The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเย่วชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by researchkorat1 gmail, 2024-04-24 00:26:24

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเย่วชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

วิจัยแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเย่วชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

32 2. ค้นหาข้อมูล คือ วิธีการหาข้อมูลที่เก็บไว้ในส่วนความจำหรือทักษะความรู้ข้อมูลที่ช่วยในการ ตัดสินใจจากสิ่งแวดล้อม 3. การประเมินทางเลือก คือ การหาทางเลือกในส่วนที่ทำให้เกิดประโยชน์และข้อจำกัดของตัวเลือก 4. การเลือก คือ การเลือกทางเลือกหรือยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 5. ผลลัพธ์ คือ การประเมินสิ่งที่เราเลือกว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ ดังนั้นการตัดสินใจเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้โดยง่ายเพียง สังเกตการแสดงออกของแต่ละบุคคลในกระบวนการตัดสินใจแต่ละคนต่างก็มีเหตุปัจจัยเฉพาะที่แตกต่างกันไป การทำความเข้าใจในธรรมชาติของการตัดสินใจน่าจะเป็นประโยชน์ต่อแบบแผนการตัดสินใจแสดงพฤติกรรมที่ ถูกต้องและเหมาะสมของผู้ที่สนใจต่อไปในอนาคต 8.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ การตัดสินใจแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งมีผลมาจากความแตกต่างกันของลักษณะทาง กายภาพและสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคลทำให้การตัดสินใจของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน โดยปัจจัย ภายในและปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของบุคคลประกอบด้วย 4 ปัจจัย ดังนี้ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์. 2552 : 130-131) 1. ปัจจัยด้านวัฒนธรรม (Cultural factor) วัฒนธรรมเป็นวิธีการดำเนินชีวิตที่สังคมเชื่อถือว่าเป็นสิ่ง ดีงามและยอมรับมาปฏิบัติ เพื่อให้สังคมดำเนินและมีการพัฒนาไปได้ด้วยดี บุคคลในสังคมเดียวกันจึงต้อง ยึดถือและปฏิบัติตามวัฒนธรรมเพื่อการอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม วัฒนธรรมเป็นเครื่องผูกพันบุคคลในกลุ่มไว้ ด้วยกัน วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดความต้องการพื้นฐานและพฤติกรรมของบุคคลโดยบุคคลจะเรียนรู้เรื่อง ค่านิยม ทัศนคติ ความชอบ การรับรู้ และมีพฤติกรรมอย่างไรนั้น จะต้องผ่านกระบวนการทางสังคมที่เกี่ยวข้อง กับครอบครัว และสถาบันต่างๆ ในสังคม คนที่อยู่ในวัฒนธรรมต่างกันย่อมมีพฤติกรรมการตัดสินใจที่แตกต่างกัน 2. ปัจจัยด้านสังคม (Social factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การตัดสินใจลักษณะทางสังคมจะประกอบด้วย 2.1 กลุ่มอ้างอิง (Reference group) เป็นกลุ่มที่บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยมีอิทธิพลต่อทัศนคติ ความคิดเห็นและค่านิยมของบุคคลในกลุ่มอ้างอิง เนื่องจากบุคคลต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มจึงต้อง ปฏิบัติตามและยอมรับความคิดเห็นจากกลุ่มอ้างอิง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ กลุ่มปฐมภูมิ และกลุ่ม ทุติยภูมิ 2.2 ครอบครัว (Family) บุคคลในครอบครัวถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อทัศนคติ ความคิดและ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของครอบครัว 2.3 บทบาทและสถานะ (Roles and statuses) บุคคลจะเกี่ยวข้องกับหลายกลุ่ม เช่น ครอบครัว กลุ่มอ้างอิง องค์กรและสถาบันต่างๆ บุคคลจะมีสถานะที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ฉะนั้นในการตัดสินใจมักจะ มีบทบาทหลายบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของตนเองและผู้อื่นด้วย 3. ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal factor) กรตัดสินใจซื้อของผู้ซื้อได้รับอิทธิพลจากลักษณะส่วนบุคคล ของคนในด้านต่างๆ ดังนี้


33 3.1 อายุ (Age) อายุที่แตกต่างกันจะมีความต้องการต่างกัน เช่น กลุ่มวัยรุ่นชอบทดลองสิ่งแปลก ใหม่และชอบสินค้าประเภทแฟชั่น และรายการพักผ่อนหย่อนใจ 3.2 วงจรชีวิตครอบครัว (Family life cycle stage) เป็นขั้นตอนการดำรงชีวิตของบุคคล ในลักษณะของการมีครอบครัว การดำรงชีวิตในแต่ละขั้นตอนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความต้องการทัศนคติ และค่านิยมของบุคคล 3.3 รายได้ (Income) หรือโอกาสทางเศรษฐกิจ (Economic circumstance) โอกาสทางเศรษฐกิจ ของบุคคลจะกระทบต่อสิ่งที่เขาตัดสินใจ โอกาสเหล่านี้ประกอบด้วย รายได้ การออมสินทรัพย์และทัศนคติ สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจทั้งสิ้น 3.4 การศึกษา (Education) ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงมีแนวโน้มการตัดสินใจที่เหมาะสมมากกว่า ผู้ที่มีการศึกษาน้อย 3.5 ค่านิยมหรือคุณค่า (Value) และรูปแบบการดำรงชีวิต (Lifestyle) ค่านิยมหรือคุณค่า 4. ปัจจัยด้านจิตวิทยา (Psychological factor) หรือปัจจัยภายในการตัดสินใจของบุคคลได้รับ อิทธิพลจากปัจจัยด้านจิตวิทยา ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจ ประกอบด้วย 4.1 การจูงใจ (Motivation) หมายถึง พลังสิ่งกระตุ้น (Drive) ที่อยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งกระตุ้นให้ บุคคลปฏิบัติการจูงใจเกิดภายในตัวบุคคล แต่อาจถูกกระทบจากปัจจัยภายนอกได้ พฤติกรรมของมนุษย์ เกิดขึ้นต้องมีแรงจูงใจ (Motive) ซึ่งหมายถึง ความต้องการที่ได้รับการกระตุ้นจากภายในตัวบุคคลที่ต้องการ แสวงหาความพอใจด้วยพฤติกรรมที่มีเป้าหมาย แรงจูงใจที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์ถือว่าเป็นความต้องการของมนุษย์ 4.2 การรับรู้ (Perception) เป็นกระบวนกรรับรู้ของแต่ละบุคคลซึ่งขึ้นอยู่ปัจจัยภายใน เช่น ความเชื่อ ประสบการณ์ ความต้องการและอารมณ์ และยังมีปัจจัยภายนอกคือ สิ่งกระตุ้น การรับรู้จะแสดงถึงความรู้สึก จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รส กาย การสัมผัส ซึ่งแต่ละคนมีการรับรู้แตกต่างกันไป 4.3 การเรียนรู้ (Learning) เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ของบุคคล การเรียนรู้ของบุคคลจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับสิ่งกระตุ้นและเกิดการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นนั้น 4.4 ความเชื่อ (Beliefs) เป็นความคิดซึ่งบุคคลยึดถือเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นผลมาจาก ประสบการณ์ในอดีต 4.5 ทัศนคติ (Attitudes) เป็นการประเมินความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจของบุคคลความรู้สึกด้าน อารมณ์และแนวโน้มการปฏิบัติที่มีผลต่อความคิดหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหมายถึงความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มี ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 4.6 บุคลิกภาพ (Personality) เป็นรูปแบบลักษณะของบุคคลที่จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการ ตอบสนอง หรืออาจหมายถึงลักษณะด้านจิตวิทยาที่มีลักษณะแตกต่างของบุคคลซึ่งนำไปสู่การตอบสนองที่ สม่ำเสมอและมีปฏิกิริยาต่อสิ่งกระตุ้น 4.7 แนวคิดของตนเอง (Selfconcept) หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อตนเองหรือความคิดที่ บุคคลคิดว่าบุคคลอื่นมีความคิดเห็นต่อตนอย่างไร อัษฎายุธ สุนทรศารทูล (2547 : 34) กล่าวว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมี 4 ด้าน คือ


34 1. ปัจจัยทางด้านสังคม เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ หลักธรรมของสังคม ระบบ การศึกษาและสิ่งแวดล้อม 2. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ เช่น อาชีพ การทำมาหากิน รายได้ การเพิ่มผลผลิตอาหาร เงินทุนและ สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ 3. ปัจจัยด้านผู้ตัดสินใจ เช่น ระดับการศึกษา ระดับสติปัญญา ความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ รวมถึง ประสบการณ์เดิม วุฒิภาวะ นิสัย อารมณ์ และความจำเป็นส่วนตัวของผู้ตัดสินใจ 4. ปัจจัยด้านเวลาสถานที่และข้อเท็จจริง ทั้งนี้เพราะการตัดสินใจที่กระทำในเวลา สถานที่และ ข้อเท็จจริงที่ได้รับมีปริมาณและคุณภาพแตกต่างกัน วิธีเลือกใช้อาจจะแตกต่างกันด้วย อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมีทั้งที่เป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ซึ่งบุคคลที่อยู่ใน วัฒนธรรมต่างกัน มีแนวคิดความเชื่อ ทัศนคติ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ รายได้ รวมถึงรูปแบบการดำเนินชีวิต ที่ต่างกันย่อมมีพฤติกรรมการตัดสินใจที่แตกต่างกัน 9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อนันธนวิชญ์ อนุศาสนัน, ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา, รัญจวน คำวชิรพิทักษ์ (2565) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารสภาเด็กและเยาวชน จังหวัดชัยภูมิ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับของความสำเร็จของการบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยทางจิตวิทยา ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านสมรรถนะการบริหารสภาเด็กและเยาวชน และด้านแรง สนับสนุนทางสังคม กับความสำเร็จของการบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ ร่วมกันส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านสมรรถนะการบริหารสภาเด็กและเยาวชน และด้านแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 101 คน คัดเลือกแบบเจาะจงจากประชากรจำนวน 3,498 คน ด้วยเกณฑ์การคัดเลือก 3 เกณฑ์ คือ (1) เป็นตัวแทน คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด อำเภอ และตำบล (2) วุฒิการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงปริญญาตรี และ (3) การให้ความร่วมมือกับการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดปัจจัยทางจิตวิทยา และความสำเร็จของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนและพี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's product moment coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า ข้อ 1) ความสำเร็จของการบริหารสภาเด็กและเยาวชน จังหวัดชัภูมิ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก X = 4.25) ด้านที่มีความสำเร็จระดับมากที่สุด คือ คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนได้จัด กิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน ในท้องถิ่นให้มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งคุณธรรม และจริยธรรม (X - 4.49) ด้านที่มีระดับความสำเร็จน้อยที่สุด คือ การรวบรวมข้อมูลข้อเสนอแนะหรือประเมิน เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ X = 4.06) ข้อ 2) ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านภาวะผู้นำ ด้านสมรรถนะการบริหาร และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กันทางบวกกับความสำเร็จของการ บริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าความสัมพันธ์ระหว่าง


