The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

E-BOOK DEEKA INTREND เล่มที่ 2 EP.21-40

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2024-05-26 23:14:11

E-BOOK DEEKA INTREND เล่มที่ 2 EP.21-40

E-BOOK DEEKA INTREND เล่มที่ 2 EP.21-40

สำ�นักงานศาลยุติธรรม 1


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 2


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 3 - ไถ่ถอนจำ�นองแล้วโอนขายที่ดินไป 5 จะผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้หรือไม่ - แสดงเจตนาลวงว่าขายฝากที่ดินแต่จริง ๆ แค่ใช้เป็นประกันเงินกู้ 12 ผลจะเป็นอย่างไร - ข้อตกลงห้ามลูกจ้างที่ลาออกไปไม่ให้ทำ�ธุรกิจแข่งกับนายจ้างเดิม 19 จะใช้บังคับได้หรือไม่ - ผู้เช่าที่ดินจะมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำ�เนินคดีอาญากับผู้บุกรุกที่ดิน 26 ...ได้หรือไม่ - ขายลอตเตอรี่เกินราคาแล้วถูกเบี้ยว ฟ้องคนรับไปขายต่อว่า 32 ฉ้อโกงได้หรือไม่ - ขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีอื่นที่ลูกหนี้ถูกฟ้องเมื่อเกิน10ปีได้หรือไม่ 38 - ทำ�คลินิกด้วยกันจะต้องรับผิดที่อีกคนทำ�ให้คนไข้เสียหายหรือไม่ 44 - จ่ายค่าสินไหมฯให้ผู้ประสบภัยจากรถจะไล่เบี้ยจากผู้ก่อเหตุได้ 50 ภายในกำ�หนดเท่าใด - เช็คถูกปลอมไปขึ้นเงินจะเรียกเงินคืนจากธนาคารได้หรือไม่ 56 - สิทธิการเช่าเป็นมรดกตกทอดที่เจ้าหนี้จะยึดมาบังคับชำ�ระหนี้ได้หรือไม่ 62 - “ที่ดินตาบอด” จะขอเปลี่ยนทางออกสู่ทางสาธารณะได้หรือไม่ 68


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 4 - สัญญาซื้อขายที่ดินที่ให้ริบมัดจำ�สูงเกินส่วนจะถือเป็นข้อสัญญา 74 ที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่ - ขอลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและไม่ต้องค่าใช้จ่าย 81 ส่วนกลางได้หรือไม่ - ตกลงว่าจ้างแต่ยังไม่ลงนามสัญญา หากมีการยกเลิกงาน ผู้รับจ้าง 88 จะเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เสียไปแล้วได้หรือไม่ - ตัดต้นไม้ที่ปลูกรุกล้ำ�แล้วขนไปไว้ที่บ้านจะเป็นความผิด 95 ฐานลักทรัพย์หรือไม่ - เจ้าของที่ดินที่มีภาระจำ�ยอมในโครงการจัดสรรจะโอนขายที่ดิน 100 นั้นให้คนอื่นไปได้หรือไม่ - ผู้ค้ำ�ประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไปเจ้าหนี้จะขอเพิกถอน 106 การโอนนั้นได้หรือไม่ - หุ้นส่วนประเภทจำ�กัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ยให้รับผิดหนี้ 113 ที่เกิดก่อนออกจากห้างได้หรือไม่ - แกล้งให้รถชนท้ายแล้วขู่เรียกเงินเป็นความผิดฐานใด 119 - ทำ�สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าแต่ไม่มีการส่งมอบที่ดิน 126 จะเรียกค่าที่ดินที่วางไว้คืนได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 5 ฎีกา InTrend 21


