สำ�นักงานศาลยุติธรรม 101 ปัญหาระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่ ปัญหาในตอนนี้คงเป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าอยู่ในทรัพย์สิน ที่เช่าต่อไปภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว แต่ต่อมาผู้ให้เช่าต้องการ จะให้ผู้เช่าออกไปจากทรัพย์สินที่เช่า ผู้ให้เช่าจะมีสิทธิในกรณีดังกล่าวนี้ มากน้อยเพียงใดและจะต้องดำ�เนินการอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย สมศักดิ์ทำ�สัญญาเช่าที่ดินจากบริษัทไทยเจริญ จำ�กัด มาทำ�ตลาด มีกำ�หนดเวลา 10 ปี ครบกำ�หนดสัญญาวันที่ 31 ธันวาคม 2550 สมศักดิ์ทำ� สัญญาให้ศักดิ์ชัยเช่าพื้นที่ส่วนหนึ่งทำ�ร้านขายของในตลาดมีระยะเวลาครบ กำ�หนดวันเดียวกับที่สัญญาระหว่างสมศักดิ์กับบริษัทไทยเจริญฯ ครบกำ�หนด โดยศักดิ์ชัยตกลงจ่ายค่าเช่าให้สมศักดิ์ในอัตราเดือนละ 600 บาท ต่อมาเมื่อ ฎีกา InTrend สัญญาเช่าหมดอายุแล้วผู้ให้เช่ายอมให้อยู่ต่อ ถ้าจะเลิกให้ผู้เช่าอยู่ต่อจะต้องทำอย่างไร
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 102 ฎีกา InTrend สัญญาเช่าหมดอายุแล้วผู้ให้เช่ายอมให้อยู่ต่อ ถ้าจะเลิกให้ผู้เช่าอยู่ต่อจะต้องทำอย่างไร ครบกำ�หนดสัญญาเช่าที่สมศักดิ์ทำ�กับบริษัทไทยเจริญฯ ก็ยังไม่มีการตกลงทำ� สัญญาเช่าใหม่ ระหว่างนั้นศักดิ์ชัยก็ยังเปิดร้านขายของตลอดมาโดยยังคงเสีย ค่าเช่าให้แก่สมศักดิ์อยู่เช่นเดิม ต่อมาสมศักดิ์ตกลงทำ�สัญญาเช่าฉบับใหม่กับบริษัทไทยเจริญฯ ได้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2555 สมศักดิ์ต้องการให้ศักดิ์ชัยทำ�สัญญาเช่าใหม่ เพราะต้องการคิดค่าเช่าเพิ่มตามอัตราค่าเช่าใหม่ที่สมศักดิ์ต้องเสียให้แก่บริษัท ไทยเจริญฯ ศักดิ์ชัยไม่ยินยอม แต่ยังจ่ายค่าเช่าในอัตราเดิมให้แก่สมศักดิ์ จน กระทั่งวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 สมศักดิ์ปฏิเสธไม่ยอมรับค่าเช่าในอัตราเดิม ที่ศักดิ์ชัยนำ�มาจ่าย และส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาให้ศักดิ์ชัยย้ายของออกไป จากที่เช่าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 เมื่อศักดิ์ชัยไม่ยอมออก สมศักดิ์จึงฟ้องให้ขับไล่ศักดิ์ชัยและให้จ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าเช่าใหม่ตั้งแต่วัน ที่ 1 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 103 ปัญหาของเรื่องนี้ประการแรกคงเป็นเรื่องที่เมื่อสัญญาเช่าครบ กำ�หนดแล้ว หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสมศักดิ์กับศักดิ์ชัยว่าจะมีความ ผูกพันกันในฐานะใด และมีความผูกพันอย่างไรต่อกัน เดิมแม้สมศักดิ์และศักดิ์ชัยจะทำ�สัญญาเช่าต่อกัน แต่สัญญา เช่าดังกล่าวครบกำ�หนดไปแล้วพร้อม ๆ กับสัญญาเช่าพื้นที่ที่สมศักดิ์ทำ� กับเจ้าของที่ดินด้วย กว่าที่สมศักดิ์จะทำ�สัญญาเช่าฉบับใหม่กับเจ้าของ ที่ดินได้เวลาล่วงเลยไปร่วม 5 ปี แต่การที่ศักดิ์ชัยยังคงอยู่ในที่เช่าต่อมา และจ่ายค่าเช่าให้แก่สมศักดิ์ซึ่งก็ยังรับค่าเช่าดังกล่าวแต่โดยดีถือได้ว่า ผู้ให้ เช่าและผู้เช่าคือสมศักดิ์และศักดิ์ชัยตกลงทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยปริยาย ตามพฤติการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายแสดงออกมา ข้อแตกต่างที่เกิดขึ้นกับสัญญา ที่ถือว่าทำ�กันใหม่นี้คือถือว่าสัญญาเช่าที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นสัญญาเช่าที่ไม่มี กำหนดระยะเวลา ในขณะที่สัญญาเช่าเดิมมีกำ�หนดระยะเวลา 10 ปี ฎีกา InTrend สัญญาเช่าหมดอายุแล้วผู้ให้เช่ายอมให้อยู่ต่อ ถ้าจะเลิกให้ผู้เช่าอยู่ต่อจะต้องทำอย่างไร
