The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระราชประวัติ สมเด็จพระนารายณ์(ฉบับปรับปรุง)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tharaphan.prasan, 2022-07-06 09:59:58

พระราชประวัติ สมเด็จพระนารายณ์(ฉบับปรับปรุง)

พระราชประวัติ สมเด็จพระนารายณ์(ฉบับปรับปรุง)

พระราชประวตั ิ สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช (ฉบบั ปรบั ปรงุ )

ผเู้ รยี บเรยี งนายประสาร ธาราพรรค์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรือง
ในทางวรรณคดีและการต่างประเทศ พระราชกรณียกิจนานัปการท่ีทรง
กระทานาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศชาติ อาทิ ทรงเจริญสัมพันธไมตรี
กบั ตะวนั ตก ทาใหไ้ ทยรอดพ้นจากการเป็นเมอื งขนึ้ ทรงสรา้ งเมอื งลพบุรีเป็น
ราชธานีแหง่ ท่ี 2

พระราชกรณียกจิ อนั ยิ่งใหญข่ องพระองค์ จึงสมควรเป็นอย่างย่ิงในการ
เทิดพระเกียรติและระลึกถึงพระปรีชาสามารถ ตลอดจนพระอัจฉริยภาพอัน
เปี่ยมล้นของพระองค์ประชาชาติไทยจึงถวายพระนามเทิดพระเกียรติอัน
สงู สง่ ของพระองค์ว่า “สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช”

สมเดจ็ พระนารายณฯ์ พระนามเดิม เจา้ ฟา้ นรนิ ทร์
เจา้ ปถพนิ ทร์ อยุธยา นรงั สรรค์
เมื่อยังเยาว์ พระญาตเิ ห็น องคจ์ กั รพรรด์ิ
พระกรนน้ั ธ ทรงมี ถงึ ส่ีกร
พระราชบดิ า จงึ ประทาน นามมาใหม่
เรียกนามไท้ พระนารายณ์ เปน็ อนสุ รณ์
พระชนมายุ หา้ และเกา้ พรรษา องคภ์ ูมธิ ร
พระเกียรตขิ จร ถูกอสนบี าต ทรงปลอดภยั
ทรงสรา้ งเมอื ง ลพบรุ ี ราชธานี
องคจ์ กั รี พระราโชบาย ทนั สมยั
ทรงเปดิ รบั ความรู้ โลกยุคใหม่
ทรงทาให้ ชาตพิ น้ ภยั ฮอลนั ดา

ทรงสง่ ราชทตู ไปฝรง่ั เศส เจรญิ ไมตรี
พระเจา้ หลุยสท์ ี่ 14 ทรงตอ้ นรับ ดหี นกั หนา
ผกู สมั พนั ธ์ ตา่ งประเทศ เตม็ อตั รา
อยุธยา พฒั นา ทั่วแผน่ ดิน
นา้ พระทัย ของพระองค์ ทรงกลา้ หาญ
ทรงเชยี่ วชาญ การสงคราม วรรณศลิ ป์
ทรงอญั เชิญ พระพทุ ธสหิ ิงค์ สมใจจนิ ต์
องค์ธรณนิ ทร์ ทรงอปุ ถัมภ์ บารงุ กวี
จนั ทรปุ ราคา สรุ ยิ ปุ ราคา เกดิ ในรชั สมยั
พระองคใ์ ช้ กลอ้ งดดู าว ส่องวิถี
การคา้ ขาย ตา่ งประเทศ ร่งุ เรอื งดี
สุขเปรมปรดี ์ิ มที วั่ ไป ในอยธุ ยา
ปวงชาวไทย ลว้ นยกย่อง สรรเสริญ
ชาตเิ จริญ ลดเภทภัย สขุ หรรษา
รัฐมนั่ คง ราษฎรม์ ง่ั คง่ั มน่ั ศรทั ธา
องค์ราชา ทรงพทิ ักษ์ รกั ษแ์ ผ่นดนิ
....................................................................

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ขา้ พระพทุ ธเจ้านายประสาร ธาราพรรค์ ผปู้ ระพนั ธ์

พระราชประวัตสิ มเด็จพระนารายณม์ หาราช

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นกษัตริย์องค์ที่ 28 แห่งอาณาจักร
อยธุ ยา พระองคท์ รงได้รับยกย่องให้เป็นมหาราช ท้ังน้ีเพราะถอื ว่ารชั สมยั ของ
พระองค์เจริญรุ่งเรืองในทางวรรณคดีและการต่างประเทศ แต่สมัยของ
พระองค์เป็นสมัยที่ปัญหายุ่งยากทางการเมืองภายในอย่างสูง และเข้าไป
เกีย่ วข้องกับการเมืองต่างประเทศในลักษณะท่ีล่อแหลมจนเกือบทาให้สยาม
ตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส สมัยของพระองค์เป็นสมัยที่มีข้อมูลทาง
ประวัตศิ าสตรม์ ากท่ีสดุ ของอยธุ ยา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทสาคัญ
แตกต่างจากวีรกษัตริย์พระองค์อื่น พระองค์ทรงมีความเฉลียวฉลาด
ปราดเปร่ือง เป็นที่ยกย่องสรรเสริญ พระปรีชาสามารถแผ่ไปไกลถึง
ตา่ งประเทศ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงทานุบารุงให้บ้านเมืองรุ่งเรืองยิ่งกว่า
สมัยใดในกรุงศรีอยุธยา มีความสามารถพิเศษในการปกครอง มีข้าราชการ
และเหล่าทหารหาญตามคัมภีรพ์ ิชยั สงครามคือ หัวศึก ได้แก่เจ้าพระยาโกษา
เหล็ก มือศึก ได้แก่พระยาเดโชชัย ตีนศึก ได้แก่พลช้างม้าครบถ้วน ตาศึก
ได้แก่พระพิมลธรรม หูศึก ได้แก่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ปากศึก ได้แก่พระวิ
สตุ รสนุ ทร (โกษาปาน) กาลังศึก กค็ ือผคู้ นช้างม้า เสบียงอาหารอุดมสมบูรณ์
ในรชั สมยั ของพระองค์
พระราชสมภพ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จพระบรมราชสมภพ เม่ือวันจันทร์
เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
กับพระนางศริ ธิ ดิ า ตอ่ มาภายหลังยกเปน็ พระราชเทวี และมีพระขนิษฐาร่วม
พระมารดาคือสมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ กรมหลวงโยธาทิพ หรือพระราช
กัลยาณี

พระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นเครือญาติกัน หม่อมหลวงมานิจ
ชุมสายระบุว่า พระมารดาของพระนารายณ์เป็น "...พระขนิษฐาต่างมารดา
ของพระเจ้าปราสาททอง" แต่งานเขียนของนิโคลาส์ เดอ แซร์แวส ระบุว่า
มารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ส่วนพระราชบิดาคือ
สมเด็จ พระเจ้าปราสาททอง ฟาน ฟลีต ระบุว่า เป็นลูกของน้องชาย
พระราชมารดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระองค์มีพระนมท่ีคอยอุปถัมภ์
อารุงมาแต่ยังทรงพระเยาว์ คือ เจ้าแม่วัดดุสิต ซ่ึงเป็นญาติห่าง ๆ ของพระ
เจ้าปราสาททองเช่นกัน กับอีกท่านหนึ่งคือพระนมเปรม ที่ฟร็องซัว อ็องรี ตุ
รแปง (François Henry Turpin) ระบุว่าเป็นเครือญาติของสมเด็จพระ
นารายณ์

พระนารายณเ์ ทพของอนิ เดยี

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระอนชุ าต่างพระมารดาในสมเดจ็ เจ้า
ฟ้าไชย และยังมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยทศ (เจ้าฟ้า
งอ่ ย), เจ้าฟา้ น้อย, พระไตรภูวนาทิตยวงศ์, พระองค์ทอง และพระอินทราชา
นอกจากน้ีพระองค์ยังทรงมีพระขนิษฐาร่วมพระชนนีองค์หนึ่ง คือ สมเด็จ
พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพในพระราช
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมอ่ื แรกเสดจ็ พระบรมราชสมภพนั้น พระองค์
มีพระนามเดิมวา่ "เจา้ ฟา้ นรินทร์" แตเ่ มอ่ื ข้นึ พระอู่ พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่
กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "พระนารายณ์"
สว่ นในคาให้การชาวกรงุ เกา่ และคาใหก้ ารขนุ หลวงหาวดั เล่าว่าเมอื่ เพลงิ ไหม้
พระทนี่ ่งั มงั คลาภิเษก พระโอรสเสดจ็ ไปช่วยดบั เพลิง ผคู้ นเห็นเป็นส่กี ร จึงพา
กนั ขนานพระนามว่า พระนารายณ์

พระราชวงั บางปะอนิ

พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเก่ียวกับเร่ืองปาฏิหาริย์อยู่
มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อนๆ
ด้วยเหตุน้ีเองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหาริ ย์มหัศจรรย์
ตามลาดับ คือ เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ 5 พรรษา ขณะเล่นน้า
พระองค์ทรงถูกอสนบี าตฟ้าผา่ พวกพี่เล้ยี ง นางนม สลบหมดสนิ้ แตพ่ ระองค์
ไม่เปน็ ไรแม้แต่น้อย เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ 9 พรรษา พระองค์
ทรงถูกอสนีบาตทพ่ี ระราชวังบางปะอิน แตพ่ ระองค์กป็ ลอดภยั ดี
การศึกษา

