เปรยี บเทยี บกบั คุณภาพของวสั ดุและการใชป้ ระโยชน์
เกณฑก์ ารตดั สินใจซือ้ ของเล่น ถ้าค�ำ ตอบ “ใช”่ เกิน ๑๐ ขอ้
๒. นิทาน
นิทาน เป็นส่ือ เครื่องมือ และวิธีการที่สำ�คัญในการพัฒนาเด็ก เพราะเด็กมีธรรมชาติที่อยากได้ยิน
เรื่องผู้คนรอบข้าง เราสามารถอ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่ยังเป็นทารก จะช่วยสร้างความคุ้นเคยระหว่างเด็กกับ
หนังสอื ถอื เป็นการบ่มเพาะนสิ ยั รกั การอ่านหนังสอื ในเดก็ ได้อยา่ งแยบยล
๒.๑ ประโยชน์ของนทิ าน นิทานมบี ทบาทส�ำ คัญตอ่ การเสริมสรา้ งพัฒนาการเดก็ ในทกุ ดา้ น ดงั น้ี
๒.๑.๑ ด้านร่างกาย การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เด็กจะได้บริหารร่างกายตามเร่ืองราวของนิทาน
ทำ�ให้อวัยวะสว่ นต่างๆ ของรา่ งกายแข็งแรง
๒.๑.๒ ด้านอารมณ์ จิตใจ การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน มีความสุขที่ได้ฟัง
เรือ่ งราว หรอื ทอ่ งบทกลอนและแสดงทา่ ทางอย่างอสิ ระตามความตอ้ งการ เด็กจะมีอารมณด์ ี ยมิ้ แยม้ แจม่ ใส
๒.๑.๓ ดา้ นสงั คม สร้างความสมั พันธใ์ นครอบครวั และสังคมรอบด้าน
๒.๑.๔ ด้านสติปัญญา การอ่านหนังสือจะช่วยให้เด็กสามารถจดจำ�ถ้อยคำ� จำ�ประโยคและ
เรือ่ งราวในหนงั สอื ได้ รู้จกั เลยี นแบบค�ำ พดู เขา้ ใจความหมายของเร่อื งทีจ่ ะอ่าน รู้จักคดิ และรูจ้ ักจินตนาการ
คู่มอื หลักสตู รการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เด็กอายตุ ํ่ากวา่ ๓ ปี 103
๒.๒ วิธกี ารเลา่ นิทานหรือเร่อื งราวสำ�หรับเดก็
เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเร่ืองราว
เพ่ือใหเ้ ด็กเกดิ ความสนใจ ติดตามฟังเนอ้ื เรอื่ งจนจบ จำ�เปน็ ตอ้ งท�ำ ให้เหมาะสมกบั เรือ่ งทจี่ ะเล่าดว้ ย ในการเลา่ นิทาน
เรือ่ งราวทนี่ ยิ มใช้ มี ๒ วธิ ี ดังน้ี
๒.๒.๑ การเล่าเรื่องโดยไม่มีอุปกรณ์ช่วย เป็นการเล่านิทานหรือเร่ืองราวด้วยการบอกเล่า
ดว้ ยนํ้าเสียงและลีลาของผู้เลา่ ซ่ึงมรี ายละเอียดดงั นี้
๑) การขึ้นต้นเรื่องท่ีจะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยๆ เริ่มเล่าด้วยเสียงพูด
ทช่ี ัดเจน ลีลาของการเลา่ ชา้ ๆ และเรม่ิ เร็วขน้ึ จนเปน็ การเลา่ ด้วยจังหวะปกติ
๒) ระดับเสียงที่ใช้ควรดัง และประโยคท่ีเล่าควรแบ่งเป็นประโยคส้ันๆ แต่ได้ใจความ
การเล่าควรดำ�เนินไปอย่างต่อเน่ือง ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่าให้นานเพราะจะทำ�ให้เด็กเบ่ือ อีกทั้งไม่ควรมีคำ�ถาม
หรอื คำ�พดู อืน่ ๆ ท่ีเปน็ การขัดจงั หวะ ทำ�ใหเ้ ด็กหมดสนกุ
๓) การใช้น้ําเสียง สีหน้า ท่าทาง ควรแสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร
ไม่ควรพดู เนอื ยๆ เรื่อยๆ เพราะท�ำ ให้ขาดความตืน่ เต้น
๔) การน่ังเล่าเรื่อง ควรจัดหาเก้าอี้นั่งให้เหมาะกับระดับสายตาเด็ก ควรเว้นระยะห่าง
ของการนั่งเผชญิ หน้าเด็ก พอประมาณท่ีจะสามารถสบตาเด็กขณะเล่าเรือ่ งไดท้ ั่วถงึ
๕) การใชเ้ วลาไม่ควรเกนิ ๑๕ นาที โดยสังเกตจากท่าทางการแสดงออกของเด็กซงึ่ ไมไ่ ด้
ใหค้ วามสนใจจดจ่อกับเรื่องทเี่ ลา่
๖) การเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและวิจารณ์เรื่องที่เล่า ควรใช้คำ�ถามสอบถามความคิด
ของเดก็ เก่ียวกบั กบั เร่อื งราวทไ่ี ดฟ้ ัง ใหเ้ ดก็ มีโอกาสแสดงความคิดเหน็ ภายหลังทีเ่ รื่องเลา่ จบลง
๒.๒.๒ การเล่าเรือ่ งโดยมอี ปุ กรณ์ช่วย อปุ กรณ์ท่ีใชช้ ว่ ยในการเล่าเรือ่ งมหี ลายประเภท ไดแ้ ก่
๑) ส่ิงแวดล้อมรอบตัวเด็ก ซึ่งสามารถนำ�มาเล่าเรื่องราวประสบการณ์ให้แก่เด็กได้
อุปกรณ์ท่ีเป็นสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สัตว์ พืช บุคคลสำ�คัญ สถานที่สำ�คัญ ข่าว และเหตุการณ์ ตลอดจนสิ่งท่ีมีอยู่
ตามธรรมชาติ
๒) วสั ดเุ หลอื ใช้ สงิ่ ของทไี่ มเ่ ปน็ ทต่ี อ้ งการแตย่ งั มปี ระโยชน์ เชน่ ภาพจากหนงั สอื นติ ยสาร
ก่ิงไม้ กล่องกระดาษ ส่งิ เหลา่ นี้อาจนำ�มาใช้ประกอบการเล่าเรื่องได้
๓) ภาพ ใช้รูปภาพที่มีเร่ืองราวเล่าได้ เช่น ภาพท่ีมีเรื่องราวรวมอยู่ในแผ่นเดียว หรือ
ทำ�เปน็ แผน่ ภาพพลิกหลายๆ แผน่ ขนาดใหญ่พอควร และมีเนอ้ื เรื่องเขียนไว้ดา้ นหลัง
๔) หุน่ จำ�ลอง ใชห้ ุ่นทท่ี �ำ ด้วยผ้าหรือกระดาษ ท�ำ เปน็ ละครห่นุ มือ หนุ่ เชิด หุน่ ชัก
๕) สไลดป์ ระกอบการเลา่ เรื่อง ใชภ้ าพถา่ ยเป็นสไลดแ์ ผน่ ฉายทลี ะภาพ
๖) หนา้ กากท�ำ เปน็ รปู ตัวละคร ใชว้ สั ดทุ �ำ เป็นหนา้ กากรปู ตัวละครต่างๆ
104 คมู่ ือหลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เด็กอายตุ ํา่ กว่า ๓ ปี
๗) เทปนทิ านหรอื เรอื่ งราว ใช้การเปิดเทปท่ีมีเสยี งเลา่ เรอื่ งราว
๘) น้ิวมอื ประกอบการเลา่ เรือ่ ง ใช้นิ้วมือเคลื่อนไหวเปน็ ตัวละครต่างๆ
๒.๓ การอ่านนทิ าน
การสร้างนิสัยรักการอ่านให้เด็กเป็นหน้าท่ีสำ�คัญประการหนึ่งของพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู เพราะ
หนังสือคืออาหารสมองและอาหารใจ หนังสือคือความสุข หนังสือคือเพื่อน หนังสือคือแหล่งเรียนรู้ของเด็ก
ไปตลอดชีวิต การสร้างนิสัยรักการอ่านให้ลูกจึงเป็นการสร้างพื้นฐานสำ�คัญของชีวิตให้เด็ก เด็กจะรักหนังสือได้
จากการที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูอ่านหนังสือท่ีเด็กชอบให้ฟังซํ้าแล้วซ้ําเล่า เท่าท่ีเด็กเรียกร้องต้องการ เด็กจะรู้สึกพอใจ
และมีความสุขมากในขณะทีผ่ ู้ใหญอ่ า่ นหนงั สอื ใหฟ้ ัง และจะเตบิ โตขึน้ มาเปน็ คนรักหนังสือและรักการอา่ น
การอ่านนทิ านใหเ้ ดก็ ฟัง คอื การอา่ นหนังสือทไี่ มป่ ล่อยใหเ้ ด็กเดนิ ทางไปคนเดยี วหรอื เป็นผู้รับฟงั
เพียงอย่างเดียว แต่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องมีส่วนร่วมไปกับเด็กด้วย นิทานเป็นส่ือสำ�หรับพ่อแม่หรือผู้เล้ียงดู
ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี เด็กท่ีเติบโตมาด้วยการหล่อหลอมให้ฟังนิทาน มักจะเป็นเด็กท่ีใช้ภาษาได้ดีมากกว่าเด็ก
ในวัยเดียวกันท่ีไม่ได้ถูกหล่อหลอมมาด้วยหนังสือหรือนิทาน อีกทั้งเด็กที่มีนิสัยรักการอ่านจะพัฒนาในด้านอ่ืนๆ
ได้อยา่ งรวดเรว็ ตามมา เชน่ สมอง พฤตกิ รรม และอารมณ์ทดี่ ี
การเลือกนทิ านให้เหมาะสมกบั ชว่ งวยั
เดก็ ช่วงแรกเกดิ - ๑ ปี
เป็นช่วงทเ่ี ดก็ ก�ำ ลงั เข้าสู่พฒั นาการด้านการมองเห็น เดก็ เลก็ ๆ จะชอบมองอะไรใกล้ๆ แล้วใชม้ ือ
สัมผัส เด็กจะเร่ิมจดจำ�เสียงของแม่ นิทานท่ีพ่อแม่เตรียมให้ควรเป็นหนังสือนิทานที่ไม่ต้องมีคำ�บรรยายมาก เป็น
หนังสือภาพ มีรูปภาพขนาดใหญ่ สีสันสดใส วัสดุที่ใช้ควรเป็นผ้าหรือพลาสติก เป็นหนังสือลอยนํ้า ให้เด็กได้ดู
จับ ขยำ� ดึง กัดได้โดยไม่เป็นอันตราย อาจเป็นแบบมีเสียงกร๊อบแกร๊บเพ่ือเรียกความสนใจของเด็ก การอ่านนิทาน
ให้ลูกฟังช่วงน้ี อาจเป็นการทำ�แบบง่ายๆ โดยให้เด็กได้เปิดดูเองในขณะอาบน้ํา หรือจับให้เด็กน่ังบนตักแล้วเปิด
ให้เด็กดูรูป อ่านให้เด็กฟังช้าๆ โดยไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะไม่เข้าใจ เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้และซึมซับทักษะการฟัง
โทนเสียง เด็กจะพยายามใช้สายตาจ้องมองสิ่งที่เห็น แม้จะยังไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ก็จะพยายามแยกแยะ การอ่าน
นทิ านให้เดก็ ในวัยนี้ ควรใชเ้ วลาประมาณ ๕ นาที ในระยะเร่ิมแรก
เด็กชว่ งอายุ ๑ - ๒ ปี
เด็กช่วงนี้เร่ิมมีพัฒนาการทางกายภาพอย่างรวดเร็ว นั่ง คลาน ยืน เดิน รวมถึงประสาททางตา
หู ปาก เด็กวัยนี้จะเร่ิมคล่ังไคล้นิทานและเรื่องท่ีพ่อแม่เล่าให้ฟัง เร่ิมเรียนรู้การอ่าน การฟัง พ่อแม่สามารถหา
นิทานเสริมสร้างพัฒนาการในทุกด้าน เด็กมักจะสนใจในสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว ควรหานิทานท่ีเก่ียวกับครอบครัว พ่อ
แม่ ลูก หรือการทำ�กจิ วัตรประจำ�วัน เชน่ กินข้าว อาบน้าํ สระผม แปรงฟัน นิทานสามารถชว่ ยใหเ้ ด็กท�ำ กิจกรรมได้
อยา่ งไมน่ ่าเบื่อ เดก็ จะชอบดูสมดุ ภาพ ควรหาภาพสัตว์ ส่ิงของทีม่ ีความหลากหลาย เพอื่ ให้เด็กไดเ้ รยี นรู้
คูม่ อื หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เดก็ อายตุ าํ่ กวา่ ๓ ปี 105
นิทานสำ�หรับเด็กวัยน้ี ควรเป็นหนังสือที่เน้นสีสันสดใส มีเน้ือเรื่องง่ายๆ ควรเป็นเน้ือเรื่องสั้นๆ
ใช้คำ�พูดน้อย อ่านง่าย อาจเป็นกลอนหรือมีทำ�นองท่ีคล้องจอง เพ่ือให้เด็กจดจำ�ง่าย อ่านซ้ําๆ เพื่อให้เด็กสนุก
ในการจดจ�ำ ด้วย
เด็กชว่ งอายุ ๒ - ๔ ปี
เป็นช่วงที่เด็กรู้จักเรียนรู้ เข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้น ช่างจดจำ� เลียนแบบ แยกความแตกต่างของ
สงิ่ ตา่ งๆ รอบตวั ได้มากขนึ้ ร้จู ักสี ขนาด รปู ทรง ตวั อักษร ตวั เลข รู้จักวเิ คราะห์ สงสยั ต้ังค�ำ ถาม สรุปสง่ิ ที่ไดเ้ หน็
ได้ยิน และจินตนาการเรื่องราวได้เอง พ่อแม่ควรหานิทานที่มีความหลากหลาย เพ่ือส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน
ไปพร้อมๆ กนั ยังไม่ควรเน้นให้เดก็ เรยี นร้ดู า้ นภาษาหรอื เร่งให้เด็กอ่านเขียนมากจนเกนิ ไป ควรส่งเสริมดา้ นคณุ ธรรม
จริยธรรม สิ่งที่ควรและไม่ควรทำ�ควบคู่ไปด้วย เพ่ือให้เด็กรับรู้ แยกแยะ และเข้าใจบทบาทของการแสดงออกทาง
พฤติกรรมของตวั เอง
แหล่งเรียนรู้
สภาพแวดลอ้ มทเ่ี ป็นแหล่งเรียนรูส้ �ำ หรบั เดก็ ปฐมวัยอายแุ รกเกิด - ๓ ปี จำ�แนกออกเป็น ๒ ดา้ น ดังน้ี
๑. สภาพแวดล้อมท่ีเป็นแหล่งเรยี นรู้ในบา้ นหรือสถานพฒั นาเด็ก ประกอบดว้ ย
๑.๑ สภาพแวดลอ้ มภายนอกอาคาร
- พื้นที่กลางแจ้ง เพื่อให้เด็กได้เล่นและออกกำ�ลังกาย ได้ใช้กล้ามเน้ือใหญ่ การทำ�งาน
ประสานสัมพันธ์กันของอวัยวะส่วนต่างๆ พ้ืนที่กลางแจ้งเป็นการจัดพ้ืนที่ให้เด็กได้รับอากาศบริสุทธ์ิ ได้รับแสงแดด
มีส่วนท่ีเป็นร่มเงาของตน้ ไม้ใหญ่ มีความรม่ รื่นเม่ือต้องการพกั ผอ่ นหรอื ผ่อนคลายจากการออกก�ำ ลงั กาย
- เคร่ืองเล่นสนามที่มีความหลากหลายตามวัยของเด็ก มีจำ�นวนท่ีเพียงพอกับผู้เล่น และเป็น
เคร่ืองเล่นทีป่ ลอดภัย
- บริเวณท่ีร่มรน่ื สวยงาม สะอาด เพ่อื ใหเ้ ด็กไดส้ มั ผัสสงิ่ ทีเ่ ปน็ ธรรมชาติ
- มีบริเวณส�ำ หรับทดลองปลูกพืชหรอื สวนหยอ่ ม
- มมี มุ สัตวเ์ ลย้ี งใหเ้ ดก็ ได้ดู สงั เกต ให้อาหาร ศึกษาชีวติ ความเปน็ อยู่
๑.๒ สภาพแวดล้อมภายในอาคาร
- พื้นที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม ห้องจัดกิจกรรม ห้องอาหาร ห้องนอน พื้นท่ีอ่านหนังสือ
หอ้ งนํ้า หอ้ งส้วม หอ้ งเหล่าน้ีตอ้ งสะอาด อากาศถา่ ยเทไดด้ ี มีความสะดวกในการใชง้ าน และมีความปลอดภัยสูง
- มุมการเล่น เป็นการจัดมุมประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้เลือกทำ�กิจกรรมตามความสนใจ
มุมการเล่นเหล่านี้เป็นการจัดมุมที่ตอบสนองความต้องการในการเล่นเพื่อความเพลิดเพลินของเด็ก ขณะเดียวกัน
จะมมี ุมที่จดั ใหเ้ ดก็ ทดลอง คน้ คว้า สืบค้น แสวงหาความรู้ เชน่ มุมวิทยาศาสตร์ มุมสบื ค้น
106 ค่มู อื หลักสตู รการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรบั เดก็ อายุตํ่ากว่า ๓ ปี
- สือ่ อปุ กรณ์ วสั ดุ และของเล่น ซง่ึ เปน็ สือ่ วสั ดทุ ่ใี ช้ในกิจกรรมตา่ งๆ รวมทั้งสื่อส่ิงเร้าท่ีสนับสนนุ
การแสวงหาความรขู้ องเด็ก สว่ นของเลน่ เปน็ ของเล่นท่สี ง่ เสรมิ พฒั นาการ ควรเปน็ ของเลน่ ทสี่ ามารถเลน่ ไดห้ ลายคน
และสามารถน�ำ มาเล่นใหมไ่ ดห้ ลายรูปแบบ ฯลฯ
๑.๓ สภาพแวดล้อมด้านบคุ ลากร
ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆ ท้ังกลุ่มเด็กกับเด็ก เด็กกับครูและบุคลากร เด็กกับ
ผปู้ กครอง บคุ ลากรกบั ผปู้ กครอง ซงึ่ รปู แบบของปฏสิ มั พนั ธร์ ะหวา่ งบคุ ลากรจะสง่ ผลตอ่ บรรยากาศในสถานพฒั นาเดก็ ปฐมวยั
ทำ�ให้เด็กรับรู้บรรยากาศ หากบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร เด็กจะเรียนรู้อย่างมีความสุขจากแหล่งเรียนรู้
ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขณะเดียวกันบุคลากรต่างๆ จะเป็นแหล่งเรียนรู้ท่ีให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ แก่เด็กได้
อีกทางหน่งึ
๒. สภาพแวดลอ้ มทเ่ี ปน็ แหลง่ เรยี นรนู้ อกอาคาร ในทน่ี ข้ี อเสนอแหลง่ เรยี นรทู้ เี่ ปน็ ตวั อยา่ งแหลง่ วทิ ยาการ
การเรียนรูใ้ นชุมชน และกจิ กรรมการเรยี นรู้ทจี่ ดั ในชุมชนและธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้ในชมุ ชน เชน่ อทุ ยานการศึกษาในวัดและในชุมชน อุทยานประวตั ิศาสตร์ อทุ ยานแห่งชาติ
ทางทะเล อทุ ยานแหง่ ชาติในท้องถน่ิ แถบภูเขา หอสมดุ ห้องสมดุ ประชาชน พพิ ิธภณั ฑ์ทอ้ งถิน่ พิพิธภณั ฑธ์ รรมชาติ
ตา่ งๆ เปน็ ตน้
แหล่งเรียนรู้ในชุมชนอีกประเภทหนึ่ง เป็นสถาบันของชุมชนท่ีมีอยู่แล้วในวิถีชีวิตและการทำ�มาหากิน
ในชุมชน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญในวัด หรือศาสนสถาน ซ่ึงเป็นสถานท่ีทำ�บุญตามประเพณี ตลาด
ร้านขายของชำ� ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนชาวบ้าน ลานนวดข้าว สถานีอนามัย ป่าทุกแห่งล้วนเป็นห้องเรียนธรรมชาติ