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 104 ศักดิ์ชัยโต้แย้งประการหนึ่งว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างสมศักดิ์กับ บริษัทไทยเจริญฯ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินครบกำ�หนดไปแล้ว สมศักดิ์ย่อมไม่มีสิทธิ ในที่ดินที่จะมาอ้างว่าการที่ศักดิ์ชัยอยู่ในพื้นที่เช่าต่อมาเป็นการทำ�ละเมิดต่อ สิทธิของสมศักดิ์ สมศักดิ์ย่อมไม่มีอำ�นาจมาฟ้องขับไล่ศักดิ์ชัยออกจากพื้นที่ เช่าได้ การที่สัญญาเช่าระหว่างสมศักดิ์กับบริษัทไทยเจริญฯ ครบกำ�หนด และยังไม่มีการต่ออายุจนกระทั่งมีการทำ�สัญญาเช่าใหม่เมื่อเวลาล่วงเลยมา ร่วม 5 ปีนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาระหว่างสมศักดิ์กับบริษัทไทยเจริญฯ ที่จะไปว่ากล่าวกันเองและเป็นเรื่องที่แยกต่างหากจากกรณีของศักดิ์ชัยที่ทำ� สัญญาเช่ากับสมศักดิ์ การที่สมศักดิ์ไม่ได้เข้าไปทำ�สัญญากับบริษัทไทยเจริญฯ แต่ใช้พื้นที่ต่อมาและทำ�ให้บริษัทไทยเจริญฯ เสียหายอย่างไรก็เป็นเรื่องที่บริษัท ไทยเจริญฯ จะไปเรียกร้องเอาจากสมศักดิ์เอง การที่สมศักดิ์นำ�พื้นที่มาให้ ศักดิ์ชัยเช่าก็ไม่ได้มีข้อขัดข้องที่ว่าต้องเป็นเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์เท่านั้นที่จะนำ� พื้นที่มาให้เช่าได้ หากมีสิทธิที่จะใช้พื้นที่นั้นได้ก็สามารถนำ�มาให้เช่าช่วงได้หาก เจ้าของอนุญาตให้ทำ�เช่นนั้นได้ เมื่อถือว่าการที่ศักดิ์ชัยอยู่และใช้พื้นที่เช่าต่อมาหลังสัญญาเช่า ครบกำ�หนดถือเป็นการทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนด เวลา กรณีสัญญาเช่าลักษณะนี้กฎหมายกำหนดให้การเลิกสัญญาต้องมีการ บอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าช่วงระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่ง หากกำ�หนด ฎีกา InTrend สัญญาเช่าหมดอายุแล้วผู้ให้เช่ายอมให้อยู่ต่อ ถ้าจะเลิกให้ผู้เช่าอยู่ต่อจะต้องทำอย่างไร
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 105 ค่าเช่าทุกเดือน การบอกเลิกสัญญาเช่าก็ต้องบอกล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน ด้วย แต่การบอกเลิกล่วงหน้านี้ไม่ต้องบอกนานกว่าสองเดือน สำ�หรับกรณีที่ ระยะเวลาชำ�ระค่าเช่าอาจจะนานกว่าสองเดือน ในกรณีนี้เมื่อสมศักดิ์ได้บอกกล่าวเลิกสัญญาแจ้งไปยังศักดิ์ชัย ตั้งแต่ 31 พฤษภาคม 2555 และให้ขนย้ายของออกไปภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 จึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ศักดิ์ชัยทราบตามกฎหมายแล้ว เมื่อ ครบกำ�หนดดังกล่าว สัญญาเช่าที่ถือว่าทำ�ต่อมาโดยไม่มีกำ�หนดเวลาจึงถือว่า เลิกกันตั้งแต่วันที่ครบกำ�หนดให้ขนของออกไป ศักดิ์ชัยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในพื้นที่ เช่าอีกต่อไป การที่อยู่ต่อมาจึงเป็นละเมิดสิทธิของสมศักดิ์และต้องชดใช้ค่าเสีย หายให้แก่สมศักดิ์คิดตามระยะเวลาที่อยู่ในที่เช่าด้วย เรื่องสัญญาเช่าเป็นเรื่องที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้ กับหลาย ๆ คน แต่การรู้ถึงสิทธิหน้าที่ว่ามีมากน้อยเพียงใดย่อมช่วยได้พอ สมควร หากสัญญาเช่ากำ�หนดเวลาไว้เท่าใด สัญญาเช่าย่อมจะเลิกกันเมื่อครบ ตามเวลาที่กำ�หนดนั้น แต่หากผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าอยู่ต่อหลังครบกำ�หนดย่อมถือว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้เช่าต่อไปอีกโดยส่วนที่ขยายต่อมานี้ถือเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มี