The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปี 2566 โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Phraharuthai Nonthaburi, 2024-05-30 23:37:12

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปี 2566

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปี 2566 โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี

128 การดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ (สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ) 1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย การดำเนินงานตามแผน/มาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครูและบุคลากรในการป้องกันภัยคุกคาม รูปแบบใหม่ การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียน การปกป้องคุ้มครองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครูและบุคลากร 2. การยกระดับคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของผู้เรียน การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาครูในด้านการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) การจัดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) การพัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ของผู้เรียน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และการเสริมสร้างวิถีชีวิตของ ความเป็นพลเมือง ที่ทันสมัย น่าสนใจ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน การส่งเสริมการให้ความรู้และทักษะด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ให้กับผู้เรียน ✓ การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะและผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ 3. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการเพื่อป้องกันเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน การส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการพัฒนาการสมวัยอย่างมีคุณภาพ การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่มเปราะบาง ร่วมทั้งกลุ่ม NEETs ได้รับการศึกษาที่ เหมาะสม ตามความจำเป็นตามศักยภาพ ✓ การจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้ทุกกลุ่มเข้าถึงการศึกษา การเรียนรู้และการฝึกอาชีพ 4. การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครูบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ (หลักเกณฑ์PA) การพัฒนาสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และสมรรถนะที่สอดคล้องกับ วิถีชีวิตแบบ New Normal การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา 5. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ


129 การทำงานแบบบูรณาการ การมีส่วนร่วมกับชุมชน หน่วยงาน องค์กรอื่น ๆ ทั้งในพื้นที่และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง คุณลักษณะของผู้เรียนที่เป็นไปตามผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา ของชาติ พ.ศ. 2561 จากการดำเนินงานของโรงเรียน คุณลักษณะ 3 ด้าน (สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ) 1. ผู้เรียนรู้ (Learner Person) เพื่อสร้างงานและคุณภาพชีวิตที่ดี ✓มีความเพียร ใฝ่เรียนรู้ ✓มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อก้าวทันโลกยุคดิจิทัลและโลกในอนาคต ✓มีสมรรถนะ (competency) ที่เกิดจากความรู้ ความรอบรู้ด้านต่าง ๆ ✓มีสุนทรียะ รักษ์และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย ✓มีทักษะชีวิต 2. ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Co-creator) เพื่อสังคมที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ✓มีทักษะทางปัญญา ✓ทักษะศตวรรษที่ 21 ✓ความฉลาดดิจิทัล (digital intelligence) ✓ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ✓ทักษะข้ามวัฒนธรรม ✓สมรรถนะการบูรณาการข้ามศาสตร์ มีคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ 3. พลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen) เพื่อสันติสุข ✓มีความรักชาติ รักท้องถิ่น ✓รู้ถูกผิด มีจิตสำนึกเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ✓ มีจิตอาสา ✓มีอุดมการณ์และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติ บนหลักประชาธิปไตย ความยุติธรรม ความเท่าเทียม เสมอภาค หน่วยงานภายนอกที่โรงเรียนเข้าร่วมเป็นสมาชิก ✓ สมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน สมาคมสหพันธ์โรงเรียนเอกชนแห่งประเทศไทย ✓ สมาคมครูสถานศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย สมาคมประถมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ ✓ สมาคมสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย


130 ✓ สมาคมครูโรงเรียนเอกชนคาทอลิกแห่งประเทศไทย สมาคมโรงเรียนสอนภาษาจีน สมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย ✓ อื่นๆ สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษาเอกชนนนทบุรี การประเมินคุณภาพภายนอกในรอบของ สมศ. ที่ผ่านมา รอบการประเมิน ระดับผลการประเมิน/ผลการรับรอง ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 3 (พ.ศ. 2554 – 2558) ปีที่ประเมิน พ.ศ. 2557 ระดับผลประเมิน ดีมาก ผลการรับรอง รับรอง ระดับผลประเมิน ดี ผลการรับรอง รับรอง ผลการประเมินปีล่าสุด ปีที่ประเมิน พ.ศ. 2565 มาตรฐานที่ 1 ดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 ดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 ดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 1 ดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 ดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 ดีเยี่ยม


131 ส่วนที่ 4 สรุปผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานของการศึกษา : ระดับปฐมวัย *ใส่ข้อมูลเฉพาะช่องสีขาว เนื่องจากในระบบ E-SAR ดึงข้อมูลและคำนวณอัตโนมัติ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน เป้าหมาย (ร้อยละ) จำนวนเด็ก (คน) *** ผลการประเมิน (ร้อยละ) ผลการ ประเมิน คุณภาพที่ได้ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ที่ กำหนด 1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแล ความปลอดภัยของตนเองได้ 94.00 1.1 ร้อยละของเด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน ✓ 775 1.2 ร้อยละของเด็กเคลื่อนไหวร่างกาย คล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี ใช้มือและตา ประสานสัมพันธ์ได้ดี ✓ 782 1.3 ร้อยละของเด็กดูแลรักษาสุขภาพ อนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ✓ 778 1.4 ร้อยละของเด็กปฏิบัติตนตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย หลีกเลี่ยงสภาวะ ที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด และระวังภัย จากบุคคล สิ่งแวดล้อม และ สถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย ✓ 769 2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทาง อารมณ์ได้ 95.00 2.1 ร้อยละของเด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ ความรู้สึกได้เหมาะสม ✓ 807 2.2 ร้อยละของเด็กรู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ✓ 769 2.3 ร้อยละของเด็กยอมรับและพอใจ ในความสามารถ และผลงานของ ตนเองและผู้อื่น ✓ 785 2.4 ร้อยละของเด็กมีจิตสำนึกและ ค่านิยม ที่ดี ✓ 771 2.5 ร้อยละของเด็กมีความมั่นใจ กล้า พูด กล้าแสดงออก ✓ 781


132 ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน เป้าหมาย (ร้อยละ) จำนวนเด็ก (คน) *** ผลการประเมิน (ร้อยละ) ผลการ ประเมิน คุณภาพที่ได้ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ที่ กำหนด 2.6 ร้อยละของเด็กช่วยเหลือแบ่งปัน ✓ 780 2.7 ร้อยละของเด็กเคารพสิทธิ รู้หน้าที่ รับผิดชอบ อดทนอดกลั้น ✓ 777 2.8 ร้อยละของเด็กซื่อสัตย์สุจริต มี คุณธรรม จริยธรรม ตามที่สถานศึกษา กำหนด ✓ 770 2.9 ร้อยละของเด็กมีความสุขกับ ศิลปะดนตรี และการเคลื่อนไหว ✓ 789 3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็น สมาชิกที่ดีของสังคม 94.00 3.1 ร้อยละของเด็กช่วยเหลือตนเอง ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัย ในตนเอง ✓ 781 3.2 ร้อยละของเด็กประหยัดและ พอเพียง ✓ 763 3.3 ร้อยละของเด็กมีส่วนร่วมดูแล รักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน ✓ 775 3.4 ร้อยละของเด็กมีมารยาทตาม วัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม ทักทาย และ มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ ฯลฯ ✓ 779 3.5 ร้อยละของเด็กยอมรับหรือเคารพ ความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความคิด พฤติกรรม พื้นฐานครอบครัว เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น ✓ 762 3.6 ร้อยละของเด็กเล่นและทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้ แก้ไขข้อขัดแย้งโดย ปราศจาก การใช้ความรุนแรง ✓ 772 4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิด พื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ 92.00 4.1 ร้อยละของเด็กสนทนาโต้ตอบและ เล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ✓ 758 4.2 ร้อยละของเด็กตั้งคำถามในสิ่งที่ ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายาม ค้นหาคำตอบ ✓ 751 4.3 ร้อยละของเด็กอ่านนิทานและเล่า เรื่อง ✓ 761


133 ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน เป้าหมาย (ร้อยละ) จำนวนเด็ก (คน) *** ผลการประเมิน (ร้อยละ) ผลการ ประเมิน คุณภาพที่ได้ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ที่ กำหนด ที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย 4.4 ร้อยละของเด็กมีความสามารถใน การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทาง คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิด แก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่อง ง่าย ๆ ได้ ✓ 751 4.5 ร้อยละของเด็กสร้างสรรค์ผลงาน ตามความคิดและจินตนาการ เช่น งาน ศิลปะ การเคลื่อนไหวท่าทาง การเล่น อิสระ ฯลฯ ✓ 765 4.6 ร้อยละของเด็กใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก กล้องดิจิตอล ฯลฯ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และ แสวงหาความรู้ได้ ✓ 768 การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานของการศึกษา : ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก จุดเน้น เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุขและมีพัฒนาการ 4 ด้านสมวัย โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย โดยมีการประชุมวางแผนร่วมกับคณะครูและบุคลากรทุกฝ่าย มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของเด็กทั้ง 4ด้านอย่างสมดุลและส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยมีกระบวนการพัฒนา จุดเน้นและกระบวนการพัฒนาที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพของมาตรฐานที่ 1 ดังนี้ กระบวนการพัฒนาจุดเน้น โรงเรียนมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของเด็ก 4 ด้านอย่างสมดุลและส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยให้ เด็กร่วมกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ลงมือปฏิบัติในกิจกรรมประจำวัน การสร้างชิ้นงานจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี เคลื่อนไหว กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต ร่วมเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการแนวคิด Happiness Education เข้าในกิจกรรม 6 หลัก การเล่นบทบาทสมมุติในห้องศูนย์การเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัด เล็กในการเล่นเครื่องเล่นสนาม การเล่นน้ำ เล่นทราย กิจกรรมโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี ได้แก่ โครงการ ส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย โครงการสานเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โครงการประเมินและเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก ปฐมวัย โครงการปฐมวัยเรียนรู้โลกกว้าง โครงการปฐมวัย พ.ท.น.เรียนรู้วันสำคัญ โครงการ Sport Day โครงการHeart of God กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรม Day Camp กิจกรรม Little Chef กิจกรรมปลูกเพ(ร)ะรัก กิจกรรมอนุบาลสุขสันต์วัน มหัศจรรย์ของหนู กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้แบบ Project Approach กิจกรรมChild on stage และ กิจกรรมนิทานสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก


134 กระบวนการพัฒนา มาตรฐานที่ 1 1. มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนมีการจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และสะอาดถูกหลักอนามัย มีสารอาหารครบ 5 หมู่ พร้อมจัดให้เด็กได้รับประทานผลไม้ ดื่มนม ดื่มน้ำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เป็นประจำทุกเดือน เพื่อติดตามและแก้ไขให้เป็นไปตามเกณฑ์ของกรมอนามัย จัดให้มีการออกกำลังกายยามเช้าก่อนเข้าห้องเรียนทุกวัน เพื่อให้เด็กเคลื่อนไหวตามเพลงและจังหวะต่างๆ จัดกิจกรรมการเรียนพลศึกษา โครงการ Sport Day เพื่อส่งเสริมทักษะ การเคลื่อนไหวและการทรงตัวที่ดี โครงการส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย ที่ส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้าเนื้อมัดเล็ก ฝึกให้เด็กลากเส้น ขีดเขียน วาดภาพระบายสี ด้วยสีเทียน สีไม้ การปั้นดินน้ำมัน การใช้กรรไกรตัดกระดาษ จัดกิจกรรม เล่นน้ำเล่นทราย และการเล่นเครื่องเล่นสนาม โครงการสานเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ปลูกฝังให้เด็กรู้จักการดูแล สุขภาพอนามัยของตนเองให้เป็นนิสัย กิจกรรมล้างมือ ให้ความรู้เรื่องวิธีการล้างมืออย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอน โดยให้เด็กล้าง มือก่อนรับประทานอาหาร และหลังออกจากห้องน้ำทุกครั้ง จัดหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมที่ถูกวิธี การตรวจสุขภาพประจำวัน ตรวจ มือ เท้า ปาก ฟัน หู จมูก ตา ผม เล็บ เสื้อผ้า การตรวจและ ให้ความรู้ในการรักษาสุขภาพปากและฟัน การแปรงฟันที่ถูกวิธี พร้อมทั้งมีการตรวจสุขภาพประจำปี การเคลือบ ฟลูออไรด์ ภาคเรียนละครั้ง และมีการดำเนินกิจกรรม Big Cleaning Day เพื่อให้ห้องเรียนสะอาดปราศจากโรคภัยต่างๆ เพื่อการป้องกันโรคระบาดในเด็ก ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อRSV โรคโควิด-19 โดยมีการให้ ความรู้และการป้องกันในเบื้องต้น ในเรื่องการรักษาความปลอดภัย มีการบูรณาการในหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับความ เกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น ไม่ปีนป่ายที่สูง ต้นไม้ไม่วิ่งเล่นบนถนน ไม่เล่นของแหลมมีคม การให้ความรู้ในเรื่องโทษ ของสิ่งเสพติด มีการจัดหาอุปกรณ์ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวกพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่ เป็นอันตราย มีกฎกติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย จากการเล่น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การ ระวังภัยจากบุคคล และสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการอุบัติเหตุ รวมทั้งได้มีการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา “Miracle by Triple N”ส่งเสริมพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก อีกด้วย 2. มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ ครูจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีความสุข มีความร่าเริงแจ่มใส แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกได้เหมาะสม มี ความมั่นใจ กล้าพูดกล้าแสดงออก มีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว โดยมีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ผ่านกิจกรรมChild on stage กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมุติ ในห้องศูนย์การเรียนรู้ การให้เด็กดูคลิป ได้ร้อง เพลง ฟังเพลง เต้นเข้าจังหวะตามเพลง รวมถึงจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กได้ทำศิลปะจากการเรียนรู้ เช่น ระบายสี ติดปะ ปั้น ประดิษฐ์ วาดภาพตามจินตนาการ เป็นต้น การฝึกเด็กให้รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ควบคุมและ แสดงออกทางอารมณ์ ผ่านโครงการปฐมวัยเรียนรู้โลกกว้าง โครงการปฐมวัย พ.ท.น.เรียนรู้วันสำคัญ กิจกรรม Day Camp การบูรณาการประสบการณ์ต่างๆตามตารางกิจกรรมประจำวัน เป็นต้น


135 3. มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ครูฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง การเดินเข้าห้องเรียนด้วยตนเอง การ จัดเก็บรองเท้าสิ่งของเครื่องใช้เข้าที่ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยตนเอง การรับประทานอาหารด้วยตนเอง เรียนรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้น้ำ ไฟ อย่างประหยัด การดูแลสิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาด แม่น้ำ คลอง การร่วมดูแลต้นไม้เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการดูแลความสะอาดโต๊ะเรียน ความเป็น ระเบียบในการจัดวางสิ่งของต่างๆ การดูแลรักษาความสะอาดทั้งในและนอกห้องเรียน ผ่านกิจกรรมปลูกวินัยให้ลูกรัก โครงการ Heart of God ที่ประกอบด้วยกิจกรรม Heart of Giving กิจกรรมจิตอาสาปฐมวัย ที่ปลูกฝังให้เด็กรู้จักการ เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน สิ่งของต่างๆ การปฏิบัติจิตอาสา ที่เด็กได้ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ การช่วยพาน้องส่ง ที่ห้องเรียน กิจกรรมหนูน้อยรักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมปลูกเพ(ร)ะรัก กิจกรรม 8H นำชีวิตเพื่อพัฒนาเด็กให้มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ตามจิตตารมณ์พระหฤทัย รัก สุภาพ ซื่อสัตย์ เมตตา เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางรัชกาลที่ 9 โดยบูรณาการเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหน่วยการเรียนรู้ ปลูกฝังให้เด็กใช้สิ่งของอย่างประหยัด เช่น สี ดินสอ ดื่มนม รับประทานอาหารให้หมดไม่เหลือทิ้ง ปลูกฝังให้เด็กมีมารยาทที่ดี งดงามตามแบบไทย มีสัมมาคารวะกับ ผู้ใหญ่ ตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน รัก สุภาพ ซื่อสัตย์ เมตตา และมีการบูรณาการ ในจัดหน่วยการจัดประสบการณ์ เกี่ยวกับมารยาท การมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดีเช่น การพูด การฟัง การนั่ง การเดิน การไหว้สวย การ ไหว้ผู้ใหญ่ การกล่าวขอบคุณ ขอโทษ การพูดมีหางเสียง และได้ปลูกฝังให้เด็กอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างทางเพศ อายุ ศาสนา หรือเชื่อชาติ การยอมรับความแตกต่างจากเพศ หญิง ชาย สอนให้รู้จักการเคารพความแตกต่างของเพื่อน อายุ หรือต่างเชื่อชาติ ต่างศาสนา จัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นและทำงานร่วมกับเพื่อน กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ กิจกรรมเล่นตามมุม กิจกรรมเล่นกลางแจ้ง การทำงานศิลปะด้วยกันเป็นกลุ่ม โดยจัดให้ร่วมกิจกรรมอัตลักษณ์ลูกพระ หฤทัย กิจกรรมสอนลูกปลูกวินัย กิจกรรมหนูน้อยมารยาทงาม และกิจกรรม Beaver Day Camp ปลูกฝังให้เด็กมีความ ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม ไม่เอาสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง มีความสุขกับการมาโรงเรียน รู้หน้าที่รับผิดชอบ มี จิตสำนึกในการปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของโรงเรียน ตรงต่อเวลา และ ส่งเสริมความกตัญญู โดยบูรณาการในหน่วย การเรียนรู้ เกี่ยวกับครอบครัว วันแม่ และเข้าร่วมโครงการปฐมวัย พ.ท.น.เรียนรู้วันสำคัญและกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบัน ชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์ 4. มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ การพัฒนาด้านสติปัญญาของเด็ก โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาด้วยวิธีการที่หลากหลายจากการมีส่วนร่วมของ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดให้เด็กได้เล่าเรื่อง ในการทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งเสริมให้เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ ผู้อื่นเข้าใจได้จากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก ครูกระตุ้นให้เด็กสนทนา โต้ตอบกับครู จัดให้มีมุมหนังสือในห้องเรียน ส่งเสริมให้อ่านนิทานจากมุมหนังสือในห้องเรียน และเล่าเรื่องที่ตนเองอ่าน ได้เหมาะสมกับวัย ให้เด็กเล่าเรื่องหน้าห้องจากที่พบเห็น ให้เด็กอ่านหนังสือนิทาน ดูนิทานแล้วเล่าเรื่องจากภาพ ใน


