สำ�นักงานศาลยุติธรรม 51 การทวงหนี้เป็นเรื่องที่เจ้าหนี้อาจจำ�เป็นต้องทำ� แต่การทวงจะทำ�ได้ เพียงใดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ปัจจุบันมีกฎหมายจัดระเบียบการทวงหนี้มากขึ้น แต่ แม้จะมีกฎหมายแบบนั้น การทวงหนี้บางกรณีอาจเลยเถิดไปจนทำ�ให้ตัวเจ้า หนี้เองกลายเป็นผู้ร้ายไปได้ ในตอนนี้เราจะมาคุยกันถึงกรณีที่เจ้าหนี้ได้เอา ทรัพย์สินบางอย่างของลูกหนี้ไปโดยลูกหนี้ไม่ยินยอมจะมีผลทำ�ให้เจ้าหนี้ ต้องมีความผิดทางอาญาได้หรือไม่ ถ้ามีความผิด จะเป็นความผิดมากน้อย เพียงใด ฎีกา InTrend เจ้าหนี้กลายเป็นผู้ร้ายลักทรัพย์
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 52 ฎีกา InTrend เจ้าหนี้กลายเป็นผู้ร้ายลักทรัพย์ ในกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ นายขาวมีหนี้สินค้างชำ�ระอยู่กับนายดำ� นายดำ�ทวงถามอยู่หลายครั้ง นายขาวก็ยังไม่มีเงินไปใช้คืนให้นายดำ�สักที วันหนึ่ง นายดำ�เลยพาลูกน้องอีกหนึ่งคนไปที่บ้านของนายขาวเพื่อทวงหนี้ ที่ค้าง เมื่อนายขาวไม่ยอมชดใช้เงินคืน นายดำ�จึงบอกให้นายขาวลงชื่อใน สัญญากู้ 2 ฉบับที่เตรียมมาเพื่อจะใช้เป็นหลักฐานไว้ดำ�เนินคดีกับนายขาว พร้อมกับขอกุญแจรถยนต์ที่นายขาวอยู่ระหว่างเช่าซื้อมาจากบริษัทเช่าซื้อ นายขาวไม่ยอมให้กุญแจและทำ�ท่าจะลุกหนีออกไป นายดำ�จึงใช้มือตบศีรษะ 1 ครั้ง นายขาวเกิดความกลัวเพราะถูกตบและเห็นนายดำ�มีปืนติดตัวมาด้วย จึงได้ยอมลงชื่อในสัญญากู้ดังกล่าว จากนั้นนายดำ�ก็หยิบกุญแจรถยนต์แล้ว ขับรถยนต์ดังกล่าวไป
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 53 พฤติกรรมของนายดำ�เจ้าหนี้รายนี้คงเห็นได้ไม่ยากว่าทำ�เกินเลย ไปแน่ ๆ เพราะมีทั้งการขู่เข็ญบังคับและทำ�ร้าย ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏแน่ชัดว่า ตัวเลขเงินกู้ในสัญญาที่นายขาวถูกบังคับให้ลงชื่อนั้นมีจำ�นวนมากน้อยเพียง ใด และถูกต้องตามจำ�นวนหนี้สินที่กู้ไปหรือไม่ แต่คงเป็นอีกประเด็นหนึ่งกับที่จะ เป็นปัญหาให้พูดคุยในที่นี้ ปัญหาประการแรกคงเป็นการที่นายดำ�เอารถยนต์ ไปจะมีความผิดหรือไม่ คำ�ตอบคงบอกได้ว่าเป็นความผิดแน่ ๆ โดยฐานความ ผิดที่นายดำ�มีความผิดคือ การลักทรัพย์ แม้นายดำ�จะเป็นเจ้าหนี้ของนายขาวก็ตาม แต่การจะบังคับชำ�ระ หนี้ก็ไม่ใช่ว่าเจ้าหนี้จะมีสิทธิทำ�อย่างไรก็ได้กับทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะหาก ให้เจ้าหนี้แต่ละรายไปบังคับยึดเอาทรัพย์สินของลูกหนี้มาได้ก็คงจะเกิดความ วุ่นวายแน่นอน แม้แต่ในกรณีนี้ที่นายดำ�อ้างว่าการที่นำ�รถยนต์ไปเพียงเพื่อ ใช้เป็นหลักประกันการชำ�ระหนี้เท่านั้น ไม่ได้ต้องการจะยึดไปเป็นของตนเอง ฎีกา InTrend เจ้าหนี้กลายเป็นผู้ร้ายลักทรัพย์
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 54 ก็ตาม แต่การกระทำ�ดังกล่าวก็ถือได้แล้วว่านายดำ�ได้ “แสวงหาประโยชน์ที่ มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย” สำ�หรับตนเองแล้วการที่นายดำ�เอารถยนต์ ของนายขาวจึงเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป “โดยทุจริต” แล้ว ทำ�ให้การกระ ทำ�ของนายดำ�เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ โดยไม่จำ�เป็นที่การเอารถยนต์นั้น ไปจะต้องเอาไปเพื่อเป็นของตัวเอง เพียงแต่เอาไปเก็บไว้เป็นหลักประกันการ ชำ�ระหนี้ก็เป็นความผิดได้แล้ว ปัญหาเรื่องนี้ยังไม่จบเพียงแค่นั้น เพราะในระหว่างดำ�เนินการ นายดำ�ได้ตบศีรษะนายขาวด้วย 1 ครั้ง ทำ�ให้มีปัญหาว่าการใช้กำลังทำร้าย แบบนี้จะทำ ให้การที่นายดำ เอาทรัพย์ ไปกลายเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดาหรือไม่ เพราะการกระทำ� ลักษณะหนึ่งที่จะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์คือการลักทรัพย์ที่มีพฤติการณ์ การใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือพาทรัพย์ นั้นไป กรณีนี้อาจจะเรียกได้ว่านายดำ�โชคดีนิดหน่อยที่ยังไม่ถึงขนาดที่ จะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ เพราะเหตุว่าตอนที่นายดำ�ใช้มือตบศีรษะนาย ขาวนั้นเป็นช่วงขณะที่นายขาวจะลุกหนีจากที่ถูกนายดำ�บังคับให้ลงชื่อใน สัญญากู้ เมื่อถูกตบศีรษะแล้วนายขาวจึงยอมลงชื่อในสัญญากู้ การที่นาย ดำ�หยิบกุญแจรถแล้วขับออกไปเกิดขึ้นหลังจากนั้น จึงพอทำ�ให้เห็นได้ว่าการ ตบศีรษะกับการเอารถไปเป็นคนละช่วงกัน การตบศีรษะจึงไม่ใช่เพื่อจะทำ�ให้ ฎีกา InTrend เจ้าหนี้กลายเป็นผู้ร้ายลักทรัพย์
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 55 สะดวกที่จะเอารถไป แต่เป็นการบังคับให้ลงชื่อในสัญญากู้เสียมากกว่านาย ดำ�จึงไม่ถึงขนาดเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การตบศีรษะก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปตบหัวใครได้เล่น ๆ เพราะจะมากจะน้อยก็ทำ�ให้คนที่ถูกตบเจ็บตัวได้ นายดำ�แม้จะเป็นเจ้าหนี้ไป ทวงหนี้ก็ไม่มีสิทธิ ไม่มีอำ�นาจไปตบหัวลูกหนี้อยู่ดี การตบศีรษะจึงยังคงเป็น ความผิดอาญาอีกฐานหนึ่ง เพียงแต่เมื่อนายขาวไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรจาก การตบศีรษะ การตบศีรษะของนายดำ�จึงเป็นความผิดที่เรียกว่าการ “ทำร้าย ผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ” ที่มีโทษค่อนข้าง เบา สุดท้ายนี้ การที่เป็นเจ้าหนี้แน่นอนว่ายอมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูก หนี้ชำ�ระหนี้ มีสิทธิบังคับชำ�ระหนี้ได้ แต่การบังคับที่จะเอาทรัพย์สินของลูก หนี้ไปต้องทำ�ตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่ต้องไปฟ้องร้องให้ ถูกต้อง การที่อาศัยอำ�นาจบาตรใหญ่เอาทรัพย์ไปโดยพลการอาจทำ�ให้เจ้า หนี้กลายเป็นคนร้ายลักทรัพย์ของลูกหนี้ไปได้ง่าย ๆ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2561) ฎีกา InTrend เจ้าหนี้กลายเป็นผู้ร้ายลักทรัพย์
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 56
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 57 สัญญากู้ยืมเงินหากเกิดจากการให้เงินหยิบยืมกันจริง ๆ คงไม่มี ปัญหาอะไร แต่บางครั้งอาจมีกรณีที่มีหนี้สินบางอย่างค้างคาต่อกันแล้วเกิด ปัญหาขึ้นมาจึงแปลงหนี้สินเหล่านั้นมาเป็นสัญญากู้ยืมเงิน ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า ถ้าหนี้สินที่ค้างคากันนั้นเกิดจากการที่เดิมจ่ายเป็นค่าวิ่งเต้นให้เข้ารับราชการ เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญากู้จะทำ ให้สัญญากู้นั้นมีผลบังคับได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นประเด็นที่จะนำ�มาเป็นหัวข้อในการพูดคุยในตอนนี้ นายไก่ มีลูกชายอยู่หนึ่งคนชื่อนายกุ้ง เมื่อนายกุ้งสำ�เร็จการศึกษา ชั้นปริญญาตรี นายไก่ ต้องการจะให้ลูกชายของตนเองมีงานทำ�เป็นหลัก เป็นฐาน เมื่อทราบว่าหน่วยราชการแห่งหนึ่งกำ�ลังเปิดสอบบุคคลเข้ารับราชการ ฎีกา InTrend สัญญากู้ที่แปลงจากค่าวิ่งเต้น
