The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

E-BOOK DEEKA INTREND เล่มที่ 2 EP.21-40

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2024-05-26 23:14:11

E-BOOK DEEKA INTREND เล่มที่ 2 EP.21-40

E-BOOK DEEKA INTREND เล่มที่ 2 EP.21-40

สำ�นักงานศาลยุติธรรม 101 การจัดสรรที่ดินในโครงการต่าง ๆ แต่เดิมมาอาจไม่เข้มงวดเหมือนใน ปัจจุบันที่กฎหมายเข้ามากำ�กับและวางมาตรการต่างๆ พอสมควร พื้นที่ส่วนหนึ่ง ที่เป็นสาธารณูปโภคในโครงการที่ทำ�มาแต่เดิมจะมีชื่อเจ้าของโครงการเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เหล่านั้นอยู่แม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานก็ตาม ปัญหาที่ นำ�มากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่เจ้าของโครงการโอนกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ที่ เป็นสาธารณูปโภคซึ่งตกอยู่ในภาระจำ�ยอมให้แก่บุคคลอื่นว่าจะกระทำ�ได้หรือไม่ เพียงใด ฎีกา InTrend เจ้าของที่ดินที่มีภาระจำยอมในโครงการจัดสรร จะโอนขายที่ดินนั้นให้คนอื่นไปได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 102 สมศรีเป็นเจ้าของที่ดินแปลงใหญ่แปลงหนึ่ง ต่อมาสมศรีได้พัฒนาที่ดิน แปลงดังกล่าวเป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรออกจำ�หน่ายในโครงการมีพื้นที่ส่วนกลาง ที่เป็นสวนสาธารณะและสนามเด็กเล่นอยู่โครงการดังกล่าวมีผู้ซื้อบ้านในโครงการ ไปจนครบถ้วนและได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อไปจนหมด แต่ในส่วนที่เป็นพื้นที่ ส่วนกลางดังกล่าวยังมีชื่อของสมศรีเป็นเจ้าของอยู่ ต่อมาสมศรีเป็นหนี้ธนาคารจำ�นวนมากจนถูกธนาคารฟ้องเรียกร้องให้ ชำ�ระหนี้สมศรีได้เจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร โดยได้ยอมจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางในโครงการจัดสรรดังกล่าวให้แก่ ธนาคารเพื่อตีใช้หนี้ คมสันซึ่งเป็นเจ้าของบ้านหลังหนึ่งในโครงการจัดสรรได้ทราบเรื่องการโอน พื้นที่ส่วนกลางดังกล่าวจึงได้ฟ้องทั้งสมศรีและธนาคารเป็นจำ�เลยขอให้จดทะเบียน ฎีกา InTrend เจ้าของที่ดินที่มีภาระจำยอมในโครงการจัดสรร จะโอนขายที่ดินนั้นให้คนอื่นไปได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 103 โอนพื้นที่ส่วนกลางกลับเป็นของสมศรีและจดทะเบียนภาระจำ�ยอมให้คมสันและ ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรนั้น หรือมิฉะนั้นให้ยกให้กรุงเทพมหานครเพื่อใช้เป็นที่ สาธารณะประโยชน์ กรณีหมู่บ้านจัดสรรของสมศรีนี้สร้างมานานแล้วในขณะนั้นพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543ยังไม่มีผลบังคับใช้แต่อยู่ภายใต้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แต่ทั้งสองกรณีกำ�หนดไว้ในลักษณะเดียวกันว่าพื้นที่ๆ เป็นสาธารณูปโภคส่วนกลางในลักษณะเดียวกับหมู่บ้านที่คมสมอยู่นี้ให้ถือว่า เป็นภาระจำ�ยอมแก่ที่ดินที่จัดสรร ผลของการที่ดินที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางนี้ตกอยู่ภายใต้ภาระจำ�ยอมนี้มีผล ทำ�ให้พื้นที่ส่วนนี้ต้องยอมรับภาระบางอย่างบนที่ดินนั้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินทั้ง หลายได้ประโยชน์จากภาระจำ�ยอมนี้ไป ทำ�ให้เจ้าของที่ดินที่เป็นภาระจำ�ยอมนั้นไม่ ฎีกา InTrend เจ้าของที่ดินที่มีภาระจำยอมในโครงการจัดสรร จะโอนขายที่ดินนั้นให้คนอื่นไปได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 104 สามารถใช้สิทธิบางอย่างที่ตามปกติเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอาจมีอยู่และใช้ได้ อย่างไรก็ตาม หน้าที่ที่ประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวกำ�หนดไว้คง มีเพียงกำ�หนดให้ผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปต้องบำ�รุงรักษา สาธารณูปโภคที่ถือว่าตกอยู่ในภาระจำ�ยอมนั้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร ให้คงสภาพดังเดิมตลอดไป และจะกระทำ�การใด ๆ ที่จะทำ�ให้ประโยชน์แห่งภาระ จำ�ยอมนั้นลดไปหรือเสื่อมความสะดวกไปไม่ได้ซึ่งเป็นหน้าที่ตามปกติของเจ้าของ ที่ดินที่เป็นภาระจำ�ยอมนั้นแม้ว่าจะเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ในโครงการจัดสรรก็ตาม แต่แม้ที่ดินจะตกอยู่ในภาระจำ�ยอม กฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้ห้ามไม่ให้ จำ�หน่ายจ่ายโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไป การที่สมศรีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็น พื้นที่ส่วนกลางนั้นไปจึงไม่ได้เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่ใช้บังคับกับที่ดินจัดสรร แปลงนี้ธนาคารย่อมมีสิทธิที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ไปได้แต่การที่ ธนาคารจะไปกระทำ�การอย่างไรกับที่ดินนั้นคงเป็นอีกปัญหาหนึ่ง แต่ไม่ว่าอย่างไร ธนาคารก็ยังตกอยู่ในภาระหน้าที่ที่จะต้องไม่ทำ�ให้ประโยชน์หรือความสะดวกของ ลูกบ้านที่จะใช้ประโยชน์จากที่ดินแปลงนี้ต้องเสื่อมถอยลงไป ส่วนที่เป็นที่ดินที่จัดสรรภายหลังจากที่พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543มาตรา 43/1ใช้บังคับเมื่อปี2558อาจจะมีผลที่แตกต่างกันเนื่องจาก ในมาตราดังกล่าวกำ�หนดห้ามไม่ให้มีการโอนที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคให้บุคคล อื่นได้นอกจากจะเป็นการเวนคืนที่ดินแปลงนั้นไป เมื่อถือว่าที่ดินที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางตกอยู่ในภาระจำ�ยอมเพื่อประโยชน์ ของที่ดินของคมสันแล้ว คมสันย่อมมีสิทธิขอให้จดทะเบียนภาระจำ�ยอมไว้เป็น ฎีกา InTrend เจ้าของที่ดินที่มีภาระจำยอมในโครงการจัดสรร จะโอนขายที่ดินนั้นให้คนอื่นไปได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 105 หลักฐานได้แม้ว่าการฟ้องของคมสันจะเนิ่นนานเกินกว่า 10ปีนับแต่ที่คมสันซื้อที่ดิน แปลงดังกล่าวมาก็ตาม เพราะกรณีนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่คมสันฟ้องบังคับตามสัญญา ซื้อขายที่ดิน แต่เป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิในเรื่องภาระจำ�ยอมที่ไม่ว่าเวลาจะผ่าน ไปเพียงใดหน้าที่ที่มีอยู่เกี่ยวกับภาระจำ�ยอมนั้นก็ยังคงมีอยู่ ที่ดินที่ตกอยู่ในภาระจำ�ยอมตามปกติแม้ไม่มีข้อห้ามเรื่องการโอน กรรมสิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตามเจ้าของที่ดินที่ภาระจำ�ยอมนั้นและผู้รับโอนรายใด ก็ตามย่อมต้องมีหน้าที่ที่จะบำ�รุงรักษาไม่ทำ�ให้ที่ดินที่เป็นภาระจำ�ยอมนั้นเสื่อม ความสะดวกที่จะใช้งานไปตลอดตราบเท่าที่ความเป็นภาระจำ�ยอมนั้นยังคงมีอยู่ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่4585/2561) ฎีกา InTrend เจ้าของที่ดินที่มีภาระจำยอมในโครงการจัดสรร จะโอนขายที่ดินนั้นให้คนอื่นไปได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 106 ฎีกา InTrend 37


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 107 การเป็นหนี้เป็นภาระของผู้ที่เป็นลูกหนี้อย่างแน่นอนที่จะต้องหาเงิน หาทองไปชำ�ระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ถ้าไม่มีการชำ�ระหนี้สิ่งที่เจ้าหนี้ต้องทำ�คือการฟ้องร้อง เพื่อบังคับชำ�ระหนี้เอากับทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ในบางกรณีลูกหนี้อาจจะ ทำ�การยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนไปให้คนอื่นเพื่อจะทำ�ให้ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้จะ ไปบังคับชำ�ระหนี้เหลือน้อยลงรวมถึงผู้ค้ำ�ประกันซึ่งถือเป็นลูกหนี้ประเภทหนึ่งด้วย ปัญหาในตอนนี้จะเป็นเรื่องที่ว่าหากผู้ค้ำ�ประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไปเจ้าหนี้ จะขอเพิกถอนการโอนนั้นได้หรือไม่ เมื่อเดือนพฤษภาคม2557นางกิ่งได้กู้ยืมเงินมาจากนายก้าน800,000บาท โดยมีนายใบ ซึ่งเป็นญาติของนางกิ่งตกลงเป็นผู้ค้ำ�ประกันให้ตกลงกำ�หนด ฎีกา InTrend ผู้ค้ำประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไป เจ้าหนี้จะขอเพิกถอนการโอนนั้นได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 108 ชำ�ระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในสองเดือน เมื่อครบกำ�หนดดังกล่าวนางกิ่งผิดนัดไม่ชำ�ระ หนี้ให้แก่นายก้านตามที่ตกลงไว้ หลังจากนั้นอีกประมาณสี่เดือน นายใบได้จดทะเบียนยกที่ดินแปลงหนึ่ง