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 6 หากเราเป็นเจ้าหนี้แน่นอนว่าเราต้องการให้ได้รับชำ�ระหนี้ที่ค้างอยู่ แต่ การที่จะเอาทรัพย์สินของลูกหนี้มาบังคับชำ�ระหนี้ให้ครบถ้วนก็มักประสบปัญหาอยู่ เสมอ การกระทำ�ลักษณะหนึ่งของลูกหนี้คือการที่อาจจะโอนทรัพย์สินของตนไป ให้บุคคลอื่น ทำ�ให้เจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับชำ�ระหนี้กับทรัพย์สินนั้นได้การกระทำ� ทำ�นองนี้มีปัญหาที่ต้องคิดอยู่เสมอทั้งในฝั่งลูกหนี้และเจ้าหนี้คือจะเข้าข่าย การกระทำ�ความผิดอาญาที่เรียกว่า “โกงเจ้าหนี้” หรือไม่ ปัญหาที่จะนำ�มาพูดคุย ในตอนนี้เป็นกรณีที่ลูกหนี้ไถ่ถอนจำ�นองที่ดินผืนหนึ่งของตนแล้วนำ�ไปโอนขายต่อให้ บุคคลอื่นจะถือว่าเป็นการกระทำ�ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้หรือไม่ ฎีกา InTrend ไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายที่ดินไป จะผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 7 นางไก่เป็นหนี้เงินกู้อยู่กับนางบัวจำ�นวน 2,000,000 บาท เมื่อนางไก่ไม่ ชำ�ระหนี้ตามกำ�หนด นางบัวจึงฟ้องนางไก่เป็นจำ�เลย แต่ในการดำ�เนินกระบวน พิจารณาคดีดังกล่าวนางไก่ตกลงทำ�สัญญาประนีประนอมยอมความกับนางบัวได้ และขอให้ศาลมีคำ�พิพากษาตามยอม แต่ปรากฏว่านางไก่ก็ยังไม่ชำ�ระหนี้ตาม เงื่อนไขของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวอีก นางบัวจึงได้ดำ�เนินการ บังคับคดีและได้ยึดที่ดินผืนหนึ่งของนางไก่ออกขายทอดตลาด แต่ยังได้เงินมา ชำ�ระหนี้ไม่ครบถ้วน ฎีกา InTrend ไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายที่ดินไป จะผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 8 นอกจากที่ดินผืนดังกล่าวนางไก่ยังมีที่ดินอีกผืนหนึ่งแต่ที่ดินผืนที่สองนี้ ติดจำ�นองอยู่กับธนาคาร โดยมีวงเงินจำ�นอง 1,000,000 บาท ต่อมา นางไก่ได้ไปขอไถ่ถอนจำ�นองที่ดินผืนดังกล่าวจากธนาคารโดยชำ�ระหนี้ส่วนที่ค้าง จนครบจำ�นวน 900,000 บาท แล้วจดทะเบียนโอนขายไปให้แก่นางสายในราคา 1,000,000 บาทไปในวันเดียวกันกับที่จดทะเบียนไถ่ถอนจำ�นองนั้น เมื่อนางบัว ทราบเรื่องจึงได้มาฟ้องนางไก่เป็นคดีอาญาอ้างว่าเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ เพราะนอกจากที่ดินที่ขายไปแล้ว นางไก่ไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอที่จะนำ�มาชำ�ระ หนี้ได้อีกแล้ว ในกรณีที่จะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น หากกล่าวโดยย่อคงจะพอ บอกได้ว่าจะต้องเป็นกรณีที่ปรากฏว่าคนที่เป็นลูกหนี้ได้ย้าย ซ่อนเร้นหรือโอน ทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดของตนไปหรืออาจจะแกล้งเป็นหนี้บางอย่างที่ไม่มีอยู่จริง โดยการกระทำ�ของลูกหนี้รายนั้นต้องทำ�ไปโดยมีเจตนาที่จะให้เจ้าหนี้ของตน ไม่ได้รับชำ�ระหนี้ที่มีอยู่ เจ้าหนี้รายดังกล่าวจะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิ ทางศาลซึ่งก็คือการที่จะไปฟ้องร้องดำ�เนินคดีเพื่อบังคับชำ�ระหนี้ที่ค้างอยู่นั้น หากปรากฏพฤติการณ์ลักษณะนี้การกระทำ�ของลูกหนี้รายนี้ก็จะเข้าข่ายเป็นการ กระทำ�ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ที่อาจต้องรับโทษทางอาญาได้ ความเป็นเจ้าหนี้ของนางบัวในกรณีนี้คงไม่มีปัญหาอะไรเพราะนางบัว เป็นเจ้าหนี้ที่ได้ใช้สิทธิฟ้องคดีจนกระทั่งมีการทำ�สัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลมีคำ�พิพากษาตามยอมให้นางไก่ชำ�ระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำ�หนดไว้ ในข้อตกลงของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว นางบัวจึงเป็นเจ้าหนี้ที่มี ฎีกา InTrend ไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายที่ดินไป จะผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 9 ลักษณะตามที่กฎหมายกำ�หนดไว้ในเรื่องความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ปัญหาที่สำ�คัญคือการที่นางไก่ไถ่ถอนจำ�นองแล้วโอนขายที่ดินผืนดังกล่าว ให้นางสายไปนั้นจะถือเป็นการโอนทรัพย์สินเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนคือนางบัว ได้รับชำ�ระหนี้หรือไม่ หากเป็นทรัพย์สินปกติที่ไม่ได้ติดจำ�นองแล้วนางไก่โอนขายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งขายไปในราคาต่ำ�กว่าราคาในท้องตลาดหรือโอนยกให้ลูกหลาน หรือญาติพี่น้องไปเสียเลยอาจจะเห็นได้ไม่ยากว่ากรณีลักษณะดังกล่าวนี้เข้าข่าย ที่ส่อไปในทางที่จะเป็นการโกงเจ้าหนี้ได้ไม่ยาก เพราะเมื่อโอนไปแล้วเจ้าหนี้ย่อมจะ ฎีกา InTrend ไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายที่ดินไป จะผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 10 บังคับชำ�ระหนี้ยึดเอาที่ดินดังกล่าวไปขายทอดตลาดเหมือนที่ดินผืนแรกที่ขายไป แล้วไม่ได้ทันทีหากจะทำ�ก็ต้องไปฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนโอนนั้นอีกซึ่งเพิ่ม ความยุ่งยากและเสียเวลาอีกมาก กรณีที่เป็นจุดสำ�คัญของคดีนี้คงเป็นการที่ที่ดินผืนที่สองนี้เป็นที่ดินที่ นางไก่จดทะเบียนจำ�นองไว้กับธนาคาร ซึ่งตามปกติในแนวปฏิบัติธนาคารอาจจะ เก็บโฉนดหรือเอกสารสิทธิของที่ดินไว้ที่ธนาคาร การจะไปจดทะเบียนทำ�นิติกรรม อะไรเกี่ยวกับที่ดินผืนนั้นก็ทำ�ได้ยากโดยสภาพอยู่แล้ว แต่ประการสำ�คัญคือการที่ ที่ดินติดจำ�นอง แม้นางบัวจะยึดที่ดินผืนนี้ไปขายทอดตลาด ตามกฎหมายแล้ว เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดก็ต้องนำ�ไปชำ�ระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จำ�นองก่อนที่จะ ชำ�ระให้แก่นางบัวที่เป็นเจ้าหนี้สามัญที่ไม่มีหลักประกันใดๆเมื่อดูจากจำ�นวนเงินที่ ฎีกา InTrend ไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายที่ดินไป จะผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 11 ต้องใช้ในการไถ่ถอนและราคาที่ขายแล้วก็ใกล้เคียงกันหากขายทอดตลาดก็อาจได้ เงินไม่ต่างจากราคานี้เท่าใดสุดท้ายก็คงไม่มีเงินเหลือไปถึงนางบัวอยู่ดี ในการไถ่ถอนจำ�นองและจดทะเบียนโอนขายในกรณีนี้จะเห็นได้ว่าทำ�ไป ในวันเดียวกันซึ่งก็คงเป็นธุรกรรมปกติที่เงินที่นางไก่ใช้ในการไถ่ถอนจำ�นองก็คือ เงินที่ได้จากการขายที่ดินให้แก่นางสายนั่นเอง ไม่ใช่เงินที่นางไก่มีอยู่มาก่อนแล้ว ทำ�ให้การจดทะเบียนทั้งไถ่ถอนจำ�นองและการขายจึงทำ�ไปในคราวเดียวกันเพราะ คนขายก็ย่อมต้องรอให้พร้อมที่จะจดทะเบียนโอนได้ก่อนจึงจะยอมจ่ายเงินให้ จำ�นวนเงินที่ไถ่ถอนจำ�นองและราคาขายที่ดินก็เป็นจำ�นวนที่ใกล้เคียงกัน ไม่มีข้อ เท็จจริงที่บ่งชี้อะไรว่าราคาที่ขายนั้นต่ำ�กว่าที่ควรจะเป็น แม้จะมีส่วนต่างอยู่บ้าง แต่ตามปกติของการซื้อขายก็อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นเช่นการเสียค่านายหน้าหรือ ค่าธรรมเนียมการโอนด้วยเหตุนี้เองการไถ่ถอนจำ�นองและการจดทะเบียนโอนขาย ในกรณีนี้ของนางไก่จึงเป็นเพียงการขายที่ดินเพื่อนำ�เงินมาชำ�ระหนี้ตามปกติ ไม่ถือว่าเป็นการโกงเจ้าหนี้ที่จะมีความผิดอาญา แม้ในกรณีนี้จะไม่ถือเป็นการโกงเจ้าหนี้แต่สำ�หรับผู้ที่เป็นลูกหนี้ก็คงต้อง เป็นข้อที่ต้องระวังเช่นกัน หากรู้อยู่แล้วว่าตนเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้กำ�ลังจะดำ�เนินการ บังคับชำ�ระหนี้หรือได้ดำ�เนินการแล้วหากไปยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินที่ส่อว่าทำ�เพื่อ ไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำ�ระหนี้ลูกหนี้รายนั้นก็เสี่ยงที่จะถือว่าทำ�การโกงเจ้าหนี้ที่อาจเป็น เหตุให้ต้องรับโทษทางอาญาก็ได้ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่6427/2562) ฎีกา InTrend ไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายที่ดินไป จะผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 12 ฎีกา InTrend 22


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 13 การทำ�นิติกรรมสัญญาต่างๆปกติแล้วหากทำ�แบบตรงไปตรงมาก็คง ไม่มีปัญหาใด ๆ แต่หากทำ�แบบซับซ้อนซ่อนเงื่อน ทำ�อย่างหนึ่งแต่แสดงออกว่า ทำ�อีกอย่างหนึ่งก็อาจทำ�ให้เกิดปัญหาได้กรณีในตอนนี้จะเป็นปัญหาที่ว่ากู้ยืม เงินกันแล้วต้องการจะเอาที่ดินเป็นประกัน แต่ไปจดทะเบียนไว้เป็นการขายฝากแทน สัญญาขายฝากนั้นจะมีผลอย่างไร นายพลมีความเดือดร้อนเรื่องเงิน จึงได้ไปขอกู้เงินจากนางเพ็ญ 200,000 บาท โดยบอกว่ามีที่ดิน 56 ตารางวา ของยายของนายพลเป็น ประกัน นางเพ็ญจึงให้ไปเปลี่ยนชื่อเจ้าของในโฉนดเป็นชื่อนายพลเสียก่อน ฎีกา InTrend แสดงเจตนาลวงว่าขายฝากที่ดินแต่จริง ๆ แค่ใช้เป็นประกันเงินกู้ ผลจะเป็นอย่างไร


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 14 นายพลจึงไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดินมาเป็นของตน นางเพ็ญนัดหมายให้ นายพลไปพบที่สำ�นักงานที่ดินในวันรุ่งขึ้น เมื่อนายพลไปตามกำ�หนดนัด นางเพ็ญ จึงให้นายพลจดทะเบียนขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายชัยสามีของนางเพ็ญ โดยระบุในสัญญาขายฝากว่าขายในราคา 400,000 บาท ต่อมาเมื่อครบกำ�หนด เวลาสองปีตามสัญญาขายฝาก นายชัยจึงได้ยื่นฟ้องนายพลเป็นจำ�เลยขอให้ขับไล่ นายพลออกจากที่ดินแปลงดังกล่าวนายพลจึงต่อสู้ว่าที่ดินแปลงดังกล่าวความจริง แล้วมีเจตนาให้ไว้เป็นประกันไม่ได้มีเจตนาขายฝากกันจริงๆดังนั้นตนเองจึงไม่ต้อง ฎีกา InTrend แสดงเจตนาลวงว่าขายฝากที่ดินแต่จริง ๆ แค่ใช้เป็นประกันเงินกู้ ผลจะเป็นอย่างไร