ท่เี ปดิ กว้างสร้างบรรยากาศและจินตนาการการเรยี นรขู้ องเดก็
คมู่ อื หลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรับเดก็ อายตุ ํา่ กว่า ๓ ปี 107
บทที่ ๖
การประเมนิ พฒั นาการเด็ก
การประเมินพัฒนาการเด็กอายุตํ่ากว่า ๓ ปี เป็นกระบวนการท่ีต้องปฏิบัติอย่างต่อเน่ืองครบทุกอายุ
และครอบคลุมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
เพ่ือเฝ้าระวังและติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด โดยคำ�นึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังน้ัน พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือ
ผทู้ เ่ี ก่ยี วข้องทีท่ ำ�หน้าท่ีประเมินพัฒนาการ จะตอ้ งมคี วามรคู้ วามเขา้ ใจพฒั นาการของเด็กอายตุ ํา่ กว่า ๓ ปี หลักการ
ประเมนิ พัฒนาการ ขั้นตอนการประเมินพัฒนาการ และวธิ กี ารและเครื่องมือทีใ่ ช้ประเมนิ พัฒนาการจะต้องเหมาะสม
กับคุณลักษณะทีพ่ งึ ประสงค์ในแต่ละดา้ น จึงจะทำ�ให้ผลการประเมินมีความเทยี่ งตรงและเช่ือถือได้
หลักการประเมินพัฒนาการ
ควรค�ำ นงึ ถงึ สิง่ สำ�คัญต่อไปนี้
๑. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
ควรประเมินควบคู่กับการอบรมเลี้ยงดูหรือการจัดประสบการณ์ ผู้เล้ียงดูเด็กต้องเข้าใจพัฒนาการแต่ละด้านของเด็ก
ตามวัย จึงจะสามารถประเมนิ พัฒนาการเดก็ ไดถ้ กู ตอ้ งและตรงกบั ความเป็นจรงิ
๒. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่อง เพราะเด็กแต่ละคนมีอัตราการเปลี่ยนแปลง
พฒั นาการท่แี ตกต่างกนั เป็นกระบวนการทีม่ ีความสมั พนั ธร์ ะหว่างพฒั นาการในแต่ละด้าน ดงั น้ัน หากมสี ่ิงใดเกดิ ขน้ึ
กับพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่ง ย่อมมีผลกระทบกับด้านอ่ืนๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ใช้การสังเกต การพูดคุย
ผา่ นกจิ วัตรประจ�ำ วัน
๓. ประเมนิ ดว้ ยวธิ กี ารทหี่ ลากหลายและเหมาะสมกบั เดก็ อายตุ า่ํ กวา่ ๓ ปี ควรมกี ารประเมนิ ใหห้ ลากหลาย
ท้งั จ�ำ นวนคร้ัง วธิ กี าร เครื่องมือ และสถานการณ์ โดยเนน้ การประเมินตามสภาพจริง เพื่อใหไ้ ดข้ อ้ มลู รอบด้านกอ่ น
สรุปผลให้ตรงกับข้อเท็จจริงมากที่สุด เช่น มีการสังเกตพฤติกรรมของเด็กในกิจกรรมต่างๆ และกิจวัตรประจำ�วัน
โดยบันทึกพฤติกรรมรายวัน การสนทนาโดยบันทึกคำ�พูดหรือข้อสนทนา การสัมภาษณ์เด็กหรือผู้ใกล้ชิด และ
การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็ก การประเมินผลงานของเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้เล้ียงดู ต้องไม่เขียน
เครอื่ งหมายใดๆ ทแ่ี สดงถงึ ผลการตดั สนิ ผลงานนนั้ ๆ กลา่ วคอื ไมต่ อ้ งท�ำ เครอ่ื งหมายดาว คะแนน สญั ลกั ษณห์ นา้ ยม้ิ
สญั ลกั ษณห์ น้ารอ้ งไห้ หรอื อื่นๆ ในผลงานของเด็ก การสนทนาเกยี่ วกับผลงานเด็กควรทำ�หลังจากผลงานเสรจ็ แลว้
เพ่ือทราบความคิดหรือความในใจของเด็กที่แสดงผลงานในลักษณะเช่นน้ัน บางครั้งผู้เลี้ยงดูอาจตีความหรือเข้าใจ
ความคิดหรือจินตนาการของเด็กเปน็ อยา่ งอ่ืนได้
108 คูม่ ือหลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวยั พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรับเดก็ อายตุ ํ่ากวา่ ๓ ปี
การประเมินพัฒนาการ ไม่ใช่การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก ห้ามนำ�แบบทดสอบหรือ
แบบฝกึ หัดมาประเมนิ พฒั นาการเดก็ โดยเด็ดขาด
๔. บันทึกพัฒนาการลงในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เล่มสีชมพู) และใช้คู่มือการเฝ้าระวัง
และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หรือของหน่วยงานอื่น
เน่ืองจากการอบรมเล้ียงดูและการจัดการศึกษาในระดับนี้มีหน่วยงานรับผิดชอบหลายหน่วยงาน พ่อแม่ ผู้ปกครอง
และผู้เลี้ยงดูจะต้องให้ความสำ�คัญและตระหนักกับการจดบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพ่ือเป็นหลักฐานร่องรอย
ของพฒั นาการและระยะของการพฒั นา
๕. นำ�ผลสรุปท่ีได้จากการประเมินพัฒนาการไปพิจารณาจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ
โดยเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น หรืออาจนำ�ผลสรุปไปใช้เพ่ือแก้ไขปัญหาให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสม
ตามวยั เกิดประสิทธิภาพและประสทิ ธผิ ลเป็นล�ำ ดับ
ข้ันตอนการประเมนิ พฒั นาการ
การประเมนิ พฒั นาการเดก็ ปฐมวยั จะตอ้ งผ่านขัน้ ตอนต่างๆ ดังตอ่ ไปนี้
๑. ศกึ ษาและท�ำ ความเขา้ ใจพฒั นาการของเดก็ ในแตล่ ะชว่ งอายทุ กุ ดา้ น ไดแ้ ก่ ดา้ นรา่ งกาย ดา้ นอารมณ์
จิตใจ ด้านสงั คม และดา้ นสติปญั ญา พจิ ารณากจิ กรรมในการอบรมเลีย้ งดู การจัดประสบการณ์ท่สี ะทอ้ นพัฒนาการ
ของเดก็
๒. วางแผนเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำ�หรับใช้บันทึกและประเมินพัฒนาการ เช่น
แบบบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เล่มสีชมพู) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หรือแบบประเมิน DSPM
แบบบันทึกพฤติกรรม เหมาะที่จะใช้บันทึกพฤติกรรมของเด็ก แบบบันทึกรายวัน เหมาะกับการบันทึกกิจกรรม
หรอื ประสบการณท์ เี่ กดิ ขน้ึ ในแตล่ ะวนั แบบบนั ทกึ การเลอื กของเดก็ เหมาะส�ำ หรบั บนั ทกึ ลกั ษณะเฉพาะและปฏกิ ริ ยิ า
ที่เด็กมีต่อส่ิงต่างๆ รอบตัว เป็นต้น ด้วยเหตุน้ีจึงเป็นหน้าท่ีของพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่จะเลือกใช้เครื่องมือประเมิน
พัฒนาการให้เหมาะสม เพือ่ จะได้ผลของพัฒนาการท่ถี ูกตอ้ งตามตอ้ งการ
๓. ดำ�เนินการประเมินและบันทึกพัฒนาการหลังจากที่ได้วางแผนและเลือกเคร่ืองมือที่จะใช้ประเมิน
และบันทึกพัฒนาการแล้ว ก่อนจะลงมือประเมินและบันทึกจะต้องอ่านคู่มือหรือคำ�อธิบายวิธีการใช้เครื่องมือนั้นๆ
อย่างละเอยี ด แลว้ จึงด�ำ เนินการตามขัน้ ตอนท่ีปรากฏในคูม่ อื และบนั ทึกเปน็ ลายลกั ษณ์อกั ษรต่อไป
๔. ประเมินและสรุป ในการประเมินและสรุปนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้เล้ียงดูจะต้องเก็บรวบรวม
ข้อมลู ของส่ิงทต่ี ้องการประเมนิ เช่น การประเมนิ พฒั นาการดว้ ยวิธกี ารสงั เกต เครอื่ งมอื ทใ่ี ช้ คอื แบบสงั เกต วิธีการ
สนทนา เคร่อื งมือทใี่ ช้ คอื แบบบันทึกการสนทนา อาจเปน็ การบนั ทึกการสนทนาระหว่างเดก็ กบั เดก็ หรือเด็กกบั ครู
พิจารณาผลงานโดยเปรียบเทียบกับพัฒนาการ การประเมินควรประเมินหลายๆ ครั้ง เพ่ือให้ได้ข้อมูลว่าเด็กมี
พัฒนาการอย่างไร ทำ�อะไรไดม้ ากนอ้ ยเพียงใด และสรุปผล
คู่มือหลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเด็กอายตุ ่าํ กวา่ ๓ ปี 109
๕. รายงานผลการประเมิน เม่ือได้ผลจากการประเมินและสรุปพัฒนาการของเด็กแล้ว พ่อแม่หรือ
ผู้เล้ียงดูจะต้องตัดสินใจว่าจะรายงานข้อมูลน้ีไปยังผู้ใด และเพ่ือจุดประสงค์อะไร และจะต้องใช้รูปแบบใด สำ�หรับ
การอบรมเล้ียงดูตามวิถีชีวิตประจำ�วันโดยพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูมีการประเมินพัฒนาการเพื่อเฝ้าระวังและเป็นข้อมูล
ในการพบแพทย์ และอาจนำ�ไปใช้ในการอบรมเล้ียงดูและจัดประสบการณ์เพ่ือส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำ�หรับ
ผู้เลี้ยงดูเด็ก ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจะต้องรายงานต่อผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เพ่ือให้ทราบว่ากิจกรรม
หรือประสบการณ์ท่ีสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจัดให้เด็กน้ัน ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านได้ตามจุดประสงค์
หรอื ไม่ เพอ่ื นำ�ไปปรับปรุงแกไ้ ขการจดั กิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กต่อไป
นอกจากผู้บริหารแล้ว ผู้เล้ียงดูเด็กจะต้องรายงานผลของการประเมินพัฒนาการไปยังผู้ปกครองเด็ก
ซึ่งแต่ละสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจะมีสมุดรายงานประจำ�ตัวเด็ก หรือแบบบันทึกเล่มสีชมพูของกรมอนามัย หรือ
แบบประเมิน DSPM ผู้เล้ียงดูเด็กใช้สมุดรายงานประจำ�ตัวเด็ก หรือแบบบันทึกเล่มสีชมพูของกรมอนามัย หรือ
แบบประเมิน DSPM นั้น เป็นเคร่ืองมือรายงานผู้ปกครองได้ และถ้าผู้เลี้ยงดูมีข้อเสนอแนะหรือจะขอความร่วมมือ
จากผู้ปกครองเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ก็อาจเขียนเพิ่มเติมลงไปในสมุดรายงานได้ และต้องคำ�นึงเสมอ
ไม่ว่าจะใชแ้ บบรายงานใด ขอ้ มูลควรจะมีความหมาย เกดิ ประโยชน์แก่เดก็ เปน็ สำ�คญั
๖. ใหผ้ ปู้ กครองมสี ว่ นรว่ ม ผเู้ ลยี้ งดเู ดก็ ตอ้ งตระหนกั วา่ การท�ำ งานรว่ มกบั ผปู้ กครองเกย่ี วกบั การพฒั นาเดก็
เป็นเร่ืองสำ�คัญมาก ผู้เล้ียงดูเด็กควรยกย่องผู้ปกครองที่พยายามมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้อง
ตอ้ นรบั ผปู้ กครองทมี่ าสถานพฒั นาเดก็ ปฐมวยั ขอบคณุ ส�ำ หรบั ความชว่ ยเหลอื เขยี นจดหมายถงึ ผปู้ กครองเพอื่ รายงาน
เรื่องเด็ก พูดคยุ ดว้ ยตนเองหรอื ทางโทรศัพท์ สิง่ เหล่านจ้ี ะท�ำ ใหผ้ ู้ปกครองรสู้ ึกถึงความสำ�คัญของตนเองและต้องการ
ท่ีจะมสี ่วนรว่ มกับผู้เลยี้ งดเู ดก็ ในการพัฒนาเดก็ ของตน
การติดต่อสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครอง ควรจะเป็นการติดต่อส่ือสาร ๒ ทาง คือ จากสถานพัฒนา
เด็กปฐมวยั ไปส่บู ้าน และจากบา้ นมายังสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย กระตุน้ ให้ผูป้ กครองแสดงความคดิ เหน็ ทีม่ ีประโยชน์
ตอ่ การจัดประสบการณ์ให้แกเ่ ดก็ เพราะผูป้ กครองจะให้ข้อมูลทีถ่ ูกต้องเกย่ี วกบั ตวั เด็ก ซึง่ ผู้เลีย้ งดเู ด็กสามารถนำ�ไป
ใช้เปน็ พืน้ ฐานในการจดั กจิ กรรมท่เี หมาะสม เพ่อื พฒั นาเด็กทกุ คนได้เป็นอย่างดี
การติดต่อกับผู้ปกครองน้ัน สามารถทำ�ได้หลายวิธี เช่น การติดต่อด้วยวาจา การสนทนาด้วยตนเอง
การใช้โทรศัพท์ การเย่ียมบ้าน การประชุมผู้ปกครอง การติดต่อด้วยวิธีอื่น เช่น ป้ายติดประกาศ วารสาร ข่าวสาร
ตูร้ บั ฟงั ความคิดเหน็ เปน็ ตน้
ทั้งนี้ อาจให้ผู้ปกครองอาสาสมัครมาช่วยงานผู้เล้ียงดูเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เช่น เล่านิทาน
ร้องเพลง และอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง ช่วยในเวลาเด็กทำ�กิจกรรมเสรี ช่วยสังเกตเด็ก บันทึกพัฒนาการและ
อื่นๆ อีกมากมายท่ีจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เด็ก ซ่ึงสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
ในการทำ�งานกบั ผูเ้ ล้ียงดเู ด็กเป็นอยา่ งยงิ่
110 ค่มู ือหลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเด็กอายุตา่ํ กวา่ ๓ ปี
วิธกี ารและเครือ่ งมือท่ใี ช้ประเมนิ พัฒนาการ
พ่อแมห่ รอื ผเู้ ลี้ยงดูเด็กอายตุ ํา่ กว่า ๓ ปี ควรใชว้ ธิ ีการ เครอ่ื งมือ และการบันทกึ อยา่ งหลากหลาย เพอื่ ใหไ้ ด้
ข้อมลู ที่สมบรู ณท์ ีส่ ุด วิธีการทีเ่ หมาะสมและนิยมใช้ มดี ังน้ี
๑. วธิ กี ารสังเกต
๑.๑ การสังเกตอย่างมรี ะบบ เป็นการสังเกตอยา่ งมจี ุดมงุ่ หมายทแ่ี น่นอนตามแผนท่ีวางไว้
เครือ่ งมือ
แบบบันทึกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริม
พัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ของสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ บันทึกพัฒนาการเด็กในสมุดบันทึกสุขภาพ
แม่และเด็ก (เล่มสีชมพู) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสขุ และอน่ื ๆ
๑.๒ การสังเกตแบบไม่เป็นทางการ เป็นการสังเกตในขณะที่เด็กทำ�กิจกรรมประจำ�วันแล้วเกิด
พฤติกรรมทไ่ี ม่คาดคิดวา่ จะเกิดข้นึ และจดบนั ทึกไว้
เคร่อื งมอื
- แบบบันทึกพฤติกรรม เป็นการบันทึกเหตุการณ์เฉพาะอย่าง โดยบรรยายพฤติกรรมของเด็ก
และเขียนวัน เดือน ปีท่ีทำ�การบนั ทกึ แตล่ ะครงั้ (ตวั อย่างหน้า ๑๒๓)
- แบบบันทึกรายวัน เป็นการบันทึกเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทุกวัน
ถ้าหากบันทึกในรูปแบบของการบรรยายก็มักจะเน้นเฉพาะเด็กรายที่ต้องการศึกษา ข้อดีของการบันทึกรายวัน คือ
การชใ้ี หเ้ หน็ ความสามารถเฉพาะอยา่ งของเดก็ จะชว่ ยกระตนุ้ ใหผ้ เู้ ลย้ี งดเู ดก็ ไดพ้ จิ ารณาปญั หาของเดก็ เปน็ รายบคุ คล
ช่วยให้ผู้เช่ียวชาญมีข้อมูลมากขึ้น สำ�หรับวินิจฉัยเด็กว่าสมควรจะได้รับคำ�ปรึกษา เพ่ือลดปัญหาและส่งเสริม
พัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง นอกจากน้ันยังช่วยช้ีให้เห็นข้อดีข้อเสียของการจัดกิจกรรมและประสบการณ์
ไดเ้ ป็นอยา่ งดี
- แบบบันทึกตามรายการ เป็นการบันทึกที่มีข้อรายการท่ีต้องการประเมินกำ�หนดไว้ ช่วยให้
สามารถวเิ คราะหเ์ ดก็ แต่ละคนได้คอ่ นข้างละเอยี ด เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
- แบบบนั ทึกการเลือกของเดก็ เปน็ การบันทกึ สง่ิ ท่ีเดก็ เลือกปฏิบัติกจิ กรรมหรือเลือกมมุ เล่น
ข้อพึงระวังในการใช้แบบบันทึกพฤติกรรม ควรบันทึกพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก โดยไม่เพิ่มเติม