พระโหราธบิ ดี

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรบั การศึกษาจากพระโหราธิบดี ซง่ึ เป็น
ข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม
รวมท้ังสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ท่ีมีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระ
นคร
การครองราชย์

ตราพระราชลญั จกรสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช
สมเด็จพระนารายณ์เป็นโอรสของพระเจ้าปราสาททองกษัตริย์องค์ท่ี
25 และเมอื่ พระราชบิดาสวรรคตพระเชษฐาของพระองคค์ ือ เจา้ ฟา้ ไชย ก็ข้นึ
ครองราชย์ได้เพียง 2 วนั พระนารายณ์ทรงรว่ มสมคบกบั พระศรสี ุธรรมราชา
ซึ่งเป็นพระเจ้าอา ชิงราชสมบัติ โดยขอให้ชาวต่างชาติในอยุธยา เช่น
ฮอลันดา ญ่ีปุ่น เปอร์เซีย ช่วยให้พระศรีสุธรรมราชาข้ึนครองราชย์สมบัติ

แทน สมเด็จพระศรสี ุธรรมราชาทรงแต่งตั้งใหพ้ ระองคด์ ารงตาแหน่งพระมหา
อุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จ
พระศรีสุธรรมราชาข้ึนครองราชย์สมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราช
สมบตั ิจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาอีกครง้ั

สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราชเสดจ็ ขนึ้ ครองราชยส์ มบตั ิ เมอ่ื เวลาสอง
นาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่า เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับ
วันที่ 15 ตลุ าคม พ.ศ. 2199) มีพระนามจารกึ ในพระสพุ รรณบฏั ว่า

"สมเด็จพระบรมราชาธิราชธิบดีศรีสรรเพชญ บรมมหาจักรพรรดิศวร
ราชาธิราชราเมศวร ธรรมธราธิบดี ศรีสฤฎิรักษสังหารจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริ
เยนทราธิบดีดินทร หริหรินทรธาดาธิบดี ศรีวิบุลยคุณอกนิฐ จิตรรุจีตรีภูวนา
ทิตย์ ฤทธิพรหมเทพาดิเทพบดินทร์ ภูมินทราธิราช รัตนากาศมนุวงศ์องค์
เอกาทศรสรุทร์ วสิ ทุ ธยโศดม บรมอาชวาธยาศรัย สมุทัยตโรมนต์ อนนตคุณ
วบิ ุลยสุนทรบวรธรรมมิกราชเดโชไชย ไตรโลกนาถบดนิ ทร์ วรินทราธริ าชชาติ
พิชิต ทิศพลญาณสมันตมหันตวิปผาราฤทธิวิไชย ไอศวรรยาธิบัติขัตติยวงศ์
องคป์ รมาธบิ ดตี รีภวู นาธเิ บศร โลกเชษฐวสิ ุทธ มกุฎรัตนโมฬี ศรีปทุมสรุ ยิ วงศ์
องคส์ รรเพชญ์พุทธางกรู บรมบพิตร"

พระอคั รมเหสี พระราชโอรส พระราชธดิ า

กรมหลวงโยธาเทพ
สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช มพี ระราชธิดาเพยี งพระองคเ์ ดยี วทเี่ กดิ กบั
พระอัครมเหสีฝ่ายขวา คือ สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี ท่ีได้รับการสถาปนาพระ
อิสริยยศเป็น "กรมหลวงโยธาเทพ" ถือเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมคู่แรก พร้อมกับ
สมเด็จเจา้ ฟ้าศรีสพุ รรณ พระขนษิ ฐาพระราชธิดาพระองค์ดังกล่าวมีพระราช
อานาจสูงมาก พระองค์มีบทบาทด้านการค้าค่อนข้างสูงในรัชสมัยของพระ
ราชบิดา โดยจากหลักฐานของลาลูแบร์ได้กล่าวว่าเจ้าฟ้าพระองค์นี้ "...ดารง
อิสริยยศเย่ียงพระมเหสี..." และบางครั้งชาวตะวันตกก็เรียกแทนว่าเป็น

"ราชินี" และหากมีผู้ใดเสกสมรสด้วยกับเจ้าฟ้าพระองค์น้ีก็ย่อมได้รับสิทธิ
ธรรมเหนอื ราชบลั ลงั กม์ ากข้นึ ด้วย

พระบรมสาทสิ ลักษณ์ สมเด็จพระเพทราชา ในทัศนะของชาวตะวันตก
นอกจากน้ียังมีปรากฏในพงศาวดารว่าทรงมีพระโอรสลับคือ หลวงสร

ศักด์ิ คาให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า เกิดจากพระราชชายาเทวี มีนามเดิม

วา่ เจา้ จอมสมบุญ ภายหลังได้มอบราชบุตรดังกลา่ วกบั เจ้าพระยาสุรศรี (พระ

เพทราชา) สว่ น คาให้การชาวกรงุ เกา่ ระบุว่า เกิดกบั นางนกั สนมทช่ี ื่อกุสาวดี

เมือ่ นางต้งั ครรภ์ก็ไดส้ ่งนางไปอยกู่ ับเจา้ พระยาสรุ สีห์ (คือพระเพทราชา) สว่ น

พระราชพงศาวดารฯ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลท่ีต่าง

ออกไปว่า มีพระนามเดิมว่า มะเดื่อ เกิดจากพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่
ภายหลงั ทรงใหพ้ ระเพทราชาไปดแู ล ด้วยทรงละอายพระทัยท่ีเสพสังวาสกับ
นางลาว

สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช

ในพงศาวดารของไทยปรากฏว่าพระองค์ไม่ทรงยกย่องพระโอรสลับ
พระองค์ใดที่เกิดกับพระสนมมีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ทรงหมาย
พระทัยให้มีพระราชโอรสท่ีประสูติแต่พระอัครมเหสีสืบราชสมบัติเสีย

มากกวา่ ดังปรากฏใน คาให้การชาวกรงุ เกา่ วา่ “คร้นั ตอ่ มาพระนารายนท์ รง

พระปริวิตกด้วยหาพระราชโอรสสืบราชตระกูลมิได้ จึงรับสั่งให้พระอรรค
มเหษีตั้งสัตยาธิษฐานขอพระโอรส แต่นางนักสนมท้ังปวงนั้นมิได้รับสั่งขอ
ด้วยไม่วางพระไทยกลัวจะเปนขบถอย่างพระสีสิงห์ [พระศรีศิลป์] ที่สุดนาง

นักสนมคนใดมีครรภข์ นึ้ ก็ใหร้ ีดเสยี มไิ ด้เกิดโอรสธิดาได้”ส่วนใน คาให้การขนุ
หลวงหาวดั ซ่ึงถ่ายมาจากคาให้การชาวกรงุ เก่ากอ็ ธิบายไว้ดุจกัน แต่ได้ขยาย

ความดังกล่าวว่า “อันพระนารายณ์น้ันได้ขดั เคอื งพระศรศี ลิ ปกมุ ารแตค่ รงั้ นนั้
มาว่าเปนขบถ เพราะเหตุว่ามิใช่ลูกของพระองค์ท่ีเกิดกับพระมเหษี จึงจะ
ไม่เปนขบถ...อันพระมเหษีน้ันก็มแี ต่พระราชธิดา มิได้มเี ปนกุมาร พระองค์จึง

รักษาศีลาจารวัตรปฏบิ ัตโิ ดยธรรมสุจริต จะขอให้ไดพ้ ระโอรสอันเกดิ ในครรภ์
พระมเหษี ก็มไิ ดด้ ง่ั พระทยั ปราร์ถนา จงึ ทรงพระโกรธ ครัน้ เมื่อทรงพระโกรธ
ขึ้นมา จึงตรัสกับพระสนมกานัลท้ังปวงว่า ถ้าใครมีครรภ์ขึ้นมาแล้วจะให้
ทาลายเสีย กูมิให้ได้สืบสุริยวงศต่อไป ต่อเม่ือเกิดในครรภ์พระมเหษี กูจึงจะ
มอบโภคยั ศวรรยทั้งปวงใหต้ ามใจกปู รารภ ครน้ั พระสนมกานัลรูต้ วั วา่ มคี รรภ์
กต็ ้องทูลพระองค์ ครัน้ ทราบก็ใหท้ าลายเสียอย่างนัน้ เปนหนกั หนา”

นอกจากน้ีบาทหลวงเดอ แบส และพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระ พน
รตั น์ (แกว้ ) ไดก้ ลา่ วถึงเร่ืองทีส่ มเด็จพระนารายณ์ทรงรบั เล้ียงดูเด็กเลก็ เลย้ี งดู
ในพระราชวังหลายคนโดยเลี้ยงดุจลูกหลวง แต่หากเด็กคนใดร้องไห้อยาก
กลบั ไปหาพ่อแม่เดิมก็ทรงอนุญาตส่งตวั คืน

ลา ลแู บร์ ราชทูตคนสาคญั ทเ่ี ขา้ มาในราชอาณาจกั รอยธุ ยา
สมยั สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช

ลาลูแบร์ได้อธิบายเพ่ิมเติมว่า "...พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะเลี้ยงไว้
จนกระทั่งเด็กนั้นมีอายุได้ 7 ถึง 8 ขวบ พ้นน้ันไปเม่ือเด็กส้ินความเป็นทารก
แล้วก็จะไม่โปรดอีกต่อไป..." แต่มีเพียงคนเดียวท่ีโปรดปรานคือ พระปีย์ ทั้ง
ยังโจษจันกันว่านี่อาจเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ก็มี ขณะท่ี
สมเดจ็ พระนารายณ์เองก็ทรงวางเฉยกับเรื่องพระปีย์เป็นโอรสลับเสียด้วยใน