กำ�หนดระยะเวลา การบอกเลิกจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งรอบ ระยะเวลาชำ�ระค่าเช่า แต่ไม่ต้องบอกเลิกล่วงหน้ากว่าสองเดือน หากมีการเลิก สัญญากันจริง คู่สัญญาก็ควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามสิทธิหน้าที่ของตน (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2561) ฎีกา InTrend สัญญาเช่าหมดอายุแล้วผู้ให้เช่ายอมให้อยู่ต่อ ถ้าจะเลิกให้ผู้เช่าอยู่ต่อจะต้องทำอย่างไร
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 106
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 107 การที่เราทำ�ประกันชีวิตก็ด้วยความมุ่งหมายที่จะได้รับความ คุ้มครองและได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในยามที่เกิดเหตุตามที่ทำ� ประกันภัยไว้ แต่กรณีที่มักเกิดขึ้นอยู่เสมอคือการที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เปิด เผยข้อมูลให้ครบถ้วน ทำ ให้มีปัญหาว่ากรณีเช่นนี้จะส่งผลต่อสัญญาประกัน ภัยที่ทำ ไว้ รวมถึงสิทธิที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ เพียงใด จันทราได้เคยไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเมื่อสามปีที่ แล้ว เนื่องจากมีอาการผิดปกติบริเวณหูด้านขวา แพทย์ผู้ตรวจตั้งข้อสังเกต ว่าน่าจะเป็นมะเร็งผิวหนัง และได้นัดจันทราให้ไปทำ�การผ่าตัดในอีกหนึ่งสัปดาห์ ต่อมา แต่เมื่อถึงวันนัดจันทราไม่ได้พบแพทย์ตามที่นัดไว้ ในปีถัดมา จันทราได้ ฎีกา InTrend ทำประกันชีวิตแต่ไม่บอกว่าเคยตรวจพบมะเร็ง จะได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 108 ฎีกา InTrend ทำประกันชีวิตแต่ไม่บอกว่าเคยตรวจพบมะเร็ง จะได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ ขอทำ�ประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งพร้อมสัญญาพิเศษเพิ่มเติม โดยในการขอทำ�ประกัน จันทราได้ตอบคำ�ถามสุขภาพตามแบบที่บริษัทประกัน ชีวิตกำ�หนดในข้อที่ถามว่า “เคยได้รับการวินิจฉัย หรือรับการรักษา หรือตั้ง ข้อสังเกตโดยแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่” จันทราระบุว่าไม่เคยตรวจพบ โรคดังกล่าว ต่อมาเมื่อปีที่แล้วจันทราได้เข้ารับการรักษาผ่าตัดก้อนเนื้อที่หลัง หูข้างขวาและได้ทำ�เรื่องขอเบิกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากบริษัทประกัน ชีวิต บริษัทได้ลองตรวจสอบประวัติการรักษาของจันทราจึงพบว่าเคยได้รับการ ตรวจและแพทย์ได้วินิจฉัยไว้ดังกล่าว บริษัทจึงได้ส่งหนังสือบอกกล่าวเพื่อบอก ล้างสัญญาประกันชีวิตที่จันทราทำ�ไว้และไม่ยอมจ่ายค่าสินไหมทดแทน จันทรา จึงได้ฟ้องบริษัทประกันชีวิตเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกัน ชีวิตที่เคยทำ�ไว้
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 109 ในการทำ�ประกันชีวิตนั้น บริษัทรับประกันภัยจะตกลงทำ สัญญาประกันชีวิตหรือไม่ หรือจะเรียกค่าเบี้ยประกันภัยมากน้อยเพียง ใดย่อมขึ้นอยู่กับ “ความเสี่ยง” ที่ผู้เอาประกันภัยแต่ละคนมีอยู่ว่ามีมาก น้อยเพียงใด ถ้ามีความเสี่ยงมากก็อาจจะเรียกเบี้ยประกันภัยให้สูงขึ้น หรือ อาจจะไม่ยอมรับประกันเลยหากความเสี่ยงมากจนไม่คุ้มกับค่าเบี้ยประกัน แต่ความเสี่ยงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับข้อมูลสุขภาพที่ผู้เอาประกันภัยให้แก่ บริษัทรับประกันภัย เนื่องจากโดยสภาพบริษัทไม่สามารถให้ผู้เอาประกันภัย แต่ละคนตรวจสุขภาพก่อนทำ�สัญญาได้ เพราะจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจำ�นวน มาก โดยที่สำ�หรับผู้เอาประกันภัยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด ดังนั้น การพิจารณาจึงอาศัยข้อมูลที่ผู้เอาประกันภัยให้ไว้เป็นสำ�คัญ ฎีกา InTrend ทำประกันชีวิตแต่ไม่บอกว่าเคยตรวจพบมะเร็ง จะได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 110 ลักษณะดังกล่าวของสัญญาประกันภัยที่อาศัยการให้ข้อมูลที่ถูก ต้องนี้จึงทำ�ให้สัญญาประกันภัยถือเป็น “สัญญาที่ต้องการความสุจริตและ ความไว้วางใจ” ระหว่างคู่สัญญาเป็นสำคัญ ผลของการไม่เปิดเผยข้อมูลที่ มีความสำคัญ โดยเฉพาะ “ข้อมูลที่อาจเป็นเหตุจูงใจให้ผู้รับประกันภัยเรียก เบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ทำสัญญา” คือจะทำ ให้สัญญาประกัน ภัยนั้นตกเป็น “โมฆียะ” ซึ่งจะทำ�ให้บริษัทรับประกันภัยมีสิทธิที่จะบอกล้างให้ สัญญาประกันภัยนั้นให้ตกเป็นโมฆะหรือเสียเปล่าไปทั้งหมดได้ ในกรณีของจันทรา ปรากฏว่าแพทย์ได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้ก่อน แล้วว่าจันทราน่าจะเป็นมะเร็ง แม้จันทราจะไม่ได้ไปรับการรักษาตามที่กำ�หนด ก็ตาม และยังมีความไม่แน่นอนอยู่ว่าความจริงแล้วอาการของจันทราจะ เป็นมะเร็งจริง ๆ หรือไม่ หรือเป็นมะเร็งชนิดใดกันแน่ที่จะมีอันตรายถึงขนาด เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือไม่ก็ตาม เพราะการตรวจให้ได้ผลชัดเจนขนาด นั้นอาจต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่ต้องทำ�เพิ่มเติม แต่การที่แพทย์ตั้ง ข้อสังเกตไว้ก็เท่ากับว่าจันทราเองรับรู้อยู่แล้วว่าตนมีความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งสูง จะมากจะน้อยจันทราจึงควรต้องบอกข้อมูลนี้ให้บริษัทประกันทราบ ส่วนเมื่อ แจ้งแล้วบริษัทประกันจะทำ�อย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อจันทรา ไม่ได้แจ้งข้อมูลสำ�คัญนี้ให้บริษัทประกันทราบ จึงทำ�ให้สัญญาประกันชีวิต ระหว่างจันทรากับบริษัทประกันชีวิตตกเป็น “โมฆียะ” ดังที่ได้กล่าวไว้ ฎีกา InTrend ทำประกันชีวิตแต่ไม่บอกว่าเคยตรวจพบมะเร็ง จะได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 111 เมื่อบริษัทประกันได้ใช้สิทธิ “บอกล้าง” ภายใน 1 เดือนนับแต่ทราบ มูลอันจะบอกล้างได้ หรือทราบข้อมูลว่าแพทย์เคยตรวจและตั้งข้อสังเกตว่าจันทรา เป็นมะเร็ง สัญญาประกันชีวิตนี้จึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่ต้น จันทราจึงคงมี สิทธิได้รับค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปคืน แต่ไม่มีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญา กรณีของจันทรานี้อาจจะเห็นได้ชัดเจนว่าโรคที่ปกปิดไว้กับโรค ที่มาตรวจรักษาภายหลังและเป็นเหตุของการขอการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นโรคเดียวกัน แต่ผลของการปกปิดข้อมูลที่สำ�คัญนี้มีมากกว่านั้น แม้แต่ ฎีกา InTrend ทำประกันชีวิตแต่ไม่บอกว่าเคยตรวจพบมะเร็ง จะได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 112 ว่าสุดท้ายผู้เอาประกันเสียชีวิตหรือประสบเหตุเป็นโรคอย่างอื่นนอกจากที่ ปกปิดไว้ก็ตาม แต่ผลของการที่สัญญาเป็นโมฆียะนี้เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่มีการ เข้าทำ�สัญญาโดยปกปิดข้อมูลสำ�คัญ ทำ�ให้บริษัทประกันจึงอาจใช้สิทธิบอก ล้างสัญญาได้เมื่อทราบข้อมูลที่ปกปิดไว้ การที่เราทำ�สัญญาประกันชีวิตก็คงหวังได้รับความคุ้มครองตาม ที่ตกลงและได้เสียค่าเบี้ยประกันไว้ แต่ขณะเดียวกันการเข้าทำ�สัญญาก็คงต้อง