ของตนให้แก่นายผลซึ่งเป็นบุตรชายของตนโดยไม่ได้คิดค่าตอบแทนใด ๆ จาก นายผล ในเดือนตุลาคม 2558 นายก้านจึงได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยัง นางกิ่งและนายใบให้ชำ�ระหนี้ตามสัญญากู้ที่ค้างอยู่ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ทั้ง สองคนไม่ชำ�ระหนี้ให้จนนายก้านฟ้องทั้งนางกิ่งและนายใบเป็นจำ�เลย ศาลในคดี ดังกล่าวพิพากษาให้นางกิ่งและนายใบชำ�ระหนี้ให้แก่นายก้าน ฎีกา InTrend ผู้ค้ำประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไป เจ้าหนี้จะขอเพิกถอนการโอนนั้นได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 109 นายก้านสืบหาทรัพย์สินของนางกิ่งและนายใบแล้วไม่ปรากฏว่ามี ทรัพย์เพียงพอที่จะนำ�มาชำ�ระหนี้ได้แต่พบว่าได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าว ระหว่างนายใบและนายผล นายก้านจึงได้มาฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าว และให้โอนที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของนายใบหากไม่ดำ�เนินการก็ให้ถือเอา คำ�พิพากษาแทนการแสดงเจตนา ปัญหาเรื่องนี้เป็นเรื่องของการเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งกฎหมายกำ�หนดไว้ เป็นเครื่องมือประการหนึ่งของเจ้าหนี้ที่ขอเพิกถอนนิติกรรมได้หากปรากฏว่า ลูกหนี้ไปกระทำ�การบางอย่างที่ทำ�ให้เจ้าหนี้เสียเปรียบซึ่งจะทำ�ให้เจ้าหนี้อาจไม่ได้ รับชำ�ระหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำ�ระอยู่นั้นได้ แต่การที่จะขอเพิกถอนนิติกรรมที่เป็นการฉ้อฉลนี้ปกติแล้วบุคคลภายนอก ที่เข้าไปทำ�นิติกรรมที่ทำ�ให้เจ้าหนี้เสียเปรียบนั้นจะต้องรู้ถึงลักษณะดังกล่าวด้วย ว่าการที่ตนไปทำ�นิติกรรมนั้นกับลูกหนี้แล้วจะทำ�ให้เจ้าหนี้เสียเปรียบไม่ได้รับชำ�ระหนี้ จากลูกหนี้ได้ อย่างไรก็ตาม หากนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำ�กับบุคคลภายนอกนั้นเป็น นิติกรรมที่ลูกหนี้ทำ�ให้โดยเสน่หาซึ่งลูกหนี้ไม่ได้ค่าตอบแทนใด ๆ จากบุคคล ภายนอกนั้น บุคคลภายนอกนั้นไม่จำ�เป็นต้องรู้ก็ได้ว่าการทำ�นิติกรรมนั้นจะ ทำ�ให้เจ้าหนี้เสียเปรียบขอเพียงลูกหนี้รู้ก็พอแล้ว สำ�หรับในกรณีนี้นายใบเพียงแต่ยกที่ดินแปลงที่มีปัญหาให้แก่นายผล บุตรชายตนเอง ไม่ได้เป็นการซื้อขาย นิติกรรมระหว่างนายใบกับนายผลจึงเป็น นิติกรรมที่ทำ�ให้โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทนอะไร การที่จะเพิกถอนนิติกรรมรายนี้ ฎีกา InTrend ผู้ค้ำประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไป เจ้าหนี้จะขอเพิกถอนการโอนนั้นได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 110 จึงไม่จำ�เป็นต้องพิจารณาว่านายผลรู้หรือไม่ว่าการที่ตนได้รับโอนที่ดินแปลงนี้มา จะมีผลทำ�ให้ทรัพย์สินของนายใบเหลือไม่พอชำ�ระหนี้ขอเพียงแต่ตัวนายใบที่เป็น ลูกหนี้และเป็นคนยกที่ดินให้รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เพียงพอแล้ว ข้อต่อสู้ประการหนึ่งของนายใบคือในขณะที่ตนจดทะเบียนยกที่ดิน แปลงดังกล่าวให้แก่นายผล ตนยังไม่รู้ว่านางกิ่งผิดนัดชำ�ระหนี้แล้ว เพราะกว่าที่ นายก้านจะส่งหนังสือบอกกล่าวให้นางกิ่งและตนชำ�ระหนี้ก็เป็นเวลาปีกว่านับแต่ วันครบกำ�หนดชำ�ระหนี้เงินกู้ที่ทำ�ให้นางกิ่งผิดนัดชำ�ระหนี้จึงย่อมถือไม่ได้ว่าตัว นายใบเองรู้ว่าการโอนที่ดินนี้จะทำ�ให้นายก้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ ฎีกา InTrend ผู้ค้ำประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไป เจ้าหนี้จะขอเพิกถอนการโอนนั้นได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 111 หากนายก้านส่งหนังสือบอกกล่าวไปก่อนที่นายใบจะจดทะเบียนโอน ที่ดินก็คงจะชัดเจนว่านายใบรู้แน่ว่าเจ้าหนี้ของตนกำ�ลังจะทวงถามให้ชำ�ระหนี้แล้ว การที่นายใบโอนที่ดินไปย่อมส่อแสดงให้เห็นว่าทำ�ไปเพื่อหลีกเลี่ยงการชำ�ระหนี้ แต่แม้จะไม่มีการส่งหนังสือทวงถามให้ชำ�ระหนี้ดังกล่าว แต่กรณีนี้หนี้ ที่มีอยู่เป็นหนี้ค้ำ�ประกันเงินกู้ยืมที่นายใบซึ่งเป็นผู้ค้ำ�ประกันย่อมรู้อยู่แล้วว่าตนมี ความผูกพันต้องชำ�ระหนี้อยู่หากนางกิ่งไม่ชำ�ระ และตามสัญญากู้ก็กำ�หนดวัน ครบกำ�หนดชำ�ระหนี้ไว้แน่นอนชัดเจนอยู่แล้ว นางกิ่งย่อมผิดนัดชำ�ระหนี้ทันทีที่ ครบกำ�หนดชำ�ระดังกล่าวโดยไม่จำ�เป็นต้องให้นายก้านบอกกล่าวทวงถามก่อน ดังนั้นเมื่อนายใบยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่บุตรชายตนเองไปโดยรู้อยู่ แล้วว่าตนไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอที่จะชำ�ระหนี้ให้แก่นายก้านได้จึงต้องถือว่า นายใบได้ทำ�นิติกรรมการโอนดังกล่าวไปโดยรู้ทำ�ไปแล้วจะทำ�ให้เจ้าหนี้ของตน เสียเปรียบจึงเป็นนิติกรรมที่สามารถเพิกถอนในฐานะที่เป็นการฉ้อฉลได้ ข้อสังเกตประการหนึ่งคือนายก้านขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินแปลงนี้กลับไปเป็นชื่อนายใบ หากไม่ไปจดทะเบียนให้ถือเอาคำ�พิพากษาแทน การแสดงเจตนา แต่เมื่อมีการเพิกถอนการโอนระหว่างนายใบกับนายผลไปเสียแล้ว ย่อมถือว่านิติกรรมการโอนนั้นสิ้นผลทางกฎหมายไปโดยสภาพ ไม่จำ�เป็นต้องมี การพิพากษาให้ถือเอาคำ�พิพากษาแทนการแสดงเจตนาไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ เจ้าของอีก กรณีเช่นนี้เมื่อเพิกถอนการโอนแล้ว ที่ดินแปลงดังกล่าวย่อมยังเป็น กรรมสิทธิ์ของนายใบอยู่ นายก้านในฐานะเจ้าหนี้ของนายใบย่อมสามารถขอให้ ฎีกา InTrend ผู้ค้ำประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไป เจ้าหนี้จะขอเพิกถอนการโอนนั้นได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 112 บังคับคดียึดที่ดินแปลงนั้นไปขายทอดตลาดนำ�เงินไปชำ�ระหนี้ให้แก่ตนได้ต่อไป แต่ต้องไปดำ�เนินการเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง บทเรียนจากเรื่องนี้คงบอกได้ว่าเมื่อเป็นหนี้แล้ว การไปกระทำ�การใด ๆ ที่เป็นนิติกรรมที่ส่งผลให้เจ้าหนี้เสียเปรียบไม่ได้รับชำ�ระหนี้ที่ค้างอยู่อาจถูกเพิกถอน ในฐานะเป็นการฉ้อฉลได้โดยหากเป็นการให้โดยเสน่าหาแล้ว แม้ผู้รับโอนจะไม่รู้ ข้อเท็จจริงนี้แต่ตัวลูกหนี้รู้อยู่ก็อาจเพิกถอนได้ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่5497/2562) ฎีกา InTrend ผู้ค้ำประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไป เจ้าหนี้จะขอเพิกถอนการโอนนั้นได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 113 ฎีกา InTrend 38


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 114 ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดเป็นรูปแบบการดำ�เนินธุรกิจที่นำ�มาใช้เป็นจำ�นวนมาก แต่ในการทำ�งานและการทำ�ธุรกรรมกับบุคคลภายนอกก็ทำ�ให้เกิดปัญหาในเรื่อง ความสัมพันธ์สิทธิหน้าที่ต่างๆ อยู่ไม่น้อย ในตอนนี้ประเด็นที่จะนำ�มากล่าวถึงจะ เป็นปัญหาที่ว่าหากหุ้นส่วนประเภทจำ�กัดความรับผิดถอนหุ้นออกจากห้างแล้วจะ ต้องรับผิดในหนี้ของห้างที่เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกไปหรือไม่ นายจันทร์กับนายอังคารเป็นเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยเดียวกัน หลังจาก สำ�เร็จการศึกษาและหาประสบการณ์พอสมควรทั้งคู่ก็ตกลงทำ�ธุรกิจจำ�หน่าย ผลิตภัณฑ์การดูแลสุขภาพทางออนไลน์โดยตั้งเป็น “ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด” ขึ้นมา นายจันทร์เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำ�กัดความรับผิด และนายอังคารเป็นหุ้นส่วน ฎีกา InTrend หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ย ให้รับผิดหนี้ที่เกิดก่อนออกจากห้างได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 115 ประเภทจำ�กัดความรับผิดโดยนายอังคารได้ลงหุ้นไปเป็นเงิน2ล้านบาท ต่อมาทั้งคู่มีความเห็นไม่ลงรอยกันในเรื่องการดำ�เนินธุรกิจ นายอังคาร จึงขอถอนหุ้นไป มีการเจรจากันเรื่องการคืนเงิน สุดท้ายนายจันทร์ตกลงคืนเงิน ให้นายอังคารไปสองล้านบาทโดยในส่วนหุ้นของนายอังคารจะมีบริษัทหนึ่งเข้ามา เป็นหุ้นส่วนแทน หลังจากนั้นปรากฏว่ากรมสรรพากรได้ประเมินภาษีของห้างหุ้นส่วน จำ�กัดนี้เกี่ยวกับธุรกรรมและรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่นายอังคารยังเป็นหุ้นส่วนอยู่ กรมสรรพรกรประเมินแล้วให้ชำ�ระภาษีพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่มจำ�นวน 5 แสนบาท