ก คำนำ โครงการวิจัยเรื่อง “แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของ สภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา” จัดทำขึ้นเพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน ศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งเริ่ม ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนมีนาคม 2567 ผลการดำเนินการโครงการวิจัยฯ ได้รับความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่ายที่ก่อให้เกิดความรู้ บทเรียน และประโยชน์ ทั้งคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ เจ้าหน้าที่ภาครัฐจากบ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายทางสังคมภาครัฐ/ภาคเอกชนที่สนับสนุนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน ที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเอง การถ่ายทอดบทเรียน ผ่านการสนทนา กลุ่ม การให้สัมภาษณ์เชิงลึก คณะผู้วิจัยขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ และท้ายนี้ขอขอบคุณ อาจารย์สิริกร บุญสังข์ และ อาจารย์จันทร์เพ็ญ เกตุสำโรง อาจารย์โปรแกรม การพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ปรึกษาโครงการฯ นางสาวฐิติกานต์ สว่างจิตร นักพัฒนาสังคม นางสาวสุนิสา ขวัญเกตุ ช่วยปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคม บ้านพัก เด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา ผู้ดำเนินการวิจัยร่วม สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายทางสังคมภาครัฐ/ภาคเอกชน ที่อำนวยความสะดวกทั้งข้อมูลสถานที่และการประสานงานในพื้นที่ ที่ได้ร่วมปฏิบัติการจนสำเร็จ และขอบคุณสำหรับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่ให้การสนับสนุนทุนในการวิจัยเพื่อให้ งานวิจัยชิ้นนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และคาดว่าผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษาทุกท่านต่อไป กลุ่มการวิจัยและการพัฒนาระบบเครือข่าย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีนาคม 2567
ข บทคัดย่อ โครงการวิจัยเรื่อง “แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน งานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา รูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและ เยาวชน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของ สภาเด็กและเยาวชน 3) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภา เด็กและเยาวชน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ เชิงลึกและสนทนากลุ่มย่อย คัดเลือกบุคคลที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัด นครราชสีมา ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเครือข่ายทางสังคมภาครัฐ/ภาคเอกชน จำนวน 3 หน่วยงาน/องค์กร โดยการสนทนากลุ่ม และถอดบทเรียนกับกลุ่มผู้แทนที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาเด็กและ เยาวชนในแต่ละระดับ ประกอบด้วย คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด คณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชนระดับอำเภอ คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล เจ้าหน้าที่ อปท. ที่มีส่วนร่วมในการ ขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชนในระดับตำบลเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในระดับจังหวัด/เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็ก และครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา รวมจำนวน 40 คน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1. การดำเนินงานของเครือข่ายทางสังคม 1) รูปแบบการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีการรวมกลุ่มทำ กิจกรรมเพื่อแสดงศักยภาพและแต่งตั้งคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งมีผู้นำชุมชนชักชวนมาทำกิจกรรม ร่วมกัน รวมถึงตัวของเด็กและเยาวชนต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วย ซึ่งมีกิจกรรมและ โครงการต่างๆ ดังนี้ การอบรมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า โครงการสอนน้องว่ายน้ำ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการอบรมต่อต้านยาเสพติด โครงการ stop bully โดยได้รับการ สนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) วิธีการดำเนินงานของเครือข่าย จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า แต่ละเครือข่ายทางสังคมที่มี การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละพื้นที่ แต่ละหน่วยงานมีความแตกต่างกัน เนื่องจากบริบท อำนาจ หน้าที่ของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกัน แต่ทุกเครือข่ายที่ดำเนินงานด้านสภาเด็ก และเยาชน ร่วมสนับสนุน และประสานงาน การจัดให้มีการดำเนินกิจการของสภาเด็กและเยาวชนตำบล/ เทศบาล สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมพัฒนา ศักยภาพเด็กเยาวชน ให้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สู่สังคม ดำเนินงานเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด การรู้เท่า ทันสังคม ส่งเสริมทักษะชีวิตเด็กและเยาวชน
ค 3) กระบวนการดำเนินงานของเครือข่ายทางสังคม จากการศึกษาพบว่า สภาเด็กและ เยาวชนมีการสื่อสารกับเครือข่ายทางสังคม เป็นการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ที่มีเป้าหมายในการเข้ามามีส่วนร่วมกับเครือข่ายทางสังคม และมีกิจกรรมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมาและชุมชน โดยเฉพาะการกำหนดแผนงานโครงการรวมทั้ง กิจกรรมต่างๆ และมีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์ กล่าวได้ว่าผู้ให้ข้อมูลการวิจัยมุ่งเน้นการสร้างผลงานของ สภาเด็กและเยาวชน ที่สัมผัสได้จริงถึงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 4) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายทางสังคม จากผลการศึกษาพบว่า รูปแบบ วิธีการ และ กระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน จากเอกสาร ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและการระดมความคิดเห็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้ค้นพบว่า 1) ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับมีความเป็นตัวของตัวเองมีความคิดเป็นอิสระในการพูดคุย แสดงความคิดเห็น และการปฏิบัติหน้าที่ 2) มีการสื่อสารองค์กรสู่สาธารณะ เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสื่อสาร 3) สภา เด็กและเยาวชน มีระบบการเรียนรู้ มีชุดความคิดในการพัฒนาตนเองในความเป็นผู้นำเป็นคณะบริหาร 4) ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ เข้าใจและให้โอกาส สภาเด็กและเยาวชนทุกคน ซึ่งอยู่ในวัยรุ่น วัยเรียนและวัยเด็ก 5) รูปแบบการทำงานของสภาเด็กและเยาวชน ประสบความสำเร็จเกิดจากการมีส่วนร่วมจากผู้บริหารองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ปรึกษา คณะทำงาน 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคม ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน สามารถจำแนกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้าน บุคคล ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านจิตวิทยา มีรายละเอียดดังนี้ 1) ปัจจัยด้านบุคคล จากการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านบุคคลของผู้ที่เข้ามาสนับสนุนงานด้าน สภาเด็กและเยาวชนล้วนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ หรือการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเด็กมาโดยตลอด ทำให้มี ทัศนคติที่ดีต่อเด็ก เห็นคุณค่าในงานด้านสภาเด็กและเยาวชน เกิดความรู้สึกต้องการที่จะสนับสนุนศักยภาพ ของสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ เห็นคุณค่าในตัวเด็กที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นต้นแบบที่ดี เช่น เด็กที่มีความกล้าแสดงออก เด็กที่มีความเป็นผู้นำ เด็กที่มีความสามารถด้านต่างๆ มาผลักดันให้เข้าสู่สภา เด็กและเยาวชนเป็นต้นแบบเยาวชนที่ดี 2) ปัจจัยด้านสังคม จากการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสังคมที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วม สนับสนุนงานด้านสภาเด็กและเยาวชนของเครือข่ายทางสังคม เกิดจากเครืออข่ายในพื้นที่บางหน่วยมีบทบาท หน้าที่ และภารกิจ เกี่ยวข้องกับงานสภาเด็กและเยาวชน ดังนั้นบทบาทภารกิจองค์กรจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ องค์กรเครือข่ายต่างๆ เข้ามาสนับสนุนงานด้านสภาเด็กและเยาวชน นอกจากนั้นผู้บริหารองค์กรให้ ความสำคัญด้านสภาเด็กและเยาวชน ทำให้มีอิทธิพลกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์กรและ ผู้ปฏิบัติงานได้
ง 3) ปัจจัยด้านจิตวิทยา จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า แรงจูงใจหลักคือการสร้างการยอมรับ เช่น สถานศึกษาต้องการผลักดันเด็กที่มีความสามารถเข้าสู่การเป็นสภาเด็กและเยาวชน นอกจากจะเป็นการ สนับสนุนแล้วยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่สถาบันอีกด้วย และการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นอีกปัจจัยด้านจิตวิทยา คือการได้รับทราบข้อมูลส่งผลให้การดำเนินงานด้านสภาเด็กและเยาวชนเกิด ความรู้ความเข้าใจมากขึ้น 3. แนวทางการมีส่วนร่วม แนวทางการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนขึ้นอยู่ กับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญทั้งสองฝ่ายมีความต้องการที่จะทำงานร่วมกันจึงเกิดการมีส่วนร่วมขึ้น ในทางกลับกันถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่พึงประสงค์ที่จะทำงานร่วมกัน การมีส่วนร่วมก็จะไม่ เกิดขึ้น ปัจจัยทั้งสองเป็นเงื่อนไขสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหาร 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จาการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ คือ 1. ปัจจัยทางด้านสังคม เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ระบบการศึกษาและสิ่งแวดล้อม 2. ปัจจัย ทางด้านเศรษฐกิจ เช่น อาชีพ เงินทุนและสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ 3. ปัจจัยด้านผู้ตัดสินใจ เช่น ระดับ การศึกษา ระดับสติปัญญา ความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ 4. ปัจจัยด้านเวลาสถานที่และข้อเท็จจริง ทั้งนี้การ ตัดสินใจที่กระทำในเวลา สถานที่และข้อเท็จจริงที่ได้รับมีปริมาณและคุณภาพแตกต่างกัน วิธีเลือกใช้อาจจะ แตกต่างกันด้วย 2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ จาการศึกษาวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการจาก การทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย มีทั้งรูปแบบการมีส่วนร่วมทางตรงและการมีส่วนร่วมทางอ้อม ระหว่างบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่นๆ อีกหลายคนหรือความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันและกันของบุคคลที่อยู่ ในเครือข่ายนั้นๆ ส่งผลให้มีการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม ร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีการสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์จาการศึกษาวิจัยพบว่า การที่เครือข่ายทางสังคมได้มีส่วนในการ สนับสนุนงานสภาเด็กและเยาวชนนั้น ล้วนเกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางจิตใจ การทำงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ด้านการพัฒนาตนเองของสภาเด็กและเยาวชน หรือแม้แต่บุคลากรที่มี ส่วนร่วมในการทำงาน 4. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตามหลัก CSR จาการศึกษาวิจัยพบว่า หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนต่างมีความมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน และเพื่อ แสดงภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรที่ดีออกสู่ภายนอก เช่น โรงเรียน สถานประกอบการต่างๆ ที่เข้ามาสนับสนุนงาน ด้านสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้องค์กรที่มีภารกิจในการที่จะรับผิดชอบต่อสังคม โดยตรงคือมูลนิธิต่างๆ ที่เข้ามาสนับสนุนงานสภาเด็กและเยาวชนเพื่อตอบสนองบทบาทหน้าที่ขององค์กร
จ Abstract The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima Province” has the objectives as follow; 1) To study the forms, methods and processes of social networks in strengthening Children and Youth Council. 2) To study the factor that affect the decisions of social networks in Support the work of Children and Youth Council. 3) To study guidelines about the participation of social network partners in driving the work of Children and Youth Council. This is a qualitative study (Qualitative Research). Data was collected by using indepth interviews and small group discussions. We select people whose work is related to Children and Youth Council in Nakhon Ratchasima Province by using in-depth interviews with social networks of the public and private sector for 3 agencies/organizations by group discussion. And lessons learned from representatives whose work is directly related to Child and Youth Council in each level, including; the Provincial Child and Youth Council Executive Committee, District Children and Youth Council Executive Committee, Sub-district Children and Youth Council management team, local government officials who are involved in driving the Sub-district level Children and Youth Council, provincial level government officials/child and family home staff, Nakhon Ratchasima Province, totaling 40 people in the Nakhon Ratchasima Province area. As for the data analysis, descriptive data analysis was used, the research results found that; 1. Operation of social networks. 1) Operational model of Children and Youth Council from the research study it was found that the groups were formed to carry out activities to show their potential. And the Executive Committee of Children and Youth Council was appointed which had community leaders inviting them to do activities together, including the children and youth who want to participate in activities as well. There are various activities and projects as follows: Training on depression. Project to teach children to swim. Elderly School Project in collaboration with local administrative organizations. Anti-drug training project. Stop bully project, with support from local administrative organizations and related agencies. 2) The network operation. From the research results, it was found that each social network has a strengthening of Children and Youth Council in each area. Each agency is different because the context, powers, and duties of each agency are different. But all
ฉ networks operating in the area of Children and Youth Councils join in supporting and coordinating the organization of operations of subdistrict/municipal Children and Youth Councils. District Children and Youth Council, Provincial Children and Youth Council, which has the goal of promoting and developing the potential of children and youth to participate in creativity for society. Carry out work to promote the thinking process, social literacy, and promote life skills for children and youth. 3) The work process operation of social networks. From the study, it was found that Children and Youth Council communicates with social networks. It is effective and efficient participation in work that aims to participate in social networks. And there are activities with local administrative organizations, children and family home in Nakhon Ratchasima Province, and community. Especially setting project plans and activities. And there are empirical performance results. It can be said that the research informants focus on building the work of Children and Youth Council that can really feel the development of children and youth in the area. 4) Social network participation. From the results of the study, it was found that the forms, methods, and processes of social networks in strengthening Children and Youth Council from various documents and brainstorming of the group of informants found that; 1) the ability to rely on themselves of Children and Youth Council in every level have their own individuality and independent thinking in discussions. They can leave a comment and performing duties. 2) There are organizations that communicated to the public. It is public relations and communication. 3) The Children and Youth Council has a learning system that contains a mindset to develop themselves in leadership as an administrative team. 4) Parents, teachers understand and provide opportunities to all Children and Youth Council who is in adolescence school age and childhood. 5) Working model of Children and Youth Council success comes from the participation of corporate executives, local government with consulting the team. 2. Factors that affecting decision. From the study, the factors that affect the decision of social networks which support the work of Children and Youth Council can be classified into 3 factors including; personal factors, social factors, and psychological factors. The details are as follows:
ช 1) Personal factors. From the research found that personal factors of people who come to support the work of Children and Youth Council are experienced people or living a life that has always been related to children. These cause a good attitude towards to children. They can see the value of working in the Children and Youth Council. There was a feeling of wanting to support the potential of the local Children and Youth Council. See the value in children who have the potential to develop into good role models, such as the children who have the courage to express themselves, the children with leadership, the children with various abilities who can be encouraged to enter the Children and Youth Council to be a good youth role model. 2) Social factors. From the research, it was found that social factors affect the decision to participate in supporting the work of Children and Youth Council of the social network. The starting is from some networks in the area that have roles, duties, and missions related to the work of Children and Youth Council. Therefore, the role and mission of the organization is an important factor that makes various network organizations come to support the work of Children and Youth Council. In addition, the executives of the organization give importance to the Children and Youth Council. This allows them to have influence in determining the direction of the operations in organization and its workers. 3) Psychological factors. From the research results, it was found that the main motivation is to create recognition, for example, educational institutions want to push talented children into the Children and Youth Council. In addition to being a support, it is also building a reputation for the institution. And also, can being exchanging knowledge and information that can consider another psychological factor. That is receiving information results in greater knowledge and understanding of the operations of Children and Youth Council. 3. Participation guidelines. The social network's participation approach in driving the work of Children and Youth Council largely depends on administrators and practitioners. Both sides have a desire to work together, thus the participation was occurred. On the other hand, if one or both parties do not want to work together, participation will not happen. Both factors are essential conditions for participation in management. 1) Participation in decision making. From the research found that factors that influence decision making are: 1. Social factors such as culture, traditions, values, educational systems
ซ and the environment. 2. Economic factors such as occupation, capital and economic environment. 3. Decision maker factors such as educational level, intelligence level, knowledge of various matters 4. Time, place and fact factors. However, the decision made at the time, places and facts obtained vary in quantity and quality. The method of choosing to use may also be different. 2) Participation in operations. From the research study, it was found that participation in operations come from collaboration between network partners. There are both direct forms of participation and indirect forms of participation between one person and another person. Many other people or social relationships between each other of the people in that network. This is cause results in participation in operations in various forms. Whether it is organizing activities together to achieve common objectives to be mutual support. 3) Participation in benefits. From the research study, it was found that the social network has played a part in supporting the work of Children and Youth Council. All are beneficial to both sides. Whether it is mental value, working to achieve the organization's objectives, Self-development of Children and Youth Council or even person who involved in work. 4. Participation of network partners according to CSR principles. From the research study, it was found that both government and private agencies are committed to social responsibility. In order to build good relationships with the community and to show a good image of a good organization to the outside, such as schools and various establishments, who came to support the work of Children and Youth Council of Nakhon Ratchasima Province. In addition, organizations that have a mission to be directly responsible to society are various foundations who come to support the work of Children and Youth Council to fulfill the organization's roles and responsibilities.