ทำ�ด้วยความสุจริตด้วยกันทุกฝ่าย หากมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใดที่สำคัญ โดย เฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏในแบบคำถามที่บริษัทประกันต้องการรู้ก็ควรต้องบอก ไปตามความเป็นจริง ถ้าทำ�แบบนี้แล้วก็คงไม่ต้องห่วงว่าสัญญาจะมีปัญหาและ ทำ�ให้ไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างที่ต้องการ (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2563) ฎีกา InTrend ทำประกันชีวิตแต่ไม่บอกว่าเคยตรวจพบมะเร็ง จะได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 113
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 114 การทะเลาะเบาะแว้งและมีเรื่องมีรวมถึงขนาดต่อยตีกันอาจเกิด ขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะในหมู่คนที่อายุไม่มาก ด้วยความที่ “เลือดร้อน” เมื่อ เกิดการกระทบกระทั่งขึ้น แต่ปัญหาที่จะนำ�มาพูดคุยในตอนนี้คงเป็นเรื่องที่ เกิดขึ้นเมื่อมีเรื่องมีราวถึงขั้นต่อยตีกันแล้ว แต่เกิดมีฝ่ายหนึ่งพลาดท่าเสียที ถูกทำ�ร้ายถึงตาย พ่อแม่ของผู้ที่ถูกทำร้ายนั้นจะมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนหรือไม่ และจะมีหลักการหรือวิธีการคิดกับปัญหาในทำ�นองนี้อย่างไร กุ้งเป็นนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง วันหนึ่งกุ้งมีเรื่องทะเลาะกับ สิงห์และพรรคพวกของสิงห์อีกสามคน สุดท้ายทั้งสองฝ่ายก็ควบคุมอารมณ์ ของตัวเองไม่ได้ กุ้งจึงเข้าชกต่อยกับสิงห์และพวก ในระหว่างที่ทั้งสองฝ่าย ชกต่อยกันอยู่นั้น พรรคพวกของสิงห์ก็ใช้ท่อนไม้และไม้คทาของดรัมเมเยอ ร์ทุบตีกุ้งจนทำ�ให้กุ้งได้รับบาดเจ็บและต่อมาเสียชีวิตในระหว่างถูกนำ�ตัวไป ฎีกา InTrend สมัครใจชกต่อยแต่ถูกรุมทำร้ายถึงตาย จะมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 115 ฎีกา InTrend สมัครใจชกต่อยแต่ถูกรุมทำร้ายถึงตาย จะมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ โรงพยาบาล พนักงานอัยการจึงได้ฟ้องสิงห์กับพวกเป็นคดีอาญาในข้อหา ทำ�ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยไม่เจตนา ระหว่างการพิจารณา มารดาของ กุ้งได้ยื่นคำ�ร้องให้สิงห์กับพวกชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำ�นวน 500,000 บาท สิงห์กับพวกให้การต่อสู้ว่ามารดาของกุ้งไม่มีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหม ทดแทน เพราะเป็นกรณีที่กุ้งสมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทกับพวกของตนเอง กุ้งจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิได้รับการชดใช้ ปัญหาของเรื่องนี้อาจสมมติให้แตกต่างไปจากกรณีที่เกิดขึ้นสัก นิดว่า หากเป็นกรณีที่ไม่ใช่คดีที่พนักงานอัยการฟ้องสิงห์กับพวกเป็นจำ�เลย แต่มารดาของกุ้งเป็นผู้ฟ้องคดีอาญาเอง กรณีแบบนี้อาจมีปัญหาในส่วน
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 116 ของคดีอาญาได้ว่ามารดาของกุ้งจะมีอำ�นาจมาจัดการแทนเป็นโจทก์ฟ้อง คดีอาญาได้เองหรือไม่ เพราะเรื่องเริ่มมาจากการที่กุ้งเองสมัครใจเข้าทะเลาะ วิวาทและต่อยตีกับสิงห์กับพวกเองตั้งแต่แรก ทำ ให้อาจถือว่าในส่วนที่เกี่ยว กับเรื่องทางอาญา กุ้งไม่ใช่ “ผู้เสียหาย” ในความหมายของกฎหมายไปด้วย หรือไม่ใช่ “ผู้เสียหายโดยนิตินัย” แต่กรณีของคดีนี้เป็นเรื่องที่แตกต่างไป เพราะเป็นคดีที่พนักงาน อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง การที่มารดาของกุ้งยื่นคำร้องเข้ามาตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 