สำ�นักงานศาลยุติธรรม 1
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 2
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 3
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 4 ฎีกา InTrend สิทธิและความรับผิดของผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถ คนค้ำ�ประกันถือว่าเป็นผู้ที่แบกภาระของหนี้ของคนอื่นจนหลาย ครั้งจะเป็นคนที่เราเรียกได้ว่า “เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง” แท้ๆ เพราะ เมื่อเกิดปัญหาลูกหนี้คนที่ไปก่อหนี้มาเกิดเบี้ยวหนี้ คนค้ำ�ประกันก็ต้องมารับ ผิดชอบหนี้เหล่านั้นด้วย ทั้ง ๆ ที่หลายครั้งคนค้ำ�ประกันก็ไม่ได้มีฐานะที่ดีไป กว่าลูกหนี้สักเท่าใด แต่กฎหมายก็ยังพอมีอะไรมาคุ้มครอง “ผู้ค้ำ�ประกัน” อยู่บ้างเหมือนกัน ในเรื่องสมมตินี้ นายไก่ไปเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัทเป็นหนึ่ง จำ�กัด มาในราคา 8,000,000 บาท โดยขอให้นายกุ้ง บิดาตัวเองมาค้ำ�ประกันการ เช่าซื้อให้ นายไก่จ่ายค่าเช่าซื้อไป 27 งวด แล้วเบี้ยวไม่จ่ายอีกเลยเกินสามงวด บริษัทเป็นหนึ่งฯ จึงได้บอกเลิกสัญญาและมาฟ้องให้ทั้งนายไก่และนายกุ้งรับผิด ชอบส่งมอบรถคืน และจ่ายค่าขาดประโยชน์ที่บริษัทไม่ได้ใช้ประโยชน์จากรถช่วงที่ มีการผิดนัดเรื่อยมา
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 5 ฎีกา InTrend สิทธิและความรับผิดของผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถ ปัญหาสำ�คัญในเรื่องนี้คือ บริษัทเป็นหนึ่งฯ ส่งหนังสือบอกกล่าวให้ นายกุ้ง ผู้ค้ำ�ประกัน รู้ว่านายไก่ผิดนัดช้าเกินกว่า 60 วันนับแต่วันที่นายไก่ผิดนัด ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 บังคับให้ต้องบอกให้ผู้ ค้ำ�ประกันรู้ภายใน 60 วัน เพื่อให้ผู้ค้ำ�ประกันรู้ตัว และอาจหาเงินไปจ่าย ดอกเบี้ย และภาระต่าง ๆ จะได้ไม่เดินไปมากจนหนี้ท่วมหัว ผลของการที่ไม่บอกให้ผู้ค้ำ�ประกันรู้ตัวภายในกำ�หนดเวลาดังกล่าว กฎหมายจึงกำ�หนดบทเหมือนทำ�โทษเจ้าหนี้ไว้ว่าจะทำ�ให้ผู้ค้ำ�ประกัน หลุดพ้นจากหนี้บางส่วน เฉพาะส่วนที่เป็น “ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และค่าภาระติดพันที่เป็นอุปกรณ์แห่งหนี้” ที่เกิดหลังพ้นเวลาที่ให้บอกกล่าว
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 6 ข้างต้น แต่ในส่วนหนี้ประธานที่เป็นหนี้หลักหรือหนี้ที่เกิดก่อนพ้นเวลาที่ว่าผู้ ค้ำ�ประกันยังต้องรับผิดอยู่ตามเดิม ในกรณีของนายกุ้ง ผู้ค้ำ�ประกัน ผู้โชคร้ายของเรา เมื่อบริษัท เป็นหนึ่งฯ บอกกล่าวให้นายกุ้งรู้ว่านายไก่ผิดนิด ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันที่ นายไก่ผิดนัด นายกุ้งก็จะไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้ที่เป็นอุปกรณ์ ที่สำ�คัญคือ หนี้ค่าขาดประโยชน์ ที่ทำ�ให้บริษัทเป็นหนึ่งฯ ไม่สามารถใช้รถได้จากการที่ นายไก่เอารถไปแล้วไม่คืน แต่ในส่วนหนี้ที่ต้องส่งมอบรถยนต์คืน นายกุ้งยัง ต้องรับผิดอยู่เหมือนเดิม เพราะเมื่อเช่าซื้อรถ รถยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อยู่ถึงอย่างไรก็คงต้องคืน และถือเป็นหนี้ประธานที่เป็นหลักด้วย ไม่ใช่หนี้ อุปกรณ์เหมือนค่าขาดประโยชน์ที่ว่า สำ�หรับผู้ค้ำ�ประกันทั้งหลาย คงต้องรู้ไว้ประดับตนว่า ถ้าลูกหนี้ ผิดนัด เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องบอกกล่าวภายใน 60 วัน มิเช่นนั้นผู้ค้ำ�ประกันจะ หลุดพ้นจากหนี้อุปกรณ์ เช่น ดอกเบี้ย ค่าขาดประโยชน์ต่าง ๆ แต่อย่างที่บอก คือหนี้ประธานก็ต้องจ่ายต้องชำ�ระให้เขาเหมือนเดิม (เทียบคำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2562) ฎีกา InTrend สิทธิและความรับผิดของผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถ
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 7
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 8 คดีหลาย ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องระหว่างญาติพี่น้องด้วยกันเอง ที่น่าเสียดายที่แม้จะคลานตามกันมา แต่พอมีเรื่องของทรัพย์สินและผลประโยชน์ เข้ามาเกี่ยวข้องแล้วกลับทำ�ให้พี่น้องกลับกลายเป็นเหมือนศัตรูกัน ทั้ง ๆ ที่เงิน หรือทรัพย์สินเหล่านั้นมักเกิดจากน้ำ�พักน้ำ�แรงของพ่อแม่ที่อุตส่าห์ตรากตรำ� สร้างขึ้นมาและเก็บหอมรอบริบไว้ให้ลูกหลาน แต่เงินหรือทรัพย์สินเหล่านั้นกลาย เป็นต้นเหตุของความบาดหมางระหว่างพี่น้องแทน จนทำ�ให้อาจกลายเป็นความ ผิดอาญาที่หากมีการเบียดบังเอาทรัพย์มรดกนั้นไปเป็นของทายาทบางคน ฎีกา InTrend ยักยอกเงินมรดก
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 9 ฎีกา InTrend ยักยอกเงินมรดก ในกรณีที่นำ�มาเล่าสู่กันฟังในคราวนี้ สมมติว่านายจันทร์กับนาย อังคารเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน บิดามารดาของทั้งสองคนได้สร้างสมทรัพย์สิน ไว้หลายอย่าง ที่สำ�คัญคือเป็นที่ดิน ในระหว่างที่บิดามารดามีชีวิตอยู่ได้ใส่ชื่อ นายอังคารเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นไว้ ต่อมาเมื่อบิดามารดาของทั้งสองคน เสียชีวิต ศาลได้มีคำ�สั่งตั้งนายจันทร์เป็นผู้จัดการมรดก นายอังคารไม่ยอม นำ�ที่ดินที่แปลงดังกล่าวมาแบ่งปันกัน อ้างว่าตนเองซื้อที่ดินมาด้วยเงินตัวเอง นายจันทร์ได้ฟ้องเรียกที่ดินแปลงดังกล่าวจนศาลมีคำ�พิพากษาถึงที่สุดแล้ว ว่าที่ดินแปลงนั้นเป็นทรัพย์มรดกที่ต้องนำ�มาแบ่งปันกัน ในระหว่างนั้น นายอังคารได้เคยนำ�ที่ดินไปให้คนอื่นเช่าและเก็บค่าเช่าไว้กับตนเอง ต่อมา ปรากฏว่าที่ดินแปลงนั้นถูกเวนคืน นายอังคารได้รับเงินค่าเวนคืนจากทาง ราชการ เมื่อนายจันทร์ใช้สิทธิเรียกร้องให้นายอังคารส่งมอบเงินค่าเวนคืน และเงินค่าเช่าที่ได้รับไว้ให้แก่กองมรดกเพื่อนำ�มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท นายอังคารก็ส่งจดหมายปฏิเสธไม่ยอมส่งเงินให้กองมรดกตามที่ถูกเรียกร้อง