35 0.641 - 0.859 ข้อ 3) ภาวะผู้นำและสมรรถนะการบริหารส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารสภาเด็กและ เยาวชนจังหวัดชัยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตัวแปรทั้ง 2 สามารถร่วมกันพยากรณ์ ความสำเร็จของการบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิได้ร้อยละ 56.60 สามารถเขียนสมการทำนาย ความสำเร็จของการบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ Y = 1.003 + (0.429) (X1)+ (0.335) (X2) ปภาพินท์ คำอุดม (2558) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษากระบวนการเสริมพลังในสภาเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาสภาเด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมพลังในเด็กและเยาวชนของสภาเด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อการปฏิบัติงานสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล เหมืองหม้อ โดยผู้ศึกษาได้กำหนดการวิจัยเป็นกระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย การค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร บทความ แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Study) โดยได้ทบทวนแนวคิดเสริมสร้างพลัง แนวคิดด้านทุนทางสังคม และทฤษฎีต่างๆ จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 เล่ม และการศึกษาจากการลงภาคสนาม เช่น โครงสร้าง กระบวนการการดำเนินงาน ขั้นตอนการทำงานและข้อเท็จจริงในการดำเนินงานจากเด็กและเยาวชนของสภา เด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อ เจ้าหน้าที่ ผู้บริหารและประชาชนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 8 คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 18 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ การส่งเสริมกระบวนการเสริมพลังในสภาเด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อ มีการกำหนดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของสมาชิกคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อมีความ ชัดเจน เลือกสรรคนให้เหมาะสมกับงานเพื่อเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน และจัดสรรทรัพยากร ที่ได้รับอย่างคุ้มค่า ได้แก่ งบประมาณในการทำโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือการระดมทุนในการจัดกิจกรรมจิตอาสา วัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน พื้นที่ในการแสดงออกซึ่งศักยภาพ เช่น ลานเวทีสร้างสรรค์ ห้องประชุมสภาเด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อ การเปิดโอกาสแก่เด็กและเยาวชน ในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นในการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่และคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบล เหมืองหม้อ ซึ่งทำให้สภาเด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อได้แสดงความคิดเห็น ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และได้ใช้ศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ในการตัดสินใจร่วมกับพี่เลี้ยงเหมือนเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน รวมถึง การดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อ ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากเครือข่าย ในการทำงานด้านเด็กและเยาวชน โดยอาศัยทุนทางสังคมที่มีอยู่ในระดับตำบลเข้ามามีส่วนร่วมต่อ กระบวนการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อ เกิดเป็นสายสัมพันธ์ของการทำงานระหว่างเด็ก และเยาวชนกับหน่วยงานรัฐ และผู้คนในพื้นที่ของชุมชนตำบลเหมืองหม้อ เช่น โรงเรียน วัด ชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และปราชญ์ชาวบ้านที่คอยสนับสนุนแก่สภาเด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อด้วยดีเสมอ จากกระบวนการที่คอยผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนการทำงานของสภาเด็กและเยาวชนตำบลเหมืองหม้อ เหมือนเป็นสายธารแห่งความมุ่นมั่นในการสร้างต้นกล้าเด็กและเยาวชน เกิดเป็นความเข้มแข็งและยั่งยืน


36 วาสนา มะลินิน, นภัทร์ แก้วนาค (2563) ได้ศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของเครือข่ายทางสังคม สร้างเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนในสังคมไทย วัตถุประสงค์เพื่อ 1 ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของการบริหารสภาเด็กและเยาวชน และ 2) วิเคราะห์คุณลักษณะและสังเคราะห์ระบบเครือข่ายทางสังคม สร้างเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนในสังคมไทย ใช้วิธีการศึกษาแบบผสาน วิธีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 480 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ 3) แบบสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิค วิเคราะห์ Triangulation Technic (การยืนยัน 3 เส้า) และเทคนิค 6' C. Technic Analysis ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบริหารสภาเด็กและเยาวชน คือ 1.1) การมีผู้นำสภาเด็กและเยาวชนที่ เข้มแข็ง 1.2) การมีคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนที่ข้มแข็ง 1.3) สภาเด็กและเยาวชนได้รับการสนับสนุนเชิง สร้างสรรค์จากภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 1.4) คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน ได้รับการ พัฒนาอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่โดยการริเริ่มในการคิด การนำ การปฏิบัติ และได้รับการสนับสนุน 2. คุณลักษณะภาคีเครือข่ายทางสังคมที่จะสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย 2.1) ภาคีเครือข่ายทางสังคมมีระบบโครงสร้างองค์กรและการจัดการที่ดี 2.2) ภาคีเครือข่ายทาง สังคมมีระบบฐานข้อมูลเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อใช้ในการทำงานกับสภาเด็กและเยาวชน 2.3) ภาคี เครือข่ายทางสังคมมีคณะทำงานที่พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชน 2.4) ภาคีเครือข่ายทาง สังคมเห็นคุณค่าและความสำคัญของสภาเด็กและเยาวชน ในการมีส่วนร่วมการทำงานด้านเด็กและเยาวชน และ 2.5) ภาคีเครือข่ายทางสังคมมีการจัดการความรู้ สนับสนุนกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชน


37 บทที่ 3 ระเบียบวิธีจัย 1. วิธีการศึกษา การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและ เยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) โดยคัดเลือกบุคคลที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 2. การคัดเลือกพื้นที่ พื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 คือ จังหวัดนครราชสีมา 3. การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึกเครือข่ายทางสังคม จำนวน 3 หน่วยงาน/องค์กร (ให้การ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง) - ผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบของส่วนราชการในระดับจังหวัดที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสภาเด็ก และเยาวชนทุกระดับของจังหวัดนครราชสีมา - ผู้บริหารหรือผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับตำบลที่รับผิดชอบงานสภาเด็กและ เยาวชนของตำบล - เครือข่ายทางสังคม/ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนของ จังหวัดนครราชสีมา 2) กลุ่มผู้แทนในการเข้าร่วมเวทีสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) รวมจำนวน 40 คน (ผู้แทนที่มีการ ดำเนินงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละระดับ) ประกอบด้วย - คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด - คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับอำเภอ - คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล - เจ้าหน้าที่ อปท. ที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชนในระดับตำบล - เจ้าหน้าที่ส่วนราชการในระดับจังหวัด/เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา/เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา 4. กระบวนการดำเนินงานวิจัย 1) แหล่งทุน (กองทุน ววน.) แจ้งการจัดสรรงบประมาณ Function-based Research Fund ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) จัดทำโครงการวิจัยเพื่อขออนุมัติหลักการจากกระทรวง พม. 3) กระทรวง พม. แจ้งอนุมัติหลักการโครงการวิจัยของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4


38 4) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5) ประสานและแจ้งผู้ดำเนินการวิจัยร่วม (บุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา) 6) ประสานและแจ้งอาจารย์ปรึกษาโครงการวิจัย (อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา) ในการ ร่วมเป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัย 7) ประชุมหารือคัดเลือกพื้นที่ศึกษา (สภาเด็กและเยาวชน) ร่วมกับผู้ดำเนินการวิจัยร่วมผ่านการ ประชุมออนไลน์ 8) ประชุมหารือเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกับที่ปรึกษาโครงการวิจัย 9) จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการวิจัยแก่สภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ศึกษา 10) จัดประชุมหารือสร้างคำถามสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับที่ปรึกษาโครงการในการสัมภาษณ์เครือข่าย ทางสังคม (3 หน่วยงาน/องค์กร) 11) ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกเครือข่ายทางสังคม 12) จัดประชุมเพื่อสรุปข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกและสร้างคำถามสนทนากลุ่ม (Focus Group) ร่วมกับที่ปรึกษา 13) จัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 14) จัดประชุมสรุปข้อมูลสนทนากลุ่มร่วมกับที่ปรึกษาโครงการ 15) จัดประชุมเพื่อนำเสนอร่างผลการศึกษาและรับฟังข้อเสนอแนะ 16) จัดเวทีคืนข้อมูลให้พื้นที่ศึกษา 17) จัดทำรูปเล่มผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ 5. เครื่องมือวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และแบบสอบถามการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 1) ประเด็นการสัมภาษณ์ (In-depth interview) เครือข่ายทางสังคม ได้แก่ 1.1) บทบาทการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน - ภารกิจหน่วยงาน/องค์กร - โครงสร้างหน่วยงาน/องค์กร - ผู้รับผิดชอบหลัก - ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับสภาเด็กและเยาวชน 2.2) กระบวนการการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน - งบประมาณ - การมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน - รูปแบบ/ลักษณะกิจกรรม


39 3.3) ปัจจัยที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน - ด้านนโยบายผู้บริหารองค์กร - ด้านการรับฟังความคิดเห็นและการเสนอนโยบาย - ด้านการพัฒนาศักยภาพ - ด้านการอุดหนุนงบประมาณ 2) แบบสอบถามการสนทนากลุ่ม (Focus Group) สำหรับ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา, บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา, คณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชนระดับจังหวัด, คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับอำเภอ, คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับ ตำบล, เจ้าหน้าที่ อปท. ได้แก่ 2.1) ความเป็นมาของสภาเด็กและเยาวชน - การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน - เป้าหมายในการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน - แผนพัฒนาเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน 2.2) โครงสร้างของสภาเด็กและเยาวชน - องค์ประกอบของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล - วาระการทำงานของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล - การบริหารจัดการ - บทบาทความรับผิดชอบ 2.3) กิจกรรม/โครงการ - การมีส่วนร่วมของกิจกรรม/โครงการ - กระบวนการดำเนินงาน 2.4) หน่วยงานและการสนับสนุน - การสนับสนุนของหน่วยงานในพื้นที่ - การสนับสนุนภาคประชาสังคม/ภาคประชาชน - การสนับสนุนของภาคเอกชน/NGOs 2.5) ผลที่เกิดขึ้น - ต่อการพัฒนาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน - ต่อชุมชน - ต่อหน่วยงาน/องค์กร - ต่อสังคม 2.6) ความสำเร็จในการดำเนินงานสภาเด็กและเยาวชน