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 58 ฎีกา InTrend สัญญากู้ที่แปลงจากค่าวิ่งเต้น นายไก่จึงไปติดต่อกับนายเขียวที่อ้างว่าตนรู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ในหน่วยราชการ ดังกล่าวและสามารถติดต่อช่วยให้นายกุ้งสอบผ่านการคัดเลือกและได้รับการ บรรจุเข้ารับราชการที่หน่วยงานดังกล่าวได้ นายเขียวเรียกร้องเงินค่าดำ�เนินการ ที่ต้องไปติดต่อจำ�นวน 550,000 บาท นายไก่ นำ�เงินจำ�นวนดังกล่าวมาจ่ายให้แก่ นายเขียวตามที่นายเขียวเรียกร้อง แต่เมื่อมีการประกาศผลสอบ ปรากฏว่านาย กุ้งสอบไม่ผ่าน นายไก่จึงเรียกร้องเงินดังกล่าวคืนจากนายเขียว แต่นายเขียว อ้างว่าได้ใช้จ่ายเงินดังกล่าวไปแล้ว ไม่มีเงินจะคืนให้ หลังจากนายไก่พยายาม
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 59 ฎีกา InTrend สัญญากู้ที่แปลงจากค่าวิ่งเต้น ทวงด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา นายเขียวจึงตกลงว่าจะคืนเงินให้แต่ขอเวลาหาเงิน ก่อน นายไก่ไม่เชื่อใจจึงให้นายเขียวลงชื่อในสัญญากู้ว่านายเขียวกู้เงินนายไก่ ไปจำ�นวน 550,000 บาท และตกลงชำ�ระคืนให้นายไก่พร้อมดอกเบี้ย โดยนาย เขียวยอมมอบโฉนดที่ดินแปลงหนึ่งของตนให้นายไก่ยึดถือไว้เป็นประกันด้วย เมื่อครบกำ�หนดตามสัญญากู้ นายเขียวไม่ได้นำ�เงินไปชำ�ระ นายไก่จึงฟ้องนาย เขียวเป็นคดีขอให้ชำ�ระเงินจำ�นวนดังกล่าวแก่ตน กรณีการทำ�สัญญากู้ยืมเงินกัน หากตอนที่ทำ�สัญญากู้ นายไก่ มอบเงินจำ�นวน 550,000 บาท นั้น ให้นายเขียวไปแล้วเมื่อครบกำ�หนดนายเขียว ไม่ชำ�ระ นายไก่คงนำ�สัญญากู้ฉบับนั้นมาฟ้องเรียกร้องให้นายเขียวชำ�ระเงินแก่ ตนได้โดยชอบตามกฎหมาย เพราะเมื่อเป็นหนี้กันจริงและมีการทำ�สัญญาเป็น มั่นเป็นเหมาะ สัญญานั้นก็ย่อมบังคับได้
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 60 ปัญหาในกรณีนี้อยู่ตรงที่ว่าเดิมแม้นายไก่จะมอบเงิน 550,000 บาท ให้นายเขียวไปก็จริง แต่การให้เงินนั้นไปมีเจตนาเพื่อจะให้นายไก่ไปดำ เนินการ วิ่งเต้นกับผู้มีอำนาจในหน่วยราชการที่บุตรของตนกำลังจะสอบเพื่อบรรจุเป็น ข้าราชการ ไม่ได้เกิดจากการที่นายเขียวตั้งใจจะหยิบยืมเงินจากนายไก่ เพราะ หากบุตรของนายไก่เกิดสอบผ่านและได้รับการบรรจุ นายไก่ก็คงจะไม่เรียกร้อง เงินดังกล่าวคืน อย่างไรก็ตาม การดำ�เนินการในลักษณะนี้เป็นที่เข้าใจได้ว่าเจตนา ของนายไก่ที่มอบเงินให้ไปนั้น นายไก่ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าการดำ�เนินการของนาย เขียวคงจะไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องตามทำ�นองคลองธรรมและตามกฎหมายหรือ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพราะเมื่อเป็นการสอบแข่งขัน วิธีการที่ถูกต้องจึงมีเพียง การสอบให้ได้คะแนนมากกว่าผู้เข้าสอบคนอื่นพอที่จะอยู่ในเกณฑ์ได้รับการ บรรจุ การดำ�เนินการวิ่งเต้นอย่างใด ๆ ของนายเขียวจึงย่อมไม่ใช่วิธีการที่ ถูกต้องโดยสภาพและมีลักษณะของการทำ ให้เกิดการทุจริตและประพฤติ มิชอบ เงิน 550,000 บาท นั้นจึงเป็นเงินที่จ่ายไปตามวัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย แม้ภายหลังจะมีการแปลงหนี้ที่ต้องคืนเงินค่าวิ่งเต้นมาเป็นหนี้ ตามสัญญากู้ยืม แต่เมื่อมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินนั้นมีที่มาจากการกระทำ ที่มิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว สัญญากู้ยืมนั้นจึงตกเป็นโมฆะเพราะถือว่า เป็นนิติกรรมที่ “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน” นายไก่จึงไม่มีสิทธิมาฟ้องบังคับให้นายเขียวชำ�ระเงินจำ�นวนดังกล่าวคืน ฎีกา InTrend สัญญากู้ที่แปลงจากค่าวิ่งเต้น
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 61 ในส่วนของโฉนดที่ดินที่นายเขียวมอบให้ไว้แก่นายไก่เพื่อเป็น ประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมนั้น เมื่อสัญญากู้ยืมดังกล่าวตกเป็นโมฆะไปเสียแล้ว นายไก่ย่อมไม่มีหนี้ที่จะอ้างเพื่อยึดถือโฉนดที่ดินนั้นไว้เป็นประกันอีก นอกจาก นายไก่จะเรียกเงินคืนไม่ได้แล้วยังต้องคืนโฉนดให้แก่นายเขียวด้วย หนี้ที่จะฟ้องร้องกันนั้น หากเป็นหนี้กันจริงและเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดย ถูกต้องชอบธรรมปกติก็ย่อมบังคับกันได้ แต่หากเป็นหนี้ที่มีมูลหนี้มาจากการ กระทำที่มิชอบอย่างเช่นการวิ่งเต้นเพื่อให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบก็ อาจจะทำ ให้นิติกรรมสัญญาที่แปลงมาจากการกระทำที่มิชอบอย่างสัญญากู้ ตกเป็นโมฆะและไม่สามารถฟ้องร้องบังคับตามสัญญานั้นได้อย่างเช่นในกรณีนี้ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 6023/2561) ฎีกา InTrend สัญญากู้ที่แปลงจากค่าวิ่งเต้น
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 62
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 63 อุบัติเหตุรถชนกับการประกันภัยเป็นของคู่กัน เพราะการประกัน ภัยผู้ที่ทำ�ประกันไว้ก็ย่อมมุ่งหวังที่จะให้บริษัทรับประกันภัยจ่ายค่าสินไหม ทดแทนให้เมื่อยามที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น แต่บางครั้งการจะได้รับชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนหรือไม่อาจไม่ได้ง่าย ๆ ตรงไปตรงมา แต่มีข้อที่ต้องระวังและคำ�นึง ถึงโดยเฉพาะเงื่อนไขตามกรมธรรม์ ซึ่งในตอนนี้คงมาคุยกันกับปัญหากรณี ที่เกิดอุบัติเหตุแล้วแต่เราจำ รถยนต์คู่กรณีไม่ได้จะมีผลอย่างไรกับสิทธิได้รับ การชดใช้จากบริษัทประกันภัย นายเก้งขับรถยนต์ไปเที่ยวพัทยากับครอบครัว ระหว่างที่รถกำ�ลัง แล่นผ่านสี่แยกแห่งหนึ่งใกล้กับพัทยา รถยนต์อีกคันได้วิ่งฝ่าไฟสัญญาณจราจร สีแดงมาจากอีกทางหนึ่ง รถยนต์คันดังกล่าวเฉี่ยวชนกับรถยนต์ของนายเก้ง ที่บังเอิญเห็นว่ามีรถออกมาจากอีกทาง แม้นายเก้งจะพยายามหักหัวรถหนี แล้วแต่ก็ไม่ทัน รถยนต์ของนายเก้งเสียหลักไปชนกับเสาไฟฟ้าข้างทาง เมื่อ ฎีกา InTrend ขับรถชนแต่จำคู่กรณีไม่ได้ ประกันจะจ่ายหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 64 ฎีกา InTrend ขับรถชนแต่จำคู่กรณีไม่ได้ ประกันจะจ่ายหรือไม่ นายเก้งตั้งสติได้ก็รีบหันไปดูบุตรของตนที่นั่งอยู่ที่เบาะหลัง โชคดีที่ไม่มีใครได้ รับอันตรายร้ายแรง แต่เมื่อนายเก้งมองหารถยนต์ที่มาชนรถตน ปรากฏว่า รถคันดังกล่าวอาศัยจังหวะที่นายเก้งกำ�ลังตกอกตกใจ ขับรถหนีไปแล้ว นาย เก้งเห็นจากระยะทางไกลเพียงรู้ว่าเป็นรถยนต์สีดำ�ยี่ห้อหนึ่ง แต่ระยะทางไกล เกินกว่าจะเห็นทะเบียนรถยนต์คันนั้นได้ ก่อนเกิดเหตุ นายเก้งได้ทำ�ประกันภัยรถยนต์ใน “แบบคุ้มครอง เฉพาะภัย” ไว้กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง แต่เมื่อเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหม
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 65 ทดแทน บริษัทประกันภัยกลับไม่ยอมจ่ายให้โดยอ้างว่านายเก้งจำ�คู่กรณีไม่ได้จึง เข้าข้อยกเว้นที่บริษัทประกันภัยไม่ต้องรับผิด คนจำ�นวนไม่น้อยมักเข้าใจว่าเมื่อทำ�ประกันภัยไว้แล้วและเกิด อุบัติเหตุขึ้น ตนเองย่อมจะต้องมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากบริษัท ประกันภัย เพราะการที่จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปก็เพื่อหวังจะได้รับความคุ้มครอง เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นดังเช่นกรณีของนายเก้งนี้ แต่เบี้ยประกันและขอบเขตความ คุ้มครองนั้นมักมีความสัมพันธ์กัน หากความคุ้มครองมากเบี้ยประกันภัยย่อมสูง ตามไป หากความคุ้มครองจำ�กัดลงเบี้ยประกันภัยก็อาจดูเหมือนถูกลง แต่ที่ถูก ลงเป็นเพราะผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองที่น้อยลงตามไปด้วย กรณีของนายเก้งนี้ หากสังเกตดูจะเห็นว่าเป็นการประกันภัย “แบบ คุ้มครองเฉพาะภัย” จึงสื่อความหมายในตัวว่าไม่ได้คุ้มครองภัยทุกประเภท เช่น อุบัติเหตุที่จะคุ้มครองจะจำกัดเฉพาะกรณี “ชนกับยานพาหนะทางบก” เท่านั้น ฎีกา InTrend ขับรถชนแต่จำคู่กรณีไม่ได้ ประกันจะจ่ายหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 66 หากนายเก้งขับรถไปแล้วเกิดมีเครื่องบินแบบที่เป็น “โดรน” พุ่งมาชนก็อาจจะ กลายเป็นภัยที่ไม่อยู่ในความคุ้มครองตามกรมธรรม์ไปแล้ว เพราะสิ่งที่มาชน ไม่ใช่ “ยานพาหนะทางบก” แต่ปัญหาของนายเก้งในกรณีนี้อยู่ที่เงื่อนไขตามกรมธรรม์ส่วน ที่ระบุว่าบริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ต่อเมื่อ “ผู้เอาประกันภัยสามารถ แจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้...” สาเหตุสำ�คัญที่มีการกำ�หนด เงื่อนไขลักษณะนี้คงเป็นเพราะการที่บริษัทประกันภัยจะได้ไปไล่เบี้ยเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายไปคืนจากคู่กรณีได้หากคู่กรณีนั้นเป็นฝ่ายผิดและก่อ ให้เกิดอุบัติเหตุนั้นขึ้น ถ้าหากไม่รู้ว่าคู่กรณีเป็นใครก็ทำ�ให้ไม่สามารถไปไล่เบี้ย เอาได้โดยสภาพ ฎีกา InTrend ขับรถชนแต่จำคู่กรณีไม่ได้ ประกันจะจ่ายหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 67 ในเรื่องของการแจ้งให้ทราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายได้นี้ คู่มือการตีความ กรมธรรม์ตามที่กำ�หนดโดยเลขาธิการคณะกรรมการกำ�กับและส่งเสริมการ ประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งเป็นนายทะเบียนกำ�หนดไว้ว่าอาจเป็นการระบุตัวผู้ ขับขี่รถยนต์คู่กรณีโดยตรงเลยก็ได้ เช่น เมื่อชนกันแล้วจอดรถลงมาพูดคุยและ มีการขอดูใบอนุญาติขับขี่รถหรือบัตรประจำ�ตัวประชาชนและถ่ายภาพไว้ หรือ หากไม่รู้ตัวผู้ขับขี่ก็จะต้องสามารถระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์คู่กรณีให้บริษัท ประกันภัยทราบได้ ซึ่งจะใช้ได้กับกรณีที่เมื่อเกิดเหตุแล้วไม่มีการมาพูดคุยกันแต่ อาจขับหนีไปเลย บังเอิญโดยเป็นคราเคราะห์ของนายเก้งที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น นายเก้งตกใจกับเหตุที่เกิดขึ้นและด้วยความเป็นห่วงครอบครัวที่อยู่ในรถจึง ฎีกา InTrend ขับรถชนแต่จำคู่กรณีไม่ได้ ประกันจะจ่ายหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 68 ไม่ทันได้รีบมองรถยนต์คู่กรณี จนรถยนต์คันดังกล่าวหนีไปไกลเกินกว่าจะเห็น เลขทะเบียนแล้ว แม้จะจำ�สีและยี่ห้อรถได้แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะรถยนต์ยี่ห้อ นั้นที่มีสีเดียวกันอาจมีมากจนเกินกว่าระบุได้ว่าเป็นรถคันใดกันแน่ จึงทำ�ให้เข้า ข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ที่บริษัทประกันภัยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ ในการหวังความคุ้มครองจากกรมธรรม์ เราอาจต้องศึกษาดูเงื่อนไข ตามกรมธรรม์ที่อุตส่าห์เสียเงินเสียทองจ่ายค่าเบี้ยประกันไปด้วยว่าให้ความ คุ้มครองกรณีใดบ้าง และมีเงื่อนไขอย่างไรที่ต้องทำ�เพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง ตามที่ต้องการอย่างเช่นกรณีการทำ ประกันภัยแบบคุ้มครองเฉพาะภัยนี้เมื่อ เกิดเหตุต้องรีบจดจำคู่กรณีให้ได้ แม้ไม่รู้ชื่อ อย่างน้อยก็ต้องจำ�เลขทะเบียน รถยนต์คู่กรณีไว้ให้ดีแล้วเราจะได้รับความคุ้มครองสมกับที่หวังไว้ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2561) ฎีกา InTrend ขับรถชนแต่จำคู่กรณีไม่ได้ ประกันจะจ่ายหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 69
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 70 ในการทำ�ธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ทุกวันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ชีวิตประจำ�วันของหลาย ๆ คน เพราะเป็นวิธีการที่ทุกคนมีช่องทางเข้าถึงได้โดย ไม่ต้องเสียเงินเสียทอง ถือเป็นช่องทางทำ�มาหากินที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็น กำ� วิธีการสร้างสีสันให้กับสื่อออนไลน์ที่ปรากฏแทบทุกครั้งคือการอาศัยภาพ ทั้งภาพนิ่งหรือเคลื่อนไหวเป็นวิดีโอมาประกอบทำ�ให้สินค้าที่เสนอขายดูดีและ น่าสนใจขึ้น พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการสร้างสีสันแบบนี้บางคนจึงเอาสะดวกเข้าว่า ไป “ก๊อปปี้” หรือทำสำ เนาภาพถ่ายที่คนอื่นทำขึ้นแล้วเอามาใช้กับสินค้าของ ตัวเอง ตอนนี้จึงจะนำ�ปัญหาของการกระทำ�แบบนี้มาพูดคุยกันว่าถ้าทำ�แบบนี้ เข้าจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอะไรบ้างหรือไม่ หรืออาจจะเกิดความรับผิดทาง กฎหมายแบบใดบ้าง ฎีกา InTrend “ก๊อป” ภาพคนอื่นมาใส่เว็บสินค้าตัวเองจะผิดหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 71 ฎีกา InTrend “ก๊อป” ภาพคนอื่นมาใส่เว็บสินค้าตัวเองจะผิดหรือไม่ นางสวยทำ�สินค้าเป็นผลิตภัณฑ์ครีมถนอมผิวที่โฆษณาบรรยาย