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 10 ในเรื่องลักษณะนี้จึงเข้าข่ายการกระทำ�ความผิดที่เป็นการ “ยักยอก” เพราะหากเราครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของ รวมกับเราที่แม้เราจะเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งด้วยก็ตาม แต่ถ้าเราทำ�การ “เบียด บัง” ที่ต้องการเอาทรัพย์สิ่งนั้นมาเป็นของตัวเองคนเดียวที่ย่อมทำ�ให้คนที่เป็น เจ้าของหรือเป็นเจ้าของรวมกับเราเขาเสียหายสูญเสียทรัพย์สิ่งนั้นไป ในกรณีนี้แม้ทรัพย์ที่เป็นมรดกแต่แรกเริ่มเดิมทีจะเป็น “ที่ดิน” ก็ตาม แต่เมื่อที่ดินนั้นถูกทางราชการเวนคืนไปแล้วก็ตาม แต่ “เงินค่าเวนคืน” ก็เป็น เหมือนทรัพย์ที่ได้มาแทนที่ที่ดินที่เป็นมรดกอยู่เดิม เงินค่าเวนคืนจึงถือว่าเป็น ทรัพย์มรดกไปด้วย เงินอีกก้อนหนึ่งคือ “ค่าเช่า” ที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดก เมื่อ ที่ดินนั้นเป็นทรัพย์มรดกอยู่แล้ว เงินค่าเช่าก็เป็น “ดอกผล” ของกองมรดก ฎีกา InTrend ยักยอกเงินมรดก
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 11 จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกที่ต้องส่งมอบมาแบ่งปันในระหว่าง ทายาทด้วยเช่นกัน การที่นายอังคารไม่ยอมส่งคืนเงินค่าเวนคืนและเงินค่าเช่าที่ ตนเองเก็บไว้ให้นายจันทร์ พี่ชายที่เป็นผู้จัดการมรดก โดยส่งหนังสือตอบ ปฏิเสธมาให้เห็นด้วยว่าถึงอย่างไรตนเองก็จะไม่ยอมส่งมอบเงินนั้นคืนให้ โดยอ้างเหตุผลเดิม ๆ ที่ว่าตนเองเป็นคนหาเงินมาซื้อที่ดินแปลงนั้นเอง ทั้ง ๆ ที่ศาลมีคำ�พิพากษาจนยุติไปแล้วว่าเป็นทรัพย์มรดก ไม่ใช่ที่ดินที่นายอังคาร หาเงินมาซื้อเอง จึงเป็นการแสดงเจตนาให้เห็นว่า นายอังคารต้องการที่จะ “เบียดบัง” เอาเงินค่าเวนคืนกับเงินค่าเช่าที่ดินนั้นไว้เป็นของตนเอง จึงทำ�ให้ การกระทำ�ของนายอังคารกลายเป็นความผิดฐานยักยอกขึ้นมา บทเรียนประการหนึ่งที่เป็นที่มาของเรื่องทำ�นองนี้ที่มีคดีเกิดขึ้นไม่ น้อยมักเกิดจากการที่พ่อแม่ทำ�มาหากินได้ทรัพย์สินมาแล้วใส่ชื่อของลูกคนใด คนหนึ่งด้วยความเชื่อใจว่าลูกคงไม่มีเจตนาทุจริต เอารัดเอาเปรียบพี่น้องด้วย กันเอง แต่บางทีก็คาดการณ์ได้ยากว่าลูกคนนั้นจะทำ�อะไรโดยเฉพาะเมื่อพ่อ แม่ไม่อยู่เสียแล้ว และอาจมีบุคคลที่สามที่สี่เข้ามาเกี่ยวข้องในอนาคตอีก เพราะ ฉะนั้น ทางที่ดีแม้จะไว้ใจลูกแต่ก็ควรระวังป้องกันปัญหาทำ�นองนี้ไว้ด้วยย่อม จะเป็นการดีที่สุด ไม่เช่นนั้นทรัพย์สมบัติที่อุตส่าห์หามาจะกลายเป็นสาเหตุที่ ทำ�ให้ลูกต้องโทษทางอาญาไปโดยพ่อแม่ไม่ได้ตั้งใจ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 6532/2562) ฎีกา InTrend ยักยอกเงินมรดก
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 12
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 13 เรื่องราวเกี่ยวกับสินสมรสเป็นเรื่องที่มีปัญหาเกิดขึ้นได้เสมอหาก คู่สามีภริยามีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างกัน หากทั้งสองคนอยู่กันแบบ รักใคร่กันดี ปกติแล้วปัญหาเหล่านี้มักจะไม่เกิดขึ้น แต่ปัญหาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักจะเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องหรือเกิดส่วนได้เสียจาก ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสขึ้น ทำ�ให้มีปัญหาตามมาว่าสิทธิของบุคคลภายนอก จะเป็นอย่างไรเมื่อไปทำ�ธุรกรรมที่ทำ�ให้ได้สินสมรสอย่างหนึ่งไปโดยคู่สมรสอีก ฝ่ายไม่รู้เรื่องรู้ราว ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย นายศุกร์กับนางเสาร์เป็นสามีภรรยากัน แต่งงานอยู่กันกัน มานาน แต่ต่อมาทั้งสองคนเริ่มมีเรื่องระหองระแหงกันเป็นระยะด้วยสาเหตุ ต่าง ๆ นานา ตามประสาของคนที่พอเริ่มมีเรื่องไม่พอใจกันแล้ว แม้แต่ ฎีกา InTrend แอบโอนสินสมรส
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 14 ฎีกา InTrend แอบโอนสินสมรส เรื่องเล็กเรื่องน้อยก็กลายเป็นปัญหาด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งสองคนทำ�มาหากินมี ทรัพย์สินหลายอย่าง โดยเฉพาะที่ดินแปลงหนึ่งที่ตั้งอยู่ในทำ�เลที่ดีมีราคาพุ่ง ขึ้นเรื่อย ๆ ตามความเจริญของพื้นที่รอบข้าง ต่อมานายศุกร์ได้ทำ�สัญญาขาย ที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายเสือ ในราคา 19 ล้านบาท โดยที่นางเสาร์ ภรรยา ไม่รู้ระแคะระคายเกี่ยวกับการซื้อขายรายนี้ ต่อมาเมื่อนางเสาร์ รู้เรื่องเข้าจึง ได้ฟ้องนายศุกร์และนายเสือเพื่อขอให้เพิกถอนการซื้อขายรายนี้ ด้วยเหตุ ที่ทำ�การซื้อขายที่ดินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์โดยที่นางเสาร์ไม่ได้ให้ความยินยอม ตามปกติ หากเป็นสินสมรสที่เป็น “อสังหาริมทรัพย์” อย่างเช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม แล้วถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มักมีราคาค่างวดมาก การจะทำ�อะไรที่เป็นการทำ�ให้สิทธิที่มีอยู่อาจเสียไปอย่างเช่น การขาย จะต้อง ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย ถ้าหากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งขายที่ดิน ไปอย่างเช่นในกรณีที่เรากำ�ลังกล่าวถึงอยู่นี้โดยมิได้รับความยินยอมจาก คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสฝ่ายที่ไม่รู้ไม่เห็นด้วยมีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอน ธุรกรรมดังกล่าวได้
