The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

E-BOOK DEEKA INTREND เล่มที่ 2 EP.21-40

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2024-05-26 23:14:11

E-BOOK DEEKA INTREND เล่มที่ 2 EP.21-40

E-BOOK DEEKA INTREND เล่มที่ 2 EP.21-40

สำ�นักงานศาลยุติธรรม 51 “ประกันภัย พรบ.” เป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีเพราะเป็น สิ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำ�เมื่อต้องการจะไปเสียภาษีประจำ�ปีของรถที่ใช้อยู่ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้รู้รายละเอียดและผลของการทำ�ประกันภัย พรบ. ดังกล่าวนัก เพราะมักไม่ค่อยได้ใช้และคงไม่มีใครต้องการจะใช้หรือได้ประโยชน์ สักเท่าไหร่ เพราะการที่จะได้ประโยชน์แสดงว่าต้องประสบเหตุบางอย่างจนบาดเจ็บ ล้มตายไป ปัญหาที่นำ�มากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่บริษัทประกันภัยได้จ่าย “ค่าเสียหายเบื้องต้น”และค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจะไปไล่เบี้ยเอาจากผู้ที่ก่อเหตุได้ ภายในกำ�หนดเวลามากน้อยเพียงใด ฎีกา InTrend จ่ายค่าสินไหมฯให้ผู้ประสบภัยจากรถ จะไล่เบี้ยจากผู้ก่อเหตุได้ภายในกำหนดเท่าใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 52 “รื่น” เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันหนึ่งซึ่งได้ทำ�ประกันภัยคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถตามที่กฎหมายกำ�หนดไว้เพื่อยื่นประกอบการเสียภาษี ประจำ�ปีวันหนึ่ง“ราตรี”ซึ่งเป็นญาติของรื่นได้ขอยืมรถจักรยานยนต์คันดังกล่าว เพื่อจะใช้ขับไปทำ�ธุระส่วนตัว ในระหว่างทางที่ราตรีกำ�ลังขับไปอยู่นั้น “กานต์” ได้ขับรถยนต์กระบะมาด้วยความเร็วสูง เมื่อขับไปถึงบริเวณที่ราตรีกำ�ลังขับ รถจักรยานยนต์อยู่นั้น รถยนต์กระบะของกานต์ได้เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ราตรีขับขี่อยู่จนทำ�ให้ราตรีกระเด็นจากรถ ราตรีถูกนำ�ตัวส่งโรงพยาบาลและรักษาอยู่ตัวอยู่สามสี่วันก็เสียชีวิตลง บริษัทประกันภัยจึงได้จ่าย “ค่าเสียหายเบื้องต้น” และค่าปลงศพให้แก่ทายาท ของราตรีไปเป็นเงินรวม 50,000 บาท อีกสองปีต่อมาบริษัทประกันภัยจึงได้ฟ้อง “กานต์” ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ได้จ่ายให้แก่ทายาทของราตรีไป กานต์ ฎีกา InTrend จ่ายค่าสินไหมฯให้ผู้ประสบภัยจากรถ จะไล่เบี้ยจากผู้ก่อเหตุได้ภายในกำหนดเท่าใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 53 จึงต่อสู้อ้างว่าตนเองไม่ต้องรับผิด เพราะบริษัทมาฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าสินไหม ทดแทนเมื่อพ้นกำ�หนดอายุความ1ปีแล้ว สำ�หรับ“ค่าเสียหายเบื้องต้น”นี้เป็นค่าเสียหายสำ�หรับค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอันจำ�เป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การจัดการศพรวมทั้งค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่จำ�เป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในเบื้องต้นที่กฎหมายกำ�หนดให้บริษัทรับประกันภัย ต้องจ่ายให้แก่“ผู้ประสบภัย” ตามกฎหมายแล้ว เมื่อบริษัทประกันภัยได้รับคำ�ร้องขอจากผู้มีสิทธิแล้ว บริษัทมีหน้าที่ต้องรีบดำ�เนินการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นนี้ให้แก่ผู้มีสิทธิภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำ�ร้องขอ โดยที่ไม่จำ�เป็นต้องมีการพิสูจน์ความผิดกันเสียก่อน ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความผิดของใครหรือฝ่ายใด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประสบภัยมี เงินที่จะไปใช้บรรเทาความเสียหายและความเดือดร้อนโดยเร็ว เนื่องจากอาจต้อง จ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือค่าปลงศพ ในกรณีที่มีการรับประกันภัยและบริษัทประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหม ทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป ตามปกติทั่วไปบริษัทประกันภัยจะมีสิทธิที่จะ “รับช่วงสิทธิ” ไปไล่เบี้ยเอาจากบุคคลภายนอกที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น เพียงแต่ในการรับช่วงสิทธิไปฟ้องบุคคลภายนอกนั้นตามปกติจะต้องทำ�ภายใน1ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวคนที่จะต้องชดใช้แต่ต้องไม่เกิน10ปีนับแต่เกิดเหตุ ละเมิดนั้น ฎีกา InTrend จ่ายค่าสินไหมฯให้ผู้ประสบภัยจากรถ จะไล่เบี้ยจากผู้ก่อเหตุได้ภายในกำหนดเท่าใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 54 อย่างไรก็ตามกรณีนี้เป็นกรณีที่บริษัทประกันภัยจ่าย“ค่าเสียหายเบื้องต้น” ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535กำ�หนดไว้โดยเฉพาะ และการใช้สิทธิไล่เบี้ยเพื่อเรียกร้องเอาเงินที่จ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นไปนั้น ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายดังกล่าวกำ�หนดให้สิทธิแก่บริษัทรับประกันภัยไว้ต่างหาก จากกรณีการใช้สิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาประกันภัยโดยทั่วไป ทำ�ให้เกิดปัญหาว่า ถ้าแบบนี้การใช้สิทธิไล่เบี้ยของบริษัทรับประกันภัยจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีเหมือน กรณีการไล่เบี้ยทั่ว ๆ ไปหรือไม่ เดิมกฎหมายดังกล่าวได้กำ�หนดอายุความในการใช้สิทธิไล่เบี้ยไว้ต่างหาก ซึ่งไม่ได้มีแต่เพียงการใช้สิทธิไล่เบี้ยของบริษัทประกันภัยแต่รวมถึงการใช้สิทธิ ฎีกา InTrend จ่ายค่าสินไหมฯให้ผู้ประสบภัยจากรถ จะไล่เบี้ยจากผู้ก่อเหตุได้ภายในกำหนดเท่าใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 55 ไล่เบี้ยของสำ�นักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยที่อาจต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ไปในกรณีที่รถที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุไม่มีการทำ�ประกันภัยไว้เลย แต่ปรากฏว่าต่อมามีการแก้ไขกฎหมายได้มีการยกเลิกข้อความที่ กำ�หนดอายุความดังกล่าวเสีย และไม่ได้มีการกำ�หนดบทบัญญัติใหม่มาแทนที่ ข้อความที่ถูกยกเลิกไป ผลจึงทำ�ให้การใช้สิทธิไล่เบี้ยกรณีนี้กลายเป็นกรณีที่ไม่มี กฎหมายกำ�หนดไว้โดยเฉพาะ ต้องไปใช้กำ�หนดอายุความกรณีทั่วไปซึ่งมีระยะ เวลา 10 ปีการที่บริษัทประกันภัยมาฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าสินไหมทดแทนจากกานต์ ภายหลังจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปสองปีจึงยังไม่ขาดอายุความ การทำ�ประกันภัย พรบ. ที่ต้องทำ�อยู่เสมอเมื่อต้องเสียภาษีประจำ�ปีนี้เป็น มาตรการที่สำ�คัญที่ช่วยบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยให้ภายในเวลาอัน รวดเร็วไม่ต้องรอผ่านกระบวนการที่เยิ่นเย้อเป็นเวลานาน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายก็ยังต้องรับผิดชดใช้คืนให้แก่บริษัทประกันภัยอยู่นั่นเอง (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่817/2561) ฎีกา InTrend จ่ายค่าสินไหมฯให้ผู้ประสบภัยจากรถ จะไล่เบี้ยจากผู้ก่อเหตุได้ภายในกำหนดเท่าใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 56 ฎีกา InTrend 29