136 กิจกรรมนิทานสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก กิจกรรมหนูน้อยยอดนักเล่า กิจกรรมรวมพลังรักการอ่าน การส่งเสริมให้เด็กรู้จักตั้ง คำถามในสิ่งที่ตนสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ โดยครูตั้งคำถามให้เด็กได้โต้ตอบกับครูในการร่วมกิจกรรมเสริม ประสบการณ์จากการเรียนในห้องเรียน นอกห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่าน การเล่น เข้าร่วมกิจกรรมสนุกกับภาษาจีน กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ การอ่าน การเขียน ในโครงการส่งเสริมศักยภาพเด็ก ปฐมวัย กิจกรรม English For Fun การเรียนรู้แบบ Project Approach โครงการส่งเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็ก เกิดทักษะด้านคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับ จำนวน ตัวเลข ขนาด รูปร่าง รูปทรงต่างๆ ฝึกให้ใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ใน การแสวงหาความรู้การฝึกหาความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนออการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ได้ เหมาะสมกับวัย เช่น การเปรียบเทียบ การเรียนรู้จำนวน ตัวเลข เงิน เวลา การวัด ตวง เรียนรู้รูปทรงต่างๆ เรียนรู้เรื่อง มิติสัมพันธ์ เป็นต้น เด็กสามารถบอกคุณลักษณะคุณสมบัติของสิ่งของได้ เช่น นิ่ม แข็ง ขรุขระ หนา บาง เย็น ร้อน ความ เหมือนความแตกต่างเช่น รูปทรง สี รูปภาพ จำแนกประเภทจัดหมวดหมู่ เช่น สิ่งของ เครื่องใช้ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และบอกความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องคล่องแคล่วและชัดเจน กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ เด็กได้เรียนรู้การทดลองวิทยาศาสตร์ โดยผ่านกิจกรรมการทดลองที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมการทดลองการวิทยาศาสตร์ ตามหน่วย โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการ สังเกตสงสัย การซักถาม การตั้งคำถาม คาดคะเนคำตอบ การตั้งสมมติฐาน ออกแบบวิธีการหาความรู้ลงมือทำด้วยตนเอง โดยร่วมกันทำเป็นกลุ่มบันทึกการเรียนรู้นำ เสนอข้อมูลการเรียนรู้ที่ได้ด้วยตนเอง จัดหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต สำรวจ สืบค้น และสรุปข้อมูลจากการทดลอง เด็กได้ใช้แว่นขยาย ในการส่องดูพืช แมลงต่างๆ ใช้กล้อง จากมือถือของครูถ่ายรูป ดอกไม้ ต้นไม้ แมลง แมง และเด็กได้ใช้อุปกรณ์ในการทดลอง ถ้วยตวง แก้ว และเทียน ครูฝึก ให้เด็กสามารถคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ ได้ จากการเล่น การทำกิจกรรมกลุ่ม และเป็นรายบุคคล เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มีความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนรู้ การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การส่งเสริมให้เด็กสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีรายละเอียดมีความแปลกใหม่และหลากหลายเหมาะสมกับวัย ผ่านค่ายศิลปะสร้างสรรค์ โดยให้วาดภาพระบายสีตามจินตนาการ เคลื่อนไหวร่างกายตามเพลง การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ จัดให้เด็กได้ทำงานศิลปะที่หลากหลายตามจินตนาการ เช่น ปั้นดินน้ำมัน และวาดภาพ ระบายสี จัดกิจกรรมเล่นตามมุม เด็ก เล่นต่อบล็อก เล่นบทบาทสมมุติการเข้าเรียนที่ห้องศูนย์การเรียนรู้ทำให้มีทักษะการคิดพื้นฐาน การออกแบบผลงานตาม ความคิด จินตนาการ และแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย รวมทั้งได้มีการสร้างงานนวัตกรรมการศึกษา ชุดกิจกรรม Brian Box ปลูกมิติสัมพันธ์ซ้าย-ขวา ลูกปฐมวัย และนวัตกรรมการศึกษา “Page เอ้ก อี เอ้ก เอ้ก” ส่งเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์ อีกด้วย จากการที่โรงเรียนได้มีกระบวนการพัฒนาคุณภาพของเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลายจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้มีพัฒนาการด้าน อารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองเป็นสมาชิกที่ดี ของสังคมได้มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ ส่งผลให้โรงเรียนมีผลการ ประเมินคุณภาพมาตรฐานที่ 1 อยู่ในระดับยอดเยี่ยม


137 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน *** ผลสำเร็จ (ข้อ) ผลการประเมิน ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ คุณภาพที่ได้ 1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้งสี่ด้าน สอดคล้องกับบริบทของ ท้องถิ่น 1.1 มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย ✓ 1.2 ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมและไม่เร่งรัด วิชาการ ✓ 1.3 ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่น และ การลงมือปฏิบัติ (Active learning) ✓ 1.4 ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่ตอบสนองความต้องการและ ความแตกต่างของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่สอดคล้องกับ วิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ✓ 1.5 มีการประเมิน ตรวจสอบ และปรับปรุง / พัฒนาหลักสูตรอย่าง ต่อเนื่อง ✓ 2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน 2.1 จัดครูครบชั้นเรียน ✓ 2.2 จัดครูให้มีความเหมาะสมกับภารกิจการจัดประสบการณ์ ✓ 2.3 จัดครูไม่จบการศึกษาปฐมวัยแต่ผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัย ✓ 2.4 จัดครูจบการศึกษาปฐมวัย ✓ 2.5 จัดครูจบการศึกษาปฐมวัยและผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัย ✓ 3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ 3.1 มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการ วิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา ✓ 3.2 ส่งเสริมครูให้มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมิน พัฒนาการเด็ก ✓ 3.3 ส่งเสริมครูใช้ประสบการณ์สำคัญในการออกแบบการจัดกิจกรรม จัดกิจกรรม สังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล ✓ 3.4 ส่งเสริมให้ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและครอบครัว ✓ 3.5 ส่งเสริมให้ครูพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุมชนแห่งการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ✓ 4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัย และเพียงพอ 4.1 จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย ✓ 4.2 จัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย ✓ 4.3 ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นรายบุคคลและกลุ่ม เล่นแบบ ร่วมมือร่วมใจ ✓ 4.4 จัดให้มีมุมประสบการณ์หลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ ที่ปลอดภัย และเพียงพอ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน สื่อจากธรรมชาติ สื่อ สำหรับเด็กมุดลอด ปีนป่าย สื่อเทคโนโลยีการสืบเสาะหาความรู้ ✓ 4.5 จัดห้องประกอบที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ✓


138 ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน *** ผลสำเร็จ (ข้อ) ผลการประเมิน ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ คุณภาพที่ได้ 5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อ สนับสนุนการจัดประสบการณ์ 5.1 อำนวยความสะดวกและให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ อุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ ✓ 5.2 พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการผลิตและใช้สื่อในการ จัดประสบการณ์ ✓ 5.3 มีการนิเทศติดตามการใช้สื่อในการจัดประสบการณ์ ✓ 5.4 มีการนำผลการนิเทศติดตามการใช้สื่อมาใช้เป็นข้อมูลในการ พัฒนา ✓ 5.5 ส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่การพัฒนาสื่อ และนวัตกรรมเพื่อ การจัดประสบการณ์ ✓ 6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมี ส่วนร่วม 6.1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับ มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ของสถานศึกษา ✓ 6.2 จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาที่สอดรับกับมาตรฐานที่สถานศึกษา กำหนดและดำเนินการตามแผน ✓ 6.3 มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ✓ 6.4 มีการติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผล การประเมินตนเองประจำปี และรายงานผลการประเมินตนเอง ให้หน่วยงานต้นสังกัด ✓ 6.5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ✓ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ จุดเน้น การบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้หลักธรรมาภิบาล กระบวนการพัฒนาจุดเน้น โรงเรียนให้ความสำคัญในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ภายใต้ วงจรคุณภาพ PDCA ด้วยการบริหารที่เป็นระบบ มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน มีการ กระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีการจัดประชุมระดมความคิดเห็น วางแผน กำหนดเป้าหมาย ในการจัดการศึกษา และมีกระบวนการที่ช่วยขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินงานของโรงเรียน มีนวัตกรรมการบริหาร โดยใช้รูปแบบการบริหาร HEARTS M0del มาเป็นกรอบในการบริหารจัดการให้แนวคิด Happiness Education บรรลุตามเป้าหมาย มีการดำเนินการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผลที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ ฝ่ายปฐมวัยสามารถดำเนินการจัดการศึกษาบรรลุวัตุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้


139 กระบวนการพัฒนาที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพของมาตรฐานที่ 2 1. มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้งสี่ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น โรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และแนวคิด Happiness Education โดยมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่าง ชัดเจน ซึ่งหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยเป็นรูปแบบเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้และได้สร้างวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการศึกษา ชื่อ Happiness Education for Early childhood by Oasis Model ที่เป็นรูปแบบการจัด การศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรีที่บูรณาการเป้าหมายสำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ พัฒนาการของเด็ก กิจกรรมหลักประจำวันที่จัดให้กับเด็ก และ สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร โดยการบูรณาการความสุข เข้าไปในทุกนาทีที่เด็กอยู่โรงเรียนจากบุคลากรทุกฝ่ายประดุจน้ำซึมเข้าไปในโอเอซิสและทำให้ดอกไม้ทุกดอกที่ปักลงบน โอเอซิสได้รับความชุ่มน้ำและมีชีวิตชีวา เปรียบเสมือนเด็กได้เรียนรู้บนความสุขส่งผลให้เด็กเกิดพฤติกรรมความสุขและ การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และได้มีการประเมิน ตรวจสอบ ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง 2. จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน โรงเรียนได้มีการแต่งตั้ง จัดบุคลากรในระดับปฐมวัย โดยการจัดครูที่มีวุฒิการศึกษาปฐมวัยทำหน้าที่ในการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก มีพี่เลี้ยงที่ช่วยครูในการดูแลเด็กในการปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสม โดยครูมี ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่และผ่านการอบรมด้านการศึกษาปฐมวัย มีบุคลิกภาพที่ดี มีความรักในวิชาชีพครู รักเด็ก มีเมตตา และยึดมั่นในอุดมการณ์การเป็นครู ในแต่ละห้องเรียนมีครูผู้สอนห้องละ 1 คน พี่เลี้ยงเด็กห้องละ 1 คน และมีครู ที่จบวุฒิการศึกษาปฐมวัยจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ส่วนครูที่ไม่ได้จบด้านปฐมวัยแต่ผ่านการอบรมการศึกษา ปฐมวัยและประสบการณ์ด้านการสอนจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 25.00 ซึ่งครูและพี่เลี้ยงเด็กได้รับการอบรมพัฒนา ร่วมกันในการปฏิบัติหน้าที่ และเตรียมความพร้อมรวมถึงการใช้หลักจิตวิทยาในการอยู่ร่วมกับเด็กอย่างมีคุณภาพ โดย เน้นให้ครูมีการบริหารชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง และมีการอบรมพัฒนา ตนเองในระบบของโรงเรียน และผ่านการอบรมออนไลน์ไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา 3. ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โรงเรียนได้มีการส่งเสริมให้ครูปฐมวัยทุกคนได้รับการพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานต้น สังกัดและหน่วยงานต่างๆที่จัดขึ้น เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบ หลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ผ่านการจัดทำแผนการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่บูรณาการแนวคิด Happiness Education ที่ได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนกสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ และการจัดโครงการ กิจกรรม ประจำวัน การทดลอง การศึกษานอกสถานที่ ที่เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น การลงมือปฏิบัติ อย่างมีความสุขผ่านประสาท สัมผัสทั้ง 5 โดยคำนึงถึงวัย พัฒนาการ และความแตกต่างของเด็กแต่ละคนและมีการส่งเสริมพัฒนาครูระดับปฐมวัยด้วย การประชุม อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประเมินพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง มีแบบบันทึกการประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้านอย่างเป็นระบบ มีเครื่องมือและรูปแบบในการประเมินที่สามารถสรุปผลการพัฒนาตามสภาพจริงทั้งแบบรายบุคคล


140 และโดยรวม พร้อมนำผลการประเมินให้ผู้ปกครองร่วมพิจารณาเพื่อนำมาพัฒนาเด็กตามความสามารถของเด็กแต่ละคน และยังมีการบูรณาการสอนกับการประเมินเน้นความก้าวหน้าของเด็ก โดยการสังเกตบันทึกพฤติกรรมการสนทนากับเด็ก การวิเคราะห์จัดทำข้อมูลเด็ก ครูผู้สอนออกแบบการจัดกิจกรรมประเมินพัฒนาการผู้เรียนรายบุคคล และส่งเสริมให้ครูมี ปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก และครอบครัว อย่างสม่ำเสมอ 4. การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน มีความสะอาด สวยงาม และมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ มีความปลอดภัย และมีความมั่นคงเป็นสัดส่วนเฉพาะเด็กระดับปฐมวัย มีอาณาเขตบริเวณที่เด็กอยู่แยกเฉพาะอาคารเด็ก ปฐมวัย โดยภายในอาคารเรียนจัดสภาพห้องเรียนสะอาด ในห้องเรียนมีห้องน้ำ จุดที่แปรงฟัน ล้างมือ และสภาพ ห้องเรียนแต่ละห้องสะอาด ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี แสงสว่างเพียงพอ ทุกห้องเรียนเป็นระเบียบเรียบร้อย และ ภายในอาคารยังมีห้องปฏิบัติการ ห้องศูนย์การเรียนรู้ ห้องโถงอเนกประสงค์ใช้ในการทำกิจกรรม หรือจัดงานพิธีการ เฉพาะเด็กปฐมวัย มีห้องประกอบการต่างๆ ที่เอื้อต่อเด็กอยู่ภายในตัวอาคารภายนอกอาคารได้จากสภาพแวดล้อมร่มรื่น สวยงาม มีสวนสนุก สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสนาม ศาลาที่พัก จุดที่เด็กสามารถปีนป่าย มุดลอดได้ ด้านหลังอาคารมี สถานที่ปลูกต้นไม้ มีสถานที่เล่นน้ำ เล่นทราย มีต้นไม้ สวนหย่อม สื่อธรรมชาติ และสถานที่ที่รับส่งเด็กกับผู้ปกครองการ ดูแลเรื่องความสะอาด และความปลอดภัยของเด็ก โรงเรียนจัดระบบการรับส่งเด็กโดยมีการสำรวจผู้ที่จะมารับส่งการ เดินทางมาโรงเรียนของเด็ก เพื่อความปลอดภัยป้องกันการล่อลวง หรือลักพา ความปลอดภัยด้านระบบไฟฟ้าจะมีการ ดูแลให้สูง และมีป้าย มีฝาปิด ป้องกันเด็กเล่น เครื่องเล่นของใช้อุปกรณ์ที่เด็กจับถือเล่นร่วมกันจะมีการล้างทำความ สะอาดใหม่ทุกวัน ความปลอดภัยทางเข้าออกโรงเรียนจะมีเวลาในการเปิดปิดประตู ป้องกันเด็กออกจากโรงเรียน หรือ บุคคลภายนอกเข้ามาในโรงเรียนด้านความปลอดภัยในการดูแลเด็ก จะมีครูเวรรักษาการณ์ประจำตามจุดต่างๆ เพื่อตรวจ ตราและอำนวยความสะดวก 5. การให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์โรงเรียนได้มีการจัดบริการการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวัสดุอุปกรณ์มี เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน จัดเป็นห้องเรียนให้นักเรียนเรียนรู้ และจัดสำหรับบริการครูใน การศึกษา ค้นคว้า มีเครื่องคอมประจำสำนักงาน มีการติดตั้งระบบ wifi เพื่อบริการให้ครูได้ใช้สื่อประเภทภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว YouTube และระบบการใช้สื่อ ในห้องเรียนทุกห้องมีจอโทรทัศน์สำหรับใช้ในการนำเสนอสื่อ การบริหาร ด้านการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ทุกระดับชั้นที่ครูผลิตให้สอดคล้องตามสาระการเรียน ซึ่งส่งผลให้ครูผู้สอนได้รับความสะดวก และรวดเร็วในการใช้เทคโนโลยี และมีการนิเทศติดตามการใช้สื่อในการจัดประสบการณ์โดยผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าระดับชั้นร่วมนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร นิเทศภาคเรียนและ 1 ครั้ง พร้อมกับนำผลการนิเทศมาปรับปรุง แก้ไข พัฒนาการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก โรงเรียนได้สนับสนุนในการพัฒนาสื่อและนวัตกรรม โดยการเข้าร่วมกิจกรรมการ ผลิตนวัตกรรมร่วมกับโรงเรียนในเครือคณะพระหฤทัย โดยส่งนวัตกรรมเข้าประกวดและเผยแพร่ได้แก่นวัตกรรมด้าน ครูผู้สอน คือ นวัตกรรมด้านการศึกษา “Page เอ้ก อี เอ้ก เอ้ก” ส่งเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์ , ชุดกิจกรรม Brian Box ปลูกมิติสัมพันธ์ซ้าย-ขวา ลูกปฐมวัย ส่งเสริมทักษะด้านมิติสัมพันธ์ และชุดกิจกรรม “Miracle by Triple N” ส่งเสริม พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กเป็นต้น