เป็นการขอให้ชดใช้ค่าเสีย หายในส่วน “แพ่ง” ที่ถือว่ามีการทำละเมิดทำ ให้กุ้งถึงแก่ความตาย เพียงแต่ เป็นกรณีที่การทำ�ละเมิดนี้เกี่ยวพันกับการกระทำ�ความผิดทางอาญาด้วย จึงทำ�ให้เป็นเรื่องของ “คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา” ฎีกา InTrend สมัครใจชกต่อยแต่ถูกรุมทำร้ายถึงตาย จะมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 117 การที่กฎหมายกำหนดมาตรการให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจาก การกระทำความผิดอาญาสามารถยื่นคำร้องตามมาตรา 44/1 ดังกล่าว ได้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกและคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นการ ได้รับอันตรายหรือความเสียหายทางร่างกาย ชีวิตหรือทรัพย์สินให้สามารถ ดำ เนินการเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนได้โดยไม่ต้อง ฟ้องร้องเป็นคดีแยกต่างหาก และสามารถได้รับการพิจารณาพิพากษาไป ในคราวเดียวกันกับคดีอาญาได้เลย แม้ว่าคำ�ร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะยื่นเข้ามาใน คดีอาญา แต่โดยสภาพยังถือเป็น “คดีแพ่ง” ลักษณะหนึ่ง ทำ�ให้แม้ในส่วน ที่เกี่ยวกับคดีอาญา กุ้งอาจจะไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย เนื่องจากมี ส่วนสมัครใจเข้าไปต่อยตีกับสิงห์และพวกเอง แต่ในส่วนเกี่ยวกับการชดใช้ ค่าเสียหายทางแพ่งไม่ทำ�ให้กุ้งซึ่งรวมถึงมารดาของกุ้งถูกตัดสิทธิไม่ให้ได้ รับการชดใช้ค่าเสียหายไปด้วย เพราะการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งแม้จะ ต่างฝ่ายต่างมีส่วนผิด แต่การที่ฝ่ายใดจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ย่อม ต้องดูว่าความผิดของฝ่ายใดมีส่วนก่อให้เกิดขึ้นมากกว่ากัน ฝ่ายหนึ่งแม้จะ มีส่วนผิดทำ�ให้เกิดเรื่องเกิดราวขึ้น แต่หากสัดส่วนของความผิดนั้นยังน้อย กว่าอีกฝ่ายก็ยังอาจได้รับการชดใช้ตามสัดส่วนดังกล่าวได้อยู่ ในกรณีนี้แม้ว่ากุ้งจะมีส่วนเข้าไปต่อยตีกับอีกฝ่าย แต่ความเสีย หายที่เกิดขึ้นจนทำ�ให้กุ้งเสียชีวิตนั้นอาจกล่าวได้ว่ามาจากฝ่ายของสิงห์กับ พวกเสียมากกว่าที่เป็นฝ่ายใช้ท่อนไม้และไม้คทาของดรัมเมเยอร์มาทุบตีกุ้ง ฎีกา InTrend สมัครใจชกต่อยแต่ถูกรุมทำร้ายถึงตาย จะมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 118 จนเสียชีวิต หากทั้งสองฝ่ายเพียงแต่ต่อยตีกันด้วยมือเปล่าธรรมดาคงมีโอกาส ไม่มากที่กุ้งจะเสียชีวิต ด้วยเหตุนี้เองจึงพอจะบอกได้ว่าความเสียหายซึ่งก็คือ ความตายของกุ้งมาจากการกระทำ�ของสิงห์กับพวกเสียมากกว่า ดังนั้น มารดา ของกุ้งจึงมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากสิงห์กับพวกได้ บทเรียนของเรื่องนี้อาจกล่าวได้ว่าหากมีส่วนทำ�ให้เกิดเรื่องเกิดราว ที่เป็นความผิดอาญาขึ้นมา คนที่มีส่วนทำ ให้เกิดเรื่องนั้นขึ้นมาอาจะไม่ถือว่าเป็น “ผู้เสียหายโดยนิตินัย” สำหรับเรื่องทางอาญา แต่หากแม้คนนั้นแม้จะมีส่วน ทำ ให้เกิดความเสียหายบ้าง แต่ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะการกระทำของอีก ฝ่ายมากกว่า ฝ่ายนั้นก็ยังมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งอยู่บ้าง ขึ้น อยู่กับสัดส่วนของความผิดว่าใครก่อให้เกิดขึ้นมากน้อยกว่ากัน (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2563) ฎีกา InTrend สมัครใจชกต่อยแต่ถูกรุมทำร้ายถึงตาย จะมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 119