ความรูส้ ึกของผู้บนั ทกึ หลังจากการบนั ทกึ เสร็จสน้ิ จึงจะด�ำ เนินการแปลความพฤติกรรมและสรุปเป็นผลการประเมิน
๒. วิธีการสนทนา เป็นการสนทนารายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม เพ่ือประเมินความสามารถในการแสดง
ความคิดเหน็ และพัฒนาการทางด้านการใชภ้ าษาของเด็ก
เครอื่ งมือ
แบบบันทกึ คำ�พูดหรือการสนทนาในกจิ วตั รประจำ�วนั หรอื สถานการณ์ตา่ งๆ (ตวั อยา่ งหน้า ๑๒๑)
๓. วิธีการสัมภาษณ์ เป็นวิธีการพูดคุยกับเด็กเป็นรายบุคคล และควรจัดในสภาวะแวดล้อมท่ีเหมาะสม
เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล ผู้เล้ียงดูควรใช้คำ�ถามท่ีเหมาะสม เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและตอบ
อย่างอิสระ จะทำ�ให้ผู้เล้ียงดูสามารถประเมินความสามารถทางสติปัญญาของเด็กและค้นพบศักยภาพในตัวเด็กได้
โดยบนั ทึกขอ้ มลู ลงในแบบสมั ภาษณ์ หรือสัมภาษณพ์ อ่ แม่ส�ำ หรบั ข้อมลู ทต่ี ้องการเมือ่ เดก็ อยทู่ ีบ่ า้ น
ค่มู อื หลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศักราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเด็กอายตุ ํ่ากวา่ ๓ ปี 111
๔. การรวบรวมผลงานที่แสดงออกถึงความก้าวหน้าแต่ละด้านของเด็กเป็นรายบุคคล โดยจัดเก็บ
รวบรวมไว้ในแฟ้มผลงาน (Portfolio) ซ่ึงเปน็ วิธีรวบรวมและจดั ระบบข้อมูลตา่ งๆ ท่เี ก่ยี วกับตวั เดก็ โดยใชเ้ ครื่องมอื
ต่างๆ รวบรวมเอาไว้อย่างมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน แสดงการเปล่ียนแปลงของพัฒนาการแต่ละด้าน นอกจากนี้
ยงั รวมแบบฟอร์มต่างๆ เช่น แบบสอบถามผู้ปกครอง แบบสงั เกตพฤติกรรม แบบบนั ทกึ สุขภาพอนามัย ฯลฯ ทแ่ี สดง
ความก้าวหนา้ เอาไวใ้ นแฟ้มผลงาน เพื่อผ้เู ล้ยี งดูจะไดข้ ้อมลู ทีเ่ กย่ี วกบั ตัวเดก็ อยา่ งชัดเจนและถกู ตอ้ ง
ข้อควรพิจารณาในการเลือกเก็บข้อมลู ไวใ้ นแฟ้มผลงาน มีดงั นค้ี ือ
๔.๑ ข้อมูลที่แสดงถึงระดับพัฒนาการและความสำ�เร็จเกี่ยวกับกิจกรรมท่ีเด็กกระทำ� ซ่ึงได้มาจาก
เครื่องมือการประเมนิ
๔.๒ ขอ้ มลู ของเด็กท่ไี ดจ้ ากผู้ปกครองทสี่ ะทอ้ นความกา้ วหน้า
๕. การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก เด็กควรได้รับการช่ังนํ้าหนักและวัดความยาวทุกคร้ังท่ีไปตรวจ
สขุ ภาพ พอ่ แมห่ รอื ผเู้ ลย้ี งดเู ดก็ ควรตดิ ตามการเจรญิ เตบิ โตของเดก็ สงั เกตการเพม่ิ ของน้ําหนกั และสว่ นสงู ทเี่ หมาะสม
กับอายุ ตวั ช้ีวดั ของการเจริญเตบิ โตในเด็กทใี่ ชท้ ั่วๆ ไป ไดแ้ ก่ เสน้ รอบศรี ษะ ฟัน และนํ้าหนักส่วนสงู
แนวทางประเมินการเจริญเตบิ โต มดี ังน้ี
๕.๑ การวัดเส้นรอบศีรษะ มีความสำ�คัญในการติดตามการเจริญเติบโตของสมอง ในเด็กท่ีมีเส้น
รอบศรี ษะเล็กกว่าปกติเม่อื เปรียบเทยี บกับวัยของเด็ก อาจแสดงถงึ ความปกตขิ องสมอง เช่น สมองเลก็ กว่าปกตหิ รือ
กระโหลกศีรษะเช่ือมเร็วกว่าปกติ ซ่ึงหากวินิจฉัยได้เร็วและส่งต่อเด็กไปรับการรักษาอย่างทันท่วงที จะช่วยแก้ไข
ความพิการน้ีได้ ในทำ�นองเดียวกัน ถ้าเส้นรอบศีรษะวัดได้มากกว่าปกติเม่ือเปรียบเทียบกับวัยของเด็ก ซึ่งแสดงถึง
เด็กมีหัวโตผิดปกติ อาจเกิดจากโรค Hydrocephalus หรือมีน้ําในสมองมากกว่าปกติ โรคนี้หากวินิจฉัยได้เร็วและ
ได้รับการรักษาอยา่ งทนั ทว่ งที จะช่วยแกไ้ ขเป็นปกติไดเ้ ช่นกนั จงึ ควรวดั เสน้ รอบศรี ษะในเด็กอายตุ ํา่ กวา่ ๒ ปี ทุกคร้งั
ที่ให้บรกิ าร
ความยาวของเส้นรอบศีรษะ แสดงการเติบโตของสมอง วดั เหนือค้ิว
แรกเกิด ยาวประมาณ ๓๕ เซนตเิ มตร
อายุ ๔ - ๕ เดือน กระหม่อมหลงั ปดิ อย่างชา้ ไมเ่ กิน ๔ เดอื น
อายุ ๑ ปี เสน้ รอบศีรษะเพิ่มข้นึ อกี ปีละ ๑ เซนติเมตร
อายุ ๑ ปีครึง่ กระหม่อมหนา้ ปิดอย่างช้าไมเ่ กิน ๑ ปคี รึ่ง
อายุ ๒ - ๕ ปี เส้นรอบศรี ษะเพม่ิ ขึ้นอีกปีละ ๑ เซนติเมตร
112 คมู่ อื หลักสตู รการศึกษาปฐมวยั พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรบั เดก็ อายตุ ํ่ากวา่ ๓ ปี
๕.๒ การประเมนิ การเจริญเตบิ โต โดยการช่งั นํา้ หนกั วัดสว่ นสงู และเส้นรอบศรี ษะของเด็ก แล้วนำ�ไป
เปรียบเทยี บกบั เกณฑป์ กติ ซงึ่ จะบอกได้วา่ ขณะนั้นการเจรญิ เตบิ โตเปน็ ปกตสิ ำ�หรับวยั ของเดก็ หรอื ไม่ และบอกได้วา่
เด็กอยู่ในภาวะโภชนาการบกพร่องหรือไม่ ถ้าพบเด็กอยู่ในภาวะดังกล่าว จะได้ทำ�การรักษาแก้ไขได้ทันท่วงที
ภาวะโภชนาการท่ีดีเป็นรากฐานสำ�คัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิต โดยเฉพาะในช่วงท่ีมีการเจริญเติบโตตั้งแต่
ในครรภม์ ารดาจนถึงวยั ร่นุ เน่อื งจากการเจรญิ เตบิ โตมีทั้งดา้ นสมองและรา่ งกาย หากขาดสารอาหาร ส่งิ ทีพ่ บเห็นคอื
เดก็ ตวั เลก็ ผอม เตย้ี ซึ่งเปน็ การแสดงออกทางดา้ นรา่ งกาย แตผ่ ลทเี่ กิดข้ึนมิใชแ่ ค่เพียงดา้ นรา่ งกายเท่าน้ัน ยังมีผล
ต่อการพัฒนาสมองด้วย ทำ�ให้สติปัญญาตํ่า เรียนช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ประสิทธิภาพการทำ�งาน
จะตํา่ สง่ ผลต่อการพัฒนาประเทศ
ท้ังนี้ พ่อแม่หรือผู้เล้ียงดูสามารถสังเกตการเพ่ิมข้ึนของนํ้าหนักและส่วนสูงท่ีเหมาะสมกับอายุ โดยการ
จุดน้ําหนักลงในกราฟ ตามอายุของเด็กในแต่ละครั้งที่ไปชั่งนํ้าหนักวัดส่วนสูง และเช่ือมโยงจุดน้ําหนักแต่ละจุด
จะเห็นลกั ษณะการเจรญิ เตบิ โตของเด็ก ดงั ตัวอยา่ งกราฟทป่ี รากฏในสมดุ บนั ทกึ สขุ ภาพแม่และเดก็ (เล่มสชี มพู) ของ
กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสขุ ตอ่ ไปนี้
คมู่ อื หลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เดก็ อายุต่าํ กวา่ ๓ ปี 113
่คูมือหลักสูตรการ ึศกษาปฐมวัย สําหรับเ ็ดกอายุ ํ่ตาก ่วา 3 ีป ห ้นา ๑๑๐
114 คมู่ อื หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเด็กอายุตาํ่ กว่า ๓ ปี
่คูมือหลักสูตรการ ึศกษาปฐมวัย สําหรับเ ็ดกอายุ ํ่ตาก ่วา 3 ีป ห ้นา ๑๑๑
ค่มู อื หลักสตู รการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เดก็ อายตุ ่าํ กวา่ ๓ ปี 115
่คูมือหลักสูตรการ ึศกษาปฐมวัย สําหรับเ ็ดกอายุ ํ่ตาก ่วา 3 ีป ห ้นา ๑๑๒
116 คมู่ อื หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเด็กอายุตาํ่ กว่า ๓ ปี
่คูมือหลักสูตรการ ึศกษาปฐมวัย สําหรับเ ็ดกอายุ ํ่ตาก ่วา 3 ีป ห ้นา ๑๑๓
ค่มู อื หลักสตู รการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เดก็ อายตุ ่าํ กวา่ ๓ ปี 117
คู่มือหลักสตู รการศกึ ษาปฐมวยั สําหรับเดก็ อายุตาํ่ กว่า 3 ปี หนา้ ๑๑๔
นอกจากน้ีพ่อแม่หรือผู้เล้ียงดูสามารถติดตามพัฒนาการเด็กอายุต่ํากว่า ๓ ปี โดยใช้แบบประเมิน
พัฒนาการ แนบอบกบจนั าทกกึ นพ้ี ฤพต่อกิ แรมร่มผตู้เล่าง้ียๆงดดู ังสนา้ี มารถติดตามพัฒนาการเด็กอายุต่ํากว่า ๓ ปี โดยใช้แบบประเมิน
พฒั นาการ แบบบันทึกตพัวฤอตแยกิ บ่ารบงรแปมบตระบ่าเงปมๆรนิ ะดพเังมฒันนิ ้ีนพาฒักตานัวราอกสยา�ำ ร่าหสงราํบั หพรอ่บั แพมอ่ ่หแรมือแ่ ผลเู้ ละผ้ยี ูเ้งลดย้ี ู งดู
แบบประเมนิ พฒั นาการเด็กแรกเกิด –- ๓ ปี
118 ค่มู ือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรับเดก็ อายตุ าํ่ กวา่ ๓ ปี
คู่มอื หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัย สาํ หรบั เด็กอายุตา่ํ กว่า 3 ปี หนา้ ๑๑๕
ที่มา คมู่ ือส่งเสรมิ พัฒนาการเดก็ แรกเกิด – ๕ ปี สําหรับผู้ปกครอง กรมสขุ ภาพจติ กระทรวงสาธารณสุข
ที่มา คมู่ ือสง่ เสรมิ พัฒนาการเดก็ แรกเกดิ - ๕ ปี สำ�หรับผ้ปู กครอง, กรมสขุ ภาพจติ , กระทรวงสาธารณสขุ .
คู่มอื หลักสูตรการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เด็กอายตุ ํา่ กวา่ ๓ ปี 119
ตวั อยา่ ง
แบบบนั ทกึ พฤติกรรมของเดก็ ส�ำ หรับผเู้ ลย้ี งดู
สถานพฒั นาเด็ก...............................................
แบบบันทกึ พฤตกิ รรมของเด็ก สำ�หรบั ผเู้ ลี้ยงดู
ช่อื - สกลุ ด.ช./ ด.ญ. น้องอร วัน เดือน ปี เกดิ ............................................
วัน เดือน ป ี พฤติกรรมของเด็ก ความคิดเหน็ ผเู้ ล้ียงดู
๒๐ สงิ หาคม นอ้ งอรเดินข้ึน - ลงบนั ไดล่ืนโดยใชม้ อื ขา้ งหนึง่ นอ้ งอรใช้กลา้ มเนอื้ ใหญ่
จับราวบันได และก้าวเท้าวางบนขนั้ บนั ได ไดเ้ หมาะสมกบั วัย
เดยี วกันก่อน
๒๘ สงิ หาคม นอ้ งอรน่งั เล่นหมอ้ ขา้ วหม้อแกงในมุมบา้ น นอ้ งอรมพี ัฒนาการทางการเลน่
มีนอ้ งลกั ษณน์ ง่ั เล่นกาน้าํ ชาอยู่ใกล้ๆ แบบค่ขู นาน ลกั ษณะต่างคน
ต่างเลน่
........................... ........................................................................ .................................................
........................... ........................................................................ .................................................
........................... ........................................................................ .................................................
........................... ........................................................................ .................................................
........................... ........................................................................ .................................................
120 คู่มือหลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรบั เด็กอายุตา่ํ กว่า ๓ ปี
ตัวอยา่ ง
แบบบนั ทกึ ค�ำ พูด/การสนทนาของเด็ก ส�ำ หรับผเู้ ลี้ยงดู
สถานพัฒนาเดก็ ...............................................
แบบบันทกึ คำ�พูด/การสนทนาของเด็ก ส�ำ หรบั ผเู้ ลยี้ งดู
ช่ือ - สกลุ ด.ช./ ด.ญ. น้องอร วัน เดือน ปี เกดิ ............................................
วัน เดือน ปี คำ�พดู /การสนทนาของเดก็ ความคิดเหน็ ผ้เู ลีย้ งดู
๒๒ มถิ นุ ายน นอ้ งอรนง่ั ดูหนังสือนิทานภาพ และเรยี กชอื่ แมว นอ้ งอรสามารถพูดส่อื ความหมาย
หมา ช้าง จากภาพได้
๕ กรกฎาคม น้องอรถามผเู้ ลย้ี งดูวา่ “นอ่ี ะไร” ผเู้ ลี้ยงดูตอบวา่ นอ้ งอรรับรูแ้ ละเข้าใจความหมาย
“แมว” นอ้ งอรถามผูเ้ ลี้ยงดูตอ่ วา่ ของภาษาได้ตามวยั
“ทำ�ไมแมวนอน”
........................... ........................................................................ .................................................
........................... ........................................................................ .................................................
........................... ........................................................................ .................................................
........................... ........................................................................ .................................................
........................... ........................................................................ .................................................
คมู่ ือหลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เด็กอายตุ ํ่ากว่า ๓ ปี 121
อน่ึง การทำ�แบบบันทึกก่อนมาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยของพ่อแม่หรือผู้เล้ียงดู และแบบบันทึกของ
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยถึงผู้ปกครองรายวนั เป็นส่งิ ส�ำ คัญ เพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลพ้ืนฐานท้งั พอ่ แมห่ รอื ผู้เลี้ยงดู และผเู้ ลี้ยงดู
เด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวยั ไดร้ บั รแู้ ละเข้าใจเดก็ เพื่อดำ�เนินกิจกรรมส่งเสริมพฒั นาการทส่ี อดคลอ้ งและเหมาะสม
พร้อมแก้ไขปญั หาทเี่ กิดขนึ้ ตอ่ เด็ก ดงั ตัวอยา่ งต่อไปน้ี
ตัวอย่าง
แบบบนั ทึกกอ่ นมาสถานพฒั นาเดก็ ปฐมวัยของพ่อแม่หรอื ผู้เล้ียงดู
แบบบนั ทึกก่อนมาสถานพัฒนาเด็กปฐมวยั ของพอ่ แม่หรือผู้เล้ียงดู
วันท่.ี .......เดือน................................พ.ศ. ..................
ชอ่ื - สกลุ ด.ช./ด.ญ. ...................................................... ชอ่ื ผ้บู นั ทกึ ................................................
ระบุความสมั พนั ธ์กบั เด็ก.........................
พฤติกรรมท่วั ไปของเดก็
อาหารเชา้ การขบั ถา่ ย
รับประทาน หรือ ด่ืมนมอยา่ งเดียว ขับถา่ ยปกติ หรอื ท้องผกู หรอื ทอ้ งเสยี
ไม่ได้รบั ประทาน ไม่ขับถ่าย
การนอนกลางคืน อารมณ์
เพยี งพอ (ไม่ต่ํากว่า ๑๐ ชว่ั โมง) ปกติ
ไม่เพียงพอ (ตาํ่ กว่า ๑๐ ชั่วโมง) หรอื ไมป่ กติ หรอื งอแงหงุดหงดิ หรอื รอ้ งไห้
มีผวา ละเมอ
บาดแผลและรอยฟกชํ้า
อณุ หภมู ริ ่างกาย ปกติ
ปกต ิ ไมป่ กติ มีบาดแผลและรอยฟกชา้ํ ระบ.ุ ................
มไี ข้ ระบุ.........................................................