141 6. มีระบบบริหารคุณภาพ เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โรงเรียนพัฒนาด้านการบริหารคุณภาพ โดยกำหนดแนวทางในการพัฒนาตามจิตตารมณ์พระหฤทัยฯโดยมีการ วางแผนทิศทางการพัฒนา และการกำหนดนโยบายสอดคล้องตามมาตรฐาน และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา มุ่งพัฒนา ด้านภาษาและเทคโนโลยี มีแผนปฏิบัติงานประจำปีโครงการ และกิจกรรมตามกลยุทธ์และนอกจากนี้ยังมีการดำเนินการ ในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และดำเนินการตามแผนมีระบบ การตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา และระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามระเบียบและ กฎกระทรวง 2561 ตามลำดับขั้นตอนการกำหนดมาตรฐานกำหนดค่าเป้าหมายการจัดทำแผนพัฒนาแผนปฏิบัติการและ นิเทศกำกับติดตามประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติงานและกำกับติดตามตรวจสอบประเมินผล และรายงานผลการ ประเมินตนเองประจำปีการศึกษาว่าเสร็จสิ้นแต่ละปีการศึกษา ให้นำผลมาปรับปรุงพัฒนาและทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการ พัฒนางานแต่ละฝ่ายอย่างเป็นระบบและมีบุคลากรรับผิดชอบดำเนินการในการปฏิบัติงานกำกับติดตามรายงานผลการ ทำงานตามระบบส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการและสร้างเสริมให้เกิดประสิทธิภาพ การประเมินผล ระบบการบริหารจัดการโดยการติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพในการดำเนินการและนำผลการประเมินมา ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาและแก้ไขปัญหาแต่ละด้านส่งผลให้ระบบการบริหารจัดการเกิดประสิทธิภาพ


142 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน เป้าหมาย (ร้อยละ) จำนวนครู (คน) *** ผลการประเมิน (ร้อยละ) ผลการ ประเมิน คุณภาพที่ได้ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด 1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมี พัฒนาการทุกด้าน อย่างสมดุลเต็ม ศักยภาพ 90.00 1.1 มีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล ✓ 37 1.2 จัดทำแผนและใช้แผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา ✓ 40 1.3 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบ ทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดย ไม่มุ่งเน้น การพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ✓ 40 2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข 92.00 2.1 จัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับ ประสบการณ์เดิม ✓ 37 2.2 ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่าง อิสระ ตามความต้องการความสนใจ ความสามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของ เด็กเป็นรายบุคคล หลากหลายรูปแบบจาก แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ✓ 38 2.3 เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ลงมือ กระทำ และ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ✓ 38 3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย 92.00 3.1 จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมใน ห้องเรียนได้สะอาด ปลอดภัย และอากาศถ่ายเท สะดวก ✓ 40 3.2 จัดให้มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับ มุมประสบการณ์และการจัดกิจกรรม ✓ 40 3.3 จัดให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดภาพแวดล้อม ในห้องเรียน เช่น ป้ายนิเทศ การดูแลต้นไม้ เป็นต้น ✓ 35 3.4 ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็ก เช่น กล้องดิจิตอล คอมพิวเตอร์ สำหรับการเรียนรู้ กลุ่มย่อย สื่อของเล่นที่กระตุ้นให้คิดและหา คำตอบ เป็นต้น ✓ 37


143 ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน เป้าหมาย (ร้อยละ) จำนวนครู (คน) *** ผลการประเมิน (ร้อยละ) ผลการ ประเมิน คุณภาพที่ได้ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด 4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไป ปรับปรุงการจัดประสบการณ์และ พัฒนาเด็ก 87.00 4.1 ประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและ กิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่ หลากหลาย ✓ 38 4.2 วิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการเด็ก โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ✓ 37 4.3 นำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพ เด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ✓ 36 4.4 นำผลการประเมินแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ✓ 35 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จุดเน้น ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข กระบวนการพัฒนาจุดเน้น โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กให้สอดคล้องกับแนวคิด Happiness Education โดยมีการบริหาร จัดการให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด และการปฏิบัติจริงที่เด็กได้เรียนรู้ปนการเล่น ซึ่งเป็นกิจกรรม ที่ครูออกแบบให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ในแผนการจัดประสบการณ์ บูรณาการแนวคิด Happiness Education ที่ เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรม และเล่นตามความถนัด และปลอดภัย ทำให้เด็กมีความสุขสนุกสนานในกระบวนการเล่น ปนเรียน และมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน ผ่านกิจกรรมเรียนรู้แบบ Project Approach กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โครงการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ โครงการส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย กิจกรรมภาษาพา สนุก กิจกรรมอนุบาลสุขสันต์วันมหัศจรรย์ของหนู กิจกรรมนิทานสร้างเสริมพัฒนาการ กิจกรรม Little Chef กิจกรรม English for fun Camp ที่เด็กได้สร้างชิ้นงาน เรียนรู้ร่วมกับเพื่อน การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงผ่านหนังสือนิทาน เชื่อมโยงเทคโนโลยี สื่อ และอุปกรณ์อย่างหลากหลาย ภายใต้บรรยากาศของความรักที่อบอุ่นมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก เพื่อ สร้างแรงจูงใจเด็กให้รักการเรียนรู้ และเรียนรู้อย่างมีความสุขส่งผลให้การจัดประสบการณ์ของครูทันสมัยสอดคล้องกับ รูปแบบการเรียนรู้ของเด็ก และเป้าหมายของโรงเรียน


144 กระบวนการพัฒนามาตรฐานที่ 3 1. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน อย่างสมดุลเต็มศักยภาพ โรงเรียนมีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย มีโครงการพัฒนาบุคลากร โครงการพัฒนาการจัด การศึกษาตามมาตรฐานระดับปฐมวัย กิจกรรมนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้บูรณาการแนวคิด Happiness Education เพื่อให้เด็กเกิดพฤติกรรมความสุขใน 6 ด้าน ที่มีการจัดทำแผนการ จัดประสบการณ์ตามอายุของเด็กแต่ระดับชั้น ที่มาจากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตร สถานศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 จัดทำหน่วยการจัดประสบการณ์ครบถ้วน 4 สาระการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 จัดเรียนรู้ ในรูปแบบ Project Approach จำนวน 4 เรื่องที่ครอบคลุมทั้ง 4 สาระ โดย มีการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล และนำ ข้อมูลมาพัฒนาเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาอย่างสมดุล เต็ม ศักยภาพ ที่เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรมเรียนรู้ การเล่นและสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเองอย่างมีความสุข 2. สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็กที่เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประการณ์ตรง ผ่านการเล่น อย่างมีเป้าหมายที่ได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติในกิจกรรมเสริมประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์ การเล่นเสรี การเล่นน้ำ เล่นทราย การเข้าร่วมโครงการส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย กิจกรรมค่าย Day camp กิจกรรมอนุบาลสุขสันต์ วัน มหัศจรรย์ของหนู โครงการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ที่เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ ตามความสามารถ โดยครูจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ ลงมือกระทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจาก แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การทำการทดลองวิทยาศาสตร์ กิจกรรม Cooking การทำศิลปะ วาดภาพระบายสี ติด ปะ การเลือกเล่นตามมุม การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ได้เลือกเล่น ได้ เรียนรู้ลงมือกระทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองส่งผลให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงพร้อมทั้งเกิดการเรียนรู้อย่างมี ความสุข 3. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ในการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนมีการจัดห้องเรียนสะอาด สวยงาม อากาศถ่ายเทสะดวก ปลอดภัย น่าอยู่ มีการสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นคล้ายกับบ้าน มีความปลอดภัย มีสีสันสดใสเหมาะสมกับวัยของเด็ก มี การตกแต่งบรรยากาศของห้องเรียนโดยจัดป้ายนิเทศให้ความรู้ การนำภาพผลงานการวาดภาพ ระบายสี การทำศิลปะ สร้างสรรค์ มาตกแต่งมุมต่างๆในห้องเรียนทำให้มีบรรยากาศที่น่าสนใจและเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งโรงเรียนยังมี สวนสนุกพระหฤทัยที่เด็กได้ใช้เป็นพื้นที่ในการเรียนและเล่นนอกห้องเรียนที่มีเครื่องเล่นหลากหลาย สวยงาม ปลอดภัย และร่มรื่น มีสวนหย่อม ที่นั่งพักผ่อน มีแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติให้เด็กได้เรียนรู้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มตามศักยภาพ พร้อมทั้งครูมีการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีสื่อเทคโนโลยีที่หมาะสมกับวัยที่เด็กได้ใช้ในการเรียนรู้อย่างมีความสุข


145 4.ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และ พัฒนาเด็ก ครูมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง โดยอิงพัฒนาการเด็ก โดยครูทุกคน ประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติในการทำกิจกรรมต่างๆ กิจวัตรประจำวัน และในสถานการณ์ ที่กำหนดขึ้น เพื่อประเมินพัฒนาการของเด็กด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง ไม่ใช้แบบทดสอบ ด้วย การสังเกต สัมภาษณ์สนทนา พูดคุยซักถาม ตรวจสอบผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ที่ครอบคลุม พัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยใช้แบบประเมิน พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และมีการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อนำผลการประเมินที่ได้ ไปพัฒนาและปรับปรุง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน ทำให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้งองค์รวมและเต็มตาม ศักยภาพของเด็กแต่ละคน


146 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน เป้าหมาย (ร้อยละ) จำนวนผู้เรียน (คน) *** ผลการ ประเมิน (ร้อยละ) ผลการ ประเมิน คุณภาพที่ได้ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1 มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ 92.20 1.1 ร้อยละของผู้เรียนมีทักษะในการอ่านใน แต่ละระดับชั้นตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา กำหนด 3,100 1.2 ร้อยละของผู้เรียนมีทักษะในการเขียนใน แต่ละระดับชั้นตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา กำหนด 3,009 1.3 ร้อยละของผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร ในแต่ละระดับชั้นตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา กำหนด 3,100 1.4 ร้อยละของผู้เรียนมีทักษะในการคิด คำนวณในแต่ละดับชั้นตามเกณฑ์ที่ สถานศึกษากำหนด 3,095 2 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่าง มีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นและแก้ปัญหา 90.80 2.1 ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถในการ คิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง อย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการ ตัดสินใจ 2,988 2.2 ร้อยละของผู้เรียนมีการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3,002 2.3 ร้อยละของผู้เรียนมีการแก้ปัญหาอย่างมี เหตุผล 3,037 3 มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 91.31 3.1 ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถในการ รวบรวมความรู้ได้ทั้งตัวเองและการทำงาน เป็นทีม 3,040 3.2 ร้อยละของผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการ 3,020


147 ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน เป้าหมาย (ร้อยละ) จำนวนผู้เรียน (คน) *** ผลการ ประเมิน (ร้อยละ) ผลการ ประเมิน คุณภาพที่ได้ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด โครงการ โครงงาน ชิ้นงาน ผลผลิต 4 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร 91.70 4.1 ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3,100 4.2 ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถในการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนา ตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้การสื่อสาร การ ทำงานอย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม 2,980 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร สถานศึกษา 100 5.1 ร้อยละของผู้เรียนบรรลุการเรียนรู้ตามหลักสูตร สถานศึกษา 3,237 6 มีความรู้ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องาน อาชีพ 93.60 6.1 ร้อยละของผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและ เจตคติที่ดีในการศึกษาต่อ 3,100 6.2 ร้อยละของผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและ เจตคติที่ดีในการจัดการ การทำงานหรืองานอาชีพ 3,020 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่ สถานศึกษากำหนด 93.50 1.1 ร้อยละของผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา 3,100 1.2 ร้อยละของผู้เรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่ สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและ วัฒนธรรมอันดีของสังคม 3,070 2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 93.10 2.1 ร้อยละของผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็น คุณค่าของความเป็นไทย 3,050 2.2 ร้อยละของผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ วัฒนธรรมและประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย 3,040 3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง และหลากหลาย 93.81 - ร้อยละของผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความ แตกต่างระหว่างบุคคลในด้านเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี 3,090 4 สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม 95.90


148 ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน เป้าหมาย (ร้อยละ) จำนวนผู้เรียน (คน) *** ผลการ ประเมิน (ร้อยละ) ผลการ ประเมิน คุณภาพที่ได้ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด 4.1 ร้อยละของผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์และสังคม และแสดงออกอย่าง เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย 3,127 4.2 ร้อยละของผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่าง มีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น 3,140 โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี ได้พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามกระบวนการในการสร้างและพัฒนาคุณภาพ ตาม ระบบการประกันคุณภาพตามกฎกระทรวง 2561 และได้จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2565 - 2569 ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ ในการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนา โดยกำหนด โครงการ/กิจกรรม ตามเป้าหมาย โดยคำนึงถึงผลการพัฒนา และคุณภาพตามมาตรฐาน คุณภาพการศึกษา และนอกจากนี้ การพัฒนายังยึด ตามกระบวนการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) โดยมีระบบการพัฒนา องค์ รวมและรูปแบบการบูรณาการทั้งด้านทักษะ ความรู้ คุณธรรม-จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะของ ผู้เรียน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการปฏิบัติ เพื่อบรรลุตามหลักสูตร และยังได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน ประจำปี การศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา สร้างเสริมศักยภาพนักเรียน ดังนั้นในปีการศึกษา 2566 โรงเรียนได้ พัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาดังต่อไปนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน จุดเน้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร และพัฒนาด้านคุณธรรม-จริยธรรม กระบวนการในการพัฒนาตามจุดเน้น โรงเรียนพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตร โดยมีการพัฒนา ด้านการเรียนรู้ ให้นักเรียน ผ่านการเรียนรู้ที่จะสร้างองค์ความรู้ กระบวนการปฏิบัติในรูปแบบการเรียน Active learning และใช้กระบวนการคิด การแก้ปัญหา และการศึกษาค้นคว้าหาความรู้อย่างสร้างสรรค์ และมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผ่านโครงการ วัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการวัดผลสัมฤทธิ์ที่หลากหลาย เพื่อพัฒนา และช่วยเหลือนักเรียนที่มีพัฒนาการช้า นอกจากนี้ ยังได้จัดทำ โครงการส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ โดยการส่งเสริม ความรู้ความสามารถ ของนักเรียนแต่ละ ระดับชั้นนักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ด้านใดจะได้รับการพัฒนาเติมเต็มศักยภาพให้นักเรียนได้มีโอกาสในการ แข่งขัน ทำแบบทดสอบทำกิจกรรมเสริมความรู้และรับการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างสม่ำเสมอ ในด้านคุณธรรม - จริยธรรม โรงเรียนพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณลักษณะที่โดดเด่นด้านคุณธรรม - จริยธรรม ตามจิต ตารมณ์พระหฤทัยซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของสถานศึกษา เรื่อง รัก สุภาพ ซื่อสัตย์ เมตตา การใช้กรอบแนวคิดทางศาสนา มา เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนพัฒนาด้านคุณธรรม ผ่านโครงการต่างๆ เช่นโครงการธรรมะสัญจร ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้ ตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือการเรียนรู้และปฏิบัติธรรม ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์และวัดอื่นๆที่ไปร่วมกิจกรรม


149 จากการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน นักเรียนจะได้สัมผัสกับบรรยากาศในทางธรรมและสะท้อนข้อมูลย้อนกลับ เพื่อสรุป แนวความคิดในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จัดทำโครงการสร้างจิตสำนึกในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเชิง-คุณธรรม จริยธรรม โดยใช้วิธีการอบรมสั่งสอนประชุมชี้แจงให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจและคิด แยกแยะสิ่งที่ดีและสิ่งไม่ดีได้ อย่างมั่นใจนักเรียนได้เรียนรู้คำสอนผ่านหลักสูตรการเรียนคริสต์ศาสนาในโรงเรียน ใช้กระบวนการคิดตามสถานการณ์ และหลักธรรมทางศาสนามาเป็นแนวคิดในการพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง และนักเรียนร่วมกิจกรรมเรียนรู้ในหลักธรรมคำ สอนของศาสนาต่างๆ โดยใช้หลักศาสนาสัมพันธ์ ให้รู้ถึงแก่นของคำสอน แต่ละศาสนาและปฏิบัติกิจกรรมต่างๆตาม โอกาสอันควร ดังนั้นผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมพัฒนาด้านการเรียนการสอนและหลักสูตร ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ผ่าน ตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดมีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตรของ สถานศึกษาและนักเรียนมีคุณธรรม - จริยธรรม ตามจุดเน้นของโรงเรียน เรื่องความซื่อสัตย์เมตตามีความรัก ตามแบบอย่าง พระหฤทัยในการปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต ของ นักเรียน เช่น การอุทิศตน การเสียสละเพื่อส่วนรวมและช่วยเหลือสังคม กระบวนการในการพัฒนามาตรฐานที่1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ตามที่กำหนดและพัฒนาตาม ประเด็นต่างๆ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาตามหลักสูตรสถานศึกษาพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) โรงเรียนได้พัฒนาตามประเด็นดังนี้ การพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยผ่านกระบวนการปฏิบัติตาม โครงการและกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการส่งเสริมทักษะภาษาไทย โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ โครงการเที่ยวชมวิถีไทยท่องไร่ปลูกรัก โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มต่างๆ การพัฒนาทักษะงานอาชีพ โครงการพัฒนา ทักษะด้านภาษา โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย โครงการโรงเรียนสวยด้วยมือเรา โครงการทักษะชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 การพัฒนาด้านการอ่าน พัฒนานักเรียนทุกระดับชั้นให้สามารถอ่านออกเขียนได้อย่างเหมาะสมกับวัย มีการ ฝึกทักษะการอ่านให้นักเรียนอ่านทั้งระบบกลุ่มและรายบุคคล ครูผู้สอนใช้กระบวนการฝึกให้เกิดความชำนาญ และ พัฒนาตนเองจากการอ่านที่หลากหลาย ใช้เครื่องมือสนับสนุน เช่น หนังสือนิทาน การอ่านบทความ เรื่องสั้น ข่าว โฆษณา และข้อความประกอบการอ่านเชิงสร้างสรรค์ นักเรียนได้เรียนรู้การค้นคว้าจากห้องสมุด อ่านหนังสือทั่วไป หนังสือนอกเวลา ใช้แนวทางในการเล่านิทาน การสรุปความหรือการทำกิจกรรม อ่านและตอบคำถาม โดยใช้หลัก 5พ 1H ในการอ่านและจับประเด็นหลักให้ได้หรือใช้แนวทางการอ่านแบบ Pisa จัดให้มีการประเมินผลการอ่านทุกภาคเรียน เพื่อประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนและนำผลมาเป็นข้อมูลในการตรวจสอบและพัฒนาผู้เรียน