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 15 ออกจากที่ดินแปลงนั้น ในกรณีนี้ปรากฏด้วยว่านางเพ็ญมีธุรกิจเปิดร้านค้าแห่งหนึ่งชื่อ ร้านเพ็ญจันทร์ เอกสารฉบับหนึ่งที่เป็นของร้านเพ็ญจันทร์มีรายละเอียดระบุ ว่าในวันที่วันเดียวกับที่มีการไปจดทะเบียนขายฝาก นายพลได้กู้ยืมเงินไปจาก ร้านเพ็ญจันทร์จำ�นวน 200,000 บาท โดยมีหลักประกันเป็นโฉนดที่ดิน 56 ตารางวา และมีเอกสารการคำ�ขอโอนเงินและใบนำ�ฝากที่ระบุว่านายพล ได้ผ่อนชำ�ระหนี้เงินกู้ให้แก่ร้านเพ็ญจันทร์ กรณีตามที่ปรากฏนี้หากเป็นการขายฝากที่ดินกันเป็นปกติจะถือว่าผู้ที่ ขายฝากได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่ขายฝากให้เป็นของผู้ซื้อฝากแล้วตั้งแต่ ตอนจดทะเบียน เพียงแต่ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินแปลงดังกล่าวคืนภายใน ฎีกา InTrend แสดงเจตนาลวงว่าขายฝากที่ดินแต่จริง ๆ แค่ใช้เป็นประกันเงินกู้ ผลจะเป็นอย่างไร


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 16 กำ�หนดหากไม่ไถ่ถอนก็จะทำ�ให้ผู้ซื้อฝากมีสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าวอย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นเหตุผลที่นายชัยใช้ในการมาฟ้องขับไล่นายพลออกจากที่ดินแปลงนี้ เพราะอ้างว่าพ้นกำ�หนดไถ่ถอนแล้วนายพลย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินแปลงนั้นอีก จึงต้องการขับไล่นายพลออกไป อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นที่เอกสารซึ่งระบุว่ามีการทำ�สัญญา กู้ยืมเงินกันระหว่างนายพลกับร้านเพ็ญจันทร์ที่เป็นของนางเพ็ญ โดยระบุวันที่กู้ ยืมเงินเป็นวันที่เดียวกันกับที่มีการจดทะเบียนขายฝากและมีการโอนเงินชำ�ระหนี้กัน ต่อมาด้วยย่อมแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกัน หากมีการทำ�สัญญาทั้งขาย ฝากและกู้ยืมเงินไปพร้อม ๆ กันในวันเดียวกันก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะเมื่อขาย ฝากได้เงินไปแล้ว 400,000 บาท ก็ไม่น่าจะมีความจำ�เป็นต้องมากู้ยืมเงินกันอีก ในวันเดียวกัน แถมทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันยังระบุว่าเป็นที่ดิน 56 ตารางวา แปลงเดียวกันอีก การที่นายพลไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแปลงดังกล่าวจากยาย ของตนก็ทำ�เพียงหนึ่งวันก่อนจะมาทำ�สัญญากับนางเพ็ญและสามีทำ�ให้เห็นได้ ว่าไปจดทะเบียนโอนมาเพื่อใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินตามที่นายพลอ้างไว้ จึงแสดงให้เห็นว่าการขายฝากไม่ใช่นิติกรรมที่ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะทำ�กันจริง ๆ แต่ความจริงแล้วเป็นเพียงการกู้ยืมเงินโดยจะใช้ที่ดินเป็นประกันเท่านั้น การทำ�นิติกรรมกันในลักษณะนี้ที่มีการทำ�นิติกรรมสัญญาอย่างหนึ่งซึ่ง ในที่นี้คือสัญญาขายฝาก แต่ความจริงแล้วคู่สัญญามีเจตนาเพียงให้เป็นประกัน หนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น มีผลทำ�ให้นิติกรรมที่แสดงออกมานี้เป็นการ “แสดงเจตนาลวง” อันมีผลทำ�ให้นิติกรรมที่เป็นการแสดงเจตนาลวงนี้กลายเป็นโมฆะซึ่งไม่มีผลบังคับ ฎีกา InTrend แสดงเจตนาลวงว่าขายฝากที่ดินแต่จริง ๆ แค่ใช้เป็นประกันเงินกู้ ผลจะเป็นอย่างไร


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 17 ได้ตามกฎหมาย ปัญหาประการหนึ่งที่นายชัยยกขึ้นต่อสู้คือ นายพลไม่มีหลักฐานเป็น หนังสือของสัญญากู้ยืมมาแสดงอีกทั้งคู่สัญญาในสัญญาขายฝากกับสัญญากู้ยืม เป็นคนละคู่สัญญากัน การที่สัญญากู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือกันหรือไม่คงเป็นปัญหา อีกประการหนึ่ง แต่ไม่ใช่ปัญหาโดยตรงในคดีนี้เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่นายชัย พยายามจะใช้สัญญาขายฝากเป็นเครื่องมือ ไม่ได้มีปัญหาที่จะบังคับกันตาม สัญญากู้ยืมโดยตรง ส่วนการที่คู่สัญญาเป็นคนละคนกันก็คงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงไปจาก ข้อเท็จจริงที่ว่าสัญญาขายฝากเป็นการแสดงเจตนาลวงที่ตกเป็นโมฆะเพราะสัญญา ที่มีการอำ�พรางกันไว้จะเป็นสัญญาอะไรและทำ�กันระหว่างใครนั้นเป็นอีกปัญหา หนึ่งเช่นกัน ที่หากมีการทำ�สัญญาไว้เป็นสัญญาอะไรก็ต้องไปว่ากันในเรื่องนั้น ฎีกา InTrend แสดงเจตนาลวงว่าขายฝากที่ดินแต่จริง ๆ แค่ใช้เป็นประกันเงินกู้ ผลจะเป็นอย่างไร


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 18 ในระหว่างผู้ที่เป็นคู่สัญญาที่แท้จริง เมื่อสัญญาขายฝากที่นายชัยนำ�มาอ้างในการฟ้องขับไล่เป็นการแสดง เจตนาลวงที่เป็นโมฆะไปแล้ว ผลจึงเท่ากับว่านายพลยังเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แปลงดังกล่าวอยู่ นายชัยจึงไม่มีสิทธิมาฟ้องขับไล่นายพลออกไปจากที่ดินแปลง ดังกล่าวได้ การทำ�นิติกรรมสัญญาใด ๆ ก็แล้วแต่ก็ควรทำ�กันอย่างตรงไปมา หาก มีการทำ�ลวงเป็นนิติกรรมแบบหนึ่งทั้ง ๆ ที่เจตนาจริง ๆ ต้องการทำ�นิติกรรมอีก ประเภทหนึ่งย่อมจะมีผลทำ�ให้นิติกรรมที่แสดงเจตนาลวงออกมาตกเป็นโมฆะไปเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ�นิติกรรมลวงเพื่อมุ่งเอาเปรียบอีกฝ่ายเช่นกรณีนี้ที่กู้ยืม กันไปเพียงสองแสนแต่ไปทำ�ขายฝากไว้ถึงสี่แสน ผู้ที่ทำ�ไปโดยเจตนาลวงแบบนี้ก็คง ต้องยอมรับผลทางกฎหมายที่จะเกิดตามมาด้วย (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่7039/2562) ฎีกา InTrend แสดงเจตนาลวงว่าขายฝากที่ดินแต่จริง ๆ แค่ใช้เป็นประกันเงินกู้ ผลจะเป็นอย่างไร