ข้อมูลอืน่ ๆ
..........................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
122 คูม่ ือหลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเด็กอายุตํา่ กว่า ๓ ปี
ตัวอยา่ ง
แบบบันทกึ ของสถานพัฒนาเดก็ ปฐมวยั ถึงผูป้ กครองรายวัน
สถานพฒั นาเด็ก........................................
แบบบันทกึ ของสถานพัฒนาเดก็ ปฐมวยั ถึงผู้ปกครองรายวนั
ชือ่ - สกุล ด.ช./ด.ญ. ..............................วัน เดือน ป.ี ............................ชอ่ื ผูบ้ นั ทึก............................
๑. พฤตกิ รรมกิจวัตรประจำ�วนั ของเด็ก
การรับประทานอาหาร
- อาหารว่าง/ด่ืมนม.................................................................................................................
- อาหารกลางวัน รับประทานอาหารไดจ้ นหมด รบั ประทานอาหารไดด้ ้วยตนเอง
การขบั ถ่าย
เร่ิมบอกได้เมอ่ื ตอ้ งการขับถ่าย บอกไดเ้ มอื่ ตอ้ งการขบั ถ่าย
การนอนหลบั พกั ผ่อนตอนกลางวัน
นอนหลบั พักผ่อนได้ตามเวลา นอนหลับพกั ผ่อนโดยไม่ต้องกล่อมนอน
การชว่ ยเหลอื ตนเอง
สวมเสอื้ ผา้ ได้ สวมรองเท้าได้
การรกั ษาความสะอาดของร่างกาย
ลา้ งมือก่อนและหลงั รบั ประทานอาหารได ้
แปรงฟนั หลังรับประทานอาหารได้
๒. อารมณ์/ความรสู้ กึ
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
๓. การร่วมกจิ กรรม เลน่ /ร้องเพลง/ฟังนทิ าน
อยกู่ บั ผอู้ ื่นได ้
ร่วมกจิ กรรมไดต้ ลอดกจิ กรรม
พดู /บอกส่ิงที่ทำ�กิจกรรมได้
บนั ทกึ เพ่ิมเติม
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
คู่มือหลกั สตู รการศึกษาปฐมวยั พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรับเด็กอายุตํ่ากว่า ๓ ปี 123
เมื่อสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพ การเจริญเติบโต พัฒนาการและ
การเรียนรู้ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยควรมีการเขียนรายงานสรุปพฤติกรรมและพัฒนาการ รายสัปดาห์และรายเดือน
ดังตวั อยา่ งการเขียนรายงานต่อไปน้ี
ตวั อย่าง
การเขยี นรายงานถึงพอ่ แม่หรือผปู้ กครอง
โดยผ้เู ลีย้ งดใู นสถานพัฒนาเด็กปฐมวยั เป็นรายสัปดาห์และรายเดอื น
ตวั อยา่ งท่ี ๑
ในภาพรวมสัปดาห์ที่ผา่ นมา น้องปุยฝา้ ยปฏิบตั กิ จิ วตั รประจำ�วันด้วยความสุข ชอบกจิ กรรม
การฟงั นิทาน เม่อื ลงเลน่ สนาม นอ้ งชอบเลน่ ม้าโยก นอ้ งเร่มิ เล่นกับเพ่อื น คุณครกู ำ�ลังฝกึ ให้น้องปยุ ฝ้าย
รว่ มกิจกรรมไดต้ ลอดกจิ กรรม
ขอขอบคณุ คณุ พอ่ คณุ แม่/ผปู้ กครองในความรว่ มมือและใหก้ ารสนบั สนนุ คะ่
ตัวอยา่ งที่ ๒
กิจกรรมในหนึ่งเดือนท่ีผ่านมา จัดกิจกรรมการปลูกฝังความกตัญญูด้วยการร้องเพลง
ฟังนิทาน ทำ�ศิลปะ พิมพ์ภาพมือ น้องปุยฝ้ายพูดเล่าเร่ืองเก่ียวกับคุณแม่ คุณแม่เล่านิทานเร่ืองกุ๊กไก่
ปวดท้อง ธรรมชาติเด็กในวัยน้ีรอคอยได้ในระยะเวลาส้ันๆ ยังรักและหวงของ จึงอาจแบ่งปันสิ่งของ
ให้เพ่ือนๆ ได้น้อย คุณพ่อคุณแม่/ผู้ปกครองไม่ต้องกังวลเพราะพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเร่ืองปกติของเด็ก
ช่วงวัยนี้ แต่คุณพ่อคุณแม่/ผู้ปกครองอาจช่วยส่งเสริมการแบ่งปันได้เมื่อมีโอกาสในเทศกาลต่างๆ
อาจให้เด็กๆ นำ�ขนมหรือสิ่งของมาแบ่งเพ่ือนๆ ในห้องได้ค่ะ คุณครูก็จะจัดกิจกรรมท่ีสนับสนุน
การแบง่ ปันเพื่อพัฒนาน้องปุยฝ้ายตอ่ ไปค่ะ
ขอขอบคุณคณุ พ่อคณุ แม/่ ผู้ปกครองในความร่วมมอื และใหก้ ารสนบั สนุนคะ่
* * * การบันทกึ รายงานพฤตกิ รรมเด็ก ไม่ควรรายงานเชิงลบ
แต่เขียนเป็นลักษณะการสง่ เสรมิ พฤตกิ รรมเพอ่ื แก้ปญั หานน้ั * * *
124 ค่มู ือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเดก็ อายุตํา่ กว่า ๓ ปี
บทที่ ๗
ปัญหาท่ีพบบ่อยและแนวทางการแก้ไข
๑. ปัญหาสขุ ภาพและการดูแลเบื้องต้น
เด็กแรกเกิด - ๓ ปี เป็นวัยท่ีต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพราะเด็กมีภูมิต้านทานต่ําทำ�ให้
มีการติดเช้ือได้ พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูควรดูแลเด็กอย่างใส่ใจ และคอยสังเกตความผิดปกติของเด็กอย่างสม่ําเสมอ
เป็นประจำ�ทุกวัน โดยเฉพาะเด็กวัยทารกซ่ึงไม่สามารถบอกอาการผิดปกติหรืออาการท่ีเปล่ียนแปลงได้ หากพบ
อาการผิดปกติพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูต้องรู้จักสังเกตอาการผิดปกติอย่างละเอียดและให้การช่วยเหลืออย่างถูกต้อง
เพ่ือช่วยบรรเทาอาการป่วยและป้องกันปัญหาไมใ่ หล้ ุกลามรุนแรงขนึ้ ได้
อาการทีพ่ บบอ่ ยในเดก็ แรกเกิด - ๓ ปี
อาการที่พบบ่อย สาเหต ุ การดแู ลเบ้ืองตน้
สำ�รอกและอาเจียนหลงั ให้นม • เด็กได้รบั นมเกินความตอ้ งการ • ให้เดก็ เรอหลังใหน้ ม โดยการอุ้มพาดบ่า
• ป้อนนมให้ถูกวธิ ี
พบบอ่ ยในเด็กอายุ ๒ - ๓ เดือนแรก ของรา่ งกาย • ถ้าอาเจยี นบอ่ ยครัง้ หรืออาเจียนพุง่
รีบพาไปพบแพทย์
• ป้อนนมไม่ถูกวิธี ท�ำ ใหเ้ ด็ก • ใชผ้ า้ สะอาดชุบนา้ํ สกุ เชด็ รอบกระพ้งุ แก้ม
และลิน้
ดดู อากาศเข้าไป • ถ้าเชด็ ฝ้าไม่ออก รีบพาไปพบแพทย์
• ท�ำ ความสะอาดรอบสะดือ ๔ - ๖ ครั้ง/วนั
ล้ินเปน็ ฝา้ • ติดเชื้อราในชอ่ งปาก โดยเช็ดด้วยแอลกอฮอล์แล้วปลอ่ ยใหแ้ หง้
• หากพบวา่ รอบสะดอื มีลักษณะบวมแดง
พบบอ่ ยในทารกแรกเกิดมกั จะมฝี า้ ขาว • ไม่ไดท้ �ำ ความสะอาดช่องปาก หรอื มีเลือดออก หรอื มีกลนิ่ เหมน็
ควรรบี ปรกึ ษาแพทย์
หรอื เรยี กว่าฝา้ น้ํานม หลังจากให้นม
สะดืออกั เสบ • มีการตดิ เช้ือบรเิ วณรอบสะดอื
มีเลอื ดออกบริเวณสะดอื และมกี ลิน่ • สายสะดอื หลุดไมห่ มด
คูม่ ือหลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเด็กอายุต่าํ กวา่ ๓ ปี 125
อาการท่พี บบอ่ ย สาเหตุ การดแู ลเบ้ืองตน้
การแพอ้ าหาร เมื่อเดก็ รับประทานอาหาร • ควรส่งเสรมิ ใหเ้ ด็กได้รับนมแม่อย่างน้อย
ช่วงขวบปแี รกของชีวติ มกั พบวา่ เด็ก เขา้ ไปแล้วรา่ งกายจะสรา้ ง ๖ เดอื น แต่ถา้ เดก็ มอี าการแพ้นม (วัว)
แพน้ มววั มากทีส่ ุด ซง่ึ เดก็ ท่แี พ้นมววั จะมี ภมู ติ อ่ ต้าน (Antibody) กับอาหาร และไม่สามารถรับนมแม่ได้ ต้องพิจารณา
โอกาสแพ้อาหารชนดิ อนื่ ๆ ตามมาได้มากขึน้ ชนดิ น้นั ๆ ทำ�ใหเ้ กิดปฏิกิริยา ให้นมสตู รพเิ ศษส�ำ หรบั ใชป้ อ้ งกนั
เชน่ ไข่ และอาหารทะเล อาการแพ้อาหาร บางอย่าง แล้วแสดงอาการแพ้ ที่เรียกวา่ Hypoallergenic ซ่ึงเป็นนม
ที่พบน้ันแตกตา่ งกนั ตามความรนุ แรง ต้ังแต่ ออกมาในลักษณะต่างๆ ได้ ที่ย่อยสลายโปรตนี ใหม้ ีโมเลกลุ ขนาดเลก็
น้อย ปานกลาง และรุนแรงท่ีสดุ อาการแพ้ ทำ�ใหโ้ อกาสทจี่ ะไปกระตนุ้ การแพ้
จะปรากฏทางผวิ หนัง เชน่ ผน่ื ลมพิษ มีนอ้ ยลง ซึ่งควรรบั ประทานนานถงึ
ผน่ื เมด็ ทราย หากแพร้ นุ แรงหรือทเี่ รยี กว่า ๖ เดอื น เพอ่ื ปอ้ งกนั อาการแพ้นมวัว
Anaphylactic Shock จะมีอาการปากบวม ในเดก็ ได้ พอพน้ ๖ เดือนไปแล้วใหล้ กู
หน้าบวม จุกแนน่ ในคอ มีเสมหะในปอด รับประทานนมสูตรปกตไิ ด้
หายใจไมไ่ ด้ ปวดทอ้ ง อาเจียน เปน็ ลม • เริม่ อาหารเสรมิ เมือ่ อายุ ๔ - ๖ เดือน
ความดันลดต่ํา อาจเกิดอาการชอ็ กและถึงกบั ควรเลือกอาหารท่ีจะให้เด็กรบั ประทาน
เสียชวี ติ ได้ โดยหลีกเล่ียงอาหารทีก่ ระตุ้นให้เกดิ
การแพไ้ ด้ง่าย เช่น ไข่ อาหารทะเล
แลว้ เปลีย่ นมารบั ประทานหมูหรือ
ผักใบเขยี วแทน โดยอาจใหเ้ ร่ิมไข่แดง
หลงั อายุ ๖ เดือน ส่วนอาหารทะเล
ใหเ้ ริม่ รับประทานได้หลงั ๒ ขวบ วธิ นี ้ี
จะชว่ ยป้องกนั อาการแพอ้ าหารและ
ช่วยสรา้ งภูมติ า้ นทานใหแ้ ข็งแรงสมบรู ณ์ได้
ไข้/ตวั รอ้ น • เกิดจากการติดเชื้อ โดยโรค • รายท่มี ีไขค้ วรใหด้ ่มื นํ้า และพกั ผอ่ นในที่
มีอาการกระวนกระวาย รอ้ งกวน ท่พี บบ่อยร่วมกบั อาการไข้ ที่มอี ากาศถ่ายเทสะดวกหรืออยู่ในท่โี ล่ง
ตัวรอ้ นอุณหภูมิสงู กวา่ ๓๘oC (๑๐๐.๔oF) ไดแ้ ก่ โรคไขห้ วัด ไขอ้ อกผื่น อากาศเย็นสบาย ไมค่ วรใสเ่ สื้อผา้ หนา
หากไข้สูงอาจท�ำ ให้เดก็ ชกั ได้ โรคตดิ เช้อื ทางเดนิ หายใจ เกินไป เพราะจะทำ�ใหค้ วามรอ้ นในตวั
โรคติดเชือ้ ทางเดินอาหาร ฯลฯ ระบายออกไดไ้ ม่ดี
• เปน็ ปฏกิ ิริยาของร่างกายเม่อื มี • เชด็ ตัวลดไขโ้ ดยใชผ้ ้าขนหนูชบุ นา้ํ ธรรมดา
ส่งิ แปลกปลอม เชน่ เชอ้ื โรค หรอื น้าํ อุ่นบิดพอหมาดๆ เช็ดตามบรเิ วณ
เขา้ ไปในรา่ งกาย รกั แร้ ซอกคอ ขาหนีบ ท�ำ ซ้ําในบรเิ วณ
ดังกลา่ ว เช็ดตัวให้แหง้ แลว้ ใส่เส้ือผ้า
ทไ่ี มห่ นาเกินไป หลังจากเชด็ ตวั ควรวดั
อุณหภมู ซิ าํ้ อกี ครงั้ หากเช็ดตวั แล้ว
ไข้ไม่ลด ควรพิจารณาปรึกษาแพทย์
• หากมไี ขร้ ่วมกบั อาการซมึ ไมด่ ่มื นมหรือนา้ํ
และมีผ่นื ข้ึน หรอื ไข้สงู ร่วมกบั อาการชกั
หรือท้องเสยี ต้องรบี ปรกึ ษาแพทย์
126 คู่มอื หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรบั เด็กอายุตํ่ากว่า ๓ ปี
อาการที่พบบ่อย สาเหตุ การดูแลเบอ้ื งต้น
ไอ • เกิดการติดเช้อื ของระบบ • ควรใหด้ ่มื นํา้ อุน่ บอ่ ยๆ เพอื่ ลดและ
เปน็ อาการตอบสนองของร่างกายต่อ ทางเดนิ หายใจส่วนบน เชน่ บรรเทาอาการไอ
ส่ิงแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบทางเดินหายใจ หวดั ไซนสั อกั เสบ และระบบ • หากพบว่าเด็กมอี าการไอผิดปกติ เช่น
โดยร่างกายพยายามจะกำ�จดั สิ่งเหล่านั้น ทางเดนิ หายใจส่วนล่าง ได้แก่ ไอเรือ้ รงั หรอื มีอาการเหนอ่ื ยหอบ
ออกมา หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หายใจลำ�บาก ควรรบี ปรกึ ษาแพทย์
เป็นตน้ • หากไอเร้อื รังเกนิ ๓๐ วนั หรอื มอี าการ
• โรคภูมิแพ้ หอบ หายใจลำ�บากร่วมดว้ ย ตอ้ งรบี
• มกี ารระคายเคอื งต่อเยอื่ บุ ปรึกษาแพทย์
ทางเดินหายใจ
• มสี ง่ิ แปลกปลอมตกค้าง
ในทางเดนิ หายใจ
• มกี ารอดุ ตันของทางเดนิ หายใจ
จากกอ้ นเนื้องอกของ
ตอ่ มนา้ํ เหลอื ง
• มีกอ้ นเน้อื งอกภายในปอด
• มีความบกพร่องของระบบ
ทางเดินหายใจ
อาเจียน • เด็กได้รบั นมไม่ถูกวิธีหรอื • หากเด็กมอี าการอาเจียนควรใหเ้ ด็ก
เป็นอาการท่เี กดิ จากการบีบตัว มากเกินไป นอนตะแคงและหันหน้าไปขา้ งใดข้างหนึ่ง
อยา่ งแรงของกระเพาะอาหารและกล้ามเน้อื • มีการอดุ ตันของระบบ เพอื่ ปอ้ งกนั การส�ำ ลกั อาเจยี นเขา้
หนา้ ท้องเพื่อขบั สิง่ ท่อี ยใู่ นกระเพาะอาหาร ทางเดนิ อาหาร ในหลอดลม เพราะจะทำ�ใหเ้ กดิ
ออกจากร่างกาย • มีการติดเช้อื ในระบบตา่ งๆ โรคแทรกซอ้ น เชน่ โรคปอดอักเสบ
• มีอาการแพ้อาหาร/นม • หากมอี าการอาเจยี นบอ่ ยครง้ั ควรรบี พบ
• ไดร้ บั ยาหรอื สารพิษ และปรึกษาแพทย์
• เรยี กรอ้ งความสนใจ • หลงั อาเจยี นควรใหล้ องจบิ นํ้า และคอ่ ยๆ
• ถูกบงั คบั ใหร้ บั ประทานอาหาร เพ่มิ เปน็ ใหอ้ าหารออ่ นๆ ทีละนอ้ ย
และดแู ลความสะอาดของปากและฟนั
ทอ้ งผูก • ไดร้ บั อาหารทมี่ กี ากใยหรอื นา้ํ • ควรใหเ้ ด็กดม่ื นํา้ ในปรมิ าณท่ีเหมาะสม
เป็นอาการถ่ายอุจจาระไม่ปกติ ไดแ้ ก่ น้อยกว่าปริมาณทคี่ วรไดร้ ับ กบั ร่างกายต้องการ (๘ แก้วต่อวนั )
อุจจาระแห้งเป็นกอ้ นแข็ง ถา่ ยลำ�บาก • ไม่ได้ฝกึ การขบั ถ่ายอยา่ งถูกต้อง • เพิม่ อาหารทมี่ ีกากใย เชน่ ผกั ผลไม้สด
• การท�ำ งานของลำ�ไสผ้ ดิ ปกติ • ฝึกการขับถา่ ยอจุ จาระใหเ้ ปน็ เวลา
• ขาดกจิ กรรมเคลือ่ นไหวรา่ งกาย • ไมบ่ งั คับ ต�ำ หนิ หรือลงโทษ
• หากเปน็ บ่อยครงั้ และรุนแรง
ควรปรึกษาแพทย์
คมู่ ือหลักสตู รการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เด็กอายตุ ่าํ กว่า ๓ ปี 127
อาการที่พบบอ่ ย สาเหตุ การดแู ลเบอ้ื งตน้
ทอ้ งเดิน/ทอ้ งรว่ ง • มีการตดิ เช้อื ของระบบ • ให้ผงเกลือแร่ชนดิ ซองผสมนา้ํ ตามท่ี
เป็นอาการของการถา่ ยอจุ จาระ ทางเดนิ อาหาร กำ�หนด ถ้าไม่มีอาจใชน้ า้ํ เกลอื หรอื ผสม
เป็นน้าํ มากกวา่ ๓ คร้ังต่อวัน หรือ • มสี งิ่ มีพษิ เจือปน แพอ้ าหาร เกลือแกง นาํ้ ตาลทราย และนา้ํ ให้
ถา่ ยเหลวมาก หรืออุจจาระเปน็ มกู เลอื ด หรอื อาหารไมส่ ะอาด รบั ประทาน
เพยี งคร้ังเดยี ว ทำ�ให้ร่างกายขาดนํา้ และ • เปน็ โรคพยาธบิ างชนดิ • ถา้ อจุ จาระมาก มอี าเจียน ไข้สงู ใหร้ ีบ
เกลอื แร่ ถา้ เปน็ มากจะมีอันตรายถึงชีวติ ได้ พาไปพบแพทย์
ชัก • มีไข้สงู • ใหน้ อนศีรษะตํา่ ตะแคงหนา้ ไปข้างใด
เปน็ อาการกระตุก เกร็งของกลา้ มเนื้อ • มกี ารตดิ เช้ือทางระบบสมอง ขา้ งหน่งึ