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 57 เช็คเป็นตราสารทางการเงินที่เป็นเครื่องมือที่สำ�คัญในการชำ�ระหนี้ต่างๆ โดยเฉพาะหนี้ทางการค้า แม้ว่าในปัจจุบันจะมีช่องทางและวิธีการอื่นเพิ่มมากขึ้น ก็ตาม ทำ�ให้คนหันไปใช้วิธีการอื่นมากขึ้นก็ตาม แต่บางครั้งก็อาจเกิดกรณีที่มี ผู้แอบนำ�เช็คไปปลอมแปลงขึ้นได้ปัญหาที่จะนำ�มากล่าวถึงในตอนนี้เป็นกรณีที่มี คนนำ�เช็คไปปลอมลายมือชื่อแล้วนำ�ไปขึ้นเงินกับธนาคารเจ้าของบัญชีตามเช็คจะ มีสิทธิเรียกให้ธนาคารชดใช้เงินที่หักไปจากบัญชีได้หรือไม่และที่สำ�คัญอีกประการ คือสิทธิดังกล่าวนี้จะต้องเรียกร้องภายในอายุความมากน้อยเพียงใด บริษัทก.ทำ�ธุรกิจเกี่ยวกับการค้าอุปกรณ์การเกษตรในบริษัทก.มีนายหนึ่ง ที่ทำ�หน้าที่เป็นพนักงานบัญชีที่มีหน้าที่จัดเตรียมเช็คและกรอกข้อความในเช็คเพื่อให้ ผู้มีอำ�นาจของโจทก์สั่งจ่ายชำ�ระหนี้ทางการค้าต่าง ๆที่เกิดขึ้นของบริษัท ฎีกา InTrend เช็คถูกปลอมไปขึ้นเงิน จะเรียกเงินคืนจากธนาคารได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 58 ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2554 - เดือนมีนาคม 2555 นายหนึ่ง ได้แอบนำ�เช็คของบริษัทก. ไปปลอมลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำ�นาจของบริษัท ก.แล้วนำ�ไปเบิกเงินสดจากธนาคารมั่นคงจำ�กัดเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ตรวจดูเช็คที่ นายหนึ่งนำ�ไปเบิกแล้วได้ทำ�การจ่ายเงินสดให้แก่นายหนึ่งไป1ล้านบาทแล้วหักเงิน จำ�นวนดังกล่าวออกจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบริษัทก. ต่อมาบริษัท ก. ได้ตรวจพบการกระทำ�ของนายหนึ่งเมื่อปี2558 จึง ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำ�เนินคดีอาญาจนกระทั่ง มีการฟ้องและมีคำ�พิพากษาว่านายหนึ่งลักทรัพย์ปลอมและใช้ตั๋วเงินปลอมและ ลงโทษนายหนึ่ง บริษัท ก. จึงได้มาฟ้องเรียกให้ธนาคารมั่นคงฯ คืนเงินที่หักไป จำ�นวน1ล้านบาทคืนแก่บริษัทก. พร้อมดอกเบี้ย ฎีกา InTrend เช็คถูกปลอมไปขึ้นเงิน จะเรียกเงินคืนจากธนาคารได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 59 ธนาคารมั่นคงฯ ปฏิเสธความรับผิดอ้างว่าบริษัท ก. บกพร่องเอง ไม่ เก็บรักษาเช็คที่ซื้อไปให้รอบคอบจนทำ�ให้นายหนึ่งนำ�เช็คไปปลอมลายมือชื่อ กรรมการผู้มีอำ�นาจได้โดยธนาคารได้ใช้ระมัดระวังในการตรวจสอบแล้วเห็นว่า ไม่มีข้อพิรุธจึงได้จ่ายเงินไป ประเด็นประการแรกคงเป็นเรื่องสิทธิของบริษัท ก. ที่จะเรียกร้องเงิน 1 ล้านบาทคืนจากธนาคารมั่นคงฯ ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนแล้วว่าเช็ค ที่เป็นปัญหาในกรณีนี้ไม่ได้เป็นเช็คที่กรรมการบริษัท ก. ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย โดยชอบ หากแต่ถูกนายหนึ่งแอบนำ�เช็คไปปลอมลายมือชื่อแล้วนำ�ไปขึ้นเงิน โดยหลักแล้วธนาคารจึงย่อมไม่มีสิทธิที่จะหักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแส รายวันของบริษัทก. ได้ ฎีกา InTrend เช็คถูกปลอมไปขึ้นเงิน จะเรียกเงินคืนจากธนาคารได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 60 ธนาคารถือว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ได้ชื่อว่าเป็นที่ไว้วางใจของ ประชาชน เพราะต้องทำ�หน้าที่ดูแลรับฝากเงินจากประชาชน เมื่อมีการเบิกถอน เงินจากธนาคารตามปกติธนาคารย่อมมีหน้าที่ต้องตรวจสอบลายมือชื่อของ ลูกค้าให้แน่นอนเสียก่อนจึงจะยอมให้เบิกถอนเงินจากบัญชีได้ภาระหน้าที่ดังกล่าว เป็นหน้าที่ที่ธนาคารต้องกระทำ�เป็นปกติทุกวันอยู่แล้ว จึงย่อมต้องถือว่า เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษที่จะตรวจสอบว่าลายมือชื่อของลูกค้า ของตนเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงหรือไม่ เมื่อเกิดเหตุอย่างเช่นกรณีนี้จึงต้องถือว่า ธนาคารปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง จึงต้องรับผิดชอบในการหักเงินจากบัญชีไป โดยไม่มีสิทธิ ฎีกา InTrend เช็คถูกปลอมไปขึ้นเงิน จะเรียกเงินคืนจากธนาคารได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 61 ปัญหาอีกประการหนึ่งที่ธนาคารมั่นคงยกขึ้นโต้แย้งความรับผิดของตน คือ การเรียกร้องเงินคืนนี้ขาดอายุความเรื่องละเมิดไปแล้ว เพราะเกิดเหตุตั้งแต่ ปี2554ถึง2555แต่บริษัทก. เพิ่งมาฟ้องเรียกเงินคืนเมื่อปี2558หรือมากกว่า 3ปีหลังเกิดเหตุแล้ว กรณีของการฝากเงินธนาคารนี้เป็นเรื่องของการทำ�สัญญา “ฝากทรัพย์” ซึ่งถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่งกฎหมายไม่ได้กำ�หนดอายุความในกรณีที่เจ้าของ บัญชีเงินฝากฟ้องเรียกเงินในบัญชีที่ขาดหายไปคืนว่าจะต้องฟ้องภายใน ระยะเวลาเท่าใดจึงต้องใช้อายุความทั่วไปที่มีกำ�หนดระยะเวลา 10ปีการที่บริษัทก. นำ�คดีนี้มาฟ้องแม้จะกว่าสามปีแล้ว แต่เมื่อยังไม่เกิน 10 ปีจึงถือว่าคดีของ บริษัทก.ยังไม่ขาดอายุความ การใช้เช็คเป็นเรื่องที่มีความสำ�คัญที่ต้องมีการดูแลและตรวจสอบ การใช้ด้วยความรอบคอบเพียงแต่เมื่อเกิดเหตุที่มีการนำ�เช็คไปปลอมแล้วธนาคาร ที่ทำ�หน้าที่ดูแลรักษาเงินฝากของประชาชนก็ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษใน ฐานผู้ที่มีวิชาชีพพิเศษทำ�ให้หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ที่เจ้าของบัญชีได้รับ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่5095/2562) ฎีกา InTrend เช็คถูกปลอมไปขึ้นเงิน จะเรียกเงินคืนจากธนาคารได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 62 ฎีกา InTrend 30