40 2.7) ปัญหาอุปสรรค - ด้านการบริหารจัดการ - ด้านการขับเคลื่อนกิจกรรม/โครงการ - ด้านงบประมาณ 2.8) ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน 6. การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาจากเอกสาร (Documentary Search) ของบริบทสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ศึกษา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนเบื้องต้น 2) ผู้ศึกษาได้ประชุมหารือร่วมกับผู้วิจัยร่วม ผู้แทนบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็น คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด คณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชนระดับอำเภอ คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล เครือข่ายทางสังคม อปท. ที่มีพื้นที่การ ดำเนินงานด้านสภาเด็กและเยาวชนที่มีความเข้มแข็งทั้งเป็นแบบหนังสือขอความอนุเคราะห์คัดเลือก และประชุมสร้างความเข้าใจร่วมกันผ่านการประชุมทางไกลระบบออนไลน์ผ่าน Zoom Cloud Meeting 3) ผู้ศึกษาได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ตามประเด็น - ความเป็นมา การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน เป้าหมาย และแผนพัฒนาในการดำเนินงานของ สภาเด็กและเยาวชน - โครงสร้าง องค์ประกอบ การทำงานและการบริหารจัดการ บทบาทความรับผิดชอบ ของ คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน - กิจกรรม/โครงการ การมีส่วนร่วมของกิจกรรม/โครงการ กระบวนการดำเนินงาน - หน่วยงานและการสนับสนุน การสนับสนุนของหน่วยงานในพื้นที่ การสนับสนุนภาคประชา สังคม/ภาคประชาชน การสนับสนุนของภาคเอกชน/NGOs - ผลที่เกิดขึ้น ต่อการพัฒนาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน ต่อชุมชน ต่อหน่วยงาน/องค์กร ต่อสังคม - ความสำเร็จในการดำเนินงานสภาเด็กและเยาวชน - ปัญหาอุปสรรค ด้านการบริหารจัดการ ด้านการขับเคลื่อนกิจกรรม/โครงการ ด้านงบประมาณ - ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน 4) ผู้ศึกษาลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกเครือข่ายทางสังคมด้วยตนเองและได้ทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์ ของการสัมภาษณ์พร้อมชี้แจงรายละเกี่ยวกับประเด็นการสัมภาษณ์ โดยผู้ศึกษาได้ขออนุญาตบันทึกเสียง เพื่อนำไปสรุปข้อมูลให้สมบูรณ์


41 7. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลที่เป็นปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิแล้วนำข้อมูลที่ได้มา ทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีศึกษาเชิงพรรณนา ตามประเด็น ดังนี้ 1) รูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของสภา เด็กและเยาวชน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็ก และเยาวชน 3)แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชน 8. กรอบแนวคิด การดำเนินงานของเครือข่ายทางสังคม (บ้านพักเด็ก+อปท.+ภาคเอกชน) - รูปแบบการดำเนินงาน - วิธีการดำเนินงาน - กระบวนการดำเนินงาน - การมีส่วนร่วม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของ เครือข่ายทางสังคม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ - ปัจจัยด้านสังคม - ปัจจัยส่วนบุคคล - ปัจจัยด้านจิตวิทยา รูปแบบการมีส่วนร่วม - การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ - การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ - การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของ สภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตามหลัก CSR


42 9. จริยธรรมในการวิจัย โครงการวิจัยแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็ก และเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้เแจ้งแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยในมนุษย์ ด้านพฤติกรรมศาสตร์สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ต่อหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) และหน่วยรับ งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ในการดำเนินการโครงการวิจัยในมนุษย์ ด้านพฤติกรรมศาสตร์ ที่ต้องได้รับความเห็นชอบและโครงการที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยโครงการวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการ ขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ไม่ต้องได้รับความ เห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติข้อ 3 โครงการวิจัยใน มนุษย์ด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสถาบัน ได้แก่ (1) โครงการวิจัยซึ่งมิได้กระทำต่อร่างกาย จิตใจ เซลล์ ส่วนประกอบของเซลล์ สารพันธุกรรมสิ่งส่ง ตรวจ เนื้อเยื่อ สารคัดหลั่งของบุคคล (2) โครงการวิจัยข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียนหรือข้อมูลด้านสุขภาพของผู้รับการวิจัย บรรดาซึ่งเป็น ข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (3) โครงการวิจัยที่ออกแบบสอบถาม สัมภาษณ์หรือสังเกตผู้รับการวิจัยซึ่งมิได้กระทำต่อหรือมีผลต่อ ร่างกาย จิตใจ เซลล์ ส่วนประกอบของเซลล์ สารพันธุกรรม สิ่งส่งตรวจ เนื้อเยื่อสารคัดหลั่ง สุขภาพหรือ พฤติกรรม ทั้งนี้ ซึ่งไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (4) โครงการวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบคุณภาพ รสชาติอาหาร หรือการยอมรับของผู้บริโภคหากอาหาร นั้นไม่มีสิ่งเจือปนของสารปรุงแต่งที่ไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายหรืออาหารนั้นไม่มีสารอันตรายเกินระดับ ความปลอดภัยตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (5) โครงการวิจัยซึ่งมีการสังเกตพฤติกรรมในชุมชนหรือในสังคมเป็นการทั่วไปโดยวิธีการเก็บข้อมูลนั้น ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (6) โครงการวิจัยที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนหรือการประเมินผลการเรียนการสอนซึ่งไม่ สามารถระบุตัวบุคคลได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (7) โครงการวิจัยอื่นที่ กสว. ประกาศกำหนด


43 บทที่ 4 ผลการศึกษา การศึกษา “แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็ก และเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา” ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารเกี่ยวกับบริบท ทางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และศึกษาข้อมูล งานสภาเด็และเยาวชนทั้งพื้นที่ที่มีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนการทำงานในการดำเนินงานว่ามีระบบการ สร้างเครือข่ายและการทำงานเชิงบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างไรจึงทำให้เกิดความเข็มแข็งของ งานสภาเด็กและเยาวชน โดย การจัดกิจกรรมการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย เครือข่ายทางสังคม สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา, บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา, คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด, คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับอำเภอ, คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล, เจ้าหน้าที่ อปท. ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสภาเด็กและเยาวชนที่มีความเข้มแข็งในพื้นที่ ในด้านของความเป็นมา โครงสร้าง กิจกรรม/โครงการ หน่วยงานและการสนับสนุน ผลที่เกิดขึ้น ความสำเร็จในการดำเนินงานสภาเด็กและเยาวชน ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน และมีการลง พื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เครือข่ายทางสังคมที่ส่งเสริมการทำงานของสภาเด็กและเยาวชน เกิดความเข้มแข็ง ทั้งในด้านของบทบาทการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน กระบวนการการ ขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน ปัจจัยที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งข้อมูลที่ นำเสนอประกอบด้วย วัตถุประสงค์ข้อ 1 เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการ สร้างเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน วัตถุประสงค์ข้อ 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการ สนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน วัตถุประสงค์ข้อ 3 เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการ ขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชน วัตถุประสงค์ข้อ 1 เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริม ความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน 1.1 บริบททางสังคมของสภาเด็กและเยาวชน 1.1.1 บริบทสภาเด็กและเยาวชนระดับชาติ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 36 ได้กำหนดให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานการจัดตั้งและการดำเนินกิจการของสภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็กและ เยาวชนเทศบาล สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด สภาเด็กและเยาวชนเขต สภาเด็ก


44 และเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (กรมกิจการเด็กและเยาวชน, 2560) โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้1) ให้เด็กและเยาวชนมีความผูกพันต่อครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทยมีวิถีชีวิต แบบประชาธิปไตย 2) ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัย รู้จักเคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น รวมทั้ง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และกติกาในสังคม 3) ให้การสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษา ทั้ง ภายในประเทศและ ภายนอกประเทศ เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเหมาะสม 4) ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กพิการ เด็กที่มีข้อจำกัดทางการเรียนรู้ และเด็กที่มี ความสามารถพิเศษให้สามารถพึ่งตนเองได้ ให้มีคุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถประกอบอาชีพและ ดำรงชีวิตได้อย่างเป็นอิสระ 5) ให้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักการป้องกันตนเองจากโรคภัยและ สิ่งเสพติด 6) ให้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ตามสมควรแก่วัย รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม 7) ให้มีทักษะและ เจตคติที่ดีต่อการทำงานมีศักดิ์ศรีและภาคภูมิใจในการทำงานที่สุจริต 8) ให้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและมุ่งมั่น พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 9) ให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นโดยมีจิตสำนึกในการให้และการเป็นอาสาสมัคร รวมทั้งมี ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ 10) ให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และต่อส่วนรวมตาม สมควรแก่วัย 11) ให้สามารถแสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้องกับความรู้ความสามารถที่ พัฒนาไปตามวัยของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน และ 12) ให้สามารถ เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะโดย ทางตรงหรือผ่านผู้แทนหรือองค์กรเพื่อเด็กและเยาวชนผู้อื่น รวมทั้งกฎหมาย กฎเกณฑ์ และกติกาในสังคม และ ความในมาตรา 8 ยังกำหนดให้สำนักงานหรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ร่วมมือ ส่งเสริม และประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเด็ก และเยาวชนในระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยในการจัดทำแผนพัฒนา เด็กและเยาวชนตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงหลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและประชาสังคม ในท้องถิ่นด้วย และในมาตรา 22 ยังกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล โดยคำแนะนำของหัวหน้า บ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัดจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็กและเยาวชนเทศบาล แล้วแต่กรณี จากมาตราดังกล่าวของพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 กรมกิจการเด็กและเยาวชนมีหน้าที่สำคัญในการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการจัดตั้งและการดำเนินกิจการของสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นยังมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ รับผิดชอบของตน โดยจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, 2543) และจากการที่กรมกิจการเด็กและเยาวชนมีพันธกิจหลักในการ ดูแล ส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนาเด็กและเยาวชนกับสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย ก็มีอยู่และเกิดขึ้นตลอดเวลา สภาเด็กและเยาวชนที่มีความเข้มแข็งมีกลไกการขับเคลื่อนการทำงานที่ดีมีระบบ การสร้างเครือข่ายและการทำงานเชิงบูรณาการกับทุกภาคส่วนจึงน่าจะเป็นโครงการการป้องกันแก้ไขปัญหา พัฒนาศักยภาพ ส่งเสริมสวัสดิการเด็กและเยาวชนได้อย่างเป็นระบบด้วย แผนงานโครงการกิจกรรมที่ดีอันจะ


45 นำมาซึ่งระบบการบริหารจัดการความเป็นองค์กรสภาเด็กและเยาวชนที่มีรูปแบบมีมาตรฐาน แบบแผนการ ดำเนินงานที่ดีที่ทุกส่วนเห็นคุณค่าเห็นความสำคัญพร้อมให้การเกื้อกูลช่วยเหลือและเข้ามามีส่วนร่วมด้วยความ เต็มใจในการส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยใช้สภาเด็กและเยาวชนที่มีความเข้มแข็ง เป็นกลไกการขับเคลื่อนการทำงานนั้น ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมความเข้มแข็งด้านเด็กและ เยาวชนโดยเริ่มตั้งแต่ระดับพื้นที่ให้สามารถดูแลกันเองได้โดยในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน แห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 24 กำหนดให้มีสภาเด็กและเยาวชน อำเภอ ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยคณะ บริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบล และคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน เทศบาลที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอนั้น อีกทั้งความในมาตรา 26 ให้มีสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ซึ่งสมาชิก ประกอบด้วยประธานสภาเด็กและเยาวชนอำเภอทุกอำเภอ และผู้แทนจากคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน อำเภอแต่ละอำเภอๆ ละ 4 คน ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยเด็กและเยาวชนที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วน ตำบลหรือเทศบาลนั้น นอกจากนี้ในมาตรา 30 ยังกำหนดให้มีสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ซึ่งสมาชิก ประกอบด้วย 1) ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดจากทุกจังหวัด 2) ประธานสภาเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร และ 3) ผู้แทนเด็กและเยาวชน ซึ่งมาจากการคัดเลือกกันเองจากกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ได้ ลงทะเบียนไว้ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำนึงถึงความหลากหลายของกลุ่มเด็กและเยาวชนรวมทั้งผู้ พิการและผู้ด้อยโอกาส จำนวน 38 คน พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ตั้งแต่สภาระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับชาติมีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาสังคมและโอกาสในการสร้าง ศักยภาพเด็กและเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิและการคุ้มครองเด็กเยาวชน รวมถึงการสร้างเสริมสวัสดิการทางสังคมของเด็กเยาวชน และครอบครัวให้มีพัฒนาการมีโอกาสแห่งการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และการปกป้องคุ้มครองสร้างภูมิคุ้มกันทาง สังคมให้เกิดขึ้นกับเด็กทุกช่วงวัยทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งของเด็กและเยาวชน ไทย ผ่านกระบวนการสร้างจากสภาเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาและสามารถพัฒนา แก้ไขปัญหาเด็กในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนเพื่อ “เป็นองค์กรของเด็กและเยาวชนตามกฏหมายที่ทำหน้าที่ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม ตลอดจนร่วมป้องกันแก้ไขปัญหาของ เด็กและเยาวชนในทุกระดับ” โดยความเป็นมาของสภาเด็กและเยาวชน เริ่มจากมีการจัดตั้งนำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสตูล ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนา เด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ได้มีการจัดตั้งสภาเด็กและ เยาวชน ดังนี้ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยุทธศาสตร์สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2566 -2570) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เป้าประสงค์: 1. เด็กและเยาวชนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21