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กลา่ ววา่ พระองคม์ ีพระราชโอรส

หนึง่ พระองคพ์ ระนามวา่ เจา้ ฟา้ น้อย เมื่อโสกันตแ์ ล้วพระราชทานนามวา่ เจ้า
ฟ้าอไภยทศ แต่ในจดหมายเหตุและคาให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวต้องกันว่า
สมเด็จพระนารายณม์ หาราชไมม่ พี ระราชโอรส เจา้ ฟา้ อไภยทศพระองคน์ เี้ ปน็
พระราชอนชุ าของพระองค์
พระราชกรณยี กิจของสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช

ภาพพมิ พส์ มเด็จพระนารายณม์ หาราช พิมพ์ทฝ่ี รง่ั เศส เม่ือ 300 ปมี าแลว้

วดั พระศรสี รรเพชญ์

ถวายพระเพลงิ สมเด็จพระพทุ ธเจ้าหลวง (สมเดจ็ พระศรสี ธุ รรมราชา)

สมเด็จพระนารายณ์ทรงมีทศพิธราชธรรมอันประเสริฐ แก่อาณา
ประชาราษฎร์ท้ังปวง ให้มีการลดส่วยสาอากรแก่ราษฎร 3 ปี ทรงบาเพ็ญ
กุศลหลายประการ ท้ังยังส่ังให้จัดการถวายพระเพลิงสมเด็จพระพุทธเจ้า
หลวง (สมเดจ็ พระศรสี ุธรรมราชา) ส่วนพระเมรสุ งู สองเน้นสิบเอด็ วา ประดับ
ประดาด้วย ฉัตรทอง ฉตั รนาค ฉัตรเงิน ฉตั รเบญจรงค์และธงทิวโอ่อ่าโอฬาร
สมพระเกยี รตเิ สร็จสรรพทุกประการ หลงั ถวายพระเพลิงแล้ว พระอฐั ธิ าตุกไ็ ด้
อนั เชญิ ไปประจุไว้ทว่ี ดั พระศรสี รรเพชญ์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แม้ว่า
จะไมต่ ้องทาศึกมากมายอย่างพระนเรศวร แตน่ ้าพระทัยของพระองค์มีความ
กลา้ หาญเดด็ เดย่ี วเชน่ เดยี วกนั พระองค์ทรงมคี วามคดิ รอบคอบใช้พระสติตริ
ตรองปญั หาทเ่ี ผชิญหนา้ อย่างดีท่สี ุด

มีเหตุการณ์ในรัชสมัยของพระองค์ท่ีจะยกมากล่าวไว้เรื่องหน่ึง คือใน
ราวเดอื นย่ี ปเี ดยี วกับการพระราชทานถวายเพลิงศพนั่นเอง มีอาแดงแก่นซ่ึง
เป็นข้าบาทของพระไตรภูวนาทติยวงศ์ ได้นาเอาความเท็จทูลยุแหย่แก่พระ
ไตรภูวนาทติยวงศ์ ทานองว่าข้าหลวงของพระนารายณ์กล่าวหาว่า พระไตร
ภูวนาทติยวงศ์เข้าข้างสมเด็จพระศรีสุธรรมราชามาก่อน ครั้นสิ้นพระชนม์
พระศรีสุธรรมราชาแล้วก็หันมาประจบพวกข้าหลวงเหล่าน้ัน อาแดงแก่นทูล
ยุยงุ พระไตรภูวนาทติยวงศ์หลายครงั้ จนกระทงั่ พระไตภวู นาทตยิ วงศ์คิดซ่อง
สุมผู้คนไว้นอกพระนคร เมื่อข้าหลวงเอาเนื้อความมากราบทูลสมเด็จพระ
นารายณต์ ามความจริงทุกประการ พระองค์ทรงทราบโดยตลอดว่าบัดนี้พระ
ไตรภูวนาทติยวงศ์ทาการซ่องสุมผุ้คนแน่นอนแล้ว จึงสั่งให้มหาดเล็กเอาเงิน
หลวงรอ้ ยชงั่ ให้แกพ่ ระไตรภูวนาทตยิ วงศ์ โดยบอกว่าให้เอาไปแจกราษฎรทั้ง
ปวงท่ัวกัน ต่อมาพระยาพชิ ยั สงคราม พระมหามนตรี มากราบทูลอีกว่าพระ
ยาพัทลงุ และพระศรภี ูรปิ รชี า คิดอ่านกบั พระไตรภูวนาทติยวงศ์จะคิดร้ายกับ
แผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงตรัสว่าจะฟังเนื้อความนี้ดูจงมั่นแม่น
เสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นกษัตริย์ที่พระสติรอบคอบคือ ไม่ยอม
ปักใจช่ือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คร้ันความจริงปรากฏว่าพระไตรภูวนาทติยวงศ์
คิดร้ายกับพระองค์จริง ดังคาของเสนาบดีและข้าหลวงผู้จงรักภักดีและ
ซื่อสัตย์ และทูลขอให้พระนารายณ์สาเร็จโทษตามพระราชประเพณี แต่
พระองค์ทรงมีนา้ พระทยั กว้างขวาง จงึ ตรัสแก่เสนาบดีและข้าหลวงผู้ซื่อสัตย์
ว่า “เราจะสาเร็จโทษท่ีน้ีหาได้ไม่ แต่เราจะไปพระนครหลวงแล้วเราจะทรง
ม้าต้น ใหอ้ งคไ์ ตรภูวนาท ติยวงศ์ข่มี ้าออกไปกลางทุ่งพระนคร ถ้าองค์
ไตรภูวนาทติยวงศ์จะคิดทาร้ายแก่เรา ๆ ก็มิเข็ดขาม จะยุทธด้วยองค์ไตรภูว
นาทติยวงศ์ที่น่ันและเอาบุญญาธิการแห่งเราเป็นที่พ่ึง” พระนารายณ์ทรงมี

น้าพระทัยล้าเลิศเช่นนี้และพระองค์ก็ทรงปฏิบัติดังที่ตรัสไว้ น้าพระทัยอัน
กวา้ งขวางเช่นนีเ้ ป็นทป่ี ระจักษช์ ัดหลายครั้งหลายคราว บรรดาข้าราชบริพาร
เสนาบดแี ละมขุ มนตรีท้งั หลายตา่ งก็พากนั ชน่ื ชมในบารมีของพระองค์โดยท่ัว
หน้ากัน
อญั เชญิ พระพทุ ธสิหงิ ค์มายงั กรุงศรอี ยุธยา

พระพทุ ธสหิ งิ ค์
สมเดจ็ พระนารายณ์ทรงเปน็ กษัตรยิ ์นกั รบดว้ ยพระองค์หนึ่ง แม้อาจจะ
ไม่เหมือนพระมหากษัตริย์นักรบองค์สาคัญอื่น ๆ แต่พระองค์ก็ทรงเป็น
ผู้จัดการด้านกองทัพและปฏิบัติภารกิจในการสงครามอย่างได้ผลดีย่ิง เมือง
เชียงใหม่ซ่ึงเสียไปคร้ังพระเจ้าปราสาททอง ได้มีหนังสือแจ้งมายังกรุงศรี
อยุธยาว่า พวกฮ่อยกเข้าล้อมจะตีเอาเมืองเชียงใหม่ ชาวเชียงใหม่หมดท่ีพึ่ง
จึงเสี่ยงทายต่อหน้าพระพุทธรูปท่ีมีช่ือว่า “พระพุทธสิหิงค์” คือเส่ียงทายว่า

ถ้าเมืองใดจะเป็นที่พ่ึงพิงได้ขอให้สาแดงนิมิตมาให้เห็น และปรากฏว่า พระ
พทุ ธสหิ งิ ค์หันพระพกั ตรม์ าทางกรุงศรอี ยุธยา ต่อมาพระนารายณ์ก็ยกทัพขึ้น
ไปตีเมืองเชยี งใหมก่ ลับคืนมาได้ เมื่อปี พ.ศ. 2205 ทั้งยังได้อัญเชิญพระพุทธ
สิหงิ คก์ ลบั คนื มายังกรงุ ศรีอยธุ ยาอีกดว้ ย
การสงครามกับพม่า

ดา่ นเจดยี ส์ ามองค์
เมื่อปี พ.ศ. 2206 มีพวกมอญอพยพมาจากพม่า เข้ามาทางด่านเจดีย์
สามองค์จานวนประมาณ 5000 คน ซง่ึ เคยยกไปเผ่าเมืองเมาะตะมะ ต่างพา
กันหนีเข้ามาพ่ึงพระบรมโพธิสมภารของพระนารายณ์ พระองค์ก็ทรงโปรด
เกล้าให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นต้ังบ้านเรือนอยู่บริเวณ ตาบลสามโคกบ้าง ที่
คลองดูจามบงั ที่ใกล้วดั ตองปูบัง ท้งั ยังได้พระราชทานส่ิงที่จาเป็นอ่ืน ๆ ด้วย
ต่อมา เจ้าเมืองอังวะ ได้ยกทัพตามพวกมอญท่ีหนีเข้ามารับราชการและต้ัง
หลักแหล่งในกรุงศรีอยุธยาคืน กองทัพของพระเจ้าอังวะยกมาทางด่านเจดีย์

สามองค์ สมเด็จพระนารายณ์จึงให้พระยาศรีหาราชเดโชกับพระยาโกษา
เหล็กยกทัพไปและตีทัพเมืองอังวะแตกพ่ายกลบั ไป ทง้ั ไดก้ วาดตอ้ นเชลยกลบั
เขา้ มายังกรุงศรอี ยธุ ยาเปน็ จานวนมาก