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 63 เวลาที่เราไปเช่าทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้ประโยชน์ สิทธิ การเช่าถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่า มีราคาค่างวดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก ทรัพย์สินที่เช่านั้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการทำ�มาค้าขายที่สร้างผลกำ�ไรให้แก่คน เช่าได้อย่างมากมาย ความมีค่ามีราคาของสิทธิการเช่านี้ก็เป็นที่หมายตาของ บรรดาเจ้าหนี้ต่าง ๆ เช่นกันที่ต้องการจะแปลงความมีค่าของสิทธิการเช่านี้มา เป็นเงินเพื่อใช้ชำ�ระหนี้ของตน ปัญหาที่นำ�มากล่าวในตอนนี้จึงเป็นเรื่องที่ว่า เจ้าหนี้จะสามารถยึดสิทธิการเช่ามาบังคับชำ�ระหนี้กองมรดกที่ค้างอยู่หรือไม่ เรื่องราวในตอนนี้เกิดจากการที่มาลีไปทำ�สัญญาเช่าแผงค้าขาย ที่ตลาดนัดสวนจตุจักรกับสำ�นักงานตลาดกรุงเทพมหานครเพื่อทำ�กิจการร้านค้า ฎีกา InTrend สิทธิการเช่าเป็นมรดกตกทอดที่เจ้าหนี้ จะยึดมาบังคับชำระหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 64 พระเครื่อง ร้านค้าของมาลีเป็นร้านหนึ่งที่มีลูกค้าแวะเวียนมาอยู่เสมอ และได้มี การต่อสัญญาเช่าที่มีอายุคราวละหนึ่งปีมาตลอด เมื่อสัญญาครบกำ�หนดในคราวล่าสุดมาลีก็ไปติดต่อทำ�สัญญาเช่าฉบับใหม่ ตามกำ�หนดจนเสร็จเรียบร้อยแต่ภายหลังทำ�สัญญาได้เพียงสองเดือนมาลีก็เสียชีวิต เนื่องจากโรคหัวใจล้มเหลว ภายหลังที่มาลีเสียชีวิตมารดาของมาลีก็ได้ไปติดต่อเรื่องการโอนสัญญาเช่า แผงค้าของมาลีกับสำ�นักงานการตลาดกรุงเทพมหานครให้มาเป็นชื่อตน โดยได้ ฎีกา InTrend สิทธิการเช่าเป็นมรดกตกทอดที่เจ้าหนี้ จะยึดมาบังคับชำระหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 65 เสียค่าธรรมเนียมการโอนตามที่กำ�หนด และทำ�สัญญาเช่ากับสำ�นักงานการตลาด กรุงเทพมหานครจนเสร็จเรียบร้อย ต่อมาธนาคารที่มาลีไปกู้ยืมเงินไว้ก็ฟ้องร้องให้มารดาของมาลีที่เป็น ทายาทในกองมรดกของมาลีชดใช้หนี้เงินกู้ยืมที่ค้างอยู่300,000บาทศาลพิพากษา ให้มารดาของมาลีต้องรับผิดในฐานะทายาทชำ�ระหนี้จำ�นวนดังกล่าวให้แก่ธนาคาร เมื่อธนาคารทราบเรื่องสัญญาเช่าแผงค้าของมาลีจึงได้ขอให้เจ้าพนักงาน บังคับคดียึดสิทธิการเช่าแผงค้าดังกล่าวมาขายทอดตลาดเพื่อนำ�เงินมาชำ�ระหนี้ ให้แก่ธนาคาร แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมยึดให้ธนาคารจึงได้ฟ้องขอให้ เพิกถอนคำ�สั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ยึดสิทธิการเช่าดังกล่าว ประเด็นแรกของเรื่องนี้คงเป็นความเกี่ยวโยงของมารดาของมาลีใน เรื่องนี้เพราะหนี้ที่ธนาคารฟ้องและเป็นที่มาของความพยายามที่จะยึดสิทธิการเช่า รายนี้ความจริงเป็นหนี้ที่ “มาลี” ก่อไว้เพียงแต่ธนาคารมาฟ้องมารดาของมาลี เพราะมาลีเสียชีวิตไปแล้วจึงต้องมาฟ้องผู้ที่เป็นทายาทแทน แต่ด้วยความที่ ความรับผิดของมารดามาลีนี้เป็นความรับผิดในฐานะทายาท ไม่ใช่ความรับผิด ในฐานะที่เป็นหนี้ส่วนตัว มารดาของมาลีจึงต้องรับผิดต่อธนาคารเพียงไม่เกิน ทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนเท่านั้น ข้อหนึ่งที่ทำ�ให้ธนาคารคิดว่าตนมีสิทธิที่จะยึดสิทธิการเช่ารายนี้อาจ เป็นเพราะขณะที่มารดาของมาลีไปทำ�เรื่องกับกรุงเทพมหานคร สัญญาเช่ายังไม่ ครบกำ�หนดซึ่งตามปกติแล้วหากสัญญามีกำ�หนดเวลาไว้สัญญาเช่าจะระงับไป ฎีกา InTrend สิทธิการเช่าเป็นมรดกตกทอดที่เจ้าหนี้ จะยึดมาบังคับชำระหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 66 เมื่อครบกำ�หนดตามสัญญา อีกทั้งในการดำ�เนินการเรื่องนี้กรุงเทพมหานคร ทำ�ในทำ�นองเป็นการ “โอน” สิทธิการเช่ามาให้เป็นชื่อมารดาของมาลีจึงทำ�ให้ดู เหมือนว่าเป็นสิทธิการเช่าเดียวกันกับที่เคยเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่งของมาลีที่อาจ จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกได้ด้วย แต่สัญญาเช่ามีลักษณะที่พิเศษที่ “คุณสมบัติ” ของคนเช่าเป็นเรื่องที่มี ความสำ�คัญ เพราะการที่ผู้ให้เช่าให้บุคคลใดเช่าทรัพย์ของตนไปก็เพราะเชื่อว่า จะดูแลทรัพย์ที่เช่าได้ดีไม่ทำ�ให้ทรัพย์นั้นสูญหายหรือเสียหายไป เพราะถ้าได้คน เช่าไม่ดีค่าเช่าที่ได้อาจไม่คุ้มกับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแม้อาจจะมีการเรียก เก็บเงินประกันไว้ด้วยก็ตาม ด้วยเหตุที่คุณสมบัติของผู้เช่ามีความสำ�คัญนี้นี่เองจึงทำ�ให้สิทธิการเช่า ถือเป็น“สิทธิเฉพาะตัว” เมื่อมาลีเสียชีวิตไปสัญญาเช่ารายนี้ที่ไม่ได้มีลักษณะพิเศษ อื่นที่ทำ�ให้แตกต่างไปจากสัญญาเช่าธรรมดาทั่ว ๆ ไปจึงระงับไปพร้อมกับการตาย ของผู้เช่า ไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่จะตกทอดต่อไปในกองมรดกให้แก่ทายาทด้วย การที่มารดาของมาลีไปทำ�เรื่องแม้จะใช้ชื่อว่าเป็นการ “โอน” แต่ใน ความเป็นจริงแล้วไม่ต่างอะไรจากการที่เมื่อสัญญาเช่าเดิมระหว่างมาลีกับ กรุงเทพมหานครระงับไปเพราะการตายของมาลีแล้ว มารดาของมาลีไปทำ�สัญญา เช่ากับกรุงเทพมหานครจึงเป็นการทำ�สัญญาเช่าฉบับใหม่ที่เป็นเรื่องระหว่าง กรุงเทพมหานครกับมารดาของมาลีสิทธิการเช่ารายนี้จึงเป็นทรัพย์สินของมารดา ของมาลีเอง ดังนั้น ธนาคารที่เป็นเพียงเจ้าหนี้ของกองมรดกของมาลีไม่ใช่เจ้าหนี้ ในหนี้ส่วนตัวของมารดาของมาลีจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ยึดสิทธิการเช่ารายนี้ได้ ฎีกา InTrend สิทธิการเช่าเป็นมรดกตกทอดที่เจ้าหนี้ จะยึดมาบังคับชำระหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 67 สัญญาเช่าส่วนใหญ่ถ้าไม่มีอะไรที่ทำ�ให้พิเศษไปกว่าปกติแล้วเป็นสิทธิ เฉพาะตัวของผู้เช่า สัญญาเช่าย่อมระงับไปพร้อมกับการตายของผู้เช่า ทำ�ให้ สิทธิการเช่าไม่เป็นทรัพย์มรดกตกทอดไปที่เจ้าหนี้ของกองมรดกจะไปยึดมา บังคับชำ�ระหนี้ได้ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่6857/2562) ฎีกา InTrend สิทธิการเช่าเป็นมรดกตกทอดที่เจ้าหนี้ จะยึดมาบังคับชำระหนี้ได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 68 ฎีกา InTrend 31