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 19 ฎีกา InTrend 23


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 20 ในการทำ�งานหลายลักษณะที่ลูกจ้างอาจได้รู้เห็นข้อมูลหรือเรียนรู้ข้อมูล ทางการค้าจากนายจ้างนายจ้างอาจให้พนักงานนั้นทำ�ข้อตกลงที่จะไม่ประกอบอาชีพ แข่งขันกับธุรกิจของนายจ้าง ข้อตกลงลักษณะนี้อาจมองได้หลายแง่มุม ทางหนึ่ง ย่อมเป็นการจำ�กัดสิทธิของลูกจ้าง และในอีกทางหนึ่งอาจจำ�เป็นต่อการรักษา ผลประโยชน์ของนายจ้างด้วย ในตอนนี้จึงจะเป็นนำ�ปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงนี้มา พิจารณาว่าจะมีผลบังคับได้หรือไม่เพียงใด เก่งกับกบเป็นพนักงานของบริษัทพิมพ์ดีจำ�กัดโดยเข้าไปทำ�งานที่บริษัท ดังกล่าวตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรีบริษัทพิมพ์ดีจำ�กัด มีความเชี่ยวชาญเป็น พิเศษในธุรกิจการทำ�หนังสือที่ระลึกในโอกาสพิเศษและหนังสือรุ่นของสถาบันการ ศึกษาต่าง ๆ เก่งทำ�หน้าที่เป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ส่วนกบเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด ฎีกา InTrend ข้อตกลงห้ามลูกจ้างที่ลาออกไปไม่ให้ทำธุรกิจแข่ง กับนายจ้างเดิมจะใช้บังคับได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 21 ระหว่างการทำ�งาน บริษัทพิมพ์ดีจำ�กัด ได้ส่งทั้งเก่งและกบไปฝึกอบรมเพิ่ม ทักษะหลาย ๆ หลักสูตรตามภาระหน้าที่ของแต่ละคน ทั้งสองคนทำ�งานอยู่ บริษัท พิมพ์ดีจำ�กัดเป็นเวลาประมาณห้าปี บริษัท พิมพ์ดีจำ�กัด ทราบข่าวว่าเก่งและกบตั้งใจจะลาออกจากบริษัท ผู้บังคับบัญชาของทั้งสองคนจึงได้เรียกไปพบและให้ลงชื่อใน “บันทึกข้อตกลงการ ทำ�งานและการอบรมการทำ�งาน” ซึ่งมีใจความว่าแต่ละคนตกลงที่จะไม่ไปทำ�งาน ในบริษัทของคู่แข่งหรือทำ�กิจการที่เป็นการแข่งขันกับบริษัท พิมพ์ดีจำ�กัดโดยตรง เป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่พ้นสภาพความเป็นพนักงานของบริษัท ต่อมาทั้งเก่งและกบได้ยื่นใบลาออกและได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทใหม่ชื่อ บริษัท พิมพ์เก่ง จำ�กัด โดยมุ่งทำ�ธุรกิจเกี่ยวกับหนังสือสวยงานที่ระลึกในโอกาส ต่าง ๆ คล้ายกับที่บริษัท พิมพ์ดีจำ�กัด ทำ�อยู่ โดยเก่งกับกบมีชื่อเป็นกรรมการ ฎีกา InTrend ข้อตกลงห้ามลูกจ้างที่ลาออกไปไม่ให้ทำธุรกิจแข่ง กับนายจ้างเดิมจะใช้บังคับได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 22 ของบริษัทดังกล่าว ต่อมาบริษัท พิมพ์ดีจำ�กัด ทราบเรื่องการตั้งบริษัทใหม่นั้น เนื่องจากมีลูกค้าบางคนแจ้งให้ทราบว่ากบติดต่อเสนอทำ�งานให้ในราคาถูกกว่า บริษัทพิมพ์ดีจำ�กัด โดยมีการออกแบบดีไซน์สวยงามไม่แพ้กันเนื่องจากใช้ทีม ออกแบบชุดเดียวกัน บริษัท พิมพ์ดีจำ�กัด จึงได้ฟ้องเก่งกับกบเรียกร้องค่าเสียหายจากการ ผิดบันทึกข้อตกลงห้ามแข่งขันเก่งกับกบต่อสู้ว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวใช้บังคับ ไม่ได้เนื่องจากเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ไปห้ามมิให้ประกอบอาชีพที่ตนถนัด ตามปกติหากทำ�สัญญาอย่างไรไว้ก็ต้องบังคับไปตามข้อตกลงใน สัญญานั้น แต่อาจมีบางกรณีที่เป็นสัญญาที่ให้เปรียบคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมากเป็น พิเศษด้วยเหตุที่คู่สัญญาที่ได้เปรียบนั้นมีอำ�นาจต่อรองเหนือกว่าอีกฝ่ายมาก จนทำ�ให้อีกฝ่ายนั้นแทบไม่มีทางเลือกนอกเหนือจากยอมรับว่าจะทำ�สัญญาตาม เงื่อนไขดังกล่าว หรือมิฉะนั้นก็ต้องปฏิเสธไม่เข้าทำ�สัญญานั้นเสียเลย อาจมีผล ทำ�ให้ข้อตกลงดังกล่าวกลายเป็น “ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม” ที่ศาลอาจกำ�หนด ให้บังคับได้เพียงเท่าที่พอสมควรและเป็นธรรม สำ�หรับในกรณีที่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะของการจำ�กัดสิทธิหรือ เสรีภาพในการประกอบอาชีพการงาน หรือการทำ�นิติกรรมที่เกี่ยวกับ การประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพซึ่งไม่เป็นโมฆะแต่เป็นข้อตกลงที่ทำ�ให้ผู้ถูก จำ�กัดสิทธิหรือเสรีภาพต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ กฎหมายกำ�หนดให้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและ พอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ฎีกา InTrend ข้อตกลงห้ามลูกจ้างที่ลาออกไปไม่ให้ทำธุรกิจแข่ง กับนายจ้างเดิมจะใช้บังคับได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 23 กรณีที่จะถือว่าข้อตกลงใดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนั้นอาจจะต้อง ดูจากพฤติการณ์ของแต่ละกรณีประกอบกันไปด้วย เพราะสภาพของคู่สัญญา และพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละกรณีอาจมีความแตกต่างกัน แต่สำ�หรับกรณี ของเก่งกับกบนี้ในระหว่างทำ�งานบริษัท พิมพ์ดีจำ�กัดได้ส่งไปฝึกอบรมเพิ่มพูน ทักษะซึ่งต้องใช้เงินพอสมควร เปรียบเสมือนการลงทุนของบริษัทด้วย หาก ฝึกอบรมแล้วกลับนำ�ความรู้และทักษะดังกล่าวไปใช้ทำ�ประโยชน์ให้กับคู่แข่งย่อม ทำ�ให้บริษัท พิมพ์ดีจำ�กัดเสียหาย ฎีกา InTrend ข้อตกลงห้ามลูกจ้างที่ลาออกไปไม่ให้ทำธุรกิจแข่ง กับนายจ้างเดิมจะใช้บังคับได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 24 หน้าที่อย่างเช่นกบในกรณีนี้รับผิดชอบด้านการตลาด ทำ�ให้รู้จักกับ ลูกค้าของบริษัท พิมพ์ดีจำ�กัด เป็นอย่างดีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าก็ถือเป็นข้อมูล ทางธุรกิจที่มีค่าสำ�หรับธุรกิจทั้งหลายเช่นกัน เพราะการที่บริษัทจะประกอบธุรกิจ สร้างรายได้ได้ก็ต้องอาศัยลูกค้าเหล่านี้หากธุรกิจถูกดึงลูกค้าไปหมดโดยการฉวย โอกาสอาศัยข้อมูลจากที่รู้มาในระหว่างการทำ�งานให้แก่นายจ้างก็ทำ�ให้เกิดความ เสียหายแก่นายจ้างไม่น้อยเช่นกัน ในส่วนของเก่งกับกบนั้นการที่ทั้งสองคนประกอบอาชีพและมีความชำ�นาญ ในงานที่ตนเองรับผิดชอบนั้นย่อมเป็นปัจจัยสำ�คัญที่จะทำ�ให้ทั้งสองคนทำ� มาหาเลี้ยงชีพได้หากกำ�หนดให้ลูกจ้างไม่สามารถไปทำ�งานอื่นได้เลยย่อมจะสร้าง ความเสียหายและความลำ�บากแก่ลูกจ้างอย่างมาก เพราะโดยสภาพเมื่อลูกจ้าง มีความชำ�นาญในงานลักษณะใดมาแต่เดิม การไปประกอบอาชีพใหม่ก็มักมีความ เกี่ยวพันกับงานที่เคยทำ�มา ทำ�ให้มีโอกาสที่จะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจเดิมได้มาก ด้วยเหตุที่แต่ละฝ่ายย่อมจะมีเหตุผลและความจำ�เป็นของตนเอง กฎหมายจึงได้กำ�หนดให้ข้อตกลงทำ�นองนี้เป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับได้เพียงแต่ต้อง ไม่สร้างภาระให้แก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเกินสมควร ซึ่งเมื่อพิจารณาจากกรณีของเก่ง กับกบ ข้อตกลงกำ�หนดห้ามไม่ให้ทั้งสองคนทำ�การที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจบริษัท พิมพ์ดีจำ�กัด เป็นเวลาสองปีจึงพอถือได้ว่าแม้จะสร้างภาระ แต่เวลาที่จำ�กัดเพียง สองปีแล้วหลังจากนั้นทั้งสองคนสามารถทำ�การแข่งขันกับนายจ้างเดิมได้ถือว่า เป็นเงื่อนไขที่พอสมควรกับการทำ�งานลักษณะนี้เมื่อเก่งกับกบไม่ทำ�ตามข้อตกลง จึงทำ�ให้ทั้งสองคนต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท พิมพ์ดีจำ�กัด ฎีกา InTrend ข้อตกลงห้ามลูกจ้างที่ลาออกไปไม่ให้ทำธุรกิจแข่ง กับนายจ้างเดิมจะใช้บังคับได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 25 การทำ�ข้อตกลงที่ห้ามไม่ให้บุคคลหนึ่งอย่างเช่นลูกจ้างต้องถูกจำ�กัด โอกาสในการประกอบอาชีพนั้นเป็นข้อตกลงที่แม้จะทำ�ได้แต่ก็ต้องวางอยู่บนพื้นฐาน ของการสร้างภาระที่ไม่มากเกินสมควรไปด้วย เพราะหากถือว่าเป็นการสร้าง ภาระเกินสมควรแล้ว ข้อตกลงนั้นอาจใช้บังคับไม่ได้ทั้งหมดด้วยเหตุที่ถือว่าเป็น “ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม” (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่3597/2561) ฎีกา InTrend ข้อตกลงห้ามลูกจ้างที่ลาออกไปไม่ให้ทำธุรกิจแข่ง กับนายจ้างเดิมจะใช้บังคับได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 26 ฎีกา InTrend 24