ห้างฯได้ชำ�ระเงินให้กรมสรรพากรไปครบถ้วนแล้ว ฎีกา InTrend หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ย ให้รับผิดหนี้ที่เกิดก่อนออกจากห้างได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 116 ห้างฯ เห็นว่าเป็นหนี้ที่นายอังคารต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เพียงแต่มา ทราบภายหลังจึงทำ�ให้ตอนที่นายอังคารถอนหุ้นไปจึงได้จ่ายเงินให้นายอังคารมาก ไปกว่าที่ควรต้องจ่ายจึงได้มาฟ้องนายอังคารให้รับผิด กรณีนี้จะเห็นได้ว่านายอังคารเป็น “หุ้นส่วนประเภทจำ�กัดความรับผิด” ที่ปกติแล้วต้องรับผิดไม่เกินจำ�นวนหุ้นที่ตนได้ลงในห้าง เช่นกรณีนี้นายอังคาร ลงหุ้นเป็นเงิน 2 ล้านบาท หากห้างฯ ทำ�กิจการแล้วเกิดความเสียหายอย่างใด นายอังคารก็ไม่ต้องรับผิดอะไรเกินไปจากค่าหุ้นที่ตกลงรับว่าจะลง สิ่งที่ทำ�ให้เกิดเป็นปัญหาในกรณีนี้มาจากการที่นายอังคารได้ถอนหุ้นไป ก่อนที่ห้างฯ ชำ�ระค่าภาษีให้กรมสรรพากร จึงทำ�ให้เกิดปัญหาว่าถ้าเช่นนั้น นายอังคารยังจะต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วยหรือไม่ หากเป็น “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ที่ไม่มีการแยกประเภทหุ้นส่วนให้มีหุ้น ส่วนประเภทจำ�กัดความรับผิด หุ้นส่วนที่ออกจากห้างไปต้องรับผิดในหนี้ของห้าง ที่เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกไปจากห้างด้วย เพราะถือว่าเป็นหนี้ที่หุ้นส่วนคนนั้นจะ ต้องรับผิดตามกฎหมายอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์นี้ย่อมไม่สามารถนำ� มาใช้กับ“ห้างหุ้นสวนจำ�กัด” เช่นกรณีนี้ได้เพราะความรับผิดของหุ้นส่วนประเภท จำ�กัดความรับผิดนั้นได้มีการกำ�หนดไว้โดยเฉพาะแล้วว่าจะฟ้องร้องได้เมื่อใด และ ต้องรับผิดในเงินจำ�นวนใดบ้าง ซึ่งกฎหมายกำ�หนดให้หุ้นส่วนประเภทจำ�กัดความ รับผิดต้องรับผิดเพียงเฉพาะบางกรณีเช่น เงินลงหุ้นที่ถอนไปหากมีการเลิกห้าง เท่านั้น ไม่ได้กำ�หนดให้รับผิดในหนี้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างที่ตนเป็นหุ้นส่วนอยู่ จึงจะนำ�หลักการดังกล่าวมาฟ้องร้องหุ้นส่วนประเภทจำ�กัดความรับผิดไม่ได้ ฎีกา InTrend หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ย ให้รับผิดหนี้ที่เกิดก่อนออกจากห้างได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 117 นอกจากนั้นกรณีที่เจ้าหนี้ของห้างอาจฟ้องให้หุ้นส่วนประเภทจำ�กัด ความรับผิดได้จะต้องเป็นกรณีที่ห้างเลิกกันแล้วและมีสิทธิฟ้องให้ต้องชำ�ระเงินไม่ เกินจำ�นวนเงินลงหุ้นที่ถอนไปจากห้างเท่านั้น แต่กรณีดังกล่าวจะทำ�ได้ต่อเมื่อห้าง เลิกกันแล้วเท่านั้น และเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ของห้างที่จะใช้สิทธิฟ้องร้อง ซึ่งหาก เทียบกับกรณีนี้ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ของห้างฯคือกรมสรรพากร ไม่ใช่สิทธิของห้างที่จะ ฟ้องร้อง และกรณีนี้ห้างก็ยังไม่ได้เลิกกันด้วยสิทธิฟ้องร้องดังกล่าวจึงยังไม่เกิด กรณีนี้เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นหนี้ที่กรมสรรพากรเรียกเก็บจาก ห้างฯ การที่ห้างฯ ชำ�ระเงินไปจึงเป็นการชำ�ระหนี้ของตนเองที่ถือว่าตัวห้างเป็น ฎีกา InTrend หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ย ให้รับผิดหนี้ที่เกิดก่อนออกจากห้างได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 118 นิติบุคคลที่แยกออกต่างหากจากบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างนั้นห้างฯจึงจะไปไล่เบี้ย เอาจากหุ้นส่วนประเภทไม่จำ�กัดความรับผิดที่ออกจากห้างไปแล้วไม่ได้ ส่วนเงินที่นายอังคารได้รับไปจากการถอนหุ้นออกจากห้างก็เป็นเรื่อง ของการเจรจากันระหว่างผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการถอนหุ้นเท่านั้น ไม่ได้ทำ�ให้ห้างฯมีสิทธิไล่เบี้ยค่าภาษีที่เสียไปจากนายอังคารได้ กรณีลักษณะนี้คงเป็นข้อคิดที่บอกได้ว่าการเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน จำ�กัดนั้นความรับผิดของหุ้นส่วนย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของหุ้นส่วนแต่ละคนด้วย หากเป็นหุ้นส่วนประเภทจำ�กัดความรับผิดแล้วก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้ของห้าง เกินไปกว่าเงินลงหุ้นที่ตกลงจะลงหุ้นด้วยแต่หากถอนหุ้นไปแล้วจะรับผิดต่อเจ้าหนี้ ของห้างเฉพาะกรณีที่ห้างเลิกกันแล้วและรับผิดเฉพาะกรณีที่กฎหมายกำ�หนด เช่นจำ�นวนเงินที่ถอนไปเท่านั้น (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่251/2562) ฎีกา InTrend หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ย ให้รับผิดหนี้ที่เกิดก่อนออกจากห้างได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 119 ฎีกา InTrend 39