สรรพคุณว่าจะทำ�ให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ดูอ่อนกว่าวัย ยิ่งใช้ผิวพรรณจะลดริ้ว รอยที่เกิดตามวัยให้น้อยลง นางสวยใช้การโฆษณาขายสินค้าของตนผ่านสื่อโซ เชียลมีเดียต่าง ๆ วันหนึ่ง นางสวยไปเห็นภาพโฆษณาของสินค้าของนางเกษที่ เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผิวพรรณเช่นกัน นางเกษได้ถ่ายภาพของบุคคลที่อ้าง ว่าเป็นลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของตนรายหนึ่งก่อนและหลังใช้สินค้าของนางเกษ เพื่อแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงว่าเมื่อใช้สินค้าของนางเกษแล้วจะทำ�ให้ ผิวพรรณเปล่งปลั่งดูอ่อนกว่าวัยขึ้น และริ้วรอยบนใบหน้าจะค่อย ๆ หายไป นางสวยจึง “ก๊อปปี้” ภาพดังกล่าวจากเว็บไซต์ของนางเกษแล้วนำ�ไปใส่ไว้ใน เว็บไซต์ของตนเพื่อแสดงว่าหากใช้ผลิตภัณฑ์ของนางสวยแล้วจะได้ผลอย่างที่ ปรากฏในภาพนั้น นางเกษมาพบเห็นเข้าจึงฟ้องดำ�เนินคดีกับนางสวย ปัญหาประการแรกคงเป็นเรื่องของ “ภาพถ่าย” ที่ไป “ก๊อปปี้” นี้ จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายเรื่อง “ลิขสิทธิ์” เพราะเป็นงานลักษณะหนึ่งที่กฎหมาย ลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองไว้ด้วย ในแง่หนึ่งอาจจะมองว่าการถ่ายภาพใบหน้าคน สองภาพแล้วนำ�มาประกอบเข้าด้วยกันให้เห็นความแตกต่าง ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง กับการสร้างสรรค์อะไรที่จะต้องไปคุ้มครอง ไม่เหมือนกับการแต่งนิยายที่มีการ ผูกเรื่องราวให้น่าสนใจและชวนติดตาม ในเรื่องนี้อาจจะทำ�ความเข้าใจได้ไม่ยากว่า ความคุ้มครองของ กฎหมายนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ “คุณค่าทางศิลปะ” ของภาพถ่ายนั้นว่าจะมี
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 72 ความสวยงาม ดูแล้วน่าชื่นชมมากน้อยเพียงใด เหตุผลประการหนึ่ง คงเป็นเพราะว่าคุณค่าทางศิลปะและความสวยงามนั้นมักเป็นเรื่องของ ความรู้สึกคนที่แตกต่างกันออกไป ภาพที่คนหนึ่งมองว่าสวย อีกคนอาจ บอกว่าดูแล้วไม่เห็นจะมีอะไรก็ได้ ในอีกแง่หนึ่ง แม้การถ่ายภาพที่ทุกวันนี้แทบทุกคนมี “กล้อง” พก พาติดตัว เพราะโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ก็มักมีกล้องมาให้ด้วยจะดูเหมือน ไม่ต้องใช้จิตนาการหรือความสามารถทางศิลปะของคนถ่ายสักเท่าใด แต่ทุก ครั้งที่เราหยิบกล้องมาถ่าย อย่างน้อยเราก็ต้องตัดสินใจเลือกมุมกล้องว่าจะ ถ่ายจากมุมใดภาพจึงจะออกมาตามที่ต้องการ จะมากจะน้อยการถ่ายภาพ จึงมีการใช้กำ�ลังความสามารถของเราไปทำ�ให้เกิดภาพถ่ายนั้นขึ้นมา แม้อาจ ฎีกา InTrend “ก๊อป” ภาพคนอื่นมาใส่เว็บสินค้าตัวเองจะผิดหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 73 จะไม่มากนัก แต่ก็เป็นไปตามลักษณะของการถ่ายภาพที่การทำ�เพียงแค่นั้นก็ ทำ�ให้เกิดภาพถ่ายได้แล้ว ทำ�ให้ “ภาพถ่าย” ที่ไม่ว่าจะสวยงามหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ด้วยอย่างหนึ่ง เมื่อนางสวยไป “ก๊อปปี้” ภาพถ่ายของนางเกษมา นางสวยจึง ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของนางเกษแล้ว ซึ่งอาจเกิดความรับผิดทั้งทางแพ่งและทาง อาญาได้ ปัญหาเรื่องนี้ยังมีอีกแง่มุมคือ การที่นางสวยนำ�ภาพของนางเกษ ไปประกอบในเว็บไซต์ในลักษณะที่จะสื่อทำ�นองว่าหากใช้ผลิตภัณฑ์ของนาง สวยแล้วจะได้ผลตามที่ปรากฏในภาพนั้น ทั้ง ๆ ที่ความจริงลูกค้าที่ปรากฏใน ภาพเป็นลูกค้าของนางเกษและการที่ได้ผลผิวพรรณเปล่งปลั่งเป็นเพราะการ ใช้สินค้าของนางเกษ ไม่ได้เกิดจากการใช้สินค้าของนางสวยอย่างที่นางสวย พยายามโฆษณา ฎีกา InTrend “ก๊อป” ภาพคนอื่นมาใส่เว็บสินค้าตัวเองจะผิดหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 74 ตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้กำ�หนด ไว้กรณีหนึ่งว่า การนำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ถือเป็นความ ผิดอาญาข้อหาหนึ่งด้วย การที่นางสวยนำ�ภาพของนางเกษไปประกอบในเว็บไซต์และใช้ ประกอบกับสินค้าของตนเอง นางสวยต้องการจะสื่อว่าผลลัพธ์ตามภาพเป็น สิ่งที่จะเกิดจากการใช้สินค้าของตน ซึ่งเป็นความเท็จที่จะทำ�ให้ประชาชนที่มา อ่านดูเว็บไซต์เข้าใจผิดไปว่าหากใช้สินค้าของนางสวยแล้วผิวพรรณตนเอง จะดูเปล่งปลั่งเหมือนบุคคลที่ปรากฏในภาพถ่าย จึงทำ�ให้การนำ�ภาพถ่ายดัง กล่าวไปใช้กับสินค้าของตนเองบนเว็บไซต์เป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วย ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้วย การโฆษณาขายสินค้าบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่สามารถทำ�ได้อยู่ แล้ว แต่การจะทำ�ในลักษณะใดก็ต้องอยู่ในกรอบกติกาที่ควรจะเป็นด้วย การไป นำภาพถ่ายของคนอื่นมาใช้จึงนอกจากจะถือว่าเป็นการก๊อปปี้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แล้ว หากนำ ไปใช้เพื่อทำ ให้ประชาชนเข้าใจข้อมูลที่ผิดยังอาจเป็นความผิดตาม กฎหมายเป็นอีกความผิดหนึ่งด้วย (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2561) ฎีกา InTrend “ก๊อป” ภาพคนอื่นมาใส่เว็บสินค้าตัวเองจะผิดหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 75
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 76 ฎีกา InTrend ซื้อคอนโดฯ แล้วเจอห้องกำ เนิดไฟฟ้าสำรองอยู่ข้างใต้ จะทำอย่างไร ทุกวันนี้การพักอาศัยในคอนโดมิเนียมเป็นเรื่องปกติของชีวิต คนเมือง แต่หากเมื่อซื้อแล้วเข้าไปพัก ปรากฏว่าข้างใต้ห้องที่เราซื้อมีห้อง สำหรับติดตั้งเครื่องกำ เนิดไฟฟ้าสำ รองอยู่ที่เวลาทำ งานจะทำ ให้ห้องเราสั่น สะเทือน มีเสียงดังรบกวน เราจะมีทางได้รับการเยียวยาหรือชดใช้อย่างไร บ้างหรือไม่ ปัญหานี้จะเป็นเรื่องที่เราจะนำ�มาพูดคุยกันในตอนนี้ สายใจต้องการที่จะหาที่พักอาศัยที่เป็นอาคารชุดคอนโดมิเนียมอยู่ ไม่ไกลจากตัวเมืองและอยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้า เพื่อจะได้เดินทางไปทำ�งานและทำ�กิจ ธุระได้สะดวก ตอนที่ไปติดต่อดูที่แผนกขายของโครงการแห่งหนึ่ง พนักงานขาย ได้นำ�ประกาศโฆษณาและแผนผังของห้องชุดมาให้ดูประกอบ ห้องที่สายใจ ต้องการจะซื้ออยู่ชั้นล่างของอาคารชุด พนักงานขายแจ้งว่าข้างล่างของห้อง ที่สายใจต้องการเป็นส่วนของชั้นจอดรถใต้ดิน สายใจดูแล้วชอบทำ�เลและ เห็นว่าราคาอยู่ในเกณฑ์ที่พอมีกำ�ลังจ่ายได้จึงได้ตกลงซื้อห้องชุดดังกล่าว ภายหลังเมื่อเข้าไปอยู่แล้วก็ไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้น