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 27 การที่มีผู้เข้าไปบุกรุกที่ดินย่อมทำ�ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่มีสิทธิที่ ทำ�ให้ไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินผืนนั้นได้การบุกรุกนั้นอาจเป็นการกระทำ� ความผิดอาญาที่ถูกดำ�เนินคดีและต้องรับโทษได้แต่การจะดำ�เนินคดีอาญาได้นั้น จำ�เป็นต้องให้ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนก่อนจึงจะดำ�เนินการได้ ปัญหาที่จะนำ�มากล่าวถึงในตอนนี้เป็นกรณีที่ว่าหากมีการบุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงหนึ่ง ผู้เช่าที่ดินแปลงนั้นที่ทำ�สัญญาเช่าภายหลังจากเกิดเหตุบุกรุกแต่ผู้บุกรุกยัง คงอยู่ในที่ดินต่อมาจะเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิไปร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนทำ�การ สอบสวนและดำ�เนินคดีอาญากับผู้บุกรุกนั้นได้หรือไม่ กำ�จรได้เข้าไปทำ�ประโยชน์ทำ�ร้านค้าขายสินค้าอยู่ในที่ดินซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ต่อมาสายหยุดได้เข้าไปติดต่อขอทำ� ฎีกา InTrend ผู้เช่าที่ดินจะมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำ เนินคดีอาญา กับผู้บุกรุกที่ดิน...ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 28 สัญญาเช่าที่ดินแปลงดังกล่าวจากกรมธนารักษ์เพื่อจะนำ�ไปทำ�สถานีบริการ น้ำ�มัน กรมธนารักษ์ตกลงให้สายหยุดเช่าที่ดินแปลงดังกล่าวและทำ�สัญญาเช่า กับสายหยุด แต่เมื่อสายหยุดได้ไปแจ้งให้กำ�จรทราบว่าตนเองได้ทำ�สัญญาเช่า ที่ดินแปลงดังกล่าวกับกรมธนารักษ์แล้ว และขอให้กำ�จรออกไปจากที่ดิน กำ�จร ปฏิเสธไม่ยอมออกไป ทำ�ให้สายหยุดไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลง ดังกล่าวได้ สายหยุดได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำ�รวจที่รับผิด ชอบพื้นที่ดังกล่าว พนักงานสอบสวนได้สอบสวนแล้วมีความเห็นควรสั่งฟ้อง พนักงานอัยการได้พิจารณาแล้วมีคำ�สั่งฟ้องกำ�จรเป็นจำ�เลย สายหยุดร้องขอ เข้าเป็นโจทก์ร่วมคดีดังกล่าวด้วย กำ�จรจึงต่อสู้ว่าการดำ�เนินคดีอาญาคดีนี้ทำ� โดยไม่ชอบ เนื่องจากสายหยุดไม่มีอำ�นาจไป “ร้องทุกข์” ต่อพนักงานสอบสวน ให้ดำ�เนินคดีอาญาคดีนี้ได้ กรณีที่เกิดขึ้นนี้เป็นกรณีที่มีการกล่าวหาว่ากระทำ�ความผิดฐานบุกรุก ที่เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำ�การใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นที่ครอบครองโดยปกติสุข แต่ไม่มีข้อเท็จจริงที่เป็น การกล่าวหาว่าการบุกรุกเข้าไปนั้นทำ�ในเวลากลางคืน ใช้กำ�ลังประทุษร้าย โดยมีอาวุธหรือร่วมกันทำ�ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ทำ�ให้การกระทำ�ความผิดฐานบุกรุก กรณีนี้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ที่เป็น “ความผิด ต่อส่วนตัว” และเป็น“ความผิดอันยอมความได้” ฎีกา InTrend ผู้เช่าที่ดินจะมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำ เนินคดีอาญา กับผู้บุกรุกที่ดิน...ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 29 การดำ�เนินคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ลักษณะนี้จะต้อง มีการ “ร้องทุกข์” โดย “ผู้เสียหาย” เสียก่อน พนักงานสอบสวนจึงจะมีอำ�นาจ ทำ�การสอบสวนได้และพนักงานอัยการจึงจะมีอำ�นาจฟ้องคดีต่อศาลได้แต่ปัญหา สำ�หรับกรณีนี้คือ “สายหยุด” ที่ทำ�สัญญาเช่ากับกรมธนารักษ์จะถือว่าเป็นผู้เสีย หายที่มีอำ�นาจไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้หรือไม่ เรื่องราวที่เกิดขึ้นปรากฏว่าการที่กำ�จรเข้าไปสร้างร้านค้าทำ�การค้าขาย ในที่ดินแปลงที่เป็นปัญหานี้กำ�จรเข้าไปตั้งแต่ก่อนที่สายหยุดจะไปทำ�สัญญาเช่า กับกรมธนารักษ์ เพียงแต่กำ�จรอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวเรื่อยมาและไม่ยอมออก ไปจากที่ดินเมื่อสายหยุดไปทำ�สัญญาเช่ากับกรมธนารักษ์หากการกระทำ�ของ ฎีกา InTrend ผู้เช่าที่ดินจะมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำ เนินคดีอาญา กับผู้บุกรุกที่ดิน...ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 30 กำ�จรจะเป็นความผิดฐานบุกรุก การกระทำ�ความผิดนี้ก็เกิดขึ้นเป็นความผิดสำ�เร็จ ตั้งแต่ขณะแรกที่กำ�จรเข้าไปทำ�ประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้แล้วอันเป็นการบุกรุกที่ดินที่ ทำ�ให้กรมธนารักษ์ได้รับความเสียหายและเป็นผู้เสียหายจากการกระทำ�ความผิดนี้ ส่วนการที่กำ�จรอยู่ในที่ดินดังกล่าวเรื่อยมาถือว่าเป็นเพียง “ผลของ การบุกรุก” แม้สายหยุดในกรณีนี้จะทำ�สัญญาเช่าที่ดินก็ตาม แต่สายหยุดยัง ไม่เคยเข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวเลยย่อมจะบอกไม่ได้ ว่าการกระทำ�ของกำ�จรเป็นการ “รบกวนการครอบครอง” ของสายหยุดในเมื่อ สายหยุดเองก็ยังไม่เคยเข้าไปใช้ประโยชน์และครอบครองที่ดินแปลงนั้นจริง ๆ การกระทำ�ของกำ�จรแม้จะทำ�ให้สายหยุดไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ใน ฎีกา InTrend ผู้เช่าที่ดินจะมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำ เนินคดีอาญา กับผู้บุกรุกที่ดิน...ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 31 ที่ดินที่ตนทำ�สัญญาเช่าได้แต่ในส่วนของความผิดอาญาที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วไม่ ถือว่าสายหยุดเป็นผู้เสียหายที่จะมีอำ�นาจไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ดังนั้น การที่สายหยุดไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำ�นาจร้องทุกข์แล้ว การสอบสวนที่ทำ�มาจึง ไม่ชอบตามไปด้วย พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำ�นาจฟ้องคดีนี้ได้หากจะดำ�เนิน การให้ถูกต้องในกรณีลักษณะนี้จึงต้องให้ผู้เสียหายที่ถูกต้องคือเจ้าของที่ดินไป ดำ�เนินการร้องทุกข์เองจึงจะทำ�ให้สามารถดำ�เนินคดีอาญาต่อมาได้ การดำ�เนินคดีอาญาที่เป็น “ความผิดอันยอมความได้” อย่างเช่น การบุกรุกจะต้องให้“ผู้เสียหาย”ตามกฎหมายไป“ร้องทุกข์”ต่อพนักงานสอบสวน ให้ถูกต้องเสียก่อนจึงจะทำ�ให้พนักงานสอบสวนมีอำ�นาจสอบสวนและดำ�เนินคดี อาญาต่อไปได้แต่กรณีลักษณะนี้ที่การบุกรุกเกิดก่อนการทำ�สัญญาเช่า ผู้เช่า อาจไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิไปร้องทุกข์ให้ดำ�เนินคดีอาญาได้ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่3081/2561) ฎีกา InTrend ผู้เช่าที่ดินจะมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำ เนินคดีอาญา กับผู้บุกรุกที่ดิน...ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 32 ฎีกา InTrend 25