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 120 อุบัติเหตุกับการจงใจทำ�ให้เกิดเหตุย่อมแตกต่างกันอยู่ในตัวแต่บางครั้ง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นอาจล่อแหลมมากกว่าปกติเมื่อมีการข่มขู่เรียกร้องเงินทอง จากเหตุที่เกิดขึ้นนั้น สำ�หรับเรื่องราวประเด็นปัญหาในตอนนี้จะเป็นปัญหาที่ว่า หากขับรถแกล้งให้คู่กรณีชนท้ายรถตนเองแล้วลงไปข่มขู่ให้จ่ายเงินเพื่อให้ยุติเรื่อง จะเป็นความผิดอาญาฐานใดหรือไม่ ระหว่างที่นายแดงขับรถยนต์จากจังหวัดพิจิตรมุ่งหน้าไปพิษณุโลกก็ มีรถยนต์ของนายดำ�ขับแซงมาแล้วเปลี่ยนไปขับในช่องทางเดินรถทางซ้ายมือที่ นายแดงกำ�ลังขับอยู่ แต่ด้วยความที่รถยนต์คันที่นายดำ�ขับอยู่ชะลอความเร็วลง เมื่อขับอยู่หน้ารถของนายแดง นายแดงจึงเร่งเครื่องไปขับในช่องทางเดินรถ ฎีกา InTrend แกล้งให้รถชนท้ายแล้วขู่เรียกเงิน เป็นความผิดฐานใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 121 ทางขวามือแทนเพื่อจะแซงหน้าไปช่วงแรกนายดำ�เร่งเครื่องไม่ให้นายแดงแซงแต่เมื่อ ขับไปสักระยะนายแดงก็เร่งเครื่องจนแซงรถยนต์ของนายดำ�ได้ นายดำ�เห็นนายแดงแซงแล้วขับอยู่หน้ารถตนก็รีบเร่งเครื่องแซงอีกครั้ง เมื่อเร่งจนแซงได้แล้วก็เปลี่ยนไปขับหน้ารถของนายแดงอีกคราวนี้เมื่อขับอยู่ด้านหน้า นายดำ�ชะลอความเร็วรถอย่างเร็วจนทำ�ให้รถของนายแดงไป “โดน” กันชนหลัง ของรถยนต์ที่นายดำ�ขับอยู่นายแดงรีบขับแซงไปอีกครั้งแต่ไม่นานนายดำ�ก็ขับรถ ไปตีคู่กับรถยนต์ของนายแดงโดยมีรถยนต์อีกคันที่มีนายขาวเพื่อนของนายดำ�ขับ ไปปิดด้านหน้ารถยนต์ของนายแดงอยู่ด้วย ฎีกา InTrend แกล้งให้รถชนท้ายแล้วขู่เรียกเงิน เป็นความผิดฐานใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 122 นายดำ�เปิดกระจกบอกให้นายแดงหยุดรถมาคุยกัน เพราะรถยนต์ของ นายแดงชนถูกท้ายรถนายดำ� นายแดงจึงยอมหยุดรถ โดยนายขาวก็หยุดรถลง มาหาด้วยทั้งนายดำ�และนายขาวบอกให้นายแดงจ่ายเงินให้5,000บาทนายแดง กลัวจะเกิดเหตุแต่ไม่มีเงินพอจึงขอต่อรองจ่ายไป3,000บาทแทน หลังเกิดเหตุนายแดงจึงรีบไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำ�รวจ จากการ สอบสวนพบว่านายดำ�เคยมีพฤติกรรมทำ�นองนี้กับผู้เสียหายคนอื่นอีกหลายราย พนักงานอัยการฟ้องนายดำ�และนายขาวให้รับผิดในฐานกรรโชกทรัพย์และทำ�ให้ เสียทรัพย์ กรณีทำ�นองนี้หากเป็นเรื่องของอุบัติเหตุที่หากมีการลงไปเจรจาต่อรอง กันเรื่องค่าเสียหาย แม้จะมีการขู่ว่าจะดำ�เนินคดีทางกฎหมายอย่างใดก็ตามก็คง ไม่มีปัญหาที่จะทำ�ให้เกิดเป็นความผิดอาญาขึ้นมาได้แต่ปัญหาของเรื่องนี้คือแม้แต่ เหตุที่เกิดขึ้นในตอนแรกก็ไม่ได้เป็นเรื่องของความบังเอิญ แต่มีลักษณะของการ วางแผนที่จะทำ�ให้เกิดเหตุขึ้น ปัญหาประการแรกคงเป็นเรื่องของความผิดฐานทำ�ให้เสียทรัพย์ใน กรณีลักษณะนี้ที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเหตุการณ์ที่ขับรถแซงกันไปจนกระทั่ง เปลี่ยนความเร็วกระทันหันจนทำ�ให้เกิดรถของนายแดงไป “โดน” รถของนายดำ� แม้รถยนต์ของนายแดงจะโดนท้ายรถยนต์ของนายดำ�แต่รถยนต์ของนายแดงเอง ก็ได้รับความเสียหายด้วยเช่นกันแม้จะเป็นเพียงรอยเล็กน้อยก็ตามจากสภาพที่ รถทั้งสองคันวิ่งไปในทิศทางเดียวกันจึงไม่เกิดแรงประทะมาก แต่ด้วยความที่เหตุ ดังกล่าวเป็นแผนการที่นายดำ�กับนายขาวมุ่งหวังจะให้เกิดขึ้น การที่รถยนต์ของ ฎีกา InTrend แกล้งให้รถชนท้ายแล้วขู่เรียกเงิน เป็นความผิดฐานใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 123 นายแดงเสียหายจึงเกิดจากการกระทำ�โดยเจตนาของนายดำ�นายดำ�จึงมีความผิด ฐานทำ�ให้เสียทรัพย์ แต่ปัญหาที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในคดีนี้คือ การที่นายดำ�กับนายขาวให้ นายแดงหยุดรถแล้วลงไปพูดจากข่มขู่นายแดงนั้นจะเป็นความผิดฐานกรรโชก ทรัพย์หรือไม่ตามที่มีการฟ้องร้องขึ้นมา ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอม ให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำ�ลัง ประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำ�อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ฎีกา InTrend แกล้งให้รถชนท้ายแล้วขู่เรียกเงิน เป็นความผิดฐานใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 124 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่มีข้อเท็จจริงที่ระบุว่านายดำ�กับนายขาวขู่เข็ญว่า จะทำ�ร้ายนายแดง การประทุษร้ายที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวคือการทำ�ให้รถยนต์ เฉี่ยวชนกันซึ่งเป็นการทำ�ให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ กรณีดังกล่าวยังไม่เป็นการประทุษร้ายต่อทรัพย์สินที่จะทำ�ให้กลายเป็นความผิด ฐานกรรโชกทรัพย์ไปได้เพราะการประทุษร้ายนั้นเกิดขึ้นก่อนที่จะมีข่มขู่เรียกร้อง เงินทองกัน กรณีที่จะเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์จะต้องมีการใช้กำ�ลัง ประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะประทุษร้ายในขณะที่ทำ�การอันเป็นการข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ทรัพย์สินแก่ตน แต่เมื่อการประทุษร้ายกรณีนี้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแล้ว ฎีกา InTrend แกล้งให้รถชนท้ายแล้วขู่เรียกเงิน เป็นความผิดฐานใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 125 นายดำ�และนายขาวจึงไม่มีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์คงผิดเพียงฐานทำ�ให้เสีย ทรัพย์เพียงข้อหาเดียว การเรียกร้องเงินเรียกร้องทองกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุเป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่สามารถทำ�ได้แต่หากมีการข่มขู่ที่จะประทุษร้ายกันไม่ว่าในทางใดๆอาจกลายเป็น ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ได้แต่หากแม้จะแกล้งให้เกิดการเฉี่ยวชนแล้วมาเรียก ร้องเงินทองกันก็ถือเป็นความผิดฐานทำ�ให้เสียทรัพย์แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะเข้าข่าย การกรรโชกทรัพย์ไป (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่683/2562) ฎีกา InTrend แกล้งให้รถชนท้ายแล้วขู่เรียกเงิน เป็นความผิดฐานใด


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 126 ฎีกา InTrend 40


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 127 ที่ดินมือเปล่าหรือที่ดินที่ไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นทรัพย์สิน ที่มีค่า ทำ�ให้เกิดความต้องการที่จะซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอยู่เสมอ แต่ด้วยความ ที่ไม่มีเอกสารสิทธิดังกล่าวทำ�ให้การซื้อขายมีข้อจำ�กัดที่ไม่สามารถไปจดทะเบียน โอนกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปัญหาที่จะนำ�มากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่ เมื่อมีการทำ�สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่ากันแล้วแต่ไม่มีการส่งมอบที่ดินนั้น ผู้ขายจะ เรียกค่าที่ดินที่วางไว้คืนได้หรือไม่ นางบัวมีที่ดินแปลงหนึ่งที่ไม่มีเอกสารสิทธิใดๆต่อมานางเพ็ญได้ไปติดต่อ ขอซื้อที่ดินดังกล่าวและได้มีการตกลงทำ�สัญญาซื้อขายกัน นางเพ็ญตกลงซื้อใน ฎีกา InTrend ทำสัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าแต่ไม่มีการส่งมอบที่ดิน จะเรียกค่าที่ดินที่วางไว้คืนได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 128 ราคา 400,000บาทโดยชำ�ระเงินให้แก่นางบัวแล้วแต่นางบัวยังคงอยู่อาศัยในที่ดิน แปลงดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมานางบัวได้ตกลงขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นางก้อยไปในราคา 800,000บาทและนางบัวได้ให้นางก้อยเข้าไปทำ�ประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้ว