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 69 ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่มีค่าสำ�หรับพวกเราแทบทุกคน เพราะเป็นทั้งที่ อยู่อาศัยและเป็นที่ทำ�มาหากินของหลาย ๆ คนด้วย กฎหมายก็มองว่าเป็น ทรัพยากรที่มีค่าที่ต้องการทำ�ให้ที่ดินได้มีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมด้วย ทำ�ให้เวลาที่มีที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะที่หลายคนเรียกว่าเป็นที่ดิน “ตาบอด”กฎหมายก็ให้โอกาสให้มี“ทางจำ�เป็น” ผ่านที่ดินของผู้อื่นออกสู่ทาง สาธารณะได้แต่ปัญหาที่จะนำ�มากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่ที่ดินตาบอดนั้น มีทางออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินแปลงหนึ่งอยู่แล้วจะมาขอเปลี่ยนออก ทางที่ดินอีกแปลงเพื่อทำ�ให้ใช้รถยนต์ผ่านไปสู่ทางสาธารณะนั้นได้หรือไม่ นายดำ�มีที่ดินตาบอดอยู่แปลงหนึ่งที่ถูกห้อมล้อมไปด้วยที่ดินแปลงอื่น ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมานายดำ�ได้ใช้ที่ดินของนายเขียวที่อยู่ทางทิศตะวัน ตกของที่ดินตนเองเป็นเส้นทางออกสู่ทางสาธารณะ เดิมนายดำ�ใช้เส้นทางดังกล่าว ฎีกา InTrend “ที่ดินตาบอด” จะขอเปลี่ยนทางออก สู่ทางสาธารณะได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 70 เป็นทางเดินออก ช่วง 10 ปีหลังมานี้นายดำ�เริ่มมาใช้รถจักรยานยนต์แต่ก็ ยังสามารถใช้เส้นทางผ่านที่ดินของนายเขียวได้อยู่ ต่อมาเมื่อไม่นานมานี้นายดำ�ได้ซื้อรถยนต์ใหม่แต่ไม่สามารถใช้รถยนต์ ขับผ่านที่ดินของนายเขียวไปสู่ที่ดินแปลงดังกล่าวได้เพราะสภาพเส้นทางไม่อำ�นวย เมื่อนายดำ�สำ�รวจสภาพโดยรอบแล้วเห็นว่าหากทำ�ถนนผ่านเส้นทางในที่ดิน ของนายแดงที่อยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกของที่ดินตนเองจะสามารถทะลุไปสู่ถนน สาธารณะได้แต่นายแดงไม่ยอมให้นายดำ�ผ่าน นายดำ�จึงมาฟ้องนายแดงขอให้ นายแดงเปิดทางให้นายดำ�ทำ�ถนนผ่านที่ดินของนายแดงไปสู่ทางสาธารณะ กรณีของนายดำ�นี้เป็นเรื่องของ “ทางจำ�เป็น” ซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมาย กำ�หนดให้เจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสามารถผ่าน ฎีกา InTrend “ที่ดินตาบอด” จะขอเปลี่ยนทางออก สู่ทางสาธารณะได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 71 ที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะได้แต่การที่จะผ่านที่ดินแปลงอื่นที่ล้อมอยู่นั้น ที่จะผ่านและวิธีทำ�ทางผ่านต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำ�เป็นกับทั้งให้ที่ดิน ที่ล้อมอยู่เสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ที่ดินของนายดำ�มีลักษณะที่เข้าตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำ�หนดให้ใช้ “ทางจำ�เป็น” เพื่อให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เพราะไม่ใช่เช่นนั้นที่ดินของ นายดำ�ก็จะกลายเป็นทรัพยากรที่ไร้ค่าไป เนื่องจากแม้จะมีอยู่แต่ก็ใช้ทำ�ประโยชน์ ใด ๆ ไม่ได้การให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะจึงทำ�ให้ที่ดินตาบอดสามารถใช้ ประโยชน์ได้ซึ่งที่ผ่านมานายดำ�ก็ใช้เส้นทางออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินของ นายเขียวที่อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ดินตนเองมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ ใช้เป็นทางเดินไปจนเป็นทางรถจักรยานยนต์ผ่านเข้าออก ปัญหาเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อนายดำ�ต้องการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์เพื่อเข้าออก ที่ดินของตนแต่เส้นทางที่ผ่านที่ดินของนายเขียวไม่สามารถใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้ ฎีกา InTrend “ที่ดินตาบอด” จะขอเปลี่ยนทางออก สู่ทางสาธารณะได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 72 นายดำ�จึงต้องการเปลี่ยนมาใช้เส้นทางผ่านที่ดินของนายแดงที่อยู่ทางทิศตะวันออกแทน แต่กรณีนี้ในขณะที่นายดำ�มาขอใช้เส้นทางผ่านที่ดินของนายแดง ที่ดินของนายดำ� ไม่ใช่ที่ดินที่ถูกปิดล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะแล้วเพราะในขณะนั้นนายดำ� มีเส้นทางที่สามารถเข้าออกผ่านทางที่ดินของนายเขียวได้อยู่ ประเด็นปัญหาอีกประการในเรื่องนี้คือเส้นทางที่นายดำ�จะต้องผ่านที่ดิน ของนายแดงนั้นเป็นบริเวณที่นายแดงได้ปลูกต้นกล้วยอยู่จำ�นวนมาก เรียกได้ว่า เป็นที่ดินส่วนที่นายแดงใช้ทำ�ประโยชน์อยู่มาก การจะทำ�เส้นทางให้นายดำ�ผ่านได้ ก็จะต้องรื้อต้นกล้วยเหล่านั้นออกจนหมดบริเวณเส้นทาง ในการใช้ทางจำ�เป็นนั้น ที่ที่จะผ่าน วิธีการผ่านและการทำ�ทางต้องทำ�ให้ เกิดความเสียหายน้อยที่สุดแก่เจ้าของที่ดินรอบข้างด้วย การที่ต้องให้รื้อต้นกล้วย ออกเพื่อทำ�ทางให้นายดำ�ผ่านทั้งๆที่นายดำ�มีเส้นทางเข้าออกอยู่แล้วจึงเป็นการใช้ เส้นทางที่ทำ�ให้เกิดความเดือดร้อนและเสียหายแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียงเกิน สมควรไป ด้วยเหตุนี้เอง การที่นายดำ�มีสิทธิผ่านที่ดินของนายเขียวออกสู่ทาง สาธารณะอยู่แล้ว สิทธิที่นายดำ�มีอยู่แต่เดิมเป็นอย่างไร มีสภาพและข้อจำ�กัด อย่างไรก็เป็นเรื่องที่นายดำ�จำ�ต้องยอมรับตามสภาพที่ดินของตน แต่จะมาเลือก เอาเส้นทางที่สะดวกที่สุดของตนโดยทำ�ให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่ที่ดิน แปลงอื่นเกินสมควรย่อมไม่เหมาะสม นายดำ�จึงไม่มีสิทธิมาขอใช้“ทางจำ�เป็น” ผ่านที่ดินนายแดงออกสู่ทางสาธารณะได้คงมีแต่สิทธิที่จะใช้ผ่านที่ดินของนาย เขียวที่มีอยู่เดิม ฎีกา InTrend “ที่ดินตาบอด” จะขอเปลี่ยนทางออก สู่ทางสาธารณะได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 73 ที่ดินที่ถูกปิดล้อมเป็น“ที่ดินตาบอด”ย่อมขอใช้ทางจำ�เป็นผ่านที่ดินข้างเคียง ออกสู่ทางสาธารณะได้แต่สิทธิผ่านนั้นจะไม่สะดวกหรือมีข้อจำ�กัดอย่างไรก็ ต้องใช้สิทธิตามสภาพที่ตนมีจะไปขอผ่านที่ดินแปลงอื่นอีกเพื่อให้เกิดความสะดวก แก่ตนแต่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียงเกินสมควรไม่ได้ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่172/2563) ฎีกา InTrend “ที่ดินตาบอด” จะขอเปลี่ยนทางออก สู่ทางสาธารณะได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 74 ฎีกา InTrend 32


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 75 ในการทำ�สัญญาต่าง ๆ มักมีการกำ�หนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่มีหนี้ หรือหน้าที่ต้องทำ�ตามสัญญานั้นต้องวาง “มัดจำ�” ไว้เพื่อให้เป็นหลักประกันแก่ อีกฝ่ายว่าเมื่อถึงกำ�หนดตามสัญญาแล้วจะมีการชำ�ระหนี้ตามที่ตกลงไว้หากไม่มี การชำ�ระหนี้มัดจำ�นี้ตามปกติย่อมจะถูกริบได้แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีที่จะนำ�มา กล่าวถึงในตอนนี้คือหากจำ�นวนมัดจำ�ที่ถูกกำ�หนดให้วางไว้มีจำ�นวนสูงมาก การริบมัดจำ�ที่สูงมากนี้จะกลายเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่ นายเก่งได้ตกลงทำ�สัญญาซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากนายกล้า โดยวางเงิน มัดจำ�ไว้จำ�นวนหนึ่ง แต่พอถึงกำ�หนดชำ�ระราคาและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามที่ สัญญากำ�หนดปรากฏว่าไม่มีการชำ�ระราคาและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อมา ฎีกา InTrend สัญญาซื้อขายที่ดินที่ให้ริบมัดจำสูงเกินส่วน จะถือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 