46 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับการคุ้มครองเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์ : 1. เด็กและเยาวชนรับรู้ช่องทางการติดต่อด้านการคุ้มครองเด็กและเยาวชน 2. เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจและตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง 3. มีเครื่องมือด้านการคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่มีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน เป้าประสงค์ : 1. มีภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับอย่างมี ประสิทธิภาพและทันสมัย เป้าประสงค์ : 1. สภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันสมัย 2. มีระเบียบและข้อบังคับกฎหมายที่รองรับการบริหารจัดการอย่างมี ประสิทธิภาพ วิสัยทัศน์ (Vision) “เป็นองค์กรหลักในการกำหนดนโยบายสร้างเด็ก และเยาวชนไทยให้มี คุณภาพชีวิตที่ดี และเติบโตอย่างยั่งยืน” พันธกิจ 1. พัฒนานโยบายและมาตรการด้านเด็กและเยาวชนในเชิงรุก 2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะชีวิตที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ตามช่วงวัย 3. พัฒนาและเชื่อมโยงระบบคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 4. พัฒนาระบบสวัสดิการเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย 5. บูรณาการภาคีเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงประเด็น (Agenda Base) 6. พัฒนาบุคลากร และระบบบริหารองค์กรให้มีสมรรถนะสูง 7. พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศรองรับการคุ้มครอง และพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มี ความทันสมัย การขับเคลื่อนการดำเนินงานของของสภาเด็กและเยาวชน ประจำปีงบประมาณ 2567 วัตถุประสงค์ - เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับให้สามารถจัดกิจกรรมใน การพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนตามมาตรฐานสภาเด็กและเยาวชน และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อ พัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม - เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายทุกระดับทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชนใน พื้นที่ เกิดพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย : สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ 8,778 แห่ง / 150,000 คน


47 ข้อมูล : กองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว กลุ่มกิจการสภาและเครือข่ายเด็กและเยาวชน 2567 รูปแบบในการขับเคลื่อนกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน ประเภทที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน ชุมชน และสังคม 1.1 ด้านการพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 21 1.2 ด้านการส่งเสริมพัฒนาการศึกษาเด็กและเยาวชนทุกช่วงวัย 1.3 ด้านการส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ 1.4 ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม ประเภทที่ 2 กิจกรรมการป้องกันและการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ชุมชน และสังคม 2.1 ด้านการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น 2.2 ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2.3 ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2.4 ด้านการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชน และสังคม


48 ประเภทที่ 3 กิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม 3.1 ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.2 ด้านประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม 3.3 ด้านการบำเพ็ญประโยชน์หรือจิตอาสา 3.4 ด้านอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทที่ 4 งานประจำปีตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การประชุมคณะบริหาร การประชุมสามัญ ประจำปี ข้อมูล : กองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว กลุ่มกิจการสภาและเครือข่ายเด็กและเยาวชน 2567 คุณสมบัติสภาเด็กและเยาวชน คือ เด็ก (อายุแรกเกิด – 18 ปี) และเยาวชน (ตั้งแต่ 18 - 25 ปี บริบูรณ์) ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ทร.14) เป็นสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือเทศบาล และมี คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล ประกอบด้วย ประธานสภาหนึ่งคน และผู้บริหารอีกไม่เกินยี่สิบคน ซึ่งคัดเลือกกันเองจากสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนเป็น ผู้แทน ในการเป็นสมาชิกและคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนในระดับอำเภอ จังหวัด แต่ในกรุงเทพมหานคร เป็นระดับเขตและกรุงเทพมหานครและเป็นสมาชิกและคณะสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย


49 ขั้นตอนในการขับเคลื่อนกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน 1. จัดทำแผนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนประจำปีงบประมาณ 2. เสนอแผนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนประจำปีงบประมาณให้ กรมกิจการเด็กและเยาวชน หรือ บ้านพักเด็กและครอบครัว แล้วแต่กรณี อนุมัติ และสั่งจ่ายเช็คให้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนด 3. ดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในแผนการดำเนินงานฯ 4. รายงานผลการดำเนินงานพร้อมเอกสารการเบิกจ่ายให้กับกรมกิจการเด็กและ เยาวชน หรือ บ้านพักเด็กและครอบครัว แล้วแต่กรณี ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ดำเนินโครงการ/กิจกรรม แล้วเสร็จ การพิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานประจำปีของสภาเด็กและเยาวชน และโครงการ/ กิจกรรม บ้านพักเด็กและครอบครัวอนุมัติแผนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ โดยมีแนวทาง ดังนี้ 1. สภาเด็กและเยาวชนตำบล เทศบาล และอำเภอ ให้อนุมัติทั้งแผนการดำเนินงาน และโครงการ/กิจกรรมไปพร้อมกัน 2. สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ให้อนุมัติแผนการดำเนินงานก่อนส่วนการอนุมัติ โครงการ/กิจกรรม ให้อนุมัติเป็นรายโครงการ/กิจกรรมตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการดำเนินงานที่ได้รับ อนุมัติไว้แล้ว โครงการ/กิจกรรมในประเด็นปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ ประกอบด้วย 1. การพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชน 2. การพัฒนาเด็ก เยาวชน ชุมชน และสังคม 3. จิตอาสาและการบำเพ็ญประโยชน์ 4. การส่งเสริมอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. การส่งเสริมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม 6. การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7. กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่างๆ 8. สื่อสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาในเด็ก เยาวชน ชุมชน และสังคม โครงการ/กิจกรรมเชิงประเด็นเร่งด่วนของรัฐบาล 1. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 3. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น


50 1.1.2 บริบทสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดนครราชสีมา บทบาทภารกิจของบ้านพักเด็กและครอบครัว วิสัยทัศน์ : เยาวชนยุคใหม่ ใส่ใจวัฒนธรรมและภูมิปัญญา มีจิตอาสา ก้าวทัน โลกาภิวัฒน์ บทบาทภารกิจของบ้านพักเด็กและครอบครัว 1. เป็นศูนย์รับแจ้งเรื่องราวข่าวสารให้คำแนะนำปรึกษาแก่เด็ก สตรี และครอบครัว ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนโดยเปิดดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมง 2. เป็นศูนย์ประสานงานและบริการให้ความช่วยเหลือแก่เด็ก สตรีและครอบครัวที่ ประสบปัญหาความเดือดร้อนไม่มีที่พักพิงหรือไม่มีผู้ดูแลและรับผิดชอบ 3. เป็นสถานแรกรับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 4. เป็นสถานรับตัวชั่วคราวตามกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ 4.1 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 4.2 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และฉบับ ที่ 2 พ.ศ. 2558 4.3 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 5. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา อาสาสมัคร กลุ่ม องค์กร เครือข่ายในการจัด สวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มเป้าหมายด้วยการบูรณการและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าน สวัสดิการสังคม 6. บูรณาการและปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวาง แผนการให้ความช่วยเหลือระยะสั้นและระยะยาวสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ผลการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นกลไกของเด็กและเยาวชนในการส่งเสริม และสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไข ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนและนำไปสู่การกำหนดนโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยกรม กิจการเด็กและเยาวชนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดตั้ง ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจการสภาเด็ก และเยาวชน ซึ่งมีกิจกรรมหลักๆ ที่เกิดขึ้น ดังนี้ 1. บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด นครราชสีมา ร่วมจัดบูธรณรงค์การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และแจกถุงยางอนามัย พร้อมทั้งร่วมรับฟัง เสวนาในหัวข้อ “สารพลังท้องถิ่น รัฐ ราษฎร์ ร่วมใจส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยให้เป็นเรื่องปกติ Normaliz condom ”เนื่องในวันถุงยางอนามัยสากล ภายใต้โครงการพัฒนาชุดความรู้การส่งเสริมการใช้ ถุงยางอนามัย โดยท้องถิ่นสู่การขยายผลอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้นำชุมชน โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลนักเรียนนักศึกษา ณ ลาน Event ชั้น G Terminal 21 จังหวัดนครรรชสีมา


51 2. ร่วมออกบูธจัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติจังหวัดนครราชสีมา ณ ศาลากลางจังหวัด นครราชสีมา โดยงานมีกิจกรรมเล่นเกมตอบคำถามแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์กับเด็กและเยาวชนใน จังหวัดนครราชสีมาพร้อมกับมอบเสื้อและไอศครีมให้กับน้องๆ ที่มาเข้าร่วมกิจกรรม” มองโลกกว้าง ความคิด สร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย” 3. สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมการอบรมพัฒนาครูและแกนนำเยาวชน สู้ภัยออนไลน์ และการเดินรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กสตรีและบุคคลในครอบครัวประจำปี 4. บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด นครราชสีมา จัดโครงการสมัชชาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา 5. โครงการพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ต่างๆ ภายใต้หลักคิดที่ว่า “เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน” 6. งานมหกรรมสานพลังจิตอาสาเครือข่ายพลเมืองเด็กและเยาวชน “ปักธงสร้างเมือง” โคราชเมืองปลอดภัย เมืองสร้างสรรค์ เมืองสร้างสุข เพื่อเด็กและเยาวชนทุกคน เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนของจังหวัดนครราชสีมาแต่ละระดับ ข้อมูล กรมกิจการเด็กและเยาวชน, 2564 สภาเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา ระดับจังหวัด 1 แห่ง ระดับอำเภอ 32 แห่ง ระดับเทศบาล 90 แห่ง และระดับตำบล 243 แห่ง