ฌ บทสรุปผู้บริหาร จากข้อมูลสถิติปี 2565 สถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชน และบริบทที่เกี่ยวข้อง พบว่า จำนวนเด็ก เกิดใหม่ในประเทศยังคงลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้สัดส่วนประชากรวัยเด็กและเยาวชนในจำนวนประชากร ทั้งหมดมีแนวโน้มลดลงเช่นกันโดยในปี 2565 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่อยู่ที่ 502,107 คน และสัดส่วนประชากร อายุ 0-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.01 ของประชากรทั้งหมดสัดส่วนของเด็กไทยที่มีโอกาสได้เติบโตและอยู่อาศัย กับทั้งพ่อและแม่มีแนวโน้มลดลงขณะที่การอยู่อาศัย หรือการถูกเลี้ยงดูโดยแม่เพียงคนเดียวพ่อเพียงคนเดียว หรือญาติคนอื่นๆ โดยไม่มีพ่อและแม่อยู่ด้วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ในด้านสุขภาวะแรกเกิดสุขภาพ และภาวะโภชนาการของเด็กและเยาวชนภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้น เรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ ภาวะน้ำหนัก เกินและอ้วน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 6-14 ปีและ 15-18 ปี บริบทความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในปี 2565 ได้แก่ (1) ผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่มีต่อครอบครัวที่ส่งผลต่อไปยังปัญหาความเสี่ยงการหลุดออกจากระบบการศึกษา ของเด็กและเยาวชน ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร ความเปราะบางที่เพิ่มขึ้นของเด็กจำนวนหนึ่งจากการ ขาดผู้ดูแล รวมถึงการใช้ความรุนแรงในครอบครัว (2) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและความสัมพันธ์ใน ครอบครัว โดยครอบครัวสามรุ่นอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ครอบครัวสองรุ่นอายุลดลงขณะที่ครอบครัวข้ามรุ่น อายุเพิ่มขึ้น สถานการณ์ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ เวลาร่วมกันของเด็กและเยาวชนกับพ่อแม่ ความสนิทสนม การเกื้อหนุนและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ภายในครอบครัว (3) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เด็กและเยาวชนมีการใช้อินเทอร์เน็ตและ โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้น มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะจากสื่อสังคมออนไลน์ การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy: MIDL) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ (4) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองที่เป็นบริบทการ เปลี่ยนแปลงสำคัญ ประกอบด้วย ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และความรุนแรงในสังคม รวมถึงมุมมองและทัศนคติทางสังคม วัฒนธรรมและการเมืองของเด็กและเยาวชน รุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปและมีความแตกต่างจากพ่อแม่และคนรุ่นก่อน (กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,2565) ทิศทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนในระยะต่อไปของประเทศไทย ได้ถูกกำหนดไว้เป็นวิสัยทัศน์ใน แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2566-2570 คือ "เด็กและเยาวชนมี คุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยและมีศักยภาพ มีทักษะรอบด้าน เป็นพลเมืองไทยในพลเมือง โลกที่มีคุณภาพ มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีส่วนร่วมสำคัญในการพัฒนาทุกมิติทางสังคม" (ในส่วนเครือข่าย เด็กและเยาวชนในพื้นที่ กิจกรรมและผลการดำเนินงานที่น่าสนใจประกอบด้วยเครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง เครือข่ายพัฒนาเยาวชนแห่งกรุงเทพมหานคร (พยก.) เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด และชมรมเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน ความสำเร็จและผลงานที่เห็นเป็นรูปธรรมประกอบด้วย แอปพลิเคชัน Line Official Teen club ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยให้วัยรุ่นเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านสุขภาพ
ญ และอนามัยการเจริญพันธุ์ การประชุมสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2565 หัวข้อ "กัญชาเสรี : ผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน พลิกวิกฤต หรือเพิ่มปัญหา" และการประชุมสมัชชาการ พัฒนาเด็กและเยาวชนระดับภูมิภาคในปี 2565 ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ประกอบด้วย การดำเนินงาน ด้านเครือข่ายเด็กและเยาวชนในบางพื้นที่ยังเข้าไม่ถึงกลุ่มเด็กเปราะบาง เช่น กลุ่มเด็กพิการ เด็กต่างศาสนา กลุ่มเด็กชาติพันธุ์ และกลุ่มที่อยู่ห่างไกล เด็กและเยาวชนบางคนมีภาระงานหรือหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเพิ่ม มากขึ้นจากการที่มีเครือข่ายเกิดขึ้นจำนวนมากส่งผลต่อการจัดสรรเวลาในการทำงาน และข้อจำกัดด้าน งบประมาณ (กรมกิจการเด็กและเยาวชน, 2565) จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 ในฐานะ หน่วยงานด้านสังคมที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้กับชุมชนและภาคีเครือข่ายต่างๆ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 จึงเห็นว่าควรมี การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน ให้เกิดความเข้มแข็งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของ เครือข่ายทางสังคมในการสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของ เครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน และแนวทางการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ได้แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงาน ของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จัดทำขึ้นเพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน ศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและ สนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) โดยคัดเลือกบุคคลที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสภาเด็กและเยาวชนใน พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเครือข่ายทางสังคมภาครัฐ/ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการ สร้างความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนของจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3 หน่วยงาน ใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และถอดบทเรียนกับกลุ่มผู้แทนที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาเด็กและเยาวชน ในแต่ละระดับ ประกอบด้วย คณะบริหารสภาเด็กระดับจังหวัด คณะบริหารสภาเด็กระดับอำเภอ คณะบริหารสภาเด็กระดับตำบล เจ้าหน้าที่ อปท. ที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชนในระดับ ตำบลเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในระดับจังหวัด/เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา รวมจำนวน 40 คน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1. การดำเนินงานของเครือข่ายทางสังคม 1.1 รูปแบบการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน การดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน เกิดจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานการจัดตั้ง
ฎ สภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล และสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ และสภาเด็ก และเยาวชนเขต สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร สภาเด็กและเยาวชนแห่ง ประเทศไทย และได้ดำเนินการตามยุทศาสตร์สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2566 -2570) โดยสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อแสดง ศักยภาพและแต่งตั้งคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งมีผู้นำชุมชนชักชวนมาทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงตัว ของเด็กและเยาวชนต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วย ซึ่งมีกิจกรรมและโครงการต่างๆ ดังนี้ การ อบรมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า โครงการสอนน้องว่ายน้ำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุร่วมกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โครงการอบรมต่อต้านยาเสพติด โครงการ stop bully โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นรำ วงคองก้า โครงการเดิ่นดอนยิ้ม (ขนมหูช้าง) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แนวทางการดำเนินขับเคลื่อนการดำเนินงาน การจะมีกระบวนการติดต่อสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร เทคนิค วิธีการ ประสบการณ์ตลอดจนการพัฒนาเครือข่ายมีกระบวนการติดต่อสื่อสารอย่าง สม่ำเสมอ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องและมีการสรุปความก้าวหน้าในผลการดำเนินการของ สมาชิก และเครือข่าย 1.2 วิธีการดำเนินงานของเครือข่ายแต่ละเครือข่ายทางสังคมที่มีการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละพื้นที่ แต่ละหน่วยงานนั้นมีความแตกต่างกันเนื่องจากบริบท อำนาจ หน้าที่ ของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกัน โดยบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา กรมกิจการเด็กและ เยาวชน ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงาน การจัดให้มี และการดำเนินกิจการของสภาเด็กและเยาวชน ตำบล/เทศบาล สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด สำนักงานหรือสำนักงานพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร่วมมือ ส่งเสริม และประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็ก และเยาวชนแห่งชาติ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนามีเป้าหมายในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเด็ก เยาวชน มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สู่สังคม เราดำเนินงานเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด การรู้เท่าทัน ส่งเสริม ทักษะชีวิตเด็กและเยาวชน และสร้างภูมิคุ้มกันผลักดันให้เกิดการจัดสภาพแวดล้อมลดสภาวะเสี่ยงรอบตัวเด็ก และเยาวชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการมีส่วนร่วมของสภาเด็กในการ จัดกิจกรรมต่างๆ และประสานงานกับโรงเรียนใน และเครือข่าย เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนใน ท้องถิ่นให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง มีความสามารถ กล้าแสดงออก เป็นกระบอกเสียงในชุมชน เพื่อสร้าง เครือข่ายสมาชิกเด็กและเยาวขนในพื้นที่ การดำเนินงานของโรงเรียนในเขตพื้นที่ผลักดันเด็กเข้าสู่สภาเด็กและ เยาวชน เปิดโอกาส ประสานงาน เพื่อให้เด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างการเรียนรู้ชุมชน ส่วนวิทยาลัยบริหารธุรกิจและเยาวชน มุ่งเน้นส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้เกิดความสนใจในการเข้าร่วม กิจกรรม และผลักดัน ให้เด็กและเยาวชนในศูนย์อาชีวศึกษาให้เข้าสู่สภาเด็กและเยาวชน แต่ละหน่วยงาน และองค์กรแม้จะมีอำนวจหน้าที่แตกต่างกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างสมาชิกอาจเป็นตัวบุคคล บุคคลต่อกลุ่ม กลุ่มต่อกลุ่ม เครือข่ายต่อเครือข่ายทำให้เกิดการสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ฏ 1.3 กระบวนการดำเนินงาน สภาเด็กและเยาวชนมีการสื่อสารกับเครือข่ายทางสังคม เป็นความต้องการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานที่มีเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วมกับ เครือข่ายทางสังคม สภาเด็กและเยาวชนมีกิจกรรมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บ้านพักเด็กและ ครอบครัวและชุมชน โดยเฉพาะการกำหนดแผนงานโครงการรวมทั้งกิจกรรมต่างๆ สภาเด็กและเยาวชนควร ทำงานเกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน การจัดกิจกรรม เป็นต้น ควรมีกรอบงานทั้งกลุ่มโครงการ กิจกรรมที่สอดคล้องกับหน่วยงานต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การเขียนแผนงานโครงการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในแต่ละพื้นที่ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และสภาเด็ก และเยาวชน มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์ กล่าวได้ว่าผู้ให้ข้อมูลการวิจัยมุ่งเน้นการสร้างผลงานของสภา เด็กและเยาวชน ที่สัมผัสได้จริงถึงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริง สภาเด็ก และเยาวชน ควรได้มีผลงานเชิงประจักที่จับต้องได้เป็นความสำเร็จที่ได้ผลลัพธ์จริง 1.4 การมีส่วนร่วมของเครือข่ายทางสังคม ที่เกี่ยวข้องและจากการระดมความคิดเห็นจาก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน เครือข่ายทางสังคมที่ได้ข้อมูลจากบุคคล หลายหน้าที่และหลายตำแหน่ง ความรับผิดชอบงานกิจกรรมด้านสภาเด็กและเยาวชน ได้ค้นพบว่าบ้านพัก เด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและนำพาให้กิจกรรมสามารถขับเคลื่อน ไปได้อย่างราบรื่นในหลายพื้นที่ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับต้องมีความเป็นตัวของ ตัวเองมีความคิดเป็นอิสระในการพูดคุย แสดงความคิดเห็น และการปฏิบัติหน้าที่ 2) มีการสื่อสารองค์กรสู่สาธารณะ เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสื่อสาร สภาเด็กและ เยาวชนให้สังคมรู้จัก ให้ชุมชนเข้าใจ เด็กและเยาวชนจำนวนมากในท้องถิ่นที่มีสภาเด็กและเยาวชนแต่ยังไม่ ทราบหน้าที่ใดๆ ของสภาเด็กและเยาวชน 3) สภาเด็กและเยาวชน มีแหล่งทุนเป็นกองทุนสนับสนุนโครงการของสภาเด็กจากบ้านพัก เด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมาและจากทั้งหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ หรือแหล่งเงินทุนภาคเอกชนในพื้นที่ ภาคธุรกิจที่ต้องการมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์สาธารณะแสดงออกถึงการรับผิดชอบทางสังคม (CSR) 4) สภาเด็กและเยาวชน มีระบบการเรียนรู้ สภาเด็กและเยาวชนมีชุดความคิดในการพัฒนา ตนเองในความเป็นผู้นำเป็นคณะบริหารทั้งเป็นการอบรมให้สมาชิกเด็กและเยาวชนในแต่ละพื้นที่มีความใส่ใจ และสมัครใจเข้ามารับการเรียนรู้ในทักษะชีวิตต่างๆ ให้มีวุฒิภาวะความเป็นเด็กที่สมวัยมีพัฒนาการทาง ร่างกายจิตใจ สติปัญญาและวุฒิอารมณ์เหมาะสมนำมาซึ่งพัฒนาการให้มีความพร้อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ 5) ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ เข้าใจและให้โอกาส สภาเด็กและเยาวชน เด็กและเยาวชนอยู่ใน วัยรุ่น วัยเรียนทั้งวัยเด็กทุกคน เมื่อได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของเด็กและเยาวชนในแต่ละพื้นที่ แต่ละ ระดับ สภาเด็กและเยาวชน มีความรับผิดชอบในชีวิตมากขึ้นที่ต้องมีการบริหารเวลา บริหารการเรียนรู้ บริหารวิธีการเข้าสังคมต่างๆ
ฐ 6) รูปแบบการทำงานของสภาเด็กและเยาวชน จะประสบความสำเร็จต้องเกิดจากการมี ส่วนร่วมจากผู้บริหารองค์กรภาครัฐ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาครัฐ ทีมที่ปรึกษา คณะทำงาน 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจจากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมใน การสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน สามารถจำแนกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้าน บุคคล ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านจิตวิทยา มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ปัจจัยด้านบุคคล จากการศึกษาปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมสนับสนุนงาน ด้านสภาเด็กและเยาวชนนั้น พบว่าปัจจัยด้านบุคคลของผู้ที่เข้ามาสนับสนุนงานด้านสภาเด็กและเยาวชนล้วน เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ หรือการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเด็กมาโดยตลอด ทำให้มีทัศนคติที่ดีต่อเด็ก มองเห็น คุณค่าในงานด้านสภาเด็กและเยาวชน เกิดความรู้สึกต้องการที่จะสนับสนุนศักยภาพของสภาเด็กและเยาวชน ในพื้นที่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมาที่มีความใกล้ชิด มีความรู้ มีประสบการณ์ทำงานกับเด็ก เจ้าหน้าที่ อปท.ที่ได้รับมอบหมายดูแลงานด้านสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นบุคคลในพื้นที่ทำให้เกิดความรู้สึกเอาใจใส่เหมือนลูกหลาน คณะครูที่ดำเนินงานด้านสภาเด็กและ เยาวชนในส่วนของโรงเรียนหรือวิทยาลัยฯ ต่างมองเห็นคุณค่าในตัวเด็กที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาต่อยอด เป็นต้นแบบที่ดี เช่น เด็กที่มีความกล้าแสดงออก เด็กที่มีความเป็นผู้นำ เด็กที่มีความสามารถต่างๆ ผลักดันให้ เข้าสู่สภาเด็กและเยาวชนเป็นต้นแบบเยาวชนที่ดี ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรเอกชนที่สนับสนุนงานด้านสภาเด็ก และเยาวชนเป็นผู้ที่ทำงานด้านจิตอาสามาโดยตลอด ทำให้มีความสนใจและพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรม ต่างๆ ของสภาเด็กและเยาวชน และปัจจัยด้านบุคคลของเด็กที่เป็นสภาเด็กและเยาวชนที่ทำให้เครือข่าย มองเห็นคุณค่าและตัดสินใจสนับสนุน คือ เด็กมีความสามารถ เป็นผู้นำ กล้าแสดงออกอย่างถูกต้องเหมาะสม รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของสภาเด็กและเยาวชน ดำเนินงานด้านสภาเด็กอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อสังคม ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม โดยมีผู้ปกครองสนับสนุนให้เด็กสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ของงานของสภา เด็กและเยาวชนได้ 2.2 ปัจจัยด้านสังคม จากการศึกษาปัจจัยด้านสังคมที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมสนับสนุนงาน ด้านสภาเด็กและเยาวชนของเครือข่ายทางสังคม พบว่าเกิดจากการที่องค์กรภาครัฐมีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับ งานสภาเด็กและเยาวชน ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 และแก้ไข เพิ่มเติม พ.ศ.2560 ที่กำหนดบทบาทหน้าที่และแผนประจำปีในการดำเนินงานด้านสภาเด็กและเยาวชนไว้ ชัดเจน ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัด และอปท.ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และในส่วนขององค์กรเอกชนที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับงาน สภาเด็กและครอบครัว คือมูลนิธิเพื่อเยาวชนเพื่อการพัฒนา ดังนั้นบทบาทภารกิจองค์กรจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ ทำให้องค์เครือข่ายต่างๆ เข้ามาสนับสนุนงานด้านสภาเด็กและเยาวชน และนอกจากนั้นผู้บริหารองค์กรให้ ความสำคัญด้านสภาเด็กและเยาวชน ทำให้มีอิทธิพลกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์กรและ ผู้ปฏิบัติงานได้ ผู้บริหารโรงเรียนและวิทยาลัยฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเด็ก ในการเป็นตัวแทน/ ต้นแบบเยาวชนที่กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้องเหมาะสม โดยผลักดันเด็กเข้าสู่การเป็นสภาเด็กและเยาวชน