76 นายเก่งได้ตกลงทำ�สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงเดิมกับนายกล้าอีก โดยตกลงให้นำ� เงินมัดจำ�ในสัญญาเดิมมาเป็นมัดจำ�ในสัญญาใหม่และนายเก่งวางเงินมัดจำ�เพิ่มอีก จำ�นวนหนึ่ง แต่เมื่อถึงกำ�หนดก็ยังมีปัญหาคล้ายเดิมและยังไม่มีการจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ นายเก่งและนายกล้ามาทำ�สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงเดิมอีกเป็นครั้งที่สาม โดยมีข้อตกลงคล้ายเดิมที่ให้นำ�มัดจำ�สัญญาเก่ามาเป็นมัดจำ�ตามสัญญาใหม่แล้ว นายเก่งวางเงินมัดจำ�เพิ่มอีกจำ�นวนหนึ่งแต่ก็ยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กันอีก ฎีกา InTrend สัญญาซื้อขายที่ดินที่ให้ริบมัดจำสูงเกินส่วน จะถือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 77 ทั้งคู่มาตกลงทำ�สัญญากันอีกเป็นครั้งที่สี่ โดยตามสัญญานี้กำ�หนดราคา ที่ดินเป็นเงิน3,900,000บาทและให้นำ�มัดจำ�เดิมตามสัญญาทั้งสามครั้งมารวมกับ เงินที่วางเพิ่มรวมเป็นมัดจำ� 1,700,000 บาท แต่สุดท้ายเมื่อพ้นกำ�หนดเวลาก็ไม่มี การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันเนื่องจากนายเก่งรวบรวมเงินไม่พอชำ�ระราคา ทั้งหมดนายกล้าจึงริบมัดจำ�ทั้งหมด นายเก่งจึงมาฟ้องขอเรียกเงินมัดจำ�ที่วางไว้คืนอ้างว่าเป็นการริบมัดจำ� ที่ไม่เป็นธรรม ฎีกา InTrend สัญญาซื้อขายที่ดินที่ให้ริบมัดจำสูงเกินส่วน จะถือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 78 การวางมัดจำ�ตามสัญญาตามปกติย่อมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นหลักฐาน ว่ามีการทำ�สัญญากัน เพราะมิฉะนั้นคงไม่มีความจำ�เป็นต้องนำ�สิ่งที่มีค่า เช่น เงินมาวางให้ไว้แก่อีกฝ่ายหนึ่งนอกจากนั้นมัดจำ�ยังเป็นหลักประกันสำ�หรับการปฏิบัติ ตามสัญญาของฝ่ายที่นำ�มัดจำ�นั้นมาวางไว้ด้วย ด้วยเหตุที่เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้ทำ�ให้หากฝ่ายที่วาง มัดจำ�ไว้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่ชำ�ระหนี้ที่กำ�หนดไว้คู่สัญญาที่เป็นเจ้าหนี้ ตามสัญญานั้นย่อมมีสิทธิที่จะริบมัดจำ�นั้นได้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์กำ�หนดไว้โดยไม่ได้มีการกำ�หนดเรื่องการลดจำ�นวนมัดจำ�ที่จะริบได้ เหมือนกรณีที่กำ�หนดเบี้ยปรับไว้สูงเกินส่วน อย่างไรก็ตาม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 7 กำ�หนดไว้ว่าในสัญญาที่มีการให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ� หาก มีกรณีที่จะต้องริบมัดจำ�ถ้ามัดจำ�นั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่า ความเสียหายที่แท้จริงก็ได้แต่ปัญหาประการหนึ่งคือบทบัญญัตินี้ใช้เฉพาะกับ กรณีที่เป็น“สัญญาสำ�เร็จรูป”หรือจะใช้กับสัญญาอะไรก็ได้ ตามปกติสัญญาที่มักปรากฏข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมักจะเป็นสัญญา ที่เป็นแบบฟอร์มสำ�เร็จรูปที่คู่สัญญาที่มีอำ�นาจต่อรองมากกว่ากำ�หนดเงื่อนไข ทุกอย่างไว้แล้ว อีกฝ่ายทำ�ได้เพียงเลือกว่าจะลงชื่อทำ�สัญญาด้วยหรือไม่ แต่ข้อ กำ�หนดในเรื่องมัดจำ�นี้กฎหมายไม่ได้กำ�หนดไว้ว่าจะใช้เฉพาะกับสัญญาสำ�เร็จรูป นอกจากนั้น ในกฎหมายดังกล่าวก็มีกรณีที่ใช้บังคับกับสัญญาที่ไม่จำ�เป็นต้อง เป็นสัญญาสำ�เร็จรูปก็ได้เช่น สัญญาขายฝาก ดังนั้น การริบมัดจำ�ที่สูงเกินส่วน ฎีกา InTrend สัญญาซื้อขายที่ดินที่ให้ริบมัดจำสูงเกินส่วน จะถือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 79 ไม่ว่าจะเป็นในสัญญาใดๆก็ตามก็อาจอยู่ในข่ายที่ศาลจะลดจำ�นวนที่จะริบให้เหมาะสม กับความเสียหายจริงที่เกิดขึ้น แต่การที่กฎหมายกำ�หนดให้ศาลลดจำ�นวนมัดจำ�ที่จะริบนี้ไม่ได้บังคับ ว่าแม้จะปรากฏว่ามัดจำ�นั้นมีจำ�นวนสูงมากแล้วศาลจะต้องลดให้เสมอไป การลด หรือไม่ลดเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องพิจารณาความเหมาะสมในแต่ละกรณีไป สำ�หรับในเรื่องระหว่างนายเก่งกับนายกล้านี้จะเห็นได้ว่ามีการทำ�สัญญา ซื้อขายกันรวมแล้วถึงสี่ครั้ง เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อมีการทำ�สัญญากัน นายเก่ง ซึ่งเป็นผู้ซื้อไม่สามารถหาเงินมาชำ�ระราคาได้ทำ�ให้ต้องทำ�สัญญากันใหม่ เพียงแต่ ฎีกา InTrend สัญญาซื้อขายที่ดินที่ให้ริบมัดจำสูงเกินส่วน จะถือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 80 ให้เอามัดจำ�ตามสัญญาเดิมมารวมไว้แล้วให้นายเก่งวางมัดจำ�เพิ่ม จนกระทั่งถึง สัญญาที่ทำ�ครั้งที่สี่นายเก่งก็ยังหาเงินมาชำ�ระราคาไม่ได้จนเป็นเหตุให้นายกล้า ริบมัดจำ� หากมองเฉพาะที่จำ�นวนมัดจำ�ที่ถูกริบจะเห็นว่าเป็นจำ�นวนที่สูงมากถึง 1,700,000บาทจากราคาซื้อขายทั้งหมด3,900,000บาทหรือเกือบถึงครึ่งหนึ่ง ของราคาซื้อขายแต่เหตุที่ทำ�ให้มัดจำ�สูงเป็นเพราะนายเก่งผิดสัญญามาแล้วถึงสาม ครั้งเอง เพียงแต่นายกล้ายอมให้เอามัดจำ�ตามสัญญาก่อน ๆ ที่ความจริงนายก ล้ามีสิทธิริบได้อยู่แล้วตามสัญญาแต่ละครั้งมารวมเข้าด้วยกันเพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ของราคาที่จะชำ�ระกันเท่านั้น ทำ�ให้ในคดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าแม้จำ�นวนมัดจำ�จะสูง แต่ตามพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนแต่เป็นความผิดของนายเก่งเอง จึงไม่สมควร จะลดมัดจำ�ให้ บทเรียนจากเรื่องนี้คงพอจะกล่าวโดยสรุปได้ว่า การกำ�หนดให้วางมัดจำ� เป็นจำ�นวนที่สูงมาก หากต้องริบมัดจำ�แล้วปรากฏว่ามัดจำ�นั้นสูงเกินส่วน จากความเสียหายที่เกิดขึ้นกฎหมายให้อำ�นาจศาลลดมัดจำ�ที่จะริบนั้นได้แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของแต่ละเรื่องด้วยหากมีพฤติการณ์เช่นกรณีนี้ศาลจะไม่ ลดจำ�นวนมัดจำ�ที่จะริบก็ได้ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่301/2563) ฎีกา InTrend สัญญาซื้อขายที่ดินที่ให้ริบมัดจำสูงเกินส่วน จะถือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 81 ฎีกา InTrend 33