แขน ขา ลำ�ตวั อาจมตี าคา้ ง นงิ่ กัดฟันแน่น และประสาท • ดดู เสมหะ นํ้าลาย และเศษอาหาร
นาํ้ ลายฟมู ปาก ถา้ มีอาการชกั รนุ แรง • มีโรคชัก ออกจากปาก
และนาน ทำ�ใหต้ ัวเขียว สมองขาดออกซิเจน • หากมอี าการชักรว่ มกบั ไข้ ใหเ้ ชด็ ตวั
ส่งผลกระทบตอ่ พฒั นาการและการเรียนรไู้ ด้ ลดไข้ และรบี พบแพทย์
• ถ้าตัวร้อนจัดให้ใชผ้ า้ ขนหนชู บุ น้ํา
เลือดก�ำ เดาออก • เปน็ แผลภายในจมกู เนือ่ งจาก บิดพอหมาดเชด็ ตัวบ่อยๆ จนไขล้ ด
• ในรายทเ่ี ป็นโรคชกั ต้องอยู่ในความดแู ล
มีอาการเลอื ดออกทางจมกู เนอื่ งจาก การไชหรือแคะจมูก ของแพทย์
• ปลอบเด็กไมใ่ หต้ กใจ ใหเ้ ด็กน่ังก้มหน้า
ภายในเยอ่ื บุโพรงจมูกมเี สน้ เลือดฝอย • เย่ือบุโพรงจมูกแห้ง และไดร้ ับ และใชผ้ า้ ชุบนา้ํ เย็นจดั หรือนํา้ แข็ง
กดจมกู ดา้ นนอกใหแ้ นน่
จ�ำ นวนมาก บางและเปราะ เลือดจึงออกง่าย การกระทบกระเทือน • ใหห้ ายใจทางปาก
• หากเลอื ดออกมาก ตอ้ งรีบพาไปพบแพทย์
• ตวั รอ้ นหรือเป็นหวดั
• นอนหลับพกั ผ่อนให้เพียงพอ
เส้นเลือดฝอยในจมกู บาง • ใหด้ ่ืมน้ําอุน่ บอ่ ยๆ
• ดแู ลตามอาการลดไข้ หากมีไข้หรือตัวรอ้ น
เปราะแตกงา่ ย ใหเ้ ชด็ ตวั และหากพบวา่ ไข้สูงมาก ซึม
หายใจผิดปกติ ใหร้ ีบพาไปพบแพทย์
หวัด/ไข้หวัด • ภมู ิต้านทานตา่ํ และได้รบั
มีอาการคัดจมูก นํา้ มกู ไหล จาม เช้อื ไวรสั และแบคทเี รียจาก
ระคายคอ ไออาจมีเสมหะ ถา้ มีไข้เรยี กวา่ สภาพแวดลอ้ มภายนอก
ไขห้ วัด • การเปลีย่ นแปลงของ
สภาพอากาศ
• เกิดจากการแพ้ เช่น
แพ้ฝุน่ ละออง เกสรดอกไม้
ละอองฟาง ฯลฯ
128 คู่มอื หลักสตู รการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เด็กอายุตาํ่ กว่า ๓ ปี
อาการทีพ่ บบอ่ ย สาเหต ุ การดูแลเบอ้ื งตน้
โรคผวิ หนัง
โรคผิวหนงั ในเด็กมีได้หลายโรค
และเกิดจากสาเหตุตา่ งๆ กัน ดังน้ี
กลาก
ผิวหนงั เปน็ ผน่ื แดง เป็นวงมขี ยุ • ไดร้ ับเชือ้ จากการสัมผสั ผูป้ ว่ ย • รกั ษาความสะอาดร่างกายและเสือ้ ผา้
• ปรึกษาแพทยแ์ ละทายาตามแพทยส์ ง่ั
หรือต่มุ แดงทข่ี อบ มีอาการคัน เกดิ ขนึ้ ท่หี น้า ท่ีเปน็ โรคนี้
• ปรึกษาแพทยแ์ ละทายาตามแพทย์ส่งั
แขน ขา ศรี ษะ ถ้าเป็นบรเิ วณศรี ษะ • ติดเช้อื จากสตั ว์เลย้ี งหรือพื้นดนิ รักษาความสะอาดรา่ งกายและเสื้อผ้า
จะท�ำ ให้ผมร่วง ทม่ี ีเชื้อรา • แยกเด็กทเ่ี ปน็ หิดออกจากเด็กอนื่
• ต้มเสอ้ื ผ้าผู้ป่วยด้วยน้ํารอ้ นเพือ่ ท�ำ ลายเชือ้
เกล้อื น • ไมใ่ สเ่ สอื้ ผา้ ร่วมกบั ผู้อืน่ ทายาตามแพทย์สง่ั
ผิวหนงั เป็นวง มขี ยุ ละอองสขี าว • มีเหงอื่ ออกมากและรักษา • อาบนํ้า ชว่ ยคลายรอ้ น
• ใสเ่ สอ้ื ผ้าทอ่ี ากาศถา่ ยเทไดส้ ะดวก
หรอื แดงเปน็ ดอกดวงเรยี บไปกับผิวหนัง ความสะอาดไม่เพียงพอ • อยู่ในทีม่ อี ากาศถ่ายเทไดส้ ะดวก
• ถา้ เปน็ เรอื้ รัง ควรไปพบแพทย์
มีอาการคนั • ในเดก็ ต่ํากว่า ๒ ปี ไม่จำ�เปน็ ตอ้ งลดน้ําหนัก
แตค่ วรดูแลและให้ความสนใจเกีย่ วกบั
หดิ การให้อาหารท่ีเหมาะสมตามวัย
• ในเดก็ มากกว่า ๒ ปี ควรให้ความสนใจ
ผิวหนงั เปน็ ผืน่ คันทั้งตวั โดยเฉพาะ • ติดเชอื้ จากการสัมผัสผทู้ มี่ ี ในการลดปรมิ าณอาหารทีม่ ีพลงั งานสูง
เชน่ จ�ำ กัดอาหารท่ีมีความหวาน
บริเวณรักแร้ ง่ามน้ิวมอื อวัยวะเพศ สะดอื เช้อื หิดและเสือ้ ผ้าเคร่ืองนงุ่ หม่ • ควรปลูกฝงั นิสัยการบริโภคอาหารทดี่ ี
เชน่ ให้เด็กรับประทานอาหารเป็นเวลา
มีอาการคัน พุพอง เปน็ หนอง ของผทู้ ี่มเี ชื้อหิด ในปริมาณท่ีเหมาะสม
• ควรใหเ้ ดก็ มีกจิ กรรมการเคลอ่ื นไหว
• เดก็ มีสุขภาพอนามัยไมด่ ี หรือออกก�ำ ลงั กาย
ผิวหนังอบั ชืน้
ผด
ผวิ หนงั เป็นผนื่ ตมุ่ สีแดงเม็ดเล็กๆ • อากาศรอ้ น
เกดิ ทบ่ี ริเวณไรผม หนา้ ผาก คอ หลังข้อพบั • รา่ งกายขบั เหงอื่ ไดไ้ ม่ดพี อ
แขน ขา มีอาการคัน
ภาวะนาํ้ หนกั เกนิ (โรคอ้วน) • รบั ประทานอาหารมาก
เกนิ กว่าทรี่ ่างกายตอ้ งการ
ซึ่งจะท�ำ ให้สะสมเป็นไขมนั
ตามสว่ นต่างๆ ของรา่ งกาย
• พนั ธุกรรม หากพ่อแมเ่ ปน็
โรคอว้ นจะมคี วามเสีย่ งตอ่
การเกดิ โรคอว้ นในเดก็ สูงขนึ้
คมู่ ือหลกั สูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเด็กอายุตาํ่ กวา่ ๓ ปี 129
อาการที่พบบอ่ ย สาเหตุ การดูแลเบื้องตน้
การเขยา่ เด็กอย่างรุนแรง
มักเกดิ จากการเขย่าเด็ก • อยา่ จบั เด็กเขยา่ เพอื่ ตอ้ งการให้เดก็
อยา่ งรุนแรงและกระชากกลบั หยุดร้องไห้ เพราะจะสง่ ผลทำ�ให้เสน้ เลอื ด
อย่างรวดเร็ว (Violently Shaken) ในสมองเดก็ เกิดการฉกี ขาด เกดิ ภาวะ
เพราะต้องการให้เดก็ หยดุ รอ้ งไห้ เลือดออกในสมองเดก็ ได้
มผี ลใหเ้ สน้ เลือดเลก็ ๆ ทเี่ ช่อื มกัน • พอ่ แมห่ รอื ผูเ้ ล้ยี งดคู วรมีอารมณ์ท่ีมนั่ คง
ระหว่างเนอ้ื เย่อื ของสมองฉกี ขาด และเขา้ ใจพฤติกรรมการแสดงออกของเดก็
แลว้ เลอื ดออก เส้นเลือดใหญ่ เชน่ การรอ้ งไหข้ องเดก็ ควรหาสาเหตุ
ในสมองทย่ี งั ไม่แขง็ แรงของ ทีเ่ กดิ ขึน้
เด็กออ่ นจะเกิดการแตกปริ
ฉกี ขาด มีเลอื ดออก
๒. ปญั หาพฤติกรรมและการแกไ้ ข
พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูนอกจากจะทำ�หน้าท่ีดูแลเด็กแล้ว จำ�เป็นอย่างย่ิงท่ีจะต้องเป็นคนช่างสังเกต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสังเกตพฤติกรรมท่ีผิดปกติของเด็ก ทั้งน้ี จะได้ทราบการเปล่ียนแปลงและลักษณะพฤติกรรม
ท่อี าจเกดิ ขนึ้ กับเด็กและแกไ้ ขได้ทันทว่ งที พฤติกรรมผิดปกติทพี่ บบอ่ ยในเด็กแรกเกดิ - ๓ ปี มดี ังนี้
พฤตกิ รรม ลักษณะพฤตกิ รรม การแกไ้ ข
รอ้ งกวน
มกั เกดิ ขึน้ กบั ทารกในชว่ ง • สงั เกตว่าการร้องของเดก็ เกดิ จากสาเหตุอะไร เช่น
๓ - ๔ เดอื นแรก อาการร้องในลักษณะนี้ เส้อื ผ้าบางเกินไป เส้อื ผา้ หนาเกินไป เจ็บป่วย มดกัด
เกดิ ข้ึนได้ตามปกติในพัฒนาการ ฯลฯ ต้องแกท้ ส่ี าเหตุ
ร้องกลน้ั เนือ่ งจากระบบประสาทเดก็ ยังมีวุฒิภาวะ • ควรตอบสนองต่อการรอ้ งกวนของเดก็ อย่างน่มุ นวล
ไม่สมบูรณจ์ งึ ไม่สามารถควบคุม และสงบ
การตอบสนองต่อส่ิงเร้าไดด้ ี • อ้มุ เดก็ ในท่าสบายหรอื เหก่ ล่อมโยกตวั ไปมาจะทำ�ให้
เด็กสบายตวั ดีข้นึ ได้
• ไมจ่ ำ�เปน็ ตอ้ งอุม้ ข้นึ หรอื ให้นมทกุ ครงั้ แต่จำ�เปน็ ต้องดู
พูดสอ่ื สาร สัมผสั ตวั เดก็
เป็นพฤติกรรมการรอ้ งไหอ้ ยา่ ง • หลกี เลีย่ งการขัดใจโดยการเบี่ยงเบนความสนใจ
รุนแรงของเด็กแลว้ ตามด้วยการกล้ัน โน้มน้าว หรอื หา้ มดว้ ยความน่มุ นวล แตห่ ากเดก็
หายใจจนอาจท�ำ ให้เกดิ ภาวะหยดุ หายใจ เกดิ อาการ ไม่ควรแสดงอาการตกใจหรอื ตามใจเดก็
และขาดออกซิเจนได้ พบไดใ้ นชว่ งวัย • หากเด็กรอ้ งจนหยดุ หายใจควรอมุ้ เดก็ หรอื จดั ให้
๑ - ๒ ปี เดก็ นอนราบ เม่ือเดก็ รสู้ กึ ตัวควรเบนความสนใจ
ไปจากเหตุกระตุ้น โดยล่อให้สนใจอยา่ งอื่นแทน
130 คู่มอื หลักสตู รการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเด็กอายุตา่ํ กวา่ ๓ ปี
พฤติกรรม ลกั ษณะพฤติกรรม การแกไ้ ข
รอ้ งอาละวาด
(Temper Tantrums) การร้องอาละวาดเมื่อถกู ขัดใจ • ผใู้ หญ่ไม่ควรให้ความสนใจ ปล่อยหรืออุ้มเดก็ ทกุ คร้งั
อาจมีพฤติกรรมการกระทืบเท้า ที่เด็กรอ้ งเมอ่ื ถกู ขัดใจ แตใ่ ช้วิธเี บนความสนใจไปสู่
ดดู นิว้ ลงนอนดิน้ กบั พนื้ ทบุ ตี หรอื ขวา้ งปา สงิ่ อ่ืน
พบบอ่ ยในเด็กอายุ ๒ - ๕ ปี • ไมต่ ามใจเร่ืองท่ีถกู ขัดใจ
• เมอื่ เด็กเบาเสยี งหรอื หยุดร้องจึงเข้าไปหาพูดคุย
ปลอบโยน และเปลย่ี นความสนใจเด็กไปเร่อื งอ่นื
รบั ประทานอาหารยาก • ในขณะที่เด็กร้องอาละวาดไมค่ วรพดู ต�ำ หนเิ ด็ก
หรือสัง่ สอนเดก็ ซงึ่ เดก็ จะไมฟ่ ัง ควรนิง่ และใหพ้ ืน้ ท่ี
นอนละเมอ ทีป่ ลอดภัยใหเ้ ดก็ ร้องจนกว่าเดก็ จะสงบหรอื
ร้องนอ้ ยลง แลว้ จงึ ใหค้ วามสนใจและพูดด้วย
การดูดน้วิ เป็นพฤตกิ รรมที่พบ • การดดู นวิ้ ในเดก็ เล็กตํ่ากว่า ๑ ปี ไมจ่ �ำ เป็นต้องจัดการ
ได้บอ่ ยและถอื เปน็ เร่ืองปกตทิ พี่ บได้ กับปญั หาน้ี แตอ่ าจใช้จกุ นมหลอกแทนการดูดน้วิ
ในเด็กเล็ก เด็กจะใช้การดูดน้วิ เป็น ซึง่ จะท�ำ ให้เลิกไดง้ ่ายกว่าการดูดนิว้
การใหค้ วามพอใจกับตนเอง และดูดน้ิว • หลงั เดก็ อายุ ๖ เดือน ไมค่ วรใหเ้ ดก็ ดูดนว้ิ หรอื ใช้
มากข้นึ เมือ่ หิว งว่ งนอน หรอื วิตกกงั วล จุกนมหลอกตลอดเวลา ควรใช้ในกรณีง่วง หวิ ไมส่ บาย
และเมื่อเดก็ อายุ ๑ - ๒ ปี การดูดน้วิ หรือเครยี ดเท่านนั้ หากเด็กต้องการควรเบ่ยี งเบน
จะน้อยลง และหายไปก่อนอายุ ๓ - ๔ ปี ใหส้ นใจเลน่ กบั เด็กแทนการดูดนวิ้
• ส�ำ หรับเด็กอายมุ ากกว่า ๑ ปี ควรใชว้ ธิ ีเบนความสนใจ
หรือชกั ชวนใหเ้ ดก็ ใช้มือทำ�กจิ กรรม ไม่ควรต�ำ หนิ
หรือดุว่าเดก็
เป็นพฤติกรรมท่เี กดิ ขน้ึ ได้ร่วมกบั • ควรปลอ่ ยใหเ้ ดก็ มีอิสระและมีโอกาสตกั อาหาร
พฤติกรรมการเลือกอาหาร ไมช่ อบลอง รับประทานเองบา้ ง ไม่บงั คับป้อนจนเกนิ ไป
อาหารใหม่ๆ • พยายามหลีกเลยี่ งการใหอ้ าหารวา่ งหรือขนม
ระหวา่ งมือ้ มากเกนิ ไป โดยเฉพาะเมอ่ื ใกลม้ อ้ื อาหาร
• ใช้วิธีเสริมแรงทางบวก โดยการชมเชยเมื่อเดก็
รับประทานอาหารได้
การละเมอทีเ่ ด็กมอี าการเหมอื น • ควรกอดและพูดปลอบเบาๆ ไมค่ วรปลุกเด็ก
ตกใจกลวั อะไรขณะทีน่ อนหลับ เด็กอาจ รอให้อาการหยุดและเด็กหลบั ไปเอง
ลุกข้นึ นั่งร้องไห้ นอนดิน้ ไปมา หรืออาจ
เดินลงจากเตยี งโดยไมร่ ตู้ วั อาการเหล่านี้
อาจเกดิ ข้ึนนานประมาณ ๑๐ - ๓๐ นาที
อาการเหล่านีเ้ มื่อเด็กตื่นข้ึนมา
เดก็ มักจำ�เหตกุ ารณ์ไม่ได้ ไมก่ ลัวเหมอื น
กรณีฝนั รา้ ย
คู่มอื หลักสตู รการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เดก็ อายุตํ่ากว่า ๓ ปี 131
พฤตกิ รรม ลกั ษณะพฤตกิ รรม การแกไ้ ข
ฝนั ร้าย
สามารถเกดิ ขนึ้ ไดเ้ ปน็ ครง้ั คราว • ปลอบโยน พดู คยุ ให้เด็กคลายความกลวั หรือกล่อม
ในเดก็ ทุกคนและถอื เปน็ สิง่ ปกติ ซ่ึงเดก็ ให้เด็กนอนหลับต่อ
ที่ตนื่ จากฝนั ร้ายมักจ�ำ ความฝันและ • ดูแลอยา่ ใหเ้ ดก็ เลน่ หรือท�ำ กิจกรรมท่ีโลดโผน
พดู ช้า อาจตกใจกลัวไดอ้ ยา่ งมาก ขณะทฝ่ี ันรา้ ย จนเหนอ่ื ยมากเกินไปในชว่ งกลางวันหรือกอ่ นเขา้ นอน
เด็กจะไม่มีการเคลอ่ื นไหวหรือส่งเสยี ง ตลอดจนไมอ่ ่านหนังสือนทิ านทีเ่ ป็นเร่อื งหวาดเสยี ว
หากเด็กตืน่ ข้ึนในขณะนน้ั เดก็ อาจตกใจ นา่ กลัวก่อนนอน
เลน่ อวัยวะเพศ
รอ้ งกลัวและไมก่ ลา้ นอนคนเดยี ว
เป็นปญั หาท่พี บบอ่ ยในช่วง • ฝกึ ให้เด็กพูดหรอื ออกเสยี งในสภาวะแวดลอ้ มท่ีเปน็
เดก็ ปฐมวัย โดยมคี วามบกพรอ่ งของ ธรรมชาติ ไมค่ าดหวงั หรือบงั คบั ว่าเดก็ ตอ้ งออกเสียง
พัฒนาการทางภาษา ไมส่ ามารถ หรือพดู ตาม แต่ให้เดก็ รู้สกึ สนกุ ในการท�ำ กิจกรรม
ส่อื สารไดเ้ ม่ืออายุ ๒ ปี อยา่ งต่อเน่อื ง
• ควรชกั ชวนพดู คยุ โดยเฉพาะคุยในสิ่งท่ีเดก็ ก�ำ ลัง
สนใจ ในเหตกุ ารณต์ ่างๆ ในชวี ิตประจ�ำ วนั
• สอนใหพ้ ดู คำ�ง่ายๆ ท่เี ด็กพบเห็นบอ่ ยในชวี ิตประจ�ำ วนั
หรือจากการเลา่ นทิ าน
• หากเดก็ อายุ ๒ ปแี ลว้ ยังไมส่ ามารถสื่อสารได้ ควรพา
เด็กไปพบแพทย์ เพ่อื ค้นหาปัญหา และสาเหตุที่
พูดลา่ ช้า
มกั เกดิ ขนึ้ ตั้งแตข่ วบปแี รก • ไม่ควรเพ่งเลง็ ทกี่ ารเลน่ อวัยวะเพศของเด็ก แตค่ วร
เน่ืองจากเด็กชอบส�ำ รวจรา่ งกายตนเอง ใหค้ วามดูแลเอาใจใส่และมีเวลาใหก้ ับเด็กมากขนึ้
และอาจเล่นอวยั วะเพศซึ่งทำ�ใหเ้ กิด • เบ่ยี งเบนความสนใจโดยให้เด็กท�ำ กิจกรรมอน่ื แทน
ความเพลดิ เพลิน และเมือ่ เด็กวยั • ไมค่ วรดุว่าหรอื ต�ำ หนดิ ว้ ยการลงโทษรุนแรง
๓ - ๕ ปี จะให้ความสนใจเรื่องเพศ
มากข้นึ รู้จกั ความแตกตา่ งระหว่างเพศ
และอาจมีพฤตกิ รรมน้ีมากขนึ้ อาจเหน็
เด็กใช้มอื จับ ลบู คล�ำ อวัยวะเพศของตน
พฤตกิ รรมเชน่ นปี้ กติไมเ่ ป็นบ่อย มักจะ
เปน็ เฉพาะเวลาง่วงนอน เหงา หรอื เบ่ือ
132 ค่มู ือหลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศักราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเดก็ อายตุ า่ํ กวา่ ๓ ปี
พฤตกิ รรม ลักษณะพฤติกรรม การแก้ไข
กา้ วรา้ ว • พบไดต้ ั้งแต่เดก็ อายุ ๒ - ๖ ปี ท่ตี ้อง • ควรจัดการกับพฤติกรรมดว้ ยความสงบและจริงจัง
มีการปรบั ตัวกบั ส่ิงแวดล้อมอย่างมาก พร้อมกบั หดั ใหเ้ ดก็ รจู้ ักแสดงอารมณท์ ่เี หมาะสม
ในขณะที่ความสามารถในการควบคุม ทลี ะนอ้ ย
ตวั เองและทักษะในการแกไ้ ขความ • ใหค้ วามรัก ความอบอนุ่ ไปพร้อมๆ กบั ให้เหตผุ ล
คับขอ้ งใจยงั มอี ยู่จำ�กัด • หากเกดิ พฤติกรรมกา้ วรา้ วขึน้ ให้จับมือหรอื จับตัวเด็กไว้
• พบวา่ เดก็ ท่ีมพี ้ืนอารมณซ์ ง่ึ เปน็ ทกุ คร้งั พรอ้ มกบั บอกเด็กวา่ “ตไี มไ่ ด”้ หรอื
เดก็ เล้ียงยากและไวต่อสง่ิ กระตนุ้ “เตะไม่ได้” และพยายามลดความรนุ แรงของ
รวมถงึ เด็กท่มี ปี ัญหาดา้ นการสอ่ื สาร พฤติกรรมโดยเบนความสนใจไปสกู่ ิจกรรมอนื่ ๆ
มโี อกาสมีพฤตกิ รรมก้าวรา้ วมากกว่า หรืออาจใช้วธิ ี time out เป็นเวลา ๓ - ๕ นาที
เด็กท่วั ไป แลว้ เบนความสนใจไปส่กู ิจกรรมอื่น
การติดสือ่ ประเภทจอภาพ พฒั นาการลา่ ช้า ความสนใจและ • พยายามหากจิ กรรมอ่นื ที่เหมาะสมกับพฒั นาการ
สมาธสิ ั้น พฤติกรรมก้าวรา้ ว เชน่ การวาดภาพอสิ ระ การรอ้ งเพลง การประกอบ
อาหาร การเพาะปลกู เปน็ ตน้
• ควรควบคมุ เวลาไมใ่ หอ้ ยู่หนา้ จอภาพเกินกว่า
๒๐ นาท/ี ครง้ั และ ๖๐ นาที/วัน และเด็กอายุตา่ํ กว่า
๒ ปี ห้ามอยูห่ น้าจอภาพทุกประเภท
คมู่ ือหลักสูตรการศึกษาปฐมวยั พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เดก็ อายตุ า่ํ กว่า ๓ ปี 133
๓. บทบาทของพอ่ แม่และผ้เู ล้ียงดใู นการปฐมพยาบาลแกเ่ ด็กปฐมวัย
การปฐมพยาบาล เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นกับเด็กปฐมวัยท่ีได้รับอุบัติภัยหรือเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน
โดยอาจต้องใช้เคร่ืองมือหรืออุปกรณ์ท่ีเหมาะสมเพียงพอท่ีจะหาได้ในบริเวณนั้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการไม่ให้เด็ก
ได้รับอันตรายที่รุนแรงก่อนที่จะนำ�ส่งโรงพยาบาลเพ่ือให้แพทย์ทำ�การรักษาพยาบาลต่อไป ซึ่งการปฐมพยาบาล
เป็นบทบาทท่ีสำ�คัญท่ีพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูควรให้การเอาใจใส่ หากเกิดเหตุการณ์ซ่ึงส่งผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย
จะได้รีบให้การช่วยเหลือแก้ไขกอ่ นท่จี ะเกิดปัญหารุนแรงและอาจไดร้ บั อันตราย อาการทพี่ บบอ่ ย ได้แก่
อาการที่ส�ำ คญั การดูแลเบ้ืองต้น ขอ้ ควรระวัง
หกล้ม • หากพบวา่ มกี ารบาดเจบ็ ท่ีศรี ษะ แตเ่ ดก็ • ควรจดั วางของให้เปน็ ระเบยี บ ตู้วางของ
มักจะพบว่ามีอาการ ร้สู ึกตวั ดี อาจเฝา้ สงั เกตอาการ ได้แก่ ซึม ตอ้ งวางบนพน้ื ราบทม่ี ัน่ คง
บาดเจบ็ ของอวัยวะตา่ งๆ เช่น อาเจียนพุ่ง ปวดศีรษะ ซ่งึ มักเกิดอาการ • อปุ กรณ์ เครื่องเลน่ สนาม ตอ้ งหม่ัน
บวม ชา ปวด หรอื อาจกระดูก ภายใน ๔๘ - ๗๒ ช่วั โมง หากมีอาการดงั กลา่ ว คอยสำ�รวจเรือ่ งความปลอดภยั และ
เคลอื่ นหรอื หักได้ หรอื อาจท�ำ ให้ ควรสง่ พบแพทย์ แตห่ ากพบวา่ เด็กหมดสติ ต้องไม่สงู เกนิ ๑๕๐ ซม. และแตล่ ะช้นิ
เกดิ บาดแผล มีเลอื ดออกได ้ ไมร่ ้สู ึกตัว แม้เปน็ เพยี งชัว่ คราว ใหร้ ีบส่ง ตอ้ งวางห่างกนั มากกวา่ ๑๘๐ ซม.
พบแพทย์ทนั ที • อปุ กรณ์ เคร่ืองเลน่ สนามควรวางบนพืน้
• หากกรณที ่ีสงสยั ว่ามกี ารบาดเจ็บของอวยั วะ ท่ีมน่ั คง มีการยดึ ฐานให้แขง็ แรง
ตา่ งๆ แตไ่ มม่ ีอาการของกระดูกหัก/เคล่อื น และควรเป็นพ้ืนทีม่ คี วามยดื หยุ่น
ให้ลดการเคลื่อนไหวของอวัยวะน้นั ๆ อาจใช้ ลดการกระแทก เช่น พืน้ ยาง พื้นโฟม
ผา้ เยน็ หรือนาํ้ แขง็ ประคบนาน ๑๐ - ๒๐ นาที ในกรณีท่ีวางบนพื้นทรายควรวางใหล้ ึก
ทุกชัว่ โมง โดยเฉพาะภายใน ๒๔ ชัว่ โมงแรก อย่างน้อย ๒๐ ซม.
สว่ นในกรณที ี่เกิดนานกว่า ๒๔ - ๔๘ ชว่ั โมง
ใหใ้ ชผ้ า้ อ่นุ หรือนาํ้ อ่นุ ประคบ เพอื่ ช่วยใหเ้ ลือด
ท่คี ัง่ ถูกดูดซึมกลับไปเรว็ ขึ้น
• หากกรณีท่ีมเี ลือดออกใหใ้ ช้ผ้าก๊อซ ส�ำ ลี หรือ
ผ้าสะอาดกดบรเิ วณท่ีมีเลือดออกดว้ ย
ความแรงเลก็ น้อย เพ่ือใหเ้ ลือดหยดุ และ
ท�ำ ความสะอาดบาดแผล
134 คมู่ อื หลักสตู รการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรับเดก็ อายุตํ่ากวา่ ๓ ปี
อาการที่ส�ำ คัญ การดแู ลเบอื้ งต้น ข้อควรระวัง
บาดแผล • ทำ�ความสะอาดหลังเกดิ บาดแผลทนั ที
บาดแผลทเ่ี กดิ จากการ • ตรวจประเมนิ บาดแผลอยา่ งละเอียดว่า ไมจ่ ำ�เป็นตอ้ งใช้นํา้ ยาท�ำ ความสะอาด
ไดร้ ับอบุ ัตเิ หตุ เช่น ท่ีนวิ้ แขน บาดแผลมลี ักษณะเช่นไร มีอาการบาดเจบ็ พิเศษ หรอื สบฆู่ ่าเช้ือโรคทางการแพทย์
ขา มอื เขา่ เปน็ ต้น ซ่งึ อาจ ไปยังอวัยวะใกล้เคียงหรือไม่ ฟอกแผลทุกครง้ั ทที่ ำ�ความสะอาด
เปน็ แผลเปดิ บวมแดง มเี ลือด • ทำ�ความสะอาดบาดแผลด้วยนา้ํ สบู่ น้าํ สะอาด ควรใช้นํ้าธรรมดาและนาํ้ สบูล่ า้ ง
ออกมาดา้ นนอก และพบว่า หรือนา้ํ เกลอื สะอาด เพื่อช�ำ ระล้างส่ิงสกปรก ส่ิงสกปรกหรอื สง่ิ แปลกปลอม
มีฝนุ่ กรวด ทราย ดนิ หรอื วตั ถุ และวตั ถุแปลกปลอมออกจากแผล ออกไปก่อน หลงั จากน้ันจงึ พิจารณา
แปลกปลอมอยู่บริเวณ • ควรทายาปอ้ งกันการติดเช้ือท่ผี ิวหนัง ใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะท่ี ปดิ แผล
บาดแผลรว่ มดว้ ย ซง่ึ เปน็ สาเหตุ ด้วยยาปฏิชวี นะเฉพาะที่ในบรเิ วณทีเ่ ปน็ แผล ดูแลให้แผลแหง้ ไมเ่ ปียกชน้ื
น�ำ ไปสู่การตดิ เชอ้ื หลงั ท�ำ ความสะอาดแผลเรียบร้อยแลว้
แต่ไมแ่ นะน�ำ ให้ใชย้ า แอลกอฮอล์ ยาแดง • ไมค่ วรทาแผลด้วยยาสฟี นั นาํ้ ปลา
แผลไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก ยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซดท์ าตรงต�ำ แหนง่ เหลา้ ขาว เนย หรือโลช่ัน
ทีเ่ ปน็ แผลโดยตรง เพราะสขี องยาอาจบดบงั • หากเปน็ แผลไฟไหม้ทม่ี บี รเิ วณใหญ่
การนำ�ส่งิ แปลกปลอมออกจากแผล และ หลงั จากปฐมพยาบาลเบือ้ งตน้ แล้ว
อาจทำ�ให้เกดิ การระคายเคอื งแผลได้ ใหร้ ีบน�ำ สง่ โรงพยาบาล
• หากเป็นแผลถลอกขนาดเลก็ อาจเปดิ แผลไว้
หลังทำ�ความสะอาดแล้ว แต่หากเปน็ แผลเปดิ
ทใี่ หญใ่ หใ้ ชพ้ ลาสเตอร์ปิดแผลหลังทำ�
ความสะอาดรว่ มกบั การใช้ยาปฏิชีวนะ
ชนิดทาเฉพาะท่ี
• ทำ�ความสะอาดแผลด้วยนาํ้ เกลอื ทุกวนั
อย่างนอ้ ยวันละ ๑ - ๒ คร้ังหลงั อาบนํ้า และ
ดูแลแผลจนกระทงั่ แผลเริ่มแห้ง
• หากแผลอกั เสบตดิ เช้อื จะมีอาการบวมแดง
เจ็บ อาจมหี นองและมไี ข้ ให้รบี พบแพทย์
ควรล้างแผลด้วยนํา้ สะอาดในปริมาณ
ท่ีเหมาะสมกับแผล หลงั จากนัน้ ควรทาแผล
ดว้ ยยาทาส�ำ หรับแผลไฟไหม้ นา้ํ ร้อนลวก
ซึง่ สามารถป้องกนั เชื้อแบคทเี รยี ใหค้ วามชมุ่ ชน้ื
และเสริมสรา้ งซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังทถ่ี ูกทำ�ลาย
จากแผลไฟไหม้
คมู่ ือหลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรบั เดก็ อายุต่าํ กว่า ๓ ปี 135
อาการท่สี ำ�คัญ การดูแลเบอ้ื งต้น ข้อควรระวงั
หากปฐมพยาบาลเบอื้ งต้นแล้วยงั มี
เลอื ดกำ�เดาไหล • พยายามหา้ มเลือดโดยการบบี ทีป่ กี จมกู ท้งั ๒ เลอื ดก�ำ เดาไหลออกมาเป็นจำ�นวนมาก
หรือเป็นเวลานานมากกว่า ๒๐ นาที
ดว้ ยนิ้วโปง้ และนว้ิ ช้ี และนัง่ ก้มหนา้ ใหเ้ ด็ก ควรรบี พบแพทย์ทันที
หายใจทางปากเป็นเวลาประมาณ ๕ - ๑๐ • หา้ มใชส้ ง่ิ ของ เชน่ ช้อน หรอื นวิ้ ของ
ผ้ชู ่วยเหลอื งดั ปากขณะเดก็ ก�ำ ลังชัก
นาที ซ่ึงระยะเวลาในการหา้ มเลือดข้นึ อยู่ เพราะอาจทำ�ใหเ้ ดก็ ฟันหัก
เกดิ การบาดเจบ็
กบั ปริมาณที่เลือดออก หรือใชข้ องเยน็ เช่น • หา้ มปอ้ นยาใดๆ ทางปากขณะเกิด
อาการชกั
ถงุ น้ําแข็ง เจล หรือผ้าเย็นประคบทีบ่ ริเวณ • ไมค่ วรอุ้ม เขย่า หรอื ตเี ดก็ เพ่ือทำ�ให้
รู้สกึ ตัว
จมูกรว่ มด้วย • ห้ามกอดรดั ยึดตรึงเด็กขณะชัก
เพราะอาจท�ำ ใหก้ ระดกู หกั
• หลกี เลย่ี งการแคะจมูกซาํ้ เพราะจะท�ำ ให้
เลอื ดไหลออกมาซํ้าได้
ชกั หมดสติ • คลายเส้ือผา้ ออก จับใหเ้ ด็กนอนพน้ื ราบ
อาจเป็นการชักจากไขห้ รอื ในท่านอนหงายหรอื นอนตะแคงโดยหันศรี ษะ
โรคลมชัก หรอื ความผิดปกติ ไปทางดา้ นใดดา้ นหนง่ึ เพอ่ื ให้ทางเดินหายใจ
ในสมอง เปดิ และป้องกนั การส�ำ ลัก
• หากเด็กมีไขร้ ว่ มด้วยกับการชกั ให้ช่วยเช็ดตวั
ลดไข้
• ประเมินลกั ษณะอาการชกั และระยะเวลา
ในการชัก เพ่ือเปน็ ข้อมูลใหก้ ับแพทย์
ขณะนำ�เดก็ สง่ โรงพยาบาล
กล่าวโดยสรุป ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไขในเร่ืองปัญหาสุขภาพ ปัญหาพฤติกรรม ตลอดจน
บทบาทพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูในการปฐมพยาบาลแก่เด็กปฐมวัยที่มีอายุต่ํากว่า ๓ ปี เป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่มี
ความส�ำ คญั มาก เพราะทุกปญั หาหากไดร้ บั การแก้ไข ชว่ ยเหลอื บำ�บดั และป้องกนั แตแ่ รกเริม่ จะนำ�ไปสู่การเพิม่ พูน
คุณภาพของการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมการเรียนรู้ได้ บุคลากรทุกฝ่ายท่ีเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยจึงควรร่วมมือกัน
อย่างใสใ่ จและคำ�นึงถึงคณุ ภาพของเด็กเปน็ สำ�คัญ
136 คู่มอื หลักสตู รการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ สำ�หรับเดก็ อายุตา่ํ กว่า ๓ ปี
บทที่ ๘
การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มส�ำ หรบั กลุม่ เป้าหมายเฉพาะ
การจดั การศกึ ษาส�ำ หรบั เดก็ ทเ่ี ปน็ กลมุ่ เปา้ หมายเฉพาะนนั้ สามารถจดั การศกึ ษาไดห้ ลายรปู แบบ ทง้ั การศกึ ษา
ในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพ่ือให้มีความยืดหยุ่น สนองต่อความแตกต่าง
และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้มีความหลากหลายในทางปฏิบัติที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพเด็ก
ให้เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดยเด็กกลุ่มเป้าหมายเฉพาะน้ี หากได้รับ
การช่วยเหลือท่ีเหมาะสมต้ังแต่แรกพบปัญหา ควบคู่กับการบำ�บัดท่ีจำ�เป็นต่างๆ ก็จะสามารถพัฒนาเด็กให้เต็มตาม
ศักยภาพได้ เช่น เด็กพิการ ควรได้รับการดูแลและการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ร่วมกับการช่วยเหลือ
ท่ีเหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของเด็ก เพ่ือพัฒนาศักยภาพของเด็กให้มีคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม
หากเด็กพิการถูกละเลย ไม่ได้รับการดูแลและการช่วยเหลือต้ังแต่แรกเร่ิม ส่งผลทำ�ให้เด็กเกิดปัญหาทางพัฒนาการ
และการเรียนรู้ได้ และเป็นภาระของสังคมในเวลาต่อมา
กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หมายถึง เด็กปฐมวัยที่มีสภาพร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ หรือจิตใจท่ีแตกต่าง
จากเด็กปกติท่ัวไป หรือมีประสบการณ์สำ�คัญในชีวิตที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจนทำ�ให้ไม่สามารถดำ�เนินชีวิต
และพัฒนาได้ตามศักยภาพท่ีแท้จริงของตนได้ หากไม่ได้รับการปรับแนวทางการจัดการศึกษาและการช่วยเหลือ
ที่เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของเด็ก ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวน้ีอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ขณะคลอด หลังคลอด หรือเม่ือเดก็ เข้าสวู่ ัยทารก วยั เตาะแตะ หรอื เมอ่ื เขา้ เรียนในสถานศกึ ษา และความแตกตา่ งนี้
ไมจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งคงอยู่ถาวร อาจส่งผลต่อพฒั นาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวยั ไดแ้ ก่
๑. เด็กพิการ หมายถึง เด็กที่มีข้อจำ�กัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำ�วันหรือเข้าไปมีส่วนร่วม
ทางสังคม เน่ืองจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การส่ือสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม
สตปิ ญั ญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอปุ สรรคในดา้ นตา่ งๆ และมีความต้องการจำ�เป็นพิเศษ
ทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหน่ึงด้านใด เพ่ือสามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำ�วันหรือเข้าไป
มีสว่ นร่วมทางสงั คมได้อย่างบุคคลท่วั ไป
คมู่ ือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรับเดก็ อายตุ า่ํ กว่า ๓ ปี 137
ลักษณะเด็กพิการมีหลากหลายประเภท ซ่ึงหนว่ ยงานของรฐั ได้กำ�หนดและแบง่ ประเภทความพิการไว้