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 15 ในส่วนของบุคคลภายนอกที่ได้ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสไป โดยที่ไม่มีการให้ความยินยอมโดยชอบนี้จะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อ ภายหลังจากทำ�ธุรกรรมแล้วคู่สมรสที่ไม่รู้เรื่องนั้นมาให้สัตยาบันรับรอง การทำ�นิติกรรมการขายนั้นในภายหลังให้ หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นกรณีที่บุคคล ภายนอกนั้นได้กระทำ�การโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ในกรณีของนายเสือนี้ นายเสือจ่ายเงินไป 19 ล้านเพื่อซื้อที่ดิน แปลงนี้จากนายศุกร์ จึงถือว่านายเสือได้ “เสียค่าตอบแทน” ตามราคาที่ดินที่ เสียไปนั้น ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะถือได้หรือไม่ว่านายเสือกระทำ�การ “โดยสุจริต” ซึ่งจะถือว่านายเสือทำ�โดยสุจริตได้ต่อเมื่อนายเสือไม่รู้ถึงการที่ที่ดินนั้นเป็นสิน สมรสหรือไม่รู้ว่านางเสาร์ ภรรยานายศุกร์ไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย แต่ถ้าหาก พอถือได้ว่านายเสือรู้ว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสหรือรู้ว่านางเสาร์ไม่ได้ให้ความ ยินยอมด้วยแล้ว ย่อมต้องถือว่านายเสือกระทำ�การ “โดยไม่สุจริต” และการ ซื้อขายระหว่างนายเสือกับนายศุกร์จะต้องถูกเพิกถอน ฎีกา InTrend แอบโอนสินสมรส
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 16 จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏนายเสือย่อมจะรู้อยู่แล้วว่าการซื้อขายรายนี้ไม่มีความ ยินยอมจากนางเสาร์ เพราะตอนไปทำ�การโอนนางเสาร์ก็ไม่ได้ไปด้วย และไม่ได้ ลงชื่อในเอกสารให้ความยินยอมใด ๆ มาแสดง แถมพอเจ้าพนักงานที่ดินถาม นายศุกร์ก็บอกว่าภรรยาตนเองไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถทำ�การงานอะไรได้ ยิ่งไปกว่านั้น นายเสือเองก็บอกว่าเคยไปตรวจสอบที่ดินที่จะโอน ก่อนแล้ว รู้ว่ามีบ้านที่นางเสาร์กับบุตรพักอาศัยอยู่ด้วย นายเสือพยายาม จะอ้างว่าตนเองตรวจสอบแล้ว แต่เข้าใจไปว่าที่ดินที่จะซื้อนั้นเป็น “สินส่วน ตัว” ของนายศุกร์ เพราะเชื่อที่นายศุกร์อ้างว่าเป็นที่ดินที่ได้มาตั้งแต่ก่อน แต่งงานกับนางเสาร์แล้ว แต่ข้อที่นายเสืออ้างจะเห็นได้ว่าขัดกับข้อเท็จจริงที่ ปรากฏเพราะในสารบบที่ดินที่นายเสือไปตรวจดูก็ปรากฏอยู่แล้วว่าในการทำ� นิติกรรมครั้งก่อน ๆ เกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นก็มีชื่อนางเสาร์มาให้ความยินยอม โดยตลอด ตอนที่เจ้าพนักงานที่ดินถามนายศุกร์ นายศุกร์ก็บอกเพียงว่า ภรรยาป่วย ถ้าหากที่ดินแปลงนั้นเป็นสินส่วนตัวของนายศุกร์ที่โอนได้โดยไม่ ฎีกา InTrend แอบโอนสินสมรส
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 17 ต้องขอความยินยอม นายศุกร์ก็คงบอกไปแบบนั้นแล้ว สิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏ ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า นายเสือรู้อยู่แล้วว่าที่ดินแปลงนี้เป็น “สินสมรส” ระหว่าง นายศุกร์กับนางเสาร์ และการซื้อขายรายนี้ทำ�โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก นางเสาร์ การซื้อขายของนายเสือจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะไม่ถือว่า นายเสือกระทำ�การ “โดยสุจริต” สินสมรสถือว่าเป็นทรัพย์สินที่คู่สามีภรรยาทำ�มาหาได้ร่วมกัน แม้ว่าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งอาจเป็นคนทำ�งานสร้างรายได้ อีกคนหนึ่งทำ�งานบ้าน ดูแลครอบครัวก็ตาม ดังนั้น หากเป็นสินสมรสที่สำ�คัญอย่างเช่น ที่ดิน บ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ แล้วจะขายหรือจำ�หน่ายจ่ายโอนให้บุคคลอื่นต้อง ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน มิฉะนั้นการซื้อขายหรือการ โอนนั้นอาจถูกเพิกถอนเสียได้ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 6286/2562) ฎีกา InTrend แอบโอนสินสมรส
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 18
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 19 ที่ดินถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าและมีราคามากสำ�หรับคนส่วนใหญ่ ทำ�ให้เกิดเรื่องอยู่เสมอด้วยความมีราคาค่างวดและเป็นปัจจัยในการทำ�มา หากินสำ�หรับหลาย ๆ คนด้วยเช่นกันทำ�ให้มีการเข้าไปยุ่งเกี่ยว ตลอดถึง การเข้าไปยึดเอาที่ดินของคนอื่นมาเป็นของตนเอง ที่ดินแต่ละแห่งมีสถานะ แตกต่างกันอยู่ประการหนึ่งคือ ที่ดินที่มีโฉนด เราถือว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็น “เจ้าของ” และมี “กรรมสิทธิ์” แต่ถ้าที่ดินนั้นไม่มีโฉนดแล้วคนที่ครอบครอง อยู่จะมีเพียงสิทธิที่เรียกว่า “สิทธิครอบครอง” เท่านั้น ซึ่งข้อแตกต่างที่ตาม มาคือการเสียสิทธิที่มีอยู่ของที่ดินทั้งสองประเภทก็ไม่เหมือนกันตามไปด้วย อันจะเป็นที่มาของเรื่องราวในตอนนี้ที่จะนำ�กรณีที่มีคนเข้าไปแย่งการครอบ ครองที่ดินที่ไม่มีโฉนดมาเป็นข้อคิดและข้อควรระวัง ฎีกา InTrend แย่งการครอบครองที่ดินไม่มีโฉนด
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 20 ฎีกา InTrend แย่งการครอบครองที่ดินไม่มีโฉนด นายชวด มีที่ดินแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ (น.ส. 3) นายชวด ได้ให้นายขาล ซึ่งเป็นญาติทำ�มาหากินในที่ดินแปลงนั้น เนื่องจาก นายชวดไปทำ�ธุรกิจและพักอาศัยที่จังหวัดอื่น ต่อมานายชวดเสียชีวิต นายกุน ซึ่ง เป็นบุตรและเป็นทายาทของนายชวด จึงได้เรียกร้องให้นายขาล ส่งมอบที่ดินคืนให้ แก่กองมรดก เพื่อจะได้เอาไปแบ่งปันระหว่างทายาท เมื่อนายขาล ไม่ส่งมอบที่ดินคืน นายกุน จึงได้ฟ้องให้นายขาล ส่งมอบหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ที่ยึดถือไว้คืน เพื่อจะนำ�ไปจัดการทางทะเบียน ศาลมีคำ�พิพากษาจนคดีถึงที่สุดแล้วให้นายขาลส่ง มอบหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์คืนให้แก่นายกุน ถ้าหากเรื่องราวจบลงแค่นั้นก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่เรื่องกลับไม่ ยอมจบลงง่าย ๆ ตามประสาของการที่พอจะสูญเสียอะไรไป คนเราหลายคน ก็พยายามหาวิธีการทุกวิธีเพื่อจะรั้งหรือหลีกเลี่ยงความสูญเสียนั้น แม้แต่ พยายามจะหาช่องทางตามกฎหมายเท่าที่พอจะหาได้