52 โครงสร้างสภาเด็กและเยาวชนแต่ละระดับ โครงสร้างสภาเด็กและเยาวชนตำบล และสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล ให้องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล โดยคำแนะนำของหัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละ จังหวัด จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็กและเยาวชนเทศบาล แล้วแต่กรณี ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย เด็กและเยาวชนที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลนั้น ให้มีคณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล ประกอบด้วยประธานสภาหนึ่งคน และผู้บริหาร อีกไม่เกินยี่สิบคน ซึ่งคัดเลือกกันเองจากสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบล หรือสมาชิกสภาเด็กและเยาวชน เทศบาล แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ให้มีหน้าที่บริหารงานทั่วไปของสภาเด็กและ เยาวชนและปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ รวมทั้งดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ ให้นายอำเภอ เป็นที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและยาว ชนเทศบาล และให้แต่งตั้งที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชนเทศบาล จากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดเทศบาล แล้วแต่กรณี ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้แทนบ้านพักเด็ก และครอบครัวในแต่ละจังหวัด ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้แทน สถานศึกษา ผู้แทนหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลนั้น และผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมที่มีกิจกรรม หรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบล หรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเสนอ สภาเด็กและเยาวชนตำบลและสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) ประสานงานระหว่างสภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลสภาเด็กและเยาวชน อำเภอ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ของเด็กและเยาวชน (2) ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการ การศึกษา สุขภาพ กีฬา อาชีพ และ วัฒนธรรมในท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน (3) ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้องกับ ความรู้ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยของเด็กหรือเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน (4) จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรม (5) รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ เพื่อส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้กับสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ


53 (6) เสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้ง การแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ (7) เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและ เยาวชนในท้องถิ่น (8) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชน หรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ (9) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ โดยให้คณะบริหารสภา เด็กและเยาวชนตำบลหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาล แล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ ให้ สอดคล้องกับข้อบังคับของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย โครงสร้างสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ให้มีสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบล และ คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอนั้น ให้มีคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอประกอบด้วยประธานสภาหนึ่งคน และผู้บริหารอีกไม่เกิน ยี่สิบคน ซึ่งคัดเลือกกันเองจากสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ โดยคำนึงถึงผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ให้มีหน้าที่บริหารงานทั่วไปของสภาเด็กและเยาวชน และปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางในการจัด กิจกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ รวมทั้งดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ พระราชบัญญัตินี้ ให้นายอำเภอ เป็นที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอหรือคณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชนเขต แล้วแต่กรณี และให้แต่งตั้งที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ จากพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัด ผู้แทนสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้แทนสถานศึกษา ผู้แทนหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอหรือเขตในกรุงเทพมหานคร และผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมที่มีกิจกรรมหรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามที่คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเขตเสนอ ให้สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ประสานงานระหว่างสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนเขต สภาเด็กและเยาวชน จังหวัด และสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ของ เด็กและเยาวชน (2) ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการ การศึกษา สุขภาพกีฬา อาชีพ และ วัฒนธรรมในท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน


54 (3) ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้องกับ ความรู้ความสามรถที่พัฒนาไปตามวัยของเด็กหรือเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน (4) จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งคุณธรรมและจริธรรม (5) รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ เพื่อ ส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้กับสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดหรือสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี (6) เสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้ง การแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ (7) เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น (8) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชน หรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ (9) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่โดยให้คณะบริหารสภาเด็ก และเยาวชนอำเภอหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเขตแล้วแต่กรณี เป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับ ข้อบังคับของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย โครงสร้างสภาเด็กและเยาวชนระดับสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ให้มีสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยประธานสภาเด็กและเยาวชนอำเภอทุก อำเภอ และผู้แทนจากคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอแต่ละอำเภอ อำเภอละสี่คน ให้มีคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ประกอบด้วยประธานสภาหนึ่งคน และผู้บริหารอีกไม่ เกินยี่สิบคน ซึ่งคัดเลือกกันเองจากสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดให้มีหน้าที่บริหารงานทั่วไปของสภาเด็ก และเยาวชนจังหวัด และปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในเขตพื้นที่ รวมทั้งดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด และให้แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด จากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หัวหน้ำบ้านพักเด็กและครอบครัว ในแต่ละจังหวัด ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้แทนหน่วยงานของ รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน และผู้แทนองค์กรภาคประชา สังคมที่มีกิจกรรมหรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชนจังหวัดเสนอ


55 ให้สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ประสานงานระหว่างสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภา เด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ของเด็กและเยาวชน (2) ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการการศึกษา สุขภาพ กีฬา อาชีพ และ วัฒนธรรมในท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน (3) ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้องกับ ความรู้ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยของเด็กหรือเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน (4) จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรม (5) รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ เพื่อ ส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้กับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (6) เสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้ง การแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ (7) เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการส่งเสริมและ พัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น (8) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชน หรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ (9) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ โดยให้คณะบริหารสภา เด็กและเยาวชนจังหวัดหรือคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับข้อบังคับของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย


56 1.2 รูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการสร้างเสริมความเข้มแข็ง ของสภาเด็กและเยาวชน ผลการศึกษารูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือข่ายทางสังคมในการเสริมสร้างความ เข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน จากการสนทนากลุ่ม (Focus group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย สภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด สภาเด็กและเยาวชนระดับ อำเภอ สภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา เจ้าหน้าที่ อปท. โรงเรียน และเครือข่ายทางสังคม ผลการวิจัย จำแนกรายกลุ่มดังนี้


ตารางที่ 1 สรุปการดำเนินงานของคณะบริหารสภาเด็ก และเยาวชนระดับตำบล/เทศบาล คณะบริหารและเยาวชนระ1) ความเป็นมาและโครงสร้าง ความเป็นมา - มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อแสดงศักยภาพและแต่งตั้งคณะ บริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล - มีความสนใจกิจกรรมอยากเข้ามาทำงานร่วมกับสภาเด็กและ เยาวชนระดับตำบล - มีการคัดเลือกในระดับโรงเรียนเพื่อมาจัดตั้งสภาเด็กและ เยาวชนระดับตำบล - มีผู้นำชุมชนชักชวนมาร่วมทำกิจกรรมและร่วมจัดตั้ง ถึงแม้เด็ก และเยาวชนบางคนไม่ใช่เด็กหรือเยาวชนในสถานศึกษาก็ตาม โครงสร้าง - เด็กและเยาวชนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ทร.14) ในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล สมาชิกคณะบริหาร ประกอบด้วย ประธานสภา 1 คน ผู้บริหารไม่เกิน 20 คน ความเป็นมา - ถูกคัดเลือกมาจากระดับตำ- คัดเลือกจากสภานักเรียน - คัดเลือกจากผู้เข้าร่วมโครงกโครงสร้าง - สมาชิกคณะบริหารสภาเทศบาลที่อยู่ในเขตพื้นที่อำคณะบริหารประกอบด้วผู้บริหารไม่เกิน 20 คน 2) โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนิน - การอบรมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า - โครงการสอนน้องว่ายน้ำ - โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - โครงการอบรมต่อต้านยาเสพติด - โครงการ stop bully - โครงการขับขี่ปลอดภัย - โครงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมใน- โครงการสื่อนวัตกรรม - โครงการเยาวชนยุคใหม่ร่วม- โครงการปลูกป่า


57 งคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน รสภาเด็ก ะดับอำเภอ คณะบริหารสภาเด็ก และเยาวชนระดับจังหวัด บลเข้ามาเป็นคณะบริหาร การ เด็กและเยาวชนตำบล/ ำเภอนั้น (ทุกคน) สมาชิก ย ประธานสภา 1 คน ความเป็นมา - ประชุมคัดเลือกคณะกรรมการบริหารจากตัวแทนของอำเภอ - มีการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลและอำเภอเพื่อสร้าง เครือข่ายระดับจังหวัด - มีเพจเฟซบุ๊กในการประชาสัมพันธ์สภาเด็กและเยาวชน โครงสร้าง สมาชิกคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด ประกอบด้วย ประธานสภาเด็กและเยาวชนอำเภอทุกอำเภอและผู้แทนจากคณะ บริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอแต่ละอำเภอๆ ละ 4 คน มีประธานสภา 1 คน ผู้บริหารไม่เกิน 20 คน คณะทำงาน 35 คน นกลุ่มวัยรุ่น มใจต้านภัยยาเสพติด - กิจกรรมเชิงประเด็น การตั้งครรภ์ไม่พร้อม การทุจริตคอร์รัปชัน - ค่ายพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชน - ค่ายยาเสพติด (รวมพลังสภาเด็ก) New Gen is Now บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา กระท่อม - โครงการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น (CPR)


คณะบริหารสภาเด็ก และเยาวชนระดับตำบล/เทศบาล คณะบริหารและเยาวชนระ - โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นรำวงคองก้า - โครงการเดิ่นดอนยิ้ม (ขนมหูช้าง) - โครงการพัฒนาศักยภาพสู่กา- โครงการฝึกอาชีพ 3) ความเข้มแข็ง/ทุน/ความสำเร็จ - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนเงินทุนในการจำหน่าย กระทงและมอบให้สภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล - ได้รับความอนุเคราะห์สถานที่จากบุคคลเจ้าของภูมิปัญญาใน การจัดกิจกรรมห้องเรียนชุมชน - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการส่งเสริมสนับสนุนเครื่องแต่งกาย สถานที่ในการจัดโครงการต่าง ๆ - - ได้รับเงินสนับสนุนในการจัดกิจกรรมวันเด็กของสภาเด็กและ เยาวชนระดับตำบลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ภาคเอกชนในพื้นที่ที่ให้การสนับสนุนงานด้านสภาเด็กและเยาวชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนกาทั้งจากโรงเรียน บ้านพักเด็บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกัด้วย ทำให้การดำเนินงานขอความเข้มแข็งและประสบควา4) การสนับสนุน - เงินทุนจากผู้นำชุมชนทุกชุมชน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการสนับสนุนงบประมาณโดย การบรรจุกิจกรรมที่เป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนลงใน ข้อบัญญัติและเทศบัญญัติ - เทศบาลให้การสนับสนุนใได้รับการสนับสนุนจากทางโรกิจกรรม/ประชุมสามัญ - คณะครูช่วยสนับสนุนในเรื่อ


58 รสภาเด็ก ะดับอำเภอ คณะบริหารสภาเด็ก และเยาวชนระดับจังหวัด ารเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21 - ค่าย stop cyberbullying 2566 - โครงการสมัชชาเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา - กิจกรรมโคราชเมืองรู้เท่าทันสื่อ - โครงการผู้พิทักษ์สิทธิทางเพศ - กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ /ภาคเอกชน หน่วยงานที่ ารจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี ็กและครอบครัว รวมถึง ับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ องสภาเด็กและเยาวชนมี ามสำเร็จ - มีงบจากส่วนกลางกรมกิจการเด็กและเยาวชน ดำเนินการขอ อนุมัติโอนเงินให้บ้านพักเด็กและครอบครัว เพื่อสนับสนุนให้สภาเด็ก และเยาวชนความพร้อมในการขับเคลื่อนกิจกรรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ - มีการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบจากบ้านพักเด็กและ ครอบครัว - มีการจัดกิจกรรม/ขอรับบริจาคจากกองทุนต่างๆ จากงบประมาณ เหล่านี้ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ในเรื่องของการเดินทาง รงเรียน สถานที่ในการจัด องของเงิน - การสนับสนุนจากผู้ปกครองและครอบครัวที่มีความเข้าใจการเข้า ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชน - สถานศึกษาเข้าใจลักษณะกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนจึงมีการ ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพของตัวเด็ก