ฑ โดยคณะครูเป็นที่ปรึกษาและเปิดโอกาสให้เด็กนำกิจกรรมจากจังหวัด มาดำเนินการในโรงเรียน ซึ่งครูเป็นผู้ ประสานงานเครือข่ายเรื่องงบประมาณเพื่อนำมาพัฒนาเด็กในโรงเรียน และการยอมรับจากชุมชน เป็นส่วน สำคัญที่ทำให้เครือข่ายเข้ามาสนับสนุนงานสภาเด็กและเยาวชน เนื่องจากกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชนคือ กิจกรรมจิตอาสาให้ความรู้ รณรงค์ต้านภัยยาเสพติด การคุมกำเนิด หรือทำประโยชน์ต่างๆ ให้แก่สังคมชุมชน 2.3 ปัจจัยด้านจิตวิทยา จากการศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมสนับสนุนงาน ด้านสภาเด็กและเยาวชนของเครือข่ายทางสังคม พบว่าแรงจูงใจหลักคือการสร้างการยอมรับ เช่น โรงเรียน และวิทยาลัยฯ ต้องการผลักดันเด็กที่มีความสามารถเข้าสู่การเป็นสภาเด็ก นอกจากจะเป็นการสนับสนุนแล้ว ยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่สถาบันอีกด้วย และการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นอีกปัจจัย ด้านจิตวิทยา คือการได้รับทราบข้อมูลส่งผลให้การดำเนินงานด้านสภาเด็กเกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีแรงบันดาลใจในการดำเนินงานต่อไป เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา เผยแพร่องค์ความรู้ จัดการประชุม หรือจัดการอบรมงานด้านสภาเด็กและเยาวชน ให้แก่ภาคีเครือข่าย หรือ อปท. ขอข้อมูลหรือคำแนะนำด้านสภาเด็กจากบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมาในการ จัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนและเสนอโครงการเพื่อของบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ หรือการมี เป้าหมายร่วมกันถือเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาร่วมดำเนินงานขององค์กรเอกชน คือต้องการเครือข่ายที่มี เป้าหมายเดียวกันด้านในการช่วยกันขับเคลื่อนงานด้านสภาเด็กและเยาวชน 3. รูปแบบการมีส่วนร่วม จากการระดมความคิดเห็นของภาคีเครือข่ายทางสังคม ทั้งจากหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องในการสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หากกล่าวถึงแนวทางการมีส่วนร่วมขึ้นอยู่กับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องมีความต้องการที่จะทำงานร่วมกันจึงจะเกิดการมีส่วนร่วมขึ้น ในทางกลับกันถ้าฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่พึงประสงค์ที่จะทำงานร่วมกัน การมีส่วนร่วมก็จะไม่เกิดขึ้น ปัจจัยทั้งสองเป็น เงื่อนไขสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหาร 3.1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและ เยาวชน คุณลักษณะที่ดีของเครือข่ายทางสังคมที่จะสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย 1) ภาคี เครือข่ายทางสังคมที่มีระบบโครงสร้างองค์กรและการจัดการที่ดี 2) ภาคีเครือข่ายทางสังคมมีระบบ ฐานข้อมูลเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อใช้ในการทำงานสภาเด็กและเยาวชน 3) ภาคีเครือข่ายทางสังคมมี คณะทำงานที่พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชน 4) ภาคีเครือข่ายทางสังคมเห็นคุณค่าและ ความสำคัญของสภาเด็กและเยาวชน ในการมีส่วนร่วมทำงานด้านเด็กและเยาวชน 5) ภาคีเครือข่ายทางสังคมมีการ จัดการความรู้ สนับสนุนกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด อัษฎายุธ สุนทรศารทูล (2547 : 34) กล่าวว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมี 4 ด้าน คือ 1. ปัจจัยทางด้านสังคม เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ หลักธรรมของสังคม ระบบการศึกษาและสิ่งแวดล้อม 2. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ เช่น อาชีพ การทำมาหากิน รายได้ การเพิ่มผลผลิตอาหาร เงินทุนและสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ 3. ปัจจัยด้าน ผู้ตัดสินใจ เช่น ระดับการศึกษา ระดับสติปัญญา ความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ รวมถึงประสบการณ์เดิม วุฒิภาวะ นิสัย อารมณ์ และความจำเป็นส่วนตัวของผู้ตัดสินใจ 4. ปัจจัยด้านเวลาสถานที่และข้อเท็จจริง ทั้งนี้เพราะ
ฒ การตัดสินใจที่กระทำในเวลา สถานที่และข้อเท็จจริงที่ได้รับมีปริมาณและคุณภาพแตกต่างกัน วิธีเลือกใช้ อาจจะแตกต่างกันด้วย 3.2 การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็ก และเยาวชน เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย มีทั้งรูปแบบการมีส่วนร่วมทางตรงและการมี ส่วนร่วมทางอ้อมระหว่างบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่นๆ อีกหลายคนหรือความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันและ กันของบุคคลต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายนั้นๆ ส่งผลให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีการสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 3.3 การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์การที่เครือข่ายทางสังคมได้มีส่วนในการสนับสนุนงานสภา เด็กและเยาวชนนั้น ล้วนเกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางจิตใจ การทำงานให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ด้านการพัฒนาตนเองของสภาเด็กและเยาวชน หรือแม้แต่บุคลากรที่มีส่วนร่วมใน การทำงาน 4. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตามหลัก CSR จากการศึกษา ระดมความคิดเห็น และการลง พื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก ได้พบว่า หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างมีความมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อที่จะสร้งความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน และเพื่อแสดงภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรที่ดีออกสู่ภายนอก เช่น โรงเรียน สถานประกอบการต่างๆ ที่เข้ามาสนับสนุนงานของสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้องค์กรที่มีภารกิจในการที่จะรับผิดชอบต่อสังคมโดยตรงคือมูลนิธิต่างๆ ที่เข้ามาสนับสนุนงานสภา เด็กและเยาวชนเพื่อตอบสนองบทบาทหน้าที่ขององค์กร
ณ สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก บทคัดย่อ ข Abstract จ บทสรุปผู้บริหาร ฌ สารบัญ ณ สารบัญตาราง ต บทที่ 1 บทนำ 1 ความสำคัญและที่มา 1 วัตถุประสงค์ 7 ขอบเขตโครงการ 8 นิยามศัพท์ 8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 8 ระยะเวลาในการศึกษา 9 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 10 แนวความคิดว่าด้วยสิทธิเด็กตามหลักการสากล 10 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน 14 แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายทางสังคม 20 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม 24 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความสำเร็จ 26 แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคม 27 แนวคิดเกี่ยวกับ CSR 29 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ 31 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 34 บทที่ 3 วิธีการนำเสนิงานวิจัย 37 วิธีการศึกษา 37 การคัดเลือกพื้นที่ 37 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 37 กระบวนการดำเนินงานวิจัย 37 เครื่องมือวิจัย 38
ด การเก็บรวบรวมข้อมูล 40 การวิเคราะห์ข้อมูล 41 กรอบแนวคิด 41 จริยธรรมในการวิจัย 42 บทที่ 4 ผลการศึกษา 43 วัตถุประสงค์ข้อ 1 เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคม ในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน 43 - บริบททางสังคมของสภาเด็กและเยาวชน 43 - รูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริมความ เข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน 56 วัตถุประสงค์ข้อ 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการ สนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน 64 วัตถุประสงค์ข้อ 3 เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับ เคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชน 68 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการศึกษา 79 ศึกษารูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริม ความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน 79 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการขับเคลื่อน งานของสภาเด็กและเยาวชน 84 แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็ก และเยาวชน 88 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตามหลัก CSR 89 ข้อคิดเห็น ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ 91 บรรณานุกรม 93 ภาคผนวก 97 คณะทำงาน 99
ต สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 สรุปการดำเนินงานของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน 57 ตารางที่ 2 สรุปรูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริม ความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน 60 ตารางที่ 3 สรุปปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการขับ เคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน 65 ตารางที่ 4 สรุปแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็ก และเยาวชน 69 ตารางที่ 5 สรุปรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็ก และเยาวชน 76 ตารางที่ 6 สรุปการมีส่วนร่วมของเครือข่ายตามหลัก CSR 78
1 บทนำ 1. ความสำคัญและที่มา “เด็กและเยาวชน” ถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญกับประเทศ ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต และถือเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงามอันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และเป็นกำลังสำคัญของประเทศ รัฐบาลจึงได้ จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (ปี 2555-2559) พบว่ามีความสำเร็จในหลายประการ อาทิ เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาที่สมวัย รวมทุกด้านเพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.8, ขณะที่การขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และในเด็กลดลง, อัตราการคลอดบุตรของเด็กอายุ 15-19 ปีลดน้อยลง หมายความว่าสภาวะแวดล้อมของผู้ปกครองและสังคมหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น สำหรับร่างแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ปี 2560-2564) จะต่อยอดสิ่งที่ประสบผลสำเร็จ ขณะเดียวกันรัฐบาลได้กำหนดนโยบายและแผนด้านการพัฒนาและแผนด้านการคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่ สำคัญ ในปัจจุบันการยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง ปลูกฝังระเบียบ วินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี การสร้างความอยู่ดีมีสุขของ ครอบครัวไทยตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580), 2561) โดยการ กำหนดจุดเน้นในเรื่องของการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต อีกทั้งยังกำหนดจุดเน้นในเรื่อง ของการสร้างโอกาสความเสมอภาค และเท่าเทียมกันทางสังคม สร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของชุมชน รวมถึงส่งผ่านกรอบยุทธศาสตร์ลงสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 – 2570) ได้มีจุดเน้นและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน การพัฒนาทุนมนุษย์ทุกช่วงวัยยังคงต้องมีการยกระดับการพัฒนาในแต่ละช่วงวัย ได้แก่ เด็กตั้งแต่ในครรภ์ถึง ปฐมวัยมีแนวโน้มพัฒนาการดีขึ้น แต่ยังคงต้องสร้างทักษะด้านอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับพัฒนาการของสมอง รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานมากขึ้น ช่วงวัยเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาขั้นพื้นฐานต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกัน การเรียนรู้ในระบบยังไม่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต เด็กและเยาวชนส่วนหนึ่งขาดความเชื่อถือในระบบการศึกษา จึงต้องสร้างโอกาสให้ได้รับการพัฒนาความรู้ตามแนวทางพหุปัญญาพร้อมทั้งสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการศึกษา เพื่อสร้างการเติบโตของความคิดและการพัฒนาตนเองให้ทำสิ่งใหม่ๆ ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา พบว่าการผลิตกำลังคนยังมีสมรรถนะไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน ถึงแม้ว่า อาชีวศึกษาจะมีการปรับหลักสูตรอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนการสอนเพื่อดึงดูดคนเก่งเข้ามาเรียน อาทิ อาชีวศึกษาฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แต่ยังมีข้อจำกัดในการ เรียนต่อในระดับ ปวส. อีกทั้งค่าจ้างที่จ่ายตามคุณวุฒิการศึกษายังไม่สามารถดึงดูดให้มีผู้เรียนเพิ่มขึ้นได้ ในขณะที่มหาวิทยาลัยประสบปัญหานักศึกษาน้อยลง และมีความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้การจัดการเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างๆ มีต้นทุนการดำเนินงานต่ำและตอบสนอง ความต้องการได้เป็นรายบุคคล มหาวิทยาลัยจึงไม่สามารถมุ่งเฉพาะกลุ่มนักศึกษาในระบบได้อีกต่อไปต้อง
2 เปลี่ยนเป็นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เน้นประสบการณ์สำหรับคนทุกช่วงวัยให้เข้าถึงได้จากทุกที่และ ทุกเวลา รวมทั้งมีต้นทุนที่ไม่สูงเกินไปจนเป็นอุปสรรคในการเข้าถึง (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 – 2570)) รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2565 จากการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนไทยในมิติต่างๆ เพื่อสะท้อนสถานการณ์และบริบทที่เกี่ยวข้องสภาพการณ์ และแนวโน้มของปัญหา รวมถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนและภาคส่วนต่างๆ ในสังคมไทยในการ ดำเนินงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยมีเนื้อหาสำคัญสรุปได้ ดังนี้ สถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชน และบริบทที่เกี่ยวข้อง พบว่า จำนวนเด็กเกิดใหม่ในประเทศยังคง ลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้สัดส่วนประชากรวัยเด็กและเยาวชนในจำนวนประชากรทั้งหมดมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน โดยในปี 2565 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่อยู่ที่ 502,107 คน และสัดส่วนประชากรอายุ 0-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.01 ของประชากรทั้งหมด สัดส่วนของเด็กไทยที่มีโอกาสได้เติบโตและอยู่อาศัยกับทั้งพ่อและแม่มีแนวโน้ม ลดลงขณะที่การอยู่อาศัย หรือการถูกเลี้ยงดูโดยแม่เพียงคนเดียว พ่อเพียงคนเดียว หรือญาติคนอื่นๆ โดยไม่มี พ่อและแม่อยู่ด้วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ในด้านสุขภาวะแรกเกิด สุขภาพและภาวะโภชนาการของเด็ก และเยาวชนภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้น เรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน โดยเฉพาะในกลุ่ม เด็กและเยาวชนอายุ 6-14 ปีและ 15-18 ปี ทิศทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนในระยะต่อไปของประเทศไทย ได้ถูกกำหนดไว้เป็นวิสัยทัศน์ใน แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2566-2570 คือ "เด็กและเยาวชนมี คุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยและมีศักยภาพ มีทักษะรอบด้าน เป็นพลเมืองไทยในพลเมือง โลกที่มีคุณภาพ มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีส่วนร่วมสำคัญในการพัฒนาทุกมิติทางสังคม" (กรมกิจการเด็กและ เยาวชน, 2565) สภาพการณ์และแนวโน้มของปัญหาเด็กและเยาวชนที่สำคัญ ใน ปี 2565 มี 11 ประเด็น โดยกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับความสำคัญในการแก้ไขและป้องกันปัญหาแต่ละประเด็นมีดังนี้ ช่วงเด็กปฐมวัย 0 - 6 ปี ภาวะการเรียนรู้ถดถอย การติดเกมและติดหน้าจอ การจมน้ำ ช่วงเด็กวัย 7 - 12 ปี การจมน้ำ การมีกิจกรรมทางกาย และ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ช่วงเด็กวัย 13 - 17 ปี อุบัติเหตุทางจราจร สุขภาพจิต ภัยออนไลน์ ช่วงเยาวชน 18 - 25 ปี อุบัติเหตุทางถนน บุหรี่ไฟฟ้าและกัญชา และ เด็กและเยาวชนที่ไม่อยู่ ในระบบการศึกษา ไม่ได้ทำงาน หรืออบรม (กลุ่ม NEET)
3 ตารางสถิติจำนวนการเกิด 2563 - 2565 สถิติจำนวนการเกิด 2563 - 2565 ชาย ชาย หญิง รวม 2563 302,836 284,532 587,368 2564 280,551 264,019 544,570 2565 259,558 242,549 502,107 ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย 2563-2565 สภาเด็กและเยาวชน พบว่า ปัจจุบันมีสภาเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ รวม 8,778 แห่ง ในปีงบประมาณ 2565 สภาเด็กและเยาวชนได้ขับเคลื่อนกิจกรรมตามกฎหมาย และกิจกรรมสร้างสรรค์ตาม บริบทของพื้นที่ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน รวมถึงขับเคลื่อนงานด้านสังคม รวมทั้งสิ้น 4,612 กิจกรรม ความสำเร็จประกอบด้วย การเชื่อมโยงการทำงานของสภาเด็กและเยาวชนในการส่งเสริม การมีส่วนร่วม และประสานงานหน่วยงานในพื้นที่ การขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของเด็ก เยาวชน ชุมชน และสังคม ในทุกระดับพื้นที่ ประเด็นที่เป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญประกอบด้วย ประเด็นเชิงตัวบุคคล ประเด็นการประสานงานกับ หน่วยงานต่างๆ ประเด็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และประเด็นด้านข้อกฎหมาย ในส่วนเครือข่ายเด็กและเยาวชนในพื้นที่ กิจกรรมและผลการดำเนินงานที่น่าสนใจ ประกอบด้วย เครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง เครือข่ายพัฒนาเยาวชนแห่ง กรุงเทพมหานคร (พยก.) เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด และชมรมเด็กและ เยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน ความสำเร็จและผลงานที่เห็นเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย แอปพลิเคชัน Line Official Teen club ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยให้วัยรุ่นเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารและความรู้ด้านสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ การประชุมสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชน แห่งชาติ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2565 หัวข้อ "กัญชาเสรี : ผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน พลิกวิกฤต หรือเพิ่ม ปัญหา" และการประชุมสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับภูมิภาคในปี 2565 ปัญหาและอุปสรรคที่ สำคัญ ประกอบด้วย การดำเนินงานด้านเครือข่ายเด็กและเยาวชนในบางพื้นที่ยังเข้าไม่ถึงกลุ่มเด็กเปราะบาง เช่น กลุ่มเด็กพิการ เด็กต่างศาสนา กลุ่มเด็กชาติพันธุ์ และกลุ่มที่อยู่ห่างไกล เด็กและเยาวชนบางคนมีภาระ งานหรือหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นจากการที่มีเครือข่ายเกิดขึ้นจำนวนมากส่งผลต่อการจัดสรรเวลาใน การทำงาน และข้อจำกัดด้านงบประมาณ (กรมกิจการเด็กและเยาวชน, 2565) บทบาทและผลการดำเนินงานของภาคประชารัฐต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคธุรกิจ สถาบันทางวิชาการ สื่อ อาสาสมัคร และการ ระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการ หรือกิจกรรมสำคัญที่เกิดจากการ ส่งเสริมสนับสนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ โครงการต้นแบบการสร้างการเรียนรู้ด้านการมี ส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนโครงการ "วัยใส ใส่ใจ STROKE" และงานมหกรรม "FUTURE IS NOW ท้องถิ่น