นางเพ็ญทราบเรื่องเข้าจึงฟ้องให้นางบัวส่งมอบการครอบครองที่ดิน แปลงดังกล่าวให้แก่ตนหากส่งมอบไม่ได้ให้คืนเงินที่รับไปพร้อมดอกเบี้ย กรณีระหว่างนางเพ็ญกับนางบัวนี้เป็นการทำ�สัญญาซื้อขายที่ดินกัน แม้จะเป็นที่ดินมือเปล่าที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์แต่ก็ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่ง กฎหมายกำ�หนดไว้แบบว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องทำ�เป็นหนังสือและ ฎีกา InTrend ทำสัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าแต่ไม่มีการส่งมอบที่ดิน จะเรียกค่าที่ดินที่วางไว้คืนได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 129 จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนางเพ็ญกับนางบัวทำ�สัญญาซื้อขายกันแม้ จะทำ�เป็นหนังสือระหว่างกันก็ตาม แต่ทั้งสองคนก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์กัน สัญญาซื้อขายระหว่างนางเพ็ญกับนางบัวจึงเป็นสัญญาซื้อ ขายเสร็จเด็ดขาด แต่เมื่อไม่ได้ทำ�ให้ถูกต้องตามแบบดังกล่าว สัญญาซื้อขายนี้จึง ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามในสัญญาลักษณะนี้หากภายหลังทำ�สัญญาแล้วนางบัว ส่งมอบการครอบครองที่ดินให้นางเพ็ญผู้ซื้อ นางเพ็ญก็จะได้สิทธิครอบครองใน ที่ดินแปลงดังกล่าวไปโดยชอบแม้การทำ�สัญญาซื้อขายจะไม่ได้ทำ�ตามแบบด้วย การจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม เพราะที่ดินมือเปล่านี้เจ้าของคงมีแต ่“สิทธิครอบครอง” ที่เมื่อส่งมอบการครอบครองให้อีกคนหนึ่งและผู้รับมอบการ ครอบครองนั้นก็เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ผู้ซื้อที่ดินที่เข้าครอบครอง ก็จะกลายเป็นผู้มี“สิทธิครอบครอง”ต่อไป ปัญหาของในกรณีนี้จึงเกิดจากการที่เมื่อทำ�สัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่ได้ ทำ�ตามแบบที่จะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ซึ่งแม้จะต้องการจดก็คง ไม่สามารถดำ�เนินการได้อยู่ดีเพราะเป็นที่ดินมือเปล่า) แล้วไม่ได้มีการส่งมอบการ ครอบครองไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุใดก็ตามทำ�ให้นางเพ็ญผู้ซื้อไม่ได้“สิทธิครอบครอง” ด้วยการส่งมอบและการเข้าครอบครองตามหลักการข้างต้น นอกจากนั้น การที่นางบัวขายที่ดินแปลงเดียวกันนั้นให้นางก้อยและให้ นางก้อยเข้าครอบครองที่ดินไปเสียแล้ว นางก้อยจึงกลายเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่ดินแปลงดังกล่าวแทนนางบัวไป ฎีกา InTrend ทำสัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าแต่ไม่มีการส่งมอบที่ดิน จะเรียกค่าที่ดินที่วางไว้คืนได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 130 ด้วยเหตุที่สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะและไม่ได้มีการส่งมอบการครอบครอง ที่ดินให้นางเพ็ญด้วย แต่นางเพ็ญได้ชำ�ระค่าที่ดินไปแล้ว 400,000 บาท นางบัว จึงไม่มีสิทธิที่จะเก็บเงินที่นางเพ็ญชำ�ระเป็นค่าที่ดินไว้ได้ตามกฎหมายจึงต้องคืน เงินดังกล่าวให้แก่นางเพ็ญไปในฐานที่เป็นลาภมิควรได้ จากบทเรียนในเรื่องนี้คงพอสรุปได้สั้นๆ ว่า การทำ�สัญญาซื้อขายที่ดิน มือเปล่าที่ไม่มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ หากไม่มี การส่งมอบการครอบครอง ผู้ขายที่รับเงินตามสัญญาไปย่อมมีหน้าที่ที่จะต้อง ฎีกา InTrend ทำสัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าแต่ไม่มีการส่งมอบที่ดิน จะเรียกค่าที่ดินที่วางไว้คืนได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 131 คืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อด้วยเพราะตนเองรับเงินโดยไม่ได้ให้อะไรที่เป็นประโยชน์ ตอบแทนแก่คนที่จ่ายเงิน ซึ่งแตกต่างจากกรณีที่มีการส่งมอบการครอบครองให้ เป็นการตอบแทน (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่3445/2562) ฎีกา InTrend ทำสัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าแต่ไม่มีการส่งมอบที่ดิน จะเรียกค่าที่ดินที่วางไว้คืนได้หรือไม่


สำ�นักงานศาลยุติธรรม 132


Click to View FlipBook Version