150 กระบวนการในการพัฒนาอีกประเด็น คือ กลุ่มพี่ช่วยสอนน้องกรณีมีน้องที่อยู่ในกลุ่มอ่านไม่คล่องโรงเรียนใช้ ระบบพี่อาสา ทำจิตอาสาในการสอนและดูแลน้องส่วนกิจกรรมเสริมทักษะและพัฒนาการอ่านจะมีครูผู้สอนในระดับ ต่างๆให้เวลาแก่นักเรียนในการอ่าน และใช้กระบวนการในการบูรณาการด้านการอ่าน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการอ่าน สรุปเรื่อง สรุปประเด็นซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านการอ่าน ให้เกิดประสิทธิภาพ การพัฒนาด้านการเขียน โรงเรียนดำเนินการในการพัฒนาการเขียนควบคู่กับการอ่าน ใช้กระบวนการศึกษา ปฏิบัติทั้งการเขียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน โดยใช้รูปแบบการฝึกทักษะการเขียนผ่านกระบวนการใช้ ทักษะทางภาษา การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน เช่น การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การเขียนบรรยาย การเขียนสื่อสาร เขียนจากจินตนาการ และการเขียนเรียงความ ย่อความ สรุปความ ใช้การฝึกปฏิบัติ ตรวจผลงานและใช้การวัดและ ประเมินผลเป็นการตัดสิน เพื่อการพัฒนา ในระดับมัธยมต้นโรงเรียนได้กำหนดให้ ฝึกทักษะการเขียนควบคู่กับการอ่าน ส่วนชั้นมัธยมปลาย กำหนดหลักสูตรเสริมทักษะทางภาษา เช่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เสริมทักษะการพูดชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๔ เสริมทักษะการเขียน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใช้ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ แต่ละระดับชั้นจะมีการศึกษา ทักษะให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมุ่งเน้นการนำผลไปใช้ในการปฏิบัติงานให้มี ความถูกต้องตามรูปความเหมาะสม การพัฒนาด้านการสื่อสาร โรงเรียนพัฒนาระบบการสื่อสารผ่านโครงการพัฒนาทักษะภาษาไทย มุ่งเน้นการ สื่อสารโดยใช้ทักษะและกระบวนการทางภาษาในการพัฒนาการสื่อสาร ด้วยภาษาให้เกิดความเข้าใจ เช่น การเขียนสื่อสาร ให้ เข้าใจด้วยรูปแบบที่ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาเขียนสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ เช่น การเขียนจดหมาย เหตุการณ์ เล่า เรื่อง นอกจากนี้ยังมีการฝึกทักษะด้านการพูดสื่อสารให้เข้าใจ ใช้ภาษาถูกต้อง ถูกความหมาย เช่น การฟังเรื่องราวแล้วมา สรุป หรือการพูดถาม-ตอบข้อมูลที่มีความหมายชัดเจนถูกต้องตามวัตถุประสงค์ และประเมินผลผู้เรียนรายบุคคล นักเรียนมีทักษะในการคิดคำนวณ เสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการฝึกคิดเลขเร็วสอดแทรกก่อนเริ่มการเรียน โดยใช้ทักษะกระบวนการแบบกลุ่ม และ รายบุคคล นำผลจาก การพัฒนามาปรับปรุงและแก้ไขปัญหา หรือใช้กรณีศึกษาตามสถานการณ์ที่กำหนดแนวทางในการ พัฒนา กระตุ้นด้วยเกมและกิจกรรมให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้ โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมร่วมกับสถาบัน สถาบัน Iereation ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาจินตคณิตในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ฝึกทักษะในการคิดคำนวณ และมีการกำกับตามประเมินผลการคำนวณอย่างเป็นระบบในระหว่างเรียน และการประเมินผลปลายภาคเรียน และ ปลายปีการศึกษา 2566 กระบวนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น และแก้ปัญหา โรงเรียนได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด จากการจัดการเรียนการสอนผ่าน 8 กลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ใช้วิธีการบูรณาการการเรียนการสอน ใช้กระบวนการคิดการทำกิจกรรม การตอบ คำถามการศึกษาค้นคว้า กระบวนการคิดวิเคราะห์โครงการ 7 thinking skills การพัฒนากระบวนกระบวนการคิด โดย


151 กำหนดหลักสูตรในการเรียนรู้ในคาบเรียน เพิ่มขึ้นตามแผนการเรียน 1 คาบ เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรม เช่น การอ่านเนื้อเรื่อง สามารถตอบคำถามจากเนื้อเรื่องได้ วิเคราะห์สถานการณ์ เหตุการณ์ได้บอกเหตุและผลได้ฝึกทักษะ การเรียนรู้จัดทำโครงงาน ชิ้นงาน ข้อดีข้อเสียประโยชน์โทษความเหมาะสมไม่เหมาะสม นักเรียนสามารถเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราว สถานการณ์ การแสดงความคิดเห็น โต้แย้ง อธิบาย สนับสนุนได้เหมาะสมกับวัย โรงเรียนได้พัฒนากระบวนการคิดผ่านการจัดกิจกรรม เช่นปีการศึกษา 2566 ส่งเสริมกระบวนการคิดร่วมกันและ ออกแบบกิจกรรม เช่น กิจกรรมกีฬาภายใน จากที่ผ่านมาได้วางพื้นฐานการคิดร่วมกันในการทำกิจกรรมในนี้ปรับรูปแบบ การพัฒนาในระบบกลุ่มคิดสร้างสรรค์ผลงานออกแบบ และคิดกระบวนการปฏิบัติ กิจกรรมวันลอยกระทง กิจกรรม โครงงาน กิจกรรมแสดงผลงาน กิจกรรมสนับสนุนรูปแบบร่วมกัน เช่น ป.1-ป.2 ป.3-ป.4 ป.5-ป.6 โดยฝึกให้นักเรียนมี ส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม พิธีการ ลักษณะของกีฬา รูปแบบกรรมการ มีการวางแผน ฝึกทักษะ เตรียมความพร้อม ซึ่งเป็นความสำเร็จในการทำงานผ่านความคิด ออกแบบร่วมกัน การจัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆร่วมกัน เช่น การจัดทำ โครงงานตามพระราชดำริ ในวันพ่อแห่งชาติ โดยครูและนักเรียน ร่วมกันคิด ออกแบบการดำเนินการจัดทำโครงการ เช่น การออกแบบวันละนิดชีวิตสดใส นมโครงการในโครงการพระราชดำริในรัชการที่ 9 โครงการอิ่มท้องไม่เหลือทิ้ง หมั่น เพียรเรียนรู้หน้าที่ สร้างฐานะดีในชีวิต โครงการหญ้าแฝก โครงการรักษ์น้ำ โครงการแกล้งดิน โครงการพอควรพอยู่ พอควร ปลูกผักสวนครัวทางเอกปลอดสารพิษ นักเรียนทั้งระบบทุกชั้นเรียนใช้กระบวนการคิด การพัฒนา การจัด กิจกรรม เสริมทักษะ และความสามารถในการพัฒนา กระบวนการในการปฏิบัติ โดยใช้การคิดในรูปแบบที่หลากหลายใน การพัฒนานักเรียน ฝึกทักษะเบื้องต้น และกระบวนการทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหาด้านต่างๆด้วยวิธีที่เหมาะสม หรือ รู้จักการหาทางออกในการปรึกษาร่วมกับครูประจำชั้น และสามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการแก้ปัญหา ร่วมกัน จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนเรียนรู้กระบวนการคิดจำแนกแยกแยะใคร่ครวญไตร่ตรองอย่าง รอบคอบ และนำเสนองานโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล การดำเนินกิจกรรมการเรียน การสอนสอดแทรกการฝึกผู้เรียนให้รู้จักการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา การส่งเสริมผู้เรียนให้มี ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการอภิปราย แก้ปัญหานอกจากการเรียนรู้ปฏิบัติกิจกรรมแล้ว กระบวนการพัฒนาที่ โรงเรียนปลูกฝังให้เกิดกับผู้เรียน เช่น การเรียนรู้นอกห้องเรียน ในการทำกิจกรรมกีฬา กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมจิตอาสา และกิจกรรมรณรงค์เรื่องความสะอาด แต่ละกิจกรรมจะมีกระบวนการ ทำงานหรือจัดกิจกรรมกระตุ้นให้นักเรียนไม่เพียงแต่ทำกิจกรรม แต่กำหนดประเด็นที่จะนำไปสู่การอภิปรายการแก้ปัญหา ซึ่งการดำเนินการนำไปสู่การพัฒนากระบวนการคิด การจำแนกแยกแยะ การแก้ปัญหา โดยแต่ละกิจกรรมจะนำไปสู่ ความสำเร็จในการพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียน การพัฒนาด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ในบริบทของการทำงานได้ด้วยตนเองและการทำงานเป็น ทีม ในการทำงานเป็นทีมมีการพัฒนาร่วมกันทั้งในระบบห้องเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ภายในห้องเรียน กิจกรรมกลุ่ม 8 กลุ่มสาระ กิจกรรมนอกห้องเรียน กิจกรรมการแสดงดนตรี กิจกรรม Cover Dance และการแสดงความสามารถด้าน


152 นาฎศิลป์ กิจกรรมค่ายทางวิชาการ กิจกรรมกลุ่มสภานักเรียน เยาวชนครอบครัวพอเพียง ซึ่งทุกกิจกรรมต้องสร้างผลงาน และการทำงานเป็นทีม คิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมทางด้านการแสดง ผลงาน ชิ้นงาน ซึ่งการพัฒนาทั้งหมดจะอยู่ภายใต้ กระบวนการทำงานร่วมกันแบบสร้างสรรค์และเป็นผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่นักเรียนภาคภูมิใจ นอกจากนี้ยังมีระบบการ เรียนที่ส่งเสริมให้นักเรียนคิด ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศึกษาค้นคว้าแหล่งข้อมูลมาสร้างสรรค์ จัดทำผลงานของตนเอง คิดนอกกรอบ สร้างชิ้นงานใหม่ เช่น การออกแบบการใช้ความรู้ ความสามารถของตนเอง นักเรียนทุกระดับชั้นมีการ ทำงาน นำความรู้มาเชื่อมโยงกับประสบการณ์มาใช้ทำสิ่งใหม่ มีการทำชิ้นงาน ผลงานเชิงสร้างสรรค์ งานศิลปะ งาน ออกแบบ การใช้ความรู้เชิงวิชาการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้านการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นการพัฒนากระบวนการ ที่นักเรียนเรียนรู้ และใช้นวัตกรรม หรือ AI ในการสร้างผลงาน ออกแบบ หรือจัดทำอุปกรณ์ในรูปแบบการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนชั้นมัธยมที่สามารถใช้เทคโนโลยีในการสร้างนวัตกรรมใหม่ โดยเป็นสิ่งใหม่ที่พัฒนาด้วย กระบวนการคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดผลที่ดีขึ้น ทั้งในด้านความคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ โดยฝึกการวิเคราะห์ พิจารณาข้อมูล การตัดสินใจ การออกแบบสร้างนวัตกรรม รวมถึงการประเมินผลการใช้นวัตกรรม จากการดำเนินงานใน รูปแบบต่างๆที่นักเรียนจัดทำนวัตกรรม และผลงานอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้ระบบการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ ใช้การคิดหลากหลาย ในส่วนการทำงานส่วนตัวของนักเรียน ในโอกาสที่ทำงานร่วมกันให้นักเรียนฝึกการค้นคว้า การ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ ทันสมัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่น ทำงานกับบุคคลอื่นด้วยความร่วมมือ ร่วมใจ นอกจากโรงเรียนพัฒนาผู้เรียนในการทำงานแล้วยังพัฒนาด้านความเป็นคนมีคุณธรรมในการทำงานกับผู้อื่นซึ่ง จะสะท้อนทั้งคุณค่าของงานที่ทันสมัยและคุณค่าของจิตใจที่ดีงามในการทำงานร่วมกันมิติการสร้างสิ่งใหม่ในเชิงการ เรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ และสังคมแต่อีกมิติที่มีคุณค่าได้แก่คุณความดีที่นำมาเป็นข้อคิดสอนใจ การพัฒนาผู้เรียนด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์มีคุณธรรมการใช้ เทคโนโลยีเป็นความจำเป็นในชีวิตการเรียนรู้ของนักเรียนดังนั้นกระบวนการพัฒนานักเรียนโดยใช้ทักษะการปฏิบัติในการ เรียนรู้เช่นการติดต่อสื่อสาร ส่วนตัวหรือในระบบกลุ่มการใช้ในการส่งข้อความสัญลักษณ์ภาพโดยใช้ติดต่อส่งข้อมูลต่างๆ การวิเคราะห์ข้อมูลการส่งงานการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้นักเรียนยังใช้เทคโนโลยีในการทำงานการเรียนรู้การออกแบบการแก้ข้อมูลการศึกษาด้านต่างๆ สามารถเรียนรู้ตลอดเวลา Anytime และเรียนรู้ได้ทุกแห่งหน Anywere โดยศึกษาจากคอมพิวเตอร์วีดีทัศน์โทรทัศน์ และนักเรียนเรียนรู้พัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพทุกคนAnyone โรงเรียนยังจัดให้นักเรียนเรียนรู้แบบบูรณาการใช้ เทคโนโลยีเรียนรู้เผยแพร่ความรู้การทำโครงงานชิ้นงานนักเรียนใช้ในการนำเสนอผลงาน Power point กาทำการบ้านใน เว็บไซต์ การส่งงานผ่านทาง e-mail การส่งงานในโฟลเดอร์เฉพาะบุคคลและการตอบคำถามในแบบทดสอบOnline การใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมครูผู้สอนครูที่เกี่ยวข้องได้ปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์โทษของ การใช้เทคโนโลยีการมีคุณธรรมในการอบรมสอนให้ข้อคิดไม่นำผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเคารพกฎกติกา กฎระเบียบของสังคมไม่เผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือใช้คอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลที่เป็นเท็จไม่