คณะบริหารสภาเด็ก และเยาวชนระดับตำบล/เทศบาล คณะบริหารและเยาวชนระ5) แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน - ต้องการสถานการรวมกลุ่มของสภาเด็กและเยาวชน เพื่อทำ กิจกรรม -องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนค่าเดินทางในการเข้าร่วม ในแต่ละโครงการที่มีการจัดกิจกรรมขึ้น - ต้องการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำสภาเด็กและเยาวชน - มีการประชาสัมพันธ์ให้เด็กในชุมชนได้เข้าร่วมในสภาเด็กและ เยาวชนมากขึ้น -ต้องการพื้นที่ประชาสัมพันธ์ใหและเยาวชนให้มากขึ้น - อยากให้มีช่องทางในการปรหรือผู้ใหญ่ให้ง่ายขึ้น - อยากให้หน่วยงานประชาสัประชาสัมพันธ์รูปการทำกิจกเยาวชนระดับอำเภอ - ต้องการความร่วมมือและตำบลในการเข้าร่วมกิจกรรม6) ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัด - เวลาของผู้เข้าร่วมโครงการไม่ตรงกันเพราะคณะบริหารสภาเด็ก และเยาวชนมีช่วงอายุที่ต่างกันและเรียนคนละระดับ คนละ สถานศึกษา และบางคนลงชื่อมาเข้าร่วมกิจกรรมและไม่สามารถเข้า ร่วมกิจกรรมได้ส่งผลให้ผู้อื่นเสียสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรม -ไม่ได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จากคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน - การเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละโครงการค่อนข้างลำบาก เนื่องจากต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางและพาหนะสำหรับการ เข้าร่วมกิจกรรม เพราะบางพื้นที่ขาดการสนับสนุนของเครือข่าย ทางสังคม - การทำงานที่ไม่ต่อเนื่องกันเนื่องจากสภาเด็กและเยาววชนอยู่ ในวะระเพียง 2 ปี - สภาเด็กและเยาวชนในบากิจกรรมขาดงบประมาณแลกิจกรรมไม่ให้ความร่วมมือ -การประสานงานและเอกสารผิดระหว่างหน่วยงานที่จัดกิจกรรม- ต้องการงบประมาณเพิ่มเติมเพียงพอเพราะบางพื้นที่ไม่ได้เต็มที่จากเครือข่ายสภาเด็กแ- เวลาในการนัดหมายหรืเนื่องจากช่วงอายุและระดับกสภาเด็กและเยาวชนแตกต่าง


59 รสภาเด็ก ะดับอำเภอ คณะบริหารสภาเด็ก และเยาวชนระดับจังหวัด ห้คนภายนอกรู้จักสภาเด็ก ระสานงานกับหน่วยงาน ัมพันธ์ด้านโซเชียลในการ กรรมของสภาเด็กและ การให้ความสำคัญระดับ ระดับอำเภอ - จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อบริบทของจังหวัด - มีพื้นที่แสดงศักยภาพให้กับสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดอย่าง เต็มที่ - ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยลดขั้นตอนและระยะเวาลา กระบวนการพิจารณาโครงการ/กิจกรรม และเบิกจ่ายงบประมาณ งพื้นที่การเดินทางมาร่วม ละพาหนะ และผู้เข้าร่วม ดพลาด ไม่ครบถ้วน ผิดพลาด มและสภาเด็กและเยาวชน มเนี่องจากงบประมาณไม่ ด้รับการสนับสนุนอย่าง และเยาวชน รือมาประชุมไม่ตรงกัน การศึกษาของคณะบริหาร งกัน - มีปัญหาในการเดินทางและงบประมาณ เพราะบางกิจกรรม ต้องการผู้เข้าร่วมในทุกพื้นที่และบางพื้นที่ขาดการสนับสนุนจาก เครือข่ายทางสังคม - คณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนไม่มาทำหน้าที่เนื่องจาก ไม่เห็นความสำคัญในกิจกรรม (ไม่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ) - เจ้าหน้าที่ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งขาดการ สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม


ตารางที่ 2 สรุปรูปแบบ วิธีการ และกระบวนการของเครือบ้านพักเด็ก และครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิเพื่อนเยาวชน เพื่อการพัฒนา 1) รูปแบบการดำเนินงานของเครือข่ายทางสังคม ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการ พัฒนาเด็กและเยาวชน แห่งชาติ พ.ศ.2550 และ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 มาตรา 36 ให้กรมกิจการ เด็กและเยาวชนดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน และ ประสานงานการจัดตั้งและ การดำเนินกิจการของสภา เด็กและเยาวชนตำบล สภา เด็กและเยาวชนเทศบาล สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด และสภาเด็กและเยาวชนแห่ง ประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการ พัฒนาเด็กและเยาวชน แห่งชาติ พ.ศ.2550 และ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 มาตรา 8 ให้สำนักงานหรือ สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ร ่ ว ม ม ื อ ส ่ งเ ส ร ิ ม แ ล ะ ประสานงานกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อ จัดทำแผนพัฒนาเด็กและ เยาวชนในระดับท้องถิ่น และ ให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาเด็กและ เยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รับ ผิดชอบ จัดตั้งองค์กรเพื่อส่งเสริม พัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชน มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สู่ สังคม ได้ดำเนินงานเพื่อ ส่งเสริมกระบวนการคิด การ รู้เท่าทัน และส่งเสริมทักษะ ชีวิตเด็กเยาวชน และสร้าง ภูมิคุ้มกันผลักดันให้เกิดการ จัดสภาพแวดล้อมลดสภาวะ เสี่ยงรอบตัวเด็กเยาวชน ได้ดำเนินงานสู่ยุทธศาสตร์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยนำ พลังเด็กเยาวชนร่วมขับเคลื่อน และเชื่อมั่นในศักยภาพเด็ก เยาวชน สามารถมีส่วนร่วมใน การสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่ สิ่งที่ดีให้กับตนเอง เพื่อน ครอบครัว ชุมชน สังคม


60 อข่ายทางสังคมในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โรงเรียน วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวนครราชสีมา ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการ พัฒนาเด็กและเยาวชน แห่งชาติ พ.ศ.2550 และ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 มาตรา 22ให้องค์การบริหาร ส่วนตำบล เทศบาล โดย คำแนะนำของหัวหน้าบ้าน พักเด็กและครอบครัวใน จังหวัดนครราชสีมา จัดให้มี สภาเด็กและเยาวชนตำบล สภาเด็กและเยาวชนเทศบาล อปท. มีการประสานงานกับ โรงเรียนในพื้นที่และมี หนังสือประชาสัมพันธ์ไปยัง โรงเรียน เพื่อรับสมัครตัวแทน นักเรียนในการคัดเลือกเป็น คณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชน ซึ่งบางพื้นที่คณะ บริหารสภาเด็กและเยาวชน มาจากโรงเรียนโดยมีคณะ ครู-อาจารย์เป็นผู้คัดเลือก อปท. มีหนังสือประชาสัมพันธ์ ไปที่วิทยาลัยฯ เพื่อรับสมัคร ตัวแทนนักเรียนใน การ คัดเลือกเป็นคณะบริหารสภา เด็กและเยาวชน


บ้านพักเด็ก และครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิเพื่อนเยาวชน เพื่อการพัฒนา 2) โครงสร้าง โครงสร้างหน่วยงาน/องค์กร ประกอบด้วย 1) หัวหน้าบ้านพักเด็กและ ครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา 2) ฝ่ายบริหารทั่วไป 3) ฝ่ายสวัสดิการสังคม 4) ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนา โครงสร้างหน่วยงาน/องค์กร ประกอบด้วย 1) พัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์จังหวัด 2) ฝ่ายบริหารทั่วไป 3) กลุ่มนโยบายและวิชาการ 4) กลุ่มการพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ 5) ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด โครงสร้างหน่วยงาน/องค์กร ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการ 2) ฝ่ายสำนักงานและบัญชี 3) ฝ่ายประสานงาน 4) ผู้จัดการองค์กร 5) เครือข่ายขับเคลื่อนในพื้นที่ 3) วิธีการดำเนินงาน/กระบวนการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา กรม การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ เด็กและเยาวชน ต้องคำนึงถึง ประโยชน์สูงสุดของเด็กและ มีเป้าหมายในการส่งเสริม พัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชน มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สู่


61 องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โรงเรียน วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวนครราชสีมา โครงสร้างหน่วยงาน/องค์กร ประกอบด้วย 1) นายก อบต. หรือ รอง นายก อบต. 2) ปลัด อบต. 3) รองปลัด 4) หน่วยตรวจสอบภายใน 5) สำนักปลัด 6) กองคลัง 7) กองช่าง 8) กองสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม 9) กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 10) กองสวัสดิการสังคม โครงสร้างหน่วยงาน/องค์กร ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน 2) รองผู้อำนวยการโรงเรียน 3) กลุ่มบริหารงานทั่วไป 4) กลุ่มบริหารงบประมาณ 5) กลุ่มบริหารงานบุคคล 6) กลุ่มบริหารวิชาการ โครงสร้างหน่วยงาน/องค์กร ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ 2) รองผู้อำนวยการ 3) ฝ่ายบริหารทรัพยากรฯ 4) ฝ่ายแผนงานและความ ร่วมมือ 5) ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา 6) ฝ่ายวิชาการ ส่งเสริม สนับสนุน และ พัฒนาสภาเด็กและยาวชนใน ทุกระดับ ในฐานะจิตอาสา 1) ผลักดันเด็กเข้าสู่สภาเด็ก และเยาวชน เปิดโอกาส ประสานงาน เพื่อให้เด็กและ มุ่งเน้นส่งเสริมเด็กและ เยาวชนให้เกิดความสนใจใน การเข้าร่วมกิจกรรม และ


บ้านพักเด็ก และครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิเพื่อนเยาวชน เพื่อการพัฒนา กิจการเด็กและเยาวชน บ้านพักเด็กและครอบครัวใน จังหวัดนครราชสีมาส่งเสริม สนับสนุน และประสานงาน การจัดให้มี และการดำเนิน กิจการของสภาเด็กและ เยาวชนตำบล/เทศบาล สภา เด็กและเยาวชนอำเภอ สภา เด็กและเยาวชนจังหวัด เยาวชนเป็นอันดับแรก เด็ก และเยาวชนมีสิทธิในการเล่น มีเวลาพักผ่อน และเข้าร่วม กิจกรรมการละเล่นทาง นันทนาการที่เหมาะสมตาม วัยของเด็กและเยาวชน และ การมีส่วนร่วมอย่างเสรี ในทางวัฒนธรรมและศิลปะ ดังนั้น พมจ.นครราชสีมาจึงมี การส่งเสริมและประสานงาน ให้เด็กและเยาวชนเข้ารวม กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือ พมจ.นครราชสีมา เข้าร่วม กิจกรรมที่จัดขึ้น สังคม เราดำเนินงานเพื่อ ส่งเสริมกระบวนการคิด การ รู้เท่าทัน ส่งเสริมทักษะชีวิต เด็กและเยาวชน และสร้าง ภูมิคุ้มกันผลักดันให้เกิดการ จัดสภาพแวดล้อมลดสภาวะ เสี่ยงรอบตัวเด็กและเยาวชน 4. การมีส่วนร่วม เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงาน ที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้การ ดำเนินงานของสภาเด็กและ เยาวชนสามารถดำเนินกิจกรรม ไปได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด นครราชสีมา มีหน้าที่ประสาน และสนับสนุนการดำเนินงาน ของสภาเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นการดึงการสนับสนุน 1) ส่งเสริมศักยภาพเด็กและ เยาวชน ทักษะความเป็น พลเมืองนักสื่อสาร นักปฏิบัติ การสร้างสรรค์