ด่านเจดยี ส์ ามองค์
ในปี พ.ศ. 2207 พระเจ้าแผ่นดินเมืองอังวะถูกลอบปลงพระชนม์
บ้านเมืองระส่าระสาย สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า พม่าเคยยกทัพโจมตี
ไทยและรบกวนพวกมอญท่ีเข้ามาพ่ึงพิงพระบรมโพธิสมภารอยู่บ่อย ๆ
พระองค์เหน็ เป็นโอกาสดีจึงจดั ทพั ไทยและทพั มอญยกไปทางเมอื งยาปนู ดา่ น
แมล่ ะเมาะทางดา่ นเจดียส์ ามองค์และทางเมอื งทะวาย กองทัพกรุงศรีอยุธยา
ยกไปรวมพลทเ่ี มืองเมาะตะมะ จากนั้นกบ็ กุ โจมตเี มอื งหงสาวดีและเมอื งแปร
ฝ่ายพม่ายกทัพหนีจากเมืองอังวะลงมาตั้งรับที่เมืองพุกาม ทัพไทยได้ล้อม
เมืองพกุ ามไวจ้ นกระท่ังถงึ ปี พ.ศ. 2208 จึงไดย้ กทัพกลับกรงุ ศรีอยธุ ยา

ดา้ นการติดตอ่ คา้ ขายกบั ตา่ งประเทศ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระ
เกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอก
ราชของชาติให้พน้ จากการเบยี ดเบยี นของชาวตา่ งชาตแิ ละรบั ผลประโยชนท์ งั้
ทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินาเข้ามา นอกจากน้ี ยังได้ทรง
อุปถัมภ์บารุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะท่ีรุ่งเรืองที่สุดในยุคน้ัน
เม่ือสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรี
อยุธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทาง
เกยี่ วข้องกับชาวต่างประเทศเป็นสว่ นใหญ่ ด้วยในขณะนนั้ มีชาวต่างประเทศ
เข้ามาคา้ ขาย และอยใู่ นราชอาณาจกั รไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่
สาคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกาลังทรัพย์ กาลังอาวุธ และผู้คน
ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก

และชาวยุโรปเหล่านี้กาลังอยู่ในสมัยขยายการค้า คริสต์ศาสนา และอานาจ
ทางการเมืองของพวกตนมาสดู่ ินแดนตะวนั ออก

เจ้าพระยาวชิ เยนทร์ (คอนสแตนตนิ ฟอลคอน)
ฝรั่งเศสเป็นชาติทีเ่ ข้ามาส่กู รุงศรอี ยุธยาเป็นชาติแรกคร้ัง “หลวง วิช
เยนทร์” เมอ่ื คร้งั ท่ีมีเจ้าของเรือกาปั้นของฝร่ังเศสได้บรรทุกสินค้าเข้ามาขาย
ในกรงุ ศรอี ยุธยา ขณะนนั้ สมเด็จพระนารายณ์จึงให้มกี ารตอ่ เรอื กาปน้ั ใหญข่ นึ้
ลาหนึง่ เมื่อเรือลานั้นต่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะนาลงจากอู่ต่อเรือ
สมเด็จพระนารายณ์บอกให้ล่ามถามชาวฝรั่งเศสคนน้ันว่า เมืองฝร่ังเศสเอา
เรอื กาปน้ั ลงจากอู่เขาทาอยา่ งไรจึงเอาลงไดง้ า่ ย ฝรั่งเศสพ่อคา้ รายนนั้ เปน็ คน
ฉลาด มีสติปัญญามากรู้และชานาญด้านการรอกกว้าน จึงบอกให้ล่ามกราบ
ทูลสมเด็จพระนารายณ์ว่า เขารับอาสาท่ีจะนาเรือลาน้ีออกจากอู่ด้วยตัวเอง

พ่อค้าฝรั่งเศสนายน้ันจัดการผูกรอกกว้าน และ จักรมัดผันชักกาปั้นลานั้น
ออกจากอู่ลงมาสู่ท่าโดยสะดวก จึงให้พระราชทานรางวัลมากมายท้ังยัง
แต่งต้ังให้เป็น “หลวงวิชเยนทร์” หลวงวิชเยนทร์ ได้รับพระราชทานที่
บ้านเรือนและเครื่องยศ ให้อยู่ทาราชการในพระนคร และน่ันเป็นการแสดง
ถึงพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่จาก
ชาวตา่ งประเทศและสร้างความสัมพันธอ์ นั ดีกับชนชาติอืน่ เปน็ การเปดิ ประตู
รับความรู้ใหม่จากโลกภายนอก โดยไม่จา กัดขอบเขตอยู่เฉพาะ
ภายในประเทศเท่าน้ัน หลวงวิชเยนทร์รับราชการสนองพระเจ้าอยู่หัวด้วย
ความจงรักภักดี มีวิริยะอุตสาหในราชกิจต่าง ๆ ของบ้านเมือง มีความชอบ
จนไดเ้ ล่อื นตาแหนง่ เป็น“พระยาวิชเยนทร์”

พระนารายณร์ าชนเิ วศ

ในปี พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี พระยา
พระคลัง และออกพระศรีพิพัทธ์รัตนราชโกษาได้ลงนามในสนธิสัญญาทาง
การค้ากับประเทศฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระองค์นั้น ชาวฮอลันดาได้กีดกัน
การเดินเรือค้าขายของไทย คร้ังหน่ึงถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้า
เจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทาสัญญายกประโยชน์
การค้าให้ตามท่ีต้องการ แต่เพ่ือป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จ
พระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสารอง อยู่เหนือข้ึนไป
จากกรุงศรอี ยธุ ยา และเตรียมสร้างปอ้ มปราการไว้คอยตอ่ ต้านข้าศึก

ราชทูตสยามนาโดยโกษาปานเขา้ เฝา้ พระเจา้ หลยุ สท์ ่ี 14
ท่ีพระราชวงั แวรซ์ าย

ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์กาลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ายี
และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในยุโรปมาแล้ว

จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ท่ี 14 ไว้ เพ่ือให้
ฮอลนั ดาเกรงขาม วันหนึง่ สมเดจ็ พระนารายณม์ ีพระราชโองการตรสั ถามพระ
ยาวชิ เยนทร์ว่า ในเมืองฝรั่งเศสมีของวิเศษประหลาดประการใดบ้าง พระยา
วิชเยนทร์จงึ กราบทลู ว่า “ในเมอื งฝรง่ั เศสมีชา่ งทานาฬกิ ายนต์ ปืนลม ปนื ไฟ
กลอ้ งสอ่ งทางไกลเป็นใกล้ กระทาของวิเศษอื่น ๆ ก็ได้ทุกอย่าง มีท้ังเงินทอง
ภายในวังของพระเจ้าแผ่นดินฝร่ังเศส ให้มีการหลอมเงินเป็นท่อน 8 เหล่ียม
ใหญ่ประมาณ 3 ลา ยาว 7 ศอก ถึง 8 ศอก กองอยู่บนริมถนนเป็นอันมาก
เหมือนดุจเสาอันกองไว้ กาลังคนแต่ 13 คน หรือ 14 คนจะยกท่อนเงินนั้น
ขึ้นไม่ไหว ภายในท้องพระโรงช้ันในนั้นคาดพ้ืนด้วยแผ่นศิลา มีสีต่าง ๆ
จาหลักลายฝังด้วยเงินทองและแก้ต่าง ๆ สีเป็นลดาวัลย์ และต้นไม้ดอกไม้
ภูเขาและรูปสัตวต์ ่าง ๆ พนื้ ผนงั ก็ประดับด้วยกระจกภาพกระจกเงาอันวิจิตร
น่าพิศวง เบื้องบนเพดานนั้นใช้แผ่นทองบ้างดุจแผ่นทองอังกฤษ ตัดเป็นเส้น
น้อย ๆ แล้วผู้เข้าเป็นพวกพู่ห้อยย้อยและแขวนโคมแก้วมีสันฐานต่าง ๆ มีสี
แก้วและสีทองรุ่งเรืองโอภาสงดงามยิ่งนัก” สมเด็จพระนารายณ์ทรงฟังคา
สรรคเ์ สรญิ ยกย่องความวิเศษของเมอื งฝร่ังเศสอยา่ งยดื ยาวแลว้ พระองคก์ ห็ า
ไดเ้ ช่ือทันทีทันใดไม่ พระองคท์ รงดาหรขิ นึ้ วา่ ใครจะเห็นความจรงิ จงึ ดารัสแก
พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) “เราจะแต่งกาป้ันไปเมืองฝรั่งเศส จะให้ผู้ใดเป็น
นายกาปนั้ ออกไปสืบดขู องวเิ ศษยงั จะมีสมจริงเหมือนคาของพระยาวชิ เยนทร์
หรือประการใด” พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) จึงกราบทูลว่าผู้ที่จะเป็นนาย
กาปัน้ น้ันไมม่ ใี ครนอกจากนายปาน ซึง่ เป็นนอ้ ยชายตนสามารถทจี่ ะไปสืบข้อ
ราชการ ในเมืองฝรั่งเศสตามพระประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์ ดังนั้น
พระองค์จึงเรียกนายปานเข้าเฝ้าเพ่ือสอบถามความสมัครใจอีกคร้ังหนึ่ง
“อ้ายปานมึงมีสติปัญญาอยู่ กูจะให้เป็นนายกาปั้นไป ณ เมืองฝร่ังเศส สืบดู