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 120 ทุกวันนี้เราอาศัยและใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรกันไม่น้อย ด้วยความสะดวกของการได้บ้านสำ�เร็จรูปที่ออกแบบสวยงาม และอยู่ในชุมชน ที่มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกให้พักอาศัยได้อย่างมีความสุข แต่บางครั้งเมื่อเกิด เหตุที่ไม่พึงปรารถนาอย่างเช่นมีขโมยมางัดแงะบ้านเข้าไปขโมยสิ่งของมีค่า ปัญหาประการหนึ่งที่เจ้าของบ้านมักจะนึกถึงคือความรับผิดชอบของนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรรควรจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ตน ฎีกา InTrend บ้านถูกขโมยขึ้น จะฟ้องนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ชดใช้ได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 121 ฎีกา InTrend บ้านถูกขโมยขึ้น จะฟ้องนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ชดใช้ได้หรือไม่ หรือไม่ เพียงใดด้วยเหตุที่ได้จ่ายค่าส่วนกลางอยู่ทุกเดือน ปัญหานี้จะเป็น ประเด็นสำ�คัญที่เราจะนำ�มาพูดคุยกันในตอนนี้ เกียรติเป็นคนที่มีฐานะพอสมควร เดิมเกียรติอาศัยอยู่ใน คอนโดมิเนียมใจกลางเมือง แต่เมื่อมีครอบครัวและลูกเริ่มเติบโตขึ้นจึง มีความต้องการได้ที่พักอาศัยที่เป็นส่วนสัดและมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น โดยเฉพาะในยามที่มีเวลาว่าง รวมถึงในเวลาที่ต้องทำ�งานจากที่บ้าน เกียรติ จึงได้ไปซื้อบ้านในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง เกียรติ ต้องจ่ายค่าส่วนกลางให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตกเดือนละ 2,000 บาท และต้องจ่ายล่วงหน้าเป็นรายปี วันหนึ่งเมื่อเกียรติกลับจากพาครอบครัว ไปพักผ่อนที่หัวหินเมื่อมาถึงบ้านก็สังเกตเห็นว่าประตูบ้านแง้มเปิดออกอยู่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 122 เกียรติรีบเข้าไปดูปรากฏว่าข้าวของมีค่าหลายชิ้นหายไป ที่สำ�คัญคือตู้นิรภัย ที่เกียรติใช้เก็บของมีค่าหลายอย่างที่อยู่ในห้องนอนชั้นสองหายไปด้วย ตาม บันไดมีร่องรอยของการลากตู้นิรภัยลงมา รวมมูลค่าทรัพย์สินที่หายไป ประมาณ 600,000 บาท เกียรติโกรธและเสียดายทรัพย์สินที่หายไปมากจึงได้ ฟ้องให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและบริษัทรักษาความปลอดภัยที่นิติบุคคลจ้าง มาดูแลให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินที่หายไปนั้น ปัญหาประการแรกที่ควรต้องคิดในกรณีแบบนี้คือ หน้าที่และความ รับผิดชอบของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอย่างไรบ้าง และที่สำคัญคือมีหน้า ที่ในการรับผิดชอบรักษาความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของบุคคลที่อาศัย ฎีกา InTrend บ้านถูกขโมยขึ้น จะฟ้องนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ชดใช้ได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 123 อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรนั้นหรือไม่ หากพิจารณาดูตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แล้วจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์และภาระหน้าที่ที่สำคัญของ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรคือการดูแลจัดการเกี่ยวกับสาธารณูปโภค ความเรียบร้อยของทรัพย์สินส่วนกลาง การจราจร หรือการจัดให้มีบริการ สาธารณะหรือเพื่อสวัสดิการโดยรวม แม้อาจจะมีหน้าที่ในการรักษาความ ปลอดภัยอยู่ด้วยแต่เป็นหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินที่เป็น