เพื่อสะดวกต่อการช่วยเหลือและจัดการศึกษา ตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่างๆ ท่ีเหมาะสมตามประเภทความพิการ
ของบุคคลน้ันๆ โดยกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นหน่วยงานท่ีมีหน้าท่ีเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำ�หรับบุคคล
ทุกระดบั ไดจ้ �ำ แนกประเภทของความพกิ ารออกเปน็ ๙ ประเภท ดงั น้ี
๑.๑ เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น หมายถึง เด็กที่สูญเสียการเห็นต้ังแต่ระดับเล็กน้อย
จนถงึ ตาบอดสนทิ
๑.๒ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินต้ังแต่ระดับหูตึงน้อย
(มีการสญู เสยี การได้ยินท่คี วามดังของเสยี งตงั้ แต่ระดับ ๔๐ ถงึ ๙๐ เดซิเบล) ถงึ ระดับหูหนวก (มีการสญู เสียการไดย้ ิน
ที่ความดังของเสียงต้ังแต่ ๙๐ เดซิเบล) ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะส่งผลต่อพัฒนาการ
ทางภาษา ซ่งึ จะพบปญั หาทางด้านการพูด กลา่ วคอื พูดได้น้อย พูดไม่ชัด ตอ้ งใช้ภาษาท่าทางหรอื ภาษามอื รวมถงึ
การใช้ภาษาค่อนขา้ งจ�ำ กดั ไมถ่ กู ไวยากรณ์ มีผลสัมฤทธิท์ างการเรยี นตา่ํ และการปรบั ตวั เขา้ กบั สภาพแวดล้อมยาก
๑.๓ เด็กท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง เด็กท่ีมีความจำ�กัดอยา่ งชัดเจนในการปฏิบัติตน
ในการทำ�กิจกรรมในชีวิตประจำ�วัน โดยมีลักษณะเฉพาะคือความสามารถทางสติปัญญาต่ํากว่าเกณฑ์เฉล่ียปกติ
ร่วมกบั ความจำ�กัดของทักษะการปรับตวั อกี อยา่ งน้อย ๒ ทักษะ จาก ๑๐ ทกั ษะ ได้แก่ การส่ือความหมาย การดูแล
ตวั เอง การด�ำ รงชวี ติ ภายในบ้าน ทกั ษะทางสังคม/การมปี ฏิสมั พันธ์กบั ผู้อนื่ การร้จู กั ใช้ทรพั ยากรในชมุ ชน การรู้จกั
ดูแลควบคุมตนเอง การนำ�ความรู้มาใช้ในชีวิตประจำ�วัน การทำ�งาน การใช้เวลาว่าง การรักษาสุขภาพอนามัยและ
ความปลอดภัย ซ่ึงอาการเหลา่ นตี้ อ้ งแสดงกอ่ นอายุ ๑๘ ปี โดยประเภทของความบกพร่องทางสติปัญญาแบ่งไดเ้ ป็น
๔ ประเภท ดังนี้
๑) ความบกพรอ่ งทางด้านสตปิ ญั ญาระดับเลก็ น้อย (เชาวป์ ญั ญา ๕๐ - ๗๐) เป็นความบกพรอ่ ง
ทางสตปิ ญั ญาท่ีเรยี นได้
๒) ความบกพร่องทางด้านสติปัญญาระดับกลาง (เชาว์ปัญญา ๓๕ - ๔๙) เป็นความบกพร่อง
ทางสติปญั ญาท่พี อฝึกได้ มกี ารพฒั นาทางดา้ นภาษาค่อนขา้ งจ�ำ กัด สามารถชว่ ยเหลือตวั เองข้ันพื้นฐานได้
๓) ความบกพรอ่ งทางด้านสตปิ ัญญาระดบั รนุ แรง (เชาวป์ ัญญา ๒๐ - ๓๔) เปน็ ความบกพรอ่ ง
ทางสติปัญญาทีต่ อ้ งได้รบั การฟ้นื ฟสู มรรถภาพทางการแพทย์ และไดร้ บั การดูแลทเี่ หมาะสมร่วมดว้ ย
๔) ความบกพรอ่ งทางดา้ นสตปิ ญั ญาระดบั รนุ แรงมาก (เชาวป์ ญั ญาตา่ํ กวา่ ๒๐) เปน็ ความบกพรอ่ ง
ทางสติปัญญาท่ีมีความจำ�กัดเฉพาะด้าน ต้องได้รับการฟ้ืนฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และได้รับการดูแลอย่าง
ใกล้ชิด มีขอ้ จ�ำ กัดอยา่ งมากทางด้านภาษา การดแู ลตวั เองในระดับพนื้ ฐานทำ�ได้เล็กนอ้ ยหรือท�ำ ไม่ไดเ้ ลย
๑.๔ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคล่ือนไหว หรือสุขภาพ หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะ
ไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเร้ือรังรุนแรง
มีความพิการของระบบประสาท มีความลำ�บากในการเคล่ือนไหวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ ทั้งน้ี
ไมร่ วมคนที่มคี วามบกพรอ่ งทางประสาทสมั ผัส ได้แก่ ตาบอด หูหนวก
138 ค่มู ือหลักสูตรการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ สำ�หรับเด็กอายุต่าํ กว่า ๓ ปี
๑.๕ เด็กท่มี ปี ัญหาทางการเรยี นรู้ หมายถึง เดก็ ทีม่ ีความบกพรอ่ งอยา่ งใดอยา่ งหนึ่ง หรอื หลายอย่าง
ในกระบวนการพ้ืนฐานทางจิตวิทยาท่ีเกี่ยวกับความเข้าใจ หรือการใช้ภาษา ซ่ึงจะมีผลทำ�ให้มีปัญหาในการฟัง
การพูด การคิด การอ่าน การเขียน การสะกด หรือการคิดคำ�นวณ รวมท้ังสภาพความบกพร่องในการรับรู้
สมองได้รบั บาดเจ็บ การปฏบิ ัติงานของสมองสญู เสยี ไป มักพบปญั หาในเดก็ วัยเรียน
๑.๖ เด็กท่ีมีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องในเรื่อง
การออกเสียงพูดท่ีไม่ใช่สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูด
ผิดปกติ หรือคนท่ีมีความบกพร่องในเรื่องของความเข้าใจ และหรือการใช้ภาษาพูด การเขียน และหรือระบบ
สัญลักษณ์อื่นทใี่ ชใ้ นการตดิ ต่อสอ่ื สาร ซ่ึงอาจเก่ยี วกับรปู แบบของภาษา เน้อื หาของภาษา และหนา้ ท่ีของภาษา
๑.๗ เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ หมายถึง เด็กท่ีแสดงพฤติกรรมท่ีเบี่ยงเบนไปจาก
เด็กปกติทั่วไป และพฤติกรรมเบี่ยงเบนนี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่น เป็นผลมาจากความขัดแย้ง
ของเดก็ กบั สภาพแวดลอ้ ม หรือความขัดแยง้ ท่ีเกิดข้ึนในตวั เดก็ ซ่ึงท�ำ ใหไ้ มส่ ามารถเรยี นรู้ ขาดสัมพันธภาพกับเพอื่ น
หรือผู้เก่ียวข้อง มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเม่ือเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน มีความเก็บกดทางอารมณ์
โดยแสดงออกทางร่างกาย ซึ่งบางคนมีความบกพร่องที่เป็นปัญหาอย่างมาก และปัญหาพฤติกรรมน้ันเป็นไป
อย่างต่อเน่ือง ไม่เป็นทย่ี อมรับทางสังคม
๑.๘ เด็กออทิสติก หมายถึง เด็กท่ีมีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา และการส่ือ
ความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ ซ่ึงมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำ�งานของสมองบางส่วนที่ผิดปกติไป
และความผิดปกตนิ ้ันค้นพบได้ก่อนอายุ ๓๐ เดอื น
๑.๙ เด็กพิการซ้ําซ้อน หมายถึง เด็กท่ีมีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหน่ึงประเภท
เช่น เด็กท่มี ีความบกพร่องทางสติปัญญารว่ มกบั ความบกพรอ่ งทางการไดย้ นิ เป็นตน้
๒. เด็กท่ีมีความสามารถพิเศษ หมายถึง เด็กท่ีมีความสามารถทางสติปัญญาและความถนัดเฉพาะทาง
อยู่ระดับสูงกวา่ เด็กอ่นื ในวยั เดยี วกัน คำ�ที่ใช้ในความหมายทมี่ ีอยูห่ ลายค�ำ เชน่ เด็กปัญญาเลศิ เดก็ อัจฉริยะ เดก็ ฉลาด
เด็กมพี รสวรรค์ เป็นต้น
๓. เด็กด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม หมายถึง เด็กที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนและได้รับ
ผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การเมือง กฎหมาย วัฒนธรรม ภัยธรรมชาติและ
ภัยสงคราม รวมถึงเด็กท่ีขาดโอกาสท่ีจะเข้าถึงบริการข้ันพ้ืนฐานของรัฐ ตลอดจนเด็กประสบปัญหาที่ยังไม่มี
องค์กรหลักรับผิดชอบ อันจะส่งผลให้ไม่สามารถดำ�รงชีวิตได้ เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กชาวเล เด็กชนเผ่า เด็กไร้สัญชาติ
เป็นต้น
๔. เด็กถูกละเมิดจากการถูกกระทำ�ทางร่างกาย จิตใจ รวมท้ังการละเมิดทางเพศ เด็กที่ได้รับ
ผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวี หมายถึง เด็กที่ถูกปล่อยปละละเลยหรือถูกทอดทิ้งให้ตกอยู่ในภาวะอันตราย
รวมทั้งถูกทำ�ร้ายทุบตี ทารุณ ถูกทำ�ร้ายร่างกาย ทางจิตใจ หรือถูกล่วงเกินทางเพศจากบุคคลในสังคมแวดล้อม
หรือแม้แต่บุคคลภายนอก นอกจากน้ีปัญหาการกระทำ�ทารุณต่อแรงงานเด็กอาจออกมาในรูปแบบการถูกใช้
แรงงานหนัก เด็กถูกนายจ้างทบุ ตี ทำ�ร้าย และข่มขืน รวมถงึ เด็กทไ่ี ด้รบั ผลกระทบจากการตดิ เชอื้ เอชไอวจี ากพ่อแม่
ทีป่ ว่ ยเปน็ โรคเอดส์
คู่มือหลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เด็กอายุตาํ่ กว่า ๓ ปี 139
๕. เด็กเจ็บป่วยเร้ือรัง หมายถึง เด็กที่มีปัญหาสุขภาพ มีความเจ็บป่วยซึ่งทำ�ให้มีการเบี่ยงเบนการทำ�
หนา้ ทข่ี องร่างกายในระยะที่ยาวนานกว่าระยะเฉยี บพลนั เป็นเวลายาวนานอาจเปน็ เดอื น ปี หรอื ตลอดชวี ิตก็ได้ เชน่
โรคทางเดนิ หายใจ โรคเลอื ด โรคไต โรคทางต่อมไร้ท่อ เปน็ ต้น
๖. เด็กในการจัดการศึกษาโดยครอบครวั (Home School) คอื เดก็ ทีเ่ รยี นรูห้ รอื ได้รับการจดั การศึกษา
ที่บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ โดยผู้ปกครองหรือผู้จัดการศึกษาเป็นผู้จัดการดูแลท้ังหมด ต้ังแต่การจัดสภาพแวดล้อม
ให้เอ้ือตอ่ การจัดประสบการณก์ ารเรยี นรู้ กระบวนการเรยี นรู้ การเลือกกจิ กรรม การจดั ทำ�แผนการจดั ประสบการณ์
และการประเมนิ พัฒนาการ ตามลักษณะการจัดการศึกษาของแต่ละครอบครัว
ดังนั้น เด็กกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเหล่านี้มีสิทธิเท่าเทียมกับเด็กปกติท่ัวไปในการได้รับการช่วยเหลือ
ตั้งแต่แรกเรม่ิ หรือเมอ่ื พบความบกพรอ่ ง เพื่อให้ได้รบั ประโยชนแ์ ละไดร้ บั โอกาสในการพัฒนาการเรยี นรทู้ เี่ หมาะสม
กับลักษณะเฉพาะของเด็ก ส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกท่ีมีคุณภาพของสังคม การให้การช่วยเหลือต้ังแต่ระยะ
แรกเร่ิมท่ีเหมาะสมแก่เด็กเหล่านี้ นอกจากจะเป็นการตอบสนองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ซ่ึงเป็นหน้าท่ีโดยตรง
ของพ่อแม่และผู้เล้ียงดู หากเด็กเหล่าน้ีได้รับความช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มตั้งแต่ในระดับปฐมวัยแล้ว เป็นการช่วย
ป้องกันปัญหาและภาวะแทรกซ้อนท่ีอาจเกิดขึ้นกับเด็กและครอบครัวซ่ึงส่งผลกระทบต่อสังคมได้ ท้ังน้ี รายละเอียด
เกีย่ วกบั แนวทางการช่วยเหลอื ระยะแรกเรม่ิ สำ�หรบั เด็กกล่มุ เปา้ หมายเฉพาะมีความแตกตา่ งกนั ดังนี้
แนวทางในการชว่ ยเหลอื ระยะแรกเรมิ่ ส�ำ หรบั เดก็ กลมุ่ เปา้ หมายเฉพาะ (อายตุ า่ํ กวา่ ๓ ป)ี
ปัจจุบันการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มให้ความสำ�คัญต่อเด็กกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในวัยแรกเกิดถึง ๓ ปี
ทมี่ คี วามบกพรอ่ งทางพฒั นาการและการเรยี นรู้ หรอื มปี จั จยั เสยี่ งตอ่ การมพี ฒั นาการทลี่ า่ ชา้ โดยใหบ้ รกิ ารการชว่ ยเหลอื
ในรปู แบบของการดแู ลเอาใจใสจ่ ากครอบครวั หรอื ผู้เลี้ยงดอู ย่างเหมาะสม รว่ มกับการบำ�บัด การฟื้นฟูของนกั วิชาชีพ
เช่น แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักกายภาพ เป็นต้น เพ่ือสร้างเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ด้านต่างๆ แก่เด็ก
ใหเ้ ต็มทต่ี ามศกั ยภาพ รวมถงึ ป้องกันและแกไ้ ขปัญหาที่อาจเกดิ ขึน้ ตั้งแต่แรกเกดิ หรือพบความผดิ ปกติ มกี ารปรับใช้
ส่ืออปุ กรณ์และทรัพยากรท่ีมอี ยู่ หรอื จัดหาเพม่ิ เตมิ ตามความจ�ำ เปน็ รวมถงึ สร้างเครอื ขา่ ยและประสานความร่วมมอื
ในการทำ�งาน การจัดระบบข้อมูลและแหล่งให้บริการแก่เด็กและผู้เก่ียวข้อง ตลอดจนการช่วยเหลือและสนับสนุน
เด็กและครอบครัวอย่างต่อเน่ือง ดังนั้น ทุกคนพึงต้องตระหนักและระลึกอยู่เสมอว่าเด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก
กลุ่มเป้าหมายเฉพาะหรือไม่ ล้วนมีความต้องการพื้นฐานเหมือนกันทั้งส้ิน น่ันคือ เด็กจำ�เป็นต้องได้รับการพัฒนา
ทุกด้านเป็นองค์รวม และการพัฒนาเด็กนั้นจะต้องอยู่บนพ้ืนฐานของระดับพัฒนาการในปัจจุบันของเด็กเป็นสำ�คัญ
ดงั น้ี
๑. เด็กพิการ การช่วยเหลือระยะแรกเร่ิมสำ�หรับเด็กพิการมีความแตกต่างไปจากเด็กปกติ เนื่องจาก
มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์ พฤติกรรม หรือสติปัญญา ที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป จึงต้องได้รับ
การช่วยเหลือและดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม พ่อแม่
หรือผู้เล้ียงดูควรมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับธรรมชาติของเด็กแต่ละประเภทของความพิการ สามารถจัดทำ�
140 คมู่ ือหลกั สูตรการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรบั เด็กอายตุ ่าํ กว่า ๓ ปี
แผนการชว่ ยเหลอื เฉพาะครอบครวั (IFEP=Individual Family Service Plan) โดยปรบั กจิ กรรมและจดั ประสบการณ์
การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของพัฒนาการ ใช้เทคนิควิธีการท่ีเหมาะสมสำ�หรับเด็กพิการ ใช้ส่ือ
ส่ิงอำ�นวยความสะดวก จัดสภาพแวดล้อม บำ�บัดฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือ และประเมินพัฒนาการด้วยวิธีการ