สมบัติพระเจ้าฝรั่งเศส ยังจะสมดังคาพระยาวิชเยนทร์กล่าว หรือ จะมิสม
ประการใด จะใคร่เหน็ เทจ็ และจริงจะไดห้ รอื มิได้” นายปานน้องชายพระยา
โกษาธิบดี (เหล็ก) กราบทูลพระกรุณารับอาสาจะไปเมืองฝรั่งเศสตาม
พระราชดาริของสมเด็จพระนารายณ์ ได้จัดแจงเตรียมหาคนดีมีวิชามาคน
หน่งึ ซ่ึงเคยเรยี นพระกรรมฐานชานาญในการเพง่ กระสณิ มีความร้วู ิชามากแต่
เป็นนักเลงสุรา พระนารายณ์ก็ยินยอมให้ไปด้วย นายปานก็มีความยินดี
จากนั้นก็จัดหาพวกฝร่ังเศสมาเป็นต้นหนถือท้ายและกลาสีเรือ พระยา
โกษาธิบดนี าคณะเดนิ ทางเจริญสัมพันธไมตรีท่ีจะไปยัง ประเทศฝรั่งเศส เข้า
เฝ้าพระนารายณ์ก็ทรงแต่งพระราชสาสน์ให้นายปานเป็นราชฑูตแห่งกรุงศรี
อยุธยา และประกอบด้วยข้าหลวงอ่ืนเป็นอุปฑูต ให้จาทูลพระราชสาสน์นา
เคร่อื งราชบรรณาการออกไปเจรญิ ทางพระราชไมตรที ่เี มอื งฝรงั่ เศส ตามพระ
ราชประเพณี พระราชทานรางวัลและเครื่องยศแก่ทูตานุฑูต โดยควรแก่ฐานุ
ศักด์ิ นับตั้งแตน่ ้นั นายปานจงึ ได้รบั แตง่ ตัง้ เปน็ พระยาโกษาปาน ราชฑูตของ
กรุงศรอี ยุธยากก็ ราบบงั คมลาสมเดจ็ พระนารายณ์ พาพรรคพวกลงเรือกาปั่น
ใหญ่ ใช้เวลา 4 เดือน ก็ถึงบริเวณใกล้ปากน้าเมืองฝรั่งเศส บังเอิญขณะนั้น
เกิดพายุใหญ่เรือถูกซัดเข้าไปในกระแสน้าวน ต้องแล่นเรือเวียนอยู่ 3 วัน จึง
แล่นถึงปากน้าฝร่ังเศสจากน้ันจึงได้ขึ้นฝั่งได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุง
ฝรัง่ เศส พระยาโกษาปาน ก็ไปปฏิบัติหน้าที่ฑูตไทยเป็นอย่างดีและได้รับการ
ยกย่องจากฝร่ังเศสรวมท้ังชาวต่างประเทศอื่น ๆ พระยาโกษาปานเปนราช
ฑูตไทยคนแรก และประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเซียที่ส่งราชฑูตเจริญ
สมั พนั ธไมตรกี ับฝรั่งเศส

ราชทูตไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากซ้าย "ออกพระวิสุทธ
สุนธร" ซ่ึงรู้จักกันต่อมาในนาม "พระยาโกษาธิบดี" (ปาน) ราชทูต,
ออกหลวงกลั ยาราชไมตรี" อุปทตู และ "ออกขนุ ศรวี สิ ารวาจา" ตรีทูต

ในรัชสมัยของพระองค์น้ัน กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งคณะทูตไปเข้าเฝ้าพระ
เจา้ หลุยสท์ ่ี 14 ยังประเทศฝรั่งเศส รวมท้ังสิ้น 4 ชุดด้วยกัน คณะทูตชุดแรก
ท่ีไปเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศฝร่ังเศส ใน พ.ศ.2223 มีพระพิพัฒนารา
ชไมตรี เป็นราชทูต หลวงวิสารสุนทรเป็นอุปทูต และขุนนครศรีวิชัย เป็นตรี
ทูต โดยมีบาทหลวงเกม (Gayme) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาเผยแผ่
ศาสนาคริสต์ในอยุธยา และสามารถพูดภาษาไทยได้ดีทาหน้าที่เป็น
ลา่ ม

คณะทตู ชุดน้อี อกเดนิ ทางจากอยธุ ยาโดยเรอื สนิ คา้ ของฝรงั่ เศสทช่ี อื่ “โว
ดูส์” ถึงเมืองบันตัมในหมู่เกาะชวา และได้พักอยู่ท่ีน่ันเป็นเวลา 6 เดือน

จากน้ันจึงโดยสารเรือฝรั่งเศส อีกลาหน่ึงชื่อ “โซเลย์ดอริอองต์” (Soleil d’
Orient) ออกเดินทางจากเมืองบันตัม ใน พ.ศ.2225 หลังจากน้ันเรือลานี้ได้
หายสาบสญู ไปในมหาสมทุ รอนิ เดียโดยไม่ทราบสาเหตุ ในเวลาต่อมา สมเด็จ
พระนารายณ์ โปรดใหต้ งั้ คณะทตู ขึ้นอกี ชดุ หนึง่ ซึง่ เป็นข้าราชการช้ันผู้น้อย มี
ขุนพไิ ชยวาณิช กบั ขุนพิชิตไมตรีเดินทางออกไปสบื ขา่ วยังประเทศฝรง่ั เศส ใน
การไปครัง้ นี้ โปรดฯ ให้นานักเรียนไทยไปดว้ ย 4 คน เพอ่ื ศึกษาวิชาการต่างๆ
และฝึกหัดขนบธรรมเนียมตามแบบอย่างของชาวฝรั่งเศส อีกท้ังทรงขอให้
ทางฝร่ังเศส แตง่ ทูตผมู้ ีอานาจเตม็ เขา้ มาทาสญั ญาพระราชไมตรอี กี ดว้ ย คณะ
ทตู ชดุ น้มี ิได้เขา้ เฝ้าพระเจา้ หลยุ ส์ท่ี 14 อย่างเป็นทางการ เพราะมิได้อัญเชิญ
พระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์ไปด้วยเป็นแต่เพียงถือศุภอักษรของ
เสนาบดไี ป

ข่าวคณะทูตไทย ชุดก่อนที่ได้หายสาบสูญไปมิทราบข่าวคราว และ
ไดแ้ จ้งพระราชประสงคข์ องสมเด็จพระนารายณ์ว่าทรงใคร่ขอให้ทางฝรั่งเศส
ส่งคณะทูตมายังอยุธยาเพ่ือทาสัญญาค้าขายด้วยคณะบาทหลวงฝร่ังเศส ท่ี
เคยเขา้ มาสอนศาสนาในอยุธยาไดก้ ราบทูลพระเจา้ หลุยส์ท่ี 14 ว่าหากมีพระ
ราชสาส์นเชื้อเชิญให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงเข้ารีต นับถือศาสนาคริสต์
โรมันคาทอลิกแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ ก็คงไม่ขัดพระราชอัธยาศัย อีกทั้ง
ประชาชนอยุธยาท้ังหมดก็จะหันมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ตามด้วยอย่างแนน่ อน

ภาพเชอวาลเิ ยร์ เดอ โชมงตเ์ ขา้ เฝา้ สมเดจ็ พระนารายณ์
เพื่อถวายพระราชสาสน์ ของพระเจา้ หลยุ สท์ ่ี 14

พระเจ้าหลยุ สท์ ่ี 14

พระเจา้ หลยุ สท์ ี่ 14 ทรงมคี วามมุ่งมัน่ ในการเผยแผค่ รสิ ต์ศาสนาอยู่แลว้
จึงทรงเหน็ ชอบตามคากราบทูลของบาทหลวง และทรงแต่งตั้งให้เชอวาลิเอร์
เดอ โชมองต์ เป็นเอกอัครราชทูต และมีบาทหลวงเดอชัวซีย์เป็นผู้ช่วยทูต
เชิญพระราชสาส์นของพระองค์มาถวายสมเด็จพระนารายณ์ คณะทูตของ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้เดินทางโดยเรือรบฝรั่งเศส 2 ลา ออกจากท่าเมืองเบ
รสต์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2228 และเข้ามาถึงปากน้าเจ้าพระยาในวันท่ี
23 กนั ยายน ปเี ดยี วกนั

สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช ครง้ั เสดจ็ ออกรบั คณะฑูต ฝมี ือวาดชา่ งฝรงั่ เศส
จากหนังสอื นวนยิ ายเรอื่ ง รกุ สยามในนามของพระเจ้า
โดย มอรก์ าน สปอรแ์ ตช

สมเดจ็ พระนารายณโ์ ปรดให้ประกอบพิธตี ้อนรับอยา่ งมโหฬาร ในการที่
คณะทูตฝร่ังเศสเข้าเฝ้าคร้ังนี้ สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้สิทธิพิเศษไม่ต้อง
ถอดรองเท้าและหมอบคลานเหมือนกับ ทูตของประเทศอื่น และหลังจากที่
เชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของพระเจา้ หลยุ สท์ ี่ 14
แล้ว สมเด็จพระนารายณ์ ยังโปรดฯ ให้คณะทูตเข้าเฝ้าเป็นพิเศษอีก หลาย
ครั้ง โดยมฟี อลคอนหรือเจา้ พระยาวชิ าเยนทร์รอรบั อยู่ดว้ ย