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 33 สลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นความหวังของใครต่อใครหลาย ๆ คนที่เห็นว่า เป็นช่องทางสร้างความร่ำ�รวยด้วยเงินลงทุนน้อยแต่มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง แต่ปัญหาเรื้อรังที่เกิดมาทุกยุคทุกสมัยประการหนึ่งคือการขายเกินราคาที่ความ พยายามแก้ไขหลายครั้งยังไม่ประสบผลสำ�เร็จปัญหาที่จะนำ�มากล่าวถึงในตอนนี้ จะเป็นกรณีที่ผู้รับสลากไปขายต่อเกินราคาแล้วเกิดถูกผู้ที่ซื้อไปเบี้ยวไม่ยอม จ่ายเงินค่าสลาก ผู้ที่ขายเกินราคานั้นจะสามารถฟ้องผู้ซื้อเป็นความผิดอาญาใน ข้อหาฉ้อโกงได้หรือไม่ “สมบูรณ์” เป็นผู้ที่ได้รับส่วนแบ่งในการจำ�หน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล จากสำ�นักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ปกติในแต่ละงวดจะได้สลากจำ�นวน 15 เล่ม เพื่อให้นำ�ไปขายต่อ ต่อมาสมบูรณ์ได้รับการติดต่อจาก “ก่อเกิด” ซึ่งเป็นคน ฎีกา InTrend ขายลอตเตอรี่เกินราคาแล้วถูกเบี้ยว ฟ้องคนรับไปขายต่อว่าฉ้อโกงได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 34 ที่สมบูรณ์รู้จักจากการทำ�งานทางการเมืองท้องถิ่นด้วยกันว่าต้องการจะหา สลากกินแบ่งรัฐบาลไปกระจายให้หัวคะแนนในท้องที่ต่าง ๆมีรายได้และจะได้เป็น ฐานเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไป สมบูรณ์จึงได้ไปรวบรวมหาสลากกินแบ่งรัฐบาลจากคนที่รู้จักหลาย ๆ คนมาได้อีก 635 เล่ม และตกลงขายให้ก่อเกิดไปแบ่งกระจายขายต่อทั้งหมด 650เล่มโดยขายให้ในราคาฉบับละ100บาทรวมเป็นเงิน6,500,000บาททั้งสองคน ตกลงกันว่าเมื่อขายได้เงินมาแล้วก่อเกิดจะนำ�มาชำ�ระคืนให้แก่สมบูรณ์ ทั้งหกล้านห้าแสนบาท ต่อมาเมื่อครบกำ�หนดสมบูรณ์พยายามติดต่อทวงเงินคืน จากก่อเกิดแต่ก่อเกิดก็พยายามบ่ายเบี่ยงด้วยเหตุต่างๆนานา และบางครั้งก็เลี่ยง ไม่ยอมพบหน้า ไม่รับโทรศัพท์ สมบูรณ์จึงฟ้องก่อเกิดเป็นคดีอาญากล่าวหาว่าก่อเกิดฉ้อโกงตนเอง ด้วยการหลอกลวงว่าจะนำ�สลากไปจำ�หน่ายแล้วจะนำ�เงินมาคืน คดีฉ้อโกงในหลาย ๆ กรณีเป็นเรื่องที่ก้ำ�กึ่งระหว่างการตกลงทำ�สัญญา ทางแพ่งอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมีการผิดสัญญากัน แต่เมื่อเกิดเหตุแล้วอาจมีการ ยกเป็นข้อกล่าวหาว่าการกระทำ�ที่เกิดขึ้นเป็นการฉ้อโกงเนื่องจากการที่เข้าไปตกลง ทำ�สัญญาเหล่านั้นความจริงแล้วคนที่ถูกกล่าวหาไม่ได้มีเจตนาจะตกลงทำ�สัญญา เป็นมั่นเป็นเหมาะจริงๆเพียงแต่ใช้การทำ�สัญญานั้นเป็นเหมือนเครื่องมือในการจูงใจ ให้อีกฝ่ายตกลงด้วยเพื่อที่จะทำ�ให้คนที่ถูกกล่าวหาไปได้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นทรัพย์สินไปจากอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ฎีกา InTrend ขายลอตเตอรี่เกินราคาแล้วถูกเบี้ยว ฟ้องคนรับไปขายต่อว่าฉ้อโกงได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 35 หากข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่าความจริงแล้วคนที่ถูกกล่าวหาไม่ได้มี เจตนาที่จะทำ�ตามข้อตกลงมาแต่แรกและใช้การทำ�สัญญาเป็นเพียงเครื่องมือใน การทำ�ให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินก็อาจเป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้แต่หากไม่ถึงขนาดนั้น โดยมีการตกลงทำ�สัญญากันจริงๆเพียงแต่เมื่อทำ�สัญญาไปแล้วมีเหตุอย่างหนึ่ง อย่างใดที่ทำ�ให้ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญานั้นได้การกระทำ�นั้น ก็ไม่ใช่ความผิดอาญา แต่เป็นเรื่องทางแพ่งที่ต้องไปฟ้องร้องบังคับให้ชำ�ระหนี้กัน ตามปกติ ฎีกา InTrend ขายลอตเตอรี่เกินราคาแล้วถูกเบี้ยว ฟ้องคนรับไปขายต่อว่าฉ้อโกงได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 36 แต่ปัญหาในคดีนี้ยังเดินไปไม่ถึงขนาดที่จะพิสูจน์ว่าความจริงแล้วการกระทำ� ของ“ก่อเกิด”เข้าลักษณะเป็นการฉ้อโกงจริงๆหรือไม่แต่ติดอยู่ที่ปัญหาที่ว่าจาก พฤติการณ์ในกรณีนี้“สมบูรณ์” เองถือเป็น “ผู้เสียหายโดยนิตินัย” ที่จะมีสิทธิ ดำ�เนินคดีอาญากับคนที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ข้อเท็จจริงสำ�คัญในกรณีนี้ที่เห็นได้ชัดเจนคือสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น มีกฎหมายกำ�หนดให้ขายได้ไม่เกินฉบับละ 80 บาท และมีการกำ�หนดโทษไว้ใน พระราชบัญญัติสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 มาตรา 39 ด้วยว่าผู้ที่ขาย สลากเกินราคาจะต้องรับโทษทางอาญาตามที่กฎหมายกำ�หนด ฎีกา InTrend ขายลอตเตอรี่เกินราคาแล้วถูกเบี้ยว ฟ้องคนรับไปขายต่อว่าฉ้อโกงได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 37 การที่สมบูรณ์ตกลงขายสลากให้ก่อเกิดในราคาฉบับละ 100 บาท คิดราคารวมจาก 650 เล่มเป็นเงินหกล้านห้าแสนบาทจึงเป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ ชัดเจนว่าเป็นการขายเกินราคาที่กฎหมายกำ�หนดไว้โดยเฉพาะ และเป็นกฎหมาย ที่มีบทลงโทษทางอาญาอยู่ด้วย ผลประโยชน์ที่สมบูรณ์อ้างว่าสูญเสียไปให้แก่ ก่อเกิดจึงเป็นผลประโยชน์ที่เกิดจากการกระทำ�ที่ผิดกฎหมายดังกล่าวการที่ขาย ไปในราคา 100 บาท คนที่ซื้อต่อไปย่อมจะต้องขายในราคาที่แพงมากขึ้นไปอีก การกระทำ�ของสมบูรณ์จึงยิ่งเหมือนส่งเสริมให้มีการกระทำ�ผิดกฎหมาย เพิ่มขึ้นด้วย พฤติการณ์เหล่านี้จึงทำ�ให้ไม่ถือว่าสมบูรณ์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยใน กรณีนี้และไม่มีอำ�นาจมาฟ้องให้ก่อเกิดต้องรับผิดทางอาญาในข้อหาฉ้อโกงได้ การกระทำ�ที่เป็นการมีส่วนร่วมหรือส่งเสริมให้เกิดการกระทำ�ความผิด อาญาในทำ�นองนี้จึงทำ�ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่เป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องดำ�เนินคดีได้ การที่ทำ�ให้ผู้ที่กระทำ�ผิดฐานขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาไม่สามารถมา ฟ้องร้องเล่นงานคนที่ทำ�ให้ตนเองเสียหายจึงเป็นเสมือนการทำ�ให้ผู้ที่มีส่วนใน การกระทำ�ผิดเหล่านี้ต้องแบกรับความเสี่ยงและผลความเสียหายที่ตนมีส่วนร่วม ทำ�ให้เกิดขึ้นด้วยแม้จะไม่ทำ�ให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับโทษเองโดยตรงก็ตาม (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่577/2561) ฎีกา InTrend ขายลอตเตอรี่เกินราคาแล้วถูกเบี้ยว ฟ้องคนรับไปขายต่อว่าฉ้อโกงได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 38 ฎีกา InTrend 26