ท่ีเหมาะสมกับเด็กพิการในแต่ละระดับ แต่ละประเภท และแต่ละบุคคล เพ่ือให้เกิดการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
สงู สุด
นอกจากน้ีพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูควรให้ความรัก ความเข้าใจ เอาใจใส่ และเลี้ยงดูเด็กเหล่านี้อย่างอบอุ่น
เช่นเดียวกับเด็กปกติท่ัวไป สำ�หรับเด็กที่มีความบกพร่องในระดับรุนแรงควรให้เด็กเข้ารับบริการในสถานพยาบาล
เฉพาะทาง ซึง่ มแี พทยแ์ ละนักวิชาชพี ในสาขาต่างๆ รว่ มกบั การดแู ลของพอ่ แมห่ รือผ้เู ล้ียงดอู ยา่ งต่อเนื่อง ส�ำ หรบั เด็ก
ที่มรี ะดับความบกพรอ่ งไม่รนุ แรงมาก พอ่ แมแ่ ละผเู้ ลย้ี งดูสามารถใหก้ ารดูแลและการช่วยเหลอื เด็กด้วยตนเองภายใต้
คำ�แนะนำ�ของแพทย์และนักวิชาชีพ โดยมีหลักการท่ีสำ�คัญคือการเตรียมความพร้อมเด็ก เพ่ือให้เด็กพิการได้รับ
ประโยชน์สูงสุดจากการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มจนสามารถนำ�ไปสู่การพัฒนาเต็มท่ีตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
รวมถึงสามารถชว่ ยเหลอื ตนเองได้และอยรู่ ว่ มกบั ผู้อืน่ อย่างมคี วามสขุ ดังรายละเอยี ดตอ่ ไปนี้
๑.๑ การช่วยเหลือเด็กทมี่ ีความบกพร่องทางการเห็น พอ่ แมห่ รือผู้เลยี้ งดูควรให้เดก็ ได้รบั การเรยี นรู้
ผา่ นประสาทสมั ผัสในสว่ นอ่ืนๆ ท่ยี ังใช้ไดใ้ ห้มากทส่ี ุด เชน่ ด้านการฟัง ดา้ นการสมั ผสั ด้านการดมกลิน่ โดยค�ำ นึงถึง
ความปลอดภัยและเหมาะสมตามวัย ให้เด็กได้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก และอาจใช้เสียงเป็นส่ือนำ�
ในการเรียนรู้ของเด็ก เช่น เรียกชื่อและออกเสียงบอกการกระทำ�เวลาเล่นกับเด็กทุกคร้ัง ตลอดท้ังเปิดโอกาสให้เด็ก
ได้จับ สัมผัสกับส่ิงท่ีเก่ียวข้องในชีวิตประจำ�วัน เช่น ขวดนม ของเล่น เสื้อผ้า เป็นต้น เพ่ือให้เด็กได้พัฒนาการใช้
กล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก ทักษะด้านภาษาท้ังความเข้าใจและการส่ือสาร รวมถึงทักษะการช่วยเหลือตัวเอง
อย่างงา่ ยตามระดับอายุ
๑.๒ การช่วยเหลือเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยิน พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรพิจารณาจาก
ความบกพร่องของการได้ยิน เช่น หากเด็กมีภาวะหูตึง สามารถใส่เคร่ืองช่วยฟังได้ แต่ข้อควรระวังในการใส่
เครอ่ื งช่วยฟังในเดก็ เลก็ จ�ำ เป็นต้องอยใู่ นความดแู ลของพอ่ แม่หรอื ผเู้ ลี้ยงดู ในระยะแรกควรใส่เคร่อื งช่วยฟงั ให้กับเดก็
ในช่วงส้ันๆ ขณะท่ีทำ�กิจกรรมกับเด็ก เช่น กิจกรรมในชีวิตประจำ�วัน หรือกิจกรรมการเล่น หลังจากเด็กคุ้นเคย
กับการใส่เครอ่ื งชว่ ยฟัง พอ่ แม่หรือผู้เลีย้ งดคู วรใหเ้ ดก็ ได้ใสต่ ลอดและต่อเน่ือง รว่ มกับการฝกึ พูดออกเสียงและการใช้
ภาษาท่าทางในการสือ่ สารกับเดก็ เพ่อื เพิม่ ความเขา้ ใจทางภาษาให้มากขน้ึ
๑.๓ การช่วยเหลือเด็กท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา ควรพิจารณาจากระดับความบกพร่อง
ทางสติปัญญา รวมถึงพิจารณาจากความล่าช้าทางพัฒนาการของเด็ก โดยการช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ควรใช้เทคนิค
การช่วยเหลือในลักษณะทำ�ให้ดูหรือช้ีแนะให้เด็กลองทำ� หากทำ�ไม่ได้ให้จับมือทำ�และทำ�ซาํ้ ย้ําทวน เพ่ือให้เด็กได้รับ
ประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นพื้นฐานท่ีเก่ียวข้องกับการใช้ชีวิตประจำ�วันในสภาพการณ์จริง และสามารถนำ�ไปใช้
ในการด�ำ รงชวี ิตไดต้ ามศักยภาพของเด็ก
คู่มือหลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เดก็ อายุตา่ํ กวา่ ๓ ปี 141
๑.๔ การช่วยเหลือเด็กท่ีมีความบกพร่องทางร่างกาย เคลื่อนไหว หรือสุขภาพ พิจารณาจาก
ความบกพร่องทางร่างกาย การเคล่ือนไหว และสุขภาพ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรได้รับคำ�แนะนำ�และคำ�ปรึกษา
จากแพทย์และนักวิชาชีพ เช่น นักกายภาพบำ�บัด เพ่ือให้เด็กได้รับการพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่สำ�หรับใช้ใน
การเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามศักยภาพของเด็ก และมีการพิจารณาปัญหาสุขภาพของเด็กร่วมด้วย
โดยปัญหาการเคล่ือนไหวอาจใช้กายอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือในการเคล่ือนไหว เช่น เครื่องช่วยเดิน และจัด
สภาพแวดลอ้ มให้เหมาะสมตอ่ ปัญหาการเคลอ่ื นไหวของเดก็
๑.๕ การช่วยเหลือเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการพูดและภาษา ควรได้รับความช่วยเหลือในเรื่อง
ของการฝึกการส่ือสารเพื่อบอกความต้องการ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรได้รับคำ�แนะนำ�และการช่วยเหลือจาก
นักวิชาชีพ เช่น นักแก้ไขการพูด หรือครูฝึกพูด โดยพิจารณาจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็ก อาจเริ่มจากการพัฒนา
อวัยวะท่ใี ช้ในการพดู เชน่ นวดลน้ิ นวดปาก การเป่าปาก เพือ่ ใช้เปล่งเสยี ง และควบคมุ จังหวะในการพูด ฝกึ การฟงั
ท�ำ ความเขา้ ใจในคำ�พดู และการสนทนาสัน้ ๆ และการฝกึ การสือ่ สารทางเลอื กอ่นื ๆ เช่น การใช้ภาพส่อื สาร
๑.๖ การช่วยเหลือเด็กท่ีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรให้
ความรกั และการเอาใจใส่ดแู ลเดก็ รวมถงึ เข้าใจพฒั นาการและพืน้ ฐานอารมณข์ องเดก็ จะชว่ ยท�ำ ใหส้ ร้างบรรยากาศ
ในการเล่นและการทำ�กิจกรรมต่างๆ กับเด็กได้อย่างราบร่ืน รวมถึงหากเด็กเกิดปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
ควรได้รับคำ�แนะนำ�และคำ�ปรึกษาจากแพทย์และนักจิตวิทยา เพ่ือสามารถใช้เทคนิคปรับพฤติกรรมท่ีเหมาะสม
กบั เดก็ เพื่อไมใ่ หเ้ กดิ ปัญหาทีร่ ุนแรงได้
๑.๗ การช่วยเหลือเด็กออทิสติก พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรได้รับการช่วยเหลือและคำ�แนะนำ�ในด้าน
การปรับพฤติกรรม และการปรับพื้นฐานการรับรู้ตัวเอง เพ่ือให้เด็กสนใจตัวเองและบุคคลที่ใกล้ชิด เพ่ือมีทักษะ
สังคมในการอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้ง่าย รวมถึงการใช้เทคนิคการสอนท่ีมีความเฉพาะและแบ่งขั้นตอนการสอนให้เด็ก
เกิดการเรียนรู้อย่างง่าย และการจัดสภาพแวดล้อมให้เอ้ือต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ นอกจากน้ีส่งเสริมในเร่ือง
ของพัฒนาการทางด้านความเขา้ ใจภาษาและการสือ่ สาร เพือ่ บอกความตอ้ งการของตวั เองและใชส้ ่อื สารกบั ผูอ้ ่ืนได้
๑.๘ การช่วยเหลือเด็กพิการซ้ําซ้อน พ่อแม่หรือผู้เล้ียงดูควรพิจารณาความบกพร่อง ประเภท
ความพิการ และระดับความรนุ แรง ซง่ึ อาจตอ้ งใชเ้ ทคนิคเฉพาะในการสอนเพอ่ื ให้เดก็ สามารถเรียนรู้ได้ตามศกั ยภาพ
ของเดก็ เพอื่ สามารถช่วยเหลอื ตัวเองในการดำ�รงชีวิตประจำ�วนั หรือเป็นภาระต่อครอบครัวและสงั คมใหน้ ้อยทส่ี ุด
๒. เดก็ ที่มคี วามสามารถพเิ ศษ การชว่ ยเหลอื เดก็ ลักษณะนี้ พ่อแมห่ รอื ผเู้ ลย้ี งดคู วรสงั เกตความสามารถ
พิเศษที่เด็กมีแตกต่างจากเด็กปกติท่ัวไป เด็กจะมีลักษณะท่ีใช้ภาษาท่ีก้าวหน้า เช่น สามารถบอกรายละเอียดของ
สง่ิ ตา่ งๆ ไดช้ ดั เจน บอกเหตุผลตามความคิดของตนเอง เล่าเรือ่ งราวต่างๆ และล�ำ ดับเหตกุ ารณ์ต่างๆ ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี
มีความสนใจและสามารถทำ�สิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยตนเอง ดังน้ัน พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรมีการวางแผนการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กด้วยกิจกรรมท่ีกระตุ้น ท้าทายให้เด็กต่อยอดการเรียนรู้
และพัฒนาการใหเ้ หมาะสม สิ่งท่ีควรต้องระวังคอื เดก็ ประเภทนอ้ี าจขาดทักษะทางสังคม ไม่ร้วู ธิ ีเล่นรว่ มกับเดก็ อ่นื ได้
ดงั นั้น พอ่ แม่หรือผู้เลีย้ งดูเด็กควรจัดประสบการณท์ ี่ส่งเสรมิ พัฒนาการดา้ นอื่นๆ ไปพรอ้ มกนั ดว้ ย
142 คมู่ อื หลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวยั พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สำ�หรบั เด็กอายุตํ่ากวา่ ๓ ปี
๓. เด็กด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม เด็กด้อยโอกาสทุกคนมีสิทธิพื้นฐานในการได้รับ
ความช่วยเหลือและการศึกษาอย่างเสมอภาค รวมถึงได้รับบริการการศึกษาอย่างเหมาะสมและหลากหลายรูปแบบ
โดยคำ�นึงถึงหลักการสิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชน และศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ เน้นการเรียนรู้เพื่อชีวิตท่ีเหมาะสม
โดยบูรณาการท้ังด้านวิชาการ ศีลธรรม จริยธรรม และทักษะการดำ�รงชีวิต เพื่อพัฒนาศักยภาพให้รอดพ้นจาก
สภาพด้อยโอกาส สามารถพึ่งตนเองได้ มีโลกทัศน์และการดำ�รงชีวิตท่ีเห็นคุณค่าของตนเอง อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่าง
มีความสุข พ่อแม่หรือผู้เล้ียงดูควรตระหนักและให้ความสำ�คัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพ่ือเตรียม
ความพร้อมในการเสริมพัฒนาการท่ีเหมาะสมอย่างสมํ่าเสมอ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ ดูแล แก้ไขปัญหาต่างๆ
ของเด็กเฉพาะรายหรือโดยรวม และควรประสานความร่วมมือกับบุคคล หน่วยงาน และเจ้าหน้าท่ีท่ีเก่ียวข้อง
เพอื่ ให้เด็กด้อยโอกาสได้รบั การสนับสนนุ ช่วยเหลือ ตามความตอ้ งการและจำ�เปน็ ได้แก่ ผ้ปู กครอง บคุ คลในชมุ ชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิ
ศนู ยพ์ ิทักษส์ ิทธิเด็ก เป็นตน้
๔. เด็กท่ีถูกละเมิดจากการกระทำ�ท้ังทางร่างกาย จิตใจ รวมทั้งการละเมิดทางเพศ เด็กท่ีได้รับ
ผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวี พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรตระหนักและให้ความสำ�คัญต่อเด็กเพื่อมิให้เด็กถูกละเมิด
จากการกระทำ�ท้ังทางร่างกาย จิตใจ รวมท้ังการละเมิดทางเพศ ดังน้ัน พ่อแม่หรือผู้เล้ียงดูต้องมีสติ อย่าใช้อารมณ์
ในการดูแลเด็ก เพราะเด็กอาจได้รับอันตรายจากบุคคลใกล้ชิดโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ต้ังใจ จึงควรมีการประสานงานกับ
หน่วยงานของภาครัฐหรือเอกชนในการให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการกระทำ�ดังกล่าว และ
ควรให้ความสำ�คัญแก่ส่ิงที่มีผลต่อความรู้สึกของพ่อแม่และของเด็กมากเป็นพิเศษ เช่น เด็กท่ีเจ็บป่วยเร้ือรัง พ่อแม่
หรอื ผเู้ ลยี้ งดมู กั มคี วามหวาดกลวั กงั วลในความเจบ็ ปว่ ยของเดก็ จงึ ควรไดร้ บั ความรเู้ กยี่ วกบั โรคทเ่ี ดก็ เปน็ วธิ กี ารรกั ษา
และบคุ คลทเ่ี ดก็ ตอ้ งเกย่ี วขอ้ งดว้ ย เชน่ หมอและพยาบาล ขณะทเ่ี ดก็ ซงึ่ ถกู พอ่ แมท่ บุ ตจี นตอ้ งไปอยกู่ บั พอ่ แมบ่ ญุ ธรรม
ยอ่ มมคี วามหวาดกลวั ผคู้ นและรสู้ กึ วา่ ตนมชี วี ติ ทดี่ อ้ ยกวา่ เดก็ อน่ื ผเู้ ลย้ี งดจู งึ ควรเอาใจใสใ่ นเหตกุ ารณท์ สี่ ง่ ผลกระทบตอ่
จติ ใจของเดก็ ควรเรียนรเู้ ทคนิควธิ ีในการพูดคุย ปลอบโยน และสรา้ งความมนั่ ใจให้แก่เด็กจากนกั วิชาชีพท่ีเกย่ี วขอ้ ง
๕. เด็กเจ็บป่วยเร้ือรัง เป็นเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ มีความเจ็บป่วยต้องได้รับการดูแลด้านการรักษา
พยาบาลเป็นเวลายาวนาน อาจเป็นเดือน ปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคเลือด โรคไต
โรคทางตอ่ มไร้ทอ่ ซึ่งอาจท�ำ ใหไ้ ม่สามารถเรียนในโรงเรยี นได้อย่างตอ่ เนอ่ื ง รวมถึงมีความวิตกกังวลในความเจ็บป่วย
ของตน จำ�เป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่หรือผู้เล้ียงดูควรมีการติดตามและให้การช่วยเหลือด้านการส่งเสริมพัฒนาการ
ควบคู่ไปกับการรักษา เพื่อให้เด็กป่วยได้มีโอกาสพัฒนาการท่ีเหมาะสมตามศักยภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือจาก
ครอบครัว และบุคลากรทางสาธารณสุขในการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาเด็กเจ็บป่วยให้มีคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้น
รวมถึงใหค้ วามรเู้ กี่ยวกบั โรคที่เด็กเป็นอยู่ วธิ ีในการดูแลตนเองเพื่อใหม้ สี ขุ ภาพท่ีแขง็ แรง
คูม่ อื หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ส�ำ หรบั เด็กอายตุ ่าํ กวา่ ๓ ปี 143