เจ้าพระวิชาเยนทร์ก็สนับสนุนให้อยุธยาและฝรั่งเศส ทาสนธิสัญญา
เป็นพันธมิตรกัน แต่เชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ มิได้ให้ความสนใจในเร่ือง
ดงั กล่าว คงมงุ่ แต่จะเกลี้ยกลอ่ มใหส้ มเดจ็ พระนารายณ์เปล่ียนไปนบั ถือคริสต์
ศาสนาตามพระราชดาริ ของพระเจ้าหลุยส์ท่ี 14 สมเด็จพระนารายณ์ กลับ
มิได้ทรงตอบตกลงแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันทรงมีพระประสงค์ท่ีจะผูก
สมั พนั ธก์ ับฝรงั่ เศส จึงทรงยอมใหบ้ าทหลวงฝรั่งเศสสอนศาสนา สอนหนังสือ
และตงั้ โรงพยาบาล ตามแบบยโุ รปไดโ้ ดยเสรี

กระบวนพยหุ ยาตราทางชลมารคในปี พ.ศ. 2228
สมยั ทคี่ ณะราชทตู ฝร่ังเศสอยู่ในอยธุ ยา

เชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ กับคณะทูตฝรั่งเศสได้พานักอยู่ในกรุงศรี
อยธุ ยาประมาณ 2 เดือนเศษ จึงไดเ้ ดนิ ทางกลับประเทศฝร่ังเศส สมเด็จพระ
นารายณ์ทรงฝากฝังคณะราชทูตชุดที่สามของพระองค์ท่ีมีพระวิสุทธสุนทร
หรือโกษาปาน หลวงกัลยาณราชไมตรี และขุนศรีวิสารวาจา ซึ่งทรงแต่งต้ัง
เมื่อวันที่ 28 ตลุ าคม พ.ศ.2228 ใหเ้ ป็นราชทูต อุปทูต และตรีทูต ตามลาดับ
ไปกับเรอื ที่จะนาคณะทูตฝร่ังเศสกลับด้วย คณะทูตไทยชุดน้ี ได้เดินทางออก
จากกรุงศรีอยุธยาโดยเรือลัวโซและมาลิน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2228
พร้อมกับคณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไปถึงท่าเมืองเบรสต์ เม่ือวันที่ 18
มถิ นุ ายน พ.ศ.2229 เน่อื งดว้ ยขณะนนั้ พระเจ้าหลยุ สท์ ี่ 14 ทรงพระประชวร
อยู่ ทางฝร่ังเศสจึงยังมิได้กาหนดวันเข้าเฝ้า และเจ้าพนักงานได้นาคณะ

ราชทูตไทย ชมเมืองต่างๆ แล้วจึงเดินทางมายังกรุงปารีส เม่ือวันที่ 12
สิงหาคม พ.ศ.2229 ก่อนถึงกาหนดเข้าเฝ้าถวายพระราชสาสน์ แด่พระเจ้า
หลุยส์ที่ 14 เพียงไม่ก่ีวัน คณะทูตไทย ซึ่งมีพระวิสุทธสุนทร เป็นราชทูต ได้
พานักอยูใ่ นประเทศฝร่งั เศสเป็นเวลา 8 เดือนกับ 12 วัน จึงได้ทูลลาพระเจ้า
หลุยส์ท่ี 14 กลับอยุธยา พระเจ้าหลุยส์ท่ี 14 ได้โปรดฯ ให้เดินทางกลับไป
พร้อมราชทูตของพระองค์อีกชุดหน่ึง ประกอบด้วย โกลด เซเบเรต์ เดอ บุล
เล (Claude Ceberert de Boullay) ผู้อานวยการผู้หนึ่งของบริษัทอินเดีย
ตะวันออกของฝร่งั เศสเปน็ ราชทตู คนท่หี นึ่ง และซิมอง เดอ ลา ลแู บร์ ซง่ึ เป็น
เนติบัณฑิตฝร่งั เศส นกั คณติ ศาสตร์ นักปรชั ญา และนักแตง่ เพลง เปน็ ราชทูต
คนท่ีสอง คณะทูตชุดน้ี เดินทางมาถึงอยุธยาเม่ือวันท่ี 27 กันยายน พ.ศ.
2230

เรอื นรบั รองคณะราชทตู ฝรง่ั เศสรมิ แมน่ า้ เจ้าพระยา
สรา้ งขนึ้ เปน็ การชว่ั คราวกย็ งั เปน็ เรอื นกย็ กใตถ้ นุ สงู เพอ่ื กนั นา้ ทว่ ม

เม่ือเซเบเรต์ ซ่ึงเป็นอัครราชทูตคนท่ีหน่ึงของคณะทูต ฝรั่งเศสทา
สนธสิ ัญญาเกยี่ วกบั สทิ ธิพเิ ศษของบรษิ ัทอินเดียตะวนั ออกของฝรั่งเศสและลง
นามกันเรียบร้อยแล้ว จึงได้เดินทางกลับฝร่ังเศส เม่ือช่วงปลาย พ.ศ.2230
ส่วนลาลูแบร์ น้ันยังคงพานักอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ต่อไปอีกหนึ่งเดือน เพื่อ
รวบรวมข้อมูลต่างๆ ทเ่ี ก่ยี วกับอยธุ ยา เมื่อไดห้ ลักฐานตามต้องการแล้ว จึงได้
เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเม่ือวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2231 สมเด็จพระ
นารายณ์ โปรดฯ ให้บาทหลวงตาชาร์ด อัญเชิญพระราชสาส์น ของพระองค์
ไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และสันตะปาปาอินโนเซนต์ท่ี 11 ที่กรุงโรม
พร้อมท้ังมีข้าราชการช้ันผู้น้อยกากับเคร่ืองราชบรรณการ ไปด้วย 3 คน คือ
ขุนวิเศษ ขุนชานาญ และขุนภูเบนทร์ ร่วมด้วยนักเรียนไทยติดตามไปเพ่ือ
ศึกษาวิชาการต่างๆ อีกหลายคน เรือของคณะทูตชุดลาลูแบร์เดินทางออก
จากปากแม่น้าเจ้าพระยาในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2231 และถึงฝรั่งเศสใน
เดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอยุธยา และ
ฝร่ังเศสถือวา่ รงุ่ เรอื งอยา่ งยง่ิ ในสมัยของสมเดจ็ พระนารายณ์

ศาสนาคริสตังในยุคนั้นดูเหมือนจะเป็นที่รังเกียจของชนชาติต่าง ๆ ใน
แถบตะวันออก ตัวอย่างของเรื่องน้ีได้แก่ การท่ีทางการญ่ีปุ่นทาการขัดขวาง
การสอนศาสนาครสิ ตังในประเทศนน้ั ซง่ึ ทาใหผ้ ู้ที่นบั ถือศาสนาคริสตังตา่ งพา
กันเดินทางมายังเมืองไทยเป็นจานวนมาก สมเด็จพระนารายณ์ทรงเปิด
โอกาสให้ราษฎรเลอื กนบั ถอื ศาสนา โดยอิสระ คนไทยก็ไม่มีความรังเกียจต่อ
ศาสนาใด ๆ พวกศาสนานั้น ๆ ก็ยึดเอาเมอื งไทยเปน็ ศูนยก์ ลางสาหรบั กจิ การ
เผยแพร่คริสต์ศาสนา นอกจากน้ีแล้วชาวฝร่ังเศสก็พยายามหาทางตอบแทน
คุณความดีของคนไทยด้วยเชน่ กัน

สมเด็จพระนารายณ์ทรงสร้างความสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส
ดาเนินไปด้วยดี มีการแลกเปลี่ยนด้านความรู้ต่าง ๆ หลายสาขา โดยเฉพาะ
ด้านศาสนา ฝรั่งเศสได้ส่งบาทหลวงที่มีความรู้ทางวิชาการอย่างสูงมาสอน
ศาสนาคริสตังในกรงุ ศรอี ยุธยา สาหรบั ประโยชน์ท่ีได้จากนักสอนศาสนาน้ัน
นับว่ามีอยู่หลายประการ คือทาให้เกิดผลดีในสังคมเช่นการตั้งโรงเรียนให้
การศกึ ษา การตงั้ โรงพยาบาล หรอื การสงเคราะหช์ ุมชนที่ขาดแคลนและเด็ก
กาพร้าแต่ต่อมาพระเพทราชาพระมหากษัตริย์รัชกาลถัดมาทรงระแวงว่า
ฝรั่งเศสมีแผนการท่ีจะยึดกรุงศรีอยุธยา จึงมีพระราชประสงค์ที่จะขับไล่
ฝรงั่ เศสออกไปจากพระราชอาณาจักรและหันไปแสวงหาความช่วยเหลือจาก
ฮอลันดา การณค์ ร้ังนี้ทาให้ความสัมพันธท์ างการทตู กบั ฝรงั่ เศสตอ้ งหยดุ ชะงกั
ลงในที่สดุ

สมเดจ็ พระนารายณเ์ ปน็ ผสู้ รา้ งเมืองลพบรุ ขี นึ้ เปน็ ราชธานแี หง่ ทสี่ อง

พระบรมราชานสุ าวรยี ส์ มเดจ็ พระนารายณม์ หาราช
ณ นารายณร์ าชนเิ วศน์

สมเด็จพระนารายณ์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความคิดก้าวหน้า มอง
การณ์ไกลได้ว่ากรุงศรีอยุธยาอยู่ในชัยภูมิท่ีล่อแหลมต่ออันตราย เพราะเม่ือ
คราวที่เรือรบ ฮอลันดาปิดอ่าวไทย บทเรียนครั้งนั้นทาให้พระองค์คิดย้าย
เมืองหลวงของกรุงศรีอยุธยาไปอยู่ท่ีลพบุรี ทรงสร้างเมืองลพบุรี สร้าง
นารายณ์ราชนิเวศน์เป็นพระราชวังประทับของพระองค์ จัดสร้างการประปา
และชลประทานทอี่ านวยความสะดวกขึ้น นอกจากเมืองลพบุรีแล้วพระองค์ก็
ทรงสรา้ งเมืองนครราชสีมาและป้อมค่ายตา่ ง ๆ อีกมากมาย