4 ของคนรุ่นใหม่" 30 ตำบลต้นแบบที่เน้นแนวคิด "เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน" ส่วนโครงการหรือกิจกรรมที่เกิดจากพื้นที่ หรือองค์กร ได้แก่ "เยาวชนก่อการดี" จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน จังหวัดตรัง โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการวัคซีนป้องกันเด็กจมน้ำ จังหวัดนครราชสีมา ภาคธุรกิจเพื่อสังคม ที่มีบทบาทและ ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ HAND Social Enterprise, School of Changemakers, a-chieve, STARFISH Education Social Enterprise ส่วน corporate social responsibility (CSR) ได้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ๊คเซ็ส คอมมูนิเคชัน จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) องค์กรพัฒนาเอกชน ได้แก่ มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย) มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ ทีช ฟอร์ไทยแลนด์ มูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม มูลนิธิสายเด็ก 1387 มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และมูลนิธิศูนย์พิทักษ์ สิทธิเด็ก สถาบันทางวิชาการ ประกอบด้วย บทบาทของสถาบันทางวิชาการในระบบในรูปแบบศูนย์เพื่อการ พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การดำเนินการแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ และการศึกษาจัดทำผลงาน ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน บทบาทของสถาบันวิชาการนอกระบบ เป็นในส่วนแหล่งเรียนรู้ สำหรับเด็กและเยาวชน และการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนภายใต้โครงการและกิจกรรม ต่างๆ สื่อ ที่มีบทบาทน่าสนใจในปี 2565 ประกอบด้วย สำนักข่าวไทยพีบีเอส (Thai PBS) ที่ดำเนินโครงการ การเมืองเยาวชนร่วมสมัยกับการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมทางการเมืองรู้เท่าทันข่าวปลอม นอกจากนี้ยังมี หน่วยงานที่ดำเนินงานโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับสื่อกับเด็กและเยาวชน ได้แก่ กองทุนสื่อปลอดภัยและ สร้างสรรค์ (Thai Media Fund) มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยการระดม สรรพกำลังจากทุกภาคส่วนในการทำงานด้านเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย การดำเนินงานของเครือข่ายสิทธิ เด็กประเทศไทย การประชุมสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2565 "กัญชาเสรี: ผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน พลิกวิกฤตหรือเพิ่มปัญหา" การประชุมสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจำปี 2565 : หัวข้อ "สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อครอบครัว : สร้างสุข ทุกพื้นที่ปลอดภัย" การดำเนินงาน ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเชียน การดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2565 การดำเนิน โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด การจัดทำรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของ ประเทศ การดำเนินงานของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนคริน ทราบรมราชชนนี องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนวโน้มสถานการณ์เด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ 21 พบว่า โครงสร้างประชากรปี 2565 ประชากรเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยปี 2562-2565 พบสัดส่วนประชากรวัยเด็กมีน้อยกว่า วัยสูงอายุยิ่งประชากรเด็กมีน้อยลง ประชากรเด็กยิ่งต้องได้รับความสนใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีมาก ยิ่งขึ้นด้วย ในขณะที่เด็กและเยาวชนมีแนวโน้มไม่ได้เติบโตมาด้วยการเลี้ยงดูจากพ่อและแม่สูงขึ้นข้อมูลเหล่านี้ สะท้อนสภาพการณ์ของโครงสร้างสังคมสูงอายุ และแนวโน้มของครอบครัวข้ามรุ่น หรือครอบครัวแหว่งกลาง
5 ที่เด็กและเยาวชนอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุมากกว่าการอยู่ร่วมกับพ่อแม่ ดังนั้น ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนจึง จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการวางแผนด้านประชากรและการวางแผนครอบครัวเพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป (กรมกิจการเด็กและเยาวชน, 2565) ตารางสถิติเชิงเปรียบเทียบจำนวนเด็กและเยาวชน ปี 2562 – 2565 ประเภท ประชากรทั้ง ประเทศ เด็ก (0-17 ปี) (ร้อยละ) เยาวชน (18-25 ปี) (ร้อยละ) รวมเด็กและ เยาวชน (ร้อยละ) ปี 2562 66,558,935 13,832,936 (20.78) 7,336,865 (11.03) 21,169,801 (31.81) ปี 2563 66,186,727 13,123,963 (19.83) 7,055,245 (10.66) 20,179,208 (30.49) ปี 2564 66,171,439 12,860,865 (19.44) 6,866,622 (10.37) 19,727,487 (29.81) ปี 2565 66,090,575 13,023,268 (19.70) 6,805,099 (10.30) 19,828,367 (30.01) ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2565) จากการศึกษาโครงการประเมินผลการดำเนินงานสภาเด็กและเยาวชน ของกรมกิจการเด็กและเยาวชน และสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 - 12 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 พบว่า การดำเนินงานของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล มีปัญหาอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสภาเด็กและเยาวชน ดังนี้ 1) การประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ในการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนไม่ทั่วถึง และสภาเด็กและเยาวชน ทำในช่วงเวลาสั้น ในสภาเด็กและเยาวชนมีแต่ชื่อ แต่ตัวบุคคลไม่มี 2) คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน องค์ประกอบคณะบริหารไม่มีความหลากหลายของที่มา เช่น ส่วนใหญ่มาจากเด็กในระบบ/สภานักเรียน คณะบริหารไม่ได้ขับเคลื่อนงานตามบทบาทหน้าที่อย่างครบถ้วนตามโครงสร้างบางพื้นที่อำนาจในการบริหาร จัดการขึ้นอยู่กับบุคคลเพียงคนเดียวของคณะบริหาร ทำให้คณะบริหารอื่นๆ ขาดการมีส่วนร่วม ความไม่ ต่อเนื่องของคณะบริหาร เนื่องจากย้ายออกนอกพื้นที่ไปศึกษาต่อ คณะบริหารขาดความรู้ความเข้าใจในการ ดำเนินงานเกี่ยวกับระบบงานเอกสาร ได้แก่ ระบบบัญชี ระบบงานสารบรรณ ซึ่งภารกิจเหล่านี้และระยะเวลา การทำกิจกรรมไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาของคณะบริหาร ซึ่งถ้าสภาเด็กและเยาวชนอยู่ในโรงเรียนก็อาจขาด เรียน และ 3) การสนับสนุนของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ระบบการสนับสนุนงบประมาณของท้องถิ่นไม่เอื้อ ต่อการสนับสนุนกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนโดยตรง โดยมีข้อจำกัดของระเบียบการเงิน รวมทั้ง พี่เลี้ยง (จนท.พมจ.) สภาเด็กและเยาวชน โดยเจ้าหน้าที่ พมจ. คนใหม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้งาน และต้องรับผิดชอบงานสภาเด็กและเยาวชนเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องรับผิดชอบงานอื่นๆ ด้วย อีกทั้ง สถานศึกษามีความกังวลในการให้เด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม อาทิเช่น ความปลอดภัย การขาดเรียน เด็กอาจถูกดึงไปในทางไม่ดี เป็นต้น จากการจัดทำรายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ของกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2563-2565, กรมกิจการเด็ก และเยาวชน ปี 2563-2565) ย้อนหลัง 3 ปี โดยผู้วิจัยสรุปได้ดังนี้
6 ผลการดำเนินกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน ในปี พ.ศ. 2563 - 2565 เน้นการดำเนินการ ดังนี้ ปี พ.ศ.2563 : การดำเนินงานของสมาชิกสภาด็กและเยาวชนในสัดส่วนกลุ่มเด็กและเยาวชน ส่วนใหญ่ปรากฏการดำเนินงานที่ สืบเนื่องต่อจากปี 2562 โดยมีกรอบการดำเนินงานเฉพาะของแต่ละกลุ่มที่ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายหรือพื้นที่การดำเนินงานต่างๆ และในปี 2563 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ การดำเนินงานมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ ชมรมเด็กและเยาวชนดีเด่น สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (2563) ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมการประชุม 6 ℎ ASEAN Children's Forum via Online Platform ในหัวข้อ "The Impact of COVID-19 and the Current Situation on Children" ร่วมกับตัวแทนเด็กและเยาวชนจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ชมรมเยาวชนดีเด่นจังหวัดเชียงใหม่ (2563) จัดกิจกรรมทำดีเพื่อผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 และ สโมสร นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (2563) จัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมและผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) จัดกิจกรรมปล่อยมัจฉาสู่วารีและถวายกองทุน (รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2563, 2563) ปี พ.ศ .2564 : การดำเนินงานในปี 2564 พบปัญหาสถานการณ์โควิด-19 การดำเนินงานของสภา เด็กและเยาวชนในระดับต่างๆ ที่ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ โครงการ/กิจกรรมต้องปรับเปลี่ยนมาใช้รูปแบบ ออนไลน์ ในบางพื้นที่ประสบกับปัญหาการเปลี่ยนผ่านคณะทำงาน/สมาชิก รวมถึงการจัดตั้งสภาเด็กและ เยาวชนในระดับพื้นที่ทั้งจังหวัด อำเภอ ตำบล ทำให้มีหลายพื้นที่อาจไม่ได้ดำเนินงาน ส่งผลให้สภาเด็กและ เยาวชนในระดับพื้นที่ไม่ได้ทำงานต่อเนื่องซึ่งมีจำนวนสภาเด็กและเยาวชนระดับพื้นที่ลดลง เป็นต้น (รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2564, 2564) ปี พ.ศ. 2565 : ความสำเร็จในการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วยการเชื่อมโยงการ ทำงานของสภาเด็กและเยาวชนในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทั้งการพัฒนาตนเอง กลุ่มเพื่อน และท้องถิ่น ในหลากหลายรูปแบบทั้งในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติ ผู้นำในองค์กร ผู้ประสานงาน ระหว่างสภาเด็กและเยาวชน ระดับตำบลหรือเทศบาล อำเภอหรือระดับเขต กับระดับจังหวัด กรุงเทพมหานคร และระดับประเทศ การประสานงานหน่วยงานในพื้นที่การขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน การจัดกิจกรรม สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของเด็ก เยาวชน ชุมชน และสังคม ซึ่งปัจจุบันสภาเด็กและเยาวชนได้รับ การสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ด้วย การจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ 8,778 แห่ง 1. สภาเด็กและเยาวชนตำบล และสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล จำนวน 7,772 แห่ง 2. สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ จำนวน 878 แห่ง และสภาเด็กและเยาวชนเขต จำนวน 50 แห่ง 3. สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด จำนวน 76 แห่ง สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 แห่ง 4. สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย จำนวน 1 แห่ง (แหล่งข้อมูล : กองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว กลุ่มกิจการสภาและ เครือข่ายเด็กและเยาวชน 2567)
7 การจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา 366 แห่ง 1. สภาเด็กและเยาวชนตำบล จำนวน 243 แห่ง 2. สภาเด็กและเยาวชนเทศบาล จำนวน 90 แห่ง 3. สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ จำนวน 32 แห่ง 4. สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง (แหล่งข้อมูล : กรมกิจการเด็กและเยาวชน,2564) ซึ่งการดำเนินกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชนที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้เห็นว่ากิจกรรมส่วนใหญ่ของ สภาเด็กและเยาวชน กิจกรรม/โครงการส่วนใหญ่ เน้นการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะ เป็นภาคประชาชน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั้นคงของมนุษย์ เครือข่าย CSR ผ่านกิจกรรม/โครงการต่างๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมทักษะ ความสามารถ ความเป็นผู้นำและเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความ กล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออกมากขึ้น จากการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนดังกล่าว มีความสอดคล้องตามมาตรฐานและ ตัวชี้วัดของสภาเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยส่วนใหญ่กิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนจะสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แนวทาง คือ 1) ส่งเสริมสนับสนุนและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการและ กิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษา กีฬา 2) ส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ความสามารถและ จริยธรรม และ 3) กำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนทุกระดับ จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 ในฐานะหน่วยงาน ด้านสังคมที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชนและภาคีเครือข่ายต่างๆ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 จึงเห็นว่าควรมีการศึกษาแนว ทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความ เข้มแข็งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมใน การสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการ สนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน และแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคม ในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป 2. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริมความเข้มแข็ง ของสภาเด็กและเยาวชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงาน ของสภาเด็กและเยาวชน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชน
8 3. ขอบเขตโครงการ ขอบเขตพื้นที่ การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงาน ของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอบเขตเนื้อหา เนื้อหาในการศึกษาจะครอบคลุมในเรื่องของรูปแบบ วิธีการ และกระบวนการ ปัจจัย ที่มีผลต่อการตัดสินใจ แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชน ขอบเขตประชากร เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การ สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม โดยคัดเลือกบุคคลที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสภาเด็กและเยาวชนใน พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึกเครือข่ายทางสังคม จำนวน 3 หน่วยงาน/องค์กร (ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง) - ผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบของส่วนราชการในระดับจังหวัดที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับของจังหวัดนครราชสีมา - ผู้บริหารหรือผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับตำบลที่รับผิดชอบงานสภาเด็ก และเยาวชนของตำบล - เครือข่ายทางสังคมภาครัฐ/ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็ก และเยาวชนของจังหวัดนครราชสีมา ๒) กลุ่มผู้แทนในการเข้าร่วมเวทีสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) รวมจำนวน 40 คน (ผู้แทนที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละระดับ) ประกอบด้วย - คณะบริหารสภาเด็กระดับจังหวัด - คณะบริหารสภาเด็กระดับอำเภอ - คณะบริหารสภาเด็กระดับตำบล - เจ้าหน้าที่ อปท. ที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชนในระดับตำบล - เจ้าหน้าที่ส่วนราชการในระดับจังหวัด/เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด นครราชสีมา/เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา 4. นิยามศัพท์ การเสริมสร้างเครือข่าย หมายถึง การเชื่อมโยงองค์กร หรือกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยความสมัครใจ เพื่อร่วมกันทำกิจกรรม แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือซึ่งกันและกัน ความเข้มแข็ง หมายถึง การที่สภาเด็กและเยาวชนได้รับส่งเสริม สนับสนุน ให้คำแนะนำการ ขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน ทำให้สภาเด็กและเยาวชนสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้ประสบ ผลสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ได้
9 สภาเด็กและเยาวชน หมายถึง สภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบลใน จังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายทางสังคม หมายถึง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องใน การสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ชุดความรู้ เรื่อง แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภา เด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา การนำไปใช้ประโยชน์ ❑ อปท. สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมให้กับสภาเด็กและเยาวชน ❑ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา/บ้านพักเด็กและ ครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนำไปปรับใช้ในการ ส่งเสริม/สร้างเครือข่ายทางสังคมให้กับสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัด ❑ สภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามีแนวทางในการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน ❑ ภาคเอกชน/ภาคประชาสังคม มีแนวทางในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและ เยาวชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมกันในอนาคต 6. ระยะเวลาในการศึกษา ตุลาคม 2565 - มีนาคม 2567