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 82 วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย บางครั้งก็ฮิตไปอยู่ใจกลาง เมืองในคอนโดมิเนียมสูง ๆ เพื่อจะได้ใกล้ที่ทำ�งานและแหล่งช้อปปิ้ง แต่บางครั้ง ก็ต้องการออกไปห่างเมืองหน่อย เพื่อจะได้อยู่ในบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่สำ�หรับ ครอบครัวที่ขยายมากขึ้นการอยู่ร่วมกันในชุมชนเช่นหมู่บ้านจัดสรรจึงกลายเป็น เรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในตอนนี้จะเป็นเรื่องที่ว่าสมาชิกในหมู่บ้านรายหนึ่งไม่พอใจ การบริการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจึงทำ�ให้มีปัญหาว่าจะขอลาออกจากการ เป็นสมาชิกและไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่ ฎีกา InTrend ขอลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และไม่ต้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 83 คุณเกียรติและครอบครัวไปซื้อบ้านจัดสรรในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน เขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร หมู่บ้านที่คุณเกียรติไปซื้อจัดได้ว่าเป็นหมู่บ้าน ระดับราคาค่อนไปทางสูง เนื่องจากคุณเกียรติหวังว่าจะได้อยู่ในชุมชนที่น่าอยู่ มีบรรยากาศที่ดีและมีความปลอดภัย นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแห่งนี้ได้กำ�หนดเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการบำ�รุง รักษาและจัดการสาธารณูปโภคของหมู่บ้านจากสมาชิกที่ซื้อบ้านและที่ดินจัดสรร ในหมู่บ้านตามขนาดพื้นที่ของบ้าน สำ�หรับบ้านของเกียรติจะต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนกลางนี้ในอัตราปีละ 10,000บาท ฎีกา InTrend ขอลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และไม่ต้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 84 ในช่วงแรก เกียรติจ่ายค่าส่วนกลางตามกำ�หนดไม่เคยขาด แต่ต่อมา เกียรติเริ่มเห็นว่านิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทำ�งานไม่ค่อยดีสวนสาธารณะที่อยู่ บริเวณใกล้บ้านของเกียรติก็มีต้นไม้และหญ้าขึ้นรกรุงรัง สโมสรของหมู่บ้านก็ให้ บริการไม่ดีแถมบ้านของเกียรติเคยถูกคนร้ายเข้าไปขโมยของระหว่างที่ไปพักผ่อน ต่างจังหวัดด้วยเกียรติเคยไปบ่นให้คณะกรรมการของหมู่บ้านฟังแล้วแต่ไม่เห็น ความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ เกียรติจึงตัดสินใจแจ้งให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ทราบว่าตนขอลาออกจากการเป็นสมาชิกและหยุดจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลาง นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจึงได้ฟ้องเกียรติเป็นจำ�เลยขอให้ชำ�ระค่าใช้จ่าย ส่วนกลางที่ค้างหลายปีรวมเป็นเงินต้นและดอกเบี้ยประมาณ 90,000บาท นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมานี้พระราชบัญญัติการจัดสรร ที่ดิน พ.ศ. 2543 กำ�หนดให้มีอำ�นาจหน้าที่ต่าง ๆ หลายประการ เช่น การจัด ระเบียบและดูแลสาธารณูปโภคภายในหมู่บ้าน การดูแลจัดการเกี่ยวกับการจราจร ฎีกา InTrend ขอลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และไม่ต้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 85 ภายในหมู่บ้าน และมีอำ�นาจยื่นคำ�ร้องทุกข์หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิกเกี่ยวกับ กรณีที่กระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกจำ�นวนตั้งแต่สิบรายขึ้นไปได้อีกด้วย โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรมีฐานะเป็นผู้แทนที่ไปดำ�เนินการจัดการต่าง ๆ ในนามของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น ในการดำ�เนินการดูแลสาธารณูปโภคต่าง ๆ ย่อมต้องเกิดมีค่าใช้จ่ายที่ ต้องให้บรรดาสมาชิกต่าง ๆ เป็นผู้ร่วมกันรับผิดชอบ ซึ่งกฎหมายเองก็ให้อำ�นาจ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่จะเรียกเก็บค่าบำ�รุงรักษาสาธารณูปโภคเหล่านี้จาก สมาชิกได้แต่ปัญหาสำ�หรับกรณีนี้คือ หากสมาชิกอย่างเช่นคุณเกียรติเห็นว่า การทำ�งานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่ดีจนรู้สึกว่าตนได้รับการบริการ ที่ไม่เหมาะสม ไม่ทัดเทียมกับสมาชิกรายอื่นในหมู่บ้าน คุณเกียรติจะขอลาออก จากการเป็นสมาชิกได้หรือไม่ซึ่งหากสามารถลาออกได้แล้วคุณเกียรติย่อมไม่มี หน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าบำ�รุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนกลางอีกต่อไป ฎีกา InTrend ขอลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และไม่ต้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 86 ในประเด็นเกี่ยวกับความเป็นสมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนี้ พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินฯ ได้กำ�หนดไว้ว่าให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกราย เป็นสมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ลักษณะของการเป็นสมาชิกดังกล่าวจึงแตกต่างจากการเป็นสมาชิก ของหน่วยงานหรือองค์กรอื่นเช่นการเป็นสมาชิกสโมสรออกกำ�ลังกายและฟิตเนส ที่หากเราไม่พอใจย่อมไม่ต่ออายุสมาชิกและไปสมัครเป็นสมาชิกที่อื่นได้เพราะเป็น เรื่องของความสมัครใจของสมาชิกแต่ละราย แต่สำ�หรับความเป็นสมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนี้เป็นกรณีที่ กฎหมายกำ�หนดสถานะความเป็นสมาชิกไว้โดยเฉพาะให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกราย เป็นสมาชิกด้วย จึงไม่ใช่เรื่องของสัญญาหรือการทำ�ธุรกรรมที่ต้องอาศัย ความสมัครใจหรือยินยอมเหมือนกรณีการทำ�สัญญาหรือธุรกรรมทั่วๆไปเหตุที่เป็น เช่นนั้นเพราะหากต้องอาศัยความสมัครใจ การบริหารนิติบุคคลย่อมทำ�ได้ยาก เพราะจะมีทั้งคนที่ยอมเสียค่าบำ�รุงรักษาและคนที่ไม่ยอม ทั้ง ๆ ที่สาธารณูปโภค ทุกอย่าง เช่น ถนนหนทางเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ร่วมกัน สมาชิกบางรายจึงย่อมไม่ สามารถอ้างเหตุมาปฏิเสธการชำ�ระค่าบำ�รุงรักษาได้ ส่วนเรื่องที่อ้างว่านิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้บริการไม่ดีหรือไม่ทำ� หน้าที่บางอย่างที่ควรต้องทำ�คงเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก แล้วแต่ว่า แต่ละเรื่องแต่ละกรณีนั้นจะสามารถใช้สิทธิของตนในทางใดได้ไม่ว่าจะเป็นการลงมติ ในการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ หรือแม้กระทั่งการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หรือเรียกร้องให้ดำ�เนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่คงไม่ใช่เหตุที่จะปฏิเสธไม่ชำ�ระ ฎีกา InTrend ขอลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และไม่ต้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 87 ค่าบำ�รุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนกลางได้ การอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างเช่นหมู่บ้านจัดสรรย่อมก่อให้เกิดความจำ�เป็น ที่สมาชิกในชุมชนจะต้องร่วมมือในการดูแลชุมชนหากเกิดไม่พอใจอย่างหนึ่งอย่างใด ขึ้นมา สมาชิกคงไม่สามารถอ้างเหตุนั้นมาขอลาออกจากการเป็นสมาชิกเพื่อจะได้ ไม่ต้องจ่ายค่าบำ�รุงรักษาสาธารณูปโภคได้เพราะไม่เช่นนั้นชุมชนส่วนรวมของหมู่บ้านนั้น คงบริหารจัดการได้ยากอันจะนำ�ไปสู่ความเสื่อมโทรมของชุมชนในที่สุด (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่312/2563) ฎีกา InTrend ขอลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และไม่ต้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 88 ฎีกา InTrend 34