พระราชวงั สมเด็จพระนารายณม์ หาราชทล่ี ะโว้

การที่พระองค์โปรดให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง และโปรด
ประทับทเ่ี มอื งลพบุรีปีละ 8 - 9 เดือนน้ันเป็นการนาความเจริญ รุ่งเรืองมาสู่
เมืองลพบุรี เพราะมีการนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าสู่เมืองลพบุรี อาทิ ระบบ
ประปา หอดูดาว สร้างกาแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปืนเมืองลพบุรี จึง
คึกคักมีชีวิตชีวา ตลอดรัชกาลของพระองค์ มีการคล้องช้าง มีชาวต่างชาติ
คณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี มีบาทหลวงเข้ามาส่องกล้องดูดาว ดู
สุริยุปราคา จันทรุปราคา เม่ือพระองค์สวรรคต เมืองลพบุรีก็ถูกทิ้งร้างอยู่
ระยะหนึ่ง แต่ยังมีอนุสรณ์สถาน ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ เมือง
ลพบุรี เปน็ มรดกตกทอด ให้ชาวเมืองลพบรุ ี ได้ภาคภูมใิ จ

ดา้ นวรรณกรรม

สมเด็จพระนารายณ์มิใช่เพียงทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการทูต
เท่าน้ัน หากทรงเป็นกวีและทรงอุปถัมภ์กวีในยุคของพระองค์อย่างมากมาย
กวีลือนามแห่งรัชสมัยของพระองค์ก็ได้แก่ พระโหราธิบดี หรือพระมหาราช
ครู ผู้ประพันธ์หนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตาราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และ
ตอนหนึ่งของเรื่องสมุทรโฆษคาฉันท์ (อีกตอนหน่ึงเป็นพระราชนิพนธ์ของ
สมเด็จพระนารายณ์) กวีอีกผู้หนึ่งคือ ศรีปราชญ์ ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตร
ของพระโหราธิบดี งานช้ินสาคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกาศรวลศรี
ปราชญ์ และอนุรุทรคาฉันท์ด้วยพระปรีชาสามารถดังได้บรรยายมาแล้ว
สมเด็จพระนารายณ์จึงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น มหาราชพระองค์หน่ึง

ว ร ร ณ ก ร ร ม ท่ี ป ร า ก ฏ ห ลั ก ฐ า น ว่ า แ ต่ ง ขึ้ น ใ น รั ช ก า ล ส ม เ ด็ จ พ ร ะ
นารายณ์ พระราชนิพนธ์โคลง เร่ืองทศรถสอนพระราม พระราชนิพนธ์โคลง
เรอื่ ง พาลีสอนน้อง พระราชนิพนธ์โคลง เรื่องราชสวัสด์ิ สมุทรโฆษคาฉันท์
ส่วนตอนต้นเช่ือกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน

สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรม
สถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกตู ายกจ็ ะตายผเู้ ดียวใครจะแลดู โอ้แกว้ กบั ตน
กู ฤเห็น และบทพระราชนิพนธ?โคลงโต้ตอบกับศรีปราชญ์และกวีมีช่ือคา
ฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งใน
คราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. 2203 เป็น
ต้น ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทาให้มีหนังส่ือเร่ืองสาคัญ ๆ ในรัชสมัยนี้เป็น
จานวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของ
หลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตาราเรียนเล่ม
แรกของประเทศไทย) และอนิรทุ ธคาฉันท์ เปน็ ตน้

ภาพเหตกุ ารณส์ มเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเสด็จทอดพระเนตร
จันทรปุ ราคา ณ พระทนี่ ง่ั เยน็ ทะเลชบุ ศร เมอื งลพบรุ ี
เมื่อวนั ท่ี 11 ธนั วาคม พ.ศ. 2228

ในคณะราชทูตที่มาเจริญสัมพันธไมตรีในคร้ังแรกเม่ือปีพ.ศ. 2228
ฝรั่งเศสได้ส่งบาทหลวงคณะเจซูอิตจานวน 6 ท่านเดินทางร่วมมาด้วย โดย
คณะบาทหลวงดังกล่าวเป็นนักวิชาการที่มีความรู้ด้านภูมิศาสตร์ และดารา
ศาสตร์ โดยในช่วงเวลาทอ่ี ยูใ่ นราชอาณาจักรสยาม คณะบาทหลวงเจซูอิตได้
สงั เกตการณแ์ ละบันทกึ จันทรปุ ราคาไว้ถึง 2 ครั้ง ซ่ึงเกิดข้ึนในเดือนธันวาคม
พ.ศ. 2228 และเดอื นพฤศจิกายน พ.ศ. 2229 ตามลาดบั โดยในครงั้ แรกนน้ั มี
ภ า พ เ ขี ย น บั น ทึ ก เ ห ตุ ก า ร ณ์ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ น า ร า ย ณ์ ม ห า ร า ช ท ร ง เ ส ด็ จ
ทอดพระเนตรจันทรุปราคาเต็มดวง ณ พระที่นั่งเยน็ ทะเลชบุ ศร เมืองลพบุรี
เม่ือวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 เวลา 03.00 นาฬิกา โดยในครั้งน้ัน
บาทหลวงคณะเจซูอิตได้เตรียมกล้องโทรทรรศน์ยาว 5 ฟุตไว้ให้สมเด็จพระ
นารายณ์มหาราชทรงทอดพระเนตรท่ีช่องพระบัญชรท่ีเปิดออกสู่ลานพระ
ระเบียง นอกจากน้ีมีผู้คนราว 46,000 ถึง 47,000 คนซ่ึงทาการล้อมป่าและ
ภูเขาในการล่าช้าง ได้ชมจันทรุปราคาเต็มดวงด้วย โดยคราสจับเต็มดวงเม่ือ
เวลา 4:22:45 นาฬกิ า นอกจากน้ี พระองคย์ ังทรงไดท้ อดพระเนตรดว้ ยกล้อง
ส่องดาวขนาด 12 ฟุตอีกด้วย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแสดงความพระ
ราชหฤทัยเป็นพิเศษเม่ือได้ทอดพระเนตรเห็นจุดจ่างๆ บนดวงจันทร์จาก
กล้องส่องดาว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประจักษ์ว่าแผนที่อุปราคาที่หอดู
ดาวท่กี รงุ ปารีสทาข้ึนนน้ั ความถกู ตอ้ งตามทีเ่ ป็นจริงทุกประการ

พระทน่ี ง่ั ไกรสรสหี ราช (พระทนี่ ง่ั เยน็ )

พระทน่ี งั่ ไกรสรสหี ราช (พระทน่ี ง่ั เยน็ หรอื ตาหนักทะเลชบุ ศร) ตงั้ อยทู่ ี่
ตาบลทะเลชบุ ศร อาเภอเมอื งลพบรุ ี ถือเปน็ สถานทซี่ งึ่ มคี วามสาคญั ทาง
ประวัตศิ าสตรเ์ ปน็ อยา่ งมาก เนอื่ งจากในอดตี พระทนี่ ง่ั แหง่ นเี้ คยเปน็ ท่ี
ประทบั อกี แหง่ หนงึ่ ของ สมเด็จพระนารายณม์ หาราช ณ เมอื งลพบุรี องค์
พระทนี่ ง่ั ตงั้ อยบู่ นเกาะกลางทะเลชบุ ศร

หอดดู าวแห่งแรกของประเทศไทย

วดั สนั เปาโล ในปัจจบุ ัน
การเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสน้ัน เกิดข้ึนในช่วงห้าปีสุดท้ายของ
การครองราชย์ โดยในช่วงเวลาดังกล่าวสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดที่
จะประทับท่ีเมืองลพบุรี โดยจะเสด็จประทับนาน 8 ถึง 9 เดือนต่อปี ดังน้ัน
ในชว่ งพ.ศ. 2228 ถงึ 2230 ท่ีบาทคณะหลวงจซูอิตได้เข้ามาดาเนินกิจกรรม
และเผยแพร่ศาสนาและความรู้ด้านดาราศาสตร์ในราชอาณาจักรสยาม
พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าพระราชทานสร้างหอดูดาว (พร้อมกับโบสถ์และที่
พัก) ให้แก่บาทคณะหลวงจซูอิต ณ วัดสันเปาโล เมืองลพบุรี ซึ่งถือได้ว่า
สถานที่ดงั กลา่ วเปน็ หอดูดาวแห่งแรกของประเทศไทย

ภาพสเกตของหอดดู าวทรง 8 เหลยี่ ม ณ วัดสันเปาโล ลพบรุ ี

การเกดิ สรุ ยิ ปุ ราคาในสมยั พระนารายณ์ เส้นทางสรุ ยิ ปราคาเตม็ ดวง
30 เมษายน 2231

ภาพเหตกุ ารณส์ มเดจ็ พระนารายณม์ หาราช
ทรงเสด็จทอดพระเนตรสรุ ยิ ปุ ราคา ณ พระทน่ี ง่ั เยน็ ทะเลชบุ ศร เมอื ง