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 21 สิ่งที่นายขาลทำ�ก็คือ การส่งหนังสือแจ้งไปยังนายกุน บอกว่าการ ที่นายขาลยึดถือครอบครองที่ดินผืนนั้น นับแต่นี้ต่อไปนายขาลจะยึดถือเพื่อ ประโยชน์ตนเองแล้ว ไม่ได้เป็นการครอบครองแทนคนอื่นซึ่งก็คือผู้มีสิทธิโดย ชอบตามกฎหมายอยู่แต่เดิม หากถามว่าทำ�ไมนายขาลทำ�แบบนั้น เหตุผล คงเป็นเพราะว่าตามปกติสำ�หรับที่ดินที่ไม่มี “กรรมสิทธิ์” เหล่านี้ หากมีคนอื่น มาแย่งการครอบครองจากเรา เราที่เป็นผู้มีสิทธิจะต้องฟ้องร้องเรียกร้องคืน ภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะเสียสิทธิที่จะเรียกร้องที่ดินผืนนั้นคืน นายขาลจึงต้องการ จะใช้ช่องทางนี้มาแสวงหาประโยชน์ โดยอ้างว่าเมื่อนายกุนไม่มาฟ้องเรียกคืน ภายใน 1 ปีจึงเสียสิทธิที่จะเรียกร้องได้อีก ฎีกา InTrend แย่งการครอบครองที่ดินไม่มีโฉนด
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 22 กรณีที่คนซึ่งครอบครองอยู่นั้นเป็นผู้ครอบครองแทนผู้มีสิทธิ ไม่ว่าจะครอบครองอยู่นานกี่ปีหรือกี่สิบปีก็จะไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ เป็นของ ตนเอง แต่หากจะทำ�ให้เกิดสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองคนที่ครอบ ครองแทนจะต้องแสดงเจตนาไปยังผู้มีสิทธิให้ทราบว่านับแต่ที่ได้บอกให้รู้เขา จะไม่ได้ครอบครองแทนเพื่อประโยชน์ของผู้มีสิทธิอยู่เดิม แต่จะครอบครอง เพื่อประโยชน์ตนเอง พูดง่าย ๆ คือจะแย่งของ ๆ เขาแล้วนั้นเอง ซึ่งหากเป็น แบบนั้นก็จะต้องฟ้องร้องเอาคืนภายใน 1 ปีอย่างที่ได้กล่าวไป แต่ในกรณีนี้ในคดีที่เกิดขึ้นจริง ศาลฎีกาได้ตัดสินไว้ซึ่งอาจพอ สรุปได้ว่า แม้แต่เดิมมากรณีอย่างเช่นนายขาลที่เข้าไปครอบครองเพราะผู้มี ฎีกา InTrend แย่งการครอบครองที่ดินไม่มีโฉนด
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 23 สิทธิอนุญาตให้ไปครอบครองทำ�ประโยชน์ การครอบครองของนายขาลจึง เป็นการครอบครองแทนผู้มีสิทธิก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำ�พิพากษาในคดีก่อน แล้วว่านายขาลไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินนั้นแล้ว และต้องส่งมอบหนังสือรับรอง การทำ�ประโยชน์ให้แก่นายกุน การที่นายขาลครอบครองหลังจากที่ศาลมีคำ� พิพากษาจึงไม่ใช่การครอบครองแทนผู้มีสิทธิที่จะสามารถมาแสดงเจตนา บอกกล่าวเพื่อเปลี่ยนการยึดถือเป็นการยึดถือเพื่อประโยชน์ของตนเองได้อีก แต่เป็นการครอบครองโดยมิชอบและอยู่ภายใต้บังคับตามคำ�พิพากษาในคดี ก่อนอยู่แล้ว การส่งหนังสือไปบอกกล่าวอย่างในกรณีนี้จึงไม่ใช่เหตุที่นายขาล จะอ้างเพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามคำ�พิพากษาในคดีก่อนได้ นายขาลและบริวารจึง ต้องออกไปจากที่ดินแปลงดังกล่าว ข้อคิดที่ทำ�ให้เราต้องระวังจากเรื่องนี้คือ หากเราเป็นผู้มีสิทธิใน ที่ดินที่ไม่มีโฉนดซึ่งเรามีเพียง “สิทธิครอบครอง” หากมีคนมาแย่งสิทธิของ เราต้องรีบดำ�เนินการเรียกคืนภายใน 1 ปี มิฉะนั้นเราอาจเสียสิทธิได้ แม้ว่า คนที่มาแย่งนั้นจะเป็นคนที่เราเคยอนุญาตให้อยู่ในที่ดินนั้นก็ตาม เพราะเขา อาจทำ�อย่างนายขาลมาบอกกล่าวว่าเขาจะยึดถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตนเอง แล้วที่จะทำ�ให้ระยะเวลาเรียกร้องที่ดินคืน 1 ปีนั้นเริ่มนับทันที เพราะฉะนั้นก็ ระวังรักษาดูแลผลประโยชน์ของตัวเองไว้ก่อนเป็นการดีที่สุด (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2562) ฎีกา InTrend แย่งการครอบครองที่ดินไม่มีโฉนด
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 24
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 25 ถ้าบอกว่าไปฆ่าแกงใคร เราต่างก็รู้กันดีว่าเป็นความผิดแน่ ๆ ไม่ ได้ผิดเพียงแค่กฎหมาย แต่ผิดทั้งศีลธรรมและหลักศาสนาที่ทุกศาสนาล้วน กำ�หนดไว้ไม่แตกต่างกันว่าการไปฆ่าคนอื่นเป็นการทำ�ผิดด้วยกันทั้งสิ้น แต่ การฆ่าในทางกฎหมายนั้นมีหลายแบบ บางแบบอาจจะมีโทษหนักกว่าแบบอื่น การฆ่าที่มีโทษหนักถึงขั้นประหารชีวิตลักษณะหนึ่งคือที่เรียกว่าการ “ฆ่าโดย ไตร่ตรองไว้ก่อน” แต่คำ�ถามที่หลายคนอาจจะสงสัยคือแล้วการฆ่าแบบไหน ที่จะเข้าข่ายเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองที่สมควรได้รับการลงโทษลงทัณฑ์ที่ รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต ในตอนนี้เราจึงจะนำ�คดีเรื่องหนึ่งมาเล่าสู่กันฟังว่า ทำ�ไมพฤติกรรมอย่างหนึ่งถึงจะเป็นมากกว่าการฆ่าธรรมดา ฎีกา InTrend ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 26 ฎีกา InTrend ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เรื่องราวคดีนี้สมมติว่ามีนายมีนากับนายเมษาเกิดเรื่องทะเลาะ เบาะแว้งถึงขั้นลงไม้ลงมือชกต่อยกัน แต่โชคดีที่มีคนมาห้ามปรามแยกทั้งสอง คนออกจากกัน ก่อนจากกันนายมีนาพูดตะคอกใส่หน้านายเมษาว่า “รอไว้ ก่อนเถอะมึง เดี๋ยวกูจะไปเอาปืนมายิง” นายมีนาก็หายไปร่วมครึ่งชั่วโมงก็ขับ รถจักรยานยนต์กลับมาจนตามไปพบกับนายเมษากับพวกที่จอดรถกระบะ อยู่ พอเห็นนายมีนาขับรถจักรยานยนต์มาบริเวณนั้น เพื่อนของนายเมษาเห็น ก็รีบลงจากรถกระบะไปห้ามปรามเพราะรู้ดีว่านายมีนาคงไม่ได้มาด้วยเจตนาที่ ดีแน่ แต่นายมีนาก็ไม่ฟังเสียงใช้อาวุธปืนยิงไปถูกนายเมษาที่นั่งอยู่ในรถกระบะ จนนายเมษาเสียชีวิต