ของส่วนกลางของสมาชิกทุกคนมากกว่าจะเป็นการรักษาความปลอดภัยของ ทรัพย์สินส่วนบุคคลของสมาชิกที่เป็นลูกบ้านแต่ละคน แม้ตามปกติของหมู่บ้านจัดสรรที่มีการดูแลการจัดการที่ดี ส่วนใหญ่จะมีระบบการรักษาความปลอดภัยด้วยการจัดให้มีบริษัทรักษา ความปลอดภัยไปดูแลตั้งแต่การตรวจสอบรถและบุคคลที่เข้าออก อาจ จัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยคอยตรวจตราภายในบริเวณ หมู่บ้านด้วย ซึ่งแน่นอนว่าค่าส่วนกลางที่สมาชิกเสียไปก็รวมถึงค่าใช้จ่ายใน ส่วนนี้ แต่วัตถุประสงค์ของการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวก็เพื่อความ ปลอดภัยโดยรวมของหมู่บ้าน และดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง ด้วยเหตุนี้เองทำ�ให้เห็นได้ว่านิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรซึ่งรวม ถึงบริษัทรักษาความปลอดภัยที่นิติบุคคลจ้างมามีหน้าที่โดยตรงเฉพาะ การดูแลรักษาความปลอดภัยและความเรียบร้อยโดยรวมของหมู่บ้าน ฎีกา InTrend บ้านถูกขโมยขึ้น จะฟ้องนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ชดใช้ได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 124 และสาธารณูปโภคภายในหมู่บ้าน แม้ว่าการดูแลนั้นอาจจะส่งผลถึงความ ปลอดภัยของบ้านของสมาชิกแต่ละคนไปด้วยก็ไม่ได้ทำ ให้นิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของทรัพย์สินส่วนบุคคลของสมาชิกแต่ละ รายไปด้วย นอกจากนั้น ในกรณีอย่างเช่นคดีนี้ แม้จะมีทรัพย์สินที่มีค่ารวมถึงตู้ นิรภัยที่ถูกขโมยไป แต่ทรัพย์สินและตู้นิรภัยดังกล่าวไม่ได้มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ สามารถใส่ไว้ในรถที่ผ่านเข้าออกได้ ซึ่งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่ารถที่ลักนำ�ทรัพย์ ดังกล่าวเป็นรถคันใด หากเป็นรถยนต์ที่มีสติ๊กเกอร์ของหมู่บ้านอยู่ก็อาจผ่านเข้า ออกได้โดยไม่จำ�เป็นต้องตรวจตรามาก หรือหากเป็นรถของบุคคลภายนอกแม้ ฎีกา InTrend บ้านถูกขโมยขึ้น จะฟ้องนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ชดใช้ได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 125 จะมีการแลกบัตรและตรวจตรามากขึ้นแต่ก็คงไม่สามารถตรวจตราโดยละเอียด ทุกคันได้ โดยไม่มีพฤติการณ์ใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามีเหตุที่ทำ�ให้พนักงานรักษา ความปลอดภัยสังเกตเห็นความผิดปกติเป็นพิเศษที่แสดงถึงความไม่ใส่ใจใน หน้าที่ของตน ด้วยเหตุนี้ทำ�ให้ในกรณีลักษณะนี้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและ บริษัทรักษาความปลอดภัยไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่เกียรติ การใช้ชีวิตในชุมชนอย่างเช่นหมู่บ้านจัดสรร แน่นอนว่าเราต้องการ ความปลอดภัยที่อยู่ในชุมชนที่มีรั้วรอบขอบชิด มีสาธารณูปโภคที่สะดวกสบาย แต่ขณะเดียวกันคงต้องตระหนักถึงขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของ แต่ละคนด้วยว่านิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรคงมีหน้าที่หลัก ๆ ในการดูแลทรัพย์สิน ส่วนกลางและสาธารณูปโภคต่าง ๆ แต่ในส่วนทรัพย์สินส่วนบุคคลที่อยู่ในบ้าน ของสมาชิก หน้าที่โดยตรงในการดูแลคงเป็นของสมาชิกแต่ละรายเองที่อยู่ใน สถานะที่ดีที่สุดที่จะประเมินและวางมาตรการป้องกันว่าทำ�อย่างไรจึงจะดูแล รักษาทรัพย์สินของตนได้ดีที่สุด (คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2562) ฎีกา InTrend บ้านถูกขโมยขึ้น จะฟ้องนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ชดใช้ได้หรือไม่
สำ�นักงานศาลยุติธรรม 126