ลพบรุ ี เมอื่ วนั ท่ี 30 เมษายน พ.ศ. 2231

นอกจากจะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาถึงสองคร้ังในรัชสมัยของ
พระองคแ์ ลว้ ในปีค.ศ. 1688 (พ.ศ. 2231) ยงั ได้เกดิ ปรากฏการณ์สรุ ยิ ุปราคา
ขึ้นในวันที่ 30 เมษายน สุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งน้ัน สังเกตเห็นได้ใน
ประเทศอินเดีย จีน ไซบีเรีย และทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ
ในขณะที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเส้นทางเงามืด จึงสังเกตเห็นได้เป็น
สุริยุปราคามืดบางส่วนสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเสด็จทอดพระเนตร
สุริยุปราคา ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี โดยมีภาพวาดบันทึก
เหตุการณ์ดังกล่าว โดยปัจจุบันภาพต้นฉบับน้ีเก็บรักษาอยู่ในพิพพธภัณฑ
สถานแห่งชาติ ณ กรุงปารีส โดยในภาพจะเห็นบาทหลวงใช้เทคนิครับภาพ

ดวงอาทิตย์มาปรากฏบนฉากสีขาวนอกกล้อง เพื่อให้สังเกตภาพดวงอาทิตย์
ได้ โดยไมเ่ ป็นอนั ตรายแก่นัยนต์ า และจากภาพจะเหน็ ขุนนางไทยท่นี ัง่ ในแถว
ซา้ ยมือคนแรกน้ันกล่าวกันว่าเป็นพระเพทราชา และสันนิษฐานได้ว่าขุนนาง
ไทยแต่งกายชุดขาวท่ีกาลังหมอบสังเกตคราสอย่างใกล้ชิดท่ามกลางคณะ
บาทหลวงฝรง่ั เศสก็คอื ออกญาวิชาเยนทร์
การทหาร

ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงปราบปรามเมืองน้อย
ใหญ่ใหเ้ ปน็ มาสวามิภักดิ์ ทงั้ หวั เมอื งทางเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลาพูน ส่วนศึก
กบั พมา่ แมจ้ ะมีอยใู่ นเวลานี้ แตก่ ท็ รงจดั ทพั ตีพ่ายกลับไปอยูเ่ นือง กจิ การของ
กองทัพนับว่ารงุ่ เรืองและย่งิ ใหญ่ สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงชานาญในการ
ศกึ คลอ้ งชา้ ง และทรงซ้อื อาวธุ จากต่างชาติสาหรับกิจการของกองทพั ด้วย

เสนาบดบี คุ คลสาคญั สมยั สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช

เจา้ พระยาโกษาธบิ ดี(ปาน)
โกษาปาน หรือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) (พ.ศ. 2176–2242) เป็น
ข้าราชการในอาณาจักรอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นเอกอัครราชทูต
คนสาคัญทเี่ ดนิ ทางไปเจริญสมั พันธไมตรกี บั ราชสานักฝร่งั เศสเมอื่ พ.ศ. 2229
ปานเป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต (บัว) ซึ่งเป็นพระนมในสมเด็จพระนารายณ์
กับขนุ นางเชอ้ื สายมอญ เช้ือสายของพระยาเกียรด์ิ พระยาราม เกิดในรชั สมยั
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ
นอกจากนี้ เขายงั เปน็ ปขู่ องพระยาราชนิกูล (ทองคา) ซึ่งเป็นบิดาของสมเด็จ
พระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลก ปานได้บรรดาศักดิ์ ออกพระวิสุทธิสุนทร และได้รับแต่งต้ังเป็นทูต
ออกไปเจรญิ สมั พันธไมตรีกบั ฝรัง่ เศส

เจา้ พระยาโกษาธบิ ดี (เหลก็ )

โกษาเหล็ก หรือเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “โกษา
เหล็ก” เป็นหน่ึงในเสนาบดีคนสาคัญท่ีสุดของสมเด็จพระนารายณ์ มีความ
ใกลช้ ิดกับพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เนื่องจากมารดาของท่านคือเจ้าแม่
วดั ดสุ ติ พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ ท่านได้ดารงตาแหน่ง “โกษาธิบดี”
จตุ สดมภ์กรมพระคลัง ทาหนา้ ทด่ี ูแลการคลังและกจิ การตา่ งประเทศของราช
สานกั รบั ผิดชอบหัวเมืองชายทะเลตั้งแต่เพชรบุรีไปถึงตะนาวศรี นอกจากนี้
ยังเป็นขุนศึกคู่พระทัย ได้เป็นแม่ทัพใหญ่ในสงครามหลายคร้ัง ทั้งสงครามตี
เมืองเชียงใหม่ (พ.ศ.2205) สงครามกับพม่า (พ.ศ. 2207) และสงครามกับ
ล้านช้าง (พ.ศ.2213 – 2216) หลักฐานร่วมสมัยของต่างประเทศหลายชิ้น
ระบวุ ่าเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เป็นอัครมหาเสนาบดีที่ทรงอิทธิพลท่ีสุด
ในราชสานัก มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมีความสามารถ และเนื่องจากรัชกาล
สมเดจ็ พระนารายณไ์ มท่ รงตง้ั ตาแหน่งจักรีหรือสมุหนายก เน่ืองจากทรงเห็น
ว่ามีอิทธิพลมากเกินไป โปรดตั้งเสนาบดีให้ว่าที่ไปเป็นคร้ังคราวเท่าน้ัน ก็
ปรากฏว่าโปรดให้เจา้ พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ว่าทจี่ กั รีในบางครงั้ ดว้ ย

ขนุ ศรวี สิ ารวาจา
ขุนศรีวิสารวาจา หรือ หม่ืนสุนทรเทวา ถือว่าเป็นบุคคลสาคัญทางการ
ทูต และได้ร่วมอยู่ในคณะทูตที่ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับฝร่ังเศส เม่ือปี พ.ศ.
2229 โดยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ท่ี 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ เหตุท่ีออกขุน
ศรวี สิ ารวาจาได้รบั แต่งต้งั เปน็ ตรีทตู ไปฝร่งั เศส เดอ วีเซ ได้บรรยายไว้ว่า “ที่
จรงิ ท่านยงั หนมุ่ มากอยู่ ความสามารถยงั มิได้ปรากฏขนึ้ ทไ่ี หน แต่อาศัยเหตทุ ี่
บดิ าของทา่ นเคยเป็นราชทตู ไปเจรญิ ทางพระราชไมตรีทีพ่ ระราชสานักปอร์ตุ
คาลมาแล้ว จงึ นับเหมอื นว่าท่านเป็นเชือ้ ชาตริ าชทูต พระเจา้ กรุงสยามจึงทรง
แต่งตงั้ ให้เป็นตรีทูตมาเพอ่ื ดแู ลการงานเมือง คล้ายๆ กบั ให้มาฝกึ ซอ้ มมอื ซอ้ ม
ใจใหเ้ ป็นราชทตู ตามตระกลู ต่อไปขา้ งหน้า” จึงสันนิษฐานว่าออกขุนศรีวิสาร
วาจาและบิดาน่าจะรับราชการอยู่ในกรมพระคลังหรือกรมท่า ซึ่งรับผิดชอบ
เร่ืองการต่างประเทศเหมือนกัน ตามปกติของขุนนางไทยสมัยโบราณที่บิดา
มักถา่ ยทอดความรู้ราชการในกรมท่ีรับผิดชอบให้บุตร เม่ือบุตรเติบใหญ่ก็มัก
ได้รับราชการในกรมเดียวกับบิดา จึงได้ทาหน้าท่ีเป็นทูตไปต่างประเทศ
เหมอื นบดิ า

พระโหราธบิ ดี

ออกญาโหราธิบดี เป็นบุคคลสาคัญทา่ นหนง่ึ ในแวดวงวรรณกรรมในรัช
สมยั สมเด็จพระนารายณม์ หาราช แต่ท้งั น้ี "พระโหราธิบดี" มิใช่ช่ือบุคคล แต่
เปน็ ตาแหน่งและบรรดาศักด์ิ พระโหราธบิ ดี เปน็ ตาแหนง่ อธบิ ดแี หง่ โหร หรือ
โหรหลวงประจาราชสานัก อีกท้ังยังเป็นผู้ควบคุมหรือเป็นหัวหน้าการ
ประกอบพธิ ีการต่าง ๆ ที่เก่ียวกับศาสนาพราหมณ์อีกด้วย ซ่ึงต้องเป็นบุคคล
ที่เปน็ ผู้รหู้ นังสอื รวมถงึ รอบรสู้ รรพวทิ ยาตา่ งๆ สมเดจ็ กรมพระยาดารงราชานุ
ภาพทรงสันนิษฐานว่า พระโหราธิบดีท่านนี้เป็นชาวเมืองพิจิตร นับถือกันว่า
ทานายแมน่ ยา

เจา้ พระยาวิชาเยนทร์

คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือ เจา้ พระยาวิชาเยนทร์ เช้อื สายกรีก และเว
นิสเริ่มเข้าทางานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ออกเดินเรือ
สินค้าไปค้าขายยังแดนต่างๆ จนกระท่ังถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความสามารถ
พิเศษทางด้านภาษาต่างประเทศทาให้ฟอลคอนเข้ารับราชการในตาแหน่ง
ลา่ มซึง่ ถือเปน็ ชาวตะวันตกคนแรกทเ่ี ขา้ มารบั ราชการในสมยั อยธุ ยา ภายหลงั
สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดใหเ้ ป็นหลวงวิชาเยนทรแ์ ละมบี รรดาศักดิ์ต่อมา
จนได้เป็นเจ้าพระยาวชิ าเยนทร์


Click to View FlipBook Version