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 27 กรณีจากเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ถ้าหากเราสมมติเสียใหม่ว่าตอนที่นายมี นากับนายเมษาทะเลาะจนถึงขั้นชกต่อยกันในตอนแรก ระหว่างที่กำ�ลังมีเรื่อง กันอยู่นั้น นายมีนาก็ชักปืนที่ติดตัวมาด้วยออกมายิงนายเมษาจนนายเมษา ตายไปในตอนนั้น การกระทำ�ของนายมีนาในตอนนี้แม้จะมีเรื่องกันแต่ยังไม่มี ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อะไรที่มาบอกได้ว่านายมีนามีเจตนาที่จะมาฆ่า นายเมษามาตั้งแต่แรก บางคนอาจจะบอกว่าก็นายมีนาพกปืนมาด้วยก็แสดง ว่าต้องมีเจตนาไม่ดีอยู่แล้ว ซึ่งความจริงอาจจะเป็นแบบนั้นหรือไม่ใช่ก็ได้ แต่ เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงอื่นก็คงยังไม่สามารถบอกได้ว่านายมีนาเตรียมการที่จะ มาฆ่านายเมษาตั้งแต่แรกถึงได้พกปืนมา เพราะนายมีนาอาจมีเรื่องกับคนอื่น อีกหลายคนจนต้องพกปืนกันคู่อริคนอื่นก็ได้เช่นกัน การที่นายมีนาชักปืนมา ฎีกา InTrend ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 28 ยิงไประหว่างที่ทะเลาะชกต่อยกันแน่นอนว่าเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นแน่ แต่ เป็นการฆ่าผู้อื่นแบบธรรมดาที่มีโทษจำ�คุกตั้งแต่ 15 ปีถึงประหารชีวิตซึ่งจะ แตกต่างจากกรณีที่เรากำ�ลังพูดถึงที่โทษมีแต่ประหารชีวิตสถานเดียว คราวนี้กลับมาถึงกรณีในคดีที่ยกมาข้างต้นที่หลังจากทะเลาะ กันแล้วมีการแยกจากกัน นายมีนากลับไปเอาปืนมา ขับรถจักรยานยนต์กลับ มาหลังเหตุการณ์ตอนแรกอีกร่วมครึ่งชั่วโมง เมื่อพบนายเมษาจึงได้ใช้ปืนยิง นายเมษจนเสียชีวิต ข้อแตกต่างคือการที่นายมีนากลับไปเอาปืนมาแยกต่าง หากจากการทะเลาะในตอนแรกไปแล้ว แม้จะมีเรื่องมีราวกันมา แต่ช่วงเวลาที่ แยกจากกันก็ร่วมครึ่งชั่วโมงแล้ว แม้จะโกรธจะเคืองกันอยู่แต่ก็ไม่เหมือนกับ การอยู่ระหว่างชกต่อยทะเลาะกันในตอนแรก การใช้ปืนยิงนายเมษาจึงไม่ใช่ เรื่องที่เกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วนที่อยู่ ๆ ทะเลาะกันก็ชักปืนมายิง ฎีกา InTrend ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 29 นอกจากนั้น การที่นายมีนากลับไปเอาปืนมาหลังจากเพิ่งทะเลาะ กับนายเมษามาย่อมแสดงให้เห็นว่านายมีนามีเจตนาที่คิดร้ายอยู่จึงได้กลับไป เอาปืนของตัวเองมาแล้วขับรถจักรยานยนต์ตามหานายเมษาจนพบ แล้วพอ เจอนายเมษา นายมีนาก็ไม่พูดพร่ำ�ทำ�เพลงอะไรอีก เอาปืนที่เตรียมมาไปยิง นายเมษาทันที โดยการพบกันครั้งหลังก็ไม่ได้มีเรื่องมีราวอะไรใหม่ พฤติการณ์ ลักษณะนี้ย่อมแสดงให้เห็นในตัวว่าการที่ไปเอาปืนมาเป็นการคิดเตรียมการ ของนายมีนาที่จะมาฆ่านายเมษา เมื่อนายมีนาใช้ปืนยิงนายเมษาจึงทำ�ให้เป็น ความผิดฐานฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามที่กฎหมายกำ�หนด การฆ่าไม่ว่าจะเป็นใครก็แล้วย่อมเป็นเรื่องผิดด้วยกันทั้งสิ้น เพราะ ทุกคนย่อมรักชีวิตของตนเองและมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ เมื่อคนหนึ่งไปฆ่าอีกคน หนึ่งจึงต้องสมควรที่จะรับโทษ แต่สำ�หรับคนที่คิดร้ายถึงขนาดมีการคิดเตรียม การเพื่อจะไปฆ่าคนอื่นโดยเฉพาะย่อมแสดงให้เห็นถึงจิตใจที่อำ�มหิตเพียงพอที่ จะคิดไปฆ่าคนอื่น คนที่ทำ�แบบนี้จึงสมควรที่จะต้องรับโทษให้เหมาะสมกับความ ผิดที่ “ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” (เทียบคำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2562) ฎีกา InTrend ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 30
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 31 อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่มีใครต้องการให้เกิดและเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ เมื่อเกิดขึ้นแล้วสิ่งหนึ่งที่เป็นผลพวงตามมาคือ “ความเสียหาย” และผลกระทบที่ เกิดจากอุบัติเหตุเหล่านั้น แน่นอนว่าผลกระทบและความเสียหายนี้ย่อมมากบ้าง น้อยบ้าง ตามสภาพและความรุนแรงของเหตุการณ์แต่ละครั้ง แต่หากรุนแรงถึง ขนาดทำ�ให้คนเสียชีวิตแล้ว บุคคลที่จะได้รับความเสียหายและผลกระทบคนหนึ่ง คือ บิดามารดาของผู้เสียชีวิตที่จะขาดคนมาคอยเลี้ยงดู ปัญหาคือถ้าหากบุตรที่ เสียชีวิตไม่ได้มีอาชีพและรายได้ที่มากนักจนอาจจะไม่ค่อยมีมาจุนเจือบิดามารดา ของตน แล้วแบบนี้บิดามารดาจะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากคนที่ทำ�ให้บุตร เสียชีวิตในส่วนนี้หรือไม่ หรือหากจะได้จะคิดกันอย่างไรและได้มากน้อยเพียงใดใน เมื่อปกติบุตรที่เสียชีวิตเองก็ไม่ค่อยได้ส่งเสียให้บิดามารดาสักเท่าใด ฎีกา InTrend ค่าขาดไร้อุปการะจากการทำ ให้ลูกตาย
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 32 ฎีกา InTrend ค่าขาดไร้อุปการะจากการทำ ให้ลูกตาย วันหนึ่งขณะที่ “นายขิง” ขับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ไปส่งที่ ท่าเรือ ขณะที่รถกำ�ลังแล่นไปด้วยความเร็วพอสมควรถึงบริเวณใกล้สี่แยก แห่งหนึ่ง ไฟจราจรกำ�ลังเปลี่ยนเป็นสีแดง แต่ด้วยความเร่งรีบของนายขิงคิด ว่าเพิ่งเปลี่ยนเป็นไฟแดงได้นิดเดียวคงไม่เป็นอะไรถ้าจะขับรถต่อไปจะได้ไม่ ต้องหยุดให้เสียเวลา นายขิงจึงไม่ได้หยุดรถ ปรากฏว่าขณะที่รถกำ�ลังผ่านสี่ แยก รถจักรยานยนต์ของ “นายข่า” วิ่งผ่านไปพอดีด้วยความที่ได้สัญญาณ ไฟเขียว โดยนายข่าเองก็ไม่ได้คาดคิดว่าจะมีรถฝ่าไฟแดงมา ทำ�ให้รถของขิง ชนรถนายข่าพอดี นายข่ากระเด็นไปเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ก่อนเสียชีวิต นาย ข่ามีอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้ไม่แน่นอนแล้วแต่จะมีใครมาจ้าง เช่น ตัดแต่ง ต้นไม้ ขนของ ซ่อมท่อประปา ด้วยความที่รายได้ไม่แน่นอน ทำ�ให้นายข่าซึ่ง มีรายจ่ายในครอบครัวเองด้วยจึงไม่ค่อยได้มาจุนเจือพ่อแม่ของตนสักเท่าใด พ่อแม่ของนายข่าได้มาฟ้องนายขิงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากนายขิง หลายประการ รวมทั้งค่าขาดไร้อุปการะ
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 33 ปัญหาในคดีลักษณะนี้ในความเป็นจริงมีหลายเรื่องหลายปัญหา แต่คงนำ�มากล่าวถึงทั้งหมดในที่นี่ไม่ได้ แต่จะขอนำ�เฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับ การเรียกค่าขาดไร้อุปการะมากล่าวถึงเท่านั้น เรื่องของค่าอุปการะนี้คงเป็นเรื่องระหว่างพ่อแม่กับลูกที่เมื่อยาม ลูกยังเล็ก พ่อแม่ก็เป็นคนเลี้ยงดูลูก พอลูกเติบใหญ่ในสังคมไทย ๆ ของเรา เน้นย้ำ�เรื่องความกตัญญูที่ลูกพึงมีต่อพ่อแม่มาตลอด กฎหมายเองก็ตระหนัก ดีถึงหน้าที่นี้ เพราะเมื่อลูกยังเล็ก กฎหมายบังคับกำ�หนดให้พ่อแม่มีหน้าที่ ต้องอุปการะเลี้ยงดูลูก ในทางกลับกัน เมี่อลูกเติบโตขึ้นและพ่อแม่แก่ชราลง กฎหมายก็กำ�หนดไว้เช่นกันว่าบุตรต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ หน้าที่ดัง กล่าวนี้เป็นหน้าที่ที่กฎหมายกำ�หนดไว้ให้สอดคล้องกับหน้าที่ทางศีลธรรมใน สังคม ฎีกา InTrend ค่าขาดไร้อุปการะจากการทำ ให้ลูกตาย
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 34 เมื่อกฎหมายกำ�หนดให้ลูกมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ หาก มองในอีกแง่หนึ่งก็จะเท่ากับว่าพ่อแม่เองก็มีสิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยง ดูจากลูกด้วยเช่นกัน การที่มีบุคคลภายนอกมาทำ�ให้ลูกเสียชีวิตอย่างเช่น กรณีของนายขิงที่ขับรถชนนายข่าจนทำ�ให้นายข่าเสียชีวิตจึงมีผลโดยตรง ที่กระทบถึงสิทธิตามกฎหมายของพ่อแม่ของนายข่าในอันที่จะได้รับการ อุปการะเลี้ยงดูจากนายข่า ส่วนการที่นายข่าจะเลี้ยงดูพ่อแม่ของตนในความ เป็นจริงมากน้อยเพียงใดนั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่งและเป็นเรื่องระหว่างนายข่า กับพ่อแม่ของตัวเอง ดังนั้น พ่อแม่ของนายข่าในกรณีนี้จึงย่อมมีสิทธิได้รับ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยสิทธิที่ตนจะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูที่เสียไป เพราะการกระทำ�ละเมิดของนายขิง แม้ว่าในความเป็นจริงจะไม่ปรากฏข้อเท็จ จริงว่านายข่าจะได้ส่งเสียเลี้ยงดูพ่อแม่ของตนหรือไม่ก็ตาม หากต้องพิสูจน์ให้เห็นก่อนว่าลูกได้ส่งเสียเลี้ยงดูพ่อแม่ของตน อยู่ในขณะเกิดเหตุจึงจะทำ�ให้พ่อแม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะ แบบนี้กรณี ที่ลูกถูกทำ�ให้เสียชีวิตในขณะอายุยังน้อยและยังไม่มีรายได้อะไรก็จะทำ�ให้พ่อ แม่ไม่มีโอกาสได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไป แต่เนื่องจากกรณีนี้ถือว่า เป็นการทำ�ให้เสียสิทธิที่กฎหมายรับรองไว้ แม้ในความเป็นจริงจะอุปการะกัน อย่างไรก็ย่อมถือได้ว่าสิทธินั้นได้เสียไปแล้วเพราะผลของการกระทำ�ที่เกิดขึ้น ผู้ที่กระทำ�จึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ฎีกา InTrend ค่าขาดไร้อุปการะจากการทำ ให้ลูกตาย
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 35 ส่วนเรื่องจำ�นวนค่าสินไหมทดแทนที่พ่อแม่ของนายข่าจะได้จะเป็น จำ�นวนเท่าใดนั้นเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องพิจารณากำ�หนดจากพฤติการณ์และ ความร้ายแรงของการกระทำ�ละเมิดที่เกิดขึ้น โดยอาจต้องคำ�นึงตั้งแต่อายุของ พ่อแม่และความเป็นไปได้ของระยะเวลาที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดู การละเมิดหรือการทำ�ให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะด้วย การจงใจทำ�ให้เกิดขึ้นหรือเกิดจากความประมาทเลินเล่อก็แล้วแต่ ผู้กระทำ�ย่อม ต้องรับผิดชอบเยียวยาความเสียหายที่ตนเองก่อให้เกิดขึ้น ไม่ว่าความเสียหาย นั้นจะเกิดกับใครก็ตาม เมื่อทำ�ให้ลูกของคนอื่นเสียชีวิต พ่อแม่ย่อมต้องเสีย หายโดยสภาพ ค่าขาดไร้อุปการะจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนประเภทหนึ่งที่ผู้ทำ� ละเมิดต้องรับผิดชดใช้เช่นกันไม่ว่าลูกนั้นจะได้ส่งเสียเลี้ยงดูพ่อแม่อยู่ในความ เป็นจริงหรือไม่ (เทียบคำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2562) ฎีกา InTrend ค่าขาดไร้อุปการะจากการทำ ให้ลูกตาย
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 36
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 37 เช็คเป็นเรื่องที่ทำ�ให้หลายคนหนักอกหนักใจอยู่เสมอ แม้ว่าทุกวัน นี้เราจะใช้เช็คกันไม่มากเหมือนเมื่อก่อนแล้วก็ตาม ปัญหาที่ทำ�ให้คนที่ออกเช็ค กลัดกลุ้มนอกจากการหาเงินมาชำ�ระหนี้ตามเช็คแล้ว ที่สำ�คัญอีกประการหนึ่ง คือ ความผิดอาญาที่เกิดจากการออกเช็คแล้วไม่มีการใช้เงินตามเช็ค ทำ�ให้ หลายคนอาจจะถึงขั้นติดคุกติดตะรางจากผลของความผิดดังกล่าว ในตอน นี้เราจะมาพูดคุยกันถึงกรณีที่มีการประนีประนอมยอมความในมูลหนี้ตามเช็ค ที่จะมีผลทำ ให้ความผิดอาญาอันอาจเกิดจากการออกเช็คดังกล่าวต้องมีอัน เลิกกันไปด้วย ฎีกา InTrend หนี้ตามเช็คระงับ ความผิดเลิกกัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 38 ฎีกา InTrend หนี้ตามเช็คระงับ ความผิดเลิกกัน เรื่องราวที่จะนำ�มาเป็นกรณีศึกษาในที่นี้ สมมติว่านางสายออก เช็คให้แก่นางสวยเพื่อชำ�ระหนี้เงินกู้ยืมที่นางสายกู้ยืมจากนางสวยมา ต่อมา เมื่อเช็คนั้นถึงกำ�หนดชำ�ระ นางสวยนำ�เช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร แต่ปรากฏ ว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอที่จะ จ่ายได้ นางสวยจึงไปฟ้องเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องให้นางสายชำ�ระหนี้ตาม เช็คให้แก่นางสวย นอกจากนั้น นางสวยก็ฟ้องนางสายเป็นคดีอาญาด้วย ในข้อหาออกเช็คโดยไม่มีเจตนาใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามพระราช บัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ต่อมาในคดีแพ่ง นางสวยกับนางสายตกลงทำ�สัญญาประนีประนอมยอมความกันได้ โดยนาง สายตกลงผ่อนชำ�ระหนี้ให้แก่นางสวยตามจำ�นวนเงินและงวดที่กำ�หนดใน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 39 สัญญานั้น ศาลในคดีแพ่งได้มีคำ�พิพากษาตามยอมจนคดีเสร็จเด็ดขาดไป ซึ่งทำ�ให้เกิดเป็นปัญหาต่อมาว่าผลของการดำ�เนินการดังกล่าวจะส่งผลต่อ คดีอาญาที่นางสวยฟ้องอยู่แค่ไหนเพียงไร กรณีลักษณะนี้ตาม พรบ. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 ได้วางหลักการไว้ว่าถ้าหนี้ที่ผู้ออกเช็คได้ออกเช็คนั้นเพื่อใช้เงิน ได้สิ้นผลผูกพันไปก็จะมีผลทำ ให้คดีอาญานั้นเป็นอัน “เลิกกัน” ซึ่งมีความ หมายที่เข้าใจได้ไม่ยากว่าคดีอาญานั้นก็เป็นอันสิ้นสุดยุติลงและผู้ที่ออกเช็คที่ เดิมอาจจะมีความผิดอาญาก็กลายเป็นไม่มีความผิดอีกต่อไป คดีอาญาก็ไม่ อาจจะดำ�เนินต่อไปที่จะทำ�ให้ผู้ออกเช็คต้องรับโทษใด ๆ ได้อีก ฎีกา InTrend หนี้ตามเช็คระงับ ความผิดเลิกกัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 40 ในกรณีระหว่างนางสายกับนางสวยนี้ เหตุการณ์ที่จะมีผลต่อคดี อาญาและทำ�ให้เราต้องมาทำ�ความเข้าใจกันจะเป็นในส่วนของการดำ�เนินคดี แพ่งที่นางสวยฟ้องนางสายเป็นอีกคดีหนึ่งแยกต่างหากจากคดีอาญาเรื่อง เช็ค แต่ทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกัน เพราะในคดีแพ่งก็เป็นการฟ้องเรียกเงิน ตามเช็คฉบับเดียวกันกับที่นำ�มาฟ้องคดีอาญานั่นเอง ในการดำ�เนินคดีแพ่ง ปรากฏว่านางสายกับนางสวยได้ทำ� “สัญญา ประนีประนอมยอมความ” กันในเรื่องที่ฟ้อง สัญญาดังกล่าวโดยเนื้อหาปกติก็ เป็นเรื่องการตกลงชำ�ระหนี้ให้แก่กัน เพียงแต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใน การชำ�ระเงินหรือยอดเงินที่จะต้องชำ�ระให้แก่กันให้แตกต่างจากที่ฟ้องมา ผล ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ประการสำคัญคือการทำ ให้หนี้ เดิมที่นางสายกับนางสวยมีอยู่ต่อกันจะเป็นอันระงับสิ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นหนี้ ตามเช็คที่นางสายออกให้ไว้ หรือแม้กระทั่งหนี้เงินกู้ยืมที่เป็นสาเหตุของการ ออกเช็คนั้น โดยถือว่าหนี้สินที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่จะกลายเป็นหนี้ตามสัญญา ประนีประนอมยอมความที่ทำ�ขึ้นใหม่นี้เท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นมีหนี้ หลายอย่างที่ซ้ำ�ซ้อนกันอยู่ ลูกหนี้ก็ควรจะต้องรับผิดเพียงในยอดหนี้เดียวกัน ผลของการทำ� “สัญญาประนีประนอมยอมความ” ที่ทำ�ให้หนี้ ตามเช็คหรือหนี้เงินกู้ยืมระงับไปนี่เองที่ส่งผลให้ความผิดอาญาในข้อหา ที่นางสายออกเช็คโดยไม่มีเจตนาใช้เงินตามเช็คจึงเป็นอันเลิกกันไปตามที่ มาตรา 7 กำ�หนดไว้ที่กล่าวถึงแล้วข้างต้น ฎีกา InTrend หนี้ตามเช็คระงับ ความผิดเลิกกัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 41 เงื่อนแง่ประการหนึ่งที่ทำ�ให้คดีนี้มีปัญหากันยืดยาวส่วนหนึ่งเป็น เพราะบังเอิญว่าในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นมีถ้อยคำ�อยู่ประโยค หนึ่งว่า “หากชำระหนี้ครบถ้วนโจทก์จะถอนฟ้องคดีเช็คในมูลหนี้เดียวกันนี้ ให้กับจำ เลย” ทำ�ให้มีปัญหาว่าการตกลงทำ�สัญญาประนีประนอมยอมความ ข้างต้น นางสวยต้องการจะให้คดีอาญาระงับไปด้วยหรือไม่ เพราะตามปกติ ในคดีอาญาที่เป็น “ความผิดต่อส่วนตัว” อย่างเช่นความผิดเกี่ยวกับการ ออกเช็ค จะระงับวิธีหนึ่งโดยการที่ผู้เสียหายตกลง “ยอมความ” ที่ไม่ติดใจ จะเอาผิดหรือเอาความกับจำ�เลยอีกต่อไป ข้อความในสัญญานั้นจึงสื่อใน ทำ�นองที่ว่านางสวยยังไม่ได้ถึงขนาดที่จะไม่ติดใจเอาความกับนางสายอีกต่อ ไป เพราะจะถอนฟ้องต่อเมื่อตนเองได้รับชำ�ระเงินครบเสียก่อน อย่างไรก็ตามสำ�หรับกรณีของนางสายกับนางสวยในที่นี้ ข้อความดังกล่าวไม่มีผลแต่อย่างใด เพราะการตกลงประนีประนอมยอมความ ในคดีแพ่งที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ทำ�ให้หนี้ตามเช็คระงับไป ทำ�ให้คดีอาญาต้อง เลิกกันไปด้วยตามที่ พรบ. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ กำ�หนดไว้เป็น กรณีต่างหากสำ�หรับความผิดเกี่ยวกับเช็คโดยตรง ซึ่งเป็นกรณีที่เพิ่มเติมจาก การ “ยอมความ” ในคดีความผิดอาญาทั่วไป ดังนั้น กรณีลักษณะนี้เมื่อได้ความว่าหนี้ตามเช็คระงับไปเสียแล้ว ไม่ว่าด้วยเหตุอันใดอันหนึ่ง รวมถึงการระงับไปเพราะคู่กรณีไปตกลงกันทำ สัญญาฉบับใหม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะทำ ให้ความผิด ฎีกา InTrend หนี้ตามเช็คระงับ ความผิดเลิกกัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 42 อาญาที่เกิดจากการออกเช็คฉบับนั้นต้องเป็นอันเลิกกันตามไปด้วย นางสาย จึงไม่ต้องรับผิดที่เป็นโทษทางอาญาอีก แต่ยังมีหนี้ต้องจ่ายเงินตามที่ตกลง ไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นอยู่ดี (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2562) ฎีกา InTrend หนี้ตามเช็คระงับ ความผิดเลิกกัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 43
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 44 ดอกไม้อาจต้องใช้ปุ๋ยและรดน้ำ�พรวนดินจึงจะออกมาให้เห็น แต่ เมื่อเป็น “ดอกเบี้ย” แล้วงอกงามผลิดอกออกผลได้ทุกฤดูกาล โดยไม่ต้อง ใส่ปุ๋ยหรือรดน้ำ�ใด ๆ อีก แต่การคิดดอกเบี้ยก็คงต้องมีกรอบและขอบเขตด้วย หากคิดกันแบบมหาโหดเกินกว่าที่กฎหมายกำ�หนดแล้วย่อมจะทำ�ให้เกิดปัญหา ขึ้นได้ว่าการตกลงกันแบบนั้นจะมีผลมากน้อยเพียงใด และปัญหาที่สำ�คัญที่เรา จะมาคุยกันคือแล้วหากลูกหนี้เกิดชำระหนี้ไปตามยอดหรืออัตราดอกเบี้ยที่เกิน กว่าที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วจะมีผลอย่างไร ลูกหนี้จะเรียกเงินที่ชำ�ระไปนั้นคืน ได้หรือไม่ หรือเจ้าหนี้จะต้องทำ�อย่างไรกับเงินที่ลูกหนี้ชำ�ระเป็นค่าดอกเบี้ยที่ เกินอัตรามานั้น ฎีกา InTrend เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 45 ฎีกา InTrend เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ ก่อนที่เราจะลงไปในรายละเอียด คงต้องทำ�ความเข้าใจกัน เบื้องต้นก่อนว่าที่บอกว่าคิดดอกเบี้ยเกินอัตรานั้นต้องดูเป็นรายกรณีไปด้วย ว่าคนที่เขาให้กู้ยืมเงินมานั้นเป็นใคร เพราะอัตราดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้จะคิดได้ขึ้น อยู่กับว่าเจ้าหนี้นั้นเป็นเจ้าหนี้ประเภทใด เพราะหากเป็นกรณีของสถาบันการ เงินแล้วจะมีกฎหมายกำ�หนดไว้โดยเฉพาะที่ทำ�ให้คิดดอกเบี้ยได้มากกว่าคน ธรรมดาให้กู้ และขึ้นอยู่กับประเภทของเงินกู้แต่ละชนิดด้วย แต่กรณีที่กำ�ลัง จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นเรื่องที่บุคคลธรรมดาให้กู้ยืมเงินกัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 46 เรื่องราวในตอนนี้สมมติอีกเช่นเคยว่านางยิ้มไปกู้ยืมเงินจากนาย แย้มเป็นเงิน 200,000 บาท นายแย้มคิดดอกเบี้ยจากนางยิ้มในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ต่อมานางยิ้มไม่จ่ายเงินคืนให้นายแย้มตามที่ตกลงกัน นายแย้มจึง มาฟ้องเรียกร้องให้นางยิ้มชำ�ระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแก่ตน ก่อนหน้าที่ นายแย้มจะมาฟ้องคดี นางยิ้มได้เคยชำ�ระเงินคืนให้แก่นายแย้มไปบ้างแล้วแต่ เนื่องจากดอกเบี้ยอัตราสูงมาก เงินที่นางยิ้มจ่ายไปร่วม 100,000 บาทจึงถูก นายแย้มนำ�ไปหักชำ�ระเป็นดอกเบี้ยเท่านั้น กรณีที่บุคคลธรรมดาให้กู้ยืมเงินกันนี้ กฎหมายกำ�หนดให้คิด ดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น การคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ที่กฎหมายกำ�หนดความจริงมีโทษทางอาญาอยู่ด้วย กฎหมายปัจจุบันคือ พรบ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ซึ่งมีโทษจำคุกได้ถึง 2 ปี ฎีกา InTrend เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 47 หรือปรับ 200,000 บาท แต่ผลของการที่กำ�หนดโทษทางอาญาไว้ดังกล่าว ทำ�ให้ถือว่ากฎหมายที่กำ�หนดอัตราดอกเบี้ยไว้เป็นเรื่องสำ�คัญ การที่เจ้าหนี้ ไปคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำ�หนดไว้จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายใน เรื่องที่สำ�คัญเช่นกัน ข้อตกลงที่ให้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กำหนดไว้จึงถือว่า เป็นข้อตกลงที่เป็น “โมฆะ” ซึ่งทำ�ความเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าแม้จะตกลงกำ�หนด ไว้ แต่ในทางกฎหมายแล้วถือเสมือนว่าข้อตกลงนั้นไม่เคยเกิดมีขึ้นมาเลย คือ ไม่มีผลบังคับทางกฎหมายใด ๆ นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ข้อตกลงที่นายแย้มคิดดอกเบี้ยจากนางยิ้มในอัตรา ร้อยละ 10 ต่อเดือนจึงเห็นได้ชัดว่าเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำ�หนดไว้แน่ ๆ ผลคือข้อตกลงนี้ย่อมเป็น “โมฆะ” ไปดังที่กล่าวถึง ทำ�ให้นายแย้มไม่มีสิทธิ คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากนางยิ้มได้ยกเว้นแต่เป็นดอกเบี้ยผิดนัดที่เป็นอีกกรณี หนึ่ง หากนายแย้มมาฟ้องเรียกร้องให้ชำ�ระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อ เดือนก็ย่อมไม่สามารถทำ�ได้ แต่ปัญหาสำ�คัญของเรื่องนี้คือแล้วเงินที่นางยิ้ม ฎีกา InTrend เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 48 ชำ�ระไปแล้ว 100,000 บาท ซึ่งนายแย้มเอาไปหักดอกเบี้ยจะทำ�อย่างไร การ ชำ�ระดังกล่าวจะมีผลเพียงใด สำ�หรับเงินจำ�นวนนี้ นางยิ้มอาจจะไม่สามารถเรียกร้องคืนเอาจาก นายแย้มได้ เพราะตามปกติของการชำ�ระเงินให้ใครไปโดยที่เป็นหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อ ห้ามตามกฎหมายก็จะไม่สามารถเรียกร้องคืนมาได้ แต่เมื่อได้กล่าวไปแล้วว่า นายแย้มเองก็ไม่มีสิทธิได้รับชำ�ระดอกเบี้ยที่ตนเองคิดเกินอัตราที่กฎหมาย กำ�หนดไปด้วย แต่ที่ผ่านมานายแย้มรับชำ�ระเงินจากนางยิ้มแล้วเอาไปหักชำ�ระ ดอกเบี้ยที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นมาโดยตลอด ที่ควรจะเป็นคือนายแย้มต้องเอา เงิน 100,000 บาท ที่นางยิ้มชำระมาไปหักชำระต้นเงินกู้ที่ค้างอยู่แทน เหลือ ยอดต้นเงินกู้เท่าใดจึงจะเป็นยอดที่นายแย้มมีสิทธิฟ้องเรียกคืนจากนางยิ้มได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่านางยิ้มเองจะหลุดพ้นไม่ต้องชำ�ระ ดอกเบี้ยใด ๆ ให้แก่นายแย้ม เพราะหากสมมติว่าสัญญากู้ดังกล่าวกำ�หนดให้ นางยิ้มต้องคืนเงินทั้งหมดภายในวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ผ่านมา เมื่อครบ กำ�หนดแล้วไม่ชำ�ระ นางยิ้มจะกลายเป็นลูกหนี้ที่ “ผิดนัด” ชำ�ระหนี้ นายแย้ม ในฐานะเจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ แต่จะเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และไม่ได้คิดตั้งแต่วันที่ให้กู้ยืมไปเหมือนดอกเบี้ยเงินกู้ปกติ แต่ต้องคิดตั้งแต่ วันที่พ้นกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม เป็นต้นไป การคิดดอกเบี้ยเป็นเรื่องปกติของการกู้หนี้ยืมสินเพราะเงิน ย่อมมีค่าหากไม่ให้กู้ยืมไปเจ้าหนี้อาจไปหาผลประโยชน์ทางอื่นให้งอกงาม ฎีกา InTrend เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 49 ได้เช่นกัน เมื่อลูกหนี้ต้องการกู้ยืมจึงจำ�เป็นต้องให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ เจ้าหนี้ด้วยเช่นกัน แต่ผลประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะเรียกก็ต้องพอเหมาะพอสม ด้วย ไม่ใช่เห็นคนเดือดร้อนต้องการใช้เงินมาก็ถือโอกาสขูดรีดเอาจากความ เดือดร้อนของคนที่เป็นลูกหนี้จนไม่ต้องโงหัวกันหากต้องใช้ดอกเบี้ยในอัตรา ที่สูงลิบลิ่ว หากมีการคิดดอกเบี้ยกันแบบนั้น ข้อตกลงที่คิดดอกเบี้นเกินที่ กฎหมายกำหนดจะตกเป็นโมฆะไป หากลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยอัตราที่ฝ่าฝืน กฎหมายไปเท่าใด แม้ลูกหนี้จะเรียกเงินนั้นคืนไม่ได้ แต่เจ้าหนี้ก็ต้องเอาไปหัก ชำระเงินต้นให้แก่ลูกหนี้ด้วยจึงจะเป็นธรรม (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 5056/2562) ฎีกา InTrend เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 50