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 77 ฎีกา InTrend ซื้อคอนโดฯ แล้วเจอห้องกำ เนิดไฟฟ้าสำรองอยู่ข้างใต้ จะทำอย่างไร อยู่มาวันหนึ่งไฟฟ้าในอาคารชุดได้ดับลงกะทันหันในเวลากลางคืน หลังจากนั้นไม่นาน สายใจก็ได้ยินเสียงดังมาจากด้านล่างของห้องที่อาศัยอยู่ และรู้สึกได้ถึงการสั่นสะเทือนที่แม้จะไม่ได้ถึงขนาดเหมือนแผ่นดินไหว แต่ก็ทำ�ให้ พื้นห้องรู้สึกสั่น ๆ ในตอนเช้าจึงได้ไปติดต่อสอบถามจากนิติบุคคลอาคารชุดดู จึงทราบว่าบริเวณด้านล่างห้องที่สายใจอยู่เป็นห้องสำ�หรับติดตั้งเครื่องกำ�เนิด ไฟฟ้าสำ�รองที่จะทำ�งานเมื่อไฟฟ้าดับเพื่อทำ�ให้ลิฟท์โดยสารสามารถใช้งานได้
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 78 เมื่อสายใจแจ้งให้ทราบถึงอาการพื้นห้องสั่น เสียงดัง รวมถึงมี กลิ่นเผาไหม้และเขม่าควันมารบกวน นิติบุคคลอาคารชุดจึงได้ทำ�การปรับปรุง เครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าสำ�รองโดยการติดยางรองแท่นเครื่องและทำ�ฐานรับท่อ ระบายอากาศใหม่จากที่เคยยึดติดกับพื้นห้องของสายใจ แต่เมื่อใดที่เครื่องกำ�เนิด ไฟฟ้าสำ�รองทำ�งาน สายใจก็ยังรู้สึกได้ถึงอาการพื้นห้องสั่น ได้กลิ่นเผาไหม้และมี เสียงรบกวน สายใจจึงได้ฟ้องบริษัทเจ้าของโครงการและนิติบุคคลอาคารชุด ให้ดำ�เนินการย้ายเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าสำ�รองออกไปยังบริเวณอื่นที่ไม่รบกวน ห้องของสายใจ ปัญหาของเรื่องนี้คงต้องย้อนกลับไปดูตั้งแต่ตอนที่มีการตกลงทำ� สัญญาซื้อขาย หากตอนนั้นพนักงานขายได้แจ้งให้สายใจทราบแล้วว่าบริเวณ ด้านล่างของห้องที่จะซื้อมีห้องสำ�หรับติดตั้งเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าสำ�รองอยู่ แล้ว ฎีกา InTrend ซื้อคอนโดฯ แล้วเจอห้องกำ เนิดไฟฟ้าสำรองอยู่ข้างใต้ จะทำอย่างไร
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 79 สายใจก็ยังตัดสินใจซื้อ อาจจะด้วยเหตุที่ราคาถูกกว่าห้องอื่นหรือเหตุผลใดก็ แล้วแต่ ภายหลังสายใจคงจะมาบ่นว่าไม่ได้ว่าห้องที่ตนซื้อได้รับความเดือดร้อน จากการทำ�งานของเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าสำ�รอง กรณีที่เกิดขึ้นปรากฏว่าพนักงานขายนำ ใบประกาศโฆษณา โครงการและแผนผังอาคารมาให้สายใจดูประกอบการขายโดยบอกเพียงว่า ด้านล่างของห้องเป็นบริเวณที่จอดรถใต้ดิน แต่ปรากฏว่าความจริงไม่ได้เป็น แบบนั้น ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 ถือว่าประกาศโฆษณาและการรับรองของพนักงานขายที่ถือว่าทำ�แทนเจ้าของ โครงการนี้เป็นเหมือนส่วนหนึ่งของข้อตกลงในสัญญาว่าสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับ จะเป็นไปตามประกาศหรือการรับรองนั้น จึงเท่ากับว่าเจ้าของโครงการรับรอง ว่าบริเวณด้านล่างของห้องที่สายใจจะซื้อเป็นเพียงบริเวณที่จอดรถเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นไปตามที่รับรอง เจ้าของโครงการจึงเกิดความรับผิด ต่อผู้ซื้อ ปัญหาประการต่อมาคงเป็นเรื่องของการเยียวยาที่สายใจขอให้ ย้ายเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าสำ�รองไปอยู่บริเวณอื่นที่ไม่รบกวนห้องของตนเอง แต่โดยสภาพของอาคารที่มีการออกแบบมาโดยเฉพาะ การย้ายเครื่อง กำ�เนิดไฟฟ้าสำ�รองที่มีขนาดใหญ่และต้องการพื้นที่สำ�หรับติดตั้งจึงหาที่ ใหม่ไม่ได้ การจะรื้อออกไปก็คงไม่ได้เช่นกันเพราะอาคารจำ�เป็นต้องมีเครื่อง กำ�เนิดไฟฟ้าสำ�รองไว้ยามฉุกเฉิน นอกจากนั้น การจะเปลี่ยนโครงสร้างของ ฎีกา InTrend ซื้อคอนโดฯ แล้วเจอห้องกำ เนิดไฟฟ้าสำรองอยู่ข้างใต้ จะทำอย่างไร
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 80 โครงการในเรื่องสำคัญเช่นนี้ต้องอาศัยความยินยอมโดยมติของเจ้าของร่วม ในอาคารชุดนั้นด้วย การย้ายเครื่องกำ เนิดไฟฟ้าจึงไม่สามารถทำ ได้ ในกรณีนี้แม้ว่าสายใจจะไม่ได้ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน แต่ เมื่อวิธีการเยียวยาที่สายใจขอมาไม่สามารถทำ�ได้ ศาลฎีกาจึงได้กำหนดวิธี การบังคับให้เหมาะสมกับกรณีด้วยการให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงินแทน แม้จะเป็นเรื่องที่เกินไปจากที่สายใจซึ่งเป็นโจทก์ขอมาก็ตาม นอกจากนั้น ลักษณะการประกอบธุรกิจแบบนี้ของเจ้าของโครงการ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างไม่รับผิดชอบต่อผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของตนเองว่าผู้บริโภค ฎีกา InTrend ซื้อคอนโดฯ แล้วเจอห้องกำ เนิดไฟฟ้าสำรองอยู่ข้างใต้ จะทำอย่างไร
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 81 จะได้รับความเสียหายอย่างใดหรือไม่ ศาลฎีกาจึงได้กำ�หนด “ค่าเสียหายเพื่อ การลงโทษ” เพิ่มให้อีกสองเท่าของจำนวนค่าเสียหายที่กำหนดให้ชดใช้ แต่สำ�หรับนิติบุคคลอาคารชุดที่ถูกฟ้องมาด้วยนั้น เนื่องจากเป็น เพียงผู้ที่มาบริหารโครงการในภายหลัง ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการ โฆษณาขายโครงการที่มีการแสดงข้อความที่เป็นเท็จ นิติบุคคลอาคารชุดจึงไม่ ได้กระทำ�ผิดอะไรจึงไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายต่อสายใจ เรื่องนี้คงเป็นบทเรียนสอนใจสำ�หรับผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลายที่ใน การทำ�ธุรกิจของต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าและผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้า หรือใช้บริการของตน หากรับรองหรือโฆษณาอะไรไปจนทำ�ให้ผู้บริโภคตกลงทำ� สัญญาด้วย แม้ข้อที่รับรองหรือโฆษณานั้นจะไม่มีเขียนในสัญญาที่ทำ�ขึ้นภาย หลัง ข้อเหล่านั้นก็ยังผูกพันที่ตามมาหลอนได้หากมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นตามมา และทำ�ให้ต้องรับผิดที่อาจไม่เพียงค่าเสียหายธรรมดา แต่อาจต้องชดใช้มากขึ้น กว่าปกติต้องเสีย “ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ” อีกด้วย (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2562) ฎีกา InTrend ซื้อคอนโดฯ แล้วเจอห้องกำ เนิดไฟฟ้าสำรองอยู่ข้างใต้ จะทำอย่างไร
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 82