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 39 การฟ้องร้องลูกหนี้ให้ต้องรับผิดชดใช้หนี้ที่คั่งค้างอยู่เป็นขั้นตอนการ บังคับตามสิทธิที่สำ�คัญ แต่การที่จะให้ได้เงินลูกหนี้มาชำ�ระหนี้จริง ๆ อาจไม่ได้ ยุติเพียงได้ผลของคดีแต่อาจต้องดำ�เนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ไป ขายทอดตลาดเพื่อให้ได้เงินมาชำ�ระหนี้บางครั้งหากทรัพย์ของลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้อื่น ยึดไปก็จะต้องไปดำ�เนินการขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีดังกล่าวด้วย ปัญหาที่จะนำ� มากล่าวถึงในตอนนี้จึงจะเป็นเรื่องของการไปขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวว่าจะต้อง ทำ�ภายในกำ�หนดเวลาเท่าใดจึงจะทำ�ให้ไม่เสียสิทธิตามกฎหมายไป “กิ่ง” กู้ยืมเงินจาก “เก๋” จำ�นวน 500,000 บาท แล้วไม่ชำ�ระหนี้ตาม กำ�หนดจนทำ�ให้เก๋ต้องฟ้องเป็นคดีศาลมีคำ�พิพากษาให้กิ่งต้องชำ�ระเงินที่ค้าง ชำ�ระให้แก่เก๋เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 ต่อมากิ่งถูก “มานพ” ฟ้องเป็นอีกคดี ฎีกา InTrend ขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีอื่นที่ลูกหนี้ถูกฟ้อง เมื่อเกิน 10 ปีได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 40 หนึ่งให้ชำ�ระหนี้เงินกู้จำ�นวน 400,000 บาท ศาลมีคำ�พิพากษาให้กิ่งต้องชำ�ระเงิน ที่ค้างให้แก่มานพเมื่อวันที่1กันยายน2548 มานพพยายามสืบหาทรัพย์สินของกิ่งว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้างจะได้ยึด เพื่อมาขายทอดตลาดนำ�เงินไปชำ�ระหนี้ตามคำ�พิพากษา สุดท้ายหลังจากค้นหา เป็นเวลานานจึงพบว่ากิ่งมีห้องชุดแห่งหนึ่ง มานพจึงได้นำ�เจ้าพนักงานบังคับคดี ไปยึดไว้เพื่อจะขายทอดตลาดต่อไป เก๋ทราบเรื่องเข้าว่ากิ่งมีห้องชุดดังกล่าวที่ถูกมานพนำ�เจ้าพนักงาน บังคับคดียึดไป เก๋จึงไปยื่นคำ�ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่มานพเป็นโจทก์ ฎีกา InTrend ขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีอื่นที่ลูกหนี้ถูกฟ้อง เมื่อเกิน 10 ปีได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 41 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 เพื่อจะขอเฉลี่ยส่วนแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด ห้องชุดนั้นมาชำ�ระหนี้ตามคำ�พิพากษาในคดีที่เก๋เป็นโจทก์ด้วย มานพจึงคัดค้าน ว่าเก๋ยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อพ้นกำ�หนดระยะเวลาที่จะบังคับคดีได้แล้ว กรณีนี้เป็นเรื่องที่เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาซึ่งในที่นี้คือ“เก๋” พยายามที่จะ บังคับตามสิทธิของตนเอง เพียงแต่ตอนที่เก๋พบว่ากิ่งมีห้องชุดอยู่นั้น ห้องชุดดัง กล่าวถูกเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาอีกรายหนึ่งคือ“มานพ”ยึดไว้เพื่อขายทอดตลาด ก่อนแล้ว เก๋จึงไม่สามารถนำ�เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดห้องชุดดังกล่าวซ้ำ�อีกได้ สิ่งที่เก๋ทำ�ได้จึงเป็นการที่ต้องเข้าไป “ขอเฉลี่ยทรัพย์” เพื่อขอแบ่งส่วนจากเงินที่ได้ จากการขายทอดตลาดห้องชุดดังกล่าวมาชำ�ระหนี้ตามคำ�พิพากษาที่ตนเองมีอยู่ การขอเฉลี่ยทรัพย์จึงเป็นวิธีการบังคับคดีวิธีการหนึ่งที่กฎหมายให้อำ�นาจเจ้าหนี้ ตามคำ�พิพากษาสามารถทำ�ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อการขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นวิธีการบังคับคดีด้วยวิธีการหนึ่ง การดำ�เนินการบังคับคดีจึงต้องกระทำ�ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำ�หนดด้วย โดยตามกฎหมายเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาจะต้องบังคับคดีของตนภายในกำ�หนด 10ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำ�พิพากษา วันที่จะเริ่มต้นนับระยะเวลาดังกล่าวคือวันที่ศาลมีคำ�พิพากษาที่เป็น “ชั้นที่สุด” ซึ่งแล้วแต่กรณีว่าคดีนั้นคดีถึงที่สุดโดยคำ�พิพากษาของศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาก็ให้เริ่มนับจากวันที่มีคำ�พิพากษาที่เป็นชั้นที่สุดที่คดีไป ยุติในชั้นนั้น ฎีกา InTrend ขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีอื่นที่ลูกหนี้ถูกฟ้อง เมื่อเกิน 10 ปีได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 42 กรณีในเรื่องนี้หากสังเกตวันเวลาจะพบว่าศาลชั้นต้นมีคำ�พิพากษา วันที่27เมษายน2548และคดีถึงที่สุดในชั้นนี้โดยไม่มีการอุทธรณ์ต่อมา ระยะเวลา ที่เก๋จะต้องบังคับคดีตามคำ�พิพากษาที่ตนเป็นเจ้าหนี้จึงนับตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่ง จะครบ10ปีในวันที่27 เมษายน2558 แต่ปรากฏจากข้อเท็จจริงว่าเก๋ไปยื่นคำ�ขอเฉลี่ยทรัพย์ภายหลังครบ กำ�หนดดังกล่าวไป 30 วัน จึงเท่ากับว่าเก๋ไปขอให้ดำ�เนินการบังคับคดีกับห้องชุด ดังกล่าวเมื่อพ้นกำ�หนดเวลาที่กฎหมายกำ�หนด เก๋จึงไม่มีสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดห้องชุดนี้ได้ ฎีกา InTrend ขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีอื่นที่ลูกหนี้ถูกฟ้อง เมื่อเกิน 10 ปีได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 43 การที่เก๋ไปร้องขอเมื่อพ้นกำ�หนดเวลาดังกล่าวน่าจะเกิดจากการเข้าใจ และนับระยะเวลาผิด เพราะอาจเข้าใจไปว่านับตั้งแต่วันที่ “คดีถึงที่สุด” ซึ่งจะได้แก่ วันที่พ้นกำ�หนดระยะเวลาที่คำ�พิพากษาคดีนั้นอาจอุทธรณ์ต่อศาลชั้นอุทธรณ์ได้ ในคดีนี้วันที่พ้นกำ�หนดเวลาอุทธรณ์จึงได้แก่วันที่ 27 พฤษภาคม 2548 เก๋จึง เข้าใจว่าเมื่อคดีถึงที่สุดในวันดังกล่าวระยะเวลา 10ปีจึงนับตั้งแต่วันนั้นซึ่งไม่ถูกต้อง แต่ก็น่าสังเกตเช่นกันว่ากรณีนี้ไปยื่นคำ�ขอเอาในวันสุดท้ายของระยะเวลาที่ตนเอง เข้าใจผิดไปด้วยทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นมีเวลาอยู่ถึง 10ปีที่จะทำ�อะไรได้มาก การที่ชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาแล้ว สิทธิที่จะบังคับตามสิทธิ ของตนเองมีระยะเวลาของกฎหมายที่จำ�กัดไว้ด้วย เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาจึง ควรต้องระมัดระวังในการรักษาสิทธิของตนด้วยไม่ให้ดำ�เนินการขอให้บังคับคดี เมื่อพ้นกำ�หนดระยะเวลา 10ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำ�พิพากษาในชั้นที่เป็นที่สุด (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่850/2561) ฎีกา InTrend ขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีอื่นที่ลูกหนี้ถูกฟ้อง เมื่อเกิน 10 ปีได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 44 ฎีกา InTrend 27