10 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การศึกษาโครงการวิจัย “แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงาน ของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา” ได้มีการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ดังนี้ 1. แนวความคิดว่าด้วยสิทธิเด็กตามหลักการสากล 2. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน 3. แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายทางสังคม 4. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม 5. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความสำเร็จ 6. แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคม 7. แนวคิดเกี่ยวกับ CSR 8. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ 9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. แนวความคิดว่าด้วยสิทธิเด็กตามหลักการสากล 1.1 หลักการและความหมายเกี่ยวกับสิทธิเด็กตามหลักสากล สิทธิเด็กนับเป็นส่วนสำคัญตามหลักสิทธิมนุษยชนภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับอย่างเสมอภาคกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุข มีศักดิ์ศรีและมีเสรีภาพ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพ ทางกายหรือสุขภาพ ในปี พ.ศ.2467 (ค.ศ. 1924) องค์การสันนิบาตซาติได้ประกาศปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก หรือปฏิญญาเจนนีวา (the Declaration of Geneva 1924) ขึ้น ภายหลังเมื่อมีการจัดตั้งองค์การ สหประชาชาติแล้วก็ได้มีการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (the Universal Declaration of Human Rights) ในปี พ.ศ.2491 (ค.ศ.1948) หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2502 (ค.ศ.1959) องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับสิทธิเด็กภายใต้ หลักการสิทธิมนุษยชน จึงประกาศปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (the United Nations Declaration on the Rights of the Child 1959) แต่ปฏิญญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันเป็นกฎหมายระหว่างประเทศจึงทำให้หลาย ประเทศไม่มีการนำไปยึดถือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมจนกระทั่งในปี พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989) องค์การ สหประชาชาติจึงได้พัฒนาการคุ้มครองเด็กให้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการประกาศ "อนุสัญญาว่าด้วย สิทธิเด็ก" (Convention on the Rights of the Child 1989) เพื่อให้มีการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง การประกาศอนุสัญญาดังกล่าว จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้นานาประเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญ และไม่อาจมองข้ามปัญหาเกี่ยวกับเด็กได้อีกต่อไป
11 สาระสำคัญของสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ทั้งภาครัฐและภาคสังคมจำเป็นต้องตระหนัก และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีเนื้อหาสาระของอนุสัญญามีทั้งหมด 54 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ สวนที่ 1 เริ่มจากข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 41 เป็นข้อที่ว่าด้วยหลักการและเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ที่เด็กพึง ได้รับ ส่วนที่ 2 เริ่มจากข้อที่ 42 ถึงข้อที่ 45 เป็นข้อที่กำหนดเป็นหลักเกณฑ์และแบบพิธี ซึ่งประเทศที่ให้ สัตยาบันแก่อนุสัญญาต้องปฏิบัติตาม ส่วนที่ 3 เริ่มจากข้อที่ 46 ถึงข้อที่ 54 เป็นข้อเกี่ยวกับกลไกของอนุสัญญา ซึ่งกำหนดวิธีการสอดส่อง ดูแลการปฏิบัติตามอนุสัญญาและกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในการบังคับใช้ สำหรับเนื้อหาในส่วนที่หนึ่ง ซึ่งว่าด้วยหลักการและเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิเด็กที่พึงได้รับ อาจแบ่งได้ เป็น 6 หลักการด้วยกันคือ 1. หลักการทั่วไป เป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพทั่วๆ ไปในแง่ทั้งส่วนบุคคล การแสดงความเห็นศาสนา วัฒนธรม ความเสมอภาคภายใต้กฎหมายเดียวกัน การศึกษาและอื่นๆ นอกจากนั้นเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการ คุ้มครองดูแลเด็กโดยทั่วไปโดยกำหนดไว้ในรูปหลักพึงปฏิบัติของรัฐภาคี อย่างไรก็ตามมีบทบัญญัติที่ตัดปัญหา ผลกระทบทางลบในการบังคับในอนุสัญญานี้ปิดท้ายไว้ว่า อนุสัญญานี้ไม่มีผลทำให้เด็กได้รับความคุ้มครองน้อย ไปกว่าที่เขามีอยู่ตามกฎหมายอื่นๆ สาระสำคัญของหลักนี้อยู่ในข้อ 1, 2, 3, 4, 5, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 25, 30, 38 และข้อ 41 2. หลักการคุ้มครองร่างกายชีวิต เสรีภาพ และสวัสดิภาพของเด็ก มุ่งคุ้มครองมิให้เด็กถูกละเมิดสิทธิ เหนือร่างกาย ชีวิต และเสรีภาพ ไม่ว่าจะทำร้าย ฆ่า ล่วงเกินทางเพศ ขูดรีด หากำไรทางเพศหรือค้ากำไรทาง เศรษฐกิจหรือนำเด็กไปเป็นวัตถุซื้อขายหรือปฏิบัติต่อเด็กที่ไม่เหมาะสม จนเป็นผลเสียต่อสวัสดิภาพของเด็ก รวมทั้งคุ้มครองให้มีการเยียวยา ฟื้นฟู เด็กที่ถูกละเมิดดังกล่าวให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้ สาระสำคัญของหลักนี้ อยู่ในข้อ 19, 32, 33, 34, 35, 36 และ ข้อ 39 3. หลักการให้สวัสดิการสังคมแก่เด็ก มุ่งคุ้มครองการให้เด็กได้รับข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ พัฒนาการของเด็กให้ได้รับการดูแลด้านสุขภาพอนามัย ได้รับการประกันสังคม ได้รับการศึกษาทั้งในแง่ของ การเล่าเรียนและโอกาสที่จะศึกษาเล่าเรียนเพื่อพัฒนาทางด้านบุคลิกภาพ การมีมนุษยสัมพันธ์อันดี มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ได้รับการพักผ่อนหย่อนใจและส่งเสริม ชีวิตด้านศิลปวัฒนธรรม มีสาระสำคัญในข้อ 17, 24, 26, 28, 29 และ ข้อ 30 4. หลักการคุ้มครองสิทธิทางแพ่ง มุ่งคุ้มครองให้เด็กได้รับสิทธิในฐานะพลเมืองของรัฐที่มีชื่อ มีสัญชาติ สามารถติดต่อกับครอบครัวมีภูมิลำเนาหรืออยู่อาศัยร่วมกับบิดามารดา ได้รับอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดา หรือผู้ปกครอง โดยมีรัฐช่วยสนับสนุนและให้หลักประกัน มีสาระสำคัญอยู่ในข้อ 7, 8, 9, 10, 18 และ 27 5. หลักการคุ้มครองเด็กที่มีปัญหาความประพฤติหรือกระทำความผิดทางอาญา มุ่งคุ้มครองให้เด็กที่ ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญา ได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างไปจากผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่โดยให้ได้รับ ผลกระทบจากการต้องถูกดำเนินคดีและควบคุมตัวน้อยที่สุด สำหรับเด็กที่มีปัญหาความประพฤติ หรือกระทำ
12 ความผิดทางอาญาคุ้มครองให้ได้รับโอกาสแก้ไขเยียวยาให้สามารถเติบโตเป็นพลเมืองดีของสังคม โดยมีสมมุติฐานว่าเด็กกระทำการใดๆ เพราะขาดวุฒิภาวะทำให้สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลผลักดันต่อความประพฤติ ของเด็ก นอกจากนั้นยังมีหลักประกันมิให้เด็กต้องรับโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต มีสาระสำคัญอยู่ใน ข้อ 37 และข้อ 40 6. หลักการคุ้มครองเด็กผู้ด้อยโอกาส มุ่งคุ้มครองให้เด็กด้อยโอกาส เด็กผู้ขาดไร้ผู้อุปการะ เด็กผู้ตกอยู่ ในเภทภัย และเด็กพิการได้รับการดูแลและอุปการะเลี้ยงดูให้เท่าเทียมกับเด็กทั่วไป มีสาระสำคัญอยู่ในข้อ 20, 21, 22 และข้อ 23 หากพิจารณาในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กดังกล่าว พบว่าในการดำเนินการใดๆ ตามหลักการของ "สิทธิเด็ก" จะมีจุดมุ่งหมายตามหลักการสำคัญ 2 ประการ คือ 1. สิทธิติดตัวมาตั้งแต่เกิด (Inherit right) รัฐจะต้องรับประกันความอยู่รอดและการพัฒนาของเด็ก กล่าวคือ เด็กจะต้องได้รับความปลอดภัยจากการคลอดและเมื่อรอดพ้นเป็นทารกแล้ว เด็กจะมีสิทธิตาม กฎหมายรับรอง และจะต้องจดทะเบียนทันทีหลังการเกิดมีสิทธิที่จะมีชื่อได้สัญชาติ และจะต้องมีสิทธิที่จะรู้จัก และได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาของเด็กเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น จึงไม่อาจสามารถจำกัดการใช้สิทธิอัน ชอบธรรมของเด็กหรือละเมิดสิทธิเด็กได้ 2. หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก (The best interests of the child) กล่าวคือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ เด็กได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครอง การพัฒนาทั้งด้านจิตใจและร่างกายให้ได้มาตรฐานอย่างน้อยที่สุดจะต้อง เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนี้โดยไม่กระทำการใดๆ ที่จะเป็นการทำลายชีวิตและอนาคตของเด็ก แต่จะต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กได้มีความสามารถในการพัฒนาตนเองตามระดับความสามารถซึ่งจะเป็น การพัฒนาให้เด็กได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต ดังนั้น ในการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับเด็กรัฐจะต้องคำนึงถึง ประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้นิยามความหมายคำว่า "เด็ก" ไว้ว่า "เด็ก หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำ กว่า 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็ก" และกำหนดให้ประเทศสมาชิก ภายใต้อนุสัญญาฉบับนี้ จะต้องคุ้มครองสิทธิเด็กซึ่งแบ่งได้ 4 ประการ ดังนี้ 1. สิทธิในชีวิตและการอยู่รอด (Rights to survival) เป็นสิทธิในการมีชีวิตและอยู่รอดนับตั้งแต่คลอด และจะต้องมีชีวิตอยู่รอดอย่างปลอดภัย ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้รับรองให้เด็กทุกคนมีสิทธิติดตัว (Inherit right) และจะต้องรับรองให้มีการส่งเสริมการพัฒนาเด็ก รวมทั้งมีสิทธิที่จะรู้จักและได้รับการเลี้ยงดู จากพ่อและแม่ของเด็ก มิให้เด็กถูกแยกจากบิดามารดาโดยขัดกับความต้องการของพ่อและแม่ของเด็ก ยกเว้น ในกรณีที่หน่วยงานที่มีอำนาจอาจใช้วิธีทางกฎหมายในการบังคับว่าการแยกจากพ่อและแม่ของเด็กนั้น จำเป็นต้องทำเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก (The best interests of the child)' นอกจากนั้นรัฐจะต้อง พยายามเพื่อให้หลักประกันว่าบิดาและมารดา หรือผู้ปกครองจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก รวมทั้งรัฐจะต้องจัดให้มีและพัฒนาสถาบันการอำนวยความสะดวกและการบริการต่างๆ สำหรับการดูแลเด็ก ตลอดจนในด้านสาธารณสุขรัฐจะต้องมีมาตรฐานด้านสาธารณสุข มีสถานบำบัดรักษาและพื้นฟู ส่งเสริมการ ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงการจัดหาอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและน้ำดื่มที่สะอาดเพียงพอเพื่อให้เด็ก
13 ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุดและจะต้องดำเนินการต่างๆ เพื่อมุ่งลดการเสียชีวิตของ ทารกและเด็ก พร้อมกับช่วยเหลือทางการแพทย์ในการดูแลสุขภาพแก่เด็กทุกคนด้วย นอกจากนั้น ในกรณีเด็ก พิการรัฐจะต้องช่วยเหลือให้เด็กที่พิการทางร่างกายหรือจิตใจได้มีชีวิตที่สมบูรณ์และปกติสุขอย่างมีศักดิ์ศรี ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองและเอื้ออำนวยให้เด็กได้มีส่วนร่วมในชุมชน 2. สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Rights to protection) กล่าวคือ เด็กจะต้องได้รับความ คุ้มครองในทุกรูปแบบที่จะเป็นอันตรายต่อเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองจากการถูกทำร้ายทั้งทางร่างกาย จิตใจ และเพศ การถูกทอดทิ้งหรือการปฏิบัติโดยประมาท รวมทั้งการแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ จากเด็ก ซึ่งรวมไปถึงการกระทำที่จะเป็นการทำร้ายแม้ว่าจะอยู่ในความดูแลของบิดาและมารดา ผู้ปกครองตาม กฎหมายหรือบุคคลอื่นที่ดูแลเด็กอยู่ในขณะนั้น โดยอนุสัญญาได้ระบุไว้ว่ารัฐจะต้องคุ้มครองเด็กให้ปลอดภัย จากการใช้ประโยชน์ทางเพศและการกระทำทางเพศที่มิชอบทุกรูปแบบ นอกจากนี้รัฐจะต้องมีมาตรการทาง กฎหมายและกลไกทางสังคมในการคุ้มครองและป้องกันเด็กจากการถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการค้า การผลิต และการเสพยาเสพติด นอกจากนี้รัฐยังจะต้องคำนึงถึงสิทธิของเด็กทุกคนที่ถูกกล่าวหา ตั้งข้อหาหรือได้ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยจะต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก โดยจะต้องถือว่าเด็กทุกคนที่ถูกกล่าวหาหรือตั้งข้อหาว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายนั้น อย่างน้อยที่สุดจะต้องได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมาย และหากได้รับแจ้งข้อหาเด็กจะต้องได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือทางอื่นที่เหมาะสมโดยจะไม่ถูกบังคับ ให้เบิกความหรือสารภาพผิด และให้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนตามกฎหมายภายใต้เงื่อนไขของความเท่า เทียมกัน ทั้งนี้ ในกระบวนวิธีพิจารณาคดีความจะต้องมีหน่วยงานและสถาบันที่มีภารกิจเฉพาะกับเด็กที่ถูก กล่าวหา ตั้งข้อหาหรือได้ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยการใช้มาตรการที่เหมาะสมและไม่ต้องอาศัยกระบวนการทางตุลาการ แต่ให้ดำเนินการต่างๆ อาทิ ดูแล แนะแนว ควบคุม ให้คำปรึกษา การภาคทัณฑ์ โดยจะต้องเป็นไปอย่าง เหมาะสมแก่สภาพการณ์และความผิดของเด็ก" และมุ่งส่งเสริมให้เด็กที่เคยกระทำความผิดได้กลับคืนสู่สังคม และในกรณีเด็กที่ลี้ภัยที่เข้ามาภายในประเทศ รัฐจะต้องให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม 3. สิทธิในการพัฒนา (Rights to development) กล่าวได้ว่า เด็กมีสิทธิที่จะพัฒนาตนเองตาม ความสามารถและศักยภาพของเด็กเท่าที่จะทำได้ ซึ่งรัฐจะต้องจัดบริการสาธารณะให้เด็กได้รับการศึกษา บนพื้นฐานของโอกาสที่เท่าเทียมกันโดยจัดให้การศึกษาระดับประถมเป็นการศึกษาภาคบังคับที่เด็กทุกคน สามารถเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนั้นยังต้องสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาในระดับมัธยมในรูปแบบ ต่างๆ ทั้งสายสามัญและสายอาชีพให้มีความหลากหลายและเปิดกว้าง พร้อมกับดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุน การเข้าเรียนของเด็กและป้องกันการออกจากโรงเรียนก่อนกำหนดด้วย อีกทั้ง ในระบบการศึกษาจะต้องมี มาตรการในระเบียบวินัยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก โดยการศึกษาจะต้อง สนับสนุนให้เด็กได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพความสามารถพิเศษ และความสามารถทางด้านร่างกายและจิตใจ ของเด็กอย่างเต็มศักยภาพ มีจิตสำนึกที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เด็กมีความ รับผิดชอบต่อสังคมด้วยการรักษาและเคารพเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภาษาและค่านิยมของท้องถิ่นและต่อ อารยธรรมอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากของเด็กด้วย
14 สำหรับเด็กพิการ รัฐจะต้องให้ความช่วยเหลือให้เด็กพิการสามารถเข้าถึงและได้รับการศึกษา การฝึกอบรม การดูแลสุขภาพ การบริการด้านพื้นฟูสภาพ การเตรียมความพร้อมเพื่อการจ้างงาน และโอกาส ทางด้านสันทนาการที่จะส่งเสริมให้เด็กสามารถอยู่ร่วมกับสังคมและเพื่อพัฒนาตน เองได้อย่างเต็ม ความสามารถ 4. สิทธิในการมีส่วนร่วม (Rights to participate) ภายใต้หลักประชาธิปไตยมีหลักการสนับสนุน คุณค่าของมนุษย์เป็นสำคัญ ดังนั้น เด็กในฐานะที่มีศักดิ์ความเป็นมนุษย์จึงควรมีสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงออก โดยสิทธินี้จะรวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา ได้รับหรือถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร และความคิดทุกลักษณะโดยไม่ถูก จำกัดเขตแดน พร้อมกันนี้ก็สามารถกระทำได้โดยทั้งทางวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือแม้การพิมพ์ในรูปของ ศิลปะหรือผ่านสื่ออื่นๆ ตามที่เด็กได้เลือกที่จะแสดงออก ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงต้องเคารพสิทธิของเด็กที่จะมีเสรีภาพ ทางความคิด และเคารพสิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา และผู้ปกครองตามกฎหมาย เพื่อให้แนวทางการ ปฏิบัติในลักษณะที่สอดคล้องกับความสามารถที่จะพัฒนาเป็นไปตามวัยของเด็ก นอกจากนั้น อนุสัญญาว่าด้วย สิทธิเด็กยังคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็กในการชุมนุมอย่างสงบทั้งนี้ จะต้องดำเนินเป็นไปโดยสอดคล้องกับ กฎหมายและเท่าที่จำเป็นในสังคมประชาธิปไตย ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ขณะเดียวกันการมี ส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รัฐจะต้องส่งเสริมให้เด็กสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ ทั้งใน ประเทศและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลข่าวสารที่มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กทั้งทางสังคม จิตใจและศีลธรรม นับตั้งแต่ประเทศไทยได้ลงนามรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2534 จึงเป็นเหตุผลให้ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการปฏิบัติต่อเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการอุปการะ เลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและมีพัฒนาการที่เหมาะสม รวมทั้งป้องกันไม่ให้เด็กถูกทารุณกรรม และตกเป็นเครื่องมือ ในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม จึงได้ตรากฎหมายเพื่อรับรอง คุ้มครอง และปกป้องสิทธิเด็กไว้หลายฉบับ 2. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน 2.1 ความหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 “เด็ก” หมายความว่า บุคคล ซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และ“เยาวชน” หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ถึงยี่สิบห้าปี บริบูรณ์ 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน การกำหนดกลไกคุ้มครองทางสังคมเพื่อคุ้มครอง พัฒนา ส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น รัฐไทย ได้กำหนดกลไกคุ้มครองทางสังคมเพื่อการคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ดังนี้ 2.2.1 กลไกคุ้มครองเด็ก ของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 กลไกการคุ้มครองเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กลไกระดับนโยบาย กลไกระดับปฏิบัติงาน