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 83 ในการค้ำ�ประกันหนี้ทั้งหลาย บางครั้งเจ้าหนี้อาจจะเรียกให้ลูกหนี้ ต้องหาผู้ค้ำ�ประกันมามากกว่าหนึ่งคน เพราะความน่าเชื่อถือของผู้ค้ำ�ประกัน คนเดียวอาจไม่พอ แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือ หากผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไปแล้ว ผู้ค้ำประกันที่ชำระหนี้ไปจะมีสิทธิอย่างไรบ้างต่อผู้ค้ำ ประกันอีกคนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเรียกให้ผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งนั้นชำระ หนี้ให้แก่ตนได้หรือไม่ อุทัยไปติดต่อขอสินเชื่อเงินกู้จากธนาคารแห่งหนึ่ง จำ�นวน 2,500,000 บาท ธนาคารกำ�หนดให้อุทัยต้องหาผู้ค้ำ�ประกันมาค้ำ�ประกัน หนี้รายนี้ด้วยจึงจะตกลงให้กู้ อุทัยจึงได้ติดต่อสมศักดิ์มาเป็นผู้ค้ำ�ประกัน แต่ธนาคารแจ้งว่าสมศักดิ์คนเดียวมีสถานะทางการเงินไม่พอที่จะค้ำ� ประกันหนี้ทั้งหมดได้ ให้อุทัยไปหาผู้ค้ำ�ประกันเพิ่ม อุทัยจึงได้ติดต่อสมศรี ฎีกา InTrend ค้ำประกันด้วยกัน ใช้หนี้แล้วจะเรียกจากผู้ค้ำประกันอีกคนได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 84 ฎีกา InTrend ค้ำประกันด้วยกัน ใช้หนี้แล้วจะเรียกจากผู้ค้ำประกันอีกคนได้หรือไม่ มาเป็นผู้ค้ำ�ประกันด้วยอีกคนหนึ่ง ธนาคารจึงตกลงให้อุทัยกู้ยืมเงินได้ โดย ให้สมศักดิ์และสมศรีทำ�สัญญาค้ำ�ประกันให้ไว้ด้วยเป็นสัญญาคนละฉบับกัน ต่อมาอุทัยผิดนัดชำ�ระหนี้ ธนาคารจึงได้เรียกร้องให้ผู้ค้ำ�ประกันชำ�ระหนี้ ด้วย ความที่เกรงว่าภาระดอกเบี้ยจะสูงขึ้นไปมากหากชำ�ระหนี้ล่าช้า สมศรีจึงได้นำ� เงินไปชำ�ระหนี้ให้แก่ธนาคารรวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 3,000,000 บาท จากนั้นสมศรีจึงได้ฟ้องอุทัยและสมศักดิ์ให้ร่วมกันชำ�ระหนี้เป็นจำ�นวนเงิน ทั้งหมดที่ตนได้ชำ�ระหนี้ให้แก่ธนาคารไปก่อน การที่ผู้ค้ำ�ประกันได้ชำ�ระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปตามสัญญาที่ตัวเองทำ� ไว้นั้นเป็นหนี้หรือหน้าที่ปกติของผู้ค้ำ�ประกันที่ตกลงไว้ เพราะการมีผู้ค้ำ�ประกัน ก็เพื่อประโยชน์ในยามที่ลูกหนี้ผิดนัดขึ้นมา เมื่อชำระหนี้ไปแล้ว ผู้ค้ำประกัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 85 ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่เป็นคนทำ สัญญากู้ยืมชดใช้เงินทั้งหมด คืนให้แก่ตนเองพร้อมดอกเบี้ยได้ ซึ่งก็เป็นสิทธิตามปกติของผู้ค้ำ�ประกันอีกเช่น กัน เพราะคนที่ยืมเงินไปจากเจ้าหนี้ก็คือตัวลูกหนี้ที่ไปขอกู้ เมื่อมีคนยอมไปจ่าย เงินให้แทนตนก็ต้องมีหน้าที่ต้องชดใช้คืนให้แก่ผู้ค้ำ�ประกันที่ชำ�ระหนี้ไปด้วยเช่น กัน สิทธินี้เรียกว่า “สิทธิไล่เบี้ย” ในส่วนของอุทัยคงไม่มีข้อโต้แย้งอะไรที่จะมา ปฏิเสธหน้าที่ส่วนนี้ได้ ปัญหาของกรณีนี้คงเป็นในส่วนของ “สมศักดิ์” ที่เป็นผู้ค้ำ�ประกัน ด้วยอีกคนหนึ่งว่าเมื่อสมศรีที่ก็เป็นผู้ค้ำ�ประกันเหมือนกับสมศักดิ์ได้ชำ�ระหนี้ไป ในระหว่างสมศรีกับสมศักดิ์จะมีสิทธิที่จะเรียกร้องอะไรในระหว่างกันได้หรือไม่ การที่ผู้ค้ำ�ประกันชำ�ระหนี้ไปนี้ สิทธิที่ผู้ค้ำ�ประกันอย่างเช่นสมศรี ได้มาประการหนึ่งคือการ “รับช่วงสิทธิ” ที่เป็นสิทธิเดิมที่เจ้าหนี้เคยมีอยู่กับตัว ลูกหนี้ เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก็จะสามารถเข้าไปรับช่วงสิทธิที่เจ้าหนี้เคยมีอยู่ ฎีกา InTrend ค้ำประกันด้วยกัน ใช้หนี้แล้วจะเรียกจากผู้ค้ำประกันอีกคนได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 86 โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับบรรดาหลักประกันต่าง ๆ ที่เจ้าหนี้เคยมีอยู่ได้ โดย ผู้ค้ำ�ประกันอาจมีสิทธิดำ�เนินการบังคับเกี่ยวกับหลักประกันเหล่านั้นได้เท่าที่จะ สามารถทำ�ได้ สิทธิที่จะเรียกร้องต่อผู้ค้ำ�ประกันก็เป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เจ้าหนี้ เคยมีอยู่ ดังนั้น สมศรีซึ่งเป็นผู้ค้ำ�ประกันที่ชำ�ระหนี้ไปก็ได้รับช่วงสิทธินี้มาด้วย แต่อาจจะไม่ได้ทั้งหมด ในกรณีนี้สมศรีกับสมศักดิ์ต่างเป็นผู้ค้ำ�ประกัน และทำ�สัญญาค้ำ� ประกันเป็นสัญญาที่แยกกันสองฉบับ แต่ในแง่กฎหมายแล้ว แม้ผู้ค้ำประกันสอง รายหรือมากกว่านั้นจะเข้าทำสัญญาหนี้รายเดียวกันคนละโอกาสหรือคนละ คราวกันก็ตาม แต่ก็ถือว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีสถานะเป็น “ลูกหนี้ร่วม” กัน ซึ่งตามปกติแล้วมีผลที่สำ�คัญคือเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำ�ประกันคนใดคนหนึ่ง ชำ�ระหนี้ทั้งหมดเลยก็ย่อมได้หากไม่เกินวงเงินค้ำ�ประกัน ไม่ได้ต้องแบ่งแยกว่าจะ เรียกจากผู้ค้ำ�ประกันคนหนึ่งได้เฉพาะตามอัตราส่วนใด ๆ ฎีกา InTrend ค้ำประกันด้วยกัน ใช้หนี้แล้วจะเรียกจากผู้ค้ำประกันอีกคนได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 87 ในระหว่างคนที่เป็น “ลูกหนี้ร่วม” กันนี้ จะมีความรับผิดของ แต่ละคนมากน้อยเพียงใดก็ย่อมเป็นเรื่องที่จะตกลงกัน แต่หากไม่ได้มีการตกลง กัน โดยเฉพาะกรณีของสมศักดิ์และสมศรีนี้ที่ต่างคนต่างทำ�สัญญาค้ำ�ประกัน คนละฉบับกัน ตามกฎหมายถือว่าในระหว่างคนที่เป็นลูกหนี้ร่วมนี้ตกลงรับ ผิดเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กัน เท่ากับว่าสมศักดิ์กับสมศรีแบ่งแยกความรับผิด กันคนละครึ่ง แม้สมศรีจะได้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ที่จะมาเรียกร้องจากผู้ค้ำ� ประกันได้ แต่ด้วยความที่ระหว่างกันเองอาจแบ่งแยกความรับผิดได้เป็นส่วน คนละครึ่ง สมศรีจึงมีสิทธิเรียกร้องจากสมศักดิ์ได้เพียงครึ่งหนึ่งหรือในยอดเงิน 1,500,000 บาท เท่านั้น การเป็นผู้ค้ำ�ประกันนั้นเมื่อมาร่วมหัวจมท้ายร่วมกันเป็นประกันให้ กับเจ้าหนี้ เมื่อผู้ค้ำ�ประกันรายหนึ่งชำ�ระหนี้ไป ผู้ค้ำ�ประกันคนอื่นคงต้องร่วม แบ่งเบาภาระนั้นด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้ค้ำ�ประกันไปหาทางเอาเงินคืนจากลูกหนี้ แต่อย่างเดียว เพราะโดยสภาพหากลูกหนี้มีเงินหรือทรัพย์สินมากพอก็คงไม่ ผิดนัดชำ�ระหนี้แต่แรก แต่การแบ่งเบานี้ถ้าไม่มีข้อตกลงอะไรกันเป็นพิเศษก็คง เป็นการช่วยรับผิดกันแบบ “คนละครึ่ง” (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 7028/2562) ฎีกา InTrend ค้ำประกันด้วยกัน ใช้หนี้แล้วจะเรียกจากผู้ค้ำประกันอีกคนได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 88