153 ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนจึงเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้มากกว่าผลเสียด้านอื่นๆซึ่งยัง ส่งเสริมความมีคุณธรรม-จริยธรรมในตัวผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม สัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายของหลักสูตรผ่านกระบวนการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระการ เรียนรู้ได้พัฒนาผู้เรียนผ่าน โครงการส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการพัฒนาตามคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาและเทคโนโลยี ตามอัตลักษณ์ของสถานศึกษาเช่น โครงการ Embrance you Excellonce พัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษ โครงการ Inspring languageและกิจกรรมการวัดและประเมินผลโดยการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการสอนเช่น ปรับวิธีการให้คนเก่งมาช่วยสอนวิเคราะห์ผู้เรียนแต่ละระดับชั้นครูผู้สอนช่วยสนับสนุนด้านสื่อการสอนกระบวนการในการ เรียนรู้การปฏิบัติจริงและการสอนเป็นกลุ่มให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่เรียนช้า ไม่เป็นไปตามที่กำหนดดูแลอย่างใกล้ชิด และ ใช้เวลานอกเหนือจากที่กำหนดในระบบและใช้ระบบการพัฒนาให้คุณภาพสูงขึ้น เช่น ใช้กระบวนการบูรณาการ กระบวนการสร้างคนรู้กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการวิจัย และกระบวนการจัดการ การพัฒนาไปสู่เป้าหมายโดยการนำผล o-net มาวิเคราะห์เชิงลึกในกลุ่มสาระเพื่อนำไปแก้ปัญหาและส่งผลถึง ครูผู้สอนให้ดำเนินงานออกแบบการจัดการเรียนรู้และใช้กระบวนการกำกับติดตามนิเทศสร้างความเข้าใจติดตามประเมิน พัฒนาอย่างต่อเนื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการสอบ o-net พบว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนสูงกว่า ระดับประเทศทุกลุ่มสาระระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศยกเว้นกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนไม่ได้ร่วมการประเมินทุกคน และผลการประเมินที่ได้คะแนนระดับ 3 ขึ้นไปจะมีการพัฒนาต่อ เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นตามลำดับ การพัฒนาความรู้ทักษะพื้นฐานด้านอาชีพและเจตคติที่ดีต่ออาชีพการพัฒนาผู้เรียนในด้านอาชีพโดยผ่าน กระบวนการแนะแนวการศึกษาต่อนักเรียนรู้เป้าหมายของตนเองในการศึกษาต่อ การคัดกรองนักเรียน ให้ความ ช่วยเหลือให้คำแนะนำและเลือกอาชีพที่สุจริต กระบวนการพัฒนาให้คำแนะนำในการเลือกศึกษาต่อในเส้นทางที่นักเรียน สนใจและศึกษาแนวทางของอาชีพที่สนใจและจัดทำ โครงการเปิดโลกทัศน์งานอาชีพ โครงการอาชีพในฝันสร้างสรรค์ สังคมโดยการพัฒนาทักษะงานอาชีพจากกระบวนการจัดการตามโครงการช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอาชีพมี เจตคติที่ดีต่องานอาชีพในทุกระดับชั้นนักเรียนได้ศึกษาและวางแผนเกี่ยวกับอาชีพในอนาคตและได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ การปฏิบัติกิจกรรมด้านอาชีพยุคใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเสริมความรู้ให้กับนักเรียนเช่นงาน ฝีมือเย็บปักถักร้อย การประดิษฐ์ของใช้และการประกอบอาหาร การรีไซเคิล รวมถึงการปลูกต้นไม้การสร้างความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับอาชีพนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รับความรู้เรื่องอาชีพตามวัยของนักเรียน ระดับประถมส่วนหนึ่งได้ลงมือในการฝึกทักษะด้านการค้าขายเช่นการขายของมือสองส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียน บริหารธุรกิจก็ได้ศึกษาร่วมกิจกรรมหารายได้ขายของผลิตภัณฑ์ที่มีการลงทุนและขายได้กำไรซึ่งก็เป็นอาชีพ หนึ่ง ดังนั้นการพัฒนาเรื่องอาชีพจึงเป็นแนวทางให้นักเรียนได้รับการพัฒนาในทิศทางที่ดีและมีผลการพัฒนาเป็นที่พึง พอใจ


154 ผลที่นักเรียนได้รับนักเรียนสามารถเลือกแนวทางในการศึกษาต่อตามที่ตนสนใจและศึกษาความรู้แนวปฏิบัติของ อาชีพนั้นๆได้อย่างมีเหตุผลและการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาเกี่ยวกับงานอาชีพหรือมีกระบวนการทำงานร่วมกันบอก เหตุผลการเลือกอาชีพได้และอาชีพที่เลือกมีประโยชน์อย่างไรเป็นแนวทางการพัฒนาที่สร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม มาตรฐาน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้งด้านคุณธรรม-จริยธรรม ความเป็นไทย ภูมิใจในท้องถิ่นความเป็นไทย ยอมรับความแตกต่าง เชื้อชาติศาสนา ประเพณีและสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีจิตสาธารณะโดยมุ่งเน้นนักเรียนเป็นคนมี คุณธรรมจริยธรรมและผ่านกระบวนการ โครงการกิจกรรมเช่น โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงการอบรมคำสอนศีลศักดิ์สิทธิ์ นักเรียนดีศรีพระหฤทัย โครงการวันสำคัญของศาสนา โครงการสร้างจิตสำนึกในการ เปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โครงการ Heart of Giving โครงการรักและเมตตาธรรม โครงการอนุรักษ์ วัฒนธรรมสืบสานประเพณีไทย นักเรียนมีคุณธรรม-จริยธรรมเคารพในกฎกติกา โดยผ่านกิจกรรมและกระบวนการอบรมสร้างจิตสำนึกด้วยการ ร่วมกิจกรรมตามที่กำหนด มีจิตใจที่อ่อนโยนไม่ขัดต่อกฎหมายทั้งในการร่วมกิจกรรม การอยู่ร่วมกันในสังคมโรงเรียนใช้ แนวทางในการอบรมฟื้นฟูจิตใจให้มีจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพทำกิจกรรมร่วมกันทั้งด้านกิจกรรมทางศาสนาและ กิจกรรมเพื่อสังคม นักเรียนร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนากิจกรรมที่สนับสนุนให้เกิดสมาธิ โรงเรียนจัดกิจกรรมการ เรียนการสอน 8 กลุ่มสาระ บูรณาการแผนจัดการเรียนรู้ เสริมสร้างกิจกรรมรูปแบบต่างๆเช่นกิจกรรมแบ่งปันโดยไม่ หวังผลตอบแทนกิจกรรมช่วยเหลือเยาวชนคนดี เยาวชนคนกล้า การจัดกิจกรรมเด็กดีศรีพระหฤทัยเพื่อมอบเกียรติบัตร ให้ขวัญกำลังใจเป็นการเสริมสร้างกำลังใจแก่นักเรียนที่ปฏิบัติตนในการทำดีมีความซื่อสัตย์เช่นนักเรียนที่เก็บของได้ส่งคืน เจ้าของ การทำดีเพื่อสังคมการปฏิบัติกิจกรรมในการรักษ์สิ่งสร้างในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความสะอาด นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมช่วยเหลือสังคมสร้างคุณค่าให้ความสำคัญกับธรรมชาติ การปฏิบัติจิตอาสาอย่างหลากหลายทั้งภายในและ ภายนอกเพื่อสร้างความมีคุณธรรมน้ำใจดีอุทิศและเสียสละ ร่วมกิจกรรมอุทิศตนเป็นผู้ให้ The Heart of Giving หัวใจ แห่งการให้เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนรู้และปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคม กระบวนการส่งเสริมความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยนักเรียนปฏิบัติในการร่วมกิจกรรมแสดงถึงความ เป็นไทยอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย เชื้อชาติ ศาสนาสร้างเสริมการปฏิบัติงานร่วมกันบนความแตกต่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรมประเพณี กระบวนการส่งเสริมให้นักเรียนแสดงออกถึงความเป็นไทยโดยการร่วมกิจกรรม ทางด้านศาสนาเช่นกิจกรรมวันสำคัญตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ การร่วมกิจกรรมวันเข้าพรรษา วันวิสาขบูชา วัน อาสาฬหบูชา และวันสำคัญทางคริสต์ศาสนา นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน และการเรียนรู้ในห้องเรียนนักเรียนร่วม กิจกรรมในการอนุรักษ์ประเพณีไทยเช่นประเพณีวันลอยกระทง ประเพณีวันสงกรานต์นักเรียนร่วมกิจกรรมในภาคปฏิบัติ


155 ด้วยการทำกิจกรรมร่วมกัน และการเรียนรู้ด้านความรู้จากการจัดการเรียนการสอน ผลงานของนักเรียนและอนุรักษ์ด้วย การแต่งกายตามประเพณี การอนุรักษ์ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการแต่งกายตามเทศกาลที่ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแต่งกายตามเทศกาล เพื่อให้เพิ่มบรรยากาศที่ดีและ...มีความสุขโดยความร่วมมือของทุกฝ่าย การอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความสามัคคี ช่วยเหลือกันยอมรับในความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลการแสดงบทบาทในการเป็นผู้นำตามโครงการ Leader in me. การนำในสังคมการนำกิจกรรม และการนำตามหลักประชาธิปไตยตามบทบาทประชาธิปไตยของกลุ่ม สภานักเรียน การเล่นร่วมกันการแข่งขันกีฬา การสอนประสบการณ์ในการพัฒนานำทีมต่างๆ นอกจากนี้ยังอนุรักษ์ด้าน ดนตรีไทย ดนตรีสากล นาฏศิลป์ไทยหรือการด้านแสดงต่างๆเพื่ออนุรักษ์สิ่งที่ดีงาม รวมทั้งมีการประกวดมารยาทไทย สืบ สานความเป็นไทยการนำไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม นักเรียนสืบสานประเพณีด้วยการจัดกิจกรรมพิธีไหว้ครูโดยมี นักเรียนแต่ละห้องจัดทำพิธีผ่านการวางแผนงาน กระบวนการในการปฏิบัติร่วมกันอย่างเหมาะสม โดยใช้กิจกรรมผ่าน การคิดร่วมกันในห้องเรียนของตนซึ่งทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และการเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่ง เป็นกิจกรรมสำคัญในการร่วมแสดงความจงรักภักดีดังนั้นในวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน จึงเป็นการปฏิบัติงานที่เป็น แบบอย่างของความเป็นไทยที่สำนึกในบุญคุณของแผ่นดินดังจากการพัฒนาจึงส่งผลให้นักเรียนเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม - จริยธรรมและยึดมั่นในความเป็นไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ จากการพัฒนานักเรียนแต่ละประเด็น โรงเรียนยังได้เสริมสร้างให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และการ ปฏิบัติตนในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และการปฏิบัติอย่างเหมาะสม เช่น ในพิธีไหว้ครู ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ มีต่อครู การถ่ายภาพครูในดวงใจ กิจกรรมดีงามเติมความสุข เขียนความรู้สึกที่ดีต่อครู และในวันเฉลิมพระชนมพรรษายัง ได้ปลุกจิตสำนึกในการทำจิตอาสา นำเสนอผลงานช่วยเหลือสังคม ทำประโยชน์ต่อสังคม วันแม่แห่งชาตินอกจากรู้ถึง ความสำคัญในวันแม่ ยังจัดให้นักเรียน ครู ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ผ้าไทย ตามโครงการพระราชดำริ และในวันลอยกระทง โรงเรียนจัดกิจกรรมตามประเพณี และสอดแทรกการอนุรักษ์น้ำ การประหยัดน้ำ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง หรือ ครอบครัวนักเรียนมีส่วนร่วม กิจกรรมส่งเสรมความจงรักภักดี และชีวิตที่พอเพียง รวมถึงการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 9 รูป ฟังธรรมเทศนา ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตโรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาตนเองในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เล่นกีฬา การเล่นที่เป็นธรรมชาติของเด็ก จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพให้นักเรียนรับประทานอาหารสมวัยมีพัฒนาการ เจริญเติบโตและส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์รณรงค์การรับประทานอาหารผักผลไม้จัดให้นักเรียน รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการนักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี ร่าเริง แจ่มใส เบิกบาน และยังดำเนินการ ในการติดตามเรื่องการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ฉบับ ปรับปรุง 2560 เรื่องความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ความซื่อสัตย์สุจริต ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รัก


156 ความเป็นไทยมี จิตสาธารณะและติดตามประเมินผลด้านสมรรถนะของผู้เรียนด้านสื่อสาร การคิดการแก้ปัญหาทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันตามโครงการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 จากการพัฒนาตามจุดเน้นและกระบวนการในการส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาส่งผล ให้นักเรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนดและมีความพร้อมที่พัฒนาตามหลักสูตรสถานศึกษาและกระบวนการพัฒนาที่ สนับสนุนให้เกิดคุณภาพต่อไป และผลจากการพัฒนาพบว่ากระบวนการในการพัฒนานักเรียน ตามมาตรฐานด้านคุณภาพ ผู้เรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้วยกระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ และการบูรณาการ และผลการประเมิน จากการปฏิบัติโครงการ กิจกรรม จากค่าเป้าหมายที่กำหนด และนอกจากนี้ การพัฒนาสมรรถนะทั้ง 5 โดยการปฏิบัติ การเรียนรู้ การใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และทักษะชีวิต โดยใช้ทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันให้อยู่ด้วย ความสุข ความปลอดภัย รวมถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งมีระบบการพัฒนา และควบคู่กับการประเมินผล และการ อยู่ร่วมกัน บนความแตกต่างที่หลากหลาย และผลจากการส่งเสริมการเป็นผู้นำตนในการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้สนใจทำใน สิ่งที่ตนเองถนัด การทำงานที่รักและชอบ และสิ่งที่กระตุ้นความสามารถในการนำตนเอง ในการเรียนรู้คือการประเมิน ความก้าวหน้าของตนเอง ให้นักเรียนนำตนเองในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาตา มเป้าหมายเกี่ยวกับ ความสำเร็จ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดำเนินการตามหลักสูตรกำหนด


157 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน *** ผลสำเร็จ(ข้อ) ผลการประเมิน ปฏิบัติ คุณภาพที่ได้ ไม่ ปฏิบัติ 1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนด ชัดเจน 1.1 กำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการ ศึกษาชาตินโยบายของรัฐบาลและต้นสังกัด ✓ 1.2 กำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่สอดคล้อง เชื่อมโยง กับเป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและต้นสังกัด ✓ 1.3 กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงของสังคม ✓ 1.4 นำเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจผ่านความเห็นชอบ จากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ✓ 1.5 นำเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียนเผยแพร่ ต่อสาธารณชน ✓ 2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.1 มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างเป็น ระบบ ✓ 2.2 มีการนำแผนไปปฏิบัติ ติดตามตรวจสอบประเมินผลและ ปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ✓ 2.3 มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษาจัดระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบการนิเทศภายใน ✓ 2.4 สถานศึกษามีการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา ✓ 2.5 สถานศึกษาให้บุคลากรและผู้ทีเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการ จัดการศึกษา ✓ 3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 3.1 บริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ ในด้านการพัฒนา หลักสูตรสถานศึกษา ✓ 3.2 บริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ ในด้านการพัฒนา หลักสูตรตามความต้องการของผู้เรียน ที่สอดคล้องกับบริบท ของสถานศึกษา ชุมชน และท้องถิ่น ✓ 3.3 บริหารจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้น คุณภาพผู้เรียนรอบด้านเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง ✓ 3.4 กำหนดหลักสูตรสถานศึกษาครอบคลุมการจัดการเรียน การสอนทุกกลุ่มเป้าหมาย ✓ 3.5 สถานศึกษามีการปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงของสังคม ✓ 4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ


158 ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน *** ผลสำเร็จ(ข้อ) ผลการประเมิน ปฏิบัติ คุณภาพที่ได้ ไม่ ปฏิบัติ 4.1 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากร ให้มีความ เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ✓ 4.2 จัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ✓ 4.3 นำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเข้ามาใช้ในการพัฒนา งานและการเรียนรู้ของผู้เรียน ✓ 4.4 มีการตรวจสอบ ทบทวน การปฏิบัติงานของครู บุคลากร ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ✓ 4.5 ถอดบทเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมหรือวิธีการที่เป็น แบบอย่างที่ดีที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ✓ 5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการ จัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 5.1 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องเรียน ที่เอื้อ ต่อการเรียนรู้ และคำนึงถึงความปลอดภัย ✓ 5.2 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายนอกห้องเรียน ที่ เอื้อต่อการเรียนรู้ และคำนึงถึงความปลอดภัย ✓ 5.3 จัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นรายบุคคล และเป็นกลุ่ม ✓ 5.4 จัดสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการ เรียนรู้ และมีความปลอดภัย ✓ 5.5 จัดให้ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากการจัดสภาพแวดล้อม ตามศักยภาพของผู้เรียน ✓ 6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุน การบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ 6.1 ได้ศึกษาความต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา ✓ 6.2 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการและ การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา ✓ 6.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา ✓ 6.4 ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริการ จัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของ สถานศึกษา ✓ 6.5 ติดตามผลการใช้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสถานศึกษาเพื่อใช้ในการบริการจัดการและการจัดการ เรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา ✓


159 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหาร และการจัดการ จุดเน้น การบริหารแบบมีส่วนร่วม และใช้หลักธรรมาภิบาล กระบวนการในการพัฒนา กระบวนการในการพัฒนา จุดเน้นในการบริหารจัดการกระบวนการแบบมีส่วนร่วมโดยการกระจายอำนาจใน การบริหารงาน ให้สมาชิกในองค์กรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ กระจายความรับผิดชอบแบ่งสายงานออกเป็นฝ่าย ต่างๆ ดังนี้ ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายอาคารสถานที่และบริการ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบุคคลและงบประมาณ ฝ่ายปกครอง ฝ่าย กิจการนักเรียน ฝ่ายจิตตาภิบาล ฝ่ายปฐมวัย ในแต่ละฝ่ายจัดให้มีรูปแบบการบริหารตามรูปแบบคณะกรรมการ มีการ ประชุมวางแผนการทำงานร่วมกันเป็นทีม และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการโดยยึดแนวทางในการพัฒนา กระบวนการทำงานโดยใช้หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลัก ความคุ้มค่า โดยใช้กระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบภายใต้กระบวนการ PDCA ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ของ สถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนคาทอลิก ดังนั้นกระบวนการบริหารที่ใช้ตามหลักและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาตามจิต ตารมณ์พระหฤทัย โดยใช้กรอบของความรัก สุภาพ ซื่อสัตย์ เมตตา การพัฒนาด้านการบริหารงานของโรงเรียนจึงมี จุดเน้นและความยืดหยุ่นแบบอย่างความมีคุณธรรม พัฒนาในระบบ และครอบครัวที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้น จุดเน้นในการบริหารนี้จึงเป็นหนึ่งในกระบวนการบริหารที่จะสร้างความสุขในการอยู่ร่วมกัน กระบวนการพัฒนา มาตรฐานที่ 2 การบริหารและจัดการภายในสถานศึกษา มีกระบวนการในการวางแผนงาน และจัดระบบการขับเคลื่อนตาม ประเด็นของมาตรฐานคุณภาพการศึกษา โดยจัดทำโครงการสนับสนุนการบริหาร เช่น การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษา การสร้างบรรยากาศโรงเรียนคาทอลิก การร่วมกิจกรรมโรงเรียนในเครือคณะพระหฤทัย การจัดการระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน โครงการสวัสดิภาพ ความสงบ ความปลอดภัย โครงการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โครงการด้านการบริหาร และ ปฏิคม กระบวนการในการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนได้กำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ พันธกิจที่สถานศึกษา กำหนดชัดเจน โดยกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของการศึกษาชาติ และแนวนโยบายของภาครัฐ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มุ่งเน้นเรื่องการยกระดับทางการศึกษา และยึดแนวทางใน การพัฒนาของกระทรวงศึกษาธิการ และตามมาตรฐานการศึกษาชาติ การเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะ ชีวิต สมรรถนะ และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยจัดการศึกษาตามแนวทางที่กำหนดในแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และ มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิตในการเรียนรู้ และเผยแพร่เป้าหมายในการจัดการศึกษาให้บุคลากร และชุมชนได้เข้าใจเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะปฏิบัติโครงการ/กิจกรรมสนับสนุนในการสร้างคุณภาพ จากการพัฒนาด้านการบริหารจัดการในการวางแผนตามแนวทางที่กำหนดส่งผลให้มีการกำหนดแนวนโยบาย จุดเน้นและทิศทางในการพัฒนาที่ชัดเจน สอดคล้องกับแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและแผนการศึกษาชาติ


160 ระบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพ (Quality management system) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา คุณภาพทางการศึกษา และคุณธรรมจริยธรรมตามแบบอย่างพระหฤทัย และมีระบบการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ระบบ คุณภาพ การพัฒนาคุณภาพในการบริหารโรงเรียนแบ่งการบริหารออกเป็นฝ่ายต่างๆ 8 ฝ่ายดังกล่าวข้างต้น แต่ละฝ่ายจะ มีการวางแผนในการทำงานในรูปแบบคณะกรรมการ และอนุกรรมการดำเนินงานตามโครงสร้างในการบริหารงานแต่ละ งานอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงแนวทางในการพัฒนา 4 ประการ เช่น 1. วางแผน 2. ปฏิบัติ 3. ตรวจสอบ 4. แก้ไข ปรับปรุงและมีการประชุมวางแผนในการทำงาน เสนอแนวทางและความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน โดยจัดทำ แผนปฏิบัติงานประจำปีเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และมีการตรวจสอบประเมินผล และปรับปรุงพัฒนางานแต่ละฝ่าย นอกจากนี้ระบบยังมีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนางานให้บรรจุเป้าหมาย โดยจัดสรร จำนวนบุคลากรให้เพียงพอในการปฏิบัติงาน การเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ของใช้สำนักงาน อุปกรณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ และหลักฐานการเบิกจ่าย ที่สามารถตรวจสอบได้ ระบบงานบุคคล มีการกำหนดสายงานในระดับต่างๆ เช่น ซึ่งดำเนินงานตามระบบการบริหารตามโครงสร้างใน การบริหารงาน งานการดูแลในระดับสายชั้นมีหัวหน้าสายชั้นควบคุมดูแลระบบให้มีการพัฒนาตามนโยบาย และ ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ มีระบบการพัฒนางานวิชาการโดยหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในการประสานงานด้าน กระบวนการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร การวัดและประเมินผล และพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีการ กระจายอำนาจไปยังสายงานด้านต่างๆ เช่น งานลูกเสือ งานจราจร งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และระบบงานประกัน คุณภาพเป็นระบบงานหนึ่งที่มีการพัฒนาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการ การจัดสรร บุคลากรในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ครูผู้สอนดำเนินการสอนตรงตามสาขาวิชาที่เรียนมาและผ่านการอบรม พัฒนาเพิ่มพูนความรู้ได้อย่างเหมาะสมกับภาระงาน จากการวางแผนในการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ โรงเรียนได้จัดกระบวนการบริหารจัดการโดยใช้ นวตกรรม HEARTS MODEL โดยนำทฤษฎีการบริหาร กระบวนการ PDCA เชื่อมโยงความสอดคล้องตามหลักการบริหารในเชิง ระบบ และผสมผสานตามหลักธรรมาภิบาล โดยบริหารร่วมกันทุกฝ่าย ปฏิบัติงานโดยการมุ่งเน้นตามโครงการพัฒนา การศึกษาตามจิตตารมณ์พระหฤทัย และนำอัตลักษณ์ของโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงาน เช่น รัก สุภาพ ซื่อสัตย์ เมตตา


161 ซึ่งผลการพัฒนาด้วย MODEL นี้จะส่งผลต่อการพัฒนาในรูปแบบการบริหารที่มีความหลากหลายในเชิงการ ปฏิบัติงาน ในการใช้บทบาทและอำนาจเพื่อสร้างสรรค์หลังจากกระบวนการทำงาน ซึ่งจะต้องดำเนินการและไตร่ตรอง ทบทวนความสำเร็จของงาน และเมื่อทราบปัญหาแล้ว การทำงานจะพัฒนาต่อไปด้วยการใช้ระบบงานวิจัยในการพัฒนา กล่าวคือ มีการศึกษาปัญหา อุปสรรค และคิดค้นหาวิธีการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานให้สำเร็จ พร้อมใช้เทคโนโลยีมาเป็น ส่วนหนึ่งในการคิดค้น ปรับปรุง แก้ไขงานเพื่อไปสู่ความสำเร็จ โรงเรียนจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามระบบงานดูแล เพื่อประโยชน์ต่อนักเรียนโดยจัดระบบการแนะ แนวร่วมกับครูประจำชั้น โดยใช้กระบวนการรู้จักนักเรียนรายบุคคล โดยครูประจำชั้น เช่น ด้านความสามารถพิเศษ ด้าน สุขภาพกาย สุขภาพจิต พฤติกรรมทางเพศ สารเสพติด และคัดกรองนักเรียนกลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มมีปัญหา ดำเนินการส่งเสริมนักเรียน ร่วมพัฒนานักเรียน และเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคนโดยครูประจำชั้น พร้อมทั้งจัดกิจกรรม ช่วยเหลือป้องกัน และแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาด้านการซ่อมเสริม โดยพบปะพูดคุยกับผู้ปกครอง หรือประสานทางกลุ่มไลน์ และสุดท้าย ถ้าพบว่านักเรียนมีปัญหาก็จะส่งต่อ กรณีปัญหาไม่มากเรื่องแก้ไขได้จะส่งต่อครู แนะแนว แต่ถ้ามีปัญหามากก็จะส่งต่อภายนอก หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โรงเรียนได้จัดระบบบริหารจัดการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งในระบบการดูแล และกรณีมีปัญหาด้านอื่นๆที่ โรงเรียนสามารถช่วยเหลือก็จะดำเนินการเป็นรายกรณี การดำเนินงานในการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุก กลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนมีการพัฒนางานวิชาการในด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนมี ระบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2566 มีการปรับและพัฒนาหลักสูตรให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียน นักเรียนให้ผู้ปกครอง สามารถเลือกแนวทางในการเรียนรู้ สิ่งที่โรงเรียนได้ตระหนักถึง คือความสุขในการเรียน และเลือก ทางเลือกสำหรับตนเองได้ โรงเรียนจึงปรับหลักสูตรสถานศึกษาตามความเหมาะสม ดังนี้ ระดับประถมศึกษา จัดแผนการ เรียนประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการเรียนตามหลักสูตรปกติ และเน้นการเรียนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา และโปรแกรม การเรียนที่เน้นการเรียนภาษาอังกฤษในวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมปีที่ 2 – 4 จัดแผนการเรียน


162 เพิ่มเติม เน้นการเรียนภาษาจีนมากกว่าแผนการเรียนอื่น ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้จัดหลักสูตร 5 แผนการเรียน เน้นด้านวิทยาศาสตร์ ด้านภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และเน้นการเรียนภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ มีจุดต่างในวิชา เพิ่มเติมซึ่งเป็นจุดเน้นตามแผน การจัดหลักสูตร และในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) ได้จัดแผนการเรียนให้นักเรียน เลือกเรียนตามความสนใจ เช่น แผนการเรียนวิทย์ Digital เพิ่มพื้นฐาน การเขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ AI แผนการเรียน คณิต – Business เพิ่มเติมด้านการเรียนเกี่ยวกับธุรกิจการค้าสมัยใหม่ อุตสาหกรรมบริการกฎหมายและศิลปะในการพูด แผนการเรียน ศิลป์ - ภาษา เน้นด้านภาษาอังกฤษ - ภาษาญี่ปุ่น แผนการเรียน ART Design เน้นเพิ่มเติม Drawing Computer Graphic โรงเรียนได้พัฒนาหลักสูตรให้น่าสนใจ และสนองความต้องการของชุมชน สังคม นอกจากการจัด หลักสูตรแล้ว การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรยังมีส่วนเสริมทักษะให้กับนักเรียนตามศักยภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และ กิจกรรมในการสนับสนุนกระบวนการคิด การทำงานเป็นทีม การพัฒนาผลงานและการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ นอกจากนี้โรงเรียนยังได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แนวทาง พัฒนาจากออสเตรเลียในการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ผ่านกระบวนการในสื่อการเรียนที่ส่งเสริมทักษะ - ความรู้ความเข้าใจ การบริหารเกี่ยวกับกิจกรรมเสริมหลักสูตร เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง โดยจัดหลักสูตร การเรียนรู้ที่นักเรียนสามารถศึกษาและปฏิบัติได้เหมาะสมวัย และความพร้อมของนักเรียน การปฏิบัติที่สนับสนุนการ พัฒนามีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยเชื่อมโยงในการใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การสื่อสาร การคิด การแก้บัญหา การใช้ทักษะในชีวิตประจำวัน และการใช้เทคโนโลยีและการเรียนรู้ที่มีความเข้าใจ การแก้ปัญหา การ วิเคราะห์เปรียบเทียบ การอภิปราย - สรุป จากการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนยังได้จัดหลักสูตรร่วมกับหน่วยงานภายนอกเข้ามาที่ส่วนร่วม เช่น สถาบัน Make a wit สถาบัน Icreation และสถาบัน Education House และโรงเรียนได้บันทึกความร่วมมือทางการศึกษา และการ พัฒนาบุคลากรระหว่างโรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี กับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ในโครงการห้องเรียนพันธมิตร เครือข่าย PIM ในหลักสูตรศิลป์ การจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ หลักสูตรศิลป์ธุรกิจอุตสาหกรรมการบริการการบิน การ โรงแรม และหลักสูตรวิทย์ - คณิต วิทยาศาสตร์สุขภาพ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 – 2570 และบันทึกความร่วมมือทาง วิชาการระหว่างสมาคม นวตกรรม ภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และโรงเรียนในเครือคณะภคินีพระ หฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ เพื่อพัฒนาบุคลากร และนักเรียนของโรงเรียน ด้านวิชาการ ด้านการวิจัยนวตกรรม ด้านเทคโนโลยี และด้านการประชาสัมพันธ์ในการศึกษาของบุคลากรของโรงเรียนและนักเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรม ต่างๆ ด้านวิชาการ ด้านการศึกษา และยังได้มีการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานภายนอก บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ในการสร้างความรู้เกี่ยวกับระบบรัฐสภา และการเมือง การปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ระหว่างสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา กับโรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการเสริมสร้าง ความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ โรงเรียนได้พัฒนาด้านวิชาชีพโดยการส่งเสริมสนับสนุน ให้บุคลากรมีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยการสนับสนุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การจัดอบรมพัฒนาความรู้ด้าน หลักสูตร ด้านศาสตร์การสอน การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และมีระบบการแลกเปลี่ยน


163 เรียนรู้ กระบวนการ PLC ในกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อปรึกษา และให้คำแนะนำหารือประสบการณ์ใหม่ๆ ในการนำมา พัฒนาและแก้ปัญหา และนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาร่วมกันของกลุ่มโรงเรียนในเครือคณะพระหฤทัย และพัฒนาด้าน การศึกษาดูงานเพื่อเป็นการพัฒนา และอบรมเพิ่มพูนความรู้ในระบบ Online เพื่อสร้างคุณภาพในการพัฒนาด้านวิชาชีพ ครู การอบรมเสริมความรู้แก่ครูผู้สอนทั้งระบบเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2566 หัวข้อเรื่องการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ ครูเข้ารับการอบรมร่วมกับโรงเรียนในเครือคณะพระหฤทัยในการพัฒนานวตกรรมการจัดการเรียนการสอน แนวทางการ พัฒนาต่อยอด นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาด้านนวตกรรมทางการศึกษาร่วมกับโรงเรียนในเครือคณะพระหฤทัยโดยบุคลากร ร่วมรับการอบรม และส่งผลงานด้านนวตกรรมทางการศึกษาเข้าประกวด และรับรางวัลผลงานดีเด่น การพัฒนาส่วนหนึ่ง ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความรู้ด้านการสร้างสื่อนวัตกรรม แนวคิดในการปรับปรุงและพัฒนาครูผู้สอนทุก ระดับชั้น พัฒนาคนเองในการศึกษาอบรมเพิ่มพูนความรู้เช่น การศึกษาสาระความรู้ด้านต่างๆ และตอบคำถามในระบบ Online อย่างน้อยใน 1 ปี การศึกษาจำนวนไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง และเพื่อให้งานพัฒนาบุคลากรเกิดประสิทธิภาพจึงมี การตรวจสอบ ทบทวน การปฏิบัติงานของบุคลากร และร่วมประชุมในการถอดบทเรียนสรุปประมวลผลลัพธ์ดีๆ ที่ทำ สำเร็จมาขยายผล ซึ่งจะเป็นแนวคิดในการดำเนินการการถอดบทเรียนไม่เพียงแต่การถอดบทเรียน ด้านการเรียนรู้ ยังมี การถอดบทเรียนด้านโครงการ/กิจกรรม ซึ่งได้แบ่งออกเป็น บทเรียนที่ดี ประกอบด้วยจุดเด่นและปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขี้น และวิธีการปรับปรุงพัฒนา โรงเรียนได้ดำเนินการในการพัฒนาครูในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้มี ประสิทธิภาพ โดยจัดอบรมกิจกรรมการสอนลูกเสือ - เนตรนารี เพื่อให้ครูผู้สอนได้ทบทวนการปฏิบัติมีแนวทางเดียวกัน เมื่อ 12 พฤษภาคม 2566 และจัดอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยสอบโดยจัดให้ครูอบรม การใช้โปรแกรม Canva จากนี้มีการอบรมพัฒนาบุคลากรด้านภาษาอังกฤษร่วมกับโรงเรียนในเครือคณะ ในวันที่ 9 – 11 ธันวาคม 2566 ณ โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี ด้านหลักสูตรได้จัดให้มีการจัดอบรมด้านการพัฒนาหลักสูตร ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ตัวชี้วัดระหว่างทาง และตัวชี้วัดปลายทาง จัดอบรมหลักสูตรคณิตศาสตร์ ORIGO GO MATH การอบรมสัมมนาครูใหม่ เพื่อปรับและพัฒนาตามนโยบายของสถานศึกษา การพัฒนาด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โรงเรียนได้ตระหนักและให้ ความสำคัญในการป้องกันและดูแลนักเรียนและบุคลากรให้ได้รักความปลอดภัย ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการสวัสดิภาพ ความสงบ และความปลอดภัย โครงการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โครงการความปลอดภัย ใส่ใจลูกพระหฤทัย โดยจัดสภาพ ของสถานที่และความพร้อมในการพัฒนาสถานที่ กระบวนการในการพัฒนาด้านความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และคำนึงถึงความ ปลอดภัย ด้านอาคารสถานที่มีความมั่นคง ปลอดภัย ทุกอาคารที่ผนังกั้น ลูกกรงป้องกันการปีนป่ายบนอาคารเรียนแต่ละ อาคารมีการรักษาความสะอาด การจัดตกแต่งให้สวยงามพร้อมใช้งาน สภาพห้องเรียนมีการตรวจสอบเช็คความเรียบร้อย โดยครูหัวหน้าสายชั้น ครูประจำชั้น ฝ่ายอาคารสถานที่ที่ตรวจสอบติดตามและแก้ไข และสร้างความปลอดภัย