15 1) คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ (มาตรา 7) ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีผู้พิพากษา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้อำนวยการสำนักงาน ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุเป็นกรรมการ และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์แต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมี ประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมายแพทย์ ไม่น้อยกว่าเจ็ดปี วิชาชีพ ละสองคน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละหนึ่งคนและแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ซึ่งมี ผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านสวัสดิการเด็กมาไม่น้อยกว่าเจ็ดปีอีกสองคนโดยมีรองปลัดกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายเป็น กรรมการและเลขานุการ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม คณะกรรมการจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่เกิน สองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการโดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ - เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน งบประมาณ และมาตรการในการ สงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กตามพระราชบัญญัตินี้ - เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ - วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการรับเงินการจ่ายเงินการ เก็บรักษาเงิน และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน - วางระเบียบเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กวางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่ - ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐ และเอกชนและเข้าตรวจสอบ กำกับดูแลส่งเสริมในสถานที่ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก - ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก กรุงเทพมหานครและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด - ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก 2) คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด (มาตรา 17) ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองประธาน กรรมการ อัยการจังหวัด พัฒนาการจังหวัดแรงงานจังหวัด ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้แทนศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือผู้แทนศาล จังหวัด ในกรณีที่จังหวัดนั้นไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้แทนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัด หรือผู้แทนกระทรวงยุติธรรมซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการในจังหวัด ในกรณีที่จังหวัดนั้นไม่มีสถานพินิจ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความ
16 เห็นชอบของปลัดกระทรวงแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ วิชาชีพละสองคน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละหนึ่งคน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ด้านสวัสดิการเด็กอีกสองคน โดยมีพัฒนาสังคมและและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ - เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับนโยบาย แผนงานงบประมาณและมาตรการใน การคุ้มครองเด็กต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ - ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนเข้าตรวจสอบใน สถานที่ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก - กำหนดแนวทางการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติ - จัดหาทุน รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาทุน และการจัดการทุนต่อ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ และคณะกรรมการบริหารกองทุน - ตรวจสอบหรือเรียกบุคคลมาชี้แจงกรณีมีการปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบหรือเรียกเอกสาร พยานหลักฐานใดๆ หรือขอคำชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการวินิจฉัยในการปฏิบัติตาม - ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงาน - ดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติมอบหมาย กลไกระดับปฏิบัติ ประกอบด้วย 1) ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก (มาตรา 24) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า ประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรี (มาตรา 4) ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ พนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 24) ได้แก่ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้ว่าราชการ จังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า ประจำกิ่งอำเภอ 3) ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพ (มาตรา 48) คือ ผู้ที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์แต่งตั้งจากบุคคลดังนี้ 1) พนักงานเจ้าหน้าที่ 2) นักสังคมสงเคราะห์ 3) บุคคลที่สมัครใจและมีความ เหมาะสม การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพข้อ 1), 2) และ 3) มีระยะเวลา คราวละไม่เกิน 2 ปี 4) ผู้ปกครองสวัสดิภาพเด็ก ประกอบด้วย สถานแรกรับ (มาตรา 56) สถานสงเคราะห์ (มาตรา 58) สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ (มาตรา 59) และสถานพัฒนาและฟื้นฟู (มาตรา 60) 1.2.2 กลไกพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 กลไกการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้กำหนดกลไกการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยกำหนดให้มีสภาเด็กและเยาวชนใน 4 ระดับ ได้แก่
17 สภาเด็กและเยาวชนตำบล/เทศบาล สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด และสภาเด็กและ เยาวชนแห่งชาติ โดยสภาเด็กและเยาวชน แต่ละระดับนั้นมีอำนาจหน้าที่และการกำกับดูแล สนับสนุนดังนี้ 1) สภาเด็กและเยาวชนตำบลและเทศบาล กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล โดยคำแนะนำของหัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัด จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็กและเยาวชนเทศบาล ตามมาตรา 22 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 สภาเด็กและเยาวชนตำล และสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล มีอำนาจตามมาตรา 23 ดังต่อไปนี้ - ประสานงานระหว่างสภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็กและเยาวชนเทศบาล สภาเด็ก และเยาวชนอำเภอ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ของเด็กและเยาวชน - ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการ การศึกษาสุขภาพ กีฬา อาชีพ และวัฒนธรรมในท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน - ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่าง สอดคล้องกับความรู้ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยของเด็กหรือเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก และเยาวชน - จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ ความสามารถ รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรม - รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขต พื้นที่ เพื่อส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้กับสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ - เสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและ เยาวชน รวมทั้งการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ - เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ เกี่ยวกับการส่งเสริมและ พัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น - เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและ องค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ - ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่โดยให้ คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล แล้วแต่กรณี เป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับข้อบังคับของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย 2) สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ให้นายอำเภอ หรือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขต เป็นที่ปรึกษา ตามมาตรา 24 และกำหนดให้สภาเด็กและเยาวชนระดับอำเภอมีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 25 ดังนี้ - ประสานงานระหว่างสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนเขตสภาเด็กและ เยาวชนจังหวัด และสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ของเด็กและเยาวชน - ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการ การศึกษา สุขภาพ กีฬา อาชีพ และวัฒนธรรมในท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน
18 - ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่าง สอดคล้องกับความรู้ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยของเด็กหรือเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก และเยาวชน - จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ ความสามารถ รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรม - รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขต พื้นที่ เพื่อส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้กับสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดหรือสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี - เสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและ เยาวชน รวมทั้งการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ - เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด สภาเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น - เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ และองค์กร เอกชนหรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ - ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่โดยให้คณะบริหาร สภาเด็กและเยาวชนอำเภอหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเขต แล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ให้สอดคล้อง กับข้อบังคับของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย 3) สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยประธานสภา เด็กและเยาวชนอำเภอทุก อำเภอ และผู้บริหารคณะกรรมการสภาเด็กและเยาวชนแต่ละอำเภอ อำเภอละ 4 คน โดยการสนับสนุน กำกับ ดูแลโดยผู้ว่าราชการจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องส่งเสริมการดำเนินการโดยมี บ้านพักเด็กและครอบครัว เป็นที่ปรึกษาและรับผิดชอบสภาเด็กเป็นหลัก โดยมีอำนาจหน้าที่ ตามตรา 29 ดังนี้ - ประสานงานระหว่างสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร และ สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ของเด็กและ เยาวชน - ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการ การศึกษาสุขภาพ กีฬา อาชีพ และวัฒนธรรมในท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน - ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้องกับ ความรู้ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยของเด็กหรือเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน - จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรม - รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ในเขตพื้นที่ เพื่อส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้กับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
19 - เสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้งการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ - เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการส่งเสริมและ พัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น - เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชน หรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ - ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่โดยให้คณะบริหารสภา เด็กและเยาวชนจังหวัดหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับข้อบังคับของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย 4) สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด จากทุกจังหวัด ประธานสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนเด็กและเยาวชน ซึ่งมาจากการคัดเลือก กันเองจากกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ได้ลงทะเบียนไว้ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำนึงถึงความหลากหลาย ของกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมทั้งผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส จำนวนสามสิบแปดคน โดยสภาเด็กและเยาวชนแห่ง ประเทศไทยนั้น กำหนดให้คณะกรรมส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ(กด.ยช.) ส่งเสริมการจัด สมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ด้านเด็กและ เยาวชน และในพระราชบัญญัติฉบับนี้นั้น ได้กำหนดอำนาจของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยไว้ ใน มาตรา 31 ดังนี้ - เป็นศูนย์กลางประสานงานเพื่อดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน - ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของรัฐและองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนในการส่งเสริมและ พัฒนาเด็กและเยาวชน - ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้องกับ ความรู้ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยของเด็กหรือเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน - ให้ความเห็นในการกำหนดแนวทาง นโยบาย แผนงาน และงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน - รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนและข้อมูลที่ถูก ส่งต่อมายังสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาเป็นแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนาเด็กและเยาวชน - เสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้งการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน - เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ และองค์กรเอกชน หรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน - จัดทำประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาเด็กและเยาวชน
20 - ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่โดยให้คณะบริหารสภา เด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้เสนอ สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยต้องจัดให้มีการประชุม สามัญอย่างน้อยปีละ สองครั้ง 3. แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายทางสังคม 3.1 ความหมายของเครือข่ายทางสังคม 1. พิมพวัลข์ ปรีดาสวัสดิ์ และวาทินี บุญชะลักยี (2536: 347-348 อ้างถึงใน สนธยา พลศรี, 2550:200) ให้ความหมายของเครือข่ายว่า หมายถึง สายใยของความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมระหว่าง บุคคลคนหนึ่งกับบุคคลอื่นๆ อีกหลายคนหรือความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันและกันของบุคคลต่างๆ ที่อยู่ ในเครือข่ายนั้น เป็นความสัมพันธ์ในทุกๆ ด้านที่บุคคลทั้งหมดในเครือข่ายได้ติดต่อกัน โดยมีพฤติกรรมที่ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ คือ การไปมาหาสู่ เยี่ยมเยือนกันการปรึกษาหารือกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น 2. มงคล ชาวเรือ (2546: 28 อ้างถึงใน สนธยา พลศรี , 2550: 206-207) ให้ความหมายของเครือข่ายว่า หมายถึง แนวคิดกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคลองค์การ ตลอดจนชุมชนให้เกื้อกูลเชื่อมโยงกัน โดยที่แต่ละฝ่ายต้องมีความเท่าเทียมกัน มีอิสระต่อกันสามารถยืนหยัดอยู่ ได้ด้วยตนเอง และพร้อมที่จะปฏิบัติงานร่วมกันของสมาชิกเครือข่ายบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน การมีความสัมพันธ์จะเป็นแบบเพื่อนร่วมงานประสานความช่วยเหลือกันและเป็นความสัมพันธ์เชิงแนวราบ มากกว่าที่จะเป็นแนวดิ่ง ดังนั้น เครือข่ายจึงเป็นสัมพันธภาพของมนุษย์กับมนุษย์ที่ครอบคลุมทั้งการให้ และการรับการยอมรับศักดิ์ศรี และเอื้ออาทรต่อกันมากกว่าการออกคำสั่งบังคับบัญชา 3. สนธยา พลศรี (2550: 207 ให้ความหมายของเครือข่ายว่า หมายถึง ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยง ระหว่างสมาชิกซึ่งอาจจะเป็นบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อกลุ่ม กลุ่มต่อกลุ่ม เครือข่ายต่อเครือข่ายกลายเป็น เครือข่ายย่อยภายใต้เครือข่ายใหญ่ ในการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายไม่ได้เป็นเพียงการรวมตัวกันโดยทั่วไปแต่มี เป้าหมายในการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งที่เป็นครั้งคราวหรืออาจเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่อง จึงเป็นการเชื่อมโยงคนที่ มีความสนใจร่วมกัน พบปะสังสรรค์ และพัฒนาไปสู่การลงมือร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยเป้าหมาย และจุดประสงค์เดียวกัน ดังนั้นเครือข่ายจึงไม่ใช่เป็นเพียงการ รวบรวมรายละเอียดบุคคลที่เป็นสมาชิกเท่านั้น แต่มีการจัดระบบให้สมาชิกสามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกัน เพื่อบรรลุจุดหมายที่สมาชิกเห็นพ้องต้องกัน สิ่งที่เชื่อมโยงสมาชิกเข้าด้วยกัน คือ วัตถุประสงค์ หรือผลประโยชน์ที่ต้องการบรรลุผลร่วมกัน การสนับสนุน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 4. Schuler (1996: 9 อ้างถึงใน พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น), 2547: 37-38) ได้กล่าวว่า เครือข่าย คือ สายใยของความสัมพันธ์ทางสังคม มีความเป็นเอกภาพ มีพลังความยึดโยง และการสนับสนุน เกื้อกูลซึ่งกัน และกัน ทำนองเดียวกันกับเทคโนโลยี ก็คือ สายใย ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และการสื่อสารของ ผู้คนต่างๆ ในสังคม โดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารผ่านวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ จะมี บทบาทในการสร้างเครือข่ายในรูปแบบต่างๆ ที่สมาชิกในเครือข่ายมารวมตัวกัน โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ เพศ วัย ศาสนา และฐานะทางเศรษฐกิจ จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า เครือข่ายทางสังคม หมายถึง