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 89 ในการแย่งชิงสิทธิในทรัพย์สินอย่างเช่นที่ดินนั้น บางครั้งมีผู้ที่ อ้างว่าตนมีสิทธิในที่ดินนั้นหลายราย ต่างคนต่างก็ได้สิทธิด้วยวิธีการที่แตก ต่างกัน และมีที่มาของสิทธิไม่เหมือนกัน ทำ�ให้เมื่อต่างคนต่างอ้างสิทธิก็เป็น เรื่องว่าสิทธิของใครมีภาษีดีกว่ากัน ในกรณีที่จะกล่าวถึงนี้เป็นกรณีของที่ดิน ที่มีผู้ครอบครองปรปักษ์ แต่ที่ดินนั้นถูกบังคับคดีขายทอดตลาดจนมีผู้ซื้อ ทรัพย์ไป จึงต้องมาดูกันว่าระหว่างสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินกับผู้ ที่ซื้อทรัพย์ไปจากการขายทอดตลาดนั้นสิทธิของใครจะอ้างได้มากกว่ากัน ฎีกา InTrend ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินกับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ใครมีสิทธิดีกว่ากัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 90 ฎีกา InTrend ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินกับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ใครมีสิทธิดีกว่ากัน นางกลอยได้ซื้อที่ดินผืนหนึ่งจากนายศักดิ์ แต่เนื่องจากที่ดินดัง กล่าวติดจำ�นองหนี้เงินกู้รวมอยู่กับที่ดินแปลงอื่นจึงไม่สามารถนำ�มาโอนทาง ทะเบียนให้นางกลอยได้ แต่นางกลอยก็ได้ย้ายเข้าไปอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าว มากว่า 20 ปี ในระหว่างนั้นปรากฏว่าหนี้เงินกู้มีการผิดนัดชำ�ระหนี้จนเป็นเหตุ ให้ธนาคารเจ้าหนี้ยึดที่ดินที่จดทะเบียนจำ�นองไว้ทุกแปลงมาขายทอดตลาด เพื่อบังคับชำ�ระหนี้ตามคำ�พิพากษา นางศรีได้ประมูลซื้อที่ดินแปลงเดียวกับที่ นางกลอยอยู่อาศัยได้จากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ต่อมานางศรี ได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นางสาย นางสายจึงได้มาฟ้องขับไล่นางกลอย ออกจากที่ดิน นางกลอยไม่ยอมออกโดยอ้างว่าตนเองได้กรรมสิทธิในที่ดินแปลง ดังกล่าวเนื่องจากครอบครองโดยสงบและเปิดเผยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี สถานการณ์ของนางกลอยนั้นมีปัญหามาตั้งแต่ตอนที่ซื้อที่ดิน แปลงที่มีปัญหา แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินกับพนักงาน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 91 เจ้าหน้าที่ แม้ว่าสาเหตุของการไม่ได้จดทะเบียนจะเป็นเพราะที่ดินติด จำ�นองอยู่ เจ้าหนี้จึงไม่ยินยอมให้นำ�โฉนดที่ดินไปทำ�นิติกรรมเปลี่ยน มือเจ้าของได้ ผลของการที่ซื้อขายที่ดินแต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนคือ ทำ�ให้สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนางกลอยกับนายศักดิ์ตกเป็นโมฆะ หรือเสียเปล่าไม่มีผลทางกฎหมายไป เพราะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ได้ ทำ ตาม “แบบ” ที่กฎหมายกำหนดซึ่งก็คือการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ อย่างเช่นที่ดินจะต้องทำ�สัญญากันเป็นหนังสือประการหนึ่ง และต้องไปจด ทะเบียนการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทางที่ดิน แต่เมื่อ ไม่ทำ�ให้ครบถ้วนจึงถือว่าสัญญาซื้อขายนี้ไม่มีผลบังคับทางกฎหมายไป แม้สัญญาซื้อขายจะมีปัญหาดังกล่าว แต่นายศักดิ์ก็ได้มอบการ ครอบครองที่ดินแปลงนี้ให้แก่นางกลอยซึ่งได้อยู่อาศัยในที่ดินแปลงนี้มานาน ฎีกา InTrend ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินกับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ใครมีสิทธิดีกว่ากัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 92 เกินกว่า 10 ปี กรณีนี้อาจถือได้ว่านางกลอยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นไป ด้วยการ “ครอบครองปรปักษ์” แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่อีกว่าสิทธิของนางกลอย ที่ได้มานี้ก็ยังไม่มีการจดทะเบียนให้เป็นเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียน ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดจึงยังเป็นชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมอยู่ ในอีกทางหนึ่ง นางศรีได้เข้าไปประมูลซื้อที่ดินแปลงเดียวกันนี้จาก การขายทอดตลาดที่เกิดขึ้นจากการบังคับคดีในคดีที่เจ้าหนี้จำ�นองที่ดินแปลงนั้น ฟ้องลูกหนี้และบังคับจำ�นองเอากับที่ดิน และได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อ เป็นของนางศรีเรียบร้อยแล้ว กรณีนางศรีจึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เนื่องจากถือว่าเป็น “ผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่ง ศาล” ที่จะทำ�ให้นางศรีได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อไปแม้ว่าจะปรากฏข้อเท็จจริง ต่อมาภายหลังว่าทรัพย์นั้นไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ที่ถูกศาลพิพากษา ก็ตาม การที่กฎหมายกำ�หนดให้ความคุ้มครองในลักษณะดังกล่าวเป็น เพราะต้องการให้ความเชื่อมั่นกับผู้ซื้อทรัพย์ในกระบวนการบังคับคดีตาม กฎหมายว่าเมื่อซื้อทรัพย์ไปแล้วจะไม่มีปัญหาใด ๆ ที่จะทำ�ให้ผู้ซื้อทรัพย์นั้นต้อง เสียสิทธิในทรัพย์นั้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเช่นนี้ นางศรีเข้าไปประมูลที่ดิน แปลงดังกล่าวโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านางศรีรู้มาก่อนว่าที่ดินได้มีการครอบ ครองปรปักษ์โดยบุคคลอื่นไปแล้วจึงถือว่านางศรีได้กระทำ�การไปโดยสุจริต ในส่วนของนางสายที่ซื้อที่ดินต่อจากนางศรีอีกทอดหนึ่งนั้น เมื่อ สิทธิที่นางศรีมีอยู่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว สิทธิของนางสาย ฎีกา InTrend ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินกับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ใครมีสิทธิดีกว่ากัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 93 ย่อมได้รับความคุ้มครองในลักษณะเดียวกัน ผลจึงทำ�ให้แม้จะปรากฏข้อเท็จ จริงว่าความจริงแล้วนางกลอยจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ไปด้วยการ ครอบครองปรปักษ์แล้วก็ตาม แต่สิทธิของนางกลอยดังกล่าวก็ไม่อาจใช้ยัน ต่อนางสายได้ นางสายจึงมีสิทธิขับไล่นางกลอยออกจากที่ดินแปลงนี้ได้ บทเรียนของเรื่องนี้คงมีได้ว่าหากมีการซื้อขายที่ดินกันก็ต้อง ทำ�การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์กันให้เรียบร้อยมิฉะนั้นอาจทำ�ให้ สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะไปได้ และแม้จะครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์โดยการ ครอบครองปรปักษ์ แต่หากมีผู้ที่ซื้อทรัพย์นั้นไปโดยสุจริตจากการขายทอด ตลาดตามคำสั่งศาล ผู้ที่ซื้อทรัพย์จากกรณีดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครอง ไม่เสียสิทธิในทรัพย์นั้นไปแม้ภายหลังจะมีปัญหาว่าความจริงทรัพย์อาจไม่ใช่ กรรมสิทธิ์ของลูกหนี้จริง ๆ ก็ตาม (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2562) ฎีกา InTrend ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินกับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ใครมีสิทธิดีกว่ากัน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 94