164 กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งระบบกลุ่มและรายบุคคลใช้ในการพัฒนา สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ติดตาม ตรวจสอบเรื่องโต๊ะที่นั่ง ป้ายนิเทศ ความสะอาด ระบบความปลอดภัย เกี่ยวกับไฟฟ้า พัดลม แอร์ มีป้ายติดเตือนใจในการ ระมัดระวัง ในอาคารเรียนเพื่อความปลอดภัย ดำเนินการในการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน เอื้อต่อการเรียนรู้บรรยากาศร่มรื่นสวยงามมีสถานที่ พักผ่อน เล่น ออกกำลังกาย มีครูดูแลเรื่องความปลอดภัยสถานที่รับประทานอาหารจัดไว้อย่างเพียงพอ มีน้ำดื่มบริการทุก อาคารเรียน และมีระบบการดูแล - การเปิด - ปิด อาคารเรียน ประตูทางเข้า - ออก มีรั้วรอบขอบชิดและกล้องวงจรปิด ตรวจสอบความปลอดภัย สภาพแวดล้อมจึงช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เอื้อประโยชน์ในการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีภูมิ ทัศน์ที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมเพาะบ่มให้นักเรียนเกิดศักยภาพการเรียนรู้ กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมด้านชมรม ลูกเสือและการออกกำลังกาย ดังนั้น การพัฒนาด้านความปลอดภัยจึงเป็นกระบวนการพัฒนาที่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการพัฒนาในระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพในการเรียนปฏิบัติกิจกรรม และอยู่อย่างปลอดภัย การพัฒนาด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน โรงเรียน ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการงานด้านต่างๆอย่างคล่องตัวและรวดเร็ว โรงเรียนใช้ระบบเทคโนโลยีในการพัฒนางาน เช่น ระบบ School Bright ในการจัดการด้านการเรียนรู้ และการ ประเมินผลการเรียน การตรวจสอบ เช็คจำนวนนักเรียน ระบบการเติมเงิน การติดต่อประสานงาน ประชาสัมพันธ์ยัง ผู้ปกครอง นอกจากนี้โรงเรียนยังใช้ระบบ Single – sign – on ในการรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ ที่ใช้ในการพัฒนางานใช้ ข้อมูลในระบบ เพื่อพัฒนางาน เปรียบเทียบข้อมูล และจัดระบบข้อมูลเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน การพัฒนาด้าน เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย มีการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดภายใน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันดูแลเรื่องความ ปลอดภัย นอกจากนี้โรงเรียนมีระบบการบริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารด้านการให้บริการ เช่น การให้การ บริการ Use aecount การบริการ E – mail การบริการ Login เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในองค์กร บริการด้านการติดต่อ - สื่อสารภายใน ภายนอกองค์กร ในระบบภายในมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการบริหารงาน การนำข้อมูลไปใช้ในการ พัฒนางาน การประสานงานด้านต่างๆ ด้วยการใช้เทคโนโลยี การบริหารข่าวสารต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ปรับปรุงพัฒนา ด้านเทคโนโลยี ด้านอุปกรณ์สำนักงาน และระบบงานต่างๆ การใช้ระบบเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาการสอนโดยใช้ชื่อเทคโนโลยีในการ สอน เพื่อสร้างความเข้าใจได้รวดเร็วและมีการพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมกลุ่มการสื่อสารในระบบกลุ่มไลน์ และกลุ่มระดับ สายชั้น ระบบการส่งงานของนักเรียน การส่งงานของบุคลากร และการรวบรวมข้อมูลเพื่อการทำงาน ประสานงานใน องค์กรโดยใช้เทคโนโลยี ดังนั้น ในการพัฒนางานด้านการบริหารจัดการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาบุคลากรและการ


165 ดำเนินการด้านเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมในโรงเรียนส่งผลต่อการพัฒนางานงานของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ และเป็น ระบบติดต่อ ดำเนินการสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ ดังนั้น การพัฒนาในการบริหารจัดการจึงเป็นการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ สรุปการดำเนินงาน การบริหารจัดการ การบริหารจัดการภายใต้แผนพัฒนาคุณภาพฉบับปีการศึกษา 2565 – 2569 สถานศึกษากำหนดวิสัยทัศน์เมื่อปีการศึกษา 2565 โดยบุคลากรในสถานศึกษา โรงเรียนได้ปลูกฝังคุณธรรม – จริยธรรม ได้แก่ การพัฒนานักเรียนในด้านการปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน การเสียสละเพื่อผู้อื่น การช่วยเหลือสังคม การ พัฒนาด้านการเสียสละ เอื้ออาทร และมีจิตอาสา การส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกันในสังคม การเคารพในความเป็นไทย ในด้านสุนทรียภาพ ด้านสุขภาพอนามัย โรงเรียนจัดกิจกรรมให้ นักเรียนแข่งขันดนตรี การแสดง และการทำกิจกรรมร่วมกัน การแสดงความสามารถพิเศษ และการบริหารจัดการ สถานศึกษาโดยใช้ระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และใช้หลักการบริหารแบบธรรมาภิบาล และใช้ Model ในการ บริหารงาน Hearts Model บูรณาการโดยใช้กระบวนการ PDCA การพัฒนาด้านกระบวนการ PLC โดยกระบวนการ ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา และพัฒนางานด้านวิชาการ จัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุนการเรียนรู้ที่หลากหลาย และร่วมกิจกรรมงานวิชาการประจำปี มีการกระตุ้นให้ครูและบุคลากรให้ความสำคัญ ต่องานวิชาการ และพัฒนาการเรียนรู้ มุ่งผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนได้กำหนดแผนในการพัฒนาบุคลากร ในการอบรมเพิ่มพูนความรู้ ศึกษาต่อ ศึกษาดูงาน และการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ส่งเสริมการใช้จิตวิทยาและ บรรยากาศที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้ มีระบบการบริหารความปลอดภัย ด้านสวัสดิภาพ และมีสวัสดิการ ความปลอดภัยและ สิทธิของผู้เรียน บุคลากรในสถานศึกษามีระบบการนิเทศ การปฏิบัติงานด้านการสอน โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมแหล่ง เรียนรู้ที่มั่นคง ปลอดภัย มีห้องเรียน ห้องประกอบการที่สะดวกในการเรียนรู้ด้านโภชนาการ มีการบริการอาหารที่สะอาด ถูกหลักอนามัย มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้รับการดูแลที่ดี และโรงเรียนยังได้พัฒนาการศึกษาโดยมีเครือข่ายทาง การศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันจัดการศึกษาปัญญาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และมีการบริหาร จัดการในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ และมีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ


166 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน เป้าหมาย (ร้อยละ) จำนวนครู (คน) *** ผลการประเมิน (ร้อยละ) ผลการ ประเมิน คุณภาพที่ได้ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ที่ กำหนด 1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและ ปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตได้ 90.10 1.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการ เรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่ เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการ คิดและปฏิบัติจริง ✓ 120 1.2 มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไป จัดกิจกรรมได้จริง ✓ 120 1.3 มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะ สำหรับผู้ที่มีความจำเป็น และต้องการความ ช่วยเหลือพิเศษ ✓ 115 1.4 ฝึกทักษะให้ผู้เรียนได้แสดงออก แสดง ความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ และนำเสนอ ผลงาน ✓ 117 1.5 สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ✓ 115 2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่ง เรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 88.90 2.1 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศในการ จัดการเรียนรู้ ✓ 114 2.2 ใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นใน การจัดการเรียนรู้ ✓ 110 2.3 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ✓ 116 3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก 92.60 3.1 ผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ✓ 120 3.2 ผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกัน อย่างมีความสุข ✓ 120 4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็น ระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 91.80


167 ประเด็นพิจารณา การปฏิบัติงาน เป้าหมาย (ร้อยละ) จำนวนครู (คน) *** ผลการประเมิน (ร้อยละ) ผลการ ประเมิน คุณภาพที่ได้ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ที่ กำหนด 4.1 มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการ จัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ✓ 121 4.2 มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและ ประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการ จัดการเรียนรู้ ✓ 115 4.3 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมี ส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล ✓ 115 4.4 ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้ใน การพัฒนาการเรียนรู้ ✓ 110 5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูล สะท้อนกลับเพื่อพัฒนาปรับปรุงการ จัดการเรียนรู้ 90.00 5.1 และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ ✓ 118 5.2 นำข้อมูลป้อนกลับไปใช้ในการปรับปรุงและ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ✓ 120 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จุดเน้น การจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ Active Learning พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจัดระบบในการพัฒนาครูผู้สอนตามมาตรฐานวิชาชีพครู ส่งเสิรมการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ และพัฒนากระบวนการคิด โดยครูได้รับการพัฒนาตามโครงการครูมืออาชีพ โครงการ PTN E Learning Teacher โครงการ Smart Teacher โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโครงการนิเทศแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการ Problem based Learning กระบวนการในการพัฒนาตามจุดเน้น มีการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการในการพัฒนา ครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยดำเนินกิจกรรมด้านกระบวนการคิด และ พฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียน และใช้กระบวนการในเชิงรุก โดยอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้สอน นิเทศกำกับติดตาม ประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย และติดตามผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน โดยใช้หลักการและแนวปฏิบัติ เช่น พัฒนาศักยภาพการคิด การแก้ปัญหา และการนำไปประยุกต์ใช้ส่วนสำคัญ คือ การมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับในรูปแบบของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน ในการจัดการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น โดยผู้สอนอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ซึ่ง กระบวนการที่ครูใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ การสอนแบบโครงงาน (Project based Learning ) การใช้ ปัญหาเป็นฐาน (Problem based Learning) การสอนโดยเน้นกระบวนการคิดจากกระบวนการพัฒนาได้ใช้หลักแนวคิด


168 ของ บลูม (Bloom’s taxonomy) โดยใช้หลักของความรู้ ความคิด พุทธพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย ใช้แนวคิดเกี่ยวกับ ความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประเมินค่า ส่งผลให้เกิดการพัฒนากระบวนการ จัดการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ กระบวนการ และการพัฒนาศักยภาพอย่างเหมาะสม การพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้กระบวนการปฏิบัติจริง โดยผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการ เรียนรู้ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง โรงเรียนได้พัฒนาครูผู้สอน โดยครูออกแบบรูปแบบและทักษะในการปฏิบัติใช้กระบวนการคิด ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การคิดอย่างมีวิจารณา ญาณ การคิดสร้างสรรค์ ใช้กระบวนการคิดที่หลากหลาย ปฏิบัติโดยการลงมือทำ โรงเรียนส่งเสริมการเรียนรู้ Problem based Learning จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรสนับสนุนให้ครูผู้สอนหาแนวคิดและกิจกรรมที่จะเสริมสร้างภาพปฏิบัติด้วย ตนเอง หรือกิจกรรมกลุ่ม เช่น การพูด การแสดงออก การเสนอความคิดเห็น กิจกรรมในห้องเรียน นอกห้องเรียน การใช้ แนวคิดในการเรียนรู้ และสะท้อนข้อมูล การเรียนรู้โดยการเน้นการปฏิบัติ เช่นการเรียนรู้จากประสบการณ์และเน้นการ ปฏิบัติ เป็นการกระตุ้นพัฒนาการใหม่ๆ แบบประสบการณ์ เช่น การจัดประสบการณ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ อภิปราย ผลสรุปและประยุกต์ใช้ เน้นการปฏิบัติ เช่น การฝึกปฏิบัติจริง การศึกษาค้นคว้า การแบ่งกลุ่มทำงาน เน้นการฝึกทำงาน ร่วมกับหมู่คณะ เรียนรู้ในการปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้ และนอกจากนี้ยังเรียนรู้จากกลุ่มย่อย นำปัญหามาสู่ กระบวนการแก้ปัญหา และลงมือปฏิบัติจริง การปรับรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง การ ค้นคว้าการแสดงออก ลงมือทำงานด้วยตนเอง ลองผิดลองถูกเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ดังนั้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ด้วยตนเองจึงเป็นกระบวนการในการพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในการพัฒนาทักษะ และสร้างสรรค์การ เรียนรู้ การพัฒนางานจากกระบวนการสู่การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะเรียนรู้อย่างยั่งยืน และแก้ปัญหาด้วย กระบวนการที่เหมาะสม ดังนั้นการปฏิบัติจึงเป็นการเรียนรู้ที่ดีรูปแบบหนึ่งของกระบวนการ Active Learning การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ล่วงหน้า และเป็นแผนที่สามารถปฏิบัติได้จริง และเน้นกระบวนการคิด นอกจากนี้การจัดทำแผนครูผู้สอนจะต้องปรับตาม สถานการณ์ กรณีนักเรียนมีความบกพร่อง หรือต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ และเป็นแผนที่ฝึกทักษะให้นักเรียนสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเองในรูปแบบต่างๆ และจัดกิจกรรมที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยจัดกิจกรรมด้าน ศาสนา คุณธรรมจริยธรรม ที่นักเรียนทำไปใช้ในชีวิตจริง ในด้านคณิตศาสตร์ เรียนรู้หลักการคิดคำนวณซึ่งสามารถนำไปใช้ ในชีวิตประจำวัน โดยการใช้จ่ายวางแผนการใช้เงิน การซื้อของได้ การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องไฟฟ้า สิ่งอำนวย ความสะดวก รู้จักด้านอันตราย ความปลอดภัย และเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับการงาน งานอาชีพ เช่น การทำความสะอาด การทำอาหาร การเย็บปักถักร้อย การประดิษฐ์สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม การช่วยเหลือสังคม การ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม โรงเรียนได้สอดแทรกการเรียนรู้ในวิธีชีวิตเป็นพื้นฐานในชีวิตจริง กระบวนการในการพัฒนา การจัดการเรียนการสอนโดยฝ่ายวิชาการได้ร่วมพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน โดยครูจะต้องมีความพร้อมเรื่องความรู้และกระบวนการนอกจากนี้สิ่งที่เป็น


169 เอกลักษณ์สำหรับครู คือ การใช้หลักคิดตามจิตตารมณ์พระหฤทัย รัก และรับใช้การปฏิบัติตนกับผู้อื่นด้วยความรัก สุภาพ ซื่อสัตย์ เมตตา ส่งเสริมการคิดและไตร่ตรองแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้สอดแทรกทักษะ กระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ยังสนับสนุนกระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย และพัฒนาโดยจัดทำโครงการ P.T.N. E Teacher กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ การเรียนรู้โดยใช้เกมส์การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างองค์ความรู้ในรูปแบบ ต่างๆ Concept Mapping และกระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์นักเรียนตามศักยภาพ เก่ง อ่อน ปานกลาง การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้กระบวนการสนับสนุนการบริหารจัดการ เรียนรู้ โดยใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยี โดยสนับสนุนการค้นคว้าอินเตอร์เน็ตส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการศึกษา จาก Internet โดยให้ครูได้พัฒนาศึกษาค้นคว้าโดยการทำโครงการ Smart Teacher นักเรียนรู้จากห้องเรียน ห้องปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และห้องประกอบการประเภทต่างๆ เช่น ห้องดนตรี ห้องประกอบการ ห้อง นาฏศิลป์ ในสถานที่ภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายใน การเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนโดยการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น การไปทัศนศึกษา ป.1 - ป.4 ไปซาฟารีเวิลด์ ป.5 - ป.6 ไปที่สวนสยาม ระดับ ม.ต้น - ม.ปลาย ไปดรีมเวิลด์ ระหว่าง วันที่ 9 – 21 พฤศจิกายน 2566 โดยการไปในระบบกลุ่มทีมที่จะไปทำกิจกรรมร่วมกัน การบันทึกผลการทำกิจกรรม และ การพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือตนเอง และการไปศึกษานอกสถานที่ในด้านการเรียนรู้และศึกษา จากสื่อที่ทันสมัย เช่น ร่วมโครงการสภาเด็กและเยาวชน เทศบาลนครปากเกร็ด ระหว่างวันที่ 17 – 18 สิงหาคม 2566 การร่วมกิจกรรมพิพิธภัณฑ์หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา ในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ร่วมโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ การเมืองการปกครอง (สภาจำลอง) ในวันที่ 27 กันยายน 2566 ร่วมโครงการสภานักเรียนจัดกิจกรรมจิตอาสา ระหว่าง วันที่ 4 – 5 ตุลาคม 2566 การสร้างโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลาย นักเรียนได้รับประโยชน์หลากหลายจากการเรียนรู้ การบูร ณาการในสิ่งที่ได้เรียนรู้ เช่น การเรียนรู้เรื่องความอดทน การเสียสละ การสัมผัสประสบการณ์ตรง และความคิดในเชิง สร้างสรรค์ ความมีคุณธรรม - จริยธรรม โรงเรียนได้พัฒนา เรียนรู้จากสื่อการสอน และการใช้เทคโนโลยี ฝึกให้นักเรียน ถอดบทเรียนในการเรียนรู้ทั้งที่เป็นข้อคิด และปัญหาที่จะต้องแก้ไข บทเรียนที่เป็นประโยชน์ และนอกจากนี้สิ่งที่นักเรียน ได้เรียนรู้ และ Reflexion ผลการเรียนสะท้อนคุณค่าและการนำไปเปรียบเทียบกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน กระบวนการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โรงเรียนสร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้เป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมให้ ครูได้ร่วมสร้างบรรยากาศการอยู่ร่วมกับนักเรียนให้เป็นบรรยากาศแห่งความรัก ความอบอุ่น ครูรักเด็ก เด็กรักครู สร้าง ความรักความเข้าใจอย่างอบอุ่น และใช้กิจกรรม เช่น HOME – ROOM ช่วยให้เด็กรับรู้ซึมซับการอยู่ร่วมกันในบรรยากาศ ของห้องเรียนที่มีระเบียบ สะอาด ห้องเรียนที่สวยงาม และมีการอยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง ซึ่งในแต่ละสัปดาห์จะใช้การทำ กิจกรรม และการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ โดยให้นักเรียนมีจุดเน้นที่เสริมสร้างให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ ครูผู้สอนเอาใจ ใส่ดูแลนักเรียนทั้งระบบทั้งด้านการเรียน การเล่น สุขภาพอนามัย ความพร้อม และความสัมพันธ์อันดีระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นรับฟังเหตุและผล และร่วมแก้ปัญหา อีกประการนอกจาก