21 รูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมของปัจเจกบุคคล กลุ่ม ผ่านรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยการทำ กิจกรรมร่วมกันตลอดจนมีเป้าหมายเดียวกัน 3.2 ปัจจัยสำเร็จของเครือข่ายทางสังคม 1. สนธยา พลศรี (2550: 265-276) ได้มีผู้เสนอปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จของเครือข่ายไว้หลาย ท่าน ดังนี้ สมกูล ถาวรกิจ (ม.ป.ป. 15-16 อ้างถึงในสนธยา พลศรี , 2550: 26s) เสนอว่า การดำเนินงานของ เครือข่ายจะประสบความสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัย 14 ประการ ดังนี้ 1) ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งจิตใจ และความสามัคคีของสมาชิกเครือข่าย 2) สมาชิกมีขวัญ กำลังใจ และเจตนารมณ์ร่วมกัน ที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จ 3) ความเสียสละของสมาชิก ทั้งแรงกาย สติปัญญา และทุนทรัพย์ หรือทรัพยากร 4) มียุทธศาสตร์ระบบการจัดการและการวางแผนที่ดี เหมาะสมกับสถานการณ์สมาชิกรวมกลุ่มกัน อย่างเหนียวแน่น 5) มีการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานของเครือข่ายเป็นระยะๆ สม่ำเสมอ 6) ใช้กระบวนการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ 7) ผู้นำเครือข่ายมีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการตัดสินใจ และประสานงานได้ดี 8) สมาชิกเครือข่ายมีคุณภาพ ทุกคนมองเห็นประโยชน์ร่วมกัน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน 9) กิจกรรมของเครือข่าย มีการจัดการอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน 10) สมาชิกและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของเครือข่าย 11) มีการดำรงรักษาเครือข่ายเดิมไว้และขยายเครือข่ายใหม่เพิ่มเติมขึ้นตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง 12) สมาชิกมีความจริงใจ จริงจัง มีความศรัทธาต่อกันและกันและต่อเครือข่ายดำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง ให้เกียรติซึ่งกัน และกันมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 13) ระเบียบกฎกณฑ์ของเครือข่าย มีความเหมาะสมกับสมาชิก และการดำเนินงานของเครือข่าย 14) มีทรัพยากรเพียงพอต่อการดำเนินงานของเครือข่าย มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ 2. ธีรพงศ์ แก้วหาวงษ์ (2544: 257-258) เสนอว่าปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของเครือข่าย คือ การ บริหารเครือข่าย ซึ่งมี 6 ประการ ดังนี้ 1) กระบวนการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสาร เทคนิค วิธีการ ประสบการณ์ ตลอดจนการพัฒนา เครือข่ายมีกระบวนการติดต่อสื่อสารอย่างสม่ำเสมอส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง และมีการสรุป ความก้าวหน้าในผลการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกและเครือข่าย 2) การให้ความสำคัญแก่สมาชิกในด้านต่างๆ เป็นการพิจารณาถึงความต้องการของมวลสมาชิก การได้แลกเปลี่ยนทัศนะ มุมมองต่อการพัฒนา หรือเป้าหมายของกิจกรรมในความร่วมมือ ตลอดจน กระบวนการตัดสินใจร่วมกัน ในการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของเครือข่ายเพื่อให้สมาชิกสามารถ แปลงไปสู่การปฏิบัติและประสานความร่วมมือได้
22 3) องค์กรความร่วมมือและโครงสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อการประสาน ความร่วมมือ สามารถป้องกันการแทรกแซงจากองค์กรอื่นๆ สามารถลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างสมาชิก และเครื่อข่าย และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงได้ 4) การส่งเสริมบทบาทและการตัดสินใจของสมาชิก เครือข่ายต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ สมาชิกมีโอกาสในการตัดสินใจในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินงาน เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างบรรทัด ฐานในความร่วมมือของสมาชิก 5) การพัฒนาและระดมสมองอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เครือข่ายต้องมีการพัฒนาอยู่ ตลอดเวลา มีการระดมทรัพยากรอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ มีแผนในการพัฒนาที่เหมาะสม และมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้เครือข่ายมีกิจกรรมที่ต่อเนื่องกันตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง 6) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาทของเครือข่ายและมวลสมาชิก เพื่อระดมความร่วมมือและ สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานแก่สมาชิกและประชาชนทั่วไป ซึ่งจะทำให้เครือข่ายดำเนินงานด้วยความ มั่นคงและขยายเครือข่ายสมาชิกให้กว้างออกไปมากขึ้น 3.3 แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายทางสังคม 1. สนธยา พลศรี (2550: 257) เครือข่ายแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน การเกิดขึ้นของ เครือข่ายแต่ละเครือข่ายจึงมีสาเหตุ ปัจจัยสนับสนุนและการก่อรูปเครือข่ายที่แตกต่างกันออกไปสาเหตุของ การเกิดเครือข่าย มีดังต่อไปนี้ 1) การเกิดโดยธรรมชาติ เป็นการเกิดเครือข่ายขึ้นเองโดยไม่มีใครจัดตั้งซึ่งเป็นผลของ ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์ เช่น ความสัมพันธ์ของระบบครอบครัว และเครือญาติความสัมพันธ์ของ ครูอาจารย์ และลูกศิษย์ เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะของการเป็นเครือข่ายอยู่แล้ว เมื่อบุคคลมีส่วนร่วมในระบบ ความสัมพันธ์ดังกล่าว ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายด้วย 2) เกิดจากวิกฤตการณ์ของสังคมมนุษย์ เป็นการเกิดเครือข่ายที่เป็นผลจากการเกิดปัญหา หรือวิกฤตการณ์ขึ้นในสังคมที่สมาชิกตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในลักษณะของการ รวมพลังกัน สมาชิกส่วนใหญ่จะมีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เช่น อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน อาชีพเดียวกัน หรือเกี่ยวข้องกัน ดำรงชีวิตร่วมกัน หรือเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เป็นต้น การเกิดของเครือข่ายอาจจะเริ่มจากการ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์แสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหา และร่วมกันแก้ไขปัญหาในลักษณะของ เครือข่ายที่เป็นอิสระปราศจากการครอบงำกันและกันมีความสัมพันธ์แบบไม่ซับซ้อน หรือเป็นแนวราบที่ต่าง ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น เครือข่ายพิทักษ์ป่า เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำ เป็นต้น 3) การเกิดโดยวิวัฒนาการ เป็นการเกิดเครือข่ายเนื่องจากความสัมพันธ์ของสมาชิก เช่น เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น มารวมกันโดยวัตถุประสงค์บางอย่างเป็นเวลานานในลักษณะของกลุ่ม และองค์กร แล้วพัฒนาความสัมพันธ์เป็นเครือข่าย เช่น จากกลุ่มแบบสภากาแฟ พัฒนาเป็นเครือข่ายประชาคมหมู่บ้าน หรือประชาคมเมือง เป็นต้น
23 4) การเกิดโดยการจัดตั้ง เป็นการเกิดเครือข่ายที่มีผู้จัดตั้ง และให้การสนับสนุนเพื่อวัตถุประสงค์ บางประการจนสมาชิกรวมกันเป็นเครือข่าย ทั้งการจัดตั้งโดยผู้นำ รัฐบาล ภาคเอกชน และองค์กรพัฒนา เอกชน เช่น เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง เครือข่ายสหกรณ์ เครือข่ายของกระทรวงต่างๆ เป็นต้น 2. พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) (2547: 109-1 10) การก่อตัวของเครือข่ายในการก่อตัวหรือการ เกิดขึ้นของเครือข่ายนั้นมีการก่อตัวที่หลากหลายทั้งเกิดขึ้นด้วยการจัดตั้งของภาคส่วนต่างๆ เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติจากการเรียนรู้ร่วมกันและเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์ก่อให้เกิดขบวนการเครือข่าย ในที่นี้จะกล่าวถึง การก่อตัวของเครือข่ายดังกล่าวในสังคมไทยโดยจำแนกออกเป็น 3 ด้าน ตามลักษณะการก่อตัว ได้แก่ 1) เครือข่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดตั้ง และการสนับสนุนของภาคส่วนต่างๆ การก่อตัวของเครือข่าย ในลักษณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายที่ภาครัฐ หรือหน่วยงานบางแห่งต้องการส่งเสริมหรือเข้าไปจัดตั้ง เพื่อให้ สอดคล้องกับกระบวนการพัฒนาตามแนวนโยบายของภาครัฐ และเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนในการพึ่งพา ตนเอง เช่น เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน เครือข่ายพัฒนาชุมชน เป็นต้น โดยเครือข่ายเหล่านี้ อาจแบ่งประเภท ของการจัดตั้งได้อีก 2 ประการ คือ เครือข่ายที่เป็นนิติบุคคล เช่น เครือข่ายสหกรณ์ออมทรัพย์ มูลนิธิเพื่อการ พัฒนาไท ฯลฯ และเครือข่ายที่ไม่เป็นนิติบุคคล เช่น เครือข่ายชาวบ้าน เครือข่ายชมรมลูกเสือชาวบ้าน เป็นต้น ซึ่งโครงสร้างความสัมพันธ์ของเครือข่ายที่เกิดจากการจัดตั้งนี้ จะมีลักษณะกิจกรรม และกระบวนการทำงาน ที่เป็นทางการ มีระบบ ระเบียบ และมีโครงสร้างความสัมพันธ์ในแนวดิ่งที่เป็นไปตามกระแสของแหล่งทุน และนโยบายของหน่วยงานนั้นๆ 2) เครือข่ายที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ เครือข่ายที่เกิดขึ้นจากความสมานฉันท์การร่วมแรง ร่วมใจของฝ่ายต่างๆ ที่มองเห็นความจำเป็นในการเรียนรู้ และการแก้ไขปัญหาร่วมกันแล้วมารวมตัวกันเป็น เครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ตลอดจนถึงการพึ่งพาอาศัย โดยเป็นเครือข่ายที่มีการ สื่อสาร และความผูกพันที่มีชีวิตชีวา มีกระบวนการ ที่ประสานสอดคล้องกับความสนใจ และความต้องการ อย่างแท้จริงของสมาชิกมีแนวทางการดำเนินการที่เป็นอิสระจากการครอบงำของฝ่ายด่างๆ และจะเกิดขึ้นใน ชุมชนปฏิบัติการที่ใช้ความสมานฉันท์ และการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรมร่วมกัน ส่วนโครงสร้าง ความสัมพันธ์ของเครือข่ายในลักษณะนี้ จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อน อยู่ในแนวราบบนพื้นฐานการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพึ่งพาอาศัย มีความยืดหยุ่น และมีความสอดคล้องกับบริบทที่เกิดขึ้นในสังคม 3) เครือข่ายที่เกิดขึ้น โดยสถานการณ์เป็นตัวกำหนด ได้แก่ เครือข่ายที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ และ ประเด็นปัญหาที่ทุกฝ่ายเห็นว่า จำเป็นต้องใช้ความเป็นเครือข่ายในการแก้ไขปัญหา และสร้างพลังในการเรียนรู้ หรือการต่อรอง เพื่อให้เกิดการพัฒนากิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เครือข่ายที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ จะเกิดขึ้น หลังจากที่สถานการณ์นั้นเกิดความสุกงอมอย่างเต็มที่ และมีผู้ประสานงานเพื่อให้เครือข่ายมีความต่อเนื่อง เช่น เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของภาครัฐ ซึ่งโครงสร้างความสัมพันธ์ของเครือข่ายในลักษณะ นี้ จะมีการรวมพลังอย่างแน่นหนาบนพื้นฐานของการต่อสู้ และการเรียกร้องเพื่อปกป้อง และรักษาสิทธิของ ตนเองในการพัฒนา และมีการปรับบทบาทต่อการพัฒนาในแง่มุมที่หลากหลาย โดยเป็นกระบวนการเรียนรู้ จากสถานการณ์และบริบททางสังคม
24 4. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม แนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของบุคลากร ที่นำมาใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นทฤษฎีที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วม (อดินันท์ บัวภักดี 2552) ทฤษฎีสองปัจจัยของ เฮอร์เบิร์ก ( Hertzberg) เป็นทฤษฎีการจูงใจที่เกี่ยวข้องและสามารถโยงไปสู่กระบวนการมีส่วนร่วมได้ เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความพึงพอใจ ทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ผลดี มีประสิทธิภาพย่อมขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน เพราะเขาจะเพิ่มความสนใจในงานและมีความ รับผิดชอบ กระตือรือร้นที่จะทำงานซึ่งเป็นการเพิ่มผลผลิตของงานให้มากขึ้นในทางตรงกันข้ามหาก ผู้ปฏิบัติงานไม่พึงพอใจในการทำงานก็จะเกิดความท้อถอยในการทำงานและทำให้ผลงานออกมาไม่มี ประสิทธิภาพ ทฤษฎีดังกล่าวสอดคล้องกับการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของบุคลากรในองค์กร กล่าวคือถ้า บุคลากร ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้ร่วมคิดตัดสินใจจะส่งผลให้บุคลากรในองค์กรเกิดความรู้สึก เป็นเจ้าของในกิจกรรมมากขึ้น ทำให้ประสบผลสำเร็จในปฏิบัติงาน 4.1 ความหมายของการมีส่วนร่วม ณัฐพร แสงประดับ (2527) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า การมีส่วนร่วมหมายถึงการ เกี่ยวข้องทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคลหนึ่งในสถานการณ์กลุ่ม ซึ่งผลของการเกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเหตุ เร้าใจให้การกระทำบรรลุจุดมุ่งหมายของกลุ่มนั้น ทําให้เกิดความรู้สึกร่วมรับผิดชอบกับกลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ได้แก่ ความศรัทธาที่มีต่อความเชื่อถือตัวบุคคล ความเกรงใจที่มีต่อตัวบุคคลที่เคารพนับถือหรือมีเกียรติยศตําแหน่ง ทําให้การมีส่วนร่วมเป็นไปด้วยความเต็มใจ บุญเลิศ จิตตังวัฒนา (2548) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า การที่ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคน เข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้อง ร่วมมือ ร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ในขั้นตอน ต่างๆ ของการดําเนินกิจกรรมนั้นๆ โดยมีกลุ่มหรือองค์กรรองรับบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วมการพัฒนาภูมิปัญญา การรับรู้ สามารถ คิดวิเคราะห์ และตัดสินใจ เพื่อกำหนดการดําเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง สรุปจากความหมายของการมีส่วนร่วม ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า "การมีส่วนร่วม" หมายถึง การที่ ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลมีแนวคิดหรือจุดมุ่งหมายที่เหมือนกันเข้ามาดำเนินการนั้นให้แล้วเสร็จตาม จุดมุ่งหมายที่กำหนดแล้วรับผลประโชชน์ร่วมกัน ซึ่งต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์และการมีส่วนร่วมในการ ประเมินผล 4.2 ลักษณะการมีส่วนร่วม 1. ธนาภรณ์ เมทณีสดุดี (2543) ได้กล่าวถึงลักษณะแนวทางของการมีส่วนร่วม ดังนี้ 1) การร่วมคิด หมายถึง การมีส่วนร่วมในการประชุมปรึกษาหารือในการวางโครงการวิธีการติดตาม ผล การตรวจสอบและการดูแลรักษา เพื่อให้กิจกรรมโครงการสำเร็จผลตามวัตถุประสงค์ 2) การร่วมตัดสินใจ หมายถึง เมื่อมีการประชุมปรึกษาหารือเรียบร้อยแล้วต่อมาจะต้องร่วมกัน ตัดสินใจเลือกกิจกรรมหรือแนวทางที่เห็นว่าดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุด
25 3) การร่วมปฏิบัติตามโครงการ หมายถึง การเข้าร่วมในการดำเนินงานตามโครงการต่างๆ เช่น ร่วมออกแรง ร่วมบริจาคทรัพย์ เป็นต้น 4) การร่วมติดตามและประเมินผลโครงการ หมายถึง เมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้วได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการตรวจตราดูแลรักษาและประเมินผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการ 2. มณฑล จันทร์แจ่มใส (2551) ได้กล่าวถึงลักษณะของการมีส่วนร่วมไว้ว่า การมีส่วนร่วมของบุคคล จะต้องมีและเกิดขึ้นมาโดยตลอด ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการวางแผนโครงการ การบริหาร จัดการดำเนินงานตามแผน การเสียสละกำลังแรงงานของบุคคล ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ กำลังเงินหรือทรัพยากร ที่มีอยู่ 3. ประชุม สุวัติถี (2551) ได้กล่าวถึงลักษณะเงื่อนไขพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของบุคคล เกิดจาก พื้นฐาน 4 ประการ คือ 1) เป็นบุคคลที่จะต้องมีความสามารถที่จะเข้าร่วม กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้มีศักยภาพที่จะเข้าร่วมใน การดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น จะต้องมีความสามารถในการค้นหาความต้องการ วางแผนการบริหาร จัดการ การบริการองค์กรตลอดจนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 2) เป็นบุคคลที่มีความพร้อมที่เข้ามามีส่วนร่วม กล่าวคือ ผู้นั้นจะต้องมีสภาพทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และกายภาพที่เปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมได้ 3) เป็นบุคคลที่มีความประสงค์จะเข้าร่วม กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีความเต็มใจสมัครใจที่จะเข้าร่วม เล็งเห็นผลประโยชน์ของการเข้าร่วม จะต้องไม่เป็นการบังคับหรือผลักดันให้เข้าร่วม โดยที่ตนเองไม่ประสงค์จะ เข้าร่วม 4) เป็นบุคคลที่ต้องมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วม กล่าวคือ เป็นผู้มีโอกาสที่จะเข้าร่วมซึ่งถือว่าเป็น การกระจายอำนาจให้กับบุคคลในการตัดสินใจ และกำหนดกิจกรรมที่ตนเองต้องการในระดับที่เหมาะสม บุคคลจะต้องมีโอกาสและมีความเป็นไปได้ที่จะจัดการด้วยตนเองสำหรับลักษณะการมีส่วนร่วมของบุคคล โดยทั่วไปแล้วยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพครอบครัว ระดับการศึกษาสถานภาพทางสังคม อาชีพและรายได้ เป็นต้น 4.3 รูปแบบและขั้นตอนการมีส่วนร่วม 1. มงคล จันทร์ส่อง (2544) ได้กำหนดรูปแบบและขั้นตอนของการมีส่วนร่วมของบุคคล ไว้ว่า องค์ประกอบรูปแบบของการมีส่วนร่วม มีอยู่ 3 ด้าน ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมจะต้องมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน การให้บุคคลเข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะทำกิจกรรมนั้นๆ ไปเพื่ออะไร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ตัดสินใจ ถูกว่าควรจะเข้าร่วมหรือไม่ 2) การมีส่วนร่วมจะต้องมีกิจกรรมเป้าหมาย การให้บุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมจะต้องระบุ ลักษณะของกิจกรรมว่ามีรูปแบบและลักษณะอย่างไร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเข้าร่วม กิจกรรมหรือไม่
26 3) การเข้าร่วมจะต้องมีบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมาย การที่จะให้บุคคลเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมนั้น จะต้องระบุกลุ่มเป้าหมายด้วย อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปบุคคลกลุ่มเป้าหมายมักถูกจำกัดโดยกิจกรรมและ วัตถุประสงค์ของการมีส่วนร่วมอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน 1. ศิริชัย กาญจนวาสี ( 2547) ได้กำหนดรูปแบบและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคคลใน องค์กร ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการประชุม 2) การมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหา 3) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร 4) การมีส่วนร่วมตัดสินใจในการเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหา 5) การมีส่วนร่วมในการประเมินผลในกิจกรรมต่างๆ 6) การมีส่วนร่วมในการได้รับประโยชน์ 2. วรรณา วงษ์วนิช (2549) ได้กำหนดรูปแบบของการมีส่วนร่วมของบุคคลไว้ เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ คือ 1) การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง คือ รูปแบบที่ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม หรือเข้ามาเกี่ยวข้องร่วม ตัดสินใจในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนจนกว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลเสร็จสมบูรณ์ 2) การมีส่วนร่วมที่ไม่แท้จริง คือ รูปแบบที่ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม หรือเข้ามาเกี่ยวข้องใน ลักษณะหนึ่งลักษณะใด หรือในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเท่านั้น โดยแท้จริงแล้วกระบวนการมีส่วนร่วมไม่อาจ สามารถกระทำได้ในทุกประเด็นแต่การมีส่วนร่วมของบุคคลจะมีอยู่ในเกือบทุกกิจกรรมของสังคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับความสนใจและประเด็นการพิจารณาที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขพื้นฐานการมีส่วนร่วมว่าจะต้องมีอิสรภาพ มีความ เสมอภาค และมีความสามารถในการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้การมีส่วนร่วมดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความสำเร็จ 1. Christine V. Bullen and John F. Rockart (1981) กล่าวว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ปัจจัยที่ สำคัญยิ่งที่ต้องทำให้มีหรือให้เกิดขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จได้ทั้งตัวบุคคล แผนงาน หรือ องค์กร ธุรกิจ ปัจัยความสำเร็จจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่องค์กรธุรกิจต้องมั่นใจว่าได้ดำเนินการมาถูกต้องและเหมาะสมแล้ว เพื่อให้องค์กรธุรกิจประสบความสำเร็จและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้บริหารองค์กรธุรกิจองค์ประกอบของ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ มีดังนี้ 1) องค์ประกอบภายนอกองค์กร ประกอบด้วย 1.1) ลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรมของแต่ละอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน 1.2) กลยุทธ์เชิงแข่งขันตำแหน่งขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรม 1.3) ปัจจัยในด้านสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น 1.4) ปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เช่น ในช่วงเวลาหนึ่งองค์กรธุรกิจขาดแคลนวัตถุดิบ การควบคุมสินค้าคงคลังจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ เป็นต้น