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 89 การทำ�งานต่างๆไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนรัฐวิสาหกิจหรือแม้แต่คนเรา โดยทั่วไปย่อมยากที่จะทำ�ทุกสิ่งได้ด้วยตนเอง ทำ�ให้ต้องมีการว่าจ้างให้คนอื่นมา ช่วยทำ�งานบางอย่างให้แต่ในการว่าจ้างนี้ก็เป็นสาเหตุของปัญหาและข้อพิพาทที่ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ ปัญหาในตอนนี้จะเป็นกรณีที่มีการตกลงว่าจะจ้างให้ทำ�งาน แต่ยังไม่มีการลงนามในสัญญา ผู้รับจ้างได้ลงมือทำ�งานที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปแต่ ผู้ว่าจ้างได้บอกยกเลิกงาน ผู้รับจ้างนั้นจะเรียกค่าใช้จ่ายที่เสียไปนั้นได้หรือไม่ บริษัทดิจิทัลไทยเทรดจำ�กัดเป็นบริษัทที่ทำ�ธุรกิจเกี่ยวกับการจำ�หน่าย สินค้าทางเทคโนโลยีรายใหญ่รายหนึ่ง ตามปกติในแต่ละปีบริษัทจะจัดงานแสดง สินค้าทางเทคโนโลยีที่ศูนย์แสดงสินค้าที่จะเปิดพื้นที่ให้ร้านค้าที่จำ�หน่ายสินค้าทาง เทคโนโลยีหรือสินค้าอื่นที่น่าสนใจมาร่วมตั้งร้านโดยเสียค่าเช่าพื้นที่ให้บริษัท ฎีกา InTrend ตกลงว่าจ้างแต่ยังไม่ลงนามสัญญา หากมีการยกเลิกงาน ผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เสียไปแล้วได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 90 ในการจัดงานที่ผ่านมาหลายปีบริษัท ดิจิทัลไทยเทรดได้ว่าจ้างให้บริษัท เกรทเอ็กซิบิท จำ�กัด เป็นออกาไนเซอร์ที่ช่วยจัดการงานแสดงสินค้าให้แทน โดย การจัดงานครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมาก็ดำ�เนินไปด้วยความราบรื่นดีจนกระทั่งใน การจะจัดงานครั้งหลังสุด บริษัท ดิจิทัลไทยเทรดได้เริ่มกระบวนการหาผู้รับจ้าง จัดงานเหมือนทุกปีที่ผ่านมา จนกระทั่งได้คัดเลือกบริษัทเกรทเอ็กซิบิทให้เป็น ผู้ดำ�เนินงานให้เช่นเดิม ทั้งสองบริษัทได้เจรจาเกี่ยวกับเนื้อหาและรายละเอียดการทำ�งานตลอดจน ค่าจ้างเป็นที่เรียบร้อยโดยตกลงค่าจ้างเป็นเงิน14ล้านบาทแต่ยังไม่มีการลงนาม ในหนังสือสัญญา ระหว่างนั้นบริษัทเกรทเอ็กซิบิทก็ได้เริ่มเตรียมการเพื่อ ฎีกา InTrend ตกลงว่าจ้างแต่ยังไม่ลงนามสัญญา หากมีการยกเลิกงาน ผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เสียไปแล้วได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 91 การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ตามที่ได้มีการประชุมวางแนวทางระหว่างทั้งสอง บริษัทและแนวปฏิบัติในการดำ�เนินการว่าจ้างครั้งก่อนๆ ต่อมาเกิดเหตุชุมนุมทางการเมือง บริษัทดิจิทัลไทยเทรดจึงได้แจ้งยกเลิก การจัดงาน โดยระบุเหตุผลว่าการจัดงานในสถานการณ์เช่นนี้ไม่เป็นประโยชน์ตาม วัตถุประสงค์ของบริษัท บริษัทเกรทเอ็กซิบิทได้เรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เสียไป ทั้งสอง ฝ่ายมีการเจรจากันโดยบริษัทเกรทเอ็กซิบิทยอมปรับลดเงินที่จะเรียกร้องลงจาก 1.8 ล้าน เหลือ 1.4 ล้าน แต่ไม่มีการจ่ายเงินจำ�นวนดังกล่าว บริษัทเกรทเอ็กซิบิท จึงได้มาฟ้องเรียกร้องเงินค่าใช้จ่าย ฎีกา InTrend ตกลงว่าจ้างแต่ยังไม่ลงนามสัญญา หากมีการยกเลิกงาน ผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เสียไปแล้วได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 92 ปัญหาประการแรกของเรื่องนี้คงเป็นการว่าจ้างที่แม้จะมีการคัดเลือก ผู้รับจ้าง มีการพูดคุยเจรจาเงื่อนไขและรายละเอียดการทำ�งาน ตลอดจนค่าจ้าง กันแล้ว แต่ยังไม่มีลงนามในสัญญาระหว่างทั้งสองฝ่ายจนกระทั่งมีการยกเลิก การจัดงานความผูกพันในทางกฎหมายระหว่างทั้งสองฝ่ายจะมีหรือไม่และจะมีผล ต่อความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เสียไปก่อนการยกเลิกการจัดงานอย่างไร กรณีนี้ถือว่าการว่าจ้างระหว่างทั้งสองบริษัทเป็นสัญญา “จ้างทำ�ของ” ที่กฎหมายไม่ได้กำ�หนดบังคับว่าต้องทำ�เป็นหนังสืออยู่แล้ว การที่ไม่ได้ลงชื่อใน หนังสือสัญญาจึงไม่ถึงขนาดที่จะทำ�ให้สัญญาระหว่างบริษัททั้งสองไม่ได้ทำ�ตาม “แบบ”ที่กฎหมายกำ�หนดที่จะทำ�ให้สัญญาไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย กรณีของทั้งสองบริษัทคงมีปัญหาตรงที่หากดูเจตนาของทั้งสองฝ่าย ก็คงประสงค์จะให้มีการทำ�สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่ในครั้งนี้ยังไม่ได้มีการลงชื่อในสัญญา กรณีที่คู่สัญญาตกลงกันว่า จะทำ�สัญญากันเป็นหนังสือนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง กำ�หนดไว้ว่าหากกรณีเป็นที่สงสัย ให้นับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกัน จนกว่าจะทำ�สัญญานั้นเป็นหนังสือ แต่เมื่อดูพฤติการณ์ของกรณีนี้แล้วย่อมจะเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่าง แสดงออกให้เห็นแล้วว่าได้ตกลงที่จะว่าจ้างกัน ความสงสัยว่ามีสัญญาต่อกัน หรือไม่จึงไม่มีอยู่ เพราะเงื่อนไขและรายละเอียดการจ้างรวมถึงค่าจ้างก็ตกลงกัน เรียบร้อยแล้ว การปฏิบัติของทั้งสองหลังจากนั้นก็ทำ�เหมือนแนวทางที่เคยทำ�กัน มาระหว่างทั้งสองบริษัทที่มีการเตรียมการจัดงานมีการประชุมวางแนวทางร่วมกัน ฎีกา InTrend ตกลงว่าจ้างแต่ยังไม่ลงนามสัญญา หากมีการยกเลิกงาน ผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เสียไปแล้วได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 93 มีแม้กระทั่งการที่บริษัทดิจิทัลไทยเทรดยอมให้บริษัทเกรทเอ็กซิบิทมาใช้พื้นที่ ภายในบริษัทตั้งเป็นศูนย์ประสานงานการจัดงานครั้งนี้ การดำ�เนินการที่เกิดเป็น ค่าใช้จ่ายก็อยู่ในความรับรู้และเห็นชอบของผู้ว่าจ้าง จึงถือว่าเกิดสัญญาว่าจ้าง ที่มีความผูกพันระหว่างบริษัททั้งสองแล้ว ปัญหาอีกประการเป็นข้ออ้างที่บริษัทดิจิทัลไทยเทรดอ้างว่าการจัดงาน ต่อไปย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำ�นองที่การชำ�ระหนี้ตามสัญญานี้ตกเป็นพ้น วิสัยไปด้วยเหตุที่เป็นการจัดงานท่ามกลางบรรยากาศการชุมนุมทางการเมืองที่ คนคงจะไม่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานมากนัก ฎีกา InTrend ตกลงว่าจ้างแต่ยังไม่ลงนามสัญญา หากมีการยกเลิกงาน ผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เสียไปแล้วได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 94 แต่กรณีดังกล่าวคงไม่ใช่ข้ออ้างที่จะมาปฏิเสธความรับผิดได้เพราะความจริง แล้วการจัดงานยังไม่ถึงกับพ้นวิสัยขนาดที่จะจัดไม่ได้ ผู้รับจ้างยังคงสามารถ จัดงานได้อยู่ เพียงแต่ผลลัพธ์ของการจัดงานอาจจะไม่ประสบความสำ�เร็จอย่างที่ ผู้ว่าจ้างต้องการเท่านั้น ทำ�ให้ไม่ถือว่าเป็นเหตุของการชำ�ระหนี้เป็นพ้นวิสัยที่จะมา อ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้บริษัทดิจิทัลไทยเทรดจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ ผู้รับจ้างได้เสียไปในการเตรียมการ การว่าจ้างให้จัดงานที่เป็นการ “จ้างทำ�ของ” เช่นนี้เป็นสัญญาที่ไม่ต้อง ทำ�เป็นหนังสือก็มีผลผูกพันคู่สัญญาได้ดังนั้น หากมีการยกเลิกสัญญาโดยไม่ ได้เกิดจากความผิดของผู้รับจ้างแล้ว ผู้ว่าจ้างย่อมเกิดความรับผิดที่จะต้องชดใช้ ค่าใช้จ่ายที่ผู้รับจ้างได้เสียไปแล้วเพราะการเตรียมการทำ�งานนั้น (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่65/2563) ฎีกา InTrend ตกลงว่าจ้างแต่ยังไม่ลงนามสัญญา หากมีการยกเลิกงาน ผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เสียไปแล้วได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 95 ฎีกา InTrend 35


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 96 การที่มีที่ดินอยู่ติดต่อกันทำ�ให้เกิดเหตุพิพาทและมีปัญหากัน อยู่เนืองๆปัญหาประการหนึ่งที่เกิดขึ้นคือการปลูกต้นไม้รุกล้ำ�เข้าไปในที่ดินที่อยู่ ข้างเคียง แน่นอนว่าเจ้าของที่ดินข้างเคียงนั้นได้รับความเดือดร้อนรำ�คาญและ ได้รับผลกระทบจากการไม่สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่บริเวณนั้นได้แต่การจะ เข้าไปจัดการแก้ปัญหาอย่างไรนั้นก็คงต้องดำ�เนินการด้วยความระมัดระวังด้วย ประเด็นที่จะนำ�มากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่เจ้าของที่ดินข้างเคียงตัดต้นไม้ ที่ปลูกรุกล้ำ�มาแล้วนำ�ไปไว้ที่อื่นจะทำ�ให้มีความผิดฐานลักทรัพย์ได้หรือไม่ แดงและดำ�มีที่ดินที่อยู่ติดกัน เดิมที่ดินทั้งสองแปลงเป็นที่ดินที่มีหนังสือ รับรองการทำ�ประโยชน์แต่ต่อมาทั้งสองคนต้องการจะให้มีการออกโฉนดเพื่อจะได้ ฎีกา InTrend ตัดต้นไม้ที่ปลูกรุกล้ำ แล้วขนไปไว้ที่บ้าน จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 97 รับรองกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวของแต่ละคน ในการดำ�เนิน การขอออกโฉนดต้องมีการรังวัดที่ดินเพื่อจะได้ทราบแนวเขตที่ถูกต้องของที่ดินที่ ขอออกโฉนดนั้นเพื่อจะได้จัดทำ�แผนที่ของที่ดินในโฉนดได้อย่างถูกต้อง ผลการรังวัดและสอบแนวเขตที่ดินของแดงและดำ�ปรากฏว่าบริเวณที่แดง ปลูกต้นสักไว้จำ�นวน 294 ต้น คิดเป็นพื้นที่ 2 ไร่เศษรุกล้ำ�เข้าไปอยู่ในแนวเขตที่ดิน ของดำ� เมื่อดำ�ทราบข้อเท็จจริงจึงได้มีหนังสือแจ้งให้แดงรื้อถอนเคลื่อนย้ายต้นสัก ทั้งหมดออกไปจากแนวเขตที่ดินของตน โดยบอกด้วยว่าหากไม่เคลื่อนย้ายออกไป ดำ�จะดำ�เนินการรื้อถอนต้นสักเหล่านั้นเองเพื่อจะได้นำ�พื้นที่ไปใช้ปลูกอ้อยแทน หลายเดือนผ่านไป แดงก็ยังไม่รื้อถอนต้นสักออกไป ดำ�จึงได้ตัดต้นสัก ลงบางส่วน ทำ�ให้แดงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำ�รวจ หาว่าดำ�ทำ�ให้ ทรัพย์สินของตนเองเสียหาย ทั้งคู่ได้ไปเจรจากันที่สถานีตำ�รวจลงบันทึกประจำ�วัน ไว้ว่าจะใช้สิทธิทางศาล หากผลของคดีเป็นอย่างไรก็จะปฏิบัติตามคำ�พิพากษา แต่ ฎีกา InTrend ตัดต้นไม้ที่ปลูกรุกล้ำ แล้วขนไปไว้ที่บ้าน จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 98 หลังจากทำ�บันทึกดังกล่าวได้เพียงสองสัปดาห์ดำ�ก็ได้ตัดต้นสักทั้งหมด ภายหลังดำ�ตัดต้นสักแล้ว ดำ�ได้ใช้รถขนต้นสักที่ตัดแล้วบางส่วนไปไว้ที่ บ้านของตนเองและนำ�ต้นสักอีกบางส่วนไปแปรรูป แดงได้ไปแจ้งความร้องทุกข์และ มีการสอบสวนจนกระทั่งพนักงานอัยการฟ้องดำ�เป็นจำ�เลยต่อศาล ปัญหาในคดีนี้ที่สำ�คัญคงเป็นเรื่องที่ว่าการที่เจ้าของที่ดินตัดต้นไม้ของผู้อื่น ที่ปลูกรุกล้ำ�เข้ามาในที่ดินตนเองแล้วขนย้ายไปที่อื่นนี้จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ไป หรือไม่ เรื่องที่เกิดขึ้นนี้สิ่งหนึ่งที่ไม่มีการโต้เถียงกันคือต้นสักทั้ง 294 ต้นนั้น เป็นต้นไม้ของนายแดงที่นายแดงปลูกไว้ทั้งสิ้น เพียงแต่ตอนที่ปลูกไม่มีการรังวัด พื้นที่ให้ชัดเจนทำ�ให้นายแดงไปปลูกต้นสักเหล่านั้นในพื้นที่ของนายดำ�จนเป็นเหตุ ให้เกิดปัญหา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็ค่อนข้างชัดเจนว่านายดำ�รู้ว่าต้นสักเป็นของ นายแดงจึงได้มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้นายแดงรื้อถอนขนย้ายต้นไม้เหล่านั้น ออกไปจากพื้นที่ของตน ปัญหาคงอยู่ที่การที่นายดำ�ทำ�การตัดโค่นต้นไม้ที่รุกล้ำ�เข้ามาด้วย ตนเอง ไม่รอให้นายแดงมารื้อถอนไปตามที่ได้เคยส่งหนังสือบอกกล่าวไปเตือนนี้ จะมีผลเป็นความผิดหรือไม่ หากนายดำ�ทำ�เพียงแค่ตัดโค่นต้นไม้แล้วขนย้ายออก ไปจากพื้นที่ของตน โดยอาจนำ�ไปไว้ในเขตพื้นที่ของนายแดงที่อยู่ติดกันก็คงเป็น อีกกรณีที่ต่างออกไป แต่ปรากฏว่านายดำ�ได้ขนย้ายต้นสักจำ�นวนหนึ่งไปไว้ที่บ้าน ของตัวเองแล้วยังนำ�ต้นสักอีกส่วนหนึ่งไปทำ�การแปรรูปเสียด้วย พฤติการณ์นี้นี่เอง ที่ทำ�ให้เห็นว่านายดำ�ไม่ได้เพียงแค่ต้องการจะรื้อถอนต้นไม้เพื่อใช้พื้นที่ทำ�ไร่อ้อย ฎีกา InTrend ตัดต้นไม้ที่ปลูกรุกล้ำ แล้วขนไปไว้ที่บ้าน จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 99 อย่างที่อ้าง แต่ได้แสวงหาประโยชน์จากต้นสักที่ตัดมาเหล่านั้นด้วย เมื่อต้นสักนั้น ไม่ได้เป็นของนายดำ�การนำ�ไปไว้ที่บ้านและแปรรูปจึงเป็นการแสวงประโยชน์ที่มิชอบ ทำ�ให้การกระทำ�ของนายดำ�เข้าข่ายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ กรณีนี้คงเป็นบทเรียนที่ให้หลายคนคงต้องระวังในการจัดการกับปัญหา ที่พิพาทในลักษณะทำ�นองนี้ที่แม้จะได้ความว่าต้นไม้ของคนอื่นมาปลูกรุกล้ำ�ในที่ ของเรา แต่การจะตัดโค่นต้นไม้แล้วนำ�ไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองจะทำ�ให้กลาย เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ไป ยิ่งถ้าต้นไม้ที่ตัดมีจำ�นวนมากอย่างกรณีนี้ยิ่งทำ�ให้มี ความเสี่ยงที่โทษที่จะได้รับจะสูงขึ้นตามไปด้วย (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่5427/2561) ฎีกา InTrend ตัดต้นไม้ที่ปลูกรุกล้ำ แล้วขนไปไว้ที่บ้าน จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 100 ฎีกา InTrend 36


Click to View FlipBook Version