170 การดูแลนักเรียน การทำกิจกรรมคิดภาระงานร่วมกัน ยังช่วยให้ใกล้ชิดกัน รู้จักซึ่งกันและกันมากขึ้น และจะเกิด ปฏิสัมพันธ์ที่ดี นักเรียนไว้วางใจ กล้าเปิดเผยตัวเองและมีความมั่นใจ และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิด บรรยากาศในโรงเรียนเป็นบรรยากาศเชิงบวก และใช้การแก้ปัญหาเป็นโอกาสแต่งการเติมเต็มด้วยความรักและเสียสละ ดังเช่น อัตลักษณ์ รัก สุภาพ ซื่อสัตย์ เมตตา และรวมถึงการชื่นชมความสำเร็จ ให้กำลังใจแก่กันและกัน สร้างนักเรียนให้มี คุณธรรมและมีบุคลิกภาพที่ดี รู้จัการให้อภัย การไม่ทำให้รู้สึกมีปมหรือปัญหา นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้พัฒนาด้านการตรวจสอบ และประเมินผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โครงสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล การจัดการเรียนการสอน โดยครูผู้สอนใช้กระบวนการในการสร้างความรู้ อบรม วิเคราะห์ การประเมินทั้งด้านความรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การจัดทำแผนและวิเคราะห์แนว ทางการประเมิน หาจุดเด่นจุดที่ควรพัฒนา กรณีพบปัญหาด้านการเรียนรู้ มีการติดตามประเมินผล และนำผลมา เปรียบเทียบเพื่อการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าด้วยความช่วยเหลือของครูผู้สอนใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน การติดตาม สอบถาม และตรวจสอบผลการพัฒนา กระบวนการประเมิน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อม ปัญหาด้านต่างๆเกี่ยวข้อง ระบบการ ประเมินก่อนกลางภาค กลางภาค หลังกลางภาค และปลายภาค แต่ละครั้งโรงเรียนดำเนินการตามระบบที่ฝ่ายวิชาการ กำหนดจะมีการประเมินติดตามผลและความก้าวหน้า หรือความถดถอยทางการเรียน และนอกจากนี้ฝ่ายวิชาการยัง สรุปผลแต่ละภาคเรียน ประมวลผลในการพัฒนาผู้เรียน การสร้างเครื่องมือในการประเมินผล โดยมีระบบการประเมิน ชิ้นงาน ผลงาน เกณฑ์การประเมินคุณภาพ และระบบการประมวลผล โดยใช้ระบบ School Bright ในการสรุปการ ดำเนินงาน จากการประเมินผล ดำเนินการทำผลการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ทั้งด้าน ศักยภาพ และพฤติกรรมการแสดงออก โรงเรียนกำหนดให้ครูผู้สอนพัฒนาในด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีการ ประชุมกลุ่มสาระและระดมพลังสมองในการแก้ปัญหา มีการประเมินสรุปและพบประเด็นปัญหาและแก้ปัญหา มีการ นิเทศการสอนเพื่อพิจารณากระบวนการวัดประเมินผล และแก้ปัญหาให้ตรงประเด็น เพื่อให้ครูผู้สอนปรับปรุงและพัฒนา สร้างประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนการสอน จากการดำเนินงานดังกล่าว โรงเรียนติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร และผลการประเมินจากกิจกรรมที่หลากหลายจากการปฏิบัติ สังเกต สัมภาษณ์ สอบถาม ประเมินการพัฒนาร่วมกัน ดังนั้น จากกระบวนการวัดและประเมินผล โดยการทำกับ ติดตามตรวจสอบประเมินคุณภาพ ส่งผลให้การวัดและ ประเมินเป็นระบบมีความเข้มแข็ง เที่ยงตรง ยุติธรรม และช่วยเหลือนักเรียนให้ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่หลักสูตร กำหนด


171 สรุปการดำเนินการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพ ของมาตรฐานที่ 3 โรงเรียนกำหนดแผนงานในการดูแลหลักสูตร ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวคือ มีการพัฒนาการจัดหลักสูตร สนองตอบความต้องการของชุมชนและสังคม และมีความหลากหลาย ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ โรงเรียนจัดหลักสูตรสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง มีหลักการดำเนินการ ดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรที่มีเอกภาพในการพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมพื้นฐานความเป็นไทย 2. เป็นหลักสูตรที่กระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน 3. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น 4. เป็นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5. เป็นหลักสูตรที่เทียบโอนได้ หลักสูตรปีการศึกษา 2566 มีเป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข นักเรียนจบ การศึกษาแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และนักเรียนมีอัตลักษณ์ในการดำเนินชีวิตตามแบบอย่างพระหฤทัย โรงเรียนจัดให้มีการประเมินหลักสูตรในการนำหลักสูตรไปใช้ มีความสอดคล้องตามจุดหมายในการพัฒนา ด้านคุณธรรม - จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ความรู้ความสามารถในการคิด ความสามารถตามหลักสูตร มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และมีจิตสาธารณะ โรงเรียนส่งเสริมให้ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตร แกนกลางด้วยวิธีการวิเคราะห์ หลักสูตร และเขียนคำอธิบายรายวิชา เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด และออกแบบให้ สอดคล้องกับการพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน ด้วยการบูรณาการการเรียนรู้ และเสริมในรูปแบบกิจกรรม ชมรม และมี การบันทึกหลังการสอน จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แต่ละปีการศึกษา ผ่านกระบวนการปฏิบัติ กิจกรรมแต่ละคาบเรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และมีการบูรณาการด้านการส่งเสริม เจตคติที่ดีด้วยการอบรมช่วย HOME – ROOM ประชุมประจำเดือน ส่งเสริมด้านความถนัด ความสนใจด้วยการคัดกรองนักเรียน และเสริมพัฒนาการ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมด้านอาชีพด้วยการแนะแนวด้านการศึกษาต่อ ด้านอาชีพ สนับสนุนการศึกษาค้นคว้า การ สนใจใฝ่เรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดี เช่น กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมการบำเพ็ญ ประโยชน์ และกิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมที่นักเรียนให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก การปฏิบัติตามระเบียบของ องค์กร ช่วยสังคม และเคารพต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมาหากษัตริย์ การวัดผลประเมินผล โรงเรียนจัดระบบการวัดผลประเมินผลตามระเบียบการวัดและประเมินผล เช่น การ ประเมินผล กลางภาค ปลายภาค ภาคปฏิบัติ ภาคทฤษฎี การะเมินตามสภาพจริง และมีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล และนำข้อมูลย้อนกลับมาพัฒนา เช่น โรงเรียนจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ มีการติดตามการจัดและประเมินผลตามระบบ


172 และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ปกครองทราบ โดยผู้ปกครองมาพบครูประจำชั้น ครั้งแรกของการสอบและปลายปีการศึกษา ส่วนกลางภาคทางโรงเรียนจะแจ้งผลสอบผ่านทางนักเรียน นำไปให้ผู้ปกครอง ดังนั้น การพัฒนาของโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนตามบทบาทหน้าที่ และแนวทางในการพัฒนาที่มี ประสิทธิภาพ และสร้างเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และพัฒนาตามหลักการและจุดหมายของหลักสูตร


173 จุดเด่น (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ) ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก o เด็กพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาเป็นไปตามเกณฑ์ เหมาะสมตามวัย o เด็กสามารถปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถือ o เด็กเรียนรู้และยอบรับกฎระเบียบ การอยู่ร่วมกันในสังคม มีวินัย o เด็กมีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการเสียสละ o เด็กมีทักษะทางการสื่อสารภาษาต่างประเทศ สื่อสารได้เหมาะสมตามวัย o เด็กมีความมั่นใจในตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออก o เด็กรู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตาม ทำงานร่วมกับผู้อื่น o เด็กมีทักษะการใช้กล้ามเนื้อ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ดี เหมาะสมตามวัย o เด็กมีจินตนาการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักแสวงหาความรู้ o เด็กดูแลความปลอดภัยของตนเอง มีทักษะในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ตามวัย o เด็กมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับวัย o เด็กมีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น o เด็กมีมารยาท สัมมาคารวะตามแบบวัฒนธรรมไทย o เด็กมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ยอมรับและชื่นชมผู้อื่น o เด็กมีสุขนิสัยที่ดี สามารถเลือกรับประทานอาหารมีประโยชน์ o อื่น ๆ ระบุ............................................................................ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ o ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา o ผู้บริหารกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจนตามบริบทของสถานศึกษา o ผู้บริหารจัดการศึกษาครอบคลุมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น o ผู้บริหารส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ความร่วมมือกันในสถานศึกษา ท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย o ผู้บริหารจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัย o ผู้บริหารจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการด้านสื่อเทคโนโลยีที่ครบถ้วนเพียงพอ o ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ ทั้งด้านวิชาการ และการบริหาร o ผู้บริหารได้รับรางวัลทางด้านการบริหารดีเด่น มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ o ผู้บริหารประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีคุณธรรม จริยธรรม o ผู้บริหารมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ทันสมัย ทันต่อสถานการณ์อยู่เสมอ o ผู้บริหารสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรในโรงเรียน o ผู้บริหารมีความเป็นประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม o ผู้บริหารจัดการงานบุคคลและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ o ผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาความสามารถของครูให้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก


174 o ผู้บริหารมีกระบวนการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน การนิเทศครูผู้สอน o อื่น ๆ ระบุ............................................................................ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ o ครูจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เน้นการปฏิบัติจริงมีประสิทธิภาพส่งผลต่อพัฒนาการเด็กทุกด้าน o ครูปลูกฝังเด็กให้มีวินัย มีเหตุผล กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก o ครูมีความสามารถในการใช้สื่อ เทคโนโลยี และนำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสม o ครูสามารถบูรณาการสื่อสำหรับการจัดประสบการณ์ได้เป็นอย่างดีและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน o ครูมีการวิเคราะห์หลักสูตร รู้เป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา o ครูนำผลการประเมินเด็ก การจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนมาปรับพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้น o ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล ใช้กระบวนการวัดและประเมินผลที่ หลากหลาย o ครูจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ บริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก o ครูจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนสะอาด ปลอดภัย มีความใกล้ชิดดูแลเอาใจใส่เด็กอย่างทั่วถึง o ครูมีการทำวิจัยในชั้นเรียน และนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้ o ครูมีการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง ชุมชน o ครูมีความรู้ ความสามารถตรงตามคุณสมบัติ ตรงกับงานที่รับผิดชอบ o ครูมีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ ขยัน อดทน เสียสละ o ครูพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยการเข้าร่วมอบรม ศึกษาดูงาน ติดตามข่าวสาร ข้อมูล นวัตกรรมใหม่ๆ o ครูจัดทำนวัตกรรมหรือแบบอย่างที่ดี และเผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือผู้ที่สนใจ o อื่น ๆ ระบุ............................................................................ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการออม o กิจกรรมประเภทให้ความรู้ด้านการเงิน การออม การลงทุน o กิจกรรมประเภทโครงการออมทรัพย์นักเรียน สหกรณ์โรงเรียน ธนาคารโรงเรียน o อื่น ๆ ระบุ............................................................................ การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ✓ กิจกรรมประเภทให้ความรู้และปลูกสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ✓ กิจกรรมประเภทส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักเรียนในการอนุรักษ์พลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ พลังงาน o อื่น ๆ ระบุ............................................................................ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


175 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน o ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์และการคิดคำนวณสูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษา กำหนด o ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด o ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด o ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ o ผู้เรียนมีสุขภาพกาย มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข มีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน o ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม o ผู้เรียนยอมรับกฎระเบียบ การอยู่ร่วมกันในสังคม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดียอมรับและชื่นชมผู้อื่น o ผู้เรียนมีทักษะทางการสื่อสารภาษาต่างประเทศ การใช้ภาษาที่ 3 ในการสื่อสาร o ผู้เรียนได้รับรางวัล ความโดดเด่นทางด้านวิชาการ กีฬา ศิลปะ o ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความมั่นใจในตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออก o ผู้เรียนรู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตาม มีความรับผิดชอบ ทำงานเป็นทีม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ o ผู้เรียนดูแลความปลอดภัยของตนเอง มีทักษะในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น o ผู้เรียนมีมารยาท สัมมาคารวะตามแบบวัฒนธรรมไทย o ผู้เรียนรู้จักการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม o ผู้เรียนเข้าใจพิษภัยและอยู่ห่างไกลจากสิ่งเสพติด สถานการณ์ที่เสี่ยงต่ออันตราย o อื่น ๆ ระบุ............................................................................ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ o ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา o ผู้บริหารกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจนตามบริบทของสถานศึกษา o ผู้บริหารจัดการศึกษาครอบคลุมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น o ผู้บริหารส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ความร่วมมือกันในสถานศึกษา ท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย o ผู้บริหารจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีความปลอดภัย มีทรัพยากรการเรียนรู้ที่เพียงพอ o ผู้บริหารจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการด้านสื่อเทคโนโลยีที่ครบถ้วนเพียงพอ o ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ ทั้งด้านวิชาการ และการบริหาร o ผู้บริหารได้รับรางวัลทางด้านการบริหารดีเด่น มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ o ผู้บริหารประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีคุณธรรม จริยธรรม o ผู้บริหารมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ทันสมัย ทันต่อสถานการณ์อยู่เสมอ o ผู้บริหารสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรในโรงเรียน o ผู้บริหารบริหารงานอย่างมีคุณภาพ ความเป็นประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม o ผู้บริหารบริหารงานบุคคลและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ o ผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาความสามารถของครูให้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก


176 o ผู้บริหารมีกระบวนการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน การนิเทศครูผู้สอน o อื่น ๆ ระบุ............................................................................ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ o ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการปฏิบัติจริง o ครูปลูกฝังผู้เรียนให้มีวินัย มีเหตุผล กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน o ครูมีความสามารถในการใช้สื่อ เทคโนโลยี และนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม o ครูผลิตสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย สามารถบูรณาการสื่อการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีและทันต่อ สถานการณ์ปัจจุบัน o ครูมีการวิเคราะห์หลักสูตร รู้เป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา o ครูนำผลการประเมินการเรียนการสอนมาปรับพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้น o ครูประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง ประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้กระบวนการวัดและประเมินผลที่ หลากหลาย o ครูจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ บริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก o ครูจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนสะอาด ปลอดภัย มีความใกล้ชิดดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนอย่างทั่วถึง o ครูมีการทำวิจัยในชั้นเรียน และนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้ o ครูมีการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง ชุมชน o ครูมีความรู้ความสามารถตรงตามคุณสมบัติตรงกับงานที่รับผิดชอบ o ครูมีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ ขยัน อดทน เสียสละ o ครูพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยการเข้าร่วมอบรม ศึกษาดูงาน ติดตามข่าวสาร ข้อมูล นวัตกรรมใหม่ๆ o ครูจัดทำนวัตกรรมหรือแบบอย่างที่ดี และเผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือผู้ที่สนใจ o อื่น ๆ ระบุ............................................................................ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการออม o กิจกรรมประเภทให้ความรู้ด้านการเงิน การออม การลงทุน o กิจกรรมประเภทโครงการออมทรัพย์นักเรียน สหกรณ์โรงเรียน ธนาคารโรงเรียน o อื่น ๆ ระบุ............................................................................ การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม o กิจกรรมประเภทให้ความรู้และปลูกสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม o กิจกรรมประเภทส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักเรียนในการอนุรักษ์พลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ พลังงาน o อื่น ๆ ระบุ............................................................................


177 จุดควรพัฒนา ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก o เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคม และสติปัญญาไม่เป็นไปตามเกณฑ์เหมาะสมกับวัย o เด็กขาดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับวัย o เด็กขาดความรับผิดชอบ การทำงานที่รับมอบหมายให้สำเร็จ ความมีระเบียบวินัย o เด็กประพฤติตนไม่เป็นไปตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ o เด็กมีส่วนสูง น้ำหนัก ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน o เด็กขาดความสามารถในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ตามวัย o เด็กขาดทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารที่เหมาะสมตามวัย o เด็กขาดสุขนิสัยที่ดี ถูกสุขลักษณะ การรู้จักรักษาความสะอาดของตนเอง สถานที่ การเลือกรับประทานอาหารที่ มีประโยชน์ o เด็กขาดความกล้าแสดงออก มีความเป็นผู้นำ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นยังไม่เหมาะสมตามวัย o เด็กขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา สามารถวิเคราะห์เหตุและผล o เด็กขาดทักษะความสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ การใช้เทคโนโลยียังไม่เหมาะสมกับวัย o เด็กขาดจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า การดูแลรักษาของส่วนรวม ✓ เด็กขาดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดวิเคราะห์ การไตร่ตรอง การสังเคราะห์ o เด็กยังไม่สามารถปฏิบัติตนอย่างมีมารยาท มีสัมมาคารวะ ตามวัฒนธรรมไทยได้เหมาะสมตามวัย o เด็กขาดความพร้อม และทักษะในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ o ผู้บริหารควรนำระบบประกันคุณภาพการศึกษามาใช้เป็นส่วนในการบริหารจัดการ o ผู้บริหารขาดประสบการณ์ในการบริหารงานสถานศึกษา o ผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์ ในการบริหารสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ o ผู้บริหารขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อนำมาปรับใช้ในการบริหารจัดการ o ผู้บริหารขาดจรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรม ในการบริหารจัดการสถานศึกษา o ผู้บริหารขาดการดูแล การให้ขวัญกำลังใจ สวัสดิการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา บุคลากรอย่างเหมาะสม ไม่ทั่วถึง o ผู้บริหารจัดสรรครูผู้สอน บุคลากร ไม่เพียงพอ ไม่เป็นไปตามวุฒิ ตามเกณฑ์ที่กำหนด o ผู้บริหารขาดการบริหารแบบมีส่วนร่วม ไม่เปิดโอกาสให้บุคลากร ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนในการบริการ o ผู้บริหารไม่มีการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สถานที่เรียนไม่มีความปลอดภัย o ผู้บริหารจัดหาวัสดุอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี ทรัพยากรการเรียนรู้ ไม่เพียงพอต่อการให้บริหาร o ผู้บริหารไม่พัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนให้เป็นระบบ o ผู้บริหารขาดการส่งเสริมให้ครู บุคลากร ได้พัฒนาตนเองจนมีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์ ให้กับเด็ก


Click to View FlipBook Version