27 2) องค์ประกอบภายในองค์กร ประกอบด้วย ระบบต่างๆ ภายในองค์กร เช่น มีแผนกตรวจสอบที่ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความเชี่ยวชาญและชำนาญงานของบุคลากร 3) องค์ประกอบค้านเทคโนโลยี เช่น การส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในองค์กรเพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วทันเวลา 4) องค์ประกอบด้านการเงิน เช่น การมีระบบการเงินที่ดีหรือมีระบบบริหารจัดการงบประมาณที่ดี การมีระบบควบคุมภายในที่ดี เป็นต้น 1. Edward J. Blocher (2010) กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จ คือ ปัจจัยที่เป็นตัววัดผลการดำเนินงาน ในแต่ละด้านของบริษัทที่มีความสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และส่งผลให้ธุรกิจประสบ ความสำเร็จ ในการระบุปัจจัยความสำเร็จจะต้องมุ่งเน้นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ โดยมองหา ปัจจัยจากแหล่งข้อมูลภายในเฉพาะของแต่ละองค์กรธุรกิจซึ่ง ได้แก่ ด้านการจัดการ ด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านการผลิต ด้านการตลาด เป็นต้น นอกจากนี้ต้องตรวจสอบปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ทั้งเอื้อและ ไม่เอื้อประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจ ได้แก่ เศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม กฎระเบียบ การเมือง เป็นต้น 2. พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ และพสุ เดชะรินทร์ (2542) กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จ เป็นปัจจัยหลักที่ใช้ กำหนดความสำเร็จทั้งทางด้านการเงินและการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรม โดยการระบุถึงปัจจัยต่างๆ ที่ องค์กรธุรกิจต่างๆ ควรจะต้องมีเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการแข่งขัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะพิจารณาจากการ วิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์กร การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรสามารถใช้การวิเคราะห์ ตามสายงาน (Functional Analysis) ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกสามารถวิเคราะห์ได้จากสภาวะ แวดล้อมภายนอกขององค์กร ได้แก่ สภาวะแวคล้อมทางเศรษฐกิจ (Economies) สภาวะแวดล้อม ทางเทคโนโลยี (Technological) สภาวะแวดล้อมทางกฎหมาย-การเมือง (Political-Legal) สภาวะแวดล้อม ทางสังคม-วัฒนธรรม (Sociocultural) สภาวะแวดล้อมในต่างประเทศ (Global) 6. แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคม 6.1 ความหมายของทุนทางสังคม 1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2556 : ออนไลน์) ในเศรษฐศาสตร์ ทุน หมายถึง ปัจจัยในการผลิตที่ใช้ใน การสร้างเศรษฐทรัพย์หรือบริการอื่นๆ ที่มนุษย์เป็นผู้ผลิตและไม่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เศรษฐทรัพย์และ บริการนั้นๆ จะต้องไม่ใช่ตัวทุนนั้นๆ เอง แม้ว่าทุนนั้นๆ สามารถที่จะเสื่อมราคาลงได้ สินค้าประเภททุน สามารถรับมาได้โดยใช้เงินหรือเงินทุน ในการเงินและการบัญชีคำว่าทุนหมายถึงความมั่งคั่ง โดยเฉพาะความมั่ง คั่งที่ใช้ในการเปิดกิจการ 2. ราชบัณฑิตยสถาน (2556 : ออนไลน์) ทุน หมายถึง ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ลงไว้กำหนดไว้จัดตั้ง ไว้ เพื่อประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สำหรับดำเนิน กิจการเพื่อหาผลประโยชน์ห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2556 : ออนไลน์) ทุน คือ Capital บางครั้งเรียกว่าสินค้าทุน (capital good) หมายถึง ปัจจัยการผลิตประเภทหนึ่งที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือ บริการ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าหรือบริการชนิดอื่นอีกทอดหนึ่ง อาทิ เครื่องจักร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสัตว์ใช้งานเป็นต้น แต่มักจะไม่รวมสินค้าประเภท
28 วัตถุดิบสิ้นเปลือง ในบางกรณีอาจถือว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นทุนชนิดหนึ่งเรียกว่า ทุนมนุษย์(human capital) ส่วนเงินทุนนั้นในทางเศรษฐศาสตร์ ถือว่าเป็นเพียงสื่อกลางที่จะได้มาซึ่งปัจจัยประเภททุนเท่านั้น มิใช่ปัจจัยทุน ที่แท้จริง นักวิชาการไทยได้อธิบายแนวคิดของ "ทุนทางสังคม" ไว้ซึ่งผู้วิจัยได้สรุปรวบรวมเพื่อเป็นพื้นฐานในการ ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ด้วย 1) ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม, 2541 อ้างถึงในชาติชาย ณ เชียงใหม่, 2543: 28) กล่าวว่า ทุนทางสังคม หมายถึง ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ความสามัคคีรวมพลัง การมีองค์กรมี หน่วยที่จะจัดระบบต่างๆ ในชุมชนมีศิลปวัฒนธรรม มีจุดรวมใจมีความสมัครสมานรักใคร่กลมเกลียวกัน 2) ประเวศ วะสี (2541) อธิบายความหมาย ทุนทางสังคม คือ ความเป็นกลุ่มก้อนทางสังคม การมี การศึกษาดี การมีวัฒนธรรม การมีความชื่อสัตย์สุจริต การมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมการมีประสิทธิภาพใน การทำงาน การมีการเมืองและระบบราชการที่ดี 6.2 ประเภทของทุนทางสังคม 1. Eduzone (2556 : ออนไลน์) ทุน (Capital) คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวก ในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ หรือทุนคือการสะสมสินค้าในรูปของเครื่องจักรเครื่องมืออุปกรณ์การ ผลิตต่างๆ ทุนในทางเศรษฐศาสตร์จะหมายถึงสินค้าประเภททุนซึ่งจัดเป็นทุนที่แท้จริง (Real capital โดยไม่ นับรวมเงินทุนซึ่งเป็นทุนที่เป็นตัวเงิน (Money capital) เข้าไว้ในความหมายดังกล่าว โดยทั่วไปทุนแบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) ทุนถาวร (Fixed capital คืออุปกรณ์การผลิตเครื่องจักร เครื่องมือที่มีความคงทน ถาวร มีอายุ การใช้งานยาวนาน เช่น โรงงาน ถนน สะพาน ทางรถไฟ เป็นต้น 2) ทุนดำเนินงาน (Working capital คือ ทุนประเภทวัตถุดิบต่างๆ ซึ่งมีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น เป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไปต้องหามาทดแทนใหม่อยู่ตลอดเวลา เช่น น้ำมัน ไม้ยาง เหล็ก เป็นต้น บางครั้งเรียกทุน ประเภทนี้ว่าทุนหมุนเวียน (Circulating capital) 3) ทุนสังคม (Social capital) เป็นทุนที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตโดยตรง ช่วยเสริมให้การใช้ทุนทั้งสองประเภทข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นสวนสาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาล สนามกีฬา สระว่ายน้ำ เหล่านี้ล้วนเป็นทุนของประเทศโดยส่วนรวม มีส่วนช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตโดยอ้อม คือ ช่วยให้ความรู้การรักษาสุขภาพอนามัยการพัฒนาในเรื่องของคุณภาพชีวิต ของบุคคลที่อยู่ในสังคม 6.3 แนวคิดหลักเกี่ยวกับทุนทางสังคม Baron and Schuller (2000 : 12) ; Fukuyama (1995 : 27) ; Cohen and Prusak. (2001 : 22) ได้กล่าวถึงแนวคิดทุนทางสังคมว่า เป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมทั้งในระดับองค์การและสังคม ทุนทางสังคม เกี่ยวข้องกับเครือข่าย บรรทัดฐาน ความไว้วางใจและความเข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งเกี่ยวพันกับจำนวนเครือข่าย มนุษย์และชุมชนต่าง และการมีทุนทางสังคมทำให้สามารถสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้การปฏิบัติเกิด ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้
29 Coleman (1990 : 18) กล่าวว่า ทุนทางสังคมมีคุณลักษณะที่ไม่สามารถจับต้องได้และมีความ คลุมเครือเมื่อเปรียบเทียบกับทุนรูปแบบอื่น เช่น ทุนทางเศรษฐกิจ เราสามารถวิเคราะห์โดยมีพื้นฐานจากอุปสงค์ และอุปทานในตลาด ทุนมนุษย์จัดเป็นสินทรัพย์ของมนุษย์ที่มีอยู่ในสติปัญญาในขณะที่ทุนทางสังคมเป็น ผลผลิตของความสัมพันธ์ในสังคม โดยที่เจ้าของทุนทางสังคมซึ่งก็คือปัจเจกบุคคลที่จะต้องมีการติดต่อสื่อสาร กับปัจเจกบุคคลอื่นผู้ซึ่งจัดหาแหล่งของผลประโยชน์ ทุนทางสังคมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในฐานะเป็นทรัพย์สิน ทางโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ วีรกร ตรีเศศ (2546 : 20) กล่าวว่าทุนทางสังคมเป็นนามธรรมโดยแท้จริง หมายถึง ความเชื่อถือ ไว้วางใจในสังคม (Trust) ซึ่งอาจจะทำให้สังคมดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจถ้ามีความเชื่อถือไว้วางใจ ก็ไม่จำเป็นต้องมีสัญญาทางการค้าที่ซับซ้อนก่อให้เกิดการประหยัดด้านต้นทุน โดยรูปแบบหนึ่งของการมีความ เชื่อถือไว้วางใจ ก็คือการที่ชุมชนมีสมาชิกในชุมชนไว้ใจกันมีความสนิทสนมกลมเกลียวกัน เป็นหน่วยของความ เข้มแข็งที่จะก่อให้เกิดการผลิตและสิ่งดีงาม เช่น สโมสรโรตารี่ไลออนส์ เป็นต้น และยังกล่าวอีกว่า ในเมืองไทย มีการตีความเรื่องทุนทางสังคมครอบคลุมถึงการอยู่รอดของชาวบ้านในอดีตที่มีสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ภายใต้ สภาพแวดล้อมที่ต้องต่อสู้ภัยธรรมชาติ และความผันผวนทางเศรษฐกิจเพราะมีความกลมเกลียวกันและใช้ภูมิ ปัญญาท้องถิ่นเป็นตัวนำทาง ดังนั้น ชุมชนเหล่านี้ที่เข้มแข็งก็คือมีทุนทางสังคมสูงนั่นเอง และยังกล่าวเพิ่มเติม ว่านักเศรษฐศาสตร์เห็นด้วยกับแนวคิดทุนทางสังคมในบทบาทสำคัญหลายด้าน เช่น โดยนักเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมสซาชู เสทท์ (University of Massachusetts) ได้แก่ แชมมัวโบลล์ (Samuel Bow's) และ เฮอร์เบิทจิทีส (Herbert Gintis) ซึ่งเชื่อว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ หรือปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจไม่สามารถ อธิบายได้ด้วยเหตุผลเศรษฐศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่มีเหตุผลลึกกว่านั้นอีกมาก กล่าวคือ ในการอธิบาย ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจนั้น นอกจากใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์แล้วจำเป็นต้องใช้ความรู้ในศาสตร์สาขามา อธิบายรวมจึงจะทำให้การอธิบายเกิดความสมบูรณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละปรากฏการณ์ และเสนอให้การใช้ทุน ทางสังคมมาพิจารณาว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของความมั่งคั่งของประเทศแล้วซึ่งสมมติฐานดั้งเดิมของเศรษฐศาสตร์ ที่ใช้เป็นรากฐานในการวิเคราะห์บนพื้นฐานที่มนุษย์มีความโลภ หรือความอยากส่วนตัวและใช้ตัดสินใจเพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น กล่าวได้ว่าสมมติฐานดังกล่าวไม่เป็นความจริงเพราะยังมีมนุษย์จำนวนหนึ่งยินดี เสียสละทรัพยากรส่วนตนเพื่อช่วยสังคมอย่างจริงใจ เช่น บริจาคเงินทำบุญ ทำงานการกุสล ทำงานมูลนิธิ เป็นต้น ซึ่งส่งผลช่วยให้เกิดทุนทางสังคมโดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตน โดยนักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองเชื่อว่า มนุษย์ส่วนหนึ่งได้รับความพอใจอย่างเด่นชัดจากการกระทำที่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว 7. แนวคิดเกี่ยวกับ CSR 7.1 ความหมายของ CSR ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility : CSR) หรือ (Corporate Citizenship : CC) มีผู้ให้คำนิยามที่หลากหลาย อย่างไรก็ดีหากพิจารณาจากฐานคิดการให้คุณค่า ขององค์กรธุรกิจสามารถจำแนกได้เป็น 4 มุมมอง ดังนี้ (พิพัฒน์ ยอดพฤติกาณ์ ,2550) 1. การให้คุณค่าสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นเป็นหลัก CSR ภายใด้ฐานคิดดังกล่าวจะหมายถึงการปฏิบัติดาม กฎหมาย
30 2. การให้คุณค่าต่อผู้ถือหุ้นเป็นหลักร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง อาทิ ลูกค้า คู่ค้า แรงงาน ชุมชน CSR ภายได้ฐานคิดดังกล่าวจะหมายถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและปฏิบัติโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อ พวกเขาเหล่านั้น 3. การให้คุณค่าต่อผู้ถือหุ้นเป็นหลักร่วมกับประชาชนทั่วไป CSR ตามแนวคิดดังกล่าวจะหมายถึง การ ปฏิบัติโดยคำนึงถึงประชาชนทุกภาคส่วน 4. ให้ความสำคัญต่อมาตรฐาน International Organization for Standardization (ISO) หรือ ISO 26000 ได้ตกลงร่วมกัน เพื่อให้การรับรององค์กรธุรกิจที่สามารถปฏิบัติตามแนวคิด CSR ซึ่งหากองค์กรใดที่ ได้รับใบรับรองมาตรฐานดังกล่าว นอกจากจะส่งผลดีในด้านภาพลักษณ์ตลอดจนตัวสินค้าหรือบริการของ องค์กรแล้ว ยังช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการซื้อสินค้าหรือบริการขององค์กรนั้น ทั้งนี้ มีแนวโน้มว่าใน อนาคต หากองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามแนวคิด CSR อาจเกิดปัญหาในการทำการค้ากับกลุ่มประเทศบริษัท ที่ให้ ความสำคัญกับการปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าว 7.2 ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ คาร์เตอร์ วี กูด (Good, 1973 อ้างถึงใน วรทัย ราวินิช, 2549) อธิบายความรับผิดชอบต่อสังคมไว้ว่า หมายถึงคุณธรรมซึ่งเป็นความคิดรวบยอดในความรู้สึกผิดชอบชั่วดี อันเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง ควบคุมพฤติกรรม ที่แสดงออกเพื่อสนองความปรารถนา สามารถมองเห็นว่าอะไรเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของคนกลุ่มใหญ่ และ พร้อมที่จะแสดงออกเมื่อมีเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมมากระตุ้น ริกกี้ ดับเบิลยู กริฟฟิน (Griffinl 1996 อ้างถึงใน วรทัย ราวินิช, 2549) ได้ให้ความหมายของความ รับผิดชอบต่อสังคมไว้ว่า เป็นข้อผูกพันและเป็นหน้าที่ขององค์กรที่มีหน้าที่ในการปกป้องและให้ผลประโยชน์ ต่อสภาพแวดล้อมรอบข้าง อาร์ เวน มอนดี้ (Mondy, 1998 อ้างถึงใน วรทัย ราวินิช, 2549) กล่าวว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง ข้อผูกมัดของผู้บริหารในการหาวิธีที่จะรักษาหรือปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่า ผลประโยชน์ขององค์กรเพียงอย่างเดียว องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) หรือ ISO ให้ความหมายไว้ว่า เป็นเรื่องของการที่องค์กรตอบสนองต่อประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคมและ สิ่งแวดล้อม โดยมุ่งที่การให้ประโยชน์กับคน ชุมชน และสังคม นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องของบทบาท ขององค์กรธุรกิจในสังคมและความคาดหวังของสังคมที่มีต่อองค์กรธุรกิจ โดยจะต้องทำด้วยความสมัครใจ และผู้บริหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ โดยสามารถวัดผลได้ใน 3 มิติ คือ การวัดผลทาง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ให้ความหมายของ ซีเอสอาร์ เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ บรรษัทบริบาล หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้ อย่างเป็นปกติสุข
31 8. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ 8.1 ความหมายของการตัดสินใจ พีรพงศ์ ดาราไทย (2542 : 39) กล่าวว่า "การตัดสินใจ หมายถึง ความคิดและการกระทำต่างๆ ที่นำไปสู่การตกลงใจเลือกทางใดทางหนึ่งจากทางเลือกที่มีอยู่หลายทางเพื่อใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น" กริฟฟิทส์ (Griffiths, 1959 ; อ้างถึงใน สุวิทย์ มูลคำ. 2549 : 50) ให้ความหมายว่า "การตัดสินใจเป็น การศึกษาทางเลือกทางการปฏิบัติโดยการคิดการเลือกทางเลือกที่แตกต่างกัน" แซนแทรค (Santrack. 2003 : 365) กล่าวว่า "การตัดสินใจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประเมินทางเลือกต่างๆ และเลือกทางเลือกจากทางเลือก เหล่านั้น" โกลสเตน (Goldstein. 2008 : 466) กล่าวว่า "การตัดสินใจเป็นการพิจารณาเลือกทางเลือกต่างๆ ของบุคคลที่ต้องปฏิบัติในลักษณะที่แตกต่างกัน" โควาลสกี้และเวสเทน (Kowalski and Westen. 2009 : 238) กล่าวว่า "การตัดสินใจเป็นเรื่อง กระบวนการที่บุคคลให้น้ำหนักเชิงบวกและเชิงลบแก่ทางเลือกต่างๆ เพื่อเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง" สรุปได้ว่า การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งจากหลายๆ ทางเลือกที่ ได้พิจารณาหรือประเมินอย่างดีแล้วว่าเป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การการตัดสินใจ เป็นสิ่งสำคัญและเกี่ยวข้องกับหน้าที่การบริหาร หรือการจัดการเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน และการควบคุม การตัดสินใจได้มีการศึกษามานาน 8.2 ธรรมชาติของการตัดสินใจ ธรรมชาติการตัดสินใจ อาจเป็นคำกล่าวที่มีผู้เข้าใจในธรรมชาติและให้ความสำคัญแตกต่างกันไปตาม ความแตกต่างในภูมิหลังของแต่ละคน ขณะที่หลายคนเข้าใจว่าการตัดสินใจเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องทำ เป็นประจำ เช่น ตัดสินใจที่จะอาบน้ำก่อนรับประทานอาหารเช้า แต่หลายคนกลับเข้าใจว่าการตัดสินใจเป็น เรื่องที่มี ความซับซ้อนและมีความสำคัญในเชิงผลลัพธ์ที่จะเกิดตามมา เช่น การตัดสินใจทางการเมืองของ นายกรัฐมนตรีว่าจะยุบสภาหรือจะลาออก การตัดสินใจทางอุตสาหกรรมว่าจะเลือกตั้งโรงงานที่ไหนและการ ตัดสินใจทางการทหารว่าจะใช้กลยุทธ์รูปแบบใดกับฝ่ายตรงข้าม อย่างไรก็ตาม ถ้าจะอ้างความเป็นธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงความเป็นเนื้อแท้หรือแก่นแท้ของการตัดสินใจน่าจะเป็นที่เข้าใจโดยรวมของคนทั่วไปว่า เป็น พฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้น การตัดสินใจดังกล่าว ในทางพฤติกรรมศาสตร์สามารถพิจารณา ได้ 2 ลักษณะ คือ การตัดสินใจตอบสนองทันทีเมื่อได้รับสิ่งเร้าหรือที่ เรียกว่าการตอบสนองตามสัญชาตญาณ (Instinctive response) โดยมีประสบการณ์หรือการเรียนรู้เป็นฐาน ตามแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) และการตัดสินใจตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยผ่าน กระบวนการประเมินและไตร่ตรองบนพื้นฐานของประสบการณ์การเรียนรู้ รวมตลอดจนปัจจัยส่วนบุคคลของ แต่ละคนตามแนวคิดของกลุ่มเกสตัลต์ (Gestalt) (มนัส สุวรรณ. 2553 : 73) อุบลวรรณา ภวกานันท์ (2555 : 324) สรุปว่าธรรมชาติของการตัดสินใจมีลักษณะดังนี้ คือ 1. ต้องการการจำได้ คือ การจำได้ถึงความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ที่เราสนใจกับสภาวการณ์ที่เป็น จริงที่ทำให้เรารู้สึกเพียงพอจะทำให้เกิดกระบวนการตัดสินใจ