62 องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โรงเรียน วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวนครราชสีมา เด็กและเยาวชน เพื่อให้สภา เด็กและเยาวชนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ เผยแพร่ ด้าน วิชาการ การศึกษา กีฬา อาชีพ วัฒนธรรม และ ประสานงานแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ในด้าน ต่าง ๆ ของเด็กและเยาวชน และเป็นการเปิดโอกาสให้ เด็กและเยาวชนได้เสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพให้มี ภูมิคุ้มกันในการแก้ไขปัญหา เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆ อย่างการเรียนรู้ชุมชน 2) ดูแลเรื่องกิจกรรมจากสภา เด็กและเยาวชน 3) พัฒนาศักยภาพเด็กและ เยาวชนในช่วงระยะเวลาที่เด็ก อยู่ในตำแหน่งสภาเด็กและ เยาวชนในช่วง 2 ปี เพื่อให้เด็ก สามารถถ่ายทอดงานสภาเด็ก และเยาวชนสู่รุ่นต่อๆ ไปได้ 4) แนะนำให้นักเรียนรู้จัก สภาเด็กและเยาวชน เริ่มจาก ระดับตำบล ผลักดัน ให้เด็กและเยาวชน ในอาชีวศึกษาให้เข้าสู่สภา เด็กและเยาวชน เพื่อพัฒนา ศักยภาพและเป็นตัวแทน แสดงศักยภาพเด็กอาชีวะ ฝีมือชนคนสร้างชาติ เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน การมีส่วนร่วมของสภาเด็กใน การจัดกิจกรรมต่างๆ และ ประสานงานกับโรงเรียนใน และเครือข่าย เพื่อส่งเสริม และพัฒนาเด็กและเยาวชน 1) ดำเนินโครงการและประสาน งานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 2) คิดโครงการในโรงเรียน/ นำเสนอคุณครู/ผู้บริหาร 3) ได้รับงบประมาณในการ ทำกิจกรรมจากจังหวัดและ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ ทางด้านอาชีพให้กับสภาเด็ก และเยาวชน เพื่อให้เด็กและ เยาวชนสามารถนำไปต่อยอด อาชีพหรือหารายได้เสริมได้


บ้านพักเด็ก และครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิเพื่อนเยาวชน เพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะการให้คำปรึกษา กับหน่วยงานที่มีการจัดตั้ง สภาเด็กและเยาวชน เพื่อให้ มีการทำงานที่เข้มแข็ง จากภาคีเครือข่ายต่างๆ ของ สำนักงาน พมจ.นครราชสีมา มาช่วยในกิจกรรมต่างๆ ของ สภาเด็กและเยาวชน 2) หนุนเสริม สร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมที่เป็นความสุข ของทุกคน 3) จัดการองค์ความรู้ เผยแพร่ แนวคิดการพัฒนาเด็กและ เยาวชนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ ชุมชนสังคม ต่อสาธารณะ 4) เชื่อมร้อยกลไก สานพลัง เครือข่ายเด็กและเยาวชน ขับเคลื่อนสื่อสารสังคม และ นโยบาย


63 องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โรงเรียน วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวนครราชสีมา ในท้องถิ่นให้ได้รับการศึกษา อย่างทั่วถึง มีความสามารถ กล้าแสดงออก เป็นกระบอกเสียง ในชุมชน เพื่อสร้างเครือข่าย สมาชิกเด็กและเยาวขนใน พื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำที่โรงเรียน 4) เด็กคิด เด็กทำ ครูเป็นที่ ปรึกษา 5) หาเครือข่ายภาคเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ ได้รับไปเผยแพร่ต่อได้


4 วัตถุประสงค์ข้อ 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการ ขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน จากการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนที่มีความเข้มแข็งในพื้นที่ ต้นแบบที่ได้มีการคัดเลือก เพื่อดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ทำให้พบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการขับเคลื่อน งานของสภาเด็กและเยาวชนนั้น เกิดจากคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละระดับเป็นองค์ประกอบด้วย รวมถึงบุคคลรอบข้างไม่ว่าจะเป็น ผู้ปกครอง ครอบครัว อาจารย์ โรงเรียน เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานในภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ ที่ตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นอนาคตของประเทศ ดังนั้นการส่งให้เด็กและเยาวชนทำกิจกรรมที่เสริมทักษะการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะในการใช้ชีวิตและเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตให้กับเด็กและเยาวชน ดังนั้นเครือข่าย ทางสังคมจึงมีการสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งการดำเนินงานของสภาเด็กและ เยาวชนแต่ละระดับและเครือข่ายทางสังคมที่มาสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน มีรายละเอียดดังนี้ 64


ตารางที่ 3 สรุปปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเครือข่ายทางสังบ้านพักเด็ก และครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิเพื่อนเยาวชน เพื่อการพัฒนา 1) ปัจจัยบุคคล 1) บ้านพักเด็กและครอบครัว เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาสภา เด็กและเยาวชนที่เป็นเด็ก กล้าแสดงออกสามารถแสดง ศักยภาพได้เต็มที่ 2) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้าน สภาเด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเชี่ยวชาญงานด้านสภา เด็กและเยาวชน สามารถ สนับสนุนส่งเสริมสภาเด็ก และเยาวชนได้ เมื่อมีโครงการหรือกิจกรรม ที่ เป็นการพัฒนาศักยภาพเด็ก และเยาวชน สำนักงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จะประสานให้สภา เด็กและเยาวชนเข้าร่วมเสมอ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ในเด็กและเยาวชน การส่งเสริม การขับเคลื่อนงานของสภา เ ด ็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น จ ึ ง มี ความสำคัญอย่างยิ่งในการ พัฒนาให้ตัวเด็กและเยาวชน ที่อยู่ในสภาเด็กและเยาวชนมี ความเป็นผู้นำและแบบอย่าง ที่ดี เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เป็นผู้ ที่ดำเนินงานด้านจิตอาสามา ตลอดก่อนเข้ามาปฏิบัติงาน ด้านเด็ก ทำให้มีความสนใจ และพร้อมปฏิบัติงานที่มูลนิธิฯ


6 งคมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โรงเรียน วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวนครราชสีมา 1) สภาเด็กและเยาวชนรุ่นพี่ ที่พ้นวาระ มีการกลับมาช่วยงาน/ แนะนำสภาเด็กและเยาวชนรุ่น น้อง 2) สภาเด็กและเยาวชนส่วน ใหญ่เป็นเด็กกิจกรรม 3) เจ้าหน้าที่เคยมีประสบการ ดำเนินชีวิตหรือการทำงาน เกี่ยวกับเด็กมาก่อน เช่น เคย เป็นครูมาก่อนจึงได้รับมอบ หมายให้ดูแลงานด้านเด็ก 4) สภาเด็กและเยาวชนรับ ตั้งแต่อายุ 0-25 ปี ซึ่งสมาชิก สภาเด็กและเยาวชนเมื่อ สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยม ไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ก็ยังสามารถเป็นสภาเด็กและ เยาวชนได้ 1) คณะครูให้ความสำคัญใน การพัฒนาศักยภาพเด็ก ในการเป็นตัวแทน/ต้นแบบ เยาวชนที่กล้าแสดงออกในทาง ที่ถูกต้องเหมาะสม 2) สภาเด็กและเยาวชนส่วน ใหญ่มาจากนักเรียนที่เป็นสภา นักเรียนและที่เป็นเด็กกล้า แสดงออก มีความเป็นผู้นำ เป็นเด็กที่มีความสามารถ 3) ผู้ปกครองของเด็กที่เป็น สภาเด็กและเยาวชนให้การ สนับสนุนสามารถให้เด็กทำ กิจกรรมต่างๆ 1) คณะครูส่งเสริมสนับสนุน ให้เด็กพัฒนาศักยภาพเป็นผู้นำ โดยการเข้าร่วมเป็นสภาเด็ก 2) ผู้ปกครอง คณะครู และ ผู้บริหาร มีความเข้าใจเกี่ยว กับการทำกิจกรรมของสภา เด็กและเยาวชน 3) นักเรียนในวิทยาลัยฯอยู่ ในช่วงวัยที่กล้าแสดงออก โดยมีคณะครูเป็นผู้สนับสนุน ให้เป็นสภาเด็กและเยาวชน 65 65


บ้านพักเด็ก และครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิเพื่อนเยาวชน เพื่อการพัฒนา 2.ปัจจัยสังคม 1) บ้านพักเด็กและครอบครัว มีภารกิจของรัฐตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและ เยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 ในการปฏิบัติงานด้านเด็กที่ ชัดเจนชัดเจนด้านการ สนับสนุนงานด้านเด็ก 2) บ้านพักเด็กและครอบครัว เป็นตัวประสานความร่วมมือ กับภาคีเครือข่ายในการจัด กิจกรรมสภาเด็กและเยาวขน 3) สร้างการยอมรับ กับ ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ โดยการที่สภาเด็กและเยาวชน ทำกิจกรรมจิตอาสา เช่น วัด สถานศึกษา อบต. โรงพยาบาล และตำรวจ เป็นต้น 1) สำนักงาน พมจ.นครราชสีมา มีภารกิจของรัฐตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและ เยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 ในการปฏิบัติงานด้านเด็กที่ ชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์ใน การพัฒนาเด็กและเยาวชน และดำเนินการอันเป็น ประโยชน์สูงสุดของเด็กและ เยาวชน 2) สำนักงาน พมจ.นครราชสีมา มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน งาน ด้านสภาเด็กและเยาวชน และ ประสานก า ร ด ำ เ น ิ น ง า น ร่วมกับภาคีเครือข่าย 1) มูลนิธิผลักดันงานสภาเด็ก และเยาวชน โดยมุ่งเน้นโครงการ กิจกรรมเกี่ยวกับเด็กโดยตรง โดยร่วมกับสถานศึกษาชุมชน ภาคีเครือข่าย ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม สภาเด็กและ เยาวชน 2) มูลนิธิเป็นช่องทางหนึ่งใน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน ระดับชุมชน ให้มีโอกาสแสดง ศักยภาพในพื้นที่ส่วนรวม “เวทีระดับตำบล/อำเภอ/ จังหวัด” 3) มูลนิธิมีแผนการดำเนินงาน ประจำปีในการจัดโครงการ โดยมีการบูรณาการร่วมกัน กับสภาเด็กและเยาวชน มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา บ้านพักเด็กและครอบครัวฯลฯ