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 95 เรื่องราวของทายาทที่มีเรื่องมีราว ทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นดราม่าใน คดีต่าง ๆ มากมาย แต่บางครั้งผลที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เจ้ามรดกเองได้ ทำ�ไว้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อเจ้ามรดกตัดทายาทบางคนไม่ให้รับมรดก แต่ปัญหาที่ จะนำ�มาเล่าสู่กันฟังในที่นี้เกิดขึ้นเพราะหลังจากตัดทายาทบางคนไม่ให้รับมรดก แล้ว ตัวเจ้ามรดกเองได้ทำ�การบางอย่างที่เหมือนจะถอนการตัดที่ตนทำ�ไปเสีย แต่ประเด็นสำ�หรับเราคือ การทำ�การเหล่านี้ของเจ้ามรดกสุดท้ายจะมีผลต่อ ทายาทที่เกี่ยวข้องอย่างไร โดยเฉพาะสิทธิต่าง ๆ ในฐานะทายาท เช่นการขอ เป็นผู้จัดการมรดก นายไทยมีความสัมพันธ์กับนางสาวกุ้งจนมีบุตรสาวหนึ่งคน ชื่อนางสาวไก่ นายไทยได้ให้การรับรองนางสาวไก่ว่าเป็นบุตรโดยการให้ ฎีกา InTrend ทายาทที่ถูกตัดไม่ให้รับมรดก แต่อ้างว่าเจ้ามรดกถอนการตัดแล้ว จะขอถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 96 ฎีกา InTrend ทายาทที่ถูกตัดไม่ให้รับมรดก แต่อ้างว่าเจ้ามรดกถอนการตัดแล้ว จะขอถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ ใช้นามสกุลและแจ้งในเอกสารต่าง ๆ ระบุว่าเป็นบิดานางสาวไก่ ต่อมาเมื่อ นายไทยอายุมากแล้ว นายไทยมีความไม่พอใจในการกระทำ�บางอย่างของ นางสาวไก่จึงไม่ต้องการยกมรดกให้นางสาวไก่ นายไทยได้ไปดำ�เนินการ ที่ที่ว่าการอำ�เภอแสดงเจตนาทำ�เป็นหนังสือขอตัดนางสาวไก่ไม่ให้มีสิทธิ ได้รับมรดก ต่อมานายไทยถึงแก่ความตาย ศาลมีคำ�สั่งตั้งนายเที่ยงซึ่ง เป็นบุตรอีกคนหนึ่งของนายไทยเป็นผู้จัดการมรดก นายเที่ยงไม่ยอมแบ่ง มรดกให้แก่นางสาวไก่ นางสาวไก่จึงมาฟ้องขอถอนนายเที่ยงจากการเป็น ผู้จัดการมรดก นางสาวไก่อ้างว่าแม้นายไทยจะได้เคยทำ�หนังสือตัดตนไม่ ให้รับมรดก แต่ปรากฏว่าในเอกสารดังกล่าวมีข้อความในมุมด้านหนึ่งระบุ ว่าได้มีหนังสือถอนการตัดทายาทคือนางสาวไก่แล้ว และลงลายมือชื่อ นายอำ�เภอ ข้อความดังกล่าวลงวันที่วันเดียวกับหนังสือตัดไม่ให้รับมรดก
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 97 นางสาวไก่จึงถือว่าตนเองยังเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกที่มีส่วนได้เสีย ที่จะขอให้ถอนผู้จัดการมรดกได้ การที่จะร้องขอให้ถอนผู้จัดมรดกได้นั้นโดยหลักมักเป็นกรณีที่อ้าง ว่าผู้จัดการมรดกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งหน้าที่ที่สำ�คัญคือการจัดการและแบ่งปัน ทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะมีสิทธิร้องขอถอนผู้จัดการ มรดกได้จะต้องเป็น “ผู้มีส่วนได้เสีย” ในทรัพย์มรดกด้วย เพราะหากให้บุคคล ใดก็ได้สามารถมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดกก็คงเกิดกรณีที่มีการร้องขอถอน โดยที่ผู้ที่ร้องขอถอนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองมรดกและทำ�ให้เกิดความยุ่ง ยากและเป็นอุปสรรคขัดขวางการจัดการมรดกได้ง่าย ปัญหาสำ หรับกรณีของนางสาวไก่จึงอยู่ที่ว่าสถานะของนางไก่ ตามกฎหมายถือว่าเป็น “ผู้มีส่วนได้เสีย” พอที่จะขอถอนผู้จัดการมรดกหรือไม่ ฎีกา InTrend ทายาทที่ถูกตัดไม่ให้รับมรดก แต่อ้างว่าเจ้ามรดกถอนการตัดแล้ว จะขอถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 98 นางสาวไก่เป็นบุตรนอกสมรสของเจ้ามรดก แต่เนื่องจากเจ้ามรดก เคยทำ การรับรองต่อบุคคลภายนอกว่านางสาวไก่เป็นบุตรของตนคนหนึ่ง นางสาวไก่จึงอยู่ในข่ายที่จะถือว่าเป็น “ทายาท” ของเจ้ามรดก แต่ปรากฏว่า นายไทย ซึ่งเป็นเจ้ามรดกได้เคยไปทำหนังสือแสดงเจตนาที่จะตัดนางสาวไก่ไม่ ให้มีสิทธิได้รับมรดก ผลของการกระทำ ดังกล่าวจึงทำ ให้นางสาวไก่ไม่ได้อยู่ใน สถานะที่เป็น “ทายาท” ที่จะมีสิทธิได้รับมรดกที่จะทำ�ให้เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะ ขอถอนผู้จัดการมรดกไปด้วย ประเด็นประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในคดีเรื่องนี้คือปรากฏว่ามีข้อความ เขียนด้วยลายมือของนายอำ�เภอระบุว่ามีการทำ�หนังสือขอถอนการตัดไม่ให้รับ มรดก โดยลงวันที่วันเดียวกันกับที่ทำ�หนังสือตัดไม่ให้รับมรดก ผลของการมี ข้อความดังกล่าวจะมีผลอย่างไรต่อการตัดไม่ให้รับมรดกที่ทำ�ไปก่อนหน้านั้น การถอนการตัดไม่ให้รับมรดกที่ทำ โดยการทำ เป็นหนังสือมอบ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่นั้นจะถอนได้โดยสองวิธีการ วิธีแรกคือการทำ พินัยกรรมระบุยกทรัพย์สินให้ทายาทที่ถูกตัดไปนั้นภายหลังวันที่มีการ แสดงเจตนาตัดไม่ให้รับมรดก วิธีที่สองคือทำ เป็นหนังสือมอบให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ในลักษณะเดียวกันกับที่ทำ�การตัดไม่ให้รับมรดก แม้กรณีนี้จะมีข้อความว่ามีการทำ�หนังสือขอถอนการตัดไม่ให้ รับมรดกเขียนอยู่ แต่ไม่ปรากฏว่ามีหนังสือฉบับดังกล่าวจริง ๆ ผลจึงเท่ากับ ว่าไม่ได้มีการทำ�การถอนการตัดไม่ให้รับมรดกให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมาย ฎีกา InTrend ทายาทที่ถูกตัดไม่ให้รับมรดก แต่อ้างว่าเจ้ามรดกถอนการตัดแล้ว จะขอถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 99 กำ�หนดให้ครบถ้วน เพราะในส่วนการตัดนั้นมีหลักฐานปรากฏชัดเจนเป็นหนังสือ ที่ทำ�ขึ้น แต่การถอนการตัดไม่มีหลักฐานที่กฎหมายกำ�หนดมาแสดง เท่ากับ การแสดงเจตนาตัดไม่ให้รับมรดกยังมีผลอยู่ ดังนั้น นางสาวไก่จึงไม่มีฐานะ เป็นทายาทของนายไทย ทำ�ให้ไม่มีสิทธิร้องขอถอนผู้จัดการมรดกไปด้วย กรณีนี้ความเป็นจริงเจ้ามรดกมีเจตนาและทำ�อย่างไรไปบ้างอาจ จะระบุได้ยากเพราะไม่อยู่ให้ถามไถ่แล้ว แต่หากตนเองแสดงเจตนาตัดทายาท คนใดไม่ให้รับมรดกไปแล้ว การที่จะลบล้างผลที่ตนเองทำ�ไปจึงต้องระมัดระวัง ทำ�ให้ถูกต้องครบถ้วนด้วย มิฉะนั้นอาจจะไม่บังเกิดผลตามที่ต้องการและส่ง ผลต่อทายาทของตนโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้ ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกันกับการกระทำ� อีกมากมายหลายอย่างที่กฎหมายกำ�หนดกรรมวิธีไว้โดยเฉพาะที่ต้องทำ�จึง จะทำ�ให้เกิดผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอย่างที่มุ่งหวัง (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 6284/2562) ฎีกา InTrend ทายาทที่ถูกตัดไม่ให้รับมรดก แต่อ้างว่าเจ้ามรดกถอนการตัดแล้ว จะขอถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 100