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 45 การทำ�มาค้าขายหรือทำ�กิจการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นทางหากำ�ไร ด้วยกันอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์และความรับผิดที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ว่า จะเป็นในเรื่องระหว่างคนที่มาทำ�ธุรกิจหรือการค้าขายด้วยกัน หรือต่อบุคคล ภายนอก กรณีศึกษาในตอนนี้จะเป็นเรื่องของการที่แพทย์สองคนร่วมทำ�คลินิก ด้วยกันแล้วแพทย์คนหนึ่งทำ�การรักษาทำ�ให้คนไข้ที่มารักษาเกิดความเสียหายขึ้น จึงมีปัญหาว่าแพทย์อีกคนในคลินิกนั้นจะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือไม่เพียงใด เก่งกับกล้าเป็นแพทย์ที่สำ�เร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาเดียวกันโดย เก่งเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านอายุรกรรมทั่วไป ส่วนกล้าเป็นแพทย์ที่มี ฎีกา InTrend ทำคลินิกด้วยกัน จะต้องรับผิดที่อีกคน ทำ ให้คนไข้เสียหายหรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 46 ความเชี่ยวชาญทางด้านโรคผิวหนัง ต่อมาทั้งคู่ได้ร่วมกันก่อตั้ง “คลินิกเก่งกล้า” เพื่อทำ�การรักษาโรคทั่วไปและโรคผิวหนัง วันหนึ่งสิงห์ซึ่งมีอาชีพเป็นพนักงานขายมีอาการปวดหลัง ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหัวไหล่และสะบักหลังเนื่องจากต้องขับรถไปติดต่อ ลูกค้าตามจังหวัดต่างๆอยู่เสมอสิงห์จึงได้ไปที่“คลินิกเก่งกล้า”ซึ่งอยู่ในละแวก เดียวกันกับที่สิงห์พักอาศัย เก่งเป็นแพทย์ที่ตรวจรักษาให้แก่สิงห์ตอนแรกเก่งให้ ยาสิงห์ไปรับประทานแต่ปรากฏว่าสิงห์ยังมีอาการปวดอยู่มาก เมื่อสิงห์กลับไป พบเก่งอีกครั้ง เก่งจึงได้ฉีดยา “เคนาคอร์ท” ที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ซึ่ง ก็ช่วยให้สิงห์ไม่มีอาการเจ็บปวดอีก ฎีกา InTrend ทำคลินิกด้วยกัน จะต้องรับผิดที่อีกคน ทำ ให้คนไข้เสียหายหรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 47 หลายเดือนต่อมาสิงห์มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจึงได้ไปพบแพทย์ที่ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง แพทย์ที่โรงพยาบาลดังกล่าวตรวจวินิจฉัยแล้วพบ ว่าสิงห์นอกจากจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้วยังมีอาการภาวะฮอร์โมนต่อม หมวกไตต่ำ� มีระดับน้ำ�ตาลในเลือดสูง โดยอาการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจาก “สารสเตียรอยด์” ซึ่งนอกจากการไปรักษากับเก่งแล้ว สิงห์ไม่เคยไปรักษาที่ต้อง ฉีดยาที่มีสารสเตียรอยด์จากที่อื่นอีก สิงห์จึงได้มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผล การรักษาที่เกิดขึ้นโดยต้องการให้ทั้ง “เก่ง” และ “กล้า” รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย กรณีที่เกิดขึ้นนี้ในส่วนของ “เก่ง” เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าการรักษา ของเก่งทำ�ให้“สิงห์” ได้รับความเสียหายจากผลข้างเคียงจนเกิดอาการต่าง ๆ หลายประการเก่งคงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่สิงห์อย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ปัญหาของเรื่องนี้คงเป็นในส่วนของ “กล้า” ซึ่งเป็นแพทย์อีกคนที่เปิด คลินิกร่วมกับเก่งว่าจะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดกับ“สิงห์”หรือไม่ การที่เก่งกับกล้ามาเปิดคลินิกด้วยกันโดยใช้ชื่อว่า “คลินิกเก่งกล้า”นั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าการที่ทั้งคู่มาทำ�กิจการร่วมกันเพื่อแสวงหากำ�ไรที่เกิดจาก กิจการดังกล่าวมาแบ่งปันกัน จึงมีผลเท่ากับว่าเก่งและกล้าตกลงเข้าหุ้นกันเป็น “ห้างหุ้นส่วน”ประเภทหนึ่งเพียงแต่เมื่อไม่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็มีสถานะ เป็นห้างหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียนเท่านั้น การที่ตกลงเข้าหุ้นเป็นห้างหุ้นส่วนนี้เมื่อไม่มีการตกลงกันโดยเฉพาะว่า ในระหว่างเก่งกับกล้าใครจะเป็น “หุ้นส่วนผู้จัดการ” จึงถือว่าหุ้นส่วนที่มาเข้าหุ้น ฎีกา InTrend ทำคลินิกด้วยกัน จะต้องรับผิดที่อีกคน ทำ ให้คนไข้เสียหายหรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 48 กันทุกคนต่างเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการด้วยกันที่จะมีอำ�นาจในการทำ�กิจการต่าง ๆ ของห้างหุ้นส่วนนั้น เมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งไปทำ�กิจการอย่างหนึ่งอย่างใดของห้างที่เป็นเรื่องที่ อยู่ในขอบเขตของกิจการที่ตกลงกันเข้าหุ้นจึงมีผลเป็นเหมือนกิจการที่ “ตัวแทน” ไปทำ�กิจการนั้นแทนหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่นที่เป็นเสมือนตัวการดัวย การที่เก่ง ทำ�การรักษาให้สิงห์จนเกิดความเสียหายแก่สิงห์จึงถือว่าเป็นการที่เก่งทำ�ไปแทน กล้าที่เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งด้วย เมื่อปรากฏว่าสิ่งที่ “ตัวแทน” ได้ทำ�ไปแล้วก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่ บุคคลอื่นผู้ที่เป็น“ตัวการ”ต้องร่วมรับผิดในการกระทำ�“ละเมิด”และความเสียหาย ที่ตัวแทนไปก่อให้เกิดขึ้นนั้นด้วย ทำ�ให้กล้าแม้จะไม่ได้เป็นผู้ทำ�การรักษาสิงห์เอง เพราะปกติจะรักษาคนไข้เฉพาะที่เป็นโรคผิวหนังเท่านั้น ต้องรับผิดชอบชดใช้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สิงห์ด้วย ฎีกา InTrend ทำคลินิกด้วยกัน จะต้องรับผิดที่อีกคน ทำ ให้คนไข้เสียหายหรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 49 กรณีที่เกิดขึ้นนี้ความจริงแล้วผลที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติของการเข้าหุ้นเป็น “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ที่คนที่เป็น “หุ้นส่วน” จะต้องรับผิดในบรรดาหนี้ทั้งหลาย ทั้งปวงที่เกิดขึ้นของห้างอย่างไม่จำ�กัดอยู่แล้วหากหนี้นั้นเกิดจากการกระทำ�ที่เป็น เรื่อง“ธรรมดาค้าขาย”ของห้างนั้นแม้การกระทำ�จะเป็นสิ่งที่หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง ไปทำ�ขึ้นแต่หุ้นส่วนคนอื่นก็ต้องผูกพันและรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นแบบไม่จำ�กัดจำ�นวน กรณีนี้แม้จะเกิดขึ้นในการทำ�คลินิกรักษาผู้ป่วย แต่ความรับผิดที่เกิดขึ้น ทำ�นองนี้สามารถเกิดขึ้นกับบรรดาผู้ที่ร่วมกันทำ�ธุรกิจหรือกิจการค้าขายต่าง ๆ ได้เหมือน ๆ กัน หากปรากฏว่าการเข้าร่วมทำ�มาค้าขายนั้นเข้าลักษณะการเข้าหุ้น เป็นหุ้นส่วนเพื่อแสวงหากำ�ไรมาแบ่งปันกัน ถ้าหุ้นส่วนคนหนึ่งไปก่อให้เกิดความ เสียหายแก่คนอื่น หุ้นส่วนที่แม้จะไม่ได้ทำ�ให้เกิดความเสียหายนั้นโดยตรงก็ต้อง ร่วมรับผิดด้วยเช่นกัน (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่2377/2561) ฎีกา InTrend ทำคลินิกด้วยกัน จะต้องรับผิดที่อีกคน ทำ ให้คนไข้เสียหายหรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 50 ฎีกา InTrend 28


Click to View FlipBook Version