6 องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โรงเรียน วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวนครราชสีมา 1) อปท.มีภารกิจของรัฐตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็ก และเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 ในการปฏิบัติงานด้าน เด็กที่ชัดเจน 2) สภาเด็กและเยาวชนส่วน ใหญ่เป็นเด็กในระบบ และเด็ก และเยาวชนนอกระบบบางส่วน เนื่องจากโรงเรียนและชุมชนให้ ความสำคัญกับ สภาเด็กและ เยาวชน โดยมีองค์การบริหาร ส่วนตำบลดูแลการทำกิจกรรม ของสภาเด็กและเยาวชน 3) ผู้บริหาร มีนโยบายมอบหมาย งานด้านสภาเด็กและเยาวชน กลุ่มงานที่เหมาะสมเป็นผู้ดูแล เรื่องสภาเด็กและเยาวชน และสวัสดิการต่างๆ และมี 1) โรงเรียนผลักดันเด็กเข้าสู่ สภาเด็กและเยาวชน เปิด โอกาส ประสานงาน เพื่อให้ เด็กและเยาวชนเข้าร่วม กิจกรรมต่างๆ อย่างการ เรียนรู้ชุมชน 2) คณะครูเป็นที่ปรึกษาและ เปิดโอกาสให้เด็กนำกิจกรรม จากจังหวัด งานสภาเด็กและ เยาวชน มาดำเนินการใน โรงเรียน หรือเด็กเสนอความ คิดเห็น โดยมีครูชี้แนะ 3) คณะครูช่วยดำเนินการ ประสานงานเครือข่ายที่ เกี่ยวข้อง เช่น อบต. 4) ประสานงานเครือข่ายเรื่อง งบประมาณเพื่อนำมาพัฒนา เด็กในโรงเรียน 1) วิทยาลัยฯต้องการให้ สังคม/ชุมชนเห็นศักยภาพ เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ผ่านเด็กที่เป็นตัวแทนของ สถานศึกษา และกิจกรรม สภาเด็กและเยาวชน 66 66


บ้านพักเด็ก และครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิเพื่อนเยาวชน เพื่อการพัฒนา 4) มีแผนการดำเนินงาน ประจำปีในการดำเนินงาน ด้านสภาเด็กและเยาวชน 4) รณรงค์ในชุมชนเพื่อให้ เด็ก ในชุมชนมีส่วนร่วม 3) จิตวิทยา บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดนครราชสีมาได้เผยแพร่ องค์ความรู้งานด้านสภาเด็ก และเยาวชน ให้แก่ภาคี เครือข่าย สำนักงาน พมจ.นครราชสีมา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ในเด็กและเยาวชน การ ส่งเสริมการขับเคลื่อนงาน ของสภาเด็กและเยาวชนจึงมี ความ สำคัญอย่างยิ่งในการ พัฒนาให้ตัวเด็กและเยาวชน ที่อยู่ในสภาเด็กและเยาวชนมี ความเป็นผู้นำและแบบอย่าง ที่ดี มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการ พัฒนาถือเป็นเครือข่ายทาง สังคมที่มีเป้าหมายเดียวกัน ในการประสานการทำงาน ด้านเด็กและเยาวชน รวมถึง ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมที่เกิด ประโยชน์ต่อสังคมด้วย


6 องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โรงเรียน วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวนครราชสีมา การจัดตั้งงบประมาณลงใน แผนการดำเนินงานประจำปี 5) อปท.เข้ามามีส่วนร่วมใน ร ู ป แ บ บ ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ส น ั บ ส น ุ น ส ภา เด็ กและ เยาวชน สนับสนุนทุน/ ความรู้/การรับส่ง 5) มีแผนปฏิบัติงานของ โรงเรียนดำเนินการสนับสนุน สภาเด็กและเยาวชน อปท. ได้รับงบสนับสนุนการ ดำเนินโครงการของสภาเด็ก และเยาวชน โดยผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน จึงมีการจัด กิจกรรมให้กับสภาเด็กและ เยาวชนโดยเน้นให้เด็กและ เยาวชนมีส่วนร่วมมากที่สุด 1) โรงเรียนต้องการสนับสนุน ให้เด็กที่มีความสามารถเข้าสู่ สภาเด็กและเยาวชน เพื่อเป็น ต้นแบบที่ดีของนักเรียน และ เป็นการสร้างชื่อเสียงให้ โรงเรียน 2) อปท. มีหนังสือเชิญชวน ประชาสัมพันธ์การคัดเลือก สภาเด็กและเยาวชน จาก ตัวแทนนักเรียน ถึงโรงเรียน โดยตรง การส่งเสริมให้นักเรียนเข้า ร่วมกิจกรรมงานสภาเด็กและ เยาวชน เป็นการส่งเสริมการ พัฒนาทักษะและศักยภาพใน การดำรงชีวิตอยู่ในสังคม เพื่อเตรียมการออกไปสู่การ ใช้ชีวิตในสังคมภายนอก 67 67


71 71 วัตถุประสงค์ข้อ 3 เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็ก และเยาวชน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชน จากการระดมความคิดเห็นของภาคีเครือข่ายทางสังคม ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องในการสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา หากกล่าวถึงแนวทางการมีส่วนร่วมขึ้นอยู่กับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญซึ่งทั้งสอง ฝ่ายจะต้องมีความต้องการที่จะทำงานร่วมกันจึงจะเกิดการมีส่วนร่วมขึ้น ในทางกลับกันถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือ ทั้งสองฝ่ายไม่พึงประสงค์ที่จะทำงานร่วมกัน การมีส่วนร่วมก็จะไม่เกิดขึ้น ปัจจัยทั้งสองเป็นเงื่อนไขสำคัญของ การมีส่วนร่วมในการบริหาร คุณลักษณะที่ดีของเครือข่ายทางสังคมที่จะสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย 1) ภาคีเครือข่ายทางสังคมที่มีระบบโครงสร้างองค์กรและการจัดการที่ดี 2) ภาคีเครือข่ายทางสังคมมีระบบฐานข้อมูลเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อใช้ในการทำงานสภาเด็กและ เยาวชน 3) ภาคีเครือข่ายทางสังคมมีคณะทำงานที่พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชน 4) ภาคีเครือข่ายทางสังคมเห็นคุณค่าและความสำคัญของสภาเด็กและเยาวชน ในการมีส่วนร่วม ทำงานด้านเด็กและเยาวชน 5) ภาคีเครือข่ายทางสังคมมีการจัดการความรู้ สนับสนุนกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชน 68


ตารางที่ 4 สรุปแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่หัวข้อ บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิเพื่อเพื่อการ1.กิจกรรม/โครงการ ลักษณะโครงการ/กิจกรรมใน แผนการดำเนินงานของสภา เด็กและเยาวชน ต้องมี ลักษณะตามกรอบที่กรม กิจการเด็กและเยาวชน กำหนด 5 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1กิจกรรมส่งเสริม การพัฒนาเด็กและเยาวชน ชุมชนและสังคม ประเภทที่ 2 กิจกรรมการ ป้องกันและการแก้ไขปัญหา เด็กและ เยาวชน ชุมชน และสังคม ประเภทที่ 3 กิจกรรมด้าน สังคมและวัฒนธรรม ประเภทที่ 4 ด้านการเสริม พลังเครือข่ายเด็กและ เยาวชน ประเภทที่ 5 งานประจำปี ตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การประชุมคณะ 1) ร่วมมือกับบ้านพักเด็ก และครอบครัว สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการจัดให้มี สภาเด็กและเยาวชนตำบล/ เทศบาล ให้แก่องค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ส่งเสริม สนับสนุน การ ดำเนินงานของสภาเด็กและ เยาวชนตำบล/เทศบาล 3) เป็นที่ปรึกษาในการ ให้คำแนะนำข้อเสนอแนะ แก่สภาเด็กและเยาวชน ตำบล/เทศบาล 1) โคราชยิ้“โคราชเมืองเมืองในฝัน ขอ2) เทศกาลเดิ่บาน เปิดเทออัศจรรย์วันเด็3) โคราชยิ้ม เเมืองสร้างสรรสุข เพื่อเด็กทุกคนเนื่องในแ ห ่ ง ช า ตินครราชสีมา


72 ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชน อนเยาวชน รพัฒนา องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โรงเรียน วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวจังหวัด นครราชสีมา ิ้ม (อีสาน) งสร้างสรรค์ องทุกคน” นยิ้มเล่นเบ่ง มสร้างสรรค์ ด็กเล่น เมืองปลอดภัย รค์ เมืองสร้าง เยาวชนและ นวันเยาวชน ต ิ จ ั ง ห วัด า 1 ) อ บ ร ม ก า ร ใช ้ สื่ อ ออนไลน์ การรู้เท่าทัน เทคโนโลยี 2) นันทนาการยาเสพติด 1) ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรม ที่สร้างกระบวนการแง่คิด เชิงบวก ซึ่งสอนให้เด็กมี กระบวนการคิดที่เป็น ระบบ ทักษะจากครู/ ผู้ใหญ่/เด็ก 2) เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม เด็กควรได้รับความรู้ ทราบถึงปัญหา และเกิด การมีส่วนร่วมอย่าง แท้จริง 1)ส่งเสริมและสนับสนุนการ จัดตั้งกิจกรรมต่างๆ ขึ้นภาย ในสถานศึกษา 2) จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็น ประโยชน์แก่สถานศึกษา สังคม ชุมชน ในวันสำคัญ ข อ ง ช า ต ิ ศ า ส น า แ ล ะ พระมหากษัตริย์ 3) ประสานงานและให้ความ ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก สถานศึกษา 5) ส่งเสริมการกีฬา และ นันทนาการและศิลปวัฒนธรรม ในสถานศึกษา 6) การจัดกิจกรรมส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรมและ จรรยาบรรณในวิชาชีพของ นักเรียน นักศึกษา และ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมให้ 69 69


หัวข้อ บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิเพื่อเพื่อการบริหาร การประชุมสามัญ ประจำปี การจัดประชุม สมัชชาเด็กและเยาวชน 2. รูปแบบการมีส่วน ร่วม ส่งเสริม สนับสนุน และ ประสานงาน การจัดให้มี และการดำเนินกิจการของ สภาเด็กและเยาวชนตำบล/ เ ทศ บ า ล ส ภ า เ ด ็กและ เยาวชนอำเภอ สภาเด็กและ เยาวชนจังหวัด 1) นำทีมบูรณาการของ พม. (ONE HOME) จัดให้มีสภา เด็กและเยาวชน ทุกระดับใน จังหวัดนครราชสีมา 2) ร่วมมือ ส่งเสริม และ ประสานงานกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนพัฒนาเด็ก แ ล ะ เ ย า ว ชน ใน ร ะ ดั บ ท้องถิ่น 1) รูปแบบกางานคือเสริเด็กโดยเติมเครื่องมือ ผลัโดยเปิดพื้นสื่อสาร โดยเออกแบบโครงโดยมีพี่ๆ เป็เด็กและเยาขับเคลื่อนกิจ2)สร้างพื้นทร่วมให้แก่ส


Click to View FlipBook Version